คู่มือสื่อสารกับลูกอย่างได้ผล

Page 1

อิศราภรณ์ ศรีวงค์ตระกูล


ค่ ู ม ื อ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล มีจุดประสงค์สำ�หรับแจกจ่าย ห้ามจำ�หน่าย

สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

การนำ�ส่วนหนึ่งส่วนใด เพื่อตีพิมพ์ ทำ�ซ้ำ� ดัดแปลง คัดลอกหรือประโยชน์อันหนึ่งอันใดเป็นพิเศษ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2558 เขียน : อิศราภรณ์ ศรีวงค์ตระกูล

E-mail : isaraporn_sri@gmail.com จัดพิมพ์ : อิศราภรณ์ ศรีวงค์ตระกูล และ คณะ ออกแบบปกและรูปเล่ม : ขนิษฐา ไชยประดิษฐ์

2 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


คำ � นำ � “ลูก” เป็นรางวัลชีวิตที่มีค่าสำ�หรับพ่อแม่ แต่การเป็นพ่อแม่ ของลูกสักคนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย พ่อแม่ทุกคนต่างปรารถนาที่จะเลี้ยง ดูลูกให้มีความสุข เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีความสามารถในการดำ�เนิน ชีวิต การที่พ่อแม่ไม่ได้เตรียมตัวต่อสิ่งเหล่านี้มาก่อน ทำ�ให้เกิดความ รู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า เครียด บ่อยครั้งก็รู้สึกว่าตนเองหมดหนทาง ในการดูแลลูก บ้างก็กำ�ลังตกอยู่ในสภาพสิ้นหวังเมื่อลูกน้อยของ ตัวเองต่อต้านไม่ยอมเชื่อฟัง หรือถูกลูกวัยรุ่น เมินเฉย มึนตึงไม่ยอม พูดคุย จนถึงขั้นแสดงท่าทีก้าวร้าวเลยก็มี ส่วนพ่อแม่อีกหลายๆคน ก็เกิดความกังวลใจในการพูดคุย หรือ“สื่อสาร” กับลูก เพราะกลัวจะ คุยกันไม่รู้เรื่องจนกลายเป็นการทะเลาะโต้เถียงไป สถานการณ์เหล่านี้ทำ�ให้พ่อแม่เกิดความกดดัน จนเข้าใจว่า หมดหนทางที่จะแก้ไขทำ�ให้บางครั้งต้องใช้ถ้อยคำ� หรือวิธีที่รุนแรง ในการจัดการกับปัญหาต่างๆของลูก การสื่อสารที่ดี เปรียบเสมือน "กุญแจดอกสำ�คัญ” ที่จะช่วย “เปิดใจ” ลูก การใช้คำ�พูด ถ้อยคำ�และ ประโยคที่เหมาะสมในการสื่อสารจะเป็นตัวช่วยในการแบ่งบันความ รู้สึกที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูก ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจ 3


ความใกล้ชิดและก่อให้เกิดบรรยากาศแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน ภายในครอบครัว การสือ่ สารกับลูกอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพ นัน้ เป็นศาสตร์ และศิลป์ทตี่ อ้ งอาศัยทัง้ ความตัง้ ใจ ความเข้าใจ การสังเกต การปรับปรุง และการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีความจำ�เป็นที่พ่อแม่จะต้อง ศึกษาหาความรู้ วิธกี ารและฝึกปฏิบตั จิ นเกิดเป็นทักษะ เพือ่ ให้สามารถ สื่อสารและจัดการพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของลูกได้ ซึ่งจะช่วยให้พ่อ แม่รู้สึกสนุกและมีความสุขในการเลี้ยงดูลูก ให้สมกับการได้รับรางวัล ชีวิตของคนเป็นพ่อแม่อย่างแท้จริง คู่มือเรื่อง สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล ประกอบไปด้วยความรู้ เกีย่ วกับการสือ่ สาร หลักการสือ่ สารอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาการ ด้านการสื่อสารของเด็กในแต่ละวัย กิจกรรมส่งเสริมการสื่อสาร และวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นสำ�หรับเด็กที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพ และให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ใน การสื่อสารและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของลูกในแต่ละวัยได้ อย่างเหมาะสม อิศราภรณ์ ศรีวงค์ตระกูล มีนาคม 2558

4 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


สารบั ญ 06 09 11 12 14 18 19 22 24 25 28 32 36 38 43 46 59 64 74

การสื่อสารและองค์ประกอบของการสื่อสาร อุปสรรคในการสื่อสาร การสื่อสารในครอบครัว คุณกำ�ลังสื่อสารทางลบกับลูกคุณอยู่หรือไม่ คุณใช้วิธีการอย่างไรในการสื่อการและเผชิญ ปัญหากับลูก??? ทำ�ความเข้าใจกับการสื่อสารทางลบ ข้อความที่เป็นการสื่อสารทางลบ ผลของการสื่อสารทางลบ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การพูดถึงตัวเองของพ่อแม่ดีอย่างไร??? การพูดถึงตัวเองอย่างไรให้ได้ผล??? การส่งข้อความเกี่ยวกับตัวเองถึงเด็กเล็กๆ เทคนิคการจัดการปัญหาด้วยวิธีไม่มีใครแพ้ หลักการสื่อสารสำ�หรับเด็กวัย 1-3 ปี ปัญหาการสื่อสารและวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้น ในเด็กวัย1-3 ปี กิจกรรมส่งเสริมการสื่อสารในเด็กวัย1-3 ปี หลักการสื่อสารสำ�หรับเด็ก 3- 6 ปี กิจกรรมส่งเสริมการสื่อสารในเด็กวัย 3-6ปี เอกสารอ้างอิง

5


การสื่อสารและ องค์ประกอบของการสื่อสาร ความหมายของการสื่อสาร

การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น หรือความต้องการ จากผู้ส่งสารผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น การพูด การเขียน การแสดงหรือ สัญลักษณ์อื่นใดไปยังผู้รับสาร ด้วยกระบวนการที่แตกต่างกันไปตาม ความเหมาะสม หรือตามความจำ�เป็นของผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยมี จุดมุง่ หมายเพือ่ ให้เกิดการรับรูร้ ว่ มกันและมีปฏิกริ ยิ าตอบสนองต่อกัน การสื่ อ สารมี อ งค์ ป ระกอบหลั ก ที่ สำ � คั ญ 4 ประการ ได้ แ ก่ ผู้ ส่ ง สาร สาร สื่ อ และผู้ รั บ สาร ซึ่ ง แต่ ล ะองค์ ป ระกอบ มี บ ทบาทและหน้ า ที่ ใ นกระบวนการสื่ อ สารแตกต่ า งกั น ไป

6 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


องค์ประกอบที่สำ�คัญของการสื่อสาร มี 4 ประการ ดังนี้

1. ผู้ส่งสาร มีบทบาทและหน้าที่สำ�คัญในกระบวนการสื่อสาร ดังนี้ »» การมีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารที่ชัดเจน »» การมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของเรื่องราวที่ตนจะ สื่อสาร »» การมีความพยายามที่จะเข้าใจความสามารถและความ พร้อมในการรับสารของผู้ที่ตนสื่อสารด้วย »» การรู้ จั ก เลื อ กใช้ วิ ธี ใ นการสื่ อ สารให้ เ หมาะสมกั บ เรื่ อ ง โอกาสและผู้รับสารของตน 2. สาร คือ เรื่องราวที่มีความหมายและแสดงออกมาโดยอาศัย ภาษาท่าทางหรือสัญลักษณ์ใดๆก็ตามซึง่ ทำ�ให้เกิดการรับรูร้ ว่ ม กันได้ »» สารเกิ ด ขึ้ น เมื่ อ ผู้ ส่ ง สารเกิ ด ความคิ ด และต้ อ งการ ถ่ายทอดความคิดนั้นไปสู่การรับรู้ของผู้อื่น »» สารอาจอยู่ ใ นลั ก ษณะอย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง หรื อ หลาย อย่างร่วมกัน เช่น การพูด การเขียน การวาด หรือการ แสดงกิริยาท่าทาง »» สารทำ�หน้าที่เร้าให้ผรู้ บั สารเกิดการรับรูค้ วามหมายและมี ปฏิกิริยาตอบสนอง 3. ช่องทางการสือ่ สารหรือสือ่ เป็นเครือ่ งมือนำ�สารจากผูส้ ง่ ไปยัง ผูร้ บั สารจะถูกถ่ายทอดไปยังระบบการรับรูข้ องผูร้ บั ผ่านประสาท สัมผัสทางใดทางหนึง่ หรือหลายทางร่วมกัน ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัสโดย และการลิ้มรส 7


4. ผู้รับสาร เป็นองค์ประกอบประการสุดท้ายที่สำ�คัญไม่น้อย ไปกว่าองค์ประกอบอื่น เนื่องจากกระบวนการสื่อสารจะเกิด ประสิทธิผลได้เต็มทีก่ ต็ อ่ เมือ่ ผูร้ บั สารมีทกั ษะทีจ่ �ำ เป็นสำ�หรับใช้ ในการสื่อสาร ได้แก่ การฟัง ความรู้ความเข้าใจ การมีทัศนคติ ทีด่ ตี อ่ ผูส้ ง่ สารและเรือ่ งทีส่ อื่ สาร รวมทัง้ มีความสามารถในการ แสดงปฏิกริ ยิ าตอบสนองต่อผูส้ ง่ สาร เพือ่ ให้กระบวนการสือ่ สาร บรรลุเป้าหมายได้ องค์ประกอบในการ สื่ อ สารทั้ ง 4 นี้ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ ง สั ม พั น ธ์ แ ละส่ ง ผล กระทบซึ่งกันและกัน หากองค์ประกอบใดองค์ ประกอบหนึ่งทำ�หน้าที่และ บทบาทไม่ ส มบู ร ณ์ ก็ จ ะส่ ง ผลให้ เ กิ ด อุ ป สรรค หรื อ ขาด ประสิทธิภาพในการสื่อสารได้

8 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


อุปสรรคในการสื่อสาร

อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำ�ให้การสื่อสาร ไม่ บรรลุตามวัตถุประสงค์ของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยอาจเกิดได้ใน ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ได้แก่

1. อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร »» ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ »» ใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำ�เสนอที่ไม่เหมาะสม »» มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และการแสดงออกไม่เหมาะสม »» มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร »» ขาดความพร้อมในการส่งสาร »» มีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร 2. อุปสรรคที่เกิดจากสาร »» สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป »» สารขาดการจัดลำ�ดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน »» สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ »» สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน 3. อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง »» ใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำ�เสนอ »» ใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพ »» ใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร 9


4. อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร »» ขาดความรู้ความเข้าใจในสารที่จะรับ »» ขาดความพร้อมที่จะรับสาร »» มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร »» มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร »» มีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป การสือ่ สารด้วย “คำ�พูด” เป็นวิธหี นึง่ ในการถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรูส้ กึ หรือความต้องการของเราเพือ่ ให้ผอู้ ื่น ได้รับรู้ แต่เนื่องจากสื่อสารด้วยคำ�พูดเป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็ว ที่สุด จึงมีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย หากผู้พูด และผู้ฟังไม่มีความพร้อม ขาดความรู้ความ เข้าใจ ขาดทักษะในการสื่อสารที่ด ีรวม ทั้ ง มี ท ั ศ นคติ ที่ ไม่ ด ี ต่ อ กัน อาจทำ�ให้กลาย เป็นการสื่อสารใน ทางลบซึ่ ง สร้ า ง ความขั ด แย้ ง และ เกิดปัญหาตามมา ได้

10 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


การสื่อสารในครอบครัว การสื่อสารในครอบครัวถือเป็นเรื่องสำ�คัญ เพราะเป็นปัจจัย หลักทีช่ ว่ ยสร้างบรรยากาศความสุข ความอบอุน่ และความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน การสื่อสารด้วยคำ�พูดที่ดีทำ�ให้สมาชิกในครอบครัวรู้สึก มีชีวิตชีวา และสามารถป้องกันปัญหานานัปการได้ด้วย "การสื่อสารที่ดีภายในครอบครัว" มีความสำ�คัญและจำ�เป็น อย่างมากที่จะช่วยเติมเต็มให้ครอบครัวมีความสุข และอยู่กันอย่าง เข้าใจ โดยเฉพาะการสื่อสารที่ดีระหว่างพ่อแม่และลูก การสื่อสารที่ดี ย่อมต้องอาศัยทักษะและความสามารถในการสือ่ สารทีด่ ดี ว้ ย เช่น การ เข้าใจความรูส้ กึ ของตนเองและผูอ้ นื่ การฟังอย่างมีสว่ นร่วม การประคับ ประคองจิตใจ การแก้ปญ ั หาในเชิงสร้างสรรค์ การมีทศั นคติทดี่ ี เป็นต้น การสื่อสารที่ดีระหว่างพ่อแม่และลูกส่งผลในเชิงบวกต่อความ สัมพันธ์ในครอบครัว เป็นการตัดวงจรของความขัดแย้ง หรือความ รุนแรงที่จะเกิดขึ้น แต่ในทางกลับกันหากสมาชิกในครอบครัวขาด ทักษะการสื่อสารที่ดี หรือมีการสื่อสารในทางลบแล้วนั้น อาจส่งผลให้ มีการใช้ความรุนแรงต่อกันทัง้ ในลักษณะของคำ�พูดและการแสดงออก

11


การสื่อสารทางลบ การสื่ อ สารทางลบ คื อ การสื่ อ สารที่ ทำ � ให้ ผู้ รั บ สาร(ลู ก ) เกิดความรู้สึกต่อต้านไม่อยากจะสื่อสารกับผู้ส่งสาร (พ่อแม่) แบ่งออก เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. การสื่อสารทางเดียว คือ การที่พ่อแม่ไม่รับฟังความคิดเห็น ข้อโต้แย้ง เหตุผลหรือไม่รบั ฟังในสิง่ ทีล่ กู กำ�ลังจะบอกเล่า พ่อแม่ กลุม่ นีม้ กั จะกำ�หนดทิศทางให้ลกู ทำ�ในสิง่ ทีต่ นต้องการเพียงฝ่าย เดียว เช่น พ่อแม่บอกให้ลกู เข้านอน แต่ลกู ขอทำ�การบ้านให้เสร็จ ก่อน แทนที่พ่อแม่จะค้นหาสาเหตุที่ทำ�ให้ลูกต้องทำ�การบ้าน จนดึก เพื่อช่วยลูกแก้ปัญหา กลับตัดบทว่า “บอกแล้วใช่ไหม เวลานี้ลูกต้องนอน กลับมาไม่รู้จักทำ�การบ้าน เหลวไหลทุกที” แท้ที่จริงแล้วลูกอาจจะทำ�การบ้านอยู่ตั้งแต่ตอนเย็น แต่พ่อแม่ ไม่เห็นหรือไม่ได้ใส่ใจว่าลูกกำ�ลังทำ�อะไร 2. การสื่อสารแบบด่วนสรุป คือ การที่พ่อแม่ไม่ทันรับฟังข้อมูล จากลูกคนจนครบถ้วนกระบวนความ ฟังแต่เพียงบางส่วน หรือ ไม่ทันฟังจบก็ด่วนสรุปหรือตีโพยตีพาย โวยวายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น กับลูก ทั้งๆที่เรื่องอาจจะไม่ร้ายแรงอย่างที่คิดไว้ เช่น ลูกบอก ว่าสอบได้คะแนนน้อยกว่าทีค่ วร พ่อแม่กส็ รุปแล้วว่าเป็นเพราะ ลูกไม่อ่านหนังสือ ทั้งๆ ที่ลูกอาจพยายามอ่านแล้ว แต่ข้อสอบ 12 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


