กลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน การครองอำนาจนำและการโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำฯ

Page 1

การประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2551) คณะกรรมการสภาวิจัยแหงชาติ สาขารัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตร สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแหงชาติ 2 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ คณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

เวทีวิชาการ “ประเด็นปญหาวาดวยการเมืองไทยรวมสมัย I” (มิติทางประวัติศาสตร และทฤษฎี) กลุม ประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา และการโตตอบตอการครอง อํานาจนํา: แนวความคิดของอันโตนิโอ กรัมชีกับการอธิบายการเมืองไทยรวมสมัย วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร

*หามใชในการอางอิงกอนไดรับอนุญาตจากผูเขียน*


การประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ.2551)

กลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา และการโตตอบตอการครองอํานาจนํา: แนวความคิดของอันโตนิโอ กรัมชีกับการอธิบายการเมืองไทยรวมสมัย วัชรพล พุทธรักษา*

บทคัดยอ บทความนี้มุงตอบคําถามหลักที่วา แนวความคิดของอันโตนิโอ กรัมชี (Antonio Gramsci) นอกเหนือไปจาก แนวความคิดเรื่องการครองอํานาจนํา (Hegemony) ที่เปนแนวคิดหลักที่มักถูกอางถึงแลวยังมีแนวความคิดอื่นของกรัมชี อีกหรือไมที่มีความสําคัญ และสามารถประยุกตใชอธิบายการเมืองไทยรวมสมัยได รวมไปถึงแนวความคิดดังกลาวนั้นมี ความสัมพันธกันกับแนวความคิดเรื่องการครองอํานาจนําหรือไม อยางไร จากการศึกษาผูเขียนพบวานอกเหนือไปจากแนวความคิดเรื่องการครองอํานาจนําซึ่งเปนแนวความคิดที่รูจักกัน ทั่วไปของกรัมชีแลว ยังมีแนวความคิดที่จัดไดวาเปนแนวความคิดองคประกอบของการทําความเขาใจแนวคิดการครอง อํานาจนําอยูอีกหลายแนวความคิด ไดแก แนวความคิดเรื่องกลุมประวัติศาสตร (Historical Bloc) ปญญาชน (Intellectual) โครงสรางสวนลาง/โครงสรางสวนบน (Structure/Super structure) และสังคมการเมือง/ประชาสังคม (Political Society/Civil Society) สงครามขับเคลื่อน/สงครามยึดพื้นที่ทางความคิด (War of Movement/War of Position) กลไกการ ครองอํานาจนํา/กลไกรัฐ (Hegemonic/State Apparatus) และการโตตอบตอการครองอํานาจนํา (Counter Hegemony) แตแนวความคิดองคประกอบที่มีความสําคัญโดดเดน และชวยเติมเต็มความเขาใจเกี่ยวกับแนวความคิดการ ครองอํานาจนําไดเปนอยางดีก็คือ แนวความคิดเรื่องกลุมประวัติศาสตร และแนวความคิดเรื่องปญญาชน แนวความคิดทั้ง สองมีความสัมพันธกับแนวความคิดการครองอํานาจนําในแงของการสรางความเขาใจที่สมบูรณยิ่งขึ้นเกี่ยวกับแนวคิด การครองอํานาจนํา สําหรับแนวความคิดกลุมประวัติศาสตรนั้นสัมพันธในมิติของการใหอธิบายวาการครองอํานาจนํานั้น มีความสัมพันธอยางลึกซึ้งกับความสัมพันธเชิงอํานาจในสังคม ขณะที่แนวคิดเรื่องปญญาชนนั้นใหภาพเกี่ยวกับ ผูดําเนินการสรางการครองอํานาจนําใหเกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ นอกจากนี้แนวความคิดการครองอํานาจนํา พรอมแนวคิดองคประกอบเรื่องกลุมประวัติศาสตร และปญญาชน ยังสามารถนํามาประยุกตใชเพื่อสรางคําอธิบายใหกบั การเมืองไทยรวมสมัยไดดวย โดยที่ในงานศึกษานี้ไดเลือก กรณีศึกษาการสรางกลุมประวัติศาสตรของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทั้งในระยะแรกของการเคลื่อนไหว ระหวางป พ.ศ.2548-2549 และการเคลื่อนไหวในรอบที่สองในป พ.ศ.2551 มาเปนกรณีศึกษาในการสรางคําอธิบาย

*

อาจารยประจําสาขาวิชารัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตร คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร 1


การเมืองไทย : กลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา

กลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา และการโตตอบตอการครองอํานาจนํา: แนวความคิดของอันโตนิโอ กรัมชีกับการอธิบายการเมืองไทยรวมสมัย วัชรพล พุทธรักษา

1. บทนํา บทความนี้มุงตอบคําถามหลักที่วา แนวความคิดของอันโตนิโอ กรัมชี (Antonio Gramsci)1 นอกเหนือไปจาก แนวความคิดเรื่องการครองอํานาจนํา (Hegemony) ที่เปนแนวคิดหลักที่มักถูกอางถึง2แลวยังมีแนวความคิดอื่นของกรัมชี อีกหรือไมที่มีความสําคัญ และสามารถประยุกตใชอธิบายการเมืองไทยรวมสมัยได รวมไปถึงแนวความคิดดังกลาวนั้นมี ความสัมพันธกันกับแนวความคิดเรื่องการครองอํานาจนําหรือไม อยางไร อันโตนิโอ กรัมชีไดชื่อวาเปนนักมารกซิสตคนสําคัญคนหนึ่ง3 เขาเปนนักมารกซิสตที่มีทั้งมิติเชิงทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติ4 แนวความคิดที่เปนที่รูจักกันดีของเขาคือ แนวความคิดเรื่องการครองอํานาจนํา (Hegemony)5 ซึ่งมักจะถูก นําไปใชในสองมิติหลักดวยกันคือ มิติแรก การครองอํานาจนําในบริบทการเมืองระหวางประเทศ และอีกมิติหนึ่ง คือ การครองอํานาจนําในบริบทการเมืองระหวางกลุม/ชนชั้นของการเมืองภายใน แนวความคิดเรื่องการครองอํานาจนํานั้นแมจะเปนแนวคิดที่ถูกกลาวถึง ตลอดจนนําไปใชในการศึกษาและ วิเคราะหการเมืองในบริบทตางๆอยางกวางขวาง แตการทําความเขาใจความคิดเรื่องการครองอํานาจนําของกรัมชีนั้น ผูเขียนมองวาควรที่จะทําความเขาใจแนวคิดอื่นๆ ประกอบกันจึงจะสามารถทําความเขาใจแนวคิดการครองอํานาจนําไดดี ขึ้น จากการศึกษาผูเขียนพบวา แนวความคิดสําคัญที่มีสวนชวยในการทําความเขาใจความคิดของกรัมชีนั้น ไดแก แนวความคิดเรื่องกลุมประวัติศาสตร ปญญาชน แนวความคิดเกี่ยวกับโครงสรางสวนลาง/โครงสรางสวนบน สังคม การเมือง/ประชาสังคม สงครามยึดพื้นที่ทางความคิด/สงครามขับเคลื่อน การยินยอมพรอมใจ/การใชอํานาจบังคับ กลไก การใชอํานาจ และการโตตอบตอการครองอํานาจนําเปนตน6 แนวคิดเรื่องกลุมประวัติศาสตร และปญญาชน เปนสองแนวความคิดองคประกอบที่สําคัญอยางยิ่งในการทํา ความเขาใจภาพรวมของแนวความคิดการครองอํานาจนํา อีกทั้งเปนแนวคิดที่มีความสําคัญอยางมากในฐานะที่เปนผล สะทอนของความคิดที่มีตอแนวความคิดของนักคิดที่มีลักษณะเศรษฐกิจกําหนดแบบกลไก (Mechanistic Economic Determinism หรือพวก Economism7) สวนตอจากนี้ไปจะเปนสวนของการนําเสนอเพื่อตอบคําถามหลักที่ไดตั้งไวขางตน โดยเริ่มที่การใหนิยาม เกี่ยวกับแนวความคิดกลุมประวัติศาสตรและปญญาชน ตามดวยการวิเคราะหแนวคิดองคประกอบอื่นๆที่สําคัญตอการทํา ความเขาใจกลุมประวัติศาสตร ปญญาชนและการครองอํานาจนํา ลําดับถัดไปจะเปนการอธิบายภาคปฏิบัติการของการ สรางกลุมประวัติศาสตร กรณีศึกษาเหตุการณทางการเมืองไทยปจจุบันกรณีการสรางกลุมประวัติศาสตรของกลุม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และในสวนทายจะไดกลาวถึงความสําคัญของแนวความคิดกลุมประวัติศาสตร และปญญาชนในแงมุมตางๆ

2. นิยาม ความหมายของแนวความคิดเรื่องกลุมประวัติศาสตร (Historical Bloc) และปญญาชน (Intellectual) 2.1 แนวความคิดเรื่องกลุมประวัติศาสตร (Historical Bloc) แนวคิดนี้คือแนวความคิดที่กรัมชีใชในการอธิบายเกี่ยวกับการรวมตัวกันอยางเปนเอกภาพโดยลักษณะวิภาษวิธี (Dialectical unity) ระหวางโครงสรางสวนลางกับโครงสรางสวนบน ระหวางทฤษฎีกับการปฏิบัติ ระหวางปญญาชนกับ มวลชน8 2


การประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ.2551)

