Engineering Today No.182 (Issue Mar-Apr 2021)

Page 1










EDITOR TALK กิตติ วิสุทธิรัตนกุล

เจ้าของ บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จ�ำกัด

471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0-2354-5333 โทรสาร : 0-2640-4260 www.technologymedia.co.th www.engineeringtoday.net e-Mail : editor@technologymedia.co.th กองบรรณาธิการ e-Mail : editor@engineeringtoday.net ฝ่ายโฆษณา e-Mail : marketing_mag@technologymedia.co.th ฝ่ายบัญชีและธุรการ e-Mail : account@technologymedia.co.th คณะที่ปรึกษา ศ.อรุณ ชัยเสรี, ดร.ทนง พิทยะ, รศ.ฉดับ ปัทมสูต, ศ. ดร.มงคล เดชนครินทร์, รศ. ดร.พิชนี โพธารามิก, รศ.พูลพร แสงบางปลา, รศ. ดร.ต่อตระกูล ยมนาค, ศ. ดร.วรศักดิ์ กนกนุกูลชัย, ดร.การุญ จันทรางศุ, ดร.ประเสริฐ ภัทรมัย, สิริพร ไศละสูต, สิทธิพร รัตโนภาส, ประสงค์ ธาราไชย, ปราณี พันธุมสินชัย, รศ. ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์, วัลลภ เตียศิริ, ผศ. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร บรรณาธิการอ�ำนวยการ กิตติ วิสุทธิรัตนกุล บรรณาธิการวิชาการ ศ. ดร.พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ, ดร.มนตรี วีรยางกูร บรรณาธิการ สุรีย์พร วงศ์ศรีตระกูล กองบรรณาธิการ ทัศนีย์ เรืองติก พิสูจน์อักษร อ�ำพันธุ์ ไตรรัตน์ ศิลปกรรม พฤฒิยา นิลวัตร, ชุติภา จริตพันธ์ ฝ่ายโฆษณา มนัส ไชยเพส, ศิริภรณ์ กลิ่นขจร, กษิรา เหมบัณฑิตย์, กัลยา ทรัพย์ภิรมย์, วีระวรรณ พุทธโอวาท เลขานุการฝ่ายผลิต ชุติมณฑน์ บัวผัน ฝ่ายสมาชิก กรรณิการ์ ศรีวรรณ์ โรงพิมพ์ ส เอเซียเพรส (1989) แยกสี บจก. คลาสิคสแกน Engineering Today www.engineeringtoday.net

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

อว. จัดหาโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ รวมทั้งหมด 37 แห่ง รองรับผู้ป่วย COVID -19 ถึง 12,822 เตียง นั บ ตั้ ง แต่ ต ้ น เดื อ นเมษายนที่ ผ ่ า นมา ประเทศไทยเข้ า สู ่ ก ารระบาด ระลอก 3 อย่ า งเป็ น ทางการ จากคลั ส เตอร์ ส ถานบั น เทิ ง ย่ า นทองหล่ อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหยุดยาววันสงกรานต์ในวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา ยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 พุ่งสูงขึ้นเป็น 1335 คน จากนั้นได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,543 คน 1,582 คน และ 1,547 คน ตามล�ำดับ ทั้งนี้ในวันที่ 18 เมษายน ท� ำ สถิ ติ สู ง ขึ้ น เป็ น 1,767 คน ก่ อ นที่ จ ะลดจ� ำ นวนลงเหลื อ 1,390 คน ในวันที่ 19 เมษายน ที่ผ่านมา สาเหตุ ส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ เ ชื้ อ COVID-19 แพร่ ร ะบาดหนั ก ในขณะนี้ เป็นเพราะเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 ซึ่ง ศ. นพ.ยง ภู่วรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ได้ อ อกโรงยื น ยั นว่ า แพร่ ก ระจายได้ ง ่ า ยและ รวดเร็ว โดยเริ่มจากประเทศอังกฤษเข้าสู่ยุโรปและอเมริกา แล้วเข้าสู่ญี่ปุ่น จากนั้นได้เข้ามาสู่เขมรและระบาดในประเทศไทย ในอนาคตสายพันธุ์นี้ จะครองโลกจนกว่าจะมีสายพันธุ์อื่นที่แพร่กระจายง่ายกว่านี้มาแทนที่ อย่างไรก็ตาม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจยั และนวัตกรรม (อว.) โดย ศาสตราจารย์ (พิ เ ศษ) ดร.เอนก เหล่ า ธรรมทั ศ น์ รัฐมนตรี เจ้ากระทรวง ได้จัดเตรียมมหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์ในสังกัด อว. เพื่อ เพิม่ จ�ำนวนโรงพยาบาลสนาม รองรับผูป้ ว่ ย COVID-19 โดยวันที่ 14 เมษายน ที่ผ่านมา ได้เพิ่มโรงพยาบาลสนามขึ้นอีก 14 แห่ง และโรงพยาบาลสนามเดิม ได้เพิ่มเตียง 1 แห่ง รวมมีจ�ำนวนเพิ่ม 6,490 เตียง ท�ำให้ขณะนี้มีโรงพยาบาล สนามในสังกัด อว. อยู่ทั่วประเทศรวมทั้งหมด 37 แห่ง มีจ�ำนวนเตียงมากถึง 12,822 เตียง ส�ำหรับนิตยสาร Engineering Today ฉบับนี้ น�ำเสนอ “สตาร์ตอัป มจธ. ร่วมมือสถาบันวิจยั ญีป่ นุ่ ผลิตแผ่นฟิลม์ ฆ่าเชือ้ COVID-19 ด้วยอนุภาค นาโนทองแดงประสิทธิภาพ 99.9%”, “กฟผ. จับมือ สฟอ.-GIZ เปิดตัว ห้องทดสอบแอร์ที่ใช้สารท�ำความเย็นธรรมชาติรักษ์โลก เน้นปลอดภัย-ให้ สินค้าไทยแข่งขันได้ในระดับโลก”, คณะวิศวฯ ไฟฟ้า จุฬาฯ ร่วมกับ HITACHI ABB คัดเลือกนิสติ เข้าฝึกงานที่ HITACHI ABB ผ่านโครงการ “Supporting Apprentice Students Program”, “กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือเนคเทค และเครือข่ายพันธมิตร เปิดตัว “HandySense” ขับเคลื่อนสมาร์ทฟาร์ม ระบบเปิดสู่สังคมไทย” และ “คณะวิศวฯ มข. จับมือเอกชน น�ำเทคโนโลยี Drone ยกระดับชาวไร่อ้อย สู่เกษตรแม่นย�ำ” ส่วนเพจ Engineering Today เกาะติดและอัปเดตข่าวสารความ ก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรม อุตสาหกรรม เทคโนโลยี โดยเฉพาะสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งก�ำลังมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยและประเทศ ต่างๆ ทั่วโลกในขณะนี้ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทั่วโลก และ มีแนวโน้มว่าจะอยู่อีกนาน ขอให้ทุกท่านปรับตัว ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท และหาวิธีป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของเชื้อ แล้วเราจะผ่านวิกฤตโรคระบาดนี้ไปด้วยกันครับ


CONTENTS Engineering Today

March • April 2021 Vol.2 No.182

COLUMNS 10 E-Talk

อว. จัดหาโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ รวมทั้งหมด 37 แห่ง รองรับผู้ป่วย COVID-19 ถึง 12,822 เตียง

• กิตติ วิสุทธิรัตนกุล

Report 12 กฟผ. จับมือ สฟอ.-GIZ เปิดตัวห้องทดสอบแอร์ที่ใช้สารท�ำความเย็นธรรมชาติรักษ์โลก เน้นปลอดภัย-ให้สินค้าไทยแข่งขันได้ในระดับโลก

• กองบรรณาธิการ

16 คณะวิศวฯ ไฟฟ้า จุฬาฯ ร่วมกับ HITACHI ABB คัดเลือกนิสิตเข้าฝึกงานที่

HITACHI ABB ผ่านโครงการ “Supporting Apprentice Students Program”

• กองบรรณาธิการ

35 AI

ฟีโบ้ น�ำเทคโนโลยี AI พัฒนาการท�ำงาน ข้อเข่าเทียมเพื่อผู้พิการ

• กองบรรณาธิการ

37 IT Update จับตาไอทีปี ’64 หัวใจคือ Digital Process

และ Trust

• สุภัค ลายเลิศ

40 Preview ProPak Asia 2021-รูปแบบไฮบริด

18 Environment

42 Management Tools Today KM-01 การพัฒนาการเรียนรู้

ทส. จับมือภาคเอกชนขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม ภายใต้การสนับสนุนของเยอรมนี

• กองบรรณาธิการ

Technology 20 คณะวิศวฯ มข. จับมือเอกชน น�ำเทคโนโลยี Drone ยกระดับชาวไร่ออ้ ย สูเ่ กษตรแม่นย�ำ

• บพข.

22 ซินโครตรอน จับมือ มทส.-จังหวัดนครราชสีมา ใช้แสงซินโครตรอนและนวัตกรรม

พัฒนาวิสาหกิจชุมชนโคราช • กองบรรณาธิการ

24 Interview

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ขึ้นแท่นผู้น�ำองค์กรที่ยั่งยืนที่สุดในโลกประจ�ำปี 2564 พร้อมจับมือคู่ค้าและลูกค้า มุ่งปฏิรูปดิจิทัล สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

• กองบรรณาธิการ

12

27 Innovation

สตาร์ตอัป มจธ. ร่วมมือสถาบันวิจัยญี่ปุ่น ผลิตแผ่นฟิล์มฆ่าเชื้อ COVID-19 ด้วยอนุภาคนาโนทองแดงประสิทธิภาพ 99.9%

• กองบรรณาธิการ

29 IoT (Internet of Things)

กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือเนคเทค และเครือข่ายพันธมิตร เปิดตัว “HandySense” ขับเคลื่อนสมาร์ทฟาร์มระบบเปิดสู่สังคมไทย

• กองบรรณาธิการ

22

31 Digital

VMware เผยผลการศึกษาด้าน Digital Frontiers พบผู้บริโภคชาวไทยมีระดับ การยอมรับประสบการณ์ดิจิทัลสูงสุดในโลก

• กองบรรณาธิการ

34 Energy Today

เอ็มจี หนุน PEA-บางจาก เปิดสถานีชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 56 สาขา บนเส้นทางหลักทุกระยะ 100 กิโลเมตร ภายใน Q 2

• กองบรรณาธิการ

27

ตอบครบทุกปัญหาของอุตสาหกรรม การผลิตและบรรจุภัณฑ์ (Learning Curve)

• ดร.พรชัย องค์วงศ์สกุล


Report • กองบรรณาธิการ

กฟผ. จับมือ สฟอ.-GIZ

เปิดตัวห้องทดสอบแอร์ที่ใช้สารท�ำความเย็นธรรมชาติรักษ์โลก เน้นปลอดภัย-ให้สินค้าไทยแข่งขันได้ ในระดับโลก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้ อ มด้ ว ย สถาบั น ไฟฟ้ า และ อิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) และองค์กรความ ร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่ ว มจั ด งาน “พิ ธี เ ปิ ด และการสาธิ ต ห้ อ ง ทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพ พลั ง งานของเครื่ อ งปรั บ อากาศที่ ใ ช้ ส าร ท� ำ ความเย็ น ธรรมชาติ ” เพื่ อ เปิ ด ตั ว ห้ อ ง ทดสอบผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเครื่องปรับ อากาศทีใ่ ช้สารท�ำความเย็นธรรมชาติ ซึง่ ได้รบั การสนับสนุนทางด้านการเงินจากกองทุน RAC NAMA เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ ง ภาครั ฐ และเอกชนรั บ ทราบข้ อ มู ล ด้ า น มาตรฐานความปลอดภั ย ของเครื่ อ งปรั บ อากาศฉบับใหม่ (มอก.1529-2561) พัฒนา ขีดความสามารถในการแข่งขันและเตรียม ความพร้อมในการปรับตัวให้สอดคล้องกับ ข้ อ ก� ำ หนดที่ ก� ำ ลัง จะประกาศใช้ และเป็น โอกาสที่ดีของการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิต ไปสู ่ ก ารใช้ ส ารท� ำ ความเย็ น ธรรมชาติ ที่ มี ประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทดสอบเครื่องปรับอากาศในห้องทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพพลังงาน ของเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารท�ำความเย็นธรรมชาติ

กฟผ. ส่งเสริมผูป้ ระกอบการไทยใช้เทคโนโลยีการท�ำความเย็นสีเขียว เน้นปลอดภัย ให้แอร์ ไทยแข่งขันได้ในระดับโลก

สมใจ บุนนาค

ผู้อ�ำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

12

Engineering Today March • April 2021

สมใจ บุนนาค ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายสิง่ แวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ. ในฐานะผู้จัดการกองทุน RAC NAMA ภายใต้ เงินทุนสนับสนุนจ�ำนวน 8.3 ล้านยูโร หรือประมาณ 300 ล้านบาท ได้ดำ� เนินโครงการ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องท�ำความเย็น ของประเทศไทยสูก่ ารใช้สารท�ำความเย็นทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม ด้วยการส่งเสริมให้ ผูป้ ระกอบการไทยเปลีย่ นมาใช้เทคโนโลยีการท�ำความเย็นสีเขียวผ่านสารท�ำความเย็น ธรรมชาติ นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญในการปรับปรุงห้องทดสอบ เครื่องปรับ อากาศ เพื่อเตรียมความพร้อมของห้องทดสอบส�ำหรับ การทดสอบ ผลิตภัณฑ์ทใี่ ช้สารท�ำความเย็นธรรมชาติทกี่ ำ� ลังเข้าสูต่ ลาดในอนาคต จึงเป็นทีม่ าของ ความร่วมมือในครั้งนี้ โดยเป็นการพัฒนาต่อยอดจากอุปกรณ์และระบบเดิมที่มีอยู่ ให้ปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานไทยและสากล ให้ผลิตภัณฑ์เครื่องปรับ อากาศของไทยเป็นที่ยอมรับ สามารถส่งออกและแข่งขันได้ในระดับสากลต่อไป


RAC NAMA หนุนไทยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศมากว่า 4 ปี

ดร.ฟิลิปป์ พิชเกอะ ผู้อ�ำนวยการโครงการ RAC NAMA องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)

ดร.ฟิลิปป์ พิชเกอะ ผู้อ�ำนวยการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการลดก๊ า ซเรื อ นกระจกที่ เ หมาะสมของประเทศ ในอุ ต สาหกรรมเครื่ อ ง ปรับอากาศและเครื่องท�ำความเย็น (RAC NAMA) องค์กรความร่วมมือระหว่าง ประเทศของเยอรมัน (GIZ) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่อง ปรับอากาศและเครื่องท�ำความเย็นที่ส�ำคัญของโลก ด้วยส่วนแบ่งการตลาดกว่า 12% โดยปัจจุบันการใช้พลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์ท�ำความเย็นและปรับอากาศ คิดเป็นกว่า 60% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในประเทศ และปล่อยก๊าซเรือนกระจก สูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ท�ำให้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและ การลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ และเครื่องท�ำความเย็น หรือ RAC NAMA เข้ามาสนับสนุนประเทศไทยให้สามารถ บรรลุเป้าหมายลดการใช้พลังงานตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ โดยในระยะเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา โครงการฯ สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี ที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงและสารท�ำความเย็นธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ผลักดันตลาดทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงการพัฒนากลยุทธ์ เพื่อเปิดโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจให้ผลิตภัณฑ์ท�ำความเย็นที่ผลิตออกสู่ตลาดช่วยลด ก๊าซเรือนกระจกได้ดขี นึ้ ตามล�ำดับ ส่วนในอนาคตจะพยายามเร่งหาเทคโนโลยีรว่ มทัง้ หาผู้เชี่ยวชาญร่วมด�ำเนินโครงการให้มีความต่อเนื่องสอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น “ภายในปีนี้ พ.ศ. 2564 ประเทศไทยวางแผนทีจ่ ะลงนามในพิธสี ารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข (Kigali Amendment) เพื่อจ�ำกัดการใช้สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrofluorocarbons: HFCs) ที่มีค่าศักยภาพในการท�ำให้เกิดภาวะโลกร้อน (ค่ า Global Warming Potentials: GWP) และค่ า ศั ก ยภาพในการท� ำ ลาย ชั้นบรรยากาศโอโซน (ค่า Ozone Depletion Potential: ODP) สูงและสนับสนุน การใช้สารท�ำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ดร.ฟิลิปป์ กล่าว

มาตรฐานฉบับใหม่นี้ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ หนุนไทยก้าวสู่ผู้น�ำเทคโนโลยีท�ำความเย็นสีเขียว

ณรัฐ รุจิรัตน์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.)

ณรัฐ รุจิรัตน์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) กล่าวว่า สฟอ. ได้เดินหน้าพัฒนาและสนับสนุนอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย มาอย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ ผลักดันการส่งออกสินค้าไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม ให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเสริมสร้างสมรรถนะของอุตสาหกรรม ผลักดันการใช้ สินค้า วัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทย เพื่อผลิตสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลและบนเวที การค้าโลกได้อย่างยั่ง ยืน รวมทั้งพัฒนาฐานข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ เพือ่ เป็นแนวทางแก่ผปู้ ระกอบการน�ำไปใช้ปรับตัวตามการเปลีย่ นแปลงของเทคโนโลยี ใหม่ๆ ตลอดเวลา ส�ำหรับความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นอีกก้าวที่ภาครัฐได้ร่วมกับภาคเอกชนที่มี ศักยภาพในการร่วมกันด�ำเนินงานเพื่อยกระดับผู้ประกอบการไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้านการให้บริการและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร เพื่อผลักดันและสนับสนุน Engineering Today March • April 2021

13


ให้มีการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ของไทย โดยเฉพาะการรับรองมาตรฐานด้านความ ปลอดภั ย ของเครื่ อ งปรั บ อากาศฉบั บ ใหม่ (มอก.1529-2561) ซึ่งมีข้อบังคับครอบคลุม ถึงสารท�ำความเย็นติดไฟได้ โดยเชื่อมั่นว่า มาตรฐานฉบั บ ใหม่ นี้ จ ะช่ ว ยสร้ า งโอกาส ทางธุร กิจ การวิจัยและพัฒนา และท�ำให้ ประเทศไทยก้ า วขึ้ น เป็ น ผู ้ น� ำ เทคโนโลยี ท�ำความเย็นสีเขียวได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

ท�ำความรู้จัก มอก.1529-2561 มาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศที่เน้นปลอดภัย

เกียรติศักดิ์ ประเสริฐสุข นักวิชาการช�ำนาญการ ส�ำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

14

Engineering Today March • April 2021

เกียรติศักดิ์ ประเสริฐสุข นักวิชาการช�ำนาญการ ส�ำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า มอก.1529-2561 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศคุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศที่ก�ำหนดคุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัยของ เครือ่ งปรับอากาศ รวมถึงก�ำหนดวิธกี ารทดสอบทีเ่ กีย่ วข้อง โดยครอบคลุมเครือ่ งปรับ อากาศที่มีความสามารถท�ำความเย็นทั้งหมดไม่เกิน 18,000 วัตต์ หรือประมาณ 60,000 BTU ขอบข่ายรวมถึงเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารท�ำความเย็นที่ติดไฟได้ รวมถึงเครือ่ งปรับอากาศทีไ่ ม่ได้มจี ดุ ประสงค์สำ� หรับทีอ่ ยูอ่ าศัยปกติ แต่อาจจะเป็นสาเหตุ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสาธารณะ เช่น เครื่องปรับอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมเบา หรือฟาร์ม ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ IEC 60335-2-40/AMD 1: 2016 (Edition 5.1) ซึง่ สมอ. ก�ำหนดให้เป็นมาตรฐานบังคับ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยมีข้อก�ำหนดเพื่อความปลอดภัยในการใช้สาร ท�ำความเย็นที่ติดไฟได้ เช่น สร้างให้สารท�ำความเย็นไม่เกิดการรั่วไหลสะสมจนเป็น อันตราย ทนทานต่อการสัน่ สะเทือน และป้องกันท่อทีส่ มั ผัสสารท�ำความเย็น เป็นต้น ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อลดการใช้สารท�ำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (Montreal Protocol) และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารท�ำความเย็นที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม เมื่อมาตรฐานนี้มีผลบังคับใช้จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยภาคอุตสาหกรรม ทีผ่ ลิตเครือ่ งปรับอากาศส�ำหรับขายในท้องตลาดจะมีแนวทางข้อก�ำหนดต่างๆ ในการ ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ตลาดมีความต้องการ รวมทั้งช่วยกัน ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นด้วย


ภาวัต สุวรรณกูฏ ผู้อ�ำนวยการอาวุโส แผนกปฏิบัติการทดสอบ 2 สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.)

ห้องทดสอบเครื่องปรับอากาศ และเครื่องท�ำความเย็นสีเขียว ทดสอบผลิตภัณฑ์ 3 ส่วน ภาวัต สุวรรณกูฏ ผู้อ�ำนวยการอาวุโส แผนกปฏิบัติการทดสอบ 2 สถาบันไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) กล่าวว่า ส�ำหรับ ห้ อ งทดสอบเครื่ อ งปรั บ อากาศและเครื่ อ ง ท� ำ ความเย็ น สี เ ขี ย ว สถาบั น ไฟฟ้ า และ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ มี ก ารทดสอบผลิ ต ภั ณ ฑ์ ด้วยกันใน 3 ส่วน ประกอบด้วย ห้องทดสอบ การทนแรงสั่นสะเทือนจากการขนส่ง ซึ่งจะ ท�ำการทดสอบกับผลิตภัณฑ์ท่ีผู้ประกอบการ น� ำ เข้ า มาให้ ส ถาบั น ฯ ทดสอบก่ อ นที่ จ ะ ไปยื่นขอใบรับรองผลิตภัณฑ์จาก สมอ. และ จ�ำหน่ายสู่ตลาดผู้บริโภคต่อไป โดยจะท�ำการ ทดสอบแบบ Random Vibration เป็นระยะ เวลานาน 180 นาที ซึ่งภายหลังการทดสอบ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ะต้ อ งไม่ มี ก ารรั่ ว ไหลของสาร ท� ำ ความเย็ น ที่ บ รรจุอ อกมาจากผลิตภัณ ฑ์ ทีน่ ำ� มาทดสอบเพือ่ ความปลอดภัยแก่ผบู้ ริโภค ส่วนต่อไปจะเป็นเครือ่ งปรับอากาศแบบติดตัง้ จริ ง ภายในห้ อ งทดสอบที่ ค วบคุ ม สภาวะ ตามมาตรฐานด้ า นความปลอดภั ย มอก. 1529-2561 โดยจะท�ำการสาธิต ก�ำลังไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า การเกิดความร้อน เป็นต้น

ซึ่งเป็นการวัดก�ำลังไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าเพื่อให้แสดงค่าบนฉลากของผลิตภัณฑ์ ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการวัดการเกิดความร้อนในส่วนต่างๆ ของเครื่องปรับอากาศ ว่ามีอุณหภูมิไม่เกินเกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้ในมาตรฐาน โดยภายในห้องทดสอบได้ติดตั้ง อุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหลของสารท�ำความเย็นชนิดติดไฟได้ ชนิด R-290 ไว้ด้วย และทดสอบเครือ่ งปรับอากาศแบบติดตัง้ จริงภายในห้องทดสอบ Balanced Ambient Room-type Calorimeter ตามมาตรฐานด้ า นประสิ ท ธิ ภ าพ พลั ง งาน มอก. 2134-2553 โดยเป็นการวัดค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องปรับอากาศ เช่น ก�ำลัง ค่าไฟ ขีดความสามารถในการท�ำความเย็น อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน เป็นต้น ทั้ ง นี้ ภายในห้ อ งทดสอบได้ ติ ด ตั้ ง อุ ป กรณ์ ป ้ อ งกั น การรั่ ว ไหลของสารท� ำ ความเย็นชนิดติดไฟได้ ชนิด R-290 ไว้ด้วย ซึ่งมีความพร้อมในการให้บริการทดสอบ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของ สมอ. และข้อก�ำหนดโครงการฉลาก ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ กฟผ. ด้วย

Engineering Today March • April 2021

15


Report • กองบรรณาธิการ

คณะวิศวฯ ไฟฟ้า จุฬาฯ ร่วมกับ HITACHI ABB

คัดเลือกนิสิตเข้าฝึกงานที่ HITACHI ABB ผ่านโครงการ “Supporting Apprentice Students Program”

16

Engineering Today March • April 2021

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์กริดส์ ประเทศไทย (HITACHI ABB) แถลง ความร่ ว มมื อ โครงการ “Supporting Apprentice Students Program” คัดเลือกนิสิตชั้นปีที่ 2 และ 3 ที่มี ความสนใจจ�ำนวน 16 คน เข้าฝึกงานที่บริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์กริดส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด เป็นระยะเวลา 360 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม-30 กรกฎาคม 2564


รศ. ดร.ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ. ดร.แนบบุญ หุนเจริญ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ. ดร.ธวั ช ชั ย ชริ น พาณิ ช กุ ล รองคณบดี คณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะ วิศวกรรมศาสตร์มีความยินดีอย่างยิ่งที่ร่วมมือกับบริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์กริดส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด อีกครั้ง ในการส่งนิสิต ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ไปร่วมฝึกงานจริงจากพีเ่ ลีย้ งและทีมผูเ้ ชีย่ วชาญของ บริษทั ฯ ตลอดระยะเวลาการฝึกงาน มัน่ ใจว่านิสติ นักศึกษาทีร่ ว่ ม ฝึกงานในครัง้ นีจ้ ะน�ำประสบการณ์ทไี่ ด้รบั มาเสริมสร้างประสบการณ์ ในการเรียนและน�ำไปใช้ประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป รศ. ดร.แนบบุญ หุนเจริญ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ส�ำหรับ นิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้มีทั้งหมด 16 คน ก�ำลัง ศึกษาอยูป่ ี 3 ในภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ซึง่ การส่งนิสติ ไปฝึกงาน เพือ่ ให้ได้ประสบการณ์การท�ำงานจริงเป็นสิง่ ทีภ่ าควิชาฯ ให้ความ ส�ำคัญมาโดยตลอด ทีผ่ า่ นมาทางภาควิชาฯ ได้เชิญผูเ้ ชีย่ วชาญจาก บริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์กริดส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด มาให้ ความรู้แก่นิสิตมาแล้ว ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ นิสิตได้สัมผัสกับการท�ำงานจริงกับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มี การท�ำงานที่เป็นสากล เป็นการเปิดโลกทัศน์นิสิตอีกทางหนึ่ง และในอนาคตอาจจะมีการส่งนิสิตไปฝึกงานตั้งแต่ปี 2 เพื่อ เป็นการเตรียมความพร้อม และให้นิสิตได้ตระหนักว่าตนเองมี ความสนใจด้านใดก็เลือกเรียนทางด้านนั้น ดร.ประดิษฐพงษ์ สุขสิริถ าวรกุล Director & Vice President, HAPG บริ ษั ท ฮิ ต าชิ เอบี บี เพาเวอร์ ก ริ ด ส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด กล่าวว่า นิสิตที่เข้าร่วมฝึกงานกับทาง บริษัทฯ ครั้งนี้จะฝึกงานเป็นระยะเวลา 360 ชั่วโมง ระหว่าง

ดร.ประดิษฐพงษ์ สุขสิริถาวรกุล Director & Vice President, HAPG บริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์กริดส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด

วั น ที่ 31 พฤษภาคม-30 กรกฎาคม 2564 ซึ่ ง จะได้ รั บ ประสบการณ์ขณะท�ำการฝึกงานที่หลากหลาย ทั้งโปรแกรม ที่ตนเองสนใจ การได้ออกไปท�ำงานจริงยังโรงงานของบริษัทฯ ตามความสนใจใน 11 โมดูล ประกอบด้วย 1. Grids Edge Solutions, Microgrid & Battery Energy Storage System (BESS) and e-mesh™, 2. SCADA and Control Systems, Substation Automation, Protection & Control, 3. High Voltage Switchgear & Breakers, Instrument Transformer Surge Arrester, Capacitor & Filters and Generator Circuit Breakers, 4. Power Transformers and TXpert™ Ecosystem, 5. FACTS & HVDC, 6. Substation & Electrification and Digital Substation with SAM 600, 7. Power Quality, 8. Overvoltage & Controlled Switching (Capacitor, Line and Shunt Reactor), 9. Grid E-Motion Fleet (E-mobility) and TOSA E-bus, 10. Smart Grids and Virtual Power Plants (VPP) และ 11. Enterprise Software and The Digital Energy Transformation “ทั้งหมดนี้นิสิตสามารถเลือกฝึกงานได้ตามความสนใจได้ อย่างเต็มที่ และในระหว่างฝึกงานหากโมดูลทีต่ นเองเลือกท�ำการ ฝึกงานแล้วไม่ถนัดก็สามารถที่จะปรับเปลี่ยนไปฝึกงานในโมดูล อื่นๆ ได้ นอกจากนั้นยังมีโอกาสเข้าร่วมประชุมออนไลน์กับ ผูเ้ ชีย่ วชาญของบริษทั จากทัว่ โลกอีกด้วย” ดร.ประดิษฐพงษ์ กล่าว ก่อนสิ้นสุดโครงการฯ ทางบริษัทฯ จะมีระบบประเมินผล รวมถึงระบบการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม เพื่อวัดทัศนคติ ความรู้ ทักษะที่ได้รับจากการฝึกงานของโครงการ เพื่อพิจารณาและ เพิ่มโอกาสให้กับนิสิตนักศึกษาในการร่วมงานกับบริษัทฯ ใน อนาคตอีกด้วย

Engineering Today March • April 2021

17


Environment • กองบรรณาธิการ

ทส.จับมือ ภาคเอกชน

ขับเคลื่อนลด ก๊าซเรือนกระจก ในภาคอุตสาหกรรม ภายใต้การสนับสนุน ของเยอรมนี

วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)

18

Engineering Today March • April 2021

วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ลงนามในเอกสารถ้อยแถลง เพื่อด�ำเนินงาน (Statement of Undertaking : SoU) ของกลุ่ม ด�ำเนินงานด้านกรดไนตริกเพื่อสภาพภูมิอากาศ (Nitric Acid Climate Action Group : NACAG โดยมี เก-ออร์ก ชมิดท์ (H.E. Mr. Georg Schmidt) เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนีประจ�ำประเทศไทย ในฐานะตัวแทนรัฐบาลสหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานทาง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องประชุม ชั้น 17 กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) การลงนามในเอกสาร SoU นี้นับเป็นการเข้าร่วมเป็น สมาชิกกลุ่ม NACAG อย่างเป็นทางการของประเทศไทย โดย NACAG จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ และความปลอดภัยทางปรมาณู สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMU) ในการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ สมัยที่ 21 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐ

รมว.ทส.ลงนามในเอกสาร SoU เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม NACAG อย่างเป็นทางการของประเทศไทย


ฝรั่งเศส มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซไนตรัสออกไซด์ จากการผลิตกรดไนตริกของประเทศก�ำลังพัฒนา เพื่อมุ่งสู่การ ยุ ติ ก ารปล่ อ ยก๊ า ซในตรั ส ออกไซด์ จ ากกระบวนการผลิ ต นี้ อย่ า งถาวรทั่ ว โลก เนื่ อ งจากก๊ า ซไนตรั ส ออกไซด์ เ ป็ น ก๊ า ซ เรือนกระจกทีม่ คี า่ ศักยภาพในการท�ำให้เกิดภาวะโลกร้อนสูงกว่า ก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ ถึ ง 265 เท่ า โดยพบมากที่ สุ ด ใน อุตสาหกรรมการผลิตกรดไนตริก ซึง่ ใช้เป็นวัตถุดบิ ในอุตสาหกรรม เคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตปุ๋ย ทัง้ นี้ การลงนามในเอกสาร SoU เพือ่ เข้าร่วมกลุม่ NACAG จะท�ำให้ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนทางการเงินและทาง เทคนิคในการติดตั้งเทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ แก่ผู้ประกอบการในประเทศ โดยสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จะให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการ จัดซื้อ จัดส่ง ติดตั้ง ฝึ ก อบรม ตลอดจนสนั บ สนุ น ผู ้ เ ชี่ ย วชาญทางเทคนิ ค ในการ ด�ำเนินการและติดตามตรวจวัดผลการด�ำเนินการ ซึ่งผลการ ด�ำเนินงานนี้ประเทศไทยสามารถน�ำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการ

บรรลุตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศทีก่ ำ� หนด ไว้ร้อยละ 20-25 จากกรณีปกติ ภายใน พ.ศ. 2573 “การลงนามในเอกสาร SoU เพื่อเข้าร่วมกลุ่ม NACAG ในวันนี้เป็นการขยายความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศระหว่างรัฐบาลไทยและเยอรนี ไปสู่ความร่วมมือกับ ภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่ง ทส. ยินดีที่จะเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม ส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ขับเคลื่อนการ ด�ำเนินงานภายใต้กลุ่ม NACAG ของประเทศไทย” วราวุธ กล่าว หลั ง จากนี้ ทส. โดยส� ำ นั ก งานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จะร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และส� ำ นั ก เลขาธิ ก าร NACAG ด� ำ เนิ น การติ ด ตั้ ง เทคโนโลยีการลดก๊าซในตรัสออกไซด์ในการผลิตกรดไนตริก แก่ผู้ประกอบการผลิตกรดไนตริกในประเทศไทยต่อไป

รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการส�ำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.).

พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช รองเลขาธิการส�ำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

มร. ไรน์โฮลด์ เอลเกส (ขวา) ผู้อ�ำนวยการ GIZ ประจ�ำประเทศไทยและมาเลเซีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์

Engineering Today March • April 2021

19


Technology • หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ข้อมูลจากภาพถ่ายทีน่ ำ� มาประมวลผล

คณะวิศวฯ มข. จับมือเอกชน น�ำเทคโนโลยี Drone ยกระดับชาวไร่อ้อย สู่เกษตรแม่นย�ำ

“อ้อย” เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ โดยเป็น

วัตถุดบิ หลักทีใ่ ช้ในการผลิตน�ำ้ ตาลทรายและพลังงานทดแทน แต่ปญ ั หา ที่ เ กษตรกรชาวไร่อ ้อ ยพบเจอและไม่ส ามารถหลีกเลี่ยงได้ม าอย่าง ยาวนาน คือ “ต้นทุนในการผลิต” เช่น ค่าแรงงาน ค่าเครื่องจักร ค่าปุ๋ย และสารเคมี ที่สูงถึง 30-40% เมื่อเทียบกับรายได้จากผลผลิตอ้อยสด 1 ตัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับ สากลด้วยเช่นกัน รศ. ดร.ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์ อาจารย์ประจ�ำภาควิชา วิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึง่ เป็น หัวหน้าโครงการวิจัย แพลตฟอร์มหุ่นยนต์และยานพาหนะไร้คนขับ ส�ำหรับการเกษตรที่มีความแม่นย�ำเพื่อสร้างฟาร์มขนาดใหญ่เสมือน ทีไ่ ด้รบั ทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิม่ ความ สามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่า เกษตรกรที่ปลูก อ้อยนั้นทราบถึงปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตและอยากลดรายจ่ายส่วนนี้ แต่ปัญหาคือที่ผ่านมายังไม่มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใดๆ ที่เข้ามาช่วย เกษตรกรประเมินความเสี่ยงในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตในไร่อ้อย ได้อย่างแม่นย�ำ ตนจึงได้ท�ำการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนเพื่อ

20

Engineering Today March • April 2021

รศ. ดร.ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์

อาจารย์ประจ�ำภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พัฒนาระบบวิเคราะห์และแปลผลภาพถ่ายทางอากาศทีไ่ ด้ จากอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน เพื่อน�ำข้อมูลที่จ�ำเป็น ไปสู ่ ขั้ น ตอนของการวิ เ คราะห์ และวางแผนการผลิ ต เพื่อลดความเสี่ยงในการจัดการไร่อ้อยของเกษตรกรหรือ ผู้ประกอบการ ที่ ผ ่ า นมาเจ้ า ของแปลงอ้ อ ยจะใช้ ก ารเก็ บ ข้ อ มู ล แบบสุ่ม โดยการเดินส�ำรวจ จึงไม่ทราบถึงบริเวณที่เกิด ปัญหากับอ้อยของตนได้ทันท่วงที เช่น การเจริญเติบโตที่ ไม่สม�่ำเสมอกัน หรือมีพื้นที่น�้ำท่วมขัง การล้มของต้นอ้อย เกิดโรคใบขาวของอ้อย ค่าความหวานของอ้อยขณะส�ำรวจ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตที่จะส่งโรงงาน หีบอ้อย อีกทัง้ การส�ำรวจด้วยแรงงานคนมีความคลาดเคลือ่ น สู ง เนื่ อ งจากการส� ำ รวจให้ ค รอบคลุ ม เป็ น ไปได้ ย าก ทางทีมวิจัยจึงร่วมมือกับบริษัท เอชจี โรโบติกส์ จ�ำกัด ที่มี ความเชี่ยวชาญด้านระบบ Artificial Intelligence (AI) และ บริษทั โกลบอล ครอปส์ จ�ำกัด น�ำโดรนมาใช้ในการส�ำรวจ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาให้ตรงจุด ตามหลักการ “เกษตร แม่นย�ำ (Precision Agriculture)” ส� ำ หรั บ ข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น กุ ญ แจของความแม่ น ย� ำ ของ เทคนิคนี้ คือ 1. Crop Zoning ข้อมูลทีเ่ กิดจากการท�ำวิจยั และเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจ ได้อย่างแม่นย�ำว่าพื้นที่นั้นควรปลูกพืชชนิดใด 2. Crop Dashboard ทีร่ ะบุการเติบโตของพืชว่าเป็นไปตามเกณฑ์ หรือไม่ สุขภาพของพืชเป็นอย่างไร เป็นโรค หรือต้องการ ปุ๋ยประเภทไหน หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์จะต้องแก้ไข


ดร.มหิศร ว่องผาติ บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จ�ำกัด

อย่างไร ท�ำให้เกษตรกรมีการวางแผนบริหารจัดการต้นทุนได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งจะถูกประมวลเป็นการคาดการณ์ผลผลิตในไร่ที่มีประสิทธิภาพ และ 3. Machine Dashboard คือ การติดตามและบันทึกกิจกรรมการ ใช้งานเครือ่ งจักรในแปลง เพือ่ การบริหารให้มปี ระสิทธิภาพและน�ำไปสู่ การลดต้นทุน ดร.มหิศร ว่องผาติ บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จ�ำกัด กล่าวถึง ผลความร่วมมือที่ผ่านมาว่า ทางบริษัทฯ และทีมวิจัย ได้พัฒนาโมเดล วิเคราะห์ค่าความหวานของอ้อยในแปลง โดยน�ำค่าการสะท้อนของ ยอดใบจากหลายช่วงคลื่นในแต่ละจุด (Pixel) บนภาพถ่ายจากโดรนไป สร้างความสัมพันธ์ทางสมการกับค่าความหวานที่วัดได้จริง เพื่อพัฒนา เป็นโมเดลทางคณิตศาสตร์ ที่สามารถน�ำไปประเมินค่าความหวานของ อ้อยจากภาพถ่ายด้วยโดรนในแปลงอื่นๆ ต่อไป โดยปีแรกของโครงการ (พ.ศ. 2563) ได้น�ำระบบที่พัฒนาขึ้นไป ให้บริการจริงในรูปแบบของ POC แก่โรงงานน�้ำตาลบ้านไร่ จ.อุทัยธานี เป็นพืน้ ที่ 7200 ไร่ และยังได้ทำ� ความร่วมมือ (MOU) กับผูป้ ระกอบการ น�้ำตาลกลุ่มมิตรผลในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลแปลงอ้อยในพื้นที่ 27,000 ไร่ ในจังหวัดกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี เพื่อท�ำให้โมเดลการ แปรผลภาพถ่ายทางอากาศวิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นย�ำขึ้น ทั้งในส่วนการ หาความหวาน การตรวจหาโรคใบขาวอ้อย รวมถึงเพิ่มการประมาณ ความต้องการธาตุอาหารหลักในไร่อ้อย ระยะเวลาและล�ำดับแปลงที่จะ เก็บเกี่ยวกับการคาดการณ์ผลผลิต “ภายใต้โครงการนี้ เรามีการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากโดรนของ บริษัทฯ ที่ถ่ายด้วยกล้องมัลติสเปกตรัมที่ท�ำให้ได้ภาพถ่ายที่มีความ ละเอียดสูงกว่าภาพถ่ายดาวเทียมมาก ซึง่ การวิเคราะห์คา่ สีในสเปกตรัม ต่างๆ ท�ำให้เราได้สมการที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้มากกว่าค่า

ความหวานเพียงอย่างเดียว รู้ว่าอ้อยในพื้นที่ต่างๆ ได้รับ น�ำ้ เหมาะสมหรือไม่ มีอาการของโรคใบขาวของอ้อยเกิดขึน้ หรือไม่ ทีส่ ำ� คัญ การใช้ภาพถ่ายจากโดรนท�ำให้สามารถวัด ความสูงและสร้างภาพ 3 มิติของพื้นที่ได้ ซึ่งภาพถ่าย ดาวเที ย มไม่ ส ามารถท� ำ ได้ โดยเราได้ พั ฒนาระบบให้ สามารถวัดความสูงของพืชได้แม่นย�ำกว่าระบบที่มีขายใน ท้องตลาดมากกว่า 10 เท่า ท�ำให้สามารถหาค่าความสูง ของต้นอ้อยได้อย่างแม่นย�ำ และบอกได้ว่าแต่ละจุดมีการ เติบโตทีเ่ ป็นไปตามเกณฑ์ไหม เปอร์เซ็นต์ออ้ ยตายอ้อยงอก ในแปลงเป็นอย่างไรบ้าง โดยสามารถเปรียบเทียบกับภาพ ทีถ่ า่ ยในครัง้ ก่อนๆ หรือปีกอ่ นได้อกี ด้วย นอกจากนี้ ชาวไร่ หรือเจ้าหน้าที่ของโรงงานน�้ำตาลสามารถถ่ายภาพด้วย โดรนของตนเองและส่งภาพถ่ายทางออนไลน์มาให้เรา วิเคราะห์ และสามารถดูขอ้ มูลของแต่ละแปลงโดยละเอียด ผ่านมือถือหรือแทบเล็ต หรือแสดงในรูปแบบภาพรวม ทั้งโซนรอบโรงงานที่ผู้บริหารโรงงานอยากจะดูเขาก็ดูได้ เช่นกัน” รศ. ดร.ขวัญตรี กล่าว ดร.มหิศร กล่าวเสริมว่า จากผลส�ำเร็จดังกล่าวส่งผล ให้มีการขยายผลไปสู่เชิงพาณิชย์บ้างแล้ว โดยในปัจจุบันมี โรงงานน�ำ้ ตาลหลายแห่งสนใจจะจ่ายค่า Service ให้ทมี ไป ทดลองท�ำตั้งแต่ปีแรกของโครงการ ส่วนในปีที่ 2 จะ เน้นไปทีก่ ารควบคุมต้นทุนในการผลิตและการจัดการแปลง เช่ น การให้ ปุ ๋ ย หรื อ ยาที่ เ หมาะสม ซึ่ ง เป็ น การจั ด การ เฉพาะจุด ส่วนปีสดุ ท้ายจะเป็นการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ให้เกิดเป็นข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจวางแผน ระยะยาว รวมถึงให้ข้อมูลว่าแต่ละวิธีหรือแต่ละทางออก มีต้นทุน มีความเสี่ยงเท่าใด เพื่อให้เกษตรกรหรือโรงงาน ตัดสินใจต่อไป Engineering Today March • April 2021

21


Technology • กองบรรณาธิการ

ซิจับมืนอ มทส.-จั โครตรอน งหวัดนครราชสีมา ใช้แสงซินโครตรอนและนวัตกรรม พัฒนาวิสาหกิจชุมชนโคราช จังหวัดนครราชสีมา ร่วมด้วยกระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมลงนาม บันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน และนวัตกรรมสูช่ มุ ชนเพือ่ พัฒนาจังหวัดนครราชสีมา โดยจังหวัดนครราชสีมา จะสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่ได้รับถ่ายทอดจากมหาวิทยาลัยฯ และสถาบันฯ ในการพัฒนาจังหวัด ต่อไป จังหวัดนครราชสีมา และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) หรือ สซ. ลงนามบันทึก ความเข้าใจความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและ นวัตกรรมสู่ชุมชนเพื่อพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา โดย มทส. จะเป็นผู้ถ่ายทอด เทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และ สซ. จะเป็น ผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านแสงซินโครตรอนที่เป็นประโยชน์ ต่อจังหวัดนครราชสีมาเพื่อน�ำไปพัฒนาจังหวัด ณ SUT-Co working Space

22

Engineering Today March • April 2021

วิเชียร จันทรโณทัย ผูว้ า่ ราชการจังหวัดนครราชสีมา

อาคารสุ ร พั ฒ น์ 1 เทคโนธานี มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา วิ เ ชี ย ร จั น ทรโณทั ย ผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด นครราชสีมา กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลง ครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทาง วิชาการในด้านการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน และนวั ต กรรม เพื่ อ เป็ น การพั ฒ นาองค์ ค วามรู ้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เจ้าหน้าทีใ่ นหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปได้เข้าใจ และเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่โดย สะดวกและทั่วถึง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การ พัฒนาจังหวัดระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) “โคราชเมื อ งน่ า อยู ่ ป ระชาชนมี ค วามสุ ข มั่ น คง ยัง่ ยืน” และเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา คือ “ศูนย์กลางโครงข่ายคมนาคมและท่องเทีย่ วของ ภูมิภาค นวัตกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรม สังคมคุณภาพสูง”


รศ. สาโรช รุจริ วรรธน์ ผูอ้ ำ� นวยการสถาบันวิจยั แสงซินโครตรอน (สซ.)

รองศาสตราจารย์ สาโรช รุ จิ ร วรรธน์ ผู ้ อ� ำ นวยการสถาบั น วิ จั ย แสงซินโครตรอน (สซ.) กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้ถือเป็นการส่งเสริม เศรษฐกิ จ ฐานราก หรื อ เศรษฐกิ จระดั บ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น หรื อ ระดั บจั ง หวั ด ให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการแข่งขัน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้ ว ยการน� ำ ความรู ้ ด ้ า นวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวั ต กรรมอย่ า ง “แสงซินโครตรอน” ในการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต ผลิตภัณฑ์ สินค้า และวัตถุดบิ ในชุมชนท้องถิน่ น�ำไปสูก่ ารยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลผลิตและ ความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของชุมชนได้ ส่งผลให้เกิดการแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลือ่ มล�ำ้ และความไม่เสมอภาคตามเป้าหมายการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ เพือ่ สร้าง เศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง ส�ำหรับความร่วมมือครั้งนี้มีโครงการน�ำร่องในการใช้แสงซินโครตรอน วิเคราะห์โครงสร้างสามมิติของผ้าไหมไทย เพื่อพัฒนาและยกระดับสิ่งทอจาก เส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทดแทนหน้ากากทางการแพทย์ และได้น�ำร่องถ่ายทอดเทคโนโลยีการทอผ้าไหมและการตัดเย็บให้แก่ชุมชน ในอ�ำเภอปักธงชัย และจะถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดนครราชสีมา ต่อไป

รศ. ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี (มทส.)

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นความร่วมมือทาง วิชาการในการพัฒนาศักยภาพ และยกระดับชุมชน กลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยการ ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพยากร รวมถึง เทคโนโลยีต่างๆ ทั้งของมหาวิทยาลัย และการ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและ เทคโนโลยีอนื่ ทีเ่ กีย่ วข้อง เป็นการด�ำเนินงานร่วมกัน ระหว่างชุมชน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐ เพื่ อ เพิ่ ม ความเข้ ม ข้ น ของการวิ จั ย และพั ฒ นา การถ่ า ยทอดเทคโนโลยี สู ่ ชุ ม ชนอย่ า งเป็ น ระบบ อันส่งผลสู่เศรษฐกิจ การจ้างงาน และความเข้มแข็ง ของสังคมไทยต่อไป

Engineering Today March • April 2021

23


Interview • กองบรรณาธิการ

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ขึน้ แท่นผูน้ ำ� องค์กรทีย่ งั่ ยืน ที่สุดในโลกประจ�ำปี 2564 พร้อมจับมือคู่ค้าและลูกค้า มุ่งปฏิรูปดิจิทัล สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

สเตฟาน นูสส์ ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ผู้น�ำ ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันด้านการจัดการพลังงาน และ ระบบออโตเมชัน โชว์ผลงานโดดเด่นก้าวข้ามปี ’63 อย่าง มั่นคง ด้วยดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ประเดิมด้วยความ ส�ำเร็จ เปิดศักราชปี ’64 ด้วยการก้าวสู่เบอร์ 1 ของโลก ในการเป็นองค์กรที่ยั่งยืนที่สุด สะท้อนจุดยืนที่มุ่งมั่น พร้อมดันแผนเชิงรุกช่วยองค์กรทั่วโลกก้าวสู่ความยั่งยืน ด้วยแพลตฟอร์มและสถาปัตยกรรมระบบเปิด EcoStruxure มุง่ สูก่ ารเป็นพาร์ทเนอร์ดา้ นดิจทิ ลั อย่างเต็มตัว หนุนคูค่ า้ และลูกค้าเติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน แม้ในปี พ.ศ. 2563 จะเป็นปีที่ยากล�ำบากในการ ด�ำเนินธุรกิจ รวมถึงการใช้ชีวิตของผู้คน เนื่องจากวิกฤต ที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ก็สามารถน�ำ นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารก้าวไปสู่ จุดยืนของการเป็นบริษทั ด้านพลังงานและออโตเมชันระดับ โลกได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยผลการด�ำเนินงานในระดับที่ ยอดเยีย่ ม นับเป็นการสวนกระแสตลาด โดยสะท้อนให้เห็น ถึงทิศทางธุรกิจของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่ตอบรับแนวโน้ม โลกอนาคตได้อย่างชัดเจน ใน 3 แนวคิดหลัก คือ การสร้าง ความยั่งยืน สร้างประสิทธิภาพ และความยืดหยุ่นในการ ปรับตัว (Sustainability, Efficiency, Resilient) ให้กบั ธุรกิจ

24

Engineering Today March • April 2021

สเตฟาน นูสส์ ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าวว่า ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ปรับ มุมมองและรับมือกับวิกฤต โดยเร่งเข้าสู่โลกดิจิทัลได้เร็วขึ้นในทุกๆ กิจกรรม จะเห็นได้ว่า “ดิจิทัลอยู่ในทุกที่” ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมในระดับ ครอบครัวผ่านแอปพลิเคชัน หรือการท�ำงานจากที่บ้าน Work From Home และการปรับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ เหล่านี้ ล้วนเป็นการสนับสนุนแนวคิดทีว่ า่ ดิจทิ ลั ทรานส์ฟอร์เมชันเป็นสิง่ จ�ำเป็น ส�ำหรับโลกยุคใหม่ ทั้งนี้วิกฤตไม่ท�ำให้บริษัทฯ หยุดพัฒนา ในทางกลับ กัน บริษัทฯ ต้องเร่งพัฒนาเพื่อให้พร้อมก้าวสู่โลกแห่งอนาคตได้เร็วขึ้น “ในปี พ.ศ. 2563 ยอดขายทั่ ว โลกติ ด ลบ 4.7% ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีผลประกอบการทั่วโลกอยู่ที่ 25 พันล้านยูโร ซึ่งถือว่ามีผล ประกอบการและรายรับที่ดีกว่าตลาดระดับ Global เป็นปีที่ยากล�ำบาก เนื่องจากเพิ่งเข้ารับต�ำแหน่ง แต่เราได้ร่วมฟันฝ่าวิกฤตไปพร้อมลูกค้า และเป็นปีที่น่าจดจ�ำที่สุด โดยเราได้ท�ำภารกิจและมีผลงานที่โดดเด่น ซึ่ ง สะท้ อ นถึ ง ผลลั พ ธ์ ใ นหลายส่ ว นด้ ว ยกั น ทั้ ง ในส่ ว นของผลการ ด�ำเนินงาน ทีน่ บั ว่าดีทสี่ ดุ ในอุตสาหกรรมของเรา และท�ำให้เราได้รบั การ


ยอมรับอย่างมากจากกลุ่มนักลงทุนทั่วโลก เราได้เร่งด�ำเนินการ ตามล�ำดับความส�ำคัญเชิงกลยุทธ์ของเรา ทีช่ ว่ ยสร้างความส�ำเร็จ ได้แก่ การเพิ่มจ�ำนวนผลิตภัณฑ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบ คลาวด์ เราได้ รับความไว้ว างใจจากบริษัทชั้น น�ำรายใหญ่ใน หลากหลายธุรกิจ ที่ให้ความไว้วางใจใช้โซลูชันด้านดิจิทัลจากเรา ด้วยความเชื่อมั่น อาทิ อีสท์วอเตอร์ กรุ๊ป ในการก้าวสู่การเป็น Smart Water ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ในการวางกลยุทธ์ด้านดิจิทัล ยกระดับการให้บริการแก่ลกู ค้าในนิคมอุตสาหกรรม และเด็กซ์ตร้า แมนนูแฟคเจอริ่ง บริษัท OEM ด้านการผลิตเครื่องจักรรายใหญ่ นอกจากนี้ธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เองก็มี การขยายเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า” สเตฟาน นูสส์ กล่าว สเตฟาน นูสส์ กล่าวว่า การที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริคได้รับ การจัดอันดับให้เป็นเบอร์ 1 ของโลกในการเป็นบริษทั ทีย่ งั่ ยืนทีส่ ดุ ประจ�ำปี 2564 (2021 Global 100 Most Sustainable Corporations) จั ด ท� ำ โดย Corporate Knights นั บ เป็ น ความส�ำเร็จที่น่าจดจ�ำ และเป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่มีต่อความยั่งยืนได้เป็นอย่างดี ซึ่งนับ เป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ จากอันดับที่ 29 ในปี พ.ศ 2563 สู่อันดับ 1 ในเวลาเพียง 1 ปี นับเป็นบทพิสูจน์ในเรื่องของความ มุง่ มัน่ ทีม่ มี ายาวนานในการรับมือกับปัญหาด้านสิง่ แวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ได้เป็นอย่างดี “เราท�ำเรื่องนี้มานาน 15 ปี โดยเป็น ผู้ริเริ่ม เนื่องจาก พนักงาน ซัพพลายเออร์เกีย่ วข้องกับบริษทั ทัง้ หมด การทีช่ ไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเบอร์ 1 ของโลกในการเป็น บริษทั ทีย่ งั่ ยืนทีส่ ดุ ประจ�ำปี 2564 ถือเป็นรางวัลของทุกคน ทัง้ นี้ ในปี พ.ศ. 2564 หลังวิกฤต COVID-19 บริษทั ฯ พร้อมสนับสนุน 2 Mega Trend คือ ดิจทิ ลั ทรานส์ฟอร์เมชัน และ Sustainability” สเตฟาน นูสส์ กล่าว นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2563 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังได้ วางแผนเตรียมการส�ำหรับอนาคต โดยได้ซื้อบริษัทหลายแห่ง เพื่อช่วยต่อยอดศักยภาพด้านการจัดการพลังงานและโซลูชัน ซอฟต์แวร์ ที่ช่วยเติมเต็มรูปแบบการด�ำเนินงานในอุตสาหกรรม ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เรียกว่า “4xIntegration” ซึ่งเป็น แนวคิดส�ำคัญของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประกอบด้วย 1 Energy and Automation การผสานรวมกันของ ระบบพลังงานและระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นหัวใจหลัก ของ Digital Transformation 2 End Point to Cloud การเชื่อมต่อเต็มรูปแบบ โดยใช้ โซลูชัน EcoStruxure ตั้งแต่ในพื้นที่โรงงาน หรือจุดที่ ใช้งานไปยังคลาวด์ 3 Design & Build to Operate & Maintain คือระบบ การท�ำงานแบบครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึง การสร้าง การใช้งาน และการบ�ำรุงรักษา

4 Site by Site to Integrated Company Management เป็ น ความสามารถในการบริ ห ารจั ด การผ่ า นศู น ย์ ปฏิบตั กิ ารแบบครบวงจร ซึง่ จะเชือ่ มต่อไซต์งานทัง้ หมด ขององค์กร เข้ากับระบบการจัดการแบบบูรณาการได้ จากจุดเดียว สเตฟาน นูสส์ กล่าวว่า ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นับเป็นองค์กร ที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ซึ่งธุรกิจของชไนเดอร์ อิเล็คทริค แบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 2 ด้านหลักๆ ได้แก่ การจัดการพลังงาน (Energy Management) และระบบออโตเมชั น ส� ำ หรั บ อุ ต สาหกรรม (Industry Automation) ด้ ว ยโซลู ชั น และ สถาปัตยกรรมแบบเปิด EcoStruxure ที่รองรับการใช้งาน IoT ได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยให้บริการลูกค้าใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ อุตสาหกรรม และระบบโครงสร้างพืน้ ฐาน ในปี พ.ศ. 2564 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังได้เร่งด�ำเนินการ บริการด้านความยัง่ ยืน เพือ่ ท�ำให้ลกู ค้ามัน่ ใจในการเป็นทีป่ รึกษา ทีน่ า่ เชือ่ ถือในด้านความยัง่ ยืน เพือ่ ให้ปรับตัวเข้าสูร่ ปู แบบดิจทิ ลั ได้ ตลอดจนการวางกลยุทธ์และการด�ำเนินการ ซึ่งการบริการด้าน ความยั่งยืนดังกล่าว หมายถึง การซื้อพลังงานในนามของลูกค้า ชไนเดอร์ อิเล็คทริค การประหยัดพลังงาน และการลดการปล่อย คาร์บอน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ก�ำลังสร้างความสามารถทีไ่ ม่เหมือน ใครให้กับลูกค้า ในการแปลงระบบวงจรทั้งหมดให้เป็นดิจิทัลใน ด้านการจัดการพลังงานส�ำหรับอาคาร อุตสาหกรรมและระบบ โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ “เรามีพนั ธกิจและวัตถุประสงค์ทชี่ ดั เจนมาก นัน่ คือการช่วย สนั บ สนุ น ให้ ทุ ก คนสามารถเข้ า ถึ ง พลั ง งาน ใช้ พ ลั ง งานและ ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับ ทุกคน ในชไนเดอร์ อิเล็คทริค เรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On และเรา ก�ำลังเข้าสู่ปี พ.ศ. 2564 นี้ ด้วยบรรยากาศของความแข็งแกร่ง เราจะใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งและความมุ่งมั่นในเชิงบวก ของเรา มาผลักดันให้ธรุ กิจเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และ รวดเร็วยิง่ ขึน้ ด้วยกลยุทธ์ทเ่ี ราเรียงล�ำดับความส�ำคัญได้แก่ ล�ำดับ ที่ 1 คือดิจิทัลในทุกๆ ที่ ด้วยในปี พ.ศ. 2564 น่าจะเป็นปีที่ ชไนเดอร์สามารถท�ำตลาดดิจทิ ลั ได้ เพราะเป็นปีทตี่ ลาดไทยเข้าสู่ ยุคดิจิทัล ล�ำดับที่ 2 คือ การเติบโตไปพร้อมๆ กับพันธมิตรของ เรา ล�ำดับที่ 3 คือ กลยุทธ์ผลักดันส่งเสริม ดิจิทัลพาร์ทเนอร์ เพื่อความยั่งยืนและเสริมสร้างประสิทธิภาพให้กับลูกค้า ล�ำดับ ที่ 4 คือ การเร่งขยายการบริการของเรา ล�ำดับที่ 5 คือ การเป็น ผู้น�ำด้านความยั่งยืนต่อเนื่องไป” สเตฟาน นูสส์ กล่าว ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังมีพันธสัญญาใหม่ในระดับโลกอีก 6 ประการ ทีม่ งุ่ มัน่ สร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอนให้ได้ภายใน สิ้นปี พ.ศ. 2583 เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับโลกที่เราอยู่ด้วย การจ�ำกัดการเพิม่ ขึน้ ของอุณหภูมโิ ลก ให้อยูท่ ี่ 1.5 องศาเซลเซียส รวมทัง้ ตัง้ เป้าลด Carbon Footprint ในไทยลง 20% ภายใน 3 ปี Engineering Today March • April 2021

25



Innovation • กองบรรณาธิการ

สตาร์ตอัป มจธ. ร่วมมือสถาบันวิจัยญี่ปุ่น ผลิตแผ่นฟิล์มฆ่าเชื้อ COVID-19 ด้วยอนุภาคนาโนทองแดงประสิทธิภาพ 99.9%

ด้วยสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 น่าจะอยู่กับโลกไปอีกนาน ประกอบกับการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย ท�ำให้มีการคิดค้นอุปกรณ์ ทางการแพทย์ที่จะลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยเฉพาะจากการ สัมผัสพื้นผิวจากบริเวณต่างๆ บริ ษั ท Smart Med group บริ ษั ท สตาร์ ต อั ป ภายใต้ ก ารดู แ ลของ รศ. ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ อาจารย์ประจ�ำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะ วิศวกรรมศาสตร์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ศรัณย์ ธรรมาศิริกุล Co-founder & Managing Director ภวนันท์ ฤทธาเวช Co-founder & Sales Director ได้ร่วมมือกับ สถาบันวิจัยจากประเทศญี่ปุ่น น�ำเทคโนโลยี แผ่นฟิล์มฆ่าเชื้อ หรือ Smart Film ที่ ใช้เทคโนโลยี CUTECH+ (ซียูเทคพลัส) เป็นเทคโนโลยีที่มีการวิจัยและพัฒนาโดย นักวิจยั จากประเทศญีป่ นุ่ ทีใ่ ช้ “การฝังอนุภาคนาโนของทองแดงลงบนแผ่นฟิลม์ ใส” ผลิตเป็น “แผ่นฟิลม์ ใสฆ่าเชือ้ ” ซึง่ มีประสิทธิภาพฆ่าเชือ้ แบคทีเรียและไวรัสได้ 99.9% ภายใน 5 นาที รศ. ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ อาจารย์ประจ�ำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า “Smart Film คือ ฟิล์มที่ฝังอนุภาคนาโน ของทองแดงลงบนแผ่นฟิล์ม ด้วยเทคโนโลยี Cufitec ลิขสิทธิ์จากประเทศญี่ปุ่น ทีช่ ว่ ยก�ำจัดเชือ้ แบคทีเรียและเชือ้ ไวรัสได้ถงึ 99.9% ภายในเวลา 5 นาที และ 90% ภายใน 1 นาที” Smart Film จึงแตกต่างจากฟิล์มทั่วไป เนื่องจากใช้นวัตกรรม การผลิตและฝังอนุภาคนาโนทองแดงลงไปในแผ่นฟิลม์ ไม่ใช่การชุบหรือเคลือบ ท�ำให้ แผ่นฟิล์มมีความใสสวยงาม ง่ายต่อการใช้งานมากกว่าฟิล์มทั่วไป และมีอายุการ ใช้งานได้นานมากกว่า 6 เดือน

รศ. ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ อาจารย์ประจ�ำภาควิชา วิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด มจธ.

Engineering Today March • April 2021

27


โดยหลักการท�ำงานของแผ่นฟิล์มฆ่าเชื้อจะท�ำงานเมื่อเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย สัมผัสกับหน้าฟิล์ม อนุภาคนาโนทองแดงที่ถูกฝังอยู่บนแผ่นฟิล์มนั้น เป็นอนุภาค ที่ให้อิเล็กตรอนง่าย และจะเหนีย่ วน�ำกับโมเลกุลของน�้ำซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของ ไวรัสและแบคทีเรีย ซึง่ เมือ่ เข้ามาใกล้ผวิ ฟิลม์ นัน้ จะท�ำปฏิกริ ยิ าเกิดไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) จากนั้นอนุภาค Cu+ และ OH- ที่อยู่รอบๆ จะจัดการกับไวรัสและแบคทีเรีย ที่สัม ผัสกับฟิล์มได้ ซึ่งอนุภาคของทองแดงไม่มีอันตรายและไม่ก่อให้เกิดอาการ ระคายเคืองจากการสัมผัส รศ. ดร.อนรรฆ กล่าวว่า ทีมนักวิจัยญี่ปุ่น ได้พัฒนากระบวนการน�ำทองแดง ที่มีขนาดเล็กระดับนาโนไอออน ฝังเข้าไปในแผ่นฟิล์มที่มีรูพรุนที่ตาเรามองไม่เห็น ทางบริษัท Smart Med group จึงได้หารือกับทีมวิจัยของญี่ปุ่นเพื่อทดลองน�ำเอา ทองแดงเคลือบบนพลาสติกใสชนิด PET จากนั้นทาง Smart Med group ได้น�ำมา พัฒนาต่อยอดเป็นแผ่นฟิล์มที่สามารถยึดติดกับพื้น ผิวได้ ซึ่งกระบวนการทากาว บนแผ่นใสนั้นถือว่ามีความยากระดับหนึ่งเลยทีเดียว จนกระทั่งผลิตออกมาเป็น ผลิตภัณฑ์ที่พร้อมจ�ำหน่ายให้กับองค์กรที่สนใจ โดยมีชื่อทางการค้าว่า “CUtech+” ผลิตภัณฑ์นี้เป็นแผ่นฟิล์มที่มีทั้งแบบแผ่น แบบม้วน และรับติดตั้งในพื้นที่ขนาดใหญ่ ติดตั้งง่าย ใช้ได้กับทุกพื้นผิว เช่น ราวมือจับ บานประตู ที่จับรถเข็น ลูกบิดประตู ปุ่มกดตู้เอทีเอ็ม ราวบันไดเลื่อน เป็นต้น ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง Smart Med group สตาร์ตอัป มจธ. กับทีมวิจัยญี่ปุ่น แผ่นฟิล์มฆ่าเชื้อ CUtech+ ได้รับการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการที่ได้ มาตรฐานระดับสากลตาม ISO ไม่ว่าจะใช้กับแบคทีเรียหรือไวรัส โดยมีการทดสอบ เทคโนโลยี Cufitec จากสถาบัน Hatano Research Institute (HRI), Food and Drug Safety Center (FDSC) ประเทศญี่ปุ่น ทั้งในด้านความเป็นพิษเฉียบพลัน การระคายเคืองต่อดวงตา ระคายเคืองต่อผิวหนัง การแพ้ทางผิวหนัง ฤทธิก์ อ่ กลายพันธุ์ การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ และผ่านการทดสอบที่ Nelson Labs ประเทศ สหรัฐอเมริกา และปัจจุบันได้มีการทดสอบแล้วว่าสามารถใช้ฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาได้ เมื่อปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ทาง Smart Med group ได้บริจาคฟิล์มฆ่าเชื้อ ให้กับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยติดตั้งใน 2 อาคาร ตามจุดที่มีการสัม ผัสบ่อยๆ เช่น ที่จับราวในห้องน�้ำ ประตู เคาน์เตอร์จ่ายยา จ่ายเงิน และพยาบาล ปุ่มกดลิฟต์ เอทีเอ็ม และทัชสกรีนต่างๆ เพือ่ ป้องกันการติดเชือ้ จากการสัมผัสทัง้ หมด พร้อมข้อมูล QR code เพือ่ ให้สแกนกลไกการท�ำงานของฟิลม์ ฆ่าเชือ้ อีกด้วย และขณะนีอ้ ยูร่ ะหว่าง ติดตั้ง ณ โรงพยาบาลศิริราช โดยรับประกันอายุการใช้งาน 6 เดือน เนื่องจากกาว มีอายุการใช้งาน ซึ่งกาวที่ติดแผ่นฟิล์มมีโอกาสที่จะลอกหรือเกิดฟองอากาศถ้ามีการ แตะสัมผัสบ่อย แต่ความสามารถในการฆ่าเชื้อไม่ลดลง นอกจากนี้ ทางบริษัท Smart Med group ยังได้ร่วมมือกับบริษัท สโนว์ บอล เจแปน บริษัทเทรดของญี่ปุ่น ที่สนใจจะเอาฟิล์มฆ่าเชื้อที่ผลิตในไทยส่งไปขาย ที่ประเทศในแถบตะวันออกกลาง ซึ่งจะเป็นโอกาสดีที่ผลิตภัณฑ์จากประเทศไทย จะออกไปสู่ต่างประเทศ ปัจจุบันก�ำลังพัฒนาและวางแผนน�ำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับผลิตภัณฑ์รูปแบบ อื่นๆ อีกในอนาคต เช่น หน้ากากอนามัยฆ่าเชื้อโรค ชุด PPE ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน เป็นต้น

28

Engineering Today March • April 2021


IoT (Internet of Things) ตัวอย่าง ผลงานวิจัย HandySense

• กองบรรณาธิการ

กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือ เนคเทค และเครือข่ายพันธมิตร เปิดตัว “HandySense”

ขับเคลื่อนสมาร์ทฟาร์มระบบเปิดสู่สังคมไทย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จับมือ ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ส�ำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จังหวัดฉะเชิงเทรา และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เปิดตัว “HandySense” พิมพ์เขียวต้นแบบ ระบบเกษตรแม่นย�ำ ขับเคลื่อนสมาร์ทฟาร์มแบบเปิดสู่สังคมไทย เพื่อให้เกษตรกร ผู้ประกอบการได้มีเครื่องมือที่ทันสมัยใช้งาน ภายใต้แนวคิด Smart Farming Open Innovation ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การท�ำ การเกษตรของไทยอาศัยความช�ำนาญของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ ซึ่งในแต่ละปี จะท�ำการเกษตรที่ได้ผลผลิตที่ดีและไม่ดีตามสภาพพื้นที่และสภาพภูมิอากาศ แต่ยัง ไม่มีเครื่องมือที่จะคาดเดาการท�ำการเกษตรให้เกิดความแม่นย�ำ เมื่อมีงานวิจัยจาก เนคเทค “HandySense” ระบบเกษตรอัจฉริยะมาช่วยเกษตรกรก็จะท�ำให้การท�ำ การเกษตรมีข้อมูลทางวิชาการที่ผ่านงานวิจัยรองรับที่จะน�ำมาใช้ท�ำการเกษตรใน แต่ละช่วงเพือ่ ความแม่นย�ำมากยิง่ ขึน้ ทัง้ ช่วยวัดความชืน้ ในดินและในอากาศ อุณหภูมิ และแสง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพการเพาะปลูก ที่ส�ำคัญหากเกิดปัญหาเหตุการณ์ผิดปกติทางสภาพภูมิอากาศในแต่ละปีจะได้แจ้ง เกษตรกรล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการท�ำการเกษตรชนิดนั้นๆ ดร.ชั ย วุ ฒิ วิ วั ฒ น์ ชั ย ผู ้ อ� ำ นวยการศู น ย์ เ ทคโนโลยี อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า เนคเทคได้ด�ำเนินการวิจัยและพัฒนาระบบสมาร์ทฟาร์ม ที่ชื่อว่า อัจฉริยะ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ในระยะแรกได้มีการน�ำผลงานวิจัยไป ขยายผลให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ภายใต้โครงการ “ดีแทคฟาร์มแม่นย�ำ” ซึง่ เป็นการ บูรณาการความร่วมมือระหว่าง ดีแทค กับ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และ เนคเทค-สวทช. โดยมีเป้าหมายการพัฒนาให้เกิดฟาร์มต้นแบบ โดยใช้ เ ทคโนโลยี อิ น เทอร์ เ น็ ต สรรพสิ่ ง (IoT) เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพการเพาะปลูก ซึ่งได้มีการทดลองใช้กับ 30 ฟาร์ม ใน 23 จังหวัด โดยใช้อุปกรณ์ที่ส�ำคัญประกอบด้วยกล่องเซนเซอร์ที่กระจายอยู่ใน โรงเรือนเพาะปลูก ใช้ส�ำหรับวัดความชื้นในดินและในอากาศ อุณหภูมิ และแสง จากนั้นท�ำการประมวลผลแล้วส่งข้อมูลจากแปลงเพาะปลูกไปยังสมาร์ตโฟน หรือ

แทบเล็ตของเกษตรกรแบบ Real-Time เพื่อ ให้เกษตรกรสามารถควบคุมดูแลสภาพใน แปลงเพาะปลูกได้อย่างใกล้ชดิ และแก้ปญ ั หา ได้หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว ทีมนักวิจัยของ เนคเทค-สวทช. ได้เดินหน้าสู่การน�ำผลงาน วิจยั และองค์ความรูข้ องอุปกรณ์ HandySense ไปขยายผลในหลายพืน้ ที่ เช่น ในปี พ.ศ. 2562 โดยการสนั บ สนุ น งบประมาณจากจั ง หวั ด ฉะเชิ ง เทรา มี ก ารขยายผลการใช้ ง านจริ ง ในพื้ น ที่ ท� ำ การเกษตรปลอดภั ย สู ง หรื อ ผั ก ปลอดภัยให้กับเกษตรกรผู้สนใจใน 34 แห่ง ผลการด�ำเนินงานพบว่า ช่วยให้เกษตรกร สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมทีเ่ หมาะสมแก่ การเจริ ญ เติ บ โตของพื ช ระบบใช้ ง านง่ า ย ทนทาน ราคาประหยัด ลดการใช้แรงงานได้ ประมาณ 50% ช่วยให้มีรายได้จากการเพิ่ม คุ ณ ภาพปริ ม าณผลผลิ ต และลดการใช้ ทรัพยากรโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 20% และ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ส�ำนักงานเกษตร และสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ขยายผล เพิ่ม อีก 50 แห่ง โดยมุ่งเน้นการควบคุม กระบวนการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจส�ำคัญ เช่น มะม่วง ข้าวและอื่นๆ ที่เป็นอัตลักษณ์ ของจังหวัดฉะเชิงเทราให้ได้อย่างเหมาะสม ส่วนอนาคตตั้งเป้าว่าจะกระจายเครื่องมือนี้ สู่เกษตรกรทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2564 เพื่อ ให้เกษตรกรของไทยมีเทคโนโลยีการเกษตร อย่างยั่งยืน แข่งขันการเกษตรด้วยข้อมูลทาง วิชาการกับนานาประเทศได้ Engineering Today March • April 2021

29


ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อ�ำนวยการศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

เข้มแข็ง ยุติธรรมด�ำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

ณฤต ดวงเครือรติโชติ หัวหน้าส่วนงาน IoT และพันธมิตรธุรกิจ 5G ดีแทค

30

Engineering Today March • April 2021

เข้มแข็ง ยุติธรรมด�ำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้แก่เกษตรกรตามนโยบายรัฐบาลมาโดยตลอด เพื่อยกระดับการท�ำการเกษตรของเกษตรกรไทยสู่เกษตรสมัยใหม่ที่ทันสมัยด้วยข้อมูลและช่วยเพิ่ม ผลผลิต ลดค่าใช้จ่าย ช่วยให้เกษตรกรไทยมีรายได้เลี้ยงตนเองพึ่งพาตนเองได้ โดยกรมส่งเสริม การเกษตรได้ร่วมมือกับเนคเทค-สวทช. ธ.ก.ส. และหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและ เทคโนโลยีใหม่ คือ ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) โดยสร้างต้นแบบแปลงเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ที่ ศพก. และ ศูนย์ปฏิบัติการในสังกัดของกรมส่งเสริมการเกษตร จ�ำนวน 50 ศูนย์ พร้อมพัฒนาความรู้ทักษะ ในการบริหารจัดการให้แก่เกษตรกรต้นแบบ ใน ศพก. และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อ ยกระดับเป็นวิทยากรเกษตรอัจฉริยะ ในปี พ.ศ. 2564 กรมส่งเสริมการเกษตรมีเป้าหมายจะด�ำเนินการร่วมกับเนคเทค-สวทช. และ ธ.ก.ส. รวม 16 จุด แบ่งเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จ�ำนวน 6 ศูนย์ เขตละ 1 ศูนย์ และศูนย์ปฏิบัติการของกรมส่งเสริมการเกษตรอีก 10 ศูนย์ และมีแผนจะ ขยายผลให้ครบทั้ง 50 ศูนย์ปฏิบัติการภายในปี พ.ศ. 2566 ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ส�ำหรับงานส่งมอบนวัตกรรมด้านการเกษตรแบบเปิด เพือ่ ประโยชน์สาธารณะ ซึง่ ธ.ก.ส. ได้ ให้การสนับสนุนงบประมาณในการติดตั้งระบบเกษตรแม่นย�ำฟาร์มอัจฉริยะ (HandySense) ให้กับ เกษตรกร ที่เป็นเกษตรกรต้นแบบของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ของกรมส่งเสริมการเกษตร จ�ำนวน 6 แห่ง โดย ธ.ก.ส. มุ่งหวังให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือกับ กรมส่งเสริมการเกษตรและเนคเทค-สวทช. เพือ่ เป็นศูนย์การเรียนรูด้ า้ นนวัตกรรมเกษตร ส�ำหรับเกษตรกร และผูส้ นใจเข้ามาเรียนรูแ้ ละน�ำองค์ความรูท้ ไี่ ด้ไปประยุกต์ใช้เพือ่ ยกระดับการประกอบอาชีพการเกษตร อัจฉริยา จันทรวงศ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. 2562 ฉะเชิงเทราเป็นพืน้ ทีน่ ำ� ร่องติดตัง้ HandySense ระบบเกษตรแม่นย�ำ ฟาร์มอัจฉริยะ จากการด�ำเนินการ และออกส�ำรวจสอบถามเกษตรกรในพืน้ ทีพ่ บว่าเครือ่ งมือนีช้ ว่ ยเพิม่ ความสะดวกให้เกษตรกรสามารถ ควบคุมปัจจัยในการผลิตและยังสามารถเข้าถึงข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องกับการเกษตรได้งา่ ยขึน้ โดยในปี พ.ศ. 2562 จังหวัดฉะเชิงเทรามีพื้นที่ท�ำการเกษตรปลอดภัยสูงหรือผักปลอดภัยให้กับเกษตรกรผู้สนใจ 34 แห่ง กระจายอยู่ในทุกอ�ำเภอของจังหวัด และในปีงบประมาณ 2564 จังหวัดฉะเชิงเทราได้อนุมัติ โครงการขยายผลต่อเนื่องโดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 43 ราย แบ่งออกเป็นพืช 33 ราย ปลูกผัก ผสมผสาน พืชในโรงเรือน เห็ด ฝรั่ง มะนาว มะม่วง มันญี่ปุ่น ทุเรียน ไผ่ มะพร้าว กล้วย เมล่อน ล�ำไย สะเดา ปาล์ม ขนุน ประมง 5 ราย เป็นฟาร์มกุ้งขาว และปศุสัตว์ 5 ราย เป็นฟาร์มไก่ไข่ โดยจังหวัด หวังว่าเทคโนโลยีจะช่วยพัฒนาให้เกษตรกรมีรายได้เพิม่ ขึน้ แก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร และปรับเกษตรกรให้เป็นผู้ใช้ข้อมูลในการท�ำการเกษตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดร.ปรีสาร รักวาทิน ผู้อ�ำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ ส�ำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวว่า ส�ำหรับการสนับสนุนระบบเกษตรอัจฉริยะ “HandySense” นั้นได้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรร่วมท�ำงานทั้งการท�ำระบบเซนเซอร์ในตัวเครื่องให้มี การใช้งานได้อย่างสม�่ำเสมอ ระบบการรดน�้ำ การดูแลสภาพพื้นดิน การหยุดให้น�้ำในช่วงฝนตกเยอะ และการเร่งให้น�้ำในช่วงฤดูแล้ง เป็นต้น เพื่อให้การท�ำงานเกิดประสิทธิผลในแต่ละพื้นที่เนื่องจาก มีพื้นที่ที่แตกต่างกัน การใช้ซอฟต์แวร์ดิจิทัลที่เหมาะสมจึงแตกต่างกันด้วย ณฤต ดวงเครือรติโชติ โซลูชันเกษตรแม่นย�ำช่วยให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการน�ำร่องสามารถ เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตโดยเฉลี่ย 20% ของผลผลิตเดิม ทั้งนี้ดีแทคหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การร่วมท�ำงานในครั้งนี้จะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านภาคเกษตรไทยสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมดิจิทัล ซึ่งจะ ช่วยลดความเหลือ่ มล�ำ้ ในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเพือ่ ยกระดับผลิตผลและสร้างความสามารถ ในการแข่งขันให้เกษตรกรของไทย


Digital • กองบรรณาธิการ

VMware เผยผลการศึกษา ด้าน Digital Frontiers พบผู้บริโภคชาวไทย มีระดับการยอมรับประสบการณ์ดิจิทัลสูงสุดในโลก

บริษัท วีเอ็มแวร์ (VMware) ผู้น�ำด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมซอฟต์แวร์ระดับองค์กร เผยแพร่ รายงานผลการศึกษา VMware Digital Frontiers 3.0 Study ระบุว่าผู้บริโภคชาวไทยมีระดับการยอมรับประสบการณ์ดิจิทัลสูงที่สุดในโลก โดย 86% ของผู้บริโภค ในไทยระบุว่าตนเอง “มีความใส่ใจในเรื่องดิจิทัล” หรือเป็น “นักส�ำรวจดิจิทัล” และคาดหวังว่าภาคธุรกิจต่างๆ จะน�ำเสนอบริการ และประสบการณ์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น โดยตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าอีก 8 ประเทศที่มีการส�ำรวจ รวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เฉลี่ย 78%, สหรัฐฯ 59%, ฝรั่งเศส 55%, เยอรมนี 57% และสหราชอาณาจักร 64%

เอกภาวิน สุขอนันต์ ผูจ้ ดั การประจ�ำประเทศไทย บริษทั วีเอ็มแวร์ กล่าวว่า ประเทศไทยได้เปลีย่ นถ่ายเข้าสูย่ คุ ถัดไปของเศรษฐกิจ ดิจิทัล โดยภาคธุรกิจที่มีการขับเคลื่อนด้วยความเร็วและความคล่องตัว เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้บริโภค ส�ำหรับผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล โดยเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในขณะที่ภาคธุรกิจของไทยเร่งการปรับตัวเข้าสู่ ความเป็นดิจิทัลเพื่อเสริมศักยภาพการเติบโตให้สูงขึ้นในช่วงหลายปีนับจากนี้ จึงเป็นสิ่งส�ำคัญที่จะต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อ น�ำเสนอประสบการณ์ทปี่ ลอดภัยและไร้รอยต่อ โดยครอบคลุมแอปพลิเคชัน ระบบคลาวด์ และอุปกรณ์ทงั้ หมด เพือ่ ให้สามารถตอบโจทย์ ความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยได้อย่างแท้จริง โดยในช่วงปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการลงทุนด้านเทคโนโลยี เพื่อรองรับการโยกย้ายธุรกิจและกิจกรรมในชีวิตประจ�ำวันไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาด ของ COVID-19 Engineering Today March • April 2021

31


ส�ำหรับผลการศึกษา VMware Digital Frontiers 3.0 Study ดังกล่าวเปิดเผยว่า ผู้บริโภคในไทย 77% ระบุว่า ถึงแม้ตนเอง ถูกบีบบังคับให้ต้องหันไปใช้บริการและประสบการณ์ดิจิทัลใหม่ๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2563 แต่ก็รู้สึกพึงพอใจกับประสบการณ์ที่ได้รับ ตรงกันข้ามกับประเทศอื่นๆ ที่มีการส�ำรวจ เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เฉลี่ย 60%, สหรัฐอเมริกา 40%, ฝรั่งเศส 40%, เยอรมนี 33% และสหราชอาณาจักร 33% นอกจากนี้ ผูบ้ ริโภคชาวไทยยังมีความใส่ใจเป็นอย่างยิง่ เกีย่ วกับผลกระทบของการเปลีย่ นผ่านสูด่ จิ ทิ ลั ที่มีต่อสังคม โดย 75% ระบุว่าตนเองรู้สึกเป็นกังวลว่าญาติผู้ใหญ่จะไม่สามารถก้าวได้ทันกับโลกดิจิทัลยุคใหม่, 73% ระบุว่าตนเอง ยินดีท่ีจะใช้บริการดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อพิจารณาถึงการลดผลกระทบของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) ต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม

• ประสบการณ์ด้านดิจิทัล 3 ประเภท ที่ผู้บริโภคชาวไทยให้ความส�ำคัญ

นอกจากนี้ในโลกดิจิทัลยุคใหม่ที่ภาคธุรกิจของไทยก�ำลังเผชิญกับการแข่งขันอย่างดุเดือด ผู้บริโภค 81% ระบุว่าตนเองได้เริ่มมี ส่วนร่วมกับแบรนด์ที่น�ำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลที่เหนือกว่า โดยแรงจูงใจที่ส�ำคัญ ได้แก่ การสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง การน�ำเสนอดิจิทัลคอนเทนต์ที่น่าสนใจ และความสะดวกในการใช้งาน เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากโอกาสดังกล่าว องค์กรต่างๆ จ�ำเป็น ทีจ่ ะต้องพัฒนาปรับปรุงเรือ่ งความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้งาน และความรวดเร็วของบริการดิจทิ ลั ทีน่ ำ� เสนอ ทัง้ นีป้ ระสบการณ์ ดิจิทัล 3 ประเภทที่ผู้บริโภคชาวไทยให้ความส�ำคัญมากที่สุด ได้แก่ แอปพลิเคชันที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพ 48%, การปกป้อง ข้อมูลส่วนบุคคล 45% และความสะดวกในการใช้งานบนอุปกรณ์ทุกรูปแบบ 45%

• ธุรกิจบริการด้านการเงิน-ค้าปลีก มั่นใจข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าได้รับการคุ้มครองอย่างดี

ผลการศึกษาดังกล่าวยังเผยให้เห็นว่า บางกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศไทย สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคได้ดี ยิ่งขึ้น ในช่วงปี พ.ศ. 2563 โดยผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ปัจจุบันองค์กรในภาคธุรกิจบริการด้านการเงิน 62%, ค้าปลีก 59% และ ภาคการศึกษา 38% น�ำเสนอประสบการณ์ดจิ ทิ ลั โดยรวมทีป่ รับปรุงดีขนึ้ เมือ่ เทียบกับช่วงก่อนหน้าทีจ่ ะเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากนั้น องค์กรในภาคธุรกิจบริการด้านการเงินและค้าปลีกยังเป็นผู้น�ำเหนือกว่าภาคธุรกิจอื่นๆ ในเรื่องของความน่าเชื่อถือ โดย ผู้ตอบแบบสอบถามระบุวา่ ธุรกิจบริการด้านการเงิน 60% และค้าปลีก 41% ให้ความมั่นใจว่าข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าได้รับการคุม้ ครอง เป็นอย่างดี ส�ำหรับความคาดหวังของผู้บริโภคชาวไทยต่อบริการและประสบการณ์ดิจิทัลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ตอบ แบบสอบถามคิดว่า ธุรกิจบริการด้านการเงิน (62%), ค้าปลีก (58%) และการศึกษา (38%) น�ำเสนอบริการดิจิทัลที่น่าสนใจมากกว่า

32

Engineering Today March • April 2021


• นวัตกรรมวีเอ็มแวร์ตอบโจทย์องค์กรไทย ในการน�ำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลแบบเฉพาะบุคคล

ส�ำหรับองค์กรในไทย การฟืน้ ฟูและขยายธุรกิจให้เติบโตจ�ำเป็นต้องอาศัย การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวและ

เพิ่มความรวดเร็วในการด�ำเนินงานในโลกดิจิทัล ยุคใหม่ ซึ่งดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันคือกุญแจส�ำคัญ ที่จะช่วยปลดล็อกโอกาสทางธุรกิจที่เหนือกว่าใน ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา เทคโนโลยีของวีเอ็มแวร์ทั้งในส่วน ของระบบคลาวด์ การปรับปรุงแอปให้ทนั สมัย ระบบ เครือข่าย ระบบรักษาความปลอดภัย และแพลตฟอร์ม พื้นที่ท�ำงานดิจิทัลที่ใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ถือเป็น โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกัน ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถน�ำเสนอประสบการณ์ ดิจิทัลแบบเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้ใช้ได้อย่างไร้รอยต่อ มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยมากขึ้น วีเอ็มแวร์มุ่งมั่นที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจของ ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ๆ ในโลก ดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ ขณะที่เราก�ำลังก้าว เข้าสูย่ คุ ดิจทิ ลั อย่างรวดเร็วมากขึน้ ประเทศไทยก�ำลัง พั ฒนาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งไปสู ่ อ นาคต และวี เ อ็ ม แวร์ ยังคงมีบทบาทส�ำคัญในฐานะพาร์ทเนอร์ที่ได้รับ ความไว้วางใจจากองค์กรธุร กิจที่ต้องการปรับใช้ เทคโนโลยี ค ลาวด์ แ ละปรั บ ปรุ ง แอปให้ ทั น สมั ย เพื่ อ เพิ่ ม ความรวดเร็ ว ฉั บ ไวในการสร้ า งสรรค์ นวัตกรรมและน�ำเสนอประสบการณ์แบบเฉพาะ บุคคลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นให้แก่ผู้บริโภคผ่าน ช่องทางดิจิทัล

Engineering Today March • April 2021

33


Energy Today • กองบรรณาธิการ

เอ็มจี หนุน PEA-บางจาก เปิดสถานีชาร์จ

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 56 สาขา บนเส้นทางหลักทุกระยะ 100 กิโลเมตร ภายใน Q 2

บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จ�ำกัด และ บริษทั เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด ผูผ้ ลิตและ ผู้จ�ำหน่ายรถยนต์เอ็มจีในประเทศไทย และผู้น�ำ ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า ร่วมสนับสนุนการบูรณาการ ของภาครั ฐ และภาคเอกชนขยายจ� ำ นวนสถานี ชาร์จให้ครอบคลุมการใช้งานระหว่างจังหวัด โดย เปิดตัว PEA VOLTA ในปัม๊ น�ำ้ มันบางจากทุก 100 กิโลเมตร ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง PEA และ บางจาก เพื่ อ อ� ำ นวยความสะดวกให้ กั บ ลู ก ค้ า รถยนต์ เ อ็ ม จี อี ก ทั้ ง ยั ง สามารถช่ ว ยปลดล็ อ ก ความกังวล และเพิ่มความมั่นใจให้กับคนไทยใน การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสัญจรทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น พงษ์ศักดิ์ เลิศฤดีวัฒนวงศ์ รองกรรมการ ผู้จัดการ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด กล่าวว่า การที่ PEA ได้ผนึกก�ำลังกับบางจากเปิดให้ บริการเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า PEA VOLTA ในสถานี บ ริ ก ารน�้ ำ มั น บางจาก ถื อ เป็ น อี ก หนึ่ ง นิมิตหมายที่ดีในการยกระดับและเสริมสร้างความ แข็งแกร่งของ EV Ecosystem ในประเทศไทย โดยขยายจ�ำนวนสถานีชาร์จไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะพื้ น ที่ หั ว เมื อ งและเป็ น เมื อ งท่ อ งเที่ ยว สะท้อนให้เห็นถึงความคืบหน้าและความเอาจริงเอาจัง

34

Engineering Today March • April 2021

ของทุกภาคส่วนทีจ่ ะร่วมกันเดินหน้าผลักดันประเทศไทยสูส่ งั คมยานยนต์ไฟฟ้า อีกทัง้ ยังเป็นการอ�ำนวยความสะดวกให้กบั ผูใ้ ช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้สามารถ ใช้รถได้อย่างสบายใจมากยิ่งขึ้น และจะท�ำให้มีการเพิ่มจ�ำนวนประชากร ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ปัจจุบัน PEA VOLTA เปิดให้บริการในสถานีบริการน�้ำมันของบางจาก แล้ว 12 สถานี โดยจะเปิดให้บริการ 56 สาขา ภายในไตรมาส 2 ของปีนี้ บนเส้นทางหลักทุกระยะ 100 กิโลเมตร นอกจากนี้ PEA VOLTA ยังมี แผนการขยายบริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าตามเส้นทางหลัก เส้นทางรองและ แหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 75 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 263 สถานี ภายในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งรองรับการชาร์จทั้งในรูปแบบ Quick charge (DC) และ Normal charge (AC) จึงท�ำให้ลูกค้ารถยนต์เอ็มจี ไม่ว่าจะเป็น MG ZS EV หรือรถสเตชันแวกอนไฟฟ้า 100% อย่าง MG EP รวมถึงรถ ปลั๊กอินไฮบริด อย่าง MG HS PHEV ก็จะได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยสามารถน�ำรถเข้าไปชาร์จไฟเมื่อสัญจรผ่านเส้นทางดังกล่าวได้อีกด้วย เอ็มจีได้ด�ำเนินการติดตั้งสถานีชาร์จที่ศูนย์บริการเอ็มจีทั่วประเทศแล้ว ทั้งสิ้น 108 แห่ง และได้เปิดบริการอย่างเป็นทางการแล้วจ�ำนวน 70 แห่ง ซึ่งในจ�ำนวนนี้สามารถเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แล้วทั้งสิ้น 22 แห่ง ครอบคลุมทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ อีกทั้งลูกค้ายังสามารถตรวจเช็ก ข้อมูลสถานีชาร์จระหว่างการเดินทางในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งทางเอ็มจีได้มีการ เชื่ อ มต่ อ และแลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ สถานี ช าร์ จ ร่ ว มกั บ PEA โดย สามารถใช้งานผ่านระบบปฏิบตั กิ ารอัจฉริยะ i-SMART ในการค้นหาและน�ำทาง ไปสถานีชาร์จได้อีกด้วย


AI • กองบรรณาธิการ

ฟีโบ้ น�ำเทคโนโลยี AI

พัฒนาการท�ำงานข้อเข่าเทียมเพื่อผู้พิการ

รองผู้อ�ำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ ภาคสนาม (ฟีโบ้) และทีมวิจัยพัฒนาฝ่ายอุตสาหกรรม ร่วมกับ นักศึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) พัฒนางานวิจยั โดยใช้เทคโนโลยี มาช่วยทางการแพทย์ โดยมีโครงการส�ำคัญโครงการหนึ่ง คือการ พัฒนาข้อเข่าเทียมเพื่อช่วยคนพิการขาขาด 1 ข้าง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ ที่ฟีโบ้ศึกษาและพัฒนามาระยะหนึ่ง จึงน�ำมาพัฒนาต่อยอดให้ได้ ข้อเข่าเทียมทีม่ ปี ระสิทธิภาพและใช้งานได้เป็นธรรมชาติสำ� หรับคนพิการ ให้ดียิ่งขึ้น ที่ส�ำคัญเป็นเทคโนโลยีจากฝีมือคนไทย มีราคาเหมาะสม และราคาถูกกว่าน�ำเข้าจากต่างประเทศ คนพิการสามารถเข้าถึงได้ มากขึ้น และลดการน�ำเข้าจากต่างประเทศลงได้ วุฒิชัย วิศาลคุณา รักษาการรองผู้อ�ำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สถาบันวิทยาการหุน่ ยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) กล่าวว่า ชุดระบบหุน่ ยนต์ “มดบริรกั ษ์” ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 เป็นแรงบันดาลใจที่ท�ำให้หันมาสนใจเรื่องทางการแพทย์ ท�ำให้เปลี่ยน ความคิดจากเดิมที่ไม่คิดว่านักเทคโนโลยีจะช่วยทางการแพทย์ได้ แต่ ภายหลังจากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในทีมพัฒนาหุ่นยนต์มดบริรักษ์ จึงหัน มามองว่านักเทคโนโลยีก็สามารถน�ำองค์ความรู้มาพัฒนาเทคโนโลยี หรือหุ่นยนต์ไปช่วยแพทย์เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสังคมได้ โครงการข้ อ เข่ า เที ย มที่ ป รั บ ตั ว แปรการท� ำ งานด้ ว ยปั ญ ญา ประดิษฐ์ (AI) เป็นโครงการที่ได้พัฒนาต่อยอดมาจากโครงการเดิม ทีข่ อ้ เข่าเทียมเดิมนัน้ ยังเป็นลักษณะกึง่ อัตโนมัติ คือการปรับความหน่วง

ข้อเข่าเทียมที่ปรับตัวแปร การท�ำงานด้วยเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

Engineering Today March • April 2021

35


การเดินยังคงใช้ปุ่มปรับ ท�ำให้การเดินต้องอาศัยทักษะของผู้ใช้ค่อนข้าง มาก ในโครงการนี้จึงต่อยอดด้วยการปรับปรุงและพัฒนาข้อเข่าเทียม โดยน�ำเทคโนโลยีปญ ั ญาประดิษฐ์ หรือ AI มาประยุกต์ใช้ในการประมวล ค่าความหน่วงของข้อเข่าเทียม รวมถึงออกแบบให้มีขนาดเล็ก น�้ำหนัก เบา และจะต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐาน เพื่อให้สามารถน�ำไป ใช้จริงได้ต่อไป “โครงการนีน้ กั ศึกษาเข้ามามีสว่ นร่วมในการออกแบบข้อเข่าเทียม โดยมีโจทย์ว่า ต้องมีขนาดเล็ก น�้ำหนักเบา ไม่เทอะทะ มีกลไกการปรับ ความหน่วงแบบส�ำเร็จรูปมาใช้ร่วมกับระบบไฟฟ้า เพื่อให้การปรับ ความหน่วงของข้อเข่าเทียมรวดเร็วขึ้น และน�ำมาทดสอบในโปรแกรม จ�ำลองวิธีการท�ำงาน หรือโปรแกรม Simulation จนกระทั่งผ่านเกณฑ์ มาตรฐานสากลของข้อเข่าเทียม ซึง่ ขณะนีไ้ ด้ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว” วุฒิชัย กล่าว เนื่องจากจังหวะการเดินระหว่างก้าวเท้าของคนพิการขาขาด 1 ข้าง เมื่อมีการก้าวเดิน ขาที่อยู่ด้านหลังจะขยับตาม ขณะขยับก้าวเท้า มีค่าความหน่วงต่างกันในแต่ละรอบ การน�ำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาเพื่อช่วยในการเรียนรู้พฤติกรรมการเดินของคนพิการ โดยใช้วิธี การจับสัญญาณกล้ามเนื้อของขาข้างที่ยังใช้งานได้ปกติ เช่น คนพิการ ขาขาดข้างขวา ลักษณะการจับสัญญาณคือ ถ้าเคลือ่ นขาซ้ายไปข้างหน้า จังหวะขาขวาก็ก�ำลังเตรียมขยับต่อ การท�ำงานของ AI จะได้รับข้อมูล โดยการติดเซนเซอร์จับสัญญาณกล้ามเนื้อไว้ที่ขาซ้ายที่เป็นปกติ ข้อมูล นี้เป็นข้อมูลแบบ input จากนั้น AI ก็จะประมวลผลว่ากล้ามเนื้อขา ข้างซ้ายก�ำลังเดินแล้ว output ของ AI ก็จะไปปรับความหน่วงในแต่ละ จังหวะของการเดินของขาขวาทีส่ วมข้อเท้าเทียมให้ตรงกับข้อมูลการเดิน ที่พัฒนาไว้ ซึ่งผลงานวิจัยนี้มีความร่วมมือกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน กายอุปกรณ์ โรงพยาบาลต�ำรวจ

36

Engineering Today March • April 2021

วุฒชิ ยั วิศาลคุณา รักษาการรองผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้)

ขณะนี้อยู่ระหว่างผลิตต้นแบบเพื่อน�ำมาทดสอบ การเดินบนลู่วิ่ง โดยวัสดุที่ใช้ในการท�ำข้อเข่าเทียมจะเป็น โลหะที่มีขนาดเล็ก น�้ำหนักไม่มาก สามารถใช้งานในชีวิต ประจ�ำวันแล้วมัน่ ใจ สวมกางเกงทับและอ�ำพรางได้ ไม่เป็น จุ ด สั ง เกต และเดิ น ได้ อ ย่ า งเป็ น ธรรมชาติ โดยเริ่ ม ท� ำ การทดสอบกั บ ระบบซอฟต์ แ วร์ ห รื อ โปรแกรมจ� ำ ลอง ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ส่วนการน�ำไปใช้จริงนั้น ต้องผ่านการทดสอบอีกหลายขั้นตอนจนมั่นใจ คาดว่าใช้ ระยะเวลาเป็นปี “ทุกวันนี้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาอยู่ ในทุกแวดวงโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว AI เป็นสิ่งที่ช่วยให้เรา ใช้ชีวิตง่ายขึ้นและดีขึ้น เช่น เครื่องซักผ้าที่สามารถเลือก โปรแกรมซักผ้าที่ดีที่สุดเมื่อเรากดปุ่มท�ำงาน หรือ Google Maps AI ก็จะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดมาให้ผู้ใช้ ซึ่งจะเห็น ได้ชัดว่า Google Maps ได้เปลี่ยนวัฒนธรรมการเดินทาง ของคนทั้ ง โลก และรถยนต์ ขั บ เคลื่ อ นได้ เ อง เป็ น ต้ น ” วุฒิชัย กล่าวทิ้งท้าย


IT Update • *สุภัค ลายเลิศ

จับตาไอทีปี ’64

หัวใจคือ Digital Process และ Trust

* สุภัค ลายเลิศ กรรมการอ�ำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ยิบอินซอย จ�ำกัด

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี พ.ศ. 2563 ที่ต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2564 ได้สะท้อนปรากฏการณ์การพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีผลเปลี่ยนแปลงสภาพสังคม ธุรกิจ และพฤติกรรมของผู้คนสู่ดิจิทัลชนิดฉับพลันทันด่วน หลายส�ำนักวิจัยด้านไอที อาทิ การ์ทเนอร์ ไอดีซี ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า กลยุทธ์ดา้ นเทคโนโลยีในโลกความปกติใหม่จะ ยึดโยงคนเป็นศูนย์กลางบนหลักการไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว ต้องพัฒนาโครงสร้าง พืน้ ฐานไอทีให้รองรับการใช้งานซึง่ กระจายไปทุกทีอ่ ย่างทัว่ ถึง สามารถสร้างกระบวนการ ท�ำงานแบบอัตโนมัตทิ ปี่ รับเปลีย่ นได้ทนั ทุกการเปลีย่ นแปลง มีระบบความมัน่ คงปลอดภัย ที่ทนทานต่อภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งวางแนวทางจัดการและวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงลึกบนความโปร่งใสเพื่อสนับสนุนการด�ำเนินธุรกิจ ซึ่งเมื่อถอดรหัสระหว่าง บรรทัด จะพบว่า หัวใจส�ำคัญของเทคโนโลยีจะต้องตอบโจทย์องค์กรธุรกิจและผู้ใช้งาน ควบคูไ่ ปกับการสร้าง กระบวนการท�ำงานแบบดิจทิ ลั (Digital Process) และการบริหาร จัดการทีไ่ ว้วางใจได้ (Trust) เพือ่ ให้องค์กรสามารถต่อยอดความส�ำเร็จทางธุรกิจไปยาวๆ จึงเป็นที่มาของระบบไอทีที่ต้องมีในปี พ.ศ. 2564 ประกอบด้วย

Engineering Today March • April 2021

37


คลาวด์-เวอร์ชวลไลเซชัน ต้นทางเทคโนโลยียุคดิจิทัล

วิกฤตในปีที่ผ่านมาท�ำให้เราเห็นการพัฒนากระบวนการท�ำงานแบบดิจิทัลอย่าง รวดเร็วด้วย คลาวด์และเวอร์ชวลไลเซชัน เพื่อรองรับการท�ำงานออนไลน์จากทุกที่ ส่วนปีนี้ เราจะเห็นการผสานการท�ำงานของคลาวด์ประเภทต่างๆ ในแบบ Hyper Converged ในการเปลี่ยนผ่านระบบงานในปัจจุบัน และพัฒนาระบบงานใหม่ๆ บน คลาวด์โดยเฉพาะ (Cloud Native) เพื่อน�ำบริการธุรกิจขึ้นสู่ออนไลน์มากกว่าเดิม รวมถึงองค์กรต้องเพิ่มระบบการท�ำงานเสมือนหรือเวอร์ชวลไลเซชันภายใต้การควบคุม ด้วยซอฟต์แวร์ (Software-defined) ให้ครบครันทั้งเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ เน็ตเวิร์ก แอปพลิเคชัน รวมถึงเทคโนโลยี VDI ในการจัดการกับเวอร์ชวลเดสก์ท็อป เพื่อส่งต่อ ระบบท�ำงานที่แม่นย�ำและเป็นอัตโนมัติตรงจากส่วนกลาง (Automate Deployment) ผ่านการควบคุม ปรับปรุงประสิทธิภาพ และก�ำกับนโยบายความปลอดภัยในการเข้าใช้งาน ทรัพยากรได้ครบถ้วนและคุ้มค่า เช่น เทคโนโลยี HPE SimpliVity 380 แพลตฟอร์ม คลาวด์องค์กร Nutanix และ Hypervisor AHV หรือ VMware Cloud Foundation ในการสร้างระบบเสมือนที่ครอบคลุมการใช้งานหน่วยประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย แอปพลิเคชัน และการท�ำงานของเวอร์ชวลแมชชีนต่างๆ

คอนเทนเนอร์ กับการพัฒนาแอปฯ บนก้อนเมฆ

มาตรการล็อกดาวน์ทำ� ให้พฤติกรรมคนมุง่ สูก่ ารใช้งานออนไลน์ผา่ นอุปกรณ์โมบาย เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เป็นที่มาของการใช้ เทคโนโลยีเอดจ์คอมพิวติ้ง ส�ำหรับประมวลผล และรับส่งข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อที่รวดเร็วให้กับอุปกรณ์ปลายทาง ทั้งเกิดการใช้ เทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ ที่มากขึ้น เพื่อช่วยให้องค์กรพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ๆ ได้ รวดเร็ว กะทัดรัด ใช้ทรัพยากรน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง ปัจจุบันมีการหยิบฟังก์ชันการ ท�ำงานของซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในองค์กรมาย่อส่วนด้วยคอนเทนเนอร์ให้มีขนาด เล็กลง เพื่อลดขั้นตอนติดตั้งที่ยุ่งยากและส่งขึ้นคลาวด์ในรูปแบบไมโครเซอร์วิสต่างๆ ไว้ เสริมบริการธุรกิจบนออนไลน์มากมาย โดยมี คูเบอร์เนเตส (Kubernetes) ไว้ควบคุม การท�ำงานของคอนเทนเนอร์ ซึ่งกระจายตัวบนคลาวด์หรือระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ให้ทำ� งานได้เหมาะสมและไม่รบกวนกัน อย่างการใช้ HPE Container Platform ในการ พัฒนาติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์คอนเทนเนอร์ Blue Data ซึ่งเป็นคอนเทนเนอร์ส�ำหรับ การจัดการด้านเอไอ แมชชีนเลิรน์ นิง่ และบิก๊ ดาต้า หรือ HPE Machine Learning Ops ไว้สนับสนุนการท�ำงานของแมชชีนเลิรน์ นิง่ บนคอนเทนเนอร์ทเี่ หมาะกับคลาวด์ในองค์กร คลาวด์สาธารณะ หรือไฮบริดคลาวด์ โดยมีความปลอดภัยสูง

แรนซัมแวร์ ภัยคุกคามที่เป็นมากกว่าไวรัสคอมพิวเตอร์

ในอดีต เราเคยตีกรอบภัยคุกคามไว้แค่ไวรัสทีโ่ จมตีระบบไอที แต่ในโลกดิจทิ ลั ไวรัส อย่างแรนซัม่ แวร์ได้เปลีย่ นเป้าไปมุง่ สร้างความเสียหายต่อธุรกิจโดยตรง เช่น สร้างอีเมลลวง หรือเว็บไซต์ปลอม ก่อกวนระบบด้วยพฤติกรรมเคลื่อนไหวแปลกๆ เลวร้ายที่สุด คือ การมุ่งขโมยข้อมูลธุรกิจและข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การโจมตีตรงเข้าสู่ฐานข้อมูลหรือ

38

Engineering Today March • April 2021


อีเมลเซิร์ฟเวอร์ในองค์กร แฝงตัวผ่านการใช้งานของยูสเซอร์เมื่อมีการเข้ารหัสผ่าน เครื่องเดสก์ท็อประยะไกล บลูทูธ โอเอสหรือแอปพลิเคชันของอุปกรณ์โมมาย ไอโอที ต่างๆ ดังนั้น การรับมือภัยคุกคามจากนี้ไป ต้องเป็นระบบที่ตรวจสอบได้ครบทั้ง คน (People) และ อุปกรณ์ (Things) ว่าได้รบั อนุญาตให้เชือ่ มเข้าสูร่ ะบบหรือไม่ ได้ถงึ ระดับใด หรือมีพฤติกรรมเคลื่อนไหวใช้งานอย่างไร เพื่อหาทางป้องกันหรือแก้ไขได้ทันท่วงที เมื่อเกิดปัญหา เช่น HPE Cohesity ระบบบริหารจัดการข้อมูลบนแพลตฟอร์มกลาง ตัวเดียวในการสอดส่องการเข้าถึง ส�ำรอง และกู้คืนข้อมูลเมื่อต้องเผชิญกับแรนซัมแวร์ Trend Micro XDR (Detection & Response) ซึ่งวิเคราะห์และจัดการทุกการโจมตี ในหลายล�ำดับชั้นความปลอดภัยทั้งอีเมล อุปกรณ์ปลายทาง เซิร์ฟเวอร์ เน็ตเวิร์ก คลาวด์ หรือ VMware Carbon Black ซึ่งพัฒนามาเพื่อรับมือกับแรนซัมแวร์โดยตรง

ข้อมูลกับความเชื่อมั่นทางดิจิทัล-PDPA ข้อมูลส่วนตัวในรูปแบบดิจิทัลซึ่งถูกผลิตขึ้นมากมายบนออนไลน์ กลายเป็น สินทรัพย์ส�ำคัญซึ่งสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ การดักจับข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แล้วน�ำมา วิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือแมชชีนเลิร์นนิ่ง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการ พัฒนาและน�ำเสนอผลิตภัณฑ์บริการที่เข้าถึงลูกค้าเป้าหมาย เกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการบริโภคใหม่ หรือสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจ�ำผ่านเทคโนโลยีเออาร์และ วีอาร์ทเี่ ข้าถึงอุปกรณ์โมบายชนิดทีอ่ าจน�ำเสนอเนือ้ หาหรือบริการทีร่ กุ ล�ำ้ สิทธิสว่ นตัวเกิน จ�ำเป็น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA จึงต้องมีเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ทางดิจิทัล (Digital Trust) ซึ่งไม่ได้ห้ามไม่ให้ใช้ข้อมูลแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องน�ำไปใช้ ให้ตรงกับค�ำขออนุญาต ต้องแสดงให้เห็นกระบวนการวิเคราะห์หรือน�ำข้อมูลไปใช้งาน ที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมถึงมีการเข้ารหัสข้อมูลในขั้นตอนการท�ำงานหรืออัลกอริทึม เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล เช่น VMware Workspace one เพื่อดูแลการ เข้าถึงข้อมูลจากอุปกรณ์ปลายทาง VMware Horizon ก�ำกับการใช้งานข้อมูลและ แอปพลิเคชันผ่านเวอร์ชวลไลเซชันหรือคลาวด์ VMware vSAN เพื่อก�ำหนดนโยบาย และขั้นตอนจัดเก็บข้อมูล VMware NSX ดูแลการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์กใน-นอกองค์กร หรือข้ามพรมแดนเพื่อสร้างระบบความปลอดภัยข้อมูลเชิงรุก Data Privacy Manager เน้นการจัดการความปลอดภัยทีเ่ จาะจงต่อข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า พนักงาน ผูบ้ ริหาร หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจ IBM Security Guardium ช่วยในการแยกแยะและป้องกันโดยการเข้ารหัส หรือควบคุมการเข้าถึงข้อมูล IBM MaaS 360 with Watson ส�ำหรับก�ำกับการใช้งาน อุปกรณ์ปลายทางที่เชื่อมผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อตรวจสอบสิทธิเข้าถึงข้อมูล ป้องกัน พฤติกรรมเสี่ยง และเพิ่มเครื่องมือระบุตัวตนเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ นอกจากนี้ องค์กรอาจเพิม่ เครือ่ งมือด้านการบริหาร เช่น เครือ่ งมือในการค้นหาข้อมูล บริหารจัดการ สิทธิของเจ้าของข้อมูล รวบรวมบันทึกความยินยอมในรูปเอกสารหรือจากเว็บเพจต่างๆ และจัดการการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลและการรั่วไหลของข้อมูล เป็นต้น

เทคโนโลยีเหล่านี้ ไม่ ได้มี ไว้เพียงเพื่อการก้าวข้ามวิกฤต COVID-19 ที่อาจจะอยู่กับเราไปตลอดปี พ.ศ. 2564 เท่านั้น แต่ยังเป็นการเตรียมการ พัฒนาระบบไอทีให้พร้อมรับโลกยุคดิจทิ ลั บนวิถคี วามปกติใหม่ทงั้ ในปัจจุบนั และอนาคตถัดไป (Next Normal)

Engineering Today March • April 2021

39


Preview

ProPak

Asia 2021

รูปแบบไฮบริด ตอบครบ ทุกปัญหาของอุตสาหกรรม การผลิตและบรรจุภัณฑ์ การกลับมาของงานแสดงสินค้า อุตสาหกรรมการผลิตและบรรจุภัณฑ์ ครั้งส�ำคัญของเอเชีย

การจัดแสดงงาน ปกติ:

16-19 มิถุนายน 2564 ณ ศูนย์นิทรรศการและ การประชุมไบเทค บางนา

การจัดแสดงงาน ออนไลน์: 9-23 มิถุนายน 2564 บนเว็บไซต์ 40

Engineering Today March • April 2021

งานแสดงสิ น ค้ า อุ ต สาหกรรมและเทคโนโลยี ด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ แห่ง ภูมิภาคเอเชีย หรือ ProPak Asia เป็นงานจัดแสดงสินค้า ชั้นน�ำด้านการผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์จากหลายกลุ่ม อุ ต สาหกรรม เช่ น อุ ต สาหกรรมอาหาร เครื่ อ งดื่ ม เภสัชกรรม เครื่องส�ำอาง และสินค้าอุปโภคบริโภค โดย เปิ ด พื้ น ที่ ใ ห้ บ ริ ษั ท และผู ้ ซื้ อ จากทั่ ว โลกได้ ม าเจอกั น ทั้งในโลกออฟไลน์และออนไลน์ ProPak Asia ครัง้ ที่ 29 นีก้ ลับมาในฐานะงานแสดง สินค้าด้านอุตสาหกรรมการผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ ครั้งส�ำคัญของภูมิภาคเอเชีย โดยยังคงมุ่งมั่นที่จะสรรหา เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ล�้ำสมัย พร้อมทั้งการแก้ปัญหา ในเชิงนวัตกรรมมาน�ำเสนอ และในปีนี้งาน ProPak Asia ได้จัดขึ้นในรูปแบบไฮบริด เพื่อน�ำเสนอการจัดนิทรรศการ ในรูปแบบปกติและออนไลน์ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งมาภายใต้ ธีม “เชื่อมโยงทุกความส�ำเร็จ”


ProPak Asia มุ่งมั่นที่จ ะก้าวข้ามความท้าทายที่โลก ก�ำลังเผชิญ และผลักดันให้อุตสาหกรรมการผลิตและบรรจุภัณฑ์ ก้าวไปในอนาคตได้ โดยมีปจั จัยทีส่ ำ� คัญคือ สินค้าทีม่ คี ณ ุ ภาพและ การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบรับกับประชากรที่เติบโต เพิ่มขึ้น รวมถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยวิถีแบบดิจิทัล และด้วยความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งและการสนับสนุนที่ดีจาก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งสมาคม สถาบัน และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในอุตสาหกรรม ภายในงานยังมีการประชุมและสัมมนาที่จะให้ ไอเดียใหม่ๆ ไปจนถึงเทรนด์ของอุตสาหกรรม รวมถึงกิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการอื่นๆ อีกมากมาย การเสริมสร้างกลุม่ ธุรกิจสตาร์ตอัปให้แข็งแกร่งขึน้ ติดอาวุธ ให้กับกลุ่มธุรกิจ SMEs และสนับสนุนส่งเสริมบริษัทนานาชาติ ทั้งหมดนี้คือประวัติศาสตร์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วของ ProPak Asia

ผู ้ ที่ ส นใจสามารถเข้ า ชมงานในรู ป แบบปกติ ไ ด้ ตั้ ง แต่ วันที่ 16-19 มิถุนายน 2564 ณ ศูนย์นิทรรศการและการ ประชุมไบเทค ภายในงานผู้เข้าชมสามารถมาพบปะ สร้างความ สัมพันธ์กับคู่ค้า ทั้งยังได้เห็น ผลิตภัณฑ์ในแบบของจริง ขณะ เดียวกัน ยังสามารถเจอกับผู้จัดแสดงงานจากต่างชาติได้อีกด้วย ในบริเวณ Hybrid Pavilion ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จัดไว้ส�ำหรับการติดต่อ พูดคุยออนไลน์ เพือ่ เป็นการต่อยอดโอกาสทางธุรกิจในอีกแบบหนึง่ นอกจากนี้ ยั ง สามารถเข้ า ร่ ว มงานแบบดิ จิ ทั ล ได้ ใ น นิทรรศการจัดแสดงงานออนไลน์ ซึ่งจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 9-23 มิถุนายน 2564 ที่จะมอบประสบการณ์การเข้าชมงานแบบ ออนไลน์ ไ ด้ ต รงกับความต้อ งการ ไม่ว ่า จะเข้ามาค้นหาหรือ เชือ่ มโยงหาผูป้ ระกอบการรายอืน่ ก็สามารถท�ำได้บนโลกออนไลน์ ผู ้ เ ข้ า ชมนิ ท รรศการจะได้ พ บกั บ โลกดิ จิ ทั ล ของอุ ต สาหกรรม การผลิตและบรรจุภัณฑ์ได้ในที่นี่

ProPak Asia 2021

จะจัดขึ้นในวันที่ 16-19 มิถุนายน 2564 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. และงานแสดงสินค้าออนไลน์ตั้งแต่ วันที่ 9-23 มิถุนายน 2564 ส�ำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาไปที่

www.propakasia.com กดติดตามข่าวสารจาก ProPak Asia ได้ที่ Facebook Page

www.facebook.com/BESProPakAsia/

Engineering Today March • April 2021

41



Management Tools Today • ดร.พรชัย องค์วงศ์สกุล dr.pornchai.ong@gmail.com

เครื่องมือทางการบริหารสมัยใหม่ (New Management Tools)

KM-01

การพัฒนาการเรียนรู้ (Learning Curve)

ในโลกของการแข่ ง ขั น ในปั จ จุ บั น ที่ ไ ร้ ข อบเขตจ� ำ กั ด ความส�ำคัญของความรูน้ นั้ เป็นทรัพย์สนิ ทีม่ มี ลู ค่ามหาศาลส�ำหรับ การด�ำเนินกิจกรรมขององค์กร เพราะองค์ความรู้นั้นสามารถใช้ เพื่อการด�ำเนินธุรกิจ เพื่อการพัฒนา เพื่อการแก้ไขปัญหา และ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น องค์ความรู้ที่มีอยู่ช่วย ให้องค์กรสามารถที่จะแข่งขันเพื่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ทุ กอย่ า งเกิ ด ขึ้ น นั้ น ได้ จ ากองค์ ค วามรู ้ แ ละประสบการณ์ ข อง ทุกคนในองค์กร แต่การเรียนรูเ้ ป็นทีเ่ ราต้องศึกษาเพือ่ น�ำมาใช้งาน ให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรในยุคปัจจุบัน ค�ำว่า ความรู้ (Knowledge) เป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะท�ำอย่างไร ให้ ส ามารถสื บ ทอดกั น อย่ า งเป็ น ระบบ จึ ง เป็ น ที่ ม าของการ ที่องค์กรต้องมาจัดการเรื่องความรู้ที่มีภายในองค์กร การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) คือ กระบวนการอย่างเป็นระบบในการจัดการ ส่งต่อและเชื่อมโยง ข้อมูลสารสนเทศหรือความรู้ระหว่างบุคลากรที่เกี่ยวข้องในเวลา ที่ ต ้ อ งการ ส่ ง ผลให้ บุ ค ลากรสามารถปฏิ บั ติ ง านได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงขึ้น สนับสนุนการเพิ่มคุณค่า ให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดียิ่ง KM จึงเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการ บรรลุเป้าหมายที่ส�ำคัญในส่วนของการท�ำงาน การพัฒนาคน การพัฒนาองค์กรและการเก็บรักษาความรูไ้ ว้อย่างเป็นระบบ เพือ่ น�ำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยจัดการให้มีการค้นพบความรู้ความช�ำนาญที่แฝงเร้นในตัว บุคคลที่ดีและมีประโยชน์ที่ซ่อนเร้นไว้ หาช่องทางน�ำออกมา แลกเปลีย่ นเรียนรูแ้ ชร์ประสบการณ์ ปรับแต่งให้งา่ ยต่อการใช้สอย ค้นหาเพื่อให้มีประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น และใช้ได้เหมาะสมกับสภาพ ความเป็นจริงในเวลาที่เหมาะสม มีการต่อยอดให้งานที่ผ่านการ

พิสูจน์ว่าเป็นจริง ท�ำให้เกิดความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเกิดขึ้นจาก การเอาความรู้ที่ไม่เหมือนกันมาบูรณาการ ความรู ้ เ ป็ น พื้ น ฐานที่ ส� ำ คั ญ ของการสร้ า งนวั ต กรรม (Innovation) อย่างเป็นระบบ เนื่องจากการน�ำความคิด ความรู้ การแสวงหาความรู ้ ใ หม่ และการน� ำ ความรู ้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งมา ปรับเปลี่ยน มาสังเคราะห์ มาวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นเป็นตอน จากความรูท้ หี่ ลากหลายมาเป็นการจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) ทีเ่ ป็นระบบทีเ่ กิดขึน้ จากแนวความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) มาวางกรอบมาทดสอบความจริงและผลลับ ที่ได้จากความรู้ที่เกี่ยวข้อง นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจึงมีพื้นฐาน ที่ส�ำคัญจากความรู้ที่มี มาช่วยในการปรับ แต่งในแต่ละส่วน ของนวัตกรรมอันเป็นประโยชน์

จากสารสนเทศ (Information) สู่ความรู้ (Knowledge) เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความเข้ า ใจในสาระส� ำ คั ญ ในส่ ว นของที่ ม า ของสารสนเทศ (Information) และการพั ฒนาเป็ น ความรู ้ (Knowledge) ดังนี้ สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ทีไ่ ด้ผา่ น การเปลี่ยนแปลงหรือมีการประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุป ผล ด้วยวิธีการต่างๆ แล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อน�ำมาใช้ประโยชน์ตาม ต้องการการประมวล ซึ่งมีกระบวนการในการประมวลผลข้อมูล (Data Processing) เป็นการน�ำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่เก็บ รวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้ เป็นระบบและอยู่ในรูปแบบที่ต้องการ Engineering Today March • April 2021

43


ข้ อ มู ล เข้ า ระบบ (Data Entry) เป็ น การรวบรวมและ ตรวจสอบข้อมูล สิง่ ทีต่ อ้ งด�ำเนินการกล่าวคือ 1. การเก็บรวบรวม ข้อมูลซึง่ มีจำ� นวนมากและต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลา เช่น ข้อมูล การลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ข้อมูลประวัติบุคลากร ปัจจุบัน มีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจ�ำนวนมาก เช่น การป้อน ข้ อ มู ล เข้ า เครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ การอ่ า นข้ อ มู ล จากรหั ส แท่ ง การตรวจใบลงทะเบียนทีม่ กี ารฝนดินสอด�ำในต�ำแหน่งต่างๆ เป็น วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน และ 2. การตรวจสอบข้อมูล เมือ่ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจ�ำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพือ่ ตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลทีเ่ ก็บเข้าในระบบจะต้องมีความ น่าเชื่อถือ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข การตรวจสอบข้อมูล มีหลายวิธี เช่น การใช้ผู้ป้อนข้อมูล 2 คนป้อนข้อมูลชุดเดียวกัน เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบกัน หรือตั้งกฎเกณฑ์ให้ คอมพิวเตอร์ตรวจสอบข้อมูล(Text Data) ทีก่ ล่าวถึง ประกอบด้วย • ข้อมูลด้านตัวเลข (Alphanumeric Data) ซึ่งเป็นข้อมูล ด้านสถิติ ปริมาณ ในรูปของจ�ำนวนต่างๆ • ข้อมูลด้านรูปภาพ (Image Data) เราจะเห็นว่าในอดีต มนุ ษ ย์ ใ นดึ ก ด� ำ บรรพ์ จะสื่ อ สารด้ ว ยรู ป ภาพแสดง เรือ่ งราวต่างๆ แม้กระทัง้ ปัจจุบนั การส�ำรวจจักรวาลของ องค์การนาซา ก็บันทึกเป็นภาพส่งกลับมายังพื้นโลก เพื่อการศึกษาเรื่องราวจากภาพนั้นๆ • ข้อมูลด้านเสียง (Audio Data) การบันทึกเสียง เช่น การ บันทึกเสียงปลาโลมา ปลาวาฬ ไว้ศึกษาเป็นข้อมูล • ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) การบันทึกภาพใน รูปของภาพยนตร์ที่เคลื่อนไหวได้ • ข้อมูลอื่นๆ ที่ได้จากบันทึกประสบการณ์ การจด การ สังเกตการณ์ หรืออื่นๆ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ข้อมูลต่างๆ ที่เราเรียนรู้และศึกษาจะถูกเก็บไว้ โดยอยู่ใน รูปแบบที่เป็นความรู้ความเข้าใจ เก็บไว้จากความทรงจ�ำหรือเป็น เอกสารสิ่งพิมพ์ บันทึกเป็นวิดีโอเทปหรือแผ่นซีดีหรือเก็บใน รูปแบบไฟล์ตา่ งๆ ในคอมพิวเตอร์ หากเราเก็บไว้กจ็ ะมีฐานะเพียง เป็นข้อมูล (Data base) แต่หากเรามีการผ่านกระบวนการ ประมวลผล (Data Processing) ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทางสถิติ และเก็บอย่างมีระบบ สามารถน�ำมาใช้งานได้อย่าง ถูกต้อง ข้อมูลนั้นจะเปลี่ยนสถานะจากข้อมูลธรรมดามาเป็น สารสนเทศ (Information) ที่พร้อมใช้งาน ซึ่งข้อมูลสารสนเทศ ที่ดี ควรประกอบจาก 1 มีความถูกต้องต่อเวลา (Time) กล่าวคือ มีก�ำหนด ช่วงเวลาของข้อมูล ทันเวลาและพร้อมที่จะใช้การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามล�ำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพือ่ ให้เรียกใช้งานได้งา่ ย ประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่ง หนั ง สื อ ในตู ้ บั ต รรายการของห้ อ งสมุ ด ตามล� ำ ดั บ ตั ว อั ก ษร

44

Engineering Today March • April 2021

การจั ด เรี ย งชื่ อ คนในสมุ ด รายนามผู ้ ใ ช้ โ ทรศั พ ท์ ต ามล� ำ ดั บ ตัวอักษร 2 มีความสมบูรณ์ในเนือ้ หา (Content) ถูกต้องในข้อมูล มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาและมีเหตุมีผลการสรุปผล ความ ถูกต้อง (Accuracy) ข้อมูลทีด่ ตี อ้ งมีความถูกต้อง เพือ่ ให้สามารถ น� ำ เอาไปใช้ ป ระโยชน์ ไ ด้ หากมี ก ารเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล แล้ ว ถ้ า ข้ อ มู ล ที่ เ ก็ บมาเชื่ อ ถื อ ไม่ ไ ด้ จ ะท� ำ ให้ เ กิ ด ผลเสี ย อย่ า งมาก ผู้ใช้จะไม่กล้าอ้างอิงหรือน�ำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การ ตัดสินใจของผูบ้ ริหารขาดความแม่นย�ำ และอาจมีโอกาสผิดพลาด ได้ รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลต้องค�ำนึงถึงกรรมวิธีการด�ำเนินงาน เพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นย�ำมากที่สุด บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บ มีจำ� นวนมากจ�ำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสรุปรายงาน เพือ่ น�ำไป ใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น สถิติจ�ำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น 3 มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ (Format) สามารถ เรียกใช้งานได้อย่างแม่นย�ำ ถูกต้อง การจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่ จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุม่ เพือ่ เตรียมไว้สำ� หรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการ แบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียนและแฟ้มลงทะเบียน เพื่อความ สะดวกในการค้นหา ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน (Update) ข้อมูลที่ดีจ�ำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้มีความเป็นปัจจุบัน อยู่เสมอ การได้มาของข้อมูล จ�ำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการ ของผู้ใช้ ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน 4 มี ร ะบบที่ ส ามารถเรี ย กใช้ ง านได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง (System) และง่ า ยต่ อ การใช้ ง าน ไม่ ว ่ า จะเป็ น รู ป แบบแผ่ น เอกสารหรือ Electronic File การค�ำนวณข้อมูลที่เก็บรวบรวม มีเป็นจ�ำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขทีส่ ามารถน�ำไป ค�ำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศ จากข้อมูลจึงอาศัยการค�ำนวณข้อมูลทีเ่ ก็บไว้ดว้ ย เช่น การค�ำนวณ เกรดเฉลี่ยของนักเรียนแต่ละคน ความส�ำคัญของสารสนเทศ การรูส้ ารสนเทศมีความส�ำคัญ ต่อความส�ำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้ 1 เพือ่ การศึกษา การรูส้ ารสนเทศเป็นสิง่ จ�ำเป็นส�ำหรับ การศึกษาของบุคคลทุกระดับ การเรียนรู้ตลอดชีวิตจากข้อมูล สารสนเทศที่ได้กลั่นกรองและจัดเก็บที่ดี 2 การด� ำ รงชี วิ ต ประจ� ำ วั น การรู ้ ส ารสนเทศเป็ น สิง่ ส�ำคัญยิง่ ในการด�ำรงชีวติ ประจ�ำวัน เพราะผูร้ สู้ ารสนเทศจะเป็น ผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์ สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่าง มีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซือ้ เครือ่ งปรับอากาศของบริษทั ใด บริษทั หนึง่ ก็ตอ้ งพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น


3

การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความส�ำคัญ ต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้น สามารถแสวงหาสารสนเทศทีม่ คี วามจ�ำเป็นต่อการประกอบอาชีพ ของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับ พืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมี เพื่อมาก�ำจัดโรคระบาดดังกล่าวได้ เป็นต้น 4 สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็น สิ่งส�ำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจ�ำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหาร จัดการ การด�ำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของ ผูน้ ำ� ประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้วา่ ผูร้ สู้ ารสนเทศ คือผูท้ มี่ อี ำ� นาจ สามารถชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้น ประชากรที่ เ ป็ น ผู ้ รู ้ ส ารสนเทศจึ ง ถื อว่ า เป็ น ทรั พ ยากรที่ มี ค ่ า มากที่สุดของประเทศ กระบวนการจัดการข้อมูลสารสนเทศ การท�ำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จ�ำเป็นต้องอาศัย เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการด�ำเนินการ เริม่ ตัง้ แต่การรวบรวมและ ตรวจสอบข้อมูล การด�ำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็น สารสนเทศ และการดู แ ลรั ก ษาสารสนเทศ เพื่ อ การใช้ ง าน การประมวลผลข้อมูล ประกอบด้วยกิจกรรมการดูแลรักษาข้อมูล ประกอบด้วยกิจกรรมต่อไปนี้ 1 การบันทึกข้อมูลลงในสื่อบันทึกต่างๆ เช่น ในหน่วย ความจ�ำของคอมพิวเตอร์แผ่นดิสก์และในการเลือกสื่อบันทึก ข้อมูลจะต้องพิจารณาถึงความทนทาน สะดวกต่อการเรียกใช้งาน การเก็บรักษาข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และท�ำส�ำเนา ข้อมูล เพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้ 2 การท�ำส�ำเนาข้อมูล การท�ำส�ำเนาเพื่อที่จะน�ำข้อมูล เก็บรักษาไว้ การท�ำส�ำเนาถาวรเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อป้องกัน การสูญหายของข้อมูลและสารสนเทศที่ส�ำคัญหรือน�ำไปแจกจ่าย ในภายหลัง จึงควรค�ำนึงถึงความจุและความทนทานของสื่อ บันทึกข้อมูล 3 การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล ข้อมูลต้องกระจาย หรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็น เรือ่ งส�ำคัญและมีบทบาททีส่ ำ� คัญยิง่ ทีจ่ ะท�ำให้การส่งข่าวสารไปยัง ผู้ใช้ท�ำได้รวดเร็วและทันเวลา 4 การปรับปรุงข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไป ดังนั้นข้อมูลจึงต้องมีการปรับปรุงให้ ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อการค้นหา ได้อย่างรวดเร็ว

องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่ เป็นระบบที่มีการน�ำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล โดยมีซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมช่วยในการจัดการข้อมูลเหล่านี้ เพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลตามผูใ้ ช้ตอ้ งการ องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ในระบบฐานข้ อ มู ล ที่ มี ประสิทธิภาพควรมีฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่พร้อมจะอ�ำนวยความ สะดวกในการบริหารระบบงานฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่วา่ จะเป็นขนาดของหน่วยความจ�ำ ความเร็วของหน่วยประมวล ผลกลาง อุปกรณ์น�ำเข้าและออกรายงาน รวมถึงหน่วยความจ�ำ ส� ำ รองที่ ร องรั บ การประมวลผลข้ อ มู ล ในระบบได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ 2 โปรแกรม (Program) ในการประมวลผลฐานข้อมูล อาจจะใช้โปรแกรมทีแ่ ตกต่างกัน ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั ระบบคอมพิวเตอร์ ทีใ่ ช้วา่ เป็นแบบใด โปรแกรมทีท่ ำ� หน้าทีก่ ารสร้างการเรียกใช้ขอ้ มูล การจัดท�ำรายงานการปรับเปลี่ยนแก้ไขโครงสร้าง การควบคุม หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ท�ำหน้าที่ ในการจัดการฐานข้อมูลโดยจะเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ และ โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล 3 ข้อมูล (Data) ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บรวบรวม ข้อมูลให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถใช้ร่วมกันได้ ผู้ใช้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลจะมองภาพ ข้อมูลในลักษณะทีแ่ ตกต่างกัน เช่น ผูใ้ ช้บางคนมองภาพของข้อมูล ที่ถูกจัดเก็บไว้ในสื่อเก็บข้อมูลจริง (Physical Level) ในขณะที่ ผู้ใช้บางคนมองภาพข้อมูลจากการใช้งานของผู้ใช้ (External Level) 4 บุคลากร ( People) ผูใ้ ช้ทวั่ ไป เป็นบุคลากรทีใ่ ช้ขอ้ มูล จากระบบฐานข้อมูล เพือ่ ให้งานส�ำเร็จลุลว่ งได้ เช่น ในระบบข้อมูล การจองตั๋วเครื่องบิน ผู้ใช้ทั่วไป คือ พนักงานจองตั๋ว พนักงาน ปฏิบัติงาน (Operating) เป็น ผู้ปฏิบัติการด้านการประมวลผล การป้อนข้อมูลลงเครื่องคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบ ระบบ (System Analyst) เป็นบุคลากรที่ท�ำหน้าที่วิเคราะห์ ระบบฐานข้อมูล และออกแบบระบบงานที่จะน�ำมาใช้ ผู้เขียน โปรแกรมประยุกต์ใช้งาน (Programmer) เป็นผู้ท�ำหน้าที่เขียน โปรแกรมประยุกต์ใช้งานต่างๆ เพื่อให้การจัดเก็บ การเรียกใช้ ข้อมูลเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ ผู้บริหารงานฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) เป็นบุคคลที่ท�ำหน้าที่บริหาร และควบคุมการบริหารงานของระบบฐานข้อมูลทั้งหมด เป็น ผู้ ที่จะต้องตัดสินใจว่าจะรวบรวมข้อมูลอะไรเข้าสู่ระบบ จัดเก็บ โดยวิธีใด เทคนิคการเรียกใช้ข้อมูล ก�ำหนดระบบการรักษา ความปลอดภัยของข้อมูล การสร้างระบบข้อมูลส�ำรอง การกู้ และประสานงานกับผู้ใช้ว่าต้องการใช้ข้อมูลอย่างไร รวมถึง Engineering Today March • April 2021

45


นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ และโปรแกรมเมอร์ประยุกต์ ใช้งาน เพื่อให้การบริหารการใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 5 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedures) ในระบบฐาน ข้อมูลควรมีการจัดท�ำเอกสารทีร่ ะบุขนั้ ตอนการท�ำงานของหน้าที่ การงานต่างๆ ในระบบฐานข้อมูล ในสภาวะปกติและในสภาวะ ที่ ร ะบบเกิ ด ปั ญ หา (Failure) ซึ่ ง เป็ น ขั้ น ตอนการปฏิ บั ติ ง าน ส�ำหรับบุคลากรทุกระดับขององค์กร จากรูปทีแ่ สดง เราจะเห็นถึงข้อมูลสารสนเทศ (Information) ที่เกิดจากการน�ำข้อมูลขั้นพื้นฐาน (Data) มาผ่านกระบวนการ ประมวลผล (Data Processing) และเห็นถึงความสัมพันธ์ ของข้อมูลสารสนเทศ (Information) ท�ำให้เกิดความเข้าใจ (Understanding) และสามารถน�ำไปใช้งานได้เมื่อต้องการ

การพัฒนาสารสนเทศ (Information) และความรู้ (Knowledge) สู่ความมีสติปัญญา (Wisdom) การพัฒนาการเรียนรู้ (Learning Curve) จะเห็นถึงความ สัมพันธ์ในส่วนของข้อมูล (Data) กับความเข้าใจ (Understanding) ที่ จ ะใช้ ข ้ อ มู ล ผ่ า นขบวนการประมวลผลอย่ า งถู ก ต้ อ งตาม วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ให้ อ อกมาเป็ น สารสนเทศ (Information) เพื่อความเข้าใจที่สามารถน�ำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง จนพัฒนา เป็ น ความรู ้ (Knowledge) ที่ ป ระยุ กต์ ค วามรู ้ ความเข้ า ใจ (Understanding Application) ให้สามารถน�ำมาใช้งาน ใน ขั้นสุดท้ายเมื่อเรามีระบบอย่างต่อเนื่อง เราก็จะเกิดสติปัญญา รอบรู้ ที่จะเข้าใจถึงโอกาสและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น สามารถ คาดการณ์อนาคต ในการทีจ่ ะฉวยโอกาสทีด่ หี รือป้องกันความเสีย่ ง ที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งขอสรุปการพัฒนาการเรียนรู้ ดังนี้ 1 สารสนเทศ (Information) คือการน�ำข้อมูล (Data Entry) ที่เป็นจริงและมีความส�ำคัญต่อการเรียนรู้มาประมวลผล (Data Processing) และจัดท�ำเป็นระบบสารสนเทศ ที่สามารถ น�ำมาใช้งานได้รวดเร็ว ทันสมัย ทันเวลา (Time) มีความสมบูรณ์ ถู ก ต้ อ ง เชื่ อ ถื อ ได้ ใ นเนื้ อ หา (Content) มี รู ป แบบที่ ชั ด เจน มีรายละเอียดและรูปแบบ (Format) ที่เหมาะสมดีต่อการใช้งาน และมีระบบการจัดเก็บ (Process) ที่สมบูรณ์ในระบบฐานข้อมูล Understanding Rotation เข้าใจในการเทียบเคียงประโยชน์ ของสารสนเทศคือ สามารถน�ำสารสนเทศจากเหตุการณ์หนึ่ง มาประมวลใช้ กั บ เหตุ ก ารณ์ ห นึ่ ง ได้ ดั ง เช่ น จากข้ อ สั ง เกต ทีแ่ มลง เช่น ปลวก มด มีการอพยพขึน้ ทีส่ งู มักจะเกิดสถานการณ์ น�้ำท่วมได้ หรือสถานการณ์น�้ำท่วมเพิ่มขึ้นที่ระดับ +1.0 เมตร ทีจ่ งั หวัดนครสวรรค์ มีโอกาสทีจ่ ะเกิดน�ำ้ ท่วมอย่างน้อย +0.5 เมตร ทีจ่ งั หวัดนนทบุรไี ด้ เป็นต้น จะเป็นการน�ำสารสนเทศมาใช้ในการ ประเมินในอีกสถานการณ์อื่นได้

46

Engineering Today March • April 2021

2

ความรู้ (Knowledge) คือความรู้ที่เกิดจากความ เป็นจริงแท้ข องเนื้อหาที่เป็นบริบ ทในทฤษฎี หรือการปฏิบัติ ทีพ่ ฒ ั นามาจากหลายสารสนเทศในเรือ่ งเดียวกัน จนเป็นทีย่ อมรับ และสามารถพิสจู น์ได้จริงทัง้ ในเชิงวิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์และ อื่นๆ และถือว่าเป็นองค์ความรู้ในแต่ละเรื่อง ดังเช่น การเป็น วิศวกร เราต้องมีองค์ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่ก�ำหนดศึกษา ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ Understanding Application เข้าใจในการประยุกต์ ความรู ้ ประโยชน์ ข องความรู ้ นั้ น สามารถน� ำ มาใช้ ไ ด้ ทั้ ง ใน ชีวิตประจ�ำวัน เช่น ความรู้ในการท�ำอาหารไทย ก็สามารถน�ำมา ประกอบอาชีพร้านอาหารไทยได้อย่างหลากหลาย หรือความรู้ ด้านวิศวกรรมในแต่ละสาขา ก็ต้องน�ำความรู้ในแต่ละวิชาที่เรียน ในวิชาต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการท�ำงานจริง 3 สติปัญญา (Wisdom) การค้นพบความรู้จนสามารถ ตอบได้ว่าสามารถ “รู้ได้ด้วยตนเอง” นั้นคือการมีองค์ความรู้ ทีเ่ ก็บสะสมและสามารถน�ำความรูน้ นั้ ๆ มาใช้ได้จริงและสามารถ อธิบายการน�ำมาใช้อย่างมีเหตุมีผล ถูกต้องถูกวิธีและถูกเวลา ในเรื่องนี้ขอน�ำหลักการของพระพุทธศาสนามาเป็นตัวอย่างว่า พระพุทธองค์ทรงประกาศพระพุทธศาสนา โดยตรัสเพียงค�ำว่า เรารู ้ แ ล้ ว “ตรั ส รู ้ ” สิ่ ง ที่ เ ป็ น จริ ง ตามธรรมชาติ จึ ง เรี ย กว่ า “พระธรรม” และน� ำ หลั ก แห่ ง ความจริ ง มาประกาศหนทาง แห่ ง ความหลุ ด พ้ น จากความทุ ก ข์ ซึ่ ง หลั ก “พระธรรม” ใน พระพุทธศาสนาคือความรู้จริงแท้ที่สามารถปฏิบัติแล้วบรรลุผล ได้จริง อีกตัวละครหนึ่งในหนังซีรีส์เรื่อง “Macgyver” ยอดคน สมองเพชร เป็ น หนั ง ที่ ตั ว เอก “แม็ ค ไกเวอร์ ” สามารถน� ำ Information และ Knowledge ที่มีในประสบการณ์ความรู้ สามารถแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ในแต่ละบทได้ดีทุกสถานการณ์ Understanding Risk & Opportunity หากองค์กรใด สามารถสร้างบุคลากรที่รอบรู้ในระดับ Wisdom ได้หรือมองเห็น ความอัจฉริยะบุคคลที่สามารถเรียกใช้บุคคลที่มีความรู้ความ สามารถเฉพาะด้ า นที่ เ กี่ ยวข้ อ งกั บ งานในลั ก ษณะ Put the Right Man on the Right Job องค์กรนัน้ ก็สามารถฝ่าฟันอุปสรรค ความเสี่ยง (Risk) และมองเห็นโอกาส (Opportunity) ที่ท�ำให้ องค์กรเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืนได้

ในบทความแต่ละตอนผู้เขียนตั้งใจเล่าเรื่อง ที่มาของการพัฒนาการเรียนรู้ (Learning Curve) เป็นหลัก ใน KM-02 จะเขียนถึงเรื่องการจัดการความรู้ (Knowledge Management) หรือ ที่เรียกย่อๆ ว่า KM ต่อไป


ใบสมัครสมาชิก 2021

ที่อยูในการรับวารสาร / สิ่งพิมพ : ................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... เบอรโทรศัพทที่ทำงาน : ......................................................... มือถือ : ........................................................... E-mail.................................................................................. ID Line : .........................................................

สมาชิกใหม

ตออายุสมาชิก

สมาชิกใหม

ตออายุสมาชิก

1 ป 6 ฉบับ 480 2 ป 12 ฉบับ 960

1 ป 6 ฉบับ 450 2 ป 12 ฉบับ 900

1 ป 6 ฉบับ 480 2 ป 12 ฉบับ 960

1 ป 6 ฉบับ 450 2 ป 12 ฉบับ 900

ใบเสร็จรับเงินออกในนาม บุคคล บริษัท/องคกร ที่อยูในการออกใบเสร็จ ............................................... ................................................................................. ................................................................................. หมายเหตุ : กรุณาสงสำเนาการชำระเงิน (Pay-in Slip) มาใหบริษัทฯ ตามที่อยูที่แนบไวดานลาง

บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จำกัด

.................................................................................

TECHNOLOGY MEDIA CO., LTD.

471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถนนศรีอยุธยา แขวงทุงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท 0-2354-5333, 0-2644-4555 Ext. 231 โทรสาร 0-2644-6649 ID Line : membertechno E-mail : member.technologymedia.co.th@gmail.com / marketing_mag@technologymedia.co.th


INDEX ADVERTISING March • April 2021 Engineering Today • Vol.2 No.182 March - April 2021 บริษัท

โทรศัพท์

โทรสาร

ต�ำแหน่งหน้า

0-2036-0564

-

6

www.asew-expo.com

-

-

8

www.propakasia.com

PISANU ENGINEERING CO., LTD.

0-2245-9113

0-2642-9220

3

www.pisanu.co.th

VEGA INSTRUMENTS CO., LTD.

0-2700-9240

0-2700-9241

4

www.vega.com

กุลธรอินเตอร์เนชั่นแนล บจก.

0-2282-5775-8

0-2281-0009

9

www.kulthorn.com

คณิต เอ็นจิเนียริ่ง บจก.

0-2642-9209-11

0-2246-3214

3, 26

www.kanitengineering.com

เบย์ คอร์ปอเรชั่น บจก.

0-2926-0111

0-2926-0123-4

2

www.bay-corporation.com, sales@bay-corporation.com

เวอร์ทัส บจก.

0-2876-2727

0-2476-1711

7

www.virtus.co.th, welcome@virtus.co.th

เอส เอ วี เมคคานิคคอลเซอร์วิส แอนด์ ซัพพลายส์ หจก.

0-2702-8801, 0-2702-0581-8

0-2395-1002

5

savthai@yahoo.com, sav-545@hotmail.com

อาทิตย์เวนติเลเตอร์ หจก.

0-2509-3065, 0-2509-2884

0-2934-1814

9

contact@artith.com

ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK PROPAK

Website/E-mail

Construction Thailand • Vol.1 No.2 March - April 2021 บริษัท

โทรศัพท์

โทรสาร

ต�ำแหน่งหน้า

ALTEMTECH CO., LTD.

0-2639-5308-11

0-2639-0383

5

altemtech@hotmail.com

LED Expo Thailand

0-2833-5347

-

4

www.ledexpothailand.com

-

-

2

www.architectexpoasia.com

0-2050-0555

-

3

www.italthaiindustrial.com

สถาปนิก อิตัลไทย อินดัสเทรียล บจก.

48

Engineering Today March • April 2021

Website/E-mail







EDITORTALK Construction Thailand

กิตติ วิสุทธิรัตนกุล

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน

เจ้าของ บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จ�ำกัด

471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0-2644-4555, 0-2354-5333 ต่อ 214, 231, 219, 230, และ 313 โทรสาร : 0-2644-6649 Website : www.technologymedia.co.th E-mail : editor@technologymedia.co.th กองบรรณาธิการ E-mail : editor@engineeringtoday.net ฝ่ายโฆษณา E-mail : marketing_mag@technologymedia.co.th ฝ่ายบัญชีและธุรการ E-mail : account@technologymedia.co.th

คณะที่ปรึกษา • ศ.อรุณ ชัยเสรี • ศ. ดร.มงคล เดชนครินทร์ • ดร.ประสงค์ ธาราไชย • ดร.ประเสริฐ ภัทรมัย • รศ. ดร.วรศักดิ์ กนกนุกูลชัย • รศ. ดร.ต่อตระกูล ยมนาค • รศ. ดร.การุญ จันทรางศุ • รศ. ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ • ศ. ดร.สมศักดิ์ ไชยะภินันท์ • ดร.ทศพร ศรีเอี่ยม • ผไท ผดุงถิ่น

หลังจากทีป่ ระเทศชัน้ น�ำได้พฒ ั นาเทคโนโลยีการท�ำงานด้วยแบบจ�ำลองสารสนเทศ อาคาร (Building Information Modeling : BIM) มาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2553 ส�ำหรับ ประเทศไทยเพิง่ ตืน่ ตัวในเรือ่ งนีใ้ นช่วง 2-3 ปีทผี่ า่ นมานีเ้ อง เนือ่ งจากประเทศเพือ่ นบ้าน พัฒนาเทคโนโลยี BIM กันหมดแล้ว แต่ในปัจจุบัน องค์กรวิชาชีพและภาครัฐของไทยยัง ไม่ให้การสนับสนุนเทคโนโลยี BIM ท�ำให้ไม่สามารถผลักดันวิชาชีพให้ก้าวไปสู่อนาคตได้ ด้วยเหตุนี้ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) จึงได้ จัดตั้ง ศูนย์ BIM LAB by EIT หรือศูนย์อบรมการท�ำงานด้วยแบบจ�ำลองสารสนเทศ อาคาร (BIM) เมื่อเดือนตุลาคม 2563 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ วิชาการและ ผู้เชี่ยวชาญระบบ BIM เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมระบบ BIM จากหลากหลายค่าย โปรแกรม เพื่อใช้เป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ระบบ BIM และการอบรมทางวิศวกรรม รวมถึงงานด้านอื่นๆ ที่ต้องลงมือปฏิบัติการร่วมกันหลายฝ่าย ช่วยยกระดับทักษะและ ความสามารถของวิศวกรไทยให้แข่งขันได้ในตลาดโลก นิตยสาร Construction Thailand ฉบับที่ 2 นี้ พบกับสัมภาษณ์เทคโนโลยี BIM กับ คุณทรงพล ยมนาค รองประธานมาตรฐาน BIM ฉบับสภาวิชาชีพ วสท. และผู้ทรง คุณวุฒิ สภาสถาปนิกแบบเจาะลึก ชนิดที่ว่าผู้ปฏิบัติวิชาชีพอย่างวิศวกร สถาปนิกและ ผู้รับเหมา ไม่ควรพลาด เพราะจะท�ำให้เข้าใจคอนเซ็ปต์ของ BIM และน�ำไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ตามด้วย “นายกฯ ปล่อยขบวนรถเปิดให้บริการชั่วคราว มอเตอร์เวย์ M6 ช่วงปากช่อง-สีควิ้ คาดเปิดใช้งานเต็มรูปแบบได้ในต้นปี ’66 แก้ปญ ั หา รถติ ด บนถนนมิ ต รภาพ” ในคอลั ม น์ Report และคอลั ม น์ อื่ น ๆ ที่ น ่ า สนใจ อาทิ “คณะวิศวฯ มหิดล ร่วมกับกรมขนส่งทางราง และ สนข. ต่อยอด BKK Rail แอปแรก ของไทยที่รวมข้อมูลเดินรถไฟฟ้าครบทุกเส้นทาง”, “SENA ขึ้นแท่นอันดับ 1 หมู่บ้าน Solar Cell หนึ่งเดียวในวงการเรียลเอสเตท”, “ปณท จับมือ รฟท. เตรียมขยายเส้นทาง ขนส่งในระบบราง พร้อมตั้งเป้าเพิ่มที่ท�ำการฯ-ศูนย์กระจายสินค้าในสถานีรถไฟ” และ “พรีโม” แตกไลน์ธุรกิจใหม่ เปิดตัว “ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์” รับบริหารงาน โครงการ-งานก่อสร้างภาครัฐและเอกชน” ถึงบรรทัดนี้คงต้องบอกว่า Stay Safe และ Strong Together ทุกท่านครับ บรรณาธิการอ�ำนวยการ กิตติ วิสุทธิรัตนกุล บรรณาธิการวิชาการ ศ. ดร.พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ บรรณาธิการ สุรีย์พร วงศ์ศรีตระกูล กองบรรณาธิการ ทัศนีย์ เรืองติก พิสูจน์อักษร อ�ำพันธุ์ ไตรรัตน์ ศิลปกรรม ชุติภา จริตพันธ์ ฝ่ายโฆษณา พรเพ็ชร โตกทองค�ำ, มนัส ไชยเพส, กัลยา ทรัพย์ภิรมย์, ศิรภิ รณ์ กลิน่ ขจร, กษิรา เหมบัณฑิตย์, วีรวรรณ พุทธโอวาท เลขานุการฝ่ายผลิต ชุติมณฑ์ บัวผัน ฝ่ายสมาชิก กรรณิการ์ ศรีวรรณ์ โรงพิมพ์ ส เอเซียเพรส (1989) แยกสี บจก. คลาสิคสแกน Facebook : Construction Thailand

www.constructionthailand.net


Vol.1 No.2 March - April 2021

CONTENTS

Construction Thailand

Cover Story

คุณทรงพล ยมนาค รองประธานมาตรฐาน BIM ฉบับสภาวิชาชีพ วสท. และผู้ทรงคุณวุฒิ สภาสถาปนิก “เราจะท�ำให้ BIM เป็นเครื่องมือในการใช้งาน ไม่ใช่ให้งานของเราเป็น BIM”

8

13

• สุรีย์พร วงศ์ศรีตระกูล

Report

นายกฯ ปล่อยขบวนรถเปิดให้บริการชั่วคราวมอเตอร์เวย์ M6 ช่วงปากช่อง-สีคิ้ว คาดเปิดใช้งานเต็มรูปแบบได้ในต้นปี ’66

13 22

• กองบรรณาธิการ

Technology

คณะวิศวฯ มหิดล ร่วมกับกรมขนส่งทางราง และ สนข. ต่อยอด BKK Rail แอปแรกของไทยที่รวมข้อมูลเดินรถไฟฟ้า ครบทุกเส้นทาง

17

ปณท จับมือ รฟท. เตรียมขยายเส้นทางขนส่งในระบบราง พร้อมตั้งเป้าเพิ่มที่ท�ำการฯ-ศูนย์กระจายสินค้า ในสถานีรถไฟ • กองบรรณาธิการ

17

SENA ขึ้นแท่นอันดับ 1 หมู่บ้าน Solar Cell หนึ่งเดียวในวงการเรียลเอสเตท

20

• กองบรรณาธิการ

• กองบรรณาธิการ

Logistics

Property

19

Construction

“พรีโม” แตกไลน์ธุรกิจใหม่ เปิดตัว “ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์” รับบริหารงานโครงการ-งานก่อสร้างภาครัฐและเอกชน • กองบรรณาธิการ

22


Cover Story • สุรีย์พร วงศ์ศรีตระกูล

คุณทรงพล ยมนาค

รองประธานมาตรฐาน BIM ฉบับสภาวิชาชีพ วสท. และผู้ทรงคุณวุฒิ สภาสถาปนิก

“เราจะท�ำให้ BIM เป็นเครื่องมือในการใช้งาน ไม่ใช่ให้งานของเราเป็น BIM” หลังจากทีค่ ณะกรรมการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) สมัยปี พ.ศ. 2560-2562 ซึ่งมี ดร.ธเนศ วีระศิริ เป็นนายก วสท. ได้อนุมัติงบประมาณในการ ด�ำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ BIM LAB by EIT หรือศูนย์อบรมการ ท�ำงานด้วยแบบจ�ำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ของวิศวกรรม สถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปภัมภ์ (วสท.) เพื่อให้ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ วิชาการและผู้เชี่ยวชาญระบบ BIM เครือ่ งคอมพิวเตอร์และโปรแกรมระบบ BIM จากหลากหลายค่าย โปรแกรม เพื่อใช้เป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ระบบ BIM และการ อบรมทางวิศวกรรม รวมถึงงานด้านอื่นๆ ที่ต้องมีการลงมือ ปฏิบัติการร่วมกันหลายฝ่าย การฝึกใช้งานโปรแกรม Virtual/ Digital Design and Construction และอื่นๆ เพื่อลดความ ยุ่งยากในการที่ผู้เรียนต้องน�ำคอมพิวเตอร์มาเรียน รวมถึงต้อง จัดหาโปรแกรมที่ใช้เรียน ท�ำให้เกิดความยุ่งยากในการเรียนจน กลายเป็นข้อจ�ำกัดการพัฒนาตนเองของวิศวกรและสถาปนิก ในการที่จะเรียนรู้โปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบและก่อสร้าง ในกรณีที่ยังไม่มีความพร้อมจัดหาอุปกรณ์และโปรแกรม ในเดือนตุลาคม 2563 ศูนย์ BIM LAB by EIT แล้วเสร็จ โดยตั้งอยู่ที่ชั้น 3 ของอาคารวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ถนนรามค�ำแหง 24 ภายในศูนย์ฯ มีความก้าวหน้าทันสมัย สามารถรองรั บ การเรี ย นจ� ำ นวน 50 ที่ นั่ ง ปั จ จุ บั น มี ร ะบบ คอมพิวเตอร์และโปรแกรมเรื่องระบบ BIM จากหลากหลายค่าย ลงไว้จ�ำนวน 30 เครื่อง และความพร้อมในทุกด้าน ครบครันการ ใช้โปรแกรมด้านออกแบบก่อสร้าง ด้วยความร่วมมืออย่างดีจาก บริษัทฯ ผู้จ�ำหน่ายโปรแกรมซอฟต์แวร์หลายค่ายที่มีข้อตกลง ความร่วมมือกับ วสท. ในการสนับสนุนโปรแกรมระบบ BIM และ

8

Construction Thailand March • April 2021

คอร์สโดยวิทยากรผูเ้ ชีย่ วชาญทีม่ ี Certificated Training License เฉพาะทางในการเรียนการสอนและฝึกอบรม จนถึงปัจจุบันมี บริษัทฯ อีกหลายค่ายซอฟต์แวร์ในเมืองไทยและในต่างประเทศ ที่สนใจจะน�ำโปรแกรมทางวิศวกรรมศาสตร์และอื่นๆ มาลงไว้ ส�ำหรับหนึง่ ในผูเ้ ชีย่ วชาญทีม่ บี ทบาทส�ำคัญในการถ่ายทอด ความรู้เทคโนโลยี BIM ภายในศูนย์ BIM LAB by EIT คือ คุณทรงพล ยมนาค รองประธานมาตรฐาน BIM ฉบับสภา วิชาชีพ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และผู้ทรงคุณวุฒิ สภาสถาปนิก ซึ่งเป็นหนึ่งในคนไทย ไม่กี่คนที่มีความรู้และเข้าใจในเรื่อง BIM เป็นอย่างดี

2-3 ปีที่ผ่านมาไทยเริ่มสนใจเทคโนโลยี BIM แถมรัฐไม่สนับสนุน-โอกาสในวิชาชีพน้อยลง คุณทรงพล ยมนาค กล่าวว่า ประเทศชั้นน�ำได้พัฒนา เทคโนโลยีการท�ำงานด้วยแบบจ�ำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling : BIM) มาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2520 ต่ อ มาความรู ้ ด ้ า นนี้ ข ยายไปทั้ ง เอเชี ย ในทุ ก ประเทศ ส� ำ หรั บ ประเทศไทยเพิง่ ตืน่ ตัวในช่วง 3-4 ปีนี้ เนือ่ งจากประเทศเพือ่ นบ้าน พัฒนาเทคโนโลยี BIM กันหมดแล้ว แต่ในปัจจุบัน องค์กรวิชาชีพ และภาครั ฐ ของไทยยั ง ไม่ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น เทคโนโลยี BIM มากนักท�ำให้ไม่สามารถผลักดันวิชาชีพให้ก้าวไปสู่อนาคตได้ หากเราน�ำเอา Designer จากต่างประเทศมาท�ำงาน ออกแบบ เราจะท�ำงานร่วมกับเขาได้ยาก เพราะเราไม่รู้จัก เทคโนโลยีนี้ ท�ำให้โอกาสในการร่วมงานกับเขาน้อยลง เมื่อ ผูป้ ระกอบวิชาชีพในไทยไม่มคี วามรูท้ างด้านนี้ ก็ตอ้ งใช้ผเู้ ชีย่ วชาญ จากต่างประเทศที่อยู่ใกล้ประเทศเรามาท�ำ คนพวกนั้นจะใช้


ประโยชน์ในวิชาชีพนี้ของคนไทยไปทั้งหมด แล้วเราจะเหลืออะไร จะเห็นได้วา่ โครงการขนาดใหญ่ดา้ นเอกชนส่วนใหญ่ใช้ผอู้ อกแบบ จากต่างประเทศ ทางด้านรัฐ โครงการสาธารณูปโภคก็จะมี ชาวต่างชาติเข้ามาท�ำงานด้วย บางงานใช้ผู้ร่วมงานเป็นเครือข่าย ในต่างประเทศ เราอาจจะเป็นแค่ 1 ใน 10 ที่เข้าไปท�ำงาน ร่วมกับเขา “ถ้าไม่มีโอกาสเข้าไปท�ำงาน เราจะเหลืออะไร เหลือแต่ งานเก็บกวาดเช็ดถู ไม่ใช่เจ้าของร้านที่ดูแลจัดการร้านได้ ซึ่ง เป็นเรื่องที่น่ากังวลถ้าวิชาชีพเราไม่สามารถพัฒนาเรื่องพวกนี้ได้ โอกาสก็จะน้อยลง ในแง่ของการเจริญเติบโตของธุรกิจก็จะไม่มี รายรับ เพราะเราไปจ่ายข้างนอกทั้งหมดเลย เราก็ไม่ได้อะไร เรา ได้แต่เศษๆ เงินหมุนในวงจรเศรษฐกิจของเรา โดยเฉพาะในช่วง COVID-19 ชัดเจนอยู่แล้วถ้าเราไม่ปรับตัว จะสามารถท�ำงาน ตรงนีไ้ ด้กแ็ คบลง หลังจาก COVID-19 บริษทั ชัน้ น�ำทีม่ เี ครือข่าย ทั้งหมดก็จะมีโอกาสมาก เขาหิ้วกระเป๋าท�ำงานที่ไหนก็ได้ เวลา จ่ายค่าจ้าง Transfer จ้างไปแต่ละจุด เขาจ้างคนอื่นที่ไม่เสียภาษี ให้ประเทศไทย แต่คนไทยเสียภาษี แล้วจ้างคนไทยท�ำไมเพราะ ต้องเสียภาษี จ่ายตรงทีเ่ มืองนอกก็จบ ดังนัน้ เม็ดเงินทางเศรษฐกิจ ไม่ได้หมุนเวียนภายในประเทศ ก็จะหลุดไปข้างนอกหมด”

เผย BIM ยังเป็นเรื่องใหม่ส�ำหรับรัฐ เมื่อประเทศไทยมาท�ำเรื่อง BIM ในขณะที่ทั่วโลกพัฒนา มาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว โดยเฉพาะยุโรปเหนือที่เริ่มต้น พัฒนาอย่างแพร่หลาย ในแต่ละภูมิภาคแต่ละประเทศต่างมี วัฒนธรรมของตนเอง และสร้างรูปแบบของตนเอง ประเทศใด น�ำไปใช้ก็ต้องยึดมาตรฐานตามนั้น เพราะฉะนั้นคนไปเรียน ต่างประเทศกลับมาบอกเล่มนี้ต้องใช้ บ้านเราหยิบเล่มนี้มาใช้ และให้ใช้ตามนั้น สิ่งที่เกิดตามมา คือ 1. ใช้ไม่ได้ 2. ไม่ตรงกับ วิถีของเรา 3. เข้าใจไม่ตรงแล้วเอามาใช้ แทนที่วิชาชีพของเราจะ พัฒนา กลับดิ่งลง เพราะความเข้าใจของแต่ละคนก็แตกแยกกัน พอมาท�ำมาหากินก็ขัดแย้งกัน ก็มาตกหนักกับระดับล่างที่เป็น ผู ้ ผ ลิ ต Production ที่ ต ้ อ งท� ำ ตามความต้ อ งการที่ อ ยากได้ คนละแบบ เมื่อเป็นอย่างนั้น การแข่งขันในตลาดมีตั้งแต่ราคา 5 บาทไปจนถึง 100 บาท หรือมากกว่า 100 บาท “ถ้าเราไม่มีเกณฑ์ของหน่วยงานที่เป็นองค์กรวิชาชีพมา แนะน�ำว่าสิ่งที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร คนอื่นเขาไม่อยากท�ำ เพราะไม่ได้ผลประโยชน์ที่ตอบกลับมาเป็นเงิน หน่วยงานวิชาชีพ อย่างสภาสถาปนิก สภาวิศวกร และ วสท. จึงต้องเป็นหน่วยงาน ที่ผลักดันตรงนี้ อีกส่วนหนึ่งเราไม่สามารถไปบอกภาครัฐได้ว่า ประเทศไทยต้องมี BIM นะ เพราะรัฐเองก็ยงั ไม่รจู้ กั ว่าเป็นอย่างไร จะโทษเขาก็ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องใหม่ส�ำหรับรัฐ”

ไทยจะต้องมี Roadmap ด้าน BIM ถึงจะยกระดับ ทักษะบุคลากรด้านวิชาชีพให้แข่งขันได้ คุณทรงพล ได้ตงั้ ค�ำถามว่า ขณะนีไ้ ทยมีกระทรวงคมนาคม อุตสาหกรรม และสาธารณสุข ซึ่งแต่ละกระทรวงจะแยกการ ท� ำ งานออกจากกั น ทุ ก หน่ ว ยงานต่ า งมี ห น่ ว ยงานออกแบบ ก่อสร้างของตัวเอง อ�ำนาจอยูท่ รี่ ฐั มนตรีเจ้ากระทรวงทีจ่ ะก�ำหนด นโยบายออกมา แต่ภาครัฐยังไม่มีหน่วยงานกลางที่ดูแลระบบ ออกแบบก่อสร้างของประเทศ ถ้าจะให้ประเทศไทยพัฒนาเรื่อง BIM ก็ต้องให้แต่ละกระทรวงรู้จักและท�ำความเข้าใจเรื่อง BIM แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยกฎระเบียบและวัฒนธรรมการท�ำงานของ แต่ละหน่วยงานไม่เหมือนกัน ไม่สามารถก�ำหนดให้มีมาตรฐาน กลางในการท�ำงาน “ถ้าผู้รับเหมาจะไปประมูลของหน่วยงานแห่งที่หนึ่ง ก็ต้อง ท�ำตามรูปแบบของหน่วยงานแห่งที่หนึ่ง จะไปประมูลหน่วยงาน แห่งที่สอง ก็ต้องท�ำตามหน่วยงานแห่งที่สอง ถ้าจะเอา BIM ไป ใส่กระทรวง หนึ่ง, สอง, สาม, สี่, ห้า เท่ากับคุณต้องมี BIM หลายรูปแบบในไทย ถามว่าใครจะเป็นคนก�ำกับได้ว่าทิศทาง จะเป็นยังไง อันนี้คือประเด็นใหญ่ว่า ถ้าวิชาชีพจะพัฒนาไปถึง ตรงนั้นได้ จะต้องมีทิศทางที่ชัดเจน จะยกระดับความสามารถ ของบุคลากรวิชาชีพให้สู้กับเขาได้ จะต้องมีนโยบาย Roadmap ของประเทศ เราคนเดียวท�ำเองไม่ได้”

US-อังกฤษ ต่างวางมาตรฐานจากประสบการณ์ แล้วไทยจะยึดมาตรฐาน BIM แบบใด การก�ำเนิดมาตรฐานของแต่ละประเทศ สร้างมาจากการ ใช้งานของเขาเอง อย่างสหรัฐอเมริกา น�ำมาจากภาครัฐ นาซ่า หรือหน่วยงานทหาร หรือองค์กรของรัฐที่ควบคุมดูแลมาก�ำหนด ฉะนั้นเขาก็ท�ำตามระบบเขา ขณะที่ของเราท�ำแบบเขาก็ไม่ได้ ส่วนอังกฤษ ประเทศในยุโรปก็ท�ำตามประสบการณ์แบบเขามา เพราะมีประสบการณ์ทางด้านนี้มายาวนาน เขาต้องการมุ่งให้ Construction เป็นดิจิทัล และเขาค้นพบสิ่งที่ต้องการจริงๆ แล้วมาใส่ในมาตรฐานของเขา แล้วไทยจะยึดแบบไหน? “ตั ว เราเอง มี ตั ว ตนอย่ า งไร? วั น หนึ่ ง แต่ ง ชุ ด อเมริ กั น อีกวันแต่ชุดอังกฤษ อีกวันก็นุ่งโสร่งหรือผ้าขาวม้า อันนี้ต้องการ อธิบายถึงภาพทีต่ วั ตนเราเป็นยังไงกับการผลักดันสมาคมวิชาชีพ ให้เรียกว่าขึน้ มาช่วยคนในวิชาชีพพัฒนาตัวเองขึน้ มาได้ เราจะรูไ้ ด้ อย่างไรว่าใช้ BIM เป็น ผมบอกว่าก็ซื้อโปรแกรมมา ฉะนั้นผม ต้องเป็น BIM แล้วเป็นแค่ไหนล่ะ ก็เป็นแล้วท�ำมาสองปี จะเริ่ม ต�ำแหน่งสูงขึ้น แล้วเอาอะไรชี้วัดล่ะ สิ่งนี้ต้องท�ำต่อไป คุณจะท�ำ อย่างไรให้บุคลากรที่อยู่ในไทยพัฒนาตัวเองขึ้นไปอีกขั้น แล้วไป เทียบชั้นกับสากลได้”

Construction Thailand March • April 2021

9


วสท. วางมาตรฐาน BIM ให้องค์กรเลือกใช้ตาม สมัครใจ เน้นสอดคล้องกับวัฒนธรรมการท�ำงาน ของแต่ละหน่วยงาน คุ ณ ทรงพล กล่าวว่า องค์กรวิชาชีพอย่างสภาวิศวกร กับสภาสถาปนิก และ วสท. ได้ท�ำงานร่วมกันทางด้านนี้ โดยจัด ให้มีคณะกรรมการ มีการจัดประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน โดยเน้นกระบวนการท�ำงานและวางหลักมาตรฐาน เนื่องจาก วสท. เป็นหน่วยงานที่จัดมาตรฐานด้านวิชาชีพอยู่แล้ว “ท�ำไมเราต้องเน้นท�ำมาตรฐาน เราค้นพบว่ามาตรฐานของ BIM มีมากมายหลักร้อยมาตรฐาน แต่ละประเทศท�ำคนละแบบ พอมาถึงเมืองไทย ต้องอ้างมาตรฐาน A B C D เอามาใช้ เรา ไม่มอี ธิปไตยของการท�ำมาหากินของวิชาชีพเลยหรือ วันนีเ้ ราต้อง ไปพึ่ง A B C D และที่พึ่งใช้ได้มั้ย เรามีหลักคิดมั้ยว่ารูปแบบ วัฒนธรรมให้สอดคล้องกัน ให้เป็น Construction Civilization ของการท�ำงาน (ขอใช้ค�ำของพี่สุชิน สุขพันธ์) ต่างประเทศก็คิดว่า ประเทศเขาได้มาตรฐาน คุณได้มาตรฐานหรือเปล่า เราก็ท�ำงาน กับเขาไม่ได้ เราก็ต้องไปสอบให้ได้มาตรฐาน เราก็ต้องไปพึ่งเขา แล้วเราปรับใช้กับเขาได้มั้ย ต้องไป Certify กับเขา และตรงกับ ของเราหรือเปล่า” ทั้งนี้ วสท. ได้จัดท�ำมาตรฐาน BIM เป็นปีที่ 2 แล้ว โดย ในปี พ.ศ. 2563 ได้ออกหนังสือมาตรฐานการใช้แบบจ�ำลอง สารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling : BIM) ตามแนวทางสภาวิชาชีพ เล่มที่ 1 และในปลายปี พ.ศ. 2564 นี้ จะออกหนังสือมาตรฐาน BIM ซึ่งมีเนื้อหาต่อเนื่องจากเล่มแรก ในงานสัปดาห์วิศวกรรมแห่งชาติ 2564 หลักการของ วสท. ออกมาตรฐานมา หน่วยงานใดเลือกน�ำไปใช้ได้ตามแนวสมัครใจ

ไม่ มี ภ าคบั ง คั บ แต่ ถ ้ า ออกเป็ น กฎหมายจะให้ คุ ณ และมี โ ทษ มาตรฐาน วสท. มีจ�ำนวน 100 เล่ม หากใช้ไม่ดีก็จะมีการปรับแก้ ทัง้ นีม้ าตรฐานมีหลายระดับ อย่างมาตรฐาน ISO ซึง่ เป็นมาตรฐาน ระดับสูง จะต้องมีการ Qualify ว่าจะสอบผ่านอย่างไรบ้าง “มาตรฐาน BIM ของบ้านเราก็มีจากหลายแหล่ง ใครจะใช้ ก็ ไ ปซื้ อ หรื อ ดาวน์ โ หลดฟรี เป็ น ทางเลื อ ก แต่ เ ราต้ อ งสร้ า ง ความเข้าใจกับคนใช้ ว่ามีวิธีการอย่างไรบ้างและมี Apply เข้ากับ องค์กรคุณได้ ตัวนี้ไม่ได้ขีดเส้นตาย พอไปใช้ในองค์กร ก็จะมี วัฒนธรรมองค์กรของตนเองว่า Apply ตรงนี้ได้อย่างไร และ อัปเดตกับมาตรฐานหลักอย่างไร แต่ถ้าเอามาตรฐานสากลมา ตัวหนึ่งแล้วบอกว่าต้องใช้อย่างนี้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก็จะเป็น ความยากล�ำบากเพราะองค์กรขนาดเล็กมีไม่ครบ คุณต้องท�ำ Paper ไม่ไหว แต่ถ้าสามารถปรับใช้ให้เขาเข้าใจในหลักการนี้ได้ ก็ จ ะเป็ น ประโยชน์ องค์ ก รเล็ ก องค์ ก รใหญ่ ท� ำ งานเดี ย วกั น แต่ตา่ งคนต่างมีจนิ ตนาการของตนเองทีจ่ ะสร้างสรรค์งานไปตาม สากล ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ท�ำตามความต้องการการใช้ก็จะท�ำให้ ทุกคนท�ำงานเข้าถึงกันได้”

แลกเปลี่ยนความรู้ของบุคลากรระหว่างประเทศ คุณทรงพล กล่าวว่า วสท. ได้แลกเปลี่ยนความรู้ BIM และศึ ก ษาจากต่ า งประเทศ โดยได้ เ ชิ ญ วิ ท ยากรจาก ต่างประเทศมาพูดในงานวิศวกรรมแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2560 ท�ำให้ ทราบว่า เขาค้นพบอะไรบ้างและพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง และ เราต้องกลับมาคิดว่าเราจะท�ำอย่างไร อย่างประเทศอังกฤษพัฒนา BIM เป็น Level 1 และ Level 2 ในส่วนของ Background ต้อง กลั บ มาคุ ย กั นว่ า ยั ง พั ฒ นาต่ อ ไม่ ไ ด้ เ พราะทุ ก คนยั ง ใช้ ไ ม่ ไ ด้

ภายในศูนย์ BIM LAB by EIT มีอุปกรณ์ทันสมัย รองรับการเรียนจ�ำนวน 50 ที่นั่ง

10

Construction Thailand March • April 2021


เมื่อต้นปีที่ผ่านมาหน่วยงานที่ผลักดัน BIM ในอังกฤษบอกว่า ต้องกลับไป Back to basic ก่อนแล้วมาเริ่มต้นใหม่ อาจใช้เวลา 3-4 เดือนแล้ววางแผนใหม่ว่าจะรุกไปด้านใดบ้าง ขณะที่อังกฤษ มี แ ผนที่ จ ะท� ำ BIM ให้ ส� ำ เร็ จ ในปี พ.ศ. 2559 จากนั้ น มา ยังไม่คืบหน้าเท่าไร เพราะเอกชนยังใช้ไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็น โครงการหลักที่ใช้ เนื่องจากรัฐเป็น ผู้ผลักดัน ท�ำให้ทราบว่าจะ พัฒนาเศรษฐกิจอย่างไร การก่อสร้างเป็นเม็ดเงินที่รัฐใส่เข้าไป โดยทีเ่ งินลงทุนถึงคนระดับล่างและ SME ได้เร็ว ดังนัน้ รัฐจะลงทุน สาธารณูปโภคให้เงินลงทุนหมุนเวียนในวงจรได้ดีกว่าและเร็ว “สิ่งที่อังกฤษเขาเรียนรู้เรื่องนี้ เพราะที่ผ่านมาไม่ส�ำเร็จ เขาเลยเริ่ม Implement ให้แต่ละหน่วยงาน องค์กรไปสร้าง มาตรฐานของเขาเองโดยอ้างอิงมาตรฐานหลัก พอมาตรฐานหลัก อัปเดต เขาสามารถอัปเดตได้ทันที ไม่ต้องมาปวดหัวว่าของใหม่ มาแล้ว ต้องไปรื้อใหม่ทั้งหมด ตรงนี้เขาท�ำส�ำเร็จ คือเป็นจุดหนึ่ง ที่ เ ราเห็ น ชั ด ว่ า การน� ำ มาตรฐานไปใช้ ใ นแต่ ล ะขอบเขต ต้ อ ง ปรับปรุงให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของการท�ำงานของแต่ละ หน่วยงานย่อย จากองค์กรใหญ่ไปถึงองค์กรเล็ก แต่โครงสร้าง อ้างอิงตามมาตรฐานหลักสากลก็จะอยู่ได้เป็นอันเดียวกัน” “ถ้าไม่ฟังที่เขาพูด พัฒนาขึ้นมายังไง บอกเปิดอินเทอร์เน็ต ดู สิง่ ทีเ่ ห็นในอินเทอร์เน็ตกับสิง่ ทีเ่ ป็นจริงมันคนละเรือ่ ง สิง่ ทีเ่ ห็น จากสื่อคือสิ่งที่ส�ำเร็จแล้ว และสิ่งที่น�ำเสนอจากความส�ำเร็จแล้ว ซึ่งเป็นการตลาด เขาจะบอกด้านดีทั้งหมด ไม่บอกด้านเสีย เพราะขายของไม่ได้ สิง่ ทีเ่ ป็นอุปสรรคหรือปัญหาต้องค้นคว้าจาก งานวิจัยหรือความจริงที่ปรากฏขึ้น และ Case Study ท�ำไมถึง ส�ำเร็จต้องมาจากผู้รู้ที่เขาท�ำจริงมา มีมาตรฐานให้ท�ำว่า ท�ำไม ต้องท�ำอย่างนี้ มันจะต่างจากที่เราดีไปหมด ฝรั่งเก่ง ท�ำได้จริง หรือเปล่า หรือแค่เอาวิดีโอมาตัดต่อให้โอเค”

จับมือสภาคณบดีคณะวิศวฯ-สถาปัตย์ฯ กว่า 90 มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตรต้นแบบการสอน ระบบ BIM ทั่วประเทศ ส�ำหรับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการพัฒนา หลักสูตรด้านวิศวกรรมในการสอนระบบ BIM เพื่อผลิตบัณฑิต ป้อนภาคอุตสาหกรรม วสท. ได้รว่ มมือกับองค์กรทางด้านวิชาชีพ ออกแบบและก่อสร้างและด้านการศึกษา ซึ่งนอกจากจะสร้าง มาตรฐานแบบจ�ำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ที่เหมาะสมกับ การท�ำงานตามมาตรฐานวิชาชีพของประเทศไทย ปี 2021 แล้ว คณะกรรมการมาตรฐานแบบจ�ำลองสารสนเทศ ฉบับสภาวิชาชีพ ของ วสท. ได้ตระหนักถึงความส�ำคัญของการท�ำงานด้านวิจยั และ การสร้างหลักสูตรการศึกษาระบบ BIM ในระดับอุดมศึกษาและ วิชาชีพเทคนิค เพื่อให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัย รวมถึงวิทยาลัย ต่างๆ ได้เรียนรู้การท�ำงานโดยใช้ BIM ในระหว่างการศึกษา

โดยปีนไี้ ด้เชิญทัง้ ประธานสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ แห่งประเทศไทย ซึ่งมีเครือข่ายสมาชิก 62 มหาวิทยาลัย และ ประธานสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ซึ่ ง มี เ ครื อ ข่ า ยสมาชิ ก 30 มหาวิ ท ยาลั ย เข้ า ร่ ว มอยู ่ ใ น คณะกรรมการเพือ่ การพัฒนาหลักสูตรต้นแบบการเรียนการสอน ระบบ BIM ส� ำ หรั บ คณะวิ ศ วกรร มศาสตร์ แ ละคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ทั่วประเทศให้ได้เรียนรู้ระบบ BIM เพื่อ จะได้พัฒนาความสามารถบุคลากรด้านวิชาชีพรองรับทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 และตรงตามความต้องการของตลาดวิชาชีพ เมื่อจบการศึกษา รวมถึงจะได้ฝึกงานระบบ BIM ซึ่งจะท�ำให้ เกิดทักษะและคุ้นเคยกับการท�ำงานด้วยระบบ BIM เพื่อพร้อม ท�ำงานในอนาคต

BIM เป็นเครื่องมือท�ำให้ท�ำงานได้อย่างมีคุณภาพ ทุกโครงการไม่จ�ำเป็นต้องใช้ BIM เสมอไป ในมุ ม ของคุ ณ ทรงพล BIM ถื อ เป็ น เครื่ อ งมื อ (Tool) ชนิดหนึ่งที่ท�ำให้การปฏิบัติวิชาชีพมีคุณภาพ โดยที่ผู้ประกอบ วิชาชีพจะต้องมีความรู้และประสบการณ์เพื่อเลือกใช้เครื่องมือนี้ อย่างเหมาะสมในแต่ละโครงการ ไม่ใช่ว่าทุกโครงการจะต้องใช้ BIM เสมอไป ด้วยบางโครงการไม่คุ้มค่าในการใช้ BIM “ผมมั ก จะถามว่ า บ้ า นเราจะเอา BIM ไปท� ำ อะไร มองหน้ากัน แล้วไม่มีค�ำตอบ BIM เอาไว้ออกแบบเขียนแบบ ในเมือ่ ธรรมดาก็ออกแบบเขียนแบบได้ ไม่ตอ้ งเหนือ่ ยซือ้ ซอฟต์แวร์ ให้ ล� ำ บากท� ำ ไม ต้ อ งตอบค� ำ ถามให้ ไ ด้ ใ นบริ บ ทภาครั ฐ ด้ ว ย คุณจะท�ำไปอย่างไร อย่าบอกว่าเขาท�ำกันก็เลยท�ำ ก็จะไม่มี ประโยชน์ จะเห็นว่าเราเป็นผู้ใช้ที่ดี 1. จ่ายเงิน 2. เอามาใช้โดย หลั บ หู ห ลั บ ตาใช้ ไ ปก่ อ น แต่ เ ราไม่ เ ข้ า ใจว่ า จะไปท� ำ อะไร วิธีการท�ำอย่างไรและใช้แบบไหน อะไรที่เหมาะสม ยุคนี้เป็นยุค ที่ เ ราเริ่ ม ใช้ เ ป็ น แล้ ว ยุ ค เมื่ อ 10 ปี ก ่ อ นเป็ น ยุ ค ที่ เ รายั ง เป็ น ยุคแสวงหาอยู่ คล�ำทางเหมือนตาบอดไปเรื่อยๆ เมื่อ 2-3 ปี ทีผ่ า่ นมา เริม่ มีการลองใช้เป็นรูปธรรมแล้วในโครงการของเอกชน จะรู้แล้วว่าใช้ยังไง บางคนก็รู้มากน้อยต่างกัน ถ้ามองลักษณะนี้ วันนีค้ ณ ุ ท�ำ BIM คุณใช้มาตรฐานตัวไหน ส่วนใหญ่เรียนรูต้ า่ งกรรม ต่างวาระ ที่คล้ายกันคือเปิดยูทูป ก็เป็นอาจารย์ยูทูป อาจารย์ กูเกิล นอกจากนัน้ ลองท�ำเอง มีโอกาสไปเรียนบ้าง ถูกผิดว่ากันไป คือ สภาพของเราที่เกิดขึ้นมา มีใครมั้ยที่เป็นแม่งานจัดการเรื่องนี้ ให้เป็นหมวดหมู่ ไม่มี เราเป็นผู้ใช้ที่ดี และใช้มันไป ซื้อแล้วก็ใช้ มันก็ออกมาทุกปี ซื้อใหม่ๆ แต่ไม่รู้ว่าต้องบริหารจัดการยังไง คุณประโยชน์ยงั ไง ใช้ไม่ได้เต็มที่ แน่นอนว่าเราไม่ใช่เจ้าของผูร้ เิ ริม่ เทคโนโลยี เราก็ตอ้ งซือ้ ตลอด มันก็ไม่ได้ รอเขาว่าเมือ่ ไรมีเวอร์ชนั ใหม่ มือถือก็เหมือนกัน ไม่จ�ำเป็นก็ต้องซื้อ ดูแล้วมันเท่ BIM เหมือนกัน ผมท�ำ BIM มันเท่ ท�ำเป็นหรือเปล่าไม่รู้ แต่เท่แล้ว”

Construction Thailand March • April 2021

11


Mindset ของคนท�ำ BIM จะต้องท�ำงานเป็นทีม ท�ำให้เกิดแนวคิดใหม่และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หัวใจส�ำคัญในการท�ำ BIM จะต้องท�ำงานกันเป็นกลุ่ม ทิ้งใครคนหนึ่งคนใดไม่ได้ แต่ในระหว่างการท�ำงานแต่ละช่วง อาจจะก่อนหลังต่างกันเล็กน้อย ส่วนใหญ่งานเริ่มจากสถาปนิก ถ้าสถาปนิกออกแบบโดยไม่คำ� นึงถึงโครงสร้าง ไม่สามารถสร้างได้ จะต้องแก้แบบใหม่ และกว่าจะตกลงและก่อสร้างได้จริง ใช้เวลา นานมาก แต่ถ้าระหว่างที่เริ่มงาน มีการแลกเปลี่ยนความคิดกัน ว่าต้องการได้แบบนี้ ท�ำได้หรือไม่ บอกท�ำได้ แต่ต้องท�ำอย่างนี้ แทนทีจ่ ะกลับไปท�ำใหม่กเ็ ป็นทางลัด หากสถาปนิกเกิด Advance ขึ้นมา ถ้าท�ำแบบนี้ คิดแบบนี้ได้หรือไม่ Design ก็จะ Progress ขึ้นมา ก็ท�ำงานไปกันได้ ตามกฎเกณฑ์ Span ลึกแค่นี้ ต้องคาน อย่างนี้ สถาปนิกบอกใช้วัสดุอื่นที่ดีกว่านี้ได้หรือไม่ วิศวกรก็ แนะน�ำว่าอย่างนี้ได้ ก็จะไปอีกรูป แทนที่จะมาคิดอย่างเดียวว่า ต้องคอนกรีต นีค่ อื การท�ำงานแบบแลกเปลีย่ น ท�ำให้มแี นวคิดใหม่ และพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง “นอกจากวัฒนธรรมแล้วมีเรื่อง Mindset ของคน ซึ่งต้อง ท�ำความเข้าใจให้เขาปรับว่า ตรงนี้มาอีกยุคแล้วไม่ใช่ยุคเก่าแล้ว และวิธีคิดของคนท�ำงานต้องเป็นทีม เป็นกลุ่มก้อน ไม่ใช่มา คนเดียวเป็นซูเปอร์แมน ท�ำได้ตามอ�ำเภอใจ ท�ำงาน 3 คน ต้องแลกเปลี่ยนความคิด คุยกัน ต้องมีความรับผิดชอบของ แต่ละคนให้สามารถท�ำงานร่วมกันได้ บางคนท�ำงานอาจไม่ได้มอง คนอืน่ จบแล้วใช้ไม่ได้ แก้ใหม่ แต่ระหว่างทีท่ ำ� คุณเริม่ แลกเปลีย่ น ความคิดเห็น แล้วปรับเข้าหา ดูเหมือนจะยุ่ง สุดท้ายคุณไม่ต้อง มาแก้ใหม่” “มีค�ำพูดหนึ่งที่คุยกัน BIM เป็นตัวชี้สิ่งที่เกิดปัญหา แต่คน จะต้องแก้ปัญหาและตัดสินใจ อย่าไปคิดว่า BIM ท�ำให้ปัญหานี้ หมดไป ไม่ใช่ BIM จะหยิบยกปัญหาขึ้นมา หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า เป็นไง แต่สงิ่ ทีด่ คี อื คนต้องตัดสินใจและแก้ปญ ั หาได้ มีปญ ั หาแล้ว ไม่แก้ BIM ก็จะไม่ช่วยอะไร เพราะ BIM เป็นเครื่องมือบอก ปัญหาได้ ใช้เทคโนโลยีมาตรวจจับก็เห็นเลย พอตรวจสอบเทียบ กับแบบ แต่ไม่รู้ว่าจะแก้ยังไง คนต้องมานั่งคุยกัน เช่น ในแบบ ไม่มีรู แต่นี่มีรู แล้วจะอุดยังไง ใครอุด แล้วต้องได้ตามนี้นะ มันก็แก้ปัญหาได้”

ชีผ้ รู้ บั เหมาจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี BIM มาก จากการบริหารจัดการบางเรื่องที่ซับซ้อนได้ก่อน ถึงวันนี้สถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมาก่อสร้างต่างตื่นตัว ในเรือ่ ง BIM กันทัง้ หมด เพราะเล็งเห็นประโยชน์และความส�ำคัญ ของ BIM ขึ้นอยู่กับว่าจะ Implement ในองค์กรได้มากน้อย เพี ย งใด ส่ ว นใหญ่ ผู ้ รั บ เหมาจะได้ ป ระโยชน์ จ ากเทคโนโลยี BIM มาก จะเห็นได้จากการบริหารจัดการบางเรื่องที่ซับซ้อน

12

Construction Thailand March • April 2021

ได้ ก ่ อ น อย่ า งเช่ น ผู ้ รั บ เหมาต้ อ งเขี ย นแบบก่ อ นก่ อ สร้ า ง การเขี ย นแบบจะดี ขึ้ น เป็ น เงิ น ย้ อ นกลั บ มา เสนอแบบและ Approve แบบจากที่ปรึกษา โดยไม่ต้องทุบใหม่ “ในส่วนของผู้รับเหมา ถ้าเจ้าของงานสั่งให้ท�ำ BIM เขาถึง ท�ำ เขาไม่สามารถสัง่ ให้คนจ่ายเงินท�ำ เขาจะท�ำเพือ่ บริการคนจ่าย เงิน เจ้าของโครงการอาจจะไม่ระบุว่าให้ใช้ BIM แต่ผู้รับเหมา ก็ท�ำ BIM ของเขาเอง หรือผู้ออกแบบท�ำ BIM เขาก็ท�ำเพราะ ได้ประโยชน์จาก BIM เต็มๆ ผู้ออกแบบได้ค่างานออกแบบ กีเ่ ปอร์เซ็นต์ แต่ผรู้ บั เหมาได้คา่ งานก่อสร้างเท่าไร ถ้าก้อนใหญ่ได้ Return กลับมาก็คุ้ม”

ผู้รับเหมาขนาดใหญ่ในไทยต่างใช้ BIM ให้งานเร็ว-ควบคุมงบประมาณได้ ปัจจุบัน ผู้รับเหมาขนาดใหญ่ในไทยใช้ BIM กันหมดแล้ว โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ทางระบบราง รวมทั้งโครงการ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ต่างน�ำ BIM มาใช้ หรือมีเงือ่ นไขน�ำมาใช้ แต่อาจจะไม่ใช่โครงการขนาดใหญ่เสมอไป ที่ใช้ BIM ขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นใช้ BIM แล้วคุ้มหรือไม่ บางงานจะมีไฟล์ Cad มา ผู้รับเหมาเอา Cad แปะ แล้วก็ Approve ไม่ต้องใช้ BIM แต่ผู้รับเหมาต้องไปแก้ปัญหาเรื่องวิธี การท�ำงาน ซึ่งเป็นธรรมชาติของผู้รับเหมาว่าเวลาเขาท�ำต้อง Combine แบบอยู่แล้ว ไม่ว่าจะใช้วิธีเดิมหรือวิธีไหน โครงการขนาดใหญ่ ข องภาครั ฐ การจะท� ำ ให้ เ ร็ ว ให้ กระบวนการนีเ้ ริม่ ตัง้ แต่ออกแบบ ประมูล และก่อสร้าง ซึง่ ใช้เวลา นานเป็นปี ท�ำอย่างไรถึงจะรวดเร็วและเคลียร์ สามารถควบคุม งบประมาณได้ “สมมติผมมีอยู่ 100 บาท ผมวิเคราะห์มาแล้ว ผมประหยัด ได้ 10 บาท เอาเงิน 10 บาท มาเป็นงบประมาณใหม่ที่สร้าง ต่อได้อีก แต่ผมมี 100 บาท ต้องคุม 100 บาท จ่ายให้ครบ จบแต่ไม่ต้องคืนหรือคืนไม่ได้ ไม่สามารถควบคุมตรงนี้ได้ หรือ สิ่งที่พนักงานปรับปรุง ซ่อมแซม ดูแล ต้องใช้เงินเท่าไร ก็คาด คะเนได้ เงินที่เหลื่อมนี้สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้ ไม่ใช่ว่า กลายเป็ น เงิ น เสี ย ไป ซื้ อ ใหม่ อ ย่ า งเดี ยว ถ้ า จั ด การตรงนี้ ไ ด้ งบประมาณจะจัดสรรได้ดี” คุณทรงพล กล่าวทิง้ ท้ายอย่างน่าสนใจว่า “BIM คือเครือ่ งมือ แต่ ก ารออกแบบอยู ่ ที่ ค น ซึ่ ง จะออกแบบให้ ไ ร้ ข อบเขตก็ ไ ด้ โดยเลือกใช้เครื่องมือคือ BIM ให้ทุ่นแรงขึ้น จะเห็นได้ว่าภูมิทัศน์ ของการก�ำกับวิชาชีพตรงนี้เริ่มใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพมาช่วย มีข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ เราจะไม่ท�ำ BIM เพื่อให้งานของเรา เป็น BIM แต่เราจะท�ำงานของเราให้ BIM เป็นเครื่องมือให้มัน รับใช้เราในการใช้งาน เป็นส่วนหนึง่ ของงาน เราจะไม่ได้รบั ประโยชน์ เลยถ้างานของเรารับใช้เทคโนโลยี หรือ BIM เพียงอย่างเดียว”


Report • กองบรรณาธิการ

นายกฯ ปล่อยขบวนรถเปิดให้บริการชั่วคราว

มอเตอร์เวย์ M6 ช่วงปากช่อง-สีคิ้ว

คาดเปิดใช้งานเต็มรูปแบบได้ ในต้นปี ’66 แก้ปัญหารถติดบนถนนมิตรภาพ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก รั ฐ มนตรี แ ละรั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง กลาโหม เป็นประธานพิธเี ปิดทางหลวงพิเศษ ระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอินสระบุรี-นครราชสีมา ช่วงอําเภอปากช่องอาํ เภอสีควิ้ ช่วยเพิม่ ความสะดวก รวดเร็วและ ปลอดภัยให้กับประชาชนในการเดินทางกลับ ภูมิล�ำเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2564 โดยมี อภิสิทธิ์ พรหมเสน รองอธิบดีกรม ทางหลวง และ วิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่า ราชการจั ง หวั ด นครราชสี ม า ร่ ว มให้ ก าร ต้อนรับ ณ จุดตัดกับถนนมิตรภาพ กิโลเมตร ที่ 65 บ้านหนองไผ่ลอ้ ม ตาํ บลหนองสาหร่าย อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

อภิสิทธิ์ พรหมเสน รองอธิบดีกรมทางหลวง ฝ่ายบ�ำรุงทาง

กรมทางหลวง เปิดให้บริการชั่วคราวมอเตอร์เวย์ ช่วงปากช่อง-สีคิ้ว ระยะทาง 35.75 กิโลเมตร อภิสิทธิ์ พรหมเสน รองอธิบดีกรมทางหลวง ฝ่ายบ�ำรุงทาง กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม ได้สั่งการให้กรมทางหลวงเปิดให้บริการชั่วคราวทางหลวงพิเศษ หมายเลข 6 (มอเตอร์เวย์) ช่วงปากช่อง–สีคิ้ว ระยะทาง 35.75 กิโลเมตร ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน เวลา 6.00 น. จนถึงวันที่ 19 เมษายน 2564 เพื่อ บรรเทาปัญหาการจราจรในเส้นทางสู่ภาคอีสาน ซึ่งกรมทางหลวงได้เตรียม ความพร้อมในการเปิดใช้งานดังกล่าว โดยปรับปรุงทางเชื่อมทางเข้า–ออก ปรับปรุงจุดกลับรถ ไฟฟ้าแสงสว่าง เพิ่มป้ายประชาสัมพันธ์ อุปกรณ์อ�ำนวย ความปลอดภัย และปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทาง บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 พร้อมทั้งขอความร่วมมือประชาชนเดินทาง เหลื่อมเวลา บ้านใกล้กรุงเทพฯ ให้เดินทางออกทีหลัง และเดินทางกลับ เข้ากรุงเทพฯ ก่อน ซึ่งการกระจายการเดินทางจะเป็นแนวทางช่วยลดปัญหา การจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดี การเปิดให้บริการทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 จะมีจุดเริ่มต้นทางเข้า บริเวณทางเบี่ยงบนทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) กม.65 และ ไปสิ้นสุดทางออกที่ทางหลวงหมายเลข 201 กม.5+400 ซึ่งกรมทางหลวง ได้จดั การจราจรทิศทางเดียวในแต่ละช่วงเวลา (จ�ำนวน 2 ช่องจราจร) แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ วันที่ 9-13 เมษายน 2564 รองรับทิศทางขาออก (มุ่งหน้า ภาคอีสาน) และวันที่ 14–19 เมษายน 2564 รองรับทิศทางขาเข้า (มุ่งหน้า กรุงเทพฯ) ในส่วนฝั่งกลับกันจะสงวนไว้ใช้ส�ำหรับบริการฉุกเฉิน Construction Thailand March • April 2021

13


โครงการฯ มีระยะทางรวมประมาณ 196 กิโลเมตร มีทางแยกต่างระดับ 10 แห่ง-ด่านเก็บค่าผ่านทาง 9 แห่ง

ขบวนรถเปิดให้บริการชั่วคราวมอเตอร์เวย์ M6 ช่วงปากช่อง-สีคิ้ว ระยะทาง 35.75 กิโลเมตร

ท�ำความรู้จักทางหลวงพิเศษ ระหว่างเมืองหมายเลข M6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา โครงการทางหลวงพิ เ ศษระหว่ า งเมื อ ง หมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา หรือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข M6 เป็น หนึ่งโครงการสําคัญที่มีความจําเป็นเร่งด่วน โดย ได้รับการบรรจุในแผนมาตรการเร่งรัดการลงทุน Action Plan ของกระทรวงคมนาคม และมาตรการ เร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Fast Track) ของกระทรวงการคลัง เพือ่ เร่งรัด การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเร็ว ปัจจุบันกรมทางหลวงอยู่ระหว่างด�ำเนินการ ก่อสร้างงานโยธา เพื่อเร่งรัดการด�ำเนินงานก่อสร้าง ให้เป็นไปตามแผนงานทีก่ ำ� หนด ส�ำหรับการก่อสร้าง งานระบบ การด� ำ เนิ น งานและการบ� ำ รุ ง รั ก ษา ภายหลังจากโครงการเปิดให้บริการ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 อนุมัติให้ กรมทางหลวงเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนร่วมลงทุน และบริหารจัดการ ในรูปแบบ PPP Gross Cost ซึ่ ง เอกชนจะเป็ น ผู ้ ล งทุ น ก่ อ สร้ า งงานระบบและ จั ด เก็ บ รายได้ ทั้ ง หมดส่ ง มอบให้ แ ก่ ภ าครั ฐ โดย ภาคเอกชนจะได้รบั ค่าจ้างตอบแทนในการด�ำเนินงาน และบ�ำรุงรักษา พร้อมทั้งจ่ายคืนค่าก่อสร้างงาน ระบบตามกรอบระยะเวลาและเงื่อนไขที่ก�ำหนด

14

Construction Thailand March • April 2021

โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา มีระยะทางรวมประมาณ 196 กิโลเมตร โดยออกแบบให้มีการควบคุมการ เข้ า ออกอย่ า งสมบู ร ณ์ มี จุ ด เริ่ ม ต้ น เชื่ อ มต่ อ กั บ ถนนวงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานครด้านตะวันออก (ถนนกาญจนาภิเษก) อ�ำเภอบางปะอิน จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา และไปสิ้ น สุ ด ที่ บ ริ เ วณทางเลี่ ย งเมื อ งจั ง หวั ด นครราชสีมาด้านตะวันตก อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ตลอดแนวเส้นทาง จะมีทางแยกต่างระดับ (Interchange) เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการทางหลวง สายสําคัญๆ มีทั้งหมด 10 แห่ง ได้แก่ 1 ทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1 2 ทางแยกต่างระดับบางปะอิน 2 3 ทางแยกต่างระดับวังน้อย 4 ทางแยกต่างระดับหินกอง 5 ทางแยกต่างระดับสระบุรี 6 ทางแยกต่างระดับแก่งคอย 7 ทางแยกต่างระดับมวกเหล็ก 8 ทางแยกต่างระดับปากช่อง 9 ทางแยกต่างระดับสีคิ้ว 10 ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา ในส่วนของด่านเก็บค่าผ่านทางจ�ำนวน 9 แห่ง ได้แก่ 1 ด่านบางปะอิน 2 ด่านวังน้อย 3 ด่านหินกอง 4 ด่านสระบุรี 5 ด่านแก่งคอย 6 ด่านมวกเหล็ก 7 ด่านปากช่อง 8 ด่านสีคิ้ว 9 ด่านขามทะเลสอ พร้อมกันนี้ได้จัดให้มีที่พักริมทาง (Rest Area) และสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกต่างๆ ส�ำหรับผู้ใช้ทาง จ�ำนวน 8 แห่ง ตลอดแนวเส้นทางโครงการ โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1 จุดพักรถ (Rest Stop) 5 แห่ง ประกอบด้วย วังน้อย หนองแค ทับกวาง ล�ำตะคอง และขามทะเลสอ 2 สถานที่ บ ริ ก ารทางหลวง (Service Area) จ� ำ นวน 2 แห่ ง ประกอบด้วย สระบุรี และสีคิ้ว 3 ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) 1 แห่ง ได้แก่ ปากช่อง


ก่อสร้างทางแนวใหม่ตาม มาตรฐานทางหลวงพิเศษขนาด 4-6 ช่องจราจร ใช้ผวิ ทางคอนกรีต ที่มีความคงทน-ซ่อมบ�ำรุงน้อย ส�ำหรับรูปแบบการก่อสร้าง เป็นการก่อสร้าง ทางแนวใหม่ตามมาตรฐานทางหลวงพิเศษ ขนาด 4-6 ช่องจราจร ออกแบบให้ใช้ผิวทางคอนกรีตที่มี ความคงทนและมีการซ่อมบ�ำรุงน้อย เขตทางทั่วไป กว้างประมาณ 70 เมตร (บริเวณที่มีการออกแบบ ทางบริการจะเพิม่ ความกว้างเขตทางออกไปด้านละ 20 เมตร) มีความกว้างช่องจราจร 3.60 เมตร ความกว้ า งของไหล่ ท างด้ า นใน 1.50 เมตร และความกว้างของไหล่ทางด้านนอก 3.00 เมตร ตามรายละเอี ย ดดั ง นี้ 1) ช่ ว ง อ.บางปะอิ น อ.ปากช่อง (กม.0+000-กม.109+500) ออกแบบ เป็นทางหลวงพิเศษบนดินขนาด 6 ช่องจราจร 2) ช่ ว ง อ.ปากช่ อ ง-อ.เมื อ งนครราชสี ม า (กม. 109+500-กม.+196+000) ออกแบบเป็ น ทางหลวงพิเศษบนดินขนาด 4 ช่องจราจร โดย ตลอดสายทางได้ออกแบบให้มที างลอดและทางข้าม เพื่ อ ลดผลกระทบให้ กั บ ประชาชนในพื้ น ที่ และ จากความเหมาะสมของสภาพพืน้ ทีไ่ ด้ออกแบบให้มี ช่ ว งทางยกระดั บ ขนาดใหญ่ ดั ง นี้ ทางยกระดั บ ขนาด 6 ช่องจราจร ช่วง กม.40-กม.47 บริเวณทาง เลี่ยงเมืองสระบุรี ทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ช่วง กม.69-กม.75 บริเวณโรงปูนซีเมนต์ทีพีไอ ทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ช่วง กม.82-กม.84 บริ เ วณองค์ ก ารส่ ง เสริ ม กิ จ การโคนม และทาง ยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร ช่วง กม.125-กม.143 บริเวณล�ำตะคอง

