อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

Page 1

อันโตนิโอ กรัมชีกับแนวความคิดสภาโรงงาน1 Antonio Gramsci and the Idea of the Factory Council วัชรพล พุทธรักษา2 Abstract This paper attempts to answer two central questions; firstly, what is the idea of Gramsci’s Factory Council? And secondly, what is the benefit of understanding this idea? To answer these main questions, it is found in this study that, firstly, the idea of the Factory Council is derived from Antonio Gramsci’s pre-prison writings appeared in the L’Ordine Nuovo (The New Order), a weekly newspaper published in Turin, between 1919 and 1920. The Factory Council was a relatively new form of the proletarian organization. There are several differences between the Factory Council and the Trade Union (goals, people, organizational relations, the real beneficiaries and democracy), but the most important difference is the Council aims to anti-capitalism and bourgeoisie but not for the Union. Secondly, this concept of Factory council provides some aspects concerning Thai politics especially in the real significance of “Human” as the history maker and questioning for the anticapitalism movements in Thailand.

บทคัดยอ บทความนี้มีจุดมุงหมายเพื่อนําเสนอแนวความคิดเรื่อง “สภาโรงงาน” (The Factory Council) ของ อันโตนิโอ กรัมชี โดยมีคําถามหลักของการศึกษาวา แนวความคิดเรื่องสภาโรงงานของอันโตนิโอ กรัมชีนั้นคือ อะไร มีสาระสําคัญเชนไร และการทําความเขาใจแนวคิดเรื่องสภาโรงงานของกรัมชีนั้นมีคุณูปการอยางไร บาง สภาโรงงานเปนรูปแบบของการจัดความสัมพันธรูปแบบใหมของชนชั้นกรรมาชีพอันประกอบไปดวย คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมและผูคนจากหลากหลายอาชีพ (ที่ไมใชชนชั้นนายทุน) โดยมีความแตกตาง จากองคกรที่มีอยูกอนคือสหภาพแรงงาน (Trade Union) หลายประการ (ดูการนําเสนอในหัวขอที่ 4) แตจุด แตกต างที่ สํา คัญที่ สุดคือ สภาโรงงานนั้ น ตอ ตา นระบบทุ นนิ ยมและชนชั้ นนายทุ นแตส หภาพแรงงานนั้ น 1

บทความเพื่อนําเสนอในที่ประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติ ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2552 บทความนี้เปนสวนหนึ่งของโครงการวิจัยที่อยูระหวางการดําเนินการเรื่อง “สภาโรงงาน: อันโตนิโอ กรัมชี กับแนวความคิด สังคมนิยม” (ทุนสนับสนุนการวิจัยโดย คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร) 2 อาจารยประจําสาขาวิชารัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตร คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร http://twitter.com/watcharabon


2

เพียงแต ตอรองในประเด็นเรื่ องคาแรงและสวัสดิการแตยัง คงสามารถประนีประนอมกับระบบทุ นนิยมได นอกจากนี้ อาจกลา วไดว าสภาโรงงานนั้ นเปรี ยบได กับการเปน นิว เคลี ยส หรือ หน ออ อนของระบอบคอม มิวนิสม โดยทําหนาที่ในการผสานในแงของจิตวิญญาณ และความรูของชนชั้นแรงงานเขาดวยกัน แนวความคิดเรื่ องสภาโรงงานของกรัมชีมีความมีนั ยยะตอ การตั้งคํ าถามถึ งพัฒ นาการทางการ เมืองไทยในสองประเด็นหลักดวยกันคือ การใหความสําคัญตอมนุษยในฐานะผูกําหนดสรางความเปนไปทาง ประวัติศาสตร และอีกประการหนึ่งคือ สภาโรงงานนั้นเปนบทเรียนตอขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อตอตานระบบ ทุนนิยม/โลกาภิวัตนในปจจุบันอีกดวย

คําสําคัญ อันโตนิโอ กรัมชี/ สภาโรงงาน/ สังคมนิยม Key words Antonio Gramsci/ Factory Council/ Socialism

“หนทางสูการแกปญหาของชีวิตแบบคอมมิวนิสตอยางเปนรูปธรรม คือการมีปฏิบัติการแบบคอมมิวนิสต: การเขารวมกัน การโตแยงกันฉันมิตร เพื่อกระตุนและขยายจิตสํานึกของผูคน สรางความเปนเอกภาพและเติมเต็ม ดวยการมองโลกในแงดีสําหรับการกระทําตางๆ” อันโตนิโอ กรัมชี3

1. บทนํา บทความนี้ มีจุ ด มุง หมายเพื่อ นํ า เสนอแนวความคิ ด เรื่อ ง “สภาโรงงาน” (The Factory Council) ของอันโตนิโอ กรัมชี โดยมีคําถามหลักของการศึกษาวา แนวความคิดเรื่องสภาโรงงานของ อันโตนิโอ กรัมชีนั้นคืออะไร มีสาระสําคัญเชนไร และการทําความเขาใจแนวคิดเรื่องสภาโรงงานของ กรัมชีนั้นมีคุณูปการอยางไรบาง อันโตนิโอ กรัมชี (1891-1937) นัก ทฤษฎีการเมืองแนวมารกซิสต นักหนังสือพิมพ และนัก เคลื่อนไหวทางการเมืองชาวอิตาเลียน เปนบุคคลสําคัญที่มีผูใหความสนใจศึกษาถึงแนวความคิดทาง การเมือง สังคม และวัฒนธรรมของเขาอยางกวางขวางในปจจุบัน4

3

Antonio Gramsci, “Worker’s Democracy (21 June 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox (Cambridge: Cambridge University Press, 1994), p. 99.


3

แนวความคิดสําคัญของกรัมชีที่เปนที่รูจักและถูกนํามาศึกษาและประยุกตใชกับการเมืองใน ระดับตางๆอยางกวางขวางคือแนวคิดเรื่องการครองอํานาจนํา (Hegemony)5 ซึ่งมีบทบาทสําคัญทั้ง ในวงการวิช าการรัฐ ศาสตร 6 เศรษฐกิจการเมือง สังคมวิท ยา วัฒนธรรมศึก ษา ภาษาศาสตรและ สื่อสารมวลชน เปน ตน 7 แนวความคิดดังกลาวไดถูก นํามาใชอยางแพรห ลายในปจจุบัน แตความ แพรหลาย และความนิยมในการใชกรอบแนวความคิดของกรัมชีเพื่อศึกษาการเมืองนั้นคงยังคงเปนที่ นิยมอยางมากในระดับสากลเทานั้น แตในวงวิชาการภาษาไทยนั้นยังมีงานศึกษาที่เลือกใชความคิด ของกรัมชีอยูอยางจํากัด8 โดยเฉพาะอยางยิ่งงานศึกษาในเชิงทฤษฎีและแนวความคิดของกรัมชีในชวง กอนที่เขาจะถูกคุมขัง (Pre-prison context)9 กรัมชีในบริบทการเมืองอิตาลีในชวงกอนการเปนนักโทษการเมืองในสมัยการปกครองแบบ เผด็จการฟาสซิสมของเบนิโต มุสโสลินี นั้นมีบทบาทอยางสําคัญในการนําเสนอแงมุมเชิงทฤษฎีและ แนวความคิดของตนผานทางหนังสือพิมพหัวกาวหนาของอิตาลีในขณะนั้นที่ชื่อ L’Ordine Nuovo (ออดิเน นูโอโว) หรือ New Order (ระเบียบใหม) ที่ L’Ordine Nuovo นี้เองกรัมชีไดนําเสนอแนวคิ ดและทฤษฎีที่สําคัญหลายประการ10 แต จุดเนนหลักในการวิจัยครั้งนี้นั้นจะใหความสนใจในการศึกษาไปยังทฤษฎีชื่อวา “สภาโรงงาน” (The Factory Council) ที่ซึ่งกอใหเกิดผลในทางปฏิบัติจริงในโรงงานอุตสาหกรรมจํานวนมากในเมืองตูริน (Turin) กลาวคือเกิดการกอตั้งสภาโรงงานที่ ซึ่งเปนองคก รประชาธิปไตยแทจริงในทัศนะของกรัมชี 4

ในวงวิชาการสากลการศึกษาความคิดของกรัมชีไดรับความนิยมมาก ดังเห็นไดจากการเผยแพรผลงานของกรัมชี รวมถึงบทความ และบทความวิจัยที่ใชความคิดของกรัมชีเปนกรอบในการอธิบาย และการรวมตัวกันจัดสัมมนาเปนประจํา ของ International Gramsci Society ดู www.internationalgramscisociety.org และ www.marxist.org/archive/gramsci 5 รายละเอียดในภาษาไทยดู งานของวัชรพล พุทธรักษา (2550, 2551) และวนัส ปยะกุลชัยเดช (2549, 2550) 6 ทั้งในดานการศึกษาการเมืองภายใน (Domestic politics) ในแงของการนําไปใชศึกษาการครองอํานาจนําของ กลุม/ชนชั้นตางๆในสังคม และในบริบทการเมืองระหวางประเทศ เชน การรักษาเสถียรภาพของอํานาจนํา (Hegemonic stability) และการครองอํานาจในเชิงอุดมการณ และความคิดของชาติมหาอํานาจ องคการระหวางประเทศ หรือบรรษัทขาม ชาติตางๆ เปนตน ในแงของการศึกษาการเมืองระหวางประเทศดวยกรอบแนวคิดเชิงวิพากษของกรัมชี โปรดดูงานของ Adam David Morton (2007) และ Andreas Bieler and Adam David Morton (2001, 2003) 7 ที่นาสนใจเชนงานที่ศึกษาความคิดของกรัมชีกับภาษาศาสตร เชน งานของ Peter Ives (2005) ความคิดของกรัม ชีกับโลกาภิวัตน เชน William Robinson (2005) โลกาภิวัตนและทุนนิยม เชน Mark Rupert (2005) เปนตน 8 งานภาษาไทยที่สําคัญที่ไดศึกษาความคิดของกรัมชีในยุคแรกคืองานของ สุรพงษ ชัยนาม (2525) นฤมล-ประทีป นครชัย (2527) และเจอโรม คาราเบล (2525) เปนตน ในยุคหลังงานที่ใชกรอบแนวคิดของกรัมชี เชนงานของ ประจักษ กอง กีรติ (2548) ชนิดา ชิตบัณฑิต (2550) วนัส ปยะกุลชัยเดช (2548) และวัชรพล พุทธรักษา (2549, 2550, 2551) 9 งานและความคิดของกรัมชีจําแนกไดเปนสองชวงใหญคือ ชวงแรก ผลงานในชวงกอนถูกคุมขัง (Pre-prison writings) ระหวางป 1919-1926 และ ชวงที่สอง คือ ผลงานที่ผลิตขึ้นจากชวงที่ถูกคุมขังในคุก จากการเปนนักโทษการเมืองใน สมัยการเรืองอํานาจของมุสโสลินี ผลงานของกรัมชีในชวงนี้อยูระหวางป 1926-1937 10 เชน ขอคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดของมารกซ แนวความคิดเกี่ยวกับสังคมนิยมและการตอตานลัทธิฟาสซิสมเปนตน


4

ในชวงระหวางป 1919-1920 (ที่รูจักกันในนามวา Two Red Years11) ซึ่งในบริบทการเมืองและสังคม อิตาลีขณะนั้นถือไดวา “หนอออน” (Nucleus) ของระบบสังคมนิยม (Socialism)12 นั้นเกิดขึ้นจริงได ในทางปฏิบัติ ความสําคัญของการวิจัยในครั้งนี้คือ เปนการศึกษาทฤษฎี/แนวคิดสภาโรงงานของกรัมชีใน เชิงลึก ซึ่งเปน การนําเสนองานวิจัย เชิงทฤษฎีการเมืองในแงมุมที่ยังไมมีก ารนํามาศึก ษาและถูก นําเสนอในโลกวิชาการรัฐศาสตรของไทยแตอยางใด 1.1 คําถามหลักของงานวิจัย - แนวความคิดเรื่องสภาโรงงานของอันโตนิโอ กรัมชีคืออะไร และมีสาระสําคัญเชนไร - การทําความเขาใจแนวคิดเรื่องสภาโรงงานของกรัมชีนั้นมีคุณูปการอยางไรบาง 1.2 ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) งานวิจัยนี้เปนงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ที่มุงเนนการตีความและวิเคราะห (Interpretative analysis) แนวความคิดเรื่อง “สภาโรงงาน” (Factory Council) ของอันโตนิโอ กรัมชี โดยใชระเบียบวิธีหลักในการไดมาซึ่งขอมูลในการวิจัย โดยการเก็บขอมูลและวิเคราะหจากเอกสาร/ ตํารา/บทความที่ เ กี่ย วขอ ง (Content Analysis)13 ซึ่ง การไดม าของขอ มูลในสว นแรกเริ่ มตน จาก การศึกษาเอกสารชั้นตน (Primary Sources) ไดแก งานเขียนของกรัมชี ในชวงกอนถูกคุมขังระหวางป 1919-1920 ซึ่งปรากฏเปนขอเขียนในหนังสือพิมพ L’Ordine Nuovo (New Order) นอกจากนี้งานวิจัยนี้ใชขอมูลจากเอกสารชั้นรอง (Secondary Sources) มาเปนสวนเสริม ประกอบการวิเคราะหและตอบคําถามหลัก ของงานวิจัย จากขอมูลหลายแหลงดวยกัน ไดแก ตํารา ภาษาอังกฤษ และบทความในหนังสือ และวารสารภาษาอังกฤษที่สามารถสืบคนไดจากฐานขอมูล ออนไลนที่สําคัญ อาทิ JSTOR และ Social Science Index (SocIndex) รวมถึงแหลงขอมูลจาก อิน เทอร เน็ตที่สําคัญ เชนขอมูลจากเว็บไซต International Gramsci Society14 และ Gramsci’s Archive15 เปนตน 11

หรือในภาษาอิตาลี “Biennio Rosso” ซึ่งในชวงระหวางป 1919-1920 นั้นไดเกิดการรวมตัวกันจัดตั้งสภาโรงงาน ขึ้นอยางกวางขวางในประเทศอิตาลี โดยเฉพาะอยางยิ่งในเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญอยางตูริน (Turin) ดู Adam David Morton, Unraveling Gramsci, (London: Pluto Press, 2007), p. 77. และ Dante Germino, Antonio Gramsci Architect of a New Politics, (Louisiana: Louisiana State University Press, 1990), p. 94. 12 ดู Carl Boggs, Gramsci’s Marxism, (London: Pluto Press, 1976), p.94. 13 ดู Earl Babbie, The Basic of Social Research, (Canada: Thomson Wadsworth, 2008), p. 350. 14 http://www.internationalgramscisociety.org/ [accessed; 5 September 2009] 15 http://www.victoryiscertain.com/gramsci/ [accessed; 5 September 2009]


5

สวนตอจากนี้จะเปนการนําเสนอนิยาม (Definition) ของสภาโรงงานวามีความหมาย รวมถึงมี ลักษณะที่สําคัญเชนไร 2. สภาโรงงานคืออะไร ? สภาโรงงาน (Factory Council16) คื อ ลัก ษณะของการจัดองคก รรูปแบบใหมของชนชั้น แรงงานที่ประกอบไปดวยชนชั้นแรงงานจากโรงงานอุตสาหกรรมตางๆ ซึ่งการจัดรูปแบบองคกรของ สภาโรรงานนั้นจะแตกตางออกไปจากสหภาพแรงงาน (Trade Union) ทั้งในแงของการจัดองคก ร เปาหมาย วิธิคิด และจิตวิญญาณของชนชั้นแรงงาน ทั้งนี้เปาหมายสุดทายของสภาโรงงานอยู ที่การ นําไปสูการสรางสังคมคอมมิวนิสตที่แทจริงได แนวความคิดเรื่องสภาโรงงานนี้เกิดขึ้นจากความคิดของกรัมชี โดยการนําเสนอผานชองทาง หนังสือพิมพ L’Ordine Nuovo (New Order)17 ในประเทศอิตาลีในชวงระหวางป 1919 – 1920 ซึ่ง แนวคิดนี้กรัมชีไดรับแรงบันดาลใจมาจากการปฏิวัติรัสเซียโดยพรรคบอลเชวิกในป 1917 ในฐานะที่ เปนการแสดงออกถึงการนําแนวคิดมารกซมาใชใหเกิดผลไดจริงในทางปฏิบัติ18 สําหรับกรัมชีนั้นสภาโรงงานนั้นเปรียบไดกับการเปนตัวแบบ (Model) ของการสรางรัฐของชน ชั้นกรรมาชีพ (Worker State)19 ซึ่งเปนรัฐที่อยูภายใตการนําของชนชั้นกรรมาชีพที่แทจริง ปราศจาก การกดขี่ ขูดรีดจากชนชั้นนายทุนดังเชนในระบบทุนนิยม ดังนั้นในแงของความสัมพันธทางสังคมของ ผูคนในสภาโรงงานนั้นจึงมีลักษณะของความเปนสหาย (Comradeship) ที่ชวยเหลือเกื้อกูลกัน20 สภาโรงงานคือ องคกรและพื้นที่ที่จะนําไปสูการพัฒนาในเรื่องตางๆตอไปนี้ คือ การเสริมสราง ความเขมแข็งและเปนผึกแผนระหวางชนชั้นแรงงานดวยกัน (Develop solidarity among worker) เปนองคก รที่เ ชื่อมโยงระหวางความรัก กับ ความเปนพี่นอง (Link between comradeship and affection) เป น พื้ น ที่ ซึ่ง ทุก คนในสภาโรงงานนั้ น ไดไ ดรั บ การยอมรั บ ว ามี คุณ คา (Everyone is 16

นักวิชาการบางทานเรียก Worker’s Council ดู Leszek Kolakowski, Main Currents of Marxism, (New York: Norton&Company, 2005), pp. 965-969. 17 ออกฉบับปฐมฤกษในวันที่ 1 พฤษภาคม 1919 โดยมีคณะบรรณาธิการรวมกับกรัมชีคือ Angelo Tasca, Umberto Terracini และ Palmairo Togliatti ดู Adam David Morton, Unraveling Gramsci, p.82. 18 Leszek Kolakowski, Main Currents of Marxism, p. 966. 19 Antonio Gramsci, “Union and Council (11 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox (Cambridge: Cambridge University Press, 1994), p. 118. และดู Richard Howson, “Hegemony in the Preprison context”, in Hegemony: Studies in Consensus and Coercion, Eds. By Richard Howson and Kylie Smith (London: Routledge, 2008), pp. 19-23. 20 Ibid.


6

indispensable) เปนสถานที่ซึ่งเหมาะสมกับผูคนทุกคน (Everyone is in a proper place) เปนที่ซึ่ง ผูคนทุกคนมีหนาที่ในการรับผิดชอบในการผลิตดานตางๆ (Everyone has a place for function) นอกจากนี้สภาโรงงานนั้น ยังเปนกลไกที่สําคัญยิ่งในการสรางเสริมการเรียนรูรวมกันระหวางชนชั้น แรงงาน และกระตุนจิตวิญญาณแบบใหมของชนชั้นกรรมาชีพใหเกิดขึ้นอีกดวย21 สภาโรงงานนั้นเปนองคกรที่จะเกิดขึ้นไดภายใตพื้นที่ของความสัมพันธทางการผลิต ในโรงงาน อุตสาหกรรม22 ที่ซึ่งชนชั้นแรงงานถูกเอาเปรียบจากความสัมพันธทางการผลิตที่ไมเปนธรรมแบบทุน นิยม23 สาเหตุที่กรัมชีมองวาสภาโรงงานตองเกิดขึ้นภายใตการผลิตในโรงงานนั้นเปนเพราะกรัมชีมอง วาในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น กรรมาชีพจะไดรวมกันสรางองคก รที่มีชีวิตชีวาแบบใหมขึ้นมาแทน สหภาพแรงงานที่มุงเนนการเรียกรองเรื่องการรับประกันในเรื่องคุณภาพชีวิตแตไมไดตอตานระบบทุน นิยม แตในสภาโรงงานนั้นเปรียบไดกับการเปน “หนอออน” (Nucleus)24 ของรัฐแบบใหม รัฐที่ลมเลิก รูปแบบการเปนตัวแทนแบบเกาในระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่เปนที่รองรับความชอบธรรมของ ชนชั้นนายทุน และนํารูปแบบการเปนตัวแทนแบบใหมคือแบบสภาโรงงานเขามาใชแทน25 สภาโรงงานสําหรับกรัมชีจึงมีความเห็นสอดคลองกับมารกซ (Karl Marx)26 ในดานเปาหมาย สุดทายหรือสังคมในอุดมคติ คือการสรางสังคมคอมมิวนิสม (Communism) ที่เกิดขึ้นจากพลังของชน ชั้นกรรมาชีพอยางแทจริง สภาโรงงานเปนหนอออนในการฝก ฝนและขัดเกลาชนชั้นแรงงานในการ นําไปสูสังคมคอมมิวนิสมที่แทจ ริง และเปนองคก รที่ทําหนาที่อยางสําคัญ ยิ่งในการเปนองคก รที่ ตอตานระบอบทุนนิยม27 และทําหนาที่ในการเปนตัวการในการสรางจิตสํานึก (Conscious agent)28 21

Ibid. Antonio Gramsci, “The Factory Council (5 June 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox (Cambridge: Cambridge University Press, 1994), p. 164. 23 ในระบบทุนนิยมแรงงานถูกลดคุณคาลงเหลือเพียงการเปนเครื่องมือในการผลิต (Instrument of Production) สภาวะเชนนี้ Marx เรียกวา “สภาวะแปลกแยก” (Alienation) ดู Karl Marx, “Economic and Philosophic Manuscripts” in Karl Marx Selected Writings, Ed. By Lawrence H. Simon, (Indianapolis: Hackett Publishing, 1994), pp.58-68. 24 Antonio Gramsci, “The Factory Council (5 June 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 167. 25 Ibid. 26 กรัมชี เห็นสอดคลองกับ Marx ในเรื่องแรงงานเปนเครื่องมือในการผลิตของนายทุน สังคมคอมมิวนิสมคือ เปาหมาย และการเปนสากลนิยมของชนชั้นกรรมาชีพ ดู Antonio Gramsci, “The Factory Council”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, pp. 166, 167. ; ดู Karl Marx and Friedrich Engels, “The Communist Manifesto” in Karl Marx Selected Writings, Ed. By Lawrence H. Simon, pp. 171, 174. และดู Leszek Kolakowski, Main Currents of Marxism, pp. 226-227. 27 Antonio Gramsci, “The Factory Council (5 June 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, pp. 165, 166. 28 Ibid., p. 167. 22


7

ในการปลดปล อยจากการครอบงํา ของระบบทุน นิ ย ม และเปน ตัวเชื่อ มผสานทางสัง คม (Social cohesion) ทําหนาที่สรางความเปนเอกภาพใหเกิดขึ้นในหมูชนชั้นกรรมาชีพได29 กลาวโดยสรุป สภาโรงงานนั้นคือการจัดรูปแบบองคกรของชนชั้นกรรมาชีพรูปแบบใหมเพื่อ นํามาใชแทนรูปแบบการรวมตัวกันแบบสหภาพ (Union) โดยที่สภาโรงงานนั้นเปรียบไดกับการเปน นิวเคลียส หรือหนอออนของระบอบคอมมิวนิสม โดยทําหนาที่ในการผสานในแงของจิตวิญญาณ และ ความรูของชนชั้นแรงงานเขาดวยกัน โดยมีแนวความคิดหลักในการตอตานระบอบทุนนิยม หัวขอถัดไปจะเปนการนําเสนอถึงการจัดโครงสรางองคกร (Organization) ของสภาโรงงาน ตามแนวคิดของกรัมชี เพื่อเปนการใหภาพในรายละเอียดที่มากขึ้นของแนวความคิดสภาโรงงาน 3. สภาโรงงานมีการจัดโครงสรางองคกรอยางไร ? สภาโรงงานตามแนวทางของกรัมชีนั้นเปนองคกรที่เปนประชาธิปไตยที่ แทจริงสําหรับชนชั้น แรงงาน ดังที่ป รากฎในบทความชิ้นสําคัญที่ชื่อ “Worker’s Democracy”30 ซึ่งเปน บทความที่กรัมชี เขียนขึ้นรวมกับ Palmairo Togliatti ในงานชิ้นนี้กรัมชีและ Togliatti นําเสนอความคิดเกี่ยวกับลักษณะ ของการจัดองคกรที่เปนประชาธิปไตยของแรงงานไวดังนี้ “คณะกรรมการในคณะทํางาน (Workshop commission) เป น องค ป ระกอบสํ า คั ญ ของ “ประชาธิ ป ไตยของแรงงาน” (worker’s democracy) โดยที่แรงงานจะเปนอิสระจากพันธะของเจานายของตน และมี ชี วิ ต และพลั ง ในการดํ า เนิ น ชี วิ ต แบบใหม ในขณะป จ จุ บั น คณะทํางานนั้นมีหนาที่ตองควบคุม/สรางขอจํากัดใหกับพลังของนายทุน ในโรงงาน โดยทําหนาที่ในการเปนผูสรางขอโตแยง และนําเสนอหลักการ ของชนชั้น ในอนาคตตองยกระดับและพัฒนาพลังของชนชั้นกรรมาชีพ เพื่อนําไปสูการเปลี่ยนสังคมนายทุน”31 กรัมชีและ Togliatti มองเชนเดียวกันกับ Marx วาประชาธิปไตยที่แทจริงของชนชั้นแรงงานนั้น จะนําไปสูสังคมสุดทายคือการลมลางชนชั้นนายทุน และสูสังคมคอมมิวนิสตในทายที่สุด กรัมชีนั้น มองในโลกตามขอเท็จจริงวาในขณะปจจุบันที่สังคมทุนนิยมเรืองอํานาจนั้น ชนชั้นแรงงานไมอาจกอ 29

Antonio Gramsci, “Union and Council (11 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox (Cambridge: Cambridge University Press, 1994), p. 117. 30 Antonio Gramsci, “Worker’s Democracy (21 June 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, pp.96-100. 31 Ibid, p. 98.


8

การปฏิวัติไดอยางทันทีทันใด แตจะเปนการปฏิวัติที่ตองอาศัยเวลาและความอดทน32 กรัมชีมองวาใน ปจจุบันที่การปฏิวัติยังไมบังเกิดนั้นสิ่งที่แรงงานสามารถทําไดในองคกรที่เปนประชาธิปไตยที่แทเชนใน สภาโรงงานนั้นก็คือ การสรางขีดจํากัดและแสดงพลังใหนายทุนไดประจักษถึงพลังของชนชั้นกรรมาชีพ และยกระดับการตอสูเพิ่มขึ้นไปในอนาคต ลักษณะการจัดองคกรของสภาโรงงานนั้นกรัมชีและ Togliatti เสนอวา “คณะทํ า งาน (Workshop) นั้ น จะมี ค ณะกรรมการภายใน (internal commission) ที่ประกอบจากหลายภาคสวนทั้งสโมสรสังคมนิยม ชุมชนชาวนาซึ่งถือเปนศูนยกลางของชีวิตของกรรมาชีพ”33 “แรงงานตองดําเนินการอยางปจจุบันทันดวนในการการเลือกตั้ง “สมัชชาผูแทน” (Assemblies of delegates) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจาก คนงานผูไดชื่อวามีความตระหนัก รูในทางการเมืองมากที่สุด และมีความ เปน พี่นอ งกัน ภายใต แนวทางที่ว า “อํา นาจทั้งหมดของคณะทํางานสู คณะกรรมการ” ควบคูกันไปกับแนวทาง “อํานาจรัฐเพื่อสภาของแรงงาน และชาวนา”34 จากแนวคิดของกรัมชีและ Togliatti จะพบวาแนวคิดเรื่องสภาโรงงานนั้นไมไดเปนเพียงการ รวมตัวกันจัดองคกรของแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเทานั้น แตเปนองคกรที่มีองคประกอบจากภาค สวนอื่นๆในสังคมเชน ชาวนา หรือการรวมตัวเปนสโมสรของคนอาชีพอื่นดวย สภาโรงงานนั้นใชวิธีการเลือกตั้ง (Election) ใหมีสมัชชาผูแทนขึ้นเปนผูแทนของประชาชนทั้ง ชนชั้น (The whole of the working class)35 ทั้งนี้ภายในสมัชชาผูแทนนั้นจะมีคณะกรรมการผูแทน (Committee of factory delegate) ทําหนาที่เปนตัวแทนในการดูแลในทุกแงมุมของการทํางานและ ชีวิต36 รวมถึงทําหนาที่ในการพยายามหาทางทํางานรวมกันกับ ตัวแทนจากภาคสวน (categories)

32

กรัมชี มองวา การปฏิวัติของกรรมาชีพนั้นเปนกระบวนการระยะยาว (Long term process) ดู Antonio Gramsci, “The Factory Council (5 June 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 163. 33 Antonio Gramsci, “Worker’s Democracy (21 June 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox (Cambridge: Cambridge University Press, 1994), p. 98. 34 Ibid. 35 Ibid. 36 Leszek Kolakowski, Main Currents of Marxism, p. 966.


9

อื่นๆ ทั้งผูที่ประกอบอาชีพบริกร คนขับรถ พนักงานรถราง พนักงานรถไฟ คนกวาดถนน ลูกจางของ เอกชน เสมียนในหางราน และอื่นๆ37 ในสวนของรายละเอียดในเรื่องของระบบการเลือกตั้งนั้นกรัมชีเสนอวาสภาโรงงานหนึ่งๆนั้นจะ มีตัวแทนคณะทํางานไดจํานวนเทาใดนั้นก็ขึ้นอยูกับความพรอมของแตละทองถิ่นวามีชนชั้นแรงงานทั้ง จากโรงงานอุตสาหกรรม และชนชั้นผูไมเปน เจาของปจ จัยการผลิต (Have-nots) มาก-นอยและมี ความพรอมเพียงใด ทั้งนี้กรัมชีเสนอวาควรใหมีสัดสวนของตัวแทนคณะทํางานในแตละกลุมประเภท อาชีพ (Categories) แตละภาคสวนในสัดสวน “ตัวแทน 1 คนตอคนงาน 15 คน” ดังขอความตอไปนี้ “สโมสรตางๆ โดยความตกลงรวมกับ พรรคในเขตเมืองจะตองมี การทําการสํารวจ (survey) พลังของชนชั้น แรงงานในพื้นที่ของตนกอน เพื่อใหกลายมาเปนสภาทองถิ่น (local council) ของตัวแทนคณะทํางาน (workshop delegate)… ระบบการเลือกตั้ง (Electoral System) สามารถ ผัน แปรขนาดของการเลื อ กตั้ ง ไดต ามขนาดของคณะทํา งาน โดยมี เปาหมายในการเลือก ตัวแทน (delegate) 1 คน จากคนงาน (workers) 15 คน โดยแบงไปตามกลุมประเภทอาชีพตางๆ”38 องคประกอบที่สําคัญในทฤษฎีสภาโรงงานของกรัมชีคือการใหความสําคัญกับ “มนุษย” ใน ฐานะที่เปนผูสรางและกําหนดความเปนไปของประวัติศาสตร39 กรัมชีไดเสนอวาบุคคลที่จะเขารวมใน สภาโรงงานและเป น ผู ที่ จ ะนํา ไปสู ก ารปฏิ วั ติ โ ดยชนชั้น กรรมาชี พนั้ น จะตอ งมี ลั ก ษณะ “ปฏิวั ติ ” (Revolutionary) บางประการดังตอไปนี้40 ประการแรก เปนผูที่ลงมือปฏิบัติ ไมใชผูที่มีแตสํานวนโวหาร ชวนใหหลงใหล หรือเปนผูมองโลกในแงดีแบบโรแมนติกเพอฝน ประการที่สอง เปนผูที่มีจิตใจมุงมั่น และรับผิดชอบ ประการที่สาม เปนชนชั้นแรงงานผูทํางานในโรงงานและภาคสวนอื่น ประการที่สี่ เปนผู ที่มี ค วามสามารถในการจั ด การให เ กิ ด การเชื่ อมโยงแลกเปลี่ ย นระหวา งภาคอุต สาหกรรมและ เกษตรกรรมได ประการที่หา เปนผูที่สามารถรับรองในความปลอดภัย ตลอดจนเสรีภาพของผูอื่นได 37

Antonio Gramsci, “Worker’s Democracy (21 June 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox (Cambridge: Cambridge University Press, 1994), p. 98. 38 Ibid. 39 Antonio Gramsci, “Union and Council (11 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 119. 40 Antonio Gramsci, “The State and Socialism (28 June – 5 July 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox (Cambridge: Cambridge University Press, 1994), pp. 101-102.


10

ประการที่ห ก เปน ผูที่มีสามารถขับ เคลื่อนการบริก ารทางสังคมตางๆไดอยางมีป ระสิท ธิภาพ และ ประการสุดทาย เปนผูที่ปกปองบุคคลอื่นไมใหจมสูสภาวะของความสิ้นหวังและความรุนแรงได โดยสรุป ในการตอบคําถามที่วา “สภาโรงงาน” นั้นมีการจัดองคกรเชนไร นั้นอางอิงบนพื้นฐาน จากงานเขียนของกรัมชีในที่นี้พบวาสภาโรงงานนั้นเปนแนวคิดที่เปดกวาง ไมเพียงแตคนงานในโรงงาน อุตสาหกรรมเทานั้นที่สามารถเขารวมในสภาได แตยังเปดกวางใหกับกลุมคนผูไมไดเปนเจาของปจจัย การผลิตในกลุมอาชีพ/ภาคสวนอื่นๆ อาทิ เสมียน คนกวาดถนน คนขับรถไฟ ฯลฯ ไดมีสวนรวมในสภา เพื่อรับรองสิทธิและดูแลในกิจการทุกแงมุมของชีวิตดวย สภาโรงงานนั้ น ได นํ า กลไกของระบอบประชาธิ ป ไตยแบบผู แ ทน (Representative Democracy) ในเรื่องการเลือกตั้ง (Election) มาใช แตทั้งนี้กรัมชีเสนอวาควรเปนการเลือกตั้งโดยเปด โอกาสใหคนในทุกกลุมอาชีพโดยมีสัดสวนตัวแทน 1 คนตอแรงงาน 15 คน และใหมีตัวแทนจากทุกๆ กลุมอาชีพดวย ทั้งนี้จะพบวาแนวคิดในเรื่องของการจัดองคกรในงานเขียนของกรัมชีใน L’Ordine Nuovo ชวงป 1919-1920 นั้นเปนเพียงการใหภาพในหลักการกวางๆของกรัมชีเทานั้นแตมิไดเปนการ อธิบายหลักการทํางาน หรือกฎ ระเบียบอยางลึกซึ้งของสภาโรงงานแตประการใด 4. สหภาพแรงงาน (The Union) กับสภาโรงงาน (The Council) นั้นมีความเหมือนหรือ แตกตางกันอยางไร? ชนชั้นแรงงานมิไดปราศจากการรวมตัวกันเปนองคกรเพื่อพิทักษ ตลอดจนดูแลแรงงานใน ประเด็นดานสิทธิของการไดรับการปฏิบัติจากนายจางที่เปนธรรม หรือการเรียกรองคาแรงที่เหมาะสม “สหภาพแรงงาน” (Union) คือองคกรที่ทําหนาที่ดังที่กลาวมา แตทั้งนี้สําหรับกรัมชีนั้นมองวา องคกร อยางสหภาพแรงงานนั้นไมใชองคกรปฏิวัติ41ที่จะนําพาชนชั้นแรงงานไปสูการปฏิวัติชนชั้นนายทุนและ สถาปนารัฐสังคมนิยมซึ่งเปนประชาธิปไตยที่แทจริงได กรัมชีมองวา “สภาโรงงาน” เทานั้นที่จะทําหนาที่เปน “หนอออน” (Nucleus) หรือเปนรากฐาน ที่สําคัญในการนําพาชนชั้นกรรมาชีพไปสูการปฏิวัติ ของชนชั้นแรงงานที่แทจริงได ในที่นี้ผูเขียนได นําเสนอขอเปรียบเทียบระหวางสหภาพแรงงานที่มีอยูเดิมในสังคมทุนนิยมกับสภาโรงงานตามแนวคิด ของกรัมชีในตารางตอไปนี้

41

Antonio Gramsci, “The Factory Council (5 June 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 164. และ Antonio Gramsci, “Trade Unions and the Dictatorship of the Proletariat (25 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 123.


11

ตารางที่ 1: นําเสนอขอแตกตางระหวางสหภาพแรงงานกับสภาโรงงาน ประเด็นเปรียบเทียบ เปาหมาย

ผูคนที่เขารวม ความสัมพันธในองคกร

สหภาพแรงงาน/The Union -

เรียกรองสิทธิของแรงงาน เรียกรองคาแรง มิไดมีเปาหมายจะปฏิวัติ ระบบทุนนิยม - ยังอยูในสังคมทุนนิยมได - คนงานในโรงงาน/บริษัทเปน หลัก - ตัวแบบที่เปนทางการ มีสายการบังคับบัญชา - สั่งการแบบ Top-Down - เปนองคกรที่เขารวมเพื่อ รักษาผลประโยชนสวนตน

ผูที่ไดประโยชนแทจริง

-

ความเปนประชาธิปไตย

-

เจาของกิจการ/ชนชั้น นายทุน เปนเสรีนิยม ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

สภาโรงงาน/The Council -

ตอตานระบบทุนนิยม เปาหมายคือการปฏิวัติ ระบบทุนนิยม - เปาหมายคือสังคม คอมมิวนิสต ฐานการสนับสนุนกวางกวา จาก หลากหลายอาชีพ - เนนความเปนมิตร ปรึกษาหารือกัน - เปนความสัมพันธในแนว ระนาบ และ Bottom-Up - เปนที่ใหความรูทางการ เมือง และสรางจิตสํานึก ประชาธิปไตย - ผูผลิต/คนงาน/ชนชั้น กรรมาชีพ - เปนประชาธิปไตยของ แรงงานอยางแทจริง

ที่มา: สรุปและตีความความคิดของกรัมชีโดยผูเขียน

จากตารางขางตน ผูเ ขีย นนําเสนอการสรุป ข อเปรียบเทีย บความแตกตางระหวางสหภาพ แรงงานและสภาโรงงานไดเปน หาประเด็น หลัก ดวยกัน ไดแก ประการแรก ขอเปรียบเทีย บในดาน เปาหมาย ประการที่สอง ดานผูคนที่เขารวม ประการที่สาม ความสัมพันธในองคกร ประการที่สี่ ผูได ประโยชนแทจริง และประการสุดทาย ดานความเปนประชาธิปไตย ประการแรก ดานเปาหมาย สหภาพแรงงานนั้นเปนองคกรที่มาจากการรวมตัวของชนชั้นแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม และธุรกิจเอกชนตางๆเพื่อสรางความเขมแข็งและเพิ่มอํานาจในการตอรองใหกับสหภาพในประเด็น เรียกรองตางๆ ซึ่งสวนมากแลวจะเปนการเรียกรองในเรือ่ งของการรับรอง/รับประกันในเรื่องของคาแรง ชั่วโมงทํางาน และสวัสดิการของแรงงานในดานตางๆ สหภาพนั้นมิไดมีเปาหมายของการรวมตัวกัน


12

เพื่อที่จะตอตานระบบทุนนิยม42 หรือเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสูระบอบใหมแตประการใด สหภาพ นั้นเพียงแตตอรอง/ทาทาย ชนชั้นนายทุน แตยังสามารถประนีประนอมกับระบบทุนนิยมได43 ขณะที่สภาโรงงานนั้น กรัมชีใ หแนวคิดวาสภาโรงงานนั้น เปน องคก รปฏิวัติที่มีเ ปาหมาย สุดทาย (Ultimate ends) อยูที่การตอตานระบบทุนนิยมและเปนรากฐาน/หนอออนในการฝกฝนชนชั้น กรรมาชีพในการไปสูการปกครองในสังคมคอมมิวนิสตไดในทายที่สุด ประการที่สอง ดานผูคนที่เขารวม สหภาพแรงงานเปนการเขารวมของชนชั้นกรรมาชีพ หรือผูที่ไมไดถือครองปจจัยการผลิต44ที่มี ฐานจากแรงงานในอุตสาหกรรม หรือธุรกิจเอกชนเปนหลัก ขณะที่สภาโรงงานของกรัมชีนั้นแมจะมีชื่อ วา Factory Council แตใ นแงของฐานการเขารวมของผูคนนั้น สภาโรงงานจะมีฐ านความรวมมือ ระหวางชนชั้น45 กวางขวางมากกวาสหภาพแรงงาน กลาวคือสภาโรงงานนั้นมีการเขารวมของผูคน นอกเหนือไปจากแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมแลวยังมีชนชั้นชาวนา (Peasant) 46และรวมถึงตัวแทน จากภาคสวน (Categories) อื่น ๆอี ก ดวย เชน ผูที่ป ระกอบอาชี พบริก ร คนขับ รถ พนัก งานรถราง พนักงานรถไฟ คนกวาดถนน ลูกจางของเอกชน เสมียนในหางราน และอื่นๆ47 ประการที่สาม ความสัมพันธในองคกร สหภาพแรงงานเปน องคก รที่ยังคงมีลัก ษณะการทํางานแบบเปน ทางการ (Bureaucratic Organization) ความสัมพันธระหวางผูคนในสหภาพนั้นมีลักษณะการสั่งการในแนวดิ่ง (Vertical) หรือ แบบบนสูลาง (Top-Down) ซึ่งยังมีลักษณะของบังคับ และไมเปดพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น เพื่ อ ให เ กิ ด การแลกเปลี่ ย นและเรี ย นรูไ ด ม ากนั ก ในทางตรงข า มสภาโรงงานนั้ น เป น พื้ น ที่ ข อง ความสัมพันธที่เนนความเปนพี่นอง ความเปนสหายที่คอยดูแลในทุกมิติของชีวิต ไมใช เพียงแคเปน องคกรเพื่อรักษาผลประโยชนในทางเศรษฐกิจของผูเขารวมเทานั้น แตยังใหความสําคัญกับการพัฒนา ทักษะในการผลิต การทํางาน และใหการเรียนรู ตลอดจนสรางเสริมจิตสํานึก ทางการเมืองอยางมี ชีวิตชีวาอีกดวย48 ดังนั้นในแงของความสัมพันธขององคกรสภาโรงงานจึงมีลักษณะความสัมพันธแบบ 42

Antonio Gramsci, “Union and Council (11 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 118. 43 Leszek Kolakowski, Main Currents of Marxism, p. 966. 44 ดู คําอธิบายของ Engel ในสวนเชิงอรรถแรกสุดในสวนที่ 1 ของ The Communist Manifesto ดู Karl Marx and Friedrich Engels, “The Communist Manifesto” in Karl Marx Selected Writings, Ed. By Lawrence H. Simon, p. 158. 45 เปน idea ของแนวคิดเรื่องกลุมประวัติศาสตร (Historical Bloc) ในเวลาตอมา 46 เปน นายทุนนอย (Petty Bourgeois)ตามแนวของ Marx 47 Antonio Gramsci, “Worker’s Democracy (21 June 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 98. 48 Leszek Kolakowski, Main Currents of Marxism, p. 966.


13

ลางสูบน (Bottom-Up) ที่ไมใ หความสําคัญกับสายการบังคับ บัญชา แตเ นน ความสัมพัน ธในแนว ระนาบ (Horizontal)มากกวาสหภาพแรงงาน ประการที่สี่ ผูไดประโยชนแทจริง ผูที่จะไดผลประโยชนแทจริงจากสหภาพแรงงานนั้นไมใชชนชั้นกรรมาชีพ ในดานหนึ่งแรงงาน อาจจะได รั บ การรั บ รองในเรื่ อ งของสิ ท ธิ ใ นการทํ า งาน รายได และสวั ส ดิ ก าร แต แ ท จ ริ ง แล ว ผลประโยชนที่แรงงานจะไดรับ นั้น เปน ผลจากการประนีป ระนอมกับ นายทุน เทานั้น มิไดเ ปน การ เปลี่ยนแปลงที่โครงสรางความสัมพันธหรือระบบการปกครอง ดังนั้นผูที่ไดรับประโยชนที่แทจริงยอม เปนชนชั้นนายทุนผูเปนเจาของแรงงานที่จะไดประโยชนจากผลกําไรสวนเกินที่แรงงานผลิตใหอยาง ตอเนื่อง ในทางตรงขาม สภาโรงงานนั้นเปนการเขารวมของผูคนที่หลากหลายและเขมแข็งยิ่งกวา สหภาพแรงงาน อีก ทั้งเปา หมายหลัก ของสภาโรงงานนั้น ก็คื อ การต อตานระบบทุ น นิย ม และไม ประนีประนอมกับชนชั้นนายทุน ดังนั้นผลประโยชนอันเกิดจากการเขารวมในสภาโรงงานจึงตกแกชน ชั้นแรงงานเองอยางแทจริง ประการสุดทาย ดานความเปนประชาธิปไตย ประชาธิป ไตยของสหภาพแรงงานนั้น เปรียบไดกับการเปน ภาพจําลองของระบบเสรีนิย ม ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Liberal Democratic Parliamentary System) ที่ผูแทนนั้นเปนกลไกในการ รักษาผลประโยชนใหแกชนชั้นปกครอง ซึ่งก็คือชนชั้นนายทุน แตมวลชนก็ยังคงถูกกดขี่และไมไดมี เสรีภาพและความเสมอภาคอยางแทจริง ขณะที่สภาโรงงานนั้นเปนองคกรที่เปนประชาธิปไตยของ แรงงาน (Worker’s Democracy) อยางแทจริงเนื่องจากแรงงาน (รวมถึงคนจากภาคสวนอื่นดวย) นั้น ไดมความเสมอภาค เสรีภาพ ศัก ดิ์ศรีและการยอมรั บ ในคุณ คา ความเปน มนุษ ยมากกวาการให ความสําคัญกับการเลือกตั้งผูแทนซึ่งกลายเปนสวนสําคัญในการรับใชชนชั้นนายทุน สวนตอจากนี้จะเปนการนําเสนอถึงคุณุปการของทฤษฎีสภาโรงงานของกรัมชีในแงมุมตางๆ รวมถึงสวนสุดทายซึ่งเปนสวนสรุปความคิดทั้งหมดของงานเขียนชิ้นนี้ 5. คุณูปการของทฤษฎีสภาโรงงาน แนวความคิดเรื่องสภาโรงงานของกรัมชีนั้นมีความสําคัญในหลายแงมุมดวยกัน ในที่นี้ผูเขียน สรุปคุณูปการของแนวคิดดังกลาวของกรัมชีไดเปนสองดาน ไดแก ดานทฤษฎีและแนวความคิด และ นัยยะตอการพัฒนาการเมืองไทย


14

5.1 คุณูปการเชิงทฤษฎีและแนวความคิด ความคิ ด ทางการเมื อ งของอั น โตนิ โอ กรั ม ชี ใ นเรื่ อ งสภาโรงงานนั้ น เป น การอธิ บ าย ให รายละเอีย ดเพิ่มเติมและพัฒนาแนวความคิดมารก ซิสม (Marxism) ใหไปสูการปฏิวัติของชนชั้น กรรมาชีพอยางแทจริงได 49 ความคิดของกรัมชีในเรื่องสภาโรงงานนั้นเปน การเปดพื้นที่ในเรื่องของ “การเมืองแบบใหม” (New Politics)50 ที่เปดพรมแดนของการมีสวนรวมทางการเมืองใหกวางขวาง ออกไปมากกวาการเปนเพียงการมีสวนรวมของผูมั่งมีทั้งอํานาจและเงินตรา แตเปนการมีสวนรวม “อยางแทจริง” ของผูคนในชนชั้นลางของสังคม แนวคิดเรื่องสภาโรงงานเปนแนวคิดที่ใหความสําคัญ ตอ “มนุษย ” ในฐานะที่เปนผูกําหนด ชะตาชีวิต/ชะตามกรรมของตนเองและเปนผูกําหนดสรางความเปนไปของประวัติศาสตรมนุษย51 การ ใหความสําคัญตอมนุษยในที่นี้สอดคลองกับความเห็น ของ Marx ที่มองวาระบบทุนนิยมนั้นทําให มนุษยเกิดความแปลกแยก (Alienation) ระหวางมนุษยกับสินคาที่ผลิต มนุษยกับเงินตราและแมแต มนุษยตอมนุษยดวยกันเอง52ก็สูญเสียความสัมพันธทางสังคมที่ดีระหวางกันไป ความคิดของกรัมชีเปนการใหภาพปรัชญาของการลงมือปฏิบัติ53 (Philosophy of Praxis) ซึ่ง เปนแนวคิดหลักของกรัมชีในการตอตานแนวทางกําหนดนิยมแบบกลไก (Determinism) และพวกที่ยึด มั่นในหลักเศรษฐกิจกําหนด (Economic Determinism) ที่เชื่อวาการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งนั้นเปน ผลของการเปลี่ยนแปลงจากขอกําหนดเชิงโครงสรางโดยอัตโนมัติ54 ดังนั้นความคิดเรื่องสภาโรงงานของกรัมชีเปนจึงขอบงชี้ที่ดีวาสําหรับกรัมชีนั้นการปฏิวัติโดย ชนชั้นกรรมาชีพเพื่อไปใหถึงสังคมคอมมิวนิสตนั้นไมใชสิ่งที่จะเกิดขึ้นไดเองโดยรอใหกรรมาชีพปฏิวัติ 49

Paul Ransome, Antonio Gramsci A New Introduction, (London: Harvester Wheatsheaf, 1992), p.208. Carl Boggs, Gramsci’s Marxism, (London: Pluto Press, 1976), pp.85-100. และ Anne Showstack Sassoon, Gramsci’s Politics, (London: Croom Helm, 1980), pp.31-57. 51 Antonio Gramsci, “Union and Council (11 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 119. 52 Karl Marx, “Economic and Philosophic Manuscripts” in Karl Marx Selected Writings, Ed. By Lawrence H. Simon, pp.58-68. 53 ในเวลาตอมาแนวคิดเรื่องสภาโรงงานไดเปนแนวทางในการนําไปสูการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสตอิตาลี (Italian Communist Party; PCI) แตทั้งนี้ประเด็นขอถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องของ PCI นั้นเปนประเด็นใหญที่อยูนอกเหนือขอบเขตการ นําเสนอของบทความชิ้นนี้ 54 นักมารกซิสตบางคนมีความคิดเชนนี้ เชน Karl Kautsky และ Eduard Bernstein เปนตน ซึ่งไดชื่อวาเปน Right Wing Marxism ดู David McLellan, Marxism after Marx, (New York: Harper&Row, 1979), pp. 58-61. และ Jules Townshend, “Right-wing Marxism”, in Twentieth-Century Marxism A Global Introduction, Eds. By Daryl Glaser and David M. Walker, (New York: Routledge, 2007), pp. 48-52. 50


15

นายทุนเสีย เอง หากแตเปน การลงมือกระทําของผูคนในปจจุบันขณะเพื่อกําหนดความเปนไปของ มนุษยในอนาคตดวยน้ํามือของตนเอง ดังที่ไดนําเสนอไปขางตนวาสภาโรงงานนั้นเปรียบดัง “หนอ ออน” ของสังคมคอมมิวนิสตอันเกิดจากการลงมือปฏิบัติของแรงงาน (และคนจากภาคสวนอื่นดวย) นั่นเอง นอกจากนี้ ส ภาโรงงานยั ง เป น การแสดงให เ ห็ น ถึ ง ร อ งรอยของความคิ ด เรื่ อ ง “กลุ ม ประวัติศาสตร” (Historic Bloc) และ “การครองอํานาจนํา” (Hegemony)55 ที่ปรากฎขึ้นภายหลังจาก ที่กรัมชีถูกคุมขังแลวหลังป 1926 กลาวคือ แนวคิดเรื่องกลุมประวัติศาสตรนั้นเปนแนวคิดที่วาดวยการ ผสานแนวรวมระหวางชนชั้น กลุม สังคมตางๆใหเกิดความเห็นพองตองกัน ในชวงขณะเวลาหนึ่งๆ ในชวงประวัติศาสตร ซึ่งกลุมประวัติศาสตรนั้นถือเปนแนวคิดองคประกอบที่สําคัญอยางยิ่งในการ สรางภาวะการครองอํานาจนําใหเกิดขึ้นโดยชนชั้นผูสรางการครองอํานาจนําเหนือชนชั้นอื่นในสังคม ความคิ ดเรื่องสภาโรงงานเป น การแสดงใหเ ห็ น ถึ งแนวทางการคิ ดในเรื่ องของการสรา ง “พัน ธมิต รระหว างชนชั้ น ” (Class alliances) ให เ กิ ดขึ้น ดัง เห็ น ได จ ากการใหผู คนที่มีที่ มาจาก หลากหลายภาคสวนและอาชีพไดเขารวมในสภาโรงงาน มิใชเปนเพียงการผนึกกําลังของคนงานใน โรงงานอุตสาหกรรมเทานั้น แตยังสามารถผสานแนวรวม รวมถึงไดสรางการเรียนรูและแลกเปลี่ยนใน เรื่องของประสบการณและแนวทางในการตอสูจากผูคนในกลุมอาชีพอื่นๆไดอกี ดวย 5.2 ทฤษฎีสภาโรงงาน: นัยยะและความสําคัญตอการเมืองไทย การศึกษาแนวความคิดเรื่อง “สภาโรงงาน” ของอัน โตนิโอ กรัมชีนั้นมีประโยชนตอการทํา ความเขาใจ ตลอดจนการพัฒนาการเมืองไทยอยางไร? ตอการตอบคําถามดังกลาว ผูเ ขีย นได นําเสนอนัยยะและความสําคัญของแนวคิดดังกลาวไดเปนสองประการดังนี้ ประการแรก แนวคิดเรื่องสภาโรงงานใหแงคิดในเรื่องของบทบาทและความสําคัญของมนุษย ดังนั้นแงคิดดังกลาวจึงมีความสําคัญและควรคาแกการนํามาคํานึงถึงบทบาทของ “มนุษย” ในทาง การเมืองของสังคมไทย สังคมไทยแมจะไดชื่อวามีการปกครองรูปแบบทีเ่ รียกวาประชาธิปไตยแตทั้งนี้ก็เปนที่ทราบกัน โดยทั่วไปวาเนื้อแทของประชาธิปไตยไทยนั้นเปนเสรีนิยมประชาธิปไตย (Liberal Democracy) ซึ่งเปน รูป แบบหนึ่งของประชาธิป ไตยแบบมีผูแทน (Representative Democracy) อัน เปน รูป แบบการ ปกครองหนึ่งของระบบประชาธิป ไตยของประเทศสวนใหญ ซึ่งรูปแบบการปกครองดังกลาวนั้นให 55

ดู Richard Howson, “Hegemony in the Preprison context”, in Hegemony: Studies in Consensus and Coercion, Eds. By Richard Howson and Kylie Smith, pp. 17-31.; Steve Jones, Antonio Gramsci, (London: Routledge, 2007),pp.41-57 และ Anne Showstack Sassoon, Gramsci’s Politics, pp.119-124.


16

ความสําคัญตอการแขงขันอยางเสรีตอการไดมาซึ่งการไดอํานาจบริหาร และสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาล และการเปนผูแทนของประชาชน ทั้งนี้แมรัฐไทยจะเริ่มมีการตื่นตัวในการกระจายอํานาจการปกครองสูทองถิ่น (Centralization) นับแตปพ.ศ. 2542 เปนตนมา ซึ่งสงผลใหแนวคิดเรื่องการมีสวนรวมในทางการเมืองของประชาชนมี ระดับการตื่นตัวและความสนใจทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น แตมิติสําคัญ ของการใหความสําคัญตอ “มนุษย” ในสังคมและการเมืองนั้นปฏิเสธไดยากวายังคงมิไดเปนประเด็นหลักของสังคมไทยมากไป กวาประเด็นเรื่องการเลือกตั้งทองถิ่นในระดับตางๆหรือการนอมนําแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงมา ประยุกตใช ความคิดเรื่องความสําคัญของมนุษยในฐานะผูกําหนดสรางความเปนไปทางประวัติศาสตร ไมไ ดเ ปน สิ่ งสํ าคั ญ ในการรั บ รูข องประชาชนไทย ดั งนั้ น จากการศึก ษาแนวคิดเรื่อ งสภาโรงงาน คุณูปการแรกและเปนประโยชนขั้นต่ําที่สุดที่มีตอการเมืองไทย คือการไดตระหนักและทบทวนวารัฐ เอกชน ประชาสังคม และประชาชนไทยในปจจุบันนั้นไดใหความสําคัญตอบทบาทของ “มนุษย” ใน การมีสวนรวมกําหนดทิศทางและความเปนไปของสังคมไดอยางแทจ ริงและมีศักดิ์ศรีเทา เทียมกัน หรือไม และเพียงใด อีกประการหนึ่ง แนวความคิดสภาโรงงานไดใหขอคิดที่สําคัญในการทาทายและตอสูตอการ ปกครองในระบบประชาธิปไตยแบบรัฐ สภาภายใตอุดมการณเสรีนิยม รวมถึงอุดมการณเศรษฐกิจ แบบทุนนิยม/เสรีนิยมใหมที่มุงแสวงหากําไรสูงสุด จากสภาพการณข องสั งคมไทยปจ จุ บัน ซึ่ งสัง คมไทยนั้ น อาศัย รู ป แบบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยรัฐสภา (Parliamentary Democracy) และอิทธิพลของอุดมการณเสรีนิยมใหม (NeoLiberalism) ที่เชื่อวาการเปดเสรีทางการคา การลงทุนโดยตรงจากตางชาติ การโอนภารกิจใหเอกชน ทําแทนรัฐ ฯลฯ และการเชื่อมั่นในระบบตลาดเสรีวาจะเปน การนําพาความมั่งคั่งมาสูประเทศ แต ขอเท็จจริงคือประชาธิปไตยแบบรัฐสภาไดนํามาสูการเกิดขึ้นของชนชั้นนําผูอางสิทธิการเปนตัวแทน ของประชาชน และอุดมการณเศรษฐกิจเสรีนิยมใหมนั้นก็นํามาสูการลมสลายของผูประกอบการราย ยอยที่ไดรับผลกระทบจากการทําขอตกลงการคาเสรี (Free Trade Agreement; FTA) โดยขาดความ รอบคอบและความเห็นพองจากประชาชน นอกจากนี้เสรีนิยมใหมยังนํามาสูปญหาความเหลื่อมล้ํา ทางสังคมและเศรษฐกิจ และปญหาสังคมอื่นๆ เชน ปญหาเรื่องธุรกิจการศึกษา เปนตน สภาโรงงานนับเปนรูปแบบของการตอสูในยุคแรกๆของความพยายามในการตอสูและตอตาน ระบบทุน นิย ม (Anti-Capitalism) และชนชั้น นายทุน 56ที่มีความชัดเจนและเปน รูป ธรรมอยางยิ่ ง แนวความคิดดังกลาวใหแงคิดในการลงมือ “ปฏิบัติ” และทาทายตออํานาจที่เหนือกวาโดยไมหวั่นเกรง 56

Antonio Gramsci, “Two Revolutions (3 July 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 168.


17

ตอผลที่อาจจะเกิดขึ้นแตประการใด ดังนั้นการศึกษาแนวความคิดสภาโรงงานของกรัมชีจึงมีนัยยะตอ การตั้งคําถามถึงบทบาทของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อตอตานทุนนิยม/ตอตานโลกาภิวัตน/บรรษัทนิยม ในสังคมไทยไดวามีความพรอมและความกลาที่จะลงมือปฏิบัติเพื่อตอตานการใชอํานาจที่ไมชอบ ธรรมไดมาก-นอย ประการใด 6. สรุป สภาโรงงานเปนแนวความคิดที่สําคัญอีกเรื่องหนึ่งของอันโตนิโอ กรัมชี ที่ยังมิไดมีการถูกนํามา ศึกษาในแวดวงวิชาการรัฐศาสตรไทยมากนัก แนวคิดดังกลาวเกิดขึ้นในบริบทการเมืองอิตาลีชวงป 1919-1920 งานเขียนของกรัมชีใน L’Ordine Nuovo (The New Order) ถือไดวาเปนงานเขียนชวง กอนถูกคุมขัง (Pre-Prison Writings) ที่สําคัญที่กอใหเกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อตอตาน ระบบทุนนิยมและชนชั้นนายทุนในอิตาลีไดอยางแทจริง สภาโรงงานเปนรูปแบบของการจัดความสัมพันธรูปแบบใหมของชนชั้นกรรมาชีพอันประกอบ ไปดวยคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมและผูคนจากหลากหลายอาชีพ (ที่ไมใชชนชั้นนายทุน ) โดยมี ความแตกตางจากองคกรที่มีอยูกอนคือสหภาพแรงงาน (Trade Union) หลายประการ (ดูการนําเสนอ ในหัวขอที่ 4) แตจุดแตกตางที่สําคัญที่สุดคือสภาโรงงานนั้นต อตานระบบทุนนิยมและชนชั้นนายทุน แต ส หภาพแรงงานนั้ น เพี ย งแต ต อ รองในประเด็ น เรื่ อ งค า แรงและสวั ส ดิ ก ารแต ยั ง คงสามารถ ประนีประนอมกับระบบทุนนิยมได นอกจากนี้อาจกลาวไดวาสภาโรงงานนั้นเปรีย บไดกับ การเปน นิวเคลียส หรือหนอออนของระบอบคอมมิวนิสม โดยทําหนาที่ในการผสานในแงของจิตวิญญาณ และ ความรูของชนชั้นแรงงานเขาดวยกัน แนวความคิด เรื่องสภาโรงงานของกรัม ชี มีความมี นัย ยะตอ การตั้งคํ าถามถึง พัฒนาการ ทางการเมืองไทยในสองประเด็นหลักดวยกันคือ การใหความสําคัญตอมนุษยในฐานะผูกําหนดสราง ความเปนไปทางประวัติศาสตร และอีก ประการหนึ่งคือ สภาโรงงานนั้น เปนบทเรีย นตอขบวนการ เคลื่อนไหวเพื่อตอตานระบบทุนนิยม/โลกาภิวัตนในปจจุบันอีกดวย


18

รายการอางอิง เจอโรม คาราเบล. 2525. ความขัดแยงของการปฏิวัติ อันโตนิโย กรัมชีกับปญหาของปญญาชน. แปลโดย สมบัติ พิศสะอาด. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง. ชนิดา ชิตบัณฑิตย. 2547. โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดําริ : การสถาปนาพระราชอํานาจนํา. วิทยานิพนธสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา) คณะสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. ประจักษ กองกีรติ. 2548. และแลวความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและ ปญญาชนกอน 14 ตุลาฯ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. จิอูเซ็ปเป ฟโอรี. 2526. ชีวิตของอันโตนิโอ กรัมชี. แปลโดย นฤมล-ประทีป นครชัย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมล คีมทอง. วนัส ปยะกุลชัยเดช. 2548. ความสัมพันธระหวางแนวคิดการครองความเปนใหญและอุดมการณของกรัมชี.่ วิทยานิพนธรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. วัชรพล พุทธรักษา. 2549. รัฐบาลทักษิณกับความพยายามสรางภาวะการครองอํานาจนํา. วิทยานิพนธ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครอง) ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย. วัชรพล พุทธรักษา. 2550. แนวความคิดการครองอํานาจนํา (Hegemony) ของกรัมชี (Gramsci): บททดลอง เสนอในการอธิบายปรากฏการณทางการเมืองไทย. บทความนําเสนอในงานประชุมวิชาการ รัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติครั้งที่ 8 ณ ศูนยการประชุมนานาชาติไบเทคบางนา 13 ธันวาคม 2550. วัชรพล พุทธรักษา. 2551. กลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา และการโตตอบตอการครอง อํานาจนํา: แนวความคิดของอันโตนิโอ กรัมชีกับการอธิบายการเมืองไทยรวมสมัย. บทความ นําเสนอในงานประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติครั้งที่ 9 ณ คณะ รัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย วันที่ 2 ธันวาคม 2551. Babbie, E. (2008) The Basic of Social Research, Canada: Thomson Wadsworth. Bieler, A. and Morton, A.D. (2001) “Introduction: neo-Gramscian perspectives in international political economy and the relevance to European integration” in Bieler, A. and Morton, A.D. eds. Social forces in the making of the new Europe: the restructuring of European social relations in the global political economy, Basingstoke: Palgrave Macmillan, pp. 3-24. Bieler, A. and Morton, A.D. (2003) “Theoretical and Methodological Challenges of neo-Gramscian Perspectives in International Political Economy” International Gramsci Society Online Article January 2003,


19

http://www.internationalgramscisociety.org/resources/online_articles/index.html [accessed; 5 September 2009] Boggs, C. (1976) Gramsci’s Marxism, London: Pluto Press. Germino, D. (1990) Antonio Gramsci Architect of a New Politics, Louisiana: Louisiana State University Press. Gramsci, A. (1994) “Worker’s Democracy (21 June 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, Cambridge: Cambridge University Press. Gramsci, A. (1994) “Union and Council (11 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, Cambridge: Cambridge University Press. Gramsci, A. (1994) “The State and Socialism (28 June – 5 July 1919)”, in Antonio Gramsci PrePrison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox , Cambridge: Cambridge University Press. Gramsci, A. (1994) “Trade Unions and the Dictatorship of the Proletariat (25 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox , Cambridge: Cambridge University Press. Gramsci, A. (1994) “The Factory Council (5 June 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox , Cambridge: Cambridge University Press. Gramsci, A. (1994) “Two Revolutions (3 July 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox , Cambridge: Cambridge University Press. Howson, R. (2008) “Hegemony in the Preprison context”, in Hegemony: Studies in Consensus and Coercion, Eds. By Howson, R. and Smith, K., London: Routledge. Ives, P. (2005) “Language, Agency and Hegemony: A Gramscian Response to Post-Marxism” Critical Review of International Social and Political Philosophy, 8(4), pp.455-468. Jones, S. (2007) Antonio Gramsci, London: Routledge. Kolakowski, L. (2005) Main Currents of Marxism, New York: Norton&Company. Marx, K. (1994) “Economic and Philosophic Manuscripts” in Karl Marx Selected Writings, Ed. By Lawrence H. Simon, Indianapolis: Hackett Publishing. Marx, K. and Engels, F. (1994) “The Communist Manifesto” in Karl Marx Selected Writings, Ed. By Lawrence H. Simon, Indianapolis: Hackett Publishing.


20

McLellan, D. (1979) Marxism after Marx, New York: Harper&Row. Morton, A.D. (2007) Unraveling Gramsci Hegemony and Passive Revolution in the Global Economy, London: Pluto Press. Ransome, P. (1992) Antonio Gramsci A New Introduction, London: Harvester Wheatsheaf. Robinson, W.I. (2005) “Gramsci and Globalisation: From Nation- State to Transnational Hegemony” Critical Review of International Social and Political Philosophy, 8(4), pp. 559-574. Rupert, M. (2005) “Reading Gramsci in an Era of Globalising Capitalism” Critical Review of International Social and Political Philosophy, 8(4), pp. 483-497. Sassoon, A.S. (1980) Gramsci’s Politics, London: Croom Helm. Townshend, J. (2007) “Right-wing Marxism”, in Twentieth-Century Marxism a Global Introduction, Eds. By Glaser, D. and Walker, D. M., New York: Routledge. http://www.internationalgramscisociety.org/ [accessed; 5 September 2009] http://www.victoryiscertain.com/gramsci/ [accessed; 5 September 2009] http://www.marxist.org/archive/gramsci [accessed; 5 September 2009]


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.