Green Network Issue 102

Page 1







คณะที่ปรึกษา ดร.ปยสวสัด์ิ อมัระนนัทน ดร.อศัวนิ จนิตกานนท ดร.ประเสรฐิ ภัทรมยั ประสงค ธาราไชย ดร.ประเสรฐิ สนิสขุประเสรฐิ ไกรฤทธ์ิ นลิคหูา ดร.ทวารฐั สตูะบตุร รศ. ดร.สงิห อนิทรชโูต

นนินาท ไชยธรีภญ ิ โญ ศ. ดร.ธงชยั พรรณสวสัด์ิ พานชิ พงศพโิรดม ดร.กมล ตรรกบตุร ดร.วฑิรูย สมิะโชคดี ดร.สรุพล ดาํรงกติตกิลุ ชาย ชวีะเกตุ

บรรณาธิการอำนวยการ/ บรรณาธิการผูพิมพโฆษณา กติติ วสิทุธริตันกลุ บรรณาธิการ กติติ วสิทุธริตันกลุ บรรณาธิการขาว สุรียพร วงศศรีตระกูล กองบรรณาธิการ ณัฐชยา แกนจันทร พิสูจนอักษร อำพันธุ ไตรรัตน ศิลปกรรม พฤติยา นิลวัตร, กันยา จำพิมาย ประสานงาน ภัทรกนัต กจิสนิธพชยั ฝายการตลาด กลัยา ทรพัยภริมย เลขานุการฝายการตลาด ชตุมินัต บวัผนั ฝายวิเทศสัมพันธ ศิรินทิพย โญธาพันธ แยกสี บจก. คลาสสคิสแกน โรงพิมพ หจก.รุงเรืองการพิมพ

Editor Talk สวัสดีครับ ท่านสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่าน เป็นประจำ�ทุกปี เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวตั้งแต่เดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ ของปีถัดไป คนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะต้องเผชิญปัญหาค่าฝุ่น PM2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดจิ๋วที่เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดิน หายใจ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ และผู้ที่มีโรคประจำ�ตัว เช่น หอบหืด หัวใจ ภูมิแพ้ และโรคเส้นเลือดในสมองตีบ มูลเหตุที่ทำ�ให้ค่าฝุ่น เกินมาตรฐานมาจากหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า มีสาเหตุมาจากไอเสียรถยนต์ การใช้ฟืนถ่านเพื่อหุงต้มอาหาร การเผา ขยะและเผาหญ้ารวมทั้งพืชในการทำ�การเกษตร และมาจากการเผาเชื้อเพลิง ของโรงงานอุตสาหกรรม ในส่วนของพื้นที่ภาคเหนือก็เช่นกัน ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป คนใน พื้นที่ภาคเหนือต้องเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5 ปกคลุมทั่วจังหวัด จากปัญหาการ เผาป่าทั้งจากในประเทศและเพื่อนบ้าน นอกจากค่าฝุ่น PM2.5 ที่เกินมาตรฐาน แล้ว ในปีนี้ดูจะแตกต่างกว่าทุกปี ตรงที่คนไทยต้องรับมือกับสถานการณ์การ แพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ไปพร้อม ๆ กัน ทั้งสองสิ่งนี้ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของคนไทยทุกคนอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพให้แข็งแรง สวมหน้ากากอนามัย 100% ล้างมือบ่อย ๆ โดยใช้สบู่และน้ำ� หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็น แอลกอฮอล์ เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และให้สงั เกตตนเอง หากมี ไข้ ไอ หายใจลำ�บาก จมูกไม่ได้กลิ่น และท้องเสีย โปรดไปพบแพทย์ โดยด่วน สำ�หรับนิตยสาร Green Network ฉบับส่งท้ายปี 2020 นี้ ขอเกาะติด สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ด้วยรายงานพิเศษ “ถึงเวลาคนไทยร่วมใจปรับเปลี่ยน พฤติกรรมช่วงหน้าหนาว สู้ภัยฝุ่นจิ๋ว”, “4 บริษัทชั้นนำ�จับมือมูลนิธิ 3R ร่วม ยกระดับการรี ไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียมแบบครบวงจรหนึ่งเดียวในอาเซียน”, “บ้านปู เน็กซ์” ร่วมกับ “ภูเก็ต พัชทรี ทัวร์” เปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวสีเขียว ด้ ว ยเรื อ ท่ อ งเที่ ย วไฟฟ้ า ทางทะเลลำ� แรกของไทยที่ ป ลอดภั ย สู ง -ประหยัด พลังงาน”, “บาฟส์ อินเทค เปิดตัวรถเติมน้�ำ มันอากาศยานพลังงานไฟฟ้า 100% ลดการใช้นำ�้ มันเชื้อเพลิงดีเซลมากถึง 6,300 ลิตรต่อปี”

เจาของ บรษิทั เทคโนโลยี มเีดยี จาํกดั

471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถ.ศรอียธุยา แขวงทงุพญาไท เขตราชเทวี กรงุเทพฯ 10400 โทรศพัท 0-2354-5333 (ฝายการตลาด ext. 503) แฟกซ 0-2640-4260 http://www.technologymedia.co.th http://www.greennetworkthailand.com e-Mail : editor@greennetworkthailand.com

สวัสดีปีใหม่ ขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรง Strong Together กิตติ วิสุทธิรัตนกุล


Contents November-December 2020

9

24 25

9

13

16

18

Report

ถึงเวลาคนไทยรวมใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชวงหนาหนาว สูภัยฝุนจิ๋ว สุรียพร วงศศรีตระกูล

BCG

4 บริษัทชั้นนําจับมือมูลนิธิ 3R รวมยกระดับการรีไซเคิล กระปองอะลูมิเนียมแบบครบวงจรหนึ่งเดียวในอาเซียน กองบรรณาธิการ

Automotive

เอ็มจี เปดตัว NEW MG EP ขับเคลื่อนดวยพลังงานไฟฟา 100% รุนแรกของไทย เดินหนาติดตั้งสถานี “MG Super Charge อีกกวา 500 แหง ภายในป ’64 กองบรรณาธิการ

บี.กริม เพาเวอร ‘BGRIM’ จัดงาน CG Day 2020 ชูแนวคิด ESG : Empowering Sustainability Growth กองบรรณาธิการ หยุด! เกมซื้อขายเวลา โรงไฟฟาพลังงานขยะชุมชน 400 MW พิชัย ถิ่นสันติสุข

IEEE

28 สัมมนาเชิงวิชาการ “ระบบไฟฟาและสื่อสารเคเบิลใตดิน สําหรับโครงการพัฒนาในเมืองหลวงและเมืองใหญ” กองบรรณาธิการ

Tourism

“บานปู เน็กซ” รวมกับ “ภูเก็ต พัชทรี ทัวร” เปดประสบการณทองเที่ยวสีเขียว ดวยเรือทองเที่ยวไฟฟา ทางทะเลลําแรกของไทยที่ปลอดภัยสูง-ประหยัดพลังงาน สุรียพร วงศศรีตระกูล

Energy

Environment

29 วิศวฯ จุฬาฯ จับมือสถานีวิทยุจุฬาฯ จัดโครงการ 30

32 34

Envi Mission ปที่ 2 “Waste a Moment เปดประเด็นเรื่องขยะ” กองบรรณาธิการ เนสทเลหนุนการเกษตรแบบฟนฟู มุงสูการใชพลังงานไฟฟา หมุนเวียน ลดการปลอยกาซเรือนกระจก รับมือ Climate Change กองบรรณาธิการ

CSR

บานปูฯ เปดคายเยาวชนวิทยาศาสตรสิ่งแวดลอม เพาเวอรกรีน ครั้งพิเศษที่อุทยานแกงกระจาน ปลูกจิตสํานึกใหแกเยาวชน ณัฐชยา แกนจันทร มูลนิธิกลุมอีซูซุมอบทุนกวา 4 ลานบาทใหแกเยาวชน ปนโอกาสทางการศึกษาสูสังคมที่ยั่งยืน กองบรรณาธิการ

Innovation

20 นักวิจัย มจธ. พัฒนา “ทอเพิ่มความรอนฯ”

และ “นวัตกรรมอุปกรณแลกเปลี่ยนความรอน” เพิ่มสมรรถนะทางความรอนใหสูงขึ้น-ประหยัดพลังงาน มากยิ่งขึ้น กองบรรณาธิการ

22

BIZ

25


Report เช้าวันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม ที่ผ่านมา กองจัดการคุณภาพ อากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานสถานการณ์คณ ุ ภาพ อากาศในพืน้ ทีก่ รุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่าพืน้ ทีม่ ปี ริมาณ ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) และเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพถึง 56 พื้นที่ (พื้นที่สีส้ม) จากนั้น ในวันรุ่งขึ้น (15 ธันวาคม 2563) ตรวจวัดได้ 42-102 ไมโครกรัม/ ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) มากถึง 66 พื้น ที่ ขณะที่วัน ที่ 16 ธันวาคม ค่าฝุ่นละอองในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลปรับตัวลดลง จากเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ในหลายพื้นที ่ แต่ภาพรวมยังอยู่ระดับสูง ที่ต้องเฝ้าระวังจากปัจจัยสภาพการจราจรที่หนาแน่น และสภาพ อุตนุ ยิ มวิทยาเกิดความกดอากาศในรูปแบบฝาชีครอบ ความเร็วลมต่�ำ ความชื้ น สั ม พั ท ธ์ สู ง การยกตั ว ของอากาศไม่ ดี และอากาศนิ่ง เนื่องจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนอ่อนกำ�ลังลง ส่งผลให้ ฝุ่ น ละอองขนาดไม่ เ กิ น 2.5 ไมครอน (PM2.5) กระจายตัวได้ยาก และสะสมมากขึ้น รัฐบาล โดย ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทาง อากาศ ซึง่ จัดตัง้ ขึน้ เมือ่ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ได้เข้ามาเร่งแก้ปญ ั หามลพิษทางอากาศ เนือ่ งจาก ในช่วงเข้าฤดูหนาวไทยต้องเผชิญปัญหาค่าฝุ่น PM2.5 เป็นประจำ�ทุกปี แต่ในปีนี้จะแตกต่างกว่า ทุ ก ปี ต รงที่ ต้ อ งรั บ มื อ กั บ สถานการณ์ ก ารแพร่ ระบาดของเชือ้ COVID-19 ไปพร้อม ๆ กัน ซึง่ ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของคนไทยทุกคน

สุรีย์พร วงศ์ศรีตระกูล

ถึงเวลาคนไทย

รวมใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชวงหนาหนาว

สูภัยฝุนจิ๋ว

สภาวิศวกร จี้รัฐใช้มาตรการ ‘รีดภาษีฝุ่นรถยนต์’ หลังพบค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน-มีผลต่อสุขภาพ

ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภา วิ ศ วกร และอธิ ก ารบดี ส ถาบั น เทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ฝุ่น PM2.5 ยังคงเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากเสี่ยงกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะ คนที่มีภูมิต้านทานต่ำ� อย่างเด็กเล็กและผู้สูงอายุ โดยหากเล็ดลอดเข้าไปในกระแสเลือดอาจจะ อันตรายถึงชีวิต ซึ่งมีพิษร้ายเทียบเท่าควันบุหรี่ โดยเฉพาะช่วงอากาศปิด ค่าฝุ่นจะยิ่งทวีคูณ สูงขึ้น ซึ่งล่าสุดจากรายงานสถานการณ์ คุณภาพอากาศ โดยสำ�นักวิจยั นวัตกรรม เมืองอัจฉริยะ (SCiRA) สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ณ วันที่ 14 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. พบค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งสูงมากกว่า

9

GreenNetwork4.0 November-December

2020


200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) หรืออยู่ในระดับ 5 (สีแดง) ซึง่ ถือเป็น คุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

แนะ 3 ทางออกแก้ปัญหาฝุ่นพิษ

สำ�หรับปัจจัยหลักของการเกิดฝุ่นนั้นยังคงเป็นปัญหาเดิม โดยเฉพาะ รถยนต์และเครื่องจักรที่ใช้นำ้�มันดีเซล รวมถึงการเผาในที่โล่งแจ้ง จากแหล่ง กำ�เนิดในสถานทีต่ า่ ง ๆ เพือ่ ให้ PM2.5 ภัยพิบตั ริ ะดับชาติ ได้รบั การแก้ไขอย่าง จริงจัง เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยที่ยั่งยืนในระยะยาว สภาวิศวกร จึงแนะ 3 ทางออกไว้ดงั รายละเอียดต่อไปนี้ ภาครัฐ ต้องยกระดับปัญหาฝุน่ เป็น ภัยพิบตั ขิ องประเทศ ในทางด้านกฎหมาย ผ่านการเก็บภาษีรถยนต์ปล่อยควันดำ� ยกระดับมาตรฐานรถยูโร 4 สู่มาตรฐาน EURO 5-6 ปรับค่ามาตรฐานน้ำ�มันเพื่อ สามารถใช้งานกับเครื่องยนต์ EURO 5-6 ปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซลเป็นเชื้อเพลิง จากก๊าซธรรมชาติ หรือพลังงานไฟฟ้า รวมถึงจำ�กัดปริมาณรถบรรทุกในพืน้ ทีก่ รุงเทพฯ ด้านงานวิจัย ควรลงทุนงบประมาณในการพัฒนานวัตกรรมแก้ปัญหาฝุ่น เพื่อลด การนำ�เข้าเทคโนโลยีต่างประเทศ เช่น ป้ายรถเมล์อัจฉริยะจาก สจล. เครื่องวัดฝุ่น ขนาดเล็กจาก สวทช. ฯลฯ และด้านการวางระบบผังเมืองใหม่ ที่เน้นการเพิ่มพื้นที่ สีเขียวจากปัจจุบัน 2-3 ตร.ม.ต่อคน เพิ่มเป็นอย่างน้อย 9-10 ตร.ม.ต่อคน ขณะที่ ภาคเอกชน ควรให้ความร่วมมือในการแสดงผลข้อมูลปริมาณฝุ่น ผ่านจอโฆษณา LED แบบเรียลไทม์ และ ภาคประชาชน ควรตระหนักถึงผลกระทบ ถึงฝุ่น PM2.5 ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว และสามารถส่งผลกระทบร้ายแรงถึงชีวิตของ ทั้งตนเอง รวมถึงบุคคลในครอบครัว

10

GreenNetwork4.0 November-December

2020


เผย กทม. รถติด ยิ่งปล่อย CO2 เพิ่มเป็น 2 เท่า ปริมาณปล่อยก๊าซเทียบเท่าตึกมหานคร 23,000 ตึกต่อปี

ผศ. ดร.นิรมล เสรีสกุล ผูอ้ �ำ นวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) กล่าวว่า ปัญหามลภาวะทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาด เล็ก PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีสาเหตุส�ำ คัญจาก การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของรถยนต์บนท้องถนน ด้วยกรุงเทพฯ เป็นเมือง ทีม่ ปี ริมาณรถยนต์มหาศาล สวนทางกับสัดส่วนพืน้ ทีถ่ นน ก่อให้เกิดปัญหา การจราจรติดขัดและยิง่ เป็นสาเหตุของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมลภาวะทางอากาศทีเ่ กิดขึน้ ซ้�ำ เป็นประจำ�ทุกปี โดนเฉพาะช่วงปลายปี ถึงต้นปี จากข้ อ มู ล ของกรมการขนส่ ง ทางบก ระบุ ว่ า ตั ว เลขรถยนต์ จดทะเบียนในกรุงเทพฯ มีสงู ถึง 11 ล้านคัน และมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ ถึงปีละ กว่า 300,000 คัน หรือร้อยละ 17 ซึง่ สูงกว่าทุกเมืองในโลก ขณะทีข่ อ้ มูล ของ UddC-CEUS ยังชี้ว่า สัดส่วนรถยนต์ในกรุงเทพฯ ไม่สอดคล้องกับ พืน้ ทีถ่ นนทีม่ เี พียงร้อยละ 7 ขณะทีเ่ มืองทีด่ คี วรมีพนื้ ทีถ่ นนร้อยละ 25-30 ของพืน้ ทีท่ งั้ หมด ประกอบกับเป็นเมืองทีผ่ คู้ นต้องพึง่ พารถยนต์ตลอดเวลา จึงทำ�ให้กรุงเทพฯ มีสภาพการจราจรติดขัด ทั้งนี้ ยิ่งรถติดยิ่งปล่อย ก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ เ ป็ น 2 เท่ า ข้ อ มู ล ชี้ ว่ า เมื่ อ รถติ ด จะปล่ อ ย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 400 กรัม ต่อ 1 กิโลเมตร ขณะที่ผลสำ�รวจ ของศูนย์วิจัยกสิกรไทยบอกว่า รถยนต์ในกรุงเทพฯ ปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์มากเท่ากับตึกมหานคร 23,000 ตึกต่อปี ซึ่งเป็น ปัญหา ของเมืองที่น่ากังวลและต้องเร่งหาทางออกอย่างเร่งด่วน

