Green Network Issue 101

Page 1



01 – 03 December

2020 Düsseldorf, Germany

WHERE DOES EVERYTHING REVOLVE AROUND INDUSTRIAL VALVES? Only at VALVE WORLD EXPO. Visit the world’s leading trade fair and get to know the latest products, processes and technologies. More than 700 exhibitors across more than 19,000 square metres, from 1 to 3 December 2020. Have discussions with other experts at the VALVE WORLD EXPO FORUM. Learn about ecoMetals’ new sustainable ways of adding value. Find out more now at: valveworldexpo.com

Entrance tickets available from the summer through online ticket sales

valveworldexpo.com/2130

Sponsored by: Exposis Co., Ltd 1755/3 Cedar Park Soi Ladprao 94 (Town in Town 11) _ Plubpla Wangthonglang _ 10310 Bangkok _ Thailand Tel. + 66 2 559 0856 _ Fax + 66 2 559 2893 info@exposis.co.th




โครงการ TEEN ทํา ธรรม คือโครงการที่ทางเสถียรธรรมสถาน ร่วมกับกองทุนพั ฒนา สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนวัยทีน สร้างนิเวศสื่อที่ดีเพื่ อผู้คนในสังคม

ทางโครงการไดผลิตสื่อดวยเยาวชน โดยแบงออกเปน 4 ทีมไดแก TEEN VLOG, TEEN ANIMATION, TEEN PHOTO และ TEEN WRITER ทางโครงการไดรวบรวมบทความจาก TEEN WRITERและจัดทําเปนหนังสือ E-book 2 เลม ไดแก 1. หนังสือ เห็นแบบปอ เขียนโดย นางสาว สาธิมา อุดมเวศย 2. หนังสือ คิดแบบปน เขียนโดย เด็กหญิง สาธิดา อุดมเวศย

โดยหนังสือทั้งสองเลมไดบอกเลาเรื่องราวประสบการณ ของวัยรุนที่กําลังจะทํางาน Climate Change วาตองเจอ อะไรบาง และสามารถขามสิ่งนัน้ มาไดอยางไร เพื่อเปน สวนหนึง่ ในการสรางแรงบันดาลใจใหกับผูคน ซึ่งเยาวชนนักเขียนทั้งสองคนมีความประสงคจะนํารายได จากการระดมทุนขายหนังสือ E- book สองเลมนี้ มาสราง ประโยชนแดผูอื่นในสังคมตอไป โดยการนํารายไดจากการ ระดมทุน 100% ไปมอบใหกับกิจกรรมฉันทลักษณบําบัด ของโครงการ “แสงประทีปสองฉันทลักษณไทย" สถาบัน ไทยปญญสุข ซึ่งเปนการนําฉันทลักษณในลักษณะตางๆ มาใช ในการดูแลสุขภาพผูคน และเปนกิจกรรมสาธารณประโยชนที่ ไมไดคิดคาใชจายแกผูเขารวม ผูสนใจสามารถรวมบุญไดตั้งแตบัดนี้ - 31 ตุลาคม 2563 และทางผูเขียนจะสงมอบรายไดจากการระดมทุน แดสถาบันไทยปญญสขุ ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 สําหรับผูสนใจรวมบุญ สามารถสนับสนุนไดตามรายละเอียดดังนี้ 1 โอนเงินสนับสนุนตามความประสงคมาที่ บัญชีเงินฝากเผื่อเรียก ชื่อบัญชี ด.ญ.สาธิมา อุดมเวศย หรือ ด.ญ.สาธิดา อุดมเวศย เลขที่บัญชี 020299084648 ธนาคาร ออมสิน สาขาตนซุง แอฟเวนิว

2 สงเอกสารการโอนมาที่ - Inbox Facebook : อุไรวรรณ เจริญถาวรพาณิช - ID Line : puai2518 - E-mail : krupuai@gmail.com (ชองทางใด..ชองทางหนึง่ )

3 ผูเขียนจะจัดสง link E - book ไปใหกับทานชวงเวลา 20.00 น. ในวันนัน้ ๆ (ขออภัยในความไมสะดวก เนื่องจาก ผูเขียนยังไมไดมี smartphone และ ชองทางสื่อสารเปนของตนเอง)


คณะที่ปรึกษา

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดร.อัศวิน จินตกานนท์ ดร.ประเสริฐ ภัทรมัย ประสงค์ ธาราไชย ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ไกรฤทธิ์ นิลคูหา ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร รศ. ดร.สิงห์ อินทรชูโต

นินนาท ไชยธีรภิญโญ ศ. ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ พานิช พงศ์พิโรดม ดร.กมล ตรรกบุตร ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ดร.สุรพล ด�ารงกิตติกุล ชาย ชีวะเกตุ

บรรณาธิการอ�านวยการ/บรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา กิตติ วิสุทธิรัตนกุล

บรรณาธิการ

กิตติ วิสุทธิรัตนกุล

บรรณาธิการข่าว

สุรีย์พร วงศ์ศรีตระกูล

กองบรรณาธิการ

ณัฐชยา แก่นจันทร์

พิสูจน์อักษร

อ�าพันธ์ุ ไตรรัตน์

ศิลปกรรม

พฤติยา นิลวัตร, ศศิธร มไหสวริยะ

ประสานงาน

ภัทรกันต์ กิจสินธพชัย

ฝ่ายการตลาด

ทิพวัลย์ เข็มพิลา, กัลยา ทรัพย์ภิรมย์, วีรวรรณ พุทธโอวาท

เลขานุการฝ่ายการตลาด ชุติมณฑน์ บัวผัน

ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

ศิรินทิพย์ โยธาพันธ์

แยกสี

บริษัท คลาสิคสแกน จ�ากัด

โรงพิมพ์

หจก.รุ่งเรืองการพิมพ์

สวัสดีครับ ท่านสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่าน อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมเดิมทีม่ ี ศักยภาพ (First S-Curve) และมีบทบาทส�าคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ของประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถผลิต และส่งออกจ�าหน่ายได้ในอันดับ 11 ของโลก ด้วยการเปลี่ยนผ่านของ อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกจากยานยนต์แบบดั้งเดิมที่ใช้น�้ามันเป็น เชื้อเพลิงขับเคลื่อน สู่โลกยานยนต์สมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ด้วยเหตุนี้ รัฐบาล โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กา� หนดนโยบาย ทีจ่ ะท�าให้อตุ สาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเปลีย่ นผ่านสูโ่ ลกยานยนต์ สมัยใหม่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าอย่างเร่งด่วน และตาม Roadmap ของรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยแบ่งการท�างานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสัน้ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2563-พ.ศ. 2565 ผลิตรถส�าหรับราชการ รถบัสสาธารณะ รถจักรยานยนต์ สาธารณะ และยานยนต์ส่วนบุคคลอื่นๆ จ�านวน 60,000-110,000 คัน ระยะกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564-พ.ศ. 2568 จะเร่งผลักดัน Eco EV จ�านวน 100,000-250,000 คัน และผลักดันสมาร์ท ซิตี้ บัส จ�านวน 1,000-3,000 คัน และระยะยาว ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2569-พ.ศ. 2573 จะขยาย จ�านวน Eco EV (Electric Vehicle) จ�านวน 750,000 คัน เพื่อรองรับ Zero Emission และ Sharing Mobility โดยมีเป้าหมายผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 30% ของปริมาณการผลิต 2.5 ล้านคัน ส�าหรับนิตยสาร Green Network ฉบับนี้ ขอน�าเสนอเทรนด์ ยานยนต์ไฟฟ้าของไทยในอนาคต ครอบคลุมทัง้ รถไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้า รวมทัง้ ระบบกักเก็บพลังงานและแบตเตอรีช่ นิดต่างๆ เริม่ จาก กระทรวง อุตสาหกรรม เร่งผลักดันนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ส่งเสริม การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ภายในปี 2573, นายกฯ เยี่ยมชม ผลงานวิจยั “การพัฒนาต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้า ในโครงการ “City Transit E-buses” พัฒนารถเมล์ใช้แล้ว ขสมก. 4 คัน ให้เป็นรถโดยสารไฟฟ้า, สวทช. จับมือ 4 พันธมิตรภาคีเครือข่าย TESTA เร่งพัฒนาเทคโนโลยี ระบบกักเก็บพลังงานไทย รับสังคมดิจทิ ลั , ‘บ้านปู เน็กซ์’ ร่วมกับ ‘ภาคี เครือข่ายพัฒนาเมืองขอนแก่น’ น�าเทคโนโลยีพลังงานสะอาด พัฒนา ขอนแก่นสู่ Smart City, กลุ่มบริษัทในเครือ GPSC ผลิตโซลาร์เซลล์ 6 เมกะวัตต์ ให้ มทส. หนุนเป็นศูนย์กลางการเรียนรูน้ วัตกรรมพลังงาน ในภาคอีสาน และเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ แล้วพบกันฉบับหน้าส่งท้ายปี พ.ศ. 2563 สวัสดีครับ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ กิตติ วิสุทธิรัตนกุล

เจ้าของ บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จ�ากัด

471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0-2354-5333 (ฝ่ายการตลาด Ext. 230) แฟกซ์ 0-2640-4260 http://www.technologymedia.co.th http://www.greennetworkthailand.com E-Mail : editor@greennetworkthailand.com


Contents September-October 2020

9

Report

กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งผลักดันนโยบายยานยนต์ไฟฟ้า ในประเทศ ส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ภายในปี 2573 กองบรรณาธิการ

BCG

14 วว. ใช้ยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรมในเอทานอล

ช่วยเพิ่มก�าลังผลิต - ลดต้นทุน แนะรัฐออกมาตรฐาน ความปลอดภัยทางชีวภาพควบคุมการใช้งาน กองบรรณาธิการ

Automotive

16 นายกฯ เยี่ยมชมผลงานวิจัย “การพัฒนาต้นแบบ

รถโดยสารไฟฟ้า ในโครงการ City Transit E-Buses” พัฒนารถเมล์ใช้แล้ว ขสมก. 4 คัน ให้เป็นรถโดยสารไฟฟ้า กองบรรณาธิการ

Smart City

18 ‘บ้านปู เน็กซ์’ ร่วมกับ ‘ภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองขอนแก่น’

น�าเทคโนโลยีพลังงานสะอาด หนุนแผนพัฒนาขอนแก่น สู่ Smart City กองบรรณาธิการ

Factory

20 SPBT สระบุรี ขึ้นแท่นอันดับ 1 ในเครือซันโทรี่ทั่วโลก

ด้านการผลิต - อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม - ความปลอดภัย ในการท�างาน ณัฐชยา แก่นจันทร์

Innovation

25 กลุ่มบริษัทในเครือ GPSC ผลิตโซลาร์เซลล์ 6 เมกะวัตต์

ให้ มทส. หนุนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงาน อัจฉริยะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กองบรรณาธิการ

Product

26 สตีเบล เอลทรอน จับมือ GC พัฒนาเครื่องท�าน�้าอุ่น-น�้าร้อน

27

รุ่น DX ECO นวัตกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมรุ่นแรกที่ใช้พลาสติก ABS รีไซเคิล 100% ผลิตฝาครอบ กองบรรณาธิการ

Biz Technology

30 สวทช. จับมือ 4 พันธมิตรภาคีเครือข่าย TESTA เร่งพัฒนา

32

เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย รับสังคมดิจิทัล กองบรรณาธิการ

Energy

ชุมชนปลูกป่า ปลูกหญ้า สร้างโรงไฟฟ้า เพิ่มรายได้ลดความ เหลื่อมล�้า พิชัย ถิ่นสันติสุข 34 พพ. จับมือ 3 สมาคมวิชาชีพ ยกระดับการพัฒนาประสิทธิภาพ พลังงาน - พลังงานทดแทน กองบรรณาธิการ

Environment

23 เนสกาแฟ เดินหน้าเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดให้รีไซเคิลได้

100% ภายในปี ’65 มุ่งสู่แบรนด์กาแฟที่ยั่งยืน - สร้างสรรค์ อนาคตปลอดขยะ กองบรรณาธิการ 24 กนอ. ปลื้ม 34 นิคมฯ ยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ตั้งเป้า 5 ปี มีนิคมฯ ผ่านเกณฑ์เพิ่มอีก 5 แห่งทั่วประเทศ กองบรรณาธิการ

18


กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งผลักดัน

นโยบายยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ

Report กองบรรณาธิการ

ส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ภายในปี 2573

รั ฐ บ า ล โ ด ย ก ร ะ ท ร ว ง อุตสาหกรรม ได้ก�าหนดนโยบาย ที่ จ ะท� า ให้ อุ ต สาหกรรมยานยนต์ ในประเทศไทยเปลี่ ย นผ่ า นสู ่ โ ลก ยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วย ไฟฟ้าอย่างเร่งด่วน โดยอุตสาหกรรม ยานยนต์ ส มั ย ใหม่ เ ป็ น 1 ใน 5 อุ ต สาหกรรมเดิ ม ที่ มี ศั ก ยภาพ (First S-Curve) และมีบทบาทส�าคัญ ในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ โดยในอนาคต และตาม Roadmap ของรั ฐ บาลได้ มี ก ารตั้ ง เป้ า หมาย การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ภายในปี พ.ศ. 2573 ทัง้ นีห้ ากประเทศ ใดมี ค วามพร้ อ มย่ อ มที่ จ ะฉกฉวย ความได้เปรียบในการเป็นฐานการ ผลิ ต ยานยนต์ ไ ฟฟ้ า และการผลิ ต ชิ้ น ส่ ว นยานยนต์ ที่ ส� า คั ญ ภายใน ประเทศได้ ก็จะท�าให้มคี วามสามารถ ในการแข่ ง ขั น ในระดั บ สากลมาก ยิ่งขึ้น 9

เผยไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ปี’62 ผลิต และส่งจ�าหน่ายอันดับ 11 ของโลก

สุรยิ ะ จึงรุง่ เรืองกิจ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวง อุตสาหกรรม กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่ส�าคัญ โดยในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา สามารถผลิตและ ส่งออกจ�าหน่ายอยูใ่ นอันดับ 11 ของโลก และด้วยการ เปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก จาก ยานยนต์แบบดั้งเดิมที่ใช้น�้ามันเป็นเชื้อเพลิงในการ ขับเคลื่อน สู่โลกยานยานต์สมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วย ไฟฟ้า ท�าให้รัฐบาล ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันเร่งด�าเนินนโยบาย บู ร ณาการท� า งานเพื่ อ ผลั ก ดั น ให้ ป ระเทศไทย เปลีย่ นผ่านให้สามารถปรับตัวและต่อยอดเทคโนโลยี การผลิตดั้งเดิม เพื่อคงไว้ซึ่งขีดความสามารถในการ แข่งขันและก้าวขึ้นสู่ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นหน่วยงานหลัก

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

GreenNetwork4.0 eenNetwork4.0 Septem September-October

2020


เวทีเสวนา New Generation of Automotive จากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน

ในการก�าหนดแผนพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ทุกรูปแบบ เพื่อให้ เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ได้ออกข้อก�าหนด ระเบียบ และมาตรการต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องครอบคลุมทุกด้าน ไม่วา่ จะเป็นมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพือ่ สร้างอุปทาน มาตรการกระตุน้ ตลาดในประเทศ การเตรียมความพร้อม ของโครงสร้างพืน้ ฐานในการรองรับยานยนต์ไฟฟ้าทุกรูปแบบ การจัดท�า มาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า การผลิตแบตเตอรี่ใช้เองภายในประเทศ การบริหารจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ยานยนต์ไฟฟ้าต้องค�านึงถึงความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเป็นหลักตาม มาตรฐานสากล รวมทั้งมาตรการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

แผน Roadmap ขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าไทย ตั้งเป้าผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ภายในปี’73

ส� า หรั บ แผนการขั บ เคลื่ อ นยานยนต์ ไ ฟฟ้ า ของประเทศไทย ตาม Roadmap จากการประชุมคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ได้ตั้งเป้าหมายการ ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าภายในปี พ.ศ. 2573 ไว้ที่ 30% ของการผลิตรถยนต์ ในไทย แบ่งการท�างานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563พ.ศ. 2565 ผลิตรถส�าหรับราชการ รถบัสสาธารณะ รถจักรยานยนต์ สาธารณะ และยานยนต์ส่วนบุคคลอื่นๆ จ�านวน 60,000-110,000 คัน ระยะกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564-พ.ศ. 2568 จะเร่งผลักดัน Eco EV จ�านวน 100,000-250,000 คัน และผลักดันสมาร์ท ซิตี้ บัส จ�านวน 1,000-3,000 คัน และระยะยาว ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2569-พ.ศ. 2573 จะขยาย จ�านวน Eco EV จ�านวน 750,000 คัน เพื่อรองรับ Zero Emission และ Sharing Mobility โดยมีเป้าหมายผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 30% ของปริมาณ การผลิต 2.5 ล้านคัน ในส่วนของการก่อสร้างโครงสร้างพืน้ ฐานรองรับและการส่งเสริม สถานีอัดประจุไฟฟ้า สุริยะ กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรม ได้ส่งเสริมความร่วมมือทั้งทางภาครัฐและเอกชนในการติดตั้งสถานี อัดประจุไฟฟ้า โดยก�าหนดค่าไฟฟ้าคงทีไ่ ว้ที่ 2.63 บาทต่อหน่วย และติดตัง้ สถานีอดั ประจุไฟฟ้าให้ครอบคลุมในรัศมี 50-70 กิโลเมตร เพือ่ ให้ครอบคลุม การเดินทางในระยะไกลของยานยนต์ไฟฟ้า ให้ประชาชนมีความมัน่ ใจใน การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าว่าจะมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าครอบคลุมทั่วประเทศ ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลได้มแี นวคิดทีจ่ ะน�าร่องใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในส่วน ราชการและรัฐวิสาหกิจก่อน พร้อมทั้งมีการหารือกับสภาอุตสาหกรรม 10

แห่งประเทศไทย (สอท.) ภายใต้มาตรการยานยนต์เก่าแลกยานยนต์ไฟฟ้า โดยให้ผบู้ ริโภคน�ารถยนต์ทมี่ อี ายุมากกว่า 15 ปี มาแลกเปลีย่ นเป็นรถยนต์ ไฟฟ้า เพือ่ ส่งเสริมตลาดรถยนต์ไฟฟ้าและจัดการซากยานยนต์อย่างเป็น ระบบ พร้อมทัง้ จัดตัง้ คณะท�างานเข้ามาศึกษาเรือ่ งการจัดการซากยานยนต์ ในประเทศไทยอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการจัดการไม่ก่อปัญหาตามมา รองรับการลงทุนการรีไซเคิลซากรถยนต์และแบตเตอรี่ มีการก�าหนด กฎเกณฑ์เพื่อให้เกิดการสร้างโรงงานรองรับการตั้งโรงงานก�าจัดซาก ยานยนต์ในประเทศ เพือ่ น�าซากชิน้ ส่วนยานยนต์ทยี่ งั สามารถใช้งานได้เข้าสู่ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยัง่ ยืน และในส่วนของราคายานยนต์ไฟฟ้า จากบริษทั ผูผ้ ลิตในประเทศไทย จะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมตามทีร่ ฐั บาล ก�าหนด เพื่อไม่ให้ตกเป็นภาระแก่ผู้บริโภค

BOI พร้อมกระตุ้นการลงทุนในกลุ่มยานยนต์ พลังงานไฟฟ้า ขานรับ Roadmap ผลิตยานยนต์ ไฟฟ้า

โชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า ย้อนกลับไปในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 ทีก่ ระทรวง อุตสาหกรรมน�าเรื่องยานยนต์ไฟฟ้าเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาการลงทุนยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย จากนั้นถัดมา เพียง 1 เดือน BOI ก็ได้จัดท�าแนวทางและแผนการลงทุนด้านยานยนต์ ไฟฟ้าตามมาตรฐานสากลออกมาจูงใจให้กับผู้ประกอบการครอบคลุม ทุกด้าน เช่น เรื่องการผลิต ความต้องการตลาด การส่งเสริมการลงทุน การสร้างสถานีชาร์จ รถยนต์ใช้สว่ นบุคคล รถยนต์สาธารณะ และชิน้ ส่วน ส�าหรับยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น ในระยะแรกทีเ่ ราเปิดการส่งเสริมการลงทุนนัน้ มีผเู้ ข้าร่วมไม่มากนัก แม้จะมีการเปิดส่งเสริมการลงทุนทุกประเภท เพราะในขณะนั้นยังขาด ข้อมูลและแรงจูงใจในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งระบบโครงสร้าง พืน้ ฐานภายในประเทศยังไม่เอือ้ อ�านวยให้การใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากเท่ากับ ในปัจจุบนั แต่เมือ่ กระแสความต้องการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจากต่างประเทศ เข้ามามากขึ้น ท�าให้มีผู้ประกอบการทยอยเข้ามาขอรับการส่งเสริมการ ลงทุนในส่วนของรถยนต์พลังงานเพิม่ ขึน้ ซึง่ ปัจจุบนั มีอยูท่ งั้ หมด 16 บริษทั รวม 26 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการในภูมิภาคเอเชีย มียอด การผลิตรวมกันกว่า 560,000 คัน โดยมีการขอส่งเสริมการลงทุนในการ ผลิตรถยนต์ประเภทไฮบริด (HEV) ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) รถพลังงาน ไฟฟ้า 100% (BEV) และสถานีอัดประจุไฟฟ้า

GreenNetwork4.0 September-October

2020


“ส� ำ หรั บ ควำมท้ ำ ทำยจำกโจทย์ ข องรั ฐ บำลในกำรขั บ เคลื่ อ น นโยบำยยำนยนต์ไฟฟ้ำให้ได้ 30% ภำยในปี พ.ศ. 2573 ทำง BOI ได้ พยำยำมเร่งพิจำรณำส่งเสริมกำรลงทุนเพิม่ เติมในส่วนของสำมล้อไฟฟ้ำ และรถจักรยำนยนต์ที่ใช้พลังงำนไฟฟ้ำ เพรำะผู้บริโภคมีควำมต้องกำร เพิ่มขึ้นตำมเทรนด์กำรใช้งำน นอกจำกนี้ จะเปิดรับกำรส่งเสริมกำร ลงทุนยำนยนต์ไฟฟ้ำทีป่ ดิ โครงกำรไปแล้วเพิม่ เติม พร้อมทัง้ ท�ำกำรส�ำรวจ ทิศทำงควำมต้องกำร ควำมพร้อมของตลำดยำนยนต์ โดยดูรำยละเอียด เรื่องผู้ผลิตและผู้ใช้งำนไฟฟ้ำในประเทศและต่ำงประเทศ หำกพบว่ำมี ควำมต้องกำรและผลตอบรับคุ้มค่ำ ก็จะเปิดรับกำรส่งเสริมกำรลงทุน อีกครั้ง” โชคดี กล่าว

PEA สร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าส�าหรับรถยนต์ พลังงานไฟฟ้า 11 แห่ง วางแผนสร้างสถานี ครอบคลุมทั่วประเทศทุกๆ 100 กม.

เสกสรร เสริมพงศ์ รองผู้ว่าการวางแผนและพัฒนาระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) กล่าวว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาครับผิดชอบ พืน้ ทีค่ รอบคลุม 74 จังหวัดทัว่ ประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยปัจจุบัน PEA มีการสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้า ส�าหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทัง้ หมด 11 แห่ง ติดตัง้ หัวชาร์จตามมาตรฐาน นานาชาติ 3 แบบ ได้แก่ CHAdeMO, CCS Combo2 และ AC Type2 เพื่อรองรับรถหลากหลายค่าย กระจายอยู่ในพื้นที่รอบๆ กรุงเทพฯ ตาม สถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว เช่น พัทยา หัวหิน และอยุธยา เป็นต้น โดยทีพ่ ทั ยามีการ ตอบรับของผูใ้ ช้แท็กซีร่ นุ่ ใหม่ ซึง่ เป็นยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามาใช้จา� นวนมาก เนือ่ งจากให้บริการฟรี และมีแผนสร้างสถานีอดั ประจุไฟฟ้าให้ครอบคลุม ทั่วประเทศตามเส้นทางหลักทุกๆ 100 กิโลเมตร ตามแผนในระยะที่ 1 ภายในปี พ.ศ. 2563 จะสร้างเพิ่มให้เสร็จอีก 62 แห่ง 42 จังหวัด เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ล�าปาง อุดรธานี อุบลราชธานี ขอนแก่น ชลบุรี จันทบุรี ระยอง สุราษฎร์ธานี สงขลา กระบี่ กาญจนบุรี ชัยนาท และสิงห์บรุ ี เป็นต้น

11

โดยร่วมกับสถานีปม๊ั น�า้ มันบางจาก จัดสร้างสถานีอดั ประจุไฟฟ้า 56 แห่ง และพืน้ ทีข่ อง PEA เองอีก 6 แห่ง แต่ดว้ ยสถานการณ์ COVID-19 ท�าให้ แผนการด�าเนินการล่าช้าออกไปจากเดิมที่จะก่อสร้างเสร็จในไตรมาส 3 ของปี พ.ศ. 2563 ต้องเลื่อนออกไปแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2564 ในระยะที่ 2 PEA จะด�าเนินการก่อสร้างระหว่างปี พ.ศ. 2564พ.ศ. 2565 อีก 64 แห่ง ซึง่ หากก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีสถานีอดั ประจุไฟฟ้า ทั้งหมด 137 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 75 จังหวัด รวมกรุงเทพมหานคร โดยต้นทุนในการสร้างสถานีอดั ประจุไฟฟ้ารวมทัง้ หมดเฉลีย่ 2.5 ล้านบาท ต่อ 1 แท่นชาร์จ ซึ่งการลงทุนของ PEA ไม่มีก�าไร แต่เพื่ออ�านวยความ สะดวก และเป็นอีกหนึง่ ความร่วมมือกับทางภาครัฐตามแผน Roadmap ขับเคลื่อน EV ให้เกิดขึ้นจริง

ค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้า ผ่าน PEA VOLTA Application

ส�าหรับอัตราค่าบริการในการอัดประจุไฟฟ้าแต่ละครั้ง PEA คาดว่าจะเริ่มน�าร่องเก็บประมาณในช่วงเดือนกันยายนศกนี้เป็นต้นไป โดยประชาชนผูใ้ ช้สามารถเข้าใช้งาน โดยค้นหาสถานีอดั ประจุไฟฟ้าผ่าน แอปพลิเคชัน PEA VOLTA Application ณ สถานี PEA VOLTA 5 แห่งแรก ได้แก่ PEA VOLTA ส�านักงานใหญ่ กรุงเทพฯ เปิดตั้งแต่เวลา 06.0020.00 น. PEA VOLTA จังหวัดสมุทรสาคร เปิดตัง้ แต่เวลา 06.00-20.00 น. PEA VOLTA เขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เปิดตั้งแต่เวลา 06.00-20.00 น. PEA VOLTA หัวหิน จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ เปิดตัง้ แต่เวลา 06.00-20.00 น. และ PEA VOLTA พัทยาใต้ จังหวัดชลบุรี เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งผู้ใช้ สามารถบริหารจัดการเวลาในการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าของตนเอง รวมถึงช�าระค่าบริการผ่าน PEA VOLTA Application โดยมีอตั ราค่าบริการ คือ อัตราค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าในการใช้เครือ่ งอัดประจุไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charger) ในช่วง Peak ค่าบริการ 7.5798 บาทต่อหน่วย ในช่วง

GreenNetwork4.0 September-October

2020


MG ZS EV ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100%

Off-Peak ค่าบริการ 4.1972 บาทต่อหน่วย และอัตราค่าบริการอัดประจุ ไฟฟ้าในการใช้เครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charger) ในช่วง Peak ค่าบริการ 7.5798 บาทต่อหน่วย ในช่วง Off-Peak ค่าบริการ 4.1972 บาทต่อหน่วย

MEA เตรียมขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 118 แห่ง ภายในปี’65 พร้อมพัฒนาแอปฯ ค้นหา สถานีชาร์จไฟฟ้าทั่วประเทศ

พรศักดิ์ อุดมทรัพยากุล ผูช้ ว่ ยผูว้ า่ การวางแผนและพัฒนาองค์กร การไฟฟ้านครหลวง (MEA) กล่าวว่า MEA ให้บริการไฟฟ้าแก่ประชาชน ครอบคลุมพื้นที่ใน 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และ สมุทรปราการ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจะแตกต่างจากของ PEA เพราะส่วนใหญ่คนที่ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจะนิยมชาร์จไฟฟ้าจากที่บ้าน จนเต็มแล้วน�ารถออกมาใช้งาน และมีพนื้ ทีข่ องเอกชนหลายๆ ส่วนเริม่ เปิด พื้นที่ให้มีการสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าบริการ เช่น ในห้างสรรพสินค้า ในพืน้ ทีโ่ รงแรม เป็นต้น แต่กม็ โี อกาสทีแ่ บตเตอรีห่ มดในระหว่างใช้งานได้ MEA จึงได้สร้างสถานีให้บริการอัดประจุไฟฟ้าขึน้ โดยพิจารณาเส้นทางการ ติดตัง้ ทีม่ จี า� นวนคนใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเข้าไปใช้บริการจ�านวนมากเป็นหลัก เพื่อประหยัดต้นทุนในการสร้างแต่ละสถานี ความรวดเร็วในการชาร์จ ต่อครัง้ เพือ่ อ�านวยความสะดวกต้องใช้เวลาชาร์จไม่เกิน 30 นาทีตอ่ ครัง้ เพือ่ ให้การกักเก็บพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรีไ่ ด้ประมาณ 80% แล้วน�าไป ใช้งานต่อได้ และการชาร์จแต่ละครัง้ ต้องมีการรักษาแบตเตอรีใ่ ห้ใช้งาน ต่อเนือ่ งอย่างมีประสิทธิภาพ ซึง่ ปัจจุบนั มีอยู่ 10 แห่ง จ�านวน 15 แท่นชาร์จ และมีแผนการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 118 แห่ง รวมเป็น 128 แห่ง ภายในปี พ.ศ. 2565 พร้อมทัง้ พัฒนาแอปพลิเคชันในการค้นหา สถานีชาร์จไฟฟ้าทัง้ ประเทศ และสามารถจองแท่นชาร์จก่อนเข้ารับบริการได้ ทัง้ นีค้ าดว่าภายในปี พ.ศ. 2569 จะมียานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยใช้งาน ไม่ตา�่ กว่า 1.5 ล้านคัน แบ่งเป็นการใช้งานในพืน้ ที่ MEA ทีใ่ ห้บริการไม่ตา�่ กว่า 12

300,000 คัน และพื้นที่ภูมิภาคอีกประมาณ 1.2 ล้านคัน ส�าหรับแผนการส่งเสริมให้ประชาชนปรับการใช้ยานยนต์ดั้งเดิม มาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม MEA เตรียมแผนที่จะมอบแท่นชาร์จไฟฟ้า ให้ผสู้ นใจร่วมกับบริษทั ยานยนต์ไฟฟ้าทีเ่ ป็นพันธมิตรทุกๆ รายในอนาคต พัฒนาแอปพลิเคชันในการค้นหาน�าทางสถานีชาร์จไฟฟ้าให้มคี วามเสถียร แบบเรียลไทม์ในทุกๆ พื้นที่ ศึกษาวิจัยการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า สถานี อัดประจุไฟฟ้า หัวชาร์จเจอร์มีความเหมาะสม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเพื่อ น�ามาปรับการด�าเนินการรองรับการใช้งานให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น และพร้อมสนองนโยบายภาครัฐ

สถาบันยานยนต์พร้อมให้บริการทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า พิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อ�านวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า สถาบั น ยานยนต์ เ ป็ น หน่ ว ยงานสนั บ สนุ น การท� า งานของกระทรวง อุตสาหกรรม ก่อตั้งมา 22 ปี มีพันธกิจในการศึกษาวิจัยด้านเทคโนโลยี ยานยนต์ สรุปรายงานเสนอรายงานความคืบหน้าในส่วนการท�างานต่างๆ เผยแพร่แก่ทงั้ ภาครัฐ เอกชน และประชาชนทัว่ ไปทีเ่ กีย่ วข้อง การพัฒนา บุคลากรในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ ฝึกอบรม ศูนย์ทดสอบเรื่อง ชิน้ ส่วนยานยนต์ตามมาตรฐาน มอก. ของไทย และมาตรฐานต่างประเทศ ปัจจุบนั มีสถานทีต่ งั้ อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ กล้วยน�า้ ไท ท�าหน้าทีเ่ ป็นศูนย์กลาง ข้อมูล มีแท่นชาร์จไฟฟ้า 1 แท่น ให้บริการประชาชนทั่วไปโดยไม่คิด ค่าใช้จ่าย แต่ต้องอนุญาตเข้าใช้บริการก่อนทุกครั้ง นิคมอุตสาหกรรม บางปู จังหวัดสมุทรปราการ ตัวอาคารได้รบั การสนับสนุนจากญีป่ นุ่ และ เครือ่ งมือจาก สมอ. ท�าหน้าทีท่ ดสอบเรือ่ งมลพิษ EURO4 EURO5 ทดสอบ หมวกกันน็อก กระจกนิรภัย และอืน่ ๆ และสนามไชยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพืน้ ทีข่ องกรมป่าไม้ ทีไ่ ด้รบั อนุเคราะห์ 1,295 ไร่ เพือ่ ท�าหน้าทีท่ ดสอบ ด้าน EV ทั้งรถยนต์ไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ก่อสร้างแล้วเสร็จ พืน้ ทีส่ นามไชย 1 พืน้ ทีท่ ดสอบยางล้อ ส่วนอืน่ ๆ เช่น พืน้ ทีอ่ าคารส�าหรับ ทดสอบแบตเตอรีก่ า� ลังอยูร่ ะหว่างการก่อสร้าง ตัวอาคารคาดว่าจะแล้วเสร็จ

GreenNetwork4.0 September-October

2020


ประมาณพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ส่วนเฟสที่ 2 เป็นการสร้างสนามส�าหรับขับทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า ทุกระบบ อยู่ระหว่างเร่งการก่อสร้าง มีล่าช้าเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 เพราะในพืน้ ทีใ่ กล้เคียงมีการแพร่เชือ้ จากสนามมวยก่อนหน้านี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2564 และในเฟสที่ 3 จะเก็บตกทุกๆ งานให้แล้วเสร็จ รวมทัง้ การติดตัง้ เครือ่ งจักรและเครือ่ งมือ ในส่วนต่างๆ ทีร่ ฐั บาลอนุมตั งิ บประมาณ จะแล้วเสร็จประมาณไตรมาสแรก ของปี พ.ศ. 2564 ส�าหรับการเตรียมบุคลากรที่จะเข้ามาท�างานภายใน สนามไชยนั้น สถาบันฯ ได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับศูนย์ทดสอบ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) และเตรียมความพร้อมอีกส่วน จากกระทรวงอุตสาหกรรมที่มีพื้นฐานความรู้เรื่องยานยนต์ไฟฟ้ามาร่วม อีกจ�านวนหนึ่ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นภายในศูนย์ทดสอบที่สนามไชย รองรับยานยนต์ไฟฟ้าจากบริษัทต่างๆ ที่จะเข้ามาทดสอบ เช่น ทดสอบ ประสิทธิภาพทั้งคัน การออกแบบใช้วัสดุจากนาโนเทคหรือใช้จากวัสดุ อะไรบ้าง โครงสร้างตัวรถมีความปลอดภัยในระดับขั้นไหน สุขอนามัย ภายในตัวรถมีมากน้อยเพียงใด และระบบฟอกอากาศภายในตัวรถจะ ล�า้ สมัย สามารถฆ่าเชือ้ ไวรัสชนิดใดได้บา้ ง เป็นต้น ซึง่ ศูนย์ทดสอบจะต้อง เซ็ตระบบการทดสอบรองรับความก้าวหน้าของยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ทุกรูปแบบ

PTEC เตรียมสร้าง Lab Test รถขนาดใหญ่ ยานยนต์ไฟฟ้า อัตโนมัติไร้คนขับในอนาคต

ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์ ผู้อ�านวยการศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) ส�านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า PTEC ได้เข้าไปมีบทบาทร่วมกับ ส�านักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม มาอย่าง ยาวนาน โดยเฉพาะในเรื่องการก�าหนดมาตรฐานของแบตเตอรี่และ การทดสอบแบตเตอรี่ ซึง่ เป็นมาตรฐานทีส่ า� คัญอย่างยิง่ ของยานยนต์ไฟฟ้า เครือ่ งชาร์จ หัวชาร์จ และมาตรฐานต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง รวมทัง้ มีการสร้าง นักวิจัยคนไทยขึ้นมาท�าการออกแบบสร้างแบตเตอรี่ เพื่อลดการน�าเข้า จากต่างประเทศที่มีราคาแพงใช้เองภายในประเทศ นอกจากนี้ยังมีการ ท�างานวิจยั อืน่ ๆ ร่วมกับการสร้าง Lab Test ระบบภายในยานยนต์ไฟฟ้า อย่างครบวงจร เช่น การระบายความร้อนของแบตเตอรี่เพื่อป้องกัน การก่อประกายไฟจนเกิดการลุกไหม้ ท�าให้ผู้ใช้ไม่มีความปลอดภัย การสัน่ สะเทือนขณะขับขี่ ระบบความปลอดภัยต่างๆ ทดสอบโครงสร้าง ตัวยานยนต์ในเรือ่ งน�า้ หนักเบา และรูปแบบต่างๆ รวมทัง้ การควบคุมเรือ่ ง ความถีข่ องรถทีจ่ ะไม่กวนการท�างานของเครือ่ งยนต์หรือซอฟต์แวร์ทตี่ ดิ ตัง้ ภายในตัวรถ และอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับประสิทธิภาพและคุณภาพการขับขี่ บนถนนทุกรูปแบบในประเทศไทย ในอนาคตก�าลังด�าเนินการสร้าง Lab Test รถขนาดใหญ่ทขี่ บั เคลือ่ นเกิน 4 ล้อ เช่น รถบัส 2 ชัน้ พร้อมทัง้ สร้าง Lab Test ยานยนต์ไฟฟ้าอัตโนมัติไร้คนขับ ส�าหรับความพร้อมของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยนัน้ มองว่า ก�าลังเดินหน้าตามแผนด�าเนินการที่วางไว้อย่างเป็นระบบ อาจจะล่าช้า ไปบ้างในบางส่วนตามตัวแปรที่ควบคุมได้ยาก เช่น เรื่องสถานการณ์ การแพร่ระบาดของ COVID-19 ท�าให้การท�างานหยุดชะงักลง โดยเฉพาะ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับทั้งในส่วนของถนน การวางระบบ โครงข่ายโทรคมนาคม 5G เพื่อให้ยานยนต์ไฟฟ้าใช้ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้ง มากับตัวรถ พูดคุยกับโครงสร้างพืน้ ฐานระหว่างเส้นทางขับขี่ เป็นต้น 13

