รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐ สถาบั น วิ จ ั ย พุ ท ธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำ�ไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๓๑๗๐
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ ๐-๓๕๒๔-๘๐๗๓ ภายใน ๘๐๗๓, ๘๑๕๔, ๘๑๕๓ โทรสาร ๐-๓๕๒๔-๘๐๗๓ เว็บไซต์ http://bri.mcu.ac.th/new/ อีเมล์ budrsin@mcu.ac.th
คำ�นำ� โดยผู้อำ�นวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ในการจัดทำ�รายงานประจำ�ปีเล่มนี้ ผู้อำ�นวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ได้ดำ�ริให้ดำ�เนินการจัด ทำ�ขึ้นเพื่อสรุปผลการปฏิบัติงานในรอบปีของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ และได้เขียนบทคำ�นำ�ไว้ดังนี้
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ได้จัดทำ�รายงาน ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เพือ่ แสดงผลการดำ�เนินงาน ในปีทผี่ า่ นมา เป็นสือ่ กลางให้ทกุ ภาคส่วนของสังคม รับรู้รับทราบผลการดำ�เนินงานที่สถาบันวิจัยพุทธ ศาสตร์ได้ปฏิบัติ เพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัย วิจัยที่มีการพัฒนาระบบให้มุ่งสู่วิจัยมากขึ้น ด้วย การสร้างวัฒนธรรมวิจัย เพิ่มบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ด้านการวิจัย สรรหาทรัพยากรและงบประมาณที่ เพียงพอ เข้าร่วมเครือข่ายมหาวิทยาลัยวิจัย วาง ระบบสนับสนุนและแรงจูงใจ การเพิ่มผลงานวิจัย รวมถึงวางระบบการพัฒนางานวิจัยไปสู่การใช้ ประโยชน์อย่างครบวงจร ในนามของสถาบั น วิ จั ย พุ ท ธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขอ ขอบคุ ณ บุ ค ลากรทุ ก รู ป /คนที่ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ ร่วมใจในการทำ�กิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งสนับสนุน การทำ�ภารกิจของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ให้มี ความเจริญก้าวหน้าสืบไป พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. ผู้อำ�นวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
สารบัญ ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปของส่วนงาน ๐๒
ประวัติความเป็นมาของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
๐๓
ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ปณิธาน กลยุทธ์ด้านการวิจัย
๐๕
โครงสร้างการแบ่งส่วนงานสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
๐๖
คณะกรรมการประจำ�สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
๐๗
บุคลากรสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
๐๗
สถานที่ตั้ง
ส่วนที่๒ ผลการดำ�เนินงานประจำ�ปี ๒๕๖๐ ๑๐
การให้ทุนอุดหนุนการวิจัยและรับทุนวิจัยจากองค์กรสนับสนุน
๑๑
การพัฒนาบุคลากรทางการวิจัย
๑๘
การติดตามและประเมินผลการวิจัย
๒๐
การเผยแพร่งานวิจัย
๒๙
การนำ�ผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์และงานสร้างสรรค์
๓๐
การเสริมสร้างความร่วมมือทางการวิจัย
๓๒
การประชุมคณะกรรมการและบุคลากรประจำ�สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
๓๔
ชุดความรู้จากงานวิจัย
๓๕
ผลการประกันคุณภาพการศึกษา
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
ส่วนที่ ๑
ข้อมูลทั่วไปของส่วนงาน ๑.๑ ประวัติความเป็นมาของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ๑.๒ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ปณิธาน กลยุทธ์ด้านการวิจัย ๑.๓ โครงสร้างการแบ่งส่วนงานสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ๑.๔ คณะกรรมการประจำ�สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ๑.๕ บุคลากรสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ๑.๖ สถานที่ตั้ง
1
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
ประวัติความเป็นมาของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
สถาบันวิจยั พุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก่อตัง้ ขึน้ เมือ่ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒ เพือ่ เป็นอนุสรณ์เนือ่ งในวโรกาสทีพ่ ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระปิยมหาราช ได้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ครบรอบ ๙๐ปี มีภารกิจสำ�คัญคือ ดำ�เนินการวิจยั และพัฒนา งานวิชาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ในพระไตรปิฎก โดย วิธสี หวิทยาการแล้วนำ�องค์ความรูท้ คี่ น้ พบมาประยุกต์ใช้แก้ปญ ั หาศีลธรรมและจริยธรรมของสังคม รวมทัง้ พัฒนาคุณภาพ งานวิชาการด้านพระพุทธศาสนา สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ แม้จะก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๒ ก็ตาม แต่การดำ�เนินงานสนองนโยบายตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ ได้เริ่มปฏิบัติอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยมหาวิทยาลัยได้ออกคำ�สั่งแต่งตั้งคณะ กรรมการขึ้ น มา ๒ คณะ คื อ คณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการดำ � เนิ น งานรวมทั้ ง ได้ แ ต่ ง ตั้ ง เจ้ า หน้ า ที่ ปฏิบัติงานซึ่งประกอบด้วย ผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการ การดำ�เนินงานในระยะแรก ฝ่ายบริหารได้ดำ�เนินตามนโยบายที่กำ�หนดไว้ควบคู่ไปกับการศึกษารูปแบบการทำ�งาน ดัง นั้นในปี พ.ศ.๒๕๓๐ จึงได้จัดประชุมกำ�หนดนโยบายเร่งด่วนของสถาบัน คือ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์จะต้องเน้นการ วิจัยตนเองเป็นหลัก เพื่อให้ทราบบทบาทและประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต่อมาคณะ อนุกรรมการยกร่างงานวิจัยจึงได้กำ�หนดโครงการวิจัยขึ้นมา ๓ โครงการ คือ ๑) ประสิทธิภาพการผลิตพระพุทธศาสตรบัณฑิต ๒) ศึกษาบทบาทและหน้าที่ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในทัศนะของอาจารย์ บัณฑิตพุทธศาสตรบัณฑิต และพระสังฆาธิการ ๓) ศึกษาติดตามผลผู้สำ�เร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิต ปี พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๒๙ โดยมอบหมายให้สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ เร่งดำ�เนินการให้แล้วเสร็จทันงานฉลอง มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ครบ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จากนั้นสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ได้ดำ�เนินการพัฒนาโครงการวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนพันธกิจหลักของ มหาวิทยาลัย คือ การพัฒนาการวิจัยทางพระพุทธศาสนาควบคู่กับศาสตร์สมัยใหม่เพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคม 2
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ด้านการวิจัย จากการดำ�เนินการที่ผ่านมาสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ได้ มีการกำ�หนดยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์การวิจัย อย่างต่อเนือ่ งโดยให้มยี ทุ ธศาสตร์สอดคล้องกับแผนพัฒนา เศรษฐกิ จและสั ง คมแห่ ง ชาติ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารวิ จั ย ของ สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) แผนพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในระยะต่างๆ โดยในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕๒๕๕๙) สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ได้กำ�หนดยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์และกลยุทธ์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพ การวิจัยทางพระพุทธศาสนาในระดับชาติและนานาชาติ
ปณิธาน ศูนย์กลางการวิจัยพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์ สมัยใหม่ เพื่อพัฒนาจิตใจและปัญญา
พันธกิจ ๑. กำ � หนดระบบและกลไกที่ ส อดคล้ อ งกั บ นโยบาย ยุทธศาสตร์การวิจัยและงานสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัย ๒. ศูนย์กลางการบริหารจัดการงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ ของมหาวิทยาลัย ๓. ส่งเสริมและพัฒนานักวิจัยและเสริมสร้างจรรยาบรรณ แก่นักวิจัย ๔. สนับสนุนการดำ�เนินงานเครือข่ายงานวิจัยเพื่อพัฒนา โครงการวิจัยเชิงบูรณาการ ๕. เผยแพร่องค์ความรู้จากผลงานวิจัย/งานสร้างสรรค์สู่ ท้องถิ่น ชุมชน สังคมและนานาชาติ ๖. พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใส
เป้าประสงค์ มหาวิทยาลัยมีผลงานวิจัยทางพระพุทธศาสนาที่ได้รับการ เผยแพร่ ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาจิตใจและสังคมทั้งใน ระดับชาติและนานาชาติ
กลยุทธ์ ๑. พัฒนานักวิจัย ผลิตผลงานวิจัยด้านพระพุทธ ศาสนาที่ครอบคลุมทุกกลุ่มความรู้และสร้างเครือข่าย ความร่วมมือนักวิจัยและการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ๒. ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับ ชาติและนานาชาติ ๓. ส่งเสริมและสนับสนุนการนำ�องค์ความรู้จาก การวิจัยไปใช้ในการเรียนการสอน การพัฒนาบุคคลและ สังคมและกิจการคณะสงฆ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ๔. ส่งเสริมให้ผลการวิจัยได้รับการอ้างอิง การนำ� เสนอ การนำ�ไปใช้ การตีพิมพ์ และได้รับรางวัลระดับชาติ และนานาชาติ ๕. พัฒนาระบบการบริหารการจัดการงานวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ
3
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
วัตถุประสงค์
4
๑
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์และนักวิชาการของมหาวิทยาลัยทำ�การวิจัยพื้นฐานสร้างและ พัฒนาองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อความเข้มแข็งและเป็นเลิศทางวิชาการพระพุทธศาสนา
๒
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์และนักวิชาการของมหาวิทยาลัยทำ�วิจัยเชิงประยุกต์สู่ การปฏิบัติและพัฒนางานสร้างสรรค์แก่สังคมทั้งในระบบจุลภาคและมหภาค
๓
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์นำ�ผลของการวิจัยมาใช้สอนนิสิตและพัฒนางานวิชาการ
๔
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกับบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ และเป็นศูนย์บริการข้อมูลเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านพระพุทธศาสนา
๕
ส่งเสริมและสนับสนุนการทำ�วิจัยร่วมกันระหว่างบุคลากรและองค์กรทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
๖
ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยและฝึกอบรมการนำ�ผลการวิจัยไปใช้สู่สาธารณะเพื่อ ประโยชน์ทางวิชาการและการพัฒนาที่มีคุณภาพแก่มนุษย์และสังคม
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
โครงสร้างการแบ่งส่วนงานสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ การบริหารงานของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ประกอบด้วยคณะกรรมการประจำ�สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ซึ่งมีอธิการบดี เป็นประธาน ผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ ดังนี้
มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะกรรมการประจำ�สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ผู้อำ�นวยการ
ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการวิจัย
ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการบริหารงาน
รองผู้อำ�นวยการ
ส่วนงานบริหาร
ส่วนงานวางแผนและส่งเสริมงาน
ลำ�ดับรายชื่อผู้อำ�นวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน ตามลำ�ดับดังนี้ ลำ�ดับที ่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖
ชื่อ-ฉายา พระสุธีวรญาณ (ณรงค์ จิตฺตโสภโณ), รศ.ดร. พระมหาวิเชาว์ ปญฺญาวชิโร, ดร. พระมหาเจิม สุวโจ พระเมธีรัตนดิลก (จรรยา ชินวํโส), ดร. พระโสภณวชิราภรณ์ (ไสว โชติโก) พระสุธีรัตนบัณฑิต (สุทิตย์ อาภากโร), รศ.ดร.
ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๓๒ ๒๕๓๓ - ๒๕๓๕ ๒๕๓๖ - ๒๕๔๑ ๒๕๔๒ - ๒๕๔๖ ๒๕๔๖ - ๒๕๕๔ ๒๕๕๔ - ปัจจุบัน 5
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
คณะกรรมการประจำ�สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐
พระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. ประธานกรรมการ
พระราชปริยัติกวี, รศ.ดร. กรรมการจากคณาจารย์ประจำ�
ศ.ดร.กาญจนา เงารังษี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
6
รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม กรรมการจากคณาจารย์ประจำ�
พระเทพปริยัตโมลี, ดร. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
รศ. ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ดร.อำ�นาจ บัวศิริ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
พระสุธีรัตนบัณฑิต, ดร. กรรมการและเลขานุการ
นายธนันท์รัฐ ประเสริฐศิลป์ กรรมการและผูช้ ว่ ยเลขานุการ
นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
รายชื่อบุคลากรสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ลำ�ดับที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑
ชื่อ – ฉายา / นามสกุล
ตำ�แหน่ง
พระสุธีรัตนบัณฑิต, ดร. นายธนันท์รัฐ ประเสริฐศิลป์ นายสุธีทัศน์ สุโท พระมหาเสรีชน นริสฺสโร พระมหาชุติภัค อภินนฺโท พระมหานันทวิทย์ ธีรภทฺโท พระมหาสมยศ สุทฺธิสิริ พระมหาเกรียงศักดิ์ อินฺทปญฺโญ,ดร. นายบดินทร์ภัทร์ สายบุตร นายเดชฤทธิ์ โอฐสู นายวันเฉลิม แสงก๋า
ผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหาร ผู้เช่ี่ยวชาญด้านการบริหารงาน ผู้อำ�นวยการส่วนงานบริหาร ผู้อำ�นวยการส่วนวางแผนและส่งเสริมการวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักจัดการงานทั่วไป นักจัดการงานทั่วไป
สถิติบุคลากรสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ บุคลากร ปี ๒๕๕๕ ประจำ� ๑๑ ผู้เชี่ยวชาญ ๒ ลูกจ้างชั่วคราว ๔
ปี ๒๕๕๖ ๑๒ ๒ ๒
ปี ๒๕๕๗ ๑๒ ๑ ๒
ปี ๒๕๕๘ ๑๐ ๒ ๒
ปี ๒๕๕๙ ๑๑ ๑ ๑
ปี ๒๕๖๐ ๙ ๑ ๑
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ ณ อาคารสำ�นักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ตำ�บลลำ�ไทร อำ�เภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๑๗๐ หมายเลขติดต่อภายใน ๘๐๗๓, ๘๑๕๔, ๘๑๕๓
7
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
ส่วนที่ ๒ ผลการดำ�เนินงาน ประจำ�ปี๒๕๖๐ ในส่วนนี้เป็นรายงานผลการดำ�เนินการของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ในรอบปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยมีขั้นตอน การดำ�เนินการในด้านต่างๆ ดังนี้ ๒.๑. การให้ทุนอุดหนุนการวิจัยและการรับทุนวิจัยจากองค์กรสนับสนุน ๒.๒. การพัฒนาบุคลากรทางการวิจัย ๒.๓. การติดตามและประเมินผลการวิจัย ๒.๔. การเผยแพร่ผลงานวิจัย ๒.๕. การนำ�ผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์และงานสร้างสรรค์ ๒.๖. การเสริมสร้างความร่วมมือทางการวิจัย ๒.๗. การประชุมคณะกรรมการและบุคลากรประจำ�สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
9
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๑. การให้ทนุ อุดหนุนการวิจยั และการรับทุนวิจยั จากองค์กรสนับสนุน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ได้รับงบประมาณเพื่อดำ�เนินการตามพันธกิจและยุทธศาสตร์ของ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ทั้งสิ้น ๕๘,๔๔๖,๒๐๐ บาท (ห้าสิบแปดล้านสี่แสนสี่หมื่นหกพันสองร้อยบาท) จำ�แนกเป็นเงินใน งบประมาณ ๕๘,๒๖๖,๒๐๐ บาท (ห้าสิบแปดล้านสองแสนหกหมื่นหกพันสองร้อยบาท) นอกงบประมาณมหาวิทยาลัย (เงินรายได้มหาวิทยาลัย) ๑๘๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
เงินในงบประมาณ
๕๘,๒๖๖,๒๐๐
เงินนอกงบประมาณ
๑๘๐,๒๐๐
ประเภทการจัดการทุนอุดหนุนการวิจัย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ดำ�เนินการจัดการออกเป็นส่วนต่างๆ คือ
๑ ค่าใช้จ่ายเป็นทุนอุดหนุนการวิจัย าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพทางการวิจัยของ ๒ ค่คณาจารย์ นักวิจัย นิสิต มมนา เผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งใน ๓ ค่ระดัาใช้บจชาติ่ายในการสั และนานาชาติ ๔ ค่าใช้จ่ายในการติดตามและประเมินผลงานวิจัย จ่ายในการบริหารจัดการภายในสถาบันวิจัย ๔ ค่พุาทใช้ธศาสตร์ เช่น การประชุม/กิจกรรมวิจัย เป็นต้น 10
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๒. การพัฒนาบุคลากรทางการวิจัย ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ได้จัดโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยโดยได้ดำ�เนิน การดังนี้ ๑) โครงการฝึกอบรม“สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยสถาบันวิจยั พุทธศาสตร์ ร่วมกับสำ�นักงานคณะกรรมการวิจยั แห่ง ชาติ (วช.) ได้จัดโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) ดังนี้ เมื่อวันที่ ๒๓ – ๒๗ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยพุทธ ศาสตร์ และวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ ร่วมกับสำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดโครงการฝึกอบรม “สร้าง นักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่ ๕ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ ตำ�บลนครสวรรค์ อำ�เภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๒๓ – ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยพุทธ ศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และวิทยาเขตพะเยาร่วมกับสำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดจัดโครงการฝึก อบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่ ๖ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ตำ�บลแม่ กา อำ�เภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยเป็นการอบรมทั้งภาคทฤษฎีประกอบด้วยเนื้อหา เช่น ปรัชญาและจรรยาบรรณการ วิจยั การกำ�หนดโจทย์การวิจยั แบบบูรณาการทีส่ อดคล้องกับนโยบายการวิจยั ของประเทศตามบริบทของชุมชน และงาน ตามภารกิจหลัก การทบทวนวรรณกรรมและกรอบแนวคิดงานวิจัย การสังเคราะห์วรรณกรรม เป็นต้น และภาคปฏิบัติ ประกอบด้วยเนือ้ หา เช่น กำ�หนดโจทย์และบูรณาการความคิดร่วมกับสมาชิกในกลุม่ เพือ่ กำ�หนดปัญหาวิจยั ในแต่ละพืน้ ที่ และสรุปการกำ�หนดโจทย์วิจัย คำ�ถามวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย เป็นต้น ผลการดำ�เนินการดังกล่าว มีผู้ผ่านการอบรม จำ�นวน ๖๑ รูป/คน
11
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๒) การถอดบทเรียน “วิทยากรหลักสูตรพัฒนานักวิจัย” (Training for the trainers) (แม่ไก่) สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ สำ�นักงานคณะ กรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ทำ�บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) การดำ�เนินงานจัดโครงการฝึกอบรม “วิทยากรหลักสูตรพัฒนานักวิจัย” (Training for the trainers) (แม่ไก่) และโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) โดยจัดฝึกอบรมให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการวิจัย ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อขยาย ผลการฝึกอบรมนักวิจัยอย่างมีคุณภาพ ตลอด ๔ รุ่นที่ผ่านมา ในการนี้ เพือ่ ให้การดำ�เนินการในโครงการดังกล่าวมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สงู สุดแก่บคุ ลากรของมหาวิทยาลัย จึงได้จัดกิจกรรมการถอดบทเรียน “วิทยากรหลักสูตรพัฒนานักวิจัย” (Training for the trainers) (แม่ไก่) ระหว่างวันที่ ๘-๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ ณ ล้านนาออนเซน บ้านโป่งปูเฟือง ตำ�บลแม่สรวย อำ�เภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โดยได้วิเคราะห์ บทเรียนจากผลการดำ�เนินการทีผ่ า่ นมา แล้วเสนอโครงการเพือ่ ขอทุนจาก วช. ในปี งปม. ๒๕๖๒ โดยมีผทู้ รงคุณวุฒจิ าก วช. ร่วมถอดบทเรียน พร้อมทั้งเสนอต่อ วช.เพื่อให้ มจร ได้เป็นต้นแบบของหน่วยงานที่ผลิตแม่ไก่และลูกไก่ ผลิตหลักสูตรเพื่อ ให้หน่วยงานอื่นนำ�ไปใช้ โดยการคัดเลือกแม่ไก่ที่อบรมผ่านมาจะได้ชุดโครงการเพื่อนำ�เสนอของบประมาณแผ่นดิน
12
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๓) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การวิจัยเชิงคุณภาพข้ามวัฒนธรรม” ณ สาธารณรัฐ สหภาพเมียนมา สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ร่วมกันคณะสังคมศาสตร์ ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การวิจัยเชิงคุณภาพข้าม วัฒนธรรม” เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน – ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ เมืองเขมรัฐเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า โดยมีคณาจารย์ นักวิจัย นิสิตนักศึกษา และตลอดถึงผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวทิยาลัย บูรพา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากสำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการนี้ คณะนักวิจยั ได้ลงปฏิบตั กิ ารภาคสนามทีบ่ า้ นหนองเงินและบ้านหนองห้อง เชียงตุง โดยการปฏิบตั กิ ารจิรง ในการเก็บข้อมูลสังเกต การสัมภาษณ์ การค้นหาความจริงของภูมิปัญญาการรักษาสุขภาพที่แฝงฝังอยู่ในชุมชน การรวมตัว แบ่งปัน แลกเปลี่ยน จัดระบบข้อมูล ร่วมกันถอดรหัส ตรวจสอบแบบสามเส้า จนแน่ใจ ชัดเจน วิเคราะห์ตีความ และท้าย ที่สุดนำ�เสนอข้อมูล ซึ่งเป็นการฝึกปฏิบัติการจริงในการทำ�วิจัยเชิงคุณภาพข้ามวัฒนธรรม
13
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๔) การอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักจัดการงานวิจัย” เมื่อวันที่ ๑๓-๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักจัดการงานวิจัย” เพื่อ พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัย ระหว่าง ณ ห้องประชุมชั้น G อาคารสำ�นักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมี การดำ�เนินการดังนี้ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ภาคเช้า พระราชวรเมธี, ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานเปิดโครงการ และ บรรยายพิเศษเรื่อง “การบริหารงานวิจัยตามนโยบายมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” จากนั้นเป็นการบรรยาย เรื่อง “ยุทธศาสตร์และการบริหารงานวิจัย” โดยพระสุธีรัตนบัณฑิต, ดร. ผู้อำ�นวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ภาคบ่าย เป็นการปฏิบัติใช้ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิจัย “NRMS” ณ อาคารเรียนรวมโซน C วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ภาคเช้าเป็นการบรรยาย เรื่อง “การเขียนบทความวิจัยและการสังเคราะห์บทความ วิจัย” โดยพระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, รศ. รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ภาคบ่ายเป็นการเสวนาเรื่อง “การเผยแพร่งาน วิจัย” โดย ดร.จารุวรรณ พลอยดวงรัตน์ คณบดีวิทยาลัยวิจัยนวัตกรรมทางการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า คุณทหารลาดกระบัง ผศ.ดร.บุษกร วัฒนบุตร คณะสังคมศาสตร์ และพระครูวิมลศิลปกิจ วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย การอบรมครั้งนี้ มีคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วม ทั้งจากคณะ วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ รวมทั้ง สิ้น ๗๕ รูป/คน
14
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๕) โครงการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยประจำ�ปีงบประมาณ ๒๕๖๑-๒๕๖๒ สถาบันวิจยั พุทธศาสตร์ได้จดั โครงการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจยั เพือ่ ขอทุนสนับสนุนการวิจยั ประจำ�ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ (เพิ่มเติม) และ ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ เพื่อให้การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ สอดคล้องกับแผนบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรมตามนโยบายของรัฐบาล โดยลงพืน้ ทีต่ ามส่วนงานต่างๆ จำ�นวน ๑๐ ครัง้ ดังนี้ ณ วิทยาลัยสงฆ์บรุ รี มั ย์ ผูเ้ ข้าร่วมโครงการ ๑๐๗ รูป/คน ณ วิทยาลัยสงฆ์ ศรีสะเกษ ผู้เข้าร่วมโครงการ ๘๐ รูป/คน ณ วิทยาเขตขอนแก่น ผู้เข้าร่วมโครงการ ๑๐๐ รูป/คน ณ วิทยาเขตนครสวรรค์ ผู้ เข้าร่วมโครงการ ๔๕ รูป/คน ณ วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี ผูเ้ ข้าร่วมโครงการ ๗๐ รูป/คน ณ วิทยาลัยสงฆ์ล�ำ พูน ผูเ้ ข้าร่วมโครงการ ๘๐ รูป/คน ณ วิทยาลัยเขตพะเยา ผู้เข้าร่วมโครงการ ๗๐ รูป/คน ณ วิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร ผู้เข้าร่วมโครงการ ๖๒ รูป/คน ณ ห้องประชุมคณะพุทธศาสตร์ ผู้เข้าร่วมโครงการ ๒๐ รูป/คน ณ วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ผู้เข้าร่วมโครงการ ๓๐ รูป/ คน ในการนี้ พระสุธีรัตนบัณฑิต ผู้อำ�นวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ได้บรรยายเรื่อง “กรอบ แนวทางการเขียนและ วิเคราะห์โครงการวิจยั เพือ่ ขอรับทุน” เพือ่ ชีแ้ จงนโยบายและแนวทางการดำ�เนินการวิจยั บุคลากรสถาบันวิจยั พุทธศาสตร์ได้ ชีแ้ จงการใช้งานระบบ NRMS จากนัน้ คณาจารย์และนักวิจยั ได้พฒ ั นาโครงการวิจยั และวิพากย์หวั ข้อโครงการวิจยั เพือ่ จัดทำ� เป็นข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนการวิจัย ตามลำ�ดับไป
15
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๖) อบรมหลักสูตรโครงการ “พัฒนาผู้จัดการงานวิจัย” (Research Manager: RM) รุ่นที่ 15 เมื่อวันที่ ๒๑-๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑ พระมหาเสรีชน นริสฺสโร ผู้อำ�นวยการส่วนงานบริหาร ได้เข้าฝึกอบรมหลักสูตร โครงการ “พัฒนาผู้จัดการงานวิจัย” (Research Manager: RM) รุ่นที่ ๑๕ ณ ชั้น ๓ ห้องบุหลันพิทักษ์พล อาคารอมรภูมิ รัตน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งจัดโดยภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เนื้อหา หลักสูตรประกอบด้วย ๑) การจัดการงานวิจัยอย่างมืออาชีพ ๒) เทคนิคการจัดทำ�ข้อกำ�หนดขอบเขตของงาน (TOR) ๓) การบริหารข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวิจัย ๔) กฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดการงานวิจัยที่ควรรู้ ๕) การนำ�ผลงาน วิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และเชิงสังคม ๖) จริยธรรมการวิจัย และ ๗) การเขียนสรุปรายงานการวิจัยและรูปแบบ มาตรฐานการเขียนรายงานการวิจัย วิธีการฝึกอบรมเป็นการบรรยาย อภิปราย ฝึกปฏิบัติและทำ�กิจกรรมร่วมกัน มีวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน
16
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๗) การอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ “จิตอาสาคิลานธรรมเพื่อการตายดี” สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ร่วมกับสำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ “จิตอาสาคิลานธรรมเพื่อการตายดี” ภายใต้โครงการเสริมสร้างองค์ความรู้และแนวปฏิบัติเพื่อการตายดีตามแนวพระพุทธ ศาสนา จำ�นวน ๒ รุ่น คือ รุ่นที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๐-๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ วิทยาลัยสงฆ์เชียราย มีผู้เข้าร่วมอบรมจำ�นวน ๔๐ รูป/คน และรุ่นที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๔-๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม วัดสุทธิวราราม กรุงเทพฯ มีผู้เข้าอบรม จำ�นวน ๓๐ รูป เนือ้ หาในการอบรมประกอบด้วย ๑) พัฒนาองค์ความรูก้ ารตายดีทางด้านพระพุทธศาสนา ทางด้านกฎหมายและทาง ด้านการแพทย์ ๒) ศึกษาดูงานจิตอาสาคิลานธรรมและโรงเรียนผู้สูงอายุ ๓) การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ ๔) การดำ�เนิน งานสาธารณสงเคราะห์ตามแนวพระพุทธศาสนาเครือข่ายวิทยากรกระบวนการจิตอาสาคิลานธรรม วิทยากรประกอบด้วย พระเทพสุวรรณเมธี รองเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร พระราชวรมุนี, ดร. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต พระชยานันทมุนี,ผศ. ดร. รักษาการผู้อำ�นวยการวิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯ นพ.อุกฤษฎ์ มิลินทางกูร ที่ปรึกษาสำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ง ชาติ (สช.) ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส อาจารย์ประจำ�คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีพิธีปิดโครงการฯ โดยพระ พรหมเสนาบดี เจ้าคณะภาค ๗ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรม ทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”
17
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๒. การติดตามและประเมินผลการวิจัย การติดตามและประเมินผลการวิจยั เป็นภารกิจทีส่ �ำ คัญของกระบวนการพัฒนานักวิจยั และโครงการวิจยั เพือ่ ให้แลกเปลีย่ น ความคิดเห็น มุมมองที่มีต่อการวิจัยและการพัฒนาจากกิจกรรมการวิจัย ดังนั้น สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์จึงได้มีการ ติดตามและประเมินผลการวิจัยของนักวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประชุมติดตามประเมินผลการวิจัยทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ดังนี้ ๑) การทำ�สัญญาให้ทุนอุดหนุนโครงการวิจัยประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๒) การทำ�สัญญาโครงการวิจัยรับใช้สังคม ๓) การให้ทุนอุดหนุนการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ๔) การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุน ๑) การทำ�สัญญาให้ทุนอุดหนุนโครงการวิจัยประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ทำ�สัญญาให้ทุนอุดหนุนโครงการวิจัย ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ จำ�นวนทั้งสิ้น ๓๕๐ โครงการ โดยเป็นการทำ�สัญญาวิจัยสัญจรตามส่วนงานต่าง ๆ จำ�นวน ๖ ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๓-๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ วิทยาลัยสงฆ์ลำ�พูน จำ�นวน ๗๘ โครงการ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ วิทยาเขต นครสวรรค์ จำ�นวน ๔๕ โครงการ ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๙-๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ วิทยาเขตขอนแก่นจำ�นวน ๕๒ โครงการ ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒-๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ ณ วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ จำ�นวน ๕๘ โครงการ ครั้งที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๐-๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๐ ณ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ จำ�นวน ๙๐ โครงการ และครั้งที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ ณ วิทยาเขตนครศรีธรรมราช จำ�นวน ๒๖ โครงการ ในการนี้ ผูอ้ �ำ นวยการสถาบันวิจยั พุทธศาสตร์ ได้บรรยายแนวทางการดำ�เนินการวิจยั ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ จากนั้น นักวิจัยเข้าพบผู้ทรงคุณวุฒิ แก้ไขตามข้อเสนอแนะและทำ�สัญญาวิจัยตามลำ�ดับ
18
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๒) การทำ�สัญญาโครงการวิจัยรับใช้สังคม สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ได้จัดสรรทุนอุดหนุนและทำ�สัญญาโครงการวิจัยรับใช้สังคม จำ�นวน ๑๕ โครงการ ๓) การให้ทุนอุดหนุนการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันวิจยั พุทธศาสตร์ได้ให้ทนุ อุดหนุนการวิจยั ระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาได้พัฒนาวิทยานิพนธ์และผลงานวิชาการที่นํา ไปสู่การสร้างสรรค์องค์ความรู้และกระบวนการวิจัยที่มีคุณภาพในระดับสูง และเพื่อส่งเสริมนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาให้เข้า สู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ที่สามารถผลิตผลงานวิจัย และผลงานวิชาการที่มีคุณภาพในระดับสูง ผู้ได้รับทุนระดับปริญญาเอก จำ�นวน ๑๑ ทุนๆ ละ ๒๕,๐๐๐ บาท และ ผู้ได้รับทุนระดับปริญญาโท จำ�นวน ๑๑ ทุนๆ ละ ๑๕,๐๐ บาท รวมจำ�นวน ๒๒ ทุน เป็นจำ�นวนเงินทั้งสิ้น ๔๔๐,๐๐๐ บาท ๔) การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุน สถาบันวิจยั พุทธศาสตร์ได้จดั ประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำ�เนินโครงการวิจยั โดยได้เชิญนักวิจยั ทีไ่ ด้ท�ำ สัญญา มานำ�เสนอความก้าวหน้าในการทำ�วิจัยและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยได้จัดประชุมตรวจรายงานวิจัยจำ�นวน ๕ ครั้ง คือ วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๑ จำ�นวน ๒๓ โครงการ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ จำ�นวน ๓๔ โครงการ ๑๘-๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑ จำ�นวน ๗๐ โครงการ วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๑ จำ�นวน ๔๗ โครงการ วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๑ จำ�นวน ๒๓ โครงการ วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑ จำ�นวน ๑๓ โครงการ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๑ จำ�นวน ๒๗ โครงการ และวันที่ ๒๔-๒๕ เมษายน ๒๕๖๑ จำ�นวน ๒๑ โครงการ โดยการจัดประชุมทั้งในส่วนกลางและวิทยาเขต
19
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๔. การเผยแพร่ผลงานวิจัย การเผยแพร่การวิจยั เป็นองค์ประกอบทีส่ �ำ คัญในกระบวนการวิจยั ทีจ่ ะนำ�ความรูจ้ ากงานวิจยั ไปสูก่ ารรับรูข้ องสาธารณชน หรือการนำ�ไปใช้ทงั้ ในเชิงวิชาการ การนำ�ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพืน้ ที่ การใช้ประโยชน์ในระดับนโยบาย โดยในรอบปี ๒๕๖๐ สถาบันวิจยั พุทธศาสตร์ ได้ด�ำ เนินการเผยแพร่ผลงานวิจยั ใน ๓ ลักษณะ คือ ๑) การนำ�เสนอผลงานวิจยั /การจัดการสัมมนา ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ๒) การนำ�เสนอผลงานวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษา องค์กรด้านการวิจัยในระดับประเทศ ๓) การนำ�เสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ดังนี้ ๑) การจัดงานสัมมนาผลงานวิจัยนานาชาติ ครั้งที่ ๘ ๒) การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๑ วิทยาเขตแพร่ ๓) การประชุมชี้แจงแผนการดำ�เนินงานและแนวทางการติดตามงบประมาณบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรม ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๔) ประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ เรื่อง “การพัฒนาชนบทเพื่อขจัดความยากจนในเอเชีย” (Revitalizing Rural Development for Poverty Eradication in Asia) ๕) การเข้าร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๐” (Thailand Research Expo 2017) ๖) การนำ�เสนอผลงานวิจัยนานาชาติที่ประเทศจีน
20
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๑) การจัดงานสัมมนาผลงานวิจัยนานาชาติ ครั้งที่ ๘ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ร่วมกับหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้จัด สัมมนาผลงานวิจัยนานาชาติ ครั้งที่ ๘ ในหัวข้อ “พุทธธรรมกับสังคม” (Dhamma and Society) ในโอกาสครบรอบชาต กาล ๑๑๑ ปี พุทธทาสภิกขุ แบ่งการสัมมนาเป็น ๔ ประเด็นสำ�คัญ ได้แก่ ๑) จิตใจและปัญญาญาณ (Mind & Spirituality) ๒) เศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Economic & Sustainable Development) ๓) สังคมกับการเมือง (Socio-politics) และ ๔) การสานงานของพุทธทาสภิกขุ (The Works and Legacy of Buddhadasa Bhikkhu) โดยกิจกรรมจัดขึ้นระหว่าง วันที่ ๒๔ พฤษภาคม – ๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โดยมีพระพรหม บัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานเปิดงาน มีนักวิชาการ นักวิจัย ทั้งภายใน และต่างประเทศเข้าร่วมนำ�เสนอบทความวิชาการ และบทความวิจัยจำ�นวน ๑๕ ประเทศ มีบทความวิจัยนำ�เสนอ จำ�นวน ๒๖ เรื่อง มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ ๒๕๐ รูป/คน พร้อมกันนี้ มีการมอบรางวัลผลงานวิจัยและนักวิจัยดีเด่น ประจำ�ปี ๒๕๕๙ จำ�นวน ๑๘ รางวัล จากนั้น วันที่ ๒๖ พฤษภาคม – ๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ ได้จัดกิจกรรมตามรอยพุทธทาส ดนตรีภาวนา และ กิจกรรม ล้ออายุ ณ วัดธารน้ำ�ไหล สวนโมกขพลาราม สุราษฎร์ธานี กิจกรรมปฏิบัติธรรม ณ สวนโมกข์นานาชาติ สุราษฎร์ธานี และ กิจกรรมปฏิบัติธรรม ณ ทีปภาวันธรรมสถาน เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี
21
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๔) ประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ เรื่อง “การพัฒนาชนบทเพื่อขจัดความยากจนในเอเชีย” (Revitalizing Rural Development for Poverty Eradication in Asia) เมื่อวันที่ ๒-๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ โดยพระสุธีรัตนบัณฑิต ผู้อำ�นวยการได้เข้าร่วมประชุม ผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ เรื่อง “การพัฒนาชนบทเพื่อขจัดความยากจนในเอเชีย” (Revitalizing Rural Development for Poverty Eradication in Asia) จัดโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วม อาทิ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทว กุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการคลัง, นายสมหวัง พ่วงบางโพ รองผูว้ า่ ราชการจังหวัดอุดรธานี, ผศ.นิธินันท์ วิศเวศวร รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และคณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์, ผศ.จิตติ มงคล ชัยอรัญญา คณบดีวทิ ยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึง๊ ภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทัง้ นักวิชาการจากนานาประเทศ ในทวีปเอเชียเข้าร่วมประชุมกว่า ๓๐๐ คน ผลการประชุมพบว่า ความยากจนในเอเชีย ส่วนหนึง่ มาจากโครงสร้างทางสังคม นโยบายภาครัฐ การจัดการทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม และจากการขาดภูมิปัญญาในการดำ�เนินการของคนในสังคม ดังนั้น การเสริมสร้างทางปัญญา การจัดการเชิงนโยบาย การเสริมพลังอำ�นาจให้ชุมชน การพึ่งพาตนเอง จักเป็นปัจจัยสำ�คัญใน การพัฒนาชนบท และควรให้ความสำ�คัญในแนวทางจัดการศึกษา ๓ ประการที่สำ�คัญ คือ การให้โอกาสที่ดีที่สุดแก่เด็ก และเยาวชนของไทย ลดความเหลื่อมล้ำ�ในระบบการศึกษา และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดขึ้น รวมทั้งมีการประชุม ระดมสมองเพื่อจัดทำ�ข้อเสนอในระดับนานาชาติถึงการพัฒนาชนบทที่ควรจะเป็นในอนาคตอีกด้วย
22
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๕) การเข้าร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๐” (Thailand Research Expo 2017) สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ได้เข้าร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๐” (Thailand Research Expo 2017) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ภายใต้ แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ได้ส่งผลงานวิจัยร่วมจัดนิทรรศการ จำ�นวน ๒ เรื่อง ได้แก่ ๑) การอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีตำ�บลนครชุม อำ�เภอเมืองกำ�แพงเพชร จังหวัดกำ�แพงเพชร โดย พระราชวชิร เมธี, ผศ.ดร. วิทยาเขตนครสวรรค์ และ ๒) รูปแบบการพัฒนาบึงน้ำ�ขนาดใหญ่แบบมีส่วนร่วมในสังคมไทย โดย ดร.อัครเดช พรหมกัลป์ วิทยาเขตนครสวรรค์ มีวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” (แม่ไก่) ภาคบรรยาย จากเครือข่ายมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ผ่านการรับรอง จำ�นวน ๖๓ รูป/คน เข้ารับเกียรติบัตรจาก พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่น ตอง รองนายกรัฐมนตรี และสำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) ได้มอบโล่ขอบคุณแก่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัยในฐานะส่วนงานที่นำ�ผลงานและกิจกรรมเข้าร่วมนำ�เสนอในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๐”
23
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๖) การนำ�เสนอผลงานวิจัยนานาชาติที่ประเทศจีน เมื่อวันที่ ๑๐-๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ โดยพระสุธีรัตนบัณฑิต, ดร. ผู้อำ�นวยการ ได้เข้าร่วม งานสัมมนานานาชาติประจำ�ปี 2017 ภายใต้หัวข้อ “ Teaching Buddhism in Metropolitan Cities: Urban Buddhism and Its Propagating Patterns “ ณ นครเซียงไฮ้ และนำ�เสนอผลงานวิจัยเรื่อง “Buddhism and Social Development: Concept and Process in Globalization Age” การประชุมสัมมนาดังกล่าว จัดโดยคณะสงฆ์จนี โดยวัดพระหยก (Jade Buddha Temple) แห่งนครเซียงไฮ้ โดยมี ผู้แทนจากประเทศต่างๆ ในเอเซียเข้าร่วมสัมมนา เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย รัสเชีย และพระสงฆ์จีนในพื้นที่ต่างๆ ของจีน เข้าร่วมประชุม ผลการสัมมนาโดยภาพรวมพบว่า บทบาทและกระบวนการทำ�งานของพระสงฆ์เป็นลักษณะของพระพุทธ ศาสนาเพื่อสังคมมากขึ้น (Socially Engaged Buddhism) มีการยกตัวอย่างของ ดร.เอ็มเบดการ์ อินเดีย ขบวนการสรร โวทัยของศรีลังกา องค์กรฉื้อจี้ ไต้หวัน การศึกษาเพื่อสันติภาพของหลวงพ่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต) การทำ�งานของท่านติช นัท ฮันห์ เวียดนาม และบทบาทของพระในเมืองและชนบททั้งไทยและจีน โดยเฉพาะการเข้าสู่ สังคมผูส้ งู อายุ และเพิม่ ให้บทบาทของพระสงฆ์ในแต่ละวัดช่วยดูแลสังคม การสร้างสัมมาชีพ การดูแลผูป้ ว่ ยระยะสุดท้าย สอดคล้องกับการทำ�งานของคณะสงฆ์ไทยที่มีการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาในด้านการสาธารณสงเคราะห์โดยคณะ สงฆ์ไทยมุ่งเน้นการสร้างสัมมาชีพ การดูแลผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุในวัด การส่งเสริมเกษตรวิถีพุทธ การรวมกลุ่มออม ทรัพย์ (กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์) การดูแลรักษาป่า บวชป่า การตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือประชาชนในคราวประสบภัยพิบัติ ต่างๆ และมุ่งเน้นให้มีการรักษาศีล ๕ ตามนโยบายโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
24
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๗) การประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม(CSD สัมพันธ์) ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๗ และนานาชาติ ครั้งที่ ๑ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ สมาคมพัฒนา ชุมชนท้องถิน่ และสังคม มูลนิธมิ นั่ พัฒนา วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึง๊ ภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดงานประชุมวิชาการการพัฒนา ชุมชนท้องถิ่นและสังคม (CSD สัมพันธ์) ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๗ และนานาชาติ ครั้งที่ ๑ “คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนา ที่ยั่งยืน” ขึ้นระหว่างวันที่ ๒๘ - ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำ�ไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในด้านกิจกรรม การพัฒนาพื้นที่และงานวิชาการ และเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคณาจารย์ นิสิต นักศึกษาสาขาพัฒนาชุมชน/สังคมและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั่วประเทศ ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจำ�นวน ๑,๕๐๐ คน จาก ๔๕ มหาวิทยาลัย และ ๑๐ ประเทศ
25
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๘) การนำ�เสนอผลการวิจัยที่ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ ๗-๑๐ มีนาคม ๒๕๖๑ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์โดยพระสุธีรัตนบัณฑิต ผู้อำ�นวยการ ได้เดินทางไปร่วม ประชุมสัมมนานานาชาติเรื่อง “The Changing Status of Women: Myth and Reality with Special Reference to Northeast India “ และชมการแสดงทางวัฒนธรรมท้องถิน่ ซึง่ จัดขึน้ โดยวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐคอคราชาร์ (Kokrajhar) ณ เมืองคอคราชาร์ รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย จากนั้น ได้เดินทางไปโบโดแลนด์ (Bodoland) มีสถานที่สำ�หรับกิจกรรม ทางพุทธศาสนาที่บริจาคโดยรัฐบาล และเข้าเยี่ยมบ้านเรือนและร้านค้าชาวโบโดที่ถูกโจมตีบ่อยครั้งจากกลุ่มแบ่งแยกดิน แดน ‘แนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติโบโดแลนด์’ (NDFB) เนือ่ งจากพวกเขาพยายามต่อสูเ้ พือ่ แยกดินแดนของชาวเผ่าโบ โด ซึ่งมีจำ�นวนประมาณ ๓.๓ ล้านคน หรือราว ๑๐% ของประชากรทั้งหมดของรัฐอัสสัมออกจากรัฐนี้มานานหลายสิบปี แล้ว อย่างไรก็ตามทางการมีความประสงค์จะให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดหาคนมาเรียนโดยจะยกพืน้ ที่ส่วนหนึ่งให้เป็นสถานที่เรียนและประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา
26
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๙) การมอบรางวัลผลงานวิจัยและนักวิจัยดีเด่น ประจำ�ปี ๒๕๖๐ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ได้ดำ�เนินการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการวิจัยให้กับ คณาจารย์และนักวิจัย และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักวิจัย การสร้างสรรค์ผลงานวิจัย และยกย่องเชิดชูเกียรติ นักวิจยั ร่วมกับคณะกรรมการพิจารณารางวัลผลงานวิจยั และนักวิจยั ดีเด่น ได้ประชุมพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจยั และนักวิจยั ดีเด่น ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ และมีการมอบรางวัลผลงานวิจัยและนักวิจัยดีเด่น ประจำ� ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ จำ�นวน ๒๔ รางวัล ในการประชุมสัมมนาผลงานวิจัยนานาชาติ ครั้งที่ ๙ และการประชุมวิชาการระดับชาติ ครัง้ ที่ ๑ เรือ่ ง “วัฒนธรรมเชิงพุทธกับการพัฒนาทีย่ ง่ั ยืน” (Buddhist Culture and Sustainable Development) ระหว่าง วันที่ ๒-๓ เมษายน ๒๕๖๑ ณ วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ ต.น้ำ�คำ� อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
27
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๑๐) การปฏิบัติศาสนกิจ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๑๕-๒๔ เมษายน ๒๕๖๑ พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. ผู้อำ�นวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ได้เป็น คณะติดตามพระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม วัดยานนาวา เพื่อเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ ประเทศ สหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น ผลการปฏิบัติศาสนกิจสรุปได้ ดังนี้ ๑. ได้มีการศึกษาดูงานเพื่อสร้าง Museum of Buddhist Art ที่วัดนวมินทรราชูทิศ เมืองเรย์แฮม บอสตัน โดย จะมีการวาดภาพและประติมากรรมพุทธศิลป์รว่ มสมัย รวมทัง้ ภาพในหลวงรัชกาลที่ ๙ เพือ่ ไว้ทวี่ ดั เป็นการเฉลิมพระเกียรติ สถานที่ประสูติของในหลวง ๒. หารือความร่วมมือในการเรียนการสอนและการแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และผู้ที่ทำ�งานด้าน วัฒนธรรมของไทยกับวิทยาลัยในเมืองบอสตัน โดยทางวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยสนใจด้านการฝึกสมาธิ เอเชียศึกษา ให้ วัดนวมินทรราชูทิศ เป็นแหล่งเรียนรู้ ๓. ให้มีความร่วมมือนานาชาติ ของคนไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา จีน และอื่น โดยใช้วัดนวมินทรราชูทิศ เป็น สถานที่จัดกิจกรรมของคนเอเชีย เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาตามเป้าหมายของ UN ๔. การปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ประสานกับพระสงฆ์ญี่ปุ่นเพื่อให้มาร่วมงานกับ มจร และการสร้างวัด ญี่ปุ่นในประเทศไทย ๕. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรมเพื่อประยุกต์ในการวิจัยและการเรียนการสอนของ มจร และวัดไทย
28
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๕. การนำ�ผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์และงานสร้างสรรค์ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ สถาบันวิจยั พุทธศาสตร์ได้สง่ เสริมเผยแพร่ผลงานวิจยั ซึง่ มีนกั วิจยั ส่งบทความวิจยั เพือ่ นำ�เสนอ ในงานประชุมวิชาการ และตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการทั้งระดับชาติ และนานาชาติ จำ�นวน ๖๐ เรื่อง ดังนี้ ๑) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการระดับชาติ จำ�นวน ๒๙ เรื่อง ๒) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ ระดับนานาชาติ จำ�นวน ๗ เรื่อง ๓) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม ๑ จำ�นวน ๒๐ เรื่อง และ ๔) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม ๒ จำ�นวน ๑๔ เรื่อง
29
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๖. การเสริมสร้างความร่วมมือทางการวิจัย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ได้มีการเสริมสร้างความร่วมมืองานวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาหน่วยงานภาครัฐและ เอกชน โดยมีการพัฒนาความร่วมมือในด้านการดำ�เนินงานวิจัย การจัดอบรมสัมมนาและการจัดประชุมวิชาการ เป็นต้น ดังนี้ ๑) บันทึกข้อตกลงความร่วมทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ สถาบันวิปัสสนาธุระ และคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ทำ�บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม ๔๐๑ สำ�นักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี ขอบเขตทางวิชาการที่ตกลงร่วมมือกันคือ การถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการด้านสุขภาวะแบบองค์รวมเชิงพุทธ การแลก เปลี่ยนบุคลากร เครื่องมือ ระบบสารสนเทศ และสื่อทางวิชาการด้านสุขภาวะแบบองค์รวมเชิงพุทธ การส่งเสริมการศึกษา และการวิจัยด้านสุขภาวะแบบองค์รวมเชิงพุทธ และความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เป็นเครือข่ายของทั้งสอง มหาวิทยาลัย การวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการด้านงานวิจัยด้านสุขภาวะแบบองค์รวมเชิงพุทธ และ การจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ การเสนอผลงานวิจัย และบริการวิชาการสู่สังคมด้านสุขภาวะแบบองค์รวมเชิงพุทธ
30
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๒) สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีศึกษาดูงานที่สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี โดย ดร.พรศิริ กองนวล ผู้ อำ�นวยการ และคณะ จำ�นวน ๙ คน ได้เดินทางมาศึกษาดูงานที่สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วยด้าน การบริหารจัดการวิจัย การจัดสรรทุนอุดหนุนวิจัย การประกันคุณภาพการศึกษาและการสร้างเครือข่าย และได้หารือเพื่อ จัดประชุมวิชาการระดับชาติร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย
๒) สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีศึกษาดูงานที่สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี โดย ดร.พรศิริ กองนวล ผู้ อำ�นวยการ และคณะ จำ�นวน ๙ คน ได้เดินทางมาศึกษาดูงานที่สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วยด้าน การบริหารจัดการวิจัย การจัดสรรทุนอุดหนุนวิจัย การประกันคุณภาพการศึกษาและการสร้างเครือข่าย และได้หารือเพื่อ จัดประชุมวิชาการระดับชาติร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย
31
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๗. การประชุมคณะกรรมการและบุคลากร ประจำ�สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ กิจกรรมการวิจัยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ได้มีการการจัดประชุมคณะกรรมการประจำ�สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ อย่างต่อเนือ่ ง โดยในปี ๒๕๖๐ ได้มกี ารประชุมคณะกรรมการจำ�นวน ๔ ครัง้ และมีการประชุมบุคลากรประจำ�สถาบันวิจยั พุทธศาสตร์เพื่อติดตามผลการดำ�เนินการของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์จำ�นวน ๗ ครั้ง และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑) การประชุมคณะกรรมการประจำ�สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ คณะกรรมการประจำ�สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์มีหน้าที่ในการกำ�หนดกำ�หนดแผน ยุทธศาสตร์ และแนวทางการดำ�เนิน งานของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยดำ�เนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้มีการประชุมคณะกรรมการ จำ�นวน ๓ ครั้ง มีวาระ สำ�คัญ เช่น เรื่องประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ เรื่อง “การพัฒนาชนบทเพื่อขจัดความยากจนในเอเชีย” (Revitalizing Rural Development for Poverty Eradication in Asia) เรื่องการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยและนักวิจัยดีเด่น ประจำ�ปี ๒๕๖๐ เรื่องโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านการวิจัย เรื่องโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เรื่องการ จัดสัมมนาผลงานวิจัยนานาชาติ ครั้งที่ ๙ เรื่องโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข (สร้างสัปปายะสู่วัดด้วยวิถี ๕ ส) เรื่อง ประชุม วิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม(CSD สัมพันธ์) ระดับชาติครั้งที่ ๑๗ และนานาชาติ ครั้งที่ ๑ เรื่องโครงการอบรม พัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านการวิจัย เรื่อง การออกพื้นที่วิจัยสัญจรประจำ�ส่วนงาน เรื่องรางวัลนักวิจัยและผลงานวิจัย ดีเด่นประจำ�ปี ๒๕๖๑ เรื่อง การทำ�สัญญาให้ทุนอุดหนุนการวิจัยปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เรื่อง การจัดทำ�รายงานประจำ� ปีและดัชนีการวิจัย เรื่องรางวัลนักวิจัยและผลงานวิจัยดีเด่นประจำ�ปี ๒๕๖๑ เรื่องการจัดสัมมนาผลงานวิจัยนานาชาติ ครั้ง ที่ ๙ เรื่อง การจัดทำ�ระเบียบว่าด้วยผลงานวิชาการรับใช้สังคมของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ เรื่อง การให้ทุนวิจัยระดับบัณฑิต ศึกษา เรื่อง การประชุมชี้แจงแผนการดำ�เนินงานและแนวทางการติดตามงบประมาณบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรม ประจำ� ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เรื่อง การทำ�สัญญาให้ทุนอุดหนุนการวิจัยปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เรื่อง การจัดงานสัมมนาผล งานวิจัยนานาชาติ ครั้งที่ ๙ เรื่อง การพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยและนักวิจัยดีเด่น ประจำ�ปี ๒๕๖๐ เรื่อง การเข้าร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๐” (Thailand Research Expo 2017) 32
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๒) การประชุมบุคลากรสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ประจำ�เดือน สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์กำ�หนดประชุมบุคลากรเดือนละ ๑ ครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ มีการประชุมจำ�นวน ๗ ครั้ง มีวาระสำ�คัญ เช่น เรื่อง การตรวจประเมินการปฏิบัติงาน ส่วนงานสนับสนุน ปีการศึกษา ๒๕๖๐ เรื่องการจัดทำ�ระเบียบ และคู่มือจริยธรรมการวิจัยและจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัย เรื่อง โครงการเสริมสร้างสุขภาวะและเครือ ข่ายทางสังคมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพุทธบูรณาการ เรื่อง โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข(สร้างสัปปายะสู่วัดด้วยวิถี ๕ ส) เรื่อง การจัดทำ�รายงานประจำ�ปีและดัชนีการวิจัย เรื่อง การจัดทำ�ชุดความรู้จากการวิจัย เรื่อง การจัดทำ�ชุดความรู้ จากการวิจยั เรือ่ ง การรายงานสถานภาพโครงการวิจยั ในระบบบริหารจัดการงานวิจยั แห่งชาติ (NRMS) เรือ่ ง การจัดสรร ทุนอุดหนุนผลงานวิชาการรับใช้สงั คมของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ เรือ่ งติดตามผลการออกวารสาร Journal of International Buddhist Institute (JIBS) เรือ่ ง การจัดทำ�ระเบียบและคูม่ อื จริยธรรมการวิจยั และจริยธรรมการวิจยั ในมนุษย์ของ มหาวิทยาลัย เรื่อง ประชุมติดตามตรวจสอบและประเมินรายงานวิจัย เรื่อง การอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ“จิตอาสา คิลานธรรมเพื่อการตายดี” เรื่อง การพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยประจำ�ปีงบประมาณ ๒๕๖๑-๒๕๖๒ เรื่อง การอบรม เชิงปฏิบัติการ “นักจัดการงานวิจัย” เรื่อง การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุน เรื่อง การประชุม จัดทำ�แผนแม่บทการวิจัยของมหาวิทยาลัยและแผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔
33
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๘. ชุดความรู้จากงานวิจัย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ได้จัดทำ�ชุดความรู้จากงานวิจัย จำ�นวน ๓ ชุด ดังนี้ ๑. ผลงานวิจัยเด่นสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ๒๐ โครงการ ๒. การสร้างและพัฒนาตัวชีว้ ดั ความสุขของประชาชนตามหลักคำ�สอนของพระพุทธศาสนา ๓. Journal of International Buddhist Studies (JIBS) ฉบับที่ ๑ มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๐ และฉบับที่ ๒ กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๐ Journal of International Buddhist Studies
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ได้คัดเลือกผลงานวิจัยที่สมควร ได้รับการยกย่องให้เป็น ผลงานวิจัยเด่น ประจำ�ปีพ.ศ. ๒๕๖๐ จำ�นวน ๒๐ ผลงาน แบ่งตามการนำ�ผลงานวิจัยไป ใช้ประโยชน์ในด้าน ต่างๆ และได้ตีพิมพ์เป็นเล่มเผยแพร่ เป็นรูปแล่มและ บนเว็บไซต์ของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ www.bri.mcu.ac.th
34
ผลงานวิจัยเด่นสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ๒๐ โครงการ
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
๙. ผลการประกันคุณภาพการศึกษา สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ในฐานะส่วนงานสนับสนุนการศึกษา ได้รับการตรวจประกันคุณภาพ ประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๖๐ (๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐) เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ได้ รับผลประเมินคะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบ ๔.๑๔ อยู่ในระดับ ดี ผลการประเมินรายตัวบ่งชี้ องค์ประกอบ องค์ประกอบที่ ๑ ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๑ กระบวนการ พัฒนาแผน ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๒ การพัฒนา ส่วนงานสู่องค์กรแห่งการ เรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๓ สารสนเทศ เพื่อการบริหารและการ ตัดสินใจ ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๔ ระบบบริหาร ความเสี่ยง ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๕ ระบบและ กลไกการประกันคุณภาพ ภายใน ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๖ การส่งเสริม และพัฒนาบุคลากร คะแนนเฉลี่ยองค์ประกอบที่ ๑
เป้าหมาย ผลการประเมินรายตัวบ่งชี้ ผลการ คะแนนผลการ ตามองค์ประกอบคุณภาพ ดำ�เนินงาน ประเมิน
การบรรลุ
๖ ข้อ
๔
๓
ไม่บรรลุ
๔ ข้อ
๕
๕
บรรลุ
๔ ข้อ
๕
๕
บรรลุ
๕ ข้อ
๕
๔
บรรลุ
๔ ข้อ
๕
๕
บรรลุ
๕ ข้อ
๖
๕
บรรลุ
๔.๕
35
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ องค์ประกอบ
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐ เป้าหมาย ผลการประเมินรายตัวบ่งชี้ ผลการ คะแนนผลการ ตามองค์ประกอบคุณภาพ ดำ�เนินงาน ประเมิน
องค์ประกอบที่ ๒ ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑ ระบบและ ๕ ข้อ กลไกการบริหารและพัฒนา งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๒ เงินสนับสนุน ๔ คะแนน งานวิจัยที่จัดสรรให้อาจารย์ ประจำ�และนักวิจัย ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๓ ผลงานวิจัย ๔ คะแนน (((๑๐๔.๘x๑๐๐)/๑๐๕๒) ของอาจารย์ประจำ�และนัก x๕)/๘๐) วิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์หรือ เผยแพร่ ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๔ ประสิทธิผล ๔ ข้อ ของการดำ�เนินงานวิจัยของ มหาวิทยาลัย ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๕ การประชุม ๕ ข้อ คณะกรรมการประจำ� สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๖ ความพึง ๓.๕๑ ๑๗๐/๒.๐๒ พอใจของผู้รับบริการ คะแนนเฉลี่ยองค์ประกอบที่ ๒ รวมทุกองค์ประกอบ
๖
๕
บรรลุ
๕
๕
บรรลุ
๙.๙๖
๐.๖๒
บรรลุ
๒
๒
ไม่บรรลุ
๖
๕
บรรลุ
๘๓.๗๔
๕
บรรลุ
๓.๗๗ ๔.๑๔
องค์ประกอบที่ ๑ จุดที่ควรพัฒนา ๑) มีการกำ�กับติดตามแผนต่างๆ และมีการประเมินการใช้แผน ๒) การพัฒนาบุคลากรที่ต้องสอดคล้องกับภาระงาน มีการกำ�หนดภาระงานที่ชัดเจน ๓) แผนการจัดการความรู้ควรกำ�หนดประเด็นความรู้ที่ต้องการจัดการ ให้สามารถดำ�เนินการได้ สำ�เร็จในแต่ละปีงบประมาณ
36
การบรรลุ
การบรรลุ ๑๐/๑๒
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐
แนวทางเสริมจุดแข็งและปรับปรุงจุดที่ควรพัฒนา ๑) การกำ�กับติดตามการดำ�เนินการตามแผนให้บรรจุในวาระสืบเนื่องของการประชุมบุคลากร ๒) ภาระงานของส่วนงานที่มีเพิ่มมากขึ้นเมื่อต้องมีการพัฒนาบุคลากรแล้วก็ต้องมีแผนการเพิ่มบุคลากรในหน่วยงาน องค์ประกอบที่ ๒ จุดแข็ง ๑) สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ได้รับการอุดหนุนงบประมาณมีจำ�นวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ๒) มีการจัดสรรเงินสนับสนุนงานวิจัยแก่ส่วนงานของมหาวิทยาลัยได้อย่างทั่วถึง จุดที่ควรพัฒนา ๑) ควรมีเกณฑ์ในการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติที่มี มาตรฐาน TCI ฐาน ๒ ขึ้นไป ๒) ควรจัดทำ�แผนปฏิบัติการกำ�กับติดตามงานวิจัยให้เป็นไปตามกำ�หนดระยะเวลาในสัญญา แนวทางเสริมจุดแข็งและปรับปรุงจุดที่ควรพัฒนา ๑) มีระบบกลไกในการติดตามงานวิจัยให้เป็นไปตามกำ�หนดระยะเวลาในสัญญาเพิ่มเติม ๒) ควรจัดสรรเงินสนับสนุนงานวิจัยแก่ส่วนงานของมหาวิทยาลัยได้อย่างทั่วถึง จุดที่ควรพัฒนา ๑) ควรมีเกณฑ์ในการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติที่มีมาตรฐาน TCI ฐาน ๒ ขึ้นไป ๒) ควรจัดทำ�แผนปฏิบัติการกำ�กับติดตามงานวิจัยให้เป็นไปตามกำ�หนดระยะเวลาในสัญญา แนวทางเสริมจุดแข็งและปรับปรุงจุดที่ควรพัฒนา ๑) มีระบบกลไกในการติดตามงานวิจัยให้เป็นไปตามกำ�หนดระยะเวลาในสัญญาเพิ่มเติม
37
คณะจัดทำ�รายงานประจำ�ปี ๒๕๖๐ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระสุธีรัตนบัณฑิต,รศ.ดร.
นายธนันท์รัฐ ประเสริฐศิลป์
ผู้อำ�นวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
รองผู้อำ�นวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
พระมหาเสรีชน นริสฺสโร
นายสุธีทัศน์ สุโท
ผู้อำ�นวยการส่วนงานบริหาร
ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร
พระมหาเกรียงศักดิ์ อินทฺ ปญฺโญ,ดร.
นายเดชฤทธิ์ โอฐสู์
นักวิจัย
นักจัดการงานทั่วไป
นายวันเฉลิม แสงก๋า นักจัดการงานทั่วไป