Electricity & Industry Magazine Issue Mar - Apr 2020

Page 1







Samwa_21.59x29.21cm.pdf

1

3/28/17

11:02 AM


Leading Journals and well-known in the industry, Engineering and Renewable Energy for over 20 Years in Thailand Technology Media’s Journals Quality Awarded : Thailand Energy Awards, the awards promote energy conservation by the Department of Alternative Energy Development and Energy Conservation, Ministry of Energy and the Asian Green TJ Awards.

www.electricityandindustry.com www.greennetworkthailand.com www.engineeringtoday.net www.thaipack.or.th www.intania.com 4 Vol.29 No.136 July-August 2019

#Ä =L bi "9" =L acf + : )Ĺł2< 3: ) befb

THAI PACKAGING NEWSLETTER

òX8^ 8=Ăž`31 GN3W/G= W3%K_3X3? úšÚžó "L3XD."W1 Y3Y?<O 3AK/ ==;. L3 L=4==#Ä–:K-+ X?J L=8ÄŠ;8 =K`"<NÄŽ"ZE} Z3[1<

#Ä =L bi "9" =L acf + : )Ĺł2< 3: ) befb

www.electricityandindustry.com

www.greennetworkthailand.com

www.thaipack.or.th

www.intania.com

www.engineeringtoday.net

8ÄŠ2O;G4=L"AK?

80.00.-THB

Packaging 4.0 “Smart Packaging the Wave of the Futureâ€? GR/DLE ==;[1<W/=Ăż<; AL;8= G; K4 “Single Use Plastic Directiveâ€? E=Ä G<K"Ă Ă L=DM=A#8>/N ==; L=Z% A.8?LD/N G" 3[1<Ă­ W8Ä?_GD "WD=Ăž; L=Z% A.8?LD/N =Ăż[&W N?G< L"5?G.:K< W1 Y3Y?<O Smart Factory D= L"D== 3AK/ ==; W8ÄŠ_;5=JDN12N:L8 L=6?N/X?JW5 3;N/= K4DNÄŽ"XA.? G;

Ă­X;^ Y = .N#N1K? DY/= ĂŽ E L" LD "GK#$=Ăž<J Z3<R GN3W1G= W3^/GG92N"D LUMAFIN ;N/NZE; XE " L=/ X/ "4==#Ä–:K-+ W1 Y3Y?<O1O_#JW5?O_<3Y$; W =Ä _G"#K =4==#Ä–:K-+ G;S?1O_[; ;O R-:L8 K4:L=J LZ% # L< G"G" =

ThaiStar Packaging Awards 2019

190710

80.00

Directory Year Book

:

www.yellowgreenthailand.com

www.thaiconstructionpages.com

www.technologymedia.co.th

www.technologymedia.co.th www.yellowgreenthailand.com

Directory & Catalogue • Network Solution & Mobile App • Exhibition & Distribution

TECHNOLOGY MEDIA CO., LTD. 471/3-4 Phayathai Places, Sri-Ayutthaya Rd., Thung Phayathai, Ratchathewi, Bangkok 10400 Tel. +66 (0)23 545 333, (0)26 444 555 Fax. +66 (0)26 446 649, (0)23 545 322

4=ĂžCK1 W1 Y3Y?<O ;OW.O< #M K.

œšÝ³¾¹œ GL L8}L[1W8?D 033B=ÿG<R2<L W /=L%W1Aÿ =R"W18I Ýúœúú Y1=² ¯¸¸ ú­´¾ ¡œ¡ ¾¾¾° ú­´¸ œœœ ¡¡¡ X9 & ² ¯¸¸ ú­´¸ œœ¸ ¸œ° ú­´¾ ¡œ¡ ¾´´


T&D Power Tech_1-2563.pdf 1 20/1/2563 16:44:21


CONTENTS MARCH-APRIL

14

16 18 20 22 24

ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ราช กรุ๊ป จ�ำกัด (มหาชน)

2020

40 ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และระบบไฟฟ้า ท�ำงานด้วยกัน

อย่างไร Jairo Quiros-Tortos, Luis (Nando) Ochoa, and Timothy Butler

SPECIAL SCOOP 47 RAC NAMA การสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยี

26 IEEE POWER & ENERGY SOCIETY THAILAND (IEEE PES-THAILAND)

ท�ำความเย็นสีเขียว กองบรรณาธิการ 52 “SEED Symposium 2020” เพื่อผู้ประกอบการเศรษฐกิจสีเขียว กองบรรณาธิการ

INTERVIEW 27 ไกรทส องค์ชัยศักดิ์ ... ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท

SPECIAL AREA 54 New Slim Interface Relays (SIR6W, SIR6WB)

กับดาต้าเซ็นเตอร์เทียร์ กองบรรณาธิการ

FACTORY VISIT 30 โรงไฟฟ้าทุง่ สัง กรีน ... ต้นแบบชีวมวลเชือ ้ เพลิงผสม

หนุนเศรษฐกิจชุมชน กองบรรณาธิการ

ARTICLE

32 Gecko Single Pad (SP) Gripper

เพื่อพื้นที่การผลิตขนาดเล็ก ออนโรบอต 34 วิศวกรโตชิบาพัฒนาระบบการติดตามประเมิน และเฝ้าระวังวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานที่มีอายุ เพื่อป้องกันการพังทลาย องค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (NEDO) แห่งประเทศญี่ปุ่น 36 10 ปัจจัยส�ำคัญ เร่งกระตุ้นให้ธุรกิจเชิงพาณิชย์ ทั่วโลกหันมาปรับใช้ 5G หัวเว่ย

บริษัท แม็กซิไมซ์ อินทิเกรทเท็ด เทคโนโลยี จ�ำกัด 56 โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Overload Relay) คืออะไร บริษัท ที แอนด์ ดี เพาเวอร์ เทค (ไทยแลนด์) จ�ำกัด IT ARTICLE 60 วิถไี อทีปี 2563 วิถีสู่โลกยุคอัตโนมัติ

สุภัค ลายเลิศ

62 องค์กรไทยตื่นตัวเร่งเต็มสูบปรับตัวรับ

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) Bluebik 66 PRODUCT 68 PR NEWS 71 MOVEMENT 74 SEMINAR 76 IT NEWS 78 INDUSTRY NEWS



EDITOR TALK

MARCH-APRIL

2020

ปี พ.ศ. 2563 เป็นปีที่เรียกได้ว่าหนักหนาสาหัสปีหนึ่งของประเทศไทยเลยทีเดียว เพียงแค่ 3 เดือนก็มีเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในช่วงนีค้ อื วิกฤตไวรัสโควิด-19 ระบาดไปทัว่ โลก โดยมีจดุ เริม่ ต้นจากประเทศจีน จากนัน้ ประเทศไทยเป็นประเทศแรกทีพ่ บผูป้ ว่ ย นอกประเทศจีน และได้แพร่กระจายไปทัว่ โลก จนเมือ่ วันที่ 11 มีนาคมทีผ่ า่ นมา องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ประกาศให้โควิด-19 เป็นการ “แพร่ระบาดใหญ่” (Pandemic) เพราะมีอย่างน้อย 114 ประเทศทัว่ โลกมีผตู้ ดิ เชือ้ มีผเู้ สียชีวติ รวมทัง้ สิน้ มากกว่า 4,000 คน และมีผตู้ ดิ เชือ้ รวมกันมากกว่าแสนคน ถึงแม้แต่ละประเทศจะมีมาตรการป้องกันอย่างดีเพียงใด แต่ดูเหมือนว่าอัตราการติดเชื้อก็มีแนวโน้มแพร่กระจาย มากขึ้น นับเป็นการแพร่ระบาดครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก แต่ด้วยความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ หวังว่าอีกไม่นานจะมี ยาต้านไวรัสตัวนี้ออกมา ตอนนี้ขอให้ทุกคนติดตามข่าวสารในทุกทางอย่างมีสติ ไม่เชื่อในข่าวลือที่ได้ยินมา รับฟังข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ที่เชื่อถือได้ เชื่อมั่นว่าอีกไม่นานทุกอย่างจะต้องคลี่คลายแน่นอน Electricity & Industry Magazine ฉบับนีก้ ย็ งั คงมีเนือ้ หาสาระทีห่ ลากหลายครบถ้วนเช่นเคย ตัง้ แต่ปลายปี พ.ศ. 2562 ถึงต้นปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยประสบภาวะภัยแล้งทัว่ ประเทศ ดังนัน้ หน่วยงานทีม่ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบจึงก�ำหนดมาตรฐานการรองรับสภาวะแล้งอย่างเป็น รูปธรรม ในส่วนของ สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย นัน้ องค์กรสมาชิกของสมาคมฯ ก็มเี นือ้ หาทีน่ า่ สนใจเช่นกัน หาอ่านกันได้ ในฉบับ คอลัมน์ Interview พบกับ ไกรทส องค์ชัยศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท จ�ำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้ บริการดาต้าโซลูชัน และดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ Factory Visit พาไปดูการด�ำเนินงานของ โรงไฟฟ้าทุ่งสัง กรีน จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่เป็นต้นแบบชีวมวลเชื้อเพลิงผสม โรงไฟฟ้าที่หนุนเศรษฐกิจชุมชนให้แข็งแรงขึ้น และเป็นโรงไฟฟ้าที่ได้รับรางวัล ชนะเลิศอันดับ 2 ในงาน ASEAN Energy Awards 2019 ด้วย ส่วน Article มีหลายบทความที่น่าสนใจ ทั้งเรื่อง Gecko Single Pad (SP) Gripper เพื่อพื้นที่การผลิตขนาดเล็ก ของออนโรบอต บทความขององค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอตุ สาหกรรม (NEDO) แห่งประเทศญีป่ นุ่ เรือ่ ง วิศวกรโตชิบาพัฒนาระบบการติดตาม ประเมิน และเฝ้าระวังวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานที่มีอายุ เพื่อป้องกันการพังทลาย และบทความของหัวเว่ยเรื่อง 10 ปัจจัยส�ำคัญ เร่งกระตุน้ ให้ธรุ กิจเชิงพาณิชย์ทวั่ โลกหันมาปรับใช้ 5G ซึง่ เป็นความเห็นจาก หยาง เชาปิน ประธานกลุม่ ผลิตภัณฑ์ 5G ของหัวเว่ยนัน่ เอง นอกจากนัน้ เรือ่ งโครงการ RAC NAMA การสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยีทำ� ความเย็นสีเขียว หรือการมอบรางวัล “SEED Symposium 2020” เพื่อผู้ประกอบการเศรษฐกิจสีเขียว ก็ล้วนแต่น่าสนใจทั้งสิ้น พบกันใหม่ฉบับหน้า กิตติ วิสุทธิรัตนกุล

ที่ปรึกษา : รศ. ดร.สุธี อักษรกิตติ์ / ไกรสีห์ กรรณสูต / พรเทพ ธัญญพงศ์ชัย / เฉลิมชัย รัตนรักษ์ / ประเจิด สุขแก้ว / ผศ.พิชิต ล�ำยอง / วัลลภ เตียศิริ / พรชัย องค์วงศ์สกุล / ดร.กมล ตรรกบุตร / ศ. ดร.พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ / รศ. ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม / รศ. ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา : กิตติ วิสุทธิรัตนกุล บรรณาธิการวิชาการ : ดร.สุรพล ด�ำรงกิตติกุล ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นิภา กลิ่นโกสุม กองบรรณาธิการ : ธิดาวดี บุญสุยา / นริศรา อ่อนเรียน / ณัฐชยา แก่นจันทร์ พิสูจน์อักษร : อ�ำพันธุ์ ไตรรัตน์ ศิลปกรรมรูปเล่ม / ศิลปกรรมโฆษณา : ชุติภา จริตพันธ์ / ศศิธร มไหสวริยะ ฝ่ายโฆษณา : ศิริภรณ์ กลิ่นขจร / มนัส ไชยเพส / กษิรา เหมบัณฑิตย์ / กัลยา ทรัพย์ภิรมณ์ / วีระวรรณ พุทธโอวาท เลขานุการฝ่ายโฆษณา : ชุติมณฑน์ บัวผัน ฝ่ายสมาชิก : ศิรินทิพย์ โยธาพันธ์

บทความที่ปรากฏใน ELECTRICITY & INDUSTRY Magazine เป็นความคิดเห็น ส่ ว นตั ว ของผู ้ เขี ย น ไม่ มี ส ่ ว นผู ก พั น กั บ บริ ษั ท เทคโนโลยี มี เ ดี ย จ� ำ กั ด แต่ อ ย่ า งใด หากบทความใดที่ผู้อ่านเห็นว่ามีการลอกเลียนหรือแอบอ้าง กรุณาแจ้งที่กองบรรณาธิการ ELECTRICITY & INDUSTRY Magazine บทความต่ า งๆ ที่ ป รากฏในหนั ง สื อ ได้ ผ ่ า นการตรวจทานอย่ า งถี่ ถ ้ ว นเพื่ อ ให้ เ กิ ด ความถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด หากเกิดความผิดพลาดจะมีการชี้แจงและแก้ไขต่อไป เจ้าของ

บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จ�ำกัด

471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0-2354-5333 โทรสาร 0-2640-4260 http:// www.technologymedia.co.th เพลท-แยกสี : บริษัท อิมเมจิ้น กราฟิค จ�ำกัด พิมพ์ที่ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด รุ่งเรืองการพิมพ์



สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.)

แก้น�้ำแล้งพื้นที่ EEC ด้วยหลัก 3R+IoT เปลี่ยน “น�้ำเสีย” เป็น “น�้ำดี” โดย แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน�้า

จังหวัดระยอง เป็น 1 ใน 3 จังหวัดที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนา ตามนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพือ่ ยกระดับอุตสาหกรรม ของประเทศ และเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน เพือ่ ท�ำให้เศรษฐกิจ ของไทยเติบโตในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน แต่การพัฒนาดังกล่าวปฏิเสธ ไม่ได้ว่าจะน�ำไปสู่การเพิ่มจ�ำนวนประชากรในพื้นที่ ซึ่งจะมีประชากรแฝง เพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว สิ่งที่ตามมาคือ ความไม่เพียงพอของน�ำ้ กินน�ำ้ ใช้ จนอาจเกิดความขัดแย้งในการใช้น�้ำและปัญหาการจัดการการใช้น�้า ในอนาคต ดังนัน้ เพือ่ สร้างความมัน่ คงในการใช้ทรัพยากรน�ำ้ ในพืน้ ที่ ซึง่ ถือเป็น ปัจจัยส�ำคัญยิ่งต่อผลส�ำเร็จตามเป้าหมายของการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้าน ต่างๆ ในพืน้ ที่ EEC เมือ่ วันที่ 23 ธันวาคม 2562 ทีผ่ า่ นมา สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดการประชุมชี้แจง แผนงานการพัฒนาระบบการวางแผนบริหารจัดการน�ำ้ ในพืน้ ที่ EEC ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม การบริหาร จัดการน�้า ขึ้น ณ ห้องประชุม ศาลากลางจังหวัดระยอง

ว่าที่ร้อยตรี พิรุณ เหมะรักษ์ รองผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด ระยอง ในฐานะประธานที่ประชุม กล่าวว่า แผนงานการพัฒนาระบบฯ ในการ สร้างความมั่นคงด้านน�้ำและการวาง ว่าที่ร้อยตรี ระบบบริหารจัดการน�้ำด้านอุปสงค์ พิรุณ เหมะรักษ์ ที่มีเป้าหมาย เพื่อลดอัตราการใช้น�้า คาดการณ์ในพื้นที่ EEC ลง 15% เทียบกับข้อมูลการจัดการ ความต้องการใช้นำ�้ ทีเ่ พิม่ ขึน้ ในพืน้ ที่ EEC มีความสอดคล้อง กับนโยบายการบริหารจัดการน�ำ้ ของจังหวัดระยอง ทีม่ งุ่ เน้น การใช้น�้ำให้ทั่วถึง ครอบคลุม และเป็นธรรมทุกภาคส่วน ทั้งน�้ำกินน�ำ้ ใช้ น�ำ้ ภาคอุตสาหกรรม และน�้ำภาคการเกษตร “เพราะทุกภาคส่วนจ�ำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพใน การใช้นำ�้ เพื่อลดความต้องการน�้ำ จึงคาดหวังว่าแผนงานนี้ จะเข้ามาช่วยพัฒนากลไกเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น�้ำให้กับ ทุกภาคส่วน ด้วยการใช้ระบบการจัดการน�ำ้ อัจฉริยะ รวมถึงมี แนวทางการพัฒนาพืน้ ทีอ่ ตุ สาหกรรมและเมืองโดยใช้นำ�้ เสีย ที่บำ� บัดแล้ว ตลอดจนการจัดสรรน�ำ้ ให้กับทุกภาคส่วนอย่าง สมดุล เป็นธรรม และยั่งยืน” ทั้งนี้ ในที่ประชุมนอกจากแผนงานการพัฒนาระบบ เพือ่ การบริหารจัดการน�ำ้ แล้ว เรือ่ งของ “น�ำ้ เสีย” ถือเป็นประเด็น ที่ได้รับความสนใจและถูกหยิบยกขึ้นมาแลกเปลี่ยนกันอย่าง มากจากผูเ้ กีย่ วข้อง ทัง้ หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ หน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และคณะนักวิจยั ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม การบริหารจัดการน�้ำ เพราะเชื่อว่า “น�ำ้ เสีย” น่าจะเป็นอีก หนทางของการกู้วิกฤตน�ำ้ ในพื้นที่ EEC ในอนาคตได้ จากโจทย์ทวี่ า่ ท�ำอย่างไรจะลดปัญหาการขาดแคลนน�ำ้ เพราะการหาแหล่งน�้ำเพิ่ม ทั้งน�้ำผิวดินและน�้ำใต้ดินนั้น อาจไม่พอ แต่ประเด็นส�ำคัญคือ ต้องลดการใช้นำ�้ ลงด้วย เฉพาะ ในส่วนของจังหวัดระยองมีการประเมินว่า ในปี พ.ศ. 2570 จะมี ความต้องการใช้นำ�้ เพิม่ ขึน้ ประมาณ 370 ล้านลูกบาศก์เมตร และในปี พ.ศ. 2580 จะเพิม่ ขึน้ ประมาณ 570 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะเดียวกัน เมื่อพูดถึง EEC คนส่วนมากจะเพ่งเล็ง ไปที่ภาคอุตสาหกรรมคือต้นเหตุของการปล่อยน�้ำเสียลงสู่ แหล่งน�้ำธรรมชาติ แต่ในความเป็นจริงแล้วมีหลายโรงงาน รวมทัง้ นิคมอุตสาหกรรมทีม่ กี ารจัดการน�ำ้ เสียอย่างเป็นระบบ และสามารถน�ำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึง่ นีเ่ อง คือ อีกแนวทางหนึง่ ของการเพิม่ ทรัพยากรน�ำ้ ต้นทุนทีน่ กั วิจยั ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม การบริหารจัดการน�้ำมองกันว่าเป็นประเด็นส�ำคัญ พรรรัตน์ เพชรภักดี ผูอ้ ำ� นวยการอาวุโส สถาบันน�า้ และสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย กล่าวว่า การลดการใช้น�้ำ 15% ส�ำหรับภาค อุตสาหกรรมไม่ใช่เพียงการลดปริมาณการใช้นำ�้ แต่จะหมายถึง การเพิม่ ประสิทธิภาพการใช้นำ�้ เพือ่ ลดการสูญเสียน�ำ้ ทีเ่ กิดขึน้ ในกระบวนการต่างๆ โดยในส่วนของภาคอุตสาหกรรมจะมี


น�้ำที่ผ่านกระบวนการบ�ำบัดและศักยภาพ สามารถน�ำกลับมาใช้ได้ (Recycle) เนือ่ งจาก โรงงานอุตสาหกรรมมีระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย ภายในโรงงาน รวมถึงมีระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย ส่วนกลาง (Center Treatment) ของทางนิคม พรรรัตน์ อุตสาหกรรม หรือสวนอุตสาหกรรมทีส่ ามารถ เพชรภักดี รองรั บ น�้ ำ เสี ย ได้ ใ นปริ ม าณมาก ส� ำ หรั บ ภาคส่วนอืน่ เช่น ภาคชุมชนและภาคบริการ บางแห่งก็มรี ะบบบ�ำบัด น�ำ้ เสียเช่นกัน ซึง่ ทางคณะวิจยั ก�ำลังศึกษาและพัฒนาเพือ่ หาแนวทาง ในการน�ำน�้ำเสียเหล่านั้นกลับมาใช้ประโยชน์ ส�ำหรับแผนงานในกลุม่ ภาคอุตสาหกรรมนัน้ หัวหน้าโครงการ การพัฒนาระบบบริหารจัดการน�้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น�้า ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการ “หวังผล” มีเป้าหมายคือ การเพิม่ ประสิทธิภาพการใช้นำ�้ เพือ่ ลดการ ใช้นำ�้ ให้ได้อย่างน้อย 15% โดยการประยุกต์ใช้ระบบบริหารจัดการน�า้ อัจฉริยะ หรือ Smart System ทีร่ วมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 3R (Reuse, Reduce and Recycle) กับการใช้ Internet of Thing (IoT) ที่ช่วยเสริมให้ระบบบริหารจัดการท�ำงานได้สะดวก รวดเร็ว และแม่นย�ำยิ่งขึ้น ตามแผนงานจะมีระยะเวลาด�ำเนินงาน 3 ปี โดยในปีที่ 1 จะท�ำการคัดเลือกต้นแบบระดับโรงงานจ�ำนวน 15 แห่ง และต้นแบบ ระดับนิคม 2 แห่ง ส�ำหรับรวบรวมข้อมูลการใช้นำ้� ในปัจจุบนั ทัง้ ใน เชิงคุณภาพและปริมาณโดยผู้เชี่ยวชาญ และท�ำการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยี 3R ร่วมกับ IoT เพื่อพัฒนาเป็น “ต้นแบบหรือโมเดล การบริ ห ารจั ด การน�้ ำ ของนิ ค มอุ ต สาหกรรมและโรงงานแต่ ล ะ ประเภท” ก่อนขยายผลไปยังโรงงานหรือนิคมฯ อืน่ ๆ ในพืน้ ที่ EEC และจัดท�ำข้อเสนอเชิงนโยบายให้ภาครัฐเพือ่ ออกเป็นกฎหมาย หรือ มาตรการส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมใช้น�้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป ผศ. ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะหัวหน้า โครงการพั ฒ นาระบบบริ ห ารจั ด การน�้ า อัจฉริยะส�ำหรับภาคบริการในพืน้ ทีเ่ ขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า การบริหาร ผศ. ดร.ธนพล จัดการน�ำ้ ด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ เพ็ญรัตน์ 3R คือ Reuse Reduce และ Recycle นั้น เป็นทิศทางทีท่ ำ� กันมาแล้วทัว่ โลก โดยยุโรปได้นำ� มาใช้แล้วสามารถ

ลดการใช้น�้ำได้ 10-50% จึงเชื่อว่าระบบ 3R จะเป็นทางออกให้กับ ภาคบริการเช่นกัน “ในฐานะนักวิจัยเรามองว่า เรื่องของ 3R ไม่ได้แค่เรื่องของ เทคโนโลยี แต่เป็นองค์รวมคือ Circular Economy การศึกษาจึงไม่ใช่ เพียงด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังต้องศึกษาในด้านเศรษฐศาสตร์ และ แรงจูงใจทางด้านกฎหมายด้วย” โดยโครงการระยะที่ 1 จะท�ำการศึกษาความเป็นไปได้ และ ออกแบบ ทัง้ น�ำ้ ใต้ดนิ และน�ำ้ ผิวดิน ศึกษาการจัดการองค์ความรู้ 3R โดยทีผ่ า่ นมาผูว้ จิ ยั ได้เข้าส�ำรวจเก็บข้อมูลโรงงานสถานประกอบการ พร้อมถอดบทเรียนในพืน้ ทีท่ ที่ ำ� จริง ออกแบบและประเมินมูลค่าทาง เศรษฐศาสตร์และที่ไม่ใช่เชิงเศรษฐศาสตร์ ผศ. ดร.ธนพล กล่าวเพิม่ เติมว่า “การบริหารจัดการน�ำ้ ด้วย หลัก 3R คือ เมื่อเราใช้น�้ำแล้ว แทนที่เราจะบ�ำบัดแล้วปล่อยออก เราจะเพิม่ การบ�ำบัดอีกขัน้ หนึง่ ให้สามารถน�ำกลับมาใช้ได้ เบือ้ งต้น เราตั้งเป้าการน�ำกลับมาใช้ใหม่แบบ Non Portable คือ ไม่สัมผัส ร่างกาย ซึง่ สามารถใช้ได้ทงั้ กับ Black Water คือน�ำ้ เสียจากสุขภัณฑ์/ ส้วม และ Gray Water น�้ำเสียจากกระบวนการอื่นๆ” โดยผลผลิตในระยะที่ 1 (ระยะเวลาด�ำเนินการ 1 ปี) คือ แบบทางวิศวกรรมของระบบ 3R ทีม่ ี IoT เข้าช่วยส�ำหรับภาคบริการ 6 ประเภทคือ กลุม่ ธุรกิจการค้า กลุม่ สถานศึกษา กลุม่ โรงพยาบาล กลุม่ สถานบริการและทีพ่ กั กลุม่ สถานีบริการเชือ้ เพลิง และกลุม่ ตลาด ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และสหกรณ์ นอกจากนี้ ผลผลิตส�ำคัญ คือการวิเคราะห์ว่าภาคส่วนใดของภาคบริการที่มีโอกาสในการท�ำ 3R เพือ่ ลดการใช้นำ�้ และน�ำน�ำ้ กลับมาใช้ใหม่ได้มากทีส่ ดุ พร้อมทัง้ การประเมินทางเศรษฐศาสตร์เพื่อพัฒนามาตรการทางนโยบาย และกฎหมายในการสนับสนุนให้เกิดการน�ำระบบบริหารจัดการ น�้ำอัจฉริยะส�ำหรับภาคบริการที่ศึกษาในโครงการนี้มาใช้งานจริง นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 จะมีการท�า ต้นแบบการใช้ระบบบริหารจัดการน�้ำอัจฉริยะส�ำหรับภาคบริการ ทีศ่ กึ ษาในโครงการระยะที่ 1 กับสถานประกอบการจริง และเก็บผล สัมฤทธิ์จริงเพื่อเป็นต้นแบบสู่การขยายผลในระดับประเทศต่อไป เพราะการเปลี่ยนให้ “น�้ำเสีย” กลับมาเป็น “น�้ำดี” สามารถน�ำมาใช้ได้ใหม่ จะช่วยเพิม่ ทรัพยากรน�ำ้ ต้นทุนได้อกี มาก เป็นการส�ำรองน�ำ้ ไว้ใช้ในอนาคตเมือ่ เกิดวิกฤตการขาดแคลนน�ำ้ จึงจ�ำเป็นต้องเร่งด�ำเนินการศึกษาวิจัยรองรับสถานการณ์ไว้ แต่เนิ่นๆ


สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

ASEAN Power Grid

เชื่อมโยงพลังงานไฟฟ้าอาเซียน สร้าง “โอกาสและคุณค่าใหม่” เพื่อก้าวสู่อนาคตร่วมกัน

วิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย

การเติ บ โตของเทคโนโลยี ใ นยุ คนี้ เกิดขึน้ อย่างรวดเร็ว เรียกว่าอะไรก็เกิดขึน้ ได้ เพียงมีเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุน ในด้าน พลังงานก็เช่นกัน กฟผ. ได้นำ� เทคโนโลยีที่ ก้าวหน้ามาพัฒนาโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้า ของประเทศให้มคี วามมัน่ คงแข็งแรง จัดหา

เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพทันสมัยมาเชื่อมต่อกับระบบจ�ำหน่ายไฟฟ้ารองรับการ ผลิตไฟฟ้าใช้เองเพิ่มมากขึ้น พร้อมเตรียมน�ำระบบกักเก็บพลังงานมาเสริมความแข็งแกร่ง ของโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม เพือ่ ขยายขอบเขตการแลกเปลีย่ นซือ้ ขาย พลังงานในระดับภูมภิ าค และสร้างโอกาสในการพัฒนาสูก่ ารเป็นศูนย์กลางซือ้ ขายไฟฟ้าของ ภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Power Grid) กฟผ. ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความส�ำคัญของแนวคิดการเชื่อมโยงของโครงข่าย ระบบไฟฟ้าในภูมภิ าคอาเซียน เพราะนอกจากจะได้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจจากการซือ้ ขาย พลังงานแล้ว ยังเป็นผลดีตอ่ สิง่ แวดล้อม ดังที่ วิบลู ย์ ฤกษ์ศริ ะทัย ผูว้ า่ การ กฟผ. ได้กล่าว ปาฐกถาพิเศษในงาน Future Energy Asia 2020 ถึงเรื่องดังกล่าวว่า “เราต่างตระหนักดีว่า เอเชียเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยทรัพยากรที่เหมาะสมในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะพลังงาน สะอาดอย่างแสงอาทิตย์และลม แต่ยังขาดการบูรณาการการใช้ทรัพยากรร่วมกัน แหล่ง พลังงานเหล่านีม้ กั ไม่คอ่ ยอยูใ่ นพืน้ ทีท่ มี่ คี วามต้องการใช้พลังงานสูงขึน้ ดังนัน้ การเชือ่ มโยง ระบบไฟฟ้าระหว่างประเทศ หรือ Regional Grid Connectivity จะเป็นวิธกี ารหนึง่ ในการส่ง พลังงานไปยังแหล่งทีม่ คี วามจ�ำเป็นต้องใช้ และยังตอบรับสมดุล 3 ด้าน คือ ความมัน่ คง ราคา เหมาะสม และความยั่งยืน เป็นการบูรณาการการใช้ทรัพยากรร่วมกันในภูมิภาค” “การพัฒนาระบบส่ง และการใช้แหล่งพลังงานสะอาดในภูมิภาค โดยหลักแล้วคือ แนวคิดทีจ่ ะบูรณาการระบบไฟฟ้าแรงสูงในภูมภิ าคร่วมกับเทคโนโลยีขนั้ สูง เช่น ระบบส่งไฟฟ้า


การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

กระแสตรงแรงสูงมาก (Ultra-High-Voltage Direct Current Transmission) และการ จัดการ Smart Grid การบูรณาการนีช้ ว่ ยให้ เกิดกระบวนการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้าง “โอกาสและคุณค่าใหม่” ใน การจัดหาพลังงานไฟฟ้าที่ลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก อีกทั้งยังสนับสนุนการ ขั บ เคลื่ อ นภู มิ ภ าคเอเชี ย ไปสู ่ พ ลั ง งาน ที่สะอาด ทันสมัย และยั่งยืนในอนาคต” “การเชื่ อ มโยงพลั ง งานไฟฟ้ า นี้ จะท�ำให้เกิดผลดีด้านเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึง เสถียรภาพด้านราคา การพัฒนาเศรษฐกิจ ในองค์ ร วม จากการมี ป ริ ม าณพลั ง งาน หมุนเวียนและพลังงานใหม่ ยังไม่รวมผลดี ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และผลดีด้าน เทคนิค เช่น การเสริมสร้างเสถียรภาพของ ระบบ โอกาสในการให้บริการธุรกิจอืน่ และ การกระจายการใช้ แ หล่ ง พลั ง งานให้ มี ประสิทธิภาพสูงสุด ขณะเดียวกันยังช่วย ลดความผันผวนของระบบ ลดการพึ่งพา การน�ำเข้าเชื้อเพลิง และผลกระทบด้าน ข้อจ�ำกัดของทรัพยากร” ทีผ่ า่ นมา กฟผ. ได้ศกึ ษาการเชือ่ มโยง ระบบไฟฟ้ า ของอาเซี ย นในหลายแง่ มุ ม ทัง้ เงือ่ นไขด้านสังคมและเศรษฐกิจ ปริมาณ พลังงานความต้องการพลังงาน และการ จัดหาแหล่งพลังงาน อีกทัง้ ยังได้ดำ� เนินการ ขยายการเชือ่ มต่อระบบไฟฟ้าข้ามประเทศ ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างความ มั่นคงระดับภูมิภาค โดยสนับสนุนให้เกิด การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและ การแบ่งปันแหล่งพลังงานเพื่อประโยชน์ ร่วมกัน กฟผ. มีความร่วมมือกับพันธมิตร ภายในภูมิภาค เพื่อแสวงหาโอกาสและ ศึ ก ษาการสร้ า งตลาดการซื้ อ ขายไฟฟ้ า ข้ามประเทศ จากศักยภาพความมัน่ คงทาง พลังงานและระบบส่งของประเทศ ตลอดจน ความได้เปรียบทางด้านภูมศิ าสตร์ โดยเริม่ จากสัญญาซื้อขายแบบทวิภาคี แบ่งปัน พลังงานกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ช่วยให้

แหล่งพลังงานจากประเทศหนึ่งไปตอบความต้องการใช้พลังงานของอีกประเทศหนึ่ง โดย มีโครงการที่เกิดผลเป็นรูปธรรมแล้ว ได้แก่ การสร้างสายส่งขนาด 500 กิโลโวลต์ เพื่อเชื่อม จากแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานน�ำ้ ของ สปป.ลาว มายังระบบไฟฟ้าของประเทศไทย และระบบ HVDC เพื่อส่งไฟฟ้าระหว่างมาเลเซียกับไทย (Lao PDR, Thailand, Malaysia–Power Integration Project : LTM–PIP) ทั้งยังเตรียมด�ำเนินโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบส่ง 3 ประเทศ คือ สปป.ลาว-ไทย-เมียนมา ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายเส้นทางน�ำไปสู่ การซื้อขายไฟฟ้าแบบพหุภาคีภายในภูมิภาคอาเซียนและต่อไปยังภูมิภาคอื่นในอนาคต จะเป็นเรือ่ งน่ายินดีอย่างยิง่ หากเทคโนโลยีจะเป็นตัวช่วยให้คณ ุ ภาพชีวติ ของเราดีขนึ้ และท�ำให้โลกที่เราอยู่อาศัยนี้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น รวมถึงมนุษย์อย่างเราเล็งเห็นถึงประโยชน์ ของการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลมากขึ้น ความร่วมมือในการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าใน ภูมภิ าคอาเซียนคงจะเกิดขึน้ และส�ำเร็จในไม่ชา้ ซึง่ ประโยชน์ไม่ใช่เพือ่ ใครอืน่ ใด แต่เพือ่ พัฒนา เศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรอาเซียน รวมถึงช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ให้ยั่งยืน เพื่อลูกหลานของเราต่อไป บทความจาก https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view= article&id=3346:20200228-art01&catid=49:public-articles-egat&Itemid=251


สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

CAT ร่วมมือ MEA ต่อยอดโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม

สู่การพัฒนาธุรกิจดิจิทล ั และ 5G

กีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผูว้ า่ การการไฟฟ้านครหลวง หรื อ MEA ร่ ว มกั บ พั น เอก สรรพชั ย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) หรือ CAT ลงนามในบันทึกความเข้าใจการศึกษา ความเป็นไปได้ในการด�ำเนินธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ณ ห้องประชุม 808 ชั้น 8 อาคารส�ำนักงานใหญ่ CAT ถนนแจ้งวัฒนะ MEA และ CAT ได้จดั ท�ำบันทึกความเข้าใจ โดยจะ ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการด�ำเนินธุรกิจโครงสร้าง พื้นฐาน เพื่อน�ำไปให้ผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการ โทรคมนาคม และประกอบกิจการอื่นในพื้นที่เขตความ รับผิดชอบของ MEA ซึ่งนับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทาง ธุรกิจและก่อให้เกิดผลดีตอ่ ธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศ ช่วยลดการลงทุนซ�ำ้ ซ้อน และเปิดโอกาสให้ผปู้ ระกอบการ สามารถพัฒนาคุณภาพบริการได้เร็วขึน้ โดยไม่ตอ้ งเสียเวลา ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพใน

การแข่งขันให้บริการได้ในอนาคต กีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า ในฐานะ องค์กรที่มีศักยภาพในด้านระบบจ�ำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่เมือง มหานครของประเทศไทย และมีความพร้อมตอบสนองนโยบาย ภาครัฐ ด้วยการมุ่งมั่นพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ให้สามารถรองรับต่อการเติบโตของเมืองในอนาคต ครัง้ นีจ้ งึ เป็น โอกาสส�ำคัญในการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ให้เกิด ประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด โดย MEA พร้อมสนับสนุนข้อมูล ด้านระบบจ�ำหน่ายไฟฟ้า ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์บนเสาไฟฟ้า และระบบที่เกี่ยวข้อง กับการด�ำเนินธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อใช้ประกอบการจัดท�า ผลการศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งจะน�ำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม ระบบการให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าให้สามารถตอบสนองต่อความ ต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งภาคธุรกิจและประชาชน ในอนาคต พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ CAT เปิดเผยว่า “ปัจจุบนั CAT มีเสาโทรคมนาคมกว่า 20,000 ต้น ที่พร้อมส�ำหรับให้ผู้ประกอบการได้ใช้งาน ความร่วมมือในครั้งนี้ จึงช่วยลดความซ�ำ้ ซ้อนในการลงทุนและยังช่วยให้ผปู้ ระกอบการ สามารถลดต้นทุนในการจัดสร้างโครงสร้างพืน้ ฐานด้านโทรคมนาคม เพือ่ พัฒนาต่อยอดไปสูเ่ ทคโนโลยีดจิ ทิ ลั และ 5G ได้อย่างรวดเร็ว ซึง่ นอกจากความร่วมมือกับ MEA แล้ว CAT ยังจะร่วมกับพันธมิตร ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใน ส่วนทีต่ อ้ งจัดหาเพิม่ เติมเพือ่ ลดภาระการลงทุนและสร้างรายได้เพิม่ จากการให้ผู้ให้บริการรายอื่นเช่าใช้โครงสร้างพื้นฐานทั้งในส่วน ของเสาโทรคมนาคมและไฟเบอร์ (Passive Infrastructure Sharing) รวมถึงร่วมกับพันธมิตรธุรกิจหรือผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ รายอืน่ เพือ่ ให้การลงทุนจัดให้มบี ริการ 4G/5G เกิดประสิทธิภาพ และประหยัดสูงสุด”


การไฟฟ้านครหลวง

MEA ร่วมกับภาคี

เร่งจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนเพชรบุรี ให้เสร็จตามเป้า สร้างความปลอดภัยแก่ประชาชน

ประสงค์ คุม้ ประดิษฐ์ ผูช้ ว่ ยผูว้ า่ การการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ติดตามการด�ำเนินงาน จัดระเบียบสายสื่อสารบริเวณถนนเพชรบุรีให้เป็นไปตามแผนงาน โดยมีสำ� นักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ส�ำนักงาน กสทช.) สมาคม โทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และผูป้ ระกอบ กิจการโทรคมนาคม เร่งด�ำเนินงานจัดระเบียบสายสือ่ สารเมืองมหานคร Smart Metro รื้อถอนสายสื่อสารที่ไม่ใช้งานพร้อมจัดระเบียบ ณ บริเวณสี่แยกประตูนำ�้ ถนนเพชรบุรี กรุงเทพฯ ผู้ช่วยผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงาน รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เร่งด�ำเนินการจัดระเบียบ สายสื่อสารตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่ ส�ำหรับวันนี้ได้ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการรื้อถอนสายสื่อสารที่ไม่ใช้งาน พร้อมจัดระเบียบ ณ บริเวณสีแ่ ยกประตูนำ�้ ถนนเพชรบุรี กรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นพื้นที่สำ� คัญของกรุงเทพมหานคร พบว่า การด�ำเนินงาน มีความคืบหน้าสามารถด�ำเนินการได้ตามแผนงานและเรียบร้อย ตรงตามที่ MEA ก�ำหนดไว้ จึงขอขอบคุณภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ที่ให้ความร่วมมือให้งานดังกล่าวส�ำเร็จในทุกพื้นที่รับผิดชอบของ MEA เพือ่ แก้ไขปัญหาสายสือ่ สารรกรุงรังและห้อยต�ำ่ ซึง่ ส่งผลให้เกิด อุบัติเหตุ ความปลอดภัยของประชาชน และอาจส่งผลกระทบต่อ อุปกรณ์ระบบจ�ำหน่ายไฟฟ้าของ MEA อีกทัง้ ให้เป็นไปตามนโยบาย รัฐบาลที่ก�ำหนดรื้อถอนสายสื่อสารไม่ใช้งาน (สายตาย) แล้วเสร็จ ภายในเดือนมิถุนายน 2563 ส�ำหรับพื้นที่ที่ MEA รับผิดชอบ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ครอบคลุมทัง้ 18 ทีท่ ำ� การเขต มีทงั้ สิน้ 318 เส้นทาง รวมระยะทางกว่า 2,200 กิโลเมตร ตามที่ MEA มี

แผนการด�ำเนินงาน 2 เฟส ได้แก่ เฟสที่ 1 ระยะทาง 211.8 กิโลเมตร ได้ด�ำเนินการเสร็จสิ้นแล้วในเดือนมกราคม 2563 และเฟสที่ 2 ระยะทางกว่า 2,000 กิโลเมตร อยูใ่ นระหว่างด�ำเนินการจัดระเบียบ สายสื่อสารในเส้นทางที่เหลืออยู่ตามแผนงาน ทั้งนี้ MEA มีการ จัดระเบียบสายสื่อสารรูปแบบใหม่ โดยมีขั้นตอนด�ำเนินการ ดังนี้ 1. ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมต่างๆ ส�ำรวจสายสื่อสาร ของตนเอง พร้อมติดแท็กระบุชอื่ บริษทั ผูร้ บั ผิดชอบสายทีต่ อ้ งใช้งาน 2. รือ้ ถอนสายสือ่ สารทีไ่ ม่มเี จ้าของ ไม่ถกู ใช้งาน หรือสายตาย ออกจากเสาไฟฟ้า 3. ติดตัง้ คอนส�ำหรับสายสือ่ สารบนเสาไฟฟ้าเพือ่ รองรับการ พาดสายสือ่ สารทีไ่ ด้รบั อนุญาตจาก MEA พร้อมให้ผปู้ ระกอบกิจการ โทรคมนาคมพาดสายของตนเองให้เป็นระเบียบและติดตั้งสาย ในช่องที่ได้รับอนุญาต 4. MEA บันทึกข้อมูลสายสื่อสารในแต่ละเส้นทางในระบบ ข้อมูลสารสนเทศภูมศิ าสตร์ (Geographic Information System : GIS) เพือ่ เก็บเป็นฐานข้อมูล ป้องกันการละเมิดในภายหลัง ซึง่ จากรูปแบบ ดังกล่าวจะท�ำให้ลดจ�ำนวนการใช้สายสื่อสารลงโดยที่ไม่กระทบต่อ ลูกค้าผู้ใช้งานเครือข่าย สายสื่อสารมีความเป็นระเบียบ ตลอดจน การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการแต่ละรายสามารถสอดส่องดูแลไม่ให้ มีผลู้ กั ลอบมาพาดสายโดยไม่ได้รบั อนุญาตได้มปี ระสิทธิภาพยิง่ ขึน้ ช่วยให้ภูมิทัศน์สวยงาม ท�ำให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคง มีความ ปลอดภัยแก่ประชาชนในระยะยาวต่อไป หากประชาชนพบเห็นปัญหาสายสือ่ สารรกรุงรัง สายสือ่ สาร หลุดห้อยไม่ปลอดภัย สามารถแจ้งได้ทสี่ ายด่วน กสทช. โทร 1200 หรือ LINE : @nbtc1200


สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

GREEN MISSION

ภารกิจปรับและเปลี่ยน เพื่อช่วยโลกของ PEA ในขณะที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าจนแทบตามไม่ทัน แต่ทรัพยากรธรรมชาติกลับเสื่อมโทรมและ ย้อนกลับมาทำ�ร้ายมนุษย์ผู้เป็นตัวการสำ�คัญ ของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

ในช่วง 1-2 ปีนี้ เราได้ยนิ ข่าวการเปลีย่ นแปลงของสภาพอากาศ ทีม่ คี วามรุนแรงเกิดขึน้ ไปทัว่ โลก ทัง้ การเผชิญคลืน่ ความร้อน (Heat Wave) ในยุโรป จนท�ำให้หลายเมืองมีอณ ุ หภูมสิ งู เป็นประวัตกิ ารณ์ นาํ้ ท่วมใหญ่เมืองเวนิสในรอบ 50 ปี หรือไฟป่ารุนแรงในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ของประเทศออสเตรเลีย และไม่เพียงแต่ตา่ งประเทศเท่านัน้ ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสภาพอากาศโลกทีแ่ ปรปรวนอย่าง สุดขัว้ ประเทศไทยเองก็เช่นกัน ช่วงต้นฤดูฝนทีผ่ า่ นมา ฝนมาช้ากว่า ปกติ อีกทัง้ นํา้ ฝนทีต่ กลงมายังมีปริมาณน้อยกว่าค่าปกติอนั เป็นผล จากปรากฏการณ์เอลนีโญ ครั้นถึงช่วงปลายฤดูฝน ภัยธรรมชาติ ทีส่ ร้างความเสียหายอย่างหนักกลับกลายเป็นอุทกภัยจากการเผชิญ กับพายุโซนร้อนโพดุลและพายุโซนร้อนคาจิกิในภาคอีสานของ ประเทศ ซึ่งก็เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาก่อนหน้านี้ และเมือ่ เร็วๆ นี้ Climate Central องค์กรข่าวไม่แสวงหาก�ำไรในสหรัฐฯ ได้ตพี มิ พ์บทความระบุวา่ ผูค้ นกว่าร้อยล้านคนอาจต้องเผชิญความ เสี่ยงจากนํ้าท่วมพื้นที่ตามแนวชายฝั่ง เพราะระดับนํ้าทะเลที่เพิ่ม สูงขึน้ จากสภาพภูมอิ ากาศเปลีย่ นแปลงในศตวรรษนี้ และในจ�ำนวน ที่ว่าหมายรวมถึงประชากร 12 ล้านคนในประเทศไทยด้วย สิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น ผลพวงจากการเปลี่ ย นแปลงภู มิ อ ากาศ ‘Climate Change’ อันมีสาเหตุหลักมาจากมนุษย์ที่ท�ำให้เกิดการ เผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นก๊าซที่เก็บกักความร้อนไว้ใน ชั้นบรรยากาศของโลก จนท�ำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ หรือ ‘Global Warming’ ส่งผลต่อความแปรปรวนให้กบั ระบบต่างๆ ของ โลก ทัง้ ระบบลม กระแสนํา้ ในมหาสมุทร และน�ำมาสูป่ รากฏการณ์ ต่างๆ เช่น การละลายของนํ้าแข็งใน Greenland และภูเขานํ้าแข็ง ทั่วโลก สภาพภูมิอากาศร้ายแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่ง หากว่ามนุษย์ไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจ�ำวันให้ รอบคอบมากขึน้ โลกของเราอาจเดินทางมาถึงจุดอวสานก่อนเวลา

ควรจะเป็น ด้วยความตระหนักถึงปัญหาที่น่าวิตกของทั่วโลก และร่วม เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับสร้างจิตส�ำนึกทีด่ ใี ห้แก่พนักงานไปด้วย ในตัว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จึงได้จัดท�ำโครงการส�ำนักงาน สีเขียว (Green Office) และโครงการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศ เศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) เพือ่ ปรับเปลีย่ นในทุกกระบวนการท�ำงาน ของ PEA ให้ใส่ใจโลกมากขึ้น

โครงการสำ�นักงานสีเขียว (Green Office)

คือ การส่งเสริมให้ส�ำนักงานของ PEA ทุกแห่ง น�ำความรู้ ด้านส�ำนักงานสีเขียวไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยกัน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gases : GHG) จากกิจกรรมต่างๆ ภายในส�ำนักงาน ด้วยแนวทางการใช้ทรัพยากร และพลังงานอย่างรูค้ ณ ุ ค่า มีการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ลดปริมาณขยะโดยวิธีลดการใช้และใช้ซํ้า การน�ำกลับมาใช้ใหม่ การเลือกใช้วสั ดุ อุปกรณ์ เครือ่ งใช้สำ� นักงานทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม รวมไปถึงการจัดสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในส�ำนักงานให้ เหมาะสม ซึง่ นอกจากจะช่วยดูแลโลก ยังเกิดประโยชน์อกี หลายอย่าง แก่องค์กร ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในส�ำนักงานจากการใช้ ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุม้ ค่า มีประสิทธิภาพ สร้างสิง่ แวดล้อม ที่ดีต่อสุขภาพของพนักงาน เป็นการยกระดับมาตรฐานส�ำนักงาน ให้เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมมากขึน้ และส�ำคัญทีส่ ดุ คือช่วยลดปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของการช่วยลดโลกร้อน ได้


การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โครงการประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency)

หมายถึ ง สั ด ส่ ว นของการสร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ หรือบริการเมื่อเทียบกับการลดการใช้ทรัพยากร (และ/หรือการลด ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม) ในกระบวนการด�ำเนินงานของหน่วยงาน เพือ่ สะท้อนไปสูก่ ารพัฒนาอย่างยัง่ ยืน (Sustainable Development) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและลดการปล่อยมลพิษต่อ สิ่งแวดล้อมต่อผลประกอบการด้านเศรษฐกิจ หรือพูดง่ายๆ คือ การสร้างสมดุลระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการปกป้อง ระบบนิเวศไปพร้อมๆ กัน ทัง้ ในแง่ของการใช้ทรัพยากรอย่างคุม้ ค่า และการลดมลพิษ ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนขึ้น โดย เป็นหลักการที่น�ำมาใช้เป็นเครื่องมือจัดการให้ภาคธุรกิจต่างๆ มีประสิทธิภาพในการแข่งขันด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างกัน ควบคู่ ไปกับการมีสว่ นร่วมรับผิดชอบต่อผลกระทบทีจ่ ะเกิดขึน้ ต่อทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อลดการใช้ ทรัพยากร (Reducing the Consumption of Resources) ซึ่งรวมถึง การใช้พลังงาน วัตถุดบิ นํา้ หรือการใช้ทดี่ นิ การเพิม่ ความสามารถ ในการน�ำกลับมาใช้ซํ้า (Reuse) และการแปรรูปใช้ใหม่ (Recycle) ของผลิตภัณฑ์ การลดผลกระทบที่มีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Reducing the Impact on Nature and Environment) ตลอดจน การเพิ่มมูลค่าจากผลิตภัณฑ์และบริการ (Increasing Product or Service Value) ทัง้ นี้ PEA ได้มแี นวทางและขัน้ ตอนการประเมิน Eco-Efficiency ครอบคลุมทั้งธุรกิจหลักและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องของ PEA ทั้งหมด เช่น การจัดท�ำบัญชีรายการด้านสิง่ แวดล้อม การจัดท�ำบัญชีรายการ ด้านเศรษฐกิจ จัดกิจกรรมเพือ่ ประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ เพือ่ มุง่ ไปสูก่ ารพัฒนาอย่างยัง่ ยืน ซึง่ เป็นเป้าหมายหลักโดยรวมของ นานาประเทศในระยะยาว

GREEN MISSION

ไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง แต่คือเรื่องของทุกคนที่ต้อง ‘ช่วยกัน’ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ‘Climate Change’ ก�ำลังส่งผลกระทบต่อโลกของเรามากขึ้นทุกขณะ เกิดความแปรปรวนต่างๆ ทั้งระบบลม กระแสนํ้าในมหาสมุทร จนน�ำมาสู่ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เป็นเหมือนสัญญาณอันตรายแจ้งเตือนให้เรารู้ล่วงหน้า สิ่งที่เราทุกคนท�ำได้ คือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพือ่ ช่วยลดปัญหาการเปลีย่ นแปลงภูมอิ ากาศ โดยเริม่ จากในชีวิตประจ�ำวัน นั่นก็คือ...พฤติกรรมต่างๆ ใน ที่ท�ำงานนั่นเอง PEA ได้ริเริ่มโครงการส�ำนักงานสีเขียว (Green Office) เพือ่ ส่งเสริมให้สำ� นักงาน PEA ทุกแห่งน�ำความรู้ ด้านการจัดการส�ำนักงานสีเขียวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด สำ�นักงานสีเขียว ทำ�ได้อย่างไร... ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า  มีการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ  ลดปริมาณขยะโดยวิธีลดการใช้ และใช้ซํ้า การน�า กลับมาใช้ใหม่  เลือกใช้วส ั ดุ อุปกรณ์ เครือ่ งใช้สำ� นักงานทีเ่ ป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม  จั ด สภาพแวดล้ อ มภายนอกและภายในส� ำ นั ก งาน ให้เหมาะสม 


สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

เอ็กโก กรุ๊ป ประกาศแต่งตั้ง กรรมการและรักษาการกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษทั ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุป๊ ประกาศแต่งตัง้ กัมปนาท บ�ำรุงกิจ รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ สายงานกลยุทธ์และบริหาร สินทรัพย์ ให้ทำ� หน้าทีก่ รรมการและรักษาการกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ โดยให้ มีผลตัง้ แต่วนั ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป จนกว่าคณะกรรมการบริษทั จะแต่งตั้งผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ คนใหม่ตอ่ ไป ตามมติทปี่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั เมือ่ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เอ็กโก กรุ๊ป โดยมูลนิธิไทยรักษ์ป่า จับมือ อช.ดอยอินทนนท์

ปรับปรุงเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน

มุ่งรักษาระบบนิเวศป่าเมฆ พร้อมส่งเสริมจิตสำ�นึกรักษ์ป่าต้นน�ำ้ อย่างยั่งยืน

บริษัท ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป โดย มูลนิธิไทยรักษ์ป่า องค์กรสาธารณกุศล ซึ่งก่อตั้งและสนับสนุนการ ด�ำเนินงานโดยเอ็กโก กรุป๊ เพือ่ การอนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูปา่ ต้นน�ำ้ และ ความหลากหลายทางชีวภาพในพืน้ ทีส่ ำ� คัญของประเทศให้เกิดความ ยั่งยืน จับมืออุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกลุ่มมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ปรับปรุงเส้นทาง ศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ�ำเภอ

จอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ หลังเปิดให้บริการเส้นทางฯ มากว่า 20 ปี เพือ่ รักษาระบบนิเวศป่าเมฆ 1 ใน 3 แห่งของประเทศ ซึง่ เป็นป่าต้นน�า้ ส�ำคัญในพื้นที่สูงสุดของประเทศไทย ควบคู่กับการปลูกจิตส�ำนึก รักษ์ป่าต้นน�้ำอย่างยั่งยืนแก่เยาวชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว โดยได้จัดพิธีส่งมอบเส้นทางฯ กิ่วแม่ปานที่ปรับปรุงใหม่ให้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปา่ และพันธุพ์ ชื เมือ่ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 ทีผ่ า่ นมา ซึง่ ได้รบั เกียรติจาก คมสัน สุวรรณอัมพา รองผูว้ า่ ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมในพิธี ธงชัย โชติขจรเกียรติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารองค์กร เอ็กโก กรุป๊ และกรรมการมูลนิธไิ ทยรักษ์ปา่ กล่าวว่า เอ็กโก กรุป๊ ตระหนักถึงความส�ำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และก�ำหนดให้การเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและใส่ใจต่อชุมชนและ สิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในพันธกิจขององค์กรตั้งแต่เริ่มด�ำเนินกิจการ ในปี พ.ศ. 2535 โดยอนุรกั ษ์ดแู ลป่าต้นน�ำ้ ตลอดจนส่งเสริมจิตส�ำนึก รักษ์สิ่งแวดล้อมในใจเยาวชนมาโดยตลอด ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้กอ่ ตัง้ มูลนิธไิ ทยรักษ์ปา่ ด้วยเจตนารมณ์ทจี่ ะสนับสนุนการอนุรกั ษ์ และฟื ้ น ฟู ป ่ า ต้ น น�้ ำ และความหลากหลายทางชี ว ภาพในพื้ น ที่ ป่าต้นน�ำ้ ส�ำคัญของประเทศให้เกิดความยัง่ ยืน ซึง่ การพัฒนาเส้นทาง


บริษัท ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน)

ศึกษาธรรมชาติให้เป็นแหล่งเรียนรูร้ ะบบนิเวศป่าต้นน�ำ้ เป็นหนึง่ ใน ภารกิจทีม่ ลู นิธไิ ทยรักษ์ปา่ ได้สานต่อการด�ำเนินงานจากเอ็กโก กรุป๊ มาอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้เยาวชน ประชาชน และนักท่องเทีย่ ว มีความรู้ ความเข้าใจ ได้รับแรงบันดาลใจที่จะต่อยอดการเรียนรู้เกี่ยวกับ ธรรมชาติ และตระหนักในคุณค่าของป่าต้นน�้ำและร่วมรักษาไว้ เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นต่อไป “กิว่ แม่ปานเป็นป่าเมฆและป่าต้นน�ำ้ ส�ำคัญในพืน้ ทีส่ งู สุดของ ประเทศไทย เป็นต้นก�ำเนิดแม่นำ�้ ปิงทีไ่ หลรวมเป็นแม่นำ�้ เจ้าพระยา และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ควรค่าแก่การอนุรกั ษ์ จึงเป็น เส้นทางศึกษาธรรมชาติแห่งแรกทีเ่ อ็กโก กรุป๊ ร่วมกับกรมป่าไม้ บุกเบิก ขึน้ ในปี พ.ศ. 2540 เพือ่ ให้เป็นแหล่งเรียนรูป้ า่ ต้นน�ำ้ ของประเทศ และ ปี พ.ศ. 2550 มูลนิธไิ ทยรักษ์ปา่ ได้พฒ ั นาเส้นทางฯ ให้สมบูรณ์ยงิ่ ขึน้ จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลากว่า 20 ปี ที่เส้นทางฯ กิ่วแม่ปานได้ ท�ำหน้าที่ห้องเรียนธรรมชาติ ส�ำหรับเยาวชน ประชาชน และ นักท่องเทีย่ วอย่างต่อเนือ่ ง ปัจจุบนั สภาพเส้นทางฯ และระบบนิเวศ มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งจากสภาพภูมิอากาศและการรองรับผู้คน จึงเป็นที่มาของการปรับปรุงเส้นทางฯ ร่วมกับอุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ ภายใต้แนวคิด ลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ โดย ยังคงความกลมกลืนกับธรรมชาติ ให้มคี วามปลอดภัย มีมาตรฐาน และส่งเสริมการเรียนรู้ ตามทีเ่ คยด�ำเนินการมาตลอด โดยในปี พ.ศ. 2562 มูลนิธฯิ ได้ปรับปรุงเส้นทางฯ กิว่ แม่ปาน และป้ายสือ่ ความหมาย ธรรมชาติตลอดเส้นทาง ตลอดจนพัฒนาแอปพลิเคชันส�ำหรับการ ลงทะเบียนจองคิวและเดินในเส้นทาง เพือ่ ส่งเสริมความรูค้ วามเข้าใจ และปลูกจิตส�ำนึกรักษ์ปา่ ต้นน�ำ้ ตลอดจนรักษากิว่ แม่ปานให้เป็นแหล่ง เรียนรูร้ ะบบนิเวศป่าเมฆและป่าต้นน�ำ้ ส�ำคัญของประเทศอย่างยัง่ ยืน ต่อไป” ธงชัย กล่าวเสริม มานนีย์ พาทยาชีวะ เลขาธิการมูลนิธไิ ทยรักษ์ปา่ กล่าวว่า การพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้เป็นเสมือนห้องเรียนที่มี ชีวิตนั้น ความกลมกลืนและเป็นมิตรกับ ธรรมชาติ ความปลอดภัย มีมาตรฐาน เป็นไปตามกฎระเบียบของอุทยานฯ และส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นสิง่ ที่ มูลนิธิไทยรักษ์ป่าให้ความ ส� ำ คั ญ มาโดยตลอด ส� ำ หรั บ เส้ น ทางฯ กิ่ ว แม่ ป าน ซึ่ ง ป ั จ จุ บั น มี

ประเด็นด้านผลกระทบต่อระบบนิเวศนั้น ท�ำให้การปรับปรุงครั้งนี้ มูลนิธิฯ ให้ความส�ำคัญกับการลดผลกระทบเพื่อความยั่งยืนของ ระบบนิเวศเป็นล�ำดับแรก ทัง้ นี้ ภายใต้การสนับสนุนของเอ็กโก กรุป๊ มูลนิธิฯ ได้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ บริษัท ป่าเหนือ สตูดิโอ โดย อาจารย์จลุ พร นันทพานิช สถาปนิกนักอนุรกั ษ์และชุมชนมัคคุเทศก์ ท้องถิน่ ส�ำรวจระบบนิเวศและผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ และสรุปร่วมกัน ท�ำทางเดินยกระดับ หรือบอร์ดวอล์ค โดยใช้เข็มเหล็กเจาะเฉพาะจุด เป็นฐานราก ซึง่ เป็นวิธที สี่ ง่ ผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยทีส่ ดุ รวมถึง ใช้แผ่นไม้เนื้อแข็งเป็นทางเดินเพื่อความกลมกลืนกับธรรมชาติ ซึ่งทางเดินยกระดับนี้ ช่วยลดการเดินบนพื้นดินโดยตรง แก้ปัญหา หน้าดินแน่นแข็ง ที่ท�ำให้น�้ำไม่ซึมผ่านไปยังใต้ดิน อันเป็นสาเหตุ ของน�้ำท่วมขังและการชะล้างหน้าดินซึ่งมีแร่ธาตุต่างๆ เมื่อฝนตก นอกจากนัน้ ยังช่วยเปิดพืน้ ทีใ่ ห้พชื พันธุต์ า่ งๆ เติบโต คลุมดินได้ และ เป็นทางผ่านส�ำหรับสัตว์ขนาดเล็กด้วย นอกจากการปรับปรุงเส้นทางฯ แล้ว มูลนิธฯิ ยังได้จดั ท�ำป้าย สือ่ ความหมายธรรมชาติใหม่ตลอดเส้นทาง ตัง้ แต่การทบทวนประเด็น และข้อความในการสือ่ ความหมาย การเปลีย่ นวัสดุของป้ายให้มคี วาม ทนทานต่อสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงมากขึ้น ตลอดจนร่วมกับ อุทยานฯ พัฒนาแอปพลิเคชันส�ำหรับการลงทะเบียนจองคิวและ เดินในเส้นทาง ซึง่ จะอ�ำนวยความสะดวกให้แก่นกั ท่องเทีย่ ว ลดความ แออัดในการรอคอยเข้าเส้นทางบริเวณหน้ากิว่ แม่ปาน อีกทัง้ สอดคล้อง กับการเรียนรู้และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในปัจจุบันอีกด้วย “เอ็กโก กรุ๊ป และมูลนิธิไทยรักษ์ป่า มุ่งหวังให้การปรับปรุง เส้นทางฯ กิว่ แม่ปานนี้ เป็นต้นแบบของความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพือ่ ความยัง่ ยืนของระบบนิเวศอย่างแท้จริง เพราะการอนุรกั ษ์ดแู ล สิง่ แวดล้อมไม่ใช่หน้าทีข่ องใครคนใดคนหนึง่ แต่เป็นหน้าทีข่ องทุกคน โดยเฉพาะหากนักท่องเทีย่ วสามารถร่วมกันรักษาคุณค่าของป่าเมฆ และห้องเรียนธรรมชาติป่าต้นน�้ำแห่งนี้ จะเป็นก�ำลังส�ำคัญต่อการ เปลีย่ นแปลง ทีช่ ว่ ยให้กวิ่ แม่ปานเป็นมรดกทางธรรมชาติทยี่ งั คงอยู่ เพื่อส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นได้ต่อไป” ธงชัย กล่าวสรุป


สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

ราช กรุ๊ป ผนึกความร่วมมือกัลฟ์

พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าหินกอง บริษทั ราช กรุป๊ จ�ำกัด (มหาชน) รายงานว่า บริษทั ฯ และบริษทั กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) (กัลฟ์) ได้บรรลุข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาโรงไฟฟ้า พลังความร้อนร่วมหินกอง ก�ำลังผลิตติดตัง้ 1,400 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่ต�ำบลหินกอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยกัลฟ์ ได้เข้าร่วมทุนซื้อหุ้นสัดส่วนร้อยละ 49 ในบริษัท หินกอง เพาเวอร์โฮลดิง้ จ�ำกัด ทัง้ 2 บริษทั จะได้นำ� ประสบการณ์และ ความเชีย่ วชาญมาพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม หินกอง ให้เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่ช่วยให้ระบบไฟฟ้าของ ประเทศมีความมัน่ คง และเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศด้วย กิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษทั ราช กรุป๊ จ�ำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราช กรุป๊ และกัลฟ์ เป็นผูผ้ ลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ของประเทศทีม่ ปี ระสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในธุรกิจผลิตไฟฟ้า การจับมือกันของทั้ง 2 บริษทั จะท�ำให้โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมหินกอง สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมได้ดียิ่งขึ้น และ ยั ง ตอบสนองนโยบายความมั่ น คง ด้ า นพลั ง งานและการส่ ง เสริ ม ให้ ประเทศเป็นศูนย์กลางด้านพลังงาน ของอาเซียนด้วย นอกจากนีย้ งั เป็น การสร้างพันธมิตรธุรกิจตอบสนอง ยุ ท ธศาสตร์ ก ารเติ บ โตของ บริ ษั ท ฯ สู ่ เ ป้ า หมาย การเป็ น ผู ้ น� ำ ด้ า น พลังงานและระบบ สาธารณู ป โภคที่ มุง่ เน้นการสร้างมูลค่า ในภู มิ ภ าคเอเชี ย แปซิฟิกด้วย

กิจจา ศรีพัฑฒางกุระ

“บริษัทฯ เชื่อมั่นว่า โครงการโรงไฟฟ้าหินกอง ขนาด ก�ำลังการผลิตติดตัง้ 1,400 เมกะวัตต์ จะเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้า ที่มีคุณูปการต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในระยะยาว เพราะจะช่วยให้ระบบไฟฟ้าในภาคตะวันตกและ ภาคใต้ของประเทศมัน่ คง และตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้า ของครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเล็งเห็นว่า ราช กรุ๊ป และกัลฟ์ มีทศิ ทางและเป้าหมายธุรกิจทีส่ อดคล้องกัน จึงมีโอกาสขยาย ความร่วมมือเป็นพันธมิตรลงทุนโครงการอื่นๆ ในอนาคต ซึ่งจะเสริมหนุนการสร้างมูลค่ากิจการของบริษัทฯ ให้เติบโต บรรลุเป้าหมาย 200,000 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2566 อีกด้วย” กิจจา กล่าว ส�ำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมหินกอง ขนาดก�ำลังการผลิต 1,400 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยหน่วยผลิต ไฟฟ้าจ�ำนวน 2 ชุด ชุดละ 700 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชือ้ เพลิง พัฒนาและด�ำเนินการโดยบริษทั หินกองเพาเวอร์ จ�ำกัด ซึง่ ถือหุน้ 100% โดยบริษทั หินกองเพาเวอร์โฮลดิง้ จ�ำกัด โครงการนีไ้ ด้ลงนามสัญญาซือ้ ขายไฟฟ้าระยะเวลา 25 ปี กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 และมีกำ� หนดการเดินเครือ่ งเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2567 ส�ำหรับหน่วยผลิตไฟฟ้าชุดที่ 1 และปี พ.ศ. 2568 ส�ำหรับหน่วย ผลิตไฟฟ้าชุดที่ 2 ปัจจุบัน โครงการนี้อยู่ระหว่างด�ำเนินการ ศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม


บริษัท ราช กรุ๊ป จ�ำกัด (มหาชน)

บริษท ั ราช กรุ๊ป จับมือ บริษท ั เอเอ็มอาร์ เอเซีย

ร่วมกันพัฒนาธุรกิจ รถไฟฟ้าระบบราง บริษัท ราช กรุ๊ป จ�ำกัด (มหาชน) ผนึกก�ำลังจับมือกับ บริษทั เอเอ็มอาร์ เอเซีย จ�ำกัด เดินหน้าพัฒนาธุรกิจรถไฟฟ้าระบบราง ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐาน และพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ เป้าหมายประเทศไทย 4.0 พร้อมกับมุ่งขยายฐานธุรกิจระบบ สาธารณูปโภคพื้นฐานเพิ่ม บริษทั ราช กรุป๊ จ�ำกัด (มหาชน) น�ำโดย กิจจา ศรีพฑ ั ฒางกุระ กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั ราช กรุป๊ จ�ำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย มารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จ�ำกัด ประกาศความร่วมมือศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนาธุรกิจรถไฟฟ้า ระบบราง ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติดา้ นความมัน่ คงด้านโครงสร้าง พื้นฐาน และการพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่อ ขับเคลือ่ นไปสูเ่ ป้าหมายประเทศไทย 4.0 ได้จดั งานแถลงข่าวความ ร่วมมือในครัง้ นี้ โดยมีตวั แทนจากพันธกิจทัง้ ภาครัฐ เช่น การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค สมาคมการผังเมืองไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมในพิธีประกาศความร่วมมือดังกล่าว กิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จ�ำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท ราช กรุ๊ป มีเป้าหมาย สร้างการเติบโตมูลค่ากิจการไม่เพียงเพิ่มการลงทุนในธุรกิจหลัก คือผลิตไฟฟ้าและพลังงานเท่านั้น แต่ยังมุ่งขยายฐานธุรกิจระบบ สาธารณูปโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นอีกด้วย บริษัทฯ เล็งเห็นว่า แผน ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ ที่ มุ ่ ง พั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐานให้มีความมั่นคง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ทั้งด้านพลังงาน โทรคมนาคม และคมนาคมขนส่ง เป็นโอกาสทีม่ ศี กั ยภาพ ซึง่ บริษทั ฯ สามารถน�ำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าและพลังงานเข้าไป ต่อยอดการลงทุน พร้อมทั้งจับมือกับพันธมิตรที่เชี่ยวชาญในด้าน ต่างๆ ขยายการลงทุนสนับสนุนนโยบายของภาครัฐได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะธุรกิจขนส่งมวลชนระบบราง ซึง่ บริษทั ฯ ได้รว่ มลงทุนใน รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง ร่วมกับกลุ่มบีทีเอสและกลุ่ม ชิโนไทย และยังมีโครงการลงทุนร่วมกันในอนาคตอีกด้วย ส�ำหรับความร่วมมือกับทางบริษทั เอเอ็มอาร์ เอเซีย จ�ำกัด นี้ นับเป็นความพยายามในการสร้างโอกาสขยายธุรกิจขนส่งมวลชน

ระบบรางแบบครบวงจร ด้วยการศึกษาความเป็นไปได้ในการ จัดตั้งโรงงานผลิตและประกอบรถไฟและรถไฟฟ้าที่ใช้ชิ้นส่วนใน ประเทศไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 40 ของราคารถไฟและรถไฟฟ้า รวมถึง การซ่อมบ�ำรุง ซึง่ ตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ของภาครัฐก�ำหนดเป้าหมายไว้ในปี พ.ศ. 2567 นอกจากนี้ยังจะมี การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตระบบอาณัตสิ ญ ั ญาณ การผลิต ระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือหัวส�ำหรับรถไฟฟ้า และการผลิตชิน้ ส่วนหลัก ที่ส�ำคัญ ได้แก่ ระบบตัวรถ ระบบช่วงล่างของโครงสร้างตัวรถ และ ระบบขับและควบคุมการประกอบการซ่อมบ�ำรุง และพัฒนาอุปกรณ์ เกีย่ วกับระบบรถไฟฟ้าทีผ่ ลิตในประเทศทัง้ หมด รวมถึงการผลิตไฟฟ้า ระบบกักเก็บและจ�ำหน่ายพลังงาน และระบบประหยัดพลังงานทีผ่ ลิต จากตูร้ ถไฟฟ้าเพือ่ เชือ่ มต่อเข้าระบบส่งและจ�ำหน่ายไฟฟ้า ซึง่ เป้าหมาย ตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของภาครัฐ ก�ำหนดไว้ในปี พ.ศ. 2568 “บริษัท ราช กรุ๊ป จะน�ำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ด้านไฟฟ้าเข้ามาศึกษาด้านการผลิตไฟฟ้า ระบบกักเก็บและจ�ำหน่าย พลังงาน ระบบประหยัดพลังงานที่ผลิตจากตู้รถไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อ เข้าระบบส่งและจ�ำหน่ายไฟฟ้า รวมถึงวิเคราะห์การลงทุน ความคุม้ ค่า ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน เงื่อนไขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องใน การพัฒนาธุรกิจเชิงพาณิชย์ ตลอดจนพิจารณาผู้ผลิตเทคโนโลยี ต่างประเทศที่มีศักยภาพเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในโครงการด้วย ส�ำหรับการศึกษาเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี” อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจรถไฟฟ้า ระบบรางในครัง้ นี้ เป็นความร่วมมือของทัง้ 2 หน่วยงานและพันธกิจ ทางธุรกิจร่วมด�ำเนินการด้านวิศวกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับระบบรถไฟฟ้า และพัฒนาอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบรถไฟฟ้า ทั้งด้านระบบสื่อสาร ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือหัวส�ำหรับรถไฟฟ้า (OCS) ระบบประกอบในการเดินรถ ระบบควบคุมอาคารและเฝ้าระวัง ด้านระบบไฟฟ้าส�ำหรับรถไฟฟ้า และประสานงานกับหน่วยงานที่ เกีย่ วข้อง เป็นอีกหนึง่ ของความร่วมมือในการขานรับนโยบายรัฐบาล อันจะน�ำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน


ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาและลอยน้ำ IEEE Thailand Section และ IEEE PES-Thailand ร่วมกับ วิทยาลัยพลังงาน ทดแทนและสมาร์ ต กริ ด เทคโนโลยี มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร จั ด สั ม มนา เชิงวิชาการเรือ่ ง “ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) และ ลอยน�ำ้ (Floating) : ข้อก�ำหนด การออกแบบ ติดตั้ง ควบคุมและบ�ำรุงรักษา” เมื่อวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้อง Arnoma โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ ซึง่ จะเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาพลังงาน ทดแทนเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศอย่างยัง่ ยืน บรรยายโดยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญจาก พพ. กฟผ. กฟภ. สถาบัน อุดมศึกษา และภาคเอกชน และมีผเู้ ข้าร่วม สัมมนาครั้งนี้กว่า 200 คน


Interview > กองบรรณาธิการ

EcoStruxure

TM

for Data Center ทุกวันนีเ้ ทคโนโลยีเปลีย่ นโลกก�ำลังก้าวหน้าขึน้ ทุกขณะ หากผู้ประกอบการใดไม่ปรับตัวอาจจะทนรับแรงปั่นป่วน จากกระแสการเปลีย่ นแปลงได้ยาก ซึง่ เป็นทีม่ าทีธ่ รุ กิจทุกภาค อุตสาหกรรมควรจะต้องวางนโยบายดิจทิ ลั ทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) นั้น คือการเปลี่ยนแปลงองค์กร หรือธุรกิจ โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการ ปรับเปลีย่ นหรือปรับปรุง เพือ่ ให้ธรุ กิจหรือองค์กรมีความพร้อม ในโลกดิจิทัลมากขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าการพัฒนาเป็นไปแบบก้าวกระโดด ดังนัน้ การจะน�ำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้จงึ ควรมุง่ เน้นไปทีก่ าร ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์การด�ำเนินงาน ทั้งระยะสั้นและระยะยาวขององค์กรในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้ จ�ำเป็นต้องขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้น�ำและความเข้าใจเรื่อง การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของบุคลากรในองค์กรด้วยการ ปรับตัวจึงจะประสบผลส�ำเร็จตามเป้าหมาย บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด (มหาชน) (ดับบลิวเอชเอ กรุป๊ ) ผูใ้ ห้บริการโซลูชนั ครบวงจรด้านโลจิสติกส์

ไกรทส องค์ชัยศักดิ์ ...ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท

กับดาต้าเซ็นเตอร์เทียร์


และนิคมอุตสาหกรรมของไทย ได้เห็นถึงความส�ำคัญของการใช้ เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) ดังกล่าว จึงได้กอ่ ตัง้ บริษทั ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท จ�ำกัด ขึน้ โดยจะเป็น ผูใ้ ห้บริการดาต้าโซลูชนั และดิจทิ ลั แพลตฟอร์มต่างๆ โดยมีบริการ ดาต้าเซนเตอร์ 4 แห่ง บริการไฟเบอร์ออพติก (FTTx) และได้เข้าถือหุน้ ในบริษัท Supernap Thailand ตลอดจนมีการลงทุนด้านดิจิทัล อินฟราสตรัคเจอร์ เพือ่ รองรับการด�ำเนินธุรกิจเชิงอัจฉริยะของลูกค้า ซึ่งเป็นบริษัทชั้นน�ำทั้งในและต่างประเทศ ไกรทส องค์ชัยศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท จ�ำกัด ธุรกิจในกลุม่ บริษทั ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชัน่ จ�ำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธุรกิจของดับบลิวเอชเอ กรุป๊ ประกอบด้วย 4 กลุม่ ธุรกิจหลัก ได้แก่ โลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรม ธุรกิจสาธารณูปโภคและพลังงาน และดิจทิ ลั แพลตฟอร์ม ด้วยบริการ โซลูชันแบบครบวงจรส�ำหรับลูกค้า ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งในและ นอกนิคมอุตสาหกรรม โดยบริษัท ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท จ�ำกัด ธุรกิจในกลุ่มบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเพื่อต้องการยกระดับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ไปสูเ่ ศรษฐกิจและสังคมดิจทิ ลั เพือ่ สนองรับนโยบายรัฐบาลในด้าน EEC (Eastern Economic Corridor) โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ ภาคตะวันออก ตามการส่งเสริมและสนับสนุน New S-Curve ซึง่ แต่ละ อุตสาหกรรมจะเกีย่ วเนือ่ งกับด้านดิจทิ ลั เช่น อุตสาหกรรมหุน่ ยนต์ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ และ อุตสาหกรรมอื่นๆ “ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท เป็นส่วนหนึ่งของการน�ำลูกค้า ก้าวไปสูก่ ารปฏิวตั กิ ารเปลีย่ นแปลง นัน่ คือ ท�ำให้ลกู ค้าได้รบั บริการ สัญญาณสื่อสารความเร็วสูงที่เอื้อต่อการน�ำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ไม่วา่ จะเป็น Robotics, AI, IoT, Cloud Computing, Big Data โดยมี เป้าหมายภายในปี ค.ศ. 2024 จะเป็นผูใ้ ห้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ครบวงจร (Iaas, PaaS, SaaS) และเป็นผู้น�ำดาต้าเซ็นเตอร์ด้านเฮลธ์แคร์ ของโลก ดังนั้น ในการออกแบบและสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ จึงจ�ำเป็น ต้องมีเทคโนโลยีระดับโลกที่ดีที่สุดเพื่อรองรับในวันนี้และอนาคต” เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป จึงได้เสริมศักยภาพเพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ให้กับธุรกิจ

ดิจทิ ลั โดยเลือกแพลตฟอร์มอีโคสตรัคเจอร์ ส�ำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ (EcoStruxureTM for Data Center) ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค สนับสนุน การให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับท็อปเทียร์ ของดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท ถึง 2 แห่ง เพือ่ การให้บริการแก่ลกู ค้าได้อย่างต่อเนือ่ งตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งสัปดาห์ โดยอีโคสตรัคเจอร์ (EcoStruxureTM) ให้การ มองเห็นการท�ำงานของระบบที่ครบถ้วน ทั้งข้อมูลเชิงลึกเพื่อลด ความเสี่ยงและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้ถึง 15% “ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท ใช้อีโคสตรัคเจอร์ส�ำหรับดาต้า เซ็นเตอร์ ด้วยแพลตฟอร์มทีม่ นี วัตกรรมครบวงจรทัง้ 3 ระดับ ได้แก่ การเชือ่ มต่อผลิตภัณฑ์ (Connected Products) ระบบควบคุมปลายทาง (Edge Control) และในระดับแอปพลิเคชัน การวิเคราะห์ รวมถึง การบริการ (Apps/Analytics/Services) ให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ของ บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท จ�ำกัด ในการให้บริการแก่ธุรกิจ ในเครือของดับบลิวเอชเอ กรุป๊ รวมถึงลูกค้าทัง้ ในนิคมอุตสาหกรรม ของดับบลิวเอชเอ และลูกค้าในอุตสาหกรรมทีต่ อ้ งการทรานส์ฟอร์ม องค์กรไปสูด่ จิ ทิ ลั นอกจากนีย้ งั เป็นรายแรกในประเทศไทยทีใ่ ช้บริการ Critical Facility Operations จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค อีกด้วย” ไกรทส กล่าวเพิ่มเติมว่า “โซลูชัน อีโคสตรัคเจอร์ ส�ำหรับ ดาต้าเซ็นเตอร์ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยให้สามารถควบคุมดูแล กระบวนการท�ำงานต่างๆ ได้อย่างเต็มรูปแบบผ่านโครงสร้างของ อีโคสตรัคเจอร์ในระดับต่างๆ ตัง้ แต่การเชือ่ มต่อผลิตภัณฑ์ไปจนถึง ระดับระบบควบคุมปลายทาง ที่ใช้งานง่าย มีความคล่องตัว และ ปลอดภัย ด้วยความสามารถในการมอนิเตอร์และรับการแจ้งเตือน ผ่านสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ ในระดับของ แอปพลิเคชัน การวิเคราะห์และการบริการ ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท ใช้อโี คสตรัคเจอร์ แอสเสท แอดไวเซอร์ (EcoStruxure Asset Advisor) ซึ่งเป็นบริการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบต่างๆ จากข้อมูล ทีไ่ ด้รบั จากเซ็นเซอร์แบบเรียลไทม์ ช่วยในการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ และรวมไปถึงการแจ้งเตือนอัจฉริยะส่งตรงถึงอุปกรณ์สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ด้วยข้อมูลเชิงลึกเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพในการปฏิบตั กิ าร ของดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างต่อเนือ่ ง นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังให้บริการ Critical Facility Operations ซึ่งเป็นบริการที่มีทีมงาน ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล ด�ำเนินการ และการแก้ไขปัญหาให้แก่ดาต้า