11

ยูดีดีซี เสนอเมืองเดินได้-เมืองกระชับ” แก้วิกฤตจากฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม การศึกษาของโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (Goodwalk) โดย UddC-CEUS ร่วมกับ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า คนกรุงเทพฯ ยินดีเดินเท้า ในระยะ 800 เมตร ซึง่ เทียบเท่าผูค้ นในเมืองพัฒนาแล้ว อาทิ ฮ่องกง โตเกียว นิวยอร์ก ฯลฯ จึงควรสนับสนุนให้เกิดการฟืน้ ฟูเมืองเพือ่ ส่งเสริม ให้ผู้คนหัน มาเลือกวิธีการสัญจรด้วยการเดินเท้าและปั่นจักรยาน พร้อมกับพัฒนาระบบขนส่งมวลชนคุณภาพ อันเป็นแนวทางสำ�คัญ ในการแก้ไขปัญหามลภาวะทางอากาศและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผศ. ดร.นิรมล กล่าวว่า UddC-CEUS มีขอ้ เสนอแนวทางแก้ไข มลภาวะทางอากาศ 2 ประการ ประการแรก ส่งเสริมให้คนลดการใช้ รถยนต์ ส่ ว นบุ ค คลเดิ น ทาง นั่ น แปลว่ า ต้ อ งส่ ง เสริ ม ระบบขนส่ ง มวลชนที่ มี คุ ณ ภาพ รวมทั้ ง ส่ ง เสริ ม การเดิ น ทางที่ ไ ม่ ใ ช้ ร ถยนต์ (Non-motorized Transportation) อย่างการเดินเท้าและการ ปั่นจักรยาน ประการที่สอง เมืองต้องลดการเดินทางของผู้คน ต้อง เป็นเมืองกระชับ (Compact City) ที่บ้านและงานอยู่ไ ม่ไกลกัน ภายในย่านมีทั้งที่อยู่อาศัย แหล่งงาน แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ แหล่ง จับจ่ายใช้สอย เพื่อเอื้อให้ผู้คนใช้ชีวิตในย่านนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้อง เดินทางไกล หรือถ้าต้องการเดินข้ามย่าน ก็ใช้ระบบขนส่งมวลชน ที่มีคุณภาพ โดยที่ปัญหามลภาวะทางอากาศถือเป็น wake up call ที่ท�ำ ให้ทุกฝ่ายตื่นตัว และยอมรับว่าปัญหาเมืองเป็นเรื่องของทุกคน

GreenNetwork4.0 November-December

2020


มองสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน แก้ปัญหาฝุ่นพิษได้

เมือ่ เร็ว ๆ นี้ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จัดเสวนา PM2.5 Series 7 หัวข้อ “ราษฎร์-รัฐ ร่วมใจสูภ้ ยั ฝุน่ จิว๋ ” โดยมี นพ.รุง่ เรือง กิจผาติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุขระดับ 11 และโฆษกกระทรวง สาธารณสุข ศ. พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ กรรมการราชวิทยาลัย กุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรม ควบคุมมลพิษ ร่วมเสวนาให้ความรู้ ดำ�เนินรายการโดย นพ.ไพศาล เลิศฤดีพร กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาล กรุงเทพ นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุขระดับ 11 และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์ คุณภาพอากาศ พบค่าฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับสีแดงมากๆ หากไม่มี ความจำ�เป็นต้องออกนอกบ้านให้อยูท่ บี่ า้ น ในส่วนของผูท้ อี่ อกกำ�ลังกาย กลางแจ้งให้เฝ้าระวัง พร้อมแนะนำ�ให้ออกกำ�ลังกายที่บ้าน อย่างไร ก็ตาม หากหลีกเลีย่ งการทำ�กิจกรรมนอกบ้านไม่ได้ ให้ใส่เครือ่ งป้องกัน และรีบเดินทางกลับบ้าน ส่วนการทำ�กิจกรรมกลางแจ้งให้เปลีย่ นมาทำ� ในที่ร่มแทน สำ�หรับกลุ่มเสี่ยง คือ 1. เด็กเล็ก 2. ผู้สูงอายุ 3. คนมีโรค ประจำ�ตัว ได้แก่ หอบหืด หัวใจ ภูมิแพ้ และโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะแตกและตันได้ “PM2.5 แก้ ไ ด้ ต้ อ งอาศั ย ความร่ ว มมื อ ร่ ว มใจ ปรั บ เปลี่ ย น พฤติกรรม ครอบครัวต้องช่วยกันใช้รถยนต์คันเดียวกัน ดูแลรักษา รถยนต์ สำ�หรับช่วงนี้ให้งดการเผา โดยฝังกลบไปก่อน ต้องมองในเชิง ระดับนโยบายดูแลพีน่ อ้ งประชาชนให้สขุ ภาพดี เพราะสุขภาพเป็นเรือ่ ง ของเราทุกคน ถ้าเราใช้หลักคิดแบบนี้ จะแก้ไขได้” นพ.รุ่งเรือง กล่าว

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ แนะเด็ก-หญิงมีครรภ์ หลีกเลี่ยงเผชิญฝุ่นพิษ

ศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ กรรมการราชวิทยาลัยกุมาร แพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทางราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่ง ประเทศไทย ได้ออก Infographic พร้อมให้ค�ำ แนะนำ�ในการดูแลสุขภาพ เด็กและหญิงตั้งครรภ์ในการรับมือฝุ่น PM2.5 ดังต่อไปนี้ 1. ทารก ในครรภ์มารดา มีการเจริญเติบโตและอยู่ในช่วงกำ�ลังพัฒนาอวัยวะ ต่าง ๆ เช่น ปอด และสมอง การได้รบั มลพิษในช่วงนีอ้ าจส่งผลระยะยาว ต่อการทำ�งานของอวัยวะต่าง ๆ ดังนัน้ หญิงตัง้ ครรภ์ควรหลีกเลีย่ งมลพิษ เป็นพิเศษ โดยเฉพาะหญิงทีม่ อี ายุครรภ์นอ้ ยกว่า 6 เดือน 2. ในเด็กปกติ ระดับคุณภาพอากาศที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและกิจกรรมในชีวิต ประจำ�วันคือ ระดับ AQI มากกว่า 100 หรือ PM2.5 มากกว่า 50 มคก./

12

ลบ.ม. 3. เด็กที่มีปัญหาทางระบบหายใจเรื้อรัง เช่น โรคหืด โรคปอด เรือ้ รัง เยือ่ บุจมูกอักเสบจากภูมแิ พ้และโรคหัวใจ ระดับคุณภาพอากาศ ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและกิจกรรมในชีวิตประจำ�วันคือ ระดับ AQI มากกว่า 50 หรือ PM2.5 มากกว่า 37 มคก./ลบ.ม. 4. ระดับ คุณภาพอากาศในอาคารที่เหมาะสม คือ ระดับ AQI ไม่เกิน 50 หรือ PM2.5 ไม่เกิน 37 มคก./ลบ.ม. เมื่อระดับคุณภาพอากาศภายนอก เกินเกณฑ์มาตรฐาน ควรปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด โดยระวังอย่าให้ ห้องร้อนเกินไป ไม่สูบบุหรี่หรือจุดธูป ในอาคาร ถูพื้นโดยใช้ผ้าเปียก เพือ่ ลดการฟุง้ กระจายของฝุน่ ละออง หากภายในอาคารมีมลพิษสูง ควร ใช้เครือ่ งปรับอากาศหรือเครือ่ งฟอกอากาศทีส่ ามารถกำ�จัด PM2.5 ได้ ไม่ควรใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศที่มีการผลิตโอโซน เพราะโอโซนในปริมาณมากเป็นมลพิษอย่างหนึ่ง และ 5.โรงเรียนควร ติดตามรายงานคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ และพิจารณา ปรับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เมื่อระดับ AQI มากกว่า 100 หรือ PM2.5 มากกว่า 50 มคก./ลบ.ม. ควรสวมหน้ากากอนามัยและไม่ควรออก กำ�ลังกายกลางแจ้ง เมือ่ ระดับ AQI มากกว่า 200 หรือ PM2.5 มากกว่า 90 มคก./ลบ.ม. ควรหลีกเลีย่ งการอยูก่ ลางแจ้งและพิจารณาหยุดเรียน สำ�หรับการเลือกใช้หน้ากากป้องกันฝุน่ PM2.5 หากเป็นหน้ากาก ผ้าที่มีเส้นใยยิ่งแน่นจะยิ่งกรองได้มาก ส่วน Surgical Mask กรองได้ดี แต่ถา้ ใส่ไม่แนบก็จะไม่มปี ระโยชน์ ขณะทีห่ น้ากาก N95 กรองได้ดมี าก แต่ใส่แล้วอาจจะอึดอัดได้ ทั้งนี้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสุขภาพ ส่วน ต้ นไม้ มี ต้ นไม้ สำ � คั ญ บางชนิ ด ช่ ว ยดู ด ฝุ่ นได้ ซึ่ ง ทางราชวิ ท ยาลั ย กุมารแพทย์ฯ จะจัดให้ความรู้อีกครั้งในเดือนมกราคมปีหน้า

คพ. เผยหากประชาชนไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แก้ปัญหาฝุ่นพิษได้ยาก

อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ในฐานะประธานศูนย์แก้ไขปัญหา มลพิษทางอากาศ กล่าวว่า รัฐบาลได้บรรจุการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นแผนวาระแห่งชาติทั้งระยะสั้นและระยะยาว ระยะสั้น แก้ปัญหา ทันที ส่วนระยะยาว จุดเปลีย่ นอยูท่ กี่ ารใช้เครือ่ งยนต์ที่ได้มาตรฐานยูโร 5-6 ซึ่งทำ�ให้เกิด PM2.5 น้อยที่สุด ซึ่งต้องใช้เวลา “สำ�หรับแผนระยะสัน้ ถ้าออกแผนแต่ประชาชนไม่รว่ มมือ ยังใช้รถ ไม่ได้คุณภาพ น้ำ�มันคุณภาพต่ำ� ก็แก้ไขปัญหาได้ลำ�บาก สิ่งแรกต้อง ให้ประชาชนให้ความร่วมมือ เปลี่ยน ยอมรับว่าจะกระทบต่อชีวิต ปัจจุบนั ใช้รถสาธารณะ ใช้แอปพลิเคชันวางแผนเดินทาง รถทีม่ คี วันดำ� อาจต้องตั้งจุดสกัดร่วมกัน กรมการขนส่ง สำ�นักงานตำ�รวจแห่งชาติ และ กทม. ถ้าทุกคนช่วยจะเบาบางลง ระยะยาว เปลี่ยนจากรถไฟฟ้า จากใช้รถสันดาปไปใช้รถไฟฟ้า” อรรถพล กล่าว นอกจากนีภ้ าครัฐยังร่วมมือกับเอกชน 2 ราย ผลิตน้�ำ มันกำ�มะถัน ต่ำ� ลดฝุ่น PM2.5 เกรดพรีเมี่ยมจำ�หน่ายให้ประชาชน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม-28 กุมภาพันธ์ 2564 เท่านั้น ซึ่งเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวของ ประเทศไทยในทุกปี เพื่อลดการเกิดวิกฤตฝุ่นละอองลง ซึง่ น้�ำ มันชนิดนี้ใช้ได้กบั รถทุกรุน่ ทัง้ รถเก่าและรถใหม่ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์

GreenNetwork4.0 November-December

2020


“บานปู เน็กซ”รวมกับ

“ภูเก็ต พัชทรี ทัวร” Tourism เปดประสบการณทองเที่ยวสี เขียว สุรียพร วงศศรีตระกูล ดวยเรือทองเที่ยวไฟฟาทางทะเลลำแรกของไทย

ของไทยที่ปลอดภัยสูง-ประหยัดพลังงาน

จากสถานการณการแพรระบาดของเชือ้ ไวรัส COVID-19 ในชวงหลายเดือนทีผ่ า นมา ทําใหสงิ่ แวดลอม และระบบนิเวศทางทะเลไดพกั และฟน ฟูกลับมาดังเดิม สงผลใหในวันนีท้ อ งทะเลสวยงาม น้าํ ทะเลใส หาดทราย ขาวสะอาด ฝูงปลาแหวกวายเต็มทองทะเล ดึงดูดใจใหนกั ทองเทีย่ วกลับไปสัมผัสมนตเสนหข องทองทะเลไทย อีกครั้ง ดวยเหตุนี้ “บานปู เน็กซ” จึงรวมกับ “ภูเก็ต พัชทรี ทัวร” นําเรือทองเที่ยวไฟฟาทางทะเลลําแรก ของไทย หรือที่เรียกวา “บานปู เน็กซ อีเฟอรรี่ (Banpu NEXT e-Ferry)” มาใหบริการนักทองเที่ยวในภูเก็ต เปนแหงแรกในเสนทางภูเก็ต-พังงา ใหทกุ คนไดสมั ผัสประสบการณใหมกบั การลองเรือพลังงานสะอาด ไมมี เสียงรบกวน ไมมคี ราบน้าํ มัน และไมมมี ลพิษทางอากาศ ทีส่ าํ คัญปลอดภัย ดวยการทองเทีย่ วสีเขียว (Green Tourism) ที่จะสรางความประทับใจใหกับนักทองเที่ยวทุกคน

สมฤดี ชัยมงคล

13

GreenNetwork4.0 November-December

2020


เปดตัวเรือทองเที่ยวไฟฟาทางทะเลลําแรกของไทย ชูจุดเดนปลอดภัยสูง-ประหยัดพลังงาน

สมฤดี ชัยมงคล ประธานเจาหนาทีบ่ ริหาร บริษทั บานปู จํากัด (มหาชน) และ บริษัท บานปู เน็กซ จํากัด กลาววา ดวยความมุงมั่นในการขับเคลื่อน องคกรใหเติบโตอยางยั่งยืนภายใตกลยุทธ Greener & Smarter บานปู เน็กซ บริษั ทในเครือของกลุมบานปูฯ ในฐานะผูใหบริการพลังงานสะอาดชั้น นํา ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟก จึงไดพัฒนา “บานปู เน็กซ อีเฟอรรี่ (Banpu NEXT e-Ferry)” เรือทองเทีย่ วไฟฟาทางทะเลลําแรกของไทย ตัวเรือยาวถึง 20 เมตร มีหองผูโดยสารกวางขวาง มีทั้งหมด 74 ที่นั่ง รองรับผูโดยสารไดสูงสุด 90 คน เรือลํานี้มีสองลําเรือ ใตทองเรือโปรง สามารถรักษาความสมดุลของเรือใหมี ความคลองตัวและนิง่ มีความเสถียรบนคลืน่ น้าํ สามารถขับเคลือ่ นดวยความเร็ว เดินทางประมาณ 15 นอต (knots) คิดเปนระยะทาง 30 กม./ชม. ซึ่งมีจ�ดเดน ที่ 1. มีความปลอดภัยสูง ไมจม เนื่องจากติดตั้งแบตเตอรี่ไวกลางลําเรือ เพื่อ ลดการสัน่ สะเทือนจากเหตุการณตา งๆ ตัวเรือใชวสั ดุหลักเปนอะลูมเิ นียมในการ ผลิตเรือ แข็งแรงทนทาน ไมเปนสนิม ชวยลดการซอมแซม และการเปลี่ยน อะไหลบอย ผานการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015 ระบบบริหารงาน คุณภาพในการผลิตเรือทุกขั้นตอน (Quality Management System) และ 2. ประหยัดพลังงาน รักษาสิง่ แวดลอม ไมมคี ราบน้าํ มัน ไมมเี สียงรบกวน และ ไมมีมลพิษทางอากาศ ขับเคลื่อนดวยพลังงานสะอาดจากแบตเตอรี่ลิเทียม ไอออน (LiB) ขนาด 625 กิโลวัตตชั่วโมง รวมถึงมีระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System) ทําใหสามารถควบคุมการผลิต สงจาย และ นําพลังงานมาใชบนเรือไดอยางมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพตลอดการ เดินทาง ลดตนทุนคาใชจายได 20-30% และลดคาใชจายในการบํารุงรักษา 30% นอกจากนี้ยังใชแพลตฟอรม IoT (Internet of Things) เพื่อเก็บขอมูล นักทองเที่ยวเปน Smart Analysis อีกดวย