อาจมีความกำ�กวมไม่ชัดเจน หากฟังต่อจนจบจะรู้ว่าไม่ใช่ลูก เราคนเดียวที่มีคะแนนน้อย เด็กส่วนใหญ่ในชั้นเรียนก็ล้วนแต่ ได้คะแนนน้อยทัง้ สิน้ แสดงว่าอาจเกิดจากสาเหตุอนื่ ทีท่ �ำ ให้ลกู ได้คะแนนน้อยกว่าที่ควร การสื่อสารแบบทางเดียวและด่วนสรุปนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ การสื่ อ สารทางลบ ซึ่ ง ส่ ง ผลกระทบอย่ า งมากต่ อ สุ ข ภาพจิ ต และ พัฒนาการของเด็ก ส่วนการที่พ่อแม่ต่อว่า ด่าทอ ด้วยคำ�พูดที่รุนแรง โดยไม่รับฟังความคิดเห็นของลูกนั้น จัดว่าเป็นการทำ�ร้ายจิตใจลูก เพราะทำ�ให้ลกู เกิดความรูส้ กึ เจ็บปวดทางจิตใจรูส้ กึ ว่าตนเองไม่มคี ณ ุ ค่า ไม่ได้รับการยอมรับจากพ่อแม่

13


คุณกำ�ลังสื่อสารทางลบ กับลูกคุณอยู่หรือไม่ สมมติให้ตวั คุณอยูใ่ นเหตุการณ์ดงั ต่อไปนี้ เลือกคำ�ตอบทีค่ ณ ุ จะ ใช้พูดกับลูก 1. ลูกวัย 3 ขวบนั่งยกเท้าขึ้นวางบนเก้าอี้ตัวใหม่ของคุณ ก. เอาเท้าของลูกลงจากเก้าอี้เดี๋ยวนี้เลยนะ ข. ถ้าลูกไม่เอาเท้าลงจากเก้าอี้พ่อ/แม่จะดุละนะ ค. ลูกไม่ควรเอาเท้าวางบนเก้าอี้นะจ๊ะมันไม่สุภาพ ง. ทำ�ไมลูกไม่เอาเท้าวางไว้บนพืน้ แทนทีจ่ ะเอาวางไว้บนเก้าอีล้ ะ่

14 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


2. คุณเหน็ดเหนื่อยมาทั้งวัน อยากจะนั่งพักสักครู่ ดูรายการ โทรทัศน์ที่ชอบ แต่ลูกวัย 4 ขวบ ก็คอยเซ้าซี้ให้เล่นด้วย คุณไม่ อยากจะเล่นกับลูกเลย ก. หยุดกวนใจพ่อเสียทีแล้วไปหาอย่างอื่นเล่นนะลูก ข. พ่อจะต้องโกรธลูกแน่ๆเลย ถ้าลูกยังไม่เลิกมายุง่ กับพ่อเสียที ค. อย่ามากวนใจเวลาพ่อดูโทรทัศน์นะมันไม่ดี ง. ทำ�ไมลูกไม่ชวนเพื่อนข้างบ้านมาเล่นด้วยกันล่ะ

3. ลูกวัย 5 ขวบ กำ�ลังรือ้ หม้อ กระทะจากทีเ่ ก็บออกมาเล่น ทำ�ให้ คุณเตรียมอาหารสำ�หรับเลี้ยงแขกในเย็นวันนี้ไม่สะดวก และ ทำ�ให้งานเสร็จช้าไปด้วย ก. เก็บของที่ลูกรื้อออกมาเข้าที่ให้เรียบร้อยด้วยนะ ข. ถ้าลูกไม่เก็บของที่รื้อออกมาเข้าที่ให้เรียบร้อย ลูกจะต้อง ถูกทำ�โทษนะ ค. ลูกไม่ควรจะเล่นเวลาที่แม่กำ�ลังทำ�งานยุ่งอยู่นะ ง. ทำ�ไมลูกไม่มาช่วยแม่ทำ�งานล่ะจ๊ะ

15


4. ลูกวัย 8 ขวบถอดชุดนักเรียนทิ้งไว้ไม่ยอมเก็บลงตะกร้าผ้าตาม ที่ได้ตกลงกันไว้ ก. เก็บเสื้อผ้าของลูกใส่ตะกร้าให้เรียบร้อยด้วยนะ ข.ถ้ า ลู ก ไม่ เ ก็ บ ชุ ด นั ก เรี ย นใส่ ต ะกร้ า ก็ จ ะไม่ มี ชุ ด ใส่ ไ ป โรงเรียนนะ ค. ลูกรู้ไหมว่าการทำ� แบบนี้มันไม่มีระเบียบเลยนะ ง. ทำ�มาลูกไม่เก็บเสื้อผ้าใส่ตะกร้าแทนที่จะทิ้งเอาไว้ล่ะ 5. ลูกวัย 6 ขวบพูดสอดขึ้นมาขณะที่คุณกำ�ลังคุยอยู่กับเพื่อน ก. หยุ ด พู ด แทรกเลยนะ ลู ก ไม่ เ ห็ น หรื อ ไงว่ า แม่ กำ � ลั ง คุ ย กับเพื่อนอยู่ ข. ถ้าลูกพูดสอดขึ้นมาอีกครั้งแม่จะโกรธลูกล่ะนะ ค. ลูกไม่ควรพูดสอดแทรกเวลาทีค่ นอืน่ คุยกันนะจ๊ะ มันเป็นการ เสียมารยาท ง. ทำ�ไมลูกไม่ไปชวนคุณพ่อมาคุยกับลูกล่ะจ๊ะ

16 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


6. ลูกวัย 12 ขวบทำ�อาหารกินเองหลังกลับจากโรงเรียน แล้วทิ้ง ข้าวของเครื่องใช้ไว้เกลื่อนครัว ทั้งๆที่คุณเพิ่งทำ�ความสะอาด เสร็จไปเมื่อหนึ่งชั่วโมงที่ผ่านมา ก. เก็บของรกๆพวกนี้ให้เรียบร้อยด้วยนะจ๊ะ ข. ถ้ า ลู ก ไม่ ไ ปเก็ บ ข้ า วของในครั ว ให้ เรี ย บร้ อ ยละก็ ลู ก จะ ต้องเสียใจนะ ค. เวลาลูกทำ�อะไรในครัวแล้วก็ต้องเก็บทำ�ความสะอาด ให้เรียบร้อยด้วยนะ มันแสดงถึงการเป็นคนมีระเบียบ ง. ทำ�ไมลูกถึงเก็บข้าวของเข้าที่หลังจากใช้แล้วไม่ได้นะ

17


คุณใช้วิธีการอย่างไรในการสื่อการ และเผชิญปัญหากับลูก??? 99 ถ้าคุณเลือกข้อ ก. เป็นส่วนใหญ่ คุ ณ มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะใช้ วิ ธี สั่ ง การ ชี้แนะ การบังคับ 99 ถ้าคุณเลือกข้อ ข. เป็นส่วนใหญ่ คุ ณ มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะใช้ วิ ธี เ ตื อ น การว่ากล่าวอย่างจริงจัง การขู่เข็ญ 99 ถ้าคุณเลือกข้อ ค. เป็นส่วนใหญ่ คุ ณ มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะใช้ วิ ธี ตั ก เตื อ น อย่างจริงจัง การกล่าวสั่งสอน และ การอบรมศีลธรรมจรรยา 9ถ้9 าคุณเลือกข้อ ง. เป็นส่วนใหญ่ คุณมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีให้ คำ�แนะนำ� แสดงข้อเสนอแนะหรือบอกวิธีแก้ไขปัญหาให้

แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกข้อไหน..คุณก็กำ�ลังใช้ว ิธีการ สือ่ สารและเผชิญปัญหากับลูกอย่างไม่ได้ผลอยู!่ !!!

18 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


ทำ�ความเข้าใจกับการสื่อสารทางลบ ทำ�ไมการสือ่ สารและแก้ปญ ั หาด้วยวิธที งั้ 4 ทีก่ ล่าวมานัน้ จึงเป็น วิธีที่ไม่ได้ผล หรือได้ผลในทางตรงกันข้าม เช่น // ลูกไม่ทำ�ตามแต่กลับต่อต้านสิ่งที่ถูกสั่งให้ทำ� ลูกจะต่อต้าน การที่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงพฤติกรรมเกี่ยวกับ เรื่องต่างๆ เมื่อถูกสั่งว่า “ต้องทำ�” “ควรทำ�” หรือ “ทำ�ให้ ดีขึ้น” รวมทั้งต่อต้านเนื่องจากไม่ชอบหรือไม่ยอมรับวิธีแก้ ปัญหาของพ่อแม่ // การบอกวิธแี ก้ปญ ั หาให้กบั ลูก ยังสือ่ ความหมายอีกนัยหนึง่ คือ “พ่อแม่ไม่ไว้ใจให้ลกู เลือกวิธแี ก้ปญ ั หาด้วยตนเอง” หรือ “พ่อแม่ไม่เชื่อว่าลูกจะมีความสามารถพอที่จะหาทางช่วย แก้ไขปัญหาของพ่อแม่ได้” // การที่พ่อแม่บอกวิธีแก้ปัญหาให้ ทำ�ให้ลูกรู้สึกและเข้าใจ ว่า “ความต้องการของพ่อแม่สำ�คัญกว่าความต้องการของ ลูก” “ลูกต้องทำ�อย่างที่พ่อแม่คิดว่าลูกควรจะทำ� โดยไม่ สนใจความต้องการของลูกเลย” หรือ “ลูกกำ�ลังทำ�สิ่งที่พ่อ แม่ไม่ยอมรับ วิธีแก้ปัญหาเพียงอย่างเดียวคือ ทำ�ตามที่พ่อ แม่บอกเท่านั้น”

19


เพราะเหตุ ใ ดการบอกวิ ธี แ ก้ ปั ญ หากั บ ลู ก จึ ง ใช้ ไ ม่ ไ ด้ ผ ล ทำ�ไมจึง เป็นเช่ น นั้ น เพื่ อความเข้ าใจลองอ่ านสถานการณ์จำ �ลอง นี้ ดู เ พื่ อ นมาหาคุ ณ ที่ บ้ า น แล้ ว บั ง เอิ ญ เอาเท้ า ไปวางไว้ บ นเก้ า อี้ ตัวใหม่ คุณจะพูดแบบนี้กับเพื่อนหรือไม่?? “เอาเท้าออกจากเก้าอี้ตัวใหม่ของฉันเดี๋ยวนี้นะ” “เธอไม่ควรจะเอาเท้าไปวางไว้บนเก้าอีต้ วั ใหม่ของคนอื่นนะ” “ถ้าเธอรูว้ า่ อะไรควรหรือไม่ควร รีบยกเท้าออกจากเก้าอีต้ วั ใหม่ของฉันเสีย” หรือ “ฉันขอแนะนำ�ว่าเธอไม่ควรจะเอาเท้าไปวางบนเก้าอีต้ วั ใหม่ของคนอื่นนะ มันเสียมารยาท” แน่นอนว่าคุณจะไม่เลือกทั้ง 4 ประโยคนี้เพราะดูไม่เหมาะสม ถ้าจะใช้พูดกับเพื่อนของคุณ เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะปฏิบัติต่อเพื่อน ด้วยความเกรงอกเกรงใจ หรือที่เรียกว่า “ไว้หน้า” คุณจึงเลือกที่จะ บอกความรู้สึกของตัวเองให้เพื่อนรับรู้ แล้วปล่อยให้เพื่อนได้คิดและ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม เพราะคิดว่าเพื่อนจะสามารถรับรู้และ เข้าใจความรูส้ ึกของคุณได้ นอกจากนัน้ แล้วเรามักจะไม่กล้าออกคำ�สัง่ ตักเตือน ตำ�หนิ ขูเ่ ข็ญ หรือแม้แต่แนะนำ�ให้เพือ่ นเปลีย่ นความประพฤติ ในเรือ่ งทีค่ ณ ุ ไม่ชอบใจ ดังนัน้ คุณจึงเลือกทีจ่ ะพูดว่า “ ฉันกลัวว่าเก้าอี้ ตัวใหม่ของฉันจะเป็นรอยถ้าเธอเอาเท้าขึ้นไปวางไว้แบบนั้น” ในทางตรงกันข้ามหากสถานการณ์เดียวกันนี้ผู้กระทำ�เป็นลูก คุณก็มักจะใช้การออกคำ�สั่ง การตักเตือน การตำ�หนิ การขู่เข็ญ และ คอยแนะนำ�ให้ลกู ทำ�ตามวิธกี ารของคุณ ไม่ตอ้ งสงสัยเลยว่าทำ�ไมลูกจะ 20 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


ต้องต่อต้าน หรือโต้ตอบด้วยความไม่ชอบใจ เพราะลูกรูส้ กึ ว่าพ่อแม่ไม่ ยอมรับ พ่อแม่ไม่สนใจความรู้สึก ถูกพ่อแม่ควบคุมมาก และทำ�ให้ลูก รู้สึก “เสียหน้า” “ พ่ อ แม่ มั ก บ่ น เสมอ

ว่ า ลู ก ขาดความรั บ ผิดชอบไม่ส นใจความ ต้องการของพ่อแม่ ลูก จะทำ�เช่นนัน้ ได้อย่างไร ในเมื่ อ พ่ อ แม่ ไ ม่ เ คยให้ โ อกาส ลูกได้รับรู้ถึงความต้องการและ ตัดสินใจรับผิดชอบการกระทำ� ด้วยตนเองเลย”

21


ข้อความที่เป็นการสื่อสารทางลบ ข้ อ ความที่ เ ป็ น การสื่ อ สารทางลบนอกจากจะไม่ ช่ ว ยแก้ ปัญหายังผลเสียกับลูกตามมาอีกมากมาย เนื่องจากเป็นข้อความ ที่บั่นทอนความรู้สึกของลูก ทำ�ให้ลูกอับอาย แสดงถึงไม่ยอมรับลูกใน ฐานะบุคคลคนหนึง่ และคอยตอกย้�ำ ถึงจุดด้อยของลูก เป็นการตัดสิน บุคลิกภาพ เป็นการทำ�ลายนิสยั ทีด่ ที �ำ ลายความเชือ่ มัน่ ในตัวเองของลูก หรือกล่าวโดยสรุปว่าเป็นข้อความที่พ่อแม่ชี้ให้เห็นแต่ความผิดของลูก เช่น “ลูกน่าจะรู้ดีกว่านี้นะ” “ลูกซนจริงๆเลย” “ลูกจะทำ�ให้แม่ตายหรือยังไงกันนะ” “ลูกเป็นเด็กเหลวไหล” “ลู ก มั ก จะชอบเล่ น เวลาที่ แ ม่ กำ � ลั ง ทำ�งานยุ่งอยู่” “เด็กดีๆเขาไม่ทำ�กันอย่างนั้นหรอก” “ลูกช่างเป็นเด็กที่ไม่มีน้ำ�ใจที่สุดเท่าที่ แม่เคยเห็นมาเลยนะ” “ลูกอยากเป็นคนที่ไม่ทำ�อะไร เป็นคน เห็นแก่ตัวในบ้านนี้ หรือ” “ทำ�ไมลูกไม่อยากเปลี่ยนแปลงเพื่อทำ�ตัวเป็นคนดี” “ทำ�กับคนอื่นอย่างที่อยากให้คนอื่นทำ�กับเราสิ”…ฯลฯ

22 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


AA ข้อความที่เป็นการสื่อสารทางลบมักทำ�ให้เกิดผลกับลูกตาม มาเช่นนี้

// ลูกรู้สึกผิด และเสียใจ // ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ยุติธรรม ลูกไม่ได้รับความเป็นธรรม และอาจตอบโต้กลับมาว่า“ก็ผมไม่ได้ทำ�อะไรผิด” หรือ “หนูไม่ได้ตั้งใจทำ�สิ่งไม่ดีนะ” // ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รักและถูกทอดทิ้ง “แม่ไม่ชอบหนู เพราะหนูทำ�ผิด” // ลูกทำ�ตัวต่อต้าน เมื่อพ่อแม่กล่าวตำ�หนิ หรือแนะนำ� โดย การยืนยันที่จะทำ�เหมือนเดิม // ลูกตอบโต้ด้วยวิธีการเดียวกับที่พ่อแม่ เช่น “คุณแม่เองก็ ไม่ได้เรียบร้อยตลอดเวลาเหมือนกัน” “แม่ก็ ชอบเหนือ่ ย อยู่เรื่อยเลย” “คุณแม่ดูหงุดหงิดจังเวลาหนูมีเพื่อนมา หาที่บ้าน” หรือ “ทำ�ไมถึงไม่ทำ�ให้บ้านเราอยู่ได้อย่างมี ความสุขนะ”

23


ผลของการสื่อสารทางลบ การสือ่ สารทัง้ ในลักษณะทีไ่ ม่ฟงั ความคิดเห็นและด่วนสรุปของ พ่อแม่ เป็นสาเหตุสำ�คัญที่ทำ�ให้ลูกกังวล หมดกำ�ลังใจสิ้นหวังที่จะขอ ความช่วยเหลือจากพ่อแม่ ลูกจึงเก็บซ่อนปัญหา และพยายามหาทาง แก้ไขด้วยตัวเอง จนกลายเป็นปัญหาสะสมร้ายแรงซึ่งอาจสายเกินไป ที่พ่อแม่จะเข้ามาช่วยเหลือแก้ไขได้ทัน การสือ่ สารกับลูกในลักษณะตำ�หนิดว้ ยถ้อยคำ�รุนแรงและแสดง อาการรังเกียจเดียดฉันท์ของพ่อแม่นั้นส่งผลอย่างมากต่อพัฒนาการ ด้านความเข้าใจตนเองของลูก (Self Concept) ลูกจะเริ่มมองเห็นว่า ตนเองเป็นคนที่ไม่มีอะไรดี ทึ่ม เลว ไร้ค่า ขี้เกียจ ไร้ความคิด ไม่รู้จัก เห็นใจคนอื่น ไม่เป็นที่ยอมรับของคนอื่น เหมือนกับที่พ่อแม่ได้ย้ำ�ให้ ฟังอยู่บ่อยๆ เปรียบเสมือนกับพ่อแม่ได้หว่านเม็ดพันธุ์แห่งความด้อย โอกาสให้กับลูกของตัวเองไปจนตลอดชีวิต นอกจากนัน้ ภาษาท่าทีทพี่ อ่ แม่แสดงออกถึงการไม่ยอมรับในตัว ลูก ด้วยการเลีย้ งดูทเี่ ต็มไปด้วยการประเมินผล การตัดสิน การวิพากษ์ วิจารณ์ การสัง่ สอนเทศนา การตำ�หนิตเิ ตียนอยูต่ ลอดเวลา เหล่านีล้ ว้ น เป็นการผลักไสให้ลูกออกห่างจากพ่อแม่ เกิดความห่างเหินกลายเป็น คนแปลกหน้าต่อกันไป

24 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเป็นวิธีปฏิสัมพันธ์ของพ่อแม่ที่ สื่อสารกับลูกด้วยการให้ความเคารพต่อความรู้สึกและความสามารถ ในการแก้ปญ ั หาของลูก โดยใช้การสือ่ สารเพือ่ ให้ลกู ได้เข้าใจปัญหาและ แก้ปัญหาด้วยตนเอง

การสื่อสารวิธีนี้จัดอยู่ในหลักการให้ความเคารพซึ่งกันและกัน ในด้านการมีปฏิสัมพันธ์ ของผู้ ใ หญ่ กั บ เด็ ก โดย เป็นเทคนิคที่มีการนำ�ไป ใช้ อ ย่ า งกว้ า งขวางและ ได้ ผ ลตามแนวคิ ด ของ ด ร . โ ธ มั ส ก อ ร์ ด อ น สิ่ ง สำ � คั ญ ที่ พ่ อ แม่ ต้ อ ง ป ฏิ บั ติ ต า ม ห ลั ก ก า ร สื่อสารนี้คือ การกำ�หนด พฤติกรรมที่พึงประสงค์ และไม่พึงประสงค์ ซึ่งจะ ช่วยให้สามารถตรวจสอบสถานการณ์และตัดสินใจได้วา่ ใครเป็นเจ้าของ ปัญหา โดยบางปัญหาก็เป็นของลูก บางปัญหาก็เป็นของพ่อแม่ และ 25


บางปัญหาก็เป็นทั้งของพ่อแม่และลูกร่วมกัน วิธีดำ�เนินการกับปัญหา จะขึ้นอยู่กับการเป็นเจ้าของปัญหา จุดมุ่งหมายหลักของวิธีการนี้คือ การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่และลูก รวมทั้งการช่วยให้ ลูกได้เรียนรู้ถึงศักยภาพและเห็นคุณค่าของตนเอง การสื่อสารอย่าง มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. การรับฟังปัญหาและสะท้อนความรูส้ กึ ของลูก เป็นการแสดง การยอมรับและส่งเสริมให้ลูกเปิดเผยความจริงที่เป็นสาเหตุให้ ไม่สบายใจ โดยการฟังและช่วยสะท้อนความรู้สึกของลูก เพื่อ ให้ลูกรู้ถึงปัญหาและหาทางแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง โดย --รับฟังปัญหาของลูกด้วยจิตใจทีว่ า่ ง ปราศจากจากเรือ่ งอืน่ ๆ --มองปัญหาในมุมมองของลูก เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลูก --มีปฏิสมั พันธ์กนั แบบตัวต่อตัว มองหน้าและสบตาในระดับ เดียวกัน --สนใจฟังและพยายามจำ�แนกความรู้สึกของลูกให้ออก --ใช้คำ�พูดทบทวน ย้ำ�เกี่ยวกับความรู้สึกหรือความหมายที่ แฝงอยู่ในการสื่อสารของลูกที่พ่อแม่สำ�รวจพบ --สะท้อนข้อมูลทั้งความรู้สึกและเหตุผลย้อนกลับไปให้ลูก เกิดความเข้าใจในเหตุผลและความรู้สึกที่แท้จริง --ช่วยลูกแสวงหาวิธีที่หลากหลายที่จะใช้แก้ปัญหาดังกล่าว --สนับสนุนให้ลูกได้เลือกวิธีที่เหมาะสมกับลูกมากที่สุด

26 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


2. การสะท้อนความรูส้ กึ และปัญหาของตนเอง ใช้เมือ่ พ่อแม่เป็น เจ้าของปัญหา เป็นวิธีการที่สะท้อนความรู้สึกและปัญหาของ ตนเองกลับไปหาลูกด้วยคำ�พูดให้ลูกฟังอย่างชัดเจนว่า พฤติกร รมนัน้ ๆของลูกก่อปัญหาให้กบั พ่อแม่ และพ่อแม่รสู้ กึ อย่างไรต่อ พฤติกรรมนัน้ ทำ�ให้ลกู ได้รบั รูว้ า่ ลูกคือบุคคลทีจ่ ะแก้ปญ ั หา และ มีสว่ นร่วมช่วยแก้ปญ ั หาด้วยวิธที สี่ ามารถยอมรับได้ทงั้ สองฝ่าย องค์ประกอบการสะท้อนความรูส้ กึ และปัญหาของตนเองอย่าง มีประสิทธิภาพ ได้แก่ พฤติกรรม : เป็นการกล่าวถึงพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ความรู้สึก : เป็นการกล่าวถึงความรู้สึกของตนเอง สาเหตุของความรู้สึก : เป็นการอธิบายสาเหตุที่ทำ�ให้ ตนเองเกิดความรู้สึกเช่นนั้น 3. การแก้ปัญหาร่วมกัน ใช้ในกรณีที่ลูกและพ่อแม่เป็นเจ้าของ ปัญหาร่วมกัน โดยการอภิปรายปัญหา เสนอความคิดเห็นและ เจรจาต่อรองจนกระทั่งค้นพบพบวิธีแก้ปัญหาที่ยอมรับร่วม กันได้

การสื่อสารและปฏิบัติด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน ระหว่างพ่อแม่กบั ลูก เป็นหลักสำ�คัญทีจ่ ะช่วยให้ลกู ตระหนัก ถึงปัญหาและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

27


การพูดถึงตัวเองของพ่อแม่ ดีอย่างไร???

การพูดถึงตัวเองของพ่อแม่ เป็นแสดงความต้องการให้ลูก ได้รับรู้ โดยการบอกความรู้สึกและอธิบายเหตุผลของพ่อแม่ให้ลูก ได้มีส่วนรับรู้เมื่อเกิดปัญหา หรือข้อขัดแย้งต่างๆ แทนการตำ�หนิ ดุด่า หรือการออกคำ�สั่งให้ลูกทำ�ตามเพียงอย่างเดียว การสื่อสารด้วยวิธีนี้จะทำ�ให้ลูกรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า รับรู้ว่า พ่อแม่ห่วงใย และให้การยอมรับ ซึ่งช่วยให้ลูกคล้อยตามและให้ความ ร่วมมือในการปฏิบตั ติ ามข้อตกลงต่างๆทีม่ ไี ว้รว่ มกันได้งา่ ยกว่าการออก คำ�สั่งให้ลูกต้องทำ�ตามเงื่อนไขที่พ่อกำ�หนดแม่เท่านั้น อีกทั้งยังช่วย หลีกเลี่ยงการปะทะทางอารมณ์ที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ และลูกได้อีกด้วย ดังเช่นตัวอย่างสถานการณ์จำ�ลองนี้ คุณรู้สึกเหน็ดเหนื่อยจากการทำ�งานและไม่อยากจะเล่นกับลูก วัย 4 ขวบ คุณเลือกที่จะพูดว่าอย่างไร?? และสมมติตัวเองเป็นลูกจะ รู้สึกอย่างไรที่ได้ฟังข้อความเหล่านี้ ก. ลูกเป็นตัวก่อความเดือดร้อน ลูกนี่ซนจริงๆ ข. พ่อ/แม่ทำ�งานมาทั้งวันเหนื่อยมาก อยากพักผ่อน

28 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


::ข้อ ก. “ลูกเป็นตัวก่อความเดือนร้อน ลูกนีซ้ นจริงๆ” เป็น ข้อความทีไ่ ม่สามารถสือ่ สารความต้องการและความรูส้ กึ ได้ เนือ่ งจากประโยคทีข่ นึ้ ต้นว่า “ลูก” นัน้ เปรียบเหมือน การตำ � หนิ ห รื อ ประเมิ น ผลการกระทำ � ของลู ก ไม่ ไ ด้ เป็นการบอกให้ลูกรับรู้ถึงความรู้สึกของพ่อแม่เลย แต่ กลับทำ�ให้ลูกเข้าใจไปว่าลูกเป็นเด็กไม่ดี เพราะเป็นการ ตำ�หนิและประเมินผลการกระทำ�ของลูก ;;ข้อ ข. เป็นประโยคทีช่ ดั เจนและถูกต้อง “พ่อ/แม่ท�ำ งาน มาทั้งวันเหนื่อยมาก อยากพักผ่อน” หรือ “พ่อ/แม่ เหนื่อยจ๊ะ” ประโยคนี้ช่วยสามารถสื่อความรู้สึกของพ่อ แม่ให้ลูกรับรู้และเข้าใจได้ง่ายและชัดเจน AAการพูดถึงตัวเองของพ่อแม่มีประสิทธิภาพในการชักจูงให้ลูก เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ยอมรับได้มากกว่า การที่ ลูกชอบทำ�สิ่งต่างๆตามต้องการ เพราะไม่รู้ว่าพฤติกรรมเหล่า นั้นมีผลกระทบต่อพ่อแม่ด้วย เมื่อลูกได้รู้ว่าพฤติกรรมของ ตนเองมีผลกระทบอย่างไรกับพ่อแม่ จะทำ�ให้ลูกเกิดความยั้ง คิด ระมัดระวังตัวมากขึ้น รวมทั้งมีโอกาสได้คิดด้วยตนเองว่า จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปอย่างไร เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและ ไม่ส่งผลกระทบต่อพ่อแม่ AAการพูดถึงตัวเองของพ่อแม่ทำ�ให้ลูกต่อต้านน้อยกว่า ลองดู ปฏิกิริยาที่แตกต่างของลูกจากข้อความสองชนิดข้างล่างนี้ เมื่อ พ่อพูดหลังจากที่ลูกเตะหน้าแข้งพ่อ 29


ก.“ อุย พ่อเจ็บจังเลย พ่อไม่ชอบให้ใครเตะหน้าแข้ง” หรือ ข. “ลูกทำ�ตัวเป็นเด็กที่เลวมาก อย่าได้ไปเตะใครเขาแบบ นี้อีกนะ” ::ข้อ ก. บอกให้ลกู รูว้ า่ การทีล่ กู เตะทำ�ให้พอ่ รูส้ กึ เจ็บ เป็น ข้อเท็จจริงที่ลูกโต้แย้งไม่ได้ ;;ข้อ ข. บอกให้รู้ว่าลูก “เลว” และเตือนไม่ให้ทำ�อย่าง นั้นอีก ซึ่งลูกจะต้องต่อต้านเพื่อป้องกันว่าตัวเองไม่ได้ เป็นคนเลว AAการพูดถึงตัวเองของพ่อแม่ช่วยกำ�หนดให้ลูกต้องรับผิดชอบใน การเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง เนื่องจากรู้สึกว่าพ่อแม่มอบ ความรับผิดชอบ ความไว้วางใจให้เขาจัดการสถานการณ์ต่างๆ ในเชิงสร้างสรรค์ และวางใจให้เขารู้จักเคารพสิทธิของพ่อแม่ รวมทั้งให้โอกาสลูกได้เริ่มต้นประพฤติตนไปในทางที่ดี AAบางครั้งพ่อแม่อาจรู้สึกว่า การพูดถึงตัวเองนั้นทำ�ได้ค่อนข้าง ยาก รู้สึกขัดเขิน ไม่ชิน ทั้งนี้เพราะรู้สึกว่าตนเองอยู่ในตำ�แหน่ง ของคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ ที่ว่า “ผู้ใหญ่ทำ�อะไรไม่มีผิด” จะไม่รู้ ไม่ได้ จะเห็นแก่ตัวไม่ได้ แต่แท้จริงแล้วพ่อแม่ก็คือปุถุชนคน หนึ่งที่มีความรู้สึกเจ็บปวด อับอาย ตกใจ กลัว ผิดหวัง โกรธ และหมดกำ�ลังใจได้เช่นกัน ที่สำ�คัญพ่อแม่ต้องทำ�ความเข้าใจ ตนเองให้ได้ โดยตระหนักถึงความชอบหรือไม่ชอบ และหา สาเหตุหลักที่ทำ�ให้รู้สึกเช่นนั้น เพื่อให้สามารถสื่อสารกับลูกได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

30 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


เมื่อพ่อแม่สามารถเปิดเผยความรู้สึกกับลูกได้อย่างตรงไป ตรงมา ลูกก็จะกล้าที่จะเปิดเผยตัวตนบ้าง ซึ่งช่วยให้ต่างฝ่ายต่าง เข้าใจกันมากขึ้น เปลี่ยนจากความรู้สึกที่เหมือนเป็นคนปลกหน้า ตลอดเวลามาใกล้ชดิ สนิทสนมกันมากขึน้ และสร้างสัมพันธภาพทีด่ ี ระหว่างพ่อแม่ลูก ทำ�ให้ทุกคนในครอบครัวสามารถอยู่ร่วมชายคา เดียวกันได้อย่างไม่แปลกแยกและมีความสุขต่อไป

31


การพูดถึงตัวเองอย่างไร ให้ได้ผล??? การพูดถึงตัวเองให้ได้ผลดีนั้น มีข้อควรคำ�นึงบางประการ ดังนี้ AA แยกแยะความโกรธออกจากความรู้สึกที่แท้จริง พ่อแม่บางคนเมือ่ เริม่ เรียนรูก้ ารพูดถึงตัวเองใหม่ๆ มักรีบร้อนนำ� ไปใช้ แต่แทนทีจ่ ะได้ผลดีอย่างทีต่ งั้ ใจเอาไว้ กลับกลายเป็นการระบาย อารมณ์และโทสะซึง่ อัดอัน้ ตันใจมานานออกมาอย่างรุนแรงเหมือนกับ ภูเขาไฟระเบิดเลยทีเดียว ความโกรธนั้นต่างจากความรู้สึกอื่นๆ เพราะเวลาที่เราพูดว่า “ฉันโกรธ” ผู้พูดจะหมายความถึงว่าโกรธผู้ฟังนั่นเอง จึงเป็นข้อความ ที่พูดถึงผู้อื่นไม่ใช่พูดถึงตัวเอง ความโกรธเป็นผลจากความรู้สึกอื่นที่เกิดขึ้นมาก่อน หรือเรียก ได้ว่าเป็นความรู้สึกขั้นที่สอง ตัวอย่างเช่น คุณกำ�ลังขับรถอยู่บนถนน แล้วมีรถวิ่งตัดหน้าอย่างกระชั้นชิด คุณตกใจกลัว ก็เลยบีบแตรรถใส่ บางครั้งอาจถึงกับตะโกนด่าเลยก็มี เช่น “แกไอ้คนเลว ทำ�ไมไม่รู้จัก ขับรถให้ดีหน่อยนะ” ซึ่งนั้นเป็นข้อความที่พูดถึงผู้อื่นอย่างแน่นอน เลยทีเดียว จากเหตุการณ์นี้ความรู้สึกแรกสุดของคุณคือ กลัวการขับ รถของคนๆนั้น เพราะทำ�ให้คุณตกใจ ผลที่เขาทำ�ให้คุณกลัว คุณก็ 32 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


เลยบีบแตรรถใส่หรือตะโกนด่า เพื่อตักเตือนและแสดงอาการโกรธ เมื่อคุณกลับมาพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วจะพบว่า แท้จริงนั้นความ โกรธของคุณเป็นผลต่อเนื่องมาจากความกลัวนั่นเอง พ่อแม่มักจะใช้ความโกรธหรือแสดงอาการโกรธ เป็นเครื่อง มื อ ในการลงโทษและให้ บ ทเรี ย นแก่ ลู ก ดั ง ตั ว อย่ า งเหตุ ก ารณ์ จำ�ลองนี้ “คุณกับลูกชายพลัดหลงกันขณะที่กำ�ลังเดินซื้อของอยู่ใน ห้างสรรพสินค้า” ความรูส้ กึ แรกทีเ่ กิดขึน้ กับคุณคือ กลัวว่าจะมีเรือ่ งไม่ดเี กิดขึน้ กับ ลูก ในขณะทีก่ ำ�ลังวิง่ ตามหาลูกคุณคงจะกลัวแทบตายว่าลูกจะหายไป เมื่อคุณได้พบลูกแล้วก็คงรู้สึกโล่งใจมากที่ลูกปลอดภัย แต่คุณกลับพูด ในสิ่งที่ตรงข้ามกับความรู้สึกที่แท้จริงเมื่ออยู่กับลูก เช่น “แม่โกรธลูก มากเลย ลูกนี่ซนจริงๆ แม่ไม่ได้บอกเหรอว่าให้อยูใ่ กล้ๆแม่ แย่มากเลย นะทำ�ไมถึงเดินแยกจากแม่ไปแบบนี”้ พร้อมกันนัน้ ก็แสดงอาการโกรธ ออกมาเพื่อเป็นการให้บทเรียนและทำ�โทษที่ลูกทำ�ให้คุณกลัว AAข้อความทีพ ่ ดู ถึงตัวเองนัน้ กลายเป็นพูดถึงลูกไปเสีย หรือเรียก ว่า เป็นข้อความพูดถึงลูกแบบกลายๆ ดังสถานการณ์จำ�ลองนี้ “ลูกชายไม่เทถังขยะตามวันและเวลาที่ตกลงไว้กับพ่อ” K พ่อ : พ่อรู้สึกจริงๆว่าลูกไม่รับผิดชอบทำ�งานบ้าน L ลูก : ทำ�ไมเหรอพ่อ K พ่อ : พ่อรู้สึกโกรธทุกครั้งที่ลูกหลบเลี่ยงหน้าที่ เหมือนวัน   เสาร์ที่แล้ว พ่อรู้สึกโกรธเพราะลูกไม่เทถังขยะที่อยู่หลัง    บ้าน พ่อรูส้ กึ โกรธทีล่ กู ขาดความรับผิดชอบ พ่อรูส้ กึ โกรธ”    ที่ลูกไม่ทำ�ตามที่ตกลงกับพ่อไว้ 33


::ข้อความที่เริ่มต้นด้วยคำ�ว่า “พ่อรู้สึก” นำ�หน้าถ้อยคำ� ต่างๆที่สรรหามาต่อว่าลูก ทำ�ให้ข้อความที่พ่อพูดถึงตัว เองนั้นกลายเป็นข้อความที่พูดถึงลูกไปแทน ;;ควรตัดคำ�ว่า “พ่อรู้สึก”ออกไป แล้วบอกไปเลยว่า ตนเองมีความรู้สึกอย่างไรให้ชัดเจน เช่น “พ่อผิดหวัง” “พ่ออยากให้ถังขยะสะอาด” หรือ “พ่อหงุดหงิดเพราะ เราตกลงกันแล้วว่าจะเทขยะทุกวันเสาร์” AA การพูดถึงตัวเองที่แสดงแต่ความรู้สึกในแง่ร้าย โดยลืมที่จะ พูดถึงความรู้สึกในแง่ดีบ้าง ดังสถานการณ์จำ�ลองนี้ “ลูกสาวกลับ บ้านช้าเกินกว่าเวลาที่กำ�หนดไว้” K แม่ : (ในขณะที่ลูกสาวเดินเข้าบ้านมา) แม่โกรธลูกจริงๆนะ L ลูก : หนูรู้ค่ะว่าหนูมาช้าเกินไป K แม่ : แม่โกรธที่หนูทำ�ให้แม่ต้องอดนอนคอยอยู่นาน L  ลูก : ก็ท�ำ ไมแม่ไม่นอนเสียล่ะค่ะ หนูอยากให้แม่ไปนอนและ เลิกกังวลเสียที K แม่ : แม่จะเข้านอนได้อย่างไร แม่กลัวลูกจะตาย มันทำ�ให้ แม่เป็นทุกข์ กังวลว่าจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับลูกหรือเปล่า  แม่ผิดหวังในตัวลูกที่ไม่รักษาข้อตกลงที่ทำ�ไว้กับแม่

34 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


::ข้อความที่แม่พูดถึงตัวเองนั้นแสดงให้ลูกรับรู้แต่ เฉพาะความรู้สึกในแง่ร้ายทั้งสิ้น ;;ลองนึกถึงความรูส้ กึ ทีแ่ ท้จริง เมือ่ คุณเห็นลูกกลับ มาถึงบ้านอย่างปลอดภัย คุณคงโล่งใจทีล่ กู กลับมา อย่างปลอดภัย อยากจะเข้าไปกอดและบอกลูกว่า คุณดีใจมากมายขนาดไหน ;;ใช้ขอ้ ความทีพ่ ดู ถึงตัวเองโดยแสดงความรูส้ กึ ทีแ่ ท้ จริงของคุณเข้าไปด้วย  แม่ : กลั บ มาแล้ ว เหรอจ๊ ะ ลู ก รั ก ขอบคุ ณ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ คุณพระคุณ เจ้าที่ลูกกลับมาบ้านอย่างปลอดภัย โล่งอกจริงๆ (พร้อมโผเข้ากอดลูก) แม่กลัวแทบแย่ว่าจะเกิดเหตุร้ายกับลูก  ลูก: แม่ดีใจที่เห็นหนูหรือค่ะ(ยิ้มโผเข้ากอดแม่) พ่อแม่มักพลาดโอกาสในการ แสดงความรูส้ กึ ทีด่ แี ละความรักใคร่ ในตัวลูกๆ เพราะมัวแต่กระตือรือร้น ที่ จ ะ “ สั่ ง ส อ น ” เ ล ย พ ลา ด โอกาสงามๆ ในการให้บทเรียนที่ สำ�คัญยิ่งกว่า คือ การได้บอกลูกว่า “คุณรักเขามากเพียงใด และจะรู้สึก เจ็บปวดมากขนาดไหน หากลูกได้รบั บาดเจ็บหรือเสียชีว ิต”

35


การส่งข้อความเกี่ยวกับตัวเอง ถึงเด็กเล็กๆ พ่อแม่ที่มีลูกอายุน้อยกว่า 2 ขวบส่วนมากมักเกิดความสงสัย ว่าจะส่งข้อความเกี่ยวกับตัวเองถึงลูกได้อย่างไร และคิดว่าลูกยังเล็ก เกินกว่าที่จะเข้าใจคำ�พูด เพราะพ่อแม่ประเมินความสามารถของลูก ต่ำ�เกินไป ความจริ ง แล้ ว เด็ ก เล็ ก ๆ ก็ ส ามารถเข้ า ใจข้ อ ความ เกี่ ย วกั บ ตั ว พ่ อ แม่ ไ ด้ โดย รั บ รู้ แ ละเข้ า ใจได้ ว่ า พ่ อ แม่ ย อมรั บ หรื อ ไม่ ย อมรั บ พฤติกรรมของตนเอง เข้าใจ ได้ ว่ า พ่ อ แม่ รู้ สึ ก อย่ า งไร ชอบหรือไม่ชอบพฤติกรรม ของลู ก เด็ ก อายุ ก่ อ นสองขวบสามารถเข้ า ใจข้ อ ความที่ พ่ อ แม่ พู ด ได้ เช่ น “มั น ร้ อ นนะ” “เดี๋ ย วเจ็ บ นะลู ก ” “แม่ ไ ม่ ช อบนะ ลู ก ” “ลู ก เล่ น ของชิ้ น นั้ น ไม่ ไ ด้ น ะ” “แม่ ไ ม่ อ ยากเล่ น ” หรื อ “ของชิ้ น นั้ น จะทำ � ให้ ลู ก เจ็ บ ” รวมทั้ ง ยั ง มี ค วามไวต่ อ สั ญ ญาณ ที่ไม่ได้พูดออกของพ่อแม่ได้ด้วย ยกตัวอย่าง เช่น 36 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


//ลูกไม่ยอมอยูน่ งิ่ ขณะทีค่ ณ ุ กำ�ลังแต่งตัวให้ คุณควรขืนตัวเล็ก น้อยและแต่งตัวให้ลกู ต่อจนเสร็จ (เป็นการส่งสัญญาณว่าคุณ แต่งตัวให้ลูกไม่ได้ถ้าลูกไม่อยู่นิ่ง) //ลูกมัวแต่โยกโย้ไม่ยอมขึน้ รถเมือ่ คุณต้องรีบไปธุระ คุณก็เพียง แต่ดนั หลังหรืออุม้ ลูกขึน้ รถ (แสดงให้ลกู รูว้ า่ คุณรีบและอยาก ให้ลูกขึ้นรถเดี๋ยวนี้) //ลูกกระโดดขึ้นลงๆอยู่บนเก้าอี้ คุณกลัวว่าลูกจะพลัดตกลง มา คุณก็เพียงแต่อมุ้ ลงมาให้กระโดดขึน้ ลงๆกับพืน้ (เป็นการ ส่งสัญญาณว่าคุณไม่ชอบให้กระโดดบนเก้าอี้ แต่จะไม่ว่าถ้า เป็นที่พื้น)

พฤติกรรมที่พ่อแม่สื่อออกมาทำ�ให้ลูกรับรู้และเข้าใจว่าพ่อแม่ ต้องการอะไรได้ โดยพ่อแม่ไม่จำ�เป็นต้องต่อว่า หรือตำ�หนิลูกเลย เพื่อ ให้การส่งข้อความมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พ่อแม่ควรใช้ข้อความที่สั้น กระชับ พร้อมน้ำ�เสียงที่หนักแน่นและเหตุผลที่ชัดเจน รวมทั้งภาษา กายทีเ่ ป็นไปในทิศทางเดียวกันด้วย เนือ่ งจากเด็กเล็กๆนัน้ ระบบความ คิดยังไม่ซบั ซ้อนพอ การสือ่ สารด้วยความชัดเจนทัง้ ภาษาพูดและภาษา กายจึงเป็นสิง่ สำ�คัญทีจ่ ะช่วยให้ลกู รับรูไ้ ด้วา่ ขณะนัน้ พ่อแม่ตอ้ งการให้ ลูกทำ�อะไร เช่น ลูกกำ�ลังเดินตรงไปทางสระน้ำ� คุณควรพูดว่า “หยุด!! อย่าไป เดี๋ยวตกน้ำ� พร้อมเข้าไปอุ้มลูกกลับมายังจุดที่ปลอดภัย

37


เทคนิคการจัดการปัญหา ด้วยวิธีไม่มีใครแพ้ การแก้ปญ ั หาด้วยวิธไี ม่มใี ครแพ้ใช้เมือ่ พ่อแม่และลูกเป็นเจ้าของ ปัญหาร่วมกัน โดยการอภิปราย เสนอความคิดเห็นและเจรจาต่อรอง จนกระทั่งทุกคนที่เกี่ยวข้องค้นพบวิธีแก้ปัญหาที่สามารถยอมรับร่วม กันได้ การแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ทำ�ให้ลูก ได้ มี ส่ ว นร่ ว มในการแก้ ไขปั ญ หา ซึ่ ง ช่ ว ยเพิ่ ม โอกาสในการค้ น หาวิ ธี แ ก้ ปั ญ หา และพั ฒ นาทั ก ษะการคิ ด อย่ า งสร้ า งสรรค์ ความมี เ หตุ ผ ล ความรับผิดชอบ ความมั่นใจใน ตัวเอง และความมีระเบียบวินัย รวมทั้ ง สามารถเปลี่ ย นแปลง พฤติกรรมทีไ่ ม่พงึ ประสงค์ของ ลู ก ได้ เ พราะมี ลั ก ษณะของ การบำ�บัดร่วมอยู่ด้วย โดย มีทั้งหมด 6 ขั้นตอนดังนี้

38 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


AA ขั้นที่  1 การระบุปัญหาและเข้าใจปัญหา ขัน้ ตอนนีม้ คี วามสำ�คัญมากหากต้องการให้ลกู มีสว่ นร่วม พ่อแม่ ต้องให้ลูกสนใจ เกิดความเต็มใจที่จะเข้าร่วมแก้ปัญหา โดย --ทำ�ในสถานการณ์หรือโอกาสที่เหมาะสม เลือกเวลาที่ลูกว่าง และผ่อนคลาย --บอกลูกอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมาว่ามีปญ ั หาอะไรทีต่ อ้ งแก้ไข --บอกลูกอย่างชัดเจนและหนักแน่นว่าพ่อแม่รู้สึกอย่างไร หรือ ต้องการอะไร --บอกลูกอย่างชัดเจนว่าพ่อแม่ตอ้ งการให้ลกู ร่วมมือแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีที่ยอมรับได้ทั้งสองฝ่าย --สิ่งสำ�คัญคือทำ�ให้ลูกเชื่อว่าทุกคน ทุกฝ่ายมีความจริงใจที่จะ แก้ปัญหาโดยไม่มีใครต้องเป็นฝ่ายแพ้ AA ขั้นที่2  การหาวิธีที่เป็นไปได้หลายๆแบบเพื่อแก้ไขปัญหา จุดสำ�คัญของขัน้ ตอนนีค้ อื การหาวิธแี ก้ไขทีห่ ลากหลาย จากการ เสนอของลูกและพ่อแม่ รับฟังข้อเสนอ วิธกี ารต่างๆโดยไม่ประเมินหรือ ตัดสินว่าวิธนี นั้ ถูกหรือผิด เหมาะสมหรือไม่อย่างไร (จะทำ�การประเมิน ในขั้นตอนที่ 3)

39


AA ขั้นที่3 การประเมินค่าวิธีการต่างๆ

เริ่มประเมินค่าวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกันไปที่ละข้อ โดย --ใช้คำ�พูดกระตุ้นให้เกิดการหาวิธีแก้ไขที่หลากหลาย เช่น --“เราควรทำ�อย่างไรดี” “ลองมาคิดหาหนทางที่เป็นไป ได้กันดู” --“มันจะต้องมีวิธีหลายๆอย่างในการแก้ปัญหานี้” --ให้ลูกลองเสนอวิธีแก้ปัญหาก่อน แล้วพ่อแม่ค่อยเสนอ ความคิดเห็นทีหลัง --อย่าประเมินค่า ตัดสิน หรือดูถูกข้อเสนอของลูก --หาวิธีแก้ไขจนกระทั่งไม่มีข้อเสนอแล้ว

AAขัน้ ที4่ การตัดสินใจเลือกเอาวิธแี ก้ไขปัญหาทีย่ อมรับได้มากทีส่ ดุ เมื่อทำ�ตามขั้นตอนต่างๆ และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทัง้ มีการแสดงออกอย่างเต็มที่ จริงใจและสร้างสรรค์ของทุกคนแล้ว ก็จะได้วิธีแก้ไขที่ดีที่สุด และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน โดย --ถามย้ำ�ความรู้สึกของลูกอีกครั้งเกี่ยวกับวิธีแก้ที่เหลืออยู่ให้ แน่ใจ เช่น “วิธีนี้ดีแล้วหรือยัง” “เราทุกคนพอใจวิธีนี้นะ” “คิดว่าวิธีนี้แก้ปัญหาของเราได้ไหม” --ถ้าสรุปแล้วไม่ได้วธิ ที ดี่ ที สี่ ดุ อาจเริม่ จากวิธที รี่ ว่ มกันเลือกไป ก่อน ด้วยการพูดว่า “เอาล่ะเราลองใช้วธิ นี ดี้ กู อ่ นนะว่าจะได้ ผลไหม” หรือ “ดูเหมือนว่าเราจะตกลงใช้วิธีนี้ งั้นลองทำ�ดู ว่าจะแก้ปัญหาได้ไหม”

40 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


--ควรจดไว้เพือ่ จะได้ไม่ลมื ถ้าวิธที เี่ ลือกมีหลายจุดต้องคำ�นึงถึง --ย้ำ�ให้ทุกคนเข้าใจว่านี้คือหน้าที่ของทุกคนในการทำ�ตามวิธี แก้ปัญหานั้น ด้วยคำ�พูด เช่น “เอาละนี่คือสิ่งที่เราตกลงจะ ทำ�กัน” หรือ “นี่คือข้อตกลงร่วมกันของเรา” AขัA ้นที่5 การปฏิบัติตามวิธีแก้ไขนั้นให้ได้ผลสำ�เร็จ --พูดคุยในรายละเอียดว่าจะทำ�ตามการตัดสินใจนั้นอย่างไร เช่น “ใครจะทำ�อะไรเมื่อไหร่” “ตอนนี้เราต้องทำ�อย่างไรจึง จะจัดการกับปัญหานี้ได้” หรือ “เราจะเริ่มทำ�เมื่อไหร่” AขัA ้นที่6 การติดตามประเมินผล บางครั้งการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่ตัดสินใจเลือกเป็นวิธีแรกอาจ จะยังไม่ได้ผลดีที่สุด จึงควรมีการติดตามประเมินผล โดย ตัวอย่างการแก้ปัญหาเรื่องความสะอาดเรียบร้อยของห้อง ลูกด้วยวิธีไม่มี ใครแพ้  แม่ : แม่เบื่อที่จะบ่นเรื่องห้องของลูกแล้ว แม่รู้ว่าลูกเบื่อ ที่แม่ชอบยุ่งเรื่องห้องนอนของลูก นานๆทีลูกถึงจะทำ�ความ สะอาด แต่สว่ นใหญ่จะรกมากกว่า แม่หงุดหงิดอารมณ์เสียทุกที  ลูก : มันทำ�ให้แม่หงุดหงิด อารมณ์เสียและต้องมาบ่นหนู บ่อยๆเหรอ   แม่ : ใช่จะ๊ ลูก เราลองมาหาวิธแี ก้รว่ มกันได้ไหม แม่เชือ่ ว่า จะเป็นวิธีที่ทั้งแม่และลูกยอมรับได้ เพราะแม่ก็ไม่อยากบังคับ ให้ลกู ทำ�ความสะอาดห้องแล้วต้องทำ�ให้ลกู อารมณ์เสียเหมือน กัน ลูกจะช่วยแม่แก้ปัญหานี้ให้หมดไปซะทีได้ไหมจ๊ะ 41


 ลูก : หนูจะพยายาม แต่หนูรู้ว่าในที่สุดหนูก็ต้องทำ�อยู่ดี  แม่ : ไม่หรอกจ๊ะ แม่เสนอว่าเราน่าจะหาวิธีที่ทั้งหนูและแม่ช่วย กันได้นะ   ลูก : หนูรแู้ ล้วล่ะ แม่ไม่ชอบรดน้�ำ ต้นไม้แต่ชอบทำ�ความสะอาด ส่วนหนูไม่ชอบทำ�ความสะอาดแต่ชอบรดน้ำ�ต้นไม้ ถ้างั้นหนูจะ รดน้ำ�ต้นให้แม่ทุกวัน ส่วนแม่ก็ทำ�ความสะอาดห้องหนูอาทิตย์ ละครั้งนะคะ  แม่ : ลูกคิดว่าทำ�ได้จริงๆหรือ  ลูก : ค่ะ หนูอยากทำ�มาก  แม่ : ตกลง งั้นลองดู แล้วลูกจะกวาดใบไม้ด้วยหรือเปล่า  ลูก: แน่นอนค่ะ   แม่ : ตกลงตามนีแ้ ล้วกันนะ ทีนหี้ อ้ งลูกก็จะสะอาดตามมาตรฐาน ของแม่ซะที ก็แม่ลงมือทำ�เองนี่(ยิ้ม)  ลูก: แล้วต้นไม้กับสวนของแม่ก็จะสวย สะอาดแน่นอนค่ะ(ยิ้ม) วิธีแก้ปัญหาด้วยการไม่มี ใครแพ้เป็นวิธีที่พ ่อแม่และลูกใช้ แก้ ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ด้วยวิธีที่มีความเฉพาะ สอดคล้อง กับสภาพปัญหาและความเป็นจริงของครอบครัว ซึง่ นำ�ไปสูก่ ารแก้ไข ปัญหาที่ ได้ผลและเป็นไปได้อย่างแท้จริง

42 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


หลักการสื่อสาร สำ�หรับเด็กวัย 1-3 ปี เด็กในวัย 1-3 ปีจะมีการสื่อสารแบบสองทางเพิ่มมากขึ้นจาก การเรียนรู้ความหมายของสิ่งแวดล้อมผ่านทางประสาทสัมผัสและ ประสาทรับรู้ เช่น การมองเห็น การได้ยิน การรับรส การดมกลิ่น การ สัมผัส การเคลื่อนไหว และการมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่หรือผู้ดูแล จน พัฒนาเป็นความเข้าใจทางภาษา การใช้ภาษาและการสื่อสาร เด็กใน วัยนีจ้ ะใช้การสือ่ สารเพือ่ แก้ไขปัญหาพืน้ ฐานทางสังคมของตนเอง เช่น การบอกความต้องการด้วยท่าทางและคําพูด โดยมีความสามารถใน การสื่อสารแตกต่างกันไปตามช่วงอายุดังนี้ อายุ 1ปี

ความสามารถในการสื่อสาร »»เข้าใจคาํ พูด ประโยค หรือคาํ สัง่ ง่ายๆทีพ่ อ่ แม่พดู เช่น “หยุด” “อย่า” »»เชื่อมโยงเรื่องราว คําศัพท์ต่างๆในชีวิตประจําวันได้ เช่น รู้จักชื่อตัวเอง รู้ว่าใครคือพ่อ แม่ »»พูดเป็นคําเดียวสั้น ๆ ได้ 5-6 คำ� เช่น พ่อ แม่ หม่​่ำ� »»แสดงออกด้วยท่าทาง เช่น พยักหน้า ส่ายหน้าได้

43


อายุ

ความสามารถในการสื่อสาร

1.6ปี

»»เข้ า ใจคํ า สั่ ง ทํ า ตามคํ า สั่ ง โดยมี ท่ า ทางประกอบได้ (เช่น คุณแม่บอกให้ไหว้ พร้อมทําท่าให้ลูกดู) »»ทาํ ตามคาํ สัง่ ได้โดยไม่ตอ้ งมีทา่ ทางประกอบ เช่น ทิง้ ขยะ ได้เอง โดยที่ไม่ต้องใช้มือชี้ไปที่ถังขยะให้ลูกดู »»รูจ้ กั และบอกอวัยวะของตัวเองได้ 3 ส่วน เช่น ตา หู จมูก »»พูดคําพยางค์เดียวได้ 10-20 คํา ส่วนใหญ่จะเป็นคำ�นาม เช่น พ่อ แม่ แมว หมา »»เลียนเสียงรถหรือสัตว์ร้องได้ »»บอกความต้องการและรูจ้ กั ปฏิเสธ เช่น “เอา” “ไม่เอา” »»เริ่มรู้จักคำ�ที่ประกอบด้วย 2-3 คำ�มากขึ้น เช่น ขวดนม »»พยายามพูดเพื่อสื่อสาร

2 ปี

»»ทําตามคําสั่งได้ 2 ขั้นตอนโดยไม่ต้องมีท่าทางประกอบ ได้ เช่น ทิ้งขยะลงถังแล้วหยิบผ้ามาให้แม่ »»รู้หน้าที่ของสิ่งของ เช่น ช้อนมีไว้ตักข้าว แก้วน้ำ�มีไว้ดื่ม »»รู้จักกิริยาของสัตว์ เช่น หมาร้องโฮ่งๆ แมวร้องเหมียวๆ »»เข้าใจคําถาม “นี่อะไร” ชี้ภาพได้ถูกต้องเมื่อถามได้ »»พูดคำ�ศัพท์ได้มากกว่า 50 -200 คำ� »»พูดประโยควลีเฉลี่ย 2 คำ� เช่น ไปเที่ยว »»ฟังเรื่องง่ายๆได้เข้าใจ

44 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


อายุ 3ปี

ความสามารถในการสื่อสาร »»พูดประโยคง่ายๆ ที่มีความยาวเฉลี่ย 3 คำ� »»เข้าใจคําสั่งที่ซับซ้อน »»เริ่มเข้าใจบุพบท จํานวน รู้จักสี รู้จักเปรียบเทียบ »»พูดคำ�ศัพท์ได้ประมาณ 900 คำ� เชื่อมโยงคําศัพท์ได้ มากขึ้น »»บอกความต้องการง่ายๆได้ เช่น เมื่อต้องการเข้าห้องน้ำ� »»บอกชื่อตัวเองได้ »»อธิบายภาพกิริยาได้ »»บอกชื่อและหน้าที่ของวัตถุได้ถูกต้อง »»เล่าเรื่องง่ายๆได้ »»ตอบคําถามที่ขึ้นต้น “อะไร” “ที่ไหน”ได้ »»สนใจคําถาม ชอบตั้งคําถาม »»การพูดภาษาแบบเด็ก (jagon) หมดไป

45


บทที่ 16

ปัญหาการสื่อสารและ วิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นในเด็กวัย1-3 ปี AAพูดช้า ในช่ ว งวั ย นี้ จ ะพบภาวะพู ด ช้ า ประมาณร้อยละ 10 – 15 และพบ ในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง 2-3 เท่า พ่อแม่สามารถสังเกตว่า ลูกเข้าข่ายการพูดช้าหรือไม่ง่ายๆ ได้ดังนี้

อายุ

เกณฑ์การพิจารณา

1 ปี+ 2 ปี+ 3 ปี+

ไม่เริ่มพูดเป็นคำ�ๆ เข้าใจคำ�พูดน้อยกว่า 10 คำ� รู้จักและพูดได้น้อยกว่า 200 คำ� รู้จักและพูดได้น้อยกว่า 900 คำ� ยังไม่พูดเป็นประโยค

การพูดช้าของลูกอาจเกิดจากสาเหตุ เช่น การได้ยินผิดปกติ สติปญ ั ญาบกพร่อง ออทิสติก พัฒนาการผิดปกติ หรือเกิดจากการ เลี้ยงดู เมื่อสงสัยว่าลูกพูดช้าควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อ หาสาเหตุ และวางแนวทางแก้ ไขได้อย่างเหมาะสม 46 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


AAพูดไม่ชัด การพูดชัดของเด็กจะพัฒนาขึ้นตามช่วงอายุ เด็กวัย 2 ปีจะ สามารถพูดให้คนที่ไม่คุ้นเคยฟังได้เข้าใจประมาณครึ่งหนึ่ง เมื่อเด็ก อายุ 4 ปี จะสามารถพูดชัดให้ผู้ฟังเข้าใจได้ทั้งหมด ในช่วงแรกที่ลูก เริ่มพูดการออกเสียงพยัญชนะอาจยังไม่ชัดได้ แต่จะชัดเจนขึ้นตาม ลำ�ดับ ดังต่อไปนี้

อายุ

เกณฑ์การพิจารณา

2-3 ปี 3-4ปี 4-5 ปี 5-6 ปี

ควรออกจะเสียงพยัญชนะตัว ม ย น ห ค อ ได้ชัด ควรจะพูดพยัญชนะตัว ก บ ป ว ได้ชัด รู้จักและพูดได้น้อยกว่า 900 คำ� ยังไม่พูดเป็นประโยค จะออกเสียงตัว ช ร ส ได้ชัด

--พ่อแม่ควรสังเกตและฟังการออกเสียงพูดของลูก หากลูกพูด ไม่ชัดจนฟังไม่รู้เรื่อง พูดไม่ชัดหลายตัวอักษร หรือไม่ยอม ออกเสียงบางเสียงแต่ออกเสียงอื่นแทน ซึ่งอาจทำ�ให้เกิด ปัญหาทางการสื่อสาร การเข้าสังคมกับเพื่อน หรือปัญหา เรื่องการเรียนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออายุเกิน 8 ปีแล้ว ยังออกเสียงไม่ชัดควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อ ตรวจการได้ยินหรืออวัยวะภายในช่องปาก เช่น ลิ้น เพดาน ปาก ว่าผิดปกติหรือไม่

47


AAติดอ่าง พบได้ บ่ อ ยในเด็ ก ที่ เริ่ ม หั ด พูดคำ�มากกว่า 2 คำ�ขึ้นไป เด็กวัย นี้ความคิดเริ่มแล่น อยากสื่อสาร แต่คิดคำ�พูดไม่ทันใจ และคลังศัพท์ ในสมองยังน้อย ทำ�ให้พูดซ้ำ�คำ�เดิม เช่น หนู หนู หนู...กินนมแล้ว โดย มีตั้งแต่ติดอ่างเล็กน้อยซึ่งจะหายได้ เองในเวลาไม่นาน จนถึงการติดอ่าง มากที่ส่งผลให้เด็กมีปัญหาในการสื่อสาร โดยเริ่มจากการติดอ่างเพียง เล็กน้อย แต่เมื่อเด็กรู้ตัวว่าตัวว่ามีความผิดปกติ ทำ�ให้เกิดความกังวล ระมัดระวังในการพูดมากกว่าปกติ เกร็ง ไม่มั่นใจในการพูด จนกลาย เป็นติดอ่างมากขึ้น ในเบื้องต้นพ่อแม่สามารถช่วยได้โดย ;;อย่าใช้คำ�ถามกับลูกมากเกินไป พยายามหลีกเลี่ยงคำ�พูดที่ เหมือนคำ�ถาม เพราะลูกต้องคิดหาคำ�ตอบ ทำ�ให้ลูกติดอ่าง มากขึ้น ;;สนใจรับฟังว่าลูกพูดอะไร หมายความว่าอย่างไร ไม่ตื่นเต้น หรือกังวลกับการพูดติดอ่างของลูกมากจนเกินไป ;;ทำ�บรรยากาศในบ้านให้ผ่อนคลาย ให้กำ�ลังใจเมื่อลูกพูดผิด จะช่วยให้ลูกผ่อนคลาย ไม่กังวลกับการพูด และช่วยให้ อาการติดอ่างค่อย ๆ หายไปได้ในที่สุด

48 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


AAพูดมากเกินไป อาการช่างพูดของลูกคงไม่เป็นปัญหาทีพ่ อ่ แม่จะต้องกลุม้ ใจ ถือ เป็นข้อดีที่ลูกอยากพูดคุย อยากรู้อยากเห็น หากพ่อแม่ให้ความสนใจ ตอบสิ่งที่เขาอยากรู้ และสร้างแรงจูงใจให้เขาอยากรู้มากขึ้นได้ สมอง ลูกก็จะมีการพัฒนาอย่างสมวัยเต็มที่ แต่หากการพูดมากนั้นรบกวน ต่อกิจกรรมในชีวิตประจำ�วันของลูกหรือคุณมากจนเกินไป เช่น ลูก พูดมากโดยไม่สนใจเวลาคนอืน่ พูดคุยด้วย พูดหรือซักถามแต่เรือ่ งทีต่ น สนใจซ้ำ�ๆ เดิมๆ อยู่ตลอดเวลา ในเบื้องต้นพ่อแม่สามารถช่วยได้ ;;พยายามตอบคำ�ถาม หรือตั้งคำ�ถามกลับ ชวนลูกคิด ต่อยอด ;;สอนมารยาท บอกลูกว่าเราจะไม่พดู แทรกในขณะทีค่ นอืน่ กำ�ลังพูดคุยกันอยู่ หรือให้ยกมือขึ้นเป็นสัญลักษณ์เมื่อลูก ต้องการพูดหรือสนทนากับคนอื่น ;;ให้ความสนใจเวลาลูกอยากเล่าเรื่องหรือพูดคุยกับพ่อ แม่ แต่ถ้าไม่สะดวกจริง ๆ ก็อาจให้ลูกรอสักครู่ สัญญา ว่าจะกลับมาฟังลูกเล่า กำ�หนดเวลาในการรอตามความ สามารถของเด็กแต่ละวัย โดยเริ่มต้นอาจให้รอสัก 2 นาที แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเป็น 3 – 5 นาที และต้องกลับมาฟังตาม สัญญาทุกครั้ง

49


AAช่างพูดแต่เป็นภาษาต่างดาว ลู ก มี พั ฒ นาการสมกั บ วั ย ช่ า ง พูด พูดได้เป็นเรื่องเป็นราว แต่พูดรู้ เรื่องเป็นบางคำ� ที่เหลือเป็นภาษาที่ ใคร ๆ ก็เดาไม่ออกว่าเขาพูดถึงอะไร ถามคำ�ถามที่พ่อแม่ตอบไม่ได้ เพราะ ฟังไม่รู้เรื่อง ในเบื้องต้นพ่อแม่สามารถ ช่วยได้ โดย ;;ฝึกการฟัง ฝึกสือ่ สารให้ตรงกันก่อน โดยเริม่ จากของใกล้ตวั อาจใช้สิ่งของหรือรูปภาพมาเป็นอุปกรณ์ประกอบการพูด ;;พูดให้ช้าลง ออกเสียงให้ชัดขึ้น ขยับปากให้ลูกเห็นชัดๆ เพื่อลูกจะได้จดจำ�การใช้ภาษาของพ่อแม่ได้ง่ายขึ้น ;;พยายามสื่อสารในชีวิตประจำ�วันด้วยการเรียกชื่อเฉพาะ ของสิ่งนั้นไปเลย เช่น สมุด หนังสือ ตุ๊กตา จาน ไม่เรียกว่า อันนี้อันโน้นอันนั้น ลูกจะได้เรียนรู้คำ�ศัพท์ต่างๆ มากขึ้น ;;ช่วงที่ลูกหัดพูดอาจมีภาษาต่างดาว หรือภาษาของเขาเอง ให้พยายามคาดเดาว่าลูกหมายถึงอะไร พูดคำ�ที่ถูกต้องให้ ฟังแล้วให้ลกู พูดตาม ควรให้เป็นไปอย่างสบายๆ ไม่เครียด ลูกจะได้เรียนรู้ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารที่ถูกต้องได้

50 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


AAไม่ยอมพูด

การไม่ยอมพูดจะพบได้บ้างในเด็กวัยนี้ ซึ่งอาจเกิดจากความ วิตกกังวล การปรับตัวของเด็ก หรือการถูกจำ�กัดสิ่งแวดล้อม เช่น การ เลีย้ งดูอยูแ่ ต่ในบ้าน ทาํ ให้เด็กพูดเฉพาะกับคนในบ้านหรือคนทีค่ นุ้ เคย เท่านั้น เด็กบางคนเมื่อพบคนที่ไม่คุ้นเคยอาจจะแสดงอาการเขินอาย ไม่ยอมพูดในช่วงแรก แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งหรือเริ่มคุ้นเคยกันแล้ว ก็จะยอมพูดคุยด้วย ในเบื้องต้นพ่อแม่สามารถช่วยได้โดย ;;พ่ อ แม่ ค วรให้ เวลาลู ก ในการปรั บ ตั ว ไม่ ว่ า กล่ า วหรื อ คะยั้นคะยอจนเกินไป เพราะลูกอาจเกิดความอึดอัด วิตก กังวลเครียด ซึ่งส่งผลให้ลูกยิ่งไม่ยอมพูด ;;ใช้ตัวพ่อแม่เป็นสื่อ เป็นตัวอย่างในการสร้างความคุ้นเคย ให้แก่ลูก เช่น ทักทายแสดงความสนิทสนมกับผู้อื่นให้ลูก เห็น หรือเป็นผู้เริ่มหัวข้อสนทนาให้ ;;ส่งเสริมให้ลูกมีกิจกรรมนอกบ้านกับร่วมกับผู้อื่น เช่น พาไปเล่นกับเด็กอื่นที่สนามเด็กเล่น การพาเข้ากลุ่มสังคม ต่างๆ เป็นต้น

51


บทที่ 17

กิจกรรมส่งเสริมการสื่อสาร ในเด็กวัย1-3 ปี

การใช้ภาษาเป็นปัจจัยสำ�คัญในการเรียนรูแ้ ละเข้าใจสิง่ แวดล้อม เด็กใช้ภาษาเพื่อการแสดงออกทางอารมณ์ บอกความต้องการของ ตัวเอง และใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น เด็กที่มีความพร้อมทางภาษา และมีทัก ษะการสื่ อ สารที่ ดี จะส่ ง ผลให้ มี พั ฒ นาการทางอารมณ์ แ ละสั ง คมที่ เหมาะสมต่อไป พั ฒ นาการทางภาษาและความ สามารถในการสื่อสารขึ้นอยู่กับ ธรรมชาติ แ ละลั ก ษณะการ เ ลี้ ย ง ดู ข อ ง เ ด็ ก แ ต่ ล ะ คน เด็ ก ที่ ช อบเข้ า สั ง ค ม แ ล ะ ไ ด้ รั บ ก า ร ก ร ะ ตุ้ น ผ่ า น ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ ห รื อ กิจกรรมที่หลากหลายก็จะมีโอกาสในการพัฒนาความสามารถทาง ภาษาและการสือ่ สารได้ดี พ่อแม่สามารถส่งเสริมทักษะทางภาษา การ พูดและการสื่อสารของลูกในแต่ละวัยได้ดังนี้

52 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


AAเด็กวัย 1- 2 ปี กิจกรรมอ่านหนังสือสิ่งสำ�คัญที่ได้จากกิจกรรมนี้ คือ การช่วย ให้เด็กมีความมั่นคงทางอารมณ์ จากการได้รับการกระตุ้นทางภาษา อย่างเพียงพอ การอ่านและการฟังนิทานยังช่วยกระตุน้ ประสาทสัมผัส ต่างๆไปด้วย เช่น หู ตา และสมอง การอ่านนิทานให้ลูกฟังด้วยเสียง ตนเอง การใช้ภาษาที่ดี และใส่ความรู้สึกของพ่อแม่ร่วมด้วยในขณะ เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูก เมื่อพ่อแม่รู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะตื่นเต้นตามไป ด้วย ความรู้สึกร่วมกันของพ่อแม่และลูกขณะเล่านิทานเปรียบเสมือน สายใยผูกพันซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นการอ่านนิทานให้ลูกฟังทุกวัน ด้วยเสียงสูงๆ ต่ำ�ๆ ประกอบรูปภาพ จะช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องคําศัพท์ และเชื่อมโยงเรื่องราวได้เป็นอย่างดี ลูกจะเรียนรู้ภาษาจากการได้ยิน ซึ่งภาษาเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่ลูกนำ�ไปใช้สื่อสารต่อไป นิ ท า น ที่ เ ห ม า ะ ส ม ใ น วั ย นี้ ค ว ร เ ป็ น ห นั ง สื อ ภ า พ เหมื อ นของจริ ง เช่ น รู ป สั ต ว์ ผั ก ผลไม้ สิ่ ง ของในชี วิ ต ประจำ � วั น ที่ มี สี สั น สวยงาม ขนาดใหญ่ ชั ด เจน เป็ น ภาพเดี่ ย วๆ ที่ มี ชี วิ ต ชี ว า ไม่ ค วรมี ภ าพหลั ง หรื อ ส่ ว นประกอบภาพที่ ร กรุ ง รั ง

53


;;หาหนังสือที่ปลอดภัยสำ�หรับลูก ควรทำ�ด้วยผ้า หรือวัสดุ อืน่ ๆ ทีส่ ามารถทำ�ความสะอาดได้งา่ ย (บางครัง้ ลูกอาจเอา ไปทดลองชิมด้วยการเอาหนังสือเข้าปาก) ;;ควรถือหนังสือให้กางออกตรงหน้าลูก เพื่อลูกจะได้เห็น รูปภาพในหนังสือด้วย ขณะที่อ่านควรชี้ชวนให้ลูกดูภาพ ตามไปด้วยเพื่อให้ลูกรู้สึกมีส่วนร่วม และอุ้มลูกนั่งตักเพื่อ ให้ลูกได้รับความอบอุ่นจากการสัมผัส ซึ่งช่วยเสริมสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกได้ด้วย จัดหาของเล่นทีเ่ หมาะสมกับความสนใจและความสามารถของ ลูก เช่น เครื่องใช้ภายในบ้านที่คุ้นเคย เพื่อให้ลูกได้รู้จัก เรียนรู้และ พัฒนาทักษะทางภาษาผ่านสิ่งของที่พบเห็นในชีวิตประจำ�วัน ;;พูดคุยกับลูกจากเรือ่ งในชีวติ ประจาํ วัน เช่น คุณแม่ทาํ อะไร ให้พูดไปด้วย กินข้าวก็บอกว่า “กินข้าวนะลูก” ทําท่าจะ ป้อนข้าว เพื่อช่วยให้ลูกเชื่อมโยงคําศัพท์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ;;ให้ลกู เล่นโทรศัพท์ของเล่น ทำ�ทีเป็นพูดโทรศัพท์กบั คนอืน่ ผลัดกันแลกเปลี่ยนบทสนทนากับลูก ;;ให้ลกู เล่นของเล่นทีท่ �ำ เลียนแบบเครือ่ งใช้ในบ้าน เช่น ช้อน ส้อม ชาม จาน ถ้วย ตะหลิว กระทะ หม้อ ฯลฯ ;;ทำ�พืน้ ทีเ่ ฉพาะทีป่ ลอดภัยสำ�หรับการเล่นของลูก เช่น เบาะ

54 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


กิจกรรมการเรียนรู้คำ�ศัพท์ต่างๆโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น และการรับรส เพื่อให้ลูกทำ�ความรู้จัก แยกแยะลักษณะเฉพาะของสิ่งต่างๆรอบตัว ช่วยให้ลกู เกิดความรูค้ วามเข้าใจและเชือ่ มโยงความหมายของสิง่ ต่างๆ ได้ดีขึ้น ;;ตั ว อย่ า งกิ จ กรรมการสอนให้ รู้ จั ก คำ � ว่ า “ส้ ม ” โดยใช้ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (ใช้ส้มของจริงเป็นอุปกรณ์ประกอบ) »»การมองเห็น ลูกเห็นสีของส้ม ซึ่งเป็นสีส้ม »» การดมกลิ่น ลูกดมกลิ่นของส้ม »» การรับรส ลูกชิมรสชาติของส้ม »» การสัมผัส ลูกสัมผัสจับต้องผิวของส้ม รูปทรงของส้ม »» การได้ยิน ลูกได้ยินพ่อแม่พูดคำ�ว่า “ส้ม”

55


AAเด็กวัย 2-3 ปี เด็กในช่วงวัยนี้มีประสาทสัมผัสทางการได้ยินดีมาก การอ่าน หนังสือนิทานให้ลูกฟังจึงเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐาน ทางภาษาและการสือ่ สารได้เป็นอย่างดี พ่อแม่ควรจัดเวลาทีเ่ หมาะสม สำ�หรับอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เด็กจะเริ่มรับรู้นิทานจากภาพที่มองเห็น และเสียงทีไ่ ด้ยนิ โดยเรียนรูค้ วามหมายไปทีละเล็กทีละน้อยจนสามารถ เชือ่ มโยงภาพกับคำ�บอกเล่าทีไ่ ด้ยนิ ตลอดจนจดจำ�เนือ้ หาและเรือ่ งราว ต่างๆ ซึ่งจะนำ�ไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป พ่อ แม่ควรเลือกหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับ ให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสมควรมี ภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำ�วัน สัตว์ สิ่งของ ;;อ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกครั้งตามที่ลูกร้องขอ ;;อ่านนิทานเล่มเดิมให้ลกู ฟังซ�้ำ ไปซ�้ำ มา แล้วบอกให้ลกู เล่า ให้ฟังด้วยคำ�พูดของตัวเอง หรือเล่าต่อจากที่คุณเว้นไว้ให้ ;;ฟังลูกพูดและมีปฏิกริ ยิ าตอบสนอง ด้วยน้�ำ เสียงทีน่ มุ่ นวล ค่อยเป็นค่อยไป ถ้าลูกถามก็ตอ้ งทาํ ตัวเป็นพ่อแม่ชา่ งตอบ ถ้ายังตอบไม่ได้อาจใช้วิธีหาคําตอบในภายหลัง หรือชวน ลูกค้นหาคําตอบด้วยกัน

56 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


การพูดคุย และตั้งคําถามกับลูกอย่างเหมาะสมช่วยพัฒนาความคิด สร้างสรรค์และทักษะด้านการสื่อสารของลูกได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก ช่วยฝึกทักษะการคิด การเชื่อมโยงความรู้ที่มีเข้ากับคำ�ถามเพื่อให้ได้ คำ�ตอบที่ต่างกันไป ;;การตัง้ คําถามปลายเปิด เช่น “ถ้าพูดถึงสีเขียวลูกจะนึกถึง อะไรบ้าง” หรือ “อะไรมีสีเขียวบ้าง” ถ้าลูกนึกถึงสิ่งที่มีสี เขียวได้หลายชนิด เช่น ใบไม้ ผัก ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ต้น หญ้า ฯลฯ และตอบได้รวดเร็วย่อมแสดงถึงทักษะการคิด คล่องตัว หรืออาจนึกถึงนึกถึงทหาร ความร่มเย็น ความ อุดมสมบูรณ์ ก็แสดงว่ามีทกั ษะในการคิดยืดหยุน่ สามารถ เชื่อมโยงความรู้ที่มีเข้ากับคำ�ถาม ;;ต้องคอยระวังการเบี่ยงเบนประเด็น!! เพราะเด็กในวัยนี้ ยังไม่เก่งเรื่องการจัดการระเบียบคำ�พูดให้เป็นระบบ ดัง นั้นคุณแม่คุณพ่อควรช่วยควบคุมการบอกเล่าเรื่องราวให้ เป็นไปตามทิศทางหรืออยู่ในประเด็นที่ต้องการ

57


ชวนลูกเล่นบทบาทสมมุติ การเล่นบทบาทสมมตินี้มีความ เกี่ยวข้องกับการสื่อสารไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง บางครั้งลูกอาจจะพูดคน เดียว แต่ก็เป็นการพูดกับเพื่อนในจินตนาการ หรืออาจจะมีตัวละคร ทีเ่ ล่นด้วยกัน ทำ�ให้มกี ารสือ่ สาร ทางคำ�พูดและท่าทางระหว่าง กั น การเล่ น บทบาทสมมติ มี ประโยชน์อย่างมาก เพราะช่วย พั ฒ นาการเรี ย นรู้ ด้ า นภาษา ให้กับเด็ก พ่อแม่สามารถสอด แทรกคำ�ศัพท์ให้ลกู ด้วย จะช่วย ให้ลูกมีคลังคำ�ศัพท์เพิ่มขึ้น การ ทำ � ท่ า ทางประกอบไปด้ ว ยจะ ทำ�ให้เด็กมีทกั ษะทางด้านภาษา และการสื่อสารที่ดียิ่งขึ้น ;;จัดหาอุปกรณ์ เสือ้ ผ้าทีไ่ ม่ใช้แล้ว ให้ลกู ได้แต่งตัวเป็นคนใน อาชีพต่างๆ ที่ลูกเคยเห็น เช่น คุณหมอ ตำ�รวจ ทหาร ครู หรือแต่งเป็นตัวละครในนิทาน ;;ร่วมเล่นไปด้วยกับลูก เพือ่ ช่วยกระตุน้ และเป็นต้นแบบใน การแสดงและการสื่อสาร

58 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


บทที่ 18

หลักการสื่อสารสำ�หรับเด็ก 3- 6 ปี เนื่องจากเด็กในวัย 3-6 ปี เป็นวัยที่จะเริ่มพัฒนาก้าวจาก ครอบครัว ไปสู่สังคมโรงเรียน เด็กในวัยนี้มีความต้องการอะไรหลายๆ อย่าง ต้องการความเป็นอิสระ อยากรู้ อยากเห็น ต้องการความเป็นตัว ของตัวเอง ต้องการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต จึงจัดได้ว่าเป็นก้าว สำ�คัญของการจะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต การอบรมเลี้ยงดู และสภาพ แวดล้อมจะเป็นตัวกำ�หนดให้เด็กมีบุคลิกแตกต่างกันไปเมื่อเขาเติบโต ขึน้ เพราะพ่อแม่เป็นบุคคลทีใ่ กล้ชดิ เด็กมากทีส่ ดุ ความรักความอบอุน่ จึงเป็นอาหารใจที่วิเศษสุดสำ�หรับเด็กในวัยนี้ ความสามารถในการสื่ อ สาร เป็ น ทั ก ษะพื้ น ฐานของการสร้ า ง สัมพันธภาพระหว่างเด็กและบุคคล อื่ น เด็ ก ที่ ข าดความสามารถใน การสื่อสารที่ดีมักจะมีปัญหาทาง พฤติกรรม อารมณ์และสังคมตาม มา เช่น ทำ�ให้เข้ากับเพื่อนไม่ได้ หรือไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อน

59


ความสามารถทางภาษาของเด็กจะพัฒนาขึน้ เป็นลำ�ดับขัน้ ตาม ธรรมชาติและลักษณะการเลี้ยงดู เด็กที่เติบโตขึ้นมาเพียงลำ�พัง หรือ เติบโตขึ้นมาอย่างเดียวดายในครอบครัวที่พ่อแม่ทำ�งานนอกบ้านทั้ง คู่ หรือครอบครัวที่ชอบเปิดแต่โทรทัศน์ทิ้งไว้ให้ดูตลอดเวลา จะทำ�ให้ เด็กขาดการกระตุ้นทางภาษา เนื่องจากไม่มีโอกาสได้ฟังคนอื่นพูด ไม่ ได้บอกเล่าความคิดเห็นของตนเองให้คนอื่นฟัง และไม่ได้เข้าสังคม อาจส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสารที่ด้อยกว่าเด็ก ทีเ่ ติบโตมาท่ามกลางความรักความอบอุน่ มีสมาชิกจำ�นวนมาก และมี ผูใ้ หญ่ในครอบครัวทีช่ อบพูดคุยหรือเล่านิทานและเรือ่ งราวต่างๆให้เด็ก ฟังอยู่เสมอ ซึ่งทำ�ให้เด็กมีโอกาสได้รับการกระตุ้นทางภาษามากกว่า พัฒนาการทางภาษาและการสือ่ สารทีไ่ ม่เป็นไปตามวัยอาจเกิด มาจากหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยภายในตัวเด็กเอง เช่น การขาดทักษะ การปรับตัว ทักษะการเล่น ทักษะการควบคุมอารมณ์ ทักษะการแก้ไข ปัญหาและทักษะการสือ่ สารทีด่ ี เป็นต้น ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมและ การเลี้ยงดู เช่น การถูกจำ�กัดสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูเด็กไว้แต่ภายใน บ้าน การขาดโอกาสเข้าร่วมสังคม การเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ไม่มี เวลาในการดูแล เป็นต้น

60 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


พ่อแม่ควรสังเกตและให้ความสำ�คัญกับพัฒนาการทางภาษาและการ สื่อสารของลูก โดยเฉพาะในวัย 3-6 ปี ควรสอบถามพูดคุยกับคุณครู ของลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินว่าลูกมีพัฒนาการทางภาษาและการ สื่อสารเป็นอย่างไร เหมาะสมกับวัยหรือไม่ เพื่อจะได้ค้นหาสาเหตุ ของความผิดปกติ และหาแนวทางในการดูแล รวมทั้งส่งเสริมได้อย่าง เหมาะสมต่อไป ความสามารถในการสื่อสารของเด็กวัย 3- 6ปี อายุ ความสามารถในการสื่อสาร 3-4ปี »» พูดคำ�ศัพท์ต่างๆได้ประมาณ 900-1,500 คำ� »» พูดเป็นประโยคที่มีความยาวเฉลี่ย 4-5 คำ� แต่อาจจะ พูดไม่ชัด »» คำ�พูดของเด็กสามารถฟังได้เข้าใจประมาณ 90-100% »» เข้าใจประโยคมี่ซับซ้อนมากขึ้น »» เรียนรู้วิธีการเข้าสังคมด้วยการพูด »» ชอบแสดงความคิดเห็นและร้องขอสิ่งนั้นสิ่งนี้ »» ชอบบอกให้คนอื่นทำ�ตามสิ่งที่ตัวต้องการ »» สามารถพูดคุยถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นและแต่งเรื่องขึ้น เองได้แล้ว »» ชอบฟังนิทาน และฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ »» สนใจฟังเรื่องราวที่เป็นเหตุการณ์จริง

61


อายุ ความสามารถในการสื่อสาร 3-4ปี »» เมื่อมีอารมณ์โกรธหรืออยู่ในช่วงเขินอาย จะมีการ แสดงออกด้วยท่าทางที่กลับไปเป็นเด็กวัยเตาะแตะ อีกครั้ง »» ชอบทำ�ท่าเขียนหนังสือตามแบบผู้ใหญ่ 4-5ปี »» รู้จักชื่อและเพศของสมาชิกในครอบครัวแล้ว »» รับรู้ข้อมูลของคนใกล้ชิดแล้วว่าเป็นใคร ทำ�อะไร อยู่ ที่ไหน »» พูดคำ�ศัพท์ได้ 2,000 คำ� »» นับเลขได้ »» สามารถตอบคำ�ถามง่ายๆได้ เช่น บ้านทำ�จากอะไร »» ลักษณะประโยคมีไวยกรณ์เกือบสมบูรณ์เท่าผู้ใหญ่ »» เริ่มรู้จักนำ�คำ�มาเล่นสนุก ด้วยการแต่งเติมคำ�ให้ดูน่า ขัน รวมทั้งแต่งนิทานและเรื่องราวต่างๆ ให้ตลก ขำ�ๆ »» เริ่มหัดวาดรูปให้เป็นรูปร่างของ คน สัตว์ และสิ่งของ แล้ว »» พยายามทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปภาพ จำ�นวน คำ� ต่างๆ และตัวอักษร ว่า เป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับอะไร หมายความว่าอย่างไร »» เขียนเรื่องทำ�นองเดียวกับการเล่าเรื่องและให้ข้อมูลได้ »» เริ่มรู้จักสนุกกับการอ่านหนังสือให้ตัวเองฟัง »» สามารถจดจำ�คำ�ได้ 2-3 คำ�จากหนังสือทีอ่ า่ นจบไป เช่น ชื่อตัวละคร และคำ�ที่เป็นสัญลักษณ์ในหนังสือต่างๆ 62 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


อายุ ความสามารถในการสื่อสาร 5-6ปี »» พูดเป็นประโยคได้ยาวประมาณ 5-6 คำ� »» พูดคำ�ศัพท์ได้ประมาณ 2,500 คำ� »» ใช้คำ�สรรพนามได้ถูกต้อง »» สามารถเล่าเรื่องที่คุ้นเคยได้เอง »» สามารถพูดคุยโทรศัพท์กับผู้อื่นได้ »» สามารถพูดเปรียบเทียบขนาดรูปร่างสิ่งต่างๆได้ เช่น ใหญ่กว่า ยาวกว่า »» สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆกับผู้อื่นได้อย่าง สัมพันธ์กับเรื่องที่กำ�ลังพูด »» สามารถบอกเล่าเรื่องต่างๆ ให้ผู้ใหญ่จดตามได้ »» เข้าใจว่าตัวหนังสือที่เขียนลงไปหมายถึงคำ�พูดที่เราใช้ พูดสื่อสารกัน »» สามารถจับอุปกรณ์สำ�หรับใช้เขียนหรือวาดได้ เช่น ดินสอ »» สีเทียน สีไม้ ปากกาเมจิก »» สามารถรับรู้ วาด หรือเขียน รูปทรง ตัวอักษร และ ตัวเลขจำ�นวนต่างๆ ได้

63


บทที่ 19

กิจกรรมส่งเสริมการสื่อสาร ในเด็กวัย 3-6ปี ภาพและตัวหนังสือที่อยู่ในหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังเปรียบเหมือนอาหารสมองและอาหาร ใจของลูก เพราะเป็นแหล่งที่มาของการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ ภาพ และคำ�ศัพท์ต่างๆ ซึ่งมีความสำ�คัญมากต่อพัฒนาการทางภาษา และการสื่อสารของเด็ก การอ่ า นและการฟั ง นิ ท านเป็ น กิ จ กรรมที่ ช่ ว ยพั ฒ นาสมอง ซีกซ้ายได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสมองซีกซ้ายทำ�หน้าที่เกี่ยวกับการ เรียนรูด้ า้ นภาษา การคิดอย่าง เป็นเหตุผลเป็นผลและการคิด อย่างเป็นระบบ เด็กที่มีสมอง ซีกซ้ายพัฒนาดีจะช่วยให้ใช้ ภาษาและสื่อสารได้ดีตามไป ด้ ว ย และยั ง ส่ ง ผลให้ เ ด็ ก มี ความสามารถในการเรี ย นรู้ เกี่ยวกับวิชาการต่างๆได้เป็น อย่างดี

64 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีตอ่ เล่ม มีผลต่อลูกและความ สุขในครอบครัวอย่างมากมาย ลูกจะได้รบั การพัฒนาทักษะการฟังและ การพูด สร้างจินตนาการแก่ลกู ฝึกสมาธิให้รจู้ กั สำ�รวจและจดจ่ออยูก่ บั เรือ่ งทีฟ่ งั ลูกจะเริม่ รับรูน้ ทิ านจากภาพทีม่ องเห็นและเสียงทีไ่ ด้ยนิ โดย เรียนรูแ้ ละเข้าใจความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชือ่ มโยง ภาพ และคำ�บอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำ�เนื้อหาต่างๆได้ ซึ่งความ สามารถดังกล่าวนี้จะนำ�ไปสู่การอ่านหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อ ไป การอ่านและการฟังนิทานจึงเป็นการเตรียมความพร้อมพืน้ ฐานด้าน การอ่านหนังสือและปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่ลูกไปพร้อมๆกัน หนังสือและนิทานสำ�หรับเด็กมีอยู่มากมายหลายประเภท แบ่ง ตามหน้าที่หลักได้ 3 ประเภทคือ 1.บันเทิงคดี เช่น หนังสือนิทาน การ์ตูน 2.สารคดี เช่น ความรู้ในเรื่องธรรมชาติ สัตว์ การท่องเที่ยว เพลงเด็ก 3.ร้อยกรอง เป็นต้น หรือแยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ หนังสือ ที่มีแต่ภาพ และหนังสือภาพที่มีคำ�บรรยาย เช่น หนังสือภาพสัตว์ที่ มีคำ�บรรยายสั้นๆใต้ภาพ หรือหนังสือภาพที่มีคำ�บรรยายยาวๆ เช่น หนังสือนิทาน พ่อแม่ควรเลือกให้เหมาะกับความสนใจ การรับรู้และ ความสามารถตามวัยของลูก จึงจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาความ สามารถทางภาษาและการสื่อสารของลูกได้อย่างแท้จริง

65


AAเด็กวัย 3 – 4 ปี เด็กในวัยนี้ชอบและสนใจฟังนิทาน หรือเรื่องราวต่างๆมากขึ้น โดยสามารถตั้งใจฟังอย่างต่อเนื่องประมาณ 5-10 นาที เด็กจะมีความ สนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำ�หนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำ�ได้ทกุ หน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก โดยเฉพาะเด็กอายุ 3 ปี จะมีจินตนาการสร้างสรรค์ มีความอยากรู้อยากเห็น และเข้าใจ เรื่องเล่าง่ายๆได้แล้ว พ่อแม่ควรให้ลูกได้รับประสบการณ์ที่ดีในช่วง เวลานี้ เพราะจะเป็นสร้างนิสัยรักการอ่านของลูกในอนาคตอีกด้วย ;;จัดวางหนังสือในที่ลูกสามารถเอื้อมหยิบได้เองตามสะดวก ;;ส่งเสริมให้ลูกคุ้นเคยกับหนังสือด้วยการดูภาพและค้นหา เรื่องราวที่อยู่ในภาพ แปรความหมายของภาพออกมาเป็น เรื่องราว ;;การให้ลูกได้เห็นเงาสะท้อนของตัวเอง ด้วยหนังสือที่มีภาพ และเรื่องราวคล้ายคลึงกับครอบครัวของลูก หรือหนังสือ เกีย่ วกับวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนาทีค่ รอบครัวนับถือ เช่น กรณีเป็นลูกคนโตอาจเล่านิทานที่เอ่ยถึงพี่คนโตที่มีความ เสียสละ หากมีพื้นเพอยู่ภาคเหนือก็ให้เล่านิทานเกี่ยวกับ ประเพณีทางเหนือ เป็นต้น ;;เมื่อลูกชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ มักจะให้พ่อแม่อ่านซ้ำ� ไปมาทุกวันไม่เบื่อ พ่อแม่ควรอดทนไม่บ่นว่าลูก

66 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


กิจกรรมจัดอัลบั้มรูปสมาชิกในครอบครัว กิจกรรมนี้คล้าย กั บ การเล่ า นิ ท าน แต่ เ ป็ น นิ ท านหรื อ เรื่ อ งราวที่ เ กิ ด ขึ้ น ในชี วิ ต จริ ง โดยมี ตั ว ละครคื อ สมาชิ ก ในครอบครั ว นั่ น เอง ชวนลู ก จั ด อั ล บั้ ม และดู รู ป สมาชิ ก ภายในครอบครั ว พู ด คุ ย กั บ ลู ก เกี่ ย วกั บ คนในภาพว่าเป็นใคร ทำ�อะไร อยู่ที่ไหน เพื่อให้ลูกรู้จักกับสมาชิก ในครอบครั ว รวมทั้ ง ได้ มี โ อกาสในการพู ด คุ ย แสดงความเห็ น และความรู้ สึ ก ของตนเองเกี่ ย วกั บ รู ป ภาพและเหตุ ก ารณ์ นั้ น ๆ ;;ใช้รูปภาพที่สมาชิกในครอบครัวทำ�กิจกรรม หรือไปเที่ยว ร่วมกันตามสถานที่ต่างๆ เช่น นำ�รูปไปเที่ยวสวนสัตว์ด้วย กันมาให้ลูกดู พร้อมตั้งคำ�ถามแล้วให้ลูกช่วยตอบ เช่น “รู ป นี้ เราไปที่ ไ หนกั น มานะ” “มี ใ ครไปกั บ เราบ้ า ง” “ลูกเห็นสัตว์อะไรบ้าง” หรือ “ลูกรู้สึกอย่างไรในวันนั้น”

67


AAเด็กวัย 4 - 5 ปี เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์มากขึ้น มีความสนใจเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ อยากรู้อยากเห็นว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำ�ไม จึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่อง สมมุติ นิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่อง สนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบทีม่ สี สี นั สดใสสวยงาม มีตวั อักษร บรรยายไม่มากเกินไป มีขนาดใหญ่พอสมควร และใช้ภาษาง่ายๆ เด็ก บางคนจำ�ข้อความในหนังสือได้ทุกคำ�แม้ว่าจะมีคำ�บรรยายยาวขึ้น ซึ่ง จะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารของเด็ก ;;อ่านหนังสือทุกวันเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่เอกสารต่างๆ ;;ให้ลูกเห็นว่าคุณสนุกและเพลิดเพลินขณะที่ได้อ่านหนังสือ ;;พกหนังสือติดมือไปด้วยเมือ่ ออกจากบ้าน ส่งเสริมให้ลกู อ่าน หนังสือในสถานที่แตกต่างกันไป ลูกจะได้รู้ว่าเราสามารถ อ่านหนังสือได้ในหลายๆสถานที่และเวลา ;;ใช้เวลาในการดูทีวีอย่างเกิดประโยชน์ โดยพูดคุยถึงหนังสือ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่เห็นในขณะที่กำ�ลังดูทีวีไปด้วย

68 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


AAเด็กวัย 5 - 6 ปี เด็กในวัยนี้มีความสามารถในการรับรู้ และเข้าใจภาษาได้ดีขึ้น โดยเริ่มอ่านหนังสือที่มีคำ�ศัพท์ง่ายๆและเป็นคำ�ที่คุ้นเคยได้ นิทานที่ เหมาะสำ�หรับเด็กวัยนี้ ได้แก่ นิทานหรือเทพนิยายแนวขนบนิยม เช่น อลิชในแดนมหัศจรรย์ กัลลิเวอร์ผจญภัย นิทานประเภทนีม้ กั นำ�ปัญหา ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงมาถ่ายทอดไว้ในโลกแห่งจินตนาการ โดยมีการ เสนอหนทางในการแก้ปัญหาด้วยการแสดงให้เห็นความเป็นจริงของ ชีวิต เมื่อลูกอ่านเรื่องเหล่านี้จบและนำ�มาเชื่อมโยงกับชีวิตจริง ลูกจะ นำ�เอาข้อคิดและวิธีแก้ไขปัญหาที่ได้จากนิทานมาปรับใช้กับตัวเอง ;;ส่งเสริมให้ลูกคุ้นเคยกับหนังสือ ด้วยการให้รู้จักโลกแห่ง ความสนุกในหนังสือ ;;ให้ลูกคิดว่าตัวเองเป็นหนึ่งเดียวกับตัวละครเอก ;;ให้ลกู เล่าเรือ่ งในหนังสือให้คนอืน่ ฟัง ซึง่ จะช่วยเพิม่ ศักยภาพ ทางภาษา เพราะลูกต้องนำ�ข้อมูลทีป่ อ้ นเข้าสูส่ มองแล้ว ออก มาบอกเล่าให้คนอื่นฟังด้วยภาษาของตนเอง

69


นอกจากกิจกรรมการอ่านนิทานแล้วการวาดและเขียนยังเป็น กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะทางภาษาและการสื่อสารได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นการแสดงออกซึ่งสุนทรียภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ความ มีเหตุผล และเป็นช่องทางที่ใช้แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของ เด็กผ่านทางภาพหรือตัวหนังสือ ซึ่งการมีสุนทรียภาพ การมีความคิด สร้างสรรค์และการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสมจะช่วยให้เด็กมี ทักษะในการสื่อสารที่ดีตามมา เด็กในวัยนี้สามารถจับอุปกรณ์สำ�หรับ ใช้เขียนหรือวาด เช่น ดินสอ สีเทียน สีไม้ ปากกาเมจิกได้ดี และสามารถ เขียนคำ�ต่างๆ ได้ถูกต้องคล่องแคล่วมากขึ้น รวมทั้งเข้าใจ แล้วว่าตัว หนังสือที่เขียนลงไปหมายถึงคำ�พูดที่เราใช้พูดสื่อสารกัน เด็กวัยนี้จะ เริ่มใช้เขียนเพื่อสื่อสารอย่างง่ายๆได้บ้างแล้ว เช่น ชอบกิจกรรมวาด รูประบายสีพร้อมบรรยายถึงสิ่งที่ตนเองวาดแต่ยังทำ�ไม่เรียบร้อยนัก

70 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


;;ควรจัดเตรียมอุปกรณ์เครือ่ งเขียน และสถานทีส่ �ำ หรับให้ลกู ได้ขีดเขียนและพร้อมใช้ได้เสมอ ;;วางอุปกรณ์การเขียนให้พร้อมใช้สำ�หรับลูกหยิบใช้ได้เอง ตลอดเวลาเช่น กระดาษดินสอ สีเทียน ปากกาเมจิก ;;ให้ลูกได้เห็นคุณเขียนหนังสือหรือวาดภาพทุกวัน ;;พุดคุยกับลูกเกี่ยวกับงานขีดเขียนหรือภาพวาดของลูก ;;ถ้าลูกวาดหรือเขียนแล้วคุณดูไม่ออกว่าเป็นภาพอะไรควร กระตุน้ ให้ลกู อธิบายถึงสิง่ ทีว่ าด หรือหากคุณอ่านตัวหนังสือ ของลูกไม่ออก เนื่องจากสะกดผิดหรือเขียนสลับที่กันควร บอกให้ลูกอ่านให้ฟัง ครั้งต่อไปลูกจะเรียนรู้เองว่าต้องเขียน หนังสือให้คนอื่นอ่านออกด้วย

การสื่อสารกับลูกอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพ นั้น เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องอาศัยทั้งความตั้งใจ ความเข้าใจ การสังเกต การปรับ ปรุง และการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีความจำ� เป็นที่พ่อแม่จะต้องศึกษาวิธีการและ ฝึกปฏิบัติจนเกิดเป็นทักษะ เพื่อให้สามารถสื่อสารและ จัดการพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของลูกได้ ซึ่งจะช่วยให้พ ่อ แม่มีความสุข สนุกในการเลี้ยงดูลูก

71


เอกสารอ้ า งอิ ง »» กุลยา ตันติผลาชีวะ.(2542).การเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน 3-5 ขวบ. กรุงเทพฯ:โชติสุขการพิมพ์. »» เกริก ยุ้นพันธ์.(2539).การเล่านิทาน .(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพ ฯ: สุวีริยา สาส์น. »» ขจิต ทองคำ�.(2536). การเล่นบทบาทสมมติโดยเด็กมีสว่ นร่วมในการจัดสือ่ การเล่นทีม่ ผี ลต่อการคลายการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางและความสามารถ ทางภาษาปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การศึกษาปฐมวัย).กรุงเทพฯ:บัณฑิต วิทยาลัย มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. »» นัมมียอง.(2554). 10 นาทีมหัศจรรย์ยามเช้าสร้างลูกรักการอ่านหนังสือ. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น. »» นิดดา หงส์วิวัฒน์.(2542).ห้องเรียนของพ่อแม่ ฝึกฝนตนเองให้เป็น พ่อแม่ที่มีประสิทธิภาพ ของDr. Thomas Gordon.(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:สำ�นักพิมพ์แสงแดด. »» นิตยา ประพฤติกิจ.(2539).การพัฒนาเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ:โอ.เอส.พริ้น ติงเฮาส์. »» เนื้อน้อง สนับบุญ.(2541).ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ ได้รับการจัดประสบ-การณ์เล่านิทาน.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. »» เบญจมาศ พระธานี.(2540).วรรณกรรมเด็ก.(พิมพ์ครัง้ ที4่ ).กรุงเทพฯ:ไทย วัฒนาพานิช. »» เบญจมาศ พระธานี.(2554).ออทิสซึม:การสอนพูดและการรักษาแบบ สหสาขาวิทยาการ.ขอนแก่นฯ:ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยขอนแก่น. »» วลั ย รั ต น์ จั น ทร์ เ สมา.(2554).ความสามารถในการสื่ อ สารแบบ วจนภาษาของเด็กปฐมวัย โดยใช้กจิ กรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา.

72 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล


ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การศึกษาปฐมวัย).กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. »» วรรณี ศิริสุนทร.(2539).การเล่านิทาน.กรุงเทพฯ : การพิมพ์. »» ศรีเรือน แก้วกังวาน.(2540).จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย.(พิมพ์ครัง้ ที7่ ). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. »» หลุ ย จำ � ปาเทศ.(2533). จิ ต วิ ท ยาสั ม พั น ธ์ . (พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 2 ). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. »» Cosbey J, Johnston SS, Dunn ML(2010). Sensory processing disorders and social participation. American Journal of Occupational Therapy, vol.64, pp.462–473. »» Humphry R, Case-Smith J. (2001). Working with families. In: J Case-Smith, ed.Occupational therapy for children. 4th ed. St Louis, MO: Mosby, ch. 5. »» J. Dockrell and G. Lindsay (1998) The ways in which speech and language difficulties impact on children’s access to the curriculum, Child Language Teaching and Therapy, vol. 14, pp. 117-133 »» Pierce D, Munier V, Myers C.(2009) Informing early intervention through an occupational science description of infant-toddler interactions with home space .American Journal of Occupational Therapy,vol.63, pp.273–287. »» Rheal P. Intervention to improve communication (2008).Child & Adolescent Psychiatric Clinics of North America,Vol.17,no.4,pp.835–840. »» V.P. Dalzell, M.E. Msall and P.C. High (2000).Parental attitudes of television and videocassette viewing of children aged birth to 36 months, Journal of Developmental and Behavioural Pediatrics, vol. 21,no.5,p. 390.

73


ประวั ต ิ ผ ู ้ เ ขี ย น อิศราภรณ์ ศรีวงค์ตระกูล

การศึกษา ปริญญาตรี : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขากิจกรรมบำ�บัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาโท : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารบริการสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การทำ�งาน ปี 2543 - 2550 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2550 - ปัจจุบัน สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ ตำ�แหน่งงาน นักกิจกรรมบำ�บัดชำ�นาญการ งานกิจกรรมบำ�บัด กลุ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพ

74 คู่มือ สื่อสารกับลูกอย่างได้ผล



การสื่อสารกับลูกอย่างได้ผลและมี ประสิทธิภาพ นั้นเป็นศาสตร์และศิลป์ ที่ต้องอาศัยทั้งความตั้งใจ ความเข้าใจ การสังเกต การปรับปรุง และการปฏิบตั ิ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีความจำ�เป็น ที่พ่อแม่จะต้องศึกษาหาความรู้ วิธีการ และฝึกปฏิบัติจนเกิดเป็นทักษะ เพื่อให้ สามารถสือ่ สารและจัดการพฤติกรรมที่ เป็นปัญหาของลูกได้ ซึ่งจะช่วยให้พ่อ แม่รสู้ กึ สนุกและมีความสุขในการเลีย้ งดู ลูก ให้สมกับการได้รับรางวัลชีวิตของ คนเป็นพ่อแม่อย่างแท้จริง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.