PIS_21.59x29.21cm_Edit.pdf
1
7/27/17
11:06 AM
Samwa_21.59x29.21cm.pdf
1
3/28/17
11:02 AM
PMG2017_21.59x29.21cm.pdf
1
7/21/17
10:46 AM
AD_TEMCA POWERDUCT-c4.pdf
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
1
7/25/2560 BE
14:07
AD-LEAFPOWER-C4-aw_VIDASHIELD.pdf
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
1
8/1/2560 BE
19:27
Mennekes_21.59x29.21cm_Cre.pdf
1
3/30/17
3:05 PM
Reliable Machine Safer Machine Energy Efficient Machine Simplified, Compact & Lower Cost Machine
Line ID : atommicpower
www.atommicpower.com
JULY-AUGUST
สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย 28 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 32 การไฟฟ้านครหลวง 36 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 39 บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำ�กัด (มหาชน) 40 บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำ�กัด (มหาชน)
2017
62 การติดตั้งใช้งานคาปาซิเตอร์ ในโรงงานผลิตเหล็ก บริษัท ไอทีเอ็ม คาปาซิเตอร์ จำ�กัด 64 Programmable Relays (Need) บริษัท แม็กซิไมซ์ อินทิเกรทเท็ด เทคโนโลยี จำ�กัด 66 Plastic enclosed switch-disconnectors, OTP Series PIS 69 Overvoltage and Surge Protection Device การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จสำ�หรับตู้สวิทช์บอร์ดไฟฟ้า อย่างเหมาะสม บริษัท เอวีร่า จำ�กัด 73 อินเวอร์เตอร์ (Inverter) คืออะไร? บริษัท ที แอนด์ ดี เพาเวอร์ เทค (ไทยแลนด์) จำ�กัด 76 ATOM-MIC POWER ผู้น�ำ เทคโนโลยีระบบ Smart WireDT เพื่อก้าวนำ�ไปสู่ Industrial 4.0 ATOM-MIC POWER 77 ABB AbilityTM ดิจิทัลโซลูชั่นของ ABB ABB
COVER STORY 50 รักษ์ ไฟฟ้า รักษ์โลก...ด้วยสินค้าคุณภาพจาก AVERA ตอบสนองงานโครงการที่หลากหลายและครบถ้วน บริษัท เอวีร่า จำ�กัด
IT ARTICLE 87 ผลงานวิจัยด้านความแตกต่างทางดิจิทัลของอุตสาหกรรม IFS
ARTICLE 54 ระบบไมโครกริด (Microgrid) สำ�นักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
46 80 92 95 98
SPECIAL AREA 58 • เชลล์แต่งตั้งกรรมการบริหารธุรกิจการตลาดค้าปลีก ประจำ�ประเทศไทย • น้ำ�มันหล่อลื่นนวัตกรรมเพื่อโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำ�กัด 60 ประโยชน์ของ Push in Terminal บริษัท ออมรอน อีเลคทรอนิคส์ จำ�กัด
IEEE Power & Energy Society-Thailand (IEEE PES-Thailand) Exhibition PR NEWS MOVEMENT INDUSTRY NEWS
EDITOR TALK
July - August
2017
นิตยสาร Electricity & Industry เปนนิตยสารราย 2 เดือน ที่ตีพิมพมากวา 24 ปแลว การที่ยืนหยัดมาไดถึง 24 ป เพราะไดรับ การสนับสนุนจากสมาชิกและบริษัทตางๆ ดวยดีมาโดยตลอด คณะผูจัดทําหวังวาจะไดรับการสนับสนุนเชนนี้ตลอดไป และเพื่อให ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป สามารถตามอาน E-Book ของนิตยสาร Electricity & Industry ไดที่ www.technologymedia.co.th ซึ่ง ในเว็บไซตนอกจากจะไดอานนิตยสาร Electricity & Industry แลว ยังมี E-Book ของวารสารอื่นๆ ที่ผลิตโดยบริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จํากัด อีกดวย นอกจากนี้ยังมีขาวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงอุตสาหกรรมใหทานไดติดตามดวย เนื้อหาของนิตยสารในฉบับนี้จะเปนเรื่องความรูดานไฟฟาและอุตสาหกรรมเชนเดิม มีหลายเรื่องที่อยากแนะนําใหติดตามกัน อาทิ บทความและขาวสารที่นาสนใจของ 5 การไฟฟา ซึ่งเปนสมาชิกของสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟาแหงประเทศไทย ในคอลัมน Cover Story จะเปนเรื่องเกี่ยวกับ บริษัท เอวีรา จํากัด ซึ่งเปนบริษัทนําเขาสินคาดานไฟฟากําลัง ซึ่งสินคาที่นําเขามาจําหนาย ตองไดรับการตรวจสอบคุณภาพวาไดมาตรฐาน และตองอยูในราคาที่เหมาะสม ทําใหบริษัทเอวีราสามารถยืนหยัดไดอยางเขมแข็ง ในสภาวะที่การแขงขันรุนแรงเชนนี้ สวนคอลัมน Article เปนเรื่องของ ระบบไมโครกริด (Microgrid) โดยสํานักงานนโยบาย และแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน คอลัมน Special Area ในฉบับนี้มีเนื้อหามากเปนพิเศษ ทั้งบทความจากบริษัท เชลลประเทศไทย จํากัด บทความจาก บริษัท ออมรอน อีเลคทรอนิคส จํากัด บทความเรื่อง การติดตั้งใชงานคาปาซิเตอรในโรงงานผลิตเหล็ก ของบริษัท ไอทีเอ็ม คาปาซิเตอร จํากัด บทความจากบริษัท แม็กซิไมซ อินทิเกรทเท็ด เทคโนโลยี จํากัด ในเรื่อง Programmable Relays (Need) บทความเรื่อง ATOM-MIC POWER ผูนําเทคโนโลยีระบบ Smart WireDT เพื่อกาวนําไปสู Industrial 4.0 ของ ATOM-MIC POWER สวนคอลัมน IT Article เปนผลการสํารวจของบริษัท ไอเอฟเอส ในหัวขอความแตกตางของดิจิทัลของอุตสาหกรรม ในวันที่ 18-19 สิงหาคม 2560 จะมีงานแสดงสินคา TEMCA 2017 ณ โรงแรมรอยัล คลีฟ โฮเต็ล กรุป พัทยา ซึ่งจัดโดยสมาคม ชางเหมาไฟฟาและเครื่องกลไทย ผูที่สนใจสามารถเขารวมงานไดตามสถานที่ดังกลาว พบกันใหมฉบับหนา
กิตติ วิสุทธิรัตนกุล
ที่ปรึกษา : รศ.ฉดับ ปทมสูต / รศ. ดร.สุธี อักษรกิตติ์ / ไกรสีห กรรณสูต พรเทพ ธัญญพงศชัย / เฉลิมชัย รัตนรักษ / ประเจิด สุขแกว ผศ.พิชิต ลํายอง / วัลลภ เตียศิริ / พรชัย องควงศสกุล / ดร.กมล ตรรกบุตร ศ. ดร.พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ / รศ. ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม รศ. ดร.ปริทรรศน พันธุบรรยงก บรรณาธิการผูพิมพผูโฆษณา : กิตติ วิสุทธิรัตนกุล บรรณาธิการวิชาการ : ดร.สุรพล ดํารงกิตติกุล ผูชวยบรรณาธิการ : นิภา กลิ่นโกสุม เลขากองบรรณาธิการ : ปฐฐมณฑ อุยพัฒน / จีราภา ขําแกว พิสูจนอักษร : อําพันธุ ไตรรัตน ศิลปกรรมรูปเลม / ศิลปกรรมโฆษณา : กันยา จําพิมาย ฝายโฆษณา : ศิริภรณ กลิ่นขจร / มนัส ไชยเพส / กษิรา เหมบัณฑิตย / กัลยา ทรัพยภิรมณ เลขานุการฝายโฆษณา : ชุติมันต บัวผัน ฝายสมาชิก : อังลนา สงวนสิน
p.20_Editor Talk.indd 20
บทความที่ปรากฏใน ELECTRICITY & INDUSTRY Magazine เปนความคิดเห็น ส ว นตั ว ของผู เขี ย น ไม มี ส ว นผู ก พั น กั บ บริ ษั ท เทคโนโลยี มี เ ดี ย จํ า กั ด แต อ ย า งใด หากบทความใดที่ผูอานเห็นวามีการลอกเลียนหรือแอบอาง กรุณาแจงที่กองบรรณาธิการ ELECTRICITY & INDUSTRY Magazine บทความต า งๆ ที่ ป รากฏในหนั ง สื อ ได ผ า นการตรวจทานอย างถี่ถ วนเพื่อ ใหเ กิด ความถูกตองและสมบูรณที่สุด หากเกิดความผิดพลาดจะมีการชี้แจงและแกไขตอไป เจาของ
บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จํากัด
471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถนนศรีอยุธยา แขวงทุงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท 0-2354-5333 โทรสาร 0-2640-4260 http:// www.technologymedia.co.th เพลท-แยกสี : บริษัท อิมเมจิ้น กราฟค จํากัด พิมพที่ : บริษัท ฐานการพิมพ จํากัด จัดจําหนาย : บริษัท ธนบรรณ ปนเกลา จํากัด
8/1/17 3:25 PM
AD_Circutor-.pdf 1 7/7/2017 10:33:56 PM
§Ò¹áÊ´§¼ÅÔµÀѳ± ä¿¿‡ÒáÅÐà¤Ã×èͧ¡Å 2560 Çѹ·Õè 18-19 ÊÔ§ËÒ¤Á 2560 Èٹ »ÃЪØÁ¾Õª âçáÃÁÃÍÂÑÅ ¤ÅÔ¿ âÎàµçÅ ¡ÃØ » ¾Ñ·ÂÒ Visit us at Temca 2017
¨Ð´ÕÁÑéÂ? ¶ŒÒàÃÒ...
ÃÑ¡É ä¿¿‡Ò ÃÑ¡É âÅ¡
AVERA Booth AB3
AVERA
áÅÐ
• •
仾ÌÍÁ¡Ñ¹
¼ÙŒ¨Ñ´¨Ó˹‹ÒÂáÅÐ໚¹¼ÙŒàªÕèÂǪÒÞ´ŒÒ¹ ÍØ»¡Ã³ ä¿¿‡Ò¡ÓÅѧÀÒÂã¹µÙŒÊÇÔ·ª ºÍà ´ ÍØ»¡Ã³ »‡Í§¡Ñ¹ä¿¿‡Ò¡ÃЪҡÀÒÂã¹áÅÐÀÒ¹͡ ÃкººÃÔËÒê‹Í§¨Í´Ã¶ ÃкºáÅÐÍØ»¡Ã³ ÍÑ´»ÃШØä¿¿‡ÒÊÓËÃѺÂҹ¹µ ä¿¿‡Ò §Ò¹ºÃÔ¡ÒÃËÅѧ¡ÒâÒÂáÅСÒúÓÃاÃÑ¡ÉÒ
µÑǪ‹Ç·Õè¨Ð·ÓãËŒ¤Ø³ÃÑ¡É ä¿¿‡Ò áÅÐÃÑ¡É âÅ¡ ´ŒÇÂÃкºµÃǨÇÑ´ áÅÐÇÔà¤ÃÒÐË ¤‹Ò¾Åѧ§Ò¹·Ò§ä¿¿‡Ò ¤Ø³ÀÒ¾ÊÙ§¨Ò¡»ÃÐà·ÈÊ໹
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
computer SMART III Power Factor Regulator
CVM-B150 and B100 Multifunction Power Analyzers Meter
Energy Management Software PowerStudio SCADA CLZ-FP-HD Low Voltage Power Capacitors
AFQevo Active Multifunction Filter
CVM-A1500 Multifunction Power Quality Analyzers Meter
µÔ´µ‹ÍÊͺ¶ÒÁÃÒÂÅÐàÍÕ´䴌·Õè
AVERA Co., Ltd.
Tel : 088-001-0416
Website : www.avera.co.th
E-mail : sales@avera.co.th
TC Measuring Transformers
ITM_21.59x29.21cm.pdf
1
7/21/17
10:47 AM
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
กฟผ. ครบรอบ 48 ปี กฟผ. ครบรอบ 48 ปี ปรับตัวรับเทรนด์โลก ประกาศความ มุ่งมั่นพร้อมก้าวสู่ Energy 4.0 ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยมุ่ ง พั ฒ นาพลั ง งานหมุ น เวี ย น ควบคู่ ไ ปกั บ การนำ � เทคโนโลยี การกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) มาใช้เพื่อเพิ่มเสถียรภาพ พร้อมสืบสานพระราชปณิธานโดยยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของคนไทย กรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผูว้ า่ การ กฟผ. กล่าวในงาน “48 ปี กฟผ. องค์การใสสะอาด น้อมสืบสานปณิธานงานของพ่อ” ว่า “กฟผ. ก่อตัง้ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2512 เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการบริหาร จัดการระบบไฟฟ้าของประเทศ จากกำ�ลังผลิตติดตั้ง 907 เมกะวัตต์ เมือ่ แรกก่อตัง้ ปัจจุบนั กฟผ. มีก�ำ ลังผลิตไฟฟ้ารวม 16,385 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 39.43 ของระบบผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศที่ 41,556.25 เมกะวัตต์ ซึ่งตลอด 48 ปีที่ผ่านมา กฟผ. มุ่งผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุข ของคนไทย ตามรอยพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมพิ ลอดุลยเดช ทีท่ รงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพือ่ ประโยชน์สขุ ของปวงชนชาวไทย ในปี 2559 ต่อเนือ่ งถึงปี 2560 กฟผ. จึงได้ดำ�เนินโครงการ “กฟผ. น้อมสืบสานปณิธานงานของพ่อ ชวน ชาวไทยร่วมสานต่อ 9 พระราชปณิธานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อน้อมรำ�ลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้” ผูว้ า่ การ กฟผ. กล่าวถึงก้าวต่อไปของ กฟผ. ว่า จะมุง่ สู่ Energy 4.0 นำ�นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบไฟฟ้า ได้แก่ การพั ฒ นาเครื อ ข่ า ยไฟฟ้ า อั จ ฉริ ย ะ (Smart Grid) นำ � ร่ อ งที่ จ.แม่ฮ่องสอน ที่ผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงานสามารถมีปฏิสัมพันธ์กัน ผ่านระบบสารสนเทศ การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า (Energy Storage) เพื่ อ รองรั บ การผลิ ต ไฟฟ้ า จากพลั ง งานหมุ น เวี ย นให้ มี เสถียรภาพ และการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตไฟฟ้าได้บาง ช่วงเวลาให้พึ่งพาได้ตลอดเวลา โดยจับคู่แหล่งผลิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้น
July-August 2017
ไปในรูปแบบที่เรียกว่า Hybrid เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำ�แบบสูบกลับและ กังหันลมผลิตไฟฟ้าที่ลำ�ตะคอง จ.นครราชสีมา รวมถึงเตรียมรองรับ การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยพัฒนารถต้นแบบและสถานีชาร์จไฟฟ้า ตลอดจนเตรียมพัฒนาพื้นที่สำ�นักงานใหญ่ กฟผ. จ.นนทบุรี ให้เป็น เมืองอัจฉริยะ (Smart City) บนพื้นที่ 300 ไร่ เพื่อเป็นต้นแบบการใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นได้ว่า กฟผ. เป็นส่วนหนึ่งในการ ขับเคลือ่ นพลังงานหมุนเวียนให้บรรลุตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 (AEDP 2015) พร้อมทั้ง วิจัยพัฒนาโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ผู้ว่าการ กฟผ. ยังกล่าวถึงเรื่องการพัฒนาพลังงาน หมุนเวียน ซึ่งกระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง กฟผ. ได้เดินหน้าผลักดันและพัฒนาการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงาน หมุนเวียน โดยต้องดูแลให้มีการพัฒนาและเติบโตอย่างเหมาะสม ให้ สอดคล้องกับนโยบายของ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานกรรมการ กฟผ. ที่ต้องการให้ กฟผ. เป็นองค์กรหลัก ในการลงทุ น ด้ า นพลั ง งานหมุ น เวี ย น โดยเฉพาะในส่ ว นที่ เ อกชน ไม่สามารถลงทุนได้ และทำ�ให้เกิดความเสถียร ซึ่งจะนำ�เทคโนโลยี การกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) เข้ามาเสริม โดยแผนพัฒนา พลังงานหมุนเวียนในส่วนของ กฟผ. จะเพิม่ สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจาก 513 เมกะวัตต์ เป็น 2,000 เมกะวัตต์ ในช่วง 20 ปีข้างหน้าคือ จากปัจจุบันไปจนถึงปี 2579
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ในส่วนของการพัฒนา Energy Storage นัน้ กฟผ. ได้มโี ครงการ ติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage) ในระบบ โครงข่ายไฟฟ้า เพื่อควบคุมการจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ให้เสถียร บริหารความแออัดในสายส่ง และสามารถกักเก็บและจ่าย ไฟฟ้าในช่วงที่ความต้องการไฟฟ้าสูงได้ ในพื้นที่ที่มีพลังงานลมและ พลังงานแสงอาทิตย์กระจุกตัว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง และมีแผนจะดำ�เนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2561 ขณะเดียวกัน กฟผ. ได้ประกาศความมุ่งมั่นที่จะรับผิดชอบต่อ สังคมตามมาตรฐานสากล ISO 26000 ทั้งในเรื่อง CSR in Process หรือ CSR ในกระบวนการทำ�งาน เช่น การผลิตไฟฟ้าด้วยคุณภาพ มาตรฐานสากล (ISO/CSR-DIW) การปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งในสนธิสัญญา COP 21 ที่ กฟผ. ร่วมรับผิดชอบเป้าหมาย ของประเทศ โดย กฟผ. มีเป้าหมายชัดเจนที่จะลดให้ได้ 4 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2563 และ 8 ล้านตันฯ ในปี 2568 และ 12 ล้านตันฯ ในปี 2573 นอกจากนี้ ในปี 2560 กฟผ. ได้เปิดรับ คนพิการเป็นพนักงาน 20 อัตรา รวมทัง้ การจ้างงานอัตราท้องถิน่ ด้วย ส่วน CSR after Process หรือการดำ�เนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสังคม กฟผ. มี ก ารสร้ า งชุ ม ชนต้ น แบบชี ว วิ ถี เ พื่ อ การพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น 32 แห่งทั่วประเทศ การปลูกป่า กฟผ. ซึ่งปลูกแล้วถึง 4.6 แสนไร่ การรณรงค์ประหยัดพลังงานที่นอกจากผลิตภัณฑ์เบอร์ 5 ปีนี้จะมี การพัฒนาเสื้อเบอร์ 5 ที่ไม่จำ�เป็นต้องรีด ร่วมกับสถาบันพัฒนา อุตสาหกรรมสิ่งทอ ทำ�ให้ลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ ส่วนการส่งเสริมกีฬา เช่น กีฬายกน้ำ�หนัก ในปี 2560-2563 ได้เพิ่มการสนับสนุนสมาคม ยกน้ำ�หนักฯ จากปีละ 16 ล้านบาท เป็น 20 ล้านบาท เพื่อส่งเสริม นักกีฬาไทยคว้าชัยโอลิมปิก ตลอดจนก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. 8 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งได้เปิดให้บริการแล้ว 3 แห่ง และเตรียมจะเปิด เพิ่มในปี 2560 ที่ กฟผ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และสำ�นักงาน ใหญ่ กฟผ. จ.นนทบุรี จากความมุง่ มัน่ ดังกล่าวข้างต้น ทำ�ให้ กฟผ. ได้รบั รางวัลต่างๆ อาทิ รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ปี 2559 รางวัล Thailand Energy Awards 2016 รางวัล EIA Monitoring Awards 2016 ซึง่ 9 โครงการของ กฟผ. ได้รับรางวัลจากการจัดการสภาพแวดล้อมดีเด่น และเหมืองแม่เมาะ ได้รบั รางวัล Green Mining Awards 2016 รวมถึง 30 หน่วยงาน กฟผ. ได้รับรางวัลสถานประกอบการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย ปี 2559 ทางด้านการวิจัย 4 ผลงานของ กฟผ. ได้รับรางวัลจากงาน 45th International Exhibition of Inventions of Geneva ณ สหพันธรัฐ สวิส ด้านการเงิน กองทุนรวมโครงสร้างพืน้ ฐานโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ได้รบั รางวัล SET Award 2016 และเพือ่ ยืนยันถึงความโปร่งใส
กฟผ. ได้รบั รางวัลรัฐวิสาหกิจทีม่ กี ารพัฒนาสูค่ วามเป็นเลิศในการจัดทำ� แผนงานเสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใส จากสำ�นักงาน ป.ป.ช. “48 ปีทผี่ า่ นมา กฟผ. ได้สร้างสมความเชีย่ วชาญ บุคลากร และ เทคโนโลยี เพือ่ ให้ระบบไฟฟ้ามัน่ คง สนับสนุนการพัฒนาประเทศและ ความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทย ตามรอยพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ทรงเป็นต้นแบบความหมั่นเพียร เรียนรู้อย่างเป็นระบบ ยึดถือส่วนรวมเป็นทีต่ งั้ ซึง่ ในวันที่ 1 พฤษภาคม นี้ ภาพยนตร์โฆษณา กฟผ. ชุ ด ใหม่ ที่ มี ชื่ อ ว่ า “แสงไฟที่ ไ ม่ มี วั น ดั บ ” จะออกสู่ ส ายตา ประชาชน แสดงถึ ง ความยึ ด มั่ น ดำ � เนิ น งานตามพระราชปณิ ธ าน เพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของคนไทยสืบไป”
July-August 2017
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
กฟผ. เปิดโรงไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ทบั สะแก
กฟผ. เปิดโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทบั สะแก รวมเทคโนโลยีเซลล์ แสงอาทิตย์ 4 ชนิด แห่งแรกของประเทศไทย เพื่อวิจัยและพัฒนาพลังงาน ทดแทนและการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่นำ�นวัตกรรมและเทคโนโลยี มาพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน รองรับนโยบาย Energy 4.0 ของกระทรวงพลังงาน พร้อมเปิดศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก ให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านพลังงานแห่งใหม่ของภาคกลางตอนล่าง กรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่ ว มกั บ ทวี นริ ส ศิ ริ กุ ล ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด ประจวบคี รี ขั น ธ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแกและศูนย์ การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก อำ�เภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ ผูน้ �ำ ชุมชน และประชาชนในพืน้ ทีก่ ว่า 500 คน ร่วมพิธี กรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. ได้ด�ำ เนินการ วิจยั และพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอย่างต่อเนือ่ ง ควบคูก่ บั การผลิ ต ไฟฟ้ า จากเชื้ อ เพลิ ง หลั ก ตลอดมา เพื่ อ สนองตอบแผนพั ฒ นา พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกของประเทศ พ.ศ. 2558-2579 หรือ AEDP2015 ที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวง พลังงาน จัดทำ�ขึ้น ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแกนับเป็นอีก หนึ่งโครงการที่ กฟผ. ได้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการนำ�นวัตกรรมและ เทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาเพิม่ ประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน รองรับนโยบาย Energy 4.0 ของกระทรวงพลังงาน และในอนาคต กฟผ. จะนำ�นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่มาผลิตไฟฟ้าด้วยการพัฒนาพลังงาน ทางเลือกแบบผสมผสาน โดยจับคูแ่ หล่งผลิตตัง้ แต่ 2 ชนิดขึน้ ไป ในรูปแบบ July-August 2017
Hybrid และการวิ จั ย พั ฒ นาระบบกั ก เก็ บ พลั ง งานไฟฟ้ า (Energy Storage) มาใช้กบั การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ให้มีเสถียรภาพมากขึ้น เพื่อสนองตอบนโยบาย Energy 4.0 ของกระทรวงพลังงาน ในการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบไฟฟ้า ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำ�หรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก มีขนาด กำ�ลังการผลิต 5 เมกะวัตต์ โดย กฟผ. ต้องการสร้างให้เป็นแหล่ง ศึกษาและวิจยั ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ได้ติดตั้งเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ถึง 4 ชนิด ไว้ในพืน้ ทีเ่ ดียวกันแห่งเดียวในประเทศไทย ประกอบด้วย ชนิดที่ 1 ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอน (Crystalline Silicon) ขนาดกำ�ลังผลิต 1 เมกะวัตต์ โดยนำ�ระบบติดตาม ดวงอาทิตย์แบบถ่วงน้ำ�หนักด้วยน้ำ�มาติดตั้ง ชนิดที่ 2 ติดตั้ง เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิคอน (Amorphous Silicon) ขนาดกำ�ลังผลิต 2 เมกะวัตต์ ชนิดที่ 3 ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ ชนิดไมโครคริสตอลไลน์อะมอร์ฟัสซิลิคอน (Micro Amorphous
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย Silicon) ขนาดกำ�ลังผลิต 1 เมกะวัตต์ และชนิดที่ 4 ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ ชนิดสารประกอบของคอปเปอร์อินเดียมแกลเลียมไดเซเลไนด์ CI (GS) S (Copper Indium Galliam Di-Selenide) ขนาดกำ�ลังผลิต 1 เมกะวัตต์ โดยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดที่ 2-4 ใช้การติดตั้งแบบคงที่ โดย กฟผ. จะทำ�การศึกษาวิจยั เปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของเทคโนโลยี แต่ละชนิดว่ามีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ริมชายฝั่งทะเลที่มีภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงบ่อยและฝนตกชุกตลอดทั้งปีหรือไม่ เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็น ต้นแบบที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ภาคใต้และ พื้นที่ริมชายฝั่งทะเลทั่วประเทศต่อไป
นอกจากนี้ กฟผ. ได้สร้างศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก หรือศูนย์ การเรียนรู้ “คิดดี” โดยออกแบบเป็นอาคารประหยัดพลังงาน พืน้ ทีป่ ระมาณ 1,700 ตารางเมตร โดยนำ�ลักษณะอาคารพื้นถิ่นริมทะเลและเรือประมง มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยตั้งอยู่บริเวณฝั่งตรงข้าม ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก สำ�หรับเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ด้านพลังงาน ภารกิจของ กฟผ. รวมทัง้ ประวัตคิ วามเป็นมาและสิง่ ทีน่ า่ ภูมใิ จ ของชุมชนให้กบั ประชาชนในพืน้ ทีจ่ งั หวัดประจวบคีรขี นั ธ์ ตลอดจนผูท้ สี่ นใจ ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานและชุมชนทับสะแกมากขึ้น โดยจุดเด่นของศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้อยู่ที่โรงภาพยนตร์ 4 มิติ และ การนำ � เสนอข้ อ มู ล ความรู้ ด้ า นพลั ง งานในรู ป แบบของสวนสนุ ก ซึ่ ง ใช้ ตัวการ์ตูนเป็นตัวแทนของพลังงานธรรมชาติที่จะสร้างความน่าสนใจและ แรงบันดาลใจเชิงบวกให้กับผู้เข้าชม โดยเฉพาะนักเรียนและเยาวชนซึ่งเป็น กลุม่ เป้าหมายหลัก และในโอกาสนี้ เสริมคุณ คุณาวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท CMO จำ�กัด (มหาชน) บริษัทคู่สัญญางานสื่อจัดแสดง ในศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก ได้มอบหนังสือมูลค่า 100,000 บาท ให้ กฟผ. นำ�ไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อสังคมต่อไป “วันนี้ นอกจาก กฟผ. จะมีพิธีเปิดโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทับสะแกและศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแกอย่างเป็นทางการแล้ว กฟผ. ยังได้มอบอุปกรณ์การแพทย์มูลค่ากว่า 782,000 บาท ให้กับ แพทย์หญิง สุภาภรณ์ ภมรสูตร ผูอ้ �ำ นวยการโรงพยาบาลทับสะแก เพือ่ ใช้ประโยชน์กบั ผูป้ ว่ ยและประชาชนทีม่ ารับบริการจากโรงพยาบาลทับสะแก มอบรถฉุกเฉิน มูลค่ากว่า 470,000 บาท ให้กับ ชาญชัย กัยวิกัยกำ�เนิด ประธานมูลนิธิ
สว่ า งรุ่ ง เรื อ ง ธรรมสถาน อำ � เภอทั บ สะแก เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ประชาชนทีไ่ ด้รบั ความเดือดร้อนจากอุบตั เิ หตุหรือภัยธรรมชาติ กฟผ. ขอยืนยันว่าตลอดระยะเวลา 48 ปีทผี่ า่ นมา ได้ด�ำ เนินงาน ภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยคำ�นึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน และประเทศชาติ ควบคูก่ บั ความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม ครอบคลุมทุกขั้นตอนการดำ�เนินงาน และมุ่งมั่น ที่จะพัฒนาพลังงานไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย ควบคู่กับ การพัฒนาสังคมชุมชนและการมีสว่ นร่วมในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป” ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวในที่สุด ด้าน ทวี นริสศิริกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า การผลิตไฟฟ้ามาใช้มหี ลายวิธี ซึง่ กฟผ. ก็ได้คดิ ค้นและ เลือกวิธีการผลิตที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับประเทศ เช่น การมาสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทับสะแกนี้ ก็เป็น พลังงานสะอาด ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการนำ�เข้าพลังงาน จากต่างประเทศ และ กฟผ. ยังได้สร้างศูนย์การเรียนรู้ ซึง่ จะเป็น ประโยชน์ ต่ อ ประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนที่ จ ะเป็ น ผู้ ใ หญ่ ในวันข้างหน้า ที่จะได้รับความรู้เรื่องพลังงานไฟฟ้า โดย กฟผ. อาจมีหนังสือเชิญชวนไปถึงโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงที่มี อยู่กว่า 200 โรงเรียน ให้มาชมศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอด องค์ความรู้สู่สังคมต่อไป โดยหาก กฟผ. จะสนับสนุนเรื่องการ เดินทางมาเยี่ยมชมด้วยก็จะเป็นประโยชน์มาก July-August 2017
การไฟฟ้านครหลวง
Asian Utility Week 2017 ครัง้ ที่ 18
การไฟฟ้ า นครหลวง เข้ า ร่ ว มพิ ธี เ ปิ ด และนำ � เสนอ นวั ต กรรมบริ ห ารของ กฟน. ภายในงานประชุ ม วิ ช าการ นานาชาติ Asian Utility Week 2017 ครั้งที่ 18 โดยผู้บริหาร ระดับสูงของ กฟน. ได้รบั เกียรติให้เข้าร่วมสัมมนาเกีย่ วกับระบบ Smart Grid ตลอดจนนวัตกรรมที่ทันสมัยของ กฟน. กีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ในฐานะหนึ่งในประธานการเปิดงาน Asian Utility Week 2017 เปิดเผยว่า กฟน. มุ่งมั่นเป็นองค์กรชั้นนำ�ด้านธุรกิจพลังงาน ไฟฟ้าในระดับสากล ได้ส่งเสริมการนำ�นวัตกรรมมาขับเคลื่อน การพัฒนาระบบไฟฟ้า การปรับปรุงคุณภาพงานบริการ และ การดำ�เนินกิจกรรมทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดมา โดยในครั้งนี้ กฟน. ได้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมสนับสนุนการ จัดงาน Asian Utility Week 2017 ซึ่งเป็นงานประชุมวิชาการ นานาชาติของหน่วยงานทัง้ ภาครัฐและเอกชนทีเ่ ป็นผูป้ ระกอบการ ด้ า นสาธารณู ป โภคในระดั บ นานาชาติ นอกจากนี้ กฟน. ยังได้มกี ารจัดบูทนิทรรศการนำ�เสนอรูปแบบงานบริการล้�ำ สมัย ของ กฟน. ได้แก่ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ MEA Smart Life Application โครงการเปลี่ ย นระบบสายไฟฟ้ า อากาศเป็ น สายไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น ผู้บริหารระดับสูงของ กฟน. ได้รับเกียรติให้ขึ้นปาฐกถา พิเศษ 2 วัน โดยในวันแรก กีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ รองผู้ว่าการ การไฟฟ้านครหลวง ปาฐกถาเรื่อง “การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่ อ การบริ ก ารประชาชนตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0” และ อภิ ชั ย พงศานานุ รั ก ษ์ วิ ศ วกรไฟฟ้ า ปาฐกถาเรื่ อ ง “Underground for Smart City” ในวันสุดท้าย สารนิต อังศุสงิ ห์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ปาฐกถาเรื่อง “Smart Grid”
July-August 2017
การไฟฟ้านครหลวง
ข้อควรระวังอันตรายจากสายไฟฟ้าแรงสูงขาด
ทำ�ไมสายไฟฟ้าแรงสูงจึงขาด สายไฟฟ้าแรงสูงอาจขาดได้หลายสาเหตุ เช่น ฟ้าผ่า ลมพายุพัดเสาล้ม รถเกีย่ วสายไฟฟ้า รถชนเสาไฟฟ้า ต้นไม้หรือป้ายโฆษณาล้มทับสายไฟฟ้า กระแส ไฟฟ้าลัดวงจรอันเนือ่ งมาจากมีวสั ดุหรือต้นไม้แตะเสียดสีสายไฟฟ้า หรือมีอปุ กรณ์ ไฟฟ้า/ฉนวนไฟฟ้าแรงสูงเสื่อมสภาพหรือชำ�รุด เป็นต้น
July-August 2017
การไฟฟ้านครหลวง
อันตรายจากสายไฟฟ้าแรงสูงขาด เมื่อมีสายไฟฟ้าขาด บางครั้งอุปกรณ์ป้องกันอาจไม่ตัดไฟเนื่องจาก กระแสลัดวงจรมีค่าต่ำ� ซึ่งบุคคลทั่วไปมักเข้าใจว่าสายไฟที่ขาดนั้นเป็นสายไฟ แรงต่�ำ ทีใ่ ช้ทวั่ ไปตามบ้าน หรืออาจคิดว่าสายไฟนัน้ มีฉนวนหุน้ อยู่ สามารถเข้าใกล้ หรือจับสายไฟฟ้าที่มีฉนวนนั้นได้ ข้อเท็จจริงก็คือ สายไฟฟ้าแรงสูงที่แขวน บนเสานั้น โดยทั่วไปแล้วไม่อาจเข้าใกล้หรือสัมผัสสายไฟนั้นได้ ผู้ประสบเหตุ จึงมักได้รับอันตรายทั้งที่เกิดจากการสัมผัสสายไฟฟ้าโดยตรงและการไม่สัมผัส สายไฟโดยตรงก็มี ทำ�ให้ได้รบั บาดเจ็บตัง้ แต่สาหัส สูญเสียอวัยวะ จนถึงขัน้ เสียชีวติ ถ้าพบสายไฟฟ้าขาดควรทำ�อย่างไร 1. ให้ระลึกอยู่เสมอว่า สายนั้นมีไฟ อาจเป็นสายไฟแรงสูง การมีไฟนั้น ท่านไม่จ�ำ เป็นต้องเห็นประกายไฟ หรือได้ยินเสียงใดๆ 2. พยายามอยู่ให้ห่าง การได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงนั้น ไม่จำ�เป็นว่า ท่านต้องสัมผัสสายไฟทุกครั้ง หรือสายไฟจะมีฉนวนหรือไม่ ดังนั้น อย่าเข้าใกล้ รั้ว ต้นไม้ รถยนต์ น้ำ� หรือสื่อไฟฟ้า ใดๆ ที่แตะกับสายไฟฟ้าเป็นอันขาด 3. โทรศัพท์แจ้งการไฟฟ้านครหลวง (1130) หรือหน่วยงานสาธารณภัยทันที และกันคนไม่ให้ เข้าไปใกล้ ท่านควรทำ�อย่างไร ถ้าพบว่าสายไฟฟ้าพาดอยู่กับรถยนต์ของท่าน ขั้นแรกจะต้องควบคุมสติไม่ให้ตกใจ อย่าผลีผลามออกไปนอกรถทันที ให้นั่งอยู่ในรถ ตรวจมองดูสภาพภายนอกรถและบนพื้นนอกตัวรถจากในรถว่ามีสายไฟฟ้าพาดหรือแตะสัมผัส ส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวรถหรือไม่ หรือมีสายไฟฟ้าพาดอยู่บนพื้นที่เปียกใกล้ๆ รถหรือไม่ ถ้าพบว่ามีสายไฟฟ้าพาดรถในลักษณะดังกล่าว ให้ปฏิบัติตามดังต่อไปนี้ 1. อย่าพยายามลงจากรถจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มสี ายไฟฟ้าพาดอยูก่ บั รถ หรือมีสายไฟฟ้าพาดอยูบ่ นพืน้ ที่เปียกอยู่ การอยู่ในรถถือว่าปลอดภัยที่สุด และถ้าโทรศัพท์ได้ให้แจ้งการไฟฟ้านครหลวง (1130) หรือ หน่วยงานสาธารณภัยที่เกี่ยวข้องให้เร็วที่สุด 2. ขณะอยู่ในรถถ้าสามารถทำ�ได้ให้ขับรถให้พ้นจากสายไฟฟ้าที่พาดอยู่นั้น แต่ต้องระวังไม่ให้ทับข้าม สายไฟ เพราะสายไฟอาจเกี่ยวติดพันเข้ากับรถและเกิดประกายไฟขึ้นได้ 3. ตะโกนบอกผู้ที่อยู่นอกรถหรือผู้ที่ต้องการช่วยเหลืออย่าเข้าใกล้รถ ให้ออกห่างจากรถหรือสายไฟ จนกว่าจะแน่ใจว่าการไฟฟ้านครหลวงได้ดับไฟแล้ว (ต้องบอกให้โทรศัพท์แจ้งการไฟฟ้านครหลวง หรือ หน่วยงานสาธารณภัยที่เกี่ยวข้อง) กรณีจำ�เป็นต้องออกนอกตัวรถ เช่น รถกำ�ลังเกิดเพลิงไหม้ มีวิธีลงจากรถให้ปลอดภัยจากไฟฟ้าแรงสูง ดังนี้ ก. อย่าก้าวเท้าลงจากรถเป็นอันขาด ต้องใช้วิธีกระโดดลอยตัวลงจากรถให้ห่างจากตัวรถ โดยมีวิธีการลงสู่พื้นอย่างปลอดภัยดังนี้ • ลงสู่พื้นด้วยเท้าข้างเดียวหรือด้วยเท้าสองข้าง แต่ต้องให้เท้าชิดกัน • ขณะเท้าแตะพื้น มือ เท้าและร่างกายต้องไม่แตะส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวรถ July-August 2017
การไฟฟ้านครหลวง
ข. เมือ่ ลงจากรถและเท้าแตะพืน้ แล้ว ให้ออกห่างจากตัวรถ และสายไฟให้มากที่สุด วิธีออกห่างที่ปลอดภัยคือ ให้ค่อยๆ ขยับเดินลากเท้าโดยให้เท้าทัง้ 2 ชิดกัน (อาจใช้วธิ กี ระโดด 2 เท้า พร้อมกัน) ห้ามเดินก้าวเท้ายาวหรือวิ่ง เพื่อไม่ให้ถูกไฟดูดจาก พื้นดินด้วยแรงดันช่วงก้าว (Step Voltage) ค. เมื่อลงจากรถแล้ว อย่ากลับเข้าใกล้รถอีก (เช่น อย่า พยายามดับไฟไหม้รถหรือไปหยิบของมีคา่ ในรถ) จนกว่าจะแน่ใจ ว่าการไฟฟ้านครหลวงได้ดับไฟแล้ว อันตรายของต้นไม้กับสายไฟ ต้นไม้ทมี่ กี งิ่ ไม้แตะเสียดสีกบั สายไฟฟ้าแรงสูง นอกจากจะ ทำ�ให้ฉนวนสายไฟชำ�รุดและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้สายไฟฟ้า แรงสูงขาดแล้ว ต้นไม้ทใ่ี กล้สายไฟฟ้ายังมีภยั อันตรายทีม่ องไม่เห็น กล่าวคือ กิ่งไม้ที่ใกล้ หรือแตะสายไฟฟ้าแรงสูงอาจจะมีกระแส รั่วไหลลงมาผ่านกิ่งไม้ และลงมาตามลำ�ต้นลงสู่พื้นดิน ผู้ที่ปีน ต้ น ไม้ พิ ง หรื อ ยื น ใกล้ ต้ น ไม้ อาจจะถู ก ไฟฟ้ า ดู ด จากแรงดั น ช่วงก้าว หรือแรงดันสัมผัส (Step & Touch Voltage) ข้อแนะนำ�เรื่องต้นไม้กับสายไฟฟ้าแรงสูง 1. แจ้งเจ้าหน้าทีก่ ารไฟฟ้านครหลวง เมือ่ พบกิง่ ไม้แตะสายไฟฟ้าแรงสูง 2. ห้ามปีนต้นไม้ พิง หรือยืนใกล้ตน้ ไม้ทแี่ ตะสายไฟฟ้าแรงสูง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อมีความชื้นหรือฝนตก 3. ห้ามยื่นมือหรือวัสดุใดๆ แตะสายไฟฟ้าแรงสูง ไม่ว่าจะยืนอยู่บน ต้นไม้หรือบนพื้นดิน 4. อย่าพยายามตัดต้นไม้ที่อยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง เว้นแต่ผู้ที่มีความ ชำ�นาญหรือได้ผ่านการอบรมจากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวง 5. หลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้ใต้แนวสายไฟฟ้า หรือเข้าใกล้ หรือแตะ สายไฟฟ้าแรงสูง หรือเลือกปลูกเฉพาะต้นไม้ขนาดเล็กเท่านั้น ข้อควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสายไฟฟ้าแรงสูงขาด 1. หลีกเลีย่ งการยืนอยูท่ โ่ี คนเสาไฟฟ้าหรือใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงในขณะ ทีม่ ีฝนตก ฟ้าคะนอง เพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าและสายไฟฟ้าแรงสูงขาด 2. การเล่นว่าวใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงเมื่อว่าวติดสายไฟให้ทิ้งสายป่าน ทันที การดึงสายป่านนอกจากอาจมีไฟแรงสูงวิ่งมากับสายป่านแล้ว ยังทำ�ให้สายไฟแกว่งเข้าหากันและเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำ�ให้สายไฟฟ้าแรงสูง ขาดตกลงมาและมีผู้ได้รับอันตรายได้ 3. กิ่งไม้ที่แตะและเสียดสีกับสายไฟฟ้าแรงสูง นอกจากจะมีไฟฟ้าวิ่งลงมากับต้นไม้แล้ว ยังอาจทำ�ให้มีไฟฟ้าดับหรือสายไฟฟ้าแรงสูงขาด ตกลงมาและมีผู้ได้รับอันตรายได้ 4. หากพบว่ามีเสียงดังคล้ายเสียงผึ้งบินบริเวณอุปกรณ์หรือสายไฟฟ้าแรงสูงบนเสาไฟฟ้า ให้รีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงที่ใกล้ที่สุด เพื่อ ดำ�เนินการแก้ไข July-August 2017
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
PEA ร่วมพัฒนาไมโครกริด สูม่ าตรฐานระดับโลก
เสริมสกุล คล้ายแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA ร่วมกับหน่วยงานจัดทำ�มาตรฐานชั้นนำ�ระดับนานาชาติ 2 องค์กร คือ International Electrotechnical Commission (IEC) และ Institute of Electrical and Electronics Engineers-Power and Energy Society (IEEE-PES) เป็นเจ้าภาพจัดเวิรค์ ช็อป (Workshop) และประชุมทางวิชาการเพือ่ ร่วมจัดทำ� มาตรฐานไมโครกริด (Microgrids) ณ ห้องเมจิค 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ งานดังกล่าวจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6-8 มิถุนายน 2560 โดยมีผู้เข้า ร่วมงานประกอบด้วยผูเ้ ชีย่ วชาญ วิศวกร ช่าง และบุคลากรในแวดวงพลังงาน อาทิ สำ�นักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) สำ�นักงานคณะกรรมการ กำ�กับกิจการพลังงาน (กกพ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลั ง งาน (พพ.) สำ � นั ก งานคณะกรรมการนโยบายรั ฐ วิ ส าหกิ จ (สคร.) สำ�นักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำ�นักงานพัฒนา วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี แ ห่ ง ชาติ (สวทช.) คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชัน้ นำ� การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) และผู้แทนจาก 8 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส แอฟริกาใต้ อินเดีย จีน มาเลเซีย และสวิตเซอร์แลนด์ ไมโครกริด (Microgrids) เป็นโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็ก ประกอบด้วย แหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากหรือแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ศูนย์ควบคุมสั่งการขนาดเล็กและผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ขนาดเล็ก ไมโครกริด จึงเป็นโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคตที่ถูกพัฒนาขึ้นตามศักยภาพของพื้นที่ เช่น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ� และแหล่งพลังงานในรูปแบบอื่นๆ ทำ�ให้พื้นที่เหล่านั้น มีความมัน่ คงทางพลังงาน ชุมชนทีม่ ไี มโครกริดพึง่ พาตนเองได้ สามารถจ่าย กระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเกิดปัญหากับโครงข่ายไฟฟ้าหลัก (Main Grid) PEA จึ ง มุ่ ง มั่ น พั ฒ นาต้ น แบบไมโครกริ ด ในพื้ น ที่ นำ � ร่ อ งอำ � เภอ แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บ้านขุนแปะ จังหวัดเชียงใหม่ เกาะกูด เกาะหมาก จังหวัดตราด เป็นโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคตที่เหมาะสมกับ สภาพภูมิประเทศของประเทศไทย
July-August 2017
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
PEA ผนึกกำ�ลัง TOT
ร่วมกันขับเคลือ่ นประเทศไทย 4.0
สร้างความเข้มแข็งให้ภาคเศรษฐกิจและภาคสังคมสูเ่ วทีโลก เสริมสกุล คล้ายแก้ว ผูว้ า่ การการไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค หรือ PEA และ มนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำ�กัด (มหาชน) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการใช้ ทรัพยากรร่วมกัน ระหว่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และบริษัท ทีโอที จำ�กัด (มหาชน) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 7 อาคาร 1 บมจ. ทีโอที แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA มีภารกิจหลักในการจำ�หน่าย พลังงานไฟฟ้า มีโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำ�แสงเชื่อมโยงสถานีไฟฟ้า ศูนย์ควบคุมสั่งการจ่ายไฟฟ้าและสำ�นักงานการไฟฟ้า รวมระยะทาง กว่า 20,000 กิโลเมตร และมีเป้าหมายในการพัฒนาโครงข่ายไปสู่ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) สอดคล้องกับนโยบาย PEA 4.0 เชื่อมโยงระบบสื่อสารถึงหม้อแปลงและมิเตอร์ไฟฟ้า เพื่อบริการ ประชาชนด้ ว ยเทคโนโลยี ส ารสนเทศที่ ทั น สมั ย รวมทั้ ง ด้ า น สาธารณูปโภคได้อย่างทัว่ ถึง ครอบคลุมทุกพืน้ ที่ ส่งเสริมความร่วมมือ และผลักดันให้เกิดการดำ�เนินโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สำ�หรับการลงนามบันทึกข้อตกลงในวันนี้ เป็นการร่วมมือในการ พัฒนาธุรกิจร่วมกันเพื่อบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีคุณภาพและ ทั่วถึงตามนโยบายภาครัฐ ด้วยการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และสนับสนุนการดำ�เนินงานของทัง้ 2 ฝ่าย เพือ่ ผนึกกำ�ลังให้สามารถ บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง เหมาะสมและคุ้มค่าในการลงทุน ด้วยยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ในการนำ�เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามา มีบทบาทในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้ กั บ ภาคเศรษฐกิ จ และภาคสั ง คม และเพิ่ ม ขี ด ความสามารถ การแข่งขันในเวทีระดับโลกให้กับประเทศ และเป็นเครื่องมือที่สำ�คัญ ของภาครัฐในการผลักดันและพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยการสร้างประโยชน์ให้กับประเทศและพัฒนา ปรับปรุงโครงข่าย สื่ อ สาร เพื่ อ ให้ ก ารบริ ห ารทรั พ ย์ สิ น อุ ป กรณ์ โ ทรคมนาคมของทั้ ง
2 องค์ ก รมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด และเพื่ อ ให้ บ ริ ก ารที่ มี คุ ณ ภาพกั บ ผู้ใช้บริการของทั้ง 2 หน่วยงาน รวมถึงจะเป็นต้นแบบความร่วมมือ ครั้งสำ�คัญในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่และลดต้นทุน สร้างมูลค่าให้เกิด ประโยชน์สงู สุดกับประเทศและสังคม ลดการพึง่ พาจากภาครัฐ อันนำ� ไปสู่ ก ารบริ ห ารจั ด การที่ ดี ใ นต้ น ทุ น ที่ ต่ำ � มาให้ บ ริ ก ารและเกิ ด การ บู ร ณาการการเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล สารสนเทศได้ อ ย่ า งปลอดภั ย ทั่ ว ถึ ง ครอบคลุมทุกพื้นที่ในความรับผิดชอบของ 2 องค์กรอย่างยั่งยืน July-August 2017
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
PEA จัดโครงการ
PEA ปลูกดูแล รักษ์ปา่ ประจำ�ปี 2560 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคเหนือ) จ.เชียงใหม่ โดย ธีรพงษ์ บุรีรักษ์ ได้มอบหมายให้ ประพันธ์ สีนวล ผู้อำ�นวยการฝ่ายวิศวกรรมและ บริการ เป็นประธานพิธีเปิดและนำ�คณะผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้าง ในสังกัด เข้าร่วมโครงการ PEA ปลูกดูแล รักษ์ป่า กิจกรรมปั่นไปปลูก ปี 2560 ตามนโยบาย Towards Sustainable CSR เติบโตอย่างยั่งยืน ร่ ว มกั บ ชุ ม ชน สั ง คม สิ่ ง แวดล้ อ ม และเศรษฐกิ จ ของประเทศ โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ เป็ น การฟื้ น ฟู พื้ น ที่ ป่ า ให้ มี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ ณ บ้านใหม่เจริญ หมู่ 6 ต.แม่เจดีย์ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกับวัดพระเจ้าหลวง (ม่อนพระเจ้า หลาย) และมณฑลทหารบกที่ 37 ร่วมกันจัดกิจกรรมปั่นจักรยาน และ ปลูกต้นไม้ โดยมีจิตอาสา PEA และสมาชิกชมรมจักรยาน การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค เขต 1 ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ชมรมจักรยานและประชาชน หน่วยงานราชการ เอกชนอำ �เภอ เวียงป่าเป้า ร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยานจากสำ�นักงานการไฟฟ้าส่วน ภูมิภาค สาขาอำ�เภอเวียงป่าเป้า ถึงสถานที่ปลูกป่า จำ�นวน 120 คัน รวมระยะทาง 15 กิโลเมตร ร่วมกันปลูกต้นไม้ประมาณ 1,200 คน มีต้นสัก ต้นประดู่ จำ�นวน 6,500 ต้น ในการนี้ได้รับความกรุณาจาก พระถวิล ถาวรจิตโต เจ้าอาวาสวัด พระเจ้าหลวง (ม่อนพระเจ้าหลาย) กรุณากล่าวบทพระพุทธศาสนากับป่าไม้ และได้รับเกียรติจาก พันเอกสุวิทย์ วังยาว เสนาธิการมณฑลทหารบก ที่ 37 ร่วมเป็นประธานในพิธี โดยมี พิทักษ์ เลาหะเพ็ญแสง ผู้อำ�นวยการ กองอำ�นวยการ เป็นผู้กล่าวรายงาน
July-August 2017
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน)
ECGO มอบทุน “อาชีวศึกษา รุ่นที่ 1” บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำ�กัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป ผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนรายใหญ่แห่งแรกของไทย โดย ดร.โชติชัย เจริญงาม ประธาน กรรมการกำ�กับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม พงศธร คุณานุสรณ์ กรรมการกำ�กับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม และ ชนินทร์ เชาวน์ นิ รั ติ ศั ย กรรมการรั ก ษาการกรรมการผู้ จั ด การใหญ่ มอบทุ น “อาชีวศึกษา รุ่นที่ 1” ซึ่งเป็นทุนต่อเนื่อง 5 ปี จนถึงระดับ ปวส. แก่เยาวชน ที่ผ่านการคัดเลือกจากโรงเรียนรอบโรงไฟฟ้าในกลุ่มเอ็กโก จำ�นวน 25 ทุน ภายใต้โครงการ “โรงไฟฟ้าพี่ โรงเรียนน้อง” หนึ่งในโครงการเพื่อชุมชน ในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของการก่อตัง้ บริษทั สะท้อนความมุง่ มัน่ ของบริษทั
ในการมีส่วนร่วมดูแลและพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องในทุกที่ ที่เข้าไปดำ�เนินกิจการ
เอ็กโก กรุป๊ ประกาศกำ�ไรไตรมาสแรกโตกว่า 2.9 พันล้านบาท โรงไฟฟ้า SPP แห่งใหม่
ชนินทร์ เชาวน์นริ ตั ศิ ยั กรรมการรักษาการกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำ�กัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป เปิดเผยผล การดำ�เนินงานไตรมาส 1 ปี 2560 ว่า เอ็กโก กรุ๊ป เติบโตต่อเนื่อง โดยมีกำ�ไรสุทธิ จำ�นวน 2,963 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำ�นวน 373 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2560 เอ็กโก กรุ๊ป มีความก้าวหน้า ของการดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยบริ ษั ท ร่ ว มทุ น ระหว่ า ง เอ็กโก กรุป๊ กลุม่ บริษทั สตาร์ เอนเนอร์ย่ี และกลุม่ บริษทั เอซี เอนเนอร์ย่ี ได้โอนหุน้ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พภิ พ “ซาลัก” และ “ดาราจัท” ซึ่งมีกำ�ลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 402 เมกะวัตต์ และกำ�ลังการผลิต ไอน้ำ�รวมทั้งสิ้น 235 เมกะวัตต์ (เทียบเท่า) ในประเทศอินโดนีเซีย จากบริษัทในเครือของเชฟรอนแล้วเสร็จ ซึ่งสัดส่วนการลงทุนของ เอ็กโก กรุ๊ป คิดเป็นร้อยละ 20.07 ซึ่งโรงไฟฟ้าดังกล่าวเดินเครื่อง เชิงพาณิชย์แล้ว ทำ�ให้รับรู้รายได้ได้ทันที
“ปัจจุบันเอ็กโก กรุ๊ป มีโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างทั้งในและ ต่างประเทศ 6 โครงการ ได้แก่ โครงการ SPP ในประเทศ 3 โครงการ โรงไฟฟ้า “ไซยะบุร”ี ใน สปป.ลาว โรงไฟฟ้า “ซานบัวนาเวนทูรา” และ โรงไฟฟ้า “มาซินลอค หน่วยที่ 3” ในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งจะทยอย เดิ น เครื่ อ งเชิ ง พาณิ ช ย์ แ ละจ่ า ยไฟฟ้ า เข้ า ระบบภายในปี 2562 โดยโครงการส่วนใหญ่มีความก้าวหน้าตามแผนงานที่วางไว้ ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าคลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึง่ เป็นโรงไฟฟ้าประเภท SPP กำ�ลัง การผลิ ต 102 เมกะวั ต ต์ จะสามารถเดิ น เครื่ อ งเชิ ง พาณิ ช ย์ แ ละ จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในเดือนมิถนุ ายนนี้ ซึง่ จะทำ�ให้บริษทั ฯ รับรูร้ ายได้ เพิ่มขึ้นจากโรงไฟฟ้าดังกล่าว” ชนินทร์ กล่าว สำ�หรับความคืบหน้าของโครงการที่อยู่ระหว่างศึกษาความ เป็นไปได้ในต่างประเทศ 4 โครงการ ได้แก่ สปป.ลาว 2 โครงการ คือ โรงไฟฟ้ า พลั ง น้ำ � “ปากแบง” อยู่ ร ะหว่ า งรอการอนุ มั ติ จ ากคณะ กรรมาธิการแม่น�้ำ โขง (MRC) และโรงไฟฟ้าพลังน้�ำ “น้�ำ เทิน 1” อัยการ สูงสุดอยูร่ ะหว่างการพิจารณาร่างสัญญาซือ้ ขายไฟฟ้า (PPA) หลังจาก คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว ในขณะที่โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ใต้พภิ พ “สตาร์ เอนเนอร์ยี่ ส่วนขยาย (หน่วยที่ 3 และ 4)” อยูร่ ะหว่าง การเจรจาค่าไฟฟ้ากับการไฟฟ้าอินโดนีเซีย และโรงไฟฟ้าถ่านหิน “กวางจิ” อยู่ระหว่างการเจรจาค่าไฟฟ้าและสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ การไฟฟ้าเวียดนาม และเจรจาสัญญาหลักต่างๆ เช่น สัญญาสัมปทาน สัญญาการรับประกันจากรัฐบาล ฯลฯ กับรัฐบาลเวียดนาม July-August 2017
บริษั ท ผลิตไฟฟ้าราชบุรโี ฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน)
ราชบุรโี ฮลดิง้ กำ�ไรไตรมาสแรก 1,358 ล้านบาท
เพิม่ ขึน้ 8% เดินหน้าเป้าหมาย 7,500 เมกะวัตต์ ในปี 2560 บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำ�กัด (มหาชน) รายงานผลการ ดำ�เนินงานไตรมาส 1 ปี 2560 ที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ มีกำ�ไรสำ�หรับงวด จำ�นวน 1,358 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% จากงวดเดียวกัน ของปี 2559 ขณะที่กำ�ไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ (EBIT) เพิม่ ขึน้ 6% เป็น 2,006 ล้านบาท ซึง่ เป็นผลมาจากรายได้จากส่วนแบ่งกำ�ไร ของกิจการร่วมค้าเพิ่มขึ้น ด้านการขยายการเติบโตของบริษัทฯ ยังคง เป้าหมาย 7,500 เมกะวัตต์ และในไตรมาสทีผ่ า่ นมา บริษทั ฯ สามารถดำ�เนิน การได้ 7,014 เมกะวัตต์ เพิม่ ขึน้ จากการลงทุนในโครงการ Collinsville Solar PV กำ�ลังผลิต 42.5 เมกะวัตต์ ของบริษัท ราช-ออสเตรเลีย คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด (บริษทั ฯ ถือหุน้ 80%) อีกทัง้ ยังส่งผลให้สดั ส่วนกำ�ลังผลิตจากพลังงาน ทดแทนเพิ่มขึ้นเป็น 9.86% จากเป้าหมายปีนี้ที่กำ�หนดไว้ 10% ของกำ�ลัง ผลิตรวมทั้งหมด กิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า ราชบุรีโฮลดิ้ง จำ�กัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลการดำ�เนินงานในไตรมาสนี้ ยังเป็นทีน่ า่ พอใจและสามารถดำ�เนินงานตามแผนงานทีว่ างไว้ ในปีนบี้ ริษทั ฯ มุง่ เน้นดำ�เนินการใน 4 ด้านทีส่ �ำ คัญ คือ 1) ผลักดันการเติบโตของกำ�ลังผลิต ให้ถงึ 7,500 เมกะวัตต์ ตามเป้าหมาย 2) เพิม่ อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ โดยการบริหารจัดการให้โรงไฟฟ้าต่างๆ เดินเครือ่ งผลิตไฟฟ้าให้ได้ครบตาม สัญญา เพือ่ รักษาความมัน่ คงของรายได้ 3) วางแผนการเงินรองรับการลงทุน ระยะยาว 4) กระจายการลงทุ น ในธุ ร กิ จ ที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ พลั ง งานและ นอกภาคพลังงานให้เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างฐานธุรกิจของบริษัทฯ ให้มี ความมั่นคงและแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น “การผลักดันการเติบโตของเมกะวัตต์ยงั คงเป็นไปตามแผน โดยมีการ ลงทุนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในออสเตรเลียเพิ่มขึ้นอีก 1 โครงการ ขณะทีอ่ กี 2 โครงการ คือ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู และโครงการ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Riau อินโดนีเซีย อยู่ในขั้นสุดท้ายของกระบวนการ ลงทุน ซึ่งหากกระบวนการนี้เสร็จสมบูรณ์ บริษัทฯ จะมีกำ�ลังผลิตเพิ่มขึ้น จากทั้ง 2 โครงการอีกประมาณ 314.75 เมกะวัตต์ เทียบเท่า ส่งผลให้ก�ำ ลัง ผลิตที่ลงทุนแล้วเพิ่มขึ้นเป็น 7,300 เมกะวัตต์ เทียบเท่า” กิจจา กล่าว นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเร่งรัดและติดตามโครงการที่อยู่ระหว่างการ ก่อสร้าง 5 แห่ง กำ�ลังผลิตตามการถือหุน้ รวม 551.5 เมกะวัตต์ ให้แล้วเสร็จ ตามกำ � หนดเวลาเดิ น เครื่ อ งเชิ ง พาณิ ช ย์ สำ � หรั บ โครงการที่ มี กำ � หนด เดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี 2561 มี 2 โครงการ คือ
July-August 2017
1.โครงการพลั ง งาน แสงอาทิตย์ Collinsville ใน ออสเตรเลีย กำ�ลังผลิต 42.5 เมกะวัตต์ (ถือหุ้น 80%) ได้ เริ่มก่อสร้างแล้วหลังประสบ ความสำ�เร็จจัดหาเงินกูม้ ลู ค่า 57 ล้านเหรียญออสเตรเลีย กับ Clean Energy Finance Corporation การก่อสร้างใช้ ระยะเวลาประมาณ 1 ปี และมีกำ�หนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ ในเดือนพฤษภาคม 2661 2. โครงการพลังงานลม Mount Emerald ในออสเตรเลีย กำ�ลังผลิต 180 เมกะวัตต์ (ถือหุ้น 80%) มีการเตรียมพื้นที่ เพื่อติดตั้งกังหันลม มีกำ�หนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในเดือน กันยายน 2561 สำ � หรั บ โครงการพลั ง งานน้ำ � เซเปี ย น-เซน้ำ � น้ อ ย ใน สปป.ลาว กำ�ลังผลิต 410 เมกะวัตต (ถือหุ้น 25%) ซึ่งการ ก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 75% มีกำ�หนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ใน เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ขณะที่โครงการเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น จังหวัดราชบุรี กำ�ลังผลิต 100 เมกะวัตต์ และผลิตไอน้ำ� 15 ตัน ต่อชั่วโมง (ถือหุ้น 35%) ได้เริ่มการก่อสร้างหลังลงนามสัญญา จ้ า งงานออกแบบวิ ศ วกรรมจั ด หาและก่ อ สร้ า ง มี กำ � หนด เดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 ส่วนโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟังเชงกัง ระยะที่ 2 ใน สาธารณรัฐประชาชนจีน กำ�ลังผลิต 2,360 เมกะวัตต์ (ถือหุ้น 10%) การก่ อ สร้ า งก้ า วหน้ า ตามแผนงาน และมี กำ � หนด เดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี 2564 สำ�หรับผลการดำ�เนินงานไตรมาสที่ 1 บริษัทฯ มีรายได้ จำ�นวน 10,590 ล้านบาท ในจำ�นวนนี้เป็นรายได้ค่าขายไฟจาก โรงไฟฟ้าราชบุรี ไตรเอนเนอจี้ และบริษัท ราช-ออสเตรเลีย คอร์ปอเรชัน่ จำ�กัด จำ�นวน 8,785 ล้านบาท คิดเป็น 83% ของ รายได้รวม นอกจากนี้ยังมีรายได้จากส่วนแบ่งกำ�ไรของกิจการ ร่วมทุนจำ�นวน 527 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47% ส่วนต้นทุนและ
บริษั ท ผลิตไฟฟ้าราชบุรโี ฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน)
ค่าใช้จ่ายรวม มีจำ�นวน 8,848 ล้านบาท ลดลง 26% ฐานะการเงินของบริษทั ฯ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560 มีสนิ ทรัพย์ รวมจำ�นวน 96,749 ล้านบาท หนี้สินจำ�นวน 33,166 ล้านบาท
ส่วนของผูถ้ อื หุน้ 63,583 ล้านบาท มีเงินสดและเงินลงทุนรวมจำ�นวน 16,092 ล้านบาท และกำ�ไรสะสมจำ�นวน 50,184 ล้านบาท
ราชบุรโี ฮลดิง้ เผยแผนผลักดัน
กำ�ลังผลิตโต 7,000 เมกะวัตต์ ในปี 2570 บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำ�กัด (มหาชน) แถลงเปิดตัว อย่างเป็นทางการของ กิจจา ศรีพฑ ั ฒางกุระ กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ที่ เข้ า มารั บ ภารกิ จ สานต่ อ ของ รั ม ย์ เหราบั ต ย์ ที่ เ กษี ย ณอายุ การทำ�งาน เมื่อวันที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมา สำ�หรับแผนธุรกิจในปีนี้ยังคงเป้าหมายตามที่คณะกรรมการ บริษัทฯ เห็นชอบ โดยบริษัทฯ จะต้องเร่งสร้างกำ�ลังผลิตเทียบเท่าให้ เติบโตถึง 7,500 เมกะวัตต์ พร้อมทัง้ บริหารสินทรัพย์ให้มปี ระสิทธิภาพ เพื่อรักษาการเติบโตของรายได้ โดยมุ่งเน้นที่โรงไฟฟ้าสินทรัพย์หลัก ได้แก่ โรงไฟฟ้าราชบุรี โรงไฟฟ้าหงสาใน สปป.ลาว กลุ่มโรงไฟฟ้า โคเจนเนอเรชั่น และกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะผลักดันกำ�ลังผลิตให้เพิ่มขึ้นอีก 7,000 เมกะวัตต์ พร้อมทั้งเตรียมแผนการจัดหาเงินรองรับการลงทุน ประมาณ 300,000 ล้านบาท ภายใน 10 ปีข้างหน้า หรือปี 2570 เพือ่ รักษาและเสริมสร้างฐานธุรกิจของบริษทั ฯ ให้แข็งแกร่งและมัน่ คง ต่อเนื่อง กิ จ จา ศรี พั ฑ ฒางกุ ร ะ กรรมการผู้ จั ด การใหญ่ บริ ษั ท ผลิตไฟฟ้าราชบุรโี ฮลดิง้ จำ�กัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทิศทางการดำ�เนิน งานในปีนี้จะยังคงยึดเป้าหมายเดิม แต่ก็ได้กำ�หนดเป้าหมายท้าทาย เพื่อเพิ่มกำ�ลังผลิตอีก 7,000 เมกะวัตต์ ในปี 2570 ซึ่งต้องดำ�เนินการ ควบคู่กันไป แนวทางการลงทุนโครงการขนาดใหญ่จะใช้รูปแบบการ ซื้ อ และควบรวมกิ จ การให้ ม ากขึ้ น เพื่ อ ลดระยะเวลาการพั ฒ นา โครงการและสามารถรับรูเ้ มกะวัตต์และรายได้ในทันที ส่วนการลงทุน แบบพั ฒ นาโครงการหรื อ กรี น ฟิ ล ด์ จะมุ่ ง เน้ น โครงการประเภท พลังงานทดแทน เพราะระยะเวลาพัฒนาโครงการสัน้ เพียง 1-3 ปี ด้าน เป้าหมายการลงทุนได้ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจไฟฟ้า เชือ้ เพลิง พลังงานทดแทน สาธารณูปโภค ตลอดจนธุรกิจอืน่ ๆ ทีเ่ ป็น
นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ที่ตอบสนองกระแสโลกในอนาคต เช่น ธุรกิจสีเขียว ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานทดแทน เป็นต้น “บริ ษั ท ฯ ได้ ข ยายเป้ า หมายจากเดิ ม ที่ ต้ อ งสร้ า งกำ � ลั ง ผลิ ต ให้เติบโตอีกประมาณ 3,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2566 เป็น 7,000 เมกะวัตต์ ในปี 2570 เพื่อรักษาความมั่นคงของบริษัทฯ ในระยะยาว สำ�หรับแผนงานหลักที่จะต้องดำ�เนินการให้ก้าวหน้าต่อเนื่องในปีนี้ มี 3 เรื่องด้วยกัน คือ การติดตามโครงการที่กำ�ลังพัฒนาและก่อสร้าง จำ�นวน 6 โครงการ รวม 537 เมกะวัตต์ ให้แล้วเสร็จสามารถเดินเครือ่ ง เชิงพาณิชย์ได้ตามกำ�หนดเวลา การปรับปรุงประสิทธิภาพความเชื่อถือได้และความสามารถ ในการพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าทีเ่ ป็นสินทรัพย์หลัก เพือ่ ให้สร้างรายได้ ได้ตามประมาณการ ส่วนการลงทุนจะเร่งหาโครงการในต่างประเทศ พร้ อ มทั้ ง ปรั บ วิ ธี ป ระเมิ น ความเสี่ ย งและผลตอบแทนโครงการ ให้สอดคล้องกับปัจจัยและสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศให้มากขึน้ ผมจะนำ�ความรูแ้ ละประสบการณ์มาเสริมการทำ�งานของราชบุรโี ฮลดิง้ ให้เข้มแข็งและนำ�พาบริษทั ฯ ไปให้ถงึ เป้าหมายให้ส�ำ เร็จ ผมเชือ่ มัน่ ว่า ราชบุรโี ฮลดิง้ จะสามารถเติบโตต่อเนือ่ งอย่างแข็งแกร่งและยังคงดำ�รง ความเป็นผู้นำ�ธุรกิจของประเทศไทยได้ต่อไปในระยะยาว” กิจจา กล่าว ปัจจุบัน ราชบุรีโฮลดิ้งรับรู้กำ�ลังผลิตจากการลงทุนรวม 6,980 เมกะวัตต์ โดยเป็นกำ�ลังผลิตในประเทศ 4,948.59 เมกะวัตต์ และ ต่างประเทศ 2,031 เมกะวัตต์ หากโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Riau ในอิ น โดนี เซี ย ดำ � เนิ น กระบวนการลงทุ น สำ � เร็ จ กำ � ลั ง ผลิ ต จะเพิ่มขึ้นเป็น 7,115 เมกะวัตต์
July-August 2017
Presented by
Powered by
THAILAND
lighting fair
2017
ÖāèČùãÖèöĀäÐòòðďîîŖāČùÖùöŚāÖæĄēÓòéöÖ×òæĄēùćãĎèüāċÚĄñè
íó÷×ăÐāñè ýüôôŞ ďéċæÓ
HIGHLIGHTS
H''ą:E2 2/ĉ: D&?L5D)?5 59 +<*8 D)?5 #-5 (9* ùĀðëĀùêòÿùéÐāòâŞ×òăÖÐĀé İ4NBSU $JUZ 4BGF $JUZ ı čÚèċ×ò×āçćòÐă×ċíĆēüÐāòôÖæćè İċðĆüÖüĀ×Øòăñÿı ÓôăèăÐĎúśÓĂêòąÐøāãśāèÐāòüüÐČééČùÖ ċæÓčèčôñĄüĀ×ØòăñÿċíĆēüÐāòêòÿúñĀãíôĀÖÖāè čÚôŚāòŞċíĆēüÐāòüñĈŚüā÷ĀñČôÿçćòÐă× þôþ ùćãñüãùĀððèāòÿãĀéïĈðăïāÓ "4&"/ "SDIJUFDUVSF -JHIUJOH %FTJHO 'PSVN čãñèĀÐüüÐČééČùÖÙĀĔèèĂòÿãĀéčôÐ ùĀððèāúôĀÐùĈäòêòÿÐā÷èĄñéĀäò×āÐïāÓòĀßČôÿùĀððèāúĀöÑśüäŚāÖđæĄēèŚāùèĎ× üāæă čÚôŚāòŞ íôĀÖÖāèæāÖċôĆüÐ -J'J ČùÖďîüĀ×ØòăñÿċÙĆēüðčôÐ
Smart City. Safe City. ×Āãíòśüð
building fair 2017
ùèĎ××üÖéĈç +66 (0) 2664 6499 ext. 200, 203, 212 info@thailandlightingfair.com
www.thailandlightingfair.com @thlightingfair
Organized by
Rittal_21.59x29.21cm_1.pdf
1
7/31/17
9:47 AM
IEEE PES Thailand
จัดสัมมนา สถานีไฟฟาแรงสูง : ขอกำหนดการเชื่อมตอ, การออกแบบ, การทดสอบและการนำเขาใชงาน IEEE Power and Energy Society จัดสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “สถานีไฟฟาแรงสูง : ขอกําหนดการเชื่อมตอ, การออกแบบ, การทดสอบและการนําเขาใชงาน” วันที่ 24-26 กรกฎาคม 2560 ณ ศูนยการประชุมแหงชาติสิริกิติ์ โดยไดรับเกียรติจาก คุณสุรศักดิ์ ไตรทาน รองผูวาการ การไฟฟาสวนภูมิภาค และรองประธาน IEEE PES-Thailand เปนประธานกลาว เปดการสัมมนา และ เรืออากาศตรี ดร.โตศักดิ์ ทัศนานุตริยะ เปน Session Chairman ดําเนิน การสัมมนา วิทยากรเปนผูเชี่ยวชาญจาก กฟผ. กฟน. กฟภ. อาจารยจากสถาบันอุดมศึกษา และ บริษัทเอกชน มีผูสนใจเขารวมสัมมนากวา 200 คน สุรศักดิ์ ไตรทาน รองผูวาการ การไฟฟาสวนภูมิภาค และ รองประธาน IEEE PES-Thailand เปนประธานกลาวเปดการสัมมนา
เรืออากาศตรี ดร.โตศักดิ์ ทัศนานุตริยะ Session Chairman ดำเนินการสัมมนา
ไดรับเกียรติจากวิทยากรตางประเทศมารวมบรรยาย
คุณรักธรรม สหัสรังสี กรรมการ IEEE PES-Thailand ประธานจัดหลักสูตรสถานีไฟฟาแรงสูง : ขอกำหนดการเชื่อมตอ, การออกแบบ, การทดสอบและการนำเขาใชงาน
July-August 2017
p.46_Substation.indd 46
8/1/17 3:27 PM
IEEE Power & Energy Society – Thailand รวมกับ TNC – CIGRE, ศูนยเชีย่ วชาญพิเศษ เฉพาะดานเทคโนโลยีไฟฟากําลัง คณะวิศวกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และบัณฑิต วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตรนานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลา พระนครเหนือ จัดงานสัมมนา เรื่อง Gas Insulated Switchgear : Design, Applications and Digitalization ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2560 ณ โรงแรมรามาการเดนท โดยไดรบั เกียรติจากวิทยากร จากเอบีบี ประเทศสวิตเซอรแลนด สวีเดน เยอรมนี มาเปนผูบรรยาย มีผูเขารวมสัมมนาจาก EGAT, MEA และ PEA กวา 240 คน และผูเขารวมสัมมนาจาก EPC Contractors ทั้งในและ ตางประเทศ, Consultant, SPP IPP, MWA, AOT, TOT, Industry และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย รวมทั้งหมดกวา 400 คน
July-August 2017
P.48_Cigre.indd 48
8/1/17 3:29 PM
Cover Story
> บริษัท เอวีร่า จ�ำกัด
รักษ์ไฟฟ้า รักษ์โลก...
AVERA
ด้วยสินค้าคุณภาพจาก ตอบสนองงานโครงการที่หลากหลายและครบถ้วน
Offering The Best Alternative !
เมื่ อ ปี 2548 เป็ น ปี ที่ อุ ต สาหกรรมไฟฟ้ า แรงต�่ ำ มี ก ารพั ฒ นาอย่ า งมาก ส่ ง ผลให้ ค วามต้ อ งการสิ น ค้ า ด้ า นไฟฟ้ า เพิ่ ม สู ง ขึ้ น แต่ผู้ประกอบการในตอนนั้นมักเจอกับอุปสรรคในการเลือกใช้สินค้า หากต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาก็จะสูงมากตามไปด้วย จากปัญหาดังกล่าว จึงเกิดการรวมตัวของผู้ที่มีประสบการณ์ก่อตั้ง บริษท ั เอวีร่า จำ�กัด จุดมุ่งหมายเพื่อทำ�หน้าที่เป็นผู้คัดสรรและ นำ�เสนอสิ่งที่ดีกว่าหรือดีที่สุดให้ตลาดวิศวกรรมไทย
บริษัท เอวีร่า จ�ำกัด ก่อตั้งจากกลุ่มผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในงานขายและการให้บริการ ด้านไฟฟ้ามากว่า 20 ปี จึงท�ำให้เข้าใจและทราบถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี จึงได้คดั สรรสินค้าทีม่ คี ณ ุ ภาพ ราคาเหมาะสม พร้อมกับการให้บริการทีด่ ที สี่ ดุ เพือ่ เป็นทางเลือก ให้แก่ผู้ประกอบการในเมืองไทยได้เลือกใช้สินค้ามีคุณภาพในราคาสมเหตุสมผล โดยผลิตภัณฑ์ ที่เริ่มเข้ามาท�ำตลาดได้แก่ กลุ่มของอุปกรณ์ไฟฟ้าก�ำลังในตู้สวิทช์บอร์ด ระบบบริหารจัดการทีจ่ อดรถ และระบบอัดประจุไฟฟ้าส�ำหรับยานยนต์ไฟฟ้า “ผลิตภัณฑ์แรกที่น�ำเข้ามาเป็นผลิตภัณฑ์จากประเทศสเปน ซึ่งจาก ประสบการณ์ของเรา ได้ทราบว่าสินค้าด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้าทีผ่ ลิต ฝัง่ ยุโรปนัน้ หลายๆ แบรนด์ทมี่ ชี อื่ เสียงล้วนผลิตในประเทศสเปน ซึ่ ง มี อ งค์ ค วามรู ้ ก ารผลิ ต สิ น ค้ า ด้ า นอุ ต สาหกรรมไฟฟ้ า ดี ม ากประเทศหนึ่ ง ท� ำ ให้ มั่ น ใจกั บ คุ ณ ภาพของสิ น ค้ า กอปรกั บ ต้ น ทุ น สิ น ค้ า จากสเปนจะถู ก กว่ า อี ก หลาย ๆ แบรนด์ จึงเหมาะกับการน�ำเข้ามาท�ำตลาดในประเทศไทย” คุณปณิธาน กล่าว
คัดสรรสินค้าทุกแบรนด์อย่างพิถีพิถน ั เพื่อคุณภาพ และราคาที่เหมาะสม
แบรนด์ที่เอวีร่าให้ความสนใจ และน�ำเข้ามา ท�ำตลาดแบรนด์แรกคือ CIRCUTOR แบรนด์ดัง จากประเทศสเปน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความ นิยมทั้งในยุโรปและประเทศอื่น ๆ ถือได้ว่าเป็น ผู ้ น� ำ ด้ า นการผลิ ต และจั ด จ� ำ หน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์ ประเภทอุ ป กรณ์ เ ครื่ อ งมื อ วั ด ไฟฟ้ า ก� ำ ลั ง คุณภาพสูง ซึ่ง CIRCUTOR ได้รับการตอบรับที่ ดีจากลูกค้า ด้วยคุณภาพและราคาที่เหมาะสม ท�ำให้เอวีร่าเติบโตแบบก้าวกระโดด จนท�ำให้ เอวี ร ่ า ได้ เ ป็ น ตั ว แทนจ� ำ หน่ า ยรายแรกใน ประเทศไทยที่ได้รับ Exclusive Distributor อย่างเป็นทางการจากเจ้าของแบรนด์
คุณปณิธาน กัจฉปานันท์ Director of Sales and Marketing บริษัท เอวีร่า จ�ำกัด
July-August 2017
Faifa-Mag-Cover Story 2017.indd 50
7/7/2017 11:27:17 PM
AVERA Strategy หลังจากนั้นเราก็มองหาสินค้าตัวใหม่ที่จะน�ำ เข้ามาให้บริการเพื่อขยายฐานลูกค้า จึงมีความ สนใจในแบรนด์ Cirprotec (CPT) จากประเทศ สเปน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอุปกรณ์หัวล่อฟ้า ที่ใช้ป้องกันฟ้าผ่า ส�ำหรับติดตั้งภายนอกอาคารที่ เสีย่ งต่อการเกิดฟ้าผ่า โดยจะช่วยก�ำหนดให้ฟา้ ผ่า ในต�ำแหน่งที่ออกแบบไว้ เพื่อความปลอดภัย สูงสุดต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งระบบ Surge Protection ส�ำหรับติดตัง้ ภายในอาคาร เพือ่ ป้องกัน แรงดันเสิร์จที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็ได้รับ การตอบรับที่ดีจากลูกค้าเช่นกัน เพือ่ ให้บริการทีห่ ลากหลายมากขึน้ เอวีรา่ ก็เริม่ มองหาสินค้าตัวใหม่ จนกระทัง่ ผูบ้ ริหารไปชมงาน แสดงสินค้าที่ประเทศเยอรมนี ได้เห็นผลิตภัณฑ์ ตัวหนึง่ ทีน่ า่ สนใจทัง้ ด้านคุณภาพและราคา รวมทัง้ การบริหารของเจ้าของแบรนด์ จึงเป็นที่มาของ การน�ำสินค้าแบรนด์ CHINT เข้ามาในประเทศไทย
อีกแบรนด์หนึ่งที่ทางเอวีร่าได้น�ำมาท�ำตลาด คือ ALCE จากประเทศตุรกี ที่ผลิตอุปกรณ์แปลง แรงดันในระบบ Medium Voltage ซึ่งบริษัทฯ เน้นการจัดจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Medium Voltage โดยแปลงแรงดันไฟฟ้าเพือ่ ให้ตอ่ เชือ่ มกับ อุปกรณ์ไฟฟ้าได้ โดยเป็นอุปกรณ์เครื่องมือวัด อุปกรณ์ปอ้ งกัน (Protection) และอุปกรณ์ควบคุม (Control) ต่าง ๆ “แบรนด์ ALCE ในประเทศไทยมีผู้น�ำเข้ามา ท�ำตลาดหลายราย แต่เอวีร่าถือเป็นพาร์ทเนอร์ รายใหญ่ ข อง ALCE ซึ่ ง เจ้ า ของแบรนด์ ใ ห้ การยอมรับและท�ำงานร่วมกันอย่างใกล้ชดิ เพือ่ ให้ บริการลูกค้าอย่างดีที่สุด”
CHINT แบรนด์ต่อมาที่เอวีร่าได้น�ำเข้ามาท�ำ ตลาดในไทย และยังเป็นแบรนด์อันดับ 1 ของ ประเทศจีนในด้านการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าก�ำลัง ผู้บริหารได้ไปเจอสินค้ายี่ห้อ CHINT ในงาน แสดงสินค้าที่ประเทศเยอรมนี แต่ด้วยเป็นสินค้า ที่ผลิตประเทศจีน ซึ่งกว่าจะตัดสินใจน�ำเข้ามา ท�ำตลาด เราต้องตรวจสอบคุณภาพสินค้าอย่าง พิถีพิถันจนมั่นใจในคุณภาพ กอปรกับประทับใจ ในการบริหารจัดการของ CHINT ที่ถึงแม้จะตั้ง โรงงานมาได้ไม่นาน แต่ก็สามารถขึ้นแท่นเบอร์ 1 ของจีนที่มีตลาดขนาดใหญ่มหาศาลได้ นั่นแสดง ให้เห็นว่าสินค้าต้องมีคณ ุ ภาพถึงได้รบั การยอมรับ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่คนไทยยังมี ทัศนคติไม่ค่อยดีนักต่อสินค้าจากจีน ซึ่งกว่าที่ เอวี ร ่ า จะท� ำ ให้ สิ น ค้ า แบรนด์ CHINT ได้ รั บ การยอมรั บ นั้ น ท� ำ ให้ ต ้ อ งใช้ เวลาพอสมควร จากการตรวจสอบจะเห็นได้ชัดว่า CHINT เป็น สินค้าที่มีคุณภาพ และได้รับการรับรองมาตรฐาน สินค้าจากหลายสถาบันในยุโรป ปัจจุบัน CHINT ได้รับการยอมรับมากขึ้น พร้อมจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มี งบประมาณจ� ำ กั ด แต่ ไ ด้ รั บ อุ ป กรณ์ ไ ฟฟ้ า คุณภาพสูง ซึ่งลูกค้าสามารถเชื่อมั่นได้ แม้จะเป็น สินค้าที่น�ำเข้าจากประเทศจีน แต่ประสิทธิภาพ และคุณภาพนั้นอยู่ในเกรดพรีเมี่ยมอย่างแน่นอน
แบรนด์สุดท้ายที่เอวีร่าเริ่มน�ำเข้ามาท�ำตลาด ในประเทศไทย ซึง่ แตกต่างจากสินค้าอืน่ ๆ นัน่ คือ แบรนด์ CIRCONTROL จากประเทศสเปน โดยถือเป็นผู้นำ� ในยุโรปและระดับโลกด้านบริหาร การจัดการช่องจอดรถในอาคาร สถานที่แบบ ครบวงจร และจ�ำหน่ายติดตัง้ ระบบอัดประจุไฟฟ้า ส�ำหรับยานยนต์ไฟฟ้าทีไ่ ด้รบั การยอมรับจากทัว่ โลก “ด้วยแนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เป็น ยานยนต์ ไ ฟฟ้ า เริ่ ม ได้ รั บ ความนิ ย มมากขึ้ น ค่ายรถยนต์ใหญ่ ๆ จึงหันมาผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฟฟ้า ทาง เ อ วี ร ่ า จึ ง น� ำเข ้ า อุ ป ก ร ณ ์ อั ด ป ร ะ จุ ไ ฟ ฟ ้ า ส�ำหรับยานยนต์ไฟฟ้ามาให้บริการ ซึง่ ปัจจุบนั เริม่ มีการสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้ามากขึ้น ดังนั้น ความต้องการอุปกรณ์อัดประจุไฟฟ้าจะขยายตัว ตามไปด้วย และทางเอวีร่าจะเดินหน้าท�ำตลาด อย่ า งเต็ ม ที่ เ พราะเชื่ อ มั่ น ว่ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข อง CIRCONTROL มี คุ ณ ภาพและประสิ ท ธิ ภ าพ ไม่น้อยกว่าแบรนด์อื่น ๆ ในตลาด” คุณปณิธาน กล่าวเพิ่มเติม
ดำ�เนินกลยุทธ์อย่างรัดกุม เพื่อรักษาตลาดเดิมและเพิ่มตลาดใหม่ “ที่ ผ ่ า นมาเอวี ร ่ า ด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ด้ ว ยความ ซื่ อ สั ต ย์ ต ่ อ ลู ก ค้ า คั ด สรรสิ น ค้ า คุ ณ ภาพได้ มาตรฐานมาให้ลูกค้า สินค้าทุกชิ้นต้องได้รับ การตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนส่งมอบให้ลกู ค้า ถึงแม้ผู้ผลิตสินค้าจะตรวจสอบมาอย่างดีแล้ว แต่เพื่อเพิ่มความมั่นใจเราก็จะตรวจสอบอีกครั้ง เพราะถ้ า สิ น ค้ า มี ป ั ญ หาจะส่ ง ผลกระทบต่ อ กระบวนการผลิตของลูกค้า ถ้าไฟดับหรือไฟตก เพียงนิดเดียวก็อาจจะท�ำให้เกิดความเสียหาย มูลค่ามหาศาลได้ เราจึงให้ความส�ำคัญกับเรื่อง คุณภาพสินค้ามาก” นอกจากการคัดสรร และตรวจสอบสินค้า คุณภาพอย่างพิถีพิถันแล้ว การบริการระหว่าง การขายและหลังการขายก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่ง ที่เอวีร่าใช้และประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างมาก ด้วยการบริการที่รวดเร็ว ท�ำงานร่วมกับลูกค้า อย่างใกล้ชดิ ท�ำให้การแก้ไขปัญหาท�ำได้งา่ ยและ รวดเร็วขึ้น “ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทฯ ก็ตั้งใจว่าจะเลือก สินค้ามีคณ ุ ภาพในทีร่ าคาเหมาะสม และให้บริการ ลูกค้าอย่างดีที่สุด เพราะทราบดีว่าระบบไฟฟ้า มีความส�ำคัญมาก ถ้าไลน์การผลิตต้องปิดไฟเพือ่ ท�ำการแก้ไขปัญหาจะส่งผลกระทบรุนแรง ดังนั้น นอกจากสิ น ค้ า ที่ ไ ด้ คุ ณ ภาพมี ม าตรฐานแล้ ว การให้ ค�ำ แนะน� ำการใช้ ง านที่ ถู ก ต้ อ ง เพื่ อ ให้ สิ น ค้ า นั้ น ใช้ ง านได้ เ ต็ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ รวมทั้ ง การบริการหลังการขายที่พร้อมให้บริการตลอด เวลาก็เป็นอีกสิง่ หนึง่ ทีเ่ ราปฏิบตั กิ นั มาโดยตลอด และให้ถอื เป็นเรือ่ งส�ำคัญทีท่ กุ คนต้องปฏิบตั ติ าม” ส่วนการด�ำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดในปี 2560 ทีเ่ อวีรา่ ตัง้ เป้าหมายเติบโตที่ 15% แต่ดว้ ย สภาวะเศรษฐกิ จ โดยรวมยั ง ชะลอตั ว และ นโยบายการท� ำ ตลาดของหลาย ๆ บริ ษั ท เปลี่ยนไป ท�ำให้การท�ำตลาดต้องด�ำเนินอย่าง รัดกุมเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า และต้องมองหา ฐานกลุ่มลูกค้าใหม่ July-August 2017
Faifa-Mag-Cover Story 2017.indd 51
7/7/2017 11:27:26 PM
AVERA Strategy
“ในช่วงครึง่ ปีแรกการเติบโตยังไม่เป็นไปตาม เป้านัก ทั้งสภาวะเศรษฐกิจและการที่เจ้าของ แบรนด์ บ างเจ้ า เริ่ ม หั น มาท� ำ ตลาดเอง ท� ำ ให้ การแข่ ง ขั น สู ง ขึ้ น แต่ เราคาดการณ์ ว ่ า ในช่ ว ง ครึง่ ปีหลังจะสามารถผลักดันให้เป็นไปตามเป้าได้ เพราะยังมีโปรเจคใหญ่ ๆ ที่เป็นเป้าหมาย ซึ่ง เอวีรา่ จะเริม่ ด�ำเนินการในช่วงครึง่ ปีหลัง โดยการ ที่ มี คู ่ แข่ ง เจ้ า ใหญ่ ๆ เข้ า มาท� ำ ตลาดแข่ ง ขั น ถึงแม้จะได้รบั ผลกระทบบ้าง แต่ดว้ ยการอยูใ่ น ตลาดมาอย่างยาวนาน และท�ำงานร่วมกับ ลูกค้าอย่างใกล้ชดิ จึงมัน่ ใจว่าจะสามารถ รักษาฐานลูกค้าไว้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเราวางแผนทีจ่ ะขยายกลุม่ ตลาด ใหม่ ๆ มากขึน้ รวมทัง้ การเข้าไปท�ำตลาด ในกลุม่ ทีเ่ จ้าใหญ่ ๆ ซึง่ เป็นเจ้าของตลาดอยู”่
บุคลากรของบริษท ั คือ ทรัพยากรที่มีค่า
เอวีร่าให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาบุคลากรของบริษัทมาโดยตลอด มีการส่งพนักงานไป ฝึกอบรม สัมมนาหาความรูใ้ หม่ ๆ เพิม่ เติมอยูต่ ลอดเวลา กอรปกับเอวีรา่ เป็นตัวแทนจ�ำหน่ายสินค้า จากต่างประเทศ จึงต้องตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทัน ผู้บริหารจึงเชิญวิทยากรจากต่างประเทศมา แลกเปลี่ยนความรู้อยู่เสมอ รวมทั้งส่งพนักงานไปศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ จาก Supplier ด้วยเช่นกัน หรือหากมีหลักสูตรที่เหมาะสมกับพนักงาน ทางเอวีร่าก็จะส่งไปอบรมเพิ่มเติม เพื่อเติมเต็มศักยภาพของพนักงานให้สามารถท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ “เอวีร่าเริ่มต้นจากพนักงานเพียงสิบกว่าคน จากนั้นก็ เติ บ โตขึ้ น เรื่ อ ย ๆ การที่ บ ริ ษั ท จะเติ บ โตขึ้ น ได้ นั้ น พนักงานทุกคนมีส่วนส�ำคัญ ผู้บริหารเล็งเห็นและ ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาบุคลากรมาโดย ตลอด ทัง้ ส่งไปฝึกอบรมดูงาน และเชิญ ผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอด ความรู้” คุณปณิธาน กล่าวเสริม
ตอกย�้ำแบรนด์ที่ครบวงจรด้วยบริการ
One Stop Service
อีกกลยุทธ์หนึ่งที่เอวีร่าจะเริ่มด�ำเนินการใน ไตรมาส 4 และคิดว่าจะด�ำเนินการอย่างเต็ม รูปแบบในช่วงต้นปี 2561 คือ การบริหารจัดการ ระบบไฟฟ้าอย่างครบวงจร (One Stop Service) โดยรับจัดหาอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งระบบ ซึ่งเอวีร่ามี พาร์ทเนอร์ต่าง ๆ ที่สามารถเติมเต็มในส่วนของ งานที่ จ ะเข้ า มารองรั บ ในอนาคตได้ แ บบ One Stop Service ซึ่งเอวีร่าคาดการณ์ไว้ว่าจะ ได้รับการตอบรับที่ดีอย่างแน่นอน
นอกจากนั้ น จะเน้ น ท� ำ ตลาดในส่ ว นของ แบรนด์ CIRCONTROL มากขึ้น ทั้งระบบอัด ประจุไฟฟ้าส�ำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (CirCarLife) และระบบบริหารจัดการช่องจอดรถ (CirPark) ซึง่ ทั้งสองระบบนี้ตอบสนองคนยุคใหม่ท่ีต้องการ ความสะดวกและรวดเร็วได้เป็นอย่างดี ส่วนระบบ ประจุอัดไฟฟ้าส�ำหรับยานยนต์ไฟฟ้านั้น ถือเป็น ความท้าทายใหม่ส�ำหรับเอวีร่าเป็นอย่างมาก จากแนวโน้มการขยายตัวของยานยนต์ไฟฟ้าที่ เพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ งและเป็ น ตลาดที่ มี ก� ำ ลั ง ซื้อสูง ดังนั้นโอกาสที่จะขยายตลาดในส่วนนี้จึงมี ความเป็นไปได้สงู และน่าจะได้รบั การตอบรับทีด่ ี จากตลาดด้วย
รักษ์ไฟฟ้า รักษ์โลก...
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่หลายคนไม่เคยรู้ "เอวีร่า" พร้อมนำ�เสนอในงาน TEMCA 2017 จากจุ ด เริ่ ม ต้ น เมื่ อ ปี ที่ แ ล้ ว ที่ เ อวี ร ่ า ประสบ ความส�ำเร็จในเรื่องของการอนุรักษ์พลังงานและ การบริ ห ารจั ด การพลั ง งาน จึ ง ท� ำ ให้ ป ี นี้ เ กิ ด การต่อยอดจากปีท่ีแล้ว โดยที่เรามีผลิตภัณฑ์ที่ สามารถจัดการเรือ่ งอนุรกั ษ์พลังงานได้อยูแ่ ล้ว แต่ เราเห็นมากกว่านั้น เรามองเห็นถึงการรักษ์โลก ในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ จะมีงาน TEMCA 2017 เป็นงานที่ผู้อยู่ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและ เครื่ อ งกลมารวมกลุ ่ ม กั น มากที่ สุ ด งานหนึ่ ง เอวีร่าจึงได้น�ำผลิตภัณฑ์ไปจัดแสดงในงานเพื่อ สร้างการรับรูต้ า่ ง ๆ เกีย่ วกับผลิตภัณฑ์ของเอวีรา่ โดยในปีนี้เอวีร่าน�ำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ พื่ อ "การรั ก ษ์ ไ ฟฟ้ า รั ก ษ์ โ ลก" ให้กลุ่มเป้าหมายทราบว่าสินค้าของเอวีร่านั้น นอกจากจะช่วยให้ระบบไฟฟ้าของลูกค้ามีความ มั่นคง ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กระบวนการ ผลิ ต แล้ ว ยั ง ช่ ว ยด้ า นการประหยั ด พลั ง งาน ช่วยรักษ์โลกได้อีกทางหนึ่งอีกด้วย
New
CVM-C5 July-August 2017
ซึ่งผลิตภัณฑ์รักษ์ไฟฟ้า รักษ์โลก ที่เอวีร่าน�ำ มาจัดแสดงมีหลากหลาย อาทิ ผลิตภัณฑ์จาก CIRCUTOR เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดและวิเคราะห์ ค่ า พลั ง งานทางไฟฟ้ า ที่ ติ ด ตั้ ง อยู ่ ภ ายในระบบ ไฟฟ้ า ในตู ้ ส วิ ท ช์ บ อร์ ด ที่ อ ยู ่ ใ นหมวดของ Multifunction Power Quality Analyzers และ Multifunction Power Analyzers ซึง่ จะประกอบไป ด้วยดิจติ อลมิเตอร์ CVM-B150 and CVM-B100, CVM-C10, CVM-C5 พร้อมเปิดตัวสินค้าใหม่ CVM-A1500 และโปรแกรมบริหารจัดการพลังงาน PowerStudio SCADA อีกทั้งยังมี Active Filter ทีช่ ว่ ยในการกรองฮาร์มอนิกส์ออกจากระบบไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์จาก CIRCONTROL ที่มีส่วนช่วย ในการรักษ์ไฟฟ้ารักษ์โลก คือระบบน�ำทางที่จอด รถอัจฉริยะ Cirpark และระบบอัดประประจุไฟฟ้า ส�ำหรับยานยนต์ไฟฟ้า CirCarLife
CVM-C10
CVM-B150 and CVM-B100
CVM-A1500
โดยการท�ำงานของในหมวด Multifunction Power Quality Analyzers (CVM-A1500) และ Multifunction Power Analyzers (CVM-B150 and CVM-B100, CVM-C10, CVM-C5) นอกจากจะ เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดและวิเคราะห์คา่ พลังงานทาง ไฟฟ้าต่าง ๆ ยังสามารถดูปริมาณการใช้ไฟฟ้า (kwh) ดูปริมาณความต้องการไฟฟ้าสูงสุด อีกทั้ง ดูค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (KgCO2) ได้แบบ Real-Time ซึ่งจากการดูค่าพลังงานไฟฟ้าเหล่านี้ สามารถน�ำมาวิเคราะห์เพื่อจะได้ทราบว่าควร ด� ำ เนิ น การจั ด การพลั ง งานไฟฟ้ า หรื อ เพิ่ ม ประสิทธิภาพไฟฟ้าในแต่ละส่วนให้ทำ� งานได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงานที่ไม่จ�ำเป็น นอกจากนี้ CIRCUTOR ยังมีโปรแกรมบริหาร จัดการพลังงาน PowerStudio SCADA ทีส่ ามารถ เชื่ อ มต่ อ เข้ า กั บ อุ ป กรณ์ มิ เ ตอร์ ซึ่ ง สามารถ ดูคา่ พลังงานต่าง ๆ ได้จากตัวหน้าจอโปรแกรมได้ โดยตรง สามารถท�ำรายงานได้อย่างถูกต้องแม่นย�ำ ลดความยุ่งยากและป้องกันความผิดพลาดจาก การจดบันทึกด้วยมือ (Human Error) จึงตอบโจทย์ ในเรื่องของการรักษ์ไฟฟ้า และรักษ์โลกได้เป็น อย่างดี อีกทั้งมิเตอร์และโปรแกรมเป็นแบรนด์ เดียวกันจึงท�ำให้ CIRCUTOR ได้เปรียบกว่าคูแ่ ข่ง แบรนด์อื่น ๆ
AFQevo
AFQevo provides you with everything you need to keep your installation free of harmonics.
Active Filter
New
AFQevo filters are very easy to install, achieving top performance from start-up.
ถูกหักล้างออกไปจนหมดเหลือเพียงแต่กระแส ไฟฟ้าที่ความถี่มูลฐาน (Fundamental Frequency ที่ 50 Hz) ท� ำ ให้ ก ระแสไฟฟ้ า ในไลน์ ก ลาย เป็นกระแสที่ปราศจากฮาร์มอนิกส์นั่นเอง ซึ่ง Active Filter จะท�ำให้ระบบไฟฟ้าสะอาด ยืดอายุ การใช้งานของโหลดให้ท�ำงานได้อย่างยาวนาน ป้ อ งกั น ความเสี ย หายอั น เนื่ อ งมาจากความ ผิ ด เพี้ ย นของแรงดั น ไฟฟ้ า ท� ำ ให้ ไ ม่ โ ดนชาร์ จ ค่าไฟเพิ่ม และไม่ต้องเสียเงินค่าซ่อมบ�ำรุงรักษา อุปกรณ์โหลดต่าง ๆ
CirCarLife เป็ น ระบบที่ ช าร์ จ ไฟฟ้ า ส� ำ หรั บ ยานยนต์ไฟฟ้า โดยผลิตภัณฑ์ที่เอวีร่าน�ำเข้ามา จ�ำหน่ายนั้นครอบคลุมทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นใน ส่วนของครัวเรือนหรือผู้ประกอบการที่สนใจจะ ลงทุนเรื่องสถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ เป็นผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์คนที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มี หัวใจของการรักษ์โลก เพราะพลังงานไฟฟ้านั้น เป็ น พลั ง งานที่ ส ะอาด ไม่ ป ล่ อ ยก๊ า ซที่ ท� ำ ลาย ชั้นบรรยากาศ อย่างไรก็ตามต้องมีการบริหาร จัดการให้ดี มิเช่นนั้นไฟฟ้าอาจจะตกได้
PowerStudio SCADA Energy Management Software
CirPark Parking Guidance System
Dynamic Load Management
ผลิตภัณฑ์รกั ษ์ไฟฟ้า และรักษ์โลกทีเ่ ป็นไฮไลท์ ในปีนี้ คือ Active Filter อุปกรณ์ไฟฟ้าทีท่ ำ� หน้าที่ ลดหรือก�ำจัดปริมาณของกระแสฮาร์มอนิกส์ทไี่ หล อยู่ภายในระบบไฟฟ้า โดย Active Filter จะท�ำ หน้าที่วัดค่ากระแสฮาร์ มอนิ กส์ ในระบบไฟฟ้ า ท�ำการวิเคราะห์และค�ำนวณเพือ่ สร้างปริมาณของ กระแสฮาร์มอนิกส์ขนึ้ มาให้อยูใ่ นทิศทางทีต่ รงกันข้าม เป็นมุม 180° ทางไฟฟ้ากับฮาร์มอนิกส์ที่มีอยู่ ภายในระบบ จากนั้นจึงฉีดกระแสฮาร์มอนิกส์ที่ ถูกสร้างขึ้นเข้าสู่ระบบ ท�ำให้ฮาร์มอนิกส์ในระบบ
ระบบน�ำทางทีจ่ อดรถอัจฉริยะ CirPark เป็น ระบบน� ำ ทางผู ้ ขั บ ขี่ ไ ปยั ง ช่ อ งจอดรถที่ ว ่ า งอยู ่ แบบ Real-Time โดยจะทราบได้ทันทีว่าพื้นที่ ไหนว่าง โดยผูข้ บั ขีไ่ ม่ตอ้ งขับรถวนหา นอกจากนัน้ ถ้าพื้นที่ที่ไม่มีรถจอดก็สามารถสั่งดับไฟในส่วน ของช่องจอดรถทีไ่ ม่มคี นจอดทันที จึงเป็นการช่วย ในเรื่องของการรักษ์ไฟฟ้า และช่วยลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อีกทางด้วย ส่ ว นการท� ำ งานของระบบอั ด ประประจุไฟฟ้าส�ำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
โปรแกรม Dynamic Load Management จะช่วย ในการจัดสรรพลังงานไฟฟ้าในหม้อแปลง เดียวกันไม่ให้ไฟตก อีกทั้งยังสามารถ ก� ำ หนดล� ำ ดั บ ความส� ำ คั ญ ของรถยนต์ ไฟฟ้าที่เข้ามาชาร์จไฟได้อีกด้วย
July-August 2017
Main Grid
Article > สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน Microgrid can be
“ISLANDED”
from the Main Grid.
ระบบไมโครกริด
(Microgrid)
ระบบไมโครกริด (Microgrid) คือ ระบบไฟฟาแรงดันต่าํ (Low Voltage) หรือแรงดันระดับกลาง (Medium Voltage) ที่มีขนาดเล็ก ซึง่ ไดมกี ารรวมระบบผลิตไฟฟาขนาดเล็ก โหลดไฟฟา ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการสือ่ สาร ระบบกักเก็บพลังงาน และระบบควบคุม อัตโนมัติเขาไวดวยกัน โดยสวนประกอบตางๆ สามารถทํางาน สอดประสานกัน เปรียบเสมือนเปนระบบเดียวที่เชื่อมตอกับระบบ โครงขายไฟฟาหลัก (Main Grid) ระบบไมโครกริดสามารถแยกตัว เปนอิสระ (Islanding) จากระบบหลักไดในสภาวะฉุกเฉิน โดย หลักการสําคัญของการผลิตไฟฟาดวยไมโครกริดคือการพยายาม สรางความสมดุลระหวางการผลิตพลังงานใหพอดีกับความตองการ ใชพลังงานภายในไมโครกริด และใชระบบโครงขายไฟฟาหลักเพื่อ เสริมความมั่นคงเทานั้น
Building Energy Storage Solar Rooftop
AMI
Solar Rooftop HEMS
Mobile Application
Hydro Power
AMI Home Energy Storage
Demand Response Control
Fossil Fired Power Plant
E-bus, E-car
Charging Station, V2G
Microgrid Control Center
Large Scale Battery Storage Substation Automation Wind Power Forecast
Solar Power Forecast
รูปแสดงสวนประกอบระบบไมโครกริด
ตัวอยางระบบไมโครกริดแบบดั้งเดิม
แนวคิดของระบบไมโครกริดแบบดั้งเดิมนั้นมีมานานแลว โดยในอดีตระบบไมโครกริดจะใชระบบผลิตไฟฟาและความรอนรวม (Combined Heat and Power : CHP) ตัวอยางเชน ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสออสตินไดพัฒนาระบบไมโครกริดซึ่งประกอบดวยระบบ ผลิตไฟฟาและความรอนรวม โดยสามารถจายทั้งพลังงานไฟฟา พลังงานความรอน รวมถึงความเย็นเลี้ยงระบบตนเอง ซึ่งประกอบดวย อาคารกวา 150 หลังของมหาวิทยาลัยไดโดยสมบูรณ ในปจจุบันระบบนี้ไดถูกใชงานมาแลวเปนเวลากวา 40 ป ปจจุบันเทคโนโลยีการผลิตไฟฟาไดถูกพัฒนากาวหนาจนมีขนาดของระบบที่เล็กลง รวมถึงราคาของระบบก็ลดลงต่ํากวาในอดีต สงผลใหแหลงผลิตไฟฟามีลักษณะกระจายตัวมากขึ้น (Distributed Generation : DG) ทําใหสามารถเลือกใชเชื้อเพลิงไดหลากหลาย มากขึ้นในการผลิตไฟฟา รวมถึงการใชพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กดวย ระบบไมโครกริดทําใหผูใชไฟฟามีอิสระที่จะเลือกตําแหนง การติดตัง้ ระบบผลิตไฟฟาใหใกลกบั ความตองการใชพลังงานความรอน ทําใหสามารถนําความรอนเหลือทิง้ จากระบบผลิตไฟฟาขนาดเล็ก นี้ไปใชงานไดโดยตรง (Combined Heat and Power : CHP) สงผลใหสามารถใชพลังงานจากแหลงเชื้อเพลิงไดอยางมีประสิทธิภาพ คือ ใชทั้งผลิตไฟฟาและนําความรอนเหลือทิ้งกลับมาใชประโยชนไดดวย นอกจากนี้ ความกาวหนาดานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทําใหระบบไมโครกริดแบบดั้งเดิมสามารถพัฒนาไปเปนระบบไมโครกริดในสมัยใหม (Advanced Microgrid) ซึ่งจะมีความทันสมัยและ ซับซอนขึ้น เนื่องจากมีทรัพยากรทางพลังงานที่ตองบริหารจัดการมากขึ้น ระบบไมโครกริดตามแนวคิดสมัยใหม หรือ ระบบสมารทไมโครกริด (Smart Microgrid) หมายถึง ระบบไฟฟากําลังขนาดเล็ก ทีป่ ระกอบดวยกลุม ของโหลดชนิดตางๆ ระบบผลิตไฟฟาขนาดเล็กแบบกระจายตัว ระบบกักเก็บพลังงาน โดยสวนประกอบทัง้ หมดทํางาน รวมกันผานระบบการบริหารจัดการพลังงาน ระบบควบคุม รวมไปถึงอุปกรณปองกันและซอฟตแวรตางๆ ที่เกี่ยวของดวย สวนประกอบ สําคัญที่เกี่ยวของในไมโครกริด เชน อุปกรณควบคุมการไหลกําลังไฟฟา (Power Flow Controller) อุปกรณควบคุมแรงดันไฟฟา (Voltage Regulator) อุปกรณรีเลยปองกันและเซอรกิตเบรกเกอรตางๆ เปนตน July-August 2017
p.54-56_article.indd 54
8/1/17 3:30 PM
โดยทั่วไประบบไมโครกริดประกอบดวยสวนประกอบหลักๆ 5 สวน ดังแสดงในตารางตอไปนี้ ระบบผลิตไฟฟาขนาดเล็ก
ระบบผลิตไฟฟาขนาดเล็ก ทําหนาที่ผลิตไฟฟาเพื่อจายใหกับโหลดไฟฟาภายในระบบไมโครกริด โดยเนนการผลิต พลังงานไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียนและแหลงพลังงานทีม่ อี ยูใ นพืน้ ทีน่ นั้ ๆ เปนหลัก การผลิตไฟฟาโดยใชเชือ้ เพลิงฟอสซิล จะถูกใชเปนระบบเสริมเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบในกรณีที่การผลิตไฟฟาจากแหลงพลังงานหลักไมเพียงพอ เทคโนโลยีทใี่ ชในการผลิตไฟฟาในระบบไมโครกริดจึงมีอยางหลากหลาย เชน ระบบผลิตไฟฟาจากแสงอาทิตย ระบบ ผลิตไฟฟาพลังงานลม โรงไฟฟาชีวมวลหรือกาซชีวภาพ โรงไฟฟาพลังงานน้ําขนาดเล็ก เซลลเชื้อเพลิง (Fuel Cell) รวมถึง ระบบผลิตไฟฟาเชื้อเพลิงน้ํามันดีเซล โรงไฟฟากังหันกาซ หรือระบบการผลิตไฟฟาและความรอนรวม (Combined Heat and Power Generation : CHP) เปนตน
ระบบกักเก็บพลังงาน
ระบบกักเก็บพลังงาน ทําหนาที่เก็บสะสมพลังงานไฟฟาสวนเกินซึ่งเกิดในชวงเวลาที่มีการผลิตไฟฟามากกวาความ ตองการไฟฟาในระบบไมโครกริดนัน้ ๆ และจายไฟฟาทีก่ กั เก็บไวกลับคืนเขาสูร ะบบในชวงเวลาทีก่ ารผลิตไฟฟาไมเพียงพอ ตอความตองการไฟฟา ระบบกักเก็บพลังงานทําหนาที่รักษาคุณภาพไฟฟาและรักษาเสถียรภาพของระบบไมโครกริด โดยทั่วไปแลวระบบ กักเก็บพลังงานที่นํามาใชในระบบไมโครกริดมักมีขนาดพิกัดไมเกิน 10 เมกะวัตต-ชั่วโมง ซึ่งสวนมากมักจะเปนระบบ กักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ อยางไรก็ตาม โรงไฟฟาพลังงานน้าํ แบบสูบกลับขนาดเล็ก (Small Pumped Hydropower) หรือระบบกักเก็บพลังงานแบบอากาศอัดขนาดเล็ก (Small Compressed Air Energy Storage) ก็มีศักยภาพในการนํามาใช ในระบบไมโครกริด
ระบบควบคุมไมโครกริด
ระบบควบคุมไมโครกริด ทําหนาที่ควบคุมการทํางานของสวนประกอบตางๆ ในระบบไมโครกริดใหสอดประสานกัน เชน ระบบผลิตพลังงานไฟฟา ระบบกักเก็บพลังงาน โหลดไฟฟา เปนตน โดยทั่วไปแลวระบบควบคุมดังกลาวจะรวมเอาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขาไวดวย นอกจากนี้ ระบบจะสามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนไฟฟาระหวางระบบ ไมโครกริดนั้นๆ กับโครงขายไฟฟาหลักใหมีความสมดุล สอดคลองกับเงื่อนไขที่ไดถูกกําหนดไวกอนหนา รวมถึงทําให เกิดความคุมคาทางเศรษฐศาสตร
สวนเชื่อมตอกับระบบจําหนาย ของโครงขายไฟฟาหลัก
สวนเชื่อมตอกับระบบจําหนายของระบบโครงขายไฟฟาหลัก ทําหนาที่ควบคุมการเชื่อมตอหรือตัดการเชื่อมตอระหวาง ระบบไมโครกริดกับระบบโครงขายไฟฟาหลัก โดยทั่วไปสวนเชื่อมตอจะรับคําสั่งมาจากระบบควบคุมไมโครกริดโดยตรง อยางไรก็ตาม ในภาวะฉุกเฉินสวนเชือ่ มตอจะสามารถตัดการเชือ่ มตอไดดว ยตัวเองอยางอัตโนมัตติ ามอัลกอริธมึ การควบคุม ที่ไดกําหนดไวกอนหนา
โหลดไฟฟา
โหลดไฟฟา ไดแก ผูใชไฟฟาตางๆ ในระบบไมโครกริด ซึ่งอาจจําแนกไดเปนผูใชไฟฟาในภาคบานเรือน ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจอาคารพาณิชย สวนราชการ และอืน่ ๆ โดยโหลดไฟฟาเหลานีจ้ ะตองถูกจัดลําดับความสําคัญ (Priority) จากมาก ไปหานอย เพื่อใชเปนปจจัยหลักในการตัดสินใจของระบบควบคุมไมโครกริดเมื่อเขาสูสภาวะฉุกเฉิน โดยโหลดไฟฟาที่ ถูกจัดใหมีลําดับความสําคัญต่ําจะถูกตัดออกจากระบบกอนในกรณีที่เกิดปญหาขึ้นในระบบ หลังจากนั้น โหลดซึ่งมีความ สําคัญในลําดับถัดๆ ไปก็จะถูกตัดออกจากระบบในกรณีที่ความรุนแรงของภาวะฉุกเฉินเพิ่มขึ้นตามลําดับ สําหรับโหลด ทีม่ ลี าํ ดับความสําคัญมากทีส่ ดุ จะไดรบั การจายไฟฟาอยางตอเนือ่ งในทุกสภาวะ เชน โรงพยาบาล ทาอากาศยาน ฐานทัพ ที่ตั้งทางการทหาร เปนตน
โดยทั่วไประบบไมโครกริดจะสามารถทํางานไดใน 2 โหมด นัน่ คือ โหมดทีร่ ะบบไมโครกริดเชือ่ มตอกับระบบโครงขายไฟฟาหลัก (Grid-Connected Mode) และโหมดที่ระบบไมโครกริดแยกตัว เปนอิสระจากระบบโครงขายไฟฟาหลัก (Islanded Mode) นอกจากนี้ ยังมีระบบไมโครกริดลักษณะเฉพาะอีกประเภทหนึ่งที่เรียกวาระบบ ไมโครกริดประเภทอยูอยางอิสระ (Stand-alone Microgrid) ซึ่งจะ ทํางานใน Islanded Mode ตลอดเวลา ตัวอยางเชน ระบบไมโครกริด ในพื้นที่หางไกลซึ่งไมไดมีการเชื่อมตอเขากับระบบโครงขายไฟฟา หลัก เปนตน ระบบไมโครกริดแตละระบบจะมีพฤติกรรมลักษณะเฉพาะเปน ของตนเอง ทัง้ นี้ ขึน้ อยูก บั ลักษณะของโหลดไฟฟาทีม่ ใี นระบบนัน้ ๆ รวมถึงแหลงพลังงานไฟฟาทีม่ ใี นระบบ โดยเมือ่ รวมระบบไมโครกริด หลายระบบเขาดวยกันก็จะกลายเปนระบบไฟฟาที่ใหญขึ้น ในภาพ ของอนาคตนั้น ระบบโครงขายไฟฟาหลักอาจจะประกอบไปดวย ระบบไมโครกริดขนาดตางๆ จํานวนมากมาประกอบเขาดวยกัน
ประโยชนของระบบไมโครกริด
ประโยชน ที่ สํ า คั ญ ของระบบไมโครกริ ด คื อ การเพิ่ ม ความ เชื่อถือไดของระบบไฟฟา โดยระบบไมโครกริดนั้นประกอบดวย ระบบผลิตไฟฟาภายใน ซึ่งในกรณีที่เกิดปญหาขัดของกับระบบ โครงขายไฟฟาหลัก ระบบไมโครกริดสามารถปลดตัวเองออกมา เปนอิสระ และยังคงจายไฟฟาใหกับโหลดที่มีความสําคัญภายใน ไดบางสวน โดยอาศัยแหลงผลิตไฟฟาภายในระบบไมโครกริด และ/ หรือระบบกักเก็บพลังงาน ผูใชไฟฟาในระบบไมโครกริดสามารถ กําหนดคุณภาพไฟฟา ความมั่นคงของไฟฟา และความเชื่อถือได ของไฟฟาที่ตองการได นอกจากนี้ ระบบไมโครกริดสามารถลดการใชงานระบบสงและ ระบบจําหนายไฟฟาได แตเดิมนั้นไฟฟาจะถูกผลิตขึ้นโดยโรงไฟฟา ขนาดใหญซึ่งอยูหางออกไปจากโหลดไฟฟาสวนมาก ไฟฟาจะตอง ถูกสงผานระบบสงและระบบจําหนายเปนระยะทางไกล ซึ่งจะกอ ใหเกิดการสูญเสียพลังงานไฟฟาไปบางสวน ระบบสมารทกริดสามารถ July-August 2017
p.54-56_article.indd 55
8/1/17 3:30 PM
สายสงหลักมีปญหา
กอน
ไฟฟาแบบรวมศูนยขนาดใหญ (Centralized Generation) จาก โครงขายไฟฟาหลัก สงผลใหการผลิตไฟฟาที่มาจากแหลงพลังงาน ที่หลากหลายมากขึ้น อันจะชวยเสริมสรางความมั่นคงของระบบ ไฟฟาและสามารถจัดการตนทุนการผลิตไฟฟาใหมีความเหมาะสม ทางเศรษฐศาสตรได
การใชงานในระบบสมารทกริด
ไฟดับหมดเลย สายสงหลักมีปญหา
หลัง
BEMS Wind Turbine
HEMS
Solar PV
HEMS
BEMS
Solar Cell
Battery
Microgrid 1 ไฟฟาไมดับเลย
Battery
Microgrid 2 ไฟฟาดับบางสวน
(อุปกรณไฟฟาที่สำคัญยิ่งยวดยังใชงานไดอยู)
รูปแสดงประโยชนของระบบไมโครกริด ลดการสูญเสียพลังงานไฟฟาในสายสงและสายจําหนายได เนือ่ งจาก ระบบผลิตพลังงานไฟฟาและโหลดไฟฟาตั้งอยูในพื้นที่เดียวกัน สามารถลดคาใชจา ยในการปรับปรุงสายสงได นอกจากนี้ การทีโ่ หลด ไฟฟาอยูใ กลกบั ระบบผลิตไฟฟาทําใหมศี กั ยภาพในการนําความรอน เหลือทิง้ จากกระบวนการผลิตไฟฟามาจายใหกบั โหลดความรอนใน บริเวณใกลเคียงได เปนการเพิม่ ประสิทธิภาพการใชพลังงานทางหนึง่ ระบบไมโครกริ ด จะถู ก ออกแบบให ก ระแสไฟฟ า ในระบบ มีการไหลใน 2 ทิศทาง ในขณะที่ระบบโครงขายไฟฟาแบบดั้งเดิม จะเปนการไหลในทิศทางเดียว คือจากโรงไฟฟาไปสูโหลดตางๆ ดังนัน้ ระบบไมโครกริดทําหนาทีเ่ ปนแหลงจายไฟฟาหรือโหลดไฟฟา ก็ได ขึน้ อยูก บั การควบคุมของระบบไมโครกริดและสถานะการทํางาน ของระบบไมโครกริด ณ ชวงเวลานั้น นอกจากนี้ การใชงานระบบไมโครกริดรวมกับระบบโครงขาย ไฟฟาหลักถือเปนการรวมการผลิตไฟฟาแบบกระจายตัวขนาดเล็ก (Distributed Generation) ภายในระบบไมโครกริดเขากับการผลิต
กลุมผูใชไฟฟาที่เปนเปาหมายที่เหมาะสมสําหรับการพัฒนา ระบบไมโครกริดมีอยูดวยกันหลายกลุม เชน สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย กลุมอุตสาหกรรมและการ พาณิชย ชุมชนที่อยูนอกโครงขายไฟฟาหลัก ฐานทัพทางการทหาร ศูนยขอมูล เทศบาล ชุมชนตางๆ ในชวงหลายปที่ผานมาระบบ ไมโครกริดไดถูกศึกษาและพัฒนาเพื่อนําไปใชงานรวมกับระบบ โครงขายไฟฟาหลักในประเทศที่พัฒนาแลวหลายๆ ประเทศ เชน ประเทศในทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุน และออสเตรเลีย เปนตน นอกจากนี้ ระบบไฟฟ า ในอนาคตจะต อ งสามารถรองรั บ การใชงานรถยนตไฟฟาที่คาดวาจะเพิ่มจํานวนขึ้นอยางมหาศาล ระบบไมโครกริดสามารถชวยสนับสนุนการบริหารจัดการการชารจ รถยนต ไ ฟฟ า ในช ว งเวลาต า งๆ ให เ ป น ไปอย า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และเหมาะสมที่สุด ซึ่งนับเปนอีกทางเลือกหนึ่งแทนที่จะตองขยาย ระบบโครงขายไฟฟาหลักเพื่อใหครอบคลุมและรองรับโหลดไฟฟา จํานวนมากที่เกิดขึ้นจากใชรถยนตไฟฟาเพียงอยางเดียว แบตเตอรี่ ของรถยนตไฟฟายังสามารถถูกพิจารณาเปนระบบกักเก็บพลังงาน ชนิดหนึ่งในระบบไมโครกริดไดอีกดวย โดยรถยนตไฟฟาสามารถ จายพลังงานไฟฟายอนกลับไปใหระบบไดในเวลาที่ตองการ นั่นคือ การทํางานในโหมด Vehicle-to-Grid หรือ V2G นอกจากนี้ ระบบไมโครกริดซึ่งสามารถทํางานรวมกับแหลง กําเนิดไฟฟาพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานก็นบั วาเปน อีกทางเลือกที่นาสนใจ เนื่องจากระบบไมโครกริดเปนระบบที่ชวย ในการบริหารสมดุลพลังงานในพื้นที่นั้นๆ ดังนั้น การสนับสนุน ใหเกิดการใชงานระบบไมโครกริดอยางกวางขวางจึงสงเสริมใหเกิด ความหลากหลายของการใชแหลงพลังงานประเภทตางๆ มากยิง่ ขึน้ รวมถึงยังสงเสริมการใชพลังงานอยางมีประสิทธิภาพอีกดวย ซึ่ง สามารถนําไปสูระบบการผลิตและการใชพลังงานไฟฟาที่ยั่งยืนของ ประเทศชาติในอนาคต
ระบบไมโครกริดในประเทศไทย
สําหรับในประเทศไทย วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัย นเรศวร ไดรับความชวยเหลือจาก NEDO (ประเทศญี่ปุน) ในการ กอสรางและติดตั้งระบบตอเชื่อมเครือขายไฟฟาพลังงานทดแทน (PV Micro Grid) โดยการตอเชื่อมเปนพลังงานชุมชนและตอเชื่อม กับระบบโครงขายไฟฟาหลักของประเทศ นอกจากนี้ การไฟฟา สวนภูมิภาคไดเริ่มดําเนินการศึกษาโครงการระบบไมโครกริดที่ เกาะกูด เกาะหมาก จ.ตราด และที่ อ.แมสะเรียง จ.แมฮองสอน (ขอมูลจาก http://www.thai-smartgrid.com)
July-August 2017
p.54-56_article.indd 56
8/1/17 3:30 PM
BMAM-GBR 178.5x11.5 inches MT.pdf 1 4/19/2017 9:50:38 AM
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
> บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำ�กัด
เชลล์แต่งตั้งกรรมการบริหาร ธุรกิจการตลาดค้าปลีก ประจำ�ประเทศไทย
บริ ษั ท เชลล์ แ ห่ ง ประเทศไทย จำ � กั ด ประกาศแต่ ง ตั้ ง อรอุทัย ณ เชียงใหม่ เข้ารับตำ�แหน่งกรรมการบริหาร ธุรกิจการ ตลาดค้าปลีกประจำ�ประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตใน อนาคตของธุ ร กิ จ สถานี บ ริ ก ารน้ำ � มั น รวมถึ ง ธุ ร กิ จ นอนออยล์ (non-oil) ในประเทศไทย โดยเข้ามาสานต่อภารกิจและความสำ�เร็จ จาก มร.แกรนท์ แมคเกรเกอร์ ซึ่งครบวาระการบริหารงาน มีผล นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2560 เป็นต้นไป อรอุทยั ได้กล่าวในโอกาสเข้ารับตำ�แหน่งว่า “ดิฉนั รูส้ กึ ภูมใิ จ และเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้รับโอกาสเข้ามาสานต่อธุรกิจค้าปลีก ซึ่งเป็นธุรกิจสำ�คัญของเชลล์ที่เติมความสุขให้กับผู้บริโภคชาวไทย และเติบโตเคียงคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมาตลอด 125 ปี” อรอุทยั มีประสบการณ์การทำ�งานกับเชลล์มานานกว่า 20 ปี ผ่านความรับผิดชอบหลากหลายทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ก่อนหน้านี้ อรอุทัย ดำ�รงตำ�แหน่งผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการค้าและ การตลาด ธุรกิจบัตรเติมน้ำ�มันเชลล์ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและ ตะวั น ออกกลาง ครอบคลุ ม การดำ � เนิ น งานทั้ ง ในประเทศไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง สิงคโปร์ โอมาน ปากีสถาน อินโดนีเซีย และอินเดีย “ดิฉันมีความมุ่งมั่นที่จะนำ�ธุรกิจค้าปลีกของเชลล์ก้าวสู่อันดับหนึ่งในประเทศไทย ทั้งในด้านความชื่นชมจากลูกค้า และส่วนแบ่งการตลาดภายในอนาคตอันใกล้ ด้วยการมอบ ประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้กับลูกค้า ทั้งจากผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง บริการของพนักงาน รวมถึง สิง่ อำ�นวยความสะดวกภายในสถานีบริการน้�ำ มันทีค่ รบวงจร ภายใต้แนวคิด “เชลล์เติมสุขให้ ทุกชีวิต” นอกจากการเติบโตทางธุรกิจแล้ว การส่งเสริมความสามารถของบุคลากรก็เป็น สิ่งสำ�คัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้บริษัทบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้” ปัจจุบันเชลล์มีสถานีบริการน้ำ�มันในประเทศไทยจำ�นวนมากกว่า 500 สาขา โดยมี เป้าหมายที่จะขยายสถานีบริการน้ำ�มันให้ครบ 800 สาขา และเริ่มขยายธุรกิจนอนออยล์ ภายในสถานีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำ�มันเครื่องเชลล์เฮลิกส์พลัส ร้านกาแฟ เดลี่คาเฟ่ ร้านสะดวกซื้อเชลล์ซีเลค รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจอื่นๆ ในอนาคต
July-August 2017
น้ำ�มันหล่อลื่นนวัตกรรม
เพื่อโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก สิริวิภา ยุกตะทัต ผู้อำ�นวยการฝ่ายขาย-ผู้แทนจำ�หน่าย ผลิตภัณฑ์น�ำ้ มันหล่อลืน่ บริษทั เชลล์แห่งประเทศไทย จำ�กัด แนะนำ�น้�ำ มัน หล่อลื่นนวัตกรรมเพื่ออนาคตจำ�นวน 2 ชนิดสำ�หรับโรงไฟฟ้า ได้แก่ Shell Turbo S4 น้�ำ มันหล่อลืน่ เครือ่ งจักรเทอร์ไบน์เกรดพรีเมียม สำ�หรับโรงไฟฟ้าชีวมวล ซึง่ ใช้เทคโนโลยี GTL (Gas-to-liquid) สิทธิ์เฉพาะของเชลล์ ที่เปลี่ยนก๊าซธรรมชาติให้เป็นน้�ำ มันพื้นฐานที่มี ความบริสุทธิ์สูง และ Shell Mysella S5 น้ำ�มันหล่อลื่นเครื่องยนต์ก๊าซเกรดพรีเมียม (Stationery Gas Engine) สำ�หรับโรงไฟฟ้าชีวภาพ ซึ่งมีคุณสมบัติโดดเด่นด้านการปกป้อง เครื่องจักรให้ทำ�งานได้เต็มประสิทธิภาพ โดยลดปัญหาอาการหยุดชะงักหรือชัตดาวน์ พร้อมกันนี้ เชลล์ยังได้จัดงานสัมมนาหัวข้อ “นวัตกรรมใหม่ของเชลล์ส�ำ หรับโรงไฟฟ้า พลังงานทดแทน” สำ�หรับผู้ร่วมงาน Asean Sustainable Energy Week ซึ่ง จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ น้ำ�มันหล่อลื่น Shell Mysella S5 และ Shell Turbo S4 มี คุณสมบัติที่โดดเด่นด้านการปกป้องเครื่องจักรจากการกัดกร่อน การสึกหรอ จึงยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้สามารถผลิต กระแสไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ใช้น้ำ�มันหล่อลื่นเครื่องจักร น้อยลง เพราะน้ำ�มันทั้ง 2 ชนิดได้รับการพัฒนาให้มีอายุการ ใช้งานที่ยาวนาน ผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าจึงวางใจได้ว่า เครื่องจักรจะ สามารถเดินเครือ่ งในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ ลดปัญหา เครือ่ งจักรหยุดทำ�งาน และช่วยลดต้นทุนในการบำ�รุงรักษาได้เป็น อย่างดี นอกเหนือจากน้ำ�มันหล่อลื่นสำ�หรับเครื่องจักรผลิตกระแส ไฟฟ้าแล้ว เชลล์ยงั นำ�เสนอน้ำ�มันหล่อลื่นสำ�หรับหม้อแปลงไฟฟ้า คือ Shell Diala S4 ซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยี GTL ช่วยป้องกันการ กัดกร่อนภายในหม้อแปลง และช่วยป้องกันปัญหาหม้อแปลงไฟฟ้า ระเบิด ผู้ ส นใจสามารถค้ น หาข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม เกี่ ย วกั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ น้�ำ มันหล่อลืน่ แห่งอนาคตสำ�หรับเครือ่ งจักรผลิตกระแสไฟฟ้าและ หม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งได้แก่ Shell Turbo S4, Shell Mysella S5 และ Shell Diala S4 ได้ที่ www.shell.co.th
July-August 2017
Special Area
> บริษัท ออมรอน อีเลคทรอนิคส จํากัด
ทิศทางการออกแบบตูควบคุม ในอนาคตจะมีขนาดที่เล็ก ลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากผูผลิตไดออกแบบใหอุปกรณตางๆ ที่ใชอยู ภายในตูควบคุมมีขนาดเล็กและบางลง เมื่อเทียบกับอุปกรณเดิม โดยที่ประสิทธิภาพยังคงเดิมหรือดีกวา มีการปรับเปลี่ยนวิธีการ Wiring สายจากเดิมซึง่ เปนแบบ Screw Terminal มาเปนการเดินสาย แบบ Push in Terminal ซึง่ มีขอ ดีอยางไร เมือ่ เทียบกับแบบ Screw Terminal ในวันนีเ้ ราจะมาดูกนั วาประโยชนของขัว้ ตอสายแบบ Push in มีอะไรบาง โดยจะแบงออกเปนขอๆ เพื่อใหเขาใจไดงายขึ้น ดังนี้
ประโยชนของ
Push in
Terminal
ขัว้ ตอแบบ Push-In สามารถลดแรงงานและขัน้ ตอนการตอ หรือถอดสายไฟ
ตอสายไฟไดงาย เพียงแคเสียบในชอง Push-In
ถอดสายไฟเพียง 3 ขั้นตอน โดยใชไขควงแบนขนาดไมเกิน 3 มิลลิเมตร
July-August 2017
p.60-61_omron.indd 60
8/1/17 3:31 PM
หมดปญหาเรื่องการคลายตัว : ดวยโครงสรางของการยึด แบบสปริงจะปองกันการหลวมของสาย หมดปญหาเรือ่ งการคลายตัว ของสกรูหรือขันไมแนน อันจะนํามาซึ่งการช็อตที่ขั้วตอ และไมตอง มีการขันย้ําในการบํารุงรักษารายป
สามารถประกอบสายไฟเปลือยเพียง 3 ขัน้ ตอน โดยใชไขควง แบนขนาดไมเกิน 3 มิลลิเมตร เพิม่ ประสิทธิภาพในการทํางาน (เมือ่ เทียบกับแบบขันสกรู) 1. ไมตองมีการขันย้ําสกรู เมื่อประกอบ เสร็จแลว
2. สกรูอาจมีการคลายตัวในระหวางขนสง อันเกิดจากการสั่นสะเทือน ซึ่งตองมีการ ขันย้ําหลังติดตั้ง
3. ไมตองมีการขันย้ําสกรู หลังการติดตั้ง เครื่อง
4. ขั้วตอแบบ Push-In ไมมีการหลวม แมจะมีการสั่นสะเทือนเมื่อเครื่องทํางาน แตแบบสกรูอาจจะคลายตัวได
สามารถตอสายไฟเปลือยไดโดยตรง : ขั้วตอแบบ Push In สามารถตอสายเปลือยไดโดยตรงโดยไมตองใชเทอรมินอลหรือ หางปลา (ขนาดสายไฟที่ใชได AWG22 /0.5 mm2 ถึง AWG14 /2.5 mm2)
เชื่อมั่นไดดวยมาตรฐานระดับโลกและการใชงานที่แพรหลาย ทั่วโลก ในแถบยุโรปมีการใชขั้วตอแบบ Push-In มานานมากกวา 10 ปแลว
ดวยประโยชนที่ไดกลาวมาของขั้วตอแบบ Push-In คงเปน ขอมูลใหผูประกอบตูควบคุมหรือผูใชงานเครื่องจักรไดตระหนักวา ถึงเวลาหรือยังที่จะลองพิจารณาการเปลี่ยนอุปกรณในตูควบคุม มาใชเปนแบบ Push-In สามารถศึกษาขอมูลเพิ่มเติมไดที่ http://www.omron-ap.co.th/panelsolutions/
July-August 2017
p.60-61_omron.indd 61
8/1/17 3:31 PM
Special Area
> บริษัท ไอทีเอ็ม คาปาซิเตอร จํากัด
การติดตั้งใชงาน
บทความตอนที่ 32
คาปาซิเตอร
ในโรงงานผลิตเหล็ก
ดวยเทคโนโลยีการตัดตอคาปาซิเตอรในระบบแรงต่ํา 400-690 V แบบฉับพลันทันทีทันใด (LV Dynamic Power Factor Compensation) ทําใหบริษัท ไอทีเอ็ม คาปาซิเตอร จํากัด สามารถติดตั้ง “EPCOS” Dynamic PFC ในโรงงานผลิตเหล็กที่มีโหลดเปลี่ยนแปลงเร็วได
รูป 1 : กระแสไฟฟาลดลงอยางมาก หลังจากการใช Dynamic PFC
รูป 2 : อุปกรณ Dynamic PFC
เปาหมายการปรับปรุงคุณภาพไฟฟา ● ● ● ● ● ●
ปรับปรุงคา PF จาก 0.7 เปน 0.96 ลดความสูญเสียขั้นต่ํา 40 kW รักษาระดับแรงดันไฟฟาใหคงที่ ยืดอายุการใชงานของหมอแปลง สายไฟฟา มอเตอร และอื่นๆ ลดฮารโมนิกส เพื่อลดความสูญเสียใหมากยิ่งขึ้น และลดการซอมบํารุงอุปกรณควบคุม และปองกัน เพิ่ม Torque ใหมอเตอร
การวัดและวิเคราะหระบบไฟฟา
บริษทั ไอทีเอ็มฯ ไดดาํ เนินการตรวจวัดคุณภาพไฟฟาโดยละเอียดรวมทัง้ หมด 14 หมอแปลง เพือ่ ออกแบบระบบคาปาซิเตอร ชนิดมีรีแอกเตอร (Detuned Capacitor Banks) ใหเหมาะสมกับโหลดชนิดคงที่ และเปลี่ยนแปลงเร็วแบบฉับพลัน
3.1 3.2 3.3 รูป 3 : ตรวจวัดบันทึกคุณภาพไฟฟา และการจําลองเหตุการณเพื่อวิเคราะหการสูญเสียไฟฟาในระบบ July-August 2017
p.62-63_ITM.indd 62
8/1/17 3:31 PM
4.1
4.2
รูป 4 : ผลการวัดและบันทึกคุณภาพไฟฟา
การออกแบบระบบคาปาซิเตอร
บริษัทไอทีเอ็มฯ ไดดําเนินการออกแบบติดตั้งระบบคาปาซิเตอร แบบมีรีแอกเตอรปองเรโซแนนซ และลดคาฮารโมนิกส ตอรวมกับคอนแทกเตอร สําหรับโหลดทีเ่ ปลีย่ นแปลงชา และ Thyristors สําหรับโหลด ที่เปลี่ยนแปลงเร็ว
5.1
5.2
5.3
รูป 5 : ตูคาปาซิเตอร 9,000 kVar สําหรับหมอแปลง 14 ตัว
การประเมินคุณภาพไฟฟาหลังการติดตั้งระบบคาปาซิเตอร
บริษัทฯ ไดทําการตรวจวัดบันทึกคุณภาพไฟฟาโดยละเอียดหลังจากการติดตั้งใชงาน คาปาซิเตอร 14 ชุด 9,000 kVAr ผลที่ไดทําใหบรรลุเปาหมายการปรับปรุงคุณภาพไฟฟา ทุกประการ และโรงงานสามารถคืนทุนไดภายในเวลา 3 ป
ITM Capacitor Co., Ltd.
91/105 หมู 4 ถนนบางนา-ตราด ตําบลบางโฉลง อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540 โทร. 0-2336-1116 แฟกซ 0-2336-1114 July-August 2017
p.62-63_ITM.indd 63
8/1/17 3:31 PM
Special Area
> บริษัท แม็กซิไมซ อินทิเกรทเท็ด เทคโนโลยี จํากัด
Programmable Relays (Need)
NEED Programmable Relay คือที่สุดของสมารทรีเลย เพราะสามารถตอบสนองการประยุกตใชงานในอุตสาหกรรมไดอยางสมบูรณ
Features
• หนาจอ LCD มีความคมชัดสูง (4 บรรทัด บรรทัดละ 12 ตัวอักษร) มีปุมกดสั่ง/ดูการทํางาน • สามารถตั้งคาพารามิเตอรตางๆ ไดดวยปุมกดดานหนาและดูคาตางๆ ที่หนาจอ • สามารถวัดคาแรงดันไฟฟา 0...255 V AC; 0...12,75/0...25,5 V DC; 0...255 V DC และกระแส 0...25,5 mA/0...51 mA (ขึ้นอยูกับ Version) • มีหลอด LED แสดงสถานะการทํางานของ Relay และ Inputs/Outputs • มี Internal Potentiometer สามารถตอ External Potentiometer ไดใน DC Versions • มี Fast Bidirectional Counter และ Frequency Meter ความเร็วสูงถึง 20 kHz • สามารถตั้งคา DC Analog Digital Inputs เปนแรงดันหรือกระแสไดอยางใดอยางหนึ่ง • สามารถตั้งคา Counters และ Timers ของ DC Analog-Digital Inputs ได • สามารถดูคาแรงดันไฟฟา 3 Phase ได สําหรับรุน 230AC-22-16-8R-D (Equipment Control of Asymmetry and Phase Sequence) • มี Real Time Clocks ที่ปรับเวลาชวง Summer/Winter อัตโนมัติ • สามารถใชรวมกับหนวยความจําภายนอกได • สามารถเขียนโปรแกรมได LAD หรือ STL • ฟรีโปรแกรม PC Need สําหรับโปรแกรมการทํางาน
โปรแกรม PC Need
System Structure
• NEED-Programmable Relays • NEED-PC-15B (RS232), NEED-PC-15C (USB) ■ สายสําหรับตอกับคอมพิวเตอร • NEED-M-4KB, NEED-M-1KB, ■ หนวยความจําภายนอก • PC NEED, ■ โปรแกรมสําหรับเขียนคําสั่งการใชงานแบบ LAD และ Text STL • NEED-MODBUS ■ โมดูลสําหรับติดตอสื่อสารชนิด Modbus
NEED-M-4KB
NEED-PC-15C
July-August 2017
p.64-65_mit.indd 64
8/1/17 3:32 PM
ตัวอยางหนาจอโปรแกรม PC NEED
Communication Module
ตัวอยางการตอสาย
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตอไดที่ บริษัท แม็กซิไมซ อินทิเกรทเท็ด เทคโนโลยี จํากัด โทร 0-2194-8738-9 แฟกซ 0-2003-2215 E-mail : info@mit-thailand.com www.mit-thailand.com July-August 2017
p.64-65_mit.indd 65
8/1/17 3:32 PM
Special Area > PIS
Plastic enclosed switch-disconnectors, OTP Series สำ�หรับการใช้งาน 16 ถึง 720 แอมป์, 690 โวลต์ Front operated, IP65 (IEC 60529) เหมาะกับการใช้งานเป็น Safety Switch ในงานอุตสาหกรรม
ลักษณะการใช้งานทั่วไป อุปกรณ์ Enclosed Switch ถูกออกแบบมาให้ใช้งานเป็นอุปกรณ์ ตัดต่อวงจรออกจากระบบอย่างสมบูรณ์ (Isolated) เพื่อความปลอดภัย ของผู้ปฏิบัติงาน ตัวกล่องพลาสติกเหมาะกับการติดตั้งในสิ่งแวดล้อมที่ต้องการ ความทนทานต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีและปลอดสนิมจากความชื้น อีกทั้งยังมีน้ำ�หนักเบาทำ�ให้งา่ ยต่อการขนส่งและติดตั้ง
ทำ�ไมต้องติดตั้งอุปกรณ์ Safety Switches เหตุผลที่จำ�เป็นต้องใช้ Safety Switches นั้นก็เพราะเป็นการ ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวอุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อันตราย” ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ ความพิการ และ July-August 2017
• วัสดุทำ�จากพลาสติกชนิด Polycarbonate ทนร้อน ไม่มีสาร ติดไฟ ทน UV และการกัดกร่อนของกรด • ในตำ�แหน่ง off สามารถล็อกกุญแจที่ด้ามบิดได้สูงสุด 3 ตัว • ด้ามบิดสามารถล็อกกับฝาตู้ได้เมื่อสวิตช์อยู่ตำ�แหน่ง on • มี N และ G Termial ในตัว • ติดตั้งเป็น Safety Switch สำ�หรับการตัดต่อกระแสไฟฟ้าจาก มอเตอร์ที่หน้าเครื่องจักร เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในช่วง ซ่อมบำ�รุง • ติดตั้งเป็นเมนสวิตช์ในสภาพการใช้งานที่มีความชื้น ของเหลว และฝุ่นผง ขนาดเล็ก (IP65 สำ�หรับรุ่น OTP, IP65 สำ�หรับรุ่น WS) • ใช้เป็นสวิตช์ควบคุมการเปิด-ปิด เครื่องทำ�ความเย็น เครื่อง ปรับอากาศ ปั๊มน้ำ�
สู ญ เสี ย ชี วิ ต ของ “คน” อั น เป็ น การสร้ า งความลำ � บากให้ กั บ คนใน ครอบครัวที่ยังมีชีวิตอยู่ และสร้างปัญหายุ่งยากให้กับองค์กรนั้นอีก ส่วนหนึ่งด้วย ท่านลองทบทวนเหตุการณ์ที่ผ่านมาที่ยังไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ Safety Switches ทำ�ได้ “OFF” เบรกเกอร์ (ที่ไม่สามารถล็อกป้องกัน
ให้ “ON” ได้) เพือ่ ตัด main circuit ออกทีต่ ู้ MCC เพือ่ ความปลอดภัย เพื่อที่ทา่ นจะปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น • กำ�ลังซ่อมคอมเพรสเซอร์ซงึ่ อยูน่ อกอาคาร หรือใบพัดของ คูลลิงเทาเวอร์ซึ่งอยู่นอกอาคาร • กำ�ลังล้างลูกกลึง หรือระบบควบคุมเครื่องพิมพ์ • กำ�ลังทำ�ความสะอาดถังกวน หรือมอเตอร์ถังกวน • กำ�ลังซ่อมแก้ไขระบบใบเลื่อยของเครื่องเลื่อยต่างๆ • กำ�ลังซ่อมมอเตอร์คอนเวเยอร์ หรือสายพาน ข้อควรจำ� • Safety Switch ควรติดตั้งใกล้เคียงเครื่องจักร มอเตอร์ คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ� เพื่อสามารถทำ�การ ปิด-เปิดเครื่องจักรได้โดยเฉพาะกรณีที่ Main Circuit หรือตู้ควบคุม อยู่หา่ งไกลหรือมองไม่เห็นอุปกรณ์ที่ใช้งาน • Safety Switch ต้องสามารถตัดวงจรกระแสไฟด้วยคนออกจากอุปกรณ์ได้ ขณะที่ทำ�งานอยู่หรือเกิดเหตุผิดปกติอันที่จะทำ�ให้อุปกรณ์ เกิดความเสียหาย เช่น Line to Line fault หรือมอเตอร์เดินขัดข้อง เป็นต้น • Safety Switch ควรติดตัง้ ในกรณีที่ Main Switch ทีค่ วบคุมเครือ่ งจักรทีท่ �ำ งานสัมพันธ์กนั หลายๆ ตัว ควรติดตัง้ Safety Switch ให้เครือ่ งจักร แต่ละตัวเพื่อความสะดวกในการตัดวงจรแต่ละตัว ในขณะทำ�การซ่อมบำ�รุงโดยไม่ต้องไปปิด Main Switch • Safety Switch ต้องสามารถล็อกตำ�แหน่ง OFF ด้วยกุญแจล็อกที่ตัวลูกบิดได้และต้องสามารถล็อกฝาตู้ในขณะที่ Safety Switch อยู่ใน ตำ�แหน่ง ON ตามมาตรฐาน KL105-85 อุปกรณ์นี้สามารถนำ�ไปติดตั้งที่ไหน • • • • • • • • •
แอร์คอมเพรสเซอร์ พัดลมระบายอากาศขนาดใหญ่ มอเตอร์ สายพานลำ�เลียง เครื่องล้างรถอัตโนมัติ ห้องครัว ระบบไฟฟ้า ระบบขนส่ง ระบบไฟฉุกเฉิน
สนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่
บริษัท พีไอเอส พาวเวอร์ ดิสทริบิวชั่น จำ�กัด โทร. 0-2105-3011-2 แฟกซ์ 0-2105-3013 Website : http://www.pispd.com E-mail : sales@pispd.com July-August 2017
The 7 Edition of Thailand’s Most Successful Oil & Gas and Petrochemical Exhibition!
มหกรรมครั้งที่ 7 ของการจัดแสดงสินคาและเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมปโตรเลียมและปโตรเคมีที่ใหญที่สุดในไทย
The 3rd Edition of
10-12 OCTOBER 2017 BITEC, Bangkok, Thailand
thai@asiafireworks.com
www.oilgasthai.com Premium Exhibitors By :
Endorsed By :
Ministry of Industry
Department Of Industrial Promotion
Industrial Estate Authority of Thailand
Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR)
Petroleum Institute of Thailand (PTIT)
Welding Institute of Thailand
PTT Maintenance and Engineering Company Limited
Bangchak Petroluem Public Company Limited
ExxonMobil Limited
Official Media :
The Petroleum and Petrochemical College Chulalongkorn University
Technology Promotion Oil Industry Environmental Association Safety Group Association(IESG) (Thailand-Japan)
Thai - German Institute
Design And Engineering Consulting Service Center
Thailand Exhibition Association (TEA)
Oil & Gas Today Magazine
Juz Talk (Thailand)
Fireworks Media (Thailand) Co., Ltd Part of The Fireworks Trade Media Group
PAE Technical Service Company Limited
Special Area
> บริษัท เอวีร่า จ�ากัด
Overvoltage and Surge Protection Device
ตอนจบจ้า
การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ ส�าหรับตู้สวิทช์บอร์ดไฟฟ้าอย่างเหมาะสม
การป้องกันแรงดันไฟฟ้าสูงเกิน ที่เกิดขึ้นชั่วขณะภายในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เนื่องจากปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และการสวิทช์ชิ่งทางไฟฟ้าของโหลดขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพฉนวนของโหลดต่างๆ ทีต่ อ่ อยูภ่ ายในตูส้ วิทช์บอร์ดไฟฟ้า ท�า ให้เกิดความช�า รุดเสีย หาย และเสื่อ มสภาพลงได้ก ่อ นระยะเวลาอั น ควร การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จจึงเป็นการป้องกันเบื้องต้นขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะต้อง ท�างานร่วมกันกับระบบการต่อลงดินทีถ่ กู ต้อง และมีคณ ุ ภาพจึงจะช่วยให้อปุ กรณ์ ป้องกันเสิรจ์ ในระบบไฟฟ้าท�างานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัย สูงสุดต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและผูใ้ ช้งาน
Photovoltaic
Residential
PLC communication)
Commercial
High value equipment
Aero Generators
For lightning currents
Industrial
เนื่องจากเสิร์จ ส�านักงานต่างๆ ได้รับความเสียหาย ร าคา นอ ายใ ภ ช้ ใ ่ ที า ้ ฟฟ ไ ์ กรณ ป ุ อ ที่ มี ค วาม ไว ่งที่ท�าให้ ์ ไ ฟฟ ้ า ที่ มี ชิ้ น ส่ ว นอิ เ ล็ ก ทร อนิ ก ส์ ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า เป็นสาเหตุหนึ กรณ ป ุ าะอ เฉพ โดย า ฟ้ บไฟ ะบ กิ ด ขึ้ น ในร น้ ไม่สามารถทจี่ ะ หรื อ แรง ดั น ไฟฟ ้ า เกิ น ชั่ ว ขณ ะที่ เ นการป้องกันฟ้าผ่าภายนอกอาคารนั ารใ ี ก ธ วิ ่ ง ซึ อบ ระก นป ว ส่ น ป็ ่ เ ที ้ า นฟ้าผ่าภายใน ดันไฟฟ งยิ่งที่จะต้องมีการติดตั้งระบบป้องกั า ต่อการเปลยี่ นแปลงกระแส และแรง อย่ น เป็ า จ� ง จึ ได้ า ผ่ า ้ กฟ รจา าคา ์ภายในอ ป้องกันการช�ารุดเสียหายของอุปกรณ ์ป้องกันเสิร์จส�าหรับตู้สวิทช์บอร์ดไฟฟ้าแรงต�่า ดังต่อไปนี้ กรณ ป ยอุ ว ้ ไปด กอบ ประ อาคารเพิ่มเติม ซึ่ง
Type I SPDs Category D
อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จชนิดที่เกิดจากกระแส อุปกรณ์ปอ้ งกันเสิรจ์ ชนิดนีถ้ กู ออกแบบมา เพื่อป้องกันอันตรายจากผลที่ตามมาจากการ เกิดฟ้าผ่า เช่น การเกิดการวาบไฟตามพื้นผิว เกิดจากฟ้าผ่าโดยตรง ส่งผลกระทบท�าให้ฉนวน ของอุ ป กรณ์ ไ ฟฟ้ า เกิ ด การ Breakdown จนน�าไปสู่การเกิดเพลิงลุกไหม้ได้ ดังนั้นการเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จใน ลักษณะนี้จึงเลือกแบบชนิด Type I SPDs Category D ซึ่งจะถูกติดตั้งอยู่ที่ตู้สวิทช์บอร์ด ไฟฟ้าหลักที่เป็นบริภัณฑ์ไฟฟ้าประธาน เพื่อ รองรับกระแสเสิร์จที่มีพลังงานสูงและป้องกัน การวาบไฟตามผิวของฉนวน
Type II SPDs Category C
อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จชนิดที่เกิดจาก แรงดันไฟฟ้า อุปกรณ์ปอ้ งกันเสิรจ์ ชนิดนีถ้ กู ออกแบบมา เพื่ อ ป้ อ งกั น อั น ตรายที่ เ ป็ น ผลทางอ้ อ ม เนือ่ งจากการเกิดฟ้าผ่า หรืออาจเรียกได้วา่ เกิด จากฟ้าผ่าทางอ้อม ดังนั้นการเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จใน ลักษณะนีจ้ ะเลือกเป็นแบบชนิด Type II SPDs Category C ซึ่งจะถูกติดตั้งอยู่ที่ตู้สวิทช์บอร์ด ไฟฟ้าย่อย ทีร่ บั ไฟฟ้ามาจากแผงบริภณ ั ฑ์ไฟฟ้า ประธาน เพื่อช่วยลดทอนแรงดันไฟฟ้าเกิน Transient ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยส�าหรับ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ภท ูกประเ นให้ถ านได้ ้กับงา กรณ์ท�าง ิภาพ ช ใ ก เลือ �าให้อุป ระสิทธ จะท ่างเต็มป อย
โดยอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จทั้งชนิด Type I SPDs และ Type II SPDs แต่จะแตกต่างกันที่... Type I SPDs ท�าหน้าที่เบี่ยงเบนกระแสเสิร์จลงดิน Type II SPDs ท�าหน้าที่จ�ากัดแรงดันไฟฟ้าเกินให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยกับระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า July-August 2017
การเลือกติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จอย่างได้ผล และมีประสิทธิภาพจะต้องพิจารณาดังต่อไปนี้ • •
แหล่งก�าเนิดของเสิร์จที่เกิดขึ้นภายในระบบไฟฟ้า ความรุนแรงของเสิร์จ โดยพิจารณาตามย่านการป้องกันฟ้าผ่าเป็นส�าคัญ
ข้อก�าหนดของอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จจากฟ้าผ่า แบ่งลักษณะการท�างานออกได้เป็น 3 ระดับ คือ 1. 2. 3.
การป้องกันระดับสนาม เป็นการป้องกันกระแสฟ้าผ่าจากภายนอกอาคาร โดยใช้ Lightning Current Arrester Class B หรือ Class I การป้องกันระดับกลาง เป็นการป้องกันแรงดันเสิร์จส่วนที่หลงเหลือจากขั้นตอนแรก และการป้องกันเสิร์จจากอุปกรณ์สวิทช์ชิ่งภายใน โดยใช้ Surge Voltage Arrester Class C หรือ Class II การป้องกันระดับละเอียดหรือขั้นตอนการป้องกันระดับอุปกรณ์ เป็นการป้องกัน แรงดันเสิร์จส่วนที่หลงเหลือจากขั้นตอนที่ 1 และ 2 และการป้องกันเสิร์จจาก อุปกรณ์สวิทช์ชิ่ง โดยการใช้ Surge Voltage Arrester Class D หรือ Class III
คุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จแต่ละระดับ Lightning Current Arrester
Surge Voltage Arrester
Decoupling Inductor
เป็น Arc Quenching Spark Gap ท�าหน้าที่ดักและ ก�าจัดกระแสฟ้าผ่ามีลักษณะตามตารางที่ 1
อุปกรณ์ท�าจาก Metal Oxide Varistor ท�าหน้าที่ ดักแรงดันเสิร์จที่หลงเหลือจาก Lightning Current Arrester โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ • Base Element เป็นส่วนที่ใช้เป็นพื้นฐานเพื่อ ติ ด ตั้ ง สายไฟฟ้ า และเป็ น ฐานเพื่ อ ติ ด ตั้ ง ชุ ด Plug In Unit • Plug In Unit เป็นส่วนที่ใช้เป็น Surge Voltage Arrester โดยชุด Plug Unit ต้องมี Indicator แสดงว่าอุปกรณ์ยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ซึ่ง ในกรณีที่ Plug Unit ไม่อยู่ในสภาพใช้งานได้ Arrester จะต้องตัดตัวเองออกจากระบบเพื่อ ป้องกันการลัดวงจร
ใช้ส�าหรับติดตั้งอนุกรมกับวงจรในกรณีที่ระยะห่าง ระหว่าง Lightning Current Arrester กับ Surge Voltage Arrester น้อยกว่า 10 เมตร มีลักษณะตามตารางที่ 3
ตารางที่ 1 ตัวอย่างคุณลักษณะของ Lightning Current Arrester
ตารางที่ 2 ตัวอย่างคุณลักษณะของ Surge Voltage Arrester
ตารางที่ 3 ตัวอย่างคุณลักษณะของ Decoupling Inductor
Lightning Current Arrester Arrester Class Arrester Voltage Nominal Discharge Surge (8/20 μs) Lightning Test Current (10/350 μs) acc. to IEC 61024-1 Quenching Short Circuit Current at Un Protection Level Response Time Temperature Range Protection Type
คุณสมบัติขั้นพื้นฐาน B 330 V 50 / 60 Hz ≥ 50 kA per phase ≥ 50 kA per phase
Surge Voltage Arrester Arrester Class Nominal Voltage (Un) Arrester Rated Voltage (Uc) Discharge Current to PE with Un Nominal Discharge Surge Current (8/20 μs) Isn Maximum Discharge Surge Current (8/20 μs) Imax Response Time Protection Level (5 kA) Protection Level with Isn Temperature Range Protection Type
50 kA (rms) ≤ 2.5 kV ≤ 1 μs -40 °C to 85 °C IP20
คุณสมบัติขั้นพื้นฐาน C 230 Vac 275 Vac ≤ 0.3 mA
Lightning Current Arrester Nominal Voltage Nominal Frequency Nominal Current Inductance (Ln) DC Resistance (Rcu) Maximum Discharge Surge Current (8/20 μs) Imax Temperature Range Protection Type Protection Type
20 kA per phase 40 kA per phase ≤ 25 ns 1 kV 1.35 kV -40 °C to 85 °C IP20
3 ขั้นตอนง่าย ๆในการเลือกเสิร์จที่จะติดตั้งภายในตู้สวิทช์บอร์ดไฟฟ้ามีดังนี้ 1
พิ จ ารณาแรงดั น ไฟฟ้ า ใช้ ง านและ กระแสสู ง สุ ด ที่ บ ริ เวณจุ ด ต่ อ ที่ ต ่ อ ร่วมใช้งาน
July-August 2017
2
พิ จ ารณาเลื อ กประเภทของอุ ป กรณ์ ป้องกันเสิร์จ และกระแสไฟฟ้าสูงสุด ที่ต้องทนทานได้ เช่น SPDs Type I, Type II หรือ Type I + II เป็นต้น
3
คุณสมบัติขั้นพื้นฐาน 500 Vac 50 Hz 63 A / 40 °C 7.5 μH (10 kHz) 2.5 mΩ 40 kA per phase -40 °C to 115 °C IP 20 IP20
พิ จ ารณาแรงดั น ไฟฟ้ า หลงเหลื อ ภายหลังจากการเกิดเสิร์จโดยอ้างอิง อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการป้องกัน เช่น Residual Voltage (1.2 / 50μs) ที่ <4 kV, 1.5 kV และ <1 kV เป็นต้น
High discharge capacity 10/350 μs
IEC 61643-11
EN 61643-11
Standard
Standard
Wide
range of solutions
Certificate
Type I+II pluggable protectors
IEC 61643-11
EN 61643-11
Standard
Standard
Certificate
Type II pluggable protectors
PSC Range
PSM Range
for MDB (Main Distribution Board)
for DB (Distribution Board)
เหมาะส�าหรับการป้องกันในระดับแรกที่ถูกติดตั้งในแผงจ่ายไฟ และบริเวณ ที่มีการเกิดฟ้าผ่าเป็นจ�านวนมาก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการติดตั้งจะรองรับกับ การป้องกันฟ้าผ่าจากภายนอก • สามารถป้องกันอุปกรณ์ทั้งหมดจากการถูกฟ้าผ่าได้โดยตรง • เหมาะส�าหรับงานทุกประเภท เช่น อาคาร ส�านักงาน โรงงานอุตสาหกรรม • ความสามารถในการดิสชาร์จกระแสอิมพัลส์ที่ 10/350 μs : 12.5 kA หรือ 25 kA ต่อเฟส • อุปกรณ์ได้รับมาตรฐาน IEC 60634-4-443 Category 1 • สามารถแสดงสถานะการท� า งานของอุ ป กรณ์ ป ้ อ งกั น เสิ ร ์ จ ได้ เ มื่ อ ตั ว อุ ป กรณ์ อ ยู ่ ใ นสภาวะช� า รุ ด เสี ย หายจากการใช้ ง าน อี ก ทั้ ง ยั ง มี Auxiliary Contact เพื่อน�าไปประยุกต์ใช้งานได้ • สามารถน�าอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จไปใช้งานได้ทั้ง AC และ DC
อุปกรณ์ปอ้ งกันเสิรจ์ Type II นี้ มีความเหมาะสมส�าหรับการป้องกันใน ระดับทีส่ อง โดยจะถูกติดตัง้ อยูภ่ ายในแผงจ่ายไฟย่อย รองลงมาจาก การติดตัง้ อุปกรณ์ปอ้ งกันเสิรจ์ Type I ตูจ้ า่ ยไฟฟ้าหลัก ส�าหรับการป้องกัน ระดับแรกนัน้ จะมีการป้องกันส�าหรับอุปกรณ์ปอ้ งกันเสิรจ์ ส่วน Type II ทีม่ คี วามเหมาะสมส�าหรับป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร เพือ่ ป้องกัน เสิรจ์ จากฟ้าผ่าภายนอก ไม่ให้อปุ กรณ์ไฟฟ้าได้รบั ความเสียหายขึน้ ได้ • ค่ากระแสทดสอบรูปคลื่น 8/20 μs ที่ไหลผ่านตัวอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ เช่น 20 - 40 kA ต่อเฟส • เหมาะกับการใช้งานส�าหรับที่พักอาศัย และอาคารพาณิชย์ต่างๆ (ที่ไม่มีระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอก) • อุปกรณ์ได้รับมาตรฐาน IEC 60634-4-443 Category 1 • มีสญ ั ลักษณ์ในการแสดงผลเมือ่ อุปกรณ์ปอ้ งกันเสิรจ์ ช�ารุดเสียหายจาก การใช้งาน • สามารถน�าอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จไปใช้งานได้ทั้ง AC และ DC
พิกัดการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ • รองรั บ การต่ อ ลงดิ น ส� า หรั บ ระบบไฟฟ้ า TNS, TNC และ TT เริ่มต้นที่พิกัดแรงดันไฟฟ้า 120/208V และ 230/400V • รองรับส�าหรับระบบไฟฟ้าแบบ IT แบบ Single Pole โดยมีพิกัด แรงดันไฟฟ้าสูงถึง 690V • มีความเหมาะสมกับการป้องกันเสิร์จในระบบไฟฟ้า DC เช่น แผงโซล่าร์ โดยมีพิกัดแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 1000 Vdc รวมไปถึง การป้องกันในระบบ Ground และ Unground System ได้อีกด้วย • สามารถป้องกันอุปกรณ์ประเภท PLC และระบบสื่อสารต่างๆ • รองรับมาตรฐานสากล IEC 61643
พิกัดการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ • รองรับการต่อลงดินส�าหรับระบบไฟฟ้า TNS, TNC และ TT เริ่มต้นที่พิกัดแรงดันไฟฟ้า 120/208V และ 230/400V • รองรับส�าหรับระบบไฟฟ้าแบบ IT แบบ Single Pole โดยมีพิกัด แรงดันไฟฟ้าสูงถึง 690V • มีความเหมาะสมกับการป้องกันเสิรจ์ ในระบบไฟฟ้า DC เช่น แผงโซล่าร์ โดยมีพิกัดแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 1000 Vdc รวมไปถึงการป้องกันในระบบ Ground และ Ungrounded System ได้อีกด้วย • สามารถถป้องกันอุปกรณ์ประเภท PLC และระบบสื่อสารต่างๆ • รองรับมาตรฐานสากล IEC 61643
The Best Performance in the Market
2
1
Biconnect Connection
Remote Indication
3 Cirprotec Quality
12 11 14
5
4 Easy to Install
Protector Lifetime Status Indication
6 8
New, Optimised Disconnection System
7
Polariser
1. มี Dry Contact ให้ใช้งานเพื่อส่งสัญญาณในกรณีที่อุปกรณ์ ป้องกันเสิร์จช�ารุดเสียหายจากการป้องกัน 2. Terminal เข้าสายของอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จถูกออกแบบมา ให้สามารถรองรับการต่อวงจรได้ 2 ลักษณะ คือ การเข้า สายไฟฟ้า และสามารถต่อเข้ากับบัสบาร์ทองแดงได้อกี ด้วย 3. ผลิตภัณฑ์ถกู ออกแบบมาให้สามารถตัดความร้อนทีเ่ กิดขึน้ จากการท�างานโดยการใช้วัสดุและส่วนประกอบที่ดีที่สุด 4. Indicator แสดงผลหมดอายุการใช้งาน 5. เปลี่ยนง่ายและรวดเร็วส�าหรับอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จในเฟส ที่เสียหาย 6. อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จได้พัฒนาระบบตัดการเชื่อมต่อใหม่ ที่ ดี ที่ สุ ด ส� า หรั บ ความเสี ย หายที่ เ กิ ด ขึ้ น ของอุ ป กรณ์ ซึ่ ง จะมีความสอดคล้องกับการทดสอบการตัดการเชื่อมต่อ โดยเป็นไปตามมาตรฐานใหม่ส�าหรับตัวป้องกัน 7. ระบบความปลอดภั ย เพื่ อ หลี ก เลี่ ย งในกรณี ที่ เ กิ ด ความ ผิดพลาดในการติดตั้ง 8. สามารถสลั บ ต� า แหน่ ง ฐานของตั ว อุ ป กรณ์ ไ ด้ เพื่ อ ให้ มี ความสะดวกในการรับสายไฟจากด้านล่างหรือด้านบนได้ อย่างสะดวก
Reversible Installation
July-August 2017
Selection
Guide 1. เมื่อต้องการติดตั้งการป้องกัน Type I+II หรือ Type I นั้น จะต้องใช้ ตัวป้องกัน Type II เนื่องจากเป็นสิ่งที่ต้องจ�ากัดแรงดันไฟฟ้าให้กับ ค่าทีป่ ลอดภัยส�าหรับโหลดทีเ่ ชือ่ มต่อกับแหล่งจ่ายไฟ หากการเกิดเสิรจ์ มีปริมาณที่สูงมาก การป้องกันเหล่านี้จะไม่เพียงพอและจ�าเป็นต้องมี การป้องกันแบบ Type I+II (เช่น ในกรณีของระบบป้องกันฟ้าผ่าหรือมี ระดับความเสี่ยงสูงมาก) 2. พิจารณาระบบไฟฟ้าที่ใช้งาน เช่น TT, TNS, TNC, PV (photovoltaic) 3. เลือกจ�านวนขั้วของอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ เช่น 1P, 1P+N /2P, 3P / DC, 3P+N / 4P เป็นต้น 4. เลือกพิกัดการป้องกันของอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ เช่น Imax (PSM range) : 20 kA / 40 kA (L-N, N-PE) Iimp (PSC range) : 12.5 kA (L-N) / 25 kA (L-N, N-PE) / 50 kA (N-PE) 5. เลือกขนาดพิกดั แรงดันไฟฟ้าทีต่ อ้ งการอุปกรณ์ปอ้ งกันเสิรจ์ ใช้งาน เช่น 120 : Un=120V (120V Single phase supplies) 230 : Un=230V (1P / 1P+N / 2P 230V Single phase supplies) (3P / 3P+N / 4P 120/230V Three phase supplies) 400 : Un=400 V (1P 400V Single phase supplies) (3P / 3P+N / 4P 230/400V Three phase supplies) 600 : Uc=600V (PV L+/L- supplies) 690 : Uc=690Vac (Motors and Aero Generators up to 690Vac) 1000 : Uc=1000V (PV L+/L- supplies)
ตัวอย่างการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จที่ตู้ MDB
Type I+II PSC Range Installation Instructions
Technical Data Class I+II
IEC 61643-11
Model Iimp
PSC1-25/230
PSC1-100N
25 kA
100 kA
Type 1+2
Un (50/60 Hz)
230
-
EN 61643-11
Uc (50/60 Hz)
275
255V
125 A gL
-
(max.) Range °C
-40 °C ... +80 °C
IP code
20 FLEXIBLE
Type of wire min.
L,N,PE
max.
L,N,PE
REGID
6 mm2 28 mm2
35 mm2
ตัวอย่างการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จที่ตู้ DB
Type II PSM Range Installation Instructions Class II IEC 61643-11 Type 2 EN 61643-11
Technical Data Model Iimp Uc (50/60 Hz) (max.) Range °C
PSM4-20/xxx TT/TNS
PSM4-40/xxx TT/TNS
20 kA
40 kA
230/400V
230/400V
63 A gL
125 A gL
-40 °C ... +80 °C
IP code
20
Type of wire min.
L,N,PE
max.
L,N,PE
REGID
FLEXIBLE
6 mm2 25 mm2
35 mm2
วสท. ได้ก�าหนดให้มีการต่อนิวทรัลและกราวด์เข้าด้วยกันที่ตู้ MDB, DB, SDB ดังนั้นอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จจะต้องมีความสามารถดังต่อไปนี้ MDB
สวิทช์บอร์ดไฟฟ้าหลัก
1. ระหว่างเฟสกับเฟส (L-L) 2. นิวทรัลกับแต่ละเฟส (L-N)
DB
1. ระหว่างเฟสกับเฟส (L-L) 2. แต่ละเฟสกับกราวด์ (L-G) 3. นิวทรัลกับกราวด์ (N-G) 4. แต่ละเฟสกับนิวทรัล (L-N)
การต่อประสาน การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอกอาคาร ระบบป้องกันฟ้าผ่าภายใน อาคาร อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ รวมไปถึงส่วนทีเ่ ป็นโลหะทีอ่ ยูภ่ ายในอาคาร ควรมีระบบการต่อลงดิน ที่เชื่อมต่อถึงกัน เพื่อท�าให้ศักย์ไฟฟ้าในระบบเท่ากันตามหลักการ Equipotential bonding การต่อประสาน (bonding) เพื่อลดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างชิ้นส่วนของโลหะ กับระบบ ภายในบริเวณทีจ่ ะป้องกันจากฟ้าผ่า โดยในการประสานนัน้ ส่วนทีเ่ ป็นโลหะจะถูกประสานเข้ากับ แท่งตัวน�าที่ต่อประสาน และส่วนที่เป็นสายตัวน�าไฟฟ้าและสายสัญญาณต่างๆ จะถูกประสาน โดยอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จในแต่ละโซนโดยการป้องกันส�าหรับแท่งตัวน�าต่อประสานเหล่านี้ต้อง เชื่อมต่อถึงกันกับระบบสายดินภายในอาคารและระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอกอาคารด้วย เพื่อให้การท�างานของอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จท�างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
July-August 2017
SDB
สวิทช์บอร์ดไฟฟ้าย่อย
สวิทช์บอร์ดไฟฟ้าย่อยปลายทาง
1. ระหว่างเฟสกับเฟส (L-L) 2. แต่ละเฟสกับกราวด์ (L-G) 3. แต่ละเฟสกับนิวทรัล (L-N) เป็ น อย่ า งไรกั น บ้ า งครั บ เพื่ อ นๆ กั บ สาระความรู ้ ที่ ไ ด้ ใ น การพิจารณาการติดตัง้ อุปกรณ์ปอ้ งกันเสิรจ์ ในตูส้ วิทช์บอร์ด คงได้ความรูเ้ พิม่ เติมไม่มากก็นอ้ ยใช่มย ั้ หล่ะครับ แต่ถา้ เพือ่ น ๆ ท่านใดสงสัยหรือต้องการทราบข้อมูลเพิม่ เติม สามารถติดต่อได้ ตามช่องทางต่าง ๆ ด้านล่างนีไ้ ด้เลยนะครับ ในฉบับหน้า เอวีรา่ จะ น�เสนอสาระความรูอ้ ะไรมาให้เพือ่ น ๆ อ่าน รอติดตามได้เลยนะครับ
รับปรึกษาและวางแผนระบบบริหารจัดการพลังงาน ตามรายละเอียดนี้ได้เลยนะครับ...
AVERA Co., Ltd.
Mobile : 088-001-0416 Tel : 0-2074-4411 Fax : 0-2074-4400 E-mail : sales@avera.co.th Website www.avera.co.th Facebook : AVERAELECTRICALENGINEER
Special Area
> บริษัท ที แอนด ดี เพาเวอร เทค (ไทยแลนด) จํากัด
อินเวอรเตอร
(Inverter) คืออะไร? อินเวอรเตอร (Inverter) คือ อุปกรณอเิ ล็กทรอนิกสทใี่ ชในการปรับเปลีย่ นความเร็วรอบของ 3-Phase Squirrel-Cage Induction Motor โดยวิธีการปรับแรงดันและความถี่ไฟฟาใหเหมาะสมกับมอเตอร บางครั้งจะเรียกวา “V/F Control” อินเวอรเตอร (Inverter) ยังมีชื่อเรียกอีกหลายอยาง เชน ● VSD : Variable Speed Drives ● VVVF : Variable Voltage Variable Frequency ● VC : Vector Control หลักการทำงาน อินเวอรเตอร (Inverter) จะแปลงไฟกระแสสลับ (AC) จากแหลงจายไฟทั่วไปที่มีแรงดันและความถี่ คงที่ ใหเปนไฟกระแสตรง (DC) โดยวงจรคอนเวอรเตอร (Converter Circuit) จากนั้นไฟกระแสตรง จะถูกแปลงเปนไฟกระแสสลับที่สามารถปรับขนาดแรงดันและความถี่ไดโดยวงจรอินเวอรเตอร (Inverter Circuit) วงจรทั้งสองนี้จะเปนวงจรหลักที่ทําหนาที่แปลงรูปคลื่น โดยทั่วไปแหลงจายไฟกระแสสลับมีรูปคลื่นซายน แตเอาตพุตของอินเวอรเตอรจะมีรูปคลื่น แตกตางจากรูปซายน นอกจากนั้นยังมีชุดวงจรควบคุม (Control Circuit) ทําหนาที่ควบคุมการทํางาน ของวงจรคอนเวอรเตอรและวงจรอินเวอรเตอรใหเหมาะสมกับคุณสมบัตขิ อง 3-Phase Induction Motor
DC/AC
DC In
Inverter
AC Out
รูปแสดงหลักการทํางาน
Connector supply power
General-purpose squirrel-cage (Induction) motor
รูปDC แสดงโครงสร างภายในของอินเวอรเตอร (Inverter) AC
AC DC Converter
โครงสรางภายใน ● ชุ ด คอนเวอร เ ตอร (Converter Circuit) ทํ า หน า ที่ แ ปลงไฟ กระแสสลับจากแหลงจายไฟ AC Power Supply (50 Hz) ใหเปนไฟ กระแสตรง (DC Voltage) ● ชุดอินเวอรเตอร (Inverter Circuit) ทําหนาทีแ ่ ปลงไฟกระแสตรง (DC Voltage) ใหเปนไฟกระแสสลับ (AC Voltage) ทีส่ ามารถเปลีย่ นแปลง แรงดันและความถี่ได ● ชุดวงจรควบคุม (Control Circuit) ทําหนาที่ควบคุมการทํางาน ของชุดคอนเวอรเตอรและชุดอินเวอรเตอร
Smooting Circuit
Inverter
IM
Control Circuit VR Frequency command
The inside of this frame is generally called inverter.
รูปแสดงโครงสรางภายในของอินเวอรเตอร (Inverter)
p.73-75_T and D.indd 73
July-August 2017
8/1/17 3:34 PM
วิธีการเลือกอินเวอรเตอร (Inverter) ● ระบบไฟฟาทีจ ่ า ยใหกบั อินเวอรเตอร : ถือเปนรายละเอียด ที่สําคัญมาก เราควรดูวาอินเวอรเตอรที่เราเลือกนั้นใชกับระบบ ไฟฟาแบบใด แบบ 1 เฟส หรือแบบ 3 เฟส และมีชวงแรงดันและ กระแสในการใชงานอยูที่เทาไร ● กําลังของมอเตอร : ใชกับกําลังมอเตอรขนาดเทาไร ● ความถี่ ข องแหล ง จ า ยไฟมอเตอร : ความถี่ ข องมอเตอร ที่สามารถใชได ● แรงบิด (Torque) ของโหลด : ควรพิจารณาจากการใชงาน วาเราตองการแรงบิดที่จะปอนใหกับโหลดเทาใด
สภาพแวดลอมในการติดตั้ง : บริเวณที่ทําการติดตั้งนั้นมี อุณหภูมอิ ยูใ นชวงประมาณเทาไร มีความชืน้ แคไหน และหากบริเวณ ที่เราติดตั้งนั้นตองเผชิญกับฝุนและน้ําเราก็ควรเลือกอินเวอรเตอร ที่ไดรับมาตรฐานการปองกันฝุนและน้ํา ● ขนาด : ขนาดของอินเวอรเตอรเราควรพิจารณาจากพื้นที่ ที่เราทําการติดตั้ง ● Cooling Method : เวลาใช ง านตั ว อิ น เวอร เ ตอร จ ะเกิ ด ความรอนขึ้น เพื่อไมใหอินเวอรเตอรรอนเกินไปในขณะใชงาน ทางที่ดีเพื่อปองกันความเสียหายควรเลือกอินเวอรเตอรที่มีระบบ การระบายความรอน ●
ทำไมตองเลือกใช INVERTER User -Friendly Excellent Durability
Extensive Application High Torque Performance
Powerful performance Main Features
Customer Benefits
July-August 2017
p.73-75_T and D.indd 74
8/1/17 3:34 PM
ขอดีของการใชอุปกรณปรับความเร็วรอบมอเตอร (HYUNDAI) ● การสตารทที่นุมนวล (Soft Start) ● ไมมีการกระชากของกระแส (Inrush Current) ● สามารถปรั บ อั ต ราเร ง และอั ต ราหน ว งได (Adjustable Acceleration and Deceleration Time) ● สามารถควบคุมไดจากระยะไกล (Remote Control) ● สามารถควบคุมการทํางานโดยตอเชื่อมกับคอมพิวเตอร ● มีระบบ Protection ● ประหยัดพลังงาน (Energy Saving) ● ลดคาใชจา ยในการซอมบํารุง (Reduce Maintenance Cost) ● ไดรับมาตรฐานสากล : CE, UL, cUL, TR-CU, KC
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่ บริษัท ที แอนด ดี เพาเวอร เทค (ไทยแลนด) จํากัด 22/26 ถ.สุขาภิบาล 2 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทร. 0-2002-4395-97 แฟกซ 0-2002-4398 E-mail : info@tdpowertech.com July-August 2017
p.73-75_T and D.indd 75
8/1/17 3:34 PM
Special Area > ATOM-MIC POWER
ทางบริษัท ATOM-MIC POWER ไดเห็นความสําคัญของอุตสาหกรรมในยุคปจจุบัน ที่กําลังกาวไปสูยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งมีการตื่นตัวของวงการอุตสาหกรรม ในการหา นวัตกรรมใหมๆ เพื่อทําใหเกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับธุรกิจ เพื่อลดตนทุนการผลิต และเพิ่ม คุณภาพของสินคาใหดีขึ้น
ATOM-MIC POWER ผูนำเทคโนโลยี ระบบ Smart WireDT
เพื่อกาวนำไปสู Industrial 4.0 ในปจจุบันระบบไฟฟามีความสําคัญตอกระบวนการผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีระบบ Automation ในการควบคุม เครื่ อ งจั ก รขนาดเล็ ก จนถึ ง ขนาดใหญ ใ นกระบวนการผลิ ต เพื่อทําใหเครื่องจักรทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพ ทางบริษัท ATOM-MIC POWER ไดเห็นความสําคัญของ Automation จึงได นําระบบ Smart WireDT เขาสูวงการอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยปกติตูควบคุมไฟฟาที่ใชในการควบคุมเครื่องจักรจะมี อุปกรณไฟฟาอยูหลายอยาง อาทิเชน PLC, Contactor Relay, Terminal, Current Transformer และสายไฟจํานวนมาก เมื่อเกิด ปญหาเครื่องจักรไมทํางาน วิศวกรและทีมชางประจําโรงงานตอง ใชเวลาคอนขางมากในการตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุและวิธีการ แกปญหา ทําใหเครื่องจักรไมสามารถทํางานตอไดเปนเวลานาน สงผลกระทบและสรางความเสียหายตอการผลิต นอกจากนั้น การ Wiring ตูใหมก็ยังตองใชเวลาคอนขางมากและยังตองมีการ ตรวจสอบเพื่อใหการ Wiring ถูกตองตามแบบ Single Line ที่ ออกแบบไว หากตูค วบคุมทํางานไมถกู ตอง ทางวิศวกรและทีมชาง ตองเสียเวลาในการแกไขและตรวจสอบอีกคอนขางมาก
Smart WireDT July-August 2017
p.76_atom_Edit.indd 76
ตูทั่วไป
ดังนัน้ เพือ่ ลดปญหานี้ ทางบริษทั ATOM MIC POWER ขอแนะนํา ระบบ Smart WireDT Smart WireDT เปน Innovation ของ EATON (Moeller) ที่มีฐานการผลิตจากประเทศเยอรมนีและยุโรป ระบบ Smart WireDT คือระบบการสั่งการและติดตอสื่อสารอุปกรณภายในตูควบคุม ผาน Ribbon Cable 8 Pole เพียงเสนเดียว โดยสามารถสือ่ สารผาน Gate Way ไปยัง PLC ผาน Protocal ไดแทบทุกชนิด อาทิเชน MOSBUS TCP/ IP, Profibus, Can Open, Profi Net, Power Link เปนตน ซึ่งจะชวย ลดการใชงานอุปกรณจําพวกการด I/O, Analog ของ PLC, Terminal, Transducer, Current Transformer จากรูปจะเห็นไดวา หากใชตู Smart WireDT จะสามารถลดเรื่อง การใชสายไฟและการด I/O ลงไดคอนขางมาก นอกจากนี้ยังสามารถ สงกลับคาที่ตองการจากอุปกรณ เชน สถานะตางๆ กระแสที่ใชงานจริง ของแตละเฟส การเกิด Fault และอีกมากมายผาน Rinbon Cable เพียงเสนเดียว การตรวจสอบระบบสามารถทําไดงายผานโปรแกรม SWD Assit แจงเตือน Alarm ซึ่งจะชวยลดระยะเวลาในการตรวจสอบหาสาเหตุวา เกิดปญหาบริเวณใดบาง ยกตัวอยางเชน สายขาด ซึ่งจะชวยลดทอน ในเรื่องของการเสียเวลาลงไปไดมาก ลดการใชสายไฟ ลดระยะเวลาในการ Wiring ลด บุคลากรที่ใชในการ Wiring ซึ่งใชเพียงคนเดียวก็เพียงพอ ลดขอผิดพลาดในการ Wiring ไมถกู ตองตามแบบไปไดเลย Link Video ตัวอยางการ Wiring สาย https://www. youtube.com/watch?v=evuJPFpWYZI SMART WIREDT EASY To Install Hight Quality LOW Maintanance สนใจติดตอ ATOM-MIC
Tel. 0-2503-3535
POWER
8/1/17 3:35 PM
Special Area
> ABB
Writing the digital future takes ability. ABB AbilityTM ดวยนวัตกรรมทีก่ า วหนาไปอยางไมหยุดยัง้ ABB ในฐานะ ผูนําในดาน Electrification Products, Robotics and Motion, Industrial Automation และ Power Grids ใหบริการลูกคาในภาค สาธารณูโภค อุตสาหกรรมและการขนสง และโครงสรางพืน้ ฐาน ทั่วโลก จึงไดนํา ABB AbilityTM ดิจิทัลโซลูชันที่จะชวยใหลูกคา สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการปฏิบัติงานได อยางดี ABB AbilityTM นําเสนอโซลูชันและการบริการที่ทรง ประสิทธิภาพมากกวา 180 รายการ ที่เกิดจากการผสานรวม ความเชี่ยวชาญของ ABB การเชื่อมตอผานระบบเครือขาย รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมลาสุดในดานดิจิทัล ที่จะเขามา ชวยเพิม่ ศักยภาพและสรางโอกาสทางธุรกิจทีเ่ ปนรูปธรรมอยาง แทจริง ABB AbilityTM ชวยใหลูกคาในภาคสาธารณูปโภค และ อุตสาหกรรม การคมนาคมและโครงสรางพืน้ ฐาน สามารถพัฒนา กระบวนการผลิตที่มีอยูใหกาวหนาและทันสมัยยิ่งขึ้น ดวยการ ใหขอ มูลเชิงลึกและเพิม่ ประสิทธิภาพการวางแผนและการควบคุม การปฏิ บั ติ ก ารซึ่ ง สามารถตอบสนองได ทั น ที (Real-Time Operations) โดยผลลัพธที่ไดจะถูกปอนเขาไปในระบบควบคุม เพือ่ ปรับปรุงการทํางานของระบบ เชน ชวงเวลาทีโ่ รงงานทําการ ผลิตไดอยางมีประสิทธิภาพ ความเร็วและอัตราผลตอบแทน
Mr.Ulrich Spiesshofer, ABB CEO กลาววา “ในฐานะผูน าํ เทคโนโลยี ในส ว นของดิ จิ ทั ล โซลู ชั น ที่ มี ฐ านการติดตั้งของอุปกรณจํานวนมากกวา 70 ลานชิน้ และระบบควบคุมกวา 70,000 ระบบ ABB มีความเชีย่ วชาญ และ พรอมใหการสนับสนุนแกลกู คาในการเปลีย่ นผานเขาสูย คุ ดิจทิ ลั ABB AbilityTM เปนการรวบรวมเอาโซลูชันและบริการในรูปแบบดิจิทัลทั้งหมดของ ABB เพื่อสรางมูลคาเพิ่มใหแกลูกคา ดวยประสบการณและความเชี่ยวชาญใน อุตสาหกรรมของ ABB การเชื่อมตอผานเครือขายที่มีความล้ําหนาและ เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ลาสุด จะชวยใหลกู คาสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และการปฏิบัติงานไดอยางที่ไมเคยมีมากอน” ABB AbilityTM นําเสนอดิจิทัลโซลูชัน ซึ่งประกอบไปดวย ● Performance management solutions for asset-intensive industries ● Control systems for process industries ● Remote monitoring services for robots, motors and machinery ● Control solutions for buildings, electric-vehicle charging networks and offshore platforms มีลกู คาระดับโลกในภาคสาธารณูปโภค ผูผ ลิต และผูใ หบริการหลายแหง ได ใช ดิ จิ ทั ล โซลู ชั น ซึ่ ง เป น ส ว นหนึ่ ง ของ ABB Ability TM อาทิ Shell Oil, CenterPoint Energy, Con Edison, BASF, Royal Caribbean, Cargill, Volvo, BMW และอื่นๆ อีกมากมาย
July-August 2017
p.77-79_abb_Edit.indd 77
8/1/17 3:35 PM
Mr.Guido Jouret, ABB Chief Digital Officer กลา ววา “การสรางโซลูชนั บน Azure แพลตฟอรม ทําใหไดรับประโยชนจากการ ใชศักยภาพทั้งหมดของแพลตฟอรม ผสานเขากับ ความเชี่ยวชาญของ ABB ในดานอุตสาหกรรมที่มีมาอยางยาวนาน นํ า เสนอออกมาเป น ซอฟต แวร ที่ ลู ก ค า สามารถเข า ถึ ง ได ผ า นทาง แพลตฟอรมดิจิทัลที่ใหญที่สุดและทันสมัยที่สุด ABB จะกลายเปน พันธมิตรชั้นนําที่จะเขามาชวยลูกคากาวผานเขาสูยุคดิจิทัล และตอนนี้ ลูกคาก็ไดเรียนรูมากขึ้น ทําไดเพิ่มขึ้นและดีขึ้นกวาเดิม” ดาน Mr.Venu Nuguri, Lead Division Manager, Power Grids Division, South Asia, Middle East and Africa, ABB ไดเขารวม เปนวิทยากรพิเศษในงาน Asian Utility Week ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ โดย ABB ไดนํานวัตกรรม ABB AbilityTM มานําเสนอใหแก ลูกคาและผูสนใจ ซึ่งก็ไดรับการตอบสนองที่ดีจากกลุมผูเขาชมงาน เปนอยางมาก Mr.Venu Nuguri กลาววา “ABB AbilityTM provides tailored digital solutions and products for the differing need of utility providers across power generation, transmission and distriburion” รัฐบาลไทยไดวางแผนการพัฒนาประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0 เนนการใชนวัตกรรมใหเกิดประโยชนอยางสูงสุด ABB AbilityTM สามารถตอบสนองนโยบายดังกลาวไดอยางดีเยี่ยม
ABB Ability is our unified, cross-industry digital capability - extending from device to edge to cloud - with devices, systems, solutions, services and a platform that enable our customers to know more, do more, do better, together. ABB Ability connects our customers to the power of the Industrial Internet of Things and, through our services and expertise, goes further by turning data insights into the direct action that “closes the loop” and generates customer value in the physical world. Know more, do more, do better, together ABB Ability is how we harness the power of digital to drive progress with our customers every day Know more Utilize your industrial data through sensors, devices and software to know more about your business in real-time Do more Monitor, control and manage your devices, processes and operations on-site or remotely Do better Simulate, predict and optimize through tools, insights and analysis Together Work hand-in-hand with our experts and engineers anywhere around the globe for business transformation
ABB’s New microgrid technology lights up businesses and rural communities Scalable, compact and grid-ready solutions enabling solar power and storage ABB is bringing affordable, safe and reliable electricity to remote communities with its new integrated microgrid solution, MGS100, that combines solar power and enables battery energy storage. The MGS100, built to perform in extreme environments, has the ability to transform lives and businesses for the better where access to affordable and reliable power is a challenge. The scalable system can be connected to multiple power sources to provide electricity for remote villages that are not connected to the main grid, or reliable back-up power for small commercial and industrial facilities using an inconsistent grid supply, enabling social and economic development.
ABB’s President of Electrification Products, Tarak Mehta, said: “ABB uses technology to enable progress and in this case our innovation can help improve the lives of those who need it most. The MGS100 is, a plug and play solution that makes access to affordable and reliable power a reality, creating life-changing opportunities, improving basic living standards including education and health as well as unlocking economic development. The modular and standardized solution makes rapid deployment possible even in remote locations.” MGS100 brings together all the components required for a sustainable microgrid in a single device, making it extremely versatile and flexible. It can tap into cost-efficient, renewable energies such as solar photovoltaic [PV] and batteries, removing the reliance for costly and potentially harmful biofuel/diesel generators, therefore reducing overall operating costs and environmental impact.
July-August 2017
p.77-79_abb_Edit.indd 78
8/1/17 3:35 PM
“Mr.Ulrich Spiesshofer, ABB CEO, speaks at the first launch of ABB AbilityTM in Zurich, Switzerland. Pioneering technology leadership As engineers we are driven to progress technology and have been at the forefront of innovation in each of the sectors we specialize in. Being at the forefront also means we were very early to make digital a part of our DNA. For more than 40 years we have been building software and connectivity into our devices and systems to help them run even better. Today, 55 percent of what we sell has software or digital at its heart. World’s largest installed base of connected industrial devices Because of our strong industrial focus, you might be surprised to learn that we are world leaders in securing and using data via our installed base of digitally enabled / connected devices. Leading installed base: • 70 million digitally enabled devices • 70,000 digital control systems • 6,000 enterprise-level software solutions This expertise and installed base forms the strong foundation upon which ABB Ability is built.
By prioritizing abundant local solar power during the day, the MGS100 switches to battery mode after dark and only uses an AC generator for the rest of the night if the battery runs out. Any excess energy produced throughout the day is used to charge the batteries, and once they are fully charged, remaining energy can be sold to the grid to generate additional income. Seamless transition between the grid and the microgrid allow operations to continue while the grid is down, and battery energy storage minimizes the need to purchase electricity from local utilities. Encased in a single container, the MGS100 has three power ratings – 20 kW, 40 kW, 60 kW nominal load power. Installation is quick and easy, as it is factory tested and embedded DC and AC protections make it ready to connect. With the added benefit of remote monitoring, vital diagnostics are always available and maintenance is simple.
The ABB Ability technology platform The ABB Ability platform is an integrated Industrial Internet platform and cloud infrastructure based on ABB’s leading expertise in technologies, industries and digital to allow businesses to harnesses the power of industrial data. The platform enables customers to securely integrate and aggregate their data, combine with wider industry data, apply big data and predictive analytics, and generate insights that can help them drive performance and productivity improvements. ABB and Microsoft partnership: enterprise-grade cloud infrastructure The two partners are committed to empowering digital transformation in customer segments such as robotics, marine and ports, electric vehicles and renewable energy. By selecting Microsoft Azure as the cloud for its integrated connectivity platform, ABB’s customers will now have access to an enterprisegrade cloud infrastructure that benefits from billions of dollars of ongoing investment. Together, ABB and Microsoft will accelerate digital solutions that improve customers’ productivity by increasing uptime, speed and yield. ABB and IBM partnership: industrial artificial intelligence solution ABB Ability offerings are designed to work across industries. These digitally enabled industry solutions are fine-tuned based on years of sector and customer insights.
For more information please contact: Lynette Jackson Head of Communications Electrification Products Division Affolternstrasse 44, P.O. Box CH-8050 Zurich, Switzerland Phone: +41 (0)43 317 54 04 E-Mail: lynette.jackson@ch.abb. com The modular scalable design means that capacity can be increased easily and the “grid ready” feature allows connection to the grid if this becomes available. The MGS100 will be widely available at the end of 2017.
July-August 2017
p.77-79_abb_Edit.indd 79
8/1/17 3:35 PM
The 12th International Wire & Cable Trade Fair for Southeast Asia and the 11th International Tube and Pipe Trade Fair for Southeast Asia The 12th International Wire & Cable Trade Fair for Southeast Asia and the 11th International Tube and Pipe Trade Fair for Southeast Asia, to be held at Bangkok Trade & Exhibition Centre (BITEC), Bangkok, Thailand from 19-21 September 2017, will present a one-stop platform for industry players to ride on market prospects brought about by Southeast Asiaâ&#x20AC;&#x2122;s robust manufacturing developments.
Rising applications for wire and tube in key end-use industries Wires, cables, tubes and pipes play an indispensable role in todayâ&#x20AC;&#x2122;s market and find extensive usage across various applications. The wire and cable materials market is expected to grow to US$ 297.4 billion by 2019 largely due to increasing applications across key end-use industries, including telecommunication, power and automotive. And in a new market report published by Lucintel, global water and wastewater pipe market is to grow at CAGR of 5% through to 2021 due to growth in construction and infrastructure developments. In this market, metal, plastic, and concrete are the major raw materials used to manufacture water and wastewater pipes. On the back of these market trends, Asia Pacific continues to dominate the wire and tube markets, especially so with the presence of several manufacturing-based economies in the region.
respectively,
July-August 2017
Established credentials, latest machinery and innovations, expert insights All in, these positive market indicators present an opportune setting for wire and Tube Southeast Asia 2017. First held in 1995 and 1997 and with a history of 20
years and counting, the synergistic specialist trade fairs have established a proven track record of connecting world’s leading brand names with suppliers, manufacturers, processors, engineers and buyers from the wire, cable, tube, pipe and related industries, right in the manufacturing hub of Southeast Asia, Bangkok, Thailand. Drawing on the success of wire and Tube Southeast Asia 2015, this year’s edition - driven by the established credentials of the world’s leading trade fairs, wire and Tube in Düsseldorf - is expected to present a dynamic line-up by over 400 international companies from more than 30 countries, including national and country groups from Austria, China, France, Germany, Italy, Taiwan, UK and USA. The three-day staging will bring to life the widest showcase of innovative machinery in manufacturing, processing and finishing, fastener technology, new processes in measuring, control and test engineering and specialist areas, as well as new and upgraded tools and auxiliary materials to meet sourcing needs of the wire, cable, tube and pipe sectors. A special zone on fastener technology will also make its debut at wire Southeast Asia 2017. Augmenting the expansive product range on the show floor is the inaugural Tube & Pipe
Industry Development Seminar organised by the International Tube Association, a seminar by TUMCIVIL.COM and Eulogy Group that focuses on the design of tall buildings with seismic design led by Assoc. Prof. Dr.Paiboon Panyakapo, a Total Quality Management conference organised by Technology Promotion Association (ThaiJapan), informative technical presentations by exhibitors, as well as a complimentary business matching service. For space bookings and visitor registration, please visit: www.wire-southeastasia.com | www.tube-southeastasia.com
July-August 2017
Exhibition
กว่ า 30 ปี ที่ INTERMACH & SUBCON Thailand เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตมานาน และในปีล่าสุด นำ�เสนอเทคโนโลยี และเครื่องจักรที่ทันสมัย โดยเฉพาะนวัตกรรมสำ�หรับยุคการผลิต 4.0 เพื่อเติมเต็ม ประสิทธิภาพในการผลิต อีกทั้งยังเปิดโอกาสและการเชื่อมโยงทางธุรกิจให้แก่ผู้ผลิต ชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมการรับช่วงการผลิตอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อการผลักดัน การขยายตัวของอุตสาหกรรมเพื่อก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ จากการจัดงานทั้ง 4 วัน มียอดผู้เข้าร่วมงานจำ�นวน 42,118 ราย ซึ่งรวมถึง ผู้ เข้ า ร่ ว มงาน ผู้ เข้ า ชม ผู้ เข้ า ร่ ว มประชุ ม และสมาชิ ก ของสื่ อ มวลชนจากกว่ า 53 ประเทศ การจับคูท่ างธุรกิจได้ขยายตัวเพิม่ ขึน้ 23% จากปีทผี่ า่ นมา ซึง่ มียอดการ จับคู่ธุรกิจที่เกิดขึ้นในงานถึง 6,419 คู่ โดยมีการทำ�ธุรกรรมทางธุรกิจจำ�นวน 10.26 ล้านบาท เกิดขึ้นตลอด 4 วันที่จัดงาน INTERMACH & SUBCON Thailand have been assisting and supporting entrepreneurs in the Manufacturing Industry for more than 30 years. For 2017, innovative manufacturing 4.0 technologies and machinery were introduced in order to increase production efficiency. The show also provided unbeatable business opportunities and business linkage for part-makers in the support and subcontracting industry. All this was in addition to enhancing knowledge regarding business expansion in new industries. The 4-day show had 42,118 trade attendees including exhibitors, visitors, conference attendees and members of the press from more than 53 countries. Business-matchmaking soared 23% from last year and hosted 6,419 parings with 10.26 Million Baht in business transaction concluded during the 4 day event. July-August 2017
สำ�หรับครั้งแรกของอินเตอร์แมคฟอรั่ม (INTERMACH FORUM) ได้รับความสนใจ อย่างมากจากนักอุตสาหกรรม ตลอดจนการจัดสัมมนาและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ที่จัดขึ้นในระหว่างการจัดงาน ต่อยอดความสำ�เร็จในปีนดี้ ว้ ยงาน MTA2018 - งานแสดงเทคโนโลยีดา้ นวิศวกรรม เพื่อความเที่ยงตรง จะจัดขึ้นในงาน INTERMACH 2018 เป็นครั้งแรก ซึ่งจะรวบรวม เครื่องพิมพ์ 3D เครื่องมือวัด อุตสาหกรรมอากาศยาน (Aerospace) อิเล็กทรอนิกส์ และ เซมิคอนดักเตอร์ การผนึกกำ�ลังกันของงาน MTA2018 ร่วมกับ INTERMACH & SUBCON Thailand ในปี 2018 จะนำ�มาซึ่งผลประโยชน์ที่มากขึ้นต่ออุตสาหกรรมการผลิต และ จะเป็นเวทีงานแสดงเครือ่ งจักรอุตสาหกรรมชัน้ นำ�ทีจ่ ดั แสดงอุปกรณ์และโซลูชนั ครบวงจรนี้ จะรวมถึงเทคโนโลยีการผลิตล่าสุดที่มีความแม่นยำ� รวมถึงระบบอัตโนมัตทิ ี่ทันสมัย เพือ่ ตอบสนองการผลิตงานโลหการ The first edition of INTERMACH Forum received great attention from industrialists along with high-powered Seminars and Workshop activities that were held during the event. Following this year’s success, MTA2018 - the International Precision Engineering, Machine Tool and Metalworking Exhibition & Conference will be featured at INTERMACH 2018 for the first time ever. Specialized sectors will include 3D Printing, Metrology, Optics & Photonics, Aerospace, Electronics, Energy, Oil, Gas, and Semiconductors, all of which will bring even greater benefits to industry. MTA2018 together with INTERMACH & SUBCON Thailand 2018, will without a doubt will be the premier industry platform with a comprehensive showcase of equipment /& solutions. This will include Smart Manufacturing Technologies, Precision Engineering, Higher Automation, Metalworking, Test & Measurement plus the latest Tooling Technology.
INTERMACH & SUBCON Thailand 2018
will be held on Wednesday 16th – Saturday 19th May 2018 at BITEC, Bangna, Bangkok, Thailand. Seeing you there!
INTERMACH & SUBCON Thailand 2018
จัดขึ้นระหว่างวันพุธที่ 16 -19 พฤษภาคม 2561 ที่ไบเทค บางนา For more information on the next edition, contact Mrs.Sukanya Amornnurathkun T. (662) 642-6911 # 211 E-mail : intermach@intermachshow.com Website : www.intermachshow.com; www.subconthailand.com สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสำ�หรับงานปี 2561 ติดต่อ คุณสุกัญญา อมรนุรันต์กุล โทรศัพท์ (66) 0 2642-6911 ต่อ 211 อีเมล์ : Intermach@intermachshow.com เว็บไซต์ www.intermachshow.com; www.subconthailand.com July-August 2017
สกายไลท์ เทคโนโลยีฯ
…ปรับตัวเพิ่มกลยุทธ์หาจุดขาย เพื่อให้สอดรับกับ ความต้องการและทิศทางการตลาด คริสโตเฟอร์ โล๊ค ยิก ชอย งานแสดงสินค้า Thailand Lighting Fair 2017 ซึ่งจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายนนี้ มีบริษัทที่น่าสนใจร่วมออกบูธ มากมาย วันนีเ้ ราจะมาพูดคุยกับ คริสโตเฟอร์ โล๊ค ยิก ชอย (Mr.Chris Loke YC) กรรมการผู้จัดการ บริษัท สกายไลท์ เทคโนโลยี อินเตอร์ เนชั่นแนล จำ�กัด ประกอบธุรกิจประเภทผู้ผลิตและจัดจำ�หน่ายอุปกรณ์ ไฟฟ้าและแสงสว่างครบวงจร
Q
: จากการที่ทิศทางการประหยัดพลังงานในปี 2560 จะเป็นเรื่อง เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาช่วยทำ�ให้ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น สอดรับกับนโยบาย Energy 4.0 ที่มีเป้าหมายสำ�คัญในการยกระดับ ประสิทธิภาพของระบบพลังงานในปัจจุบัน และการนำ�นวัตกรรมที่ เหมาะสมมาใช้ ใ นการพั ฒ นาและสามารถลดการใช้ พ ลั ง งานลงได้ ไม่ทราบว่าทางบริษทั มีผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมอะไรทีจ่ ะตอบโจทย์เพือ่ ประหยัดพลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึน้ และจากการ ดำ�เนินธุรกิจของบริษัทฯ กว่า 10 ปี ในประเทศไทย บริษัทฯ มองเห็น พัฒนาการของตลาดอุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงสว่าง รวมทั้งความต้องการ ของตลาดมีการเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ปัจจุบันประชาชนและองค์กรต่างๆ เริ่มมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสามารถในการช่วยประหยัดพลังงานของหลอดไฟและ โคมไฟ LED กันมากขึ้น จึงเริ่มหันมาปรับเปลี่ยนใช้กันอย่างแพร่หลาย ตลาดหลอดไฟ LED จึงกำ�ลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ทำ�ให้มีผู้สนใจทำ�ธุรกิจนี้ เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเกิดการแข่งขันที่สูง กลไกการตลาดทำ�ให้ ราคาปรับลดจากช่วง 2-3 ปี ทีผ่ า่ นมาลงมามาก ผูผ้ ลิตต่างก็ตอ้ งปรับตัว เพิ่มกลยุทธ์หาจุดขายของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการ และทิศทางการตลาด แน่นอนว่าการแข่งขันพุง่ เป้าไปทีก่ ารปรับลดราคา ซึง่ ไม่สอดคล้อง กับแนวโน้มต้นทุนนัก ผู้ผลิตหรือผู้จำ�หน่ายบางรายใช้วิธีการปรับลด คุณภาพ ลดประสิทธิภาพ เพื่อให้แข่งขันราคาได้ พูดแบบนี้ไม่ใช่ว่า Skylight มีแต่ของดีราคาแพงนะครับ แต่เราเน้นทำ�ผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับ ความต้องการของลูกค้ามากกว่า ลูกค้ามีงบประมาณเท่านี้ จะเหมาะสม กับสินค้าชนิดใด รุน่ ใด ทีล่ งตัวและตอบโจทย์กบั ความต้องการแสงสว่าง ของลูกค้า เรามีทีมงานช่วยออกแบบคำ�นวณให้ ในส่วนของประสิทธิภาพการส่องสว่าง (Luminous Efficacy) ทีเ่ รา มักจะเห็นกันบ่อยๆ ในเอกสารรายละเอียดสินค้าประเภทหลอดไฟ July-August 2017
โคมไฟ ที่ระบุหน่วยเป็น lumen/watt (lm/w) ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีการ แข่งขันกันสูง ปัจจุบนั Skylight มีหลอดไฟ LED High efficacy >145lm/w ทำ�ให้สามารถลดกำ�ลังไฟในการขับหลอดให้ลดลง เพื่อให้ได้ความสว่าง ทีเ่ พียงพอเท่าเดิม หรือในกรณีทตี่ อ้ งการความสว่างเพิม่ ขึน้ ก็ไม่จำ�เป็น ต้องเพิ่มจำ�นวนจุดการติดตั้ง หรือเพิ่มกำ�ลังขับมากไปกว่าของเดิมที่ เคยใช้อยู่ จึงสามารถบริหารการใช้พลังงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางตามนโยบาย Energy 4.0 นอกจากนี้เรายังมีระบบควบคุมไฟอัจฉริยะ (Intelligent Lighting Control System) เป็นการนำ�เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลมาช่วย บริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ให้สามารถ ควบคุมได้ตรงกับความต้องการความสว่างในแต่ละพืน้ ที่ แต่ละช่วงเวลา หรือสถานการณ์ เป็นการยกระดับการใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่างให้ทรง ประสิทธิภาพสูงสุด ซึง่ เป็น 1 ในแนวทางของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยควบคุมผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เรียกว่า Gateway มาพร้อมกับ โปรแกรมที่สามารถปรับตั้งค่าได้หลากหลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์ การใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น ไฟถนน ไฟอุโมงค์ โคมไฟในโรงงาน เป็นต้น โดย 1 Gateway สามารถควบคุมไฟได้มากถึง 200 โคม ภายใน ระยะทาง 2-3 กิโลเมตร ผ่านระบบไร้สาย Wireless 2.4 GHz (Zigbee) และเชื่ อ มต่ อ ข้ อ มู ล หรื อ ชุ ด คำ � สั่ ง จากศู น ย์ ค วบคุ ม ที่ อ ยู่ ไ กลออกไป ผ่านทางสัญญาณมือถือระบบ 3G
ระบบถูกออกแบบเพื่อควบคุมระบบไฟฟ้าแสงสว่างโดยเฉพาะ ใช้งานง่าย การใช้งานโปรแกรมและการติดตั้งอุปกรณ์ไม่ยุ่งยาก และ ทีส่ �ำ คัญใช้งบประมาณน้อยกว่าระบบใหญ่ๆ ซึง่ เหมารวมระบบควบคุม ไฟฟ้าทั้งระบบเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้งบประมาณที่สูงกว่า ในแง่ของความสะดวกในระยะยาวสำ�หรับหน่วยงานทีพ่ ร้อมดำ�เนินการ แบบครบวงจรนั้นย่อมเหมาะสมกว่า แต่นั่นก็หมายความว่าจะมีเพียง หน่วยงานหรือองค์กรใหญ่ๆ ที่มีความพร้อมด้านงบประมาณเท่านั้น จึงจะสามารถริเริ่มใช้ระบบเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ไฟฟ้าได้ ระบบของเราจึงมีความคล่องตัวกว่าที่จะช่วยเปิดโอกาสให้ หน่วยงานหรือองค์กรทัง้ ภาครัฐและเอกชนได้มสี ว่ นร่วมในการยกระดับ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยเริม่ ต้นจากระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ก่อน เป็นการช่วยส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายตามแนวนโยบาย Energy 4.0 ได้รวดเร็วขึ้น และไม่เพียงแต่ช่วยเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ พลังงานเท่านั้น แต่ระบบยังมีส่วนช่วยงานด้านการบำ�รุงรักษาอีกด้วย โดยจะมีการแจ้งเตือนหากมีส่ิงผิดปกติเกิดขึ้นกับโคมไฟ เราสามารถ ทราบได้ว่าเกิดอะไรขึ้น เกิด ณ ตำ�แหน่งโคมใด โปรแกรมจะแสดงผล ทางหน้ามอนิเตอร์ ซึ่งผู้ดูแลระบบจะทราบตำ�แหน่งและความผิดปกติ ที่เกิดขึ้น และสามารถให้ข้อมูลที่ชัดเจนต่อหน่วยงานซ่อมบำ�รุงเพื่อ ดำ�เนินการได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีการบันทึกข้อมูลสถานะ โคมไฟไว้ในลักษณะเดียวกับ Data Logger ทำ�ให้สามารถตรวจติดตาม ประวัติโคมไฟได้ตั้งแต่เริ่มติดตั้ง จึงมีส่วนช่วยในการวางแผนค่าใช้จ่าย และแผนการบำ�รุงรักษา นับเป็นระบบอัจฉริยะทีเ่ หมาะสมกับการเริม่ ต้น พัฒนาไปสูเ่ มืองอัจฉริยะอย่างยิง่ (Intelligent System for Smart City)
Q
: ในปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทฯ คือกลุ่มอุตสาหกรรมใด และผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของกลุ่มนี้คือผลิตภัณฑ์ใด ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ห ลั ก ๆ ที่ มี ก ารผลิ ต และจำ � หน่ า ยให้ กั บ ลู ก ค้ า เป็ น จำ�นวนมากคือหลอด LED TUBE T8 ซึง่ ตลาดยังมีความต้องการสูงมาก เพราะยังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากหลอดไฟชนิดเดิมที่เป็นหลอด ฟลูออเรสเซนต์ ซึง่ มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมาเป็นระยะเวลานาน กระจายตัวอยู่ทั่วไปในทุกธุรกิจ ทั้งกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม อาคาร ทีท่ �ำ การต่างๆ ในหน่วยงานของรัฐ อาคารสำ�นักงาน อาคารทีพ่ กั อาศัย โรงพยาบาล ฯลฯ แต่ทบี่ ริษทั ฯ เน้นทำ�การตลาดมากทีส่ ดุ จะเป็นในส่วน ของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมโดยไม่ได้จำ�กัดว่าเป็นอุตสาหกรรมใด เพราะเกือบทุกโรงงานอุตสาหกรรมมีการใช้ไฟฟ้าแสงสว่างเป็นจำ�นวน มาก อาจจะมีหลอดหรือโคมไฟมากกว่า 1 ชนิด แต่โดยภาพรวมแล้ว หลัก ๆ ยังคงใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์กันอยู่ จึงมีโอกาสทำ�ยอดขายได้ สูงกว่ากลุ่มธุรกิจอื่น และนอกจากขายตรงให้กับลูกค้าแล้ว บริษัทฯ ยังรับจ้างผลิต OEM ให้กับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจหลอดไฟด้วยกันอีกด้วย
Q
: ขอทราบตัวอย่างโครงการความสำ�เร็จทีบ่ ริษทั ฯ ได้เข้าไปนำ�เสนอ ผลิตภัณฑ์ดา้ นอุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงสว่างให้กบั กลุม่ อุตสาหกรรม และช่วยให้เกิดการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เป็นต้น 1. โครงการสนับสนุนหลอดประหยัดพลังงาน LED ในหน่วยงาน ราชการ สถาบันการศึกษาของรัฐ ปีงบประมาณ 2559 • มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำ�นวน 6,556 หลอด : เกิดผล ประหยัดพลังงานได้มากกว่า 526,100 kWh/ปี
• วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด จำ�นวน 3,358 หลอด : เกิดผล ประหยัดพลังงานได้มากกว่า 270,700 kWh/ปี • โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ จ.นครราชสีมา จำ�นวน 1,498 หลอด : เกิดผลประหยัดพลังงานได้มากกว่า 120,300 kWh/ปี • วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี จำ�นวน 2,704 หลอด : เกิดผลประหยัด พลังงานได้มากกว่า 221,000 kWh/ปี • วิทยาลัยเทคนิคพัทยา จำ�นวน 1,497 หลอด : เกิดผลประหยัด พลังงานได้มากกว่า 120,900 kWh/ปี • 78 โรงเรียนในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำ�นวน 13,861 หลอด : เกิดผลประหยัดพลังงานได้มากกว่า 1,133,200 kWh/ปี 2. ระบบควบคุมไฟอัจฉริยะ (Intelligent Lighting Control System) งานปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างอุโมงค์ทางลอดรถยนต์ ท่าพระ ปีงบประมาณ 2559 จัดหาอุปกรณ์ Gateway และ Node Controller เพื่อทำ�ระบบ ควบคุมไฟอัตโนมัติควบคุมโคมไฟ 290 โคม ภายในอุโมงค์ความยาว 287 เมตร โดยร่วมกับบริษัท บีทีที ยูไนเต็ด จำ�กัด ผู้ด�ำ เนินงานหลัก 3. อื่นๆ เช่น • บริษัท พนัสโพลทรี่ จำ�กัด ประเภทกิจการ : ฟาร์มไก่และ โรงงานชำ�แหละเนือ้ ไก่ จำ�นวนกว่า 2,200 หลอด ประหยัดพลังงานแล้ว มากกว่า 78,700 kWh • บริษทั มัลติไฟเบอร์ แมนูแฟคเจอริง่ จำ�กัด ประเภทกิจการ : โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส จำ�นวนกว่า 1,200 หลอด ประหยัดพลังงานแล้วมากกว่า 81,600 kWh ฯลฯ
Q
: ทางบริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีอะไรที่น่าสนใจที่จะ นำ�เสนอแก่ผู้เข้าชมงาน Thailand Lighting Fair 2017 บ้าง นอกเหนือจากหลอดไฟและโคมไฟ LED รุ่นใหม่ๆ ที่จะต้อง นำ�เสนออย่างแน่นอน เราจะนำ�เสนอระบบควบคุมไฟอัจฉริยะ ซึ่งเป็น ระบบที่ใช้ควบคุมโคมไฟภายนอก และก่อนหน้านี้ Skylight ยังไม่ได้ เปิดตัวมากนัก และแนวโน้มน่าจะมีในส่วนของระบบอัจฉริยะสำ�หรับ ควบคุมไฟภายในอาคาร ซึ่งปัจจุบันกำ�ลังศึกษาข้อมูลอยู่อีกด้วย
...ที่บริษัทฯ เน้นทำ�การตลาด มากที่สุดจะเป็นในส่วนของกลุ่ม โรงงานอุตสาหกรรมโดยไม่ได้ จำ�กัดว่าเป็นอุตสาหกรรมใด เพราะเกือบทุกโรงงาน อุตสาหกรรมมีการใช้ไฟฟ้า แสงสว่างเป็นจำ�นวนมาก... July-August 2017
REGISTER BY 18 AUGUST & SAVE WITH THE EARLY BIRD OFFER
ASIA POWER WEEK CONFERENCE
& EXHIBITION
19-21
SEPT
BITEC, BANGKOK, THAILAND www.asiapowerweek.com
JOIN US FOR ASIA’S PREMIER POWER EVENT AS WE CELEBRATE OUR 25TH ANNIVERSARY Covering every aspect of the power generation industry, POWER-GEN Asia and Renewable Energy World Asia converge once again to form Asia Power Week for its 25th anniversary. Attracting over 8,000 delegates and attendees from more than 85 countries across Asia and around the world, it is the industry’s premier conference and exhibition dedicated to the power generation, renewable and alternative energy and finance sectors. Make sure you do not miss out, REGISTER NOW to be part of Asia Power Week 2017. CONFERENCE
EXHIBITION
7 themed tracks with over 45 sessions, inc. Opening Keynote and Panel Discussions
More than 200 International Exhibitors – Register to attend for FREE!
WORKSHOPS
TECH TOURS
NETWORKING
Exciting NEW Workshops dedicated to the Asia Market
Choose to attend any of our 3 available and informative Tech Tours
Multiple networking receptions providing great business opportunities
REGISTER NOW & SAVE WITH THE EARLY BIRD AT WWW.ASIAPOWERWEEK.COM Owned and Produced by:
Official Publications:
Supporting Publications:
Official Supporters:
®
0506_APW17_AD_TechMedia_11.5x8.5inch.indd 1
11/07/2017 15:23
IT Article
> IFS
เผยผลงานวิจัย ด้านความแตกต่าง ทางดิจิทัลของ อุตสาหกรรม Research Reveals Major Differences In Digital Maturity Across Industries
ไอเอฟเอส บริษัทผู้ผลิตแอพพลิเคชั่นสำ�หรับองค์กรระดับโลก เปิดเผยผลสำ�รวจเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Change Survey) ซึง่ ได้ด�ำ เนินการสำ�รวจความคิดเห็นของผูม้ อี �ำ นาจการตัดสินใจ จำ�นวน 750 คน ใน 16 ประเทศ เพื่อประเมินความพร้อมด้านดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น (การแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัล) ของอุตสาหกรรม ต่างๆ เช่น การผลิต น้ำ�มันและก๊าซ การบิน การก่อสร้างและรับเหมา และการบริการ
IFS, the global enterprise applications company, reveals the findings of its Digital Change Survey that polled 750 decision makers in 16 countries to assess maturity of digital transformation in sectors such as manufacturing, oil and gas, aviation, construction and contracting, and service.
>> เต็มใจลงทุนอย่างเต็มที่ บริษทั ทีร่ ว่ มทำ�แบบสำ�รวจเป็นจำ�นวนเกือบ 90% ระบุวา่ มีเงินทุน ‘เพียงพอ’ หรือ ‘เต็มที’่ สำ�หรับดิจทิ ลั ทรานส์ฟอร์เมชัน่ ซึง่ แสดงให้เห็น ถึงความตัง้ ใจในการลงทุนอย่างมากและความต้องการทีจ่ ะพัฒนาองค์กร ธุรกิจของตนให้สามารถแข่งขันและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อถามว่า การลงทุนในส่วนไหนที่ให้ความสำ�คัญสูงสุด คำ�ตอบ 3 อันดับแรก ก็คือ ไอโอที อีอาร์พี และข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์
>> Strong willingness to invest Nearly 90 percent of firms surveyed have ‘adequate’ or ‘advantageous’ funding for digital transformation, indicating a strong willingness to invest and an appetite to evolve their business in order to stay competitive and grow. When asked about prioritized investment areas, the top three choices were IoT, ERP and Big Data & Analytics.
July-August 2017
“เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ปัจจุบันบริษัทต่างๆ มีความเข้าใจถึง ความเร่ ง ด่ ว นของดิ จิ ทั ล ทรานส์ ฟ อร์ เ มชั่ น ” แอนโทนี บอร์ น รองประธานฝ่ายโซลูชน่ั สำ�หรับอุตสาหกรรมทัว่ โลก บริษทั ไอเอฟเอส กล่าว “เทคโนโลยี เช่น ข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ การวางแผน ทรัพยากรองค์กร และอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ กำ�ลังเข้ามามีบทบาท สำ�คัญอย่างมากต่อการแปรรูปองค์กรธุรกิจ บริษัทต่างๆ จำ�เป็นต้อง ปรับใช้เทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมภายใต้ความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญใน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้องค์กรก้าวสู่ความสำ�เร็จและ ได้เปรียบด้านการแข่งขัน ด้วยเหตุนี้ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น จึงเป็น สิ่งที่มีความสำ�คัญและสามารถเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำ�งาน ให้กับองค์กรได้” ด้าน ศรีดาราน อรูมูแกม รองประธาน ประจำ�ภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท ไอเอฟเอส กล่าวว่า “ในเวลาที่การแข่งขัน ระดับโลกรุนแรงมากขึ้น ธุรกิจการผลิตของประเทศไทยจำ�เป็นต้องหา หนทางใหม่เพื่อแข่งขันทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก การลงทุนและ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี อาทิ อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) จะทำ�ให้เกิดโรงงานที่ชาญฉลาดในอนาคตเพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทต่างๆ จะสามารถแข่งขันได้”
“It is apparent that companies today understand the urgency of focusing on digital transformation.” IFS VP of global industry solutions Antony Bourne said. “Technologies such as big data and analytics, enterprise resource planning and internet of things are paramount to transforming a business. Companies need to apply innovative technologies hand in hand with their relevant industry expertise to succeed and gain a competitive edge. It is this combination that makes digital transformation both meaningful and powerful”. “In a time when global competition is heating up, Thailand’s manufacturing businesses need to find new avenues to compete both on a local and global scale. It is investing and taking advantage of these disruptive technologies such as Industry 4.0 that will generate the smart factories of tomorrow to ensure companies remain viably competitive,” Sridharan Arumugam, Vice President for South East Asia at IFS said.
>> ขาดพนักงานที่มีทักษะและความสามารถ เป็ น ที่ น่ า ตกใจที่ อ งค์ ก รจำ � นวนมากกว่ า 1 ใน 3 หรื อ 34% รู้สึกว่ายังไม่มีความพร้อมใดๆ เลยหรือมีความพร้อมน้อยมากในการ รับมือกับดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น สาเหตุหลักมาจากการขาดบุคลากร ที่ มี ทั ก ษะและความสามารถในการดำ � เนิ น การ เมื่ อ ถามถึ ง ส่ ว นที่ ประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถมากที่สุด ผู้ตอบแบบสำ�รวจ จำ�นวน 40% ระบุว่าขาดแคลนในด้าน “บิซิเนส อินเทลลิเจ้นซ์” หรือระบบอัจฉริยะด้านธุรกิจ และ 39% ระบุว่าใน ด้าน “ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้” หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์ สำ�หรับส่วน อื่ น ๆ ที่ มี ค วามกั ง วล ได้ แ ก่ “เอไอ และโรบอติ ก ส์ ” หรื อ ปั ญ ญา ประดิ ษ ฐ์ แ ละหุ่ น ยนต์ จำ � นวน 30% “ข้ อ มู ล ขนาดใหญ่ แ ละการ วิเคราะห์” จำ�นวน 24% และ “ระบบคลาวด์” จำ�นวน 21% แอนโทนี บอร์น กล่าวเพิ่มเติมว่า “แม้ว่าเทคโนโลยีใหม่จะเป็น กุญแจสำ�คัญของดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น แต่ก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่า รูปแบบการสื่อสารที่เปลี่ยนไปและการเข้าถึงบุคลากรที่มีทักษะและ ความสามารถที่เหมาะสมเป็นตัวกระตุ้นที่ช่วยผลักดันให้ประสบความ สำ�เร็จได้เร็วขึ้น น่าแปลกใจที่การสำ�รวจพบว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของ บริษัทที่ตอบแบบสำ�รวจไม่มีพนักงานที่สามารถบริหารจัดการด้าน ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นอยู่เลย องค์กรเหล่านี้จำ�เป็นต้องให้ความ สำ � คั ญ กั บ แผนการลงทุ น ด้ า นบุ ค ลากรที่ มี ทั ก ษะและความสามารถ
>> Lack of talented employees Alarmingly, more than a third of companies (34 percent) feel either slightly or totally unprepared to deal with digital transformation due to talent deficiency. When asked to name the areas that will experience the greatest deficit in talented staff, 40 percent cited “business intelligence” and 39 percent “cyber security”. Other areas of concern are “AI and robotics” (30 percent), “big data/analytics” (24 percent), and “cloud” (21 percent). Antony Bourne added, “Although new technology is key to digital transformation, it is clear that change communications and access to the right talent are principal catalysts to succeed. It is alarming that more than one in three companies are not staffed to manage digital transformation. These organizations need to focus on concrete talent investment plans to make sure that they establish what roles are critical to success in their industries. After that the key is both to find and attract new talent as well as training and re-skilling existing staff.”
July-August 2017
อย่ า งเป็ น รู ป ธรรม เพื่ อ ให้ มั่ น ใจได้ ว่ า พวกเขาจะสามารถกำ � หนด บทบาทหน้าที่ที่จำ�เป็นต่อความสำ�เร็จในอุตสาหกรรมของตนได้อย่าง เห็นผล หลังจากนั้นจะต้องเดินหน้าต่อด้วยการค้นหาและดึงดูดผู้ที่มี ทักษะและความสามารถใหม่ๆ เข้ามาในองค์กร รวมทัง้ จัดการฝึกอบรม และเสริมสร้างทักษะให้กับพนักงานที่มีอยู่ด้วย” “การลงทุนด้านไอโอที ในเชิงอุตสาหกรรมให้ผลตอบแทนการ ลงทุน (ROI) ที่ดีเยี่ยม จึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดการนำ�แนวทางนี้เข้ามา ปรับใช้ในองค์กร” ราล์ฟ ริโอ รองประธานฝ่ายซอฟต์แวร์องค์กร บริษัท เออาร์ซี แอดไวเซอรี กรุ๊ป กล่าว และว่า “แต่ทักษะและความ สามารถก็ถือเป็นสิ่งที่มีความสำ�คัญไม่แพ้กันเมื่อพิจารณาจากผลการ สำ�รวจของไอเอฟเอส ดังนั้น ผู้ใช้ไอเอฟเอสจะต้องร่วมมือกับบริษัท ต่างๆ อย่างเช่น ไอเอฟเอส ที่พร้อมนำ�เสนอโซลูชั่นไอโอทีชั้นนำ�ได้ อย่างสมบูรณ์” >> ความแตกต่างที่ส�ำ คัญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เมื่อถามถึงระดับความพร้อมในด้านดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น กล่าวคือมีความคืบหน้าไปแล้วมากน้อยเพียงใด พบว่า 31% ของผูต้ อบ แบบสำ�รวจให้คะแนนองค์กรของตนที่ระดับ 2 จากระดับ 5 โดยมี อุตสาหกรรมการบินที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด ด้วยจำ�นวนผู้ตอบ แบบสำ�รวจ 44% ที่มองว่าองค์กรของตนมีความสามารถในด้านดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นอย่างมาก ตามมาด้วยอุตสาหกรรมก่อสร้างและ รับเหมาที่ 39% ระบุว่าพวกเขามีความพร้อมในการแปรรูป สำ�หรับ อุตสาหกรรมรั้งท้าย ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำ�มันและก๊าซ ซึ่งมีเพียง 19% ของผูต้ อบแบบสอบถามเท่านัน้ ทีม่ องว่าองค์กรสามารถได้รบั ประโยชน์ จากดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น “ระดับความพร้อมที่แตกต่างกันในด้านดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ของอุ ต สาหกรรมต่ า งๆ มี ค วามน่ า สนใจเป็ น อย่ า งยิ่ ง โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมการบิน ซึ่งมีอัตราการแข่งขันสูงในตลาด มีความพร้อม อย่างมากในการนำ�เทคโนโลยีใหม่เข้ามาปรับใช้ในองค์กรอย่างรวดเร็ว เช่น การซ่อมบำ�รุงเชิงพยากรณ์และการสั่งพิมพ์แบบ 3ดี สำ�หรับการ ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ ถือเป็นตัวแปรสำ�คัญที่ช่วยผลักดันให้การแปรรูป องค์กรสู่ระบบดิจิทัลประสบความสำ�เร็จ” แอนโทนี บอร์น กล่าว >> แรงผลักดันและการโฟกัสด้านการลงทุน จากการสำ�รวจพบว่า 43% ของผูต้ อบแบบสำ�รวจระบุวา่ “ความมี ประสิทธิภาพของกระบวนการภายใน” เป็นแรงผลักดันสำ�คัญอันดับ 1 ใน ด้านดิจทิ ลั ทรานส์ฟอร์เมชัน่ 29% ตอบว่า “การกระตุน้ ให้เกิดการสร้างสรรค์ นวัตกรรมได้เร็วขึ้น” และ 28% ตอบว่า “โอกาสเติบโตในตลาดใหม่” เป็นแรงผลักดันที่มีความสำ�คัญอันดับที่ 2 และ 3 ตามลำ�ดับ
“Industrial IoT investments offer excellent ROI which is driving adoption,” stated ARC Advisory Group, VP Enterprise Software, Ralph Rio. He continued, “But, talent is a constraint as the IFS survey shows. Hence, IoT users partner with companies like IFS that offer leadership IoT solutions.” >> Major differences across industries When asked about the digital transformation maturity level of their organizations, meaning actual progress, 31 percent of the respondents consider their business to be in the two highest levels of maturity on a five-graded scale. The aviation industry is the most progressive with 44 percent of respondents considering themselves advanced in their ability to leverage digital transformation. Runner up is the construction and contracting industry, 39 percent of whom identified themselves as mature. At the other end of the spectrum is the oil and gas sector, where only 19 percent of the respondents consider themselves able to benefit from digital transformation. “The differences in digital maturity levels across industries are notable. The highly competitive nature of the aviation industry, together with its rapid adoption rate of new technologies such as predictive maintenance and 3D printing for spare part manufacturing, are key drivers of its successful digitalization”, Antony Bourne said. >> Drivers and investment focus 43 percent of respondents identified “internal process efficiency” as the number one driving force behind digital transformation. “Accelerating innovation” (29 percent) and “growth opportunity in new markets” (28 percent) were recognized as the second and third most significant drivers. >> Obstacles to digital transformation Despite the practical and technical complexities of digital transformation, the number one barrier to change is
July-August 2017
>> อุปสรรคของดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น แม้วา่ จะมีความซับซ้อนทัง้ ในทางเทคนิคและทางปฏิบตั ขิ องดิจทิ ลั ทรานส์ฟอร์เมชั่น แต่อุปสรรคสำ�คัญต่อการเปลี่ยนแปลงอันดับ 1 เกิดจากมนุษย์ นั่นคือ: “ความไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง” (42%) ขณะที่ อุปสรรคสำ�คัญอันดับที่ 2 และ 3 คือ “ความกังวล/ภัยคุกคามด้าน ความปลอดภัย” (39%) และ “การไม่มีโมเดลกำ�กับดูแลและโครงสร้าง องค์กรที่เหมาะสม” (38%) >> เทคโนโลยีใดที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด เมื่อถามว่าเทคโนโลยีใดที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้มาก ที่สุด บิ๊ก ดาต้า (ข้อมูลขนาดใหญ่) ครองอับดับ 1 ด้วยคะแนน 7.2 จากคะแนนเต็ม 10 อันดับ 2 คือ ออโต้เมชั่น (ระบบอัตโนมัติ) ด้วย คะแนน 7.0 ตามด้วยไอโอที คะแนน 6.6 เป็นอันดับ 3 แม้ว่าข้อมูล ขนาดใหญ่จะครองอันดับสูงสุด แต่ก็ยังมีคนส่วนน้อย (ซึ่งมีนัยสำ�คัญ) รูส้ กึ ว่าระบบอัตโนมัตสิ ามารถสร้างผลกระทบได้มากทีส่ ดุ โดยมากกว่า 40% ให้คะแนนระดับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากระบบอัตโนมัติ 8 คะแนนหรือมากกว่า จากคะแนนเต็ม 10 ขณะที่ 32% ให้คะแนนข้อมูล ขนาดใหญ่ในระดับที่สูงเทียบกัน ส่วนอุตสาหกรรมการก่อสร้าง (48%), การบิ น (48%) และการผลิ ต (50%) ให้ ค ะแนนการสร้ า งการ เปลี่ยนแปลงได้อย่างมากของระบบอัตโนมัติมากกว่า 8 จากคะแนน เต็ม 10 ซึ่งทำ�ให้ระบบอัตโนมัติกลายเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับคะแนน สูงสุดในอุตสาหกรรมเหล่านี้
เกี่ยวกับการสำ�รวจ การสำ�รวจในครัง้ นีจ้ ดั ทำ�โดยบริษทั ไอเอฟเอส เพือ่ ประเมิน ความพร้ อ มด้ า นดิ จิ ทั ล ทรานส์ ฟ อร์ เ มชั่ น ของอุ ต สาหกรรม ต่ า งๆ ทั่ ว โลก โดยมี บ ริ ษั ท ด้ า นการวิ จั ย และเนื้ อ หาที่ ชื่ อ ว่ า ราคอนเตอร์ คัสตอม พับลิชชิ่ง (Raconteur Custom Publishing) ดำ�เนินการสัมภาษณ์เชิงลึก และได้รวบรวมมุมมองของผู้มอี ำ�นาจ ตัดสินใจจำ�นวน 750 คน จาก 16 ประเทศ ในอุตสาหกรรมน้ำ�มัน และก๊ า ซ การบิ น การก่ อ สร้ า งและรั บ เหมา การผลิ ต และการ บริ ก าร สำ � หรั บ ประเทศที่ เ ข้ า ร่ ว มการสำ � รวจในครั้ ง นี้ ได้ แ ก่ สหรั ฐ อเมริ ก า แคนาดา สหราชอาณาจั ก ร สวี เ ดน เยอรมนี ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นอร์เวย์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน โปแลนด์ ตะวันออกลาง และอินเดีย
สำ�หรับข้อมูลเพิ่มเติม ไปที่เว็บไซต์: IFSworld.com ติดตามได้ ทาง Twitter: @ifsworld
July-August 2017
on the human side: “aversion to change” (42 percent). The second and third largest barriers are the more concrete “security threats/concerns” (39 percent) and “absence of the right organizational and governance model” (38 percent). >> Which will be the most disruptive technologies? When asked what technologies will be the most disruptive, Big Data tops the list with a score of 7.2 out of 10. Second is Automation (7.0) and third is IoT (6.6). Although Big Data is ranked the highest overall, there is a significant minority who feel that automation will have the most dramatic impact. Over 40 percent rated the level of disruption by Automation as 8 or more out of 10, while only 32 percent gave such high ratings to Big Data. In the construction, aviation and manufacturing industries 48 percent, 48 percent and 50 percent respectively consider the automation disruption score >8/10, which makes it the highest rated technology for those industries.
About the survey
This survey was commissioned by IFS to assess maturity of digital transformation across industries on a global scale. It was conducted as in-depth interviews by the research and content agency Raconteur Custom Publishing, who took in the views of 750 decision makers in 16 countries in the oil and gas, aviation, construction and contracting, manufacturing, and service industries. Countries surveyed were USA, Canada, the UK, Sweden, Germany, France, China, Japan, Australia, Norway, Denmark, the Netherlands, Spain, Poland, the Middle East, and India.
For more information, visit: IFSworld.com Follow us on Twitter: @ifsworld Visit the IFS Blog on technology, innovation and creativity: http://blog.ifsworld.com/
ถิรไทย มอบหม้อแปลงไฟฟ้าทดสอบ เพื่อการศึกษา Tirathai Public Co., Ltd. donates power transformers for education
สัมพันธ์ วงษ์ปาน กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั ถิรไทย จำ�กัด (มหาชน) เป็น ประธานมอบหม้อแปลงไฟฟ้าทดสอบ ขนาด 10 kVA 1 ph 100 kV ให้กับ รุ่งนิรัญ เที่ยงธรรม ผู้อ�ำ นวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี ระยอง เพื่อใช้ ในการศึ ก ษา กั บ ภาคปฏิ บั ติ ข องนั ก ศึ ก ษาในห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารทดสอบไฟฟ้ า วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พซี ี จ.ระยอง เพือ่ ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และวิศวกร ของชาติไทย ให้มีขีดความสามารถมากยิ่งขึ้น ณ โรงงาน ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า บริษัท ถิรไทย จำ�กัด (มหาชน) นิคมอุตสาหกรรมบางปู Mr.Samphan Wongpan, Managing Director of Tirathai Public Co., Ltd. presided over the ceremony of donating 10 kVA 1 ph 100 kV power transformers to Mr.Rungniran Tiengtham, Director of IRPC Technical College, to be used by college students in the practical session at the electrical testing laboratory of the College which is located at Rayong Province. The equipment will help accelerate more potential of students, graduates, engineers of the Company. The event took place at Tirathai Transformer Plant, Bangpu Industrial Estate.
ETE ต้อนรับสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ ETE welcomes mass media to the Solar Power Plant
ไรวินท์ เลขวรนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บูรพา เทคนิคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำ�กัด (มหาชน) หรือ ETE เปิดบ้านต้อนรับ สื่อมวลชน ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำ � ลั ง การผลิ ต 5 เมกะวั ต ต์ ณ โรงไฟฟ้ า พลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว Mr.Raivin Lekavoranan, Chairman of the Executive Committee of Eastern Technical Engineering Public Co., Ltd. (ETE), gave a warm welcome to press media who paid the visit to a 5 MW Solar Power Plant located at Wattananakorn, Sakaew Province.
เชฟรอนและบริษัทผู้รับเหมา ฉลองพิธีตั้งชื่อแท่นขุดเจาะใหม่ “กระทง” Chevron and the contractor held a naming ceremony for the new drilling rig “Krathong” บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำ�รวจและผลิต จำ�กัด ร่วมกับ บริษัท เชลฟ์ ดริลลิ่ง จำ�กัด และบริษัท แลมเพร็ล จำ�กัด (มหาชน) จัดพิธีฉลองการตั้งชื่อแท่นขุดเจาะใหม่ “กระทง” ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช จังหวัดชลบุรี เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการสำ�รวจ และผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้มปี ระสิทธิภาพยิง่ ขึน้ สามารถตอบสนองความต้องการด้าน พลังงานภายในประเทศทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง โดยจะเริม่ นำ�แท่นขุดเจาะใหม่นไี้ ปใช้ในเดือน มิถุนายนนี้ Chevron Thailand Exploration and Production Co., Ltd. in collaboration with Shef Drilling Co., Ltd. and Lamprell has held a naming ceremony for the new drilling rig named “Krathong” at the Mahidol Adulyadej naval dockyard in Chon Buri Province. The rig will start drilling activities this June to support Chevron’s more efficient operation in the Gulf of Thailand and the energy requirement that continues to increase more in the country. July-August 2017
โชว์ความสำ�เร็จผลิตเอทานอลจากเทคโนโลยีใหม่ Success of ethanol production with new technology
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค และบริษัทในเครือ คอนสแตนท์ เอ็นเนอร์จี ตกลงซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Schneider Electric and Constant Energy Group agrees with the long term power purchasing agreement, the first ever in South East AsiaPower Plant
ดร.อุกฤษฏ์ อัษฎาธร กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั ไทยรุง่ เรือง พลังงาน จำ�กัด ต้อนรับ สมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการคณะ กรรมการอ้อยและน้ำ�ตาลทราย และเจ้าหน้าที่จากองค์การพัฒนา พลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมจากประเทศญี่ปุ่น (NEDO) เนื่องในโอกาสเข้าศึกษาดูงานโรงงานผลิตเอทานอลของบริษัท ไทย รุ่งเรืองพลังงาน จำ�กัด อำ�เภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นโรงงานที่ ได้รับการคัดเลือกจาก NEDO ให้เป็นโรงงานต้นแบบของการดำ�เนิน โครงการสาธิ ต การผลิ ต เอทานอลจากกากอ้ อ ย โดยใช้ เ อนไซม์ ใ น ประเทศไทย
มร.มาร์ค เพลิทเิ ยร์ ประธาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทยและลาว ร่วมพูดคุยกับ มร.แฟรงค์ คอนสแตนท์ ประธาน คอนสแตนท์ เอ็นเนอร์จี ตกลงซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับ Constant Energy โดยพลังงานจะส่งตรง จากโรงจ่ายกระแสไฟจากโซลาร์รูฟท็อปของคอนสแตนท์ เอ็นเนอร์จี ถึง พืน้ ทีโ่ รงงานของชไนเดอร์ อิเล็คทริค บางปู โดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค มุง่ หวัง ที่จะปรับปรุงการดำ�เนินงานของโรงงานเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอน ผ่านโครงการในลักษณะเดียวกันนี้ โดยจะเริ่มส่งมอบพลังงานสะอาดไปยัง โรงงานชไนเดอร์ อิเล็คทริค บางปู ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2560
Dr.Ukrit Atsadathorn, Managing Director of Thai Roong Ruang Energy Co., Ltd. gave a warm welcome to Mr.Somsak Chantararuangthong, Secretary General, Office of the Cane and Sugar Board and NEDO’s officials who paid a visit to observe the operation at the ethanol production plant of Thai Roong Ruang Co., Ltd. located at Wang Muang District, Sara Buri Province. The site has been chosen by NEDO as a demonstration prototype of Thailand’s ethanol production from bagasse with enzyme process.
Mr.Mark Pelitier, CEO of Schneider Electric (Thailand and Lao P.D.R.) had a discussion with Mr.Frank Constant, CEO of Consultant Energy and agreed to sign the long term power purchase agreement under which energy shall be directly distributed from solar rooftop power station of Consultant Engineer to Schneider Electric Plant Area Bangpu. Schneider Electric Bangpu anticipates that the project, when completed and run clean power distribution by the 3rd quarter of 2017, will improve the plant’s Co2 emission reduction.
“อิตัลไทยวิศวกรรม” ฉลองครบรอบปีที่ 50 “ITALTHAI Engineering” celebrates its 50th Anniversary สกล เหล่าสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อิตัลไทยวิศวกรรม จำ�กัด (ITALTHAI Engineering : ITE) นำ�ทีมผู้บริหารร่วมทำ�บุญฉลองครบรอบ 50 ปี บริษัท อิตัลไทยวิศวกรรม จำ�กัด ผู้รับเหมาชั้นนำ�งานวิศวกรรมก่อสร้าง งานระบบประกอบอาคาร โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน และระบบสาธารณูปโภค ต่างๆ พร้อมยกระดับระบบบริหารคุณภาพเป็นระบบ ISO 9001 Version ใหม่ 2015 และยกระดับมาตรฐานระบบบริหารด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในระดับสากล ISO 14001:2015 และ OHSAS 18001:2007 ณ บริษัท อิตัลไทยวิศวกรรม ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ Mr.Sakol Laosuwan, CEO of ITALTHAI Engineering (ITE) led the executives to make merit in celebrating the company’s 50th Anniversary. ITALTHAI is a leading company in construction engineering, building system, renewable energy power and other utilities. In upgrading the work standard, the company with its office at Phetchaburi Road, has been certified as ISO 9001 (new version 2015) and ISO 14001:2015 and OHSAS 18001:2007. July-August 2017
ไอริสกรุป๊ จับมือไฟเบอร์วนั ชูคอนเซ็ปต์อนิ เทอร์เน็ต ความเร็วสูงสำ�หรับบ้านพักอาศัยและเชิงพาณิชย์ IRIS Group and Fiber One join hands to usher in the concept of high speed internet for households and business
สมมาศเสถียร เลิศวัฒนกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่าย การตลาด บริษัท ไฟเบอร์วัน จำ�กัด (มหาชน) กิตติพงษ์ สุมานนท์ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร และ สมเกียรติ อุน่ กุศลภักดี รองกรรมการ สายงานธุรกิจ 1 บริษทั ไอริส กรุป๊ จำ�กัด จับมือร่วมกันเพือ่ ให้บริการ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกับโครงการไอริส กรุป๊ ตอบรับชีวติ ติดโซเชียล ของคนรุน่ ใหม่ โดยเริม่ ต้นติดตัง้ ทีโ่ ครงการเวนิส ดิ ไอริส เป็นแห่งแรก ทั้งนี้ ลูกบ้านสามารถเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจากค่ายใดก็ได้ พร้อมติดตั้งเดินสายให้ฟรี Sommatsathien Lertwattanakul, Chief Marketing Officer of Fiber One Public Co., Ltd., Mr.Kittipong Sumanon, CEO of IRIS Group 1 and Mr.Somkiet Oonkusolpakdi, Deputy Business Director of IRIS Group 1, join hands to provide a high speed internet service for the IRIS Group project with the aim to meet a social media life style of new generation. The first project will be installed at Venice the IRIS where dwellers can choose any internet providers for free installation.
ซีเกท ประเทศไทย มอบอุปกรณ์การวิจัยแก่มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี Seagate Thailand donates the research equipment to Suranaree University of Technology
ปัญญา สกุลรัตนกุลชัย ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายผลิต บริษทั ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำ�กัด โรงงานเทพารักษ์ เป็นตัวแทนมอบอุปกรณ์การวิจัยแก่ อาวุ ธ อิ น ทรชื่ น หั ว หน้ า กลุ่ ม งานวิ ศ วกรรมศาสตร์ แ ละสนั บ สนุ น ศู น ย์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จ.นครราชสีมา เพือ่ ใช้ในการดำ�เนินงานด้านการวิจยั ของนักศึกษา เมือ่ เร็วๆ นี้ การมอบอุปกรณ์สนับสนุนการค้นคว้าวิจยั ในครัง้ นีส้ ะท้อนให้เห็นความ มุ่งมั่นของซีเกท ประเทศไทย ในการส่งเสริมการดำ�เนินงานด้านการวิจัยและ พัฒนาของสถาบันการศึกษาไทยอย่างต่อเนื่อง Mr.Panya Sakulrattanakulchai, Manufacturing Director, Seagate Technology (Thailand) Limited, Teparuk plant donated the research equipment to Mr.Arwut Intarachuen, Chief of the Center for Scientific and Technological Equipment, Suranaree University of Technology (SUT) in Nakorn Ratchasima Province for further utilization in the university students’ research projects recently. The donation of this research equipment clearly demonstrates ongoing commitment of Seagate Thailand to support the research and development of Thai universities across the country.
ENGIE ประกาศแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำ�ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคนใหม่ ENGIE announces new CEO appointment in the Asia and Pacific Region กลุม่ บริษทั ENGIE ผูน้ �ำ การบุกเบิกโลกพลังงานใหม่ ได้ประกาศแต่งตัง้ มร.พอล แมคไกวร์ (Paul Maguire) ขึน้ ดำ�รงตำ�แหน่งประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารประจำ�ภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ โดยมีผลตัง้ แต่วนั ที่ 1 มิถนุ ายน 2560 โดยเข้ารับ ตำ�แหน่งต่อจาก มร.แจน ฟลาเจ็ท (Jan Flachet) ทีเ่ พิง่ เกษียณอายุหลังจากร่วมงานกับบริษทั มายาวนานถึง 39 ปี พอล จะเข้ามาดูแลการดำ�เนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท ตลอดจนการพัฒนา ในการสานต่อพันธกิจของ ENGIE ใน ทวีปเอเชีย แปซิฟิก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่ต้องการคือ Decarbionization Digitalization และ Decentralization ด้าน พลังงาน และตอกย้ำ�ความมุ่งมั่นในการจัดหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและเชื่อถือได้ เพื่อบรรเทาผลกระทบ จากพลังงานที่มีต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมรองรับความต้องการพลังงานที่ก�ำ ลังมีเพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคนี้ ENGIE group, a leader of new energy pioneer, announced the appointment of Mr.Paul Maguire as Chief Executive Officer in the Asia and Pacific Region being effective from 1 June 2017. He assumes to take the role after Mr.Jan Flachet finishes his retirement and has worked with the company for 39 years. Paul will look after the Group’s business and continues to develop the mission of ENGIE in the Asia and the Pacific Region towards the goal of “Energy Decarbionization Digitalization and Decentralization” and emphasize a strong intention of supplying clean and reliable renewable energy for relieving environmental impact from energy use, and at the same time, respond to an increasing energy demand in this region. July-August 2017
“SME START Smart with NOSTRA Map สร้างธุรกิจหลักล้านสู่ร้อยล้านด้วยแผนที่ เพือ่ ธุรกิจ” >> บริษัท โกลบเทค จำ�กัด ผู้ให้บริการข้อมูลแผนที่ดิจิทัล ภายใต้แบรนด์ นอสตร้า (NOSTRA) จัดสัมมนา “SME START Smart with NOSTRA Map สร้างธุรกิจหลักล้านสู่ร้อยล้าน ด้วยแผนทีเ่ พือ่ ธุรกิจ” โดยเชิญชวนผูป้ ระกอบการ นักธุรกิจและ ประชาชนทีส่ นใจมาอัพเดทความรู้ มุมมองการทำ�ธุรกิจสไตล์ใหม่ ที่ ต อบสนองเทรนด์ ผู้ บ ริ โ ภคและเทคโนโลยี ที่ เ ปลี่ ย นแปลง พร้อมทัง้ การนำ� NOSTRA Map ข้อมูลแผนทีด่ จิ ทิ ลั มาประยุกต์ ใช้ร่วมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อเพิ่มศักยภาพ ธุรกิจ ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำ�นวนมาก ณ ห้อง Meeting Room 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วิชัย แสงหิรัญวัฒนา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โกลบเทค จำ � กั ด ในฐานะผู้ จั ด งานได้ แ นะนำ � แผนที่ NOSTRA Map Thailand และความสามารถของแผนที่ดิจิทัล ให้ผู้ประกอบการ ได้เห็นประโยชน์ในการนำ�มาใช้เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับ ธุรกิจ SMEs ตลอดจนมีการแสดงตัวอย่างการนำ� NOSTRA Map Online Service ไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายธุรกิจ
<< เยี่ยมชมโรงงาน Hyundai ณ เมืองอุลซัน ประเทศเกาหลีใต้ ตัวแทนจำ�หน่ายเบรกเกอร์ฮุนไดในประเทศไทย ได้เข้าเยี่ยมชม โรงงาน Hyundai ณ เมืองอุลซัน (Ulsan) ประเทศเกาหลีใต้ บริษัท HYUNDAI ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1972 โดยมีส�ำ นักงานใหญ่ที่ กรุงโซลเมืองหลวง และโรงงานตั้งอยู่ที่เมืองอุลซัน ทางตอนใต้ของ ประเทศเกาหลีใต้ บนพื้นที่กว่า 87 ล้านตารางเมตร พนักงานกว่า 35,000 คน ผลิตและจำ�หน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าตั้งแต่ Low Voltage จนถึง High Voltage ที่ 800kV อาทิ เช่ น Gas Insulated Switchgear, Transformer, MV & LV Switchgear, Circuit Breaker, Magnetic & Contactor etc. ทางคณะได้ เ ยี่ ย มชมโรงงานและกระบวนการผลิ ต ที่ ทั น สมั ย พร้อมทั้งชมห้องทดสอบผลิตภัณฑ์ ในปัจจุบันฮุนไดมีลูกค้าที่ให้การ ยอมรับและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์มากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก รวมถึง ประเทศไทย ซึ่งผลิตภัณฑ์ผ่านมาตรฐานสากลทั้ง IEC, ANSI, KEPIC, KERI, KEMA, CSA, DIN, AS, JIS, ES, GOST, ATEX, CU&UL etc. สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ T&D Powertech (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2002-4395-7 E-mail : info@tdpowertech.com
July-August 2017
<< ดาว ประเทศไทย เดินหน้าเพิ่มพื้นที่สีเขียว เนือ่ งในวันสิง่ แวดล้อมโลก ต่อเนือ่ งเป็นปีท่ี 9 กลุม่ บริษทั ดาว ประเทศไทย นำ�โดย นารินทร์ วงศ์ธนาศิรกิ ลุ ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายความ ปลอดภัย อาชีวอนามัย สิง่ แวดล้อม และรัฐกิจสัมพันธ์ ร่วมกับคณะทำ�งานไตรภาคีของบริษทั ฯ และอาสาสมัครจากสถานทูตสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย รวมทัง้ สิน้ กว่า 300 คน จัดกิจกรรม “เพิ่มผืนป่าชายเลน ถวายเป็นพระราชกุศล” เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ภายใต้แนวคิด “ดาว ประเทศไทย 50 ปี ทำ�ดีตามรอยพ่อ” ณ อนุสรณ์เรือรบหลวงประแส จังหวัดระยอง เพือ่ ป้องกันภัยจากคลืน่ ลมในฤดูมรสุม อนุรกั ษ์แหล่งเพาะพันธุส์ ตั ว์น�ำ้ ส่งเสริมการท่องเทีย่ ว และเศรษฐกิจในชุมชน รวมทัง้ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ล อดุลยเดช เนือ่ งในโอกาสพิเศษทีด่ าว ประเทศไทย มีอายุครบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2560 นี้
อีตั้น อิเลคทริค เปิดตัวนวัตกรรม ขานรับนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 >> ดุษฎี ทองไทย Regional Channel Sales Manager Indo China และ มร.แดเนียล เอส เจมส์ บริษัท อีตั้น อิเล็คทริค จำ�กัด ผูน้ �ำ เทคโนโลยีดา้ นการจัดการพลังงาน เปิดตัวผลิตภัณฑ์รวมถึงนวัตกรรมล่าสุด เพื่อสนับสนุน ธุรกิจไทยในยุค Digital Transformation รวมถึงนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” โดยในงานมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หลากหลาย ระดับ เริ่มตั้งแต่ Micro Data Center ไปจนถึง Super Capacitor ซึ่งล้วนแล้วแต่ได้รับการออกแบบมาเพื่อ ช่วยให้ธรุ กิจสามารถจัดการระบบไฟฟ้าและระบบสำ�รองไฟ ได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการใช้งาน อย่างยัง่ ยืน่ เพือ่ ให้สอดรับกับการทีป่ ระเทศไทยก้าวเข้าสู่ ระบบเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล และช่วยขับเคลื่อนประเทศ เข้าสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง
July-August 2017 2016 September-October
“Thailand Cybersecurity Week 2017” ปลุกคนไทยรับมือภัยคุกคาม ช่วยเศรษฐกิจ แข็งแกร่ง >> พลอากาศเอกประจิ น จั่ น ตอง รองนายกรั ฐ มนตรี เปิดงานสัมมนา “Thailand Cybersecurity Week 2017” มุ่ง เสริมสร้างองค์ความรูด้ า้ นความมัน่ คงปลอดภัยไซเบอร์ ให้คนไทย พร้อมรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ที่เพิ่มต่อเนื่องและรุนแรงขึ้น หวังรัฐ-เอกชน-ประชาชน ร่วมกันสร้างความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ทแี่ ข็งแกร่ง เพือ่ ความเชือ่ มัน่ ในการทำ�ธุรกรรมออนไลน์ และอีคอมเมิร์ซ ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่าง มีเสถียรภาพ ภัยคุกคามไซเบอร์มอี ตั ราการขยายตัวอย่างต่อเนือ่ งและ รุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกรณีมัลแวร์เรียกค่าไถ่ “วันนาคราย (WannaCry)” ที่แพร่ระบาดทั่วโลกเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ ผ่านมา ทำ�ให้การบริการไอทีของหลายร้อยหน่วยงานทั่วโลก ต้องหยุดชะงัก ในขณะทีป่ ระเทศไทยยังไม่ได้รบั ผลกระทบมากนัก จากความร่วมมือของทุกฝ่าย
<< INTERLINK MID YEAR SALE 2017 INTERLINK MID YEAR SALE 2017 ลดกระหน่ำ�ครั้ง ยิง่ ใหญ่ ยกขบวนสินค้าคุณภาพราคาพิเศษมากมาย อาทิ LAN (UTP), FIBER OPTIC, CCTV (COAXIAL), TELEPHONE, GERMAN RACK, VIDEO CONVERTER เป็นต้น งานนี้ได้รับ เกียรติจาก สมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ และ กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ กลุม่ บริษทั อินเตอร์ลงิ้ ค์ คอมมิวนิเคชัน่ จำ � กั ด (มหาชน) เป็ น ประธานเปิ ด งานอย่ า งเป็ น ทางการ ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค รัชดาฯ พิธีลงนามสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างสถานีไฟฟ้า ระบบ 115-22 เควี ที่ ส ถานี ไ ฟฟ้ า บ้ า นเลน 2 จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ระหว่ า งการไฟฟ้ า ส่ ว นภู มิ ภ าคและ INTERLINK CONSOTIUM & ZPE ประกอบด้ ว ย บริ ษั ท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) และบริษัท ซีนิธ เพาเวอร์ แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำ�กัด มูลค่างาน 274,990,000 บาท โดย สมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) และ พิ เชฐ ศรี ส วั ส ดิ์ รองผู้ ว่ า การการไฟฟ้ า ส่วนภูมิภาค
July-August 2017
ไทย-เยอรมัน ร่วมผลักดันการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ นำ�ร่องโรงงานแอร์ ในยุ ค ที่ พ ลั ง งานจากแสงอาทิ ต ย์ มี ราคาแพง “ตอนนีเ้ รากำ�ลังใช้ไฟฟ้าจากพลังงาน แสงอาทิตย์เพือ่ ลดต้นทุนการผลิต ตอนนีร้ ะบบ พลังงานแสงอาทิตย์คุ้มค่าแล้วกับการลงทุน” ไพรัตน์ เอื้อชูยศ ในฐานะประธานกรรมการ บริ ษั ท สตาร์ (ประเทศไทย) จำ � กั ด และ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่ า วในพิ ธี เ ปิ ด โครงการโซลาร์ รู ฟ ท็ อ ป ไทย-เยอรมัน โรงงานสตาร์แอร์ ซึ่งตั้งอยู่ใน จั ง หวั ด นนทบุ รี ปั จ จุ บั น ใช้ ไ ฟฟ้ า จากระบบ พลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ ที่ ติ ด ตั้ ง อยู่ บ นหลั ง คา ของโรงงาน แทนการซือ้ ไฟฟ้าจากสายส่งไฟฟ้า ระบบมีขนาด 1 เมกะวัตต์ ช่วยประหยัดค่า ใช้จ่ายของโรงงานได้ประมาณ 500,000 บาท ต่อเดือน โดยไม่ได้พึ่งพาโครงการสนับสนุน ของรัฐบาล การคืนทุนของระบบลดลงจาก ระยะเวลาปกติ 7 ปี เหลือเพียง 3 ปีครึ่ง จาก มาตรการส่ ง เสริ ม การลงทุ น เพื่ อ ประหยั ด พลังงาน จึงได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ของโรงงาน สตาร์แอร์เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่พิสูจน์ความ คุม้ ค่าการลงทุนให้กบั ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม อื่นๆ “ตอนนี้เราได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่ม ลู ก ค้ า ธุ ร กิ จ และอุ ต สาหกรรมที่ ต้ อ งการใช้ พลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ เ พื่ อ ผลิ ต ไฟฟ้ า ให้ กั บ โรงงานของพวกเขา” อภิรกั ษ์ เกตุมณี กรรมการ ผูจ้ ดั การของบริษทั BISReZeca ซึง่ เป็นผูต้ ดิ ตัง้ ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับบริษัท สตาร์ (ประเทศไทย) จำ�กัด กล่าว “พวกเขา ไม่ ต้ อ งการพลาดโอกาสในการประหยั ด ค่ า ใช้จา่ ย และมีสว่ นช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์”
July-August 2017
ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ของโรงงานสตาร์แอร์ เลือกใช้อปุ กรณ์ทผี่ ลิตจากประเทศเยอรมนี ซึ่งได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพและอายุการใช้งาน บริษัท BISReZeca และบริษัท สตาร์ (ประเทศไทย) จำ�กัด ให้ความสำ�คัญกับการเลือกพาร์ทเนอร์และอุปกรณ์ที่เหมาะสม เมื่อรวม ความเชีย่ วชาญในการติดตัง้ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์โดยบริษทั ไทยเข้ากับอุปกรณ์จากประเทศ เยอรมนี ถือเป็นการรับประกันความสำ�เร็จของโครงการ โดยโปรแกรมพัฒนาโครงการพลังงาน ทดแทน (PDP) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งดำ�เนินงานโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ ของเยอรมัน (GIZ) ได้ตดิ ตัง้ ระบบติดตามประสิทธิภาพการผลิตเพือ่ เก็บข้อมูลปริมาณไฟฟ้าทีผ่ ลิต ได้จากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ของโรงงานสตาร์แอร์ ทัง้ นีเ้ จ้าของโรงงานและผูพ้ ฒ ั นาโครงการ เชือ่ มัน่ ว่าจะมีการติดตัง้ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยเพิม่ มากขึน้ ในอนาคตอันใกล้นี้ ข้อมูลถูกรวบรวมภายใต้โปรแกรมพัฒนาโครงการพลังงานทดแทน (PDP) เอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ซึ่งโปรแกรมฯ ดำ�เนินงานโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ในนามของกระทรวงเศรษฐกิ จ และพลั ง งานแห่ ง สหพั น ธ์ ส าธารณรั ฐ เยอรมนี (BMWi) มี วัตถุประสงค์ทจี่ ะสนับสนุนการพัฒนาด้านพลังงานทดแทนและเพิม่ ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ในภูมิภาคนี้ ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจในประเทศเยอรมนีและภาคธุรกิจ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ GIZ เป็นองค์กรของรัฐบาลเยอรมันทีด่ �ำ เนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศเพือ่ การ พัฒนาอย่างยัง่ ยืน GIZ ปฏิบตั งิ านในนามของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทัง้ ในประเทศเยอรมนี และต่ า งประเทศ รวมทั้ ง รั ฐ บาลของประเทศต่ า งๆ สหภาพยุ โรป องค์ ก ารสหประชาชาติ ธนาคารโลก และองค์กรที่ให้ทุนอื่นๆ GIZ ดำ�เนินงานอยู่ในกว่า 130 ประเทศทั่วโลก และ มีพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 17,000 คน ซึ่งร้อยละ 70 เป็นคนในประเทศ
130 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 17,000 คน ซึ่งรอยละ 70 เปนคนในประเทศ ### สรุปยอดรวมขอเปนเจาโครงการ “โซลารฟารม” เฟส 2 สูงถึง 3,500 เมกะวัตต “กกพ.” สรุปยอดยื่นคําขอเปนเจาของโครงการ “โซลารฟารม” สําหรับหนวยงานราชการและสหกรณภาค การเกษตร เฟสสอง กวา 700 ราย กวา 3,500 เมกะวัตต สูงกวาเปาหมายรับซื้อถึง 16 เทา
สรุปยอดรวมขอเป็นเจ้าโครงการ “โซลาร์ฟาร์ม” เฟส 2 สูงถึง 3,500 เมกะวัตต์ “กกพ.” สรุปยอดยื่นคำ�ขอเป็นเจ้าของโครงการ “โซลาร์ฟาร์ม” สำ�หรับหน่วยงานราชการและ สหกรณ์ภวีาคการเกษตร เฟส ษ2ฐกุ กว่ลา กรรมการกํ 700 ราย กว่าากั3,500 เมกะวัตงงาน ต์ สูงกว่ าเป้าหมายรับซืกกพ. ้อถึง 16กลเท่าวว า า การยื่นคําขอเปน ระพล จิรประดิ บกิจการพลั ในฐานะโฆษก วีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำ�กับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. กล่าวว่า การยื่น เจาของโครงการเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ ในโครงการผลิตไฟฟาจากพลังงานแสงอาทิตยแบบติดตั้งบนพื้นดิน สําหรับ คำ�ขอเป็นเจ้าของโครงการเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบ หน ภาคการเกษตร หรือภโซลาร ฟารม ในเฟส 2 ปฟนาร์ี้ ตัม้งแต เมื่อวั2นปีทีน่ 29 าคการเกษตร หรือโซลาร์ ในเฟส ี้ พฤษภาคม ถึง 2 ติดวตัยงานราชการและสหกรณ ้งบนพื้นดิน สำ�หรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ มิตัถ้งุนแต่ายน รวมพฤษภาคม 5 วันที่ผาถึนมานั ผูประสงค ยื่นคํ5าขอเป าของโครงการ นวนทั ้ 720 ราย และคิด เมื่อ2560 วันที่ 29 ง 2 มิ้นถุนมีายน 2560 รวม วันที่ผน่าเจ นมานั ้น มีผู้ประสงค์รวมจํ ยื่นคำ�าขอเป็ น ้งสิน ของโครงการรวมจำ �นวนทั้งสิา้นรวมทุ 720 กราย เป็นจํปริานวน มาณการเสนอขายไฟฟ้ กเขตพื ่ บเปาหมายที่วางไวใน เปเจ้นาปริ มาณการเสนอขายไฟฟ เขตพืและคิ ้นที่ ดเป 3,510.46 เมกะวัตารวมทุ ต และเมื ่อเที้นยทีบกั เป็นจำ�นวน 3,510.46 219 เมกะวัเมกะวั ตต์ และเมื ยบกังบกวเป้าาเป หมายที ว่ างไว้ ในเฟสงประเภทผู 2 จำ�นวนรวม เมกะวั เฟสสอง จํานวนรวม ตต ยัอ่ งเทีคงสู าหมาย โดยแบ ยื่นคํ219 าขอได ดังตนีต์้ วีระพล จิรประดิษฐกุล ยังคงสูงกว่าเป้าหมาย โดยแบ่งประเภทผู้ยื่นคำ�ขอได้ ดังนี้ หนวยงาน หนวยงานราชการ มหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ องคการที่รัฐจัดตั้งขึ้น (ไมรวมองคการมหาชนและรัฐวิสาหกิจ) รวม สหกรณการเกษตร/สหกรณนิคม/สหกรณประมง รวมทั้งสิ้น
จํานวน : ราย
รวมจํานวนเสนอขายไฟฟา : เมกะวัตต (MWp)
3 37
15.00 185.00
40 สหกรณภาคการเกษตร 680 720
200.00 3,310.46 3,510.46
ส่วนข้อมูลการเสนอขอขายไฟฟ้า สำ�หรับปริมาณเสนอขายในเขตพื้นที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ยื่นมาในครั้งนี้ มีปริมาณการเสนอขาย วนขอมูลเมกะวั การเสนอขอขายไฟฟ า สําหรัดบหาปริ194 มาณเสนอขายในเขตพื ่ของการไฟฟ สวนภู มิภาคที่ยดื่นหาไฟฟ้ มาในาและยอดรวม ไฟฟ้ารวมส3,485.46 ตต์ สูงจากเป้าหมายการจั เมกะวัตต์ เกือบ 18 เท่้นาทีโดยมี รายละเอียาดเป้ าหมายการจั ังนี้ ครัเสนอขาย ้งนี้ มีปริได้มดาณการเสนอขายไฟฟ ารวม 3,485.46 เมกะวัตต สูงจากเปาหมายการจัดหา 194 เมกะวัตต เกือบ 18 เทา
โดยมีรายละเอี ไดสรุ ดังปนีจํ้ านวนเสนอขายไฟฟา พื้นที่ ยดเปาหมายการจัดหาไฟฟาและยอดรวมเสนอขาย สรุปจํานวน 1) การไฟฟานครหลวง 2) การไฟฟาสวนภูมิภาค รวม
ผูยื่นเสนอขายไฟฟา : ราย 5 715 720
: เมกะวัตต (MWp) 25 3,485.46 3,510.46
เปาหมายรับซื้อ ระยะที่ 2 : เมกะวัตต (MWp) 25 194 219
“ภายหลังจากนี้ จะเริม่ เข้าสูก่ ารพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัตขิ องผูท้ ยี่ นื่ คำ�ขอเป็นเจ้าของโครงการเป็นอันดับแรก เพือ่ ประกาศรายชือ่ ผูท้ ผี่ า่ น “ภายหลั งจากนี ่มเข าสูนกเจ้ารพิ จารณาตรวจสอบคุ ขิ องผู2560 ที่ยื่นซึคํ่งาจะปิ ขอเป นเจาโครงการเป ดับกกพ. และทาง การตรวจสอบคุ ณสมบั ติผู้ที่ป้ จะเริ ระสงค์ จะเป็ าของโครงการได้ ในวันที่ ณ 14สมบั มิถุนตายน ดประกาศเผยแพร่ ที่สำ�นนัอักนงาน เว็บเพื ไซต์่อประกาศรายชื www.erc.or.th ่อและเข้ ่กระบวนการคัดเลือณ กผูสมบั ้ที่ผ่านการตรวจคุ ณสมบั ติโน ดยวิ ีจับฉลาก ในวันที่ 26ในวั มิถุนนายน ศูนย์นิทรรศการ แรก ผูทผี่ าาสูนการตรวจสอบคุ ตผิ ูทปี่ ระสงค จะเป เจาธของโครงการได ที่ 142560 มิถุนณายน และการประชุ ไบไทค HALL 105ทส โดยจะเปิ ลงทะเบียบ นตัไซต ้งแต่เwww.erc.or.th วลา 08.00-09.30และเข น. ทัา้งสูนีก้ ในส่ วนของรายละเอี 2560 ซึ่งจะปดมประกาศเผยแพร ี่ ชัํา้นนั1กงาน กกพ.ดให้และทางเว็ ระบวนการคั ดเลือยกผูดเรืท ่อี่ งหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไขการจับสลากนัน้ สำ�นักงาน กกพ. ได้ออกประกาศและนำ�เผยแพร่ผา่ นทางเว็บไซต์ของสำ�นักงานแล้ว” วีระพล กล่าวเพิม่ เติม
ผานการตรวจคุณสมบัติ โดยวิธีจับฉลาก ในวันที่ 26 มิถุนายน 2560 ณ ศูนยนิทรรศการและการประชุมไบไทค HALL 105 ชั้น 1 โดยจะเปดใหลงทะเบียนตั้งแตเวลา 08.00 – 09.30 น. ทั้งนี้ ในสวนของรายละเอียดเรือ่ ง หลักเกณฑ วิธีการ 2017 และเงื่อนไขการจับสลาก นั้น สํานักงาน กกพ. ไดออกประกาศและนําเผยแพรผานทางเว็บไซตของสํJuly-August านักงานแล ว” วี ระพล กลาวเพิ่มเติม
ประเทศไทยพร้อมก้าวสู่การเป็น “ศูนย์กลางด้านพลังงานแห่งเอเชีย” ธรรมยศ ศรีชว่ ย รองปลัดกระทรวงพลังงาน แถลงเปิดงานแสดง เทคโนโลยีและการประชุมพลังงานเพื่ออนาคตแห่งเอเชีย ‘ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย’ ซึ่งจะเป็นก้าวสำ�คัญไปสู่ไทยแลนด์ เอนเนอร์ยี่ 4.0 โดยวางการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาประเทศไทยให้เป็นนโยบายหลัก ที่สำ�คัญของรัฐบาล ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจมหาศาลให้แก่บริษัท ด้านพลังงาน ทั้งบริษัทแบบบูรณาการและเฉพาะทางจากทั่วโลก จึง ทำ�ให้งานแสดงเทคโนโลยีและการประชุม ‘ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย’ เป็นแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบสำ�หรับบริษัทน้ำ�มันแห่งชาติ (National Oil Companies - NOCs) และบริษัทน้ำ�มันสากล (International Oil Companies - IOCs) ในการส่งเสริมและพัฒนาการเปลีย่ นแปลงจากการ เป็ น เพี ย งผู้ ผ ลิ ต น้ำ � มั น แบบดั้ ง เดิ ม สู่ ก ารเป็ น ผู้ จั ด หาพลั ง งานแบบ บูรณาการ เพื่อให้เกิดการกำ�หนดสัดส่วนพลังงานที่มีประสิทธิภาพและ มีความยั่งยืนมากขึ้นในเอเชีย ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวง พลังงาน จะเป็นการรวมตัวกันของอุตสาหกรรมด้านพลังงานทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในเอเชีย โดยจะเน้นไปที่อุตสาหกรรมด้านน้ำ�มัน ก๊าซ และพลังงาน ทดแทน และเป็นเวทีจดั แสดงทีน่ �ำ เอาการผสมผสานของพลังงานหลาย ประเภทและเทคโนโลยีที่มีความสมบูรณ์แบบ เพื่อตอบสนองต่อความ ต้องการทีเ่ พิม่ ขึน้ รวมถึงการเพิม่ ประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงสู่ระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ� งานจะจัดขึ้นในวันที่ 12-14 ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ นอกจากนี้ ภายในงานยั ง มี ก ารประชุ ม เชิ ง ยุ ท ธศาสตร์ ร ะดั บ รัฐมนตรี ‘พิธีประกาศรางวัลและการมอบทุน’ เพื่อสนับสนุนโครงการ งานวิจัยและพัฒนาในด้านพลังงาน และโปรแกรมกิจกรรมทางสังคม ในทุกวันที่จัดแสดงเพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมอาชีพ พันธมิตรทางธุรกิจ และผู้ที่เกี่ยวข้องหลักในภาคส่วนพลังงาน มร.คริ ส โตเฟอร์ ฮั ด สั น ประธานบริ ษั ท ดี เ อ็ ม จี อี เ ว้ น ท์ โกลบอลล์ เอนเนอร์ยี่ บริษัทผู้จัดงาน ‘ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย’ ได้เป็นผู้นำ�เสนอแผนงานของการจัดงานนี้ อธิบายว่า “งานแสดงฯ และการประชุมที่จะจัดขึ้นตลอด 3 วันนี้ จะเน้นไปที่พลังงานอนาคตที่ ก้าวหน้า การจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเทคโนโลยีสะอาด จากการตอบรับอย่างดีของงานระดับโลกทีจ่ ดั ขึน้ โดยบริษทั ดีเอ็มจี อาทิ งานอดิเปค (ADIPEC) และแก็สเทค (Gastech) จึงเชือ่ ว่างานทีจ่ ะเกิดขึน้ นี้
July-August 2017
จะเป็นสถานทีพ่ บปะทีจ่ ะได้รบั ความสนใจมากทีส่ ดุ ของผูท้ เี่ กีย่ วข้องกับ อุตสาหกรรม ซึ่งจะมาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสัมผัสกับ สถานการณ์และโซลูชนั ของพลังงานแห่งอนาคตทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับนโยบาย ด้านพลังงานระยะยาวของโลก แน่นอน ประเทศไทยเป็นตลาดที่กำ�ลัง เติบโตด้วยโอกาสมหาศาล และงานนี้ถือว่าเป็นโอกาสครั้งแรกสำ�หรับ ทุกภาคส่วนที่จะได้มาอยู่ร่วมกันและสร้างแบบแผนสำ�หรับความมั่นคง ด้านพลังงานแห่งอนาคตของเอเชีย ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสแก่ผู้ซื้อ และผูข้ ายจากทัว่ โลกได้มานำ�เสนอผลิตภัณฑ์และบริการภายในงานแสดง รวมถึงการประชุมเชิงวิชาการสำ�หรับอุตสาหกรรมพลังงานของโลกใน การแสวงหาโอกาสใหม่ๆ และความท้าทายของตลาดเอเชียที่น่าตื่นใจ” ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย ยังได้รับการสนับสนุนจากทีเส็บ โดย จารุวรรณ สุวรรณศาสน์ ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายอุตสาหกรรมการแสดงสินค้า นานาชาติ ทีเส็บ กล่าวว่า “เราในฐานะองค์กรของรัฐบาลที่ส่งเสริมการ พัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศไทย รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งในการ สนั บ สนุ น การจั ด งานฟิ ว เจอร์ เอนเนอร์ ยี่ เอเชี ย 2018 และต้ อ ง ขอขอบคุณบริษัท ดีเอ็มจี อีเว้นท์ สำ�หรับความไว้วางใจและความ เชื่อมั่นในการเลือกประเทศไทยให้เป็นเวทีจัดงานแสดงเทคโนโลยีนี้ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561” ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย 2018 เป็นงานจัดแสดงล่าสุดในเครือ ของบริษัท ดีเอ็มจี อีเว้นท์ โกลบอลล์ เอนเนอร์ยี่ ในส่วนธุรกิจการ ประชุมและงานแสดงสินค้า ซึ่งยังรวมไปถึงงานที่ใหญ่ที่สุดและสำ�คัญ ที่สุดของโลก คือ งาน Abu Dhabi International Petroleum Exhibition and Conference (ADIPEC) งานแก็สเทค (Gastech) ทีเ่ มืองบาร์เซโลนา และงานโกลบอลล์ ปิโตรเลียม โชว์ (Global Petroleum Show, GPS) ที่แคนาดา
SUBSCRIPTION
ELECTRICITY & INDUSTRY magazine ป 2560
ขาพเจา ชื่อ .................................................................................................สกุล........................................................................................................ ตําแหนง .......................................................................................บริษัท/หาง/ราน ...................................................................................... ที่อยู (ที่ทํางาน) ............................................................................แขวง/ตําบล ........................................................................................... เขต/อําเภอ ...................................................................................จังหวัด ......................................................รหัสไปรษณีย์ ...................... โทร ...............................................................................................แฟกซ์ ..................................................................................................... ที่อยู (ที่บาน) .................................................................................แขวง/ตําบล .......................................................................................... เขต/อําเภอ ....................................................................................จังหวัด .....................................................รหัสไปรษณีย์ ...................... โทร ...............................................................................................แฟกซ์ ..................................................................................................... รหัสสมาชิก ...............................................................................
ประสงค์จะบอกรับวารสาร “ไฟฟาและอุตสาหกรรม” 1 ป 6 ฉบับ 480 บาท 2 ป 12 ฉบับ 960 บาท สมาชิกตออายุ 2 ป 12 ฉบับ 800 บาท ตั้งแตฉบับที่ ..............เดือน .....................................ป ................... โดยสงวารสารไปที่ ที่ทํางาน ที่บาน พรอมกันนี้ไดสงคาสมาชิกเปนจํานวนเงิน ............................. บาท (ตัวอักษร ........................................................................................) เช็คธนาคาร .............................................................................. สาขา ............................................................................................... เช็คครอมสั่งจาย “บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จํากัด”
ธนาณัติ สั่งจายในนาม “คุณวาสนา แซอึ้ง” ที่ทําการไปรษณีย์โทรเลขบางกอกนอย โอนเขาบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จํากัด” ชื่อธนาคาร สาขา เลขที่บัญชี กรุงเทพ สะพานพระปนเกลา 162-0-74737-6 กสิกรไทย บางยี่ขัน 047-2-56333-5 ทหารไทย จรัญสนิทวงศ์ 020-2-27244-9 ไทยพาณิชย์ จรัญสนิทวงศ์ ซ.48 121-2-04080-0 หมายเหตุ กรุณาสงแฟกซ์ หรือสําเนาใบเขาบัญชี (Pay-in Slip) มาให บริษัทฯ พรอมเขียนชื่อ-นามสกุล และรหัสสมาชิก (ถามี) กํากับมาดวย
บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จํากัด 471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถนนศรีอยุธยา แขวงทุงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. +66 (0)26 444 555, +66 (0)23 545 333 ตอ 301 โทรสาร +66 (0)26 446 649, +66 (0)23 545 322
p.101-103_member.indd 101
8/2/17 10:47 AM
หากผูอานทานใดสนใจรายละเอียดตางๆ ที่ปรากฏในวารสาร ปที่ 24 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม - สิงหาคม 2560
4
Magazineสมาคมไฟฟาแสงสวางแหงประเทศไทย และ IEEE PES Thailand Section
นิตยสารเผยแพรความรูของสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟาแหงประเทศไทย
Overvoltage and Surge Protection Device การติดตั้งอุปกรณปองกันเสิรจสำหรับตูสวิทชบอรดไฟฟาอยางเหมาะสม ขอควรระวงัสายไฟฟาแรงสงูขาด กฟผ. เปด โรงไฟฟาพลงังานแสงอาทต ิ ยท บ ั สะแก การตด ิ ตง้ัใชงานคาปาซเิตอรในโรงงานผลต ิ เหลก ็ ATOM-MIC POWER ผน ู ำเทคโนโลยี ระบบ Smart WireDT เพอ่ืกาวนำไปสู Industrial 4.0 ผลงานวจิย ั ดานความแตกตางทางดจิท ิ ล ั ของอต ุ สาหกรรม
งานแสดงผลต ิ ภัณฑไฟฟาและเครอ ่ื งกล 2560 วน ั ท่ี 18-19 สงิหาคม 2560 ศน ู ยป ระชม ุ พช ี โรงแรมรอยล ั คลฟ ิ โฮเตล ็ กรป ุ พท ั ยา Visit us at Temca 2017
AVERA Booth AB3
ELECTRICITY & INDUSTRY MAGAZINE
ปที่ 24 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม-สิงหาคม 2560 ปที่ 24 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม - สิงหาคม 2560
รักษไฟฟา รักษโลก... ดวยสน ิ คาคณ ุ ภาพจาก “AVERA” ตอบสนองงานโครงการทห ่ี ลากหลายและครบถวน
กรุณากรอกขอมูลดังกลาวใหครบถวนเพื่อการติดตอจัดสงขอมูลกลับไปยังทานตอไป ชื่อ .................................................................................................ชื่อสกุล........................................................................................................ ที่อยู ..............................................................................................แขวง/ตําบล ................................................................................................ เขต/อําเภอ ....................................................................................จังหวัด .....................................................รหัสไปรษณีย์ .......................... โทร ...............................................................................................แฟกซ์ .........................................................................................................
ประเภทของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวของ
ตําแหนงงานที่ทานรับผิดชอบ กรรมการผูจัดการ/เจาของกิจการ ผจก.โรงงาน ผจก.ฝายวิจัยและพัฒนา ผจก.วิศวกรรม ผจก.ฝายซอมบํารุง วิศวกรฝายผลิต วิศวกรทดสอบ อื่นๆ โปรดระบุ ............................................
อุตสาหกรรมเคมี/ปโตรเคมี อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมไฟฟาและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมงานเชื่อม อุตสาหกรรมโลหการ อื่นๆ โปรดระบุ ............................................
ประเภทของกิจการ ผูผลิต
p.101-103_member.indd 102
ผูแทนจําหนาย
ผูผลิต/ผูแทนจําหนาย
หนวยงานราชการ
8/2/17 10:47 AM
ใบอนุญาตเลขที่ ปน. (ต)/1339 ปณจ.บางกอกน้อย ถ้าฝากส่งในประเทศไม่ต้องผนึกตราไปรษณียากร
บริการธุรกิจตอบรับ
บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จำ�กัด 619/5 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
ประโยชน์ทท่ี า่ นจะได้รบั จากวารสาร “ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม” เนื้อหา............................................................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................................................................... โฆษณา/รายละเอียดผลิตภัณฑ์...................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................................................................... ..........................................................................................................................................................................................................................................
ความคิดเห็นทีม่ ตี อ่ คอลัมน์ตา่ งๆ ทีป่ รากฏในวารสาร “ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม” ชือ่ คอลัมน์
มีประโยชน์มาก
มีประโยชน์
พอใช้
ควรปรับปรุง
สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย IEEE Power & Energy Society Thailand Chapter สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย Article Special Scoop Special Area IT Technology Product PR News Seminar Calendar Seminar Movement Industry News IT News
p.101-103_member.indd 103
8/2/17 10:47 AM
ดัชนีสินค้าประจำ�เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2560 บริษัท
โทรศัพท์
โทรสาร
ABB CO., LTD. 0-2665-1000 0-2324-0502 BMAM & GBR EXPO ASIA 0-2833-5302 0-2833-5127-9 MAXIMIZE INTEGRATED TECHNOLOGY CO., LTD. 0-2525-0299 0-2525-0298 MENNEKES Elektrotechnik GmbH & Co. KG 0-2741-5266 0-2741-5267 METALEX - - PLAN MARKETGOLD CO., LTD. 0-2314-1341-2 0-2314-1343 RITTAL CO., LTD. 0-2704-6580 - SAMWHA (THAILAND) CO., LTD. 0-3884-7571-3 0-3884-7575 TEMCA - - THAILAND LIGHTING FAIR 0-2664-6499 - WIRE & TUBE SOUTHEAST ASIA - - YAMABISHI ELECTRIC CO., LTD. 0-2879-9699 0-2879-4200 เชลล์แห่งประเทศไทย บจก. 0-2262-6000 0-2657-9888 ซี.เค.แอล. โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง บจก.
0-2149-6990
เซฟการ์ด เทคโนโลยี หจก.
0-2897-0303
ที แอนด์ ดี เพาเวอร์ เทค (ไทยแลนด์) บจก.
0-2002-4395-97
ประเภทสินค้า
หน้า
อุปกรณ์ไฟฟ้า ปกหลัง งานแสดงสินค้า 57 Industrial Relays 10 ผู้ผลิตปลั๊กอุตสาหกรรม 15 งานแสดงสินค้า 26 ผู้แทนจำ�หน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้า 9 ผู้ผลิตและจำ�หน่ายตู้ระบบไฟฟ้า 43 จำ�หน่าย ติดตั้งคาปาซิเตอร์ 7 งานแสดงสินค้า 106 งานแสดงสินค้า 42 งานแสดงสินค้า 44 ผู้ผลิตและจำ�หน่ายมอเตอร์ไฟฟ้า, 14 พัดลมระบายอากาศ-อุตสาหกรรม น้�ำ มันหล่อลื่น 3
0-2149-6981 ตัวแทนจำ�หน่ายกล่องและตู้พลาสติกกันฝุ่นและละอองน้ำ� 16 -
ไฟฉุกเฉิน, อุปกรณ์ไฟฉุกเฉินและแสงสว่าง
0-2002-4398 อุปกรณ์ไฟฟ้า
ไทยบำ�รุง เอ็นจิเนียริ่ง บจก. 0-2282-9191 0-2282-9200 ผู้น�ำ เข้าอุปกรณ์ไฟฟ้า-คอนโทรล, ตูโ้ หลดเซ็นเตอร์-เซอร์กิตเบรกเกอร์
91 25 ปกหน้าใน
พี ไอ เอส พาวเวอร์ ดิสทริบิวชั่น บจก.
0-2105-3011-2
0-2105-3013 สวิตช์
4
เพาเวอร์ เรด บจก.
0-2300-5671-3
0-2300-5937 อุปกรณ์ไฟฟ้า
13
มหาธน อีเลคทริค หจก.
0-2894-3447-9
0-2416-1659 อุปกรณ์ไฟฟ้า
24
มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) บจก.
0-2540-6991
เรเซล ควอลิตี้ เทรดดิ้ง บจก.
0-2683-3040
0-2294-8198 อุปกรณ์ไฟฟ้า
12
ลีฟเพาเวอร์ บจก.
0-2300-5671-3
0-2300-5937 อุปกรณ์ไฟฟ้า
11
ลูซี่ อิเล็คทริค (ประเทศไทย) บจก.
0-3368-4333
เวอร์ทัส บจก.
-
-
มิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
6
สวิตช์เกียร์
5
0-2876-2727-8
0-2476-1711 Couplings
22
สมาร์ทอีเล็คทริค บจก.
0-3447-3789
0-3440-6777 จำ�หน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง หม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง 45
ออมรอน อิเลคทรอนิคส์ บจก.
0-2942-6700
0-2937-0501 อุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบควบคุมอัตโนมัต ิ
อะตอม-มิค พาวเวอร์ บจก.
0-2503-3535
อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น บมจ.
0-2693-1222
0-2693-1399 สาย LAN
23
อีลีเน็ต บมจ.
0-2899-9480-1
0-2899-1256 Neutral Grounding Resistiors (NGR) PCM Multiplexer
107
0-2503-3519-20 อุปกรณ์ไฟฟ้า
เอวีร่า บจก. 0-2681-5050 0-2681-5995 อุปกรณ์ไฟฟ้า
8 17
ปกหน้า, 21
เอส เอ วี เมคคานิคคอล เซอร์วิสส์ แอนด์ 0-2702-0581-8 0-2377-5937 ติดตั้ง EOCR อิเล็กทรอนิกส์โอเวอร์โหลดรีเลย์ ซัพพลายส์ หจก. ป้องกันมอเตอร์ไหม้
14
เอส.พี.วาย แอนด์ เคเบิ้ล บจก.
0-2434-0099
0-2434-3251 อุปกรณ์ไฟฟ้า
19
ไอทีเอ็ม คาปาซิเตอร์ บจก.
0-2336-1116
0-2336-1114 คาปาซิเตอร์
27
HOUSE AD TECHNO-C4.pdf
1
8/1/2560 BE
19:33
ITELTE¬;V7DLTE ÇìòïëÞé¬ÊÞäÞ÷æëâ <EþK9S _9'a;aGDW CW_6WD +lT$S6 >[> GV7LYO g LV*g @VC@ 9'Wg EO<'GZC$GZC _= TMCTD IþJI$EEC OZ7LTM$EEC `GRLVg*`I6G OC 9Wg9S;LCSD a6D$ER+TDL[ $GZ C_= TMCTDOD T*$I T*%IT*`GR7E*$GZ C ET*ISG'Z5BT@ ÑžÆɾËÁ ÂËÂÏÄÖ ¾Ô¾ÏÁÐ >[ L *_LEþC6 T;$TEO;ZES$K @GS**T;+T$$EC @S4;T@GS**T;96`9;`GRO;ZES$K @GS**T; ¥@«@«¦ $ER9EI*@GS**T; `GR ASIAN GREEN TJ AWARDS
Engineering Today öāòùāòòāñ ċãĆüè ċíĆē ü ÓöāðÐś ā öúèś ā ĎèöÖÐāòöă ÷ öÐòòðČôÿ üćäùāúÐòòð ċèśèùāòÿÓöāðòĈĎś èãśāèċæÓčèčôñĄ Ðāòëôăä Ðāòöă×Āñ ČôÿíĀáèā ÐāòüèćòĀÐøŞ íôĀÖÖāè ČôÿïāöÿÐāòäôāãæĄēðĄëôÐòÿæéäŚü öÖÐāòöă÷öÐòòðČôÿüćäùāúÐòòðÑüÖêòÿċæ÷ E-Book XXX FOHJOFFSJOHUPEBZ OFU CPPLTIFMG JOEFY IUNM
Electricity & Industry èăäñùāòòāñ ċãĆüè æĄēüñĈŚÓĈŚöÖÐāòüćäùāúÐòòðďîîŖā ċÓòĆēüÖÐô üć ä ùāúÐòòðďîîŖ ā Čôÿüă ċ ôĒ Ð æòüèă Ð ùŞ ñāèñèäŞČôÿÙăèĔ ùŚöè üćäùāúÐòòðêőčäòċÓðĄ òöðæĀĔÖùāòÿÓöāðòĈśãśāèÐāòëôăä Ðāòäôāã ðāÐöŚā êŒ ċíĆüē êòÿčñÙèŞäüŚ èĀÐüćäùāúÐòòð öă÷öÐò ÙŚāÖċæÓèăÓ èĀÐċòĄñè èĀÐ÷ąÐøā Čôÿ éćÓÓôæĀēöďêæĄēùèĎ× E-Book XXX UFDIOPMPHZNFEJB DP UI CPPLTIFMG
C
M
Y
CM
MY
CY
Thai Packaging Newsletter öāòùāò òāñ ċãĆ ü è čãñèčñéāñÑüÖùðāÓðÐāò éòò×ćïĀâàŞďæñ ×ĀãæĘāÑąĔèċíĆēüċëñČíòŚÑśüðĈô ÑŚāöùāòċÐĄēñöÐĀééòò×ćïĀâàŞĎúðŚ ċæÓčèčôñĄ ãś ā èÐāòíă ð íŞ Ðāòëôă ä ČôÿÐāòüüÐČéé üĀ è ċêŢ è êòÿčñÙèŞ äŚ ü öÖÐāòüć ä ùāúÐòòð éòò×ćïĀâàŞďæñ E-Book XXX UIBJQBDL PS UI
GREEN NETWORK èăäñùāòòāñ ċãĆüè ùĘāúòĀéÓèòĀÐøŞčôÐ ċíĆēüÓöāðòŚöððĆüãśāè ÐāòüèćòĀÐøŞíôĀÖÖāèČôÿùăēÖČöãôśüð æĄēæćÐ ïāÓùŚöèùāðāòåðĄùŚöèòŚöðĎèÐāòÙŚöñôã čôÐòś ü è èĘ ā ċùèüÓöāðċÓôĆē ü èďúöČôÿ ùāòÿÓöāðòĈś äŚ ā Öđ ċÐĄē ñ öÐĀ é ÐāòêòÿúñĀ ã íôĀÖÖāèČôÿüèćòĀÐøŞùăēÖČöãôśüð E-Book XXX HSFFOOFUXPSLUIBJMBOE DPN NBHB[JOF QIQ
CMY
ċúðĆüÖČòŚ öāòùāòòāñ ċãĆüè ïāñĎäśèčñéāñ ÑüÖÓâÿÐòòðÐāòùïāÐāòċúðĆ ü ÖČòŚ ď æñ ċíĆē ü èĘ ā ċùèüÑś ü ðĈ ô ÑŚ ā öùāò ÓöāðÓĆ é úèś ā üĀ è ċêŢ è êòÿčñÙèŞ Č ÐŚ Ð ôćŚ ð çć ò Ðă × ċúðĆ ü ÖČòŚ æĄē ÑąĔ è êòÿæāèéĀ ä òČôÿðĄ ùă æ çă éĀ ä òĎèÐāò êòÿÐüéÐă × ÐāòċúðĆ ü ÖČòŚ ÐāòùŚ Ö üüÐČôÿ èĘāċÑśāČòŚ ČúŚÖêòÿċæ÷ďæñ
K
üăèæāċèĄñ öāòùāòòāñ ċãĆüè čãñèčñéāñ ùðāÓðèăùăäċÐŚāöă÷öþ ×ćûāþ ċíĆēüċÙĆēüðčñÖ ÓöāðùĀðíĀèçŞòÿúöŚāÖèăùăäċÐŚāæćÐòćŚè čãñ ċèĆüĔ úā×ÿèĘāċùèüÓöāðċÓôĆüē èďúöÑüÖÐôćðŚ Ùāööă÷öÐòòð÷āùäòŞČúŚÖ×ćûāþ ùðāÓðþ ùåāéĀèČôÿÓâā×āòñŞ ČèöčèśðæāÖöă÷öÐòòð äôüã×èċëñČíòŚÑüś ðĈôÑŚāöùāòČÐŚúèŚöñÖāè ÙĀĔèèĘā æĀĔÖïāÓòĀßČôÿċüÐÙèæĄēċÐĄēñöÑśüÖÐĀé öÖÐāòöă÷öÐòòð ëôÖāèÑüÖèăùăäċÐŚāČôÿ Óâā×āòñŞ čãñùŚÖäòÖåąÖèăùăäċÐŚā ČôÿëĈśæĄē ċÐĄēñöÑśüÖüñŚāÖæĀēöåąÖČôÿùðēĘāċùðü
<Eþ$TE+S6LSCC;T
éòăøĀæ ċæÓčèčôñĄ ðĄċãĄñ ×ĘāÐĀã ðĄ ìŕ ā ñíĀ á èāçć ò Ðă × ČôÿďüæĄ æĄē ò üÖòĀ é Ðāò ×ĀãùĀððèāÓòéöÖ×ò ðĄòÿééßāèÑśüðĈôæĄē æĀèùðĀñ ċÑśāåąÖÐôćðŚ ċêŖāúðāñďãśüñŚāÖÙĀãċ×è äôüã×èðĄċÓòĆēüÖðĆüÐāòêòÿÙāùĀðíĀèçŞ æĄēÐöśāÖÑöāÖ ċÑśāåąÖÐôćŚðċêŖāúðāñ Čôÿ ċÙăÜČÑÐùĘāÓĀÜĎèöÖÐāòďãś×òăÖ
<Eþ$TE2T;% OC[G
<Eþ$TEOYg;e
×āÐÐāòæĄē é òă øĀ æ ðĄ Ð āò×Ā ã æĘ ā ďãċòĒ Ó æüòĄē Ðāò×Ā ã ùĀ ð ðèāČôÿ èăæòò÷Ðāò æĘāĎúśéòăøĀæðĄÑśüðĈôÑüÖ ëĈċś ÙĄñē öÙāÜùāÑāäŚāÖđ Ďèêòÿċæ÷ďæñ ÐöŚā òāñ ׹ÖùāðāòåĎúś éòă Ð āòãś ā è %JSFDU .BJMJOH Čôÿ 5FMFNBSLFUJOH 4FSWJDF
<EþKS9 _9'a;aGDW CW_6WD +lT$S6
<Eþ$TE Internet
éòăøĀæ ċæÓčèčôñĄ ðĄċãĄñ ×ĘāÐĀã ðĄìŕāñ íĀáèāçćòÐă× ÚąÖē ÙĘāèāÜãśāèÑśüðĈôÑŚāöùāòČôÿ *OUFSOFU ĎúśéòăÐāòÐāò×ãæÿċéĄñèÙĆēü %PNBJO òĀéüüÐČéé 8FC 1BHF ċÑĄñè 1SPHSBN éè 8FC æĘā 8FC %JSFDUPSZ æĘā 0O -JOF $BUBMPH öāÖČëèÐāòäôāã ČôÿĎúś ÓĘ ā êòą Ð øāãś ā è *OUFSOFU ÑāñäòÖéè *OUFSOFU
www.technologymedia.co.th
±´®¬°ª± @ Tc9_@GL 8;;JEÿODZ:DT 9Z *@ Tc9 ET-_9Iÿ $EZ*_9@Q ®± a9E« ª¯°²± ²°°°© ª¯³±±ª±²²² 7 O °® Êß« µª¶´´¶ª´®±® ªêÞæé· êÞïèâñæëäÜêÞä½ñâàåëìéìäöêâáæÞ«àì«ñå MEāO èåâêçæïÞ¯¶±½äêÞæé«àìê
Forum Ad-A4-c4.pdf
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
1
8/2/2560 BE
9:48
108-c4-Ad ESI-Edit.pdf
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
1
4/10/2560 BE
16:26