ในสวนของราคาเรือไฟฟาทางทะเลอยูท ี่ 35 ลานบาท เทียบกับ เรือทั่วไปราคา 20 ลานบาท อายุการใชงานเรือ 20 ป สวนแบตเตอรี่ มีอายุการใชงาน 10 ป ขณะนี้บานปู เน็กซ มีออเดอรเรือไฟฟาแลว 27 ลํา โดยที่บานปู เน็กซ มีกําลังการผลิตเรือไฟฟา 30 ลํา/ป

จับมือภูเก็ต พัชทรี ทัวร มุงสราง Smart Tourism ในภูเก็ตรับ Smart City

การที่ บานปู เน็กซ ไดรวมกับ ภูเก็ต พัชทรี ทัวร ผูใหบริการ เดินเรือรายใหญในจังหวัดภูเก็ตนําเรือลํานี้มาใหบริการในการเที่ยว ทะเลภูเก็ตเปนแหงแรกในไทย เนื่องจากภูเก็ตเปนจ�ดหมายปลายทาง ของนักทองเที่ยวทั่วโลก อีกทั้งภูเก็ตเปน Smart City ซึ่งมี City Development นอกจากการเดินทางโดยรถแลวยังมีการเดินทางโดยเรือ บานปู เน็กซ ตองการผลิตโซลูชนั ทีเ่ ปนมิตรตอสิง่ แวดลอม จึงไดพฒ ั นา เรือทองเที่ยวทางทะเลในทุกทาเรือ โดยรวมมือกับผูประกอบการที่ ดําเนินธุรกิจทาเรือ เพื่อกาวสู Smart Tourism “เราจึงอยากสรางการทองเที่ยวมิติใหม ใหกับนักทองเที่ยว ชาวไทยและตางชาติที่เริ่มทยอยกลับมาเที่ยวภูเก็ตอีกครั้ง หลังจาก การเปดประเทศตามแผนฟนฟูการทองเที่ยวของรัฐบาล ดังนั้นการ นําเรือทองเทีย่ วไฟฟามาใหบริการจะเปนการยกระดับการบริการดาน การทองเที่ยวใหมีความยั่งยืน และผลักดันการทองเที่ยวเชิงคุณภาพ ที่ใสใจสิ่งแวดลอมและชุมชนในระยะยาว” สมฤดี กลาว

บานปู เน็กซ อีเฟอรรี่ สําเร็จได ดวยความรวมมือของทั้ง 3 ฝาย

สําหรับ บานปู เน็กซ อีเฟอรร่ี ทีบ่ า นปู เน็กซ ผลิตใหพชั ทรี ทัวร เปนความ รวมมือของพารทเนอร 3 ฝาย ไดแก บริษทั สกุลฎซี อินโนเวชัน่ จํากัด ทําหนาที่ พัฒนาเครื่องยนต สวน สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแหงชาติ (สวทช.) ชวยออกแบบเรือ ขณะทีบ่ า นปู เน็กซ ผลิตแบตเตอรีข่ นาด 1 กิกะวัตต ชั่วโมง (GWh) ซึ่งมีขนาดใหญมากปอน โดยบานปูบริษัทแมไดรวมกับบริษัท Dura Power Holdings จํากัด ซึ่งเชี่ยวชาญดานการออกแบบผลิต และติดตั้ง ระบบแบตเตอรี่จัดเก็บพลังงานแบบลิเทียมไอออน สําหรับรถยนตและระบบ ไฟฟาสํารองเปดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนมาตรฐานโลกในประเทศ จีน ซึ่งสามารถรองรับการผลิตแบตเตอรี่ขนาด 1 กิกะวัตตชั่วโมง โดย Dura Power Holdings ไดสงผูเชี่ยวชาญจากไตหวันมาชวยติดตั้งแบตเตอรี่ พรอม ทาเรือที่ติดตั้ง Charge Station และอูซอมเรือ

ไชยา ระพือพล

บานปู เน็กซ อีเฟอรรี่ เรือทองเทีย่ วไฟฟาทางทะเล ลําแรกของไทย 14

GreenNetwork4.0 November-December

2020


บานปู เน็กซ อีเฟอรรี่ ลําแรกของไทย พรอมใหบริการในเสนทาง เกาะเจมส บอนด

บานปู เน็กซ อีเฟอรรี่ พรอมใหบริการเสนทาง เกาะเจมสบอนด เรือทองเทีย่ วไฟฟาชวยลดตนทุนคาเชือ้ เพลิง 70% สรางโอกาสธุรกิจ และบริการใหมีคุณภาพยิ่งขึ้น

ไชยา ระพือพล กรรมการผูจัดการ บริษัท ภูเก็ต พัชทรี ทัวร จํากัด ในฐานะนายกสมาคมธุรกิจทองเที่ยวอันดามัน ซึ่งดําเนินธุรกิจ เดินเรือในอาวพังงา จังหวัดภูเก็ตมากวา 25 ปกลาววา แมสถานการณ COVID-19 จะทําใหนักทองเที่ยวตางชาติลดลงมาก กลาวคือ ปจจ�บัน มีนักทองเที่ยวชาวไทยมาเยือนภูเก็ต 8,000 คน/วัน จากเดิมที่มีจํานวน นักทองเที่ยว 40,000-45,000 คน/วัน ทาเรือมีนักทองเที่ยว 8,000 คน ตอนนีเ้ หลือเพียง 8 คน แตสง่ิ ทีบ่ ริษัทฯ เล็งเห็น คือ โอกาสในการเตรียม ธุรกิจและบริการของเราใหมคี ณ ุ ภาพยิง่ ขึน้ รวมถึงการแสดงจ�ดยืนของ บริษัทฯ ที่ใหความสําคัญกับการผลักดันการทองเทีย่ วสีเขียวควบคูไปกับ การมอบบริการที่มีคุณภาพ ซึ่งขณะนี้ธรรมชาติและสัตวทะเลฟนฟู ดีขึ้นมาก การทองเที่ยวสีเขียวจะชวยรักษาระบบนิเวศทางทะเล และ ความสวยงามของธรรมชาติใหคงอยูอยางยั่งยืน ทีส่ าํ คัญ การนําเรือทองเทีย่ วไฟฟามาใหบริการ ยังเปนการลงทุน ที่คุมคาในระยะยาว ชวยลดตนทุนคาเชื้อเพลิง 70% เดิมทีเรือน้ํามัน ดีเซลจะมีตนทุนอยูที่ 10,000 บาทตอเที่ยว แตสําหรับเรือไฟฟาจะมี ตนทุนดานพลังงานเหลือเพียง 2,500 บาทตอการชารจหนึง่ ครัง้ และลด คาใชจายในการบํารุงรักษา รวมถึงชวยปลูกจิตสํานึกใหทุกคนเที่ยว แบบรักษโลก ตลอดจนชวยสรางความยั่งยืนใหกับธุรกิจ สิ่งแวดลอม และชุมชนไปพรอมกัน “บริษัท เจิ้ลไท จํากัด ประเทศจีนมองวาถาธุรกิจเรือทองเที่ยว ไฟฟาไปไดดี จะนําไปวิ่งที่เกาะพีพี ซึ่งเปนบริษั ทจีนรายแรก จะชวย ขยายตลาดไปตางประเทศได อีก 4-5 ปขา งหนา เทรนดดา นสิง่ แวดลอม จะมา รถไฟฟา (EV Car) จะเปด การสราง Smart Pier และ Smart Boat เปนการเตรียมความพรอมสรางโอกาสทางธุรกิจใหมทจี่ ะเกิดขึน้ ” ไชยา กลาว

15

สําหรับบานปู เน็กซ อีเฟอรร่ี ลําแรกของไทยชื่อ “นพมัลลี” พรอมให บริการนักทองเที่ยวในเสนทางเกาะเจมส บอนด เริ่มจากทาเทียบเรืออาวปอ ไปยังอาวพังงา ซึง่ ประกอบดวย เกาะพนัก เกาะหอง เขาตะปู (เกาะเจมสบอนด) และเขาพิงกัน ใชเวลาลองไป-กลับราว 3 ชัว่ โมง เจาะกลุม ตลาดระดับพรีเมียม มีการจัดตัง้ บริษัท ภูเก็ตพัชทรี พรีเมียมทัวร จํากัด เพือ่ ดูแลธุรกิจนีโ้ ดยเฉพาะ หากสถานการณ COVID-19 ในประเทศไทยมีแนวโนมที่ดี คาดวาในปหนา จะเปดอีกเสนทางที่เกาะพีพี ชนิต สุวรรณพรินทร ผูอํานวยการอาวุโส กลุมธุรกิจยานพาหนะไฟฟา บริษทั บานปู เน็กซ จํากัด กลาวเสริมวา บานปู เน็กซ มีความเชีย่ วชาญทางดาน Energy Power เนือ่ งจากจัดตัง้ โรงงานผลิตแบตเตอรีร่ ว มกับบริษัท Dura Power Holdings สวนเรือไฟฟาทางทะเล บริษัทฯ จะมีบริการใหเชา เพือ่ ชวยแบงเบา ภาระผูป ระกอบการ นอกจากเรือไฟฟา ในสวนของรถยนตไฟฟา บานปู เน็กซ จับมือ HAUPCAR ใหบริการเชารถยนตไฟฟา FOMM ผานแอปพลิเคชัน มีสถานที่รับและคืนรถ 200 จ�ดทั่ว กทม. ทั้งนี้สามารถเรียกรับรถจ�ดหนึ่งและ คืนรถอีกจ�ดหนึง่ ตามจ�ดบริการทีม่ ี ซึง่ ในอนาคตมีแผนทีจ่ ะนําบริการเชารถยนต พลังงานไฟฟา FOMM มาใหบริการในจังหวัดภูเก็ต เพื่อกาวสู Smarty City

หากเรือ 2,000 ลําเปลีย่ นมาใชเรือไฟฟาใน 1 ป ลดนํา้ มันไดกวา 53 ลานลิตร-ลดการปลอยกาซ CO2 1.4 แสนตัน

ปจจ�บนั มีเรือทองเทีย่ วทางทะเลประมาณ 3,000 ลํา โดยกวา 2,000 ลํา ใหบริการอยู ในแถบทะเลอันดามันและอาวไทยใน 4 จังหวัด ไดแก ภูเก็ต พังงา กระบี่ สุราษฎรธานี หากเปลี่ยนมาเปนเรือไฟฟารูปแบบเดียวกับบานปู เน็กซ อีเฟอรรี่ และนํามาใหบริการเปนเวลา 1 ป จะชวยลดการใชพลังงาน เชื้อเพลิงไดกวา 53 ลานลิตร และลดการปลอยกาซ CO2 ไดถึง 1.4 แสนตัน หรือเทียบเทากับปลูกตนไม 17 ลานตน จึงอยากใหผูประกอบการหันมาใช เรือทองเที่ยวไฟฟากันมากขึ้น และขอเชิญชวนนักทองเที่ยวทุกคนมาสัมผัส การทองเที่ยวสีเขียวของภูเก็ต “ในอนาคตเราเตรียมแผนจะพัฒนา Smart Mobility Town ที่ทาเรือ อาวปอ โดยจะนําเรือไฟฟา รถยนตไฟฟา รวมถึงโซลูชันดานพลังงานสะอาด อื่นๆ มาเติมเต็มการใชพลังงานสะอาดเพื่อสนับสนุนการทองเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) ใหครบวงจรยิ่งขึ้น” สมฤดี กลาวทิ้งทาย

GreenNetwork4.0 November-December

2020


BCG กองบรรณาธิการ

ไทยเบเวอรเรจแคน-แองโกล เอเชีย กรุปยูเอซีเจ-ชบา จับมือมูลนิธิ 3R

รวมยกระดับการรีไซเคิลกระปองอะลูมิเนียม

บริษัท ไทยเบเวอรเรจแคน จํากัด ผนึก พั น ธมิ ต ร บริ ษั ท แองโกล เอเชี ย กรุ ป (ประเทศไทย) จํ า กั ด บริ ษั ท ยู เ อซี เ จ (ประเทศไทย) จํากัด บริษัท ชบาบางกอก จํากัด และมูลนิธิการจัดการทรัพยากรอยาง ยั่ ง ยื น (มู ล นิ ธิ 3R) ประกาศความพร อ ม ชู น วั ต กรรมและกระบวนการจั ด การขยะ กระปองอะลูมเิ นียมที่ไดมาตรฐานระดับสากล และครบวงจร โดยการนําบรรจ�ภัณฑที่ใชแลว มาผ า นกระบวนการรี ไ ซเคิ ล จากนั้ น นํ าไป ขึน้ รูปเพือ่ นํากลับมาใชใหมเพือ่ ลดปริมาณขยะ อยางยั่งยืน โดยหากไดรับการสงเสริมจาก รัฐบาลก็จะชวยสรางประโยชนดา นสิง่ แวดลอม เศรษฐกิ จ และสั ง คม ผ า นการขั บ เคลื่ อ น ประเทศแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จากกระปองอะลูมิเนียมตอไป

แบบครบวงจรหนึ่งเดียวในอาเซียน

บรรจุภัณฑกระปองอะลูมิเนียมที่ผานการรีไซเคิล ผานมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล

สาโรช ชยาวิวัฒนกุล กรรมการผูจัดการ บริษัท ไทยเบเวอรเรจแคน จํากัด กลาววา บริษัท ไทยเบเวอรเรจแคน จํากัด หรือ TBC ในฐานะผูน าํ ในตลาด บรรจ�ภัณฑกระปองและฝาอะลูมิเนียมชั้น นําของไทยและเอเชียตะวันออก เฉียงใต มุงมั่นที่จะเปนตนแบบและผูนําดานความยั่งยืนในธุรกิจบรรจ�ภัณฑ โดยรวมมือกับทั้ง 4 องคกร ประกอบดวย บริษัท แองโกล เอเชีย กรุป (ประเทศไทย) จํากัด บริษทั ยูเอซีเจ (ประเทศไทย) จํากัด บริษทั ชบาบางกอก จํากัด และมูลนิธิการจัดการทรัพยากรอยางยั่งยืน (มูลนิธิ 3R) ที่มีความตั้งใจ เดียวกันในการลดปริมาณขยะ นําเทคโนโลยีรี ไซเคิลที่ทันสมัยเขามาชวย เปลี่ ย นขยะอะลู มิ เ นี ย มให ก ลั บ มาเป น บรรจ� ภั ณ ฑ อ าหารและเครื่ อ งดื่ ม ที่ ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ สามารถนํากลับมาใชประโยชนได 100% เกิดการ หมุนเวียนของทรัพยากรอยางมีประสิทธิภาพแทจริง เพือ่ ลดโอกาสทีข่ ยะจะถูก นําไปฝงกลบ หรือหลุดไปเปนขยะทะเล ปจจ�บนั ประเทศไทยมีการผลิตกระปองอะลูมเิ นียมประมาณ 6,500 ลาน กระปองตอป แบงเปน 50% จะวนอยู ในประเทศไทย ซึ่งไทยเปนประเทศ หนึง่ เดียวในอาเซียนทีม่ คี วามพรอมในการจัดการขยะอะลูมเิ นียมไดครบวงจร ผานความรวมมือกับองคกรตางๆ เริม่ ตนการรีไซเคิลโดย บริษทั แองโกล เอเชีย กรุป (ประเทศไทย) จํากัด ที่พรอมใหบริการรีไซเคิลเศษกระปองอะลูมิเนียม ในขั้นตอนตั้งแตนํากระปองอะลูมิเนียมที่ถูกคัดแยกออกจากวัสดุอื่นๆ ผาน เครื่องคัดแยก และทําความสะอาดแลว มาเขาเครื่องตัดบดใหเปนชิ้นเล็กๆ และปอนเขาสูกระบวนการขจัดสีเคลือบแล็กเกอร ผานกระบวนการผลิต 16

ไดมาตรฐานจากวัตถุดิบรีไซเคิลสูงถึง 99% จากนั้นสงตอไป ยัง บริษัท ยูเอซีเจ (ประเทศไทย) จํากัด โรงงานผลิตแผน อะลูมิเนียมชั้นนําแหงเอเชียตะวันออกเฉียงใต ใหดําเนินการ ตอ ตั้งแตกระบวนการหลอวัตถุดิบในอุณหภูมิสูงถึง 730 ํC เพือ่ ความสะอาดปลอดภัยจากสิง่ ปนเปอ น ไปจนถึงกระบวนการ รี ด เป น แผ น อะลู มิ เ นี ย มโดยใช เ ทคโนโลยี ขั้ น สู ง ภายใต ความรูความเขาใจในการปฏิบัติงานที่ไดบมเพาะมาเปนเวลา นาน ขณะที่ทาง TBC จะทําการขึ้นรูปทรงใหมตามประเภท ของการใช ง าน ทั้ ง ที่ เ ป น วั ต ถุ ดิ บ ในการผลิ ต สิ น ค า และ บรรจ� ภั ณ ฑ ที่ เ หมาะสมต อไป พร อ มสนั บ สนุ น เศรษฐกิ จ หมุ น เวี ย นภายใต ก รอบความยั่ ง ยื น ผ า นการวิ จั ย และ

GreenNetwork4.0 November-December

เศษกระปองอะลูมิเนียมที่ใชแลวถูกสงเขา เครื่องบดในขั้นตอนบดละเอียด รอเขาสู กระบวนการขจัดสี 2020


สาโรช ชยาวิวัฒนกุล

ดร.วิฑูรย สิมะโชคดี

บรรจุภัณฑกระปองอะลูมิเนียมที่ผานการรีไซเคิล ดวยเทคโนโลยีทันสมัยและผานมาตรฐานความ ปลอดภัยระดับสากล สรางสรรคนวัตกรรมผลิตภัณฑทตี่ อบสนองความตองการของตลาดไดอยาง ตรงจ�ด พรอมรับมือกับแนวโนมการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่เกิดขึ้นตลอด เวลา ขณะนี้ บริษัท ชบาบางกอก จํากัด ผูนําและผูเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ เครือ่ งดืม่ จากผลไม เปนหนึง่ ในบริษัททีม่ กี ารใชบรรจ�ภณ ั ฑกระปองอะลูมเิ นียม ที่ผานการรี ไซเคิลมาแลวในกระบวนการผลิตสินคา 100% แสดงถึงการให ความสําคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดลอม โดยตระหนักถึงปญหามลภาวะ ตางๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหวางกระบวนการผลิต รวมถึงภาวะโลกรอนที่อาจ สงผลกระทบตอคุณภาพชีวิตมนุษยและระบบนิเวศได ดาน ดร.วิฑรู ย สิมะโชคดี ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิการจัดการ ทรัพยากรอยางยั่งยืน (มูลนิธิ 3R) กลาววา ความรวมมือในครั้งนี้มุงเนน

วงศวุธ กูลปยะวาจา การรี ไซเคิลกระปองอะลูมิเนียมแบบครบวงจร เพื่อพัฒนา เปนตนแบบการนําขยะกลับไปใชประโยชนใหมไดอยางมี ประสิทธิภาพ และลดปริมาณขยะรวมในระบบ ซึ่งสอดคลอง กับพันธกิจหลักของมูลนิธิ 3R ในฐานะองคกรในการผลักดัน ใหเกิดการบริหารจัดการทรัพยากรอยางยัง่ ยืน ภายใตแนวคิด 3R ประกอบดวย การลดการใช (Reduce) เพิ่มการใชซํ้า (Reuse) และนํากลับมาใชใหม (Recycle) พรอมสงเสริม แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑและการพัฒนานวัตกรรมตาม หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy เพิ่ม การนําทรัพยากรกลับมาใชใหม ควบคูกับการสรางความ ไดเปรียบในการแขงขันใหกับธุรกิจในประเทศไทย ถือเปน อีกกาวสําคัญของประเทศไทยในการขับเคลือ่ นการจัดการขยะ เพื่อสงเสริมใหเกิดการจัดการทรัพยากรอยางยั่งยืนตอไป ความรวมมือในครัง้ นีต้ อกย้าํ ถึงความมุง มัน่ ในการแกไข ปญหาขยะอยางยั่งยืนของภาคเอกชน ที่เล็งเห็นถึงความ สําคัญของปญหาสิง่ แวดลอมทีเ่ กิดขึน้ ตัง้ แตอดีตจนถึงปจจ�บนั พรอมผลักดันให “การรีไซเคิลกระปองอะลูมเิ นียม” เปนหนึง่ ในตนแบบการจัดการขยะ ซึง่ หากรัฐบาล ใหการสนับสนุนการรีไซเคิลกระปอง อะลู มิ เ นี ย ม ก็ จ ะช ว ยผลั ก ดั น ให เกิดการรีไซเคิลในประเทศมากขึน้ ถื อ เป น การสร า งประโยชน ด า น สิง่ แวดลอม เศรษฐกิจ และสังคม

สําหรับการรีไซเคิลกระปองอะลูมิเนียมสงเสริมใหเกิดประโยชนครอบคลุม 3 ดาน ไดแก

ดานเศรษฐกิจ เสริมสรางการจางงานในอุตสาหกรรมรีไซเคิล สงเสริมอาชีพรับซื้อขยะรีไซเคิลทั้งรานรับซื้อของเกา และซาเลง ซึ่งมีอยูประมาณ 150,000 รายทั่วประเทศ ทั้งยังลดตนทุนในการผลิตและการนําเขาวัตถุดิบจากตางประเทศไดอีกทาง ดานสังคม สรางการรับรูใหแกผูบริโภคในการชวยกันเพิ่มการจัดเก็บบรรจ�ภัณฑที่ใชแลวใหถูกตอง กระตุนใหหนวยงานที่เกี่ยวของหันมาบูรณาการใช นโยบายและระบบบริหารจัดการขยะอยางจริงจัง ดานสิง่ แวดลอม ลดผลกระทบดานสิง่ แวดลอม ซึง่ เปนปญหาสําคัญทีท่ ว่ั โลกกําลังเผชิญ โดยเฉพาะผลกระทบจากการทําเหมืองอะลูมเิ นียม อีกทัง้ ลดปริมาณ ขยะฝงกลบและขยะที่หลุดไปในทะเล นอกจากนี้ยังเปนการใชทรัพยากรหมุนเวียนอยางคุมคา มีประสิทธิภาพ เพื่อชวยอนุรักษสิ่งแวดลอมอยางยั่งยืน

17

GreenNetwork4.0 November-December

2020


Automotive กองบรรณาธิการ

บริษทั เอสเอไอซี มอเตอร - ซีพี จํากัด และ บริษทั เอ็มจี เซลส (ประเทศไทย) จํากัด ผูผ ลิตและ ผูจําหนายรถยนตเอ็มจีในประเทศไทย ผูนําตลาด รถยนตพลังงานทางเลือก เปดตัว “NEW MG EP” รถยนตในรูปแบบสเตชั่นแวกอนขับเคลื่อนดวย พลังงานไฟฟา 100% ดวยแนวคิด “Everyone ตอบโจทยทุกฟงกชัน รถยนตพลังงานไฟฟาของ ทุกคน” เพื่อสะทอนมาตรฐานขั้นตนของรถยนต พลังงานไฟฟาในประเทศไทยที่ตองประกอบดวย องคประกอบพื้นฐาน ไดแก ขนาดของหองโดยสาร และพื้น ที่ ใชสอยที่กวางขวางรองรับการบรรทุก ทั้งคนและสิ่งของ โดดเดนดวยสมรรถนะของ EV เทคโนโลยีที่ ใหกําลังเพียงพอตอการใชงานจริง ในชีวิตประจําวัน ใหความสะดวกสบายและมั่นใจ ในการขับขี่ดวยระบบความปลอดภัยที่ครบครัน รวมทั้งคุมคาในการเปนเจาของดวยคาใชจายดาน พลังงานทีต่ า่ํ รับประกันแบตเตอรีน่ านถึง 8 ป หรือ 180,000 กิโลเมตร และคาบํารุงรักษาที่ต่ํา ชวย ประหยัดคาใชจายไดในระยะยาว พรอมเผยแผน ติดตั้งสถานีอัดประจ�ไฟฟาของเอ็มจี ภายใตชื่อ “MG Super Charge” ที่ดีลเลอรเอ็มจีติดตั้งครบ 100 แหงแลวในปนี้ และขยายอีกกวา 500 แหง ภายในปหนา โฉมหนา NEW MG EP ซึ่งจะเปนมาตรฐานขั้นตน ของรถยนตพลังงานไฟฟา 100% หรือ Entry EV 18

GreenNetwork4.0 November-December

2020


พงษศักดิ์ เลิศฤดีวัฒนวงศ รองกรรมการผูจัดการ บริษัท เอ็มจี เซลส (ประเทศไทย) จํากัด กลาววา เอ็มจีนําเสนอยานยนตดวย 3 แนวคิดหลัก ไดแก ความทันสมัยหรือแฟชั่น เทคโนโลยี และความคุมคา ซึ่งทั้ง 3 แนวคิดหลักนี้จะถูก นํามาใชตงั้ แตการออกแบบ การคิดคนนวัตกรรม สมรรถนะ ฟงกชนั การใชงาน และ ระบบความปลอดภัย โดย NEW MG EP จะเปนมาตรฐานขัน้ ตนของรถยนตพลังงาน ไฟฟา 100% หรือ Entry EV ของตลาดรถยนตเมืองไทยนับจากนี้ ดวยจ�ดเดนของการ เปน EV For Everyone ที่สามารถตอบโจทยการใชงานของลูกคาไดทุกรูปแบบ ทั้งขนาดของหองโดยสารที่กวางขวาง รวมถึงพื้นที่ ใชสอยที่สะดวกสบาย ความจ� ในการบรรทุกสัมภาระทีเ่ หนือกวา สมรรถนะของเทคโนโลยีของรถยนตไฟฟา 100% ระบบความปลอดภัยครบครัน และความคุมคาในการเปนเจาของ ยิ่งไปกวานั้น ขณะนี้ สถานีอัดประจ�ไฟฟาของเอ็มจีภายใตชื่อ MG Super Charge ไดติดตั้งที่ ดีลเลอรเอ็มจีครบ 100 แหง และอยูในระหวางทดลองระบบ ซึ่งคาดวาจะสามารถ ใชไดจริงในเดือนมกราคมนี้ นอกจากนี้ ยังมีแผนจะขยายจ�ดใหบริการ MG Super Charge อีกกวา 500 แหงภายในปหนา ซึง่ บริษัทฯ เชือ่ มัน่ วารถยนตไฟฟาของเอ็มจี จะสามารถใชงานไดจริงในทุกพื้นที่ทั่วประเทศในเวลาอันใกลนี้ “MG Super Charge” ซึ่งดีลเลอรเอ็มจีติดตั้งครบ 100 แหงแลวในปนี้ และขยายอีกกวา 500 แหงภายในปหนา

แบบเร็ว ซึง่ ใชระยะเวลาเพียง 40 นาที มีคา ใชจา ยตอการ ชารจเต็มแตละครัง้ เพียง 200** บาท และคาบํารุงรักษา ตลอดระยะเวลา 5 ป หรือ 100,000 กิโลเมตร อยูที่ 7,828 บาท นอกจากนี้ ยังไดรับการประกันคุณภาพ และการดูแลบริการหลังการขายภายใต MG Passion Service นาน 4 ป หรือ 120,000 กิโลเมตร และการ รับประกันแบตเตอรีน่ านถึง 8 ป หรือ 180,000 กิโลเมตร

NEW MG EP มาพรอมพื้นที่หองโดยสารกวางขวาง นั่งสบาย และพื้นที่เก็บ สัมภาระขนาดใหญ โดยเมื่อพับเบาะหลังจะสามารถเพิ่มพื้นที่ความจ�ไดมากสูงสุด ถึง 1,456 ลิตร รองรับการบรรทุกทัง้ คนและสิง่ ของไดเปนอยางดี มีระบบความปลอดภัย และสิ่งอํานวยความสะดวก (Safety & Convenience) ที่ครบครัน อาทิ ถุงลมนิรภัย คูหนา ระบบเบรก ABS พรอมระบบชวยกระจายและเสริมแรงเบรกดวยไฟฟา ระบบ ควบคุมเสถียรภาพในการขับขี่ กลองมองหลัง ระบบตรวจสอบความผิดปกติของลมยาง ปุมเบรกมือไฟฟาและปุม Auto Hold ขับเคลื่อนดวย EV เทคโนโลยี (EV Technology) ดวยมอเตอรไฟฟาที่มีกําลังสูงสุด 163 แรงมา มีอัตราเรง 0-100 กิโลเมตร ภายใน เวลาเพียง 8.8 วินาที พรอมโหมดการขับขี่ใหเลือก 3 รูปแบบ คือ Eco, Normal และ Sport รวมทั้งมีระบบชารจไฟกลับเมื่อชะลอความเร็ว หรือ KERS Mode รวม 3 ระดับ สําหรับแบตเตอรี่ของ NEW MG EP เปนลิเทียมไอออนแบบโมดูล ที่สามารถแยกซอม แตละโมดูลไดอสิ ระ โดยมีขนาดความจ�ถงึ 50.3 กิโลวัตตชว่ั โมง ใหระยะทางในการขับขี่ ไดไกลถึง 380 กิโลเมตรตอการชารจเต็มหนึ่งครั้ง* ซึ่งสามารถชารจไฟได 2 รูปแบบ คือ การชารจในรูปแบบ Normal Charge จาก 0-100% ผาน MG Home Charger ที่ ใชเวลา 7.15 ชัว่ โมง และรูปแบบ Quick Charge จาก 0-80% ผานสถานีอดั ประจ�ไฟฟา 19

*ทดสอบตามมาตรฐานความประหยัดพลังงาน New European Driving Cycle - NEDC **อัตราคาไฟฟาเฉลี่ยทั่วประเทศที่ 3.96 บาทตอหนวย ไมรวมคา FT และภาษีมูลคาเพิ่ม อางอิงจากขอมูลของ คณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน ณ เดือนมิถุนายน 2563

GreenNetwork4.0 November-December

2020


Innovation กองบรรณาธิการ

โฉมหนาผลงาน “ทอเพิ่มความรอน สําหรับเพิ่มสมรรถนะทางอุณหภาพ”

นกัวจิยั มจธ. พฒ ั นา

“ทอเพิ่มความรอนฯ” และ “นวตักรรมอปุกรณ

แลกเปลี่ยนความรอน” เพิ่มสมรรถนะทางความรอนใหสงูขึ้นประหยัดพลังงานมากยิ่งขึ้น

ผลงาน “ทอเพิ่มความรอนสําหรับเพิ่มสมรรถนะทางอุณหภาพ” โดย ศ. ดร.สมชาย วงศวิเศษ อาจารยประจําภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะ วิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี (มจธ.) และ คณะนักวิจัย ซึ่งประกอบดวย ดร.คณิต อรุณรัตน ดร.สุริยัน เลาหเลิศเดชา ธน อากาศอํานวย และ รชต ลีลาประชากุล ควา รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จาก Thailand Energy of Innovation and Technology Awards 2019 (TE-IT 2019) ในโครงการประกวดการเพิม่ ประสิทธิภาพดานการอนุรกั ษพลังงาน และพลังงานทดแทน ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน (พพ.) ณ หองแกรนด เอบี โรงแรมมิราเคิล แกรนด คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นอกจากนี้ ผลงาน “นวัตกรรมอุปกรณแลกเปลีย่ นความรอนแบบทอติดครีบเกลียว เพือ่ การประหยัดพลังงาน” โดย ศ. ดร.สมชาย วงศวเิ ศษ และ ร.ท. ดร.ปริญญา เกียรติภาชัย ยังไดรับรางวัลนวัตกรรมที่นาสนใจเปนพิเศษอีกดวย ศ. ดร.สมชาย วงศวิเศษ อาจารยประจําภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี (มจธ.) กลาววา ผลงานทัง้ 2 เปนการคิดคนแนวทางในการเพิม่ ประสิทธิภาพ ใหกบั อุปกรณแลกเปลีย่ นความรอน ซึง่ เปนอุปกรณทม่ี คี วามเกีย่ วของ กับระบบพลังงาน สามารถนําไปประยุกตใชไดอยางแพรหลายใน อุตสาหกรรมตางๆ โดยเพิม่ สมรรถนะทางความรอนใหสงู ขึน้ จะทําให การใชพลังงานเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ และสามารถประหยัด พลังงานไดมากยิ่งขึ้น ปจจ�บันนักวิจัยพยายามใชเทคนิคตางๆ เพื่อเพิ่มการถายเท ความรอน ปรับปรุงสมรรถนะทางความรอนของอุปกรณใหสามารถ แลกเปลีย่ นความรอนใหดขี น้ึ ซึง่ เทคนิคการทําผิวทอใหขรุขระเปนหนึง่ ในวิธที งี่ า ยทีส่ ดุ ทอเพิม่ ความรอน (Enhanced Tube) สามารถเพิม่ การถายเทความรอนโดยสรางการไหลแบบปน ปวน (Turbulent 20

ศ. ดร.สมชาย วงศวิเศษ อาจารยประจําภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร มจธ. Flow) และเพิม่ พืน้ ที่ในการถายเทความรอน ทอเพิม่ ความรอน มีอยูหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือ ทอที่มีรองเกลียวภายใน (Internally Corrugated Tube) ทอชนิดนี้สามารถนําไป ประยุกตใชแทนทอเรียบในอุปกรณแลกเปลี่ยนความรอนได ทุกประเภท ผลที่ตามมาคือ จะทําใหสมรรถนะทางอุณหภาพ ของอุปกรณแลกเปลี่ยนความรอนสูงขึ้น สงผลใหอุปกรณ แลกเปลี่ยนความรอนมีขนาดเล็กลง หรือชวยเพิ่มอัตราการ ถายเทความรอนใหมากยิ่งขึ้น ในขณะที่อุปกรณแลกเปลี่ยน ความรอนมีขนาดเทาเดิม นวั ต กรรมนี้ เ หมาะสํ า หรั บ อุ ต สาหกรรมเครื่ อ งทํ า ความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ทอที่มีรองเกลียวสามารถ นําไปใชแทนทีท่ อ เรียบ ทัง้ ในคอนเดนเซอรและอีวาโปเรเตอร ท อ ชนิ ด นี้ ส ามารถนํ าไปประยุ ก ต ใ ช ใ นกระบวนการทาง ความรอนไดทกุ ประเภทอีกดวย เชน นําไปใชเปนทออุปกรณ แลกเปลีย่ นอุปกรณความรอนแบบเปลือกและทอ หรือใชเปน ทอในหมอไอน้ํา “เราพัฒนาทอแลกเปลี่ยนความรอนมาแลว 3 แบบ แบบแรกเปนทอมีครีบภายใน แบบที่ 2 เปนทอที่มีลักษณะ เกลียวขางใน และแบบที่ 3 เปนทอที่มีปุมอยูขางในทอ ซึ่ง ทอทั้ง 3 แบบที่พัฒนาขึ้นมา แบบที่เปนปุมจะใหการถายเท ความรอนไดดีที่สุด แตใหคาความดันลด (Pressure Drop) สูงทีส่ ดุ หากนําไปใชงานจริง ทอแบบนีจ้ ะใหการถายเทความรอน ไดดีที่สุด แตตองใชพลังงานในการขับเคลื่อนของไหลสูง จึง ขึ้นอยูกับวัตถุประสงคในการนําไปใชงาน ตองพิจารณาวา ควรเลือกใชงานแบบไหน” ศ. ดร.สมชาย กลาว

GreenNetwork4.0 November-December

2020

ทอที่มีรองเกลียวภายใน


“EXTUBA TURBO TUBE” ผลงานวิจัยชิ้นแรกที่ มจธ. รวมกับภาคเอกชนนําไปใชงานจริง ศ. ดร.สมชาย ในฐานะผูเชี่ยวชาญดานกลศาสตร ของไหลและการถายเทความรอน ทําการวิจัยและพัฒนา เกี่ยวกับทอแลกเปลี่ยนความรอนมานานกวา 20 ป มีผลงาน ตีพิมพมากกวา 500 เรื่อง และผลงานไดถูกนําไปตอยอด งานวิจยั อืน่ ๆ อีกเปนจํานวนมาก แมวา ศ. ดร.สมชาย จะเนน การทํางานเพื่อการตีพิมพ ไมไดตั้งเปาวาจะผลิตออกมาใช เชิงพาณิชยหรือใชกบั ภาคอุตสาหกรรม แตผลงานวิจยั ไดรบั ความสนใจจาก รชต ลีลาประชากุล กรรมการผูจัดการ บริษทั ไทย-เยอรมัน โปรดักส จํากัด (มหาชน) หรือ TGPRO ซึ่งเปนโรงงานผลิตทอและแผนสเตนเลส ที่ติดตอใหชวย พัฒนาทอใหมีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนความรอน ใหดีขึ้น “EXTUBA TURBO TUBE” จึงเปนผลงานที่รวมกัน พัฒนาขึน้ ระหวาง มจธ. และ TGPRO ซึง่ ผลจากการวิจยั และ ทดลองสมรรถนะการถายเทความรอนพบจ�ดเดนคือ การ สรางครีบรองเกลียวภายในทอ จะสงผลใหผนังทอมีพื้นที่ผิว สําหรับแลกเปลีย่ นความรอนสูงขึน้ กวา 30% ทําใหจาํ นวนทอ ทีต่ อ งใชในการแลกเปลีย่ นความรอนมีจาํ นวนนอยลง ขณะที่ สมรรถนะในการถายเทความรอนเทาเดิม ทําใหจํานวนทอ อุปกรณแลกเปลี่ยนความรอนมีขนาดเล็กลงอยางเห็นไดชัด มีความกะทัดรัดมากขึ้น สัมประสิทธิ์การถายเทความรอน (Heat Transfer Coefficient) สูงขึ้นประมาณ 50% เมื่อ

เปรียบเทียบกับทอธรรมดาทั่วไป ขณะที่ความแข็งแรงไดมาตรฐาน โดยผานการ ทดสอบมาตรฐานสากล อาทิ ASTM (American Society of Testing Materials), PED (Pressure Equipment Directive) จากสถาบัน BUREAU VERTA’s “ถือเปนผลงานชิ้นแรกๆ ที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยที่เราทําขึ้นเอง และเรา สามารถนําไปสูการใชงานจริงในภาคอุตสาหกรรมดวยตัวเราเอง ตางจากที่ผานมา ทีอ่ าจจะมีผอู นื่ นํางานวิจยั ของเราไปตอยอดในเชิงอุตสาหกรรม” ศ. ดร.สมชาย กลาว สําหรับผลงานนวัตกรรมอุปกรณแลกเปลี่ยนความรอนแบบทอติดครีบเกลียว ที่ วิ จั ย ขึ้ น นี้ ได รั บ รางวั ล เหรี ย ญทองเกี ย รติ ย ศจากเวที ร ะดั บ โลก จากผลงาน Enhanced Tubes for Improving the Thermal Performance ในงานนิทรรศการ สิ่งประดิษฐใหมของโลก 44th International Exhibition and Invention of Geneva 2016 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอรแลนด

ศ. ดร.สมชาย วงศวิเศษ พรอมทีมวิจัย รับรางวัล TE-IT 2019 ทอที่มีครีบภายใน

ชูจุดเดนกินไฟนอยลงแตเย็นเหมือนเดิม ประสานผูผลิตเครื่องปรับอากาศนําไปใชงานในเชิงพาณิชย

ศ. ดร.สมชาย กลาววา ไดมกี ารพูดคุยกับบริษัททีผ่ ลิตเครือ่ งปรับอากาศ เพือ่ ใหนําผลงานวิจัยทอแลกเปลี่ยนความรอนที่เราวิจัยนําไปใช ซึ่งจากงานวิจัยพบวา การถายเทความรอนและการประหยัดพลังงานดีกวาทอแบบเรียบ ซึง่ จะทําใหกนิ ไฟ นอยลง แตยังใหความเย็นเหมือนเดิม อยางไรก็ตาม ถาจะนําไปใชจริง ทางผูประกอบการก็ตองคํานวณเรื่องการ สูญเสียของพลังงานในการไหลดวย เพราะจากผลงานวิจัยพบวา มีทั้งขอไดเปรียบ และเสียเปรียบ ดังนั้นจึงตองดูจ�ดที่เหมาะสมที่สุด 21

GreenNetwork4.0 November-December

2020


GREEN

BIZ

บาฟส อินเทค

เปดตัวรถเติมน้ำมันอากาศยาน พลังงานไฟฟา 100% ลดการใชน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล มากถึง 6,300 ลิตรตอป

บริ ษัท บาฟส์ อิ น เทค จำ� กั ด ผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารออกแบบ ผลิ ต ประกอบ รถเติมน้ำ�มันอากาศยานและระบบให้บริการน้ำ�มันอากาศยาน บริษั ทในเครือ กลุ่มบริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ หรือบาฟส์กรุ๊ป เปิดตัวรถเติมน้ำ�มัน อากาศยานพลังงานไฟฟ้ารุ่น EV-HDC17LPM ซึ่งเป็นรถเติมน้ำ�มันอากาศยาน แบบ Electric Hydrant Cart ที่ทำ�งานด้วยไฟฟ้าทั้งระบบ 100% เน้นย้ำ�แนวทาง การดำ�เนินธุรกิจทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม ผลักดันการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ในพืน้ ทีท่ า่ อากาศยานให้มากทีส่ ดุ โดยเริม่ นำ�มาใช้งานทีท่ า่ อากาศยาน นานาชาติดอนเมืองแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้ รถเติมน้ำ�มันอากาศยานพลังงานไฟฟ้ารุ่น EV-HDC17LPM เป็นรถเติม น้�ำ มันแบบ Electric Hydrant Cart ทีป่ ระกอบไปด้วยรถแทรกเตอร์พลังงานไฟฟ้า และรถเติมน้ำ�มันแบบ Refueler ใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ ทำ�ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นในการเติมน้ำ�มันอากาศยานได้ทุกรุ่น โดยมีอัตรา การไหลของเชือ้ เพลิงอยูท่ ี่ 1,700 ลิตรต่อนาที และมีอตั ราการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์เป็นศูนย์ จึงช่วยลดการใช้น�ำ้ มันเชือ้ เพลิงดีเซลในการดำ�เนินกิจกรรม ทางธุรกิจได้มากถึง 6,300 ลิตรต่อปี หรือเทียบเท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ 15 ตันต่อปี ปัจจุบัน บาฟส์ อินเทค ได้เริ่มนำ�รถรุ่นนี้มาให้บริการ เติมน้�ำ มันอากาศยานแล้วตัง้ แต่วนั ที่ 10 พฤศจิกายน ทีผ่ า่ นมา ณ ท่าอากาศยาน นานาชาติดอนเมือง

บาฟส์ อินเทค ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาและนำ�เสนอ ผลิตภัณฑ์และการบริการทีม่ ปี ระสิทธิภาพและเป็นมิตร กั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม ตอกย้ำ � แนวทางการดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ ของกลุ่ ม บริ ษั ท ฯ ที่ ต้ อ งการลดปริ ม าณการปล่ อ ย คาร์ บ อนไดออกไซด์ ใ ห้ ไ ด้ ม ากที่ สุ ด อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น การร่ ว มสนั บ สนุ น โครงการ Airport Carbon Accreditation ในระยะที่ 3 ของท่ า อากาศยาน นานาชาติดอนเมืองอีกด้วย 22

GreenNetwork4.0 November-December

2020


ผูวาการ กฟผ. คนที่ 15

แจงนโยบายขับเคลื่อน กฟผ. สูผูใหบริการดานพลังงานอยางครบวงจร

ผูว า การ กฟผ. คนที่ 15 เผยหลักการบริหารแบบ “ยืดหยุน ทันการณ ประสานประโยชน” ขับเคลือ่ น กฟผ. สูผ ใู หบริการดาน พลังงานอยางครบวงจรในยุค Disruption ทัง้ การรักษาความมัน่ คง ในระบบไฟฟาของประเทศ และบริการดานพลังงานที่ตอบโจทย ความตองการของผูใชไฟฟาที่หลากหลาย พรอมเดินหนาสราง พันธมิตรตอยอดธุรกิจใหม ควบคูก ารดูแลสังคม ชุมชน สิง่ แวดลอม อยางยั่งยืน หลังเขารับตําแหนงผูวาการ กฟผ. คนที่ 15 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ที่ผานมา บุญญนิตย วงศรักมิตร ผูวาการการไฟฟา ฝายผลิตแหงประเทศไทย (กฟผ.) พรอมทีมผูบริหาร กฟผ. รวมพูดคุยกับสื่อมวลชนถึงทิศทางการดําเนินงานของ กฟผ. และแนวทางการบริหารงาน ณ หอประชุมเกษม จาติกวณิช สํานักงานใหญ จังหวัดนนทบุรี บุญญนิตย วงศรกั มิตร ผูว า การ กฟผ. กลาววา สถานการณ การแพรระบาดของ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยีสง ผลกระทบโดยตรงตอความตองการใชไฟฟา รวมถึง รูปแบบการผลิตไฟฟา ซึ่งถูกกําหนดโดยผูใชไฟฟามากขึ้น กฟผ. จึงตองปรับตัวใหสอดคลองกับอุตสาหกรรมไฟฟาในยุค New Normal ปรับวิธคี ดิ และการดําเนินงานภายใตแนวคิด “EGAT for ALL” หรือ กฟผ. เปนของทุกคน และทําเพือ่ ทุกคน เพราะนอกจาก การผลิตและสงไฟฟาเพื่อรักษาความมั่นคงในระบบไฟฟาของ ประเทศแลว การดําเนินงานของ กฟผ. ยังตองตอบโจทยความ ตองการของผูใ ชไฟฟาทีม่ คี วามหลากหลายในยุค Disruption โดย ตั้งเปาเดินหนาสูการเปนผูใหบริการดานพลังงานอยางครบวงจร (Energy Solutions Provider) ดวยหลักการบริหารแบบ “ยืดหยุน ทันการณ ประสานประโยชน” เดินหนาผลักดันงานที่มีอยูใหมี ประสิทธิภาพสูงสุด อาทิ การพัฒนาโรงไฟฟาตามแผน PDP2018 Rev.1 ให แ ล ว เสร็ จ ตามกํ า หนด มุ ง เน น นํ า นวั ต กรรมและ เทคโนโลยีมาชวยเพิ่มประสิทธิภาพในทุกการดําเนินงาน ตั้งแต การพัฒนาระบบผลิตไฟฟาดวยโรงไฟฟาดิจิทัล (Digital Power Plant) ทํ าให โ รงไฟฟ า มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง ขึ้ น ช ว ยลดต น ทุ น การผลิต พัฒนาการผลิตไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียนรูปแบบ ผสมผสาน อาทิ โครงการโซลารลอยน้ําในเขื่อน การผลิตไฟฟา จากกังหันลมรวมกับเซลลเชือ้ เพลิง โรงไฟฟาพลังน้าํ แบบสูบกลับ 23

ดานระบบสงไฟฟา กฟผ. มุง พัฒนาโครงขายระบบสงไฟฟาเชือ่ มโยง ประเทศเพื่อนบาน (Grid Connectivity) ยกระดับสูการเปนศูนยกลาง ซื้อขายพลังงานของภูมิภาค และปรับปรุงระบบสงไฟฟาในประเทศใหมี ความมั่นคงแข็งแรง โดยในป พ.ศ. 2564 จะเรงดําเนินสรางสายสงไฟฟา 230 กิ โ ลโวลต เชื่ อ มโยงบริ เ วณชายแดนไทย-กั ม พู ช า (วั ฒ นานคร จังหวัดสระแกว-พระตะบอง 2 กัมพูชา) เพื่อรองรับการซื้อขายไฟฟา ปริมาณ 300 เมกะวัตต ภายในป พ.ศ. 2566 ตลอดจนการพัฒนาโครงขาย ไฟฟาใหมีความทันสมัย (Grid Modernization) รองรับการเพิ่มขึ้นของ พลังงานหมุนเวียน โดยไมสง ผลกระทบตอความมัน่ คงของระบบไฟฟาหลัก ไดแก การจัดตั้งศูนยพยากรณการผลิตไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียนของ ประเทศ (RE Forecast Center) ซึ่งสามารถพยากรณ กําลังการผลิตไฟฟาจากพลังงานหมุนเวียนไดละเอียด ในระดับราย 30 นาที จนถึงในอีก 7 วันถัดไปไดอยาง แมนยํา ปรับปรุงโรงไฟฟาของ กฟผ. ใหมคี วามยืดหยุน (Flexible Power Plant) มีความพรอมจายสูง โดย เริ่มนํารองที่โรงไฟฟาวังนอย ชุดที่ 4 แลว ทําให สามารถตอบสนองต อ การเปลี่ ย นแปลงของ ระบบไฟฟาไดอยางรวดเร็ว พรอมทั้งพัฒนา แบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System : BESS) ทีส่ ถานีไฟฟาแรงสูง บําเหน็จณรงค จังหวัดชัยภูมิ และสถานีไฟฟา แรงสูงชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เพื่อแกปญหา คุ ณ ภาพไฟฟ า ในพื้ น ที่ ที่ มี พ ลั ง งานหมุ น เวี ย น เชื่อมตอเขาระบบไฟฟาปริมาณมาก นอกจากนี้ กฟผ. ยังเตรียมบุกธุรกิจใหม อาทิ ธุรกิจยานยนตไฟฟา (EV) ไดแก สถานีอัด ประจ�ไฟฟา, เครื่องอัดประจ�ไฟฟาแบบเร็ว (EGAT DC Quick Charger) ขนาด 100 กิโลวัตต, ธุรกิจ สมารทอีวีชารจเจอรขนาดเล็กแบบครบวงจรภายใต แบรนด Wallbox, ชุดดัดแปลงสภาพรถยนตใหกลาย เปนรถยนตไฟฟา (EV Kit), ธุรกิจแบตเตอรี่อัจฉริยะ (Batt 20C) สามารถจายกระแสไฟฟาไดอยางรวดเร็ว, ธุรกิจซื้อขายเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC)

GreenNetwork4.0 November-December

2020


Energy กองบรรณาธิการ

บี.กริม เพาเวอร์

‘BGRIM’ จัดงาน CG Day 2020 ชูแนวคิด ESG : Empowering

Sustainability Growth

24

ดร.ฮาราลด์ ลิ ง ค์ ประธาน บี . กริ ม เป็ น ประธานเปิ ด งาน ส่งเสริมการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี ประจำ�ปี 2563 หรือ CG Day 2020 (Corporate Governance Day) ภายใต้แนวคิด “ESG : Empowering Sustainability Growth” ทีแ่ สดงถึงเจตนารมณ์และความมุง่ มัน่ ต่อการ ขับเคลื่อนองค์กรภายใต้หลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี พร้อมเติบโต อย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการส่งเสริมและปลูกฝังวัฒนธรรม องค์กรให้พนักงานทุกระดับตระหนักถึงความสำ�คัญด้านการกำ�กับดูแล กิจการที่ดี ที่มีการบริหารงานอย่างมืออาชีพและเป็นองค์กรโปร่งใส ซึ่งเป็น พื้นฐานสำ�คัญสู่การเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ตลอดจน เป็นการสร้างวัฒนธรรมที่ดีซึ่งเกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ภายในงานได้จัดเสวนา หัวข้อ “ESG : Empowering Sustainability Growth” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม เกศรา มัญชุศรี อดีตกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย และ อนันตชัย ยูรประถม สถาบันพัฒนาธุรกิจอย่าง ยัง่ ยืน มาร่วมแสดงวิสยั ทัศน์และแนวทางการขับเคลือ่ นการกำ�กับดูแล กิจการที่ดี การดำ�เนินงานด้านความยั่งยืน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูล ด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) อันนำ�ไปสูก่ าร สร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจและการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศที่มี การเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ภายในงานยังได้จัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี การ ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และการดำ�เนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมี คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการกำ�กับดูแลกิจการ และผู้บริหาร ระดับสูง พร้อมพนักงานเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคาร ดร.เกฮาร์ด ลิงค์ เมื่อเร็วๆ นี้

GreenNetwork4.0 November-December

2020


Energy พิชัย ถิ่นสันติสุข

หยุด! เกมซื้อขายเวลา

โรงไฟฟาพลังงานขยะชุมชน

400 MW

การจัดการขยะของประเทศกําลังพัฒนา สิ่ ง ที่ ไ ม แ ตกต า งกั น มากนั ก ก็ คื อ ป ญ หาด า น ผลประโยชน ต ลอด Supply Chain ตั้ ง แต หน ว ยงานจั ด เก็ บ ขยะจนถึ ง ใบอนุ ญ าต PPA (Power Purchase Agreement) เรามาลอง สรางสรรคแผนธุรกิจ (Business Model) รองรับ Supply Chain ที่อยูในเสนทางวิกฤตนี้ดู… และ เพื่อกระชับเวลาการกอสรางโรงไฟฟาพลังงาน ขยะหลังได PPA ใหจายไฟฟาตามเวลาที่ลงนาม ในสัญญา ขอเสนอวิธีการหยุดเกมซื้อขายเวลา มาประกอบการพิจารณาดังนี้…

25

ขอเริ่มดวยตํานานการจัดการขยะในประเทศไทยโดยยอราว 20 ปมาแลว ความรับผิดชอบของการจัดการขยะชุมชน มีกระทรวงมหาดไทยและกรมควบคุม มลพิษ ผลัดกันรับผิดชอบ ขึ้นอยูกับวาชวงเวลานั้นปลัดกระทรวงไหน Active กวากัน การขอ PPA (Power Purchase Agreement) กอนตัง้ กกพ. (คณะกรรมการกํากับกิจการ พลังงาน) ก็มีคณะกรรมการ RE: Renewable Energy ซึ่งมีปลัดกระทรวงพลังงาน เปนประธาน มีการประชุมเกือบทุกเดือน โครงการทีผ่ า นคณะกรรมการชุดนีจ้ ะได PPA ทันที ในชวงนั้น PPA ยังไมมีราคามากนัก เนื่องจากใชเวลาไมมากในการขอใบอนุญาต ซึ่งใน คณะกรรมการ RE ก็มีผูทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวของครบไมตางจากคณะกรรมการชุดใหญ ในปจจ�บัน ขั้นตอนและวิธีการไมเกิน 6 เดือนก็จะได PPA สิ่งที่ยากที่สุดสมัยนั้นก็คือ การทํา ประชาคม และการถูก สคร. (สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) ตีความวาเปน โครงการรวมลงทุนกับรัฐ จึงเสียเวลากันไปชวงหนึง่ ดังนัน้ อปท. (องคกรปกครองสวนทองถิน่ ) จึงเรียกรองใหยกเลิกกฎหมายรวมทุน ทางกระทรวงมหาดไทยจึงมี พ.ร.บ.รักษาความสะอาด และความเปนระเบียบเรียบรอยของบานเมือง พ.ศ. 2560 ขึน้ เพือ่ ดึงอํานาจจากกรมควบคุม มลพิษและกระทรวงพลังงานมารวมอยู ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ทั้งหมด จนถึงปจจ�บัน องคกร ปกครองสวนทองถิ่นจึงเสมือนหนีเสือปะจระเขในที่สุด

GreenNetwork4.0 November-December

2020


ขั้นตอนการขอ PPA (Power Purchase Agreement) ขยะชุมชนในปจจุบัน

มีการปรับจาก 10 กวาขั้นตอน เหลือ 9 ขั้นตอน (ดังภาพ) แตเนื้อหา ความยุงยากเทาเดิม ใครคิดจะเดินขึ้นบันไดตั้งแตขั้นที่ 1 คงตองหายใจยาว ๆ เนือ่ งจากตองใชเวลาอยางนอย 5 ป กวาจะไดลงนามในสัญญา PPA และใชเวลา สรางโรงไฟฟาอีกกวา 2 ป แตถาทานคอยไมได ก็สามารถซื้อเวลา 5 ป ไดดวย เงินประมาณ 100 ลานบาท สําหรับโรงไฟฟาขยะ ขายไฟ 8-9 เมกะวัตต เฉลี่ย คาเวลาปละ 20 ลานบาท ดวย IRR ประมาณ 12-15% หากทานมีเวลาเดินขึ้น บันได 9 ขั้น จะขอแนะนําดังนี้ … บันไดขั้นที่ 1 อปท. จัดทําขอเสนอการศึกษาและวิเคราะหโครงการ ขั้ น ตอนแรกนี้ เ ป น ขั้ น ตอนที่ จํ า เป น และค อ นข า งยาก เป น เรื่ อ งของ ผลประโยชน หากตกลงกันไดสมประโยชนทกุ ฝาย ก็จะออกมาเปนผลการศึกษา เลมหนา 2 นิ้ว เนื้อหาสําคัญประมาณ 30 หนา บรรยายถึงที่มาและความพรอม อยางนอย 4 ดาน เชน พื้นที่ดําเนินโครงการชุมชนไมตอตาน ปริมาณขยะ เพียงพอตลอดระยะเวลาสัญญา เทคโนโลยีเหมาะสม มีการคัดแยกขยะ ชุมชน เห็นดวย และมีความเปนไปไดในเชิงพาณิชย เอกชนสามารถคืนทุนและมีกําไร คําแนะนําก็คือ… หากใชชื่อมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงเปนผูศึกษาโครงการ ทาน กรรมการอาจซักถามไมมาก ขั้นตอนที่ 2 คณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจังหวัด พิจารณาขอเสนอโครงการและใหจังหวัดเสนอโครงการ เปนขัน้ ตอนทีท่ างทองถิน่ ตองจับมือกับภาคเอกชน ที่สนใจลงทุน ประสานกับทางจังหวัด หากลงตัว ทุกดาน เรื่องก็จะผานจากระดับจังหวัดไป กระทรวงมหาดไทย นับเปนขั้นตอนที่ สําคัญอีกขั้นตอนหนึ่งทีเดียว

26

ขัน้ ตอนที่ 3 กรมสงเสริมการปกครองทองถิน่ วิเคราะหขอ เสนอ โครงการฯ ขัน้ ตอนที่ 4 คณะกรรมการกลัน่ กรองโครงการกําจัดมูลฝอย ของ อปท.ฯ ใหความเห็น ขั้นตอนที่ 5 คณะกรรมการกลางการจัดการสิ่งปฏิกูลและ มูลฝอยพิจารณาใหความเห็น 3 ขั้นตอนนี้ควรรวมเปนขั้นตอนเดียว เนื่องจากปญหาตาง ๆ มีการกําหนดวิธีแกไขไวใน COP ขยะแลวเปนสวนใหญ และให ประกาศกําหนดระยะเวลาการพิจารณาตาม พ.ร.บ.อํานวยความ สะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ซึ่งจะ ลดเวลาลงไดกวา 1 ป ขั้นตอนที่ 6 รัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยใหความ เห็นชอบ เปนขัน้ ตอนสําคัญทีส่ ดุ ก็วา ได ทางผูเ สนอโครงการตองมีการ ประสานกับทุก ๆ ฝาย เพื่อกระชับเวลาลง ขั้นตอนที่ 7 องคกรปกครองสวนทองถิ่นเจาของโครงการ คัดเลือกเอกชน พรอมเสนอรางสัญญาใหอัยการสูงสุดตรวจสอบ ขอควรรูสําหรับขั้นตอนนี้: 1. การคัดเลือกเอกชนควรใชวธิ เี จาะจงตามประกาศกระทรวง มหาดไทย 2. เคยมีการประสานกับทางอัยการสูงสุดใหมีแบบฟอรม มาตรฐาน 2-3 แบบ เพือ่ เลือกใชไดโดยไมตอ งตรวจใหมทกุ โครงการ และไดคาํ ตอบอยางไมเปนทางการวา “ทานอัยการแตละทานมีความ คิดเห็นแตกตางกัน” สวนอัยการจังหวัดมีความเห็นตามอัยการสูงสุด ขั้นตอนที่ 8 อปท. ลงนามสัญญาวาจางเอกชน ขัน้ ตอนนีด้ เู หมือนจะจบ รอทําสัญญากับการไฟฟาทีเ่ กีย่ วของ ลองอานขั้นตอนที่ 9 ดูกอน

GreenNetwork4.0 November-December

2020


ขั้นตอนที่ 9 ดําเนินการตามระเบียบ กกพ. มีขอเสนอและคําแนะนํา ดังตอไปนี้ 1. กพช. (คณะกรรมการพลังงานแหงชาติ) ควรใหอาํ นาจ กกพ. ในการรับซื้อไฟฟาจากพลังงานขยะไดโดยตรง และ กกพ. ควรมีการ ประชุมรับซื้อไฟฟาอยางสม่ําเสมอ และรับซื้อไฟฟาตามความพรอม “First Come, First Serve” 2. COP (Code of Practice) เปนเรือ่ งจําเปนทีภ่ าคเอกชนตอง เสียทั้งเวลาและคาใชจาย แตก็คุมคาการลงทุน ถาจะถามวา Key Success ของโรงไฟฟาขยะชุมชนอยูต รงไหน ตอบไดเลยวาอยูที่แผนธุรกิจ ถา IRR ลงตัวก็หมายถึงสมประโยชน ทุกฝาย ไมควรไปโทษ อปท. ผูร บั ผิดชอบขยะวาเปนตนเหตุของปญหา แตเพียงฝายเดียว PPA ขยะชุมชนจะใชเวลา 6 เดือน 1 ป 2 ป หรือ 5-6 ป ขึ้นอยูกับกลไกภาครัฐจะใหเปนไป หยุดเกมซือ้ ขายเวลาโรงไฟฟา หมายถึงโรงไฟฟาพลังงานทดแทน ทุกประเภทเชือ้ เพลิง ซึง่ เจาของ PPA สวนใหญไมใชนกั ลงทุน แตเปน ผูพ ฒ ั นาโครงการ (Developer) เมือ่ ไดสญ ั ญาแลว จึงตองวิง่ ขาย PPA ทํากําไร ซึง่ อาจตองใชเวลามาก หากตองการไดราคาทีด่ ี จึงเปนภาระ ตอภาครัฐทีต่ อ งมาพิจารณาเหตุผลการตอสัญญา จึงขอเสนอแนวทาง ใหมดวยการลดระยะเวลาในสัญญาขายไฟลง เชน สัญญา 20 ป จะลดลงเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ลาชา ไมวาจะดวยเหตุสุดวิสัยใดก็ตาม ยกเวนเปนนโยบายของรัฐ วิธีนี้จะชวยเรงใหผูขาย PPA ตองรีบขาย กอนราคาจะลดลงเรื่อย ๆ ตามระยะเวลา

การลดจํานวนปของสัญญา PPA ตามปที่ขายไฟฟาลาชา สมมติฐาน ดังนี้ Gross Capacity 9.90 MW Sale to PEA 9.00 MW สัดสวนการลงทุน ชนิดเชื้อเพลิง ไมชิพ + เปลือกไม กูธนาคาร 70% ราคาเชื้อเพลิง 950.00 บาท ทุนเจาของ 30% คาความรอน 2,300 kcal/kg งบประมาณการลงทุน 835,000,000.00 บาท ปที่ 20 19 18 17 16 15 13 11 10

% Project IRR 10.66% 10.49% 10.24% 9.95% 9.60% 9.17% 8.11% 6.24% 4.91%

% Equity IRR 13.59% 13.37% 13.06% 12.67% 12.18% 11.56% 9.90% 6.54% 3.74%

การจัดการขยะสําหรับประเทศไทย ยังตองมีการออกระเบียบหรือ กฎหมายใหเชื้อเพลิงขยะ RDF : Refuse Derived Fuel เปนเชื้อเพลิงเชิง พาณิชย ซื้อขายในตลาดไดเหมือนเชื้อเพลิงอื่น ๆ เชน ไมสับ กาซธรรมชาติ น้ํามัน และถานหิน สวนการนําขยะไปเปนเชื้อเพลิงโรงไฟฟาก็ควรมีการ ปรับปรุงคุณภาพเปน RDF กอน เพื่อรักษาสิ่งแวดลอมตามแนวทางสากล Circular Economy และนโยบายของรัฐบาล สวนการพิจารณาขอใบอนุญาต PPA ควรใชหลักเกณฑการพิจารณาแบบงาย ๆ แตมีประสิทธิภาพของ กกพ. คือ พิจารณาความพรอมอยางนอย 4 ดาน คือ 1. ดานพืน้ ที่ 2. ดานเทคโนโลยี 3. ดานเชื้อเพลิง 4. ดานการลงทุน สวนที่จะเร็วหรือชาจะอยูที่นโยบาย 27

GreenNetwork4.0 November-December

2020


IEEE กองบรรณาธิการ

สัมมนาเชิงวิชาการ “ระบบไฟฟ้าและสื่อสารเคเบิลใต้ดิน

สำ�หรับโครงการพัฒนาในเมืองหลวงและเมืองใหญ่”

สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) และ IEEE Power & Energy Society - Thailand Chapter จัดสัมมนาเชิงวิชาการ “ระบบไฟฟ้าและสือ่ สารเคเบิลใต้ดนิ สำ�หรับ โครงการพัฒนาในเมืองหลวงและเมืองใหญ่: โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี การออกแบบ ติดตั้ง ทดสอบ ปฏิบัติการ และบำ�รุงรักษา” ขึ้น ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08.30-16.30 น. ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของระบบไฟฟ้าและสื่อสาร เคเบิลใต้ดิน เทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน แก่ผู้ให้บริการออกแบบ ติดตั้ง ทดสอบ ปฏิบตั กิ าร และบำ�รุงรักษา ตลอดจนวิศวกรและเจ้าหน้าทีท่ ป่ี ฏิบตั งิ าน เกีย่ วข้อง และขัน้ ตอนการบริหารสินทรัพย์ของระบบเคเบิลใต้ดนิ ให้สามารถ ทำ�งานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยได้รับเกียรติจาก สมชาย หอมกลิ่นแก้ว รองผู้ว่าการวิชาการและ บริหารพัสดุ การไฟฟ้านครหลวง ประธานกล่าวเปิดงาน ดร.อัศวิน ราชกรม ผู้ตรวจการ การไฟฟ้านครหลวง และเป็น Session Chairman และวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และสถาบันอุดมศึกษา

สมชาย หอมกลิ่นแก้ว รองผู้ว่าการวิชาการ และบริหารพัสดุ การไฟฟ้านครหลวง

รังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจสื่อสารไร้สาย บริษัท ทีโอที จำ�กัด (มหาชน)

28

GreenNetwork4.0 November-December

2020

ดร.อัศวิน ราชกรม ผู้ตรวจการ การไฟฟ้านครหลวง

ผศ. ดร.ชาญณรงค์ บาลมงคล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Environment

วิศวฯ จุฬาฯ จับมือ สถานีวิทยุจุฬาฯ

กองบรรณาธิการ

จัดโครงการ Envi Mission ปีที่ 2 “Waste a Moment เปิดประเด็นเรือ่ งขยะ” คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำ�โครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สงิ่ แวดล้อม ปีที่ 2 ภายใต้หวั ข้อ “Waste a Moment เปิดประเด็นเรื่องขยะ” มุ่งสร้างความเข้าใจเรื่อง การจัดการขยะ และส่งเสริมการจัดการขยะแบบครบวงจรและ ยั่งยืนให้กับนักเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันขยะเป็น ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก จึงเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ของทุกคนเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ประเทศไทยกำ�ลังเผชิญ ปัญหาการจัดการขยะ เช่น ขยะพิษ และขยะพลาสติก แม้ จะมีการจัดการปัญหาไปบ้างแล้ว แต่ยงั คงต้องการการจัดการ อย่างยั่งยืน เพื่อให้แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว โดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นกำ�ลังสำ�คัญในการจัดการปัญหา สิ่ ง แวดล้ อ มในอนาคต ทั้ ง ในระดั บ ครอบครั ว โรงเรี ย น ชุมชน และระดับประเทศ โครงการ Envi Mission ภารกิจ รักษ์สงิ่ แวดล้อม สามารถแก้ปญ ั หาอย่างยัง่ ยืน ด้วยการสร้าง การเรียนรู้นอกห้องเรียนสำ�หรับเยาวชนจากทุกภูมิภาคของ ประเทศ เสริมสร้างความเป็นผูน้ ำ�ให้กบั เยาวชนเพือ่ ทำ�ให้เกิด การแก้ไขปัญหาด้านสิง่ แวดล้อมภายในชุมชน รวบรวมความรู้ ให้เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการเพื่อถ่ายทอดความรู้สู่สังคม อีกทัง้ สร้างเครือข่ายการมีสว่ นร่วมอันเป็นหัวใจสำ�คัญของการ แก้ไขปัญหาสิง่ แวดล้อมอย่างยัง่ ยืน ซึง่ สอดคล้องกับวิสยั ทัศน์ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการ ส่งมอบนวัตกรรมสู่สังคมเพื่อความยั่งยืน

29

อาจารย์สุภาพร โพธิ์แก้ว รักษาการกรรมการผู้อำ�นวยการสถานีวิทยุ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะสื่อมวลชน ตระหนักถึงความสำ�คัญเรื่อง สิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ทั้งด้านการศึกษาและเผยแพร่ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความตระหนัก ผ่านรายการ Envi Insider ทาง FM 105 MHz โดย คณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงเกิดโครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์ สิง่ แวดล้อม เป็นโครงการทีจ่ ดั ขึน้ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถานีวทิ ยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการนี้ ได้ด�ำ เนินการต่อเนือ่ งมาเป็นปีท่ี 2 โดยมีเป้าหมายเพือ่ ปลูกฝังแนวคิดรักษ์สง่ิ แวดล้อม ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ส่งเสริมให้นักเรียนนำ�ความรู้และ ประสบการณ์ที่ ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนของตนเอง ผ่านการทำ�โครงงาน ทั้งนี้เนื่องจาก ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมสำ�คัญของประเทศ ในแต่ละปี ปริมาณขยะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามจำ�นวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ในช่วงปีทผี่ า่ นมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชือ้ COVID-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่ประชาชนต้องกักตัวอยู่ในที่พักอาศัย ส่งผลให้ปริมาณ ขยะพลาสติกจากการสั่งสินค้าและอาหารในรูปแบบออนไลน์หรือเดลิเวอรีเพิ่ม มากขึ้นกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นที่มาของหัวข้อโครงการในปีนี้ที่เน้นเรื่องการ จัดการขยะ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งพันธกิจของสถานีวิทยุจุฬาฯ ที่ต้องการสร้างการ เรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับพลเมืองยุคใหม่ ที่ ไม่เพียงมีความรู้อยู่ ในตัวเองเท่านั้น แต่สามารถมองบริบทรอบข้าง มีจิตสำ�นึกที่ดีต่อชุมชน และพร้อมที่จะร่วมพัฒนา ชุมชนให้ยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน ศ. ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความ ยัง่ ยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รูปแบบการดำ�เนิน โครงการเป็นการจัดกิจกรรมค่ายพักแรม 3 วัน 2 คืน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในค่ายนักเรียนจะได้เรียนรูแ้ นวคิดและหลักการการจัดการขยะแบบครบวงจร และยั่งยืน และได้เยี่ยมชมการจัดการขยะแบบครบวงจรจากสถานที่จริง อีกทั้ง เรายังเปิดโอกาสให้นกั เรียนนำ�ความรูแ้ ละประสบการณ์ที่ได้รบั จากค่ายไปต่อยอด ผ่านการทำ�โครงงานการจัดการขยะในชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีสื่อประกอบการเรียนรู้ออนไลน์ ภายใต้ Chula MOOC ตอน ขยะ: ปัญหา สำ�คัญหรือทองคำ�ของสังคม สำ�หรับให้ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจด้านการ จัดการขยะได้เรียนรู้ด้วยตนเองอีกด้วย

GreenNetwork4.0 November-December

2020


Environment กองบรรณาธิการ

ในฐานะบริษัทที่ร่วมลงนามในปฏิญาณ ‘Business Ambition for 1.5 ํC’ ของ สหประชาชาติ เนสท์เล่นบั เป็นบริษทั แห่งแรก ๆ ทีอ่ อกมาเปิดเผยรายละเอียดและกรอบ เวลา พร้อมดำ�เนินการตามแผนให้เร็วกว่าทีก่ ำ�หนด เนสท์เล่ได้นำ�มาตรการหลายอย่าง มาใช้เพือ่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึง่ หนึง่ ภายในปี พ.ศ. 2573 และลดปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเหลือศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2593 พร้อม กับสร้างความเติบโตให้บริษัทฯ ในเวลาเดียวกัน

การดำ�เนินการของเนสท์เล่ มุ่งเน้น ที่การสนับสนุนเกษตรกร และซัพพลายเออร์ให้สามารถทำ� การเกษตรแบบฟืน้ ฟู ตลอดจนปลูก ต้ นไม้ ห ลายร้ อ ยล้ า นต้ น ภายในอี ก 10 ปีขา้ งหน้า และปรับองค์กรไปสูก่ ารใช้ พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนได้ทงั้ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2568 นอกจากนี้ เนสท์เล่ยงั พยายาม เพิม่ จำ�นวนแบรนด์ในเครือที่ “ปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ให้มากขึน้ พอล บุลเก้ ประธานกรรมการของเนสท์เล่ กล่าวว่า คณะกรรรมการ บริษั ทฯ ตระหนักดีว่าการใช้มาตรการที่เฉียบขาดในการรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น เป็นสิ่งสำ�คัญในเชิงกลยุทธ์ เพราะมี ส่วนช่วยทัง้ เร่งและยกระดับการทำ�งานของเราให้พฒ ั นาไปสูค่ วามสำ�เร็จ ระยะยาวได้ และมีบทบาทช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้แก่คนรุ่นหลัง แนวทางตามแผนงานนี้ เกิดจากการทบทวนภาพรวมของธุรกิจ และการดำ�เนินงานของเนสท์เล่เพื่อให้เข้าใจประเด็นความท้าทายนี้ ได้อย่างลึกซึ้ง และตัดสินใจดำ�เนิน มาตรการที่จำ�เป็นเพื่อรับมือกับ 30

สถานการณ์ โดยในปี พ.ศ. 2561 บริษัทฯ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 92 ล้านตัน ซึง่ บริษัทฯ จะใช้เป็นปีฐานในการประเมินความก้าวหน้าต่อไป “การจัดการกับปัญหาสภาพภูมอิ ากาศเปลีย่ นแปลงเป็นเรือ่ งเร่งด่วน ที่เรารอไม่ได้ เพราะประเด็นนี้เป็นสิ่งสำ�คัญต่อความสำ�เร็จในระยะยาว ของธุรกิจเรา นับว่าเรามีโอกาสทีด่ มี าก ๆ ในการแก้ไขและจัดการปัญหา ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะเราดำ�เนินธุรกิจอยู่ในเกือบ ทุกประเทศทั่วโลก เราจึงมีความพร้อมทั้งด้านขนาด ศักยภาพ และการ เข้าถึง ที่จะทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ บริษัทจะร่วมมือกับเกษตรกร พันธมิตรในอุตสาหกรรม รัฐบาล องค์กรที่ไม่แสวงผลกำ�ไร และลูกค้า ของเรา เพื่อร่วมกันช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” มาร์ค ชไนเดอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเนสท์เล่ กล่าว สำ�หรับการดำ�เนินงานของเนสท์เล่ในการทำ�ให้อตั ราการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ครอบคลุม 3 ด้านหลัก ดังนี้ ด้านแรก บริษัท ได้ทำ�งานร่วมกับเกษตรกรมากกว่า 500,000 ราย และซัพพลายเออร์อีก 150,000 ราย โดยสนับสนุนให้พวกเขานำ�แนวทางด้านการเกษตรฟื้นฟู ไปใช้ ซึง่ แนวทางดังกล่าวจะช่วยพัฒนาคุณภาพดิน รวมทัง้ รักษาและฟืน้ ฟู ความหลากหลายในระบบนิเวศ เนสท์เล่ได้ตอบแทนกลับสูเ่ กษตรกร ด้วย

GreenNetwork4.0 November-December

2020


การซือ้ สินค้าของพวกเขาในราคาทีส่ งู กว่าราคาตลาด รวมถึงการซือ้ สินค้า ในปริมาณมากขึ้น และร่วมลงทุนในส่วนที่ต้องอาศัยเงินลงทุน ทั้งนี้ เนสท์เล่ตั้งเป้าว่าจะต้องจัดหาวัตถุดิบต่าง ๆ จากการทำ�การเกษตรแบบ ฟื้นฟูเป็นปริมาณ 14 ล้านตัน ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งจะไปกระตุ้นความ ต้องการในสินค้าดังกล่าวด้วย เนสท์เล่ยังได้ยกระดับโครงการปลูกป่าทดแทนให้เพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านต้นต่อปี ในช่วงอีก 10 ปีขา้ งหน้า ในบริเวณทีม่ กี ารจัดซือ้ หรือจัดหา วัตถุดบิ ต่าง ๆ เพราะการมีตน้ ไม้มากขึน้ หมายถึงร่มเงาทีเ่ พิม่ ขึน้ สำ�หรับ พืชผลต่าง ๆ ช่วยขจัดคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศได้เพิ่มขึ้น ให้ ผลผลิตทีเ่ พิม่ ขึน้ ตลอดจนเพิม่ ความหลากหลายทางชีวภาพและคุณภาพ

ดินทีด่ ขี นึ้ ด้วย สำ�หรับการจัดหาสินค้าโภคภัณฑ์หลัก ๆ ของบริษัทฯ อย่าง น้�ำ มันปาล์มและถัว่ เหลือง จะไม่มกี ารตัดไม้ทำ�ลายป่าภายในปี พ.ศ. 2565 ความพยายามในการดำ�เนินมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นการเสริมสร้าง ความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างเนสท์เล่กับชุมชนเกษตรกร ด้วยการช่วย ให้ชีวิตพวกเขามีความแน่นอนขึ้น และมีรายได้มากขึ้น ด้านการดำ�เนินงาน เนสท์เล่คาดว่าจะสามารถปรับการดำ�เนินงาน 800 แห่งใน 187 ประเทศ ให้ใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน ทั้ง 100% ได้ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งบริษัทได้เปลี่ยนรถขนส่งทั่วโลก ให้เป็นแบบทีล่ ดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการเดินทางเพือ่ ธุรกิจ ภายในปี พ.ศ. 2565 นอกจากนี้ ยังนำ�มาตรการอนุรกั ษ์น�ำ้ และฟืน้ ฟูแหล่งน้�ำ มาใช้ รวมทั้งจัดการกับปัญหาขยะอาหารที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อีกด้วย ด้านพอร์ตผลิตภัณฑ์ เนสท์เล่ได้ดำ�เนินการขยายฐานให้มีอาหาร และเครื่องดื่มที่ทำ�จากพืช (Plant-based) มากขึ้น และได้ปรับสูตร ผลิตภัณฑ์ให้มคี วามเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม นอกจากนี้ เนสท์เล่พยายาม เพิ่มแบรนด์ในเครือที่ “ปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ให้มีจำ�นวน มากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการ 31

เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศด้วย สำ�หรับแบรนด์ อาหารจากพืช Garden Gourmet และอาหารเสริม Garden of Life จะปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ได้ ภายในปี พ.ศ. 2565 ส่วนแบรนด์ Sweet Earth และอีก หลายแบรนด์จะทำ�ได้ส�ำ เร็จภายในปี พ.ศ. 2568 นอกเหนือจาก แบรนด์เหล่านี้แล้ว ยังมีแบรนด์ Nespresso, S.Pellegrino, Perrier และ Acqua Panna ที่มุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิ ให้เป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2565 ส่วนน้�ำ ดืม่ ทีเ่ หลือของ Nestle, Waters จะบรรลุเป้าหมายเดียวกันนี้ได้ภายในปี พ.ศ. 2568 แม็กดิ บาตาโต รองประธานบริหารและหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติงาน กล่าวว่า เกือบ 2 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเรามาจาก การเกษตร จะเห็นได้ชดั ว่า การทำ�การเกษตรแบบฟืน้ ฟูและการปลูกป่า ทดแทนจะเป็นจุดเปลี่ยนสำ�คัญที่จะนำ�ไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ความพยายามต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและพัฒนาความหลากหลาย ทางชีวภาพได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งเราจะพยายามลดการปล่อยก๊าซที่ เกิดจากการดำ�เนินงานอย่างต่อเนื่อง และจะพัฒนาพอร์ตผลิตภัณฑ์ ให้ดีขึ้น สิ่งที่เราทำ�นั้นเป็นเรื่องยากแต่ก็มุ่งมั่นจะทำ�ให้สำ�เร็จ

ทั้งนี้ เนสท์เล่เตรียมลงทุนกว่า 3,200 ล้านสวิสฟรังก์ (ประมาณ 109,192 ล้านบาท คำ�นวณจากอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2563) ในอีก 5 ปีข้างหน้าเพื่อเร่งการดำ�เนินงานของบริษั ทฯ ซึ่งใน จำ�นวนนี้จะเป็นการลงทุน 1,200 ล้านสวิสฟรังก์ (ประมาณ 40,947 ล้านบาท) เพือ่ เร่งการทำ�การเกษตรแบบฟืน้ ฟูตลอดระบบซัพพลายเชน ของบริษั ท แหล่งเงิน ทุนของการลงทุนครั้งนี้จะมาจากการบริหาร ค่าใช้จ่ายของการดำ�เนินงานทางธุรกิจและค่าใช้จ่ายทางโครงสร้าง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อทำ�ให้ไม่เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำ�หรับ การลงทุนครั้งนี้ สำ�หรั บ เป้ า หมายในการลดการปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกของ เนสท์เล่ได้รบั การอนุมตั จิ าก Science Based Targets initiative (SBTi) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องทำ�ให้สำ�เร็จตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) โดย SBTi เป็นความร่วมมือขององค์กรไม่แสวงผลกำ�ไร ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสูงสุดระหว่างประเทศในการประเมินความมุ่งมั่น ของภาคธุรกิจต่อเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิจนเหลือศูนย์ ซึ่งเนสท์เล่จะจัดทำ�รายงานความคืบหน้าในแต่ละปี เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำ�เนินงานต่อไป

GreenNetwork4.0 November-December

2020


CSR ณัฐชยา แกนจันทร

บานปฯู เปดคายเยาวชนวทิยาศาสตรสิ่งแวดลอม เพาเวอรกรนี ครั้งพเิศษที่อทุยานแกงกระจาน

ปลูกจิตสำนึกใหแกเยาวชน-สรางแกนนำและเครือขาย เยาวชนดานสิ่งแวดลอมในอนาคต

บริษัท บานปู จํากัด (มหาชน) ผูนําดานพลังงาน ที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ที่มุงมั่นพัฒนาสังคม อยางยั่งยืน จับมือคณะสิ่งแวดลอมและทรัพยากรศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล เดินหนาสานตอการสรางสรรคคาย เยาวชนวิทยาศาสตรสง่ิ แวดลอม เพาเวอรกรีน ในรูปแบบ พิเศษขึน้ ภายใตทมี Jungle Rumble เสียงกองจากปาลึก โดยจัดการแขงขันตอบคําถามในชองทางออนไลนเปน ครั้งแรก สอดรับกับสถานการณการแพรระบาดของ COVID-19 เพื่อคัดเลือกเยาวชน 15 คนไปรวมกิจกรรม เมื่ อ วั น ที่ 7-9 ธั น วาคม 2563 ณ อุ ท ยานแห ง ชาติ แกงกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึง่ จะชวยเสริมสราง ความรูค วามเข า ใจทางด า นวิ ท ยาศาสตร สิ่งแวดลอม และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อ ปลูกฝงจิตสํานึกในการอนุรกั ษสงิ่ แวดลอม อย า งยั่ ง ยื น ให แ ก เ ยาวชน พร อ มทั้ ง สรางแกนนําและเครือขายเยาวชนดาน สิ่งแวดลอมในอนาคต

32

อุดมลักษณ โอฬาร ผูอ าํ นวยการสายอาวุโส สือ่ สารองคกร บริษทั บานปู จํากัด (มหาชน) กลาววา แมวา สถานการณการแพร ระบาดของ COVID-19 ในป พ.ศ. 2563 จะทําใหบริษัทฯ ไมสามารถ ดําเนินการจัดคายในรูปแบบปกติได แตบานปูฯ และคณะสิ่งแวดลอม มหาวิทยาลัยมหิดล ยังคงใหความสําคัญตอหลักปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน หรือ ESG Principles โดยเฉพาะสิ่งแวดลอมที่เราเห็นความ จําเปนในการเสริมสรางความรูความเขาใจดานวิทยาศาสตร สิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติเปนอยางมาก “เราได ป รั บ วิ ธี ก ารสมั ค รและการคั ด เลื อ กผ า นช อ งทาง ออนไลนเปนครั้งแรก เพื่อคัดเลือกเยาวชนจํานวน 5 ทีม เขารวม กิจกรรมเดินปา Jungle Rumble เพื่อเปนการปลูกจิตสํานึกในการ อนุรกั ษใหแกเยาวชน ซึง่ จะเติบโตไปเปนกําลังสําคัญในการจัดการ ปญหาสิ่งแวดลอมของประเทศในอนาคต” ทั้งนี้ บานปูฯ หวังเปนอยางยิ่งวาเยาวชนที่ ได เขารวมคายเพาเวอรกรีนในครั้งนี้จะนําความรูที่ ได จากคายฯ ไปปรับใชในชีวิตประจําวัน และชวนคน รอบตัวหันมาใหความสําคัญในการใชชีวิตอยูกับ ธรรมชาติอยางมีความสมดุล เพื่อรักษาสภาพ แวดลอมใหคงอยูตอไปอีกยาวนาน

GreenNetwork4.0 November-December

2020


อุดมลักษณ โอฬาร ผูอํานวยการ สายอาวุโส สื่อสารองคกร บริษัท บานปู จํากัด (มหาชน) ดร.พูนเพิ่ม วรรธนะพินทุ ผูชวยคณบดีฝายบริการวิชาการและวิทยบริการ คณะสิ่งแวดลอมและทรัพยากรศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล กลาววา ทุกกิจกรรม ถูกออกแบบมาเพื่อเสริมสรางการเรียนรูของเยาวชนในเรื่องสิ่งแวดลอมและการ อนุรักษทรัพยากรธรรมชาติ โดยกิจกรรมการแขงขันตอบคําถามผานชองทางออนไลน เปนการวัดพื้นฐานความรูความเขาใจเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ และความสนใจดาน สิ่งแวดลอม ในขณะที่กิจกรรมเดินปา ณ อุทยานแหงชาติแกงกระจาน เปนกิจกรรม ที่เปดโอกาสใหเยาวชนไดประสบการณเรียนรูนอกเหนือหองเรียน จากแหลงเรียนรู ทางธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณมากที่สุดแหงหนึ่ง ในประเทศไทย “เชื่อวากิจกรรมนี้จะเปนแรงบันดาลใจใหเยาวชนรูสึกหวงแหนผืนปามากขึ้น และนําความรูมาประยุกตใชในการแกไขปญหาสิ่งแวดลอมอยางมีระบบ พรอมสงตอ แนวคิดในการอนุรักษปาไปยังกลุมคนอื่น ๆ หรือบุคคลใกลตัว” ดร.พูนเพิ่ม กลาว กิจกรรมการเรียนรูในอุทยานแหงชาติแกงกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ในครั้งนี้ จะสรางการเรียนรูและปลูกจิตสํานึกในการรักสิ่งแวดลอม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม จิตอาสา CSR พิทกั ษอทุ ยานแหงชาติ ใหเยาวชนรวมกันทําโปงเทียม เพือ่ สรางแหลง อาหารที่จําเปนสําหรับสัตวปา เชน ชาง กระทิง วัวแดง เกง กวาง รวมทั้งนกและ แมลงนานาชนิด พรอมทัง้ การศึกษาธรรมชาตินจี้ ะเปนกิจกรรมทีท่ าํ ใหเยาวชนมีความ กลาคิด กลาลงมือทํา และเปนการชวนคนรอบตัวใหหนั มาใหความสําคัญกับการใชชวี ติ อยูกับธรรมชาติอยางมีความสมดุล และสรางความยั่งยืนใหกับโลกของเรา

33

ดร.พูนเพิ่ม วรรธนะพินทุ ผูชวยคณบดี ฝายบริการวิชาการและวิทยบริการ คณะสิ่งแวดลอมและทรัพยากรศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล

GreenNetwork4.0 November-December

2020


CSR กองบรรณาธิการ

มูลนิธิกลุมอีซูซุ มอบทุนกวา 4 ลานบาทใหแกเยาวชน ปนโอกาสทางการศึกษาสูสังคมที่ยั่งยืน

มูลนิธิกลุ่มอีซูซุในประเทศไทย จัดพิธีมอบทุน การศึกษาพิเศษ ประเภทผลการเรียนยอดเยี่ยม ประจำ�ปี 2563 ให้แก่นสิ ติ และนักศึกษาจาก 5 สถาบัน การศึกษาในประเทศไทยจำ�นวน 34 ทุน มูลค่ารวม 1,000,000 บาท และยังได้ส่งมอบทุนเรียนดีแต่ ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ จำ�นวน 525 ทุน รวมทั้งสิ้น 559 ทุน มูลค่าทุนการ ศึกษารวมกว่า 4,040,000 บาท เดินหน้าสนับสนุน การมอบโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ปนัดดา เจณณวาสิน กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำ�กัด กล่าวว่า เนื่องจาก วิกฤตการณ์ COVID-19 ได้สง่ ผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อธุรกิจเกือบทุกภาคส่วน รวมถึงธุรกิจในกลุ่มอีซูซุ ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม อีซซู ยุ งั คงเดินหน้าสนับสนุน การศึกษาไทยให้เคลือ่ นต่อไปอย่างไม่หยุดนิง่ ด้วยเรา ยังคงยึดมั่นในวิสัยทัศน์องค์กร คือ “วิถีอีซูซุ : ผู้ใช้ สุขใจ เพิม่ พูนรายได้ ช่วยให้สงั คมพัฒนา” เสมอ ไม่วา่ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจจะยากลำ�บากเพียงใดก็ตาม เราจึงหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า นักเรียน นิสติ และนักศึกษา ทุ ก คนที่ ไ ด้ รั บ ทุ น การศึ ก ษาจากมู ล นิ ธิ ก ลุ่ ม อี ซู ซุ จะบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาได้สำ�เร็จตามความ มุ่งหมาย เพื่อที่จะได้เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำ�คัญสู่ อนาคตที่สดใสของประเทศไทยต่อไป ศุภพล ระหารนอก นักศึกษาจากคณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า พระนครเหนือ (มจพ.) หนึง่ ในผูท้ ี่ได้รบั ทุนการศึกษา กล่าวว่า รูส้ กึ ปลาบปลืม้ ใจทีม่ ลู นิธกิ ลุม่ อีซซู ไุ ด้มอบทุน

ศุภพล ระหารนอก

อาทิตญา ศรีศุกรี 34

เรียนดี ให้กับพวกเราซึ่งเป็นของขวัญที่สร้างกำ�ลังใจ ในการศึ ก ษาต่ อในอนาคตได้ อ ย่ า งดี เ ยี่ ย ม คณะ วิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะที่เรียนยากและกิจกรรม ค่อนข้างเยอะ ผมจึงต้องมีวิธีจัดสรรเวลาโดยการพก สมุดปฏิทนิ เพือ่ แบ่งเวลาสำ�หรับการเรียนและกิจกรรม ให้ลงตัวสอดคล้องกัน เพื่อให้มีเวลาทบทวนบทเรียน ได้อย่างเต็มที่และผลการเรียนออกมาดี อาทิตญา ศรีศกุ รี นักศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การได้รับทุน ของมูลนิธกิ ลุม่ อีซซู ถุ อื เป็นเกียรติกบั ตัวเอง ครอบครัว รวมถึ ง คณะและมหาวิ ท ยาลั ย ที่ เ ล็ ง เห็ น ถึ ง ความ ตัง้ ใจเรียนของเรา หลักการสำ�คัญของการได้เกรดเฉลีย่ ทีด่ ี คือ การตัง้ ใจเรียน หากไม่เข้าใจในบทเรียนให้ถาม อาจารย์ในห้องเรียนเลย อย่าให้ค้างคาใจ และควรจะ แบ่งเวลาไปทำ�กิจกรรมเพื่อเพิ่มทักษะในด้านต่าง ๆ ของตัวเองอีกด้วย “ฝากถึงน้อง ๆ ทีอ่ ยากได้รบั โอกาสดี ๆ แบบนี้ ขอให้ตง้ั ใจเรียน สนุกกับกิจกรรมทีท่ �ำ ใช้ชวี ติ ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยให้สนุก” อาทิตญา กล่าว นอกจากนี้ มูลนิธิกลุ่มอีซูซุ ยังได้ส่ง มอบทุน การศึกษาให้แก่เยาวชนที่มีผลการเรียนดี มีความ ประพฤติ ดี แต่ ข าดแคลนทุ น ทรั พ ย์ ในระดั บ ชั้ น มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา จากทั่ว ประเทศ จำ�นวน 525 คน รวมมูลค่าทุนการศึกษากว่า 3,040,000 บาท เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนคนดี ได้รับ โอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน

GreenNetwork4.0 November-December

2020




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.