“โซลูชน ั อีโคสตรัคเจอร์ สำ�หรับดาต้าเซ็นเตอร์ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยให้สามารถควบคุมดูแล กระบวนการทำ�งานต่างๆ ได้อย่างเต็มรูปแบบผ่าน โครงสร้างของอีโคสตรัคเจอร์ ในระดับต่างๆ”

เซ็นเตอร์ของดับบลิวเอชเอ 2 แห่ง จากปัจจุบนั มีอยู่ 4 แห่ง เพือ่ ให้มี ความพร้อมในการให้บริการวันละ 24 ชัว่ โมงตลอดทัง้ สัปดาห์ พร้อม รายงานและการรับประกันตามมาตรฐานระดับโลก ซึ่งในภาพรวม สามารถประหยัดการใช้พลังงานได้ถึง 15% และช่วยให้ระบบมี ความพร้อมใช้งานแบบ 100%” อนึ่ง บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด (มหาชน) (ดับบลิวเอชเอ กรุป๊ ) ถือเป็นผูน้ ำ� อันดับหนึง่ ในการให้บริการโซลูชนั ครบวงจรด้านโลจิสติกส์และนิคมอุตสาหกรรมของไทย โดยธุรกิจ ของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ประกอบด้วย 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ โลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรม ธุรกิจสาธารณูปโภคและพลังงาน และ ดิจิทัล แพลตฟอร์ม ด้วยบริการโซลูชันแบบครบวงจรส�ำหรับลูกค้า ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม ดังนี้  กลุ่มธุรกิจพัฒนาโลจิสติกส์ มุ่งให้บริการศูนย์กระจาย สินค้า คลังสินค้า และโรงงานแบบ Built-to-Suit แบบพรีเมียมที่ได้ มาตรฐานระดับโลกแก่ลกู ค้า โดยบริษทั ฯ เป็นผูร้ เิ ริม่ แนวคิดการสร้าง อาคารอุตสาหกรรมแบบ Built-to-Suit มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โดย ปัจจุบันมีพื้นที่คลังสินค้าและโรงงานแบบ Built-to-Suit รวมทั้งสิ้น กว่า 2,300,000 ตารางเมตร บนท�ำเลที่ตั้งในจุดยุทธศาสตร์กว่า

20 แห่งทั่วประเทศ  กลุ ่ ม ธุ ร กิ จ นิ ค มอุ ต สาหกรรม ในฐานะผู ้ พั ฒ นานิ ค ม อุ ต สาหกรรมคุ ณ ภาพระดั บ โลก ดั บ บลิ ว เอชเอ อิ น ดั ส เตรี ย ล ดีเวลลอปเมนท์ มีทั้งโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค คลัสเตอร์ อุตสาหกรรม ได้แก่ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมยานยนต์ คลัสเตอร์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมถึงบริการอุตสาหกรรมต่างๆ ทีแ่ ข็งแกร่ง และมีประสิทธิภาพ ปัจจุบนั ดับบลิวเอชเอ กรุป๊ มีนคิ มอุตสาหกรรม ทัง้ สิน้ 11+ แห่ง บนพืน้ ทีก่ ว่า 48,627 ไร่ (7,780 เฮกตาร์) โดยส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ในประเทศไทยที่จังหวัดระยอง ชลบุรี และสระบุรี ในปี พ.ศ. 2561 คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาค ตะวันออก (กรศ.) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้นคิ มอุตสาหกรรม ของดับบลิวเอชเอ 9 แห่ง เป็นพืน้ ทีเ่ ขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอซี )ี สอดคล้อง กับพันธกิจของดับบลิวเอชเอ กรุป๊ ในการมุง่ มัน่ ส่งเสริมการพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ของประเทศด้วย รวมถึงนิคม อุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล โซน 1-เหงะอาน ในประเทศ เวียดนามอีกหนึ่งแห่ง  กลุม ่ ธุรกิจสาธารณูปโภคและไฟฟ้ำ ในฐานะผูใ้ ห้บริการ ด้านระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ให้กับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม แต่เพียงผู้เดียว รวมถึงการร่วมลงทุนด้านไฟฟ้ากับผู้ผลิตพลังงาน ไฟฟ้าชัน้ น�ำของโลก ดับบลิวเอชเอ กรุป๊ จึงสามารถสร้างความมัน่ ใจ ในการให้บริการด้านสาธารณูปโภคแก่ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม ได้อย่างต่อเนือ่ ง โดยบริษทั ดับบลิวเอชเอ ยูทลิ ติ สี้ ์ แอนด์ พาวเวอร์ จ�ำกัด (มหาชน) ในเครือดับบลิวเอชเอ กรุป๊ มีกำ� ลังการผลิตน�ำ้ รวมถึง 105 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และมีกำ� ลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วน การถือหุน้ ของโรงไฟฟ้าทีเ่ ริม่ ด�ำเนินการเชิงพาณิชย์รวม 521 เมกะวัตต์  กลุ่มธุรกิจดิจิทัล บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท จ�ำกัด ในเครือดับบลิวเอชเอ กรุป๊ มีบริการดาต้าโซลูชนั และดิจทิ ลั แพลตฟอร์ม ต่างๆ อย่างครบครัน โดยมีบริการดาต้าเซ็นเตอร์ 4 แห่ง บริการ ไฟเบอร์ออพติก (FTTx) และได้เข้าถือหุน้ ในบริษทั Supernap Thailand ตลอดจนมีการลงทุนด้านดิจิทัลอินฟราสตรัคเจอร์ เพื่อรองรับการ ด�ำเนินธุรกิจเชิงอัจฉริยะของลูกค้า ซึ่งเป็นบริษัทชั้นน�ำทั้งในและ ต่างประเทศ


Factory Visit > กองบรรณาธิการ

โรงไฟฟ้าทุ่งสัง กรีน ... ต้นแบบชีวมวล

เชื้อเพลิงผสม หนุนเศรษฐกิจชุมชน โรงไฟฟ้าทุ่งสัง กรีน หรือ TSC โรงไฟฟ้าในเครือบริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) หรือ TPCH เป็นโรงไฟฟ้า ขนาดเล็กมาก (VSPP) ผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล ตัง้ อยูท่ อี่ ำ� เภอทุง่ ใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงไฟฟ้าทุ่งสัง กรีน ใช้เชื้อเพลิงหลักคือ ไม้ยางพารา นอกจากต้นยางพาราแล้วยังใช้ตอไม้ รากไม้ ปลายไม้ และปีกไม้ เป็นเชือ้ เพลิงได้อกี ด้วย นอกจากนัน้ ในบางช่วงเวลาก็จะ ปรับใช้เชื้อเพลิงเสริม คือกะลาปาล์มและทะลายปาล์ม TSC เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) มีก�ำลังการผลิต ติดตัง้ 9.5 เมกะวัตต์ ขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค (กฟภ.) 9.2 เมกะวัตต์ ภายใต้สัญญา Feed-in-Tariff เป็นระยะเวลา 20 ปี ปัจจุบนั ผลิตไฟฟ้าจ�ำหน่ายให้แก่ กฟภ. ประมาณปีละ 77 ล้านหน่วย สามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉลีย่ มากกว่า 85,000 MWh ต่อปีหรือเทียบเท่า การลดปริมาณคาร์บอนทดแทนการใช้ฟอสซิล ท�ำให้ลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 50,000 ตันคาร์บอนไดออกไซต์ต่อปี นอกจากนั้นยังช่วยแก้ไขปัญหาไฟตก ไฟดับในเขตภาคใต้อีกด้วย ด้วยวิสัยทัศน์ของโรงไฟฟ้าคือ “โรงไฟฟ้าเพื่อชุมชน มุ่งมั่น พัฒนา ผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างมีคณ ุ ภาพ เพือ่ ความมัน่ คงด้านพลังงาน เป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมและตอบสนองความพึงพอใจของผูม้ สี ว่ นได้ ส่วนเสีย” โดยโรงไฟฟ้าสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชมุ ชนมากกว่าปีละ 100 ล้านบาท จากการรับซือ้ วัตถุดบิ และการจ้างงานบุคลากรภายใน พื้นที่ถึงร้อยละ 93

กนกทิพย์ จันทร์พลังศรี ประธาน กรรมการบริหาร TPCH โรงไฟฟ้าแห่งนี้ ได้รับการออกแบบให้ใช้เชื้อเพลิงผสมได้ หลายชนิด (Multi-Fuel) เพือ่ แก้ปญ ั หาเรือ่ ง การขาดแคลนวัตถุดิบ เชื้อเพลิงหลักที่ใช้ ในโรงงานคื อ เศษวั ส ดุ เ หลื อ ใช้ จ ากการ กนกทิพย์ แปรรูปไม้ยางพาราประมาณ 115,020 ตัน จันทร์พลังศรี ต่อปี ใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อช่วยลดอัตราการเผาผลาญเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิต ไฟฟ้าได้ถึง 10% นอกจากนี้ ผู ้ บ ริ ห ารให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ สิ่ ง แวดล้ อ มเป็ น อย่างมาก ทางโรงไฟฟ้าได้ตดิ ตัง้ เครือ่ งดักจับไฟฟ้าสถิต (ESP) ส�ำหรับ ดักฝุ่นและเถ้าเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน เพื่อ ตรวจสอบ ป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม มีการตรวจวัดคุณภาพสิง่ แวดล้อมในด้านต่างๆ ทัง้ คุณภาพน�ำ้ อากาศ และการจัดการของเสียทุกๆ 6 เดือน และปฏิบตั ติ ามนโยบายของรัฐ อย่างเคร่งครัด โรงไฟฟ้ า ทุ ่ ง สั ง กรี น มี ร ะบบการผลิ ต ที่ ไ ด้ ม าตรฐาน มีประสิทธิภาพ โดยมีการควบคุมการท�ำงานของทุกระบบอย่างเข้มงวด  ระบบจัดเก็บและล�ำเลียงเชือ ้ เพลิง : เป็นระบบควบคุม มอเตอร์เป็นแบบ Variable Speed Drive ซึง่ สามารถปรับลด ความเร็วของมอเตอร์ได้ตามสภาวะโหลดเพื่อลดการ สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า


ระบบเผาไหม้และหม้อไอน�ำ้ : สามารถรองรับเชื้อเพลิง ได้หลากหลาย และเชื้อเพลิงที่มีความชื้นแตกต่างกัน  ระบบการผลิตกระแสไฟฟ้า : เครือ ่ งกังหันไอน�ำ้ แบบ 10 State สามารถลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงได้กว่า 50,000 ตันต่อปี  ระบบควบคุ ม คุ ณ ภาพอากาศและการจั ด การขี้ เ ถ้ า : เครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator : ESP) สามารถจับฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน ได้มากกว่า 99.5% อนึง่ บริษทั ทีพซี ี เพาเวอร์ โฮลดิง้ จ�ำกัด (มหาชน) (TPCH) ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุน้ ในบริษทั อืน่ (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจ�ำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ประเภทต่างๆ และให้บริการสนับสนุนการด�ำเนินการของบริษทั ย่อย และกิจการทีค่ วบคุมร่วมกันของบริษทั ฯ โดยมีเงินลงทุนในบริษทั ทีม่ ี แผนด�ำเนินการผลิตและจ�ำหน่ายไฟฟ้าจากชีวมวลจ�ำนวน 10 บริษทั บริษัทที่มีแผนด�ำเนินการผลิตและจ�ำหน่ายไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง ขยะมูลฝอยโดยมีการจัดการขยะแบบผสมผสานจ�ำนวน 1 บริษัท และผลิตและจ�ำหน่าย Refuse Derived Fuel (RDF) จ�ำนวน 1 บริษทั และจะมีรายได้หลักเป็นเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนถือหุ้นใน บริษทั อืน่ และมีรายได้อนื่ ๆ จากการให้บริการสนับสนุนการด�ำเนินการ ของบริษัทในกลุ่ม TPCH ได้ให้ความส�ำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสังคม รอบข้าง เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข โดย ก�ำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการเป็น “โรงไฟฟ้าของชุมชน” ด้วย ความส�ำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และยึดมั่นในการ ประกอบธุรกิจโดยค�ำนึงถึงสัมพันธภาพทีด่ แี ละยัง่ ยืนกับคนในชุมชน โดยให้ความส�ำคัญในเรื่องการรักษามาตรฐานระเบียบปฏิบัติด้าน การจัดการสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของพนักงาน รวมถึง ชุมชนโดยรอบ เพือ่ ให้ความมัน่ ใจกับชุมชนรอบโรงไฟฟ้าว่าสามารถ อยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือมลพิษ ต่างๆ เช่น ควัน เสียง และฝุน่ บริษทั ฯ เลือกใช้เทคโนโลยีทที่ นั สมัย เพื่อลดปริมาณควัน เสียง และฝุ่นให้น้อยที่สุด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความส�ำคัญในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน รอบพืน้ ทีท่ โี่ รงไฟฟ้าตัง้ อยู่ ซึง่ รวมถึงการจัดสรรงบประมาณสมทบเข้า กองทุนพัฒนาชุมชนต่างๆ ในพืน้ ทีแ่ ละการด�ำเนินโครงการส่งเสริม และพัฒนาชุมชมอย่างยัง่ ยืนต่อเนือ่ ง รวมทัง้ ส่งเสริมและสนับสนุน ความรู้ ความช�ำนาญต่างๆ ให้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานทดแทน เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป 

ด้วยนโยบายที่มุ่งมั่นใส่ใจสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน นีเ้ อง ท�ำให้บริษทั ในเครือ TPCH ได้รบั รางวัลทัง้ ระดับประเทศและ นานาชาติ เมือ่ ปี ค.ศ. 2019 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์ พลังงาน (พพ.) ได้เลือกให้โครงการโรงไฟฟ้าทุง่ สัง กรีน ได้รบั รางวัล ดีเด่น Thailand Energy Awards 2019 ด้านพลังงานทดแทน ประเภท โครงการที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (On-Grid) นอกจากนั้น โครงการโรงไฟฟ้าทุ่งสัง กรีน ยังได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในระดับ ASEAN Energy Awards 2019 อีกด้วย นวลจั น ทร์ เตชะเสริ ม สุ ข กู ล รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า โรงไฟฟ้ า ดั ง กล่ า วเป็ น หนึ่ ง ในโรงไฟฟ้ า ต้นแบบของโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้วัสดุทาง การเกษตรเป็นเชือ้ เพลิงในการผลิตกระแส นวลจันทร์ ไฟฟ้า ในแบบใช้เชือ้ เพลิงผสมได้หลายชนิด เตชะเสริมสุขกูล (Multi-Fuel) เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาวัสดุ ที่เป็นเชื้อเพลิงขาดแคลน บริษัทได้ออกแบบโรงไฟฟ้าแห่งนี้ด้วย การติดตัง้ ระบบเครือ่ งดักจับไฟฟ้าสถิต (ESP) เพือ่ ดักจับฝุน่ จากการ เผาไหม้เชื้อเพลิงในระบบการผลิต เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมกับชุมชนโดยรอบ ท�ำให้โรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นมิตรกับ สิง่ แวดล้อม และประชาชนในพืน้ ทีไ่ ด้รบั ประโยชน์จากการขายวัสดุ ทางการเกษตร เป็นการสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้มคี วามเข้มแข็งมาก ยิ่งขึ้น สอดรับกับนโยบายพลังงานที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน การพัฒนาพลังงานของประเทศ อีกทัง้ ยังเป็นโรงไฟฟ้าทีม่ สี ว่ นร่วม ในการสร้างความมัน่ คงของระบบไฟฟ้าในพืน้ ทีภ่ าคใต้ ในกรณีทเี่ กิด ปัญหาไฟฟ้าตก-ดับได้อีกทางหนึ่งด้วย “จากศักยภาพของโรงไฟฟ้า จึงท�ำให้ได้รบั การพิจารณารางวัล ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคอาเซียน นับเป็นเครื่องการันตีถึง ความส�ำเร็จในความมุ่งมั่นพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่มี มาตรฐานในการผลิตไฟฟ้าและการดูแลด้านสิง่ แวดล้อม ด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีทมี่ ปี ระสิทธิภาพจากการใช้วสั ดุเหลือใช้ทางการเกษตร มาเป็นเชื้อเพลิง” นวลจันทร์ กล่าว พร้อมกันนี้ พพ. พร้อมทีจ่ ะเดินหน้าส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา โรงไฟฟ้าชีวมวล สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและท้องถิ่น โดยเฉพาะการน�ำวัสดุทางการเกษตรมาสร้างมูลค่าเพิม่ และลดปัญหา ด้านสิง่ แวดล้อม ซึง่ มีสว่ นส�ำคัญในการสร้างความมัน่ คงด้านพลังงาน ให้แก่ประเทศต่อไป


Article > ออนโรบอต

Gecko

Single Pad (SP) Gripper เพื่อพื้นที่การผลิตขนาดเล็ก

ออนโรบอต ก่อตั้งในปี ค.ศ. 2015 และได้ควบรวมกิจการ กับ Perception Robotics และ OptoForce ในปี ค.ศ. 2018 และ ได้ถกู ซือ้ กิจการโดย Purple Robotics หลังจากนัน้ เพียงไม่กเี่ ดือน โดยเมือ่ เดือนเมษายน 2019 ออนโรบอตได้ซอื้ ทรัพย์สนิ ทาง ปัญญาของบริษทั Blue Workforce บริษทั สัญชาติเดนมาร์ก ซึ่งเป็นผู้ผลิตตัวจับและระบบการมองภาพ ปัจจุบันกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ของออนโรบอตน�ำเสนออุปกรณ์ปลายแขน หุน่ ยนต์หลายประเภท ซึง่ รวมถึงตัวจับระบบไฟฟ้าเซนเซอร์ รับแรงกระท�ำและแรงบิด ตัวจับสุญญากาศ ตัวจับเจ้าของ รางวัลรุน่ Gecko Gripper และอุปกรณ์สลับเครือ่ งมือรูปแบบ ต่างๆ การน�ำเสนอผลิตภัณฑ์ทหี่ ลากหลายรูปแบบของออนโรบอต ท�ำให้การท�ำงานผ่านระบบอัตโนมัติมีความรวดเร็วและเรียบง่าย กว่าเดิม อาทิ การบรรจุภณ ั ฑ์ การควบคุมคุณภาพ การขนถ่ายวัสดุ การล�ำเลียงด้วยเครือ่ งจักร การประกอบชิน้ ส่วน และการเคลือบพืน้ ผิว โดยบริษทั วางแผนสร้างการเติบโตผ่านการซือ้ กิจการอืน่ ๆ เพิม่ เติม ในอนาคต ปัจจุบนั บริษทั มีสำ� นักงานใหญ่ทเี่ มืองโอเดนเซ เดนมาร์ก เมือ่ เร็วๆ นี้ ออนโรบอต ได้เปิดตัว “Gecko Single Pad (SP) Gripper” อุปกรณ์มือจับต่อพ่วงชิ้นเดี่ยวขนาดกะทัดรัดรุ่นใหม่ใน ตระกูล Gecko Gripper ช่วยเพิม่ ขีดความสามารถในระบบอัตโนมัติ ยุคใหม่โดยใช้พื้นที่ติดตั้งขนาดเล็กและมีน�้ำหนักเบา โดยอุปกรณ์ Gecko SP น�ำเสนอ 3 ขนาด ได้แก่ SP1, SP3 และ SP5 ซึ่งตั้งชื่อ ตามน�้ำหนักในหน่วยกิโลกรัมของแต่ละรุ่น มอบความสามารถใน การจับยกชิ้นส่วนได้แบบพื้นผิวเรียบ ลื่น หรือพื้นผิวที่เจาะรู ด้วย เทคโนโลยีทไี่ ร้รอ่ งรอยการหยิบจับแม้บนพืน้ ผิวทีม่ นั วาว จึงช่วยลด ขัน้ ตอนการท�ำความสะอาดในกระบวนการผลิต ประหยัดเวลาและ ยกระดับคุณภาพของชิน้ งาน และด้วยประสิทธิภาพทีไ่ ม่แตกต่างจาก อุปกรณ์รนุ่ ใหญ่ในตระกูลเดียวกัน ท�ำให้ Gecko SP สามารถหยิบจับ ได้แม้ชนิ้ ส่วนทีเ่ จาะรู อาทิ แผ่นวงจรพิมพ์ ตะแกรงอะลูมเิ นียม หรือ แม้แต่ชิ้นปะเก็นฝาสูบ เทคโนโลยีมอื จับตระกูล Gecko เจ้าของรางวัลนี้ ใช้แกนเส้นใย ขนาดเล็กนับล้านในการยึดเกาะพืน้ ผิวเพือ่ สร้างแรงดูดแวนเดอวาลล์ (Van der Waals Forces) อันทรงพลังในลักษณะเดียวกับการยึดเกาะ ผนังของเท้าตุก๊ แก เทคโนโลยีนไี้ ม่จำ� เป็นต้องใช้กระบวนการอัดอากาศ หรือพลังงานจากภายนอก จึงช่วยลดต้นทุนและขัน้ ตอนการดูแลรักษา

ทั้งยังสามารถน�ำไปใช้งานได้อย่างรวดเร็วและ ง่ายดายด้วยแพลตฟอร์ม One-System Solution Platform ของออนโรบอต โดยไม่ตอ้ งอาศัยการตัง้ โปรแกรม หรืออาจ มีการตัง้ โปรแกรมเล็กน้อยกับแขนหุน่ ยนต์อตุ สาหกรรมน�ำ้ หนักเบา ที่ท�ำงานร่วมกัน ซึ่งสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นในการผลิตได้เป็น อย่างมาก ความต้องการอุปกรณ์ปลายแขนหุน่ ยนต์ (EoAT) ทีเ่ พิม่ สูงขึน้ นับตัง้ แต่ปี ค.ศ. 2017-2018 อัตราการติดตัง้ เฉลีย่ ต่อปีของหุน่ ยนต์ เพื่อการท�ำงานร่วมกับมนุษย์ (โคบอต) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้ ท�ำงานเคียงข้างมนุษย์ได้ มีอัตราการเติบโตราว 23% โดยมีการ ติดตั้งเกือบ 14,000 ยูนิต ในปี ค.ศ. 2018 จากข้อมูลของสหพันธ์ หุ่นยนต์ระหว่างประเทศ (International Federation of Robotics : IFR)1 โดยปัจจัยขับเคลือ่ นทีก่ อ่ ให้เกิดการน�ำไปใช้งาน มาจากการที่ ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์มีความฉลาดในการ ท�ำงานมากขึ้น เช่น อุปกรณ์หยิบจับอัจฉริยะในรูปแบบต่างๆ เมื่อ ยอดขายโคบอตเพิ่มสูงขึ้น จ�ำนวนหน่วยการติดตั้งจึงเพิ่มมากขึ้น เป็นสองเท่าตัวในช่วงเวลา 3 ปี ก่อให้เกิดโอกาสในตลาดอุปกรณ์ ปลายแขนหุ่นยนต์อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน2 เจมส์ เทย์เลอร์ ผูจ้ ดั การทัว่ ไป ออนโรบอต ประจ�ำภูมภิ าค เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “อุปกรณ์มือจับตระกูล Gecko รุ่นใหม่นี้ ถือเป็นส่วนต่อขยายทีย่ อดเยีย่ มให้แก่กลุม่ ผลิตภัณฑ์ของออนโรบอต เพื่อสร้างส่วนแบ่งการตลาดอย่างมีนัยส�ำคัญในตลาดอุปกรณ์ ปลายแขนหุน่ ยนต์สากลทีก่ ำ� ลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แนวโน้มดังกล่าว


ยังเกิดขึน้ ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมือ่ มีการคาดการณ์วา่ ตลาดระบบอัตโนมัตแิ ละการควบคุมกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม จะมีมูลค่าสูงถึง 4.97 พันล้านดอลลาร์ ภายในปี ค.ศ. 2025 โดยมี อัตราการเติบโตเฉลีย่ ต่อปีแบบทบต้น (CAGR) ที่ 7.8% เมือ่ ค�ำนวณ จากปี ค.ศ. 2019-20253 ซึง่ ส่วนใหญ่นนั้ การเติบโตนีไ้ ด้รบั แรงสนับสนุน จากโครงการภาครัฐบาล ซึ่งมีการเพิ่มอัตราการใช้งานทั้งจากภาค อุตสาหกรรมการผลิตและการริเริม่ นโยบายอุตสาหกรรม 4.0” เจมส์ เทย์เลอร์ กล่าว สิงคโปร์มสี ว่ นแบ่งการตลาดมากทีส่ ดุ ในตลาดระบบอัตโนมัติ และการควบคุมกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมของภูมิภาคในปี ค.ศ. 2019 ตามมาด้วยเวียดนามและไทย4

Gecko Gripper Family with Compact

Gecko Single Pad (SP) Gripper for Small-Footprint Applications

OnRobot, a global leader in enabling collaborative applications, has launched a compact, single-pad version of its innovative Gecko no-mark adhesive gripper. The new Gecko Single Pad (SP) Gripper brings the same capability to new automation applications with small footprints and lower payload. The Gecko SP is available in three sizes; SP1, SP3 and SP5 named after the gripper’s payload

การทำ�งานของอุปกรณ์ Gecko SP

กะทัดรัด น�้ำหนักเบา และยืดหยุ่นในการท�ำงาน มีทั้งรุ่นน�้ำหนัก 1, 3 และ 5 กิโลกรัม  ไม่ต้องต่อสายไฟหรือระบบระบายอากาศ  ไม่ตอ ้ งตัง้ โปรแกรมหรืออาจมีการตัง้ โปรแกรมเพียงเล็กน้อย เท่านั้น  หยิ บ จั บ โดยไม่ ส ร้ า งร่ อ งรอย แม้ บ นชิ้ น ส่ ว นที่ มั น วาว จึงไม่ต้องท�ำความสะอาดในภายหลัง  แรงหยิบจับอันทรงพลังแม้กับชิ้นส่วนที่เจาะรู  

in kilos, featuring ability to lift a wide range of flat, smooth, shiny or perforated surfaces. Because the technology doesn’t mark even high-shine surfaces, it eliminates the need for a cleaning step in manufacturing processes, saving time and improving output. And like its larger sibling, the Gecko SP can grip even perforated workpieces such as printed circuit boards, aluminium mesh or head gaskets. The award-winning Gecko gripper technology uses millions of micro-scaled fibrillar stalks that adhere to a surface using powerful van der Waals forces — the same way that geckos climb. The technology requires no compressed air or external power, saving costs and maintenance, and can be implemented quickly and easily through OnRobot’s One-System Solution platform with little or no programming on any major collaborative or light industrial robot arm for greater production flexibility. “Our unique Gecko technology automates processes that no other gripper can accomplish, and now it’s available in a compact, flexible format that offers our customers even more options.” said Enrico Krog Iversen, CEO of OnRobot. “This is a true plugand-play gripper that fulfills our promise of a full range of easy, cost-effective, flexible robotic tooling that lets customers focus on their application rather than the robot.”

Gecko SP Features

Compact, lightweight, and flexible Available for 1 kg, 3 kg, 5 kg payloads  No wires or air supply needed at all  Little or no programming required  No-mark gripping for shiny workpieces without subsequent cleaning  Powerful gripping for perforated workpieces  

หมายเหตุ : 1 https://ifr.org/ifr-press-releases/news/robot-investment-reaches-record-16.5-billion-usd 2 https://ifr.org/ifr-press-releases/news/robot-investment-reaches-record-16.5-billion-usd 3 https://www.globenewswire.com/news-release/2020/02/12/1983633/0/en/South East-Asia-Industrial-Automation-Process-Control-Market-Report-2020-2025.html 4 https://www.globenewswire.com/news-release/2020/02/12/1983633/0/en/South East-Asia-Industrial-Automation-Process-Control-Market-Report-2020-2025.html


Article

> องค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (NEDO) แห่งประเทศญี่ปุ่น*

วิศวกรโตชิบา

พัฒนาระบบการติดตาม ประเมิน และเฝ้าระวัง วิศวกรรมโครงสร้าง พื้นฐานที่มีอายุ เพื่อป้องกันการพังทลาย

รูปที่ 1 : ภาพรวมการวัดการปล่อยคลื่นเสียงบนสะพาน

หลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่อง “ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจ” แห่ง ดินแดนอาทิตย์อุทัย ซึ่งเป็นช่วงที่สภาพเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเติบโตขึ้น อย่างก้าวกระโดดหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และด้วยความ เจริญก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เอง ท�ำให้โครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่ ของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง สะพาน หรือ อาคารสูงระฟ้าทั้งหลายล้วนถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่ว่านี้ นับจากช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองนั้น ก็ผ่านมากว่า 50 ปีแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่สภาพโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ เสือ่ มถอยลงไปอย่างมาก จากการส�ำรวจในปี ค.ศ. 2018 พบว่าประมาณ 25% ของสะพานทีม่ คี วามยาวเกินกว่า 2 เมตรทัง้ หมดในญีป่ นุ่ มีอายุ เกินกว่า 50 ปีแล้ว และในปี ค.ศ. 2033 ตัวเลขนีจ้ ะเพิม่ ขึน้ จนถึง 63% ของสะพานทัง้ หมด อันตรายอย่างหนึง่ ของการเสือ่ มสภาพของโครงสร้าง พื้นฐานในสังคมเหล่านี้คือ มีโอกาสที่จะท�ำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ อย่างเช่นในปี ค.ศ. 2012 ผนังคอนกรีตความยาวประมาณ 130 เมตร ของอุโมงค์ทางด่วนบริเวณใกล้กรุงโตเกียวถล่มลงมา ท�ำให้มผี บู้ าดเจ็บ และเสียชีวติ หลายราย ถือเป็นหนึง่ ในอุบตั เิ หตุทรี่ า้ ยแรงทีส่ ดุ ของญีป่ นุ่ ทีม่ สี าเหตุมาจากการเสือ่ มสภาพของสิง่ ปลูกสร้าง จึงเห็นได้วา่ ในปัจจุบนั การบ�ำรุงรักษา การจัดการดูแลอาคารและโครงสร้างพืน้ ฐานต่างๆ จะมีความส�ำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างหนึ่งคือ ปัญหา ขาดแคลนแรงงานที่จ�ำเป็นส�ำหรับงานบ�ำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ จากการที่ ป ระเทศญี่ ปุ ่ น ได้ เข้ า สู ่ สั ง คมผู ้ สู ง อายุ อ ย่ า งเต็ ม รู ป แบบ นัน่ จึงเป็นสาเหตุวา่ ท�ำไมโตชิบาจึงได้พฒ ั นาระบบการติดตามประเมิน และเฝ้าระวังวิศวกรรมโครงสร้างต่างๆ โดยการใช้เซนเซอร์มาช่วยให้ สามารถ “มองเห็น” โครงสร้างภายในของสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะช่วยให้ การตรวจสอบมีประสิทธิภาพและครอบคลุมยิ่งขึ้น

เสือ่ มสภาพนัน้ ไม่อาจแยกแยะได้ดว้ ย สายตาหรือเสียง” คาซึโอะ วาตาเบะ หั ว หน้ า ฝ่ า ยวิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารระบบวิ ศ วกรรม ณ ศู น ย์ วิ จั ย และพั ฒ นา โตชิ บ า คอร์ปอเรชัน่ กล่าว และเขายังอธิบาย ต่อไปว่า ในอดีตมันอาจจะพอเป็น ไปได้ที่คนงานจ�ำนวนจ�ำกัดจะเข้าไป ตรวจสอบสะพานแต่ละแห่งด้วยหูและตาของตนเอง โดยอาศัยเพียง ประสบการณ์และสัญชาตญาณของพวกเขา แต่ในปัจจุบันมีสะพาน ทีม่ คี วามยาวมากกว่า 15 เมตร จ�ำนวนกว่า 150,000 แห่งทัว่ ประเทศ ญีป่ นุ่ ท�ำให้วธิ กี ารนีใ้ ช้ไม่ได้จริงอีกต่อไป “ในฐานะทีเ่ ราเป็นส่วนหนึง่ ใน ‘โครงการพัฒนาระบบหุ่นยนต์และเซนเซอร์ส�ำหรับการบ�ำรุงรักษา โครงสร้างพืน้ ฐานและการส�ำรวจภัยพิบตั ’ิ ขององค์การพัฒนาพลังงานใหม่ และเทคโนโลยีอตุ สาหกรรม หรือ NEDO (New Energy and Industrial Technology Development Organization) เราจึงตัดสินใจท�ำการวิจัย และพัฒนาระบบการติดตามประเมิน และเฝ้าระวังวิศวกรรมโครงสร้าง อาคาร ร่วมกับ ศ.โทโมคิ ชิโอทานิ แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต” วาตาเบะ เผย คุณสมบัติที่ส�ำคัญที่สุดของระบบการติดตามประเมิน และ เฝ้าระวังวิศวกรรมโครงสร้างนีค้ อื เทคโนโลยีการตรวจจับทีท่ ำ� ให้ระบบ สามารถ “มองเห็น” ภาพความเสียหายทีอ่ ยูภ่ ายในแผ่นคอนกรีตได้ แม้ ในจุดทีค่ นงานไม่อาจมองเห็น จึงช่วยตรวจสอบระดับความเสือ่ มสภาพ ทีเ่ กิดขึน้ จริงได้อย่างแม่นย�ำ “ประโยชน์จากการทีเ่ ราสามารถ ‘มองเห็น’ ภาพความเสียหายภายในแผ่นคอนกรีตได้ ท�ำให้เราสามารถเรียงล�ำดับ ความส�ำคัญในการบ�ำรุงรักษาสิง่ ปลูกสร้างแต่ละแห่งได้ อย่างเวลาทีเ่ รา ไปตรวจสุขภาพฟัน เราอาจจะมีฟนั ซีท่ ผี่ มุ าก ผุนอ้ ย และซีท่ ดี่ เู หมือน อาจจะเริ่มผุได้ในอีกไม่นาน แน่นอนว่าทันตแพทย์ก็จะต้องให้ความ ส�ำคัญกับซี่ที่ผุมากเป็นอันดับแรก เช่นเดียวกันกับความเสียหายที่เรา ตรวจสอบได้ดว้ ยระบบเซนเซอร์นี้ เราก็จะสามารถวางแผนได้วา่ สะพาน แห่งไหนต้องการการบ�ำรุงรักษาเร่งด่วนที่สุด ซึ่งจะช่วยให้เราจัดสรร ทรัพยากรมนุษย์และงบประมาณที่มีอยู่จ�ำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทีส่ ดุ แต่ในขณะทีค่ นทีป่ วดฟัน เขาสามารถบอกทันตแพทย์ได้วา่ เขาปวด ตรงไหน แต่สะพานไม่สามารถพูดอะไรได้ ระบบนีจ้ งึ ช่วยให้เราสามารถ

ตรวจสอบความเสียหายภายใน ซึ่งไม่อาจมองเห็น ได้ด้วยตา

“หลังจากเหตุการณ์อุโมงค์ถล่ม ได้มีการบังคับใช้กฎหมาย ที่เข้มงวดมากขึ้นในการตรวจสอบสภาพสะพานแต่ละแห่งทุกๆ 5 ปี อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบโดยทัว่ ไปจะเป็นเพียงการตรวจดูดว้ ยตา และค้อน โดยการให้เจ้าหน้าทีใ่ ช้คอ้ นทุบสะพานและฟังเสียงทีเ่ กิดขึน้ ซึ่งวิธีการนี้ก็ยังยากที่จะบอกสภาพที่แท้จริงของโครงสร้าง หากความ


รูปที่ 2 : ตัวอย่างผลการวิเคราะห์จากข้อมูลการวัด AE

Shear AE : AE ที่เกิดจากแรงเสียดทานของรอยแตกที่มีอยู่เดิม Tensile AE : AE ที่เกิดขึ้นในบริเวณที่รอยแตกก�ำลังเกิดขึ้น และ/หรือก�ำลังขยายใหญ่ขึ้น

ตรวจเช็คสภาพโครงสร้างของตัวสะพานได้ เราจึงสามารถวางแผนดูแล รักษาสะพานแต่ละทีไ่ ด้อย่างถูกวิธแี ละมีประสิทธิภาพทีส่ ดุ ” วาตาเบะ กล่าวสรุป

หารอยแตกภายในคอนกรีต ผ่านการสั่นสะเทือน จากเครื่องยนต์

ปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้เทคโนโลยีการตรวจจับนี้ส�ำเร็จได้ก็คือ คลื่นยืดหยุ่น หรือ Elastic Wave ซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากรอยแตกเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหลายในโครงสร้างคอนกรีต เมื่อรถวิ่งบนสะพานจะเกิด แรงสัน่ สะเทือน ส่งผลให้เกิดคลืน่ ยืดหยุน่ หลายสิบไปจนถึงหลายร้อย กิโลเฮิรตซ์เล็ดลอดออกมาจากรอยแตกภายใน ซึ่งระบบเซนเซอร์จะ วัดคลื่นที่เกิดขึ้นนี้จากจุดที่ติดตั้งบนพื้นผิวของตัวสะพาน โดยวิธีการ ทดสอบแบบนีเ้ รียกว่า วิธกี ารปล่อยคลืน่ เสียง หรือ Acoustic Emission (AE) Method* 1 ทาคาชิ อูซุอิ นักวิจัยวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการระบบ วิศวกรรม ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนา โตชิบา คอร์ปอเรชั่น เผยว่า พวกเขาใช้ ป ระโยชน์จากฐานข้อ มูลจ�ำนวนมากที่โ ตชิบาได้สั่งสม มาเป็นระยะเวลายาวนาน เพือ่ พัฒนา ระบบเทคโนโลยีตรวจจับชิน้ นี้ “ทีจ่ ริง เซนเซอร์ AE ได้มีการใช้งานอย่าง แพร่ ห ลายในหลายอุ ต สาหกรรม แต่สว่ นใหญ่กลับไม่มกี ารพัฒนาระบบ ที่ครอบคลุมอย่างแท้จริงได้ ซึ่งผม เชือ่ ว่าสาเหตุทเี่ ราสามารถสร้างระบบ วัดเซนเซอร์ AE ทีส่ มบูรณ์ ครอบคลุม ถึงการประมวลผลสัญญาณทีไ่ ด้รบั และการประเมินระดับความเสียหาย ผ่านความถี่และเวลาการเดินทางของคลื่นยืดหยุ่นเช่นนี้ได้ก็เพราะ เรามีทรัพยากรไว้อย่างเพียบพร้อมที่โตชิบา” อูซุอิ กล่าว

ใครจะคาดคิดว่า ‘พายุฝน’ จะกลายเป็นเรื่องดี

นอกจากนี้ พวกเขายังได้คน้ พบประโยชน์ทไี่ ม่คาดคิด ในขณะที่ ก�ำลังด�ำเนินการทดสอบระบบอยู่ “วันหนึง่ ในขณะทีเ่ ราก�ำลังทดสอบ ระบบกันอยูก่ เ็ กิดพายุฝนฟ้าคะนองขึน้ ท�ำให้เราบังเอิญได้ขอ้ มูลทีเ่ รา นึกไม่ถึงมาก่อน โดยปกติแล้วส�ำหรับระบบที่ใช้คลื่นยืดหยุ่นในการ

รูปที่ 3 : การตรวจสอบผลการวิเคราะห์ผ่านตัวอย่างจริง ของผิวหน้าสะพาน

ท�ำงาน พายุฝนถือเป็นเสียงรบกวนทีผ่ ทู้ ดสอบพยายามหลีกเลีย่ งให้ได้ มากที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ แต่ในกรณีนี้ เราพบว่าเม็ดฝนที่ตกลงมาบน พืน้ ผิวถนนก่อให้เกิดคลืน่ ยืดหยุน่ ดังนัน้ การค�ำนวณการกระจายตัวของ เม็ดฝนจึงสามารถบ่งบอกถึงต�ำแหน่งของรอยแตกภายใต้ผิวหน้าของ สะพานได้” วาตาเบะ กล่าว นั่นหมายความว่า พวกเขาอาจจะสามารถลดทอนระยะเวลา ที่ใช้ในการตรวจสอบสภาพโครงสร้างแต่ละแห่งด้วยการใช้รถบรรทุก ฉีดน�้ำแทนการรอให้ฝนตกจริงๆ ซึ่งเหตุบังเอิญที่เกิดขึ้นนี้กลับกลาย เป็นสิง่ ทีด่ ี เพราะพวกเขาสามารถเก็บข้อมูลได้จำ� นวนมากในเวลาเพียง 10 นาที (เทียบเท่าเวลาหลายวัน เมื่อเทียบกับข้อมูลที่เก็บได้จากรถ ที่วิ่งผ่านไปผ่านมาบนสะพาน) ยิ่งไปกว่านั้น มันยังได้เปิดประตูความ เป็นไปได้อีกบานหนึ่งส�ำหรับระบบการติดตามประเมิน และเฝ้าระวัง วิศวกรรมโครงสร้าง นัน่ คือ หากเกิดฝนตกหนัก พวกเขาอาจจะสามารถ ใช้การตกกระทบของเม็ดฝนเพื่อตรวจจับความเสื่อมสภาพของพื้นที่ ทีไ่ ม่ได้มกี ารสัญจรไปมามากนัก “ในอนาคตผมเชือ่ ว่าเราน่าจะสามารถ ใช้วิธีการนี้ในการมอนิเตอร์สภาพถนน อาคาร หรือแม้แต่เครื่องจักร อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ ปัญหาการเสือ่ มสภาพของโครงสร้างต่างๆ เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นกับเกือบทุกอุตสาหกรรม และเรามั่นใจว่า เราจะ สามารถพัฒนาวิธีการต่างๆ มาปรับใช้กับระบบตรวจสอบนี้ได้” อูซุอิ กล่าว แต่ ณ เวลานี้ พวกเขาจะด�ำเนินการทดสอบระบบต่อไป เพื่อ เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ผลข้อมูล และน�ำมาพัฒนาระบบให้มคี วาม แม่นย�ำยิ่งขึ้น หากระบบการติดตามประเมิน และเฝ้าระวังวิศวกรรม โครงสร้าง มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในอนาคตอันใกล้ การบ�ำรุงรักษา โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมจะอาศัยแรงงานคนและค่าใช้จ่ายน้อยลง มาก แต่เหนือสิง่ อืน่ ใด เราเชือ่ ว่าไม่มกี ารตอบแทนสังคมในรูปแบบใด จะยิ่ ง ใหญ่ ไ ปกว่ า การดู แ ลความปลอดภั ย ให้ กั บ ประชาชนทุ ก คน อีกแล้ว * บทความนีไ้ ด้รบั การสนับสนุนจาก องค์การพัฒนาพลังงานใหม่และ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (NEDO) แห่งประเทศญี่ปุ่น 1 AE Method : วิธวี ด ั คลืน่ เสียงทีเ่ กิดจากความเสียหายเล็กน้อยภายใน โครงสร้างของวัตถุที่เป็นของแข็ง


Article > หัวเว่ย

https://pixabay.com/illustrations/the-internet5g-technology-free-4899254/

เร่งกระตุ้นให้ธุรกิจเชิงพาณิชย์ ทั่วโลกหันมาปรับใช้ 5G เมื่อเร็วๆ นี้ หยาง เชาปิน ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ 5G ของ หัวเว่ย เผยถึง 10 ปัจจัยส�ำคัญของเทคโนโลยี 5G จากหัวเว่ย ซึง่ รวมถึง ผลิตภัณฑ์และโซลูชนั อัลตร้าบรอดแบนด์แบบครบวงจรทีส่ นับสนุนให้เกิด การปฏิวัติย่านความถี่สู่เครือข่าย 5G รวมไปถึงนวัตกรรม Super Uplink แบบครบวงจร และโซลูชนั การจัดแบ่งเครือข่าย (Slicing Solutions) ทีจ่ ะช่วย เสริมสร้างประสิทธิภาพการให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในหมู่ผู้ให้บริการ เครือข่าย ซึ่งเป็นข้อเสนอที่มุ่งพัฒนาการให้บริการต่อผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ โดยตรง และผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ตามบ้าน รวมไปถึงผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ใน แวดวงอุตสาหกรรม เพื่อตอกย�้ำความส�ำเร็จทางธุรกิจในยุค 5G

หยาง เชาปิน

อันดับที่

1

ประสบการณ์เครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ที่ครอบคลุม จะเร่ง การติดตั้ง 5G ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

จากข้อมูลล่าสุดของสมาคมผูจ้ ำ� หน่ายโทรศัพท์เคลือ่ นที่ (GSA) ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 ผู้ให้บริการเครือข่าย โทรคมนาคม 62 แห่งใน 34 ประเทศ ได้ประกาศให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ โดยในจ�ำนวนนี้มีผู้ให้บริการ 41 รายทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนจากหัวเว่ย นับเป็นจ�ำนวนมากถึง 2 ใน 3 ของจ�ำนวนผู้ให้บริการดังกล่าว “แม้ว่าจะมีแรงกดดัน จากภายนอก แต่หวั เว่ยจะยังคงมุง่ มัน่ เดินหน้าต่อไป ผลิตภัณฑ์ 5G และโซลูชันของเราได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจาก ผู้ให้บริการโทรคมนาคมส่วนใหญ่ทั่วโลก ในปัจจุบันหัวเว่ย ได้ลงนามเซ็นสัญญาร่วมกับผู้ให้บริการระบบการสื่อสาร โทรคมนาคมทัง้ หมด 91 แห่งและได้จดั ส่งผลิตภัณฑ์ 5G ไปแล้ว มากกว่า 600,000 ชิน้ โดยประสบการณ์ในการติดตัง้ เครือข่าย โทรคมนาคมทีผ่ า่ นมาทัง้ หมดจะถูกน�ำไปใช้พฒ ั นาประสิทธิภาพ ของผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และ ช่วยให้ผใู้ ห้บริการสามารถติดตัง้ เครือข่าย 5G ได้อย่างคุม้ ค่า และมีประสิทธิภาพที่สุด” หยาง เชาปิน กล่าว


อันดับที่

2

พอร์ตโฟลิโอที่รอบด้าน พร้อมมอบ ประสบการณ์ 5G อันเหนือชั้น อย่างต่อเนื่อง

นับตั้งแต่การริเริ่มโครงสร้าง 5G ทั้งในด้านประสิทธิภาพ และความครอบคลุม ได้มกี ารวางแผนการด�ำเนินการเป็นอย่างดี เพื่อส่งมอบประสบการณ์อันเหนือชั้นให้แก่ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ อย่างต่อเนื่อง หัวเว่ยมีพอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุม เหมาะสมในทุกสถานการณ์ โดยสถาปัตยกรรมเครือข่าย 3 ชั้น ประกอบด้วย สถานีฐานขนาดใหญ่หลายแห่งเพื่อประสิทธิภาพ และความครอบคลุมขัน้ พืน้ ฐาน การติดตัง้ ระบบ Easy Macro ที่ ไซต์เสาเครือข่ายสัญญาณเพือ่ ส่งเสริมความครอบคลุม และโซลูชนั LampSite ส�ำหรับระบบดิจทิ ลั ภายในอาคาร ทัง้ หมดนีเ้ พือ่ สร้าง ความครอบคลุมของเครือข่ายที่ราบรื่นและมอบประสบการณ์ ที่น่าพอใจอย่างต่อเนื่องให้แก่ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ หัวเว่ยยังได้ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ Massive MIMO AAU เสาสัญญาณทีม่ นี ำ�้ หนัก เบาที่สุดเพียง 25 กิโลกรัม สามารถเคลื่อนย้ายและติดตั้งได้ ด้วยคนเพียงคนเดียว แต่ให้ประสิทธิภาพการท�ำงานทีร่ บั รองได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างเครือข่าย ของผู้ให้บริการโทรคมนาคมได้เป็นอย่างดี อันดับที่

3

โซลูชน ั อัลตร้าบรอดแบนด์หนึ่งเดียว ของอุตสาหกรรม เพื่อการติดตั้ง เครือข่ายที่ง่ายยิ่งขึ้น

ในยุค 5G คลื่นความถี่แบบ TDD แบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ ทีม่ กี ารใช้งานอย่างต่อเนือ่ ง ถือเป็นตัวเลือกทีด่ ที สี่ ดุ ในการสร้าง ประสบการณ์ 5G อย่างเหนือชั้น อย่างไรก็ตาม มีผู้ให้บริการ เครื อ ข่ า ยโทรคมนาคมจ� ำ นวนไม่ น ้ อ ยที่ ไ ด้ รั บ เซ็ ก เมนท์ ข อง คลืน่ ความถีท่ ไี่ ม่ตอ่ เนือ่ ง เพราะปัจจัยเรือ่ งกรรมสิทธิข์ องดาวเทียม หรือการแบ่งสรรปันส่วนทีอ่ าจไม่เท่าเทียมกัน หัวเว่ยจึงได้เปิดตัว โซลูชันอัลตร้าบรอดแบนด์หนึ่งเดียวของวงการอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนคลื่นความถี่แบนด์วิดท์สูงสุดที่ 400 เมกะเฮิรตซ์ เพี ย งหนึ่ ง โมดู ล จะท� ำ ให้ ค ลื่ น ความถี่ ที่ ไ ม่ ต ่ อ เนื่ อ งภายใน 400 เมกะเฮิรตซ์สามารถใช้งานได้ โซลูชันดังกล่าวจะช่วยรักษา โมดูลและท�ำให้การติดตัง้ ไซต์เครือข่ายสัญญาณซับซ้อนน้อยลง และยังช่วยลดค่าเช่าไซต์เครือข่ายสัญญาณและฮาร์ดแวร์ของ ผู้ให้บริการอีกด้วย อันดับที่

4

เบลด AAU สุดพิเศษ ครบจบ ในหนึ่งเดียว ลดความซับซ้อน ในการติดตั้ง

หยาง เชาปิน กล่าวว่า “ในกระบวนการการพัฒนาระบบ การสือ่ สารแบบไร้สาย ผูใ้ ห้บริการระบบโทรคมนาคมเลือกใช้ยนู ติ เสาอากาศไร้สายจ�ำนวนมากเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนไซต์ เครือข่ายสัญญาณและเสาสัญญาณ แต่ตอนนี้ผู้ให้บริการกลับ

ต้องเผชิญปัญหาขาดแคลนพื้นที่ติดตั้งเสาอากาศไร้สาย ดังนั้น เสาสัญญาณเบลด AAU ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของหัวเว่ย ซึ่งถือ เป็นความภาคภูมิใจของเราในฐานะที่เป็นอุปกรณ์ “เรียบง่าย อย่างเหนือชั้น” ด้วยเป้าหมายที่ช่วยลดต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO) และการลงทุนในฮาร์ดแวร์และไซต์เครือข่ายสัญญาณ” เสาสัญญาณเบลด AAU ได้ผสานเสาสัญญาณ AAU 5G เข้ากับ เสาสัญญาณนอกอาคาร 2G/3G/4G รวมไว้เป็นกล่องเดียว และ จ�ำกัดความสูงเพียง 2 เมตรเท่านัน้ เพือ่ สนับสนุนช่วงคลืน่ ความถี่ ต�ำ่ กว่า 6 เมกะเฮิรตซ์ ผูใ้ ห้บริการสามารถใช้เสาสัญญาณนีแ้ ทน เสาสัญญาณ 3G/4G เพือ่ ความสะดวกในการติดตัง้ เสาสัญญาณ 5G ได้โดยใช้เพียงพื้นที่ส�ำหรับเสาสัญญาณต้นเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ การออกแบบที่ผสมผสานอย่างลงตัว ช่วยให้การ ติดตัง้ มีความซับซ้อนน้อยลงด้วย และในทางกลับกันก็ชว่ ยเสริม ประสิทธิภาพของโครงสร้าง 5G และกระตุน้ ให้เกิดการติดตัง้ มากขึน้ ผลิตภัณฑ์นไี้ ด้รบั การตอบรับเป็นอย่างดีจากผูใ้ ห้บริการตัง้ แต่เริม่ เปิดตัว โดยถูกน�ำไปใช้เชิงพาณิชย์ในเครือข่ายโทรคมนาคมของ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประเทศจีนแล้ว อันดับที่

5

โซลูชน ั เครือข่ายโทรคมนาคม DSS เชิงพาณิชย์เจ้าแรกของอุตสาหกรรม เพือ่ การติดตัง้ FDD NR อย่างรวดเร็ว

ปี พ.ศ. 2563 จะเป็นปีแห่งการติดตั้งเครือข่าย 5G เป็น จ�ำนวนมหาศาลทั่วโลก นอกจากการติดตั้งเครือข่าย 5G หลัก ในย่านคลื่นความถี่ 1-6 เมกะเฮิรตซ์แล้ว ผู้ให้บริการเครือข่าย โทรคมนาคมยังสามารถติดตั้งเครือข่าย 5G ในช่วงคลื่นความถี่ ต�่ำกว่า 3 เมกะเฮิรตซ์ FDD เพื่อครอบคลุมเครือข่าย 5G อย่าง รวดเร็วได้ โดยส�ำหรับคลืน่ ความถี่ FDD ใหม่ในขณะนี้ ข้อแนะน�า ของหัวเว่ยคือการติดตั้งสัญญาณเครือข่าย 5G โดยตรงจะช่วย ปรับปรุงประสิทธิภาพคลื่นความถี่ FDD ได้อย่างยอดเยี่ยมด้วย เทคโนโลยี NR เนื่องจากมีผลพิสูจน์ออกมาแล้วว่าเทคโนโลยี NR ที่ท�ำงานบนคลื่นความถี่ FDD สามารถมอบประสบการณ์ การใช้งานที่ดีขึ้นอย่างน่าประทับใจ เทคโนโลยี LTE ส�ำหรับ คลื่นความถี่ FDD ที่มีอยู่ก่อนหน้าสามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วย การใช้บริการโซลูชนั โครงข่ายร่วมกัน (DSS) ภายใน 1 มิลลิวนิ าที ของหัวเว่ย เทคโนโลยีนสี้ ามารถจัดสรรแหล่งทีม่ าของคลืน่ ความถี่ ได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียง 1 มิลลิวินาทีเท่านั้น โดยมี พืน้ ฐานมาจากเทคโนโลยี LTE การบริการ 5G และความต้องการ ของการส่งข้อมูลสัญญาณ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ คลื่นความถี่ได้อย่างดีที่สุด “ในเดือนพฤศจิกายน 2562 DSS โซลูชันของหัวเว่ยถูกน�ำไปใช้กับระบบโทรคมนาคมในยุโรป ปัจจุบนั ลูกค้าของเรามี 100 ล้านคลืน่ ความถี่ FDD อุปกรณ์ RRU ทีส่ ามารถน�ำไปปรับเปลีย่ นเป็น 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย การใช้โซลูชันนี้” หยาง เชาปิน กล่าว


อันดับที่

6

อัลกอริทึมอัจฉริยะ เสริมศักยภาพ เครือข่ายชั้นนำ�

“หัวเว่ยได้พัฒนาเทคโนโลยีการส่งสัญญาณแบบ Massive MIMO อย่างรอบด้าน ทัง้ ด้านการวิจยั และพัฒนา นวัตกรรม และการประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยได้จดั ท�ำพอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์ และอัลกอริทมึ ทีเ่ หนือชัน้ เพือ่ เสริมศักยภาพระบบ Massive MIMO ของเราให้ล�้ำหน้าอยู่เสมอ ด้านซอฟต์แวร์อัลกอริทึม หัวเว่ยพร้อม ด้วยเทคโนโลยีการส่งสัญญาณแบบ MU-MIMO การระบุขอ้ ก�ำหนด ซอฟต์แวร์ หรือ SRS เทคนิคการประมวลผลสัญญาณแบบ FullChannel Beamforming และอื่นๆ อีกมากมาย ที่พร้อมเสริมความ สามารถในการกระจายสัญญาณ ขยายพื้นที่บริการให้ครอบคลุม และพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าถึงขีดสุด โดยหัวเว่ยได้ช่วยให้ ผูใ้ ห้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มอื ถืออย่าง LG U+ ในประเทศเกาหลีใต้ EE ในประเทศอังกฤษ และ Sunrise ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ติดตัง้ เครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2562 การทดสอบสมรรถนะ เครือข่ายจากบุคคลภายนอก ซึง่ จัดท�ำโดย RootMetrics and Connect ระบุว่าหัวเว่ยได้ช่วยพัฒนาประสบการณ์ใช้งานของผู้ให้บริการ เครือข่ายให้ทะยานขึน้ สูอ่ บั หนึง่ โดยมีอตั ราดาวน์ลงิ ก์เฉลีย่ มากกว่า เครือข่ายคูแ่ ข่ง 1.5 ถึง 2 เท่า จึงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพทีเ่ หนือชัน้ ของเทคโนโลยี Massive MIMO ในการให้บริการเชิงพาณิชย์ใน สถานการณ์จริงได้เป็นอย่างดี” หยาง เชาปิน กล่าว อันดับที่

7

เทคโนโลยี 5G สีเขียว ใช้พลังงานน้อยลง

ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานเป็นอีกหนึง่ สิง่ จ�ำเป็น ในการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารของอุปกรณ์มือถือให้สมบูรณ์ และยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี 5G ซึ่งหัวเว่ยพร้อมมอบ โซลูชันการประหยัดพลังงานแบบครบวงจร ที่ได้น�ำเอาเทคโนโลยี ผลิ ต ภั ณ ฑ์ น วั ต กรรม ไซต์ เ ครื อ ข่ า ยรู ป แบบใหม่ และระบบ การประสานงานทั่วเครือข่ายด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้งาน เพือ่ ลดการใช้พลังงานในการกระจายสัญญาณ 5G ต่อบิต พร้อมด้วย นวัตกรรมการออกแบบชิปและอัลกอริทมึ วัสดุฮาร์ดแวร์คณ ุ ภาพสูง และเทคโนโลยีกระจายความร้อนล�้ำสมัย ซึ่งสามารถส่งมอบเซลล์ สัญญาณได้ใหญ่กว่าถึง 50 เท่า ให้กบั เสากระจายสัญญาณ (AAUs) ในระบบ 5G แต่กลับใช้พลังงานเทียบเท่าเพียงหน่วยแปลงสัญญาณ วิทยุระยะไกล (RRUs) ในระบบ 4G เท่านั้น นอกจากนี้ โซลูชันการ ประหยัดพลังงานด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ยังสามารถรักษาดัชนีชว้ี ดั ผลงานที่น่าพึงพอใจได้หลากหลายสถานการณ์ ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ประโยชน์จาก Symbol, Channel และ Carrier Shutdown ทั่วทุกโหมดการท�ำงานบนเครือข่าย รวมถึงย่านความถี่ต่างๆ ตาม ความต้องการของการให้บริการ เพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน ที่ละเอียดแม่นย�ำมากขึ้นในระดับเครือข่าย

อันดับที่

8

ในอนาคต

โซลูชน ั แบบคอนเวิร์จ NSA/SA แบบครบวงจร เพือ่ การเปลีย ่ นแปลง เชิงดิจิทล ั ของอุตสาหกรรม

“เทคโนโลยี 5G ไม่เพียงสร้างประสบการณ์ที่ดีย่ิงขึ้น ให้กบั ผูใ้ ช้งานโดยตรง แต่ยงั เป็นส่วนส�ำคัญในการเปลีย่ นแปลง เชิงดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรม จึงท�ำให้เทคโนโลยี 5G แตกต่างจากเทคโนโลยีกระจายสัญญาณรุ่นก่อนหน้า โดย มาตรฐาน Release 16 จาก 3GPP จะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีนี้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น เทคโนโลยี 5G จะสามารถรับส่งข้อมูลที่มี เสถียรภาพสูงและความหน่วงต�ำ่ (Ultra-Reliable Low-Latency Communication : URLLC) ได้อย่างครอบคลุมยิง่ ขึน้ นอกจากนี้ ยังเป็นทีเ่ ข้าใจกันดีในอุตสาหกรรมว่าระบบ Standalone (SA) คื อ ที่ สุ ด ของสถาปั ต ยกรรมเครื อ ข่ า ย 5G โดยหั ว เว่ ย ได้ สนับสนุนและพัฒนาทัง้ ระบบ NSA และ SA อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นโครงข่ายการเข้าถึงผ่านการรับส่งทางคลื่นวิทยุ (Radio Access Network) Core Network ชิปเซ็ต และเครือ่ ง ปลายทาง ซึ่งจะช่วยให้โอเปอเรเตอร์เครือข่ายโทรคมนาคม สามารถส่งมอบบริการให้กับผู้บริโภค ผู้ใช้งานตามบ้าน และ ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างครบครัน” หยาง เชาปิน กล่าว

โซลูชน ั SUL E2E (Super Uplink) แบบครบวงจร ทีม่ เี อกลักษณ์ เติมเต็มประสบการณ์ และศักยภาพการเชื่อมโยงในอุตสาหกรรม อันดับที่

9

ระบบ TDD แบบดั้งเดิมจะเน้นที่ความต้องการของ เทคโนโลยี enhanced Mobile Broadband (eMBB) ซึ่งท�ำให้ ความสามารถในการดาวน์ลิงก์สูงกว่าอัปลิงก์เป็นอย่างมาก จึงไม่สามารถส่งข้อมูลอัปลิงก์ขนาดใหญ่และมีความหน่วงต�ำ่ ซึ่งจ�ำเป็นต่อการใช้งานบางอย่างในภาคอุตสาหกรรม เช่น การถ่ายทอดสดแบบ 4K และ 8K เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว หัวเว่ยจึงได้เปิดตัวโซลูชันนวัตกรรม Super Uplink ขึ้น เพื่อ ประสานการส่งสัญญาณแบบ TDD และสเปกตรัม FDD ปลดล็อกความสามารถในการอัปลิงก์และลดความหน่วง ของสัญญาณได้อย่างมีนัยส�ำคัญ ระบบ TDD ยังสามารถ ท�ำงานร่วมกับแถบความถี่แบบ Full SUL ซึ่งส่งผลให้ความ สามารถอัปลิงก์มปี ระสิทธิภาพยิง่ ขึน้ โดยผลการทดสอบของ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมระบุว่า สามารถลดความหน่วงของ สัญญาณได้ถงึ 30% และเพิม่ อัตราการอัปลิงก์ได้สงู สุดถึง 4 เท่า โดยกลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรมโทรคมนาคม 3GPP ได้ ยอมรับนวัตกรรมดังกล่าวอย่างเป็นทางการแล้ว


https://pixabay.com/illustrations/technology5g-aerial-4816658/

อันดับที่

10

โซลูชน ั การจัดแบ่งเครือข่าย ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทล ั ในอุตสาหกรรม

เพือ่ สนับสนุนการเปลีย่ นผ่านเชิงดิจทิ ลั ในอุตสาหกรรม ให้ดียิ่งขึ้น หัวเว่ยได้เปิดตัวโซลูชันการจัดแบ่งเครือข่ายที่ ครอบคลุมตัง้ แต่เครือข่ายการรับส่งทางคลืน่ วิทยุ Core Network เครือข่ายคมนาคมไปจนถึงเครือ่ งปลายทาง เพือ่ ให้ผใู้ ห้บริการ เครือข่ายโทรคมนาคมและลูกค้าอุตสาหกรรมสามารถส่งมอบ บริการทีห่ ลากหลายยิง่ ขึน้ พร้อมกับการันตีแบนด์วดิ ท์สงู และ ความหน่วงสัญญาณต�ำ่ ส่งผลให้สามารถด�ำเนินธุรกิจได้อย่าง ไร้กงั วล โดยโซลูชนั ดังกล่าวสามารถน�ำมาใช้ได้กบั หลากหลาย สถานการณ์ในแต่ละอุตสาหกรรม ไม่วา่ จะเป็นโซลูชนั การแพทย์ ทางไกล (Telemedicine) พอร์ตอัจฉริยะ โรงงานอัจฉริยะ หรือ เทคโนโลยีคลาวด์ AR/AR จึงท�ำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถ ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการท�ำงานได้ ในขณะ เดียวกัน ยังสร้างโอกาสให้ผู้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม สามารถแสวงหาตลาดใหม่ๆ ได้อีกด้วย

“เทคโนโลยี ก ารสื่ อ สารเคลื่ อ นที่ ใ นทุ ก ยุ ค ถู ก พั ฒ นามา เพือ่ การใช้งานทีห่ ลากหลายและประสบการณ์ทดี่ ยี งิ่ ขึน้ เทคโนโลยี 5G ก็ไม่ต่างกัน การให้บริการ 5G ต้องครอบคลุมอย่างเพียงพอ เพือ่ ส่งมอบประสบการณ์ทยี่ อดเยีย่ ม และจะต้องเป็นประสบการณ์ การใช้งานที่ดีกว่าเทคโนโลยีในยุคก่อนหน้า ผลิตภัณฑ์และโซลูชัน จากหัวเว่ยจึงสะท้อนความมุง่ มัน่ ต่อเป้าหมายนี้ นอกจากนี้ ปี พ.ศ. 2563 จะเป็นปีส�ำคัญของเทคโนโลยี 5G เนื่องจากจะถูกน�ำมาใช้ เชิงพาณิชย์ในวงกว้าง และดังค�ำกล่าวที่ว่า “ไม่มีใครสามารถเล่น บทเพลงอันยิ่งใหญ่ได้เพียงล�ำพัง แต่ต้องอาศัยวงออเคสตราทั้งวง ในการบรรเลง” เราจึงมุง่ หวังในการท�ำงานร่วมกับพันธมิตรระดับโลก อื่นๆ ในการสานต่อเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมไปถึงเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์และคลาวด์ เพื่อน�ำเทคโนโลยี 5G มาใช้ประโยชน์ ในฐานะแพลตฟอร์มการเชื่อมต่อ เพื่อสร้างสรรค์ดิจิทัลอีโคซิสเต็ม ทีแ่ ข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และยัง่ ยืนร่วมกันต่อไป” หยาง เชาปิน กล่าวสรุป หัวเว่ย (Huawei) เป็นผู้ให้บริการชั้นน�ำระดับโลกในด้าน โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และอุปกรณ์อจั ฉริยะ ด้วยโซลูชนั แบบครบวงจรใน 4 เรือ่ งหลัก ได้แก่ เครือข่ายโทรคมนาคม ไอที สมาร์ทดีไวซ์และบริการคลาวด์ เรามุง่ มัน่ ทีจ่ ะน�ำระบบดิจทิ ลั ไปสูท่ กุ คน ทุกบ้าน และทุกองค์กรเพือ่ เชือ่ มต่อ กับโลกแห่งความล�ำ้ สมัยด้านสติปญ ั ญา ผลิตภัณฑ์โซลูชนั และบริการ ที่ครบวงจรของหัวเว่ยมีศักยภาพด้านการแข่งขันและปลอดภัย จากการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในระบบเครือข่าย หัวเว่ยสามารถ สร้างสรรค์คุณค่าในระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมประสิทธิภาพให้กับ ผูค้ น ช่วยให้ชวี ติ ความเป็นอยูท่ บี่ า้ นมีความสะดวกสบาย และสร้าง แรงบันดาลให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรทุกรูปแบบ หมายเหตุ : http://www.linkedin.com/company/Huawei http://www.twitter.com/Huawei http://www.facebook.com/Huawei http://www.youtube.com/Huawei


Article

> Jairo Quiros-Tortos, Luis (Nando) Ochoa, Timothy Butler

ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และระบบไฟฟ้า ทำ�งานด้วยกันอย่างไร

How Electric Vehicles and the Grid Work Together *บทความแปลได้รับอนุญาตจาก IEEE Power & Energy Society ห้ามจ�ำหน่าย ดัดแปลง หรือน�ำเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต (ต่อจากฉบับที่แล้ว) การเพิ่มความสามารถในจุดจ่ายไฟ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการใช้ EV และเพิ่มความ สามารถของระบบแรงต�่ำ เพื่อรองรับ EV ให้ได้มากขึ้น โครงการ MEA ได้ทดสอบแนวทางในการจัดการจุดชาร์จ EV ที่รู้จักในชื่อ Esprit ซึ่งวิธีการแก้ปัญหานี้จะใช้การตัดระบบชาร์จ EV เมื่อเกิด ปัญหาด้านเทคนิค และเมือ่ ปัญหาไม่มแี ล้วจึงท�ำการชาร์จต่ออีกครัง้ การน�ำวิธีแก้ปัญหานี้มาใช้งานต้องการใช้โครงสร้างพื้นฐาน ตามรูปที่ 2 กล่าวคือ ต้องติดตั้ง Voltage Sensor และ Actuator ทีจ่ ดุ ชาร์จ ระบบสือ่ สาร Voltage และ Current Sensor ทีต่ น้ Feeder และมี PLC ทีส่ ถานีไฟฟ้า เพือ่ เป็นศูนย์กลางในการจัดการการชาร์จ เมือ่ ตรวจพบปัญหาจากความร้อนหรือ Voltage ตัว Controller จะท�า ตามขั้นตอนการแก้ปัญหา (จาก Feeder ไปหม้อแปลง) เพื่อท�ำการ ตัดการเชือ่ มต่อจุดชาร์จ EV (รูปที่ 12) ในทางกลับกัน การเชือ่ มกลับ จะใช้ ขั้ น ตอนการป้ อ งกั น ปั ญ หา (จากหม้ อ แปลงถึ ง Feeder) เพราะว่าโครงสร้างพื้นฐานไม่ค�ำนึงถึงปัจจัยของ EV หรือผู้ใช้งาน การบริหารจัดการ EV ใช้เวลาการชาร์จ EV เป็นตัวแปรเพียงอย่าง เดียว โดยไม่สนใจค่า SOC ขณะนัน้ ๆ เพือ่ ก�ำหนดเงือ่ นไขการชาร์จ EV นั่นหมายความว่า การตัดการเชื่อมต่อจะเกิดกับลูกค้าที่ชาร์จ นานกว่า เพราะสมมุติว่าชาร์จไปถึงค่า SOC ที่สูงกว่าแล้ว ในทาง กลับกัน การเชื่อมกลับจะเกิดขึ้นกับรถที่ถูกตัดออกไปจากระบบ นานกว่า กลับเข้ามาก่อน เพราะว่าการทดลองจ�ำกัดอยู่ในกลุ่มเพียงแค่ EV ไม่เกิน 13 คัน การจ�ำลองนีใ้ ช้เพือ่ ตรวจสอบประสิทธิภาพของวิธกี ารบริหาร จัดการ EV ในระดับการเพิม่ ปริมาณ (Penetration Level) ทีแ่ ตกต่าง กัน เพือ่ ดูความเหมาะสมระหว่างการมีและไม่มรี ะบบบริหารจัดการ

Increasing the Hosting Capacity To mitigate the impacts resulting from the adoption of EVs and, thus, increase the ability of low-voltage networks to host more EVs, the mea project tested a solution to manage EV charging points. Known as esprit, this solution disconnects EV charging points when a technical issue occurs in the lowvoltage network. When there is spare headroom (i.e., no more problems), it then reconnects them. Deploying this solution requires the following infrastructure (figure 2): voltage sensors and actuators at the charging points, communications links, voltage and current sensors at the head of the low-voltage feeders, and a PLC at the substation to host the solution. When a thermal or voltage problem is detected, the controller follows a hierarchical corrective approach (from feeder to transformer) to disconnect the EV charging points (figure 12). On the other hand, the reconnection adopts a hierarchical preventive approach (from transformer to feeder). Because the infrastructure does not involve direct inputs from the EV or the user, the EV management solution uses the EV charging time as a proxy of the unknown SOC to determine the most suitable EVs to be managed. This means that disconnections occur first on customers with higher charging times because it is assumed that their EVs have reached a higher SOC. Reconnections, on the other hand, occur first on EVs that have been disconnected for longer times.


รูปที่ 12 โฟลว์ชาร์จแสดงการควบคุมการชาร์จ EV Figure 12 The flowchart of the EV control solution. EV ซึ่งค่า SOC สุดท้ายถูกน�ำมาใช้ในการก�ำหนด EV Profile (พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า) และน�ำมาพิจารณาเป็นค่า SOC ทีค่ าดหวัง ทีผ่ ใู้ ช้งาน EV ต้องการ พบว่าทัง้ 2 กรณีคอื ใช้และไม่ใช้ระบบบริหาร จัดการนั้น EV Profile ที่เหมือนกันจะใช้ปริมาณพลังงานที่เท่ากัน โครงการได้ ส� ำ รวจความแตกต่ า งของรอบเวลาควบคุ ม (จาก 1-30 นาที) ในรูปที่ 13 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและ การท�ำงานของจุดชาร์จ EV ในระหว่างวัน เมื่อพิจารณากรณีที่ ไม่ควบคุมและควบคุม (รอบเวลา 1 นาที) ส�ำหรับปริมาณรถ EV ที่ 100% กับระบบไฟฟ้าแรงต�่ำ ตัวอย่างการที่ไม่ได้บริหารจัดการ จุดชาร์จ EV จะท�ำให้โหลดหม้อแปลงสูงขึ้นถึง 136% ซึ่งลูกค้า หลายรายจะเกิดปัญหาแรงดันไฟฟ้าตก ในทางกลับกัน วิธีการ จัดการชาร์จสามารถรักษา UF ของหม้อแปลงให้มีค่าปกติ และ ค่าแรงดันไฟฟ้าให้อยูใ่ นระดับปกติ นัน่ หมายความว่า การน�ำระบบ บริหารจัดการมาใช้งาน ท�ำให้สามารถเพิ่มปริมาณ EV ได้จาก 40% ไปสู่ 100% ได้ การท�ำให้ระบบไฟฟ้าแรงต�ำ่ สามารถรองรับการเพิ่มปริมาณ ของ EV ให้ได้ 100% ต้องมีระบบควบคุมจุดชาร์จ ในโครงการนี้ ระบบจะควบคุมจุดชาร์จจ�ำนวน 190 จุด (คิดเป็น 54.1%) ซึ่งจะ เน้นการควบคุมที่ช่วงเวลา 4 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน ตามรูปที่ 13 (c) ซึ่งได้แสดงให้เห็นผลเมื่อมีการควบคุมผลรวมของ Demand ของ EV โดยค่า Peak Demand จะถูกเลื่อนให้เกิดขึ้นในภายหลังจาก ที่ไม่ได้ควบคุม รูปที่ 13 (d) แสดงผลการตัดระบบชาร์จส�ำหรับ จุดชาร์จหนึ่งๆ กล่าวคือเมื่อ Demand ใกล้ถึงจุดที่ค่า Demand โดยรวมของ EV จะมีคา่ สูงเกินก�ำหนด จะท�ำการตัดระบบชาร์จ ท�ำให้ Demand รวมของระบบลดต�่ำลง และระบบควบคุมจะเชื่อมต่อ ระบบชาร์จเพื่อได้ค่า SOC ตามที่ก�ำหนดในเวลาถัดมา (ใช้เวลา

Because the trials were limited to clusters of no more than 13 EVs, simulations were carried out to investigate the performance of the EV management solution with different penetration levels. For consistency between simulations with and without EV management, the final SOC used to define each EV profile is considered to be the expected SOC that the EV user should eventually reach, i.e., in both cases, the same EV profile consumes the same amount of energy. For EV management, the project investigated different control cycle lengths (from 1 to 30 min). Figure 13 illustrates the network performance and operation of EV charging points during a full day considering the cases without and with control (1-min cycles) for a 100% EV penetration level in the example low-voltage network. Without managing the EV charging points, such a penetration would result in a transformer loading of 136% as well as multiple customer voltages significantly less than the statutory limit. On the other hand, the proposed EV management solution is able to keep the utilization factor of the transformer below its nominal capacity (other values can also be used depending on loading cycles and other factors) and voltages within statutory limits. This means that the adopted EV management solution is able to increase the hosting capacity of this example lowvoltage network from 40 to 100%. To achieve 100% EV penetration in this low-voltage network, the control managed a total of 190 EV charging points (54.1%), most ly between 4 p.m. and 12 a.m. figure 13 (c) shows the effect of this charging point management on the aggregated EV demand: the peak without control is shifted to later hours. Finally, Figure 13 (d) shows that, for a particular EV charging point, the disconnection happens near the time of high aggregated EV demand. It also shows that when the overall network demand is much lower, the control strategy reconnects this EV, resuming the charging process until the expected SOC is reached (i.e., 3 h and 40 min). In general, the EV management solution was effective not only in mitigating network issues throughout all of the simulations carried out for the nine low-voltage networks but also throughout the trials (when communications were effective). This is because of the very nature of the solution: the elements causing the issues (the EVs) are disconnected. This means that the larger the EV penetration, the more (and longer) disconnections are likely to happen. Inevitably, customers will be affected. Effort was made to understand the extent of the delays resulting from the direct management of EV charging points. To estimate this extent, which is related to customer satisfaction,


3 ชั่วโมง 40 นาที) ระบบบริหารจัดการ EV สามารถบรรเทาปัญหาของระบบ แรงต�ำ่ ได้ทงั้ หมด (หากการสือ่ สารยังคงใช้งานได้) เนือ่ งจากสามารถ ตัดการชาร์จ EV ทีก่ อ่ ให้เกิดปัญหาออกจากระบบได้ หมายความว่า เมือ่ EV มีปริมาณมาก EV ทีจ่ ะถูกตัดออกจากระบบก็มโี อกาสมาก เช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจลูกค้าได้โดยตรง เพื่อศึกษาผลกระทบจากระบบบริหารจัดการ EV ต่อลูกค้า ซึ่งสอดคล้องโดยตรงต่อความพึงพอใจของลูกค้า จึงได้จัดท�ำดัชนี ทีเ่ รียกว่า ระดับของผลกระทบต่อลูกค้า หรือ CIL (Customer Impact Level) แบ่งระดับผลออกเป็น 10 กลุม่ จาก 0-9 วัดเวลาชาร์จทีเ่ พิม่ ขึน้ ที่ท�ำให้ได้ค่า SOC ตามที่คาดหวังเมื่อน�ำระบบควบคุมการชาร์จ

รูปที่ 13 ผลเนือ่ งจากความแตกต่างของรอบเวลาควบคุมส�ำหรับ (a) โหลด (b) แรงดันไฟฟ้า (c) ความต้องการไฟฟ้าโดยรวมของ EV (d) ความต้องการไฟฟ้าของ EV แต่ละคัน Figure 13 An example of a 24-h-period of operation and performance of the control. Results for the (a) transmitter loading, (b) minimum voltage, (c) aggregated EV demand, and (d) individual EV demand.

the project introduced an index called the customer impact level (CIL). the CIL, which is classified in ten groups from zero to nine, is applied to each EV and indicates the extra charging time needed to reach the expected SOC when the EV management is applied (this value is given in percentage of the originally expected charging time.) The first group corresponds to a CIL equal to zero. from one to nine, each group corresponds to CIL values within ranges increasing incrementally by 25%. To illustrate this, figure 14 indicates the percentage level of impact that an EV user might experience in the example lowvoltage network. For low penetrations (up to 40%, which is the hosting capacity of the CIL network), EVs will not be affected, i.e., their CIL is zero. However, the higher the penetration, the more likely an EV user will have a CIL larger than zero, i.e., reaching the expected SOC will likely take longer. In general, the mea project did not find charging delays to be of significant concern for penetration levels up to 60% due to the low probabilities for CILs larger than zero. Beyond this, half or more of the EV users could experience delays, but, at most, they will be double that of what would otherwise be needed (i.e., a CIL <5). The studies also found that longer control cycles (5 and 10 min) increase the number of EV users without delays; however, 30-min control cycles were found to be too long to adequately mitigate network impacts. on the other hand, from the perspective of the EV battery, using information provided by the EV manufacturer, the mea project was able to recommend a minimum on-time period of 15 min (uninterrupted charging). This means that if control cycles are to be adopted, an effective deployment should consider the tradeoff between the benefits from multiminute control cycles, the capabilities of the EV batteries, and the potential technical issues on the networks. Provision of Services : To What Extent? EVs, like other vehicles, are and will be primarily used as a means of transportation; however, with the widespread adoption of EVs, it is possible to think of them in terms of not only disconnections caused by distribution network issues (as investigated in the mea project) but also for their provision of grid services to help maintain balance between demand and generation. But if EVs are indeed to be seriously considered for such purposes, we need to first understand the extent to which the provision of grid services is possible. Clearly, the disconnection of a single EV will provide negligible grid services, but hundreds of thousands or even millions of EVs working together can cause a significant


รูปที่ 14 โอกาสของค่า CIL จากระยะเวลาการควบคุมการชาร์จต่างๆ Figure 14 The probability of CILs for control actions every minute. มาใช้งาน (ค่านีค้ ดิ เป็น % การเพิม่ ของเวลาจากเวลาทีค่ าดหวังเดิม) กลุม่ แรก CIL มีคา่ เท่ากับ 0 (เวลาการชาร์จเท่าเดิม) ส่วนกลุม่ ที่ 1-9 CIL จะมีค่าเพิ่มขึ้นครั้งละ 25% (CIL เท่ากับ 4 หรือเวลาเพิ่มอีก ไม่เกิน 100% ถ้าเดิมชาร์จ 4 ชั่วโมง จะต้องเพิ่มเป็น 8 ชั่วโมง) ผลแสดงได้ดังรูปที่ 14 เป็นผลกระทบด้านเวลาที่ผู้ใช้ EV จะได้รับ ผลกระทบรวม 4 แท่งส�ำหรับการเพิ่มปริมาณ EV ที่ 40%, 60%, 80% และ 100% การแปลความหมายคือส�ำหรับการเพิม่ ปริมาณ EV ทีร่ ะดับต�ำ่ หรือ EV 40% CIL มีคา่ เท่ากับ 0 เนือ่ งจาก EV ไม่ถกู ตัด ออกจากระบบเนือ่ งจากปริมาณ EV มีไม่มากจึงไม่กระทบต่อเวลา ในการชาร์จ อย่างไรก็ตาม หากการเพิ่มปริมาณ EV มีค่าสูงขึ้น ค่า CIL จะมีคา่ มากกว่า 0 นัน่ คือการทีจ่ ะได้คา่ SOC ตามทีค่ าดหวัง จะใช้เวลานานขึน้ โดยภาพรวมแล้วไม่พบค่า CIL ทีต่ อ้ งกังวลจนถึง ในระดับ EV 60% หรือโอกาสที่ CIL จะมีค่าเกิน 0 มีน้อยมากๆ การศึกษาพบว่า รอบเวลาการควบคุมทีน่ านขึน้ (5 และ 10 นาที) จะเพิม่ จ�ำนวนผูใ้ ช้ EV ทีช่ าร์จได้ตามทีค่ าดหวัง อย่างไรก็ตาม พบว่า หากรอบเวลาการควบคุมเป็น 30 นาที จะไม่เพียงพอต่อการบรรเทา ผลกระทบต่อระบบไฟฟ้า ในทางกลับกันจากมุมมองของแบตเตอรี่ EV โดยใช้ขอ้ มูลทีไ่ ด้จากผูผ้ ลิต EV โครงการ MEA สามารถแนะน�ำ เวลาในการชาร์จทีน่ อ้ ยทีส่ ดุ คือ 15 นาที เมือ่ ใช้การควบคุมรอบการ ชาร์จ เทียบกับผลลัพธ์ที่ได้กับประโยชน์จากการควบคุมรอบเวลา รวมถึงประสิทธิภาพการกักเก็บพลังงานของแบตเตอรี่ EV และปัญหา ด้านเทคนิคที่เกิดขึ้นกับระบบ ข้อตกลงของบริการ : เพื่อขอบเขตอะไร EV ก็ เ หมื อ นกั บ ยานยนต์ อื่ น ๆ ที่ ใช้ ใ นระบบคมนาคม อย่างไรก็ตาม หากมีการเพิม่ EV อย่างแพร่หลาย จะต้องพิจารณาถึง ผลกระทบต่อระบบไฟฟ้า (จากผลโครงการ MEA) และการรักษา ความสมดุลระหว่างความต้องการไฟฟ้าของ EV และก�ำลังการผลิต ไฟฟ้าของการไฟฟ้าด้วย แต่ถ้า EV ถูกพิจารณาที่จะน�ำมาใช้อย่าง จริงจังจะต้องเข้าใจกับขอบเขตการให้บริการระบบไฟฟ้าอย่างจริงจัง เช่นกัน

aggregated reduction in electricity demand, requiring less generation and potentially reducing costs. However, to quantify the potential aggregated demand that can be reduced at any given time, it is crucial to understand how many EVs are charging simultaneously so that they can be disconnected. Given that the EV models based on the mea data include the start-charging time and duration of each charging event, it is possible to know when power (3.6 kW) is withdrawn by each EV. consequently, these models can also be used to determine the amount of power (and corresponding number of EVs) that could, in theory, be disconnected. The number of EVs simultaneously charging will depend on multiple factors, including the time of day (morning/afternoon/ evening), type of day (weekday or weekend), weather conditions, and so on. For illustration purposes, Figure 15 presents— for weekdays only—the results of 1,000 EV availability curves resulting from a monte carlo analysis using 1,000 EV profiles (each with the same probability) and considers the mea process in terms of the number of EVs charging on the same day (Figure 7). This availability is given for each minute and represents the percentage of EVs that are being simultaneously charged. As shown, this availability varies significantly throughout the day, from negligible during early morning hours (roughly 1% at 5 a.m.) to significant at night (30% at 8.30 p.m.); on average (as shown by the thick black line), 20% of the EVs would be available during peak time, and approximately 3% would be available early in the morning, resulting in a daily average of 9.83%. In the united Kingdom, this value translated to a population of 10 million EVs (expected by 2030) that could result in an average availability of approximately 3.54 gW. This means that, in 12 years, the system operator might be able to use these services when trying to maintain balance in the electricity system. It can be concluded that the deployment of these services can provide a significant range of benefits to the electricity system, particularly at night when the united Kingdom might need it the most. The provision of grid services from EVs appears to be a very attractive alternative for our electricity systems. To truly assess this potential, it is critical to capture the interactions among EV management schemes required to mitigate problems at the distribution level (such as the one proposed in the MEA project) and the availability of EVs to provide the services. The availability shown in Figure 15 would significantly change if the EV management solution deployed in the mea project had been considered when creating the models. We must quantify the cost-effectiveness of these services, which are likely to require investments in communications and infrastructure.


