TOHOKU THAILAND VOL.03

Page 1

แจกฟรี

โทโฮคุ

ฤดูใบไม้ร่วง & ฤดูหนาว 2017

ฉบับพิเศษ

3rdISSNIssue 2539-620X

ส�ำรวจแหล่งมรดกอันล�้ำค่าของญี่ปุ่นใน 6 จังหวัดของโทโฮคุและนีงะตะ

โลกแห่งหิมะและน�้ำแข็ง:

การบูชาเทพเจ้าจากสรวงสวรรค์ “วัฒนธรรมดาเตะ” ซึ่งฟูมฟักโดยมาซามุเนะ

งดงามด้วยทัศนียภาพใบไม้แดงในฤดูใบไม้ร่วงและธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ เพลิดเพลินไปกับฤดูใบไม้ร่วงของโทโฮคุด้วยสัมผัสทั้งห้า www.wattention.com/tohoku-special

Tohoku Tourism Promotion Organization


ค้นหาความเป็นญี่ปุ่นที่แท้จริง โทโฮคุคอื ภูมภิ าคทีต่ งั้ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮอนชูในประเทศญีป่ นุ่ ล้อมรอบไปด้วยทะเลญีป่ นุ่ , มหาสมุทรแปซิฟกิ และช่องแคบสึงารุ ประกอบไปด้วย 7 จังหวัด คือ จังหวัดอะโอโมริ, จังหวัดอิวะเตะ, จังหวัดมิยะงิ, จังหวัดอะคิตะ, จังหวัดยะมะงะตะ, จังหวัดฟุคชุ มิ ะ และจังหวัดนีงะตะ ในระหว่างการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ผ่านมานานนับศตวรรษในญี่ปุ่น โทโฮคุยังคงเก็บรักษาความ รู้สึกแท้จริง นั่นคือวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเก่าแก่โบราณไว้ ได้อย่างมีเอกลักษณ์ ถ้าสามารถย้อนรอยประวัติศาสตร์กลับไปในสมัยศตวรรษที่ 7 ได้ โทโฮคุคงเปรียบเสมือนขุมสมบัติล�้ำค่า ของผู้ที่ต้องการชื่นชมและสัมผัสกับวันหยุดสบายๆในสภาพแวดล้อมของธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ในทุกๆสถาน ที่ต่างมีเรื่องเล่า เช่นเดียวกับในอาหารทุกๆจาน ต่างมีที่มาและจิตวิญญาณที่เชิญชวนให้ทุกๆคนได้มา ลองชิม

สารบัญ WAttention โทโฮคุ ฉบับฤดูใบไม้รว่ ง / ฤดูหนาว 03-08

โลกแห่งหิมะและน�้ำแข็ง: การบูชาเทพเจ้าจากสรวงสวรรค์ 03, 04 วัฒนธรรมนามาฮาเงะ: การใช้ชีวิตกับห้วงเวลา 05, 06 เทศกาลคามาคุระ (เทศกาลกระท่อมหิมะ) สื่อความหมายลึกซึ้งกว่าแค่บ้านอิกลู 07, 08 เทศกาลฤดูหนาวหลากหลายในโทโฮคุ

09-10 “วัฒนธรรมดาเตะ” ซึ่งฟูมฟักโดยมาซามุเนะ 11-14

งดงามด้วยทัศนียภาพใบไม้แดงในฤดูใบไม้ร่วงและธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ เพลิดเพลินไปกับฤดูใบไม้ร่วงของโทโฮคุด้วยสัมผัสทั้งห้า 11 ดินแดนแห่งแอปเปิ้ล 12 รวงข้าวสีทอง 13 ผลไม้ที่ดีที่สุดส�ำหรับฤดูใบไม้ร่วง 14 รสชาติของท้องทะเล

Publisher Yasuko Suzuki / WATTENTION CO., LTD.

Associate Editor Yuka Suzuki

Editorial Team

Nancy Liu, Tabea Greuner, Stacey Bird Cuauhtemoc Velazquez

Writer

Wattention CO., ltd

Kurashima Shibuya Bld. 2-3-8-401 Shibuya, Shibuya-ku, Tokyo, Japan 150-0002 Phone: 03-6418-5701 (main) 03-6418-5828 (editorial) Fax: 03-6862-6760 E-mail: info-tokyo@wattention.com

Helen Oon

Language Consultant Joseph. M. Shiodah

Graphic Designer Kenji Ishida

Photographers Chris Mollison, Michael Oon, Yama Funabashi

Cover Photo

เยี่ยมชมเว็บไซต์ “Exploration to the Deep North of Japan”

http://deepnorthjapan.org/th/ English

5 Oga

Oga Peninsula Oga Peninsular Of Ogres and Onsens

Namahage Sedo Matsuri

Supported by

TohokuTourismPromotionOrganization http://en.tohokukanko.jp East Japan Railway Company http://www.jreast.co.jp/e/

Model tour

Seasonal Highlights of the Tohoku Region

Natural Blessings in the Sanriku Coast, Reviving from the Earthquake

Scenic Beauty of the Japan Sea Shorelines

Hands-on Experience of Nature and Culture

Time Travel to the Past

Gourmet’s Paradise Tohoku

view more

deepnorthjapan.org ช่วยให้คุณ ออกแบบทริปท่องเที่ยวโทโฮคุในแบบ ของคุณเอง หลังเลือกแหล่งท่องเที่ยว และร้านอาหารหลายๆแห่ง โปรแกรมจะ จัดท�ำก�ำหนดการเดินทางส่วนบุคคล ให้พร้อมแผนที่ซึ่งจะได้ ใช้ประโยชน์ ใคร ชอบให้คนอื่นแนะน�ำ เราก็มีตัวอย่าง เส้นทางมากมายให้เลือกสรรเช่นกัน


ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และอาหาร

ส�ำรวจแหล่งมรดกอันล�้ำค่าของญี่ปุ่นใน 6 จังหวัดของโทโฮคุและนีงะตะ

หุบเขาแม่น�้ำนาคะทสึ (จังหวัดฟุคุชิมะ)

หุบเขาของแม่น�้ำนาคะทสึซึ่งไหลลงสู่ทะเลสาบอาคิโมะโตะของที่ราบสูงอุระบันได เป็นสถานที่ที่รู้จักกันดีส�ำหรับการท่องเที่ยวในฤดูใบไม้ร่วง ตามรอย "เส้นทางทะเลสาบบันได อะซุมะ" เป็นเส้นทางที่สวยงามผ่านป่าเขา ให้มุมมองพาโนรามาอันน่าตระการตาของภูเขาบันไดและทะเลสาบอะคิโมะโตะ การเดินทาง: นั่งรถจากสถานี Inawashiro (สาย JR Ban-etsu-West) 45 นาที


โลกแห่งหิมะและน�้ำแข็ง: การบู ช าเทพเจ้ า จากสรวงสวรรค์

กล่าวกันว่าที่ญี่ปุ่นมีเทพเจ้ามากถึงแปดล้านองค์ นับตั้งแต่ยุคโบราณ ผู้คนเชื่อกันว่าเทพเจ้าสถิตอยู่ในทุกสิ่ง ตั้งแต่ในธรรมชาติไปจนถึง ในโลกมนุษย์ เทพเจ้าทุกองค์ล้วนมีบทบาทของตัวเอง ในยุคสมัยใหม่ของศตวรรษที่ 21 เทพเจ้าเหล่านี้ยังคงใช้ชีวิตอยู่ในภูมิภาคโทโฮคุ ในช่วงฤดูหนาว เมื่อหิมะพูนขึ้น คุณจะได้พบกับเทพเจ้าที่ดูลึกลับที่งานเทศกาลในโทโฮคุ

วัฒนธรรมนามาฮาเงะ: การใช้ชีวิตกับห้วงเวลา ในสังคมเกษตรกรรม ซึ่งชีวิตของพวกเขาขึ้นอยู่กับลมฟ้าอากาศ ผู้คนบูชาเทพเจ้าจากสวรรค์ที่งานเทศกาลในวันหยุดนักขัตฤกษ์ และสวดมนต์เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร รวมทั้งเพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้ายและน�ำโชคดีให้เข้ามา สิ่งที่ครั้งหนึ่ง เคยเป็นพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าได้แปรเปลี่ยนมาเป็นเทศกาลพื้นบ้านดั้งเดิมในสมัยใหม่ วัฒนธรรมนะมะฮะเกะที่ท�ำให้ผู้คนใน เมืองโองะ จังหวัดอากิตะหวาดผวาก็เช่นกัน

นะมะฮะเกะคืออะไร?

นะมะฮะเกะ (なまはげ) เป็นงานพื้นบ้านอันเป็นเอกลักษณ์ของคาบสมุทรโองะ ในเมืองโองะ จังหวัด อากิตะ ค�ำนี้มีที่มาจากการผสมค�ำในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึงผื่นแดง (namomi) จากการอยู่หน้ากองไฟ เป็นเวลานานเพื่อหลีกเลี่ยงความหนาวเย็นในฤดูหนาว กับค�ำว่าฉีกขาด (hagu) จากสภาพของผิวหนัง ปีศาจที่คอยเตือนผู้คนที่อู้จากการงานและการเรียนได้กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อนามาฮาเงะ มีทฤษฎีต่างกันไปว่าด้วยต้นก�ำเนิดของปีศาจที่น่าสะพรึงกลัวนี้ หนึ่งในนั้นเป็นเรื่องราวในตอนที่ จักรพรรดิอู่แห่งราชวงศ์ฮั่นน�ำปีศาจมาห้าตน ย้อนกลับไปในสมัยดังกล่าว มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งเดือด ร้อนจากการกระท�ำของปีศาจทั้งห้า เพื่อตู่อสู้กับปัญหานี้ จึงมีการท�ำสัญญากับปีศาจขึ้น: ถ้าปีศาจ สามารถสร้างขั้นบันไดหินที่น�ำทางไปสู่ Gosha-do ได้ในหนึ่งคืน พวกเขาจะมอบเด็กหญิงให้เป็นการ ตอบแทน แต่หากปีศาจล้มเหลว จะต้องออกไปจากหมู่บ้านตลอดกาล ปีศาจทั้งห้าตนท�ำขั้นบันไดหิน ไปจนถึงขั้นที่ 999 แต่เมื่อพวกมันก�ำลังจะวางหินก้อนสุดท้ายลงไป ชาวบ้านก็ขัดขวางด้วยการเลียน เสียงไก่ขันในยามเช้า ปีศาจคิดว่านั่นเป็นเสียงจากสวรรค์ พวกมันจึงตกใจแล้ววิ่งหนีไป และไม่เคยกลับ มายังหมู่บ้านอีกเลย

นามาฮาเงะเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของเขตโองะ

พิธีกรรมพื้นบ้านของนามาฮาเงะ

ทุกปี ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม ก่อนวันปีใหม่จะมาถึง ชาวบ้านจะสวมใส่ชุดถักด้วยฟาง ซึ่งรู้จักกันในชื่อ kede สวมหน้ากากน่าสะพรึงอันเป็นเอกลักษณ์ของเขตของพวกเขา แล้วเดินด้วยการยกขาสูง (จนดู เกือบเหมือนซูโม่ขณะที่พวกเขายกขาขึ้นสูงก่อนการแข่งขัน) ไปรอบๆ บริเวณใกล้เคียง แล้วเยี่ยมเยือน บ้านแต่ละหลัง คอยเตือนเหล่าวัยรุ่นเหลวไหลและเด็กเล็กให้ขยันท�ำงาน ตั้งใจเรียนและเชื่อฟังพ่อแม่ นามาฮาเงะคอยตะโกนดังๆ ว่า “มีเด็กร้องไห้อยู่หรือเปล่า?” “มีเด็กดื้ออยู่ไหม?” การแสดงที่ท�ำให้ ผู้คนหวาดผวานี้มาจากความหวังให้เด็กๆ ได้เกรดที่ดีในโรงเรียน ประสบความส�ำเร็จในสังคม และมี ความสุขในอนาคตในอีกหลายปีข้างหน้าของพวกเขา เจ้าของบ้านแต่ละหลังจะมอบความบันเทิงแก่นา มาฮาเงะด้วยเหล้าสาเกและปลาแซนด์ฟิชญี่ปุ่น ซึ่งจับได้จากชายฝั่งของจังหวัดอากิตะ ในขณะที่ชื่นชม ภรรยาและลูกๆ เพื่อปกป้องพวกเขาจากผู้มาเยือน ในวันที่ 3 มกราคม ยังมีเทศกาลเซโดะจัดขึ้นที่ศาลเจ้ามังชิน ซึ่งภาคภูมิใจกับประวัติศาสตร์กว่า 900 ปี ด้วย ในบริเวณใกล้กับศาลเจ้า มีการจุดไฟและย่างโอะโมจิ (แป้งเหนียวจากข้าว ซึ่งรู้จักกันในอีกชื่อว่า Goma mochi) จากนั้นน�ำไปมอบให้กับนามาฮาเงะ ที่ลงมาจากภูเขาในฐานะผู้ส่งสารของเทพเจ้า และ มีการสวดมนต์เพื่อสันติภาพและความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารของหมู่บ้าน ด้วยข้อมูลที่ แพร่ไปอย่างกว้างขวางเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของนามาฮาเงะได้รับความ สนใจท่ามกลางพิธีกรรมพื้นบ้านดั้งเดิมมากมาย ชาวบ้านได้สร้างสรรค์เทศกาลฤดูหนาวโองะขึ้นโดย รวมเอางานนามาฮาเงะและเทศกาลเซโดะเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเรียกกันในอีกชื่อว่าเทศกาลนามาฮาเงะ เซ โดะ ทุกปี งานนี้จะจัดขึ้นในวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่ สงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมนามาฮาเงะได้พึงพอใจ ไฮไลต์อยู่ตอนที่นามาฮาเงะลงจากภูเขามาพร้อม กับคบไฟในมือ ภาพของคบไฟส่องถนนที่มืดมิดและปกคลุมไปด้วยหิมะ ท�ำให้เกิดเป็นฉากที่ดูลึกลับ เปี่ยมมนต์ขลัง

03

การมอบความบันเทิงให้กับนามาฮาเงะ คือการเลี้ยงอาหารนามาฮาเงะ (Namahage Gogo)

เทศกาลนามาฮาเงะ เซโดะ จัดขึ้นทุกปี ในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ที่สองของเดือน กุมภาพันธ์

ที่เทศกาลนามาฮาเงะ เซโดะ จะมีการปรากฏโฉมของหน้ากากจากแต่ละเขต Goshado นั่งรถบัสจากสถานี Oga ของสาย JR Oga 30 นาที ศาลเจ้า Shinzan นั่งรถบัสจากสถานี Hadachi ของสาย JR Oga 50 นาที


ความหมายเบื้องหลังงานประเพณีเฉพาะตัว

แต่เดิมนั้น พิธีกรรมพื้นบ้านนามาฮาเงะที่จัดขึ้นในวันส่งท้ายปี จะไม่ มี ก ารไปเยี่ ย มบ้ า นที่ เ พิ่ ง มี เ ด็ ก เกิ ด ใหม่ ห รื อ มี เ รื่ อ ง อัปมงคลเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป เริ่มมี หลายครอบครัวที่ไม่ต้อนรับการมาเยือนของนามาฮาเงะ ผู้ ปกครองบางคน ไม่อาจทนเห็นลูกหลานของพวกเขาถูกตะโกน ใส่ได้ และบางคนกล่าวว่านี่เป็นพิธีกรรมของการลงโทษด้าน ระเบียบวินัยต่อพวกเด็กๆ เพราะอย่างนี้ วัฒนธรรมประเพณี เฉพาะตัวนี้จึงถูกท้าทายซ�้ำแล้วซ�้ำเล่าผ่านยุคสมัยต่างๆ นายโนะโบะรุ สุกะวะระ ชาวบ้านผู้สูงวัย เคยไปเยี่ยมเยือน บ้านเรือนในฐานะนามาฮาเงะ ในความคิดของเขา เสียง ตะโกนจากนามาฮาเงะขับไล่วิญญาณชั่วร้ายและน�ำโชคดีมา ให้ มันยังเป็นการท�ำให้เด็กและเยาวชนมุ่งมั่น น�ำชุมชนให้เข้า มาใกล้ชิดกัน เพื่อปกป้องเด็กๆ และมอบการศึกษาให้พวกเขา ด้วย ผู้คนที่ไม่รู้จักนามาฮาเงะ เข้าใจผิดว่าพิธีกรรมนี้เป็นการ ลงโทษเด็กๆ ดังนั้น จึงรู้สึกว่าถูกคุกคาม ค�ำพูดเหล่านี้สื่อถึง ความส�ำคัญของการท�ำความเข้าใจความหมายที่แท้จริงที่อยู่ เบื้องหลังวัฒนธรรมประเพณีนามาฮาเงะ แทนที่จะส่งต่อ ประเพณีนี้ไปอย่างหูหนวกตาบอด นี่แหละคือคุณค่าที่ควรได้ รับการส่งมอบต่อไปยังผู้คนรุ่นต่อไป

ถ่ายภาพคู่กับนามาฮาเงะ

การฟื้นฟูวัฒนธรรมผ่านการผลิตหน้ากากขึ้นใหม่

นอกจากการถูกตัดสินอย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้า วัฒนธรรม ประเพณีนามาฮาเงะยังตกอยู่ในอันตรายเนื่องมาจากการหาย ไปของหน้ากากที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละเขต รวมไปถึงข้อ เท็ จ จริ ง ที่ ว ่ า พิ ธี ก รรมนี้ ไ ม่ มี ก ารจั ด ขึ้ น อี ก ต่ อ ไปแล้ ว ในบาง ภูมิภาค ในปี 2014 สมาคมเยาวชนเขตอะชิซะวะได้รับความ สนใจจากความพยายามในการผลิตหน้ากากขึ้นใหม่อีกครั้ง เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี นายยะสุอะคิ ทะเคะดะ สมาชิก สมาคมเยาวชนผู้ผลิตหน้ากาก เผยว่าเขตอะชิซะวะใช้หน้ากา กอิชิคะวะมาตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ได้ท�ำพิธีกรรมนามาฮาเงะ และได้เข้าร่วมในเทศกาลนามาฮาเงะ เซโดะด้วย ทุกครั้งที่มารวมตัวกัน ความรู้สึกของพวกเขาที่มีต่อการผลิต หน้ากากอันเป็นเอกลักษณ์ของเขตอะชิซะวะขึ้นใหม่เข้มข้นขึ้น เรื่อยๆ เมื่อได้ดูภาพถ่ายในงานวรรณกรรม พวกเขายืนยัน ลักษณะของหน้ากาก รวบรวบวัสดุ และร่วมมือกันใน กระบวนการผลิตได้ส�ำเร็จ ขั้นตอนต่างๆ นี้ใช้เวลาถึงสองปี นายทะเคะดะต้ อ งการจะสร้ า งหน้ า กากที่ จ� ำ ลองหน้ า กาก ดั้งเดิมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ แต่ในเวลาไม่นาน ก็ตระหนักได้ ถึงความท้าทายที่มากับการผสมสีและการเตรียมวัสดุ สิ่งเหล่า นี้ท�ำให้พวกเขาเปลี่ยนใจ ซึ่งน�ำมาสู่การท�ำหน้ากากได้ส�ำเร็จ “ด้วยการใช้วัสดุที่มีอยู่ในปัจจุบัน มันสามารถเป็นหน้ากากที่ สะท้อนถึงยุคสมัยของพวกเราได้อย่างแท้จริง” ด้วย กระบวนการนี้ หน้ากากของเขตอะชิซะวะจึงได้ท�ำการผลิตขึ้น ใหม่ อี ก ครั้ ง อย่ า งเป็ น ทางการและกลายมาเป็ น หมุ ด หมาย ส�ำคัญในประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมประเพณีนามาฮาเงะ สก็อตต์ คามิโอ คุณครูที่โรงเรียนประถมฟุนะงะวะ ไดอิจิใน เมืองโองะ ได้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมวันสิ้นปีนี้ด้วย ในฐานะชาว ต่างชาติ เขารู้สึกประทับใจอย่างยิ่งกับวิธีที่ผู้อยู่อาศัยในท้องที่ ดิ้นรนเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมนามาฮาเงะไว้ และการที่พวกเขา ไม่เพียงแต่ส่งต่อไปยังผู้คนรุ่นต่อไป แต่ยังปรับปรุงมันให้ดีขึ้น ด้วย ด้วยวิธีนี้ วัฒนธรรมพื้นบ้านนามาฮาเงะไม่เพียงแค่โด่งดัง แล้วหายไปเหมือนดอกไม้ไฟ แต่หยั่งรากลึกลงไปในวิถีชีวิต ของผู้คนท้องถิ่น และพวกเขายังคงค้นหาว่าจะรักษาสมดุล ระหว่างวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมกับชีวิตสมัยใหม่อย่างไร เพื่อให้ความหมายที่แท้จริงของวัฒนธรรมนามาฮาเงะได้รับ การส่งต่อไปยังผู้คนรุ่นต่อๆ ไป

สก็อตต์ คามิโน คุณครูชาวอเมริกันแต่งตัวเป็นนามาฮาเงะในงานวันสิ้นปี ด้วย

Ashizawa’s reproduced mask at the event

พิธีกรรมเป็นจุดเริ่มต้นของเทศกาลนี้

ที่พิพิธภัณฑ์ฮามาฮาเกะ มีการจัดแสดงหน้ากากของภูมิภาคหลากหลายแบบ เวลาท�ำการ: 8.30 – 17.00 (เปิดตลอดปี) การเดินทาง: จากสถานี Akita ลงที่สถานี Hadachi ของสาย JR Oga จากนั้นขับรถอีก 15 นาที 04


เทศกาลคามาคุระ (เทศกาลกระท่อมหิมะ): สื่อความหมายลึกซึ้งกว่าแค่บ้านอิกลู เทศกาลคามาคุระ มักจัดขึ้นในคืนที่พระจันทร์เต็มดวงเป็นครั้งแรกหลังขึ้นปีใหม่ (วันที่ 15 ของเดือนหนึ่งตามปฏิทินจันทรคติ ตรงกับราว กลางเดือนกุมภาพันธ์) เพื่อขอพรให้บ้านเรือนและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาได้ปลอดภัย นี่เป็นงานประเพณีดั้งเดิมของโทโฮคุ อย่างไรก็ตาม เทศกาลคามาคุระ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีคามาคุระ หรือบ้านอิกลูเท่านั้น เทศกาลนี้มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน

เทศกาลโรคุโก คามาคุระมีการต่อสู้ด้วยไม้กระบอง

บริเวณโรคุโกในจังหวัดอากิตะของเมืองมิซาโตะมีการจัดเทศกาลคามาคุระขึ้นตั้งแต่วัน ที่ 11 ถึง 15 กุมภาพันธ์ทุกปี มีกิจกรรมมากมายเช่นการเขียนค�ำอธิษฐานของแต่ละคน ลงในกระดาษสี การสร้างบ้านอิกลู การเข้าร่วมการต่อสู้ด้วยไม้กระบองซึ่งท�ำนายถึง ความรุ่งโรจน์ของปีนั้นๆ และการก่อกองไฟจากฟางเพื่อเผากระดาษอธิษฐานขอพร เทศกาลที่โรคุโกเป็นส่วนผสมของพิธีกรรมส�ำหรับการเก็บเกี่ยวที่สืบย้อนไปได้ถึงยุคยา โยอิ และประเพณีในการเผากระดาษค�ำอธิษฐานในกองไฟที่ก่อขึ้นจากฟาง กระดาษ ค�ำอธิษฐานนั้นเรียกว่าเทนปิทสึในภาษาญี่ปุ่น และมีความหมายตรงตามตัวอักษรว่า “พู่กันสรวงสวรรค์” ในวันสุดท้ายของเทศกาล ผู้คนท้องถิ่นเข้าร่วมในการต่อสู้ด้วยไม้ กระบองแล้วเผาเทนปิทสึ การต่อสู้นี้สามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลถึงยุคเอโดะ และว่า กันว่าผลการแข่งขันจะพยากรณ์ถึงการเก็บเกี่ยวของปีนั้นๆ ผู้เข้าร่วมแบ่งออกเป็นสอง ทีม ทีมเหนือและทีมใต้ หากทีมเหนือชนะ เมืองจะได้รับพรให้เก็บเกี่ยวได้ดี; หากทีมใต้ ชนะ ราคาข้าวจะสูงขึ้น เนื่องด้วยการต่อสู้มีการก่อกองไฟ และผู้เข้าแข่งขันต้องถือ ไม้ไผ่สูงกว่าห้าเมตร นี่จึงถือเป็นเทศกาลที่อันตรายและน่าตื่นเต้นที่สุดในญี่ปุ่น

การเขียนค�ำอธิษฐานลงในกระดาษสีต่างๆ กันห้าสีนั้นเรียกว่าเทนปิทสึ

หลังจากการต่อสู้ผ่านไปสองรอบ ผู้คนเริ่มเผาเทนปิทสึบนกองฟางจุดไฟรูปทรง สามเหลี่ยม ตามประเพณีแล้ว เชื่อกันว่าการอาบร่างกายด้วยควันไฟจะน�ำมาซึ่ง สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การรับประทานเค้กที่อบในกองไฟยังช่วยให้ไม่เป็นหวัด ด้วย ยิ่งเทนปิทสึลอยสูงเข้าไปในกองไฟมากเท่าไร ลายมือของคนคนนั้นก็ยิ่งสวยมาก ขึ้นในแต่ละปี และมันยังสื่อถึงผลการเรียนที่ดีขึ้นด้วย เมืองมิซาโตะ โรคุโก นั่งรถจากสถานี Omagari 10 นาที (JR Akita Shinkansen)

ศาลเจ้ า สุ ว ะในอากิ ต ะอยู ่ ต รงข้ า มกั บ สถานที่ จั ด การต่ อ สู ้ ด้วยไม้กระบอง

ทั้งเด็กและผู้ ใหญ่ต่างเขียนค�ำอธิษฐานลงไป

พบเห็นศาลเจ้าย่อส่วนท�ำจากหิมะได้ทุกที่ เผาเทนปิทสึเพื่อที่มันจะได้ ไปถึงสวรรค์


ลูกไฟหมุนกลางอากาศส่องแสงสว่างให้กับคาคุโนะดาเตะ คามาคุระ ฮิบุริ คามาคุระ (เทศกาลไฟและหิมะ)

เมืองคาคุโนะดาเตะในจังหวัดอากิตะเป็นที่รู้จักในฐานะลิตเติ้ล เกียวโตของ โทโฮคุ เพราะที่นี่มีที่พ�ำนักของซามูไรโบราณมากมายที่ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่าง ดี มอบบรรยากาศละเมียด สง่างามให้กับตัวเมือง ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ของ ทุกปี มีการจัดงานฉลองปีใหม่ทางจันทรคติที่เรียกว่าฮิบุริ คามาคุระ งานเริ่มขึ้น ด้วยการเผาไม้ในบ้านที่ท�ำจากหิมะ หลังจากนั้น ผู้คนท้องถิ่นเผาเทนปิทสึ หรือ ของตกแต่งช่วงปีใหม่ของพวกเขาในกองไฟซึ่งสูงถึงห้าเมตรเพื่อขอพรให้ธัญพืช ทั้งห้าชนิดอุดมสมบูรณ์และครอบครัวปลอดภัย ไฮไลต์คือการเผาถุงฟางซึ่งผู้ เข้าร่วมงานหมุนไปรอบตัว เพื่อหลีกให้ไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ สามารถน�ำเชือก ฟางที่ผูกรอบลูกไฟกลับบ้านไปด้วยได้เพื่อใช้เป็นเครื่องราง หิมะที่ปกคลุมเมือง กลายมาเป็นแสงเรืองรองด้วยลูกไฟที่หมุนอยู่รอบๆ ในช่วงเวลานี้ของปี เพิ่ม เสน่ห์ลึกลับให้กับเมือง

ฮาคุโนะดาเตะ ฮิบุรินั้นมีคุณลักษณะโดดเด่นด้วยลูกไฟที่หมุนเป็นวงกว้าง

ฮาคุโนะดาเตะ ลงที่สถานีฮาคุโนะดาเตะ (JR Akita Shinkansen) อิ ก ลู ก ลายมาเป็ น สถานที่ สั ก การะบู ช าใน ระหว่างเทศกาล

เทศกาลหิมะโยโคเตะ คามาคุระ เทศกาลบอนเด็น เมืองโยโคเตะในจังหวัดอากิตะ มี พระจันทร์เต็มดวงครั้งแรกของปี

2

เทศกาลหิมะที่ถูกจัดขึ้นเป็นประจ�ำทุกปีในคืน

เทศกาลหิมะที่สงบสุข – ‘คามาคุระ’

เทศกาลโยโคเตะคามาคุระจัดขึ้นในทุกปีของเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมีประวัติศาสตร์กว่า 450 ปี และมีอิกลูหลายหลังสร้างขึ้นในหลายสถานที่ทั่วเมืองและพิธีกรรมการเผาด้วย ในอดีต บริเวณระหว่างแม่น�้ำโยโคเตะกับปราสาทโยโคเตะเป็นที่พ�ำนักของซามูไร ผู้คนท้องถิ่น บูชาเทพเจ้าแห่งคามาคุระด้วยการมอบสาเกและโมจิท�ำเอง พวกเขายังเผาของตกแต่งใน ช่วงปีใหม่และเชือกในอิกลูเพื่อขอพรให้ลูกหลานมีความเป็นอยู่ที่ดีด้วย อีกด้านหนึ่งของ แม่น�้ำโยโคเตะเป็นที่ที่เหล่าสามัญชนเคยอาศัยอยู่ แต่เดิม บ้านอิกลูเคยถูกสร้างขึ้นข้างๆ บ่อน�้ำเพื่อสักการะเทพเจ้าแห่งน�้ำ ทุกวันนี้ มีการตั้งแท่นบูชาขึ้นในอิกลูเพื่อการบูชา เด็กๆ มักจะอยู่ในบ้านอิกลูแล้วรับประทานโมจิกับเหล้าหวาน (อามะซะเกะ) เครื่องดื่มดั้งเดิม ปราศจากแอลกอฮอล์ซึ่งท�ำจากข้าวหมักอย่างเพลิดเพลิน โยโคเตะ นั่งรถจากสถานี Omagari (JR Akita Shinkansen Station, JR Ôu Line) 20 นาที

เทศกาลหิมะที่คึกคัก – ‘บอนเด็น’ ชายกลุ่มใหญ่แบกบอนเด็นไปยังศาลเจ้าอะซะฮิโอะคายามะ

เทศกาลโคมเทียน

เทศกาลโคมเทียน เป็นที่รู้จักกันดีในงานเทศกาล เทียนของเมืองซันโจะ จังหวัดนีงะตะ (มีชื่อเสียง ด้านการท�ำมีด) เทศกาลเทียนนี้จัดมาตั้งแต่ยุคเอ โดะ (ค.ศ.1603 - 1867) เพื่อขอพรให้ธุรกิจรุ่งเรือง และเดินทางติดต่อธุรกิจอย่างปลอดภัย มาเยี่ยม เยือนศาลเจ้าซันโจ ฮะจิมันเพื่อชมเทียนขนาด มหึมาหนัก 30 ถึง 50 กิโลกรัม ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ถึง 50 เซ็นติเมตรและสูงถึงหนึ่งเมตร ซันโจ สถานี Tsubamesanjô Station (JR Jôetsu Shinkansen)

บอนเด็น เครื่องมือที่เป็นตัวแทนของจิตวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดมานั้น ใช้ในพิธีกรรม ของลัทธิชินโต ในอดีต บอนเด็นเป็นท่อนไม้ที่มีธงกระดาษชายหยักมากมายพันอยู่รอบๆ ทุกวันนี้ บอนเด็นพัฒนามาเป็นท่อนไม้สูง 4.3 เมตรกับตระกร้าไม้ไผ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 90 เซ็นติเมตร ตกแต่งด้วยผืนผ้าขึงตึง ธงกระดาษชายหยัก และของอื่นๆ บอนเด็นสมัยใหม่ หนักกว่า 30 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับความสร้างสรรค์ในการท�ำ ในระหว่างช่วงเทศกาล มีการจัด แสดงบอนเด็นรอบบริเวณที่พักอาศัยเพื่อขอพรด้านความปลอดภัยและความอุดมสมบูรณ์ จากนั้น ชายกลุ่มใหญ่จะแบกไปยังศาลเจ้าอาซะฮิโอคายาม่าในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ศาลเจ้าอะซะฮิโอะคายามะ นั่งรถบัสจากสถานี Yokote (JR Ôu Line) ไปจนถึงป้ายรถประจ�ำทาง Osawa 15นาที

เทศกาลยูซาวะ อินกุ โกะ (เทศกาลสุนขั )

ในช่วงสุดสัปดาห์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ ตลอดสองวัน รูปปั้นของสุนัขจากหิมะจะ ถูกสร้างขึ้นในบริเวณยูซาวะที่อากิตะเพื่อขอบคุณเหล่าสุนัขส�ำหรับความจงรักภักดีของ พวกมัน เทศกาลซึ่งมีประวัติศาสตร์มาถึง 400 ปีนี้ ยังมีแท่นบูชาซึ่งท�ำมาจากหิมะและ โมจิเซ่นไหว้ส�ำหรับพวกสุนัขด้วย ยูซาวะ นั่งรถจากสถานี Omagari 40 นาที (JR Ôu Line, JR Akita Shinkansen)

เทียนขนาดยักษ์ถูกท�ำขึ้นเพื่อสวดมนต์ขอพรให้ธุรกิจรุ่งเรือง

รูปปั้นสุนัขน่ารักๆ ที่สถานที่จัดงานเทศกาล เจ้าหน้าที่สวมใส่เครื่องแต่งกายท้องถิ่นกับสุนัขพันธุ์อากิตะ

06


เทศกาลฤดูหนาวหลากหลายในโทโฮคุ

โทโฮคุปกคลุมไปด้วยผืนหิมะหนาราวกับผ้าห่มสีขาวโพลนในฤดูหนาว รอคอยฤดูใบไม้ผลิที่จะตื่นขึ้นจากนิทราอย่างเงียบงัน คุณ อาจไม่ตระหนัก แต่งานเทศกาลมากมายเกิดขึ้นมากมายในช่วงเวลานี้ที่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ท�ำความรู้จักวิถีชีวิตของผู้คน ท้องถิ่นและวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้มากขึ้นด้วยการอ่านเรื่องราวของการเฉลิมฉลองเหล่านี้

ฮะจิโนะเฮะ เอ็นบุริ (เทศกาลฮาจิโนะเฮะ เอ็นบุริ) https://hachinohe-kanko.com/english/10stories/hachinohe-enburi

เมืองฮะจิโนะเฮะในอาโอโมริมีเทศกาลเอ็นบุริทุกปีตั้งแต่วันที่ 17 ถึง 20 กุมภาพันธ์ เพื่อเฉลิมฉลองการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลฮาจิโนะเฮะ มีประวัติศาสตร์ถึง 800 ปี กล่าวกันว่าริเริ่มขึ้นโดยชาวนาผู้มีชื่อว่าฟูจิคุโระ เขาส่งเสริมให้มีการร้องเพลงและ เต้นร�ำ แทนการกินดื่มและทะเลาะเบาะแว้งกันในระหว่างวันหยุดปีใหม่ ขบวนพาเหรดเอ็นบุริ น�ำโดยนักเต้นที่เป็นตัวแทนของฟูจิคุโระ ประกอบไปด้วยผู้คนที่ เล่นฉาบ กลอง ฟลูต และมีการแสดงเต้นที่สื่อถึงฉากต่างๆ ของการท�ำนา เช่น การ เพาะปลูก การหว่านเมล็ดและการขอพรเพื่อการเก็บเกี่ยว ยังมีการเต้นเอ็นบุริอีก ประเภทหนึ่ง ซึ่งจัดจ้านและมีสีสันกว่า นักเต้นกระแทกพื้นด้วยท่อนไม้ ส่งสัญญาณให้ เทพเจ้าแห่งข้าวตื่นขึ้นจากการหลับใหล ฮะจิโนะเฮะ ลงที่สถานี Hachinohe บน JR Tôhoku Shinkansen

ฮะจิโนะเฮะ เอ็นบุริจัดขึ้นในวันที่ 17 ถึง 20 กุมภาพันธ์ที่มุมต่างๆ ของเมือง

ไฮไลต์ของงานคือขบวนนักเต้นที่แสดงความเคารพที่ศาลเจ้าโชจะซันชิระ

โอนิวะ เอ็นบุริจัดขึ้นที่สวนในยามค�่ำคืน แต่เดิม แสดงให้เจ้าที่ดินผู้ทรงอ�ำนาจและเจ้าของธุรกิจผู้ร�่ำรวยได้ชมเท่านั้น

เทศกาลเปลือยโซมินไซ วัดโคคุเซคิที่เมืองโอชุที่อิวาเตะจัดเทศกาลเปลือยโซมินไซทุกเดือนกุมภาพันธ์ เทศกาล นี้มีประวัติศาสตร์กว่า 1,200 ปี และมีเหล่าชายหนุ่มเปี่ยมพลังสวมเพียงผ้าเตี่ยวบางๆ เท่านั้น ด้วยคบไฟในมือ ผู้เข้าร่วมเริ่มต้นจากวัด แล้วเดินไปยังแม่น�้ำรุริทสึโบะเพื่อช�ำระล้าง ร่างกาย โดยตะโกนว่า “จัตโซ! โจะยะสะ!” ไปด้วย กองไฟรูปทรงเหมือนสี่เหลี่ยม ข้าวหลามตัดถูกก่อขึ้นหน้าโถงหลักของวัด ผู้เข้าร่วมสามารถปีนขึ้นไปบนหอที่จุดไฟสูง 150 ซม. แล้วอาบควันเพื่อขจัดโชคร้ายออกไปได้ ผู้เข้าร่วมงานต่างท�ำพิธีกรรมอื่นๆ มากมายเพื่อขอพรด้านสุขภาพและการเก็บเกี่ยว โดยต้องอดทนต่อลมแสนโหดร้าย และสภาพอากาศ งานที่ยาวนานจบลงด้วยการแข่งขันกันเพื่อถุงโซมินที่เต็มไปด้วย เครื่องราง ผู้ที่คว้าถุงไว้ได้เชื่อกันว่าจะได้รับโชคดีและมีความสุข การแข่งขันยาวนาน ไปถึงช่วงเช้าตรู่ได้เลยทีเดียว วัดโคคุเซกิ นั่งรถจากสถานี Mizusawaesashi บน JR Tôhoku Shinkansen 20 นาที 07

ผู้เข้าร่วมงานสามารถปีนขึ้นไปบนหอคอยเพื่ออาบควันได้


คิชู คาเซโดริ – เทศกาลป้องกันไฟ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ มีการเฉลิมฉลองเทศกาล “คิชู คาเซโดริ” ประจ�ำปีที่เมืองคามิ โนะยามะ (จังหวัดยามากาตะ) พิธีกรรรมขึ้นปีใหม่ที่ลึกลับนี้มุ่งเน้นไปที่ผู้คนที่เดินไป บนถนน โดยแต่งกายในชุด เคนได (kendai – เสื้อลายหมากรุกที่ท�ำจากฟางข้าวกับ หมวกทรงกรวย) ชุดฟางข้าวมีรูปทรงเหมือนกรวย ซึ่งดึงดูดความสนใจจากผู้คน ห่อ หุ้มไปด้วยบรรยากาศกระตือรือร้นของงานสาดน�้ำ เทศกาลคิชู คาเซโดริเป็นสิ่งที่ตรา ตรึงทุกคนในบริเวณที่หนาวเหน็บนี้ กล่าวกันว่า คาเซโดรินั้นเป็นการกลับมาเกิดใหม่ ของเทพเจ้าแห่งผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์และความปลอดภัยของครัวเรือน เทศกาลนี้มี รากเหง้ามาจากจุดเริ่มต้นของยุคเอโดะ (ปี 1603-1867) เมื่อผู้คนท้องถิ่นเชื้อเชิญ เทพเจ้าลงมาจากภูเขาเพื่อสวดมนต์ขอพรในวันปีใหม่ ผู้เข้าร่วมซึ่งแสดงเป็นคาเซโดริ เต้นเป็นวงกลมและเปล่งเสียงดังร้องว่า “กา-กา” พวก เขาไปเยี่ยมเยือนร้านค้าท้องถิ่น สวดมนต์เพื่อธุรกิจที่รุ่งเรืองและปกป้องจากไฟ ใน ระหว่างการแสดง พวกเขาถูกสาดด้วยน�้ำจากผู้ชม นอกจากนั้น ผู้คนท้องถิ่นยังพันผ้า ขนหนูไว้รอบหมวกทรงกรวยแล้วสวดมนต์เพื่อความสงบสุขและธุรกิจที่รุ่งโรจน์ตลอด ปีด้วย พวกเขาคิดว่าเทศกาลคาเซโดรินั้นจะน�ำความโชคดีมาให้ บ้างก็กล่าวว่าเส้นผมของ ผู้หญิงนั้นจะด�ำเป็นเงางามหลังจากที่ผูกไว้ด้วยฟางข้าวที่ร่วงลงมาจากเครื่องแต่งกาย ของเทพ

“คาเซโดริ” เต้นรอบกองไฟขณะร้องเพลงไปด้วย

การประดับไฟฤดูหนาวทีเ่ ซ็นได

ทุกเดือนธันวาคม ต้นบีชทีส่ องข า้ งทางของถนน อาโอบะในเซ็นไดจะถูกประดับตกแต่งด้วยหลอด ไฟ LED กว่า 100,000 ดวงซึ่งมอบแสงสว่าง อบอุน่ ใหต้ วั เมืองในยามค�่ำคืน นี่เป น็ สิ่งทีเ่ ป น็ ตัวแทนแห่งเทศกาลฤดูหนาวของเซ็นไดได้ดที สี่ ดุ เมืองเซ็นได ลงที่สถานี Sendai บน JR Tôhoku Shinkansen

“คิชู คาเซโดริ” เป็นเทศกาลท้องถิ่นของคามิโนะยามะ (จังหวัดยามากาตะ)

อย่าพลาดโอกาสถ่ายรูปคู่กับ “คาเซโดริ”

เทศกาลยูกิ-โดโร ปราสาทฮิโรซากิ (เทศกาลโคมหิมะ) เทศกาลที่ จั ด ขึ้ น ในช่ ว งต้ น เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ที่ ปราสาทฮิโรซากินี้ เป็นหนึ่งในเทศกาลหิมะที่ใหญ่ ที่สุดในโทโฮคุ มีโคมหิมะ 300 ดวงท�ำด้วยมือโดย ผู้คนท้องถิ่น โครงสร้างหิมะขนาดใหญ่ตั้งอยู่บน สถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์และทางลาดขนาด ยักษ์ แสงเทียนหม่นจางเรืองรองในบ้านอิกลูย่อ ส่ ว นเพิ่ ม สั ม ผั ส ของความโรแมนติ ก ให้ กั บ บรรยากาศโดยรวม ฮิโรซากิ นั่งรถจากสถานี Shin-Aomori (JR Ôu Line) จนถึงสถานี Hirosaki 25-40 นาที

การประดั บ ไฟในฤดู ห นาวที่ เ ซ็ น ไดนั้ น ดึ ง ดู ด นั ก ท่ อ งเที่ ย วจ� ำ นวนมากได้ เสมอ

ปราสาทฮิโรซากิมีบรรยากาศโรแมนติกเป็นพิเศษในระหว่างช่วงเทศกาลโคม หิมะ

สาด “คาเซโดริ” ด้วยน�้ำแล้วขอพรให้ครอบครัวสงบสุขและธุรกิจรุ่งเรือง

เทศกาลเทียนภาพไอซึสดุ โรแมนติก

เทียนวาดลวดลาย งานฝีมือท้องถิ่นของบริเวณฟุ คุชิมะ ในเมืองไอซึ ภาคภูมิใจกับประวัติศาสตร์ กว่า 500 ปี เทศกาลเทียนภาพไอซึจัดขึ้นในช่วง ต้นเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปี ที่ปราสาททสึรุ กะ และสวนโอยะคุเอ็นของเมืองไอซึวาคามัทสึ เทียนวาดลวดลายทั้งหมด 10,000 แท่งประดับ ตกแต่งสถานที่และมุมต่างๆ ของเมือง การได้ เห็นเทียนเผาไหม้ในสายลมนั้นราวกับได้เฝ้ามอง หิ่งห้อยเต้นระบ�ำข้ามผ่านยามเย็นในฤดูหนาว ทั้งลึกลับและน่าหลงใหล ไอซึวาคามัทสึ นั่งรถจากสถานี Kôriyama (JR Ban-etsu-West Line) 65 นาที

ปราสาททสึรุกะและเทียนวาดลวดลายนั้นเข้ากันได้เป็นอย่างดี 08


“วัฒนธรรมดาเตะ” ซึ่งฟูมฟักโดยมาซามุเนะ บนลานของซากปราสาทอาโอบะมีรูปปั้นจ�ำลองของซามูไรบนหลังม้า สวมผ้าปิดตาและหมวกเกราะประดับพระจันทร์เสี้ยวขณะเฝ้ามองเซนได เมืองที่มีสีสันและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคโทโฮคุ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ซามูไร ธรรมดา นี่คือดาเตะ มาซามุเนะ (ค.ศ. 1567-1636) ผู้ก่อตั้งเซนไดและ ไดเมียว (เจ้าที่ดิน) ที่ทรงอ�ำนาจที่สุดในภูมิภาคโทโฮคุ ตั้งแต่ในมังงะ (หนังสือการ์ตูน) ไปจนถึงละครโทรทัศน์และเกม เขายังคงเป็นหนึ่งใน บุคคลในประวัติศาสตร์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในญี่ปุ่น ต�ำนานเล่าขานถึง การสู้รบ การหักหลัง การล้างแค้น และการเอาชีวิตรอดของมาซามุเนะ ยังคงดึงดูดจินตนาการของทุกผู้ทุกคน แต่สิ่งที่บางคนอาจไม่รู้คืออิทธิพล ส�ำคัญที่เขามีต่อวัฒนธรรมของโทโฮคุโดยทั่วไป ในค.ศ. 2016 “วัฒนธรรมดาเตะ” ที่ฟูมฟักโดยมาซามุเนะได้รับการแต่งตั้งโดยทบวง วัฒนธรรมให้เป็น “มรดกของญี่ปุ่น” เพื่อน�ำวัฒนธรรมนี้มาสู่แถวหน้าบน เวทีโลก มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะส�ำรวจภูมิภาคโทโฮคุโดยไม่ได้สัมผัสกับ “วัฒนธรรมดาเตะ” อันรุ่งโรจน์และงดงาม

มากกว่าแค่นกั รบ

ถือก�ำเนิดในช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นมีสงครามกลางเมืองระบาดไปทั่ว ในระหว่างยุคเซนโกะคุ (ค.ศ. 1467-1590) มาซามุเนะสร้างชื่อ เสียงอย่างรวดเร็วและกลายมาเป็นนักรบเจ้ากลยุทธ์ โหดเหี้ยม และทะเยอทะยานตั้งแต่อายุยังน้อย ได้รับการขนานนามว่า “โดคุกังริว” (มังกรตาเดียว เพราะเขาสูญเสียตาข้างหนึ่งให้กับไข้ ฝีดาษตั้งแต่อายุยังน้อย) ในค.ศ. 1604 โทคุงะวะ อิเอะยะสุไดเมียวผู้รวมประเทศญี่ปุ่นได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้การปกครอง แบบรวมศูนย์ มอบรางวัลแก่มาซามุเนะเป็นฐานะเจ้าที่ดินใน อาณาเขตเซนไดเพื่อตอบแทนความภักดีของเขา ท�ำให้เขาเป็น ไดเมียวที่ทรงอิทธิพลที่สุดในภูมิภาค ตรงข้ามกับชื่อเสียงที่น่าหวาดกลัวของเขา มาซามุเนะเป็นบุรุษผู้ มีการศึกษาและผู้อุปถัมภ์ศิลปะแขนงต่างๆ ซึ่งเป็นต้นก�ำเนิด ความสนใจที่เขามีต่อประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันรุ่มรวย ของภูมิภาค ซึ่งทั้งสองสิ่งสามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงยุคโบราณ ด้วยความต้องการให้เซนไดแข่งขันกับภูมิภาคเกียวโต-โอซาก้า เขาท�ำงานอย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อขยายการค้าและท�ำให้อาณา บริเวณสวยงาม โทโฮคุ ครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่ห่างไกลของญี่ปุ่น รุ่งโรจน์ในฐานะที่หมายส�ำหรับการท่องเที่ยวและการค้าอย่าง รวดเร็ว ในขณะที่มาซามุเนะโอบรับประเพณีดั้งเดิม เขาก็ยังเห็น ถึงความจ�ำเป็นที่จะต้องโอบรับชาวต่างชาติด้วย โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เทคโนโลยีและความรู้ของพวกเขา เขากระตุ้นให้ชาว ต่างชาติมาเยี่ยมเยือนภูมิภาคของเขา และถึงขั้นส่งทูตไปกับ ฆวน เบาทิสตา (เรือที่สร้างด้วยเทคโนโลยีของยุโรป) เพื่อไปพบ กับพระสันตะปาปา ในขณะที่ยังไปเยี่ยมเยือนฟิลิปปินส์ สเปน และเม็กซิโกด้วย นอกจากนี้ มาซามุเนะมีปรัชญาเฉพาะตัวเกี่ยวกับการให้บริการ ที่สะท้อนถึงความซาบซึ้งในศิลปะอย่างลึกซึ้งของเขา เขามีความ ลุ่มหลงในอาหาร เมื่อมอบความบันเทิงให้กับแขกผู้มาเยือน เขา จะสร้างสรรค์เมนูส�ำหรับแต่ละคน ชิมและน�ำเสนออาหาร การ แสดงให้ผู้มาเยือนได้เห็นถึงความใส่ใจระดับสูงสุดและความใส่ใจ ด้วยการปรุงอาหารสะท้อนให้เห็นถึงสัมผัสด้านสุนทรียะของเขา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากพิธีชงชาญี่ปุ่นและโนห์ (ละครเพลง แบบดั้งเดิม) เป็นมากกว่าผู้คนทั่วไป มาซามุเนะแสดงออกถึง ความเป็นตัวเขาที่ลุ่มลึกอย่างยิ่งและเป็นบุคคลผู้มีวัฒนธรรมอัน เป็นเอกลักษณ์ ความรู้ด้านวัฒนธรรมของมาซามุเนะ รวมไปถึงนโยบายการ ปกครองของเขาได้ให้ก�ำเนิด “วัฒนธรรมดาเตะ” ซึ่งแผ่ขยาย ออกไปทั่วเมืองแห่งปราสาท และในท้ายที่สุด ไปถึงยังชุมชนโท โฮคุที่อยู่ไกลออกไป แต่ “วัฒนธรรมดาเตะ” คืออะไรกันแน่? โดยย่อ นี่คือวัฒนธรรมอันสง่างามที่เคารพความรุ่มรวยของ ประเพณีในขณะที่โอบรับแนวความคิดใหม่ๆ นอกเหนือจากนี้ ยังซาบซึ้งกับความงามระดับสูงสุดและความสบบูรณ์แบบใน ขณะที่ยังคงไว้ซึ่งความอ่อนน้อมถ่อมตน ผู้มาเยือนย่อมอดไม่ ได้ที่จะสังเกตเห็นหลักการเหล่านี้ที่แสดงออกมาในระหว่างที่ พวกเขาส�ำรวจโทโฮคุ สิ่งเหล่านี้ยังคงสะท้อนออกมาในวิถีชีวิต ของชาวโทโฮคุในทุกวันนี้ ผ่านชิ้นงานศิลปะแบบดั้งเดิม การปรุง อาหาร และมุมมองที่มีต่อชีวิตโดยทั่วไป http://datebunka.jp/th/

09

อนุสาวรียข์ องดาเตะ มาซามุเนะ ขณะเฝ ้ามองเมืองเซนไดจากซากปราสาทเซนได ซึ่งตั้งอยูบ่ นที่ราบสูง


เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับมาซามุเนะ:

ปราสาทอาโอบะ

เวลาท�ำการ: 9.00 – 17.00 น. (ปิดเวลา 16.00 น. ตั้งแต่ ต้นเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม) ปิดรับผู้เข้าชม 30 นาที ก่อนเวลาปิด เปิดตลอดปี ค่าเข้า: 700 เยน

ฮวงซุ้ยซุยโฮะเดน

เวลาท�ำการ: 9.00 – 16.30 น. (ปิดเวลา 16.00 น. ตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงมกราคม) ค่าเข้า: 500 เยน

พิพิธภัณฑ์เมืองเซนได

เวลาท�ำการ: 9.00 – 16.45 น. (ปิดรับผู้เข้าชมเวลา 4.45 น.) ปิดวันจันทร์ วันถัดจากวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันที่ 28 ธันวาคม 2017 ถึง 4 มกราคม 2018 ปิดปรับปรุงตั้งแต่วัน ที่ 28 ธันวาคม 2017 ถึง 31 มีนาคม 2018

สัมผัสประสบการณ์วัฒนธรรมดาเตะในปัจจุบัน เซนได ทันสุ: งานฝีมืออันล�้ำค่า

แต่เดิมนั้น ทันสุถูกใช้เป็นของตกแต่งบ้านที่เคลื่อนย้ายได้ ซึ่งพ่อค้าและซามูไรสามารถเก็บ สิ่งของส่วนตัวของพวกเขาไว้ได้ ท�ำจากไม้บอนไซญี่ปุ่นและไม้เกาลัด ทันสุแต่ละชิ้นจะท�ำขึ้น ด้วยมืออย่างละเอียดประณีต เคลือบทับด้วยน�้ำยาเคลือบผิวแบบคิจิโระ-อุรุชิ (kijio-urushi ไม่มีสี) ประดับตกแต่งและท�ำลายนูนด้วยลวดลายมังกรโลหะ สิงโตแบบจีนหรือดอกโบตั๋น ด้วยอายุ 80 ปี เอคิจิ ยะเอะงะชิ ถือเป็นหนึ่งในช่างฝีมือทันสุที่เป็นที่เคารพมากที่สุดในเซนได ในฐานะรุ่นที่สี่ของครอบครัวผู้สานต่องานฝีมือดั้งเดิมนี้ เขาสร้างสรรค์ชิ้นงานศิลปะน่าตื่น ตะลึงที่กุมความงามอันปฏิเสธไม่ได้ของ “วัฒนธรรมดาเตะ” ไว้ได้อย่างแท้จริง

ชิ้นโลหะหลากหลายลวดลายส�ำหรับตกแต่งทันสุ

เอคิจิ ยะเอะงะชิ ช่างฝีมือทันสุที่มีชื่อเสี่ยง ผู้เชี่ยวชาาญใน งานโลหะ

ทันสุของเซ็นไดนั้นแต่เดิมเป็นของที่พ่อค้าและซามูไรใช้เก็บเครื่องใช้ส่วนตัว

สัมผัสประสบการณ์วัฒนธรรมดาเตะในปัจจุบัน

โชะเคอิคาคุ (Shokeikaku) วัฒนธรรมอาหารที่สืบทอดมาจากสุนทรียะของมาซามุเนะ ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่พักอาศัยของตระกูลดาเตะ ผู้ย้ายมาที่นี่หลังจากที่ต้องสละอาณาบริเวณ ของพวกเขาในค.ศ. 1867 เนื่องมาจากการปฏิวัติเมอิจิ ทุกวันนี้ บังกะโลไม้สองชั้นแห่งนี้เป็น ร้านอาหารยอดนิยมและสถานที่ส�ำหรับจัดงานในโอกาสพิเศษ มองจากด้านบนลงมายัง ทิวทัศน์สวนญี่ปุ่นอันงดงาม ที่นี่มีร้านอาหารท้องถิ่นที่น�ำเสนอมาในทันสุ (tansu – กล่อง ลิ้นชัก) ของเซนไดขนาดเล็กน่ารัก ไฮไลต์อื่นยังมีการจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์และมรดกหลายชิ้น รวมไปถึงเสื้อเกราะสีด�ำอันเป็นเอกลักษณ์เด่นของมาซามุเนะ และหมวกเกราะประดับ พระจันทร์เสี้ยวสีทองด้วย

โชเคคะคุ อดีตสมาชิกตระกูลดาเตะ

ที่อยู่: 143-3, Hitokita-nishi, Taihaku-ku, Sendai Taihaku-ku, Miyagi 10


งดงามด้วยทัศนียภาพใบไม้แดงในฤดูใบไม้ร่วงและธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ เพลิดเพลินไปกับฤดูใบไม้ร่วงของโทโฮคุด้วย สัมผัสทั้งห้า ฤดูใบไม้ร่วงที่โทโฮคุนั้นสั้น และใบไม้ของฤดูใบไม้ร่วงก็ใกล้จะมาถึงจุด สิ้นสุด ฤดูหนาวเดินทางมาถึงในฉับพลัน ด้วยระยะเวลาที่แสนสั้น ความ เปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้วของธรรมชาตินั้นงดงามอย่างน่าทึ่ง รวงข้าวโน้ม ตัวลงมายังทุ่งนาและภูเขาเป็นสีสันสดใสในเฉดสีแดงและเหลือง ผืนดิน ดูราวกับพรมของใบเมเปิ้ลสีเหลืองและปลาแซลมอนเป็นประกายสีเงิน ว่ายทวนน�้ำเพื่อวางไข่ ออกเดินทางมายังโทโฮคุในช่วงเวลาเก็บเกี่ยวที่ งดงามที่สุดกันเถอะ

ดินแดน แห่งแอปเปิ้ล

พายแอปเปิ้ลที่ฮิโระสะคิ

ภูเขาอิวากิ หรือที่เรียกว่า “ทสึงะรุ (ทสึงะรุเป็นภาษาญี่ปุ่นโบราณของ อาโอโมริ) ฟูจิ” ตั้งอยู่ในอาโอโมริ จังหวัดฮอนชู ที่ปลายยอดทางเหนือสุด ของประเทศญี่ปุ่น เมื่อฤดูใบไม้ร่วงใกล้เข้ามา ถือเป็นฤดูกาลที่ดีที่สุดที่จะ เพลิดเพลินกับสีสันหลากหลายของธารน�้ำจากภูเขาโออิระเสะ รวมทั้ง แอปเปิ้ลแดงที่เติบโตอย่างอุดมสมบูรณ์อย่างที่เชิงเขา แอปเปิ้ลญี่ปุ่นมีชื่อ เสียงว่าลูกใหญ่และไม่มีต�ำหนิ การเพาะปลูกแอปเปิ้ลในจังหวัดอาโอโมริเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัยการปฏิรูปยุคเมอิจิโดยเหล่าซามูไรที่ตกงาน ในปี 1875 ภูมิภาคนี้ ซึ่งยังไม่เคยถูกใช้เพื่อการเพาะปลูกมาก่อนนั้น ได้รับตัว อย่างแอปเปิ้ลสามสายพันธุ์มาจากตะวันตก ซามูไรผู้สูญเสียสถานะทาง สังคม แลกเปลี่ยนดาบคะทะนะ (katana ดาบมีคมเพียงด้านเดียว) ของ พวกเขากับกรรไกรแต่งกิ่งไม้ และเทคนิคเซ็นเทอิ (sentei การตัดกิ่งไม้) ดัง นั้น อาโอโมริจึงกลายมาเป็นพื้นที่ที่ดีที่สุดในการผลิตแอปเปิ้ล แอปเปิ้ล สุกงอมเหล่านี้ ซึ่งข้ามผ่านสภาพภูมิอากาศโหดร้าย ทั้งหิมะที่ตกลงมา เป็นปริมาณมาก และความแตกต่างของอุณหภูมิอย่างรุนแรงระหว่าง กลางวันและกลางคืน มอบความกลมกล่อมลงตัวระหว่างความหวานและ ความเปรี้ยว ท�ำให้พวกมันมีรสชาติเข้มข้น หลังจากดูแลแอปเปิ้ลอย่าง ใส่ใจ ตะกร้าสานจากไม้ไผ่ที่ยืดหยุ่น ซึ่งเรียกว่าทะเคะ คะโกะ (take kago) ถูกใช้เพื่อเก็บเกี่ยว ส�ำหรับการขนส่งนั้น กล่องไม้ซึ่งท�ำจากไม้สนแดงช่วย เร่งกระบวนการสุกงอมให้เร็วขึ้น ทุกวันนี้ อุปกรณ์ดั้งเดิมเหล่านี้ยังเป็น ไอเทมตกแต่งภายในยอดนิยมอีกด้วย เมืองฮิโระสะคิ เมืองที่บุกเบิกการผลิตแอปเปิ้ล มีร้านที่ท�ำพายแอปเปิ้ลอยู่ราว 50 ร้าน “แผนที่พายแอปเปิ้ล” บอกที่ตั้งของร้านค้าที่จ�ำหน่าย ขนมชนิดนี้ รวมทั้งอีเวนต์อบพายแอปเปิ้ลเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร ซึ่ง ดึงดูดนักท่องเที่ยวจ�ำนวนมาก เมื่อรวมการผลิตน�้ำแอปเปิ้ลและไซเดอร์ไว้ ด้วยแล้ว ผลไม้ชนิดนี้มีบทบาทส�ำคัญอย่างยิ่งในวัฒนธรรมของอาโอโมริ หลังจากที่เพลิดเพลินกับทิวทัศน์ของสีสันฤดูใบไม้ร่วงที่ธารน�้ำจากภูเขา โออิระเสะ ทะเลสาบโทะวะดะ และกระเช้าฮักโคะดะ มุ่งหน้าไปยังเมือง ฮิโระสะคิ แล้วลิ้มรสของขึ้นชื่อจากท้องถิ่นอาโอโมริให้ได้!

สวนแอปเปิ้ลด้านหน้าภูเขาอิวากิ

ทิวทัศน์ของเทือกเขาฮักโคะดะจากบึงบัวเมืองโทะวะดะ

น�้ำตกโจะชิ-โอทะคิที่ธารน�้ำจากภูเขาโอะอิระเสะ


รวงข้าวสีทอง เมื่อไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ตญี่ปุ่น คุณอาจประหลาดใจกับประเภทของข้าวที่มีวางจ�ำหน่ายอยู่มากมาย “ข้าว ญี่ปุ่น” (Japonica rice) เป็นที่รู้จักในด้านความเหนียวและความหวาน ภูมิภาคโทโฮคุเป็นพื้นที่เพาะปลูก ข้าวที่เป็นที่นิยมมาตั้งแต่ในอดีต และมีชื่อเสียงว่ามีข้าวอร่อยหลากหลายสายพันธุ์คุณภาพเยี่ยม ในฤดู หนาว จังหวัดโทโฮคุถูกปกคลุมด้วยหิมะที่ตกหนัก เมืองที่อยู่ริมทะเล รวมไปถึงนีงะตะ อะคิตะ และ ยามากาตะล้วนประสบกับสภาวะอากาศโหดร้ายจากทะเล รวงข้าวของที่ราบโชไน

ทัศนียภาพอันเป็นเอกลักษณ์ของทุ่งนาทางเหนือของโทโฮคุ

ทันทีที่ฤดูใบไม้ผลิมาถึง น�้ำที่ละลายจากหิมะไหลรวมกันลงไปยังแม่น�้ำขนาดใหญ่และช�ำระล้างทุ่งนาที่ สร้างขึ้นบนทุ่งกว้าง เนื่องจากปรากฏการณ์ foehn ซึ่งลมแห้งพัดลงมายังภูเขา อุณหภูมิในช่วงเที่ยงจึงสูง มาก แต่เย็นลงในช่วงเย็น ดังนั้น การผลิตข้าวที่เป็นเอกลักษณ์ชนิดนี้จึงเกิดขึ้นได้ เมืองสะคะตะเป็นยุ้ง ฉางส�ำหรับเก็บข้าวมาอย่างยาวนาน และโกดัง “ซังเคียว โซโคะ” (Sankyo Soko) ซึ่งสร้างขึ้นในปี 1893 ก็ ยังคงใช้งานอยู่จนถึงปัจจุบัน ในเดือนตุลาคม เมื่อฤดูเก็บเกี่ยวใกล้มาถึง รวงข้าวสีทองพลิ้วไหวไปกับสายลม และทัศนียภาพที่เป็น ตัวแทนของประเทศญี่ปุ่นก็แผ่ไปทั่วภูมิภาค ชมเสี้ยวหนึ่งของทิวทัศน์เปี่ยมเสน่ห์จากรถไฟท้องถิ่นหรือ ชินคันเซ็น ซึ่งท�ำให้ทริปรอบโทโฮคุของคุณสมบูรณ์ได้ในฤดูใบไม้ร่วง ส�ำหรับชาวญี่ปุ่น ภูมิภาคนี้น�ำเสนอกิจกรรมพิเศษที่ชวนให้ตั้งตารอคอย - การชิม “ข้าวใหม่” ในบริเวณ เพาะปลูกข้าว คุณสามารถค้นหาอาหารหลากหลายที่ชัญพืชสีขาวทองนี้ ยกตัวอย่างเช่น ที่อะคิตะ มี อาหารเรียกว่าคิริทันโปะ (kiritanpo) ที่มีชื่อเสียง ข้าวหุงใหม่ๆ จะถูกน�ำไปเสียบไม้ที่ท�ำจากไม้ซีดาร์ ของอะคิตะ แล้วน�ำไปย่าง มันเป็นมื้ออาหารแบบดั้งเดิมที่เสิร์ฟพร้อมกับหม้อไฟ ซึ่งมีทั้งเนื้อไก่และผัก ต่างๆ คิริทันโปะนั้นมีวางจ�ำหน่ายตลอดทั้งปีในร้านอาหารท้องถิ่นและร้านจ�ำหน่ายของที่ระลึก แต่ถือจะ ยิ่งพิเศษขึ้นไปอีกถ้าได้กินในระหว่างช่วงฤดูเก็บเกี่ยว

โกดัง “ซังเคียว โซโคะ” ใช้เวลา 2 ชั่วโมง นั่งรถจากสถานี Niigata (JR Joetsu Shinkansen) ไป จนถึงสถานี Sakata (สาย JR Uetsu) และจากตรงนั้นนั่งรถยนต์อีก 5 นาที

ศิลปะทุ่งนา

ผู้คนในหมู่บ้านอินาคะดาเตะที่อาโอโมริเปลี่ยนทุ่งนาให้เป็นผืนผ้าใบ แล้วลงสีต้นกล้าให้เป็นสีต่างกันไปทุกปี ในปี 2017 พวกเขาใช้สี 7 สี และอนุภาคของข้าว 13 ชนิด รวมไปถึงเทคนิคทางศิลปะและการชั่ง ตวงวัด เพื่อสร้างสรรค์งานออกแบบที่ละเอียดลออและไร้ที่ติอย่างยิ่ง แม้ว่าเมืองอื่นจะพยายามท�ำตามอย่างพวกเขา ศิลปะทุ่งนาของอินา คะดาเตะก็ ยั ง คงเป็ น ที่ สุ ด ในด้ า นคุ ณ ภาพและความงามในการ ออกแบบ งานนิทรรศการจัดแสดงศิลปะทุง่ นา นัง่ รถจากสถานี Hirosaki (Konan Tetsudo Railway) จนถึงสถานี Tamboâto 20 นาที

ทุ่งหน้าสีทองส่องประกายที่นีงะตะ

“ข้าวใหม่” ขัดมัน

หม้อไฟคิริทันโปะบนเตาไฟ


ผลไม ้ ที่ดีที่สุดส�ำหรับ ฤดูใบไม ร้ ว่ ง

ชิมรสผลไม้ที่ดีท่ีสุดในฤดูใบไม้ร่วงของโทโฮคุได้ด้วยการนั่งรถไฟที่ท่องผ่านป่าหลากสี ในฤดูใบไม้ร่วง ลงที่สถานีฟุรุคะวะ บนโทโฮคุ ชินคันเซ็น แล้วขึ้นรถไฟสาย ริคู อีสต์ รถไฟสายนี้วิ่งผ่านหมู่บ้านน�้ำพุร้อนนะรุโคะ (Naruko) ซึ่งมีประวัติศาสตร์กว่า 1000 ปี นะรุโคะมีหมู่น�้ำพุร้อนถึงห้ากลุ่ม – นะรุโคะ อีสต์ นะคะยะมะไดระ คะวะทะบิ และโอ นิโคะเบะ – และเป็นที่ตั้งของช่องเขานะรุโคะ ช่องเขาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในภูมิภาค โทโฮคุ จากสถานีนะรุโคะ ออนเซ็น รถไฟแล่นไปตามแม่น�้ำอะระโอะงะวะ ก่อนจะไต่ ขึ้นอย่างช้าๆ ไปยังช่องเขานะรุโคะ ที่ซึ่งใบไม้หลากสีสันแต่งแต้มหน้าผาในฤดูใบไม้ ร่วง นี่เป็นหนึ่งในเส้นทางรถไฟที่มีทัศนียภาพงดงามที่สุดในญี่ปุ่น (ฤดูชมใบไม้เปลี่ยน สีนั้นเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมไปจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน) ชินโจะเป็นสถานีสุดท้ายของรถไฟสายริคู อีสต์ หลังจากชมใบไม้เปลี่ยนสี ลองนั่ง รถไฟชินคันเซ็นไปจังหวัดยามากาตะเพื่อรับประทานผลไม้ตามฤดูกาลดูไหม? เป็นที่ รู้จักในฐานะอาณาจักรแห่งผลไม้ ยามากาตะเป็นผู้ผลิตเชอร์รี่และลูกแพร์อันดับหนึ่ง ในประเทศญี่ปุ่น มีการปลูกแอปเปิ้ล องุ่น และผลไม้หวานฉ�่ำอื่นๆ ที่นี่ นักท่องเที่ยว สามารถเยี่ยมชมสวนผลไม้ เก็บองุ่นด้วยมือ (ต้นเดือนกันยายนถึงปลายเดือนตุลาคม) เก็บลูกแพร์ (เดือนตุลาคม) หรือกระทั่งลองท�ำลูกพลับแห้งได้ สวนที่เปิดให้นักท่อง เที่ยวเข้านั้นมีที่เมืองคะมิโนะยะมะ และเมืองเทนโดะ ยามากาตะ

ท�ำพาร์เฟ่ต์ของคุณเองที่ Takahashi Fruit Land ในเมือง Kaminoyama จังหวัด Yamagata

เวิร์กช็อปท�ำลูกพลับแห้ง (Takahashi Fruit Land)

ใบไม้เปลี่ยนสีที่วัดบนภูเขายะมะ-เดระ นั่งรถจากสถานี Yamagata (JR Yamagata Shinkansen) ไปจนถึง สถานี Yamadera (JR Senzan line) 20 นาที

อีกหนึ่งสถานที่ที่ต้องไปให้ได้ก็คือวัดริชชาคุ (Risshakuji) วัดแห่งนี้มีอีกชื่อว่ายะมะเดะระ (Yamadera) ประกอบไปด้วยโถงใหญ่และเล็ก 30 แห่ง บันไดหิน ปกคลุมด้วยหญ้ามอสส์เริ่มต้นจากเชิงเขา แล้วขึ้นไปยัง โถงกว้างใหญ่และวัดบนผาหินขรุขระ ทิวทัศน์จากสรวง สวรรค์ ที่มาพร้อมกับใบไม้แดงดูเหมือนกับภาพวาดบน แผ่นไม้ญี่ปุ่นไม่มีผิด มาเยี่ยมเยือนโทโฮคุในฤดูใบไม้ ร่วง เพื่อเติมเต็มต่อมรับรสและชุบชูจิตวิญญาณ เมืองมุระคะมิ ลงที่สถานี Kaminoyama-Onsen (JR Yamagata Shinkansen

ที่ยามากาตะ คุณสามารถเก็บลูกแพร์ ได้ ตั้งแต่กลางเดือนกันยายนถึงปลายเดือนตุลาคม

ทิวทัศน์ของหุบเขานะรุโคะ


รสชาติของท้องทะเล

อาหารปรุงจากปลาแซลมอน (ย่างเกลือ หมักเหล้าสาเกหรือรมควัน)

ฤดูใบไม้ร่วงเต็มไปด้วยกิจกรรมที่โทโฮคุ นี่เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนท้องถิ่นต่างยุ่งกับการ ถนอมอาหารไว้ส�ำหรับฤดูหนาวที่ยาวนานและโหดร้ายที่รออยู่ข้างหน้า ขอเชิญชวนให้ผู้ เยี่ยมชมมาลิ้มลองรสชาติของการปรุงอาหารแบบดั้งเดิมนี้ ยุระที่เมืองทสึรุโอะคะ ท่าเรือประมงที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดยามากาตะ ได้พัฒนาหลากหลายวิธีในการถนอม ปลาแซลมอนที่ยอดเยี่ยมของพวกเขา หนึ่งในนั้นคือการทาด้วยกากจากการกลั่นเหล้า และซอสมิโสะ ผู้คนท้องถิ่นกล่าวกันว่าปลาแซลมอนอร่อยเป็นพิเศษในระหว่างช่วง วางไข่ และพวกเขาแนะน�ำให้รับประทานตั้งแต่หัวไปจนถึงหาง นอกเหนือไปจากการกิน แบบดิบๆ และการกินกับซูชิแล้ว คุณยังสามารถย่างกับเกลือ หมักกับซอสถั่วเหลืองและ ต้มในซอสหวานของญี่ปุ่นได้ด้วย

ปลาแซลมอนแขวนยื่นออกมาจากชายคา เพื่อตากลมหนาวจากทะเล เมืองมุระคะมิ จังหวัดนีงะตะ

นีงะตะที่เมืองมุรุคะมิ มีชื่อเสียงด้านอาหารจากปลาแซลมอนมาตั้งแต่ยุคเอโดะ มี ธรรมเนี ย มในการแขวนปลาแซลมอนหมั ก เกลื อ ไว้ บ นชายคาบ้ า นในช่ ว งต้ น เดื อ น ธันวาคม ลมแห้งและเย็นที่ทะลักเข้ามาในฤดูหนาวดูดความชื้น ท�ำให้ปลาแซลมอนหมัก เกลือแห้งสนิท มอบรสสัมผัสที่เข้มข้นลึกล�้ำ ภาพของปลาแซลมอนนับพันถูกแขวนยื่น ออกมาจากบ้านแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมในฤดูหนาวนั้นน่าตื่นตะลึงจริงๆ ปลาแซนด์ฟิชญี่ปุ่นเป็นอาหารที่หาได้ท่ัวไปในฤดูหนาวเช่นกัน ปลาชนิดนี้ถูกขนานนาม ว่า “ปลาพระเจ้า” แห่งคาบสมุทรโองะ ว่ายไปยังจังหวัดอะคิตะเพื่อวางไข่ในเดือน ธันวาคม ปลาแซนด์ฟิชญี่ปุ่นหมักเกลือนั้นเป็นแหล่งโปรตีนที่ส�ำคัญในฤดูหนาว ผู้คนที่ อาคิตะย่างมันกับเกลือ ต้มในหม้อไฟ แล้วรับประทานกับสาหร่ายทะเล อาหารเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ต้องลิ้มชิมรสให้ได้เมื่อมาเยือนโทโฮคุ! เมืองมุระคะมิ นั่งรถจากสถานี Niigata (JR Joetsu Shinkansen) ไปจนถึงสถานี Murakami (JR Joetsu Line) 1 ชั่วโมง

การปรุงอาหารอย่างมืออาชีพระหว่างการหมัก เมืองมุระคะมิ จังหวัดนีงะตะ

ตลาดปลาที่สะคะตะ

ทิวทัศน์ของทะเลญี่ปุ่นในฤดูใบไม้ร่วงจากคาบสมุทรโองะ

อาหารจากปลาแซนด์ฟิชญี่ปุ่น


เริ่มต้นการเดินทางของคุณด้วย 16 สถานที่แห่งประสบการณ์ คงความเป็นธรรมชาติ ทรงคุณค่าในห้วงเวลา และเก็บความทรงจ�ำดั้งเดิมนับศตวรรษของประเทศญี่ปุ่น Japan Heritage

ฮอกไกโด A เทศกาลนามาฮาเงะ เซโดะ B โรคุโก คามาคุระ / เทศกาลโยโคเตะ ยูกิ

(บอนเต็น, คามาคุระ) / คาคุโนะดาเตะ ฮิบุริ คามาคุระ / เทศกาลยูซาว่า อินุกโกะ C เทศกาลฮาจิโนะเฮะ เอ็นบุริ D ปราสาทฮิโรซากิ เทศกาลยูกิโดโร

โออิราเสะ

สนามบินอะโอโมริ

ภูเขาโมริโยชิ

สถานี Hirosaki

D

1

A

6

4

สถานี Kakunodate

สถานี Shin-hanamaki E

8 12

11 สถานี Tsuruoka สถานี Murakami

G

16 อุระ-บันได

I

สถานี Niigata H

สถานี Tokyo

เช็ครายละเอียดเพิม่ เติมได้ที่

F

สนามบินเซนได หมูบ้านจิ้งจอกมิยางิ ซาโอะ สถานี Sendai

โคคุเซคิจิ โซมินไซ การประดับไฟฤดูหนาวที่เซ็นได คิชู คาเซโดริ เทศกาลเทียนภาพไอซึ นีงะตะ ซันโจ เคนโทไซ

7. คาไมชิ / โทโนะ: นัง่ รถไฟสาย Local จากสถานี Tohoku Shinkansen Shin-Hanamaki ไปสถานี Kamaishi Station 90 นาที / นัง่ รถไฟสาย Local จากสถานี Shin-hanamaki ไปสถานี Tono 60 นาที

9. เคเซ็นนุมะ: นัง่ รถไฟสาย Local จากสถานี Tohoku Shinkansen Ichinoseki ไปสถานี Kesennuma 1 ชม. 20 นาที 10. โจไค: นัง่ รถไฟสาย Local จากสถานี Hiraizumi ไปสถานี Ugo-Honjo 45 นาที 11. ซากาตะ / ทสึรโุ อกะ / เดวะซันซัน: นัง่ รถไฟสาย Local จากสถานี Joetsu Shinkansen Niigata ไปสถานี Tsuruoka 1 ชม. 50 นาที /นัง่ รถไฟสาย Local 35 นาทีจากสถานี Tsuruoka ไปสถานี Sakata 35 นาที / นัง่ รถบัส จากสถานี Tsuruoka ไป Dewassanzan (Hagurosan) 50 นาที อ่านต่อหน้า 12

สถานี Koriyama

E F G H I

6. คาคุโนะดาเตะ / ทะเลสาบทาซาวะ: นัง่ รถไฟ Akita Shinkansen จาก สถานี Tohoku Shinkansen Morrioka หรือสถานี Akita Shinkansen Akita Station 50 นาที อ่านต่อหน้า 5, 6

8. ฮิราอิซูมิ: นัง่ รถไฟสาย Tohhoku Main จากสถานี Tohoku Shinkansen Ichinoseki ไปสถานี Hiraizumi 8 นาที อ่านต่อหน้า 7

สถานี Fukushima

15

รถไฟชินกันเซ็น ถนน ถนนสายหลัก Tohoku Main Line รถไฟ Tsugaru Limited Express รสบัส

ชายหาดซันริคุ

สถานี Furukawa

13 14

7

9

สถานี Ichinoseki

สถานี Yamagata

5. โองะ: นัง่ รถไฟสาย Local จากสถานี Akita Shinkansen Akita ไปสถานี Hadachi 60 นาที อ่านต่อหน้า 3, 4

สถานี Morioka

สถานี Akita B

10

3. ชิราคามิ ซันจิ: นัง่ รถไฟสาย JR Gono จากสถานี JR Hirosaki 2 ชม. 40 นาที 4. ฮาจิมันไท: นัง่ รถบัสจากสถานี Tohoku Shinkansen Morioka ไปสถานี Appi Kogen 1 ชม. หรือนัง่ รถบัสจากสถานี Tohoku Shinnkansen Morioka ไปถึง ยอดของฮาจิมันไท 1 ชม. 10 นาที

สถานี Hachinohe

5

ภูเขาฮากุโระ

ฟาร์ม โคอิไว

C

2

1. ฮิโรซากิ: นัง่ รถไฟ Tsugaru Limited Express จากสถานี Tohoku Shinkansen Shin-Aomori 30 นาที อ่านต่อหน้า 8, 11 2. ฮักโกดะ / ทะเลสาบโทวาดะ / โออิราเสะ: นัง่ รถบัสของ JR จากสถานี Tohoku Shinkansen Shin-Aomori 2 ชม. 15 นาที หรือนัง่ รถบัสของ JR จากสถานี Hachinohe 2 ชม. 15 นาที อ่านต่อหน้า 11

สถานี Shin-Aomori

3

ที่พักอาศัยของซามูไรคาคุโนะดาเตะ

http://www.bunka.go.jp/seisaku/bunkazai/nihon_ isan/pdf/nihon_isan_pamphlet_english.pdf

สถานี Shin-Hakodate Hokuto

จังหวัดอะโอโมริ จังหวัดอะคิตะ จังหวัดอิวะเตะ จังหวัดยะมะงะตะ จังหวัดมิยะงิ จังหวัดฟุคุชิมะ จังหวัดนีงาตะ โตเกียว

12. นะรุโ คะ: นัง่ รถไฟสาย Local จากสถานี Tohoku Shinkansen Furukawa ไปสถานี Naruko Onsen 50 นาที อ่านต่อหน้า 13 13. เซ็นได / มัตสุชิมะ: นัง่ รถไฟสาย Local จากสถานี Tohoku Shinkansen Sendai ไปสถานี Matushima 1 ชม. 30 นาที อ่านต่อหน้า 8-10 14. ซาโอะ / ยามะเดระ: นัง่ รถบัสจากสถานี Yamagata Shinkansen Yamagata Station ไป Zao Onsen 40 นาที อ่านต่อหน้า 13 15. ไอซึ / คิตาคานะ / บันได / โอจิ-จุคุ: นัง่ รถไฟสาย Local จากสถานี Tohoku Shinkansen Koriyama ไปสถานี Aizuwakamatsu Station 1 ชม. 5 นาที อ่านต่อหน้า 1, 2 ,8, 9 16. นีงะตะ / มุรากามิ: จากสถานี Joetsu Shinkansen Niigata 1 ชม. อ่านต่อหน้า 6, 12

www.wattention.com/tohoku-special

Search

The information above is current as of June 2017.

ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2017


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.