การประชุม เรื่อง วัฒนธรรมเมืองในเอเชีย (ASIA CITIES CULTURE FORUM 2018)
โดย วันเรารวี ธนกัญญา
คำนำ ด้วยผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เดินทางไปราชการต่างประเทศตามโครงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเมือง ผ่านองค์กรระหว่างประเทศเพื่อนำเสนอโครงการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ในการประชุม เรื่อง วัฒนธรรมเมืองในเอเชีย (Asia Cities Culture Forum 2018) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐ เกาหลี ระหว่างวันที่ 5 – 7 กันยายน 2561 การประชุม เรื่อง วัฒนธรรมเมืองในเอเชีย (Asia Cities Culture Forum 2018) เป็นการประชุมที่เน้น การแบ่งปันประสบการณ์จากการนำโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและโครงการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองที่ประสบ ความสำเร็จในเมืองต่าง ๆ มาเผยแพร่เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมสามารถนำไปเป็นตัวอย่างและประยุกต์ใช้ เป็นแนวทางให้เข้ากับบริบทเมืองของตนเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในยุคก่อนหน้านี้ เมืองผู้นำด้านการอนุรักษ์เมือง และการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองในทวีปเอเชียที่เห็นได้ชัดเจนคือ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แต่ในยุคปัจจุบันเมือง ต่างๆ เริ่มมีความตื่นตัวมากขึ้นและสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเมืองอื่น ๆ ได้เช่นกัน อาทิ กรุงโซล และ กรุงไทเป เป็นต้น เนื่องจากเมื่อมีการพัฒนาเมืองแล้ว เมืองย่อมมีความเสื่อมโทรมตามการใช้งานและต้องการ ให้เกิดการปรับปรุงฟื้นฟูเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจซบเซาลง หรือส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ถูกคุกคามจากการ พัฒนาให้มีลักษณะทางกายภาพที่ดีขึ้น เพิ่มพื้นที่สีเขียว อนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่า สืบสานประเพณีและ กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมทั้งแบบประเพณีดั้งเดิมและแบบร่วมสมัย ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน และสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับเมืองมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองที่มีแนวโน้มว่าจำนวนประชากร จะเพิ่มขึ้นน้อยและเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น กรุงเทพมหานครจึงควรเตรียมความพร้อมให้มีการ รองรับสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงนี้ ผู้เขียนจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในการต่อยอดความคิด และร่วมด้วยช่วยกันทำให้งานด้านการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองสามารถผนวกเข้ากับการสืบสานวัฒนธรรมไทย ได้อย่างต่อเนื่องและขยายวงกว้างขึ้น นำไปสู่การปฏิบัติได้จริงจากการมีส่วนร่วมจากประชาชนทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาสังคมของเราให้มีความเจริญก้าวหน้า สร้างสรรค์สังคมที่น่าอยู่ และสมานฉันท์เป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน วันเรารวี ธนกัญญา นักผังเมืองชำนาญการ กลุ่มงานประเมินผลและมาตรฐานทางผังเมือง ส่วนผังเมืองรวม สำนักงานวางผังเมือง สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร 30 พฤศจิกายน 2564
สารบัญ 1. บทคัดย่อ 2. วัตถุประสงค์ 3. กิจกรรมในวันแรก การศึกษาดูงานการจัดพื้นที่แสดงงานศิลปะ Arario Gallery โรงแรมไรส์ ย่านฮงแด กรุงโซล การบรรยายหัวข้อ “The History and Future of Hong-dae Region’s Cultural Cluster” และการศึกษาดูงานในพื้นที่ย่านฮงแด การศึกษาดูงานการจัดแสดงงานศิลปะในเทศกาล Mediacity Biennale 2018 ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งกรุงโซล (Seoul Museum of Art) 4. กิจกรรมในวันที่สอง การศึกษาดูงานโครงการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ ณ พิพิธภัณฑ์ Donuimun Museum Village การศึกษาดูงานการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองย่านซองซูดง (Seong-su-dong) การประชุม Asia Cities Culture Forum 2018 สถานที่จัดงาน ณ Baesan Daerim Warehouse Cafe 5. กิจกรรมในวันที่สาม การศึกษาดูงานสวนสาธารณะ Oil Tank Culture Park สรุปผลการประชุม Asia Cities Culture Forum และการอภิปรายหัวข้อในการประชุมครั้งต่อไป ณ Oil Tank Cultural Park 6. เนื้อหาการนำเสนอโครงปรับปรุงฟื้นฟูเมืองของกรุงเทพมหานคร Full Text: Topic “Urban Renewal Projects in Cultural Heritage District of Bangkok” 7. ภาพจากสไลด์การนำเสนอโครงปรับปรุงฟื้นฟูเมืองของกรุงเทพมหานคร 8. ประวัติผู้เขียนโดยย่อ (Short Bio)
หน้า 1 2
3 6
9
11
16 20
26 29
32
36 47
รายงานการไปราชการต่างประเทศ โครงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเมืองผ่านองค์กรระหว่างประเทศ การประชุม Asia Cities Culture Forum 2018 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 5 – 7 กันยายน 2561
บ ท คั ด ย่ อ แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 – 2565) ด้านที่ 3 มหานครสำหรับทุกคนมิติที่ 3.4 สังคม พหุวัฒนธรรม มีเป้าหมายให้ชาวกรุงเทพมหานครทุกคน ทุกชนชั้น ทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย และทุกสถานภาพ อยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาคและสมานฉันท์เกื้อกูลซึ่งกันและกัน เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ได้รับโอกาสที่จะเรียนรู้ พัฒนาตนเองและเข้าถึงบริการสาธารณะ ในขณะเดียวกันชาวกรุงเทพมหานครแต่ละกลุ่ม แต่ละชุมชนสามารถดำรง รักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ประเพณีและศิลปวัฒนธรรมของตนเอง ส่งผลให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครที่มีความโดดเด่นในเชิง วัฒนธรรมที่หลากหลาย การประชุม Asia Cities Culture Forum 2018 เป็นการประชุมที่มุ่งเน้นการจัดการปัญหาที่ซับซ้อนเนื่องจากการ เติบโตของเมือง การฟื้นฟูชุมชน และการส่งเสริมความสุขของพลเมืองโดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูชีวิตของเมืองผ่านการ รักษาวัฒนธรรมในชีวิตประจำวันและการพัฒนา ปรับปรุง ส่งเสริมพื้นที่เชิงวัฒนธรรม การประชุมนี้จัดโดยรัฐบาล กรุงโซลร่วมกับมูลนิธิ Seoul Foundation for Arts and Culture ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่จัดตั้งและได้รับ งบประมาณจากกรุงโซลมีหน้าที่หลักในการสร้างเสน่ห์ให้แก่เมืองด้วยศิลปะ และสร้างความสุขแก่พลเมืองด้วย วัฒนธรรมที่ส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างสรรค์ หน้า 1
OBJECTIVES วั ตถุ ประสงค์
1
เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับการพัฒนาวัฒนธรรมในเมืองต่าง ๆ จาก ผู้แทนเมืองทั่วโลก
2
เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของเครือข่ายเมืองจาก ทั่วโลกและขยายความร่วมมือระหว่างเมืองในอนาคต
3
เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพและวิสัยทัศน์ต่อผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ ในการพัฒนาวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร
4
เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินโครงการและ กิจกรรมตามยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานคร รวมทั้งเป็นการเพิ่มบทบาทงานต่างประเทศเชิงรุก โดยมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ เสริมสร้างภาพลักษณ์ และเพิ่มบทบาทของกรุงเทพมหานครบนเวทีโลก
หน้า 2
DAY 1
1.
การศึกษาดูงานการจัดพื้นที่แสดงงานศิลปะ Arario Gallery โรงแรมไรส์ (RYSE Hotel) ย่านฮงแด กรุงโซล
ODDBALL IMAGING STUDIO
หน้า 3
การประชุม เรื่อง วัฒนธรรมเมืองในเอเชีย (Asia Cities Culture Forum 2018) เจ้าภาพได้จัดให้ผู้แทนเมืองเข้าพัก ในโรงแรมไรส์ (Ryse Hotel) จำนวน 2 คืน เพื่อให้ผู้แทนเมืองซึมซับบรรยากาศความคึกคักและความมีชีวิตชีวาของ ย่านฮงแดได้โดยตรง นอกจากนี้ การออกแบบสถาปัตยกรรมของโรงแรมไรซ์มีแนวคิดในการเชื่อมโยงศิลปะให้เข้ากับ ชีวิตประจำวัน และในอีกทางหนึ่ง ชีวิตประจำวันสามารถเป็นศิลปะของการดำรงอยู่ได้ ดังนั้น โรงแรมไรส์จึงนำ ศิลปะรูปแบบต่างๆ มาจัดแสดงสอดแทรกในทุกพื้นที่ของโรงแรมซึ่งเป็นการกระตุ้นการรับรู้ของผู้พบเห็นที่อาจ จุดประกายความคิดสร้างสรรค์จากประสบการณ์ที่ได้รับ จุดเด่นโรงแรมไรส์ คือ การมีทำเลที่ตั้งอยู่ในย่านศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่ของวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ คือ ย่านฮงแด ซึ่งมี มหาวิทยาลัยศิลปะฮงอิกและคลับดนตรีใต้ดินที่เป็นที่รู้จัก ดังนั้น บริษัทออกแบบ MICHAELIS BOYD จากกรุง ลอนดอน สหราชอาณาจักร จึงได้นำศิลปะร่วมสมัยมาเป็นองค์ประกอบของการตกแต่งภายในเพื่อให้เกิดการขัดเกลา และการแปรความหมายใหม่ต่อการรับรู้ศิลปะที่ดูดิบและแข็งกระด้างในพื้นที่ให้มีความละเมียดละไมมากขึ้น
หน้า 4
การออกแบบตกแต่งภายในของห้องพักมี ๖ แบบและมีการตั้งชื่อให้เข้ากับแนวคิดด้านศิลปะ ดังนี้ ห้องผู้อำนวยการ บริหารการผลิต ห้องผู้อำนวยการผลิต ห้องโปรดิวเซอร์ ห้องผู้กำกับ ห้องนักสร้างสรรค์ ห้องนักตัดต่อ และห้องศิลปิน
Executive Producer Suite
Creator Room
Editor Room
Director Room
Producer Room
Artist Room หน้า 5
2.
การบรรยายหัวข้อ “The History and Future of Hong-dae Region’s Cultural Cluster” และการศึกษาดูงานในพื้นที่ย่านฮงแด
ODDBALL IMAGING STUDIO
หน้า 6
ย่านฮงแดถือได้ว่าเป็นตัวแทนพื้นที่ทางวัฒนธรรมของสาธารณรัฐเกาหลีที่วัฒนธรรมและศิลปะหลากหลายรูปแบบ ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1980 เดิมทีพื้นที่นี้เคยเป็นย่านที่อยู่อาศัย จนกระทั่งมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ฮงอิกเมื่อปี ค.ศ. 1955 จึงมีการสร้างพื้นที่สำหรับนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ อาทิ พื้นที่ทำเวิร์คช็อป การแสดงละคร เวที ร้านขายเครื่องเขียนและวัสดุสำหรับงานศิลป์ พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ ฯลฯ ในช่วงปี ค.ศ. 1970 - 1990 ย่านฮงแดเป็นที่รู้จักว่าเป็นย่านของนักศึกษาและวัยรุ่นที่มีดนตรีสดในคลับและเพลงแด๊นซ์สำหรับเต้นรำมากขึ้น มีการพัฒนาดนตรีและเพลงใต้ดิน ทำให้ศิลปินอิสระและวงดนตรีอินดี้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายจึงเป็นปัจจัยส่งเสริม ให้รัฐบาลกรุงโซลและภาคเอกชนให้ความสนใจพัฒนาสาธารณูปการสำหรับงานด้านวัฒนธรรมสมัยใหม่โดยเฉพาะ
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ราคาที่ดินในย่านฮงแดได้สูงขึ้นมาก มีร้านค้าและร้านอาหารแฟรนไชส์เข้ามา เปิดในย่านนี้มากขึ้น ศิลปินจำนวนมากต้องย้ายออกจากย่านฮงแดไปอยู่ในย่านใกล้เคียง จึงทำให้ขอบเขตการเป็น ย่านศิลปะของฮงแดขยายตัวกระจายออกไปยังย่านอื่นๆ เป็นวงกว้างมากขึ้น อาทิ ย่านมาโปกุ ย่านซงเกียวดง ย่านดงเกียวดง และย่านซงซูดง แต่ยังมีการฝากขายงานศิลป์ตามร้านกาแฟที่ตกแต่งสวยๆ เสมือนเป็น อาร์ตแกลอรี่ไปโดยปริยาย
หน้า 7
ภาพการบรรยายความเป็นมาของย่านฮงแดและการนำสำรวจพื้นที่โดยศิลปินในพื้นที่
โครงการ Seoul Art Space Seogyo ดำเนินการโดยสมาคมศิลปินในพื้นที่ เดิมรัฐบาลกรุงโซลใช้พื้นที่อาคารเป็น ศูนย์ชุมชนแต่เนื่องจากมีประชาชนมาใช้งานน้อย จึงเปลี่ยนการใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะและพื้นที่จัดเวิร์คช็อป ศิลปะ
พื้นที่แสดงดนตรีสดในคลับใต้ดินเปิดแสดงเฉพาะเวลากลางคืน ชั้นบนเป็นร้านกาแฟเปิดตลอดวัน หน้า 8
3.
การศึกษาดูงานการจัดแสดงงานศิลปะในเทศกาล Mediacity Biennale 2018 ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งกรุงโซล (Seoul Museum of Art)
ODDBALL IMAGING STUDIO
หน้า 9
เทศกาลศิลปะ Mediacity Biennale เป็นงานจัดแสดงศิลปะที่สำคัญในกรุงโซลโดยมุ่งเน้นศิลปะในรูปแบบต่างๆ ที่ สะท้อนถึงลักษณะพิเศษเฉพาะตัว หัวข้อการจัดแสดงในชื่อ “Noch Nicht (Not yet), but already noticeable.” (ยังมาไม่ถึง แต่เป็นที่สังเกตได้) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 กันยายน – 18 พฤศจิกายน 2561 โดยรัฐบาลกรุงโซลได้ มอบหมายให้พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งกรุงโซลบริหารจัดการ ในวันพุธที่ 5 กันยายน 2561 มีพิธีเปิดตัวเทศกาลนี้โดยเชิญ ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ผู้สื่อข่าว และผู้ให้การสนับสนุนเข้าชมงานก่อน ซึ่งในปีนี้กรุงโซลได้เปิดให้มีการดำเนินงาน ร่วมกันของศิลปินหลากหลายแขนงเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของเวทีวัฒนธรรม อาทิ มีการส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยน ความรู้และการทำงาน การสื่อสารระหว่างกันระหว่างผู้ที่ทำงานในแวดวงสาขาศิลปะและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม การเมือง สังคมศาสตร์ ฯลฯ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงการตีความและการแปรความหมายของงานศิลปะ ได้อย่างหลากหลายมากขึ้น เพิ่มการเข้าถึงของประชาชนและชาวต่างประเทศ
หน้า 10
DAY 2
1.
การศึกษาดูงานโครงการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ ณ พิพิธภัณฑ์ Donuimun Museum Village
ODDBALL IMAGING STUDIO
หน้า 11
พิพิธภัณฑ์ Donuimun Museum Village เป็นกลุ่มอาคารพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งของย่านโดนุยมุนเปิดดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย ศูนย์สถาปัตยกรรมเมืองของกรุงโซล โซนประสบการณ์บ้านโบราณฮันอกยุคโจซอน อาคารจัดแสดงนิทรรศการ และมีการนำอาคารสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นในยุคตกเป็นอาณานิคม ใน ค.ศ. 1930 และ อาคารในยุคต่างๆ ตั้งแต่ ค.ศ. 1900 – ค.ศ. 1980 มาใช้เป็นสถานที่จัดเวิร์คช็อปด้านวัฒนธรรม อาทิ การทำอาหาร เกาหลี การทำงานศิลปะและงานฝีมือ จากร่องรอยทางประวัติศาสตร์ โดนุยมุน หมายถึง ประตูเมืองเก่าด้านทิศตะวันตกของกรุงโซลเมืองหลวงของ สาธารณรัฐเกาหลี ในยุคตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นได้มีการรื้อประตูเมืองเก่าออกเพื่อสร้างทางรถไฟ รัฐบาลกรุงโซล ได้รับที่ดินผืนนี้จากการบริจาคของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และนำมาจัดทำโครงการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองเพื่อรักษา อาคารประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าในพื้นที่ จัดแสดงเนื้อหาประวัติศาสตร์ของพื้นที่และรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิม หน้า 12
ประเด็นความขัดแย้งที่สาธารณชนให้ความสนใจ ได้แก่ 1. บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ผู้บริจาคที่ดินให้แก่รัฐต้องการมีส่วนรับประโยชน์จากการปรับปรุงฟื้นฟูเมือง อาทิ ได้รับสิทธิในการใช้พื้นที่บางส่วนของโครงการเพื่อการค้าในรูปแบบร้านอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้า 2. ประชาชนบางส่วนไม่เห็นด้วยในการเก็บรักษาอาคารสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นในยุคที่สาธารณรัฐเกาหลีตกเป็น เมืองขึ้นเพราะเป็นประวัติศาสตร์ที่ผู้คนไม่ต้องการจดจำความสูญเสียและความโศกเศร้าจากสงคราม การจัดพื้นที่ในโครงการแบ่งออกเป็น 4 โซน ดังนี้ โซนที่ 1 ศูนย์สถาปัตยกรรมเมืองของกรุงโซล (Seoul Center for Architecture and Urbanism) ทำหน้าที่จัดเก็บวัตถุที่มีคุณค่า จัดแสดงนิทรรศการ มีระบบการบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์ปรับปรุง ฟื้นฟูเมือง ประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ และบริหารจัดการทรัพย์สินภายในโครงการ
หน้า 13
โซนที่ 2 โซนประสบการณ์บ้านโบราณฮันอกยุคโจซอน (Hanok Experience Zone) เป็นพื้นที่สำหรับนักท่องเที่ยวภายในประเทศและชาวต่างประเทศเข้ามาศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมความเป็นอยู่ แบบโบราณของชาวเกาหลีใต้ โดยมีที่พักให้เช่าทั้งระยะสั้น (Hostel Style) และระยะยาว (Home Stay)
โซนที่ 3 อาคารจัดแสดงนิทรรศการ จัดแสดงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ในยุคต่างๆ บันทึกการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ และเป็นพื้นที่สำหรับเครือข่ายชุมชน
หน้า 14
โซนที่ 4 สถานที่จัดเวิร์คช็อปด้านวัฒนธรรมและศิลปะ
หน้า 15
2.
การศึกษาดูงานการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองย่านซองซูดง (Seong-su-dong)
ODDBALL IMAGING STUDIO
หน้า 16
ย่านซองซูดงเป็นย่านที่ผสมผสานความเก่ากับความใหม่เข้าด้วยกัน เป็นแหล่งรวมตัวของหนุ่มสาวชาวเกาหลีใต้ ที่นักเดินทางท่องเที่ยวอาจยังไม่คุ้นหูนัก เดิมย่านนี้เป็นที่ตั้งของโรงงานรองเท้า โรงงานขนาดเล็ก และโรงงานซีเมนต์ ในลักษณะอาคารแบบห้องแถวและโกดัง ทว่าในช่วงไม่กี่ปีให้หลัง มีศิลปินและดีไซเนอร์หนุ่มสาวเข้าไปปรับโฉม อาคารเก่าเปิดเป็นร้านกาแฟ ร้านงานฝีมือ อาร์ตแกลลอรี่ และร้านอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยปรับปรุงพื้นที่ ภายในอาคารเก่าและโกดัง ย่านฮิปสเตอร์นี้จึงได้รับการขนานนามว่า “บรู๊กลินของกรุงโซล” นอกจากนี้ คนหนุ่มสาว รุ่นใหม่ที่ต้องการทำสิ่งดี ๆ เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้รวมตัวกันเปิดบริษัทดำเนินกิจการเพื่อแก้ปัญหาของสังคม และเพื่อให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ย่านนี้จึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Social Venture Valley” อีกด้วย
การบรรยายความเป็นมาของการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ย่านซองซูดง ตัวอย่างในภาพเป็นร้านกาแฟและ co-working space ที่กำลังเป็นที่นิยม หน้า 17
ภาพการสำรวจพื้นที่ย่านในละแวกที่เป็นบ้านแบ่งเช่าสำหรับศิลปินที่เข้ามาประกอบกิจการในพื้นที่
ร้านค้ากิจการเพื่อสังคม อาทิ ร้านอาหารที่ใช้วัตถุดิบ จากฟาร์มในชนบท
ร้านผลิตภัณฑ์ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้หญิงที่เป็นเหยื่อ ความรุนแรงในครอบครัว
วัตถุประสงค์ในการการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองในย่านนี้ คือ รัฐบาลกรุงโซลต้องการสนับสนุนคนหนุ่มสาวที่มีความ ประสงค์ในการก่อตั้งกิจการเพื่อสังคมให้มากขึ้น จึงมีการออกเทศบัญญัติห้ามมิให้ร้านค้าแฟรนไชส์ในเครือบริษัท ใหญ่ ๆ เข้ามาเปิดธุรกิจในย่านซองซูดงเป็นการเฉพาะ เพื่อให้ร้านค้าของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการมีธุรกิจเป็นของตนเอง สามารถมีกำไรในการดำเนินกิจการได้ ลดคู่แข่งทางการตลาด หน้า 18
ร้านขายสินค้าจากแอฟริกาเพื่อนำรายได้ไปช่วยเหลือ คนยากจนในทวีปแอฟริกา
กิจการร้านกาแฟโดยคนหนุ่มสาวในพื้นที่
ภาพงานศิลปะในพื้นที่ย่านซองซูดง และภาพโรงงานเก่าที่เคยทิ้งร้างถูกนำมาปรับปรุงเป็นร้านกาแฟ ชื่อ "Onion" ที่มาภาพ: https://www.herenow.city/th/seoul/article/seongsu-dong/) หน้า 19
3.
การประชุม Asia Cities Culture Forum 2018 สถานที่จัดงาน ณ Baesan Daerim Warehouse Cafe
หน้า 20
การประชุม Asia Cities Culture Forum 2018 ครั้งนี้ ผู้จัดการประชุมกำหนดให้มีการนำเสนอแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การดำเนินงานปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการดำเนินงานด้านกิจการทางวัฒนธรรมจากผู้แทนเมืองต่าง ๆ บนเวทีใหญ่ ในช่วงบ่ายของวันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน 2561 มีผู้เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอประมาณ 200 คน จัดขึ้น ณ ร้านกาแฟโกดังแบซาน แดริม (Baesan Daerim Warehouse Cafe) เนื่องจากสถานที่นี้เป็นตัวอย่าง ของการปรับปรุงฟื้นฟูเมือง (Show Case) ในย่านซองซูดงที่ดำเนินกิจการโดยภาคเอกชนเข้ามาปรับปรุงอาคาร โกดังเก่า 6 หลัง ที่เคยเป็นโรงสีข้าวช่วงต้น ค.ศ. 1970 และโกดังเก็บวัสดุของโรงงานในช่วง ค.ศ. 1990 ซึ่งอาคาร โกดัง 3 หลังได้รับการปรับเปลี่ยนพื้นที่ตกแต่งใหม่เป็นแกลลอรี่คาเฟ่และพื้นที่สำหรับจัดอีเว้นท์ที่เกี่ยวเนื่องกับ ศิลปวัฒนธรรม โดยยังคงรูปลักษณ์เดิมของโครงสร้างและวัสดุ เพดานส่วนหนึ่งโปร่งแสง ช่วยให้มีแสงธรรมชาติ สาดลงมาสว่างจนสามารถปลูกต้นไม้ในโกดังได้ ด้วยบรรยากาศเฉพาะตัวไม่ซ้ำใครและให้ความรู้สึกซึมซับเข้าถึง อดีตได้อย่างละเอียดอ่อน คนรุ่นใหม่มากมายจึงกลายเป็นแฟนประจำของร้านแกลลอรี่คาเฟ่นี้ ในส่วนที่เป็น แกลลอรี่แสดงผลงานของศิลปิน ผู้ต้องการชมงานจะต้องเสียค่าเข้าชม 10,000 วอน (300 บาท) และจะได้รับ เครื่องดื่มหนึ่งแก้วให้จิบพลางชมผลงานที่จัดแสดง
หน้า 21
ผู้ดำเนินรายการซักซ้อมลำดับกำหนดการนำเสนองานและการอภิปรายบนเวทีการประชุมร่วมกับผู้แทนเมือง และผู้เชี่ยวชาญ หน้า 22
การประชุม Asia Cities Culture Forum 2018 มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอประมาณ 200 คน หน้า 23
ผู้เขียน นางสาววันเรารวี ธนกัญญา นักผังเมืองชำนาญการ จากสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ได้รับมอบหมาย ให้เป็นผู้แทนกรุงเทพมหานครนำเสนองานปรับปรุงฟื้นฟูเมือง เรื่อง "Urban Renewal Projects in Cultural Heritage District of Bangkok" และร่วมอภิปรายบนเวทีการประชุม Asia Cities Culture Forum 2018 หน้า 24
หน้า 25
DAY 3
1.
การศึกษาดูงานสวนสาธารณะ Oil Tank Culture Park
ODDBA IN IO ALSLI AI M CA I TGI E SGCSUTLU TD UR E FORUM 2018
หน้า 26
Oil Tank Cultural Park เป็นสวนสาธารณะที่สร้างขึ้นเพื่อกิจกรรมทางวัฒนธรรม เดิมพื้นที่นี้มีถังเก็บกักน้ำมัน เชื้อเพลิงสำรองของกรุงโซลขนาดใหญ่จำนวน 5 ถัง แต่ละถังความจุ 1.6 ล้านลูกบาศก์ลิตร หากเกิดกรณีน้ำมัน ขาดตลาดหรือราคาน้ำมันถีบตัวขึ้นสูงเกินไปประชาชนจะสามารถใช้น้ำมันต่อได้อีก 1 เดือน เพื่อให้มีความปลอดภัย จึงออกแบบไว้ให้ซ่อนอยู่ในป่าและเป็นเขตห้ามบุคคลภายนอกเข้าโดยเด็ดขาด ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 เกาหลีใต้เป็น เจ้าภาพจัดฟุตบอลโลกร่วมกับประเทศญี่ปุ่น สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ขอให้กรุงโซลพิจารณากำจัดถังน้ำมัน พวกนี้ออกเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย รัฐบาลกรุงโซลจึงจัดการประกวดแบบ คัดเลือกจากแบบทั้งหมด ที่ส่งมา 270 ราย เพื่อปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ให้สามารถสนับสนุนการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนั้นและใช้เป็นพื้นที่เปิดให้ สาธารณชนเข้าใช้จัดกิจกรรมนันทนาการและกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้จนถึงปัจจุบัน
แบบที่ชนะการประกวดและได้สร้างจริงนี้ เป็นแบบสถาปัตยกรรมที่ออกแบบภาพรวมโครงการโดยคงสภาพตัวถัง น้ำมันไว้ทั้งหมดแต่มีการตกแต่งและออกแบบประยุกต์ใช้พื้นที่ภายในถังน้ำมันให้มีการใช้งานได้คุ้มค่า เช่น ส่วนนิทรรศการ พื้นที่อเนกประสงค์สำหรับการแสดง ห้องประชุม ร้านค้า ร้านอาหาร ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่เปิดโล่งที่เป็นสวนสาธารณะซึ่งรัฐบาลกรุงโซลให้ประชาชนเข้ามาใช้พื้นที่ได้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย แต่ต้องไม่มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกกรณี เช่น จัดคอนเสิร์ต จัดแสดงการละเล่น กายกรรม ละครเวที กลางแจ้งที่ไม่มีการเก็บค่าบัตรชมงาน ยกเว้นกรณีที่มีบริษัทเอกชนต้องการใช้พื้นที่เพื่อโปรโมทสินค้าจะมีการเก็บ ค่าเช่า ในวันที่ผู้เขียนและคณะไปศึกษาดูงานมีหน่วยงาน NPO (Non-Profit Organization) มาออกร้านกิจการเพื่อ สังคมที่ไม่หวังผลกำไร
หน้า 27
หน้า 28
2.
สรุปผลการประชุม Asia Cities Culture Forum และการอภิปราย หัวข้อในการประชุมครั้งต่อไป ณ Oil Tank Cultural Park
ODDBALL IMAGING STUDIO
หน้า 29
สรุปผลการประชุม การประชุม Asia Cities Culture Forum 2018 ระหว่างวันที่ 5 - 7 กันยายน 2561 จัดขึ้นในหัวข้อ “การจัดกลุ่ม วัฒนธรรมมีอะไรเป็นแม่เหล็ก” มีผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายวัฒนธรรมเมืองจากกรุงเทพมหานคร เมืองเฉิงตู ฮ่องกง กรุงโซล เมืองไทเป กรุงโตเกียว และกรุงลอนดอนเข้าร่วมหารือเกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของการจัดกลุ่ม วัฒนธรรมและบทบาทของนโยบายในการสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเมือง ข้อสรุปด้านนโยบาย 1. องค์ประกอบหลักของกลุ่มวัฒนธรรมในแต่ละเมืองมีความหลากหลายและแตกต่างกัน แต่คุณค่าหลักคือผู้คน ที่ดำรงชีวิตอยู่ในเมืองนั้น ๆ เมืองแห่งวัฒนธรรมจึงควรให้ความสำคัญกับผู้คนที่อยู่อาศัยเป็นหลัก เพื่อให้คน แต่ละกลุ่มสามารถยอมรับความหลากหลายระหว่างกัน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และมุ่งไปสู่เป้าหมาย การพัฒนาเมืองร่วมกันได้ 2. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นกับสถานที่ทางวัฒนธรรมแต่ละแห่งมีการเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติของ พื้นที่เมืองอยู่เสมอ ภาครัฐควรมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนโดยคำนึงถึงบริบททางสังคม มีการวัดและ ประเมินผลด้านโยบายที่มีประสิทธิภาพ และจัดสรรเวลาที่เหมาะสมในการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 3. เมื่อเกิดการรวมกลุ่มทางวัฒนธรรมในพื้นที่ใดก็ตาม พื้นที่นั้น ๆ จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงฟื้นฟูโดยใช้ มาตรการที่เหมาะสมจากภาครัฐ เช่น การออกเทศบัญญัติท้องถิ่น หรือการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือโดยการ มีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อปกป้องคนในชุมชนที่อาศัยอยู่เดิมหรือกลุ่มศิลปินขนาดเล็ก 4. กิจกรรมสร้างสรรค์และการกระจายงานศิลปะให้เป็นที่รู้จักควรได้รับการจัดสรรให้มีการหมุนเวียนอย่าง สม่ำเสมอเพื่อสร้างเสน่ห์ให้กับพื้นที่นั้น ๆ ให้มากขึ้นจนเป็นสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนสำหรับการส่งเสริมวัฒนธรรม และมีระบบนิเวศที่ดีในการใช้ชีวิตของศิลปิน 5. ผู้กำหนดนโยบายและผู้ประกอบวิชาชีพด้านวัฒนธรรมควรมีความเข้าใจร่วมกันถึงแนวทางการดำเนินการ ภายหลังที่นโยบายจากภาครัฐได้ถูกกำหนดขึ้นและควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจตามมาภายหลังเพื่อบริหาร จัดการความเสี่ยงในการดำเนินการ 6. การวางแผนด้านวัฒนธรรมควรพิจารณาแนวทางดำเนินการทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในสถานการณ์ที่นักผังเมืองมักมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพในเชิง ปริมาณ ส่วนนักวางแผนด้านวัฒนธรรมจะเปิดรับฟังสิ่งที่ภาคประชาชนต้องการ ทั้งสองฝ่ายจึงควรพิจารณาว่า จะทำงานร่วมกันอย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ที่สังคมต้องการ
หน้า 30
คำถามสำคัญและข้อกำหนดเบื้องต้นที่เมืองวัฒนธรรมควรคำนึงถึง มีดังนี้ 1. อะไรคือองค์ประกอบสำคัญในการดึงดูดกลุ่มคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ และประชาชนให้เข้ามาในพื้นที่ เฉพาะนั้น ๆ ให้มากขึ้น 2. ภาครัฐสามารถสร้างปรากฏการณ์และสร้างเงื่อนไขที่เหมาะสมในการเกิดพื้นที่สุดฮิปแห่งใหม่ที่เกิดจากการไหล ของเงินทุนในตลาดและการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบันให้มีขึ้นอีกในหลาย ๆ พื้นที่ได้หรือไม่ 3. การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองจะคุกคามความน่าดึงดูดใจของสถานที่ทางวัฒนธรรมดั้งเดิมหรือไม่ 4. เงื่อนไขและบทบาทของนโยบายที่จะทำให้สถานที่ทางวัฒนธรรมมีความยั่งยืนมีอะไรบ้าง 5. เราจะช่วยให้นักสร้างสรรค์ผลงานยังคงอยู่ในพื้นที่และมีส่วนร่วมในจุดที่พวกเขาเห็นด้วยว่าน่าสนใจได้อย่างไร 6. ผู้กำหนดนโยบายควรเรียนรู้อะไรจากปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของเมืองที่เกิดขึ้น เพื่อตอบคำถามเหล่านี้ เราควรพยายามทำความเข้าใจเงื่อนไขในการสร้างกลุ่มวัฒนธรรมที่ยั่งยืนและบทบาทของ ภาครัฐที่ชัดเจนด้วย อาทิ
〮 เมืองไม่ควรถูกมองว่าเป็นเพียงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับดำรงชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่เมืองเป็นสิ่งมีชีวิต
ที่ดึงดูดผู้คนทั้งจากภายในประเทศและจากต่างประเทศ โดยที่เมืองอาจเติบโตขึ้นหรือทรุดโทรมลงตามวัฏจักรชีวิต ของเมืองจนสมควรได้รับการปรับปรุงฟื้นฟูให้คืนความมีชีวิตชีวา
〮 วัฒนธรรมที่โดดเด่นและการเชื่อมต่อวัฒนธรรมกับผู้คนจะช่วยสร้างเอกลักษณ์ของพื้นที่วัฒนธรรมให้เกิดความ ยั่งยืน 〮 เมืองมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติหรือจากสิ่งที่ไม่คาดคิดในกลไก
การตลาด นโยบายหรือการดำเนินงานของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวอาจไม่สามารถรับมือหรือบริหารจัดการกับสิ่งที่ ทำให้เมืองมีความเปลี่ยนแปลงได้หากปราศจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
หน้า 31
Full Text Topic “Urban Renewal Projects in Cultural Heritage District of Bangkok” Presented by Ms. Wanraorawee Thanakanya Urban Planner The Department of City Planning Bangkok Metropolitan Administration
Introduction: Bangkok administrative area covers 1,568.7 km2. The Chao Phraya River, which stretches 372 km., is Bangkok's main geographical feature. It comprises a series of plains and river deltas that lead to the Bay of Bangkok about 30 km. south of the city center. This gave rise to Bangkok's appellation as "Venice of the East" due to the number of canals that divide the area into separated patches of land. The city once used these canals as a main transportation network and boundaries for city districts. However, as the city grew rapidly in the second half of the 20th century, these canal network was abandoned and taken place by road systems and railways. In terms of tourism, Bangkok is considered to be one of the world's top tourist hotspots. According to Travel and Leisure magazine, it was Asia's best tourist destination and overall best city in the world in 2008, 2011, and 2013. It is also named the most popular city for international tourists in 2016 and 2017 measured by Mastercard Asia Pacific Destinations Index. As a major tourist gateway, the city welcomed 20.2 million overnight arrivals of international visitors last year. The country's most visited historical venues such as the Grand Palace, Wat Pho, and Wat Arun are located in Bangkok. As such, there are numerous urban renewal projects to maintain Bangkok's historical sites in its cultural heritage districts; namely the Krung Rattanakosin area.
หน้า 32
Technical Tools: At present, Bangkok Metropolitan Administration (BMA) has to cope with economic, social, and environmental challenges. The key concerns of Bangkok cover how to provide good environments for its citizen, enhance quality of life, generate economic values as well as to protect the cultural heritage assets of the country. In order to do so, Bangkok Metropolitan Administration as the sole local government makes an effort to create public private participation initiatives at the beginning stage of urban conservation planning. One of the Department of City Planning’s mission is preserving cultural heritage in the context of historical urban landscape in order to strengthen the attractiveness and livable environments. There are three approaches as follows. 1) Planning, maintenance, and preserving the archeological sites/monuments 2) Urban regeneration and rehabilitation projects of designated areas and deteriorated areas 3) Preparation of community development guidelines The work plans for urban regeneration projects start from utilizing regulations of Bangkok Comprehensive Plan into laying out the master plan for urban renewal projects in which each pilot project would be identified by area. Then, we turn urban planning process involved public participation into project implementation, using the urban design guidelines to improve laws and regulations, as well as having a management plan that would be in charged by responsible agencies; for example, BMA district offices, the BMA Department of Civil Work, the BMA Department of Environment, etc. Regulatory Systems: In terms of applying local regulations and ordinance for cultural heritage district protection, the Krung Rattanakosin and Old Cities Conservation and Development Committee uses BMA Ordinances to divide the Krung Rattakosin boundary into four layers: Inner Rattakosin Area, Outer Rattanakosin Area, Thonburi Area, and other adjacent/relevant areas that the committee may consider later on. The mentioned BMA ordinances describe prohibited areas for building construction, modification, use, or adaptation.
หน้า 33
In addition, Thai cultural heritages are protected by several laws as follows. The Improvement and Conservation of the National Environmental Quality Act, 1992 The Act on Ancient Monuments, Antiques, Objects of Art and National Museums, 1992 Town Planning Act, 1975 Building Control Act, 1979 The Regulation on the import of goods into the country, 1995 The Regulation on the permission of ancient objects into the kingdom, 1995 City’s Cleanliness and Orderliness Act, 1992 Financial Framework: Most of local governments in Thailand would receive the budget for cultural programs such as provincial traditional festivals from Ministry of Culture. As for restoration and preservation of historical buildings and monuments, the Fine Arts Department would assign their regional offices to handle the work. Some cases are exceptional such as the BMA may conduct cultural activities and cultural heritage preservation by their own source of revenues. As for economic incentive, there is only tax reduction mechanism. When individuals or corporates make donations for public agencies or registered organizations such as religious institutes and cultural foundations, they will be able to use the donated amount of money to deduct from their total amount of annual incomes. Moreover, Bangkok Metropolitan Administration has established two local regulations related to heritage funds as follows. (1) Bangkok Metropolitan Administration Regulation, 2007: The Giant Swing of Bangkok Fund (2) Bangkok Metropolitan Administration Regulation, 2001: Bangkok Urban Regeneration Fund
หน้า 34
Public Participation & Community Engagement Process: The Constitution of Thailand has recognized the importance of public participation in a democratic society. In summary, public organizations shall give the right of the people to participate in policy formulation, decision making of community and national resources’ allocation that may affect way of life and well-being of the people, socio-economic development planning, public service provision, and legislation process. In order to push forward long-term and sustainable goals that encourage implementations on cultural heritage preservation, maximized cultural property utilization, transparency in governments, and sense of ownership among participants involved in cultural heritage protection must be strengthen. Those participants are the local communities, members of cultural heritage protection partnership, government agencies, academic institutions, and private sectors. As such, the BMA has involved the public and relevant private sectors in urban renewal projects at three levels started from giving information, consultation, and involvement. However, it is a challenge for Thailand to enhance public participation to collaboration and empowerment by truly giving the final decisions to protect cultural heritage to the people. Examples of urban renewal projects in cultural district of Bangkok: The urban renewal projects executed by the BMA Department of City Planning are the followings. Engineering Assessment and Architectural Prototype Drawings for 39 National Heritages in Bangkok 3D Scanning and Block Casting of Mahatthai Uthit Bridge The Restoration Project of the Giant Swing of Bangkok The Extension of Landscape Improvement Project for PlabplaMahajessadabordin Plaza The Nagaraphirom Park Training Program and Workshops for National Heritages and Urban Environment Preservation The Area Study for Conservation and Revitalization of Talad Noi (Bangkok Chinatown Riverfront) Bangkok City 3D GIS and 2D Mapping (http://3d-cpd.bangkok.go.th/bmaall)
หน้า 35
หน้า 36
หน้า 37
หน้า 38
หน้า 39
หน้า 40
หน้า 41
หน้า 42
หน้า 43
หน้า 44
หน้า 45
หน้า 46
Short Bio Wanraorawee Thanakanya Urban Planner, The Department of City Planning, Bangkok Metropolitan Administration (BMA) Wanraorawee Thanakanya has been working with the Department of City Planning, Land Readjustment and Urban Renewal Division as an urban planner since October 2005. She has received the BMA Excellent Government Official Award Year 2014 given by Governor of Bangkok. She is an avid learner as she earned 3 Master’s Degrees in architecture (urban design) at Chulalongkorn University, public administration (urban management) at the University of Illinois at Chicago, and public policy at the National Graduate Institute for Policy Studies in Japan. She has a strong motivation in creating successful urban conservation projects for the city of Bangkok. Her current duties are developing visions and urban improvement schemes, conducting research, finding project feasibilities for project executions, making architectural drawing, and urban design.
หน้า 47