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองขนาด 4 ช่องจราจร

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองขนาด 6 ช่องจราจร

จัด เก็บค่า ธรรมเนียมผ่า นทาง ระบบปิ ด คิ ด ค่ า ใช้ จ ่ า ยตาม ระยะทางที่ใช้จริง การจั ด เก็ บ ค่ า ธรรมเนี ย มผ่ า นทาง กรม ทางหลวงได้ ก� ำ หนดให้ จั ด เก็ บ ค่ า ผ่ า นทางแบบ ระบบปิด (Closed System) ซึ่งคิดค่าธรรมเนียม ตามระยะทางที่ใช้จริง โดยจะก�ำหนดให้มีวิธีการ จัดเก็บค่าผ่านทางทั้งแบบเงินสด (Manual Toll Collection : MTC) และแบบอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection : ETC)

ทางยกระดับล�ำตะคอง

Construction Thailand March • April 2021

15


โดยได้ก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมผ่านทาง ทีเ่ หมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม ในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากการวิเคราะห์รายได้ ค่าผ่านทางที่คาดว่าจะจัดเก็บได้ในอนาคต และ อั ต ราผลตอบแทนทางเศรษฐกิ จ ของโครงการ สรุปอัตราค่าผ่านทางได้ ดังนี้ อัตราค่าผ่านทาง (อัตราแรกเข้า + อัตราคิดตามระยะทาง) รถยนต์ 4 ล้อ 10 บาท + 1.25 บาท/กม. รถยนต์ 6 ล้อ 16 บาท + 2.00 บาท/กม. รถยนต์มากกว่า 6 ล้อ 23 บาท + 2.88 บาท/กม. ประเภทรถ

จัดระบบการบริหารจัดการเพือ่ ความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการ เดิ น ทางของผู ้ ใ ช้ ท างหลวงพิ เ ศษระหว่ า งเมื อ ง จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดให้มีระบบต่างๆ ดังนี้ 1 ระบบควบคุ ม การจราจร (Traffic Control Surveillance System) เป็นระบบที่จะ ช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ใช้ทาง และ ช่วยอ�ำนวยการจราจรให้มีความสะดวกรวดเร็วมาก ขึ้น โดยระบบประกอบด้วยห้องควบคุมกลาง เพื่อ เชื่อมโยงสั่งการไปยังเครื่องมืออุปกรณ์อ�ำนวยการ จราจรต่างๆ ตลอดสายทาง ประกอบด้วย ระบบ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Close Circuit Television System : CCTV) ส�ำหรับการตรวจตราสภาพ การจราจรบนทางพิเศษ ระบบโทรศัพท์ฉุกเฉิน (Emergency Telephone System : ETS) เพื่อ รองรับการติดต่อสื่อสารของผู้ใช้ทางกับเจ้าหน้าที่ ควบคุมการจราจร ในกรณีที่ผู้ใช้ทางต้องการความ ช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ ระบบโทรศัพท์ (IP Phone) เป็นระบบโทรศัพท์รองรับการสื่อสารระหว่างด่าน เก็บเงิน ระบบป้ายปรับเปลี่ยนข้อความ (Variable Message Sign : VMS) ใช้บอกและแสดงข้อมูล ต่างๆ เพื่อแนะน�ำและเตือนผู้ใช้ทาง ระบบป้าย สัญญาณปรับได้ (Matrix Sign : MS) ใช้แสดง สั ญ ญาณลั ก ษณะและเครื่ อ งหมายจราจรที่ เปลี่ยนแปลงได้ ระบบนาฬิกามาตรฐาน (Clock System) เป็นเวลามาตรฐานเพือ่ ใช้เปรียบเทียบเวลา ที่แม่นย�ำและเที่ยงตรงของระบบเก็บค่าผ่านทาง

16

Construction Thailand March • April 2021

ภาพตัวอย่างทัศนียภาพด่านเก็บค่าผ่านทาง

และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระบบวิทยุสื่อสาร (Radio Communication) ใช้ เป็นตัวรับ-ส่งสัญญาณส�ำหรับการติดตั้งสื่อสารต่างๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่ โครงการ ระบบตรวจนับจ�ำนวนยานพาหนะ (Vehicle Detector System : VDS) โดยติดตัง้ ทุกช่องจราจร เพือ่ น�ำข้อมูลทีไ่ ด้มาวิเคราะห์สภาพจราจร ระบบ สื่อสารข้อมูล (Graphic Display Panel) ท�ำหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลของระบบ การควบคุมการจราจร และระบบจัดเก็บค่าผ่านทางมายังศูนย์ควบคุม ระบบ คอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร (Central Computer System : CCS) มีหน้าที่ หลักในการจัดการข้อมูลรวมทีศ่ นู ย์ควบคุม (CCB) และระบบเครือข่ายสือ่ สาร ข้อมูล (Communication Network System) เป็นระบบสื่อสารหลัก (Backbone) มีหน้าที่หลักในการรับ-ส่งข้อมูล ผ่านโครงข่ายไฟเบอร์ออพติก 2 ระบบชั่งน�้ำหนัก ระบบชั่งน�้ำหนักบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทาง เพื่อ คัดกรองรถบรรทุกที่บรรทุกน�้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายก�ำหนด ที่อาจท�ำความ เสียหายต่อโครงสร้างทาง ซึ่งระบบประกอบด้วย ระบบเครื่องชั่งแบบเคลื่อนที่ (Dynamic หรือ Weighing in Motion System, WIM) และแบบจอดชั่ง (Static Weighbridge) โดยลักษณะการท�ำงานนัน้ รถบรรทุกจะแล่นผ่านสถานี แบบเคลื่อนที่ (WIM) ก่อน ถ้าน�้ำหนักไม่เกินก�ำหนดก็สามารถวิ่งเข้าใช้ทาง พิเศษได้ ส่วนรถที่มีน�้ำหนักเกินจะต้องเข้าชั่งน�้ำหนักอีกครั้งหนึ่งที่สถานีแบบ จอดชั่ง (Static Weighbridge : SWB) เพื่อตรวจสอบน�้ำหนักที่มีผลถูกต้อง แม่นย�ำ 3 ระบบกู ้ ภั ย โครงการได้ อ อกแบบให้ มี ร ะบบกู ้ ภั ย ตลอดสายทาง เพื่ออ�ำนวยความปลอดภัย และช่วยเหลือผู้ใช้ทางในยามฉุกเฉิน ให้สามารถ เข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุภายในช่วงระยะเวลาที่ก�ำหนด อภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความคืบหน้าโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา จ�ำนวน 40 ตอน ระยะทาง 196 กิโลเมตร ปัจจุบันงานก่อสร้างโยธาภาพรวมอยู่ที่ 93% งานก่อสร้างระบบอยู่ระหว่าง ด�ำเนินการ คาดว่าจะเปิดใช้งานเต็มรูปแบบได้ในต้นปี พ.ศ. 2566 ซึ่ง เมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนมิตรภาพ ที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่น ส่งผลให้ผู้ใช้ทางสามารถเดินทางได้สะดวก รวดเร็วและปลอดภัยอีกด้วย


Technology • กองบรรณาธิการ

คณะวิศวฯ มหิดล ร่วมกับกรมขนส่ง ทางราง และ สนข. ต่อยอด BKK Rail แอปแรกของไทยที่รวม ข้อมูลเดินรถไฟฟ้า ครบทุกเส้นทาง

รศ. ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ. ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและ วิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยนักวิชาการกลุม่ สาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่ง ทางราง (CLARE) เข้าพบ ดร.ชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ปัญญา ชูพานิช ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และ ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ณ กระทรวงคมนาคม ในโอกาสเข้ารายงานการต่อยอดโครงการพัฒนา แอปพลิเคชัน BKK Rail ซึ่งทีมกลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่ง ทางราง (CLARE) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม พัฒนาขึ้น เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล การเดินทางโดยรถไฟฟ้า จากทุกหน่วยงานผูใ้ ห้บริการทุกเส้นทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในการเดินทางได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดยกระทรวงคมนาคมจะน�ำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนต่อไป Construction Thailand March • April 2021

17


ผศ. ดร.วเรศรา วีระวัฒน์ นักวิชาการกลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์ และระบบขนส่งทางราง (CLARE) กล่าวว่า แอปพลิเคชัน BKK Rail ปัจจุบนั แสดงข้อมูลรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ประกอบด้วย 7 ฟังก์ชนั 1) ค้นหา ได้ทกุ เส้นทางรถไฟฟ้า ทัง้ BTS, BEM และ ARL หรือ Airport Rail Link เพือ่ วางแผนเดินทางและทราบค่าโดยสารทีป่ ระหยัดทีส่ ดุ 2) แสดงเวลา

ตารางการเดินรถ 3) รายละเอียดเส้นทาง 4) ต�ำแหน่ง ชื่อและรหัสสถานี ราคาค่าโดยสาร 5) แสดงจ�ำนวนที่ว่าง อาคารจอดรถ รฟม. 6) แสดงเวลาขบวนรถเข้า-ออก สถานี ARL 7) แสดงสถานะความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการ รถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

จุดเด่นของแอปพลิเคชัน BKK Rail

สามารถรองรับการค้นหาเส้นทางในรูปแบบออฟไลน์ และออนไลน์ นับเป็นแอปพลิเคชันแรกในประเทศไทยที่มี การรวบรวมข้อมูลการเดินรถไฟฟ้า และข้อมูลรถไฟฟ้า ที่ครบถ้วนของทุกหน่วยงานที่ให้บริการรถไฟฟ้า ได้แก่ BTS, BEM และ ARL ทั้งยังเป็นแอปแรกที่สามารถแสดง เวลารถที่เข้าและออกจากชานชาลา สถานีรถไฟ Airport Link แบบ Real Time ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักเดินทาง และนักท่องเที่ยว ตลอดจนเชื่อมต่อข้อมูลรองรับเส้นทาง ต่อขยายระบบรางต่างๆ ในอนาคต

แอปพลิเคชัน BKK Rail นี้จะช่วยให้ประชาชน ที่ ใ ช้ บ ริ ก ารสามารถวางแผนการเดิ น ทางล่ ว งหน้ า และ ตัดสินใจได้รวดเร็ว โดยทราบค่าใช้จ่าย เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการเดินทางให้เดินทางได้ถูกที่สุด เดินทางผ่านสถานี น้อยที่สุด และใช้เวลาเดินทางถึงจุดหมายปลายทางได้ เร็วที่สุด ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน BKK Rail ได้ฟรี ทั้งสมาร์ทโฟนระบบ iOS และ Android ได้ที่ ลิงค์นี้ http://onelink.to/qu5njy ด้านกรมการขนส่งทางราง และ สนข. ได้วางแนวทาง ที่ จ ะร่ ว มประสานขั บ เคลื่ อ นการพั ฒ นาแอปพลิ เ คชั น BKK Rail ให้ ส ามารถเชื่ อ มโยงโครงข่ า ยระบบขนส่ ง สาธารณะในรูปแบบอืน่ ๆ ให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น เพื่ออ�ำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์ต่อ การส่งเสริมประชาชนมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ มากยิ่ ง ขึ้ น ซึ่ ง จะเป็ น ผลดี ต ่ อ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต เมืองที่ยั่งยืนและลดปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยั ง สนั บ สนุ น ใน หลักการพัฒนาโครงการระบบขนส่งทางราง ร่วมกับ การพัฒนาพื้นที่เมืองโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าศาลายา เพื่อเป็นต้นแบบของกระทรวงฯ ในการเตรียมความพร้อม เพื่ อ รองรั บ การขยายตั ว ของระบบคมนาคมขนส่ ง และ การพัฒนาเมืองสมัยใหม่แบบผสมผสานตามแนวทาง Transit-Oriented Development (TOD)


Logistics • กองบรรณาธิการ

ปณท จับมือ รฟท. เตรียมขยายเส้นทางขนส่ง ในระบบราง พร้อมตั้งเป้า

• เพิ่มที่ท�ำการฯ • ศูนย์กระจายสินค้าในสถานีรถไฟ บริษทั ไปรษณียไ์ ทย จ�ำกัด (ปณท) ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมยกระดับการให้บริการขนส่งสิ่งของที่ฝากส่งกับระบบราง จากเดิมที่ผู้รับ จะต้องไปรับด้วยตนเองที่สถานีรถไฟในแต่ละพื้นที่ ไปรษณีย์ไทยจะช่วยอ�ำนวย ความสะดวกด้วยการขนส่งสิ่งของให้ถึงที่อยู่ผู้รับ และยังร่วมมือกันขยายเครือข่าย เส้นทางการขนส่ง ด้วยการขนส่งถุงไปรษณีย์หรือสิ่งของด้วยรถไฟ และเพิ่มจุดให้ บริการของไปรษณียไ์ ทยในพืน้ ทีส่ ถานีรถไฟ เพือ่ อ�ำนวยความสะดวกให้กบั ประชาชน ชาวไทยมากยิ่งขึ้น

นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย

ไปรษณีย์ ไทยรับมอบสิ่งของจากการรถไฟแห่งประเทศไทยไปน�ำจ่าย ณ ที่อยู่ผู้รับ จากเดิมที่ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถไฟบรรทุกสิ่งของ เพื่อน�ำส่งให้กับผู้รับปลายทาง ซึ่งผู้รับจะต้องไปรับด้วยตนเองที่สถานีรถไฟในแต่ละ พื้นที่ ปณท จึงได้ร่วมมือน�ำจ่ายสิ่งของจาก รฟท. ให้ถึงปลายทาง ซึ่งจะช่วยสร้าง ความสะดวกสบาย และช่วยลดภาระด้านค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะการเดินทางให้คนไทย การรับขนส่งถุงไปรษณีย์หรือสิ่งของด้วยรถไฟ ปณท ยกระดับการให้ 2 บริการขนส่งให้มปี ระสิทธิภาพมากขึน้ โดย รฟท. จะรับขนส่งถุงไปรษณีย์ เพื่อความรวดเร็วในการจัดส่งสิ่งของที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ขยายเครือข่ายที่ท�ำการไปรษณีย์ ในพื้นที่ของสถานีรถไฟ โดย ปณท 3 เตรียมขยายเครือข่ายการให้บริการลูกค้าให้มากยิง่ ขึน้ โดยเฉพาะผูโ้ ดยสาร ทีเ่ ดินทางด้วยรถไฟ ด้วยการเตรียมจัดตัง้ ทีท่ ำ� การไปรษณียห์ รือศูนย์กระจายสินค้าใน พืน้ ทีข่ อง รฟท. เช่น สถานีพะเยา สถานีอรัญประเทศ และสถานีกลางบางซือ่ เป็นต้น “ไปรษณีย์ไทยมีเป้าหมายในการพัฒนาและยกระดับภารกิจขององค์กรไปสู่ การเป็นหน่วยงานด้านโลจิสติกส์เพื่อสังคม ขยายขีดความสามารถของงานบริการ ให้มีความรวดเร็ว มีเครือข่ายที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ พร้อมขยายเส้นทางการขนส่ง ให้ครอบคลุมทั้งเส้นทางการบิน ระบบถนน และระบบราง เพื่อรองรับการเติบโต ทางเศรษฐกิจ และไลฟ์สไตล์ต่างๆ ในอนาคต โดยความร่วมมือระหว่าง ปณท และ รฟท. ในครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวที่ส�ำคัญในอุตสาหกรรมการขนส่งและคมนาคมเติบโต อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการใช้บริการสาธารณะจาก ภาครัฐได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศไทยและทั่วโลกก�ำลังเข้าสู่ยุค e-Commerce อย่างเต็มตัว” กาหลง กล่าวสรุป

1

กาหลง ทรั พ ย์ ส อาด ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร สายงานปฏิบัติการ บริษัท ไปรษณี ย ์ ไ ทย จ� ำ กั ด และรั ก ษาการใน ต�ำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า ไปรษณี ย ์ ไ ทย ได้ จั บ มื อ กั บ การรถไฟแห่ ง ประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขนส่ง ระบบราง ภายใต้กระทรวงคมนาคม โดยน�ำ จุ ด เด่ น ของทั้ ง สองหน่ ว ยงานไปบู ร ณาการ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 3 ด้าน

Construction Thailand March • April 2021

19


Property • กองบรรณาธิการ

SENA

ขึ้นแท่นอันดับ 1

หมู่บ้าน Solar Cell

หนึ่งเดียวในวงการเรียลเอสเตท ถ้าจะพูดถึงวงการเรียลเอสเตทอันดับต้นๆ ที่มุ่งมั่น พัฒนาหมู่บ้านแถมไอเท็มโซลาร์เซลล์ให้กับบ้านทุกหลัง และคอนโดมิเนียมทุกโครงการ คงจะหนี้ไม่พ้น บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัทมหาชน รายเดียวที่จริงจังด้านนี้มาโดยตลอด ด้วยชีวิตประจ�ำวัน ของเราทุกวันนีป้ ฏิเสธไม่ได้วา่ การใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหนึง่ ในค่าใช้จ่ายที่ต้องแลกไปเพื่อความสะดวกสบายของเรา นั่นเอง หากมองในมุมมองของผู้บริโภค เรื่องของพลังงาน ไฟฟ้าเป็นราคาที่เราต้องจ่าย คงจะดีกว่าหากในอนาคต ครัวเรือนสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง และน�ำส่วนที่เหลือมา ขายกลับเป็นรายได้ ด้วยการใช้แผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิต พลังงานไฟฟ้าทางเลือก

ผศ. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด (มหาชน)

20

Construction Thailand March • April 2021


ผศ. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากเดิมหมู่บ้านของเสนา ที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์โดยทั่วไปจะเป็นฝ่ายที่ใช้บริการ หรือ Consumer เพียงอย่างเดียว แต่ด้วยเทรนด์ของโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไป รวมไปถึง นวั ต กรรมใหม่ ๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น หลั ง จากที่ ภ าครั ฐ เปิ ด รั บ ซื้ อ และขาย ไฟฟ้าได้ ท�ำให้ปัจจุบัน ผู้บริโภคกลายเป็น ผู้ผลิต หรือ Prosumer เรียกได้วา่ บทบาทของผูบ้ ริโภคในวันนีเ้ ปลีย่ นแปลงไปโดยสิน้ เชิง คือเป็น ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้ในคนเดียวกัน โดยเฉพาะตลาดพลังงาน ที่มีการใช้ พลังงานทางเลือกอย่างการผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้เองในครัวเรือนด้วย แผงโซลาร์เซลล์นับวันยิ่งมีราคาที่ถูกลง บวกกับกระแสการประหยัด พลังงาน ท�ำให้เกิดพฤติกรรมการใช้พลังงานทางเลือกนีอ้ ย่างแพร่หลาย มากขึ้น ที่ส�ำคัญส่วนต่างของพลังงานที่เหลือยังเป็นโอกาสการสร้าง รายได้ดว้ ยการขายคืนเข้าระบบไฟฟ้าหลัก หรือซือ้ ขายระหว่างเพือ่ นบ้าน ด้วยกันเองได้ “เสนามั่นใจและกล้าที่จะใส่โซลาร์เซลล์ไว้ในสมการบ้านทุกหลัง และคอนโดมิเนียมทุกโครงการ เพราะมองเห็นความคุม้ ค่าและประโยชน์ ที่ลูกบ้านจะได้รับ ยิ่งช่วงกระแส COVID-19 มีการหยุดกิจกรรม นอกบ้าน กลับมาใช้ชีวิตอยู่กับบ้านมากขึ้น รวมถึงหลายบริษัทหรือ หลายอาชีพปรับเปลี่ยนวิธีการท�ำงานหันมาใช้มาตรการ Work from Home ท�ำให้ต้องใช้ไฟฟ้าที่บ้านทั้งวันทั้งคืนเป็นหลัก ปัญหาที่ตามมา พบว่า “ค่าไฟฟ้าดีดตัวเพิ่ม” คนอยู่บ้านทุกวันคงเข้าใจดีและเห็นได้ชัด ดังนัน้ การทีร่ ฐั บาลพยายามท�ำให้ผพู้ ฒ ั นาสามารถน�ำมาใช้ได้เป็นสิง่ ทีจ่ ะ ท�ำให้คนเข้าถึงนโยบายของรัฐบาลได้ดีมากขึ้น โดยทางเสนาเริ่มติดตั้ง โครงการแรกในหมู่บ้าน “เสนาพาร์ค แกรนด์ รามอินทรา-กม.8”

หลังจากนั้นทุกโครงการของเสนาไม่ว่าเป็นแนวราบหรือ แนวสูงก็ต้องมีโซลาร์เซลล์พ่วงไปด้วยทุกโครงการ ทุก โลเคชัน เรียกว่าเป็นจุดขายและจุดที่แตกต่างของเสนา” ผศ. ดร.เกษรา กล่าว ล่าสุด ทางรัฐบาลได้มีนโยบายรับซื้อโซลาร์เซลล์ ภาคประชาชนจาก 1.68 บาทต่อหน่วย ปรับราคารับซื้อ เพิ่มเป็น 2.20 บาท เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจ ซื้อที่อยู่อาศัยที่มีโซลาร์เซลล์มากขึ้น และแสดงให้เห็นว่า ภาครัฐเริม่ สนใจและหันมาสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน ขณะเดียวกัน ทางเสนาพร้อมผลักดันลูกบ้านให้เข้าร่วม ติ ด ตั้ ง โซลาร์ เ ซลล์ ภ าคประชาชนครั้ ง นี้ รวมทั้ ง สิ้ น 7 โครงการ ประกอบด้วย 1 เสนาพาร์ค วิลล์ รามอินทรา 2 เสนา วิลล์ ศาลายา 3 เสนา วิลล์ ล�ำลูกกา-คลอง 6 4 เสนา วีว่า เพชรเกษม-พุทธมณฑล สาย 7 5 เสนา เวล่า เทพารักษ์-บางบ่อ 6 เสนา แกรนด์ โฮม รังสิต-ติวานนท์ 7 เสนา ช็อปเฮ้าส์ ล�ำลูกกา คลอง 2 รวมทั้งสิ้น 237 หลัง โดยในปีที่ผ่านมา ทางเสนาได้ ติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่โครงการเสนา วิลล์ ล�ำลูกกา-คลอง 6 ขนาด 1.28 กิ โ ลวั ต ต์ เป็ น รายแรกในกลุ ่ ม โปรดั ก ส์ “ทาวน์โฮม” ซึ่งขายในราคา 2 ล้านกว่าบาทเท่านั้น ปั จ จุ บั น เสนาติ ด ตั้ ง โซลาร์ เ ซลล์ ใ นทุ ก โครงการ หมู่บ้านและคอนโดมิเนียมแล้วรวม 500 หลังคาเรือน มากกว่า 1,700 กิโลวัตต์ รวมกับธุรกิจโซลาร์เซลล์อื่นๆ ในห้างสรรพสินค้า เช่น Index, HomePro, 7-11 และ อาคารพาณิชย์ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เบ็ดเสร็จอีก 70-80 เมกะวัตต์ โดยในปีนี้มีแผนเชิงรุก ที่จะรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้ในกลุ่มรีเทลต่างๆ ด้วย ในปี พ.ศ. 2564 เสนายั ง คงนโยบายติ ด ตั้ ง โซลาร์เซลล์ให้กับทุกผลิตภัณฑ์ นอกจากเสนาจะสร้าง จุดขายให้สินค้าแตกต่างจากคู่แข่งแล้ว ยังช่วยดูแลโลก ให้นา่ อยู่ ช่วยให้ลกู บ้านในโครงการของเสนาได้ประโยชน์ และได้ประหยัดค่าไฟอีกทางหนึ่งด้วย Construction Thailand March • April 2021

21


Construction • กองบรรณาธิการ

จันทร์เพ็ญ หล่อวิมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จ�ำกัด

“พรี โ ม” แตกไลน์ธุรกิจใหม่ เปิดตัว “ยูไนเต็ด

โปรเจคต์ แมเนจเมนท์” รับบริหารงานโครงการ งานก่อสร้างภาครัฐ และเอกชน

22

Construction Thailand March • April 2021

“พรีโม” ขานรับแนวคิด ORIGIN NEXT LEVEL ตอกย�ำ้ ความเป็นผูน้ ำ� ธุรกิจบริการอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ดึงประสบการณ์ด้านการพัฒนา อสังหาฯ ของออริจิ้นฯ แตกไลน์ธุรกิจใหม่ เปิดตัว “ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์” รับบริหารงานโครงการ และบริหารงานก่อสร้าง ภายใต้ มาตรฐานสากล ISO 9001-2015 เจาะตลาดบริหารโครงการภาครัฐ และ อสังหาฯ รายกลาง-เล็ก จันทร์เพ็ญ หล่อวิมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จ�ำกัด ผู้น�ำธุรกิจบริการอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่แบบ ครบวงจร ในเครือบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จ�ำกัด (มหาชน) หรือ ORI กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2564 เครือออริจิ้นมุ่งมั่นเติบโตในทุกมิติ ภายใต้แนวคิด “ORIGIN NEXT LEVEL” ส�ำหรับเครือพรีโม ได้มองเห็นโอกาสการเติบโต ของภาคการก่อสร้างทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่จะกลับมาขยายตัวอย่างมาก อีกครัง้ หลังจากชะลอตัวลงในปีทผี่ า่ นมา บริษทั ฯ จึงได้เปิดตัว บริษทั ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์ จ�ำกัด หรือ UPM เพือ่ รับบริหารงานโครงการ (Project Management) และบริหารงานก่อสร้าง (Construction Management) รองรับโอกาสในภาคธุรกิจดังกล่าว


ดร.อรุณ ศิริจานุสรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์ จ�ำกัด หรือ UPM

“ที่ผ่านมา เรามุ่งมั่นพัฒนาบริการใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ตอบโจทย์ ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และในวันนี้เพื่อ ตอกย�ำ้ ว่าเราเป็นผูน้ �ำธุรกิจบริการอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่แบบครบวงจร เรา จึงจัดตั้งบริษัท ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์ จ�ำกัด เพื่อน�ำองค์ความรู้และ ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานโครงการและบริหารงานก่อสร้างของเครือ ออริจนิ้ พร็อพเพอร์ตี้ ทีเ่ ชือ่ มัน่ ได้วา่ มีคณ ุ ภาพระดับมาตรฐานสากล มาตอบโจทย์ ความต้องการของผู้ประกอบการอสังหาฯ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ก�ำลัง มองหาพาร์ทเนอร์มาช่วยบริหารงานโครงการและงานก่อสร้าง ตลอดจนเข้า ประมูลงานของภาครัฐ ซึ่งมีปริมาณงานอยู่ค่อนข้างมาก” จันทร์เพ็ญ กล่าว ด้าน ดร.อรุณ ศิรจิ านุสรณ์ กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์ จ�ำกัด หรือ UPM กล่าวว่า ภาพรวมตลาดธุรกิจงานก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2564 นั้น มีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องมาจากวัคซีน COVID-19 ช่วยสร้างความเชือ่ มัน่ ให้กบั ภาคเอกชน ตัง้ แต่ชว่ งไตรมาส 2/2564 จึงน่าจะเห็นปริมาณงานก่อสร้างเพิ่มขึ้น ทั้งในฝั่งโครงการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการอยู่อาศัย อสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม และอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการพาณิชยกรรม ทั้งส่วนงานของภาครัฐและภาคเอกชน

ในไตรมาสแรกทีผ่ า่ นมา บริษัทฯ รับสัญญาบริหาร งานโครงการ และบริ ห าร งานก่ อ สร้ า งในมื อ แล้ ว จ�ำนวน 5 โครงการ ประกอบ ด้วย นอตติ้ง ฮิลล์ ระยอง, แฮมป์ตนั ศรีราชา, ดิ ออริจนิ้ อ่อน, Warehouse 22,000 Sq.m. 2 แห่ง บริเวณถนน บางนา-ตราด กม.19 และ กม.22 คิดเป็นมูลค่า สัญญาฯ โครงการรวมกว่า 15 ล้านบาท

Construction Thailand March • April 2021

23


“จุดแข็งของเราในการบริหารงานโครงการและบริหารงานก่อสร้าง คือ เรื่องทีมงานที่ประกอบด้วยทีมวิศวกรและสถาปนิกมืออาชีพ และการ ยึดหลักมาตรฐานของญี่ปุ่นเข้ามาช่วยเรื่องการควบคุมคุณภาพ ประกอบการ ได้รับรอง ISO 9001-2015 ไปพร้อมด้วย ด้วยจุดแข็งดังกล่าว เชื่อมั่นว่า จะท�ำให้เราสามารถเข้าไปช่วยเหลือทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีแผนงาน ก่อสร้างโครงการต่างๆ ได้อย่างดี” ดร.อรุณ กล่าว ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา บริษัทฯ รับสัญญาบริหาร งานโครงการและบริ ห ารงานก่ อ สร้ า งในมื อ แล้ ว จ� ำ นวน 5 โครงการ ประกอบด้วย นอตติ้ง ฮิลล์ ระยอง (Notting Hill Rayong), แฮมป์ตัน ศรีราชา (Hampton Sriracha), ดิ ออริจิ้น อ่อนนุช (The Origin Onnut), Warehouse 22,000 Sq.m. 2 แห่ง บริเวณถนนบางนา-ตราด กม.19 และ กม.22 คิดเป็น มูลค่าสัญญาฯ โครงการรวมกว่า 15 ล้านบาท โดยนับตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป บริษัทฯ จะเข้าประมูลงานบริหารงานก่อสร้างของทั้ง ภาครัฐและเอกชนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง คาดว่าภายใน 5 ปี บริษัทฯ จะมีสัญญา บริหารงานก่อสร้างในมือเฉลี่ยปีละอย่างน้อย 10-15 โครงการ

24

Construction Thailand March • April 2021


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.