การตัด EV คันเดียวออกจากระบบสามารถส่งผลได้เพียง เล็กน้อยต่อระบบ แต่ถ้าตัดจ�ำนวนร้อยคันพันคันหรือล้านคัน ย่อมส่งผลกระทบต่อการลดลงของความต้องการพลังงานไฟฟ้า อย่างมีนัยส�ำคัญอย่างแน่นอน ความต้องการก�ำลังการผลิตก็มีค่า น้อยลง และกระทบต่อการบริหารต้นทุนโดยตรง อย่างไรก็ตาม การจะดูผลรวมของความต้องการพลังงานที่จะสามารถลดลงไม่ว่า เวลาไหนนัน้ ส�ำคัญมากทีจ่ ะต้องรูว้ า่ EV ชาร์จพร้อมกันจ�ำนวนเท่าไร จึงจะสามารถตัดออกจากระบบได้ โดย EV Model ของ MEA ซึ่ง ได้พจิ ารณาทัง้ เวลาเริม่ ต้นชาร์จและระยะเวลาชาร์จ ท�ำให้รวู้ า่ เมือ่ ไร ก�ำลังไฟฟ้า 3.6 KW ต่อ EV 1 คันถูกตัดออกจากระบบ ผลก็คือ Model นี้ทำ� ให้รู้ว่าพลังงานที่ถูกตัดออกไปเป็นเท่าไร โดยพิจารณา จากจ�ำนวนรถจ�ำนวนของ EV ที่ชาร์จพร้อมกันเกิดขึ้นจากหลาย ปัจจัย ได้แก่ ช่วงเวลาของวัน (เช้า กลางวัน หรือเย็น) ประเภทของวัน (วันท�ำงานหรือวันหยุด) สภาพอากาศ ดังรูปที่ 15 ส�ำหรับวันท�ำงาน ผลลัพธ์ของกราฟจากการวิเคราะห์ดว้ ย Monte Carlo กับพฤติกรรม การชาร์จของรถ EV จ�ำนวน 1,000 คัน โดยพิจารณากระบวนการ ของ MEA กับ EV ทีช่ าร์จในวันเดียวกัน ดังรูปที่ 7 ทีเ่ ห็นความพร้อม ใช้งานแปรไปตามเวลาระหว่างวัน จากปริมาณเล็กน้อยในช่วงเช้าตรู่ (เพียง 1% ช่วง 05.00 น.) สูงขึน้ อย่างมีนยั ในช่วงค�ำ่ (30% ช่วง 20.30 น.) ส่วนค่าเฉลีย่ (เส้นหนาด�ำ) แสดงให้เห็นว่า 20% ของ EV พร้อมใช้งาน ในช่วง Peak และประมาณ 3% เกิดขึ้นในช่วงเช้าตรู่ โดยค่าเฉลี่ย ทั้งวันอยู่ที่ 9.83% ใน UK คาดว่าในปี ค.ศ. 2030 จะมี EV ร่วม 10 ล้านคัน ซึง่ ต้องการใช้ไฟฟ้าถึง 3.54 GW หมายความว่าต้องวางแผนรองรับ ส�ำหรับในอีก 12 ปี และสร้างสมดุลในระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่มีความจ�ำเป็นใช้งานมากที่สุด การให้บริการระบบไฟฟ้ากับ EV เป็นทางเลือกทีน่ า่ สนใจมาก ส�ำหรับการไฟฟ้า การทีจ่ ะประเมินศักยภาพอย่างแท้จริง สิง่ ส�ำคัญ อย่างหนึง่ คือการบริหารจัดการระหว่างระบบจัดการ EV เพือ่ บรรเทา

รูปที่ 15 ผลรวมของ EV ที่ต้องการชาร์จในแต่ละชั่วโมง Figure 15 The aggregated EV availability for the provision of reserves.

Finally, the effects on customer satisfaction (delays and battery degradation) must be measured against the potential benefits that they may receive. The widespread adoption of EVs and their evolving technologies also allows for envisioning a future in which EVs can feed electricity back into the grid, known as vehicle to grid (V2G) integration. V2G refers to the partial use of the energy in the batteries while EVs are plugged into the grid. V2G generation could also be used to help balance demand and generation in the regional or national system or even locally (at home or within microgrids), potentially reducing costs and increasing reliability. From the perspective of the provision of services, however, an estimation of V2G availability is also necessary. Although the charging patterns of these more advanced EVs will depend on many other (future) factors, data similar to those used in the mea project will make it possible to estimate EV availability. In particular, this quantification needs to capture the SOC of EVs to determine the amount of energy that could, in theory, be discharged from the EV while keeping the autonomy of the vehicle acceptable for the user and reducing the degradation of its battery.

Key Lessons Learned

This article presented the main outcomes from one of the largest (if not the largest) EV trials in the world, mea. The key lessons learned in terms of the charging habits of EV users, how EVs impact low-voltage networks, the effectiveness of the proposed EV management solution to increase corresponding hosting capacity, and the potential provision of services to the grid are summarized. EV Charging Behavior The MEA project recorded the charging behavior of nonmanaged EV users in the united Kingdom for nearly two years. Among all key outcomes presented in this article, the data analysis demonstrated that approximately one-third of the EVs were charged more than once per day (a unique finding not previously explored) and that the charging behavior from one season to another is similar. The mea project also found that not all EVs are charged on the same day; the results show that, on average, there were two days each month in which no EV was charged (from the 219 EVs involved in the MEA project, there were two days per month, on average, in which no EV was plugged in at all). The results of the data analysis are expected to be used in different EV studies ranging from customer demand to system-level management schemes.


ปัญหาที่จะเกิดขึ้น (เช่น จากผลของโครงการ MEA) และความ ต้องการใช้งานของ EV ดังรูปที่ 15 ซึง่ จะเปลีย่ นแปลงอย่างมีนยั ส�ำคัญ หากน�ำระบบบริหารการชาร์จของ MEA มาใช้งาน โดยต้องประมาณ ความคุม้ ค่าของต้นทุนทีจ่ ะเกิดขึน้ จากบริการ ซึง่ จะต้องมีการลงทุน ด้านระบบสือ่ สารและโครงสร้างพืน้ ฐาน และท้ายทีส่ ดุ ความพึงพอใจ ของลูกค้า (ความล่าช้าและสภาพ รวมถึงอายุของแบตเตอรี)่ จะต้อง ถูกน�ำมาประเมิน ความแพร่หลายของการน�ำ EV มาใช้งาน และด้วยเทคโนโลยี ในอนาคต ท�ำให้ EV สามารถจ่ายคืนไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ ที่รู้จักกัน ในชื่อ Vehicle to Grid (V2G) เมื่อมีการเสียบปลั๊กชาร์จ พลังงาน จากแบตเตอรี่จะสามารถช่วยรักษาสมดุลในระบบได้ทั้งในบ้าน หรือแม้แต่ระบบไมโครกริด ซึง่ ช่วยลดต้นทุนและเพิม่ ความเชือ่ ถือได้ ของระบบ อย่างไรก็ตาม การประมาณการความพร้อมใช้งานของ V2G ก็สำ� คัญเช่นกัน ถึงแม้วา่ รูปแบบการชาร์จของ EV จะขึน้ อยูก่ บั หลาย ปัจจัย โดยในโครงการ MEA น�ำมาใช้และประมาณความพร้อมใช้งาน ของ EV ได้ โดยค่า SOC ของ EV ท�ำให้สามารถก�ำหนดปริมาณของ พลังงานทีป่ ล่อยได้ และการอาศัยทฤษฎีการคายประจุจากแบตเตอรี่ จะช่วยลดความเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ได้

บทเรียนที่สำ�คัญ

บทความนีแ้ สดงให้เห็นถึงผลลัพธ์จากแบบจ�ำลอง EV ทีใ่ หญ่ ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง MEA ถือเป็นการทดลองที่ส�ำคัญที่แสดง พฤติกรรมการชาร์จของผู้ใช้ EV ที่ส่งผลกระทบต่อระบบจ�ำหน่าย แรงต�ำ่ ผลทีเ่ กิดขึน้ จากการน�ำระบบบริหารจัดการ EV มาใช้ สามารถ เพิ่มประสิทธิภาพที่จุดจ่ายไฟ และศักยภาพของการให้บริการของ ระบบไฟฟ้าได้ พฤติกรรมการชาร์จ EV โครงการ MEA บันทึกพฤติกรรมการชาร์จของระบบที่ไม่ได้ มีการจัดการผูใ้ ช้ EV ใน UK รวมประมาณ 2 ปี การวิเคราะห์ขอ้ มูล แสดงให้เห็นว่า 1 ใน 3 ของ EV ชาร์จมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน และ การชาร์จในแต่ละฤดูกาลมีความคล้ายคลึงกัน โครงการ MEA ยังพบว่า EV ทุกคันไม่ได้ชาร์จในวันเดียวกัน กล่าวคือมีอยู่ 2 วัน ในแต่ละเดือนที่ไม่มีรถ EV ชาร์จเลย (จาก 219 คันในโครงการ) ผลทีไ่ ด้จากการวิเคราะห์คาดหวังว่าจะสามารถน�ำไปใช้ในการศึกษา EV ในระดับอื่นๆ ได้ ผลกระทบของ EV ต่อระบบจำ�หน่ายแรงต�่า MEA ได้ท�ำการส�ำรวจจุดจ่ายไฟฟ้าในรูปแบบที่แตกต่างกัน การวิเคราะห์โอกาสและความน่าจะเป็น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Peak Demand ของ EV จะเกิดขึ้นเวลาเดียวกันกับ Peak ของเวลาใน ช่วงเย็นทีเ่ กิดขึน้ อยูแ่ ล้ว ในมุมมองของผูป้ ระกอบการระบบเครือข่าย (DNO) ปริมาณ Demand สูงสุดของบ้านพักอาศัยที่มี EV แบบ

EV Impact on Low-Voltage Networks The MEA network studies first investigated the hosting capacity of different low-voltage distribution networks. The probabilistic analysis highlighted that the peak demand of the EVs is likely to coincide with the existing evening peak. From the perspective of DNOs, the maximum demand of households with an EV charging in slow mode will grow, on average, to roughly 2 kW per household (i.e., dnos in the united Kingdom will need to plan for 2 kW per house), double that of the conventional demand. Studies on nine different low-voltage networks found that, for some of them, problems start at 40% penetration (i.e., a hosting capacity of 40%). This was mainly due to the transformer located at the substation, followed by thermal problems at the low-voltage feeders; only long feeders may face voltage issues for very high EV penetration levels. The proposed methodology to assess this hosting capacity can be adapted by other countries in the process of deploying EVs. EV Management Solution The MEA project also demonstrated that deploying the EV management solution can increase the hosting capacity of low-voltage networks to 100% in all of the simulations and actual trials. Although the technical impacts could be fully mitigated since the EVs are switched off when a problem arises, the studies showed that charging delays and battery degradation can occur because of the repeated management of the EV. This means that if EV management solutions are to be truly adopted, an effective deployment should consider the tradeoff among the benefits from the control, the capabilities of the EV batteries, and the potential technical issues on the networks. The EV management solution tested by the MEA project is considered practical and scalable enough to be deployed by other DNOs. Provision of Services The produced EV models also allow for quantifying the potential provision of grid services to help maintain the balance between demand and generation. While the availability changes from weekdays to weekends and throughout the day, it was found that, in approximately 12 years, the average weekday availability can be equivalent to approximately 4.5 million u.K. households. Although there is a great potential for EVs to provide services, their deployment will fully depend on the benefits that the EV customers receive. Hence, the scale and range of these services wil eventually require understanding not only the technical challenges but also the social, financial, and environmental ones.


Slow Charge จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ 2 kW ต่อบ้าน 1 หลัง (DNO ใน UK ต้องวางแผน 2 kW ต่อบ้าน 1 หลัง) ซึ่งเป็น 2 เท่าของความ ต้องการทัว่ ไป ผลการศึกษาของระบบจ�ำหน่ายทีแ่ ตกต่างกัน 9 ระบบ พบว่า บางระบบจะเกิดปัญหาเมื่อมีการเพิ่มของ EV สู่ระบบ 40% โดยจะเกิดกับพิกัดหม้อแปลงไฟฟ้าที่สถานีไฟฟ้า ซึ่งคือปัญหา ความร้อน ในขณะที่ Feeder ทีย่ าวๆ จะประสบปัญหา Voltage เมือ่ มีการเพิม่ ของ EV สูร่ ะบบ มีคา่ สูงๆ เท่านัน้ วิธกี ารประเมินจุดจ่าย ไฟฟ้าจากโครงการนีส้ ามารถปรับไปใช้งานในประเทศต่างๆ ทีจ่ ะน�ำ EV มาใช้งานได้ วิธีการบริหารจัดการ EV โครงการ MEA ยังแสดงให้เห็นว่าการปรับใช้ EV Solution ในการจัดการ สามารถเพิ่มความสามารถในการจ่ายไฟฟ้าได้ถึง 100% ในทุกการจ�ำลองและการทดสอบจริง ถึงแม้วา่ ผลกระทบทาง เทคนิคจะถูกบรรเทาตอนที่ EV ถูกปลดออกจากระบบ เมือ่ ปัญหา ได้เกิดขึ้น การศึกษาพบว่าการหน่วงเวลาการชาร์จอาจส่งผลต่อ การเสือ่ มสภาพของแบตเตอรีไ่ ด้ ดังนัน้ การน�ำระบบมาใช้งานจะต้อง พิจารณาถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการควบคุม ความสามารถ ในการเก็บพลังงานของแบตเตอรี่ และปัญหาทีส่ ำ� คัญทีเ่ กิดต่อระบบ ไฟฟ้า ทั้งนี้ระบบบริหารจัดการ EV ที่ MEA ได้ทำ� การทดสอบแล้ว ถือว่าใช้งานได้จริงและสามารถปรับขนาดได้ และสามารถจะน�ำไปใช้ กับผู้ให้บริการระบบเครือข่ายอื่นๆ ได้ ข้อตกลงของบริการ EV โมเดลที่สร้างขึ้นมาท�ำให้สามารถเพิ่มประสิทธิผลของ การให้บริการระบบไฟฟ้าได้ กล่าวคือ สามารถช่วยคงไว้ซึ่งสมดุล ระหว่างความต้องการใช้พลังงานและการผลิต ในขณะทีค่ วามต้องการ ใช้งานเปลี่ยนจากวันท�ำงานเป็นวันหยุด และใช้งานตลอดทั้งวัน และพบว่าในอีกประมาณ 12 ปีข้างหน้า 4.5 ล้านครัวเรือนใน UK จะมีความต้องการใช้งาน EV ซึ่งถือเป็นโอกาสของการไฟฟ้าต่อ การให้บริการต่อความต้องการของ EV นั่นหมายถึง ขนาดและ ขอบเขตของบริการจะไม่มีเพียงแค่เข้าใจความท้าทายทางด้าน เทคนิค แต่ยังรวมถึงด้านสังคม ด้านการเงิน และด้านสิ่งแวดล้อม ผลที่ได้จากโครงการ MEA สามารถช่วยบูรณาการ EV เข้ากับระบบไฟฟ้าส่วนใหญ่ทวั่ ทัง้ โลกได้ ใน UK มีโครงการ EV อืน่ ชื่อว่า Electric Nation (www.electricnation.org.uk) สร้างขึ้นมา ต่อยอดจากโครงการ MEA และวางแผนทีจ่ ะน�ำมาใช้ทดลองกับ EV จ�ำนวน 500 คัน เพือ่ ศึกษาความคุม้ ค่าทางเศรษฐศาสตร์เพือ่ จัดการ ระบบจาก Demand Response รวมถึง V2G การเริ่มโครงการนี้ และโครงการอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในทศวรรษหน้าก็เพื่อการสาธิต ประโยชน์ทจี่ ะได้รบั จากการทดลอง EV ว่าสามารถจะอ�ำนวยความ สะดวกเพื่อน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบยานยนต์ไฟฟ้าในภาค คมนาคมต่อไป

The outcomes from the MEA project can help integrate EVs into most electricity systems around the world. In the united Kingdom, a new project called Electric Nation (www. electricnation.org.uk) is already building on the understanding from MEA and plans to deploy more than 500 EVs to study different cost-effective solutions to manage networks ranging from demand response to V2g applications. The deployment of this project, and many others that will take place in the next decade, demonstrates the value of EV trials in providing outcomes that will facilitate the transition toward the electrification of the transport sector.

สำ�หรับการอ่านเพิ่มเติม (For Further Reading) International Energy Agency. (2017, June). Global EV outlook 2017: Two million and counting. IEA. Paris, France. [Online]. Available: https://www.iea.org/publications/ freepublications/publication/GlobalEVOutlook2017.pdf EA Technology. (2016, Mar.). My Electric Avenue —Project closedown report. EA Tech. Chester, U.K. [Online]. Available: http://myelectricavenue.info/sites/ default/files/documents/close%20down%20report.pdf J. Quirós-Tortós, A. Navarro-Espinosa, L. F. Ochoa, and T. Butler, “Statistical representation of EV charging: Real data analysis and applications.” in Proc. PSCC, 2018, pp. 1-6. J. Quirós-Tortós, L. F. Ochoa, S. W. Alnaser, and T. Butler, “Control of EV charging points for thermal and voltage management of LV networks.” IEEE Trans. Power Syst., vol. 31, no. 4, pp. 3028-3039, 2016. ประวัติผู้เขียน (Biographies) Jairo Quirós-Tortós is with the University of Costa Rica, San Jose. Luis (Nando) Ochoa is with the University of Melbourne, Australia, and the University of Manchester, United Kingdom. Timothy Butler is with EA Technology, Chester, United Kingdom. ผู้แปลและเรียบเรียง ดร.จักรเพชร มัทราช ผูอ้ ำ� นวยการกองวางแผนงานระบบ ไฟฟ้าอัจฉริยะ ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค


Special Scoop > กองบรรณาธิการ

RAC NAMA การสนับสนุน

นวัตกรรมเทคโนโลยี ทำ�ความเย็นสีเขียว ในปัจจุบันการใช้พลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์ท�ำความเย็น คิ ด เป็ น กว่ า ครึ่ ง ของการใช้ พ ลั ง งานทั้ ง หมดในประเทศ อี ก ทั้ ง อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องท�ำความเย็นยังปล่อย ก๊าซเรือนกระจกเป็นล�ำดับต้นๆ อีกด้วย เพื่อรับมือกับปัญหาการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ประเทศไทยจึง ออกมาตรการเชิงรุกและประกาศเจตจ�ำนงอย่างแน่วแน่ในการลด ก๊าซเรือนกระจกให้ได้รอ้ ยละ 20-25 ภายในปี พ.ศ. 2563 ซึง่ การลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและ เครือ่ งท�ำความเย็น เป็นส่วนส�ำคัญทีจ่ ะช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมาย นี้ได้ ในฐานะที่ ป ระเทศไทยเป็ น ศู น ย์ ก ลางอุ ต สาหกรรม เครือ่ งปรับอากาศและเครือ่ งท�ำความเย็นทีส่ ำ� คัญของโลก “กองทุน RAC NAMA” ได้ก่อตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม 2560 อันเป็นกลไก ทางการเงินสนับสนุนทั้งฝั่งผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่อผลักดันการใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมเทคโนโลยีการท�ำความเย็น สีเขียวผ่านสารท�ำความเย็นธรรมชาติ โดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดการกองทุน (Project Fung Manager) ด้วยเงินสนับสนุนกว่า 8.3 ล้านยูโร หรือประมาณ 320 ล้านบาท ประกอบกับมาตรการทางการเงินและการสนับสนุนด้านเทคนิค ที่ถูกออกแบบมาอย่างดี กองทุน RAC NAMA ได้ช่วยสานความ ร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนจนเกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง โดยตลอดระยะเวลา 2 ปี เงินอุดหนุนได้ชว่ ยผลักดันให้อตุ สาหกรรม เครื่องปรับอากาศและเครื่องท�ำความเย็นไทยก้าวสู่เทคโนโลยี สีเขียว โดยผู้ผลิตหันมาใช้สารท�ำความเย็นธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม เกิดเป็นผลลัพธ์แห่งความส�ำเร็จ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับ ส�ำนักงาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประกาศความส�ำเร็จของกองทุน RAC NAMA ผลักดันอุตสาหกรรม เครือ่ งปรับอากาศและเครือ่ งท�ำความเย็นของประเทศไทย จ�ำนวน March-April 2020


9 ราย ให้หนั มาใช้สารท�ำความเย็นธรรมชาติทมี่ ปี ระสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อ สิง่ แวดล้อม พร้อมทัง้ จัดตัง้ ศูนย์ฝกึ อบรมช่างฯ จ�ำนวน 8 แห่งทัว่ ประเทศ โดยมี ครูต้นแบบที่ผ่านการอบรมแล้วกว่า 150 คน โครงการ RAC NAMA มีจุดประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนประเทศไทยให้ สามารถบรรลุเป้าหมายการลดการใช้พลังงานตามอนุรกั ษ์พลังงาน และเป้าหมาย การลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศทีไ่ ด้แสดงเจตจ�ำนงไว้ โครงการจะสนับสนุน การใช้เทคโนโลยีทมี่ ปี ระสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงและสารท�ำความเย็นธรรมชาติ ทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม รวมทัง้ ช่วยส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของ ผูป้ ระกอบการ โดยสนับสนุน 4 กลุม่ อุปกรณ์หลักในอุตสาหกรรมเครือ่ งปรับอากาศ และเครือ่ งท�ำความเย็น ได้แก่ ตูเ้ ย็น ตูแ้ ช่ เครือ่ งปรับอากาศและเครือ่ งท�ำน�ำ้ เย็น ซึ่ ง ได้ มี ก ารพาคณะสื่ อ มวลชนร่ ว มชมโรงงานจากผู ้ ผ ลิ ต ที่ ไ ด้ รั บ การ สนับสนุนจากกองทุน RAC NAMA จัดแสดงเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่ใช้สาร ท�ำความเย็นธรรมชาติทกี่ ำ� ลังเข้าสูต่ ลาดในประเทศไทย มีดว้ ยกัน 2 บริษทั ได้แก่ บริษทั พัฒนาอินเตอร์คลู จ�ำกัด และบริษทั ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชัน่ แนล จ�ำกัด บริษัท พัฒนาอินเตอร์คูล จ�ำกัด เริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1980 เป็นผู้ผลิตและ จ�ำหน่ายตูแ้ ช่เชิงพาณิชย์ เป็นผูค้ ดิ ประดิษฐ์ตแู้ ช่มนิ มิ าร์ทสีขาวยีห่ อ้ “Chilled Food & Drinks” เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย ซึง่ ได้รบั ความนิยมตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั ท�ำให้ธรุ กิจเติบโตจนมี การขยายและพัฒนามาจนถึงวันนี้ ปัจจุบนั บริษทั พัฒนาอินเตอร์คลู จ�ำกัด ได้สง่ ออกตูแ้ ช่ ไปต่างประเทศกว่า 10 ประเทศ และยังมีสว่ นช่วยให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านอาหาร ในประเทศไทยให้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย นอกจากนี้ บริษทั ยังเป็นผูผ้ ลิตตูแ้ ช่ในเชิงพาณิชย์ ส�ำหรับร้านค้า ร้านอาหาร โรงพยาบาล เพือ่ ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ และให้บริการออกแบบตูแ้ ช่ อุปกรณ์ในร้านอาหาร หรือแนะน�า แนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องตู้แช่ให้เหมาะสมกับธุรกิจของแต่ละคน เอกพงษ์ ตัง้ สิรมิ านะกุล ผูจ้ ดั การทัว่ ไป กล่าวว่า พัฒนาอินเตอร์คลู มีประสบการณ์ ในการท�ำธุรกิจตูแ้ ช่มายาวนานกว่า 30 ปี โดยสามารถออกแบบตูแ้ ช่และสัง่ ท�ำพิเศษตามแบบ ทีท่ า่ นต้องการ โดยเรามีสถาปนิกผูเ้ ชีย่ วชาญ ทีมวิศวกรเพือ่ ท�ำวิจยั และพัฒนาตูแ้ ช่ เพือ่ ให้ เหมาะสมกับการใช้งาน ซึง่ ทางพัฒนาอินเตอร์คลู ได้มกี ารย้ายโรงงานมาตัง้ อยูท่ คี่ ลองหนึง่ อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีเป้าหมายคือต้องการพัฒนาบริษัทให้เข้าสู่ความเป็นสากลมากขึ้น และจะต้องค�ำนึงถึงเรือ่ งสิง่ แวดล้อม จึงมีการออกแบบอาคารให้เป็นอาคารประหยัดพลังงาน ในตอนกลางวันจะไม่มีการเปิดสวิตช์ไฟในออฟฟิศ เนื่องจากตัวอาคารนั้นเป็นอาคาร ทีอ่ อกแบบให้ใช้แสงจากธรรมชาติ และยังมีการออกแบบให้สอดรับกับทิศทางลมให้พดั ผ่าน เข้ามาในตัวออฟฟิศและโรงงาน อีกทั้งยังมีการปลูกต้นไม้ไว้กลางบริษัทฯ เอกพงษ์ กล่าวว่า “เราตัง้ Concept ไว้วา่ ต้นไม้ตน้ นีต้ อนทีเ่ ราก่อตัง้ บริษทั ฯ ตัง้ ใจว่า จะดูแลต้นไม้ให้ดีที่สุดเพื่อให้อยู่คู่กับเราไปตลอด เปรียบเสมือนว่าพัฒนาอินเตอร์คูล จะดูแลลูกค้า และที่ส�ำคัญก็คือดูแลโลกและธรรมชาติ เพราะเรารู้ดีว่าพัฒนาอินเตอร์คูล ท�ำเกีย่ วกับตูเ้ ย็น ตูแ้ ช่ จะต้องมีการใช้สารท�ำความเย็นซึง่ เป็นสิง่ จ�ำเป็นทีเ่ ราต้องใช้สารเคมี ค่อนข้างเยอะ โดยผมเองนัน้ เป็น Generation ที่ 2 ผมจึงไม่อยากให้ธรุ กิจของพัฒนาอินเตอร์คลู ไปท�ำร้ายโลกหรือสร้างมลภาวะให้กับคนรุ่นหลัง และเรามีโครงการที่จะติดตั้ง Solar Roof ประมาณ 1 เมกะวัตต์ เพื่อน�ำมาช่วยในการประหยัดพลังงานโดยใช้พลังงานสะอาด” ดังนั้น บริษัทพัฒนาอินเตอร์คูล จึงมีการวาง Concept ที่สร้างโรงงานแห่งใหม่นี้ ให้เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม ทัง้ ในเรือ่ งของการแยกขยะในบริษทั ฯ ทัง้ ในบริเวณออฟฟิศและ โรงงาน มีการให้พนักงานทุกคนมีสว่ นร่วมในการแยกขยะและน�ำไปต่อยอดเป็นรายได้เพิม่ March-April 2020


ได้อกี ด้วย เพราะฉะนัน้ การเข้าร่วมโครงการ RAC NAMA เพือ่ เป็น การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเครื่องท�ำความเย็นในลักษณะ ตู้แช่ เปลี่ยนมาใช้สารท�ำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทน สารท�ำความเย็นแบบสังเคราะห์ เอกพงษ์ กล่าวว่า บริษทั พัฒนาอินเตอร์คลู ได้มกี ารเก็บข้อมูล และท�ำการคาดคะเนว่า หากในปี ค.ศ. 2025 ยังคงใช้สารท�ำความเย็น ตัวเก่าทีไ่ ม่ใช่สารท�ำความเย็นทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมนัน้ จะท�ำให้ ใช้สารท�ำความเย็นมากถึง 8,000 กิโลกรัมต่อปี ซึง่ เป็นจ�ำนวนมาก และจะส่งผลกระทบกับโลก เป็นตัวการของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างมลภาวะให้กบั ประชาชนในประเทศ ดังนัน้ พัฒนาอินเตอร์คลู ได้ค�ำนึงในเรื่องของตรงนี้จึงเข้าร่วมโครงการ RAC NAMA เพื่อ เปลี่ยนจากการใช้สารท�ำความเย็นมาเป็นการใช้สารท�ำความเย็น ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นั่นก็คือตัว R290 เมือ่ 2 ปีทแี่ ล้ว ทางพัฒนาอินเตอร์คลู ได้ทำ� การศึกษาข้อมูล เกี่ยวกับ R290 ผลการศึกษาข้อมูลเห็นได้ชัดว่า Ozone Depletion Potential (ODP) กับ Global Warming Potential (GWP) มีตัวเลข ต�ำ่ ลง นีจ่ งึ เป็นตัวการันตีวา่ สาร R290 ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน

น้อยกว่าสารท�ำความเย็นสังเคราะห์ทใี่ ช้กนั อย่างแพร่หลายในปัจจุบนั นอกจากนี้ยังพบว่าสารท�ำความเย็นธรรมชาติให้ประสิทธิภาพ การใช้พลังงานที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับสารท�ำความเย็นทั่วไป “เหตุที่ท�ำให้เราเปลี่ยนมาใช้สาร R290 เพราะในปัจจุบัน หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าสภาพอากาศของโลกเพิ่มขึ้นถึง 2 องศาเซลเซียส เห็นได้ชดั ว่าโลกใบนีม้ เี หตุการณ์ภยั ธรรมชาติตา่ งๆ เกิดขึน้ ในปีทผี่ า่ นมา ไม่วา่ จะเป็นไฟไหม้ โลกร้อนขึน้ อากาศหนาว ก็หนาวสุด อากาศร้อนก็ร้อนจนเกิดไฟป่า นี่แสดงให้เห็นว่าโลกเรา ก�ำลังเผชิญกับปัญหาที่มนุษย์นั้นเป็นคนก่อขึ้นมา ดังนั้นเราทุกคน ควรที่จะช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม” เพราะฉะนัน้ Green Cooling หรือนวัตกรรมเทคโนโลยีทผี่ สาน การใช้สารท�ำความเย็นแบบธรรมชาติจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานของอุปกรณ์ ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อ สิง่ แวดล้อม ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ทำ� ลายชัน้ บรรยากาศ โอโซน และประหยัดพลังงานอีกด้วย ทางด้าน บริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด เปิดตัว ซัยโจ เด็นกิ เทรนนิง่ เซ็นเตอร์ (Saijo Denki Training Center) ศูนย์ฝึกอบรมด้านเครื่องปรับอากาศแห่งใหม่ บนเนื้อที่รวมกว่า 1,229 ตร.ม. พืน้ ทีโ่ ชว์รมู 450 ตร.ม. ทีเ่ ต็มไปด้วยเครือ่ งปรับอากาศ ตาม Concept อาคารอัจฉริยะ (Smart) อาคารประหยัดพลังงาน (Green) อาคารเพื่อสุขภาพ (Hygienic) ซึ่งเป็น 3 นวัตกรรมระบบ ปรับอากาศที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อควบคุมผ่านระบบ ศูนย์กลางหรือมือถือได้ สามารถตรวจสอบได้ว่าแอร์เสียตรงไหน กินไฟเท่าไหร่ ควบคุมคุณภาพอากาศ เช่น PM0.1, PM2.5 หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ ความชื้นสัมพัทธ์ และระบบระบายอากาศ แต่ละจุดในห้องเป็นอย่างไร ประกอบด้วยระบบปรับอากาศ SRV IV ทีถ่ กู ออกแบบให้สามารถติดตัง้ และบ�ำรุงรักษาเครือ่ งได้อย่างสะดวก รวดเร็ว March-April 2020


ซัยโจ เด็นกิ คือแบรนด์เครื่องปรับอากาศอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ที่ก่อตั้งขึ้น ในเมือง Osaka ประเทศญีป่ นุ่ ในปี ค.ศ. 1987 โดยการร่วมมือกันระหว่าง สมศักดิ์ จิตติพลังศรี และ Mr.Harada Senior โดยมุ่งมั่นพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศในประเทศไทย ให้มคี วามทัดเทียมต่างชาติ ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมประหยัดพลังงานและระบบฟิกอากาศ ให้มคี วามโดดเด่นเป็นพิเศษ จนมีสทิ ธิบตั รกว่า 50 เทคโนโลยี เช่น GPS Inverter ทีใ่ ช้เทคโนโลยี loT ประยุกต์ Smartphone เข้ากับเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์ แอร์ฟอกอากาศโอโซน Turbo A.S.P ที่นำ� เอาเทคโนโลยีฆ่าเชื้อโรคที่ใช้ในห้องผ่าตัดมาใช้ในแอร์บ้าน ธันย์พร จิตติพลังศรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า ซัยโจมุ่งมั่นสร้างความ พึงพอใจของลูกค้าสูงสุด ทัง้ ในด้านการบริการ และคุณภาพสินค้า ด้านคุณภาพมุง่ มัน่ พัฒนา คุณภาพสินค้าให้เป็นทีย่ อมรับของผูบ้ ริโภคสูงสุด รวมไปถึงทางด้านนวัตกรรมมีการพัฒนา ให้เป็นทีย่ อมรับของผูบ้ ริโภคสูงสุด ซึง่ พนักงานของซัยโจมีการพัฒนาในด้านความสามารถ การท�ำงานของพนักงานระดับมืออาชีพอย่างต่อเนือ่ ง และทางบริษทั ฯ ก็ให้ความส�ำคัญใน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานอย่างต่อเนื่อง สารท�ำความเย็น คือสารทีใ่ ช้ระบบการท�ำความเย็นของอุปกรณ์ เครือ่ งปรับอากาศ และเครื่องท�ำความเย็น ซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนสถานะง่าย จึงสามารถดูดความร้อนจาก พื้นที่หนึ่ง แล้วระบายออกนอกพื้นที่นั้นเพื่อลดอุณหภูมิลง เครือ่ งปรับอากาศภายนอกบ้าน 1 ตัว สามารถเชือ่ มต่อตัวเย็นได้ถงึ 64 ตัว และสามารถควบคุมการใช้งานระบบปรับอากาศต่างๆ ผ่านระบบศูนย์กลาง ที่เรียกว่า “Centralized Control System” ซึ่งในอนาคตจะมีการเปลี่ยนมาใช้ สารท�ำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และตัว Rooftop Package Inverter นั้นซ่อมบ�ำรุงง่าย ช่างไม่ต้องเข้าไปในบ้านหรืออาคาร เป็นการรักษาความเป็น ส่วนตัวได้ดี และ Inverter Air Cooled Chiller ระบบท�ำน�้ำเย็นระบายความร้อน ด้วยอากาศ ด้วยคอมเพรสเซอร์อนิ เวอร์เตอร์ หรือตัว Fresh Air Intake ซึง่ จะได้ สิทธิบตั รเฉพาะ “ซัยโจ เด็นกิ” ทีม่ กี ารใช้เทคนิคการแลกเปลีย่ นอากาศจากภายนอก อาคารเข้าสูภ่ ายในห้อง เพือ่ เป็นการเติมอากาศใหม่ 100% เข้าสูห่ อ้ งตลอดเวลา และยังสามารถกรองฝุ่นเล็กถึง PM0.1 ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า PM2.5 ถึง 25 เท่า ด้วยระบบ Ultrafine และ HEPA รับรองประสิทธิภาพโดยสถาบันทดสอบทางไฟฟ้า จากญี่ปุ่น Mini SRV บ้านสวยขึ้นไม่ต้องมีตัวร้อนหลายตัว สามารถเชื่อมต่อ เครือ่ งปรับอากาศภายนอกบ้าน 1 ตัว กับเครือ่ งปรับอากาศรุน่ ติดผนังได้ถงึ 9 ตัว รวมทัง้ ระบบ Multi Split Inverter ทีจ่ ะช่วยประหยัดไฟมากขึน้ ด้วยระบบ Inverter ติดตัง้ ง่าย เดินท่อไกลได้ถงึ 50 เมตร บ้านสวยขึน้ ไม่ตอ้ งมีตวั ร้อนหลายตัว สามารถ ต่อได้สงู สุด 4 เครือ่ ง และตรวจเช็คคุณภาพอากาศทุกห้องผ่าน Centralized Control (อุปกรณ์เสริม) รวมถึงตัว Duct Inverter ทีต่ ดิ ตัง้ ง่าย ดูแลรักษาง่าย ประหยัดไฟ ด้วยนวัตกรรมอินเวอร์เตอร์ สามารถติดตั้งกล่องฟอกอากาศพิเศษ Ultrafine Module (Optional) เชือ่ มต่อกับตัวเครือ่ ง เพือ่ กรองฝุน่ เล็กถึง PM0.1 และ PM2.5 สารก่อมะเร็งในอากาศได้ถึง 99.9% ใน 2 ชั่วโมง ธันย์พร กล่าวว่า “4 Way Cassette Inverter ติดตั้งง่าย ดูแลรักษาง่าย ไม่ซับซ้อน ออกแบบให้ช่างสามารถติดตั้งและซ่อมเครื่องปรับอากาศได้ง่าย สามารถกรองฝุ่นละเอียดขนาดเล็ก 0.01 ไมครอน เล็กกว่า PM2.5 ถึง 25 เท่า ด้วยสิทธิบัตรเฉพาะ Saijo Denki พัฒนาไฟฟ้าสถิตแรงสูง 5,000 โวลต์ และยัง ปลอดภัยสูงตามเกณฑ์ปลอดภัยตามมาตรฐานสหรัฐอเมริกา Ultrafine Inverter ประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด ด้วยเทคโนโลยีพิเศษที่พัฒนาขึ้นมาโดย Saijo Denki March-April 2020


ท�ำให้ประหยัดพลังงานสูง Super Inverter Saijo Denki ค่า SEER สูงสุดถึง 27.50, Air Purifier-AP P35 นวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศ ทีไ่ ด้รบั การออกแบบด้วยเทคโนโลยีฟอกอากาศขัน้ สูงถึง 5 ขัน้ ตอน กรองฝุน่ ขนาดเล็กสุดได้ถงึ 0.01 ไมครอน ดักจับเชือ้ โรคกับสิง่ สกปรก และก�ำจัดกลิ่นในอากาศ ทั้งยังประหยัดพลังงาน แม้ปิดการใช้งาน ตลอด 24 ชัว่ โมง สามารถเช็คค่าฝุน่ พิษได้ทกุ เวลาผ่านแอปพลิเคชัน บนมือถือ Inverter ATW Heat Pump R290 และ Inverter Chiller R290” สถานที่แห่งนี้ยังเป็นห้องอบรมที่จุคนได้มากถึง 40 คน เพื่ อ มุ ่ ง พั ฒ นาฝี มื อ ช่ า งแอร์ ใ ห้ มี ค วามช� ำ นาญเรื่ อ งการติ ด ตั้ ง เครื่องปรับอากาศที่ถูกต้อง เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจใน ทุกภาคส่วนของประเทศไทยและระดับภูมิภาค สอนโดยวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ธันยวัฒน์ กล่าวสรุปว่า “Saijo Denki Training Center มีแผน จัดอบรมหลักสูตรแอร์อนิ เวอร์เตอร์ เครือ่ งปรับอากาศ Split Type, Mini SRV, SRV IV, Rooftop Package Inverter เบื้องต้นให้ได้ 2,000 คนต่อปี โดยศูนย์ฝกึ อบรมแห่งนีเ้ ปิดโอกาสให้บคุ คลภายนอก ทัว่ ไป นอกเหนือจากช่างแอร์ทมี่ คี วามสนใจในเรือ่ งเครือ่ งปรับอากาศ สามารถสมัครเข้าร่วมอบรมได้ โดยสามารถลงทะเบียนผ่าน Inbox ในเพจศูนย์อบรม Saijo Denki Club Thailand และส�ำหรับผู้แทน จ�ำหน่ายทีส่ นใจ สามารถติดต่อลงทะเบียนได้งา่ ยๆ ผ่าน Sale ทีด่ แู ล เขตที่ใช้บริการ” หลักสูตรการฝึกอบรมของ Saijo Denki Training Center มีหลายแบบ โดยเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่การท�ำงานเบื้องต้นของ เครือ่ งปรับอากาศแบบ Fixed Speed เทคนิคการซ่อมเครือ่ งปรับอากาศ Inverter, Multi SRV IV, Rooftop Package Inverter, Multi Split ตลอดจนเทคนิคการถอด-ประกอบ Wall Type, Ceiling Type,

Cassette Type, Outdoor Unit ทัง้ ภาคทฤษฎี และการพาผูเ้ ข้าร่วม ฝึกอบรมทุกท่านไปดูไซต์งานจริง ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับ ประกาศนียบัตรจากซัยโจ เด็นกิ ผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรม Saijo Denki Training Center สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมได้โดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ถือได้วา่ งานเปิดตัวศูนย์ฝกึ อบรมในครัง้ นีไ้ ด้สร้างแรงขับเคลือ่ น ให้กบั วงการเครือ่ งปรับอากาศได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม บริษทั ซัยโจ เด็นกิ จะไม่หยุดพัฒนาเพียงเท่านี้ เพราะเรายังเตรียมสร้าง ศูนย์ฝึกอบรมในภาคปฏิบัติไว้สนับสนุนการพัฒนาฝีมือบุคลากร ไว้เรียบร้อยแล้ว ธันยวัฒน์ กล่าวทิ้งทายว่า การสร้างศูนย์อบรมแห่งนี้เพื่อ เสริมสร้างศักยภาพของช่างเทคนิคและครูฝึกในประเทศไทยให้ สามารถใช้สารท�ำความเย็นที่ติดไฟได้ในการติดตั้ง ซ่อมบ�ำรุง และ ให้บริการส�ำหรับระบบท�ำความเย็นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ดังนั้น โครงการ RAC NAMA มุ่งหวังที่จะส่งเสริมภาค อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องท�ำความเย็นให้เปลี่ยน ไปใช้สารท�ำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีที่มี ประสิทธิภาพพลังงานสูง ซึ่งจะท�ำให้ประเทศไทยนั้นสามารถลด การใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จากการใช้สาร ท�ำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้สนับสนุนการใช้ สารท�ำความเย็นที่ติดไฟได้ที่เป็นไฮโดรคาร์บอน ซึ่งไม่ท�ำลาย ชั้นบรรยากาศโอโซนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อเป็น การช่วยลดมลภาวะโลกร้อนและช่วยรักษาธรรมชาติให้คนรุ่นหลัง สืบต่อไป และยังส่งเสริมการเพิม่ ศักยภาพของช่างเทคนิคและครูผฝู้ กึ ในประเทศไทยให้มีความช�ำนาญและใช้สารท�ำความเย็นได้อย่าง ถูกต้อง ถูกวิธี เพือ่ ความปลอดภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล March-April 2020


Special Scoop > กองบรรณาธิการ

“SEED Symposium 2020” เพื่อผู้ประกอบการเศรษฐกิจสีเขียว

SEED งานประชุมเชิงวิชาการ “SEED Symposium 2020” ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมันในการส่งเสริมธุรกิจเพื่อ เศรษฐกิจสีเขียว ให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมี ดร.อเล็กซานเดอร์ เราโบลด์ ทีป่ รึกษาทูต ฝ่ายเศรษฐกิจและการค้า กล่าวเปิดการประชุม โดย ดร.เลวิส อาเคนจิ ผูอ้ ำ� นวยการบริหาร SEED กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ความก้าวหน้าของผูป้ ระกอบการ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อเศรษฐกิจสีเขียวและการพัฒนาใน อาเซียน นอกจากการประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกันแล้ว ยังมี ผูป้ ระกอบการรุน่ ใหม่นำ� ผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้รบั รางวัลมาร่วมจัดแสดงด้วย รวมทั้งผู้ประกอบการไทยที่ได้รับรางวัล “SEED Award” ด้วย อาทิ การสร้างผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม 100% จากผลิตภัณฑ์ กระดาษจากฟางข้าวโดยชุมชนท้องถิ่น จากผู้ประกอบการที่สมัคร เข้าแข่งขันจ�ำนวน 906 ราย ใน 9 ประเทศ โดยมีผเู้ ข้าแข่งขันแบ่งเป็น ผูป้ ระกอบการด้านเกษตร คิดเป็นร้อยละ 43% รองลงมาผูป้ ระกอบการ ด้านอุตสาหกรรมรีไซเคิล คิดเป็นร้อยละ 21% ผู้ประกอบการด้าน พลังงาน คิดเป็นร้อยละ 16% และผูป้ ระกอบการอืน่ ๆ คิดเป็นร้อยละ 20% พร้อมผลักดันให้เข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจสีเขียว

SEED ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2545 ในฐานะโครงการความ ร่วมมือระดับโลกส�ำหรับการด�ำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน SEED น�ำเสนอโปรแกรมการพัฒนาธุรกิจ (ตัง้ แต่การบ่มเพาะจนถึง ระยะเติบโต) ที่ให้การสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อม ทีต่ อ้ งการเติบโตโดยใช้กลไกตลาดในการเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ ขั บ เคลื่ อ นด้ ว ยนวั ต กรรมที่ ส ร้ า งผลกระทบที่ ดี ต ่ อ สั ง คมและ สิ่งแวดล้อมในบริบทเศรษฐกิจสีเขียว ในขณะเดียวกัน SEED ได้ ด�ำเนินกิจกรรมการสร้างระบบนิเวศเพือ่ ระดมความร่วมมือระหว่าง ภาคเอกชน ภาครัฐ และสังคม ควบคูไ่ ปกับโครงการสนับสนุนทีม่ ตี อ่ ผูป้ ระกอบกิจการโดยตรง ทัง้ นี้ เพือ่ ร่วมกันก�ำหนดนโยบายเป้าหมาย และกลไกทางการเงินทีจ่ ะช่วยให้ผปู้ ระกอบการเหล่านีป้ ระสบความ ส�ำเร็จในฐานะผู้น�ำในการขับเคลื่อนนวัตกรรม การพัฒนาที่ยั่งยืน และเศรษฐกิจสีเขียวโดยรวม ดร.เลวิส อาเคนจิ ผู้อำ� นวยการบริหาร SEED กล่าวว่า SEED ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาของผู้ประกอบการด้าน สิ่งแวดล้อมและสังคม ในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการและนวัตกรรม ใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาด้านสิง่ แวดล้อมและสังคม พร้อมผลักดัน ให้เข้าสู่การด�ำเนินธุรกิจแบบเศรษฐกิจสีเขียว โดยในปี ค.ศ. 2019 มีผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการ 906 ราย จาก 9 ประเทศ


ผู้ชนะเลิศที่ได้รบ ั รางวัล

ดร.เลวิส อาเคนจิ

จารุวรรณ คำ�เมือง

จากประเทศในทวีปแอฟฟริกา จ�ำนวน 690 ราย และภูมภิ าคเอเชีย จ�ำนวน 216 ราย ซึง่ ในจ�ำนวนนีม้ ผี สู้ มัครจากประเทศไทย จ�ำนวน 38 ราย แบ่งเป็นผูป้ ระกอบการด้าน เกษตร คิดเป็นร้อยละ 43% รองลงมา ผูป้ ระกอบการด้านอุตสาหกรรมรีไซเคิล คิดเป็น ร้อยละ 21% ผูป้ ระกอบการด้านพลังงาน คิดเป็นร้อยละ 16% และผูป้ ระกอบการอืน่ ๆ คิดเป็นร้อยละ 20% ตามล�ำดับ “ในปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเศรษฐกิจสีเขียวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทัว่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยมาตรการนโยบายของรัฐบาลทีก่ ำ� หนดเป้าหมายให้มี การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพธุรกิจบริการ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ตลอดจนสภาวะ ตลาดทีเ่ อือ้ อ�ำนวย ท�ำให้องค์กรขนาดเล็กทีก่ ำ� ลังเติบโตสามารถมีสว่ นร่วมในการเป็น ผูป้ ระกอบการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวเพิม่ มากขึน้ โดยการประชุมครัง้ นีแ้ สดงให้เห็นถึง ความพยายามของภาครัฐ อาทิ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่ง ประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสถาบันวิจยั เพือ่ การพัฒนาประเทศไทย ซึง่ ได้นำ� เสนอโครงการพัฒนาเชิงบูรณาการ ทีห่ ลากหลาย การเชือ่ มโยงกับเทคโนโลยี และความร่วมมือกับกิจการขนาดเล็ก หรือ Tech Startup เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาภาคเกษตรและชุมชน” ดร.เลวิส กล่าว ด้าน จารุวรรณ ค�ำเมือง ผูก้ อ่ ตัง้ และกรรมการผูจ้ ดั การ หจก. ฟางไทย แฟคตอรี่ ผู้รับรางวัลชนะเลิศบรรจุภัณฑ์ท�ำจากกระดาษฟางข้าวโดยชุมชนท้องถิ่น กล่าวว่า หลังจากที่เข้าร่วมโครงการกับ SEED ในการให้คำ� ปรึกษาด้านแผนธุรกิจ การติดตาม พัฒนาการและขยายผลการด�ำเนินการ ท�ำให้สามารถเข้าใจเกี่ยวกับหลักการด�ำเนิน ธุรกิจ กลยุทธ์ในการขยายตลาด เพื่อน�ำมาปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจของตนมากขึ้น “เนือ่ งจากเกษตรกรในชุมชนหลังจากเก็บเกีย่ วผลผลิตแล้ว มักจะใช้วธิ กี ารเผา ฟางข้าว ซึ่งก่อปัญหาการปล่อยควันและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเปลี่ยนจาก ของเสียให้เป็นโอกาส จึงตัดสินใจที่จะท�ำกระดาษย่อยสลายได้ 100% จากฟางข้าว อีกทัง้ ยังเป็นการสร้างรายได้ให้กบั เกษตรกร จึงก�ำเนิดเป็นบรรจุภณ ั ฑ์ทำ� จากกระดาษ ฟางข้าว น�ำฟางข้าวที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตมาแปรรูปเป็นกระดาษ กล่อง บรรจุภณ ั ฑ์ ซึง่ เป็นทีต่ อ้ งการของตลาดในปัจจุบนั โดยทางฟางไทยหวังว่าจะได้รบั การ ตอบรับทีด่ จี ากนักลงทุนและมีสว่ นร่วมในธุรกิจรักษาสิง่ แวดล้อมในครัง้ นี”้ จารุวรรณ กล่าวเพิ่มเติม SEED ได้เห็นความส�ำคัญของรางวัล “SEED Award” เพราะมีกระบวนการ ท�ำงานร่วมกันแบบเป็นหุน้ ส่วน เพือ่ น�ำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาแบบมุง่ เน้นอนาคต เราเชื่อมั่นว่าธุรกิจที่ชนะรางวัลจะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนด้วยวิธีแก้ปัญหา ที่สามารถปรับใช้ได้จริง และสามารถต่อยอดเพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลกต่อไป

1. ผลงานขยะพลาสติ ก รี ไ ซเคิ ล เป็ น กระเบือ้ งปูพนื้ ทาง โดยบริษทั Nelplast Eco จากประเทศ Ghana 2. ผลงานห่วงโซ่มลู ค่าผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ทางเลือกโดยเกษตรกรหญิง โดย Aikya Organics จากประเทศอินเดีย 3. ผลงานหนังเห็นเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม โดย MyCotech จากประเทศอินโดนีเซีย 4. ผลงานกระดาษฟางข้ า วคุ ณ ภาพสู ง เป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม โดย หจก. ฟางไทย แฟคตอรี่ จากประเทศไทย 5. ผลงานที่ อ ยู ่ อ าศั ย พอเพี ย ง โดย Hustlenomics จากประเทศแอฟฟริกาใต้ 6. ผลงานเครือ่ งกรองน�ำ้ ต้นอัตโนมัตติ น้ ทุน ต�ำ่ โดย Tusafishe จากประเทศ Uganda

ผู้เข้ารอบสุดท้ายรางวัล SEED Award 2019

1. ผลงานแผงโซลาร์เซลล์โดยท้องถิ่นเพื่อ ท้ อ งถิ่ น โดยบริ ษั ท ซั น สว่ า ง จ� ำ กั ด ประเทศไทย 2. ผลงานแอปพลิเคชัน FarmAI ระบบ บริ ห ารจั ด การฟาร์ ม และการปลู ก พื ช โดย ListenField ประเทศไทย 3. ผ ล ง า น ผ ้ า อ น า มั ย ซั ก ง ่ า ย โ ด ย SunnyCotton ประเทศไทย 4. ผลงานกาแฟออแกนิกผ่านระบบเกษตร ยัง่ ยืน โดย Yoddoi Organic Homemade ประเทศไทย 5. ผลงานน�ำ้ และน�ำ้ แข็งพลังงานแสงอาทิตย์ ส� ำหรับชุมชนประมง โดย Komodo Water ประเทศอินโดนีเซีย 6. ผลงานระบบจ่ายน�้ำและน�้ำตามการใช้ จริง โดย Sefactor Deos Mask (Puffer Pure Water) จากประเทศอินโดนีเซีย 7. ผลงานการรั ก ษาดิ น ส� ำ หรั บ พื ช การ โภชนาการที่ดี โดย Fam Organic จาก ประเทศอินโดนีเซีย 8. ผลงานเครือ่ งดืม่ นูซานดรา โดย Rahsa Nusantara จากประเทศอินโดนีเซีย




Special Area

> บริษัท ที แอนด์ ดี เพาเวอร์ เทค (ไทยแลนด์) จ�ำกัด

โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Overload Relay) คืออะไร

4. Main Terminal (Connection to the Line Side/MC)

2. Test Button

7. Protection Cover 1. Current Setting Knob

3. Reset Button

เป็นอุปกรณ์ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าเกินก�ำลังหรือป้องกัน มอเตอร์ไม่ให้เกิดการเสียหายเมื่อมีกระแสไหลเกินพิกัด โดยมี ส่วนประกอบภายนอกที่ส�ำคัญของโอเวอร์โหลดรีเลย์ ดังนี้ 1. ปุ่มปรับกระแส (RC. A) 2. ปุ่มเทส (Test) 3. ปุ่มรีเซ็ต (Reset) 4. จุดต่อไฟเข้าเมนไบเมทัล (Main Terminal) 5. จุดต่อไฟออกจากเมนไบเมทัล (Main Terminal) 6. หน้าสัมผัสช่วย (Auxiliary Contact) 7. ฝาปิดผนึก (Protection Cover)

หลักการทำ�งาน

โอเวอร์โหลด มีขดลวดความร้อน (Heater) พันกับแผ่นไบเมทัล (Bimetal) (แผ่นโลหะผลิตจากโลหะต่างชนิดกัน) เชือ่ มติดกัน เมือ่ ได้รบั ความร้อนแผ่นโลหะจะโก่งตัว ขดลวดความร้อนซึง่ เป็นทางผ่านของ กระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟไปมอเตอร์ เมื่อกระแสไหลเข้าสูงใน ระดับค่าหนึ่ง ส่งผลให้ความร้อนท�ำให้แผ่นไบเมทัลร้อนและโก่งตัว

6. Auxiliary Terminal (Auxiliary Contact) 5. Main Terminal (Load Side) ดันให้หน้าสัมผัสปกติปดิ N.C. ของโอเวอร์โหลดทีต่ อ่ อนุกรมอยูก่ บั แผงควบคุมเปิดวงจร ตัดกระแสไฟฟ้าจากคอยล์แ ม่เหล็กของ คอนแทคเตอร์ ท� ำ ให้ ห น้ า สั ม ผั ส หลั ก (Main Contact) ของ คอนแทคเตอร์ปลดมอเตอร์ออกจากแหล่งจ่ายไฟ ป้องกันมอเตอร์ ความเสียหายจากไฟเกินได้

ชนิดของ Overload Relay

1. โอเวอร์โหลดรีเลย์แบบธรรมดา คือ เมื่อแผ่นไบเมทัล งอไปแล้วจะกลับมาอยูต่ ำ� แหน่งเดิม เมือ่ เย็นตัวลงเหมือนในเตารีด 2. โอเวอร์โหลดรีเลย์แบบทีม่ รี เี ซ็ต (Reset) คือ เมือ่ ตัดวงจร ไปแล้ว หน้าสัมผัสจะถูกล็อกเอาไว้ ถ้าต้องการจะให้วงจรท�ำงาน อีกครั้ง ท�ำได้โดยกดที่ปุ่ม Reset ให้หน้าสัมผัสกลับมาต่อวงจร เหมือนเดิม


การเลือกใช้งานโอเวอร์โหลดรีเลย์

สิ่งที่เราควรรู้ในการเลือกใช้งานโอเวอร์โหลดรีเลย์นั้น มีดังนี้

1. การใช้งานมอเตอร์ การใช้งานมอเตอร์นั้น จะมีขั้นการใช้งานมอเตอร์ ซึ่ง แบ่งตามช่วงเวลาการเริม่ เดินของมอเตอร์ ตามมาตรฐาน IEC มีการแบ่งชั้น (Class) ของโอเวอร์โหลดรีเลย์ชนิดความร้อน เป็นชัน้ ต่างๆ เพือ่ ให้เหมาะสมกับวิธกี ารเริม่ เดินมอเตอร์และ โหลดทีใ่ ช้งาน ควรเลือกใช้งานชัน้ ทีต่ ำ�่ ทีส่ ดุ ก่อน คือ Class 10 เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้มอเตอร์เสียหายเร็วที่สุด ดังตารางที่ 1 2. ช่วงปรับตั้งกระแสโหลดเกินหรือกระแสโอเวอร์โหลด ช่วงปรับตั้งกระแสโหลดเกินหรือกระแสโอเวอร์โหลด โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Overload Relay) ทีใ่ ช้กนั อยูท่ วั่ ไป เป็นชนิด ติดตั้งแยกจากตัวมอเตอร์ จะต่ออนุกรมอยู่ในวงจรมอเตอร์ หรือผ่านหม้อแปลงกระแสกรณีที่เป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่ การปรับตัง้ กระแสโอเวอร์โหลดรีเลย์จะปรับตามประเภทมอเตอร์ ซึ่งระบุรายละเอียดบนแผ่นป้ายประจ�ำเครื่อง (Name Plate) ดังตารางที่ 2

ชั้น (Class) Class 10 Class 20 Class 30

เหมาะส�ำหรับมอเตอร์ ช่วงเวลาการเริ่มเดินมอเตอร์ไม่เกิน 10 วินาที ช่วงเวลาการเริ่มเดินมอเตอร์ไม่เกิน 20 วินาที ช่วงเวลาการเริ่มเดินมอเตอร์ไม่เกิน 30 วินาที

ตารางที่ 1 : ตารางแสดงชั้น (Class) ของมอเตอร์

ประเภทมอเตอร์

ปรับตั้ง

สูงสุด

1. มอเตอร์ที่ระบุเซอร์วิสแฟกเตอร์ (Service Factor : SF) ไม่ตำ�่ กว่า 1.15 2. มอเตอร์ที่ระบุอุณหภูมิเพิ่มขึ้นไม่เกิน 40°C 3. มอเตอร์อื่นๆ

125

140

125 115

140 130

ตารางที่ 2 : ตารางแสดงการปรับตั้งกระแสโหลดเกิน กำ�หนดค่าเป็นร้อยละของกระแสโหลดเต็มพิกด ั

3. การรีเซ็ตหลังจากปลดวงจร การรีเซ็ตหลังจากปลดวงจร ปัจจุบันมีให้เลือกใช้ทั้งรีเซ็ตด้วยมือ (Manual Resetting) และ แบบอัตโนมัติ (Automatic Resetting) หรือบางรุ่นสามารถเป็นได้ทั้ง 2 แบบ แล้วแต่การปรับตั้ง ข้อดีของการรีเซ็ตด้วยมือ คื อ หากมี ก ารปลดวงจรด้ ว ย โอเวอร์โหลดรีเลย์ มอเตอร์จะไม่ สามารถกลั บ มาท� ำ งานได้ โ ดย อัตโนมัติ จะต้องมีเจ้าหน้าที่ไป ส�ำรวจความผิดปกติของการปลด วงจรก่อน หลังจากนั้นจะมากด ที่ปุ่มรีเซ็ตที่ตัวโอเวอร์โหลดรีเลย์ ก่อนการเริ่มเดินมอเตอร์อีกครั้ง ข้อเสียคือต้องกดปุม่ รีเซ็ตก่อนเริม่ Reset Button เดินมอเตอร์ใหม่อีกครั้ง 4. การติดตั้ง การติดตัง้ ต่อเนือ่ งจากหน้าสัมผัสแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Contactor) จะติดตัง้ โอเวอร์โหลด รีเลย์แต่ละรุน่ ตามช่วงกระแสทีป่ รับตัง้ ซึง่ จะสอดคล้องกับการทนกระแสของหน้าสัมผัสแม่เหล็กไฟฟ้า หรือแมกเนติกคอนแทคเตอร์ เพื่อให้สามารถติดตั้งได้สะดวกโดยการต่อเชื่อมกับคอนแทคเตอร์ ได้โดยที่ไม่ต้องเดินสายไฟ

MC

TOR


ทำ�ไมต้องเลือกใช้โอเวอร์โหลดรีเลย์ “Hyundai Brand”

Untripped Position

3-Phase Overload Status (Normal Trip Possible)

Single Phase Overload Status (Differential Trip Possible) (In Case of Fixed R-Phase)


ได้มาตรฐานทั้งบนบกและในทะเล ทั้งยุโรปและอเมริกา Standard : IEC 60947, EN 60947, UL 508, BS 47794, BS 5424, BS 4941 VDE 0660, DNV, KS C4504, JISC 8328, JEM 1038 Approval : ISO 18001, 14001, 9001, UL/C-UL CE : Community European : TÜV Rheinlend, GOST-R, CCC Shipping Approval : LR, BV, ABS, GL, NK, KR Rated Voltage : Up to 1,000 V, Rated Current : Up to 800 A  ท�ำจากวัสดุไม่ติดไฟ (Non Flammable ; Class : V0)  Safety Cover - IP20  มีฝาปิดผนึกป้องกันการเปลี่ยนค่าที่ตั้งไว้  สามารถป้องกันปัญหามอเตอร์ทำ � งานเกินก�ำลังล็อคโรเตอร์และกระแส ไม่สมดุลระหว่างเฟส  มีย่านการปรับตั้งกระแส (Setting Current) ให้เลือกหลายขนาด (ท�ำให้ปรับตั้งกระแสได้ตรงกับ NAME PLATE มอเตอร์มากสุด)  มีประสิทธิภาพสูง ผลิตด้วยวัสดุที่มีคุณภาพ  เป็นชนิด 3 Element (Bi-Metal ทั้ง 3 Pole)  ใช้ป้องกันมอเตอร์เสียหายจาก Overload  มีฟังก์ชันการป้องกัน Phase Loss ในตัว  Tripping Class 10  สามารถ Reset แบบ Auto หรือ Manual  มีฟังก์ชัน Test  มีคอนแทค 1NO+1NC, Trip Indicator อยู่ที่ด้านหน้า  สามารถใช้ได้กับมอเตอร์ 3 เฟส หรือ 1 เฟส 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

บริษัท ที แอนด์ ดี เพาเวอร์ เทค (ไทยแลนด์) จ�ำกัด

22/28-29 ถนนสุขาภิบาล 2 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทร. 0-2002-4395-97 แฟกซ์ 0-2002-4398 E-mail : ejlee@tdpowertech.com, lalida@tdpowertech.com


IT Article

> สุภัค ลายเลิศ กรรมการอ�ำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ยิบอินซอย จ�ำกัด

วิถีไอทีปี 2563

วิถีสู่โลก ยุคอัตโนมัติ

ดูเหมือนว่าบริษัทผู้เชี่ยวชาญและให้ค�ำปรึกษา ด้านไอที อาทิ การ์ทเนอร์ ฟอเรสเตอร์ ต่างคาดการณ์ ทิศทางของโลกนับจากปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ก�ำลัง เดินหน้าสูย่ คุ ของระบบอัตโนมัติ (The Age of Automation) อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น

https://pixabay.com/illustrations/web-networkinformation-technology-4861605/

ไฮบริดคลาวด์ เอดจ์ คอมพิวติง้ ไอโอที เออาร์ แมชชีนเลิรน์ นิง่ ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) หุน่ ยนต์ ดิจทิ ลั ทวิน บล็อกเชน ระบบจัดการ และวิเคราะห์ขอ้ มูล ระบบความปลอดภัยด้านไอทีและข้อมูล ยังคงทรง อิทธิพลต่อการพัฒนาระบบไอทีอย่างต่อเนือ่ ง ว่ากันว่า หากองค์กรสามารถ บูรณาการการใช้งานเทคโนโลยีขา้ งต้น ในการเข้าถึงความต้องการของมนุษย์ (เช่น ลูกค้า และพนักงาน) และครอบคลุมพืน้ ทีใ่ นการด�ำรงชีวติ (เช่น บ้าน สถานที่ท�ำงาน) ซึ่งการ์ทเนอร์เรียกกลยุทธ์นี้ว่า People-Centric Smart Space จะช่วยเพิม่ โอกาสทางธุรกิจได้อกี มากมาย โดยเฉพาะการพัฒนา ระบบงานทีม่ คี วามป็นอัตโนมัติ (Autonomous) ทีท่ ำ� ให้เราสามารถใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีได้มากขึ้นและง่ายขึ้น โดยไม่จำ� เป็นต้องมีความเชี่ยวชาญ สูงมากนัก ตลอดจนการออกแบบแพลตฟอร์มการน�ำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกิจกรรมการตลาดได้ตามคาดหวังและประสบการณ ซึง่ ส่งตรง ถึงตัวกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทิศทางการพัฒนา และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เราจะได้เห็นมากขึ้นในปีนี้ ได้แก่ การบูรณาการทางเทคโนโลยีหลายรูปแบบเพื่อมุ่งสู่ความเป็น ไฮบริด อินเทลลิเจนท์ (Hybrid Intelligence : HI) มากขึ้น เช่น คลาวด์ แบบไฮบริด ซึง่ เป็นตัวอย่างหนึง่ ทีเ่ ปิดกว้างให้องค์กรสามารถผสมผสาน การใช้งานหลายรูปแบบ ทั้งคลาวด์ส่วนตัวและคลาวด์สาธารณะ จาก หลากหลายผู้ให้บริการไอทีให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะด้าน ผสมกับพลังของ เอดจ์ คอมพิวติง้ (Empowered Edge) ผูช้ ว่ ย คนส�ำคัญที่จะท�ำให้อุปกรณ์ใช้งานปลายทางมีความฉลาด ในการประมวลผลด้วยตัวเอง ซึง่ จะช่วยลดปริมาณงานของ คลาวด์สว่ นกลาง ทัง้ สนับสนุนให้แนวคิดการสร้างคลาวด์ กระจายออกไปตามจุดต่างๆ (Distributed Cloud) มีความเป็นไปได้มากขึน้ ซึง่ จะท�ำให้ระบบไอทีโดย ภาพรวมท�ำงานได้รวดเร็วขึ้น ประกอบกับองค์กรธุรกิจหรือผู้ใช้งาน ต่ า งต้ อ งการแอปพลิ เ คชั น ที่ ป รั บ เปลี่ ย นได้ ตามที่ตนเองต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงกว่า 40% เมือ่ ถึงปี พ.ศ. 2567 ซึง่ ไม่เพียงจะท�ำให้ องค์กรต้องเร่งพัฒนาโซลูชนั หลักในการด�ำเนิน ธุรกิจแล้ว ยังต้องเพิม่ แอปพลิเคชันในลักษณะ คอนเทนเนอร์ และ ไมโครเซอร์วสิ แยกออก เป็นส่วนๆ ส�ำหรับงานหรือบริการบางประเภท เพือ่ ให้องค์กรสามารถสร้างและปรับปรุงบริการ การใช้งานได้เร็ว ทันการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ และทันใจผู้ใช้มากขึ้น นอกจากนี้ ความนิยมในการเข้าถึงบริการและ แอปพลิเคชันจากทีไ่ หนก็ได้โดยอิสระผ่านสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ BYOD โดยยังคงรักษาประสิทธิผลของ งานได้เหมือนเดิมหรือดียิ่งกว่าเดิม เป็นสิ่งที่การ์ทเนอร์ คาดการณ์ว่า จนถึงปี พ.ศ. 2566 กว่า 30% ขององค์กรธุรกิจ ก�ำลังปรับเปลีย่ นนโยบายในการติดตามผลการท�ำงานของพนักงาน หรือติดตามพฤติกรรมลูกค้าที่ใช้บริการผ่านอุปกรณ์ BYOD ต่างๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม องค์กรก็ต้องมีแนวทางควบคุมการใช้งานอุปกรณ์


เหล่านี้ เพือ่ การใช้งานเฉพาะในขอบเขตทีเ่ ป็นประโยชน์และ เหมาะสมกับธุรกิจไว้ด้วย ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ จะถูกพัฒนาให้เป็นไฮบริด มากขึ้นในมิติต่างๆ เช่น การเติมเต็มความเป็นอัตโนมัติให้กับ ระบบงาน ใช้เป็นตัวตรวจจับพฤติกรรมเสีย่ งต่อระบบความปลอดภัย หรือพัฒนาให้ฉลาดพอที่จะประเมินพฤติกรรมหรือสิ่งที่มนุษย์รู้สึก ซึง่ การ์ทเนอร์เรียกสิง่ นีว้ า่ Artificial Emotional Intelligence : AEI ทั้งยังท�ำนายต่ออีกว่า ในปี พ.ศ. 2567 ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถ จับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์อย่างลึกซึ้งและแม่นย�ำ จะมีผลต่อ การสร้างสรรค์โฆษณาสินค้าออนไลน์เกินกว่าครึง่ รวมถึงมีผลต่อการ ตัดสินใจซือ้ ของลูกค้า ขณะเดียวกัน 28% ของนักการตลาดทัง้ หลาย ต่างจัดอันดับให้ทั้งเอไอและแมชชีนเลิร์นนิ่งมีผลต่อการขับเคลื่อน การตลาดในอนาคต เพิม่ เติมด้วยเทคโนโลยี ไอโอที โดยฟอร์เรสเตอร์ ซึง่ กล่าวว่า นับจากปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ไอโอทีจะเดินเครือ่ งเต็มทีส่ ยู่ คุ 5G ด้วยศักยภาพในการรับ-ส่งข้อมูลที่ใช้เวลาน้อยลงเรื่อยๆ (LowLatency) โดยเฉพาะการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ส�ำหรับการเก็บ และแชร์ขอ้ มูลผ่านอุปกรณ์เซนเซอร์ในการเชือ่ มโยงการบริหารงาน โรงงานกับเครื่องจักรในสายการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพในการ ตรวจติดตามหรือตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มา-ที่ไปของสินค้า ในระบบซัพพลายเชนหรือระบบขนส่งได้ในแบบเรียลไทม์ หรือ การเก็บรวบรวมและเชื่อมโยงระบบข้อมูลจากอุปกรณ์ไอโอทีที่ เชือ่ มต่อกับอินเทอร์เน็ตนับเป็นพันๆ ล้านชิน้ ในการสร้างระบบนิเวศน์ ด้านไอที (Ecosystem) เพื่อการจัดการในองค์กร การด�ำเนินธุรกิจ การสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุนทาง เทคโนโลยี การบริหารจัดการข้อมูลเพือ่ ประโยชน์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ หรือ บิสซิเนส อินเทลลิเจนท์ จะยังคงอยูต่ อ่ ไป แต่จะมีประสิทธิภาพ สูงขึ้นกว่าเดิม ด้วยการเติมเทคโนโลยีด้านเอไอเพื่อช่วยจัดการกับ ข้อมูลระดับ บิก๊ ดาต้า การสร้าง วิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงลึกและรอบด้าน (Data Analytics) ให้สามารถตอบโจทย์ธรุ กิจได้จริง หรือการออกแบบ ระบบจัดการชุดข้อมูล (Data Catalog) เพือ่ แก้ปญ ั หาการจัดเก็บข้อมูล ทีไ่ ม่ตรงตามวัตถุประสงค์ใช้งานหรือไม่สร้างมูลค่าใดๆ ให้กบั ธุรกิจ ข้อมูลทีเ่ ก็บมาเฉพาะใช้งานในหน่วยงานเดียว ไม่สามารถปรับเปลีย่ น หรือขยายรูปแบบการเก็บข้อมูลออกไปได้ เป็นต้น ส่วนเทคโนโลยี บล็อกเชน ซึง่ ถึงแม้มาตรฐานความปลอดภัย ในการดูแลบัญชีธุรกรรมออนไลน์จะยังไม่นิ่ง แต่ผู้ใช้ก็ไม่รีรอที่จะ ซือ้ ขายใช้จา่ ยเงินในตลาดออนไลน์ผา่ นสมาร์ทโฟนหรือแพลตฟอร์ม การเงินต่างๆ อาทิ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือคิวอาร์โค้ด โดย คาดว่าจะเพิม่ สูงถึง 50% ในปี พ.ศ. 2568 เลยทีเดียว ขณะเดียวกัน การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคของบล็อกเชนยังคงด�ำเนินต่อไป เช่น การกระจายข้อมูลให้เข้าถึงได้ การเข้ารหัสด้วยชุดข้อมูลเสมือนแบบ โทเคน (Token) เพือ่ ให้หลายๆ บล็อกเชนสามารถท�ำงานร่วมกัน หรือ ปรับขยายระบบเพื่อรองรับข้อมูลหรือผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นได้

https://pixabay.com/illustrations/web-networkinformation-technology-4861610/ อย่างไรก็ตาม เหรียญย่อมมีสองด้าน และด้านมืดของไอที ทีย่ งั เป็นปัญหาใหญ่ คือ การโจมตีจากอาชญากรไซเบอร์ การละเมิด สิทธิและข้อมูลส่วนบุคคล การเข้าถึงชัน้ ความลับของข้อมูลทางธุรกิจ โดยบุคคลทีไ่ ม่ได้รบั อนุญาต การขโมยรหัสผ่านเพือ่ เข้าถึงบัญชีธรุ กรรม ออนไลน์ การเจาะช่องโหว่ของระบบเพือ่ ก่อกวนการท�ำงาน รวมถึง การปล่อยไวรัสแรนซัมแวร์บนโลกดิจิทัลจะยังคงเกิดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น องค์กรควรให้ความใส่ใจกับการสร้างปราการ ความ ปลอดภัยไอที เครือข่ายและข้อมูล ให้ครอบคลุมทัง้ ด้านเทคนิคและ นโยบาย ในเชิงเทคนิค เช่น ระบบป้องกันไวรัส เกตเวย์ ไฟร์วอลล์ ซึง่ ถือเป็นระบบพืน้ ฐานทีต่ อ้ งมีอยูแ่ ล้วภายในทุกองค์กรหรือบนคลาวด์ ทุกประเภท การพัฒนาระบบพิสจู น์ตวั ตน (Authentication) เมือ่ เวลา มีการร้องขอข้อมูลเชิงลึกหรือเข้าใช้งานในระบบ การเฝ้าระวังการ รับ-ส่งข้อมูลทีไ่ ด้มาจากการใช้งานเอไอ แมชชีนเลิรน์ นิง่ หรือไอโอที เนื่องจากเป็นเป้าโจมตีที่อาชญกรไซเบอร์ชื่นชอบ เป็นต้น ส่วน ในเชิงนโยบาย เช่น การวางมาตรฐานด้านจริยธรรมทางเทคโนโลยี ที่ซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Transparency and Traceability) เพือ่ ไม่ให้กา้ วล่วงความเป็นส่วนตัวของผูค้ นจนเกินไป เพราะทุกคน ต่างฉลาดพอที่จะเดาได้ว่า ข้อมูลของเขาก�ำลังถูกเก็บและน�ำไปใช้ อย่างไร รวมถึงหมั่นติดตามและคอยปรับปรุงนโยบายด้านความ ปลอดภั ย ให้ เ ป็ น ไปตามข้ อ บั ง คั บ หรื อ กฎหมายความปลอดภั ย จากในและนอกประเทศ เช่น พรบ.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จีดีพีอาร์ มาตรฐานทางบัญชีใหม่ IFRS 9 หรืออื่นๆ เพื่อให้ระบบ ความปลอดภัยมีความทันสมัย ทันเหตุการณ์ และเป็นไปตาม มาตรฐานสากลอยู่เสมอ เรื่องน่ายินดีก็คือ การ์ทเนอร์คาดว่า การใช้จ่ายด้านไอที ทั่วโลกจะโตเพิ่มขึ้นอีก 3.7% ในปี พ.ศ. 2563 จากยอดใช้จ่ายรวม 3.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2562 และถึงแม้ตัวเลข ส่วนใหญ่ถูกใช้จ่ายไปกับเรื่องซอฟต์แวร์ส�ำหรับองค์กรธุรกิจ แต่ ตัวเลขใช้จา่ ยด้านความปลอดภัยก็สงู ถึง 10.5% ในปี พ.ศ. 2562 ทัง้ นี้ ตัวเลขทีใ่ ช้จา่ ยไปกับการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ คาดว่าจะ โตถึง 41.2% ในอีก 5 ปีข้างหน้า ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า วิถีโลกยุค ระบบอัตโนมัตทิ มี่ ศี กั ยภาพและเสถียรภาพนัน้ ช่วยให้มนุษย์มอี สิ ระ ในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี แต่กต็ อ้ งเป็นระบบทีต่ อ้ งตอบสนอง วิถีชีวิตทั้งในโลกความเป็นจริง และชีวิตในเวอร์ชันดิจิทัลได้อย่าง ชาญฉลาด มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูงเป็นส�ำคัญ


IT Article > Bluebik

Bluebik เผย พ.ร.บ.คุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Personal Data Protection Act กำ�ลังเข้ามา Disrupt โลกการทำ�งานด้าน Data Analytics ทำ�ให้ขอ้ มูลซึง่ เป็น “หัวใจ” สำ�คัญของการแข่งขันยุคใหม่มกี ระบวนการซับซ้อน และอ่อนไหวมากขึน้ ส่งผลให้องค์กรธุรกิจไทยเร่งวางแผนและเตรียมความพร้อมเพือ่ รับมือ แนะปรับตัวได้กอ่ น เดินหน้า ได้เร็ว ไม่เสียโอกาสทางธุรกิจ สบช่องออกบริการช่วยองค์กรเตรียมปฏิบัติให้เข้ากับหลักเกณฑ์ ตั้งแต่ต้นน�้ำ ประเมิน ศักยภาพและความพร้อม กลางน�ำ้ วางแผนการทำ�งานให้สอดรับ พ.ร.บ. และปลายน�ำ้ บริหารจัดการโครงการทีร่ องรับ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล

ตัว น ่ ื ต ย ท ไ ร ั บ องค์ก ปรบ ร ว ั ต ั เร่งเต็มสูบ

ง อ ร ค ม ้ ุ ค พ.ร.บ. นบุคคล ้ขอมูลส่ว ) A P D (P

พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษทั บลูบคิ กรุป๊ จ�ำกัด (Bluebik) บริษทั ทีป่ รึกษาด้านกลยุทธ์ และการจัดการนวัตกรรม และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทีก่ ำ� ลังจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 นี้ จะเข้ามา เปลี่ยนแปลงและเป็นตัวแปรส�ำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการ ท�ำงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) นับตั้งแต่ขั้นตอนจัดเก็บ ข้อมูล ไปจนถึงการน�ำไปใช้งาน ซึง่ ข้อมูลถือเป็น “สินทรัพย์” ส�ำคัญส�ำหรับ องค์กรทีจ่ ะสามารถน�ำมาสร้างเป็น Insight ช่วยให้หลายองค์กรรูจ้ กั ตัวเอง และลูกค้าของตัวเองอย่างถ่องแท้ จนน�ำมาซึง่ การน�ำเสนอสินค้าและบริการ ได้อย่างตรงใจ อีกทัง้ ข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็น “หัวใจ” ส�ำคัญส�ำหรับการท�ำ Big Data Analytics เพื่อหาสิ่งเชื่อมโยงของข้อมูลเหล่านั้นไว้ด้วยกัน โดยน�ำไปค้นหาแนวโน้มทางการตลาด หาความต้องการของลูกค้า รวมทัง้ ข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ ซึ่งเมื่อถึงวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวถูก บังคับใช้โดยกฎหมาย องค์กรจะต้องด�ำเนินการจัดเก็บและใช้ขอ้ มูลส่วนบุคคล ให้ถูกต้องและรัดกุม March-April 2020

พชร อารยะการกุล


อย่างไรก็ดี ในส่วนขององค์กรธุรกิจที่ก�ำลังเตรียมความพร้อมในการปรับใช้ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล ให้เริ่มจากศึกษาความเข้าใจเกี่ยวกับข้อก�ำหนดที่ส�ำคัญ 4 ข้อหลัก ได้แก่

1. การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล เริม่ ตัง้ แต่การเก็บรวบรวม การใช้งาน

หรือการเปิดเผยข้อมูลต่อบุคคลอืน่ ต้องได้รบั การยินยอมเป็นลายลักษณ์อกั ษร และ ต้องไม่กระท�ำเกินกว่าที่ขอความยินยอมไว้ 2. การแจ้งวัตถุประสงค์ในการใช้ขอ้ มูลต่อเจ้าของข้อมูล ต้องชัดเจนและเข้าใจ ได้โดยง่าย ระบุระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลที่ชัดเจน 3. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) ต้องได้มาตรฐาน 4. สิทธิของเจ้าของข้อมูล ต้องมีการก�ำหนดสิทธิการเข้าถึง ส่งผลให้องค์กรต้องมี ระบบในการรองรับสิทธิของเจ้าของข้อมูล ตัวอย่างเช่น กรณีที่เจ้าของข้อมูลขอให้ องค์กรลบข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง องค์กรจะต้องด�ำเนินการลบข้อมูลเหล่านัน้ ออก “ทัง้ ระบบ” เป็นต้น ซึง่ อาจเป็นปัญหากับองค์กรทีย่ งั มีการจัดเก็บข้อมูลแยกกันตาม กลุ่มธุรกิจ (Silo) จะท�ำให้ไม่สามารถลบออกจากทั้งระบบ ที่สำ� คัญ พ.ร.บ.คุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคลได้ก�ำหนดนิยามบทบาทหน้าที่ใหม่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูล ต่างๆ เช่น Data Controller, Data Processor, Data Protection Officer ท�ำให้มอี งค์กร จ�ำนวนมากมองหาผูเ้ ชีย่ วชาญเข้าช่วยวางแผนรับมือ เนือ่ งจากองค์กรต่างเล็งเห็นว่า การเร่งปรับองค์กรให้สอดรับกับ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างรวดเร็วจะช่วยให้ สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมได้โดยไม่ท�ำให้เสียโอกาสทางธุรกิจ ทัง้ นี้ เพือ่ เตรียมความพร้อมขององค์กร เราสามารถพิจารณา แนวทางการเตรียมความพร้อมขององค์กร พร้อมเสนอความช่วยเหลือ ในการเตรียมพร้อมให้กบั องค์กรให้เข้ากับหลักเกณฑ์ พ.ร.บ. ดังกล่าว ออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขัน้ ต้นน�า้ องค์กรควรประเมินขีดความสามารถและความ พร้อมของระบบต่างๆ ในองค์กร อาทิ โครงสร้างและระบบด้านไอที (IT Infrastructure) เพื่อหาช่องว่างที่ต้องปรับปรุงให้สามารถรองรับ การด�ำเนินงานตาม พ.ร.บ.คุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมทัง้ ประเมิน กระบวนการท�ำงาน (Process) โดยจะต้องดูตงั้ แต่ขนั้ ตอนการขอความ ยินยอมจากเจ้าของข้อมูล (Consent) การจัดเก็บและบริหารจัดการ ข้อมูล และต้องมีแผนว่าจะจัดเก็บข้อมูลในอนาคตอย่างไร 2. ขัน้ กลางน�า้ องค์กรควรวางแผนในการจัดท�ำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ตั้งแต่การจ�ำแนกข้อมูล (Data Classification) ไปจนถึงการก�ำหนดมาตรการในการปกป้องข้อมูลต่างๆ การวางแผน และการคัดเลือกเครือ่ งมือในการปกป้องข้อมูล เช่น เครือ่ งมือในการท�ำ Data Masking (การปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลบางอย่างทีป่ รากฏอยูใ่ น ฐานข้อมูล) Data Encryption (การรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูล

ผ่านการเข้ารหัสข้อมูล) เป็นต้น รวมทั้งการวางแผนวางระบบไอที ที่ต้องสอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองส่วนบุคคล 3. ขัน้ ปลายน�า้ องค์กรควรมีทมี งานเฉพาะกิจในการวางแผน และบริ ห ารจั ด การ เพื่ อ ผลั ก ดั น ให้ ก ารปฏิ บั ติ ต ามกฎหมาย (Implementation) เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดย คณะท�ำงานนี้ควรมาจากตัวแทนที่เหมาะสมจากแต่ละฝ่ายงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการบริหารจัดการข้อมูลสอดคล้อง กับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งเป็นไปตามเป้าหมาย เชิงยุทธศาสตร์ได้ “องค์ ก รธุ ร กิ จ จะต้ อ งเตรี ย มความพร้ อ มเพื่ อ รั บ มื อ กั บ พ.ร.บ.คุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยต้องประเมินทัง้ ในเชิงนโยบาย กระบวนการท�ำงานและเทคโนโลยีขององค์กร ว่าจะสอดคล้องกับ บทบัญญัตขิ อง พ.ร.บ. มากน้อยเพียงใด เพือ่ ท�ำให้ทราบว่าองค์กรต้อง ปรับปรุงด้านใดบ้างให้รองรับกับข้อบังคับของกฎหมาย หากองค์กร ท�ำผิด พ.ร.บ. ดังกล่าว นอกจากจะถูกด�ำเนินการทางกฎหมายแล้ว ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือขององค์กรและแบรนด์ก็จะเสียหาย ตามไปด้วย” พชร กล่าวทิ้งท้าย March-April 2020


> Bluebik

s n o i t a z i n a Thai org g at full steam are goin line with to be in al Data

n o s r e P the tion Act Protec (PDPA)

Pochara Arayakarnkul

Bluebik revealed that the Personal Data Protection Act (PDPA) will disrupt the data analytics world as data, the “heart” of today’s competition, will be subject to more complicated processes and become increasingly sensitive. Hence, local businesses are expeditiously planning and preparing themselves for this change. Bluebik suggested that the quicker businesses can embrace changes, the faster they can make progress without losing business opportunities. Bluebik has come at the right time to help businesses adjust themselves to the new regulation. At the initial stage, business potential and readiness are assessed; work plans are then formulated to ensure alignment with the Act; and at the final stage, projects to support the Act are managed.

Mr.Pochara Arayakarnkul, CEO of Bluebik Group Co., Ltd., a leading consultant specializing in strategy development and technology and innovation management, disclosed that the Personal Data Protection Act B.E. 2562 (A.D. 2019), which will come into force on 28 May 2020, will be a game changer and a key factor affecting the data analytics process ranging from data collection through data utilization. Data is considered an asset for organizations which can be used to develop insights about their businesses and customers for further development of products and services to meet customer needs. Personal data is considered the “heart” of big data analytics; as it can be used for identifying common data links, market trends and customer wants, as well as other useful information for the business. Once the Act becomes effective, organizations must start collecting and using personal data in a proper and strict manner.

March-April 2020


However, businesses preparing for the adoption of the PDPA must study and understand the following 4 key principles:

1. Requesting the data owner’s consent: Written consent must be

received prior to the collection, use and disclosure of data. The data must only be used for requested purpose; 2. Notifying the data owner of content usage objectives: The notification must be clear and easy to understand. The period of data collection must be clearly specified; 3. Data security: Data security must meet standards; and 4. The data owner’s right: Access rights must be specified. Organizations are required to set up a system that accommodates the data owner’s rights. For example, if the data owner wants an organization to delete his/her personal data from the system, the organization has to ensure they are able to comply with the request. This may pose a problem for businesses if data is stored by individual business units on a silo basis and cannot be easily deleted from the whole system.

It is also well noted that the Act stipulates definitions and roles of people involved in the handling of data such as data controller, data processor, data protection officer, etc. Therefore, many organizations are looking for experts to assist in devising effective plans. Such organizations view that moving quickly to adapt themselves to the Act wil enable them to remain competitive in the industry and not miss out on business opportunities. In getting revved up for the PDPA, Bluebik Group has formulated suggested preparation guidelines and supporting measures to help businesses comply with requirements of the PDPA through the following 3 stages: 1. At the upstream stage: Organizations should assess the capacity and readiness of their internal systems such as IT infrastructure in order to identify gaps to be filled. Work

processes should be assessed, from the requesting of consent from the data owner to collecting and managing data, including solutions for secure data storage. 2. At the midstream stage: Organizations should devise a plan on data governance covering data classification, determination of data protection measures, and planning and selecting data protection tools such as data masking and data encryption tools. In addition, there should be a plan to ensure its IT system is compliant with the requirements of the Act. 3. At the downstream stage: Organizations should set up a dedicated team responsible for planning and managing the implementation of the new law to ensure it is carried out in a proper and efficient manner. This team should consist of suitable representatives from relevant functions to ensure that data management is aligned with the Act and meets organizational strategic goals. “Businesses must be ready to embrace and handle the PDPA. They must conduct assessments on their organizational policies, work processes, and technologies to see the extent of their compliance with the Act. This will allow them to identify areas for improvement to ensure conformity with the provisions of the law. Non-compliance could subject the organization to legal action and undermine its credibility and brand” said Mr.Pochara. March-April 2020


เพล็กซ์เตอร์ เปิดตัว M9P Plus Series, SSD มาพร้อมกับ 3D NAND 96 เลเยอร์ ที่ให้ประสิทธิภาพสูงรองรับความจุเพิ่มขึ้น

PLEXTOR launches the M9P Plus series: the fastest SSD in brand’s offer เพล็กซ์เตอร์ (PLEXTOR) ผูผ้ ลิต Solid State Drive (SSD) และอุปกรณ์จดั เก็บข้อมูลดิจทิ ลั ประสิทธิภาพสูงอืน่ ๆ ส�ำหรับผูบ้ ริโภค ประกาศเปิดตัว NVMe PCIe SSD รุ่นใหม่ M9P Plus ซึ่งถือว่า เป็น SSD รุ่นที่เร็วที่สุดของ PLEXTOR M9P Plus PCIe SSD ใหม่สง่ มอบความเร็วและประสิทธิภาพ การท�ำงานระดับสูงส�ำหรับกลุม่ นักเล่นเกมพีซี และผูใ้ ช้แอปพลิเคชัน ต่างๆ SSD ซีรี่ส์ใหม่มาพร้อมกับชิปหน่วยความจ�ำ 3D NAND BiCS4 96 เลเยอร์ รุ่นล่าสุดที่ให้ประสิทธิภาพสูง พร้อมด้วยการ รองรับความจุขอ้ มูลทีเ่ พิม่ ขึน้ อายุการใช้งานทีย่ าวนานขึน้ รวมถึง เทคโนโลยีการจัดการข้อมูลแบบใหม่ M9P Plus เลือกใช้ตัวควบคุมชั้นน�ำของอุตสาหกรรม (Marvell 88SS1092) พร้อมกับ PlexNitro สุดพิเศษเทคโนโลยี แคชอัจฉริยะเพื่อให้ความเร็วในการอ่าน/เขียนต่อเนื่องสูงถึง 3,400/2,200 MB/s และความเร็วในการอ่าน/เขียนแบบสุม่ สูงสุด 340,000/320,000 IOPS และนีเ่ ป็น SSD ชุดแรกในประวัตศิ าสตร์ ของ PLEXTOR ที่มาพร้อมกับหน่วยความจ�ำ 3D NAND แบบ 96 เลเยอร์ เช่นเดียวกับ M9P Series รุน่ ก่อน M9P Plus มีฮตี ซิงค์ ระบายความร้อนทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูง (รุน่ M9PY Plus และ M9PG Plus เท่านัน้ ) เพือ่ ช่วยควบคุมอุณหภูมิ SSD ในระหว่างการเล่นเกม เป็นเวลานาน ส่งผลให้มีเสถียรภาพในการท�ำงาน M9P111Y Plus รุ่นที่เป็นการ์ด PCIe จะมาพร้อมกับไฟ LED RGB มีไฟสีแดงเมื่อเปิดเครื่องและเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ ขณะ อยู่ในโหมดสแตนด์บาย และจะแสดงสีเต็มสเปกตรัมในระหว่าง กระบวนการอ่าน/เขียน M9P111Y Plus มอบสีสันที่ยอดเยี่ยม ให้กับประสบการณ์การเล่นเกมบนเดสก์ท็อปพีซี M9P Plus มาในฟอร์มแฟคเตอร์ถงึ 3 รูปแบบ และมีความจุ ทีแ่ ตกต่างกัน 3 ขนาดให้เลือกใช้ 256GB, 512GB และ 1TB ตาม ความเหมาะสมและตามความต้องการของผู้ใช้ มีการรับประกัน MTBF (เวลาเฉลีย่ ระหว่างความล้มเหลว) ไม่นอ้ ยกว่า 1.5 ล้านชัว่ โมง และรับประกันเป็นเวลา 5 ปี

PLEXTOR, a leading manufacturer of award-winning solid-state drives (SSDs) and other high-performance digital storage devices for consumers, announced the launch of its newest NVMe PCIe SSD the M9P Plus series. It’s the fastest SSD in PLEXTOR’s offer. The new M9P Plus PCIe SSD Series provides a new level of speed and performance targeted for all PC gamers and applications intensive users. The new series boasts of the latest high-performance BiCS4 96-layer 3D NAND flash that offers increased data density, better endurance and integration of the new generation pre-load technology. The M9P Plus series adopts an industry-leading controller (Marvell 88SS1092) along with exclusive PlexNitro, smart cache technology to deliver awesome sequential read/write speeds up to 3,400/2,200 MB/s and random read/write speeds up to 340,000/320,000 IOPS. This is the first series of SSDs in PLEXTOR history equipped with 96-layer 3D NAND memory. Similar to its predecessors, the new M9P Plus features a high-performing thermal heatsink (M9PY Plus and M9PG Plus models only) to help regulate SSD temperatures during prolonged gaming sessions resulting in stabilized performance. Exclusively available on the Add-In-Card model, M9PY Plus, the RGB LED feature red light once powered on and interchanges to different colors while on standby mode. It displays a full spectrum of colors during read/write process. The M9PY Plus definitely delivers splendid visual effects to the desktop PC gaming experience. The M9P Plus comes in three form factors and three different capacities: 256GB, 512GB and 1TB for even better flexibility. It offers guaranteed MTBF (Mean Time Between Failures) of no less than 1.5 million hours and a 5-year service warranty.


Fan Ionizer (Area Fan Type) ป้องกันไฟฟ้าสถิต ก�ำจัดฝุน่ เกาะชิน้ งาน อย่างได้ผล เพื่อผลิตภัณฑ์คุณภาพ ZJ-FW Series : ขนาดเล็ก น�ำ้ หนักเบา ง่ายต่อการติดตั้งในสถานที่แคบหรือติดตั้ง ที่สูงๆ สามารถเลือกขนาดให้เหมาะสมกับ สถานที่และพื้นที่ที่ต้องการได้ ZJ-FA20 : ขนาดมาตรฐาน ลด ไฟฟ้าสถิตที่รวดเร็วในเวลาเพียง 1.2 วินาที ฝาครอบถอดออกได้งา่ ย สะดวกในการท�ำความ สะอาด และเปลี่ยนเข็มอีเล็กโทรด สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ออมรอน อีเลคทรอนิคส์ จ�ำกัด โทร. 0-2942-6700 อีเมล : th_enquiry@ap.omron.com

ปั๊มน�ำ้ ของโตโย (ประเทศไทย) บริษทั โตโยโบ (ประเทศไทย) จ�ำกัด เปิดตัวปัม๊ น�ำ้ XS-Series Excel Type 5 รุน่ Tank Type 7 รุน่ และล่าสุดคือ XX-Series ั นาขึน้ ใหม่ ท�ำให้ได้ปริมาณน�ำ้ สูงสุดถึง 51 ลิตรต่อนาที 2 รุน่ ซึง่ ปรับปรุงจากรุน่ XS-Series Stainless Tank ด้วยการใช้ใบพัดพิเศษทีพ่ ฒ โดยยังคงมาตรฐานประหยัดไฟเบอร์ 5 และมีความปลอดภัยได้มาตรฐาน มอก. นอกจากนีย้ งั มีปม๊ั Turbine Type TM-60L อีก 3 รุน่ ที่ให้แรงดันน�้ำเพิ่มขึ้น 1.5 เท่าจากรุ่นก่อน จึงให้ปริมาณน�ำ้ สูงสุดถึง 90 ลิตรต่อนาที เสียงรบกวนน้อย ประหยัดไฟเบอร์ 5 และได้ มาตรฐาน มอก. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.toyobothailand.com


จุฬาฯ จับมือ สวทช. ถ่ายทอดเทคโนโลยีชั้นสูง สู่ SMEs ไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงานแถลงข่าวแสดงเจตนารมณ์ความร่วมมือ “การด�ำเนินงานเครือข่ายของโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม” (Innovation and Technology Assistance Program : ITAP) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอือ้ อาภรณ์ อธิการบดีจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมการน�ำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) โดยมีศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานกลาง ในการประสานงานและบริหารจัดการ

กลุ่มธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่บริษัททรู คว้ารางวัล คุณภาพแห่งชาติ ประจ�ำปี 2562

ปตท.สผ. คว้ารางวัล Platinum Winner จากเวที มอบรางวัลซีเอสอาร์ระดับโลก

ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย คณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ โดย ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานคณะกรรมการฯ ร่วมแสดงความยินดีแก่กลุ่มธุรกิจโทรศัพท์ เคลื่อนที่ในกลุ่มบริษัททรู โดย อาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการ ผูจ้ ดั การใหญ่ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชัน่ ทีไ่ ด้รบั การประกาศชือ่ คว้ารางวัล คุณภาพแห่งชาติ ประจ�ำปี 2562 (Thailand Quality Award 2019) จัดโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวง อุตสาหกรรม โดยนับเป็นครัง้ แรกในรอบ 8 ปีทมี่ ี 2 องค์กรไทยสามารถ ผ่านเกณฑ์การตัดสินอย่างเข้มข้น จนได้รับรางวัลอันทรงเกียรติซึ่งเป็น ทีย่ อมรับอย่างกว้างขวาง เป็นเครือ่ งหมายอันแสดงถึงความเป็นเลิศใน การบริหารจัดการองค์กรทีท่ ดั เทียมมาตรฐานโลก โดยกลุม่ ธุรกิจโทรศัพท์ เคลือ่ นทีใ่ นกลุม่ บริษทั ทรู เป็นองค์กรด้านการสือ่ สารโทรคมนาคมไทย เพียงรายเดียวในไทยที่สามารถพิชิตรางวัลดังกล่าว

บริษัท ปตท. ส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. คว้ารางวัลชนะเลิศระดับ Platinum Winner ในเวที Energy and Environment Foundation Global CSR Awards 2020 โครงการแหล่งเรียนรู้ เรือหลวงใต้ทะเล เป็นโครงการซึ่ง ปตท.สผ. ร่วมกับกองทัพเรือ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง และชุมชน วางเรือหลวงปราบและเรือหลวง สัตกูตทีป่ ลดประจ�ำการใต้ทะเล จังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพือ่ เป็น ที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ใต้ทะเล โครงการนี้ ยังช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนปีละกว่า 59 ล้านบาท

สภาอุตสาหกรรมไทย จับมือ พีเอ็มพี จัดงานแสดง เครื่องจักรฯ สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ธนัชญา ทวีกิจพัฒนชัย ผู้อำ� นวยการฝ่ายจัดงานแสดงสินค้า บริษัท พีเอ็มพี แมนเนจเม้นท์ จ�ำกัด จัดงานแสดงเครือ่ งจักรอุตสาหกรรมระบบขนส่งล�ำเลียง จัดเก็บ และเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ครั้งที่ 5 ประจ�ำปี 2020 หวังยกระดับ ประเทศไทยให้เป็นฮับด้านโลจิสติกส์ และมีความส�ำคัญในการขับเคลื่อน อุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศ รวมถึงการเชื่อมโยงไปสู่การค้าระดับโลก ภายใต้แนวคิด “การลดต้นทุน คือ การเพิ่มผลก�ำไร” ณ ศูนย์แสดงสินค้าและ การประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ฮอลล์ 8


อธิการบดี สจล. คว้ารางวัลสุดยอดซีอีโอ Go Beyond the Limit ของ สจล. ศาสตราจารย์ ดร.สุชชั วีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รับรางวัลสุดยอดซีอโี อแห่งปี (The Best CEO Award) ในสาขาเทคโนโลยี จาก สนธิรตั น์ สนธิจริ วงศ์ รัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงพลังงาน โดยรางวัลดังกล่าวมอบให้แก่ผนู้ ำ� ทีม่ คี วามตัง้ ใจ มุง่ มัน่ กล้า เปลีย่ นแปลงองค์กรในยุคดิสรัปชัน สะท้อนความเปลีย่ นแปลงในด้านเทคโนโลยี ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่รวดเร็วและ ไร้ขีดจ�ำกัด (Go Beyond the Limit) ทั้งนี้ งานประกาศผลรางวัลดังกล่าวจัดขึ้น โดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์

ชไนเดอร์ฯ จัดกิจกรรมจิตอาสา จัดการระบบไฟ ให้โรงเรียน เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ

เรเซอร์ ผู้น�ำนวัตกรรมด้านการส่องสว่างของไทย เปิดตัวโคมไฟอัจฉริยะสั่งการด้วยเสียง

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) จัดกิจกรรมจิตอาสา ซึง่ ภายในกิจกรรมมีชา่ งไฟจิตอาสาและพนักงานชไนเดอร์ฯ ร่วมกันช่วย ปรับปรุงระบบไฟฟ้าของโรงเรียนวัดปากน�้ำ (อมรวิมลจันทร์) จังหวัด สมุทรสงคราม ให้มีความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้ามากขึ้น ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค น�ำทีมโดยนายช่างใหญ่ ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย ประธานชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประจ�ำประเทศไทย งานนี้ได้รับความร่วมมือเป็นพิเศษจากช่างไฟจิตอาสา ที่มุ่งมั่นมาเพื่อ สร้างความยั่งยืนร่วมกัน

บริษัท เรเซอร์การไฟฟ้า (ประเทศไทย) จ�ำกัด ผู้นำ� นวัตกรรมด้าน การส่องสว่างของไทยยาวนานกว่า 50 ปี เปิดตัวโคมไฟอัจฉริยะสั่งการด้วย เสียง ณ งาน Baan & Beyond Expo 2020 @ ไบเทคบางนา โดยโคมไฟ ‘Racer AI Lamp Voice Control New Series’ โดดเด่นด้วยระบบ ‘AI Voice Control’ สัง่ การผ่าน 16 ชุดค�ำสัง่ เสียง ตอบสนองทุกส�ำเนียงภาษาไทยอย่างสมบูรณ์แบบ มี 3 รุน่ ได้แก่ Crystal, Sapphire & Luxury พร้อมเปิดตัวพรีเซนเตอร์ พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ หรือ ใบเฟิรน์ เป็นการตอบโจทย์ Life Style ผูบ้ ริโภคในปัจจุบนั และมีการใช้เสียงตอบรับเป็นเสียงของใบเฟิรน์ ซึง่ สามารถเปลีย่ นเสียงตอบรับได้ รุ่นละ 2 สไตล์ เป็นนวัตกรรมที่จะเข้ามาเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต ของมนุษย์เพิ่มมากยิ่งขึ้น

เดลต้า ได้รับรางวัล SAM Silver Class Sustainability Award กลุ่มอุตสาหกรรม บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) ได้รับ รางวัลระดับ Silver Class จาก S&P Global จากผลการด�ำเนินงานด้านความ ยั่งยืนที่ยอดเยี่ยม โดยเดลต้าฯ เป็นบริษัทในกลุ่ม “อุปกรณ์ เครื่องมือ และ ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์” หนึ่งเดียวจากประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับ อยู่ใน The Sustainability Year Book 2020 ทั้งนี้ เดลต้า ประเทศไทย ได้รับ รางวัลความเป็นเลิศด้านความยัง่ ยืน RobecoSAM ระดับ Bronze ประจ�ำปี 2561 มาแล้ว ครัง้ นีจ้ งึ ถือเป็นการตอกย�ำ้ ในฐานะทีเ่ ป็นผูน้ ำ� ด้านความยัง่ ยืนระดับโลก ในอุตสาหกรรม


ส�ำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พัฒนาภาพลักษณ์ใหม่ ผศ. ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย กรรมการและโฆษกคณะกรรมการ สลากกินแบ่งรัฐบาล ในฐานะประธานคณะกรรมการสือ่ สารองค์กร ส�ำนักงาน สลากกินแบ่งรัฐบาล แถลงถึงการปรับเปลีย่ นภาพลักษณ์องค์กร สร้างแบรนด์ที่ สะท้อนความเป็นผูใ้ ห้และเชือ่ มทุกฝ่ายให้มสี ว่ นร่วมในการช่วยเหลือซึง่ กันและกัน ภายใต้แนวคิด “Giving is Rewarding for All การให้คอื รางวัลทีย่ งั่ ยืนเพือ่ สังคม คุณภาพ” พร้อมเปิดตัวตราสัญลักษณ์ใหม่ GLO และเผยแผนกิจกรรมการสือ่ สาร ทั้งภายในองค์กรและแคมเปญโฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยน ภาพลักษณ์ของส�ำนักงานสลากฯ ในรอบ 80 ปี

GPSC เดินหน้าสร้างโรงผลิตแบตเตอรี่ฯ ต้นแบบ แห่งแรกของไทย

ชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จ�ำกัด (มหาชน) หรือ GPSC และ มร.ทาเกฮิสะ มูระกิ กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั ไทยทากาซาโก จ�ำกัด (Thai Takasago Co., Ltd.) ร่วมลงนามสัญญาก่อสร้างโรงงาน แบตเตอรี่ Semi Solid แห่งแรกของไทย โดยมี ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ดร.ศิริ จิระพงษ์พนั ธ์ และผูม้ เี กียรติรว่ มแสดงความยินดีกบั การลงนาม ในครั้งนี้ การลงนามสัญญาครัง้ นี้ เป็นการแสดงจุดยืนของ GPSC ทีพ่ ร้อม รุกสู่ธุรกิจไฟฟ้าและนวัตกรรมพลังงานเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งและ ยั่งยืน ซึ่งโครงการก่อสร้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ Semi Solid นี้ ทาง GPSC ไว้วางใจให้บริษทั ไทยทากาซาโก จ�ำกัด ซึง่ เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญ การก่อสร้างโรงงานแบตเตอรีจ่ ากญีป่ นุ่ เป็นผูด้ ำ� นินการก่อสร้างภายใน นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง บนพืน้ ที่ 12 ไร่ ด้วยงบลงทุน รวม 1,100 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มผลิตได้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563

เปิดเวทีระดมสมองนักวิชาการสหสาขา ยก “เจ้าพระยาเดลต้า 2040” เป็นมากกว่าแก้ปญ ั หา “น�ำ้ ”

ส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาสาสตร์ วิจยั และนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ ศูนย์วจิ ยั และพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ได้จดั การประชุมสัมมนาผูเ้ ชีย่ วชาญ และการรับฟังความคิดเห็น การศึกษา “โครงการการพัฒนาเจ้าพระยาเดลต้า 2040” ขึ้นเป็นครั้งแรก ของการเปิดเวทีระดมความรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลเจ้าพระยาเดลต้า ภายใต้ “แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานการบริหาร จัดการน�้ำ” โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาค ประชาชน นักวิชาการ รวมทัง้ ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียเกีย่ วข้องกับลุม่ น�ำ้ เจ้าพระยา เข้ามาเปิดหน้าตักให้ความรู้ พร้อมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันอย่างเปิดกว้าง ส�ำหรับการวางแผนบริหารจัดการลุม่ น�ำ้ เจ้าพระยาในอีก 20 ปีขา้ งหน้า น�ำโดย รศ. ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพี และฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะหัวหน้า “โครงการพัฒนา เจ้าพระยาเดลต้า 2040”

อินโดรามา รั้งอันดับเป็นที่หนึ่งในกลุ่มบริษัทเคมีภัณฑ์ ริชาร์ด โจนส์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรและ ความยั่งยืน บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จ�ำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยถึงการที่ ไอวีแอลได้รบั การประเมินจาก FTSE Russell ให้เป็นสมาชิกในดัชนี FTSE4Good Index Series ซึ่งวัดผลการด�ำเนินงานของบริษัทที่มีความโดดเด่นด้านการ ด�ำเนินงานด้านสิง่ แวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ทีไ่ ด้รบั การยอมรับ ทัว่ โลก โดยการประเมินครัง้ ล่าสุดส�ำหรับผลงานในปี พ.ศ. 2563 นัน้ ไอวีแอล ได้รับอันดับเป็นที่หนึ่งในกลุ่มบริษัทเคมีภัณฑ์ด้วยคะแนนสูงสุด 4.6 ทั้งนี้ เพือ่ ให้นกั ลงทุนใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุน รวมทัง้ เป็นกรอบ การด�ำเนินงานเพื่อการมีส่วนร่วมและการรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท


Movement

ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย 2020

พิธีเปิดงานนิทรรศการและงานประชุม ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย 2020 ได้รบั เกียรติโดย กุลศิ สมบัตศิ ริ ิ ปลัดกระทรวงพลังงาน วิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ชาญศิลป์ ตรีนชุ กร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) พงศธร ทวีสิน ประธาน เจ้าหน้าทีบ่ ริหารและกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั ปตท. ส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) และ มร.นิค ออร์นสไตน์ รองประธาน บริษทั ดีเอ็มจี อีเว้นท์ โกลบอลล์ เอนเนอร์ยี่ งานนิทรรศการและงานประชุม ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย 2020 งานด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานแบบ บูรณาการชัน้ น�ำของเอเชีย ได้ฤกษ์เปิดงานอย่างเป็นทางการ โดยได้รับเกียรติจากผู้แทนกระทรวงพลังงานร่วมในพิธี งานครั้งนี้ถือเป็นเวทีส�ำคัญที่ได้รวบรวมบุคลากรด้าน พลังงานที่มีบทบาทส�ำคัญในห่วงโซ่คุณค่าพลังงานแบบ สมบูรณ์ของภูมิภาคไว้ภายในการประชุมครั้งนี้ที่เดียว

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านแบตเตอรี่

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) โดย ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกับ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม กระทรวงกลาโหม (กห.) ลงนามความร่วมมือ “โครงการจัดตัง้ และด�ำเนินการศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่ ล�ำ้ สมัยทีผ่ ลิตจากวัตถุดบิ ภายในประเทศเพือ่ ความมัน่ คง” เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการวิจัยนวัตกรรมแบตเตอรี่ที่ผลิต จากวัตถุดบิ ภายในประเทศ เพือ่ ความมัน่ คงแบบสหสาขาวิชา และเป็นศูนย์กลางในเครือข่ายงานวิจัยนวัตกรรมแบตเตอรี่ ทีผ่ ลิตจากวัตถุดบิ ภายในประเทศเพือ่ ความมัน่ คงร่วมกับหน่วยงาน พันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมี รศ. นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวง อว. เป็นประธานในการลงนาม พร้อมด้วย พลเอก นภนต์ สร้างสมวงษ์ รองปลัดกลาโหม พลโท คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ผูแ้ ทนเจ้ากรมวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีกลาโหม กระทรวงกลาโหม ศ. ดร.บัณฑิต เอือ้ อาภรณ์ อธิการบดีจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ณรงค์ ศิรเิ ลิศวรกุล ผู้อ�ำนวยการ สวทช. ร่วมลงนาม


Movement

กนอ. เร่งเครื่องพัฒนา ‘นิคมฯ เอเชียฯ’ ชูพื้นที่รองรับการลงทุนต่างชาติพื้นที่อีอีซี

สมจิณณ์ พิลกึ ผูว้ า่ การการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ร่วมแถลงข่าวการลงนามสัญญาร่วมด�ำเนินการก่อตั้ง นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย คลีน ชลบุรี ชูพื้นที่รองรับความต้องการ ขยายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติในจังหวัดชลบุรี เพือ่ สนับสนุน การเติบโตของพืน้ ทีเ่ ขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอซี )ี และของ ประเทศ โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดดําเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2564 นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย คลีน ชลบุรี มีพนื้ ทีก่ ว่า 1,300 ไร่ ในอ�ำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี มูลค่าการลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเป้าหมาย First S-Curve และ New S-Curve ในพืน้ ทีเ่ ขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอซี )ี ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตชิน้ ส่วนยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุ ต สาหกรรมหุ ่ น ยนต์ และอุ ต สาหกรรมโลจิ ส ติ ก ส์ เป็ น นิ ค ม อุตสาหกรรมเชิงนิเวศทีม่ รี ะบบสาธารณูปโภคทันสมัย มีพนื้ ทีส่ เี ขียว ทีส่ มดุล รวมทัง้ มีพนื้ ทีส่ ำ� รองน�ำ้ ขนาดใหญ่ และเทคโนโลยีการบริหาร จัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

วิศวฯ จุฬาฯ ผนึกพลังภาครัฐและเอกชน น�ำร่องโครงการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM2.5 ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มอบเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM2.5 ให้แก่หน่วยงานต่างๆ เพื่อน�ำไปติดตั้งในบริเวณต่างๆ ทั้งในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑล คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย อุ ทิ ศ องค์ความรูด้ า้ นนวัตกรรมเทคโนโลยี เพือ่ สร้างประโยชน์แก่สงั คมไทย อีกครัง้ ต่อยอดการพัฒนาโครงการติดตัง้ เซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM2.5 ปีที่ 2 ร่วมกับการเคหะแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม

สภาวิศวกร บริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด (มหาชน) หลังจับมือ กสท โทรคมนาคม ด�ำเนินการโครงการในปีแรกประสบความส�ำเร็จเป็นไปตามเป้าหมาย มัน่ ใจสามารถน�ำข้อมูลทีไ่ ด้มาศึกษาวิจยั วิเคราะห์หาสาเหตุ พร้อม เสนอแนวทางแก้ไขปัญหามลภาวะฝุน่ ละอองขนาดเล็ก PM2.5 ใน ไทย หลังเริม่ ทวีความรุนแรงถึงขัน้ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเซนเซอร์ ตรวจวัดปริมาณ PM2.5 ทีพ่ ฒ ั นาขึน้ โดยคณะวิศวฯ จุฬาฯ สามารถ ตรวจวัดได้ทั้งฝุ่น PM2.5, PM10, อุณหภูมิและความชื้น พร้อมทั้ง ค�ำนวณค่า AQI และแสดงผลผ่านทั้งหน้าจอเซนเซอร์และเว็บไซต์ www.sensorforall.eng.chula.ac.th เพือ่ บ่งบอกระดับผลกระทบต่อ สุขภาพ


ILINK ชนะประมูลงานปรับปรุงสายเคเบิล ใต้น�้ำ ระบบ 33 kV จังหวัดพังงา

สมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการและกรรมการ ผูจ้ ดั การใหญ่ กลุม่ บริษทั อินเตอร์ลงิ้ ค์ คอมมิวนิเคชัน่ จ�ำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ลงนามร่วมกับ ปราโมทย์ สุดทรัพย์ ผูช้ ว่ ยผูว้ า่ การปฏิบตั กิ ารและบ�ำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค โดยสมบัตไิ ด้เปิดเผยว่า หลังจากทีบ่ ริษทั ฯ ได้เสนอเข้าร่วม ประมูลในงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) บริษัทฯ ได้ชนะการประมูลในโครงการจ้างปรับปรุงสายเคเบิลใต้น้�ำ (Submarine Cable) ระบบ 33 kV วงจรบ้ านน�้ ำเค็มบ้านคอเขา จังหวัดพังงา มูลค่างาน 21,186,000 บาท โดย จะติดตัง้ แล้วเสร็จและส่งมอบงานได้ภายใน 90 วัน นับจาก วันลงนามในสัญญา

ILINK โชว์รายได้ปี 62 ทะลุ 5.6 พันล้านบาท โต 5.4%

สมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุม่ บริษทั อินเตอร์ลงิ้ ค์ คอมมิวนิเคชัน่ จ�ำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ผูน้ ำ� เข้า และจัดจ�ำหน่ายสายสัญญาณทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในอาเซียน และต่อยอดให้บริษทั ลูก เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกทั่วไทย เปิดเผยผลประกอบการ ส�ำหรับปี พ.ศ. 2562 (สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562) บริษทั ฯ มีรายได้จาก การขายและบริการพร้อมทัง้ งานวิศวกรรมอยูท่ ี่ 5,662 ล้านบาท เปรียบเทียบ จากปีก่อนรายได้รวมเพิ่มขึ้น 5.4% โดยมีก�ำไรสุทธิจากการด�ำเนินงาน หลังหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีนิติบุคคลอยู่ที่ 297.88 ล้านบาท ลดลงจาก ปีก่อน 5.3% แต่หากดูจากงบการเงินซึ่งต้องโชว์ผลการด�ำเนินงานตาม มาตรฐานระบบบัญชีใหม่ จะพบตัวเลขขาดทุนจากอัตราแลกเปลีย่ นทีย่ งั ไม่ เกิดขึ้นจริงจ�ำนวน 102.40 ล้านบาท (Unrealized loss on exchange rate) ซึง่ ในรายงานงบก�ำไรขาดทุนต้องน�ำตัวเลขนีม้ าหักลบ ท�ำให้ดเู สมือนก�ำไรสุทธิ ของบริษทั ฯ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย (เนือ่ งจากงานวิศวกรรมโครงการสนามบิน สุวรรณภูมไิ ด้มกี ารจองอัตราแลกเปลีย่ นของเงินยูโรเพือ่ ป้องกันความเสีย่ ง ไว้ลว่ งหน้า 40 บาท โดยต่อมาค่าเงินยูโรลดลงเหลือประมาณ 34 บาท) ท�ำให้ บรรทัดสุดท้ายของก�ำไรสุทธิจากงบการเงินรวมอยูท่ ่ี 195.40 ล้านบาท โดย เป็นส่วนของผูถ้ อื หุน้ ใหญ่ 124.40 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การขาดทุนจาก อัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจ�ำนวน 102.40 ล้านบาทนี้ ได้ถูกล้าง ไปเรียบร้อยแล้วในผลการด�ำเนินงานจริงในปี พ.ศ. 2563 นี้ อนึ่ง คณะกรรมการฯ และผู้บริหารได้ปรับกลยุทธ์การด�ำเนินธุรกิจ ใหม่ โดยถอดบทเรียนในอดีตตลอด 10 ปีที่ผ่านมา และปรับยุทธศาสตร์ เพื่อมุ่งเน้นท�ำก�ำไรสุทธิของกลุ่มบริษัทฯ โดยไม่เน้นการเติบโตของรายได้ ท�ำให้นับจากปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป จนถึงปี พ.ศ. 2567 บริษัทฯ ได้ปรับ สัดส่วนรายได้ของธุรกิจที่มีอัตราก�ำไรที่ดีเพิ่มขึ้น และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและขอโอกาสในการปรับ กลยุทธ์โครงสร้างของรายได้ใหม่ เพือ่ สร้างความยัง่ ยืนของผลการด�ำเนินงาน ดังนั้นคณะกรรมการฯ จึงได้อนุมัติปันผลในปีนี้ โดยเทียบสัดส่วนของ ราคาหุ้นในตลาด ณ ปัจจุบันเท่ากับจะจ่ายปันผลในอัตรา Dividend Yield ประมาณ 7% โดยปันผลเป็นหุน้ ในอัตรา 15:1 และเงินปันผลในอัตราหุน้ ละ 0.03 บาท ซึง่ คณะผูบ้ ริหารและคณะกรรมการฯ มัน่ ใจว่า หากสามารถด�ำเนิน ธุรกิจและปรับโครงสร้างใหม่ได้ตามแผนและยุทธศาสตร์ทวี่ างไว้ จะสามารถ ท�ำให้ผถู้ อื หุน้ มีความมัน่ ใจและเติบโตไปพร้อมกับบริษทั ฯ ทีไ่ ด้วางยุทธศาสตร์ เพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป


การอบรมเรื่อง

มาตรฐานสากล ISO 45001:2018 และการตรวจติดตามภายใน (ISO 45001:2018 Introduction & Internal Auditor) รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 23-24 เมษายน พ.ศ. 2563 (วันพฤหัสบดี-วันศุกร์) เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม อาคาร วสท. จัดโดย คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

หลักการและเหตุผล

ปั จ จุ บั น ได้ มี ก ารปรั บ เปลี่ ย นมาตรฐานระบบการจั ด การ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHSAS 18001:2007) มาเป็นระบบ มาตรฐานสากล ISO 45001:2018 ซึ่งเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างมี ประสิทธิผล เป็นที่ยอมรับในเชิงการแข่งขันด้านธุรกิจ ซึ่งหมายถึง การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบสากล ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียม ความพร้อมและน�ำไปสูก่ ารปฏิบตั ใิ นการปรับเปลีย่ นเข้าสูม่ าตรฐาน ISO 45001 หลักสูตรการฝึกอบรมนี้จะท�ำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มี พื้นฐานความรู้และเข้าใจโครงสร้างของข้อก�ำหนดตามมาตรฐาน และแนวทางในการปรับเปลี่ยนเข้าสู่มาตรฐานสากล ISO 45001 รวมทั้งมีความเข้าใจในการน�ำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องให้ สอดคล้องกับกฎหมายข้อบังคับทีเ่ ริม่ จะถูกบังคับใช้ได้อย่างเหมาะสม และครบถ้วน

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

ผูท้ ตี่ อ้ งการจัดท�ำและปรับปรุงระบบการจัดการอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัยจาก OHSAS 18001:2007  ตัวแทนฝ่ายบริหาร (MR) หรือคณะท�ำงานด้านความปลอดภัยและ อาชีวอนามัย ที่ต้องการทราบมาตรฐานของระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยใหม่ ISO 45001:2018  ผู้ตรวจติดตามภายในระบบการจัดการที่ต้องการความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับมาตรฐาน ISO 45001 และเทคนิคต่างๆ ในการตรวจ ประเมินการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 

เจ้ า หน้ า ที่ ค วามปลอดภั ย ทุ ก ระดั บ ที่ ส นใจระบบการจั ด การ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

วัตถุประสงค์

1. ทราบหลักการของข้อก�ำหนดในมาตรฐาน ISO 45001 และสามารถ น�ำไปประยุกต์ใช้ได้จริงภายในองค์กร 2. เข้าใจในสาระส�ำคัญของมาตรฐานและสามารถตีความมาตรฐาน ISO 45001 3. สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในการยกระดับความปลอดภัยโดย การจัดการ รวมทั้งกิจกรรม การตรวจติดตามภายในองค์กรได้ 4. เข้าใจขัน้ ตอนการวางแผน การเตรียมการ และแนวทางในการตรวจ ประเมินภายในตามมาตรฐาน ISO 45001 5. ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการของมาตรฐาน ISO 45001:2018 6. สามารถพิจารณาบริบทต่างๆ ขององค์กรทางด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ตามความต้องการและความคาดหวังของ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 7. สามารถประเมินความเสี่ยงและโอกาสทางด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยตามบริบทองค์กร พร้อมแผนการด�ำเนินงาน 8. สามารถเตรียมความพร้อมในการบูรณาการระบบการจัดการด้าน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในปัจจุบนั ไปสู ่ ISO 45001:2018


กำ�หนดการ วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563 08.30-09.00 น. 09.00-16.00 น.

ลงทะเบียน  ความเป็นมาของมาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย  โครงสร้าง ค�ำศัพท์ และหลักการในมาตรฐาน ISO 45001  ข้อก�ำหนดแต่ละข้อในมาตรฐาน ISO 45001

โดยมี Workshop เพื่อสร้างเสริมทักษะและ ความเข้าใจในเนื้อหาในการฝึกอบรม

คณะวิทยากร

มาตรฐานสากล ISO 45001:2018 และการตรวจติดตาม ภายใน (ISO 45001:2018 Introduction & Internal Auditor)  นายศิริจักษ์ จรูญเวชธรรม ทีป่ รึกษาระบบการจัดการ บริษทั แอ๊ดด้าฟุตแวร์ (ไทยแลนด์) จ�ำกัด อุปนายก สมาคมส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าไทย

ค่าลงทะเบียน ประเภท

ราคา

สมาชิก วสท., นิสิต/นักศึกษา (ปริญญาตรี)

5,000 บาท/คน

ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ

5,500 บาท/คน

บุคคลทั่วไป

6,000 บาท/คน

พิเศษ 20,000 บาท

(มา 5 คน จ่าย 4 คน)

22,000 บาท

(มา 5 คน จ่าย 4 คน)

24,000 บาท

(มา 5 คน จ่าย 4 คน)

หมายเหตุ : 1. ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว และ วสท. ได้รับการยกเว้น การหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% 2. ราคานี้รวมค่าเอกสาร/อาหารกลางวัน/อาหารว่าง/วุฒิบัตร 3. ผู้ที่ผ่านการอบรมจะได้รับหน่วยพัฒนาความรู้ (CPU) 18 หน่วย เพื่อประโยชน์ในการเลื่อนระดับเป็นสามัญวิศวกรสภาวิศวกร 4. ผูเ้ ข้ารับการอบรมไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาอบรมจะได้รบั วุฒิบัตร

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-16.00 น.  โครงสร้างแนวทางการตรวจประเมิน  การเตรียมความพร้อมและการด�ำเนินการ ตรวจประเมิน  การรายงานผลการตรวจประเมิน  การติดตามผลการแก้ไขและการทวนสอบ แนวทางการแก้ไข หมายเหตุ : 10.30-10.45 น. 14.30-14.45 น. 12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

5. การโอนเงิน กรุณน�ำส่งหลักฐานการช�ำระเงิน โดยระบุชอื่ ผูเ้ ข้ารับ การอบรมและทีอ่ ยูใ่ นการออกใบเสร็จรับเงินกลับมา ตามแฟกซ์ หรืออีเมลที่แจ้งไว้ 6. กรณีที่ท่านไม่สามารถเข้าร่วมการอบรมได้ โปรดท�ำหนังสือแจ้ง ยกเลิกการอบรมล่วงหน้าก่อนการอบรม โดยมีรายละเอียดการ คืนเงินดังต่อไปนี้ 6.1 แจ้งยกเลิกก่อนวันจัดอบรม/สัมมนา 30 วัน คืนเงิน เต็มจ�ำนวนของค่าลงทะเบียน 6.2 แจ้งยกเลิกก่อนวันจัดอบรม/สัมมนา 15 วัน คืนเงิน 80% ของค่าลงทะเบียน 6.3 แจ้งยกเลิกก่อนวันจัดอบรม/สัมมนา 7 วัน คืนเงิน 50% ของค่าลงทะเบียน 6.4 แจ้งยกเลิกน้อยกว่า 7 วันก่อนวันจัดอบรม/สัมมนา ไม่คนื ค่าลงทะเบียน หมายเหตุ : เว้นแต่มีเหตุจ�ำเป็นซึ่งทางวิศวกรรมสถานฯ จะ พิจารณาเป็นรายๆ ไป และให้ถือผลการพิจารณาเป็นที่สิ้นสุด 7. กรณี วสท. ยกเลิกการจัดอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานทั้งในและ ต่างประเทศ เนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม วสท. จะคืนเงินให้ท่าน เต็มจ�ำนวน

ติดต่อสอบถาม : พรนิชา รอดชีวะ โทรศัพท์ 0-2184-4600-9 ต่อ 525 โทรสาร 0-2184-4662 E-mail : eit@eit.or.th เว็บไซต์ www.eit.or.th


w

CDG สานต่อ iCODER เปิดรับรุ่นที่ 9 กลุม่ บริษทั ซีดจี ี ผูใ้ ห้บริการด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แบบครบวงจรแก่องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เผยบุคลากร ไอทีเป็นทีต่ อ้ งการสูง คาดการจ้างงานภายในปี พ.ศ. 2567 ต�ำแหน่ง นักพัฒนาโปรแกรมมีแนวโน้มโตกว่า 20% สอดคล้องกับข้อมูลจาก อเด็คโก้ ประเทศไทย จัดอันดับให้สายงาน IT เป็นอาชีพส�ำหรับ เด็กจบใหม่ทมี่ โี อกาสเติบโตและได้รบั เงินเดือนสูงอันดับต้นๆ ซีดจี ี สบช่องเร่งสานต่อด�ำเนิน iCODER โครงการนักพัฒนาโปรแกรม มืออาชีพ มุ่งสนับสนุนเส้นทางการเรียนรู้ด้านสายงานไอทีปีที่ 9 โดยเปิดรับสมัครแล้ววันนี้ - 20 มีนาคมนี้ เผยทัง้ 8 รุน่ มีผเู้ ข้าร่วม กิจกรรมกับกลุม่ บริษทั ซีดจี แี ล้วทัง้ สิน้ 81 คน โดยในปีทผี่ า่ นมามีผไู้ ด้รบั ทุนการศึกษาและเทิร์นเป็นพนักงานของกลุ่มบริษัทซีดีจีเพิ่มอีก 12 คน ตัง้ เป้าปัน้ บุคลากรไอทีออกสูต่ ลาดแรงงานเพิม่ กว่า 100 คน ต่อปี นาถ ลิว่ เจริญ ประธานกรรมการ บริ ห ารกลุ ่ ม บริ ษั ท ซี ดี จี เปิ ด เผยว่ า จากการเข้ามาของเทคโนโลยี ส่งผลให้ ทุกภาคอุตสาหกรรมเร่งหาทางรับมือ โดยอีกทางเลือกที่ส�ำคัญคือการมองหา บุคลากรทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถในด้าน ไอทีและเทคโนโลยี โดยเฉพาะทักษะและ ความสามารถในด้านการเขียนโปรแกรม หรือการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ ที่เป็นสาขาการเรียนค่อนข้าง เฉพาะทาง ส่งผลให้บุคลากรไอทีเป็นที่ต้องการสูงในตลาดแรงงาน และจะยังคงสูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง จากรายงานของ IDC คาดภายใน ปี พ.ศ. 2567 ความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีของภาคธุรกิจจะส่งผล ให้การจ้างงานในต�ำแหน่งนักพัฒนาโปรแกรมมีแนวโน้มโตกว่า 20% “สายงานไอทีกำ� ลังเป็นทีต่ อ้ งการของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะ ทักษะการเขียนโปรแกรม หรือการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ ซึง่ เห็น ได้ชัดว่าในแต่ละปีบุคลากรที่จบมาในด้านนี้มีน้อยและไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของตลาด สอดคล้องกับข้อมูลทรัพยากรบุคคลจาก อเด็คโก้ ประเทศไทย ที่มีการจัดอันดับให้สายงาน IT เป็นอาชีพ ส�ำหรับเด็กจบใหม่ทม่ี โี อกาสเติบโตและได้รบั เงินเดือนสูงอันดับต้นๆ เนื่ อ งจากเป็ น สายงานที่ มี ค วามต้ อ งการจากตลาดแรงงานสู ง หลายองค์กรต่างมีแผนพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของตัวเอง และมองหาโอกาสใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือต่างๆ ในการท�ำงาน ให้กบั ลูกค้า โอกาสจึงเปิดกว้างให้ผมู้ คี วามรูต้ อบรับในต�ำแหน่งงาน ไอทีทหี่ ลากหลาย หากเด็กจบใหม่มที กั ษะและความสามารถในการ เขียนโปรแกรมได้ตรงตามทีอ่ งค์กรก�ำหนด สามารถสือ่ สารภาษาอังกฤษ ได้ดี ก็มีโอกาสเติบโตสูงมากในสายอาชีพนี้” นาถ กล่าว

จ�ำนวนผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ iCODER ทั้ง 8 รุ่น ตั้งแต่ปี 2012-2019

จากปัจจัยดังกล่าวซีดจี จี งึ เดินหน้าสานต่อ iCODER โครงการ นักพัฒนาโปรแกรมมืออาชีพ มุ่งสนับสนุนเส้นทางการเรียนรู้ด้าน สายงานไอที และให้โอกาสทางการศึกษาทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กับนักศึกษาที่สนใจประกอบอาชีพโปรแกรมเมอร์ โดยได้จัดขึ้น เป็นปีที่ 9 ส�ำหรับนิสติ นักศึกษาทัว่ ประเทศ ทีก่ ำ� ลังศึกษาอยูช่ นั้ ปีที่ 3 และ 4 ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรืออื่นๆ เพื่อสอบคัดเลือกเข้ามาศึกษา การใช้งานโปรแกรมและเทคนิคต่างๆ จากนักพัฒนาโปรแกรมมืออาชีพ อีกทั้งยังพิจารณาผู้ที่เหมาะสมตามเกณฑ์การคัดเลือกที่บริษัทฯ ก�ำหนด เพื่อรับทุนการศึกษาและเข้าร่วมเป็นพนักงานของบริษัท ซีดีจี ซิสเต็มส์ จ�ำกัด บริษัทในกลุ่มซีดีจี เผยทั้ง 8 รุ่น มีผู้เข้าร่วม กิจกรรมกับกลุม่ บริษทั ซีดจี แี ล้วทัง้ สิน้ 81 คน โดยในปีทผี่ า่ นมามีผทู้ ี่ ได้รับทุนการศึกษาและเทิร์นเป็นพนักงานของกลุ่มบริษัทซีดีจีใน สายงานโปรแกรมเมอร์เพิม่ อีก 12 คน ตัง้ เป้าปัน้ บุคลากรไอทีออกสู่ ตลาดแรงงานเพิ่มกว่า 100 คนต่อปี ทั้งนี้ บริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะพัฒนาบุคลากรทางด้านการ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้มศี กั ยภาพในการประกอบอาชีพ โดยทักษะ ที่ได้จากโครงการสามารถน�ำไปประกอบอาชีพได้หลากหลาย อาทิ โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) นักวิทยาศาสตร์ ข้อมูล (Data Scientist) วิศวกรระบบ (System Engineer) วิศวกร เครือข่าย (Network Engineer) และนักวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analyst) นอกจากนี้ บริษัทฯ มุ่งเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ปัญหา นักพัฒนาโปรแกรมหายาก โดยเดินหน้าพัฒนาโปรแกรมเมอร์ฝมี อื ดี ออกสู่ตลาด พร้อมลงมือปฏิบัติงานได้จริงเมื่อเข้าท�ำงานในองค์กร โดยในปีที่ 9 ได้เริม่ เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ สามารถเข้าไปสมัครหรือ ดูรายละเอียดได้ที่ https://icoder.cdg.co.th/


w

ทีมวิจัยของเช็ค พอยท์ รายงานชี้ชัดการโจมตีทางไซเบอร์ ยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เช็ค พอยท์ รีเสิรช์ (Check Point Research) ซึง่ เป็นหน่วยงาน ดู แ ลด้ า นข้ อ มู ล ภั ย คุ ก คามของบริ ษั ท เช็ ค พอยท์ ® ซอฟต์ แวร์ เทคโนโลยีส์ จ�ำกัด (NASDAQ : CHKP) ผู้ให้บริการโซลูชันชั้นน�า ด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ทวั่ โลก ได้เผยแพร่รายงาน สรุปความปลอดภัยทางไซเบอร์ปี พ.ศ. 2563 (2020 Cyber Security Report) โดยได้เน้นยุทธวิธีหลักๆ ที่อาชญากรคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อ โจมตีองค์กรทัว่ โลกในอุตสาหกรรมต่างๆ และให้ขอ้ มูลทีจ่ ำ� เป็นแก่ ผูบ้ ริหารและเจ้าหน้าทีด่ า้ นความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ เพือ่ ปกป้อง องค์กรของตนจากการโจมตีและภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ใน ยุคที่ 5 อี แ วน ดู ม าส ผู ้ อ� ำ นวยการ ประจ�ำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษทั เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จ�ำกัด กล่าวว่า “ในปี พ.ศ. 2562 แสดง ให้เห็นภัยคุกคามทีม่ คี วามซับซ้อนอย่าง มาก อันส่งผลให้องค์กรระดับชาติ องค์กร ด้านอาชญากรรมไซเบอร์ และภาคเอกชน ได้ผนึกก�ำลังร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อต่อกรกับกองทัพไซเบอร์ด้วยการยกระดับขีดความสามารถ ของกันและกันในระดับที่คาดไม่ถึง และจะยังคงด�ำเนินต่อไปเช่นนี้ ในปี พ.ศ. 2563 แม้ว่าองค์กรจะมีผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย ที่ครอบคลุมและทันสมัยที่สุด แต่ความเสี่ยงที่ข้อมูลจะรั่วไหลนั้น ไม่สามารถก�ำจัดได้อย่างสมบูรณ์ นอกเหนือจากการตรวจจับและ การแก้ไขแล้ว องค์กรจะต้องน�ำแผนเชิงรุกมาใช้เพื่อป้องกันและ อยู่น�ำหน้าการโจมตีของอาชญากรไซเบอร์ให้ได้ ความสามารถ ในการตรวจจับและการบล็อกการโจมตีโดยอัตโนมัติตั้งแต่ระยะ เริ่มแรกจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ รายงานสรุป ความปลอดภัยใน ค.ศ. 2020 ของเช็ค พอยท์ น�ำเสนอข้อมูลทีอ่ งค์กร ต้องระวังและวิธีที่พวกเขาสามารถชนะสงครามจากการโจมตีทาง ไซเบอร์ผ่านแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด” รายงานสรุปความปลอดภัยทางไซเบอร์ปี พ.ศ. 2563 เปิดเผย ข้อมูลและเทคนิคการโจมตีที่ส�ำคัญๆ ที่นักวิจัยของเช็ค พอยท์ ตรวจพบได้ในช่วงปีที่ผ่านมา โดยมีสาระส�ำคัญดังนี้  มัลแวร์ขุดบิตคอยน์ (Cryptominer) ยังคงยึดหัวหาด การโจมตีของมัลแวร์ แม้ว่าการขุดบิตคอยน์ (Cryptomining) จะ ลดลงในช่วงปี พ.ศ. 2562 ซึง่ เชือ่ มโยงกับมูลค่าทีล่ ดลงของสกุลเงิน ดิจทิ ลั (Cryptocurrency) และการปิดตัวลงของคอยน์ไฮฟ์ (Coinhive) ในเดือนมีนาคม โดยพบว่า 38% ของบริษทั ทัว่ โลกได้รบั ผลกระทบ จากซอฟต์แวร์ขดุ บิตคอยน์ในปี พ.ศ. 2562 ซึง่ เพิม่ ขึน้ จาก 37% ของ

ปี พ.ศ. 2561 เนือ่ งจากการใช้ซอฟต์แวร์ขดุ เงินดิจทิ ลั ยังคงเป็นกิจกรรม ที่มีความเสี่ยงต�ำ่ และให้ผลตอบแทนสูงส�ำหรับอาชญากร  กองทัพบ็อตเน็ตมีขนาดใหญ่ขน ึ้ 28% ขององค์กรทัว่ โลก ได้รบั ผลกระทบจากกิจกรรมบ็อตเน็ต ซึง่ เพิม่ ขึน้ กว่า 50% เมือ่ เทียบกับ ปี พ.ศ. 2561 โดย Emotet เป็นมัลแวร์ประเภทบ็อตทีม่ กี ารน�ำไปใช้ กันมากที่สุด เนื่องจากความสามารถที่หลากหลาย โดยเฉพาะ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริการกระจายมัลแวร์และสแปม นอกจากนี้ บ็อตเน็ตยังมีอกี หลายวีรกรรม อาทิ กิจกรรมอีเมลหลอกลวงในรูปแบบ Sextortion (การแบล็คเมล์ทางเพศออนไลน์) และการโจมตี DDoS ก็เพิ่มขึ้นอย่างมากในปี พ.ศ. 2562 ด้วยเช่นกัน  แรนซัมแวร์แบบมีเป้าหมายโจมตีหนักมาก แม้ว่าจะมี องค์กรทีไ่ ด้รบั ผลกระทบค่อนข้างต�ำ่ แต่ความรุนแรงของการโจมตีนนั้ เพิม่ ขึน้ อย่างมาก ดังทีเ่ ห็นได้จากการโจมตีทสี่ ร้างความเสียหายต่อ การบริหารงานเมืองของสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2562 โดยอาชญากร ก�ำลังเลือกเป้าหมายในการใช้แรนซัมแวร์อย่างระมัดระวัง โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้จากการเรียกค่าไถ่ให้ได้สูงสุด  การโจมตีอป ุ กรณ์เคลือ่ นทีล่ ดลง 27% ขององค์กรทัว่ โลก ได้รับผลกระทบจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ เคลื่อนที่ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งลดลงจาก 33% ในปี พ.ศ. 2561 โดย จะเห็นได้ว่าในขณะที่ภัยคุกคามของอุปกรณ์เคลื่อนที่ก�ำลังเติบโต อย่างเต็มที่ องค์กรต่างๆ ก็ได้เพิม่ ความตระหนักมากขึน้ ต่อภัยคุกคาม ดังกล่าว และยังได้มีการปรับใช้ระบบป้องกันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย  ปีแห่งการโจมตีของ Magecart ที่ก�ำลังแพร่ระบาด อย่างรวดเร็ว การโจมตีดังกล่าวเป็นการน�ำรหัสที่เป็นอันตราย เข้าไปใส่ไว้ในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเพื่อขโมยข้อมูลการช�ำระเงินของ ลูกค้าจากหลายร้อยเว็บไซต์ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ เครือโรงแรมขนาดใหญ่ ยักษ์ใหญ่ดา้ นการค้า ไปจนถึงธุรกิจขนาดกลาง และย่อมในทุกแพลตฟอร์ม  การโจมตีระบบคลาวด์เพิม ่ จ�ำนวนขึน้ มากกว่า 90% ของ องค์กรต่างๆ ในปัจจุบันล้วนใช้บริการคลาวด์ แต่มีเพียง 67% ของ ทีมรักษาความปลอดภัยที่ให้ข้อมูลว่าพวกเขายังขาดความสามารถ ในการมองเห็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบรักษาความปลอดภัย และ การปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบทีเ่ กีย่ วข้องกับระบบคลาวด์ ขนาดของการ โจมตีและการรั่วไหลของข้อมูลในระบบคลาวด์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนือ่ งในปี พ.ศ. 2562 การก�ำหนดรูปแบบทรัพยากรเพือ่ การใช้งาน บนระบบคลาวด์ที่ผิดพลาดยังคงเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ก่อให้เกิด การโจมตีระบบคลาวด์ และในตอนนีเ้ รายังเห็นการโจมตีทเี่ พิม่ มากขึน้ ซึ่งพุ่งเป้าไปที่ผู้ให้บริการคลาวด์โดยตรงด้วย


Industry News

เดลต้า แต่งตั้งประธานบริหาร บริษัท เดลต้า ประเทศไทย คนใหม่ในปี พ.ศ. 2563 เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ผูน้ ำ� ด้านโซลูชนั บริหารจัดการพลังงาน และความร้อน ประกาศแต่งตัง้ แจ็คกี้ ชาง ขึน้ ด�ำรงต�ำแหน่งประธาน บริหาร บริษทั เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) ต่อจาก เซีย เชน เยน ที่จะพ้นจากต�ำแหน่งประธานบริหารอย่าง เป็นทางการในวันที่ 1 เมษายน 2563 นี้ โดยต�ำแหน่งนี้ขึ้นตรงต่อ คณะกรรมการบริหาร บริษทั เดลต้า ประเทศไทย ซึง่ ปัจจุบนั แจ็คกี้ ด�ำรงต�ำแหน่งรองประธานบริหารเดลต้า ประจ�ำภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอินเดีย โดยรับผิดชอบดูแลทีมงานขาย ทั่วภูมิภาคในการพัฒนาโอกาสทางธุรกิจส�ำหรับตลาดในแต่ละ ประเทศ และเพือ่ ตอบสนองความต้องการของตลาดทีเ่ พิม่ ขึน้ เขาได้ น�ำทีมในการพัฒนานวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ เพิ่มความยืดหยุ่นและ แพลตฟอร์มต่างๆ เพือ่ ขยายไปยังตลาดท้องถิน่ แจ็คกีม้ ปี ระสบการณ์ ด้านการบริหารและจัดการธุรกิจมากกว่า 27 ปี ทัง้ ยังได้พฒ ั นาธุรกิจ และแพลตฟอร์มอย่างต่อเนือ่ งเป็นเวลากว่า 14 ปี ในฐานะประธาน เดลต้า ประจ�ำภูมภิ าคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา นอกจากนี้ เขายังได้สร้างผลงานอันโดดเด่นในการเปิดตลาดและธุรกิจใหม่ๆ

ให้กับเดลต้ำ

แจ็คกี้ ชาง รองประธานบริหาร เดลต้า ประจ�ำภูมภิ าคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้และประเทศอินเดีย กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความ ไว้วางใจให้ดำ� รงต�ำแหน่งประธานบริหาร บริษทั เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) ในครั้งนี้เพื่อน�ำเดลต้า ประเทศไทย ซึ่ ง ได้ ส ร้ า งประโยชน์ มากมายให้กบั ลูกค้าและเป็นผูน้ ำ� ระดับ ภูมิภาคด้านนวัตกรรมสีเขียวและโซลูชันอัจฉริยะ อีกทั้งขณะที่ เศรษฐกิจโลกตอนนี้ก�ำลังประสบกับความท้าทายมากมาย เชื่อว่ำ เดลต้า ประเทศไทย จะสามารถต่อยอดความแข็งแกร่งด้านต่างๆ ที่เป็นรากฐานของบริษัทเพื่อก่อให้เกิดผลดีทั้งด้านผลประกอบการ และบุคลากรเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ไปพร้อมกับการเสริมสร้าง ความยั่งยืนได้

แสงชัยแอร์ควอลิตี้ รับอานิสงส์ฝุ่น PM2.5 ส่งผลเครื่องฟอกอากาศโตกว่า 300% แสงชัยแอร์ควอลิตี้ ผู้น�ำเข้าเครื่องฟอกอากาศคุณภาพสูง แบรนด์ Blueair (บลูแอร์) จากประเทศสวีเดน มียอดขายโตกว่า 300% ด้วยคุณภาพมาตรฐานจากยุโรป ส่งผลให้เครือ่ งฟอกอากาศ Blueair เป็นเครื่องฟอกอากาศที่มีความเร็วในการฟอก CADR สูงที่สุด ในโลกและเงียบที่สุดในโลก ด้วยเทคโนโลยีไส้กรอง HEPASilent เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะ Blueair สามารถ ฟอกอากาศได้ที่ 0.1 ไมครอน ฟอกได้ 99.97% พร้อมฟังก์ชันเชื่อมต่อ WiFi บ้าน สัง่ งานระยะไกลผ่านแอปพลิเคชัน Blueair บนมื อ ถื อ ได้ แ ละประหยั ด พลังงานมาก วรเทพ อัศวนิเวศน์ กรรมการ ผูจ้ ดั การ บริษทั แสงชัยแอร์ควอลิตี้ จ�ำกัด กล่าวว่า บริษทั แสงชัยแอร์ควอลิตี้ จ�ำกัด

เป็นหนึ่งในเครือบริษัทของแสงชัยกรุ๊ป เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2545 ด�ำเนินธุรกิจมากว่า 18 ปี โดยเริ่มจากธุรกิจเครื่องฟอกอากาศ ซึ่งปัจจุบันคือเครื่องฟอกอากาศ Blueair เป็นแบรนด์จากสวีเดน วางจ�ำหน่ายทัว่ โลกกว่า 60 ประเทศ ทีเ่ ราเลือกแล้วว่าเป็นสินค้าทีม่ ี คุณภาพทีด่ ที สี่ ดุ อัตราการฟอกสูงทีส่ ดุ ตามมาตรฐานสากล มีดไี ซน์ ที่สวยเรียบแบบสแกนดิเนเวีย มั่นใจว่าลูกค้าทุกคนเมื่อหายใจเข้ำ จะได้รับอากาศที่บริสุทธิ์จริงๆ ปัจจัยและเหตุผลที่ทางแสงชัยฯ น�ำเครือ่ งฟอกอากาศ Blueair มาท�ำตลาดในประเทศไทย เนือ่ งจาก เห็นแนวโน้มของปัญหามลพิษที่เริ่มมากขึ้นทุกๆ ปีในประเทศ ก�ำลังพัฒนา ดังนัน้ ความส�ำคัญของอากาศบริสทุ ธิ์ เพือ่ พัฒนาคุณภาพ ชีวติ ทีด่ ี โดยเฉพาะเด็กๆ ทีต่ อ้ งใช้ชวี ติ เติบโตภายในบ้าน ในขณะที่ อากาศในบ้านเราทุกวันนี้เต็มไปด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 คนต้องใส่หน้ากากกันมากขึน้ และหลีกเลีย่ งไม่ได้เมือ่ ต้องออกไปใช้ ชีวติ ข้างนอก บนท้องถนน แต่อากาศภายในบ้าน ทุกคนมีสทิ ธิท์ จี่ ะใช้


เครือ่ งฟอกอากาศเพือ่ ให้ได้รบั อากาศทีบ่ ริสทุ ธิ์ ดังนัน้ เครือ่ งฟอกอากาศ ที่ดีและมีคุณภาพสูงจึงเป็นที่จ�ำเป็นมากๆ ในบ้านของทุกคน

ปั จ จุ บั น ตลาดเครื่ อ งฟอกอากาศมี ก ารแข่ ง ขั น ที่ รุ น แรง อันเนื่องมาจากปัญหาเรื่องฝุ่น PM2.5 เกินระดับความปลอดภัย ในหลายๆ เมือง แต่เนือ่ งจาก Blueair จะอยูใ่ นกลุม่ เครือ่ งฟอกอากาศ ระดับพรีเมียม จึงยังแทบไม่มคี แู่ ข่งในตลาดบน ท�ำให้มยี อดขายและ ส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในตลาดพรีเมียม และในปี ค.ศ. 2020 นี้ Blueair จะเปิดตัวสินค้าใหม่อกี 2 ซีรสี ก์ ลางปี พ.ศ. 2563 ซึง่ จะมีประสิทธิภาพ และนวัตกรรมที่ล�้ำหน้าคู่แข่งไปอีกมาก ผู้บริโภคก็จะได้มีโอกาสใช้ สินค้าที่มีนวัตกรรมการฟอกอากาศที่สูงมากๆ จากรุ่นใหม่ๆ ที่จะ เปิดตัว

ถิรไทย รับโปรเจ็กต์ยักษ์จาก “ไทยออยล์” มูลค่ารวมกว่า 725 ล้านบาท บริษัท ถิรไทย จ�ำกัด (มหาชน) หรือ TRT ผู้น�ำตลาด หม้อแปลงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมด้านเกี่ยวกับพลังงานรายใหญ่ ของประเทศ ประเดิมงานเปิดรับศักราชโปรเจ็กต์ยักษ์จาก บมจ. ไทยออยล์ เซ็นรับออเดอร์ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าก�ำลังขนาดใหญ่ และขนาดกลาง มูลค่ารวมกว่า 725 ล้านบาท เพือ่ ติดตัง้ ในโครงการ พลังงานสะอาด (Clean Fuel Project at Sriracha Refinery) จาก บริษัทร่วมค้า ปิโตรแฟค เซาท์อีสท์เอเชีย รวมทั้ง ไซเฟม สิงคโปร์ และซัมซุง เอ็นจิเนียริง่ (ประเทศไทย) ก�ำหนดส่งมอบงานภายใน Q3 และ Q4 ปี พ.ศ. 2563 สัมพันธ์ วงษ์ปาน กรรมการ ผูจ้ ดั การ บริษทั ถิรไทย จ�ำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ถือว่ำ เป็นปีทองของบริษทั ฯ ทีป่ ระเดิมรับงาน ใหญ่ในการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าก�ำลัง ขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยได้รับ ความไว้วางใจจากบริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) หรือ TOP ในการสัง่ ซือ้ หม้อแปลงไฟฟ้า สืบเนือ่ งจากไทยออยล์ มีมติอนุมตั กิ ารลงทุนโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project หรือ CFP) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของโรงกลั่นไทยออยล์ ให้คงอยูใ่ นกลุม่ ผูน้ ำ� ของอุตสาหกรรมด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพ กระบวนการผลิตเพือ่ เพิม่ มูลค่าผลิตภัณฑ์ซงึ่ เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม รวมทั้งเพิ่มก�ำลังการกลั่นน�้ำมันดิบจากเดิมที่ 275,000 บาร์เรล ต่อวัน เป็น 400,000 บาร์เรลต่อวัน โดยโครงการใช้ระยะเวลำ ด�ำเนินโครงการ 5 ปี และมีวงเงินลงทุนทัง้ สิน้ ประมาณ 4,825 ล้าน

เหรียญสหรัฐฯ โดยค�ำสั่งซื้อจากไทยออยล์ที่ให้ถิรไทย ผู้ผลิตหม้อแปลง ไฟฟ้าก�ำลังขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีมลู ค่ารวมกว่า 725 ล้านบาท เพื่อติดตั้งในโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project at Sriracha Refinery ของไทยออยล์ จากบริษัทร่วมค้า ปิโตรแฟค เซาท์อสี ท์เอเชีย, ไซเฟม สิงคโปร์ และซัมซุง เอ็นจิเนียริง่ (ประเทศไทย) โดยมีก�ำหนดส่งมอบงานภายใน Q3 และ Q4 ในปี พ.ศ. 2563 นี้ ภาพรวมบริษัทในขณะนี้มี Backlog แล้วกว่า 2,461 ล้านบาท โดย แบ่งเป็นกลุม่ หม้อแปลงไฟฟ้ากว่า 2,026 ล้านบาท กลุม่ ภาครัฐบาล และในประเทศ 1,644 ล้านบาท ส่งออก 382 ล้านบาท นอกจากนี้ ในกลุม่ Non Transformers จากกลุม่ Steel Structure & Fabricate 72 ล้านบาท กลุ่ม Distributing Digger/Arial อีกว่า 353 ล้านบาท กลุ่มงาน Operation and Maintenance อีกกว่า 10 ล้านบาท และ คาดว่าจะมีก�ำไรขั้นต้นอยู่ที่ประมาณ 20-25%


ELECTRICITY & INDUSTRY

magazine ปี 2563

ข้าพเจ้า ชื่อ ............................................................................................. สกุล .......................................................................................................... ตำ�แหน่ง .................................................................................... บริษัท/ห้าง/ร้าน ...................................................................................... ที่อยู่ (ที่ทำ�งาน) ......................................................................... แขวง/ตำ�บล ............................................................................................. เขต/อำ�เภอ ................................................................................ จังหวัด .................................................... รหัสไปรษณีย์ .......................... โทร ............................................................................................ แฟกซ์ ....................................................................................................... ที่อยู่ (ที่บ้าน) ............................................................................. แขวง/ตำ�บล ............................................................................................. เขต/อำ�เภอ ................................................................................ จังหวัด ................................................... รหัสไปรษณีย์ ........................... โทร ............................................................................................ แฟกซ์ ....................................................................................................... รหัสสมาชิก ...............................................................................

ประสงค์จะบอกรับนิตยสาร “ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม” 1 ปี 6 ฉบับ 480 บาท 2 ปี 12 ฉบับ 960 บาท สมาชิกต่ออายุ 2 ปี 12 ฉบับ 800 บาท ตั้งแต่ฉบับที่ ............. เดือน .................................... ปี ..................... โดยส่งนิตยสารไปที่ ที่บ้าน ที่ท�ำ งาน พร้อมกันนี้ได้ส่งค่าสมาชิกเป็นจำ�นวนเงิน ................................. บาท (ตัวอักษร ..........................................................................................) เช็คธนาคาร ................................................................................. สาขา ................................................................................................. เช็คคร่อมสั่งจ่าย “บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จำ�กัด”

บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จำ�กัด 471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถนนศรีอยุธย� แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. +66 (0)26 444 555, +66 (0)23 545 333 ต่อ 301 โทรสาร +66 (0)26 446 649, +66 (0)23 545 322

ธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “คุณวาสนา แซ่อึ้ง” ที่ทำ�การไปรษณีย์โทรเลขบางกอกน้อย โอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จำ�กัด” ชื่อธนาคาร สาขา เลขที่บัญชี กรุงเทพ สะพานพระปิ่นเกล้า 162-0-74737-6 กสิกรไทย บางยี่ขัน 047-2-56333-5 ทหารไทย จรัญสนิทวงศ์ 020-2-27244-9 ไทยพาณิชย์ จรัญสนิทวงศ์ ซ.48 121-2-04080-0 หมายเหตุ กรุณาส่งแฟกซ์ หรือสำ�เนาใบเข้าบัญชี (Pay-in Slip) มาให้ บริษัทฯ พร้อมเขียนชื่อ-นามสกุล และรหัสสมาชิก (ถ้ามี) กำ�กับมาด้วย


หากผู้อ่านท่านใดสนใจรายละเอียดต่างๆ ที่ปรากฏในนิตยสาร ELECTRICITY & INDUSTRY MAGAZINE

ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 มีนาคม-เมษายน 2563 กรุณากรอกข้อมูลดังกล่าวให้ครบถ้วนเพือ่ การติดต่อจัดส่งข้อมูลกลับไปยังท่านต่อไป ชื่อ .............................................................................................. สกุล .............................................................................................................. ที่อยู่ ........................................................................................... แขวง/ตำ�บล ................................................................................................. เขต/อำ�เภอ ................................................................................. จังหวัด ................................................... รหัสไปรษณีย์ ............................... โทร ............................................................................................. แฟกซ์ ...........................................................................................................

ประเภทของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมเคมี/ปิโตรเคมี

ตำ�แหน่งงานที่ท่านรับผิดชอบ

กรรมการผู้จัดการ/เจ้าของกิจการ ผจก.โรงงาน ผจก.ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ผจก.วิศวกรรม ผจก.ฝ่ายซ่อมบำ�รุง วิศวกรฝ่ายผลิต วิศวกรทดสอบ อื่นๆ โปรดระบุ ............................................

อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมงานเชื่อม อุตสาหกรรมโลหการ อื่นๆ โปรดระบุ ............................................

ประเภทของกิจการ

ผู้ผลิต

ผู้แทนจำ�หน่าย

ผู้ผลิต/ผู้แทนจำ�หน่าย

หน่วยงานราชการ


ดัชนีสินค้าประจำ�เดือนมีนาคม - เมษายน พ.ศ. 2563 บริษัท

โทรศัพท์

ABB CO., LTD.

0-2665-1000

LSIS

083-149-9994

MAXIMIZE INTEGRATED TECHNOLOGY CO., LTD.

0-2194-8738-9

RENT (THAILAND) CO., LTD.

0-2136-7104

โทรสาร

ประเภทสินค้า

0-2324-0502 อุปกรณ์ไฟฟ้า -

ผู้นำ� ด้านระบบสั่งจ่ายและระบบจ�ำหน่าย ไฟฟ้าครบวงจร

0-2003-2215 อุปกรณ์ไฟฟ้า -

เครื่องมือซ่อมในการดึงสายไฟ

0-3884-7575 จ�ำหน่าย ติดตั้งคาปาซิเตอร์

หน้า ปกหลังนอก ปกหน้าใน 6 ปกหลังใน 7

SAMWHA (THAILAND) CO., LTD.

0-3884-7571-3

ที แอนด์ ดี เพาเวอร์ เทค (ไทยแลนด์) บจก.

0-2002-4395-97 0-2002-4398 อุปกรณ์ไฟฟ้า

9

เพาเวอร์ เรด บจก.

0-2300-5671-3

3

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รัตนโกสินทร์

0-2441-6059

0-2300-5937 อุปกรณ์ไฟฟ้า -

-

13

ลีฟเพาเวอร์ บจก.

0-2300-5671-3

0-2300-5937 อุปกรณ์ไฟฟ้า

5

เวอร์ทัส บจก.

0-2876-2727-8

0-2476-1711 Couplings

4

เอส เอ วี เมคคานิคคอล เซอร์วิสส์ แอนด์ ซัพพลายส์ หจก.

0-2702-0581-8

0-2377-5937 ติดตั้ง EOCR อิเล็กทรอนิกส์ โอเวอร์โหลดรีเลย์ ป้องกันมอเตอร์ไหม้

13

0-2434-3251 อุปกรณ์ไฟฟ้า

11

เอส.พี.วาย แอนด์ เคเบิ้ล บจก.

0-2434-0099




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.