SanSanook August2009

Page 1

กรกฎาคม ๒๕๕๒


จากใจ บรรณาธิการ

ละอองฝนกระเซ็นเข้ามาทางหน้าต่าง ทำให้ต้องเอื้อมมือ ไปเลื่อนบานหน้าต่างจนเกือบปิด เมื่อครู่ ใหญ่ก่อนที่ลูกสาวคนเล็กจะหลับไป เธอว่า “แม่จ๋า...พรุ่งนี้คุณครู ให้เด็กๆ เอารองเท้าบู๊ทไปด้วย คุณครูบอกว่าจะพาไป ดำนา” ข้อความที่ถูกส่งต่อมานี้ ทำให้นึกถึงบทพิจารณาอาหาร ๕ ประการ ที่คุณสหรัฐ เจตมโนรมย์ เขียนไว้ ในหนังสือ ห้าวันที่ฉันตื่น หลักจากที่ ได้ไปปฏิบัติธรรมกับท่าน ติช นัท ฮันห์ ที่หมู่บ้านพลัม ที่นั่นก่อนรับประทานอาหารท่ามกลางความเงียบสงบ ทุกคนจะกล่าว พร้อมกัน “อาหารนั้นเป็นของกำนัลแห่งจักรวาล พื้นดิน ท้องฟ้า สรรพชีวิตและการทำงานหนักด้วย ความรักความเอาใจใส่ ขอให้เรารับประทานอาหารอย่างมีสติ และด้วยความระลึกรู้บุญคุณ เพื่อให้เรามีคุณค่าเพียงพอที่จะรับอาหารนี้ ขอให้เราตระหนักรู้ และเปลี่ยนแปรสภาวะจิตที่ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะความโลภ ขอให้เราถนอมรักษาความรักความเมตตาให้คงอยู่เสมอ โดยรับประทานอาหารในวิธีที่จะสามารถ ลดทอนความทุกข์ของสรรพชีวิต ถนอมรักษาโลกของเราและยับยั้งสภาวะโลกร้อน เรายอมรับอาหารนี้ เพื่อที่เราจะได้บำรุงหล่อเลี้ยงความรักฉันพี่น้อง สร้างสังฆะและหล่อเลี้ยง อุดมคติแห่งการรับใช้สรรพชีวิต” แล้วพวกเราล่ะ รับประทานอาหารด้วยความรู้สึกอย่างไร

คณะผู้จัดทำ


สารบัญ กรกฎาคม

๒๕๕๒

จากใจบรรณาธิการ ๒ เรื่องเล่าเบาสมอง ๔ เรื่องกระจิ๊ดสะกิดใจ ๖ สรร (สาระ) สู่กันฟัง ๘ สัพเพเหระ ๑๒ บอกต่อ ๑๔ สรรหามาเล่า ๑๙ กิจกรรมแสนสนุก ๒๖

สารแสนสนุก เป็นวารสารเล่มเล็กๆ ประจำรายเดือน จัดทำโดย ชมรมผู้ปกครอง โรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะ ผู้ปกครองท่านใด มีเรื่องราวอยากร่วมสนุก แบ่งปันประสบการณ์ สามารถติดต่อได้ที่ พี่เอี้ยม ห้องธุรการ หรือ e-mail : sithorn9@hotmail.com


เรื่องเล่าเบาสมอง

แสนสนุก มูลนิธิ เรื่องเล่าเบาสมองฉบับนี้แม่เปีย ขออนุญาตนำเรื่องที่เราพูดคุยกันในการประชุมจัด ตั้งมูลนิธิมาเล่าให้ฟัง บางทีเล่าแล้วอาจจะไม่ ใช่เรื่องเบาสมองเท่าไหร่นัก แต่ก็เป็น เรื่องที่น่าจะนำมาเล่าสู่กันฟัง เรื่องแรกเป็นเรื่องที่แม่นีเคยลองให้เราทำ workshop ร่วมกัน โดยตอบคำถามว่า การที่เรามาทำมูลนิธินี้ เราเสียอะไรไปบ้าง จากการมาทำมูลนิธิ และเราได้อะไรไป บ้างจากการมาทำมูลนิธิ แล้วเป้าหมายในชีวิตของเราคืออะไร แล้วทำไมเราถึงเข้า มาทำ พอเราได้ลองตอบคำถามเหล่านี้ ก็ทำให้เราได้หยุดคิดถึงตัวเอง เราจะรู้สึก ได้ว่าในแต่ละช่วงชีวิตของเรานั้น เรามีมุมมองที่เปลี่ยนไป การมาแบ่งปันความคิด ร่วมกัน ทำให้เราสามารถเข้าใจผู้ร่วมงานกับเราได้ และช่วยส่งเสริมให้งานสำเร็จ ไปได้ด้วยดี เรื่องที่สอง เป็นเรื่องที่เราคุยกันว่าประโยชน์จากการทำมูลนิธิคืออะไร เรื่องหนึ่ง ที่อยากนำมาเล่าสู่กันฟัง คือ เราอยากให้มูลนิธิช่วยในการทำงานของครู ให้ง่ายคือ ให้ครูสามารถทุ่มเทไปกับการสอน เราเห็นว่าเมื่อเรื่องใดที่ครูเห็นว่าดีกับเด็กๆ ธุรการจะเข้าไปดูว่าทำอย่างไรจึงจะทำตามที่คุณครูอยากให้เป็น จัดหา และขาด เหลือสิ่งใดก็แจ้งต่อมูลนิธิ เพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งในฐานะที่ทั้งคุณครู บุคคลากร ในโรงเรียน เด็กๆ และผู้ปกครอง ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน การที่เราสามารถ

๔4 ส า ร แ ส น ส นุ ก กรกฎาคม ๒๕๕๒


ช่วยแบ่งเบาเรื่องในหน้าที่ ให้ครู และ บุคคลากรสามารถทำงานได้สะดวกขึ้น ครูและบุคคลากรก็จะสามารถทำงานได้เต็มที่มากขึ้น เรื่องที่สามนี่เล่ายาวหน่อยนะคะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการในโรงเรียนวอลดอร์ฟ ซึ่งมีอยู่ สี่ ระดับ โดยระดับแรกเริ่มจากการจัดตั้ง รร. วอลดอร์ฟ อาจ เกิดขึ้นจากคนหนึ่ง คน หรือ ชุมชน หนึ่ง ชุมชน จัดตั้งขึ้นเป็น รร. วอลดอร์ฟ ซึ่ง คนหนึ่งคน หรือ ชุมชนหนึ่งชุมชน มีความเข้าใจในแนวทางการศึกษาวอลดอร์ฟ จึงจัดตั้ง รร. ขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไป คนในชุมชนอยากมีส่วนร่วมในโรงเรียน เช่น เข้ามาสอน หรือ เข้ามาทำหน้าที่บริหารกิจการภายในโรงเรียน โดยมีความ เข้าใจในแนวการศึกษาวอลดอร์ฟ นี่คือระดับที่สอง ส่วนในระดับที่สาม คือ เมื่อ คนในชุมชนไม่มีความเชี่ยวชาญในวิชาที่จะสอน ก็มีความจำเป็นต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญ จากด้านนอกมาสอน แต่เป็นไปในแนวการศึ่กษาวอลดอร์ฟ ซึ่งการอยู่ ในระดับที่ สามเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง คนในชุมชนก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการ สอน เพื่อให้เป็นไปตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟ เพราะหากเราจ้างผู้สอนที่ ไม่เข้าใจในแนวการศึกษาวอลดอร์ฟ หรือ เรามีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก รร. มาสอนมากและเราไม่สามารถให้เป็นไปตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟ จะทำให้ เราเข้าสู่ระดับที่สี่ คือ การล่มสลายของ รร.วอลดอร์ฟ ปัจจุบัน โรงเรียนแสนสนุกของเรา อยู่ ในระดับที่สอง คือการเข้ามามีส่วนร่วม ในการเรียนการสอน และการบริหารโรงเรียน โดยผู้ปกครอง และโดยธรรมชาติ ของการมีชั้นมัธยมปลาย เราจำเป็นต้องเข้าสู่ระดับที่สาม ซึ่งการเข้าสู่ระดับที่สาม โดยที่จะไม่เข้าสู่ระดับที่สี่ต่อไป เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ปกครอง มามีส่วน ร่วมในการสอน นอกจาการช่วยสอนแล้ว การสรรหาบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ในวิชาเฉพาะและเข้าใจการศึกษาวอลดอร์ฟ สามารถสอนตามแนวการศึกษานี้ ได้ ก็เป็นหน้าที่หนึ่งที่เราพึงช่วยกันทำได้ ซึ่งนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่เราในฐานะคนใน ชุมชนควรเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชนของเราเอง เล่ามาถึงตรงนี้แม่เปียคิดว่า หลายคนคงจะบอกว่าเบาสมองตรงไหนเนี่ย อาจจะ ไม่เบาเท่าไหร่ แต่หวังว่าพอจะทำให้ทุกท่านเข้าใจในแนวทางวอลดอร์ฟเพิ่มชึ้น

แม่เปีย

๒๕๕๒ กรกฎาคม ส า ร แ ส น ส นุ ก 5


เรื่องกระจิ๊ด สะกิดใจ

ก อ ง ท ุ น แ ส น ส นุ ก หลังจากที่สารแสนสนุกได้ลงเรื่องราวเกี่ยวกับกองทุนต่างๆ ที่ โรงเรียนมีอยู่ ไปแล้ว ๒ กองทุน คือ กองทุนหยอดกระปุก กับ กองทุนสวัสดิการครู กำลังว่า จะเอ่ยถึงกองทุนที่ ๓ ก็มีเสียงกระซิบมาว่ากองทุนหยอดกระปุกเพื่อลูกหลาน เขาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์กองทุนและแก้ไขข้อความบางอย่างเพื่อ ความเข้าใจที่ถูกต้องมาดังนี้ค่า กองทุนหยอดกระปุกเพื่อลูกหลานเป็นกองทุนที่อิสระจากโรงเรียน โดยมี คณะกรรมการ ๕ ท่าน ครูแม่เก๋ (ป.๖) ครูต่อ (ห้องแสงตะวัน) ครูเก๋ (พจมาน ห้องความรัก) ครูเษม (ป.๕) และแม่หนิง (ห้องธุรการ) จึงขออธิบายวัตถุประสงค์ของกองทุนอีกรอบค่ะ กองทุนหยอดกระปุกเพื่อลูกหลาน เป็นกองทุนที่จัดให้มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือและ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของครอบครัวในชุมชนที่ประสบสถานการณ์จำเป็น ทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้เด็กๆได้มี โอกาสเรียนต่อเนื่องในระบบ การศึกษาวอลดอร์ฟ ซึ่งเกิดจากการเกื้อกูลกันภายในชุมชน โดยการอนุมัติ ใช้ เงินจากกองทุนฯ จะเป็นไปตามมติเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนฯ เป็น กรณี ไป อีกทั้ง ยังได้นำเงินไปใช้ ในการสนับสนุนการระดมทุน สำหรับกองทุน หยอดกระปุกเพื่อลูกหลาน ไปใช้ ให้ตรงตามความวัตถุประสงค์ต่อไป ถ้าผู้ปกครองท่านใดสนใจที่จะหยอดกระปุกก็สามารถมาหยอดกระปุกได้ที่หน้า ห้องธุรการค่ะ คณะกรรมการกองทุนหยอดกระปุก

ส า ร แ ส น ส นุ ก กรกฎาคม ๒๕๕๒


เราคงเคยพยายามอธิบายความเป็นวอลดอร์ฟ ให้ผู้คนรอบตัวฟังกันบ้าง บางครั้งผู้ฟังก็เข้าใจ บางครั้งก็ ไม่เป็นเช่นนั้น อาจเป็นเพราะเราเองไม่ถ่องแท้ ในเรื่องนี้ หรือ ผู้ฟังอาจติดยึดความคิดใดอยู่ เนื่องใน งานครบรอบ ๙๐ ปี

การศึกษาวอลดอร์ฟ

ซึ่งจะมีการจัดงาน ณ อาคาร ๓ ห้องประชุม ๑๐๑ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน วันที่ ๔-๕ กันยายน ที่จะถึงนี้ จึงเป็นโอกาสดีที่จะมีองค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวอลดอร์ฟ ได้จัดงานนิทรรศการ รวมทั้งมีนักวิชาการหลายท่านเข้าร่วมการเสวนา เรื่องราวเกี่ยวกับวอลดอร์ฟ ทางชมรมผู้ปกครองจึงอยากเชิญชวน ให้ท่านร่วมกันช่วยประชาสัมพันธ์ และเข้าร่วมงานดังกล่าวในโอกาสดังกล่าว


สรร (สาระ) สู่กันฟัง

12 senses

ในฉบับนี้เราจะมาทำความรู้จักประสาทสัมผัสเพิ่มขึ้นอีกกลุ่ม ซึ่งเราจะ เรียกกันว่า ประสาทสัมผัสระดับกลาง (Middle sense) หรือประสาทสัมผัสที่ เกี่ยวกับความรู้สึก (Feeling sense) เป็นประสาทสัมผัสที่รับรู้โลกที่เข้ามาหา ตัวเราผ่านความรู้สึกต่างๆ โดยปราศจากการสกัดกั้นใดๆ ได้แก่

Sense of Smell

อวัยวะที่เกี่ยวกับการรับรู้นี้คือ จมูกและปอด เมื่อกลิ่น มากระทบจมูกจะส่งกระแสประสาทไปสู่สมองโดยเร็วด้วย ระยะทางที่สั้นมาก สำหรับปอดนั้นในทางมนุษยปรัชญา เชื่อว่าปอดก็มีความทรงจำ แต่เนื่องจากรูปร่างของปอด เปลี่ยนแปลงตามการหายใจ ความทรงจำของปอดจึง เกี่ยวเนื่องกับอากาศที่หายใจเข้าไป เราสามารถเรียกสติ ให้กลับมาด้วยการหายใจลึกๆ ก่อนลงมือทำสิ่งที่ท้าทาย ประสาทสัมผัสนี้มีพลังมาก มีความสัมพันธ์กับความทรงจำ บางครั้งก็จะเตือนให้เราระลึกถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีต เมื่อแรกรับกลิ่นนั้นมนุษย์ยังไม่รู้ตัว แต่เมื่อเริ่มตระ หนักรู้เราจะเกิดภาวะเข้าหาหรือถอยหนี เพื่อตัดสินว่ากลิ่นนั้น ดีหรือไม่ดีสำหรับเรา ประสาทสัมผัสนี้จะพัฒนาไปสู่การตัดสินใจ จำแนกแยกแยะ เกี่ยวกับคุณธรรมในเวลาต่อมา ดังที่เราเคยได้ยินสำนวนว่า กลิ่นไม่ชอบมาพากล เป็นต้น เราจะส่งเสริมประสาทสัมผัสนี้แก่ลูกๆ ด้วยการให้เขาได้มี โอกาส ดมกลิ่นตามธรรมชาติที่หลากหลาย เช่น พืช ดอกไม้ อาหาร กลิ่นทะเล ป่าไม้ เป็นต้น ส่วนที่จะมาขัดขวางการพัฒนาประสาทสัมผัสนี้ของเขาก็ คือ กลิ่นสังเคราะห์ต่างๆ กลิ่นเหม็นอับ กลิ่นไม่พึงประสงค์ทั้งหลาย

๘8

ส า ร แ ส น ส นุ ก กรกฎาคม ๒๕๕๒


Sense of Taste การรับรู้รสเกี่ยวข้องกับต่อมรับรสที่อยู่ ในลิ้น ซึ่งจะทำหน้าที่ จำแนกแยกแยะรสต่างๆ ตามตำแหน่งของต่อมรับรสนั้นๆ การรับรู้ รสจึงมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการจำแนกแยกแยะ การรับรู้รสนั้นโดยพื้นฐานแล้วมี ๔ รส คือ หวาน เปรี้ยว ขม เค็ม ๑) รสหวาน เป็นรสที่เด็กชอบ เป็นรสของนมแม่ซึ่งเป็นรสชาติที่เด็ก ได้รับตั้งแต่เล็กๆ และทำให้เติบโตเป็นมนุษย์ขึ้นมา เป็นรสที่เกี่ยวกับชีวิต ทุกคนแสวงหาและทำให้รู้สึกดี เรามักจะเปรียบเทียบกับความสุขว่า“ชีวิตหวานชื่น” ๒) รสเปรี้ยว หากอาหารเกิดรสเปรี้ยวขึ้น มักจะแสดงว่าอาหารนั้นมีปัญหา เช่น เริ่มเสียหรือบูด ในเยอรมันมีสำนวนว่า “เปรี้ยวใส่กัน” ซึ่งหมายถึง ไม่ชอบ กัน ไม่ถูกกัน รสเปรี้ยวนี้สัมพันธ์กับการย่อยและทำให้เกิดความคิด ๓) รสขม เป็นรสชาติที่ ไม่มี ใครต้องการ เราจะได้ยินจากสำนวนว่า “ขมขื่น” ทั้งสีหน้าของคนที่กินของขมๆ ก็ ไม่ค่อยต่างจากสีหน้าของคนที่มีความขมขื่นใจ แต่ความขมก็ช่วยย่อยและแยกอาหารเป็นส่วนเล็กๆ ที่จะไหลเข้าสู่กระแสเลือด ได้ ๔) รสเค็ม ร่างกายเราต้องการรสชาตินี้เพียงเล็กน้อย เพื่อให้ร่างกายเกิด ความสมดุลในคนที่ ไม่มีความสมดุลในแง่ของการให้และรับ หรือเรียกง่ายๆ ว่า ตระหนี่ เราก็มักจะใช้สำนวนว่า “เค็ม” อาจฟังดูแปลกๆ ถ้าจะบอกว่า ประสาทสัมผัสนี้เมื่อพัฒนาไปเรื่อยๆ การรับรู้ นี้จะแปรเปลี่ยนไปเป็นรสนิยมต่างๆ ในชีวิต เป็นความชอบ ไม่ชอบ การแต่งตัว เป็นต้น เราส่งเสริมเด็กๆ ได้ด้วยการปรุงอาหารเองจากฝีมือของพ่อแม่ ให้รสชาติ อาหารปรากฏเองตามธรรมชาติ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีการปรุงแต่งมากเกินไปหรือใส่ สารสังเคราะห์ อาหารขบเคี้ยวซึ่งมักจะมีรสชาติเดียวและมีสารปรุงแต่งมากหรือใส่ กลิ่น-รสสังเคราะห์

๒๕๕๒ กรกฎาคม ส า ร แ ส น ส นุ ก 9


Sense of Sight

ตา เป็นอวัยวะของการรับรู้เกี่ยวกับการมองเห็น การเคลื่อน ไหวของดวงตา ศีรษะและร่างกายมีความสัมพันธ์กับการมองเห็น มนุษย์ ใช้ประสาทสัมผัสนี้ ในการรับรู้โลกมากที่สุด จนบางครั้งทำให้เราละเลยสัมผัสด้าน อื่นๆ แม้ว่าเราจะใช้สายตาเพื่อมองสิ่งต่างๆ แต่บางครั้งเราก็มองเพียงผิวเผิน ไม่ได้พินิจพิเคราะห์อย่างจริงจัง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กๆ ที่จะใช้เวลาในการ มองดูธรรมชาติต่างๆ และสำหรับผู้ ใหญ่เอง การฝึกฝนการสังเกตจากสิ่งเล็กๆ จะ นำไปสู่การสังเกตสิ่งใหญ่ๆ ที่สำคัญต่อไป สิ่งที่จะช่วยส่งเสริมสัมผัสนี้คือ การให้เด็กได้มี โอกาสชื่นชมความงามของ ธรรมชาติหรือศิลปะต่างๆ ให้ความงามนั้นได้ไหลผ่านเข้าสู่ตัวเด็ก เพราะความงาม เป็นเสมือนอาหารที่หล่อเลี้ยงดวงจิตของมนุษย์ การจัดให้เด็กอยู่ ในสิ่งแวดล้อมที่ สวยงาม บ้านที่เป็นระเบียบ การจัดบ้าน สีทาบ้าน หรือแม้กระทั่งการสวมใส่ เสื้อผ้าที่มีสีกลมกลืน สวยงามพอเหมาะก็เป็นสิ่งที่ ไม่ควรมองข้าม สิ่งที่จะ บั่นทอนสัมผัสนี้ที่สำคัญคือ โทรทัศน์ เพราะจะตรึงสายตาเด็กให้อยู่กับที่ และสิ่งที่เด็กเห็นในทีวีมักจะไม่ ใช่ของจริง เป็นสิ่งที่สร้างขึ้น การใช้สีที่ ไม่ สวยงาม การอยู่ ในบรรยากาศที่ทึมทึบ ซึมเศร้า รวมไปถึงการอยู่ ในแวด ล้อมของผู้ ใหญ่ที่มีทัศนคติที่คับแคบหรือตึงเกินไป

Sense of Warmth การรับรู้เกี่ยวกับอุณหภูมินี้สัมพันธ์การกับรับรู้ชีวิตและการเคลื่อนไหว มนุษย์จะรับสัมผัสนี้ ได้ดีเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหว อวัยวะที่เกี่ยวข้องคือ ผิวหน้า การที่ร่างกายพยายามรักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ที่ ๓๗ องศาเซลเซียส ทำให้ การรับรู้นี้เกี่ยวข้องกับการรักษาสมดุลของร่างกายด้วย อย่างไรก็ตาม ในความ หมายของประสาทสัมผัสนี้ ไม่ได้หมายถึงแค่ทางกายภาพเท่านั้น แต่รวมถึงภาวะ ทางใจด้วย ในเด็กเล็กๆ เท้าและศีรษะมีความสำคัญมาก จะต้องทำให้อบอุ่นอยู่เสมอ เพราะร่างกายจะสูญเสียความอบอุ่นง่ายในสองอวัยวะนี้ ถ้าเด็กไม่ได้รับการพัฒนา

๑๐10 ส า ร แ ส น ส นุ ก กรกฎาคม ๒๕๕๒


หรือปกป้องไว้ การพัฒนาด้านจิตวิญญาณจะไม่เติบโตเท่าที่ควร สัมผัสนี้เมื่อพัฒนาด้านนอกแล้วจะเข้าสู่ภายในพัฒนาไปสู่ การมีจริยธรรมได้ นี่เป็นสิ่งสำคัญที่คนรอบข้างเด็กๆ จะต้องมีความอบอุ่นด้วย ความเป็นมิตร หัวใจที่อบอุ่น ทางจิตวิญญาณของผู้ ใหญ่จะมีผลกับเด็กมาก เพราะจะ ทำให้เด็กพัฒนาความรู้สึกไปสู่การให้ความอบอุ่นผู้อื่น ด้วย ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมสัมผัสนี้ก็คือ การดูแล ร่างกายเด็กให้อบอุ่นอยู่เสมอ แม้ว่าในเด็กเล็กๆ มักจะ ปฏิเสธการใส่เครื่องนุ่งห่มที่ทำให้อบอุ่น การที่มีผู้ ใหญ่ที่มี หัวใจอบอุ่น จะช่วยโอบอุ้มเด็กไว้และก็แน่นอนว่า สิ่งที่บั่นทอน การพัฒนาสัมผัสนี้ก็คือ ความรู้สึกเย็นชา กระด้าง ของผู้ ใหญ่ที่เลี้ยงดูเด็ก การเสแสร้งที่ ไม่จริงใจ การเลี้ยงดูที่นุ่มนวลหรือแข็งกระด้างเกินไป ส่วนในทางกายภาพ คือ ปล่อยให้เด็กอยู่ ในสภาพอากาศที่หนาวหรือ ร้อนเกินไป ในสัมผัสทั้ง ๘ อย่างที่กล่าวมานี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ การเลี้ยงดู และพัฒนาเด็กด้วยความรัก ด้วยหัวใจ ด้วยความจริงใจ ของพ่อแม่ และคนที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เพราะการส่งเสริมใดๆ ถ้าไม่เป็นไปด้วย ความรักแล้ว สิ่งนั้นก็จะไม่เข้าไปถึงภายในและหัวใจของเด็ก เรียบเรียงโดย แม่เป๊าะ

๑๑

๒๕๕๒ กรกฎาคม ส า ร แ ส น ส นุ ก 11


สัพเพเหระ

ม อ ห ด ็ ห เ ่ ส ใ ่ ก ไ า ้ น ห ข้าว สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ ผู้ปกครอง สัพเพเหระฉบับนี้แม่แอ๊นท์ขออนุญาตมานำเสนอ เมนูเด็ด ข้าวหน้าไก่ ใส่เห็ดหอมที่เชลล์ ไม่เคยมาชิมและแม่ช้อยก็ ไม่มารำ แต่ทำเอง ผู้ปกครอง ป.๑ ปีที่แล้ว อึ้งทึ่งกันไปแล้ว โดย แม่หนึ่ง คุณแม่ของ น้องบุ๊น ป.๒ เริ่มกันเลยดีกว่า

ของที่ต้องเตรียม

1. สันในไก่ 2. โครงไก่ รากผักชี และเกลือป่น 3. เห็ดหอมสด 4. กุนเชียง 5. ผักสด เช่น ต้นหอม ผักชี แตงกวา พริกชี้ฟ้า

เครื่องปรุง

1. น้ำมันหอย 2. ซีอิ้วหวาน 3. ซีอิ๊วขาว น้ำปลา 4. น้ำตาลทราย 5. พริกไทยป่น 6. แป้งข้าวโพด

๑๒12 ส า ร แ ส น ส นุ ก กรกฎาคม ๒๕๕๒


วิธีทำ

1. หั่นเนื้อไก่เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วหมักด้วยน้ำมันหอยกับซีอิ๊วขาวไว้สัก ๑ ชั่วโมง หรือจะหมักค้างคืนไว้ ในตู้เย็น ตอนเช้ามาทำก็ ได้ 2. ต้มโครงไก่ทำเป็นน้ำซุป ทุบรากผักชีและใส่เกลือป่นลงไปในน้ำซุป เคี่ยว นานๆ ให้โครงไก่เป„่อยนุ่ม 3. หั่นเห็ดหอมสดเป็นเส้นๆ และเตรียมล้างผักที่จะทานเคียงกันไว้ 4. ทอดกุนเชียงแล้วหั่นเตรียมไว้ ถ้าไม่ชอบทานไม่ต้องมีก็ ได้ 5. ใส่น้ำมันในกระทะ ทุบกระเทียมเสร็จแล้ว ใส่เนื้อไก่ที่หมักไว้แล้วลงไปผัด ให้สุก 6. ปรุงรสเพิ่มเติมโดยใส่ซีอิ๊วหวานที่ ให้สีเข้มขึ้น และซีอิ๊วขาว หรือน้ำปลา เพิ่มเติมแล้วแต่ชอบ ใส่น้ำตาลทรายนิดหน่อยรวมทั้งพริกไทยป่น ถ้าเด็กๆ ทานได้ไม่เผ็ด 7. ใส่เห็ดหอมสดลงไปผัดให้เข้ากัน 8. เสร็จแล้วเทน้ำซุปไก่ที่เสร็จแล้วลงไปในกระทะเยอะๆ ไว้ก่อน 9. ละลายแป้งข้าวโพดในน้ำสะอาด 10. หรี่ ไฟ แล้วใส่แป้งข้าวโพดที่ละลายแล้วลงไปในกระทะ 11. ค่อยๆ คนให้เข้ากัน รอสักครู่จะเห็นว่าใสไปหรือว่าข้นไป ถ้าใสก็เพิ่มแป้ง ละลายน้ำ ถ้าข้นไปเติมน้ำซุปแล้วคนให้เข้ากัน 12. ชิมรสดูอีกครั้ง ปรุงรสเพิ่มได้ตอนนี้ ดูสีด้วย ถ้ายังขาวๆ ให้ ใส่ซีอิ๊วหวาน เพิ่มนิดหน่อย 13. ชิมรสแล้วได้ที่ พอเดือดอีกครั้งก็ปิดแก๊สได้ 14. ตักข้าวใส่จานราดด้วยน้ำหน้าไก่ วางกุนเชียงและผักที่ชอบทานไว้ข้างๆ ผู้ ใหญ่ควรจะทานคู่กับพริกแก้เลี่ยนได้

เมนูนี้ดัดแปลงเป็นมื้อด่วนขบวนเช้าได้ไม่ยาก

- พักเรื่องทอดกุนเชียงไว้ก่อน ตอนเช้าค่อยว่ากัน - ทำข้อ ๑ ถึง ข้อ ๘ พอ เข้าตู้เย็น - เช้าๆ ตื่นมาอุ่นซุปที่ทำเมื่อคืน และก็ทำต่อให้เสร็จเลยจ้า

๑๓

๒๕๕๒ กรกฎาคม ส า ร แ ส น ส นุ ก 13


บอกµ่อ

ข่าวสาร

จากคณะกรรมการ การเงินและพั²นาโรงเรียน

เมื่อปีการศึกษา ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา ผู้ก่อตั้งโรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของ “ชุมชน” ด้วยว่าความเป็นชุมชนถือเป็น อีกหนึ่งส่วนที่สำคัญของแนวทางการศึกษาแบบวอลดอร์ฟ ความพยายามในการ พัฒนารูปแบบการให้การศึกษาที่ ให้ประสบการณ์จริงแก่ชีวิตจะมิสามารถสร้าง และเกิดขึ้นได้จากเพียงฉากที่ผู้ ใหญ่บรรจงวาดให้เด็กๆได้เห็น หากแต่ชุมชนและ สภาพแวดล้อมที่เป็นจริงเท่านั้น ที่จะเป็นประสบการณ์อันมีค่าที่ ให้ทั้งความจริง และความหมายสำหรับพวกเขา การศึกษาวอลดอร์ฟจะพัฒนาอย่างเข้มแข็งผ่าน ชุมชนที่เข้มแข็ง และเป็นชุมชนที่เกิดจากความร่วมมือ ร่วมใจ และความเกื้อกูล ของคนในชุมชน ผู้ก่อตั้งโรงเรียนได้เล็งเห็นถึงความหมายดังกล่าวจึงได้สร้าง กลไกเพื่อให้สมาชิกชุมชนได้มีส่วนร่วมในการช่วยกันสร้างและพัฒนาชุมชนเพื่อการ เรียนรู้แห่งนี้

๑๔

ส า ร แ ส น ส นุ ก กรกฎาคม ๒๕๕๒


การจัดการทางการเงินที่ดีเป็นอีกกลไกหนึ่งที่ สำคัญที่จะช่วยสร้างฐานความมั่นคงของชุมชนในระยะ ยาว ผู้ก่อตั้งโรงเรียนจึงมีแนวคิดในการจัดทำข้อมูล ทางการเงินอย่างเป็นระบบ เปิดเผย และจัดระเบียบ ทางการเงินโดยให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการ ดังกล่าว การจัดตั้งคณะกรรมการการเงินจึงเกิดขึ้น นับแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๙ เป็นต้นมา โดยคณะกรรมการการเงินฯ ประกอบด้วยสมาชิกชุมชนจากหลายฝ่าย โดยประธานคณะกรรมการ ๑ ท่านกำหนดว่าต้องเป็น สมาชิกชุมชนจากฝ่ายผู้ปกครอง และมีกรรมการร่วมอีก ๔ (หรือ ๕) ท่าน ซึ่งได้แก่ผู้จัดการโรงเรียน ๑ ท่าน สมาชิกชุมชนฝ่ายครู ๒ ท่าน และสมาชิกชุมชมฝ่าย ผู้ปกครองอีก ๑ (หรือ ๒) ท่าน พร้อมกับเลขานุการ คณะกรรมการซึ่งมาจากเหรัญญิกของโรงเรียนโดย ตำแหน่งอีก ๑ ท่าน โดยภารกิจหลักของคณะกรรมการ การเงินฯ คือ สนับสนุนการพัฒนา การดำเนินไป

๒๕๕๒ กรกฎาคม ส า ร แ ส น ส นุ ก

๑๕


และรวมถึงการขยายตัวของโรงเรียน และก่อนเข้าสู่ปีการศึกษา ๒๕๕๒ นี้ คณะกรรมการการเงินฯ ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อเผยแพร่ ให้แก่สมาชิกในชุมชนทราบ สำหรับเป็นแนวทางในการร่วมมือ ร่วมแรง และร่วมใจ พัฒนาชุมชนของเราใน โอกาสต่อๆ ไป ในปีการศึกษา ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา เรามีจำนวนเด็กๆ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงประถม ๖ รวม ๒๐๔ คน บุคลากรครูจำนวน ๒๔ คน และบุคลากรอื่นๆ อีก จำนวนรวม ๕ คน ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ที่ผ่านมานี้ โรงเรียนมีรายได้ทั้งที่เป็นรายได้จากค่า ธรรมเนียมการศึกษาและรายได้เงินสนับสนุนจากรัฐ ซึ่งโรงเรียนได้จัดสรรการใช้ เงิน ๘๓% ของรายได้ไปสำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน อันได้แก่ การใช้เพื่อเป็นค่าตอบแทน การอบรมและพัฒนาบุคลากรครู ๔๕% เงินจำนวน ๒๑% ใช้ไปเพื่อเป็นค่าเช่าสถานที่ซึ่งรวมทั้งค่าเช่าที่ดินและอาคาร ทั้งส่วนที่เป็นอาคารไตรทักษะ และอาคารอนุบาล รวมถึงการเช่าใช้อุปกรณ์บาง รายการ ๖% ใช้ไปสำหรับค่าอาหาร ๔% ใช้ไปสำหรับค่าสื่อการเรียน ๓% ใช้ สำหรับค่าก่อสร้าง ต่อเติม และบำรุงรักษาสินทรัพย์ ๒%ใช้เป็นค่าสาธารณูปโภค และ ๒% สำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าเบี้ยประกัน และค่า บริการอื่น ทั้งนี้ทำให้ ในปีการศึกษา ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา โรงเรียนมีเงินทุนสำรอง เพิ่มอีก ๑๗% จากรายรับทั้งหมด ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดสรรเข้ากองทุนกู้ยืมเพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิต กองทุนฝึกอบรมและพัฒนาครู และกองทุนพัฒนาโรงเรียนเ ช่นเดียวกับปีก่อนๆ เพื่อใช้สำหรับการปรับปรุง พัฒนา และขยายโรงเรียนตาม แผนพัฒนาและขยายโรงเรียนต่อไป ในปีการศึกษาที่ผ่านมา ภารกิจหลักของคณะกรรมการการเงินคือ การ สนับสนุนให้โรงเรียนเกิดการพัฒนา โดยเน้นให้ความสำคัญต่อการอบรมและ พัฒนาครูรวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูผู้เป็นเสมือนหัวใจของการศึกษาวอลดอร์ฟ สนับสนุนการสร้างคุณภาพของการให้การศึกษา รวมถึงงานสถานที่ อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้การศึกษาของเด็กๆ ดำเนินไปได้อย่างพ

๑๖

ส า ร แ ส น ส นุ ก กรกฎาคม ๒๕๕๒


ร้อมเพรียงและทั่วถึง นอกจากนี้ยังรวมถึงการบริหาร กองทุนต่างๆ ภายใต้วัตถุประสงค์ของกองทุน ซึ่งใน ปัจจุบัน โรงเรียนมีกองทุนทั้งสิ้นรวม ๗ กองทุน ได้แก่ กองทุนสวัสดิการครู กองทุนหยอดกระปุกเพื่อลูกหลาน กองทุนกู้ยืมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต กองทุนฝึกอบรมและ พัฒนาครู กองทุนห้องความรัก กองทุนสิ่งแวดล้อม และ กองทุนพัฒนาโรงเรียน ซึ่งกองทุนพัฒนาโรงเรียนนี้เป็น กองทุนที่กันเงินไว้สำหรับแผนพัฒนาโรงเรียนในทุกๆ ด้าน สำหรับปีการศึกษา ๒๕๕๒ ที่กำลังมาถึงนี้ คณะ กรรมการการเงินฯ มีเป้าหมายร่วมกันทีจ่ ะพัฒนาการสือ่ สาร ข้อมูลภายในชุมชนโดยจะส่งข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางเพื่อ การสื่อสารอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการพัฒนาบุคลากร อย่างต่อเนือ่ ง ดำเนินการและสนับสนุนโครงการมัธยมปลาย ยังคงมีภารกิจด้านการระดมทุนเพื่อแผนงานในระยะยาว และยังคงไว้ซึ่งภารกิจด้านการวางแผนและควบคุมงบประมาณตามแผนงาน รวมไปถึงการจัดการกองทุนต่างๆ ให้ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์อย่างสอดคล้องกับแผนพัฒนา โรงเรียน

๒๕๕๒ กรกฎาคม ส า ร แ ส น ส นุ ก

๑๗


!

ขณะนี้ โรงเรียนกำลังอยู่ ในระหว่างการดำเนินการเพื่อเปลี่ยนแปลง หนังสือบริคณ±์สนธิ (เอกสารจัดตั้งโรงเรียน) ให้เป็นองค์กรที่ ไม่หวังผลทาง การค้าหรือหากำไร เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งโรงเรียน คณะกรรมการการเงินและพัฒนาโรงเรียนขอเป็นตัวแทนแสดงความขอบคุณ ต่อท่านผู้ก่อตั้งโรงเรียน และขอแสดงความขอบคุณทุกครอบครัวที่มีส่วนช่วย สนับสนุน ทั้งการสนับสนุนด้านการศึกษา ด้านการประหยัดการใช้ทรัพยากร การบริจาคสิ่งของจำเป็น การสนับสนุนด้วยแรงกาย และรวมถึงการสมทบทุน เข้ากองทุนต่างๆ ของโรงเรียน คณะกรรมการการเงินฯ จะพิจารณาใช้ทรัพยากร เหล่านั้นอย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชนโดยรวม คณะกรรมการการเงิน

๑๘ ส า ร แ ส น ส นุ ก กรกฎาคม ๒๕๕๒


สรรหา มาเล่า

ความประทับใจจากแม่

เมื่อ ลูกได้เป็นพี่ ป.๑

วันแรกที่ โรงเรียนเปิดเทอม ลูกตื่นแต่เช้า รีบทำความสะอาดร่างกาย เพื่อจะได้ ใส่ชุดนักเรียนเป็นครั้งแรก คุณแม่จำได้ว่าวันนั้นเป็นวันจันทร์ ลูกตื่นเต้นมาก ที่ ได้ ใส่ชุดนักเรียน และจะได้ร่วมสวดมนต์กับพี่ประถมที่ห้องโถง จะได้เจอะเจอ เพื่อนประถม ๑ และคุณครู พอเรามาถึงโรงเรียน คุณแม่รู้สึกถึงความภาค ภูมิ ใจในตัวเองของลูก ความสุข ความร่าเริงสดใส และความตื่นเต้นท้าทาย พอกลับมาถึงบ้าน ลูกเล่าเรื่องที่ โรงเรียนให้ฟังอย่างร่าเริง คุณแม่จำได้ประโยค หนึ่งว่า “วันนี้ คุณแม่ไม่ต้องพาน้องปองไปวิ่งเล่นนอกบ้านอีกแล้วนะคะ เพราะว่า ครูหมวยพาน้องวิ่งจนเหนื่อยแล้ว น้องวิ่งไม่ไหวแล้วค่ะ” คำพูดประโยคนี้ เป็น คำพูดแรกที่คุณแม่ได้ยินในวันแรกที่ลูกได้เข้าประถม ๑ เป็นคำพูดที่คุณแม่ไม่ลืม จนทุกวันนี้ และคงจะประทับใจไปอีกนาน ขอบคุณค่ะ… แม่เล็ก

๒๕๕๒ กรกฎาคม ส า ร แ ส น ส นุ ก

๑๙


เมื่อตอนทำพิธีส่งเด็กๆ ขึ้น ป.๑ ครูหมวยเน้นว่าควรให้ทำงานบ้าน คุณแม่เลย ส่งเสริมโดยการให้พี.พี.ล้างจาน โดยพยายามให้ทำอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อตอน ปิดช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา มีอยู่วันหนึ่งคุณแม่บอกน้องพี.พี.ว่า ทานข้าวเสร็จ แล้ว จะพาไปปั่นจักรยาน น้องกันมามองแล้วตอบว่า “ขอพี.พี.ล้างจานก่อนนะ ครับ” (คุณแม่คิดในใจเริ่มได้ผลแล้ว) และอาทิตย์ต่อมาคุณแม่กำลังจะพาพี.พี. ไปนอน น้องมองเห็นคุณย่ากำลังล้างจานอยู่ น้องเดินตรงไปหาพร้อมกับพูดว่า “คุณย่าครับให้พี.พี.ช่วยล้างมั้ยครับ” (คุณแม่คิดในใจว่า ไชโยมันคงเริ่มซึมเข้าสู่ กระแสเลือดแล้วแน่ๆ เลย ขอขอบคุณครูหมวยสำหรับคำแนะนำดีๆ ค่ะ) ช่วงเปิดเทอมใหม่ๆ ตอนเลิกเรียนกลับมาบ้านพี.พี.มักจะชวนเล่นมีอะไรบ้างที่ขึ้น ต้นด้วย ก.ไก่ หรือตัวอะไรก็ตามที่คุณครูสอนแล้วที่ โรงเรียน เช่น ก.ไก่ ก.กา ก.กุ้ง เป็นต้น พี.พี.ก็จะตอบถูกบ้าง ผิดบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะตอบผิดเพราะจะเดา เอา คุณแม่ก็เริ่มกังวลใจว่าพี.พี.ยังไม่ค่อยเข้าใจ แต่อยู่มาวันหนึ่ง พี.พี.อาบน้ำ อยู่ดีๆ ก็พูดด้วยความตื่นเต้นว่า “คุณแม่ครับพี.พีเข้าใจแล้ว” คุณแม่ ลองดูนี่ แล้วก็เริ่มมองไปรอบๆ ตัวแล้วพูดว่า ประตู (ป.ปะ ป.ปลา) ต้นไม้ (ต.ต้น ต.เต่า) พื้น (พ.พื้น) โต๊ะ (ต.โต๊ะ) เก้าอี้ (ก.เก้า ก.ไก่) และอื่นๆ อีกมากมาย แม้แต่ตัวอักษรที่ยังไม่เคยเรียน พี.พี.ก็สามารถตอบได้ถูกเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ทั้ง นั้นก็ต้องขอบคุณครูหมวยค่ะ

จาก แม่ปู

๒๐ ส า ร แ ส น ส นุ ก กรกฎาคม ๒๕๕๒


“ก.ไก่ วนไปมาคุ้ยเขี่ยหาอาหาร บ.บ้านแสนเบิกบานสถานพักผ่อนใจ เอ...แล้วอะไรต่อน้า” แม่ทำท่านึก นลหันมามองแม่ด้วยความประหลาดใจที่ ได้ยินแม่ท่องบทกลอนพลางถามว่า “แม่ทำไมถึงท่องได้ล่ะ” แม่ตอบว่า “วันนี้แม่ไปประชุมที่ โรงเรียนมา ครูหมวยสอนแม่ด้วยล่ะ แต่ แม่จำไม่ได้ว่าต่อไปเป็นตัวอักษรอะไรนะ” นลยิ้มพร้อมทั้งลุกขึ้นยืน บอกว่า “ได้ๆ งั้นนลจะสอนแม่ ท่องเองแต่แม่ต้องยืนก่อน” นลกล่าวพลางเริ่มท่องบทกลอน ออกท่าทางย่ำเท้า ปรบมือ และ คะยั้นคะยอให้แม่ทำตามอย่างร่าเริง “ก.ไก่ วนไปมาคุ้ยเขี่ยหาเหล่าอาหาร บ.บ้านแสนเบิกบาน เป็นสถานพักผ่อนใจ ป.ปลาอยู่ ในน้ำแสนชื่นฉ่ำน้ำเย็นใส น.หนูอยู่ไม่ไกล ในบ้านใครดู ให้ดี......” จาก แม่มลค่ะ

พอเป็นผู้ปกครองนักเรียน ป.๑ ก็สงสัยว่าโรงเรียนจะมีการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย อย่างไร แล้วลูกจะเรียนเขียนอ่านอักษรไทยอย่างไร พอเปิดเทอมได้ไม่นานก็จะได้ยินเสียงลูก เจื้อยแจ้วเหมือนกึ่งร้องเพลงก่องท่องอาขยาน ก ไก่วนไปมา คุ้ยเขี่ยหาเหล่าอาหาร บ บ้านแสนเบิกบาน เป็นสถานพักผ่อนกาย ป ปลา ล ลิง น หนู ........ แล้วเข้าใจว่านักเรียน ป.๑ ทุกคนคงขยันฝึกฝนมาก เพราะวันแรกของการประชุม ผู้ปกครอง ป.๑ เกี่ยวกับ Open day ผู้ปกครอง ป.๑ ก็เจื้อยแจ้วได้ไม่น้อยหน้าเด็กๆ เลย คำถามที่เกิดขึ้นจากการที่ลูกหมั่นฝึกฝนอาขยานให้เราฟังบ้างคนอื่นฟังบ้าง ทุกคนจะ ถามเป็นเสียงเดียวกันว่า ก ไก่ แล้วทำไม บ บ้าน แล้วไป ป ปลา ล ลิง น หนู ทำไมไม่ เรียงกันเหมือนสมัยก่อนที่เราผู้ปกครองท่องกันตอนเป็นเด็ก คำตอบของคำถามนี้ ถ้าใครใคร่รู้กรุณาสอบถามได้ที่คุณครูของเด็กตั้งแต่ ป.๑ ขึ้นไป แม่น้องพิณ

๒๑

๒๕๕๒ กรกฎาคม ส า ร แ ส น ส นุ ก 21


เปรียบลูกเหมือนดั่งต้นไม้ เมื่อตอนที่ลุกอยู่อนุบาลเหมือน ดั่งแม่ได้ลงมือปลูกเมล็ดพืชไว้ ในพื้นดิน แม่คอยรดน้ำดูแลเอาใจใส่ เพื่อที่จะได้เห็นลำต้นที่แข็งแรงใบอ่อนที่สวยงาม และวันที่เจ้าตัวน้อยสวมมงกุฎ สีเหลืองสะพายกระเป๋าถักเดินขึ้นบันไดบนตึกประถม และก้าวเข้ามาในห้อง ป.๑ แม่รู้ได้ว่า เมล็ดพืชที่แม่เพาะปลูกไว้นั้น เวลานี้ลำต้นน้อยและใบสีเขียวอ่อนได้โผล่พ้นพื้นดิน เพื่อให้ได้ชื่นชมในความงดงามแล้ว เจ้าตัวน้อย ณ วันนี้ รู้จักความดี ความงาม และความพร้อม ที่จะก้าวไปสู่วันข้างหน้า ตอนนี้เจ้าตัวน้อยสดใส เวลายิ้มหรือหัวเราะเสียงที่ ได้ยินเป็นเสียงแห่ง ความสุข ทำให้แม่ต้องยิ้มและหัวเราะไปด้วยทุกครั้ง แต่ละวันที่ลูกใช้ชีวิตอยู่ที่ โรงเรียนกลับมาลูกจะต้องมาเล่ามาร้องเพลงที่ครูสอนให้ฟังเสมอ บางวันลูกปลื้มคุณครูก็จะกลับบ้านมาเป็นครู ส่วนแม่กลายเป็นนักเรียน แม่ประทับใจ ค.ควาย ของ ลูกมาก และลูกจะชอบเล่าบรรยากาศที่อยู่ ในห้องเรียนท่องบทกลอนเวลาครู ให้ทำงาน ตอนนี้ลูก ชอบร้องเพลงที่ครูสอนที่ โรงเรียนมาก มีอยู่วันหนึ่งเรานั่งรถไปด้วยกัน ลูกเกิดสำลักไออยู่สักพัก แม่เลยบอกให้ลูกลองร้องเพลงที่ครูที่ โรงเรียนสอนดูสิเดี่ยวก็หาย ลูกร้องวนไปวนมาสักพัก แล้ว หันมาบอกแม่ว่าขอบคุณครับแม่ ผมหายแล้วที่แม่บอกได้ผลจริงๆ ด้วย แม่ก็อึ้งและแอบขำในใจ ได้ผลจริงหรือลูกพูดเอาใจเนี่ย ลูกชอบดาวประจำความดีบนกระดานมากเลยค่ะ ชวนแม้ ให้ช่วย ทำความดี ใหญ่ ยกตัวอย่างนะคะ สร้างให้หอยทากและตอนนี้เปลี่ยนเป็นคอนโดแล้วค่ะ ตั้งแต่ ลูกขึ้น ป.๑ ตอนนี้รับผิดชอบงานที่มอบหมายให้ทำเป็นประจำได้ดีและเป็นเวลา ชอบเข้าครัวช่วย แม่ทำกับข้าวมาก ตอนนี้ลูกชายกำลังชวนแม่ทำม่านในฝันกันค่ะ เพราะลูกชายชอบม่านที่ห้อง ป.๑ มากค่ะ คุยว่าร่วมกันทำกับเพื่อนๆ ประทับใจที่รักและเคารพคุณครูหมวย ชอบเวลาที่ลูกกลับมาแล้วพูดถึง คุณครูของตัวเองว่าเก่ง และอยากเป็นเหมือนครูของตัวเอง ประทับใจมากค่ะตั้งแต่ลูกก้าวขึ้น ป.๑ ต้องคอยลุ้นก้าวที่สองของลูกว่าจะเป็นอย่างไร จะมีเรื่องอะไรที่ประทับใจอีก อีกนิดนึง เกือบลืม ลูกชายใส่ชุดนักเรียนวันจันทร์หล่อมากค่ะ สุดท้ายขอขอบคุณครูทุกๆ ท่านที่ช่วยกันเพาะปลูกเมล็ด พืชน้อยให้กลายเป็นต้นไม้ที่เติบโต แข็งแรงทนแดดทนฝนให้ร่มเงา ขอบคุณค่ะ...แม่น้ำฝน

๒๒ ส า ร แ ส น ส นุ ก กรกฎาคม ๒๕๕๒


Open day ครั้งที่ ๙ ขอใช้พื้นที่เล็กน้อยในการแจ้งความคืบหน้าของงาน Open day นะคะ หลังจากที่ ใช้เวลาถกกันเรื่องหัวข้อถึง ๒ อาทิตย์ พวกเราก็ ได้หัวข้อที่สรุปมาจากหลาย ไอเดีย นั่นก็คือ “สุนทรียภาพ: ศิลปะกับการศึกษาแนววอลดอร์ฟ” • สุนทรียภาพคืออะไร? • ศิลปะเกี่ยวข้องอย่างไรกับการศึกษาแนววอลดอร์ฟ? • ลูกหลานของเราจะศึกษาอย่างไรให้เกิดสุนทรียภาพ? คำถามที่อยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนได้คิด และค้นหาคำตอบร่วมกัน อีกแค่ ๑๐ อาทิตย์ เท่านั้นค่ะ สำหรับตอนนี้กำลังอยู่ ในขั้นตอนของการคิดรูปแบบในการจัดงาน การแบ่งสรรหน้าที่ รับผิดชอบ พวกเราถึงแม้จะไม่ ใช่เด็กหน้าใหม่ ในครอบครัวแสนสนุกไตรทักษะ แต่ก็ถือว่าเราเป็น หน้าใหม่สำหรับชั้นประถม ซึ่งต้องการทั้งพี่เลี้ยงที่ ให้คำแนะนำ รวมถึงแรงกาย แรงใจและกำลัง สมองของเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกท่าน เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ท่านใดอยากเสนอไอเดียหรือต้องการมีส่วนร่วมในงาน ขอเชิญเลย นะคะ เราประชุมกันทุกวันเสาร์ บ่ายโมงโดยประมาณ แต่ถ้าไม่สะดวกในการเข้าร่วมประชุม ก็สามารถส่งคำแนะนำได้ที่ผู้ปกครองชั้น ป.๑ ทุกท่าน หรือจะที่คุณครูหมวยก็ ได้นะคะ ขอบคุณค่ะ ๒๕๕๒ กรกฎาคม ส า ร แ ส น ส นุ ก

๒๓


in the School A pracktiscaum Tridha 9- 0W1.a0ld7o.0rf9) (15.6.0 On the 15th of June 2009 we arrived at the Tridhaksa Waldorf School in Bangkok. Our first impression was a nice school, which was not that different from our schools in Germany – not in our lower grades. There was a playground for children of the kindergarten with many things they can play with, another playground for the young children of the lower classes, and a court, where the other kids can play and learn. Also we were surprised, of the big, nice hall of the entrance, with a very beautiful Buddha and nice drawings on the wall. The next day, we arrived at about 8-9 o’clock in the morning. The teachers started to explain the new projects about the school which contained creating a new recycling station, preparing the garden, so it is possible to grow plants, and to create a recycling station in the garden, to recycle food and to avoid smell. After we have told how they make it in Germany, and how the rubbish in Germany is separated, the German volunteer Kai, who had stayed in the Tridhaksa Waldorf School for one year, explained and showed us the school. There where many classrooms, a teachers room, an officejust like in a normal school in Germany, but a bit different. In the Waldorf School, the pupils learn to know the world with the whole body. For example they jump 3 times to learn the three, not just learning by heart. Also we have seen that the people learn to know the letters different then in Germany. They were able to learn to know them with the whole body through walking on the letters, which are written with shark on the bottom. The other differences are the subjects. They have also P.E. which is in Germany physics, and they also have English lessons. Similar is also that they learn there own language. They learn Thai and we have learned German. But there are also some differences in the subjects. For example they have eurhythmic lessons in which they learn how to express the language with moving. Also very interesting was Mandarin. We were also able to join the lesson, and to draw Mandarin letters, (What was not that easy). In addition to learn to know the school and to join lessons, we worked in the garden, where we dug some holes to put in the leftovers of the lunch, that it is not getting smell. The other practical work was to clean up the rubbish station and to tie some nets, which were defected. This was a very interesting work, because we never did something like this before, and we had to try a lot. But finally it worked. Very interesting was also the work with Nong, who we taught to speak and to write some German. First now we recognize how difficult it is to learn a new language with such a difficult grammar as in Germany. But there where some more high lights in the two weeks. One day, Maew showed us the palace and some temples of Bangkok. Now we learned how to take a bus in Bangkok and to travel very cheap. Taxi is not always the cheapest way! Another day the teachers invited us to a trip to the world biggest crocodile farm. This was very interesting and exciting. Finally Usa invited us to a very delicious dinner with a presentation of her students. We also learned how to sing and dance in Thai. All in all these were very interesting two weeks, in which we learned a lot about practical work, about Thai culture, and about Waldorf Schools. Thank you for these two weeks!

๒๔ ส า ร แ ส น ส นุ ก กรกฎาคม ๒๕๕๒

Stefan and Robin


เรื่องเล่าจากโต๊ะฝรั่ง

Stefan and Robin พี่สเตฟานกับพี่ โรบินเล่าว่า เมื่อแรกก้าวเข้ามาในโรงเรียนของเราก็รู้สึกว่าบรรยากาศ ไม่แตกต่างจากโรงเรียนที่พี่ๆ เขาเคยเรียนเท่าใดนัก แต่ก็รู้สึกตื่นตาตื่นใจไปกับพระพุทธรูปที่ งดงามและภาพวาดบนผนังในห้องโถงของเรา วันรุ่งขึ้น พี่กล้าได้พาพี่สเตฟานและพี่ โรบินเยี่ยมชมอาคาร และห้องเรียนต่างๆ พร้อม ทั้งอธิบายกิจกรรมในห้องเรียนตามแนวทางการศึกษาแบบวอลดอล์ฟให้ฟัง พี่ๆ ได้เข้าไปสังเกต การสอนและร่วมกิจกรรมในบางวิชา เช่น ได้ดูครูแมวสอนยูร ิธมี ได้ช่วยครูหวีดและครูซันในชั่วโมง ภาษาอังกฤษ และที่พี่ๆ สนใจเป็นพิเศษ คือได้หัดเขียนพู่กันจีนกับครูหลอจิ้งด้วย นอกจากนี้ พี่ๆ ยังได้ช่วยงานนอกห้องเรียนอีกหลายอย่าง เช่น ได้ช่วยทำความสะอาดสถานีร ี ไซเคิล ช่วยขุดดินใน แปลงเกษตร ช่วยสอนภาษาเยอรมันให้ครูนงค์ และได้ถักตาข่ายให้เครื่องเล่นในสนามอนุบาลและ ประถมด้วย ซึ่งพี่ๆ บอกว่าการถักตาข่ายนี้น่าสนใจมาก เพราะเป็นงานที่ ไม่เคยทำมาก่อน ต้องใช้ เวลาและความพยายามในการศึกษาพอสมควรจึงทำสำเร็จได้ ในที่สุด นอกจากทำงานแล้ว พี่ทั้งสองก็ ได้ท่องเที่ยวด้วย คณะครูบางคนได้พาพี่ๆไปชมวัด ชมวัง และไปเที่ยวฟาร์มจระเข้ที่ ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งน่าสนใจและน่าตื่นเต้นมาก เย็นวันหนึ่ง พี่ๆ ยังได้ร่ วมทานอาหารกับคุณป้าอุษาและพี่ๆ มัธยม ๑ บางคน พี่ๆ มัธยม ๑ โชว์ฝีมือทำอาหารและมีการ แสดงดนตรีเล็กๆ น้อยๆ พี่สเตฟานและพี่ โรบินบอกว่าเย็นวันนั้นยังได้หัดร้องเพลงไทยและหัด รำวงกับเด็กๆ ด้วย พี่ทั้งสองบอกว่าในช่วงระยะ ๒ สัปดาห์นี้ที่อยู่กับเรา ทุกอย่างล้วนน่าสนใจไปหมด พี่ๆ ได้เรียนรู้มากมายในเรื่องงาน เรื่องวัฒนธรรมไทย และเรื่องโรงเรียนวอลดอร์ฟ พี่ๆ ฝากขอบคุณพวกเราทุกคนด้วยค่ะ แปลและสรุปความโดย ครูสมพร แซ่เฮ้ง ๒๕๕๒ กรกฎาคม ส า ร แ ส น ส นุ ก

๒๕


กิจกรรมแสนสนุก

เย..อี่..เย..อี่..เย..อี๋...เย เย..อี่..เย..อี่..เย..อี๋...เย เย้..เย้..เย้.. ครูแดงมาแหล่ว ครูแดงมาแล้ว.... แหม...หนอนอ้วนดี ใจจริงๆ เลยที่ครูแดงกลับมาซักที หลังจากที่ลาไปคลอดลูกชายตัวน้อย อันมีชื่อว่า “น้องเชน” นานตั้ง ๖ เดือน พอกลับมาก็เข้าห้องจันทร์ฉายทำหน้าที่คุณครูทันที (ละหน้าที่คุณแม่ไว้ข้างหลัง ก่อน) แต่แค่วันแรกก็ ได้ยินเสียงแว่วมาว่า ครูแดงเจออิทธิฤทธิ์ของเด็กหน้าใหม่ ทั้งหลายที่ยังไม่คุ้นเคยกับครูแดงซะเกือบน่วม แต่ครูแดงก็บ่ยั่น บอกว่า...แค่นี้เด็กๆ ... ครูแดงยังมียุทธวิธีอีกเพียบ .... เอ้า!..หนอนอ้วนก็ขอเป็นกำลังใจให้ครูแดงสู้สู้นะจ๊ะ ช่วงระหว่างวันที่ ๑๔-๒๔ ก.ค. ที่ผ่านมาคุณครูจูน ครูแมว ครูวรรณ ครูน้ำค้าง ครูเอ๊ะ ครูอร ครูเอื้อง พี่ต่อ พี่ยู่ยี่ ม.๑ และ พี่เฉยเฉย ป.๒ เขาเอาเวลาว่างช่วงเย็นวันจันทร์ พุธ และศุกร์ ไปเรียนรำไทยในโครงการฝึก อบรมศิลปะทางด้านนาฏศิลป์ไทย การรำวง มาตรฐาน ๑๐ เพลง รุ่นที่ ๑๓ ที่สถาบันศิลป วัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัย รามคำแหงจัดขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ที่มาเข้า Study group กับกลุ่มพ่อแม่อยากรู้เมื่อวัน เสาร์ที่ ๒๕ ก.ค.ที่ผ่านมาก็ ได้ชมฝีไม้ลายมือ กันไปแล้ว โดยคุณครูได้เอาท่ารำจากเพลงงาม แสงเดือนและเพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้ามาแสดง ให้ดูและชักชวนคุณพ่อคุณแม่ออกมาร่ายรำ พร้อมกันด้วย ได้ยินว่าสนุกสนานกันใหญ่ และเสียงหัวเราะของครูแมวดังที่สุดเหมือน เคยจ้า

๒๖ ส า ร แ ส น ส นุ ก กรกฎาคม ๒๕๕๒

และนอกจากกลุ่มพ่อแม่อยากรู้ เขาจะ Study หนังสือกันเหมือนเช่นทุกๆ ครั้งแล้ว ครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งอื่นๆ เพราะ เราได้ครูปีเตอร์มาช่วยบรรยายเรื่องอาหาร สำหรับเด็กๆ มีคุณแม่คุณพ่อมาร่วมฟัง อย่างอุ่นหนาฝาคั่ง เนื้อหายากเหมือนกัน ตอนต้นๆ คิดว่าจะต้องกลับไปเรียนวิชาชีววิทยาเสียแล้ว ใจความพอจะจับได้ว่า เซล ร่างกายของคนเราสามารถสร้างโปรตีนได้ เองตามธรรมชาติ ถ้าเรากินเนื้อสัตว์มาก เกินไปจะทำให้เซลของเราขี้เกียจ (เป็นงั้นไป.. แต่ดีนะที่หนอนอ้วนชอบกินผัก..เลยขยัน.. อิ..อิ) โดยเฉพาะสัตว์สี่เท้าไม่กินได้ก็จะดี ครูปีเตอร์บอกว่า ถ้าอยากจะงดเนื้อสัตว์ ต้องค่อยๆ ลด เพราะร่างกายเราเคยชินกับ การกินเนื้อสัตว์ เซลมันขี้เกียจไปเสียแล้ว ถ้างดทันทีจะทำให้อ่อนเพลียได้ ..... ก็เอามาเล่าสู่กันฟังโดยย่อๆ...เพราะถ้าเล่า ละเอียดสารแสนสนุกทั้งฉบับก็คงไม่พอแน่ๆ เลยจ้า........


หลังจากที่ทำพิธี โปรยหว่านเมล็ดข้าวน้อยลงผืนนากันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ ได้เวลาดำนาอันแสนสนุก โดยเมื่อวันที่ ๒๓ ก.ค.คุณครูอนุบาลก็พาพี่ๆ อนุบาล ๓ และ ๒ ลงนาปลูกข้าว แต่กลุ่มที่สนุกสนานสุดๆ ดูเหมือนว่าจะเป็นอนุบาล ๒ เพราะ ทั้งเล่นน้ำ ทั้งปลูกข้าวกันชนิดต้องเรียกถึงจะยอมขึ้นจากน้ำกันเลยทีเดียว พอน้องอนุบาล ปลูกเสร็จ วันรุ่งขึ้นพี่ ป.๓ ก็ถึงคราวลงดำนาบ้าง ทั้งเหนื่อย ทั้งสนุก และหมดแรงไป ตามๆ กันเลยจ้า แต่คนที่หมดแรงชนิดปิดไม่มิดเห็นจะเป็นครูตู่ ที่พอพาพี่ ป.๓ ขึ้นจาก นาได้ ก็เดินตรงรี่มาที่ครัวและถามพี่นวลว่า “มีอะไรกินบ้าง” อันเนื่องมาจากพลังงาน หมดเกลี้ยงเลยจ้า

อะ..อะ..เขียนถึงคนอื่นมาก็มาก ฉบับนี้หนอนอ้วนขอเอ่ยถึง พี่นวลกับพี่สุสองแม่ครัวหัวป่าของเราบ้างที่เขาพากันไปสอบหลักสูตร การสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๔ ก.ค.ที่ผ่านมา แล้วก็สอบผ่านฉลุยทั้งคู่ซะด้วย อ่ะ...หนอนอ้วนก็ขอปรบมือดี ใจด้วยนะ จ๊ะที่พี่นวลกับพี่สุมีบัตรรับประกันฝีมือกับเขาซะที

ช่วงนี้อากาศไม่ค่อยจะดี มีทั้งเด็กและครู ป่วยตามกันไปหลายคน ก็ขอให้เราชาวชุมชน แสนสนุกระวังรักษาสุขภาพร่างกายให้ แข็งแรงกันอยู่เสมอนะจ๊ะ หนอนอ้วนเป็นห่วงจ้า ส่วนตัวหนอนอ้วนเอง ก็จะไปหาใบไม้ที่วิตามินซีเยอะๆ กิน เพิ่มภูมิต้านทานก่อนนะจ๊ะ บ้าย...บาย...

๒๗

๒๕๕๒ กรกฎาคม ส า ร แ ส น ส นุ ก 27


ชีวิตคือ....ความอ่อนความแข็ง ถ้าความอ่อนและความแข็งอยู่ ในที่ที่ลงตัว มันจะส่งเสริมให้เกิดความงดงามได้ เราเปลี่ยนคนแข็งให้อ่อนไม่ได้ เราเปลี่ยนคนอ่อนให้แข็งไม่ได้ แต่ถ้าความอ่อนความแข็งอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความเคารพ หรือส่งเสริมกัน สิ่งแวดล้อมตรงนั้นก็ยังงดงามได้ โปรดอยู่กับความอ่อนอย่างเข้าใจธรรมชาติของความอ่อน และอยู่กับความแข็งอย่างเข้าใจธรรมชาติของความแข็ง แต่ถ้าทั้งสองสิ่งอยู่อย่างลงตัวได้...ความงดงามจักเกิด ในความอ่อนมีความแข็ง ในความแข็งก็มีความอ่อน คือธรรมชาติที่พึ่งกันได้ (จากสมุดบันทึก..ชีวิตคือ...) จาก แม่เปˆาะ

๒๒๖ ถนนประดิษฐมนูธรรม แขวง/เขตวังทองหลาง กทม.๑๐๓๑๐ โทรศัพท ๐-๒๕๕๙-๓๔๔๖, ๐-๒๕๓๐-๗๗๙๐-๑ e-mail: tridhaksaschool@yahoo.com, http://www.tridhaksa.ac.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.