คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก GSTC สำหรับแหล่งท่องเที่ยว

Page 1



สารบัญ

บทนำ�

1

ด้าน A การจัดการความยั่งยืน A (a) กรอบและโครงสร้างการจัดการ A1 ความรับผิดชอบด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยว A2 ยุทธศาสตร์การจัดการแหล่งท่องเที่ยวและแผนปฏิบัติการ A3 การติดตามและการรายงาน A (b) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย A4 การมีส่วนร่วมและการใช้มาตรฐานความยั่งยืนของผู้ประกอบการ A5 การมีส่วนร่วมและข้อเสนอแนะของผู้อยู่อาศัย A6 การมีส่วนร่วมและข้อเสนอแนะของนักท่องเที่ยว A7 การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการให้ข้อมูล A (c) การจัดการแรงกดดันและการเปลี่ยนแปลง A8 การจัดการปริมาณนักท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว A9 กฎระเบียบในการวางแผนงานและการควบคุมการพัฒนา A10 การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ A11 การจัดการความเสี่ยงและวิกฤตการณ์

4 5 7 9 12 13 15 17 19 22 23 25 27 29

ด้าน B ความยั่งยืนด้านสังคม-เศรษฐกิจ B (a) การนำ�ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาสู่ชุมชน B1 การวัดผลของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว B2 งานที่ดี และโอกาสทางอาชีพ B3 การสนับสนุนผู้ประกอบการท้องถิ่นและการค้าที่เป็นธรรม B (b) ผลกระทบต่อชุมชนและสวัสดิภาพของชุมชน B4 การสนับสนุนชุมชน B5 การป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบและการเลือกปฏิบัติ B6 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและสิทธิทางกฎหมาย B7 สวัสดิภาพและความปลอดภัย B8 การเข้าถึงการท่องเที่ยวสำ�หรับคนทั้งมวล

32 33 35 37 40 41 43 45 47 49


ด้าน C ความยั่งยืนด้านวัฒนธรรม C (a) การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม C1 การปกป้องทรัพย์สินทางวัฒนธรรม C2 วัตถุทางวัฒนธรรม C3 มรดกที่จับต้องไม่ได้ C4 การเข้าถึงวิถีปกติ C5 ทรัพย์สินทางปัญญา C (b) การเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม C6 การจัดการนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม C7 การสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว

52 53 55 57 59 61 64 65 67

ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม D (a) การอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติ D1 การปกป้องสิ่งแวดล้อมที่มีความเปราะบาง D2 การจัดการนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ D3 การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตในป่า D4 การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากพืชหรือสัตว์และสวัสดิภาพสัตว์ D (b) การจัดการทรัพยากร D5 การอนุรักษ์พลังงาน D6 การจัดการน้ ำ� D7 คุณภาพน้ำ� D (c) การจัดการของเสียและการปลดปล่อยมลพิษ D8 น้ำ�เสีย D9 ขยะมูลฝอย D10 การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และบรรเทาการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศ D11 การขนส่งที่มีผลกระทบต่ำ� D12 มลภาวะทางแสงและเสียง

70 71 73 75 77 80 81 83 85 88 89 91 93 95 97

แบบฝึกหัด

แบบฝึกหัด

99


บทนำ� 1

สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council) หรือ GSTC กำ�เนิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2550 จาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ the Rainforest Alliance, the United Nations Environment Programme (UNEP), the United Nations Foundation และ the United Nations World Tourism Organization (UNWTO) มีพันธกิจในการสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติและหลักการที่ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคีเครือข่าย ต่อมา มีการพัฒนา เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria) หรือ GSTC ขึ้น โดยอาศัยความเห็นพ้องของผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยค�ำนึงถึงการใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือเพื่อให้ บรรลุเป้าหมายแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ (The United Nations’ Millennium Development Goals) หรือ MDGs ที่ให้ความส�ำคัญกับการขจัดความยากจน การส่งเสริม ความเสมอภาคทางเพศ และการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐาน 4 ด้าน ได้แก่ การวางแผนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Effective sustainability planning) การเพิ่มประโยชน์ ด้านสังคมและเศรษฐกิจกับชุมชนท้องถิ่น (Maximizing social and economic benefits to the local community) การลดผลกระทบต่อมรดกทางวัฒนธรรม (Reduction of negative impacts to cultural heritage) และการลดผลกระทบทางลบอื่น ๆ (Reduction of negative) เกณฑ์ GSTC และตัวบ่งชี้ต่าง ๆ ได้รับการพัฒนามาจากมาตรฐานสำ�หรับโรงแรม และผู้ประกอบการของ UNWTO ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับเป็นสากล ต่อมาจึงมีการแบ่งเกณฑ์ ออกเป็น 2 ชุด ได้แก่ เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลกสำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว (Global Sustainable Tourism Criteria for Destination : GSTC-D) และเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืนโลกสำ�หรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Global Sustainable Tourism Criteria for Industry : GSTC-I) เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลกสำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว (Global Sustainable Tourism Criteria for Destination : GSTC-D) ประกอบด้วย เกณฑ์ 4 ด้าน 38 ข้อ 174 ตัวชี้วัด โดยแต่ละด้านจะมีด้านย่อย 2-3 ด้าน ดังนี้

ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

ด้าน B ความยั่งยืนด้านสังคม-เศรษฐกิจ

A (a) กรอบและโครงสร้างการจัดการ A (b) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย A (c) การจัดการแรงกดดันและการ เปลี่ยนแปลง

B (a) การนำ�ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มาสู่ชุมชน B (b) ผลกระทบต่อชุมชนและสวัสดิภาพ ของชุมชน

ด้าน C ความยั่งยืนด้านวัฒนธรรม

ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

C (a) การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม C (b) การเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม

D (a) การอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติ D (b) การจัดการทรัพยากร D (c) การจัดการของเสียและการปลด ปล่อยมลพิษ

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

2


ด้าน

A

การจัดการความยั่งยืน

3

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


A (a) กรอบและโครงสร้างการจัดการ

ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

4


A1

ความรับผิดชอบด้าน การจัดการแหล่งท่องเที่ยว (Destination management responsibility)

• แหล่งท่องเที่ยวมีหน่วยงาน ส่วนงาน กลุ่ม หรือคณะกรรมการ ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ที่จะรับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานเพื่อสร้าง การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วม ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน • กลุ่ ม บุ ค คลนี้ จ ะต้ อ งมี ก ารกำ � หนดหน้ า ที่ ความรับผิดชอบ การกำ�กับดูแล และความ สามารถในการลงมือปฏิบัติงาน เพื่อจัดการ ประเด็นด้านสังคม-เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม • ในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว กลุ่มบุคคล ดังกล่าวนี้จะต้องได้รับงบประมาณที่เพียงพอ ในการดำ�เนินงาน และมีความสามารถใน การทำ�งานกับหน่วยงานหลากหลายรูปแบบ ได้ • กลุ่มบุคคลนี้จะต้องมีบุคลากรที่เพียงพอ ในการทำ�งาน (รวมถึงจะต้องมีผมู้ ปี ระสบการณ์ ในด้านความยั่งยืนด้วย) และปฏิบัติงานตาม หลักการความยั่งยืน และความโปร่งใส

5

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. เอกสารหลักฐานการจัดตั้งหรือโครงสร้างของ คณะบุคคลที่ได้รับมอบหมาย และอำ�นาจหน้าที่ของ คณะบุคคลนั้น b. แผนการเงินและงบประมาณที่สามารถนำ�มาใช้ได้ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต c. หลักฐานที่แสดงถึงการมีความเชื่อมโยงและมีส่วน ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ d. รายชื่อพนักงานประจำ�และพนักงานชั่วคราว พร้อมระบุประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง e. แนวทางและกระบวนการการจัดการที่แสดงถึง ความตระหนักรู้และปฏิบัติตามหลักการความยั่งยืน และโปร่งใสในการทำ�งานและการกระทำ�สัญญาใด ๆ

เกร็ดความรู้

องค์กรจัดการแหล่งท่องเที่ยว (The Destination Management Organizations - DMOs)

องค์กรจัดการแหล่งท่องเที่ยว คือ องค์กรที่ มีหน้าที่ในการพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับแหล่งท่อง เที่ยว (Tourism Destination) รูปแบบของ DMOs โดยทั่วไปจะมีความหลากหลาย ทั้งเป็นรูปแบบ หน่วยงานของรัฐที่มีอำ�นาจเต็มในแหล่งท่องเที่ยว หรือการรวมตัวของหลากหลายหน่วยงานที่มีอำ�นาจ หน้าที่แตกต่างกันไป เช่น หน่วยงานของรัฐ องค์กร เอกชน หรือคณะบุคคลที่มีอำ�นาจหน้าที่ รวมถึง ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและภาคีเครือข่าย ที่ มีส่วนต่อความสำ�เร็จในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตามเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ที่กำ�หนด


กรณีศึกษา

Tourism Victoria ประเทศออสเตรเลีย

Tourism Victoria เป็นหน่วยงานของรัฐทีร่ บั ผิดชอบ ในส่วนของการพัฒนาและการตลาดด้านการท่องเที่ยว สำ � หรั บ นั ก เดิ น ทางชาวออสเตรเลี ย และชาวต่ า ง ชาติ โดยมีพันธกิจ คือ การเพิ่มการจ้างงานและผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาวของการท่องเที่ยว โดยการพัฒนา และทำ�การตลาดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ได้เปรียบคู่แข่ง เพื่อให้บรรลุพันธกิจนี้ คณะกรรมการ Tourism Victoria จึงได้กำ�หนดเป้าหมายไว้ 4 ประการ ได้แก่ 1) เป้าหมายทางการตลาด : เพิ่มจำ�นวนผู้เยี่ยมชม ระยะเวลาการเข้าพัก และค่าใช้จ่ายของผู้เยี่ยมชม 2) เป้าหมายความเป็นผู้นำ � : เป็นผู้นำ�ในอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว โดยส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและการ พัฒนา การจัดเตรียมความร่วมมือ

3) เป้าหมายโครงสร้างพื้นฐาน : ปรับปรุงทรัพย์สิน ด้านการท่องเที่ยวของรัฐวิกตอเรีย โดยระบุโอกาสด้าน โครงสร้างพื้นฐานและอำ�นวยความสะดวกในโครงการ พัฒนา 4) เป้ า หมายการจั ด การ : เพิ่ ม การใช้ ท รั พ ยากร อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการดำ�เนินธุรกิจตามหลักการ จัดการเชิงพาณิชย์อย่างมืออาชีพ

แหล่งอ้างอิง : A Practical Guide to Tourism Destination Management (UNWTO: 2007) www.facebook.com/saijaipaitiew corporate.visitvictoria.com

ภาพ : The Twelve Apostles, Great Ocean Road, Victoria ที่มาภาพ : www.shutterstock.com ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

6


A2

ยุทธศาสตร์การจัดการแหล่ง ท่องเที่ยวและแผนปฏิบัติการ (Destination management strategy and action plan)

• แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วจะต้ อ งมี ก ารจั ด ทำ � และ ใช้ แ ผนยุ ท ธศาสตร์ ก ารจั ด การแหล่ ง ท่ อ ง เที่ยวระยะยาว และมีแผนปฏิบัติการที่เหมาะ สม โดยการจัดทำ�แผนยุทธศาสตร์และแผน ปฏิบัติการจะต้องดำ�เนินการผ่านการมีส่วน ร่วมของผู้มีส่วนได้เสียและอยู่บนหลักการ ของความยั่งยืน รวมถึงจะต้องเปิดเผยให้ สาธารณะชนรับทราบ • แผนยุ ท ธศาสตร์ จ ะต้ อ งมี ก ารระบุ แ ละ การประเมิ น สิ น ทรั พ ย์ ด้า นการท่ อ งเที่ ย ว และพิ จ ารณาถึ ง ประเด็ น และความเสี่ ย ง ด้านสังคม-เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อม • แผนยุ ท ธศาสตร์ จ ะต้ อ งเกี่ ย วข้ อ งและ มีอิทธิพลต่อนโยบายและการทำ�งานในการ พั ฒ นาความยั่ ง ยื น ของแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วใน ภาพกว้างด้วย

7

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. มีการเผยแพร่เอกสารแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบตั ิ การของแหล่งท่องเทีย่ วฉบับทีใ่ ช้ในปัจจุบนั b. แผนยุทธศาสตร์/ แผนการทำ�งานสามารถเข้าถึงได้ ง่าย และสามารถค้นหาแบบออนไลน์ได้ c. มีหลักฐานของการหารือหรือการประชุมร่วมกับผู้มี ส่วนได้เสียในการออกแบบแผนงาน d. แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการมีการกล่าวถึง หลักการความยัง่ ยืน และการมีการประเมิน ประเด็น ปัญหาและความเสีย่ ง รวมถึงทรัพย์สนิ ด้านการท่องเทีย่ ว e. ระบุถึงความเกี่ยวโยงระหว่างแผนยุทธศาสตร์และ แผนปฏิบัติการกับนโยบายการพัฒนาความยั่งยืนใน ภาพกว้าง (รวมถึงการบรรลุ SDGs)

เกร็ดความรู้

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580)

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) เป็นกรอบใน การกำ�หนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ของ คณะรัฐมนตรี โดยมุ่งยกระดับรายได้และคุณภาพ ชีวิตของประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทาง 6 ด้าน ดังนี้


ภาพ : แนวทาง 6 ด้าน ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ที่มาภาพ : แผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ฉบับข้าราชการ (สำ�นักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการท่อง เที่ยว

แผนแม่บทด้านการท่องเที่ยวประกอบด้วย 6 แผน ย่อย ดังนี้ 1. การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม คือ การสร้างสรรค์คุณค่าสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้และนวัตกรรม ผนวกกับ จุดแข็งในด้านความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต เพื่อสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและ บริการด้านการท่องเที่ยว 2. การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ คือ การส่งเสริมให้ ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิง ธุรกิจ ครอบคลุมการจัดประชุมและนิทรรศการ การจัด งานแสดงสินค้า การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นรางวัล การจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ การท่องเที่ยวเชิง กีฬา รวมถึงการพักผ่อนระหว่าง/ หรือหลังการประกอบ ธุรกิจ หรือการทำ�กิจกรรมต่าง ๆ 3. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงาม และแพทย์ แผนไทย คือ การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงาม และแพทย์แผนไทย ทั้ง สินค้า บริการ บุคลากร ผู้ประกอบการ และแหล่ง ท่องเทีย่ ว มงุ่ เน้นการสร้างความแตกต่างและเอกลักษณ์ จากการให้บริการตามแบบอย่างความเป็นไทย ร่วม กั บ การใช้ อ งค์ ความรู้และภูมิปัญญาไทยที่พัฒนาต่อ ยอดกับความคิดสร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

และนวัตกรรม 4. การท่องเที่ยวสำ�ราญทางน้ำ� คือ การส่งเสริม การท่องเที่ยวทางน�้ำให้เป็นทางเลือกหนึ่งของการ ท่องเทีย่ วไทย โดยคำ�นึงถึงความยัง่ ยืนของแหล่งท่องเทีย่ ว การมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงปรับปรุงและพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และสิ่งอำ�นวยความ สะดวกในการท่องเที่ยวทางน้ำ�ให้ได้มาตรฐาน 5. การท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค คือ การส่งเสริม ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงเส้นทางการ ท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียน โดยใช้ประโยชน์จากที่ ตั้งทางภูมศิ าสตร์ แผนการลงทุนพัฒนาโครงข่ายคมนาคม ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ� และทางอากาศ และ กรอบความร่ ว มมื อ กั บ ประเทศเพื่ อ นบ้ า น เพื่ อ การ เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวภายในประเทศ อนุภูมิภาค และอาเซียน เข้าด้วยกันบนฐานอัตลักษณ์เดียวกัน 6. ระบบนิเวศสร้างความหลากหลายด้านการท่อง เทีย่ ว คือ การที่ระบบนิเวศเอื้อต่อการท่องเที่ยว เพื่อ เป็นแนวทางการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว และการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างมูลค่า เพิ่มให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย

แหล่งอ้างอิง : แผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ฉบับประชาชน (สำ�นักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) แผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ฉบับข้าราชการ (สำ�นักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการท่องเที่ยว (พ.ศ. 2561-2580) (สำ�นักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

8


A3

การติดตามและการรายงาน (Monitoring and reporting)

ตัวชี้วัด a. มีการกำ�หนดตัวชี้วัดเชิงปริมาณเพื่อประเมินผลเชิง สังคม-เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม รวมถึง ระบุเป้าหมายทีอ่ ย่างชัดเจน b. การประเมินผลตามตัวชีว้ ดั ทีก่ �ำ หนดขึน้ จะต้องมีการ บันทึกและรายงานสูส่ าธารณะอย่างน้อยปีละ 1 ครัง้ c. มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรของการติดตาม ดูแลและการรายงานผลการดำ�เนินงานและผลลัพธ์ทไ่ี ด้ d. มีการทบทวนระบบการติดตามดูแล และมีการ กำ�หนดช่วงเวลาการทบทวนระบบในอนาคต

• แหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีการสร้างระบบใน การติดตามดูแล และตอบสนองต่อประเด็น ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อม รวมถึงตอบสนองต่อผลกระทบ ต่าง ๆ อันเกิดการจากท่องเที่ยว • การดำ � เนิ น งานและผลลั พ ธ์ จ ากการ ดำ�เนินงานนั้น ๆ จะต้องมีการกำ�กับดูแล ประเมิน และรายงานต่อสาธารณะให้ทราบ อยู่เสมอ ทั้งนี้ระบบการติดตามจะต้องได้รับ การทบทวนและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

ภาพ : ชายหาดเมือง Nazaré ประเทศโปรตุเกส ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

9

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


กรณีศึกษา

การท่องเที่ยวในเมืองกับปัญหา Overtourism

ตัวอย่างประเด็นการติดตามผลกระทบของการท่องเที่ยวในเมือง (Urban Tourism)

ประเด็นผลกระทบ เชิงสังคม ความรู้สึกแปลกแยกของผู้อยู่อาศัย และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดประเด็น 1. ติดตามตรวจสอบความคิดเห็นและความรู้สึกที่มีต่อการท่องเที่ยวของผู้อยู่อาศัย การที่ผู้อยู่อาศัยในแหล่งท่องเที่ยวมีความรู้สึกแปลกแยกจากสถานที่หรือสังคมที่เคยอยู่ ปกติ มักจะเป็นปัจจัยสำ�คัญในการต่อต้านการท่องเที่ยว 2. ติดตามตรวจสอบความประพฤติของนักท่องเที่ยว 3. ติดตามตรวจสอบมลพิษทางแสงและเสียง 4. ติดตามตรวจสอบความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคมของผู้อยู่อาศัยในแหล่งท่องเที่ยว

ประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ถดถอยลง 1. ติดตามตรวจสอบคุณภาพการให้บริการและประสบการณ์ของแหล่งท่องเที่ยว 2. ติดตามตรวจสอบราคาการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว การแบกภาระของสิ่งอำ�นวยความ สะดวกและสาธารณูปโภคในเมือง

1. ติดตามตรวจสอบการใช้งานสาธารณูปโภคทีใ่ ช้รว่ มกันระหว่างผูอ้ ยูอ่ าศัยและนักท่องเทีย่ ว 2.ติดตามตรวจสอบการใช้งานบริการสาธารณะที่ใช้ร่วมกันระหว่างผู้อยู่อาศัยและนักท่องเที่ยว

เชิงเศรษฐกิจ ความยุ่งเหยิงในตลาดอสังหาริมทรัพย์

1. ติดตามตรวจสอบการใช้งานอาคาร/ สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เพื่อการท่องเที่ยว เช่น การแปลง เป็นโรงแรมที่พัก Airbnb ร้านขายของที่ระลึก หรือธุรกิจที่เปิดบริการเฉพาะนักท่องเที่ยว 2. ติดตามตรวจสอบราคาอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว เช่น ค่าเช่าที่สูงขึ้น

การพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวที่ มากเกินไป

1. ติดตามตรวจสอบการพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยว การพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยว มากเกินไป จะส่งผลต่อความเปราะบางเชิงเศรษฐกิจได้

เชิงสภาพแวดล้อม ผลกระทบเชิงลบกับมรดกทาง วัฒนธรรม

1. ติดตามตรวจสอบผลกระทบจากการใช้บริการ (เข้าชม) ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่ง ท่องเที่ยวหรือกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ผลกระทบเชิงลบกับ ทรัพยากรธรรมชาติ

1. ติดตามตรวจสอบผลกระทบจากการใช้บริการ (เข้าชม) ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่ง ท่องเที่ยวหรือกิจกรรมท่องเที่ยวในบริเวณที่มีธรรมชาติ เช่น สวนสาธารณะ 2. ติดตามตรวจสอบการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวและบริการด้าน การท่องเที่ยว เช่น การใช้น้ำ� การปลดปล่อยมลพิษ น้ำ�เสีย

แหล่งอ้างอิง : Overtourism’? – Understanding and Managing Urban Tourism Beyond Perceptions (UNWTO: 2018)

ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

10


11

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


A (b) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

12


A4

การมีส่วนร่วมและการใช้ มาตรฐานความยั่งยืนของ ผู้ประกอบการ (Enterprise engagement and sustainability standards)

• แหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีการให้ข้อมูลกับ ผู้ ป ระกอบการด้ า นการท่ อ งเที่ ย วในเรื่ อ ง ประเด็นด้านความยัง่ ยืนอยูเ่ สมอ รวมถึงส่งเสริม และสนั บ สนุ น ให้ ผู้ ป ระกอบการเหล่ า นั้ น ดำ�เนินกิจการให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น • แหล่งท่องเที่ยวจะต้องสนับสนุนการนำ�เอา มาตรฐานความยั่งยืนมาใช้ โดยเฉพาะการ สนั บ สนุ น ให้ ผู้ ป ระกอบการนำ � มาตรฐานที่ ผ่าน GSTC-I Recognized มาใช้ และเข้าสู่ ระบบการรับรองมาตรฐานที่ผ่าน GSTC-I Accredited ในกรณีที่ผู้ประกอบการนั้นมี ขีดความสามารถทำ�ได้ • แหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีการเผยแพร่รายชื่อ ผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ความยั่งยืน

13

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. หลักฐานที่แสดงถึงการสื่อสารประเด็นด้านความ ยั่ ง ยื น กั บ ผู้ ป ระกอบการด้ า นการท่ อ งเที่ ย วอย่ า ง สม่ำ�เสมอ (สื่อ การประชุม การพูดคุยโดยตรง ฯลฯ) b. มีการสนับสนุนและให้ค�ำ แนะนำ�ในเรือ่ งความยัง่ ยืน กับผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว c. จำ�นวนและร้อยละของธุรกิจที่ได้รับการรับรอง มาตรฐานด้านความยั่งยืน (GSTC recognized/ accredited ก็ได้) โดยมีการตั้งเป้าหมายขยาย ขอบข่ายให้กว้างขึ้น d. หลักฐานการสนับสนุนการเข้าสู่ระบบการรับรอง มาตรฐานความยั่งยืน e. รายชื่อของธุรกิจที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความ ยั่งยืน และมีการปรับปรุงรายชื่อให้ทันสมัยตลอด เวลา

ที่มาภาพ : www.shutterstock.com


เกร็ดความรู้ ตัวอย่างมาตรฐานที่ผ่าน GSTC-I Recognized เช่น

Biosphere Responsible Tourism Standard

EarthCheck Company Standard

EarthCheck Company Standard มี วัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรมีกรอบการทำ�งานเพื่อความ ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม มาตรฐานนี้รวมถึง ข้อกำ�หนดเฉพาะสำ�หรับระบบการจัดการอื่น ๆ เช่น คุณภาพสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational safety and health) การจัดการความ เสี่ยงและการรายงานต่อสังคม

คื อ ตราสั ญ ลั ก ษณ์ ที่ ม อบให้ กั บ องค์ ก รธุ ร กิ จ ที่ ประกอบกิจการโรงแรมและบริการนำ�เทีย่ ว เป็นมาตรฐาน โดย Responsible Tourism Institute (RTI) ซึ่งเป็นองค์กร ระหว่างประเทศที่ได้รับการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่าง รับผิดชอบในระดับสากลมากว่า 20 ปี RTI ส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น ด้ ว ยตราสิ น ค้ า Biosphere โดยวัดการมีส่วนร่วมของการท่องเที่ยว ทั้งหมด 17 ข้อตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของ องค์การสหประชาชาติ (The United Nations) และ ข้อตกลงปารีส (The Paris Agreement)

Travelife Standard for Tour Operators & Travel Agents

Travelife Standard for Tour Operators & Travel Agents เป็นมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติเพื่อ ความยั่งยืนสำ�หรับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและบริษัท ทัวร์ โดยมีประเด็นด้านความยั่งยืน เช่น ประสิทธิภาพ การใช้พลังงานและการอนุรักษ์ การจัดการนำ้�และของเสีย การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปฏิบัติด้านแรงงาน สิทธิมนุษยชน การอนุรักษ์ระบบนิเวศ ผลกระทบทาง วัฒนธรรม สุขภาพและความปลอดภัย การดำ�เนินธุรกิจ ที่เป็นธรรม การคุ้มครองลูกค้า สวัสดิภาพสัตว์ แหล่งอ้างอิง : www.gstcouncil.org ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

14


A5

การมีส่วนร่วมและข้อเสนอแนะ ของผู้อยู่อาศัย (Resident engagement and feedback)

ตัวชี้วัด a. หลักฐานการสนับสนุนและการอำ�นวยความสะดวก ให้เกิดการมีสว่ นร่วมของสาธารณะในแหล่งท่องเทีย่ ว b. ข้อมูลของประเภทและระดับของการมีสว่ นร่วมนัน้ c. มีการสำ�รวจและมีกลไกอืน่ ๆ ทีจ่ ะได้มาซึง่ ความเห็น และข้อเสนอแนะของผูอ้ ยูอ่ าศัย ซึง่ ครอบคลุมประเด็น การท่องเทีย่ ว d. หลักฐานของการปฏิบตั กิ ารเพือ่ ตอบสนองต่อข้อเสนอ แนะของผูอ้ ยูอ่ าศัย e. มีโปรแกรมการให้ขอ้ มูล ให้ความรู้ และอบรมใน เรือ่ งการท่องเทีย่ วให้แก่ผอู้ ยูอ่ าศัย

• แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วมี ก ารเปิ ด โอกาสและ สนั บ สนุ น ให้ ส าธารณชนมี ส่ ว นในการ วางแผนและจัดการแหล่งท่องเที่ยวให้เกิด ความยั่งยืน • ความปรารถนา ข้อกังวล และความพึง พอใจ ชุมชนท้องถิ่นที่มีต่อการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนและการจัดการแหล่งท่องเที่ยว จะต้องได้รับการติดตามดูแล และรายงาน ให้สาธารณะทราบ พร้อมกับมีการปฏิบัติ งานเพื่อตอบสนองประเด็นนั้น ๆ ของชุมชน ท้องถิ่นอยู่เสมอ • แหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีระบบที่จะเสริม สร้างความเข้าใจให้แก่คนในท้องถิ่นเกี่ยวกับ โอกาสและความท้าทายด้านการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนและสร้างขีดความสามารถของ ชุมชนในการตอบสนองต่อโอกาสและความ ท้าทายนั้น ๆ

ภาพ : ผู้อยู่อาศัยเมืองเวนิสถือป้ายขับไล่นักท่องเที่ยว ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

15

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


กรณีศึกษา ปัญหานักท่องเที่ยวล้นทะลัก (Overtourism) กลาย เป็นปัญหาใหญ่ที่หลายแหล่งท่องเที่ยวต้องเผชิญ โดยมี สาเหตุมาจากการที่เมืองมีระบบสาธารณูปโภคไม่เพียง พอต่อความต้องการ สิ่งแวดล้อมถูกทำ�ลาย มีปัญหาใน การจัดการทรัพยากร ทั้งการจัดการสิ่งปฏิกูล น้ำ� และ พลังงาน วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนการที่คน ท้องถิ่นไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวอีกต่อ ไป ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี ก็กำ�ลังประสบปัญหานี้ เช่นกัน เนื่องจากเวนิสมีประชากรผู้อยู่อาศัยเพียง 55,000 คน แต่ในแต่ละปี กลับมีจำ�นวนนักท่องเที่ยวมากถึง 20 ล้านคน ซึ่งจำ�นวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจน มากเกินไปนี้ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างนักท่อง เที่ยวและประชากรผู้อยู่อาศัย จนถึงขั้นมีการประท้วง

เพื่อขับไล่นักท่องเที่ยวออกไปจากเมือง จากปัญหาที่ เกิดขึ้น ทำ�ให้ทางการเวนิสพยายามกำ�หนดมาตรการ หลายอย่างในการลดจำ�นวนนักท่องเที่ยว ตั้งแต่จำ�กัด จำ�นวนเรือสำ�ราญทีเ่ ข้ามาเทียบท่า ไปจนถึงคิดค่าปรับกับ นักท่องเที่ยวที่ทำ�เสียงดังและมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มมาตรการตั้งจุดตรวจตามทางเข้า เมืองหลักต่าง ๆ เพื่อพยายามให้นักท่องเที่ยวใช้เส้นทาง ทางเลือกอื่นแทน เพื่อให้ถนนทางเดินสำ�หรับประชากร ผู้อยู่อาศัยในเมืองไม่แออัดจนเกินไป แหล่งอ้างอิง : www.tatreviewmagazine.com/article/overtourism-and-a-stairway-tosustainability/ thestandard.co/overtourism/ www.theguardian.com/travel/2017/aug/10/anti-tourism-marches-spreadacross-europe-venice-barcelona www.bbc.com/thai/international-45184725#:~:text=”ภาวะนักท่องเที่ยวล้น เมือง”%20หรือ,คนท้องถิ่นของตัวเอง

ภาพ : นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี ซึ่งแสดงให้เห็นถึง Overtourism ได้เป็นอย่างดี ที่มาภาพ : www.shutterstock.com ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

16


A6

การมีส่วนร่วมและข้อเสนอแนะ ของนักท่องเที่ยว (Visitor engagement and feedback)

• แหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีระบบการติดตาม ดูแล และรายงานความพึงพอใจของนักท่อง เที่ยวต่อสาธารณชนในเรื่องของคุณภาพและ ความยั่งยืนของประสบการณ์ ในแหล่งท่อง เที่ยว และมีการตอบสนองหากจำ�เป็น • แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วมี ก ารให้ ข้ อ มู ล ประเด็ น ด้านความยั่งยืนแก่นักท่องเที่ยว พร้อมกับ แนะนำ�บทบาทของนักท่องเที่ยวว่าสามารถ มีส่วนกับความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ได้อย่างไร

ตัวชี้วัด a. มีการสำ�รวจ (และมีกลไกอื่น ๆ) ที่จะได้มาซึ่ง ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว รวมถึงมีการรายงาน ผลการสำ�รวจด้วย b. แบบสำ�รวจหรือการรับฟังความคิดเห็นจะต้องรวม ถึงปฏิกิริยาของนักท่องเที่ยวต่อประเด็นด้านความ ยั่งยืน c. หลักฐานของการปฏิบัติการเพื่อตอบสนองต่อข้อ ค้นพบจากการสำ�รวจหรือสอบถามความเห็นนัก ท่องเที่ยว d. ตัวอย่างของการให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวในเรื่อง ของความยั่งยืนและการตอบสนองต่อประเด็นด้าน ความยั่งยืน

ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

17

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


กรณีศึกษา

Tripadvisor

Tripadvisor เป็นแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวที่ใหญ่ ที่สุดในโลก มีให้บริการใน 49 ประเทศ 28 ภาษานัก ท่ อ งเที่ ย วจากทั่ ว โลกจะใช้ เ ว็ บ ไซต์ แ ละแอปพลิ เ คชั น Tripadvisor ในการค้นหารีวิวและความคิดเห็นเกี่ยวกับ ที่พัก ร้านอาหาร โปรแกรมการท่องเที่ยว สายการบิน และเรือสำ�ราญต่าง ๆ ที่มีอยู่บนแพลตฟอร์ตถึง 8.6 ล้าน แห่ง เพื่อเปรียบเทียบโรงแรม เที่ยวบิน และเรือสำ�ราญ ราคาถูก ทำ�การจองโปรแกรมการท่องเที่ยวและสถานที่ ท่องเที่ยวยอดนิยม รวมถึงจองโต๊ะในร้านอาหารดี ๆ Tripadvisor ซึ่งเป็นเพื่อนเดินทางที่ดีที่สุดของคุณ รางวัล Travellers’ Choice (เดิมชื่อ Certificate of Excellence) คือ รางวัลที่ให้กับธุรกิจที่ได้รับรีวิวจากผู้ใช้ อย่างต่อเนื่อง (ประมาณ 10% ของธุรกิจใน Tripadvisor ได้รับรางวัล Travellers’ Choice) ในการเลือกผู้ที่จะได้ รับรางวัลจะใช้วิธีการอัลกอริทึม โดยคำ�นึงถึงคุณภาพ ปริมาณ ความใหม่ของรีวิว และความคิดเห็นที่ผู้เดินทาง ส่งมาใน Tripadvisor ตลอดระยะเวลา 12 เดือน รวม ถึงระยะเวลาการดำ�รงตำ�แหน่งและการจัดอันดับความ นิยมบนเว็บไซต์ โดยธุรกิจที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจะ ต้องได้รับคะแนนรวมของ Tripadvisor อย่างน้อยที่สุด 4 คะแนนจาก 5 คะแนนเต็ม และได้รับรีวิวตามจำ�นวน ขั้นต่ำ�และมีรายชื่ออยู่บน Tripadvisor มาเป็นเวลาอย่าง น้อยที่สุด 12 เดือน

ที่มาภาพ : th.tripadvisor.com/TravelersChoice

รางวัล Travellers’ Choice Best of the Best เป็น รางวัลที่จัดขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 และถือเป็นเกียรติยศ สูงสุดที่ Tripadvisor มอบให้ รางวัลนี้เป็นรางวัลเดียว ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่อ้างอิงจากรีวิวและความ คิดเห็นของนักท่องเที่ยวหลายล้านคนทั่วโลก มีการมอบ รางวัลนี้ทุกปีเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการบริการ คุณภาพ และความพึงพอใจของลูกค้า ‘ที่ดีที่สุด’

รางวัล Travellers’ Choice Best of the Best 2021 จุดหมายปลายทางยอดนิยมระดับโลก 1. บาหลี, อินโดนีเซีย 2. ลอนดอน, สหราชอาณาจักร 3. ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 4. โรม, อิตาลี 5. ปารีส, ฝรั่งเศส 6. ฮานอย, เวียดนาม 7. ครีต, กรีซ 8. กรุงเทพมหานคร, ไทย 9. บาร์เซโลนา, สเปน 10. อิสตันบูล ตุรกี

ที่มาภาพ : www.shutterstock.com แหล่งอ้างอิง : www.tripadvisorsupport.com th.tripadvisor.com/TravelersChoice-Destinations#1 ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

18


A7

การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการให้ข้อมูล (Promotion and information)

• การส่งเสริมการท่องเทีย่ ว และการให้ขอ้ มูล ของแหล่งท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวจะต้อง ถูกต้องตรงตามทีก่ ล่าวไว้จริง ไม่วา่ จะในเรือ่ ง ของผลิตภัณฑ์ การบริการ และความยั่งยืน • ข้อความทางการตลาดและการสือ่ สารอืน่ ๆ จะต้องสะท้อนถึงคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว นั้น สะท้อนถึงการมุ่งไปสู่ความยั่งยืน รวม ถึงการปฏิบัติต่อคนในท้องถิ่น ต่อวัฒนธรรม และธรรมชาติด้วยความเคารพ

19

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. ข้อมูลและเอกสารโปรโมตแหล่งท่องเที่ยวฉบับ ปัจจุบันที่มีเนื้อหาที่เหมาะสม b. มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องและความ เหมาะสมของข้อมูลและการโปรโมตแหล่งท่องเที่ยว c. หลักฐานที่แสดงถึงการปรึกษาหารือกับคนท้องถิ่น ในแหล่งท่องเที่ยว และหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ในการจัดทำ�และนำ�เสนอเนื้อหาต่างๆ


กรณีศึกษา

การท่ อ งเที่ ย วลิ ทั ว เนี ย ลงรู ป ประเทศอื่ น ในการ โปรโมตแหล่งท่องเที่ยว

กระทรวงการท่องเที่ยว ประเทศลิทัวเนีย เปิดตัว แคมเปญโฆษณา Real is Beautiful แต่ภาพที่ใช้ในการ โฆษณากลับเป็นภาพจากประเทศอื่น ๆ รวมถึงภาพจาก เว็บไซต์ Shutterstock จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำ�ให้เกิดกระแสล้อเลียน ขึ้นบนโซเชียลมีเดีย พร้อมติดแฮชแท็ก #realisbeautiful แม้แต่นายกรัฐมนตรีลิทัวเนียเอง ก็ได้โพสต์รูปภาพ อาคารอันโอ่อ่าพร้อมข้อความอธิบายว่า ‘ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ เราจะเริ่มทำ�งานในอาคารของรัฐบาลแห่งใหม่ในเมือง Karoliniskes ของจริงสวยงามมาก’ ซึ่งภาพถ่ายอาคาร ดังกล่าว ไม่ได้อยู่ในเมือง Karoliniskes ประเทศลิทัวเนีย แต่อย่างใด หากแต่เป็นอาคารสำ�นักงานใหญ่ของ สหภาพยุโรปในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

ภาพ : เพจเฟซบุ๊กทางการของแคมเปญ Real is Beautiful ลงภาพโปรโมต Verkiai Regional Park สถานที่ท่องเที่ยว ในประเทศลิทัวเนีย แต่แท้จริงแล้ว ภาพนี้อยู่ใน ประเทศอื่น ที่มาภาพ : www.dailymail.co.uk/travel/travel_news/article-4222648/Lithuaniatourist-board-ads-used-photos-countries.html

ภาพ : นายกรัฐมนตรีลิทัวเนียโพสต์เฟซบุ๊ก ล้อเลียนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่มาภาพ : www.dailymail.co.uk/ travel/travel_news/article-4222648/ Lithuania-tourist-board-ads-usedphotos-countries.html แหล่งอ้างอิง : www.dailymail.co.uk/travel/travel_news/article-4222648/Lithuania-touristboard-ads-used-photos-countries.html www.bbc.com/news/world-europe-38928864 ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

20


21

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


A (c) การจัดการแรงกดดันและการเปลี่ยนแปลง

ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

22


A8

การจัดการปริมาณ นักท่องเที่ยวและกิจกรรม การท่องเที่ยว (Managing visitor volumes and activities)

• แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วจะต้ อ งมี ร ะบบในการ จัดการนักท่องเที่ยว โดยระบบนั้นจะต้องมี การทบทวนปรังปรุงอยู่เสมอ • แหล่งท่องเที่ยวมีการดำ�เนินการติดตาม ดู แ ลและจั ดการปริ ม าณของนั ก ท่ อ งเที่ ย ว และปริมาณของกิจกรรมการท่องเที่ยว โดย การลดหรื อ เพิ่ ม ปริ ม าณของนั ก ท่ อ งเที่ ย ว และปริมาณของกิจกรรมการท่องเที่ยวหาก มีความจำ�เป็นตามความเหมาะสมของห้วง เวลาและสถานที่ ทั้งนี้ จะต้องศึกษาความ สมดุลระหว่างความต้องการของเศรษฐกิจ ชุมชม มรดกทางวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ที่อยู่ในท้องถิ่นด้วย

ตัวชี้วัด a. แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของการจัดกา รแหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีการจัดการฤดูกาลท่องเที่ยว และการกระจายตัวของนักท่องเที่ยว b. มีการติดตามดูแลตัวแปรปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณ ของนักท่องเทีย่ วตลอดทัง้ ปี รวมถึงในสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว ยอดนิยมด้วย c. มีการระบุถงึ ผลกระทบจากจำ�นวนของนักท่องเทีย่ ว และกิจกรรมการท่องเที่ยว โดยการสำ�รวจ และ สอบถามข้อคิดเห็นจากชุมชนและผู้มีส่วนได้เสีย d. มีการจัดการการเคลื่อนไหว (Flow) ของนักท่องเที่ยว และผลกระทบ e. กลยุทธ์การตลาดและการเลือกเป้าหมายทางการ ตลาดคำ�นึงถึงรูปแบบของการท่องเที่ยว ผลกระทบ ของกิจกรรมการท่องเที่ยว และความต้องการของ แหล่งท่องเที่ยว

ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

23

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


เกร็ดความรู้

เชียงใหม่ จุดหมายปลายทางใหม่ของนักท่องเที่ยว ตะวันออกกลาง

ช่วงเดือนมิถนุ ายน-สิงหาคม ของทุกปี หลังเทศกาล รอมฎอน ภูมิภาคตะวันออกกลางจะมีอากาศร้อนจัด นัก ท่องเที่ยวตะวันออกกลางจึงนิยมหนีอากาศร้อนมาพัก ผ่อนยังสถานที่ที่มีอากาศเย็นกว่า ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว นี้เอง ตรงกับฤดูฝนของประเทศไทย และนับเป็นช่วง Low Season ของเชียงใหม่ ที่มีนักท่องเที่ยวไม่มาก การท่ องเที่ย วแห่งประเทศไทย (ททท.) ที ่ เ ห็ น โอกาส เนื่องจากนักท่องเที่ยวตะวันออกกลาง จะมีค่า ใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนในการท่องเที่ยวสูงกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่น จึงมีความพยายามที่จะ ผลั ก ดั นเชี ยงใหม่ ให้เป็น จุดหมายการเดิน ทางของ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ โดยที่ไม่จำ�เป็นต้องเน้นจำ�นวน นักท่องเที่ยวมาก ๆ แต่ก็สามารถสร้างรายได้ให้กับ ธุรกิจท่องเที่ยวท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

Information

ในปีพ.ศ. 2560 มีจำ�นวนนักท่องเที่ยวจากตะวันออก กลางเดิ น ทางเข้ า มาท่ อ งเที่ ย วในประเทศไทยรวม 616,618 คน ซึง่ มีจ�ำ นวนเพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ น (พ.ศ. 2559) ในอัตราร้อยละ 5 โดยมีค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยว ประมาณ 43,177 ล้านบาท ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวจาก ตะวันออกกลางมีวันพักเฉลี่ยในประเทศไทยทริป ละ ประมาณ 12 วัน มากกว่าค่าเฉลี่ยนักท่องเที่ยวทั่ว โลกที่มาพักประมาณครั้งละ 9.5 วัน และนักท่องเที่ยว จากหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ได้แก่ UAE กาตาร์ โอมาน และบาห์เรน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวต่อวันใน ระหว่างที่พำ�นักอยู่ในประเทศไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจาก UAE และกาตาร์ ที่ใช้จ่ายมากกว่าวันละ 8,500 บาท ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยที่อยู่ที่วันละ 5,264 บาท

ภาพ : ตารางแสดงอุณหภูมิในเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตลอดทั้งปี ที่มาภาพ : en.wikipedia.org/wiki/Climate_of_Dubai แหล่งอ้างอิง www.chiangmainews.co.th/page/archives/670188/ www.tatnews.org/2019/06/tat-deputy-governor-speech-at-thailand-media-briefing-ttm-2019/

ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

24


A9

กฎระเบียบในการวางแผนงาน และการควบคุมการพัฒนา (Planning regulations and development control)

• แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วจะต้ อ งมี แ นวทาง กฎ ระเบียบ และ/ หรือ นโยบายการวางแผน ที่ควบคุมที่ตั้งและลักษณะของการพัฒนา โดยมีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม-วัฒนธรรม และบูรณาการ การใช้ที่ดิน การออกแบบ การก่อสร้าง และ การรื้อถอนอย่างยั่งยืน • กฎระเบียบยังจะต้องนำ�ไปใช้กบั การดำ�เนิน งาน รวมถึงการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ และ สั ม ปทานเพื่ อ การท่ อ งเที่ ย ว แนวทางกฎ ระเบียบและนโยบายต้องถูกสร้างขึ้นผ่าน การมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนและมี ก าร สื่อสารและบังคับใช้อย่างกว้างขวาง

ตัวชี้วัด a. เอกสารนโยบาย/ กฎระเบียบ/ แนวทาง เฉพาะเพือ่ การควบคุมการพัฒนา พร้อมระบุชอ่ื เอกสารและวันที่ b. มีข้อกำ�หนดการประเมินผลกระทบที่ครอบคลุมให้ เรือ่ งสิง่ แวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม-วัฒนธรรม c. กฎระเบียบเฉพาะเกีย่ วกับการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ และการดำ�เนินงานเพื่อการท่องเที่ยวพร้อมหลักฐาน การนำ�ไปปรับใช้และการบังคับใช้ d. หลักฐานการมีสว่ นร่วมของสาธารณะในการพัฒนา นโยบาย/ กฎระเบียบ/ แนวทาง ต่าง ๆ e. หลักฐานการปรึกษาหารือและความยินยอมจาก คน พืน้ เมืองหรือกลุม่ ชาติพนั ธุ์ เมือ่ มีการเสนอหรือมีการ พัฒนาการท่องเทีย่ วเกิดขึน้ ในพืน้ ทีข่ องคนเหล่านัน้ f. หลักฐานการสื่อสารและการบังคับใช้นโยบาย/ กฎระเบียบ/ แนวทาง ในการวางแผนพัฒนาและ ลงมือปฏิบตั ิ

ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

25

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


กรณีศึกษา

เมืองเก่า

ตามระเบียบสำ�นักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรกั ษ์ และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. 2546 ได้ ให้ความหมายของ เมืองเก่า ว่า ‘เมื อ งหรื อ บริ เ วณของเมื อ งที่ มี ลั ก ษณะพิ เ ศษ เฉพาะแห่ ง สื บ ต่ อ มาแต่ ก าลก่ อ น หรื อ ที่มีลัก ษณะเป็ น เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือมีลักษณะจำ�เพาะ ของสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์...มีรูปแบบผสมผสาน สถาปั ต ยกรรมต่ า งถิ่ น หรื อ มี ลั ก ษณะเป็ น รู ป แบบ วิวัฒนาการทางสังคมที่สืบต่อมาในยุคต่าง ๆ ...เคยเป็นตัว เมืองดั้งเดิมในสมัยหนึ่งและยังคงมีลักษณะเด่นประกอบ ด้วยโบราณสถาน...มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรือ โดยอายุ หรือโดยลักษณะแห่งสถาปัตยกรรม มีคุณค่าใน ทางศิลปะ โบราณคดี หรือประวัติศาสตร์’

เมืองเก่าน่าน ทำ�หน้าที่ในกำ�หนดนโยบาย แผน และ มาตรการในการอนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นาเมื อ งเก่ า น่ า น จัดทำ�แผนบริหารจัดการเมืองเก่าแบบบูรณาการ รวม ถึงพิจารณาระเบียบปฏิบัติและข้อกำ�หนดเกี่ยวกับการ อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ที่ไม่ขัดแย้งกับกฎหมาย พร้อมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนและภาคเอกชนได้มีส่วน ร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ฯลฯ

แผนแม่บทและผังแม่บ ทการอนุรักษ์และพั ฒนา บริเวณเมืองเก่าน่าน

แผนแม่ บ ทและผั ง แม่ บ ทการอนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นา บริเวณเมืองเก่าน่าน เป็นแผนกลยุทธ์ที่กำ�หนดแนวทาง และมาตรการต่าง ๆ ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือสำ�คัญในการ กำ�กับ ควบคุม ดูแล และคุ้มครองเมืองเก่าที่สำ�คัญใน อดีตให้คงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม วัฒนธรรม ประเพณี และการสืบทอดอารยธรรมล้านนาตะวันออกที่ ยาวนานไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ดำ�เนินไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการ จัดตั้งองค์การบริหารงานอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า น่านขึ้น โดยมี คณะกรรมกรรมการอนุรักษ์และพัฒนา

แหล่งอ้างอิง : www.m-culture.go.th/nan/ewt_news.php?nid=234&filename=index

ภาพ : มาตรการด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ใจเมืองน่าน ที่มาภาพ : หอศิลปวัฒนธรรม เมืองน่าน

ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

26


A10

การปรับตัวต่อ การเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศ (Climate change adaptation)

• แหล่งท่องเที่ยวจะต้องระบุความเสี่ยงและ โอกาสที่เกี่ยวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศ • กลยุทธ์การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศมีไว้เพื่อเป็นแนวทาง เพื่อ การติดตั้ง การออกแบบ การพัฒนา และ การจัดการสิ่งอำ�นวยความสะดวกด้านการ ท่องเที่ยว • ข้อมูลการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง และ สภาพในอนาคตจะต้องมีการเผยแพร่สู่ผู้อยู่ อาศัย ภาคธุรกิจ และนักท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. ยุทธศาสตร์การจัดการแหล่งท่องเที่ยวและแผน ปฏิบัติการจะต้องระบุถึงและแก้ไขปัญหาเรื่องสภาพ ภูมิอากาศ b. กฎระเบียบ แนวทาง และการจัดสรรพื้นที่เพื่อ การพัฒนาการท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว รองรับผลพวงของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ c. มีการจัดทำ�การประเมินความเสี่ยงทั้งในปัจจุบัน และอนาคต และรายงานให้สาธารณะทราบ d. หลักฐานการพิจารณาผลกระทบและการมีช่วยส่ง เสริมของระบบนิเวศในท้องถิ่นต่อการปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ e. มีการสื่อสารข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสภาพ ภูมิอากาศสู่สาธารณะ

ภาพ : กำ�แพงกั้นน้ำ�และที่จอดรถใต้ดินของเมือง Katwijk ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มาภาพ : www.archdaily.com/791812/underground-parking-katwijk-aanzee-royal-haskoningdhv

27

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


กรณีศึกษา

ภาพ : ภาพร่างกำ�แพงกั้นน้ำ�และที่จอดรถใต้ดินของเมือง Katwijk ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มาภาพ : www.archdaily.com/791812/underground-parking-katwijk-aan-zee-royal-haskoningdhv

Katwijk เป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวชายทะเลของ

ประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ได้รับความนิยมทั้งจากคนในและ นอกประเทศ เช่น เบลเยียม เยอรมนี เมื่อถึงช่วงวันหยุด ยาวของยุโรป Katwijk จึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา เป็นจำ�นวนมาก ส่งผลให้ในเมืองมีปัญหาเรื่องการจราจร และที่จอดรถ นอกจากนี้ Katwijk ยังต้องเผชิญกับปัญหา ประจำ�ชาติ คือ ปัญหาเรื่องระดับน้ำ�ทะเลที่มีแนวโน้ม จะสูงขึ้นและกัดเซาะชายหาดของเมืองเข้ามามากขึ้น เรื่อย ๆ ซึ่งนอกจากจะเกิดผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยว แล้ว ยังเกิดผลกระทบโดยตรงกับวิถีชีวิตของชาวเมือง Katwijk ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ต้องแก้อย่างเร่งด่วน ดังนั้น เทศบาลเมือง Katwijk จึงได้สร้างกำ�แพงกั้นน้ำ� (Dike) เพื่อยกระดับหาดขึ้นมา 7-8 เมตร พร้อมทั้งเสริม ความแข็งแรงให้กับผืนทรายบริเวณชายฝั่ง อย่างไรก็ตาม ด้วยงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำ�กัด เทศบาลเมื อง Katwijk จึงต้อ งใช้แนวคิด Multifunctionality โดยออกแบบการสร้างกำ�แพงกั้นน้ำ�และ สร้างเป็นที่จอดรถในคราวเดียว พร้อมกับออกแบบให้ เป็นแลนด์มาร์กการท่องเที่ยวของเมือง Katwijk อีกด้วย

จะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาของเทศบาลเมือง Katwijk นั้น มีความชาญฉลาดอย่างมาก กล่าวคือ หากเทศบาล คิดเฉพาะการสร้างกำ�แพงกั้นน้ำ�อย่างเดียว ชายหาดก็จะ มีกำ�แพงปูนเป็นแท่ง ๆ ตั้งอยู่ตามชายหาดซึ่งถือว่าเป็น สร้างทัศนอุจาดให้แก่พื้นที่ อีกทั้งปัญหาเรื่องที่จอดรถก็ จะต้องรอเป็นประเด็นในวาระต่อไป แต่การที่เทศบาล เมือง Katwijk ออกแบบให้กำ�แพงกั้นน้ำ�เป็นที่จอดรถ และสร้างเป็นแลนด์มาร์กด้วยนั้น ทำ�ให้เกิดทัศนียภาพที่ ดี ความสุนทรีย์ยังคงอยู่ พร้อมทั้งแก้ปัญหาที่จอดรถได้ ในคราวเดียวกัน โครงการนี้ เทศบาลเมือง Katwijk ใช้เงินลงทุนไป ประมาณ 5.5 ล้านยูโร หรือประมาณ 200 ล้านบาท และ เปิดใช้ในปีพ.ศ. 2558 ซึ่งปัจจุบัน รายได้จากค่าที่จอดรถ ทำ�ให้โครงการนี้คืนทุนเรียบร้อยแล้ว

ภาพ : กำ�แพงกั้นน้ำ�และที่จอดรถใต้ดินของเมือง Katwijk ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มาภาพ : www.archdaily.com/791812/underground-parking-katwijk-aanzee-royal-haskoningdhv ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

28


A11

การจัดการความเสี่ยงและ วิกฤตการณ์ (Risk and crisis management)

• แหล่งท่องเที่ยวมีการลดความเสี่ยง การ จั ด การวิ ก ฤตการณ์ แ ละแผนรั บ มื อ เหตุ ฉุกเฉินที่เหมาะสมกับแหล่งท่องเที่ยวนั้น • มีการสื่อสารข้อมูล/ รายละเอียดที่สำ�คัญ ให้แก่ผู้อยู่อาศัย นักท่องเที่ยว และสถาน ประกอบการต่าง ๆ • มีแผน/ ขั้นตอนการรับมือ และทรัพยากร เพื่อดำ�เนินการตามแผนและมีการปรับปรุง เป็นประจำ�

ตัวชี้วัด a. มีการจัดทำ�เอกสารแผนการลดความเสี่ยง การ จัดการวิกฤตการณ์ และแผนรับมือเหตุฉุกเฉินสำ�หรับ การท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว b. ในแผนมีการคำ�นึงถึงรูปแบบความเสีย่ งทีห่ ลากหลาย ซึ่งรวมถึงภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย สุขอนามัย ภาวะขาดแคลนทรัพยากร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ แหล่งท่องเที่ยวนั้น c. มีขั้นตอนการสื่อสารที่ระบุไว้เพื่อใช้ในระหว่างและ หลังเกิดเหตุฉุกเฉิน d. มีโปรแกรมสำ�หรับการให้ข้อมูลและการฝึกอบรม เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงและวิกฤตการณ์แก่ คนในท้องถิ่น

Tips

ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวังในการการสื่อสาร ข้อมูลวิกฤตการณ์แก่นักท่องเที่ยว

1. หาหน่วยงานที่เหมาะสมที่สุดเป็นผู้รับผิดชอบ : อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจว่า เราหรือหน่วยงานของเรา เป็นผู้รับผิดชอบในการสื่อสารข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว ให้คิดเสมอว่า อาจจะมีหน่วยงานอื่นที่เหมาะสมกว่า ในการเป็นผู้รับผิดชอบให้การสื่อสารข้อมูล 2. สื่อสารผ่านช่องทางที่มีความน่าเชื่อถือที่สุด : ควรสื่อสารผ่านช่องทางที่นักท่องเที่ยวให้ความเชื่อถือ หลีกเลี่ยงการสื่อสารผ่านช่องทางที่ไม่เป็นทางการ 3. คอยตอบคำ�ถามในทุกช่องทางที่สื่อสารออก ไปและตอบอย่างทันท่วงที : ไม่ลืมที่จะตอบคำ�ถาม ทุกช่องทางที่ได้สื่อสารออกไป และตอบให้ไวที่สุดเท่า ที่จะทำ�ได้ 29

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


4. มีการสื่อสารซ้ำ� ๆ เป็นระยะ โดยใช้ข้อความเดิม ที่สื่อสารครั้งแรก : หากยังไม่มีอะไรอัปเดต ควรมีการ สื่อสารด้วยข้อความเดิมซ้ำ� ๆ เป็นระยะ ๆ 5. ข้อมูลที่สื่อสารมีความถูกต้องและแม่นยำ� : ข้อมูล ที่จะสื่อสารออกไปจะต้องได้รับการตรวจสอบความถูก ต้องก่อนเสมอ พึงระลึกไว้เสมอว่า การสื่อสารด้วยข้อมูล ที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียวสามารถทำ�ลายความน่าเชื่อถือ อย่างรุนแรง ซึ่งยากมากที่จะกลับมาแก้ไขในภายหลัง 6. ข้อมูลมีความชัดเจน ไม่คลุมเคลือ : ข้อมูลควร มีความชัดเจน หลีกเลี่ยงคำ�ขยายจำ�นวนมากที่อาจทำ�ให้ เกิดความสับสนของข้อความ 7. ข้อมูลมีความโปร่งใส่เปิดเผยแหล่งที่มาของข้อมูล : ข้อมูลที่สื่อสารควรมีการเปิดเผยแหล่งที่มาของข้อมูล การปกปิดแหล่งที่มาจะทำ�ให้ข้อมูลนั้นไม่น่าเชื่อถือ 8. การให้ข้อมูลแสดงถึงความจริงใจ ไม่มีประเด็น ซ้อนเร้น : ข้อมูลที่สื่อสาร จะต้องไม่แสดงให้เห็นว่า มีวาระซ้อนเร้น หรือมีความพยายามปกปิดข้อมูล และ หลีกเลี่ยงคำ�ตอบว่า ‘ไม่มีความเห็น’ เนื่องจากเป็นคำ�ที่ มักทำ�ให้นักท่องเที่ยวมีความสงสัยว่ามีการปิดบังข้อมูล 9. สร้างช่องทางในการเข้าถึงสื่อต่าง ๆ : เมื่อมี วิกฤตการณ์ผู้รับผิดชอบในการสื่อสารจะต้องเข้าถึงสื่อได้ อย่างรวดเร็ว ก่อนทีส่ อ่ื จะรายงานข้อมูลต่าง ๆ ทีไ่ ม่ได้ออก มาจากเรา ซึ่งมีความเสี่ยงที่สื่อจะรายงานการข้อมูลที่ คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง 10. ทำ�ความเข้าใจกับผู้รับข้อมูล : การสื่อสารข้อมูล ผู้สื่อสารจะต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับข้อมูลให้ ดีเสียก่อน พึงระลึกเสมอว่า ผู้รับสารแต่ละกลุ่มต้องการ ข้อมูล รูปแบบเนื้อหา รายละเอียดเนื้อหา ความสั้นยาวของเนื้อหา หรือแม้แต่ความรวดเร็วของข้อมูลที่ไม่ เหมือนกัน 11. คอยอัปเดตข้อมูลใหม่เรื่อย ๆ : มีการอัปเดต ข้อมูลใหม่ตลอดเวลา เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้รับผิดชอบใน การสื่อสารมีความเคลื่อนไหว และคอยหาข้อมูลที่เป็น ประโยชน์เพื่อสื่อสารตลอดเวลา

12. ใจเย็น ๆ : การสื่อสารในเรื่องวิกฤตการณ์ มักเป็นเรื่องที่อยู่เหนือการควบคุม แต่การตอบสนอง ต่อวิกฤตการณ์นั้น ต้องแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ หลีกเลี่ยงการแสดงออกที่ไม่ดีหรือขาดสติ อย่าแก้ตัว หรือด่าทอผ่านออกสื่อ 13. อย่าด่วนสรุปสถานการณ์ : การสื่อสารข้อมูล นั้น จะต้องไม่มีการด่วนสรุปสถานการณ์หรือตัดสิน เหตุการณ์ใด ๆ โดยไม่มีข้อมูลประกอบ 14. อย่าตอบสนองเกินกว่าเหตุ : การสื่อสาร ข้อมูลในสถานการณ์วิกฤตินั้น จะต้องแสดงถึงความ พอดี ไม่ดูเหมือนตระหนกเกินไปหรือเฉื่อยชาเกินไป และหลีกเลี่ยงการให้ความเห็นสิ่งที่ตนเองไม่มีข้อมูล 15. อย ่ า บิ ด เบื อนความจริ ง : หลีก เลี่ยงการ บิดเบือนความจริง เพื่อสนับสนุนข้อมูลที่ต้องการ สือ่ สาร แม้วา่ เราต้องการให้นกั ท่องเทีย่ วไม่ตน่ื ตระหนก มากเกินไป แต่การบิดเบือนความจริงก็ไม่ใช่ทางเลือก ที่ถูกต้อง 16. แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ : ในการสื่อสาร ข้อมูลนั้น ควรมีข้อความที่แฝงไปด้วยความเห็นอก เห็นใจ พึงระลึกเสมอว่า นักท่องเที่ยวเป็นผู้เดินทาง มาจากต่างบ้านต่างเมืองในระหว่างวิกฤตการณ์ ซึ่ง ต้องการกำ�ลังใจและความเห็นอกเห็นใจ 17. อย่าโทษคนอื่นหรือหน่วยงานอื่น : หลีกเลี่ยง การกล่าวโทษผู้อื่น หรือหน่วยงานอื่นในระหว่างการ สื่อสารข้อมูล แม้ว่าจะเป็นความจริงก็ตามก็ควรจะ หลีกเลี่ยง 18. อย่าเลือกที่รักมักที่ชังกับสื่อ : ผู้รับผิดชอบใน การสื่อสารข้อมูล จะต้องให้ข้อมูลกับทุกสื่ออย่างเท่า เทียม หลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกัน เนื่องจากจะทำ�ให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน โดยเฉพาะสื่อ ที่เห็นว่าตนเองได้รับข้อมูลที่ไม่ครบ สื่อนั้นก็จะมีแนว โน้มที่สร้างเนื้อข่าวหรือข้อมูลขึ้นมาเอง

แหล่งอ้างอิง : Toolbox for Crisis Communications in Tourism (UNWTO: 2011) ด้าน A การจัดการความยั่งยืน

30


ด้าน

B

ความยั่งยืน ด้านสังคม-เศรษฐกิจ

31

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


B (a) การนำ�ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาสู่ชุมชน

ด้าน B ความยั่งยืนด้านสังคม-เศรษฐกิจ

32


B1

การวัดผลของผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว (Measuring the economic contribution of tourism)

• มี ก ารติ ดตามดู แ ลผลประโยชน์ ท าง เศรษฐกิจที่เกิดจากการท่องเทียวทั้งทางตรง และทางอ้อม และรายงานให้สาธารณะทราบ • มีการใช้มาตรวัดผลสำ�เร็จที่เหมาะสม เช่น ระดับจำ�นวนของนักท่องเที่ยว การใช้จ่าย ของนักท่องเที่ยว การจ้างงาน การลงทุน และหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงถึงการกระจาย ตัวของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

33

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. มีโปรแกรมการเก็บข้อมูลทางเศรษฐกิจ b. มีรายงานประจำ�ปีของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ เกิดจากการท่องเทีย่ วทัง้ ทางตรงและทางอ้อม c. ข้อมูลจะต้องครอบคลุมมาตรวัดผลของผลกระทบ ทางเศรษฐกิจทีห่ ลากหลาย (เช่น จำ�นวนนักท่องเทีย่ ว การใช้จา่ ย การจ้างงาน การลงทุน และการกระจาย ตัวของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในแหล่งท่องเทีย่ ว)


กรณีศึกษา

ระบบบัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยว (Tourism Satellite Accounts: TSA)

บัญชีประชาชาติ (National Accounts) คือ ข้อมูล ที่แสดงให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจมหภาคของประเทศทั้ง ด้านการผลิต (Production) การใช้จ่าย (Expenditure) และรายได้ (Income) บัญชีประชาชาติดา้ นการท่องเทีย่ ว (Tourism Satellite Accounts: TSA) คือ ข้อมูลที่แสดงถึงภาพรวมภาวะการ ท่องเที่ยวของประเทศ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัว เงิน เช่น การจ้างงาน จำ�นวนนักท่องเที่ยว อัตราการเข้า พัก ฯลฯ อย่างเป็นระบบและมีความสอดคล้องกับบัญชี ประชาชาติ

ประโยชน์ของการจัดทำ�บัญชีประชาชาติด้านการ ท่องเที่ยว เช่น 1. ใช้ วั ด ผลกระทบของภาคการท่ อ งเที่ ย วที่ มี ต่ อ ระบบเศรษฐกิจโดยรวม เช่น ผลกระทบของรายจ่ายของ นักท่องเที่ยวต่อ GDP ของประเทศ ผลกระทบต่อการ เปลี่ยนแปลงการผลิตหรือมูลค่าเพิ่มในแต่ละสาขาการ ผลิต ผลกระทบต่อการคลังของประเทศ เช่น รายรับจาก ภาษี ฯลฯ 2. ใช้เพื่อการเปรียบเทียบบทบาทและความสำ�คัญ ของภาคเศรษฐกิ จ การท่ อ งเที่ ย วของประเทศไทยกั บ ประเทศอื่น ๆ ที่มีการจัดทำ�บัญชีประชาชาติด้านการ ท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน

ภาพ : โครงสร้างของระบบบัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยว (Tourism Satellite Accounts: TSA) ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นโดย UNSD, EUROSTAT, OECD และ UNWTO ที่มาภาพ : mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=10602 ภาพ : The Twelve Apostles, Great Ocean Road, Victoria ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

แหล่งอ้างอิง : secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt/policy/article_attach/Presentation%20TSA%2004.05.61.pdf mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=10602

ด้าน B ความยั่งยืนด้านสังคม-เศรษฐกิจ

34


B2

งานที่ดี และโอกาสทางอาชีพ (Decent work and career opportunities)

ตัวชี้วัด a. มีโปรแกรม/ หลักสูตรฝึกอบรมทักษะทีเ่ กีย่ วข้อง b. มีแถลงการณ์หรือข้อสัญญาของผู้ประกอบการใน การให้งานทีด่ /ี และโอกาสในการประกอบอาชีพ c. มีการส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมและโอกาสในการ จ้างงานให้แก่คนในท้องถิ่น รวมถึงผู้หญิง เยาวชน ชนกลุม่ น้อย และคนพิการ d. มีชอ่ งทางในการตรวจสอบสภาพการทำ�งานและรับ ฟัง/ จัดการความไม่พอใจของลูกจ้าง (เช่น การมีสว่ น ร่วมของสหภาพแรงงาน)

• แหล่งท่องเที่ยวมีการส่งเสริมและสนับสนุน โอกาสในการทำ�งานและการฝึกอบรมด้าน การท่องเที่ยว • ผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวมุ่งมั่นที่ จะให้โอกาสที่เท่าเทียมกันสำ�หรับการจ้างงาน คนในท้องถิ่น ให้การฝึกอบรมและความ ก้าวหน้าในการทำ�งาน ให้สภาพแวดล้อม การทำ�งานที่ปลอดภัยและมั่นคง และให้ค่า ครองชีพที่เหมาะสมแก่ทุกคน

ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

35

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


เกร็ดความรู้

แนวทาง 3 ส ในการบริหารบุคคลในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ส.

การบริหารทรัพยากรบุคคลโดยทั่วไป (Human Resources Functions)

การบริหารทรัพยากรบุคคลตามแนวทางยั่งยืน (Sustainable Human Resources Functions)

สรรหา

• การสรรหาบุคลากรที่ไม่ได้วางแผนไว้ก่อนเพื่อตอบ สนองความต้องการในทันที • พนักงานได้รับคัดเลือกจากความต้องการด้าน ทักษะในทันที • พนักงานชาวต่างชาติ ต่างท้อนถิ่น ได้รับการคัด เลือกเป็นพนักงานระยะยาว • มีอัตราการหมุนเวียนของพนักงานสูง และถูกมอง ว่าเป็นสิ่งจำ�เป็นและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

• ก ารรั บ สมั ครพนั ก งานเกิ ด ขึ ้ น จากการวิเ คราะห์ ชุมชนและตลาดแรงงานอย่างรอบคอบ ว่าจ้าง พนักงานในท้องถิน่ เป็นหลัก และสรรหาจากภายใน บริษัท มีการระบุวัตถุประสงค์การว่าจ้างและหน้าที่ ของพนักงานอย่างชัดเจน กระบวนการว่าจ้าง พนักงานมีการตอบสนองความต้องการของนายจ้าง และพนักงาน

สร้าง

• มีการเลือ่ นตำ�แหน่งเพือ่ “เติมช่องว่างในองค์กร” โดยไม่มกี ารฝึกอบรมเตรียมความพร้อม • พนักงานระดับสูงจากนอกองค์กรและหรือนำ�เข้าจาก ต่างท้องถิน่ • หนักงานพาร์ทไทม์และพนักงานตามฤดูกาลไม่ได้รบั โอกาสในการฝึกอบรม/ พัฒนา/ เลือ่ นตำ�แหน่ง • มีการกีดกันเพศ เชือ้ ชาติ ความพิการ ในโอกาสใน การทำ�งาน

• พนักงานมีโอกาสในการเลื่อนตำ�แหน่ง เพราะมีการ วางแผนอาชีพและติดตามภายในบริษัท • เกณฑ์การเลื่อนขั้นระบุไว้อย่างชัดเจนและพนักงาน สามารถเข้าถึงได้ • สิทธิเท่าเทียมในโอกาสในการทำ�งาน การเลื่อน ตำ�แหน่ง และความก้าวหน้าในอาชีพ

สวัสดิการ

• บริษทั ให้ผลตอบแทนและสิทธิพเิ ศษขัน้ ต่ำ� • เงือ่ นไขการจ้างงานได้รบั การออกแบบมาเพือ่ ตอบ สนองความต้องการของนายจ้างเท่านัน้ • ผลตอบแทนและสิทธิพเิ ศษขึน้ อยูก่ บั นโยบายและ ระเบียบปฏิบตั ขิ องบริษทั เท่านัน้ • ความยืดหยุน่ ในทีท่ �ำ งานเพือ่ ตอบสนองความ ต้องการของนายจ้าง มองข้ามความเห็นของ พนักงาน

• บริษัทให้ผลตอบแทนและสิทธิพิเศษที่เหมาะสม พอเพียงต่อการดำ�รงชีวิต • เงือ่ นไขการจ่ายค่าจ้างนัน้ ได้รบั การออกแบบมาเพือ่ ให้ สมดุลกับความต้องการของนายจ้างและลูกจ้าง • ผลตอบแทนและสิทธิพิเศษขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและ ความต้องการรายบุคคล ความยืดหยุ่นในที่ทำ�งาน ได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของ นายจ้าง และลูกจ้าง เพือ่ ให้ได้ผลประโยชน์รว่ มกัน • มีการติดตามและสอบถามความเห็นพนักงานอย่าง ใกล้ชดิ • การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำ�งาน ของพนักงาน

แหล่งอ้างอิง : ชุดความรู้ สร้างงาน สร้างโอกาส สร้างความยั่งยืน (อพท.) ด้าน B ความยั่งยืนด้านสังคม-เศรษฐกิจ

36


B3

การสนับสนุนผู้ประกอบการ ท้องถิ่นและการค้าที่เป็นธรรม (Supporting local entrepreneurs and fair trade)

• แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วต้ อ งมี ร ะบบสนั บ สนุ น ให้ รายได้ จ ากการท่ อ งเที่ ย วหมุ น เวี ย นอยู่ ใ น ระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่นโดยการสนับสนุน ผู้ประกอบการท้องถิ่น ห่วงโซ่อุปทาน และ การลงทุนอย่างยั่งยืน • แหล่งท่องเที่ยวมีการสนับสนุนการพัฒนา และการซื้อผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ยั่งยืนบนฐาน ของหลักการการค้าที่เป็นธรรม และสะท้อน ถึงเอกลักษณ์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ของพื้นที่นั้น ซึ่งอาจจะครอบคลุมถึง อาหาร และเครื่องดื่ม การศิลปหัตถกรรม การแสดง สินค้าการเกษตร และอื่น ๆ

37

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. มีการให้คำ�ปรึกษา ให้การสนับสนุนทางการเงิน หรือการสนับสนุนอืน่ ๆ ให้แก่ธรุ กิจ SMEs ด้านการ ท่องเทีย่ ว b. มีการช่วยเหลือด้านการตลาดให้แก่ธุรกิจ SMEs ด้านการท่องเทีย่ ว c. มีการสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจ ท่องเทีย่ วท้องถิน่ ให้ซอ้ื สินค้าและบริการในท้องถิน่ d. มี ก ารริ เ ริ่ม การให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ แก่ เ กษตรกร ศิลปิน และผูผ้ ลิตอาหาร ในท้องถิน่ ในการเข้าสูห่ ว่ งโซ่ อุปทานของการท่องเทีย่ ว e. มีการระบุ สนับสนุน และเปิดโอกาส ให้ผลิตภัณฑ์ และงานศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นจำ�หน่ายให้แก่นักท่อง เทีย่ วในแหล่งท่องเทีย่ ว


เกร็ดความรู้

แฟร์เทรด (Fairtrade)

แฟร์เทรด (Fairtrade) คือ หุ้นส่วนทางการค้า ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพูดคุยแลกเปลี่ยน ความ โปร่งใส และการเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างให้เกิด ความเสมอภาคทางการค้าระหว่างประเทศ และช่วย ปกป้องสิทธิของผู้ผลิตและลูกจ้างที่ด้อยโอกาส โดย เฉพาะผู้ผลิตและลูกจ้างในประเทศที่กำ�ลังพัฒนา ในระบบแฟร์เทรดจะมีการวิเคราะห์และกำ�หนด ราคาขั้นต่ำ� ที่สะท้อนต้นทุนการผลิต รวมทั้งรายได้ที่ เพียงพอในการดำ�รงชีวิตของผู้ผลิต ผู้ซื้อจะรับประกัน การซื้อผลผลิตในราคานี้หากราคาตลาดต่ำ�กว่าราคา ประกัน แต่ในกรณีที่ราคาตลาดสูงกว่าราคาประกัน ผู้ซื้อ ก็จะต้องซื้อในราคาตลาด

มาตรฐานแฟร์เทรด แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ มาตรฐานองค์กร (ซึง่ มี 4 แบบ คือ กลุม่ ผูผ้ ลิตราย ย่อย การจ้างงาน การจ้างการผลิต และผู้ประกอบการ ค้า) และมาตรฐานสินค้า (เช่น น้ำ�ตาลอ้อย ธัญพืช โกโก้ กาแฟ พืชเส้นใย ดอกไม้และไม้ประดับ ผลไม้สด ผักสด ทอง สมุนไพร-ชาสมุนไพร-เครื่องเทศ-พืชหอม น้ำ�ผึ้ง ผลไม้เปลือกแข็ง พืชน้ำ�มัน ผักผลไม้แปรรูป ลูกบอล ชา ไม้ และผัก) รวมทัง้ ราคาขัน้ ต�ำ่ และราคาแฟร์เทรดพรีเมีย่ ม ของผลผลิตต่าง ๆ ในแต่ละประเทศด้วย

ภาพ : การทำ�งานของระบบแฟร์เทรด (The Fairtrade System) ที่มาภาพ : www.fairtrade.net แหล่งอ้างอิง : www.greennet.or.th/category/article-th/fairtrade/ ด้าน B ความยั่งยืนด้านสังคม-เศรษฐกิจ

38


39

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


B (b) ผลกระทบต่อชุมชนและสวัสดิภาพของชุมชน

ด้าน B ความยั่งยืนด้านสังคม-เศรษฐกิจ

40


B4

การสนับสนุนชุมชน (Support for community)

ตัวชี้วัด a. ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้รับการ สนั บ สนุ น และส่ ง เสริ ม ให้ ส นั บ สนุ น ชุ ม ชน และ กิจกรรมริเริ่มด้านความยั่งยืนของท้องถิ่น b. สนับสนุนและจัดให้มีโครงการที่ให้นักท่องเที่ยวมี ส่วนในการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นและกิจกรรมริเริ่ม ด้านความยั่งยืน c. การทำ�กิจกรรมอาสาสมัครและการมีส่วนร่วมกับ ชุมชนนั้นต้องไม่เกี่ยวข้องกับการบุกรุกหรือการเอา รัดเอาเปรียบชุมชน

• แหล่ง ท่อ งเที่ย วมีระบบที่เปิด โอกาสและ สนับสนุน ให้ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว และสาธารณชน สร้างประโยชน์แก่ชุมชน และจัดกิจกรรมริเริ่มด้านความยั่งยืน อย่างมี ความรับผิดชอบ

ภาพ : โครงการฟื้นฟูชะนี (The Gibbon Rescue and Rehabilitation Project) ในประเทศไทย ของ คีรี รีช ที่มาภาพ : www.khirireach.org/projects/gibbon-rescue-centre

41

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


กรณีศึกษา

คีรี รีช (KHIRI REACH)

คีรี รีช (Khiri Reach) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผล กำ�ไร มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาในภูมิภาคโดยใช้ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเป็นเครื่องมือ เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจทางวัฒนธรรม อุตสาหกรรมหมุนเวียน (Circular Industry) การเคารพธรรมชาติ การปกป้อง สิ่งแวดล้อม และพัฒนาอย่างยั่งยืนในชุมชนท้องถิ่น

นอกจากนี้ คีรี รีช ยังถือเป็นองค์กรการกุศล ของ คีรี ทราเวล (Khiri Travel) ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วย เหลือชุมชนด้อยโอกาสในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ ศรีลังกา และอินโดนีเซีย ผ่าน โครงการ People and Planet มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550 คีรี รีช ร่วมมือกับพันธมิตรระหว่างประเทศ NGOs และผู้ประสานงานในแต่ละพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ โดย ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายธุรกิจทีม่ ที ว่ั ภูมภิ าค เชือ่ ม โยงผูบ้ ริจาคและอาสาสมัคร NGOs เข้ากับโครงการ ในชุมชนท้องถิ่น ครอบคลุมประเด็นที่น่ากังวลและหา วิธีการแก้ไขปัญหา เช่น ปัญหามลพิษ พลาสติก การ เข้าถึงน�ำ้ สะอาด การปกป้องพืชพรรณและสัตว์ทอ้ งถิน่ รวมถึงการช่วยเหลือ ผูด้ อ้ ยโอกาส ดังนัน้ โปรแกรม การท่องเทีย่ วของ คีรี รีช จึงเป็นการพัฒนาร่วมกับ ชุมชนท้องถิ่นในประเทศนั้น ๆ ซึง่ เงินทีไ่ ด้รบั จากการ บริจาคจะถูกส่งมอบให้กับผู้รับผลประโยชน์ในแต่ละ โครงการทัง้ หมด

ภาพ : คีรี รีช ทำ�งานร่วมกับ Operation Smile Thailand เพื่อให้การสนับสนุนทีมแพทย์ เวชภัณฑ์ และยา ที่มาภาพ : www.khirireach.org/about-us/what-khiri-reach แหล่งอ้างอิง : www.khirireach.org/about-us/what-khiri-reach ด้าน B ความยั่งยืนด้านสังคม-เศรษฐกิจ

42


B5

การป้องกันการแสวงหาผล ประโยชน์โดยมิชอบและการ เลือกปฏิบัติ (Preventing exploitation and discrimination)

• แหล่งท่องเที่ยวต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน ด้านสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ • แหล่งท่องเที่ยวต้องมีกฎหมาย ข้อปฏิบัติ และแนวทางในการปฏิบัติในการป้องกัน และ รายงานถึงปัญหาด้านการค้ามนุษย์ การใช้ แรงงานเยี่ยงทาส และการค้าทาส และการค้า ประเวณี หรือการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิ ชอบในรูปแบบอื่น การเลือกปฏิบัติและการ รังแก บุคคลใด ๆ โดยเฉพาะเด็ก วัยรุน่ ผูห้ ญิง กลุ่มเพศทางเลือก และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ • กฎหมายและการข้อปฏิบัติจะต้องมีการ สื่อสารแก่สาธารณะและมีการบังคับใช้

ตัวชี้วัด a. มีกฎหมาย (อ้างถึงมาตรา และวันประกาศใช้) เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน การแสวงหา ผลประโยชน์ส่วนตน การเลือกปฏิบัติ และการล่วง ละเมิดต่อบุคคลอื่น b. มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการสื่อสารให้ข้อมูล และการบังคับใช้กฎหมายตามข้อ a. และมีการให้ แนวทางปฏิบัติที่ดี (รวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวและนัก ท่องเที่ยว) c. มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบในเรื่อง สิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำ�เสมอ ซึ่งรวมถึงการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานทาสสมัยใหม่ และการใช้แรงงานเด็ก d. แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วและผู้ มี ส่ ว นสำ � คั ญ ในภาคการ ท่องเที่ยวมีการลงนามเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการ ปกป้องเด็กจากการล่วงละเมิดทางเพศในภาคการ เดินทางและการท่องเที่ยว (Code of Conduct for the Protection of Children from Sexual Exploitation in Travel and Tourism)

ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

43

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


เกร็ดความรู้

หลักการปฏิบัติเพื่อปกป้องเด็กจากการถูกแสวงหา ประโยชน์ทางเพศ ในธุรกิจการเดินทางและท่อง เที่ยว (The Code of Conduct for the Protection of Children from Sexual Exploitation in Travel and Tourism)

หลักการปฏิบัติเพื่อปกป้องเด็กจากการถูกแสวงหา ประโยชน์ทางเพศ ในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว หรือ เรียกโดยย่อว่า เดอะโค้ด เกิดจากแนวคิดริเริ่ม ของภาคี ห ลายภาคส่ ว นและขั บ เคลื่ อ นโดยภาคธุ ร กิ จ อุตสาหกรรมที่มีพันธกิจในการสนับสนุนเครื่องมือและ ความช่วยเหลือในการต่อต้านการแสวงหาประโยชน์ทาง เพศจากเด็กในบริบทที่เกี่ยวข้องกันการเดินทางและการ ท่องเที่ยว โดยกำ�หนดหลักเกณฑ์ 6 ประการ ให้สมาชิก ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ถือปฏิบัติเมื่อเข้าร่วม เป็นสมาชิก ดังนี้

1. ต้องกำ�หนดนโยบายและขั้นตอนการดำ�เนินงาน เพื่อต่อต้านการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก 2. จัดฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้เรื่องสิทธิเด็ก ในการป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ และ ทราบขั้ น ตอนการแจ้ ง เหตุ เ มื่ อ พบว่ า มี เ หตุ ก ารณ์ ที่ น่ า สงสัย 3. ต้องกำ�หนดเงื่อนไขในสัญญาต่าง ๆ ที่ทำ�กับ ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวและบริษัทคู่ค้า ว่าจะร่วม กันปฏิเสธและออกนโยบายร่วมกัน ที่จะปฏิเสธและไม่ ยินยอมให้เกิดการแสดงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก เป็นอันขาด 4. ให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวเดี่ยวกับสิทธิเด็ก การ ป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก และวิธี การรายงานเหตุการณ์น่าสงสัยต่าง ๆ

5. ให้การสนับสนุน ประสานงาน และส่งเสริม ให้ผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องได้มีบทบาทร่วมกันในการแสวงหาผลประโยชน์ ทางเพศจากเด็ก 6. ให้รายงานผลการดำ�เนินงานประจำ�ปี ตามหลัก การปฏิบัติเพื่อปกป้องเด็กจากการถูกแสวงหาประโยชน์ทาง เพศ ในการเดินทางและการท่องเที่ยว

Information

มูลนิธิวอล์กฟรี (Walk Free Foundation) กำ � หนดความหมายของ ทาสสมั ย ใหม ่ (Modern Slavery) ว่า บุคคลที่ถูกครอบครองหรือควบคุมโดย บุ ค คลอื ่ น ด้ วยวิ ธ ี ก ารลดทอนเสรี ภาพส่วนบุคคล และแสวงหาประโยชน์ผ่านการใช้งาน แสวงหากำ�ไร เคลื่อนย้าย หรือจำ�หน่าย ซึ่งปรากฏอยู่ในรูปแบบการ ค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน แรงงานเด็ก แรงงาน ทาสยุคเก่า การค้าประเวณี และการบังคับให้แต่งงาน ทั้งนี้ ดัชนีทาสโลก (The Global Slavery Index: GSI) ปี พ.ศ. 2561 โดยมูลนิธิวอล์กฟรีประเมิน ว่า มีผู้ที่ตกอยู่ในสภาวะของการเป็น ทาสยุคใหม่ ในประเทศไทยราว 610,000 คน หรือ 8.9 คนต่อ ประชากร 1,000 คน ซึ่งอยู่ในลำ�ดับที่ 23 จาก 167 ประเทศ นอกจากนี้ มูลนิธิวอล์กฟรียังจัดให้ประเทศไทย อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูงของแรงงานทาส ในอุตสาหกรรมประมง โดยงานวิจัยปี พ.ศ. 2559 ของฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) ระบุวา่ แรงงานในอุตสาหกรรมประมงไทยติดหนี้ 76% ถูกบังคับ ให้ทำ�งาน 31.5% ถูกทำ�ร้ายร่างกาย 15.7% และถูก หลอกลวงให้มาทำ�งานที่ประเทศไทย 6.5% แหล่งอ้างอิง : www.thecode.org/wp-content/uploads/2013/06/TheCode_Brochure_THAI_FINAL.pdf www.bbc.com/thai/thailand-47849358 www.matichon.co.th/foreign/news_154920 ด้าน B ความยั่งยืนด้านสังคม-เศรษฐกิจ

44


B6

กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและ สิทธิทางกฎหมาย (Property and user rights)

• มีการจัดทำ�เอกสารและบังคับใช้กฎหมาย และข้อบังคับเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และสิทธิในการครอบครอง • กฎหมายและข้อบังคับเหล่านั้นต้องเคารพ สิทธิชุมชนและชนพื้นเมือง และจะต้องมีการ รับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะด้วย • หากต้องมีการย้ายที่อยู่อาศัย ห้ามมิให้มี การดำ�เนินการโดยไม่แจ้งข้อมูลให้ทราบล่วง หน้า และจะต้องมีการชดเชยอย่างเป็นธรรม และตรงไปตรงมา • กฎหมายและข้อบังคับเหล่านั้นต้องปกป้อง สิทธิทางกฎหมาย และสิทธิในการเข้าถึง ทรัพยากรที่สำ�คัญ ค้าประเวณี หรือการ แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบในรูปแบบอื่น การเลือกปฏิบัติและการรังแก บุคคลใด ๆ โดยเฉพาะเด็ก วัยรุ่น ผู้หญิง กลุ่มเพศทาง เลือก และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ • กฎหมายและการข้อปฏิบัติจะต้องมีการ สื่อสารแก่สาธารณะและมีการบังคับใช้

ตัวชี้วัด a. ในแหล่งท่องเที่ยว มีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และสิทธิในการได้มา และครอบครอง รวมถึงสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร ต่าง ๆ (ชื่อกฎหมาย มาตรา และวันที่ที่ประกาศใช้) b. กฎหมายในข้างต้นมีการระบุในเรื่องสิทธิชุมชน และชนพื้นเมือง การปรึกษาหารือเพื่อรับฟังความ คิดเห็นสาธารณะ และการให้ออกจากพื้นที่และตั้งถิ่น ฐานใหม่ c. มีหลักฐานของการบังคับใช้กฎหมายตามข้างต้น ในบริบทของการพัฒนาการท่องเที่ยวและกิจกรรม การท่องเที่ยว d. มีหลักฐานของการเข้าไปการปรึกษาชุมชน ขอความ ยินยอม และจ่ายค่าตอบแทน

ภาพ : การติดป้ายประท้วงของชาวบ้านเมืองพิมาย ที่มาภาพ : www.matichon.co.th/news-monitor/news_854453

45

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


กรณีศึกษา

โบราณสถานเมืองพิมาย

ปี พ.ศ. 2559 กรมศิลปากรได้มีหนังสือเรื่อง การ กำ � หนดเขตที ่ ดิน โบราณสถานเมือ งพิม าย เพื ่ อแจ้ ง เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินในเขตโบราณสถานเมือง พิมาย จำ�นวน 1,665 ราย ให้ทราบถึงการเตรียม การ ประกาศกำ�หนดเขตทีด่ นิ โบราณสถาน ตาม พระราชบัญญัติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ 2504 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ทำ�ให้ชาวบ้านเทศบาลตำ�บลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จำ�นวนกว่า 300 ราย รวมตัวกันประท้วงและยื่นฟ้องกรม ศิลปากรให้ถอนประกาศ ต่ อ มา ได้ มี ก ารประชุ ม เพื่ อ หาทางออกร่ ว มกั น โดยมีแนวทางการแก้ไข เช่น ให้สำ�นักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา จัดทำ�กระบวนการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยว กับรายละเอียดการขึ้นทะเบียนโบราณสถานจาก

ทุกภาคส่วนอีกครั้งหนึ่ง ในระหว่างการจัดทำ�ประชา พิจารณ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหา ประชาชนที่เป็นผู้ฟ้องคดีสามารถนำ�เรื่องดังกล่าวเสนอ ต่อศาลปกครองนครราชสีมาเพื่อประกอบการพิจารณา ได้ ให้จังหวัดนครราชสีมาร่วมกับกรมศิลปากร ตั้งคณะ กรรมการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนกรณีมีการประกาศ เขตโบราณสถานเมืองพิมายทับที่ชาวบ้าน โดยให้มีทุก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกับประชาชนในพื้นที่ทุกฝ่าย เป็นคณะกรรมการร่วมกันในการแก้ไขปัญหา จัดทำ� Zoning เพื่อกำ�หนดเขตหรือมาตรการในการผ่อนผัน การใช้ประโยชน์ในที่ดิน ทั้งในระยะทางและระยะห่าง จากโบราณสถาน รวมทั้งรูปแบบอาคาร ความสูงอาคาร ที่เหมาะสม

ภาพ : การติดป้ายประท้วงของชาวบ้านเมืองพิมาย ที่มาภาพ : ประสิทธิ์ ตั้งประเสริฐ (www.nationtv.tv/main/content/378797358) แหล่งอ้างอิง : www.koratdaily.com/blog.php?id=8869 mgronline.com/qol/detail/9610000020637 thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG190222123709510

ด้าน B ความยั่งยืนด้านสังคม-เศรษฐกิจ

46


B7

สวัสดิภาพและความปลอดภัย (Safety and security)

ตัวชี้วัด a. แหล่งท่องเที่ยวมีการบริการด้านความปลอดภัย และสุขภาพเป็นที่ยอมรับและใช้การได้ b. มีการศึกษาเพือ่ กำ�หนดและจัดการความต้องการ ของนักท่องเที่ยวเพื่อให้สามารถให้การบริการด้าน สุขภาพและความปลอดภัยที่สอดคล้องกับความ ต้องการได้ c. สิ่งอํานวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวที่ได้ รับการตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานความ ปลอดภัยและสุขอนามัย

แหล่งท่องเที่ยวมีระบบเพื่อเฝ้าสังเกตการณ์ ป้องกัน และตอบสนองต่อประเด็นด้าน อาชญากรรม ความปลอดภัย และอันตราย ต่อสุขภาพ โดยต้องจัดการให้เหมาะสมกับ ความต้องการของทั้งนักท่องเที่ยวและผู้คน ในพื้นที่ และมีการรายงานต่อสาธารณชน

ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

47

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


กรณีศึกษา

โครงการแนวทางความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA)

Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA) เป็น โครงการความร่ วมมื อ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และกรม ควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมท่อง เที่ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่ง ของมาตรการควบคุมโรค ทำ�ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาว ไทยและชาวต่างชาติได้รับประสบการณ์ที่ดี มีความสุข และมั่นใจในความปลอดภัยด้านสุขอนามัยจากสินค้า และบริ ก ารทางการท่อ งเที่ย วของประเทศไทย โดย นำ�มาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุขผนวกกับ มาตรฐานการให้บริการทีม่ คี ณุ ภาพของสถานประกอบการ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ ทางการท่องเที่ยวของไทย

ประเภทสถานประกอบการภายใต้โครงการ SHA

ประเภท A : ภัตตาคาร ร้านอาหาร/ B : โรงแรมและที่พัก สถานที่จัดการประชุม/ C : นันทนาการและสถานที่ท่องเที่ยว/ D : ยาน พาหนะ/ E : บริษัทนำ�เที่ยว/ F : สุขภาพและ ความงาม/ G : ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า/ H : กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว/ I : การจัดกิจกรรม จัดประชุม โรงละคร โรงมหรสพ/ J : ร้านค้า ของที่ระลึกและร้านค้าอื่น ๆ

มาตรฐานเบื้องต้นของทุกสถานประกอบการ

1. สุขลักษณะอาคารและอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีอยู่ใน อาคาร เช่น ทำ�ความสะอาดอาคาร ห้องน้ำ� บริเวณโดย รอบ บริเวณที่อาจมีการปนเปื้อน หรือบริเวณที่มีการ สัมผัสบ่อย ๆ ด้วยน้ำ�ยาทำ�ความสะอาดอย่างสม่ำ�เสมอ 2.การจั ด อุ ป กรณ์ ทำ � ความสะอาดเพื่ อ ป้ อ งกั น การแพร่กระจายเชื้อโรค เช่น เตรียมเจลล้างมือที่มี แอลกอฮอล์อย่างน้อย 70% ขึ้นไป ไว้ในบริเวณพื้นที่ส่วน กลาง บริเวณอ่างล้างมือและห้องส้วมต้องสะอาด และ จัดให้มีสบู่ล้างมืออย่างเพียงพอ 3. การป้องกันสำ�หรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เช่น ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อการรับสัมผัส ต้องมีการ ป้องกันตนเองโดยใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ทำ�ความสะอาดมืออย่างสม่ำ�เสมอ มีการให้ความรู้ คำ�แนะนำ� และเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์

แหล่งอ้างอิง : thailandsha.tourismthailand.org/ebooks/Work_Manual_for_the_Sanitation_and_Safety_Standard_Project_th/mobile/index.html#p=2 ด้าน B ความยั่งยืนด้านสังคม-เศรษฐกิจ

48


B8

การเข้าถึงการท่องเที่ยว สําหรับคนทั้งมวล (Access for all)

• สถานที่ท่องเที่ยว สิ่งอํานวยความสะดวก และการบริการ จะต้องเข้าถึงได้โดยคนทัง้ มวล ทั้งนี้ต้องคำ�นึงถึงความเป็นไปได้ทั้งในเชิง ธรรมชาติและวัฒนธรรม ซึ่งคนทั้งมวลนั้น รวมถึงคนพิการ และคนที่มีความต้องการ ความช่วยเหลือหรือเข้าถึงเป็นพิเศษ • ในกรณี ที่ แ หล่ ง ท่ อ งเที่ ย วและสิ่ ง อำ � นวย ความสะดวกไม่สามารถเข้าถึงได้ในทันที จะ ต้องมีการออกแบบและการแก้ไขปัญหาโดย คำ�นึงถึงความกลมกลืนของสถานที่ท่องเที่ยว รวมถึงควรจัดให้มีที่พักสำ�หรับกลุ่มบุคคลที่ มีความต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ใน ราคาที่สมเหตุสมผล • มีการให้ข้อมูลด้านการเข้าถึงของสถานที่ ท่องเที่ยว สิ่งอำ�นวยความสะดวก และบริการ ต่าง ๆ

49

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. มีข้อบังคับและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอำ�นวย ความสะดวกสำ�หรับผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็น พิเศษ ให้สามารถเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยว สิ่งอำ�นวย ความสะดวก และการบริการ b. มีการใช้มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอำ�นวยความ สะดวกสำ�หรับผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษที่ เหมาะสม สำ�หรับสิ่งอำ�นวยความสะดวกสาธารณะ c. มีข้อมูลเกี่ยวกับขอบเขต/ สัดส่วนของการเข้า ถึงสถานที่ท่องเที่ยว และสิ่งอำ�นวยความสะดวกที่ ผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษสามารถเข้าถึงได้ d. มีหลักฐานถึงการดำ�เนินการเพื่อปรับปรุงการเข้า ถึงสำ�หรับผูท้ ม่ี คี วามต้องการด้านการเข้าถึงทีห่ ลากหลาย e. ในการสื่อสารโฆษณาแหล่งท่องเที่ยวในภาพรวม จะต้องมีข้อมูลด้านสิ่งอำ�นวยความสะดวกสำ�หรับ ผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษบรรจุอยู่ด้วย f. ในจุดท่องเที่ยวหลัก มีรายละเอียดจุดอำ�นวยความ สะดวกสำ�หรับผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษอยู่ ในข้อมูลสำ�หรับนักท่องเที่ยว


กรณีศึกษา

นิยามและประเภทของคนพิการ

คนพิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 หมายถึง บุคคล ซึ่ ง มี ข้ อ จำ � กั ด ในการปฏิ บั ติ กิ จ กรรมในชี วิ ต ประจำ � วั น เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การ เคลื่อนไหว การสื่อสารจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติ ปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับ มีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความจำ�เป็นเป็นพิเศษ ที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้ สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำ�วันได้อย่างบุคคล ทั่วไป ใน ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2552 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555 ได้ ระบุประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการไว้ดังต่อไปนี้ 1. ความพิการทางการเห็น ได้แก่ ตาบอด ตาเห็น เลือนราง 2. ความพิ ก ารทางการได้ ยิ น หรื อ สื่ อ ความหมาย ได้แก่ หูหนวก หูตึง พูดไม่ได้ พูดหรือฟังแล้วผู้อื่นไม่ เข้าใจ 3. ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย 3.1 ความพิการทางการเคลื่อนไหว คือ บุคคล ที่ มี ค วามบกพร่ อ งหรื อ การสู ญ เสี ย ความสามารถของ อวัยวะในการเคลื่อนไหว ได้แก่ มือ เท้า แขน และขา

3.2 ความพิการทางร่างกาย คือ บุคคลที่มีความ บกพร่องหรือความผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า ลำ�ตัว และ ภาพลักษณ์ภายนอกของร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจน 4. ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม คือ บุคคลที่ มีความบกพร่อง หรือความผิดปกติทางจิตใจ หรือสมอง ในส่วนของการรับรู้ อารมณ์ หรือความคิด 5. ความพิการทางสติปัญญา คือ บุคคลที่มี พัฒนาการช้ากว่าปกติ หรือมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำ�กว่า บุคคลทั่วไป โดยความผิดปกตินั้นจะแสดงให้เห็นก่อน อายุ 18 ปี 6. ความพิการทางการเรียนรู้ คือ บุคคลซึ่งมีความ บกพร่องทางสมอง ทำ�ให้เกิดความบกพร่องในด้านการ อ่าน การเขียน การคิดคำ�นวณ หรือกระบวนการเรียนรู้ พื้นฐานอื่น ๆ ในระดับความสามารถทีต่ ่ำ�กว่าเกณฑ์ มาตรฐานตามช่วงอายุและระดับสติปัญญา 7. ความพิการทางออทิสติก คือ บุคคลที่มีความ บกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อ ความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์ โดยมีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติของสมอง และความผิดปกตินั้นแสดงก่อน อายุสองปีครึ่ง ทั้งนี้ ให้รวมถึงการวินิจฉัยกลุ่มออทิสติก สเปกตรัมอื่น ๆ เช่น แอสเปอเกอร์ (Asperger) ด้วย

ที่มาภาพ : Tourism for All (www.visitportugal.com/en/content/accessiblebeach)

ด้าน B ความยั่งยืนด้านสังคม-เศรษฐกิจ

50


ด้าน

C

ความยั่งยืนด้านวัฒนธรรม

51

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


C (a) การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม

ด้าน C ความยั่งยืนด้านวัฒนธรรม

52


C1

การปกป้องทรัพย์สินทาง วัฒนธรรม (Protection of cultural assets)

ตัวชี้วัด a. มี ก ารจั ด ทำ � บั ญ ชี ข้ อ มู ล รวบรวมทรั พ ย์ สิ น ทาง วัฒนธรรม รวมถึงการประเมินคุณค่า และประเมิน ความเปราะบาง b. มีโปรแกรมการดำ�เนินงานเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ ทรัพย์สินทางวัฒนธรรม c. มีกลไกสำ�หรับการใช้ประโยชน์จากรายได้ทาง การท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพย์สินทาง วัฒนธรรม

แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วมี น โยบายและระบบเพื่ อ ประเมินคุณค่า ฟืน้ ฟู และสงวนรักษาทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมที่รวมถึงมรดกที่เป็นสิ่งปลูก สร้าง และภูมทิ ศั น์เชิงวัฒนธรรม

ภาพ : วัดสระศรี อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

53

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


เกร็ดความรู้

อิโคโมส (ICOMOS)

สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Sites) หรือ อิโคโมส (ICOMOS) คือ องค์กรวิชาชีพทางมรดกวัฒนธรรมใน ระดับสากล ซึ่งมีเป้าหมายในการทำ�งานเพื่ออนุรักษ์และ ปกป้องคุ้มครองโบราณสถานในลักษณะขององค์กรอิสระ (NGOs) ที่จะมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการของ UNESCO และคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งอิโคโมสมี หน้าที่สำ�คัญคือเป็นองค์กรที่ดำ�เนินการประเมินคุณค่า และศักยภาพของโบราณสถานที่ได้รับการเสนอชื่อเป็น มรดกโลกทุกแหล่ง ก่อนจะนำ�เสนอต่อ UNESCO เพื่อ ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก

สมาคมอิโคโมสไทย (ICOMOS Thailand)

สมาคมอิโคโมสไทย (ICOMOS Thailand) คือ องค์กร วิ ชาการอิ ส ระเพื่ อสาธารณประโยชน์ ด้า นการอนุรัก ษ์ ของมรดกทางวัฒนธรรม ทำ�หน้าที่ประสานงานการ ทำ � งานในฐานะคณะกรรมการระดั บ ชาติ ตั ว แทนของ ประเทศไทยในองค์กรอิโคโมส โดยมีกรมศิลปากรเป็น หน่วยงานริเริ่มในการก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ใน ชื่อคณะกรรมการโบราณสถานแห่งชาติว่าด้วยสภาการ โบราณสถานระหว่างประเทศ มีภารกิจในการรวบรวม ศึกษา และเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักการ เทคนิค และนโยบายทางด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ ของโบราณสถานและมรดกทางวัฒนธรรม ตลอดจนให้ ความช่วยเหลือ รณรงค์ ให้คำ�ปรึกษาแนะนำ�ในการแก้ ปัญหา หรือสนับสนุนโครงการการอนุรักษ์และการใช้ ประโยชน์ของโบราณสถานทั้งในระดับภายในประเทศ และระดับระหว่างประเทศ ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน

แหล่งอ้างอิง : www.icomosthai.org www.yumpu.com/it/document/view/28580040/brochure-icomos-thailand ด้าน C ความยั่งยืนด้านวัฒนธรรม

54


C2

วัตถุทางวัฒนธรรม (Cultural artefacts)

ตัวชี้วัด a. มี ข้ อ กฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ วั ต ถุ ท างประวั ติ ศาสตร์ที่เหมาะสมในแหล่งท่องเที่ยว โดยให้ระบุ ข้อกฎหมาย มาตรา และวันที่ประกาศ b. มีหลักฐานของการให้ข้อมูลกฎหมายดังกล่าว แก่ธุรกิจท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวอย่างชัดเจน c. มีหลักฐานของการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

แหล่งท่องเที่ยวมีกฎหมายที่เหมาะสมในการ ควบคุมการแลกเปลี่ยน การค้า การจัดแสดง หรือการให้ วัตถุทางประวัติศาสตร์และ โบราณคดี โดยมีการบังคับใช้จริง และมีการ ให้ข้อมูลแก่สาธารณชน รวมถึงการให้ข้อมูล แก่ธุรกิจท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวด้วย

55

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ภาพ : โบราณวัตถุที่ถูกจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ที่มาภาพ : th.wiktionary.org/wiki/ไฟล์:Ban_Chiang_Museum_Excavation.JPG


เกร็ดความรู้

กฎหมายที่ควรรู้

ตาม พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และ พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้ให้ คำ�นิยามของ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ สิ่งเทียมโบราณวัตถุ สิ่งเทียมศิลปวัตถุ และทำ�เทียม ไว้ดังนี้ โบราณวัตถุ หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ที่เป็น ของโบราณ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของ โบราณสถาน ซากมนุษย์หรือซากสัตว์ ซึ่งโดยอายุหรือ โดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับ ประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ศิลปวัตถุ หมายความว่า สิ่งที่ทำ�ด้วยฝีมืออย่าง ประณีตและมีคุณค่าสูงในทางศิลป

สิ่งเทียมโบราณวัตถุ หมายความว่า สิ่งที่ทำ�เทียม โบราณวัตถุหรือส่วนของโบราณวัตถุที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ตามพระราชบัญญัตนิ ้ี หรือทีอ่ ยูใ่ นความครอบครอง ของ กรมศิลปากร สิ่งเทียมศิลปวัตถุ หมายความว่า สิ่งที่ทำ�เทียม ศิลปวัตถุหรือส่วนของศิลปวัตถุที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตาม พระราชบัญญัตินี้ หรือที่อยู่ในความครอบครองของกรม ศิลปากร ทำ�เทียม หมายความว่า เลียนแบบ จำ�ลอง หรือ ทำ�เอาอย่างด้วยวิธีการใด ๆ ให้เหมือนหรือคล้ายของ จริง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีขนาด รูปลักษณะ และวัสดุอย่างเดิม หรือไม่ รู้หรือไม่? หากผู้ใดเก็บโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ซ่อน หรือ ฝัง หรือทอดทิ้ง โดยไม่มีผู้ใดสามารถอ้างว่าเป็น เจ้าของได้ และเบียดบังเอาโบราณวัตถุหรือศิลป วัตถุนั้นเป็นของตน หรือของผู้อื่น ต้องระวาง โทษจำ�คุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินเจ็ดแสน บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ นอกจากนี้ หากผู้ใดส่ง หรือนำ�โบราณวัตถุที่ไม่ได้ขึ้น ทะเบียนออกนอก ราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำ�คุก ไม่เกินเจ็ด ปี หรือปรับไม่เกินเจ็ดแสนบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ แต่ถ้าเป็นการนำ�โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ได้ ขึ้นทะเบียนแล้วออกนอกราชอาณาจักร จะต้อง ระวางโทษจำ�คุกตั้งแต่หนึ่งปี ถึงสิบปี และปรับไม่ เกินหนึ่งล้านบาท

แหล่งอ้างอิง : พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติพ.ศ. 2504 พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ด้าน C ความยั่งยืนด้านวัฒนธรรม

56


C3

มรดกที่จับต้องไม่ได้ (Intangible heritage)

• แหล่งท่องเที่ยวมีการสนับสนุนการยกย่อง และการปกป้ อ งมรดกทางวั ฒ นธรรมที่ จั บ ต้องไม่ได้ ซึ่งรวมถึง ประเพณีท้องถิ่น ศิลปะ เพลง ภาษา อาหาร และอัตลักษณ์และ ลักษณะเฉพาะ ของท้องถิ่นในมิติอื่น ๆ • การนำ�เสนอ/ แสดง การจำ�ลอง และการ สื่อความหมายของวัฒนธรรมและประเพณีที่ ยังคงอยู่นั้น จะต้องมีความละเอียดอ่อน และ ให้ความเคารพ และจะต้องให้คนในท้องถิ่นมี ส่วนร่วมและได้รับประโยชน์ ในขณะเดียวกัน จะต้องมอบประสบการณ์ทจ่ี ริงแท้แก่นกั ท่องเทีย่ ว

ตัวชี้วัด a. ค้นหาและจัดทำ�คลังข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมที่ จับต้องไม่ได้ b. ยกตัวอย่างงานเฉลิมฉลองทางวัฒนธรรม และ การให้ประสบการณ์แก่นักท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (งานแสดงอีเวนต์ ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ฯลฯ) c. หลักฐานของการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นและ ชนพื้นเมืองในการพัฒนาและส่งมอบประสบการณ์ ให้ กั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ มรดกทาง วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ d. ข้อคิดเห็นจากนักท่องเที่ยวและชุมชนท้องถิ่นใน การส่ ง มอบประสบการณ์ เ กี่ ย วกั บ มรดกทาง วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ภาพ : ประเพณีแข่งเรือ จ.น่าน ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

57

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


กรณีศึกษา

การอนุรักษ์เรือเอกลักษณ์น่านและประเพณีแข่งเรือ งานบุญสลากภัต

ประเพณีแข่งเรือเมืองน่านเป็นประเพณีเก่าแก่ สืบเนื่องมาแต่โบราณกาล เดิมนิยมแข่งกันเมื่อมีงานบุญ สลากภัต (ตานก๋วยสลาก) ของชุมชนที่อาศัยอยู่เรียงราย สองฟากฝั่งแม่น้ำ�น่าน เพื่อเพิ่มความสนุกสนานเร้าใจใน งานประเพณีดงั กล่าว สร้างความสัมพันธ์ฉนั พีน่ อ้ ง ความ เข้าใจซึง่ กันและกันระหว่างชุมชนทีม่ าร่วมงานบุญสลากภัต เกิดเป็นสัมพันธภาพที่หล่อหลอมเป็นชุมชนเข้มแข็ง ในอดีตเรือเอกลักษณ์น่านมีความงดงาม อ่อนช้อย และน่าเกรงขาม รวมอยู่ในเรือลำ�เดียว เนื่องจากโขนเรือ ทำ�เป็นรูปนาคราช ชูคอสง่า อ้าปากเขี้ยวโง้งน่าเกรงขาม ส่วนหางก็ทำ�เป็นหางนาคราช มีลักษณะงอนสูงติดพู่ห้อย แขวนกระดิ่งทองเหลืองเสียงไพเราะกังวาน ลวดลายที่ เขียนประดับตัวเรือเป็นลายกนกหรือลายก้านต่อแบบพื้น เมือง เรือบางลำ�จะติดกระจกสีดูแวววาว สวยงาม ตรง คอต่อของหัวเรือจะปักธงสัญลักษณ์ของคณะฝีพายแต่ละ ลำ� ซึ่งต้องเป็นสีที่ถูกโฉลกกับแม่ย่านางเรือ ตามความ เชื่อของแต่ละชุมชน

ต่อมา จากกระแสการแข่งขันเรือพายที่เน้นการเป็น เจ้าความเร็วมักมีการพนันขันต่อ ทำ�ให้เรือเอกลักษณ์ น่าน เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะ ความสวยงาม เริ่มลดน้อยลง เพื่อให้ฝีพายสามารถพายเรือได้เร็วขึ้น และมีการจ้างคนต่างถิ่นมาเป็นฝีพายแทนคนในหมู่บ้าน ทำ � ให้ ส ายสั ม พั น ธ์ ที่ ดีร ะหว่ า งชุ ม ชนเมื่ อ ครั้ ง อดี ต เริ่ ม กลายเป็นความขัดแย้ง มุ่งเอาชนะเพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน รางวัล ปัจจุบันผู้คนเมืองน่าน ได้หันกลับมาให้ความสำ�คัญ กับคุณค่าของเรือเอกลักษณ์น่าน รวมถึงรูปแบบเรือแข่ง เมืองน่านที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต เพื่อให้ เกิดการอนุรักษ์และสืบทอดเรือเอกลักษณ์น่าน ให้คงอยู่ ต่อไปในอนาคต โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาชนและภาครัฐ เช่น มีการร่วมกันระดมทุน ในการสร้างเรือเอกลักษณ์น่าน โดยจ้างช่างขุดเรือ และ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขุดเรือเอกลักษณ์น่าน ณ เมือง หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ได้จัดเตรียมท่อนไม้ใหญ่ในการขุดเรือเอกลักษณ์น่าน ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากดำ�เนินการขุดเรือแล้วเสร็จ ก็จะมีเรือเอกลักษณ์น่านอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง 1 ลำ� และในอนาคตจะใช้แข่งขันเพื่อเชื่อมความสัมพันธไมตรี ระหว่างเมืองน่านกับเมืองหลวงพระบางต่อไป จัดให้มี การแข่งขันเรือเอกลักษณ์น่าน ซึ่งได้รับความสนใจจาก ชุมชนเมืองน่านเป็นอย่างดี มีการนำ�เรือเอกลักษณ์น่าน จากชุมชนที่มีการเก็บรักษาเป็นอย่างดี มาแสดงในงาน เพื่อให้ผู้คนในจังหวัดน่าน ได้เห็นถึงรูปแบบเรือในอดีต ซึ่งปัจจุบันหาชมได้ยากยิ่ง รวมถึงมีการให้รางวัลสำ�หรับ เรือเอกลักษณ์ที่สามารถนำ�ลงน้ำ � และใช้ได้จริงอีกด้วย รวมถึงมีการจัดทำ�เอกสารเผยแพร่ลักษณะของเรือแข่ง เอกลักษณ์น่าน โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน แหล่งอ้างอิง : ชุดความรู้เรื่องการอนุรักษ์เรือเอกลักษณ์น่านและประเพณีแข่งเรืองานบุญสลากภัต ในพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน (อพท.) www.nairobroo.com/travel/boat-race-in-naan/ ด้าน C ความยั่งยืนด้านวัฒนธรรม

58


C4

การเข้าถึงวิถีปกติ (Traditional access)

ตัวชี้วัด a. ติดตามการเข้าถึงแหล่งท่องเทีย่ วทางธรรมชาติและ วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิน่ b. มีการสร้างการมีสว่ นร่วมกับชุมชนท้องถิน่ ในเรือ่ งของ การเข้าถึงวิถชี วี ติ ปกติ c. มีดำ�เนินการเป็นพิเศษเพื่อปกป้องและ/หรือฟื้นฟู การเข้าถึงของชุมชนท้องถิน่

แหล่งท่องเทีย่ วมีการติดตาม ปกป้อง และหาก ความจำ�เป็น ให้ด�ำ เนินการฟืน้ ฟู หรือสร้างการ เข้าถึงเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นให้สามารถเข้าถึง แหล่งท่องเทีย่ วทางธรรมชาติและวัฒนธรรมได้ อีกครัง้

ภาพ : ป้ายประกาศเก็บเงินค่าที่จอดรถ ที่มาภาพ : www.californiabeaches.com/beach/martins-beach-half-moonbay/

59

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


กรณีศึกษา

ศาลสหรัฐฯ ไม่รับคำ�ร้องเศรษฐี ขอปิดหาดส่วนตัว

เมื่อปี พ.ศ. 2561 ผู้พิพากษาศาลฎีกาในมลรัฐ แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีคำ�ตัดสินให้มูลนิธิ เซิร์ฟไรเดอร์ ซึ่งเป็นตัวแทนเครือข่ายนักโต้คลื่น ชนะคดี ที่เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวิโนด โคสลา เศรษฐีชาวอเมริกัน เชื้อสายอินเดีย ผู้เป็นเจ้าของที่ดินติดกับชายหาดมาร์ติน ในเมืองซานฟรานซิสโก ซึ่งติดป้ายประกาศห้ามบุคคล ภายนอกใช้ชายหาดที่ติดกับที่ดินของเขาเป็นทางผ่านไป ยังจุดเล่นกระดานโต้คลื่นยอดนิยม แต่ผู้พิพากษาระบุว่า ชายหาดเป็นพื้นที่สาธารณะที่ต้องได้รับการคุ้มครองตาม กฎหมาย เว็บไซต์แอลเอไทม์และนิตยสารวานิตี้แฟร์ รายงาน ว่า นายวิโนด โคสลา ซื้อที่ดินติดกับชายหาดมาร์ติน ต่อจากครอบครัวดีนีย์ ซึ่งเคยเก็บค่าผ่านทางไปยังจุด เล่นกระดานโต้คลื่นบริเวณชายหาดมาร์ติน แลกเปลี่ยน กับบริการห้องน้ ำ�และที่จอดรถ โดยเริ่มเก็บเงินตั้งแต่ 10 เซ็นต์ในช่วง 20 ปีก่อน และเพิ่มเป็น 10 ดอลลาร์ และเมื่อนายวิโนด โคสลา ซื้อที่ดินต่อก็พบว่าต้นทุนใน การบริหารจัดการห้องน้ ำ�และที่จอดรถนั้นไม่คุ้มทุน จึง ตัดสินใจปิดบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลที่ห้ามคน ภายนอกเข้าไปใช้โดยเด็ดขาด ทำ�ให้มูลนิธิเซิร์ฟไรเดอร์ ยื่นฟ้องศาล เพื่อให้เปิดพื้นที่ชายหาดเพื่อสาธารณชนได้ มีโอกาสเข้าถึง อย่างไรก็ตาม นายวิโนด โคสลา ตัดสินใจฟ้องคณะ กรรมการบริหารจัดการชายหาดสาธารณะ โดยระบุว่า เขาสนับสนุนสิทธิในการเข้าถึงที่ดินสาธารณะ แต่ขณะ เดียวกันก็ต้องการให้ทุกคนเคารพสิทธิส่วนบุคคลของ เจ้าของที่ดินติดชายหาดด้วย แต่ศาลสหรัฐฯ ทั้งศาลชั้น ต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา มีคำ�ตัดสินให้ นายวิโนด โคสลา เปิดพื้นที่ชายหาดแก่สาธารณะ และไม่รับคำ�ร้อง ให้คุ้มครองชายหาดเป็นที่ดินส่วนบุคคล

แหล่งอ้างอิง : voicetv.co.th/read/SJ9xdol57

ภาพ : ป้ายประกาศเก็บเงินค่าที่จอดรถ ที่มาภาพ : www.californiabeaches.com/beach/martins-beach-half-moonbay/

ผู้พิพากษายังมีคำ�ตัดสินใจคณะกรรมการบริหาร จัดการชายหาดสาธารณะเจรจากับนายวิโนด โคสลา เพื่ อ หาแนวทางดู แ ลรั บ ผิ ดชอบชายหาดดั ง กล่ า ว ซึ่งเชื่อมต่อกับอ่าวฮาล์ฟมูน และเป็นสถานที่เล่น กระดานโต้คลื่นที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของซานฟรานซิ สโก โดยอาจจะเสนอให้มีการตั้งกองทุนดูแลรักษา พื้นที่และสาธารณูปโภคในบริเวณดังกล่าว ตั้งแต่ที่ จอดรถ ห้องน้ ำ� และประตูเข้า-ออก โดยยึดหลักการ เดียวกับการบริหารจัดการสวนสาธารณะซึ่งควรมี เวลาเปิดและปิดที่ชัดเจน

ด้าน C ความยั่งยืนด้านวัฒนธรรม

60


C5

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property)

แหล่งท่องเที่ยวมีระบบในการสร้างการมีส่วน ร่วมในการปกป้องและรักษาสิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญาของชุมชนและบุคคล

ตัวชี้วัด a. มีกฎหมายเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาใน แหล่งท่องเที่ยว (ฉบับ มาตรา วันที่) b. มีการให้ข้อมูลในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยว c. มีหลักฐานของการที่ทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับ การพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างประสบการณ์ทางวัฒนธรรม ให้แก่นักท่องเที่ยวนั้นได้รับการปกป้อง

เกร็ดความรู้

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)

ทรัพย์สินทางปัญญาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ ซึ่งแสดงออก ในรูปแบบใดก็ตาม อาจเป็นสิ่งที่จับ ต้องไม่ได้ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือทฤษฎี ลิขสิทธิ์ นาฏกรรม ศิลปกรรม วรรณกรรม ความคิด แนวคิด หรือกรรมวิธี และอาจเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น การประดิษฐ์ สินค้า หรือสื่อรูปแบบอื่นที่จับต้องได้ นอกจากนี้ ทรัพย์สินทางปัญญายังอาจรวมถึงความรู้ การค้นพบ หรือการสร้างสรรค์ ส่วนในความหมายอย่างแคบ ทรัพย์สินทาง ปัญญาจะถูกจำ�แนกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามผลผลิต ทางปัญญา ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ นโยบาย ของรัฐ ประโยชน์ในทางสังคมและเศรษฐกิจ และ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น ลิขสิทธิ์ทางด้าน ซอฟต์แวร์

61

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


ภาพ : ตารางแสดงสถิติการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562-พฤษภาคม 2563 โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่มาภาพ : www.ipthailand.go.th

ทั้งนี้ สามารถแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ 1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม หมายถึง ความคิด สร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม แบ่ง ออกได้เป็น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า การออกแบบ อุตสาหกรรม ความลับทางการค้า และสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์ 2. ลิขสิทธิ์ หมายถึง งาน หรือความคิดสร้างสรรค์ ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี งานภาพยนตร์ หรืองานด้านอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ รวมทั้ง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ งานฐานข้อมูล ดังนั้น สิทธิใน ทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นสิทธิหรือการเป็นเจ้าของใน สิ่งที่เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น ประเทศไทยได้ เ ข้ า ร่ ว มเป็ น ภาคี ข องอนุ สั ญ ญา สำ�คัญ ๆ ว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาซึ่ง แหล่งอ้างอิง : www.ipthailand.org th.wikipedia.org www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/2862-intellectual-propert

เกือบทุกประเทศในโลกเป็นสมาชิก เช่น อนุสัญญา กรุงแบร์น (Berne Convention) ความตกลง TRIPs (Agreement on Trade - Related Aspects of Intellectual Property Rights) WTO และ GATT รวมถึง มีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาหลาย ฉบับ เช่น พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วสองครั้งโดยพระราชบัญญัติสิทธิ บัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ ่ ง แก ้ ไ ขเพิ ่ ม เติ ม โดยพระราชบั ญ ญั ต ิ เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 พระราช บัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบ ผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543

ด้าน C ความยั่งยืนด้านวัฒนธรรม

62


63

คูคู่ม่มือือเกณฑ์ ่ยวอย่ างยัางยั ่งยืน่งโลก สำ�หรัสำ�บหรั แหล่บงแหล่ ท่องเที เกณฑ์กการท่ ารท่องเที องเที ่ยวอย่ ยืนโลก งท่อ่ยวงเที่ยว


C (b) การเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ด้าน C ความยั่งยืนด้านวัฒนธรรม

64


C6

การจัดการนักท่องเที่ยว ในแหล่งท่องเที่ยวทาง วัฒนธรรม (Visitor management at cultural sites)

• แหล่งท่องเทีย่ วจะต้องมีระบบจัดการนักท่อง เทีย่ วทัง้ ภายในและโดยรอบแหล่งท่องเทีย่ วทาง วัฒนธรรม โดยคำ�นึงถึงคุณลักษณะของพื้นที่ ขีดความสามารถในการรองรับ และความอ่อน ไหวเปราะบางของพืน้ ที่ และจะต้องมีการเพิม่ ประสิทธิภาพการเคลื่อนตัวของนักท่องเที่ยว และลดผลกระทบเชิงลบทีอ่ าจเกิดขึน้ • แหล่งท่องเที่ยวมีค่มู ือการปฏิบัติตนสำ�หรับ นักท่องเทีย่ วเมือ่ เข้าชมแหล่งท่องเทีย่ วทีม่ คี วาม เปราะบาง รวมถึงการเข้าชมการจัดแสดงทาง วัฒนธรรม โดยแจกจ่ายให้แก่นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการท่องเทีย่ ว และมัคคุเทศก์กอ่ นถึง เวลาการเข้าชม

65

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. มี ก ารเฝ้ า สั ง เกตการณ์ ก ารเคลื ่ อ นตั ว ของนั ก ท่องเที่ยวและผลกระทบที่เกิดขึ้นในสถานที่ท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรม และมีการแบ่งปันข้อมูลดังกล่าวไปยัง แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ b. มี ห ลั ก ฐานของการดำ � เนิ น การจั ดการกั บ ผล กระทบจากการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นภายในหรือโดย รอบสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม c. มีการเผยแพร่คู่มือการปฏิบัติตัวสำ�หรับนักท่อง เที่ยวเมื่อเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวที่เปราะบาง และ เข้าชมการจัดแสดงอีเว้นท์ทางวัฒนธรรมที่จัดทำ�ขึ้น ตลอดจนติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตนของนักท่อง เที่ยวเป็นระยะ d. มีหลักปฏิบัติสำ�หรับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและ มัคคุเทศก์ และ/ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการ นักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม e. มีการจัดอบรมสำ�หรับมัคคุเทศก์

ภาพ : Stroget shopping street เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ที่มาภาพ : www.shutterstock.com


กรณีศึกษา

พลังทางเศรษฐกิจจากทางเท้าในเขตเมือง

การที ่ เมื อ งเดิน ได้สะดวก เป็น อีกหนึ่งช่ องทาง กระจายรายได้สู่ผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ในแง่การ ท่องเที่ยวและสันทนาการ มีรายงานว่าการเดินเกี่ยวข้อง กับการเติบโตและการจับจ่ายอย่างสำ�คัญ เช่น ที่กรุง โคเปนเฮเกนพบว่า 33% ของการช้อปปิ้งเกิดขึ้นจากการ เดิน ที่อังกฤษมีข้อมูลว่าหลังปรับปรุงทางเท้าให้เดิน ดีขึ้นทำ�ให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 20-40% ในขณะที่ที่ ลอนดอนมีการทดลองปรับปรุงย่านให้เดินสะดวกมากขึ้น หลังจากการปรับปรุงพบว่ามีอัตราการจับจ่ายในพื้นที่สูง ขึ้นถึง 40-50% The Center for Real Estate and Urban Analysis เพิ่งเปิดเผยรายงาน Foot Traffic Ahead 2019 ได้ศึกษา พื้นที่เมืองขนาดใหญ่ 30 เมืองของสหรัฐฯ ซึ่งล้วนมี โครงสร้างพืน้ ฐานส่งเสริมการเดิน กล่าวคือ สถานทีต่ า่ ง ๆ ในย่านหนึ่ง ๆ ตั้งอยู่ในระยะเดินเท้าถึง พบว่า เมือง เหล่านี้ล้วนมีพลังทางเศรษฐกิจมหาศาล อาทิ นิวยอร์ก เดนเวอร์ ซานฟรานซิสโก วอชิงตัน ดี.ซี. บอสตัน และ ชิคาโก เป็นต้น

ที่เมืองเดนเวอร์ เมืองหลวงของรัฐโคโรลาโด พบว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เป็นต้นมา เมืองนี้มี GDP เติบโตต่อ เนื่องอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากมีการลงทุนด้านโครงสร้าง พื้นฐานส่งเสริมการเดินและระบบขนส่งมวลชน แม้ยัง ไม่มีข้อเท็จจริงยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนดัง กล่าวว่าเชื่อมโยงโดยตรงอย่างไรกับการเติบโตของ GDP แต่ผู้วิจัยก็สันนิษฐานว่า อย่างน้อยโครงสร้างพื้นฐาน เมืองที่ดีขึ้นทั้งทางเท้าและระบบขนส่งมวลชน ตลอดจน สภาพแวดล้อมเมืองที่ดีนั้น ช่วยดึงดูดแรงงานทักษะขั้น สูงให้เข้ามาทำ�งานในเมือง และดึงดูดให้บริษัทใหญ่ ๆ เข้ามาลงทุนตั้งสำ�นักงาน ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเมือง ได้โดยตรงจากกำ�ลังการใช้จ่าย และเม็ดเงินที่ไหลเวียน ในเมืองเดินได้ก็มักกระจายไปยังธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง ในเมืองนั่นเอง

แหล่งอ้างอิง : theurbanis.com/economy/05/11/2019/251

ด้าน C ความยั่งยืนด้านวัฒนธรรม

66


C7

การสื่อความหมายใน แหล่งท่องเที่ยว (Site interpretation)

• มีการจัดเตรียมเนื้อหาการสื่อความหมาย ที่ ถู ก ต้ อ งเพื่ อ ให้ ค วามรู้ ใ นแง่ มุ ม ที่ มี ค วาม สำ�คัญแก่นักท่องเที่ยว ทั้งในเชิงวัฒนธรรม และเชิงธรรมชาติของสถานที่ท่องเที่ยวนั้น • ข้อมูลทีใ่ ช้สอ่ื ความหมายมีความเหมาะสมใน เชิงวัฒนธรรม และจัดทำ�โดยการมีส่วนร่วม ของคนในชุมชน และสามารถสื่อสารด้วย ภาษาที่เหมาะสมชัดเจนทั้งกับนักท่องเที่ยว และกับผู้คนในพื้นที่

67

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. มีการสื่อสาร/ แจกข้ อ มู ล เนื้ อ หาการสื่ อ ความ หมายในแหล่งท่องเที่ยว ด้วยรูปแบบที่นักท่องเที่ยว สามารถเข้าถึงได้ก่อนเข้ามายังแหล่งท่องเที่ยวได้ b. มีหลักฐานให้เห็นว่าเนือ้ หาการสือ่ ความหมายเหล่า นั้นได้มาจากการค้นคว้าวิจัยเป็นอย่างดีและถูกต้อง แม่นยำ� c. เนือ้ หาการสือ่ ความหมายมีการระบุถงึ ความสำ�คัญ และความอ่อนไหว/ ความเปราะบางของสถานที่ ท่องเที่ยว d. มีหลักฐานว่าคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำ� เนื้อหาการสื่อความหมายที่เกี่ยวข้อง e. มีเนื้อหาการสื่อความหมาย แปลในภาษาที่เหมาะ สมกับนักท่องเที่ยว


กรณีศึกษา

มิวเซียมใต้ดินสถานีสนามไชย (Site Museum)

มิวเซียมใต้ดินสถานีสนามไชย (Site Museum) เป็น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในพื้นที่ขนส่งสาธารณะใต้ดินแห่ง แรกของประเทศไทย ในบริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่าง รถไฟฟ้ามหานครสถานีสนามไชยกับมิวเซียมสยาม เพื่อ บอกเล่าเรื่องราวความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์พื้นที่รอบ บริเวณสถานีสนามไชยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่เดิม การขุดเจาะพื้นที่เพื่อการก่อสร้างรถไฟฟ้า ใต้ดินสถานีสนามไชยนั้นมีการขุดพบโบราณวัตถุหลาก หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเกือกม้า กระดูกวัว เปลือก หอยมุก เครื่องปั้นดินเผา ฐานรากท้องพระโรง เศษ กระเบื้อง เหรียญ และประวัติศาสตร์ที่ย้อนไปได้ไกลราว ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้งที่สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย ยังเป็นพื้นที่ของป้อมปราการเมืองบางกอก ด่านหน้า

ก่อนที่เรือสินค้าจะเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งต่อมาได้ถูก ปรับเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ของวังท้ายวัดพระเชตุพนในสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ ตามมาด้วยการสร้างกระทรวงพาณิชย์ มิวเซียมสยาม และพิพิธภัณฑ์ใต้ดิน (Site Museum) แห่ง แรกของไทย ที่เปิดพื้นที่จริงของสถานที่ประวัติศาสตร์ให้ ผู้ชมได้เห็นแผ่นอิฐ เศษดิน วัตถุต่าง ๆ ในพื้นที่ขุดค้น จริง

แหล่งอ้างอิง : www.museumsiam.org/mdn-news-detail. php?MID=12&CID=61&CONID=4337&SID=142&MDNID=0 www.sarakadeelite.com/arts_and_culture/sitemuseum/?fbclid=IwAR2kxfALzKv7K-wJEhp0O-eY9QI67ALuGCB4Em0vopWF9 USUFYetmAa4qiA www.sarakadeelite.com/arts_and_culture/site-museum-update

ภาพ : มิวเซียมใต้ดิน (Site Museum) ในบริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้ามหานครสถานีสนามไชยกับมิวเซียมสยาม ที่มาภาพ : www.sarakadeelite.com/arts_and_culture/site-museum-bangkok/

ด้าน C ความยั่งยืนด้านวัฒนธรรม

68


ด้าน

D

ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

69

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


D (a) การอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติ

ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

70


D1

การปกป้องสิ่งแวดล้อมที่มี ความเปราะบาง (Protection of sensitive environments)

แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วต้ อ งมี ร ะบบเพื่ อ เฝ้ า สังเกตการณ์ ประเมิน และตอบสนอง ต่ อ ผลกระทบจากการท่ อ งเที่ ย วต่ อ สภาพ แวดล้อ มทางธรรมชาติ การสงวนรักษา ระบบนิเวศ ถิ่นที่อยู่ และพันธุ์พืชหรือสัตว์ รวมถึงต้องป้องกันการเริ่มต้นและการแพร่ กระจายของสายพันธุ์พืชหรือสัตว์ต่างถิ่น

ตัวชี้วัด a. มีการจัดทำ�คลังข้อมูลแหล่งมรดกทางธรรมชาติ และทรัพย์สินทางธรรมชาติ โดยระบุชนิด สถานะ ของการอนุรกั ษ์ และภาวะความเสีย่ ง/ ความเปราะบาง b. มีโปรแกรมการดำ�เนินงานเพื่อการอนุรักษ์ความ หลากหลายทางชีวภาพ และมรดกทางธรรมชาติ c. มีโปรแกรมการดำ�เนินงานเพื่อกำ�จัดและควบคุม สายพันธุ์พืชหรือสัตว์ต่างถิ่น d. ดำ�เนินการระบุ เฝ้าสังเกตการณ์ และบรรเทา ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวต่อความหลาก หลายทางชีวภาพ และมรดกทางธรรมชาติ e. มีกลไกสำ�หรับการนำ�รายได้จากการท่องเที่ยวมา ใช้เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางธรรมชาติ f. มี ก ารสื่ อ สารให้ ข้ อ มู ล กั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วและภาค ธุรกิจในการลดการแพร่กระจายของสายพันธุ์พืชหรือ สัตว์ต่างถิ่น

ภาพ : ตัว Tasmanian Devil ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

71

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


กรณีศึกษา เกาะแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย เป็นเกาะขนาด ใหญ่อันดับที่ 26 ของโลก ตั้งอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ 240 กม. การที่เป็นเกาะที่ตัดขาดจากแผ่นดินใหญ่ทำ�ให้สิ่ง มีชีวิตบนเกาะมีวิวัฒนการที่แตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ อาทิ Tasmanian Devil หรือ Tasmanian Tiger ที่ไม่พบใน ที่อื่น ดังนั้น เกาะแทสมาเนียจึงเป็นที่นิยมในหมู่นักเดินป่า และผูช้ น่ื ชอบธรรมชาติ เนือ่ งจากมีสตั ว์และพันธุไ์ ม้เฉพาะตัว แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่บนเกาะอยู่ภายใต้การดูแล ของสำ�นักงานอุทยาน Tasmania Parks and Wildlife Service โดยในปี ค.ศ. 2018 มีนกั ท่องเทีย่ วจำ�นวน 537,100 หรือร้อยละ 41 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่ท่องเที่ยวใน อุทยาน ดังนั้น อุทยานฯ จึงต้องมีมาตรการป้องกันและ อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่นไว้ โดย

ภาพ : Horseshoe Falls ที่มาภาพ : Dan Broun (parks.tas.gov.au)

เฉพาะมาตรการป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรคและ สิ่งมีชีวิตจากภายนอก ภายใต้นโยบาย Biosecurity ที่กำ�หนดให้ผู้มาเยือนต้องทำ�ความสะอาดรองเท้า ชุด อุปกรณ์ และเดินในเส้นทางที่จัดไว้ให้เท่านั้น เพื่ อ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ มี สิ่ ง แปลกปลอมเข้ า ไปในเขต อนุรักษ์ รายได้จากค่าเข้าชมอุทยานประมาณ 10 ล้าน เหรี ย ญต่ อ ปี ถู ก นำ � มาใช้ ใ นการพั ฒ นาสิ่ ง อำ � นวย ความสะดวกและประโยชน์ในการดำ�เนินกิจกรรม ด้านการอนุรักษ์ของอุทยานฯ แหล่งอ้างอิง : parks.tas.gov.au/explore-our-parks/know-before-you-go/biosecurity

ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

72


D2

การจัดการนักท่องเที่ยวใน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (Visitor management at natural sites)

• แหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีระบบจัดการนัก ท่องเที่ยวทั้งภายในและโดยรอบแหล่งท่อง เที่ยวทางธรรมชาติ โดยคำ�นึงถึงคุณลักษณะ ของพื้นที่ ขีดความสามารถในการรองรับ และความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ และ จะต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนตัว ของนักท่องเที่ยว และลดผลกระทบเชิงลบที่ อาจเกิดขึ้น • แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วมี คู่ มื อ การปฏิ บั ติ ต น สำ�หรับนักท่องเที่ยวเมื่อเข้าชมจุดท่องเที่ยว ที่มีความเปราะบาง โดยแจกจ่ายให้แก่นัก ท่องเที่ยว ผู้ประกอบการท่องเที่ยว และ มัคคุเทศก์ ทั้งก่อนและ ณ เวลาเข้าชม

ตัวชี้วัด a. มีการเฝ้าสังเกตการณ์การเคลือ่ นตัวของนักท่องเทีย่ ว และผลกระทบที่ เ กิ ด ขึ้ น ในสถานที่ ท่ อ งเที่ ย วทาง ธรรมชาติ และมีการแบ่งปันข้อมูลดังกล่าวไปยัง แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ b. มีหลักฐานของการดำ�เนินการจัดการกับผลกระทบ จากการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นภายในหรือโดยรอบแหล่ง ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ c. มีการเผยแพร่คู่มือการปฏิบัติตัวสำ�หรับนักท่องเที่ยว เมื่อเข้าชมจุดท่องเที่ยวที่เปราะบาง และมีการติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติตนของนักท่องเที่ยวเป็นระยะ d. มีหลักปฏิบัติสำ�หรับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและ มัคคุเทศก์ และ/ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการ นักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ e. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอนุรักษ์ในท้องถิ่น เพื่อระบุความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้น จากการท่องเที่ยว และมีมาตรการลดความเสี่ยง เหล่านั้น

ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

73

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ประกอบไปด้วย เกาะใหญ่น้อย 9 เกาะด้วยกัน เกาะทั้งเก้าเรียงตัวตาม แนวทิศเหนือไปทิศใต้ ได้แก่ เกาะบอน เกาะบางู เกาะ สิมิลัน เกาะปายู เกาะห้า เกาะเมียง เกาะปาหยัน เกาะ ปายัง และเกาะหูยง ต่อมาได้รับการประกาศจัดตั้งเป็น อุทยานแห่งชาติของประเทศไทย ลำ�ดับที่ 43 ในปี พ.ศ. 2525 และในปี พ.ศ. 2541 ได้ผนวกพื้นที่บริเวณ เกาะ ตาชัย ครอบคลุมพื้นที่เกาะและห้วงน้ำ�ทะเลรอบเกาะ ที่มีปะการังสมบูรณ์ ในท้องที่เกาะพระทอง อำ�เภอ คุระบุรี จังหวัดพังงา รวมเป็นเนื้อที่ประมาณ 140 ตาราง กิโลเมตร (87,500 ไร่) ในอดีตเนื่องจากทะเลมีคลื่นลม แรง ทำ�ให้มีการกำ�หนดปิดฤดูการท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 31 ตุลาคม ของทุกปี อย่างไรก็ดี จำ�นวนนักท่องเที่ยวในฤดูท่องเที่ยวที่มี มากเฉลี่ยวันละ 4,284 คน และสูงสุดถึง 7,302 คนต่อ วัน ทำ�ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะน้ำ�เสีย จากการค้างแรมของนักท่องเที่ยวจำ�นวนมากซึ่งสร้าง

ภาพ : การดำ�น้ำ�ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

ความเสียหายต่อปะการัง สัตว์น้ำ� และระบบนิเวศ ทำ�ให้ กรมอุทยานฯ ได้กำ�หนดมาตรการใหม่จากผลการศึกษา ความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยว (carrying capacity) โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวัน ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ปิดการพักค้างแรมบนเกาะและ กำ�หนดรูปแบบการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่ เกาะสิมิลันเป็นแบบไป-กลับ พร้อมทั้งจำ�กัดจำ�นวนนัก ท่องเที่ยวที่มาเที่ยวอุทยานไม่เกินวันละ 3,850 คน พร้อม ปรับค่าเรือเข้าหมู่เกาะสิมิลันเป็น 500-2,000 บาท ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ ยังมีการกำ�หนดเส้น ทางเดินเรือ และกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถทำ�ได้ อย่างชัดเจน อาทิ กิจกรรมดำ�น้ำ�ลึกที่ไม่ให้เกิน 525 คน ต่อวันในจุดที่กำ�หนด

แหล่งอ้างอิง : park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1043

ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

74


D3

การมีปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งมีชีวิตในป่า (Wildlife interaction)

• แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วมี ร ะบบตรวจสอบการ ปฏิบตั ติ ามกฎหมายท้องถิน่ กฎหมายของชาติ และกฎหมายระหว่างประเทศ และมาตรฐาน การมีปฏิสัมพันธ์ดำ�เนินกิจกรรมกับสิ่งมีชีวิต ในป่า • กิ จ กรรมที่ ต้ อ งมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ กั บ สั ต ว์ ป่ า ที่ อาศัยอยู่อย่างอิสระ จะต้องไม่มีการคุกคาม และต้องมีการจัดการเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระ ทบไม่พึงประสงค์ต่อสัตว์เหล่านั้น โดยคำ�นึง ถึงการดำ�รงชีวติ และพฤติกรรมของสิง่ มีชวี ติ ใน ป่า

75

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. มีข้อกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายระดับ ประเทศ และกฎหมายท้องถิ่นที่ใช้ในแหล่งท่องเที่ยว ในเรื่องของการทำ�กิจกรรม/ มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมี ชีวิตในป่า b. มี ก ารสนั บ สนุ น ให้ ใ ช้ ม าตรฐานสากลด้ า นการ ปกป้องสิ่งมีชีวิตในป่า ทั้งสิ่งมีชีวิตในน้ำ�และบนบก c. มีการออกหลักปฏิบัติสำ�หรับการทำ�กิจกรรมที่ เกี่ยวเนื่องกับสิ่งมีชีวิตในป่ารวมถึงการสำ�รวจ ที่เป็น ไปตามมาตรฐานสากล d. มีระบบตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อบังคับและ หลักปฏิบัติในการดำ�เนินงานด้านการท่องเที่ยว e. มีการดำ�เนินการเพื่อเฝ้าสังเกตการณ์ความเป็นอยู่ ของสิ่งมีชีวิตในป่า และลดการรบกวนสิ่งมีชีวิตในป่า โดยเฉพาะในบริเวณที่ทำ�กิจกรรม f. มีการให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวเกี่ยวกับทำ�กิจกรรม ท่ อ งเที่ ย วที่ เ กี่ ย วกั บ สิ่ ง มี ชี วิ ต ในป่ า ซึ่ ง อาจเป็ น อันตราย เช่น การสัมผัส และการให้อาหาร เป็นต้น

ภาพ : สมเสร็จ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน ที่มาภาพ : www.shutterstock.com


เกร็ดความรู้ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 กำ�หนดให้สัตว์ป่าหายากหรือสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ เป็น สัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าที่มีความสำ�คัญต่อระบบ นิเวศ หรือสัตว์ป่าที่มีจำ�นวนประชากรลดลงจนอาจ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง นอกจากนี้ ยังได้กำ�หนดให้สัตว์ป่าที่ได้รับการคุ้มครอง ตามอนุสัญญา CITES เป็น สัตว์ป่าควบคุม โดยมีข้อ บัญญัติที่สำ�คัญเกี่ยวกับสัตว์ป่าดังกล่าวไว้ เช่น ห้ามล่า สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ามมีไว้ในครอบครอง ซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว ห้ามนำ�เข้าหรือ ส่งออกสัตว์ป่าสงวน ซากสัตว์ป่าสงวน หรือผลิตภัณฑ์ จากสัตว์ป่าสงวน ห้ามค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากสัตว์ปา่ ดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ปา่ ดังกล่าว นอกจากนี้ ยังได้มีการตราพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 เพื่อควบคุมการครอบครองและการค้างาช้าง ที่ได้มาจากช้างบ้านที่เป็นสัตว์พาหนะ ไม่ให้ปะปนกับ งาช้างแอฟริกาและงาช้างป่าที่ผิดกฎหมาย สำ�หรับการ คุ้มครองพันธุ์พืชนั้นเป็นไปตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ซึ่งมีบัญญัติเกี่ยวกับการรวบรวม ครอบครอง ขาย นำ�เข้า ส่งออก หรือนำ�ผ่านพืชอนุรักษ์ เช่น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum spp.) แคคตัสแอสโตรไฟตัม ชนิดแอสเตเรียส (Astrophytum asterias) หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes spp.) ไม้ กฤษณา (Aquilaria spp.) ให้สอดคล้องกับอนุสัญญา CITES

ภาพ : พะยูน หรือหมูน้ำ� ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

Information ในปัจจุบนั มีสตั ว์ปา่ จำ�นวน 19 ชนิดทีจ่ ดั เป็นสัตว์ปา่ สงวน ได้แก่ 1) นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae) 2) แรดชวา (Rhinoceros sondaicus) 3) กระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis) 4) กูปรีหรือ โคไพร (Bos sauveli) 5) ควายป่า (Bubalus arnee) 6) ละอง หรือละมั่ง (Rucervus eldi) 7) สมัน หรือเนื้อ สมัน (Rucervus schomburki) 8) เลียงผา หรือเยือง หรือกูรำ� หรือโครำ� (Capricornis sumatraensis) 9) กวางผาจีน (Naemorhedus griseus) 10) นกแต้ว แร้วท้องดำ� (Pitta gurneyi) 11) นกกระเรียนไทย (Grus antigone) 12) แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata) 13) สมเสร็จ (Tapirus indicus) 14) เก้งหม้อ (Muntiacus feae) 15) พะยูน หรือหมูน้ำ� (Dugong dugon) 16) วาฬบรูด้า (Balaenoptera edeni) 17) วาฬโอมูระ (Balaenoptera omurai) 18) เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea) และ 19) ฉลามวาฬ (Rhincodon typus)

ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

76


D4

การแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบจากพืชหรือสัตว์ และสวัสดิภาพสัตว์ (Species exploitation and animal welfare)

• แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วมี ร ะบบที่ ทำ � ให้ มี ก าร ปฏิบัติตามกฎหมายท้องถิ่น กฎหมายระดับ ประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ รวม ถึงมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อรับรองว่าสัตว์จะมี สวัสดิภาพที่ดี และมีการอนุรักษ์สายพันธุ์พืช และสัตว์ (สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตทั้งหมด) ซึ่งรวมถึงการเลี้ยงหรือการจับ การซื้อขาย แลกเปลี่ยน การแสดง และการขายสิ่งมีชีวิต จากป่ า และสิ น ค้ า ที่ ผ ลิ ต จากพั น ธุ์ พื ช และ สัตว์ • ต้องไม่มีการได้มา การขยายพันธุ์ และ การกักขัง สัตว์ป่าชนิดใด ๆ เว้นแต่ได้รับ อนุญาตอย่างถูกต้อง รวมถึงอยู่ในการดูแล ของบุคลากรที่มีความพร้อม และอยู่ภายใต้ การดำ�เนินการตามข้อกำ�หนดที่เหมาะสม • การจัดที่อยู่อาศัย การดูแล และการ จัดการทั้งสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงทั้งหมดนั้น จะต้องให้เป็นไปตามมาตรฐานสวัสดิภาพ สัตว์สูงสุด

77

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. มี ก ฎหมายเฉพาะทั้ ง ในระดั บ ระหว่ า งประเทศ ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น รวมถึงมาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติเพื่อใช้ในแหล่งท่องเที่ยวในการ ปกป้องสวัสดิภาพสัตว์ และการอนุรักษ์สายพันธุ์พืช และสัตว์ b. มีการชี้แจงข้อมูลด้านกฎหมาย มาตรฐาน และ แนวทางปฏิบัติให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยว และ มัคคุเทศก์ c. มีระบบสำ�หรับตรวจสอบเงื่อนไขของการครอบครองสัตว์ป่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงการจัดที่อยู่อาศัย และการดูแล d. มีการออกใบอนุญาตและตรวจสอบคุณสมบัติของ บุคลากรที่รับผิดชอบสัตว์ป่าที่อยู่ในครอบครอง e. มีการดำ�เนินการเพื่อส่งเสริมอนุสัญญา CITES ว่า ด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า ที่ใกล้สูญพันธุ์ ในภาคการท่องเที่ยว และตรวจสอบ ให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว f. มีการให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว ในการการหลีก เลี่ยงการค้าสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เช่น การซื้อของที่ระลึก ที่ทำ�จาก/ ได้จากสัตว์ป่าคุ้มครองตามประกาศของ สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) g. มี ก ารบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายเพื่ อ เป็ น การรั บ รองว่ า กิจกรรมการล่าสัตว์ใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของวิธี การทางวิทยาศาสตร์โดยได้รับการจัดการอย่าง เหมาะสม และเป็นไปตามกฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อการอนุรักษ์


กรณีศึกษา สวนสัตว์เปิดเขาเขียวตั้งอยู่ที่ตำ�บลบางพระ อำ�เภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นหน่วยงานรัฐวิสากิจที่เป็น แหล่งเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องการอนุรักษสัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน ดังนั้น จึงมีการจัดสรร พื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนแสดงที่เป็นพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ป่าที่ออกแบบ ให้มีสภาพที่ได้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด และเปิดให้ เที่ยวชมภายในได้อย่างใกล้ชิด 2) ส่วนศึกษาและวิจัยที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ป่าตามธรรมชาติที่มีอยู่เดิมเป็นการใช้ประโยชน์ทางด้าน งานวิจัยและขยายพันธุ์สัตว์ป่าหายากและสัตว์ป่าใกล้ สูญพันธุ์ โดยบริเวณนี้จะไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้ามา เที่ยวชม 3) ส่วนบริการที่เป็นพื้นที่ที่จัดไว้ให้บริการผู้เที่ยวชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียวดูแลสวัสดิภาพของสัตว์ในความ ครอบครองกว่า 2,700 ตัวในพื้นที่ 5,000 ไร่ตามกฎหมาย และมาตรฐาน โดยเฉพาะในส่วนของผู้เยี่ยมชมที่มี

ภาพ : สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

จำ�นวนมากในแต่ละปี โดยการดำ�เนินงานของสวนสัตว์ เปิดเขาเขียวได้รับการรางวัลและการรับรองจาก World Association of Zoos and Aquariums (WAZA) ISO และหน่วยงานอื่น ๆ

ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

78


79

คูคู่ม่มือือเกณฑ์ ่ยวอย่ างยัางยั ่งยืน่งโลก สำ�หรัสำ�บหรั แหล่บงแหล่ ท่องเที เกณฑ์กการท่ ารท่องเที องเที ่ยวอย่ ยืนโลก งท่อ่ยวงเที่ยว


D (b) การจัดการทรัพยากร

ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

80


D5

การอนุรักษ์พลังงาน (Energy conservation)

ตัวชี้วัด a. มีเผยแพร่และประกาศเป้าหมายการใช้พลังงาน b. มีโปรแกรมการดำ�เนินงานในการเพิม่ ประสิทธิภาพ การใช้พลังงาน เช่น การส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้ ฉนวนกันความร้อน เป็นต้น c. มีการลงทุนในพลังงานทดแทน และควบคุม สัดส่วนร้อยละของการจัดหา/การบริโภคทั้งหมด d. สนับสนุนและสร้างแรงกระตุ้นในการตรวจสอบ และลดการใช้พลังงานโดยภาคธุรกิจต่างๆ

• แหล่งท่องเที่ยวมีเป้าหมายที่จะลดการใช้ พลังงาน ปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้ พลังงาน รวมถึงเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน • แหล่งท่องเที่ยวมีระบบในการส่งเสริมให้ ภาคธุรกิจตรวจวัด ติดตามดูแล และลดการ ใช้พลังงาน และมีการรายงานผลการดำ�เนินงาน ต่อสาธารณชน

81

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ภาพ : ภาพถ่ายมุมสูงของเมืองเชียงใหม่ในเวลาโพล้เพล้ ที่มาภาพ :www.shutterstock.com


เกร็ดความรู้ จากการสำ�รวจสถานที่พักในจังหวัดเชียงใหม่พบ ว่ามีอัตราการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยตั้งแต่ประมาณ 3,000 ถึง 280,000 หน่วยต่อเดือน โดยเมื่อพิจารณาระดับดาวและ จำ�นวนห้องของที่พักแล้วพบว่าโรงแรมระดับห้าดาวจะมี อัตราการใช้ไฟฟ้าสูงสุดถึง 65 หน่วยต่อห้องต่อคืน ในขณะ ที่เกสต์เฮาส์ระดับหนึ่งดาวมีอัตราการใช้ไฟฟ้าต่ำ�ที่สุด 2 หน่วยต่อห้องต่อคืน ในสหภาพยุโรปมีการจัดตั้งกลุ่มโรงแรมที่เกือบมี การใช้พลังงานเป็นศูนย์ (Nearly Zero Energy Hotels หรือ neZEH) โดยในระหว่างปี ค.ศ. 2013 - 2016 มี โรงแรมเข้าร่วมโครงการ 16 แห่งจาก 7 ประเทศที่อาศัย กระบวนการ 4 ขั้นตอนเริ่มจาก

1) การประเมินการใช้พลังงานด้วยชุดเครื่องมือของ โครงการ 2) การวางแผนทางการเงินเพือ่ ใช้พลังงานหมุนเวียน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 3) การดัดแปลงอาคารและปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ 4) การสื่อการกับบุคลากรและผู้เข้าพักถึงความ สำ�คัญของการประหยัดพลังงาน ผลการประเมินพบว่าโรงแรมเหล่านี้สามารถลดการ ใช้พลังงานลงได้ถึงร้อยละ 70 โดยบางมาตรการ เช่น การเปลี่ยนมาใช้หลอด LED การปรับตารางการซักรีดมี ระยะเวลาคืนทุนน้อยกว่า 4 ปี ในขณะที่บางมาตรการ เช่น การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ อาจจะมีระยะเวลาคืนทุนนานถึง 20 ปี

แหล่งอ้างอิง : รายงานฉบับสมบูรณ์ การศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์ของนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทย ชุดโครงการประสิทธิภาพความสามารถในการแข่งขัน และความยั่งยืนของการท่องเที่ยวไทย www.nezeh.eu/home/index.html ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

82


D6

การจัดการน้ำ� (Water stewardship)

• แหล่งท่องเทีย่ วต้องส่งเสริมให้ธรุ กิจต่าง ๆ มีการตรวจวัด ติดตามดูแล และจัดการการใช้ น้ำ� รวมถึงมีการรายงานต่อสาธารณชน • แหล่งท่องเทีย่ วต้องมีการประเมินความเสีย่ ง ด้านน้ำ�ในแหล่งท่องเที่ยว และจัดทำ�เป็น เอกสาร เป็นลายลักษณ์อักษร • ในกรณีมีความเสี่ยงเรื่องน้ำ�สูง เป้าหมาย ของการจัดการน้ำ � จะต้องกำ�หนดและกำ�กับ ภาคธุรกิจเพื่อให้การใช้น้ำ � ของภาคท่องเที่ยว ไม่กอ่ ให้เกิดความขัดแย้งกับความต้องการน้ำ � ของชุมชนและระบบนิเวศในท้องถิน่

83

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. มีการให้ค�ำ แนะนำ�และให้การสนับสนุนการติดตาม และควบคุมการใช้น้ำ�ของภาคธุรกิจ b. มีการดำ�เนินการประเมินความเสี่ยงเรื่องน้ำ�อย่าง สม่ำ�เสมอ c. ในกรณีที่มีความเสี่ยงเรื่องน้ำ�สูง ให้มีการตั้งเป้าหมาย และบังคับใช้เป้าหมายการจัดการน้ำ� และมี การรายงานต่อสาธารณชน d. ติดตามและควบคุมการใช ้ปร มิ าณและทรัพยากร น้ ำ � เพื ่ อวั ต ถุ ประสงค์ ในการท่ องเที ่ ย ว พร้ อ มทั้ง ติดตามและควบคุมผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนและ ระบบนิเวศในท้องถิ่น ตลอดจนมีการส่งเสริมและ ตรวจสอบให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวการปฏิบัติตามเป้า หมายการใช้น้ำ� e. มีการให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวในเรื่องความเสี่ยง ของน้ำ� และขอให้มีการใช้น้ำ�เท่าที่จำ�เป็น


เกร็ดความรู้ จากการสำ�รวจสถานที่พักในจังหวัดเชียงใหม่พบว่า มีอัตราการใชน้ำ�เฉลี่ยตั้งแต่ 140 ถึง 2,500 ลูกบาศก์ เมตรต่อเดือน แตกต่างกันตามระดับดาวและจำ�นวน ห้องของที่พัก โดยเมื่อพิจารณาระดับดาวและจำ�นวน ห้องของที่พักแล้วพบว่า โรงแรมระดับห้าดาวจะมีอัตรา การใช้น้ำ�สูงสุดกว่า 900 ลิตรต่อห้องต่อคืน ในขณะที่ โรงแรมระดับสองดาวมีอัตราการใช้น้ำ � ต่ำ�ที่สุดเฉลี่ยไม่ ถึง 200 ลิตรต่อห้องต่อคืน เนื่องจากการใช้น้ำ�เป็น เรื่ อ งที่ ห ลี ก เลี่ ย งได้ ย ากหากมี ก ารท่ อ งเที่ ย วในพื้ น ที่ โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งที่มีปริมาณน้�ำ ฝนน้อย แต่ อาจจะมีจำ�นวนนักท่องเที่ยวมากในช่วงเทศกาล เช่น สงกรานต์ ทำ�ให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรน้ ำ�กับการใช้ ประโยชน์ของชุมชน ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม ดังนั้น นอกจากการอนุรักษ์น้ำ�ด้วยการใช้สุขภัณฑ์ที่มี ประสิทธิภาพและการรณรงค์ให้ความรู้กับบุคลากรใน

ภาคการท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวแล้ว การที่สถาน ประกอบการด้านการท่องเที่ยวมีระบบนำ�น้ำ�ทิ้ง (Grey Water) มาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมที่ไม่ต้องการน้ำ� ที่มีคุณภาพสูงนัก เช่น การรดน้ำ�หรือชักโครก หรือมี ระบบเก็บน้ำ � ฝนเพื่อเพิ่มต้นทุนน้ำ � ในพื้นที่ก็เป็นสิ่งที่น่า ส่งเสริมโดยเฉพาะในสิ่งปลูกสร้างใหม่ที่มีต้นทุนเพิ่มเติม ในการติดตั้งระบบเหล่านี้ไม่สูงมากนัก โดยตัวอย่างของ โรงแรมในประเทศสเปนสามารถนำ�น้ำ � ทิ้งจากการอาบ น้ำ�มาทดแทนการใช้น้ำ�สำ�หรับชักโครกได้ถึงร้อยละ 20 ในขณะที่โรงแรมขนาด 250 ห้องในประเทศอังกฤษพบว่า สามารถลดการใช้น้ำ�ลงได้ถึง 780 ลบ.ม.ต่อปี คิดเป็น ร้อยละ 5-10 ของปริมาณการใช้น้ำ� นอกจากนี้การเก็บ น้ำ�ฝนยังช่วยลดปัญหาน้ำ�ท่วมและลดปริมาณน้ำ�ที่เข้าสู่ ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียโดยไม่จำ�เป็นได้อีกส่วนหนึ่งด้วย

ที่มาภาพ : www.shutterstock.com แหล่งอ้างอิง : รายงานฉบับสมบูรณ์ การศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์ของนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทย ชุดโครงการประสิทธิภาพความสามารถในการ แข่งขันและความยั่งยืนของการท่องเที่ยวไทย ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม 84


D7 คุณภาพน้ำ�

(Water quality)

ตัวชี้วัด a มีการด�ำเนินการติดตามคุณภาพน้ำ b. มีข้อมูลและมีการรายงานเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ c. มีการตรวจสอบน้ำ�ที่ใช้สำ�หรับอาบ ด้วยมาตรฐาน การรับรองและระบุสถานที่ตามมาตรฐานที่กำ�หนดไว้ d. มีการด�ำเนินการเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำ e. มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพน้ำดื่มในท้องถิ่น แก่นักท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมการใช้เป็นทางเลือก แทนน้ำดื่มบรรจุขวด

• แหล่งท่องเที่ยวมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำ� ดื่ม น้ำ�เพื่อนันทนาการ และทางนิเวศวิทยา โดยใช้มาตรฐานคุณภาพน้ำ� • แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วมี ก ารรายงานผลต่ อ สาธารณชน และมีระบบที่สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ�ที่เกิดขึ้นอย่าง ทันท่วงที

ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

85

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


เกร็ดความรู้ มาตรฐานคุณภาพน้ำ�ผิวดิน คุณภาพน้ำ�ทะเล และคุณภาพน้ำ � ใต้ดินของไทยเป็นไปตามประกาศคณะ กรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ออกตามความในพระ ราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่ง ชาติ พ.ศ. 2535 โดยคุณภาพน้ำ�ผิวดินและคุณภาพน้ำ� ทะเลนั้นจะยึดตามประโยชน์ในการใช้งาน ตั้งแต่แหล่ง น้ำ�ที่เหมาะสมกับการใช้อุปโภคและบริโภค (โดยต้อง ผ่านการฆ่าเชื้อโรค) การอนุรักษ์สัตว์น้ำ� การประมง การ สันทนาการ การเกษตร การอุตสาหกรรม ไปจนถึงแหล่ง น้ำ � ที่เหมาะสมจะใช้เฉพาะประโยชน์ในการคมนาคม โดยพิจารณาจากคุณลักษณะทางกายภาพ (เช่น สี กลิ่น ความโปร่งใส อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง) ทางเคมี (เช่น ปริมาณสารแขวนลอย น้ำ�มันหนือไขมัน) ทางจุล ชีววิทยา (เช่น แบคทีเรียกลุ่มต่างๆ) และปริมาณสาร

เป็นพิษ (เช่น ปรอท แคดเมียน ตะกั่ว) ส่วนคุณภาพ น้ำ � ใต้ดินจะพิจารณาจากปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่าย โลหะหนัก และสารพิษอื่น ที่เป็นอันตรายต่อการนำ�มา ใช้อุปโภคและบริโภคเป็นหลัก มาตรฐานคุณภาพน้ำ� ดื่มนั้นถูกกำ�หนดโดยประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่ ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และสำ�หรับคุณภาพน้ำ�ดื่มบรรจุ ขวดจะต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องน้ำ�บริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท ที่ออกตามความ ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีการกำ�หนด คุณลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางจุลชีววิทยา และ ปริมาณสารเป็นพิษที่เข้มงวด เพื่อให้ปลอดภัยสำ�หรับ การบริโภค

ที่มาภาพ : www.shutterstock.com แหล่งอ้างอิง : www.pcd.go.th/info_serv/reg_std_water.html ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

86


87

คูคู่ม่มือือเกณฑ์ ่ยวอย่ างยัางยั ่งยืน่งโลก สำ�หรัสำ�บหรั แหล่บงแหล่ ท่องเที เกณฑ์กการท่ ารท่องเที องเที ่ยวอย่ ยืนโลก งท่อ่ยวงเที่ยว


D (c) การจัดการของเสียและการปลดปล่อยมลพิษ

ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

88


D8 น้ำ�เสีย

(Wastewater)

ตัวชี้วัด a. มีการจัดทำ�แนวทางปฏิบัติและข้อบังคับที่เป็นลาย ลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการบำ�บัดน้ำ�เสีย b. มีระบบของการบังคับใช้แนวทางปฏิบัติในหมู่ผู้ ประกอบการ c. มีการติดตามตรวจสอบ/ ทดสอบน้ำ�เสียที่ปล่อย ทิ้งแล้ว d. มีการจัดตั้งระบบบำ�บัดน้ำ�เสียอย่างยั่งยืนชั่วคราว ในระดับท้องถิ่น สำ�หรับใช้ในภาคการท่องเที่ยว หาก เป็นไปได้และมีความเหมาะสม

• แหล่งท่องเที่ยวมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน และมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวนั้น ในเรื่องของการตั้ง การดูแลรักษา และการ ทดสอบการระบายจากบ่อเกรอะ และจาก ระบบบำ�บัดน้ำ�เสีย • แหล่งท่องเที่ยวต้องสร้างความมั่นใจว่าน้ำ� เสียเหล่านั้นจะได้รับการบำ�บัดและนำ�กลับ มาใช้ หรือถูกปล่อยทิ้งอย่างปลอดภัยโดย ไม่มีผลกระทบเชิงลบกับคนและสิ่งแวดล้อม ในท้องถิ่น

89

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ภาพ : คลองบางลำ�พู กรุงเทพมหานคร ที่มาภาพ : www.shutterstock.com


กรณีศึกษา การจัดการน้ำ�เสียจากการท่องเที่ยวเป็นความท้าทาย แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยว หลายแห่งตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ยากที่จะเชื่อมต่อกับระบบ บำ�บัดน้ำ�เสียของเมือง ตัวอย่างเช่นในเทือกเขาแอลป์ที่พัก หลายแห่งที่เป็นกระท่อมก็ไม่สามารถต่อท่อกับเมืองที่อยู่ ไกลออกไปได้ ดังนั้นจึงจำ�เป็นที่ต้องติดตั้งระบบบำ�บัด น้ำ�เสียอันประกอบไปด้วยระบบรวบรวมนำ�้เสีย เพื่อไปสู่บ่อ พัก เพื่อให้เกิดการตกตะกอนและแยกกากและมันออกด้วย กระบวนการเชิงกล จากนั้นน้ำ�เสียจึงเข้าสู่กระบวนการ บำ�บัดทางชีวภาพด้วยระบบ biofilm กระบวนการเอเอส (activated sludge) ที่อาศัยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการ ย่อยสลาย และบึงบำ�บัด (waste water pond) ก่อนจะ บำ�บัดขั้นที่สาม (tertiary treatment) เพื่อปล่อยทิ้งหรือ นำ�กลับมาใช้ใหม่อย่างปลอดภัยต่อไป เนื่องจากระบบ

ภาพ : ระบบการบำ�บัดน้ำ�เสีย ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

ดังกล่าวสามารถแยก BOD5 ได้ถึงร้อยละ 95 และ บำ�บัดแอมโมเนียได้ถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้ยัง สามารถดักไนเตรทและฟอสเฟตซึ่งเป็นสารอาหาร ที่ทำ�ให้พืชน้ำ�เติบโตมากเกินที่เรียกว่าปรากฏการณ์ Eutrophication ไปได้ร้อยละ 77 และ 44 สำ�หรับ ตะกอนที่เกิดขึ้นควรมีการรวบรวมไปบำ�บัดต่ออย่าง เหมาะสมด้วยการหมักแบบไม่มีอากาศหรือการเผา ทำ�ลาย ต้นทุนการดำ�เนินการของระบบดังกล่าวที่ มีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปีไม่รวมการลงทุน ตามราคาในยุโรปตกอยู่ที่ 0.63 ยูโรต่อ ลบ.ม. แหล่งอ้างอิง : Styles D., Schonberger H., Galvez Martos J. L., Best Environmental Management Practice in the Tourism Sector, EUR 26022 EN, doi: 10.2788/33972.

ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

90


D9

ขยะมูลฝอย (Solid waste)

• แหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีการตรวจวัด และ รายงานปริมาณขยะที่เกิดขึ้น และมีการตั้ง เป้าหมายในการลดปริมาณขยะ • ขยะมูลฝอยได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง และมี ก ารลดการฝั ง กลบขยะด้ ว ยการจั ด ให้มีระบบคัดแยกและจัดเก็บขยะแบบแยก ประเภทและมีระบบรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแยกขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามชนิดของขยะ • แหล่งท่องเที่ยวมีการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจ หลีกเลีย่ งการสร้างขยะ และให้มกี ารลดจำ�นวน ขยะ นำ�ขยะกลับมาใช้ใหม่ และรีไซเคิลขยะ ซึ่งรวมถึงขยะที่เป็นเศษอาหารด้วย • มีการดำ�เนินการเพื่อกำ�จัดหรือลดการใช้ วั ส ดุ ที่ ใ ช้ เ พี ย งครั้ ง เดี ย วแล้ ว ทิ้ ง โดยเฉพาะ พลาสติก • ขยะที่ เ หลื อ อยู่ ที่ ไ ม่ ไ ด้ นำ � มาใช้ ซ้ำ � หรื อ รีไซเคิลต้องได้รับการกำ�จัดอย่างปลอดภัย และยั่งยืน

91

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. มีโปรแกรมดำ�เนินการติดตามเรื่องขยะ โดยมีการ ตั้งเป้าหมาย และผลการดำ�เนินงานที่เผยแพร่ต่อ สาธารณชน b. มีการประสานงานร่วมกับธุรกิจท่องเที่ยวในการ จัดการรณรงค์/ ให้คำ�ปรึกษา/ การสนับสนุนการ จัดการขยะซึ่งรวมถึงขยะเศษอาหาร c. มีการรณรงค์เพื่อลด/ กำ�จัดการใช้วัสดุที่ใช้เพียง ครั้งเดียวแล้วทิ้งโดยเฉพาะพลาสติก d. มีโปรแกรมดำ�เนินการจัดการขยะในที่ทำ�งานของ หน่วยงานรัฐ และสิ่งอำ�นวยความสะดวกสาธารณะ ต่างๆ e. มีระบบที่รวบรวมและรีไซเคิลขยะ อย่างน้อย สี่ประเภท (เช่น วัตถุอินทรีย์ กระดาษ โลหะ แก้ว และพลาสติก) f. จัดให้มีระบบที่ยั่งยืนสำ�หรับการกำ�จัดขยะที่ตกค้าง g. มีการรณรงค์ให้เลิกการทิ้งขยะนอกจุดทิ้ง และ รักษาความสะอาดของพื้นที่สาธารณะ h. มีถังขยะเพียงพอสำ�หรับการแยกขยะ


เกร็ดความรู้

ภาพ : ถังขยะแต่ละประเภท ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

การจัดการขยะมูลฝอยในเขตเมืองเก่าของจังหวัด น่ า นเป็ น ตั ว อย่ า งที่ ดีที่ ไ ด้ รั บ การยกย่ อ งทั้ ง ในระดั บ ประเทศและระดับนานาชาติ โดยเทศบาลเมืองน่านได้ รับรางวัลมาตรฐานเมืองท่องเที่ยวสะอาดของอาเซียน (ASEAN Clean Tourist City Standard) ในปี พ.ศ. 2561 และมี ชุ ม ชนบ้ า นมหาโพธิ์ ที่ ไ ด้ รั บ คั ดเลื อ กให้ เ ป็ น ต้ น แบบชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ของกรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม การนำ�ความเข้มแข็งชุมชนมาช่วย ลดและคัดแยกขยะที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ที่บริเวณข่วงเมืองที่มีการจัดตลาดนัดและถนนคนเดิน ในช่วงสุดสัปดาห์นั้นเป็นที่สนใจและได้รับความร่วมมือ อย่างดีจากนักท่องเที่ยว โดยเทศบาลเมืองน่านจัดให้มี อาสาสมัครจากชุมชนและโรงเรียนสลับกันมาประจำ�ที่

จุดคัดแยกขยะเพื่อสื่อสารและสอนให้นักท่องเที่ยว แยกขยะอย่างถูกต้อง โดยวัสดุที่คัดแยกได้จะนำ�เข้า โครงการของเทศบาลและจัดส่งให้ชุมชนเพื่อนำ�ไป เป็นวัตถุดิบในการทำ�สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุต่อไป ส่วนขยะที่เหลือนั้นทางเทศบาลนำ�ไปกำ�จัดอย่างถูก หลักสุขาภิบาลด้วยวิธีการฝังกลบที่ศูนย์กำ�จัดขยะ ที่ตั้งอยู่ที่ตำ�บลผาสิงห์ นอกจากนี้ผู้ประกอบการใน ภาคการท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่าน่านยังได้รับการ ส่งเสริมให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีจากองค์การ บริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำ�นักงานพื้นที่พิเศษ 6 ที่ สนับสนุนให้สถานประกอบการที่มีความพร้อมเข้ารับ การประเมินตามมาตรฐานโรงแรมสีเขียวของกรมส่ง เสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

92


D10

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศ (GHG emissions and climate change mitigation)

• แหล่งท่องเที่ยวต้องมีเป้าหมายในการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงดำ�เนินการ และรายงานผลตามนโยบายและการปฏิบัติ งานในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก • ควรมีการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจต่าง ๆ มี การตรวจวัด ติดตามดูแล ลด หรือปล่อย ก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุด จากทุกมิติของ การดำ�เนินธุรกิจ (รวมถึงจากซัพพลายเออร์ และผู้ให้บริการด้วย) และมีการรายงานต่อ สาธารณชน • ควรมีการสนับสนุนให้มีการชดเชย (offset) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ยังไม่สามารถลด ได้

ตัวชี้วัด a. มีการประกาศเป้าหมายในลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจก โดยกำ�หนดร้อยละของการลดและวันในการ วัดผล b. มีการจัดทำ�รายงานสภาพอากาศประจำ�ปี รวม ถึงการเฝ้าสังเกตการณ์และการปฏิบัติงานเพื่อผล กระทบต่าง ๆ c. มีการสนับสนุนการรณรงค์หรือการมีส่วนร่วมใน รูปแบบต่าง ๆ กับธุรกิจท่องเที่ยวในการลดและ บรรเทาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก d. หน่วยงานภาครัฐมีการดำ�เนินการในการลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก e. มีการให้ข้อมูลในเรื่องของแผนรายการการชดเชย (offset) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีมาตรฐานเป็น ที่ยอมรับ ให้แก่ภาคธุรกิจต่าง ๆ และนักท่องเที่ยว

ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

93

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


เกร็ดความรู้ องค์การท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ได้ประมาณการ ว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่ชั้นบรรยากาศรวมทั้งสิ้นประมาณร้อยละ 5 ของก๊าซ เรือนกระจกทั้งหมด การเดินทางมีสัดส่วนการปล่อย มากที่สุดประมาณถึงร้อยละ 75 ของการปลดปล่อยก๊าซ เรือนกระจก โดยในจำ�นวนนี้ร้อยละ 54-75 เกิดจาก อากาศยาน ในขณะที่การเข้าพักแรมในสถานประกอบ การโรงแรมที่พักต่าง ๆ ของนักท่องเที่ยวมีสัดส่วน การปลดปล่อยคิดเป็นร้อยละ 20 องค์การบริหารการ พัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การ มหาชน) ได้ม่งุ พัฒนาให้เกาะหมากเป็นแหล่งท่องเที่ยว คาร์บอนต่ำ� (Low Carbon Destination) และได้ สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการบนเกาะและ ประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ การเดินทางเข้ามายังเกาะโดยติดข้อความบนเรือเฟอร์รี่ โดยสาร สำ�หรับการท่องเที่ยวบนเกาะนั้นไม่มีเรือเฟอร์รี่ ที่นำ�ยานพาหนะของนักท่องเที่ยวข้ามมายังเกาะหมาก ทำ�ให้สามารถจำ�กัดปริมาณยานยนต์บนเกาะ และมี การส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทน เช่น การใช้

ภาพ : เกาะหมาก จ.ตราด ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

โซล่าเซลล์ส่องสว่าง เรือพลังงานแสงอาทิตย์ รถราง ไฟฟ้า เกาะหมากยังมีโครงการ CSR ร่วมกับบริษัทและ หน่วยงานในการปลูกป่าชายเลนเพื่อชดเชยการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการทำ�กิจกรรม ซึ่งใน ส่วนนี้หากดำ�เนินการเป็นระบบจะสามารถขึ้นทะเบียน โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจและการออก ใบรั บ รองการขายคาร์ บ อนเครดิ ต กั บ องค์ ก ารบริ ห าร จัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ได้ นอกจากการส่ง เสริมให้เกาะหมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ�แล้ว ยังได้มีการออกแบบและทดลองโปรแกรมการท่องเที่ยว พิเศษ “Low Carbon Holiday : Cast Away Koh Mak” ที่เพิ่มกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวลดการใช้เชื้อเพลิงในการ เดินทางและการใช้ไฟฟ้าในห้องพัก โดยมีการออกกำ�ลัง กายมากขึ้น เช่น พายเรือคายัค และปั่นจักรยาน และ ใช้วัตถุดิบท้องถิ่นในการปรุงอาหารซึ่งจากการศึกษาแล้ว ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยได้ร้อยละ 13 จากการท่องเที่ยว เกาะหมากโดยปกติ

ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

94


D11

การขนส่งที่มีผลกระทบต่ำ� (Low-impact transportation)

• แหล่งท่องเที่ยวมีเป้าหมายในการลดการ ปล่อ ยมลพิษ จากการขนส่งในการเดินทาง มายังแหล่งท่องเที่ยว และภายในแหล่งท่อง เที่ยว • มี ก ารเพิ่ ม การนำ � พาหนะและการขนส่ ง สาธารณะที่ยั่งยืน และปล่อยมลพิษต่ำ�มา ใช้งาน รวมถึงการเดินทางแบบใช้แรงตัว เอง (Active travel - เช่นการเดินและปั่น จักรยาน) เพื่อให้ภาคการท่องเที่ยวลดการ ปลดปล่อยมลพิษทางอากาศ ลดความคับคั่ง ของการจราจร และลดการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศ

95

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. มีการลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ที่มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงการขนส่งสาธารณะ และยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษต่ำ� b. มีการให้ข้อมูลโปรโมตการขนส่งทางเลือกต่าง ๆ ในการเดินทางมายังแหล่งท่องเที่ยว และภายใน แหล่งท่องเที่ยว c. มีการเก็บข้อมูลของนักท่องเที่ยวที่เลือกใช้การขน ส่งทางเลือก d. มีการพัฒนาและสนับสนุนให้มีการปั่นจักรยาน และการเดิน e. ให้ความสำ�คัญกับกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวที่สนใจ ตัวเลือกการขนส่งระยะสั้นและยั่งยืนยิ่งขึ้น f. หน่วยงานภาครัฐและธุรกิจท่องเที่ยวควรให้ควา มสำ�คัญกับการใช้การขนส่งที่มีผลกระทบต่ำ�ภายใน หน่วยงานของตนเอง


กรณีศึกษา อุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ สุ โ ขทั ย ได้ ดำ� เนิ น การ โครงการการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลกสี เขียวห้ามใช้เครื่องยนต์ในพื้นที่และอนุญาตให้ใช้เฉพาะ รถรางและจักรยานในการท่องเที่ยวภายในเขตอุทยานฯ เท่านั้น ส่งผลให้ลดการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ใน พื้นที่ และนักท่องเที่ยวหันมาใช้การเดินและปั่นจักรยาน สำ�หรับการเดินทางมายังอุทยานนั้นมีรถคอกหมู ซึ่งเป็น ระบบขนส่งมวลชนที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นซึ่งสาย สุโขทัย-เมืองเก่าได้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514

และมีทางบริษัทสุโขทัยพัฒนาเมืองจำ�กัด (STCD) พัฒนา ต่อยอดในการทำ�จุดจอด 45 จุดและเวบแอพลิเคชั่นเพื่อให้ บริการมีความสม่ำ�เสมอและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ในอนาคตหากมีการดัดแปลงให้รถคอกหมูใช้พลังงาน หมุนเวียนจากก๊าซชีวภาพหรือพลังงานแสงอาทิตย์ก็จะ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากขึ้น

ภาพ : การใช้รถไฟฟ้าในการท่องเที่ยว ที่มาภาพ : www.facebook.com/oung2520/?ref=py_c แหล่งอ้างอิง : mgronline.com/columnist/detail/9620000063454

ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

96


D12

มลภาวะทางแสงและเสียง (Light and noise pollution)

• แหล่งท่องเที่ยวมีแนวทางปฏิบัติและข้อ บังคับในการลดมลภาวะทางแสงและเสียง • แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วมี ส่ ง เสริ ม ให้ ภ าคธุ ร กิ จ ต่างๆ ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติและ ข้อ บังคับนั้น

97

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด a. มีแนวทางปฏิบัติในเรื่องมลภาวะทางแสงและเสียง โดยส่งเสริมและแจกจ่ายให้ภาคธุรกิจ b. มีการระบุและเฝ้าสังเกตการณ์จุดที่มีความเป็นไป ได้ในการก่อให้เกิดมลภาวะทางแสงและเสียง โดย เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว c. มีกลไกที่จะให้ผู้คนในพื้นที่สามารถรายงานเกี่ยว กับมลภาวะทางแสงและเสียง พร้อมกับสามารถการ ติดตามผลการปฏิบัติงานได้


กรณีศึกษา ถนนคนเดินเชียงคาน (ถนนชายโขง) เป็นไฮไลท์ ของการมาเที่ยวเชียงคานซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของ องค์การ บริ ห ารการพั ฒ นาพื้ น ที่ พิ เ ศษเพื่ อ การท่ อ งเที่ ย วอย่ า ง ยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำ�นักงานพื้นที่พิเศษ 5 จ.เลย เอกลั ก ษณ์ ข องถนนคนเดิ น ที่ นี่ คื อ การที่ ร้ า นค้ า ตั้ ง อยู่ ในชุ ม ชนที่ ใ ห้ บ รรยากาศของบ้ า นเรื อ นไม้ เ ก่ า ที่ ไ ด้ รั บ การรับการรักษาไว้เป็นอย่างดี แม้จะมีหลายหลังที่ปรับ เปลี่ยนมาให้บริการที่พักแบบเกสต์เฮาส์หรือโฮมสเตย์ แต่ก็มีอีกจำ�นวนมากที่ยังเป็นที่อยู่อาศัยของคนในท้อง ถิ่น ดังนั้นเพื่อไม่ให้กิจกรรมการท่องเที่ยวส่งผลกระทบ ต่อการใช้ชีวิตของคนในชุมชน ชาวชุมชนเชียงคานจึง ได้ร่วมกับ อำ�เภอเชียงคานและเทศบาลตำ�บลเชียงคาน กำ�หนด “ธรรมนูญเชียงคาน” เพื่อวางระเบียบข้อปฏิบัติ

ภาพ : ถนนคนเดินเชียงคาน จ.เลย ที่มาภาพ : www.shutterstock.com

เกี่ยวกับการควบคุมเสียงและแสง อาทิ ห้ามใช้ยานพาหนะที่มีเครื่องเสียงดัง ห้ามจุดประทัด ดอกไม้ไฟ และห้ามส่งเสียงดังหลังสี่ทุ่มจนถึงเจ็ดโมงเช้า เป็นต้น ซึง่ มาตรการเหล่านีห้ ากมีการติดตามดูแลและมีชอ่ งทาง ให้ชุมชนร้องเรียนเมื่อมีปัญหาเพื่อแก้ไขนอกจากจะ ทำ�ให้การทำ�งานตามหลักการนี้สมบูรณ์ขึ้นแล้วยัง ช่วยให้การดำ�เนินการตามเกณฑ์ GSTC ข้อ A5 การมี ส่วนร่วมและข้อเสนอแนะของผูอ้ ยูอ่ าศัยเป็นไปได้ดว้ ยดี

ด้าน D ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

98


แบบฝึกหัด

99 99

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


1

จงทำ� Stakeholders Mapping ในแหล่งท่องเที่ยวของท่านในทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ-สังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้เกณฑ์ GSTC เป็นแนวทาง

แบบฝึกหัด

100


2

101

อภิปรายนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในแหล่ง ท่องเที่ยวของท่าน โดยยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 1 นโยบาย ทั้งนี้ ต้องแสดงให้เห็น ว่าเกี่ยวกับเกณฑ์ GSTC ข้อใดบ้าง

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


3

จงเลือกแหล่งท่องเที่ยวมา 1 แหล่ง และเลือกผลิตภัณฑ์ หรือจุดเด่นด้านการท่อง เที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวนั้นขึ้นมา 1 อย่าง (เช่น อาหาร ของที่ระลึก สถานที่ ท่องเที่ยว เส้นทางท่องเที่ยว หรือโรงแรมที่พัก) แล้วอภิปรายว่า การพัฒนาและ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ หรือจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวที่เลือกขึ้นมานั้นมีภาคีใดบ้างที่ เกี่ยวข้อง และภาคีดังกล่าวมีบทบาทอย่างไรกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือจุดเด่น ด้านการท่องเที่ยวที่เลือกขึ้นมา

แบบฝึกหัด

102


4

103

จงเลือกแหล่งท่องเที่ยวมา 1 แหล่ง และเลือกมรดกทางวัฒนธรรมที่นำ�มาใช้เพื่อ การท่องเที่ยว (อาจจะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ หรือจับต้องไม่ได้ ก็ได้) แล้วอภิปรายว่ามรดกทางวัฒนธรรมที่นำ�มาใช้เพื่อการท่องเที่ยวดังกล่าว นั้น มีความเสี่ยงจากผลกระทบเชิงลบที่เกิดจากการท่องเที่ยวในเรื่องใดบ้าง และ ได้รับการปกป้องหรือบรรเทาจากผลกระทบเชิงลบอย่างไรบ้าง รวมถึงมีภาคีใด เกี่ยวข้องและมีบทบาทอย่างไรในการปกป้องหรือบรรเทาจากผลกระทบเชิงลบนั้น

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


5

จงเลือกแหล่งท่องเที่ยวมา 1 แหล่ง และเลือกทรัพยากรทางธรรมชาติที่นำ�มาใช้ เพื่อการท่องเที่ยว (อาจจะเป็นผืนป่า สัตว์ป่า แหล่งน้ำ�) แล้วอภิปรายว่าทรัพยากร ทางธรรมชาติที่นำ�มาใช้เพื่อการท่องเที่ยวดังกล่าวนั้น มีความเสี่ยงจากผลกระทบ เชิงลบที่เกิดจากการท่องเที่ยวในเรื่องใดบ้าง และได้รับการปกป้องหรือบรรเทา จากผลกระทบเชิงลบอย่างไรบ้าง รวมถึงมีภาคีใดเกี่ยวข้องและมีบทบาทอย่างไร ในการปกป้องหรือบรรเทาจากผลกระทบเชิงลบนั้น

แบบฝึกหัด

104


Note

105

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


Note

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

106


Note

107

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


Note

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว

108


Note

109

คู่มือเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก สำ�หรับแหล่งท่องเที่ยว


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.