คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

Page 1

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

สารบัญ


สำนักจัดการองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่เศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะผู้จัดทำ

ภายใต้กิจกรรมนำร่องการศึกษาข้อมูลขอบเขตอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบเพื่อสนับสนุนการสร้างคลังข้อมูลทรัพยากรทางการท่องเที่ยว โครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ เพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวสู่ระดับมาตรฐานสากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

สารบัญ


เรื่อง

หน้า

ทำไมต้องมีคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

สารบัญ

6

ทำความเข้าใจข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

10

เป้าหมายสำคัญในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

23

การบริโภคทางการท่องเที่ยว

31

ช้อมูลจากที่พัก

44

ข้อมูลแรงงานในสถานประกอบการที่พัก

60

ข้อมูลการบริโภคทรัพยากรพลังงาน / น้ำ

64

ข้อมูลการจัดการของเสีย ประเภทขยะ

71

ข้อมูลจากกิจกรรมการท่องเที่ยว

74

ตัวอย่างตัวชี้วัดผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เกิดจากการท่องเที่ยว

78

บทนำ


การท่องเที่ยวไม่ว่ารูปแบบใดก็ตามจำเป็นต้องใช้ "ทรัพยากร" หรือ "สภาพแวดล้อม" เป็นต้นทุนใน

การนำไปสู่องค์ประกอบของการเกิดเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวประเภทต่างๆ โดยทรัพยากรการท่องเที่ยว หลากหลายประเภทต่างดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวนั้น เมื่อเกิดการ ท่องเที่ยวในพื้นที่นั้นแล้ว นักพัฒนาการท่องเที่ยวได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่จากการท่องเที่ยว

ปัญหาที่เกิดจากการไม่สามารถรองรับการอุปโภคบริโภคเพื่อการท่องเที่ยว (tourism consumption) ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนได้

บทนำ

สิ่งที่จะทำให้นักพัฒนาการท่องเที่ยวเห็นถึงปัญหาได้ นั่นก็คือ "ข้อมูล" แต่กลับพบว่าการดำเนินงานใน

ปัจจุบันข้อมูลทรัพยากรการท่องเที่ยวนั้นยังไม่สามารถบ่งบอกถึงสถานภาพของทรัพยากรรวมถึงการระบุ ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวกับทรัพยากรนั้นได้ คู่มือการจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของ

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว นี้นั้นจะนำท่านไปสู่การชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่สามารถเลือกนำไปใช้ เพื่อการจัดทำข้อมูลการท่องเที่ยวให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการวางแผนการท่อง เที่ยวในทุกด้าน เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวของท่านสามารถระบุตำแหน่งทางการแข่งขันของตนเองและนำไปสู่ การติดตามการเติบโต หรือวัดผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรหรือชุมชนท้องถิ่นได้

คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือการจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่ง

ท่องเที่ยว ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านในการยกระดับศักยภาพของพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสู่มาตรฐานสากล

บทนำ


เมื่อคุณอ่านคู่มือนี้จบ คุณจะสามารถเข้าใจ • ภาพรวมและความสำคัญของการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ • ขอบเขตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คืออะไร • ข้อมูลที่ได้จากที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการระบุ ผลประโยชน์และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวมีอะไรบ้าง

เข้าสู่บทเรียน


ทำไมต้องมีคลังข้อมูล

ขอบเขตอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

สารบัญ

สารบัญ

ถัดไป

06


ทำไมต้องมีคลังข้อมูลขอบเขตอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

อยากทำคลังข้อมูล แต่ไม่รู้จะเก็บข้อมูลอย่างไร

ทำให้คลังข้อมูลที่มีอยู่แล้ว สมบูรณ์ขึ้น

การมีคลังข้อมูลสำคัญอย่างไรกับการ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวการรวบรวมข้อมูลเพื่อ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว อพท.ได้ยึดหลักการ 5A ของ Dickman's (1997) ซึ่งเป็นหลัก การเบื้องต้นที่กล่าวถึงองค์ประกอบของแหล่ง ท่องเที่ยว

การศึกษาแนวทางการจัดทำข้อมูลขอบเขต ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว ต้นแบบเพื่อสนับสนุนการสร้างคลังข้อมูล ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวนั้น จะวิเคราะห์ ฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่และรวบรวมข้อมูลเพิ่ม เติมในส่วนที่ยังขาดเพื่อทำให้ข้อมูลมีความ สมบูรณ์ขึ้น

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

มีข้อมูล แต่ไม่รู้จะใช้งานอย่างไร คู่มือเล่มนี้จะช่วยแนะนำแนวทางการใช้ ประโยชน์จากการมีคลังข้อมูลทรัพยากรทาง การท่องเที่ยวที่มีความสมบูรณ์ขึ้น เพื่อนำไปสู่ การวิเคราะห์ผลประโยชน์ผลกระทบที่เกิดขึ้น ในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

07


ทำไมต้องมีคลังข้อมูลขอบเขตอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

"ข้อมูล" เกิดจากคำถามว่า ต้องการใช้ประโยชน์ข้อมูลในด้านใด และ วิธีการเก็บข้อมูลต้องสัมพันธ์กับตัวชี้วัดหรือตอบคำถามในการนำไปใช้ ประโยชน์ได้ ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพนั้นจะเป็นข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับการ วางแผนการท่องเที่ยวในทุกด้าน เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวสามารถระบุ ตำแหน่งทางการแข่งขันของตนเองได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักพัฒนาการ ท่องเที่ยวจะต้องสามารถติดตามการเติบโต หรือสามารถวัดผลกระทบ ที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ จากข้อมูลที่ได้จากขอบเขตของอุตสาหกรรมท่อง เที่ยว ตัวอย่างเช่น จำนวนห้องพัก การเติบโตหรือการลดลงของจำนวน ผู้มาเยือน ปริมาณการใช้น้ำประปาและไฟฟ้าของที่พัก ค่าตอบแทนของ แรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ข้อมูลที่ดีเกิดจาก การบันทึกและเก็บข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

ข้อมูลต้องมีการจัดเรียงในรูปแบบที่สามารถ นำมาประมวลผลได้ง่ายและทันต่อการนำไปตัดสินใจ ก่อนหน้านี้

ถัดไป

08


ประโยชน์ของการจัดทำข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลสำคัญที่สามารถวัดผลกระทบทาง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภาคการท่องเที่ยว

มีข้อมูลที่สามารถจัดระดับความสำคัญ ความจำเป็น หรือประเด็น ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากภาคการท่องเที่ยว

ข้อมูลที่ดี...นำไปสู่การประสานการของบประมาณโครงการด้านการท่องเที่ยว “ระบุประเด็น เห็นระดับความสำคัญของปัญหา วัดความคุ้มค่าของโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม”

มีข้อมูลพื้นฐาน (Baseline data) ในการเปรียบเทียบผลผลิตและ ผลลัพธ์ ตลอดจนผลกระทบของการจัดทำโครงการที่ชัดเจน

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

มีข้อมูลที่สามารถระบุประเด็นปัญหาที่สามารถนำไปใช้ ในการจัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

09


ทำความเข้าใจ

ขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

สารบัญ

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

10


ทำความเข้าใจขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ความสามารถในการเข้าใจและวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ด้านการรองรับการบริการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว (Tourism Supply) นั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกที่นักจัดการการท่องเที่ยวต้องมีข้อมูลอุปทานทางการท่องเที่ยวที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพื่อนำไปสู่การเป็นฐาน ข้อมูลในการสนับสนุนการตัดสินใจวางแผนและจัดการให้สอดคล้องกับศักยภาพและบริบทของพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ โดยองค์ประกอบของ แหล่งท่องเที่ยว หรือ 5A จะทำให้มองเห็นภาพของการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของความเป็นเมืองแบบเข้าใจง่ายที่สุดนั้นมีองค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว (5A)

สิ่งดึงดูดใจ ATTRACTIONS

ที่พัก ACCOMODATIONS

กิจกรรมการท่องเที่ยว ACTIVITIES

สิ่งอำนวยความสะดวก ทางการท่องเที่ยว AMENITIES

การเข้าถึง ACCESSIBILITY

การเริ่มจากการทำความเข้าใจขอบเขต 5A นี้ก่อน เพื่อที่จะทำให้มองเห็นภาพของข้อมูลที่จะเกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ว่า จะเป็น จำนวนที่พัก จำนวนร้านอาหารที่มีในแหล่งท่องเที่ยว ปริมาณการใช้ไฟฟ้า และปริมาณการใช้น้ำที่โรงแรมที่พักใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่เกิดขึ้น เหล่านี้ล้วนจะนำไปสู่การจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

11


องค์ประกอบของการท่องเที่ยว 5A : สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) 1) สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) Dickman (1996) กล่าวว่าสิ่งที่ดึงดูดใจ จัดเป็นองค์

ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่จูงใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว ณ สถานที่นั้น ซึ่งสามารถแบ่งแยกเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนา หาดทราย ชายหาด

ภูเขา อุทยานแห่งชาติ เทศกาลต่างๆ หรือสถานที่ที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์และ

เป็นที่โด่งดัง และโดยทั่วไปสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมักจะมีสิ่งดึงดูดใจมากกว่าหนึ่ง

อย่าง อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่า เช่น สถาปัตยกรรมที่

น่าสนใจ ความเป็นมา ประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ ทรัพยากรการท่องเที่ยวควรดึงดูดความสนใจ ของนักท่องเที่ยวได้หรือมีลักษณะชวนตา ชวนใจ มีเสน่ห์เฉพาะตัวอันมีสาเหตุมาจาก (1) มีความงามตามธรรมชาติ เช่น ชายหาดทรายขาว แนวปะการังที่มีสีสันสวยงาม

รวมทั้งปลาชนิดต่างๆ ป่าที่มีพรรณไม้นานาชนิดหรือความงดงามที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทะเลสาบ รีสอร์ท เป็นต้น

(2) มีลักษณะของเหตุการณ์สำคัญเฉพาะกาล เช่น งานประเพณีในเทศกาลสำคัญของ แต่ละท้องถิ่น การจัดขบวนบุปผชาติหรือการตกแต่งขบวนพาเหรดและการแสดงใน เทศกาลต่างๆ การแสดงแสง สี เสียง ในแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

12


องค์ประกอบของการท่องเที่ยว 5A : กิจกรรมการท่องเที่ยว (Activities) 2) กิจกรรมการท่องเที่ยว (Activities) และกิจกรรมนันทนาการ (Tourist

Activities และ Recreational Activities) นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญใน

ยุคปัจจุบันเพราะการท่องเที่ยวมิได้หมายถึงเพียงแค่การเดินทางไปชมโบราณสถาน อนุสาวรีย์หรือความงดงามของธรรมชาติเท่านั้นแต่เป็นการที่นักท่องเที่ยวได้มี

โอกาสทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การเดินป่าศึกษาระบบนิเวศในป่าดิบชื้น ดูนก ส่อง สัตว์ การล่องแก่งในแม่น้ำ การปีนหน้าผา การดำน้ำในรูปแบบ Scuba Diving

หรือ Snorkeling การพายเรือแคนูในบริเวณป่าชายเลน การตกปลาหมึก ตลอด จนการร่วมกิจกรรม

กับชุมชนเจ้าบ้าน เช่น การดำนา การเกี่ยวข้าว การร่วม

พิธีบายศรีสู่ขวัญเป็นต้น กิจกรรมแสง สี เสียง ในสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ การแสดง

วัฒนธรรมพื้นบ้าน กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจะเป็น ประสบการณ์ (Experience) ที่อยู่ในความทรงจำของนักท่องเที่ยวและกิจกรรมดัง กล่าวมักก่อให้เกิดการกระจายรายได้

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

13


องค์ประกอบของการท่องเที่ยว 5A : ที่พัก (Accommodation)

3) ที่พัก (Accommodation) หมายถึง สถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้ตนเดินทางหรือนัก

ท่องเที่ยวได้เข้าพัก พร้อมการบริการอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้สถานที่ท่องเที่ยว

ควรมีจำนวนที่พักที่เพียงพอ พร้อมทั้งมีความหลากหลายด้านราคาและการบริการ และมีความเหมาะสมต่อสถานที่ และที่พักควรอยู่ไม่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวมากนัก

ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมายังแหล่งท่องเที่ยวได้ง่ายและมีความปลอดภัย นอกจากนั้นการพัฒนาธุรกิจที่พักรูปแบบต่างๆ เช่น โรงแรม รีสอร์ท บังกะโล

โฮมสเตย์ เกสต์เฮาส์ ยังเป็นแรงผลักให้มีการแข่งขันกันสูงขึ้นทั้งในระบบมาตรฐาน

การบริการที่สูงขึ้น และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการบริหารจัดการที่

เอื้อประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยว ระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติ และมีความยั่งยืน

ต่อการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

14


องค์ประกอบของการท่องเที่ยว 5A : ความสามารถในการเข้าถึงง่าย (Accessibility)

4) ความสามารถในการเข้าถึงง่าย (Accessibility) ทรัพยากรการท่องเที่ยวจะ

ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวได้มากหากมีความสะดวกในการเดินทางเที่ยวชม หากนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกและใกล้ชิด

นักท่องเที่ยวจะเกิดอรรถรสในการท่องเที่ยวได้มาก ดังนั้นแม้แหล่งท่องเที่ยวมีความ สวยงามแต่ขาดความสะดวกในการเข้าถึง นักท่องเที่ยวจะไม่เดินทางไปเที่ยวชม

หน่วยงานที่รับผิดชอบแหล่งท่องเที่ยวจำเป็นต้องดำเนินการจัดสร้างสิ่งอำนวยความ สะดวก เช่น ถนน สะพาน ที่จอดรถ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแก่นักท่อง เที่ยว การคมนาคมขนส่งและความสะดวกในการเดินทางทางมายังแหล่งท่องเที่ยว (Access) เช่น เที่ยวบิน การตรวจคนเข้าเมือง รถโดยสารสาธารณะ สภาพถนน หนทาง

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

15


องค์ประกอบของการท่องเที่ยว 5A : ความสามารถในการเข้าถึงง่าย (Accessibility) ทั้งนี้ สภาพการเข้าถึง (เส้นทางคมนาคม) หมายถึง สภาพการคมนาคมไปสู่แหล่ง

ท่องเที่ยวนั้นมีความสะดวกสบาย เหมาะต่อการเดินทางท่องเที่ยวมากน้อยเพียงใด

โดยพิจารณาจากระยะทางจากจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยวมาสู่แหล่งท่องเที่ยว เช่น ระยะทางจากตัวเมือง ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของพื้นที่นั้น เป็นต้น

พิจารณาจากลักษณะการเดินทางว่าเป็นอย่างไร เช่น โดยรถยนต์ เรือ หรือการ

เดินเท้า สภาพของเส้นทางเอื้ออำนวยต่อการเดินทางมากน้อยเพียงใด มีสภาพเป็น

ถนนคอนกรีต ราดยาง ลูกรัง หรือถนนดิน ถ้าเป็นแม่น้ำลำคลอง ต้องใช้เรือหรือแพ

มีสิ่งกีดขวางหรือไม่ และถ้าเป็นทางเท้า สภาพทางเดินดีหรือไม่ ระยะทางเดินเหมาะกับ

นักท่องเที่ยวเพียงใด การจัดหาพาหนะสะดวกหรือยาก และค่าว่าจ้างแพงหรือถูก เป็นต้น ดังนั้น ตัวแปรที่ใช้ในการประเมินสภาพการเข้าถึง อาจพิจารณาได้จาก

ความสะดวก อุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางการเดินทาง ลักษณะการเดินทาง และสภาพ

ถนน คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

16


องค์ประกอบของการท่องเที่ยว 5A : ความสามารถในการเข้าถึงง่าย (Accessibility)

นอกจากนี้ การเข้าถึงในแหล่งท่องเที่ยวยังหมายถึง สิ่งที่สามารถทำให้นักท่องเที่ยว

รู้จักและทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวนั้นได้ง่ายขึ้น เช่น การเผยแพร่ ข้อมูลบนเว็บไซต์ เป็นต้น ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวควรจัดสรรการบริการด้านต่างๆ ให้กับ

นักท่องเที่ยว หน่วยงาน และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกและดึงดูดใจ นักท่องเที่ยวเดินทางมายังสถานที่ท่องเที่ยวเหล่านี้ ได้แก่

(1) การบริการด้านการตลาด เช่น การให้บริการข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว การส่ง เสริมแหล่งท่องเที่ยว

(2) การประสานความร่วมมือด้านการพัฒนาและจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น การส่ง

เสริมให้มีการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การวางแผนการใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวในท้องถิ่น และการจัดระบบการจัดการอย่าง มีประสิทธิภาพ เป็นต้น

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

17


องค์ประกอบของการท่องเที่ยว 5A : สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenity)

5) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenity) หมายถึง สิ่งที่จัดขึ้นเพื่อให้เอื้อ

ประโยชน์และอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ แผนที่ อินเทอร์เน็ต ศูนย์ให้บริการข้อมูลทางการท่องเที่ยว

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

18


ทำความเข้าใจขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

โดยองค์ประกอบทั้ง 5 ประการ ควรมีอยู่บนระบบฐานข้อมูลการจัดการ การท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวทุกแหล่งที่เป็นจุดหมายปลายทาง

ที่พัก ACCOMODATIONS สิ่งดึงดูดใจ ATTRACTIONS

องค์ประกอบ ของการท่องเที่ยว (5A)

(Destination Management System : DMS) โดยการใช้ระบบการ กิจกรรมการท่องเที่ยว ACTIVITIES

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดหมายปลายทางนี้จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล รายการ ห้องพัก และบริการต่างๆ ในสถานที่ต่างๆ แก่นักท่องเที่ยว โดยมีคณะ กรรมการการท่องเที่ยวของรัฐบาลหรือของภูมิภาคท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล

ระบบ และจัดให้ระบบเป็นส่วนหนึ่งของการบริการในอุตสาหกรรมการ การเข้าถึง ACCESSIBILITY

สิ่งอำนวยความสะดวก ทางการท่องเที่ยว AMENTIES

ท่องเที่ยว ระบบดังกล่าวช่วยให้พื้นที่บางพื้นที่มีความน่าสนใจมากขึ้น โดย ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและน่าสนใจแก่นักท่องเที่ยวและทำให้นักท่องเที่ยวมั่นใจ ว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการท่องเที่ยว

Destination Management System : DMS คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

19


ทำความเข้าใจขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คำถามที่นักพัฒนาการท่องเที่ยวมักจะต้องเจอ คือ การท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในพื้นที่สร้างรายได้เท่าไหร่? นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือน

มีรายได้ต่อหัวเท่าไหร่? ชุมชนเกิดรายได้จากการท่องเที่ยวมากน้อยแค่ไหน?

แต่จะมีใครบ้างที่ตั้งคำถามว่า เมื่อนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวในพื้นที่ของเรานั้น นักท่องเที่ยวได้บริโภคอะไรไปจากแหล่งท่องเที่ยวบ้าง มากิน

มาใช้ทรัพยากรอะไรของคนในท้องถิ่นไปบ้าง คำถามเหล่านี้จะทำให้นักพัฒนาการท่องเที่ยวเห็นผลกระทบอีกด้านของการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งเป็นมุมมองที่พิจารณาถึง "ต้นทุนของการท่องเที่ยว"

"ต้นทุนของการท่องเที่ยว" นักท่องเที่ยว

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

สงสัยหรือไม่ว่า

เงินที่ได้จากการท่องเที่ยวคุ้มค่า กับต้นทุนที่เสียไปหรือไม่ ก่อนหน้านี้

ถัดไป

20


ทำความเข้าใจขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

รู้จักต้นทุนของการท่องเที่ยว

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

21


ทำความเข้าใจขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การที่นักพัฒนาการท่องเที่ยว ได้ทำความเข้าใจว่าในขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีข้อมูลอะไรที่ปรากฎขึ้นบ้าง ก็จะทำให้สามารถติดตาม ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชนท้องถิ่น (Host Community) ได้ ทั้งยังเป็นการติดตามการดำเนินงานของภาครัฐที่ได้มีแผนงานและงบประมาณ ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย ถือได้ว่าการที่นักพัฒนาการท่องเที่ยวได้รู้และเข้าใจข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรมท่องเที่ยวจะนำไปสู่การ วัดผลในสิ่งที่ภาครัฐได้ลงมือปฏิบัติ

การจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จึงเป็นการเปิดข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจแหล่งท่องเที่ยวของตนเอง และเมื่อมีการรวบรวมข้อมูลแล้วก็จำเป็นต้องมีการปรับปรุงข้อมูลอย่างสม่ำเสมอด้วย คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

22


เป้าหมายสำคัญ

ในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล

ขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

สารบัญ

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

23


เป้าหมายสำคัญในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ใช้ชี้วัดถึงสถานภาพการเติบโตของเศรษฐกิจท่องเที่ยว

ใช้ชี้วัดถึงสถานภาพเศรษฐกิจและสังคมของการท่องเที่ยวในระดับพื้นที่ และการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community-based tourism)

ศึกษาการบริโภคพลังงาน การใช้น้ำ และการจัดการของเสีย ตามองค์ประกอบของการท่องเที่ยว

นำไปสู่การประเมินและวิเคราะห์ถึงสถานภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

24


เป้าหมายสำคัญในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ใช้ชี้วัดถึงสถานภาพการเติบโตของเศรษฐกิจท่องเที่ยว ทั้งในเรื่องของขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวและการขยาย

ตัวของการท่องเที่ยวในอนาคต มูลค่าและโครงสร้างประเภท การใช้จ่ายของ นักท่องเที่ยวโดยการแจกแจงระหว่างนักท่องเที่ยวต่างประเทศและนักท่อง

เที่ยวชาวไทย การจ้างงานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในหมวดของที่พัก

หรือแรงงานที่ขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ รวมไปถึงการใช้ จ่ายลงทุนและการแสดงถึงมูลค่าเพิ่มภาคเศรษฐกิจการท่องเที่ยวทั้งที่เกิดขึ้น ทางตรงและทางอ้อม อันเนื่องมาจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้นั้นมีส่วนสำคัญมากต่อการชี้วัดผลสำเร็จของการขับ เคลื่อนนโยบายและแผนพัฒนาการท่องเที่ยวต่างๆ

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

25


เป้าหมายสำคัญในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ใช้ชี้วัดถึงสถานภาพเศรษฐกิจและสังคมของการท่องเที่ยวในระดับ พื้นที่และการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community-based tourism) การประเมินผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชน โดยพิจารณาจากผล

ของการท่องเที่ยวที่มีต่อรายได้ มูลค่าเพิ่ม การจ้างงาน การใช้วัตถุดิบ

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

26


เป้าหมายสำคัญในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ศึกษาการบริโภคพลังงาน การใช้น้ำ และการจัดการของเสีย ตามองค์ประกอบของการท่องเที่ยว จะทำให้นักพัฒนาการท่องเที่ยวเห็นภาพรวมของต้นกำเนิดของการเกิดผลกระ

ทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ในการพักแรมและประกอบกิจกรรม

ของนักท่องเที่ยว ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปเป็นฐานข้อมูลใน การดำเนินการ

ในเรื่องของการลดการบริโภคทรัพยากรพลังงาน น้ำและการก่อให้เกิดของเสียที่เกิน ความจำเป็น (Reducing Over Consumption and Waste) อีกทั้งยังเป็นการ ลดการบริโภคที่มากเกินความจำเป็น และการลดของเสียเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายใน

การทำนุบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายในระยะยาว ทั้งยังช่วยเพิ่มคุณภาพของ การท่องเที่ยวด้วย

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

27


เป้าหมายสำคัญในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

นำไปสู่การประเมินและวิเคราะห์ถึงสถานภาพการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ทั้งในด้านระดับนโยบายและการบริหารจัดการ การจัดทำข้อมูล และตัวชี้วัด

รวมทั้งการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ดังนั้น ตัวชี้วัดที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล ขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้สามารถ สะท้อนค่าของการชี้วัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อให้สอดคล้องกับระดับสากล ด้วยเช่นกัน

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

28


เป้าหมายสำคัญในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จะเห็นได้ว่า การจัดทำข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนั้นมีความ

สำคัญต่อการวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยว และเตรียมความพร้อมในการ

รองรับการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งในส่วนของความ พร้อมของสาธารณูปโภค ความพร้อมทางด้านแรงงาน และความพร้อมทางด้าน ปัจจัยพื้นฐาน และยังทำให้เห็นถึงการบริโภคทรัพยากรทั้งในรูปของพลังงาน

รวมถึงแนวทางการกำจัดของเสีย โดยข้อมูลที่ได้นั้นจะมีส่วนช่วยในการจัดการ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การศึกษาในประเด็นดังกล่าวยังเป็นหนึ่งในเครื่องมือสื่อสารให้เกิดการ

เปลี่ยนแปลงในการสร้างความตระหนักและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่ นักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนและร่วมมือในการ สนับสนุนจากทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การผลักดันให้เกิดกระบวนการ พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

29


แนะนำบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับ การนำข้อมูลไปใช้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในมุมมองของผู้ประกอบการ

คลิกที่ภาพเพื่อเข้าสู่บทเรียนเพิ่มเติม คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

30


การบริโภคทางการท่องเที่ยว (TOURISM CONSUMPTION)

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

สารบัญ

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

31


การบริโภคทางการท่องเที่ยว (Tourism Consumption) ข้อมูลที่เราได้จากขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่จะสามารถบ่งบอกถึงสถานภาพของทรัพยากร รวมถึงการระบุความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจาก

การท่องเที่ยวกับทรัพยากรในพื้นที่ของเรานั้น จะต้องมีการรวบรวมข้อมูลการอุปโภคบริโภคด้านการท่องเที่ยว (Tourism consumption) เป็น

ลำดับแรก ซึ่งจากงานวิจัยของ UNWTO พบว่าข้อมูลจากการให้บริการหลักของการท่องเที่ยวอันได้แก่ ที่พัก (Accommodation) และกิจกรรม

การท่องเที่ยว (Activities) นั้นเป็น 2 ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดการอุปโภคบริโภคด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากเมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางจากจุดเริ่มต้นไป ยังจุดหมายปลายทาง ซึ่งก่อให้เกิดการบริโภคทรัพยากรภายในแหล่งท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการเข้าพักในโรงแรม การเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยว การประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ล้วนใช้ทรัพยากรภายในแหล่งท่องเที่ยว

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

32


การบริโภคทางการท่องเที่ยว (Tourism Consumption)

การเติบโตของการท่องเที่ยวย่อมส่งผลให้เกิดความต้องการในการใช้

พลังงานของประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งในด้านการใช้โดยตรงและการใช้โดยอ้อม การบริโภคโดยตรง หมายถึง การที่นักท่องเที่ยวได้ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น

ในกรณีการเข้าพักระยะยาวในสถานที่พักบางประเภท ถ้าเจ้าของสถานที่พักได้มี การแยกบิลค่าที่พักและค่าน้ำค่าไฟออกจากกัน และให้ผู้เข้าพักจ่ายบิลค่าไฟเอง เนื่องจากได้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อทำความเย็น หรือให้แสงสว่างเป็นต้น

หรือในกรณีที่อาจมีนักท่องเที่ยวบางส่วนได้เช่ารถยนต์เป็นพาหนะสำหรับเดิน ทางซึ่งนักท่องเที่ยวดังกล่าวจำเป็นต้องมีการใช้จ่ายเพื่อซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเติมรถยนต์ที่ได้เช่ามาใช้งาน

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

33


การบริโภคทางการท่องเที่ยว (Tourism Consumption)

การบริโภคโดยอ้อม หมายถึง การที่นักท่องเที่ยวได้ใช้บริการต่างๆ เช่น บริการเดิน

ทางโดยเครื่องบิน รถโดยสารสาธารณะหรือรถโดยสารประจำทางซึ่งยานพาหนะเหล่า นี้จำเป็นต้องใช้พลังงานไม่ว่าในรูปของน้ำมันเบนซินหรือดีเซล ถึงแม้ว่านักท่องเที่ยว จะไม่ได้เป็นผู้ที่ใช้จ่ายค่าซื้อพลังงานต่างๆ เหล่านั้น โดยตรงก็ตาม

หรือในกรณีที่นักท่องเที่ยวเข้าพักในโรงแรม ซึ่งค่าโรงแรมที่นักท่องเที่ยวจ่ายไป

ได้รวมค่าน้ำค่าไฟไว้ด้วย หรือการไปรับประทานอาหาร เครื่องดื่มตามร้านอาหารต่างๆ ค่าอาหารที่นักท่องเที่ยวจ่ายไปก็ได้รวมค่าแก๊สหุงต้มสำหรับปรุงอาหารดังกล่าวเข้าไว้

ด้วย การใช้จ่ายต่างๆ เหล่านี้เป็นการใช้จ่ายทางอ้อมในการบริโภคด้านพลังงานอันเกิด จากนักท่องเที่ยว เมื่อรวมทั้งทางตรงและทางอ้อมเข้าด้วยกัน ก็จะได้เป็นจำนวนการใช้ พลังงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นโดยนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ของเรา

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

34


รูปแบบการบริโภคพลังงานของการท่องเที่ยวในแง่มุมของระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม (System of Environmental-Economic Accounting: SEEA)

ระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม มีแนวคิดว่าระบบเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของระบบสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบเศรษฐกิจจะใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ หรือเรียกได้ว่าเป็น "ต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" เช่น แร่ ที่ดิน ต้นไม้ แหล่งน้ำ น้ำ และระบบนิเวศ เมื่อทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้งานในระบบเศรษฐกิจแล้วจะถูกส่งกลับระบบสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของเสีย (แม้ว่ามีการบำบัดแล้ว) เช่น น้ำเสีย ขยะ และมลพิษทางอากาศ ซึ่งระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม ถือเป็นกรอบงานด้านสถิติที่เป็นมาตรฐานสากลเพื่อใช้ในการวัดค่าทั้งในมิติของ สิ่งแวดล้อมและด้านเศรษฐกิจร่วมกัน โดยระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมเสมือนเป็นบัญชีบริวาร (Satellite Accounts) ประเภทหนึ่งของระบบ บัญชีประชาชาติ คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

35


รูปแบบการบริโภคพลังงานของการท่องเที่ยวในแง่มุมของระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม (System of Environmental-Economic Accounting: SEEA) ความแตกต่างระหว่าง ระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม กับ ระบบบัญชีประชาชาติ คือ ระบบบัญชีประชาชาตินั้นคำนึงถึงเฉพาะด้าน เศรษฐกิจ แต่ระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมนั้นสะท้อนถึงปัจจัยทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ ผลกระทบของระบบเศรษฐกิจต่อ สิ่งแวดล้อม รวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อลดผลกระทบและฟื้ นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมจัดทำขึ้นเนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถมองแต่ปัจจัยหลักด้านใดด้านหนึ่ง เท่านั้น เช่น การให้ความสำคัญกับด้านเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว แต่ยังจำเป็นต้องมองถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านสังคม และด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย นอกจากนี้ระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมยังมองถึงค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลใช้ในการปกป้องและฟื้ นฟูสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ระบบบัญชีเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับบัญชีประชาชาติได้ และยังสามารถทำบัญชีระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมแยกแต่ละบัญชีได้ เช่น บัญชีน้ำ บัญชีที่ดิน เป็นต้น คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

36


4 บัญชีการบริโภคทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญ UNWTO ได้กำหนด core accounts ซึ่งหมายถึงบัญชีอย่าง น้อยที่สุด ที่ประเทศต่างๆ ที่สนใจจะจัดทำ TSA-SEEA เพื่อการชี้วัด การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1. บัญชีน้ำ (Accounts for water flows for tourism industries) ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวนั้น เป็นบัญชีที่ แสดงถึงค่าทางกายภาพของการผลิตและการใช้น้ำที่เกิดขึ้น (flows of water) เป็นบัญชีที่แสดงถึงข้อมูลภาพกว้างๆ ของการผลิตน้ำที่ได้มาจาก แหล่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม อื่นๆ การจำแนกแจกจ่ายน้ำไปยังผู้ใช้ และเมื่อใช้แล้วจะเกิดเป็นน้ำเสียออก มา และน้ำเสียดังกล่าวที่ถูกนำไปบำบัด องค์ประกอบของการประเมินร่องรอยการใช้น้ำ ที่มา : Ercin and Hoekstra (2012)

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

แนวคิดของการประเมินการใช้ทรัพยากรน้ำ จะใช้วิธีการในการคำนวณ วอเตอร์ฟุตพริ้นท์แต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน โดยในการคำนวณใน แต่ละประเภทนั้นได้แบ่งชนิดของวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ตามแหล่งที่มา ประกอบด้วยน้ำ 3 ส่วนคือ น้ำสีฟ้า (blue water footprint) น้ำสีเขียว (green water footprint) และน้ำสีเทา (gray water footprint) ก่อนหน้านี้

ถัดไป

37


4 บัญชีการบริโภคทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญ การใช้น้ำทางตรงและทางอ้อม (Direct and indirect water use)

เป็นการบริโภคน้ำทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงมลพิษที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำของผู้ผลิต

และผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การใช้น้ำในกระบวนการผลิตน้ำตาล การประเมินร่องรอยการใช้ น้ำทางตรงมีความแตกต่างจากการประเมินร่องรอยการใช้น้ำทางอ้อม คือ การการประเมิน

ร่องรอยการใช้น้ำทางตรง หรือ Direct WF จะเป็นการใช้น้ำจืดในการกระบวนการผลิตของ ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ แต่การประเมินร่องรอยการใช้น้ำทางอ้อม หรือ Indirect WF จะเท่ากับ จำนวนของการประเมินร่องรอยการใช้น้ำของวัตถุดิบทั้งหมดที่นอกจากการไม่ใช้น้ำจาก

กระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์โดยผู้ผลิตตัวอย่างเช่น ความต้องการน้ำในการเพาะปลูกอ้อย ที่ใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาล โดยปกติแล้วความต้องการทางอ้อมของผลิตภัณฑ์จะมี มากกว่าความต้องการทางตรง (Kongboon, 2013)

น้ำเสมือน (Virtual water content) เป็นปริมาณน้ำที่ใช้ในกระบวนการ

ผลิตของผลิตภัณฑ์ โดยที่ปริมาณน้ำดังกล่าวเป็นปริมาณน้ำที่แฝงอยู่ในผลิตภัณฑ์ ไม่ได้มี การเคลื่อนที่หรือเดินทางไปกับสินค้านั้น ๆ ซึ่งถือเป็นภาระในด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิต

(Chapagain and Hoekstra, 2004; สุวรรณวารี, 2557) นอกจากนี้ แนวคิดน้ำเสมือนจะ ทำให้เห็นภาพรวมการใช้น้ำในห่วงโซ่ของกระบวนผลิตอย่างแท้จริงและสามารถนำ ข้อมูลที่ได้ มาจัดสรรทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

38


4 บัญชีการบริโภคทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญ

2. บัญชีพลังงานในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Accounts for energy flows for tourism industries) ประกอบด้วยไฟฟ้าและเชื้อเพลิง เป็นบัญชีที่แสดงถึงการได้ มาและการใช้ไปของพลังงาน โดยแสดงถึงค่าของพลังงานแต่ละประเภท โดยแบ่งออกเป็น พลังงานหมุนเวียนและพลังงานจากฟอสซิล ปริมาณพลังงานที่ถูกใช้ไป กับพลังงานที่ใช้และ ประเภทของการนำไปใช้ ในการบริหารจัดการพลังงานนั้น ผลที่วัดได้จะสามารถนำมาเทียบ กับนโยบายด้านพลังงาน วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และข้อกำหนดด้านพลังงานอื่น ๆ ของ องค์กรนั้น ๆ ซึ่งภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม เป็นส่วนที่มีการใช้พลังงานสูงโดย เฉพาะพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมักจะถูกใช้ไปกับเครื่องปรับอากาศ ระบบแสงสว่าง รวมถึงอุปกรณ์ ไฟฟ้าอีกหลายประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกแก่แขกผู้เข้าพักตลอด 24 ชั่วโมง

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

39


4 บัญชีการบริโภคทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญ

ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าจึงเป็นต้นทุนสำคัญที่สุดในการประกอบกิจการโรงแรมหากลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าลงได้ก็จะเป็นการเพิ่ม กำไรโดยตรงให้แก่การประกอบกิจการ ดังนั้นสถานประกอบการต้องมีการวางแผนการอนุรักษ์พลังงาน และมาตรการประหยัดพลังงานเพื่อเป็นการ ลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานและเป็นลดต้นทุนด้านพลังงาน โดยการลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดจำเป็นต้องทำความ เข้าใจกับคำว่าตัวประกอบโหลด (Load Factor : LF) เนื่องจากเป็นตัวสำคัญในการคิดต้นทุนการใช้พลังงานไฟฟ้า เมื่อตัวประกอบโหลดมีค่าสูง แสดงว่าค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดมีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หากต้องมีการปรับปรุงตัวประกอบโหลดให้สูงขึ้น ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะลด ลง ตัวประกอบโหลดเป็นค่าที่ได้จากการวัดความสม่ำเสมอของการใช้พลังงานในรอบเดือน

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

40


4 บัญชีการบริโภคทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญ

3. บัญชีก๊าซเรือนกระจก (Accounts for GHG emissions for tourism industries) เป็นบัญชีที่แสดงค่ากายภาพของการได้มา และใช้ไปของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยนักท่องเที่ยว จำแนกตามชนิดของก๊าซเรือนกระจก ซึ่งโดยหลักการแล้วการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจกเป็นการปล่อยทางตรงขึ้นสู่บรรยากาศ ดังนั้นการคำนวณค่าเป็นรายปีและค่าในระดับประเทศก็เพียงพอสำหรับการวิเคราะห์และ กำหนดนโยบาย แต่อาจให้ความสำคัญโดยจำแนกจำนวนที่ปล่อยตามประเภทของการขนส่ง เช่น ทางถนน ทางเรือ ทางอากาศ เป็นต้น คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

41


4 บัญชีการบริโภคทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญ ภาวะเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีสาเหตุจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ทั้งการดำรงชีวิต ประจำวัน ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และการใช้พลังงานออกมาสู่บรรยากาศ ดังนั้นคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จึงถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดถึง ผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อระบบสิ่งแวดล้อมในแง่ของปริมาณก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้สามารถแบ่งการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ออก เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1.1) คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon footprint of product) หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจาก ผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ การได้มาซึ่ง วัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งานและการจัดการซาก ผลิตภัณฑ์หลัง ใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า (องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก, 2554) เพื่อใช้เป็นข้อมูล ให้ผู้ บริโภคได้ทราบว่าตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์มีการปล่อยก๊าซเรือน กระจกในรูปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกมาปริมาณเท่าใด นอกจากนี้การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในผลิตภัณฑ์ยังเป็นการส่ง เสริมให้ผู้บริโภคทราบข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคได้พิจารณาประกอบในการตัดสินใจ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์นั้นๆ คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

1.2) คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon footprint for organization) หรือ Corporate carbon footprint) หมายถึง การประเมินปริมาณการปล่อยและดูดกลับของก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจาก กิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร (องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก, 2554) อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับโรงงาน ระดับ อุตสาหกรรม และระดับประเทศ โดยวัดออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

42


4 บัญชีการบริโภคทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญ 4. บัญชีขยะ (Accounts for solid waste for tourism industries) เป็นบัญชีที่แสดงค่าทางกายภาพของการเกิด (Generation of solid waste) และใช้ไปที่เกิดจากการไหลเวียนของขยะแข็ง แสดงถึงค่าของการเกิด การเก็บรวบรวม และการกำจัดขยะแข็งจำแนกตามชนิดของ ขยะ

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

43


Part 1:

ข้อมูลอะไรบ้างที่ได้จากที่พัก (Accommodation) คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

สารบัญ

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

44


คำนิยามประเภทที่พัก

เกสท์เฮาส์ ที่พักที่เจ้าของจัดไว้สำหรับบริการ นักท่องเที่ยวที่พักนี้อาจจะอยู่ในลักษณะ บ้านพักเจ้าของจัดส่วนหนึ่งไว้สำหรับ บริการนักท่องเที่ยว หรือลักษณะคล้าย โรงแรม แต่วิธีการและระเบียบต่างๆ ไม่เข้มงวดเหมือนในโรงแรม

โรงแรม

ที่พักที่มีไว้สำหรับขายบริการให้แก่ นักท่องเที่ยว หรือผู้มาเยือนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ซึ่งมีสิ่งอำนวยความ สะดวกต่างๆ ครบถ้วน เช่น ห้องปรับอากาศ หรือห้องชุดพักผ่อน ห้องอาหาร ห้องประชุม สระว่ายน้ำ สถานบันเทิง สถานบริการต่างๆ ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ต่างๆ ตลอดจนบริการแลกเปลี่ยนเงินตรา บริการไปรษณีย์บริการรับ – ส่ง เป็นต้น

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

รีสอร์ท

ที่พักที่มีลักษณะห้องพักเป็นหลังๆ มี บริเวณแวดล้อมด้วยธรรมชาติ

ก่อนหน้านี้

บังกะโล

ที่พักแรมที่กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน จัดไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยว โดยเก็บค่าเช่า มักมีลักษณะโดยรวม คือเป็นบ้านหลัง เดียวโดดๆ หลังคาต่ำ มีชั้นเดียว อาจมี ชั้นลอยเพิ่มขึ้นมา และมีชานหน้าบ้าน หรือบริเวณโดยรอบบ้าน

ถัดไป

45


คำนิยามประเภทโรงแรมตามข้อมูลหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงกำหนดประเภท และหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551

โรงแรมประเภท 1

โรงแรมประเภท 2

หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการเฉพาะห้องพัก

หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการห้องพักและ ห้องอาหาร หรือ สถานที่สําหรับ บริการอาหารหรือสถานที่สําหรับ ประกอบอาหาร

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

โรงแรมประเภท 3 หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการห้องพัก ห้องอาหารหรือสถานที่ สําหรับบริการอาหารหรือสถานที่ สําหรับประกอบอาหาร และ สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วย สถานบริการหรือห้องประชุม สัมมนา ก่อนหน้านี้

โรงแรมประเภท 4

หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการห้องพัก ห้องอาหารหรือสถานที่ สําหรับ บริการอาหารหรือสถานที่สําหรับ ประกอบอาหาร สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และห้องประชุมสัมมนา

ถัดไป

46


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation) ห้อง (ในกรอบสีม่วง) หมายถึง ยูนิตที่ประกอบด้วยหนึ่งห้อง หรือกลุ่มห้องที่ถูก

เชื่อมต่อกันเป็นห้องเช่าหนึ่งยูนิต ซึ่งเช่าแยกกันไม่ได้ ห้องพักอาจเป็นห้องเดี่ยว ห้องคู่ หรือกลุ่มห้องขึ้นอยู่กับว่ามีการสร้างไว้สำหรับหนึ่งคน สองคน หรือหลายคน โรงแรม

สามารถขายหรือจำแนกห้องคู่ให้เป็นห้องเดี่ยวได้ตามความต้องการ อย่างไรก็ตามห้อง สวีทที่ไม่สามารถเช่าห้องแยกกันได้ จะถือเป็นห้องเดี่ยวเป็นหน่วยที่ใช้วัดความจุของ ที่พักเกือบทุกประเภท ยกเว้นที่พักบางประเภท เช่น พื้นที่ตั้งแคมป์จะมีหน่วยจะเป็น

สนาม และอพาร์ตเมนต์ที่มีห้องครัว/หรือห้องซักรีดสามารถใช้หน่วยวัดหลายหน่วย รวมกัน เช่น จำนวนห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และห้องน้ำ

เราสามารถระบุห้อง โดยแบ่งออกเป็น ประเภทห้องพัก (ในกรอบสีแดง) ดังนี้

- ห้องชุด (Suite) หมายถึง ห้องพักประกอบด้วยห้องนอนหนึ่งห้องหรือสองห้อง ห้องรับแขก หรือห้องนั่งเล่นและอาจมีห้องสำหรับใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นรวมอยู่ด้วย

- ห้องเตียงคู่ (Twin bedded room) หมายถึง ห้องที่มีเตียงเดี่ยว 2 เตียง (วางแยกกัน)

- ห้องเตียงเดี่ยว (Double bedded room) หมายถึง ห้องที่มีเตียงขนาดใหญ่ 1 เตียงในห้อง - ห้องพักที่ขายได้ (Room sale) หมายถึง จำนวนห้องพักทั้งหมดที่มีการเข้าพัก

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

47


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation) จำนวนห้องพักให้บริการ (rooms on offer) (ในกรอบสีม่วง) หมายถึง จำนวน

ห้องที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ในช่วงเวลาอ้างอิง เช่น รายเดือน รายไตรมาส

รายปี มีหน่วยในการจัดเก็บข้อมูลเป็นห้อง โดยจะรวมถึงห้องที่มีแขกพักอยู่แบบระยะ

ยาว จำนวนห้องให้บริการอาจมากกว่าหรือน้อยกว่าจำนวนห้องที่มีอยู่ โดยปกติแล้วจะ

น้อยกว่าเนื่องจากไม่มีการนับรวมห้องที่ไม่ว่างชั่วคราวในช่วงที่มีการบำรุงรักษา แต่ใน บางครั้ง (ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก) จำนวนห้องให้บริการ ณ​ปัจจุบันอาจเกินจำนวนห้องที่ มีอยู่ เช่น ในกรณีที่มีการเตรียมห้องเพื่อรับรองแขกในรูปแบบอื่นชั่วคราวห้องดัง กล่าวก็จะไม่ว่างชั่วคราวแต่ยังถูกรวมอยู่ในทะเบียนห้อง

เมื่อเราทราบจำนวนห้องพักให้บริการของที่พัก (ในกรอบสีแดง) เราจะทราบถึงจำนวนห้อง

พักทั้งหมดของที่พักแห่งนั้นที่ได้เปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เพื่อนำไปสู่การพิจารณาข้อมูล

ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเช่น จำนวนห้องพักที่ขายได้ และรายได้จากห้องพักที่ขายได้ ในช่วงเวลา นั้นๆ

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

48


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation) จำนวนเตียง (ในกรอบสีแดง) หมายถึง จำนวนเตียงในสถานประกอบการ พิจารณาจาก

จำนวนคนที่สามารถพักค้างคืนได้โดยใช้เตียงที่จัดไว้ในสถานประกอบการ ไม่ว่าจะมีเตียง

เสริมตามที่ลูกค้าร้องขอหรือไม่ คำว่า "เตียง" ใช้กับเตียงเดี่ยว โดยปกติเตียงคู่จะถูกนับเป็น สองเตียง หากใช้เพื่อรองรับคนสองคน จำนวนห้องและเตียงแสดงถึงศักยภาพของสถาน ประกอบการในการให้บริการที่พักชั่วคราวแก่ผู้มาเยือน

ตัวอย่าง หากที่พักมีจำนวนห้องเตียงคู่ 10 ห้อง จะเท่ากับมีจำนวนเตียงทั้งหมด 20 เตียง

ซึ่งหมายความว่าที่พักแห่งนี้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้าพักได้ตามจำนวนเตียงที่มีเป็น จำนวน 20 คน

จำนวนเตียงของที่พัก ยังสามารถนำมาวัดแรงกดดันที่เกิดจากการเดินทางมาเยือนของ

นักท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่นได้ อีกทั้งจำนวนเตียงที่มากเกินไปในพื้นที่ยังนำไปสู่แรงกดดัน

ต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยสามารถคำนวณได้จาก จำนวนเตียงของที่พักทั้งหมดหารด้วยจำนวน ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

49


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation) จำนวนผู้พักโดยเฉลี่ยต่อห้อง (Average number of persons per room)

หมายถึง สัดส่วนของจำนวนแขกทั้งหมดที่เข้าพักในสถานประกอบการต่อจำนวนห้องที่ให้

บริการ ซึ่งรวมทุกคืนในช่วงเวลาอ้างอิง สำหรับตัวชี้วัดนี้ค่าที่เท่ากับ 1 หมายความว่า

โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละห้องจะมีผู้เข้าพัก 1 คน ค่าที่เท่ากับ 2 หมายความว่าโดยเฉลี่ยแล้วแต่ละ

ห้องมีผู้เข้าพัก 2 คน โดยโรงแรมที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับนักธุรกิจ (business hotel) ซึ่งมี แนวโน้มที่จะรับรองนักเดินทางคนเดียวมากกว่ามักจะมีตัวเลขจำนวนผู้พักโดยเฉลี่ยต่อห้อง

ต่ำกว่าโรงแรมสำหรับวันหยุดพักผ่อน (holiday hotel) ซึ่งให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวกลุ่ม ครอบครัวมากกว่า

ตัวอย่าง โรงแรมที่เน้นกลุ่มลูกค้าแบบครอบครัวมักจะมีจำนวนผู้พักโดยเฉลี่ยมากกว่า

1 คนต่อห้อง เพราะกลุ่มครอบครัวมักมีจำนวน 3 คนขึ้นไป เช่น พ่อ แม่ ลูก

เมื่อเราทราบจำนวนเตียง และ จำนวนผู้เข้าพักโดยเฉลี่ยต่อห้อง (ในกรอบสีแดง) เราจะ

ทราบถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่สถานประกอบการแห่งนี้สามารถรองรับได้ และนำไปสู่การคาด การณ์จำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุดที่สามารถพักค้างคืนในแหล่งท่องเที่ยวได้

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

50


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation) รายได้เฉลี่ยต่อคืนของห้องพัก (Average revenue per room night) คำนวณโดยหารรายได้ทั้งหมดของสถานประกอบการในช่วงเวลา

อ้างอิงด้วยจำนวนห้องที่มีการเข้าพักทั้งหมดของทุกคืนของช่วงเวลาอ้างอิงนั้นๆ โดยปกติจะแสดงเป็นสกุลเงินของประเทศที่สถานประกอบการที่พัก นั้นตั้งอยู่ ทั้งนี้รายได้บางส่วนเกี่ยวข้องกับห้องพักอย่างชัดเจน เช่น ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ค่าซักรีด และค่าโทรศัพท์ อย่างไรก็ตามรายได้บางส่วนไม่

เกี่ยวกับห้องพักแต่โดยปกติถูกรวมอยู่ในการคำนวณ เช่น รายรับจากการเข้าใช้บริการร้านอาหารของลูกค้าที่ไม่ได้เข้าพักกับสถานประกอบการ ราย ได้จากกิจกรรมของศูนย์การประชุมของที่พัก และรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ในบริเวณสถานประกอบการ

รายได้เฉลี่ยต่อคืนจากผู้เข้าพัก (Average revenue per guest night) คำนวณโดยหารรายได้รวมจากการขายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ

ห้องพักในช่วงเวลาอ้างอิงด้วยจำนวนเตียงทั้งหมดที่ถูกเข้าพักในช่วงเวลานั้น ซึ่งรวมของทุกคืนของช่วงเวลาอ้างอิง (การคำนวณจะไม่รวมรายได้ที่ ไม่เกี่ยวกับห้องพัก)

รายได้เฉลี่ยต่อห้องพักทั้งหมด (REVPAR) ตัวชี้วัดนี้คำนวณโดยหารรายได้ที่เกี่ยวข้องกับห้องพักทั้งหมดด้วยจำนวนห้องพักทั้งหมดที่มีใน

ช่วงเวลาดังกล่าว ตัวชี้วัดนี้เป็นที่สนใจของเจ้าของโรงแรม ผู้ประกอบการ นักพัฒนา และนักลงทุน ตัวชี้วัดทางเลือกที่คล้ายกันนี้สามารถคำนวณได้ โดยหารรายได้รวมจากกิจกรรมทั้งหมด (เช่น กิจกรรมหลักของห้องพักบวกกิจกรรมร้านอาหารและสปา) ด้วยจำนวนคืนของห้องพักทั้งหมดที่มีใน ช่วงเวลานั้น

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

51


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation)

ข้อมูลแนวทางการจัดการที่พักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หมายถึง หลักการหรือวิธีปฏิบัติที่สถานประกอบการใช้เป็นแนวทาง ในการดำเนินงานด้านการบริการที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม เช่น

การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน การมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน เป็นต้น

โดยผู้บริหาร และพนักงานร่วมดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์และ เป้าหมายที่กำหนดไว้

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

52


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation)

การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง การจัดซื้อหรือ

จัดจ้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ ซึ่งคำนึงถึงความเหมาะสมด้านคุณภาพ

ราคา ระยะทาง การส่งมอบสินค้าหรือบริการตามที่กำหนด และการลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการผลิตและบริการ โดยพิจารณา ตลอดทั้งวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว เช่น การ

เลือกใช้สินค้าฉลากเขียว การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

53


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation) จำนวนคืนพักนักท่องเที่ยว (Tourist night) หมายถึง จำนวนนัก

ท่องเที่ยวคูณด้วยระยะเวลาพำนักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยว

ความถี่ หมายถึง การใช้ตัวบ่งชี้ดังกล่าวเป็นรายเดือน รายไตรมาส

หรือรายปีจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของ อุตสาหกรรมที่พัก

ระยะเวลาพำนัก (Length of stay) หมายถึง จำนวนวันที่นักท่อง

เที่ยวพำนักอยู่ในพื้นที่โดยนับตั้งแต่วันที่ เดินทางเข้ามาจนถึงวันที่เดิน ทางออกไป

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

54


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation) บทความวิจัยเกี่ยวกับ ระยะเวลาพำนัก (Length of stay) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร

คลิกที่ภาพเพื่ออ่านบทความวิจัย

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

55


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation) อัตราการเข้าพัก (Occupancy rate) หรือ OR จะบ่งบอกถึงประสิทธิภาพการใช้สต็อกห้องของที่พัก ข้อมูลดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึง

ความสามารถในการบริหารห้องพักให้เต็ม หรือกระจายตัวได้ตลอดทั้งปี โดยจะแสดงค่าเป็นอัตราส่วนร้อยละ (%) ของห้องพักที่มีนักท่องเที่ยวเข้า ใช้บริการ

ตามความหมายในทางการโรงแรมนั้น “อัตราการเข้าพัก” จะเป็นอัตราการชี้วัดว่าโรงแรมมีผู้เข้าพักมากน้อยแค่ไหน โดยคิดเป็นอัตราส่วน

ห้องที่มีผู้เข้าพัก กับจำนวนห้องที่โรงแรมมีทั้งหมด โดยการมี Occupancy rate ที่สูงจะหมายความว่า ที่พักนั้นมีอัตราการเข้าพักที่สูง หรือมี นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการเยอะนั่นเอง

วิธีคำนวณ อัตราการเข้าพัก

=

จำนวนห้องที่ขายได้ จำนวนห้องที่เปิดขายทั้งหมด

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

56


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation) ยกตัวอย่างเช่น

โรงแรมมีจำนวนห้องทั้งหมด 100 ห้อง มีแขกเข้าพักในวันนั้น 70 ห้อง โรงแรมแห่งนี้มี Occupancy Rates คิดเป็นร้อยละเท่าไหร่? คำนวณได้จาก

อัตราการเข้าพัก

=

จำนวนห้องที่ขายได้ จำนวนห้องที่เปิดขายทั้งหมด

=

70

100

คิดเป็นร้อยละ ดังนั้น

0.7 x 100

สรุปข้อมูลได้ว่าโรงแรมแห่งนี้มี

=

0.7

=

70

Occupancy Rates คิดเป็นร้อยละ 70

การทำเป็นร้อยละด้วยการคูณ 100 เพื่อปรับอัตราส่วนให้แสดงผลในรูปแบบร้อยละ

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

57


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation) อัตราการเข้าพักสูงโดยทั่วไปเป็นสิ่งที่ดี บ่งชี้ว่าพื้นที่นั้นประสบความสำเร็จในการดึงดูดผู้มาเยือนและใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านที่พักอย่างมี

ประสิทธิภาพ แต่หากอัตราการเข้าพักที่สูงกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญสามารถนำไปสู่ราคาห้องพักที่สูงขึ้น และอาจทำให้นักท่องเที่ยวหาที่พัก ได้ยาก ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในฤดูท่องเที่ยว และอาจเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอในพื้นที่ หรือการขาดการ วางแผนและ/หรือการพัฒนากลยุทธ์ทางเลือก

การพิจารณาข้อมูลอัตราการเข้าพักในแต่ละช่วงเดือน จะทำให้เห็นรูปแบบ (pattern) ของการใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวในช่วงนอก

ฤดูกาลท่องเที่ยว (Low Season) กับช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) แสดงถึงความต้องการของนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางเข้ามาพัก อันนำไปสู่การคาดการณ์อัตราการเข้าพักในแต่ละช่วงเวลาได้ และนักพัฒนาการท่องเที่ยวสามารถนำข้อมูลไปคาดการณ์อัตราการเข้าพักและการ จัดการทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวได้

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

58


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation) อัตราการเข้าพักเตียงนอน (Bed place occupancy rate) ตัวชี้วัดนี้แสดงถึง

“จำนวนเตียงที่ขายได้ในระหว่างเดือน” แสดงผลเป็น “เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเตียงที่มีอยู่”

ตัวชี้วัดนี้คล้ายกับตัวชี้วัดอัตราการเข้าพักห้องพัก แต่ตัวชี้วัดนี้วัดระดับการเข้าพักโดยรวม ของสถานประกอบการได้ดีกว่า กรณีที่อัตราการเข้าพักเตียงนอนต่ำกว่าอัตราการเข้าพัก

ห้องพักอย่างมากมักจะบ่งชี้ว่าห้องพักหลายห้องที่มีเตียงนอนตั้งแต่ 2 เตียงขึ้นไปถูกขายให้

กับผู้เข้าพักคนเดียว ซึ่งไม่ได้มีผลดีหรือผลเสียอะไรเนื่องจากโรงแรมเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะขาย เป็นห้องเดี่ยวหรือคู่ ตามความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภค และตามราคาที่คาดหวัง

อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืน (Average Daily Rate (ADR)) หมายถึง ราคาเฉลี่ย

ที่ผู้เข้าพักจ่ายสำหรับห้องพักในช่วงระยะเวลาของการอ้างอิง ซึ่งคำนวณโดยการหารรายได้ รวมจากการขายห้องในรอบระยะเวลาด้วยจำนวนห้องทั้งหมดที่ขายได้ในช่วงเวลานั้น ซึ่ง ควรจะเป็นราคาสุทธิที่รวมภาษีทั้งหมดแล้ว

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

59


นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแรงงานในสถานประกอบการที่พัก - คนทำงาน หมายถึง ผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการ หรือทำงานให้กับสถานประกอบการ รวมเจ้าของหรือหุ้นส่วนที่ทำงานให้กับสถานประกอบ การ ผู้ช่วยธุรกิจ คนงานของสถานประกอบการที่ไปประจำปฏิบัติงานนอกสถานที่ ไม่รวม ผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นที่ได้รับเบี้ยประชุมเป็นครั้งคราว

คนทำงานของสถานประกอบการอื่นที่มาปฏิบัติงานประจำที่สถานประกอบการแห่งนี้ คนทำงานที่มารับงานไปทำที่บ้าน คนทำงานแบ่งออกเป็น คน ทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว

- ค่าจ้าง/เงินเดือน หมายถึง เงินที่นายจ้างหรือสถานประกอบการจ่ายให้ลูกจ้าง (ก่อนหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินสมทบกองทุนประกัน

สังคม ในส่วนที่ลูกจ้างต้องจ่ายค่าประกันชีวิต และรายจ่ายของลูกจ้างอื่นๆ) ตามข้อตกลงการจ้างแรงงาน โดยอาจจ่ายตามเงื่อนไขของระยะเวลา หรือจ่ายตามปริมาณงาน

- ค่าล่วงเวลา โบนัส เงินรางวัลพิเศษ เงินเพิ่มค่าครองชีพ ค่านายหน้า หมายถึง เงินนอกเหนือจากค่าจ้างเงินเดือนที่สถานประกอบการจ่ายให้

แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน นอกเหนือจากการทำงานในเวลาปกติ

- เงินที่สถานประกอบการจ่ายสมทบเพื่อการประกันสังคม หมายถึง เงินที่สถานประกอบการจ่ายสมทบเพื่อการประกันสังคมของทั้งรัฐบาลและ

เอกชน เพื่อมิให้ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนเมื่อต้องขาดรายได้ไปบางส่วนหรือทั้งหมด อันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายทั้งในและ นอกเวลาทำงาน การคลอดบุตร ทุพพลภาพ การว่างงาน ชราภาพ และเสียชีวิต เงินดังกล่าว ได้แก่ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม กองทุนเงิน ทดแทน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การประกันสุขภาพ เป็นต้น คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

สารบัญ

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

60


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation) ข้อมูลค่าตอบแทนของพนักงาน (remuneration of employee : total) ค่าจ้างเฉลี่ยของพนักงาน เป็นตัวชี้วัดที่ดีของต้นทุนการจ้างงานโดยตรง ภายในสถานประกอบการที่พัก ตัวชี้วัดนี้คำนวณโดยหารจำนวนเงินที่จ่ายสำหรับ ค่าจ้างและเงินเดือนระหว่างงวดด้วยจำนวนพนักงาน วิธีคำนวณ ค่าจ้างเฉลี่ยของพนักงาน

= จำนวนเงินที่จ่ายสำหรับค่าจ้างและเงินเดือนระหว่างงวด

จำนวนพนักงาน

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

61


ข้อมูลที่ได้จากที่พัก (Accommodation) ข้อมูลค่าตอบแทนของพนักงาน (remuneration of employee : total) รายได้เฉลี่ยของพนักงาน เป็นตัวบ่งชี้ที่มีประโยชน์สำหรับการเปรียบเทียบ กับค่าจ้างเฉลี่ยของพนักงาน ทั้งนี้รายได้เฉลี่ยของพนักงานอาจสูงกว่าค่าจ้างเฉลี่ย ของพนักงาน เนื่องมาจากทิปซึ่งเป็นส่วนแบ่งรายได้ที่สำคัญของรายได้พนักงาน ไม่ได้ถูกรวมอยู่ในการคิดค่าจ้างของพนักงาน วิธีคำนวณ รายได้เฉลี่ยของพนักงาน

= รายได้รวมของสถานประกอบการที่พักในช่วงเวลาที่ ต้องการคำนวณค่า

จำนวนพนักงานที่ทำงานในช่วงเวลาที่ต้องการคำนวณค่า

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

62


นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการบริโภคทรัพยากรพลังงาน / น้ำ - เชื้อเพลิง (Fuel) หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการคมนาคม และผลิตกระแสไฟฟ้าจากเครื่อง ปั่ นไฟ ได้แก่ น้ำมันเบนซิน (แก๊สโซฮอล์ 95 และ 91) น้ำมันดีเซล NGV Gas และ LPG Gas

- ปริมาณการใช้น้ำประปา (Pipe water consumption) หมายถึง ปริมาณความต้องการใช้ น้ำประปาในทุกภาคส่วนของสถานที่พักอาศัย โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ ส่วนห้องพัก ส่วน ห้องครัว-ห้องอาคาร ส่วนประชุมสัมมนา ส่วนซักล้าง ฟิตเนสและสระว่ายน้ำ

- ปริมาณการใช้ไฟฟ้า (Electricity consumption) หมายถึง ปริมาณความต้องการใช้

ไฟฟ้าในทุกภาคส่วนของสถานที่พักอาศัย โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ ส่วนห้องพัก ส่วนห้อง ครัว-ห้องอาคาร ส่วนประชุมสัมมนา ส่วนซักล้าง ฟิตเนสและสระว่ายน้ำ

- ทรัพยากรพลังงาน (Energy Resource) หมายถึง ทรัพยากรที่เป็นปัจจัยหลักที่เอื้อต่อสิ่ง

อำนวยความสะดวกของสถานที่พักอาศัย โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ ไฟฟ้า เชื้อเพลิง และน้ำ ประปา

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

63


ข้อมูลการใช้น้ำ ตัวชี้วัด การใช้น้ำประปาของนักท่องเที่ยว (ต่อคนต่อวัน) สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเภทโรงแรมและที่พักและในพื้นที่ประกอบ กิจกรรมท่องเที่ยว เพื่อหาปริมาณการใช้น้ำประปาของนักท่องเที่ยว (ต่อคนต่อวัน) และการใช้น้ำในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเภทโรงแรมและที่พัก และพื้นที่ประกอบกิจกรรมท่องเที่ยว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้น้ำประปาทั้งหมดในภาพรวมของชุมชน

วิธีคำนวณ การใช้น้ำประปาของนักท่องเที่ยว (ต่อคนต่อวัน)

=

(ปริมาณการใช้น้ำประปาทั้งหมด (ลบ.ม./ปี)) (จำนวนนักท่องเที่ยว (คน/ปี)+จำนวนวันที่เข้าพัก (คืน/ปี))

1) ปริมาณการใช้น้ำประปาทั้งหมด หมายถึง การใช้น้ำในทุกภาคส่วน ได้แก่ ส่วนห้องพัก ส่วนห้องครัว-ห้องอาหาร ส่วนประชุมสัมมนา ส่วนซักล้าง และสระว่ายน้ำ (ถ้ามี) 2) จำนวนนักท่องเที่ยว หมายถึง นักท่องเที่ยวที่เข้าพักทั้งหมดตลอดทั้งปี 3) จำนวนวันที่เข้าพัก หมายถึง จำนวนคืนที่นักท่องเที่ยวเข้าพักในโรงแรมตลอดทั้งปี

ปริมาณการใช้น้ำประปาของนักท่องเที่ยว เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ หากมีความต้องการใช้ปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้การบำบัดน้ำเสียก็เพิ่มสูงขึ้นตามเช่นกัน คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

สารบัญ

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

64


ตัวอย่างข้อคำถามเพื่อสำรวจปริมาณการใช้น้ำ

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

65


กิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางน้ำ กิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางน้ำ ต้องทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำ เพราะกิจกรรมดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำไม่

ทางตรงก็ทางอ้อม โดยค่าบ่งชี้คุณภาพน้ำที่สำคัญในการตรวจวัดมี 8 พารามิเตอร์ ดังนี้

1) ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (dissolved oxygen: DO) 2) ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ (pH) 3) ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (Biochemical Oxygen Demand: BOD) 4) ไนเตรท (NO3 -) 5) ของแข็งทั้งหมด (total solid: TS) 6) ของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids: SS) 7) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (Total Phosphorus: TP) 8) แบคทีเรียกลุ่มฟีคัลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria: FCB)

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

66


ข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้า ตัวชี้วัด การใช้ไฟฟ้าของนักท่องเที่ยว (ต่อคนต่อวัน) สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเภทโรงแรมและที่พัก และในพื้นที่ประกอบกิจกรรม ท่องเที่ยว เพื่อหาปริมาณการใช้ไฟฟ้าของนักท่องเที่ยว (ต่อคนต่อวัน) และการใช้ไฟฟ้าในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเภทโรงแรมและที่พักและพื้นที่ ประกอบกิจกรรมท่องเที่ยว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในภาพรวมของชุมชน

วิธีคำนวณ การใช้ไฟฟ้าของนักท่องเที่ยว (ต่อคนต่อวัน)

=

(ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด (kWh/ปี)) (จำนวนนักท่องเที่ยว (คน/ปี)+จำนวนวันที่เข้าพัก (คืน/ปี))

1) ปริมาณการใช้น้ำประปาทั้งหมด หมายถึง การใช้น้ำในทุกภาคส่วน ได้แก่ ส่วนห้องพัก ส่วนห้องครัว-ห้องอาหาร ส่วนประชุมสัมมนา ส่วนซักล้าง และสระว่ายน้ำ (ถ้ามี) 2) จำนวนนักท่องเที่ยว หมายถึง นักท่องเที่ยวที่เข้าพักทั้งหมดตลอดทั้งปี 3) จำนวนวันที่เข้าพัก หมายถึง จำนวนคืนที่นักท่องเที่ยวเข้าพักในโรงแรมตลอดทั้งปี

ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของนักท่องเที่ยว เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ หากมีความต้องการใช้ปริมาณไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากขึ้น คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

67


ตัวอย่างข้อคำถามเพื่อสำรวจปริมาณการใช้พลังงาน

ความต้องการใช้พลังงานของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานไฟฟ้าใน สภาวะที่มีการใช้ปกติอาจไม่ส่งผลกระทบต่อความต้องการไฟฟ้าในพื้นที่มากนัก แต่ในช่วงของปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการใช้สูงสุด (peak load) นั้น หากความ ต้องการใช้ไฟฟ้าที่มาจากภาคการท่องเที่ยวมีปริมาณสูงมาก ก็จะเป็นปัจจัยที่ สำคัญปัจจัยหนึ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาและศึกษาถึงผลกระทบที่จะมีต่อความ ต้องการใช้พลังงานของผู้อยู่อาศับในพื้นที่ด้วยเช่นกัน

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

68


กรณีศึกษา คู่มือการตรวจวัดการใช้พลังงานสำหรับโรงแรมเบื้องต้น

คลิกลิงก์เพื่อดาวน์โหลดตัวอย่างคู่มือ

โครงการความร่วมมือระหว่างกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เพื่อสนับสนุนการ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ และความปลอดภัยทางปรมาณู สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMU) ผ่านแผนงานปกป้อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (International Climate Initiative: IKI)

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

69


นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการจัดการของเสีย ขยะและน้ำเสีย - ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) หมายถึง ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุ มายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญและเป็นผลมาจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ เป็นต้น - ขยะมูลฝอย (Solid Waste) หมายถึง สิ่งของที่เหลือใช้จากการอุปโภคบริโภค อาจจะไม่ต้องการใช้หรือเสื่อมสภาพจากสถานที่ต่างๆ ทั้งสถานที่พัก อาศัย โรงแรม สถานที่สาธารณะ สถานที่ท่องเที่ยว หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากบริเวณโดยรอบแหล่งท่องเที่ยว เช่น เศษอาหาร เศษกระดาษ เศษผ้า เศษ วัตถุ เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร รวมถึงพลาสติกต่างๆ และอาจทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพทางกายและจิตใจ เนื่องจากความ สกปรกเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค - ของเสีย (Waste) หมายถึง ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสารหรือวัตถุอันตรายอื่นใดซึ่งมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษที่เกิดขึ้นจาก สถานที่พักอาศัยและแหล่งท่องเที่ยว หรือถูกปล่อยทิ้งจากกิจกรรมที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรของนักท่องเที่ยว - ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendliness) หมายถึง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และ คาร์บอนมอนน็อกไซด์ การไม่มีก๊าซคลอรีน อันจะทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ การไม่ปล่อยขยะและของเสียออกไปโดยไม่ผ่านการบำบัด การใช้พลังงาน ทดแทน รวมทั้งการไม่ก่อให้เกิดเสียงดังรบกวนผู้คนที่อาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียง - น้ำเสีย (Waste water) หมายถึง น้ำที่ผ่านการใช้งานจากสถานที่พักอาศัย โรงแรม สถานที่สาธารณะ สถานที่ท่องเที่ยว ที่มีการปนเปื้ อนทำให้ คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนไปจากเดิม ส่วนใหญ่เป็นสารจำพวกสารอินทรีย์ และอนินทรีย์ กลายเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติที่ไม่เป็นที่ต้องการ จนมีผลกระทบต่อ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

70


ข้อมูลการจัดการของเสีย ประเภทขยะ ตัวชี้วัด การผลิตขยะของนักท่องเที่ยว (ต่อคนต่อวัน) สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเภทโรงแรมและที่พัก เพื่อหาปริมาณขยะที่เกิดจาก นักท่องเที่ยว (ต่อคนต่อวัน) และปริมาณขยะในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเภทโรงแรมและที่พัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดขยะทั้งหมดในภาพรวม ของชุมชน

วิธีคำนวณ การผลิตขยะของนักท่องเที่ยว (ต่อคนต่อวัน)

=

(ปริมาณขยะทั้งหมด (กิโลกรัม/เดือน))

(จำนวนนักท่องเที่ยว (คน/เดือน)+จำนวนวันที่เข้าพัก (คืน/เดือน))

1) ปริมาณขยะทั้งหมด หมายถึง ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวันจากกิจกรรมต่าง ๆ ของนักท่องเที่ยวที่เข้าพักอาศัยในโรงแรมและที่พัก 2) จำนวนนักท่องเที่ยว หมายถึง นักท่องเที่ยวที่เข้าพักทั้งหมดตลอดทั้งเดือน 3) จำนวนวันที่เข้าพัก หมายถึง จำนวนคืนที่นักท่องเที่ยวเข้าพักในโรงแรมตลอดทั้งเดือน

ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของนักท่องเที่ยว เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ หากมีความต้องการใช้ปริมาณไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากขึ้น คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

สารบัญ

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

71


กรณีศึกษา

คลิกที่รูปเพื่อเข้าสู่บทเรียนเพิ่มเติม คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

72


ข้อมูลการจัดการของเสีย ประเภทน้ำเสีย ตัวชี้วัด การปล่อยน้ำทิ้งของนักท่องเที่ยว (ต่อคนต่อวัน) สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเภทโรงแรมและที่พัก เพื่อหาปริมาณการปล่อย น้ำทิ้งของนักท่องเที่ยว (ต่อคนต่อวัน) และการปล่อยน้ำทิ้งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเภทโรงแรมและที่พักนั้นเป็นส่วนหนึ่งของน้ำเสียทั้งหมดใน ภาพรวมของชุมชน

วิธีคำนวณ การปล่อยน้ำทิ้งของนักท่องเที่ยว (ต่อคนต่อวัน)

=

((ปริมาณการใช้น้ำประปาทั้งหมด x 0.80) (ลบ.ม./ปี)) (จำนวนนักท่องเที่ยว (คน/ปี)+จำนวนวันที่เข้าพัก (คืน/ปี))

1) ปริมาณการใช้น้ำประปาทั้งหมด หมายถึง การใช้น้ำในทุกภาคส่วน ได้แก่ ส่วนห้องพัก ส่วนห้องครัว-ห้องอาหาร ส่วนประชุมสัมมนา ส่วนซักล้าง และสระว่ายน้ำ (ถ้ามี) 2) 0.80 หมายถึง ร้อยละการปล่อยน้ำทิ้งต่อน้ำใช้จำนวน 1 ลบ.ม. 3) จำนวนนักท่องเที่ยว หมายถึง นักท่องเที่ยวที่เข้าพักทั้งหมดตลอดทั้งปี 4) จำนวนวันที่เข้าพัก หมายถึง จำนวนคืนที่นักท่องเที่ยวเข้าพักในโรงแรมตลอดทั้งปี

ปริมาณการปล่อยน้ำทิ้งของนักท่องเที่ยว เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากน้ำเสียของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น พื้นที่ท่องเที่ยวจะต้องใช้เวลาในการบำบัดน้ำเสียเป็นเวลานาน และส่งผลต่อคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่ คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

73


Part 2:

ข้อมูลอะไรบ้างที่ได้จาก กิจกรรมท่องเที่ยว (Activity) คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

สารบัญ

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

74


สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2561) ได้สรุปว่ากิจกรรมการท่องเที่ยว

ที่นักท่องเที่ยวได้ใช้บริการตามการจัดทำบัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยว (Tourism

Satellite Account: TSA) จะครอบคลุมไปถึงกิจกรรมทั้งหมดที่ผู้เยี่ยมเยือนได้กระทำไป ทั้งเพื่อการไปท่องเที่ยวนั้นหรือกิจกรรมที่ได้มีการกระทำในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว ดังนั้น กิจกรรมการท่องเที่ยวในที่นี้ จึงไม่ได้หมายความถึงกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการ

ท่องเที่ยว เช่น การทัศนาจร การไปอาบแดด หรือการไปเยือนสถานที่ ท่องเที่ยว ตามที่เป็น

ความเข้าใจกันทั่วไป แต่เป็นกิจกรรมทั้งหมดที่นักท่องเที่ยวได้กระทำทั้งก่อนและในระหว่าง

ท่องเที่ยว สถานะของการเป็นผู้เยี่ยมเยือน เป็นสภาวะเพียงชั่วคราว เมื่อการท่องเที่ยวในครั้ง นั้นๆ จบสิ้นลง เงื่อนไขของการเป็นผู้เยี่ยมเยือนก็สิ้นสุดเช่นกัน (TSA : RMF, 2008)

โดยกิจกรรมการท่องเที่ยวจะพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวซึ่งมี

ทั้งสิ้น 12 รายการ คือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับที่พักอาศัยของผู้มาเยือน กิจกรรมการจัดหาอาหาร และเครื่องดื่ม กิจกรรมการขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟ กิจกรรมขนส่งผู้โดยสารทางถนน

กิจกรรมขนส่งผู้โดยสารทางน้ำ กิจกรรมขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ การเช่าอุปกรณ์ขนส่ง

กิจกรรมการบริการตัวแทนนำเที่ยวและบริการจองอื่นๆ กิจกรรมค้าปลีกสินค้าที่มีลักษณะ เพื่อการท่องเที่ยวจำเพาะประเทศ กิจกรรมที่มีลักษณะเพื่อการท่องเที่ยวจำเพาะ

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

75


ข้อมูลที่ได้จากกิจกรรมท่องเที่ยว (Activity) ข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ สามารถระบุได้ถึง

ปริมาณการใช้ประโยชน์ทรัพยากรการท่องเที่ยว

ความหนาแน่นของการท่องเที่ยว (Tourism density) สังเกต

ได้จากข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าใช้บริการในแต่ละช่วงเวลา ตาม ความละเอียดในการเก็บข้อมูล โดยอาจระบุเป็นรายนาที รายชั่วโมง

รายวัน ทั้งยังนำไปสู่การคำนวณหาปริมาณนักท่องเที่ยว (คนต่อวัน)

หรือปริมาณนักท่องเที่ยว (คนต่อช่วงเวลา) ได้ โดยนักพัฒนาการท่อง เที่ยวอาจจำแนกปริมาณการเข้าใช้ประโยชน์ เช่น ช่วงเช้าและช่วงเย็น เพื่อพิจารณาว่าช่วงเวลาใดที่จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้ประโยชน์สูง จะได้เตรียมการวางแผนเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความแออัด

(Overcrowding) เช่น แหล่งท่องเที่ยวเป็นจุดชมวิวทะเลหมอก ก็จะ

มีนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้ประโยชน์จำนวนมากในช่วงเช้า และหากมีเก็บ ข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวและระยะเวลาที่นักท่องเที่ยวประกอบ

กิจกรรมชมวิวทะเลหมอกเป็นเวลาโดยเฉลี่ยกี่นาที ก็จะทำให้สามารถ

นำข้อมูลไปสู่การจัดสรรช่วงเวลาในการเข้าชม หรือแม้แต่การจัดช่วง ราคาในการเข้าชมได้ เป็นต้น คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

76


ข้อมูลที่ได้จากกิจกรรมท่องเที่ยว (Activity) ข้อมูลปริมาณวัสดุที่ใช้ในการจัดกิจกรรม หากเป็นกิจกรรมที่ต้องมีการใช้ทรัพยากรอื่นๆ ในการประกอบ กิจกรรมร่วมด้วย เช่น กระดาษ กาว ไหมพรม หรือกิจกรรมที่ให้นัก ท่องเที่ยวประกอบอาหาร ก็ต้องมีการจดบันทึกปริมาณส่วนประกอบ ที่ใช้ในการทำอาหาร ซึ่งหลักสำคัญของการจดบันทึกส่วนประกอบ ของทรัพยากรที่ใช้ในการประกอบกิจกรรม คือ ต้องการให้นัก พัฒนาการท่องเที่ยวพิจารณาถึงวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบ กิจกรรมว่าเป็นของที่หาได้ในท้องถิ่นหรือไม่ รวมถึงควรเป็นวัสดุที่ ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

77


ตัวอย่างตัวชี้วัด ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ที่เกิดจากการท่องเที่ยว คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

สารบัญ

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

78


ตัวอย่างตัวชี้วัดผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เกิดจากการท่องเที่ยว กระแสการท่องเที่ยวของจุดหมายปลายทาง (Tourism flow) (ระบุถึงปริมาณและมูลค่า) จำนวนคืนพักนักท่องเที่ยวต่อเดือน (Number of tourist nights per month) จำนวนนักท่องเที่ยวภายในวันเดียวกันต่อเดือน

การมีส่วนร่วมสัมพัทธ์ของการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจของจุดหมายปลายทาง (% GDP) การใช้จ่ายรายวันของนักท่องเที่ยวพักค้างคืน (ต่อหัวต่อคืน)

การใช้จ่ายรายวันของนักท่องเที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับ (ต่อหัวต่อคืน)

รายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในชุมชน ผลประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว ระยะเวลาเข้าพักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยว (คืน)

อัตราการเข้าพักในที่พักเชิงพาณิชย์ (commercial accommodation ) ต่อเดือนและเฉลี่ยทั้งปี ปริมาณและคุณภาพของการจ้างงาน

การจ้างงานด้านการท่องเที่ยวโดยตรงคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของการจ้างงานทั้งหมดในจุดหมายปลายทาง ร้อยละของงานด้านการท่องเที่ยวตามฤดูกาล

จำนวนคนในท้องถิ่น (และอัตราส่วนของผู้ชายต่อผู้หญิง) ที่ทำงานด้านการท่องเที่ยว (รวมถึงอัตราส่วนของการจ้างงานด้านการท่องเที่ยวต่อการจ้างงานทั้งหมด) ห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยว

ร้อยละของอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าและบริการที่ผลิตในท้องถิ่นที่สถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวในจุดหมายปลายทางเลือกใช้

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

79


เอกสารอ้างอิง International Recommendations for Tourism Statistics 2008. New York: United Nations Publication. United nations. (2010).

คลิกเพื่อดาวน์โหลดเอกสาร คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

Development for Tourism Destinations

The European Tourism Indicator System (ETIS) toolkit 2016

คลิกเพื่อดาวน์โหลดเอกสาร

คลิกเพื่อดาวน์โหลดเอกสาร

Indicators of Sustainable

สารบัญ

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

80


แบบบันทึกข้อมูลที่พักและกิจกรรมท่องเที่ยว

คลิกเพื่อดาวน์โหลดเอกสารทั้งหมด คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

สารบัญ

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

81


คู่มือ การใช้งานระบบฐานข้อมูล International Recommendations for Tourism Statistics 2008

คลิกเพื่อดาวน์โหลดเอกสาร

คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว

สารบัญ

ก่อนหน้านี้

ถัดไป

82


คู่มือเพื่อจัดทำคลังข้อมูลขอบเขตของ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.