เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
การท่องเที่ยวแบบครบวงจร
:
3 Inch
2
ข้อแนะนำ�ในการอ่าน
คู่
มื อ หลั ก สู ต รฝึ ก อบรมนั ก พั ฒ นาแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วแบบครบวงจรเพื่ อ คนทั้ ง มวล (Tourism for All) เล่มนี้ เกิดจากความตั้งใจของคณะผู้จัดท�ำ ซึ่งประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาอาชีพ ทั้งนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว นักวิชาการ ผู้ประกอบ การธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม รวมถึงตัวแทนด้านการท่องเที่ยวเพื่อคนพิการ มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมและน�ำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบครบ วงจรเพือ่ คนทัง้ มวล ให้แก่นักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้ที่มีโอกาสน�ำองค์ความรู้ชุดนี้ไป ปรับใช้ในกระบวนการฝึกอบรมแก่ผู้สนใจ เพราะนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเป็นคนส�ำคัญ ที่จะช่วยเปลี่ยนมุมมองการท่องเที่ยวแบบ ดั้งเดิม มาสู่การท่องเที่ยวแบบใหม่ที่ให้ความส�ำคัญกับศักยภาพของมนุษย์อย่างเท่าเทียม รวม ทั้งส่งเสริม ให้ความรู้ แนะน�ำเทคนิคการบริการ ประสานงาน ตลอดจนวางแผนร่วมกันกับผู้ที่ เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืน
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
3
ในคู่มือเล่มนี้ แบ่งองค์ประกอบสำ�คัญ ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
1
ความรู้พื้นฐาน
เกี่ยวกับการท่องเที่ยว แบบครบวงจร เพื่อคนทั้งมวล
2
หลักการพัฒนา
ที่นำ�ไปสู่สถานที่ท่องเที่ยว ที่สามารถเข้าถึงได้ (Accessible Destination)
3
กรณีศึกษา ในประเทศไทยและ ต่างประเทศ
4
แนวทางปฏิบัติที่ควรรู้ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว แบบครบวงจร เพื่อคนทั้งมวล
เมื่ออ่านจบแล้ว คณะผู้จัดท�ำอยาก ให้นักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ช่วยกัน สร้ า งสรรค์ โ ครงการที่ ท� ำ ให้ แ หล่ ง ท่องเที่ยวไทยมีคุณภาพ มีมาตรฐาน สามารถรองรับการท่องเที่ยวแบบครบ วงจรเพื่อคนทั้งมวลได้อย่างลึกซึ้ง และ มีประสิทธิภาพ เพื่อน�ำการท่องเที่ยว ไทยไปสูค่ วามยัง่ ยืน มัน่ คง และเท่าเทียม คณะผู้จัดท�ำ
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
4
สารบัญ 02
.
ข้อแนะนำ�ในการอ่าน
08
26
1.
2.
• การท่องเที่ยวแบบครบวงจร
• การพัฒนาการฝึกอบรมพนักงาน (Staff Training) • การพัฒนาการจัดการ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การท่องเที่ยวแบบครบวงจร เพื่อคนทั้งมวล เพื่อคนทั้งมวล (Tourism for All): นิยามและค�ำจ�ำกัดความ ความแตกต่างระหว่าง Tourism for All / Accessible Tourism และ Inclusive Tourism การวางแผนการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ (Accessible Tourism Destination) แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อการเข้าถึงส�ำหรับคนทั้งมวล (Accessibility) กลุ่มเป้าหมายของค�ำว่า Accessible for All ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการท่องเที่ยว แบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล (Tourism for All) ที่ต้องคิดใหม่
• •
หลักการพัฒนา ที่นำ�ไปสู่สถานที่ ท่องเที่ยวที่สามารถเข้าถึงได้ (Accessible Destination)
เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบ เข้าถึงได้ (Accessible Tourism) การพัฒนาการตลาดและ การสื่อสาร (Marketing and Communication) ที่มีประสิทธิภาพ ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
•
• • •
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
5
56
70
• ความในใจจาก “คนตาบอด” ที่นักพัฒนาควรรู้
เขียนโดย คุณพีรพงศ์ จารุสาร วิทยากรจาก
สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เทคนิคการให้บริการและการอ�ำนวย ความสะดวกให้แก่ผู้บกพร่องทาง การมองเห็น
•
3.
การท่องเที่ยวแบบครบวงจร เพื่อคนทั้งมวล กรณีศึกษาในประเทศไทย และต่างประเทศ
4.
แนวทางปฏิบัติ ที่ควรรู้เกี่ยวกับ การท่องเที่ยวแบบครบวงจร เพื่อคนทั้งมวล
เขียนโดย ทีมวิทยากรกระบวนการ บริษัท นัตตี้ส์ แอดเว็นเจอร์ส์ จ�ำกัด
• เทคนิคการให้บริการและอ�ำนวย
ความสะดวกแก่ผู้บกพร่องทางการได้ยิน เขียนโดย ทีมวิทยากรกระบวนการ ดร.เนตรา เทวบัญชาชัย
ผู้จัดการโรงแรมศาลายา พาวิลเลียน และอาจารย์ วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล ข้อควรระวังในการให้บริการอาหาร สิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับกลุ่มมนุษย์ล้อ การบริโภค และการแพ้อาหาร เขียนโดย ดร. ธรรมนูญ จรัสเลิศรังษี (Wheelchair Users) เรียบเรียงเนื้อหาจาก UNWTO
• • กรณีศึกษาในต่างประเทศ • กรณีศึกษาในประเทศไทย • การท่องเที่ยวแบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล โดย ดร. เมธาวี ว่องกิจ กับแนวทางการพัฒนาในประเทศไทย
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
•
6
ตัวอย่างกำ�หนดการ 3 Inch
หลักสูตร “เจาะลึกการท่องเที่ยวแบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล (Tourism for all) สำ�หรับนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว” (Train the trainer)
1
วั น ที่
8.30 - 9.00 น. 9.00 - 10.30 น. ( 1.30 ชั่วโมง )
ลงทะเบียน หัวข้อ “Tourism for all : เข้าใจ เข้าถึง การท่องเที่ยวแบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล” โดย ผศ. ดร. วลัญชลี วัฒนาเจริญศิลป์ วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล
10.45 – 12.15 น. ( 1.30 ชั่วโมง )
หัวข้อ การสื่อสารและการท�ำการตลาดกับคนทั้งมวล (Marketing and Communication) โดย ดร. แก้วตา ม่วงเกษม วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล
12.15 - 13.00 น.
รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.00 น. ( 2 ชั่วโมง )
หัวข้อ ข้อควรระวังในการให้บริการอาหาร การบริโภค และการแพ้อาหาร (Food poisoning and food allergy) โดย ดร. ธรรมนูญ จรัสเลิศรังษี วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล
15.15 - 17.15 น. ( 2 ชั่วโมง )
“เทคนิคการให้บริการและอ�ำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าผู้พิการทางการได้ยิน ในงานโรงแรม” โดย ดร.เนตรา เทวบัญชาชัย ศูนย์ปฏิบัติการ โรงแรมศาลายา พาวิลเลียน และอาจารย์ วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
7
วั น ที่
2 8.30 - 9.00 น. 9.00 - 10.00 น. ( 1 ชั่วโมง )
ลงทะเบียน ความในใจจาก “คนตาบอด” ที่นักพัฒนาควรรู้ โดย วิทยากรจากสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
10.15 – 12.15 น. ( 2 ชั่วโมง )
“เทคนิคการให้บริการและการอ�ำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวผู้บกพร่อง ทางการมองเห็น” โดยคุณนิธิ สืบพงษ์สังข์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการการท่องเที่ยว เพื่อผู้พิการ บริษัท นัตตี้ แอดเวนเจอร์สฺ จ�ำกัด
12.15 - 13.00 น.
รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.00 น. ( 2 ชั่วโมง )
หัวข้อ “Accessible tourism: Universal Design Checklist” กับมนุษย์ล้อ โดย อ.ตั๋น - สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์/ เลขาธิการการมูลนิธิพระมหาไถ่ เพื่อการพัฒนาคนพิการ / คุณสว่าง ศรีสม ผู้จัดการโครงการพัฒนา และขับเคลื่อนระบบขนส่งสาธารณะเพื่อคนทั้งมวล / คุณนิธิ สืบพงษ์สังข์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการการท่องเที่ยวเพื่อผู้พิการ บริษัท นัตตี้ แอดเวนเจอร์สฺ จ�ำกัด
15.00 - 16.30 น. ( 1.30 ชั่วโมง )
สรุปการประเมินผล รับฟังความคิดเห็นในการพัฒนาหลักสูตร มอบประกาศนียบัตร โดยวิทยากรกระบวนการ วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
8
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
9
1
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การท่องเที่ยวแบบครบวงจร เพื่อคนทั้งมวล
การท่องเที่ยวแบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล (Tourism for All) : นิยามและคำ�จำ�กัดความ ตามรายงานของ World Health Organization หรือ WHO ระบุว่า ปั จ จุ บั น ประชากรโลกประมาณ ร้อยละ 15 หรือมากกว่า 1,000 ล้าน คนเป็นบุคคลทีต่ อ้ งการความช่วยเหลือ เป็ น พิ เ ศษ ไม่ ว ่ า ทางใดทางหนึ่ ง ทั้งคนพิการ ผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก ในอุ ต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย ว คนกลุ่มนี้มีสัดส่วนการตลาดค่อนข้าง ใหญ่และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลขององค์การการท่องเทีย่ ว โลกแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nation World Tourism Organization (UNWTO) ระบุว่า การพัฒนาแหล่ง ท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ รองรั บ กลุ ่ ม นี้ จ ะสร้ า ง ประโยชน์ ม าก เพราะเป็ น กลุ ่ ม ที่ มี ก�ำลังซื้อสูง และมักจ่ายเงินมากกว่า นักท่องเทีย่ วทัว่ ไป ปัจจัยส�ำคัญมาจาก นั ก ท่ อ งเที่ ย วกลุ ่ ม นี้ มั ก จะเดิ น ทาง พร้อมผูด้ แู ล โดยเฉลีย่ รวม 1.5 คนต่อ การเดินทาง 1 ครัง้ และในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ได้ ก� ำ หนดให้ การพัฒนาการท่องเทีย่ วแบบครบวงจร
เพื่อคนทั้งมวลเป็นเครื่องมือกระจาย รายได้ไปสู่เมืองรอง ท�ำให้นักท่องเที่ยว มี ค วามพึ ง พอใจมากขึ้ น ถื อ เป็ น การขยายศั ก ยภาพของเมื อ งและ ชุ ม ชนในการรองรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วได้ หลากหลายมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันยังเป็นการยกระดับ ภาพลั ก ษณ์ ก ารท่ อ งเที่ ย วไทยไปสู ่ การเป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วระดั บ โลก นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับเป้าหมาย
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) ของ องค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะข้อ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโต ทางเศรษฐกิจ (Decent work and economic growth), ข้อ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพืน้ ฐาน (Industry innovation infrastructure) และ ข้อ 10 ลดความเหลื่อมล�้ำ (Reduced inequalities)
10
ส�ำหรับประเทศไทยนั้น แม้แนวคิด เรื่องนี้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การด�ำเนิน งานที่ ผ ่ า นมากลั บ ไม่ เ ป็ น ไปตาม มาตรฐานสากล เห็นได้จากภาพข่าว ตามสื่อต่างๆ ที่สิ่งอ�ำนวยความสะดวก ส�ำหรับผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็น พิเศษนั้นมักใช้งานไม่ได้จริง เช่น ทาง ลาดส�ำหรับรถเข็นทีล่ าดชันเกินไป หรือ ห้ อ งน�้ ำ ส� ำ หรั บ ผู ้ ต ้ อ งการความช่ ว ย เหลือพิเศษที่มีอุปกรณ์ไม่ครบ อันเกิด จากความเข้าใจเรือ่ งการท่องเทีย่ วแบบ ครบวงจรเพื่อคนทั้งมวลที่ไม่ดีพอ จากการประเมิ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว ของ องค์ ก ารพั ฒ นาพื้ น ที่ พิ เ ศษเพื่ อ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ตาม เกณฑ์ ก ารท่ อ งเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื น โลก (Global Sustainable Tourism Criteria หรือ GSTC) พบว่าในข้อ A8
ซึ่งว่าด้วยเรื่อง Access for All ยังมี ข้อบกพร่อง และต้องการการพัฒนา เนื่องจากยังขาดการวางแผนระยะยาว และครบวงจร ตัวอย่างเช่น โรงแรมมีส่ิงอ�ำนวย ความสะดวกส�ำหรับผู้ต้องการความ ช่วยเหลือเป็นพิเศษ แต่เมื่อคนกลุ่มนี้ จะมาพั ก กลั บ ไม่ มี ร ถสาธารณะจาก สนามบินหรือสถานีขนส่งทีร่ องรับ หรือ ในแหล่งท่องเที่ยวมีกิจกรรมที่น่าสนใจ แต่คนกลุ่มนี้กลับไม่สามารถเข้าร่วมได้ เพื่ อ ให้ ทุ ก ฝ่ า ยเข้ า ใจแนวคิ ด และ สามารถจัดการท่องเทีย่ วแบบครบวงจร เพื่อคนทั้งมวล (Tourism for All) ไป ในทิศทางเดียวกัน ศูนย์แห่งความเป็น เลิ ศ ด้ า นการท่ อ งเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื น (ศทย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของ อพท. มีบทบาทพัฒนาหลักสูตรด้าน
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
การท่ อ งเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื น จึ ง เตรี ย ม หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ ของผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวแบบ ครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล โดยอ้างอิง กระบวนการพัฒนาตามขั้นตอนที่เป็น หลักวิชาการ รวมถึงทบทวนวรรณกรรม ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เพื่ อ น� ำ ไปสู ่ ก ารพั ฒ นา บุคลากรต้นแบบที่มีความรู้ความเข้าใจ ก่อนขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ใน อนาคต ขณะเดียวกัน อพท. ยังร่วมกับ สาขา วิ ช าการจั ด การการท่ อ งเที่ ย วและ การบริ ก าร วิ ท ยาลั ย นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาหลักสูตร ฝึ ก อบรมนั ก พั ฒ นาแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว แบบครบวงจรเพือ่ คนทัง้ มวล (Tourism for All) โดยน�ำแนวทางการศึกษาทั้ง ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จากกรณี ศึกษาของประเทศไทยและต่างประเทศ ที่มีการพัฒนาด้านนี้มานานกว่า 20 ปี รวมถึงประสบการณ์ตรงของทีมวิทยากร มาสรุ ป เป็ น แนวทางที่ ส ามารถน� ำ ไป ประยุกต์ใช้ได้จริงและประสบความส�ำเร็จ ทั้ ง หมดนี้ ถื อ เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของ การให้ค วามส�ำคัญกับการท่อ งเที่ยว แบบครบวงจรเพื่ อ คนทั้ ง มวลและ การเข้าถึงอย่างเท่าเทียม เพราะการท่ อ งเที่ ย วเป็ น สิ ท ธิ ของมนุษย์ทุกคน ดังนั้น ภาครัฐและ ภาคเอกชนจึ ง ต้ อ งร่ ว มกั น ท� ำ ให้ การท่องเที่ยวเหมาะสมกับคนทุกวัย ทุกกลุ่ม ซึ่งต้องอาศัยการวางแผนและ การปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม
11
Direction of Tourism for all / Accessible tourism / Inclusive tourism Accessibility Attraction
Accessibility
Accessibility Destination
Tourism for all Equitable Participation
Sustainability
Accessible Tourism
Accessibility Accommodation
Accessibility Transportation
Accessibility Travel Agency
ภาพที่ 1 การท่องเที่ยวแบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล คืออะไร
1.1
การท่องเทีย่ วแบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล (Tourism for All): นิยามและคำ�จำ�กัดความ 1.1.1 การท่องเทีย่ วแบบครบวงจร เพื่อคนทั้งมวล คืออะไร การท่องเทีย่ วแบบครบวงจรเพือ่ คน ทั้งมวล (Tourism for All) เป็นแนวคิด ระดับสากล ซึ่งไม่สามารถให้ค�ำจ�ำกัด ความที่ แ น่ น อนได้ แต่ ก ล่ า วได้ ว ่ า ลักษณะเด่นของการท่องเทีย่ วแนวคิดนี้ คือมุ่งเน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว และ/หรื อ นั ก เดิ น ทาง “ทุกคน” (Bélanger & Jolin, 2011; ENAT, 2018a; UNWTO, 2013, 2016) Tourism for All ให้ความส�ำคัญว่า “ทุกคน” ต้องเข้าถึงสินค้าและบริการ ได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกจ�ำกัด ด้วยเพศ อายุ สภาพร่างกาย หรือความ สามารถทางภาษา การท่องเที่ยวแนวคิดนี้ ประกอบไป ด้ ว ย 3 หลั ก การใหญ่ ๆ คื อ ความ สามารถในการเข้าถึง (Accessibility) การมีสว่ นร่วมทีเ่ ท่าเทียมกัน (Equitable
Participation) และการบริหารจัดการ เพื่ อ ความยั่ ง ยื น (Sustainability) (UNWTO, 2016) (ภาพที่ 1) 1.1.2 การท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ (Accessible Tourism) ค ว า ม ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร เข ้ า ถึ ง (Accessibility) คือ การท�ำให้ “ทุกคน” เข้าถึงสินค้าและบริการของการท่องเทีย่ ว ได้โดยไม่ถูกจ�ำกัดในหลายๆ ประเทศ ใช้ค�ำว่า การท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ (Accessible Tourism หรือ Access Tourism) บางประเทศอาจเรียกว่า Inclusive Tourism หรือ Barrier-free Tourism (Eichhorn & Buhalis, 2011; ENAT, 2018a; Münch & Ulrich, 2011; UNWTO, 2013, 2016) Accessible Tourism ให้ความ ส�ำคัญกับกลุม่ บุคคลทีไ่ ม่สามารถเข้าถึง สิ น ค้ า และบริ ก ารได้ อ ย่ า งเท่ า เที ย ม
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
(People with Disabilities) (Allan, 2015; Brown, 1999; Loi & Kong, 2017) Bro) ในอดี ต ค� ำ ว่ า Disability มั ก ใช้ อธิบายคุณลักษณะของบุคคลทีส่ ญ ู เสีย สมรรถภาพทางร่างกาย หรือจิตใจ เช่น ทางการมองเห็น ทางการเคลื่อนไหว ทางการได้ยิน ทางจิตเวช แต่ปจั จุบนั People with Disabilities ตามบริ บ ทของการท่ อ งเที่ ย วแบบ ครบวงจรเพื่อคนทั้งมวลยังครอบคลุม ไปถึงบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ เป็นพิเศษ อาทิ สตรีมีครรภ์, ผู้สูงอายุ, ผู ้ เ ดิ น ทางพร้ อ มเด็ ก เล็ ก , ผู ้ เ ดิ น ทาง ที่ มี ก ระเป๋ า เดิ น ทางใบใหญ่ , บุ ค คล ที่ มี อ าการบาดเจ็ บ แบบชั่ ว คราว, นั ก ท่ อ งเที่ ย ววั ย ท� ำ งานสายตาสั้ น , นักท่องเที่ยวนั่งรถเข็น, นักท่องเที่ยว ต่ า งชาติ ใ นเมื อ งไทย, นั ก เดิ น ทาง ชาวไทยในต่างประเทศ, นักเดินทาง
12
ที่ ข าแพลง หรื อ แม้ แ ต่ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว ที่ไม่ชอบทางเดินที่ลาดชันมาก เพื่อให้ เข้าถึงสินค้าและบริการของการท่อง เที่ยวได้สะดวกขึ้น (UNWTO, 2013, 2016) เพราะฉะนัน้ ค�ำว่า ภาวะความพิการ (Disability) จึงไม่ได้หมายความถึง ความผิดปกติ หรือความบกพร่องของ ตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็น การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กั บ ข้ อ จ� ำ กั ด ในการเข้ า ถึ ง สิ น ค้ า และ บริการในการท่องเที่ยวอีกด้วย 1.1.3 การมีสว่ นร่วมอย่างเท่าเทียม (Equitable Participation) ความเท่าเทียม (Equitable) คือ หลักการส�ำคัญของการท่องเที่ยวแบบ ยั่งยืน ในต่างประเทศให้ความส�ำคัญกับ เรื่ อ งนี้ ม ากและถื อ เป็ น หลั ก พื้ น ฐาน ของชีวติ ประจ�ำวัน อย่างในโรงเรียนเด็ก สามารถแสดงความคิ ด เห็ น อย่ า ง เท่าเทียม โดยไม่ถูกข้อจ�ำกัดด้วยอายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา หรือความพิการ ที่ ส� ำ คั ญ ประเด็ น นี้ ยั ง เกี่ ย วพั น กั บ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ องค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals - SDGs) ไม่วา่ จะเป็ น ข้ อ 10 ลดความเหลื่ อ มล�้ ำ (Reduced inequalities) หรือ ข้อ 16 สั ง คมสงบสุ ข ยุ ติ ธ รรม ไม่ แ บ่ ง แยก
(Peace, Justice, and Strong Institutions) เพราะฉะนั้ น การท่ อ งเที่ ย วอย่ า ง ยั่ ง ยื น จึ ง ต้ อ งยึ ด หลั ก ความเข้ า ใจถึ ง เงื่อนไขและขีดจ�ำกัดของผู้ใช้บริการ ในสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะผู้ให้บริการ และผู ้ ป ระกอบการต้ อ งพร้ อ มปรั บ ทัศนคติของตัวเอง เรียนรู้และเข้าใจ ศักยภาพของผู้อื่น ไม่ด่วนตัดสินจาก ภายนอก จึ ง จะช่ ว ยให้ ก ารวางแผน การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เพื่อคนทั้งมวล เป็น ไปอย่างมีประสิท ธิภ าพและเกิด ความเท่าเทียมอย่างแท้จริง 1.1.4 ความยัง่ ยืน (Sustainability) ความยั่งยืน (Sustainability) เป็น อี ก หนึ่ ง แนวความคิ ด ที่ อ ยู ่ ภ ายใต้ การท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ คนทั้ ง มวล โดยมี เนื้ อ หาเกี่ ย วข้ อ งกั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม ทั้ ง การอนุรกั ษ์ทรัพยากร และการน�ำมาใช้ อย่างคุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อ การด�ำรงชีวิตชีวิตอย่างเหมาะสมใน ระยะยาว (Morrison, 2013; UNWTO, 2013, 2016; Weaver, 2006) การเข้ า ใจและเคารพในแนวคิ ด ความยั่งยืน จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต ก่ อ ให้ เ กิ ด การจ้ า งงาน การปกป้ อ ง สิ่งแวดล้อม และการรักษามรดกทาง วัฒนธรรม ดังนั้นหน่วยงานในระดับ ท้ อ งถิ่ น และภู มิ ภ าค (Destination Management Organization
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
[DMOs]) จึ ง ต้ อ งน� ำ มาพิ จ ารณา ประกอบการวางแผนการส่งเสริมแหล่ง ท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ (Accessible Tourism Destination) หั ว ใจหลั ก ของความยั่ ง ยื น ต้ อ ง เริ่ ม จากการจั ด การทรั พ ยากรที่ มี อ ยู ่ ทัง้ ธรรมชาติ วัฒนธรรม และภูมปิ ญ ั ญา ท้องถิ่น อย่างมีประสิทธิภาพ เรียนรู้ว่า ต้ น ทุ น หรื อ คุ ณ ค่ า ของทรั พ ยากรคื อ อะไร เพื่อจะได้คงเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้ มากทีส่ ดุ โดยอาจใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาช่วย ตลอดจนยกระดับมาตรฐาน การบริการ เพื่อให้นักท่องเที่ยวรู้สึก ประทับใจ อยากใช้เวลาท่องเที่ยวใน สถานที่ นั้ น นานขึ้ น หรื อ กลั บ ไปเที่ ย ว ซ�้ำอีก ขณะเดี ย วกั น ภาคส่ ว นต่ า งๆ ทั้ ง ภาครัฐและเอกชนยังควรร่วมมือ กัน จัดท�ำแผนพัฒนาการท่องเที่ยว เช่น ดึ ง ความโดดเด่ น ของทรั พ ยากรใน ท้ อ งถิ่ น แล้ ว น� ำ ไปประชาสั ม พั น ธ์ หรื อ หาวิ ธี ส ่ ง เสริ ม การขาย เพื่ อ ให้ นักท่องเที่ยวอยากเดินทางมาเยี่ยมชม วิ ธี ก ารนี้ น อกจากจะท� ำ ให้ เ กิ ด ทิศทางการท�ำงานที่เป็นรูปธรรมแล้ว ยั ง ท� ำ ให้ เ กิ ด เครื อ ข่ า ยการท� ำ งานที่ เข้มแข็งและเป็นการยกระดับคุณภาพ การจั ด การการท่ อ งเที่ ย วในท้ อ งถิ่ น อีกทางหนึ่งด้วย (Business Matter, 2020; Morrison, 2013; Park et al.,2019; Weaver, 2006)
13
1.2
ความแตกต่างระหว่าง Tourism for All / Accessible Tourism และ Inclusive Tourism 1.2.1 Tourism for All ถึ ง Accessibility และ Accessible Tourism คืออะไร Tourism for All คือ การท่องเที่ยว แบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล หมายถึง การท่องเที่ยวที่รองรับ “ทุกคน” มี องค์ประกอบส�ำคัญ คือ ความสามารถ ในการเข้ า ถึ ง ของผู ้ ใช้ บ ริ ก ารทุ ก คน ความเท่าเทียม และความยั่งยืน ขณะที่ความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility) หมายถึ ง สภาพ แวดล้อมทีเ่ อือ้ อ�ำนวยให้ทกุ คนสามารถ เข้ า ถึ ง ได้ แม้ ว ่ า พวกเขาจะต้ อ งการ ความช่วยเหลือพิเศษในบางช่วงเวลา ของชีวิตก็ตาม จึงเป็นเรื่องที่จ�ำเป็น
อย่างยิง่ ทีป่ ระเทศต่างๆ จะต้องสนับสนุน ให้สินค้า บริการ และแหล่งท่องเที่ยว นัน้ สามารถเข้าถึงได้โดย “ทุกคน” ซึง่ น�ำ ไปสู่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ภายใต้ แนวคิด การท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ (Accessible Tourism) การท่ อ งเที่ ย วแบบเข้ า ถึ ง ได้ คื อ รูปแบบการท่องเที่ยวที่มีการร่วมมือ จากหลายๆ ฝ่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งหวังให้ “ทุกคน” สามารถเข้าถึง สินค้า และบริการได้อย่างเท่าเที่ยมกัน ในการส่ ง เสริ ม แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วแบบ เข้ า ถึ ง ได้ (Accessible Tourism Destination) นักพัฒนาจ�ำเป็นต้อง ใ ห ้ ข ้ อ มู ล ร า ย ล ะ เ อี ย ด เ กี่ ย ว กั บ
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
ความสามารถในการเข้าถึงที่ถูกต้อง แม่นย�ำ ผ่านทางรูปแบบของเอกสารที่ สามารถเข้าถึงได้ และควรแนะน�ำให้ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วนั้ น ๆ วางแผนและ จั ด การเรื่ อ งการจองทั ว ร์ ห้ อ งพั ก ระบบการขนส่ง ระบบการป้องกันและ รักษาความปลอดภัย รวมถึงสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกในบริ เวณโดยรอบ ให้ สอดคล้องกับแนวคิดนี้ อีกหนึ่งเรื่องที่ส�ำคัญ คือ ควรจัด อบรมพนักงานทีต่ อ้ งให้บริการลูกค้า ให้ เข้าใจถึงความหมายของการท่องเที่ยว แบบครบวงจรเพือ่ คนทัง้ มวล และภาวะ ความพิการ รวมไปถึงความต้องการของ นักท่องเทีย่ ว “ทุกคน”
14
ตลอดจนปรับ สภาพแวดล้อม สินค้า และบริ ก ารของการท่ อ งเที่ ย ว ให้ นักท่องเที่ยว “ทุกคน” สามารถเข้าถึง ได้ โดยผสมผสานแนวความคิ ด ของ การออกแบบเพือ่ คนทัง้ มวล (Universal Design) เข้าไปด้วย เพราะ “ทุกคน” ต่างมีความต้องการ ในการที่ จ ะเข้ า ถึ ง สิ น ค้ า และบริ ก าร ของการท่องเทีย่ วทัง้ สิน้ โดยการปรับนี้ ต้ อ งเริ่ ม จากการท� ำ ความเข้ า ใจ ความต้องการทีแ่ ท้จริงของนักท่องเทีย่ ว หรือผู้บริโภคว่าเป็นอย่างไร ถ้ามีความ เข้าใจ โอกาสทีจ่ ะเพิม่ สัดส่วนการตลาด หรือสร้างความได้เปรียบทางการตลาด ก็จะมีสูงขึ้น
ด้วยเหตุนี้ องค์การการท่องเที่ยว โลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO) จึง จัดท�ำตัวชีว้ ดั เพือ่ ช่วยส่งเสริมแหล่งท่อง เที่ยวแบบเข้าถึงได้ ดังนี้ 1. จ�ำนวนเปอร์เซ็น ต์ของเว็บไซต์ ทางการของการท่ อ งเที่ ย วที่ มี ข ้ อ มู ล เกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึง 2. จ� ำ นวนของเว็ บ ไซต์ ที่ ใ ห้ ข ้ อ มู ล เกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึง 3. จ� ำ นวนเปอร์ เซ็ น ต์ ข องโรงแรม หรือบริษทั น�ำเทีย่ วทีม่ คี วามสามารถใน การเข้าถึงที่เหมาะสม และจ�ำนวนที่มี ใบประกาศนียบัตรรับรอง 4. จ�ำนวนของโรงแรมที่สามารถเข้า ถึงระบบขนส่งสาธารณะ
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
5. จ�ำนวนเปอร์เซ็นต์ของที่จอดรถ 6. อั ต ราส่ ว นของสถานี ร ถไฟใน ภูมิภาคนั้นที่มีบุคลากรที่ได้รับการฝึก อบรมในเรื่ อ งของการดู แ ลลู ก ค้ า ที่ มี ความต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ตั ว ชี้ วั ด เหล่ า นี้ จ ะช่ ว ยให้ นั ก พั ฒ นา สามารถจัดเตรียมและประเมินระดับ ความพร้ อ ม เพื่ อ จั ด การและพั ฒ นา สิ น ค้ า และบริ ก ารของการท่ อ งเที่ ย ว แบบเข้าถึงได้ ตลอดจนเป็นเครื่องมือ ในการก�ำหนดนโยบายและวางแผนที่ เหมาะสมส�ำหรับการด�ำเนินการ นอกจากนี้ UNWTO ยังน�ำเสนอ แผนการด�ำเนินงานที่ประยุกต์มาจาก NEWSCAT Project เพื่อเพิ่มโอกาสให้ ความสามารถในการเข้ า ถึ ง บรรลุ ผ ล มากขึ้น โดยแบ่งรายละเอียดออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบใน ระดับท้องถิ่นและภูมิภาค (Tourism Destination Management Organization : DMO) - จั ด ตั้ ง ที ม ด� ำ เ นิ น ง า น (Accessibility Management Team) และทีมงานเพื่อท�ำแผนการด�ำเนินงาน (Accessibility Action Plan) ที่รวมไป ถึงหน่วยงานหรือองค์กรทีเ่ กีย่ วข้องและ ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ - จั ด ตั้ ง ศู น ย์ ก ลางให้ ข ้ อ มู ล การท่องเทีย่ ว โดยแนะน�ำให้อยูใ่ จกลาง เมืองที่ “ทุกคน” สามารถเข้าถึงได้
15
เพื่อเป็นสถานที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความ สามารถในการเข้าถึง ทั้งการให้บริการ การขนส่ง และสิ่งอ�ำนวยความสะดวก 2. ฝึกอบรมบุคลากรทั้งด้านความรู้ และความสามารถในการวางแผนและ ด�ำเนินการ - จั ด ท� ำ คอร์ ส การฝึ ก อบรม ส�ำหรับผู้จัดการและบุคลากรทางการ ท่องเทีย่ ว เพือ่ ให้เข้าใจถึงความต้องการ ของ “ทุกคน” โดยเฉพาะการตระหนัก ถึงภาวะความพิการ 3. ส่งเสริมความสามารถในการเข้า ถึง ผ่านการสร้างสิง่ ใหม่ๆ และปรับปรุง ซ่อมแซม ฟื้นฟูสิ่งปลูกสร้างของระบบ การขนส่งให้มีสภาพดีขึ้น เพื่อให้มั่นใจ ว่า “ทุกคน” สามารถใช้บริการได้ - ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การจั ด ซื้ อ ยานพาหนะในระบบขนส่งที่ทุกคนเข้า ถึงได้ รวมถึงรถรับจ้างที่มีพื้นที่ส�ำหรับ รถวีลแชร์ - จัดท�ำฐานข้อมูล โดยรวบรวม ข้อมูลต่างๆ ไว้ทเี่ ดียว และควรมีเว็บไซต์
ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ที่เก็บข้อมูล เกี่ยวกับสัญลักษณ์หรือป้ายบอกต่างๆ ของการท่องเที่ยว - จัดท�ำเส้นทางหรือทางเดินเท้า ส�ำหรับการเข้าถึงที่ง่าย โดยพิจารณา จากหลักการ ขั้นตอนการด�ำเนินการ และข้อเสนอแนะทีไ่ ด้มาจากโครงการที่ จัดท�ำขึ้นโดยผู้ช�ำนาญการ - จัดท�ำค�ำแนะน�ำส�ำหรับการจับ จ่ายสินค้า โดยมีรายชือ่ ของร้านค้าและ ธุรกิจที่มีการรองรับการท่องเที่ยวแบบ เข้าถึงได้ 4. ร่ ว มมื อ กั บ หน่ ว ยงานรั ฐ และ เอกชนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด - ขอการสนับสนุนจากหน่วยงาน ภาครัฐหรือเอกชน เพือ่ น�ำเงินมาพัฒนา แหล่งท่องเทีย่ วแบบเข้าถึงได้ ทัง้ สิง่ ปลูก สร้าง การขนส่ง และสถานที่ท่องเที่ยว - ท�ำงานร่วมกับอาสาสมัครและ องค์กรสนับสนุน เพื่อหาอาสาสมัคร มาให้ความช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความ ช่วยเหลือพิเศษ
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
- เข ้ า ร ่ ว ม กั บ อ ง ค ์ ก ร ที่ ใ ห ้ การสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวแบบ ครบวงจรเพื่ อ คนทั้ ง มวล ตลอดจน เครือข่ายอื่นๆ ทั้งในระดับท้องถิ่นและ ภูมิภาค เพื่อจะได้เข้าถึงทรัพยากรและ เรียนรู้จากตัวอย่างที่ดี - ร่ ว มมื อ กั บ NGOs และผู ้ ที่ เกีย่ วข้อง เพือ่ พัฒนาและเผยแพร่ขอ้ มูล ทางออนไลน์ อาทิเช่น เส้นทางหรือทาง เดินเท้าส�ำหรับการเข้าถึงทีง่ า่ ย จุดทีน่ า่ สนใจ ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านค้า ระบบขนส่ง และส่วนงานอื่นๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อให้ “ทุกคน” สามารถเข้าถึงได้ 5. ส่งเสริมการรับรู้และสร้างความ ตระหนัก รวมถึงสนับสนุนธุรกิจ และ ผู้ที่เกี่ยวข้องที่ส่งเสริมความสามารถใน การเข้าถึง เช่น ร้านค้า ธุรกิจเล็กๆ เจ้ า ของโรงแรม ธุ ร กิ จ และสถานที่ ท่องเที่ยว หน่วยงานที่จัดงานเทศกาล และ NGOs
16
1.3
การวางแผนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ (Accessible Tourism Destination) ก า ร ว า ง แ ผ น ก า ร ด� ำ เ นิ น ง า น ควรเริ่มต้นจากการให้ความรู้กับกลุ่ม นักพัฒนาถึงกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยว กั บ การปกป้ อ งสิ ท ธิ ข องบุ ค คล และ ศึกษาจากงานวิจัยที่เคยจัดท�ำขึ้น อาทิ เช่ น รู ป แบบการมาเยี่ ย มเยื อ นของ นักท่องเที่ยว รายจ่ายที่เกิดขึ้น หรือ จ�ำนวนครั้งในการเยี่ยมชม เพราะงานวิจัยเหล่านี้สามารถบอก ถึ ง แนวโน้ ม ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น ในอนาคต และยั ง ช่ ว ยวางแผนทั้ ง ระยะสั้ น และ ระยะยาว ตลอดจนสร้างการรับรู้และ
ตระหนั ก ถึ ง เรื่ อ งความแตกต่ า งของ วัฒนธรรม การอบรมที่เหมาะสม และ การวางแผนกลยุ ท ธ์ ท างการตลาด เพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวแบบเข้าถึง ได้ (UNWTO, 2013, 2016) ทั้ ง นี้ ก ารจั ด การแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว ควรค� ำ นึ ง ถึ ง สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวก สิง่ ปลูกสร้าง ระบบการขนส่ง รวมไปถึง สภาพแวดล้อมทีเ่ หมาะสมกับพืน้ ทีน่ นั้ ๆ ที่ “ทุกคน” สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งบุคคล ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว นั้น ประกอบด้วย เจ้าของพื้นที่ รัฐบาล
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
กลุ ่ ม นั ก พั ฒ นา และนั ก ท่ อ งเที่ ย ว (Darcy & Dickson, 2009) ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น การส่งเสริม และพัฒนาแหล่งท่องเทีย่ วแบบเข้าถึงได้ (Accessible Tourism Destination) ควรเริ่ ม จากการจั ด ตั้ ง หน่ ว ยงานที่ รับผิดชอบในระดับท้องถิน่ และภูมภิ าค (Tourism Destination Management Organization [DMO]) ซึ่งมีหน้าที่ และองค์ประกอบตามภาพที่ 2 ดังนี้
17
องค์ประกอบของการท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยว + สิ่งอ�ำนวยความสะดวก + ความสามารถในการเข้าถึง + บุคลากร + ภาพลักษณ์ + ราคา
Destination Management Organisation (DMO) ผู้นำ�และประสานงาน
การตลาด
การนำ�เสนอ
ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เข้ามา
เกินความคาดหวังของนักท่องเที่ยว
สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ด้านนโยบาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ การเก็บภาษี
ภาพที่ 2 Management Organisation (DMO) ผู้น�ำและประสานงาน แหล่งที่มา : Morrison, 2013, p. 6
หน้ า ที่ ห ลั ก ของ DMO คื อ เป็ น ผู้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการด�ำเนินงาน ในด้านต่างๆ อาทิ เป็นผู้น�ำโครงการ พัฒนา วางแผนและศึกษาวิจัย พัฒนา ผลิตภัณฑ์และสินค้า ท�ำการตลาดและ ประชาสัมพันธ์ สร้างทีมงานและร่วมมือ กับหน่วยงานอื่นๆ ให้ข้อมูลแก่คนใน พื้ น ที่ ร วมถึ ง นั ก ท่ อ งเที่ ย ว ตลอดจน จัดตั้งคณะการจัดการรับผิดชอบด้าน ความสามารถในการเข้าถึง และทีมงาน ร่วมกับองค์กรทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ท�ำจัดท�ำ แผนปฏิบัติการต่อไป
ทั้งนี้การพัฒนาต้องค�ำนึงถึงปัจจัย หลัก 4 ด้าน ได้แก่ 1. คน (เจ้ า บ้ า น - ผู ้ ม าเยื อ น) โดยนักพัฒนาจะต้องประเมินคุณภาพ และอบรมคุณภาพบริการ รวมถึงสร้าง การรับรู้ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ (Morrison, 2013) โดยมีกรณีศกึ ษาจาก Qualmark แห่งนิวซีแลนด์, T-Qual แห่งออสเตรเลีย, Q mark แห่งสเปน, Quality Tourism Services แห่งฮ่องกง และ Quality Programme แห่งสวิตเซอร์แลนด์ 2. การจัดกิจกรรมต่างๆ (Events, Festivals, and Activities) ทาง DMO ควรจัดกิจกรรม หรือเทศกาล
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
เพื่ อ ส่ ง เสริ ม แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว เช่ น World Expo และ The World Cup 3. สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกอย่ า ง ระบบขนส่งสาธารณะ สิ่งปลูกสร้าง แหล่งท่องเที่ยว และสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกต่างๆ 4. แพคเกจทัวร์ โดยปกติแล้วบริษทั ทั ว ร์ มั ก เป็ น ผู ้ อ อกจั ด แพคเกจทั ว ร์ แต่ ค วามจริ ง DMO สามารถริ เริ่ ม แพคเกจทั ว ร์ แ บบธี ม (Themed Packages) ทั้ ง การก� ำ หนดเส้ น ทาง จัดการสิ่งอ�ำนวยความสะดวกได้เอง หรือท�ำร่วมกันกับบริษัททัวร์เพื่อสร้าง เครือข่ายขึ้นมาก็ได้
18
Awareness
Appearance
Action
Attractiveness
Activities
Accountability
Availability
Assurance
Access
Appreciation
ภาพที่ 3 Destination Management and Marketing แหล่งที่มา : Morrison, 2013
1.4
แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อการเข้าถึง สำ�หรับคนทั้งมวล (Accessibility) UNWTO ได้แนะน�ำแนวทางเพื่อ สร้างความมั่นใจว่า คนทั้งมวล รวมถึง คนพิการ และผู้สูงอายุ จะต้องเข้าถึง สถาพแวดล้อมที่เหมาะสมได้ ทั้งทาง กายภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึง สิง่ อ�ำนวยความสะดวกและบริการต่างๆ โดยเชื่ อ มโยงกั น ในลั ก ษณะห่ ว งโซ่ การท่องเทีย่ ว (Tourism Value Chain) ผ่านองค์ประกอบหลักอย่าง (ภาพที่ 3) คือ 1.4.1 การจัดการแหล่งท่องเที่ยว หน่วยงานที่มีหน้าที่บริหารจัดการ แหล่งท่องเที่ยว ควรด�ำเนินการและ อธิ บ ายว่ า เหตุ ใ ดการท่ อ งเที่ ย วแบบ เข้าถึงได้ จึงจ�ำเป็นต่อชุมชนและเมือง ขณะเดี ย วกั น ก็ ต ้ อ งพิ จ ารณาถึ ง แนวทางการพัฒนาพื้นที่ให้ดีข้ึน ไม่ว่า จะเป็นสิง่ อ�ำนวยความสะดวก โครงสร้าง พื้ น ฐาน และระบบคมนาคมขนส่ ง หลีกเลีย่ งการส่งเสริมสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว หรือที่พักในพื้นที่ท่ีไม่เหมาะสม ตลอด จนจัด สภาพแวดล้อมที่นักท่องเที่ยว
“ทุกคน” สามารถเข้าถึงได้ ตามเอกสาร อ้างอิงทางวิชาการต่างๆ รูปแบบการจัดการและการตลาด ส�ำหรับแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งที่น่าสนใจ คื อ แนวคิ ด 10-A ของ Morrison (2013) ซึ่งประกอบด้วย Awareness ความตระหนัก คือ การรั บ ทราบถึ ง ความส� ำ คั ญ ของการ ท่องเที่ยว โดยเฉพาะพื้นที่หรือท้องถิ่น นัน้ ๆ เพือ่ จะได้นำ� ข้อมูลเหล่านีม้ าจัดท�ำ แผนการตลาดและประชาสั ม พั น ธ์ ต่อไป Attractiveness ความดึงดูดใจ คือ ความใส่ใจที่จะจัดสรรและวางรูปแบบ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วให้ น ่ า ดึ ง ดู ด ใจแก่ นักท่องเที่ยว Availability ความพร้ อ มที่ จ ะ บริ ก าร มี ช ่ อ งทางการสื่ อ สารให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วสามารถรั บ รู ้ ถึ ง สิ น ค้ า และ บริการ Access การเข้าถึง คือ การจัดสรร แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วให้ ส ามารถเข้ า ถึ ง ได้
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
โดยมี สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกรองรั บ ตลอดการเดินทาง Appearance/Activities รูปลักษณ์ภายนอกของแหล่งท่องเที่ยว ถื อ เป็ น ปั จ จั ย หลั ก ของการพั ฒ นา และเกี่ยวข้องกับการวางแผนจัดการ แหล่งท่องเที่ยวโดยตรง โดยอาจเริ่ม จากการจั ด ระเบี ย บพื้ น ที่ (Zoning) หรือจัดกิจกรรมและเทศกาล เพือ่ ดึงดูด นักท่องเที่ยวให้อยู่นานขึ้น และอยาก กลับมาใช้บริการอีก Assurance การรั บ รองความ ปลอดภัย ทั้งสิ่งปลูกสร้างต่างๆ อาหาร หรื อ ระบบรั ก ษาความปลอดภั ย ต้องจัดการให้เรียบร้อย พร้อมกับมี มาตรการควบคุมให้ได้มาตรฐาน ทั้ง เรื่องความสะอาด และความปลอดภัย Appreciation ทัศนคติทดี่ ี ถือเป็น หัวใจของการท่องเที่ยว ควรมีการฝึก อบรมพนักงานให้รู้จักเอาใส่ใจลูกค้า ตลอดจนรู้สึกภาคภูมิในงานที่ท�ำด้วย Action การด�ำเนินงาน จะต้อง
19
ได้ ม าตรฐานและมี คุ ณ ภาพอยู ่ เ สมอ การท�ำแผนพัฒนาใดๆ ต้องศึกษาอย่าง ละเอียด และมีกรอบแนวคิดที่ชัดเจน เพือ่ จะได้เป็นแนวทางในการปฏิบตั ติ อ่ มา Accountability ความรับผิดชอบ ขององค์ ก ร ถื อ เป็ น เรื่ อ งส� ำ คั ญ มาก เพราะการกระท�ำใดๆ ทีเ่ กิดขึน้ ถือเป็น ความรับผิดชอบขององค์กรโดยตรง 1.4.2 ข้ อ มู ล สารสนเทศและ การโฆษณา (การเตรียมตัว ข้อมูล สารสนเทศ และการจอง) ข้อมูลข่าวสารหรือสือ่ ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ ควรมี ค� ำ อธิ บ ายเรื่ อ งบริ ก ารและ สิ่ ง อ� ำ นวยสะดวกต่ า งๆ ที่ ชั ด เจน โดยแนะน� ำ ให้ ใช้ สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ ทุ ก คน เข้าใจได้ง่าย และระบุวิธีติดต่อสถาน ประกอบการ อาทิ โทรศัพท์ โทรสาร หรืออีเมล นอกจากนี้อาจมีรายการสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกจั ด เตรี ย มไว้ ส� ำ หรั บ นักท่องเที่ยวกลุ่มต่างๆ เช่น คนพิการ โดยอาจจั ด บริ ก ารรั บ -ส่ ง เป็ น พิ เ ศษ มีอุปกรณ์ช่วยเหลือ อาทิ รถวีลแชร์ หรือกายอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงคลินิก
บริการรับซ่อมรถวีลแชร์ บริการสุนัข ช่วยน�ำทาง มีโฆษณาแนะน�ำวิธีการ เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ อย่างไร จึงสะดวกที่สุด 1.4.3 ส ภ า พ แ ว ด ล ้ อ ม แ ล ะ สถาปัตยกรรม สภาพแวดล้อมและสถาปัตยกรรม เป็ น อี ก ปั จ จั ย ที่ นั ก พั ฒ นาจะต้ อ ง วางแผนอย่างรัดกุม เพื่อให้ “ทุกคน” สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่าง สะดวกที่สุด ตัวอย่างเช่น 1) บริเวณพื้นที่จอดรถส่วนบุคคล ควรจัดพืน้ ทีส่ ำ� หรับคนพิการโดยเฉพาะ เน้ น บริ เ วณใกล้ กั บ ทางเข้ า -ออก ตั ว อาคารหรื อ สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย ว มีสัญลักษณ์แสดงอย่างชัดเจน ตลอด จนมีมาตรการป้องกัน ไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่ คนพิการเข้ามาจอดรถในพื้นที่ดังกล่าว 2) การสื่ อ สาร ควรออกแบบให้ ครอบคลุมและหลากหลาย เพื่อรองรับ นั ก ท่ อ งเที่ ย วกลุ ่ ม ต่ า งๆ เช่ น ภาษา อั ง กฤษ อั ก ษรเบรลล์ หรื อ แม้ แ ต่ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก อย่างโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต โทรสาร เป็นต้น 3) ป้าย เพือ่ แสดงข้อมูลส�ำคัญต่างๆ
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
อาทิ เคาน์เตอร์เช็กอิน หรือเคาน์เตอร์ ขายสินค้า ควรมีขนาดใหญ่และสีสัน ที่โดดเด่น มีข้อความหรือสัญลักษณ์ ระบุชัดเจน เช่นพื้นที่สงวนไว้ส�ำหรับ คนพิการ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีสมัย ใหม่ นั้ น ก้ า วล�้ ำ ไปไกล บางแห่ ง ก็ ใช้ จอภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีเสียง ประกอบด้วย แทนป้ายทั่วไป ถือเป็น ประโยชน์ ม ากต่ อ ผู ้ ที่ มี ป ั ญ หาทาง สายตาอย่างยิ่ง 4) การเคลื่อนที่ในแนวนอน ควร มี ม าตรการที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเพื่ อ ให้ มั่นใจว่าคนพิการและผู้มีปัญหาด้าน การเคลือ่ นไหวจะสามารถเดินทางได้ทวั่ สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วนัน้ เช่น จัดท�ำทางเดิน
20
หลักและทางเดินย่อยๆ ซึง่ มีขนาดกว้าง พอให้ผู้ใช้รถวีลแชร์เคลื่อนที่ผ่านไปได้ 5) การเคลือ่ นทีใ่ นแนวตัง้ โครงสร้าง อาคารที่มีหลายชั้นควรมีลิฟต์ที่ขนาด เพี ย งพอส� ำ หรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ใ ช้ รถวีลแชร์ เพือ่ จะได้เข้า-ออก และเคลือ่ น ย้ายง่ายขึน้ ส่วนของบันไดและทางลาด ควรอยู่ในระดับเดียวกัน เช่นเดียวกับ ทางลาดเข้าลิฟต์ด้วย ที่ ส� ำ คั ญ ควรจั ด สิ่ ง อ� ำ นวยความ สะดวกส�ำหรับคนตาบอด เช่น อักษร เบรลล์บริเวณปุ่มควบคุม หรือระบบ เสียง ตลอดจนติดตั้งระบบฉุกเฉินที่ เหมาะสมกับผู้บกพร่องทางการได้ยิน 6) สิ่งอ�ำนวยความสะดวกเกี่ยวกับ สุขอนามัยสาธารณะ บริเวณห้องสุขา ควรมีโถส้วมและอ่างล้างมือที่คนพิการ สามารถใช้บริการได้ โดยค�ำนึงถึงการ เคลื่อนที่ของรถวีลแชร์และส่วนต่างๆ ภายในห้อง
7) ค่าใช้จ่าย ไม่ควรคิดค่าบริการ เพิ่มเติมส�ำหรับลูกค้าพิการ แม้จะมีค่า ใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการจัดหาบริการ และสิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกก็ ต าม เพราะความจริงแล้ว ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ควรรวมอยู่ในงบประมาณส�ำหรับการ บ� ำ รุ ง รั ก ษา หรื อ งานปรั บ ปรุ ง ทั่ ว ไป ตั้งแต่แรกแล้ว 1.4.4 การเดินทาง (Modes of Transport) 1) ยานพาหนะต่างๆ ควรออกแบบ ให้เหมาะสมกับ “ทุกคน” โดยเน้น ความปลอดภัยและความสะดวกสบาย แก่ผู้โดยสาร มีค�ำแนะน�ำเมื่อเกิดเหตุ ฉุกเฉินทีท่ กุ คนเข้าถึงได้ ตลอดจนค�ำนึง ถึงความต้องการของผู้โดยสารด้วย 2) สถานี อ าคารผู ้ โ ดยสารและ สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ผูโ้ ดยสาร “ทุกคน” ต้องเข้าถึงได้บริการ ของสถานีขนส่งได้ โดยพืน้ ทางเข้า-ออก อาคารควรอยู ่ ใ นระดั บ เดี ย วกั บ รถ วี ล แชร์ มี ก ารติ ด ตั้ ง ทางลาดเมื่ อ มี การเปลีย่ นแปลงระดับหรือทางเข้าลิฟต์ มีค�ำแนะน�ำการใช้ตัวอาคารที่ทุกคน เข้าถึงได้ โดยข้อมูลเหล่านี้อาจปรากฏ บนสถานที่นั้นๆ รวมถึงช่องทางสื่อสาร ต่างๆ เช่น เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน ส�ำหรับโทรศัพท์มือถือ มีการจัดบริการ พิเศษส�ำหรับลูกค้าบางคน เช่น มีเก้าอี้ อเนกประสงค์ส�ำหรับคนนั่งรถวีลแชร์ มี พื้ น ที่ จั ด เก็ บ กายอุ ป กรณ์ ร ะหว่ า ง โดยสาร นอกจากนี้ เวลาผู ้ โ ดยสาร เดินข้ามถนน ควรมีสัญญาณไฟจราจร
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
ที่ มี สั ญ ญาณภาพหรื อ เสี ย ง เพื่ อ ให้ คนพิ ก ารทางการมองเห็ น สามารถ ข้ามถนนอย่างปลอดภัย 3) ทางสั ญ จรหลั ก บนถนนหลวง และทางด่วน ควรมีจุดแวะพักชั่วคราว เป็นระยะๆ และมีสงิ่ อ�ำนวยความสะดวก ให้บริการ เช่น ห้องสุขา หรือโทรศัพท์ ฉุกเฉินทีส่ ามารถเข้าถึงได้สำ� หรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ส�ำหรับนักท่องเทีย่ ว หรือคนที่มีความพิการ 1.4.5 บริการที่พัก อาหาร และ การประชุม 1) ที่ พั ก ควรพั ฒ นาห้ อ งส� ำ หรั บ คนพิการ โดยมีจ�ำนวนห้องตามความ เหมาะสม ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ราวเหล็กบริเวณโถชักโครก อ่างอาบน�ำ ้ มีปุ่มสัญญาณฉุกเฉิน ทางเข้าส�ำหรับ รถวีลแชร์ แผ่นกันลืน่ ในห้องน�ำ ้ บาร์จบั ในห้ อ งน�้ ำ และที่ นั่ ง ส� ำ หรั บ อาบน�้ ำ เป็นต้น เพือ่ ทีค่ นพิการจะได้จดั การธุระ ส่วนตัวได้โดยไม่ตอ้ งขอความช่วยเหลือ รวมถึ ง การจั ด วางห้ อ งตามหลั ก การออกแบบเพือ่ คนทัง้ มวล (Universal Design) ที่ ส� ำ คั ญ ห้ อ งพั ก ควรอยู ่ ใ นจุ ด ที่ สะดวกต่ อ การอพยพหรื อ ทางออก ฉุ ก เฉิ น มี อุ ป กรณ์ สื่ อ สารที่ ง ่ า ยต่ อ การเข้าถึง 2) สถานประกอบการเกี่ ย วกั บ อาหารและเครื่องดื่ม ควรมีสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกส�ำหรับคนพิการ โดยต้อง สามารถเข้ า ถึ ง เคาน์ เ ตอร์ ที่ ร ะดั บ ความสูงต่างๆ ได้โดยง่าย อาหารควร
21
หลากหลาย เพื่อรองรับผู้ที่แพ้อาหาร หรือต้องการควบคุมอาหารชนิดต่างๆ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรท�ำเครือ่ งหมายไว้ตามสิง่ อ�ำนวย ความสะดวกต่ า งๆ เพื่ อ ให้ ง ่ า ยต่ อ การเข้าถึง เมนูอาหารควรเขียนด้วย ภาษาทีเ่ ข้าใจง่าย มีอกั ษรเบรลล์รองรับ คนตาบอด ตลอดจนรู ป แบบอื่ น ที่ เหมาะสมกับลูกค้าที่แตกต่างกัน 3) พื้นที่ในการจัดประชุม ควรจัด ที่ นั่ ง พิ เ ศษหรื อ บริ เ วณซึ่ ง สงวนไว้ ส� ำ หรั บ ผู ้ ใ ช้ ร ถวี ล แชร์ โ ดยเฉพาะ มี สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกส� ำ หรั บ ผู ้ ที่ มี ค ว า ม บ ก พ ร ่ อ ง ท า ง ก า ร ไ ด ้ ยิ น ทั้งค�ำบรรยาย หรือภาษามือ รวมถึง จัดหาล่ามหรือผู้แปลภาษาในกรณีที่ การประชุมนั้นใช้ภาษาต่างประเทศ 1.4.6 กิ จ กรรมเชิ ง วั ฒ นธรรม (พิพิธภัณฑ์ โรงภาพยนตร์ โรงละคร ฯลฯ) 1) หน่ ว ยงานหรื อ สถานประกอบ การที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมทาง วัฒ นธรรมในแหล่งท่องเที่ยว ควรมี มาตรการที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่า “ทุกคน” สามารถเข้าถึงและมีสว่ นร่วม ในพื้นที่จัดแสดงและกิจกรรมต่างๆ ได้ 2) พิพิธภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างด้าน การท่องเทีย่ วอืน่ ๆ ควรจัดเตรียมข้อมูล และพืน้ ทีใ่ ห้ “ทุกคน” เข้าใช้งานได้งาน อย่างทัว่ ถึง เช่นมีลฟิ ต์ ทางลาด รถวีลแชร์ รวมถึงอักษรเบรลล์ หรือล่ามภาษามือ 3) โรงภาพยนตร์ ควรมีที่นั่งพิเศษ หรือพืน้ ทีท่ สี่ งวนไว้สำ� หรับผูใ้ ช้รถวีลแชร์ มีหฟู งั พิเศษ รวมถึงค�ำบรรยาย หรือภาษา มือเพื่อรองรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
ที่นั่งและการบรรยายทั้งภาพและเสียง รวมถึงการแปลภาษา 2) กิ จ กรรมทางกี ฬ าและทาง ธรรมชาติ ควรค�ำนึงถึงความปลอดภัย และระบบขนส่งที่เหมาะสมกับนักท่อง เที่ยวทุกคน 3) การเที่ยวชมชายหาด ควรค�ำนึง ถึ ง ทางเดิ น พื้ น ที่ ร ่ ม หลบแดด และ สิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับ นักท่องเที่ยวทุกคน 1.4.8 พนักงาน พนั ก งานในสถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วมี บทบาทในการช่วยลดอุปสรรคที่อาจ เกิดขึ้นจากการเข้าถึงได้ ดังนั้นการฝึก อบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ เกีย่ วกับคนพิการจะเป็นเรือ่ งส�ำคัญมาก ส�ำหรับการท่องเที่ยว แบบครบวงจร เพื่อคนทั้งมวล
1.4.7 กิจกรรมการท่องเทีย่ วอืน่ ๆ หน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบในการท�ำกิจกรรม นันทนาการ สันทนาการ และการกีฬา ต้ อ งมี ม าตรการที่ เ หมาะสมเพื่ อ ให้ คนพิการสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ อย่างเท่าเทียม 1) การทัศนาจร ในบริเวณรอบๆ สถานที่นั้นๆ ควรค�ำนึงถึงลักษณะของ TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
พนักงานจะต้องเตรียมพร้อมที่จะ สื่อสาร ท�ำความเข้าใจและตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าพิการและผู้มี ปั ญ หาด้ า นการเคลื่ อ นไหว ภายใต้ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิ ของคนพิการ พ.ศ.2549 เพื่อจะได้ให้ ความช่วยเหลือและบริการต่างๆ อย่าง เหมาะสม ตั้งแต่ การเรียนรู้วิธีสื่อสารกับคน กลุ ่ ม นี้ เพื่ อ จะได้ เข้ า ใจและปฏิ บั ติ ตัวด้วยความสุภาพ และมีประสิทธิภาพ จัดเตรียมสิง่ อ�ำนวยความสะดวกทีพ่ ร้อม ใช้งาน โดยพนักงานจะต้องให้ข้อมูล ต่างๆ ทีเ่ กีย่ วกับการใช้ได้ ขณะเดียวกัน ก็ควรมีบริการคูม่ อื ส�ำหรับนักท่องเทีย่ ว มีล่ามภาษามืออาชีพ มีเจ้าหน้าที่รักษา ความปลอดภัย เพือ่ อ�ำนวยความสะดวก แก่ลูกค้ามากที่สุด
22
1.5
กลุ่มเป้าหมายของคำ�ว่า Accessible for All การก� ำ หนดกลุ ่ ม เป้ า หมายค� ำ ว่ า “ทุ ก คน” มี ค วามส� ำ คั ญ และจ� ำ เป็ น อย่างยิง่ ในการท่องเทีย่ วเพือ่ คนทัง้ มวล เพราะถื อ เป็ น การก� ำ หนดทิ ศ ทาง การพัฒนา และสร้างทัศนคติใหม่แก่ ผู ้ มี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย ว่ า การท่ อ งเที่ ย ว เพื่อคนทั้งมวลนั้นไม่ได้อ้างอิงเฉพาะ กลุ่มคนพิการเท่านั้น แต่ยังหมายถึง คนทุกคน ซึ่งล้วนต้องการความช่วย เหลือในระดับที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การยกตัวอย่างกลุ่ม คนพิ ก ารขึ้ น มาไม่ ไ ด้ ห มายความว่ า ตั้ ง ใจจะเน้ น เฉพาะกลุ ่ ม นี้ ก ลุ ่ ม เดี ย ว เท่านั้น แต่เพราะคนพิการเป็นกลุ่ม ที่ต้องการความช่วยเหลือในระดับที่ มากกว่ากลุ่มอื่นจึงสามารถเป็นกรณี ศึกษาได้อย่างดี ที่ส�ำคัญการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จ�ำเป็นต้องมองแบบองค์รวม ไม่ใช่มอง สถานที่ใดสถานที่หนึ่งเท่านั้น ดังนั้น การจ� ำ แนกผู ้ มี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย และ การพัฒนาแผนส�ำหรับการท่องเที่ยว แบบครบวงจรเพือ่ คนทัง้ มวลนัน้ จึงเป็น เรื่องส�ำคัญ และจะต้องมีผังความคิด ในการออกแบบ เพื่อให้ผู้พัฒนาแหล่ง ท่องเทีย่ วสามารถน�ำประยุกต์ใช้ได้ตอ่ ไป
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
23
ภาพที่ 4 รูปแบบเว็ปไซต์ของ GO-TOKYO ที่เอื้ออ�ำนวยต่อผู้พิการ แหล่งที่มา : gotokyo.org/en/plan/accessibility/index.html
1.6
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ การท่องเที่ยวแบบครบวงจร เพื่อคนทั้งมวล (Tourism for All) ที่ต้องคิดใหม่ 1.6.1 ความเข้าใจและการบิดเบือน ของการท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ การเข้ า ถึ ง ส�ำหรับคนทัง้ มวล Myths/ Mindset/ Perception ของ Accessible Tourism ข้อมูลจาก VisitEngland เอกสาร ว่าด้วยการส่งเสริมแหล่งท่องเทีย่ วแบบ เข้าถึงได้ในอังกฤษ อธิบายว่า คนใน อังกฤษมีความเชือ่ เกีย่ วกับความสามารถ ในการเข้าถึงทีค่ ลาดเคลือ่ นอยูพ่ อสมควร ความจริงในประเทศไทยก็ไม่ตา่ งกัน เพราะมีหลายๆ เรื่องที่ปรากฏอยู่ใน งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นภาพ จึงขอน�ำเสนอตารางที่ 1 ให้เห็นอย่าง ชัดเจนว่า มีประเด็นใดบ้าง TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
24
ตารางที่ 1
การวิเคราะห์เกี่ยวกับความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนที่คนในอังกฤษและไทยมีความเชื่อเกี่ยวกับการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว
ล�ำดับ
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน (Myths)
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น (Facts)
1
อุปสงค์ของการท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ มีจ�ำนวน น้อย (อังกฤษ/ ไทย)
อุปสงค์ของการท่องเทีย่ วแบบเข้าถึงได้นนั้ มีมลู ค่าสูงมาก พิสจู น์ได้จากมูลค่า การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกลุ่มพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวกลุ่ม ผู้สูงอายุชาวต่างชาติมีค่าใช้จ่ายต่อครั้งร้อยละ 64 ต�่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 25 อยูใ่ นช่วง 10,000 - 20,000 บาท และนักท่องเทีย่ วกลุม่ ผูส้ งู อายุ ชาวไทยมีค่าใช้จ่ายต่อครั้งร้อยละ 50 ต�่ำกว่า 5,000 เหรียญ ร้อยละ 32 ประมาณ 5,000 - 10,000 เหรียญ
2
กลุ่มเป้าหมายของการท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ เป็นแค่กลุ่มย่อยจึงไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบ ด�ำเนินการ (อังกฤษ/ ไทย)
ตลาดของ Accessible Tourism ไม่ใช่ตลาดย่อยอีกต่อไป เพราะว่าจ�ำนวน นักท่องเที่ยวที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ มีมากถึง 12 ล้านคน คิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมดของอังกฤษ และในเมืองไทยเอง มี ง านวิ จั ย ของสถาบั น บั ณ ฑิ ต บริ ห ารธุ ร กิ จ ศศิ น ทร์ แ ห่ ง จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัยบ่งชี้ว่าการท่องเที่ยวแบบนี้มีศักยภาพที่จะพัฒนาและส่งเสริม ให้เติบโตในตลาดต่างประเทศได้
3
กลุ่มเป้าหมาย การท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ คือ กลุ่มคนพิการเท่านั้น (ไทย)
ความจริงแล้วคนพิการเป็นเพียงกลุ่มเป้าหมายหนึ่งของการจัดการเรื่อง การท่องเทีย่ วแบบเข้าถึงได้ เพราะยังมีกลุม่ ทีม่ คี วามต้องการพิเศษโดยทัว่ ไป ตัง้ แต่ นักท่องเทีย่ วแบบครอบครัวทีม่ เี ด็กเล็ก นักเดินทางทีแ่ บกกระเป๋าหนัก ผู้สูงอายุ หรือนักเดินทางที่เป็นคนอ้วน เป็นต้น การเปลี่ยนทัศนคติแก่ นักพัฒนาและผูป้ ระกอบการให้หนั มาพัฒนาการท่องเทีย่ วเพือ่ การเข้าถึงแก่ คนทั้งมวลจึงมีความส�ำคัญในทุกระดับ
4
ข้ออ้างหนึ่งที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดก ไม่ยอม พัฒนาพื้นที่ เพราะต้องรักษาเอาไว้ในสภาพเดิม (อังกฤษ)
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงมรดก สามารถปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่สามารถเข้าถึงได้ ได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น Roman Baths ซึ่ง ได้รับรางวัล Gold in The Access for All Category และ Silver at The Visit England Awards for Excellence
5
การที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของการท่องเที่ยว แบบเข้าถึงได้นั้นค่อนข้างยาก (อังกฤษ/ ไทย)
ปัจจุบันการเข้าถึงตลาดการท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะไม่ใช่แค่นักท่องเที่ยวที่มีความบกพร่องเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้สูงอายุ และผู้เดินทางที่มีเด็กเล็กด้วย
6
ความเชือ่ ทีว่ า่ ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้เป็นสถาน ที่ท่องเที่ยวที่สามารถเข้าถึงได้ (อังกฤษ)
หากมีการจัดหาสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ทางม้าลาย ทางเดิน ทางลาดส�ำหรับเก้าอี้รถเข็น ที่จอดรถ รวมถึงป้ายบอกทาง ก็ช่วยย่น ระยะเวลาลงได้มาก
7
ความเข้าใจทีว่ า่ ค�ำว่า ภาวะความพิการ หมายถึง คนพิการ หรือความผิดปกติของตัวบุคคลเท่านั้น (ไทย)
ภาวะความพิ ก ารไม่ ไ ด้ ห มายความถึ ง ความผิ ด ปกติ ข องตั ว บุ ค คล แต่หมายความถึงปรากฏการณ์ที่กลุ่มคนบางกลุ่มมีข้อจ�ำกัดในการเข้าถึง สินค้าและบริการได้อย่างเท่าเทียมกับบุคคลอื่นๆ
8
การท่องเที่ยวแบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล เป็น เรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องเฉพาะกับการออกแบบเพือ่ คนทัง้ มวล เพียงเท่านั้น (ไทย)
ตามค�ำนิยามของ UNWTO การท่องเที่ยวแบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล หมายถึง การท่องเทีย่ วทีใ่ ห้ความส�ำคัญถึง 3 ประเด็นหลัก คือ ความเท่าเทียม ของทุกคน ความยั่งยืนจากการท่องเที่ยวที่ส่งผลดีต่อคนทุกกลุ่มได้ และ สุดท้ายคือการเข้าถึงแก่คนทุกกลุ่ม โดยไม่ต้องออกแบบหรือดัดแปลงพิเศษ เพื่อเฉพาะเจาะจงเพื่อบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
25
ความเข้าใจเกี่ยวกับความสามารถ ในการเข้าถึงแหล่งท่องเทีย่ ว ช่วยให้เกิด การพัฒนาและปรับปรุงสินค้า บริการ และสิ่งอ�ำนวยความสะดวกในสถานที่ นั้นๆ มากขึ้น ตลอดจนลดข้อจ�ำกัด หรื อ อุ ป สรรคทางการท่ อ งเที่ ย วให้ มี น้อยลงอีกด้วย เพราะจากการศึ ก ษาพฤติ ก รรม ของนั ก ท่ อ งเที่ ย ว นั ก พั ฒ นาธุ ร กิ จ ต่างๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และผู ้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งจะได้ ป ระโยชน์ จากการท่ อ งเที่ ย วสู ง สุ ด ก็ ต ่ อ เมื่ อ มี การวางแผนและจัดการการส่งเสริม การท่ อ งเที่ ย วแบบเข้ า ถึ ง ได้ นั่ น เอง (Gassiot, Prats & Coromina, 2015)
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
26
2 หลักการพัฒนาที่นำ�ไปสู่
สถานที่ท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ (Accessible Destination) กับ 3 หลักการ
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
27
การจัดการแหล่งท่องเที่ยว แบบเข้าถึงได้
1. การสร้างความตะหนักรู้ และสร้างความคุ้นเคย 2. การฝึกอบรมพนักงานทั้ง ออนไลน์ และในทางปฏิบัติ
1. การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) 2. มาตรฐานการเข้าถึง 3. การรับรางวัลในการจัดการ แหล่งท่องเที่ยว
การฝึกอบรมพนักงาน/ ผู้ให้บริการ
1. ประชาสัมพันธ์ 2. สร้างแนวทางปฏิบัติ
การตลาด และการสื่อสาร
ภาพที่ 5 สรุปแนวทางการส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถเข้าถึงได้ (Accessible Destination)
2.1
การพัฒนาการฝึกอบรมพนักงาน (Staff Training) ในบทความเรือ่ ง การท่องเทีย่ วแบบ ครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล ของ Brown F. กล่าวว่า สิ่งต่างๆ สามารถพัฒนาให้ ดีขึ้นได้ ถ้าทัศนคติของสังคมเปลี่ยน แปลงไปในทางที่ดี ดังนั้น หากต้องการ ให้การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเทีย่ ว แบบเข้าถึงได้มโี อกาสประสบความส�ำเร็จ ก็ ต ้ อ งท� ำ ให้ ค นในสั ง คมตระหนั ก ถึ ง ความส�ำคัญของแนวคิดนี้ คนกลุ ่ ม แรกที่ ค วรตระหนั ก คื อ พนั ก งาน ซึ่ ง ท� ำ หน้ า ที่ ป ฏิ บั ติ ง านให้ บริการโดยตรง ท�ำได้โดยการฝึกอบรม พนักงาน ดังนี้
เท่าเทียม บุคคลทีต่ อ้ งการความช่วยเหลือ เป็นพิเศษ สิ่ ง ส� ำ คั ญ อย่ า งแรกคื อ ต้ อ งท� ำ ให้ พนักงานตระหนักถึงภาวะความพิการ (Disability Awareness) เหล่านี้ เช่น เข้าใจความพิการในรูปแบบต่างๆ เข้าใจ วั ฒ นธรรมการดู แ ล เข้ า ใจสิ ท ธิ ข อง คนพิการ รู้วิธีสื่อสารแก่คนพิการที่มี ความอ่อนไหวหรือคนทีม่ คี วามบกพร่อง ทางการรั บ รู ้ และมี ค วามคุ ้ น เคยกั บ การใช้อปุ กรณ์และเครือ่ งมือช่วยอ�ำนวย ความสะดวกต่างๆ
2.1.1 การสร้ า งความตระหนั ก เกี่ยวกับภาวะความพิการ และสร้าง ความคุ้นเคย ให้กับพนักงาน ตามทีก่ ล่าวไว้ในบทที่ 1 ว่า ในบริบท ของการท่องเที่ยวแบบครบวงจรเพื่อ คนทั้งมวล คนพิการ (People with Disabilities) ไม่ได้จ�ำกัดเพียงบุคคล ที่สูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายหรือ จิตใจ แต่หมายรวมถึงกลุ่มบุคคลที่ไม่ สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้อย่าง TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
ประการต่อมา คือ ใส่ใจต่อความ ปลอดภัยของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ที่ต้อง ระมัดระวังเป็นพิเศษ พนักงานควรฝึก อบรมความรู ้ เ รื่ อ งการเคลื่ อ นย้ า ย นักท่องเทีย่ วในภาวะฉุกเฉิน และควรมี เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคอยให้ ความช่วยเหลือตลอดเวลา เพื่อป้องกัน เหตุอันตราย ทีส่ ำ� คัญสุดคือ ทัศนคติตอ่ การบริการ ซึ่ ง เป็ น หั ว ใจหลั ก ของการพั ฒ นา บุคลากรด้านการท่องเที่ยว
28
ตั ว อ ย ่ า ง จ า ก ก ร ณี ศึ ก ษ า ข อ ง Ozturk, Yayli, และ Yesiltas พบว่า การฝึ ก อบรมนั้ น มี ส� ำ คั ญ อย่ า งมาก ประเทศตุ ร กี ไ ม่ พ ร้ อ มที่ จ ะรองรั บ นักท่องเที่ยวที่ต้องการความช่วยเหลือ เป็ น พิ เ ศษ เนื่ อ งจากมี ข ้ อ จ� ำ กั ด ใน การจัดการฝึกอบรมพนักงานทีเ่ กีย่ วข้อง 2.1.2 การฝึกอบรมพนักงานใน รูปแบบต่างๆ การฝึกอบรมพนักงานนั้นสามารถ ท� ำ ได้ ทั้ ง ออนไลน์ แ ละในห้ อ งเรี ย น ซึ่งควรเป็นการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐาน อย่ า งในสหรั ฐ อเมริ ก า มี ค อร์ ส การฝึกอบรมที่ได้ใบประกาศนียบัตร จากทางมหาวิทยาลัย Deque โดยผ่าน การรั บ รองจาก International Association of Accessibility Professionals (IAAP) คอร์สนีป้ ระกอบ ไปด้วยหัวข้อการฝึกอบรมหลักๆ ดังนี้
1. ความรู ้ พื้ น ฐานเกี่ ย วกั บ ภาวะ ความพิการ เช่น ความบกพร่องประเภท ต่ า งๆ และเทคโนโลยี ที่ ช ่ ว ยอ� ำ นวย ความสะดวก 2. ข้ อ มู ล ทางทฤษฎี ข องภาวะ ความพิการในด้านต่างๆ เช่น ข้อมูล ทางการแพทย์และทางสังคม 3. ชนิด ความท้าทาย และแนวทาง การรับมือกับภาวะความพิการในแบบ ต่างๆ อาทิ ตาบอด หูหนวก บกพร่อง ทางการเคลื่ อ นไหว หรื อ หลายแบบ ผสมกัน 4. ข ้ อ มู ล ท า ง ส ถิ ติ ข อ ง ภ า ว ะ ความพิการ เช่น อัตราการเกิดเหตุที่ ท�ำให้เพิ่มจ�ำนวน จ�ำนวนผู้สูงอายุ หรือ ความยากจนทีเ่ กีย่ วข้องกับความพิการ 5. การปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เช่น วิธี พูดคุยเกี่ยวกับภาวะความพิการของ พวกเขา 6. การออกแบบเพื่ อ คนทั้ ง มวล ส� ำ หรั บ เว็ บ ไซต์ แ ละสิ่ ง อ� ำ นวยความ สะดวกต่างๆ เช่น ทางเดิน ทางเข้า อาคาร ห้องน�้ำ และระบบการขนส่ง สาธารณะ 7. กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ความสามารถในการ เข้าถึง 8. การจัดการขององค์กรที่ส่งเสริม การท่องเที่ยวที่เข้าถึงได้ ในอังกฤษและสเปนนั้นมีมาตรฐาน ETCAATS: European Training Certificate - Access for All in the Tourism Sector จัดโดย European Network for Accessible Tourism ตัวอย่างคอร์สที่น่าสนใจ คือคอร์ส ฝึกอบรมที่ช่วยท�ำให้เกิดความรู้ความ เข้าใจที่ดีขึ้น ในเรื่องของการส่งเสริม สถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งจัดโดย Centre for Accessible Environment มีรายละเอียดดังนี้ 1. Access Auditing and the Equality Act (ฝึกอบรม 2 วัน) เกี่ยว กับการพัฒนาทักษะในการตรวจสอบ ความสามารถในการเข้ า ถึ ง และ ความเท่าเทียมที่น�ำไปใช้ได้จริง
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
2. Using Plans and Understanding Building Access (ฝึกอบรมครึ่งวัน) เกี่ยวกับการใช้แผนและท�ำความเข้าใจ กระบวนการสร้างการเข้าถึง 3. Accessible Pedestrian Environments for People with Sight Loss (ฝึกอบรม 1 วัน) เกี่ยวกับ การจั ด สรรสภาพแวดล้ อ มให้ เ ป็ น มิ ต รกั บ กลุ ่ ม ที่ มี ค วามบกพร่ อ งทาง การมองเห็น 4. Cognitive Accessibility: Designing for a Sense of Happiness (ฝึกอบรม 1 วัน) ซึง่ เกีย่ วกับการออกแบบ สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกที่ ต อบสนอง ความต้องการของคนกลุ่มนี้ 5. Lighting and Inclusion (ฝึกอบรม 1 วัน) เกี่ยวกับการจัดแสง โทนสี และจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสม 6. Accessible Housing Standards (ฝึกอบรม 1 วัน) เกี่ยวกับมาตรฐาน การออกแบบบ้ า นและที่ พั ก อาศั ย ที่เข้าถึงได้ 7. Accessible Housing ส�ำหรับ Wheelchair user dwelling (ฝึกอบรม 1 วัน) เกี่ยวกับบ้านและที่พักอาศัยที่ เหมาะสมกับผู้ใช้รถวีลแชร์ ส่วนในประเทศอืน่ ๆ เช่น นิวซีแลนด์ ไต้หวัน รวมถึงไทยมีการจัดการฝึกอบรม เช่นกัน แต่ไม่ได้มุ่งเน้นส่งเสริมด้าน ความสามารถในการเข้าถึง หรือสถานที่ ท่องเที่ยวที่สามารถเข้าถึงได้ ส่วนใหญ่ มุ่งเน้นไปที่การฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ หรือดูแลคนพิการมากกว่า เช่น New Zealand Certificate in Health and Wellbeing ของนิ ว ซี แ ลนด์ Occupational Training for People with Disabilities ของไต้หวัน ส่ ว นประเทศไทยมี ห ลั ก สู ต รการ เสริ ม ศั ก ยภาพผู ้ ดู แ ลคนพิ ก ารทาง ร่างกายและการเคลื่อนไหว โดยกรม ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต คนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์
29
2.2
การพัฒนาการจัดการ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว แบบเข้าถึงได้ (Accessible Tourism) การจั ด การเพื่ อ ส่ ง เสริ ม การท่ อ ง เที่ยวแบบเข้าถึงได้ให้ความส�ำคัญกับ การจัดสรรและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ธุรกิจทัวร์ให้มีสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกที่ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว “ทุ ก คน” สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้ ในรายละเอียดนั้นประกอบไปด้วย การจั ด การกลยุ ท ธ์ ใ นระดั บ นโยบาย การจัดการสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อตอบ สนองแก่นกั ท่องเทีย่ วทุกคน การจัดการ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก การออกแบบ เพื่อคนทั้งมวล การจัดการระบบขนส่ง เป็นต้น ตัวอย่างเช่น การจัดการการส่งเสริม การท่องเทีย่ วแบบเข้าถึงได้ ส�ำหรับกลุม่ คนที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งคนทั่วไป ก็ใช้ประโยชน์ได้ด้วย เช่น
1. สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วต่ า งๆ ควรมี นโยบายการต้อนรับสุนัขน�ำทางที่มา พร้อมกับคนพิการทางการมองเห็น 2. ธุรกิจทัวร์ และที่พัก ควรถาม ลูกค้าว่าต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ในด้านใดบ้างในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยเฉพาะลูกค้าที่มีความบกพร่องใน การได้ยิน 3. เจ้ า ของธุ ร กิ จ ทั ว ร์ แ ละที่ พั ก ควรจั ด ท� ำ เว็ บ ไซต์ โ ดยใช้ ม าตรฐาน ในเรือ่ งของ Accessibility เช่น สามารถ เพิ่มขนาดตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้นได้และ มี ค� ำ อธิ บ ายแบบเสี ย งท� ำ ให้ อ ่ า นได้ ง่ายขึ้น 4. แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วควรมี ช ่ อ งทาง รับค�ำแนะน�ำจากคนพิการ เพื่อน�ำมา พัฒนาการท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
5. แหล่งท่องเที่ยวควรมีที่จอดรถที่ เพียงพอ โดยมีขนาดกว้างอย่างน้อย 3.6 เมตร และมีมาตรการเข้มงวดสงวน สิทธิ์เฉพาะคนพิการ 6. แหล่งท่องเที่ยว ควรทดสอบสาย ดึงขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน อย่างสม�ำ่ เสมอเพือ่ ความปลอดภัย และ ควรจัดวางไว้ในระนาบเดียวกับระดับ พื้น หรือระดับที่คนพิการสามารถหยิบ ใช้ได้สะดวก เป็นต้น ก า ร จั ด ก า ร ก า ร ส ่ ง เ ส ริ ม ก า ร ท่ อ งเที่ ย วในลั ก ษณะนี้ จ ะเกิ ด ขึ้ น ได้ หลั ก ส� ำ คั ญ คื อ ต้ อ งน� ำ หลั ก การของ การออกแบบเพือ่ คนทัง้ มวลมาใช้ ซึง่ จะ เป็ น กุ ญ แจส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ “ทุ ก คน” สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้ง่าย
30
ก า ร อ อ ก แ บ บ เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล (Universal Design) คือการออกแบบ ที่ เ หมาะสมกั บ คนทุ ก เพศ ทุ ก วั ย ทุกขนาด และไม่มีข้อจ�ำกัดเนื่องด้วย สมรรถภาพ และท�ำให้การใช้ชีวิตของ ทุกคนง่ายขึ้น ในยุโรป แนวคิดนีร้ จู้ กั กันในนามของ Design for All มีหลักใหญ่ใจความคือ สามารถสื่อสารกับ “ทุกคน” ได้อย่างมี ประสิทธิภาพและลดการเกิดอันตราย หรือเกิดอุบัติเหตุให้น้อยที่สุด ทุกคนต้องสามารถใช้ได้ ไม่ว่าผู้ใช้ จะมีความรู้หรือประสบการณ์มาก่อน หรือไม่ก็ตาม ไม่จ�ำกัดในด้านทักษะ ทางภาษา สมรรถภาพ ความชอบส่วน บุ ค คล ต้ อ งใช้ พื้ น ที่ อ ย่ า งเหมาะสม รวมถึงต้องอ�ำนวยความสะดวกโดยที่ ผู้ใช้ไม่ต้องออกแรงมาก
2.2.1 การออกแบบเพื่ อ คนทั้ ง มวล (Universal Design) ส�ำหรับ การท่องเที่ยวเพื่อการเข้าถึงส�ำหรับ คนทั้งมวล (Accessible Tourism for All) หลายคนอาจเข้าใจว่า การท่องเทีย่ ว เพื่ อ การเข้ า ถึ ง ส� ำ หรั บ คนทั้ ง มวล (Accessible Tourism for All) คือ จัดการการท่องเที่ยวโดยใช้แนวคิดการ ออกแบบเพือ่ คนทัง้ มวล เช่น มีทางลาด ส�ำหรับรถเข็น มีหอ้ งน�ำ้ ส�ำหรับผูส้ งู อายุ และคนพิการ ฯลฯ แต่ความจริงแล้ว การออกแบบเพื่อ คนทั้ ง มวลเป็ น หนึ่ ง ในเครื่ อ งมื อ ของ การพัฒนาสิ่งอ�ำนวยความสะดวกตาม แนวคิด Accessible Tourism for All เท่านั้น และยังมีส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อี ก อาทิ การสื่ อ สารและการตลาด การพัฒนาบุคลากรในแหล่งท่องเที่ยว หรื อ แม้ ก ระทั่ ง การจั ด ท� ำ สั ญ ลั ก ษณ์ สากลส�ำหรับการท่องเที่ยวเพื่อการเข้า ถึงส�ำหรับคนทั้งมวล โดยหลักๆ แล้วการออกแบบเพื่อ คนทั้งมวลตามแนวทางของ UNWTO แบ่งออกเป็น 7 หลักการคือ 1. การออกแบบที่ใช้อย่างเท่าเทียม และเสมอภาค (Equitable Use) กล่าว คือ เป็นการออกแบบที่เป็นประโยชน์ กั บ ผู ้ ใช้ ทุ ก คน ไม่ ไ ด้ เจาะจงแค่ ก ลุ ่ ม คนพิการเพียงเท่านั้น
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
2. การออกแบบที่ ป รั บ เข้ า กั บ สถานการณ์ได้ (Flexibility in Use) มี ความยืดหยุ่น ตามความต้องการของ ผู้ใช้ที่หลากกลาย 3. การออกแบบที่ง่ายตามสัญชาต ญาณ (Simple and Intuitive Use) ง่ายต่อการเข้าใจ ด้วยประสบการณ์ ความสนใจ ความรู้พื้นฐาน และภาษา ของผู้ใช้ 4. เป็นข้อมูลทีเ่ ข้าใจได้ (Perceptable Information) สื่ อ สารอย่ า งมี ประสิ ท ธิ ภ าพ ตามข้ อ จ� ำ กั ด และ สิ่ ง แวดล้ อ มที่ มี ค วามเปราะบางของ ผู้ใช้ 5. ป้องกันความผิดพลาด (Tolerance for Error) ออกแบบเพื่ อ ลดปั ญ หา ที่ก่อให้เกิดอันตรายได้น้อยที่สุด เช่น อุบตั เิ หตุทอี่ าจจะขึน้ หรือความประมาท เป็นต้น 6. การออกแบบที่ผู้ใช้ไม่ต้องออก แรงมาก (Low Physical Effort) เพียง ใช้แรงเล็กน้อยก็ท�ำงานได้ ช่วยเพิ่ม ความสะดวกสบาย 7. ค� ำ นึ ง ขนาดและระยะห่ า งที่ เหมาะสมกั บ ผู ้ ใช้ ง าน (Size and Space for Approach and Use) จากภาพที่ 6 จะเห็นว่าการออกแบบ แผนทีค่ ำ� นึงถึงระดับสายตาของผูใ้ ช้งาน สองกลุม่ คือคนทัว่ ไปกับคนนัง่ รถวีลแชร์ ได้อย่างเหมาะสม
31
1.83 เมตร (สูงสุด) ความสูง จากพื้นสูงสุด 1.88 เมตร
โดยประมาณ 20 องศา
ความสูง จากระดับสายตา 1.55 เมตร
โดยประมาณ 30 องศา
ระดับสายตา 1.22 เมตร
ความสูง จากระดับสายตา 1.22 เมตร
บอร์ด
ระดับพื้น
ข้อมูลและการสื่อความหมายในรูปแบบต่างๆ
1. มีพื้นที่โล่งและสบาย 2. ใส่ข้อมูลที่จ�ำเป็นและน่าจดจ�ำ 3. ให้ความส�ำคัญกับต�ำแหน่งของผู้อ่าน 4. ให้ถามตัวเองว่าวัตถุประสงค์ของป้ายนั้นคืออะไร 5. ท�ำไมป้ายจึงต้องติดบริเวณนี้ 6. อะไรคือ ข้อความส�ำคัญที่ต้องการสื่อสาร 7. ป้ายสามารถมองเห็นได้ในสถานที่นั้นๆ อย่างชัดเจน 8. ป้ายสามารถอ่านออกหรือไม่ในระยะความสูงของผู้อ่าน ภาพที่ 6 แนวทางในการออกแบบและการจัดนิทรรศการเพื่อคนทั้งมวล
แหล่งที่มา : Adapted from Smithsonian Guidelines for Accessible Exhibition Design and Australian Standard AS1428.2, 1992
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
32
ข้อมูลและการสื่อความหมายในรูปแบบต่างๆ 1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
1. สัญลักษณ์ศูนย์บริการให้ข้อมูลสากล 2. สัญลักษณ์คนพิการสากล 3. สัญลักษณ์บ่งบอกถึงการมีเสียงบรรยายส�ำหรับโรงภาพยนตร์และโรงละคร 4. สัญลักษณ์บ่งบอกถึงการมีเสียงบรรยายส�ำหรับโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และวีดิโอ 5. สัญลักษณ์การขยายตัวหนังสือให้สามารถมองเห็นได้ชัดขึ้น 6. สัญลักษณ์บ่งบอกถึงการเข้าถึงส�ำหรับบุคคลมีความบกพร่องทางสายตา 7. สัญลักษณ์อักษร Braille 8. สัญลักษณ์โทรศัพท์พิมพ์ดีด (โทรศัพท์ข้อความ หรืออุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อคนหูหนวก) 9. สัญลักษณ์บ่งบอกถึงการแปลโดยใช้ภาษามือสื่อสาร 10. สัญลักษณ์ระบบช่วยฟังทางการได้ยิน 11. สัญลักษณ์ระบบช่วยฟังทางโทรศัพท์ 12. สัญลักษณ์ค�ำบรรยายแทนเสียง
ภาพที่ 7 Universal design sign for tourism for all แหล่งที่มา : www.accessible.in
การออกแบบเพื่อคนทั้งมวลมีองค์ ประกอบให้พัฒนาอยู่หลายส่วน ตั้งแต่ ป้ายบอกทาง ป้ายให้ข้อมูลแหล่งท่อง เที่ยว สิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ใน แหล่งท่องเที่ยว ไปจนถึงรูปแบบของ ธุรกิจการท่องเที่ยว จากภาพที่ 7 จะเห็นได้ว่าป้ายที่ ออกแบบส� ำ หรั บ การท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ รองรับคนทัง้ มวลในระดับสากล ไม่ได้มี เพียงสัญลักษณ์คนนัง่ รถวีลแชร์ทคี่ นุ้ ตา เพี ย งอย่ า งเดี ย วเท่ า นั้ น แต่ ยั ง มี สัญลักษณ์อื่นๆ ที่ผู้พัฒนาแหล่งท่อง เที่ยวสามารถเรียนรู้เพื่อน�ำไปปรับใช้ 2.2.2 การพัฒนาสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกส� ำ หรั บ การท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ รองรับคนทั้งมวล ในการพัฒนาแหล่งท่องเทีย่ วรวมถึง โรงแรมที่พัก เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้า ถึงสินค้าและบริการได้นั้น สิ่งส�ำคัญคือ การพัฒนาสิง่ อ�ำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ที่จอดรถ ลิฟต์ ทางลาด อุปกรณ์ ส�ำหรับขอความช่วยเหลือ ฯลฯ คณะผู ้ จั ด ท� ำ ได้ ศึ ก ษาและจั ด ท� ำ แนวทางการพั ฒ นาสิ่ ง อ� ำ นวยความ สะดวกส�ำหรับการท่องเทีย่ วเพือ่ รองรับ
คนทั้งมวล โดยขอกล่าวถึงผู้ให้บริการ 3 กลุ่ม ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางเพื่อ การท่องเที่ยวโดยตรง ได้แก่ 1) สถาน ประกอบการที่พักแรม 2) แหล่งท่อง เทีย่ ว/ ผูใ้ ห้บริการด้านสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว และ 3) ผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารด้ า นการขนส่ ง สาธารณะ อย่างไรก็ตามตารางสิง่ อ�ำนวยความ สะดวกที่จะน�ำเสนอในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเพียงการน�ำเสนอแนวทางเบื้องต้น เท่ า นั้ น นั ก พั ฒ นาจ� ำ เป็ น ที่ จ ะต้ อ ง พิจารณาว่ากลุ่มนักท่องเที่ยว หรือผู้ใช้ เป้าหมายคือใคร กลุ่มคนดังกล่าวมี พฤติกรรมการท่องเทีย่ วอย่างไร จากนัน้ น�ำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ เพื่อจัดท�ำ แนวทางการพั ฒ นา การออกแบบ อุ ป กรณ์ สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกให้ สอดคล้องกับความต้องการของกลุม่ คน นั้น ซึ่งจะช่วยยกระดับประสบการณ์ การเดิ น ทางท่ อ งเที่ ย วได้ อ ย่ า งมี ประสิ ท ธิ ภ าพมากยิ่ ง ขึ้ น (Darcy & Harris, 2003; Morrison, 2013; VisitEngland, n.d.) ในการศึ ก ษาครั้ ง นี้ ไ ด้ ท� ำ การแบ่ ง กลุ่มนักท่องเที่ยว ออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
ระดับที่ 1 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นพิเศษ UD_S1 (SPECIAL NEED) ได้แก่ เด็ก สตรีมีครรภ์ สตรีที่เดินทาง พร้ อ มเด็ ก เล็ ก บุ ค คลที่ เ ดิ น ทางด้ ว ย สัมภาระขนาดใหญ่ ระดับที่ 2 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นพิเศษ UD_W2 (WHEELCHAIR) ได้แก่ คนชรา ผู้มีปัญหาสุขภาพ ผู้มี ความผิดปกติด้านส่วนสูง ผู้มีปัญหา ด้านการเคลื่อนไหวและต้องใช้อุปกรณ์ ช่วยเหลือบางชนิดในการเดินทาง อาทิ ไม้เท้า รถวีลแชร์ ระดับที่ 3 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็ น พิ เ ศษ UD_BH3 (BLIND & HEARING) ได้ แ ก่ ผู ้ มี ป ั ญ หาด้ า น การมองเห็น ผู้มีปัญหาด้านการได้ยิน ผู้มีข้อจ�ำกัดด้านการเคลื่อนไหวและ ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือตลอดเวลา ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นพิเศษ UD_MD4 (MOVEMENT DISORDER) ได้แก่ ผูม้ ปี ญ ั หาด้านสมอง อาทิ ผู้มีอาการออทิสติก ผู้มีอาการ สมองเสื่อม และผู้มีความผิดปกติของ ระบบการเคลื่อนไหว
33
2.2.3 สิ่งอ�ำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยวเพื่อรองรับคนทั้งมวล – สถานประกอบการที่พักแรม (Hotel Accessible Tourism) ประเภทนักท่องเที่ยว
ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก (UD_S1) (UD_W2) (UD_BH3) (UD_MD4)
1. มีลานจอดรถแยกพิเศษ ส�ำหรับกลุ่มสตรี ที่มากับเด็กเล็กและลานจอดรถแยกพิเศษ ส�ำหรับกลุม่ ผูม้ คี วามจ�ำเป็นต้องใช้รถวีลแชร์ อย่างน้อย 2 ช่องจอด ความกว้างของช่อง ลานจอดรถ ขั้นต�่ำคือ 3.6 เมตร
2. ลานจอดรถพิเศษ ควรตัง้ อยูไ่ ม่ไกลจากประตู ทางเข้าสถานประกอบการเกิน 25 เมตร
3. มี ป ้ า ยติ ด ตั้ ง ตรงบริ เวณลานจอดรถแยก พิเศษ ระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถ ติดต่อขอความช่วยเหลือ
4. ประตู ท างเข้ า หลั ก มี ค วามกว้ า งขั้ น ต�่ ำ 0.9 เมตร
5. มีทางลาดส�ำหรับรถวีลแชร์ โดยทางลาด ต้องเชื่อมต่อกับประตูทางเข้า
6. ป้ายบอกทางต่างๆ ควรมีตัวอักษรอ่านง่าย เห็นชัด มีสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย เป็นสากล และมีป้ายอักษรเบรลล์ตามจุดต่างๆ
7. ประตู อั ต โนมั ติ หรื อ มี ปุ ่ ม กดเปิ ด ประตู หรื อ มี ก ริ่ ง เพื่ อ เรี ย กพนั ก งานในการให้ ความช่วยเหลือเพื่อเปิดประตู
8. ลิฟต์โดยสาร มีปุ่มกดตรงกับระดับการใช้ งานของบุคคลที่มีความสูงจ�ำกัด เช่น เด็ก หรือผู้ใช้รถวีลแชร์ และมีอักษรเบรลล์ตรง แผงปุ่มกด
9. ลิฟต์โดยสารมีขนาดความกว้างที่สามารถ รองรับการเข้า-ออกของรถเข็นเด็ก รถวีลแชร์ และมีการติดตั้งกระจกฝั่งตรงข้ามประตู ลิ ฟ ต์ โ ดยสาร เพื่ อ ให้ ส ามารถมองเห็ น การเปิด-ปิดของประตูลิฟต์โดยสาร
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
34
ประเภทนักท่องเที่ยว
ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก (UD_S1) (UD_W2) (UD_BH3) (UD_MD4)
10. ลิฟต์โดยสารมีระบบเสียงประกาศ
11. มีทางเดินส�ำหรับผู้มีปัญหาทางสายตา
12. การอนุญาตให้น�ำสุนัขน�ำทาง เข้าพักใน ห้องพักเดียวกับผู้มีปัญหาทางสายตา 13. มี เ คาน์ เ ตอร์ หรื อ โต๊ ะ และเก้ า อี้ ส� ำ หรั บ การให้บริการเช็กอิน
14. มี บ ริ ก ารเครื่ อ งช่ ว ยฟั ง ให้ ยื ม โดยไม่ มี ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
15. มีบริการรถวีลแชร์ รถเข็นเด็ก รถเข็นของ ต่างๆ ให้ยืมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
17. ทางเดิ น ในโรงแรมต้ อ งมี ค วามกว้ า งที่ สามารถรองรับรถวีลแชร์ ได้
18. มี ก ารติ ด ตั้ ง แถบสะท้ อ นแสงบริ เวณทาง ต่างระดับ
19. ระดับความสูงของที่ตั้งบริการอาหารแบบ บุฟเฟต์ ภายในห้องอาหาร ควรอยู่ที่ 0.85- 0.9 เมตร
16. บันไดควรมีราวจับทั้ง 2 ฝั่ง ราวบันไดต้องมี สีแตกต่างอย่างเห็นชัดกับพืน้ และมีการทาสี หรือติดแถบสะท้อนแสงที่ขั้นบันไดขั้นแรก และขั้นสุดท้าย
20. รายการเมนูอาหารควรมีตวั อักษรทีอ่ า่ นง่าย ชัดเจน และรายการเมนูอาหารควรมีอักษร เบรลล์ ส�ำหรับผู้มีปัญหาทางสายตา 21. รายการเมนูอาหาร หรือป้ายบนทีต่ งั้ บริการ อาหารแบบบุฟเฟต์ ควรมีการระบุ หรือท�ำ สัญลักษณ์ที่เห็นได้ชัด เป็นสากล เข้าใจง่าย เพือ่ แจ้งส่วนประกอบอาหารส�ำคัญทีอ่ าจก่อ ให้เกิดอาการแพ้ได้ ส�ำหรับผู้แพ้อาหาร
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
35
ประเภทนักท่องเที่ยว
ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก (UD_S1) (UD_W2) (UD_BH3) (UD_MD4)
22. ประตู ห ้ อ งน�้ ำ ควรมี ค วามกว้ า งขั้ น ต�่ ำ 0.9 เมตร
23. ห้องน�้ำควรมีการติดตั้งราวจับ การติดตั้ง อ่างล้างหน้า เครื่องจ่ายสบู่ / แชมพูควรอยู่ ในระดับที่มือเอื้อมถึงก๊อกน�้ำควรเป็นระบบ เซนเซอร์อัตโนมัติ
24. บริเวณอาบน�้ำ ควรมีที่นั่ง และความสูง ขั้ น ต�่ ำ จากพื้ น ของฝั ก บั ว ที่ ติ ด ตั้ ง ภายใน ห้องน�้ำ ควรอยู่ที่ 1.2 เมตร
25. ปุ่มและสายกระตุกขอความช่วยเหลือใน ห้องน�้ำและห้องพัก ควรอยู่ในระดับที่มือ เอื้อมถึงหากนั่งรถวีลแชร์
26. การมีเสียงประกาศตามสาย กรณีเกิดเหตุ ฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย หรือเหตุการณ์ที่ต้อง มี ก ารอพยพส� ำ หรั บ ผู ้ มี ป ั ญ หาด้ า นการ มองเห็น
27. ควรมีปุ่มฉุกเฉินแสดงสีไฟที่เห็นชัดในห้อง พักและห้องน�ำ ้ กรณีเกิดเหตุฉกุ เฉินเช่น อัคคี ภัย หรือเหตุการณ์ทตี่ อ้ งมีการอพยพ ส�ำหรับ ผู้มีปัญหาด้านการได้ยิน
28. ความสูงขั้นต�่ำที่แนะน�ำของเตียงในห้องพัก เมื่อรวมกับฟูกนอนแล้ว ควรมีระดับความ สูงที่ 0.55 เมตร
29. การตกแต่งและการติดตั้งสิ่งอ�ำนวยความ สะดวก จะต้องอยู่ในระดับที่ผู้ใช้รถวีลแชร์ สามารถเอื้อมถึงและใช้งานสะดวก
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
36
2.2.4 สิ่งอ�ำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยวเพื่อรองรับคนทั้งมวล – แหล่งท่องเที่ยว / ผู้ให้บริการด้านสถานที่ท่องเที่ยว (Accessible Tourism Destination) ประเภทนักท่องเที่ยว
ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก (UD_S1) (UD_W2) (UD_BH3) (UD_MD4)
1. มี ก ารเผยแพร่ ข ้ อ มู ล ที่ ถู ก ต้ อ ง ชั ด เจน เข้าใจง่าย เกี่ยวกับการเดินทาง / การเข้าถึง สถานทีม่ รี ปู ภาพ มีขอ้ มูลสถานทีท่ ใี่ กล้เคียง ที่จ�ำเป็น อาทิ ตู้ ATM โรงพยาบาล ร้านค้า ร้านอาหาร
5. ลานจอดรถพิเศษ ควรตัง้ อยูไ่ ม่ไกลจากประตู ทางเข้ า สถานที่ ห รื อ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วเกิ น 25 เมตร
6. มี ป ้ า ยติ ด ตั้ ง ตรงบริ เวณลานจอดรถแยก พิเศษ ระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถ ติดต่อขอความช่วยเหลือ
2. เว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชัน ของสถานที่ ท่องเทีย่ วมีการพัฒนา ฟังก์ชนั ส�ำหรับความ ต้องการเฉพาะกลุม่ อาทิ การขยายตัวอักษร การมีค�ำบรรยาย การมีเสียงบรรยาย มีการ ปรั บ เนื้ อ หาการให้ ข ้ อ มู ล ให้ เ หมาะกั บ ช่วงอายุและระดับการรับรู้ที่แตกต่าง 3. การเปิดให้บริการจองตั๋วเพื่อเข้าชมสถานที่ ผ่านช่องทาง Online เพื่อหลีกเลี่ยงการ เข้าคิว การเปิดช่องทางด่วน Fast Track เพือ่ อ�ำนวยความสะดวกในการเข้าสูส่ ถานที่ ภายในแหล่งท่องเที่ยว 4. มีลานจอดรถแยกพิเศษ ส�ำหรับกลุ่มสตรี ที่มากับเด็กเล็ก และลานจอดรถแยกพิเศษ ส�ำหรับกลุม่ ผูม้ คี วามจ�ำเป็นต้องใช้รถวีลแชร์ อย่ า งน้ อ ย 2 ช่ อ งจอด ความกว้ า งของ ช่องลานจอดรถ ขั้นต�่ำคือ 3.6 เมตร
7. ประตูทางเข้าหลักสู่ภายในตัวอาคารต่างๆ ควรมีความกว้างขั้นต�่ำ 0.9 เมตร
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
37
ประเภทนักท่องเที่ยว
ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก (UD_S1) (UD_W2) (UD_BH3) (UD_MD4)
8. มีการจัดท�ำทางลาดส�ำหรับรถวีลแชร์ โดย ทางลาดต้องเชื่อมต่อกับประตูทางเข้า
9. ป้ายบอกทาง ตลอดจนป้ายข้อมูลของแหล่ง ท่องเทีย่ ว ควรมีตวั อักษรทีอ่ า่ นง่าย มองเห็น ชัด มีสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย เป็นสากล
10. ป้ า ยอั ก ษรเบรลล์ ส� ำ หรั บ ผู ้ มี ป ั ญ หาทาง สายตา
11. มีประตู อัตโนมั ติ หรื อมี ปุ ่ มกดเปิ ดประตู หรือมีกริ่งเพื่อเรียกพนักงานในการให้ความ ช่วยเหลือเพื่อเปิดประตู
12. ลิฟต์โดยสาร มีปุ่มกดตรงกับระดับการใช้ งานของบุคคลที่มีความสูงจ�ำกัด เช่น เด็ก หรื อ ผู ้ ใช้ ร ถวี ล แชร์ และมี อั ก ษรเบรลล์ ตรงแผงปุ่มกด
13. ลิฟต์โดยสารมีขนาดความกว้างที่สามารถ รองรับการเข้า-ออกของรถเข็นเด็ก รถวีลแชร์ และมีการติดตั้งกระจกฝั่งตรงข้ามประตู ลิ ฟ ต์ โ ดยสาร เพื่ อ ให้ ส ามารถมองเห็ น การเปิด-ปิดของประตูลิฟต์โดยสาร 14. ลิฟต์โดยสารมีระบบเสียงประกาศ
15. มี ท างเดิ น ส� ำ หรั บ ผู ้ มี ป ั ญ หาทางสายตา ตลอดเส้นทางการเดินทางภายในสถานที่ ท่องเที่ยว 16. มีบริการเครือ่ งช่วยฟังให้ยมื โดยไม่มคี า่ ใช้จา่ ย เพิ่มเติม 17. มีบริการรถวีลแชร์ รถเข็นเด็ก รวมถึงรถเข็น ของต่างๆ ทีม่ กี ารบริการให้ยมื โดยไม่มคี า่ ใช้ จ่ายเพิ่มเติม
18. มีบริการผู้ช่วยส่วนบุคคล โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพิ่มเติม
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
38
ประเภทนักท่องเที่ยว
ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก (UD_S1) (UD_W2) (UD_BH3) (UD_MD4)
19. บันไดควรมีราวจับทั้ง 2 ฝั่ง ราวบันไดต้องมี สีแตกต่างอย่างเห็นชัดกับพืน้ และมีการทาสี หรือติดแถบสะท้อนแสงที่ขั้นบันไดขั้นแรก และขั้นสุดท้าย
20. ทางเดินสถานที่ท่องเที่ยวต้องมีความกว้าง ที่สามารถรองรับรถวีลแชร์ ได้
21. มีแถบสะท้อนแสงบริเวณทางต่างระดับ
22. ประตูหอ้ งน�ำ ้ ควรมีความกว้างขัน้ ต�ำ ่ 0.9 เมตร
23. ห้องน�้ำควรมีการติดตั้งราวจับ การติดตั้ง อ่างล้า งหน้ า เครื่ องจ่ ายสบู ่ เครื่ องจ่ าย กระดาษช�ำระ ควรอยูใ่ นระดับทีม่ อื เอือ้ มถึง ก๊อกน�้ำควรเป็นระบบเซนเซอร์อัตโนมัติ
24. บริเวณอาบน�้ำ ควรมีที่นั่ง และความสูงขั้น ต�่ำจากพื้นของฝักบัวที่ติดตั้งภายในห้องน�้ำ ควรอยู่ที่ 1.2 เมตร
25. ปุ่มและสายกระตุกขอความช่วยเหลือใน ห้องน�้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และตามพื้นที่ ต่างๆ ในแหล่งท่องเที่ยว ควรอยู่ในระดับที่ มือเอื้อมถึงหากนั่งรถวีลแชร์
26. ห้องน�้ำส�ำหรับเด็ก ตลอดจนการจัดพื้นที่ ส�ำหรับการเปลี่ยนผ้าอ้อมส�ำหรับทารก
27. การจัดรอบการให้บริการน�ำเที่ยวเฉพาะ กลุ่มที่ต้องการการดูแลเป็นกรณีพิเศษแยก จากรอบการน�ำเที่ยวปกติ
28. การอนุญาตให้สนุ ขั น�ำทางเข้าภายในบริเวณ สถานที่ท่องเที่ยว 29. การจั ด ที่ นั่ ง พั ก ตามพื้ น ที่ ต ่ า งๆ ภายใน สถานที่ท่องเที่ยว
30. การจัดห้องพัก หรือสถานทีใ่ ห้กบั สตรีทตี่ อ้ ง ให้นมบุตร
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
39
ประเภทนักท่องเที่ยว
ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก (UD_S1) (UD_W2) (UD_BH3) (UD_MD4)
31. รายการเมนูอาหารควรมีตวั อักษรทีอ่ า่ นง่าย ชัดเจน และรายการเมนู อาหารควรมีอกั ษร เบรลล์ ส�ำหรับผู้มีปัญหาทางสายตา 32. รายการเมนูอาหาร ควรมีการระบุ หรือท�ำ สัญลักษณ์ที่เห็นได้ชัด เป็นสากล เข้าใจง่าย เพื่อแจ้งส่วนประกอบอาหารส�ำคัญที่อาจ ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ส�ำหรับผู้มีปัญหา ด้านการแพ้อาหาร
33. การมี เ สี ย งประกาศตามสาย กรณี เ กิ ด เหตุฉุกเฉินเช่น อัคคีภัย หรือเหตุการณ์ ที่ต้องมีการอพยพ ส�ำหรับผู้มีปัญหาด้าน การมองเห็น
34. ควรมีปุ่มฉุกเฉินแสดงสีไฟที่เห็นชัดในพื้นที่ ต่างๆ รวมถึง ห้องน�ำ ้ กรณีเกิดเหตุฉกุ เฉินเช่น อัคคีภัย หรือเหตุการณ์ที่ต้องมีการอพยพ ส�ำหรับผู้มีปัญหาด้านการได้ยิน
35. การจัดพื้นที่งดใช้เสียง โดยพื้นที่ดังกล่าว ต้องแยกห่างไกลจากส่วนให้บริการปกติ มี ก ารติ ด ตั้ ง ไฟส่ อ งสว่ า ง มี ที่ นั่ ง พั ก ที่ ใ ห้ ความรู ้ สึ ก ผ่ อ นคลาย และมี บ รรยากาศ ที่เงียบสงบ 36. การตกแต่งและการติดตั้งสิ่งอ�ำนวยความ สะดวก จะต้องอยู่ในระดับที่ผู้ใช้รถวีลแชร์ สามารถเอื้อมถึงและใช้งานสะดวก 37. ข้ อ มู ล ของสถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วมี ก ารจั ด ท� ำ เนื้ อ หาในการน� ำ เสนอให้ เ หมาะสมกั บ การท�ำความเข้าใจในช่วงอายุ และระดับ การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
40
2.2.5 สิ่งอ�ำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยวเพื่อรองรับคนทั้งมวล – ผู้ให้บริการด้านการขนส่งสาธารณะ (Transportation Accessible Tourism) ประเภทนักท่องเที่ยว
ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก (UD_S1) (UD_W2) (UD_BH3) (UD_MD4)
กรณีผู้ให้บริการยานพาหนะขนส่ง 1. มีการเผยแพร่ข้อมูลของผู้ให้บริการขนส่ง สาธารณะทีเ่ ป็นปัจจุบนั ข้อมูลการให้บริการ ชั ด เจน เข้ า ใจง่ า ย แจ้ ง ราคาค่ า บริ ก าร ที่เห็นได้อย่างชัดเจน อธิบายราคา อัตรา ค่าธรรมเนียมอย่างตรงไป ตรงมา หากมี การขอบริ ก ารเสริ ม ส� ำ หรั บ การดู แ ลเป็ น กรณีพิเศษ
3. มี เ คาน์ เ ตอร์ ข ายตั๋ ว เช็ ก อิ น หรื อ พื้ น ที่ ให้บริก ารส� ำ หรั บ ผู ้ ต้ องการการดู แ ลเป็ น กรณีพิเศษ
4. มีการเปิดช่องทางด่วน Fast Track เพื่อ อ�ำนวยความสะดวกในการจัดที่นั่ง
2. เว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชัน ของผู้ให้บริการ ด้ า นการขนส่ ง สาธารณะที่ ก ารพั ฒ นา ฟังก์ชันส�ำหรับความต้องการเฉพาะกลุ่ม อาทิ การขยายตัวอักษร การมีค�ำบรรยาย การมีเสียงบรรยาย มีการปรับเนือ้ หาการให้ ข้อมูลให้เหมาะกับช่วงอายุ และการรับรู้ ในระดับที่แตกต่าง
5. หากมีติดตั้งตู้ขายตั๋วอัตโนมัติ หรือตู้ Kiosk ส�ำหรับการเช็กอินระดับความสูงของปุม่ บน ตัวเครื่อง ควรอยู่ในระดับที่มือเอื้อมถึงหาก นั่งรถวีลแชร์ 6. ผู้ให้บริการรถบัสโดยสาร เรือโดยสาร รถไฟ และเครื่ อ งบิ น มี ก ารจั ด พื้ น ที่ ใ ห้ บ ริ ก าร ส�ำหรับรถวีลแชร์ ที่นั่งส�ำหรับเด็ก สตรีมี ครรภ์ คนชรา และผู้ที่ต้องการการดูแลเป็น กรณีพิเศษ
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
41
ประเภทนักท่องเที่ยว
ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก (UD_S1) (UD_W2) (UD_BH3) (UD_MD4)
กรณีผู้ให้บริการยานพาหนะขนส่ง 7. ราวจับภายในรถบัสโดยสาร เรือโดยสาร และรถไฟ อยู่ในระดับที่มือเอื้อมถึงหาก นั่งรถวีลแชร์
8. การอนุญาตให้สนุ ขั น�ำทางเดินทางพร้อมกับ ผู ้ โ ดยสารที่ มี ป ั ญ หาทางสายตาบนยาน พาหนะขนส่งโดยสาร 9. หากเป็นการเดินทางระยะไกล ผู้ให้บริการ ควรมีบริการอาหารให้เลือกส�ำหรับเด็ก ผู้มี ปัญหาด้านการแพ้อาหาร ผู้มีปัญหาด้าน การกลืนอาหาร
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
42
ประเภทนักท่องเที่ยว
ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก (UD_S1) (UD_W2) (UD_BH3) (UD_MD4)
กรณีผู้ให้บริการสถานีขนส่ง 10. มีการเผยแพร่ข้อมูลของผู้ให้บริการสถานี ขนส่งสาธารณะที่เป็นปัจจุบัน ข้อมูลการให้ บริการชัดเจน เข้าใจง่าย แจ้งราคาค่าบริการ ที่เห็นได้อย่างชัดเจน อธิบายราคา อัตรา ค่าธรรมเนียมอย่างตรงไปตรงมา หากมี การขอบริ ก ารเสริ ม ส� ำ หรั บ การดู แ ลเป็ น กรณีพิเศษ 11. เว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชัน ของผู้ให้บริการ ด้านสถานีการขนส่งสาธารณะที่การพัฒนา ฟังก์ชันส�ำหรับความต้องการเฉพาะกลุ่ม อาทิ การขยายตัวอักษร การมีค�ำบรรยาย การมีเสียงบรรยาย มีการปรับเนือ้ หาการให้ ข้อมูลให้เหมาะกับช่วงอายุ และการรับรู้ใน ระดับที่แตกต่าง 12. มีลานจอดรถแยกพิเศษ ส�ำหรับกลุ่มสตรี ที่มากับเด็กเล็ก และลานจอดรถแยกพิเศษ ส�ำหรับกลุม่ ผูม้ คี วามจ�ำเป็นต้องใช้รถวีลแชร์ อย่างน้อย 2 ช่องจอด ความกว้างของช่อง ลานจอดรถ ขั้นต�่ำคือ 3.6 เมตร
13. ข้อมูลของสถานีขนส่งสาธารณะมีการจัดท�ำ เนื้ อ หาในการน� ำ เสนอให้ เ หมาะสมกั บ การท�ำความเข้าใจในช่วงอายุ และระดับ การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
14. ลานจอดรถพิเศษ ควรตัง้ อยูไ่ ม่ไกลจากประตู ทางเข้าอาคารของสถานีขนส่งเกิน 25 เมตร
15. มี ป ้ า ยติ ด ตั้ ง ตรงบริ เวณลานจอดรถแยก พิเศษ ระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถ ติดต่อขอความช่วยเหลือ
16. ประตูทางเข้าหลักสู่ภายในพื้นที่ตัวอาคาร ของสถานี ข นส่ ง ประเภทต่ า งๆ ควรมี ความกว้างขั้นต�่ำ 0.9 เมตร
17. มี ก ารจั ด ท� ำ ทางลาดส� ำ หรั บ รถวี ล แชร์ โดยทางลาดต้องเชื่อมต่อกับประตูทางเข้า
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
43
ประเภทนักท่องเที่ยว
ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก (UD_S1) (UD_W2) (UD_BH3) (UD_MD4)
กรณีผู้ให้บริการสถานีขนส่ง 18. ป้ายบอกทาง ตลอดจนป้ายข้อมูลของสถานี ขนส่ง ควรมีตัวอักษรที่อ่านง่าย มองเห็นชัด มีสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย เป็นสากล
19. ป้ า ยอั ก ษรเบรลล์ ส� ำ หรั บ ผู ้ มี ป ั ญ หาทาง สายตา
20. มีประตู อัตโนมั ติ หรื อมี ปุ ่ มกดเปิ ดประตู หรือมีกริ่งเพื่อเรียกพนักงานในการให้ความ ช่วยเหลือเพื่อเปิดประตู 21. ลิฟต์โดยสาร มีปุ่มกดตรงกับระดับการใช้ งานของบุคคลที่มีความสูงจ�ำกัด เช่น เด็ก หรือผู้ใช้รถวีลแชร์ และมีอักษรเบรลล์ตรง แผงปุ่มกด 22. ลิฟต์โดยสารมีขนาดความกว้างที่สามารถ รองรั บ การเข้ า -ออกของรถเข็ น เด็ ก รถ วีลแชร์ และมีการติดตั้งกระจกฝั่งตรงข้าม ประตูลิฟต์โดยสาร เพื่อให้สามารถมองเห็น การเปิด-ปิดของประตูลิฟต์โดยสาร 23. ลิฟต์โดยสารมีระบบเสียงประกาศ
24. มี ท างเดิ น ส� ำ หรั บ ผู ้ มี ป ั ญ หาทางสายตา ตลอดเส้นทางการเดินทางภายในอาคาร สถานีขนส่ง
25. มีบริการรถวีลแชร์ รถเข็นเด็ก รวมถึงรถ เข็นของต่างๆ ที่ให้บริการยืมโดยไม่มีค่าใช้ จ่ายเพิ่มเติม
26. มีบริการผู้ช่วยส่วนบุคคล โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพิ่มเติม 27. บันไดควรมีราวจับทั้ง 2 ฝั่ง ราวบันไดต้องมี สีแตกต่างอย่างเห็นชัดกับพืน้ และมีการทาสี หรือติดแถบสะท้อนแสงที่ขั้นบันไดขั้นแรก และขั้นสุดท้าย
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
44
ประเภทนักท่องเที่ยว
ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก (UD_S1) (UD_W2) (UD_BH3) (UD_MD4)
กรณีผู้ให้บริการสถานีขนส่ง 28. ทางเดิ น ทั้ ง ภายในและภายนอกของตั ว อาคารสถานี ข นส่ ง ต้ อ งมี ค วามกว้ า งที่ สามารถรองรับรถวีลแชร์ ได้
29. มี ก ารติ ด ตั้ ง แถบสะท้ อ นแสงบริ เวณทาง ต่างระดับ
30. ประตู ห ้ อ งน�้ ำ ควรมี ค วามกว้ า งขั้ น ต�่ ำ 0.9 เมตร 31. ห้องน�้ำควรมีการติดตั้งราวจับ การติดตั้ง อ่างล้า งหน้ า เครื่ องจ่ ายสบู ่ เครื่ องจ่ าย กระดาษช�ำระ ควรอยูใ่ นระดับทีม่ อื เอือ้ มถึง ก๊อกน�้ำควรเป็นระบบเซนเซอร์อัตโนมัติ
32. บริเวณอาบน�้ำ ควรมีที่นั่ง และความสูง ขั้ น ต�่ ำ จากพื้ น ของฝั ก บั ว ที่ ติ ด ตั้ ง ภายใน ห้องน�้ำควรอยู่ที่ 1.2 เมตร 33. ปุ่มและสายกระตุกขอความช่วยเหลือใน ห้องน�้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และตามพื้นที่ ต่างๆ ในอาคารสถานีขนส่ง ควรอยูใ่ นระดับ ที่มือเอื้อมถึงหากนั่งรถวีลแชร์ 34. ห้องน�้ำส�ำหรับเด็ก ตลอดจนการจัดพื้นที่ ส�ำหรับการเปลี่ยนผ้าอ้อมส�ำหรับทารก
35. การอนุ ญ าตให้ สุ นั ข น� ำ ทาง เดิ น ทางเข้ า ภายในบริเวณสถานีขนส่งสาธารณะพร้อม กับผู้โดยสารที่มีปัญหาทางสายตา
36. การจัดที่นั่งพักตามจุดต่างๆ ภายในสถานี ขนส่งสาธารณะ
37. การจัดห้องพัก หรือสถานทีใ่ ห้กบั สตรีทตี่ อ้ ง ให้นมบุตร
38. รายการเมนูอาหารควรมีตวั อักษรทีอ่ า่ นง่าย ชัดเจน และรายการเมนูอาหารควรมีอักษร เบรลล์ส�ำหรับผู้มีปัญหาทางสายตา
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
45
ประเภทนักท่องเที่ยว
ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก (UD_S1) (UD_W2) (UD_BH3) (UD_MD4)
กรณีผู้ให้บริการสถานีขนส่ง 39. รายการเมนูอาหาร ควรมีการระบุ หรือท�ำ สัญลักษณ์ที่เห็นได้ชัด เป็นสากล เข้าใจง่าย เพื่อแจ้งส่วนประกอบอาหารส�ำคัญที่อาจ ก่อให้ เกิดอาการแพ้ได้ ส�ำหรับผู้มีปัญหา ด้านการแพ้อาหาร
40. การมีเสียงประกาศตามสาย กรณีเกิดเหตุ ฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย หรือเหตุการณ์ที่ต้อง มี ก ารอพยพ ส� ำ หรั บ ผู ้ มี ป ั ญ หาด้ า นการ มองเห็น 41. ควรมีปุ่มฉุกเฉินแสดงสีไฟที่เห็นชัดในพื้นที่ ต่างๆ รวมถึงห้องน�้ำ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่ น อั ค คี ภั ย หรื อ เหตุ ก ารณ์ ที่ ต ้ อ งมี การอพยพ ส�ำหรับผู้มีปัญหาด้านการได้ยิน
42. การจัดพื้นที่งดใช้เสียง โดยพื้นที่ดังกล่าว ต้องแยกห่างไกลจากส่วนให้บริการปกติ มี ก ารติ ด ตั้ ง ไฟส่ อ งสว่ า ง มี ที่ นั่ ง พั ก ที่ ใ ห้ ความรู ้ สึ ก ผ่ อ นคลาย และมี บ รรยากาศ ที่เงียบสงบ 43. การตกแต่งและการติดตั้งสิ่งอ�ำนวยความ สะดวก จะต้องอยู่ในระดับที่ผู้ใช้รถวีลแชร์ สามารถเอื้อมถึงและใช้งานสะดวก กรณี หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การดู แ ลพื้ น ที่ การให้บริการเส้นทางสาธารณะ
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
46
ประเภทนักท่องเที่ยว
ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล กลุ่มผู้ต้องการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีพิเศษ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก (UD_S1) (UD_W2) (UD_BH3) (UD_MD4) กรณีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลพื้นที่การให้บริการเส้นทางสาธารณะ
44. ป้ายจุดจอดรถโดยสารสาธาณะ ควรเห็นชัด ในระยะไกล มี อั ก ษรเบรลล์ มี ที่ นั่ ง พั ก ใน ปริมาณเหมาะสม 45. พื้นผิวบริเวณทางเท้า ควรมีความกว้างที่ เหมาะสม รถวี ล แชร์ สามารถเคลื่ อ นที่ ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ความกว้างที่ เหมาะสม คือ 1.5 – 2 เมตร หากเป็นทางเท้า บริเวณป้ายจุดจอดรถโดยสาร ควรมีความ กว้างขั้นต�่ำ คือ 3 เมตร พื้นผิวทางเท้าควร มี ค วามเรี ย บสม�่ ำ เสมอ ไม่ เ ป็ น หลุ ม บ่ อ หากมีความชันของทางและพื้นผิวทางเท้า ควรมีป้ายสัญลักษณ์หรือมีแถบสีสะท้อน แสงเตือนให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน และมี ช่องทางเดินทางเท้าพิเศษส�ำหรับผู้มีปัญหา ทางสายตา 46. ทางเท้ า และถนนบริ เวณทางข้ า ม ควรมี ระบบระบายน�้ ำ ขั ง อย่ า งรวดเร็ ว ในกรณี ฝนตก 47. สั ญ ญาณไฟข้ า มถนน ควรเห็ น ได้ ชั ด มีสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย เป็นสากล มีเสียง สั ญ ญาณแจ้ ง เตื อ นส� ำ หรั บ ผู ้ ป ั ญ หาทาง การได้ ยิ น และมี ท างเดิ น พิ เ ศษส� ำ หรั บ ผู้มีปัญหาทางสายตา 48. พืน้ ทีท่ างเท้าไม่ควรมีสงิ่ กีดขวางทีอ่ าจก่อให้ เกิดอันตราย ควรมีการจัดที่นั่งพักบนพื้นที่ ทางเท้า โดยมีระยะห่างทุก 100 เมตร 49. ความสูงของขอบพืน้ ทีท่ างเท้า ควรอยูร่ ะดับ เดียวกับขอบประตูรถโดยสาร หรือ รถโดยสาร อาจมีบริการพื้นลาดบริเวณประตูทางเข้า เพื่อให้รถวีลแชร์ สามารถเคลื่อนที่เข้าตัว รถได้และลดการเดินสะดุดของผู้โดยสาร
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
47
จากตารางข้างต้นจะพบว่าสิง่ อ�ำนวย ความสะดวกเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ของกลุ่มผู้ต้องการการดูแลเป็นกรณี พิเศษค่อนข้างคล้ายคลึงกัน สามารถ สรุปได้ดังนี้ 1. ลานจอดรถ ก. ควรจั ด สร้ า งที่ จ อดรถเพื่ อ รองรั บ การเดิ น ทางของคนกลุ ่ ม นี้ โดยเฉพาะช่องจอดรถควรมีความกว้าง ที่เหมาะสมส�ำหรับผู้ที่ใช้รถวีลแชร์ ข. ลานจอดรถของผู ้ ต ้ อ งการ การดูแลเป็นพิเศษไม่ควรอยู่ห่างจาก ประตูทางเข้าตัวอาคาร หรือพื้นที่จัด กิจกรรม ค. ค วรจั ด ท� ำ ป้ า ยสั ญ ลั ก ษณ์ ที่ ชัดเจน และบริเวณป้ายควรมีหมายเลข โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อขอความช่วย เหลือจากพนักงานของสถานที่ได้ 2. ภายในอาคาร ก. ควรจัดท�ำประตูอัตโนมัติและ พื้นที่บริเวณประตูควรมีความกว้างที่ เหมาะสม สามารถรองรับผูใ้ ช้รถวีลแชร์ ที่เข้าไปใช้บริการ ข. ภายในตัวอาคาร ควรมีป้าย บอกทาง หรือป้ายข้อมูลที่เขียนด้วยตัว อักษรที่อ่านง่าย เห็นได้ชัด มองเห็นได้ จากระยะไกล หรือเป็นรูปสัญลักษณ์ที่
เข้าใจง่ายเป็นสากล นอกจากนี้ที่ป้าย ควรมีการจัดท�ำข้อมูลเป็นอักษรเบรลล์ ส�ำหรับผู้มีปัญหาด้านสายตา ค. มี ท างลาดส� ำ หรั บ รถวี ล แชร์ โดยทางลาดต้ อ งเชื่ อ มต่ อ กั บ ประตู ทางเข้ า เพื่ อ รองรั บ ผู ้ ใช้ ร ถวี ล แชร์ ที่เข้าไปใช้บริการ ง. หากอาคารมี ลิ ฟ ต์ โ ดยสาร ปุ ่ ม กดของลิ ฟ ต์ ค วรจะอยู ่ ใ นระดั บ การใช้งานของบุคคลที่มีความสูงจ�ำกัด เช่น เด็ก หรือผูใ้ ช้รถวีลแชร์ และแผงปุม่ กดจะต้องมีอักษรเบรลล์ นอกจากนี้ ภายในลิฟต์ควรติดตัง้ กระจกฝัง่ ตรงข้าม กับประตูเพื่อให้ผู้ใช้มองเห็นว่าประตู ลิฟต์ไม่ชนกับรถวีลแชร์ รวมถึงมีเสียง ประกาศภายในตั ว ลิ ฟ ต์ โ ดยสารเมื่ อ ลิฟต์ท�ำงาน จ. มี บ ริ ก ารให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ เฉพาะบุ ค คล มี บ ริ ก ารรถเข็ น เด็ ก รถวีลแชร์ รวมถึงรถเข็นของให้บริการ ยืมโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ฉ. มีการติดตั้งสัญญาณเตือนภัย ในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถเตือนภัยให้ แก่ทุกกลุ่มได้อย่างเท่าเทียมกัน ช. มี ก ารออกแบบพื้ น ที่ เ ฉพาะ ส�ำหรับบางกลุ่ม เช่น กลุ่มมารดาที่ต้อง ให้นมบุตร กลุ่มผู้มีปัญหาด้านระบบ ประสาทและสมอง ซึ่งต้องการห้องที่มี บรรยากาศเงียบสงบห่างจากพืน้ ทีส่ ว่ นรวม
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
ซ. การอนุญาตให้สุนัขน�ำทางเข้า ภายในพื้นที่ต่างๆ พร้อมกับผู้ใช้บริการ ที่มีปัญหาด้านสายตา ฌ. ส�ำหรับห้องนอนภายในพื้นที่ สถานประกอบการที่พักแรม ความสูง ของเตียงรวมฟูกที่นอนไม่ควรสูงเกิน 0.55 เมตร สิ่งอ�ำนวยความสะดวกใน ห้องพักควรอยู่ในระดับที่มือเอื้อมถึง ส�ำหรับผู้ใช้บริการที่ใช้รถวีลแชร์และ ควรมี ป ้ า ยก� ำ กั บ ด้ ว ยอั ก ษรเบรลล์ ส�ำหรับผู้มีปัญหาทางสายตา ญ. มีการจัดเก้าอี้ หรือจุดนั่งพัก เป็นระยะๆ ภายในพื้นที่ 3. ห้องน�้ำ ก. ห้ อ งน�้ ำ ควรติ ด ตั้ ง ราวจั บ การติดตั้งอ่างล้างหน้า เครื่องจ่ายสบู่/ แชมพู เครือ่ งจ่ายกระดาษช�ำระ ควรอยู่ ในระดับที่มือเอื้อมถึงส�ำหรับเด็ก และ ผู้ใช้รถวีลแชร์ ก๊อกน�้ำควรเป็นระบบ เซนเซอร์อัตโนมัติ ข. บริเวณอาบน�ำ ้ ควรมีทนี่ งั่ และ ฝั ก บั ว ที่ ติ ด ตั้ ง ภายในห้ อ งน�้ ำ ควรมี ความสูงจากพื้นอย่างต�่ำ 1.2 เมตร ค. ปุ่มและสายกระตุกขอความ ช่ ว ยเหลื อ ควรติ ด ตั้ ง ในห้ อ งน�้ ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และตามพื้นที่ต่างๆ ควรอยู่ในระดับที่มือเอื้อมถึงหากนั่ง รถวีลแชร์
48
ง. มีการจัดสร้างห้องน�ำ้ ส�ำหรับเด็ก ตลอดจนจั ด พื้ น ที่ ส� ำ หรั บ การเปลี่ ย น ผ้าอ้อมส�ำหรับทารก 4. เส้นทางการเดินทาง พื้นที่ใช้ ร่วมกัน และยานพาหนะ ก. ป้ายจุดจอดรถโดยสารสาธารณะ ควรเห็นชัดในระยะไกล มีอักษรเบรลล์ มีที่นั่งพักในปริมาณเหมาะสม ข. พื้นผิวบริเวณทางเท้า ควรมี ความกว้างทีเ่ หมาะสม เพือ่ ให้รถวีลแชร์ สามารถเคลื่ อ นที่ ไ ด้ อ ย่ า งสะดวก ปลอดภัย ความกว้างที่เหมาะสม คือ 1.5–2 เมตร หากเป็นทางเท้าบริเวณ ป้ า ยจุ ด จอดรถโดยสาร ควรมี ค วาม กว้างขั้นต�่ำ คือ 3 เมตร พื้นผิวทางเท้า ควรมีความเรียบสม�่ำเสมอ ไม่เป็นหลุม บ่อ หากมีความชันของทางและพื้นผิว ทางเท้า ควรมีป ้ายสัญลักษณ์ แถบ สะท้อนแสง และมีช่องทางเดินพิเศษ ส�ำหรับผู้มีปัญหาทางสายตา ค. ทางเท้าและถนนบริเวณทาง ข้ า ม ควรมี ร ะบบระบายน�้ ำ ขั ง อย่ า ง รวดเร็วในกรณีฝนตก ง. สัญญาณไฟข้ามถนนควรเห็น ได้ชัด มีสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย เป็น สากล มีเสียงสัญญาณแจ้งเตือนส�ำหรับ ผู้ปัญหาทางการได้ยิน และมีทางเดิน ส�ำหรับผู้มีปัญหาทางสายตา
จ. พืน้ ทีท่ างเท้าไม่ควรมีสงิ่ กีดขวาง ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ควรมีการจัด ที่นั่งพักบนพื้นที่ทางเท้า โดยมีระยะ ห่างทุก 100 เมตร ฉ. ความสูงของขอบพืน้ ทีท่ างเท้า ควรอยู ่ ร ะดั บ เดี ย วกั บ ขอบประตู รถโดยสาร หรือรถโดยสารอาจมีบริการ พื้นลาดบริเวณประตูทางเข้า เพื่อให้ รถวีลแชร์สามารถเคลื่อนที่เข้าตัวรถได้ และลดการเดินสะดุดของผู้โดยสาร ช. มีการเผยแพร่ข้อมูลของผู้ให้ บริการขนส่งสาธารณะ สถานีขนส่ง สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นปัจจุบัน ข้อมูล การให้บริการชัดเจน เข้าใจง่าย แจ้ง ราคาค่าบริการที่เห็นได้อย่างชัดเจน อธิบายราคา อัตราค่าธรรมเนียมอย่าง ตรงไปตรงมา หากมีการขอบริการเสริม ส�ำหรับการดูแลเป็นกรณีพิเศษ ซ. เว็ บ ไซต์ หรื อ แอปพลิ เ คชั น ของผูใ้ ห้บริการด้านการขนส่งสาธารณะ สถานีขนส่ง สถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว มีการพัฒนา ฟังก์ชนั ส�ำหรับความต้องการเฉพาะกลุม่ อาทิ การขยายตัวอักษร การมีคำ� บรรยาย การมีเสียงบรรยาย มีการปรับเนื้อหา การให้ ข ้ อ มู ล ให้ เ หมาะกั บ ช่ ว งอายุ และระดับการรับรูท้ แี่ ตกต่างกัน ฌ. มีเคาน์เตอร์ขายตั๋ว เช็กอิน หรือให้บริการส�ำหรับผูต้ อ้ งการการดูแล เป็นกรณีพิเศษ
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
ญ. การเปิ ด ช่ อ งทางด่ ว น Fast Track เพื่ อ อ� ำ นวยความสะดวกใน การจัดที่นั่ง การเข้าชมพื้นที่ การได้รับ การบริการก่อน เพื่อลดการต่อคิว ฎ. หากมี ก ารติ ด ตั้ ง ตู ้ ข ายตั๋ ว อั ต โนมั ติ หรื อ ตู ้ Kiosk ส� ำ หรั บ การเช็ ก อิ น ระดั บ ความสู ง ของปุ ่ ม บนตั ว เครื่ อ ง ควรอยู ่ ใ นระดั บ ที่ มื อ เอื้อมถึงหากนั่งรถวีลแชร์ ฏ. ผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารรถบั ส โดยสาร เรือโดยสาร และรถไฟ มีการจัดพืน้ ทีใ่ ห้ บริการส�ำหรับรถวีลแชร์ ที่นั่งส�ำหรับ เด็ ก สตรี มี ค รรภ์ คนชรา และผู ้ ที่ ต้องการการดูแลเป็นกรณีพิเศษ ฐ. กรณี ร ถบั ส โดยสารสองชั้ น ผู้ให้บริการควรมีระบบลิฟต์ เพื่อยก รถวีลแชร์ เข้าสู่พื้นที่ด้านในตัวรถ ฑ. ราวจับภายในรถบัสโดยสาร เรือโดยสาร และรถไฟ อยูใ่ นระดับทีม่ อื เอื้อมถึงหากนั่งรถวีลแชร์ ฒ. มีบริการจัดรอบการน�ำเที่ยว หรือการเข้าชม เฉพาะกลุ่มที่ต้องการ การดูแลเป็นกรณีพิเศษ แยกออกจาก บุคคลทั่วไป ณ. มีการพัฒนาสื่อต่างๆ เพื่อให้ ความรู ้ เ กี่ ย วกั บ สถานที่ ส� ำ หรั บ กลุ ่ ม นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ มี ช ่ ว งอายุ แ ละระดั บ การรับรู้ที่แตกต่างกัน
49
Marketing and Communication
ภาพที่ 8 รูปแบบเว็ปไซต์ของ Tokyo Universal Design Navigator แหล่งที่มา : udnavi.tokyo/udinfo/menu/category8.html
2.3
การพัฒนาการตลาดและการสื่อสาร (Marketing and Communication) ที่มีประสิทธิภาพ ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ในการพัฒนาด้านการตลาดและการ สือ่ สาร ส�ำหรับการท่องเทีย่ วแบบเข้าถึง ได้นนั้ ต้องค�ำนึงการประชาสัมพันธ์และ สือ่ สารข้อมูลเพือ่ อ�ำนวยความสะดวกแก่ คนทั้งมวล ดังเช่นเว็บไซต์ของประเทศ ญี่ปุ่น (ตามภาพที่ 8) โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลัก กล่าวคือ 2.3.1 การสือ่ สารก่อนการเดินทาง ระหว่ า งการเดิ น ทางและหลั ง การ เดินทางต้องเกิดจากความเข้าใจ ในโลกแห่ ง การตลาดยุ ค ใหม่ มี เครือ่ งมือหนึง่ ทีน่ กั การตลาดนิยมใช้ คือ แผนที่ ภ าพรวมของการเดิ น ทางของ ผู้บริโภค (Customer Journey Map) ซึ่ ง ช่ ว ยให้ ม องเห็ น กระบวนการคิ ด ตั้งแต่ก่อนเข้ามาเป็นลูกค้า จนถึงจุดที่
กลายเป็นลูกค้าและกลับมาใช้บริการ ใหม่หรือบอกต่อ แผนที่การเดินทางอันนี้ใช้ส�ำหรับ วางแผนเพื่ อ สื่ อ สารกั บ ลู ก ค้ า ให้ ไ ด้ ประสิทธิภาพมากที่สุด ส�ำหรับการท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ นั้น การเข้าใจเส้นทางการเดินทางของ นักท่องเที่ยวกลุ่มพิเศษนับว่ามีความ ส�ำคัญอย่างยิ่ง เพราะท�ำให้มองเห็น กระบวนการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว กลุ่มนี้ตั้งแต่ก่อนเดินทางจนกระทั่งสิ้น สุดการเดินทาง เช่น อะไรคือสิ่งที่กังวล ตัง้ แต่ยงั ไม่เริม่ ออกจากบ้าน หากจ�ำเป็น ต้ อ งเดิ น ทางเพี ย งล� ำ พั ง ควรเตรี ย ม ตัวอย่างไรบ้าง มีอะไรเป็น อุปสรรค ระหว่างเดินทางจนถึงจุดหมาย นั ก พั ฒ นาแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วจึ ง ควร
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
มองให้ครบระบบตั้งแต่ต้น ด้วยการจัด ท�ำ Customer Journey Map ซึ่งใน หลักสูตรนี้จะยกตัวอย่างการเดินทาง ของคนพิการทางมองเห็น ว่ามีลักษณะ อย่างไร ดังนี้
50
Gut, 23 IT computer science staff
Blind Customer Journey Map
เหตุการณ์: Gut ท�ำงานด้าน IT ในบริษัทแห่งหนึ่งอยากเดินทางคนเดียว
ไปทะเลพักโรงแรมที่ติดทะเล สามารถท�ำกิจกรรมทางน�้ำได้ AWARENESS
CONSIDERATION
1. ถามเพื่อน 2. เข้าโปรแกรม VoiceOver เพื่อช่วย อ่านหน้าเว็บไซต์ จากมือถือ 3. เข้าโปรแกรม NVDA เมื่ออยู่ หน้า Desktop หาจาก google: ชื่อโรงแรม ติดทะเล
1. หาข้อมูล การเดินทาง สะดวก ปลอดภัย 2. มีบริการรถรับ-ส่ง 3. ช่องทาง การจ่ายเงิน 4. มีการรีวิวจาก คนพิการ OTA Direct booking Webchat
• เว็บไซต์ไม่มี Blind function • ข้อมูลไม่ชัดเจน ในเรื่อง Accessible facilities • ข้อมูลกิจกรรม และการบริการ ส�ำหรับผู้ต้องการ การช่วยเหลือ
• ช่องทาง การสื่อสารจ�ำกัด ไม่ support ผู้พิการ • ไม่มีข้อเสนอพิเศษ หากไม่สามารถ เข้าพักได้ • การบริการ Call center ไม่ได้มาตรฐาน ไม่เข้าใจถึง ความต้องการพิเศษ
การรับรู้
USER ACTIONS
สิ่งที่ท�ำ
TOUCHPOINTS
จุดสร้าง ความประทับใจ PAIN POINTS
จุดอ่อน
SOLUTIONS
แก้ไขจากจุดอ่อน อย่างไร
พิจารณา
PURCHASE
ONBOARDING
ซื้อ
เลือกช�ำระสินค้า หน้าเว็บไซต์จา่ ยเงิน ข้อมูลในการจ่ายเงิน และการเข้าพัก จดหมายยืนยัน การโทรยืนยัน เพื่อสร้างความมั่นใจ
เมื่อถึงที่พัก
ADVOCACY
การบอกต่อ
เดินทางมาพักด้วย แนะน�ำโรงแรม บริการของโรงแรม การบริการที่เป็นมิตร รีววิ ผ่าน Facebook Universal design และในกลุม่ เที่ยว ป้ายบอกทาง ของคนตาบอด กิ จ กรรมที่ ส ามารถ ท�ำได้ การบริการพิเศษ โดยเฉพาะ
• เครดิตการ์ด ใช้ไม่ได้ • หน้าเพจจ่ายเงิน ไม่สนับสนุน คนพิการ • เงื่อนไขการ คืนเงินไม่ชัดเจน • ไม่มีบริการจ่าย เงินสดเมื่อ เดินทางมาถึง
ภาพที่ 9 ตัวอย่าง Blind Customer Journey Map
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
• ไม่มีการติดตาม ความพึงพอใจ • ไม่มี Loyalty Accessible Package
51
NAME: ................................................................. CAREER: .............................................................
เหตุการณ์:
.............................................................
AWARENESS
การรับรู้
USER ACTIONS
สิ่งที่ท�ำ
CONSIDERATION
PURCHASE
พิจารณา
•
Customer Journey Map for Accessible Tourism ONBOARDING
ซื้อ
ADVOCACY
เมื่อถึงที่พัก
การบอกต่อ
•
•
•
•
•
•
TOUCHPOINTS
จุดสร้าง ความประทับใจ PAIN POINTS
จุดอ่อน
•
•
SOLUTIONS
แก้ไขจากจุดอ่อน อย่างไร
ภาพที่ 10 แบบฝึกหัด Customer Journey Map for Accessible Tourism จากภาพที่ 9 จะเห็ น ได้ ว ่ า ใน กระบวนการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว ผูพ้ กิ ารทางสายตา เว็บไซต์มสี ว่ นส�ำคัญ อย่างยิ่ง ถ้ามีวิธีการรองรับส�ำหรับคน
กลุ่มนี้โดยเฉพาะจะท�ำให้พวกเขารับรู้ ข้อมูลทีจ่ ำ� เป็น และเกิดความประทับใจ จนสนใจอยากมาใช้บริการ
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
การจัดท�ำเว็บไซต์เพื่อ การเตรียม ความพร้ อ มแก่ ผู ้ พิ ก ารทางสายตา มีข้อควรระวังตาม Checklist ด้านล่าง ตามภาพที่ 11 ดังนี้
52
ภาพที่ 11 โหมดการใช้เสียงในเว็ปไซต์ GOTOKYO แหล่งที่มา : www.gotokyo.org
ล�ำดับ
รายการ
1
ฟังก์ชันส�ำหรับในการเลือกสีและปรับขนาดตัวหนังสือให้เหมาะสมกับตนเอง
2
ออกแบบเรียบง่าย ไม่จ�ำเป็นต้องมีหลายแถบเมนู
3
มีฟังก์ชันเพื่อให้มีผู้ช่วยอ่าน เนื่องจากผู้พิการทางสายตาอาจเข้ามาเจอหน้าเว็บไซต์แล้ว
4
ข้อมูลเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย และอัพเดทอยู่ตลอด
5
มีเนื้อหาเรื่อง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) สิ่งอ�ำนวยความสะดวก และบริการการช่วยเหลือเมื่อ ถึงแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงมาตรการความปลอดภัย และช่องทางการติดต่อเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
6
การสร้าง ไอคอนที่เป็นมาตรฐานเพื่อคนทั้งมวล เช่น 1. ไอคอนช่วยอ่าน 2. แปลภาษา 3. แชร์เพจนี้หรือ Copy ได้ 4. การกดปุ่มหัวใจ เพื่อเข้าไปสู่ My favorite เพื่อน�ำมาอ่านที่หลังได้ และ 5. ปุ่มค้นหา ในหน้าเว็ปไซต์นี้
7
การเลือกใช้รูปภาพที่เป็นกลาง ไม่กระทบจิตใจ แสดงถึงการเดินทางที่สร้างความสุขและเท่าเทียมเพื่อทุกคน
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
Checklist
53
ตัวอย่างการสั่งสินค้าของผู้พิการทางสายตาผ่านเว็บไซต์ User Group: Fully-Blind TASK: ORDER A SANDWICH STEP 5 1
2
ผู้ใช้บริการ “หิว” 5
3
ตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่นหรือเวบไซต์สั่งอาหาร Schlotzsky’s 6
ใส่รหัสไปรษณีย์
8
7
กดปุ่ม “GO”
11
16
12
ใส่สถานที่ตั้ง
เข้าเมนู “View Menus” (เลือกดูเมนู)
13
เลือกสถานที่ตั้ง
17
สั่งอาหารที่ต้องการกิน
Tab 8 times
กดเข้าเมนู “Order Now” (สั่งอาหารเดี๋ยวนี้)
เข้าสู่เว็บไซต์ของสาขาที่เลือก 14
เข้าสู่หน้าเมนูแซนวิช
18
ปรับเปลี่ยนสิ่งที่ต้องการในอาหารตามใจชอบ
Tab 14 times
9
เลือกสาขาที่ต้องการ หรือใกล้บ้าน
ฟังรายชื่อสาขาที่ใกล้บ้านขึ้นมาให้
10
4
เข้าสู่เว็บไซต์ Schlotzsky’s
19
เลือกใส่ลงตะกร้า
15
ฟังประเภทของเมนูทั้งหมด
เลือกเข้าสู่เมนูที่ต้องการ
Tab 19 times
20
เลือกตัวเลือกของการสั่งอาหาร
สิ้นสุดการสั่งอาหาร
Customer Emotions
+
3 2 1
10
4 5
6
11
9 7
14
8 12
16
13 15
18
19
17 20
-
ภาพที่ 12 ตัวอย่างการสั่งสินค้าของผู้พิการทางสายตาบนหน้าเว็บไซต์ และการวัดช่วงความรู้สึกในการรับบริการ แหล่งที่มา : courtneystorm.com
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
+
Tab 3 times
54
หากเราทราบ Customer Journey Map ดังตัวอย่างภาพที่ 9, 10 และ 12 สิ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ ลึ ก ลงไปกว่ า นั้ น คื อ การตอบสนองทางอารมณ์ของคนพิการ เช่ น ผู ้ มี ป ั ญ หาทางสายตา มั ก จะมี ความกังวลมากกว่าปกติ หรืออารมณ์ แปรผันได้ หากต้องเดินทางไปในพืน้ ทีๆ่ ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน รวมถึง เงือ่ นไขจากปัจจัยภายนอก เช่น อากาศ ร้อน ฝนตก รสชาติอาหาร เป็นต้น นั ก พั ฒ นาและผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารจึ ง ควร ศึกษาและเรียนรู้ Customer Journey Map ของลูกค้ากลุ่มต่างๆ อย่างลึกซึ้ง เพื่ อ สื่ อ สารหรื อ ท� ำ การตลาดออกไป อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความประทับ ใจได้ส�ำเร็จ 2.3.2 ความชัดเจนในการน�ำเสนอ ความชัดเจนในที่นี้หมายถึง การน�ำ เสนอทีใ่ ห้ขอ้ มูลครบถ้วนถึงสิง่ ทีน่ กั ท่อง
เทีย่ วจ�ำเป็นต้องรูก้ อ่ นการเดินทาง เช่น การบริ ก ารผู ้ ช ่ ว ย ป้ า ยสั ญ ลั ก ษณ์ ห้องน�้ำสาธารณะ การจอดรถ ขนาด ห้ อ ง สถานที่ ห รื อ สิ่ ง อ� ำ นวยความ สะดวกส�ำหรับนักท่องเที่ยวคนพิการ ตลอดจนการให้ข้อมูลในหน้าเว็บไซต์ที่ สามารถเลื อ กขนาดตั ว หนั ง สื อ หรื อ หน้าจอทีเ่ ข้าใจผูม้ คี วามปกติทางสายตา มีภาษาให้เลือก ฯลฯ นักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวควรใส่ใจ ความต้องการทีห่ ลากหลายของนักท่อง เที่ยวที่มีลักษณะต่างกัน และน�ำเสนอ ออกมาอย่างชัดเจน 2.3.3 การให้ข้อมูลจากศูนย์ให้ ข้อมูลนักท่องเที่ยวและบริการต่างๆ ข้อมูลด้านความช่วยเหลือในการเข้า ถึง (Accessibility Guide) นั้น เป็นสิ่ง จ�ำเป็นที่ต้องแจ้งให้ลูกค้ารับรู้ ทั้งก่อน เข้าใช้บริการ และเมือ่ มาถึงพืน้ ทีบ่ ริการ
ในเว็บไซต์ควรใช้รูปภาพของคนพิการ ในการท�ำการตลาดเพื่อแสดงถึงความ พร้อมในการให้บริการการท่องเที่ยว แบบเข้าถึงได้ (Accessible Tourism) และควรให้ ข ้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ คู ่ มื อ การเข้าถึง (Accessibility Guide) อย่าง ละเอี ย ดและถู ก ต้ อ ง รวมถึ ง สถานที่ ท่ อ งเที่ ย วที่ เข้ า ถึ ง ได้ (Accessible Attractions) ในบริเวณใกล้เคียง ตัวอย่างเช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ห้องน�้ำส�ำหรับคนพิการ - ห้องรับรอง ส� ำ หรั บ เปลี่ ย นเสื้ อ ผ้ า (Changing Places Facility) หรือเรียกอีกอย่าง หนึ่ ง ว่ า CP Toilet/ Consortium (ภาพที่ 13) CP Facility จ�ำเป็นต้องมีที่รองรับ ส�ำหรับเปลี่ยนเสื้อผ้าแบบปรับระดับ ความสูงได้ รางเลื่อนช่วยเคลื่อนย้าย มีพื้นที่กว้างพอส�ำหรับคนพิการ 1 คน และผู้ช่วยอีก 2 คน มีราวจับที่ช่วย
ระบบรางเลื่อนช่วยเคลื่อนย้าย
ฝักบัวอาบนํ้า รางเลื่อนติดผนังส�ำหรับ ยกที่ปรับระดับความสูงได้
โถสุขภัณฑ์ตั้งอยู่ตรงกลาง โดยมีพื้นที่ข้างๆ ทั้งสองด้าน
ม่านกั้นส�ำหรับ ความเป็นส่วนตัว
ที่รองส�ำหรับเปลี่ยนเสื้อผ้า แบบปรับระดับความสูงได้
ภาพที่ 13 รูปแบบการจัดวางของ CP Toilet/ Facility แหล่งที่มา : http://www.changingplaces.org.nz/
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
55
ในการพยุงตัว โถสุขภัณฑ์ควรจะอยู่ ตรงกลาง โดยมีพื้นที่ข้างๆ กว้างพอ ทั้งสองข้าง ม่านกั้นส�ำหรับความเป็น ส่ ว นตั ว ห้ อ งน�้ ำ ต้ อ งสะอาดและพื้ น ไม่ลนื่ รวมถึงมีทสี่ ำ� หรับก�ำจัดขยะขนาด ใหญ่ และมีระบบรักษาความปลอดภัย และการเข้าถึงที่เข้มงวด สงวนสิทธิ์ไว้ เฉพาะคนกลุ่มนี้เท่านั้น 2.3.4 การให้ความส�ำคัญกับตรา สัญลักษณ์ของการรับรองมาตรฐาน การบริการเพื่อคนทั้งมวล ในปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรฐาน ความปลอดภั ย ด้ า นสุ ข อนามั ย เพื่ อ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว ที่ เรี ย กว่ า SHA หรื อ Amazing Thailand Safety & Health Administration เป็ น โครงการ ความร่ ว มมื อ ของกระทรวงการท่ อ ง เที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย (ททท.) และกระทรวง สาธารณสุ ข โดยกรมควบคุ ม โรค กรมอนามั ย กรมสนั บ สนุ น บริ ก าร สุ ข ภาพ และหน่ ว ยงานภาครั ฐ และ เอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น ส่ ว นหนึ่ ง ของมาตรการควบคุ ม และ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัส COVID-19 ในภาคการท่องเทีย่ ว ท�ำให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วทั้ ง ชาวไทยและชาว ต่ า งชาติ ไ ด้ รั บ ความปลอดภั ย ด้ า น สุ ข อนามั ย จากสิ น ค้ า และบริ ก าร พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานสินค้า และ บริการทางการท่องเที่ยวของไทยไป ในเวลาเดียวกัน (การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย, 2563) มาตรฐาน SHA มีความเกีย่ วข้องกับ โดยตรงกับการท่องเทีย่ วเพือ่ คนทัง้ มวล เพราะนอกจากผู้ประกอบการและผู้ให้ บริการจะต้องปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไป ตามเกณฑ์มาตรฐาน SHA ซึง่ ก�ำหนดไว้ อย่างเคร่งครัดแล้ว ยังต้องให้ความ ส�ำคัญและรองรับการท่องเที่ยวเพื่อคน ทั้งมวลได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ดังต่อไปนี้
1. จัดท�ำจุดคัดกรอง และพืน้ ทีพ่ เิ ศษ ส�ำหรับรับรองนักท่องเทีย่ วกลุม่ นี้ ซึง่ จะ ต้ อ งเพิ่ ม พื้ น ที่ เ พื่ อ เว้ น ระยะห่ า งทาง สังคม พร้อมกับมีป้ายสัญลักษณ์บอก ชัดเจน 2. จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่ หรือ อุปกรณ์เจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ หรือ น�้ำยาฆ่าเชื้อโรค ซึ่งนักท่องเที่ยวทุกคน สามารถเข้ า ถึ ง ได้ อ ย่ า งสะดวกและ ปลอดภัย 3. จ�ำกัดจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้า มาใช้บริการให้เหมาะสมกับศักยภาพ ของพื้นที่และกิจกรรมแต่ละประเภท เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและการดูแล อย่างทั่วถึง 4. ยกระดับมาตรฐานการท�ำความ สะอาดและการฆ่ า เชื้ อ ภายในพื้ น ที่ การขายสินค้าและการให้บริการ 5. เพิ่ ม มาตรการการตรวจสอบ ความปลอดภัยและการปนเปื้อนของ วั ต ถุ ดิ บ ที่ จ ะน� ำ มาประกอบอาหาร ให้แก่นักท่องเที่ยว การเพิ่มมาตรการ การท� ำ ความสะอาดและการฆ่ า เชื้ อ ในพื้นที่จัดเก็บอุปกรณ์ รวมถึงพื้นที่ ก�ำจัดของเสีย การควบคุมอุณหภูมิให้ เหมาะสมภายในพื้ น ที่ เ ก็ บ วั ต ถุ ดิ บ ตลอดจนการจั ด ท� ำ ป้ า ยและฉลาก เตือนบนอาหารส�ำหรับนักท่องเที่ยว ที่มีปัญหาการแพ้อาหารบางประเภท 6. อบรมให้ความรู้แก่พนักงานผู้ให้ บริการภายในองค์กร ในด้านมาตรฐาน
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
การท�ำความสะอาด การฆ่าเชือ้ การดูแล สุขภาพของตนเอง และวิธกี ารให้บริการ แก่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วทุ ก ประเภทอย่ า ง ปลอดภัย ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการเตรียมความ พร้ อ มในเรื่ อ งการประชาสั ม พั น ธ์ สถานที่ และการมี คู ่ มื อ หรื อ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ความพร้ อ มในการเข้ า ถึ ง แหล่งท่องเที่ยวเป็นเรื่องส�ำคัญไม่แพ้ การออกแบบเพือ่ คนทัง้ มวล (Universal Design) ในแหล่งท่องเที่ยว หรือที่พัก ร้านอาหารต่างๆ หากนักพัฒนาได้จัด Workshop เพื่อหาแนวทางแก้ไขจากการวิเคราะห์ แผนทีก่ ารเดินทางของกลุม่ นักท่องเทีย่ ว (Customer Journey Map for Accessible Tourism) ที่แตกต่างกัน ออกไป จะช่ ว ยท� ำ ให้ เข้ า ใจเส้ น ทาง ของการสื่ อ สารและจุ ด การสร้ า ง ความประทับใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ อี ก กลยุ ท ธ์ ห นึ่ ง ที่ ช ่ ว ย ท�ำให้การท่องเทีย่ วแบบเข้าถึงได้เป็นไป ได้ ดี แ ละด� ำ เนิ น ไปในทางเดี ย วกั น ควรสร้ า งมาตรฐานที่ น� ำ ไปใช้ ไ ด้ ใ น วงกว้าง และมีการมอบรางวัลแก่ผู้ท่ี สามารถท�ำได้ดีและเป็นต้นแบบให้กับ ธุรกิจอื่นๆ ทั้งยังควรสนับสนุนให้มีทูต รณรงค์ ก ารท่ อ งเที่ ย วแบบเข้ า ถึ ง ได้ เพือ่ สร้างก�ำลังใจในการท�ำงาน และเป็น ตัวแทนขององค์กร ในด้านการให้ความ ส�ำคัญกับการท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้
56
3 กรณีศึกษาในประเทศไทย และต่างประเทศ
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
57
3.1
กรณีศึกษาในต่างประเทศ 3.1.1 การท่องเทีย่ วแบบเข้าถึงได้ ในประเทศสเปนและออสเตรเลีย จากการศึกษาหัวข้อ ออสเตรเลีย และสเปน ในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวที่ เข้าถึงได้ (Australia and Spain as accessible tourism destinations) ของ Domínguez Vila, Darcy, and Alén González พบว่า ทัง้ สองประเทศ มีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างให้ ทันสมัยและตอบสนองความต้องการ ของนักท่องเที่ยว “ทุกคน” ทั้งด้าน สถาปั ต ยกรรม การวางผั ง เมื อ ง
การขนส่ง การสื่อสารและการให้ข้อมูล รวมถึงการออกแบบกิจกรรมสันทนาการ เนื่ อ งจากมองเห็ น ว่ า การพั ฒ นา บริ ก ารให้ เ หมาะสมกั บ กลุ ่ ม ลู ก ค้ า ที่ เฉพาะเจาะจงเช่นนี้ จะช่วยสร้างความ ได้เปรียบในการแข่งขันกับประเทศอืน่ ๆ ส่วน Darcy and Dickson (2009) ได้ศึกษาโครงการ Sydney for All ใน ออสเตรเลียที่ปรับปรุงสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกต่างๆ และมีบริการช่วยเหลือ คนพิการให้ได้สัมผัสประสบการณ์ใน สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย ว 18 แห่ ง ในย่ า น
ศูนย์กลางธุรกิจของซิดนียแ์ ละพืน้ ทีใ่ กล้ เคียง เช่น ซิดนียโ์ อเปร่าเฮาส์ พิพธิ ภัณฑ์ The Rocks สวนพฤกษศาสตร์ อุทยาน แห่งชาติท่าเรือซิดนีย์ เป็นต้น ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การจะ ปรับเปลี่ยนแหล่งท่องเที่ยวทั่วไปให้ สามารถรองรับนักท่องเที่ยว “ทุกคน” ได้ ต ้ อ งอาศั ย ความร่ ว มมื อ กั น ของ ผู้ประกอบการ กลุ่มองค์กรไม่แสวงหา ผลก�ำไร ภาครัฐ โดยให้ความส�ำคัญกับ การขนส่ง ที่จอดรถ ห้องน�้ำ และระบบ ทางเดินที่เชื่อมโยงกัน เป็นต้น
ภาพที่ 14 ระบบการขนส่งสาธารณะในประเทศสเปน
แหล่งที่มา: https://www.simplyemma.co.uk/accessible-city-guide-barcelona/
สัญลักษณ์ที่ใช้
ในการช่วยให้นักท่องเที่ยวทุกคนสามารถรับรู้ถึง ระดับการเข้าถึงสินค้าและบริการที่เหมาะสม
สัญลักษณ์ระบบบรรยายโดยใช้เสียง
สัญลักษณ์สากลของการเข้าถึงสถานที่ และห้องน�้ำส�ำหรับผู้พิการรถเข็น
สัญลักษณ์ระบบช่วยฟังทางหู
สัญลักษณ์ส�ำหรับทางเดิน ที่เหมาะกับผู้พิการทางสายตา
สัญลักษณ์ค�ำบรรยาย แทนเสียง
สัญลักษณ์บง่ บอกถึงการใช้ภาษามือ
สัญลักษณ์โทรศัพท์พิมพ์ดีด (โทรศัพท์ ข้อความ หรืออุปกรณ์การสื่อสาร โทรคมนาคมเพื่อคนหูหนวก)
ภาพที่ 15 แสดงตัวอย่าง Sydney for All – ประเทศออสเตรเลีย แหล่งที่มา: https://sydneyforall.com/
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
58
ภาพที่ 16 เรือเฟอรี่ในซิดนี่ย์
แหล่งที่มา: https://transportnsw.info/travel-info/using-publictransport/accessible-travel/accessible-ferry-travel
ภาพที่ 17 ระบบการค้นหาเส้นทาง
แหล่งที่มา: http://seelikeme.org/community/ news/2019-08-23/accessible-signs-open-sydney-streets
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
59
ภาพที่ 18 อุทยานแห่งชาติที่เหมาะส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่มากับรถเข็น แหล่งที่มา: https://www.nationalparks.nsw.gov.au/access-friendly
จากเอกสารของ UNWTO ได้กล่าว ถึงสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งซึ่งเป็น ตัวอย่างที่ดี ในด้านการให้ทุกคนเข้าถึง ได้ ทั้ ง นี้ ข อยกตั ว อย่ า ง 2 สถานที่ เด่นๆ คือ 3.1.2 ความสามารถในการเข้าถึงใน เมืองท่องเทีย่ วและเมืองประวัตศิ าสตร์ (Accessibility in Historic and Tourist Cities) เมืองอาบิลา (Ávila) เป็นเมืองหลัก ของจังหวัดอาบิลา ตั้งอยู่บนพื้นที่สูง ที่สุดของประเทศสเปน ได้รับการขึ้น ทะเบียนเป็นมรดกโลกจาก UNESCO ตั้งแต่ปี 2528 เมืองท่องเที่ยวแห่งนี้นับว่าเป็นผู้น�ำ ในด้ า นการท่ อ งเที่ ย วแบบเข้ า ถึ ง ได้
ได้รับรางวัลมากมาย เช่น The Queen Sofia Award และได้รบั การประกาศให้ เป็น European Access ในปี 2554 (Avilaturismo, n.d.; UNWTO, 2015) ในช่วงยุคกลาง เมืองอาบิลาถือเป็นทีต่ งั้ ที่ส�ำคัญทางยุทธศาสตร์ จึงมีการสร้าง ป้อมปราการและก�ำแพงเมืองล้อมรอบ ทีผ่ า่ นมามีการอนุรกั ษ์และบูรณะอย่างดี ท�ำให้เมืองแห่งนีม้ แี นวก�ำแพงทีส่ มบูรณ์ ที่สุดในยุโรป ยาว 2,500 เมตร สูง 12 เมตร และหนา 3 เมตร ม ร ด ก ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม แ ล ะ ประวัติศาสตร์อันยาวนานสะท้อนให้ เห็นถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่หลาก หลาย – เซลติกส์ โรมัน อาหรับ และ คริสเตียน มีโบสถ์โรมันโบราณที่ได้รับ การอนุรัก ษ์อย่างดีจ�ำนวนมาก เช่น
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
มหาวิหาร San Vicente หรือ San Andrés, San Segundo, โบสถ์ San Pedro มี พ ระอารามที่ ง ดงามของ Santo Tomas ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยใน ฤดูร้อนของพระมหากษัตริย์ และเป็น มหาวิหารสถาปัตยกรรมกอธิก แห่งแรก ในสเปน ด้วยความที่อาบิลามีสถาปัตยกรรม ยุคกลางทีส่ มบูรณ์หลงเหลือเป็นจ�ำนวน มาก ท�ำให้ได้รับการประกาศให้เป็น Historic-Artistic Ensemble ในปี 2554 และเมื อ งมรดกโลกจาก UNESCO (League of Historical and Accessible Cities, 2013) การประกาศเหล่านี้ท�ำให้อาบิลาได้ รั บ การยอมรั บ มากขึ้ น ทั้ ง ในระดั บ ประเทศและระหว่างประเทศ
60
ภาพที่ 19 ความสามารถในการเข้าถึงในเมืองท่องเที่ยวและเมืองประวัติศาสตร์ (Accessibility in Historic and Tourist Cities) แหล่งที่มา: https://zeroproject.org/policy/spain/
ภาพที่ 20 สิ่งอ�ำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวของศูนย์ให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวเมือง Ávila แหล่งที่มา: http://www.avilaturismo.com/en/
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
61
Braille models in the Yvira Reta visitors’ centre.
Green trail.
Walkways for all.
ภาพที่ 21 สิ่งช่วยอ�ำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ อีกวาซู (Iguazú National Park) ในประเทศอาร์เจนตินา แหล่งที่มา: https://www.iguazufallstours.info/visit-iguazu-pioneer-national-park-accessibility/
อย่างไรก็ตาม เมืองประวัติศาสตร์ แห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินเขา ในอดีตนักท่อง เที่ยวจึงต้องเอาชนะความท้าทายด้าน ภูมศิ าสตร์ หากต้องการไปชมความงาม แต่ ป ั จ จุ บั น สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วส� ำ คั ญ หลายแห่ง เช่น โบสถ์ The San Vicente พระอารามทีง่ ดงามของ Santo Tomas ได้ รั บ การปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาให้ นักท่องเที่ยว “ทุกคน” สามารถเข้าถึง ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว ในฐานะผู ้ บุ ก เบิ ก ด้ า นการเข้ า ถึ ง มรดกทางศิ ล ปะและประวั ติ ศ าสตร์ ในปี 2553 อาบิลาได้รบั รางวัล European Commission Award ส�ำหรับเมืองที่ เข้าถึงได้ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของเมือง อาบิลามีสิ่งช่วยอ�ำนวยความสะดวก เช่น มีรถวีลแชร์ไว้ให้เช่า (Wheelchairs Loan) ระบบลู ป ช่ ว ยในการได้ ยิ น (Magnetic Loop) ข้อมูลค�ำแนะน�ำทั้ง ในภาษาเขียนและอักษรเบรลล์ รวมถึง แผ่ น พั บ ให้ ข ้ อ มู ล สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย ว ส�ำหรับนักท่องเทีย่ วทุกคน มีการจัดสรร ที่จอดรถ มีค�ำอธิบายสัญลักษณ์ต่างๆ และเส้นทางส�ำหรับการเดินทางที่ง่าย และสะดวก (Avilaturismo, n.d.)
3.1.3 ความสามารถในการเข้าถึง สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วทางธรรมชาติ (Accessibility in Natural Surroundings) อุทยานแห่งชาติอีกวาซู (Iguazú National Park) ในประเทศอาร์เจนตินา ที่ ตั้ ง ของน�้ ำ ตกอี ก วาซู น�้ ำ ตกที่ ใ หญ่ ทีส่ ดุ ในทวีปอเมริกาใต้ ซึง่ ได้รบั การขึน้ ทะเบียนเป็นมรดกโลกจาก UNESCO ตั้ ง แต่ ป ี 2527 คื อ ตั ว อย่ า งที่ ดี ข อง การปรับปรุงและพัฒนาพืน้ ทีใ่ ห้เหมาะสม กั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วทุ ก คน โดยเฉพาะ นักท่องเที่ยวที่ต้องการความช่วยเหลือ เป็นพิเศษ เพื่อให้คนกลุ่มนี้สามารถ เข้ามาสัมผัสความงามได้ ปัจจุบนั ทางอุทยานจัดท�ำทางเดินให้ เหมาะสม โดยที่ มี พื้ น ราบเรี ย บและ ไม่ค่อยชันมาก รวมถึงมีทางเข้าส�ำหรับ รถวี ล แชร์ และมี ป ้ า ยบอกพร้ อ ม สั ญ ลั ก ษณ์ ก� ำ กั บ ตามจุ ด ท่ อ งเที่ ย ว ในอุทยาน และยังมีค�ำอธิบายแผนที่ เป็นอักษรเบรลล์ รวมถึงสงวนทีจ่ อดรถ ส�ำหรับกลุ่มบุคคลเหล่านี้
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
อุ ท ยานแห่ ง ชาติ อี ก วาซู มี อ งค์ ประกอบทีส่ ำ� คัญเพือ่ ให้อยูใ่ นคุณสมบัติ ของการเป็นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วทีส่ ามารถ เข้าถึงได้ ดังต่อไปนี้ 1. ทางเท้าทั้งหมดในพื้นที่อุทยาน และบริเวณน�ำ้ ตกถูกสร้างขึน้ เพือ่ รองรับ รถวีลแชร์ และมีทางเดินเพื่อคนพิการ ทางสายตา 2. อาคารทุกหลังมีทางลาดส�ำหรับ รถวีลแชร์ พื้นของอาคารถูกปรับให้ เรียบเสมอกัน 3. มี ห ้ อ งน�้ ำ ในทุ ก ส่ ว นของสวน สาธารณะ 4. มี ส ่ ว นเชื่ อ มต่ อ กั บ สถานี ร ถไฟ และศูนย์อาหาร 5. ประตูทางเข้ามีความกว้างรองรับ ผู้ใช้รถวีลแชร์ 6. ราวบันไดและทางเดินในสวน สาธารณะ กั้นด้วยไม้สองชั้นเพื่อความ ปลอดภัยของเด็กและผู้ใช้รถวีลแชร์ 7. มี ก ารก� ำ หนดเส้ น ทางสี เขี ย วที่ ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีทางลาดเรียบ 8. รถไฟน�ำเทีย่ ว Jungle Ecological Train ขับเคลื่อนโดยใช้ก๊าซปิโตรเลียม เหลว (LPG) ในรถไฟมีพื้นที่รองรับผู้ใช้ รถวีลแชร์
62
9. ส�ำหรับคนพิการและกลุม่ คนทีไ่ ม่ สามารถเคลื่ อ นไหวได้ ด ้ ว ยตนเอง อุทยานจะมียานพาหนะขนาดเล็กให้ บริการพาไปยังจุดต่างๆ 10. มีรถวีลแชร์ ซึ่งดัดแปลงเป็น พิ เ ศษให้ บ ริ ก ารในพื้ น ที่ อุ ท ยานและ บริเวณน�้ำตก รวมถึงจุดท่องเที่ยวต่างๆ สามารถใช้งานได้ฟรี อุ ท ยานแห่ ง ชาติ อี ก วาซู นั บ เป็ น แหล่งท่องเทีย่ วแห่งแรกในประเทศทีใ่ ห้ ความส� ำ คั ญ ในเรื่ อ งนี้ หลั ง จากนั้ น อุ ท ยานแห่ ง ชาติ Talampaya ก็ มี การปรับปรุงทางเดินที่ทุกคนเข้าถึงได้ เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
รวมถึงรถไฟไอน�้ำ “The Train of the End of the World” ในเมือง Ushuaia เมื อ งท่ อ งเที่ ย วตอนใต้ สุ ด ของทวี ป อเมริกาใต้ ก็ได้รับการปรับปรุงส�ำหรับ นักท่องเที่ยวทุกคนเช่นกัน (Argentina Travel Agency, 2017) อาร์ เ จนติ น าจึ ง ถื อ เป็ น หนึ่ ง ใน ประเทศจุ ด หมายปลายทางที่ เ ตรี ย ม ความพร้อมส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้อย่าง เท่าเทียมกับคนอืน่ ทัว่ ไป ซึง่ คนกลุม่ นีม้ ี อยู่ประมาณร้อยละ 10 ของประชากร ทั้งประเทศ
63
3.2
กรณีศึกษาในประเทศไทย ในประเทศไทยเริ่มเห็นความส�ำคัญ ของการท่องเทีย่ วแบบเข้าถึงได้บา้ งแล้ว โดยมี ก ารส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ สถาปนิกออกแบบและสร้างสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกที่เหมาะสมส�ำหรับผู้สูง อายุและคนพิการ ประชากรทัง้ สองกลุม่ นี้มีจ�ำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจาก ประเทศไทยก�ำลังก้าวสูก่ ารเป็นสังคมผู้ สูงอายุเต็มรูปแบบ ขณะเดียวกันก็มีจ�ำนวนคนพิการที่ ได้รับการออกบัตรประจ�ำตัวคนพิการ จ�ำนวน 1,995,767 คน คิดเป็นร้อยละ 3.01 ของประชากรทั้ ง ประเทศ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่ น คงของมนุ ษ ย์ กรมส่ ง เสริ ม และ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ, 2562) คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่พยายามใช้ชีวิต เหมือนคนทั่วไป โดยไม่ต้องการสร้าง ปัญหาและภาระให้กับสังคม เน้นการ
ช่วยเหลือตนเองมากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ อย่างไรก็ตามพวกเขาล้วนปรารถนาการ ท่องเที่ยวและพักผ่อน แนวโน้มของ ตลาดกลุ่มนี้จึงมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวไทย หรือต่าง ประเทศ ด้วยปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ภาครัฐ และภาคเอกชน เริ่ ม มี ก ารออกแบบ ที่ เ น้ น การออกแบบเพื่ อ คนทั้ ง มวล ทั้งทางลาด ทางเดินแก่คนพิการทาง สายตา ห้องน�ำ ้ ตัง้ แต่สถานีบริการน�ำ้ มัน ร้ า นอาหาร แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว ธุ ร กิ จ น�ำเที่ยว ตลอดจนธุรกิจโรงแรมที่พัก ซึ่งมีรูปแบบห้องพักรองรับคนกลุ่มนี้ เพิม่ มากขึน้ คณะผู้จัดท�ำขอยกตัวอย่างสถานที่ ท่องเทีย่ วและผูใ้ ห้บริการ ทีน่ ำ� แนวคิดนี้ ไปปรับใช้ได้ดี ได้แก่
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
3.2.1 บ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ท จังหวัดพังงา บ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ท จังหวัด พังงา ถือเป็นต้นแบบของโรงแรมและ ทีพ่ กั ทีน่ ำ� ความรูด้ า้ นการออกแบบเพือ่ คนทั้งมวล มาปรับใช้ได้เป็นอย่างดี รีสอร์ทแห่งนี้มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มครอบครัว โดยค�ำจ�ำกัดความ ‘ครอบครัว’ ในมุมของบ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ท หมายถึง ทุกความทรงจ�ำของ ครอบครัว ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงผู้อาวุโส คนทัว่ ไปและคนพิการ ดังนัน้ สมาชิกทุก คนในครอบครัวจึงควรได้รับความพึง พอใจโดย ‘ปราศจากสิ่งกีดขวาง’ ด้วยเหตุนี้บ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ท จึงมีค�ำขวัญว่า ‘ไม่จ�ำกัด ไม่มีขอบเขต’ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผลักดันให้มุ่งเน้นการ บริการที่ตอบสนองความต้องการของ คนพิการด้วย
64
สิ่ ง อํ า น ว ย ค ว า ม ส ะ ด ว ก ใ น รี ส อ ร์ ท
1. ก า ร เ ดิ น ท า ง ไ ป ยั ง รี ส อ ร ์ ท (Accessible Travel to Resort) - รถบริ ก ารรถรั บ ส่ ง มี พื้ น ที่ รองรับผู้ใช้รถวีลแชร์ - รถบริการรถรับส่ง มีทางลาด ส� ำ หรั บ รถวี ล แชร์ เพื่ อ ความสะดวก ในการเคลื่อนย้าย - มีรถวีลแชร์ส�ำรองและอะไหล่ ส�ำหรับซ่อมแซม - รถบริการรับส่ง ติดตั้งอุปกรณ์ ที่ ช ่ ว ยอ� ำ นวยความสะดวกและเพิ่ ม ความปลอดภั ย เช่ น แผ่ น ทางลาด รถวีลแชร์, ที่ยึดรถวีลแชร์ไว้กับตัวรถ 2. การเช็ ก อิ น เข้ า พั ก ในรี ส อร์ ท (Resort Check-in) - พื้ น ที่ ก ว้ า งขวาง พื้ น ผิ ว เรี ย บ เสมอกัน ไม่ลื่น และไม่มีสิ่งกีดขวาง ทางเดิน - บริเวณพื้นที่ต ้อนรับ หรือจุด เช็กอิน มีพื้นที่กว้างขวาง - มีพนักงานคอยให้ความช่วยเหลือ 3. ห้องพักและสิง่ อ�ำนวยความสะดวก (Accessible Accommodation/ Facilities)
- ภายในห้องพักมีพนื้ ทีก่ ว้างขวาง ให้รถวีลแชร์สามารถเข็นผ่านและหมุน รถกลับไปมาได้สะดวก - การวางต� ำ แหน่ ง ของเฟอร์ นิเจอร์ไม่กีดขวางทางเดินรถวีลแชร์ - ภายในห้องพักมีสัญญาณบอก เหตุหรือเตือนภัยทัง้ สัญญาณทีเ่ ป็นเสียง และแสง - ห้องน�้ำกว้างขวาง มีพื้นที่ว่าง ภายในห้องเพื่อให้รถวีลแชร์สามารถ หมุนตัวกลับได้ - โถสุขภัณฑ์เป็นแบบชนิดนัง่ ราบ มี ร าวจั บ กั น ลื่ น ในห้ อ งน�้ ำ เพิ่ ม ความ ปลอดภัย - มีการติดตั้งระบบสัญญาณแสง และสัญญาณเสียงเมือ่ เกิดเหตุฉกุ เฉินให้ ผู้ที่อยู่ภายนอกทราบ - อ่ า งล้ า งมื อ ด้ า นที่ ติ ด ผนั ง ไป จนถึงขอบอ่างเป็นทีว่ า่ งเพือ่ ให้เก้าอีล้ อ้ รถวีลแชร์สอดเข้าไปได้ - มีที่นั่งส�ำหรับอาบน�้ำ - สระว่ายน�้ำมีลิฟต์ให้ผู้พิการใช้ ส�ำหรับขึ้นลงสระว่ายน�้ำ - มีรถวีลแชร์ชายหาดให้ยืม - ให้บริการยืมรถวีลแชร์ส�ำหรับ คนพิการ
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
4. กิจกรรม (Accessible Activities) - ทดลองเรียนด�ำน�้ำในสระ - โปรแกรมเรียนด�ำน�้ำลึกส�ำหรับ ผู้พิการ - พายคายัค/พายซัพบอร์ด - ทดลองท�ำผ้าบาติก - เรียนท�ำอาหาร 5. ทัศนศึกษา (Accessible Excursions) - ชมพระอาทิ ต ย์ ต กที่ ช ายหาด หน้ารีสอร์ท - ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ภูไข่นุ้ย - ไหว้พระ 4 วัดส�ำคัญจังหวัด พังงา - ชมเมืองเกาะตะกั่วป่า - ออนเซนน�้ำพุร้อนรมณีย์ - อุ ท ยานแห่ ง ชาติ อ ่ า วพั ง งา เขาตาปู เดาะปันหยี เป็นต้น 6. เช็ ก เอาท์ แ ละเดิ น ทางไปยั ง สนามบิ น (Check-out/ Airport Transfer) - รถบริการรถรับส่ง มีทางลาด ส�ำหรับรถวีลแชร์เพื่อความสะดวกใน การเคลื่อนย้าย
65
ภาพที่ 22 สิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่เน้นการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) ของบ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ท จังหวัดพังงา แหล่งที่มา : baankhaolakbeachresort.com
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
66
ภาพที่ 23 สิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่เน้นการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) ของเอ-วัน พัทยา บีช รีสอร์ท แหล่งที่มา : https://www.aone-pattaya-resort.com/beachresort/
3.2.2 เอ-วัน พัทยา บีช รีสอร์ท เอ-วัน พัทยา บีช รีสอร์ท โรงแรม ระดั บ 4 ดาว ตั้ ง อยู ่ ใ นพั ท ยาเหนื อ จังหวัดชลบุรี เป็นโรงแรมทีส่ ร้างขึน้ ใหม่ เพื่อผู้สูงอายุและคนพิการโดยเฉพาะ มีกลุ่ม “เอ-วัน กรุงเทพ-พัทยา” เป็น ผู้ลงทุน ใช้งบประมาณแรกเริ่ม 150 ล้านบาท แต่คนทั่วไปก็สามารถไปใช้ บริการได้เป็นอย่างดี โดย เอ-วัน พัทยา บีช รีสอร์ท ได้รับรางวัล “สถานที่เอื้อ ต่ อ คนพิ ก ารระดั บ ดี ” ในปี 2552 และ 2553 สิง่ อ�ำนวยความสะดวกเพือ่ ผูพ้ กิ าร และผู้สูงอายุ - ทางเดินเข้าโรงแรมสร้างเป็นทาง
ลาดได้ระดับส�ำหรับรถวีลแชร์ คนพิการ หรื อ ผู ้ สู ง อายุ ที่ นั่ ง รถวี ล แชร์ ส ามารถ สัญจรไปไหนต่อไหนได้อย่างสะดวก สบายทั่วโรงแรมในทุกชั้น - ลิ ฟ ต์ มี ท างเข้ า -ออก สะดวก รองรับรถวีลแชร์ ขนาดของลิฟต์ใหญ่ กว่าลิฟต์ของโรงแรมทัว่ ไป มีปมุ่ กดเป็น ตั ว อั ก ษรนู น ใหญ่ พ อที่ จ ะช่ ว ยให้ ผู ้ มี สายตาไม่ ป กติ ส ามารถสั ม ผั ส และ ช่วยเหลือตนเองได้ - สระว่ า ยน�้ ำ สร้ า งชั้ น ต่ า งระดั บ ส�ำหรับผู้สูงอายุไว้ด้วย - หน้าลิฟต์มตี วั หนังสือบอกเส้นทาง ไปยังห้องพัก - ภายในห้ อ งมี สิ่ ง อ� ำ นวยความ สะดวกครบครัน ส�ำคัญที่สุดคือห้องน�้ำ
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
มีขนาดใหญ่ บริเวณโถสุขภัณฑ์และ อ่ า งอาบน�้ ำ มี ร าวเหล็ ก ให้ จั บ มี ปุ ่ ม สัญญาณฉุกเฉินส�ำหรับเหตุฉุกเฉิน - ผนังห้องน�้ำด้านที่ติดกับห้องนอน จะเป็นกระจกใส มีมู่ลี่สามารถเปิดจาก ด้านนอกห้องน�้ำได้ หากเกิดเหตุการณ์ ไม่คาดฝันกับคนพิการหรือคนสูงอายุที่ ใช้ ห ้ อ งน�้ ำ อยู ่ คนที่ อ ยู ่ ด ้ า นนอกจะ สามารถช่วยได้ทัน - เมนู เ ซ็ ต เพื่ อ สุ ข ภาพจะไม่ มี เนื้อสัตว์ติดมัน แต่เน้นพลังงานจาก โปรตีนของผักและปลาทะเลที่ย่อยง่าย ผ่านกรรมวิธีปรุงด้วยการอบ นึ่ง และ ย่างเท่านั้น เหมาะกับวัยของผู้สูงอายุ ที่เข้าพัก - ห้องพักมีขนาดใหญ่กว่ามาตรฐาน
67
ภาพที่ 24 สิ่งอ�ำนวยความสะดวกแก่คนพิการที่เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี แหล่งที่มา : https://www.yaklakyim.com/5-friendly-design
ของห้องดีลักซ์ทั่วไป เตียงนอนขนาด กว้ า งและใหญ่ ฟู ก ไม่ อ ่ อ นหรื อ แข็ ง จนเกินไป หมอนและผ้าปูนอนนุ่มลื่น - ขนาดของประตู ก ว้ า งและสู ง เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ โซฟา สั่งท�ำขึ้น ใหม่ พิ เ ศษเพื่ อ ให้ มี ข นาดใหญ่ แ ละ สะดวกต่อการใช้งาน โทรทัศน์แบบจอ แบนขนาด 32 นิ้ ว เพื่ อ ให้ ม องเห็ น ชัดเจน ส�ำหรับห้องอาบน�ำ้ มี 2 ส่วน คือ แบบใช้ฝักบัว และแบบอ่างอาบน�้ำ - ทางหนีไฟมีการออกแบบให้เป็น ทางลาดส�ำหรับรถเข็นวีลแชร์ 3.2.3 เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี เกาะกลางน�้ำที่เกิดขึ้นจากการขุด คลองลัดแม่น�้ำเจ้าพระยา เป็นชุมชน
ของคนมอญ โดดเด่นเรื่องเครื่องปั้น ดินเผา ปั จ จุ บั น เกาะเกร็ ด มี ก ารปรั บ ปรุ ง สิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ส�ำหรับ คนพิการ เพื่อให้ด�ำรงชีวิตและเดินทาง ได้ โ ดยอิ ส ระ ไม่ ว ่ า จะเป็ น ที่ จ อดรถ คนพิการ ทางลาดขึน้ ท่าเรือ ทางลาดลง โป๊ะ ป้ายบอกทาง ห้องน�้ำคนพิการ ฯลฯ นั บ เป็ น การปรั บ โฉมสู ่ ชุ ม ชน ต้นแบบที่เพิ่มความสะดวกปลอดภัย แก่คนพิการและทุกคนในสังคม 3.2.4 พิพธิ ภัณฑ์เหรียญ กรุงเทพฯ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วั ฒ นธรรม ที่ตระหนักถึงคุณค่าและความส�ำคัญ ของเหรียญกษาปณ์ไทย ในฐานะที่เป็น
เงินตราหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และยังเปรียบเสมือนเป็นบันทึกทาง ประวัติศาสตร์ที่สามารถบอกเล่าถึงวิถี ชีวติ ความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ สังคม และ ศิลปวัฒนธรรมไทย พิพธิ ภัณฑ์เหรียญ เหมาะส�ำหรับผูท้ ี่ สนใจค้นคว้า ศึกษาเรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์ เหรียญเงินตรา ทั้งของประเทศไทย และนานาชาติในแต่ละยุคสมัยจนถึง ปัจจุบนั รวมทัง้ ยังเป็นศูนย์กลางส�ำหรับ นั ก สะสมเหรี ย ญทางพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ไ ด้ ออกแบบสถานที่เพื่อรองรับประชาชน ทุกเพศทุกวัย โดยมีที่จอดรถส�ำหรับ คนพิ ก าร ลิ ฟ ต์ โ ดยสาร ทางลาด อั ก ษรเบรลล์ ปุ ่ ม กดเพื่ อ รั บ ฟั ง เสี ย ง บรรยาย ฯลฯ
ภาพที่ 25 สิ่งอ�ำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการที่พิพิธภัณฑ์เหรียญ กรุงเทพฯ แหล่งที่มา : https://www.yaklakyim.com/5-friendly-design
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
68
3.3
การท่องเที่ยวแบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล กับแนวทางการพัฒนาในประเทศไทย จากการวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนา หลั ก สู ต รด้ า นการท่ อ งเที่ ย วแบบ ครบวงจรเพื่ อ คนทั้ ง มวลทั้ ง ในและ ต่ า งประเทศ สามารถแบ่ ง แนวทาง การพั ฒ นาได้ ทั้ ง หมด 7 หั ว ข้ อ หลั ก ดังภาพที่ 25 หั ว ข้ อ ย่ อ ยสี แ ดง คื อ หั ว ข้ อ ที่ ประเทศไทยได้ มี ก ารจั ด อบรมใน หลักสูตรด้านการท่องเที่ยวแบบครบ วงจรเพื่อคนทั้งมวล หรือเพื่อคนพิการ และผู้สูงอายุแล้ว 1. Theory and Concept คือ หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีของการเข้า ถึงคนพิการ ทั้งทางการแพทย์และทาง สั ง คม โดยในประเทศไทยให้ ค วาม ส� ำ คั ญ กั บ การอบรมพั ฒ นาแนวทาง ปฏิบัติส�ำหรับให้บริการคนพิการและ ผู้สูงอายุเป็นหลัก 2. Basic Understanding คือ ความเข้ า ใจพื้ น ฐานที่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งรู ้ ตั้งแต่นิยาม ความหมาย หลักการ ชนิด และประเภทของนักท่องเที่ยวในกลุ่ม การท่ อ งเที่ ย วแบบครบวงจรเพื่ อ คน ทั้งมวล ประเทศไทยได้มีการจัดอบรม โดยกรมการท่องเที่ยว ในประเด็นเรื่อง
สถานการณ์และแนวโน้มสถิติคนพิการ และผู้สูงอายุ รวมถึงการเตรียมพร้อม ต้อนรับและดูแลนักท่องเที่ยวในกลุ่มนี้ 3. D i s a b i l i t y E t i q u e t t e ก า ร ป ฏิ บั ติ ต น ใ ห ้ เ ห ม า ะ ส ม กั บ นักท่องเที่ยวในกลุ่มนี้ รวมถึงมารยาท ในการให้ บ ริ ก าร เข้ า ถึ ง เข้ า ใจ โดยประเทศไทยยังไม่ได้ให้ความส�ำคัญ กั บ เรื่ อ งนี้ ม ากนั ก แต่ ไ ด้ มี ก ารอบรม ส่งเสริมให้เข้าใจในหัวข้อเรือ่ งพฤติกรรม ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วกลุ ่ ม คนพิ ก ารและ นักท่องเทีย่ วสูงอายุโดยกรมการท่องเทีย่ ว 4. Laws กฎหมายควรรู ้ เ กี่ ย วกั บ คนพิ ก าร สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน และความ เท่ า เที ย มทางสั ง คมในประเด็ น นี้ ต่ า งประเทศให้ ค วามส� ำ คั ญ แต่ ใ น ประเทศไทยยั ง ไม่ มี ก ารจั ด อบรม ในหัวข้อนี้เลยจากการศึกษาในครั้งนี้ 5. Universal Design การออกแบบ เพื่อคนทั้งมวล นับเป็นหัวข้อหลักของ การท่ อ งเที่ ย วแบบครบวงจรเพื่ อ คน ทั้ ง มวล ในหั ว ข้ อ นี้ ไ ม่ ไ ด้ มี เ พี ย งเรื่ อ ง การออกแบบสิ่งอ�ำนวยความสะดวก เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการสร้าง ประสบการณ์ แ ละสั ม ผั ส ที่ เ ข้ า ถึ ง
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
ความสุ ข ที่ แ ท้ จ ริ ง ของนั ก ท่ อ งเที่ ย ว กลุ่มนี้ เช่น การใช้แสงสร้างอารมณ์ สีทแี่ สดงถึงความรูส้ กึ รวมถึงมาตรฐาน การออกแบบสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ภายในบ้านและการขนส่ง โดยกระทรวง คมนาคมได้ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การ ออกแบบเพื่ อ คนพิ ก ารในภาคขนส่ ง ของไทยเช่นกัน 6. Communication การสื่อสาร เป็ น อี ก หนึ่ ง หั ว ข้ อ ที่ ใ นต่ า งประเทศ มีการจัดหลักสูตรขึ้น เพื่อสร้างรูปแบบ การสื่ อ สารครบวงจร ตั้ ง แต่ ก ่ อ น การเดินทาง ระหว่างการเดินทาง และ หลังจากเสร็จสิ้นการเดินทาง รวมถึง การออกแบบเว็บไซต์ ช่องทางการสือ่ สาร เป็ น ต้ น ทั้ ง นี้ ยั ง ไม่ มี ห น่ ว ยงานใด จัดอบรมหัวข้อนี้ในประเทศไทย 7. Auditing Skills การพัฒนา ทักษะผู้ตรวจสอบด้านการท่องเที่ยว แบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล เป็นอีก หัวข้อหนึ่งที่ในต่างประเทศให้ความ ส�ำคัญ เพื่อสร้างมาตรฐาน แนวทาง ปฏิ บั ติ ที่ นั ก พั ฒ นาหรื อ ผู ้ เ กี่ ย วข้ อ ง สามารถน�ำไปประเมินได้ในแต่ละกลุ่ม สินค้า หรือบริการด้านการท่องเที่ยว
69
• อะไรคือ การเข้าถึง
และการท่องเที่ยว เพื่อคนทั้งมวล ชนิดของผู้พิการ และคนทั้งมวล สถานการณ์และแนวโน้ม สถิติของผู้พิการ และผู้สูงอายุ การเตรียมความพร้อม
• • • •
• ทฤษฎีของการเข้าถึง คนพิการ • แนวทางปฏิบัติ ในการให้บริการ • ทางการแพทย์ และทางสังคม
Theory and concept
Auditing Skills
• การปฏิบัติตนให้เหมาะสม • มารยาทในการเข้าถึง เข้าใจผู้พิการ • พฤติกรรมนักท่องเที่ยว ผู้พิการและผู้สูงอายุ
Basic Understanding
Disability Etiquette
Tourism for all
• การพัฒนาทักษะ ผู้ตรวจสอบ
Laws
• กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ • Human right สิทธิมนุษย์ • ความเท่าเทียมทางสังคม
มาตรฐานด้านการท่องเที่ยว เพื่อคนทั้งมวล
Communication
• การเตรียมความพร้อมก่อนการเดินทาง ผ่านการสื่อสารออนไลน์ • การสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อคนทั้งมวล • การจัดตั้ง platform เพื่อการสื่อสาร แบบครบวงจรในแหล่งท่องเที่ยว
Universal Design
• อารยสถาปัตย์ • การสร้างสัมผัสแห่งความสุข • การออกแบบและจัดสรรโดยค�ำนึงถึง สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อผู้พิการทางสายตา • แสงและการเข้าถึงทั้งมวล • มาตรฐานของบ้านส�ำหรับ Wheelchair • มาตรฐานการบริการด้านการขนส่ง
ภาพที่ 25 แนวทางการพัฒนา Tourism for All ทั้งหมด 7 หัวข้อหลัก
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
70
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
71
4 แนวทางปฏิบัติ:
ที่นักพัฒนาควรรู้ในเรื่อง การท่องเที่ยวแบบครบวงจร เพื่อคนทั้งมวล
A
B
C
D
ภาพที่ 27 ลักษณะและระยะของการใช้มือในการหยิบจับจากเก้าอี้ล้อ แหล่งที่มา: ภูริน หล้าเตจา และสุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย, (2555)
4.1
สิ่งอำ�นวยความสะดวกสำ�หรับกลุ่มมนุษย์ล้อ (Wheelchair Users) เรียบเรียงเนื้อหาจาก World Tourism Organisation (UNWTO), (2015, 2016) โดย ดร. เมธาวี ว่องกิจ จากการศึกษาของ ภูริน หล้าเตจา และสุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย พบว่า ในกลุ่ม มนุษย์ลอ้ มักยืน่ มือเพือ่ เอือ้ มจับสิง่ ทีอ่ ยู่ รอบข้าง ในลักษณะที่แตกต่างจากคน ปกติทวั่ ไป เพราะมักจะยืน่ มือไปทางด้าน ข้างมากกว่าด้านตรง เนือ่ งจากสามารถ เอื้อมแขนได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีส่วน ของเก้าอีล้ อ้ มาเป็นอุปสรรค (ภาพที่ 27)
เมื่อทราบถึงข้อจ�ำกัดบางประการ ของมนุษย์ลอ้ การออกแบบพืน้ ทีใ่ ช้สอย ตลอดจนสิง่ อ�ำนวยความสะดวกจึงต้อง ค�ำนึงถึงการเข้าถึงเป็นส�ำคัญ เพื่อให้ สถานที่และบริการด้านการท่องเที่ยว นั้ น ปราศจากสิ่ ง กี ด ขวาง และกลุ ่ ม มนุษย์ลอ้ สามารถเข้าถึงบริการได้อย่าง สะดวกสบาย
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
ส�ำหรับประเด็นที่ผู้ประกอบการใน ธุรกิจต่างๆ ตลอดจนผูใ้ ห้บริการในแหล่ง ท่องเทีย่ วควรจะค�ำนึงถึง หากต้องการ บริ ก ารกลุ ่ ม มนุ ษ ย์ ล ้ อ ได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ สรุปเป็นตารางดังต่อไปนี้
72
4.1.1 ตารางแสดงสิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับการท่องเที่ยวเพื่อรองรับกลุ่มมนุษย์ล้อ (Wheelchair Users) แยกตามกลุ่มผู้ให้บริการ บริการด้านที่พักแรม
บริการด้านแหล่งท่องเที่ยว / ผู้ให้บริการด้านสถานที่ท่องเที่ยว
1. ลานจอดรถแยกพิเศษส�ำหรับกลุ่มผู้มีความจ�ำเป็นต้องใช้รถ วีลแชร์อย่างน้อย 2 ช่องจอด ความกว้างของช่องลานจอดรถ ขั้นต�่ำคือ 3.6 เมตร
1. มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน เข้าใจง่าย เกี่ยวกับ การเดิ น ทาง หรื อ การเข้ า ถึ ง สถานที่ มี รู ป ภาพ มี ข ้ อ มู ล สถานที่ที่ใกล้เคียงที่จ�ำเป็น อาทิ ตู้ ATM โรงพยาบาล ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านรับซ่อมรถวีลแชร์
2. ลานจอดรถพิเศษ ควรตั้งอยู่ไม่ไกลจากประตูทางเข้าสถาน ประกอบการเกิน 25 เมตร
2. การเปิดให้บริการจองตั๋วเพื่อเข้าชมสถานที่ ผ่านช่องทาง Online เพือ่ หลีกเลีย่ งการเข้าคิว การเปิดช่องทางด่วน Fast Track เพื่ออ�ำนวยความสะดวกในการเข้าสู่สถานที่
3. มีปา้ ยติดตัง้ ตรงบริเวณลานจอดรถแยกพิเศษ ระบุหมายเลข โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือ
3. ลานจอดรถแยกพิเศษส�ำหรับกลุ่มผู้มีความจ�ำเป็นต้องใช้ รถวีลแชร์อย่างน้อย 2 ช่องจอด ความกว้างของช่องลานจอด รถ ขั้นต�่ำคือ 3.6 เมตร
4. ประตูทางเข้าหลักมีความกว้างขั้นต�่ำ 0.9 เมตร
4. ลานจอดรถพิเศษ ควรตั้งอยู่ไม่ไกลจากประตูทางเข้าสถาน ประกอบการเกิน 25 เมตร
5. มีทางลาดส�ำหรับรถวีลแชร์ โดยทางลาดต้องเชื่อมต่อกับ ประตูทางเข้า
5. มีปา้ ยติดตัง้ ตรงบริเวณลานจอดรถแยกพิเศษ ระบุหมายเลข โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือ
6. ป้ า ยบอกทางต่ า งๆ ควรมี ตั ว อั ก ษรอ่ า นง่ า ย เห็ น ชั ด มีสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย เป็นสากล
6. ประตูทางเข้าหลักสูภ่ ายในตัวอาคารต่างๆ ควรมีความกว้าง ขั้นต�่ำ 0.9 เมตร
7. ประตูอัตโนมัติ หรือมีปุ่มกดเปิดประตู หรือกริ่งเพื่อเรียก พนักงานในการให้ความช่วยเหลือเพื่อเปิดประตู
7. จัดท�ำทางลาดส�ำหรับรถวีลแชร์ โดยทางลาดต้องเชื่อมต่อ กับประตูทางเข้า
8. ลิฟต์โดยสาร มีปุ่มกดตรงกับระดับการใช้งานของบุคคล เมื่อนั่งรถวีลแชร์
8. ป้ ายบอกทาง ตลอดจนป้า ยข้อ มู ลของแหล่งท่อ งเที่ยว ควรมีตัวอักษรที่อ่านง่าย มองเห็นชัด มีสัญลักษณ์ที่เข้าใจ ง่าย เป็นสากล
9. ลิฟต์โดยสารมีขนาดความกว้างทีส่ ามารถรองรับการเข้า-ออก ของ รถวีลแชร์ และมีการติดตัง้ กระจกฝัง่ ตรงข้ามประตูลฟิ ต์ โดยสาร เพื่อให้สามารถมองเห็นการเปิด-ปิดของประตูลิฟต์ โดยสาร
9. เป็ น ประตู อั ต โนมั ติ หรื อ มี ปุ ่ ม กดเปิ ด ประตู หรื อ มี ก ริ่ ง เพื่อเรียกพนักงานในการให้ความช่วยเหลือเพื่อเปิดประตู
10. ลิฟท์โดยสารมีระบบเสียงประกาศ
10. ลิฟต์โดยสาร มีปมุ่ กดตรงกับระดับการใช้งานของบุคคลทีใ่ ช้ รถวีลแชร์
11. มีเคาน์เตอร์ หรือโต๊ะ เก้าอี้ ส�ำหรับการให้บริการเช็กอิน หรือ มีเคาน์เตอร์บริการเช็กอินพิเศษ ส�ำหรับกลุ่มผู้ใช้รถวีลแชร์
11. ลิฟต์โดยสารมีขนาดความกว้างที่สามารถรองรับการเข้าออกของรถวีลแชร์ และมีการติดตัง้ กระจกฝัง่ ตรงข้ามประตู ลิฟต์โดยสาร เพือ่ ให้สามารถมองเห็นการเปิด-ปิดของประตู ลิฟต์โดยสาร
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
73
บริการด้านแหล่งท่องเที่ยว / ผู้ให้บริการด้านสถานที่ท่องเที่ยว
บริการด้านที่พักแรม 12. มีบริการรถวีลแชร์ ให้ยืมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
12. ลิฟต์โดยสารมีระบบเสียงประกาศ
13. ทางเดินในโรงแรมต้องมีความกว้างที่สามารถรองรับรถวีล แชร์ได้
13. มีบริการรถวีลแชร์ ให้ยืมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
14. ระดับความสูงของที่ตั้งบริการอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ภายใน ห้องอาหาร ควรอยู่ที่ 0.85-0.9 เมตร
14. มีบริการผู้ช่วยส่วนบุคคล โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
15. รายการเมนูอาหาร หรือป้ายบนที่ตั้งบริการอาหารแบบ บุฟเฟ่ต์ ควรมีการระบุ หรือท�ำสัญลักษณ์ที่เห็นได้ชัด เพื่อ แจ้งส่วนประกอบอาหารส�ำคัญที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ส�ำหรับผู้มีปัญหาด้านการแพ้อาหาร
15. ทางเดินสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วต้องมีความกว้างทีส่ ามารถรองรับ รถวีลแชร์ ได้
16. ประตูห้องน�้ำ ควรมีความกว้างขั้นต�่ำ 0.9 เมตร
16. ประตูห้องน�้ำ ควรมีความกว้างขั้นต�่ำ 0.9 เมตร
17. ห้องน�ำ้ ควรมีการติดตัง้ ราวจับ การติดตัง้ อ่างล้างหน้า เครือ่ ง จ่ายสบู่หรือแชมพูควรอยู่ในระดับที่มือเอื้อมถึง ก๊อกน�้ำควร เป็นระบบเซนเซอร์อัตโนมัติ
17. ห้องน�ำ้ ควรมีการติดตัง้ ราวจับ การติดตัง้ อ่างล้างหน้า เครือ่ ง จ่ายสบู่ เครือ่ งจ่ายกระดาษช�ำระ ควรอยูใ่ นระดับทีม่ อื เอือ้ ม ถึง ก๊อกน�้ำควรเป็นระบบเซนเซอร์อัตโนมัติ
18. บริเวณอาบน�้ำ ควรมีที่นั่ง และความสูงขั้นต�่ำจากพื้นของ ฝักบัวที่ติดตั้งภายในห้องน�้ำ ควรอยู่ที่ 1.2 เมตร
18. บริเวณอาบน�้ำ ควรมีที่นั่ง และความสูงขั้นต�่ำจากพื้นของ ฝักบัวที่ติดตั้งภายในห้องน�้ำ ควรอยู่ที่ 1.2 เมตร
19. ปุม่ และสายกระตุกขอความช่วยเหลือในห้องน�ำ้ และห้องพัก ควรอยู่ในระดับที่มือเอื้อมถึงหากนั่งรถวีลแชร์
19. ปุม่ และสายกระตุกขอความช่วยเหลือในห้องน�ำ ้ ห้องเปลีย่ น เสื้อผ้า และตามพื้นที่ต่างๆ ในแหล่งท่องเที่ยว ควรอยู่ใน ระดับที่มือเอื้อมถึงเมื่อนั่งรถวีลแชร์
20. ความสูงขั้นต�่ำที่แนะน�ำของเตียงในห้องพัก เมื่อรวมกับฟูก นอนแล้ว ควรมีระดับความสูงที่ 0.55 เมตร
20. ควรจัดรอบการให้บริการน�ำเทีย่ วแยกจากรอบการน�ำเทีย่ ว ปกติ หากมีจ�ำนวนผู้ใช้รถวีลแชร์เป็นจ�ำนวนมาก
21. การตกแต่งและการติดตั้งสิ่งอ�ำนวยความสะดวก จะต้องอยู่ ในระดับที่ผู้ใช้รถวีลแชร์ สามารถเอื้อมถึงและใช้งานสะดวก
21. ควรจัดพื้นที่เพื่อหยุดพักตามจุดต่างๆ ในสถานที่ท่องเที่ยว
22. แถบสะท้อนแสงบริเวณทางต่างระดับ
22. รายการเมนูอาหาร ควรระบุ หรือท�ำสัญลักษณ์ที่เห็นได้ชัด เพื่อแจ้งส่วนประกอบอาหารส�ำคัญที่อาจก่อให้ เกิดอาการ แพ้ได้ ส�ำหรับผู้มีปัญหาด้านการแพ้อาหาร 23. การตกแต่งและการติดตัง้ สิง่ อ�ำนวยความสะดวก จะต้องอยู่ ในระดับทีผ่ ใู้ ช้รถวีลแชร์ สามารถเอือ้ มถึงและใช้งานสะดวก 24. แถบสะท้อนแสงบริเวณทางต่างระดับ
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
74
4.1.2 ตารางแสดงสิ่งอ�ำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยวเพื่อรองรับกลุ่มมนุษย์ล้อ (Wheelchair Users) หมวดผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลพื้นที่ การให้บริการเส้นทางสาธารณะ
ผู้ให้บริการสถานีขนส่ง
ผู้ให้บริการยานพาหนะขนส่ง
1. มีการเผยแพร่ข้อมูลของผู้ให้บริการ สถานีขนส่งสาธารณะทีเ่ ป็นปัจจุบนั ข้อมูลการให้บริการชัดเจน เข้าใจ ง่าย แจ้งราคาค่าบริการที่เห็นได้ อย่างชัดเจน อธิบายราคา อัตรา ค่าธรรมเนียมอย่างตรงไปตรงมา หากมี ก ารขอบริ ก ารเสริ ม ส� ำ หรั บ การดูแลเป็นกรณีพิเศษ
1. มี ก ารเผยแพร่ ข ้ อ มู ล ของผู ้ ใ ห้ บริ ก าร ขนส่งสาธารณะที่เป็นปัจจุบัน ข้อมูล การให้บริการชัดเจน เข้าใจง่าย แจ้ง ราคาค่าบริการที่เห็นได้อย่างชัดเจน อธิบายราคา อัตราค่าธรรมเนียมอย่าง ตรงไปตรงมา หากมีการขอบริการเสริม ส�ำหรับการดูแลเป็นกรณีพิเศษ
1. ป้ า ยจุ ด จอดรถโดยสารสาธารณะ ควรเห็นชัดในระยะไกล มีพื้นที่พักกว้าง เพียงพอส�ำหรับการจอดรถวีลแชร์
2. มีลานจอดรถแยกพิเศษ ส�ำหรับกลุม่ ผู ้ มี ค วามจ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ร ถวี ล แชร์ อย่างน้อย 2 ช่องจอด ความกว้างของ ช่องลานจอดรถ ขัน้ ต�ำ่ คือ 3.6 เมตร
2. มีเคาน์เตอร์ขายตั๋ว เช็กอิน หรือให้ บริการส�ำหรับผู้ต้องการการดูแลเป็น กรณีพิเศษ
2. พื้นผิวบริเวณทางเท้า ควรมีความกว้างที่ เหมาะสม รถวีลแชร์ สามารถเคลื่อนที่ได้ อย่ า งสะดวก ปลอดภั ย ความกว้ า ง ที่เหมาะสม คือ 1.5 – 2 เมตร หากเป็น ทางเท้าบริเวณป้ายจุดจอดรถโดยสาร ควรมีความกว้างขัน้ ต�ำ ่ คือ 3 เมตร พืน้ ผิว ทางเท้าควรมีความเรียบ ไม่เป็นหลุมบ่อ
3. ลานจอดรถพิเศษควรอยู่ไม่ไกลจาก ประตูทางเข้าสถานประกอบการเกิน 25 เมตร
3. เปิดช่องทางด่วน Fast Track เพือ่ อ�ำนวย ความสะดวกในการจัดที่นั่ง
3. ทางเท้า และ ถนนบริเวณทางข้าม ควรมี ระบบระบายน�้ำขังอย่างรวดเร็วในกรณี ฝนตก
4. มีป้ายติดตั้งตรงบริเวณลานจอดรถ แยกพิเศษ ระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือ
4. หากมีติดตั้งตู้ขายตั๋วอัตโนมัติ หรือตู้ Kiosk ส�ำหรับการเช็กอิน ระดับความ สูงของปุม่ บนตัวเครือ่ ง ควรอยูใ่ นระดับ ที่มือเอื้อมถึงหากนั่งรถวีลแชร์
4. สั ญ ญาณไฟข้ า มถนน ควรเห็ น ได้ ชั ด มีสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย เป็นสากล หากมี การติดตัง้ สัญญาณบริเวณทางข้าม ปุม่ กด ควรอยู่ในระดับที่ผู้ใช้รถวีลแชร์ เอื้อมถึง
5. ประตูทางเข้าหลักสูภ่ ายในตัวอาคาร ต่างๆ ควรมีความกว้างขั้นต�่ำ 0.9 เมตร
5. ผู้ให้บริการรถบัสโดยสาร เรือโดยสาร และรถไฟ มี ก ารจั ด พื้ น ที่ ใ ห้ บ ริ ก าร ส�ำหรับรถวีลแชร์
5. พืน้ ทีท่ างเท้าไม่ควรมีสงิ่ กีดขวางทีอ่ าจก่อ ให้เกิดอันตราย หากมีการก่อสร้างบริเวณ พื้นที่ทางเท้า ควรมีป้ายแจ้งเตือน และมี การจัดท�ำพื้นที่ส�ำรองเพื่อให้ผู้ใช้รถวีล แชร์ สามารถสัญจรได้
6. มีการจัดท�ำทางลาดส�ำหรับรถวีล แชร์ โดยทางลาดต้องเชื่อมต่อกับ ประตูทางเข้า
6. กรณีผู้ให้บริการรถบัสโดยสารสองชั้น ผู้ให้บริการมีระบบลิฟต์ เพื่อยกรถวีล แชร์ เข้าสู่พื้นที่ด้านในตัวรถ
6. ความสูงของขอบพื้นที่ทางเท้า ควรอยู่ ระดับเดียวกับขอบประตูรถโดยสาร หรือ รถโดยสารอาจมีบริการพื้นลาดบริเวณ ประตูทางเข้า เพื่อให้รถวีลแชร์ สามารถ เคลื่ อ นที่ เข้ า ตั ว รถได้ และลดการเดิ น สะดุดของผู้โดยสาร
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
75
ผู้ให้บริการสถานีขนส่ง
ผู้ให้บริการยานพาหนะขนส่ง
7. ป้ายบอกทาง ตลอดจนป้ายข้อมูล ของสถานีขนส่ง ควรมีตัวอักษรที่ อ่านง่าย มองเห็นชัด มีสัญลักษณ์ที่ เข้าใจง่าย เป็นสากล
7. ราวจั บ ภายในรถบั ส โดยสาร เรื อ โดยสาร และรถไฟ อยู่ในระดับที่มือ เอื้อมถึงหากนั่งรถวีลแชร์
8. ประตู อั ต โนมั ติ หรื อ มี ปุ ่ ม กดเปิ ด ประตู หรือมีกริ่งเพื่อเรียกพนักงาน ในการให้ความช่วยเหลือเพื่อเปิด ประตู
8. มีพนักงานทีไ่ ด้รบั การอบรม ให้สามารถ ช่วยเหลือผูใ้ ช้วลี แชร์ ในกรณีตอ้ งการรับ บริการ หรือต้องการการอ�ำนวยความ สะดวกในการเข้าถึงพื้นที่จ�ำกัด อาทิ ห้องสุขา เป็นต้น
9. ลิฟต์โดยสาร มีปุ่มกดตรงกับระดับ การใช้งานของผู้ใช้รถวีลแชร์ 10. ลิฟต์โดยสารมีขนาดความกว้างที่ สามารถรองรับการเข้า-ออกของรถ วีลแชร์ และมีการติดตั้งกระจกฝั่ง ตรงข้ามประตูลิฟต์โดยสาร เพื่อให้ สามารถมองเห็นการเปิด-ปิดของ ประตูลิฟต์โดยสาร 11. ลิฟต์โดยสารมีระบบเสียงประกาศ 12. มีบริการรถวีลแชร์ ให้ยมื โดยไม่มคี า่ ใช้จ่ายเพิ่มเติม 13. มีบริการผู้ช่วยส่วนบุคคล โดยไม่มี ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 14. ทางเดิ น บริ เวณสถานี ต้ องมี ค วาม กว้างที่สามารถรองรับรถวีลแชร์ ได้ 15. ประตูหอ้ งน�ำ ้ ควรมีความกว้างขัน้ ต�ำ ่ 0.9 เมตร 16. ห้ อ งน�้ ำ ควรมี ก ารติ ด ตั้ ง ราวจั บ การติดตัง้ อ่างล้างหน้า เครือ่ งจ่ายสบู่ เครื่องจ่ายกระดาษช�ำระ ควรอยู่ใน ระดับที่มือเอื้อมถึง ก๊อกน�้ำควรเป็น ระบบเซนเซอร์อัตโนมัติ
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลพื้นที่ การให้บริการเส้นทางสาธารณะ 7. แถบสะท้อนแสงบริเวณทางต่างระดับ
76
ผู้ให้บริการสถานีขนส่ง
ผู้ให้บริการยานพาหนะขนส่ง
17. บริเวณอาบน�ำ ้ ควรมีทนี่ งั่ และความ สูงขั้นต�่ำจากพื้นของฝักบัวที่ติดตั้ง ภายในห้องน�้ำควรอยู่ที่ 1.2 เมตร 18. ปุ ่ ม และสายกระตุ ก ขอความช่ ว ย เหลือในห้องน�้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และตามพืน้ ทีต่ า่ งๆ ในสถานีควรอยู่ ในระดับที่มือเอื้อมถึงหากนั่งรถวีล แชร์ 19. การจั ด พื้ น ที่ นั่ ง พั ก ภายในสถานี ขนส่งสาธารณะ 20. รายการเมนูอาหาร ควรมีการระบุ หรื อ ท� ำ สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ เ ห็ น ได้ ชั ด เพื่อแจ้งส่วนประกอบอาหารส�ำคัญ ทีอ่ าจก่อให้ เกิดอาการแพ้ได้ ส�ำหรับ ผู้มีปัญหาด้านการแพ้อาหาร 21. การตกแต่งและการติดตั้งสิ่งอ�ำนวย ความสะดวก จะต้องอยู่ในระดับที่ ผู้ใช้รถวีลแชร์ สามารถเอื้อมถึงและ ใช้งานสะดวก 22. แถบสะท้ อ นแสงบริ เวณทางต่ า ง ระดับ
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลพื้นที่ การให้บริการเส้นทางสาธารณะ
77
4.2
ความในใจจาก “คนตาบอด” ที่นักพัฒนาควรรู้ โดย คุณพีรพงศ์ จารุสาร วิทยากรจากสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย 4.2.1 คนตาบอดคือใคร คนตาบอด คือ บุคคลที่มีดวงตาทั้ง สองข้างบอดสนิทไม่สามารถมองเห็นได้ กั บ บุ ค คลที่ มี ก ารมองเห็ น เลื อ นราง แต่ ป ระเภทหลั ง นี้ อ าจจะก่ อ ให้ เ กิ ด ความสับสนแก่คนทัว่ ไปว่าตกลงเขาเป็น คนตาบอดหรือไม่ ในทางการแพทย์ถือว่าหากมีระดับ การมองเห็ น ที่ ต�่ ำ กว่ า ระดั บ ที่ แ พทย์ ก�ำหนดไว้ ถือว่าเป็นคนตาบอดเช่น เดียวกัน ดังนัน้ ขอให้ทา่ นจ�ำเอาไว้งา่ ยๆ ก็แล้วกันว่า ความหมายว่าคนตาบอด นั้ น ครอบคลุ ม ไปถึ ง บุ ค คลที่ มี ร ะดั บ การมองเห็นเลือนรางด้วย ส�ำหรับประเทศไทย เรามีคนตาบอด อยู ่ ป ระมาณหนึ่ ง แสนคน เหตุ ผ ลที่ ต้องบอกว่าประมาณ เพราะยังไม่มีการ ยื น ยั น ข้ อ มู ล ทางสถิ ติ ที่ เ ป็ น เอกภาพ บางหน่วยงานนับเฉพาะคนตาบอดที่ ขึ้นทะเบียนคนพิการ บางหน่วยงาน ยึ ด ข้ อ มู ล จากองค์ ก ารอนามั ย โลก ซึ่งระบุว่าประเทศที่ก�ำลังพัฒนาจะมี ประชากรตาบอด ร้อยละ 1 ซึ่งตาม ความเห็นของผู้เขียนมองว่าหากยึดถือ ตามที่ ก ล่ า วไว้ ข ้ า งต้ น ก็ ค งมี จ� ำ นวน
น้อยกว่าหนึ่งแสนคน อย่างไรก็ตามสาเหตุที่หยิบยกเรื่อง สถิ ติ ม าอ้ า งก็ เ พื่ อ ให้ ท ่ า นทั้ ง หลาย ทราบว่าทุกท่านล้วนมีโอกาสพบเจอ คนตาบอดในทุกๆ ที่ที่เดินทาง ค�ำถาม ต่ อ มาคื อ แล้ ว จะรู ้ ไ ด้ อ ย่ า งไรว่ า เป็ น คนตาบอด ? สัญลักษณ์ที่แสดงว่าเป็นคนตาบอด ก็คอื ไม้เท้าขาวซึง่ ทุกท่านคงเคยเห็นกัน มาบ้างแล้ว ไม้เท้าขาวเป็นเครื่องมือ ส� ำ หรั บ น� ำ ทางของคนตาบอดซึ่ ง ใน การเดินทางไปตามที่ต่างๆ ส�ำหรับวิธีใช้ไม้เท้าขาวที่ถูกต้องนั้น คนตาบอดทุ ก คนที่ มี โ อกาสได้ รั บ การศึกษาในโรงเรียนสอนคนตาบอด จะได้ รั บ การสอนและฝึ ก จนช� ำ นาญ เพราะฉะนัน้ เมือ่ ท่านได้พบคนทีเ่ ดินถือ ไม้เท้าขาวในที่ต่างๆ แล้วก็จงแน่ใจได้ เลยว่ า ท่ า นได้ พ บคนตาบอดอย่ า ง แน่นอน เพราะฉะนั้นขอให้ท่านสังเกตให้ดี ก่อนว่าไม้เท้าที่เขาถือนั้นเป็นไม้เท้า ขาวท่านจะได้ตดั สินใจได้วา่ จะให้ความ ช่วยเหลือ หรือเข้าไปทักทายอย่างไรให้ ถูกต้องและเหมาะสม
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
4.2.2 แล้ ว ต้ อ งท� ำ อย่ า งไรบ้ า ง เมื่อพบคนตาบอด ค�ำถามนี้ดูจะเป็นค�ำถามที่หลายๆ ท่านมักจะถามอยู่เสมอว่า เมื่อเจอคน ตาบอดควรท�ำอะไร ต้องท�ำอะไรเป็น พิเศษหรือไม่ แล้วมีอะไรบ้างทีไ่ ม่ควรท�ำ เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจง่าย จึงขออธิบาย ดังนี้ 1. สิ่งที่ต้องท�ำ (ห้ามลืมและห้าม เผลอ) คื อ ทุ ก ครั้ ง ที่ มี ก ารพู ด คุ ย กั บ คนตาบอด กรุ ณ าท� ำ อย่ า งไรก็ ไ ด้ ใ ห้ คนตาบอดรู ้ ว ่ า ท่ า นก� ำ ลั ง พู ด หรื อ ต้องการพูดกับเขาอยู่ เพราะมีหลายคน ที่ยืนใช้ตามองจ้องหน้า แต่จะดียิ่งกว่า หากช่ ว ยบอกว่ า ท่ า นก� ำ ลั ง ยิ้ ม หรื อ อยากจะพูด อยากให้ชว่ ยเหลือ และคุย อย่างปกติสนุกสนาน เพียงแต่จ�ำเป็นต้องมีรายละเอียด เพิม่ ขึน้ ในการบอกว่าท่านก�ำลังท�ำอะไร บางท่านคิดว่าคู่สนทนาเป็นคนตาบอด จึงไม่จ�ำเป็นต้องใช้กริยาท่าทางจ�ำพวก ส่งตาหวาน ยิ้มทั้งดวงตา และมุมปาก ขอเรียนว่าไม่จริง สิ่งเหล่านี้สื่อออกมา จากน�้ำเสียง ซึ่งโดยส่วนตัวของผู้เขียน เองสามารถสัมผัสได้
78
อี ก วิ ธี ห นึ่ ง ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มเมื่ อ ต้องการจะให้คนตาบอดรู้ว่าท่านก�ำลัง พูดกับเขา คือใช้หลังมือแตะที่ต้นแขน หรื อ ที่ ข ้ อ ศอกของคนตาบอด อั น นี้ ประกันได้วา่ คนตาบอดรูไ้ ด้แน่ๆ ว่าท่าน ก�ำลังพูด หรือทักทายเขาอยู่ อย่ า งไรก็ ต ามจากที่ ผู ้ เขี ย นเคย ประสบ คือการทักทายด้วยการจับแขน บางคนแสดงออกซึง่ ความเอ็นดูดว้ ยการ คลึงอย่างรุนแรงไปที่แขนอีกด้วย ยิ่งไป กว่านั้นบางคนยื่นส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกายมาให้ผู้เขียนจับแล้วถามว่า “นี่ ใครเอ่ย จ�ำได้ไหม” หรือไม่ก็เอามือมา วางไว้ทไี่ หล่แล้วยืนเงียบไม่ยอมส่งเสียง จนกว่าผู้เขียนทักชื่อของเขาได้ถูกต้อง นั่นแหละการสนทนาถึงได้เริ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ทางที่ดีอย่าท�ำเลยดีที่สุด ไม่เกิดประโยชน์ อีกอย่างคนตาบอด ทุกคนไม่ได้มีความจ�ำเป็นเลิศกว่าคน ทั่วไปอย่างที่หลายคนก�ำลังเข้าใจอยู่ ดั ง นั้ น สิ่ ง ที่ ท ่ า นท� ำ อาจจะก่ อ ความ อึ ด อั ด หรื อ ร� ำ คาญแก่ ค นตาบอดได้ หันมาใช้วิธีที่ได้รับความนิยมกันดีกว่า นั่นคือใช้ห ลังมือแตะที่ต ้นแขน หรือ ข้อศอกก็น่าจะพอแล้ว
2. สิง่ ทีต่ อ้ งท�ำห้ามเผลอลืมอีกอย่าง หนึ่ ง คื อ เมื่ อ จะจากคนตาบอดไป เช่น ลุกไปจากที่ที่ก�ำลังนั่งคุยกันอยู่ หรือเดินจากไปก็ขอให้บอกกล่าวกัน ก่อนว่า ไปแล้วนะ เพราะหลายครั้งคุย กันอยูด่ ๆี พอจะไปก็ไปเฉยๆ คนตาบอด ที่ก�ำลังสนทนาอย่างเพลินจนลืมสังเกต สิ่งรอบข้างไปชั่วขณะก็ลืมฟังว่าเกิด อะไรขึน้ พอรูต้ วั อีกทีปรากฏว่าก�ำลังพูด กับเก้าอี้เปล่าๆ อยู่ คงไม่ตอ้ งบรรยายว่า คนตาบอดจะรู้สึกอย่างไร 3. สิง่ ทีต่ อ้ งท�ำห้ามเผลอลืมประการ สุดท้าย คือการใช้ถ้อยค�ำในการพูดคุย สนทนาเมื่อจะต้องพูดคุยถึงสิ่งที่ต้องใช้ ตา เช่น พูดถึงการดูหนัง ดูโทรทัศน์ หรือ อะไรต่อมิอะไรที่เกี่ยวข้องกับการมอง การดู หลายคนเข้าใจผิดคิดไปเองว่าเพราะ ก�ำลังคุยกับคนตาบอดซึ่งใช้ตาดูไม่ได้ เลยพยายามหลีกเลีย่ งไม่ใช้คำ� ว่าดู หรือ มอง แล้วใช้ค�ำว่าฟังแทน พอเอาไป แทนบางประโยคฟังแล้วมันก็ไม่เป็นไร หรอก แต่บางประโยคนี่สิคนทั้งบ้าน ทัง้ เมืองเขาพูดกันว่า “ดู” มาตลอดเช่น ดูโทรทัศน์ ถ้ามีคนพูดว่า “ฟังโทรทัศน์” ก็คงท�ำให้การสื่อสารผิดพลาดได้ ส่วนตัวแล้วผูเ้ ขียนให้ความส�ำคัญกับ เรื่องถ้อยค�ำอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นเมื่อ พบเจอ หรื อ ได้ ยิ น คนที่ มี พ ฤติ ก รรม ทางการใช้ถอ้ ยค�ำแปลกๆ ผิดมนุษย์มนา
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
แล้วอดไม่ได้ทจี่ ะต้องแสดงความคิดเห็น หรือบอกกล่าวให้รู้ว่าคุณก�ำลังมีส่วน ท�ำให้ภาษาไทยอันเป็นที่รักของผู้เขียน ด่างพร้อย เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้หลายท่านคง เกิดค�ำถามในใจแล้วใช่ไหมว่าแล้วต้อง พูดอย่างไร ถ้าไม่รู้จะพูดอย่างไรแล้ว ละก็พูดเหมือนที่คนอื่นเขาพูดกัน เช่น ถ้าจะชวนคนตาบอดไปดูหนัง ดูโทรทัศน์ ก็ชวนไปตรงๆ เลยว่า “ไปดูหนังกัน ไหม” แล้วถ้ามีบุคคลที่สามถามแทรก ขึ้นมา หรือแสดงกริยาให้คุณรู้สึกว่า เขาสงสัย หรืออะไรท�ำนองนี้ผู้เขียนว่า ก็ช่างเขาแล้วกัน นี่เป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้เขียนได้ น� ำ มาจากประสบการณ์ ต รงที่ เ ป็ น คนตาบอดและค�ำบอกเล่าของเพื่อนๆ พี่ๆ มาถ่ายทอดให้ท่านทราบเพื่อท่าน และคนรอบข้ า งจะได้ อ ยู ่ ร ่ ว มกั บ คนตาบอดอย่างมีความสุข สุดท้ายนีผ้ เู้ ขียนอยากย�ำ้ อีกครัง้ หนึง่ ว่ า สิ่ ง ที่ อ ธิ บ ายมาข้ า งต้ น นี้ ไ ม่ ไ ด้ หมายความว่าจะน�ำไปใช้กบั คนตาบอด ได้ ทุ ก คน คนตาบอดก็ เ หมื อ นคนตา ไม่ บ อดนั่ น แหละที่ มี ค วามรู ้ สึ ก ชอบ หรื อ ชั ง สิ่ ง ต่ า งๆ ที่ แ ตกต่ า งกั น ไป เพราะฉะนัน้ เพือ่ ให้เกิดความเข้าใจอันดี ควรจะพูดคุยกัน ศึกษาเรียนรู้ซึ่งกัน และกัน รับรองว่าท่านจะอยู่ร่วมกับ คนตาบอดอย่างมีความสุขแน่นอน
79
4.3
เทคนิคการให้บริการและการอำ�นวยความสะดวกให้แก่คนตาบอดผู้บกพร่องทางการมองเห็น โดยทีมวิทยากรกระบวนการ บริษัท นัตตี้ส์ แอดเว็นเจอร์ส์ จ�ำกัด
สนับสนุนเนื้อหาโดย
4.3.1 การเป็ น ผู ้ น� ำ เที่ ย วให้ กั บ คนตาบอดและผู ้ บ กพร่ อ งทาง การมองเห็น บทน�ำ ในส่วนนี้ได้รวบรวมข้อมูลความรู้ ขั้ น ตอน และวิ ธี ก ารต่ า งๆ เพื่ อ ให้ มั ค คุ เ ทศก์ ใช้ น� ำ คนตาบอดและผู ้ ที่ บกพร่องทางการมองเห็นเที่ยว ตลอด จนสร้างความเข้าใจทีถ่ กู ต้องว่าสิง่ ใดพึง กระท�ำหรือควรหลีกเลี่ยง โดยข้อมูล เหล่ า นี้ ไ ด้ ม าจาก SEABLE องค์ ก ร การกุศลของสหราชอาณาจักร เพื่อนัก ท่ อ งเที่ ย วที่ เ ป็ น คนตาบอดหรื อ ผู ้ ที่ บกพร่องทางการมองเห็น ในฐานะที่เป็นมัคคุเทศก์ ท่านจะ ต้องเป็นผู้สร้างความมั่นใจและความ ปลอดภัยให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่ม นักท่องเทีย่ วทีเ่ ป็นคนตาบอด การท�ำให้ ลูกค้ารู้สึกเป็นกันเอง และผ่อนคลาย มากที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ จึงเป็นโจทย์ ใหญ่ที่มัคคุเทศก์ควรใส่ใจ
แต่เนือ่ งจากนักท่องเทีย่ วแต่ละท่าน มี รู ป แบบการใช้ ชี วิ ต ที่ แ ตกต่ า งกั น มัคคุเทศก์จงึ จ�ำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้ เข้ า กั บ รู ป แบบการใช้ ชี วิ ต เหล่ า นั้ น การเสนอความช่ ว ยเหลื อ ผู ้ อื่ น เป็ น สิ่ ง ที่ ดี แต่ ส� ำ หรั บ บางกลุ ่ ม อาจเป็ น การสร้างความรู้สึกอึดอัดใจ ซึ่งสาเหตุ อาจมาจากความแตกต่ า งทางด้ า น วัฒนธรรม เพศ หรือความเป็นส่วนตัว เพราะฉะนั้ น มั ค คุ เ ทศก์ จึ ง ควร สอบถาม และคอยให้ความช่วยเหลือ นั ก ท่ อ งเที่ ย วอยู ่ เ สมอ เพราะท่ า น ต้ อ งตระหนั ก ถึ ง ความปลอดภั ย และ ความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ เพราะต้องไม่ลมื ว่าในทริปนัน้ เราคือ ผู้น�ำเที่ยวรายเดียวที่ให้บริการ ท่านจึง ต้ อ งท� ำ ตั ว ให้ เ สมื อ น “เพื่ อ น” ของ นักท่องเที่ยวทุกคน เป็นพี่เลี้ยงคอยรับ นักท่องเที่ยวจากสนามบิน พาเข้าที่พัก รวมทั้งช่วยเหลือ เช็กอิน ตลอดจนเป็น ที่ปรึกษาคอยให้ค�ำแนะน�ำระหว่างน�ำ เทีย่ ว เพือ่ จะสร้างความประทับใจทีไ่ ม่รู้
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
ลืมให้กับนักท่องเที่ยว นับตัง้ แต่ปี 2555 SEABLE พยายาม ท�ำงานอย่างหนัก เพื่อจะได้สร้างความ เข้าใจถึงความต้องการของนักท่องเทีย่ ว กลุ่มพิเศษนี้ กระทั่งพบว่า การเรียนรู้ และท� ำ ความรู ้ จั ก กั บ ลู ก ค้ า และ การสื่อสารคือกุญแจส�ำคัญ จึงได้ถอด บทเรี ย นออกมา เพื่ อ ให้ มั ค คุ เ ทศก์ ทุกคนสามารถน�ำไปปรับใช้ต่อ ดังนี้ 4.3.2 TOP TIPS • แนะน� ำ ตั ว ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วรู ้ จั ก สือ่ สารอย่างชัดเจนเมือ่ ต้องการให้ความ ช่วยเหลือ และคอยรับฟังสิ่งที่ลูกค้า ตอบกลับอย่างตั้งใจ โดยจะต้องได้รับ การยืนยันก่อนเสมอว่านักท่องเที่ยว ต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ • แนะน�ำให้น�ำมือนักท่องเที่ยวมา จับ แล้วสอบถามถึงวิธีการในการน�ำ เที่ยวว่าต้องการให้สัมผัสส่วนหัวไหล่ ข้อศอก หรือบริเวณใด ดีกว่าการจับมือ หรือจูงแขนนักท่องเที่ยว
80
• การสื่อสารคือกุญแจส�ำคัญท่าน ต้ อ งแจ้ ง หากมี อั น ตรายอยู ่ ข ้ า งหน้ า รวมทั้งบอกกล่าวเสมอว่าเขาก�ำลังอยู่ ที่ไหน ศึกษารายละเอียดเส้นทางให้ เข้าใจก่อนการเดินทางและสอบถาม อย่างสม�่ำเสมอ หากท่านใดมีค�ำถาม หรือมีความกังวล • ไม่ต้องเร่งรีบใช้เวลาที่มีอยู่อย่าง คุ้มค่า • ต้อนรับและเป็นมิตร เพราะท่าน คือเพื่อนในการเดินทางท่องเที่ยวของ นักท่องเที่ยวตาบอด และแน่นอนเรา ต้องการสร้างความทรงจ�ำที่น่าประทับ ใจให้กับเขาเหล่านี้ให้ถูกพูดถึงไปอีก อย่างยาวนาน • การเดินทางอาจเป็นช่วงเวลาที่ เคร่งเครียดได้เช่นเดียวกัน ท่านจึงต้อง รับฟังถึงความกังวลทีอ่ าจเกิดขึน้ กับนัก ท่องเที่ยว สร้างความมั่นใจว่าลูกค้าจะ ได้รับความช่วยเหลือตลอดระยะเวลา ที่อยู่กับมัคคุเทศก์ • เพลิ ด เพลิ น ในวั น หยุ ด ไปกั บ นักท่องเที่ยว
4.3.3 การเดิ น ทางมาถึ ง หรื อ เดิ น ทางออกจากปลายทาง (AT ARRIVALS OR DEPARTURES) • บริ ษั ท หรื อ หน่ ว ยงานต้ น ทาง จะต้ อ งจองทุ ก อย่ า งอย่ า งครบถ้ ว น รวมทัง้ ให้ขอ้ มูลเทีย่ วบินและการเดินทาง ของลูกค้าก่อนการเดินทาง • ท่านจะได้รับข้อมูลในด้านต่างๆ รวมทั้งป้ายชื่อ โปรแกรมการเดินทาง กิจกรรมในแต่ละวัน การแพ้อาหาร ข้อมูลด้านความพิการ ข้อมูลส่วนตัว ผู ้ ที่ ส ามารถติ ด ต่ อ ได้ ใ นกรณี ฉุ ก เฉิ น และข้อมูลเพิ่มเติมที่จ�ำเป็น • ในวั น ที่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วมาถึ ง ท ่ า น ต ้ อ ง ถื อ ป ้ า ย แ ส ด ง ชื่ อ ข อ ง นั ก ท่ อ งเที่ ย ว ในสนามบิ น จะมี ที ม ให้ความช่วยเหลือพิเศษ คอยอ�ำนวย ความสะดวกพานั ก ท่ อ งเที่ ย วมายั ง อาคารผู ้ โ ดยสารขาเข้ า เพื่ อ มาพบ กับท่าน และท่านต้องมาถึงก่อนเวลา นัดหมายเพื่อต้อนรับพวกเขา • เมื่อท่านได้พบกับนักท่องเที่ยว แล้ว แนะน�ำตัวเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
ท�ำความรูจ้ กั กับท่านในฐานะมัคคุเทศก์ ของพวกเขา ให้ ก ารต้ อ นรั บ อย่ า ง เป็ น มิ ต ร แสดงความตื่ น เต้ น ไปกั บ การเดินทางในวันหยุดพักผ่อนที่ก�ำลัง จะมาถึ ง ไม่ ต ้ อ งเป็ น กั ง วลไปเพราะ ความน่ า อั ศ จรรย์ ใจก� ำ ลั ง รอท่ า นอยู ่ • คอยสอบถามหากนักท่องเที่ยว ต้ อ งการความช่ ว ยเหลื อ ในการยก กระเป๋า หรือสัมภาระ หากพวกเขามี กระเป๋าที่มีล้อลาก ควรให้ความช่วย เหลือในการถือกระเป๋าใบนั้น ถ้าหาก เป็นไปได้อาจให้นักท่องเที่ยวจับที่ลาก กระเป๋าไปพร้อมๆ กับท่าน ซึ่งเป็นอีก หนึ่งวิธีในการน�ำทาง • ก่อนออกเดินทาง ควรตรวจสอบ ให้แน่ใจว่านักท่องเที่ยวทุกคนพร้อม ออกเดินทาง และมีเวลาในการเตรียม ตัว ในบางครั้งอาจจะต้องใช้เวลาพอ สมควรในการกางไม้เท้า หรือการจัด เก็บกระเป๋าของทุกคนเข้าด้วยกัน และ อย่ารีบ ให้แน่ใจจริงๆว่าทุกคนพร้อม • บริการรับ-ส่ง ควรแน่ใจว่าทุกคน มาพร้อมกันอย่างครบถ้วน และได้น�ำ พวกเขามายังยานพาหนะทีถ่ กู เตรียมไว้ อย่ า งถู ก ต้ อ ง แม่ น ย� ำ ไม่ ว ่ า จะเป็ น รถไฟ หรือรถยนต์ และต้องค�ำนึงว่า ความปลอดภัยมาก่อนเสมอ • เมือ่ การท่องเทีย่ วมาถึงช่วงสุดท้าย ท่านต้องพานักท่องเทีย่ วไปส่งทีส่ นามบิน พาไปยังจุดเช็กอินบัตรโดยสาร และ ช่วยเหลือในการเช็กอิน หลังจากเสร็จ เรี ย บร้ อ ย ให้ อ ยู ่ ร อจนแน่ ใจว่ า จะมี เจ้าหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือหาก นักท่องเที่ยวต้องการความช่วยเหลือ ด้านใดด้านหนึ่ง • อย่าลืมเผือ่ เวลาการเดินทางไปยัง สนามบิน เพราะอาจเกิดความล่าช้าใน จุ ด ต่ า งๆ ไม่ ว ่ า จะเป็ น จุ ด เช็ ก อิ น จุดสแกนสัมภาระ เพือ่ ทีน่ กั ท่องเทีย่ วไม่ ต้องเร่งรีบและพร้อมเดินทางกลับบ้าน อย่างมีความสุข
81
4.3.4 ที่พัก (Accommodation) • หนึ่งสัปดาห์ก่อนนักท่องเที่ยวมา ถึง ท่านต้องตรวจสอบกับทางที่พักถึง ความเรี ย บร้ อ ยว่ า พร้ อ มที่ จ ะรั บ รอง นักท่องเที่ยวตามแผนที่วางไว้หรือไม่ • เมื่อมาถึงที่พักแล้ว พานักท่อง เทีย่ วไปยังแผนกต้อนรับและเช็กอินเข้า ที่พัก แนะน�ำนักท่องเที่ยวให้รู้จักกับ พนั ก งาน หรื อ เจ้ า หน้ า ที่ เพื่ อ สร้ า ง ความคุ้นเคยและให้แน่ใจว่าการเช็กอิน เรียบร้อย • จากนัน้ พาเขาไปยังห้องพักพร้อม อธิบายเส้นทางการเดินมายังห้องพัก อย่างละเอียด ทั้งขั้นบันได ประตู และ ทางเดินต่างๆ • เมื่อพวกเขาอยู่ในห้องพักแล้วให้ ท่านอธิบายรายละเอียดต่างๆ ในห้อง พัก ทั้งต�ำแหน่งปลั๊กไฟ อุปกรณ์ต่างๆ ในห้องน�้ำ และสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ในห้อง เช่น กาต้มน�้ำ / ชา / กาแฟ ตู้เย็น ต�ำแหน่งเตียงนอน และสิ่งที่อาจ กีดขวางทางเดิน เช่น โต๊ะ / เก้าอี้ • ในบริเวณที่พัก ควรพาชมสภาพ แวดล้อมโดยรอบ เช่น สระว่ายน�้ำ บาร์ ร้านอาหาร • แนะน�ำบริเวณรับประทานอาหาร เช้าและแจ้งเวลาการให้บริการอาหาร เช้าให้ทุกคนทราบ • ช่ ว ยเหลื อ หากนั ก ท่ อ งเที่ ย ว ต้องการใช้ Wifi • ให้เวลาในการท�ำความคุน้ เคยกับ
ห้องพักและให้เวลาในการน�ำสัมภาระ ออกจากกระเป๋า • หลั ง จากท� ำ ความคุ ้ น เคยกั บ ห้องพักแล้ว ถือเป็นเวลาที่เหมาะสม ในการพูดคุยเกีย่ วกับแผนการท่องเทีย่ ว ที่จะเกิดขึ้น ถามถึงความกังวล หรือ ข้อสงสัยต่างๆ ทั้งนี้เวลาในการพูดคุย ขึ้ น อยู ่ กั บ ช่ ว งเวลาในการเข้ า เช็ ก อิ น ในวั น นั้ น อาจมี ก ารปรั บ แผนตาม ความเหมาะสม 4.3.5 รับประทานอาหาร (Meal Times) • ในฐานะมัคคุเทศก์ทา่ นต้องพูดคุย กับลูกค้าเกี่ยวกับสถานที่และเวลาที่ ลูกค้าอยากรับประทานอาหาร คอยให้ ความช่วยเหลือในการพาทุกท่านไปยัง ร้านอาหาร และพาไปนั่งที่โต๊ะ เมื่อใกล้ ถึงโต๊ะอาหารแล้วใช้วธิ กี ารขยับเก้าอีใ้ ห้ พอเหมาะกั บ ต� ำ แหน่ ง ที่ ลู ก ค้ า จะนั่ ง แทนการจับลูกค้านั่งบนเก้าอี้ที่ตั้งอยู่ • สอบถามหากลูกค้าต้องการความ ช่วยเหลือในการสั่งอาหาร ทั้งการช่วย แปลเมนูอาหารและอ่านให้ลูกค้าฟัง • เมือ่ อาหารมาเสิรฟ์ แล้ว สอบถาม หากลูกค้าต้องการให้แนะน�ำเกี่ยวกับ อาหารจานนั้น ลูกค้าอาจจะทราบดีอยู่ แล้วว่าได้สั่งอะไรไป แต่บางครั้งในจาน อาหารจะมีเครือ่ งเคียงมาด้วย เช่น สลัด หรืออืน่ ๆ ทีล่ กู ค้าอาจไม่ทราบ ดังนัน้ จึง เป็ น สิ่ ง จ� ำ เป็ น ในการระบุ ว ่ า ในจาน
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
อาหารมีอะไรวางอยู่บนนั้นบ้าง เช่น ถ้วย หรือจานใบเล็กๆ • โปรดระมัดระวังในการสั่งอาหาร แต่ล ะอย่างของลูกค้า ที่ลูกค้า ไม่เคย รับประทานมาก่อน ท่านอาจจะต้อง คอยให้ค�ำแนะน�ำถึงรสชาติและส่วน ประกอบในแต่ละเมนู 4.3.6 กิจกรรม (Activities) • ส�ำหรับ SEABLE หนึ่งสัปดาห์ ก่อนลูกค้าจะมาถึง ท่านจะได้รับข้อมูล เส้นทางการท่องเที่ยวจากส�ำนักงานใน London ท่านจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจ ว่ า กิ จ กรรมที่ ว างแผนไว้ ถู ก จองแล้ ว ทัง้ หมด และจะเปิดท�ำการในวันทีล่ กู ค้า เดินทางไปท่องเที่ยว นั่นจะช่วยท�ำให้ มั่นใจว่ากิจกรรมทุกอย่างพร้อมหรือไม่ และจะได้มีเวลาเพียงพอในการเตรียม ตัวหากมีการเปลี่ยนแปลง จ�ำนวนผู้เข้า ร่วมในแต่ละกิจกรรมจะถูกส่งให้ท่าน ล่วงหน้า • พูดคุยกับลูกค้าถึงรายละเอียด ในแต่ละกิจกรรมในช่วงแรกๆ ที่ลูกค้า เดินทางมาถึง เพื่อที่ลูกค้าจะได้ทราบ แผนทั้งหมดตลอดทั้งสัปดาห์ หากมี การเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องรีบแจ้งให้ ทุกคนทราบ และต้องแน่ใจว่าลูกค้า ยินดีในการเปลี่ยนแปลงนั้นหรือไม่ • วางแผนเรื่องนัดเวลากับลูกค้า อย่างไรก็ตามท่านควรมาถึงก่อนเวลา นัดอย่างน้อย 10 นาที และอย่ามาช้า
82
เกิ น กว่ า เวลาที่ นั ด หมาย (อย่ า ลื ม ค�ำนวณเวลารถติดและปริมาณเชือ้ เพลิง ขณะเดินทาง) • การบรรยายบรรยากาศสองข้าง ในระหว่างการท�ำกิจกรรม/ เดิน/ เทีย่ ว นั้น สามารถท�ำให้นักท่องเที่ยวรู้สึก เพลิดเพลินได้ไม่น้อย การบรรยายนี้ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี ทั ก ษะทางด้ า นใดเป็ น พิเศษ เพียงแต่อธิบายสิ่งที่เราเห็น ว่ามี ลักษณะเป็นอย่างไร สร้างบทสนทนาให้ เป็นไปตามธรรมชาติ ราวกับก�ำลังพูด
คุ ย อยู ่ กั บ บุ ค คลที่ มี ส ายตาเป็ น ปกติ เพราะค� ำ พู ด ของท่ า นจะวาดภาพใน จินตนาการของกับนักท่องเที่ยวให้ได้ จดจ�ำไปอีกแสนนาน แม้ว่าวันหยุดจะ ผ่านไปแล้วก็ตาม • ควรแจ้งให้มคั คุเทศก์ทา่ นอืน่ ๆ ให้ ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่นักท่องเที่ยว หาก มั ค คุ เ ทศก์ ท ่ า นนั้ น ไม่ ไ ด้ ใ ห้ ข ้ อ มู ล ที่ เพี ย งพอ นั่ น อาจเป็ น เพราะยั ง ไม่ มี ประสบการณ์ ใ นการน� ำ เที่ ย วให้ กั บ ผู้พิการทางสายตามาก่อน ท่านจึงควร ช่วยเหลือหรือให้ค�ำแนะน�ำ • บางครั้ ง ลู ก ค้ า อาจเกิ ด ความ เหนือ่ ยล้าหลังจากเดินทางมาแล้วทัง้ วัน ควรสอบถามให้แน่ใจหากลูกค้าต้องการ พัก ผ่อน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ท่านอาจจะต้องแบ่งกิจกรรมออกเป็น สองวัน อย่างไรก็ตามควรพูดคุยและ สอบถามความคิดเห็นจากนักท่องเทีย่ ว ก่อน หากจ�ำเป็นท่านสามารถใช้วันว่าง ที่เหลือเป็นวันเที่ยวส�ำรองได้ • ระหว่ า งการเดิ น ทางเพื่ อ ไปท� ำ กิจกรรมต่างๆ นั้น โปรดขับรถด้วย ความระมัดระวัง และไม่เร็วเกินกว่าที่
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
อัตราความเร็วก�ำหนด ปกตินกั ท่องเทีย่ ว ชาวอั ง กฤษมั ก จะระมั ด ระวั ง เป็ น พิ เ ศษในการเดิ น ทางโดยรถยนต์ ใ น ต่างประเทศ ดังนั้น การขับอย่างไม่ รีบร้อนเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการ • หากต้ อ งนั่ ง รถเป็ น เวลานาน โดยเฉพาะการเดินทางเป็นครอบครัว ท่ า นต้ อ งวางแผนเรื่ อ งการจอดพั ก เ พื่ อ ท� ำ ธุ ร ะ ส ่ ว น ตั ว ที่ เ ห ม า ะ ส ม ซึ่ ง การจอดพั ก นี้ น อกจากการเข้ า ห้ อ งน�้ ำ แล้ ว ยั ง เป็ น การให้ ลู ก ค้ า ได้ เปลี่ ย นแปลงอิ ริ ย าบถและได้ ยื ด เส้ น ยืดสายอีกด้วย • นั ก ท่ อ งเที่ ย วบางคนเป็ น กั ง วล กับการท�ำกิจกรรมบางกิจกรรม เช่น กิจกรรมกีฬา หรือกิจกรรมผจญภัยต่างๆ ท่านต้องอธิบายเพื่อสร้างความมั่นใจ และแจ้ ง เจ้ า หน้ า ที่ ที่ ท� ำ หน้ า ที่ ดู แ ล และควบคุมกิจกรรมต่างๆ ให้ทราบถึง ข้อกังวลของลูกค้า • เราต่ า งต้ อ งการภาพถ่ า ยเพื่ อ แบ่งปันสู่โลก Social Media แต่ก่อน ที่ จ ะถ่ า ยรู ป ลู ก ค้ า ลงสื่ อ โซเชี ย ลนั้ น ควรสอบถามถึงความยินยอมของลูกค้า
83
เสี ย ก่ อ นที่ จ ะน� ำ รู ป ของพวกเขาไป ปรากฏลงบนโลกออนไลน์ หากลูกค้า ยิ น ดี ท ่ า นสามารถแบ่ ง ปั น ภาพแห่ ง ความประทับใจเหล่านั้นมาแชร์ได้เลย • สังเกตว่าลูกค้ามีความสุขหรือไม่ ขณะที่ท�ำกิจกรรม หรือมีอะไรที่ลูกค้า ต้องการในระหว่างนั้นหรือไม่ 4.3.7 อะไรที่ควรท�ำเมื่อต้องน�ำ เทีย่ ว (What you should do when guiding: General information) • สอบถามนักท่องเที่ยวว่าต้องการ การน�ำเทีย่ วด้วยวิธไี หน ให้นกั ท่องเทีย่ ว จับแขนมีผู้น�ำเที่ยวดีกว่าการลาก หรือ จูงแขนนักท่องเที่ยว • หากลูกค้ามีสุนัขน�ำทางมาด้วย แล้วท่านต้องการเล่นกับสุนัข ท่านควร เข้าหาจากทางด้านหน้า (หากเข้าหา ด้านหลังสุนัขอาจตกใจ) ทั้งนี้ควรได้รับ อนุญาตจากเจ้าของสุนขั ก่อน ลูกค้าบาง ท่านชอบทีจ่ ะเดินข้างๆ ผูน้ ำ� เทีย่ วโดยที่ ไม่ต้องจับแขน หรือชอบที่จะจูงสุนัข มากกว่ า จึ ง ควรสื่ อ สารกั น ให้ เข้ า ใจ ระหว่ า งลู ก ค้ า กั บ ผู ้ น� ำ เที่ ย วเพื่ อ วิ ธี การพาเที่ยวที่ดีที่สุด • การน�ำเที่ยวเด็กๆ ที่มีปัญหาทาง สายตาก็ไม่ต่างกัน คอยให้ความช่วย เหลือพวกเขาอยูเ่ สมอ แต่ไม่ควรน�ำทาง โดยการจูงมือเด็กๆ เว้นแต่ได้มีการพูด คุยและตกลงกันมาก่อนแล้ว • หากต้องเดินเข้าห้องทีจ่ ะต้องเดิน ประกบคู่กันให้ท่านยืนถัดจากลูกค้าที่ ก�ำลังน�ำเที่ยวอยู่ และให้ลูกค้าจับแขน ท่านไว้ กรุณาท�ำแขนให้ตรงเพื่อลูกค้า จะได้รู้ว่าท่านก�ำลังจะเดินไปทางไหน ปกติแล้วลูกค้าจะเดินตามหลังเราครึ่ง ก้าว ซึ่งนั่นจะท�ำให้การเปลี่ยนทิศทาง หรือการกลับหลังหันเป็นไปได้ง่ายขึ้น • หากก�ำลังเดินเข้าใกล้ทางที่แคบ ลง หรือมีผู้คนหนาแน่น กรุณาแจ้งให้ ลูกค้าทราบว่าต้องเดินแบบแถวเดี่ยว ขยับแขนที่ลูกค้าก�ำลังจับไปทางด้าน หลังเป็นแนวตรง ท�ำให้ลูกค้าสามารถ จั บ ได้ ใ นขณะอยู ่ ด ้ า นหลั ง ของท่ า น หากกลับมายังทางเดินปกติ ให้เคลื่อน
แขนมาในลักษณะเดิม แล้วให้ลูกค้า กลับมาอยู่ด้านข้างเหมือนเดิม • เมื่ อ เข้ า ใกล้ ข อบทางเดิ น หรื อ บันได ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าเรา ก�ำลังจะเดินขึน้ หรือเดินลง ให้หยุดก่อน ถึงทางขึน้ -ลงบันได เพือ่ นักท่องเทีย่ วจะ ได้ ท ราบว่ า ก� ำ ลั ง จะมี ก ารเปลี่ ย น อิริยาบถในการเดิน ให้ลูกค้าจับราว บันได (หากเป็นไปได้) ในขณะขึ้น-ลง บันได • ควรระวังศีรษะเมือ่ มีสงิ่ กีดขวางที่ อยู่ต�่ำอยู่ด้านหน้า แจ้งให้นักท่องเที่ยว ทราบหากจ� ำ เป็ น ต้ อ งหลบหลี ก สิ่ ง กีดขวางต่างๆ • ระมั ด ระวั ง เมื่ อ จะข้ า มถนน อย่ า เพิ่ ม ความเสี่ ย งโดยการเร่ ง รี บ ให้ข้ามเมื่อมั่นใจว่าปลอดภัยเท่านั้น • เมือ่ ใกล้ถงึ ประตูทางเข้า ต้องแจ้ง ให้ลูกค้าทราบว่าประตูเปิดเข้าหาตัว หรือเปิดออกจากตัวลูกค้า • โปรดจงจ�ำไว้เสมอว่าใช้เวลาให้ คุ้มค่าและสื่อสารกับลูกค้าอยู่เสมอ
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
4.3.8 สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการ เป็นผู้น�ำเที่ยว (Don’ts of guiding) • ไม่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ค�ำว่ามอง เห็น หรือมองดู ท่านสามารถพูดคุยเป็น ปกติ เมือ่ อยูใ่ นระหว่างการสนทนา หรือ การบรรยายสิ่งของ หรือสถานที่ต่างๆ ลูกค้าจะใช้คำ� พูดแบบปกติในการสนทนา ดังนั้นท่านไม่จ�ำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ ค�ำแทน • อย่ า ท� ำ ให้ ก ารบกพร่ อ งทาง การมองเห็นของลูกค้าเป็นเรื่องใหญ่ • อย่ า ระมั ด ระวั ง เกิ น กว่ า เหตุ หรือใช้ค�ำพูดเหยียดหรือดูถูก • อย่ า สรุ ป เอาเอง หากไม่ แ น่ ใจ อะไร อย่ากลัวที่จะถาม • อย่ า ตะโกนขณะพู ด ถึ ง แม้ ว ่ า ลู ก ค้ า จะบกพร่ อ งทางการมองเห็ น แต่การได้ยินเป็นปกติดี • อย่าดึงดันทีจ่ ะให้ความช่วยเหลือ หากลูกค้าปฏิเสธความช่วยเหลือของท่าน • อย่าประมาท แล้วท่านจะท�ำได้ดี ที่สุด
84
4.4
เทคนิคการให้บริการและอำ�นวยความสะดวกแก่คนพิการทางการได้ยิน โดย ทีมวิทยากรกระบวนการ ดร.เนตรา เทวบัญชาชัย ผู้จัดการโรงแรมศาลายา พาวิลเลียน ผู ้ จั ด ท� ำ หลั ก สู ต รการบริ ก ารเพื่ อ ผูพ้ กิ ารทางการได้ยนิ พบว่าประเทศไทย มี ค นพิ ก ารทั้ ง หมด 2 ล้ า นกว่ า ราย แบ่งเป็นเพศชายร้อยละ 52.33 หรือ 1,068,145 คนและเพศหญิงร้อยละ 47.67 หรือ 973,014 คนโดยประมาณ
ตามข้อมูลพบว่าปัจจุบันมีคนพิการ ทางการได้ยนิ ร้อยละ 18.41 เป็นอันดับ 2 รองจากคนพิการทางการเคลื่อนไหว ซึ่งมีประมาณร้อยละ 49.77 ซึ่งทั้งหมด เป็นรายงานตัวเลขส�ำหรับคนพิการทีล่ ง ทะเบียนกับภาครัฐฯ ประจ�ำปี 2561 โดยยังมีคนพิการที่ไม่ได้อยู่ในระบบอีก จ�ำนวนมาก แต่กว่าร้อยละ 97.8 ของคนพิการ ทางการได้ยินมาจากครอบครัวที่มิได้ พิการทางการได้ยนิ สมาชิกในครอบครัว สามารถสื่อสารได้ด้วยวิธีการพูดและ ได้ยินปกติ ส่งผลให้คนกลุ่มนี้อาจรู้สึก ว้าเหว่และจ�ำกัดสังคมของตัวเองอยู่ เฉพาะในหมูค่ นพิการประเภทเดียวกัน แต่ในความเป็นจริง พวกเขาสามารถ ใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วไปได้โดยไม่ยาก ล�ำบากเกินไป เนือ่ งจากการได้เห็นหน้า คร่าตาและความพยายามใช้ภาษามือ เบื้องต้นง่ายๆ ของคนทั่วไป ก็จะท�ำให้ คนพิการทางการได้ยนิ รูส้ กึ ดีใจและเป็น ส่วนหนึง่ ของสังคมนัน้ ๆ ได้อย่างไม่ยาก เราจะเห็นได้ว่าหลายๆ องค์กร หรือ บริษัทจะมีเครื่องหมาย หรือภาษามือ เบื้องต้นง่ายๆ ให้บุคคลทั่วไปใช้สื่อสาร กับคนพิการทางการได้ยินที่เป็นผู้ให้ บริ ก าร เช่ น ร้ า นกาแฟที่ ใ ห้ บ ริ ก าร โดยคนพิการทางการได้ยนิ เกือบทัง้ ร้าน และธุรกิจยังด�ำเนินไปได้ โดยลูกค้าส่วน ใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและนี่ คือโอกาสที่ให้คนพิการและบุคคลปกติ ใช้ชีวิตร่วมกัน ในด้านการท่องเที่ยวของคนพิการ นั้นเป็นเรื่องที่ทุกรัฐ หรือทุกภาคส่วน ควรตระหนักให้ได้ว่า คนพิการควรได้ รับการสนับสนุนในการท่องเที่ยวเฉก เช่นบุคคลทั่วไป เนื่องจากคนพิการมี แรงจูงใจที่จะท่องเที่ยวไม่ต่างกัน ที่ผ่านมา คนพิการก็เปิดรับข่าวสาร การท่องเที่ยวต่างๆ อยู่ตลอด โดยส่วน
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
ใหญ่ มั ก จะวางแผนในการท่ อ งเที่ ย ว ก่ อ นล่ ว งหน้ า 1-2 ครั้ ง ต่ อ ปี ปี ล ะ ประมาณ 2 วันโดยเฉพาะคนพิการ ทางการเคลื่อนไหว คนพิการทางการ มองเห็น และคนพิการทางการได้ยิน โดยมักเป็นการเดินทางท่องเที่ยวโดย รถยนต์ส่วนตัว ท่องเที่ยวกับครอบครัว และท่องเที่ยวด้วยตนเอง ดังนั้น ผู้ให้ บริการในแหล่งท่องเที่ยวและต่างๆ จึง ควรได้รับการอบรมและพัฒนาให้ตอบ รับกับลูกค้าผูพ้ กิ ารหลากหลาย ไม่วา่ จะ เป็นการสร้างความทัดเทียมในสังคม หรือเป็นการเปิดโอกาสในการพัฒนา ให้ ผู ้ พิ ก ารและบุ ค คลปกติ ไ ด้ ใช้ ชี วิ ต ร่วมกันก็ตาม การเตรียมพร้อมบุคคลากรผูท้ อี่ ยูใ่ น งานบริการให้มีความรู้และทัศนคติที่ดี มีความรับผิดชอบต่อเพื่อนมนุษย์จึง เป็ น สิ่ ง ที่ ทุ ก ภาคส่ ว นทั้ ง ภาครั ฐ และ ภาคเอกชนต้องให้ความสนใจ โดยให้ ความรู ้ ผ ่ า นการอบรมพั ฒ นาเพื่ อ ให้ บุคลากรเกิดความกระตือรือร้น และ สามารถบริการคนพิการได้อย่างเหมาะสม เพราะปัจจุบนั นีม้ คี นพิการจ�ำนวนไม่นอ้ ย ที่เดินทางโดยปราศจากผู้ติดตาม จึง เป็ น หน้ า ที่ ข องเจ้ า ของสถานที่ โ ดยที่ จะต้ อ งเข้ า ใจ และเรี ย นรู ้ วิ ธี รั บ มื อ ที่ ถูกต้อง โดยพฤติกรรมของคนพิการ มักชอบ ถ่ า ยภาพและโพสภาพถ่ า ยรวมถึ ง เล่าเรื่องราวถึงแหล่งท่องเที่ยว หรือ สิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ดีต่อ พวกเขา และยังทบทวนถึงอุปสรรคและ ปัญหาที่พบ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในหมู่ คนพิการอื่นๆ ใช้เป็นข้อมูลประกอบ การพิจารณาเวลาการท่อ งเที่ยวครั้ง หน้า เพราะฉะนั้นหากองค์กรใดๆ ที่มี การเตรียมพร้อมอย่างดีก็จะส่งผลต่อ คุณภาพและชื่อเสียงขององค์กรนั้นๆ ตามไปด้วย
85
เตรียมบุคลากร และอุปกรณ์การสื่อสาร รวมถึงข้อมูล จ�ำเป็นต่างๆ
ป้ายสัญลักษณ์ เกี่ยวกับผู้พิการ
- การอบรมภาษามือเบื้องต้น - ความเข้าใจต่อผู้พิการ แต่ละประเภทรวมถึงทัศนคติ ที่ดีต่อลูกค้าผู้พิการ - เตรียมอุปกรณ์การสื่อสาร เช่น กระดานสื่อสาร / เครื่องคิดเลข / เอกสาร จ�ำเป็นต่างๆ และหรือ ตู้แปลภาษามือ
- มีเครื่องหมายสัญลักษณ์ ผู้พิการที่ทางโรงแรมพร้อม ให้การบริการบนเว็บไซด์และ บนเนื้อที่ออนไลน์ของโรงแรม ให้ชัดเจน - ตั้งป้ายสัญลักษณ์ตามข้างต้น ไว้ที่บริเวณต้อนรับของ โรงแรมและหรือที่อื่นๆ เหมาะสมภายในโรงแรม
4.4.1 SERVICE DESIGN ส�ำหรับ การบริ ก ารนั ก ท่ อ งเที่ ย วพิ ก ารทาง การได้ยิน Scenario: น้องฟ้า – น้องฟ้ารัก การเดินทางและอยากจะลองเดินทาง ไปท่องเที่ยวคนเดียว จึงได้ท�ำการจอง โรงแรมผ่ า นระบบออนไลน์ ซึ่ ง ไม่ มี ปั ญ หาในการท� ำ ระบบด้ ว ยตนเอง น้องฟ้าจะเช็กอินเข้าโรงแรมคนเดียว เรามาดู Service Design ของโรงแรม ที่พร้อมดูแลต้อนรับนักท่องเที่ยวพิการ ทางการได้ยินกัน การเตรี ย มพร้ อ มบุ ค ลากรเพื่ อ ให้ รองรั บ คนพิ ก ารทางการได้ ยิ น นั้ น มี หลากหลายวิธีการ ยกตัวอย่างเช่น 1. หากเป็ น ไปได้ ก็ ค วรเปิ ด รั บ คนพิการทางการได้ยินเข้าร่วมท�ำงาน กับองค์กร เนือ่ งจากจะท�ำให้บคุ ลากรที่ ท�ำงานร่วมกับคนพิการทางการได้ยนิ ได้ มีโอกาสพัฒนาภาษามืออย่างต่อเนื่อง และปรั บ สิ่ ง แวดล้ อ มภายในองค์ ก ร ให้คนุ้ ชินระหว่างคนพิการและคนทัว่ ไป 2. จัดจ้างให้บุคลากรมีการพัฒนา ภาษามือโดยมีอาจารย์ภายนอกมาสอน หรื อ เปิ ด โอกาสให้ มี ก ารเรี ย นรู ้ ผ ่ า น ช่ อ งทางต่ า งๆ ที่ มี เช่ น ทางออนไลน์ หรือจัดให้บุคลากรมีการค้นคว้าเกี่ยว กับคนพิการต่างๆ เพื่อน�ำข้อมูลที่เป็น
ชี้แจงข้อมูลเรื่อง ที่ตั้งห้องพักเชื่อมโยง ถึงความปลอดภัย เช่น ทางหนีไฟ หรืออื่นๆ
ชี้แจ้งช่องทางการ สื่อสารทั่วไป /ฉุกเฉิน / รีบด่วนหรือจ�ำเป็น ในระหว่างที่ลูกค้า อยู่ในห้องพัก
ชี้แจงช่องทางการ สื่อสารกับลูกค้าตลอด ระยะเวลาที่ลูกค้า พักอยู่กับโรงแรม
- แจ้งลูกค้าให้ทราบถึงต�ำแหน่ง ห้องพักว่าห่างจากทางหนีไฟ เพียงใด (ควรให้ห้องที่ติดกับ ทางหนีไฟหากเป็นไปได้) - แจ้งลูกค้าให้ทราบถึงต�ำแหน่ง ห้องพักว่าห่างจากล็อบบี้ โรงแรมเพียงใด - ทางโรงแรมควรมีแผนที่ โรงแรมง่ายๆ ให้ลูกค้าพร้อม ชี้จุดส�ำคัญต่างๆ ของโรงแรม
- แจ้งลูกค้าให้ทราบถึงวิธีการ สื่อสารกับลูกค้าหากลูกค้า อยู่ในห้องพักซึ่งอาจเป็นกรณี ทั่วไป / ฉุกเฉิน / เร่งด่วน หรือจ�ำเป็น เช่น โทรศัพท์ ไฟกระพริบ / ระบบพลาสม่า โทรทัศน์ในห้อง / หรือจดหมายสอดใต้ประตู หรือแม้แต่ระบบ social media ต่างๆ
- แจ้งลูกค้าถึงช่องทาง การสื่อสารตลอดระยะเวลา การเข้าพัก เช่น social media ไลน์ เฟสบุ๊ค หรือช่องทางอื่นๆ เช่น การโทรหาผู้ที่ใกล้ชิดกับ ลูกค้าที่สุดและสามารถเป็น ตัวกลางระหว่างโรงแรม และลูกค้าผู้พิการได้ใน บางกรณีที่จ�ำเป็น
ประโยชน์ไปพัฒนารองรับคนพิการให้ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 3. หากองค์ ก รมี ค วามพร้ อ มใน การให้บริการคนพิการ อาจมีการจัด โปรโมชันให้แก่คนพิการเพื่อชักชวนให้ มีคนกลุม่ นีห้ นั มาท่องเทีย่ วมากขึน้ และ ถือเป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับ บุคลากรขององค์กรต่อไปอีกด้วย 4. จัดส่งพนักงานไปดูงานองค์กรทีม่ ี การบริการให้กับคนพิการเพื่อหยิบจับ ความรู้ต่างๆ ไปพัฒนางานและองค์กร 5. จัดอบรมจรรยาบรรณ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการบริการคนพิการ
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
86
เช่นวิธีให้เกียรติลูกค้าคนพิการเฉกเช่น ลูกค้าทั่วไป รวมทั้งระมัดระวังที่จะพูด คุยถึงลูกค้าเพราะคิดว่าลูกค้าไม่ได้ยิน เพราะคนพิการทางการได้ยนิ หลายท่าน สามารถอ่านปากได้ดี ตลอดจนฝึกความ อดทนในการให้ขอ้ มูลรายละเอียดต่างๆ ที่หลากหลายวิธี เนื่องด้วยคนพิการ แต่ละประเภทมีข้อจ�ำกัดในการเข้าถึง ข้ อ มู ล ไม่ เ หมื อ นกั น เช่ น คนพิ ก าร ทางการได้ยินหลายคนจะไม่สามารถ เข้าใจภาษาไทยได้ดีนัก เป็นต้น ข้อมูลการท่องเทีย่ ว พบว่าคนพิการ นิยมท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติมากที่สุด โดยจะใช้จา่ ยในการท่องเทีย่ วแต่ละครัง้ มากถึง 3,000 บาท แสดงให้เห็นว่าคน พิการและไม่พิการมิได้มีการท่องเที่ยว ที่แตกต่างกัน
ส�ำหรับรูปแบบการท่องเทีย่ วของคน พิการมักกินเวลา 1-2 วัน โดยส่วนใหญ่ คนพิการชอบซื้อของที่ระลึก อาหาร เครื่องดื่ม ใช้ห้องน�้ำ ใช้บริการห้อง อาหาร รวมถึงพักค้างอ้างแรม ตาม สถานที่ต่างๆ อาทิ โฮมสเตย์ โรงแรม หรือรีสอร์ท ผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารจึ ง ควรมี ม าตราการ การเตรี ย มพร้ อ มในการต้ อ นรั บ คน พิการทางการได้ยิน ดังนี้ 1. เตรียมบุคลากรให้มคี วามสามารถ ในการใช้ภาษามือเบื้องต้นในส่วนที่จะ ต้องเกี่ยวข้องกับลูกค้าคนพิการ เช่น ข้อมูลห้องพัก ราคา และรายละเอียด สิง่ อ�ำนวยความสะดวกเป็นต้น คนพิการ บางรายจะมีข้อสงสัยและกลัวการเอา เปรียบจากบุคคลที่ไม่พิการ ดังนั้น การ ชี้แจงเรื่องราคาและรายละเอียดต่างๆ เป็นสิ่งที่ส�ำคัญและจ�ำเป็นอย่างยิ่ง 2. ให้ข้อมูลหรือแสดงเครื่องหมาย บนเว็บไซต์และสื่อช่องทางออนไลน์ ต่างๆ ถึงความพร้อมในการต้อนรับคน พิการทางการได้ยิน เช่น มีสัญลักษณ์ ของคนพิ ก ารทางการได้ ยิ น รวมถึ ง แสดงป้ายในโรงแรมบริเวณต้อนรับและ บริเวณต่างๆ โดยอาจมีประโยคต้อนรับ และให้ข้อมูลว่าบุคลากรของโรงแรม สามารถใช้ภาษามือได้บา้ งหรือเบือ้ งต้น 3. ผูใ้ ห้บริการควรสอบถามถึงระดับ การได้ยนิ ของลูกค้าพิการทางการได้ยนิ ให้ชัดเจน ตลอดจนความสามารถใน การอ่านปาก ความสามารถในการอ่าน และเข้าใจภาษาไทย เพือ่ จะได้ให้บริการ อย่างดีที่สุด 4. ข้ อ มู ล ต่ า งๆ ที่ จ ะให้ ค นพิ ก าร ทางการได้ยินนั้น หากเป็นไปได้ควรมี รูปภาพประกอบ เช่นเครื่องดื่มต้อนรับ หากเป็นน�้ำใบเตย ก็อาจจะมีภาพหรือ มีใบเตยวางไว้ข้างๆ 5. โรงแรมควรให้ ลู ก ค้ า คนพิ ก าร ทางการได้ยนิ ได้หอ้ งพักทีต่ ดิ ทางหนีไฟ หรื อ หากเป็ น ไปได้ ค วรให้ ห ้ อ งพั ก ที่ ติ ด กั บ ห้ อ ง Connecting Room เนื่องจากหากเกิดสิ่งใดขึ้น พนักงาน จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
เพราะลู ก ค้ า จะไม่ ไ ด้ ยิ น สิ่ ง ใดๆ เช่ น เสียงไฟอารามและอื่นๆ 6. ผู้ให้บริการควรอธิบายให้ลูกค้า คนพิ ก ารทางการได้ ยิ น ทราบถึ ง นโยบายที่ เ คร่ ง ครั ด เช่ น หากทาง โรงแรมต้องการสื่อสารสิ่งใดกับลูกค้า อาจส่งข้อความทางโทรศัพท์ โดยสังเกต จากไฟกระพริบ เพื่อให้ลูกค้าเดินไปที่ ล็ อ บบี้ เพื่ อ รั บ ข้ อ มู ล หรื อ อาจใช้ จดหมายสอดใต้ประตูห้อง บางโรงแรม ที่ทันสมัยอาจใช้จอทีวีเป็นตัวสื่อสาร ข้ อ มู ล กั บ ลู ก ค้ า โดยส่ ง ข้ อ ความเข้ า ระบบให้ลูกค้าอ่าน 7. ลูกค้าต้องได้ทราบว่าตนเองอยูจ่ ดุ ใดของโรงแรม รวมถึงทีต่ งั้ ของทางออก ฉุ ก เฉิ น เพื่ อ เอาตั ว รอดจากอุ บั ติ ภั ย ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ 8. ผูใ้ ห้บริการควรสอบถามถึงบุคคล ส� ำ คั ญ ของคนพิ ก ารทางการได้ ยิ น ที่ สามารถติดต่อได้ทันที หากมีสิ่งใดที่ ส�ำคัญและต้องติดต่อโดยเฉพาะในกรณี ทีค่ นพิการนัน้ มาใช้บริการเพียงคนเดียว 9. ผู้ให้บริการควรปฏิบัติต่อลูกค้า คนพิการทางการได้ยินเฉกเช่นลูกค้า ทั่ ว ไป ไม่ ว ่ า จะเป็ น พฤติ ก รรมการ ต้อนรับ ระหว่างให้บริการ หรือจบการ บริการ ไม่ควรงดหรือยกเว้นการบริการ ใ ด ก า ร บ ริ ก า ร ห นึ่ ง เ พี ย ง เ พ ร า ะ จินตนาการว่าลูกค้าไม่เข้าใจ หรืออาจ จะไม่ทราบ 10. เพือ่ ลดทอนความยุง่ ยาก และให้ ความสะดวกต่อลูกค้ามากที่สุด ผู้ให้ บริการอาจใช้บุคลากรเพียงคนเดียวใน การติดต่อหรือสือ่ สารกับลูกค้าคนพิการ ทางการได้ยินก็ได้
87
4.5
ข้อควรระวังในการให้บริการอาหาร การบริโภค และการแพ้อาหาร เขียนโดย ดร. ธรรมนูญ จรัสเลิศรังสี สิ่ ง ที่ นั ก พั ฒ นาแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว ค ว ร ค� ำ นึ ง ถึ ง อี ก เ รื่ อ ง ห นึ่ ง คื อ ความปลอดภั ย ทางด้ า นอาหาร เนื่องจากนั ก ท่ อ งเที่ ย วในยุ ค ปั จ จุ บั น ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ สุ ข อนามั ย และ ความปลอดภั ย ทางด้ า นอาหารเป็ น อย่างยิ่ง ในแนวทางการพัฒนาการท่องเทีย่ ว เพื่อคนทั้งมวล นักพัฒนาจ�ำเป็นต้อง เข้ า ใจพื้ น ฐานของนั ก เดิ น ทางที่ มี ความต้ อ งการในการดู แ ลเป็ น พิ เ ศษ
CHECKLIST
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
และระมัดระวังในการให้บริการอาหาร ตัง้ แต่วตั ถุดบิ การใช้อปุ กรณ์ สุขอนามัย สถานที่ การเก็บรักษาอาหาร ตลอดจน เตรียมการป้องกันเมื่อพบนักท่องเที่ยว ที่แพ้อาหาร ในส่วนนี้ขอน�ำเสนอข้อควรระวัง ในการให้บริการอาหาร การบริโภค และ การแพ้อาหาร โดยสรุปเป็น Checklist เพื่อให้ผู้พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว มีองค์ ความรู้ในการพิจารณาส�ำหรับเตรียม พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว
88
4.5.1 รายการที่ควรค�ำนึงถึง มี
ไม่มี
ไม่เกี่ยวข้อง
1. ภัยต่างๆ ที่มากับหรืออยู่ในผลิตภัณฑ์อาหาร
• เศษแก้วและของมีคมมีการจัดเก็บอย่างเหมาะสม • มีการสังเกตุสิ่งแปลกปลอมที่อาจจะมากับอาหาร • ขวดนํ้ายาท�ำความสะอาดและสารเคมี
2. ข้อควรระวังของวัตถุดิบ (อาหารและผลไม้) • น�้ำดื่ม เครื่องดื่ม สะอาด บรรจุในภาชนะ
• มีการใช้วัตถุดิบที่สด สะอาด และเหมาะสม • มีการจัดเก็บวัตถุดิบที่เหมาะสม
3. สถานที่
• ทางเข้าหน้าร้านสว่างพอเพียงและสะอาด
• มีการระบายอากาศที่ดี (ไม่อบอ้าว ไม่มีฝุ่น) • มีป้ายแจ้งที่ล้างมือและห้องน�้ำ
• มีที่ล้างมือและสบู่ล้างมือส�ำหรับพนักงาน • มีที่ล้างมือและสบู่ส�ำหรับลูกค้า
• มีห้องน�้ำสะอาดและเพียงพอต่อจ�ำนวนผู้ใช้ • มีการควบคุมและจัดการพาหะน�ำโรค (ไม่มีแมลงสาบ แมลงวัน หนู)
4. สุขอนามัยของผู้สัมผัสอาหาร • ผู้สัมผัสอาหารตัดเล็บ
• ผู้สัมผัสอาหารคลุมผม • ผู้สัมผัสอาหารล้างมืออย่างถูกวิธี • ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายอย่างเหมาะสม • มีการหลีกเลี่ยงการจับต้องภาชนะ
อุปกรณ์บริเวณส่วนที่ใช้สัมผัสอาหาร
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
หมายเหตุ
89
มี
ไม่มี
ไม่เกี่ยวข้อง
5. อุปกรณ์และการให้บริการอาหาร
• ใช้ภาชนะอุปกรณ์ท�ำความสะอาดได้ง่าย
• ใช้ภาชนะที่ท�ำจากวัสดุไม่มีพิษและเหมาะสม
(ระวังอาหารร้อนหรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด)
• การล้างภาชนะเหมาะสม (ด้วยน�้ำสะอาด ไม่มีสิ่งสกปรกตกค้าง • มีการเก็บภาชนะที่ผึ่งแห้งดีแล้วในบริเวณที่เก็บเหมาะสม
• มีการน�ำอุปกรณ์เก็บในตู้สะอาดไม่อับชื้น ปกปิดมิดชิด ป้องกันสัตว์ • ปรุงอาหารสุกและมีการใช้อุปกรณ์ตัก (ช้อนกลาง)
6. การป้องกันการปนเปื้อน
• มีการจัดการเก็บอาหารในตู้เย็นอย่างเหมาะสม • มีการแยกเขียงอาหารดิบและสุก
7. การเก็บอาหาร
• ตู้แช่เย็นมีอุณหภูมิ 4 องศา
• มีการจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ (ไม่ปนอาหารดิบกับอาหารอื่นๆ) • เก็บบรรจุอาหารในภาชนะที่ปกปิดมิดชิด
8. ฉลากและการเตือน
• มีป้ายแจ้งอาหารเผ็ด
• มีป้ายแจ้งอาหารมังสวิรัติ
9. การแพ้อาหาร การป้องกันเบื้องต้น และการเตือน • มีป้ายแจ้งว่ามีถั่วเป็นส่วนประกอบ • มีป้ายแจ้งว่ามีไข่เป็นส่วนประกอบ
• มีป้ายแจ้งว่ามีกุ้งเป็นส่วนประกอบ
• มีป้ายแจ้งว่ามีนมเป็นส่วนประกอบ
10. ข้อควรพิจารณาอื่นๆ
• มีการเก็บรักษาอาหารในระหว่างให้บริการอย่างเหมาะสม • มีป้ายต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ (และภาษาจีน)
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
หมายเหตุ
90
แบบทดสอบความรู้
จากการท่องเที่ยวแบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวลหลังการใช้คู่มือ 1. การท่องเที่ยวแบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวล (Tourism for All) มีความหมายอย่างไร
ก. การท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มผู้พิการ ข. การท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ ค. การท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อนักท่องเที่ยว “ทุกคน” (เช่น ผู้สูงอายุ ผู้หญิงตั้งครรภ์ และครอบครัวที่เดินทางกับเด็ก นักท่องเที่ยวที่มีสัมภาระ หรือกระเป๋าเดินทางขนาดใหญ่ หรือมีอาการบาดเจ็บแบบชั่วคราว) ง. การท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นถึงความเท่าเทียมเป็นหลัก โดยนักท่องเที่ยวทุกคนมีความเท่าเทียมกัน
2. การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบครบวงจรเพื่อคนทั้งมวลเน้นไปที่ 3 แนวคิดหลักได้แก่อะไรบ้าง
ก. ความเท่าเทียม ความยั่งยืน และความสามารถในการเข้าถึงของผู้ใช้บริการทุกคน ข. ความเท่าเทียม การพัฒนา และสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ค. การพัฒนา การเรียนรู้ และการเอาใจใส่นักท่องเที่ยว ง. สิ่งอ�ำนวยความสะดวก การบริการ และการท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้
3. การท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ (Accessible Tourism) มีความหมายอย่างไร
ก. “ทุกคน” สามารถเข้าไปยังแหล่งท่องเที่ยวได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ข. “ทุกคน” สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการของการท่องเที่ยวได้อย่างเท่าเทียมกัน ค. “ทุกคน” สามารถเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างเท่าเทียมกัน ง. ถูกทุกข้อ
4. การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) มีความหมายอย่างไร
ก. การออกแบบที่ใช้งานได้อย่างเท่าเทียมและเสมอภาค การออกแบบที่ปรับเข้ากับสถานการณ์ได้ และการออกแบบที่ง่ายตามสัญชาตญาน ข. การออกแบบที่สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและทนทานต่อการใช้งาน ค. การออกแบบที่ใช้งานได้กับผู้ใช้หลายขนาดและง่ายต่อการเคลื่อนไหวและผู้ใช้ไม่ต้องออกแรงมาก ง. ถูกทุกข้อ
5. การก�ำหนดเส้นทางการเดินทางของนักท่องเที่ยวกลุ่มพิเศษ
(Customer Journey Map) มีความส�ำคัญอย่างไร
ก. ช่วยให้นักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเข้าใจถึงกระบวนการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวกลุ่มพิเศษ ข. ช่วยให้นักท่องเที่ยวกลุ่มพิเศษสามารถวางแผนท่องเที่ยวก่อนการเดินทาง ค. ช่วยให้นักท่องเที่ยวกลุ่มพิเศษลดความกังวลตั้งแต่ยังไม่เริ่มออกจากบ้านจนถึงแหล่งท่องเที่ยว ง. ถูกทุกข้อ
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
91
6. สถานการณ์ตลาดและแนวโน้มการท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ (Accessible Tourism) เป็นอย่างไรบ้าง
ก. การท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้เป็นแค่กลุ่มย่อยจึงไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนา ข. การท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ก�ำลังกลายเป็นตลาดหลักและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนา ค. การท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้เป็นแค่กลุ่มย่อย แต่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนา ง. การท่องเที่ยวแบบเข้าถึงได้ก�ำลังกลายเป็นตลาดหลักและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษนั้นมีอยู่เป็นจ�ำนวนมากทั่วโลก และประเทศไทยถูกมองว่าเป็นสถานที่ที่มีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้
7. ปัจจัยส�ำคัญในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวส�ำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มพิเศษคืออะไรบ้าง
ก. เน้นการท่องเที่ยวและบริการที่มีคุณภาพ ข. เน้นด้านความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจด้านการบริการดูแลสุขภาพที่ดี ค. เน้นกิจกรรมที่เหมาะสมกับข้อจ�ำกัดทางกายภาพ ง. ถูกทุกข้อ
8. นิยามค�ำว่า ภาวะความพิการ (Disability) หมายความว่าอย่างไร
ก. กลุ่มผู้พิการ หรือความผิดปกติของตัวบุคคล ข. กลุ่มคนที่สติไม่สมประกอบ ค. กลุ่มคนบางกลุ่มมีข้อจ�ำกัดในการเข้าถึงสินค้าและบริการได้อย่างไม่เท่าเทียมกับบุคคลอื่นๆ ง. ถูกทุกข้อ
9. ท่านควรท�ำอย่างไรเพื่อให้คนตาบอด หรือผู้พิการทางสายตาทราบว่า
พวกท่านก�ำลังสนทนา ทักทาย หรือต้องการให้ความช่วยเหลือกับคนตาบอด
ก. ใช้หลังมือแตะที่ต้นแขน หรือที่ข้อศอกของคนตาบอดเพื่อให้พวกเขาทราบว่าคุณก�ำลังสนทนาด้วย ข. ตะโกนเรียกและใช้มือดึงให้คนตาบอดหยุดเพื่อสนทนากับคุณ ค. เอามือมาวางไว้ที่ไหล่แล้วยืนเงียบไม่ยอมส่งเสียง จนกว่าคนตาบอดจะทักชื่อของคุณได้อย่างถูกต้อง ง. ถูกทุกข้อ
10. ท่านควรท�ำอย่างไรขณะสนทนากับคนพิการทางการได้ยิน
ก. แสดงท่าทางภาษามือ แต่สีหน้านิ่งเฉย ข. แสดงท่าทางภาษามือ พร้อมแสดงสีหน้าคล้อยตามสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสาร หรือขยับปากออกเสียงพูดสิ่งที่เราต้องการสื่อสารควบคู่ด้วย ค. แสดงท่าทางภาษามือ ท�ำสีหน้านิ่งเฉย แต่ขยับปากออกเสียงพูดสนทนาด้วย ง. ขยับปากออกเสียงพูดสิ่งที่เราต้องการสื่อสารก็เพียงพอแล้ว เพราะคนพิการทางการได้ยินสามารถอ่านปากเราได้
เฉลยแบบทดสอบความรู้จากการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลหลังการใช้คู่มือ 1. ค. 2. ก. 3. ข. 4. ง. 5. ก. 6. ง. 7. ง. 8. ค. 9. ก. 10. ข. TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
92
รายการอ้างอิง Morrison, A. (2013). Marketing and Managing Tourism Destinations. London, England: Routledge. Allan, M. (2015). Accessible tourism in Jordan: Travel constrains and motivations. European Journal of Tourism Research, 10, 109-119. Ariadna, G., Lluís, P., & Lluís, C. (2015). Analysing Accessible Tourism in Religious Destinations: The Case of Lourdes, France. International Journal of Religious Tourism and Pilgrimage, l(2). doi:10.21427/D77D8J Bélanger, C. É., & Jolin, L. (2011). The International Organisation of Social Tourism (ISTO) working towards a right to holidays and tourism for all. Current Issues in Tourism, 14(5), 475-482. do i:10.1080/13683500.2011.568056 Brown, F. (1991). Tourism for all. Tourism Management, 12(3), 258-260. doi:10.1016/0261-5177(91) 90012-I Centre for Accessible Environments (CAE). (n.d.). CAE Training Courses. Retrieved from https://cae. org.uk/our-services/training/ CRC for Sustainability Tourism Pty Ltd. (2008). Accessible Tourism: Challenges and Opportunities, สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.accessibletourism.org/ resources/crc_accessible_ tourism_final_en.pdf Darcy, S., Cameron, B., Pegg, S., & Packer, T. (2008). Developing Business Cases for Accessible Tourism. Queensland, Australia: Cooperative Research Centre for Sustainable Tourism Pty Ltd. Darcy, S., & Dickson, T. J. (2009). A Whole-of-Life Approach to Tourism: The Case for Accessible Tourism Experiences. Journal of Hospitality and Tourism Management, 16(1), 32-44. doi:10.1375/ jhtm.16.1.32 Darcy, S., & Harris, R. (2003). Inclusive and Accessible Special Event Planning: An Australian Perspective. Event Management, 8(1), 39-47. doi:10.3727/152599503108751685 Deque University. (2020). International Association of Accessibility Professionals (IAAP) Certified Professional in Accessibility Core Competencies (CPACC) Certificate Preparation Course. Retrieved from https://dequeuniversity.com/curriculum/courses/ iaap-cpacc Eichhorn, V., & Buhalis, D. (2011). Accessibility: a key objective for the tourism industry. In D. Buhalis & S. Darcy (Eds.), Accessible tourism: concepts and issues (pp. 46-61). Bristol, United Kingdom: Channel View Publications. European Conference of Ministers of Transport (ECMT). (2006). Improving Transport Accessibility for All: Guide to Good Practice. Paris, Frace: OECD Publication Service สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.itf-oecd.org/sites/default/files/docs/ 06tphguide.pdf European Network for Accessible Tourism. (2018). What is accessible tourism? Retrieved from https:// www.accessibletourism.org/?i=enat.en.faq.744 European Network for Accessible Tourism (ENAT). (2018b). European Training Certificate - Access for All in the Tourism Sector (ETCAATS). Retrieved from https://www.accessi bletourism. org/?i=enat.en.enat_projects_and_good_practices.700 Loi, K. I., & Kong, W. H. (2017). Tourism for All: Challenges and Issues Faced by People with Vision Impairment. Tourism Planning & Development, 14(2), 181-197. doi:10.1080/21568316.2016. 1204357 Münch, H., & Ulrich, R. (2011). Inclusive Tourism. In A. Papathanassis (Ed.), The Long Tail of Tourism (pp. 159-169). Germany: Springer Verlag.
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
93
Scandic. (n.d.). Scandic’s Accessibility Standard, สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563, จาก https://www. scandichotels.com/explore-scandic/special-needs/accessibility-standard United Nation Economics and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP). (2016). Accessibility for all: good practices of accessibility in Asia and the Pacific to promote disability-inclusive development. Bangkok, Thailand: Author VisitEngland. (n.d.). Dementia-Friendly Tourism, สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.visitbritain. org/sites/default/files/vb-corporate/businesshub/resources/ dementia_friendly_guide_for_ tourism_businesses.pdf VisitEngland. (n.d.). Destinations for all: a guide to creating accessible destination. Retrieved from https://www.visitbritain.org/sites/default/files/vb-corporate/dmo_guide_final.pdf VisitEngland. (n.d.). Top 10 tips on inclusive hotels, สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563, จาก https://www. visitbritain.org/sites/default/files/vb-corporate/top10_tips_inclusive_for_hotels.pdf VisitEngland. (n.d.). National Accessible Scheme, สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563, จาก https://www. visitengland.com/plan-your-visit/access-all/national-accessible-scheme World Tourism Organization (UNWTO). (2013). Recommendations on acessible tourism. Madrid, Spain: Author World Tourism Organization (UNWTO). (2015). Manual on Accessible Tourism for All: Public-Private Partnerships and Good Practices. Madrid, Spain: World Tourism Organization (UNWTO) and Fundacion ACS World Tourism Organization (UNWTO). (2015). Manual on Accessible Tourism for All: Public-private Partnerships and Good Practices, สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563, จาก https://webunwto.s .euwest-1.amazonaws.com/s3fs-public/2020-04/aamanualturismoaccesibleomt-facseng.pdf World Tourism Organization (UNWTO). (2016). Accessible tourism for all: an opportunity within our reach. Madrid, Spain: Author กัลยา สว่างคง. (2560). การท่องเที่ยวส�ำหรับคนพิการ: ความท้าทายส�ำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย. มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์, วารสารวิทยาลัยราชสุดา. 13(81), หน้า 81-96. กัลยา สว่างคง และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2554). เรื่องเล่าการท่องเที่ยวของผู้พิการทางสายตาในสังคมไทย. มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์, วารสารวิทยาลัยราชสุดา. 7(2), หน้า 298-312. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). เกี่ยวกับโครงการ, สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2563, จาก https://thailandsha. tourismthailand.org/about_us สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2560). การศึกษาข้อจ�ำกัดทางการท่องเที่ยวและความตั้งใจในการเดินทางท่องเที่ยวของ คนพิ ก ารในเขตกรุ ง เทพมหานครและปริ ม ณฑล. วารสารสั ง คมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ศรี น คริ น ทรวิ โรฒ, 20 (มกราคม-ธันวาคม), 298-312. ภูริน หล้าเตจา และ สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย. (2555). สถาปัตยกรรมมนุษย์ล้อ (Architecture for Wheelchair Users), วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม / การผังเมือง (Journal of Architectural / Planning Research and Studies: JARS), 8, 1, 89-96. อิสระ อุปดี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (ก.ค.–ธ.ค. 2561)
TOURISM FOR ALL: TRAIN THE TRAINER
94
ที่ปรึกษาคณะผู้จัดทำ� ดร. ชูวิทย์ มิตรชอบ คณะผู้จัดทำ�
รองผู้อ�ำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
นายธรรมนูญ ภาคธูป นายสรวิชญ์ แสงงาม นายพรพล น้อยธรรมราช นายชัชวาล ม่วงพรวน ดร. คัชพล จั่นเพชร นางเรือนแก้ว เวสารัชชนันท์ นางสาวอัชฌา รัตนโอภาส นางสาวกัลย์ลัญญา ปลั่งกมล นางสาวชิดชณม์ณี สิริจิตต์ธงชัย ดร. แก้วตา ม่วงเกษม ดร. เมธาวี ว่องกิจ ดร. สุรีย์พรรณ เอี่ยมอ�ำนวย ดร. เนตรา เทวบัญชาชัย ผศ. ดร. วลัญชลี วัฒนาเจริญศิลป์ ดร. ธรรมนูญ จรัสเลิศรังษี นางสาวสุปรียา ม่วงรอด นายนิธิ สืบพงษ์สังข์ นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ นายสว่าง ศรีสม นายพีรพงศ์ จารุสาร
ปฏิบัติหน้าที่ผู้อ�ำนวยการศูนย์แห่งความเป็นเลิศ ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หัวหน้างานพัฒนาความร่วมมือและส่งเสริมการเรียนรู้ หัวหน้างานถ่ายทอดองค์ความรู้และให้ค�ำปรึกษา หัวหน้างานองค์ความรู้และพัฒนาหลักสูตร เจ้าหน้าที่พัฒนาพื้นที่พิเศษ เจ้าหน้าที่พัฒนาความร่วมมือและส่งเสริมการเรียนรู้ เจ้าหน้าที่บริหารยุทธศาสตร์ เจ้าหน้าที่บริหารยุทธศาสตร์ เจ้าหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้และให้ค�ำปรึกษา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้จัดท�ำหลักสูตรการบริการเพื่อผู้พิการทางการได้ยิน และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท นัตตี้ส์ แอดเว็นเจอร์ส์ จ�ำกัด เลขาธิการการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ผู้จัดการโครงการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อคนทั้งมวล สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
เ จ า ะ ลึ ก ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ บ บ ค ร บ ว ง จ ร เ พื่ อ ค น ทั้ ง ม ว ล สํ า ห รั บ นั ก พั ฒ น า แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว