มหาวิทยาลัยศรีปทุม รายงานการวิจัย เรื่อง
การพัฒนารูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
DEVELOPMENT OF TEACHING EVALUATION MODEL OF TEACHER AT SRIPATUM UNIVERSITY
สิรินธร สินจินดาวงศ์
งานวิจัยนี้ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2553
กิตติกรรมประกาศ รายงานวิจัยฉบับนี้ สาเร็จลุล่วงไปด้วยดี จากความร่วมมือของผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา ทุกคณะที่ได้ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารูปแบบการประเมินการสอนของ อาจารย์ ขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณารูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์ และขอขอบคุณ อาจารย์ที่เสียสละเวลาให้การสัมภาษณ์ เพื่อ เป็นข้อ มูลที่เป็นประโยชน์และมีแนวทางการพัฒนา อย่างชัดเจนมากขึ้น ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ให้ทุนอุดหนุนการวิจัยในครั้งนี้ ขอขอบคุณ ผู้จัดการ และเจ้ าหน้าที่ป ระจาคณะที่อานวยความสะดวกในการเก็บ รวบรวมข้อ มูลเป็ นอย่างดี นอกจากนี้ ขอขอบคุณบุคลากรสานักวิจัยที่ช่วยประสานงาน และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการ ดาเนินการวิจัยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยดี สิรินธร สินจินดาวงศ์ กันยายน 2554
บทสรุปผู้บริหาร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เ พื่อ 1) เพื่อ ศึกษาสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของ อาจารย์และนักศึกษาที่สังกัดคณะต่างกัน ต่อ สภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ 3) เพื่อศึกษาความ เหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและ นักศึกษา 4) เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินการสอน ของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม ประชากร เป็นอาจารย์ผู้สอนในปีการศึกษา 2553 จานวน 470 คน นักศึกษาที่ ลงทะเบียน เรียนในภาคการศึก ษาที่ 2/2553 จานวน 13,113 คน สุ่มตั วอย่า งแบบแบ่งชั้น ภูมิ ( Stratified Sampling) ประกอบด้วย อาจารย์ จานวน 212 คน และนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จานวน 392 คน กลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมได้ เป็นอาจารย์จานวน 203 คน คิดเป็นร้อยละ 95.75 นักศึกษา จานวน 340 คน คิดเป็นร้อยละ 86.73 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยวิเคราะห์ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติอนุมาน วิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ด้วยสถิติ F-test และวิเคราะห์ข้อ มูลคุณภาพและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยใช้การวิเคราะห์ เนื้อหา (content analysis) เพื่อแปลความ ตีความ และสรุปความ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ข้ อมู ลพื้ นฐานของผู้ ตอบแบบสอบถาม อาจารย์ ส่ว นใหญ่ สัง กัด คณะบริห ารธุร กิ จ รองลงมา คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ นักศึกษาส่วนใหญ่สังกัดคณะบริหารธุรกิจ รองลงมา คือ คณะนิเทศ ศาสตร์ และส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 2. สภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นดังต่อไปนี้ 2.1 สภาพการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของอาจารย์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก โดยประเด็นจานวนครั้งในการประเมินการสอนของอาจารย์ จานวน 1 ครั้งต่อภาคการศึกษามี ความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมา ประเด็นช่วงเวลาในการประเมินหลังสอบกลางภาค เรียน จนถึงวันสุดท้ายของการเรียนการสอนมีความเหมาะสม และระบบการประเมิ นการสอนของอาจารย์
ผ่านระบบ online ด้วยระบบ SCMS (e-student) มีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนประเด็น ความรวดเร็วในการแจ้งผลการประเมินการสอนของอาจารย์ มีค่าเฉลี่ยต่าสุด อยู่ในระดับมาก 2.2 สภาพการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของนักศึกษา ในภาพรวมมีค่า เฉลี่ยอยู่ ในระดับมาก โดยประเด็น ระบบการประเมิ นการสอนของอาจารย์ผ่า นระบบ online ด้ วยระบบ SCMS (e-student) มีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ประเด็นการกาหนดช่วงเวลาในการ ประเมินหลังสอบกลางภาคเรียน จนถึงวันสุดท้ายของการเรียนการสอนมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก ส่วนประเด็นจานวนข้อคาถาม และจานวนด้านในแบบประเมินการสอนของอาจารย์ มีความ ครอบคลุมการประเมิน มีค่าเฉลี่ยต่าสุด อยู่ในระดับมาก 2.3 ผลการประเมินการสอนของอาจารย์ประจาภาคการศึกษาที่ 2/2553 ในภาพรวมอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินในรายด้าน พบว่า ด้านคุณลักษณะอาจารย์มีผลการประเมินสูงสุด ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการวัดและประเมินผล และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน มีผลการประเมินต่าสุดอยู่ในระดับมาก 3. ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นดังต่อไปนี้ 3.1 ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็นของอาจารย์ พบว่า 1) จานวนครั้งในการประเมินอาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรประเมิน 1 ครั้งต่อ ภาคการศึกษา 2) ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการประเมิน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรประเมินหลังสอบกลางภาคเรียน 2 สัปดาห์ 3) ช่องทางในการประเมินอาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรกรอกแบบประเมินผ่านระบบ e-student 4) ความ สะดวกในการทาการประเมิน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า เข้าถึงได้รวดเร็ว 5) เครื่องมือในการประเมิน อาจารย์ ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรปรับปรุงข้อคาถามในการประเมิน 6) ระบบติดตามการประเมิน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็น ว่า สามารถตรวจสอบสอบการแจ้งผลจานวนนักศึกษาที่เข้าประเมิน 7) การนาผลการประเมินไปใช้ ประโยชน์ อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน 8) ข้อเสนอแนะในการ ปรับปรุง อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรเพิ่มช่องทางตรวจสอบข้อเสนอแนะด้วยตนเอง 3.2 ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่า 1) จานวนครั้งในการประเมินนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ควรประเมิน 1 ครั้งต่อ ภาคการศึกษา 2) ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการประเมิน นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ควรประเมินก่อนสอบกลางภาค 1 สัปดาห์ หรือ ก่อนสอบปลายภาคเรียน 1 สัปดาห์ 3) ช่องทางในการประเมินนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ควรกรอก
แบบประเมินผ่านระบบ e-student 4) ความสะดวกในการทาการประเมิน นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า เข้าถึงได้ รวดเร็ว 5) การปรับปรุงเครื่องมือในการประเมิน นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ควรปรับปรุงข้อคาถามในการ ประเมิน 4. รูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์ การประเมินการสอนของอาจารย์ กาหนดให้ มีการประเมิน 1 ครั้งต่อภาคการศึกษา ช่วงเวลาหลังสอบกลางภาคเรียน 2 สัปดาห์ คือ สัปดาห์ที่ 11 การ ประเมินโดยนักศึกษาผ่านระบบ SCMS (e-student) เครื่องมือในการประเมิน เป็นแบบสอบถาม Online ที่มี การปรับปรุงข้อคาถามในการประเมินที่เหมาะสม กาหนดให้มีระบบติดตามการประเมินโดยให้อาจารย์แจ้ง เตือนนักศึกษาทุกครั้งที่เข้าสอน ระหว่างสัปดาห์ที่ 11-14 โดยในสัปดาห์ที่ 13 มีการแจ้งร้อยละของนักศึกษา ที่ทาการประเมินแล้ว กาหนดระบบให้อาจารย์สามารถตรวจสอบผลการประเมินได้ด้วยตนเอง ในสัปดาห์ที่ 14 และคณะนาผลการประเมินไปพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์
Executive Summary The purposes of this research were to 1) study the state of Sripatum Faculty teaching evaluation according to teachers’ and students’ opinions, 2) compare teachers’ and students’ opinions in different faculties, 3) study the appropriate in Faculty teaching evaluation according to teachers’ and students’ opinions, 4) develop evaluation model for Sripatum University, Faculty teaching evaluation. 470 teachers taught in 2553 academic year and 13,113 students registered in 2/2553 academic year were the population. Stratified Sampling were 212 teachers and 392 students in 2/2553 academic year. Data collection from 203 teachers (95.75 percent) and 340 students (95.75 percent) as the sampling. Quantitative data analysis was used to analyze Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, and ANOVA by F-test. Qualitative data analysis and data from interviewing using content analysis to interpret, summarize and conclusion. The results show as follows: 1. General data from the correspondents mostly were teachers from The Faculty of Engineering. Students were the third year students from The Faculty of Business Administration and then The Faculty of Communication Arts. 2. Faculty teaching evaluation’s state in 3 issues as: 2.1 Overall for Faculty teaching evaluation’s state according to teachers’ opinions, the average is at a high level. Issue for once a semester for Faculty teaching evaluation is appropriate mean is at a high level. Period for evaluation after midterm until the last day of teaching is appropriate. Faculty teaching evaluation system by using online, SCMS (e-student) is appropriate; the average mean is at a high level. Quick access speedy to inform the Faculty teaching evaluation results, the mean is the lowest at a good level. 2.2 Overall for Faculty teaching evaluation’s state according to students’ opinions, the mean is at a high level. Item for evaluation by using online, SCMS (e-student) is appropriate; the average is at a high level. Period for evaluation after midterm until the last day of teaching is appropriate; average is at a high level. Number of questions and number of each part in evaluation form that include evaluation, the mean is the lowest at a high level. 2.3 Overall for Faculty teaching evaluation 2/2553 academic year is at a high level. When consider results for each 4 parts show that result of teacher’s characteristic is high at a high level, measurement and evaluation and supporting for learning are the secondary results that are at a high level and the last teaching and learning quality part for evaluation result is the lowest at a high level.
3. Appropriate in Faculty teaching evaluation for 2 issues as: 3.1 Appropriate in Faculty teaching evaluation according to teachers’ opinions show that 1) once a semester for Faculty teaching evaluation, 2) 2 weeks after midterm exam for the appropriate time for evaluation, 3) evaluate through-student, 4) quick access by using e-student, 5) adjust number of questions in the instrument, 6) use follow up system for teachers to self check numbers of students who already evaluated, 7) use the results for faculty teaching evaluation for their teaching improvement, and 8) add channel to check for suggestion by teachers themselves. 3.2 Appropriate in Faculty teaching evaluation according to students’ opinions show that 1) once a semester for Faculty teaching evaluation, 2) 1 week before midterm exam or one week before final exam for the appropriate time for evaluation, 3) evaluate through e-student, 4) quick access by using e-student, 5) adjust number of questions in the instrument. 4. Models for faculty teaching evaluation are as follows: 1) determine once a semester for Faculty teaching evaluation, 2 weeks after midterm exam by the 11th week using e-student to evaluate, 2) use online questionnaire that already adjust number of questions appropriately, 3) determine to use follow up system notify teachers reminding their students to evaluate during 11-14 week, especially week 13 inform percentage of students who already done, 4) determine system for teachers to check results by themselves, and 5) use results for teachers’ improvement in their teaching.
สารบัญ บทที่
หน้า
1
บทนา....................................................................................................................................... ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ............................................................... วัตถุประสงค์ของการวิจัย ................................................................................... คาถามการวิจัย .................................................................................................... สมมติฐานการวิจัย .............................................................................................. ขอบเขตการวิจัย .................................................................................................. นิยามศัพท์ ........................................................................................................... ประโยชน์ที่ได้รับ ........................................................................................................
1 1 2 2 3 3 3 4
2
วรรณกรรมที่เกีย่ วข้อง ........................................................................................................... ตอนที่ 1 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน............................................................. ตอนที่ 2 การวัดและประเมินผล……………......................................................... ตอนที่ 3 คุณลักษณะอาจารย์……........................................................................ ตอนที่ 4 สื่อการเรียนการสอน.............................................................................. ตอนที่ 5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง................................................................................
5 5 21 27 29 33
3
ระเบียบวิธีการวิจัย ................................................................................................................. ขั้นตอนการดาเนินการวิจัย ................................................................................. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ................................................................................. เครื่องมือการวิจัย ................................................................................................ การรวบรวมข้อมูล ............................................................................................. การวิเคราะห์ข้อมูล ............................................................................................
36 36 36 38 38 38
4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ............................................................................................................... ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม............................................................ ตอนที่ 2 สภาพการประเมินการสอนของอาจารย์............................................................ ตอนที่ 3 เปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาต่อสภาพการประเมิน การสอนของอาจารย์........................................................................................... ตอน ตอนที่ 4 ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์........................................
40 40 43 47 50
บทที่ 5
ตอนที่ 5 รูปแบบการประเมินการสอน ของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม..................... สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ......................................................................................... สรุปผลการวิจัย .................................................................................................... อภิปรายผล ........................................................................................................... ข้อเสนอแนะ ........................................................................................................
หน้า 61 64 65 68 70
บรรณานุกรม ........................................................................................................................... 73 ภาคผนวก ................................................................................................................................ 74 แบบสอบถามอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาเกี่ยวกับสภาพ และความเหมาะสมการประเมินการสอน................................................................ 75 ประวัติย่อผู้วิจัย ....................................................................................................................... 77
สารบัญตาราง ตารางที่
หน้ า
ตาราง 2.1 สรุ ปองค์ประกอบของแผนการสอน.......................................................................... ตาราง 2.2 กระบวนการจัดการเรี ยนการสอน เพื่อให้ผเู ้ รี ยนบรรลุตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ..... ตาราง 2.3 ประเภทของความรู ้ และกระบวนการเรี ยนรู ้…………………….………………...... ตาราง 2.4 หลักการเรี ยนรู ้ และแนวทางการสอนทักษะกระบวนการ……….……………........ ตาราง 2.5 คุณลักษณะและลักษณะร่ วมกันของแต่ละวิธีการในการสอนแบบอุปนัย................. ตาราง 2.6 ผลการสังเคราะห์เครื่ องมือและประเภทคุณภาพของเครื่ องมือที่ใช้ในการวัดผล........ ตาราง 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง……………………………………………………....…. ตาราง 3.2 แผนการดาเนินงานตลอดโครงการ……………………………………………….... ตาราง 4.1 ร้อยละของอาจารย์จาแนกตามตาแหน่ง.................................................................... ตาราง 4.2 ร้อยละของอาจารย์จาแนกตามคณะทีส่ งั กัด.............................................................. ตาราง 4.3 ร้อยละของนักศึกษาจาแนกตามคณะที่สงั กัด……………………………………..... ตาราง 4.4 ร้อยละของนักศึกษาจาแนกตามชั้นปี ....................................................................... ตาราง 4.5 สภาพปั จจุบนั ในการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของอาจารย์....................... ตาราง 4.6 สภาพปั จจุบนั ในการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของนักศึกษา..................... ตาราง 4.7 ผลการประเมินการสอนของอาจารย์ภาคการศึกษาที่2/2553.…………………......... ตาราง 4.8 ผลวิเคราะห์เปรี ยบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับสภาพการประเมินการสอน ที่สงั กัดคณะแตกต่างกัน........................................................................................... ตาราง 4.9 ผลการเปรี ยบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการประเมินการสอนของ อาจารย์ที่สงั กัดคณะต่างกัน...................................................................................... ตาราง 4.10 การวิเคราะห์เปรี ยบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับสภาพการประเมิน การสอนของอาจารย์ ที่สงั กัดคณะต่างกัน............................................................... ตาราง 4.11 ผลการเปรี ยบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการประเมินการสอนของ นักศึกษาที่สงั กัดคณะต่างกัน................................................................................. ตาราง 4.12 ความเหมาะสมในการจัดการประเมินการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็น ของอาจารย์ ............................................................................................................ ตาราง 4.13 ความเหมาะสมในการจัดการประเมินการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็น ของนักศึกษา..........................................................................................................
5 8 11 12 20 27 37 39 40 41 42 42 43 45 46 48 48 49 50 51 53
สารบัญภาพประกอบ ภาพประกอบ
หน้า
ภาพ 4.1 รูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม .................................64
บทที่ 1 บทนำ ควำมสำคัญและที่มำของกำรวิจัย การจัดการเรียนการสอน จาเป็นต้องมีการประเมินผลการสอน เพื่อนาผลการประเมินมา ปรับปรุงพัฒนา ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการประเมินผลการสอน คือ การวัดว่าผู้สอนสามารถจัดการเรียน การสอนได้ดีเพียงไร โดยผลการประเมิน จะเป็นตัวกาหนดการตัดสินใจ เกี่ยวกับการนาผลการ ประเมินไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และจะ ส่งผลต่อนักศึกษาให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ อีกทั้งการประเมินการสอนเป็นการวัด คุณภาพของผู้เรียน คุณภาพการสอน และคุณภาพของผู้สอน (รองหวั่น แตงทิพย์, 2553) เป็นไปตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 ในหมวด 6 แนวการจัด การศึกษา มาตรา 22 และมาตรา 24 ที่เน้นการจัดการศึกษาที่ยึดผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ด้วย ตนเอง ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ เ รี ย นสามารถพั ฒ นาตนเองได้ ตามความถนั ดเต็ ม ศั ก ยภาพ โดยฝึ ก ทั ก ษะ กระบวนการคิด การจัดการจากประสบการณ์จริง โดยจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอานวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545) มหาวิทยาลัยศรีปทุมดาเนินการจัดการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา และจั ด ให้ มี ก ารประเมิ นการสอนของอาจารย์ โดยใช้ก ารประสิ ท ธิ ภ าพการสอนของอาจารย์ ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง ในช่วงหลังสอบกลางภาคเรียน จนถึงช่วงวันสุดท้ายของการเรียนการสอน และวิธีการประเมินให้นักศึกษาทาการประเมินการสอนของอาจารย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยทา การประเมินอาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ใช้แบบประเมินเหมือนกันทุกวิชา ยกเว้น วิชาที่ไม่การเรียนการ สอนในห้องเรียน และห้องปฏิบัติการ ได้แก่ วิชาโครงงาน สหกิจศึกษา และวิทยานิพนธ์ เป็นต้น ทั้งนี้การประเมินการสอนมีการติดตามการประเมินการสอนโดยนักศึกษาเป็นระยะ โดยมีกระบวนการ กระตุ้นเตือนให้อาจารย์คอยติดตามให้นักศึกษาให้เข้าทาการประเมินอย่างน้อยร้อยละ 80 ของจานวน นักศึกษาที่ลงทะเบียน เพื่อให้ผลการประเมินน่าเชื่อถือ แต่ยังพบว่า แบบประเมินประสิทธิภาพการสอน ของอาจารย์ยังมีประเด็นที่ต้องพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพวิชามากขึ้น อีกทั้งการนาผลการ ประเมินไปใช้ยังมีความล่าช้า ทาให้ไม่สามารถนาผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงได้ทันเวลา รวมถึง ปัจจุบันจาเป็นต้องน าผลการประเมินมาใช้ประกอบการจัด มคอ.5 อีกด้วย นอกจากนี้ประเด็นที่ เกี่ยวกับช่วงเวลา หรือจานวนครั้งที่ทาการประเมินที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการจัดการเรียน
2
การสอนที่มีความแตกต่างกัน เช่น นักศึกษาปริญญาตรี บัณฑิตศึกษา และนักศึกษานานาชาติ เป็นต้น สาเหตุเนื่องจากมาจากมีความแตกต่างกันในการจัดภาคการศึกษาของนักศึกษาแต่ละประเภท ทั้งนี้เป็น ช่วงเวลาของการปรับเปลี่ยนภาคการศึกษาด้วย ส่วนการนาผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ ยังไม่มี รูปแบบที่ชัดเจนในการนาผลการประเมินอาจารย์ไปใช้ปรับปรุงพัฒนาในแต่ละประเด็นที่ชัดเจน ได้แก่ การวางแผนการสอน เทคนิคการสอน การวัดและประเมินผล เป็ นต้ น โดยการศึกษาความ เหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ จากงานวิจัยของเกียรติสุดา ศรีสุข (2546) ทาการศึกษา ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็นว่า ควรมีการประเมินการสอนของอาจารย์มากกว่า 1 ครั้งต่อภาคการศึกษา เพื่อจะได้นาผลการประเมินไป ปรับปรุงการเรียนการสอนระหว่างภาคการศึกษา และเครื่องมือที่ใช้มีความเหมาะสม ครอบคลุม แต่ ควรเพิ่มประเด็นในการประเมินมากขึ้น และควรเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น ด้วย จากสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมทาให้จาเป็นต้องมีการศึกษา ถึงรูปแบบที่เหมาะสมของการประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อจะได้พิจารณา ปรับปรุงระบบการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์และนาผลการประเมินมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่ออาจารย์ การเรียนการสอน และนักศึกษามากที่สุด วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตาม ความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาที่ สังกัดคณะต่างกัน ต่อ สภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ 3. เพื่อศึกษาความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัย ศรีปทุม ตามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา 4. เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินการสอน ของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม คำถำมวิจัย 1. สภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามความคิดเห็น ของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาเป็นอย่างไร 2. อาจารย์และนักศึกษาที่สังกัดคณะต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการประเมิน การสอนของอาจารย์แตกต่างกันอย่างไร
3
3. ความเหมาะสมในการประเมิ น การสอนของอาจารย์ มหาวิท ยาลั ยศรี ป ทุ ม ตามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาเป็นอย่างไร 4. รูปแบบการประเมินการสอน ของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุมควรมีลักษณะอย่างไร สมมติฐำนกำรวิจัย 1. อาจารย์ที่สังกัดคณะต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ แตกต่างกัน 2. นักศึกษาที่สังกัดคณะต่างกัน มีความคิดเห็นต่อ สภาพการประเมินการสอนของ อาจารย์แตกต่างกัน ขอบเขตกำรวิจัย ประชากร อาจารย์ ผู้ ส อนในปี ก ารศึ ก ษา 2553 จ านวน 470 คน นั ก ศึ ก ษาที่ ลงทะเบีย นเรียนในภาคการศึ กษาที่ 2/2553 จ านวน 13,113 คน กลุ่ม ตัว อย่ างสุ่มโดยใช้ ตาราง Krejcie and Morgan (1970) ดังนี้ อาจารย์ จานวน 470 คน สุ่มได้ 212 คน โดยใช้การสุ่มตั วอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) จากอาจารย์ทุกคณะๆ ละ 45% ดังตาราง และนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนใน ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จานวน 13,113 คน เมื่อเปิดตาราง Krejcie and Morgan (1970) แต่ครั้งนี้สุ่มนักศึกษา จานวน 392 คน และสุ่มทุกคณะๆละ 3% กลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมได้ เป็น อาจารย์จานวน 203 คน คิดเป็นร้อยละ 95.75 นักศึกษาจานวน 340 คน คิดเป็นร้อยละ 86.73 นิยำมศัพท์เฉพำะ กำรประเมิ น กำรสอน หมายถึ ง การให้ ค่ า คะแนนการสอนของอาจารย์ โ ดย นักศึกษาใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล ด้าน คุณลักษณะอาจารย์ และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ อำจำรย์ผู้สอน หมายถึง ผู้ที่ทาหน้าที่จัดการเรียนการสอน ในแต่ละรายวิชาตาม หลักสูตร เพื่อให้นักศึกษาสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ สภำพกำรประเมินกำรสอน หมายถึง ลักษณะหรื อสถานการณ์การประเมินการ สอนของอาจารย์ในปัจจุบัน ปัจจัยที่สนับสนุน และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการประเมิน รวมถึง การ นาผลการประเมินไปใช้ประโยชน์
4
ควำมเหมำะสมของกำรประเมิ นกำรสอน หมายถึง แนวทางในการปรับ ปรุ ง พัฒนาการประเมินการสอนของอาจารย์ ได้แก่ จานวนครั้ง และช่วงเวลาในการประเมิน เครื่องมือ ในการประเมิน เพื่อให้การประเมินมีประสิทธิภาพมากขึ้น รูปแบบกำรประเมินกำรสอนของอำจำรย์ หมายถึง วิธีการ ขั้นตอน กระบวนการ การใช้ผลการประเมินการสอนของอาจารย์ ประโยชน์ที่ได้รับ 1. ทราบสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2. ได้ แ นวทางในการพั ฒ นา ปรั บ ปรุ ง การประเมิ น การสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 3. ได้รูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์ ที่สอดคล้องกับการประเมินของ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 4. ได้ข้อเสนอแนะ เพื่อ นาไปปรับปรุงระบบการประเมินประสิทธิภาพการสอน ของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการประเมินอาจารย์ในสถาบันอื่นๆ
บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การวิ จั ย ในครั้ ง นี้ เ ป็ น การวิ จั ย เพื่ อ พั ฒ นารู ป แบบการประเมิ น การสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยมีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใน 5 ตอน ตอนที่ 1 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตอนที่ 2 การวัดและประเมินผล ตอนที่ 3 คุณลักษณะอาจารย์ ตอนที่ 4 สื่อการเรียนการสอน ตอนที่ 5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตอนที่ 1 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วยหัวข้อย่อยดังต่อไปนี้ 1.1) แผนการสอน 1.2) การจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ 1.3) รูปแบบการสอน 1.1 แผนการสอน หมายถึง แผนการสอนที่กาหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ จริงเหมาะสมกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนไว้ล่วงหน้า โดยครูกาหนดว่า จะสอนอะไร สอนอย่างไร ใช้สื่อประกอบการสอนชนิดใด และคาดหวังพฤติกรรมของผู้เรียน อย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบคาตอบหรือการกระทาด้วยตนเอง ซึ่งมีองค์ประกอบของแผนการ จัดการเรียนรู้ ดังตาราง 2.1 ตาราง 2.1 สรุปองค์ประกอบของแผนการสอน องค์ประกอบของแผนการสอน
เตือนใจ เหล่า สุวรรณ (2553)
1. มาตรฐานการเรียนรู้หรือผล
การเรียนรู้ที่คาดหวัง 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 3. สาระสาคัญหรือแนวคิดหลัก 4. สาระการเรียนรู้ / เนื้อหา สาระ
ทิศนา แขมณี (2548)
พนิต เข็มทอง และคณะ (2552)
กาญจนา วัฒายุ (2547)
สนง. คณะกรรมการ กรม ประถมศึกษา วิชาการ แห่งชาติ (2545) (2546)
6
ตาราง 2.1 (ต่อ) สรุปองค์ประกอบของแผนการสอน สนง. คณะกรรมการ กรม ประถมศึกษา วิชาการ แห่งชาติ (2545) (2546)
เตือนใจ เหล่า สุวรรณ (2553)
ทิศนา แขมณี (2548)
พนิต เข็มทอง และคณะ (2552)
กาญจนา วัฒายุ (2547)
5. กิจกรรมการเรียนรู้
6. สื่อและแหล่งเรียนรู้
7. การวัดและประเมินผล
8. การบันทึกผลหลังสอน/
องค์ประกอบของแผนการสอน
ข้อเสนอแนะ แผนการสอนจากหลากหลายแนวคิ ดมี ส่ว นประกอบที่ ใกล้เ คีย งกั น คือ ประกอบด้ ว ย จุดประสงค์การเรียนรู้ แนวคิดหลัก สาระสาคัญ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและ ประเมินผล รวมถึงการบันทึกผลหลังสอน โดยนักวิชาการบางท่านให้เขียนมาตรฐานการเรียนรู้ หรื อ ผลการเรี ย นรู้ ที่ ค าดหวั ง ไว้ ใ นแผนการสอนด้ ว ย ดั ง นั้ น จึ ง สรุ ป ได้ ว่ า แผนการสอนควร ประกอบด้วย 1) สาระสาคัญหรือแนวคิดหลัก เป็นการกาหนดสาระสาคัญในการเรียนรู้ โดยต้องเลือ ก สาระ/เนื้อหาที่สอดคล้องกับวิชา มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ความเหมาะสมของสาระ/เนื้อหา กั บ ผู้ เ รี ย น และต้ อ งเป็ น เนื้ อ หาอย่ า งสรุ ป กระชั บ ทั น สมั ย อยู่ ใ นความสนใจของผู้ เ รี ย น และ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคม 2) จุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่คาดหวังในหลักสูตร และความคาดหวังของ ผู้สอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถ และ คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม ลักษณะของจุดประสงค์การเรียนรู้มี 2 ลักษณะ คือ 2.1) จุดประสงค์ทั่วไป เป็นความคาดหวังของผู้สอนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทาง พฤติกรรมของผู้เรียนภายหลังการเรียนการสอนในแต่ละครั้ง โดยไม่ระบุพฤติกรรมที่ชัดเจนเป็น รูปธรรม 2.2) จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะเจาะจงที่ผู้สอนระบุหรือ กาหนดให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมที่สามารถสังเกตได้ วัดได้ โดยหลักการ เขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) พฤติกรรมที่คาดหวังว่าผู้เรียนแสดงออก
7
โดยสามารถวัดได้ 2) เงื่อนไขหรือสถานการณ์ กาหนดสภาพเหตุการณ์เงื่อนไข สิ่งเร้า ที่จะทาให้ ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่คาดหวัง และ 3) เกณฑ์/มาตรฐานเป็นข้อความที่กาหนดว่าผู้เรียนจะแสดง พฤติกรรมที่คาดหวังในระดับใด ซึ่งเป็นเกณฑ์ขั้นต่า ที่จะยอมรับได้ว่าผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์นั้น 3) เนื้ อ หาสาระ/สาระการเรี ย นรู้ เป็ น เนื้ อ หาที่ ค รู ว างแผนที่ จ ะสอน โดยเนื้ อ หาควร สอดคล้ อ งกั บ ระยะเวลาที่ ส อนหรื อ คาบที่ ส อน ไม่ จ าเป็ น ต้ อ งใส่ ร ายละเอี ย ดมาก เนื่ อ งจาก รายละเอียดต่างๆควรใส่ในใบความรู้ นอกจากนี้เนื้อหาต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และ สาระการเรียนรู้ ที่ครอบคลุมทั้งองค์ความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมตาม กลุ่มสาระการเรียนรู้ 4) กิจกรรมการเรียนรู้ หรือกระบวนการเรียนรู้ เป็นการระบุว่าการเรียนการสอนครั้งนั้นจะ ด าเนิ น การอย่ า งไร วิ ธี ก ารจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ เ ป็ น ส่ ว นที่ ม องเห็ น เป็ น รู ป ธรรมมากกว่ า องค์ประกอบอื่น เป็นการนาเสนอเนื้อหาของผู้สอน เมื่อถ่ายทอดไปยังผู้เรียน โดยการเลือกวิธีสอน และกาหนดงานของผู้เรียน เพื่อให้ผลการเรียนของผู้เรียนมีประสิ ทธิภาพ การเลือกกิจกรรมการ เรียนรู้ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียน เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาที่สอน ลักษณะ ของผู้เรียน ระดับความสามารถความสนใจ และพัฒนาการของผู้เรียน ตลอดจนสอดคล้อ งกับวิถี ชีวิตของผู้เรียนอีกด้วย นอกจากนี้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรีย นเป็นสาคัญ ได้แก่ กิจกรรมการ ซักถาม การอภิปรายร่วมกัน การแสดงความคิดเห็น การศึกษาค้นคว้าข้อเท็จจริง เป็นต้น 5) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ หมายถึง เอกสาร ตาราเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน ที่ช่วย เพิ่มประสบการณ์ และสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่ จะเรียนมากขึ้น ทั้งนี้ผู้สอน ควรเลือกสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์และสาระการเรียนรู้ ควรคานึงถึงความ เหมาะสมกับวัย และ ความสนใจของผู้เรียน นอกจากนี้ควรศึกษา ค้นคว้า แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และทันสมัย เพื่อก่อให้ความรู้ใหม่อย่างกว้างขวางมากขึ้น 6) การวัดและ ประเมินผล เป็นการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากผู้เรียน กับผลที่ คาดว่ า จะเกิด ขึ้ นว่ า เป็ น ไปตามวั ตถุ ป ระสงค์ ก ารเรีย นรู้ห รื อ ไม่ การวั ด และประเมิ น ผลอย่า งมี ประสิทธิภาพ จาเป็นต้องวัดผลภายใต้วัตถุประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ที่กาหนดไว้ การประเมินผลอาจประกอบด้วย การกาหนดวิธีวัดผล เครื่องมือในการวัดผลหลากหลายสอดคล้อง กับสิ่งที่ต้องการวัด เกณฑ์การวัดและประเมินผลที่ชัดเจน 7) การบันทึกผลหลังสอน เป็นการบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ผลการเรียนรู้ ตามที่กาหนดไว้ในจุดประสงค์การเรียนรู้ ทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2) ปัญหา อุปสรรค และสาเหตุที่ทาการจัดการ เรียนรู้ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เช่น สอนไม่ทัน เนื้อหาไม่เหมาะสม การมีส่วนร่วมของผู้เรียน
8
การสื่อการสอนไม่เหมาะสม เอกสารประกอบการสอนไม่เพียงพอ บรรยากาศไม่ดี เป็นต้น 3) ข้อเสนอแนะ เป็นข้อเสนอเพื่อปรับปรุงตัวผู้เรียนที่ไม่ผ่าน และผ่านกิจกรรมตามวัตถุประสงค์การ เรียนรู้ เพื่อนาไปสู่การวิจัยในชั้นเรียน และสอนซ่อมเสริม รวมถึงปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือวัดและประเมินผล สิ่งที่สาคัญที่สุด คือ เสนอแนะตามสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา 1.2 การจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ 1. การจัดการเรียนการสอนด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral) เป็นการจัดการ เรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือแสดงออกทางคุณธรรม จริยธรรม ซึ่ งคุณธรรมเป็น ภาวะที่อยู่ภายในจิตใจ ส่วนจริยธรรมเป็นการแสดงออกทางการประพฤติปฎิบัติตามคุณธรรม แต่ ทั้งนี้ต้องมีกลยุทธ์ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนา ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สรุปได้ ดังตาราง 2.2 ตาราง 2.2 กระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ หลักการเรียนรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม แนวทางการจัดการเรียนรู้ การซึมซับ ดูดซึมจากสิ่งแวดล้อม การจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี การเห็นตัวแบบ การเลียนแบบ การเป็นแบบอย่างที่ดี การตระหนักรู้พฤติกรรมของตนและได้รับ การปรับพฤติกรรม การวางเงื่อนไขและเสริมแรง การมี/ได้รับการพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม การจัดกิจกรรม ฝึกการใช้เหตุผลเชิง จริยธรรม ความเข้าใจและความกระจ่างในความคิด การกระตุ้ นให้ คิดวิเ คราะห์แ ละท า และค่านิยมของตนเอง ความกระจ่างในค่านิยมของตน ความศรั ท ธา เชื่ อ ถื อ ในหลั ก ธรรมทาง การสอนหลักธรรมทางศาสนาและ ศาสนาของตนเอง อบรมบ่มนิสัย การมีจิตใจที่สงบและมีสติ การฝึกสมาธิ และวิปัสสนา การได้รับการสอนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยสร้าง การเลือ กใช้หลักการสอน รูปแบบ ความเข้าใจที่กระจ่างชัด ความตระหนักในคุณค่า การสอน วิ ธี สอน และเทคนิ คการ และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน สอนที่เหมาะสม การเรี ยนรู้ ด้ านจิ ตพิ สั ย โดย Krathwohl ก า ร จั ด ขั้ น ต อ น ก า ร ส อ น ต า ม ประกอบด้วยการได้รับรู้ ตอบสนอง เห็นคุณค่า กระบวนการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย จั ดระบบคุ ณค่ า และการประพฤติ ปฏิ บั ติ ตาม คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง
9
ตาราง 2.2 (ต่อ) กระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ หลักการเรียนรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม แนวทางการจัดการเรียนรู้ การฝึกฝนและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จนเกิด การฝึ ก ให้ ป ฏิ บั ติต นตามคุ ณ ธรรม เป็นลักษณะนิสัย จริ ย ธรรม ค่ า นิ ย ม และติ ด ตามผล อย่างต่อเนื่อง การเห็น ความสาคั ญ และความต้อ งการใน การกระตุ้นและฝึกให้พัฒนาตนเอง การพัฒนาตนเอง โดยใช้รูปแบบ วิธีการและกิจกรรม ต่างๆ การคิดวิเคราะห์/คิดสะท้อนประสบการณ์ การฝึกให้คิ ดวิเคราะห์ /คิดสะท้อ น ต่างๆ ที่ได้รับในชีวิตประจาวัน ประสบการณ์ต่างๆ การมีกัล ยาณมิตรให้คาชี้แนะ ให้ก าลังใจ การให้ ค าปรึ ก ษา ชี้ แ นะ และให้ และความช่วยเหลือ ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม เกิดขึ้นได้ทุกเวลา สถานที่ ก า ร ส อ น ต า ม ส ถ า น ก า ร ณ์ ทันทีทันใด ไม่จากัด เวลา สถานที่ ทิศนา แขมณี (2553) 2. การเรียนรู้ด้านความรู้ (Knowledge) เนื้อหาสาระการเรียนรู้แต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน กระบวนการจัดการเรียนรู้ในแต่ ละเนื้อหาสาระ จึงมีความแตกต่างกันด้วย สามารถจาแนกความรู้ได้ 4 ประเภท ได้แก่ 2.1 ความรู้ เ ชิ ง ข้ อ เท็ จ จริ ง (Factual Knowledge) หมายถึ ง ความรู้ พื้ น ฐานเกี่ ย วกั บ องค์ประกอบต่างๆ ที่จะต้องทราบ หรือต้องแก้ปัญหา ได้แก่ (1) ความรู้ เ กี่ ย วกั บ ศั พ ท์ เ ฉพาะ (Terminology) เช่ น ค าศั พ ท์ เ ทคนิ ค (Technical Vocabulary) สัญลักษณ์ทางด้านดนตรี สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น (2) ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดเฉพาะขององค์ประกอบส่วนต่าง ๆ (Specific Details and Elements) เช่น องค์ประกอบของแต่ละส่วนเป็นอย่างไร แหล่งเรียนรู้แต่ละแหล่งมีลักษณะ อย่างไร มีหน้าที่อย่างไร แหล่งข้อ มูลสารสนเทศที่เชื่อถือ ได้อยู่ที่ใด แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ สาคัญนั้นอยู่ที่ใด จะต้องสอบถามจากใครที่เชื่อถือได้ เป็นต้น 2.2 ความรู้เชิงมโนทัศน์ (Conceptual Knowledge) หมายถึง ความรู้ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบพื้นฐานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรหรือของโครงสร้างใหญ่ที่ทาให้เกิดการ หน้าที่ร่วมกัน ได้แก่
10
(1) ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท จัดหมวดหมู่ เช่น การจัดประเภทตามช่วงเวลา ตามกิจกรรม (2) ความรู้เกี่ยวกับหลักการและการสรุปอ้างอิง เช่น ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีทาง เรขาคณิต กฎอุปสงค์ อุปทาน (3) ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี แบบจาลอง และโครงสร้างขององค์กร เช่น ทฤษฎี วิวั ฒ นาการ โครงสร้ างการท างานของสภาผู้ แ ทนราษฎร สรีร วิ ทยา ส่ว นประกอบของเครื่ อ ง คอมพิวเตอร์ หน้าที่ของส่วนประกอบแต่ละส่วนของคอมพิวเตอร์ 2.3 ความรู้ เ ชิ ง วิ ธี ด าเนิ น การ (Procedural Knowledge) หมายถึ ง ความรู้ เ กี่ ย วกั บ วิธีดาเนินการทางานแต่ละเรื่องว่าจะทาอย่างไร วิธีการแก้ไ ขปัญหา และระเบียบวิธีการแสวงหา ความรู้ ได้แก่ (1) ความรู้เรื่องทักษะเฉพาะและสูตรในการแก้ปัญหา เช่น รู้เกี่ยวกับโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ว่าโปรแกรมใดใช้ทาอะไรได้ (2) ความรู้เรื่องเทคนิคและระเบียบวิธีเฉพาะในเนื้อหาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่นวิธีการ ทางวิทยาศาสตร์ เทคนิคการสัมภาษณ์ เทคนิคการสืบสวนสอบสวน (3) ความรู้เรื่องเกณฑ์สาหรับพิจารณาเลือกใช้วิธีการดาเนินการที่เหมาะสมกับ สถานการณ์ เช่น เมื่อใดจะใช้วิธีการสารวจเพื่อตรวจสอบคะแนนนิยมของประชาชน 2.4 ความรู้เชิงอภิมาน (Meta - Cognitive Knowledge) หรือ ความรู้เชิงพุทธิปัญญา เป็น ความรู้เชิงพุทธิปัญญาโดยทั่วไปของบุคคล และความตระหนักเกี่ยวกับภูมิปัญญาของตนเองว่า ตนเองรู้ อะไร ไม่ รู้อ ะไร นั่ น คือ ความรู้ เชิ ง พุ ท ธิ ปั ญญาเกี่ ย วกั บ ระดั บ พุท ธิ ปัญ ญาของตนเอง (Cognitive of Cognitive) และการนาความรู้เกี่ยวกับความรู้ทั้งหมดมาใช้ ได้แก่ (1) ความรู้เชิงกลยุทธ์ เป็นความรู้เกี่ยวกับการนาส่วนสาคัญมาเป็นวิถีปฏิบัติการ วางแผนกลยุทธ์โดยเขียนแผนเชิงสังเขปเพื่อจับใจความสาคัญของแผนงานเพื่อนาไปปฏิบัติ (2) ความรู้เกี่ยวกับงานเชิงพุท ธิปัญญา เป็นความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมด้าน พุท ธิ ปัญญารวมทั้งความรู้เกี่ยวกับบริบทและเงื่อ นไขที่เหมาะสม รู้ว่างานใดต้อ งใช้ความรู้ทาง พุทธิ ปัญญาด้านใด (3) การรู้ตน เป็นการตระหนักในระดับความรู้ของตนเอง รู้ความสามารถของ ตนเองว่ าจะสามารถแก้ปั ญ หา จะท าการสิ่ง ใดได้ ตนเองมี จุด เด่ น จุ ดด้ อ ยด้ า นใด ซึ่ง ก็ จะต้ อ ง ตระหนักในเรื่องการหลอกตนเอง การหลอกผู้อื่น และการถูกผู้อื่นหลอก สรุปได้ตามตาราง 2.3
11
ตาราง 2.3 ประเภทของความรู้ และกระบวนการเรียนรู้ ประเภทความรู้ กระบวนการเรียนรู้ 1. ข้อเท็จจริง (Factual K) แสวงหาข้อมูล/ รับข้อมูล สร้างความเข้าใจข้อมูลนั้น โดยใช้ กระบวนการทางปัญญา 2. มโนทัศน์หรือความคิดรวบยอด (Conceptual K) จัดหลัก/ประเด็นสาคัญ หรือค้นหา องค์ประกอบ/ลักษณะเฉพาะที่เป็นแก่น สาคัญของเรื่องนั้น หาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ของเรื่องนั้น 3. กระบวนการหรือวิธีการ (Procedural K) เห็นการกระทาตามลาดับขัน ้ ตอนของ กระบวนนั้น ศึกษาความรู้ เฉพาะ/รายละเอียด เกี่ยวกับกระบวนการ/ขั้นตอนการ ดาเนินการต่างๆ ได้กระทา/ปฏิบัติตามกระบวนการ/ ขั้นตอนนั้น 4. ความรู้เชิงอภิมาน (Meta-cognitive K) ตระหนักรู้ในระบบการู้คิดของตน วาง แผนการทางานตามเป้าหมายและ ควบคุมกากับตนเองได้ดาเนินการตาม แผนที่กาหนด 3. การเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) และทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล (Interpersonal Skills) ทักษะทั้งสองด้านเป็นทักษะทางกระบวนการ (Process Skills) หมายถึง ทักษะหรือความ ชานาญทางด้านการทาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นวิธีการที่มีลาดับขั้นตอนที่จาเป็นต่อการบรรลุ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการกระทานั้นๆ โดยมีความรู้เป็นพื้นฐาน เช่น ทัก ษะกระบวนการทางปั ญญา (Cognitive Skills) หมายถึ ง ความรู้ ความช านาญใน (กระบวนการ /วิธีการ) การใช้ความสามารถทางสมองดาเนินการคิดให้บรรลุวัตถุประสงค์
12
ทั ก ษะกระบวนการทางสั ง คม (Social Skills) หมายถึ ง (ความรู้ ) ความช านาญใน (กระบวนการ/ วิธี การ) การปฎิ สัม พัน ธ์กับ ผู้อื่ น เช่ น การสื่อ สาร การทางานร่ว มกับ ผู้อื่ น การ แก้ปัญหา การขจัด/ลดความขัดแย้ง ทักษะกระบวนการท างานกลุ่ ม (Group Process Skills) หมายถึ ง (ความรู้ ) ความช านาญใน (กระบวนการ/วิธีการ) การทางานร่วมกับผู้อื่น การเป็นผู้นา การเป็นสมาชิกกลุ่ม การดาเนินงานอย่างเป็น ระบบ ทั ก ษะกระบวนการสื่ อ สาร (Communication Skills) หมายถึ ง ความช านาญใน (กระบวนการ/วิธีการ) รับและส่งสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะกระบวนการปฏิบัติ (Performance Skills) หมายถึง ความชานาญใน (กระบวนการ/ วิธีการ) ปฏิบัติหรือกระทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สาเร็จตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติหรือการกระทา นั้นๆ การเรียนรู้ด้านทักษะกระบวนการ มีความแตกต่างจากกระบวนการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ดังนั้น จึงต้องเข้าใจธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับลักษณะเนื้อ หา/สาระที่สอน แนว ทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับทักษะกระบวนการ สรุปได้ตามตาราง 2.4 ตาราง 2.4 หลักการเรียนรู้ และแนวทางการสอนทักษะกระบวนการ หลักการเรียนรูท้ ักษะกระบวนการ แนวทางการสอนทักษะกระบวนการ การได้เห็นกระบวนการศึกษาการกระทาที่เป็น จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สังเกตกระบวนการ ลาดับขั้นตอน ช่วยให้จดจากระบวนการนั้นได้ดี ที่ต้องการสอน/ฝึก การได้เป็นหรือมีตัวแบบที่ดี ช่วยให้เกิดการ ผู้สาธิตกระบวนการจะต้องเป็นตัวแบบที่ดี เรียนรู้ที่ถูกต้อง ชัดเจน การได้ลองทาตามกระบวนการด้วยตนเอง จั ด ให้ ผู้ เ รี ย นลงมื อ ท า/ด าเนิ น การตาม ช่วยให่จดจาและเข้าใจกระบวนการนั้นมากขึ้น กระบวนการด้วยตนเอง การได้รับความรู้ที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้การ เสริมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่สอน/ฝึก กระทาตามกระบวนการมีประสิทธิภาพขึ้น เพื่อช่วยให้การกระทามีประสิทธิภาพขึ้น การได้ฝึกใช้กระบวนการนั้นอย่างเพียงพอ จัดให้ผู้เรียนได้รับการฝึกฝนให้ทักษะ ในสถานการณ์ที่หลากหลาย ช่วยทาให้เกิดเป็น กระบวนการนั้น จนสามารถทาได้อย่างชานาญ ทักษะความชานาญได้ การได้รับแรงเสริม และข้อมูลป้อนกลับ ให้แรงเสริมและข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียนอย่าง ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการให้ดีขึ้น เหมาะสม เพื่ อการปรั บปรุ งและพั ฒนาทั กษะ และ ติดตามผลการปรับปรุงและพัฒนา
13
ตาราง 2.4 (ต่อ) หลักการเรียนรู้ และแนวทางการสอนทักษะกระบวนการ หลักการเรียนรูท้ ักษะกระบวนการ แนวทางการสอนทักษะกระบวนการ ก ร ะ บ ว น ก า ร มี ห ล า ย ป ร ะ เ ภ ท เ ช่ น ในการสอนทักษะกระบวนการต่างๆ แม้จะ กระบวนการทางปัญญา กระบวนการทางสังคม ต่างประเภทกัน แต่ก็ต้องให้ใช้/ทา ทักษะนั้นๆ และกระบวนการปฏิบัติ แต่ทุกประเภทจะเกิ ด เช่น เป็นทักษะได้ ต้องอาศัยการดาเนินการหรือการ -ทักษะกระบวนการทางปัญญา ต้องให้ผู้เรียน กระทาทั้งสิ้น ใช้ความคิด -ทักษะกระบวนการปฏิสัมพันธ์ ต้องให้ผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน -ทักษะปฏิบัติ ต้องให้ผู้เรียนลงมือทา ทิศนา แขมณี (2553) 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Skills) เป็นทักษะที่จัดอยู่ในกลุ่มทักษะกระบวนการทางสังคม นอกจากนี้เป็นความชานาญในวิธี ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสถานการณ์ต่างๆ เนื่องจากมนุษย์จาเป็นต้องทางานร่วมกับผู้อื่นที่มีความ แตกต่างหลากหลาย การที่จะสามารถปรับตัวที่ดีได้ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ดังนี้ (1) การเข้าใจตนเอง และการเข้าใจผู้อื่น ที่ครอบคลุมความเข้าใจในธรรมชาติความต้องการ ของมนุษย์ ความเหมือน และความแตกต่างของมนุษย์ ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคมและ จิตใจอารมณ์ รวมไปถึงความสาคัญของการพัฒนาตนเอง และการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อ น มนุษย์ (2) การสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด ความคิด ความรู้สึกและความหมายต่างๆ ที่ มนุษย์ทุกคนจาเป็นต้องใช้เป็นประจาในชีวิตประจาวัน ช่วยให้สามารถเข้าใจกันได้ หากการสื่อสาร ขาดประสิทธิภาพมักก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ดังนั้นทักษะการสื่อสารจึงเป็นทักษะสาคัญใน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งบัณฑิตทุกคนพึงได้เรียนรู้ และฝึกฝนตนเองให้สามารถ ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ สาระและทักษะที่ควรเรียนรู้และฝึกฝนในเรื่องนี้มีจานวนมาก เช่น ศิลปะในการฟัง พูดตอบสนองและแสดงออกอย่างเหมาะสม (3) การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการอยู่ร่วมกัน เป็ นการอยู่ร่วมกันโดยมีการเรียนรู้ร่วมกัน อย่างไม่สิ้นสุด ครอบคลุมเกี่ยวกับ จิตใจ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาตนเอง และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น (4) การทางานร่วมกัน เนื่องจากมนุษย์จะดารงชีพอยู่ได้ด้วยการประกอบอาชีพและการงาน ต่างๆ ซึ่งตามธรรมชาติแล้ว มีมักจะต้องทาร่วมกับผู้อื่น เป็นกลุ่มเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เราจึงจาเป็นต้อง
14
เรียนรู้วิธีการทางานร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และดารงความสัมพันธ์อันดีต่อกันไป พร้อมๆกัน โดยอาศัยทั้งความรู้ ความเข้า ใจ และการฝึกฝนทักษะต่า งๆ เช่น การเป็นผู้นา และ สมาชิกกลุ่มที่ดี การทางานอย่างเป็นระบบด้วยกระบวนการที่ดี การสร้างทีมงานที่ดี การแก้ปัญหา และขจัด/ลดความขัดแย้ง ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สามารถพัฒนาให้แก่ผู้เรียนได้ทั้งอย่างเป็นทางการ และ ตามอัธยาศัย กล่าวคือ สามารถวางแผนจัดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้สาระ มโนทัศน์ และฝึกฝนทักษะ เกี่ยวกับ เรื่องต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นตามความเหมาะสมกับปัญหา ความต้องการและสถานการณ์ หรื อาจบูรณาการในการสอนสาระต่างๆ ของวิชา หรืออาจเป็นการสอนทันที ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หากมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังเกตเห็นปัญหาที่ เกิดขึ้น ให้ความสาคัญต่อปัญหา และไม่ละทิ้งโอกาสที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 5. การเรียนรู้ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวแลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) ทักษะเหล่านี้ อยู่ในกลุ่มกระบวนการ (Process Skills) แต่ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข เป็นทักษะกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Skills) และทักษะกระบวนการปฏิบัติ (Performance skills) และทักษะการสื่อสาร เป็นได้ทั้งทักษะกระบวนการทางปัญญาและทักษะกระบวนการสังคม (Social Skills) ส่วนทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น เป็นได้ทั้งทักษะกระบวนการทาง ปัญญาและทักษะกระบวนการปฏิบัติ (Performance Skills) ทั้งนี้ทักษะทั้ง 3 ประการนี้ จาเป็นต้อง มีก ารเรี ย นรู้ ด้ า นความรู้ (Knowledge) ควบคู่ ไ ปด้ว ย ดัง นั้ น การพั ฒ นาการเรี ย นรู้ทั ก ษะทั้ ง 3 ประการ จึงต้องใช้หลักการและแนวทางเดียวกันกับการเรียนรู้ด้านทักษะกระบวนการ ทักษะการคิด และทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังกล่าวไว้แล้ว 1.3 รูปแบบการเรียนการสอน รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธพิสัย รูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ ในเนื้อหาสาระต่าง ๆ ในรูปของข้อมูล ข้อเท็จจริง มโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอด ได้แก่ 1. รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ (ทิศนา แขมมณี,2548) ผู้เรียนจะได้รับการเตรียมความพร้อมในการศึกษาเปรียบเทียบ ข้อมูลตัวอย่าง 2 สิ่งที่ แตกต่างกัน ผู้เรียนสังเกตข้อมูลตัวอย่างทั้ง 2 ชุด คิดหาคุณสมบัติร่วมและคุณสมบัติต่าง เสนอข้อมูล ที่ ใช่และไม่ใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะเรียนรู้สลับกันไปจนครบ ครูผู้สอนเฉลยว่าตอบถูกหรือผิด หลังจากนั้น ผู้เรียนบอกคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งที่เรียนรู้ สรุปและให้คาจากัดความ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโน ทัศน์ จากการคิด วิเคราะห์ และตัวอย่างที่หลากหลาย เข้าใจมโนทัศน์ เรียนรู้ทักษะการสร้างมโน
15
ทัศน์ พัฒนาการให้เหตุผลโดยการอุปนัย (inductive reasoning) ต่อ ไปผู้เรียนจะสามารถคิ ด วิเคราะห์ ตีความ สรุป สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง 2. รูปแบบการเรียนการสอนของกานเย่ (ทิศนา แขมมณี, 2548) รูป แบบการเรี ยนการสอนของกานเย่ ประกอบด้ ว ยการด าเนิน งานเป็ น ล าดั บ ขั้นตอนการสอน 9 ขั้น ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง โดยจัดสถานการณ์ภายนอกให้เอื้อ ต่อสภาพภายในของผู้เรียน ได้แก่ 1) กระตุ้นเร้าความสนใจของผู้เรียน เพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น 2) แจ้งวัตถุประสงค์ ทาให้ผู้เรียนตั้งความคาดหวัง 3) กระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม ทาให้พร้อมรับ ความรู้ใหม่ 4) นาเสนอสิ่งเร้าหรือเนื้อหาสาระใหม่ ให้เห็นลักษณะที่สาคัญอย่างชัดเจน 5) การให้ แนวการเรียนรู้หรือจัดระบบข้อมูลให้มีความหมาย เพื่อให้เรียนรู้ได้ง่ายและเร็วขึ้น 6) กระตุ้นให้ ผู้เรียนตอบสนองแสดงความสามารถ เพื่อให้ทราบถึงผลการเรียนรู้ 7) ให้ข้อมูลป้อนกลับ เสริมแรง ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ 8) ประเมินผลการแสดงออกของผู้เรียน ทาให้ผู้เรียนทราบว่าบรรลุ วัตถุประสงค์เพียงใด 9) ส่งเสริมความคงทนและการถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการฝึกฝนในหลาย สถานการณ์ ทาให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้สาระที่นาเสนอได้อ ย่างดี รวดเร็ว และจดจาได้นาน และยังได้ทักษะในการจัดระบบข้อมูล สร้างความหมายของข้อมูล และการแสดงความสามารถของ ตนกระบวนการเรียนรู้และจดจา เป็นกระบวนการในสมอง มีข้อมูลสะสมไว้ สภาพการเรียน การ สอนจากภายนอก จะส่งเสริมหรือยับยั้งกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง การเรียนรู้ที่ดีจึงเกิดจาก การจัดสภาพการเรียนรู้ภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียน 3. รูปแบบการเรียนการสอนใช้ผังกราฟิก (ทิศนา แขมมณี, 2548) รูปแบบการเรียนการสอนใช้ผังกราฟิกนั้น ผู้เรียนใช้กระบวนการเรียนรู้อย่างมี ความหมาย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เลือกรับข้อมูลที่สัมพันธ์กัน 2) จัดระเบียบข้อมูลเข้าสู่โครงสร้าง 3) การบูรณาการข้อมูล 4) การเข้ารหัส (encoding) รับข้อมูลการเรียนรู้เพื่อให้คงอยู่ในความจา ระยะยาว สามารถเรียน ศึกษาใช้ได้ง่าย ตามหลักการทฤษฏีกระบวนการทางสมอง ในการประมวลผล ข้อมูลซึ่งกระบวนการเรียนรู้ จะเกิดได้จากองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ความจาข้อมูล กระบวนการทาง ปัญญา และเมตาคอคนิชั่น (met cognition) ความจาระยะสั้นเกิดจากความรู้สึกสัมผัส หรือการตีความสิ่ง เร้าที่รับรู้ จะเก็บข้อมูลไว้ได้ชั่วคราว ส่วนความจาระยะยาว คงทน เก็บได้นาน มี 2 ลักษณะ คือ จา เหตุการณ์และจาความหมายความจาจะมีประสิทธิภาพเพียงใด ขึ้นอยู่กับกระบวนการทางปัญญาของ บุคคลนั้นประกอบด้วย การใส่ใจ การรับรู้ การทาซ้า การเข้ารหัส การเรียกคืน ด้วยหลักการดังกล่าวการ เรียนรู้จึงเป็นการสร้างความรู้ของบุคคล จากการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับโครงสร้างความรู้เดิม และนา
16
ความรู้ความเข้าใจมาเข้ารหัสหรือตัวแทนทางความคิดที่มีความหมายต่อตนเองด้วยผังกราฟิก ซึ่งมี หลากหลาย เช่น ผังขั้นตอนการทางาน ผังโครงสร้าง ส่วนประกอบ ผังระบบผังใยแมงมุม 4. รูปแบบการเรียนการสอนพหุปัญหาเพื่อการเรียนรู้ (กิ่งแก้ว อารีรักษ์ และคณะ: 2548; กรมวิชาการ, 2550) พหุ ปั ญ ญาเป็ น ทฤษฏี เ กี่ ย วกั บ การเรี ย นรู้ แ ละสติ ปั ญ ญา สติ ปั ญ ญา คื อ ความสามารถทางชี ว ภาพที่ แ ต่ ล ะคนแสดงออกมา เป็ น สิ่ ง ผสมผสานระหว่ า งพั น ธุ ก รรมกั บ สิ่งแวดล้อม ลักษณะทางปัญญาของมนุษย์ มี 3 มิติ คือ เนื้อหา กระบวนการคิด และผล คนเราจะ มีสติปัญญาหรือพหุปัญญา 8 ด้าน มากน้อยต่างกัน แต่ละด้านพัฒนาได้ ทางานร่วมกันได้ พหุ ปัญญา 8 ด้าน ได้แก่ ภาษา คณิตศาสตร์/ตรรกะ มิติสัมพันธ์/ศิลปะ ความถนัดทางด้านร่างกาย/การ เคลื่อนไหว ดนตรี/จังหวะ มนุษยสัมพันธ์ ความเข้าใจตนเอง และด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อ ม นักเรียนจะได้เรียนรู้จากกิจกรรม 5 รูปแบบ คือ 1) ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็น ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ มีโอกาสได้ พัฒนาพหุปัญญา หรือปัญญาหลายด้านพร้อม ๆ กัน 2) มีส่วน ร่วมในการเรียนรู้ โดยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีประสบการณ์ในการมีส่วนร่วม เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ทางานกลุ่ม 3) สามารถวิเคราะห์การเรียนรู้ ผู้เรียนได้แสดงความรู้สึกของตนเองต่อการทากิจกรรม ได้ตอบคาถามที่ได้รับจากประสบการณ์การเรียนรู้ จากคาถามว่า ทาอะไร กับใคร ทาไม และเกิด ความรู้สึกอย่างไร 4) สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สรุปได้เอง สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทาให้การ เรียนรู้มีความหมายต่อนักเรียน มากกว่าการเรียนรู้ จากท่องจาจากตารา 5) นาสิ่งที่ไ ด้เรียนรู้ไ ป ประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง เป็นการเรียนรู้ที่แท้ คือ นาความรู้ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหากับสิ่งที่เกิดใน ชีวิตจริง ได้รับการกระตุ้นให้คิดว่าจะนาสิ่งที่สรุปได้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรบ้าง 5. รูปแบบการเรียนการสอนความสามารถพิเศษ (กรมวิชาการ, 2540) Taylor กล่าวว่า ผู้ที่มีความสามารถพิเศษสูงในด้านใดถือว่าปัญญาเลิศ (gifted) ใน ด้านนั้น และผู้ที่มีความสามรถระดับปานกลาง ถึงค่อนข้างสูงในด้านใดจัดเป็นมีความสามารถพิเศษ (Talent)ในด้านนั้น ความแตกต่างระหว่างปัญญาเลิศกับความสามารถพิเศษเป็นเรื่อ งของระดับ เท่านั้น เด็กเกือบทุกคนมีความสามารถพิเศษ เทเลอร์ จัดกลุ่มความสามารถที่ใช้ในชีวิตและงาน เป็น 6 ด้าน คือ วิชาการ, การสื่อสาร, ความสร้างสรรค์, การวางแผน, การตัดสินใจ และการทานาย คาดการณ์ ล่ ว งหน้ า ถ้ า ครู ส นใจสอนนั ก เรี ย นให้ พั ฒ นาหลายด้ า น เด็ ก เกื อ บร้ อ ยละ 90 จะมี ความสามารถสูงในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ถ้าสอนวิชาการด้านเดียว จะพบว่า เด็กเพียงร้อยละ 50 จะมีความสามารถสูงกว่าปกติ ถ้าสอนสองด้านเพิ่มเป็นร้อยละ 60 ในด้านใดด้านหนึ่ง ถ้าสอน สามด้านจะเพิ่มเป็นร้อยละ 70 ในด้านในด้านหนึ่ง นักเรียนควรได้รับการพัฒนาหลาย ๆ ด้าน ไม่ใช่ วิ ช าการอย่ า งเดี ย ว ได้ เ รี ย นรู้ จ ากกิ จ กรรมปลายเปิ ด เพื่ อ ได้ มี โ อกาสแสดงออกและพั ฒ นา
17
ความสามารถพิเ ศษต่า ง ๆ ให้เป็ นการเรียนรู้ของเด็ก ไม่ ใช่ต้อ งเรีย นรู้จากครูอ ย่างเดียว ทาให้ กิจกรรมการเรียนรู้สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตจริง ทักษะที่จาเป็นในชีวิตจริงนักเรียนจะได้จาก กิจกรรมนอกเวลา เช่น กิจกรรมชุมนุม กีฬา ดนตรี นักเรียนได้มีโอกาสวางแผน รู้วิธีปฏิบัติต่อ ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้ฝึกความเป็นผู้นา เป็นการใช้ข้อ มูลมากกว่าการแสวงหาข้อ มูล นักเรียนเป็น ผู้กระทามิใช่ผู้รับเฉย ๆ ความสามารถพิเศษทางด้านการวางแผน นักเรียนจะต้องฝึกปฏิบัติวางแผน ในสถานการณ์จาลอง ความสามารถพิเศษ ทางด้านการสื่อสาร นักเรียนก็จะต้องแสดงความคิดเห็น สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ ความสามารถพิเศษด้านอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกันต้องฝึกการใช้ข้อมูลในลักษณะ ต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้เนื้อหาวิชาการได้มากขึ้น จากการพัฒนาหลายด้าน การไม่เน้นเนื้อหา จะช่วยให้การเรียนดีขึ้น นักเรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะที่จาเป็นในชีวิตจริง มีความสามารพิเศษ สูง และหนึ่งในสามของนักเรียนจะมีความสามารถสูงมาก ถึงระดับปัญญาเลิศ 6. รูปแบบการเรียนการสอนเน้นประสบการณ์ (กิ่งแก้ว อารีรักษ์ และคณะ, 2548) การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ (Experiential Learning) หมายถึง การเรียนรู้จาก ประสบการณ์ หรือการเรียนรู้โดยการลงมือทา ดึงประสบการณ์เดิมจากตัวผู้เรียนแล้วผู้เรียนได้รับ การกระตุ้นให้สะท้อนแนวคิดจากประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ เพื่อพัฒนาความรู้ความคิดใหม่ รวมทั้ง ทักษะและเจตคติใหม่ ต่างจากการเรียนรู ปแบบเดิม ที่ครูเ ป็นศู นย์กลางการเรี ยนรู้ กาหนดและ ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน ผู้เรียนเป็นผู้รับรู้การเรียนรู้เน้นประสบการณ์ มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม จากสื่อ รูปภาพของจริ ง 2) ผู้เรียนสะท้อนความคิดจาก ประสบการณ์ด้วยมุมมองที่หลากหลาย จากการตอบคาถาม ทากิจกรรม 3) ผู้เรียนสรุปความรู้ จาก การสังเกต และการสะท้อนเป็นความคิดรวบยอด ซึ่งเป็นนามธรรม และสรุปเป็นหลักการซึ่งได้ จากการบูรณาการ การสังเกตกับทฤษฏี 4) ผู้เรียนนาหลักการนั้นไปประยุกต์ใช้ หรือทดลองใช้ใน สถานการณ์ต่าง ๆ กิจกรรมหลากหลาย ครูสังเกต บันทึก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการสร้าง ความรู้ด้วยตนเอง ปรับความรู้เดิมให้เป็นความรู้ใหม่ ที่มีความหมาย นาไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง และพัฒนาการคิด แก้ปัญหาด้วย วิธีการสอนและการเรียนรู้แบบอุปนัย การสอนแบบดั้งเดิมเป็นแบบนิรนัย โดยเริ่มต้นสอนด้วยหลักการทางทฤษฎีต่าง ๆ แล้ว นาไปประยุกต์ใช้ นอกจากนั้นยังมีวิธีดาเนินการสอนแบบใหม่ให้เลือ กใช้อีก คือ การสอนแบบ อุปนัย การทบทวนเอกสารครั้งนี้ได้นาเสนอหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบอุปนัย โดย เกริ่นนาด้วยการนาเสนอข้อสังเกตบางประการ กรณีศึกษา หรือปัญหาที่เกิดขึ้น และทฤษฎีที่ใช้ใน การสอนหรือการช่วยให้นักเรียนได้ค้นหาสิ่งที่เขาต้องการจาเป็นต้องเรียนรู้
18
การทบทวนเอกสารครั้งนี้ได้ทบทวนวิธีการสอนต่าง ๆ ที่มีการใช้หลักการสอนแบบอุปนัย เป็นพื้นฐาน รวมถึงการเรียนรู้แบบสืบเสาะ การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้ที่ใช้โครงงาน การสอนที่ใช้กรณีศึกษา การเรียนรู้แบบค้นหา และการสอนเพื่อฝึกทักษะในเวลา ในที่นี้มีการให้คา นิยาม รวมทั้ งจุ ดที่ น่า สนใจ ลั กษณะส าคั ญที่ มีร่ วมกัน และต่ างกันโดยเฉพาะ ตลอดจนผลการ ศึกษาวิจัยที่มีการทบทวนถึงประสิทธิผลของแต่ละวิธี ในขณะที่ความแกร่งของหลักฐานหรือข้อค้นพบเกี่ยวกับประสิทธิผลที่ได้มีความผันแปร ไปในแต่ละวิธีนั้น สาหรับการสอนในกลุ่มวิธีการสอนแบบอุปนัยกลับพบว่ามีความแตกต่างกัน น้อยมาก และมีประสิทธิผลเชิงนัยทั่วไปที่มากกว่าการสอนในกลุ่มวิธีการสอนแบบนิรนัยในการ บรรลุถึงผลลัพธ์ที่คาดหวังของการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง วิธีการสอนแบบนิรนัยและแบบอุปนัยที่มีบทบาทต่อวงการการศึกษา การสอนแบบนิรนัย ผู้สอนนาเสนอบทเรียนและหัวข้อที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ด้วยการบรรยาย ตามหลักการทั่วไป จากนั้นใช้หลักการดังกล่าวสร้างเป็นแบบจาลองทางคณิตศาสตร์ขึ้นมา แปล ความหมาย และอธิบายถึงการนาแบบจาลองดังกล่าวไปใช้ให้แก่นักเรียน หลังจากนั้นให้นักเรียน ปฏิบัติตามในทานองเดียวกันและมอบหมายงานให้นักเรียนไปทาเป็นการบ้าน และท้ายที่สุดทาการ ทดสอบความสามารถของนักเรียนในลักษณะเช่นนี้อีก การทดสอบก็ค่อนข้างละเลยที่จะถามว่า “ทาไม” ทาไมจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งนี้เนื่อ งจากว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้สามารถอธิบายในเชิงแบบจาลองได้ สิ่งที่เป็นปัญหาในทาง ปฏิบัติสามารถนาหลัก การทางทฤษฎีไ ปใช้ แก้ปัญหาได้ และคาถามที่ว่า ทาไมนักเรียนจึงต้อ ง ห่วงใยและใส่ใจต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การสอนหรือการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนเพียงแต่สามารถกระตุ้นให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจที่จะตอบคาถามในลักษณะนี้แล้ว ก็ย่อมทาให้ นักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาวิชา และหลักสูตรต่าง ๆ รวมทั้งการประกอบอาชีพของตนในอนาคต ต่อไปได้เป็นอย่างดี การปลูกฝังให้นักเรียนมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ดีตามหลักจิตวิทยาการศึกษาเป็นสิ่งที่สาคัญ มากต่อการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า ทาไมนักเรียนจึงมีความจาเป็นที่จะต้องเรียนรู้ หรือ รู้สิ่งนั้น ให้ได้ นักเรียนอาจจะตอบมาอย่างง่ าย ๆ ว่า สิ่งที่เขาต้อ งการอาจได้แก่ความรู้และ ทักษะที่เพียงพอไม่ใช่เฉพาะเพียงแต่เป็นสิ่งที่ได้มาจากการเร้ากระตุ้นให้เขามีเพียงวัน ๆ เท่านั้น การสอนและการเรียนรู้แบบอุปนัยจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยการสอนแบบนี้จะเริ่ม ด้วยให้นักเรียนได้รู้หลักการทั่วไปและท้ายที่สุดให้มีการประยุกต์ใช้ เช่น เริ่มสอนจากสิ่งที่มีความ เฉพาะ ได้แก่ ชุดข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลอง จากนั้นให้แปลผล นาข้อมูลที่เป็นกรณี ตัวอย่างมาให้ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล หรือนาสถานการณ์ที่เป็นปรากฏการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
19
มาให้นักเรียนหาทางแก้ไข ในกรณีเหล่านี้นักเรียนต้องพยายามวิเคราะห์ข้อมูล คาดการณ์ (ฉายภาพ อนาคต) หรือ แก้ปั ญ หา ซึ่ง นั กเรี ยนจะมี ค วามต้อ งการข้อ เท็จ จริง กฎ วิธี ก าร และหลั ก ปฏิ บั ติ ครูผู้สอนต้องทาให้นักเรียนได้รับข้อมูลสารสนเทศที่เพียงพอและช่วยให้สามารถค้นหาสิ่งนั้นได้ ด้วยตัวเอง การสอนและการเรี ยนรู้ แ บบอุ ป นั ยเป็ น กลุ่ม ของวิธี ก ารสอนที่ รวมถึ ง การเรี ยนรู้ แ บบ สืบเสาะ การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้ที่ใช้โครงงาน การสอนที่ใช้กรณีศึกษา การเรียนรู้ แบบค้นหา และการสอนเพื่อฝึกทักษะในเวลาซึ่งวิธีการเหล่านี้มีลักษณะและคุณสมบัติต่าง ๆ บน พืน้ ฐานของวิธีการแบบอุปนัยร่วมกันอยู่มาก ทุกวิธีที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ล้วนมี “ผู้เรียนหรือนักเรียน เป็นศูนย์ก ลาง” โดยมีจุดมุ่ง เน้นของการจัดกิจ กรรมการเรียนการสอน คือ ความรับ ผิดชอบต่ อ นักเรียนเพื่อให้เขาเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมากกว่าวิธีการสอนแบบดั้งเดิมที่เป็นแบบนิรนัย การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทุกวิธีได้รับการสนับสนุนจากข้อค้นพบทางการวิจัยที่ พบว่า นักเรียนได้เรียนรู้โดยสามารถใช้ข้อ มูลสารสนเทศชุดใหม่ให้เข้ากับโครงสร้างทางปัญญา หรือความรู้เดิมได้อย่างเหมาะสม แต่อ ย่างไรก็ตาม ก็ไม่แน่ว่านักเรียนจะเรียนรู้ไ ด้ถ้ าหากข้อ มูล สารสนเทศที่เขาได้รับมีเนื้อหาสาระที่อ่อนด้อย กล่าวคือ เป็นสิ่งที่นักเรียนมีองค์ความรู้นั้น ๆ อยู่ แล้ว การสร้างองค์ความรู้ของนักเรียนผ่านการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นมีกระบวนการ ในลักษณะที่เรียกว่า “การสร้างสรรค์นิยม” โดยมีการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากหลักการที่เป็นที่ ยอมรับกันโดยทั่วไปในลักษณะที่เป็นแบบฉบับของตนเองจริง ๆ มากกว่าที่จะเป็นการเลียนแบบ ตัวอย่างจากครูผู้สอนอย่างง่าย ๆ การจัดกิจกรรมมักจะให้นักเรียนได้อภิปรายและแก้ไขปัญหาตาม ประเด็นข้อคาถามในชั้นเรียนร่วมกัน (เรียกว่า การเรียนแบบกระตือ รือร้น) นอกจากนี้ยังเน้นให้ นักเรียนทางานร่วมกันทั้งในและนอกห้องเรียนเป็นคู่หรือกลุ่ม (เรียกว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือรวม พลังหรือแบบร่วมมือกัน) คุณลักษณะและลักษณะร่วมกันของแต่ละวิธีการในการสอนแบบอุปนัย ปรากฏดังตารางที่ 3 ในที่นี้จะเห็นว่ามีความแตกต่างระหว่างวิธีการสอนในกลุ่มการสอนแบบอุปนัย ดังเช่น ผลผลิตสุดท้ายของการมอบหมายงานให้นักเรียนทาโครงงานจะเป็นการเขียนรายงานหรือ การรายงานปากเปล่าอย่างเป็นทางการ ส่วนผลผลิตสุดท้ายของการสอนให้สืบเสาะแบบชี้นาอาจจะ ง่ายที่จะได้รับคาตอบจากคาถามที่สนใจถาม เช่น ทาไมการต้มไข่ใ ห้สุกบนภูเขาจึงใช้เวลามากกว่า การต้มไข่แถวชายทะเล เป็นต้น สาหรับการสอนที่ใช้กรณีศึกษาและการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน เกี่ ยวข้อ งกั บการวิเ คราะห์แ ละการทดสอบอนาคตภาพเชิง สมมติฐ าน ในขณะที่ก ารสอนแบบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอาจจะง่ายต่อการเรียกให้นักเรียนตอบคาถามเกี่ยวกับสิ่งให้อ่านหรือฟังมาก่อน ในเนื้อหาจากการบรรยาย อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของวิธีการสอนดังกล่าวจะหายไปได้เมื่อ
20
ครู ผู้ ส อนทราบว่ า จะน าวิ ธี ก ารสอนแต่ ล ะวิ ธี ไ ปใช้ จ ริ ง ให้ เ หมาะสมกั บ สถานการณ์ อ ย่ า งไร รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
การสืบเสาะ
การใช้ปัญหาเป็นฐาน
การทาโครงงาน
การศึกษารายกรณี
การค้นหา
การฝึกทักษะในเวลา
ตาราง 2.5 คุณลักษณะและลักษณะร่วมกันของแต่ละวิธีการในการสอนแบบอุปนัย วิธีการสอน
1
2
2
2
2
2
4
1
3
2
4
4
4
4
1
3
4
4
4
4
4
1
4
4
2
2
2
3
1
2
ลักษณะการสอน
การป้ อ นค าถามหรื อ น าเสนอปั ญ หาในบริ บ ท สาหรับการเรียนรู้ การให้ สถานการณ์ที่มี ความยุ่งยาก โครงสร้ างที่ ซับซ้ อน และค าถามปลายเปิ ดเกี่ ยวกับปั ญหาใน ชีวิตประจาวันในบริบทสาหรับการเรียนรู้ การให้ทาโครงงานในบริบทสาหรับการเรียนรู้ การให้ศึกษารายกรณีในบริบทสาหรับการเรียนรู้ การให้นักเรียนค้นหาเนื้อหาวิชาสาหรับตนเอง
4 4 4 4 การให้ นั ก เรี ย นท าแบบฝึ ก หั ด เพื่ อ สะท้ อ นความ 4 เข้ า ใจผ่ า นระบบอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ และครู ผู้ ส อน ปรับ เปลี่ ยนบทเรียนให้เ หมาะสมตามการเรี ยนรู้ หรือผลการตอบสนองที่เกิดขึ้น 4 3 3 3 2 การให้นักเรียนมุ่งเน้นเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง 2 2 2 2 2 การให้นักเรียนเรียนรู้แบบกระตือรือร้น 3 3 4 4 การให้นั ก เรี ยนเรีย นรู้ แ บบร่ว มมือ รวมพลั งหรื อ 4 ร่วมมือกัน (เน้นการทางานเป็นทีม) หมายเหตุ 1 = มีโดยนิยาม, 2 = มีอย่างสม่าเสมอ, 3 = มีตามปกติ และ 4 = มีตามความเป็นไปได้
1
4 2 4
21
วิธีการสอนแบบอุปนัยแต่ละวิธีล้วนมีประวัติความเป็นมาของตัวเอง มีฐานข้อมูลทางการ วิจัย หนั งสือ คู่มื อการใช้ กลุ่ มผู้ สนับ สนุน และกลุ่ มผู้คั ดค้า น และวิธีก ารจั ดการที่ เหมาะสมกั บ ความเห็ นที่ ขัดแย้งกั นอยู่ในเรื่อ งที่ เกี่ย วกับ วิธี การและความสั มพัน ธ์ซึ่ งกัน และกัน ดัง นั้น การ ทบทวนเอกสารครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะสรุปคานิยาม แนวคิดหรือทฤษฎีพื้นฐาน ความเหมือน และความแตกต่างระหว่างวิธีการสอนในกลุ่มการสอนแบบอุปนัย และทบทวนหลักฐานการวิจัย เกี่ยวกับประสิทธิผลของการสอนแต่ละวิธี ตอนที่ 2 การวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผล ประกอบด้วยหัวข้อ ย่อ ย ดังต่อ ไปนี้ 2.1) แนวคิดในการวัดและ ประเมิ น ผลการศึ ก ษา 2.2) ระเภทของการวั ด และประเมิ น ผล 2.3) ที่ ใ ช้ ใ 2.1 แนวคิดการวัดและประเมินผลการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้ Bloom (1956) ได้จาแนกจุดมุ่งหมายทางการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย (cognitive domain) จิตพิสัย (affective domain) และทักษะพิสัย (psychomotor) ในด้านพุทธิพิสัยนั้นเป็น จุดมุ่งหมายที่มุ่งพัฒนาสมรรถภาพทางด้านสติปัญญา ซึ่งได้จัดแบ่งไว้เป็น 6 ขั้นตอน/ระดับ ได้แก่ 1) ความรู้ ความจา (Knowledge) การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจาและการระลึกได้ ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นความจาที่เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจา ในสิ่ง ที่ยุ่งยากซับ ซ้อนและมีค วามสั มพันธ์ ระหว่ างกัน ซึ่ง เป็นการทางานขั้ นต่าสุ ดของสมอง อารมณ์และความสนใจมีผลต่อความจา สมาธิ การเรียนรู้ สติปัญญา และการทางานของสมอง เน้น คาถาม ใครทาอะไร ที่ไหน โดยไม่มีการประยุกต์ใช้ เช่น เมืองหลวงของไทยชื่อ อะไร จาแนก ออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ความรู้ในเรื่องเฉพาะ (knowledge of specifics) ความรู้ในวิธีดาเนินการ (knowledge of ways and means of dealing with specific) และความรู้รวบยอดในเนื้อ เรื่อ ง (knowledge of the universal and abstractions in a field) 2) ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการขยายความรู้ ความจา ให้กว้างออกไปจากเดิมอย่างสมเหตุสมผล การแสดงพฤติกรรมเมื่อเผชิญกับสื่อความหมาย และความสามารถในการแปลความหมาย การสรุ ปหรือ การขยายความสิ่ งใดสิ่ง หนึ่ ง รวมถึ ง ความสามารถในการจับใจความสาคัญของเรื่อง สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเดิมออกมาเป็นภาษาของ ตนเองได้โดยที่ยังมีความหมายเหมือนเดิมความจาและความเข้าใจ เป็นกระบวนการคิดอย่างง่าย และมักไปด้วยกัน เน้นคาถามทาไม โดยให้ สรุป อธิบาย บรรยาย แยกแยะ ตีความ หาความต่าง
22
ประมาณ ขยายความ พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกว่ามีความเข้าใจมี 3 ลักษณะ คือ การแปลความ (translation) การตีความ (interpretation) และการขยายความ (extrapolation) 3) การนาไปใช้ (Application) เป็นความสามารถในการนาหลักวิชา ความรู้ (knowledge) ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (comprehension) ในเรื่องใด ๆ ที่มีอยู่เดิม ไปแก้ไ ขปัญหาใน สถานการณ์ใหม่ซึ่งอาจใกล้เคียงหรือ คล้ายคลึงกับสถานการณ์ที่เคยพบเห็นมาก่อ น โดยการใช้ ความรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการกับความคิดรวบยอดมาผสมผสานกับความสามารถในการ แปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งนั้น เช่น การนาสูตรหาพื้นที่สามเหลี่ยมไปใช้หา พื้นที่สามเหลี่ยมรูปใหม่ได้ การแก้ประโยคที่เขียนไวยากรณ์ผิดได้ ครูสอนวิธีการบวกเลขในชั้น เรียนแล้ว นักเรียนสามารถคิดเงินเมื่อทางบ้านใช้ให้ไปซื้อของที่ร้านค้าได้ หรือหลังจากที่นักเรียน เรียนรู้ประโยชน์ของปุ๋ยประเภทต่าง ๆ แล้ว สามารถเลือกปุ๋ยเพื่อใช้ในการปลูกผักที่บ้านของตนได้ ถูกต้อง เป็นต้น นอกจากนี้การนาข้อมูลไปประยุกต์ใช้ของสมอง เน้นคาถามเพื่อแก้ปัญหา ทดลอง คานวณ ทาให้สมบูรณ์ ตรวจสอบ หรือ ค้นพบ โดยให้ ใช้ข้อมูล ใช้กฎ ใช้ทฤษฎี แสดง คานวณ ทดสอบ แก้ปัญหา ค้นหา เปลี่ยน ขยายความ 4) การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถและทักษะที่สูงกว่าความเข้าใจ และการ นาไปใช้ โดยมีลักษณะเป็นการจาแนก แยกแยะองค์ประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อ ค้นหาว่ามีองค์ประกอบย่อยๆ อะไรบ้าง ทามาจากอะไร ประกอบขึ้นมาได้อย่างไรและมีความ เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ ว่าสามารถเข้ากันได้ หรือไม่ อันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง นอกจากนี้เป็นการใช้สมองซีก ซ้ายเป็นหลัก เป็นการคิดเชิงลึก จาแนก แยกแยะ คิดละเอียดจากเหตุไปผล เชื่อมโยงความสัมพันธ์ ในเชิงเหตุและผล เพื่อเข้าใจ รู้ความแตกต่าง เปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง ข้อดี ข้อเสีย การ วิ เ คราะห์ อ าจเป็ น เรื่ อ งใกล้ ตั ว หรื อ เป็ น สถานการณ์ ที่ ก าลั ง เกิ ด ขึ้ น มี 3 ลั ก ษณะ วิ เ คราะห์ ส่วนประกอบ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ วิเคราะห์หลักการ โดยให้ จาแนก แยกแยะ จัดลาดับ อธิบาย เปรียบเทียบ เลือก อธิบาย โดยมี 3 ลักษณะ คือ การวิเคราะห์ความสาคัญ (analysis of elements) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ (analysis of relationship) และวิเคราะห์หลักการ (analysis of organizational principles) 5) การสั ง เคราะห์ (Synthesis) เป็ น ความสามารถในการการผสมผสาน รวบรวม ส่วนประกอบย่อย ๆ หรือส่วนใหญ่ ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อเป็นสิ่ง ใหม่อีกรูปแบบหนึ่งมีคุณลักษณะ โครงสร้างหรือหน้าที่ใหม่ที่แปลกแตกต่างไป การสังเคราะห์จึงมี ลักษณะของการเป็นกระบวนการรวบรวมเนื้อ หาสาระของเรื่อ งต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อ สร้าง รูป แบบหรื อ โครงสร้ า งที่ ยั ง ไม่ ชั ด เจนขึ้ น มาก่ อ น อั น เป็ น กระบวนการที่ ต้ อ งอาศั ย ความคิ ด
23
สร้างสรรค์ภายในขอบเขตของสิ่งที่กาหนดให้ หรือ เป็นการคิดใหม่ ประดิษฐ์สิ่งใหม่ จากการ รวบรวมส่วนประกอบย่อยผสมผสานกลมกลืนจนกลายเป็นสิ่งใหม่ที่มีเอกลักษณ์และคุณสมบัติต่าง ไปจากเดิม หรือคิดสร้างแนวคิดใหม่ โดยให้ สร้างใหม่ จัดระเบียบ ทาให้เป็นรูปแบบทั่วไป หา สูตร วางแผน เขียนใหม่ในรูปอื่นแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ การสังเคราะห์ข้อความ (Production of unique communication) การสังเคราะห์แผนงาน (Production of plan, or proposed set of operation) และการสังเคราะห์ความสัมพันธ์ (Derivation of a set of abstract relations) 6) การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการพิจารณาตัดสินหรือสรุปเกี่ยวกับ คุณค่ าของเนื้อหา ความคิ ด ค่านิย ม ผลงาน คาตอบ วิธีการและเนื้ อ หาสาระเพื่อ วัต ถุประสงค์ บางอย่าง โดยมีการกาหนดเกณฑ์ (Criteria) เป็นฐานในการพิจารณาตัดสิน การประเมินค่า จัดได้ว่า เป็นขั้นตอนที่สูงสุดของพุทธิลักษณะ (Characteristics of cognitive domain) ที่ต้องใช้ความรู้ความ เข้าใจ การนาไปใช้ การวิเคราะห์และการสังเคราะห์เข้ามาพิจารณาประกอบกันเพื่อทาการประเมิน ค่าสิ่งหนึ่งสิ่งใด ดังนั้นการประเมินค่า จะอาศัยเกณฑ์และมาตรฐานที่วางไว้ เป็นการคิดตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลเปรียบเทียบกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ เป็นทักษะการคิดชั้นสูง โดยให้ เปรียบเทียบ หา คุณค่า จัดลาดับ สร้างทางเลือก สนับสนุน สรุปความ อธิบาย แยก แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ ประเมินโดยอาศัยเกณฑ์ภายใน (Judgment in terms of internal evidence) และประเมินโดยอาศัย เกณฑ์ภายนอก (Judgment in terms of external criteria) 2.2 ประเภทของการวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้น ผู้สอนสามารถดาเนินการประเมินได้ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ การประเมินความรู้ (Knowledge) การประเมินเกี่ยวกับเจตคติ (Attitude) และการ ประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติ (Practice) ของเรียน โดยมีรายละเอียดในแต่ละลักษณะ (ไชยยศ ไพ วิทยศิริธรรม. 2552) ดังนี้ 1. การประเมินความรู้ของผู้เรียน ในการประเมินความรู้ของผู้เรียน ผู้สอนสามารถใช้แบบ สอบ (Test) เป็นเครื่องมือ โดยแบบสอบหมายถึงชุดของข้อคาถามที่ใช้วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย หรือด้านสมองหรือด้านความรู้ (Cognitive Domain) ของผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียนเนื้อหานั้นๆ ไป แล้ว เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนได้บรรลุตามเป้าหมายที่ผู้สอนกาหนดไว้หรือไม่ แบบสอบสามารถจาแนกออกได้เป็นหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจาแนก ซึ่งหากจาแนกตามรูปแบบการตอบสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ แบบเลือกคาตอบหรือแบบสอบ ปรนัย ซึ่งเป็นแบบสอนที่ให้ผู้สอบเลือกคาตอบ สามารถแบ่งออกเป็น แบบสอบแบบถูกผิด แบบ สอบแบบจับคู่ และแบบสอบแบบเลือ กตอบหรือ หลายตัวเลือก และแบบสอบแบบเสนอคาตอบ หรืออัตนัย แบบสอบลักษณะนี้เป็นแบบสอบที่ให้อิสระแก่ผู้สอบในการกาหนดคาตอบ สามารถ
24
แบ่งออกเป็นแบบสอบอัตนัยแบบจากัดตาตอบ แบบสอบอัตนัยแบบไม่จากัดคาตอบ และแบบสอบ แบบเติมคาหรือตอบสั้น (ในกรณีที่ไม่มีตัวเลือกมาให้เลือกตอบ) แต่หากจาแนกตามช่วงเวลาในการตอบจะมี 2 ประเภท ได้แก่ แบบสอบก่อนเรียน (Pretest) และแบบสอบหลังเรียน (Posttest) ทั้งนี้ ในแนวคิดเดิมนั้นแบบสอบก่อนเรียนและหลังเรียนอาจเป็น แบบสอบฉบับเดียวกัน แต่สลับข้อและตัวเลือกเพื่อป้องกันการจาได้ของผู้เรียน แต่หากเป็นแนวคิด ใหม่ นิยมทาแบบสอบให้มีลักษณะเป็นคู่ขนาน (Parallel Form) ซึ่งเป็นแบบสอบที่มีโครงสร้างใน การวัดเหมือนกัน ความยากง่ายใกล้เคียงกัน วัดเนื้ อหาเดียวกัน แต่ข้อคาถามต่างกันในแต่ละฉบับ หากผู้สร้างแบบสอบก่อนเรียนและหลังเรียนสามารถพัฒนาแบบสอบให้มีลักษณะเป็นคู่ขนานได้ ก็ จะสามารถทาให้ผลที่เกิดขึ้นจากผลการจัดการเรียนรู้ที่อยู่ในตัวผู้เรียนนั้นมีความตรง (Validity) ได้ 2. การประเมิน เกี่ยวกับ เจตคติ (Attitude) ของผู้เรียน ซึ่งสามารถประเมินโดยใช้แบบ ประเมินความพึงพอใจ/ความคิดเห็น เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียนที่มีต่อ การเรียน ดังนั้นแบบประเมินดังกล่าวจึงมุ่งวัดลักษณะพฤติกรรมเกี่ยวกับจิตใจ (Affective Domain) ว่าผู้เรียนมีความรู้สึกอย่างไรต่อวิธี/รูปแบบการเรียนรู้ที่ได้เรียนมา โดยทั่วไปนิยมใช้แบบประเมินที่ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า อาจจะเป็นมาตรประมาณค่า 3 ระดับ 5 ระดับก็ได้ ขึ้นอยู่กับวัยของ ผู้เรียน ทั้งนี้หากเป็นวัยเด็ก (ระดับประถมศึกษา) อาจใช้มาตรประมาณค่าเพียง 3 ระดับ แต่หากเป็น ผู้เรียนที่มีวัยที่สูงขึ้น (ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา) อาจใช้มาตรประมาณค่าแบบ 5 ระดับ ในการออกแบบมาตรประมาณค่า 3 หรือ 5 ระดับก็ตาม ผู้สร้างแบบประเมินจะต้องกาหนด ระดับคุณภาพของมาตรประมาณค่า กล่าวคือ หากเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จะต้อ งมีการ ก าหนดว่ า ระดั บ 5 หมายถึ ง อะไร และ ระดั บ 4, 3, 2 และ 1 หมายถึ ง อะไร ตามล าดั บ ทั้ ง นี้ โดยทั่วไปนิยมกาหนดเป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ 1) มีลักษณะคุณภาพแบบ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง น้อย และ 1 หมายถึง น้อยที่สุด ตามลาดับ 2) มีลักษณะคุณภาพแบบ 5 หมายถึง ดีมาก 4 หมายถึง ดี 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง พอใช้ และ 1 หมายถึง ต้องปรับปรุง ตามลาดับ หากผู้สร้างแบบประเมินใช้ลักษณะคุณภาพแบบใด ก็ควรใช้ให้เหมาะสม โดยไม่นา 2 ลักษณะมาปะปนกัน เพราะจะทาให้การแปลความหมายของผลที่เกิดขึ้นไม่เหมาะสมได้ 3. การประเมินผลงาน/ผลการปฏิบัติงานของผู้เรียน เป็นวิธีการวัดและประเมินด้านทักษะ การปฏิบัติ (Psycho-motor Domain) โดยวัดผลการปฏิบัติงานของผู้เรียน ทั้งนี้ในการวัดผลการ ปฏิบัติงานนั้นสามารถวัดได้ทั้งในกระบวนการปฏิบัติและผลผลิต/ผลงานที่ปฏิบัติแล้วเสร็จ ใน
25
กระบวนการประเมินนั้น ผู้ประเมินจะกาหนดเกณฑ์การให้คะแนนหรือรูบริกส์ (Rubrics) มาใช้ใน การประเมิน สุวิมล ว่องวาณิช. (2546) กล่าวถึงกระบวนการวัดการปฏิบัติงานว่าประกอบด้วยขั้นตอน สาคัญได้แก่ 1) กาหนดจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติ โดยการกาหนดงานให้ผู้เรียนปฏิบัติ และกาหนด ว่าการปฏิบัติงานนั้นๆ อยู่ภ ายใต้สถานการณ์อย่างใด 2) ระบุผลของความสามารถด้านการปฏิบัติ (Performance Outcome) ที่ จ ะวั ด โดยเน้ น ให้ เ ห็ น ว่ า ในการปฏิ บั ติ ง านนั้ น ให้ ค วามส าคั ญ กั บ กระบวนการหรือ ผลงานหรื อ ทั้ งสองอย่ า ง และจะวัด ผ่ า นตั ว บ่ง ชี้ อ ะไร (Indicators) ในขั้ น นี้ จาเป็นต้องมีการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) 3) กาหนดวิธีการวัดการปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับ พฤติกรรมที่จะวัด วิธีการที่ใช้จะส่งผลต่อการเตรียมสถานการณ์ทดสอบ เช่น สถานที่ อุปกรณ์ที่ใช้ ในการปฏิบัติ 4) กาหนดความเหมาะสมของเครื่องมือที่ใช้ ความเหมาะสมของผู้วัด ช่วงเวลาที่ทา การวัด และ 5) กาหนดวิธีการประเมินผลการวัดโดยกาหนดเกณฑ์การประเมิน จะใช้การประเมิน แบบอิ ง กลุ่ ม (Group-referencing) อิ ง ตั วผู้ เ รี ย น (Self- referencing) หรื อ อิง เกณฑ์ (Criterionreferencing) นอกจากนี้สุวิมล ว่องวาณิช. (2546) ยังได้กล่าวถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวัดการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถจาแนกออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการวัดกระบวนการปฏิบัติงาน ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ระเบียนพฤติการณ์ (Anecdotal Record) มาตรประมาณ ค่า (Rating Scale) แผนภูมิการมีส่วนร่วม (Participation Chart) และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล งาน ได้แก่ แบบประเมินหรือแบบตรวจสอบคุณภาพ ทั้ง นี้ ขั้ น ตอนการพัฒ นาแบบวั ด การปฏิ บั ติ งานมี ขั้ น ตอนดั ง นี้ 1) ก าหนดพฤติ ก รรมที่ เกี่ยวกับทักษะการปฏิบัติ 2) กาหนดรายการพฤติกรรมที่ต้องการวัด 3) กาหนดเกณฑ์การให้คะแนน ในการปฏิบัติงาน (Scoring Rubric) และ 4) กาหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพของผลงาน โดยเกณฑ์การคะแนน (Scoring Rubric) นั้นเครื่องมือในการให้คะแนนแบบมาตรประมาณ ค่าเพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติของผู้เรียน มีส่วนประกอบสาคัญ 2 ส่วน ได้แก่ รายการ ประเมิ นและคาอธิบ ายคุณ ภาพของรายการประเมิ นในแต่ ละระดับ คุณ ภาพ ทั้ งนี้ เกณฑ์ ก ารให้ คะแนนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) เกณฑ์การประเมินโดยภาพรวม (Holistic Rubrics) ซึ่งเป็นการกาหนดแบบรวมหรือ แบบกว้าง ไม่มีการแยกให้คะแนนตามองค์ประกอบย่อย 2) เกณฑ์การประเมินแบบแยกองค์ประกอบ (Analytic Rubric) เป็นการกาหนดเกณฑ์แบบ มีการให้คะแนนตามแต่ละองค์ประกอบย่อย แล้วสรุปเป็นคะแนนรวมในภายหลัง
26
นอกจากนี้การประเมินผลงานนั้น สามารถใช้การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน โดยที่ แฟ้มสะสมงานเป็นการแสดงผลงานตามความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้เรียนจะเลือกผลงาน และ จัดเตรียมแฟ้มสะสมงานด้วยตนเอง ทั้งนี้แฟ้มสะสมงานนั้นประกอบด้วย 1) แผ่นสรุปผลงานของ ผู้เรียน เพื่อสรุปว่าในแฟ้มสะสมงานนี้ประกอบด้วยผลงานอะไรบ้าง 2) แผ่นปะหน้าผลงานแต่ละ ชิ้ น เพื่ อ อธิ บ ายว่ า ท าไมถึ ง เลื อ กผลงานนั้ น ๆ 3) ตั ว แทนผลงาน ควรมี ค วามหลากหลายและ ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ 4) บันทึกต่างๆ ที่แสดงว่าผู้เรียนได้ทาอะไรไว้ บ้าง และ 5) แผ่น สรุปความคิดเห็นผู้สอน เพื่อแสดงความคิดเห็นของผู้สอนต่อแฟ้มสะสมงานของผู้เรียน (สมศักดิ์ ภู่ วิภาดาวรรธน์, 2544) 2.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล เครื่องมือสาคัญที่ใ ช้ในการวัดผลสามารถจาแนกได้ 5 ประเภท ได้แ ก่ 1) แบบทดสอบ ปรนัย 2) แบบทดสอบอัตนัย 3) แบบประเมินคุณภาพ (rubrics) และ 4) แบบตรวจสอบรายการหลัก (key evaluation checklist: KEC) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาคุณภาพของเครื่องมือด้านความตรง จะ พบว่ า เครื่ องมื อ ประเภทแบบทดสอบจะให้ ค วามส าคั ญกั บ คุ ณภาพด้า นความตรงตามเนื้ อ หา (content validity) ส่วนเครื่องมือประเภทแบบประเมินคุณภาพและแบบตรวจสอบรายการหลักจะ ให้ความสาคัญกับคุณภาพด้านความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (criterion-related validity) และเมื่อ พิจารณาคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยง จะพบว่า เครื่องมือประเภทแบบทดสอบปรนัยจะให้ ความสาคัญกับคุณภาพด้านความเที่ ยงแบบความสอดคล้อ งภายใน (internal consistency) ส่วน เครื่องมือประเภทแบบทดสอบอัตนัยจะให้ความสาคัญกับคุณภาพด้านความเที่ยงแบบความสมมูล (equivalence) สาหรับเครื่องมือประเภทแบบประเมินคุณภาพและแบบตรวจสอบรายการหลักจะให้ ความสาคัญกับคุณภาพด้านความเที่ยงแบบความสอดคล้อ งภายใน (internal consistency) ดังนั้น จึง พอสรุปได้ว่าเครื่องมือวัดผลเหล่านี้ทุกประเภทต้องมีคุณภาพของเครื่องมือด้านความตรง (validity) และด้านความเที่ยง (reliability) ดังตาราง 2.6
27
ตาราง 2.6 ผลการสังเคราะห์เครื่องมือและประเภทคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล ประเภทคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล ความตรง (validity) ความเที่ยง (reliability) เครื่องมือสาคัญที่ใช้ เนื้อหา โครงสร้าง เกณฑ์ ความ ความ ความ ความ ในการวัดผล สัมพันธ์ คงที่ สอดคล้อง สมมูล คงที่ ภายใน และ สมมูล 1. แบบทดสอบปรนัย 2. แบบทดสอบอัตนัย 3. แบบประเมิ น คุ ณ ภาพ (rubrics) 4. แบบตรวจสอบรายการ หลัก (KEC)
ตอนที่3 คุณลักษณะอาจารย์ อาจารย์ที่สอนอย่างมีประสิทธิผล นอกจากจะมีความรู้ในศาสตร์ของการสอน และมีศิลปะ ของการสอนแล้ว ยังต้องมีคุณลักษณะ 4 ประการ ต่อไปนี้ 1) การประยุกต์ทฤษฎีและการวิจัยการสอนไปใช้ 2) การสะสมประสบการณ์การสอน 3) การคิดวินิจฉัยไตร่ตรองและแก้ปัญหา 4) การเรียนรู้การสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการบูรณาการความรู้กับประสบการณ์เข้า ด้วยกัน คุณลักษณะของอาจารย์ที่ดี 10 ประการ 1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึง ความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือ ความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสาคัญกว่าส่วนตัว 2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทาให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมาย ของสังคมเป็นเกณฑ์
28
3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทาให้ เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทาให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม 4. ความสานึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและ ประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่กอ่ ความเสียหายให้เกิดขึ้น แก่สังคม 5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติใน ลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทาหน้าที่การงาน 6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกัน โดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด 7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและ จิตใจ รู้จักบารุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง 8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความ ช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จาเป็น 9. ความภาคภูมิและการรู้จักทานุบารุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรม ของตนเองและทรัพยากรของชาติ 10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากาลังกายและกาลังทรัพย์ คุณลักษณะของครูดีตามแนวพระราชดารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดารัสถึงคุณสมบัติของผู้เป็นครูว่า “ ครูที่แท้ นั้นเป็นผู้ทาแต่ความดี คือต้องหมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียรต้อ งเอื้อ เฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ ต้องหนักแน่นอดกลั้นและอดทน ต้องรักษาวินัย สารวมระวังความประพฤติปฏิบัติของตนให้อยู่ ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม ต้องปลีกใจจากความสะดวกสบายและความสนุกสนานรื่ นเริงที่ไ ม่ สมควรแก่เกียรติภูมิของตน ต้องตั้งใจให้มั่นคงแน่วแน่ต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริง ต้องเมตตาหวัง ดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอานาจอคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูน สมบูรณ์ขั้นทั้งด้าน วิทยาการและความฉลาดรอบรู้ในเหตุผล ” จากกระแสพระราชดารัส ก็สรุปคุณสมบัติของครูได้ 9 ข้อ คือ 1. มีความอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร 2. มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
29
3. มีความหนักแน่น อดทน อดกลั้น 4. มีความประพฤติ ปฏิบัติตน ในระเบียบแบบแผน และวินัย 5. มีความตั้งใจมั่นคงแน่วแน่ 6. มีความซื่อสัตย์จริงใจ 7. มีเมตตา หวังดี 8. มีความเป็นกลาง 9. มีการอบรมเพิ่มพูนปัญญาวิชาความรู้ มีเหตุผล จรรยาบรรณครู จรรยาบรรณครู หมายถึ ง ข้ อ ก าหนดเกี่ ยวกั บ ความประพฤติ ห รื อ การปฏิ บั ติต นของผู้ ประกอบวิชาชีพครู เพื่อรักษาหรือส่งเสริมเกียรติคุณขื่อเสียงและฐานะของความเป็นครูไทย ได้มี บัญญัติเป็ นลายลักษณ์อักษร และกฎหมายรองรับเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2506 โดยอาศัยอานาจ บังคับของพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 ที่กาหนดให้คุรุสภาเป็นสถาบันผู้ออกระเบียบข้อบังคับได้ เรียกว่า ระเบียบประเพณีของครู ว่าด้วยจรรยาบรรณครู 10 ข้อ และระเบียบว่าด้วยวินัย ครู 10 ข้อ จนกระทั่งปี พ.ศ.2539 คุรุสภาได้ปรับปรุงข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของครูขึ้นใหม่ โดยตัด ข้ อ ความที่ มี ลั ก ษณะเป็ น วิ นั ย ออกไปเหลื อ เพี ย งบทบั ญ ญั ติ ที่ มี ลั ก ษณะเป็ นจริ ย ธรรมหรื อ จรรยาบรรณ เรียกว่า ระเบียบคุรุสภาว่าด้วย จรรยาบรรณครู พ.ศ.2539 โดยประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2539 มีทั้งหมด 9 ข้อ ดังนี้ 1. ครูต้องรักศิษย์และเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริม ให้กาลังใจใน การศึกษาแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า 2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ 3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ 4. ครูต้องไม่กระทาตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และ สังคมของศิษย์ 5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทาการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ 6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการ พัฒนาทางวิทยาการเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ 7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู 8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
30
9. ครู พึ ง ประพฤติ ปฏิ บั ติ ต น เป็ น ผู้ น าในการอนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นาภู มิ ปั ญ ญา และ วัฒนธรรมไทย ตอนที่ 4 สื่อการเรียนการสอน กิดานันท มลิทอง (2540: 79) ใหความหมายสื่อการสอนวา สื่อชนิดใดก็ตามไมวาจะเป็นเทป บันทึกเสียง สไลด วิทยุ โทรทัศน วีดิทัศน แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียน การสอน สิ่งเหลานี้เปนวัสดุอุปกรณ์ ทางกายภาพที่นามาใช้ ในเทคโนโลยีการศึกษาเปนสิ่งที่ใช้ เป นเครื่องมือ หรือชองทางสาหรับทาใหการสอนของผู้ สอนสงไปถึงผู้ เรียน ทาใหผู้เรียนสามารถเกิด การเรียนรูตามวัตถุประสงค หรือจุดมุงหมายที่ผู้สอนว่างไวได้เป็นอย่างดี ฐาปนีย ธรรมเมธา (2541: 8) ได้ใหความหมายของสื่อการเรียนการสอนหมายถึง ตัวกลาง ที่ช วยนา และถายทอดความรู จากผู้ สอนหรือ แหลงความรู ไ ปยังผู้ เรียนทาใหการเรียนการสอน ดาเนินไปอยู่างมีประสิทธิภาพผู้เรียนบรรลุวัตถุของการเรียนที่ตั้งไว วิวรรธน์ จันทรเทพย์ กลาวถึง สื่อการสอนหมายถึงวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลาง หรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ไปสู่ ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษ และมีคุณค่าในตัวมันเองในการเก็บและแสดง ความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหา และเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ วรวิทย์ นิเทศศิลป์ ได้ให้ความหมายว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือ วิธีการใดก็ตามที่เป็นตัวกลาง หรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษ และมีคุณค่าในตัวของมันเอง ซึ่งผู้ สอนและ ผู้เรียนเป็นคนใช้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น กิดานันท์ มลิทอง (2540: 102-109) ได้กล่าวถึงประเภทของสื่อการสอนแบ่งเป็น 1. สื่อการสอนประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย ได้แก่ สิ่งพิมพ์ ของจริง ของจาลองวัสดุกราฟฟิก กระดานดา กระดานขาว กระดานผ้าสาลี การศึกษานอกสถานที่ 2. สื่อการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย แบ่งเป็น 2.1 ประเภทเสนอภาพนิ่ง ได้แก่ เครื่องฉายภาพทึบแสงแผนโปร่งใส สไลด์ ฟิล์ม สตริป ไมโครฟลม 2.2 ประเภทเสนอภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วงจรปิด โทรทัศน์วงจร เปิด วีดิทัศน์ 3. สื่อการสอนประเภทเครื่องเสียง ได้แก่ วิทยุ เทปบันทึกเสียง แผนซีดี
31
4. สื่อ เชิ งโตตอบ ได้ แ ก คอมพิ ว เตอร์ บทเรี ยนคอมพิว เตอร์ ช่ ว ยสอน ซี ดี -รอมแผน วีดิทัศน์ สื่อหลายมิติ แผนวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2533: 95) กล่าวว่า การเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสมสื่อจะช่วยให้การ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน ดังนี้ 1. จูงใจให้ผู้เรียนมีความตั้งใจ และสนใจเรียนมากขึ้น 2. ใหประสบการณ์แก่ผู้เรียนอย่างมีความหมาย 3. ก่อใหเกิดเจตคติที่ดี และมีความประทับใจในสิ่งที่เรียน 4. อธิบายเนื้อหาวิชา และทักษะกระบวนการต่างๆ ได้อย่างชัดเจน 5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น กิดานันท์ มลิทอง (2540: 89) กลาวถึง การเลือกสื่อการสอนว่า เพื่อนามาใช้ ประกอบการ สอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสาคัญผู้สอนจะต้องตั้งจุดประสงค์เชิง พฤติกรรมในการเรียนการสอนให้แน่ นอน เพื่อใช้วัตถุประสงค์ นั้นเป็นตัวชี้นาในการเลือก สื่อ ที่ เหมาะสม และมีหลักการอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณา คือ 1. สื่อนั้นต้องเหมาะสมกับเนื้อหา และควรมีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการสอน 2. สื่อนั้นตองมีเนื้อหาที่มีความถูกต้ อ ง ทันสมัยน่าสนใจ และเป็ นสื่อ ที่จะให้ ผลต่อการ เรียนการสอนมากที่สุด ชวยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหานั้นได้ดีเป็นลาดับขั้นตอน 3. เป็ นสื่อ ที่เ หมาะสมกับ วัย ระดับชั้ นเรี ยน จานวนผู้ เรีย น ความสามารถ ความสนใจ รวมทั้งทักษะและรูปแบบการเรียนของผู้เรียน 4. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับทัศนคติ และทักษะของผู้สอนใช้การได้ดีก่ อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการเรียนรู้ได้ดี สะดวกต่อการใช้และการเก็บรักษา คุณค่าของสื่อ ต้องเหมาะสมกับราคา หรือ ถ้า ผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน 5. สื่อ นั้ น ช่ ว ยให้ ผู้ เรี ย นรวมกิ จ กรรมตามที่ ผู้ ส อนต้ อ งการระยะเวลาในการเสนอสื่ อ เหมาะสม สื่อนั้นชวยเสนอแนะกิจกรรมอื่นๆ ที่นักเรียนอาจปฏิบัติเพิ่มเติมได้ 6. เหมาะสมกับสภาพแวดลอมในการใช้ สื่อ นั้น เช่ น สถานที่ แสงสว่ าง อากาศและสิ่ง อานวยความสะดวกอื่นๆ จันทรฉาย เตมิยาคาร (2533: 37) กล่าวว่าในการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนควรคานึงถึง เรื่องต่อไปนี้
32
1. ไมมีสื่อประเภทใดเลยที่จะเหมาะสมกับทุกๆ วัตถุประสงค์ ที่ตั้งเอาไว้ สื่อประเภทหนึ่ง อาจจะเหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง แต่อาจไม่เหมาะสมกับอีกวัตถุประสงค์หนึ่ง 2. สื่อที่ใช้ควรยึดถือเอาวัตถุประสงค์เป็นหลัก 3. ผู้ใช้สื่อควรศึกษาให้ถ่องแท้ถึงวิธีใช้คุณสมบัติข้อจากัดของสื่อชนิดนั้นๆ เป็นอย่างดี 4. สื่อที่ใช้ควรเป็นสื่อที่เหมาะสมกับขอบเขตเนื้อหาที่จะใช้ทาการสอนเท่านั้น 5. สื่ อ ที่ ใ ช้ ต้ อ งมี ค วามพอดี กั บ ความสามารถของผู้ เ รี ย น โดยเฉพาะต้ องค านึ ง ถึ ง ประสบการณ์ของผู้เรียนด้วย 6. สื่อการสอนจะเป็นสื่อการสอนที่ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าสื่อนั้นเป็นสื่อที่เข้าใจง่ายหรือ ยาก มีความชัดเจน เที่ยงตรงในเนื้อหามากน้อยเพียงใด 7. สื่อที่ถูกเลือกควรตั้งอยู่บนฐานของจุดมุ่งหมายในการเรี ยนการสอนมากกว่ าความชอบ ของผู้สอน 8. ผลที่ได้ จากการใช้สื่อนั้นจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้น ยอมขึ้นอยู่กับสภาพ ความเป็นไปรอบข้างด้วย สรุปได้ ว่าสื่อการเรียนการสอนหมายถึง ตัวกลางหรือ พาหะที่ผู สอนใช้ในการถ่ ายทอด ความรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียน สื่อการสอนจึงเป็นสิ่งที่ผู้สอนนามาใช้ เป็นช่องทางในการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้กระบวนการการเรียนรู้ บรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ อย่างมีประสิทธิภาพ ไดแก่ วัตถุ สิ่งของที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้นมา รวมทั้งวิธีการสอนและกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ อุปกรณ์ และวิธีการใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลาง หรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ทัศนคติ ทักษะ และ ประสบการณ์ ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษ และมีคุณค่าในตัวมันเองใน การเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหา และเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2543: 8) ได้ให้ความหมายว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือ วิธีการใดก็ตามที่เป็นตัวกลาง หรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษ และมีคุณค่าในตัวของมันเอง ซึ่งผู้สอนและ ผู้เรียนเป็นคนใช้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น กิดานันท์ มลิทอง (2540: 102-109) ได้กล่าวถึงประเภทของสื่อการสอนแบ่งเป็น 1. สื่อการสอนประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย ได้แก่ สิ่งพิมพ์ ของจริง ของจาลองวัสดุกราฟฟิก กระดานดา กระดานขาว กระดานผ้าสาลี การศึกษานอกสถานที่ 2. สื่อการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย แบ่งเป็น
33
2.1 ประเภทเสนอภาพนิ่ง ได้แก่ เครื่องฉายภาพทึบแสงแผ่นโปร่งใส สไลด์ ฟิล์ม สตริป ไมโครฟิล์ม 2.2 ประเภทเสนอภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์วงจรปิด โทรทัศน์วงจร เปิด วีดิทัศน์ 3. สื่อการสอนประเภทเครื่องเสียง ได้แก่ วิทยุ เทปบันทึกเสียง แผ่นซีดี 4. สื่อเชิงโต้ตอบ ได้ได้แก่ คอมพิวเตอร์ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซีดี-รอม แผ่นวีดิ ทัศน์ สื่อหลายมิติ แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ สรุปได้ว่าสื่อการเรียนการสอนหมายถึง ตัวกลางหรือพาหะที่ผู้สอนใช้ในการถ่ายทอด ความรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียน สื่อการสอนจึงเป็นสิ่งที่ผู้สอนนามาใช้เป็นช่องทางในการเรียนการสอน เพื่อ ช่วยให้กระบวนการการเรียนรู้บรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้อ ย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัตถุ สิ่งของที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้นมา รวมทั้งวิธีการสอนและกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ตอนที่ 5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกียรติสุดา ศรีสุข (2546) ทาการศึกษาความเหมาะสมในการประเมินการสอนของ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมใน การประเมินการสอนของอาจารย์ 2) ศึกษาความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ ตาม ความคิ ดเห็น ของนั กศึก ษา และ 3) เพื่อ พัฒ นารูป แบบการประเมิ นการสอนของอาจารย์ คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง เป็นอาจารย์ผู้สอน และนักศึกษาทั้งระดับปริญญา ตรี และปริญญาโทของคณะศึกษาศาสตร์ จานวน 40 คน และ 432 คน ตามลาดับ เครื่ อ งมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามชนิดกึ่งปลายเปิด จานวน 2 ฉบับ ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์ผู้สอนส่วน ใหญ่มีความพึงพอใจต่อผลการประเมินที่เคยได้รับ และนาผลการประเมินการสอนไปปรับปรุงการ เรียนการสอน เครื่องมือในการประเมินมีความเหมาะสมและครอบคลุม แต่น่าจะเพิ่มประเด็นใน การประเมิ นมากขึ้น ส าหรั บ ช่ว งเวลาในการประเมิน และจ านวนครั้ งในการประเมิ น มี ค วาม เหมาะสม ควรมีการประเมินมากกว่า 1 ครั้ง เพื่อจะได้นาผลการประเมินไปปรับปรุงการเรียนการ สอนระหว่างภาคเรียน นักศึกษาเห็นว่า เครื่องมือการประเมินมีความเหมาะสม แต่ควรเปิดโอกาส ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น และควรเพิ่มรายการประเมินอีก ส่วนช่วงเวลาในการ ประเมินมีความเหมาะสม และควรประเมินมากกว่า 1 ครั้ง และการประเมินการสอนควรนาผลการ ประเมินไปปรับปรุงการเรียนการสอนของอาจารย์ คณะกรรมการวิจัยสถาบันสานักประกันคุณภาพการศึกษา (2552) ทาการศึกษา ความพึงพอใจในการใช้ปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรามคาแหง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคาแหงที่เข้าเรียนมากกว่า 3 ครั้ง ภาคการศึกษาที่ 1/2552 จานวน
34
20,945 คน รวม 9 คณะ เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ และหา ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจในการใช้ปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน ในภาพรวมอยู่ ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 สุดี งามเฉลียว (2544) การประเมินผลการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ของวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ ปี การศึกษา 2544 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของ วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการ สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตามตัวแปร ระดับชั้นเรียน และแผนกวิชา ในแต่ละแผนกวิชา กลุ่ม ตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ระดับปวช. จานวน 319 คน จากจานวน ประชากร 1,864 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ตอนที่ 2 ระดับการประเมินของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการ เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ และตอนที่ 3 เป็นการแสดง ความคิดเห็น เกี่ยวกับปัญ หาและข้ อ เสนอแนะ พบว่า ระดับ การประเมินผลของนักศึ กษา โดย ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อ พิจารณาองค์ประกอบรายด้ านปรากฏว่า นักศึกษามีการ ประเมินผลในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างมาก ตัวแปรที่ ใช้ในการศึกษา พบว่า ผลการประเมินตามตัวแปรระดับชั้นเรียนไม่แตกต่างกัน และพบว่า ผลการ ประเมินตามตัวแปรแผนกวิชา แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 นั่นคือ นักศึกษาแผนกวิชา ช่างอิเลคทรอนิคส์มีระดับการประเมินต่ากว่านักศึกษาแผนกอื่น ๆ ในทุก ๆ ด้าน จากการศึกษา พบว่า ทั้งผู้สอนและผู้เรียนควรพัฒนาตนเองให้ทันสมัยมากขึ้น ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ สอนช้า ๆ พูดจาอย่างเป็นกันเองกับผู้เรียน ผู้เรียนก็ควรเข้าร่วมกิจกรรมที่วิทยาลัยจัดให้ให้มากขึ้น ควรสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว เอาใจใส่ต่อการเรียนให้มากขึ้น สุดเขต แจ้งกระจ่าง และภาณุวัฒน์ สุริยฉัตร (ม.ป.ป.) ทาการศึกษาแนวทางการ พัฒนาการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ และข้อจากัดของกระบวนการประเมินการสอนในปัจจุบัน โดยศึกษาจากเอกสารทางวิชาการทั้งใน และต่ างประเทศ และเอกสารประกอบจากมหาวิท ยาลัย และการสัม ภาษณ์เ ชิง ลึ ก (In Depth Interview) กับนักศึกามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พบว่า มีปัจจัย 3 ประการ คือ ปัจจัยด้านนักศึกษา สถานศึกษา และแบบประเมินการสอน โดยมีแนวทางในการพัฒนาอยู่ 2 ด้าน คือ การพัฒนาด้านระบบประเมินการสอนและด้านรูปแบบคาถามของแบบประเมินการสอน อนงค์ พ ร พะวรรั ม ย์ (2546) ศึ ก ษาความสอดคล้ อ งของผลการประเมิ น การ ปฏิบัติงานสอนของครู ระหว่างการประเมินตนเองกับการประเมินแบบ 360 องศา ที่มีแหล่งข้อมูล
35
การประเมิ น 5, 4, และ 3 แหล่ง ตามลาดับ แต่ มีการกาหนดน้าหนัก ความสาคั ญของแต่ล ะ แหล่งข้อมูลเท่ากันและแตกต่างกัน และศึกษาความคลาดเคลื่อนเชิงปล่อยหรือกดคะแนน ระหว่าง แหล่งการประเมินแต่ละแหล่ง สาหรับครูที่ถูกประเมินมี 44 คน และได้รับข้อมูลจาก 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มครูที่ประเมินตนเอง จานวน 44 คน เพื่อ นร่วมงานของครู จานวน 125 คน หัวหน้าหมวด จานวน 22 คน ผู้บริหาร จานวน 15 คน และนักเรียน จานวน 1,198 คน และองค์ประกอบที่ใช้ใน การประเมินคุณลักษณะของครูมี 4 องค์ประกอบ คือ 1) การวางแผนและการเตรียมการสอนของครู 2) การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน 3) การจัดการเรียนการสอน และ 4) ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินตนเองกับการประเมินโดยนักเรียน และผลการประเมินตนเอง กับการประเมินโดยเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์ปานกลาง (r=.478 และ r= .456 ตามลาดับ) 2) ผล การประเมินตนเองกับการประเมินแบบ 360 องศา ที่มีแหล่งผู้ประเมิน 5 และ 4 แหล่ง ซึ่งมีการ กาหนดน้าหนักคะแนนเท่ากัน มีความสัมพันธ์กันปานกลางและสูง (r=.692 และ r=.732 ตามลาดับ) นอกจากนี้ยังพบว่าแหล่งผู้ประเมินที่เป็นนักเรียนและเพื่อนร่วมงาน มีความคลาดเคลื่อนแบบปล่อย คะแนน ส่วนแหล่งผู้ประเมินที่เป็นหัวหน้าหมวด ตนเองและผู้บริหาร มีความคลาดเคลื่อนแบบกด คะแนน
บทที่ 3 ระเบียบวิธีการวิจัย การวิ จั ย ครั้ ง นี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ 1) ศึ ก ษาสภาพการประเมิ น การสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอน 2) ศึกษาความเหมาะสมในการประเมิน การสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนั กศึกษา และ3) พัฒนารูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขั้นตอนการดาเนินการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัย ประเภทการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้แบบสอบถามอาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา และสัมภาษณ์นักศึกษา ประกอบด้วยขั้นตอนการดาเนินงานดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการสอนของอาจารย์ 2. สร้างเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามอาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา แบบสัมภาษณ์นักศึกษา แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ 3. เก็บรวบรวมข้อมูลจากอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาในทุกคณะ 4. การวิเคราะห์ข้อ มูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) จากแบบสอบถาม และ วิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Data) จากข้อเสนอแนะ และจากการสัมภาษณ์นักศึกษา 5. พัฒนารูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามผล การวิเคราะห์ข้อมูล 6. จัดสนทนากลุ่ม (Focus group) จากผู้ทรงคุณวุฒิจานวน 4-6 ท่าน เพื่อตรวจสอบ คุณภาพของรูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์ และนาผลมาปรับปรุงให้เหมาะสม 7. สรุปผลการวิจัย จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาและผลการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้ง อภิปรายผลการวิจัย 8. ดาเนินการเขียนรายงานการวิจัยและจัดพิมพ์รูปเล่มรายงาน รวมทั้งเผยแพร่ ผลงานวิจัยในรูปบทความทางวิชาการ /นาเสนอในที่ประชุมวิชาการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร อาจารย์ผู้สอนในปีการศึกษา 2553 จานวน 470 คน และนักศึกษาของ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2/2553 จานวน13,113 คน
37
กลุ่มตัวอย่าง อาจารย์ จานวน 470 คน สุ่มได้ 212 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) จากอาจารย์ ทุกคณะๆ ละ 45% ดัง ตาราง และนักศึกษาที่ ลงทะเบีย นเรีย นในภาคการศึ กษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จานวน 13,113 คน (ยกเว้ นสานั กวิช า การศึกษาทั่วไป) เมื่อเปิดตาราง Krejcie and Morgan (1970) จานวนประชากร 15,000 คน สุ่มได้ 375 คน แต่ครั้งนี้สุ่มนักศึกษา จานวน 392 คน และสุ่มทุกคณะๆละ 3% ดังตาราง 3.1 ตาราง 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จานวนอาจารย์ ประชากร ตัวอย่าง บัณฑิตวิทยาลัย 7 3 คณะนิติศาสตร์ 23 10 คณะนิเทศศาสตร์ 49 22 คณะบริหารธุรกิจ 93 42 คณะบัญชี 21 10 คณะวิศวกรรมศาสตร์ 69 31 คณะศิลปศาสตร์ 45 21 คณะเศรษฐศาสตร์ 7 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 25 11 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 62 28 คณะดิจิทัลมีเดีย 20 8 สานักวิชาศึกษาทั่วไป 49 22 รวม 470 212 ที่มา: ระบบงานทะเบียน [2 ก.พ. 54] คณะ
จานวนนักศึกษา ประชากร ตัวอย่าง 827 24 675 20 1,902 57 3,144 94 870 26 1,509 45 1,514 45 142 4 593 18 1,586 48 351 11 13,113
392
กลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวม เป็นอาจารย์จานวน 203 คน คิดเป็นร้อยละ 95.75 นักศึกษา จานวน 340 คน คิดเป็นร้อยละ 86.73
38
เครื่องมือในการวิจัย เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือ 3 ชนิด ที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพ ด้านความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิ คือ 1) แบบสอบถามอาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับสภาพและความเหมาะสมการประเมินการสอน มีค่าความเที่ยง (Reliability) เท่ากับ .834 2) แบบสอบถามนักศึกษาเกี่ยวกับสภาพและความเหมาะสมการประเมินการสอน ค่าความเที่ยง (Reliability) เท่ากับ .839 3) แบบสัมภาษณ์อาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับความเหมาะสมในการประเมินการ สอนของอาจารย์และการนาผลการประเมินไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน 4) แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ การรวบรวมข้อมูล 1) รวบรวมข้อมูลจากอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ในภาคการศึกษาที่ 2/2553 2) รวบรวมข้อมูลจากผลการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ทาง Internet ประจาภาคการศึกษาที่ 2/2553 3) รวบรวมข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group) การวิเคราะห์ข้อมูล วิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล เชิ ง ปริ ม าณ โดยวิ เ คราะห์ ค่ า ความถี่ (Frequency) ร้ อ ยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์ข้อมูล คุณภาพและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อแปลความ ตีความ และสรุปความ
39
ตาราง 3.2 แผนการดาเนินงานตลอดโครงการ ขั้นตอนการดาเนินการวิจัย 1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง 2. สร้างเครื่องมือวิจัย 3. เก็บรวบรวมข้อมูล 4. วิเคราะห์ข้อมูล 5. เขียนรายงานการวิจัย 6. ส่งรายงานการวิจัยฉบับ สมบูรณ์
2554 ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อ ศึกษาสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา 2) เพื่อ เปรียบเทียบความ คิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาที่สังกัดคณะต่างกัน ต่อสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ 3) เพื่อ ศึกษาความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามความ คิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา 4) เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินการสอน ของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่ง ออกเป็น 5 ตอน ดังต่อ ไปนี้ คื อ ตอนที่ 1 ข้อ มูลพื้นฐานของ ผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 สภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ ตอนที่ 3 เปรียบเทียบความ คิดเห็นของอาจารย์และความคิดเห็นของนักศึกษาต่อสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ ตอนที่ 4 ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ และตอนที่ 5 รูปแบบการประเมินการสอน ของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลพืน้ ฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 1.1) ข้อมูลพื้นฐานของอาจารย์ที่ตอบ แบบสอบถาม และ 1.2) ข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษาที่ตอบแบบสอบถาม 1.1 ข้อมูลพื้นฐานของอาจารย์ที่ตอบแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีตาแหน่งเป็นอาจารย์จานวน 185 คน คิดเป็นร้อยละ 91.13 รองลงมาเป็นคณบดี/รองคณบดี/ผู้ช่วยคณบดี จานวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 4.43 ตาแหน่งหัวหน้า สาขา จานวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 4.43 ดังตาราง 4.1 ตาราง 4.1 ร้อยละของอาจารย์จาแนกตามตาแหน่ง ตาแหน่ง จานวน ร้อยละ 1 คณบดี/รองคณบดี/ผู้ช่วยคณบดี 9 4.43 2 หัวหน้าสาขาวิชา 9 4.43 3 อาจารย์ 185 91.13 รวม 203 100.00
41
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่สังกัดคณะบริหารธุรกิจ จานวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 16.26 รองลงมาเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จานวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 15.27 ส่วนบัณฑิตวิทยาลัย มี ผู้ตอบแบบสอบถามน้อยที่สุด จานวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 1.48 ดังตาราง 4.2 ตาราง 4.2 ร้อยละของอาจารย์จาแนกตามคณะทีส่ ังกัด คณะ 1 บัณฑิตวิทยาลัย 2 นิติศาสตร์ 3 นิเทศศาสตร์ 4 บริหารธุรกิจ 5 บัญชี 6 วิศวกรรมศาสตร์ 7 ศิลปศาสตร์ 8 เศรษฐศาสตร์ 9 สถาปัตยกรรมศาสตร์ 10 เทคโนโลยีสารสนเทศ 11 ดิจิทัลมีเดีย 12 สานักวิชาศึกษาทั่วไป รวมคณะ
จานวน 3 10 22 33 9 31 21 4 10 30 10 20 203
ร้อยละ 1.48 4.93 10.84 16.26 4.43 15.27 10.34 1.97 4.93 14.78 4.93 9.85 100.00
1.2 ข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษาที่ตอบแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ จานวน 68 คน คิดเป็นร้อย ละ 20.00 รองลงมาคื อ คณะนิ เ ทศศาสตร์ จ านวน 58 คน คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 17.06 ส่ ว นคณะ เศรษฐศาสตร์มีผู้ตอบแบบสอบถามน้อยที่สุด จานวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.4 ดังตาราง 4.3
42
ตาราง 4.3 ร้อยละของนักศึกษาจาแนกตามคณะที่สังกัด คณะ 1 บัณฑิตวิทยาลัย 2 นิติศาสตร์ 3 นิเทศศาสตร์ 4 บริหารธุรกิจ 5 บัญชี 6 วิศวกรรมศาสตร์ 7 ศิลปศาสตร์ 8 เศรษฐศาสตร์ 9 สถาปัตยกรรมศาสตร์ 10 เทคโนโลยีสารสนเทศ 11 ดิจิทัลมีเดีย รวมคณะ
จานวน 11 15 58 68 44 52 12 5 13 43 19 340
ร้อยละ 3.24 4.41 17.06 20.00 12.94 15.29 3.53 1.47 3.82 12.65 5.59 100.00
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น นักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 จานวน 121 คน คิดเป็นร้อ ยละ 35.59 รองลงมาคือ ชั้นปีที่ 4 จานวน 116 คน คิดเป็นร้อ ยละ 34.12 ส่วนชั้นปีที่ 5 หรือ สูงกว่า มี ผู้ตอบแบบสอบถามน้อยที่สุด จานวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 4.71 ดังตาราง 4.4 ตาราง 4.4 ร้อยละของนักศึกษาจาแนกตามชั้นปี ชั้นปี 1 ปีที่ 1 2 ปีที่ 2 3 ปีที่ 3 4 ปีที่ 4 5 ปีที่ 5 หรือสูงกว่า รวมชั้นปี
จานวน 28 59 121 116 16 340
ร้อยละ 8.24 17.35 35.59 34.12 4.71 100.00
43
ตอนที่ 2 สภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ สภาพการประเมินการสอนประกอบด้วย 3 หัวข้อ คือ 2.1 สภาพการประเมินการสอนตาม ความคิดเห็นของอาจารย์ และ 2.2. สภาพการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของนักศึกษา 2.3 ผลการประเมินการสอนของอาจารย์ประจาภาคการศึกษาที่ 2/2553 2.1 สภาพการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของอาจารย์ สภาพการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของอาจารย์ ประกอบด้วย 1) สภาพปัจจุบันใน การประเมินการสอน และ2) ความเหมาะสมในการประเมินการสอน สภาพการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของอาจารย์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก เท่ากับ 3.91 (S.D.= .636) โดยประเด็นจานวนครั้งในการประเมินการสอนของอาจารย์ จานวน 1 ครั้ งต่อภาคการศึก ษามีค วามเหมาะสม มีค่า เฉลี่ย อยู่ใ นระดั บมาก เท่ ากับ 4.11 (S.D.=.737) รองลงมา ประเด็นช่วงเวลาในการประเมินหลังสอบกลางภาคเรียน จนถึงวันสุดท้ายของการเรียน การสอนมีความเหมาะสม และระบบการประเมินการสอนของอาจารย์ผ่านระบบ online ด้วยระบบ SCMS (e-student) มีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 3.93 (S.D.= .802 และ.796 ตามลาดับ ) ส่วนประเด็นความรวดเร็วในการแจ้งผลการประเมินการสอนของอาจารย์ มีค่าเฉลี่ย ต่าสุด อยู่ในระดับมาก เท่ากับ 3.67 (S.D.= .847) ดังตาราง 4.5 ตาราง 4.5 สภาพปัจจุบันในการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของอาจารย์ ประเด็นคาถาม 1. ช่วงเวลาในการประเมินหลังสอบกลางภาคเรียน จนถึง วันสุดท้ายของการเรียนการสอนมีความเหมาะสม 2. จานวนครั้งในการประเมินการสอนของอาจารย์ จานวน 1 ครั้ง ต่อภาคการศึกษามีความเหมาะสม 3. มีการแจ้งเตือนกาหนดการประเมินการสอนแก่อาจารย์ และนักศึกษา ผ่านทาง e-mail , website, ป้ายประกาศ 4. มีจานวนข้อคาถาม และจานวนด้านในแบบประเมินการ สอนของอาจารย์ ครอบคลุมการประเมิน
ความถี่ (คน) Mean
S.D.
203
3.93
.802
203
4.11
.737
203
3.85
.868
203
3.71
.814
44
ตาราง 4.5 (ต่อ) สภาพปัจจุบันในการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของอาจารย์ ประเด็นคาถาม
ความถี่ (คน) Mean
S.D.
5. ระบบการประเมินการสอนของอาจารย์ผ่านระบบ online ด้วยระบบ SCMS (e-student) มีความเหมาะสม
203
3.93
.796
6. ความสะดวกในการเข้าถึงระบบการประเมินการสอน ของอาจารย์
203
3.91
.762
7. ความรวดเร็วในการแจ้งผลการประเมินการสอนของ อาจารย์
203
3.67
.847
203
3.89
.797
203
3.91
.636
8. การนาผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง การจัดการเรียนการสอน รวม
2.2 สภาพการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของนักศึกษา สภาพการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของนักศึกษา ประกอบด้วย 1) สภาพปัจจุบัน ในการประเมินการสอน และ2) ความเหมาะสมในการประเมินการสอน สภาพการประเมินการสอนตามความคิดเห็ นของนักศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก เท่ากับ 4.12 (S.D.= .551) โดยประเด็นระบบการประเมินการสอนของอาจารย์ผ่านระบบ online ด้ วยระบบ SCMS (e-student) มีค วามเหมาะสม มีค่ าเฉลี่ ยอยู่ใ นระดั บมาก เท่า กับ 4.23 (S.D.= .752) รองลงมาคือ ประเด็นการกาหนดช่วงเวลาในการประเมินหลังสอบกลางภาคเรียน จนถึงวันสุดท้ายของการเรียนการสอนมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.14 (S.D.= .709) ส่วนประเด็นจานวนข้อคาถาม และจานวนด้านในแบบประเมินการสอนของอาจารย์ มีความครอบคลุมการประเมิน มีค่าเฉลี่ยต่าสุด อยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.06 (S.D.= .742) ดังตาราง 4.6
45
ตาราง 4.6 สภาพปัจจุบันในการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของนักศึกษา รายละเอียดคาถาม
ความถี่ (คน)
Mean
S.D.
1. การกาหนดช่วงเวลาในการประเมินหลังสอบกลางภาค เรียน จนถึงวันสุดท้ายของการเรียนการสอนมีความ เหมาะสม
340
4.14
.709
2. จานวนครั้งในการประเมินการสอนของอาจารย์ จานวน 1 ครั้ง ต่อภาคการศึกษา
340
4.13
.737
3. มีการแจ้งเตือนกาหนดการประเมินการสอนผ่านทาง อาจารย์ผู้สอน e-mail , website, ป้ายประกาศ
340
4.09
.825
4. จานวนข้อคาถาม และจานวนด้านในแบบประเมินการ สอนของอาจารย์ มีความครอบคลุมการประเมิน
340
4.06
.742
5. ระบบการประเมินการสอนของอาจารย์ผ่านระบบ online ด้วยระบบ SCMS (e-student) มีความเหมาะสม
340
4.23
.752
6. ความสะดวกในการเข้าถึงระบบการประเมินการสอน ของอาจารย์
340
4.12
.780
8. อาจารย์การนาผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการ ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน
340
4.08
.848
340
4.12
.551
รวม
2.3 ผลการประเมินการสอนของอาจารย์ประจาภาคการศึกษาที่ 2/2553 ผลการประเมินการสอนของอาจารย์ประจาภาคการศึกษาที่ 2/2553 ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่า เฉลี่ยเท่ากับ 4.45 (S.D. = 0.615) เมื่อพิจารณาผลการประเมินในรายด้าน พบว่า ด้าน คุณลักษณะอาจารย์มีผลการประเมินสูงสุด ในระดับมากที่สุด มีค่า เฉลี่ยเท่ากับ 4.51 (S.D. = 0.642) รองลงมาคือ ด้านการวัดและประเมินผล และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ผลการประมินอยู่ใน ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 (S.D. = 0.666 และ 0.691) ตามลาดับ ส่วนด้านคุณภาพการจัดการ เรียนการสอน มีผลการประเมินต่าสุดอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 (S.D. = 0.643) ดัง ตาราง 4.7
46
ตาราง 4.7 ผลการประเมินการสอนของอาจารย์ภาคการศึกษาที่2/2553 ประเด็นการประเมิน Mean ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน 4.42 1. อาจารย์อธิบายและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการสอนไว้อย่างชัดเจน 4.51 2. อาจารย์จัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ตามลาดับ 4.44 ขั้นตอน 3. อาจารย์ใช้วิธีการสอนที่กระตุ้นให้นักศึกษาสนใจ โดยคานึงถึง ความแตกต่างของนักศึกษา เช่น ใช้คาถามเพื่อให้ผู้เรียนคิด ใช้การ 4.43 ลงมือปฏิบัติจริง ใช้กระบวนการแก้ปัญหา เป็นต้น 4. อาจารย์สอนเนื้อหาในรายวิชาได้ครบถ้วนตามที่กาหนดไว้ใน 4.44 โครงการสอน (Course Outline) 5. อาจารย์จัดโครงการหรือกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยให้บุคคล องค์กร หรือ ชุมชนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดโครงการหรือ 4.30 กิจกรรม เช่น ศึกษาดูงาน เชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยาย ทา กิจกรรมร่วมกับองค์กรภายนอก เป็นต้น 6. อาจารย์สอดแทรกคุณธรรม/จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ 4.39 ระหว่างการสอน 7. อาจารย์ส่งเสริมทักษะการคิดให้ผู้เรียน เช่น คิดวิเคราะห์ คิด อย่างมีเหตุผล คิดอย่างเป็นระบบ คิดเชื่อมโยงกับสภาพความเป็น 4.44 จริง และคานึงถึงส่วนร่วม เป็นต้น ด้านการวัดและประเมินผล 8. อาจารย์แจ้งเกณฑ์การประเมินผลการเรียนอย่างชัดเจนล่วงหน้า 9. อาจารย์มีการประเมินผลการเรียนของผู้เรียนหลายครั้ง เช่น มี การสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน เป็นต้น 10. อาจารย์ใช้วิธีการวัดผลหลายรูปแบบ เช่น แบบฝึกหัด การ ทดสอบย่อย การสังเกต การเขียนรายงาน เป็นต้น 11. อาจารย์แจ้งคะแนนสอบให้ผู้เรียนทราบหลังจากสอบพร้อมทั้ง เฉลยข้อสอบ
S.D. 0.643 0.689
แปลผล มาก มากที่สุด
0.709
มาก
0.736
มาก
0.725
มาก
0.881
มาก
0.767
มาก
0.736
มาก
4.44 4.46
0.666 0.726
มาก มาก
4.43
0.742
มาก
4.45
0.731
มาก
4.41
0.767
มาก
47
ตาราง 4.7 (ต่อ) ผลการประเมินการสอนของอาจารย์ภาคการศึกษาที่2/2553 ประเด็นการประเมิน Mean ด้านคุณลักษณะอาจารย์ 4.51 12. อาจารย์เข้าสอนและเลิกสอนตรงเวลา 4.50 13. อาจารย์ใช้วาจาที่สุภาพเหมาะสม 4.52 14. อาจารย์เอาใจใส่และอุทิศเวลาให้กับนักศึกษา 4.48 15. อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เหมาะสม 4.55 16. อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าพบเพื่อปรึกษาหารือและ 4.49 ให้คาแนะนา ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4.44 17. อาจารย์ใช้สื่อและเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในการสอน เช่น 4.41 E-Library, LMS/LTAS, e-mail, Blog, software ต่างๆ เป็นต้น 18. อาจารย์ใช้สื่อการสอนและอุปกรณ์ช่วยสอนที่เหมาะสม 4.46 สอดคล้องกับเนือ้ หาวิชา 19. อาจารย์แนะนาหนังสือ แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม และระบบสืบค้น 4.44 ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รวมทั้งหมด (N=65,535) 4.45
S.D. 0.642 0.723 0.710 0.740 0.684
แปลผล มากที่สดุ มาก มากที่สุด มาก มากที่สุด
0.729
มาก
0.691
มาก
0.762
มาก
0.729
มาก
0.759
มาก
0.615
มาก
ตอนที่ 3 เปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์และความคิดเห็นของนักศึกษาต่อสภาพการประเมิน การสอนของอาจารย์ การเปรีย บเทีย บความคิด เห็น ของอาจารย์และความคิด เห็น ของนั กศึก ษาต่อ สภาพการ ประเมินการสอนของอาจารย์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ 3.1) เปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ ต่อการประเมินการสอนของอาจารย์ที่สังกัดคณะต่างกัน 3.2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษา ต่อการประเมินการสอนที่สังกัดคณะต่างกัน 3.1 ความคิดเห็นของอาจารย์ต่อการประเมินการสอนของอาจารย์ที่สังกัดคณะต่างกัน พบว่า มีระดับความคิดเห็นต่อการประเมินการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .01 ดัง ตาราง 4.8 ดังนั้น จึงทาการเปรียบเทียบรายคู่ (Post Hoc) ตามวิธีการของ Scheffe เพื่อค้นหาว่าความ คิดเห็นของอาจารย์ที่สังกัดคณะใดบ้างที่แตกต่างกัน ดังตาราง 4.9 เมื่อ เปรียบเทียบรายคู่ พบว่า
48
ความคิดเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ คณะนิติศาสตร์ กับคณะ นิเทศศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อสภาพการประเมินการประเมินการสอนของอาจารย์แตกต่างกันอย่าง มีนัยสาคัญที่ระดับ .05 ตาราง 4.8 ผลวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับสภาพการประเมินการสอนที่ สังกัดคณะแตกต่างกัน แหล่งความแปรปรวน Sum of Squares df Mean Square F ระหว่างคณะ
12.966
11
1.179
ภายในคณะ
68.755
191
.360
รวม
81.722
202
3.275
ตาราง 4.9 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ ที่สังกัดคณะต่างกัน 1 2
คณะ บัณฑิตวิทยาลัย นิติศาสตร์
3
นิเทศศาสตร์
4 5 6 7 8
บริหารธุรกิจ บัญชี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สถาปัตยกรรม 9 ศาสตร์ เทคโนโลยี 10 สารสนเทศ 11 ดิจิทัลมีเดีย 12
สานักวิชาการ ศึกษาทั่วไป
1
2 -0.98
0.98 -1.10* 0.12 0.33 -0.65 0.11 -0.87 0.43 -0.55 0.45 -0.53 0.21 -0.78
3 0.12 1.10*
4 -0.33 0.65
5 -0.11 0.87
6 -0.43 0.55
7 8 -0.45 -0.21 0.53 0.78
9 10 11 -0.13 -0.05 -0.18 0.85 0.93 0.80
12 -0.06 0.93
-0.45
-0.23
-0.55
-0.57 -0.33
-0.25 -0.17 -0.30
-0.18
0.22
-0.10 -0.32
0.20 -0.02 0.30 0.32 0.08
0.15 -0.07 0.25 0.27 0.03
0.28 0.05 0.37 0.39 0.15
0.08 -0.05
0.08
-0.13
-0.01
0.45 0.23 0.55 0.57 0.33
-0.22 0.10 0.12 -0.13
0.32 0.34 0.10
0.02 -0.22
-0.12 0.13 -0.34 -0.10 -0.02 0.22 0.24 -0.24
0.28 0.06 0.38 0.40 0.16
0.13
-0.85
0.25
-0.20
0.02
-0.30
-0.32 -0.08
0.05
-0.93
0.17
-0.28
-0.06
-0.38
-0.40 -0.16
-0.08
0.13
-0.01
-0.13
-0.01
-0.13
-0.01
-0.13 -0.01
-0.13 -0.01
0.06
-0.93
0.18
-0.28
-0.05
-0.37
-0.39 -0.15
-0.08 0.01 -0.13
แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.05
-0.13
49
3.2 ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการประเมินการสอนของอาจารย์ ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อ การประเมินการสอนของอาจารย์ จากจากนักศึกษาที่ สังกัดคณะต่างกัน พบว่า มีระดับความคิดเห็นต่อการประเมินการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ ระดับ .05 ดังตาราง 4.10 ดังนั้น จึงทาการเปรียบเทียบรายคู่ (Post Hoc) ตามวิธีการของ Dunnett T3 เพื่อ ค้น หาว่า ความคิ ดเห็น ของนัก ศึกษาที่สังกัด คณะใดบ้างที่ แตกต่ างกัน ดั งตาราง 4.11 เมื่ อ เปรียบเทียบรายคู่ พบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ ที่ สังกัดคณะต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายคณะ พบว่าความ คิดเห็นของนั กศึก ษาคณะดิ จิทัล มีเดี ย กั บบัณ ฑิตวิ ทยาลัย และคณะศิลปศาสตร์ กั บดิจิ ทัลมี เดี ย แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์กับคณะศิลป ศาสตร์ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 เช่นกัน ตาราง 4.10 การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับสภาพการประเมินการสอน ของอาจารย์ ที่สังกัดคณะต่างกัน แหล่งความแปรปรวน Sum of Squares df Mean Square F ระหว่างคณะ
6.433
10
.643
ภายในคณะ
96.452
329
.293
102.885
339
รวม
2.194
50
ตาราง 4.11 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการประเมินการสอนของ นักศึกษาที่สังกัดคณะต่างกัน คณะ 1 บัณฑิตวิทยาลัย 2 นิติศาสตร์ 3 นิเทศศาสตร์ 4 บริหารธุรกิจ 5 บัญชี 6 วิศวกรรมศาสตร์ 7 ศิลปศาสตร์ 8 เศรษฐศาสตร์ สถาปัตยกรรม 9 ศาสตร์ เทคโนโลยี 10 สารสนเทศ 11 ดิจิทัลมีเดีย
1
-0.35 -0.13 -0.25 -0.16 0.11 -0.45 -0.21
0.22 0.10 0.19 0.46* -0.10 0.14
-0.12 -0.03 0.24 -0.32 -0.08
5 6 7 0.22 0.13 -0.14 0.25 0.16 -0.11 -0.10 -0.19 -0.46* 0.12 0.03 -0.24 -0.09 -0.36 0.09 -0.27 0.36 0.27 -0.20 -0.29 -0.55 0.04 -0.05 -0.32
-0.17 -0.21
0.14
-0.08
0.05 -0.05
-0.31
0.24
0.01
- -0.55 0.52*
-0.20
-0.42
-0.30 -0.39 -0.66*
-0.10
-0.34
0.03 -0.31 -0.10 -0.22 -0.13 0.14 -0.41 -0.18
2 -0.03
3 -0.31 0.35
4 0.10 0.13 -0.22
8 0.41 0.45 0.10 0.32 0.20 0.29 0.55
9 0.18 0.21 -0.14 0.08 -0.04 0.05 0.32 -0.24
0.24
10 0.17 0.21 -0.14 0.08 -0.05 0.05 0.31 -0.24 -0.01
11 0.52* 0.55 0.20 0.42 0.30 0.39 0.66* 0.10 0.34 0.34
-0.34
แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.05
ตอนที่ 4 ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อ ได้แก่ 4.1) ความ เหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็นของอาจารย์ 4.2) ความเหมาะสมใน การประเมินการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็นของนักศึกษา 4.3) ข้อเสนอแนะจากอาจารย์และ ประเด็นการสัมภาษณ์อาจารย์ และ4.4) ข้อเสนอแนะและประเด็นการสัมภาษณ์นักศึกษา ดังมี รายละเอียดดังต่อไปนี้ 4.1 ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็นของอาจารย์ พบว่า 1)จานวนครั้งในการประเมินอาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรประเมิน 1 ครั้งต่อภาคการศึกษา จานวน 151 คน คิดเป็นร้อยละ 74.38 2) ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการประเมิน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็น ว่า ควรประเมินหลังสอบกลางภาคเรียน 2 สัปดาห์ จานวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 31.03 3) ช่องทาง ในการประเมินอาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรกรอกแบบประเมินผ่านระบบ e-student จานวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 70.44 4) ความสะดวกในการทาการประเมิน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า เข้าถึงได้ รวดเร็ว จานวน 89 คน คิดเป็นร้อยละ 43.84 5) เครื่องมือในการประเมิน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า
51
ควรปรับปรุงข้อคาถามในการประเมิน จานวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 41.45 6) ระบบติดตามการ ประเมิน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า สามารถตรวจสอบสอบการแจ้งผลจานวนนักศึกษาที่เข้าประเมิน จานวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 33.15 7) การนาผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ อาจารย์ส่วนใหญ่ เห็นว่า ใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน จานวน 173 คน คิดเป็นร้อ ยละ 51.34 8) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรเพิ่มช่องทางตรวจสอบข้อเสนอแนะ ด้วยตนเอง จานวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 50.44 ดังตาราง 4.12 ตาราง 4.12 ความเหมาะสมในการจัดการประเมินการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็นของอาจารย์ ความเหมาะสมของการประเมินการสอนของอาจารย์ จานวน ร้อยละ 1.จานวนครั้งในการประเมิน 1 ครั้ง 151 74.38 2 ครั้ง 51 25.12 มากกว่า 2 ครั้ง 1 0.49 รวม 203 100.00 2. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการประเมิน หลังเปิดภาคเรียนสัปดาห์ที่ 5 16 7.88 ก่อนสอบกลางภาค 1 สัปดาห์ 43 21.18 หลังสอบกลางภาคเรียนทันที 27 13.30 หลังสอบกลางเรียน 2 สัปดาห์ 63 31.03 ก่อนสอบปลายภาคเรียน 1 สัปดาห์ 54 26.60 รวม 203 100.00 3. ช่องทางในการประเมิน กรอกแบบประเมินผ่านระบบ e-student 143 70.44 เปิดช่องทางประเมินอื่นๆมากกว่า 1 ช่องทาง 44 21.67 เพิ่มช่องทางประเมินในชั้นเรียน ขณะเรียน 10 4.93 อื่นๆ 6 2.96 รวม 203 100.00 4. ความสะดวกในการทาการประเมิน เข้าถึงได้รวดเร็ว 89 43.84
52
ตาราง 4.12 (ต่อ) ความเหมาะสมในการจัดการประเมินการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็นของอาจารย์ ความเหมาะสมของการประเมินการสอนของอาจารย์ จานวน ร้อยละ ขั้นตอนการเข้าถึงแบบประเมินไม่ซับซ้อน 72 35.47 สามารถแสดงผลการประเมินได้ทันที 37 18.23 รวม 203 100.00 5. เครื่องมือในการประเมิน ควรปรับปรุงข้อคาถามในการประเมิน 97 41.45 ควรเพิ่มด้านการประเมิน 18 7.69 ควรเพิ่มข้อเสนอแนะในการประเมิน 42 17.95 ควรมีข้อคาถามแยกรายวิชาทษษีีและปฏิบัติ 77 32.91 รวม 234 100.00 6. ระบบติดตามการประเมิน สามารถตรวจสอบสอบการแจ้งผลจานวนนักศึกษาที่เข้าประเมิน 123 33.15 มี e-mail แจ้งสถานะการประเมินที่สามารถตรวจสอบได้เอง 122 32.88 การกาหนดแผนติดตามการประเมิน 43 11.59 แสดงร้อยละของการเข้าประเมินของนักศึกษา 83 22.37 รวม 371 100.00 7. การนาผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ ใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน 173 51.34 ใช้ในการทา มคอ. 5 79 23.44 ใช้ในการพิจารณาจัดผู้สอนในแต่ละรายวิชา 85 25.22 รวม 337 100.00 8. ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง ควรเพิ่มช่องทางตรวจสอบข้อเสนอแนะด้วยตนเอง 114 50.44 ควรแบ่งเป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสอนและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการประเมิน 112 49.56 รวม 226 100.00
53
4.2 ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่า 1) จานวนครั้งในการประเมินนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ควรประเมิน 1 ครั้งต่อภาคการศึกษา จานวน 206 คน คิดเป็นร้อยละ 60.59 2) ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการประเมิน นักศึกษาส่วนใหญ่ เห็นว่า ควรประเมินก่อนสอบกลางภาค 1 สัปดาห์ รองลงมาคือ ก่อนสอบปลายภาคเรียน 1 สัปดาห์ จานวน 92 และ 85คน คิดเป็นร้อยละ 27.26 และ 25.00 ตามลาดับ 3) ช่องทางในการประเมิน นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ควรกรอกแบบประเมินผ่านระบบ e-student จานวน 210 คน คิดเป็นร้อย ละ 61.76 4) ความสะดวกในการทาการประเมิน นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า เข้าถึงได้รวดเร็ว จานวน 202 คน คิดเป็นร้อยละ 59.41 5) การปรับปรุงเครื่องมือในการประเมิน นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ควรปรับปรุงข้อคาถามในการประเมิน จานวน 159 คน คิดเป็นร้อยละ 40.46 ดังตาราง 4.13 ตาราง 4.13 ความเหมาะสมในการจัดการประเมินการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็นของนักศึกษา ความเหมาะสมของการประเมินการสอนของอาจารย์ จานวน ร้อยละ 1.จานวนครั้งในการประเมิน 1 ครั้ง 206 60.59 2 ครั้ง 122 35.88 มากกว่า 2 ครั้ง 12 3.53 รวม 340 100.00 2. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการประเมิน หลังเปิดภาคเรียนสัปดาห์ที่ 5 51 15.00 ก่อนสอบกลางภาค 1 สัปดาห์ 92 27.06 หลังสอบกลางภาคเรียนทันที 54 15.88 หลังสอบกลางเรียน 2 สัปดาห์ 56 16.47 ก่อนสอบปลายภาคเรียน 1 สัปดาห์ 85 25.00 อื่นๆ 2 0.59 รวม 340 100.00 3. ช่องทางในการประเมิน กรอกแบบประเมินผ่านระบบ e-student 210 61.76 เปิดช่องทางประเมินอื่นๆมากกว่า 1 ช่องทาง ได้แก่ 98 28.82 Facebook เพิม่ ช่องทางอื่นๆประเมินในชั้นเรียน ขณะเรียน 32 9.41
54
ตาราง 4.13 (ต่อ) ความเหมาะสมในการจัดการประเมินการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็นของนักศึกษา ความเหมาะสมของการประเมินการสอนของอาจารย์ จานวน ร้อยละ 4. ความสะดวกในการทาการประเมิน เข้าถึงได้รวดเร็ว 202 59.41 ไม่พบความผิดพลาดของระบบ 28 8.24 ขั้นตอนการเข้าถึงแบบประเมินไม่ซับซ้อน 71 20.88 สามารถแสดงผลการประเมินได้ทันที 39 11.47 รวม 340 100.00 5. การปรับปรุงเครื่องมือในการประเมิน ควรปรับปรุงข้อคาถามในการประเมิน 159 40.46 ควรเพิ่มด้านการประเมิน 53 13.49 ควรเพิ่มข้อเสนอแนะในการประเมิน 56 14.25 ควรมีข้อคาถามแยกรายวิชาทษษีีและปฏิบัติ 125 31.81 รวม 393 100.00 4.3 ข้อเสนอแนะและประเด็นสัมภาษณ์อาจารย์ 4.3.1 ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ ข้อคาถาม ผู้ประเมิน และ ระบบการประเมิน ประเด็นข้อคาถาม -นักศึกษาส่วนมาก ยังไม่เข้าใจ ข้อคาถาม อาจทาให้ผลการประเมินบิดเบือนไป -คาถามที่ถามบางข้อเป็นวิชาการมาก นักศึกษาอ่านแล้วไม่เข้าใจว่าต้องการสื่อถึงอะไร ควรจะปรับเปลี่ยนข้อคาถามที่นักศึกษาสามารถเข้าใจได้ง่าย -นักศึกษาบางคนไม่อ่านคาถาม ใช้วิธีเลือกช่องแบบสุ่ม ผลที่ได้บางครั้งก็ไม่ตรง บางครั้ง นักศึกษาประเมินไม่ใช่อาจารย์คนที่สอน -แบบประเมินนี้ไม่ดี เก็บข้อมูลได้ไม่ถูกต้อง -ควรปรับปรุงคาถามให้เป็นตามความเป็นจริง -ข้อที่เกี่ยวกับจริยธรรมไม่ควรมี -ควรมีสรุปและมีช่องให้ได้ใส่ความคิดเห็นมากกว่าเลือกตอบอย่างเดียว
55
ประเด็นผู้ประเมิน -ควรเพิ่มช่องจานวนครั้งที่เข้าเรียนก่อนเข้าสู่หน้าประเมิน นศ.บางคนไม่เคยเข้าเรียน แต่ เข้าไปประเมินการสอน อาจทาให้ผลคลาดเคลื่อน -การประเมินในปัจจุบันที่เป็นอยู่เป็นแบบ One way ซึ่งสิ่งที่นักศึกษาประเมินมาอาจมีทั้ง ความจริงและสิ่งที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ฉะนั้นยังเห็นว่าการประเมินการสอนยังตอบโจทย์ให้ครอบคลุม ทั้งหมดไม่ได้ -นศ.ที่ให้คะแนนต่า อาจเป็น นศ.ที่ไม่ได้เข้าเรียน -หลังการสอบ Midterm นศ. ที่ไ ด้คะแนนต่า จะประเมินต่า ส่วน นศ.ที่คะแนนสูงจะ ประเมินคะแนนสูง จึงได้ข้อมูล/คะแนนตามความรู้สึก ไม่ใช่ตามความจริง ประเด็นระบบการประเมิน -การบังคับในระบบให้ นศ.ทาการประเมินการสอน ก่อ นจะดาเนินการใด ๆ ในระบบ รายการเพื่อจะได้เป็นการบังคับให้ประเมินทุกคน -โดยภาพรวม มีความคิดเห็นว่าระบบการประเมินการสอนของอาจารย์นั้นมีประโยชน์มาก การประเมินสามารถทาผ่านระบบได้ ซึ่งเป็นรูปแบบที่สะดวกและง่ายต่อนักศึกษา รวมถึงอาจารย์ ในการเข้าไปตรวจสอบผลการประเมิน สิ่งที่อ าจต้อ งปรับปรุง อาจเป็นส่วนของข้อ คาถามใน บางส่วน -ควรให้เจ้าหน้าที่ดาเนินการแจกแบบประเมินใน Class ที่ 14-15 ของสัปดาห์การเรียนการ สอน เพื่อให้คณะได้มีเอกสารประเมินโดยตรง และตรงกับความต้องการของแต่ล่ะหลักสูตร -ควรให้อาจารย์สามารถเช็คดูได้ว่า น.ศ.ผู้ใดเสนอข้อคิดเห็นที่เป็นไปในทางเข้าใจอาจารย์ ผิด เพื่อจะได้ช่วยอธิบายให้ น.ศ. ผู้นั้นได้ทราบจะได้มีความเข้าใจตรงกัน ไม่ใช่ให้ หัวหน้าสาขามา บอก/ตักเตือน โดยที่ไม่รู้ว่าความเป็นจริงเป็ นอย่างไร จะทาให้เกิด Conflict ระหว่างหัวหน้าสาขา กับอาจารย์ผู้สอน ซึ่งจริง ๆ ไม่ควรจะได้เกิดขึ้นเลย โดยมี น.ศ. เป็นสาเหตุ สู้ให้อาจารย์ผู้สอน Clear กับ น.ศ. ไปเลยดีกว่า 4.3.2 ประเด็นการสัมภาษณ์อาจารย์ ประเด็นที่ 1 ช่วงเวลาและจานวนครั้งที่เหมาะสมในการทาการประเมินประสิทธิภาพการ สอนของอาจารย์ อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรประเมิน 1 ครั้งต่อภาคการศึกษา ร้อยละ 55.56 รองลงมา เห็น ว่า ควรประเมินอย่างน้อย 2 ครั้ง โดยประเมินก่อนสอบกลางภาคและก่อนสอบปลายภาค ร้อยละ 44.44 นอกจากนี้บางส่วนเห็นแตกต่างกันดังนี้ 1) ควรประเมิน หลังสอบกลางภาค 1 สัปดาห์ จนถึง วันสุดท้ายของการเรียน 2) ประเมินหลังสอบกลางภาค 2 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 10 แล้วสรุปให้
56
เสร็จภายในสัปดาห์ที่ 12 หรือ 3) ประเมินหลังสอบกลางภาคประมาณสัก 2-3 สัปดาห์ ใช้เวลา 4-5 สัปดาห์ จนถึงวันสุดท้ายของการเรียนการสอน/ร้อยละ 11.11 ประเด็นที่ 2 ขั้นตอน ในการประเมินการสอนของอาจารย์ อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ขั้นตอนในการประเมินการสอนมีความเหมาะสมดี ร้อยละ 44.44 นอกจากนี้มีประเด็นเกี่ยวกับนักศึกษาดังนี้ 1) ควรให้นักศึกษาเห็นความสาคัญของการประเมิน ด้วย ความยุติธรรมเป็นจริง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2) ควรสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาตอบคาถาม ปลายเปิด โดยอาจารย์เปิดเผยผลการประเมินให้นักศึกษาเห็นอย่างโปร่งใส เพื่อให้นักศึกษายินดีเข้า ประเมิน 3) นักศึกษาที่ไม่เคยเข้าเรียน ไม่ทราบการสอนของอาจารย์ จะไม่สามารถประเมินได้ ร้อย ละ 11.11 เท่ากัน และประเด็นเกี่ยวกับระบบการประเมิน ได้แก่ 1) ควรลดความยุ่งยากลงและเพิ่ม ช่องทางลัดให้เข้าถึงผลการประเมินได้ง่าย 2) ควรปรับปรุงข้อมูลตารางสอนของอาจารย์ให้ตรงกับ ความเป็นจริง ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนให้ตรงกับกลุ่มที่สอน 3) ควรให้ผู้สอนเห็นผลการประเมิน ภาพรวมและ ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา ร้อยละ 11.11 เท่ากัน ประเด็นที่ 3 กระบวนการในการประเมินการสอนของอาจารย์ที่เหมาะสม อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า กระบวนการในการประเมินการสอน มีความเหมาะสมดีแล้ว สามารถตรวจสอบได้ เห็นผลการประเมินทันที ร้อยละ 33.33 โดยเพิ่มประเด็นเหล่านี้ ได้แก่ 1) เพิ่ม การประชาสัมพันธ์นักศึกษาในช่วงวันปฐมนิเทศ 2) เสนอแนะให้ปรับการเรียงข้อ คาถามตาม กระบวนการเรียนการสอน 3) มีกระบวนการกากับให้นักศึกษาเข้าประเมิน 80 %ขึ้นไป 4) ไม่ควร เปิดเผยผู้ให้ข้อมูล 5) อาจเพิ่มการประเมินแบบสุ่มอาจารย์ผู้สอน เช่น ถ่ายวีดีโอขณะสอน ซึ่งอาจ เหมาะสมกับอาจารย์พิเศษ หรือการประเมินเพื่อมีผลกระทบต่อผู้สอนสูง 6) ควรให้ผู้สอนเห็นผล การประเมินรายบุคคล นอกจากนี้ อาจารย์มีประเด็นเสนอแนะดังนี้ 1) ควรมีการประเมินวัสดุ อุปกรณ์ ห้องเรียนแยกกัน แต่ละรายวิชา เพื่อ ให้ทราบข้อ มูลเฉพาะวิชา 2) ควรปรับปรุงการส่ง ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาจากส่วนกลาง ให้สามารถนาไปใช้ได้ทัน ในการปรับปรุงการสอนได้ 3) คณะควรนาผลการประเมิน ไปพิจาณาผู้สอนเกี่ยวกับ วิธีการสอน ทั้งอาจารย์ประจาอาจารย์พิเศษ (กรณีที่มีปัญหา) ร้อยละ 11 เท่ากัน ส่วนข้อเสนอแนะจากอาจารย์ คือ ควรให้ อ าจารย์ที่ ไ ด้รั บการประเมิน ทราบเกณฑ์ การ ประเมิน ก่อนที่จะสอน ประเด็นที่ 4 กลุ่มที่เป็นผู้ประเมินการสอน อาจารย์ส่วนใหญ่ เห็นว่า กลุ่มผู้ประเมินการสอนควรให้นักศึกษาประเมิน อย่างเดียวก็ เหมาะสม เนื่องจากเป็นผู้รับการสอนโดยตรง ร้อยละ 55.56 แต่บางส่วนมีความเห็นแตกต่างกันดังนี้ 1) อาจเพิ่มให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินการสอนก็น่ าเชื่อถือ แต่อาจทาโดยวิธีการสุ่ม ร้อยละ 22.22 2)
57
หากประเมินโดยหลายกลุ่มก็ดี ควรเป็น 2 กลุ่มขึ้นไป ถ้าเป็นไปได้ส่วนกลางดีกว่าจะได้ไม่มีความ ลาเอียง 3) อาจเพิ่มการประเมินอาจารย์ใหม่ จากหัวหน้าสาขา คณบดี ร้อยละ 11.11 4) ผู้สอนอาจ ประเมินตนเอง เช่น Class size ช่วงเวลาที่สอน สภาพห้องเรียน ร้อยละ 11.11 ประเด็นที่ 5 ลักษณะแบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ ที่เหมาะสม การปรับปรุงข้อคาถามดังต่อไปนี้ -ข้อคาถามบางข้อทาให้เกิดความลาเอียง และไม่ยุติธรรมกับผู้สอน และข้อคาถามบางข้อ นักศึกษาอาจไม่เข้าใจ ซับซ้อน ควรปรับข้อคาถามใหม่ -เกี่ยวกับเรื่องสื่อการสอน ควรแยกออกจากการประเมินอาจารย์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง นักศึกษาแยกไม่ออกว่าเป็นสื่อประกอบการสอนหรืออุปกรณ์ในห้องเรียน และสื่อการสอนบางวิชา มีเฉพาะ PWP เท่านั้น -ควรปรับปรุงข้อคาถามที่ไม่ชัดเจน เช่น อาจารย์ได้สอดแทรกจริยธรรม ให้กับนักศึกษา ซึ่งนักศึกษาอาจไม่เห็น อาจปรับคาเป็น “สอนวิธีที่ถูกต้อง” อาจเหมาะสมกว่า -การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร อาจไม่สามารถจัดได้ทุกวิชา -เพิ่มหัวข้อในส่วนหัวข้อบริหารงานสอน -เมื่อพิจารณาปรับข้อคาถามรายข้อ มีข้อเสนอแนะดังนี้ ข้อคาถามข้อ 1 หากนักศึกษาไม่เข้าเรียนวันแรกอาจไม่ทราบ ข้อ 3 สามารถประเมินวิชาปฏิบัติการดี ข้อ 4 นักศึกษาอาจตอบไม่ได้ เพราะยังเรียนไม่ครบ ข้อ 5 หลายวิชาทาไม่ได้ ข้อ 6 มีความสาคัญ แต่ควรปรับคา เช่น มุ่งเน้นทาในสิ่งที่ถูกต้อง ข้อ 9 อาจไม่มีการประเมินหลายอย่าง หรือวัดผลหลายอย่าง บางวิชาไม่เอื้อให้สามารถ ปฏิบัติได้ โดยเฉพาะวิชาปฏิบัติการ โดยข้อ คาถามควรสะท้อ นการสอนจริงและอาจไม่ได้ใช้การ ประเมินก่อนเรียน และหลังเรียน (3) ข้อ 10 ควรปรับข้อคาถามใหม่ ข้อ 17 ควรเพิ่ม E-learning facebook social network ประเด็นที่ 6 การนาผลการประเมินการสอนของอาจารย์ไปปรับปรุงการสอน การนาผลการประเมินไปปรับปรุงการสอน อาจารย์ส่วนใหญ่ นาไปปรับปรุงการสอน วิธีการสอน ได้แก่ การให้การบ้าน การใช้ตาราประกอบ เพิ่มตัวอย่างประกอบการสอน และ การ อธิบาย Technical term ขนาดกลุ่มในการทางานกลุ่ม และเพิ่มการสอดแทรกจริยธรรม รวมทั้งเพิ่ม การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง เพื่อให้นักศึกษา มีความเข้าใจตรงกัน ร้อยละ 54.55 อาจารย์บางส่วน
58
นาไปปรับปรุงคุณลักษณะส่วนตัวได้แก่ การแต่งกาย การใช้เสียงพูด ที่ดึงดูดนักศึกษาให้เข้าเรียน นอกจากยังนาไปพิจารณาจัดผู้สอนอีกด้วย ร้อยละ 36.36 นอกจากนี้นาผลการประเมินไปปรับปรุง การใช้สื่อการสอนนอกเหนือจากตารา และ PWP ประกอบการสอน และใส่หมายเลขหน้าใน PWP เพื่อให้นักศึกษาตามทัน รวมทั้งการใช้ VDO/ CD และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ประกอบการสอน นอกจากนี้มีการเชิญวิทยากรภายนอก ร้อย ละ 18.18 อาจารย์บางส่วน มีการจัดการทบทวนบทเรียน ให้ก่อน Midterm กรณีที่นักศึกษาเรียนไม่ ทัน รวมทั้งเพิ่มช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา โดยจัดทา Facebook หรือ social network อื่นๆ ร้อย ละ 9.09 ประเด็นที่ 7 ลักษณะระบบในการเข้าดูผลการประเมินการสอนของอาจารย์ในปัจจุบัน จุดเด่น ระบบในการดูผลการประเมินการสอนของอาจารย์ ส่วนใหญ่เห็นว่า ง่ายสะดวก ดูผลได้ทุก ที ประมวลผลชัดเจน ร้อยละ 72.73 ทาให้ทราบถึงผลการสอนของตนเอง และนามาปรับปรุงการ สอนได้ ร้อยละ 18.19 และมีความปลอดภัยของข้อมูลสูง ไม่ต้องกังวลว่าอาจารย์จะรู้ว่านักศึกษาคน ใดประเมิน ร้อยละ 9.09 ปัญหา อุปสรรค ปัญหาอุปสรรค ในประเด็นคาถามในการประเมิน ยังไม่สื่อให้นักศึกษาเข้าใจ โดยควรแยก การประเมินสื่อการสอนของอาจารย์ จากวัสดุอุปกรณ์ให้ห้องเรียน รวมทั้งปรับปรุงข้อคาถามที่ กว้างนาไปประยุกต์ยาก อุปสรรคเกี่ยวกับระบบการประเมิน ได้แก่ ผลการประเมินได้รับช้า ควรไม่เกิน 15 วัน หลังจากประกาศเกรด ควรมีแสดง%การเข้าประเมิน และสามารถดูข้อ เสนอแนะ แยกกลุ่ม ได้ นอกจากนี้ควรสงวนสิทธิ์ให้เฉพาะผู้บังคับบัญชา (คณบดี) ดูผลกาประเมินของอาจารย์ในคณะ อีก ทั้งควรเพิ่ม Report การแนะนาระบบ และปรับปรุง server ขณะมีการประเมิน เนื่องจากมีปัญหา บ่อย สาหรับอุปสรรคในการนาผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ ควรนาผลการประเมินไป ประเมิ น ผลการปฏิ บัติ ง านประจ าปีข องอาจารย์ ด้ว ย เน้ น ผลการประเมิ นให้ เกิ ด ประสิ ทธิ ภ าพ นอกจากนี้ส่วนกลางยังขาดระบบการกระตุ้นให้อาจารย์นาผลการประเมินมาใช้ และติดตามการใช้ ผลการประเมิน
59
ประเด็นอื่นๆ ได้แก่ การที่นักศึกษาเข้าเรียนสาย อาจทาให้ประเมินอาจารย์ไม่ดี ทาให้เกิด ความไม่ยุติธรรม และธรรมชาติบางวิชาอาจไม่มีเอกสารมาก ทาให้นักศึกษาไม่เห็น แต่เป็นการ เรียนจากของจริง เช่น Website เป็นต้น 4.4 ข้อเสนอแนะและประเด็นสัมภาษณ์นักศึกษา 4.4.1 ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ ระบบการประเมิน ข้อ คาถาม และอื่นๆ ประเด็นระบบการประเมิน -ประเมินแล้วควรนาไปปรับปรุง เพราะอาจารย์บางท่านยังสอนแบบเดิม -ควรเข้าถึงการทาประเมินอย่างรวดเร็ว -ควรจะเพิ่มช่องทางในการประเมินให้มากขึ้น เช่น ใน Facebook -ประเมินแล้วไม่สามารถรู้ได้ว่าถึงอาจารย์หรือไม่ -เพิ่มระยะเวลาในการประเมินมากกว่า 1 สัปดาห์ -ชื่ออาจารย์ผู้สอนบางครั้งในแบบประเมินไม่ตรงกับตัวจริง ควรมีระบบตรวจสอบให้ ถูกต้องก่อนมีการประเมิน (2) -ปรับปรุงระบบการเข้ารหัสของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเวลาเข้าระบบ SCMS มีปัญหาทุกที ช้ามาก -ควรจะปรับปรุงในเรื่องของช่องประเมิน เพราะมันเล็กทาให้ลาบากในการคลิ๊กเข้าไป ประเมิน ส่วนสีของแบบประเมินควรจะเพิ่มสีให้ ดูสวยงามและแบ่งกันไปตามสัดส่วนของเนื้อหา เพื่อสะดวกในการหาหัวข้อประเมิน -ควรจะมีบอร์ดประชาสัมพันธ์ ในช่วงเวลาที่ให้ทาแบบประเมินอาจารย์ -อยากให้ประเมินทุกเทอมหลังจากเรียนหมดแล้ว คือก่อนสอบปลายภาคหรือไม่ก็คาบเรียน สุดท้าย เพราะตลอดเทอมต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอนด้วย -เมื่อ น.ศ. ประเมินอาจารย์แล้ว ควรให้อาจารย์นาสิ่งที่นักศึกษาประเมินไปปฏิบัติหรือ แก้ไขด้วย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอาจารย์ -ควรแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับระบบการประเมินให้มีความชัดเจนมากขึ้น ประเด็นข้อคาถาม -คาถามมีความครอบคลุมมากขึ้น และเพิ่มเติมการประเมินระหว่างการสอบ Midterm และ Final
60
อื่นๆ -ควรปรับปรุงระบบ Internet ของมหาวิทยาลัย ช้ามาก และขัดข้องบ่อย ควรปรับปรุงให้ สะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะช่องลงทะเบียนเพิ่ม ถอนและเวลาประเมิน -webpage มหาวิทยาลัย เปลี่ยนบ่อย หากมีการเปลี่ยนแปลงควรจะมีการแนะนาให้นักศึกษา เข้าใจ -การเข้าเว็บไซต์ซับซ้อนเกินไป -ไม่ควรเปลี่ยนแปลงระบบบ่อย และไม่ควรทาให้ระบบซับซ้อนเกินไป 4.4.2 ประเด็นการสัมภาษณ์นักศึกษา ประเด็นที่ 1. การเข้าระบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ และความคิดเห็น เกี่ยวกับความสะดวกรวดเร็วในการประเมิน ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคน เคยเข้าระบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ โดยส่วน ใหญ่เห็นว่า ระบบมีความสะดวกรวดเร็ว ไม่ซับซ้อนสามารถทาได้ทุกที่ ที่มีอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 56.25 รองลงมาพบว่า มีความสะดวก แต่ระบบช้าและมีปัญหาเป็นบางครั้ง เช่น เข้าหน้าประเมิน ไม่ได้ ร้อยละ 25.00 ส่วนน้อยที่พบว่า มีความสะดวก แต่ซับซ้อนหลายขั้นตอน ในการเข้าหน้าจอ ระบบการประเมินอาจารย์ ร้อยละ 18.75 ประเด็นที่ 2 ช่วงเวลาใดที่เหมาะสมในการทาการประเมินประสิทธิภาพในการสอนของ อาจารย์ เช่น ก่อนการสอบกลางภาค หรือหลังสอบกลางภาค ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนเห็นว่าควรประเมินหลังสอบกลางภาคเรียน โดยมีเหตุผลแตกต่างกัน สรุปได้ 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ 1. เป็นการประเมินการสอนในภาพรวมของการสอนของอาจารย์ทั้ งหมด เพื่อ รวบรวม ข้อมูลในการสอนตั้งแต่เริ่มสอน การสอบ และสรุปผลจากการสอน จะได้ทราบประสิทธิภาพการ สอนของอาจารย์ ร้อยละ 37.5 2. เป็นการประเมินการสอน เพื่อเปรียบเทียบการสอนกับความเข้าใจของนักศึกษา คิ ดเป็น ร้อยละ 25 ได้แก่ เปรียบเทียบกับหัวข้อของแบบประเมินได้ และเปรียบเทียบกับการสอบและผล การเรียนของนักศึกษา ประเด็นที่ 3 ขั้นตอนที่เหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่าขั้นตอนในการประเมินมีความเหมาะสมดี ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมีการ ย้าเตือนนักศึกษา ให้ทาการประเมิน ด้วยหลายวิธีการ คิดเป็นร้อยละ 67.65 ดังต่อไปนี้ ทาการย้า เตือนซ้าๆ ให้นักศึกษาเข้าประเมิน คิดเป็น อาจเป็นทุกครั้งที่เข้าสอนในช่วงที่มีการประเมิน หรือ อาจกระตุ้นเตือนนักศึกษาโดยเฉพาะคนที่ยังไม่ไ ด้ประเมิน อาจเพิ่มแรงจูงใจ โดยการให้คะแนน
61
การเข้าประเมิน ในคะแนนความสนใจ หรืออาจส่ง SMS ถ้าสามารถทาได้ หรือ เมนูเตือนในระบบ ในช่วงที่มีการประเมิน นอกจากนี้ มีความเห็นว่า ช่วงเวลาที่ทาการประเมินควรทา Link หน้าที่จะประเมินไว้ที่ หน้า web ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เข้าประเมินได้ง่ายไม่ซับซ้อน คิดเป็นร้ อยละ 18.75 หากมีการ ปรับเปลี่ยนหน้า web นักศึกษามักหาเมนูการเข้าไปประเมินไม่พบ ประเด็นที่ 4 แบบประเมินการสอนของอาจารย์ควรมีการประเมินสิ่งใดเพิ่มเติม ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ เห็นว่า แบบสอบถามดีอยู่แล้ว มีความเหมาะสม แต่ มีจานวนข้อ มาก ควรลดจานวนข้อคาถามลงให้สั้น และกระชับมากขึ้น ร้อยละ 31.25 เท่ากัน แต่บางส่วนเห็นว่า ควรปรับแบบสอบถามให้น่าสนใจ โดยปรับไอคอนให้มีสีสันและรูปแบบที่ดึงดูดให้น่าอ่านมากขึ้น ร้อยละ 12.50 ประเด็นที่ 5 การนาผลการประเมินการสอนของอาจารย์ไปปรับปรุงการสอน ผู้ใ ห้สั ม ภาษณ์ เห็ น ว่า ผลการประเมิ น การสอนของอาจารย์ มี ประโยชน์ ต่ อ ผู้ สอน เพื่ อ นาไปใช้ในการปรับปรุงการสอน รับทราบข้อ บกพร่อ งของตนเอง ทาให้มีทิศทางการสอนที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ร้อยละ 62.50 นอกจากนี้ อาจารย์จะได้ทราบความต้องการของนักศึกษาที่มี ต่ออาจารย์ ร้อยละ 12.50 แต่ส่วนหนึ่ง นักศึกษาไม่ทราบว่าอาจารย์นาผลไปปรับปรุง เนื่อ งจาก อาจารย์สอนเหมือนเดิม ร้อยละ 12.50 ประเด็ นที่ 6 จุ ดเด่น และจุ ดที่ควรปรับ ปรุงระบบประเมิน ประสิท ธิภาพการสอนของ อาจารย์ในปัจจุบัน จุดเด่น ผู้ให้สัมภาษณ์ให้ความเห็นว่า ระบบการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ มีความสะดวก รวดเร็ว ร้อยละ 62.5 และสามารถเสนอความคิดเห็นให้กับอาจารย์ได้ จุดที่ควรปรับปรุง ผู้ให้สัมภาษณ์ให้ความเห็นว่า ข้อคาถามมากเกินไป ทาให้ ใช้เวลามากใน การประเมิน ร้อยละ 25.00 นอกจากนี้ส่วนหนึ่งเห็นว่า รูปแบบในการประเมินและขนาดตัวหนังสือ เล็ก ทาให้ไม่น่าสนใจ มีความสับสน และการเข้าประเมินมีความซับซ้อน ร้อยละ 25.00 ตอนที่ 5 รูปแบบการประเมินการสอน ของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม รูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีขั้นตอนในการดาเนินการ ดังต่อไปนี้ 1. สั ป ดาห์ ที่ 3 ของทุ ก ภาคการศึ ก ษา ศู น ย์ ส นั บ สนุ น และพั ฒ นาการเรี ย นการสอน ดาเนินการประสานงานกับคณะทุกคณะ และทาเปิดระบบ การประเมินการสอนของอาจารย์ประจา
62
ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 และภาคการศึกษาษดูร้อน ของการศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติและ บัณฑิตศึกษา 2. ช่วงเวลา ประมาณสัปดาห์ที่ 3-5 (หลังเพิ่ม- ถอน) ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียน การสอน ดาเนินการประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ผู้สอนและคณะดาเนินการตรวจสอบดูรายชื่อผู้สอน ในระบบตารางสอนว่ามีชื่อผู้สอนตรงกับชื่อตนเองหรือไม่ ถ้าไม่ตรงหรือยังไม่แสดงชื่อผู้สอน ให้ แจ้งสานักงานวิชาการ เพื่อดาเนินการกรอกรายชื่อผู้สอน หรือปรับเปลี่ยนชื่อผู้สอนให้ตรงกับความ เป็นจริง เพื่อให้ช่วงเวลาประเมินนักศึกษาจะเข้าประเมินได้ตรงตามความเป็นจริง (สัปดาห์ที่ 3) และอาจารย์ตรวจสอบความถูกต้อง ภายในสัปดาห์ที่ 5 3. สัปดาห์ที่ 10 ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน ดาเนินการประชาสัมพันธ์ให้ อาจารย์นักศึกษารับทราบเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ทาการประเมินการสอน ในระหว่างสัปดาห์ที่ 11-14 โดยผ่านทาง e-mail group all , web site ของมหาวิทยาลัย , ป้ายวิ่ง และDigital signet 4. สัปดาห์ที่ 11 อาจารย์ผู้สอนแจ้งให้นักศึกษาเข้าประเมินการสอนทุกรายวิชา และทาการ ประเมินการสอนของอาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ในระหว่างสัปดาห์ที่ 11-14 5. สัปดาห์ที่ 13 ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนทุกคณะ แจ้งร้อยละของนักศึกษาเข้าประเมินอาจารย์ เพื่อให้อาจารย์สามารถดาเนินการกระตุ้นให้นักศึกษา เข้าประเมินเพิ่มขึ้น 6. สัปดาห์ที่ 16 ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนดาเนินการประมวลผลการ ประเมินผ่านระบบ SCMS ของทุกคณะวิชา 7. การตรวจสอบผลการประเมินการสอนผ่านระบบการประเมินการสอน ดังนี้ 7.1 อาจารย์ผู้สอนตรวจสอบผลการประเมินภาพรวมรายกลุ่มเรียน รายบุคคล และผล จากข้อเสนอแนะของนักศึกษา จาแนกตามรายวิชา 7.2 คณบดี หรือผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ สามารถตรวจสอบผลการประเมินการสอน ภาพรวมของอาจารย์ ทั้ งคณะ จาแนกตามระดั บผลการประเมิน และผลของข้อ เสนอแนะจาก นักศึกษา เป็นรายบุคคล 8. ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนดาเนินการตรวจสอบผลการประเมิน ใน ภาพรวมและดาเนินการวิเคราะห์ผลการประเมินการสอน จาแนกตามรายวิชา ของทุกคณะ รวบรวม ส่งผลการประเมินจาแนกตามรายวิชาให้คณะ 9. คณะกรรมการบริหาร นาผลการประเมินการสอน ไปพิจารณาเพื่อปรับปรุงการจัดการ เรียนการสอน ตามข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งตามระดับความรุนแรง และความเร่งด่วน เพื่อ
63
ทาความเข้ า ใจกั บนั ก ศึก ษา อาจารย์ ผู้ สอน และปรั บปรุ ง พั ฒนาการสอนให้ เ หมาะสมในภาค การศึกษาต่อไป 10. ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนรวบรวม ข้อมูลการพิจารณานาผลประเมิน การสอนของอาจารย์ไปปรับปรุงของทุกคณะ เพื่อจัดทารายงานสรุปผลการประเมินและการนาผล การประเมินไปปรับปรุงแก้ไข เสนอต่อมหาวิทยาลัยต่อไป
64
3-5
4
/ 10
11
11
Website Group mail all , Digital signet
11-14
13
16
ภาพ 4.1 รูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม
17
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อ ศึกษาสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา 2) เพื่อ เปรียบเทียบความ คิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาที่สังกัดคณะต่างกัน ต่อสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ 3) เพื่อ ศึกษาความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามความ คิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา 4) เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินการสอน ของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม การวิจัยในครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัย ประเภทการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้ แ บบสอบถามอาจารย์ ผู้ ส อน และนั ก ศึ ก ษา และสั ม ภาษณ์ อ าจารย์ นักศึกษา การดาเนินงานวิจัยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การประเมินการสอนของอาจารย์ 2) สร้างเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามอาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา แบบสัมภาษณ์นักศึกษา แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ 3) เก็บ รวบรวมข้ อมูล จากอาจารย์ผู้ สอนและนักศึ กษาในทุก คณะ 4) การวิเ คราะห์ข้อ มูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) จากแบบสอบถาม และวิ เคราะห์เ ชิง คุ ณภาพ (Qualitative Data) จาก ข้อเสนอแนะ และจากการสัมภาษณ์นักศึกษา 5) พัฒนารูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามผลการวิเคราะห์ข้อมูล 6) จัดสนทนากลุ่ม (Focus group) จากผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน 3-5 ท่าน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์ และนาผลมา ปรับปรุงให้เหมาะสม 7) สรุปผลการวิจัย จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาและผลการวิเคราะห์ ข้อมูล รวมทั้งอภิปรายผลการวิจัย 8. ดาเนินการเขียนรายงานการวิจัยและจัดพิมพ์รูปเล่มรายงาน รวมทั้ง เผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปบทความทางวิชาการ /นาเสนอในที่ประชุมวิชาการ ขอบเขตการวิจัย ประกอบด้วย ประชากร เป็นอาจารย์ผู้สอนในปีการศึกษา 2553 จานวน 470 คน นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2/2553 จานวน 13,113 คน กลุ่มตัวอย่างสุ่ม โดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan (1970) ดังนี้ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย อาจารย์ จานวน 212 คน และนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จานวน 392 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่เก็บรวบรวมได้ เป็นอาจารย์จานวน 203 คน คิดเป็นร้อยละ 95.75 นักศึกษาจานวน 340 คน คิด เป็ น ร้ อ ยละ 86.73 วิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล เชิ ง ปริ ม าณ โดยวิ เ คราะห์ ค่า ความถี่ (Frequency) ร้ อ ยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่ว นเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติอ นุมาน
65
วิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ด้วยสถิติ F-test และวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพและข้อมูลจากการ สัมภาษณ์ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อแปลความ ตีความ และสรุปความ สรุปผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 5 ตอน ดังต่อ ไปนี้ คือ ตอนที่ 1 ข้อ มูลพื้นฐานของ ผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 สภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ ตอนที่ 3 เปรียบเทียบความ คิดเห็นของอาจารย์และความคิดเห็นของนักศึกษาต่อสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ ตอนที่ 4 ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ และตอนที่ 5 รูปแบบการประเมินการสอน ของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม 1.1 อาจารย์ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีตาแหน่งเป็นอาจารย์ร้อยละ 91.13 รองลงมา เป็นคณบดี /รองคณบดี/ผู้ช่วยคณบดี ร้อ ยละ 4.43 ต าแหน่งหัว หน้าสาขาร้อ ยละ 4.43 ส่วนใหญ่ สังกัดคณะบริหารธุรกิจ ร้อยละ 16.26 รองลงมาเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร้อ ยละ 15.27 ส่วน บัณฑิตวิทยาลัย มีผู้ตอบแบบสอบถามน้อยที่สุด ร้อยละ 1.48 1.2 นักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ร้อยละ 20.00 รองลงมาคื อ คณะนิเทศศาสตร์ ร้อ ยละ 17.06 ส่วนคณะเศรษฐศาสตร์มีผู้ตอบแบบสอบถามน้อ ย ที่สุด ร้อยละ 1.4 ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 ร้อ ยละ 35.59 รองลงมาคือ ชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 34.12 ส่วนชั้นปีที่ 5 หรือสูงกว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามน้อยที่สุด ร้อยละ 4.71 ตอนที่ 2 สภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ 2.1 สภาพการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของอาจารย์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก โดยประเด็นจานวนครั้งในการประเมินการสอนของอาจารย์ จานวน 1 ครั้งต่อ ภาค การศึกษามีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมา ประเด็น ช่วงเวลาในการประเมิน หลังสอบกลางภาคเรียน จนถึงวันสุดท้ายของการเรียนการสอนมีความเหมาะสม และระบบการ ประเมินการสอนของอาจารย์ผ่านระบบ online ด้วยระบบ SCMS (e-student) มีความเหมาะสม มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนประเด็นความรวดเร็วในการแจ้งผลการประเมินการสอนของอาจารย์ มีค่าเฉลี่ยต่าสุด อยู่ในระดับมาก 2.2 สภาพการประเมินการสอนตามความคิดเห็นของนักศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก โดยประเด็นระบบการประเมินการสอนของอาจารย์ผ่านระบบ online ด้วยระบบ SCMS (e-student) มีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ประเด็นการกาหนดช่วงเวลา ในการประเมินหลังสอบกลางภาคเรียน จนถึงวันสุดท้ายของการเรียนการสอนมีความเหมาะสม มี
66
ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนประเด็น จานวนข้อคาถาม และจานวนด้านในแบบประเมินการสอน ของอาจารย์ มีความครอบคลุมการประเมิน มีค่าเฉลี่ยต่าสุด อยู่ในระดับมาก 2.3 ผลการประเมินการสอนของอาจารย์ประจาภาคการศึกษาที่ 2/2553 ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินในรายด้าน พบว่า ด้านคุณลักษณะอาจารย์มีผลการประเมิน สูงสุด ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการวัดและประเมินผล และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน มีผลการประเมินต่าสุด อยู่ในระดับมาก ตอนที่ 3 เปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์และความคิดเห็นของนักศึกษาต่อสภาพการ ประเมินการสอนของอาจารย์ 3.1 ความคิดเห็นของอาจารย์ต่อ การประเมินการสอนของอาจารย์ที่สังกัดคณะต่างกัน พบว่า มีระดับความคิดเห็นต่อการประเมินการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .01 เมื่อ เปรียบเทียบรายคู่ พบว่า ความคิดเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ คณะนิติศาสตร์ กับคณะนิเทศศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อสภาพการประเมินการประเมินการสอนของ อาจารย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 3.2 ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการประเมินการสอนของอาจารย์ จากนักศึกษาที่สังกัด คณะต่างกัน พบว่า มีระดับความคิดเห็นต่อการประเมินการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อสภาพการประเมินการสอนของ อาจารย์ ที่สังกัดคณะต่างกัน พบว่าความคิดเห็นของนักศึกษาคณะดิจิทัลมีเดีย กับบัณฑิตวิทยาลัย และคณะศิลปศาสตร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้นักศึกษาคณะ นิเทศศาสตร์กับคณะศิลปศาสตร์ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 เช่นกัน ตอนที่ 4 ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ 4.1 ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็นของอาจารย์ พบว่า 1) จานวนครั้งในการประเมินอาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรประเมิน 1 ครั้งต่อ ภาคการศึกษา 2) ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการประเมิน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรประเมินหลังสอบกลางภาคเรียน 2 สัปดาห์ 3) ช่องทางในการประเมินอาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรกรอกแบบประเมินผ่านระบบ estudent 4) ความสะดวกในการทาการประเมิน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า เข้าถึงได้รวดเร็ว 5) เครื่องมือในการประเมิน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรปรับปรุงข้อคาถามในการประเมิน 6) ระบบ ติดตามการประเมิน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า สามารถตรวจสอบสอบการแจ้งผลจานวนนักศึกษาที่ เข้าประเมิน 7) การนาผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ใช้ในการปรับปรุง
67
การจัดการเรียนการสอน 8) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรเพิ่ม ช่องทางตรวจสอบข้อเสนอแนะด้วยตนเอง 4.2 ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่า 1) จานวนครั้งในการประเมินนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ควรประเมิน 1 ครั้งต่อภาคการศึกษา 2) ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการประเมิน นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ควรประเมินก่อนสอบกลางภาค 1 สัปดาห์ หรือ ก่อนสอบปลายภาคเรียน 1 สัปดาห์ 3) ช่องทางในการประเมินนักศึกษาส่วนใหญ่ เห็นว่า ควรกรอกแบบประเมินผ่านระบบ e-student 4) ความสะดวกในการทาการประเมิน นักศึกษา ส่วนใหญ่เห็นว่า เข้าถึงได้รวดเร็ว 5) การปรับปรุงเครื่องมือในการประเมิน นักศึกษาส่วนใหญ่เห็น ว่า ควรปรับปรุงข้อคาถามในการประเมิน ตอนที่ 5 รูปแบบการประเมินการสอน ของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม รูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีขั้นตอนในการดาเนินการ ดังต่อไปนี้ 1. สัปดาห์ที่ 3 ของภาคการศึกษา ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน ทาเปิด ระบบ การประเมินการสอนของอาจารย์ประจาภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 และภาค การศึกษาฤดูร้อน ของการศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติและ บัณฑิตศึกษา 2. สั ป ดาห์ ที่ 3-5 (หลั ง เพิ่ ม - ถอน) ศู น ย์ ส นั บ สนุ น และพั ฒ นาการเรี ย นการสอน ประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ผู้สอนและคณะดาเนินการตรวจสอบดูรายชื่อผู้สอนในระบบตารางสอน ให้ถูกต้อง หากไม่ถูกต้องให้ติดต่อสานักงานวิชาการดาเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง ภายในสัปดาห์ที่ 5 3. สัปดาห์ที่ 10 ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนประชาสัมพันธ์ให้อ าจารย์ นักศึกษารับทราบเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ทาการประเมินการสอน ในระหว่างสัปดาห์ที่ 11-14 โดยผ่าน ทาง e-mail group all , web site ของมหาวิทยาลัย , ป้ายวิ่ง และDigital signet 4. สัปดาห์ที่ 11 อาจารย์ผู้สอนแจ้งให้นักศึกษาเข้าประเมินการสอนทุกรายวิ ชา และทาการ ประเมินการสอนของอาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ในระหว่างสัปดาห์ที่ 11-14 5. สัปดาห์ที่ 13 ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนทุกคณะ แจ้งร้อยละของนักศึกษาเข้าประเมินอาจารย์ เพื่อให้อาจารย์สามารถดาเนินการกระตุ้นให้นักศึกษา เข้าประเมินเพิ่มขึ้น 6. สัปดาห์ที่ 16 ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนดาเนินการประมวลผลการ ประเมินผ่านระบบ SCMS ของทุกคณะวิชา
68
7. อาจารย์ผู้สอนตรวจสอบผลการประเมินภาพรายบุคคลผ่านระบบ SCMS และคณบดี หรือผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ สามารถตรวจสอบผลการประเมินการสอนภาพรวมของอาจารย์ทั้ง คณะ 8. ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนดาเนินการตรวจสอบผลการประเมินใน ภาพรวมและดาเนินการวิเคราะห์ผลการประเมินการสอน จาแนกตามรายวิชา ของทุกคณะ รวบรวม ส่งผลการประเมินจาแนกตามรายวิชาให้คณะ 9. คณะกรรมการบริหาร นาผลการประเมินการสอน ไปพิจารณาเพื่อปรับปรุงการจัดการ เรียนการสอน ตามข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งตามระดับความรุนแรง และความเร่งด่วน เพื่อ ทาความเข้ า ใจกั บนั ก ศึก ษา อาจารย์ ผู้ สอน และปรั บปรุ ง พั ฒนาการสอนให้ เ หมาะสมในภาค การศึกษาต่อไป 10. ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนรวบรวม ข้อมูลการพิจารณานาผลประเมิน การสอนของอาจารย์ไปปรับปรุงของทุกคณะ เพื่อจัดทารายงานสรุปผลการประเมินและการนาผล การประเมินไปปรับปรุงแก้ไข เสนอต่อมหาวิทยาลัยต่อไป อภิปรายผล 1. สภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามความคิดเห็นของ อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา ในประเด็นจานวนครั้งในการประเมินการสอนของอาจารย์ จานวน 1 ครั้งต่อภาคการศึกษามีความเหมาะสม แต่งานวิจัยของเกียรติสุดา ศรีสุข (2546) พบว่าควรมีการ ประเมินมากกว่า 1 ครั้ง เพื่อจะได้นาผลการประเมินไปปรับปรุงการเรียนการสอนระหว่างภาคเรียน สาหรับ ซึ่งหากสามารถทาการประเมินได้มากกว่า 1 ครั้ง จะสามารถนาผลการประเมินไปปรับปรุง ระหว่างการเรียนการสอนได้ สาหรับ ช่วงเวลาในการประเมินหลังสอบกลางภาคเรียน จนถึงวัน สุดท้ายของการเรียนการสอน สอดคล้อ งกับ เกียรติสุดา ศรีสุข (2546) ที่พบว่าช่วงเวลาในการ ประเมินมีความเหมาะสม ส่วนประเด็น จานวนข้อคาถาม และจานวนด้านในแบบประเมินการสอน ของอาจารย์ มีความครอบคลุมการประเมิน สอดคล้องกับสุดเขต แจ้งกระจ่าง และภาณุวัฒน์ สุริย ฉัตร (ม.ป.ป.) ที่เสนอแนะว่าควรพัฒนารูปแบบคาถามของแบบประเมินการสอนและ เกียรติสุดา ศรีสุข (2546) ที่พบว่ า เครื่องมื อในการประเมิน มีความเหมาะสมและครอบคลุม แต่น่าจะเพิ่ ม ประเด็นในการประเมินมากขึ้น ซึ่งจากความคิดเห็นของนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ข้อคาถามมาก เกินไป ควรปรับให้สั้น และกระชับมากขึ้น 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาที่ สังกัดคณะต่างกัน ต่อสภาพ การประเมินการสอนของอาจารย์
69
2.1 ความคิดเห็นของอาจารย์ต่อการประเมินการสอนของอาจารย์ที่สังกัดคณะต่างกัน ที่ระดับ .01 โดย พบว่า ความคิดเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับสภาพการประเมินการสอนของอาจารย์ คณะนิติศาสตร์ กับคณะนิเทศศาสตร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า ธรรมชาติการจัดการเรียนการสอนของทั้งสอง คณะมีความแตกต่างกัน ทั้งเรื่องของการสอน และ การประเมิ น ผล คณะนิ ติ ศ าสตร์ เ น้ นการสอนแบบบรรยาย ท าความเข้ าใจหลั กกฎหมาย และ ประยุกต์ใช้ ส่วนคณะนิเทศศาสตร์ เน้นการเรียนการสอนแบบการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาลงมือ ปฏิบัติได้ในสถานการณ์จริง จึงทาให้สภาพการสอนและการประเมินการสอนควรมีความแตกต่าง กัน 2.2 ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อ การประเมินการสอนของอาจารย์ จากนักศึกษาที่ สังกัดคณะต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 โดยความคิดเห็นของนักศึกษาคณะต่างกัน มีความ คิ ด เห็ น ต่ า งกั น ได้ แ ก่ นั ก ศึ ก ษาคณะดิ จิ ทั ล มี เ ดี ย กั บ บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย (ระดั บ ปริ ญ ญาโทและ ปริญญาเอก) และคณะศิลปศาสตร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของนักศึกษา เห็นว่า การเรียนการสอนในคณะดิจิทัล มีเดียมีลักษณะเฉพาะเจาะจงในศาสตร์สาขา โดยในแต่ละวิชาจะใช้ทีมอาจารย์ผู้สอน ดาเนินการ สอนร่วมกัน และให้คะแนนร่วมกัน ใช้อุปกรณ์ในการสอนเป็นสื่อหลัก โดยมีการประเมินการสอน อาจารย์ทุกท่านทาให้มีความแตกต่างจากคณะอื่นๆ ส่วนบัณฑิตวิทยาลัย(ปริญญาโทและ ปริญญา เอก)มีความแตกต่างหลากหลายในอาจารย์ผู้สอนในวิชาเดียวกันมีผู้สอนหลายท่าน โดยแบ่งเนื้อหา ในการสอนเป็นส่วนใหญ่ แต่มีการประเมินเฉพาะอาจารย์ผู้สอนหลัก นอกจากนี้การเรียนการสอน ในระดั บ บัณ ฑิ ต ศึ ก ษาจ าเป็ น ต้ องใช้ ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ภ ายนอกที่ ม หาวิ ท ยาลั ยเชิ ญ มาให้ค วามรู้ แ ก่ นั ก ศึ ก ษาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ท าให้ ไ ม่ เ หมาะสมในการประเมิ น เฉพาะอาจารย์ เ จ้ า ของวิ ช าเท่ า นั้ น นอกจากนี้ นั ก ศึ ก ษาคณะนิ เ ทศศาสตร์ กั บ คณะศิล ปศาสตร์ มี ค วามคิ ดเห็ น แตกต่ า งกั น อย่ า งมี นัยสาคัญที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าการเรียนการสอนในคณะศิลปศาสตร์มีวิชาที่เป็นพื้นฐานใน การเรียนของหลายๆคณะ โดยเฉพาะภาษาต่างประเทศ ทาให้ลักษณะการจัดการเรียนการสอนใน คณะศิลปะศาสตร์มีความแตกต่างกับคณะนิเทศศาสตร์ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์จริง 3. ความเหมาะสมในการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามความ คิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา เกี่ยวกับประเด็น 1) จานวนครั้งในการประเมินการสอนของ อาจารย์ ควรประเมิน 1 ครั้งต่อภาคการศึกษา ด้วยเหตุผลคือ เป็นการประเมินการสอนในภาพรวม ของการสอนของอาจารย์ทั้งหมด เพื่อรวบรวมข้อมูลในการการสอนตั้งแต่เริ่มสอน การสอบ และ สรุปผลจากการสอน จะได้ทราบประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ 2) สาหรับช่วงเวลาที่เหมาะสม ในการประเมิน ควรประเมินหลังสอบกลางภาคเรียน 2 สัปดาห์ โดยมีเหตุผลว่า เป็นการประเมิน
70
การสอน เพื่ อ เปรี ย บเที ย บการสอนกั บ ความเข้ า ใจของนั ก ศึ ก ษา และเพื่ อ รวบรวมข้ อ มู ล ประสิทธิภาพการสอนทั้งหมด ตั้งแต่กระบวนการจัดการเรียนการสอน เอกสารประกอบการสอน สื่อการสอน เทคนิคการสอน การสอบ เป็นต้น 3)ช่องทางในการประเมินกรอกแบบประเมินผ่าน ระบบ e-student เนื่องจากมีความสะดวก ในการประเมินได้ทุกที่ แต่ทั้งนี้ควรอานวยความสะดวก โดยทา Link หน้าที่จะประเมินไว้ที่หน้า web ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เข้าประเมินได้ง่ายไม่ซับซ้อน และนอกจากนี้ค วรปรับ ปรุง ระบบ Server ของมหาวิทยาลั ยเนื่ อ งจากช้า และมีปั ญหาบ่อ ย 4) เครื่องมือในการประเมิน ควรปรับปรุงข้อคาถามในการประเมิน ด้วยเหตุผล ดังนี้ ปรับลดจานวนข้อ คาถามลงให้สั้น และกระชับมากขึ้น และบางข้อคาถามไม่เหมาะสมกับธรรมชาติบางวิชา หรือการ จัดการเรียนการสอน เช่น บางวิชาไม่เอื้อให้เกิดการประเมินหลายอย่างได้ และควรแยกข้อคาถาม วิชาทฤษฎี กับวิชาปฏิบัติการออกจากกัน 5) ระบบติดตามการประเมินที่สามารถตรวจสอบสอบร้อย ละของนักศึกษาที่เข้าประเมินได้ ด้วยเหตุผล คือ อาจารย์จะได้ทราบความก้าวหน้าของการประเมิน โดยไม่ต้องรอข้อมูลจากส่วนกลาง แต่สาหรับนักศึกษาต้องการให้มีการย้าเตือนให้ทาการประเมิน ทุกครั้งที่สอนในช่วงเวลาประเมิน ทั้งนี้ควรสื่อสารหลายช่องทางได้ เช่น บอร์ดประชาสัมพันธ์, e-mail, SMS, หรือ website เป็นต้น 6) การนาผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ ใช้ในการปรับปรุง การจัดการเรียนการสอน เหตุผลคือ เพื่อรับทราบข้อบกพร่องของตนเอง ทาให้มีทิศทางการสอนที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ อาจารย์จะได้ทราบความต้องการของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ โดย อาจารย์ได้นาผลการประเมินไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนได้แก่ การให้การบ้าน การใช้ ตาราประกอบ เพิ่มตัวอย่างประกอบการสอน และ การอธิบาย Technical term ขนาดกลุ่มในการ ทางานกลุ่ม และเพิ่มการสอดแทรกจริยธรรม รวมทั้งเพิ่มการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง เพื่อ ให้ นักศึกษา มีความเข้าใจตรงกัน เป็นต้น ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 1. ควรพิจารณาปรับปรุงแบบประเมินการสอน โดยปรับข้อ คาถามในแบบประเมินให้ เข้าใจง่าย และเหมาะสมกับสภาพการประเมินการสอนจริง 2. ควรปรับปรุงแบบประเมิน สาหรับวิชาทฤษฎีและวิชาปฏิบัติแยกจากกัน 3. ควรปรับเปลี่ยนช่วงเวลาในการประเมินการสอน เป็นสัปดาห์ที่ 11 ของภาคการศึกษา ปกติ 4. ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้อ าจารย์ตรวจสอบความถูกต้อ งของข้อ มูลอาจารย์ใน ระบบตารางสอนที่เชื่อมโยงกับระบบการประเมินการสอนของอาจารย์
71
5. ควรเพิ่มการเข้าดูผลการประเมินของอาจารย์ในสามารถดูได้ทันที (Real Time) รวมทั้ง แสดงร้อยละของจานวนนักศึกษาเข้าประเมินได้ด้วยตนเอง ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาแบบประเมินสอนของอาจารย์ที่ เหมาะสมกับศาสตร์ แต่ ล ะคณะ หรื อ เหมาะสมกั บ การจั ด การเรี ย นการสอน เช่ น วิ ช าสั ม มนา วิ ช าโครงงาน วิ ช า ปฏิบัติการ เป็นต้น 2. ควรทาการศึกษาพัฒนารูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์ที่มีความเหมาะสม กับ การจัดการเรียนการสอนในระดับ (ปริญญาโทและปริญญาเอก) 3. ควรศึก ษาพั ฒนาระบบการประเมินการสอนที่ร องรั บการประเมิ นในระหว่า งเรีย น เพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษาเสนอแนะ ปัญหา อุปสรรคในระหว่างการเรียน รวมทั้งอาจารย์สามารถ ประเมินตนเอง เพื่อสามารถปรับปรุงพัฒนาในระหว่างการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรณานุกรม
บรรณานุกรม กาญจนา วัฒายุ. 2547. การวิจัยเพือ่ พัฒนาคุณภาพการศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาผู้บริหาร การศึกษา. กิดานันท มลิทอง. 2540. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์. กิ่งแก้ว อารีรักษ์ และคณะ. 2548. การจัดการความรู้โดยใช้รูปแบบหลากหลาย. กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์. เกียรติสุด า ศรีสุข . 2546. การศึกษาความเหมาะสมในการประเมิ นการสอนของอาจารย์คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สานักงาน. 2546. ชุดฝึกอบรมด้วยตนเองการพัฒนาการ เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: สานักพัฒนาระบบบริหาร. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สานักงาน. 2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับปรับปรุง 2545). กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ , สานัก นายกรัฐมนตรี. จันทรฉาย เตมิยาคาร. 2533. การเลือกใช้สื่อทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. ไชยยศ ไพวิทยศิ ริธรรม. 2552. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาเทคนิ คการประเมินในอีเลิ ร์นนิง. กรุงเทพฯ: โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2533. เทคโนโลยีการศึกษาทฤษฎีการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โอเอส พริ้น ติ้งเฮ้าส์. ฐาปนีย ธรรมเมธา. 2541. สื่อการศึกษาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: โครงการตาราและ เอกสารประกอบการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. เตือนใจ เหล่าสุวรรณ. 2553. สิ่งที่ครูควรรู้กอ่ นจัดทาแผนการจัดการเรียนรู้[ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2020 [5 ตุลาคม 2553] ทิศนา แขมมณี. 2548. รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์. ทิศ นา แขมมณี . 2553. ศาสตร์ก ารสอน : องค์ ค วามรู้ เ พื่อ การจั ด กระบวนการเรี ยนรู้ ที่ มี ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พนิต เข็มทอง และคณะ. 2552. การจัดทาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาโครงการ[ออนไลน์] แหล่งที่มา: www.bpcd.net/new_subject/library/research/.../ku/.../09.pdf [5 ต.ค. 53]
รองหวั่น แตงทิพย์. 2553. การประเมินสมรรถนะครู. เอกสารประกอบการบรรยาย แหล่งที่มา: http://www.kroobannok.com/news_file/p84488091457.ppt#277,1, [5 ม.ค. 54]. เลขาธิการสภาการศึกษา, สานักงาน. 2552. รายงานความก้าวหน้าการจัดการเรียนรู้ ระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2551-2552. กรุงเทพมหานคร: สานักประเมินผลการจัดการศึกษา สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. วรวิทย์ นิเทศศิลป์. 2543. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชา อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น. สืบค้นจาก: http://soraya024.blogspot.com/[25 เมษายน 2554] วิชาการ, กรม. 2540. รูปแบบการเรียนการสอนเด็กปัญญาเลิศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา. วิชาการ, กรม. 2544. การวิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เ รียนเป็น สาคัญ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. วิวรรธน์ จันทรเทพย์ เอกสารการสอนวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. ราชบุรี: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. ศิริชัย กาญจนวาสี. 2552. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. 2544. การยึดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง . เชียงใหม่: The Knowledge Center . สุดี งามเฉลียว. 2544. การประเมินผลการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ของวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ ปี การศึกษา 2544. สืบค้นจาก: www.htc.ac.th/math/web5147/work1.doc[5 ม.ค. 54]. สุดเขต แจ้งกระจ่าง และภาณุวัฒน์ สุริยฉัตร. ม.ป.ป. แนวทางการพัฒนาระบบประเมินการสอน ของอาจารย์. สืบค้นจาก: http://www.kmutt.ac.th/sd/html/pdf/teacher.pdf[5 ม.ค. 54]. สุ วิ ม ล ว่ อ งวาณิ ช . 2546. รวมบทความการประเมิ น ผลการเรี ย นรู้ แ นวใหม่ . (บรรณาธิ ก าร). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อนงค์พร พะวรรัมย์. 2546. การเปรียบเทียบผลการประเมินการปฏิบัติงานสอนของครู ระหว่าง การประเมินตนเองกับการประเมินแบบ 360 องศา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการวัด และประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational Psychological Measurement. 30: 607-610. Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.
ภาคผนวก
ประวัติย่อผู้วิจัย ชื่อ
นางสิรินธร สินจินดาวงศ์
วัน เดือน ปีเกิด
21 มกราคม 2515
สถานที่เกิด
จังหวัดสุพรรณบุรี
สถานที่อยู่ปัจจุบัน
310/183 ถนนสรงประภา แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
ตาแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน รักษาการผู้อานวยการ และอาจารย์ประจาหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา สถานที่ทางานปัจจุบัน
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2552
ค.บ. จาก วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา กศ.ม.จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ค.ด. จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย