SPU-Teaching and Learning Forum : Innovation and Teaching Techniques เทคนิค และนวัตกรรมการสอน 13 ธันวาคม 2556 ณ ห้อง Auditorium
จัดโดย ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
SPU-Teaching and Learning Forum
“เทคนิค และนวัตกรรมการสอน” INNOVATION AND TEACHING TECHNIQUES
13 ธันวาคม 2556 ณ ห้องออดิทอเรียล ชั้น 14 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Copyright ชื่อเรื่อง: เทคนิค และนวัตกรรมการสอน เจ้าของ: ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม © 2556 มหาวิทยาลัยศรีปทุม www.spu.ac.th
คานิยม จากรองอธิการบดี สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมทาให้นักศึกษาในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการ เรียนรู้ และรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ไปจากเดิมมาก อีกทั้ งความต้องการและความคาดหวังของสังคม และตลาดงานต่อ ความสามารถและทัก ษะของบั ณฑิ ตก็ เปลี่ย นไป การจั ดการเรี ยนการสอน แบบเดิมๆ จึงไม่เหมาะกับนักศึกษาในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งให้ความสาคัญอย่างมาก กับการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ได้จัดระบบสนับสนุนการจัดการเรี ยนการสอนอย่างมี คุณภาพขึ้นมาหลายส่วนด้วยกันหนึ่งในจานวนนั้นคือ การจัดตั้งศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียน การสอนขึ้น เพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ มีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการสอนใหม่ๆ และสามารถ พัฒนาการเรียนการสอนให้มีป ระสิทธิ ภาพมากยิ่งขึ้ นผ่า นการวิ จัยและการแลกเปลี่ ย นเรี ยนรู้ ร่วมกัน การจัดโครงการ “SPU-Teaching and Learning Forum” ในครั้งนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่เทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆจากการปฏิบัติจริงของ อาจารย์ต้นแบบที่ทุ่มเทพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์สูงสุดกับนักศึกษา ในการนี้ ต้อง ขอขอบคุณทีมงานผู้จัดโครงการนี้ และทีมอาจารย์ต้นแบบที่สละเวลาอันมีค่ามาถ่ายทอดและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพร่วมกัน หวังว่ากิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้มีส่วนร่วมโครงการทุกท่านครับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คานา มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีวิสัยทัศน์ว่า “เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนา แหล่งสร้างมืออาชีพ มีความโดดเด่นด้านวิชาการ เทคโนโลยี และความรับผิดชอบต่อสังคม” จึงได้มีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาคณาจารย์ ซึ่งเป็นเสาหลักของการจัดการศึกษา และพัฒนานักศึกษา ให้เป็น บัณฑิตที่สมบูรณ์ เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม และความรู้ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยศรีปทุมมีอาจารย์ ที่มีความโดดเด่น ในเทคนิค และการสร้างนวัตกรรมการสอนให้เป็นที่ประจักษ์ อีกทั้ง ส่งเสริม พัฒนานักศึกษาให้มีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน จึงได้จัดโครงการ SPU-Teaching and Learning Forum ขึ้น เพื่อรวบรวม แนวคิด เทคนิค วิธีการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ จานวน 5 เรื่อ ง ได้แก่ ประสบการณ์การจัด การเรีย นการสอนรายวิ ชาที่เน้ นการคานวณทาง วิศวกรรม การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การจัดการเรียนรู้ด้วยการให้บริการ (Service Learning) ในรายวิชาศึกษาทั่วไป เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษอย่างไรให้ชนะอุปสรรค และ อาจารย์ 360 องศา (360OInstructor)” ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการสอนสาหรับอาจารย์ ใน ระดับอุดมศึกษา ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
สารบัญ เรื่อง ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนรายวิชาที่เน้นการคานวณทางวิศวกรรม โดย รศ.ดร.กีรติ ชยะกุลคีรี การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ กรณีศึกษา: วิชาสัมมนาอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว โดย: อาจารย์สุจินต์ สุขะพงษ์ การจัดการเรียนรู้ด้วยการให้บริการ (Service Learning) ในรายวิชาศึกษา ทั่วไป: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติภมู ิ มีประดิษฐ์ เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษอย่างไรให้ชนะอุปสรรค โดย: ดร.ถาวร ทิศทองคา อาจารย์ 360 องศา (360OInstructor)” โดย: อาจารย์รัฐสภา แก่นแก้ว
หน้า 1 6 11
22 30
เรื่องที่ 1 ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนรายวิชาที่เน้นการคานวณ ทางวิศวกรรม รศ.ดร.กีรติ ชยะกุลคีรี สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม Keerati.ch@spu.ac.th 1. บทนา การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาทางด้านวิศวกรรมที่เน้นการวิเคราะห์ทางการคานวณ มีแนวทางที่ต้องเสริมสร้างให้แก่นักศึกษาหลายปัจจัย เป็นต้นว่า การสร้างแรงบันดาลใจและความ เชื่อมั่นให้แก่นักศึกษา และการสร้างความเข้าใจในวิธีการ รวมทั้งให้นักศึกษาได้มีทักษะในการ คานวณ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังได้มีเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์คานวณทางวิศวกรรมที่เป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทางานที่นักศึกษามีโอกาสที่จะต้องใช้ในการทางานเมื่อจบการศึกษา อีกด้วย การจัดการเรียนการสอนจึงต้องใช้เครื่องมือในการสอนและพัฒนาสื่อการสอนเฉพาะเพื่อ เป็นแนวทางในการพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นต่อไป 2. แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน จากประสบการณ์สอนของผู้เขียนในรายวิชา EEG456 การปูองกันระบบไฟฟูากาลังและ รีเลย์ มาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี จึงได้มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการการใช้ ELearning และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ประกอบด้วย weblog และ Facebook มาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะช่วยทาให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถ เรียนรู้ล่วงหน้าก่อนมาเรียนและสามารถเรียนรู้ทบทวนหลังจากเรียนแล้วได้ นอกจากนี้ยังได้ พัฒนาสื่อการสอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อให้นักศึกษาได้มี ความคุ้นเคยกับโปรแกรมที่มีโอกาสต้องใช้งานเมื่อสาเร็จการศึกษาออกไป โดยแนวคิดในการ จัดการเรียนการสอนสามารถแสดงได้ดังภาพที่ 1
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 1
ภาพที่ 1. แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนรายวิชา EEG456 การปูองกันระบบไฟฟูากาลังและ รีเลย์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟูา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 3. ผลลัพธ์จากการทาวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน จากการทาวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนจานวน 2 เรื่อง คือ 1. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชา EEG456 การปูองกันระบบ ไฟฟูากาลังและรีเลย์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟูา คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2. การศึกษาผลการเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาผ่านระบบ E-Learning ใน รายวิชา EEG456 การปูองกันระบบไฟฟูากาลังและรีเลย์ โดยผลการวิ จัย ได้ ทาให้ ทราบถึ ง สภาพและปั ญ หาในการจั ด การเรี ย นการสอนและได้ นามาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชา EEG456 การปูองกันระบบไฟฟูา กาลังและรีเลย์ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้นามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ด้วยระบบออนไลน์และพัฒนาสื่อการเรียนการสอนรายวิชา EEG456 การปูองกันระบบไฟฟูากาลัง และรีเลย์ ผ่านระบบออนไลน์ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น แนวทางที่ ส าคั ญ ในการพั ฒ นาการเรี ย นการสอนในรายวิ ช านี้ คื อ การปรั บ ปรุ ง ความ เชื่อมโยงของเนื้อหาในระบบ e-Learning และ Weblog ให้สอดคล้องกันและพัฒนาให้มีความ สะดวกในการใช้งานมากขึ้น นอกจากนี้ควรหาเทคนิกในการพัฒนาคุณภาพของภาพและเสียงใน การบันทึกและส่งเข้าในระบบ e-Learning หรือ Weblog ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 2
4. ผลงานพัฒนาสื่อการเรียนการสอน จากประสบการณ์การสอนในรายวิชาที่เน้นการคานวณนั้น ผู้เขียนได้พบว่าสิ่งที่สาคัญคือ การบรรยายอธิบายในห้องเรียน และหากสามารถนาเทคโนโลยีสื่อสารสนเทศมาช่วยในการจัดการ เรียนการสอนจะทาให้ผลการเรียนรู้ของนักศึกษามีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นได้ โดยในภาพที่ 2. เป็น ตัวอย่างการใช้ Weblog ในการเผยแพร่วีดีทัศน์บันทึกการสอนที่จะทาให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ บทเรียนล่วงหน้าได้และยังสามารถทบทวนบทเรียนนอกห้องเรียนได้ตามความสนใจได้ ภาพที่ 3. เป็นตัวอย่างการใช้ Facebook ซึ่งเป็นการจัดทาในลักษณะ Fanpage ที่ สามารถช่วยเป็นช่องทางในการสื่อสารกับผู้เรียนได้ในอีกทางหนึ่ง ทาให้สามารถประกาศกิจกรรม ต่าง ๆ เกี่ยวกับรายวิชาได้และยังสามารถบรรจุวิดีทัศน์สาธิตการสอนได้เช่นกัน ภารที่ 4. แสดงระบบ E-Learning ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการ สอนออนไลน์ที่ส มบูรณ์แ บบ โดยนักศึก ษาสามารถเข้า ถึงสื่อการสอนหลายรู ปแบบเป็นต้นว่ า Power Point, ไฟล์แบบ pdf, Web Link, หรือวีดีทัศน์บันทึกการสอน และยังสามารถติดตาม การสั่งงานและผลการส่งงานได้
ภาพที่ 2. การใช้ Weblog ช่วยในการจัดการเรียนการสอน
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 3
ภาพที่ 3. การใช้ Facebook ช่วยในการจัดการเรียนการสอน
ภาพที่ 4. ระบบ E-Learning ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม การพัฒนาสื่อการสอนเสริมในด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยคานวณทางวิศวกรรม ได้จัดทาในลักษณะวีดีทัศน์สาธิตการสอนซึ่งผู้เรียนจะสามารถดูวีดีทัศน์พร้อมกับการทดลองทา SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 4
ตามจริงในขณะเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิผลและลดระยะเวลาลงได้มาก ดังแสดง ในรูปที่ 5
ภาพที่ 5 ตัวอย่างการพัฒนาสื่อการสอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม 5. สรุป การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาทางด้านวิศวกรรมที่เน้นการวิเคราะห์ทางการคานวณ นั้นสามารถนาเทคโนโลยีทางสื่อสารสนเทศมาช่ว ยในการจัดการเรียนการสอนมาช่ว ยให้การ จัดการเรียนการสอนทาได้อย่างมีประสิทธิผลมกาขึ้นได้ โดยสามารถเสริมสร้างความเข้าใจให้แก่ นักศึกษาสามารถเรียนรู้ล่วงหน้าและทบทวนบทเรียนได้ ช่วยให้เกิดความเข้าใจในวิธีการคานวณ และทาให้เกิดทักษะในการคานวณได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้สื่อการสอนเสริมวิธีการใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทางานทางวิศวกรรมมาช่วยให้นักศึกษาได้เกิดความเข้าใจพื้นฐานใน การใช้โปรแกรมและยังทาให้เกิดความเข้าใจในวิธีการคานวณที่ชัดเจนขึ้น
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 5
เรื่องที่ 2 การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ กรณีศึกษา: วิชาสัมมนา อุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว อาจารย์สุจินต์ สุขะพงษ์ หัวหน้าสาขาการจัดการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม Sujin.su@spu.ac.th บทนา: วิชาสัมมนาอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว (HTM414) เป็นวิชาในหมวด วิชาชีพบังคับ โดยใช้วิธีการเรียนการสอนทั้ งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ เพื่อรองรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ (80 คน/ห้อง) เป็นวิชาโครงงานในปีสุดท้าย เน้นการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Learning) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้ประมวลความรู้ในภาคทฤษฏีตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดย มุ่งเน้นการทางานเป็นทีม การประสานงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร การหาและสืบค้นข้อมูล ให้ได้มาซึ่งความน่าเชื่อถือ
การจัดการเรียนการสอบแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างคณะศิลปศาสตร์และ คณะสถาบัตยกรรมศาสตร์ ข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วน ามาประมวลผลและถู ก น าเสนออกมาในรู ป แบบที่ เป็ น รู ป ธรรมใน 3 ลักษณะ ประกอบไปด้วย 1)โครงงาน (Project) 2) การจัดสัมนา (Seminar) ที่เน้นในเรื่องการ นาเสนอ และนิทรรศการที่มีชีวิต (Live Exhibition) และ3) รูปเล่มวิทยานิพนธ์ (ฉบับย่อ) เพื่อ นาเสนอแก่ พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ครู -อาจารย์ และ สถานประกอบการจากภายนอก เป็นการให้ นักศึกษาได้แสดงศักยภาพของตนต่อสาธารณชน ก่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้ราเรียนมา SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 6
ความภาคภูมิใจในสายอาชีพ เห็นภาพของอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน และเตรียมความพร้อม ก่อนที่จะออกฝึกสหกิจศึกษาในสถานประกอบการจริงในเทอมถัดไป แนวคิดการจัดการเรียนการสอน: จุดเริ่มต้นของแนวคิดเกิดจากการนั่งมอง “เครื่องคอมพิวเตอร์” ที่ใช้อยู่เป็นประจาทาให้ เห็นว่า “เครื่องคอมพิวเตอร์” นั้นคือ “Hardware” มันจะไม่สามารถทางานได้เลยหากปราศจาก “โปรแกรม” หรือ “Software” กล่าวคือ หากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีโปรแกรมปฏิบัติการ ก็ไม่ สามารถทางานได้ สภาพคงไม่ต่างจากอาคารสวยงามขนาดใหญ่โต ที่ไร้พนักงานในการบริหาร จัดการและให้บริการ ก็คงเป็นได้แค่อาคารร้างที่ไร้ผู้คน หาใช่โรงแรมไม่
แนวคิดการจัดการเรียนการสอบแบบบูรณาการ ในรายวิชาสัมมนาอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว (HTM414) จากแนวคิดดังกล่าวประกอบกับการได้ร่วมพูดคุยกับอาจารย์ในคณะสถาปั ตยกรรมศาสตร์ ทาให้ได้ทราบว่า นักศึกษาในปีกสุดท้ายของคณะฯ จะต้องทาโครงงานด้านสถาปัตยกรรมส่ง โดย นักศึกษาต้องหาข้อมูลและออกแบบโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่เป็นเป็นโครงงานก่อนสาเร็จ การศึกษา ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่ 80% เลือกที่จะออกแบบโรงแรมและรีสอร์ท ซึ่งเป็นโรงแรม ต้นแบบ เปรียบเสมือน “Hardware” .ให้กับนักศึกษาด้านการจัดการโรงแรม ในการจัดทีมงาน เพื่อเข้าไปบริหารจัดการโรงแรมดังกล่าวให้เกิดมีชีวิตขึ้นมาได้
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 7
การจัดการเรียนการสอนในแนวทางแบบบูรณาการ: จากข้ อ มู ล เบื้ อ งต้ น ดั ง กล่ าวท าให้ ผู้ ส อนได้ จั ด แบ่ ง กลุ่ ม นั ก ศึ ก ษา 1 ชั้ น เรี ย น (80 คน) ออกเป็นกลุ่มย่อยจานวน 8 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน และกาหนดให้เป็นทีมงานหลักที่สาคัญในการ เข้าไปบริหารจัดการโรงแรมต้นแบบดังกล่าว อันประกอบไปด้วย 1) ทีมบริหารจัดการ ทาหน้าที่ เป็ น ตั ว กลางหลั ก ในการประสานงานทั้ ง ภายในภายนอกของโครงงาน 2) ที ม การตลาดและ ประชาสัมพันธ์ ทาหน้าที่ในการวางแผนการตลาดและการประชาสัมพันธ์ของโรงแรม 3) ทีม บริการส่วนหน้า ทาหน้าที่ในการวางโครงสร้างของแผนก กาหนดรูปแบบการให้บริการหลักและ บริก ารเสริม ในส่ วนของตน 4) ทีมแม่บ้า น ทาหน้าที่ ในการวางแผนโครงสร้ างหลักของแผนก กาหนดประเภทของห้องพักและการให้บริการด้านสิ่งอานวยความสะดวก (Facilities) และ เครื่อง อุปโภค (Amenities) ในห้องพัก
การจัดแบ่งทีมงานเพื่อเข้าไปบริหารจัดการโรงแรมต้นแบบและหน้าที่รับผิดชอบในวันจัดงาน 5) ทีมอาหารและเครื่องดื่ม ทาหน้าที่ในการกาหนดโครงสร้างของแผนกในการให้บริการ ด้านอาหารและเครื่องดื่ มในโรงแรม 6) ทีมบริการเสริม ทาหน้าที่กาหนดโครงสร้างและจัดสรร บริการเพื่อความสะดวกอื่นๆ แก่แขกผู้เข้าพัก 7) ทีมจัดประชุมและนิทรรศการ ทาหน้าที่ในการ จัด การประชุ ม และนิ ทรรศการในวั น จริ ง และ 8) ที มจั ด เลี้ ยง ทาหน้ า ที่ใ นการจั ดอาหารและ เครื่องดื่มรวมถึงการบริการภายในงาน โดยทีมที่ 1-6 จะต้องทาการนาเสนอผ่าน PowerPoint ใน ห้องประชุมและส่วนดาเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในบู๊ธนิทรรศการของตน ส่วนทีมที่ 7 และ 8 จะ รับผิดชอบดูแลการให้บริการและอานวยความสะดวกภายในวันงาน
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 8
การวัดผล-ประเมินผล: เนื่องจากวิชาดังกล่าวเป็นโครงงานจบ จึงไม่มีการวัดผลโดยการสอบทั้งกลางภาคและ ปลายภาค ในการวัดผลนั้นจึงได้ทาการประเมินโดยการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่1) เป็น การประเมินจากผลงานในช่วงระยะเวลาที่เรียน แบ่งเป็นในช่วงเตรียมงาน 20 คะแนน และใน ส่วนของการสรุปโครงงานและรูปเล่มรายงาน 20 คะแนน และมีคะแนนจิตพิสั ยในคณะที่ทางาน อีก 10 คะแนน รวม 50 คะแนน โดยการประเมินผลงานจากผู้สอนเป็นหลัก
เกณฑ์การวัดผล-ประเมินผลการเรียนการสอน ในส่วนที่2) เป็นการประเมินผลในช่วงวันงานจานวน 50 คะแนน แบ่งเป็นคะแนนจากแขก ผู้มาร่วมงาน (พ่อ -แม่ ผู้ ปกครอง คณาจารย์ และองค์ กรภายนอก) 20 คะแนน และจากการ ประเมินตนเองและจากสมาชิกภายในกลุ่มอีก 20 คะแนน โดยผู้สอนมีหน้าที่ประเมินในภาพรวม ของงานเพียง 10 คะแนน เท่านั้น ทาให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและสามารถวัดผลได้จริงเป็น ตัวเลข โดยมิต้องทาการสอบตามเกณฑ์แต่อย่างใด ผลการดาเนินงาน:
ผลการเรียนการสอนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนย้อนหลัง 5 ปี
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 9
จากประสบการณ์การสอนในรายวิชาดั งกล่าว อย่างต่อเนื่องมาตั้ งแต่ในปีก ารศึกษาที่ 2551 ถึง ปัจจุบัน (หลักสูตรปรับปรุง 2551) พบไว้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริหาร คณาจารย์ พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง และหน่วยงานองค์การภายนอกผู้มาร่วมงาน และผลการประเมิน นักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชาดังกล่าวอยู่ในระดับดีมาก ในตลอด 5 ปี ที่ผ่านมา
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 10
เรื่องที่ 3 การจัดการเรียนรู้ด้วยการให้บริการ (Service Learning) ในรายวิชาศึกษาทั่วไป: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติภูมิ มีประดิษฐ์ ผู้อานวยการสานักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีปทุม ประธานคณะอนุกรรมการดาเนินกิจกรรมการสร้างรายวิชาและ การจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษา เครือข่ายบัณฑิตอุดมคติ เขตภาคกลาง Kittipoon.me@spu.ac.th กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ หมายถึง การจัดการศึกษาที่ถือว่าผู้เรียน สาคัญที่สุด เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ต้องเน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ ได้ด้วยตนเอง หรือรวมทั้งมีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทางาน มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียน กับสัง คมและการประยุ กต์ใช้ มี การจัดกิ จกรรมและกระบวนการให้ ผู้เรี ยนได้คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ นอกจากนี้ ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม ธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยสะท้อนจากการที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชา หรือ เลือกทาโครงงานหรือชิ้นงานในหัวข้อที่สนใจในขอบเขตเนื้อหาของวิชานั้นๆ การพัฒนาทักษะผ่านรายวิชา HUM 120 ทักษะการเรียนรู้สู่ความเป็นบัณฑิตในอุดม คติโดยใช้การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมภายในและภายนอกห้องเรียน (Activity Base Learning ) วิชา HUM 120 ทักษะการเรียนรู้สู่ความเป็นบัณฑิตในอุดมคติ เป็นรายวิชาศึกษาทั่วไปที่ นักศึกษาทุกคนต้องเรียนภายใต้กรอบ 1. การสอนที่เน้นการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เกิดแก่ผู้เรียนจากประสบการณ์ จริง 2. การเรียนรู้เกิดจากการร่วมกันออกแบบการจัดกิจกรรมระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน 3. พั ฒ นานั ก ศึ ก ษาให้ บ รรลุ ป ณิ ธ านของมหาวิ ทยาลั ย ศรี ป ทุ ม คื อ ปั ญ ญา เชี่ ย วชาญ เบิกบาน คุณธรรม 4. คุณค่าของความเป็นมนุษย์ต้องถูกเติมเต็มโดยสมบูรณ์
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 11
การจัดกิจกรรมตลอด 10 สัปดาห์ สามารถแสดงได้ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 เปิดโลกทางปัญญาผ่านการทัศนศึกษานอกมหาวิทยาลัย กิจกรรมที่ 2 ละลายพฤติกรรมเพื่อความสาเร็จของการทางานเป็นทีม กิจกรรมที่ 3 ทานา ปลูกข้าว เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมที่ 4 เปิดโลกกิจกรรม รวมใจนักศึกษาไทย ร่วมใจสู่ประชาคมอาเซียน กิจกรรมที่ 5 สวดมนต์ บาเพ็ญวิปัสนาสมาธิ เพื่อชีวิตที่เป็นสุข กิจกรรมที่ 6 MIND MAP การวางแผนชีวิต ลดความเสี่ยง เลี่ยงการเสียเวลา กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมจิตอาสาและการบาเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม กิจกรรมที่ 8 สอบธรรมศึกษาพัฒนาคุณภาพชีวิต กิจกรรมที่ 9 เรียนรู้ดูงานพิพิธภัณฑ์ สร้างสรรค์ คุณค่าทางปัญญา กิจกรรมที่ 10 พี่ช่วยน้อง ส่งเสริมการเรียนรู้แบบจิตอาสาเพื่อพัฒนาวิชาการ
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 12
กิจกรรมที่ 1 เปิดโลกทางปัญญาผ่านการทัศนศึกษานอกมหาวิทยาลัย เป็นการเรียนรู้ที่บูรณาการการเรียนการสอนแบบสรรคนิยม (Constructivism) การ เรียนรู้แบบนี้มีความเชื่อพื้นฐานว่า “ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้โดยการอาศัยประสบการณ์แห่งชีวิต ที่ได้รับเพื่อค้นหาความจริง โดยมีรากฐานจากทฤษฎีจิตวิทยาและปรัชญาการศึกษาที่หลากหลาย ซึ่งนักทฤษฎีสรรคนิยมได้ประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยาและปรัชญาการศึกษาดังกล่าวในรูปแบบและ มุมมองใหม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1 กลุ่มที่เน้นกระบวนการรู้คิดในตั วบุคคล (radical constructivism or personal Constructivism or cognitive oriented constructivist theories) เป็นกลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ ของมนุษย์เป็นรายบุคคล โดยมีความเชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนรู้วิธีเรียนและรู้วิธีคิดเพื่อสร้างองค์ ความรู้ด้วยตนเอง
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 13
2 กลุ่มที่เน้นการสร้างความรู้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social constructivism or socially oriented constructivist theories) เป็นกลุ่มที่เน้นว่า ความรู้ คือ ผลผลิตทางสังคม โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นสองประการ คือ 1) ความรู้ต้องสัมพันธ์กับชุมชน 2) ปัจจัยทางวัฒนธรรมสังคมและประวัติศาสตร์มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ครูจึงมีบทบาท เป็นผู้อานวยความสะดวกในการเรียนรู้
กิจกรรมที่ 2 ละลายพฤติกรรมเพื่อความสาเร็จของการทางานเป็นทีม
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 14
กิจกรรมที่ 3 ทานา ปลูกข้าว เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นการประยุกต์การเรียนรู้จากการสอนแบบเอส ไอ พี การสอนแบบเอส ไอ พี เป็น รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นเพื่อฝึกทักษะทางการสอนให้กับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา สาขาวิชา การศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถเกี่ยวกับทักษะการสอน โดยผลที่เกิดกับผู้เรียน มีผลทางตรง คือ การมีทักษะการสอน การมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะทางการสอนและ ผลทางอ้อม คือ การสร้างความรู้ด้วยตนเอง ความร่วมมือในการเรียนรู้และความพึงพอใจในการ เรียนรู้วิธีการที่ใช้ในการสอน คือ การทดลองฝึกปฏิบัติจริงอย่างเข้มข้น ต่อเนื่อง และเป็นระบบ โดยการสอนแบบจุลภาค มีที่ให้ผู้เรียนทุกคนมีบทบาทในการฝึกทดลองตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการ ฝึกขั้นตอนการสอน คือ ขั้นความรู้ความเข้าใจ ขั้นสารวจ วิเคราะห์และออกแบบการฝึกทักษะขั้น ฝึกทักษะ ขั้นประเมินผล โครงสร้างทางสังคมของรูปแบบการสอนอยู่ในระดับปานกลางถึงต่าใน ขณะที่ผู้เรียนฝึกทดลองทักษะการสอนนั้น ผู้สอนต้องให้การช่วยเหลือสนับสนุนอย่างใกล้ชิดสิ่งที่ จะทาให้การฝึกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือ ความพร้อมของระบบสนับสนุน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการสอน ห้องสื่อเอกสารหลักสูตรและการสอน และเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ ต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 15
กิจกรรมที่ 4 เปิดโลกกิจกรรม รวมใจนักศึกษาไทย ร่วมใจสู่ประชาคมอาเซียน
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 16
กิจกรรมที่ 5 สวดมนต์ บาเพ็ญวิปัสนาสมาธิ เพื่อชีวิตที่เป็นสุข
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 17
กิจกรรมที่ 6 MIND MAP การวางแผนชีวิต ลดความเสี่ยง เลี่ยงการเสียเวลา เป็นการจัดการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (individual study) เนื่องจากผู้เรียนแต่ละบุคคลมี ความสามารถในการเรียนรู้ และความสนใจในการเรียนรู้ที่ แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจาเป็นที่จะต้องมีเทคนิคหลายวิธี เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนในกลุ่ม ใหญ่สามารถตอบสนองผู้เรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันได้ด้วย อาทิ 1 เทคนิคการใช้ Concept Mapping ที่มีหลักการใช้ตรวจสอบความคิดของผู้เรียนว่าคิด อะไร เข้าใจสิ่งที่เรียนอย่างไรแล้วแสดงออกมาเป็นกราฟฟิก 2 เทคนิค Learning Contracts คือ สัญญาที่ผู้เรียนกับผู้สอนร่วมกันกาหนด เพื่อใช้เป็น หลักยึดในการเรียนว่าจะเรียนอะไร อย่างไร เวลาใด ใช้เกณฑ์อะไรประเมิน 3 เทคนิค Know –Want-Learned ใช้เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ผสมผสานกับ การใช้Mapping ความรู้เดิม เทคนิคการรายงานหน้าชั้นที่ให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมา นาเสนอหน้าชั้นซึ่งอาจมีกิจกรรมทดสอบผู้ฟังด้วย 4 เทคนิคกระบวนการกลุ่ม (Group Process) เป็นการเรียนที่ทาให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกัน แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเปูาหมายเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาให้สาเร็จ ตามวัตถุประสงค์
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 18
กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมจิตอาสาและการบาเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยผู้เรียนจะช่วยกันออกแบบกิจกรรมการเรี ยนรู้เองว่าจะทาอะไร แล้วนาผลที่ได้มา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดเป็นการเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem-based Learning: PBL) เป็น รูปแบบการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนคิดและดาเนินการเรียนรู้ กาหนดวัตถุประสงค์ และเลือกแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนเป็นผู้ให้คาแนะนา เป็นการ ส่งเสริมให้เกิดการแก้ปัญหามากกว่าการจาเนื้อหาข้อเท็จจริง เป็นการส่งเสริมการทางานเป็นกลุ่ม และพัฒนาทักษะทางสังคม
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 19
วิธีการเรียนรู้เริ่มจากการทาความเข้าใจกับผู้เรียนให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ตามแนวนี้ จากนั้นทาความเข้าใจในเนื้อหาและประเด็นหลัก ๆ ของรายวิชา มอบหมายให้ผู้เรียน ไปศึกษาวิเคราะห์เอกสาร แนวคิดตามประเด็นที่กาหนด แล้วให้ผู้เรียนพัฒนาแนวคิดในประเด็น ต่าง ๆ แยกทีละประเด็น โดยให้ผู้เรียนเขียนประเด็นเหล่านั้นเป็นผลงานในลักษณะที่เป็นแนวคิด ของตนเองที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์เจาะลึกจนตกผลึกทางความคิดเป็นของตนเอง จากนั้นจึง นาเสนอให้กลุ่มเพื่อนได้ช่วยวิเคราะห์ วิจารณ์อีกครั้ง เงื่อนไขที่ทาให้เกิดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ความรู้เดิมของผู้เรียน ทาให้เกิดความเข้าใจ ข้อมูลใหม่ได้ การจัดสถานการณ์ที่เหมือนจริง ส่งเสริมการแสดงออกและการนาไปใช้อย่างมี ประสิทธิภาพ การให้โอกาสผู้เรียนได้ไตร่ตรองข้อมูลอย่างลึกซึ้ง ทาให้ผู้เรียนตอบคาถาม จด บันทึกสอนเพื่อน สรุป วิพากษ์วิจารณ์สมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ได้ดี
กิจกรรมที่ 8 สอบธรรมศึกษาพัฒนาคุณภาพชีวิต
กิจกรรมที่ 9 เรียนรู้ดูงานพิพิธภัณฑ์ สร้างสรรค์ คุณค่าทางปัญญา
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 20
เป็นการเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Study) การเรียนรู้แบบนี้เป็นการ ให้ผู้เรียนศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การจัดการเรียนการสอนแบบสืบค้น (Inquiry Instruction) การเรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning) การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem Solving) การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) ซึ่งการเรียนการสอนแบบ แสวงหาความรู้ด้วยตนเองนี้ใช้ในการเรียนรู้ทั้งที่เป็นรายบุคคล และกระบวนการกลุ่ม
กิจกรรมที่ 10 พี่ช่วยน้อง ส่งเสริมการเรียนรู้แบบจิตอาสาเพื่อพัฒนาวิชาการ บทสรุป กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ : กรณีการใช้ Activity Base Learning ใน รายวิชาของสานักวิชาศึกษาทั่วไป เสมือนการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-Based Approach) ซึ่งการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ สร้างสรรค์ความรู้ความคิดด้วยตนเองด้วยการรวบรวม ทาความเข้าใจ สรุป วิเคราะห์ และ สังเคราะห์จากการศึกษาด้วยตนเอง ……………………………………………………………………………………
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 21
เรื่องที่ 4 เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษอย่างไรให้ชนะอุปสรรค ดร. ถาวร ทิศทองคา อาจารย์ประจาสาขาวิชาภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม thavorn.th@spu.ac.th วิธีการสอนของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ การสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นสิ่งยาก แต่สิ่งที่นาเสนอต่อไปนี้อาจเป็น แนวทางหนึ่งที่ควรนามาพิจารณาตามทรรศนะของผู้เขียนเอง ในฐานะที่เป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษ กล่าวคือ จะต้องมีวิธีการที่หลักแหลม (SHARP MODE) ซึ่งวิธีการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการร่วมมือ (Sharing) การช่วยเหลือ (Helping) การยอมรับ (Accepting) การฟื้นความรู้ใหม่ (Refreshing) การสรรเสริญ (Praising) การเป็นแบบอย่าง (Modeling) การจัดการ (Organizing) การอุทิศตน (Devoting) และ การประเมินผล (Evaluating) ดังปรากฏในแผนภูมิที่ 1 การร่วมมือ (Sharing) การช่วยเหลือ (Helping) การยอมรับ (Accepting) สอนภาษาอังกฤษอย่างไร ให้ ชนะ อุปสรรค (How to Overcome
Obstacles in Teaching English)
การฟื น้ ความรู้ ใหม่ (Refreshing) การสรรเสริญ (Praising) การเป็ นแบบอย่าง (Modeling) การจัดการ (Organizing) การอุทศิ ตน (Devoting) การประเมินผล (Evaluating) ผลสั มฤทธิ์ทางการสอน (Teaching Effectiveness)
แผนภูมิที่ 1 แสดงวิธีการสอนที่หลักแหลม (SHARP MODE) ให้ชนะอุปสรรคในการสอน ภาษาอังกฤษ
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 22
1. การร่วมมือ (Sharing) ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจะต้องเต็มใจที่จะร่วมมือกับผู้เรียน หาก ท่านประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดการเรี ยนรู้ สิ่งที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ไม่ได้มีเฉพาะจากตัวของผู้สอนเอง ผู้เรียนจะเรียนรู้จากบุคคลอื่นๆในสังคมซึ่งอาจมอบหมายงานให้ผู้เรียนไปสัมภาษณ์ชาวต่างชาติ สรุปประเด็นนาเสนอโดยการพูดในชั้นเรียน และเขียนรายงานส่ง อีกทั้งอาจจะจัดโครงการหรือ กิจกรรมให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วม เรียนรู้กระบวนการการทางาน ซึ่งผู้เรียนจะได้มีโอกาสเรียนรู้จาก กิจกรรมหรืองานดังกล่าวและการเรียนรู้จากผู้เรียนคนอื่นๆ เช่น กิจกรรม Jigsaw กิจกรรมการ ประกวดร้องเพลงภาษาอังกฤษและการเต้นประกอบ กิจกรรมการเล่านิทานภาษาอังกฤษ กิจกรรม การแสดงบทบาทสมมุติ และกิ จกรรมการค้นคว้าวิจัย เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมในลักษณะดังกล่าว ผู้เรียนจะทากิจกรรมกันเป็นกลุ่มๆ ผู้เรียนมีโอกาสกาหนดทิศทางของกิจกรรมโดยความร่วมมือ ของสมาชิกในกลุ่ม มีโอกาสเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีด้วยตนเอง สมาชิกของกลุ่มซึ่งอาจ มีความสามารถแตกต่างกันสามารถเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อันจะนาไปสู่การเรรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ มากขึ้น 2. การช่วยเหลือ (Helping) ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจะต้องช่วยเหลือผู้เรียนในเรื่องต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามสมควร ยกตัวอย่างเช่น หากผู้เรียนบางคน บางกลุ่มไม่เข้าใจงานที่ มอบหมายให้ทา ครูผู้สอนอาจจะต้องมีการช่วยเหลือให้คาแนะนา สาธิต ยกตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อ ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การช่วยเหลือผู้เรียนอาจจะต้องรวมไปถึงการ ประเมินผลการเรียนรู้ด้วย ดังที่กล่าว แล้วว่า ผู้เรียนแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้น จึง เป็นสิ่งสาคัญอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนอาจจะต้องพิจารณาจากการพัฒนาการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ไม่ใช่ประเมินโดยการเปรียบเทียบผู้ที่เรียนอ่อนกับผู้ที่เรียนเก่งเท่านั้น การช่วยเหลือให้ผู้เรียนมี ระดับผลการเรียนในระดับผ่านช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้สิ่งอื่นๆ ต่อไป ในประเด็ นนี้ ครูผู้สอน อาจจะต้องถามตนเองว่า หากไม่ช่วยเหลือให้ผู้เรียนผ่านการประเมินผลได้ในระดับต้นๆ แล้ว ใน กรณีที่ผู้เรียนมีความตั้งใจจริง ร่วมทากิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ อย่างเต็มที่ แต่ผลการประเมินยัง ไม่ผ่าน ไม่เป็นที่น่าพอใจ หากผู้เรียนทากิจกรรมเดิมซ้าอีก กิจกรรมหรือวิธีการเรียนรู้ที่ใช้กับ ผู้เรียนดังกล่าวช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถได้มากน้อยแค่ไหน เพียงใด 3. การยอมรับ (Accepting) ครูผู้สอนภาษาอังกฤษต้องยอมรับว่าหากผู้เรียนมีทักษะ มี ความรู้ มีความสามารถหรือเก่งแล้ว คงไม่มีความจาเป็นต้องมาเป็น ผู้เรียนอีก การที่ผู้เรียนมานั่ง เรียนอยู่กับท่าน แสดงว่าผู้เรียนต้องการพัฒนาทักษะการใช้ภาษา ต้องการมีความรู้เพิ่มเติมให้กับ ตนเอง กล่าวคือ สิ่งที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาคือ ต้องยอมรับระดับ ความสามารถและเข้าใจผู้เรียน ต้องเข้าใจว่าการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษของผู้เรียนในประเทศที่ใช้ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศนั้นเกิดขึ้นได้แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าการเรียนรู้ของผู้เรียน ในประเทศทีใ่ ช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ เนื่องจากผู้เรียนมีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษเฉพาะใน ชั้นเรียนเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เรียนที่มาจากชนบท ต้องยอมรับว่าผู้เรียนเหล่านั้นส่วน ใหญ่อาจจะไม่เคยได้มีโอกาสได้พูดคุยกับชาวต่างชาติเลย ผู้เรียนบางคนเรียนรู้ภาษาอังกฤษมา แบบผิดๆ เนื่องจากครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่มีความสามารถ มีความชานาญและสาเร็จการศึกษา SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 23
ในสาขาวิชาภาษาอังกฤษโดยตรงมีอยู่อย่างจากัด ทาให้ผู้เรียนบางคนอาจต้องเรียนกับครูผู้สอนที่ สอนรายวิชาอื่นๆ ซึ่งมีความชานาญด้านการใช้ภาษาอังกฤษและการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนให้สอดคล้องกั บวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้อยลงไปบ้าง จึงเป็นผลทาให้ผู้เรียนมีความ แตกต่างกัน 4. การฟื้นความรู้ใหม่ (Refreshing) ครูผู้สอนภาษาอังกฤษต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ความรู้ความสามารถไม่ได้คงอยู่กับเราตลอดเวลา เปรียบเสมือนวัตถุสิ่งของที่จะต้องเสื่อมสภาพ ตามกาลเวลา หากไม่ มี ก ารปรั บ ปรุ ง ฟื้ น ฟู คุ ณ ภาพก็ จ ะน้ อ ยลงไป การฟื้ น ความรู้ ใ หม่ มี อ ยู่ หลากหลายวิธีที่จะปฏิบัติได้ เช่น การเข้าร่วมสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นๆ และใช้ โ อกาสดั ง กล่ าวในการสร้างเครื อ ข่ า ยให้ กั บ ตนเอง การจั ด อบรมสั ม มนาของสมาคม ครู ผู้ ส อนภาษาอั ง กฤษแห่ ง ประเทศไทยซึ่ ง จั ด ขึ้ น ในทุ ก ๆ ปี การเรี ย นหรื อ ศึ ก ษาเพิ่ ม เติ ม ใน หลักสูตรระยะสั้น เช่น หลักสูตรครูผู้สอนภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็น ต้น หรือแม้แต่การจัดโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษให้แก่ผู้เรียน นอกจากนี้ อาจเป็นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้และวิธีการใหม่ๆ เพิ่มเติมซึ่งจะนาไปสู่การเขียนบทความ วิชาการหรือการทาวิจัยของครูผู้สอนเองก็นับเป็นวิธีการฟื้นฟูความรู้ใหม่หรือเพิ่มความรู้ใหม่ ให้แก่ตนเองได้เช่นกัน 5. การสรรเสริญ (Praising) เมื่อผู้เรียนกระทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ควรแก่การสรรเสริญหรือ ชมก็ควรชม ไม่วางเฉยต่อการกระทา คาชมเชยเป็นคาพูดที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษสามารถทาได้ โดยไม่ต้องซื้อหาด้วยเงิน เช่น Good! Very good! Great! That’s right! ในกรณีที่ผู้เรียนอาจ ตอบคาถามหรือแสดงความคิดเห็นยังไม่ถูกต้องชัดเจนครูผู้สอนอาจใช้คาพูดที่ช่วยสร้างแรงจูงใจ ให้แก่ผู้เรียนที่จะเรียนรู้ภาษา เช่น It’s possible! Maybe you’re right! เป็นต้น หรืออาจใช้ วิธีการระบุชื่อ ใส่ภาพของผู้เรียนนั้นๆให้เห็นประจักษ์ว่านี่คือผลงานส่วนหนึ่งของเขาก็นับเป็น วิธีการสรรเสริญอย่างหนึ่งในทรรศนะของผู้เขียน 6. การเป็นแบบอย่าง (Modeling) หากครูผู้สอนภาษาอังกฤษคาดหวังที่จะให้ผู้เรียน เข้าเรียนตรงเวลา สิ่งที่ผู้เรียนคาดหวังก็คือ ต้องการเห็นการตรงต่อเวลาของครูผู้สอนด้วย หาก ต้องการให้ผู้เรียนพูดภาษาอังกฤษได้ ครูผู้สอนเองก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการเรียน การสอนด้วย หากต้องการให้ผู้เรียนเขียนงานต่างๆเป็นภาษาอังกฤษได้ครู้ผู้สอนก็จะต้องทาเป็น แบบอย่ า งได้ ด้ ว ย ครู ผู้ ส อนภาษาอั ง กฤษบางท่ า นอาจไม่ มี ค วามมั่ น ใจพอที่ จ ะสอนเป็ น ภาษาอังกฤษ ด้วยเหตุผลว่าไม่เคยปฏิบัติและคิดว่าผู้เรียนจะไม่เข้าใจสิ่งใดๆ เลย อย่างไรก็ตาม หากปฏิบัติเป็นประจาก็จะทาให้เกิดความเคยชิน มี ความชานาญ มีความมั่นใจในที่สุด ครูผู้สอน ภาษาอังกฤษควรพึงระลึกอยู่เสมอว่าความมั่นใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการฝึกฝน ครูผู้สอนบาง ท่านที่อ้างเหตุผลว่า การพูดเป็นภาษาอังกฤษผู้เรียนจะไม่เข้าใจ คงต้องย้อนถามตัวท่านเองว่าที่ ท่านพูดเป็นภาษาไทยนั้นผู้เรียนเข้าใจและมีพัฒนาการด้านทักษะการใช้ภาษาอังกฤษแล้วใช่ไหม ค าตอบคื อ ไม่ ใ ช่ แต่ เชื่ อ ว่ า การใช้ ภ าษาอั ง กฤษเป็ น สื่ อ ในการสอนนั้ น มี ส่ ว นช่ ว ยให้ ผู้ เ รี ย นมี พัฒนาการด้านการใช้ภาษาอังกฤษที่ดีขึ้นได้ หากแต่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจะต้องตระหนักว่า SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 24
ภาษาที่ใช้ต้องไม่ยากเกินไป กล่าวคือต้องเลือกใช้คาศัพท์ธรรมดาๆ ง่ายต่อการเข้าใจของผู้เรียน ไม่จาเป็นต้องเลือกใช้คาศัพท์ที่ยาก ไม่ใช้ประโยคที่ยาว กล่าวอีกนัยหนึ่ง ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ควรตั้ ง ใจที่ จ ะสอนโดยใช้ ภ าษาอั ง กฤษเป็ น สื่ อ กลางตามศั ก ยภาพที่ ค รู ผู้ ส อนจะปฏิ บั ติ ไ ด้ นอกจากนี้ หากครูผู้สอนคาดหวังที่จะให้ ผู้เรียนส่งงานตรงตามเวลา ผู้เรียนก็คงต้องการให้ท่าน ตรวจแก้ไ ขงานและส่ ง คืน กลับ ตรงตามเวลาด้ วยเช่น กั น ที่ กล่ าวมาแสดงให้เห็น ว่ าครู ผู้ส อน ภาษาอังกฤษจะต้องเป็นแบบอย่างให้กับผู้เรียนด้วยนั่นเอง 7. การจัดการ (Organizing) ครู ผู้สอนภาษาอังกฤษที่ดีจะต้องมีการจัดการที่ ดี การ จัดการที่ดีทาให้การสอนประสบความสาเร็จได้ การจัดการต้องจัดการในเรื่องใดบ้าง ต้องเริ่มโดย จัดให้มีเค้าโครงการบรรยาย (Course Outline) ตลอดทั้งภาคเรียน จัดให้มีแผนการสอน (Lesson Plan) และในแผนการสอนจะต้ อ งเกี่ ย วเนื่ อ งไปถึ ง หั ว ข้ อ การเรี ย น (Topic) วัตถุประสงค์ต่างๆ ของการเรียน (Objectives) เนื้อหา (Contents) กิจกรรมการเรียนการสอน (Teaching activities) สื่ อ การเรีย นการสอน (Teaching materials) การประเมิ น ผล (Evaluation) รวมถึงการมอบหมายงาน (Assignments) ให้แก่ผู้เรียน ในแต่ละส่วนจะมีเวลา (Time) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นครูผู้สอนภาษาอังกฤษต้องมีการจัดการหรือกาหนดเวลาที่มี อยู่ให้เหมาะสม นอกจากนี้ หากเป็นการนาเสนอบทเรียนด้วยคอมพิวเตอร์จะต้องดูว่านาจะเสนอ อย่ า งไร หากจะต้ อ งมี ก ารเขี ย นกระดานจะเขี ย นอย่ า งไรให้ ผู้ เรี ย นเกิ ด การเรี ย นรู้ ไ ด้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆในชั้นเรียนจะจัดในรูปแบบใด จัดโต๊ะเก้าอี้อย่างไร มีคาถามอะไรที่จะถามผู้เรียนในแต่ละขั้นตอนบ้าง หากผู้เรียนไม่สามารถตอบคาถามด้วยคาถาม เดิมได้จะต้องถามด้วยคาถามใดอีกที่จะช่วยให้ผู้เรียนตอบคาถามได้ง่ายขึ้น ถ้าผู้เรียนตอบไม่ได้ จะท าอย่ า งไร จะพู ด อย่ า งไร สิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น ประเด็ น ที่ ค รู ผู้ ส อนภาษาอั ง กฤษจะต้ อ งมี ก าร เตรี ย มการไว้ ล่ ว งหน้ า และจั ด การอย่ า งเป็ น ระบบ ในประเด็ น การประเมิ น ผลครู ผู้ ส อนได้ จัดรูปแบบการประเมินผลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา และกิจกรรมการเรียนรู้หรือไม่ จะมีการเคลื่อนไหว (Movement) ตนเองในชั้นเรียนอย่างไร การมอบหมายงานให้แก่ผู้เรียนนั้น จะต้องมีความชัดเจนทั้งรูปแบบและวิธีการ เมื่อเสร็จสิ้นการสอนจะต้องมีการจดบันทึกการสอน เพราะการจดบันทึกการสอนจะทาให้ครูผู้สอนได้มีการทบทวนการสอนของตนเองว่าประสบ ความสาเร็จและล้มเหลวในประเด็นใดบ้าง จะเพิ่มเติมแก้ไขในส่วนใด และจะจัดการกับการสอน ในครั้งต่อไปให้ดีขึ้นได้อย่างไร นอกจากนี้แล้ว การจัดการของครูผู้สอนภาษาอังกฤษยังรวมไปถือ การเตรียมเอกสารประกอบการสอน การจัดทาสไลด์เพื่อการนาเสนอบทเรียนในแต่ละคาบเรียน การจัดทาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (e-learning) ในแต่ละรายวิชาที่สอน การจัดทาคลังข้อสอบ (Test Bank) การจัดทา Interactive E-Book และ การจัดการในเรื่องการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเป็นสื่อเสริมการเรียนการสอนซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพในการเรียนภาษาอังกฤษให้เกิดขึ้น แก่ผู้เรียนอย่างยั่งยืน
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 25
8. การอุทิศตน (Devote) ครูผู้สอนเป็นบุคคลผู้ซึ่งต้องอุทิศตนเพื่อผู้เรียน การสอน ภาษาอั ง กฤษเป็ น งานที่ ย ากและล าบากไม่ ต่ า งจากการสอนรายวิ ช าในสาขาวิ ช าอื่ น ๆ สิ่ ง ที่ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษต้องมีอยู่ในจิตวิญญาณของความเป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษคือการอุทิศตน ให้แก่ผู้เรียน การสอนในชั้นเรียนไม่สามารถทาให้ผู้ เรียนซึ่งมีจานวนมากเข้าใจได้หมด ครูผู้สอน ต้องมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ซักถามข้อสงสัย หากผู้เรียนไม่เข้าใจ การอุทิศเวลานอกเวลาเรียน ให้แก่ผู้เรียนเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษชนะอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นจากการ สอนและการทากิจกรรมต่างๆ เพื่อการเรีย นรู้ การอุทิศตนเพื่อผู้เรียนอย่างจริงจังสามารถสร้าง แรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้ได้ เป็นที่เข้าใจดีว่า ครูผู้สอนทุกท่านมีพันธกิจ ต่างๆมากมาย ดังนั้นอาจกาหนดเวลาในช่วงใดช่วงหนึ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เข้าปรึกษาหารือหรือ ซักถามข้อสงสัยโดยเฉพาะ อาจจะต้องระบุเวลาประจาสานักงาน (Office Hours) ไว้ในโครงการ สอน รวมถึงประกาศตารางสอนของท่านเองไว้หน้าห้องพักพร้อมระบุชั่วโมงประจาสานักงานไว้ ให้ชัดเจนเพื่อผู้เรียนจะได้ทราบว่าช่วงใดบ้างที่ผู้เรียนจะสามารถเข้าพบได้ 9. การประเมินผล (Evaluate) การประเมินผลช่วยให้ผู้เรียนทราบถึงความก้าวหน้าใน การพัฒนาทักษะความสามารถของตนเอง ทราบถึงผลจากการเรียนรู้ของตนเองว่ามีพัฒนาการ หรือไม่เพียงใด รู้ว่าควรพัฒนาหรือเพิ่มเติมส่วนใดอีก ดังนั้นจึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่การเรียน การสอนแต่ละครั้งครูผู้สอนภาษาอังกฤษจะประเมินผลผู้เรียน การประเมินผลอาจอยู่ในรูปแบบ ของการสั งเกตผู้ เรีย นแต่ ละคนด้ วยตั วผู้ สอนเองและแจ้ งให้ ผู้เรีย นแต่ ละคนทราบ แนวทาง ดังกล่าวนี้คงเป็นไปได้ยากที่จะกระทาได้อย่างทั่วถึงทุกๆ คน แต่อาจมีการหมุนเวียนที่จะสังเกต ผู้เรียนคนอื่นๆ ในโอกาสต่อไป หากถามว่าจะประเมินผลอย่างไรให้ทุก คนได้ทราบถึงผลการ เรียนรู้ของตนเองเนื่องจากผู้เรียนมีจานวนมาก ครูผู้สอนมีภาระงานสอนมากไม่สามารถที่จะ ตรวจแก้ไขงานจานวนมากได้ คาตอบคือ ครูผู้สอนอาจเขียนคาถามเป็นตัวเลือกใช้โปรแกรม สาหรับการนาเสนอ (Power Points) หรือเขียนลงแผ่นใสให้ผู้เรียนเลือกตอบ 5-10 ข้อ พร้อมทั้ง เฉลยค าตอบทั น ที ที่ ผู้ เ รี ย นท าแบบประเมิ น ผลเรี ย บร้ อ ย ก็ เ ป็ น อี ก วิ ธี ห นึ่ ง ที่ ช่ ว ยครู ผู้ ส อน ภาษาอังกฤษได้ แต่สิ่งที่ผู้เขียนปฏิบัติเป็นหลักอยู่ตอนนี้คือเตรียมแบบทดสอบย่อยไว้ให้กับ ผู้เรียนในระบบอีเลิร์นนิ่งซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าไปทาแบบทดสอบดังกล่าวเมื่อใด เวลาใดและที่ ไหนก็ได้เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนเอง นอกจากครูผู้สอนภาษาอังกฤษจะมีวิธีการสอนที่หลักแหลม (SHARP MODE) แล้ว แนวทางต่อไปนี้ก็มีส่วนช่วยให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษชนะอุปสรรคในการสอนได้ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจะต้องมีความกระตือรือร้นเป็นผู้ที่มีความรู้ รู้จักปรับเปลี่ยนตาม สภาพ และปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สอนมืออาชีพ (Professional teachers) จริงๆ การมอบหมายงานให้ ผู้ เ รี ย นส่ ง งานผ่ า นทางสื่ อ อิ เ ลกทรอนิ ก ส์ เช่ น เฟสบุ๊ ก (Facebook.com) หรือจดหมายอิเลกทรอนิกส์ (E-mail) และจะต้องตอบกลับอย่างรวดเร็ว mail) และจะต้องตอบกลับอย่างรวดเร็ว SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 26
เข้าใจผู้เรียน เป็นมิตรกับผู้เรียน มอบหมายงานให้ผู้เรียนทาอย่างเหมาะสม เชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยายเป็นครั้งคราว จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีอารมณ์ขัน รู้จักอดทน หาโอกาสเยี่ยมชั้นเรียนของเพื่อนครูผู้สอนด้วยกัน ให้ผเู้ รียนทางานเป็นกลุ่มๆ ก่อนการสอนทุกครั้งควรมีการพูดคุยกับผู้เรียนหรือสอบถามความทุกข์สุขทั่วๆ ไปก่อนเพื่อ สร้างบรรยากาศที่ดีของการเรียนรู้ หลีกเลี่ยงการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ผิดพลาด หากไม่แน่ใจว่าจะออกเสียงอย่างไร ก่อนการ เรียนการสอนจะต้องตรวจสอบจากพจนานุกรม (Dictionary) ก่อนเสมอ งานเขียนที่มอบหมายให้ผู้เรียนเขียนต้องสอดคล้องกับเนื้อหาการเรียนรู้ เกี่ยวข้องกับตัว ผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ด้วย ใช้สื่อการสอนจริงในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนฝึกทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน และการ เขียน เมื่อถามคาถามผู้เรียน ไม่คาดหวังคาตอบที่ถูกต้องจากผู้เรียนมากเกินไป ไม่ขัดจังหวะผู้เรียนเมื่อผู้เรียนใช้ภาษาผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการพูดจึงควรเน้นเรื่อง ความชานาญในการพูดมากกว่าความแม่นยาในเรื่องไวยากรณ์ เนื่องจากการขัดจังหวะผู้เรียน อาจทาให้ผู้เรียนขาดความมั่นใจได้ ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน รัฐบาลพยายามพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพมากที่สุด การพัฒนานั้นมีมาตลอด ซึ่งเห็นจากการที่กาหนดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ การพัฒนาทางด้าน การศึกษาไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาในเรื่องหลักสูตร ตาราเรียน และเรื่องอื่นๆ แต่จากงานวิจัยบาง เรื่อง (Mackenzie, 2009; Pufahl et al., 2001) ยังพบว่า ความเชี่ยวชาญของครูผู้สอนคือปัจจัย สาคัญที่สุดมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน กล่าวคือครูผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง การสอนการเรีย นรู้ สามารถทางานในสภาพแวดล้ อมที่ จะช่ว ยให้ผู้ เรี ยนมี การเรีย นรู้ ได้ อย่ าง ประสบผลสาเร็จ หากถามว่าความเชี่ยวชาญของครูผู้สอนมีผลต่อการเรียนรู้ได้อย่างไร ความ เชี่ยวชาญและครูผู้สอนภาษาอังกฤษมีผลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กล่าวคือ ทาให้เข้าใจ เนื้ อ หา เข้ า ใจตั ว ผู้ เ รี ย น รู้ จั ก ที่ จ ะคั ด เลื อ กกิ จ กรรมและสื่ อ ต่ า งๆมาใช้ ใ นชั้ น เรี ย นได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ การประเมินผลความก้าวหน้าของผู้เรียนได้นั้นต้องรู้และเข้าใจเนื้อหา สามารถแปล คาพูดหรือภาษาเขียนของผู้เรียนได้ หากครูผู้สอนขาดความเชี่ยวชาญในเนื้อหาและทักษะที่จาเป็น SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 27
แล้ ว ก็ นั บ เป็ น เรื่อ งยากที่ จ ะช่ ว ยให้ ผู้ เ รี ย นเกิ ด การเรี ย นรู้ ขึ้ น ได้ การพิ จ ารณาว่ า ผู้ ส อนมี ค วาม เชี่ ย วชาญหรื อ ไม่ สามารถพิ จ ารณาจากคุ ณ วุ ฒิ ความรู้ และประสบการณ์ข องครู ผู้ ส อนเอง นอกจากนี้ จากการศึกษาของเฟอร์กูสัน (Ferguson, 1991: 465-498) ยังพบว่า ปัจจัยหนึ่งที่ นามาพิจารณาว่าผู้สอนมีความเชี่ยวชาญหรือไม่คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน อย่างไรก็ ตาม เฟอร์กูสันได้ชี้ให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนนั้นขึ้นอยู่กับอัตราส่วนระหว่าง ครู ผู้ ส อนต่ อ จ านวนของผู้ เรีย นในชั้ น เรี ย นด้ ว ย กล่ า วคื อ ในชั้ น เรี ย นที่ มี ผู้ เรี ย นน้ อ ยเป็ น ผลให้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงกว่าชั้นเรียนที่มีจานวนผู้เรียนมาก กระนั้นก็ตามยังมีปัจจัย อื่นๆที่มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกดั่งที่เห็นได้จากแผนภูมิที่ 2 ปั จจัยพื ้นฐานอื่นๆ 26% (ความยากจน
การศึกษาของพ่อแม่ 24% (ร้ อยละของ
พื ้นฐานด้ านภาษา พื ้นฐานของครอบครัว)
การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย) คุณสมบัตขิ องครู ผ้ สู อน 40% (การศึกษาใน
ชันเรี ้ ยนที่มีขนาดเล็ก 10%
ระดับปริ ญญาโท ประสบการณ์และทักษะต่างๆ)
แผนภูมิที่ 2 แสดงถึงปัจจัยทีม่ ีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน การเอาชนะอุปสรรคในการสอนภาษาอังกฤษนั้นครูผู้สอนจึงถือว่าเป็นปัจจัยสาคัญ ดังนั้น ผู้เรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นหากมีครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรี ยนของผู้เรียนจะดีขึ้นได้นั้นครูผู้สอนจะต้องจัดให้ ผู้เรียนเรียนกันเป็นกลุ่ม (Johnson, 1991: 189-201) มีการทาโครงการต่างๆร่วมกัน มอบหมาย ให้ผู้เรียนรู้จักใช้สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ในสถาบันอย่างคุ้มค่า ในการสอนภาษาอังกฤษบางครั้ง ครูผู้สอนอาจต้องนาผู้เรียนเข้าห้องสมุดเพื่อไปศึกษาค้นคว้าเรื่องต่างๆ มอบหมายให้ทางานเป็น รายบุคคลหรือเป็นกลุ่มๆ ในประเทศญี่ปุนและจีนไต้หวันได้มีหลักสูตรให้ครูผู้สอนพัฒนาตนเอง รวมถึงการลดชั่วโมงการสอนให้แก่ครูผู้สอนเพื่อกาหนดให้ครูผู้สอนมีโอกาสได้เข้าเรียนรู้วิธีการ สอนจากครูผู้สอนด้วยกันเอง (Kato, 2009:2) เปิดโอกาสให้ครูผู้สอนเข้าร่วมอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่ต้องใช้ ระยะเวลา 2-3 เดือน เพื่อเรียนรู้เนื้อหาและพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถด้านต่างๆ ของครูผู้สอนเอง สิ่งที่ครูผู้สอนจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมอาจเป็นเนื้อหาเรื่องการจัดการชั้นเรียน การใช้ คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเทคนิคการสอนต่างๆและวิธีการให้คาปรึกษา เป็นต้น
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 28
บทสรุป กล่าวโดยสรุปแล้วการสอนภาษาอังกฤษให้ชนะอุปสรรคนั้นเป็นเรื่องง่ายหากครูผู้สอน ภาษาอังกฤษมีปรัชญาการสอนประจาใจ รู้ เข้าใจ สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ครู ผู้สอน ต้องเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน จัดกิจกรรมต่างๆโดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนเรียนรู้ ภาษาอัง กฤษมากขึ้ น จะต้ องเป็ นครูผู้ ส อนที่ มี หลั ก การ เข้ าใจบทบาทหน้า ที่ ข องตนเอง และ ตระหนักอยู่เสมอว่าตนเองมีส่วนทาให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ แนวคิดที่ นาเสนอจะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อผู้อ่านรู้จักประยุกต์ ฝึกฝน และปฏิบัติตามอย่างเหมาะสม
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 29
เรื่องที่ 5: อาจารย์ 360 องศา (360OInstructor)” อาจารย์รัฐสภา แก่นแก้ว ผู้ช่วยผู้อานวยการด้านวิชาการ ศูนย์มีเดีย กลุ่มงานบริการเทคโนโลยี อาจารย์ประจาร่วมสอน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม Rattasapa.ka@spu.ac.th อาจารย์ รัฐสภา แก่นแก้ว ผู้ช่วยผู้อานวยการ ด้านวิชาการ ศูนย์มีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม อาจารย์ประจาร่วมสอนคณะนิเทศศาสตร์ มีประวัติการทางานอันโดดเด่น เป็นผู้ที่พัฒนาเทคนิค การสอน อย่างต่อเนื่อง มาเป็นระยะเวลากว่า 13 ปี จนได้รับการยอมรับจากคณาจารย์และ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ในฐานะอาจารย์ที่ทาการสอน “ดีที่สุด” ของมหาวิทยาลัย เป็น ที่ประจักษ์จากการได้รับรางวัลบุคลากรที่ทาการสอนดีเด่น ระดับสถาบัน ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม (The Best Teaching Award) จากการคัดเลือกแข่งขัน คณาจารย์ผู้ทาการสอนทั้งหมดใน มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลผู้สอนที่มี “เทคนิคการสอนดีเด่น ประเภท เทคนิคการ สอนแบบเน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ / คิดอย่างมีวิจารณญาณ” จากการนาเสนอผลงานใน โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Active Learning) มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ภาพที่ 1 กลยุทธ์ กลวิธีการสอน และสื่อการสอน
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 30
อาจารย์ รัฐสภา แก่นแก้ว เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่ รับผิดชอบสอน อย่างแท้จริง สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้ า ทางวิทยาการในกระแสโลกาภิวัฒน์ เป็นผู้ริเริ่ม Model “อาจารย์ 360 องศา (360O Instructor)” เป็นต้นแบบในการบูรณาการ สื่อการสอน วิธีการสอน และกระบวนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง ตลอดจนคิดค้นกระบวนการ ติดตามและประเมินผลการ เรียนการสอน และ ระบบให้ คาปรึกษาผ่าน Social Network ร่วมกับการใช้สื่อเสริมและแบบทดสอบในระบบ e-learning ของมหาวิทยาลัยอย่างครบวงจร นับเป็นโครงการที่ประสบความสาเร็จอย่างมากในการจัดสอน และได้รับการยอมรับให้เป็นต้นแบบในการจัดการศึกษาในยุคสมัยปัจจุบัน
ภาพที่ 2 ออกแบบการสอน 360 องศา อาจารย์ รัฐสภา แก่นแก้ว มีความรอบรู้ทั้งด้านวิชาความรู้ และวิธีการสอน สามารถใช้ ทรัพยากร และสื่อการเรียนการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความโดดเด่นทั้งในส่วนของ การ วางแผนการสอน การสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ และวิจารณ์ ด้านเทคนิคและ วิธีการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ การเรียนการสอนตลอดเวลา มีวิธีการเฉพาะตัว ในการใช้สื่อการ สอน และอุปกรณ์ช่วยสอน สามารถวางกลยุทธ์ที่ทาให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ ของวิชาที่ กาลังเรียนกับวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตร ตลอดจนหมั่นศึกษาค้นคว้า สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ และ นวัตกรรมทางการศึกษา อย่างต่อเนื่อง โดยวิธีการสอน และเทคนิคการสอน ที่อาจารย์รัฐสภา แก่นแก้ว ใช้ในการจัดสอน สรุปได้ดังนี้
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 31
1. การวางแผนการสอน 1) ดาเนินการจัดการเรียนการสอนโดยการจัดทาแผนการสอนอย่างถูกต้อง 2) ระบุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ไว้อย่างชัดเจนในทุกหัวข้อหลัก 3) ในแต่ละหัวข้อหลักระบุวิธีการสอน เวลาที่ใช้ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ไว้อย่างชัดเจน 4) มีกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในการเรียนแต่ละครั้ง อย่างชัดเจน 5) มีแบบทดสอบในรูปแบบของ QUIZ บรรจุอยู่ในระบบ e-learning ของมหาวิทยาลัย เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา หลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอน และใช้กลยุทธ์การกระตุ้น ให้ทาซ้า โดยใช้คะแนนครั้งที่ดีที่สุด 2. เทคนิคการสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ และวิจารณ์ 1) จัดเตรียมกรณีศึกษา (Case Study) ใหม่ ๆ ทุกภาคการศึกษา เพื่อนามาใช้ในการสอนให้ ผู้เรียนรูจ้ ักคิด วิเคราะห์ และวิจารณ์ 2) กาหนดวัถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจนว่า นักศึกษาต้องสามารถคิด วิเคราะห์ และ วิจารณ์ได้ 3) มีคลังคาถาม และ กิจกรรมการเรียนรู้ ที่จะใช้สอนในขณะที่สอนในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง กับ กรณีศึกษา (Case Study) เพื่อให้นักศึกษา คิด วิเคราะห์ และวิจารณ์เมื่อเรียนรู้หัวข้อนั้น ๆ 4) ใช้คาถามหรือกิจกรรมการเรียนการสอน ที่กระตุ้นให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์ และ วิจารณ์ อย่างทั่วถึง 5) เปิดกว้างต่อการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระของนักศึกษา ไม่ครอบงาความคิดของ นักศึกษา 6) มอบหมายงานที่ไม่มีคาตอบในเอกสารประกอบการสอน โดยมอบหมายให้นักศึกษา ไป ช่วยกันคิด วิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อสรุป 3. เทคนิคและวิธีการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจการเรียนการสอนตลอดเวลา 1) เตรียมตัวในเรื่องที่สอนมาอย่างดี มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ และ แจ้งภาพรวมของหัวข้อ ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหา 2) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เปิดโอกาสให้ซักถาม และ ตอบข้อซักถามนักศึกษาอย่างชัดเจน และ ตรงประเด็น 3) เตรียมกรณีศึกษา (Case Study) ใหม่ และ อธิบายประเด็นที่ควรศึกษาจากกรณีศึกษา นั้น ๆ อย่างชัดเจน และเปิดโอกาสให้นักศึกษาร่วมแสดงความเห็น 4) อธิบายความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยง กับราบวิชาอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง เช่น รายวิชาการผลิต รายการวิทยุ กระจายเสียง เกี่ยวข้องกับ รายวิชาการเขียนบท และ การเรียนเรื่องเสียง เป็นส่วน สาคัญของ รายวิชาการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ด้วยเช่นกัน
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 32
5) ออกแบบวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหา คานวนเวลาที่ใช้ล่วงหน้าในการสอน และ พิจารณาเงื่อนไขของการจัดการเรียนการสอนในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตลอดระยะสอน 6) สรุปประเด็นสาคัญเป็นระยะ และ สรุปภาพรวมให้นักศึกษาทราบอีกครั้งหนึ่ง ก่อน เสร็จสิ้นการสอน 4. เทคนิคการใช้สื่อการสอนและอุปกรณ์ช่วยสอน 1) สื่อการสอนที่ใช้จัดทาชึ้นด้วย Keynote Presentation ที่เน้น Animation และความ สวยงามที่เรียบง่าย เพื่อสื่อความหมายให้นักศึกษาเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น 2) กระตุ้นความสนใจในการเรียนด้วย Clip Video ที่มีภาพและเสียงที่ดึงดูดความสนใจ โดย Clip Video ดังกล่าว ต้องอยู่ในแผนที่จะฝึกให้นักศึกษาฝึกฝนการคิด วิเคราะห์ และวิจารณ์ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่กาหนดไว้ล่วงหน้า 3) ฝึ ก ฝนการบรรยายพร้อ มกั บ สื่ อ ที่ น ามาใช้ ซั ก ซ้ อ มล่ ว งหน้ า ก่ อ นท าการสอน เพื่ อ ให้ สามารถใช้สื่อในการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ 4) ผลิตสื่อการสอนที่มีภาพและข้อความขนาดใหญ่ และมีความชัดเจนเพียงพอที่นักศึกษา จากทุกส่วนของห้องเรียนสามารถเห็นสื่อที่ใช้ในการสอนแต่ละครั้งได้ชัดเจน 5) ในกรณีที่จัดการสอนภาคปฏิบัติ จะมีการออกแบบการสอนปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาทุก คนมีโอกาสในการใช้เครื่องมือที่เป็นสื่อการสอนได้เท่าเทียมกัน 6) เอกสารประกอบการสอน จัดทาขึ้นอย่างเหมาะสม ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มีภาพประกอบ ที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ละหัวข้อ 7) Presentation ประกอบการบรรยาย บรรจุ ใ ห้นั กศึ ก ษา Download ในระบบ elearning ของมหาวิทยาลัย และ Facebook Group ของรายวิชา 8) มีกระบวนการ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน และให้คาปรึกษาผ่าน Social Network อาจารย์ รัฐสภา แก่ นแก้ ว ได้ ริเริ่ ม Model “อาจารย์ 360 องศา (360O Instructor)” ประกอบ ไปด้วยการดาเนินงาน และ ปฏิบัติงานในฐานะอาจารย์ที่มีความรอบด้าน และปฏิบัติงาน ใน ส่ วนที่สนั บสนุน ซึ่ งกันและกั นเพื่ อประโยชน์ของการจัดการศึกษา อย่ างมีประสิ ทธิ ภาพ ซึ่ ง เกี่ยวข้องกับการดาเนินการเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การจัดการสอน (Teaching) การจัดทาสื่อนาเสนอ ประกอบการสอนที่ใช้งานร่วมกับ Mac (Keynote Presentation) การจัดทาเอกสารประกอบการ สอน รายวิชาภาคทฤษฎี (Handbook) การจัดทาเอกสาร ประกอบการสอน รายวิชาภาคปฏิบัติ (Workbook) การจัดทาวีดิทัศน์ให้นักศึกษาใช้เพื่อทบทวนบทเรียน (Video Tutorial) การจัดทา Music Video สรุปเนื้อหา เพื่อให้นักศึกษาสนใจทบทวนเนื้อหา (Wrap Up MV ) การจัดกิจกรรม สอนเสริมเพื่อทบทวนเนื้อหา (RECAP) การจัดการสอบ (Examination) อย่างมีมาตรฐานการ ประกาศคะแนนเพื่อให้นักศึกษาทราบเส้นทางของเปูาหมาย (Score Milestone) การติดตาม SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 33
นักศึกษา และให้คาปรึกษาผ่านทาง Social Network (Follow up) การจัดทา Music Video ก่อน จบการศึกษา (Final Music Video) การจัดทาวิจัยองค์ความรู้ และนาผลการวิจัยมาบรรจุในเนื้อหา การสอน (Research) และการจัดทาผลการศึกษา (Grading)
ภาพที่ 3 ช่องทางการติดต่อสื่อสารกับนักศึกษา
ภาพที่ 4 การจัดกิจกรรมสอนเสริมเพื่อทบทวนเนื้อหา (RECAP) SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 34
หากภารกิจหลักของการเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ คือ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ปณิธาน และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย เป็นที่ต้องการของ สังคม และรองรับการเติบโตของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตลอดจน ส่งเสริมและผลักดันให้มี ผลงานวิจัย นวัตกรรม และผลงานทางวิชาการที่สร้างองค์กรให้มีองค์ความรู้ที่หลากหลาย ลึกซึ้ง เป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งนาผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการมาพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตร และการเรียนการสอนให้ทันสมัย และมีคุณภาพ และปัจจัยสาคัญในการพัฒนาคุณภาพของคน คือ อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ รัฐสภา แก่นแก้ว เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ในฐานะ “ครูเพื่อศิษย์” อย่างแท้จริง
SPU-Teaching and Learning Forum: เทคนิค นวัตกรรมการสอน: 35
SPU-Teaching and Learning Forum
Innovation and Teaching Techniques พิมพ์ที่ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม