คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 1
คูมือฉบับพกพา
“ปฏิรูปการศึกษาไทย” พลั งเยาวชน เพื่อการปฏิรูป คณะกรรมการเครือข่าย
จัดทำโดย
คณะอนุกรรมการกิจการเพื่อการสื่อสารสังคม คณะกรรมการเครือขายพลังเยาวชนเพื่อการปฏิรูป
2 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 3
คูมือฉบับพกพา
“ปฏิรูปการศึกษาไทย” พลั งเยาวชน เพื่อการปฏิรูป คณะกรรมการเครือข่าย
จัดทำโดย
คณะอนุกรรมการกิจการเพื่อการสื่อสารสังคม คณะกรรมการเครือขายพลังเยาวชนเพื่อการปฏิรูป
4 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
คู่มือฉบับพกพา
“ปฏิรูปการศึกษาไทย” จัดทำ�โดย คณะอนุกรรมการกิจการเพื่อการสื่อสารสังคม คณะกรรมการเครือข่ายพลังเยาวชนเพื่อการปฏิรูป พิมพ์ที่บริษัท พริ้นท์ ซิตี้ จำ�กัด พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2554 จำ�นวน 2,000 เล่ม คณะอนุกรรมการกิจการเพื่อการสื่อสารสังคม 152 ซอยชัยณรงค์ ถนนประชาราษฎร์บำ�เพ็ญ 12 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 E-mail : Website : Facebook : Twitter : โทรศัพท์ : แฟกซ์ :
ypm-pr@googlegroups.com www.youthreform.or.th www.facebook.com/youthreform http://twitter.com/youthreform 02-931-3188 02-931-3188
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 5
6 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 7
8 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
บทกล่าวนำ� พลั งเยาวชน เพื่อการปฏิรูป คณะกรรมการ เครือข่า
เราคือใคร? คณะกรรมการเครือข่ายพลังเยาวชนเพื่อการปฏิรูป (Youth Policy Movement Committee – YPMC) ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะ กรรมการสมัชชาปฏิรูป (ซึ่งมีนายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธาน) ให้ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการสมัชชา 14 ชุด เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการ ปฏิรูปประเทศไทย โครงสร้างการบริหารงานของคณะกรรมการเครือข่ายพลัง เยาวชนเพื่อการปฏิรูปเองแบ่งออกเป็นคณะอนุกรรมการย่อย 4 ทีม ประกอบไปด้วย คณะกรรมการเครือข่ายพลังเยาวชนเพื่อการปฏิรูป นายรัชฏะ ศรีบุญรัตน์ ประธานคณะกรรมการ อนุกรรมการบริหาร การขับเคลื่อน (MGT) นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการ วิชาการ(WEDGE) นายแบ๊งค์ งามอรุณโชติ ประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการส่งเสริมกลไก การมีส่วนร่วมของ เด็กและเยาวชน(PH) นายศุภ โกลละสุต ประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการกิจการ เพื่อการสื่อสารสังคม (PR) นายธนวัฒน์ ธำ�รงเจริญกุล ประธานอนุกรรมการ
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 9
1.) คณะอนุกรรมการบริหารการขับเคลือ่ น มีหน้าทีส่ นับสนุน และเชือ่ มร้อยการทำ�งานของคณะอนุกรรมการทัง้ หมดเข้าด้วยกัน เพือ่ ให้การทำ�งานของคณะกรรมการเครือข่ายพลังเยาวชนเพือ่ การปฏิรปู เกิด ประสิทธิผลสูงสุด 2.) คณะอนุกรรมการวิชาการ (Wedge Team) มีหน้าทีว่ จิ ยั ศึกษา ประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิรปู การศึกษาและการพัฒนาเยาวชนไทย ทัง้ จากการศึกษาเอกสารทางวิชาการ รวมทัง้ สังเคราะห์และวิเคราะห์ขอ้ มูล จากชุมชนด้วย ทัง้ นีเ้ พือ่ นำ�เสนอใรรูปของเอกสารวิชาการทีม่ มี าตรฐาน และสามารถนำ�ไปอ้างอิงทางวิชาการ รวมทัง้ สามารถเป็นฐานความรูเ้ พือ่ การขับเคลือ่ นการปฏิรปู ในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับการพัฒนาเยาวชนและการ ศึกษาได้ 3.) คณะอนุกรรมการส่งเสริมกลไกการมีส่วนร่วมของเด็กและ เยาวชน (Public Hearing – PH) มีหน้าทีเ่ สริมสร้างพลังการมีสว่ นร่วมของ เด็กและเยาวชนในการกำ�หนดปัญหา และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างเป็น ระบบ เชือ่ มร้อยเครือข่ายเด็กและเยาวชนทีม่ คี วามตืน่ ตัว เพือ่ ร่วมกันผลัก ดันให้เกิดการแก้ปญ ั าในประเด็นทีม่ รี ว่ มกัน ทัง้ นีโ้ ดยอาศัยการลงไปจัด เวทีรบั ฟังความคิดเห็นเป็นเครือ่ งมือหลัก 4.) คณะอนุกรรมการกิจการเพือ่ การสือ่ สารสังคม (Public Relations – PR) มีหน้าทีผ่ ลิตสือ่ ในรูปแบบต่างๆ เพือ่ สือ่ สารให้เยาวชนและสังคม วงกว้างได้รบั ทราบประเด็นการปฏิรปู ประเทศไทยทีเ่ กีย่ วข้องกับเยาวชน รวมถึงกระตุน้ ความสนใจของสาธารณะต่อประเด็นการปฏิรปู การศึกษา ไทยและระบบการพัฒนาเยาวชนไทยด้วย ทัง้ นีค้ ณะอนุกรรมการทัง้ 4 ชุด จะได้รว่ มกันทำ�งานพือ่ ผลักดัน ให้การปฏิรปู ระบบการพัฒนาเยาวชนไทยให้เกิดขึน้ ได้จริง โดยมีฐาน ของความรูท้ างวิชาการเป็นฐาน จากนัน้ จึงขับเคลือ่ นการมีสว่ นร่วมของ เยาวชนและสังคมวงกว้างด้วยการจัดเวทีสาธารณะ และการผลิตสือ่ ในรูป แบบต่างๆ เช่น หนังสือ วิดโี อ เว็บไซต์ เป็นต้น
10 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
เราคิดอะไร? เป้าหมายของคณะกรรมการเครือข่ายพลังเยาวชนเพื่อการ ปฏิรูปคือ “การปฏิรูประบบการพัฒนาเยาวชนของประเทศให้ ดีขึ้น ถูกทิศ และเท่าเทียม”
ทางคณะกรรมการเลือกใช้คำ�ว่า “การปฏิรูประบบการพัฒนา เยาชน” แทนคำ�ว่า “การปฏิรูประบบการศึกษา” เนื่องจากประเด็น ที่ทางคณะกรรมการให้ความสำ�คัญคือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเยาชนทั้งหมด ซึ่งกว้างและมากไปกว่าขอบเขตของคำ�ว่า “การศึกษา” เช่น สวัสดิการ
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 11
ของเด็ก สิทธิและเสรีภาพของเด็ก เป็นต้น แต่แน่นอนว่าถึงอย่างไร เมื่อกล่าวถึงเรื่องของเด็กและเยาวชน ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการศึกษาเป็น ประเด็นหลัก ซึ่งทางคณะกรรมการเองก็ให้ความสำ�คัญกับเรื่องการ ศึกษาเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีเมื่อพูดถึงคำ�ว่า “การศึกษา” หลายคน อาจจะนึกไปถึงเรื่องการศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาของผู้ใหญ่ด้วย ซึ่ง ทางคณะกรรมการเองไม่ได้ให้ความสนใจคำ�ว่า “การศึกษา” ในความ หมายดังกล่าว หากแต่เน้นไปที่การศึกษาของเยาวชนเท่านั้น ดังนั้นทาง เราจึงเลือกใช้คำ�ว่า “ระบบการพัฒนาเยาวชน” แทนคำ�ว่า “การศึกษา” ในขณะที่คำ�ว่า “ดีขึ้น ถูกทิศ และเท่าเทียม” นั้น ครอบคลุม ความหมายถึง การพัฒนาและการปฏิรูปที่จะเกิดขึ้น จะต้อง “ถูก ทิศทาง” นั่นหลายถึงเป็นการปฏิรูปเพื่อนำ�ไปสู่เป้าหมายที่ถูกต้อง “ดี ขึ้น” หมายถึงการยกระดับคุณภาพ การพัฒนาเพื่อยกระดับให้เข้าใกล้ เป้าหมายที่ถูกทิศทางดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การศึกษาของไทย รวมไปถึงระบบสนับสนุนเยาวชนอื่นๆ เช่น สวัสดิการเด็กที่จะต้อง ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ประการสุดท้ายคือ “เท่าเทียม” หมาย ถึงว่าจะต้องทำ�ให้เยาวชนโดยพร้อมหน้าสามารถเข้าถึงและได้รับสิทธิ สวัสดิการพื้นฐาน และคุณภาพการศึกษาที่เท่าเทียมมากขึ้นกว่าปัจจุบัน เรากำ�ลังจะทำ�อะไร? จากเป้าหมาย “ระบบการพัฒนาเยาวชนที่ดีขึ้น ถูกทิศ และเท่า เทียม” ดังกล่าว นำ�ไปสู่ประเด็นที่ทางคณะกรรมการลงความเห็นว่าเป็น เรื่องสำ�คัญ และจะนำ�ประเด็นเหล่านี้มาเป็นเรื่องหลักในการขับเคลื่อน เพื่อการปฏิรูปต่อไป ประกอบด้วย 1.) ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) : เนื่องด้วย ในปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างมหาศาล ภูมิศาสตร์ทาง สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองทั่วโลกที่เปลี่ยนไป รวมทั้งเทคโนโลยีการ
12 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
ติดต่อสารสนเทศที่มีแต่จะพัฒนาขึ้น ทำ�ให้ระบบการศึกษาจำ�เป็นต้อง ปรับปรุงและเปลีย่ นแปลงตัวเองให้ทนั กับความเปลีย่ นแปลงของโลกด้วย 2.) ความเท่าเทียมกันทางการศึกษา : คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเรื่อง ความเหลื่อมล้ำ�ทางโอกาสทางการศึกษา และคุณภาพการศึกษา เป็น ปัญหาสำ�คัญที่สุดประการหนึ่งของระบบการศึกษาไทย หลายคนคง เคยชินกับภาพการแย่งชิงกันเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดังของรัฐ การสอบ แข่งขันของนักเรียนชั้นประถมเพื่อเข้าเรียนต่อในโรงเรียนมัธยมในตัว เมือง การให้เงินแป๊ะเจียเพื่อให้ลูกได้เข้าเรียนโรงเรียนดีๆ หรือแม้แต่ ภาพการกวดวิชาอย่างบ้าคลั่งของเด็กไทย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลมาจาก ความเหลื่อมล้ำ�ทางการศึกษาของไทยมิใช่หรือ 3.) ปัญหาคุณภาพครู : บุคลากรที่สำ�คัญที่สุดในกระบวนการการ ศึกษาไทย รวมทั้งใกล้ชิดกับเยาวชนของชาติมากที่สุด คือ “ครู” หาก ครูไทยไร้ซึ่งคุณภาพแล้ว เราจะไปหวังให้เยาวชนของชาติมีคุณภาพขึ้น มาได้อย่างไร ทั้งนี้ทางคณะกรรมการมุ่งเป้าหมายการปฏิรูปในประเด็น นี้ไว้สองส่วน ได้แก่ เรื่องคุณภาพครู และเรื่องคุณภาพชีวิตครู เนื่องจาก ทางคณะกรรมการมองว่าหากเราไม่ทำ�ให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของ ครูให้ดีขึ้นก่อน การจะไปคาดหวังให้ครูต้องพัฒนาการเรียนการสอนคง เป็นเรื่องยาก 4.) การปรับปัจจัยเชิงสถาบันให้เอื้อต่อการพัฒนาไปสู่ศักยภาพ สูงสุดของเยาวชน : มีหลายเรื่องที่มีความสำ�คัญต่อการพัฒนาเด็กและ เยาวชน แต่อาจไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษาเช่น ความสำ�คัญของ โภชนาการ ความสามารถในการอ่าน ความสำ�คัญของภาษาที่ 2 รวม ทั้งการปรับระบบการสอบวัดผลของประเทศไทยให้เหมาะสม สิ่งเหล่า นี้ล้วนเป็นปัจจัยสำ�คัญที่จะส่งเสริมให้การ “ปฏิรูประบบการพัฒนา เยาวชน” เกิดขึ้นได้จริง ทั้งหมดนี้คงทำ�ให้ท่านผู้อ่านพอเห็นภาพว่า “คณะกรรมการ เครือข่ายพลังเยาวชนเพื่อการปฏิรูป” คือใคร กำ�ลังคิดอะไร และกำ�ลัง
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 13
จะทำ�อะไร แต่สง่ิ ทัง้ หมดเหล่านีค้ งเกิดขึน้ ไม่ได้หากไม่ได้รบั การสนับสนุน จากสังคมวงกว้าง ทางเราหวังเพียงว่าหนังสือเล่มเล็กๆ เล่มนีจ้ ะมีสว่ น ช่วยให้สงั คมวงกว้างเข้าใจปัญหาของเยาวชนและการศึกษาไทยมากขึน้ แม้จะไม่สามารถฉายภาพปัญหาทัง้ หมดได้ แต่การเริม่ เข้าใจปัญหาทีเ่ กิด ขึน้ ทีละนิด ก็จะนำ�เราไปสูก่ ารเข้าใจปัญหาทัง้ หมดได้ในทีส่ ดุ และหากเรา ต้องการเปลีย่ นแปลงและปฏิรูประบบการพัฒนาเยาวชนและการศึกษา ไทย คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการเริม่ ต้นเข้าใจสภาพปัจจุบนั ให้ชดั เจนก่อน หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนการปฏิรูป ประเทศไทย คณะกรรมการเครือข่ายพลังเยาวชนเพื่อการปฏิรูป มีนาคม 2554
14 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
สารบัญ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21th Century Skills) - 1 การศึกษา พันธนาการทางชนชั้น - 8 วิธคี ดิ ทีบ่ ดิ เบีย้ วของการจัดการศึกษาของภาครัฐไทย : ว่าด้วยการอุดหนุนทางการศึกษาที่ผิดทิศ - 15 แบบเรียนไทย : เครื่องตกแต่งนิไสยใจคอไพร่บ้านพลเมือง - 18 ครู : แพะ (รับบาป) หรือ ต้นตอของปัญหาตัวจริง? - 28 สอบตกคือล้มเหลว? : ว่าด้วยระบบการสอบวัดผลที่ผิดพลาดของไทย - 35 โภชนาการ การอ่าน และภาษา : ปัจจัยเชิงสถาบันที่มีผลต่อการศึกษาของเด็ก - 42 โรงเรียน : สถานกักกันความคิด? - 49 Credit - 54
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 1
ทักstษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21 Century Skills) ในยุคสมัยทีโ่ ลกเปลีย่ นไปแล้วอย่างสิน้ เชิง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทีพ่ ฒ ั นาไปอย่างรวดเร็ว ระดับความเข้มข้นของการผลิตแบบอุตสาหกรรม ทีส่ งู ทีส่ ดุ ในประวัตศิ าสตร์มนุษยชาติ ระบบเศรษฐกิจโลกทีเ่ ชือ่ มโยง กันเป็นตลาดเดียว ตลาดการเงินทัว่ โลกทีส่ ง่ ผลกระทบถึงกันจากตะวัน ออกไปตะวันตก รวมทัง้ ประเด็นปัญหาสิง่ แวดล้อมซึง่ กำ�ลังกลายเป็น ความกังวลระดับโลก และหากมองเฉพาะประเทศไทยก็จะเห็นความ เปลีย่ นแปลงไปอย่างมากเทียบกับหลายสิบปีกอ่ น ไม่วา่ จะเป็นภาค เกษตรของไทยทีม่ ขี นาดเล็กลงอย่างมาก ความตืน่ ตัวในความเป็น ประชาธิปไตยทีม่ ากมายอย่างทีไ่ ม่เคยเกิดขึน้ มาก่อนในประวัตศิ าสตร์ พื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโลก รวมทั้งของ ประเทศไทยเองที่เปลี่ยนไป ทำ�ให้ประชากรในโลกยุคใหม่นี้ต้องการ ทักษะใหม่ๆ เพื่อให้มีความพร้อมสำ�หรับการอยู่อาศัยในโลกสมัย ใหม่นี้ และการศึกษาก็เป็นเครื่องมือหนึ่งเพื่อสร้างทักษะต่างๆ เพื่อ ให้ประชากรในประเทศสามารถมีความรู้และทักษะที่เท่าทันกับความ เปลี่ยนแปลงของโลกได้ ดังนั้นแล้วจึงจำ�เป็นอย่างยิ่งที่ “การศึกษา” จะต้องถูก เปลี่ยนแปลงหรืออาจถึงขั้นต้องถูกปฏิวัติ เนื่องจากระบบการศึกษา ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอและไม่สามารถสร้างทักษะที่จำ�เป็นให้ st กับผู้เรียนได้อีกต่อไป ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21 Century Skills) จึง เป็นแนวคิดหนึ่งที่จะเป็นตัวจุดประกายให้เราคิดร่วมกันว่า บนโลกยุค ใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วนี้ มีทักษะอะไรบ้างที่จำ�เป็นอย่างยิ่งสำ�หรับ ประชากรในศตวรรษนี้
2 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 คืออะไร องค์ประกอบของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นั้นมีด้วยกันหลาย ประการ ในที่นี้จะแสดงให้เห็นแนวคิดรวบยอดคร่าวๆ เกี่ยวกับทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะรวมทั้งแนวคิดที่นำ�มาจากต่างประเทศ และ ทักษะบางประการที่ผู้เขียนคิดว่าเกี่ยวข้องและจำ�เป็นสำ�หรับการเป็น พลเมืองของประเทศไทยในศตวรรษใหม่นี้
ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) : เป็นทักษะที่มีความจำ�เป็นมากขึ้น เรื่อยๆ ในปัจจุบัน เนื่องด้วยด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่เจริญก้าวหน้า มากในปัจจุบัน งานจำ�นวนมากถูกถ่ายโอนไปให้เครื่องจักร ดังนั้น แรงงานระดับต่ำ�ซึ่งทำ�งานประจำ� (routine) จึงเป็นที่ต้องการน้อยลง เรื่อยๆ และทำ�ให้ความต้องการแรงงานโดยบริษัทอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่มีน้อยลง หนทางเดียวที่ระบบเศรษฐกิจโลกจะสามารถรองรับ แรงงานจำ�นวนมหาศาลเหล่านี้ได้ คือการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ให้ กับประชากรและเปลี่ยนประชากรโลกให้เป็นผู้ประกอบการ ซึ่งกล้า คิดกล้าทำ�เริ่มต้นและริเริ่มสิ่งใหม่ และการจะส่งเสริมให้พลเมืองของ ประเทศเป็นผู้ประกอบการมากขึ้นนั้น ขาดไม่ได้เลยที่จะต้องติดความ คิดสร้างสรรค์เป็นทักษะเบื้องต้นให้กับประชากร
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 3
การคิดเชิงระบบ (Critical Thinking) : ความจริงแล้วทักษะนี้มิได้ มีความสำ�คัญเฉพาะในศตวรรษที่ 21 นี้เท่านั้น แต่ตลอดมาใน ประวัติศาสตร์โลกการคิดเชิงระบบเป็นทักษะที่มีความจำ�เป็นเสมอมา ผู้ที่สามารถคิดเชิงระบบได้ดี สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลและ เหตุการณ์ต่างๆ และแก้ปัญหา (Problem Solving) ที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ อย่างเหมาะสม จะมีความได้เปรียบเหนือผู้อื่นที่ไม่ทักษะนี้ อีกทั้งใน โลกยุคข้อมูลข่าวสารล้นเกินในปัจจุบัน การคิดเชิงระบบให้เป็นจึงยิ่งมี ความจำ�เป็นมากยิ่งขึ้นไปอีก ผลลัพธ์ของการไม่สามารถคิดเชิงระบบ ได้อย่างเหมาะสม คือการที่ประชากรไม่สามารถประมวลข้อมูลและ แนวคิดต่างๆ มาปะติดปะต่อเป็นเรื่องราวที่ฟังดูมีเหตุผลและน่าเชื่อ ถือได้ รูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจนคือ ความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ต่างๆ โดย เฉพาะทางการเมืองซึ่ง ‘มั่วซั่ว’ และ ‘เลอะเทอะ’ อย่างมากในปัจจุบัน การสื่อสารและการทำ�งานร่วมกับผู้อื่น (Communication and Collaboration) : การเรียนรู้ในโลกยุคสมัยใหม่เรียกร้องให้ผู้เรียนต้อง มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น รวมทั้งในโลกแห่งการทำ�งาน การสื่อสาร และการประสานงานร่วมกับผู้อื่นก็เป็นทักษะที่สำ�คัญอย่างยิ่ง ดังนั้น ทักษะนี้จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งเพื่อเตรียมผู้เรียนให้พร้อมสำ�หรับโลกการ ทำ�งานจริง
4 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
ความรู้พื้นฐานทางด้านข้อมูลข่าวสาร (Information Literacy) : ในปัจจุบันเราสามารถค้นหาข้อมูลใดๆ ก็ได้เพียงปลายนิ้วคลิ๊ก โลก อินเทอร์เน็ตซึ่งถูกเสริมพลังด้วยมิสเตอร์กูเกิล (google) ทำ�ให้การหา ข้อมูลต่างๆ เป็นเรื่องง่าย ต่างจากในอดีตซึ่งการเรียนรู้หมายถึงการ จดจำ�รายละเอียดและข้อมูลต่างๆ ให้ได้ แต่ทักษะเหล่านั้นแทบจะไม่มี ความจำ�เป็นอีกต่อไปในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเราสามารถค้นหาข้อมูล แทบทุกชนิดได้บนโลกอินเทอร์เน็ต คำ�ถามจึงเปลี่ยนแปลงไปจากว่า เราจะ “ทำ�อย่างไรเพื่อ จะสามารถจดจำ�ข้อมูลต่างๆ ได้หมด” (คำ�ถามการเรียนรู้ในโลกยุค เก่า และยังคงเป็นอยู่ในปัจจุบันสำ�หรับประเทศไทย) กลายเป็น “ทำ� อย่างไรเราถึงจะสามารถจัดการกับข้อมูลจำ�นวนมหาศาลที่หาได้ง่ายบน โลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสม” ความสามรารถในการเข้าถึง คัด กรอง คัดเลือกรวมทั้งสามารถตัดสินใจได้ว่าข้อมูลใดน่าเชื่อถือ ไม่น่า เชื่อถือ เป็นทักษะที่มีความจำ�เป็นอย่างยิ่งสำ�หรับการอยู่ในโลกที่ข้อมูล ข่าวสารล้นและรวดเร็วอย่างในปัจจุบัน ความรู้พื้นฐานด้านการใช้สื่อ (Media Literacy) : ความสามารถ ในการใช้สื่ออย่างเหมาะสมถือเป็นอีกทักษะหนึ่งที่จำ�เป็นสำ�หรับการ ทำ�งานในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไฟล์การนำ�เสนอทั่วไป เช่น Power point ไปจนถึงการสื่อสารในรูปแบบที่ซับซ้อนกว่า เช่น การทำ� สื่อวิดีโอ และการสร้างเว็บไซต์ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าสื่อมีอิทธิพลต่อ ชีวิตประจำ�วันของเรามาก ดังนั้นความสามารถในการใช้สื่อและผลิตสื่อ อย่างเหมาะสม จะมาหนุนเสริมให้การทำ�งานในโลกยุคใหม่นี้แหลมคม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT Literacy) : เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีเครื่องมือ
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 5
ด้านสารสนเทศใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น smart phone หรือ Tablet PC ไม่นับรวมว่าคนส่วนใหญ่คงมีคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคเป็นของ ตัวเอง รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนา ขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ปัจจุบันในกรุงเทพฯ มีสัญญาณ 3G ในทุกพื้นที่ ดังนั้นการเรียนรู้เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่มีความสำ�คัญและจำ�เป็นมากขึ้นในปัจจุบัน
การยอมรับที่จะอยู่กับผู้ที่มีความแตกต่าง : เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ระบบ การศึกษาไทยไม่เห็นความสำ�คัญของการเรียนรู้ที่จะอยู่กับผู้ที่แตกต่าง
6 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
กับตัวเอง ในระดับโรงเรียนมีการคัดแยกเด็กออกเป็นลำ�ดับชัน้ เด็กเก่งอยู่ ร่วมกับเด็กเก่ง เด็กเกเร เรียนไม่เก่งก็ไปอยูด่ ว้ ยกัน ทำ�ให้เด็กในโรงเรียน ของไทยขาดโอกาสในการเรียนรูท้ จ่ี ะอยูก่ บั ผูท้ แ่ี ตกต่างกับตนไปอย่าง สำ�คัญ นีย่ งั ไม่นบั เนือ้ หาในแบบเรียนของไทยทีไ่ ม่เคยกล่าวถึงความแตก ต่างทางวัฒนธรรมของคนในสังคมเลย ประเทศไทยและคนไทยดูจะกลืน เป็นเนือ้ เดียวกันหมด ทัง้ ทีค่ วามเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างนัน้ การยอมรับใน ความแตกต่างหลากหลายของผูอ้ น่ื เป็นเรือ่ งจำ�เป็นอย่างยิง่ ทีค่ นไทยทุก คนควรต้องตระหนัก ในท่ามกลางการปริแยกของสังคมไทยปัจจุบนั ใคร บ้างจะปฏิเสธว่า ส่วนหนึง่ ของปัญหานัน้ เกิดจากการทีค่ นไทยไม่เคยเรียน รูท้ จ่ี ะอยูก่ บั ผูท้ แ่ี ตกต่างกับตน และโรงเรียนก็ไม่เคยเป็นสถานทีส่ �ำ หรับการ เรียนรูเ้ พือ่ อยูร่ ว่ มกับความแตกต่างเหล่านัน้ เลย การวางแผนและตัดสินใจอนาคตให้ตวั เอง (Self-Direction): ความ จริงแล้วการวางแผนชีวติ ตัวเองควรจะเป็นทักษะของมนุษย์ในทุกยุคทุก สมัย แต่ในสังคมเศรษฐกิจปัจจุบนั ซึง่ อยูใ่ นยุคทีเ่ รียกว่า เสรีนยิ ม โดย เฉพาะอย่างยิง่ ในทางเศรษฐกิจ รัฐมีหน้าทีน่ อ้ ยลงในการดูแลประชาชน ในด้านต่างๆ การตัดสินใจเลือกสถานทีเ่ รียนต่อ การตัดสินใจทางด้านการ เงิน การวางแผนทางด้านสุขภาพ การวางแผนสำ�หรับการเกษียณ สิง่ เหล่า นีล้ ว้ นเรียกร้องให้ปจั เจกบุคคลต้องตัดสินใจด้วยตนเองทัง้ สิน้ จึงมีความ จำ�เป็นมากขึน้ ทีท่ กุ คนจะต้องสามารถตัดสินใจในเรือ่ งชีวติ ส่วนตัวได้อย่าง เหมาะสม ซึง่ ทักษะนีส้ ามารถฝึกฝนได้ดว้ ยกระบวนการเรียนการสอนที่ เหมาะสมในโรงเรียนซึง่ ฝึกให้นกั เรียนต้องตัดสินใจในเรือ่ งต่างๆ มากขึน้ การตระหนักรูใ้ นความเป็นพลเมืองของประเทศ (Civic Literacy) : หน้าทีห่ นึง่ ของการศึกษาคือการส่งผ่านความเชือ่ ประเพณีและวัฒนธรรม ของสังคม จากคนรุน่ หนึง่ ไปสูค่ นอีกรุน่ หนึง่ ในประเทศญีป่ นุ่ มีการออก นโยบายระดับชาติเพือ่ ให้เพิม่ ชัว่ โมงการเรียนการสอนเกีย่ วกับความเป็น
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 7
ชาติและความรักชาติ (Patriotism) อย่างไรก็ดผี เู้ ขียนเองไม่ได้เรียกร้อง หรือเสนอแนะให้ประเทศไทยเพิม่ ชัว่ โมงการเรียนวิชาว่าด้วยชาติไทยและ ความรักชาติ แต่การศึกษาควรจะต้องปลูกฝัง่ แนวคิดพืน้ ฐานว่า ในฐานะ พลเมืองคนหนึง่ ของชาติ แต่ละคนมีความสำ�คัญและสัมพันธ์อย่างไรกับ สังคมรอบตัว รวมทัง้ ต่อชาติ โดยไม่จ�ำ เป็นต้องสอนและสัง่ ให้ทกุ คนรัก ชาติ หากทุกคนรูว้ า่ การกระทำ�ของตนเองส่งผลกระทบเช่นไรต่อผูอ้ น่ื และ สังคม การประพฤติตวั อย่างเหมาะสมในฐานะพลเมืองคนหนึง่ ของชาติจะ เกิดขึน้ โดยอัตโนมัติ เพือ่ ทีเ่ ราจะได้เลิกแสดงความรักชาติกนั อย่างหน้ามืด ตามัวอย่างในปัจจุบนั เสียที การตระหนักรูใ้ นความเป็นพลเมืองของโลก (World Civic Literacy) : นอกจากจะตระหนักรูต้ วั เองในฐานะพลเมืองของชาติแล้ว การตระหนัก รูต้ วั เองในฐานะพลเมืองคนหนึง่ ของโลกก็เป็นเรือ่ งทีม่ คี วามสำ�คัญไม่แพ้ กัน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในประเด็นเรือ่ งสิง่ แวดล้อม ซึง่ กำ�ลังกลายเป็น ปัญหาทีใ่ หญ่ขน้ึ เรือ่ ยๆ ในโลกยุคปัจจุบนั พลเมืองแห่งศตวรรษที่ 21 ควร ต้องรูว้ า่ การกระทำ�ของตนเองนัน้ ส่งผลกระทบต่อโลกและคนทีอ่ ยูท่ อ่ี กี มุม หนึง่ ของโลกอย่างไร ทักษะและความรูพ้ น้ื ฐานต่างๆ ทีย่ กมาเบือ้ งต้น คงจะยังไม่ใช่ ทัง้ หมดทีจ่ �ำ เป็นสำ�หรับการอยูใ่ นโลกยุคศตวรรษที่ 21 สิง่ ทีผ่ เู้ ขียนยกขึน้ มาทัง้ หมดนัน้ ก็ไม่จ�ำ เป็นทีจ่ ะต้องถูกต้องทัง้ หมด คงมีหลายคนทีเ่ ห็นด้วย รวมทัง้ เห็นแย้งว่าสิง่ ทีผ่ เู้ ขียนยกตัวอย่างขึน้ มานัน้ เป็นทักษะและแนวคิด พืน้ ฐานทีจ่ �ำ เป็นสำ�หรับการอยูอ่ าศัยในโลกยุคศตวรรษที่ 21 หรือไม่ สิง่ ที่ สำ�คัญกว่าคือการร่วมกันคิดว่าทักษะเหล่านีค้ อื อะไร เด็กไทยและคนไทย ยังขาดทักษะอะไร และเราจะทำ�อย่างไรเพือ่ เติมเต็มช่องว่างเหล่านัน้ ให้ได้
8 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
การศึกษา พันธนาการทางชนชั้น หากเราเชื่อในกฎของหยินหยาง ที่ว่าทุกสรรพสิ่งย่อมมีสอง ด้านเสมอ มีขาวมีดำ� มีเย็นย่อมมีร้อน การสร้างสรรค์เกิดมาคู่กับ การทำ�ลายล้าง เช่นเดียวกัน “การศึกษา” ซึ่งหาได้มีแต่ด้านที่สวยงาม อย่างที่เรามักจะเข้าใจกัน โดยทั่วไปแล้วการศึกษามักถูกนึกถึงในฐานะ เครื่องมือเพื่อยกระดับชีวิตของมนุษย์ ทำ�ให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์ขึ้น รวมทั้งเติมเต็มชีวิตของมนุษย์ในหลายๆ ด้าน ทั้งในแง่ทักษะความ สามารถ ความรู้ความเข้าใจโลก รวมไปถึงจิตวิญญาณของมนุษย์เอง แต่อย่างที่ได้กล่าวไปเบื้องต้น ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีสองด้าน การศึกษาก็เช่นกัน ในแง่หนึ่งการศึกษาสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องมือ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตมนุษย์ และเครื่องกีดขวางการพัฒนามนุษย์ ไปพร้อมกัน หลายคนคงเคยได้ยินคำ�กล่าวที่ว่า “ขายควาย ส่งควาย เรียน” ซึ่งหมายถึงการที่พ่อแม่ทุ่มเทส่งเสียลูกให้ได้เรียนสูงๆ ขายที่ นาขายควายเพื่ออนาคตของลูกรักของตน แต่สุดท้ายสิ่งที่ได้กลับมาคือ
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 9
ควายที่ถือใบปริญญากลับมา แม้คำ�กล่าวข้างต้นอาจจะฟังดูรุนแรงเกิน กว่าความเป็นจริง แต่ก็ใช่ว่าคำ�กล่าวข้างต้นจะไม่มีมูลเหตุอยู่เลย การ ศึกษาที่ไร้คณ ุ ภาพไม่สามารถทำ�ให้ใครยกระดับชีวติ ของตัวเองขึน้ มาได้ การศึกษาที่เหลื่อมล้ำ�ก็เช่นกัน ไม่สามารถเป็นเครื่องมือเพื่อ ยกระดับสถานะและคุณภาพชีวิตของคนในสังคมได้ เด็กที่เกิดใน ครอบครัวยากจน โอกาสที่เด็กคนดังกล่าวจะสามารถเข้าถึงโรงเรียน และมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพในเมืองใหญ่ได้เป็นเรื่องยากยิ่ง ในขณะที่ เด็กที่ทางบ้านมีฐานะ นอกจากจะสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน ราคาแสนแพงได้แล้ว ยังสามารถใช้เวลานอกโรงเรียนไปกับการกวดวิชา เรียนพิเศษได้อีก เด็กที่บ้านยากจนกลับเข้าไม่ถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ดัง นั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลย หากผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย เราจะเห็นเด็กจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียง เรียงหน้ากันเดินเข้าไปใน มหาวิทยาลัยชื่อดังของรัฐ นอกจากนั้นแล้ว ความเหลื่อมล้ำ�จากการศึกษาดังกล่าว ยังส่ง ผลไปถึงคุณภาพชีวิตในอนาคตของเด็กเหล่านั้นด้วย เด็กที่บ้านรวย ได้ รับการศึกษาดี ก็ย่อมมีการงานที่ดี มั่นคง ในขณะที่เด็กผู้ยากไร้ ยาก ที่จะเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ส่งผลไปถึงอาชีพการงานในอนาคต ด้วย และย่อมยากจนต่อไปอย่างโงหัวไม่ขึ้น พูดให้ชัดก็คือ การศึกษา ที่มีความเหลื่อมล้ำ� หาใช่เครื่องมือเพื่อยกระดับชีวิตของชนชั้นล่างใน สังคม หากแต่เป็นเครื่องกีดขวางการยกระดับทางชนชั้นต่างหาก จึง อย่าได้แปลกใจหากมีคนบอกว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความ เหลื่อมล้ำ�ต่ำ�สูงของผู้คนในสังคมมากที่สุดสังคมหนึ่งในโลก หากเราไม่เริ่มแก้ที่ความเหลื่อมล้ำ�ในกระบวนการการศึกษา ปัญหาความเหลื่อมล้ำ�ในสังคมย่อมไม่มีทางบรรเทาลงได้ แน่นอนว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำ�ในสังคมเกิดจากปัจจัยอันหลากหลาย แต่ใคร กันเล่าจะปฏิเสธว่าส่วนหนึ่งของปัญหานั้นเกิดจากโอกาสทางการศึกษา ที่ไม่เท่าเทียมกันเหล่านี้ และแม้ว่าเราจะยังไม่เห็นหนทางแก้ไขปัญหา
10 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
อย่างชัดเจน แต่การมองให้เห็นตัวปัญหาอย่างชัดเจนก่อน ก็น่าจะ เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเปิดทางไปสู่การแก้ปัญหาได้ในท้ายที่สุด ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทย แม้วา่ ประเทศไทยจะลงทุนไปกับการศึกษาเป็นเม็ดเงินจำ�นวน มหาศาล แต่คณ ุ ภาพและประสิทธิผลของการศึกษาไทยนับว่าต่�ำ เหลือ เกิน จากข้อมูลพบว่าในแต่ละปีภาครัฐลงทุนในการศึกษาเป็นจำ�นวนกว่า 3.5 แสนล้านบาท (ปี 2550) คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของงบประมาณ ทัง้ ประเทศ และหากเปรียบเทียบตัวเลขดังกล่าวกับประเทศอืน่ ๆ จะพบ ว่าประเทศไทยลงทุนด้านการศึกษาไม่นอ้ ยหน้าประเทศอืน่ ๆ เลย แต่หากวัดคุณภาพการศึกษาแล้ว จะพบว่าประเทศไทยมี คุณภาพการศึกษาไม่ใคร่จะดีนกั ไม่วา่ จะเป็นอันดับมหาวิทยาลัยโลกซึง่ มหาวิทยาลัยไทยไม่เคยได้อนั ดับดีกว่าเลขสามหลักเลย เปรียบเทียบกับ ประเทศเพือ่ นบ้านใกล้เคียงอย่างสิงคโปร์ ซึง่ แม้จะเป็นเพียงประเทศเล็กๆ แต่มมี หาวิทยาลัยคุณภาพดี ติดอันดับ 20 มหาวิทยาลัยทีด่ ที ส่ี ดุ ในโลก นอกจากนัน้ แล้วเรายังจะเห็นได้จากคะแนนสอบ PISA ซึง่ เป็น ข้อสอบในระดับนานาชาติ ซึง่ วัดความสามารถของเด็กในแต่ละประเทศ ในทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึง่ ผลปรากฏว่าเด็ก ไทยมีความสามารถในด้านต่างๆ เหล่านีอ้ ยูใ่ นระดับค่อนข้างต่�ำ แม้วา่ เวลาทีเ่ ด็กไทยใช้ในห้องเรียนจะมากกว่าชาวบ้านต่างประเทศเขาก็ตาม ปัญหาความเหลื่อมล้ำ�ของการศึกษาไทย ปัญหาความเหลือ่ มล้�ำ ของการศึกษาไทย สามารถแบ่งย่อยได้ หลายมิติด้วยกัน ในที่นี้จะนำ�เสนอใน 4 มิติ ได้แก่ ส่วนทีห่ นึง่ ความเหลือ่ มล้�ำ ของโอกาสทางการศึกษา ข้อมูลทาง สถิตชิ ว้ี า่ เด็กซึง่ เข้าศึกษาต่อในระดับชัน้ ป.1 จำ�นวน 100 คน จะเรียน จบชัน้ ป.6 แค่ 90 คน และเรียนจบถึงชัน้ ม.6 แค่ประมาณ 50-60 คน
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 11
เท่านั้น โดยเด็กที่ละทิ้งการศึกษาจำ�นวนมาก มีสาเหตุสำ�คัญคือ ความ ยากจน ข้อมูลดังกล่าวชี้ว่า ความสามารถของในการเข้าถึงบริการ ทางการศึกษาระหว่างเด็กที่มาจากครัวเรือนยากจน กับ ครัวเรือนที่ ร่ำ�รวยนั้น ต่างกันอย่างมาก
โอกาสทางการศึกษาที่แตกต่างกันระหว่างคนรวยและคนจนนี้ เกิดขึ้นได้แม้ว่าจะมีมาตรการเรียนฟรี และกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา เนื่องจากเด็กที่มาจากครอบครัวที่ยากจนมีแนวโน้มอย่างมากที่จะ ตัดสินใจเลิกเรียนแล้วไปทำ�งานแทน โดยเฉพาะในช่วงมัธยมศึกษาตอน ปลาย เนื่องอยู่ในวัยที่สามารถทำ�งานได้แล้ว การเรียนต่อแม่ว่าจะมี ค่าใช้จ่ายไม่มาก แต่โอกาสในการทำ�งานที่หายไป ทำ�ให้เด็กจำ�นวน มากเลือกที่จะไม่เรียนต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มาจากครอบครัว ที่ยากจนมากๆ ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลให้เด็กที่เลือกที่จะไม่เรียนต่อ ต้องทน ทรมานกับการทำ�งานที่ต้องใช้แรงงาน และได้รับค่าจ้างราคาถูกไป ตลอดชีวิต
12 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
ส่วนทีส่ อง ความเหลือ่ มล้�ำ ของคุณภาพทางการศึกษา แม้วา่ ประเทศไทยจะได้มกี ารจัดตัง้ โรงเรียนตามทีต่ า่ งๆทัว่ ประเทศเป็นจำ�นวน มาก เพือ่ ขยายโอกาสทางการศึกษาไปทัว่ ประเทศ แต่โรงเรียนทีม่ ี ทรัพยากรทัง้ ในแง่อปุ กรณ์การสอน และ ครู เพียงพอทีจ่ ะให้การศึกษา แก่เด็กในคุณภาพเท่าเทียมกันกลับมีนอ้ ยมาก จากข้อมูลการสอบ O-net ของนักเรียนทัง้ ประเทศในปี 2549 แสดงให้เห็นว่า โรงเรียนในกรุงเทพฯ มีคณ ุ ภาพดีกว่าโรงเรียนในต่างจังหวัดมาก เห็นได้จากคะแนนเฉลีย่ ของ เด็กในกรุงเทพฯ สูงกว่าคะแนนเฉลีย่ ของเด็กทัง้ ประเทศมาก อีกทัง้ โรงเรียนขนาดใหญ่กม็ แี นวโน้มทีจ่ ะทำ�คะแนนได้ดกี ว่าโรงเรียนขนาดเล็ก ซึง่ อาจสะท้อนว่าโรงเรียนขนาดใหญ่มคี ณ ุ ภาพการเรียนการสอนดีกว่า โรงเรียนขนาดเล็ก ส่วนทีส่ าม ความเหลือ่ มล้�ำ ของโอกาสในการเข้าถึง “ปัจจัย สนับสนุนการเรียนรู”้ ยกตัวอย่างเช่น คนยากจนจำ�นวนมากยังขาด โภชนาการทีด่ ี (ทำ�ให้สมองเติบโตไม่เต็มที่ เมือ่ เทียบกับครัวเรือนทีม่ ี ฐานะ) หรือ แหล่งเรียนรูแ้ ละสร้างแรงบันดาลใจ อาทิ TCDC หรือ TK PARK กลับกระจุกตัวอยูใ่ นเมืองหลวงเท่านัน้ ส่วนทีส่ ่ี ความเหลือ่ มล้�ำ ในมิตขิ อง “พืน้ ที”่ ทัง้ ในแง่ของการเข้า
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 13
ถึงการศึกษา และคุณภาพทางการศึกษา นอกจากกรุงเทพฯ มหานคร จะเป็นพืน้ ทีท่ เ่ี ด็กเข้าถึงการศึกษามากทีส่ ดุ และมีคณ ุ ภาพการศึกษาสูง ทีส่ ดุ แล้ว หากเจาะลึกลงไปในแต่ละจัดหวัดแต่ละภาคก็จะพบความแตก
ต่างระหว่างภาคอีก โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในภาคเหนือและภาคอีสาน ซึง่ โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในพืน้ ทีเ่ หล่านีต้ �ำ่ กว่าภาคอืน่ ๆ รวมทัง้ คุณภาพการศึกษา (ซึง่ วัดจากคะแนนสอบ O-net) ก็ต�ำ่ กว่าในภาคอืน่ ๆ อย่างเห็นได้ชดั ด้วย แม้แต่ในมิตขิ องความฉลาดทางสมองของเด็กในแต่ละพืน้ ที่ ซึง่ พบว่า เด็กทีอ่ ยูใ่ นภาคอีสาน มี IQ ต่�ำ กว่าเด็กในภาคอืน่ ๆ ซึง่ อาจเป็นผลมา จากภาวะโภชนาการทีไ่ ม่เท่าเทียมกันก็ได้ เนือ่ งจากการสาธารณสุขและ โภชนาการในภาคอีสานต่�ำ กว่าภาคอืน่ ๆ อาจส่งผลถึงพัฒนาการทาง สมองและระดับ IQ ของเด็กก็เป็นได้ และนอกจากความเหลื่อล้ำ�ทั้ง 4 มิติที่ได้กล่าวไปข้างต้นซึ่ง เกีย่ วข้องกับการศึกษาโดยตรงแล้ว ยังมีความเหลือ่ มล้�ำ ในมิตอิ น่ื ๆ อีก
14 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
ซึง่ เกีย่ วข้องโดยตรงกับเรือ่ งของเยาวชน แต่อาจจะไม่ได้เกีย่ วข้องโดยตรง กับระบบการศึกษา เช่น ความเหลือ่ มล้�ำ ในการอุดหนุนโดยรัฐระหว่าง เด็กเล็กและเด็กโต โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาทีเ่ หมาะสมสำ�หรับเด็ก กลุม่ พิเศษและเด็กพิการ หรือแม้แต่ความแตกต่างอันเกิดจากฐานะทาง ครอบครัว ก็ลว้ นเป็นเรือ่ งทีน่ า่ สนใจและเกีย่ วข้องกับเด็กและเยาวชน โดยตรง ทางกลุม่ คงจะได้ศกึ ษาในรายละเอียดเพือ่ เป็นฐานความรูเ้ พือ่ การปฏิรปู ระบบการพัฒนาเยาวชนของไทยต่อไป บทความชิน้ เล็กๆ ชิน้ นีค้ งไม่สามารถให้ภาพของสถานการณ์ของ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ�ของการศึกษาไทยได้ทั้งหมด แต่อย่างที่ได้กล่าว ไปแต่ต้น การมองภาพปัญหาให้ชัดก่อนเท่านั้น ที่จะสามารถนำ�ไปสู่ ความเปลี่ยนแปลงที่ถูกจุดและถูกทิศทางได้ และปัญหาความเหลื่อม ล้ำ�ทางการศึกษาไทยก็เป็นปัญหาที่ใหญ่มากที่สุดประการหนึ่ง หากไม่ รีบแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ การศึกษาไทยก็จะไม่สามารถเป็นเครื่องมือ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ใครได้ หากแต่เป็นเครื่องพันธนาการไม่ให้ คนเล็กคนน้อยในสังคมได้เชิดหน้าชูคอขึ้นมาเทียบเคียงกับอภิสิทธิ์ชน ส่วนน้อยของสังคม เท่านั้นเอง
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 15
วิธคี ดิ ทีบ่ ดิ เบีย้ วของการจัดการ ศึกษาของภาครัฐไทย :
ว่าด้วยการอุดหนุนทางการศึกษาที่ผิดทิศ
ภาครัฐเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีส่วนสำ�คัญในการกำ�หนด ทิศทางการศึกษาของประเทศไทย เนื่องจากภาครัฐเองมีทั้งอำ�นาจใน การออกกฎเกณฑ์และกฎระเบียบต่างๆ รวมทั้งมีงบประมาณมหาศาล อยู่ในมือ โดยเฉลี่ยแล้วรัฐไทยมีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาคิดเป็นถึง ประมาณร้อยละ 20 ของงบประมาณแผ่นดินในแต่ละปี ดังนั้นทิศทาง การอุดหนุนทางการศึกษาของภาครัฐจึงส่งผลอย่างมากต่อทิศทางและ ผลลัพธ์ที่สังคมไทยจะได้รับจากการศึกษา ก่อนที่จะไปดูว่าภาครัฐเข้ามามีบทบาทอย่างไรบ้างใน กระบวนการการศึกษาไทย อยากจะฉายภาพความบิดเบี้ยวและไม่ สอดคล้องในหลายๆ เรื่องที่เป็นผลลัพธ์จากการศึกษาไทยก่อน จาก ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการแรงงานในระดับต่างๆ ของไทย ปรากฏว่า ประเทศไทยมีความไม่สอดคล้องกันอยู่ระหว่างความต้องการแรงงาน และจำ�นวนแรงงานในประเทศ ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจน ในแต่ละปีนั้นจะมีแรงงานระดับ ปริญญาตรีจบการศึกษาใหม่ถงึ ประมาณ 2.8 แสนคน แต่ความต้องการ แรงงานในระดับนี้มีเพียงประมาณ 2.25 แสนคนต่อไป ทำ�ให้ในแต่ละ ปีนั้นมีผู้จบใหม่ในระดับปริญญาตรีกว่า 50,000 คน ต้องตกงาน หรือ บางส่วนก็ไปทำ�อาชีพที่เรียกร้องคุณวุฒิต่ำ�กว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ จบการศึกษาในสายธุรกิจ การบริหาร และพาณิชยศาสตร์ซึ่งในแต่ละปี มีผทู้ จ่ี บการศึกษาในสาขานีท้ ต่ี กงานกว่า 30,000 คน เป็นความสูญเสีย
16 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
อย่างมหาศาลของสังคมและเศรษฐกิจไทย ในขณะที่แรงงานในระดับ อื่นๆ กลับขาดแคลนเช่น แรงงานอาชีวศึกษาสายช่าง เป็นต้น แม้ว่าผู้เขียนจะไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าอะไรเป็น สาเหตุหลักที่ทำ�ให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สมดุลระหว่างความต้องการ แรงงานดังกล่าว แต่การอุดหนุนที่ผิดทิศทางของภาครัฐก็น่าจะเป็นส่วน สำ�คัญหนึ่งที่ทำ�ให้เกิดปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการ ตกงานของนักศึกษาจบใหม่จำ�นวนมาก จากตัวเลขสถิติการศึกษาของประเทศไทยปรากฏว่า ระดับ การศึกษาที่ภาครัฐของไทยให้การอุดหนุนมากที่สุดได้แก่ การศึกษา ในระดับอุดมศึกษา ซึ่งภาครัฐอุดหนุนโดยเฉลี่ยต่อหัวที่ประมาณ 30,000 บาทต่อคนต่อปี ทั้งนี้ยังมีความแตกต่างกันไปอีกในแต่ละสาขา วิชา เช่นในสาขาสังคมศาสตร์และศิลปะศาสตร์ รัฐอุดหนุนผู้เรียนใน สาขาเหล่านี้เฉลี่ยประมาณ 55,000 บาทต่อคนต่อปี ในขณะที่สาขา อย่างแพทย์ศาสตร์ ภาครัฐอุดหนุนค่าใช้จ่ายทางการศึกษาให้ถึงเกือบ 200,000 บาทต่อคนต่อปี ปัญหาของการอุดหนุนของภาครัฐคือ ภาครัฐของไทยอุดหนุน การศึกษาในระดับอุดมศึกษามากเกินไป ทั้งนี้เนื่องจากการเรียนใน ระดับอุดมศึกษาให้ผลตอบแทนกลับมาสู่ผู้เรียนสูงกว่าการเรียน ในระดับอื่นๆ มาก (ในรูปของค่าตอบแทนตัวเงินที่ผู้เรียนได้รับเมื่อ ประกอบอาชีพ) โดยเปรียบเทียบแล้ว ผู้ที่จบการศึกษาในระดับปริญญา ตรีจะได้รับค่าตอบแทนมากกว่าผู้ที่เรียนจบระดับ ปวส. ถึง 2 เท่า ดัง นั้นแล้ว ผู้เรียนจะมีแรงจูงใจอย่างมากอยู่แล้วในการเรียนในระดับ อุดมศึกษา โดยที่รัฐไม่ต้องเข้ามาอุดหนุนมากอย่างในปัจจุบัน และการ ที่ภาครัฐของไทยอุดหนุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอย่างมากมายจึง เป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล ยังเป็นที่มาส่วนหนึ่งของปัญหาการตกงาน เป็นจำ�นวนมากของผู้ที่เรียนจบในระดับปริญญาตรีด้วย
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 17
ไม่เพียงการอุดหนุนการศึกษาที่ผิดทิศของภาครัฐของไทยจะส่ง ผลให้เกิดปัญหาการตกงานของผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเท่านั้น การที่ภาครัฐทุ่มงบประมาณจำ�นวนมากเพี่ออุดหนุนการศึกษาในระดับ อุดมศึกษา ยังส่งผลให้ภาครัฐมีงบประมาณเพื่อไปอุดหนุนการศึกษาใน ระดับอื่นๆ ได้น้อยลง เช่นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่ง ไม่ฟรีจริง ส่งผลให้นักเรียนจำ�นวนมากต้องออกจากการศึกษากลางคัน หรือแม้แต่การเรียนสายอาชีวะ ซึ่งมีผู้เรียนน้อยทั้งที่เป็นที่ต้องการของ ตลาดแรงงาน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังทำ�ให้ภาครัฐเหลือเงินงบ ประมาณเพื่อไปแก้ไขปัญหาการศึกษาเฉพาะจุดได้น้อยลง เช่น ปัญหา กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งไม่พอเพียง มีเด็กในครอบครัว ยากจนจำ�นวนมากที่ต้องการทุนการศึกษา แต่ก็ไม่ได้รับทำ�ให้จำ�เป็น ต้องออกจากการศึกษากลางคันเช่นเดียวกัน หากภาครัฐสามารถถ่ายโอนงบประมาณจำ�นวนมากที่ใช้ใน การอุดหนุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ เชื่อแน่ว่าภาครัฐจะได้เงินงบ ประมาณจำ�นวนมหาศาลเพื่อนำ�มาแก้ปัญหาการศึกษาให้ตรงจุดมาก ขึ้นได้ พร้อมกันนั้นการลดการอุดหนุนในระดับอุดมศึกษาลงก็น่าส่ง ผลให้ปัญหาการตกงานของบัณฑิตใหม่บรรเทาลงด้วย ผู้เขียนหวังเป็น อย่างยิ่งว่า ภาครัฐของไทยจะกลับมาทบทวนอย่างจริงจังถึงบทบาท ของภาครัฐเองต่อการศึกษาของไทย โดยเฉพาะในแง่ของงบประมาณ ทางการศึกษา และการปฏิรูปการศึกษาจะเกิดขึ้นได้จริง ก็ต่อเมื่อภาค รัฐหันมาทบทวนบทบาทของตนเองที่มีต่อการศึกษาของไทยอย่าง จริงจังเท่านั้น
18 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
แบบเรียนไทย :
เครือ่ งตกแต่งนิไสยใจคอไพร่บา้ นพลเมือง “รัฐบาลมีอำ�นาจที่จะตกแต่งนิไสยใจคอไพร่บ้านพลเมือง ได้ด้วยแต่งหนังสือสำ�หรับสอนเด็กนักเรียน...ประโยชน์ของ การแต่งหนังสือจึงไม่แพงเลย”
(ชื่อบทความจากลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ กราบทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2449 เพื่อเสนอวิธีในการ บรรลุเป้าหมายในการจัดการศึกษา)
ข้อความข้างต้นแสดงถึงวัตถุประสงค์ส�ำ คัญในการผลิตแบบเรียน ขึน้ เพือ่ เป็นเครือ่ งมือในการ “ตกแต่งนิไสยใจคอไพร่บา้ นพลเมือง” ภาย หลังจากทีส่ ยามประเทศได้เข้าสูย่ คุ แห่งการ “ปฏิรปู ” เพือ่ ความเป็นสมัย ใหม่ในรัชกาลที่ 5 อำ�นาจหน้าทีด่ งั กล่าวยังคงอยูใ่ นแบบเรียนไทยตลอด ช่วงเวลาทีผ่ า่ นมา ดังปรากฏในข้อเขียนสองชิน้ ในสองช่วงเวลา จากงานเขียนชิน้ สำ�คัญของนิธิ เอียวศรีวงศ์ เรือ่ ง “ชาติไทยและเมืองไทย ในแบบเรียนประถมศึกษา” ทีเ่ ข้าไปวิเคราะห์เชิงเนือ้ หาในแบบเรียนวิชา ภาษาไทยและวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชวี ติ (สปช.) ของชัน้ ประถม ศึกษาปีท่ี 1 ถึง 6 ตามหลักสูตรการศึกษา พ.ศ. 2521 และบทความ “‘สังคมสมานฉันท์’ ในแบบเรียน” ของวิวฒ ั น์ คติธรรมนิตย์ ทีว่ เิ คราะห์ เนือ้ หาของแบบเรียนสาระการเรียนรูส้ งั คมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของระดับชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 1 ถึงมัธยมศึกษาปีท่ี 3 ตามหลักสูตรการ ศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พ.ศ. 2544 แม้หลักสูตรการศึกษาทัง้ สองจะมีระยะ เวลาห่างกันกว่า 20 ปี แต่จากการศึกษาให้ขอ้ สรุปและความเห็นที่ สอดคล้องกันว่า มโนทัศน์ของชาติไทยทีถ่ กู รัฐสร้างขึน้ ในแบบเรียนนัน้
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 19
มีลักษณะของ “หมู่บ้านหรือครอบครัวอุดมคติในอดีต” และยังมี ลักษณะพื้นฐานที่ตรงตามลักษณะของชาติในอุดมคติที่รัฐอยากให้ พลเมืองเข้าใจด้วย ข้อเขียนชิน้ นีเ้ ป็นการประมวลจากการอ่านบทความทัง้ สองชิน้ ดังกล่าว เพือ่ มุง่ ชีใ้ ห้เห็นปัญหาทีอ่ ยูใ่ นเนือ้ หาแบบเรียนไทย โดยอธิบาย เชือ่ มโยงกับลักษณะ “หมูบ่ า้ นอุดมคติในอดีต” ซึง่ เป็นกรอบคิดตัง้ ต้น หมูบ่ า้ นอุดมคติในอดีต: กรอบความเป็นชาติโดยรัฐ “เด็กๆ ถามลุงเกษมว่า ทำ�ไมชาวนาจึงปลูกข้าวมากนัก ลุง เกษมยิม้ แล้วตอบว่า ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย อุดรและเกสร ต้องกินข้าวทุกวันใช่ไหมล่ะ ลองคิดดูซวิ า่ คนไทยทัง้ ประเทศกินข้าว วันละมากมาย ถ้าลุงกับชาวนาคนอืน่ ๆ ปลูกข้าวน้อย พวกเราจะพอ กินกันหรือ” ลักษณะของหมูบ่ า้ นอุดมคติจากแบบเรียนเป็นหมูบ่ า้ นทีส่ งบสุข มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทุกคนในหมูบ่ า้ นทำ�หน้าทีก่ ารงานในความ รับผิดชอบของตนเองจากการแบ่งงานกันทำ�อย่างเข็มแข็ง เช่น ครูมหี น้าที่ สอนเด็กนักเรียนให้เป็นคนมีความรูแ้ ละคุณธรรมอย่างตัง้ ใจ ตำ�รวจมีหน้า ทีพ่ ทิ กั ษ์ดแู ลความสงบเรียบร้อยของประชาชนอย่างเทีย่ งตรง นักปกครอง อย่างหัวหน้าครอบครัวและผูใ้ หญ่บา้ นใช้ขนั ติธรรมในการปกครองสมาชิก ชาวนาเป็น “กระดูกสันหลังของชาติ” และทหารเป็น “รัว้ ของชาติ” คอย ดูแลรักษาอธิปไตยผืนแผ่นดินไทย เป็นต้น และคุณสมบัตสิ �ำ คัญทีท่ �ำ ให้ หมูบ่ า้ นร่มเย็นเป็นสุขได้นน้ั คือความสามัคคีของคนในหมูบ่ า้ น แต่เป็น “ความสามัคคี” ในความหมาย “ความกลมเกลียว” กันของสมาชิกหมูบ่ า้ น มิใช่ความสามัคคีในเชิงหลักการหรืออุดมการณ์พน้ื ฐานร่วมกัน ความสงบ ร่มเย็นเป็นสุขนีเ้ องทีน่ ธิ ใิ ช้ค�ำ ว่า “สงบราบคาบ” ลักษณะหมู่บ้านข้างต้นสามารถเชื่อมโยงกับคำ�อธิบายถึงชาติ ไทยในอุดมคติของรัฐผ่านแบบเรียนได้ เช่น คำ�อธิบายลักษณะการ ปกครองประเทศเริ่มตั้งแต่ครอบครัว ทุกครอบครัวมีหัวหน้าครอบครัว
20 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
หลายครอบครัวรวมกันเป็นหมูบ่ า้ น มีผใู้ หญ่บา้ นดูแล หลายหมูบ่ า้ นรวม กันเป็นตำ�บล มีก�ำ นันดูแล ไล่มาจนถึงตำ�บล จังหวัด และประเทศไทยที่ มีพระมหากษัตริยท์ รงเป็นประมุขและมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่าย บริหาร คำ�อธิบายถึงหน้าทีพ่ ลเมืองทีใ่ ห้ความสำ�คัญกับการมีปฏิสมั พันธ์ท่ี ถูกต้องกับรัฐและราชการเพือ่ ให้การทำ�งานของรัฐเป็นไปโดยสะดวก เช่น การแจ้งเกิด แจ้งตาย จ่ายภาษี ทำ�บัตรประชาชน และคำ�อธิบายถึงการ แก้ไขความขัดแย้งภายในชาติวา่ ต้องอาศัยความสามัคคีและประโยชน์ของ ส่วนรวมเป็นทีต่ ง้ั ความเป็นหมูบ่ า้ นของชาติไทยทีเ่ ป็นกรอบคิดตัง้ ต้นนำ� ไปสูค่ �ำ อธิบายประเด็นปัญหาของแบบเรียนไทยได้ดงั นี้ 1. การลดทอนรากของปัญหาและปรากฏการณ์ในสังคม “ฉันมีความสุขเหลือเกินทีม่ ธี รรมชาติงดงามเช่นนีไ้ ว้ให้เรา ชม’ จันทร์พมึ พำ� ‘ถ้าเราทุกคนช่วยกันรักษาไว้ ธรรมชาติกค็ งจะ งดงามอยูเ่ ช่นนีต้ ลอดไป’ มานะเสริม ‘ธรรมชาติมคี ณ ุ แก่มนุษย์เหลือ เกิน เหตุใดหนอจึงมีคนใจร้ายชอบทำ�ลาย’ มานีร�ำ พึง...” ประเด็นปัญหานีเ้ ชือ่ มโยงกับการอยูร่ ว่ มกันของคนในชาติ การ ทำ�หน้าทีท่ ต่ี นเองรับผิดชอบ โดยเฉพาะความสามัคคีซง่ึ ถือเป็นปัจจัย สำ�คัญทีท่ �ำ ให้หมูบ่ า้ นชาติไทยสงบสุข ด้วยกรอบคิดเช่นนีท้ �ำ ให้ปญ ั หา หรือความขัดแย้งทีเ่ กิดขึน้ ในสังคมล้วนเสมือนเกิดจาก ความไม่สามัคคี ความแตกแยก และความเห็นแก่ตวั ของคนบางกลุม่ ซึง่ กล่าวโดยสรุปว่า เป็นปัญหาศีลธรรมในระดับปัจเจก ดังนัน้ หนทางทีจ่ ะสามารถแก้ไขปัญหา และความขัดแย้งในหมูบ่ า้ นชาติไทยคือการส่งเสริมให้คนในสังคมเป็น คนดี มีศลี ธรรมจริยธรรม เห็นแก่ประโยชน์สว่ นรวมของประเทศชาติเป็น หลัก ตัวอย่างของปัญหาและปรากฏการณ์ในสังคมทีถ่ กู หยิบยกขึน้ มา ในแบบเรียนส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรือ่ งสิง่ แวดล้อม และมักจบลงด้วยการ รณรงค์ให้ทกุ คนในสังคมมีสว่ นร่วมในการแก้ไขปัญหา
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 21
การลดทอนรากของปัญหาและปรากฏการณ์ตา่ งๆในสังคมให้ เหลือเพียงสาเหตุดา้ นศีลธรรมนี้ เป็นการอธิบายปัญหาโดยไม่น�ำ ไปสู่ ความขัดแย้งใดๆ ในสังคม หรือเรียกว่าเป็นคำ�อธิบายเพือ่ นำ�ไปสู่ “ความ สมานฉันท์” เราจึงไม่พบกรณีทแ่ี บบเรียนอธิบายปรากฏการณ์ชาวนา รวมตัวกันประท้วงเพือ่ เรียกร้องการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่�ำ เพราะ การแบ่งงานกันทำ�ในหมูบ่ า้ นชาติไทยทำ�ให้ชาวนามีบญ ุ คุณท่วมท้นต่อ คนในหมูบ่ า้ นด้วยฐานะทีเ่ ป็น “กระดูกสันหลังของชาติ” การทวงถามค่า ตอบแทนทีส่ งู ขึน้ ดูจะเป็นการเสียมารยาทของกลุม่ เครือญาติรว่ มหมูบ่ า้ น และกระทบต่อความสงบราบคาบของหมูบ่ า้ นทีม่ คี วามสามัคคีเป็น คุณสมบัตพิ น้ื ฐาน เรามักพบคำ�อธิบายในทำ�นองว่า ชาวนาเดือนร้อนและมีชวี ติ ความเป็นอยูอ่ ย่างยากลำ�บาก (แต่ไม่ออกไปประท้วง) จากราคาข้าว ตกต่�ำ เพราะการกดราคาของพ่อค้าคนกลางหรือปุย๋ ราคาแพงจากพ่อค้า ปุย๋ (คนไม่ดใี นแบบเรียน) ทำ�ให้ทางออกของปัญหาดูเหมือนจะมีแค่การ เปลีย่ นให้พอ่ ค้าคนกลางและพ่อค้าขายปุย๋ ตลอดจน “คนใจร้ายผูต้ ดั ไม้ ทำ�ลายป่า” กลับตัวเป็นคนดีมเี มตตา เสียสละ และและเห็นแก่ประโยชน์ ส่วนรวม ซึง่ ในความเป็นจริง ปัญหาระดับชาติคงไม่สามารถแก้ไขได้ ลำ�พังด้วยการเรียกร้องให้ใครคนหนึง่ เสียสละเฉยๆ เป็นแน่ นอกจากการลดทอนรากปัญหาในแบบเรียนให้เหลือเพียง ปัญหาด้านศีลธรรมในระดับปัจเจกแล้ว แบบเรียนยังได้พดู ถึงปัญหาใน ระดับสังคม นัน่ คือ เรือ่ งประชาธิปไตยไว้อย่างน่าสนใจ การลดทอนรากปัญหาของประชาธิปไตยไทยในแบบเรียน “ในสมัยรัชกาลที่ 7 นัน้ ไทยได้เปลีย่ นแปลงการปกครอง เป็นประชาธิปไตยทีย่ งั ไม่พร้อม แต่ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงเริม่ ทดลองประชาธิปไตยก่อน โดยทรงตัง้ ดุสติ ธานี...ผลการทำ�ลอง ปรากฏว่า การทีจ่ ะนำ�ระบอบประชาธิปไตยมาใช้ในประเทศไทย ยัง ไม่เหมาะสมกับความเป็นอยูข่ องราษฎร เพราะในขณะนัน้ ราษฎรยัง
22 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
ได้รบั การศึกษาไม่เพียงพอ...ทรงประสงค์จะจัดการให้ราษฎรมีการ ศึกษาเสียก่อน...” การกำ�เนิดแบบผิดทีผ่ ดิ ทางของประชาธิปไตยในความเห็นของ แบบเรียนนีม้ องว่าปัญหาประชาธิปไตยเป็นเรือ่ งในระดับตัวบุคคลที่ “ยัง ไม่มกี ารศึกษา” รวมถึงเรือ่ งเล่าอืน่ ๆทีส่ ะท้อนออกมาว่าความสำ�เร็จของ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอยูท่ ต่ี วั คนเป็นสำ�คัญ ซึง่ นอกจากจะมี เรือ่ งการศึกษาแล้ว ยังมีเรือ่ งของ “ความเป็นคนดี” เข้ามาเกีย่ วพันด้วย ขณะทีร่ ปู แบบการปกครองทีแ่ บบเรียนไทยยกย่อง ไม่ใช่การ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย หากแต่เป็นระบอบการปกครองทีม่ ี ผูน้ �ำ ทีเ่ ด็ดขาด ดังจะเห็นได้จากการยกย่องการปกครองของประเทศ สิงคโปร์ในแบบเรียน สปช. ของชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 5 ตามหลักสูตรการ ศึกษา พ.ศ. 2521 การอธิบายถึงลักษณะของประชาธิปไตยในแบบเรียนเน้นไป ทีร่ ปู แบบ (เปลือกนอก) ของประชาธิปไตยเป็นหลัก เช่น กระบวนการ อภิปรายและการเลือกตั้ง โดยปราศจากเนื้อหาสาระ (แก่นใน) ของ ความเป็นประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน มีเพียงเรือ่ งเสรีภาพในการนับถือศาสนาเท่านัน้ ทีถ่ กู พูดถึงในแง่ทว่ี า่ รัฐ เป็นผูอ้ นุญาตให้มเี สรีภาพเช่นนัน้ มากกว่าการเป็นสิทธิขน้ั พืน้ ฐานของ ประชาชน 2. นัยยะของชาตินยิ มในแบบเรียน “ปิตริ กั ตัวเอง รักพ่อแม่พน่ี อ้ ง ครูอาจารย์ เพือ่ นฝูง และรัก ประเทศชาติ เขาจะต้องละเว้นและหลีกให้หา่ งไกลจากยาเสพติด” ภาพความเป็นหมู่บ้านชาติไทยที่ทุกคนมีส่วนร่วมทำ�ให้หมู่บ้าน เจริญก้าวหน้า มีความคิดแบบชาตินิยมฝังอยู่ในแบบเรียนเสมอ
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 23
การทำ�ความดีของ “คนดี” ในแบบเรียนมีชาติเป็นตัวผลักดัน ชาตินยิ มใน แบบเรียนส่วนมากมักมีแนวโน้มแสดงออกด้วยความรุนแรง การรบพุง่ การขจัดศัตรูทไ่ี ม่ใช่คนในชาติหรือทรยศต่อความเป็นชาติ ผ่านตัวละคร ในวรรณคดีทโ่ี ด่งดังอย่างขุนแผน ชายชาตินกั รบทีย่ อมจากนางอันเป็น ทีร่ กั เพือ่ ไปต่อสูร้ บั ใช้ชาติ รวมถึงวีรบุรษุ ในประวัตศิ าสตร์อย่างสมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระยาพิชยั ดาบหัก การแสดงออกของจิตสำ�นึกชาตินยิ มทีม่ แี นวโน้มว่า “พวกเรา” มีหน้าทีป่ กปักษ์รกั ษาชาติโดยการทำ�ลาย “พวกเขา” ทีเ่ ป็นศัตรูนเ่ี อง ทีน่ ธิ มิ อง ว่าเป็นจิตสำ�นึกชาตินยิ มทีม่ นี ยั ยะในทาง “ทหารนิยม”(Militarism) 3. ความหลากหลายจอมปลอมในแบบเรียน “...ประเทศไทยของเรานี้ดีจังเลยนะคะ ที่มีคนหลากหลาย เชื้อชาติ หลายศาสนา อยู่ร่วมกันได้... เพราะทุกคนคือคนไทยมี พระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน สืบทอดวัฒนธรรม ไทยร่วมกัน จึงควรรักและสามัคคีกันไว้” ความหลากหลายที่ถูกกล่าวในแบบเรียนซึ่งประกอบไปด้วย ความหลากหลายทางด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความแตกต่างด้าน ภูมิศาสตร์เป็นสำ�คัญ ที่เห็นได้ชัดคือวัฒนธรรมในแต่ละภาค เช่น ภาค เหนือมีดอยสุเทพ ภาคอีสานมีพระธาตุก่องข้าวน้อย และภาคใต้มีหาด สุรินทร์ เป็นต้น แต่ความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนาซึ่งอาจนำ�ไปสู่ ความขัดแย้งได้ในบางกรณีกค็ ลีค่ ลายไปได้ดว้ ยคติประจำ�หมูบ่ า้ นชาติไทย คติส�ำ คัญสามประการในแบบเรียนไทย ประกอบไปด้วย 1)ผูค้ นในชาติมพี นั ธะต่ออนาคตร่วมกัน คือความเจริญเป็นปึก แผ่นของคนในชาติ(มีเป้าหมายเหมือนกัน) 2)มีประวัตศิ าสตร์รว่ มกันจากการดำ�รงรักษาเอกราชของชาติมา แต่โบราณ(มีทม่ี าร่วมกัน) และติดแถบชือ่ ว่าเป็น “ประวัตศิ าสตร์ชาติไทย” ไว้ในแบบเรียน
24 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
3)มีความเคารพสักการะในพระมหากษัตริยอ์ งค์เดียวกัน(มีทย่ี ดึ เหนีย่ วจิตใจเดียวกัน) ซึง่ แบบเรียนไทยมุง่ เน้นอธิบายพระมหากษัตริย์ ในฐานะบุคคล เช่น ทรงพระเมตตา ทรงพระสิรโิ ฉม หรือทรงพระปรีชา สามารถ เป็นต้น มากกว่าจะพูดถึงในฐานะสถาบันกษัตริยท์ ม่ี คี วาม ศักดิส์ ทิ ธิ์ รวมถึงบทบาทหน้าทีต่ ามราชประเพณี นอกจากนัน้ แล้วความหลากหลายทีถ่ กู นำ�เสนอในแบบเรียนนัน้ ปราศจากความแตกต่างในด้านโอกาสทางเศรษฐกิจและการเมืองของคน กลุม่ ต่างๆในสังคม เพราะประเด็นความแตกต่างเช่นนีน้ �ำ ไปสูค่ วามขัด แย้งของคนในสังคม ดังนัน้ ความหลากหลายทีป่ รากฏในแบบเรียนจึงเป็นเพียงความ หลากหลายจอมปลอมทีม่ งุ่ สร้างให้คนยอมรับ จำ�นน และหลีกหนีการ แก้ปญ ั หา นิธไิ ด้ตง้ั ข้อสังเกตไว้วา่ นักเรียนทีใ่ ช้แบบเรียนเหล่านีจ้ ะมอง ปัญหากรรมกรเรียกร้องค่าแรง ชาวนาประท้วงปกป้องที่ดินทำ�กิน ว่าเป็นการทำ�ให้ชาติแตกความสามัคคี และเป็นการทำ�ลายความสงบ เรียบร้อยของชาติ นอกจากการนำ�เสนอความหลากหลายในมุมทีค่ บั แคบแล้ว แบบเรียนไทยยังยัดเยียดวัฒนธรรมภาคกลางเข้าไปในแบบเรียนทีใ่ ช้กบั นักเรียนทัง้ ประเทศ ผ่านอากัปกิรยิ าของตัวละครต่างๆ ในแบบเรียน และการสอนมารยาทในบ้านเรือน เช่น การยกมือไหว้ผใู้ หญ่เมือ่ พบการ ไม่พดู หรือหัวเราะเวลาอาหารเต็มปาก พูดจาสุภาพเรียบร้อย มีมารยาท ดี เป็นต้น ซึง่ ล้วนเป็นมารยาทของชนชัน้ กลางในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังถือเอาวรรณคดีเก่าและนิทานของภาคกลางบรรจุไว้ในแบบเรียน เพือ่ เป็นเรือ่ งเล่าประจำ�ชาติไทยทีอ่ ยูใ่ นสำ�นึกของนักเรียนทัว่ ประเทศ เราอาจ เรียกปรากฏการณ์เหล่านีว้ า่ เป็นการ “ครอบงำ�ทางวัฒนธรรม” ก็ได้
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 25
4. การตัดทอนความจริงทางประวัตศิ าสตร์ในแบบเรียน “อาณาจักรอยุธยาได้รุ่งเรืองขึ้นมาและมีบทบาทเป็นเมือง ศูนย์กลางแห่งใหม่ของคนไทยต่อจากอาณาจักรสุโขทัยที่ได้เสื่อม อำ�นาจลง อาณาจักรอยุธยาดำ�รงความเป็นศูนย์กลางอำ�นาจ ทางการเมืองเป็นเวลายาวนานกว่า 400 ปี (พ.ศ. 1963 – 2310) โดยในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรมที่จะได้เป็นมรดกตกทอด มายังสังคมไทยสมัยต่อมาคือ ธนบุรี และรัตนโกสินทร์จนถึง ปัจจุบัน” ประวัตศิ าสตร์ในแบบเรียนไทยเป็น “เรือ่ งเล่า” ทีม่ โี ครงเรือ่ ง ตายตัวทุกยุคสมัย นัน่ คือ ชาติไทยดำ�รงอยูไ่ ด้ดว้ ยการทำ�สงครามรักษา เอกราชที่นำ�โดยพระมหากษัตริย์ ทำ�ให้เรื่องราวของ “ประวัติศาสตร์” ชาติไทยในแบบเรียนดำ�เนินไปเป็นเส้นตรง มีเอกภาพยาวนานต่อเนื่อง นับตั้งแต่สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ โดยมี “เอกลักษณ์ ไทย” เป็นตัวเชื่อมโยงความเป็นชาติไทย ได้แก่ สถาบันกษัตริย์ ระบบ การปกครองสมบูรณายาสิทธิราชย์(ที่มีหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราช) ภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และมี “ศัตรู” คือ พม่า ซึ่งเปรียบเสมือนผู้ร้ายในนิยายที่คอยฉกฉวยโอกาสโจมตีชาติไทย ยามคนไทยแตกความสามัคคี สำ�หรับความสำ�คัญทางประวัตศิ าสตร์ของพืน้ ทีส่ ามจังหวัดชายแดน ใต้กถ็ กู ลดทอนให้เหลือเพียงประเทศราช เป็นแหล่งของป่าและแหล่งกำ�ลัง คนให้แก่อาณาจักรไทยลุม่ แม่น�ำ้ เจ้าพระยาเท่านัน้ โดยละเลยความแตกต่าง ทางประวัตศิ าสตร์ ทัง้ ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม คุณค่าของศาสนา และความยิง่ ใหญ่ของอารยธรรม ทัง้ หมดเพียงเพือ่ รักษาไว้ซง่ึ ภาพความ สมานฉันท์ของคนในชาติ ตามความตัง้ ใจของแบบเรียนไทย
26 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
“ประวัตศิ าสตร์” ในแบบเรียนจึงมิใช่เป็นประวัตศิ าสตร์ในความ หมายทัว่ ไป หากเป็นเพียงอุดมการณ์ทท่ี �ำ หน้าทีย่ ดึ เหนีย่ วจินตนาการถึง อดีตของคนในชาติไว้รว่ มกันและติดแถบชือ่ ว่าเป็น “ประวัตศิ าสตร์ชาติ ไทย” ไว้ในแบบเรียน บทส่งท้ายผูเ้ ขียน ตามจุดมุง่ หมายของบทความนี้ ผูเ้ ขียนพยายามนำ�เสนอ ปัญหาของแบบเรียนไทยทีเ่ คยถูกเขียนถึงแล้วในงานสองชิน้ ข้างต้น และ ชีช้ วนให้ผอู้ า่ นกลับไปอ่านผลงานดัง้ เดิมทัง้ สองโดยละเอียด ปัญหาของ แบบเรียนไทยทีส่ ร้างจินตภาพความเป็นหมูบ่ า้ นของชาติไทยขึน้ มาทำ�ให้ เนือ้ หาแบบเรียนลดทอนรากปัญหาและปรากฏการณ์ตา่ งๆในสังคม แอบแฝงลัทธิชาตินยิ มทีม่ แี นวโน้มนำ�ไปสูค่ วามรุนแรง ปกปิดความหลาก หลายทีแ่ ท้จริงในสังคม และบิดเบือนตัดทอนความจริงในอดีต แม้นิธิเองจะยอมรับถึงสถานะของแบบเรียนว่าเป็นเพียงหนึ่ง ในสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน และเป็นเพียงสื่อหนึ่งท่ามกลางสื่อแบบ ใหม่(ในสมัยนั้น) อย่างโทรทัศน์ วิทยุ และภาพยนตร์ กอปรกับข้อสงสัย ของผู้เขียนที่ไม่แน่ใจในคุณภาพการสอนในประเทศไทยว่าจะสามารถส่ง ผ่านเนื้อหาในแบบเรียนไปสู่ผู้เรียนได้ครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ เช่นกัน ผู้เขียนไม่สามารถหาความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาของแบบเรียนและ ปรากฏการณ์ปญ ั หาต่างๆในสังคมว่ามีความเกีย่ วข้องกันมากน้อยเพียงใด แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตของนิธิเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้วยังคง ร่วมสมัย กล่าวคือ ลักษณะวาทกรรมทางการเมืองและคำ�อธิบายต่อ ปรากฏการณ์ในสังคมทีผ่ ลิตโดยเหล่านายธนาคาร นายกรัฐมนตรี ผูน้ �ำ รัฐประหาร ตลอดจนอาจารย์มหาวิทยาลัย ยังคงมีลกั ษณะสอดคล้องกับ สิง่ ทีอ่ ยูใ่ นแบบเรียนไทย แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของแบบเรียนไทยที่ แม้เป็นเพียงแบบเรียนระดับชัน้ ประถมศึกษา แต่กม็ อี ทิ ธิพลในการครองงำ� ความคิดของคนเหล่านีโ้ ดยไม่รตู้ วั
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 27
สุดท้ายนี้ หากเรามองการปฏิรปู การศึกษาไทยเป็นโจทย์ส�ำ คัญ การปรับปรุงแก้ไขแบบเรียนการศึกษาในระบบก็เป็นหนึง่ ในสิง่ ทีพ่ งึ กระทำ� พร้อมกับการทบทวนเป้าหมายทางการศึกษาของรัฐไทยว่าจะยังดำ�เนิน ไว้เพือ่ เป้าหมาย “การตบแต่งนิไสยใจคอ” แก่พลเมือง เฉกเช่นเมือ่ 100 กว่าปีกอ่ นหรือไม่ การเลือกนำ�เสนอความจริงบางส่วน กลบปัญหาไว้ใต้ พรม กดทับความแตกต่างหลากหลายทัง้ ด้านวัฒนธรรม ศาสนา และอัต ลักษณ์ชาติพันธุ์ ตลอดจนปิดกั้นความเห็นต่างทางการเมือง ยังคงเป็น สิง่ ทีร่ ฐั ไทยควรกระทำ�หรือไม่ ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งทางสังคมใน ด้านต่างๆทัง้ เศรษฐกิจ การเมือง การจัดสรรทรัพยากร และความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศทีด่ จู ะมีซากวาทกรรมจากแบบเรียนไทยปลิวว่อนอย่าง ไม่มที า่ จะเสือ่ มสลายเช่นในปัจจุบนั
เอกสารอ้างอิง
ชาติไทย และเมืองไทยในแบบเรียนประถมศึกษา ในหนังสือ ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียนและอนุเสาวรีย์ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มติชน, 2538). “สังคมสมานฉันท์” ในแบบเรียน ใน เอกสารสัมมนาวิชาการ TDRI ประจำ�ปี 2548 โดย วิวัฒน์ คติธรรมนิตย์
28 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
ครู :
แพะ (รับบาป) หรือ ต้นตอของปัญหาตัวจริง?
วิวาทะสำ�คัญอันหนึง่ สำ�หรับผูส้ นใจในเรือ่ งการศึกษา คือ ปัญหา คุณภาพครู ซึง่ เป็นปัญหาทีส่ ะสมมาอย่างยาวนาน และซับซ้อนเกีย่ วข้อง เชื่อมโยงในมิติต่างๆ ทั้ง คุณภาพชีวิตของครู ระบบบริหารบุคคลากร ของกระทรวงศึกษาธิการ ค่าตอบแทน สวัสดิการ ความก้าวหน้าในอาชีพ ตลอดจนคุณภาพขององค์ความรูแ้ ละความสำ�คัญของนโยบาย ทัง้ หมดนี้ ล้วนเชือ่ มโยงและส่งผลต่อกันและกัน ทำ�ให้ไม่มนี โยบายใดเพียงนโยบาย เดียวทีจ่ ะสามารถแก้ไขปัญหา “ครู” ให้ลลุ ว่ งไปได้
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 29
วิกฤตการศึกษาในปัจจุบันแสดงให้เห็นชัดเจนว่าจำ�เป็นต้องมี การปฏิรูปการศึกษาของประเทศทั้งระบบ ทั้งในมิติด้านการเรียนการ สอน ความหลากหลายของเนื้อหาและสาขาวิชา การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์และต่อเนื่อง รวมถึงเรื่องที่สำ�คัญที่สุด นั่นคือ การผลิตครู การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประเด็นการศึกษาเหล่านี้เป็นประเด็นสำ�คัญ เร่งด่วนที่ต้องผลักดันให้เป็นประเด็นสาธารณะ และสร้างความเข้าใจต่อ สาธารณะชนในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง ในเนือ้ ความต่อจากนี้ จะสะท้อนถึงปัญหาทิศทางการพัฒนาการ ศึกษาไทย โดยเน้นมิติปัญหาเรื่อง “ครู” เป็นสำ�คัญ ซึ่งได้กลายเป็น บท เรียนเรื่องปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการ ดังต่อไปนี้ วิทยฐานะของครู: ครูเกียจคร้านทำ�งานเอกสารหรือความคับแคบ ของวิธีการประเมิน? “สลด! ครูสงขลา เครียดจัด ทำ�ผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ ไม่ผ่าน จึง คิดสั้น ผูกคอตาย” จากข่าวอันสะเทือนขวัญดังกล่าว เราไม่อาจสรุปได้วา่ ครูคนดัง กล่าวคิดฆ่าตัวตายเนือ่ งจากปัญหาเรือ่ งวิทยฐานะเพียงสาเหตุเดียว แต่ คงไม่มใี ครปฏิเสธถึงความเครียดอันเนือ่ งมาจากการประเมินเพือ่ เลือ่ น วิทยฐานะครู ในมิตหิ นึง่ แสดงให้เห็นว่าวิทยฐานะสร้างภาระงานต่อ ครู และในอีกมิตหิ นึง่ สะท้อนให้เห็นว่า “วิทยฐานะครู” มีความสำ�คัญ ต่อวิชาชีพครู ทัง้ ในแง่ของความก้าวหน้าในอาชีพ การได้รบั การยอมรับ นับถือ รวมถึงค่าตอบแทนและเงินเดือนทีจ่ ะได้รบั เพิม่ ขึน้ สภาพดังกล่าว สะท้อนปัญหาเรือ้ รังของโครงสร้างการศึกษาไทยทีส่ ะสมมาอย่างยาวนาน
30 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
การประเมินขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเลื่อน วิทยฐานะ ที่ผ่านมาเกิดข้อท้วงติงและเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก มีผู้แสดงทัศนะทั้งด้านบวกและด้านลบต่อหลักเกณฑ์ในการประเมิน ดังกล่าว และเมื่อระบบประเมินวิทยฐานะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงต่อ วิธีจัดการเรียนการสอนของครู ซึ่งส่งผลไปถึงคุณภาพและประสิทธิผล ของการศึกษาด้วย จึงเกิดคำ�ถามสำ�คัญว่า จะออกแบบระบบประเมิน ผลครูอย่างไรเพื่อจูงใจให้ครูสอนได้อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถใช้ เป็นเครื่องมือเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพครูได้ด้วยขวัญและกำ�ลังใจที่ ไม่ดีของครูถือเป็นอุปสรรคหนึ่งต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นจึงควรมีมาตรการส่งเสริมให้ครูมีขวัญและกำ�ลังใจที่ดี ด้วยการ สร้างระบบสนับสนุนให้ครูมีรายได้อย่างเพียงพอต่อการดำ�รงชีวิตอย่าง เป็นปกติสุข มีวิทยฐานะอันเหมาะสม และดำ�รงชีวิตในสังคมได้อย่างมี ศักดิ์ศรี ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีระบบที่เอื้อให้ “ครู” สามารถเพิ่มพูน วิทยฐานะให้สูงขึ้นได้ แต่กฎเกณฑ์บางประการก็ไม่เอื้อให้ครูสามารถ ทำ�ผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะได้ดังหวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ�ผล งานทางวิชาการหรือนวัตกรรม ที่ถือเป็นองค์ประกอบสำ�คัญต่อการ พิจารณาประกอบการขอเลื่อนวิทยฐานะ เนื่องด้วยกฎเกณฑ์ทั้งหลาย นั้น เกินกำ�ลังความสามารถที่ครูจะสามารถทำ�ได้ด้วยตนเอง เช่น การ ทำ�รายงานการใช้นวัตกรรม 5 บท ที่มีลักษณะคล้ายการทำ�วิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบ คือ ครูส่วนหนึ่งไม่มีประสบการณ์หรือไม่เคยผ่านการเรียน ระดับปริญญาโทมาก่อนไม่สามารถทำ�รายงานดังกล่าวได้ หรือหากจะ ทำ�ก็ต้องไปผ่านกระบวนการอบรมที่จัดโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ซึ่งต้อง มีค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำ�นวนไม่น้อย ครูส่วนหนึ่งจึงใช้วิธีลัดด้วยการจ้าง ทำ�ผลงานวิชาการ ในขณะที่ครูที่มีประสบการณ์และมีความสามารถก็ รับจ้างเขียนผลงานวิชาการเหล่านี้
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 31
นอกจากนัน้ แล้วครูบางคนยังต้องเสียเงินเพือ่ ติดสินบนผูป้ ระเมิน หรือทีเ่ รียกกันโดยทัว่ ไปว่า “จ้างอ่าน” อีก ซึง่ เรือ่ งราวทัง้ หมดนีย้ งั ไม่เคย มีบทลงโทษทีช่ ดั เจน เป็นการเปิดช่องว่างให้เกิดอาชีพทีห่ าผลประโยชน์ใน แวดวงการศึกษา นำ�มาซึง่ ความเสือ่ มเสียแก่วงการการศึกษาและวิชาชีพ ครูเป็นอย่างมาก จากภาพดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในเชิงโครงสร้างของ ระบบการประเมินวิทยฐานะครู ที่เป็นกรอบมาตรฐานเชิงเดี่ยว ซึ่งไม่ เข้าใจความหลากหลายในกลยุทธ์และวิธีการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ในแต่ละพื้นที่ แต่ละสาขาวิชา หรือครูแต่ละคน การกำ�หนดกฎเกณฑ์ที่ ยุ่งยากซับซ้อนให้ครูทำ�ผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ โดยไม่สามารถนำ� ไปใช้สอนได้จริงและไม่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียน การสอนและคุณภาพของนักเรียน ทางแก้คือควรมีกฎกติกาที่หลากหลายและตอบสนองต่อ บุคลากรครูที่มีเป็นจำ�นวนมาก ให้สามารถมีช่องทางการเลื่อน วิทยฐานะที่เหมาะสมกับความสามารถของตน ปัญหาของระบบการเลื่อนวิทยฐานะในปัจจุบันคือ เป็นระบบที่ ตอบสนองครูเพียงกลุ่มเดียวที่เขียนหนังสือเก่ง และเป็นการสร้างความ เสียเปรียบให้กับบางสาขาวิชาที่เน้นการการเรียนการสอนในภาคปฎิบัติ เช่น กลุม่ สาระการเรียนรูก้ ารงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุม่ สาระการเรียน รูส้ ขุ ศึกษาและพละศึกษา และกลุม่ สาระการเรียนรูศ้ ลิ ปะ เป็นต้น ปัญหาในเชิงโครงสร้างของระบบมาตรฐานในการประเมิน วิทยฐานะครู ทีเ่ ป็นกรอบมาตรฐานในเชิงเดีย่ วดังกล่าว ไม่เพียงบัน่ ทอน ขวัญและกำ�ลังใจของครูหลายคน หากแต่ยงั เป็นปัญหาในเชิงหลักการ และปรัชญาการศึกษา ดังนัน้ แล้วกฎเกณฑ์กติกาการเลือ่ นวิทยฐานะ จึง จำ�เป็นทีจ่ ะต้องได้รบั การแก้ไขให้มคี วามหลากหลายมากขึน้ และเปิดกว้าง สำ�หรับครูทม่ี คี วามถนัดแตกต่างกัน เพือ่ ให้ครูทกุ คนสามารถใช้ระบบ “วิทยฐานะครู” นี้ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ “ครู” ได้
32 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
หนี้ครู หนี้ใคร: เหตุใดจึงต้องแก้ไขปัญหาหนี้ครู “ชีวิตครู ไม่กู้อย่างเดียวคือระเบิด นอกนั้นกู้หมด สหกรณ์ ช.พ.ค.1 ธนาคาร เล่นแชร์ กู้แม่ค้า” ปัญหาหนี้สินของครูเป็นอุปสรรคสำ�คัญหนึ่งต่อการปฏิรูปการ ศึกษา เนื่องจากส่งผลต่อคุณภาพและความสามารถในการทำ�งานของ ครูอย่างสำ�คัญ บทวิเคราะห์ต่อไปนี้ จะอธิบายสาเหตุในเชิงโครงสร้าง และปัจจัยเชิงวัฒนธรรม ที่มีผลต่อการเป็นหนี้สินของครูจำ�นวนมาก ครูจำ�นวนมากผ่านระบบบริหารบุคคลโดยอาศัยการคัดเลือก ด้วยการสอบบรรจุจากส่วนกลาง ดังนั้น ครูจำ�นวนมากจึงมิได้เป็นคนใน ท้องถิ่นนั้นๆ อีกทั้งโรงเรียนจำ�นวนมากตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบท ทำ�ให้ครูุ มีความจำ�เป็นอย่างมากที่จะต้องมีพาหนะส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือแม้กระทั่งมีบ้านในพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้สามารถ ปฏิบัติหน้าที่ได้สะดวก หนทางที่จะมีทรัพย์สินเหล่านี้ได้ในชีวิตเริ่มต้น ของการรับราชการครู ก็คือ การกู้ ต่างกับข้าราชการหน่วยงานอื่นๆ ที่ สำ�นักงานจะตั้งอยู่พื้นที่ตัวอำ�เภอหรือเขตอำ�เภอเมืองเป็นหลัก ซึ่งมีรถ ประจำ�ทางราคาถูกบริการ ในแง่นี้ครูจึงมีภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการ เดินทางมากกว่าข้าราชการในส่วนงานอื่น และด้วยการที่ครูต้องทำ�งานในพื้นที่ที่ใกล้ชิดกับชุมชนมากกว่า ข้าราชอื่นๆ ครูจึงเป็นเสมือนบุคคลสำ�คัญของคนในหมู่บ้านและ ใน บางท้องที่ การทำ�บุญ (ใส่ซอง) ของครูจะใส่จำ�นวนเงินเท่ากับชาว บ้านไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นขี้ปากของชาวบ้านว่าตระหนี่ ถี่เหนี่ยว 1 ฌาปณกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นแหล่งเงินกู้หนึ่งสำ�หรับครู
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 33
นอกจากนั้นแล้วรถยนต์ส่วนตัวของครูหลายคนยังเป็นเสมือนรถประจำ� โรงเรียน รถของครูจะถูกใช้เพื่อพานักเรียนไปแข่งขันกีฬาบ้าง พาไปงาน ประจำ�ปีบ้าง ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยของความคาด หวังที่มีต่อครู ซึ่งกลายเป็นภาระที่บั่นทอนชีวิตและสร้างปัญหาให้ครูใน ที่สุด ถึงกระนั้น หนี้ที่เกิดขึ้นก็เป็นหนี้เสียในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบ กับหนี้เสียในภาคส่วนอื่นๆ กล่าวคือ มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non Performance Loan – NPL) ในอัตราที่น้อยมาก ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ NPLของบรรดา นักธุรกิจและผู้มีอำ�นาจทั้งหลาย จะพบว่า หนี้ NPL ของครู น้อยกว่า อยู่มากทีเดียว ดังคำ�สัมภาษณ์ของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นาย เฉลียว อยู่สีมารักษ์ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2553 ว่า “เพราะขณะนี้ครูที่มีหนี้สินส่วนใหญ่ก็อยู่กันได้ ซึ่งจากข้อมูลการ สำ�รวจพบจำ�นวนหนี้เสียค่อนข้างน้อย อย่าง สหกรณ์ออมทรัพย์
34 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
ครู มีครูที่เบี้ยวหนี้แค่ 1,000 กว่าคน โครงการเงินกู้ ช.พ.ค.ก็ไม่มี หนี้เสียตามที่รายงานมา ส่วนกองทุนพัฒนาชีวิตครู หนี้เสียแค่ 100 กว่าล้านบาท” สิ่งนี้พิสูจน์ว่า แม้ครูจะมีหนี้จำ�นวนมาก แต่ก็ ยังสามารถรับผิดชอบ (ในการชดใช้หนี้) ได้ และแม้ครูจะสามารถ รับผิดชอบกับหนี้สินดังกล่าวได้ดี แต่ถึงอย่างไรสิ่งเหล่านี้ก็กระทบ ความสามารถในการสอนอยูดี เนื่องจากครูต้องเสียเวลาค่อนข้าง มากในการรับผิดชอบชีวิตส่วนตัว สุดท้ายนี้ ไม่ว่าครูจะเป็นแพะ (รับบาป) หรือเป็นต้นตอ อุปสรรคสำ�คัญในการพัฒนาการศึกษาของชาติ แต่ปัญหาคุณภาพครู รวมทั้งคุณภาพชีวิตของครูเอง ก็นับเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ภาครัฐและ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องประสานพลังในการแก้ไขและดำ�เนินการ อย่างจริงจัง รอบคอบ และต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์และมาตรการที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต จึงจำ�เป็นต้องพิจารณาอย่างองค์รวม โดยเริ่มตั้งแต่ กระบวนการผลิตครู สถานภาพครู และคุณภาพชีวิตครู เพื่อสร้างความ เชื่อมั่นว่า “ครู” จะเป็นจักรกลสำ�คัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการ ศึกษาของชาติอย่างแท้จริง
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 35
สอบตกคือล้มเหลว? : ว่าด้วยระบบการสอบวัดผลทีผ่ ดิ พลาดของไทย
เรียนยังไงกัน ถึงได้สอบตก การทีเ่ ด็กไทยสอบตกเป็นผลมาจากความเกียจคร้าน ไม่เอาใจ ใส่ของเด็กเอง หรือเป็นผลมาจากการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ที่ไม่ดีพอ จากข้อมูลสถิติของยูเนสโกล่าสุด พบว่า นักเรียนไทยใช้เวลา ในห้องเรียน 1,167 ชัว่ โมงต่อสัปดาห์ (อันดับ 5 ของโลก) ทัง้ นีย้ งั ไม่รวม เวลาเรียนพิเศษและเรียนกวดวิชาตามสถาบันต่างๆ ในขณะทีเ่ ด็กนักเรียน ในประเทศฟินแลนด์ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดในโลก ประเทศหนึง่ นักเรียนใช้เวลาทีโ่ รงเรียนเพียง 713 ชัว่ โมงต่อสัปดาห์ ญีป่ นุ่ และเยอรมนีท่ี 875 และ 874 ชัว่ โมงต่อสัปดาห์ตามลำ�ดับ เห็นได้ชดั ว่า เด็กไทยใช้เวลากับการเรียนมากกว่าประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ภาพที่เรา คุน้ เคยในวันหยุดสุดสัปดาห์คอื เด็กมัธยมออกจากบ้านแต่เช้าตรู่ เพือ่ ไป เรียนกวดวิชาจนเย็นย่ำ� เอาใจใส่ทุ่มเทกับการเรียนเพื่อสอบให้ผ่าน ได้ เกรดเฉลี่ยสูงๆ จะได้เรียนมหาวิทยาลัยดีๆ มีงานทำ�เงินเดือนสูงๆ แต่ ทำ�ไมถึงยังสอบตก? ปัญหาอยู่ที่เด็ก โรงเรียน รัฐ หรือใคร?
36 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
จากการศึกษาของสำ�นักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเรื่องการ กวดวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย พบว่าส่วนใหญ่ ของกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่กวดวิชาให้เหตุผลว่า เพื่อช่วยให้ผลการ เรียนดีขึ้น กลุ่มครูส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการที่นักเรียนกวดวิชานั้น เพื่อเตรียมสอบเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น กลุ่มโรงเรียนกวดวิชาส่วน ใหญ่มีความเห็นว่า นักเรียนกวดวิชาเพราะต้องการให้ผลการเรียนดีขึ้น ในขณะที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความเห็นว่า นักเรียนกวดวิชาเนื่องจาก ต้องการให้ผลการเรียนดีขึ้น การกวดวิชากันอย่างมากมายสะท้อน ให้เห็นถึงระบบการศึกษาไทยที่เน้นเรื่องการสอบเป็นสำ�คัญ โดยหวัง ว่าการกวดวิชาจะช่วยให้ได้เทคนิคในการทำ�ข้อสอบ ช่วยให้เข้าใจใน วิชาที่เรียนมากขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มโอกาสในการสอบเข้าศึกษาต่อได้ เด็กนักเรียนไทยต้องแบกรับความกดดันมากมายถึงเพียงใด เพื่อจะให้พ่อแม่และสังคมภูมิใจใน “ความสำ�เร็จ” การวัดความสำ�เร็จ ทางการศึกษาด้วยคะแนนสอบและเกรดเฉลี่ยกำ�ลังกำ�หนดกรอบความ คิดให้เยาวชนไทย “ข้อสอบร้อยข้อและคำ�ตอบทีว่ า่ ถูกต้อง” กำ�ลังกักขัง เด็กไทยไว้ในกล่องและกรอบความคิดอันคับแคบ โดยที่เด็กไทยไม่มี ทางรู้เลยว่าภายนอกกล่องและกรอบข้อสอบนั้นยังเปี่ยมไปด้วยสิ่ง สร้างสรรค์และท้าทายอีกมากนัก ในอีกด้านหนึ่ง มาตรฐานการศึกษาที่กำ�หนดไว้ในพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กล่าวถึง “การจัดกระบวนการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญ” การเรียนที่ผู้เรียนเห็นแบบอย่างที่ดี ได้ ฝึกการคิด ได้เรียนจากประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ได้เรียนตรงตาม ความสนใจ และมีความสุขในการเรียน ในขณะที่ครูรู้จักผู้เรียนเป็นราย บุคล เตรียมการสอนและสือ่ ทีผ่ สมผสานความรูส้ ากลกับภูมปิ ญ ั ญาไทย สามารถจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดหาและพัฒนาแหล่ง
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 37
เรียนรู้ที่หลากหลาย และการพัฒนาความคิดผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และสร้างสรรค์ ผ่านมากว่าสิบปี การศึกษาไทยไม่เคยแม้แต่จะเฉียดเข้า ใกล้เป้าหมายดังกล่าวเลย “เพราะเยาวชนไทยกำ�ลังเรียนเพื่อสอบ มิได้ เรียนเพื่อรู้” การประเมินผลการเรียนในปัจจุบันกำ�ลังทำ�ให้การพัฒนาการ ศึกษาไทยเบนเข็มออกจากเป้าหมายที่แท้จริง เกิดผลในทางลบต่อการ พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ผู้สอน และสังคมโดยรวมหลายด้าน ดังนี้ ความคิดสร้างสรรค์บนกระดาษคำ�ตอบ การวัดผลการเรียนรูด้ ว้ ยข้อสอบมาตรฐานเพียงอย่างเดียวไม่ สามารถชีว้ ดั ได้วา่ ผูเ้ รียนได้พฒ ั นากระบวนการคิดไปอย่างไรบ้าง เพราะ เป็นไปไม่ได้เลยทีค่ รูผสู้ อนจะมองกระดาษคำ�ตอบแบบมีตวั เลือกของเด็ก นักเรียนคนหนึง่ แล้วจะบอกได้วา่ นักเรียนคนนีม้ คี วามคิดแปลกใหม่และ สร้างสรรค์มากแค่ไหน ความคิดสร้างสรรค์และกระบวนการคิดมีความ สำ�คัญอย่างมากต่อการพัฒนาบุคลากรของประเทศ เพราะนวัตกรรม ใหม่ๆ มักเกิดจากการคิดนอกกรอบ คนส่วนใหญ่อาจคิดว่า ความคิด สร้างสรรค์เป็นเรื่องของพรสวรรค์ ฝึกฝนยาก เด็กที่วาดรูปเก่งในชั่วโมง เรียนศิลปะเท่านัน้ ทีม่ คี วามคิดสร้างสรรค์ ความคิดนีค้ งไม่ถกู ต้องนัก หาก เรามองให้ลึกจะพบว่า การริเริ่มสิ่งใหม่เพื่อท้าทายหลักการและความรู้ ที่เรียนมา ก็ถือเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สร้างสรรค์แล้ว ในขณะ ที่การเรียนเพื่อสอบนั้น ส่งผลให้ผู้เรียนไม่มีแรงจูงใจที่จะคิดนอกกรอบ เนือ่ งจากถ้าคิดมากไป ก็จะตอบผิดและสอบไม่ผา่ น ในขณะทีผ่ สู้ อนก็ไม่มี แรงจูงใจในการจัดการเรียนการสอนในแบบที่เหมาะกับนักเรียนของตน เช่นกัน เนือ่ งจากครูสว่ นใหญ่ตอ้ งใช้เวลากับการสอนเพือ่ เตรียมนักเรียน สำ�หรับการทำ�ข้อสอบ การเรียนการสอนแบบนีท้ �ำ ให้ผเู้ รียนไม่มอี สิ ระทาง ความคิด เพราะผลลัพธ์ที่ต้องการคือคำ�ตอบสุดท้ายที่ถูกต้องเท่านั้น
38 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
“เกรด” เฉลีย่ ได้จริงหรือ? การประเมินความรู้ ความสามารถทัง้ หมดของผูเ้ รียนด้วยข้อสอบ ปรนัยภายในเวลาไม่กช่ี ว่ั โมงนัน้ ยังก่อให้เกิดการเรียนการสอนทีไ่ ม่พงึ ประสงค์อย่างมาก หากเปรียบเทียบการศึกษากับสายพานการผลิต ผู้ เรียนจะถูกยัดเยียดชุดความรูส้ �ำ เร็จรูปให้ แล้วจึงถูกนำ�ไปผ่านกระบวนการ ทดสอบคุณภาพอย่างรวดเร็วและเป็นมาตรฐาน โดยมิได้ค�ำ นึงถึงความ สุขงอมทีต่ า่ งกันของผูเ้ รียน ยกตัวอย่าง ในชัน้ เรียนหนึง่ ๆ ผูเ้ รียนแต่ละ คนย่อมมีความพร้อมต่างกัน มีความสามารถในการเรียนรูเ้ รือ่ งเดียวกัน ไม่เท่ากัน การประเมินผลโดยการสอบและพิจารณาเกรดเฉลีย่ ทุกวิชา เป็นการมองข้ามความแตกต่างทักษะการเรียนรูข้ องเด็ก เด็กคนไหนเรียน ช้า อธิบายครัง้ เดียวไม่เข้าใจ ทำ�ข้อสอบไม่ได้ ถือว่าโง่กว่าเด็กคนอืน่ ทัง้ ที่ เด็กคนเดียวกันอาจจะเรียนรูว้ ชิ าอืน่ ได้เร็วกว่าและดีกว่าก็ได้ ภาพเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นวิสยั ทัศน์ทค่ี บั แคบของผูส้ อนและผูจ้ ดั การการศึกษา เกรดเฉลีย่ ไม่สามารถชีว้ ดั ศักยภาพทีแ่ ท้จริงของเด็กออกมา ให้เห็นได้ ค่านิยมทีว่ า่ ต้องเรียนให้ได้ดที กุ รายวิชาเพือ่ เกรดเฉลีย่ ทีส่ งู เป็นการเพิม่ แรงกดดันและบัน่ ทอนความมัน่ ใจในตนเองของเด็กทีม่ คี วาม ถนัดเฉพาะบางวิชา ในประเทศเนเธอร์แลนด์ นักเรียนเมือ่ ผ่านชัน้ อนุบาล
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 39
จะมีการแยกเด็กออกเป็นชัน้ (Level) ตามความสามารถในการเรียนรูโ้ ดย อาศัยข้อสอบมาตรฐานควบคูไ่ ปกับการประเมินของครูประจำ�ชัน้ วิธกี าร เรียนการสอนในแต่ละชัน้ (Level) จะแตกต่างกันตามแต่ศกั ยภาพของ เด็ก เพือ่ ลดปัญหาการเรียนไม่ทนั กัน และลดอัตราการซ้�ำ ชัน้ และออกจาก โรงเรียนกลางคันในช่วงปฐมวัย ข้อสอบมาตรฐานในกรณีนถ้ี กู ใช้เพือ่ ช่วย เหลือและเพิม่ โอกาสในการพัฒนาตนเองของผูเ้ รียน เด็กไทยในระบบการแข่งขันสมบูรณ์ ระบบการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในปัจจุบันถือได้ว่าเป็น กระบวนการลดทอนโอกาสทางการศึกษาที่เลวร้ายอย่างหนึ่ง เมื่อพูด ถึงความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษา เรื่องที่โรงเรียนทั่วประเทศไทยได้ รับงบประมาณไม่เท่าเทียมกัน และไม่เพียงพอต่อการศึกษาที่มีคุณภาพ นั้น เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเพราะวัดเป็นตัวเลขได้ แต่ใครบ้างจะมองเห็น สภาพแวดล้อมของการแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาต่ออันเต็มไปด้วยความไม่ เสมอภาคบ้าง
40 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
เมือ่ นึกถึงความเหลือ่ มล้�ำ ทางโอกาสของเด็กไทย หลายคนคง จินตนาการถึงภาพเด็กนักเรียนไม่ถงึ ห้าสิบคนในโรงเรียนเล็กๆ แถบ ชนบท กับครูสองสามคนทีส่ อนทุกวิชา มีอาคารเรียนเก่าชัน้ เดียวกับโต๊ะ เรียนไม้ผพุ งั และชัน้ หนังสือทีม่ หี นังสือวางอยูน่ อ้ ยนิด เด็กเหล่านีเ้ มือ่ เรียน จบออกไป ต้องไปแข่งขันกับเด็กในเมืองใหญ่ทม่ี คี รูชน้ั เลิศ มีอปุ กรณ์และ สือ่ การเรียนครบครัน อีกทัง้ สถาบันกวดวิชาทัง้ หลายทีผ่ มู้ อี นั จะกินเท่านัน้ จะเข้าถึงได้ ก็กลายเป็นอีกปัจจัยหนึง่ ทีย่ ง่ิ ส่งเสริมความเหลือ่ มล้�ำ ในการ ศึกษาไทย เด็กชนบทเหล่านีต้ อ้ งเผชิญการสอบเพือ่ ศึกษาต่อแบบเดียวกับ เด็กในเมือง ในขณะทีพ่ วกเขาได้รบั โอกาสทางการศึกษาไม่เท่ากับเด็กใน เมืองใหญ่ ระบบการทดสอบแบบนีเ้ ปรียบเสมือนการคัดเลือกผลไม้ใน โรงงานอุตสาหกรรม ทีไ่ ม่ได้ค�ำ นึงถึงความแตกต่างของวัตถุดบิ ทีไ่ ด้รบั มาก กระบวนการคัดเลือกวัตถุดบิ ในโรงงานอุตสาหกรรมไม่ค�ำ นึงถึงถึงความ แตกต่างของวัตถุดบิ ฉันใด ระบบการสอบคัดเลือกนักศึกษาในปัจจุบนั ที่ ไม่ค�ำ นึงถึงทักษะทีแ่ ตกต่างกันของนักเรียนฉันนัน้ แต่มนุษย์หาใช่เพียง เป็นหนึง่ ในปัจจัยการผลิตในระบบทุนนิยม มนุษย์มหี วั ใจ นักเรียนทุกคน ต้องการเติมเต็มความเป็นคนทีส่ มบูรณ์ดว้ ยการศึกษา ระบบการคัดเลือก วัดผลทีไ่ ม่ค�ำ นึงถึงความแตกจ่างของเด็กจึงเป็นการวัดผลทีไ่ ม่เป็นธรรม การประเมินการเรียนรูแ้ บบใหม่ การประเมินผลทีด่ เี ป็นส่วนสำ�คัญต่อการเรียนและการสอนทีม่ ี คุณภาพ เพราะการวัดผลเป็นตัวกำ�หนดพฤติกรรมของผูเ้ รียน ผูส้ อนและ หลักสูตร ดังนัน้ การประเมินผลของผูเ้ รียนด้วยวิธกี ารหลากหลาย มีทง้ั ข้อสอบแบบปรนัย รายงานและโครงงาน โดยครูสงั เกตพัฒนาการของ นักเรียน และนักเรียนประเมินตนเองไปพร้อมกัน จึงน่าจะเป็นทางออกที่ ดี อย่างไรก็ตาม ใช่วา่ การวัดผลแบบนีจ้ ะไม่เคยมีในระบบการศึกษาไทย ครูทม่ี ศี กั ยภาพและความตัง้ ใจได้พยายามใช้วธิ กี ารเหล่านีแ้ ล้ว แต่ดว้ ย
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 41
แรงกดดันทีต่ อ้ งสอนให้นกั เรียนทำ�คะแนนได้สงู เพือ่ ไปแข่งขันกับนักเรียน โรงเรียนอืน่ ทำ�ให้ครูตอ้ งตกอยูภ่ ายใต้กรอบ “เรียนเพือ่ สอบ” และ “สอน เพือ่ ให้เด็กไปสอบ” ไม่ตา่ งกับนักเรียน การเรียนรูท้ ด่ี เี กิดจากการฝึกฝน ลองปฏิบตั จิ ริงในเรือ่ งทีเ่ รียน หากเราอยากให้เด็กเรียนรูแ้ ละคิดเป็น ควรให้เด็กทำ�ชิน้ งาน และโครงงาน ต่างๆ มากขึน้ โดยต้องให้เด็กมีอสิ ระในการเลือก การประเมินจากผลงาน ก็ตอ้ งมีโครงสร้างทีช่ ดั เจนและเป็นมาตรฐาน ในขณะเดียวกันก็ตอ้ งลด ความกดดันเรือ่ งการสอบลง การปฏิรปู การศึกษาไทยไม่ได้อยูท่ ก่ี ารเปลีย่ นแปลงระบบประเมิน ผลและวัดผลเท่านัน้ ความร่วมมือกันระหว่างครู นักเรียน ผูป้ กครอง ชุมชนและรัฐเป็นสิง่ จำ�เป็นทีจ่ าดไม่ได้ในการปฏิรปู การศึกษาไทย
42 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
โภชนาการ การอ่าน และภาษา : ปัจจัยเชิงสถาบันทีม่ ผี ลต่อการศึกษาของเด็ก
การศึกษากลายเป็นเรือ่ งสำ�คัญในโลกสมัยใหม่ แทบทุกประเทศ กำ�หนดให้พลเมืองของตนต้องได้รบั โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่าง เสมอภาคกันทุกคน อย่างไรก็ตามความเสมอภาคทางโอกาส (equality of opportunity) ก็ไม่จ�ำ เป็นจะต้องนำ�ไปสูค่ วามเสมอภาคของผลลัพธ์ (equality of outcome) เสมอไป เรายังพบเห็นคนในสังคมเก่งมาก-น้อยไม่เท่า กันแม้จะเป็นเพือ่ นร่วมห้องกัน และรัฐบาลในสังคมทุนนิยมประชาธิปไตย ก็เลือกทีจ่ ะไม่แทรกแซงให้พลเมืองทุกคน “ได้” ผลลัพธ์เท่าๆกัน เนือ่ งจาก เป็นวิธคี ดิ แบบคอมมิวนิสต์และทำ�ลายแรงจูงใจเรือ่ งการแข่งขัน สังคม ทุนนิยมประชาธิปไตยเชือ่ ว่าคนทีเ่ ก่งกว่า มีความสามารถมากกว่าก็ สมควร (deserving) ทีจ่ ะได้รบั ผลตอบแทนสูงกว่า ขณะทีค่ นทีม่ สี ติปญ ั ญา ด้อยกว่าก็จะได้รบั ค่าจ้างน้อยลงลดหลัน่ กันไป ดังนัน้ บทบาททีร่ ฐั บาล สามารถทำ�ได้คอื การจัดสรรทรัพยากรเริม่ ต้น (endowment) ไม่ให้แตก ต่างหรือเหลือ่ มล้�ำ กันมากเกินไป กล่าวคือให้พลเมืองได้ “ออกวิง่ ” บนจุด สตาร์ททีใ่ กล้เคียงกันในสนามการศึกษา
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 43
สนามการศึกษาเป็นการแข่งขันที่มีระยะเวลายาวนาน พลเมือง จำ�นวนมากใช้เวลาเรียนหนังสืออย่างน้อย 12 ปี หรือ 16 ปีหากเรียน จนถึงระดับอุดมศึกษา กินเวลากว่า 1 ใน 5 ของชั่วชีวิตคน และยังไม่ นับรวมการศึกษาระดับอนุบาลที่พ่อแม่จำ�นวนมากนิยมส่งเข้าเรียน ตั้งแต่ยังเล็กเพื่อเตรียมความพร้อมให้ได้เปรียบลูกคนอื่นๆ ช่วงเวลา 0-5 ขวบจึงเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำ�คัญที่จะมีผลให้เด็กแต่คนมี “ของ ติดตัว” มากน้อยไม่เท่ากัน มีงานวิจัยจากต่างประเทศจำ�นวนมากที่ชี้ ให้เห็นว่าช่วงเวลา 0-5 ขวบ สมองจะมีการสร้างเครือข่าย (synapse) เชื่อมโยงระหว่างส่วนต่างๆของสมอง และจะส่งผลอย่างมากต่อ พัฒนาการของสมอง ซึ่งส่งผลในระยะยาวต่อชีวิตที่เหลือของเด็กด้วย หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูและการดูแลโภชนาการที่ไม่เหมาะสมจะส่งผล ให้เรียนรู้ได้ช้า โดยเฉพาะด้านคณิตศาสตร์และภาษา ในสหรัฐอเมริกามีโครงการช่วยเหลือประชาชนในการเข้าถึง อาหารที่เพียงพอ คือโครงการคูปองอาหาร (Food Stamp) สำ�หรับ ผู้มีรายได้ต่ำ�กว่าร้อยละ 130 ของรายได้ที่เส้นความยากจน (poverty line) และมีเงินออมน้อยกว่า 2,000 ดอลลาร์ กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่ได้ รับคูปองไปเป็นเด็กที่อายุต่ำ�กว่า 17 ปี โครงการดังกล่าวส่งผลให้เด็ก ในวัยอนุบาล (kindergarten) มีคะแนนด้านการอ่านและคณิตศาสตร์ดี ขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาที่ไม่มีโครงการ สำ�หรับในประเทศไทย มีความพยายามที่จะผลักดันเรื่องโภชนาการเด็กเล็กให้เป็นวาระแห่ง ชาติ เมื่อเดือนสิงหาคมปี 2552 โดยคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนา เด็กและเยาวชนแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน การประชุมได้ เน้นย้ำ�ความสำ�คัญของโภชนาการต่อการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพเด็ก และเยาวชน โดยเสนอว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งดำ�เนินการ 3 ประการ ได้แก่ การจัดทำ�หนังสือเด็กเล็ก การส่งเสริมด้านโภชนาการ ของเด็ก และการสร้างพื้นที่สำ�หรับเด็กเพื่อใช้จัดทำ�กิจกรรมสร้างสรรค์ ต่างๆ รวมถึงยกระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในท้องถิ่น
44 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
เช่นเดียวกันกับเรื่องโภชนาการ การอ่านและทักษะทางภาษา เป็นเรื่องที่มีความเชื่อมโยงกัน เนื่องจากอาหารการกินที่มีคุณค่าเหมาะ สมจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ด้านการอ่านและภาษา เด็กจะเริ่มต้นเรียนรู้ ภาษาจากหน่วยพื้นฐานที่สุดคือระบบเสียงของภาษา (phonology) เพื่อ ฝึกฝนการแยกแยะเสียงที่แตกต่างกันระหว่างพยัญชนะต่างๆ ตามมา ด้วยความหมายของคำ� (semantic) และการเรียบเรียงคำ�ให้เป็นถ้อย ความ (syntax) โดยพัฒนาการขององค์ประกอบทั้งสามจะมีผลต่อ ทักษะการอ่านของเด็กในอนาคต นอกจากนี้ปัจจัยด้านสังคมเศรษฐกิจ (socioeconomic) ได้แก่ การศึกษา ฐานะและอาชีพของพ่อแม่ และ นโยบายของรัฐบาล เป็นปัจจัยสำ�คัญที่บ่งบอกถึงโอกาสที่เด็กจะได้ รับประสบการณ์การอ่านทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่งส่งผลต่อ ความสามารถในการอ่านของเด็ก เรายังพบว่าผู้ที่มีพื้นฐานด้านทักษะ การอ่านที่ไม่ดีตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะมีความลำ�บากใน การเรียนในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นและก้าวเข้าสู่วัยทำ�งาน แม้แต่ใน สหรัฐอเมริกา ยังมีผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาจำ�นวนไม่น้อย มีทักษะการ อ่านใกล้เคียงกับผู้เรียนระดับประถมศึกษาเท่านั้น ความสามารถในการแยกแยะเสียงต่างๆ จะเริ่มต้นตั้งแต่วัย ประมาณ 6 เดือน โดยไม่จำ�กัดภาษา และเมื่ออายุประมาณ 10 เดือน ความสามารถของเด็กจะเริ่มจำ�กัดอยู่ในภาษาแม่เป็นหลัก ดังนั้นการ จัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของเด็กจึงเป็นเรื่องสำ�คัญ การให้เด็กได้ คุ้นเคยการออกเสียงจากหลายๆ ภาษาจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ภาษาต่าง ประเทศได้เร็วเมื่อโตขึ้น ทั้งนี้มีข้อพึงระวังคือการเร่งรัดให้เด็กเข้าเรียน โรงเรียนภาษาตั้งแต่อายุยังน้อยโดยเฉพาะในชั้นก่อนอนุบาล อาจส่งผล เสียต่อการเรียนรู้ของเด็ก เนื่องจากศูนย์การเรียนรู้ที่เน้นด้านวิชาการ จะส่งผลให้เด็กมีความเครียดสูง ทำ�ลายความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก โดยศาสตราจารย์โรเบอร์ต้า มิชนิค โกลินคอฟฟ์ (Roberta Michnick Golinkoff) นักจิตวิทยาเด็ก ให้ความเห็นว่าเด็กควรเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 45
การเล่นมากกว่า แต่ข้อเสนอนี้อาจเป็นไปได้ยากหากระบบการรับเข้า โรงเรียนอนุบาล-ประถมใช้การสอบแข่งขัน ทำ�ให้พ่อแม่ต้องส่งลูกของ ตนไปเรียนเพื่อสร้างความได้เปรียบกว่าลูกคนอื่นๆ ในสนามแข่งขัน ในมิติของครอบครัว หากพ่อแม่เลือกที่จะเลี้ยงลูกรวมทั้งสอน ทักษะที่จำ�เป็นต่างๆ ด้วยตนเอง จำ�เป็นต้องอาศัยเวลา ทั้งเวลาในการ ศึกษาหาข้อมูลเรื่องการเลี้ยงเด็ก และเวลาที่ใช้เลี้ยงเด็ก อีกทั้งยังต้อง อาศัยเงินทุนอีกส่วนหนึ่งเพื่อจัดหาเครื่องไม้เครื่องมือที่จำ�เป็น อย่างไร ก็ดี การลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพตั้งแต่วัยเด็กเป็นการลงทุนที่ให้ผล ตอบแทนสูง เพราะเป็นการเตรียมการสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพใน อนาคต เราพบว่าในสังคมตะวันตกยุคหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม (post-industrial revolution) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ครอบครัวมี เวลาดูแลเอาใจใส่ดูแลบุตรกันมากขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าทางการ แพทย์ทำ�ให้อัตราการตายลดลง ครอบครัวจึงมีบุตรกันลดลงและมีเวลา ดูแลบุตรต่อคนมากขึ้น ประกอบกับทัศนคติใหม่ที่มีต่อเด็กในช่วงกลาง ทศวรรษที่ 19 ทำ�ให้เด็กไม่ต้องเข้าทำ�งานโรงงานแต่ต้องเข้าสู่ระบบ โรงเรียนแทน เปลี่ยนจากแรงงานที่ช่วยครอบครัวหาเงินกลายเป็นผู้พึ่ง พิง สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ครอบครัวที่มีฐานะดีมีความพร้อมในการเลี้ยงดู เด็กให้มีคุณภาพ ขณะที่ครอบครัวที่พ่อแม่ต้องหาเช้ากินค่ำ�ไม่มีทั้งเวลา ว่างและเงินทุนมากพอที่จะเลี้ยงดูเด็ก และไม่ได้ใช้โอกาสอย่างเต็มที่ใน ช่วงที่ลูกอายุ 0-5 ขวบในการพัฒนาศักยภาพในตัวเด็ก จะเห็นได้ว่ารายได้มีผลต่อจำ�นวนบุตรและมีผลต่อการอุทิศ เวลาให้เด็ก แม้ว่าเราจะพบเห็นครอบครัวที่มีฐานะดีจำ�นวนหนึ่งที่พ่อ แม่ไม่ค่อยดูแลลูกอย่างใกล้ชิด อาจจะจ้างคนอื่นเลี้ยงหรือใช้เงินเลี้ยง ลูก แต่ในแง่ของความพร้อมยังคงต้องยอมรับว่าครอบครัวที่มีฐานะดี กว่ามี “ความพร้อม” และ “ทางเลือก” ในการปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงลูก มากกว่า ดังนั้นรัฐบาลจึงจำ�เป็นต้องเข้ามามีบทบาทสำ�คัญทั้งในแง่ของ ประสิทธิภาพ (efficiency) โดยเพิ่มการลงทุนในเด็กที่ปัจจุบันมีการลงทุน
46 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
น้อยเกินไป (underinvestment) และในแง่ของความเป็นธรรม (equity) ในการช่วยเหลือให้ครอบครัวที่มีรายได้น้อย ที่พ่อแม่ต้องทำ�งานหนัก เพื่อหารายได้ จนไม่มีเวลามากพอที่จะตรวจสอบข้อมูลว่าโภชนาการที่ เหมาะสมกับเด็กคืออะไร เด็กในแต่ละวัยควรบริโภคอาหารที่แตกต่าง กันอย่างไร ควรสอนเด็กอ่านหนังสือเมื่อใด และสอนแบบใด รวมทั้ง จะมีวิธีการเพิ่มพูนทักษะความรู้ด้านภาษาต่างประเทศที่มีความจำ�เป็น อย่างยิ่งในยุคปัจจุบันได้อย่างไร
ข้อเสนอเชิงนโยบายที่พอจะเป็นไปได้ อาจมีหน้าตาดังนี้
• ในด้านโภชนาการ ความจริงแล้วอาหารที่มีโภชนาการดีไม่ใช่อาหาร ที่มีราคาแพง เป็นอาหารที่สามารถบริโภคได้ทั่วไป เช่น เนื้อสัตว์ ตับ ปลา นม ไข่ ผักและผลไม้ เพียงแต่บางครอบครัวอาจไม่ทราบว่าสัดส่วน โภชนาการที่เหมาะสมตามวัยคืออะไร ปัจจุบันนี้มีคู่มือโภชนาการ ทั้งวางขายและแจกฟรีจำ�นวนมาก พ่อแม่สามารถใช้อ่านแล้วนำ�ไป ใช้ประโยชน์ได้ทันที คงจะเกินความสามารถถ้ารัฐบาลจะต้องเข้าไป
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 47
กำ�หนดว่าอาหารแต่ละมื้อควรเป็นอย่างไรจึงจะเหมาะสม สิ่งที่รัฐบาล ต้องทำ�มากกว่าคือ การช่วยเหลือกลุ่มเฉพาะ (target group) ที่ยากจน อย่างรุนแรงจนไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้ อาจจะใช้นโยบายคูปองอาหาร หรือเงินโอนวิธีอื่นๆ แก่แม่และเด็กใน ครอบครัว • จัดทำ�หรือปรับปรุงศูนย์การ เรียนรู้ที่มีอยู่ให้เป็นศูนย์การ เรียนรู้ที่อาศัยการเล่นเป็นพื้น ฐาน (playing-based learning center) เนื่องจากปัจจุบันยังมี วิธีคิดแบบแยกขาดระหว่างการ เรียนกับการเล่น พื้นที่การเรียน และการเล่นจึงไม่เป็นผืนเดียวกัน การเรียนมีลักษณะแบบดั้งเดิม เน้นสื่อสารแบบทางเดียวจากครูสู่เด็ก มี มาตรฐานเดียวแต่ใช้กับเด็กทุกคนที่มีความหลากหลาย เด็กจึงรู้สึกว่า ไม่อยากเรียนและอยากเล่นมากกว่า การเรียนภาษาและการอ่านอาจ ใช้สื่อการสอนแบบทันสมัย มีภาพเคลื่อนไหว และเป็นศูนย์ที่มีพื้นที่ กิจกรรมหลากหลาย เช่น ศิลปะ และดนตรี ในขณะที่เด็กบางคนอาจ มีทักษะด้านคณิตศาสตร์ตั้งแต่อายุยังน้อยก็ควรมีการเล่นเชิงคำ�นวณ ประกอบไปด้วย นอกจากนี้ศูนย์การเรียนรู้ควรจะมีอยู่ในทุกชุมชน ช่วย เพิ่มทางเลือกของครอบครัวในวันหยุดนอกเหนือไปจากการไปห้าง สรรพสินค้า • ในโรงเรียนระบบปกติ ควรสนับสนุนทักษะการอ่านและทักษะทาง ภาษาผ่านหลายช่องทาง เช่น มุมหนังสือนอกเวลา หนังสือภาพภาษา อังกฤษทีส่ อดคล้องกับวัย สอดแทรกการใช้ภาษาอังกฤษเบือ้ งต้นผ่าน
48 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
กิจกรรมต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพือ่ ให้เด็กคุน้ เคยกับการออกเสียงภาษา อังกฤษ ในขณะทีใ่ นห้องเรียนก็ควรเริม่ จากการเรียนคำ�ศัพท์ การพูดและ สนทนา ซึง่ จะช่วยให้เด็กเข้าถึงทักษะพืน้ ฐานทางภาษา ก่อนทีจ่ ะเริม่ ฝึกฝนทักษะการอ่านจับใจความ ไวยากรณ์ และการเขียนเป็นประโยคเมือ่ เรียนในระดับทีส่ งู ขึน้ ทัง้ นีค้ วรต้องพึงระลึกไว้ดว้ ยว่า ข้อเสนอต่างๆ ข้างต้นจะเป็นไป ได้กต็ อ่ เมือ่ มีการเปลีย่ นแปลงนโยบายด้านอืน่ ไปพร้อมกัน รัฐบาลย่อม ต้องหารายได้มากขึน้ เพือ่ นำ�มาใช้จา่ ยด้านการศึกษา มีการฝึกอบรมครู (training) อย่างต่อเนือ่ งเพือ่ ให้ครูมคี วามพร้อมในการสอนรูปแบบใหม่ๆ สนับสนุนหรืออย่างน้อยทีส่ ดุ ต้องไม่ปดิ กัน้ โรงเรียนทางเลือกทีพ่ ยายาม นำ�เอาวิธกี ารเรียนการสอนแบบใหม่เข้ามา ในขณะทีค่ รอบครัวก็จะต้องไม่ คาดหวังว่าโรงเรียนหรือรัฐบาลจะดูแลลูกของตนเองได้หมดทุกมิติ เพราะ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งโภชนาการ ความสามารถในการอ่าน และการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ พ่อแม่ซง่ึ ใกล้ชดิ กับเด็กมากทีส่ ดุ ก็มสี ว่ นสำ�คัญในการ สร้างทัศนคติ และค่านิยมของเด็กได้มากกว่าสถาบันอื่น
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 49
โรงเรียน :
สถานกักกันความคิด? จงอ่านบทความต่อไปนี้แล้วทำ�แบบทดสอบท้ายบทเรียน... ลองจินตนาการกระบวนการผลิตเนือ้ บดในโรงงานอุตสาหกรรมขึน้ มาสักชิน้ สิง่ จำ�เป็นพืน้ ฐานในการผลิตเนือ้ บดดี ๆ สักชิน้ ภายใต้ระบบ อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ได้แก่ พืน้ ทีโ่ รงงานทีป่ ดิ ล้อม มีเครือ่ งจักรและ สายพานลำ�เลียง มีแรงงานและวิศวกรควบคุมดูแลกระบวนการผลิต มี การตรวจสอบคุณภาพสินค้าว่ามีคณ ุ ภาพดีหรือไม่ มีการขนส่งเนือ้ บดไป วางขายยังท้องตลาด และมีการติดฉลากรับรองมาตรฐาน สุดท้ายต้องมี การปิดป้ายราคา รอผูบ้ ริโภคมาเลือกซือ้ เพือ่ นำ�ไปประกอบอาหารต่อไป หากเปรียบเทียบโรงงานอุตสาหกรรมกับโรงเรียนแล้ว การ ศึกษาในโรงเรียนปัจจุบนั ก็ไม่ตา่ งอะไรกับการผลิตเนือ้ บดในโรงงาน อุตสาหกรรมดี ๆ สักเท่าไหร่ โรงเรียนแต่ละโรงเรียนจะคัดเลือกนักเรียน
50 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
เข้าไปในโรงเรียนเสมือนหนึง่ เป็นวัตถุดบิ นักเรียนถูกจำ�กัดให้อยูใ่ น โรงเรียนซึง่ เป็นพืน้ ทีป่ ดิ ล้อม ผ่านกระบวนการใส่เครือ่ งปรุงวิชาตามสูตร ทีม่ กี ารคิดค้นมาให้แล้ว ถูกเคลือ่ นทีไ่ ปด้วยระบบชัน้ เรียนตามอายุเสมือน หนึง่ อยูบ่ นสายพานการผลิต ผ่านการประเมินคุณภาพ (Quality Assurance - QA) และการควบคุมคุณภาพ (Quality Certification – QC) โดย ระบบการสอบไล่ในแต่ละระดับชัน้ ติดฉลากด้วยเกรด ด้วยใบปริญญา ว่าเป็นสินค้ารูปแบบใด แล้วนำ�ไป “วางขาย” ในตลาดแรงงาน สุดแล้วแต่ นายจ้างในตลาดแรงงานจะมาเลือกซือ้ เพือ่ เป็นปัจจัยการผลิตในสายพาน อุตสาหกรรมของสินค้าตัวอืน่ ต่อไป เป็นเช่นนีไ้ ม่รจู้ บ การจัดการแบบโรงงานอุตสาหกรรมของโรงเรียนนัน้ ปรากฏ อยูใ่ นหลายรูปแบบ ทัง้ ในสถาปัตยกรรม กิจกรรม และวัฒนธรรม ของโรงเรียน เพือ่ ให้โรงเรียนมีการควบคุมทีส่ มบูรณ์แบบเหมือนการผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียนจะต้องมีการจัดการและควบคุมในหลาย มิตดิ ว้ ยกัน โรงเรียนมีการจัดการพืน้ ที่ โดยนักเรียนจะต้องอยูใ่ นรัว้ โรงเรียน ต้องทำ�กิจกรรมหน้าเสาธงก่อนขึน้ ชัน้ เรียน ห้องเรียนถูกซอยย่อยเป็นห้อง สำ�หรับนักเรียนแต่ละระดับชั้น มีห้องสำ�หรับการทดลอง มีห้องสำ�หรับ การออกกำ�ลังกาย มีพน้ื ทีส่ �ำ หรับ “เล่น นักเรียนถูกกำ�หนดว่าจะต้อง เคลือ่ นย้ายตัวเองจากไหนไปไหน ในช่วงเวลาใด โรงเรียนมีการจัดการ เวลา แปดโมงเช้าต้องเข้าแถวเคารพธงชาติ แล้วเข้าเรียนตามตารางเวลาที่ กำ�หนด พักเทีย่ งกินข้าวเทีย่ งทีโ่ รงอาหาร ตกเย็นกลับบ้าน (ซึง่ มักจะเป็น เวลาทีเ่ ด็ก ๆ ชืน่ ชอบมากกว่าเวลาเรียนในโรงเรียน) โรงเรียนมีอ�ำ นาจใน การจัดการร่างกาย โรงเรียนสามารถเข้ามากำ�หนดเครือ่ งแบบทีร่ กั เรียน สวมใส่ เพือ่ สร้างความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันของนักเรียน นักเรียนต้อง ตัดผมตาม “ระเบียบ” ทีก่ �ำ หนด เพือ่ ให้งา่ ยต่อการควบคุมของอาจารย์ หากทำ�ผิดระเบียบทีว่ างไว้กจ็ ะถูกลงโทษ นอกจากนัน้ โรงเรียน (โดย เฉพาะโรงเรียนในประเทศไทย) ยังมีการจัดการอำ�นาจและชนชัน้ มี การแบ่งรุน่ พีร่ นุ่ น้อง มีการแบ่งสรรอำ�นาจและหน้าที่ของครู ผู้บริหาร
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 51
นักเรียน และบุคลากรอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการบอกนักเรียนโดยนัยว่า ควรจะ ‘ไหว้’ และ ‘ไม่ไหว้’ ใครบ้าง หากเห็นภาพเหล่านีแ้ ล้ว โรงเรียนในปัจจุบนั ก็ไม่ได้มสี ภาพที่ แตกต่างจากโรงงานอุตสาหกรรมทีเ่ ปรียบเสมือนคุกเลยแม้แต่นอ้ ย ซึง่ นอกจากจะกักขังร่างกายแล้ว ‘ยังกักขังความคิด’ อีกด้วย การจัดการและกักขังความรูน้ น้ั โรงเรียนและสังคมบอก สิง่ ที่ “ควรชอบ” และ “ควรสนใจ” มาให้เป็นสูตรสำ�เร็จ โรงเรียน ประถมและมัธยมสอนและย้�ำ เสมอว่าอะไรทีน่ กั เรียน “ควร” ชอบ ผ่าน ระบบหน่วยกิต เช่น โรงเรียนกำ�หนดวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นวิชาบังคับ นัน้ หมายความว่านักเรียนควรชอบวิชาคณิตศาสตร์และ วิชาวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชาดนตรีหรือศิลปะ เนือ่ งจากการให้หน่วยกิต มากกว่า ย่อมส่งผลกระทบต่อ GPA ของนักเรียนมากกว่า การจัดการคุณภาพด้วยระบบเกรดและใบปริญญา ไม่ตา่ ง อะไรกันกับการบรรจุหบี ห่อและการติดราคาสินค้า ในระบบการ ศึกษาสมัยใหม่ การประเมินผลนักเรียนแต่ละคนว่าผ่าน “มาตรฐาน ทีต่ ง้ั ไว้” เป็นเรือ่ งสำ�คัญมาก คะแนนทีส่ งู กว่า เกรดทีส่ งู กว่า หรือใบ ปริญญาจากสถาบันทีด่ กี ว่า ทีม่ ชี อ่ื เสียงกว่า ถูกนำ�มาใช้วดั คุณภาพและ คัดกรองนักเรียนนักศึกษา หากนำ�มาเปรียบเทียบกับการผลิตในโรงงาน อุตสาหกรรม ย่อมไม่แตกต่างจากการติดฉลากรับรองมาตรฐาน หรือ บรรจุในหีบห่อทีส่ วยงาม พร้อมนำ�ไปวางขายในตลาดแรงงานเพือ่ ให้ผู้ บริโภคอย่างนายจ้างได้เลือกซือ้ ต่อไป การศึกษาของบ้านเราเป็นระบบทีต่ อ้ งจัดการกับคนจำ�นวน มาก วิธใี ห้การศึกษาจึงต้องทำ�เป็นระบบเช่นเดียวกันกับระบบ อุตสาหกรรม การสอนต้องมีมาตรฐาน การประเมินผลและการสอบต้อง สามารถวัดผลเป็นตัวเลขได้ รวมถึงสามารถแยกแยะและระบุ “คนฉลาด” ออกจากคนหมูม่ ากได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์และรวดเร็ว
52 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
เมือ่ การประเมินผลต้องมีความรวดเร็ว แต่ดว้ ยข้อจำ�กัดด้าน ทรัพยากรทัง้ บุคลากร เงิน และเวลา จึงนำ�มาซึง่ วิธกี ารเรียนการสอน รวมถึงหลักสูตรทีถ่ กู ออกแบบมาเพือ่ ให้รองรับกับข้อจำ�กัดดังกล่าว อย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ ผูเ้ รียนจึงต้องเรียนในแบบทีผ่ สู้ อนหรือผูอ้ อกแบบ หลักสูตรต้องการ และเพือ่ ทีจ่ ะสอบให้ได้คะแนนดี ๆ ผูเ้ รียนจึงต้องตอบ คำ�ถามในแบบทีผ่ อู้ อกข้อสอบต้องการ ไม่สามารถตอบนอกเหนือจากที่ สอน หรือมีความคิดเห็นทีแ่ ตกต่างไปจากทีส่ อนได้ ในหลายๆ ครัง้ ความ คิดทีแ่ ตกต่างจะถูกต้อนกลับเข้ามาสูค่ วามคิดแบบทีผ่ สู้ อนต้องการ เสมือน กับสินค้าทีห่ ล่นลงจากสายพาน แล้วถูกแขนกลของเครือ่ งจักรสุดซับซ้อน หยิบขึน้ มา วางบนสายพานใหม่ แล้วไหลไปในทางทีถ่ กู ทีค่ วร ตัวอย่างทีเ่ ห็นได้ชดั คือวัฒนธรรม “ห้ามตอบผิด” ซึง่ เป็น เสมือนคุกทีม่ องไม่เห็น กักขังความคิดนักเรียนไทย ผูเ้ ขียนเชือ่ ว่า นักเรียนไทยถูกลงโทษจากการตอบคำ�ถามผิดมาแล้วทุกคน ไม่วา่ จะ เป็นการถูกลงโทษ การตัดคะแนน ถูกครูตี หรือแม้แต่ถกู เพือ่ น ๆ ในห้อง หัวเราะเยาะ ความคิดเห็นหรือตรรกะทีไ่ ม่เหมือนคนส่วนใหญ่ และแตก ต่างจาก “คำ�ตอบทีถ่ กู ต้อง” กลายเป็นสิง่ แปลกแยกในห้องเรียน มรดก ความกลัวการตอบผิดทีถ่ กู ปลูกฝังตัง้ แต่สมัยเด็ก ๆ ทำ�ให้ไม่นา่ แปลกใจ ทีจ่ ะยังเห็นผูใ้ หญ่หลายๆ คนนัง่ นิง่ เงียบในห้องประชุม ไม่แสดงความคิด เห็นทีแ่ ตกต่างจากกว่าความคิดของคนส่วนใหญ่ ซึง่ สิง่ เหล่านีย้ ง่ิ เป็นการ สร้างความเข้มแข็งให้กบั ระบบการผลิตบัณฑิตตามสายพาน แม้ในปัจจุบนั คนส่วนใหญ่กย็ งั คงไม่มกี ล้าคิด ไม่กล้าตัง้ คำ�ถามหรือท้าทายกับระบบ แบบนีส้ กั เท่าไหร่ ความคิดของเราถูกจัดการโดยหนังสือเรียน แบบเรียน ชุด นักเรียน อำ�นาจครู การถูกลงโทษ รัว้ โรงเรียน และเสียงออด โดยที่ เราไม่รสู้ กึ ตัว ปัญหาของระบบเช่นว่านีอ้ ยูท่ ค่ี วามคิดแบบกระบวนการ การผลิตแบบโรงงานอุตสาหกรรมของการศึกษาสมัยใหม่ ซึง่ เป็นการผลิต คนเพือ่ ป้อนตลาดแรงงาน ความคิดของนักเรียนทีอ่ ยูภ่ ายใต้การควบคุม
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 53
เช่นนีเ้ องทีเ่ ป็นตัวปิดกัน้ การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ เสมือนเป็นก ระบวนการสร้างแม่น�ำ้ กระแสหลักทีพ่ ยายามขัดขวางการไหลของแม่น�ำ้ ลำ�คลองกระแสย่อย โรงเรียนกลายเป็นสถานกักกันความคิดทีข่ ดั ขวาง กระบวนการคิดริเริม่ สร้างสรรค์ของคน ซึง่ เป็นค่าเสียโอกาสทีส่ งู ยิง่ ของสังคม **********************************
ต่อไปนีเ้ ป็นแบบทดสอบท้ายบทเรียน “จงวาดรูปต้นไม้หนึง่ ต้น บ้านหนึง่ หลัง ภูเขา และพระอาทิตย์” จับเวลา 1 นาที... เริม่ ครับ . . หมดเวลาครับ... ถ้าผมมีความสามารถทีจ่ ะเก็บรูปภาพแรกทีแ่ วบเข้ามาในหัวของ ทุกคนออกมาได้ ผมเชือ่ ว่ากว่าร้อยละ 90 จะมีภาพเดียวกันในหัว... คือ ภาพนีค้ รับ
นีแ่ หล่ะครับ... ผลพวงของการผลิตนักเรียนในโรงงานอุตสาหกรรมทีเ่ รียกว่า “โรงเรียน”
54 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
Credit ร่วมเขียน อิสริยะ สัตกุลพิบูลย์ อภิชญา โออินทร์ ชานนทร์ เตชะสุนทรวัฒน์ คุปต์ พันธ์หินกอง วรัญญู เสนาสุ แบ๊งค์ งามอรุณโชติ พัชรวีร์ พรหมวงศ์ พิชญุตม์ ฤกษ์ศุภสมพล บรรณาธิการ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ ศิลปกรรมและรูปเล่ม จิตรลดา ปรีชาหาญ
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 55
บันทึก
........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ....................................................................................................................... ....................................................................................................................... ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ .........................................................................................................................
56 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
บันทึก
........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ....................................................................................................................... ....................................................................................................................... ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ ........................................................................................................................ .........................................................................................................................
คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย” | 57
58 | คู่มือฉบับพกพา “ปฏิรูปการศึกษาไทย”
Website : www.youthreform.or.th Facebook : www.facebook.com/youthreform Twitter : http://twitter.com/youthreform