อย่างไรก็ตาม ยังมั่นใจในศักยภาพมาตรฐานของฐานการผลิต ยานยนต์แบบดั้งเดิมที่เป็นศูนย์การผลิตรถยนต์ที่เข้มแข็งเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ของไทยก้าวกระโดด หากรูจ้ กั ปรับใช้นวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาใช้สา� หรับ ข้อแนะน�าผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกๆ บริษัทที่จะเข้ามาท�าตลาดใน ประเทศไทย ควรค�านึงเรือ่ งความปลอดภัยของแบตเตอรีเ่ ป็นสิง่ แรก และ ควรมีการท�าประกันแบตเตอรีใ่ ห้กบั ผูบ้ ริโภคทีใ่ ช้งานของแต่ละบริษทั จะมี ระยะเวลากีป่ กี ต็ ามข้อตกลงของแต่ละบริษทั เพือ่ สร้างความเชือ่ มัน่ และ เป็นอีกแรงจูงใจให้ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม

MG สร้างแท่นชาร์จให้บริการลูกค้าผ่านโชว์รูม ศูนย์บริการ MG ทั่วประเทศ 100 แห่ง ในปี’63

มร.จาง ไห่โป กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จ�ากัด และบริษทั เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จ�ากัด กล่าวว่า MG มุง่ มัน่ ทีจ่ ะพัฒนาระบบยานยนต์ทกุ รูปแบบตอบสนองตลาดผูบ้ ริโภค โดยเฉพาะ ในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา MG ได้เปิดตัว MG ZS EV ที่ขับเคลื่อนด้วย พลังงานไฟฟ้า 100% ครั้งแรกในประเทศไทย และได้รับการตอบรับที่ดี ผู้บริโภคชื่นชอบในตัวยานยนต์ท่ีเปิดตัวและก�าลังมีแผนการด�าเนินการ ต่อยอดสร้างยานยนต์ไฟฟ้าตามนิยาม New Generation of Automotive ของ MG ซึ่งให้ความส�าคัญกับระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้นมารองรับ ระบบยานยนต์ไร้คนขับ และพลังงานทางเลือก ในรูปแบบต่างๆ ทีส่ า� คัญ จะให้ความส�าคัญกับทีมงานวิศวกร ช่างเทคนิค และนักคณิตศาสตร์ในการค�านวณสูตรต่างๆ ทีใ่ ช้ในยานยนต์ไฟฟ้า รวมทัง้ จัดอบรมส่งเสริมให้มีการศึกษา สร้างงานวิจัยเผยแพร่ภายในองค์กร เพื่อร่วมกันคิดค้นยานยนต์ไฟฟ้าที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ส�าหรับการสร้างแท่นชาร์จเพือ่ บริการลูกค้าของ MG จะด�าเนินการ ผ่านโชว์รมู และศูนย์บริการ MG ทัว่ ประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563 นี้ คาดว่า ในระยะแรกจะมีประมาณ 100 แห่ง และจะมองหาพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ เพิม่ เติมอีก 1 เท่าตัวในปี พ.ศ. 2564 ผ่านพันธมิตรทางการค้า ซึง่ จะเลือกพืน้ ทีท่ ตี่ ดิ ทางหลวง และในระยะที่ 3 จะเริม่ ให้ครบทัว่ ประเทศ เช่น ในสถานีบริการ น�า้ มันต่างๆ ห้างสรรพสินค้า หมูบ่ า้ นขนาดใหญ่ ทีพ่ กั อาศัย และสถานที่ ท่องเที่ยวส�าคัญๆ ในประเทศไทย ส่วนงบการลงทุนสร้างแท่นชาร์จของ MG ประมาณ 1 ล้านบาทต่อ 1 แท่นชาร์จ ขณะนี้ภาพรวมการท�าธุรกิจ ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยังไม่มีปัญหาและอุปสรรคมากนัก อีกทั้ง ด้วยความพร้อมของประเทศไทยจากทุกภาคส่วน ส่งผลให้การด�าเนิน ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าของ MG ได้รับการตอบรับมากยิ่งขึ้น

มร.จาง ไห่โป

กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จ�ากัด และ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จ�ากัด

GreenNetwork4.0 k4.0 September-October

2020


BCG กองบรรณาธิการ

วว. ใช้ ยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรมในเอทานอล ช่วยเพิ่มก�าลังผลิต - ลดต้นทุน แนะรัฐออกมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพควบคุมการใช้งาน

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (วว.)

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ภายใต้การ สนับสนุนของกองทุนเพือ่ ส่งเสริมการอนุรกั ษ์พลังงาน จั ด สั ม มนาเผยผลการศึ ก ษา “โครงการศึ ก ษา ความเป็นไปได้ในการใช้ยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม ในอุตสาหกรรมเอทานอล” โดยผลวิจยั ชีว้ า่ การใช้ยสี ต์ ดัดแปลงพันธุกรรมสามารถเพิม่ ก�าลังการผลิตเอทานอล ลดต้ น ทุ น การผลิ ต เอทานอลในส่ ว นของการใช้ เอนไซม์ลงได้ประมาณ 25% หรือลดต้นทุนได้ 1.18 บาทต่อการผลิตเอทานอล 1 ลิตร ย�า้ ผ่านการทดสอบ การประเมินผลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพแล้วว่า ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ ระบุหากประเทศไทยน�า ยีสต์ดดั แปลงพันธุกรรมไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมการ ผลิตเอทานอล จะต้องเร่งออกมาตรการเพื่อควบคุม และก�ากับการใช้งานเชือ้ จุลนิ ทรียด์ ดั แปลงพันธุกรรม โดยยึ ด ถื อ มาตรฐานความปลอดภั ย ทางชี ว ภาพ เป็นส�าคัญ ดร.ชุตมิ า เอีย่ มโชติชวลิต ผูว้ า่ การ สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า วว. ได้รบั การสนับสนุนเงินทุนวิจยั จากกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ให้ด�าเนินงานวิจัย

14

และพั ฒ นาเทคโนโลยี เ พื่ อ เพิ่ ม ผลผลิ ต เอทานอล ทั้งในด้านเทคโนโลยีชีวภาพและกระบวนการผลิต เป็นเวลากว่า 5 ปี โดยทดสอบในระดับห้องปฏิบตั กิ าร และระดับกึ่งอุตสาหกรรมภายใต้โครงการพัฒนา การเพิ่มผลผลิตเอทานอลจากหัวมันส�าปะหลังสด/ มันเส้น (2559) และโครงการพัฒนาการเพิม่ ผลผลิต เอทานอลจากกากน�้าตาล (2561) รวมถึงล่าสุด โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ยสี ต์ดดั แปลง พันธุกรรมในอุตสาหกรรมเอทานอล ที่ศูนย์ความ หลากหลายทางชีวภาพ โดย วว. ได้ดา� เนินการศึกษา โดยการใช้วรรณกรรมวิจัยเพื่อสืบค้น และรวบรวม สถานภาพความก้าวหน้าในการพัฒนาพันธุกรรมเชื้อ ยีสต์เพือ่ ผลิตเอทานอล และแนวทางในการด�าเนินการ ในต่างประเทศ เพือ่ ก�ากับควบคุมหรือส่งเสริมการใช้ และการวิจัยในสาขาดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับ เชื้อยีสต์ที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมด้วยเชื้อยีสต์จาก ธรรมชาติของประเทศไทย ทั้งในด้านประสิทธิภาพ การผลิตเอทานอล และด้านคุณสมบัตอิ นื่ ๆ ทีม่ ผี ลต่อ ต้นทุนการผลิตเอทานอลอืน่ ๆ เช่น สารพลอยได้ และ ของเหลือจากกระบวนการผลิตเอทานอลโดยยีสต์ ดัดแปลงพันธุกรรม รวมถึงความปลอดภัยทางชีวภาพ

GreenNetwork4.0 September-October

2020


จากการศึกษาวิจัย วว. สามารถคัดเลือกยีสต์ ดัดแปลงพันธุกรรม คือ สายพันธุ์ MD1 ส�าหรับวัตถุดบิ มันส�าปะหลัง มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ กลูโคอะไมเลสได้ ช่วยในการผลิตเอทานอลที่ความ เข้ ม ข้ นสู ง สามารถลดต้นทุนการผลิต เอทานอล ในส่วนของการใช้เอนไซม์ลงได้ ส่วนเชือ้ ยีสต์ดดั แปลง พันธุกรรม GY1 ส�าหรับวัตถุดิบประเภทกากน�้าตาล มีศักยภาพในการผลิตเอทานอลได้ดีกว่าเชื้อยีสต์ อุตสาหกรรม เมื่อท�าการผลิตเอทานอลที่ใช้ความ เข้มข้นตั้งต้นของกากน�้าตาลสูง ส่วนการทดสอบ ประเมินผลกระทบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ของการใช้เชือ้ ยีสต์ดดั แปลงพันธุกรรม และเชือ้ ยีสต์ ดัดแปลงพันธุกรรมผ่านการทดสอบประเมินผลกระทบ ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพว่าไม่ก่อให้เกิดการ กลายพันธุ์ “งานวิจัยดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งงานวิจัยด้าน จุลนิ ทรียข์ อง วว. ทีส่ อดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล สนับสนุนให้เกิดการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (BCG) ของ ประเทศ ซึง่ วว. ศักยภาพและความสามารถในการน�า จุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ

ตัวอย่างยีสต์ที่ดัดแปลงพันธุกรรมในเอทานอล 15

ผลิตภัณฑ์ ช่วยขับเคลือ่ นให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ต่อไปในอนาคต” ผู้ว่าการ วว. กล่าว ดร.พงศธร ประภั ก รางกู ล ผู ้ อ�า นวยการ ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ วว. กล่าวเพิม่ เติมว่า ผลการศึกษาในวัตถุดิบมันส�าปะหลัง วว. ท�าวิจัย โดยใช้เชือ้ ยีสต์ MGT1/1 จากศูนย์จลุ นิ ทรีย์ วว. และ เชื้อยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม MD1 มีความสามารถ ในการผลิตเอนไซม์กลูโคอะไมเลสได้เทียบเคียงกัน แต่ประสิทธิภาพในการผลิตเอทานอลของเชื้อยีสต์ MD1 จะดีกว่าเชือ้ ยีสต์ MGT1/1 ในการผลิตเอทานอล ที่ความเข้มข้นสูง และสามารถลดต้นทุนการผลิต เอทานอลในส่วนของการใช้เอนไซม์ลงได้ประมาณ 0.45 บาทต่อการย่อยมันส�าปะหลัง 1 กิโลกรัม หรือ ลดต้นทุนการใช้เอนไซม์ลงได้ 1.18 บาทต่อการผลิต เอทานอล 1 ลิตร โดยไม่สง่ ผลกระทบต่อประสิทธิภาพ การผลิต ซึง่ ให้ผลลักษณะเดียวกันกับการผลิตเอทานอล ด้วยวัตถุดิบประเภทกากน�้าตาล กล่าวคือ เชื้อยีสต์ ดัดแปลงพันธุกรรม GY1 มีศักยภาพในการผลิต เอทานอลได้ดีกว่าเชื้อยีสต์อุตสาหกรรม SC-90 เมือ่ ท�าการผลิตเอทานอลทีใ่ ช้ความเข้มข้นตัง้ ต้นของ กากน�้าตาลสูง ส่วนการทดสอบประเมินผลกระทบ ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของการใช้เชื้อยีสต์ ดัดแปลงพันธุกรรมและเชื้อยีสต์จากธรรมชาติใน การผลิตเอทานอล โดยวิธี Reverse Mutagenicity (AMEs Test) พบว่า เชือ้ ยีสต์ทนี่ า� มาทดลองทัง้ เชือ้ ยีสต์ จากธรรมชาติ แ ละเชื้ อ ยี ส ต์ ดั ด แปลงพั น ธุ ก รรม ล้วนแล้วแต่ไม่พบฤทธิ์ก่อการกลายพันธุ์ จากผลการด�าเนินการโครงการฯ สามารถ สรุปได้วา่ การผลิตเอทานอลโดยใช้ความเข้มข้นของ สารตั้งต้นสูงจากทั้งวัตถุดิบที่เป็นกากน�้าตาลและ มันส�าปะหลัง สามารถเพิ่มก�าลังการผลิตเอทานอล และลดต้นทุนการผลิตเอทานอลได้อย่างมีนัยส�าคัญ

GreenNetwork4.0 September-October

2020

ดร.พงศธร ประภักรางกูล ผู้อ�านวยการ ศูนย์ความหลากหลาย ทางชีวภาพ วว.

“หากประเทศไทยต้องการ พั ฒ นาอุ ต สาหกรรมการผลิ ต เอทานอล จ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้ อ งเร่ ง ออกมาตรการเพื่ อ ควบคุ ม และก� า กั บ การใช้ ง าน เชือ้ จุลนิ ทรียด์ ดั แปลงพันธุกรรม โดยยึ ด ถื อ มาตรฐานความ ปลอดภัยทางชีวภาพเป็นส�าคัญ” ผู้ว่าการ วว. กล่าวสรุปทิ้งท้าย


Automotive กองบรรณาธิการ

นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมรถโดยสารไฟฟ้าต้นแบบภายใต้โครงการ “City Transit E-buses” พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรั ฐ มนตรี และคณะรั ฐ มนตรี เยีย่ มชมผลงานวิจยั “การพัฒนาต้นแบบ รถโดยสารไฟฟ้ า โครงการพั ฒ นา รถโดยสารไฟฟ้ า จากรถโดยสาร ประจ�าทางใช้แล้วของ ขสมก. (City Transit E-buses)” ซึ่งเป็นผลงานวิจัย และพัฒนาของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยส�านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้า ส่วนภูมภิ าค (กฟภ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) องค์การขนส่ง มวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เครือข่าย พันธมิตรที่ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐ ทั้ ง หน่ ว ยงานวิ จั ย สถาบั น การศึ ก ษา ทดสอบ หน่วยงานก�ากับดูแลมาตรฐาน การจดทะเบียน การใช้งาน นโยบาย ส่งเสริม และเอกชนผูร้ ว่ มพัฒนา ภายใต้ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจยั และพัฒนาโครงการพัฒนารถโดยสาร ไฟฟ้าจากรถโดยสารประจ�าทางใช้แล้ว ขององค์ ก ารขนส่ ง มวลชนกรุ ง เทพ (ขสมก.) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ ของผูป้ ระกอบการไทยในการออกแบบและ ผลิตรถโดยสารไฟฟ้า ทีส่ ามารถจดทะเบียน เพื่อใช้งานกับกรมการขนส่งทางบกได้ อย่างถูกต้อง และพร้อมส�าหรับการผลิต ในระดับอุตสาหกรรมจ�านวน 4 รายการ โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้การต้อนรับ ณ ตึกสันติไมตรี ท�าเนียบ รัฐบาล 16

นายกฯ เยี่ยมชมผลงานวิจัย “การพัฒนาต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้า

ในโครงการ City Transit E-buses” พัฒนารถโดยสารประจ�าทางใช้แล้ว ขสมก. 4 คัน ให้เป็นรถโดยสารไฟฟ้า โครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสารประจ�าทางใช้แล้วของ ขสมก. (City Transit E-buses) ด�าเนินการในลักษณะภาคีเครือข่าย (Consortium) การพัฒนาอุตสาหกรรมรถโดยสาร ไฟฟ้าไทย ร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจยั ประกอบไปด้วย สมาชิกจากกระทรวง อว. โดยส�านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ส�านักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม (สมอ.) สถาบันยานยนต์ (สยย.) ส�านักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจร กรมการขนส่งทางบก (สนข.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และสมาคมผูผ้ ลิตชิน้ ส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) มีเป้าหมายในการยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยให้สามารถผลิต รถโดยสารไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นรถโดยสารประจ�าทาง และเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับ รถโดยสารประจ�าทางเก่าทีป่ ลดอายุการใช้งานแล้ว โดยได้รบั การสนับสนุนงบประมาณจาก กฟน. กฟภ. กฟผ. ขสมก. สวทช. และได้รบั รถโดยสารประจ�าทางทีป่ ลดอายุการใช้งานแล้วจ�านวน 4 คัน ที่จะส่งมอบให้ผู้ประกอบการไทยที่ได้รับคัดเลือกจ�านวน 4 ราย น�าไปปรับปรุงให้เป็นรถโดยสาร ไฟฟ้า ทัง้ นีผ้ ปู้ ระกอบการไทยทีผ่ า่ นการคัดเลือกจะได้รบั การให้คา� ปรึกษาทางเทคโนโลยีผา่ นกลไก การสนับสนุนทีป่ รึกษาผูเ้ ชีย่ วชาญโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สวทช. ได้แก่ 1. บริษัท พานทอง กลการ จ�ากัด 2. บริษัท โชคน�าชัย-ไฮเทคเพลสซิ่ง จ�ากัด 3. บริษทั รถไฟฟ้า ประเทศไทย จ�ากัด (มหาชน) และ 4. บริษทั สบายมอเตอร์ (ไทยแลนด์) จ�ากัด นอกจากนี้ ภาคีเครือข่ายฯ ยังได้สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาสนามทดสอบน�า้ ท่วมขัง ร่วมกับ มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี เพือ่ ประเมินประสิทธิภาพของรถในขณะขับขีใ่ นพืน้ ทีน่ า�้ ท่วมขัง เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการใช้รถโดยสารไฟฟ้า และอยู่ระหว่างการจัดท�าบทวิเคราะห์ ความคุ้มค่าในการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้า จากรถโดยสารประจ�าทางใช้แล้ว ขสมก. โดยสถาบัน เทคโนโลยีนานาชาติสริ นิ ธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนน�าเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป GreenNetwork4.0 September-October

2020


ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (ที่ 4 จากขวา) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว.

