แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21

Page 1


แนวโน้มการบริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช


ที่ปรึกษา ผศ.ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่

บรรณาธิการ

ผศ.ดร.ประภาศ ปานเจี้ยง คบณดีคณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์

ผู้ช่วยบรรณาธิการ นางสาวสุพิศตรา อภิชาโต ผู้ช่วยอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์

กองบรรณาธิการ อาจารย์อุบลรัตน์ ศรีวิเชียรอำ�ไพ อาจารย์ยุวัลดา ชูรักษ์ นางสุภาทิพย์ สุวรรณรัตน์ นางสาวธาริตา บัวเมือง

สำ�นักงาน สำ�นักงานเลขานุการคณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 125/502 ถนนพลพิชัย อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทรศัพท์ 0-7420-0357-358


แนวโน้มการบริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 การบรรยายพิเศษของ

ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่


คำ�นำ� มหาวิทยาลัยหาดใหญ่รสู้ กึ เป็นเกียรติและภาคภูมใิ จอย่างยิง่ ที่ ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช ให้เกียรติรับมาบรรยายพิเศษ หัวข้อแนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามที่นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 2 ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ติดต่อเรียนเชิญ ถือเป็นความเมตตาอย่างสูงยิง่ ทีท่ า่ นมีให้แก่มหาวิทยาลัย หาดใหญ่ กระผมดำ � ริ ใ ห้ ค ณะศึ ก ษาศาสตร์ แ ละศิ ล ปศาสตร์ จั ด พิ ม พ์ คำ � บรรยายพิ เ ศษของ ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่สาระความรู้ที่ท่านบรรยาย เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาของประเทศไทย กระผมมัน่ ใจว่าการร่วมแรงร่วมใจกันทางด้านการศึกษา เพือ่ ให้เยาวชนของเรามีคณ ุ ภาพ เป็นการช่วยกันพัฒนาชาติอย่างตรงและทรงประสิทธิภาพที่สุด ขอขอบพระคุณศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช อีกครั้งหนึ่งอย่างสำ�นึกในความ เมตตากรุณา

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์) อธิการมหาวิทยาลัยหาดใหญ่


แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 รวดเร็ว และรุนแรง จนต้องมีการตั้งตัว ปรับตัวทาง ด้านการศึกษา รายละเอียดที่จะพูดจะเป็นประโยชน์ อาจจะเผยแพร่แนวความคิดออกไปอย่าง กว้างขวาง ก่อนที่จะพูดถึงรายละเอียดขอเรียนว่าผมไม่ได้เรียนมาทางด้านการศึกษา พื้นฐาน ด้านการศึกษาผมไม่มี แต่จะพูดอย่างนั้นก็ ไม่ถูกเสียทีเดียวเพราะผมเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และสนใจเรื่องการศึกษา หลัง ๆ สถาบันการศึกษาได้มกี ารเชิญผมไปพูดเรือ่ งการศึกษาค่อนข้างเยอะ เพราะอ่าน หนังสือเรื่องการศึกษาเยอะ แล้วมาพิศวงว่าทำ�ไมของไทยเราไม่ปรับตัวเช่นนั้น เนื่องจากโลก สมัยใหม่ตอ้ งสือ่ สารสาธารณะ ทำ�ตัวให้เป็นประโยชน์ตอ่ สาธารณะ ในเมือ่ อ่านหนังสือแล้วก็ลอง สรุปขึ้นบล๊อกดู ทำ�ทุกวันคนก็บอกว่าเข้าท่า แล้วรวมเล่มทำ�หนังสือเลยออกมาเป็นสื่อเพื่อเผย แพร่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ประเด็นของการที่ต้องบริหารการศึกษา โดยคำ�นึงถึงการเป็นศตวรรษที่ 21 คือโลก สมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรง การศึกษาต้องคำ�นึงถึงประเด็นนี้ และเตรียมคนให้ เผชิญกับสภาพนัน้ และยิง่ กว่าทีต่ อ้ งทำ�แบบนัน้ คือต้องทำ�การเข้าไปเป็นผูด้ �ำ เนินการเปลีย่ นแปลง ซะเอง การเปลีย่ นแปลงทีร่ วดเร็วและรุนแรงนัน้ จะทำ�ให้มนุษย์เราต้องเตรียมไปเผชิญกับสภาพนัน้ การเตรียมไปเผชิญกับสภาพนั้น คือการศึกษา การศึกษาในศตวรรษที่ 21 จึงไม่เหมือนการ ศึกษาในศตวรรษที่ 19 หรือ 18 ถามว่า มันต่างกันอย่างไร การศึกษาในศตวรรษที่ 20 กับ 21 การศึกษาในศตวรรษที่ 20 นั้น สร้างคนไปทำ�งานตามรูปแบบที่กำ�หนดไว้ตายตัว มีแบบแผน กำ�หนดไว้ชัดเจน นั้นคือโลกสมัยเก่า โลกสมัยใหม่นั้น สิ่งเดิมก็ยังต้องมีเหมือนกันแต่ต้องมี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงวิธีการต่าง ๆ ได้ จะเน้นที่การตั้งคำ�ถามไม่ใช่เน้นที่การ ตอบคำ�ถาม แต่ที่พูดแบบนี้ไม่ได้ ให้เปลี่ยนแปลงไปร้อยทั้งร้อยแต่ต้องค่อย ๆ เปลี่ยน คนที่ตอบ คำ�ถามเก่งนีใ่ ช้ ได้ แต่คนทีเ่ ก่งกว่าคือคนทีต่ ง้ั คำ�ถาม แล้วก็หาทางตอบคำ�ถามเหล่านัน้ ด้วยหลาย คำ�ตอบ นีค่ อื เป็นหน้าทีข่ องคนในวงการศึกษา ทำ�ให้เกิดบรรยากาศของการเรียนแบบตัง้ คำ�ถาม ให้เจอคำ�ตอบหลาย ๆ คำ�ตอบ และดีที่สุดคือการหาคำ�ตอบโดยการลงมือปฏิบัติจริง สมัยก่อนนั้นการศึกษาเป็นเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ สมัยใหม่นี้ นักเรียนระดับ ประถมหรืออนุบาล จะเรียนโดยวิธกี ารสร้างความรูข้ น้ึ ภายในกรอบฐานปฏิบตั หิ ลาย ๆ อย่าง นีค่ อื การเปลี่ยนแปลง สมัยก่อนนั้นเราเรียนเพื่อความรู้ สมัยนี้ต้องให้ ได้ทักษะ ทำ�ได้ปฏิบัติได้ ความรู้ อย่างเดียวไม่พอ ต้องพัฒนารอบด้าน สมัยก่อนความรู้เป็นสัจธรรม เป็นสิ่งที่มั่นคง แน่นอน

แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 | ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช

5


ตายตัว ในศตวรรษที่ 21 ความรู้ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพราะจะมีความรู้ ใหม่ ๆ ที่จริงกว่าเดิม สมัยก่อนเรียนจากความรู้ที่ครูสอน แต่สมัยใหม่เรียนแบบปฏิบัติการเป็นหลัก สมัยก่อนที่เรียน สำ�คัญทีส่ ดุ คือโรงเรียนและมหาวิทยาลัย แต่ทเ่ี รียนสมัยใหม่ทเ่ี รียนทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ คือสถานทีท่ �ำ งาน หมายความว่าการศึกษาในศตวรรษที่ 21 นั้น เป้าหมายมันเกิดจากศึกษาในศตวรรษ ที่ 20 ศตวรรษที่ 19 และ 18 การเรียนให้ ได้ทั้งความรู้ และทักษะ ทักษะสำ�คัญกว่าความรู้ที่ สำ�คัญให้ ได้อุปนิสัย คือ เป็นคนซื่อสัตย์ สู้งาน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เข้าใจคนอื่น ทำ�งาน ร่วมกับคนอื่นได้ สื่อสารเป็น การเรียนต้องเรียนให้รู้จริง (Mastery learning) ผู้เรียนต้องอยู่ ในใจตลอดเวลาว่าเรียนเพื่ออนาคตของตนเอง (Motivation) ไม่ใช่เรียนเพื่อสอบ การเรียนเพื่อ สอบเป็นจุดบอดของการศึกษาไทยจนถึงปัจจุบัน คือส่วนใหญ่สอนเพื่อสอบ ติวเพื่อ O-net เป้าหมายอีกอันคือ เรียนโดยลงมือทำ�และคิด ไม่ใช่เรียนแบบต้องจำ� หรือตำ�ราบอก ต้องเรียน จากสัมผัสจริงของตนเองจะนำ�ไปสู่การเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การสอนจะไม่เน้นความรู้ สำ�เร็จรูป เพราะความรู้สำ�เร็จรูปอีกไม่นานจะเปลี่ยน และการเรียนสำ�เร็จรูปซึ่งจะนำ�ไปสู่การ ท่องจำ� ทำ�ให้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่เกิดที่สำ�คัญคือไม่เชื่อในสัมผัสของตนเอง หรือไม่ฝึก ตนเองให้รู้จากสัมผัสตรงของตนเอง ประเทศที่มีการศึกษาดีจะใช้นโยบาย สอนน้อย เรียนรู้มาก (Teach less Learn More) เช่น ประเทศสิงคโปร์ซึ่งต่อไปนี้จะเหมือนเดิมอีกไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่การ ศึกษาเขาก็ดีอยู่แล้ว สรุปเป้าหมายไม่ใช่แค่รู้วิชา แต่ต้องเรียนหลาย ๆ ด้าน ไปพร้อมกัน เรียนหลายด้าน มองได้หลายแบบ ตามนี้เป็นวิธีมองตามแบบ Chickering’s Seven Vectors เวลาผู้เรียนเรียน ครูต้องหาทางพัฒนาให้เกิดการพัฒนาการ 7 ด้าน คือ

Chickering’s Seven Vectors สมรรถนะ (Competence) จัดการอารมณ์ (Emotion management)

ปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น (Interpersonal Relationship) อัตลักษณ์ (Identity)

เป็นตัวของตัวเองและร่วมกับผู้อื่น (Autonomy & Interdependent)

ความมั่นคงต่อคุณธรรม (Integrity)

เป้าหมายในชีวิต (Purpose)

แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 | ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช

6


จุดที่สำ�คัญคือ เมืองไทยเราอ่อนแอที่การศึกษาไม่นำ�ไปสู่เป้าหมายในชีวิต เด็กจะ เลื่อนลอย พอโตเด็กจะไร้เป้าหมาย ไม่ได้พัฒนาอัตลักษณ์ตัวตน มันเป็นสาเหตุทำ�ให้เด็กเกิด ปัญหา เด็กแว้น สก๊อย ติดยา ตั้งครรค์ วัยรุ่น และพฤติกรรมอื่น ๆ ของวัยรุ่นที่ไม่พึงประสงค์ เพราะเด็กไม่ได้รบั การพัฒนาจากจุดนี้ ทัง้ นีก้ ารศึกษาซึง่ รวมทัง้ การเลีย้ งดูของไทยเราหย่อนยาน ในการที่จะมองว่าต้องเป็นตัวพัฒนา 7 ประการข้างต้นไปพร้อมกับการเรียนวิชา เด็กของเรา จึงอยูใ่ นช่วงลำ�บากทีจ่ ะโตขึน้ มาในช่วงของการเป็นผู้ใหญ่ สับสนเพราะไม่ได้รบั การฝึกให้มเี ป้าหมาย ในชีวิตตามอัตลักษณ์ เป้าหมายที่สำ�คัญคือ ศิษย์ทั้งชั้นต้องเรียนรู้แบบรู้จริงทั้งชั้น ห้องเรียนที่ ดีเด็กเรียนแล้วต้องรู้จริงทุกคน ไม่ใช่เพียงบางคน ครูต้องมีวิธีประเมิน การศึกษาไทยเด็กรู้จริงมี แต่เพียงแค่ 10 % ของชั้น เฉพาะเด็กกลุ่มเดียวอีก 90 % ถูกทอดทิ้ง และค่อย ๆ พอกพูนความ รู้ ไม่จริงไปเรื่อย ๆ พอถึงระดับหนึ่ง เพียงไม่กี่ปี พอกลุ่มนี้เข้าวัยรุ่นก็จะหลุดออกจากการศึกษา ทุกอย่างจะไปทับถมและแสดงออกปัญหาช่วงวัยรุ่น อีกเป้าหมายทีส่ �ำ คัญเรียนรูว้ ธิ เี รียนเพือ่ นำ�ไปสูว่ ธิ เี รียนตลอดชีวติ วิธเี รียนไม่สามารถ เรียนได้โดยครูสอนแบบถ่ายทอดวิชา แต่เขาจะซึมซับพัฒนาวิธเี รียนไปเองโดยการเรียนแบบตัวเอง เป็นผู้ลงมือทำ� และต้องเรียนให้บรรลุ (Transformative Learning) เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงตัวความรู้ และในเชิงเจตคติ ในเชิงจิตใจลึก ๆ ภายใน ทั้งความเข้าใจโลก ภายนอกตัว และโลกภายในตัว การเรียนสู่ Transformative Learning สิ่งหนึ่งที่จะเกิดคือ เกิด คุณสมบัตใิ นการเป็นผูน้ �ำ การเปลีย่ นแปลง (Change Agent) จะค่อย ๆ เกิดขึน้ ถ้าไม่บรรลุเช่นนี้ เมือ่ เขาเติบโตเป็นผู้ ใหญ่ ออกไปจากสถาบันการศึกษาแล้ว เขาจะเป็นคนทีห่ ยุดนิง่ อยูก่ บั โลกทัศน์ เก่า ๆ พอโลกเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ก็จะตามไม่ทัน และจะเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้ถูก กระทำ� ถ้าการศึกษาจะทำ�ให้ทุกคนเติบโตไปเป็นผู้นำ�ในการเปลี่ยนแปลง ผมเชื่อว่าการศึกษาจะ ทำ�ให้ทุกคนเป็นผู้นำ�ในการเปลี่ยนแปลง ใครทำ�อะไรก็ ไปร่วม การเรียนรู้สมัยใหม่ต้องไม่ใช่แค่ ความรู้ต้องได้ทักษะนิสัย เจตคติเป็นกระบวนใหญ่ เรียนรู้ทั้งภายนอก และภายใน รู้จักควบคุม ตัวเอง วัยรุ่นจะใช้เยอะ มนุษย์เราต้องรู้จักควบคุมตัวเอง ตัวเป้าหมายคือ พัฒนาการของผู้เรียน ไม่ใช่สอนครบ การศึกษาไทยคือครูตอ้ งหาทางให้สอนครบให้ ได้ สอนครบไม่ส�ำ คัญเท่ากับลูกศิษย์ เรียนแล้วได้ Learning Outcome ครูต้องทำ�ใจว่าหลายกรณีไม่ต้องสอนลูกศิษย์เรียนรู้เองได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าครูไม่เอาใจใส่ ต้องมีวิธีถาม พัฒนาครบทุกด้าน คือ พหุปัญญา ซึ่ง Howard Gardner ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ Five Minds for the Future เป็นการตีความ เรื่องการเอาใจใส่จริง ๆ เป็นอย่างไร เรียนให้ครบหลายด้าน ถ้าเรียกให้ทันสมัยที่สุด คือ ทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 (21 century skills) ทั้งหมดนี้บรรลุได้โดยนักเรียน นักเรียนเป็นผู้ลงมือ ปฏิบัติเอง เป็นผู้งอกงาม สิ่งเหล่านั้นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้ทำ�ให้งอกงาม นี่คือหัวใจ การบริหารต้อง

แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 | ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช

7


บริหารให้ผู้เรียนเป็นผู้ทำ� เพื่อให้ ผูเ้ รียนงอกงามด้วยตนเอง ตัวอาจารย์ สถาบันเป็นผูส้ ร้างบรรยากาศ อำ�นวย ความสะดวกเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย บทบาทของครู อ าจารย์ จึ ง เปลี่ ย น ไป คือ ไม่ถา่ ยทอดความรู้ แต่จะสร้าง แรงบันดาลใจ มีทักษะในการสร้าง แรงบันดาลใจ สำ�คัญคือ ของตนเอง ตืน่ ตัวอยูต่ ลอดเวลา เห็นคุณค่าของ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เผชิญ อันนี้ก็จะ เป็นนิสัยติดต่อไปยังลูกศิษย์ ลูกศิษย์ก็จะตื่นตัว เราต้องตั้งเป้าว่าในช่วงหนึ่งปีเราจะบรรลุอะไร ช่วยกันทำ�ให้บรรลุ เราจะต้องบอกลูกศิษย์วา่ ครูไม่สามารถอุม้ เธอไปถึงจุดหมายปลายทางได้ คนที่ ไปถึงจุดหมายคือตัวเธอเอง เพียงแต่ครูจะคอยชีแ้ นะว่าเดินอย่างไร เมือ่ ตัง้ เป้าหมายแล้วก็ออกแบบ โจทย์ และครูคอยตั้งคำ�ถาม หน้าที่ครูไม่ใช่เป็นผู้ตอบ แต่ต้องตั้งคำ�ถามให้ลูกศิษย์คอยตอบ ตัวเองได้ และใช้การประเมินเพื่อเอาผลการประเมินเพื่อที่จะเอาผลนั้นป้อนกลับ กับตัวลูกศิษย์ อีกทีหนึ่ง เพื่อให้เขามุมานะมองเห็นคุณค่าในอนาคตเพิ่มขึ้นอีก สุดท้ายก็ประเมินผลสัมฤทธิ์ อีกครั้งหนึ่งว่าสิ่งที่เราอยากได้คือผลลัพธ์การเรียนรู้แบบไหน ครูต้องจัดหาเครื่องอำ�นวยความ สะดวกในการเรียนรู้ การเรียนรูส้ มัยใหม่คอื ลงมือปฏิบตั ิ ครูตอ้ งหาสถานทีฝ่ กึ ปฏิบตั ใิ ห้เหมาะสม เช่น สถานประกอบการ ชุมชน ครูต้องทำ�หน้าที่เรียนรู้ทักษะการทำ�หน้าที่ครูตลอดชีวิต เรียน จากในห้องเรียนนั้นเอง อย่างน้อยห้องเรียนต้องเป็นที่เรียนของคน 3 กลุ่ม คือ ครู นักเรียน และ ผู้บริหาร จะได้จัดอำ�นวยความสะดวกได้ ครูต้องร่วมเรียนรู้กับเพื่อนครู เรียกว่า (PLC – Professional Learning Community) ครูจะต้องไม่โดดเดี่ยวในการทำ�งาน ต้องทำ�งานเป็นทีม และเรียนรู้กันเป็นทีม ซึ่งเน้นย้ำ�ว่าครูต้องไม่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้สำ�เร็จรูป เพราะผลการวิจัย ทางด้านการเรียนรู้บอกว่าวิธีคิดแบบเอาความรู้สำ�เร็จรูปที่นำ�ไปยัดใส่สมองไม่ใช่กลไกการ เรียนรู้ การเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้นเองภายในสมองและร่างกายของคนเรียน ต้องเป็นวิธีที่ช่วยให้ เขางอกงามความรู้ขึ้นเอง แต่ครูจะช่วยถาม การถาม คือ สอนสะท้อนคิด เป็นคำ�ของอาจารย์ ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Herbert A. Simon ได้เขียนและโพสเนื้อหา ในหนังสือ How Learning works ว่าการ เรียนรู้เป็นผลของการลงมือทำ� และการคิดของนักเรียนเท่านั้น ครูช่วยให้เรียนรู้ ได้โดยการเข้าไป จัดการสิ่งที่นักเรียนปฏิบัติและคิด ทฤษฎี Adult Learning ทฤษฏีการเรียนรู้ของผู้ ใหญ่ เริ่มต้น ที่ประสบการณ์ตรง (Concrete Experience) แล้วในระหว่างที่มีประสบการณ์ตรงมีการสังเกต แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 | ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช

8


แบบเชิงลึก (Reflective Observation) เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพว่าเกิดอะไรขึ้น จากของจริง เอา มาทำ�ให้เกิดเป็นหลักการเชิงนามธรรม (Abstract Conceptualization) และนำ�หลักการของ ตนเองไปทดลองในบริบทเดิมหรือบริบทใหม่ (Active Experimentation) วนเป็นวงจรแบบนีเ้ รือ่ ย ก็จะมีความรู้เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้บรรยายคิดว่าทั้งเด็กและผู้ ใหญ่ก็มีการเรียนรู้แบบเดียวกัน แต่เด็กจะ ต้องการครูเป็นผู้ช่วย โดยการช่วยคิดโจทย์ ตั้งคำ�ถาม ชวนคุย ช่วยทำ�ให้การเรียนง่ายขึ้น นี่คือหน้าที่ครู เพราะฉะนั้นการจัดการเรียนรู้ที่แท้จริง ต้องเป็นแบบ Constructionism คือ ผู้เรียนต้องทำ�อะไรบางอย่าง สร้างความรู้ขึ้นภายในตน คือเรียน Active Learning เน้นการ เรียนเป็นทีม โดยครูตั้งโจทย์ หรือจะให้ดีคือครูนักเรียนช่วยกันตั้งโจทย์ ที่สำ�คัญคือนักเรียนช่วย กันค้นหาคำ�ตอบหลายคำ�ตอบ การศึกษาที่ผิดพลาดคือการตอบคำ�ถามที่ครูมีคำ�ตอบอยู่แล้ว แล้วเด็กจะหาคำ�ตอบได้และค่อยเรียนรู้ว่าคำ�ตอบใดเหมาะสมกับบริบทใด หน้าที่ครูคือต้องทำ� AAR (After Action Review) คือหลังทำ�กิจกรรมแล้วหลายคน ได้ความรู้เยอะจากการทำ�กิจกรรม ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้มากมาย กระบวนการนี้เรียกว่า ทบทวนไตร่ตรอง / โยนิโสมนสิการ ทั้งหมดนี้คือ เมื่อปฏิบัติแล้วต้องทำ�ความเข้าใจทฤษฎี ทำ�ให้ เกิดการเรียนรู้จริง ในกระบวนการทั้งหมดทักษะที่สำ�คัญของครูคือครูต้องเน้นตั้งคำ�ถาม ไม่ใช่ ให้คำ�ตอบ สรุปเป้าหมายของการเรียนรู้ของการศึกษาศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่แค่รู้วิชา ไม่ใช่สอน เพื่อสอบ ไม่ใช่แค่เรียนรู้ แต่เน้นการเรียนที่ปฏิบัติได้ เอาความรู้ ไปใช้เป็น มีทักษะ ต่อยอดสร้าง ความรูเ้ องได้ ได้ทง้ั วิชาและอุปนิสยั (Characters) มีหนังสือเล่มหนึง่ ชือ่ How Children Succeed แปลชื่อเป็นภาษาไทยว่า “เลี้ยงให้รุ่ง” มีรายละเอียดชัดเจนให้เห็นว่าลักษณะนิสัยหรืออุปนิสัย ความมุมานะ อดทนรอเพื่อสิ่งที่ดีกว่าได้ การควบคุมตนเอง มีวินัยในตนเอง สำ�นึกผิดชอบชั่วดี มีความรับผิดชอบ มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความมั่นใจในตนเอง มีความขยันหมั่นเพียร กระตือรือร้น เห็นอกเห็นใจคนอื่น ส่วนนี้คืออุปนิสัย ส่วนนี้สำ�คัญกว่าเรียนหนังสืออีก เพราะ ฉะนั้นการศึกษาต้องเอาใจใส่สิ่งนี้ พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ด้วย แต่ที่ร้ายคือสังคม ซึ่งโดยทั่วไปสังคม กลับทำ�ลาย วิธกี ารสอนแบบถ่ายทอดความรูอ้ ย่างเดียวเป็นการทำ�ลาย ไม่สามารถช่วยได้ ต้อง เรียนโดยลงมือปฏิบัติ แต่ครูต้องช่วยตั้งคำ�ถาม เช่น ประโยชน์ของการซื่อสัตย์เป็นอย่างไร หรือ เรื่องเล่าของรุ่นพี่เป็นอย่างไร มีเรื่องเล่าที่ดี สร้างแรงบันดาลใจ จึงสามารถที่จะสร้างต้นทุนชีวิต ให้เขาออกไปมีชีวิตที่ดีได้ด้วยตัวเอง อุปนิสัยส่วนหนึ่งมาจากการยับยั้งชั่งใจ การมีสติ ไม่ถูก กระตุน้ ด้วยแรงผลักดันบางอย่างทัง้ ภายนอกและภายใน แรงผลักดันของเด็กวัยรุน่ คือออร์โมน ทัง้ ผู้หญิงและผู้ชาย เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ แต่ถ้าเตรียมเขาไว้ ให้ดีก็จะยับยั้งชั่งใจได้ การ ยับยั้งชั่งใจเป็นการฝึกเพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจได้ ซึ่งการศึกษาต้องเอาใจใส่ ทั้งหมดเป็นการพูด ถึงการเรียนรู้ ในสมัยศตวรรษที่ 21 ประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 คือ Demography แก่ก่อนรวย คนวัยทำ�งานจำ�นวนน้อยเลี้ยงคนแก่จำ�นวนมาก สังคมเมือง (Urbanization) ครอบครัวเดี่ยว แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 | ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช

9


(Nuclear Family) ใช้จ่ายเกินตัว ใช้เงินของอนาคต ทั้งหมดนี้คือการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย ในศตวรรษที่ 21 วิธกี ารจัดการเรียนรูข้ องประเทศไทยนัน้ ต้องไม่เหมือนกับยีส่ บิ ปีทแ่ี ล้ว สังคมก้าวเปลีย่ น แปลงไปมากมาย ผลการวิเคราะห์ประเทศไทยพบว่า การเมืองประเทศไทยยังไม่สะเด็ดน�ำ้ ยังต่อสู้ กันอยู่ การศึกษาก็แย่ การดำ�เนินการปฏิรูปการศึกษาทำ�งานมาหลายเดือนแล้ว ตรงไหนบ้างที่ จะเกิดปฏิรูปได้จริง เพื่อประโยชน์บ้านเมือง เศรษฐกิจแย่ลงไป เราบริหารผิด ๆ หรือเปล่า อาหาร ไทยเป็นอาหารคุณภาพ ข้างหน้าเราจะทำ�เกษตรอย่างไร เกษตรต้องเป็นสมัยใหม่ มองในภาพ ใหญ่ของโลก เกษตรปัจจุบันต้องไม่ใช่อาหารอย่างเดียว เลี้ยงสัตว์ด้วย ปลูกข้าวโพด โลกจะ เปลีย่ นไปเรือ่ ย ๆ หลาย ๆ อย่าง เราคิดอย่างเดิมไม่ได้ เป็นสัจธรรมอย่างยิง่ ทุกประเทศไม่แน่นอน เราต้องรู้ว่าเราเดินถูกทาง แต่มันมีความไม่แน่นอน ประเทศไทยต้องหาจุดแข็งเพื่อใช้จุดแข็งใน การแข่งขัน เลียนแบบประเทศโน่นประเทศนี่ไม่ได้ การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเดินให้ ถูกทาง จุดที่สำ�คัญที่สุดคือ การศึกษาในอนาคตคนต้องสร้างผู้นำ�ให้ ได้ การศึกษาในอดีตถึง ปัจจุบัน สร้างผู้ตาม สอนแบบท่องจำ� สอนให้เชื่อ คิดเหมือน ๆ กัน ไม่แตกต่าง การศึกษาไทยใน อนาคตต้องสร้างคุณภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกคนต้องเรียนแล้วรูจ้ ริง ไม่ใช่รจู้ ริงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ รู้จริงเพียงบางส่วน มาตรฐานคุณภาพต้องมีหลายมาตรฐาน หากมีมาตรฐานเดียวเมื่อไหร่คน กลุ่มน้อยและคนด้อยโอกาสขาดทุน ต้องมีหลายมาตรฐานการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ต้องกู้ ศีลธรรมกลับมา ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก ในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา การศึกษาเสื่อมคุณธรรม จริยธรรมด้วยหลายปัจจัย ต้องกู้ศักดิ์ศรีความเป็นครู ทำ�หน้าที่ครูที่ถูกต้อง เอาใจใส่เด็ก 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่เอาใจใส่เด็กที่เรียนเก่งเท่านั้น และด่าเด็กที่เรียนอ่อน สิ่งที่ต้องแก้อย่างยิ่งที่เป็น ภาพใหญ่ เปลี่ยนจุดเน้นของการวัดผลจากประเมินผลด้วยการสอบให้มาเน้นการเรียนรู้ สังคม ไทยเดินผิดทาง 10-15 ปี โดยเฉพาะเมื่อมี สมศ. เพราะผลการศึกษาไม่มีผลต่ออะไรทั้งนั้น ต้อง เป็นการประเมินเพื่อมอบอำ�นาจการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการประเมินที่หนุน Active Learning การบริหารสถานศึกษาไทยบริหารไปเพื่อตามความต้องการของสังคมที่ไม่เหมือนกัน ถ้าเอาตามหลักการเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมคุณภาพ และประสิทธิภาพ การใช้เงินทางการ ศึกษาเกิดความสูญเปล่าปีละแสนล้านบาท เราใช้เงินในการศึกษาอยู่ในกลุ่มสูง แต่คุณภาพอยู่ ในกลุ่มต่ำ� จุดที่สำ�คัญสำ�หรับมหาวิทยาลัยต้องไม่สนองผู้เรียน คือ การสำ�เร็จการศึกษาแบบ ง่าย ๆ ไม่ว่าโรงงานหรือมหาวิทยาลัย คุณภาพดูที่ไหน ตอบแบบกำ�ปั้นทุบดิน คือ ดูที่บัณฑิต ดูที่จบการศึกษา ดูสมรรถนะ การเรียนต้องเป็น competency มากกว่าวัดความรู้ วัดได้แต่ต้อง วัดวิชา หลายกรณีตอบได้ แค่ความจำ� ไม่ได้ตอบความคิด การศึกษาหรือหลักสูตรต้องเป็น competency แต่จะมองแค่ curriculum ไม่พอ ต้องการ campus life คือ ชีวิตในมหาวิทยาลัย

แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 | ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช

10


ในต่างประเทศบรรยากาศดี อำ�นวยความสะดวกให้นกั ศึกษา นักศึกษาทำ�กิจกรรมทีห่ ลากหลาย เพื่อการเรียนรู้ อาจารย์คอยประเมิน ดูบรรยากาศ เรียกว่า campus life โรงเรียนที่ดี ผู้บริหาร การศึกษาจะดูสภาพแวดล้อมทัง้ หมดเพือ่ ให้เอือ้ ต่อการเรียนรูค้ ณ ุ ภาพ ต้องค่อย ๆ พัฒนาขึน้ มา และเพิ่มพูนในความซับซ้อนของสมรรถนะขึ้นมาเรื่อย ๆ ก็ ได้ ค่อย ๆ ซับซ้อนภายในสมองและ จิตใจ จุดที่สำ�คัญต้องมีทักษะการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต นี่คือหัวใจทั้งหมดนั้น นักศึกษา ดำ�เนินการเอง ครูเป็นผู้ช่วยสถาบันหรือสถานศึกษา เป็นผู้ตั้งเป้าและจัดเครื่องอำ�นวยความ สะดวก และคอยปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมา ครูอาจารย์ทำ�หน้าที่ scaffolding ทักษะ ที่ สำ�คัญคือครูอาจารย์ต้องเข้าใจเด็กในวัยไหนต้องการ scaffolding อย่างไร เด็กปริญญาตรี ต้องการ scaffolding ไม่เหมือนกัน ครูต้องเข้าใจเด็กเป็นรายคน เป็นความท้าทาย แล้วหาทาง เอือ้ อำ�นวยความสะดวกกับ coaching จัดทำ�การประเมินระหว่างทาง (Formative Aessessment) โดยครูอาจารย์ต้อง feedback ให้ลูกศิษย์ทันที สองสิ่งนี้ต้องไปด้วยกัน feedback มีทั้งผลทาง บวกและผลทางลบ ถ้าทำ�ถูกจะได้ผลดี ทำ�ผิดได้ผลทางลบ ผลทางลบคืออะไร คือ เด็กท้อถอย หนังสือเลี้ยงให้รุ่ง หัวใจสำ�คัญคือ เด็กหัวดี ผู้ปกครองเลี้ยงไม่เป็น ครู feedback ไม่เป็น เด็ก เชื่อมั่นความหัวดีของตนเอง คิดว่าความหัวดี คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต นั่นคือ ความผิดพลาด ของพ่อแม่และครูในการดูแลเด็ก ทำ�ให้เด็กเชื่อในพรสรรค์ตนเองไม่เชื่อในพรแสวง มานะพยายาม พอถึงจุดหนึ่ง เด็กพวกนี้จะล้มเหลว ส่วนใหญ่มักจะเป็น ม.ปลาย เพราะเจอความยาก ไม่สู้ ยัง คิดว่าจะทำ�แบบเดิมซึง่ ไม่ใช่ เด็กต้องปรับตัว นีค่ อื วิธกี ารทำ�หน้าทีค่ รูยคุ ใหม่ในศตวรรษที่ 21 คือ เอาใจใส่ระหว่างครูกบั ลูกศิษย์ เรือ่ งนีเ้ รียนได้ ไม่รจู้ บ สามารถทำ�ปริญญาเอกได้ตลอดไปอีก 20 ปี คุณภาพของอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยนอกจากดูที่บัณฑิตแล้ว ต้องดูที่ผลงาน สร้างสรรค์และผลงานที่เรียกว่า Engagement คือ การผูกพันกับสังคม ผูกพันกับสถาน ประกอบการ เราสามารถตีความ Engagement กับสังคมในหลาย รูปแบบ มหาวิทยาลัยต้องทำ�ไม่วา่ ของ รัฐหรือเอกชน ต้องทำ�แต่ไม่เหมือนกัน ต้องตีความเอาเอง ไม่ใช่ลอยตัวอยู่ กับวิชาการ Engagement จะทำ�ให้ คนที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ สถาน ประกอบการ ลูกศิษย์ บัณฑิตได้รับ ประโยชน์ ได้งานทำ� ได้เรียนรู้ทักษะที่ ตรง นอกจากนั้น คุณภาพอยู่ที่การ

แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 | ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช

11


เรียนรูข้ องอาจารย์ ถ้าอาจารย์อยูใ่ นความเชือ่ ทีว่ า่ ตนเองเก่งแล้ว รูด้ นิ รูฟ ้ า้ มหาสมุทรแล้ว ปริญญา เอกแล้วมันก็จบกัน การเรียนรู้ต้องไม่มีวันจบ ต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติ คนที่เป็นครูอาจารย์ สำ�คัญคือ การปฏิบัติหน้าที่ของตน มีวิธีการทำ�ง่าย ๆ คือเรียนรู้เป็นทีม การพัฒนาครู/ อาจารย์ ไม่ว่าโรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาอื่น ต้องพัฒนาครูและอาจารย์ ให้อยู่ ในกระบวนการ บูรณาการทำ�งานเรื่องการเรียนรู้ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ เพื่อเตรียม บัณฑิตไปทำ�งานในสถานประกอบการ เราต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ ทำ�ไป 3 ปี 5 ปี 10 ปี สถาน ประกอบการต้องการคนอีกแบบ ไม่เหมือนเดิม หรือเราไปคบค้าสถานประกอบการแบบใหม่ ทุก อย่างไม่หยุดนิ่งกับที่ สามารถปรับได้ เรื่องพัฒนาครูนั้นรายละเอียดส่วนที่สำ�คัญที่สุดคือตัว ครูเอง ครูคือ การเป็น role model อย่างน้อยก็ ในเรื่องของการเป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต สำ�คัญ มาก ความซื่อสัตย์สุจริตในการศึกษา นักศึกษาจะทำ� review อาจารย์บอกว่ายาก เดี๋ยวไม่จบ เอาอย่างวิธีนี้ cut paste นั่นคือ คุณธรรม จริยธรรม ที่อาจารย์สอนผิดให้ลูกศิษย์ นั่นคือ การ ขโมยความคิดคนอื่น แต่ว่าการขโมยนั่นไม่เป็นอันตรายมากเท่ากับการลงโทษตัวคุณเอง คุณไม่ ฝึกทักษะ ไม่อา่ นแล้ววิเคราะห์สงั เคราะห์ขน้ึ มา นัน่ คือ คุณขาดโอกาสในการเรียน แล้วการทีอ่ าจารย์ ไม่อา่ นในสิง่ ทีค่ ณ ุ สังเคราะห์ อาจารย์ทำ�หน้าที่ผิดคุณธรรม จริยธรรม หัวใจของการพัฒนาครู อาจารย์ ก็คือ ต้องเน้นพัฒนาการทำ�งานประจำ� และพัฒนาร่วมกัน ไม่ใช่เน้นจัดฝึกอบรมเป็น หลัก ที่จริงต้องทำ�ทั้ง 2 เรื่อง ดีทั้ง 2 เรื่อง แต่ในสายตาผมผิดและได้ผลน้อยที่สุด คือ ไม่สนใจเลย ที่จะพัฒนา จากการทำ�งานประจำ�ในห้องเรียนหรือในการทำ�งานวิจัย เน้นแต่ว่าจะให้เก่งต้องส่ง ไปเรียนปริญญาเอก ครูโรงเรียนก็จดั มาอบรม 3-5 วัน มาสนใจการเรียนรูจ้ ากประสบการณ์ตรง ในห้องเรียน learning ก็คือ เรียนจากการปฏิบัติ เรียนจากการไปเข้า course ท่านที่จบปริญญา เอก ไม่ได้หมายความว่าท่านจบแต่ท่านต้องเรียนต่อไปจากการปฏิบัติจริง เรียนไปตลอดชีวิต การเรียนรู้ของครู การพัฒนาครู อาจารย์ต้องเป็น learning มากกว่า training หลายเท่า โดยที่ เรียนตามวงจรการเรียนรู้ผู้ ใหญ่ นี่คือหลักการ ครู อาจารย์ ต้องไม่เรียนคนเดียว ต้องเป็น PLC (professional learning community) แล้วก็แลกเปลีย่ นเรียนรู้ ในกลุม่ ครู อาจารย์ทท่ี �ำ งานด้วย กันและก็ผลักดันกัน coach ซึ่งกันและกัน เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย ลดความเป็นตัวกูของกู ข้าแน่ จะทำ�ให้การเรียนรู้ ไม่ใช่เรื่องยาก ประเทศฟินแลนด์ ครู อาจารย์ก็ ไม่ได้เก่งกว่าเรา แต่ภาพ รวมการศึกษาดี เพราะครูทำ�หน้าที่ในห้องเรียน 5 ชั่วโมง 8 โมงถึงบ่ายสองโมง ตอนบ่ายสองเด็ก กลับบ้าน ครูทำ�งานอีก 2 ชั่วโมงมาเจอกัน ครูใหญ่ด้วย เพื่อเอาส่วนที่เจอกัน 5 ชั่วโมงตอนเช้า มานั่งคุยกัน เจอปัญหาอะไร คือ การเรียนรู้ ครูมีแบบฟอร์มจดแล้วมาเรียนรู้กัน คือ PLC การบริหารสถาบันการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 สภาพของการศึกษาไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าระดับไหน ระดับอนุบาล ประถม มัธยม เด็กน้อยลงทั้งสิ้น ในสภาพหนึ่งก็แย่งกัน แย่งเด็ก เดี๋ยวนี้ชั้นเรียนเยอะก็ต้องมีการดึงดูดนักศึกษา เอาง่ายเข้าว่าหรือจะเอาคุณภาพหัวใจเราต้อง แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 | ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช

12


เลือกการมีคุณภาพ นั่นหมายความว่าต้องช่วยกันทำ�ให้บัณฑิต ผู้เรียน มีคุณภาพ ถ้าเป็น โรงเรียน คำ�ถามคือว่า โรงเรียนทำ�งานเฉพาะในโรงเรียนนั้น ๆ ทำ�ไมโรงเรียนที่อยู่ใกล้กัน ไม่ร่วมมือกัน มีวิธีการอย่างไร หาทางให้เด็กมีคุณภาพการบริหารสถานศึกษาไทยเพื่อต้อง เป็น change management นี่คือเป้าหมาย ไม่ว่าประเทศใดจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่การศึกษา ของไทยต้องเป็น change management ยกกำ�ลัง 2 เพราะเราเดินผิดทางมากกว่า 20 ปี ที่มัน ผิดทางเพราะแย่ไปเรื่อย ๆ คุณภาพมันลดลงเรื่อย ๆ ต้องบริหารการศึกษาให้ถูกที่ถูกทางให้ ได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องใช้ ให้ ได้ ในโลกสมัยใหม่ การบริหารการศึกษา ไม่ว่าในระดับใด คือต้องใช้พลังไอที ที่สำ�คัญคือเมื่อไหร่ก็ตามที่พูดแบบนี้ เด็กเก่งกว่าครู ท่านที่สอนชั้นมัธยมปลายหรือมัธยมต้น ให้ ใช้พลังเด็กในการจัดการเรียนโดยใช้พลังไอที มีวิธีการหลายวิธีการในการใช้พลังเด็ก อ่านใน หนังสือเรือ่ ง Who owns the learning จริงแล้วนักเรียนต้องลงมือทำ�จริง (Authentic Learning) คือ Learn แล้วมา Work การเรียนเท่ากับการทำ�งาน การเรียนที่ดีคือการเรียนเพื่อปฏิบัติจริง และให้เกิดประโยชน์จริง เช่น เกิดประโยชน์จริงกับสังคม ชุมชนที่ตัวเองอยู่ เด็กจะเกิดความ งอกงามทางจิตใจต่อส่วนรวมไปในตัวโดยไม่ต้องสอน การบริหารการศึกษาต้องสร้างคน เพื่อ อนาคตของประเทศ สร้างผู้นำ�ไม่ใช่ผู้ตาม สร้างคนที่อดทน สู้งาน ซื่อสัตย์ ไว้ ใจได้ รับผิดชอบ ทำ�งานร่วมกับคนอื่นได้ และมีความรู้ มีทักษะ สร้างคนที่มองการณ์ ไกล ใจกว้าง ใฝ่สูง เพื่อคน ที่มีคุณภาพ นั่นหมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องรับผิดชอบต่อผลงาน คุณภาพของ Learning Outcome ที่ครบด้านของนักเรียน บัณฑิตที่รับเข้าเรียนแล้วต้องช่วยให้เรียนจบ และ ได้งานทำ� ทำ�ให้สถานศึกษาเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ของครู นักเรียน นักศึกษา ผู้บริหาร ผูป้ กครอง คนในพืน้ ที่ สถานประกอบการ คือผูบ้ ริหารสถานศึกษาต้องเป็นผูน้ �ำ การเปลีย่ นแปลง (Change Agent) ต้องบริหารให้เกิด Transformative Education System คือระบบการศึกษา ทีน่ �ำ ไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลง คือ เปลีย่ นแปลง 3 อย่าง ได้แก่ เปลีย่ นแปลงการเรียนรู้ (Transformative Learning) เปลี่ยนแปลงหลักสูตร (Transformative Curriculum) คือหลักสูตรไม่มีการหยุดนิ่ง ตายตัวเปลี่ยนแปลงได้ตลอด และเปลี่ยนแปลงการจัดการ (Transformative Management) มาถึงในส่วนของ Transformative Learning เพื่อให้เข้าใจ การศึกษาโดยทั่วไปถ้าไม่ระวังจะได้แค่ Informative Learning เรียนแล้วได้ Information ผลลัพธ์ คือผู้รู้ ซึ่งดีแต่ไม่พอ ต้องเลยไปสู่ formative Learning คือ ผู้เรียนด้านครู ต้องได้เกิดการเรียนรู้งอกงามชุดหนึ่งร่วมกัน เรียนแล้ว เกิดคุณสมบัติทักษะทางด้านผู้นำ� สภาพเช่นนี้ทำ�ให้เกิดได้ตั้งแต่ขั้นอนุบาล ในศตวรรษที่ 21 ครู อาจารย์ตอ้ งเอาใจใส่ กระบวนการเรียนรูข้ องลูกศิษย์ และควรเปลีย่ นการเรียนเป็น Clip Classroom ให้มากที่สุด คือ เรียนทฤษฎีที่บ้านมาทำ�โจทย์ที่มหาวิทยาลัย และไม่ว่าเรื่องใดพยายามให้ นักเรียนหาคำ�ตอบให้ ได้หลายคำ�ตอบ เวลาเรียนลูกศิษย์ควรได้ฝกึ คุณสมบัตดิ ี ๆ ทุกด้านในเวลา เดียวกัน เรียนแบบลงมือปฏิบัติเป็นทีมในสถานการณ์จริง ๆ แล้วทำ� reflection เพื่อให้รู้จริง แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 | ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช

13


(Mastery Learning) ครูถา้ จะทำ�หน้าที่ได้ดมี วี ธิ กี ารหนึง่ ทีอ่ าจช่วยได้ คือ ติดตัง้ กล้องถ่ายวิดโี อ ไว้หลังห้อง เพือ่ ถ่ายสภาพห้องเรียนว่าเกิดอะไรขึน้ ในชัว่ โมงเรียน เพือ่ ช่วยในการปรับปรุงพัฒนา ปรับปรุง การจัดการเรียนชั้นเรียน อย่าให้อาจารย์รู้สึกว่าถูกตรวจสอบ ซึ่งคนที่แนะนำ�เรื่องนี้ คือ Bill Gates: Teachers need real feedback ประเด็นคือครูต้องการข้อมูลป้อนกลับเพื่อ ปรับปรุงวิธกี ารทำ�หน้าทีค่ รูของตนเอง การดูวดิ โี อให้ดวู า่ อาจารย์หรือนักเรียนใครพูดมากกว่ากัน ถ้าครูพูดมากครูต้องปรับปรุง แต่ต้องดูว่าครูพูดอะไร ถ้าครูตอบคำ�ถามมากครูต้องปรับปรุง ยกตัวอย่างโรงเรียนลำ�ปลายมาศพัฒนา ฝึกครูใหม่ 1 ปี คือ ไม่ดุ ไม่ขึ้นเสียง ไม่ตอบคำ�ถามเด็ก ฝึกตั้งคำ�ถาม หนังสือ เรื่อง EMBEDDED formative assessment กล่าวไว้ว่า ปัจจัยสำ�คัญ ที่สุดของการเรียนรู้ ไม่ใช่สิ่งที่ครูสอน แต่อยู่ที่วิธีสอนของครู จากหนังสือเรื่อง EMBEDDED formative assessment ปรับมาเป็นหนังสือ เรื่องการประเมินเพื่อมอบอำ�นาจการเรียนรู้ สรุป คือ ครูต้องโค้ชด้วย EMBEDDED formative assessment และ Constructive Feedback การประเมินทีม่ คี ณ ุ ค่าต่อลูกศิษย์คอื การประเมินทีอ่ าจารย์สามารถ Feedback แบบ Constructive ได้ทันที สิ่งนี้เรียนรู้ ได้ ในห้องเรียนตลอดไป สำ�คัญที่สุดของ formative assessment คือครู ฝึกให้นกั เรียนทำ�เป็น คือประเมินผลการเรียนของเพือ่ นเป็นนีค่ อื เป้าหมายสูงสุด การสร้างห้องเรียน กลับทางสามารถอ่านจากหนังสือเรื่อง ครูเพื่อศิษย์ ได้ สรุป การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 20 & 21 คือ เปลี่ยนจากครูเป็นตัวตั้งเป็นเป้าหมาย อยู่ที่เด็ก สอนแลกเปลี่ยนระหว่างโรงเรียน เปลี่ยนจากความรู้มาเป็นทักษะ เนื้อหาพัฒนาเป็น กระบวนการ ทักษะพื้นฐาน ความจริง หลักการ คำ�ถาม ปัญหา ทฤษฏีเปลี่ยนเป็นปฏิบัติ หลักสูตรเปลี่ยนแปลงการทำ�งานของครู จากโดดเดี่ยว เป็นมีเป้าหมายร่วมกัน เปลี่ยนจากที่ครู คิดคนเดียวมาเป็น PCL ร่วมกันคิดเป็นเป้า แยกกันกำ�หนดมาตรฐานการเรียนรู้ ทีม PCL ร่วมกัน กำ�หนด แยกกันค้นหาวิธีพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ กิจกรรมของครูเป็นเรื่องส่วนตัว เป็นครูเปิดเผย กิจกรรมของตนต่อ PCL จากร่วมมือแบบสะเปะสะปะ ไม่โฟกัสผลสัมฤทธิ์ มาเน้นความร่วมมือใน ประเด็นยุทธศาสตร์ เปลีย่ นจากศิษย์ของฉันศิษย์ของคุณมาเป็นศิษย์ของเรา เปลีย่ นจากเน้นการ บรรยาย การเป็นครูสอน มาเน้นให้คณ ุ ค่าเวลาการเตรียมตัว ทำ�งานร่วมกัน เรียนร่วมกัน ในการ ทำ�หน้าที่ครูฝึก สรุปการบริหารสถานศึกษาไทย ต้องบริหารการสร้างคนเป็นผูน้ �ำ การเปลีย่ น แปลง ที่พัฒนาตนรอบด้าน เพื่อสร้าง 3 L คือ Student Learning Teacher Learning และ Systems Learning ต้องบริหารให้ ได้ระบบการศึกษาทีร่ บั ผิดชอบต่อผลงานในทุกระดับ ทุกด้าน และระบบที่เปิดและมีปฏิสัมพันธ์รอบด้าน คือ เชื่อมโยงกับสังคม เป็น change & Learning Management การบริหารศึกษาไทยต้องบริหารเพือ่ เรียกคุณค่าและศักดิศ์ รีของสถาบันวิชาชีพ ครู ให้ต่อเนื่องและยั่งยืน แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 | ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช

14


ประวัติผู้บรรยาย ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2505-2509 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขามนุษยพันธุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมิชแิ กน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2510 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการจัดการความรู้ ผูก้ อ่ ตัง้ สำ�นักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผู้ก่อตั้งสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ปัจจุบันดำ�รงตำ�แหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ได้แต่งหนังสือเกี่ยวกับการจัดการความรู้ เชิงปฏิบัติอีกหลายเล่ม และมีบทบาทสำ�คัญในการผลักดันเรื่องการจัดการความรู้ ให้แก่องค์กร หลายแห่งในประเทศไทย เคยเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ผูอ้ �ำ นวยการสำ�นักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผู้อำ�นวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม และ ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)

แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 | ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช

15


หลักสูตรระดับปริญญาโท

หลักสูตรระดับปริญญาเอก

M.B.A. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต M.Ed. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต - สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน - สาขาวิชาการบริหารการศึกษา M.P.A. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต - สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน

Ed.D. หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต - สาขาวิชาการบริหารการศึกษา Ph.D. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต - สาขาวิชาบริหารธุรกิจ D.P.A. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต - สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.