แนวปฏิบัติในการเยียวยาสังคมและเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19

Page 1

คู่มือ เพื่อสนับสนุน เศรษฐกิจและ แรงงาน ผ่านการท่องเที่ยว แนวปฏิบัติในการเยียวยาสังคมและ เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงการฟื้นฟู การท่องเที่ยวให้กลับคืนอย่างเร่งด่วน


แปลและวิเคราะห์ โดย ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (DASTA Academy) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน



• • • •

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากนโยบายการปกป้องตัวเองของประเทศต่างๆ และ Social Distancing ทําให้เกิดข้อจํากัดในการเดินทางและการให้บริการ เกิดวิกฤตรายได้ในธุรกิจการท่องเที่ยวทุกขนาด ตั้งแต่ธุรกิจสายการบินที่ใหญ่ที่สุดไปจนถึงที่พักขนาดเล็กในชุมชน จากสาเหตุที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีการใช้แรงงานจํานวนมาก วิกฤต Covid – 19 ส่งผลกระทบอย่างใหญ่จนเกิด วิกฤตด้านแรงงาน ผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวยังส่งผลต่อ Supplier ของธุรกิจการท่องเที่ยว และธุรกิจอื่นๆ ที่มีความเชื่อมโยง กับธุรกิจการท่องเที่ยวอีกด้วย


• UNWTO และคณะกรรมการวิกฤติการณ์การ ท่องเที่ยวโลก (Global Tourism Crisis Committee) ได้กําหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อใช้ ในการสนับสนุนและช่วยเหลืออุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยวในช่วงวิกฤติ Covid-19

• คณะกรรมการวิกฤติการณ์การท่องเที่ยวโลก ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์การ อนามัยโลก (WHO), องค์การการบินพลเรือน ระหว่างประเทศ (ICAO), องค์การทางทะเล ระหว่างประเทศ (IMO) และภาคเอกชน สมาชิกในเครือ UNWTO, สภาสนามบิน นานาชาติ (ACI), สมาคมเรือสําราญระหว่าง ประเทศ Cruise Lines (CLIA), สมาคมขนส่ง ทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) และสภาการ เดินทางและการท่องเที่ยวโลก (WTTC) เป็นต้น • เป้าหมายคือการสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อ นําพาสังคมและเศรษฐกิจพ้นวิกฤติในครั้งนี้


สามารถประยุกต์ใช้รูปแบบของการตรวจสอบ (checklist) เพื่อประเมินทางเลือกที่เหมาะสมในการ กําหนดมาตรการหรือแผนงานช่วยเหลือหรือ เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส Covid-19

ข้อแนะนําในการนําไปปฏิบัติ

เป็นข้อมูล เหมือน Guideline, Shopping List , Catalog สนับสนุนการแนวทางการบริหารจัดการ ผลกระทบจาก Covid-19 ภายใต้ทรัพยากรที่ แตกต่างกันในแต่ละหน่วยงาน แบ่งเป็น 3 ส่วน ตามระยะ (Phase) ของการบริหาร จัดการผลกระทบจากโควิด ประกอบด้วย (1) การจัดการกับตัววิกฤตการณ์และการบรรเทา ผลกระทบที่เกิดขึ้น (Managing the Crisis and Mitigating the Impact) เยียวยา

(2) การสร้างแรงจูงใจและการกระตุ้นเพื่อฟื้นฟู ภาคการท่องเที่ยว (Providing Stimulus and Accelerating Recovery) ฟื้นฟู (3) การเตรียมตัวให้พร้อมสําหรับวันพรุ่งนี้ (Preparing for tomorrow) ยั่งยืน


#TRAVELTOMORROW By staying home today, we can travel tomorrow


1.การจัดการกับ วิกฤตการณ์และการ บรรเทาผลกระทบที่ เกิดขึ้น Managing the Crisis and Mitigating the Impact


ไฮไลท์แดง (ทางเลือกหลัก) : อพท. สามารถดําเนินการ/ใช้งบประมาณ ได้ทันที โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เก็บข้อมูลเพื่อจัดทําแผน/ดําเนินการ/ ประเมินผล) ไฮไลท์เขียว (ทางเลือกรอง) = อพท.สามารถดําเนินการได้ ผ่านการบูรณาการกับ หน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ หรือเป็นตัวกลางในการประสาน/เจรจา ระหว่างภาค การท่องเที่ยวในพื้นทีพิเศษและหน่วยงานทีเ่ กี่ยวข้อง


1. สร้างแรงจูงใจใน การรักษาตําแหน่งงาน /ช่วยเหลือผู้ที่ประกอบ อาชีพอิสระ/ปกป้อง แรงงานกลุ่มที่ี เปราะบางที่สุด (Incentivize job retention, support the self-employed and protect the most vulnerable groups)

จัดหาสิ่งจูงใจพิเศษและเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่บริษัทที่พยายามรักษาพนักงานไว้ รวมถึงให้มีการยกเว้นหรือลดการชําระค่าประกันสังคม และค่าใช้จ่ายทางภาษีอากร (Provide special incentives and relief funds for companies that retain their workforce, including the exemption or reduction of social security and fiscal payments)

มอบเงินอุดหนุนสําหรับเป็นค่าจ้างแก่ประชาชนรวมถึงองค์กรธุรกิจต่างๆ เพื่อให้เกิด ความร่วมมือในการควบคุมการลุกลามของเชื้อโรค (Give wage subsidies to people and firms to help curb contagion)

เพิ่มจํานวนและขยายระยะเวลาการโอนผลประโยชน์ทางสังคม (เช่น สวัสดิการ) โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ผลประโยชน์ดังกล่าวอาจรวมถึง การจ่ายเงินประกันการว่างงานและเบี้ยเลี้ยงสําหรับผู้ที่กําลังหางานทํา (Expand and extend transfers of social benefits, especially for the most vulnerable. These can include payments of unemployment insurance benefits and allowances for jobseekers)

พัฒนาแนวทางการสนับสนุนพิเศษสําหรับผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ได้รับการยกเว้น เลื่อนระยะเวลา หรือลดการชําระเงินประกันสังคม และภาษีอากรต่างๆ (Develop special support schemes for self-employed workers such as exemptions, delays or reduced social security and fiscal payments)

ให้ความช่วยเหลือคนทํางานอยู่ที่บ้านเพื่อดูแลเด็กและผู้สูงอายุ และต้องทําให้ กระบวนการในการรับความช่วยเหลือของผู้รับผลประโยชน์เป็นไปโดยสะดวก (Provide support for workers staying at home to care for children and the elderly and ensure easy administrative procedures for the beneficiaries)


1. สร้างแรงจูงใจใน การรักษาตําแหน่งงาน /ช่วยเหลือผู้ที่ประกอบ อาชีพอิสระ/ปกป้อง แรงงานกลุ่มที่ี เปราะบางที่สุด (Incentivize job retention, support the self-employed and protect the most vulnerable groups)

สร้างกลไกสําหรับการจ้างงานแบบไม่เต็มเวลา เช่น การลดชั่วโมงการปฏิบัติงานลง (Create mechanisms for partial unemployment such as reduced working hours)

ผ่อนปรนระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยการทํางานเป็นการชั่วคราว โดยให้บริษัทที่ ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสภาวะวิกฤตสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือในการชดเชย ค่าจ้างเมื่อถูกบังคับให้หยุดงานชั่วคราว ได้ง่ายขึ้น Loosen rules on short-term work compensation, making it easier for companies heavily affected by the current crisis to apply for aid to offset wages when they are forced to temporarily halt work

ส่งเสริมการพูดคุยหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน ระหว่างบริษัท และสหภาพแรงงาน ตาม มาตรฐานแรงงานสากล (Promote effective dialogue between companies and workers’ unions in accordance with international labour standards)

รับรู้และบรรเทาความเสี่ยงในการจ้างงานและภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าอย่างรุนแรงที่แรงงาน อาจต้องเผชิญในช่วงระหว่างและหลังวิกฤต (Recognize and mitigate employment risks and the economic hardship that workers may be facing during and after the crisis)

มีการนํามาตรการพิเศษมาใช้คุ้มครองกลุ่มผู้ด้อยโอกาสเพื่อไม่ให้รับผลกระทบในทางลบ โดยเฉพาะกลุ่มสตรี เยาวชน และชุมชน (Introduce special protection measures to ensure that traditionally disadvantaged groups are not adversely affected, particularly women, youth and rural communities)


2. สนับสนุนสภาพ คล่องทางการเงินของ องค์กรธุรกิจ(Support companies’ liquidity)

จัดสรรเงินทุนเฉพาะให้แก่ภาคการท่องเที่ยว โดยพยายามให้สามารถเข้าถึงกองทุนหรือ โปรแกรมความช่วยเหลือฉุกเฉิน เพื่อสนับสนุนบริษัทธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดให้ สามารถหลีกเลี่ยงการล้มละลาย และเริ่มดําเนินการหลังจากภาวะวิกฤติได้ ซึ่งถือเป็นการ สร้างความเชื่อมั่นว่าภาคอุปทาน(จะยัง)สามารถกลับเข้าสู่ตลาดได้ (Allocate travel and tourism with specific funding lines within Emergency Funds and Programmes to support the most affected companies so that they can avoid bankruptcy and restart operations after the emergency. This will help ensure supply returns to the market)

ช่วยเหลือสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท โดยการยกเว้นและเลื่อนเวลาการชําระเงิน ประกันสังคมชั่วคราว รวมถึงการชําระเงินภาษีอากร (Support companies’ liquidity through temporary exceptions and deferred social security and fiscal payments)

พัฒนากลไกการลงทุนที่สร้างสภาพคล่องแก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยเฉพาะกับ ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ในระยะสั้น เช่น การให้เงินทุน หมุนเวียน หรือการให้สินเชื่อเพื่อช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว เป็นต้น (Develop investment mechanisms that provide liquidity to the tourism industry especially to Micro, Small & Medium-sized Enterprises (MSMEs) and particularly in the shortterm, for instance through working capital or fast and subsidized loans, etc.)

ให้ยกเว้นหรือการลดค่าใช้จ่ายที่สําคัญเป็นการชั่วคราว เช่น ค่าไฟฟ้า การสื่อสาร ค่าเช่า ฯลฯ (Implement temporary exceptions or reductions on critical bills such as electricity, communications, rent, etc.)

จัดให้มีเครื่องมือทางการเงินเพื่ออํานวยความสะดวกสภาพคล่องเพิ่มเติมเช่น การพัก ชําระหนี้ การคํ้าประกันเงินกู้ หรือสินเชื่อที่ยืดหยุ่นสําหรับเงินทุนหมุนเวียน (Provide financial instruments to facilitate additional liquidity such as moratoria on loans repayments, loan guarantees or flexible credit loans for working capital)


2. สนับสนุนสภาพ คล่องทางการเงินของ องค์กรธุรกิจ (Support companies’ liquidity)

• จัดหาความช่วยเหลือด้านเงินทุนช่วยเหลือระยะสั้น แบบให้เปล่า สําหรับธุรกิจขนาดเล็ก ผู้ประกอบการ และผู้ประกอบอาชีพอิสระ (Provide small, well-targeted, non-refundable grants for small businesses, the self-employed and entrepreneurs) • สร้างกลไกง่ายๆ สําหรับการเลื่อนการชําระภาษีและประกันสังคม โดยหลีกเลี่ยงระบบแบบ ราชการหรือค่าปรับที่ซับซ้อน (Develop easy mechanisms to defer fiscal and social security payments without the need for complicated bureaucracy or penalties) • ให้การสนับสนุนด้านการจัดการและการให้คําปรึกษาแก่ธุรกิจขนาดเล็กที่กําลังต่อสู้เพื่อ หาทางออกในภาวะวิกฤติ ซึ่งในขณะเดียวกันยังจะต้องเจรจากับสถาบันทางการเงินและ บริหารการเงินอีกด้วย (Provide managerial support and mentoring to micro enterprises battling to navigate the crisis while also dealing with financial institutions and administrations)


3. ทบทวนวิธีการด้าน การเก็บภาษี ค่า ดําเนินการ และ ค่าธรรมเนียม และ ข้อบังคับที่มีผลกระทบ ต่อภาคการขนส่ง และ การท่องเที่ยว (Review taxes, charges, levies and regulations impacting transport and tourism)

• ทบทวนวิธีการด้านการเก็บภาษี ค่าดําเนินการ และค่าธรรมเนียม และข้อบังคับที่มีผลกระทบ ต่อการขนส่ง การท่องเที่ยว และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (Review all taxes, charges and levies impacting on tourism, transport and related activities) • จัดให้มีการพักการชําระหรือลดภาษี ค่าดําเนินการ ค่าธรรมเนียม รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีเงินได้ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและการท่องเที่ยว รวมถึงค่าใช้จ่ายในการ ท่องเที่ยวและการขนส่งต่างๆ โดยดําเนินการอย่างเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และโปร่งใส (Provide temporary suspension or reduction of travel and tourism taxes, charges and levies, including VAT and income taxes as well as of specific tourism and transport charges in a fair, non-discriminatory and transparent manner) • ทบทวนข้อบังคับและพิจารณาการใช้ระเบียบที่ยืดหยุ่นที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของ บริษัทท่องเที่ยวและขนส่ง เช่น ระเบียบจัดสรรเวลาสําหรับการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศ ยาน (airport slot allocation rules) สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามาถปรับหรือหยุดการ ดําเนินการ และลดขั้นตอนพิธีการที่จําเป็นลงได้ (Review regulations and consider flexible implementation of rules related to the operation of tourism and transport companies, such as airport slot allocation rules. This will help operators adjust or halt their operations, including by reducing the necessary administrative formalities)


4. ให้การคุ้มครอง และสร้างความ เชื่อมั่นแก่ผู้ปริโภค (Ensure consumer protection and confidence)

• ร่วมกับธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการให้เกิดความเป็นธรรมสําหรับผู้บริโภคหรือ นักท่องเที่ยว เช่น การจัดกําหนดการใหม่สําหรับวันหยุด บัตรโดยสารที่ถูกยกเลิก และการสร้าง ความเชื่อมั่นว่าผู้บริโภคจะได้รับการปกป้องจากผลกระทบที่เกิดขึ้น หากเป็นไปได้ควรใช้กลไก เพื่อระงับข้อพิพาทของผู้บริโภคเพื่อให้มีการฟ้องร้องให้น้อยที่สุด (Work with the private sector to promote fair arrangements for consumers. These can include the rescheduling of cancelled holidays and flight tickets and ensuring consumer are fully protected. Where possible, alternative mechanisms for settling consumer disputes should be used so as to keep lawsuits to a minimum) • พิจารณาให้บัตรกํานัลสําหรับการจองที่ถูกยกเลิก โดยให้มีผลใช้ได้จนถึงสิ้นปี 2020 ทั้งนี้เพื่อ เพิ่มอุปสงค์และช่วยเหลือผู้บริโภค (Consider providing vouchers for cancelled bookings valid until the end of 2020 in order to boost demand and support consumers) • สํารวจหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการคืนเงินที่จ่ายล่วงหน้าไปแล้วผ่านบัตรเครดิต (Explore ways to resolve the issues related to requested refunds of advance payments through credit cards)


5. ส่งเสริมให้เกิดการ พัฒนาทักษะความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะความรู้ในด้าน ดิจิทัลเทคโนโลยี (Promote skills development, especially digital skills)

• ควรสนับสนุนให้ผู้ที่กําลังว่างงานได้มีการพัฒนาทักษะความรู้ใหม่ๆ เนื่องจากทักษะความรู้ ดังกล่าวจะมีประโยชน์ให้องค์กร/ธุรกิจสามารถนําเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ การตลาด Marketing intelligence รวมถึงยกระดับความสามารถขององค์กรในการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีในการ ดําเนินงานได้ดียิ่งขึ้น (Support the unemployed to develop new skills for the recovery phases. Useful skills can include the development of new products, marketing, market intelligence and digital skills in general) • สร้างหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ฟรี สําหรับบุคคลที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากที่สุด เช่น ผู้ที่ตกงาน แรงงานตามฤดูกาล และผู้ที่ถูกจํากัดเวลาทํางานให้น้อยลง โดยร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาและสถาบันฝึกอบรมอื่น ๆ (Develop free online training courses for those individuals most affected economically, such as those who become unemployed, seasonal workers, and those limited to reduced work hours, in partnership with universities and other educational and training institutions) • โปรโมทหลักสูตรฟรีขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น UNWTO Online Academy พร้อมทั้งให้ ความช่วยเหลือการพัฒนาและแผยแพร่หลักสูตรในภาษาที่เหมาะสม (Promote international organizations’ free content, such as the UNWTO Online Academy and support the development and marketing of courses in multiple languages) • ร่วมมือกับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล ในการจัดฝึกอบรมทักษะดิจิทัลให้แก่ผู้ประกอบอาชีพ ด้านการท่องเที่ยวในปัจจุบัน และผู้ที่ประสงค์จะประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยวในอนาคต รวมทั้ง ส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ทักษะดิจิทัลในหลักสูตรที่มีอยู่แล้ว (Cooperate with digital partners to provide digital skills training for current and future tourism professionals and further promote existing digital learning opportunities)


5. ส่งเสริมให้เกิดการ พัฒนาทักษะความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะความรู้ในด้าน ดิจิทัลเทคโนโลยี (Promote skills development, especially digital skills)

• จัดการแข่งขันระดับชาติเพื่อสนับสนุนและให้รางวัลแก่กลุ่ม start-ups และผู้ประกอบการ ที่ นําเสนอนวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหาต่างๆ ในภาวะวิกฤติได้ (Create national challenges to encourage and award start-ups and entrepreneurs to propose innovative solutions to the crisis) • ให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดทําโปรแกรมการศึกษาและการฝึกอบรมอาชีพสําหรับ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ถูกบังคับให้ปิดตัวลงในช่วงภาวะวิกฤติ (Develop governmentfunded programmes of education and vocational training for the personnel of tourism enterprises that have been forced to close during the crisis)


6. บรรจุเรื่องการ ท่องเที่ยวไว้ใน มาตรการฉุกเฉินทาง เศรษฐกิจ ทั้งใน ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก (Include tourism in national, regional and global economic emergency packages)

• (รัฐบาล)จะต้องแน่ใจว่าภาคการท่องเที่ยวและการขนส่งได้รับการบรรจุอยู่ในชุดมาตรการ ฉุกเฉินในการเยียวยาและช่วยเหลือ ทั้งในมาตรการระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับโลก (Ensure tourism and transport are fully integrated in national, regional and global emergency, mitigation and support packages) • (รัฐบาล)จะต้องแน่ใจว่าหน่วยงานบริหารการท่องเที่ยวของประเทศ (ในกรณีประเทศไทยคือ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) มีส่วนร่วมในโครงการขององค์กรระหว่างประเทศและองค์กร ในภูมิภาค เช่น ธนาคารโลก ธนาคารประจําภูมิภาค และคณะกรรมาธิการยุโรป สิ่งนี้จะช่วยทํา ให้มั่นใจได้ว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) โครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว รวมโครงสร้างด้านอื่นๆ ที่ใช้สําหรับการท่องเที่ยว จะ ได้รับการช่วยเหลือ (Ensure national tourism administrations are included in the programmes stemming from international and regional organizations such as the World Bank, Regional Banks and the European Commission. This will ensure support for MSMEs, for tourism infrastructure and for other areas that impact on tourism)


• สร้างกลไก เพื่อจัดการกับวิกฤตการณ์ในปัจจุบันร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมด ในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ (ในกรณีที่ยังไม่มีกลไกใดๆ มาก่อน) (Where not already in place, create mechanisms at the global, regional and country levels to manage the current crisis engaging all relevant stakeholders)

7.สร้างกลไกและกล ยุทธ์ในการจัดการภาวะ วิกฤติ (Create crisis management mechanism and strategies)

• สื่อสารข้อมูลอย่างมีเอกภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค และเพื่อสร้างความ เข้าใจแก่สาธารณะ (Unifying messages in support of consumer confidence and public perception) • พัฒนากลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมกับสื่อและผู้มีอิทธิพลทาง ความคิด (Develop a media and public influencer relations and engagement strategy) • คาดการณ์ผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤต โดยต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล และ สถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นจริงและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (Develop crisis scenarios based on data and the current crisis dynamics) • จัดทํายุทธศาสตร์การตอบสนองต่อภาวะวิกฤติในระดับนานาชาติ เพื่อสนับสนุนการ เตรียมความพร้อมของภาคการท่องเที่ยวสําหรับการเยียวยา และการฟื้นฟูในอนาคต (Elaborate a global crisis response strategy to support tourism preparedness for future mitigation and recovery needs)


2.การสร้างแรงจูงใจ และการฟื้นฟูภาคการ ท่องเที่ยว (Providing Stimulus and Accelerating Recovery)


8. จัดหามาตรการ กระตุ้นทางการเงิน สําหรับการลงทุนและ การดําเนินงานในภาค การท่องเที่ยว (Provide financial stimulus for tourism investment and operations)

• สร้างแรงจูงใจพิเศษเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานในช่วงระยะสั้น และช่วงฟื้นฟู ของ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดย่อย (MSMEs) เช่น สิ่งจูงใจสําหรับ การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) การเข้าถึงตลาด การ ฝึกอบรมและการจ้างงาน (Create special incentives to support MSMEs’ short-term business operations and recovery such as incentives for digital transformation, market access, training and hiring) • ส่งเสริมช่องทางการวางแผนการลงทุนเร่งด่วนในโครงสร้างพื้นฐาน และพิจารณาเสนอ สิ่งจูงใจพิเศษสําหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ต้องการเข้ามาลงทุนใน ภาคการท่องเที่ยว (Promote fast track scheduled investment in infrastructure and consider offering extra incentives for foreign direct investment in tourism) • ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง เช่น ทางด่วน รถไฟความเร็วสูง สนามบิน ท่าเรือ และระบบการจัดการจราจรทางอากาศในระยะยาว ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถ ตอบสนองความต้องการของภาคการท่องเที่ยวได้ แม้ว่าจะในทางอ้อมก็ตาม (Promote transport infrastructure e.g. expressways, high speed trains, airports, ports and air traffic management systems from a long-term horizon. This is often geared to meeting the needs of tourism, even if this is not explicitly stated)


8. จัดหามาตรการ กระตุ้นทางการเงิน สําหรับการลงทุนและ การดําเนินงานในภาค การท่องเที่ยว (Provide financial stimulus for tourism investment and operations)

• สร้างกลไกการลงทุนที่เพิ่มการจูงใจให้เกิดโครงการในส่วนขยายและพัฒนาธุรกิจ (brownfield projects) เช่น การหักค่าเสื่อมราคาสําหรับโรงแรม, เงินอุดหนุนสินเชื่อใน ท้องถิ่นสําหรับโครงการปรับปรุง เพิ่มเติม หรือเพิ่มประสิทธิภาพของระบบพลังงาน ที่ สามารถช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้ (Develop investment mechanisms that incorporate incentives for brownfield projects such as depreciation deductions for hotels, subsidised local credits for remodelling, expansion or energy efficiency projects that improve competitiveness) • ส่งเสริมเงินทุนเพื่อสร้างสิ่งจูงใจในการบูรณาการ และการตัดตอนห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดย่อย (MSMEs) และกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพเทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Promote funds to incentivise the integration and disruption of supply chain stakeholders, especially the strengthening of MSMEs and digital travel tech start-ups) • สร้างความเชื่อมั่นว่า ทุกๆการลงทุนนั้นดําเนินการโดยเคารพในหลักการความยั่งยืนและ การเข้าถึงได้(สําหรับคนทั้งมวล) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในด้านการขนส่ง ที่พัก ทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มความสามารถใน การแข่งขันของภาคการท่องเที่ยว (Ensure that sustainability and accessibility principles are adhered to in all investments, notably in transport, accommodation, natural and cultural assets. This will further enhance the competitiveness of the sector)


9. ทบทวนกระบวนการ ทางภาษี การเก็บ ค่าธรรมเนียม และ ข้อบังคับที่มีผลต่อการ เดินทางและการ ท่องเที่ยว (Review taxes, charges and regulations impacting travel and tourism)

• ประเมินมูลค่าภาษีทั่วไปและภาษีเฉพาะด้าน ค่าธรรมเนียม และกฎระเบียบเกี่ยวกับการ ท่องเที่ยว การขนส่งและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์ช่วงการฟื้นตัว ทางเศรษฐกิจ (Evaluate all general and specific taxes, charges and regulations on tourism, transport and related industries within the context of economic recovery) • ขยายเวลา หรือ สร้างมาตรการรอบใหม่ในการยกเว้นหรือลดภาษีนิติบุคคล ภาษี ด้านการขนส่งทางอากาศ ภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับที่พักและร้านอาหาร ภาษีการ ท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายอื่นๆ (Extend or create new temporary exemptions or reductions of corporate taxes, air transport taxes, VAT on accommodation and restaurants, tourism taxes and other charges) • ส่งเสริมการเปิดเสรีด้านการขนส่งทางอากาศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและการ เชื่อมต่อทางอากาศสําหรับการฟื้นฟู ในช่วงระยะหลังพ้นจากวิกฤตการณ์ซึ่งหลายสิ่ง ยังไม่เข้าที่เข้าทาง (รัฐอาจต้องใช้มาตรการชั่วคราวเพื่อให้มีความยืดหยุ่นในแง่ของ สิทธิในการเข้าสู่ตลาด) (In the post-emergency phases, where they still not in place, promote the liberalization of air transport to boost air capacity and connectivity for recovery (States may wish to take temporary measures to provide for flexibility in terms of market access rights) • ทบทวนการใช้พื้นที่และเส้นทางทางอากาศ รวมถึงสนับสนุนการบังคับใช้ข้อบังคับ ระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องของการเร่งการลดต้นทุนเชื้อเพลิงและลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (Review the use of air space and routes and support the enforcement of international regulations with the aim of speeding up the reduction of fuel costs and CO2 emissions)


10. การอํานวยความ สะดวกสําหรับการ เดินทางล่วงหน้า (Advance travel facilitation)

• สร้างหลักประกันว่า ข้อจํากัดในการเดินทาง เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ COVID-19 นั้น จะได้รับการประเมินสภาพการณ์อย่างต่อเนื่อง และปรับใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ด้านสาธารณสุข บนพื้นฐานของข้อมูลจากการประเมินความเสี่ยงของสถานที่นั้นๆ ทั้งนี้ ข้อจํากัดต่างๆ ควรถูกยกเลิกในช่วงเวลาที่เหมาะสมเมื่อเข้าสู่สถานการณ์ที่ปลอดภัย เพียงพอ และควรดําเนินการอย่างสอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย (Ensure that any travel restrictions introduced in response to COVID-19 are continuously assessed and remain proportionate to the public health threat and based on local risk assessments. Restrictions should be lifted in a timely manner when it is safe to do so, and in as much as possible, in coordination with other destinations in the region) • ตรวจสอบให้แน่ชัดว่า ข้อมูลที่เกี่ยวกับการออกข้อจํากัดของการเดินทาง และการงดเว้น หรือยกเลิกข้อจํากัดนั้นๆ สามารถเข้าถึงได้ง่าย ไม่สร้างความสับสน และเชื่อถือได้ โดยข้อมูล ดังกล่าวนี้ควรมีการสื่อสารไปยังภาคธุรกิจ และผู้บริโภค ผ่านช่องทางการสื่อสารที่มีอยู่ ทั้งหมด (Ensure that information on travel restrictions and their lifting is accessible, consistent and reliable. This information should be shared with the sector and consumers through all available communication channels) • พิจารณาเพิ่มเติมการอํานวยความสะดวกในการขอวีซ่าสําหรับผู้เยี่ยมเยือนชั่วคราว การ อํานวยความสะดวกสําหรับการขอวีซ่าล่วงหน้า รวมถึงการใช้นโยบายด้านการเดินทางที่ไร้ รอยต่อ (seamless travel policies) โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศและกลุ่มประเทศ ควร ดําเนินการศึกษาการเพิ่มความสะดวกของการเดินทาง โดยมุ่งสู่นโยบาย e-Visa /วีซ่า ณ จุดหมายปลายทาง (visa on arrival) / การงดเว้นวีซ่า (Consider the further facilitation of visa policies for temporary visitors, advance visa facilitation and seamless travel policies. Governments and regional blocks should work on travel facilitation with the aim of moving towards e-visa/visa on arrival/no visa policies)


11. ส่งเสริมการ ทํางานรูปแบบใหม่และ พัฒนาทักษะ โดย เฉพาะงาน/ทักษะด้าน ดิจิทัล (Promote new jobs and skills development, especially digital ones)

• สร้างโปรแกรมพิเศษเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน รวมถึงการพัฒนาทักษะของแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะให้กับกลุ่มผูว ้ ่างงาน (Create special programmes to promote employment and skills development, especially digital skills, for tourism, and particularly for the unemployed) • พัฒนาให้เกิดมหกรรมจัดหางานด้านการท่องเที่ยว รวมถึงในลักษณะแพลตฟอร์มออนไลน์ (Develop tourism employment fairs and online platforms) • ให้ความช่วยเหลือในรูปของโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเพิ่มระดับทักษะ หรือปรับทักษะ รวมถึง สร้างมาตรการในการส่งเสริมมาตรฐานอุตสาหกรรม และการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มเติม (Develop subsidies for up-skilling and reskilling training programmes and measures to promote industry standards and the further diffusion of digital technologies) • สร้างโอกาสในการฝึกอบรมหลักสูตรใหม่ๆ ที่นําไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการเข้าถึง ตลาด สําหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ทํางานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและ อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (เช่น กลุ่มที่มีส่วนในงานด้านหัตถกรรม, การจัดเทศกาล, จัดงาน เพลง, จัดละครเวที ฯลฯ), ธรรมชาติ, กีฬา, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ เพื่อให้ สามารถสร้างผลิตภัณฑ์(การท่องเที่ยว)ใหม่ๆ ได้ตลอดทั้งปี (Identify new training opportunities geared towards product development and market access for stakeholders working in the areas of culture and creative industries (engaged in handicrafts, festivals, music, theatre, etc.), nature, sports, medical and wellness tourism to create new innovative all-year around products)


11. ส่งเสริมการ ทํางานรูปแบบใหม่และ พัฒนาทักษะ โดย เฉพาะงาน/ทักษะด้าน ดิจิทัล (Promote new jobs and skills development, especially digital ones)

• จัดให้มีสิ่งจูงใจพิเศษ เช่น วงเงินสินเชื่อ (รวมถึงสินเชื่อขนาดเล็ก), แผนการเงินพิเศษ, สินเชื่อ, สิทธิประโยชน์ทางประกันสังคม หรือสิทธิประโยชน์ทางภาษี สําหรับบริษัทที่ สนับสนุนการสร้างตําแหน่งงาน ซึ่งสามารถอยู่ในรูปของทั้งกลไกภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะ หรือจัดลําดับความสําคัญของภาคการท่องเที่ยวให้อยู่ในลําดับต้น (Provide special incentives such as credit lines (including micro credit), special finance plans, loans, social security or tax benefits for companies supporting job creation. This can be either through tourism sector specific mechanisms or by prioritising tourism in more general programmes) • จัดทําโปรแกรมพิเศษเพื่อสนับสนุนธุรกิจด้านการท่องเที่ยว สิ่งนี้จะช่วยในการพัฒนา นวัตกรรมขั้นสูง และนําไปสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบสู่ดิจิทัล (Create special programmes to support entrepreneurship in tourism. This will help to further advance innovation and digital transformation) • ส่งเสริมและกระตุ้นห่วงโซ่อุปทานในระยะสั้น ๆ ของภาคการท่องเที่ยวและการบริการ (Promote and stimulate short supply chains in tourism and hospitality) • สร้างความมั่นใจให้ได้ว่ากลุ่มสตรีและกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเยาวชน คนพิการ ชุมชนชนบท และชนพื้นเมืองจะสามารถเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือต่างๆ ได้ ซึ่งจะเป็น การขยายห่วงโซ่อุปทานด้านการท่องเที่ยวในท้องถิ่นให้ครอบคลุมและหลากหลายมากขึ้น (Ensure measures are equally accessible to women and other groups, notably youth, people with disabilities, rural and indigenous communities. This will contribute to establishing a more inclusive and diversified local supply chain) • สนับสนุนและยกระดับโปรแกรมการให้ความรู้และการฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยว ที่ลงทุน โดยภาครัฐ (Support and enhance government-funded programmes of tourism education and training)


12. ใช้แนวความคิด ความยั่งยืนด้าน สิ่งแวดล้อมบรรจุใน แผนการกระตุ้นและ การฟื้นฟูให้เป็นแนวคิด หลัก (Mainstream environmental sustainability in stimulus and recovery packages)

• *ใช้ช่วงของการฟื้นฟูเป็นโอกาสในการนําภาคการท่องเที่ยวเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมที่มี รูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Approach recovery as an opportunity to jump start the sector towards a new model of sustainable production and consumption) • *ควรผนวกมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมไว้กับแผนมาตรการจูงใจ แผนการลงทุน และการให้ ทุนอุดหนุนพิเศษ ซึ่งอาจหมายรวมถึงมาตรการการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (เช่น การใช้พลังงานและนํ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการของเสีย) และมาตรการลดการ ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สิ่งนี้จะช่วยให้ภาคการท่องเที่ยวยกระดับความยั่งยืนด้าน สิ่งแวดล้อมในการดําเนินธุรกิจ นอกจากนี้ยังจะสามารถนําการท่องเที่ยวให้เข้าไปใกล้ชิดกับ กองทุนให้เปล่าจากต่างประเทศที่มุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนและช่วยเหลือการฟื้นฟูของภาค ธุรกิจ (Environmental measures should be integrated into incentives, investment schemes and special funds. These can include resource efficiency (energy and water efficiency, waste management) and measured aimed at reducing CO2 emissions. This will enable the sector to enhance the environmental sustainability of its operations. It will also allow tourism to work more closely with international donors focused on sustainability and to further support the recovery of the sector)


13. ทําความเข้าใจกับ ตลาด เร่งฟื้นฟูความ เชื่อมั่น และกระตุ้นให้ เกิดอุปสงค์ (Understand the market and act quickly to restore confidence and stimulate demand)

• มีการสื่อสารที่ถูกต้องโปร่งใส และช่วยเหลือแหล่งท่องเที่ยว และบริษัทต่างๆ ในการฟื้นฟู ความเชื่อมั่นจากผู้บริโภค เพื่อให้สามารถเริ่มการเดินทางได้ทันทีที่วิกฤตการณ์ด้าน สุขภาพนี้ได้คลี่คลายลง (Communicate with transparency and support destinations and companies to restore confidence among consumers to restart travel as soon as the health emergency allows for it) • พิจารณาทบทวนตารางวันหยุด และถ้าเป็นไปได้ ให้กําหนดช่วงวันหยุดภายในปลายปีนี้ และสร้างแรงจูงใจให้บริษัทจัดทําบัตรกํานัลสําหรับวันหยุดให้แก่พนักงานตนเอง เพื่อเพิ่ม ยอดความต้องการเดินทางท่องเที่ยวหลังภาวะวิกฤติ และในประเทศที่มีข้าราชการและ พนักงานของรัฐจํานวนมาก ให้พิจารณาสนับสนุนให้มีการเดินทางและการท่องเที่ยวผ่าน โครงการเชิงสวัสดิการ เช่น ศึกษาดูงาน (Consider reviewing holiday schedules and, if possible, introduce public holidays later in the year. Incentivize companies to provide holiday vouchers to their staff to boost demand post crisis and, in countries where government is a major employer, consider supporting travel and tourism through employee benefits schemes) • ลงทุนในระบบข้อมูลและระบบวิเคราะห์เพื่อติดตามพฤติกรรม คาดการณ์แนวโน้ม และ ปรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงปรับกลยุทธ์ทางการตลาด (Invest in data and intelligence systems to monitor behaviour, anticipate trends and adjust product design and marketing strategies) • กําหนดและออกแบบโปรโมชั่นพิเศษสําหรับตลาดและกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะฟื้นกลับมาเร็ว ขึ้น เช่น ตลาดการเดินทางที่มีความสนใจเป็นพิเศษ หรือตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศ (Identify and design special promotions for markets and segments that tend to bounce back more quickly, such as special interest travel or the domestic tourism market)


13. ทําความเข้าใจ ตลาด และเร่ง ดําเนินการฟื้นฟูความ เชื่อมั่นและกระตุ้นให้ เกิดอุปสงค์ (Understand the market and act quickly to restore confidence and stimulate demand)

• ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อเริ่มการสร้างเศรษฐกิจของประเทศขึ้นใหม่ ทั้งนี้ คาดกันว่านักท่องเที่ยวในประเทศจะเป็นหนึ่งในบุคคลกลุ่มแรกๆ ที่จะเริ่มเดินทางอีกครั้ง และถือเป็นตัวจุดประกายอุปสงค์ด้านการท่องเที่ยว ดังนั้น ควรมีแผนสําหรับกิจกรรมทาง การตลาดและสิ่งจูงใจที่จะช่วยให้อํานวยความสะดวกในการเดินทางภายในประเทศและช่วย เพิ่มวันพักแรมให้ยาวขึ้น ซึ่งอาจรวมถึงราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น โปรโมชั่นพิเศษหรือการ จูงใจให้เกิดการเดินทางโดยนายจ้างเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่พึ่งพาการ ท่องเที่ยวเป็นอย่างหลัก (Promote domestic tourism to start rebuilding national economies. Domestic tourists are expected to be among the first to travel again and reignite demand. Plans should be in place for marketing activities and incentives that will facilitate domestic travel and encourage increased length of stay. This can include more competitive prices, special promotions or travel incentives by employers especially to destinations that are heavily reliant on tourism) • * จากการที่วิกฤตการณ์นี้สร้างผลกระทบให้แก่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของประเทศในเขต ซีกโลกเหนืออย่างมาก ดังนั้นจะต้องมีการเร่งการสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวนอก ฤดูกาลขึ้นมา ซึ่งรวมถึงแคมเปญสําหรับกิจกรรมงานแสดงอีเว้นท์ และประสบการณ์ ต่างๆ ตลอดทั้งปี โดยต้องมีการเตรียมการปรับกิจกรรมและการจัดการระบบการ ท่องเที่ยวเสียใหม่ และสนับสนุน(ยังคงมี)การเชื่อมโยง(ด้านการท่องเที่ยว) ในช่วงเดือนใน ท้ายปี (บริบทฝรั่งนิดๆ) (Considering the impact of the crisis on the peak season of the northern-hemisphere, efforts should be made to boost off peak tourism products. This can include campaigns for year-round experiences and events, preparing the sector to adapt their activities and manage tourism flows, and encouraging connectivity within the later months of the year) • ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของโซเชียลมีเดียและกลุ่มคนยุคมิเลนเนียม (คนที่เกิดปีระหว่าง 1980-2000) อย่างเต็มที่ ในการส่งเสริมให้เกิดการเริ่มเดินทางท่องเที่ยวอีกครั้ง โดยเฉพาะสําหรับตลาดภายในประเทศ (Harness the full potential of social media and millennials in promoting the positive impact of travel again, particularly in domestic markets)


• สนับสนุนการบริหารการท่องเที่ยวทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ในการเร่งส่งเสริม ภารกิจด้านการตลาด (Support tourism administrations, at both the national and local level, in boosting marketing efforts)

14. เร่งส่งเสริม การตลาด การจัด กิจกรรมอีเว้นท์ และการประชุมต่าง ๆ (Boost marketing, events and meetings)

• สร้างกองทุนพิเศษเพื่อช่วยดึงดูดการประชุมและกิจกรรมอีเว้นท์ระดับนานาชาติ รวมถึง จัดกิจกรรมอีเว้นท์ในระดับท้องถิ่นและสนับสนุนการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่ฟื้นฟูยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวและกับชุมชนในพื้นที่ ชนบท (Create special funds to help attract international conferences and events, organize local events and support recovery in less resilient destinations. This is especially relevant for destinations that are more dependent on tourism and for communities in rural areas) • สนับสนุนบริษัท โดยลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมในงานแสดงสินค้าด้าน การท่องเที่ยว และกิจกรรมอีเว้นท์และกิจกรรมทางการตลาดอื่นๆ (Support companies by reducing or waiving fees to participate in travel fairs and shows, other events and marketing activities) • ลงทุนในการทําการตลาดดิจิทัลเพื่อให้แน่ใจว่ามีการดําเนินการตามเป้าหมายและเพิ่ม ผลตอบแทนจากการลงทุน (Invest in digital marketing to ensure targeted actions and enhanced return on investment) • สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การแบ่งส่วนการตลาด และกิจกรรมทางการ ตลาดที่นําไปสู่ภาคการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบและมีความยั่งยืนที่ มากขึ้น (Incentivize development in products, market segments and marketing activities that contribute to a more responsible and sustainable travel and tourism sector) • ดําเนินการแคมเปญที่ส่งเสริมให้เกิดการรับรู้และการเดินทางอย่างรับผิดชอบ เพื่อให้การ ท่องเที่ยวเสริมสร้างเศรษฐกิจให้ท้องถิ่น ปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม และ ทรัพยากรธรรมชาติ (Undertake campaigns encouraging informed and responsible travel that contributes to local economies, protects cultural heritage and natural resources)


15. จับมือพันธมิตร (Invest in partnerships)

• จัดตั้ง คณะกรรมการเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยว โดยมีผู้แทนฝ่ายบริหารการ ท่องเที่ยวทุกระดับ (ระดับชาติและระดับท้องถิ่น) กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (พาณิชย์ คมนาคม ศึกษาธิการ การต่างประเทศ มหาดไทย ฯลฯ ) สมาคม ภาคเอกชน สายการบิน ตัวแทนภาคแรงงาน และพันธมิตรที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น บริษัทเทคโนโลยี และธนาคาร (Create a Tourism Recovery Committee with representatives of tourism administrations at all levels (national and local), other relevant ministries (trade, transport, education, foreign affairs, interior, etc), the private sector associations, airlines, workers’ representatives and other relevant partners such as technology companies and banks) • กําหนดแผนปฏิบัติการร่วมกันโดยให้มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีแนวทางที่ ครอบคลุม มีการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากร และมีความรับผิดชอบ โดยต้องมีการ ตรวจสอบการปฏิบัติงานและตรวจสอบความคืบหน้า (Set a common plan of action with clear objectives, an inclusive approach, resource allocations and responsibilities. Monitor implementation and progress) • ส่งเสริมแพลตฟอร์มการลงทุนแบบดิจิทัลเพื่อตรวจสอบ ส่งเสริม และร่วมลงทุน กับโครงการเชิงกลยุทธ์ที่มีความสําคัญ รวมถึงโครงการตามแนวทาง SDGs (Promote digital investment platforms to monitor, promote and coinvest according to prioritized strategic projects and SDGs agendas)


16. บรรจุเรื่องการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ให้เป็นหลักการสําคัญ ในการดําเนินโครงการ ฟื้นฟูต่างๆ ทั้ง โครงการในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับ นานาชาติ รวมถึง โครงการการช่วยเหลือ เพื่อการพัฒนา (Mainstream sustainable tourism in national, regional and international recovery programmes and in Development Assistance)

• ควรบรรจุกิจกรรมการท่องเที่ยวให้อยู่ในโปรแกรมกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเร่งด่วน และทั้งนี้ โปรแกรมกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วไป เช่น การลดภาษี การส่งเสริมการส่งออก การสนับสนุน การสร้างงาน หรือการฝึกอบรมใหม่ ก็ควรเป็นประโยชน์ต่อภาคการท่องเที่ยวด้วย (Tourism should be included in stimulus programmes – general programmes on tax reductions, export promotion, job support or retraining should benefit the sector) • การท่องเที่ยวสามารถได้ประโยชน์อย่างมากจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงต่อการสร้างงานในภาคก่อสร้างและภาคที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง รวมถึง รถไฟความเร็วสูง สิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ ในท่าเรือและสนามบิน สถานีและ ทางหลวงสายหลัก เช่นเดียวกับการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงการ ปรับปรุงให้โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว และสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวอื่นๆ (Tourism can benefit greatly from investment in infrastructure because of its direct effect on jobs in construction and related sectors. High speed trains, port and airport facilities, stations and major highways fall into this category – as does the environmentally sustainable renovation and climate proofing of hotels, attractions and other tourism facilities) • โครงการการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา สามารถนํามาใช้ฟื้นฟูอาชีพและตลาดด้านการ ท่องเที่ยว การพัฒนาธรรมาภิบาล และการสนับสนุนภาคธุรกิจที่เชื่อมโยงไปมาในระบบ นิเวศของห่วงโซ่คุณค่าของการท่องเที่ยวทั้งหมด (Development Assistance can provide the means for recovery of jobs and markets, improved governance and support to enterprises across the entire tourism value chain ecosystem)


16. บรรจุเรื่องการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ให้เป็นหลักการสําคัญ ในการดําเนินโครงการ ฟื้นฟูต่างๆ ทั้ง โครงการในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับ นานาชาติ รวมถึง โครงการการช่วยเหลือ เพื่อการพัฒนา (Mainstream sustainable tourism in national, regional and international recovery programmes and in Development Assistance)

• ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคการท่องเที่ยวควรจะต้องเป็นผู้นําพาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ ได้รับประโยชน์จากการช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรระดับภูมิภาค ต่างๆ เช่น IMF, ธนาคารโลก, ธนาคารภูมิภาค และคณะกรรมาธิการยุโรป (Tourism stakeholders should work to ensure the sector benefits from support available from international and regional organizations such as the IMF, the World Bank, the Regional Banks and the European Commission) • ต้องใช้หลักการด้านความยั่งยืนเป็นหัวใจสําคัญของโครงการฟื้นฟูการท่องเที่ยวในทุก โครงการ และใช้โอกาสจากวิกฤติในครั้งนี้ไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น (Ensure sustainability is at the heart of any tourism recovery programme thus taking this crisis as an opportunity for transformation)


3. การเตรียมความ พร้อมสําหรับ อนาคต (PREPARING FOR TOMORROW)


• สร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพากิจกรรมการ ท่องเที่ยวเดียวหรือกลุ่มตลาดเดียว โดยตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติถือว่าเป็นภาคการ ส่งออกที่มูลค่าสูง และควรบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการส่งเสริมการส่งออกของ ประเทศ อย่างไรก็ตามในขณะเดียวกัน ตลาดการท่องเที่ยวภายในประเทศก็ยังคงตลาดที่คํ้า จุนภาคการท่องเที่ยวอยู่เสมอ (Diversify tourism to avoid dependence on one single activity or market. Foreign visitors are high value exports and must be considered as part of national export promotion programmes. At the same time, domestic markets are often the backbone of the sector)

17.ทําการตลาด สินค้า และบริการ ให้มีความ หลากหลายมาก ขึ้น (Diversify markets, products and services)

• เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่การท่องเที่ยวภายในประเทศและภายในภูมิภาค โดยการยกระดับการเชื่อมโยงโครงข่าย และยกระดับสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการ ท่องเที่ยว (Work to make domestic and intraregional travel more competitive through enhanced connectivity and travel facilitation) • จัดการกับความเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ ให้ความสําคัญกับการทําความเข้าใจแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงของความพึงพอใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ที่เกิดขึ้นหลัง วิกฤตการณ์ด้วย (Address the underlying shifts in demand. Understanding possible changes in consumer preferences and behaviour post-crisis will be critical) • เพิ่มขีดความสามารถให้แก่ชุมชนหรือกลุ่มคนที่มีความเปราะบาง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยวใหม่ เพื่อใช้ในการช่วยเหลือชุมชนที่ด้อยโอกาสและพื้นที่ห่างไกล (Provide more vulnerable communities and groups with the capacity to develop new tourism products supporting rural regions and disadvantaged communities) • สร้างและ/หรือยกระดับแผนงานการท่องเที่ยวที่มีส่วนในการเพิ่มคุณภาพสังคม โดย มุ่งเน้น(ตอบสนองความต้องการของ)กลุ่มนักท่องเที่ยวสูงอายุ นักท่องเที่ยวแบบ ครอบครัว เยาวชนและคนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ (Facilitate and/or enhance Social Tourism schemes aimed at seniors, families, youth and people with disabilities)


18. ลงทุนในระบบ การวิเคราะห์ การตลาดและการ เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ ระบบดิจิทัล (Invest in market intelligence systems and digital transformation)

• กลยุทธ์และการตัดสินใจที่อาศัยข้อมูลหลักฐาน คือกุญแจสําคัญโดยเฉพาะในช่วงเวลาวิกฤติ ทั้งนี้ ควรมีการลงทุนกับการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และลงทุนร่วมพันธมิตรที่ถูกต้อง เพื่อติดตามพัฒนาการด้านการท่องเที่ยว และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด (Evidence based decisions and strategies are key, particularly in moments of crisis. Invest in data, analysis and partnerships that allow for close, short term monitoring of tourism development and impact) *GSTC • จัดตั้งหน่วยงานเพื่อเฝ้าติดตามการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น เพื่อประเมินการท่องเที่ยวทุกมิติ โดยการดําเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง และ มีการให้ข้อมูลกับภาคการท่องเที่ยวเสมอ (Set up national and local sustainable tourism observatories to measure all dimensions of tourism in partnership with relevant stakeholders and share this information with the sector) *GSTC • ยอมรับการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล และผลักดันให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการ สร้างนวัตกรรมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน (Embrace digital transformation and boost innovation ecosystems in the public and private sectors)


19. การเสริมสร้างธรร มาภิบาลในการกํากับ ดูแลการท่องเที่ยวใน ทุกระดับ (Reinforce tourism governance at all levels)

• สร้างกลไกการจัดการด้านการท่องเที่ยวระดับชาติที่สามารถประสานความร่วมมือกับ ภาคเอกชน ชุมชนท้องถิ่น และส่งเสริมนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวในภาครัฐให้เป็นไปใน ทิศทางเดียวกัน (Create national tourism governance mechanisms that fully engage the private sector, local communities and promote a ‘whole government’ approach to tourism development) • พัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรจัดการแหล่งท่องเที่ยว (DMOs) เพื่อการ พัฒนาการท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่นให้มีความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ (Develop and strengthen Destination Management Organizations (DMOs) for an effective and sustainable development of tourism at local level) • สร้างขีดความสามารถเชิงสถาบันในโครงการการบริหารงานภาครัฐทั้งในระดับภูมิภาคและ ระดับท้องถิ่น เพื่อสร้างความสามารถในการฟื้นตัวและสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติดียิ่งขึ้น (Build institutional capacity among local and regional government structures for better resiliency and faster bounce back.)

• ให้ความสําคัญกับสมาคมการท่องเที่ยว และภาคประชาสังคม และส่งเสริมให้มีช่องทางรับ ฟังความคิดเห็นจากประชาชน (Include tourism workers’ associations and civil society and promote citizens’ platforms to ensure all voices are heard)


20. เตรียมพร้อมรับมือ กับวิกฤตการณ์ สร้าง ความสามารถในการ ฟื้นตัว และสร้างความ เชื่อมั่นว่าการท่องเที่ยว เป็นส่วนหนึ่งของระบบ และกลไกในช่วงภาวะ ฉุกเฉินของประเทศ (Prepare for crises, build resilience and ensure tourism is part of national emergency mechanisms and systems)

• วิกฤตการณ์ระดับโลกต้องใช้กระบวนการแก้ไขระดับโลก ทั้งนี้ รัฐบาลในแต่ละประเทศควร สร้างกลไกเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์ที่มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ โดยร่วมกับองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations World Tourism Organization :UNWTO) (Global crises demand global solutions. Governments, working through UNWTO, should create a Tourism Global Crisis Response Mechanism) • ดําเนินการถอดบทเรียนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการพัฒนาวิธีการประเมินความ เสี่ยง และการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน (Review all the lessons learned, including the need to improve risk assessment and crisis preparedness within both the public and private sectors) • ให้ภาคการท่องเที่ยว ถูกบรรจุเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบและกลไกในการรับมือกับภาวะ ฉุกเฉินของประเทศ (Ensure the inclusion of tourism and transport in national emergency mechanisms and systems) • สร้างแผนปฏิบัติการรับมือสภาวะฉุกเฉินในภาคการท่องเที่ยว และนําหลักการการเตรียม ความพร้อมและการจัดการการรับมือกับวิกฤตการณ์และการจัดการ มาใช้ในภาคการ ท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ (Create Tourism Emergency Plans and fully embrace the principles of crisis preparedness and management in the tourism sector) • ทบทวนกฎและข้อบังคับที่เกี่ยวเนื่องกับการให้ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้บริโภค ผู้ให้บริการ คนกลาง รวมถึงนโยบายการประกันภัย เพื่อเตรียมการไว้ใช้ใน ช่วงเวลาที่ไม่ปกติและมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์ (Review existing rules and regulations defining the relationship between consumers, providers, intermediaries as well as insurance policies to better cater for times of exception and spread the risks associated with the crisis) • ยึดถือและปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยการสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Ensure adherence and compliance with International Health Regulations)


• ทบทวนและปรับปรุงยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับทุนมนุษย์ในภาคการท่องเที่ยวของประเทศให้ ทันสมัย (Review and update the national tourism human capital strategy) • สร้างความสามารถในการฟื้นตัว และเตรียมความพร้อมสําหรับการทํางานในอนาคต โดย เตรียมผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะและความพร้อม และมียุทธศาสตร์ด้านการศึกษาและการ ฝึกอบรมที่เหมาะสม(กับยุคสมัย) (Build resilience and prepare for the future of work through a skilled and prepared workforce and adequate education and training strategies)

21. ลงทุนกับทุนมนุษย์ และการพัฒนา ศักยภาพทุนมนุษย์ (Invest in human capital and talent development)

• ประสานความร่วมมือกับผู้นําในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล หอการค้า และสมาคมด้านการท่องเที่ยว เพื่อ พัฒนาทักษะใหม่ๆ สําหรับการทํางานในอนาคต และสามารถตอบสนองความต้องการด้าน ทักษะการปฏิบัติงานที่จําเป็นต่อภาคการท่องเที่ยว (Set partnerships with travel and tourism industry leaders, universities, educational centres, digital players, chambers of commerce, and tourism associations to advance new skills for the future of work and to meet the skills needed by the sector) • จะต้องบรรจุกลุ่มคนที่มีความเปราะบาง เช่น ผู้หญิง เยาวชน ผู้อพยพ และคนพิการ ไว้ใน ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างชัดเจน (Ensure that more vulnerable groups such as women, youth, immigrants and people with disabilities are explicitly included in human capital strategies) • เคารพหลักการ การสร้างสภาพการทํางานที่ดีและการให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน โดยนายจ้าง ควรจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมการทํางานที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ และนํามาตรการ ปกป้องและคุ้มครองมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับลูกจ้าง (Respect the principles of decent work and equal opportunities. Employers should ensure a safe and healthy working environment by introducing preventive and protection measures to minimize workers’ exposure to risks)


22. บรรจุเรื่องการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เป็นวาระแห่งชาติอย่าง จริงจัง (Place sustainable tourism firmly in the national agenda)

• จะต้องบรรจุเรื่องการท่องเที่ยวเป็นวาระสําคัญระดับชาติ โดยต้องสะท้อนถึงความสามารถ ในการสร้างงาน การส่งเสริมการเติบโต(และการกระจายความเจริญ)ทางเศรษฐกิจ และสร้าง ความยั่งยืน (Ensure the inclusion of tourism in national priorities, reflecting its capacity to create jobs, to promote economic growth and inclusion and advance sustainability) • สร้างแนวทางการบูรณาการนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งชาติ เพื่อประสานงานนโยบายต่างๆ และสร้าง ความร่วมมือกับภาคเอกชน (Create a whole government approach to tourism development by establishing National Tourism Councils for the coordination of all policies and cooperation with the private sector)


• วิกฤตการณ์นี้อาจส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืนทั้ง 17 ข้อของสหประชาชาติภายในปี 2030 (SDGs) ดังนั้นจะต้องมีการกําหนดความ ชัดเจน ทบทวนแก้ไข หรือเร่งการปฏิบัติงานตามแนวทางด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและมี ความรับผิดชอบในกรอบของ SDGs (This crisis could jeopardize our collective ability to achieve the 17 SDGs by 2030. Define, revise or advance the implementation of Sustainable and Responsible Tourism within the framework of the SDGs)

23. การเปลี่ยนผ่าน ไปสู่หลักเศรษฐกิจ หมุนเวียนและการบรรลุ เป้าหมายการพัฒนา อย่างยั่งยืน (SDGs) (Transition to the circular economy and embrace the SDGs)

• สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยวิกฤตการณ์นี้ถือเป็นโอกาสสําคัญ ในการเน้นยํ้าถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยกระดับการดําเนินงานและการตัดสินใจร่วมกันของ ผู้ปฏิบัติงานในห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยว (ผู้ผลิต ผู้จัดจําหน่าย ผู้บริโภค ฯลฯ) ซึ่งนี่จะ ก่อให้เกิดการบูรณาการหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้าไปในการดําเนินงานด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนตํ่า ใน ขณะเดียวกันยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและความสามารถในการฟื้นตัว โดยรวมของภาคการท่องเที่ยวด้วย (Support the transition towards a circular economy – this crisis is also an opportunity to place stronger emphasis on the development of strategies that enhance coordinated action and decisions across all actors (producers, distributors, consumers, etc.) in the tourism value chain. This can support integrating circularity in tourism operations, transitioning to more resource efficient and low carbon tourism operations, while also enhancing the competitiveness and resilience of the sector as a whole) • การยึดมั่นในเรื่องความยั่งยืนเป็นสิ่งสําคัญที่จะช่วยให้ภาคการท่องเที่ยวได้เชื่อมโยงอย่าง ใกล้ชิดขึ้นกับระบบอื่นๆของสหประชาชาติได้ การฟื้นตัวของภาคส่วนหนึ่งๆจะเกิดขึ้นหากภาค การท่องเที่ยวเข้าเป็นพันธมิตรสําคัญของหน่วยงานในสหประชาชาติ องค์กรระหว่างประเทศ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ในการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกในการบรรลุถึง เป้าหมาย SDGs ในปี 2030 (Embracing sustainability more fully will help tourism as the sector establishes closer links with the wider United Nations system. A resilient sector is vital if tourism is to become a key partner of UN agencies, international organizations and international finance institutions as the global community works to realize the 2030 Agenda)


ข้อเสนอแนะของ ศทย. 1. ควรศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่พิเศษ โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายที่ เกี่ยวข้อง เพื่อนําผลที่ได้รับไปกําหนดแนวทางในการเยียวยาและฟื้นฟูองค์กร ธุรกิจและแรงงานในพื้นที่พิเศษ ในรูปแบบที่เหมาะสม 2. ระมัดระวังเรื่องการส่งเสริมโดยไม่ได้เก็บข้อมูล เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่มี ความอ่อนไหว ผู้คนอยู่ในช่วงตื่นตระหนัก และหงุดหงิด

3. ควรสรุปข้อมูลปัญหาเป็นเชิงประมาณ และแบ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบฯ เช่น กลุ่ม โรงแรมขนาดใหญ่ กลุ่มโรงแรมขนาดกลาง กลุ่มมัคคุเทศก์ ฯลฯ จะทําให้การ ดําเนินงานและการวัดผลสัมฤทธิ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น 4. จัดลําดับความสําคัญของปัญหา หรือความเร่งด่วนของปัญหา ภายใต้ งบประมาณที่มีจํากัด ก่อนนําไปจัดทําแผนเป็นแผนปฏิบัติการฯ ต่อไป

5. สามารถดําเนินการโดยเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ (n) ตาม แนวทางของ GSTC ได้ในหลายประเด็น โดยเฉพาะในส่วนของ Part 2 และ Part 3*


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.