กรัมชีไดเสนอแนวคิดเรื่องกลุมประวัติศาสตร9 ซึ่งเปนแนวคิดที่ใชอธิบายความสัมพันธเชิงอํานาจในสังคม เพื่อ ใชแทนแนวคิดเศรษฐกิจกําหนดแบบกลไกของสํานักคิดแบบมารกซิสตดั้งเดิม หรือที่เรียกวาพวก Economism/Economic Determinism10แนวคิดดังกลาวเปนการอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธทางสังคม (Social Relation) ระหวางชนชั้นและกลุม พลังตางๆ ที่อยูภายในโครงสรางของสังคมโดยอธิบายวาในสังคมทุนนิยมนั้น ชนชั้นนายทุน (Bourgeoisie) จะพยายาม ครองอํานาจนําใหเกิดในพื้นที่ของความสัมพันธในการผลิต (Sphere of Production) ซึ่งการครองอํานาจนําในพื้นที่นี้แต เพียงพื้นที่เดียวนั้นจะไมเกิดการครองอํานาจนําที่สมบูรณ (Absolute) ดังจะเห็นไดวามีการพยายามทาทายชนชั้นนายทุน จากกลุมชนชั้นแรงงาน เชน จากสหภาพแรงงานอยูเนืองๆ การสรางภาวะการครองอํานาจนําที่สมบูรณใหเกิดขึ้นจึงเปน การสรางแนวรวมพันธมิตร (Alliance) ระหวางกลุมพลัง หรือชนชั้นตางๆ เหนือพื้นที่ทางสังคมที่กวางกวามิติเชิง เศรษฐกิจเทานั้น ดังนั้นโดยสรุปเกี่ยวกับแนวความคิดกลุมประวัติศาสตรก็คือ แนวความคิดที่ใชสําหรับอธิบายความสัมพันธเชิง อํานาจในสังคมการเมืองหนึ่งในชวงเวลาหนึ่ง โดยเชื่อวาความสัมพันธเชิงอํานาจชุดตางๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นไมได เกิดขึ้นอยางเปนกลไก หรือโดยอัตโนมัติ แตเกิดขึ้นโดยฝมือ หรือการสรางสรรคของมนุษยที่มี/ผาน ประวัติศาสตร รวมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั่นเอง 2.2 ปญญาชน (Intellectual) สําหรับกรัมชีนั้นคนทุกคนลวนเปนปญญาชนในแงของการมีปญญา ความรู แตไมใชทุกคนที่จะไดแสดง บทบาท/หนาที่ในฐานะของปญญาชน11 กรัมชีไดแบงปญญาชนออกเปน 2 ประเภท12ดวยกันไดแก 1) ปญญาชนสามัญ13 (Traditional Intellectual) ซึ่งเปนปญญาชนที่ทําหนาที่ของตนในกลุม/สังคม/ชนชั้นดั้งเดิมที่ตนถือกําเนิดมา และ 2) ปญญาชนจัดตั้ง14 (Organic Intellectual) เปนปญญาชนที่ยกตัวเองออกจากกลุมสังคม/ชนชั้นดั้งเดิมที่กําเนิดมา เชน แรงงานที่กลายเปนนักเคลื่อนไหวทางการเมือง เปนตน15 ปญญาชนทั้งสองประเภทนั้นไมไดแยกขาดจากกันแตอยางใด แตมีบทบาทที่สําคัญรวมกันในฐานะที่เปน เสมือนตัวการในการเชื่อมโยงระหวางทฤษฎีสูการปฏิบัติ และเชื่อมโยงระหวางจิตสํานึกของชนชั้นผูถูกเอาเปรียบ เชน ชนชั้นแรงงานใหมีความเปนปกแผนขึ้นผานทางกลไกตางๆ เพื่อสรางการครองอํานาจนําใหเกิดขึ้นเหนือสังคม และยก กลุม/ชนชั้นของตนขึ้นเปนชนชั้นผูกุมความไดเปรียบแทนที่ชนชั้นเดิม บทบาทหนาที่ของปญญาชนในทัศนะของกรัมชีนั้น มองวาปญญาชนนั้นจะมีบทบาทสําคัญในการเปลี่ยนรูป (Transform)16 จิตสํานึกของชนชั้นกรรมาชีพ หรือชนชั้น/กลุมที่ถูกเอารัดเอาเปรียบมาสูการสรางพันธมิตรระหวางชนชั้น อื่นใหกวางขวางยิ่งขึ้นเพื่อเปลี่ยนจิตสํานึกรวมใหเกิดผลในทางปฏิบัติ คือการปฏิวัติเพื่อลมลางชนชั้นนายทุน หรือกลุม/ ชนชั้นผูเอาเปรียบนั่นเอง อาจกลาวไดวาปญญาชนนั้นเปรียบไดกับผูจัดการใหเกิดการครองอํานาจนําในทางปฏิบัติ หรือเปนผูจัดการให เกิดการครองอํานาจนํา (Organizer of Hegemony)17 เพราะปญญาชนนั้นจะทําหนาที่ทั้งในการใหความรูเกี่ยวกับปลุก จิตสํานึกของชนชั้นในประเด็นตางๆ (Educator) พรอมทั้งเปนผูนําทางสติปญญา (Leader)18และผูนําในการขับเคลื่อน มวลชนทางความคิดอีกดวย นอกเหนือจากสองแนวคิดหลักดังที่ไดอธิบายไปแลว ผูเขียนตีความวายังมีแนวความคิดองคประกอบที่สําคัญที่ สามารถเชื่อมโยงเพื่อชวยในการทําความเขาใจแนวคิดกลุมประวัติศาสตร ปญญาชน และการครองอํานาจนําไดอยู 4 แนวความคิดที่สําคัญ19 ดังจะไดนําเสนอในหัวขอถัดไป

3


การเมืองไทย : กลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา

3. แนวความคิดองคประกอบที่สําคัญตอการทําความเขาใจแนวความคิดกลุม ประวัติศาสตร ปญญาชน และการ ครองอํานาจนํา 3.1 โครงสรางสวนลาง/โครงสรางสวนบน (Structure/Super structure) และสังคมการเมือง/ประชาสังคม (Political Society/Civil Society) แนวความคิดแบบมารกซิสตนั้นใหความสําคัญอยางมากกับ “โครงสรางสวนลาง” ซึ่งถือไดวาเปนหัวใจหลักใน การผลักดันใหเกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งหมดแตความสําคัญของกรัมชีก็คือเขาเปนนักคิดมารกซิสตคนแรกๆ ที่ ใหความสําคัญกับโครงสรางสวนบน20 (Super-Structure) ซึ่งตางออกไปจากแนวคิดของนักมารกซิสตดั้งเดิมบางจําพวก21 ที่ใหความสําคัญกับโครงสรางสวนลางในฐานะที่เปนโครงสรางหลักในการกําหนดโครงสรางสวนบนดังที่ไดกลาวไป แลว และอาจกลาวไดวาเขาเองเปนคนที่กลับมาเนนย้ํา (Re-emphasis) ในมิติทางดานการเมือง และความสําคัญของการ ตอสูเชิงอุดมการณของแนวความคิดมารกซิสตในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมสูสังคมนิยม22 สําหรับกรัมชี โครงสรางสวนบนนั้นเปนโครงสรางสังคมที่มีความสําคัญ และสามารถผลักดันใหเกิดการ เปลี่ยนแปลง หรือสงผลตอสังคมในสวนรวมไดเชนเดียวกันกับโครงสรางสวนลาง หรือโครงสรางทางเศรษฐกิจ23 โครงสรางสวนบนนี้ประกอบดวยสวนที่เรียกวา “สังคมการเมือง” (Political Society หรือ State) และ “ประชาสังคม” (Civil Society) ซึ่งเปนโครงสรางของระบบความคิด ความเชื่อ อุดมการณ กฎหมาย วัฒนธรรม และอื่นๆ ที่ไมใช โครงสรางทางเศรษฐกิจ พื้นที่ในโครงสรางสวนบนตามแนวคิดของกรัมชี โดยเฉพาะอยางยิ่งในพื้นที่ประชาสังคม นั้นเปนพื้นที่ของการ สรางความยินยอม และสามัญสํานึก(Common Sense) หรือมีมุมมอง/โลกทัศนตอปรากฏการณตามที่ถูกชนชั้นปกครอง หรือกลุมผูพยายามสรางการครองอํานาจนําพยายามสรางไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น การผลักดันใหเกิดการเปลี่ยนแปลงจากทิศทางของโครงสรางสวนบนนี้จึงเปนสิ่งที่กาวไปไกลกวาการ มองเพียงแคความสัมพันธ และพลังในการผลิตเทานั้นซึ่งเปนการเปดพื้นที่มุมมองในการอธิบายปรากฏการณให กวางขวางออกไป ภายใตโครงสรางทางเศรษฐกิจสวนลาง และโครงสรางทางอุดมการณสวนบนนั้นตางก็ประกอบไปดวยกลุม ทางสังคมกลุมตางๆที่มีความสัมพันธตอกันแตกตางกันไป อาทิ กลุมที่อยูภายในสังคมสวนลางนั้นก็มีความสัมพันธใน การผลิต และการบริโภคในทางเศรษฐกิจตอกัน สวนกลุมที่อยูในโครงสรางสังคมสวนบนในพื้นที่ประชาสังคมนั้นก็จะมี ความสัมพันธกันในเชิงอุดมการณ ระบบความคิด และความเชื่อ ขณะที่ภายในพื้นที่สังคมการเมืองนั้น ความสัมพันธ ระหวางกลุมก็จะเปนความสัมพันธในเชิงอํานาจ และการใชอํานาจบังคับตอกัน 3.2 สงครามขับเคลื่อน/สงครามยึดพื้นที่ทางความคิด (War of Movement/War of Position) การสรางการครองอํานาจนําใหเกิดขึ้นเหนือกลุม/ชนชั้นอื่นๆ ในสังคมการเมืองนั้นกรัมชีไดเปรียบดังเชนการ ทําสงคราม แนวคิดเรื่องสงครามขับเคลื่อน (War of Movement) และสงครามยึดพื้นที่ทางความคิด(War of Position)24 จึง ไดถูกนํามาใชโดยอธิบายวา การทําสงครามขับเคลื่อนนั้นเปนการทําสงครามในทางยุทธวิธีทางการทหาร การที่จะ สามารถเอาชนะฝายศัตรู หรือฝายตรงขามไดนั้นจะตองทําการบุกยึดพื้นที่เพื่อยึดครองปจจัยสําคัญของฝายตรงขามใหได อาทิ การยึดเมืองหลวง หรือสถานที่สําคัญทางยุทธศาสตรเปนตน แตในการดําเนินการเพื่อสรางภาวะการครองอํานาจนํา ใหเกิดขึ้นเหนือชนชั้นอื่นๆนั้น ชนชั้นผูพยายามสรางการครองอํานาจนํานั้นจะตองดําเนินการตอสูเพื่อยึดกุม “พื้นที่เชิง อุดมการณ ความคิด ความเชื่อ” ของผูคนในพื้นที่ “ประชาสังคม” ซึ่งเปนพื้นที่หนึ่งในโครงสรางสวนบนใหได การดําเนินการชวงชิง หรือยึดกุมความคิด ความเชื่อของคนในพื้นที่ประชาสังคมนี้ กรัมชีเรียกวา เปน “การทํา สงครามยึดพื้นที่ทางความคิด” ถาสามารถเอาชนะสงครามนี้เหนือพื้นที่ประชาสังคมไดสําเร็จการครองอํานาจนําก็จะ สําเร็จไดอยางสมบูรณ และยั่งยืน 4


การประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ.2551)

3.3 กลไกการครองอํานาจนํา/กลไกรัฐ (Hegemonic/State Apparatus) แนวคิดเรื่องกลไกการครองอํานาจนํา และกลไกการใชอํานาจรัฐ หรือกลไกรัฐ นับไดวามีความสําคัญอยางยิ่ง ตอกระบวนการสรางการครองอํานาจนําใหเกิดขึ้นตามเปาหมายของกลุม/ชนชั้นผูดําเนินการครองอํานาจนํา แนวคิดเรื่อง “กลไกการครองอํานาจนํา” นั้น เปรียบไดกับการทําหนาที่เปนสื่อกลางเพื่อถายทอดอุดมการณ หรือระบบความคิด ความรู ความเชื่อ คานิยม ชุดหนึ่งๆ ตามที่กลุมผูดําเนินการสรางการครองอํานาจนําตองการ เพื่อสื่อ ไปถึงประชาชนในชนชั้นตางๆ เหนือ “พื้นที่ประชาสังคม” เพื่อใหเกิดความรูสึกรวมในการเห็นพองและยินยอมที่จะ ปฏิบัติตาม (Consent) ความตองการของชนชั้นผูถายทอดอุดมการณ นอกจากนี้ กลไกการครองอํานาจนํายังทําหนาที่รวมไปถึงการสรางจิตสํานึก (Conscious) ใหชนชั้นผูถูก ครอบงํามีความรูสึกวาผลประโยชนของชนชั้นตนนั้น ไดรับการสนับสนุนอยางดีจากชนชั้นปกครอง หรือชนชั้น ผูดําเนินการสรางภาวะครองอํานาจนํา โดยที่ชนชั้นผูถูกครอบงําไมรูสึก หรือไมสามารถตระหนักรูไดวาชนชั้นของตน นั้นถูกเอาเปรียบ หรือขูดรีดอยางไร กลไกการครองอํานาจนํานี้ กลาวไดวาจะเปนสิ่งใดก็ไดที่ทําหนาที่ในการถายทอด หรือสงผานชุดความคิด25 จากดานของกลุม/ชนชั้นผูดําเนินการสรางการครองอํานาจนําไปยังผูคนในสังคม ไมวาจะเปน พรรคการเมือง ปญญาชน นโยบายของพรรคการเมือง/รัฐบาล สื่อมวลชนทุกประเภท สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา การสราง ภาพ/การจัดการภาพลักษณของฝายผูดําเนินการสรางภาวะสรางภาวะการครองอํานาจนํา เปนตน ขณะที่ “กลไกการใชอํานาจรัฐ” นั้น จะถูกใชเหนือ “พื้นที่สังคมการเมือง” โดยแตกตางจากกลไกการครอง อํานาจนําตรงที่ กลไกรัฐนั้นไมไดเปนกลไกที่ใชสื่อสารเพื่อสรางชุดของอุดมการณตามที่ชนชั้นผูดําเนินการสรางภาวะ ครองอํานาจนําตองการ แตกลไกรัฐนั้นเปนกลไกที่ใชอํานาจบังคับ เพื่อบังคับใหประชาชนของชนชั้นตางๆ ปฏิบัติ หรือไมปฏิบัติตามความตองการของชนชั้นปกครองหรือผูดําเนินการสรางการครองอํานาจนําโดยที่ทุกคนในสังคมนั้นไม สามารถหลีกเลี่ยงได กลไกการใชอํานาจรัฐจึงไดแก สิ่งใดๆ ก็ตามที่รัฐ หรือผูครองอํานาจนําสามารถนํามาใชเหนือผูคนในสังคมทุก ชนชั้นเพื่อใหบรรลุจุดมุงหมายตางๆ ตามตองการ กลไกลักษณะนี้จะอาศัยอํานาจในการบังคับ เชน กฎหมาย การใช อํานาจศาล การใชกําลังของกองทัพ และตํารวจ เปนตน 3.4 การโตตอบตอการครองอํานาจนํา (Counter Hegemony) การครองอํานาจนําที่ไมสมบูรณของกลุม/ชนชั้นปกครอง หรือการที่ไมสามารถสรางการครองอํานาจนําเหนือ พื้นที่ประชาสังคม หรือสังคมการเมืองไดเลย หรือสามารถครองอํานาจนําไดในระดับหนึ่ง ดวยการยึดกุมพื้นที่ทางสังคม พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได หรือสามารถสรางการครองอํานาจนําไดใกลเคียงกับการครองอํานาจนําสมบูรณในชวงระยะเวลา หนึ่ง แตเมื่อเวลาผานไปไดเกิดเหตุปจจัยตางๆ ที่บั่นทอนความชอบธรรม และลดทอนความรูสึกยินยอมพรอมใจของชน ชั้นผูถูกครอบงําที่มีตอชนชั้น/กลุมผูครองอํานาจนํา ทําใหในชวงเวลาตอมาภาวะการครองอํานาจนํานั้นถูกลดทอนลงไป กรณีทั้งหมดนั้น หมายความวา กลุมผูดําเนินการสรางภาวะครองอํานาจนํานั้นไมสามารถสรางภาวะการครองอํานาจนํา ไดอยางสมบูรณ การครองอํานาจนําสมบูรณที่กลุมผูดําเนินการสรางการครองอํานาจนําสามารถเอาชนะสงครามยึดพื้นที่ทาง ความคิดไดดวยการยึดครองเหนือพื้นที่ประชาสังคม และสังคมการเมืองนั้นผูคนในสังคมจะดําเนินชีวิตอยางปกติ โดยไม เกิดความสงสัย หรือตั้งคําถามตอการดําเนินการตางๆ ของกลุม/ชนชั้นผูครองอํานาจนํา และไมมีการดําเนินการใดๆ เพื่อ แสดงความคิดที่ขัดแยงตอความคิดหลัก หรืออุดมการณหลักตามที่กลุมผูดําเนินการสรางการครองอํานาจนําตองการ ในทางกลับกัน ถากลุมผูดําเนินการสรางภาวะครองอํานาจนําสรางภาวะการครองอํานาจนําสมบูรณไมสําเร็จ ผูคนในสังคมสวนหนึ่งที่ตระหนักรูไดวา ตนหรือชนชั้น/กลุมของตนไดถูกดําเนินการครองอํานาจนําเพื่อผลประโยชน 5


การเมืองไทย : กลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา

ของกลุม/ชนชั้นผูครองอํานาจนํา กลุมคนที่ตระหนักรูนี้จะไดแสดงออก หรือเผยใหเห็นถึงการดําเนินการใดๆ เพื่อเปน “การโตตอบตอการครองอํานาจนํา26” ของชนชั้นผูครองอํานาจนํา ทั้งนี้ การโตตอบตอการครองอํานาจนําของกลุมคน/ชนชั้นอื่นในสังคมอาจเปนไปเพียงเพื่อแสดงใหผูครอง อํานาจนําไดเห็นและรับรูวาอํานาจของตนนั้นถูกทาทาย หรือแมการโตตอบตอการครองอํานาจนําเพื่อโคนลมกลุม ผูดําเนินการครองอํานาจเกา และนําไปสูการกาวไปเปนกลุมผูดําเนินการครองอํานาจนํากลุมใหมก็เปนได27 หัวขอถัดไปจะเปนการอธิบายการเมืองไทยรวมสมัยกรณีการเคลื่อนไหวของกลุมพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยโดยอาศัยกรอบความคิดเรื่องกลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา และการโตตอบตอการ ครองอํานาจนําเปนหลักในการอธิบาย

4. กลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนําและการโตตอบตออํานาจนํา: แนวความคิดของอันโตนิโอ กรัมชีกับการอธิบายการเมืองไทยรวมสมัย กรณีศึกษาพันธมิตประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สวนนี้จะเปนการประยุกตใชแนวความคิดเรื่องกลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา และ แนวความคิดองคประกอบอื่นๆ มาทําความเขาใจและสรางคําอธิบายใหกับการเมืองไทยรวมสมัยในกรณีศึกษากรณีการ เคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผูเขียนมองการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในกรอบความคิดของกรัมชีวา เปนการ เคลื่อนไหวเพื่อสรางกลุมประวัติศาสตรของตนเองใหเกิดขึ้นเหนือสังคมและการเมืองไทย โดยมองวาพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้นมีลักษณะเปนตัวแสดงในการสรางกลุมประวัติศาสตรที่แตกตางออกไปเปน 2 ลักษณะ ดวยกันไดแก ลักษณะแรก ในชวงแรกของการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยระหวางป 25482549 นั้นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้นไดสรางกลุมประวัติศาสตรของตนขึ้นมากลุมหนึ่งโดยที่ตนเองนั้นอยู ในฐานะผูโตตอบตอการครองอํานาจนําของรัฐบาล/ระบอบทักษิณ (Counter Hegemony) สิ่งที่นาสนใจก็คือเมื่อเวลาผานไปในป 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไดเปลี่ยนตัวเองจากการเปน ผูโตตอบตอการครองอํานาจนําของกลุม/ชนชั้นอื่นมาเปนตัวแสดงใน ลักษณะที่สอง คือไดแปลงตัวเองมาเปนตัวการ สําคัญในการสรางการครองอํานาจนําเหนือสังคมการเมืองไทย โดยสรางกลุมประวัติศาสรกลุมใหมขึ้นมาเพื่อกดดัน และ โคนลมรัฐบาลสมัครลงไป 4.1 ปรากฏการณสนธิ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยระยะแรก (พ.ศ. 2548-2549): การสรางกลุม ประวัติศาสตรในฐานะที่เปนตัวโตตอบตอการครองอํานาจนําของระบอบทักษิณ ปรากฏการณสนธิ: จุดเริ่มตนบทบาทปญญาชนจัดตั้งในการสรางกลุมประวัติศาสตรเพื่อโตตอบตอการครอง อํานาจนําของรัฐบาลทักษิณ ปรากฏการณสนธิ28 มีที่มาจากรายการเมืองไทยรายสัปดาหสัญจรซึ่งเปนกรณีที่เห็นไดชัดเจนถึงการแสดงออก เพื่อโตตอบตอการครองอํานาจนําของรัฐบาลทักษิณ29 ปรากฏการณสนธินี้เปนบทบาทการโตตอบโดยตัวแสดงที่เปน สื่อมวลชนในชวงแรก แตในระยะตอมาจะเปนการรวมมือกันระหวางสื่อ และกลุมการเมืองภาคประชาชนตางๆ สิ่งที่เรียกวา "ปรากฎการณสนธิ" นั้นเริ่มกอตัวขึ้นในเดือนกันยายน 2548 เมื่อนายสนธิ ลิ้มทองกุล30ไดเริ่ม ออกมาแสดงบทบาทในการโตตอบตอการครองอํานาจนําของรัฐบาลทักษิณดวยการเปดโปงความฉอฉลของ พ.ต.ท. ทักษิณ โดยพยายามหาแนวรวมสนับสนุนการโตตอบตอการครองอํานาจนําดวยการหยิบยกประเด็นที่เปนจุดออนไหว ของสังคมไทยคือประเด็นเรื่อง ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย31 เชน ประเด็นเรื่องการที่พ.ต.ท.ทักษิณจัดงานทําบุญ ประเทศในวัดพระแกว ประเด็นเรื่องการลวงละเมิดพระราชอํานาจ และการขอถวายคืนพระราชอํานาจ เพื่อขอ

6


การประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ.2551)

นายกรัฐมนตรีพระราชทาน เปนตน มาเปนประเด็นหลักในการดําเนินรายการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร และที่สวน ลุมพินีในเวลาตอมา กอนการเคลื่อนไหวดวยการนํามวลชนเดินขบวนครั้งใหญนั้นรายการเมืองไทยรายสัปดาหสัญจร ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ไดพยายามสรางความรูสึกรวมใหเกิดขึ้นกับผูชมรายการ ดวยการพยายามใชจุดเดนเชิงสัญลักษณ เชน การใส เสื้อเหลืองมาฟงรายการ เพราะสีเหลืองนั้นหมายถึงสีประจําพระองคของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว และการเชิดชู แนวคิดหลักวาเปนการ "สูเพื่อในหลวง" เปนตน32 ภายหลังการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาหสัญจรไดระยะหนึ่ง เมื่อความรูสึกรวมของผูคนที่ติดตามนายสนธิ ลิ้มทองกุล เริ่มมีมากขึ้น เขาก็ไดจัดชุมนุมใหญครั้งแรกขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ 2549 ณ ลานพระบรมรูปทรงมา โดยได มีการเดินทางไปยื่นฎีกาที่สํานักราชเลขาธิการ และไปยื่นจดหมายให พล.อ.เปรม ติณสูลานนท ดวย แตภายหลังการ ชุมนุมใหญวันที่ 4 กุมภาพันธ ซึ่งถือไดวาประสบความสําเร็จในแงของการประกาศตัวอยางชัดแจงถึงการเกิดขึ้นของกลุม โตตอบตอการครองอํานาจนําของรัฐบาลทักษิณที่มีความสําคัญตอการใหความสนใจ แตการตอบรับจากผูใหญใน กองทัพนั้นยังคงไมมีการเคลื่อนไหวมากนัก33 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย: การสรางและผสานพันธมิตรระหวางชนชั้น ทิศทางตอไปของการโตตอบตอการครองอํานาจนําของรัฐบาลทักษิณ ที่นําโดยสื่อมวลชนอยางนายสนธิ 34 ลิ้มทองกุล คือ การขยายแนวรวม ในการดําเนินการโตตอบใหกวางขวาง และเขมแข็งมากขึ้นจึงไดเกิด พันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People Alliance for Democracy; PAD) ขึ้นมาซึ่งองคประกอบของพันธมิตรฯ นั้น ประกอบดวย คณะกรรมการรณรงคเพื่อประชาธิปไตย หรือ ครป. ซึ่งนําโดย พิทยา วองกุล ผูเปนประธาน และ สุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการแลว ยังมีองคกรสื่อมวลชนของสนธิ กลุมองคกรพัฒนาเอกชนที่สนใจปญหาเฉพาะดาน เชน กลุม FTA Watch กลุมองคกรคุมครองผูบริโภค องคกรสตรี องคกรแรงงานจากรัฐวิสาหกิจ องคกรครู แพทย นักศึกษาและที่ สําคัญคือ กองทัพธรรมมูลนิธิของพลตรีจําลอง ศรีเมือง อดีตผูนําการเคลื่อนไหวในเดือนพฤษภาคม 253535 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไดรวมชุมนุมใหญอีกครั้งในวันที่ 11 กุมภาพันธ 2549 และมีการชุมนุม ตอเนื่องทุกคืนที่บริเวณสนามหลวง และไดนัดชุมนุมครั้งใหญในวันที่ 26 กุมภาพันธ 2549 ซึ่งคาดวาจะเปนการชุมนุมที่มี ผูเขารวมมากกวาทุกครั้งที่ผานมา เนื่องจากสถานการณทางการเมืองที่เริ่มตึงเครียดจากการแบงฝายของคนในสังคม ระหวางกลุมผูสนับสนุน และผูตอตานพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในที่สุดรัฐบาลทักษิณ โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก็ได ตัดสินใจยุบสภาในที่สุดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ 2549 กอนการนัดชุมนุมครั้งใหญของพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยเพียง 2 วันเทานั้น ดวยขออางวาเพื่อไมใหเกิดความแตกแยกภายในสังคมมากไปกวาที่เปนอยู36 ภายหลังการยุบสภาในเดือนกุมภาพันธไดเกิดเหตุการณสําคัญทางการเมืองไทยหลายเหตุการณดวยกัน เชน เกิด การเลือกตั้งทั่วไปที่มีปญหา นับตั้งแตเกิดการบอยคอตการเลือกตั้งของพรรคการเมืองฝายคานดวยเหตุผลที่พรรคไทยรัก ไทยปฏิเสธการทําปฏิญญารวมกันเพื่อปฏิรูปการเมืองหลังการเลือกตั้ง ดวยเหตุนี้การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 จึงเปนการแสดงเสียงสนับสนุนรัฐบาลทักษิณ/ไทยรักไทย กับพลังการออกเสียงไมเลือกผูใดเทานั้น และในเวลา ตอมาดวยขอเรียกรองวาการเลือกตั้งในครั้งนั้นเปนการเลือกตั้งที่ไมบริสุทธิ์ยุติธรรมเนื่องจากการหันคูหาเลือกตั้งออก ดานนอก สงผลใหการวินิจฉัยโดยฝายตุลาการในเวลาตอมาปรากฏออกมาวา การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 นั้น เปนโมฆะ รัฐบาลทักษิณซึ่งเปนรัฐบาลรักษาการในขณะนั้นนําโดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการในตําแหนง นายกรัฐมนตรีไดเขาบริหารราชการแผนดินตอไป ทามกลางกระแสตอตาน และเรียกรองใหพ.ต.ท.ทักษิณ เวนวรรคทาง การเมือง สภาวะทางสังคมขณะนั้นกลาวไดวาในพื้นที่ประชาสังคมขณะนั้นมีความเคลื่อนไหวอยางมาก และแสดงพลัง ของกลุมโตตอบตอการครองอํานาจนําของรัฐบาลทักษิณในระดับสูงมาก ไดเกิดการชุมนุมเพื่อขับไลพ.ต.ท.ทักษิณอยาง ตอเนื่อง ขณะเดียวกันในพื้นที่สังคมการเมืองก็เริ่มมีการเคลื่อนไหว ดังจะเห็นไดวาเริ่มมีขาวลือ และสื่อมวลชนเริ่มหยิบ 7


การเมืองไทย : กลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา

ยกประเด็นเรื่องการรัฐประหารมาพูดถึงกันมากขึ้น แตทางกองทัพในขณะนั้นก็ยังคงไมมีความเคลื่อนไหวใหสังคมทราบ มากนัก ประชาสังคมกับสังคมการเมือง: ความสัมพันธเสมือนในโครงสรางสวนบนที่เชื่อมโยงถึงกัน ดวยเหตุที่พื้นที่ประชาสังคม และสังคมการเมืองนั้นเปนพื้นที่ในโครงสรางสวนบนรวมกันตามแนวคิดของกรัม ชี และพื้นที่ดังกลาวนั้นเปนพื้นที่ของความสัมพันธทางสังคม เปรียบไดกับการเปนพื้นที่เสมือนที่มิไดมีการแบงแยกกัน อยางเด็ดขาดชัดเจน ผูคนในบริบทพื้นที่ประชาสังคมยอมตองมีปฏิสัมพันธเชื่อมโยงกันกับพื้นที่สังคมการเมืองในทางใด ก็ทางหนึ่ง เชนเดียวกันกับกลุม/สถาบันสําคัญในสังคมการเมือง เชน กองทัพ นั้นก็ยอมตองมีความเชื่อมโยง และทับซอน กับความสัมพันธในพื้นที่ประชาสังคมอยางแยกไมออกเชนเดียวกัน ดวยเหตุนี้ เมื่อสถานการณการแสดงพลังของกลุมโตตอบตอการครองอํานาจนําเริ่มสุกงอมไดที่ และสังคมเริ่มมี การแบงขั้ว/แบงฝายระหวางกลุมผูสนับสนุนกับกลุมผูตอตานรัฐบาลทักษิณอยางรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สงผลสะเทือนถึงการ เคลื่อนไหวของสถาบันในสังคมการเมือง ทําใหกองทัพจึงออกมาเคลื่อนไหวดวยการกอรัฐประหารยึดอํานาจจากรัฐบาล ทักษิณในที่สุด เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ในนามคณะรัฐประหารที่ชื่อวาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข (คปค.) การถูกรัฐประหารในครั้งนี้จึงถือเปนการสิ้นสุดการครอง อํานาจนําของรัฐบาลทักษิณ37 4.2 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยระยะที่สอง (พ.ศ. 2551): การสรางกลุมประวัติศาสตรในฐานะที่เปน ตัวสรางการครองอํานาจนําเหนือรัฐบาลสมัคร การกลับมาของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย: การเปลี่ยนผานจากผูโตตอบตอการครองอํานาจนําเปน ผูครองอํานาจนํา การเคลื่อนไหวของกลุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้นเกิดขึ้นอีกครั้งในชวงเดือนพฤษภาคม 2551 ภายหลังจากการยุติการเคลื่อนไหวที่สําคัญไปภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 รวมถึงชวงเวลาของรัฐบาล เฉพาะกิจของ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท ที่มีจุดมุงหมายเพื่อบริหารประเทศเปนการชั่วคราวกอนคืนอํานาจใหประชาชนได ใชสิทธิในการเลือกรัฐบาลอีกครั้งภายหลังการรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550 หลังการลงประชามติประเทศไทยไดจัดใหมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งพรรคพลัง ประชาชนไดรับเสียงขางมากไดเปนแกนนําในการจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น ซึ่งนํามาสูการเขาสูอํานาจของนายสมัคร สุนทรเวช ภายหลังการเขาสูอํานาจสูงสุดในการบริหารประเทศของรัฐบาลสมัครไดเพียงไมนานนักพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตยก็เริ่มที่จะมีความเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้งโดยเริ่มตนการเคลื่อนไหวในรอบที่ 2 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2551 ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรโดยมีประเด็นเรียกรองสําคัญในการเคลื่อนไหวอยูสองประการ คือ ประการแรก คือการไมยอมรับรัฐบาลสมัครโดยใหเหตุผลวารัฐบาลสมัครนั้นเปนรัฐบาลนอมินีหรือเปนรัฐบาลหุนเชิด ของกลุมอํานาจเกา หรือกลุมอํานาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั่นเอง เหตุผลในการเคลื่อนไหวอีกประการหนึ่ง คือ การไมยอมรับความพยายามของส.ส.พรรคพลังประชาชนที่ ตองการจะยื่นญัตติขอแกไขรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งเพิ่งจะมีอายุการใชงานเพียงประมาณหกเดือนในเวลานั้นเทานั้น อีกทั้ง ยังใหเหตุผลวาการพยายามแกไขรัฐธรรมนูญนั้นไมไดเปนไปโดยมีเปาหมายเพื่อการพัฒนาการเมือง หรือการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยแตอยางใด แตเปนเพียงการพยายามแกไขกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชนใหกับอดีตนักการเมืองพรรค ไทยรักไทยจํานวนหนึ่งที่ตองโทษเวนวรรคทางการเมืองเทานั้น การชุมนุมของมวลชนจํานวนมาก38ภายใตการนําของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น เริ่มขึ้นอยาง เปนทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 โดยมีจุดมุงหมายในระยะแรกคือ การเรียกรองใหมีการถอนญัตติแกไข 8


การประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ.2551)

รัฐธรรมนูญออกไป แตตอมาภายหลัง แมประเด็นการแกไขรัฐธรรมนูญนั้นจะตกไปแลว แตพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยก็ยังคงชุมนุมอยูอยางตอเนื่องโดยมุงเปาหมายไปที่การขับไลนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ออกจาก ตําแหนง ชวงระยะเวลาประมาณ 3 เดือนกวาของการชุมนุมนับตั้งแตเดือนพฤษภาคม 2551 นั้นมีประเด็นที่นาสนใจ39คือ กรณีปราสาทเขาพระวิหารซึ่งพันธมิตรฯ ไดมีการเคลื่อนไหวโดยการฟองศาลปกครองกลางใหระงับแถลงการณรวม ระหวางไทย-กัมพูชา และดําเนินการชุมนุมยืดเยื้อในหลายสถานที่ดวยกัน ทั้งที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรคซึ่งเปนจุด ชุมนุมหลัก และมีการยายไปชุมนุมที่หนาทําเนียบรัฐบาล แตมีการฟองรองเนื่องจากสถานที่ชุมนุมเปนการรบกวนตอ ประชาชนผูสัญจรไปมา โดยเฉพาะกระทบกระเทือนตอการเรียนการสอนของโรงเรียนราชวินิต ทําใหยายการชุมนุม กลับไปที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรคอีกจนกระทั่งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 พันธมิตรฯ ไดดําเนินยุทธวิธีปฏิบัติการไทย คูฟา บุกยึดสถานีโทรทัศน NBT และยึดทําเนียบรัฐบาล ภายหลังปฏิบัติการยึดทําเนียบที่พันธมิตรฯ ประกาศวาเปน “การทําสงครามครั้งสุดทาย”40 นั้นศาลไดอนุมัติ หมายจับ 9 แกนนําพันธมิตรฯ และรัฐบาลไดดําเนินการสลายการชุมนุมโดยใชกําลังตํารวจอยางรุนแรงจนสงผลใหมี ผูบาดเจ็บ และมีการปะทะกันระหวางพันธมิตรกับแนวรวมประชาธิปไตยขับไลเผด็จการแหงชาติ (นปช.) จนสงผลให เกิดการที่คนไทยทํารายกันเอง และมีผูเสียชีวิตในการปะทะกันดังกลาวดวย สงผลใหในเวลาตอมารัฐบาลสมัครได ประกาศใชพระราชกําหนดบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) สงผลใหเกิดการวิพากษวิจารณจาก สังคมอยางกวางขวาง และมีการกลับมาสนใจการเมืองของกลุมเยาวชนจากมหาวิทยาลัยตางๆ อยางมาก41 การชุมนุมของพันธมิตรฯนั้นยังคงดําเนินไปอยางตอเนื่องแมวา ณ วันที่ 9 กันยายน 255142 นั้น นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช จะตองพนสภาพจากการเปนนายกรัฐมนตรีแลว เนื่องจากตองคําพิพากษาวามีความผิดกรณีการทํา รายการ “ชิมไปบนไป” ของนายกฯสมัครที่เปนการกระทําที่ขัดตอรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 267 ซึ่งมีเจตนามรมณหาม ไมใหนายกรัฐมนตรีดํารงตําแหนงในบริษัท หรือเปนลูกจางของบริษัทใดๆ43 ภายใตกรอบการอธิบายของงานชิ้นนี้สรางคําอธิบายไดวา การเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยรอบที่สองในป 2551 นั้นไดเปลี่ยนบทบาทของตัวเองจากการเปนผูที่โตตอบตอการครองอํานาจนําของ รัฐบาลทักษิณ มาสูการสรางกลุมประวัติศาสตรกลุมใหมโดยการนํามวลชนจากกลุม/ชนชั้นตางๆ มาประสานพลังกันเพื่อ เปนการกดดันรัฐบาลสมัครใหออกจากอํานาจไดอยางตอเนื่อง การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ โดยการนําของปญญาชน จัดตั้งที่เปนแกนนําของกลุมตางๆ ที่มาเขารวมชุมนุมรวมถึงการสนับสนุนในดานตางๆ ในครั้งนี้เปนการแสดงบทบาทนํา เหนือรัฐบาลสมัครอยางชัดเจน

5. คุณูปการของแนวความคิดกลุมประวัติศาสตร ปญญาชน และการครองอํานาจนํา จากการศึกษาผูเขียนสามารถสรุปคุณูปการของแนวความคิดกลุมประวัติศาสตร ปญญาชน และการครอง อํานาจนําได 3 ประการดังตอไปนี้ ประการแรก คุณูปการของแนวความคิดกลุมประวัติศาสตร และปญญาชนที่มีตอการทําความเขาใจ แนวความคิดการครองอํานาจนํา (Hegemony) แนวความคิดการครองอํานาจนําของกรัมชีถูกนํามาใชในวงวิชาการรัฐศาสตรในมิติที่หลากหลาย แตสวนใหญ แลวจะเปนการนําแนวคิดดังกลาวมาใชในลักษณะแยกสวน และไมไดกลาวถึงแนวความคิดองคประกอบที่เปน สวนประกอบสําคัญในการสรางอํานาจนําใหเกิดขึ้น แนวความคิดเรื่องกลุมประวัติศาสตร เปนแนวความคิดที่อธิบายการสรางความสัมพันธเชิงอํานาจที่ สลับซับซอนในสังคม ดวยการผนวกรวมความสัมพันธระหวางโครงสรางสวนลาง-โครงสรางสวนบน และสังคม การเมือง-ประชาสังคมเขาดวยกันตามหลักวิภาษวิธี แนวความคิดนี้เปนประโยชนตอการมองแนวคิดการครองอํานาจนํา 9


การเมืองไทย : กลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา

ในแงของสรางความเขาใจวาในการครองอํานาจนําของกลุม/ชนชั้นใดๆ นั้นจะไมสามารถกระทําไดโดยแปลกแยกจาก ความสัมพันธเชิงอํานาจในสังคมที่มีความสลับซับซอนไปไดเลย อีกแนวคิดหนึ่งคือแนวความคิดเรื่องปญญาชน ซึ่งเปนแนวความคิดที่มีสวนในการเติมเต็มแนวคิดการครอง อํานาจนําในประเด็นการใหภาพของผูที่มาทําหนาที่ในการสรางการครองอํานาจนําใหเกิดขึ้นจริงในเชิงปฏิบัติ อีกทั้ง ยังใหภาพเกี่ยวกับบทบาทตางๆ ของปญญาชนเชน การใหความรู การสรางจิตสํานึกรวมใหเกิดขึ้นระหวางชนชั้น และ การเปลี่ยนรูปจิตสํานึกของชนชั้นไปสูการปฏิบัติ หรือการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การทําความเขาใจแนวคิดกลุมประวัติศาสตรและปญญาชนนั้นจะเปนการเติมเต็มเกี่ยวกับภาพรวมการ ทําความเขาใจเรื่องการครองอํานาจนําของกรัมชีใหสมบูรณมากยิ่งขึ้น ประการที่สอง คุณูปการของแนวความคิดกลุมประวัติศาสตร ปญญาชน และการครองอํานาจนําตอการขยาย พื้นที่ของการศึกษาแนวความคิดมารกซิสต แนวความคิดกลุมประวัติศาสตร ปญญาชน และการครองอํานาจนํา เปนการสะทอนความคิดของกรัมชีที่มีตอ แนวความคิดมารกซิสตแบบดั้งเดิมบางจําพวกที่เชื่อใน “หลักเศรษฐกิจกําหนด44” (Economism/Economic Determinism) “หลักการกําหนดนิยมอยางกลไก” (Mechanical determinism)45 ที่มองวาปจจัยในเรื่องเศรษฐกิจนั้นเปนอิสระจากปจจัย อื่นโดยเฉพาะอยางยิ่งปจจัยในเชิงเจตจํานง และความรูสึกนึกคิดของมนุษย และเปนตัวกําหนดความเปนไปหรือ พัฒนาการของสังคมโดยอัตโนมัติ ดังนั้น ตามความคิดของกรัมชีเขาจึงไมเห็นดวยกับแนวคิดของพวกมารกซิสตแบบดั้งเดิมพวกหนึ่งเชน เคาทสกี้ และเบอรนสไตน46ที่เชื่อในหลักการกําหนดนิยมโดยเศรษฐกิจอยางเปนกลไก ในมุมมองของกรัมชีนั้นมองวาโครงสราง สวนบนอันประกอบไปดวยพื้นที่ของระบบกฎหมาย ความเชื่อ ศีลธรรม ปญญา อุดมการณ ตลอดจนความรูสึกนึกคิดนั้น ก็เปนสวนสําคัญตอการกําหนดความเปนไป หรือมีผลตอพัฒนาการของสังคมได47ดังเห็นไดจากแนวความคิดเรื่องกลุม ประวัติศาสตร และปญญาชนที่ผูเขียนตีความไดวาในการดําเนินการสรางการครองอํานาจนําในทางปฏิบัตินั้นเปนสิ่งที่ ไมสามารถเกิดขึ้นไดเองอยางเปนกลไก แตเปนสิ่งที่ตองเกิดจากการสรางสรรคของมนุษยผานความสัมพันธทางสังคม หลายแบบ ผานกลไก/เครื่องมือหลายชนิดจึงจะสามารถสรางการครองอํานาจนําใหเกิดขึ้นได ประการสุดทาย คุณูปการของแนวความคิดกลุมประวัติศาสตร ปญญาชน และการครองอํานาจนําตอการอธิบาย การเมืองไทย การศึกษาการเมืองไทยในเชิงวิชาการรัฐศาสตรนั้นสามารถทําไดจากหลากหลายแนวทางการศึกษาดวยกัน ซึ่ง กรอบแนวความคิดของกรัมชีนั้น ก็เปนอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนํามาประยุกตใชอธิบายการเมืองไทยได48แนวความคิด เรื่องกลุมประวัติศาสตร ปญญาชน และการครองอํานาจนํานั้นมีประโยชนในแงของการเสนอตัวเปนทางเลือกในการเปน กรอบในการอธิบายปรากฏการณโดยเนนการมองไปที่ความสัมพันธเชิงอํานาจระหวางตัวแสดงตางๆ รวมไปถึงการทํา ความเขาใจสภาพสังคมของความสัมพันธเชิงอํานาจชุดนั้นๆ รวมไปถึงการมองไปที่กลไกของการใชอํานาจวามีการ ดําเนินการผานเครื่องมือ/วิธีการใด อยางไรบาง แนวความคิดเหลานี้ จะเปนการชวยเปดพื้นที่ทางการศึกษาการเมืองไทยใหกวางขวางขึ้นจากกรอบแนวทาง การศึกษาแบบอื่นๆ อีกทั้งยังชวยใหผูศึกษาไดมองปรากฏการณ หรือเหตุการณอยางมีพลวัต และมีลักษณะการมอง ความสัมพันธระหวางตัวแปรตางๆ ในลักษณะที่ไมเปนกลไกอัตโนมัติอีกดวย

6. บทสรุป บทความนี้นําเสนอเพื่อนํามาสูการตอบคําถามหลักที่วา แนวความคิดของอันโตนิโอ กรัมชี นอกเหนือไปจาก แนวความคิดเรื่องการครองอํานาจนํา (Hegemony) ที่เปนแนวคิดหลักที่มักถูกอางถึงแลวยังมีแนวความคิดอื่นของกรัมชี อีกหรือไมที่มีความสําคัญ และสามารถประยุกตใชอธิบายการเมืองไทยรวมสมัยได รวมไปถึงแนวความคิดดังกลาวนั้นมี ความสัมพันธกันกับแนวความคิดเรื่องการครองอํานาจนําหรือไม อยางไร 10


การประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ.2551)

จากการศึกษาผูเขียนมองวา นอกเหนือไปจากแนวความคิดเรื่องการครองอํานาจนําที่เปนที่รูจักดีหากมีการอาง ถึงอันโตนิโอ กรัมชี แลว ยังมีแนวความคิดที่จัดไดวาเปนแนวความคิดองคประกอบของการทําความเขาใจแนวคิดการ ครองอํานาจนําอยูอีกหลายแนวความคิดดังที่ไดนําเสนอในหัวขอที่ 2 และ 3 ในงานชิ้นนี้ แตแนวความคิดองคประกอบที่ มีความสําคัญโดดเดน และชวยเติมเต็มความเขาใจเกี่ยวกับแนวความคิดการครองอํานาจนําไดเปนอยางดีก็คือ แนวความคิดเรื่องกลุมประวัติศาสตร และแนวความคิดเรื่องปญญาชนนั่นเอง นอกจากนี้ แนวความคิดทั้งสามยังสามารถ ประยุกตใชเพื่อสรางคําอธิบายใหกับการเมืองไทยรวมสมัยไดดวย ดังที่ไดนําเสนอไปในหัวขอที่ 4 กรณีการสรางกลุม ประวัติศาสตรของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นอกเหนือไปจากแนวความคิดเรื่องกลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา และการโตตอบตอการ ครองอํานาจนํา ผูเขียนมีขอเสนอแนะวาแนวความคิดอื่นๆของกรัมชีที่สําคัญและยังไมไดถูกนํามาศึกษา และประยุกตใช ในแวดวงรัฐศาสตรไทยมากนัก เชน แนวความคิดเรื่องพรรคการเมือง และสภาโรงงาน ก็ลวนมีความสําคัญและความ นาสนใจ และนาจะไดนํามาศึกษาเพื่อประยุกตใชอธิบายการเมืองไทยไดในโอกาสตอไป

เชิงอรรถ 1

การศึกษาเกี่ยวกับการเมืองไทยทั้งในแวดวงของนักวิชาการไทย และนักวิชาการไทยศึกษาจากตางประเทศนัน้ สามารถ ทําการศึกษาไดดว ยหลากหลายมุมมอง และกรอบความคิด สวนสาเหตุของการเลือกใชแนวความคิดของอันโตนิโอ กรัมชี เนื่องจากเหตุผลสองประการคือ ประการแรก นั้นเปนความสนใจโดยสวนตัวของผูศ ึกษา และอีกเหตุผลหนึ่งคือ เพือ่ เปนการขยาย ขอบเขตความสนใจใหกับแนวความคิดของกรัมชีในแวดวงรัฐศาสตรไทยใหมีความตื่นตัว เนื่องจากผูเขียนมองวายังมี แนวความคิดอื่นๆ ของกรัมชีทนี่ าสนใจอีกมากที่อาจนํามาประยุกตใชเพื่อสรางคําอธิบายตอกรณีตา งๆ ในการเมืองไทยได 2 หมายความถึงวาแนวความคิดการครองอํานาจนํา (Hegemony) นั้นเปนแนวความคิดที่ถาหากเอยถึงกรัมชีก็มักเขาใจโดย อัตโนมัติวา กรัมชีพูดถึงการครองอํานาจนํา โดยไมจาํ เปน หรือไมสนใจวามีแนวความคิดเรื่องอื่นๆของกรัมชีอยูเชนกัน 3 ที่เปนแรงบันดาลใจ และมีอทิ ธิพลทางความคิดตอนักมารกซิสตรุนตอๆ มาเชน Louis Althusser, Perry Anderson Ernesto Laclau, Chantal Mouffe เปนตน 4 กลาวคือในมิติเชิงทฤษฎีนั้น กรัมชีไดมีงานเขียนทั้งขณะที่เปนนักหนังสือพิมพ และภายหลังที่ถูกจําคุกในชวงสมัยการครอง อํานาจของมุสโสลินี ซึ่งงานเขียนในชวงหลังนี้เองที่เปนที่รูจกั กันวาเปนงานเขียนจากคุก (Prison Notebooks) นอกจากนี้ กลาวได วากรัมชีเองมีมิติของการปฏิบัติดว ยการเปนแกนนําพรรคคอมมิวนิสต และพรรคสังคมนิยมอิตาลี รวมถึงการเปน สมาชิกสภาผูแทนราษฎรในชวงทีถ่ ูกคุมขังอีกดวย สําหรับงานเขียนเกี่ยวกับชีวประวัตขิ องกรัมชีที่ดที ี่สดุ โปรดดู จิอูเซ็ปเป ฟโอรี, ชีวิตของอันโตนิโอ กรัมชี, แปลโดย นฤมล-ประทีป นครชัย (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2526). 5 มีการใชคําในภาษาไทยแทนความหมายของคําวา “Hegemony” แตกตางกันออกไป อาทิ “การครองความคิดจิตใจ” “การใช อํานาจนํา” “การครองความเปนเจา” และ “การครองความเปนใหญ” เปนตน แตผูเขียนมองวาควรใชคําวา “การครองอํานาจนํา” เพราะสื่อความหมายถึง “การนํา” หรือ การกาวลวงทางความคิดเหนือผูอ ื่น ซึ่งนาจะเปนคําที่เหมาะสมที่สุดสําหรับคําวา Hegemony 6 โปรดดู วัชรพล พุทธรักษา, รัฐบาลทักษิณกับความพยายามสรางภาวะการครองอํานาจนํา (วิทยานิพนธรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2550). โดยเฉพาะอยางยิ่งในบทที่ 2 7 วัชรพล พุทธรักษา, รัฐบาลทักษิณกับความพยายามสรางภาวะการครองอํานาจนํา (วิทยานิพนธรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาค วิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2550). 8 David Forgacs, A Gramsci Reader Selected Writings 1916-1935 (London: Lawrence and Wishart, 1988) หนา 424. 9 Roger Simon, Gramsci’s Political Thought An Introduction (London: Lawrence and Wishart, 1982), หนา 26. 10 Anne Showstack Sassoon, Approaches to Gramsci (London: Writers and Readers, 1982), หนา 14. 11 David Forgacs, A Gramsci Reader Selected Writings 1916-1935 (London: Lawrence and Wishart, 1988), หนา 304.

11


การเมืองไทย : กลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา

12

การจําแนกปญญาชนของกรัมชีนนั้ ตั้งอยูบนฐานของการสรางสรรคผลงานตามหนาที่ (Functions) ที่แตละบุคคลมีตออาชีพ ของตนในกลุม สังคม ตลอดจนชนชั้นตางๆ ดู Roger Simon, Gramsci’s Political Thought An Introduction (London: Lawrence and Wishart, 1982), หนา 93-101.; Anne Showstack Sassoon, Gramsci’s Politics (London: Croom Helm, 1980), หนา 134-145. และ Lenonardo Salamini, The Sociology of Political Praxis an Introduction to Gramsci’s Theory (London: Routledge and Kegan Paul, 1981), หนา 101-125. 13 มีการใชคําแปลเปนภาษาไทยวา ปญญาชนดั้งเดิม บางก็ใชวาปญญาชนตามจารีตประเพณี แตผูเขียนมองวานาจะใชคําวา ปญญาชนสามัญมากกวา เพราะคําวาสามัญนั้นสือ่ ความหมายถึงความปกติธรรมดา ปญญาชนสามัญนัน้ ก็คือปญญาชนของชนชั้น ที่ตนถือกําเนิด ไมไดมีการแยกตัวเองออกจากชนชัน้ ดั้งเดิมของจนแตอยางใด 14 บางก็แปลวา ปญญาชนอินทรีย ในทีน่ ี้ใชคําแปลตามงานของชนิดา โปรดดู ชนิดา ชิตบัณฑิตย, โครงการอันเนือ่ งมาจาก พระราชดําริ: การสถาปนาพระราชอํานาจนํา (วิทยานิพนธสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา) คณะสังคม วิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2547). ซึ่งคําวาปญญาชนจัดตั้ง นัน้ สื่อความหมายถึงการประกอบสราง ซึ่ง หมายถึงปญญาชนที่กาวขามการทําหนาที่ของชนชัน้ ตน ไปมีหนาทีอ่ ื่นในอีกชนชั้นหนึ่งนั่นเอง 15 David Forgacs, A Gramsci Reader Selected Writings 1916-1935 (London: Lawrence and Wishart, 1988), หนา 425. 16 Roger Simon, Gramsci’s Political Thought An Introduction (London: Lawrence and Wishart, 1982), หนา 25. 17 Anne Showstack Sassoon, Gramsci’s Politics (London: Croom Helm, 1980), หนา 134-146. 18 David Forgacs, A Gramsci Reader Selected Writings 1916-1935 (London: Lawrence and Wishart, 1988), หนา 425. 19 แตมิไดหมายความวาแนวความคิดของกรัมชีที่สําคัญมีเพียงเทานี้ 20 ดูขอถกเถียงเกี่ยวกับโครงสรางสวนลาง-โครงสรางสวนบนที่สําคัญใน สมศักดิ์ สามัคคีธรรม และสมพงษ ดุลยอนุกิจ, “แนวคิด แบบมารกซิสต: วาดวยโครงสรางสวนลางและโครงสรางสวนบน” ใน วารสารธรรมศาสตร 15:2 (2529), หนา 5-16. และ Jacques Texier, “Gramsci, theoretician of the superstructure” ใน Gramsci and Marxist Theory (London: Routledge and Kegan Paul, 1979), หนา 48-79. 21 กรัมชีเปนคนทีพ่ ยายามเนนถึงมุมมองในเชิงอุดมการณ และทําใหพวกนักมารกซิสตจํานวนหนึ่งที่หยิบเอาความคิดของมารกซ ไปใชเพียงบางสวน โดยเฉพาะนักมารกซิสตดั้งเดิมในชวงของสากลที่สอง (Second International) ในชวงป 1889-1916 เชน เคาทสกี้ เปลคานอฟ และฮิลเฟลดิง้ เปนตน ไดทบทวนวาที่จริงแลวมารกซเองก็ไมไดพูดถึงแตเพียงปจจัยเรื่องเศรษฐกิจอยางเดียว เทานั้น แตในงานเขียนของมารกซเองก็ไดพดู ในเรื่องของอุดมการณไวเชนกัน เชน ในเคาโครงเศรษฐกิจและปรัชญา (Economic and Philosophical Manuscript) ซึ่งเขียนขึ้นในป 1844 และในอุดมการณเยอรมัน (German Ideology) ซึ่งเขาเขียนรวมกับเองเกลส ในป 1845 เปนตน 22 David Mclellan, Marxism after Marx (New York: Harper and Row, 1979), หนา 175. 23 สุรพงษ ชัยนาม, “อันโตนิโยกรัมชีกบั ทฤษฎีวา ดวยการครองความเปนใหญ,” ปาจารยสาร 8:6 (2525), หนา 70-79. 24 Roger Simon, Gramsci’s Political Thought An Introduction (London: Lawrence and Wishart, 1982), หนา 27-28; 74-79. 25 วนัส ปยะกุลชัยเดช, “จากอุดมการณที่ถูกวิพากษสูการครองความเปนใหญ: การครองความเปนใหญแบบกรัมชี่” ใน รัฐศาสตร สาร, บก. ธเนศ วงศยานนาวา (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2550), หนา 100-112. 26 ตัวอยางของกรณี การโตตอบตอการครองอํานาจนําที่เห็นไดชดั คือ การโตตอบตอการครองอํานาจนําของระบบเสรีนิยมใหม ระดับโลก ผานการดําเนินการของสถาบันระหวางประเทศเชน ธนาคารโลก (World Bank) หรือองคกรการคาโลก (World Trade Organization; WTO) โดยเห็นไดจากการแสดงออกถึงการโตตอบตอการครองอํานาจนําจากการระดมพลการเคลื่อนไหวครั้งใหญ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ป 1999 โดยผูประทวงไดทําการขัดขวางการประชุมผูแทน WTO ที่จัดขึ้นที่เมือง ซีแอทเทิล สหรัฐอเมริกา โดยการประทวงในครั้งนี้ไดมีผูเขารวมเปนจํานวนมากโดยมีระยะเวลาการประทวงไปจนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 1999 สงผลใหการ ประชุมองคกรการคาโลกในครั้งนั้นตองยกเลิกไป 27 Barry Burke, “Antonio Gramsci and informal education,” [http://www.infed.org/thinkers/et-gram.htm], August 27, 2008

12


การประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ.2551)

28

เปนคําของ บุญรักษ บุญญะเขตมาลา นักวิชาการดานสื่อสารมวลชน อางถึงใน สุภลักษณ กาญจนขุนดี, “ระบอบทักษิณ ปรากฏการณสนธิ ในการเมืองไทยรวมสมัย บทวิเคราะหพันธมิตรฯ กอนการรัฐประหาร ๑๙ กันยา,” [http://www.midnightuniv .org/midnight2544/0009999755.html], August 27, 2008 29 ในที่นี้ไมไดมุงความสนใจไปยังประเด็นสาเหตุที่แทจริงของการออกมาเคลื่อนไหวของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ดู มูลเหตุแทจริง ของการออกมาเคลื่อนไหวของสนธิ ลิ้มทองกุลไดในงานของ สุภลักษณ กาญจนขุนดี ตามเชิงอรรถที่ 28 30 ภายใตกรอบการมองของงานชิน้ นี้ สนธิ ลิ้มทองกุล คือปญญาชนจัดตั้ง (Organic Intellectual) (ในทัศนะของกรัมชี เนือ่ งจาก สนธิ ลิ้มทองกุลนั้นเปนสื่อมวลชนโดยปกติ แตไดยกฐานะตัวเองจากสื่อมวลชนมาเปนแกนนําในการเคลื่อนไหวเพือ่ ตานอํานาจ นํา) พวกแรกๆ ที่มบี ทบาทชัดเจนในการดําเนินการสรางกลุมประวัติศาสตรที่มีจุดมุงหมายในการตานการครองอํานาจนําของ รัฐบาล/ระบอบทักษิณ 31 ในแงนี้เปนการแสดงบทบาทของปญญาชนในฐานะที่เปน Educator ในการใหขอมูล และสรางประเด็นเพื่อกอใหเกิดจิตสํานึก รวมของชนชัน้ /กลุมที่ไมพอใจตอการครองอํานาจของรัฐบาลทักษิณ 32 การเชิดชูประเด็นเกี่ยวกับสถาบันกษัติรย และการเคลื่อนไหวโดยอาศัยสีเหลืองเปนแกนหลักของอุปกรณตางๆ อาทิ เสื้อ ธง ผาพันคอ ผาโพกศรีษะ ฯลฯ นัน้ เปนการดําเนินการของปญญาชนโดยใชกลไกการครองอํานาจนํา (Hegemonic Apparatuses) มา บังคับใชกับมวลชนเพื่อสรางสํานึกรวมชุดเดียวกันแกประชาชน กลไกเหลานี้เปนการนํามาใชในการกระตุนจิตสํานึกรวมระหวาง ชนชั้นตางๆ ใหมีความเปนเอกภาพ เพื่อใหงายตอการเคลื่อนไหวในเชิงปฏิบัติ 33 สุภลักษณ กาญจนขุนดี, “ระบอบทักษิณ ปรากฏการณสนธิ ในการเมืองไทยรวมสมัย บทวิเคราะหพันธมิตรฯ กอนการ รัฐประหาร ๑๙ กันยา,” [http://www.midnightuniv.org/midnight2544/0009999755.html], August 27, 2008 34 เปนหนาที่ของปญญาชนในการดึง/ประสานพันธมิตรระหวางชนชัน้ ตลอดจนกลุมตางๆในสังคมใหมีจิตสํานึกรวมกันใหมาก ที่สุดเพื่อใหการปฏิวัติ หรือการเปลีย่ นแปลงสามารถเกิดขึ้นจริงไดในทางปฏิบัติ 35 การประสานความรวมมือระหวางกลุมตางๆ นี้เกิดขึ้นไดโดยบทบาทของปญญาชน ซึ่งเปนผูนํา/แกนนําของกลุมตางๆ ทํา หนาที่ในการขับเคลื่อนประเด็นเชิงความคิดของแตละกลุมที่มีความแตกตางหลากหลายใหเกิดจิตสํานึกรวมกันในชวงเวลาหนึ่งได ในแงนี้อาจกลาวไดวาไดเกิดกลุมประวัตศิ าสตรกลุม หนึ่งที่ตองการตอตานอํานาจนําของทักษิณขึ้นแลว 36 แตประเด็นหลักของการยุบสภาตามที่สังคมเขาใจก็คือ เปนการหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบในเรื่องการขายหุนในเครือชินคอรป อยางมีขอกังขาถึงความโปรงใสใหกับบริษัทเทมาเซกโฮลดิ้ง ของสิงคโปรนั่นเอง 37 เปนการสิ้นสุดการครองอํานาจนําในรูปแบบของการครองอํานาจรัฐอยางเปนทางการ แตการครองอํานาจนําเหนือจิตใจของ ผูคน อาจกลาวไดวารัฐบาลทักษิณ โดยเฉพาะตัวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเองนั้นยังคงมีตนทุนเหนือผูคน และสังคมการเมืองไทย อยูไมนอ ย ดังเห็นไดจากตัวอยางตางๆ เชน การเกิดขึ้นของเว็บไซตของผูที่รักและนิยมในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ การเกิดขึ้นของกลุม ตอตานพันธมิตรประชาชนเพือ่ ประชาธิปไตยในเวลาตอมาที่ตอ งการใหพ.ต.ท.ทักษิณ กลับสูอาํ นาจ และการไปตอนรับการกลับสู ประเทศไทยของพ.ต.ท.ทักษิณ เปนครั้งแรกนับตั้งแตถูกรัฐประหารในป 2549 ทีส่ นามบินสุวรรณภูมิโดยกลุมผูขับรถแท็กซี่ รถจักรยานยนตรบั จาง และกลุมชาวบานจากตางจังหวัด เปนตน 38 นอกเหนือไปจากประชาชนทัว่ ไปที่มาเขารวมกับพันธมิตรฯ แลว การเคลื่อนไหวในครั้งนี้ยังมีบุลคลที่มชี ื่อเสียงทั้งนักวิชาการ นักคิด นักเขียน นักแสดง นักรองจํานวนมากเขารวมสนับสนุนการชุมนุมดวย นอกจากนี้ ประเด็นที่นา สนใจอยางยิ่งสําหรับการ สรางกลุมประวัตศิ าสตรโดยการสรางพันธมิตรระหวางชนชัน้ ในโลกยุคปจจุบันคือ การสรางเครือขายพันธมิตรทางอินเทอรเน็ต ดังจะเห็นไดจากการที่มีเครือขายเว็บไซตที่สามารถเขาไปชมการถายทอดสดการชุมนุมของพันธมิตรฯผานชอง ASTV ทาง อินเทอรเน็ต การนําเสนอเว็บบอรดเพื่อเปนชองทางในการเขามาแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนขอมูลซึ่งกันและกันระหวาง ผูคนกลุมตางๆ ตัวอยางเว็บไซตที่สําคัญโปรดดูเว็บไซตของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ www.pantamitr.com เว็บไซตเครือขายพันธมิตรที่ www.padnet.net และเว็บไซตสมัชชาประชาชนเพื่อการปฏิรูปการเมืองที่ http://papr.cpdthai.org การ สรางเครือขายพันธมิตรระหวางชนชั้นผานโลกไซเบอรเสปซนั้นผูเขียนมองวาเปนปจจัยสําคัญยิ่งประการหนึ่งในการกระตุนความ สนใจทางการเมืองใหแกกลุมเยาวชน ดังเห็นไดจากการเขารวมชุมนุมของนักเรียน นักศึกษาจํานวนมาก รวมไปถึงการกอตัวขึ้น ของ “กลุมเยาวชนพันธมิตรประชาชนเพือ่ ประชาธิปไตย หรือ Young PAD (Young People’s Alliance for Democracy) ดู นิติ

13


การเมืองไทย : กลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา

ราษฎร บุญโย, “Young P.A.D. หนุมสาวเสรีพ.ศ.ใหมเบิกฟาประชาธิปไตยยุคดิจิตัล” เนชั่นสุดสัปดาห, 12 กันยายน 2551, หนา 20-22. 39 สิ่งที่นาสนใจคือ การสรางกลุมประวัติศาสตรของพันธมิตรทั้งในชวงแรกในป 2548-2549 และในชวงหลังในป 2551 นั้น กลไกการครองอํานาจนําที่สําคัญมากอันหนึ่งที่พันธมิตรฯ ไดนํามาใชคือ “การปลุกกระแสชาตินิยม” (Nationalism) ใหเกิดขึ้น เชนในป 2548-2549 นั้นปญญาชนจัดตั้งไดดึงประเด็นการลวงละเมิด และการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาเปนกลไกหลัก ขณะที่ ในป 2551 นั้นไดหยิบเอาประเด็นกรณีพิพาทเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร รวมถึงการปลุกระดมตามสโลแกน “ลูกจีนรักชาติ” เปน ตน เปนกลไกหลักในการสรางแนวรวมทางชนชั้น ดู “ลูกเจกรักชาติ ลูกพระยา...?” ใน เนชั่นสุดสัปดาห, 8 สิงหาคม 2551, หนา 12. 40 ดู เนชั่นสุดสัปดาห, 29 สิงหาคม 2551, หนา 6-7; 12-13 และ 16-17. 41 ดู เชิงอรรถที่ 38 42 ดวยขอจํากัดเกี่ยวกับกําหนดการในการสงบทความ ทําใหบทความนี้จําเปนตองเขียนเสร็จสิ้นกอนการลงคะแนนเสียงเพื่อ เลือกนายกรัฐมนตรีคนใหมของสภาผูแทนราษฎรในวันที่ 17 กันยายน 2551 43 ดู “หมัก ตายน้ําตืน้ เจตนารมณรัฐธรรมนูญรัดคอ” ใน เนชั่นสุดสัปดาห, 12 กันยายน 2551, หนา 13. 44 คําวา “หลักเศรษฐกิจกําหนด” นีไ้ มไดถูกนํามาใชโดยตัวของคารล มารกซเอง แตผทู ี่นาํ คํานี้มาใชเปนครัง้ แรกๆ คือ เลนิน ซึ่ง เปนการนํามาใชในเชิงกลยุทธของการปฏิวัติมากกวาจะเปนการใหความหมายในเชิงปรัชญา 45 คําวา กําหนดนิยม (Determinism) นี้เปนคําที่ใชสื่อความหมายแงลบในทางสังคมศาสตร เปนการอธิบายความสัมพันธเชิง เหตุผลในลักษณะที่มีการกําหนดผล หรือมีคําอธิบายตอปรากฏการณนั้นๆลวงหนาตายตัวอยูแลว ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับคํานิยาม “กําหนดนิยม/นิยตั ินิยม” ไดใน เอก ตั้งทรัพยวัฒนา, “determinism นิยัตินิยม กําหนดนิยม,” ใน คําและความคิดในรัฐศาสตรรวม สมัย, บก. เอก ตั้งทรัพยวัฒนา และสิริพรรณ นกสวน (กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2546), หนา 95. 46 โปรดดูเชิงอรรถที่ 10 และ 11 ใน วัชรพล พุทธรักษา, “แนวความคิดการครองอํานาจนํา (Hegemony) ของกรัมชี (Gramsci): บททดลองเสนอในการอธิบายปรากฏการณทางการเมืองไทย” (บทความนําเสนอในงานประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐ ประศาสนศาสตรแหงชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2550). 47 ดู David Forgacs, A Gramsci Reader Selected Writings 1916-1935 (London: Lawrence and Wishart, 1988), หนา 422.; Rupert Woodfin and Oscar Zarate, Introducing Marxism (London: Icon Books, 2004), หนา 118-127.; Anne Showstack Sassoon, Approaches to Gramsci (London: Writers and Readers, 1982), หนา 13. และ Roger Simon, Gramsci’s Political Thought An Introduction (London: Lawrence and Wishart, 1982), หนา 9-20. 48 โปรดดู วัชรพล พุทธรักษา, บทที่ 1, รัฐบาลทักษิณกับความพยายามสรางภาวะการครองอํานาจนํา (วิทยานิพนธรัฐศาสตร มหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2550).

14


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.