ภายในตัวรถโดยสารไฟฟ้าต้นแบบ

รถโดยสารไฟฟ้าต้นแบบ สวทช. โดยทีมวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้พฒ ั นาตูอ้ ดั ประจุไฟฟ้าจ�านวน 2 ตู้ ติดตัง้ ทีเ่ ขตการเดินรถ ที่ 1 ของ ขสมก. เพื่อให้รถทั้ง 4 คัน ได้ท�าการอัดประจุขณะทดลองวิ่ง เป็นรถโดยสารประจ�าทางสาย 543ก (อูบ่ างเขน-ท่าน�า้ นนท์) เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ นอกจากนี้ ทีมวิจยั จาก สวทช. ยังร่วมให้คา� ปรึกษาและแก้ปญ ั หา การออกแบบและประกอบรถโดยสารไฟฟ้าแก่ผปู้ ระกอบการ และทีมวิจยั อยูร่ ะหว่างด�าเนินการน�ารถทัง้ 4 คันไปทดสอบสมรรถนะ และวิเคราะห์ คุณลักษณะ สมรรถภาพตามข้อก�าหนดคุณลักษณะทางวิศวกรรม เพือ่ ให้ เกิดความมัน่ ใจในการน�าไปใช้งาน และสามารถจดทะเบียนกับกรมการขนส่ง ทางบกอย่างถูกต้องต่อไป ส�าหรับคุณลักษณะขัน้ ต�า่ ทีร่ ถโดยสารทัง้ 4 คันมีคอื ระยะเวลาใน การประจุไฟฟ้าเฉลีย่ อยูท่ ี่ 2-3 ชัว่ โมง ระยะทางทีว่ ง่ิ ได้ตอ่ การประจุไฟฟ้า เฉลีย่ 160-250 กิโลเมตร และความเร็วสูงสุดต่อเนือ่ ง 80-90 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง เป็นต้น โดยจะมีคุณลักษณะเด่นของรถโดยสารไฟฟ้าที่ได้รับ การพัฒนาจากทั้ง 4 บริษัทดังนี้ รถโดยสารไฟฟ้าขนาด 12 เมตร จากบริษัท พานทอง กลการ จ�ากัด พัฒนาโดยใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ 60% มีองค์ความรู้ระบบควบคุมการท�างานของรถโดยสารไฟฟ้า (Vehicle Control Unit : VCU) และระบบจัดการการประจุไฟฟ้า (On-Board Charger) จากทีมผูพ้ ฒ ั นาในประเทศไทย ท�าให้สามารถออกแบบระบบ ที่สามารถปรับแต่งและปรับปรุงให้ใช้งานในสภาวะที่หลากหลายได้ รถโดยสารไฟฟ้าขนาด 12 เมตร จากบริษัท โชคน�าชัยไฮเทคเพลสซิง่ จ�ากัด พัฒนาโดยใช้ชนิ้ ส่วนภายในประเทศ 40% ใช้ตวั ถังอะลูมเิ นียม มีความพิเศษคือโครงสร้างน�า้ หนักเบา แข็งแกร่ง

1.

2.

17

ผลิตจาก Aluminum เกรดสูง ทนการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี ท�าให้ตวั รถ มีน�้าหนักเบา ประหยัดพลังงาน และท�าการผลิตในแบบอุตสาหกรรม ยานยนต์ที่สามารถรองรับการผลิตแบบ Mass Production ได้ รถโดยสารไฟฟ้าขนาด 12 เมตร จากบริษัท รถไฟฟ้า ประเทศไทย จ�ากัด (มหาชน) พัฒนาโดยใช้ชนิ้ ส่วนภายใน ประเทศ 40% พัฒนาบนความร่วมมือกับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งจากภายในและต่างประเทศ มีความพร้อมในการรับประกันรถจาก ความร่วมมือกับผูผ้ ลิตชิน้ ส่วน จะเห็นได้จากระยะเวลาในการรับประกัน โดยเฉพาะชุดแบตเตอรีท่ ใี่ ห้มากถึง 5 ปี หรือ 200,000 กิโลเมตร อีกทัง้ ยังมีการออกแบบระบบการขับเคลื่อนให้สามารถขับขี่ได้ 3 โหมด ได้แก่ 1. โหมดประหยัดพลังงาน (Eco Mode) 2. โหมดธรรมดา (Standard Mode) 3. โหมดสปอร์ต (Sport Mode) และรองรับการประจุไฟฟ้าทั้ง แบบเร็วและแบบธรรมดา รถโดยสารไฟฟ้าขนาด 12 เมตร จากบริษทั สบายมอเตอร์ (ไทยแลนด์) จ�ากัด (SMT) พัฒนาโดยใช้ชิ้นส่วนภายใน ประเทศ 50% ชุดอุปกรณ์ขบั เคลือ่ นไฟฟ้าทีเ่ คยท�างานร่วมกันบนรถโดยสาร ไฟฟ้ามาแล้ว ด้วยการทดสอบใช้งานบนสภาวะการขับขีจ่ ริง ระยะทางกว่า 25,000 กิโลเมตร สร้างความเชื่อมั่นและแสดงถึงความเข้ากันได้ในการ ท�างานร่วมกันของอุปกรณ์ ทั้งในเชิงประสิทธิภาพการท�างานและความ ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม รถโดยสารไฟฟ้าทั้ง 4 บริษัทนี้จะท�าให้ต้นทุน ในการเปลีย่ นจากรถโดยสารประจ�าทางใช้แล้วของ ขสมก. ถูกลง โดย รถโดยสารไฟฟ้าเฉลี่ยคันละ 7 ล้านบาท ขณะที่การน�าเข้ารถโดยสาร ไฟฟ้าจากต่างประเทศอยู่คันละ 12-14 ล้านบาท

3.

4.

GreenNetwork4.0 September-October

2020


Smart City กองบรรณาธิการ

‘บ้านปู เน็กซ์’ ร่วมกับ ‘ภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองขอนแก่น’

น�าเทคโนโลยี พลังงานสะอาด หนุนแผนพัฒนาขอนแก่น สู่ Smart City

โครงการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าระบบรางเบา ‘บ้านปู เน็กซ์’ บริษัทในเครือบริษัท บ้านปู จ�ากัด (มหาชน) ผนึกก�าลัง ‘ภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองขอนแก่น’ ใน “โครงการพัฒนาสมาร์ทซิตจี้ งั หวัดขอนแก่น” ร่วมผลักดัน แผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่นสู่สมาร์ทซิตี้เพื่อร่วมศึกษา ความเป็นไปได้ในการน�าพลังงานสะอาดและเทคโนโลยี พลังงานเข้าไปติดตั้งในพื้นที่เขตจังหวัดขอนแก่น พร้อม ร่วมกันผลักดันการใช้พลังงานสะอาดอย่างเต็มรูปแบบ ขานรับนโยบายพลังงาน 4.0 และแผนแม่บทการพัฒนา เมืองขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ 2029 ยกระดับการใช้พลังงานให้ มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ช่วยลดมลพิษและผลกระทบต่อ สิง่ แวดล้อมในระยะยาว ตลอดจนสร้างคุณภาพชีวติ ทีด่ ใี ห้แก่ ชาวขอนแก่น 18

บ้านปู เน็กซ์ ผนึกพลังภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองขอนแก่น สร้างระบบนิเวศด้านการใช้พลังงานสะอาดที่ครบวงจร

สมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษทั บ้านปู จ�ากัด (มหาชน) และบริษทั บ้านปู เน็กซ์ จ�ากัด กล่าวว่า บ้านปู เน็กซ์ เป็นผูใ้ ห้บริการพลังงาน สะอาดชั้นน�าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ด�าเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ Greener & Smarter ของบ้านปูฯ พร้อมน�านวัตกรรมความรูแ้ ละโซลูชนั ด้านเทคโนโลยี พลังงานที่หลากหลายมาเติมเต็มการใช้ชีวิตให้แก่ทุกภาคส่วน ล่าสุดได้ ผนึกความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองขอนแก่น โดยจะร่วมศึกษา ความเป็นไปได้ในการสร้างระบบนิเวศด้านการใช้พลังงานสะอาดที่ครบวงจร อาทิ การติดตัง้ ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การวางระบบสายส่ง ไฟฟ้าอัจฉริยะ การศึกษาการน�าระบบกักเก็บพลังงานเพือ่ เสริมศักยภาพการใช้ พลังงานอย่างเหมาะสม การพัฒนาระบบขนส่งอัจฉริยะ การวางระบบสัญจร ทางเลือกสาธารณะรองรับส่วนต่อขยายโครงการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าระบบ รางเบา รวมถึงการน�าเทคโนโลยีพลังงานสมัยใหม่อนื่ ๆ มาใช้ในเมืองขอนแก่น เพือ่ สนับสนุนการสร้างสภาพแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ส่งเสริม การใช้พลังงานสะอาดอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี ให้กบั ชาวขอนแก่น และร่วมขับเคลือ่ นขอนแก่นเข้าสูก่ ารเป็นสมาร์ทซิตตี้ ามแผน พัฒนาเมืองฯ ทั้งนี้ บ้านปู เน็กซ์ มีโครงการสมาร์ทซิตี้ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและ ด�าเนินการอยู่หลายแห่ง และยังมีโซลูชันด้านพลังงานสะอาดที่ครบวงจร ทัง้ รูปแบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซึง่ สามารถออกแบบให้เหมาะสมกับความ ต้องการของแต่ละพื้นที่ รวมถึงมีแพลตฟอร์มด้านการบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System) ที่ได้น�าอินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (Internet of Things : IoT) เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการระบบควบคุมการท�างานของอุปกรณ์ ต่างๆ เพือ่ ให้สามารถรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และประมวลผลการใช้พลังงาน สะอาดอย่างแม่นย�า ตลอดจนสามารถมอนิเตอร์และแจ้งเตือนเหตุขดั ข้องของ ระบบฯ หรือไซต์งานได้แบบเรียลไทม์ ท�าให้สามารถวางแผนป้องกันปัญหาได้ ล่วงหน้า เพื่อให้ระบบฯ ท�างานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด “ด้วยความเชีย่ วชาญและโซลูชนั ของบริษทั ฯ จะสามารถตอบโจทย์การ พัฒนาเมืองขอนแก่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเป็นประโยชน์สูงสุด พร้อมช่วยผลักดันให้ขอนแก่นเป็นอีกหนึ่งเมืองต้นแบบด้านการใช้เทคโนโลยี พลังงานสะอาดที่ครบวงจร” สมฤดี กล่าว

GreenNetwork4.0 September-October GreenNetw

2020


สมฤดี ชัยมงคล

กมลพงศ์ สงวนตระกูล

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น บมจ. บ้านปู และ บจก. บ้านปู เน็กซ์

หอการค้าขอนแก่นพร้อมน�าเทคโนโลยีด้านพลังงาน ต่างๆ มาใช้ภายในเมืองขอนแก่นอย่างเป็นรูปธรรม

กมลพงศ์ สงวนตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดขอนแก่นมุ่งมั่นที่จะเป็นแกนหลักของภาคเอกชนที่ร่วม ขับเคลื่อนภารกิจส�าคัญในการร่วมพัฒนาจังหวัดขอนแก่นสู่การเป็น เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่สอดรับกับนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ Thailand 4.0 โดยหัวใจส�าคัญของการพัฒนาสมาร์ทซิตี้คือ การเปิด โอกาสให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่เข้ามามี ส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ภายใต้แผนทั้ง 6 ด้าน แผนการ เดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) การด�ารงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) พลเมืองอัจฉริยะ (Smart Citizen) สิง่ แวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) และ การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) ซึ่งทางหอการค้าจะ ท�าหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงทุกภาคส่วน เพื่อให้การพัฒนาเมืองเป็นไปใน ทิศทางเดียวกันตามแผนแม่บทพัฒนาเมืองฯ รวมถึงมุง่ ส่งเสริมการสร้าง ระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านกายภาพ (Infrastructure) และรูปแบบ อินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (IoT) ให้สอดคล้องกับความเป็นอยูข่ องคนในพืน้ ที่ และน�าเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและการคมนาคม ต่างๆ ให้ทันสมัย และสะดวกสบายยิ่งขึ้น ที่ส�าคัญจะน�าพลังงานสะอาด และเทคโนโลยีด้านพลังงานต่างๆ มาใช้ภายในเมืองขอนแก่นอย่างเป็น รูปธรรม

สภาอุตสาหกรรมขอนแก่นมั่นใจพลังงานสะอาด

สร้าง Smart Environment ที่ใช้พลังงานได้อย่างยั่งยืน

ทรงศักดิ์ ทองไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การใช้พลังงานสะอาดในประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากทุกภาคส่วนเริ่มให้ความส�าคัญและ หันมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม พลังงานจากขยะ โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นพลังงานสะอาดที่เหมาะกับ สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่มีแดดตลอดทั้งปี ดังนั้นในฐานะภาคี เครือข่ายฯ จึงมองหาโอกาสที่จะน�าพลังงานสะอาดมาใช้กับโครงการ พัฒนาสมาร์ทซิตี้ ซึง่ บ้านปู เน็กซ์ จะเข้ามาตอบโจทย์ดงั กล่าว เนือ่ งจาก เป็นองค์กรชั้นน�าที่มีประสบการณ์ในแวดวงพลังงานสะอาดมายาวนาน ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค รวมถึงมีโซลูชันและเทคโนโลยี พลังงานที่หลากหลายครบวงจร ซึ่งเชื่อว่าจะน�ามาปรับใช้กับแต่ละพื้นที่ 19

ทรงศักดิ์ ทองไทย

สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย

ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดขอนแก่น

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วม ก่อตั้ง บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จ�ากัด

ในจังหวัดขอนแก่นได้อย่างเหมาะสม “ส�าหรับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น เราจะเดินหน้าสร้าง การรับรูถ้ งึ ความร่วมมือในครัง้ นี้ และส่งเสริมการให้ความรูเ้ รือ่ งพลังงาน สะอาดกับเหล่าสมาชิกและคนในชุมชน เพือ่ ร่วมกันด�าเนินงานในทิศทาง ที่สอดคล้องกัน โดยเชื่อว่าหากความร่วมมือครั้งนี้เริ่มมีความคืบหน้า อาทิ มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ หรือระบบโครงข่ายอัจฉริยะ จะสามารถ ยกระดับสภาพแวดล้อมและความเป็นอยูท่ ด่ี ยี งิ่ ขึน้ รวมถึงช่วยสร้าง Smart Environment ที่มีการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริง” ทรงศักดิ์ กล่าว

เคทีทีชี้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดเป็นฟันเฟืองส�าคัญ ขับเคลื่อนแผนพัฒนาเมืองให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและผูร้ ว่ มก่อตัง้ บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จ�ากัด กล่าวว่า บริษัทเคเคทีที เกิ ด จากการรวมตั ว ของกลุ ่ ม นั ก ธุ ร กิ จ ที่ เ ป็ น ลู ก หลานชาวขอนแก่ น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาจังหวัดขอนแก่น ให้เติบโตอย่างถูกหลักวิชาการ ตลอดจนมุง่ พัฒนาคุณภาพชีวติ ของคนใน จังหวัด ซึ่งในฐานะหนึ่งในภาคีเครือข่ายที่ร่วมพัฒนาจังหวัดขอนแก่นมา โดยตลอด จึงมีความยินดีทไี่ ด้ผนึกความร่วมมือกับบริษทั ชัน้ น�าในแวดวง ธุรกิจพลังงานสะอาดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างบ้านปู เน็กซ์ โดย เชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นก้าวส�าคัญของแผนพัฒนาสมาร์ทซิตี้ เพราะเทคโนโลยีพลังงานสะอาด คือฟันเฟืองชิน้ ส�าคัญในการขับเคลือ่ น แผนพัฒนาเมืองให้กา้ วหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ สมบูรณ์ และมีความยัง่ ยืน ขณะเดียวกันยังเป็นการส่งเสริมและปลูกฝังให้ทุกภาคส่วน และคนใน ท้องถิ่นเห็นความส�าคัญ และหันมาใช้พลังงานสะอาดกันเพิ่มมากขึ้น เพือ่ ร่วมกันบริหารจัดการพลังงานในพืน้ ทีใ่ ห้มปี ระสิทธิภาพ ลดมลภาวะ และลดค่าใช้จา่ ยด้านเชือ้ เพลิง ซึง่ จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวติ ให้กบั คนใน พื้นที่ รวมถึงช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับทางจังหวัด ซึ่งจะ ช่วยดึงดูดนักลงทุนเข้ามาลงทุนในอนาคตได้อีกด้วย สมฤดี กล่าวทิ้งท้ายว่า บ้านปู เน็กซ์ จะเริ่มด�าเนินการต่างๆ ร่วม กับภาคีเครือข่ายฯ สภาอุตสาหกรรมขอนแก่น และหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง อย่างใกล้ชิด โดยบริษัทฯ เตรียมจะเข้าประชุมร่วมกับสภาอุตสาหกรรม ขอนแก่น เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับแผนงานในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปให้กับ โรงแรมและโรงงานอุตสาหกรรมทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่

GreenNetwork4.0 September-October

2020


Factory ณัฐชยา แก่นจันทร์

SPBT สระบุรี ขึ้นแท่นอันดับ 1 ในเครือซันโทรี่ทั่วโลก ด้านการผลิต อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในการท�างาน

บริษทั ซันโทรี่ เป๊ปซีโ่ ค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จ�ำกัด หรือ SPBT ผู้ผลิตและจัดจ�ำหน่ำยเครื่องดื่มยอดนิยมภำยใต้แบรนด์สินค้ำของ ซันโทรีแ่ ละเป๊ปซีโ่ คในประเทศไทย ด�ำเนินงำนภำยใต้วสิ ยั ทัศน์ “Growing for Good” ยึดมัน่ ในหลัก 3R+1T ในกระบวนกำรท�ำงำน ก้ำวสูก่ ำรเป็น โรงงำนสีเขียว มุง่ มัน่ ลดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม เพิม่ ประสิทธิภำพกำร ผลิตด้วยระบบ Automation เพื่อสร้ำงควำมเติบโตอย่ำงยั่งยืน บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จ�ำกัด ตั้งขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน 2560 จากการร่วมทุนระหว่างเป๊ปซี่โค อิงค์ บริษทั ผูผ้ ลิตอำหำรและเครือ่ งดืม่ ชัน้ น�ำจำกประเทศสหรัฐอเมริกำ และ กลุ่มซันโทรี่ ผู้น�ำระดับโลกในธุรกิจเครื่องดื่มจำกประเทศญี่ปุ่น โดย ด�าเนินงานภายใต้วสิ ยั ทัศน์ “Growing for Good” เพือ่ สร้างความยัง่ ยืน ในการด�าเนินธุรกิจ หลังจากนัน้ ได้เปิดตัว บริษทั ซันโทรี่ เป๊ปซีโ่ ค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จ�ากัด อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 มีนาคม 2561 ด้วย ทุนจดทะเบียนมูลค่า 19,680 ล้านบาท ซึง่ ถือเป็นการพลิกประวัตศิ าสตร์ หน้าใหม่ของวงการเครือ่ งดืม่ ไทยอีกครัง้ โดยเป็นผูผ้ ลิตและผูจ้ ดั จ�าหน่าย เครือ่ งดืม่ ให้กบั เครือเป๊ปซีโ่ ค อาทิ เครือ่ งดืม่ Pepsi, Mirinda, 7up และ

20

โรงงำนบริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จ�ำกัด จ.สระบุรี

ชาพร้อมดื่ม Lipton เครื่องดื่มเกลือแร่ และเครื่องดื่ม Aquafina ทั้งนี้ ยังมีการพัฒนานวัตกรรมเครือ่ งดืม่ และสินค้าใหม่ๆ จากซันโทรีใ่ นอนาคต เพือ่ ขยายพอร์ตโฟลิโออย่างเต็มรูปแบบ และตอบสนองความต้องการของ ผู้บริโภคชาวไทย การผสานพลังและศักยภาพของ 2 บริษทั ชัน้ น�าระดับโลกในครัง้ นี้ เพื่อเป้าหมายในการก้าวไปสู่ผู้น�าอันดับหนึ่งในตลาดเครื่องดื่มน�้าอัดลม ในประเทศไทย ควบคู่ไปกับการรุกขยายพอร์ตโฟลิโอเครื่องดื่มอย่าง เต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยเติมเต็มความสดชื่น เครื่องดื่ม เกลือแร่ ชา-กาแฟพร้อมดืม่ น�า้ บรรจุขวด น�า้ ผลไม้ รวมไปถึงนวัตกรรม ใหม่ๆ ในอนาคต

SPBT ใช้เครื่องจักรทันสมัยจากเยอรมนี

ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติแบบปิด-สะอาดและปลอดภัย

เพิ่มศักดิ์ ไกรสรพงษ์ ผู้อ�ำนวยกำรฝ่ำยซัพพลำยเชน บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จ�ำกัด หรือ SPBT กล่าวว่า โรงงานผลิตเครือ่ งดืม่ ของซันโทรี่ เป๊ปซีโ่ คนัน้ พรัง่ พร้อมไปด้วยเครือ่ งจักร ทีท่ นั สมัยและมีประสิทธิภาพสูงจากประเทศเยอรมนี ควบคุมการผลิตด้วย ระบบอัตโนมัติ (Automation) เต็มรูปแบบ โดยมีกา� ลังการผลิตสูงสุดถึง 800 ขวดต่อนาที ทีส่ า� คัญคือ เป็นโรงงานระบบปิดตลอดกระบวนการผลิต ตัง้ แต่การขึน้ รูปขวดพีอที ี ผสมเครือ่ งดืม่ บรรจุขวด ปิดฝา ติดฉลาก และ การแพ็คบรรจุภณ ั ฑ์ดว้ ยเทคโนโลยีทนั สมัย ภายใต้โรงงานทีม่ มี าตรฐาน ความปลอดภัยของอาหารระดับโลก เพือ่ ให้ผบู้ ริโภคมัน่ ใจได้วา่ เครือ่ งดืม่ ของซันโทรี่ เป๊ปซี่โคนั้น สะอาดและปลอดภัย 100% ส� า หรั บ โรงงานผลิ ตเครื่ องดื่ ม แห่ ง แรกตั้ ง อยู ่ ที่จัง หวัดระยอง มีทั้งสิ้น 9 สายการผลิต ส่วนโรงงานแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ปัจจุบนั มีจา� นวนทัง้ สิน้ 4 สายการผลิต ทัง้ นีบ้ ริษทั ฯ ยังได้เตรียมงบประมาณ อีก 1,500 ล้านบาท ส�าหรับขยายโรงงานในเฟสต่อๆ ไป เพือ่ รองรับความ ต้องการของผู้บริโภคในอนาคต

GreenNetwork4.0 September-October

2020


ด�าเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ “Growing for Good” ยึดมั่นหลัก 3R+1T เพื่อกระบวนการท�างานที่ยั่งยืน

ซันโทรี่ เป๊ปซีโ่ ค ด�าเนินงานภายใต้วสิ ยั ทัศน์ “Growing for Good” โดยยึดมัน่ ในหลัก 3R+1T ในกระบวนการท�างาน เพือ่ การเติบโตทีย่ งั่ ยืน โดยหลัก 3R ได้แก่ Reduce-Reuse-Recycle และ 1T คือ Information Technology ในการท�างาน เริ่มจากการเดินหน้าใช้ขวดพีอีทีที่สามารถ น�าไปรีไซเคิลได้ 100% และมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีร่วมกับคู่ค้า จนเกิดเป็น Light Weight Plastic ซึง่ เป็นการใช้ปริมาณพลาสติกในการ ผลิตขวดแต่ละขวดน้อยลง แต่ยงั คงคุณสมบัตดิ ตี ามมาตรฐานบรรจุภณ ั ฑ์ ทั้งนี้เป๊ปซี่โคและซันโทรี่ต่างก็มีวิสัยทัศน์ในการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายการใช้บรรจุภัณฑ์ทั่วโลกที่สามารถรีไซเคิล สลายตัว หรือย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100% ภายในปี พ.ศ. 2568 และ พ.ศ. 2573 ตามล�าดับ

ให้ความส�าคัญในการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

โรงงานผลิตเครื่องดื่มซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ถือเป็น “โรงงำนสีเขียว” ที่อนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การก่อสร้าง (โดยออกแบบตามมาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ระดับ Silver ในเรือ่ งของการเลือกใช้วสั ดุ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) อาทิ หลังคาที่สามารถดูดซับความร้อนได้ดี ทิศทางของโรงงานควรหันทางด้านใด จนถึงการใช้อาคารในการปฏิบตั งิ าน จริง ผสานกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ หลอดไฟ LED ประหยัดไฟฟ้า และเทคโนโลยีในสายการผลิตที่มุ่งเน้น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ท�าให้กระบวนการผลิตในปัจจุบัน สามารถลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 14% เมือ่ เทียบกับปีทผี่ า่ นมา และยังมุ่งหน้าพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น 21

เพิ่มศักดิ์ ไกรสรพงษ์

ผู้อ�ำนวยกำรฝ่ำยซัพพลำยเชน บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จ�ำกัด หรือ SPBT

เลือกใช้เทคโนโลยีในสายพานการผลิต ช่วยลดการใช้น�้า

เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า ด้านทรัพยากรน�้า โรงงานผลิตเครื่องดื่มของ ซันโทรี่ เป๊ปซีโ่ ค ได้เลือกใช้เทคโนโลยีในสายพานการผลิตทีช่ ว่ ยลดการใช้ น�้า ตัวอย่างเช่น ในการผลิตเครื่องดื่ม 1 ลิตร จะใช้น�้าไม่เกิน 1.5 ลิตร พร้อมกันนี้ ยังมีระบบบ�าบัดน�า้ เสียทีส่ งู กว่ามาตรฐานทีน่ คิ มอุตสาหกรรม ก�าหนด โดยโรงงานได้ควบคุมคุณภาพของน�้าทิ้งที่ปล่อยออกสู่การนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้มีคุณภาพสูงกว่าคุณภาพของน�้าทิ้ง ที่การนิคมฯ ก�าหนด ซึ่งท�าให้โรงงานสามารถน�าน�้าส่วนหนึ่งที่ได้รับการ บ�าบัดแล้วกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อกี ครัง้ ในขอบเขตทีก่ ฎหมายก�าหนด อาทิ ใช้ท�าความสะอาดโถสุขภัณฑ์ ใช้รดน�้าต้นไม้ภายในโรงงาน ส่งผล ให้ใช้ทรัพยากรน�้าลดลงไปได้ถึง 35% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

GreenNetwork4.0 September-October

2020


“นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2561 โรงงานที่สระบุรียังได้รับรางวัล อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 3 ซึง่ เป็นรางวัลทีม่ อบให้แก่โรงงานทีม่ กี ารพัฒนา อย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่าง เป็นระบบ มีการติดตามและประเมินผลเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รางวัลดังกล่าวมอบให้กับโรงงานที่ผ่านการตรวจสอบตามเงื่อนไข ของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยใบรับรองนี้มีอายุ 3 ปี”

โรงงานผลิตเครื่องดื่ม จ.สระบุรี

ขึ้นแท่นอันดับ 1 ในเครือซันโทรี่ทั่วโลก

ทีส่ า� คัญ เมือ่ ท�าการจัดล�าดับโรงงานผลิตเครือ่ งดืม่ ในเครือซันโทรี่ ทั่วโลก โรงงานที่สระบุรีได้รับการยกย่องให้เป็นอันดับ 1 ทั้งในด้าน ประสิทธิภาพการผลิต จิตส�านึกในการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม และสุขอนามัย และความปลอดภัยในการท�างาน รวมทัง้ ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทีผ่ า่ นมา พนักงานและทีมงานของบริษทั ฯ ยังใส่ใจดูแลชุมชนรอบโรงงาน ด้วยการติดตั้งเครื่องกรองน�้าในโรงเรียน และบริจาคเครื่องดื่มที่จ�าเป็น ส�าหรับชีวติ ประจ�าวัน อีกทัง้ ทีผ่ า่ นมา บริษทั ฯ ได้ดา� เนินโครงการให้ความรู้ เกีย่ วกับการใช้นา�้ อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการปลูกป่า ท�านาร่วมกับชุมชน รอบโรงงาน แสดงถึงความใส่ใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรน�้าและการ ตอบแทนสังคม ตามวิสยั ทัศน์ขององค์กรทีม่ งุ่ เน้นการเติบโตอย่างยัง่ ยืน

22

“เรามั่นใจว่าด้วยฐานการผลิตที่มีศักยภาพสูงทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ โรงงานผลิตเครือ่ งดืม่ แห่งแรกทีจ่ งั หวัดระยอง และโรงงานผลิตเครือ่ งดืม่ แห่งที่ 2 ทีจ่ งั หวัดสระบุรี รวมทัง้ กระบวนการขนส่งและกระจายสินค้าทีม่ ี ประสิทธิภาพ เพือ่ น�าผลิตภัณฑ์ทรี่ สชาติและคุณภาพดีเยีย่ มส่งถึงมือคนไทย ทัว่ ประเทศ รวมถึงความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะดูแลรักษาสิง่ แวดล้อม จะเป็นปัจจัยส�าคัญ ทีส่ ง่ เสริมให้ซนั โทรี่ เป๊ปซีโ่ ค สามารถด�าเนินธุรกิจเครือ่ งดืม่ และสร้างการ เติบโตในประเทศไทยได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนต่อไป” “และเรามีความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะพัฒนาธุรกิจให้มกี ารเติบโตอย่างยัง่ ยืน พันธกิจของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์คอื เราต้องการพัฒนาศักยภาพของผูน้ า� ตลอดจนพนั ก งานให้ มี ป ระสิ ทธิ ภ าพทั ด เที ย มระดั บ มาตรฐานสากล โดยคัดสรรบุคลากรที่มีวิสัยทัศน์ มีความเป็นผู้น�า และมีทัศนคติที่ดีต่อ การท�างาน ตลอดจนมีความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมงานกับเรา และ เราจะพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการให้ พนักงานมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์กร เพื่อให้พนักงาน ของเราสามารถบรรลุเป้าหมายในเส้นทางความก้าวหน้าทางสายอาชีพ” เพิ่มศักดิ์ กล่าวสรุป จะเห็นได้วำ่ ซันโทรี่ เป๊ปซีโ่ ค ได้ดำ� เนินงำนจำกกำรเสริมสร้ำงควำม แข็งแกร่งของธุรกิจและเติบโตผ่ำนกำรขยำยกลุ่มนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่มเพื่อสุขภำพ อีกทั้งยังให้ควำมส�ำคัญกับผู้บริโภคด้วยกำรใช้ นวัตกรรมที่ทันสมัยผสำนกำรผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อกำร เติบโตระยะยำว ด้วยระบบกำรผลิตที่มีประสิทธิภำพและส่งเสริมควำม ยัง่ ยืน อีกทัง้ ยังพัฒนำองค์กรด้วยกำรเสริมสร้ำงองค์ควำมรูใ้ ห้พนักงำน ท�ำงำนอย่ำงมีประสิทธิภำพและก้ำวไกลในระดับโลก

GreenNetwork4.0 September-October

2020


Environment

เนสกาแฟ เดินหน้า

เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด

กองบรรณาธิการ

ให้รีไซเคิลได้ 100% ภายในปี ’65 มุ่งสู่แบรนด์กาแฟที่ยั่งยืน สร้างสรรค์อนาคตปลอดขยะ

นาริฐา วิบูลยเสข (กลาง)

ผู้จัดการธุรกิจกาแฟปรุงส�าเร็จ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จ�ากัด

นาริฐา วิบลู ยเสข ผูจ้ ดั การธุรกิจกาแฟปรุงส�าเร็จ บริษทั เนสท์เล่ (ไทย) จ�ากัด กล่าวว่า เนสกาแฟเป็นแบรนด์กาแฟอันดับหนึง่ ในประเทศไทย ซึ่งให้ความส�าคัญกับการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนเป็นอันดับแรก เนื่องจากพบว่า ขยะพลาสติกเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับหนึ่งใน ประเทศไทย โดยคนไทยกว่า 63% ระบุวา่ ขยะพลาสติกเป็น 1 ใน 5 อันดับ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่น่ากังวล ในปี พ.ศ. 2562 พบว่า คนไทยสร้างขยะ พลาสติกมากถึง 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน รวมทั้งมีขยะพลาสติก ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยประมาณ 27.04 ล้านตันต่อปี เนสกาแฟจึงได้ พัฒนานวัตกรรมเพือ่ โลกสีเขียวอย่างไม่หยุดยัง้ และมีเป้าหมายจะเปลีย่ น บรรจุภณ ั ฑ์เนสกาแฟทุกกลุม่ ผลิตภัณฑ์ให้นา� ไปรีไซเคิลได้ 100% ภายใน ปี พ.ศ. 2565 โดยน�าร่องจากกลุม่ ผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ เบลนด์ แอนด์ บรู และกลุม่ ผลิตภัณฑ์เนสกาแฟพร้อมดืม่ ก่อนจะขยายไปยังกลุม่ ผลิตภัณฑ์ อื่นๆ ในปีที่ผ่านมา เนสกาแฟได้ริเริ่มเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ภายนอกของ รสโพรเทค โพรสลิม มาเป็นบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษเป็นครัง้ แรกของเนสกาแฟ ทั่วโลก เพื่อทดแทนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเอาใจคอกาแฟรักษ์โลก มาถึงปีนี้ โจทย์ใหญ่ของเนสกาแฟคือ การออกแบบซองเนสกาแฟให้นา� ไป รีไซเคิลได้ เพราะซองกาแฟปกติจะใช้วสั ดุหลายชนิดเพือ่ เก็บรักษาคุณภาพ ของกาแฟที่ดีไว้ ท�าให้รีไซเคิลได้ยาก “จากโจทย์ดงั กล่าว ทีมพัฒนาบรรจุภณ ั ฑ์ของเนสท์เล่ ประเทศไทย จึงได้ริเริ่มพัฒนาบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกขึ้น โดยจับมือกับบริษัทผู้ผลิตฟิล์ม ลามิเนตชัน้ น�า ร่วมกับทีมวิจยั และทีมวิศวกรจากสวิตเซอร์แลนด์และสิงคโปร์ พัฒนาบรรจุภณ ั ฑ์ตน้ แบบออกมากว่า 20 ต้นแบบ ใช้เวลาคิดค้นกว่า 2 ปี จึงประสบความส�าเร็จในการพัฒนาซองเนสกาแฟ โพรเทค โพรสลิม ให้เป็น นวัตกรรมแบบ Mono Structure ที่ผลิตจากพลาสติกตระกูลเดียวกัน มาพร้อมคุณสมบัติในการกักเก็บรสชาติ กลิ่น และความสดใหม่ของ 23

ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในซองจนถึงมือผู้บริโภค และสามารถน�าไปรีไซเคิล ได้เป็นครั้งแรกของโลก เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา” นาริฐา กล่าว นาริฐา กล่าวว่า จากความส�าเร็จครัง้ นี้ เนสกาแฟได้นา� นวัตกรรม ดังกล่าวขยายผลให้ครอบคลุมกลุม่ ผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ เบลนด์ แอนด์ บรู ทั้งหมดภายในไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2564 และคาดว่าจะสามารถ รีไซเคิลได้ 100% ภายในปี พ.ศ. 2565 โดยขณะนี้ได้เริ่มทยอยเปลี่ยน บรรจุภัณฑ์เนสกาแฟ เบลนด์ แอนด์ บรู สูตรน�้าตาลน้อยลง 25% และ สูตรไม่มีน�้าตาลทรายแล้ว ซึ่งถือเป็นพอร์ตใหญ่ นับเป็นความภาคภูมิใจ ของคนไทยทีไ่ ด้รเิ ริม่ นวัตกรรมนีเ้ ป็นประเทศแรกในโลก ก่อนทีจ่ ะน�าไป เผยแพร่และทดลองในเนสท์เล่ประเทศอื่นๆ ต่อไป ส�าหรับในกลุม่ ธุรกิจกาแฟอืน่ ๆ อาทิ กลุม่ กาแฟกระป๋องพร้อมดืม่ เนสกาแฟถือเป็นแบรนด์แรกๆ ในประเทศไทยที่สามารถเปลี่ยนมาใช้ กระป๋องอะลูมิเนียมที่น�าไปรีไซเคิลได้ 100% ทั้งหมดในเดือนตุลาคมนี้ หลังจากทยอยเปลี่ยนมาใช้กระป๋องอะลูมิเนียมใน 2 รสชาติ คือ ลาเต้ และแบล็คไอซ์ ตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมา และล่าสุดคือ เอสเปรสโซ โรสต์ เนื่องจากอะลูมิเนียมนิ่มกว่าเหล็ก สามารถบีบอัดได้ รีไซเคิลได้ 100% ทัง้ หมด และรีไซเคิลได้หลายครัง้ อีกทัง้ อะลูมเิ นียมยังมีคณ ุ สมบัตเิ ย็นเร็ว ไม่ตอ้ งแช่ตเู้ ย็นนาน ท�าให้ประหยัดไฟ และดืม่ ได้โดยไม่ตอ้ งเขย่ากระป๋อง “เราหวังว่าการประกาศพันธกิจสู่ความยั่งยืนในครั้งนี้ จะเป็นการ สร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์สีเขียวกันมากขึ้น และสร้างสรรค์สงั คมไทยให้ปลอดขยะในอนาคต” นาริฐา กล่าวทิง้ ท้าย

ซองเนสกาแฟที่ร่วมส่งชิงโชคปีละ 100 ล้านซอง น�ามา Upcycling เป็นไม้เทียมใช้ท�าโต๊ะอาหาร 100 ชุด ให้โรงเรียน 100 แห่ง

เนสกาแฟร่วมมือกับวิทยาลัยสารพัดช่าง จ.ระยอง น�ากระป๋องอะลูมิเนียมใช้แล้ว มาสร้าง Prototype หุ่นยนต์สั่งการด้วย เสียง สามารถแจกตัวอย่างเครื่องดื่มได้

GreenNetwork4.0 September-October

2020


Environment กองบรรณาธิการ

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เผยผลการตรวจประเมินการเป็นนิคมอุตสาหกรรม เชิงนิเวศในระดับต่างๆ พร้อมจัดพิธมี อบรางวัลให้กบั ผู้ผ่านเกณฑ์ภายในงานสัมมนาวิชาการประจ�าปี 2563 “Eco Innovation Forum 2020” ทุกนิคมฯ มีสว่ นร่วมพัฒนาเมืองฯ ผ่าน 5 มิติ 22 ด้าน สอดรับ ทิ ศ ทางการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ แนวใหม่ ท่ี เ น้ น ใช้ ทรัพยากรน้อยแต่ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า ยกระดับ คุณภาพชีวิตชุมชนรอบข้าง กางแผนภายใน 5 ปี ต้องมีนคิ มอุตสาหกรรมทีผ่ า่ นเกณฑ์การชีว้ ดั การเป็น เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพิม่ ขึน้ 5 แห่งทัว่ ประเทศ

สมจิณณ์ พิลกึ ผูว้ า่ การการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า กนอ. ได้ก�าหนด มาตรฐานและเกณฑ์ตวั ชีว้ ดั การเป็นเมืองอุตสาหกรรม เชิงนิเวศใน 5 มิติ 22 ด้าน ด้วยการสนับสนุนให้ภาค อุตสาหกรรมปรับตัวและใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด โดยน�าเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในสถานประกอบการ เช่น การน�าน�า้ เสียทีโ่ รงงานอุตสาหกรรมปล่อยทิง้ มา บ�าบัดแล้วน�ามาผลิตน�า้ RO (Reverse Osmosis) และ น�ากลับมาใช้ใหม่แทนน�า้ ประปา ซึง่ เป็นการลดต้นทุน การผลิต เพิม่ รายได้ให้กบั ผูป้ ระกอบการ การน�าเศษ วัสดุเหลือใช้จากการประกอบกิจการโรงงานไปเพิ่ม มูลค่า ด้วยการน�าไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น เช่น น�าเศษขยะทั่วไปในนิคมอุตสาหกรรมไปแปลงเป็น เชื้อเพลิงในเตาเผาปูนซีเมนต์ หรือน�าตะกอนจาก โรงงานไปท�าปุ๋ยหมักชีวภาพให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ใกล้เคียงได้ใช้ประโยชน์ รวมทั้งส่งเสริมการสร้าง อาชีพจากวัสดุเหลือใช้จากการประกอบกิจการมา ดัดแปลงให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าสร้างรายได้ให้กับ ชุมชน และส่งเสริมกลุ่มอาชีพวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ ให้มีการประกอบกิจการที่มีผลก�าไร โดยที่ผ่านมา วิสาหกิจชุมชนสามารถท�ารายได้เป็นเงินหมุนเวียน ให้กับสมาชิกในกลุ่มได้อย่างเป็นรูปธรรม 24

“แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เน้นการสร้างความสมดุลระหว่างปัจจัย ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อม เพือ่ ให้เกิดการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนด้วยการมีสว่ นร่วม ของผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย โรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนท้องถิน่ โดย กนอ. ได้กา� หนดคุณลักษณะ มาตรฐานและเกณฑ์ตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศไว้ใน 5 มิติ 22 ด้าน โดย แบ่งการยกระดับความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีใน 3 ระดับ ประกอบด้วย ระดับ Eco-World Class/Eco-Excellence และ Eco-Champion ตามล�าดับ ซึง่ หากนิคมฯ ทีผ่ า่ น เกณฑ์และยกระดับเป็น Eco-World Class แล้ว ต้องรักษาระดับการเป็น Eco-Excellence และ Eco-Champion อย่างต่อเนือ่ ง ด้วยการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและการมี ส่วนร่วม โดย กนอ. มีแผนแม่บททีใ่ ช้เป็นแผนปฏิบตั กิ ารแนวทางการเป็นนิคมอุตสาหกรรม เชิงนิเวศในทุกระดับ โดยตั้งเป้าภายใน 5 ปี (พ.ศ. 2564-พ.ศ. 2568) จะต้องมีโรงงาน อุตสาหกรรมทีผ่ า่ นการตรวจประเมินการเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพิม่ ขึน้ อีก 5 แห่ง ทั่วประเทศ” ผู้ว่า กนอ. กล่าว ส�าหรับปีนี้ มีนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ Eco-Champion จ�านวน 34 แห่ง และใน 34 แห่ง ได้ยกระดับสูก่ ารเป็น Eco-Excellence จ�านวน 13 แห่ง และใน Eco-Excellence ได้ยกระดับสูก่ ารเป็น Eco-World Class จ�านวน 3 แห่ง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศได้รับการพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นนิคม/ ท่าเรืออุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 4.0 จ�านวน 3 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 4.0 จ�านวน 5 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Factory) จ�านวน 29 แห่ง และโรงงานทีส่ นับสนุน การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 35 แห่ง พร้อมกันนีไ้ ด้มกี ารมอบประกาศนียบัตรให้กบั โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรอง Water Footprint อีก 7 แห่ง ด้าน สุพนั ธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปัจจุบนั เศรษฐกิจโลกเปลีย่ นผ่านไปสูย่ คุ Digital Transformation ไม่วา่ จะเป็นการน�าเทคโนโลยี ดิจทิ ลั เข้ามาใช้ในการท�าธุรกรรมต่างๆ ทัง้ การท�างาน การผลิต การซือ้ ขายแลกเปลีย่ น และ การด�าเนินทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยภาครัฐต้องให้การสนับสนุนภาคการผลิตและธุรกิจ ที่เร่งปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะธุรกิจในอนาคตที่จะมีบทบาทมากขึ้น คือ ไอทีและดิจิทัล การค้าขายที่จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นออนไลน์ E-Commerce มากขึ้น ธุรกิจ การเงินทีจ่ ะก้าวสูส่ งั คมไร้เงินสดมากขึน้ เนือ่ งจากสังคมไทยจะก้าวเข้าสูย่ คุ ดิจทิ ลั อย่างเต็ม รูปแบบ ซึ่งสถาบันน�้าและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ให้ความส�าคัญกับการสร้างสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อม เพือ่ ให้ภาค อุตสาหกรรมสามารถอยูร่ ว่ มกับชุมชน สังคมอย่างยัง่ ยืน โดยได้นา� แนวคิดการพัฒนาอย่าง ยัง่ ยืน การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy พร้อมส่งเสริมและพัฒนาผูป้ ระกอบการให้ดา� เนินธุรกิจด้วยธรรมาภิบาล มีความ รับผิดชอบต่อสังคมและสิง่ แวดล้อม และมีความรูด้ า้ นการบริหารจัดการน�า้ และสิง่ แวดล้อม อุตสาหกรรมแบบ Smart System เช่น การน�าระบบ Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้ เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน�า้ ช่วยเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันได้

GreenNetwork4.0 September-October

2020


Innovation กองบรรณาธิการ

กลุ่มบริษัทในเครือ

GPSC ผลิตโซลาร์เซลล์

6 เมกะวัตต์ ให้ มทส. หนุนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ นวัตกรรมพลังงานอัจฉริยะ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จ�ากัด (มหาชน) หรือ GPSC ผูน้ า� นวัตกรรม ธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. กล่าวว่า บริษัท ผลิตไฟฟ้า และพลังงานร่วม จ�ากัด หรือ CHPP เป็นบริษัทใน กลุม่ GPSC ซึง่ GPSC ถือหุน้ 100% ได้ลงนามบันทึก ความร่วมมือโครงการวิจัยและพัฒนาระบบพลังงาน แสงอาทิตย์ กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เพือ่ ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ก�าลังผลิต รวมประมาณ 6 เมกะวัตต์ เพือ่ สร้าง “Low Carbon University” สามารถลดค่าใช้จา่ ยด้านสาธารณูปโภค

ชวลิต ทิพพาวนิช

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ กรรมการผู้จัดการใหญ่ GPSC

25

ให้แก่มหาวิทยาลัยฯ ผ่านสัญญาซือ้ ขายไฟฟ้ารูปแบบเอกชนกับเอกชน (Private PPA) อีกทัง้ เป็นศูนย์กลางการเรียนรูน้ วัตกรรมด้านพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือให้แก่บคุ ลากร นักศึกษา และประชาชนผูส้ นใจ โดยใช้งบประมาณด�าเนินการราว 150 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถผลิตและจ�าหน่ายไฟฟ้าได้ในปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ส�าหรับโครงการดังกล่าวจะแบ่งการติดตั้งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. ติดตั้งแผงโซลาร์ เพือ่ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ของอาคารมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสรุ นารี 8 อาคาร ขนาดก�าลังผลิตไฟฟ้ารวมประมาณ 1.68 เมกะวัตต์ โดยใช้แผง เซลล์แสงอาทิตย์ชนิด Mono PERC Half-Cell Module 2. ติดตั้ง Solar Rooftop บริเวณ หลังคาทางเดิน อาคารบริหาร ขนาดก�าลังติดตัง้ 60 กิโลวัตต์ ด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด Bifacial Cells แทนการใช้หลังคาทัว่ ไป และ 3. ติดตัง้ โซลาร์ชนิดลอยน�า้ (Solar Floating) ในอ่างเก็บน�้าสุระ 1 ขนาดก�าลังการผลิตติดตั้งรวมประมาณ 4.312 เมกะวัตต์ ซึ่งจุดเด่น ของระบบนี้อยู่ที่ทุ่นลอยน�้าซึ่งเป็นเทคโนโลยีของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จ�ากัด (มหาชน) หรือ GC บริษัทในกลุ่ม ปตท. ที่ใช้วัตถุดิบ (Raw Material) เป็นเม็ดพลาสติก โพลิเอทิลีนเกรดพิเศษที่ผสมของสารกันแสง UV จากที่มีคุณสมบัติคงทนและเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และสามารถน�ากลับไปรีไซเคิลได้หลังจากสิ้นสุดอายุการใช้งาน ส�าหรับความ ร่วมมือการวิจัยและพัฒนาได้มีแนวคิดการน�า Data Engineering จากระบบมาต่อยอด เพื่อจัดการรูปแบบพลังงานไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด พร้อมกันนี้ยังติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง (Battery Energy Storage System : BESS) ชนิด Lithium Ion Battery ขนาด 100 กิโลวัตต์/200 กิโลวัตต์ชัว่ โมง ให้แก่อาคารหอพักสุรนิเวศ พร้อมวางระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยี Block Chain ในการบริหารจัดการระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงการติดตัง้ ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพือ่ สามารถควบคุมและติดตามผลการท�างานแบบ Real Time และยังสามารถน�าข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ อาทิ ข้อมูลสภาพอากาศ และความเข้ม ของแสงอาทิตย์มาวิเคราะห์ปริมาณความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ลว่ งหน้า เพือ่ น�าข้อมูลเหล่านีไ้ ปบริหารจัดการในการเพิม่ ความแม่นย�าของประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า รศ. ดร.วีรพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า ความร่วมมือโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า จากปัจจุบัน ทีม่ คี า่ ไฟฟ้ากว่า 100 ล้านบาทต่อปี ด้วยวิธกี ารทีเ่ ราสามารถใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยฯ ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ลอยน�้า 4.3 เมกะวัตต์ บนอ่างเก็บน�า้ สุระ และแผงโซลาร์เซลล์ 1.7 เมกะวัตต์ บนหลังคา ดังนัน้ การพัฒนาโครงการ น�าระบบพลังงานทดแทนที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อมาทดแทนการใช้ไฟฟ้าจาก ฟอสซิล จะท�าให้มหาวิทยาลัยฯ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากระบบพลังงานทดแทนได้กว่า 8.5 ล้านกิโลวัตต์ต่อปี หรือคิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 510 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 25 ปี และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง 115,000 ตัน นอกจากนี้ ในส่วนของ Solar Floating จะช่วยลดการระเหยน�า้ ในสระน�า้ มากกว่า 30,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อปี อีกด้วย ในอนาคตโครงการฯ ยังมีแผนจัดตั้งให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทั้งภาครัฐและ เอกชน หน่วยงานด้านการศึกษาและชุมชนต่างๆ เพือ่ เข้ามาเยีย่ มชมและศึกษาดูงานสร้าง ความรู้ความเข้าใจในด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระบบไมโครกริด และการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานทดแทนที่สามารถผลิตใช้ได้เอง และช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

GreenNetwork4.0 September-October

2020


Product กองบรรณาธิการ

สตีเบล เอลทรอน จับมือ GC

พัฒนาเครื่องท�าน�้าอุ่น-น�้าร้อน รุ่น DX ECO นวัตกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมรุ่นแรกที่ใช้พลาสติก ABS รีไซเคิล 100% ผลิตฝาครอบ

มร.โรลันด์ เฮิน และ ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์

ผู้จัดการฝ่ายหน่วยงานพัฒนาตลาดธุรกิจ ปิโตรเคมีขั้นปลาย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จ�ากัด (มหาชน) หรือ GC เปิดตัวเครื่องท�าน�้าอุ่น-น�้าร้อน รุ่น DX ECO ผลิตภัณฑ์รุ่นแรกที่ใช้วัสดุพลาสติก ABS

พัลลภ เชี่ยวชาญวิทยเวช (ขวา) ผู้อ�านวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท สตีเบล เอลทรอน เอเซีย จ�ากัด

26

สตี เ บล เอลทรอน ผู ้ น� า ตลาดด้ า น เครือ่ งท�าน�า้ อุน่ -น�า้ ร้อน เครือ่ งกรองน�า้ ปัม๊ น�า้ ฮีตปั๊ม และเครื่องเป่ามือ ประจ�าประเทศไทย จับมือบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จ�ากัด (มหาชน) หรือ GC ผูเ้ ชีย่ วชาญและผูน้ า� ธุรกิจ ด้านเคมีภัณฑ์และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ด้านพลังงานของเมืองไทย พัฒนาเครื่องท�า น�้าอุ่น-น�้าร้อน รุ่น DX ECO ซึ่งใช้วัสดุหลัก ที่เป็นพลาสติก ABS รีไซเคิล 100% ในการ ผลิตฝาครอบเครื่องท�าน�้าอุ่น เพื่อให้ได้มาซึ่ง คุ ณ ภาพตามมาตรฐานหรื อ สู ง กว่ า การใช้ เม็ดพลาสติกปกติ ถือเป็นผลิตภัณฑ์รุ่นแรก ซึ่งเป็นนวัตกรรมเชิงรักษ์สิ่งแวดล้อม ผสาน การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์บนพืน้ ฐาน แนวคิด Green Design ด้วยการน�าทรัพยากร ธรรมชาติหรือวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาต่อยอด สร้ า งผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ มี คุ ณ ภาพและมี มู ล ค่ า สูงขึน้ โดยยังคงเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมทัง้ ใน ตัวผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต สอดคล้อง แผนงานธุรกิจเพื่อก้าวสู่ความเป็น “องค์กร สีเขียว” มร.โรลันด์ เฮิน กรรมการผู้จัดการ บริษทั สตีเบล เอลทรอน เอเซีย จ�ากัด กล่าวว่า นับเป็นเวลากว่า 22 ปี ที่สตีเบล เอลทรอน ประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจใน ผลิตภัณฑ์ทมี่ คี ณ ุ ภาพและมาตรฐานสูง ครองใจ ผู้บริโภคจนเป็นผู้น�าตลาดเครื่องท�าน�้าอุ่นน�้าร้อน ด้วยพันธกิจของสตีเบล เอลทรอน ประเทศไทย ในการผลักดัน “ธุรกิจอย่างยัง่ ยืน” ชูสินค้าและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมด้วย “เทคโนโลยีสีเขียว” (Green Technology) โดยเฉพาะการใช้พลังงานและ ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Sufficiency) และมีความยัง่ ยืน (Sustainability) ผ่านการจัดการด้านการผลิตและการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ และเพื่อคงความแข็งแกร่งให้กับ ธุรกิจและความเป็นผู้น�าในตลาดต่อไป โดยสตีเบล เอลทรอน ประเทศไทย ได้รว่ มมือกับ บริษทั พีทที ี โกลบอล เคมิคอล

จ�ากัด (มหาชน) หรือ GC ผูเ้ ชีย่ วชาญและผูน้ า� ธุรกิจด้านเคมีภัณฑ์และนวัตกรรมเพื่อความ ยั่ ง ยื น ด้ า นพลั ง งานของเมื อ งไทย ในการ พัฒนาสินค้าทีน่ า� เทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ โดยใช้วสั ดุหลักทีเ่ ป็นพลาสติก ABS รีไซเคิล 100% ในการผลิตฝาครอบเครื่องท�า น�้าอุ่น เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพตามมาตรฐาน หรื อ สู ง กว่ า การใช้ เ ม็ ด พลาสติ ก ปกติ โดย เครือ่ งท�าน�า้ อุน่ -น�า้ ร้อน รุน่ DX ECO ถือเป็น ผลิตภัณฑ์รุ่นแรกซึ่งเป็นนวัตกรรมเชิงรักษ์ สิ่งแวดล้อม ผสานการออกแบบและพัฒนา ผลิตภัณฑ์บนพื้นฐานแนวคิด Green Design ด้วยการน�าทรัพยากรธรรมชาติ หรือวัสดุ เหลือใช้มาพัฒนาต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ที่มี คุ ณ ภาพและมี มู ล ค่ า สู ง ขึ้ น โดยยั ง คงเป็ น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในตัวผลิตภัณฑ์และ กระบวนการผลิต “นั บ เป็ น อี ก ก้ า วส� า คั ญ ของสตี เ บล เอลทรอนในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย แปซิ ฟ ิ ก ในการต่ อ ยอดคิ ด ค้ น และพั ฒ นา ผลิตภัณฑ์เครื่องท�าน�้าอุ่น-น�้าร้อน ด้วยวัสดุที่ สามารถน�ามาใช้ซ�้าแต่ยังคงคุณภาพ แข็งแรง คงทน และปลอดภัยตามมาตรฐานเยอรมนีทเี่ รา ยึดมัน่ ตลอดมา รวมทัง้ ยังช่วยลดอัตราการปล่อย มลภาวะในขั้นตอนการผลิตได้เป็นอย่างดี ซึ่ง ตรงตามเป้าหมายในการด�าเนินธุรกิจระยะยาว ของสตีเบล เอลทรอน” มร.โรลันด์ กล่าว พัลลภ เชีย่ วชาญวิทยเวช ผูอ้ า� นวยการ ฝ่ายขายและการตลาด บริษทั สตีเบล เอลทรอน เอเซีย จ�ากัด กล่าวเสริมว่า ในช่วงแรกทีส่ ตีเบล ร่วมมือกับ GC ในการพัฒนาสินค้า ถือว่า เป็นเรื่องที่ยากและท้าทาย โดยใช้เวลาในการ พัฒนาสินค้าราว 1 ปี ทั้งนี้สตีเบลมีแผนที่จะ พัฒนาสินค้าร่วมกับ GC อีกหลายโมเดล ซึ่ ง ไม่ ใ ช่ แ ค่ ตอบโจทย์ เ รื่ องคุณ ภาพเท่านั้น ยังรวมถึงสีด้วย โดยทีมวิจัยและพัฒนาของ สตีเบลร่วมกับ GC ในการพัฒนาร่วมกันเพื่อ สิง่ แวดล้อม โดยคาดว่าจะใช้เวลาพัฒนาสินค้า ลดลงเหลือเพียง 6 เดือนเท่านั้น

GreenNetwork4.0 September-October

2020


Magazine to Save The World

BGRIM ร่วมลงนามความร่วมมือกับ กฟภ. และ PEA ENCOM เพิ่มศักยภาพความเป็นผู้น�าด้านพลังงาน

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ (ที่ 2 จากขวา) ประธาน BGRIM ปรียนาถ สุนทรวาทะ (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BGRIM ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ สมพงษ์ ปรีเปรม (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้ว่าการ กฟภ. และ เขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา (ซ้าย) รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ PEA ENCOM ในเครือ กฟภ.

BGRIM ร่วมลงนามสัญญาความร่วมมือกับ กฟภ. และ PEA ENCOM ศึกษาหนุนโอกาสความร่วมมือด้านเทคนิค-ด้านการเงิน หวังเพิม่ ประสิทธิภาพผูป้ ระกอบการเอกชน ขยายขอบเขตลูกค้า SPP และเพิม่ โอกาสในการพัฒนาโรงไฟฟ้าประเภท IPS รองรับโอกาสต่อยอดระบบ สมาร์ทไมโครกริด หวังลดต้นทุนไม่ตา�่ กว่า 1,000 ล้านบาท เผยมติบอร์ด ไฟเขียวขายหุน้ จ�านวน 5% มูลค่ากว่า 200 ล้านบาท ของ บี.กริม เพาเวอร์ (เอไออี-เอ็มทีพี) (BPAM) ให้ PEA ENCOM บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จ�ากัด (มหาชน) หรือ BGRIM โดย ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน พร้อมด้วย ปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ สมพงษ์ ปรีเปรม ผูว้ า่ การการไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค (กฟภ.) และ เขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ากัด (PEA ENCOM) (บริษัทในเครือของ กฟภ.) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการด�าเนินธุรกิจร่วมกัน ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จ�ากัด (มหาชน) กล่าวว่า ตนรู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับพันธมิตรทีแ่ ข็งแกร่งอย่าง กฟภ. โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมมือ ทั้งทางด้านเทคนิค และทางด้านการเงินเพือ่ ขยายธุรกิจร่วมกัน อาทิ การขยายขอบเขตของ ลูกค้าอุตสาหกรรมของโครงการโรงไฟฟ้าแบบ Small Power Producer (SPP) ในวงกว้างขึน้ และเพิม่ ประสิทธิภาพโครงการผลิตไฟฟ้าโดยเอกชน ทีผ่ ลิตไฟฟ้าใช้เอง หรือจ�าหน่ายให้ลกู ค้าตรงโดยไม่ขายเข้าระบบของการ ไฟฟ้า (Independent Power Supply : IPS) โครงการผลิตไฟฟ้าด้วย พลังงานทดแทน รวมถึงระบบไมโครกริดและระบบสมาร์ทไมโครกริด (Smart Microgrid) ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของ บี.กริม เพาเวอร์ 27

ในการเป็นผู้น�าด้านพลังงานไฟฟ้า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งยังมีโอกาสประหยัดเงินลงทุนในสายส่งและอุปกรณ์อื่นในอนาคต มูลค่ารวมไม่ตา�่ กว่า 1,000 ล้านบาท โดยเบือ้ งต้นเป็นส่วนของโครงการ โรงไฟฟ้า บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (เอไออี-เอ็มทีพี) จ�ากัด จ�านวน 315 ล้านบาท และการให้บริการลูกค้าในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้น นอกจากนี้ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ เซอร์วิส (แหลมฉบัง) จ�ากัด (บริษทั ย่อยของ บี.กริม เพาเวอร์) ได้ถอื หุน้ 75% ในบริษทั บี.กริม เพาเวอร์ (เอไออี-เอ็มทีพ)ี จ�ากัด (BPAM) (เดิมชือ่ บริษทั โกลว์ เอสพีพี 1 จ�ากัด) และมีบริษัท นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย จ�ากัด ถือหุ้นอีก 25% ใน BPAM นัน้ ด้วย บี.กริม เพาเวอร์ เล็งเห็นถึงความส�าคัญในการมีหนุ้ ส่วนทางธุรกิจ ที่มีศักยภาพที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านระบบสายส่งไฟฟ้า เพื่อ ส่งเสริมการแข่งขันในบริเวณพื้นที่มาบตาพุด ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ที่ผ่านมา บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ เซอร์วสิ (แหลมฉบัง) จ�ากัด ได้ทา� การโอนหุน้ จ�านวน 5% ใน BPAM ให้แก่ PEA ENCOM มูลค่าการขายหุน้ รวมจ�านวน 200 ล้านบาท ซึง่ ภายหลังการ โอนหุ้นดังกล่าวจะท�าให้ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ เซอร์วิส (แหลมฉบัง) จ�ากัด ถือหุ้น 70% ใน BPAM ซึ่งการด�าเนินการดังกล่าวเป็นไปตามมติ ทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 10/2563 เมือ่ วันที่ 13 สิงหาคม 2563 “ความร่วมมือดังกล่าวถือเป็นแรงหนุนส�าคัญให้แก่บริษทั ฯ ในการ ต่อยอดการด�าเนินธุรกิจให้มกี ารเติบโตอย่างมัน่ คงและยัง่ ยืนในระยะยาว ช่วยผลักดันเป้าหมายการขยายก�าลังการผลิตไฟฟ้าของบริษัทไปถึง 7,000 เมกะวัตต์ ตามทีต่ งั้ ใจไว้ ซึง่ จะช่วยสร้างผลก�าไรและเงินปันผลให้แก่ ผู้ถือหุ้นได้อย่างสม�่าเสมอต่อไป” ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวทิ้งท้าย

GreenNetwork4.0 September-October

2020


Zero Waste เดินหน้าพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้า RDF อย่างต่อเนื่องในรูปแบบของ Circular Economy ถึงแม้ว่าการจัดการขยะจะเป็นธุรกิจปราบเซียนอันเนื่องมาจากมีผลประโยชน์ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขยะหลุด จากมือท่านจนกลายมาเป็นพลังงานไฟฟ้าสร้างคุณค่าอเนกอนันต์ในทุกวันนี้ ส�าหรับบริษัท ซีโรเวซท์ จ�ากัด กลับมองเป็นโอกาสทางธุรกิจทีท่ า้ ทายความสามารถ จึงได้รว่ มมือกับกลุม่ พันธมิตรผูม้ แี นวคิดเดียวกัน แปลงขยะ เป็น RDF และได้ร่วมมือกันผลิต RDF ไปแล้วกว่า 3,000 ตันต่อวัน ทักษ์สุตา ถิ่นสันติสุข กรรมการผู้จัดการ บริษทั ซีโรเวซท์ จ�ากัด ได้เล่าให้ฟงั ว่า ได้เรียนรูธ้ รุ กิจ การจัดการขยะมากว่า 10 ปี จากการสืบทอดธุรกิจ ครอบครัวที่มีฐานลูกค้าในกลุ่มขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน่ ซึง่ เป็นเจ้าของขยะตามกฎหมาย ปัจจุบนั ซีโรเวซท์เป็นที่รู้จักและไว้วางใจของเทศบาล อบต. และ อบจ. ทั่วประเทศ และเมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2563 ซีโรเวซท์ ได้รว่ มลงนามกับบริษทั ไชยวัฒนา แทนเนอร์รี่ จ�ากัด (มหาชน) ลงนามในสัญญาก�าจัดขยะกับเทศบาลนคร นครสวรรค์ ในนาม “บริษัท กรีนเพาเวอร์ 1 จ�ากัด” เพื่ อ พั ฒ นาให้ จั ง หวั ด นครสวรรค์ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลาง การก�าจัดขยะในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เป็นศูนย์ การเรียนรู้และสถานที่ดูงานด้านการจัดการขยะใน กลุม่ เพือ่ นบ้าน CLMV (Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam) โครงการจั ด การขยะแบบ Circular Economy เริ่มต้นจากการคัดแยกชนิดและขนาด ของขยะเพือ่ น�าไปใช้ประโยชน์อย่างคุม้ ค่า และยังเป็น กระบวนการเดียวทีช่ ว่ ยลดมลพิษลง การคัดแยกขยะ ยังช่วยให้สามารถน�าเชื้อเพลิงขยะคุณภาพดีไปผลิต

28

ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย โครงการจัดการ ขยะของเทศบาลนครนครสวรรค์ เป็นโครงการแรกๆ ของประเทศไทยที่มีการคัดแยกขยะก่อนน�ามาผลิต ไฟฟ้าทีเ่ ป็นโครงการรัฐร่วมกับเอกชนเพือ่ ผลิตไฟฟ้า ขนาด 9.5 เมกะวัตต์ และเป็นต้นแบบการจัดการขยะ ชุมชนของประเทศไทย ทักษ์สุตา กล่าวทิ้งท้ายว่า จะเดินหน้าพัฒนา การจัดการขยะแบบ Circular Economy ในเมืองใหญ่อกี กว่า 5 โครงการในปีนี้ กับกลุ่มพันธมิตรที่มีแนวความคิด ตรงกั น คาดว่ า จะสามารถ ผลิตไฟฟ้าได้กว่า 80 เมกะวัตต์ เมื่อโครงการส�าเร็จและหวังว่า ในอนาคตประเทศไทยอาจมี โรงไฟฟ้าชนิด Hybrid เชื้อเพลิง เช่น การใช้ RDF 50% ไม้สบั 50% ซึ่ ง ในประเทศที่ พั ฒนาแล้ ว นิยมใช้วิธีนี้เพื่อให้ชุมชน ยอมรับมากขึ้น

GreenNetwork4.0 September-October

2020


Magazine to Save The World

กลุ่มบริษัทดาว ประเทศไทย คืนความสวยงาม ให้หาดระยองต่อเนื่องเป็นปีที่ 18

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัท เอ็น-เอส สยามยูไนเต็ดสตีล จ�ากัด กลุ่มบริษัทโซลเวย์ และ กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม วันอนุรกั ษ์ชายฝัง่ สากล จังหวัดระยอง ประจ�าปี 2563 ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 18 เพื่อหยุดขยะพลาสติกไม่ให้หลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างจิตส�านึก ในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยอาสาสมัครของ Dow ได้รวมพลังกับจิตอาสากว่า 800 คน เก็บขยะชายหาด ตลอดระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร ณ บริเวณหาดสนกระซิบ มาบตาพุด และ หาดน�้าริน-หาดพยูน-หาดพลา อ�าเภอบ้านฉาง ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ส�าคัญของจังหวัดระยอง ภายใต้แคมเปญ #PullingOurWeight หมายถึงการท�างานในส่วนของตนเองอย่างเต็มก�าลัง และ ยังส่งเสริมให้ประชาชนเก็บขยะทีห่ ลุดรอดสูส่ งิ่ แวดล้อมให้ได้อย่างน้อย 1.8 กิโลกรัม ซึง่ เท่ากับน�า้ หนัก ขยะโดยเฉลีย่ ทีแ่ ต่ละคนสร้างขึน้ ใน 1 วัน และน�ากลับมาใช้ประโยชน์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มุ่งสร้างจิตส�านึกแก้ปัญหาขยะในทะเลอย่างยั่งยืน เดชา พาณิชยพิเชฐ ผูอ้ า� นวยการโรงงาน กลุม่ บริษทั ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า ในปีทผี่ า่ นมา พนักงาน Dow อาสาและพันธมิตรกว่า 18,000 คนทัว่ โลก สามารถยับยัง้ ขยะทีจ่ ะหลุดรอดสูส่ งิ่ แวดล้อม ได้มากกว่า 80,000 กิโลกรัม ซึ่งตลอด 18 ปีที่จัดกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง เราสามารถเก็บขยะ จากชายหาดระยองได้แล้วรวมน�า้ หนักทัง้ สิน้ กว่า 150,000 กิโลกรัม ส�าหรับกิจกรรมเก็บขยะในวันนี้ เป็นเพียงการคืนธรรมชาติทสี่ วยงามเพียงชัว่ คราวเท่านัน้ แต่สงิ่ ทีส่ า� คัญกว่าคือการทีจ่ ติ อาสาแต่ละคน ได้มาเห็นว่าขยะทีพ่ วกเราทิง้ กันมาลงเอยทีช่ ายหาดอย่างไร ได้ลงมือแก้ปญ ั หาด้วยตนเอง และเกิด เป็นความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะกลับบ้านไปช่วยกันคัดแยกตัง้ แต่ตน้ ทาง ส่วน Dow เองก็จะใช้ความเชีย่ วชาญ ด้านวัสดุศาสตร์คิดค้นและพัฒนาโซลูชันที่จะน�าขยะพลาสติกมารีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น โดยร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรทั่วโลก 29

ปัจจุบนั ไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศ ทีม่ ขี ยะทะเลมากล�าดับที่ 10 ของโลก โดยเฉพาะ จังหวัดระยองซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งก�าลังขยายตัว จากโครงการลงทุ น โครงสร้ า งพื้ น ฐาน ภาคอุ ต สาหกรรม การท่ อ งเที่ ย ว และ การเคลื่อนย้ายแรงงาน คาดว่าอาจมีปริมาณ ขยะมูลฝอยสูงถึง 20 ล้านตัน ภายในปี พ.ศ. 2580 จึงมีความส�าคัญอย่างมากทีท่ กุ ฝ่ายต้อง ร่วมด้วยช่วยกันคัดแยกและบริหารจัดการอย่าง เป็นระบบและมีประสิทธิภาพตั้งแต่ตอนนี้ สุรศักดิ์ เจริญศิรโิ ชติ ผูว้ า่ ราชการจังหวัด ระยอง กล่าวว่า ในฐานะชาวระยอง รูส้ กึ ภูมใิ จ ที่เห็นบริษัท องค์กร และประชาชนจิตอาสา มาร่วมกันเก็บขยะชายหาด คืนความสวยงามให้ หาดทีส่ า� คัญของเรา ปัญหาขยะทะเลสามารถ แก้ไขได้หากเราช่วยกันป้องกันตั้งแต่ต้นทาง ทุ ก คนช่ ว ยได้ ด ้ ว ยการคั ด แยกขยะรี ไ ซเคิ ล ออกจากขยะเศษอาหารตั้งแต่ที่บ้าน เพื่อให้ หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบสามารถจัดการ ขยะได้สะดวก ส่วนภาคเอกชนก็ชว่ ยแก้ปญ ั หา ด้วยเทคโนโลยีตา่ งๆ ทุกคนล้วนมีบทบาทหน้าที่ ส�าคัญ เพราะโลกใบนีไ้ ม่ได้เป็นของใครคนใด คนหนึ่ง แต่เป็นของเราทุกคน “ขยะทะเล บางคนยังคิดว่าเป็นเรื่อง ไกลตั ว แต่ จ ากการติ ด ตั้ ง ทุ ่ น กั ก ขยะตาม ปากแม่นา�้ และล�าคลองสายหลักของกรม ทช. ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ผ่านมา ยังพบขยะเป็น จ�านวนมาก มีทุกวันในปริมาณที่ไม่ลดลงเลย ผมคิ ด ว่ า ถึ ง เวลาแล้ ว ที่ พ วกเราทุ ก คนต้ อ ง ลุกขึน้ มายับยัง้ ปัญหาเหล่านี้ โดยแก้ไปทีต่ น้ เหตุ ด้วยการทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง แยกขยะได้ ให้ชว่ ยกันแยก ไม่ตอ้ งรอให้ใครบอก ไม่ตอ้ งรอ ให้ใครชวน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วย โลกและทะเลของเรา” โสภณ ทองดี อธิบดี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง่ กล่าวเสริม Dow มุ่งมั่นขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการท�างานด้านความ ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการ “หยุดขยะ พลาสติก” ไม่ให้ลงไปสูส่ งิ่ แวดล้อม ซึง่ เมือ่ เดือน มิถนุ ายนทีผ่ า่ นมา บริษทั ฯ ได้ประกาศเป้าหมาย ทีจ่ ะร่วมกับพนักงาน ลูกค้า ชุมชน และพันธมิตร น�าขยะพลาสติกทั่วโลกกลับมาใช้ใหม่ หรือ รีไซเคิลให้ได้ 1 ล้านตัน ภายในปี พ.ศ. 2573

GreenNetwork4.0 September-October

2020


Technology กองบรรณาธิการ

สวทช. จับมือ 4 พันธมิตร ภาคีเครือข่าย TESTA

เร่งพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย รับสังคมดิจิทัล

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) โดยส�านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ลงนามบันทึก ข้อตกลงความร่วมมือภาคีเครือข่ายเทคโนโลยีระบบ กักเก็บพลังงานไทย (Thailand Energy Storage Technology Alliance : TESTA) เพื่อสร้างเครือข่าย การด�าเนินงานในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บ พลังงานไทย ตลอดทัง้ ห่วงโซ่มลู ค่า โดยได้รบั เกียรติจาก กิตติกร โล่หส์ นุ ทร ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานและสักขีพยานในการ ลงนาม พร้อมด้วยผูบ้ ริหารจาก 5 หน่วยงานภาคี รวมถึง ได้รบั เกียรติจาก ศาสตราจารย์ เอ็ม สแตนลีย์ วิตติงแฮม ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ประจ�าปี พ.ศ. 2562 จากการคิ ด ค้ น วั ส ดุ ส� า หรั บ แบตเตอรี่ ลิ เ ที ย มไอออน รวมทั้งผู้ประกอบการด้านการผลิตแบตเตอรี่สมัยใหม่ และยานยนต์ ไ ฟฟ้ า ในประเทศไทยมาร่ ว มปาฐกถา ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา 30

กิตติกร โล่ห์สุนทร

ประธานคณะกรรมาธิการ การพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร

กิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการ การพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า การลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือภาคีเครือข่ายเทคโนโลยี ระบบกักเก็บพลังงานไทยระหว่าง 5 หน่วยงาน จะมี ส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและผลักดันให้เกิด การพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานในประเทศ ทั้ ง ในระดั บ งานวิ จั ย จนถึ ง อุ ต สาหกรรม เพื่ อ รองรั บ เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานที่จะเข้ามามีบทบาทใน การขับเคลื่อนประเทศสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ สมัยใหม่ทรี่ ฐั บาลต้องการผลักดัน โดยมีเป้าหมายในการ เป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคภายใน ปี พ.ศ. 2568 และปริมาณผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 750,000 คัน ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม ได้รว่ มเป็นผูน้ า� ในการด�าเนินการตามยุทธศาสตร์ร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ผ่านนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ผ่านแผนงานด้าน การให้สทิ ธิพเิ ศษส่งเสริมการขาย และการผลิตให้กบั บริษทั รถยนต์และชิ้นส่วนจากทั้งในและต่างประเทศ รวมถึง มีแผนการส่งเสริมให้เกิดสถานีชาร์จอย่างกว้างขวาง

GreenNetwork4.0 September-October

2020


“คาดหวั ง ว่ า การเกิ ด ภาคี เ ครื อ ข่ า ยระบบข่ า ย เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย จะเป็นจุดเริ่มต้น ของความร่วมมือและใกล้ชิดระหว่างภาคอุตสาหกรรม และหน่ ว ยวิ จั ย ทั้ ง ในประเทศไทยและต่ า งประเทศ เพื่อสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด และยานยนต์ไฟฟ้าที่สมบูรณ์ ตอบสนองเป้าหมายของ สังคมแห่งพลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้” กิตติกร กล่าว ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อ�านวยการ ส�านักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือครัง้ นีถ้ อื เป็นก้าวส�าคัญ ของศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (National Energy Technology Center : ENTEC) ซึ่งเพิ่งได้รับการจัดตั้ง โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 เพื่อ เป็นศูนย์รวมในการบูรณาการความร่วมมือการวิจัยและ พัฒนาเทคโนโลยีพลังงานของประเทศและนานาชาติ รวมทั้งเชื่อมโยงงานวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นการต่อยอด ไปสู่การใช้งานจริง สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับ ภาคอุตสาหกรรมและขยายผลต่อยอดไปสูก่ ารมีสว่ นร่วม ของภาคส่วนต่างๆ โดยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ระบบกักเก็บพลังงาน เป็นหนึง่ ในเทคโนโลยีทศี่ นู ย์ฯ มุง่ เน้น โดยได้ดา� เนินการถ่ายทอดองค์ความรูแ้ ละเทคโนโลยีตา่ งๆ รวมถึงการให้ค�าปรึกษากับภาคเอกชน ไปสู่เป้าหมาย ลดการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ แก้ปัญหาใน อุตสาหกรรมพลังงานของประเทศ รวมถึงการยกระดับ มาตรฐานทั้งด้านการทดสอบ การควบคุมคุณภาพให้ เกิดขึ้นในประเทศอย่างเป็นระบบร่วมกัน เพื่อให้เกิด ห่ ว งโซ่ คุ ณ ค่ า ด้ า นระบบกั ก เก็ บ พลั ง งานที่ ส มบู ร ณ์ สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิต สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความมั่นคงให้กับประเทศอย่างยั่งยืน ศ. ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่าย นวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นเน้นพัฒนานวัตกรรมด้านวัสดุ ส�าหรับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และมีโรงงานต้นแบบ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิด ให้นักวิจัยด้านวัสดุและผู้ผลิตแบตเตอรี่เซลล์สามารถ เข้าร่วมพัฒนาสูตรผลิตและวัสดุใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความ สามารถในการผลักดันงานวิจัยสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ รวมถึงการผลิตบุคลากรเข้าสูอ่ ตุ สาหกรรม และการสร้าง อุตสาหกรรมภายในประเทศด้วยนวัตกรรม มหาวิทยาลัย ขอนแก่นจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิง่ ทีไ่ ด้เข้าร่วมขับเคลือ่ น และส่งเสริมการด�าเนินการต่างๆ ให้มุ่งสู่ความก้าวหน้า ของอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและยานยนต์ไฟฟ้า ของไทย ด้าน รศ. ดร.สมนึก วิสุทธิแพทย์ รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนางานบริการวิชาการและอุตสาหกรรมสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กล่าวว่า มจพ. เล็งเห็นความส�าคัญในอนาคตของ เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน จึงได้มุ่งมั่นสนับสนุน การพัฒนาบัณฑิต บุคลากร และองค์ความรู้ในสาขา 31

ดร.ณรงค์ ศิรเิ ลิศวรกุล

ผู้อ�านวยการ ส�านักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ศ. ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ

รองอธิการบดี ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ. ดร.สมนึก วิสุทธิแพทย์

รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนา งานบริการวิชาการและ อุตสาหกรรมสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)

รศ. ดร.สุวิทย์ เตีย

อธิการบดี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี (มจธ.)

กฤษฎา อุตตโมทย์

นายกสมาคมยานยนต์ ไฟฟ้าไทย (EVAT)

เทคโนโลยีแบตเตอรี่มาอย่างต่อเนื่อง และมีบัณฑิต วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสริ นิ ธร ไทย-เยอรมัน (TGGS) เป็นคณะท�างานหลักที่ทุ่มเทพัฒนางานวิจัย ในเทคโนโลยีแบตเตอรี่มายาวนานและเป็นที่ประจักษ์ TGGS มีการพัฒนาศักยภาพผ่านความร่วมมือกับกลุ่ม องค์กรพันธมิตรในประเทศและระดับสากล โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้เชี่ยวชาญระดับสากลจาก RWTH Aachen University การลงนามนีถ้ อื เป็นการต่อยอดความร่วมมือ กับองค์กรพันธมิตรที่ได้ด�าเนินการมาก่อนหน้านี้ และ จะเป็นประโยชน์อย่างสูงต่อการสร้างความเข้มแข็งของ อุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานในประเทศ รศ. ดร.สุวิทย์ เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า ธนบุ รี (มจธ.) กล่ า วว่ า มหาวิทยาลัยฯ ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาด้านพลังงาน ในหลายรูปแบบ อาทิ โครงการบัณฑิตวิทยาลัยร่วม ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ซึ่งเป็นหลักสูตร นานาชาติระดับปริญญาโทและเอก เพื่อพัฒนาบุคลากร เข้าสู่อุตสาหกรรม ศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center (MOVE) ที่มุ่งเน้นการ ท�างานร่วมกันแบบบูรณาการระหว่างอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา จากหน่วยงานต่างๆ เพือ่ สร้างสรรค์ผลงาน วิจัยด้านเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ที่สามารถต่อยอด เชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยฯ ยังมีสว่ นส�าคัญ ในการร่วมก่อตั้งสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และหวัง เป็นอย่างยิง่ ว่า ความร่วมมือในครัง้ นีจ้ ะน�าไปสูก่ ารพัฒนา และส่งเสริมการใช้งานระบบกักเก็บพลังงานอย่างเป็น รูปธรรมต่อไป กฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) กล่าวว่า สมาคมฯ เห็นความส�าคัญของระบบ กักเก็บพลังงานว่าเป็นหัวใจส�าคัญของยานยนต์ไฟฟ้า ที่ ป ระเทศไทยจ� า เป็ น ต้ อ งผลั ก ดั น ให้ เ กิ ด การพั ฒ นา เทคโนโลยีการผลิต และพัฒนาระบบการจัดการแบตเตอรี่ ที่สิ้นอายุการใช้งานที่เหมาะสม ทั้งนี้ สมาคมยานยนต์ ไฟฟ้าไทยเป็นการรวมกลุม่ ของทัง้ ภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ที่เน้นส่งเสริมการผลิตและการขยาย การใช้งานของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยเชื่อว่าจะ เป็นปัจจัยส�าคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและยั่งยืน จากการด�าเนินงานที่ผ่านมาของสมาคม จะเห็นได้ว่า ระบบกักเก็บพลังงานและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องต้องการ ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพือ่ ให้เกิดการด�าเนินการ ที่น�าไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม สวทช. และภาคีเครือข่าย TESTA พร้อมที่จะ ร่วมมือกันเพือ่ ผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บ พลังงานไทย โดยใช้ศกั ยภาพของวิทยาศาสตร์ วิจยั และ นวัตกรรม ขับเคลื่อนทุกภาคส่วนเพื่อสร้างผลกระทบ เชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้ภาค พลั ง งานมี ค วามพร้ อ มรั บ มื อ สู ่ ยุ ค เทคโนโลยี ที่ มี ก าร เปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของ สังคมอย่างยั่งยืน

GreenNetwork4.0 September-October

2020


Energy พิชัย ถิ่นสันติสุข

ชุมชนปลูกป่า ปลูกหญ้า สร้างโรงไฟฟ้า เพิ่มรายได้ ลดความเหลื่อมล�้า

โครงการส่งเสริมการปลูกป่าในประเทศไทย ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด ทั้งที่ใช้งบประมาณของ ภาครัฐและเอกชนร่วมกัน ปัญหาส�าคัญๆ ประการหนึง่ ก็คอื ขาดการดูแลอย่างต่อเนือ่ ง อีกทัง้ ป่าปลูกเหล่านัน้ ชุมชนเจ้าของพื้นที่ไม่ได้รับประโยชน์โดยตรง...วันนี้ กระทรวงพลังงานมีแนวคิดเชิงอัจฉริยะ ท�าโครงการ โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม และลดความ เหลือ่ มล�า้ ของชุมชน ส่งเสริมให้ปลูกป่าเศรษฐกิจจาก พันธุ์ไม้โตเร็ว เช่น พืชกลุ่มกระถินยักษ์ และไผ่พันธุ์ ต่างๆ กว่า 10 ชนิดทีป่ ลูกได้ผลดีในประเทศไทย เพือ่ เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลส�าหรับโรงไฟฟ้าชุมชน ส่วนใน ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ได้มีการ ส่งเสริมให้ปลูกหญ้าเนเปียร์ ซึ่งพัฒนามาจากหญ้า เลี้ยงสัตว์ จนได้พันธุ์ที่สามารถเติบโตเร็วและให้ก๊าซ มีเทนสูง เหมาะแก่การหมักแบบไร้อากาศ (Anaerobic Digestion) เพื่อผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้ยังสามารถใช้ เศษเหลือทิ้งจากพืชต่างๆ เช่น เหง้ามันส�าปะหลัง ต้นข้าวโพด ฯลฯ มาหมักร่วมเพือ่ ลดการน�าไปเผา ซึง่ ก่อมลพิษในอากาศ แนวความคิ ด และนโยบายอั น เฉี ย บคม นอกจากจะได้ รั บ ความสนใจจากวิ ส าหกิ จ ชุ ม ชน ทัว่ ประเทศ และภาคเอกชนทีส่ นใจร่วมโครงการเพือ่ ท�าเป็น CSR หรือ CSV แล้ว ฝ่ายพาณิชย์ของสถานทูต ต่างๆ ในประเทศไทยก็ให้ความสนใจ และหวังว่าจะ สามารถน�าโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนของไทยไปเป็น ตั ว อย่ า งในการพั ฒ นาประเทศยากจนที่ มี ส ภาพ ภูมปิ ระเทศไม่ตา่ งจากประเทศไทย จากมุมมองต่างๆ เหล่านี้ หากรัฐบาลมีความต่อเนื่องและส่งเสริมใน ปริมาณมากพอ จะมี Impact ในการกระตุน้ เศรษฐกิจ ตั้งแต่ฐานรากไปจนถึง SMEs ทุกระดับ อันเนื่อง มาจาก Supply Chain ของโรงไฟฟ้าชุมชนนัน้ ยาวมาก 32

จากอาหารสัตว์สู่เชื้อเพลิงพลังงาน

มีผลกระทบเชิงบวกในหลายๆ อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก ก่อสร้าง ไฟฟ้า และ อุปกรณ์ ปูนซีเมนต์ และผูผ้ ลิตหม้อไอน�า้ (Steam Turbine) เป็นต้น แต่สา� หรับเกษตรกรแล้ว ทุกๆ 1 เมกะวัตต์ไฟฟ้า จะสร้างมูลค่าให้กับชุมชนได้ไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท ใน 20 ปี ตามสัญญาที่ชุมชนได้ท�าไว้กับภาครัฐ โรงไฟฟ้าชุมชนต้องเป็นของชุมชนโดยชุมชนเพือ่ ลดความเหลือ่ มล�า้ ดังนัน้ จึงถึงเวลาที่ วิสาหกิจชุมชนจะเป็นผูค้ ดั เลือกผูใ้ หญ่ใจดีภาคเอกชนมาร่วมลงทุน โดยชุมชนใช้พนื้ ทีเ่ พาะปลูก และแรงงานมาร่วมลงทุน ซึง่ นับว่าเป็นปัจจัยหลักของโครงการ ส่วนสัญญาขายไฟฟ้า (PPA) ควรเป็นกรรมสิทธิร์ ว่ มกัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ ไม่สามารถด�าเนินการต่อตามหลักเกณฑ์ทไี่ ด้ ท�าไว้กบั กระทรวงพลังงาน อีกฝ่ายหนึง่ ควรมีสทิ ธิข์ อเปลีย่ นหุน้ ส่วนได้โดยไม่ทา� ให้โครงการ ยุตลิ ง ในท�านองเดียวกัน การปรับเปลีย่ นผูถ้ อื หุน้ ของผูล้ งทุน หากเกินกว่าร้อยละ 50 ก็ควร จะได้รบั ความเห็นชอบจากวิสาหกิจชุมชนเช่นกัน อีกประการหนึง่ ทีส่ า� คัญมากก็คอื วิสาหกิจ ชุมชน และผูร้ ว่ มลงทุน หรืออาจเรียกว่า นักลงทุน ควรท�าสัญญาร่วมลงทุนและท�างานร่วมกัน เช่นเดียวกันกับกิจการค้าทัว่ ไป โดยไม่ใช้เกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ซึง่ ต่างฝ่าย ต่างแบ่งหน้าที่กันท�างาน

GreenNetwork4.0 September-October

2020


กระถินเทพา “ACACIA”

กระถินยักษ์ อายุ 18 เดือน หากโรงไฟฟ้าชุมชน...ฝันของคนจนทีอ่ ยากจะเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า บ้างหลังจากมีสว่ นร่วมมาหลายทศวรรษ และได้ยกมือให้โรงไฟฟ้าต่างๆ ได้ขายไฟสว่างไสวจนมีเศรษฐีระดับโลกมาแล้วหลายคน วันนี้ฟ้าก�าลัง จะเปิดให้คนรากหญ้าได้ลืมตาอ้าปาก ซึ่งอาจเกิดปรากฏการณ์อัศจรรย์ อย่างน้อย 2 เรื่อง ดังนี้ 1. เป็นครั้งแรกที่ภาคอุตสาหกรรมกับภาคเกษตรกรรมต้องมา ร่วมแรงร่วมใจปลูกพืชพลังงาน หรือพันธุไ์ ม้โตเร็ว เพือ่ เป็นเชือ้ เพลิงป้อน โรงไฟฟ้าในรูปแบบหุ้นส่วนไม่ใช่ลูกจ้าง 2. อาจเป็นโครงการแรกๆ ของโลกที่จะกระจายรายได้สู่คนจน ลดความเหลือ่ มล�า้ อย่างเป็นรูปธรรม และอาจเป็นต้นแบบ (Role Model) ที่องค์กรระหว่างประเทศสนใจและเข้ามาศึกษา 3. BIG ROCK โรงไฟฟ้าชุมชน คงต้องขออนุญาตใช้ศัพท์ของ กระทรวง อว. (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจยั และนวัตกรรม)

โรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ 29,000 ล้านบาท* 7,900 ล้านบาท*

1. รายได้จากการขายไฟฟ้า ปีละ ภาครัฐร่วมลงทุน ปีละ

*(ค�ำนวณค่ำเฉลี่ย FIT จำก 4 อัตรำ) 4.80 บำทต่อหน่วย; รำคำไฟฟ้ำฐำน 3.50 บำทต่อหน่วย รัฐบำลอุดหนุน 4.80-3.50 = 1.30 บำทต่อหน่วย

2. ทันทีที่เริ่มการขายไฟฟ้า ประเทศไทย... ได้ป่าปลูกจากไม้โตเร็ว 600,000 ไร่ ได้ป่าจากการปลูกพืชพลังงาน เช่น หญ้าเนเปียร์ 300,000 ไร่ 3. ชุมชนมีรายได้... จากการขายไม้โตเร็ว ปีละ จากการขายพืชพลังงาน ปีละ

3,300 ล้านบาท 5,400 ล้านบาท

4. ชุมชนที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการ 30,000 ครัวเรือน* *(1 โรงไฟฟ้ำ มีจ�ำนวนครัวเรือนไม่น้อยกว่ำ 200 ครัวเรือน)

36,000 คน 30,000 คน

5. การจ้างงานช่วงการก่อสร้าง การจ้างงานช่วงการเดินระบบ

33

เนือ่ งจากเป็นค�าทีน่ กั วิชาการและภาครัฐ รวมไปถึงคณะกรรมาธิการนิยม ใช้กัน เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เป็นเรื่องที่มีผลกระทบเชิงบวกอย่างชัดเจนและ เป็นรูปธรรม และไม่ใช่งานประจ�าทีต่ อ้ งท�าเป็นปกติอยูแ่ ล้ว และ “โรงไฟฟ้า ชุมชน” คือค�าตอบของค�าว่า BIG ROCK

เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (Biogas)

พืชหลักทีภ่ าครัฐส่งเสริมเห็นจะได้แก่ หญ้าเนเปียร์ ซึง่ มีหลากหลาย สายพันธุ์ ควรเปรียบเทียบให้ชัดเจน ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถตัดสินได้ว่า สายพันธุใ์ ดเหมาะสมทีส่ ดุ นอกจากนีย้ งั มีพชื พลังงานอืน่ ๆ ทีเ่ ป็นพืชเสริม เช่น เหง้ามันส�าปะหลัง ต้นข้าวโพด และอาจรวมถึงมูลสัตว์ ในสัดส่วนที่ ภาครัฐก�าหนด

เชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass)

คงต้องเปรียบเทียบความเหมาะสมระหว่างต้นกระถินยักษ์และ ต้นไผ่หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งน่าจะเป็นเชื้อเพลิงหลักแทนการใช้ไม้สับ ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด และนับวันจะมีปริมาณลดลง และราคาสูงขึ้น ในอนาคต โดยต้นทุนกว่าร้อยละ 40 ของไม้โตเร็วมาจากค่าตัด ขนย้าย และย่อยเป็นเชือ้ เพลิง นอกจากนี้ ค่าความร้อนและความชืน้ ก็แตกต่างกัน ซึ่งเป็นดัชนีส�าคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้าในทุกเทคโนโลยี แนวคิดโรงไฟฟ้าชุมชนในประเทศไทย ได้มีการคิดและพยายาม ท�าให้เกิดขึน้ มาหลายยุค หลายสมัย หลายรัฐมนตรี แต่ทา้ ยทีส่ ดุ ผูม้ อี า� นาจ ก็ลอยแพชุมชนมาโดยตลอด จึงขอยกค�ากล่าวของ Frederick Langridge ที่มีผู้แปลเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็น โคลนตม อีกคนตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย”

GreenNetwork4.0 September-October

2020


Energy กองบรรณำธิกำร

พพ. จับมือ 3 สมาคมวิชาชีพ ยกระดับการพัฒนาประสิทธิภาพ พลังงาน - พลังงานทดแทน

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จับมือ 3 สมาคมวิชาชีพ ยกระดับการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานและพลังงาน ทดแทน มุ่งสร้างมาตรฐานวิชาชีพด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงาน ทดแทนให้เข้มแข็ง ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบาย พลังงานร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวง พลังงาน จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนและ พัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานและพลังงานทดแทน ระหว่ำง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดย โกมล บัวเกตุ รองอธิบดี กรมพัฒนำพลังงำนทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงำน ร่วมกับ วสวัตติ์ กฤษศิรธิ รี ภาคย์ นำยกสมำคมผูต้ รวจสอบอำคำร ธวัช มีชยั นำยกสมำคม 34

เครื่องก�ำเนิดไฟฟ้ำไทย และ อุทิศ จันทร์เจนจบ นำยกสมำคมไฟฟ้ำ แสงสว่ำงแห่งประเทศไทย ณ ห้องประชุม อำคำร 2 พพ. โกมล บัวเกตุ รองอธิบดี กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์ พลังงาน (พพ.) กล่ำวว่ำ กำรลงนำมดังกล่ำวเป็นควำมร่วมมือกันเพื่อ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนำมำตรฐำนประสิทธิภำพพลังงำน และพลังงำน ทดแทน และผลักดันให้เกิดกำรอนุรักษ์พลังงำนในภำคอุตสำหกรรม ภำคธุรกิจ โดยใช้มำตรกำรก�ำกับดูแลตำมกฎหมำยควบคูไ่ ปกับมำตรกำร ส่งเสริมและสนับสนุนต่ำงๆ เพื่อให้ทุกภำคส่วนมีกำรใช้พลังงำนอย่ำงมี ประสิทธิภำพ รวมทัง้ กำรพัฒนำและส่งเสริมพลังงำนทดแทนทุกรูปแบบ ทัง้ ด้ำนกำรศึกษำวิจยั พัฒนำต้นแบบ สำธิตน�ำร่อง กำรสนับสนุนองค์ควำมรู้ กฎหมำยพลังงำนให้แก่บคุ ลำกรของสถำนประกอบกำร กำรพัฒนำระบบ ตรวจสอบ รวมถึงกำรแลกเปลี่ยน แบ่งปันข้อมูลทำงวิชำกำรของแต่ละ หน่วยงำน เพือ่ เชือ่ มโยงสูก่ ำรเป็นระบบฐำนข้อมูลขนำดใหญ่ (Big Data) ได้ตอ่ ไปในอนำคต โดยมีโครงกำรทีด่ ำ� เนินกำรจนส�ำเร็จเห็นเป็นรูปธรรม เช่น กำรพัฒนำระบบโซลำร์โดมอบแห้ง ระบบผลิตก๊ำซชีวภำพระดับชุมชน กำรส่งเสริมกำรติดตั้งโซลำร์รูฟท็อปของสถำนประกอบกำร “การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะ จุดประกายในความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับสมาคมวิชาชีพ เพือ่ ร่วมกันผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจมีการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างมาตรฐานวิชาชีพด้านอนุรกั ษ์พลังงานและ พลังงานทดแทนที่มีความเข้มแข็ง ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ตามนโยบาย พลังงานร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ” โกมล กล่ำว

GreenNetwork4.0 September-October

2020




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.