emagazine for inspiration
issue 17 - bike inspiration
bike inspiration
editor's talk ช่วงเวลาทีผ่ า่ นมา พีไ่ ด้เจอเรือ่ งราวมากมาย เกิดขึ้นกับโลกกลมๆ ใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม การเมือง และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป แต่่สิ่งที่ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและเลวร้ายขึ้นทุกวัน คือ การเปลี่ยนไปของนิสัยคน ยิ่งเจอคนมาก ยิ่งเจอความ เห็นแก่ตัวและการเอาเปรียบกันมากขึ้นตาม อยากให้ เพื่อนๆ ทุกคนมองโลกในแง่ดี ทำ�ดีให้แก่สังคมกันคนละ นิด สร้างสังคมให้น่าอยู่ขึ้น UNDO Magazine ฉบับนี้ พี่จะพาพวก เราได้รู้จักคนช่วยเหลือสังคมด้วยการรณรงค์สร้าง จิตสำ�นึกการขับขี่อย่างปลอดภัย กลุ่ม “ชนไม่หนี” จึงเกิดจากแนวคิดของพี่หน่อง จตุรงค์ หิรัญกาญจน์ อดีตช่างภาพโฆษณา ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษสอน ถ่ายภาพและนักขี่จักรยานเสือหมอบวินเทจ มีมุมมอง ชีวิตและประสบการณ์ตรงจากเคยประสบอุบัติเหตุจาก การขี่จักรยาน โดนชนแล้วหนี พี่ว่า บทสัมภาษณ์นี้จะ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์แก่ทุกคนที่ได้อ่าน อีกมุมมองหนึ่งที่พี่ชอบมากและอยากให้ พวกเราได้อ่าน คือ มุมมองความรักในอาชีพและทำ� ในสิ่งที่ชอบจากเฮียเจ็ง ช่างซ่อมจักรยานโบราณแถว ลาดพร้าวซอย 64 จากใจที่ชอบซ่อมของต่างๆ จน เกิดร้านซ่อมจักรยานของตัวเอง นอกจากนั้นยังเป็น หนึ่งในตัวแทนช่วยเหลือสังคมให้แก่สมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทยด้วย จากเรื่องจักรยานแล้ว อีกหนึ่งสัมภาษณ์ ครูพายุ ณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม ครูหนุ่มอดีตนักกีฬา ว่ายน้ำ�เยาวชนทีมชาติ จากจังหวัดเชียงใหม่ ริเริ่ม โครงการสอนว่ายน้ำ�เพื่อเด็กด้อยโอกาสและเด็กพิการ กลุ่มต่างๆ
สุดท้ายนี้ พี่ได้รวมภาพถ่ายจักรยาน และคำ�บรรยายความรู้สึกที่มีต่อพาหนะสองล้อ จากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ส่งมาในกิจกรรม bike inspiration จัดหน้าไป อ่านไป ได้เห็นพลังของ จักรยานกับความรักที่เกิดขึ้นจริงๆ ขอให้ทุกคนมีความสุขและสร้างสรรค์สิ่ง ดี ๆ แก่สังคมนะครับ Sakchai Piyaboon Editor-in-Chief FB : chai.sakchai
free on your style เปิดพื้นที่สำ�หรับนักเขียนหน้าใหม่ที่ต้องการนำ� เสนอเรื่องราวของตัวเอง ผ่านงานเขียนบทความ เรื่องสั้น ภาพถ่าย งานศิลปะ งาน Illustrator , Animation , Motion Graphic และหนังสั้น ฯลฯ ผลงานของน้อง ๆ จะได้เผยแพร่ใน undomag และ undomag+ undomagazine@gmail.com
contents 02 04 16 27 74
EDITOR TALK INTERVIEW : จตุรงค์ หิรัญกาญจน์ INTERVIEW : เฮียเจ็ง ช่างซ่อมจักรยาน bike Inpiration contest INTERVIEW : ครูพายุ
interview
จตุรงค์ หิรัญกาญจน์ / ชนไม่หนี
bike inspiration
interview
ครูพายุ / ครูสอนเด็กพิการว่ายน้ำ� interview
เฮียเจ็ง / ช่างซ่อมจักรยาน
web www.undomag.com facebook www.facebook.com/undomagazine twitter undomagazine issuu issuu.com/undomagazine
Editor in Chief Sakchai Piyaboon
Assitant to Editor in Chief Iggy de Guy Saroch Jam
ติดต่อโฆษณา
Consults
UNDOMAGAZINE@ GMAIL.com
Sombat Piyaboon Surapong Thammabuht
Deputy Editor Apinantn S.Pruek
Interviewer
Iggy de guy Saroch Jam Atom
Photographer Iggy de guy Sakchai Piyaboon Atom
Graphic Designer
Sakchai Piyaboon
All rights reserved. No part of this publication may be reproduced in whole or in part without permission from publisher. The views expressed in Undo Magazine are those of the respective contributors and are not necessarily shared by the publisher.
cover : จตุรงค์ หิรัญกาญจน์ font : circular / superstore / coolvetica / kunlasatri / TitilliumText
interview with
คอลัมน์ INTERVIEW ครั้งนี้นะครับ ทางทีมงาน undomag มาสัมภาษณ์นักปั่นคนหนึ่งที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใน การจัดกิจกรรมอย่าง Bangkok Bicycle Show 2012 & Bangkok Vintage Bicycle Show และเรียกได้ว่า เป็นสมาชิกรุ่นแรกในเว็บไซต์ thaimtb วันนี้มานั่งพูดคุยกับพี่ หน่อง จตุรงค์ หิรัญกาญจน์ อาจารย์พิเศษทางด้านการถ่าย ภาพ ผู้ชื่นชอบการปั่นท่องเที่ยวและจักรยานวินเทจ
Interview by Saroch Jam Photo by iggy de Guy
กิโลเมตรที่ 0 พบเจอ ทางทีมงานเองไปสัมภาษณ์พี่หน่องที่ร้าน พระนครบาร์ ใกล้ๆ กับสี่แยกคอกวัว สัมภาษณ์กัน ตั้งแต่ประมาณสามทุ่มกว่าๆ จนไปถึงประมาณเที่ยง คืน บอกได้คำ�เดียวว่า สนุกมาก ประสบการณ์ของ พี่หน่องที่นำ�มาเล่าสู่กันฟังเรียกได้ว่า โหดมันฮาและมี สาระ เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น ขอเชิญติดตามได้ ใน “เล่าปั่น” โดยพี่หน่องกันได้เลยครับ
ส่วนตัวพี่เอง พี่ไม่ได้มองจักรยานว่า เป็น แค่ยานพาหนะ พี่มองว่า มันเป็นสิ่งที่พี่รัก เป็น งานอดิเรกก็ได้ เป็นเครื่องมือออกกำ�ลังกายก็ได้ เป็นเครื่องมือพาท่องเที่ยวก็ได้ แล้วยิ่งมาถึงวันนี้ จักรยานสำ�หรับพี่มันเป็นของสะสมและมันเป็นงาน ศิลปะ คือ พี่เป็นคนชอบของเก่า พี่สะสมของโบราณ มาตั้งแต่เด็กแล้ว เมื่อก่อนพี่ก็เล่นจักรยานยนต์ โบราณ รถยนต์โบราณ แต่มันแพง พี่ก็เลยมาเล่น จักรยานโบราณหรือจักรยานวินเทจ กิโลเมตรที่ 1 คนถีบจักร จักรยานวินเทจเนี่ย พี่มองแต่ละจุด แต่ละ เด็กทั่วโลกต้องเคยปั่นจักรยานอยู่แล้ว พี่ ดีเทลของมันว่า เป็นความงามทางศิลปะ ไม่ว่าจะ เองก็รู้จักกับจักรยานมาตั้งแต่เด็ก สมัยก่อนพี่เลี้ยง เป็นโครงสร้าง ลวดลาย อาน เบาะ ล้อ ดุม ทุก กระต่าย พี่ก็ปั่นจักรยานไปเก็บหญ้ามาให้กระต่าย อย่างพี่มองว่ามันสวย แล้วพี่ไม่ได้ซื้อมาสำ�เร็จรูปทั้ง กิน พอพี่มีลูก พี่ก็ซื้อจักรยานเมาเทนไบค์มาทำ�ที่นั่ง คันนะ พี่ซื้อมาประกอบเอง ซื้อมาเป็นชิ้นแล้วเอามา เล็กๆ ให้ลูกซ้อน ปั่นจักรยานพาลูกไปพุทธมณฑล นั่งแมทช์กัน เฮ้ย เฟรมนี้ต้องเบาะสีนั้น ต้องเดินสาย บ้าง ปั่นไปขำ�ๆ ไม่ได้จริงจังอะไรมาก จนมาเมื่อซัก เบรกสีแบบนี้ ยางต้องสีนี้ พี่ออกแบบด้วยตัวพี่เอง ประมาณสิบปีที่แล้วก็มีเพื่อนฝรั่งคนหนึ่งชื่อว่า เดวิด สลับนู่นสลับนี่ รื้อใหม่ประกอบใหม่ อานอันนี้ต้อง มาชวนพี่ปั่นทัวริ่งหรือปั่นท่องเที่ยว ทริปแรกของพี่ ย้ายไปคันนู้น แฮนด์ต้องอันนั้น ต้องย้ายมาคันนี้ ก็ปั่นจากราชบุรีไปสวนผึ้ง ระยะทาง 80 กิโลเมตร เหมือนเป็นงานอดิเรก เป็นความสุขของเราเอง และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำ�ให้พี่ปั่นจักรยานทัวริ่งมา ตลอด
“
พี่อยากตอบแทนอะไรให้กับ คนที่เข้ามาช่วยเหลือพี่ อยากตอบแทนสังคม
กิโลเมตรที่ 2 ทัวริ่ง พี่เป็นคนชอบเที่ยว ชอบเที่ยวแบบผจญ ภัย เที่ยวแบบลำ�บาก เที่ยวแบบแบ็คแพ็คเกอร์ พี่ ท่องเที่ยวแบบแบ็คแพ็คเกอร์มาตั้งแต่เด็กละ ตอนที่ ยังเรียนอยู่ก็เที่ยวในไทย พอเรียนจบก็รู้สึกว่า เมือง ไทยมันแคบไปละ พี่ก็ไปเที่ยวต่างประเทศ พี่เคยไป เที่ยวยุโรป คนเดียว 4 เดือน 10 ประเทศ ไป แบบไปทำ�งานล้างจาน เก็บเงิน ช่วงไหนว่างก็เที่ยว ตอนที่พี่ไปพี่ก็เขียนไดอารี่ไว้ทุกวันเพราะมันเป็น ประสบการณ์ที่แบบ “แม่งสุดยอดในชีวิตอ่ะ” แล้ว ตอนนี้พี่ก็กำ�ลังเอาตัวหนังสือในไดอารี่มาเขียนใหม่ อยากทำ�เป็นหนังสือมาเผยแพร่ให้คนได้อ่านกัน แต่ เขียนมายี่สิบปีแล้ว ยังไม่จบเลย (หัวเราะ) แล้วด้วยการที่พี่ชอบจักรยานและชอบเที่ยว อยู่มาวันหนึ่งมีเพื่อนชาวต่างประเทศ ที่ชื่อว่า เดวิด นี่แหละ ก็มาชวนว่า “เฮ้ย หน่อง ยูชอบเดินทาง ไม่ใช่เหรอ ยูมาปั่นทัวริ่งกับไอดีกว่า” เดวิดเขามี จักรยานเสือภูเขายี่ห้อเมอริด้าเน่าๆ อยู่คันหนึ่ง พี่ก็ สนใจ ก็เลยไปซื้อจักรยานยี่ห้อเมอริด้าเหมือนเดวิด แต่เป็นรุ่นใหม่กว่านะ ก็ไปซื้อโดยที่ไม่ค่อยจะมีความ รู้อะไรเกี่ยวกับจักรยานเลย แล้วก็ตัดสินใจปั่นไปกับ เดวิด
ทริปแรกที่ไปกัน คือ ปั่นจากราชบุรี ไปสวนผึ้ง พวกพี่นั่งรถไฟไปลงที่สถานีราชบุรี แล้วก็ปั่นจักรยานไปสวนผึ้งกัน ไปกันแบบไม่ได้ ซ้อมเลยนะ พี่ก็ไม่ได้ซ้อม เดวิดก็ไม่ได้ซ้อม ระยะ ทาง 80 กิโลเมตร ปั่นไปถึงสวนผึ้งพี่เดินไม่เป็น เลยอ่ะ ไปถึงที่สวนผึ้งหกโมงเย็น จำ�ได้เลย โคตร ทรมาน แล้วขากลับพี่ก็เอาจักรยานขึ้นรถเมล์ มาลงราชบุรี จากนั้นก็นั่งรถไฟกลับกรุงเทพ นี่ คือ ทริปแรก มันเหนื่อยก็จริง แต่พี่รู้สึกหลงใหล พี่รู้สึกว่า “แม่งมันดีว่ะ” มันต่างกับตอนที่พี่ปั่น จักรยานในฟิตเนสที่มันปั่นอยู่กับที่ ปั่นดูทีวี แต่ พอพี่ไปปั่นท่องเที่ยว ปั่นเดินทาง พี่รู้สึกว่า มัน คือชีวิตเราอ่ะ เหมือนเราแบกเป้เดินเที่ยว นั่ง รถเมล์เที่ยว นั่งรถไฟเที่ยว มันได้เห็นวิวทิวทัศน์ มีลมปะทะหน้า จากนั้นพี่ก็เริ่มหลงไหลทัวริ่ง แล้ว ก็ปั่นกับเดวิดมาตลอด แล้วก็มีสมาชิกคนอื่นๆ ที่มาปั่นด้วยกัน รวมๆกัน 2-3 คน ปั่นออกไป กางเต้นท์นอน ไปมาหลายที่ หลายจังหวัด เยอะ มาก
“
พี่อยากให้รัฐบาลสนใจ ออกกฎหมายคุ้มครองตึกเก่า หรืออย่างน้อยก็ไม่ปล่อยให้มัน พังไปตามกาลเวลา
”
กิโลเมตรที่ 3 บางกอกบอกกล่าว พี่เป็นคนชอบของเก่า บ้านเก่าพี่ก็ชอบ ตอน เด็กๆ พี่ชอบเดินดูบ้านเก่า แล้วพอพี่โตมา พี่เห็น บ้านเก่าๆ เหล่านี้มันถูกทุบไปเรื่อยๆ กลายเป็น คอนโดบ้าง อะไรบ้าง พอพี่เห็นบ้านหลายๆ หลังที่ พี่เดินดูมาตั้งแต่เด็กโดนทุบ พี่ก็เลยรู้สึกว่า “ทำ�ไงดี วะกู อยากจัดรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ บ้านโบราณ อยากให้คนเห็นความสำ�คัญของบ้าน โบราณ” พี่ก็เลยเกิดไอเดียอยากทำ�รายการนี้ขึ้นมา ทางโทรทัศน์ แต่ถ้าอยู่ๆ เลยจะให้พี่ไปนั่งพูดอธิบาย ไอเดียให้เจ้าของช่องฟัง เขาคงไม่สนใจ พี่ก็เลยคิดว่า ควรจะเริ่มต้นจากทำ�บางกอกบอกกล่าวลงยูทูป ทำ� ไปสักสิบยี่สิบตอน แล้วค่อยส่งรายการของพี่ไปให้เขา ดู ก็เริ่มมาจากจุดนั้น คอนเซ็ปต์ในการทำ�รายการของพี่ คือ หนึ่ง พี่เป็นพิธีกร สอง ทีมงานทุกคนต้องปั่นจักรยาน ไปกับพี่ และสาม การออกไปถ่ายทำ�ต้องออกไปวัน เสาร์-อาทิตย์ เพราะพี่อยากไปนั่งคุยกับเจ้าของบ้าน คุยกับคนเฒ่าคนแก่ ซึ่งเขาสะดวกวันเสาร์-อาทิตย์ ก็ออกมาเป็นรายการประมาณนี้ ก็มีพี่เป็นพิธีกรแนว ดิบๆ ก็ทำ�งานกันในลักษณะของกองโจร มีความรู้ บ้าง ไม่มีความรู้บ้าง ตอนนี้ก็ได้น้องเอ๋มาช่วยถ่ายทำ� แล้วก็ตัดต่อลงยูทูปให้ ตอนนี้ก็ทำ�ออกมาสี่ตอนแล้ว ตอนที่ห้ากำ�ลังตัดต่ออยู่ ที่พี่อยากทำ�รายการบางกอกบอกกล่าวนี่ ไม่ใช่เพราะว่า พี่อยากดังนะ แต่พี่อยากให้ภาครัฐ ทำ�กฎหมายออกมาคุ้มครองตึกเก่า ดูอย่างที่ประเทศ อังกฤษเขาทำ� เขาอนุรักษ์ตึกเก่ากันมาเป็นร้อยๆ ปี ไม่เคยรื้อ ทุบ ทำ�ลาย หรือถ้ามองใกล้ๆ บ้าน เรา ที่สิงคโปร์ ข้างนอกเป็นตึกเก่า แต่ข้างในเขา ทำ�ให้เป็นศูนย์การค้าได้ เขาออกแบบได้โดยไม่ต้องทุบ ทิ้ง ตรงไหนเป็นตึกเก่าเขาอนุรักษ์ไว้หมด หรือถ้าดู ที่ประเทศมาเลเซีย เขาอนุรักษ์มะละกาไว้ท้ังเมือง นัก ท่องเที่ยวก็มาเที่ยวกันเป็นล้านๆ คนต่อปี พี่อยาก ให้ทั้งประเทศไทยทำ�แบบนั้นดูบ้าง ที่กรุงเทพก็มีตึก เก่า ศรีสะเกษก็มีตึกเก่า บุรีรัมย์ ชลบุรี เกาะสมุย เมืองกาญจน์ หรือจังหวัดอื่นๆ ก็มีตึกเก่า พี่อยาก ให้รัฐบาลสนใจ ออกกฎหมายคุ้มครองตึกเก่า หรือ อย่างน้อยก็ไม่ปล่อยให้มันพังไปตามกาลเวลา พี่ อยากให้ประเทศไทยเป็นแบบนั้น ก็เลยทำ�รายการนี้ ออกมา และหวังว่ามันจะช่วยทำ�ให้คนหันมาสนใจตึก เก่าได้ พี่มองว่ารายการนี้มันเป็นแค่น้ำ�หยดหนึ่งอ่ะ แต่ถ้าวันหนึ่งมีน้ำ�หลายๆหยดมารวมกัน มันก็กลาย เป็นมหาสมุทรได้
กิโลเมตรที่ 4 ชนไม่หนี จุดเริ่มต้นมันมาจากหลายๆ อย่างนะ อย่างแรก เลย คือ เหตุการณ์ชนแล้วหนี พี่เจอมากับตัวเอง คือ พี่ปั่น จักรยานขึ้นสะพานตอนกลางคืน โอเค พี่อาจจะประมาทเอง ที่คิดว่าตอนกลางคืนมันไม่มีรถ แต่จริงๆ แล้ว ยิ่งดึก รถ ยิ่งวิ่งเร็ว แล้วพี่ก็เจอไปแบบเต็มๆ พี่โดนรถชน พี่วูบไปเลย เลือดกองเต็มถนน จักรยานเละทั้งคัน พี่เบลอไปหลายเดือน แต่ไม่มีใครตามหาคนขับรถได้ สอง พี่เป็นคนที่ชอบความถูก ต้อง ความยุติธรรมในสังคม และกับเหตุการณ์ชนแล้วหนี เนี่ย มันเกิดขึ้นเกือบตลอดเวลา และไม่มีใครสนใจ ภาครัฐก็ ไม่ค่อยให้ความสนใจ จนกลายเป็นเรื่องปกติของสังคม พี่เคย ได้ยินคนขับรถบางคนคุยกันว่า เฮ้ย ถ้าคุณขับรถชนคนอื่น แล้วหยุดรถ ลงมารับผิดชอบนะ คุณโง่แล้ว และ สาม ตอน
คนที่ช่วยแจกสติ๊กเกอร์ ตอนนี้พวกเราก็ทำ�กันได้ประมาณนี้ ถ้าจะให้พูดถึงเรื่องความประมาท ความประมาท ของเราเอง เราป้องกันได้นะ อย่างพี่เองพี่จะเป็นคนที่ ระมัดระวังมาก คนที่ปั่นจักรยานกับพี่ด้วยกันจะรู้ว่า พี่เป็น คนไม่ประมาท จะเปลี่ยนเลนทีก็มองซ้ายมองขวาตลอด แต่ ความประมาทจากผู้อื่น พี่ว่า เราจะระวังยังไงเราก็ป้องกัน ไม่ได้ นอกจากต้องอบรม บ่มนิสัย ให้มีความคิดว่าจะต้อง ไม่ประมาท ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ต้องยืนอยู่บนความถูกต้อง ยุติธรรม ถ้าเราทำ�ผิด เราต้องช่วยเหลือหรือรับผิดชอบ ผู้เสียหาย และถ้ามองในเรื่องของการขับรถชนคนอื่นเนี่ย สมมุติว่า คุณขับรถชนพี่ แล้วไม่ลงมาดู ขับหนีไปเลย ถ้า พี่ตายขึ้นมา ลูกสาวพี่จะทำ�ยังไง พี่ว่า ถ้าเราขับรถชนคน อื่นแล้วเราลงมาดู พาไปส่งโรงพยาบาล เรายังพอช่วยเขาได้
ที่พี่ประสบอุบัติเหตุเนี่ย มีคนช่วยเหลือพี่เยอะมาก ทั้งโอนเงิน เข้ามาช่วยเหลือ บางคนถึงกับประมูลจักรยานเพื่อนำ�เงินมา ช่วยเหลือพี่ มีรุ่นน้องศิลปากรทำ�เสื้อยืดออกมาขายเพื่อนำ� เงินมาช่วยเหลือพี่ พี่ก็เลยรู้สึกว่า “เฮ้ย พี่อยากตอบแทน อะไรให้กับคนที่เข้ามาช่วยเหลือพี่ อยากตอบแทนสังคม” พี่ ก็เลยเริ่มต้นด้วยการทำ�สติ๊กเกอร์ “ชนไม่หนี” ขึ้นมา ซึ่งได้ น้องหมึกมาช่วยออกแบบให้ พี่ก็อยากรณรงค์คล้ายๆ กับ พวกเมาไม่ขับ อะไรแบบนั้น จริงๆ พี่ก็อยากทำ�อะไรให้มันยิ่ง ใหญ่กว่านี้นะ อยากจะขอสปอนเซอร์มาจัดทำ�นู่นทำ�นี่ แต่ พี่ก็ไม่รู้จะทำ�ยังไง เพราะพี่ไม่ใช่คนดัง ไม่ใช่คนมีอิทธิพล ตอนนี้พี่ก็ทำ�ได้แค่แจกสติ๊กเกอร์ตาม facebook ตามเว๊บ thaimtb ใครสนใจก็ส่งชื่อ ที่อยู่มา พี่จะจัดส่งไปให้เลยทาง ไปรษณีย์ และตอนนี้ก็มีแฟนเพจ “รณรงค์ชนไม่หนี” ขึ้น มาแล้ว ก็มีน้องคนหนึ่งเขาช่วยทำ�ขึ้นมาให้ แล้วก็มีหลายๆ
และยังมีพรบ.มาช่วยจ่ายเงินคุ้มครอง ช่วยเหลือทั้งคนขับ และคนถูกชน ขอแค่ให้เราลงมารับผิดชอบ เท่านั้นเอง ถ้าจะให้รณรงค์กันในเรื่องนี้ พี่ว่าเราต้องอบรม จริยธรรมกับคนไทยให้มากขึ้น เพราะพี่มองว่า ในปัจจุบัน คนไทยไม่ค่อยมีความรับผิดชอบ และเห็นแก่ตัวมากกว่าใน อดีต พี่ไม่ได้เป็นคนนิยมฝรั่งนะ พี่ภูมิใจในความเป็นไทย รัก ความเป็นไทย พี่เป็นคนไทยคนหนึ่ง แต่พี่มั่นใจว่า ฝรั่งเขามี ความรับผิดชอบสูงกว่าคนไทย จริยธรรม ความถูกต้องสูง กว่าคนไทย พี่ไม่รู้ว่า เขาอบรมกันยังไงนะ แต่พี่อยู่ต่างประ เทศเนี่ย แค่ยืนอยู่ข้างถนน เขาก็หยุดรถให้พี่ข้ามแล้ว แต่ถ้า เป็นเมืองไทยนะ ไม่มีทาง แค่พี่จะเลี้ยวเข้าซอยบ้านพี่ ยังไม่มี ใครหยุดรถให้พี่เลี้ยวเลย พี่ว่า ถ้าเราอบรมจริยธรรมให้มาก ขึ้น ปลูกฝังกันตั้งแต่วัยเด็ก ทุกอย่างมันน่าจะดีขึ้น
กิโลเมตรที่ 5 ปั่นกรุง ถ้าอยากให้คนกรุงเทพหันมาปั่นจักรยานกันนะ พี่ว่า ทุกหน่วยงานต้อง มาช่วยกัน อย่างเช่น ต้องมีไบค์เลนที่ดี อย่างในฝั่งยุโรป ฝั่งสแกนดิเนเวียน เขาทำ�กันมานานแล้ว หรืออย่างในเมืองโบโกตา ประเทศโคลัมเบีย ที่เขาเพิ่งทำ� กัน ที่นี่เขารณรงค์กันเป็นเรื่องเป็นราว ทำ�กันใหญ่โตมาก ไม่ว่าจะเป็นนายก เทศมนตรี ส.ส. รัฐมนตรี ทุกคนสนับสนุนเรื่องนี้หมด มีไบค์เลนเป็นเรื่องเป็น ราวรอบโบโกตา ไม่เหมือนในกรุงเทพที่ทำ�ไบค์เลนขึ้นมาให้เป็นที่จอดรถ หรือทำ� ขึ้นมาให้รู้ว่ากรุงเทพก็มีไบค์เลน แต่ใช้ไม่ได้ ถ้าจะบ่นว่า เมืองไทยร้อน ไม่เหมาะกับการปั่นจักรยาน พี่ว่าไม่ใช่ เพราะ โบโกตาก็ร้อน แต่เขาก็ปั่นกัน ถ้ามีไบค์เลนที่ดีนะ ไม่ต้องคอยหลบรถ ไม่ต้อง มองดูรถติด การปั่นจักรยานไม่ร้อนหรอก แป๊บเดียวก็ถึงที่หมาย หรือถ้าเหงื่อ ออกเยอะ ตอนปั่นไปที่ทำ�งานก็ใส่แค่เสื้อยืด กางเกงขาสั้น แล้วพอไปถึงที่ทำ�งาน ก็ไปอาบน้ำ�เปลี่ยนเสื้อผ้า ซึ่งจุดนี้ที่ทำ�งานต่างๆ ก็ต้องช่วยกันสนับสนุน หรือ อย่างเรือด่วนสาทรอย่างเงี้ย ถ้าเขายอมให้เอารถจักรยานลงเรือได้ พี่ว่าจะมีคน ปั่นจักรยานไปทำ�งานนะ และถ้าคนในกรุงเทพหันมาปั่นจักรยานกันมากขึ้นนะ พี่ ว่า กรุงเทพจะน่าอยู่มากขึ้น รถจะติดน้อยลง คนไทยจะสุขภาพจิตดีขึ้น เราจะ ไม่ต้องตื่นตีห้าออกไปเรียนไปทำ�งานและกลับถึงบ้านสองสามทุ่มเพราะรถติด
“
หลายๆ ประเทศ ที่เขาสนับสนุน ให้ใช้จักรยาน คนในประเทศนั้น มีสุขภาพจิตที่ดีมาก
”
กิโลเมตรที่ 6 และกิโลเมตรต่อๆ ไป ทุกวันนี้ พี่ว่า คนกรุงเทพส่วนใหญ่มี สุขภาพจิตแย่ เครียดจากปัญหาจราจร ขับรถปาด หน้ากันก็ลงมายิงกันตาย เด็กโตในรถ เพราะต้องตื่น ตีสี่ตีห้าไปโรงเรียน พ่อแม่ไม่ค่อยได้เจอลูก กว่าจะถึง บ้านก็สองสามทุ่มเพราะรถติด บอกตรงๆ ชีวิตคน กรุงเทพเป็นชีวิตที่โคตรเศร้าเลย ไม่มีโอกาสอยู่ในสวน สาธารณะเหมือนอย่างในลอนดอนหรือในปารีส ถ้า เป็นเมืองนอกนะ สี่ห้าโมงเย็นเขาถึงบ้านกันละ เปลี่ยน เสื้อผ้า ออกไปวิ่ง เล่นกับหมา อยู่กับลูก สองทุ่ม นั่งดูทีวี สนุก เฮฮา สี่ทุ่มนอน เช้าตื่นเจ็ดแปดโมงไป ทำ�งาน แต่ถ้าเป็นเมืองไทย เด็กป.1 ต้องตื่นตีห้าเพื่อที่ จะนั่งรถไปโรงเรียนเพราะปัญหารถติด นอกจากจะช่วยลดโลกร้อน ลดมลภาวะ แล้ว ถ้าคนกรุงเทพหันมาใช้จักรยานกันมากขึ้นนะ ไม่ ต้องมากมาย แค่ 20% ก็น่าจะพอ ถ้ากรุงเทพทำ�ไบค์ เลนดีๆ ให้เขานะ คนกรุงเทพจะเลิกขับรถเพราะอยาก ประหยัดเงิน เพื่อนพี่ในวงการจักรยานด้วยกันหลายๆ คน อดีตเคยเสียเงินหกเจ็ดพันเป็นค่าน้ำ�มัน แต่ตอนนี้ เขาเอาเงินหกเจ็ดพันนั้นไปทำ�อย่างอื่น ไปเป็นค่าเรียน หนังสือของลูก เอาไปซื้อขนมให้ลูกกิน เขาประหยัด เงินได้เพราะปั่นจักรยานไปทำ�งาน และคนอีก 80% ที่ เหลือ ที่จำ�เป็นต้องใช้รถยนต์จริงๆ ก็จะมีความสุขมาก
ขึ้นด้วย เพราะรถติดน้อยลง คนบนถนนจะยิ้มได้มาก ขึ้น ได้นอนมากขึ้น ได้กลับบ้านเร็วขึ้น พี่ว่ามันเป็นผล ดีต่อส่วนรวม ถ้าเราาหันมาใช้จักรยานกัน แต่ก็นั่น แหละ สิ่งสำ�คัญคือ ภาครัฐและภาคเอกชนต้องหันมา ให้ความสำ�คัญกับการปั่นจักรยาน หลายๆ ประเทศที่เขาสนับสนุนให้ใช้ จักรยาน คนในประเทศนั้นมีสุขภาพจิตที่ดีมาก อย่าง เช่น กรุงอัมสเตอร์ดัม เขาแทบไม่ใช้รถยนต์กันเลย หรืออย่างในลอนดอน รถก็มีน้อยมาก เพราะเขา ออกกฎหมายควบคุมปริมาณรถยนต์ และหันมาใช้ จักรยานกัน พี่ก็อยากให้ใครก็ได้ที่มีพาวเวอร์ ที่มี ศักยภาพที่จะมาลงสู่สนามการเมืองได้เนี่ย อยากให้ลง มาต่อสู้ด้วยกัน ทำ�ให้คนกรุงเทพหันมาใช้จักรยานกัน มากขึ้น แล้วพี่ว่ากรุงเทพจะดีขึ้น หรือไม่งั้น วันใดวัน หนึ่งถ้าน้ำ�มันหมดโลก หรือน้ำ�มันขึ้นไปถึงราคาลิตร ละร้อยบาทเมื่อไหร่ ทุกคนก็อาจจะหันมาขี่จักรยานกัน มากขึ้นอย่างจริงจังก็เป็นได้ สุดท้าย พี่ว่า จักรยานมันทำ�ให้คนเรามี ความสุขมากขึ้น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีขึ้น เพราะทุก วันนี้ที่พี่เจอคนปั่นจักรยานด้วยกัน ทุกคนจะยิ้มให้ กัน และคุยด้วยกันง่าย แม้จะไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย ก็ตาม
จตุรงค์ หิรัญกาญจน์ เกิด 12 ตค. 2507 การศึกษา มศ.3 รร.ทวีธาภิเศก ปวช.วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร ป.ตรี ภาควิชานิเทศศิลป์ คณะมัณทนะศิลป์ ม.ศิลปากร วังท่าพระ Photo... Kingston University / England ประวัติการทำ�งาน อดีต : ช่างภาพอาชีพนิตยสารแฟชั่นและภาพถ่ายเพื่อโฆษณา ปัจจุบัน - วิทยากรบรรยายเรื่องการถ่ายภาพ - กรรมการตัดสินการประกวดภาพถ่าย - อาจารย์พิเศษสอนถ่ายภาพ หลายมหาวิทยาลัย ประวัติการแสดงงานศิลปะ แสดงงานศิลปะภาพถ่ายเดี่ยวและกลุ่ม หลายครั้ง เกี่ยวกับจักรยาน สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมต่างๆในแวดวงจักรยานหลายต่อหลายครั้ง facebook : ชนไม่หนี
undomag.com
interview with Interview by Saroch Jam Photo by Chai Undomag
ท่ามกลางจราจรอันติดขัดของเส้นทางแยกสุทธิสาร UNDO Magazine มีภารกิจสัมภาษณ์ช่างซ่อมจักรยานร้านหนึ่ง จักรยานมากหน้าหลายตา หลากหลายประเภทผ่านฝีมือเฮียเจ็ง จากประสบการณ์ซ่อมจักรยานมากว่า 30 ปี วันนี้พวกเรามาที่ ร้านเฮียเจ็ง กฤษฎา กรลิขิตไพศาล (ไม่มีป้ายชื่อ) แถวซอยลาดพร้าว 64
ทำ�ไมเฮียถึงเลือกที่จะมาทำ�ร้านซ่อมจักรยานแทนการทำ�สวนผัก? เฮียเริ่มงานจากทำ�สวนผัก ทำ�ไปทำ�มาคิดว่า มันไม่ได้ตอบสิ่ง ที่เฮียต้องการ แต่ด้วยใจรักเรื่องการซ่อม ได้โอกาสไปฝึกซ่อม จักรยานกับเพื่อนแค่อาทิตย์เดียว เค้าก็ไม่ได้บอกทุกอย่าง เรา ต้องเรียนรู้เอง ทดลองเอง ของทุกอย่างไม่ว่าอะไร ถ้าใจรักซะ แล้ว ไปได้หมด ไม่ว่าจักรยานสภาพจะแย่ขนาดนั้น เฮียซ่อมได้ทุก อย่าง แต่ต้องขอเวลาให้เฮียซ่อมนิดหนึ่ง เฮียเปิดร้านมาตั้งแต่ปี 2521และอยู่ที่นี่ที่เดียวตั้งแต่เปิดเลย bike lane ในกรุงเทพฯ? อยากให้มีอย่างจริงจัง แต่ตามหลักความจริง คงไม่มีทางเป็นไป ได้ พื้นที่ไม่ให้ แผนผังกรุงเทพฯ ไม่เอื้ออำ�นวย ขอเลน 2 เมตร สำ�หรับรถจักรยานยังไม่มีทางเลย ตอนนี้ขี่จักรยานต้องตัวใครตัว มัน ต้องระวังกันนิดหน่อย ที่เห็นมี bike lane ตอนนี้ก็มี เช่น สี่แยกบ้านแขก ราชดำ�เนิน สี่แยกคอกวัว แต่เป็น bike lane รวมกับถนน แต่รถยนต์ก็มักมาจอดทับเลนจักรยานแล้ว เราจะไป ขี่ที่ไหนล่ะ ไม่มีที่จริงๆ
“
เราต้องเรียนรู้เอง ทดลองเอง ถึงจะ ประสบความสำ�เร็จ
“
คนเราสามารถทำ�อะไรได้ ทุกอย่างถ้าใจรัก
”
ทำ�ร้านนี้ตลอดไปไหม? เฮียคงทำ�ร้านนี้ไปตลอดเพราะเราชอบ ลูกสาวเฮียคนหนึ่งอยากเปิดร้าน จักรยานหรูๆ มีหน้าร้าน แต่เฮียว่า เศรษฐกิจเวลานี้มันไม่น่าลงทุน สู้ขาย ทางเว็บไซต์ดีกว่า โพสไป ขายไป ง่ายๆ ไม่มีต้นทุน ได้กำ�ไร 15-20% ก็ เอาแล้ว แต่ถ้าเป็นร้านใหญ่ๆ กำ�ไร 15% ไม่พอนะ มีค่าใช้จ่ายมากกว่า เช่น มีลูกน้อง มีค่าไฟ จิปาถะ หาอะไหล่มาจากไหน? ซื้อเก็บมาเรื่อยๆ เพราะเฮียชอบสะสมจักรยาน เฮียมีจักรยานอยู่ 7 คัน แต่ก่อนมีอยู่ 12 คัน มีเยอะไม่มีที่จอด ไม่มีที่เก็บ 7 คันนี้เป็น 7 คันที่รัก ที่สุด เสือภูเขา 2 เสือหมอบ 2 จักรยานพับ 2 ทัวริ่ง 1 แนะนำ�คนอยากขี่จักรยาน? รถใหม่ รถเก่าก็ได้ แต่อยู่ที่งบตัวเอง มีเงิน 5,000 บาท เล่นจักรยาน ญี่ปุ่นก็ได้ ถ้าเป็นมือใหม่หัดขี่ ยังไม่รู้จะไปได้ไกลแค่ไหน เกิดเบื่อแล้วเลิก ขี่ เสียดายเงินที่ซื้อจักรยานแพงๆ เล่นจักรยานเก่าและซ่อมนิดหน่อยก็โอเค แล้ว แต่ก่อนเฮียก็เป็นเหมือนกัน เข้าร้านจักรยานทีไรก็อยากได้จักรยาน สวยๆ แพงๆ แต่เดี๋ยวนี้ไม่เอาแล้ว เสียดายเงิน เล่นจักรยานเก่าสนุกกว่า จับอะไหล่โน่นมาประกอบกับตัวถังนี้ มีความสุข
“
งานหนัก งานเบาแค่ไหน ไม่เคยหวั่น ไม่เคยท้อ เพราะใจรัก
”
การเข้าร่วมสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย? “สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย (Thai Cycling for Health Association) www.thaicycling. com แต่ก่อนเรียกว่า “ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่ง ประเทศไทย” พอดีทางสมาคม มีโครงการรับบริจาค จักรยานเก่าเพื่อมาทำ�ใหม่ ส่วนเฮียก็รับหน้าที่นำ�มาซ่อม ใหม่ แล้วค่อยรวมกลุ่มกับเพื่อนๆในสมาคมนำ�จักรยานไป แจกให้น้องๆที่ขาดแคลนตามโรงเรียนต่างจังหวัด จะได้ขี่ จักรยานไปโรงเรียน เฮียทำ�มาตั้งแต่ปี 2541 แล้ว ถ้า เที่ยวไหนขนจักรยานไปบริจาคเยอะมาก ต้องขนไปกับ รถไฟหรือรถทัวร์ ส่วนคนก็ขับรถส่วนตัวไปแทน ออกกำ�ลังกายบ้างไหม? จันทร์ - เสาร์ วิ่ง และเล่นเวท 30 นาที ส่วนวันอาทิตย์ เฮียจะขี่จักรยานแถวเลียบทางด่วน โดยใช้จักรยานเก่า Robinhood คันนี้ ทั้งขี่เล่น และขี่ไว้ไปซื้ออะไหล่ต่างๆ อายุของมันก็ประมาณ 45 ปีแล้ว เป็นจักรยานสัญชาติ อังกฤษ อยู่กันมา 7 ปีแล้ว เฮียได้มาจากพี่ข้าราชการ คนหนึ่งขายต่อมาให้ ความรักในอาชีพ? ใจรัก คนเราสามารถทำ�อะไรได้ทุกอย่างถ้าใจรัก แก้ไข ปัญหาได้ทุกอย่าง งานหนัก งานเบาแค่ไหน ไม่เคยหวั่น ไม่เคยท้อ เพราะใจรัก
ติดตามกิจกรรมเพื่อสังคมที่เฮียเจ็งเข้าร่วมกับ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย www.thaicycling.com
bike in spira tion
จักรยานเหรอครับ? ...ทีแรกผมไม่ได้พิสวาสมันนักหรอก ผมก็คงเหมือนกับทุกคนสมัยเด็กๆ เราชอบจักรยาน กันทั้งนั้น พอโตมาเป็นหนุ่มผมก็ลืมมันไปซะ... เรียนจบ ทำ�งานมีเงิน ก็มาหลงระเริงกับกลิ่นไอเสน่ห์ ของรถยนต์และมอเตอร์ไซค์....โดยเฉพาะพวกเรียน ศิลปะอย่างผม รถยนต์คลาสสิคนี่มันสุดเท่ห์.... พอผมมีลูกเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ก็เอาล่ะซื้อ Mtb ผ่าน แคทตาล็อคบัตรเครดิต ง่ายดี ผ่อนได้ด้วย......ว่างๆ ก็พาลูกซ้อนท้ายไปปั่นเล่นกันในพุทธมณทล แค่นั้น แหละครับ....พอลูกเริ่มโต ผมก็ขายมันไป พอเริ่มมีอายุ (แก่ขึ้นนั่นแหละครับ) เริ่มเข้าฟิตเนส ออกกำ�ลังกาย ปั่นจักรยานในฟิตเนสกับเขาบ้าง...... ผมว่ามันน่าเบื่อนะ ปั่นดูทีวี อยู่กับที่ ไม่ได้เห็นวิว ทิวทัศน์อะไรเลย.... ไอ้ผมมันก็นักเดินทางท่องเที่ยว ผจญภัยซะด้วย.... จนเมื่อราวๆสิบปีก่อน มานั่งคุย กับเพื่อนสนิท พวกชอบเดินทางเหมือนกัน เพื่อนมัน ก็บอก ... “เรามีจักรยาน Mtb เก่าๆ อยู่คันนึง แกไป ซื้อมาสักคันซิไป ปั่นจักรยานออกเที่ยวต่างจังหวัด กันดีกว่า” .......ผมก็เอาเลย วันรุ่งขึ้นก็ไปวรจักรทันที ด้วยความรู้เรื่องจักรยานงูๆปลาๆ... ซื้อทั้งจักรยาน Mtb และกระเป๋าทัวริ่ง...
หลังจากนั้นไม่กี่วัน เรา 2 คนก็นั่งรถไฟไปลงที่ราชบุรี แล้วออกปั่นไปกางเต็นท์นอนกัน 2 คน ด้วยระยะทาง ราชบุรี-สวนผึ้ง 80 กม. ของทริปแรกที่เราทั้งสองไม่ เคยซ้อมกันมาก่อนเลย นับจากวันนั้นมาสู่วันนี้ ผมก็หลงรักเจ้าเพื่อนคนนี้ มัน ชื่อ “จักรยาน” มันตอบโจทย์ในชีวิตของผมหลายๆข้อ.... - ผมรักเดินทางท่องเที่ยว แบบไม่สบาย ลำ�บากและ เหนื่อยกาย แต่สุขใจ - ผมรักการออกกำ�ลังกาย - ผมรักศิลปะ และการออกแบบ นี่แหละใช่เลย ศิลปะ การออกแบบที่มี 2 ล้อ - ผมรักการสะสมเป็นงานอดิเรกมานานแล้ว วันนี้ผม จึงมีเพื่อนชื่อ จักรยาน หลายคัน - ผมรักการทำ�ทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง ...สมัยผมเล่น รถเก่า ผมต้องพึ่งพาช่างซ่อมรถเก่าที่หายากและค่าตัว แพง แต่วันนี้ ผมจัดการเจ้าจักรยานของผมได้ด้วยตัว ผมเองอย่างมีความสุข ไม่ต้องพึ่งพาใคร.... - จตุรงค์ หิรัญกาญจน์ -
“ไม่ได้ปั่นเพราะมันสบาย แต่ปั่นให้ โลกรู้ว่า “คุณก็ทำ�ได้” ไม่ว่าจะไป ทำ�งาน ไปจับจ่ายซื้อของ ไปเที่ยว ฯลฯ จักรยานผมซื้อมา 12,000 บาทเมื่อปี 2000 12 ปีแล้วครับ หักค่าเสื่อมสภาพแล้วเหลือ 0 บาท - “คุ้ม” - ปรัชญา โสตถิอำ�รุง อายุ 51 - นักดนตรี -
“
อยากให้ลูกมีพื้นที่ใน การปั่น คุณเองต้อง ฝ่าฟันปั่นให้ลูกเห็น - Nattapong Nithi-Uthai -
”
“รถคันนี้ไม่ต้องการน้ำ�มันออกเทนสูง แต่ต้องการออกไปเอนเตอร์เทนถี่มากกว่า” - Day Walker -
“หนูไปด้วย” - Oat Vanijyananda -
“ปั่นเพื่อประชาธิปไตยของเรา >..<’” - Tanapong Suwatwongchai -
“จักรยาน ปั่นคนเดียวก็ดี แต่ปั่นกับเพื่อนดีกว่า” - ภิรักษ์ อนุรักษ์เยาวชน -
“เดินทางช้าลง แต่ไปได้ด้วยสองขาของตัวเอง ได้เห็นความงามของ สิ่งรอบข้างมากขี้น แค่นี้ก็มีความสุขแล้ว” - Dum Phadungvichain -
“จักรยานสะท้อนเรื่องราวที่ทุกคนรับรู้ได้ด้วยตัวเอง” - Narongsak Prommala -
“Invisible ไม่เห็นคุณค่าเพราะไม่ได้ใช้ใจมอง” - แชมป์ วิทวัส สุภานุรักษ์ -
“สักวันหนึ่งจะไปให้ถึงฝัน....” - ชัชวาล ปัญญาเปรมจิต -
“บังเอิญ” มันบังเอิญจริงๆ ครับที่ได้ภาพนี้มา ถ้าจะให้สาธยาย ประวัติศาสตร์ของมันก็ประมาณว่า ภาพนี้อยู่ในทริปที่ ผมปั่นจักรยานขึ้นเขาขาดครับ เขาขาดเป็นสถานที่ท่อง เที่ยวเล็กๆอีกแห่งหนึ่งของภูเก็ต อยู่ใกล้ๆ แหลมพันวา ครับ สามารถขึ้นไปชมวิวเมือง วิวทะเล และพระอาทิตย์ ตกดินได้เป็นอย่างดี ทว่าความพิเศษของทริปนี้มันเกิด มาจากการที่ว่า ตอนที่ผมอยู่ภูเก็ต ผมก็ปั่นจักรยาน เที่ยวนี่แหละครับ แล้วก็ใฝ่ฝันว่าจะปั่นขึ้นแหลมพรหม เทพให้ได้ แต่ก่อนที่จะได้ไปแหลมพรหมเทพ เพื่อนผม มันบอกมาว่า “มึงปั่นขึ้นเขาขาดให้ได้ก่อน ถ้ามึงปั่นขึ้นเขาขาดได้ มึงก็ ปั่นขึ้นแหลมพรหมเทพได้” อ่ะ พอได้ยินเช่นนั้น ผมก็อยากลองของครับ ปั่น จักรยานขึ้นเขาขาดทันที... ก็เป็นอย่างที่เพื่อนมัันบอก แหละครับ “ถ้ามึงปั่นขึ้นเขาขาดได้ มึงก็ปั่นขึ้นแหลม พรหมเทพได้” ... แค่ 3 เนินแรกของการปั่นขึ้นเขาขาด ผมก็แทบจะเลิกแล้วครับ “แม่เจ้า จะโหดอะไรขนาดนั้น” ใช้เวลาปั่นขึ้นไปชั่วโมงหนึ่งครับ สนุกสนานครับ แทบ อยากจะกลับก็หลายครั้ง ทางก็ไม่รู้ แผนที่ก็ไม่ได้ช่วย อะไรเลย เหนื่อยก็เหนื่อย และมันมีอยู่เนินหนึ่งครับ
ที่แบบว่า เห็นแล้วแทบคลั่งอ่ะ “โอ้โห! มึงจะโหดอะไร ขนาดนั้น!! จะเอาไงดีกับชีวิตดีวะเนี่ย!!! จะไปต่อหรือ จะกลับดี!!!!” แต่สุดท้ายก็ปั่นไปถึงยอดเขาจนได้ครับ และไอ้เนินที่ว่านี้มันก็เหมือนกับเป็นเนินวัดใจคนอ่ะครับ คือ ถ้าปั่นผ่านมันขึ้นมาได้ ปั่นไปต่ออีกนิดเดียวก็ถึง ยอดเขาแล้ว... ตอนที่ปั่นไปถึงยอดเขาผมแทบจะหาธงมาปักเลยครับ “ถึงแล้วว้อย-ย!! แต่ระหว่างที่กำ�ลังดีใจ อยู่ดีๆ ความ คิดบางอย่างมันก็ปิ๊งขึ่นมา... “ถ้าผมปั่นกลับไปเพราะเนินที่ว่านั่น ผมคงรู้สึกแย่ไปทั้ง ชีวิต” ประมาณนี้แหละครับ ส่วนภาพนี้ที่ได้มาก็ ถ่ายมาตอน ขากลับครับ แวะพักข้างทางจะถ่ายรูปตัวเอง ก็ตั้งกล้อง เอาไว้ ตั้งเวลาเอาไว้ ไปยืนข้างจักรยาน แต่ดั้น-น กล้อง ที่ตั้งเอาไว้มันเกิดเอียงขึ้นมาแล้วผมก็เดินเข้าไปจะไป ตั้งกล้องให้มันกลับมาตรงเหมือนเดิม แต่ก็ไม่ทันครับ เวลา 10 วินาทีผ่านไปเร็วมาก “แชะ!” แล้วก็ได้ภาพ ที่สุดจะบังเอิญนี้ออกมานั่นแหละครับ - พัทธพล บัวล้อมใบ -
“เหมือนฝันแต่ไปได้จริง” - Dubble Ban -
“ขี่จักรยานแล้วเหมือนบินได้” - สุปรียา จันทะเหลา -
“ปั่นคนเดียวก็สนุก ปั่นหลายๆ คนโคตรหนุก” - บงการ เสมรัตต์ -
“สารพัดประโยชน์” - มณีแดง กุลทวีทรัพย์์ -
“แสงดาวเป็นผู้หญิงที่เคยหนัก 89 กิโล แต่วันนี้แสงดาวกำ�ลังถูกแสงอาทิตย์และ จักรยานลดทอนน้ำ�หนักของเธอจนผอม บาง จากที่เคยกอด ความอบอุ่นหายไปอย่าง หมดจด จากที่เคยหนักแน่ ตอนนี้แทบไม่ เหลือสิ้นความมั่นคง ทำ�ใมจักรยานถึงทำ�กับ แสงดาวของผมได้ถึงเพียงนี้......... กลับมาเถอะแสงดาว!!!” - อรวิษา ทาทิพย์์ -
“เราจะกู้วิกฤติรถติด ไปด้วยกัน!!!” - Pas Kiranuchitpong -
“ก่อนออกปั่น จะมีความสุขกับ การเตรียมจักรยานให้เข้าที่เข้าทาง จัดซ้ายจัดขวา ถ่ายรูป 1 ที แล้ว ออกลุยเลยครับ ^ ^” - Jiroj Karn -
“ผมอยู่บ้านนอกครับ มีเวลาปั่นแค่ ตอนเย็นๆ เห็นแต่ทุ่งนาเขียวๆ ครับ ^^” - วสันต์ สุขลักษณ์ -
“WAY....!” - Bandid Somjaikid รักในหลวง -
“เริ่มปั่นมาจะครบปีแล้วครับ ยิ่งปั่นยิ่งสนุก ได้ ไปเที่ยวต่างที่ต่างถิ่น ต่างจังหวัด วู้๊ว!!~สนุกมาก ครับ ใส่หมวกด้วยนะคับ ^^ จะได้ปลอดภัย” - อลงกรณ์ ปานคำ�ราม -
“ไม่ว่าจะไปสองต่อสองหรือพาเค้าไปเที่ยว กับเพื่อนๆ แบบในรูปจักรยานเค้าทำ�ให้เรา มีความสุขให้เราได้ตลอด” - Chaiyaporn Kumboon -
“2 ข้างทางมีอะไรดีๆ เยอะ หากไม่มุ่งเพียง สู่จุดหมาย” - ประภากร พันธุ์ขุนนาง -
“มิตรภาพ คงเป็นคำ�ที่ทำ�ให้ผมประทับใจ เมื่อนึกถึงจักรยาน จากการปั่นคนเดียว ตามเส้นทางเดิมๆ แต่ทุกวันนี้มันเป็น มากกว่าพาหนะชนิดหนึ่งไปแล้วครับ” - ตรีธวัฒน์ สมบูรณ์นิธิธร -
“ไม่ต้องมีคำ�บรรยายใดๆ สักคำ�ให้ลึกซึ้ง ไม่ต้องบรรยายอะไรให้สวยเลิศเลอ เพราะความรู้สึกตอนขี่จักรยานทุกครั้ง คือ ความสุข เหตุผลอื่นๆ นั้นเป็นแค่องค์ประกอบ เพิ่มเติมสวยๆ แค่เอาจักรยานไปปั่นซื้อของไม่ ถึง 500 เมตรเราก็สุขแล้ว” - ภูริช ภู่ธนานุสรณ์ -
“
การมีเพื่อนร่วมปั่นที่รู้ใจ เป็นอะไรที่มี ความสุขจริงๆครับ - ฐิตินันท์ สืบสะอาด -
”
“การใช้ชีวิตที่รีบเร่งมันทำ�ให้เราพลาดสิ่ง ต่างๆ ไป การกลับมาใช้ชีวิตที่ช้าลงทำ�ให้ รู้สึกเห็นสิ่งต่างๆ มากขึ้น เห็นสิ่งที่เราผ่าน ทุกวันสวยขึ้น เห็นรอยยิ้มคนที่เราไม่รู้ จักยิ้มให้ และการยิ้มตอบกลับไป พูดคุย ทักทาย รู้สึกว่ายังมีสิ่งต่างๆ ที่ทำ�ให้เราเก็บ ไว้ในความทรงจำ�เพิ่มขึ้นจริงๆ” - ประทาน คำ�แสน -
“เมื่อเธอมีส่วนร่วม เราก็ได้ปั่น” - พงศกร อารีศิริไพศาล -
อ่างแก้ว, ม.เชียงใหม่ : กันยายน 2555 “เพิ่งเอาจักรยานแม่บ้านไปไว้บ้านที่เชียงใหม่ บังเอิญมีคนเห็นโพส เลยชวนนัดบอดไปถ่าย pre wedding กับชาวจักรยานที่นั่น เลยลอง ปั่นแจมที่อ่างแก้ว วันนี้ก็อากาศดี ฟ้าใสสุดๆ ดีใจที่ เจ้าบ่าว-เจ้าสาว ปั่นจักรยานของเรา แล้วเราได้มุมที่ถูกใจมากๆ เจ้าบ่าว เจ้าสาวก็ ชอบรูปนี้มากด้วย ปลื้ม!” - Zwingzet Finally -
“การขี่จักรยานมันเป็นความสุขอย่างหนึ่ง ที่ปรากฏอยู่บนสองล้อ และสองขาของเรา ... ความสุขที่มีทั้ง อิสระภาพ มิตรภาพ และ สุขภาพ” - Wisapoy Lennon -
“เวลาที่มีความสุขที่สุด คือ เวลาที่อยู่บนเสือหมอบคันนี้ มันทำ�ให้เรามีอิสระ จะเร็ว...จะช้า...ก็อยู่ขาเรา ไม่เคยเสียใจเลยที่ได้ปั่นจักรยาน และรักจักรยาน และสังคมดีๆ จากพี่น้อง ชาวจักรยาน.....^^” - Wanit Puapang -
“ปั่นไปกินข้าวได้ไกลกว่าเดิน ไม่ต้องหาที่จอดรถให้วุ่นวาย ปั่นเที่ยวกับแฟนสนุกกว่าขับรถเล่น ปั่นออกกำ�ลังกับเพื่อนบ้าง ปั่นคนเดียวบ้าง อยากออกตอนไหนก็ออก อิสระดี ไม่ต้องรอครบคน ไม่ต้องจองสนาม ปั่นได้ทุกชนชั้น ปั่นแล้วมีความสุข ไม่ปั่นก็มีความสุข แค่นึกถึง” - วรวุฒิ แก่นจันทน์ / ช่างภาพอิสระ -
“ไม่รู้ว่า 30 กว่าปีที่แล้วบริษัท National ได้ไอเดียในการออกแบบ จักรยานคันนี้มาจากอะไร แต่ที่รู้คือ ในวันนี้ผลผลิตของพวกคุณมันมีค่า มากสําหรับผม เพราะมันทําให้ผมได้ เห็นโลกในองศาทีี่แตกต่างออกไป จากเดิม... ขอบคุณมากครับ คุณ ‘โคโนสุเกะ มัตสึชิตะ’ ผู้ก่อตั้งบริษัท National” - Valentino Townhouse -
“วันสบายสบาย เชียงใหม่เจ้า” - Wannarut Himwisad -
“หลังประตูนี้ เจ้าก็เป็นอิสระแล้ว” - ประภากร พันธุ์ขุนนาง -
“ตอนที่ผมรู้สึกว่า ผมต้องการอะไรใหม่ๆ ในชีวิต จักรยานก็เข้ามาในชีวิตผม ผมใช้เวลาเพียงแค่ 2 สัปดาห์ในการทำ�ความรู้จักกับจักรยาน แต่ว่า 2 เดือน ที่เราใช้ชีวิตร่วมกันมา จักรยาน คือ เรื่องใหม่ในชีวิต ที่ไม่ทำ�ให้ผมรู้สึกผิดหวังเลยจริง ผมได้รับความรู้สึก อิสระทุกครั้งที่ขึ้นคร่อม ผมได้เห็นคุณค่าของชีวิต ผมได้เวลาส่วนใหญ่ที่เสียไปกับการเดินทางในแต่ละวัน คืนกลับมา ทำ�ให้ผมมีเวลาทำ�อะไรมากขึ้น มากกว่าการ นั่งอยู่เฉยๆ เพื่อรอสัญญาณไฟเขียว ผมได้รูปร่างที่ ผมเคยภูมิใจในวัย 20 กว่าๆ กลับมาด้วย แต่สิ่งที่ทำ�ให้ ผมรู้สึกว่าจักรยานให้คุณค่ากับผมมากกว่านั้น มันคือ มิตรภาพที่ผมได้รับจากคนที่ปั่นจักรยานด้วยกัน มันทำ�ให้ผมรู้สึกว่าสำ�หรับคนที่ปั่นจักรยานแล้ว เราไม่รู้จักคำ�ว่าคนแปลกหน้า เราพร้อมจะส่งสายตาเป็น มิตรและรอยยิ้มให้กันเสมอ แม้เพียงเสี้ยวนาทีที่ สบตากัน มันคือ สิ่งมหัศจรรย์สำ�หรับผมจริงๆ” - EthanB -
“จานกะหยัก....ปีดีทุกท่าย....สบีจิงจายจาย” - ธวัช พันธุ์เจริญลักษณ์ -
“มีความสุขทุกครั้งที่ปั่นเธอ” - Thithanun Thongsinondchai -
“ชอบค่ะ ^^” - วรรณนรา จันทาพูน -
“ปั่นไปในที่เดิมๆ แต่การปั่นทำ�ให้ที่เดิมๆ มันมีความหมาย ^^” - ศุภาภัณฑ์ น้ำ�แก้ว -
“ความรู้สึก มันอิสระมาก เวลาเครียดมันเหมือน ได้ปลดปล่อยและมันเป็นมากกว่าจักรยาน เพราะ มันพาเราไปหามิตรภาพใหม่ๆ ในทุกๆ ครั้งที่เราได้ ปั่นมันออกไป” - ณรงค์ศักดิ์ สุทธิวานิช -
“ทุกครั้งที่อยู่บนจักรยานจะรู้สึกได้ว่า เรากำ�ลังสื่อสาร ระหว่างจักรยานของเรา ด้วยการมีสติในการปั่น โดย เฉพาะเส้นทางที่ต้องดีไซน์ก่อน เพื่อความปลอดภัยของ เราและจักรยานที่เรารัก ปั่นไปเรื่อยๆอย่างอิสระ แต่อย่า เจอน้องหมาละกัน สติสตังกระเจิงค่าาาาา..!!! Yui & My Tokyo Bike Bisou ” - UeeYa Worada -
“คณิศร วงศ์สุวรรณ นักศึกษาไอทีหน้าตาดีอยู่ปีสาม เพื่อนๆ ที่มอเรียกบอล เพื่อนๆ ที่ปั่นฟิกเรียกน้องบอลจะไม่ตอบโต้ เด็กหนุ่มวัยรุ่น รุ่นใหม่ที่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพกับนิยามคำ�ว่า “ปั่นจักรยานมีแต่ได้กับได้” ผมเชื่อว่า หลายๆ คนที่อ่านคอลัมน์นี้อาจจะไม่เคยปั่นจักรยานแบบจริงจังหรือเป็นประจำ�มา ก่อน เรามาดูว่า การปั่นจักรยานมีแต่ได้กับได้เป็นยังไง งั้นเอาประสบการณ์ตรงที่ผมได้มาเล่า แล้วกันนะครับ เริ่มแรกผมเริ่มจากการที่เห็นคนอื่นปั่นฟิกเกียร์ (ในตอนนั้นผมยังไม่รู้จัก) แต่เห็นว่า มันเท่ห์ มันสวย ก็เลยอยากลองบ้าง ก็เลยเก็บหอมรอมริบ ไปซื้อมาหนึ่งคัน ตอน แรกๆก็ปั่นเท่ห์ๆ อยู่แต่ในกรุงเทพฯ แต่ผ่านไปสักพักได้เห็นคนอื่นๆ ออกปั่นทริปไกลๆ บ้าง เรา ก็อยากปั่น พอเราได้เริ่มออกปั่นกับคนอื่นเราก็เริ่มแข็งแรงขึ้น สุขภาพดีขึ้นอย่างเห็นๆ จาก ตอนแรกปั่น 50 กิโลก็เหนื่อยแล้ว ก็เพิ่มเป็น 100 150 200 กิโลก็ยังปั่นไหว สิ่งที่ได้สิ่งแรก คือ เรื่องสุขภาพแบบเห็นๆ เลย ต่อมาได้ที่ 2 คือ ได้เรื่องมิตรภาพ พอผมได้ไปปั่นกับพี่ๆ น้องๆ นักปั่นคนอื่นๆ ก็ทำ�ให้ได้รู้จักคนมากขึ้น จากคนที่ไม่เคยน่าจะได้รู้จักกันไม่เคยคิดว่า จะ สนิทกันก็ได้จักรยานเนี่ยแหละที่ทำ�ให้ได้รู้จักกัน ได้ต่อมา คือ ช่วยโลกร้อน จากแต่ก่อนที่ผม นั่งรถเมล์หรือให้พ่อแม่มาส่งที่มหาวิทยาลัย เดี๋ยวนี้ผมก็ปั่นจักรยานมาแทน และยังมีเรื่องที่ได้อีกมากมายที่บรรยายในหน้ากระดาษนี้ไม่จบ แต่ถ้าคุณอยากรู้ว่าได้อะไรคุณต้องลองมาปั่นเอง” - คณิศร วงศ์สุวรรณ -
“ปั่นไปเรื่อยๆ ครับ” - Kw An -
“ซื้อมาแล้วก็ต้องปั่นครับ ถึงแม้จะได้ปั่นแค่เสาร์ อาทิตย์ แต่ก็มีความสุขแล้ว อาจจะดูว่าตามกระแส แต่ก็ใช้มันอย่างคุ้มค่า ถ่ายที่ asiatique” - Kwan Haha -
“... เช้าวันหนึ่ง เมษาคิมหันตฤดูปีกลาย พาเจ้า “ลำ�ดวน” ปีนป่าย โจนทะยานบุกท่อง “สามหลั่น” ป่าเบญจพรรณสระบุรีเขตต์ ฝ่าอุณหภูมิร้อน ผืนป่าแห้งผากกระหายโหย กิ่งไผ่เหลืองหักกรอบ ขวางทาง เฟริน์กาฝากเหี่ยวเฉา เกาะต้นไม้ใหญ่ ไร้ใบร่มเงา ทรายและหินลูกรัง อมความระอุ สะท้อนไอร้อน ให้สัมผัสเห็นตลอดเส้นทาง ดั่งเคลื่อนเที่ยวท่ามกลางไฟอเวจี ... บอกตัวเองตลอดเส้นทางหฤหรรษ์ว่า “...ต้องกลับให้ได้ และต้องไปให้ถึง ... !!?!” - Amorn Duangtaweethong -
“พาหนะคู่ใจ” - Atip Utaiwattananont -
“สักวันหนึ่งจะไปให้ถึงฝัน....” - ชัชวาล ปัญญาเปรมจิต -
“ปั่นให้ไกล ไปให้ถึง” - Fs Toey -
“จักรยาน และ มิตรภาพ” - Arm Kittinan -
“สองล้อ สองขา หนึ่งใจ ไปให้ไกลตามใจฝัน” - Chalong Thai -
“ที่เริ่มขี่เพราะอยากออกกำ�ลังกาย เริ่มจาก จักรยานธรรมดา ไปๆ มาๆ ก็เริ่มสนุก ก็เลย อยากมีแก๊งค์ ก็เลยอยากได้รถสมรรถภาพดีๆ ซักคัน เพื่อจะได้ขี่ได้ไกลมากกว่าเดิม จักรยานทำ�ให้ได้ท่องเที่ยวอย่างเสรี ทำ�ให้เราได้ อยู่กับความเป็นจริง เพราะได้ใช้ร่างกายความ รู้สึก ไม่เหมือนขับรถที่ใช้แต่เทคโนโลยี ส่วน จักรยานใช้ความรู้สึกของคน อยากจะเร็วจะช้า ก็ทำ�ได้ตามใจและกายของเรา (ขา 2ข้าง)” - ชลอ เพิ่มกสิวิทย์ -
“ผมไม่ได้ปั่นตามกระแสที่ผ่าน มาแล้วพ้นไป แต่ผมปั่นมันให้ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและจิตใจ” - กิตติพัฒน์ ไทยสถิตย์นภา -
“สำ�หรับผม จักรยานทำ�ให้ผมได้เห็นมุมมอง ใหม่ๆ แม้บางทีอาจจะต้องเสี่ยงดูบ้างก็ตาม - สันเขื่อนอุบลรัตน์” - Bom Bobby Buam -
“แค่ได้พาเจ้าสองล้อนี้ออกไปปั่นก็ ทำ�ให้เรามีความสุขแล้ว ^^... (ปั่นจักรยานสนุกไม่เครียด ดีกว่านั่ง รถติดให้จิตเสียน่ะจ๊ะ...!!!!)” - คงชาติ จั่นบุญมี / freelance -
“จักรยานนำ�พามาให้เรารักกัน ขอบคุณจักรยานที่ทำ�ให้เราได้มาเจอกัน ขอบคุณจักรยานที่ทำ�ให้เราได้อยู่ด้วยกัน ขอบคุณจักรยานที่ทำ�ให้เราได้รักกัน ขอบคุณจักรยานที่ทำ�ให้เราได้เดินทางไปด้วยกัน” - Fon Eng -
“ปั่นจักรยาน ให้สุขภาพ ความสุข สนุก และ ได้เพื่อน สังคมใหม่ๆ” - วีระพล กลิ่นฟัก -
“เท้า 2 ข้างของผม... เอาไว้เดิน... กับ... ปั่นจักรยานครับ...” - Kinfolk Lo Pro -
“จุดหมายของผม...อยู่แรงขาและกำ�ลังของผม ที่จะพาไป เพราะผมปั่นด้วยหัวใจนักสู้” - พันธนนท์ ส่งอภิธนะเสรี -
“ไปได้ทุกที่ ไปด้วยแรงของเราเอง” - ประพล ขจิตบริบูรณ์ -
“เกิดมาครั้งเดียว ต้องลองมันทุกอย่าง!!!... ผมคิดแค่นั้น...จริงๆนะครับ... ^___^...” - ณรงค์ชัย ประทุมสุวรรณ -
“ประทับใจตั้งแต่วัยเยาว์ จักรยานก็เหมือนเพื่อนเล่นไปไหนไปกัน ไม่ใช่มีแรงปั่นจักรยานอย่างเดียว ต้องมีใจที่แข็งแกร่งด้วย รวมกันเป็นหนึ่ง “พอล้อหมุนอารมณ์ก็เปลี่ยน let’s go” - ประเดิม ศรีศักดา -
“เพื่อนร่วมทาง และการเดินทาง สำ�คัญกว่าจุดหมาย” - คุณัชญ์ วชิระเธียรชัย -
“เขียวชะอมขึ้นรถไฟฟ้าฟรี ในวันที่จักรยานเป็นใหญ่ Car Free Day เย่!” - Swan Town -
“ลุย...มีบางสิ่งข้างนอกรออยู่ การได้นั่ง บนอาน แล้วออกไปพบกับซอกมุม ที่ แปลกตา นั่นแหละ คือ ความสุข” - beer -
“เคย..งง..ปั่นกันทำ�ไม..ว๊าาาา...ลองปั่น..สรุป...ติด” - ณิฐวัฒน์ ช้างชัย -
“ตั้งแต่ปั่นทัวริ่ง ชีวิตท่ีท่องเท่ียวอยู่แล้วก็ย่ิง ท่องเท่ียวเข้าไปอีก เหมือนนางฟ้ามีปีกแล้วติด ล้อ แผนการณ์ท่องเท่ียวชมโลกถูกจัดวางเป็น ลำ�ดับ แล้วเราจะได้เห็นโลกอีกมุมหน่ึง...” - Nooning Ningnoo -
“free like a bird” - Moogisland Panx -
“ได้ปั่นจักรยานก็เหมือนติดปีก ... อยากจะโบยบินไปไหนก็ไปได้ ^__^” - Nile Panot -
“เรียบง่ายและเป็นกันเอง” - พรกวี นิติเกษตรสุนทร -
“ปั่นได้ไม่มีวันหยุด แม้ขาหลุดก็ไม่หยุดปั่น” - วิศรุต บุญมี -
“ประทับใจจักรยานสุดที่รัก ที่ชื่อเหมือนกัน “Cirvas” สถานที่ เชียงใหม่ ขอบคุณเพื่อน พี่ น้องที่ร่วมปั่นวันนั้นมากก ไม่ว่าจะที่ไหน จักรยานจะสร้างแต่มิตรภาพค่ะ” - ซี -
“เคยฟังเพลง ของ แชมป์โลกชาวไทย” เขาทราย แกแล็กซี่ไหมครับ ??? จักรยาน จักรยาน สองล้อ ไม่ต้องรอ ไม่ต้องรอน้ำ�มัน ตอนนั้น ลิตรละ สิบกว่าบาท ตอนนี้ ไม่สนใจมันแล้ว ว่าราคาน้ำ�มันเท่าไหร่ ^____^ ปั่นจักรยาน ดีกว่า 55555” - นัทที ศรีถม -
“ไม่เคยปั่นไปไกลนอกรัศมี 10 กิโล ปั่นไปซื้อน้ำ�เต้าหู้บ้าง ปั่นออกไปช่วยตาทำ�สวน... ปั่นเเล้วสุขภาพดี” - รัชภรณ์ มูลประจักร์ / 27 ปี / รับจ้าง -
“พาลูกชายไปเที่ยวเขื่อนขุนด่านปราการชล.....” - Intouch Rattanatai -
“จักรยานเป็นได้หลากหลาย ปั่น ผ่อนคลาย หรือ รถครอบครัว” - นทชัย ปลุกใจเสือ -
“ปั่นไปด้วยความหวัง.. ตามหาแสงแห่งตะวัน..ในความจริง” - สิงห์ชัย โชติวัฒน์ -
“มัน คือ สีสันของชีวิต มันคือ ภาหนะคู่ใจจนเกินกว่าจะเรียกว่า จักรยาน” - Sompote PoolannaUndomagazine -
“จักรยาน Chevy ครับ ซื้อมาขี่เพราะอยากสัมผัส ลมในเมืองแสน แออัดที่พยายามจะเป็นเมืองจักรยานฮะ คันนี้ซื้อมามือสอง แต่ปั่นนิ่มสบายมาก คล่องตัวสุดๆ เวลาซอกแซกตามซอยนั้น สะดวกยิ่งนัก แถมเวลาอยากจะเร่งสปีดก็ สามารถทำ�ได้สุดๆ เหมือนกัน” - Taekun -
“ตอนน้ำ�ท่วมปีที่แล้ว ผมผ่านไปเจอจักรยาน สองคันนี้ถูกเข็นมาทิ้งที่กองขยะ สนิมเต็มคัน ผมจึงเก็บมาแล้วทำ�ให้มันมีชีวิตอีกครั้งด้วยมือ ของผมเอง หลังประกอบเสร็จ จักรยานสอง คันนี้ทำ�ให้ผมนึกถึงตอนที่แม่ซื้อจักรยานคัน แรกให้มันทำ�ให้ผมหลงรักจักรยานอีกครั้งจน กระทั่งทุกวันนี้” - ชานนท์ ภาคเจริญ (ใหม่) -
“รักในการปั่นจักรยานและซ่อมจักรยาน มากครับ ทุกวันนี้ผมใช้ชีวิตประจำ�วัน กับจักรยานตลอดครับ ไปทั้งใกล้และไกล ส่วนตัวแล้วผมว่าการปั่นจักรยานได้อะไร มากมายกว่าที่เราคิดเอาไว้เยอะแยะมากมาย เลยครับ สุดท้ายนี้ออกมาปั่นกันเยอะๆนะ ครับเพื่อสุขภาพ และมิตรภาพที่ดี” - ต้นมาปั่น -
“สีสรรกำ�แพงเมือง” - Abduloh Loh -
“จักรยานทำ�ให้ผมห่างจากการดื่มจัด ได้ค้นหาและทบทวนเรื่องราวการใช้ชีวิต ของตนเองที่ผ่านมา และจะก้าวไปอนาคต ในช่วงขณะที่ร่างกายเราขับเคลื่อนพร้อม สายตาที่เพ่งมอง ตรงไปเส้นทางข้าง หน้าที่เราจะปั่นไป ... ให้ถึง” - จักรกริช บรรพลา -
“ปั่นเอามัน เอาฮา เอาสนุก และสุดๆ ไปกับมัน” - สาธร รสรุ่ง -
“สิ่งที่ทำ�ให้ผมปั่นจักรยานนั่น คือ ความรู้สึกทุกข์ และ เมื่อผมได้มารู้จักจักรยาน มันทำ�ให้เกิดความสุข ทุกๆ ครั้งที่เดินทางไปไหน ไม่ว่าจะไกลหรือ ใกล้ สิ่งที่ทำ�ให้ ชีวิตประจำ�วันผมดำ�เนินต่อไปได้ และ ยังอยู่กับผมไม่ว่า จะเป็นอย่างไร ก็มีแต่ “จักรยานคันนี้ละครับ” เพราะมัน ทำ�ให้ผมพบประสบการณ์หลายอย่าง และมากเกินกว่า ที่จะอธิบาย” - เนส -
“ปี 2010 ปั่นเล่นบนวัดป่าสุคะโตครับ” - Joez Jsp -
“วันหยุด” - โจ้ ถีบ จักรฯ -
“อิสระ ทางความรู้สึก ” - ศุภวิทย์ ศรีวิเชียร -
“น้องอัง (อังสุมาลิน) กับผมอาร์ต เราสองไป ด้วยกันแทบทุกที่ครับ ทำ�งาน กลับบ้าน ซื้อของ ถ้าไม่จำ�เป็นจริงจะไม่แยกจากกันครับ” - Ko Art Karb -
“...การขี่จักรยานทำ�ให้ผมรู้สึกได้ถึงทุกๆ อย่าง รอบๆ ตัวเรา ได้มากขึ้นไปอีกครับ” - พิเชฐ ชวนะวานิชวุฒิ -
“ปั่นออกกำ�ลังกายวันแรกด้วยระยะ 4.3 กิโลครับ 24 นาที กำ�ลังเหงื่อออกเลย” - Ter Tenere -
interview with
แค่คนธรรมดาอย่างพวกเรา เวลา จมน้ำ� หากว่ายน้ำ�ไม่เป็น ก็ช่วยเหลือตัว เองลำ�บากแล้ว แต่ลองมองอีกมุมหนึ่งว่า แล้วถ้าคนพิการ หูหนวก ตาบอด หรือ ร่างกายผิดปกติช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เมื่อพวกเขาจมน้ำ�แล้วจะเป็นอย่างไร และนี่จึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับ “ครูพายุ ณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม” ครูหนุ่ม อดีตนักกีฬาว่ายน้ำ�เยาวชนทีมชาติ จาก จังหวัดเชียงใหม่ ริเริ่มโครงการสอนว่าย น้ำ� เพื่อเด็กด้อยโอกาสและเด็กพิการกลุ่ม ต่างๆ ด้วยความเชื่อที่ว่า หายนะจากการ จมน้ำ� เกิดได้กับทุกคน ไม่ว่าจะยากดีมีจน ขนาดไหน และไม่เว้นแม้แต่คนปกติและคน พิการ และวันนี้เราจะมาฟังเขาบอกเล่าเรื่อง ราวถึงที่มาที่ไป และแรงบันดาลใจที่เขา อยากส่งต่อให้กับทุกๆ คน
Interview and photo by Atom
จุดเริ่มต้นมาสอนว่ายน้ำ�ได้อย่างไร? พี่เคยเป็นครูสอนว่ายน้ำ�เด็กปกติมาก่อน พี่เริ่มต้นครั้ง แรกในการสอนเด็กปกติว่ายน้ำ� แต่พื้นฐานที่มาสอนว่าย น้ำ�ได้เพราะว่า เป็นนักกีฬาว่ายน้ำ�เยาวชนทีมชาติไทย เริ่ม สอนว่ายน้ำ�เพราะเหตุผลเดียวก็คือว่า อยากมีรายได้ ระหว่างเรียน ในช่วงแรกก็เลยสอนเด็กปกติ แล้วเริ่มมาสอนว่ายน้ำ�ให้กับเด็กพิเศษตอนไหน? หลังจากนั้นก็มีผู้ปกครองท่านหนึ่งพาเด็กพิเศษมาให้พี่ สอนว่ายน้ำ� ทราบภายหลังว่า เป็นออทิสติก ตอนนั้นคุณ แม่บอกว่า น้องคนนี้เป็นออทิสติก แต่ตอนนั้นตัวพี่เองก็ ไม่รู้ว่าออทิสติกคืออะไร ตอนนั้นเข้าใจความหมายเดียว ว่า เด็กออทิสติก คือ เด็กปัญญาอ่อนแน่เลย ไม่มีความ สามารถในการเรียน หรือเด็กพิการ นี่คือในความเข้าใจ ในช่วงแรกๆ หลังจากนั้น ก็เลยเริ่มต้นตัดสินใจค่อยๆ ศึกษาว่าออทิสติกคืออะไร ก็เลยไปเจอศักยภาพบางอย่าง ภายหลังว่า เด็กออทิสติกบางคนมีความสามารถเยอะ อย่างน้องที่สอนเนี่ย มีความสามารถในการจำ�หมายเลข ทางหลวงประเทศไทยได้ด้วย ก็เลยตัดสินใจศึกษาเรื่อง ออทิสติกเป็นครั้งแรก สอนมาแล้วกี่ปีครับ? จากวันนั้นถึงวันนี้ก็ปีที่ 6 จากการเรียนรู้ในเรื่องเด็ก ออทิสติกแล้วก็เด็กพิการกลุ่มอื่นๆ ด้วย แล้วมาสอนเด็กออทิสติกแบบจริงจังตอนไหน? โดยทั่วไปแล้วต้องยอมรับก่อนว่าใน 60 ล้านคน เด็ก พิการมีแค่บางจำ�นวน คือ ไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่า น้อยมาก มีเด็กพิการไม่เยอะ พอมีเคสเด็กออทิสติกนั้น แล้ว ก็เริ่มมีการสื่อสารแบบปากต่อปากในหมู่ผู้ปกครอง ว่า ครูคนนี้สอนเด็กออทิสติกได้ ก็เริ่มมีนักเรียนจาก ภายนอกเข้ามาเรียนว่ายน้ำ�เยอะขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุผล เดียวก็คือว่า ผู้ปกครองเด็กออทิสติกไม่สามารถหาครู สอนว่ายน้ำ�เด็กออทิสติกได้ เพราะว่าครูส่วนใหญ่มักจะ เลือกสอนแต่เด็กปกติ เพราะว่ามันง่ายกว่า เป็นกลุ่มแล้วก็ ทำ�เงินได้เยอะกว่า ซึ่งครูสอนว่ายน้ำ�เด็กออทิสติกในตอน นั้นเนี่ย ยังไม่มีใครประกาศตัวออกมาอย่างชัดเจนว่า ตนเองจะเป็นครูสอนว่ายน้ำ�ด้านเด็กพิเศษ พอมีคนทราบ แบบนี้ คนก็เลยเริ่มอยากเข้ามาเรียนว่ายน้ำ�มากขึ้นที่เป็น เด็กพิเศษเนี่ยครับ
ครูสอนว่ายน้ำ�สำ�หรับเด็กพิเศษ หายากมาก? คือ จะบอกแบบนี้ว่า ถ้าจะมาสอนว่ายน้ำ�เด็กออทิส ติก ต้องมีศาสตร์อยู่ประมาณ 2-3 ศาสตร์ ศาสตร์ แรก คือ ศาสตร์แห่งการสอนว่ายน้ำ� ซึ่งผมต้องบอก แบบนี้ครับว่า ในประเทศไทยเองไม่ได้มีคณะทางด้าน ว่ายน้ำ�โดยเฉพาะ คณะที่ใกล้เคียงที่สุดก็ คือ ด้าน พละศึกษา แต่ว่า ว่ายน้ำ�ในวิทยาลัยพละหรือสถาบัน อื่นๆ เนี่ย ก็จะมีกีฬาว่ายน้ำ�แทรกอยู่ 2-3 ตัวเท่านั้น คือ มีนิดหน่อย ไม่ได้มีเยอะ มี 6 หน่วยกิต มี 10 หน่วยกิต ซึ่งถามว่าเฉพาะทางด้านว่ายน้ำ�มีไหม ใน สาขานี้จริงๆ แบ่งแยกออกมายังไม่มี ซึ่งตรงข้ามกับ สาขาอื่นๆ อย่างวิศวกร ประเทศไทยมีสาขาทางด้าน วิศวกร จบมาพร้อมทำ�งาน แต่ว่ายน้ำ�ไม่ใช่ ว่ายน้ำ�ก็ ต้องมาหาครูสอนว่ายน้ำ� ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีเฉพาะ ทางด้านนี้ อันนี้ คือ ข้อหนึ่งที่ยากแล้วนะครับ แต่ที่ ครูสอนว่ายน้ำ�ที่เราเห็นกันเยอะแยะเนี่ย เพราะสอน ด้วยประสบการณ์ทั้งสิ้น อันที่สอง นอกจากศาสตร์ทางการสอนว่ายน้ำ� เป็นแล้ว ยังต้องมีศาสตร์แห่งการศึกษาพิเศษ การ เรียนรู้เรื่องเด็กพิการ ซึ่งต้องเอามาบูรณาการ เอง อย่างผมเองก็ยอมรับว่าไม่ได้จบด้านว่ายน้ำ� มาโดยตรง เพราะเป็นแค่นักกีฬาว่ายน้ำ� ซึ่งในต่าง ประเทศจะมีสาขาการว่ายน้ำ�โดยตรง ในเมืองไทยก็
นับว่า ค่อนข้างจะจำ�กัด เพราะฉะนั้นการสอนว่ายน้ำ� ในเด็กพิการยังแทบเป็นไปไม่ได้เลยครับ ถ้าหมายถึง ในเรื่องของการตรงสายจริงๆ เด็กพิการกลุ่มต่างๆที่มาเรียนว่ายน้ำ�ต้องเสียค่าใช้ จ่ายอะไรบ้าง? การสอนว่ายน้ำ�ในเด็กพิการมีสองประเภท ประเภท แรกคือ เด็กออทิสติก ในเด็กออทิสติกเนี่ยการ เรียนว่ายน้ำ� การเรียนการสอนจะต้องเป็น Private Class หรือเรียนเดี่ยว เพราะเราซีเรียสเรื่องความ ปลอดภัย ซึ่งการเรียนเดี่ยวคือ นักเรียน 1 คน ต่อ ครู 1 คน ถ้าเด็กมา 5 คน ก็ต้องใช้ครู 5 คน ซึ่ง ผมเนี่ยจะทำ�ฟรี แต่ในครูอีกหลายท่านก็ต้องมีค่าใช้ จ่ายให้เขา ดังนั้นการเรียนว่ายน้ำ�ในเด็กออทิสติก ยังจำ�เป็นต้องเป็นการเรียนแบบมีค่าใช้จ่าย ตรงกัน ข้ามในเด็กพิการบางกลุ่ม เช่น ในเด็กตาบอด ซึ่ง สมองปกติ สามารถเรียนกันเป็นกลุ่มได้ เราก็จะ ทำ�โครงการเป็นการกุศลขึ้นมา เรียน 3- 6 เดือน เด็กร่างกายพิการก็ทำ�โครงการขึ้นมาเหล่านี้ครับ เป็นการกุศลในเด็กพิการกลุ่มอื่นๆ แต่ในเด็กออ ทิสติกยังต้องมีค่าใช้จ่าย เพราะมีเรื่องของการจ้าง ครูขึ้นมา
ความแตกต่างในการสอนเด็กแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร? แตกต่างค่อนข้างเยอะครับเพราะว่า ในเด็กออทิส ติกเนี่ย เราต้องบอกว่าเป็นความพิการกลุ่มเดียวที่มี ความพิการทางด้านสมอง ซึ่งการทำ�งานอะไรต่างๆ มันต้องใช้สมองเป็นหลักถูกไหมฮะ เพราะฉะนั้น เด็กออทิสติกเนี่ยจะมีปัญหาเรื่องการฟังคำ�สั่ง ถ้า มีปัญหาเรื่องการฟังคำ�สั่ง ความยากมันจะเกิดขึ้น ทันที แต่ตรงกันข้ามกับในเด็กพิการกลุ่มอื่นๆ เช่น ตาบอด ร่างกายพิการ แขนขาขาด รวมถึงเด็กหู หนวก ถึงเขาจะร่างกายพิการแต่สมองปกติ การฟัง คำ�สั่งก็ยังเป็นเรื่อง่าย เช่น ผมบอกให้หยุด บอกให้ นั่ง เขาก็ทำ�ปกติ เพราะฉะนั้นเด็กพิการกลุ่มอื่นๆ จะ ไม่มีความยากในเรื่องการฟังคำ�สั่ง แต่จะมีความยาก ในแต่ละด้าน เช่น เด็กตาบอดอาจจะมีเรื่องของระบบ การทรงตัว ในเด็กร่างกายพิการอาจจะมีปัญหาใน เรื่องการใช้กล้ามเนื้อทดแทน เช่น บางคนกล้ามเนื้อ อ่อนแรงข้างซ้าย จะทำ�อย่างไรให้เขาว่ายน้ำ�ได้ ก็ต้อง เอากล้ามเนื้อส่วนอื่นๆมาทดแทน ดึงแขนขวาให้หนัก ขึ้นอย่างนี้ครับ ซึ่งถ้าถามผมว่าอะไรยากที่สุด ก็ต้อง ตอบว่าเด็กออทิสติกยากที่สุดครับ เพราะว่าเด็กออ อทิสติกคาดการณ์ไม่ได้ ว่าจะต้องเป็นภายในระยะ เวลาเท่าไร อย่างไร ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล เพราะออ ทิสติกเนี่ย ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ภายนอกพอสมควร แต่ผมต้องเรียนก่อนนะครับ ว่าการว่ายน้ำ� เป็นเพียงแค่อีกช่องทางหนึ่งในการ เข้าไปช่วยเหลือ ไม่ได้รักษา ผู้ปกครองหลายคนโทร มาถามว่า คุณครูสามารถรักษาเด็กออทิสติกโดยใช้ น้ำ�ได้จริงหรือเปล่า ผมตอบเลยว่าไม่จริงครับ ผม เป็นแค่ครูสอนว่ายน้ำ�ธรรมดา ที่เอาน้ำ�มาช่วยเด็ก ช่วยในเรื่องบางเรื่อง เช่น Physical ช่วยแค่ให้ ร่างกายเด็กแข็งแรง แล้วก็ให้เด็กว่ายน้ำ�เป็น แต่การ บำ�บัดเกิดขึ้นทางอ้อม ซึ่งงานวิจัยในต่างประเทศมัน มีอยู่แล้ว แต่ว่าเราพูดไม่ได้เต็มปากครับ เพราะว่าเรา ไม่ได้เป็นนักบำ�บัด
การว่ายน้ำ�เหมือนเป็นตัวช่วยเขาทางหนึ่ง? เป็นการช่วยทางอ้อมถูกต้องครับ ในเด็กออทิส ติกเนี่ย จะมีปัญหาในเรื่องของการทรงตัว ว่ายน้ำ� ก็จะข้าไปช่วยในเรื่องของการทรงตัวครับ อย่าง เช่น การทำ�ท่าปลาดาว ถ้าทำ�ไม่ได้ก็แสดงว่าระบบ การทรงตัวร่างกายไม่ดี เขาก็จะไม่สามารถบาลานซ์ ตัวได้ ถ้าเขามีปัญหาเรื่องสหสัมพันธ์ เขาก็จะเตะขา ฟรีสไตล์ไม่ได้ ถ้าเราฝึกจนเขาเตะขาฟรีสไตล์ได้ ก็ เท่ากับสหสัมพันธ์ดีขึ้นนั่นเองครับ กีฬาว่ายน้ำ�มีความสำ�คัญมากแค่ไหน? ที่ผมมักจะพูดเสมอๆครับว่า กีฬาว่ายน้ำ�เป็นกีฬา ชนิดเดียวที่ถ้าไม่เป็นแล้วเสียชีวิต กีฬาอื่นเนี่ยไม่ เป็นแล้วไม่เสียชีวิต บอลเตะไม่เป็นแล้วไม่ตาย บาส เล่นไม่เป็นก็ยังไม่ถึงกับเสียชีวิต แต่ว่ายน้ำ�เนี่ยถ้า ไม่เป็นแล้วมันถึงแก่ชีวิต เพราะฉะนั้นรัฐบาลเลย ประกาศครับว่า ให้กีฬาว่ายน้ำ�เป็นวิชาบังคับของ ระบบการศึกษาไทย เพราะว่าในปีหนึ่งๆเด็กไทยจม น้ำ�เยอะมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราเจออุทกภัยบ่อย มาก ผมไม่ได้สำ�รวจแบบเป็นจริงเป็นจังนะครับ แต่ เรามองสภาพการณ์ในประเทศไทย เราเจอปัญหา เรื่องอุทกภัยบ่อยมาก ผมว่าว่ายน้ำ�เป็นสิ่งจำ�เป็น เลยล่ะครับ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามก็ควรเรียนว่ายน้ำ�ไม่เว้น แม้แต่คนปกติแบบเรา? มีโครงการหนึ่งที่ผมสอนว่ายน้ำ�ให้กับเด็กหูหนวก ผมไปประกาศปาวๆครับว่า เด็กหูหนวกตะโกนไม่ได้ ถ้าจมน้ำ�แล้วจะเป็นอย่างไร แต่ตอนนี้ผมเปลี่ยนคำ� พูดแล้วครับ คนปกติถ้าน้ำ�เข้าปากแล้วจะทำ�อย่างไร ก็อย่าว่าแต่พูดได้เลยครับ พอจมน้ำ�ปุ๊ปแค่น้ำ�ท่วม ปากก็จบ ไม่สามารถตะโกนได้แล้ว เพราะฉะนั้น จำ�เป็นต้องเรียนทุกคนไม่ใช่แค่เด็กพิการครับ
“
อาจไม่ใช่คำ�พูดที่ดูเกินจริง หากจะบอกว่ากีฬาว่ายน้ำ� เป็นกีฬาชนิดเดียวที่ ถ้าไม่เป็นแล้วเสียชีวิต เพราะเมื่อลองมองดูสถิติที่ ว่าเด็ก ไทยจมน้ำ�ตายปีละ 1,500 คน จะเห็นว่า ภัยจากการจมน้ำ�นั้น ไม่ใช่เรื่องเล่น นับเป็นภัยอันดับต้นๆ ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเราก็คงไม่อยากให้คนที่เรา รักต้องจากไปเพราะภัยชนิดนี้ - ครูพายุ ณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม -
”
โครงการสอนว่ายน้ำ�ให้กับเด็กพิการกลุ่มต่างๆ นี่เริ่มด้วยตัวเองทั้งหมดเลย? ใช่ครับ ผมก่อตั้งเอง เริ่มเอง คอนแทคเอง จากโนเนมไม่มีใครรู้จัก ผมก็เริ่ม ต้นจากการเข้าไปคุยกับผอ.โรงเรียนว่า อยากจะมีโครงการในเรื่องของเด็กพิการ ทางการได้ยิน เด็กตาบอดผมก็เข้าไปคุยกับโรงเรียน เพื่อทราบถึงปัญหาของเด็ก ว่าคืออะไร เงินก้อนแรกก็ขอบริจาคจากผู้ปกครองเด็กออทิสติกที่ผมสอนครับ เอาไปช่วยเด็กพิการกลุ่มอื่นๆ เพราะผู้ปกครองเด็กออทิสติกบางส่วนก็พอจะมี รายได้ พอมีฐานะ ก็เอาเงินจากผู้ปกครองกลุ่มนี้ ไปช่วยเด็กพิการบางกลุ่ม เช่น เด็กหูหนวก เราไม่ได้เงินซัพพอร์ทจากองค์กรไหน ก็ใช้วิธีการขอบริจาคในช่วง แรกๆ ครับ
แบบนี้มีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง กว่าแต่ละโครงการจะสำ�เร็จได?้ ปัญหาของโครงการไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินสนับสนุนครับ แต่ผมว่า มันขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ ลงมือทำ�ครั้งแรก อุปสรรคมันค่อนข้างเยอะนะครับ ทั้งคนต่อต้าน สั่งให้หยุดก็ดี บอกว่า ไม่ต้องทำ�ต่อก็ดี เพราะว่า โครงการเหล่านี้ทำ�แล้วไม่ได้ประโยชน์ ผมต้องเรียนก่อนนะครับ ว่า ที่บ้านผมก็ไม่ได้มีฐานะ เพื่อนๆ หลายคนก็บอกว่า ทำ�ไมไม่หยุด แล้วก็ออกไปหาอาชีพ อย่างอื่นๆ ทำ� ทำ�ไมต้องมาทำ�แบบนี้ด้วย เพราะฉะนั้นอุปสรรคก็จะเป็นเสียงจากคนรอบ ข้างมากกว่า ที่เขาไม่ได้สนับสนุนในช่วงแรก
แล้วอะไรเป็นแรงบันดาลใจหรือเป็นกำ�ลังใจให้เราทำ�ต่อไป? ถามว่าเป็นแรงบันดาลใจหรือเปล่า ผมรู้สึกว่า มันเกิดขึ้นกับตัวผมเองมากกว่า หลังจากที่เริ่ม ศึกษาเรื่องออทิสติกจริงๆ จังๆ ก็เลยได้มีโอกาสได้ไปรู้จักกับหมอของเด็กออทิสติก ก็คือ นักกิจกรรมบำ�บัด ได้นั่งพูดคุยแล้วก็ได้นั่งลิสต์รายชื่อจนทราบความผิดปกติของตนเองใน ตอนเด็กว่า ผมเคยมีภาวะของ ADHD คือ ภาวะของเด็กสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง จนเรียกว่า มันเป็น โรคเลย ซึ่งมันสามารถรักษาได้ แต่ตอนนั้นการแพทย์ยังไม่พัฒนา ผมก็เลยไม่ได้โดนบำ�บัด แต่ ว่า คุณพ่อพาไปว่ายน้ำ� ผมก็เลยดีขึ้นกับน้ำ� ผมเลยคิดว่า ถ้าน้ำ�ทำ�ให้ผมดีได้ ก็น่าจะดีกับเด็ก พิการกลุ่มอื่นๆ ด้วย ก็เลยเป็นโครงการและที่มา แล้วเป็นแรงบันดาลใจว่า ผมอยากจะส่งต่อ ความรู้สึกเหล่านี้ให้กับเด็กพิเศษและอยากส่งต่อให้กับเด็กพิการเหมือนกัน เพราะว่าถ้าผมดีได้ เขาก็น่าจะดีได้
ประสบการณ์หลายปีมานี้ การสอนว่ายน้ำ�ให้อะไรกับเราบ้าง? สิ่งที่ให้กับผมอันดับแรก คือ ทำ�ให้ได้รู้จักกับคนมากขึ้น รู้จักผู้ใหญ่มากขึ้น อันที่สองทำ�ให้รู้จัก เด็กพิการมากขึ้น และได้เรียนรู้ชีวิตเขามากขึ้น รู้ว่าปัญหาของเขาคืออะไร และอะไรคือวิธีการแก้ไข ปัญหาในการว่ายน้ำ�ของเด็กพิการกลุ่มต่างๆ แล้วก็ที่สำ�คัญที่สุดเลยก็คือเรามีโอกาสได้ถ่ายทอด วิชาให้กับคนรุ่นหลัง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำ�คัญที่สุด สิ่งที่ผมกำ�ลังทำ�ตอนนี้ คือ การพยายามไป ทำ�โครงการในต่างจังหวัด เพื่อให้ครูในพื้นที่ได้มีโอกาสสอนเด็กพิการให้ว่ายน้ำ�เป็น ซึ่งทุกครั้ง ที่ผมเดินทาง ผมจะไม่เอาครูในทีมผมไปเลย ผมก็จะไปหาครูในท้องที่เพื่อจะสอนว่ายน้ำ� นั่นก็ หมายความว่า ถ้าไม่มีผม ในอนาคต ถ้ามีงบประมาณเขาก็สามารถทำ�เองได้
เป็นการไปส่งต่อความรู้? แต่ก็ต้องเรียนก่อนว่าสิ่งที่ผมมอบให้เป็นประสบการณ์ ตรง ไม่ใช่ประสบการณ์ในห้องเรียน ไม่ได้เป็น ประสบการณ์จากหนังสือ แต่เป็นประสบการณ์ตรง ที่ผมพยายามลองผิดลองถูก จนประสบความสำ�เร็จ แล้วก็ได้ทำ�ให้เด็กว่ายน้ำ�เป็น ซึ่งเป้าหมายของครูสอน ว่ายน้ำ� คือ ผมเชื่อว่าเรามีเป้าหมายเดียวกันครับ คือ ให้เด็กว่ายน้ำ�เป็น ซึ่งผมว่าผลลัพธ์อันนี้อันเดียวก็น่า จะเพียงพอ มีอะไรอยากจะฝากบอกเพื่อเป็นกำ�ลังใจให้กับคนที่ กำ�ลังทำ�งานเพื่อสร้างสรรค์สังคมบ้างครับ? คนแรกที่อยากจะบอกก่อนก็คือ เพื่อนๆของผม เพื่อนๆ ของผมอีกพันๆ หมื่นๆ คน คือ ครูสอนการ ศึกษาพิเศษ หรือครูสอนเด็กพิการ ผมเชื่อครับว่าการ สอนเด็กพิการไม่ใช่เรื่องสนุก แล้วก็ไม่ใช่เรื่องน่า พิสมัย เพราะว่าการอยู่กับเด็กพิการ นอกจากจะเกิด ความยากลำ�บากแล้ว ยังต้องใช้ความรัก การสอนเด็ก พิการ อย่าทำ�เพราะความสงสาร เพราะถ้าทำ�เพื่อความ สงสารแล้วเราจะทำ�กับเขาได้ไม่นาน ถ้าอยากจะช่วย เหลือเค้าให้ช่วยเหลือเพราะความรักที่อยากจะทำ�จริงๆ เราจะอยู่กับเขาได้ตลอดชีวิต ซึ่งมีครูศึกษาพิเศษอีก หลายพันคนที่ปิดทองหลังองค์พระปฏิมาอยู่ หลาย คนได้ทุ่มเทชีวิตให้กับเด็กพิการ แน่นอนครับว่า ค่า ตอบแทนเนี่ยแสนจะน้อยนิดกับสิ่งที่เขาทำ� ผมอยากให้ เค้าอดทนครับ เพราะเราต้องโชว์ศักยภาพให้ดูครับว่า ประเทศที่กำ�ลังพัฒนาแบบเราก็สนใจเด็กพิการ เพราะ ในต่างประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว เขาให้ความสำ�คัญกับ เด็กพิการมาก ถ้าเราอยากเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น กัน เราก็ต้องดูแลและใส่ใจเด็กพิการเช่นเดียวกัน ผมก็อยากจะฝากไปถึงผู้ใหญ่ข้างบนครับว่า วันนี้เด็ก พิการมีศักยภาพเยอะมาก แต่เขาขาดสิ่งเล็กๆสิ่งหนึ่งที่ เรียกว่าโอกาส ถ้าเขาไม่มีโอกาส เขาก็ไม่สามารถทำ�สิ่ง ที่ยิ่งใหญ่ได้ ถ้าผมไม่มีโอกาส ก็มาเป็นผมแบบวันนี้ไม่ ได้ เพราะฉะนั้นโอกาสสำ�คัญที่สุด ผมว่าเราเปิดเวทีแล้ว ก็ให้โอกาสเขา เขาจะทำ�ทุกอย่างด้วยตัวเองได้ครับ
ตอนนี้มีโครงการอะไรบ้างที่จะทำ�ในอนาคต? แพลนใน 5 ปี คือ การออกต่างจังหวัด แล้วก็ไปตาม หัวเมืองต่างๆ ปีที่แล้วผมไปขอนแก่น ปีหน้าอาจจะไป โคราช พิษณุโลก ภูเก็ต หรืออื่นๆตามมา แต่ตอนนี้ยัง ไม่ได้แพลนไว้ แต่ว่าที่แพลนไว้ก็คือ ออกต่างจังหวัด ปีละ 1 ครั้ง เพื่อไปสร้างสรรค์ ไปช่วยเหลือแล้วก็ไป ถ่ายทอด ผมก็ยังไม่มีองค์กรเหมือนเดิม ยังคงทำ� คนเดียวเหมือนเดิม ก็ยังต่อสู้เหมือนเดิม แล้วก็คงยัง พยายามเหมือนเดิม คงยังไม่เปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่า เราจะยังไม่มีองค์กร เรายังจำ�เป็นต้องทำ�อยู่ แต่ผมก็ พยายามที่จะไปร่วมมือกับองค์กรต่างๆครับ เพื่อทำ�ให้ งานมันง่ายขึ้นครับ สมัยเรียนมหาวิทยาลัย เรียนคณะอะไรครับ? ผมเรียนจบคณะการสื่อสารมวลชน สาขาด้าน ประชาสัมพันธ์และโฆษณา แทบไม่เกี่ยวกับการว่ายน้ำ�เลย? จริงๆ ไม่เกี่ยวเลยครับ แต่โชคดีที่ผมเป็นนักกีฬา ว่ายน้ำ� ก็เลยสามารถผันมาได้ เพราะว่าช่วงนั้นสำ�รวจ ตัวเองว่าเก่งอะไรบ้าง ก็ปรากฏว่าไม่ได้เก่งอะไรเลย วิชาการก็ไม่เก่ง อย่างเดียวที่ทำ�ได้คือ ว่ายน้ำ� ก็เลย ตัดสินใจเป็นครูสอนว่ายน้ำ� เคยมีอาชีพในฝันอย่างอื่นบ้างไหม? ผมมีอาชีพในฝันเยอะมากๆ ผมทำ�อาชีพมาแล้วทั้งหมด 16 อาชีพ ก่อนที่จะมาเป็นครูสอนว่ายน้ำ� แล้วก็ไม่ ประสบความสำ�เร็จเลย ผมเริ่มทำ�งานครั้งแรกตอนอยู่ ม.5 ตั้งแต่ขายของ ทำ�งานสารพัดเลยครับ แต่อาชีพ ในฝันที่อยากทำ�จริงๆก็คือสจ๊วต แต่ผมติดปัญหาเรื่อง ภาษาอังกฤษไม่ค่อยดี ก็เลยเป็นไม่ได้ ก็เลยตัดสิน ใจมาเป็นครูสอนว่ายน้ำ�เพราะตัวเองว่ายน้ำ�เป็น
www.krupayuswim.com