006103art

Page 1

1

บทที่ 8 หลักศิลปะในชีวิตประจําวัน จารุนนั ท เชาวนดี ในปจจุบนั มนุษยอาศัยอยูในสิ่งแวดลอมทีถ่ ูกสรางขึ้นดวยฝมือของมนุษยเพราะมนุษยมีความ ตองการมีความปรารถนา ดังนั้นมนุษยจงึ ตองแสวงหาสิ่งตาง ๆ เพื่อนํามาบําบัดความอยาก หรือความ ตองการ เพื่อทําใหชีวิตมีความสุข และสมหวัง ความตองการตาง ๆ เหลานี้จงึ มีผลตอชีวิตและจิตใจของ มนุษยในการดํารงชีวิต การที่มนุษยจะดํารงชีวิตอยูอยางมีความสุขนั้น จะขึ้นอยูกับปจจัย 3 ประการ อันไดแก 1. ปจจัยที่สนองความตองการทางกายไดแก อาหาร เครื่องนุงหม ที่อยูอาศัยและยารักษาโรค ปจจัย ทั้ง 4 นี้ เปนปจจัยสําคัญสําหรับชีวิตของมนุษย หากมนุษยขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดแลว ชีวิตจะปราศจากความสุข 2. ปจจัยที่สนองความตองการทางอารมณ เปนความตองการที่เกิดขึ้นจากจิตใจของมนุษย ความสุข ความสมหวัง ความรัก หรือความงาม เปนความตองการที่มนุษยทกุ คนแสวงหา เปนความตองการที่สนองใน ดานอารมณ และความรูสึกทีท่ ําใหเกิดความพึงพอใจ 3. ปจจัยที่สนองความตองการทางสังคม เปนความตองการที่อยากใหตนเองเปนสวนหนึ่งของสังคม หรือตองการที่จะมีความสัมพันธกับผูอื่น และมีความปรารถนาที่จะทําประโยชนเพื่อสวนรวม เปนตน จากปจจัยที่กลาวมา หากผูปฏิบัติตองการอยูอยางมีความสุข ควรคํานึงถึงความสุนทรีย (Aesthetic) เพราะความสุนทรียจะชวยหลอหลอมชีวิตใหมีความรื่นรมย เบิกบาน และมองโลกที่ดํารงชีวิตอยูอยางมี ความสุข ทั้งกายและใจการที่มนุษยยอมรับวาศิลปะคือ การแสดงออกของอารมณตามความพอใจ ศิลปะก็จะ มีประโยชนและเกี่ยวของกับปจจัยที่สนองความตองการทางอารมณเปนอยางยิ่งเพราะผลงานทางศิลปะจะ ชวยใหมนุษย มีความสุขและรูจักคุณคาของความงามในสิ่งตาง ๆ รอบตัวไดเปนอยางดี เมื่อมนุษยมีความผูกพันอยูในสังคม มนุษยจึงตองสรางสิ่งตาง ๆ เพื่อประโยชนสุขของสังคม การ สรางสรรคผลงาน หรือการออกแบบตาง ๆ จึงทําเพื่อประโยชนสุขของสังคม และในขณะเดียวกัน ก็ทําเพื่อ ประโยชนสุขของตนเอง การแตงกายอยางเรียบรอย ถูกตองตามกฎ ระเบียบ เปนการสรางระเบียบ วินัย เพื่อ ตนเองและสังคม การรักษาความสะอาดในบาน หรือทิ้งขยะในถังขยะก็เปนการทําเพื่อสังคม เมื่อมนุษยเปน ผูผลิตมนุษยก็เปนผูรับในขณะเดียวกัน ดังนั้นในการผลิต ผูผลิตจึงตองคํานึงถึงคุณสมบัติในการออกแบบ และผูรับจะตองคํานึงถึงรสนิยมของการเลือกใชตามความเหมาะสม รสนิยมจึงเกี่ยวของกับศิลปะและการ ออกแบบ หากบุคคลใดสนใจและไดเรียนรูในเรื่องของศิลปะ จะทําใหบุคคลนั้นมีรสนิยมที่ดี และรูจักเลือก


2

ของใชที่เหมาะสม การแตงกายอยางถูกตามกาละเทศะ หรือการจัดตกแตงสถานที่อยูอาศัยใหนาอยู จึงเปนสิ่ง สําคัญในชีวิตมนุษย เพราะสิ่งตาง ๆ เหลานี้จะเกี่ยวของกับชีวิตประจําวันของมนุษย ดังนั้นไมวาจะทําในสิ่ง ใด ศิลปะจะถูกนํามาเกี่ยวของดวยเสมอไมวาจะเปนทางตรงหรือทางออม ศิลปะจึงมีประโยชนกับวิถีชีวิต มนุษย และมีความสําคัญไมยิ่งหยอนไปกวาเรื่องอื่นใด

8.1 องคประกอบของศิลปะ องคประกอบของศิลปะที่นํามาประยุกตใชในการออกแบบที่เกีย่ วของกับชีวิตประจําวันกอนทีจ่ ะ เขาสูเรื่องของศิลปะในชีวิตประจําวัน ผูเ รียนควรเขาใจถึงองคประกอบของศิลปะที่สาํ คัญ และนํามาเกี่ยวของ กับการประยุกตใชเสียกอนองคประกอบของศิลปะทีน่ ํามาประยุกตใชในปจจัย 4 ที่เกี่ยวของกับ ชีวิตประจําวันที่สําคัญ มีดังนี้ 1.ขนาดและสัดสวน (Size and Proportion)ในการทํางานศิลปะขนาดและสัดสวน เปนเรื่องที่ควร ใหความสนใจ เพราะขนาดและสัดสวนเปนสวนหนึ่งขององคประกอบที่สัมพันธกัน โดยขนาดจะทําหนาที่ กําหนดขอบเขตของงาน และสัดสวนจะทําหนาที่สรางความสัมพันธขององคประกอบนั้นใหดูสวยงาม 2.ความกลมกลืน (Harmony)ความกลมกลืนเปนการกระทําโดยการจัดองคประกอบของสิ่งตาง ๆ ใหมีความสัมพันธกลมกลืน และนุมนวล ความกลมกลืน สามารถแบงไดหลายประการ เชน ความกลมกลืน ของเสน สี ขนาด หรือรูปทรง การใชความกลมกลืนขึ้นอยูกับความเหมาะสมของงาน 3.การตัดกัน (Contrast)การทํางานศิลปะ หากมีความเรียบงายเกินไปบางครั้งจะทําใหขาดจุดเดน หรือจุดสนใจ ดังนั้นการตัดกัน จึงมีวัตถุประสงค เพื่อใหผลงานดูโดดเดน นาสนใจ และสุดตา แตในการตัด กัน ควรพิจารณาถึงปริมาณที่เหมาะสม เชน ตัดกันในปริมาณ 60 – 40 เปอรเซ็นต หรือ 80 – 20 เปอรเซ็นต ซึ่งขึ้นอยูกับวัตถุประสงคของงาน 4.เอกภาพ (Unity)หากการออกแบบมีความสับสน วุนวาย หรือกระจัดกระจาย ผลงานนั้นจะหา จุดเดนหรือจุดสนใจไมได แตหากนําสิ่งยุงเหยิงนั้นมารวมกันอยางมีเอกภาพ ก็จะเกิดมวลที่ปรากฎชัดเจน เอกภาพจึงเปนการวบรวมสิ่งตาง ๆ ที่อยูกระจายทั่วไปใหเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน 5.การซ้ํา (Repetition)การซ้ําสามารถทําไดโดยการซ้ํากันตลอด โดยใชรูปแบบเดิมหรือวัสดุเดิม หรือซ้ําที่เปลี่ยนรูปแบบหรือวัสดุใหม ในการซ้ําวัตถุประสงค เพื่อถายทอดความรูสึกใหตอเนื่องกันไดเปน อยางดี ในการออกแบบการซ้ําสามารถทําไดโดยการซ้ําที่เหมือนกันตลอดของรูปแบบเพื่อเกิดความเรียบงาย และลดการขัดแยง กับการซ้ําที่แปรเปลี่ยนคือ การซ้ํากันที่มีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพื่อเพิ่มความ แตกตางใหนาสนใจยิ่งขึ้น


3

6.จังหวะ (Rhythm)จังหวะกับการซ้ํา มีความคลายคลึงกันมาก และทั้งสองประการนี้จะทําควบคู กันเสมอ จังหวะเปรียบเสมือนขั้นตอน หรือทวงทํานองของการเกิด การซ้ํากันคือรูปแบบของทวงทํานอง จังหวะยังใชในการเชื่อมโยงสายตาไปสูจุดหมายไดเปนอยางดี 7.ความสมดุล (Balance)ความสมดุล หรือดุลยภาพเปนกระบวนการของน้ําหนักที่เกิดจากการถวง น้ําหนักของวัตถุใหเกิดความรูสึกที่ถวงดุลซึ่งกันและกัน สิ่งสําคัญในการถวงดุล คือเสนแกน ดังนั้นในการ หาความสมดุลจะตองรูเสนแกนขององคประกอบทั้งหมดเสียกอนความสมดุลเปนเรื่องของกฎเกณฑ ดังนั้น ในการใชจะตองศึกษาใหรอบคอบมิเชนนั้นผลงานอาจขาดความสมบูรณได 8.สี (Color)สีเปนปจจัยสําคัญในงานศิลปะ เพราะสีมีอิทธิพลตอการมองเห็น และสียังสามารถ กระตุนใหเกิดความรูสึกไดในทันทีที่พบเห็น สีจึงเปนสิ่งสําคัญในงานศิลปะทุกประเภท

8.2 การประยุกตศิลปะเพื่อใชในการดํารงชีวิต เปนที่ทราบกันดีแลววา ปจจัยสี่คือ สิ่งสําคัญในการดํารงชีวิตของมนุษย มนุษยตองการที่อยูอาศัย เพื่อปองกันภัยอันตรายจากภายนอก มนุษยตองการอาหารเพื่อใหรางกายแข็งแรง มนุษยตองการอาหารเพื่อ ใหรางกายแข็งแรง มนุษยยังตองการเสื้อผาหรือเครื่องนุงหมไวปกปด รางกายจากสิ่งแวดลอมรอบตัว และ มนุษยยังตองการยา เพื่อรักษาโรคภัยไขเจ็บ สิ่งตาง ๆ เหลานี้ลวนแลว แตเปนสิ่งสําคัญและจําเปนสําหรับ ชีวิตมนุษยอยางยิ่งเมื่อมนุษยตระหนักถึงความสําคัญมนุษย จึงตองใหความสนใจและเอาใจใสดูแลในเรื่อง ดังกลาว การใหความสําคัญในรายละเอียดตาง ๆ จึงถูกนํามาพิจารณา และปรุงแตงปจจัยใหสนองความ ตองการ และแสดงถึงคุณคาของความงามสิ่งนั้นศิลปะหากมนุษยยอมรับวาศิลปะคือ การแสดงออกของ อารมณตามความพอใจ ศิลปะก็จะมีประโยชนและเกี่ยวของกับปจจัยที่สนองความตองการทางอารมณเปน อย า งยิ่ ง หากมนุ ษ ย มี ค วามเครี ย ด ศิ ล ปะสามารถสร า งความเบิ ก บานให แสดงว า เขาผู นั้ น เข า ถึ ง ศิ ล ปะ นอกจากนี้การเขาถึงศิลปะจะทําใหมนุษยมีรสนิยมที่ดี การมีรสนิยมจะเกี่ยวของกับศิลปะและการออกแบบ รสนิยมเปนความพอใจของมนุษยที่นําหลักการทางศิลปะมาผสมผสานใหเกิดความพอดี เพราะความพอดี และความพอใจ หากมนุษยเขาถึงศิลปะไดมากเขาผูนั้นก็จะมีรสนิยมที่ดีดังนั้นศิลปะจึงมีประโยชนตอมนุษย และตอการดํารงชีวิตในปจจุบัน การนําศิลปะมาใชในชีวิตประจําวันเปนการนําหลักการทางศิลปะมาผสมผสานกับการดํารงชีวิตอัน ไดแก ♦ ศิลปะกับที่อยูอาศัย ♦ ศิลปะกับอาหาร ♦ ศิลปะกับเครื่องนุงหม


4

8.3 ศิลปะกับที่อยูอาศัย มนุษยเหมือนสัตวทั่วไปที่ตองการสถานที่ปกปอง คุมครองจากสิ่งแวดลอมรอบกาย ไมวามนุษยจะ อยูแหงใด สถานที่อยางไร ที่อยูอาศัยจะสรางขึ้น เพื่อปองกันภัยอันตรายจากสิ่งแวดลอมภายนอกที่อยูอาศัย เปนหนึ่งในปจจัยที่มีความสําคัญและจําเปนสําหรับการดํารงชีวิตของมนุษย มนุษยจึงมีการพัฒนาที่อยูอาศัย เพื่อสนองความตองการและความพอใจของแตละบุคคลมนุษยทุกคนมีการพัฒนาการในชีวิตของตนเอง มนุษยจึงนําพั ฒนาการเหล านี้มาใช ใหเปนประโยชน การพัฒนาที่ อยูอาศัย จึงเปนหนึ่งในปจ จัย ที่สําคัญ สําหรับมนุษยที่อยูอาศัยในปจจุบันถูกพัฒนาใหทันสมัยกวาในอดีตเนื่องจากตองปรับปรุงใหเหมาะสมกับ สภาพการณและสิ่งแวดลอมของโลกที่เปลี่ยนแปลง แตในการปรับปรุงนั้น ควรคํานึงถึงสภาพทางภูมิศาสตร และวัฒนธรรมทองถิ่นควบคูกันไปการพัฒนาที่อยูอาศัยนั้นจึงจะเหมาะสมและสนองความตองการ อยางแทจริง ที่อยูอาศัยโดยเฉพาะบานในปจจุบัน จะมีรูปแบบที่เรียบงายใกลชิดธรรมชาติและคํานึงถึงประโยชน ใชสอยเปนหลัก และเนนในเรื่องเทคโนโลยีตางๆ เพิ่มมากขึ้น เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามรสนิยมการ บริโภค นอกจากนี้ในการจัดตกแตงภายในจะมีการผสมผสานการตกแตงแบบตะวันตกและตะวันออกเขา ดวยกัน ทําใหเกิดผลงานการตกแตงในรูปแบบ Contemporary และ Oriental ที่ใชงานไดสะดวกตามรูปแบบ ตะวันตก ปจจัยอีกประการหนึ่งในการจัดตกแตงภายในบานคือการนําหลักการทางศิลปะมาผสมผสานเขากับ การตกแตง เพื่อใหการดํารงชีวิตภายในบานสะดวกทั้งกายและใจ และแสดงออกถึงความงดงาม และมี รสนิยมของผูเปนเจาของบาน องคประกอบทางศิลปะจึงถูกนํามาเกี่ยวของ องคประกอบทางศิลปะที่นํามาใช ในการจัดแตงแตงที่อยูอาศัย ไดแก 1. ขนาดและสัดสวน (Size and Proportion) ขนาดและสัดสวนนํามาใชในการจัดที่อยูอาศัย ไดแก ♦ ขนาดของหอง ในการกําหนดขนาดของหองตาง ๆ จะขึ้นอยูกับกิจกรรมที่ทํา หากเปนหองที่ ใชกิจกรรมมาก เชน หองอาหาร หองครัว หรือหองรับแขก ควรกําหนดขนาดของหองใหมีพื้นที่รองรับ กิจกรรมนั้น ๆ ใหเหมาะสม ไมเล็กจนเกินไป เพราะจะทําใหคับแคบและไมสะดวกตอการทํากิจกรรม ♦ จํานวนของสมาชิกในครอบครัว ในการกําหนดขนาดของหองตาง ๆ ควรคํานึงถึงจํานวน ของสมาชิกวามีมากนอยเพียงใด เพื่อจะไดกําหนดขนาดของหองใหเหมาะสมกับสมาชิก ♦ เครื่องเรือน ในการกําหนดขนาดของเครื่องเรือน ควรกําหนดใหมีขนาดพอดีกับหองและ สมาชิก หรือขนาดพอเหมาะกับสมาชิกไมสูงหรือเตี้ยขนใชงานไมสะดวก ในการออกแบบเครื่องเรือน หรือ จัดพื้นที่ภายในบานจะมีเกณฑมาตรฐานที่ใชกันโดยทั่วไป ดังนี้


5

หองรับแขก ♦ โซฟา ขนาด 0.05 x 0.6เมตร สูง 0.38 – 0.40 เมตร ♦ เกาอี้เดี่ยว ขนาด 0.40 x0.40 เมตร สูง 0.38 – 0.40 เมตร ♦ โตะกลาง ขนาด 0.60 x0.65 x 1.40 เมตร สูง 0.40 เมตร หองอาหาร ♦ โตะอาหารมีหลายแบบไดแกขนาด 0.75 x 1.00 เมตร จนถึง 1.10 x2.40 เมตร หองครัว ♦ ควรมีขนาด 0.50 x 0.55 เมตรสูง 0.80 x 0.90 เมตร ความยาวขึ้นอยูกับหอง หองน้ํา ♦ ควรมีขนาด 2.00 – 3.00 เมตรซึ่งแลวแตขนาดของหอง สวนสุขภัณฑในหองจะมีขนาดมาตร ฐานโดยทั่วไป หองนอน ♦ เตียงนอนเดีย่ ว มีขนาด 0.90-1.0 x 2.00 เมตร สูง 0.50 เมตรเตียงนอนคู มีขนาด 1.80 x 2.00เมตร สูง 0.40 - 0.50 เมตร ตูเสื้อผา ขนาด 0.50 – 0.80x 2.50 เมตร 2. ความกลมกลืน(Harmony)ความกลมกลืนของศิลปะที่นํามาใชในการจัดตกแตงที่อยูไดแก ♦ ความกลมกลืนของการตกแตงที่อยูอาศัย การนําธรรมชาติมาผสมผสานในการตกแตง จะทํา ใหเกิดความสัมพันธที่งดงามการใชตนไมตกแตงภายในอาคารจะทําใหเกิดบรรยากาศที่รมรื่น เบิกบานและ เปนธรรมชาติ ♦ ความกลมกลืนของเครื่องเรือนในการตกแตงภายในการเลือกเครื่องเรือนเครื่องใชที่เหมาะสม และสอดคลองกับการใชสอย จะทําใหเกิดความสัมพันธในการใชงาน การเลือกวัสดุที่ใชประกอบเครื่อง เรือนภายในครัว ควรเปนวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ทนรอนและทนรอยขูดขีดไดดี เชน ฟอรไมกา แกรนิตหรือ กระเบื้องเคลือบตาง ๆ ♦ ความกลมกลืนของสี ในการตกแตง ซึ่งตองใชดวยความระมัดระวังเพราะหากใชไมถูกตอง แล ว จะทํ า ให ค วามกลมกลืน กลายเปน ความขั ด แย ง การใช สี ก ลมกลื น ภายในอาคาร ควรคํา นึ งถึ ง วัตถุประสงคของหองผูใช เครื่องเรือนและการตกแตง การใชสีกลมกลืนควรใชวิจารณญาณ เลือกสีให เหมาะสมกับวัตถุประสงคของการใช 3. การตัดกัน (Contrast)ในการตัดกันโดยทั่วไปของการจัดตกแตงที่อยูอาศัยนิยมทําในรูปแบบของ การขัดกันในการใชเครื่องเรือนในการตกแตง เพื่อสรางจุดเดนหรือจุดสนใจในการตกแตงไมใหเกิดความ


6

กลมกลืนมากเกินไป การออกแบบเครื่องเรือนแบบรวมสมัย จึงไดรับความนิยมเนื่องจากสรางความโดดเดน ของการตกแตงไดเปนอยางดี 4. เอกภาพ (Unity)ในการตกแตงสิ่งตาง ๆ หากขาดเอกภาพงานที่สําเร็จจะขาดความสมบูรณในการ ตกแตงภายใน การรวมกลุมกิจกรรมเขาดวยกัน การรวมพื้นที่ในหองตาง ๆ ใหเหมาะสมกับกิจกรรม จึงเปน การใชเอกภาพในการจัดพื้นที่ที่ชัดเจน การจัดเอกภาพของเครื่องเรือนเครื่องใชก็เปนสิ่งสําคัญ หาก เครื่องเรือนจัดไมเปนระเบียบยอมทําใหผูอาศัยขาดการใชสอยที่ดีและขาดประสิทธิภาพในการทํางาน 5. การซ้ํา (Repetition) การซ้ําและจังหวะเปนสิ่งที่สัมพันธกันการซ้ําสามารถนํามาใชในงาน ตกแตงไดหลายประเภทเพราะการซ้ําทําใหเกิดความสอดคลองของการออกแบบการออกแบบตกแตงภายใน การซ้ําอาจนํามาใชในการเชื่อสายตา เชน การปูกระเบื้องปูพื้นที่เปนลวดลายตอเนื่อง หรือการติดภาพประดับ ผนัง ถึงแมการซ้ําจะทําใหงานสอดคลอง หรือตอเนื่อง แตก็ไมควรใชในปริมาณที่มากเพราะจะทําใหดูสับสน 6. จังหวะ (Rhythm) การจัดจังหวะของที่อยูอาศัยทําไดหลายลักษณะ เชน การวางผังบริเวณหรือ การจัดแปลนบานใหมีลักษณะที่เชื่อมพื้นที่ตอเนื่องกันเปนระยะ หรือจังหวะ นอกจากนี้การจัดพื้นที่ใชสอย ภายในอาคารนับเปนสิ่งสําคัญ เพราะจะทําใหเกิดระเบียบและสะดวกตอการทํางาน และทําใหการทํางาน และทําใหการทํางานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การจัดพื้นที่ใชสอยภายในอาคารที่นิยมไดแก การจัดพื้นที่การ ทํางานของหองครัว โดยแบงพื้นที่การทํางานใหเปนจังหวะตอเนื่องกัน ไดแก พื้นที่ของการเก็บ การปรุง อาหาร การลาง การทําอาหาร และการเสิรฟอาหาร เปนตน 7. การเนน (Emphasis)ศิลปะของการเนนที่นํามาใชในที่อยูอาศัย ไดแก ♦ การเนนดวยสีการเนนดวยสีไดแก การตกแตงภายในหรือภายนอกอาคารดวยการใชสีตกแตง ที่กลมกลืน หรือโดดเดน เพื่อใหสะดุดตาหรือสดชื่นสบายตา ซึ่งขึ้นอยูกับวัตถุประสงคของการจัดนั้น ♦ การเนนดวยแสงการเนนดวยแสงไดแก การใชแสงสวางเนนความงามของการตกแตง และ เครื่องเรือนภายในบานใหดูโดดเดน การใชโคมไฟหรือแสงสวางตาง ๆ สามารถสรางความงามและให บรรยากาศที่สดชื่น หรือสุนทรียไดอยางดี ในการใชแสงไฟควรคํานึงถึงรูปแบบของโคมไฟ ที่ถูกตองและ เหมาะสมกับขนาและสถานที่ ตลอดจนความกลมกลืนของโคมไฟและขนาดของหอง ♦ เนนดวยการตกแตงการเนนดวยการตกแตงไดแก การใชวัสดุ เครื่องเรือน เครื่องใชหรือของ ตกแตงตาง ๆ ตกแตงใหสอดคลองสวยงามเหมาะสมกับรูปแบบและสถานที่ตกแตงนั้น ๆ 8. ความสมดุล (Balance)การใชความสมดุลในการจัดอาศัยไดแก จัดตกแตงเครื่องเรือน หรือวัสดุ ตาง ๆ ใหมีความสมดุลตอการใชงาน หรือเหมาะสมกับสถานที่ เชน การกําหนดพื้นที่ใชสอยที่สะดวกตอการ ทํางาน หรือการจัดทิศทางของเครื่องเรือนใหเหมาะสมกับสภาพแวดลอม และการทํางาน โดยเฉลี่ยกิจกรรม ใหเหมาะสมและสมดุล


7

9. สี (Color)สีมีความสัมพันธกับงานศิลปะ และการตกแตงสถานที่ เพราะสีมีผลตอสภาพจิตใจและ อารมณของมนุษย สีใหผูอยูอาศัยอยูอยางมีความสุข เบิกบานและรื่นรมย ดังนั้นสีจึงเปนปจจัยสําคัญของการ จัดตกแตงที่อยูอาศัยในการใชสีตกแตงภายใน ควรคํานึงถึงสิ่งตาง ๆ ดังตอไปนี้ วัตถุประสงคของหองหรือสถานที่ ในการใชสีตกแตงภายใน ควรคํานึงถึงวัตถุประสงคของหองหรือสถานที่ตกแตง เพื่อจะไดใชสีได อยางเหมาะสม การใชสีตกแตงสถานที่ตาง ๆ ภายในบาน แบงออกเปนหองตางๆ ดังนี้ หองรับแขก หองรับแขกเปนหองที่ใชในการสนทนา หรือตอนรับผูมาเยือน ดังนั้นหองรับแขก ควร ใชสีอบอุน เชน สีครีม สีสมออน หรือสีเหลืองออน เพื่อกระตุนใหเบิกบาน หองอาหาร หองอาหารควรมีสีที่ดูสบายตา เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร อาจใชสีที่กลมกลืน นุมนวล เพราะสีนุมนวลจะทําใหเกิดความสบายใจ หองครัวหอง ควรใชสีที่ดูสะอาดตา และรักษาความสะอาดงาย หองควรเปนหองที่ใชทํากิจกรรม จึงควรใชสีกระตุนใหเกิดความสนใจในการทํากิจกรรม หองนอน หองนอนเปนหองที่พักผอน ควรใชสีที่สบายตา อบอุน หรือนุมนวล แตการใชใน หองนอนควรคํานึงถึงผูใชดวย หองน้ํา หองน้ําเปนหองที่ใชทํากิจกรรมสวนตัว และตองการความสะบาย จึงควรใชสีที่สบายตาเปน ธรรมชาติ และสดชื่น เชน สีฟา สีเขียว หรือสีขาว และควรเปนหองที่ควรทําความสะอาดไดงาย ทิศทาง การใชสีตกแตงภายในควรคํานึงถึงทิศทางของหอง หองที่ถูกแสงแดดสองควรใชสีออน เพื่อสะทอนแสง สวนหองที่อยูในที่มืด หรืออับ ควรใชสีออนเพื่อความสวางเชนกัน เพศและวัย เพศชายหรือหญิง จะใชสีในการตกแตงไมเหมือนกัน เพศชายจะใชสีเขมกวาเพศหญิง เชนสีเขียวเขม สีฟา หรือเทา สวนเพศหญิงจะใชสีที่ออน และนุมนวลกวา เชน สีครีม สีเหลือง เปนตน วัย ในแตละวัยจะใชสีไมเหมือนกัน เชน หองเด็กจะใชสีออนหวานนุมนวล หองผูใหญจะมีสีที่ อบอุน หองผูสูงอายุจะใชสีที่นุมนวล ศิลปะไมไดเกี่ย วของกับการจัดตกแตงที่อยูอาศัยเพียงอยางเดีย ว แตศิลปะยังช วยจรรโลงใจให สมาชิกในครอบครัวอยูอยางมีความสุข หากตองการความสุขในครอบครัว ปจจัยหนึ่งที่ควรคํานึงถึงสิ่งนั้น คือ “ศิลปะ”

8.4 ศิลปะเกี่ยวกับการจัดอาหาร


8

อาหารเปนหนึ่งในปจจัยสี่ที่สําคัญของมนุษย อาหารนอกจากสนองความตองการทางกายของมนุษย แลว อาหารยังสนองความตองการทางดานจิตใจ สังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นในการบริโภคอาหารผูจัด อาหารจึงตองใชศิลปะในการสรางสรรคตกแตงอาหาร เพื่อใหอาหารเปนเครื่องจรรโลงใจในขณะเดียวกัน ศิลปะเกี่ยวกับการอาหาร มีองคประกอบศิลปะที่นํามาเกี่ยวของในการจัดอาหาร 1. ขนาดและสัดสวน (Size and Proportion)ในการจัดอาหาร ขนาดและสัดสวนนํามาเกี่ยวของใน การจัดอาหารในภาชนะ หากภาชนะมีขนาดเล็ก อาหารในจานควรมีปริมาณที่พอดี ไมมากจนลนหรือเลอะ ออกมานอกภาชนะ เพราะจะทําใหไมนารับประทาน ในการจัดอาหารบนโตะ หากโตะมีขนาดเล็กภาชนะที่ ใชควรมีสัดสวนที่พอเหมาะไมใหญจนแนนโตะ หรือเล็กจนตักอาหารไมถนัด 2. ความกลมกลืน (Harmony)ความกลมกลืนในการจัดอาหารจะเกี่ยวของกับอาหารและภาชนะ อาหารควรเหมาะสมและกลมกลืนกับภาชนะอาหารประเภททอดควรใสในจาน หรืออาหารประเภทน้ําควร ใสในชาม นอกจากนี้ผลไมควรใสตะกราหรือถาดไมจะเหมาะสมกวาใสในถาดโลหะ อาหารบางประเภท ควรคํานึงถึงความกลมกลืนของภาชนะเชนกัน เชน อาหารภาคเหนืออาจเสิรฟในขันโตก หรืออาหาร ภาคกลางเสิรฟในจานที่ดูดสวยงาม สะอาด หรือมีขอบเปนลวดลายไทย เปนตน 3. การตัดกัน (Contrast)ศิลปะในการตัดกันของการจัดอาหาร ทําไดโดยการตัดกันระหวางการ ตกแตงโตะอาหารและการจัดอาหาร สีของอาหารหรือการตกแตงอาหาร แตในการตัดกันไมควรตัดกันใน ปริมาณที่มาก เพราะจะทําใหขาดความนาสนใจ ในปจจุบันการจัดตกแตงโตะอาหารนิยมจัดดอกไมให สูงเกินมาตรฐานการจัด เพื่อสรางความสนใจและความโดดเดนของบรรยากาศ แตในการจัดควรระมัดระวัง เพราะจะทําใหรกและขัดตอการสนทนาได สวนสีของอาหารหรือการตกแตงอาหารสามารถตัดกันไดตาม ความเหมาะสมของความสวยงาม 4. เอกภาพ (Unity)เอกภาพในการจัดอาหาร ทําไดโดยการรวมกลุมของการจัดโตะอาหาร เชน การจัดจาน ชอนสอม หรือชุดอาหารเขาดวยกัน เพื่อใชไดอยางสะดวกและเหมาะสมกับอาหารที่จัดนั้น ๆ สวนการจัดอาหารในจานควรจัดใหพอเหมาะไมแผกระจายยากตอการรับประทาน หรือเครือ่ งปรุงตาง ๆ ควร อยูดวยกันกับอาหารที่เสิรฟนั้น ๆ 5. การซ้ํา (Repetition) การซ้ําเปนการทําในลักษณะเดิม เชน การตกแตงของจานดวยลักษณะซ้ํา กันแบบเดิมอยางมีจังหวะ ไดแก การวางแตงกวาเรียงรอบขอบจาน เพื่อเนนการจัดอาหารใหนารับประทาน ยิ่งขึ้น 6. จังหวะ (Rhythm) การจัดจังหวะในการตกแตงอาหาร ทําไดหลายประการ ทั้งการจัดจังหวะ ของอาหารบนโตะ การตกแตง หรือจัดตกแตงอาหารในภาชนะ เชน การวางแตงกวาสลับกับมะเขือเทศเรียง รอบขอบจาน หรือการจัดตกแตงบริเวณโตะอาหารดวยสิ่งตกแตงตาง ๆ อยางมีจังหวะ เชน แจกันดอกไม หรือเชิงเทียน เปนตน


9

7. การเนน (Emphasis) ศิลปะการจัดตกแตงอาหารใหนาสนใจอยูที่การเนน การเนนสามารถทําได ทั้งการตกแตงบรรยากาศในหองอาหาร การเนนยังเกี่ยวของกับสีสันของอาหาร การตกแตงอาหาร เชน การ แกะสลักผัก ผลไม หรือการจัดบรรยากาศดวยการจัดดอกไม ลวนแลวแตเกิดจากการเนนทั้งสิ้น หากตองการ ใหอาหารที่จัดนาสนใจ ควรคํานึงถึงศิลปะที่เกิดจากความคิดสรางสรรค สิ่งนั้นคือ การเนนนั่นเอง 8. ความสมดุล (Balance)การจัดอาหารหรือโตะอาหาร ความสมดุลจะชวยใหพื้นที่จัดมีน้ําหนัก ในการจัดวางอยางลงตัว ไมหนาแนนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ทําใหงายตอการใชสอยและงดงามตอการ มองเห็น การจัดอาหารในงานเลี้ยง พื้นที่จัดไมควรอยูรวมกันเพราะจะทําใหเกิดความหนาแนนของพื้นที่ ควร กระจายพื้นที่ในการจัดใหสมดุล โตะวางอาหารควรอยูในบริเวณที่มีพื้นที่กวางเพื่อสะดวกตอการตัดอาหาร ขนมหวานหรือผลไมควรแยกออกไปอีกบริเวณหนึ่ง เพื่อสรางความสมดุลยของพื้นที่ นอกจากนี้การจัด อาหารในจานควรคํานึงถึงความสมดุลเชนกันเพราะความสมดุลจะทําใหอาหารในจานดูเหมาะสม 9. สี (Color) การใชสีตกแตงอาหารเปนเรื่องงายกวาการใชสีตกแตงในเรื่องอื่น เพราะอาหารใน แตละอยางจะมีสีสันในตัวเอง โดยเฉพาะอยางยิ่งในอาหารไทย ซึ่งมีมากมายหลายสี แกงเขียวหวานสีเขียว ออน แกงเผ็ดสี สม หรือแกงเลี ยงสีเขี ยว การใช สีตกแตงอาหารเพี ยงเพื่อตองการใหอาหารเกิด ความน า รับประทาน และสรางจุดเดนของอาหาร ดังนั้นการใชสีตกแตงอาหาร จึงควรใชสีจากธรรมชาติ เพื่อความ ปลอดภัยในการบริโภค เชน สีเขียวจากใบเตย สีมวงหรือสีน้ําเงินจากดอกอัญชัน หรือสีเหลืองจากฟกทอง หรือขมิ้น เปนตน ถึงแมวาอาหารจะมีรสอรอยเพียงใดแตหากขาดการปรุงแตงดวยสีสันอาหารนั้นอาจขาด ความสนใจไดเชนกัน

8.5 ศิลปะกับเสื้อผาและการแตงกาย เสื้อผาเปนสวนหนึ่งของเครื่องนุงหม หรือเครื่องแตงกาย เสื้อผามีไวปกปดรางกาย และปองกันภัย จากสิ่งแวดลอมภายนอก และเสื้อผายังชวยเสริมสรางบุคลิกภาพใหมีภาพลักษณที่ดี หากตองการมีภาพลักษณที่ดี ผูนั้นจะตองเลือกแตงกายดี มีรสนิยม รสนิยมของการแตงกายขึ้นอยูก บั ศิลปะ ศิลปะในการแตงกายจึงเปนสิ่งสําคัญ ในการแตงกายโดยทั่วไปจะคํานึงถึงขนาด รูปราง เพศ วัย และ บุคลิกของการสวมใส และศิลปะจะเปนสวนเสริมเพิ่มเติมหรือประดับตกแตงใหเกิดรสนิยม ศิลปะจึงมี ความสัมพันธกับเสื้อผาและการแตงกาย

องคประกอบศิลปะที่นํามาเกี่ยวของกับเสื้อผาและการแตงกาย ไดแก 1. ขนาดและสัดสวน (Size and Proportion) ขนาดและสัดสวนมีความสัมพันธกัน ขนาด เกี่ยวพันกับสัดสวน หากรางกายมีขนาดใหญ สัดสวนจะขยายใหญ ดังนั้นในการแตงกาย หรือการออกแบบ


10

เสื้อผาที่แกไขขอบกพรองของสัดสวนของรางกาย เชน คนหนาอกใหญ ควรสวมเสื้อที่มีปกหรือเสื้อคอวี เพื่อ ชวยใหทรวงอกเล็กลง หรือผูที่อวนควรเลือกเสื้อผาชุดหลวมที่ไมเนนบริเวณเอว หรือคับตึง เพราะจะเนนให เห็นขนาดที่ชัดเจน 2. ความกลมกลืน (Harmony) ความกลมกลืนในการแตงกาย ไดแก ความกลมกลืนของสีเสื้อผา และการตกแตง การใชสีตกแตง ควรมีความกลมกลืนกับบุคลิก อายุ เพศ และวัย ผูสูงอายุควรใชเสื้อผาที่มีสี เขม ไมฉูดฉาด เพราะจะทําใหดูออนโยน 3. การตัดกัน (Contrast) การตัดกันในการแตงกาย ทําไดหลายวิธี ทั้งในดานการตัดกันดวยขนาด ลวดลาย แบบ หรือสี การตัดกันเพื่อสรางจุดเดน ดังนั้นในการตัดกัน จึงควรคํานึงถึงผูสวมใส วามีบุคลิกภาพ ที่เหมาะสมอยางไร ในการตัดกันควรพิจารณาถึงปริมาณของการตัดกัน ซึ่งไมเกิน 80 เปอรเซ็นตของผลงาน เชน การใชสตี ัดกันของเสื้อผา ควรตัดกันไมเกิน 80 เปอรเซ็นต 4. เอกภาพ (Unity) เอกภาพของการแตงกายคลายกับความกลมกลืน ซึ่งเนนในดานความสัมพันธ และความสอดคล อง ในการแตง กายควรให มี ค วามสอดคล อ งในด า นแบบ สี หรื อ การตกแตง ให ผ สม กลมกลืนเปนกลุมเดียวกัน หรือในลักษณะเดียวกันเพื่อดูเรียบรอยสวยงาม เอกภาพในการแตงกายไดแกการ แตงกายในชุดทํางานที่มีสีเดียวกัน ตกแตงในแบบเรียบงาย แตดูคลองแคลวในการปฏิบัติงาน 5. การซ้ํา (Repetition) หากในการจัดอาหาร การวางแตงกวารอบขอบจานคือการซ้ํา ในการแตง กายการเรียงกระดุมของเสื้อผาก็คือการซ้ําเชนกัน การซ้ําทําในลักษณะของการตกแตง เชน การติดลูกไม รอบคอบเสื้อ หรือชายกระโปรง หรือการตกแตงดวยลวดลายของผา และสีของการตกแตง เหตุที่ตองทําซ้ําก็ เพื่อดึงดูดความสนใจ หรือเบี่ยงเบนความสนใจของสวนบกพรองตาง ๆ ของรางกายนั่นเอง 6. จังหวะ (Rhythm) ในการแตงกาย จังหวะเปรียบเสมือนชวงระยะของการนําสายตาที่เชื่อมโยง หรือตอเนื่องกัน หรือการประสานตอเนื่องกันของสายตาอยางมีจังหวะของสวนประกอบเครื่องแตงกาย เชน ปกเสื้อ เข็มขัด กระโปรงหรือรองเทา การออกแบบเสื้อผาอยางมีจังหวะก็เพื่อสานองคประกอบยอยเขาเปน องคประกอบใหญ เพื่อสรางจุดเดนที่ชัดเจน การเชื่อมโยงสายตาอยางมีจังหวะสามารถทําไดโดยการซ้ําของ วัสดุที่คลายกัน หรือตางกัน โดยทําเปนจังหวะที่เหมือนกันหรือตางกัน ซึ่งขึ้นอยูกับวัตถุประสงคของการ สรางจุดสนใจนั้น ๆ 7. การเนน (Emphasis) เมื่อจังหวะสรางจุดเดน จุดเดนนั้นจะทําใหเกิดการเนน ในการเนนของการ แตงกายเปนการอําพรางขอบกพรอง โดยเบี่ยงเบนความสนใจไปยังสวนอื่น หรือในขณะเดียวกันการเนนอาจ เรียกรองหรือสรางจุดสนใจใหกับการออกแบบนั้น ๆ ในการเนนอาจเนนดวยเครื่องประดับ ลวดลาย หรือ สีสันของลวดลายผา 8. ความสมดุล (Balance) ความสมดุลในการแตงกายทําไดหลายวิธี ในการสรางความสมดุลของ การแตงกายจะจัดแบงเปนดานบน และดานลาง เชน เสื้อและกระโปรง หรือเสื้อกับกางเกง การทําให


11

สมดุล อาจใชลวดลายหรือน้ําหนักของสีเสื้อผาชวยในการแบงน้ําหนักได เชน ใสกระโปรงสีดํา และใสเสื้อสี ขาวสลับดํา เปนตน 9. สี (Color) สีเปนองคประกอบสําคัญสําหรับงานศิลปะ เพราะสีตาง ๆ จะทําใหเกิดความสวยงาม นาสนใจ และแสดงถึงอารมณ ความรูสึก ในการแตงกายสีจะชวยเสริมบุคลิกของผูสวมใส และ ยังเปนแรงบันดาลใจในการแสดงออกถึงความรูสึก และความนาสนใจ ดังนั้นในบริษัทใหญ ๆ หลายบริษัท จึงไดจางนักออกแบบเสื้อผา ออกแบบเสื้อผาและเครื่องแตงกาย โดยเลือกแบบและสีเพื่อสรางความสนใจตอ ลูกคาเชน พนักงานธนาคาร พนักงานตอนรับ หรือพนักงานขายสินคา จะมีสีสันที่แตกตางกันตาม วัตถุประสงคของงาน ในการใชสีของเสื้อผาควรใชในลักษณะของคาน้ําหนัก (Value) คือ มีการใชสีออน-แก เพื่อเกิดความแตกตางของคาน้ําหนักสี เชน สีเขียวออนหรือสีเขียวเขม หรือการใชสีประสานกลมกลืน (Harmony) ที่ดูแลวนุมนวล เชน สีโทนเดียวกัน และหากตองการความสดชื่นการใชสีสดหรือสีตัดกันใน ปริมาณที่ตางกันก็อาจทําใหสดชื่นได ในการแตงกายที่เกี่ยวของกับการใชสีทางจิตวิทยา จะมีปฏิกริยาตออารมณของการแตงกาย ดังนี้ สีแดง เปนสีที่กระตุนจิตใจเปนอยางดี เยายวน รอนแรง ผูที่ใสสีแดงจะตองเปนคนที่มีความมั่นใจใน ตัวเอง เปดเผย และเปนผูนํา สีเหลือง เปนสีที่บงบอกถึงความเปนมีคนมีอารมณดี ราเริง ออนโยน มีพลัง ความฉลาด และ จินตนาการ สนใจงาน การใสสีเหลืองอาจลดความสดใสลงหรือใสเปนเสื้อคลุมจะทําใหลดความเจิดจาลง สีเขียว เปนสีที่แสดงออกถึงความสุขุม เยือกเย็น เหมาะสําหรับงานที่ตองใชพลัง หรือความคิด เมื่อ ใสสีเขียวจะดูเปนคนกระฉันกระเฉงและพัฒนาตนเอง สีฟา เปนสีของความสงบและพักผอน มักใสในวันหยุดในบรรยากาศที่ผอนคลาย ดูสดชื่น ควรเลี่ยง สีฟาหากรูสึกหดหูเพราะจะทําใหเหงามากขึ้น ควรใสคูกับสีสมออน สีมวง เปนสีที่ขรึม สงา เกิดความศรัทธาและความสงบ หากเปนคนที่เปดกวางจะยอมรับสีมวงได สีมวงปนแดงจะสรางความมั่นใจไดดี สีขาว เปนสีที่ใสสะอาด เขาไดกับทุกสี ชอบคนหาความจริงของชีวิต เปนสีของนักคิด เมื่อใส สีขาวจะทําใหขาดอํานาจในการตัดสินใจ สีดํา เปนสีที่แสดงออกถึงความมั่นในตัวเอง ผูที่ใสสีดําจะแสดงถึงการใหผูอื่นนับถือ เปนสีที่ชอบอยู อยางโดดเดี่ยว สีน้ําเงิน เปนสีที่ควบคุมตนเองไดดี มีความลึกซึ้ง รับผิดชอบ สนุกกับทุกเรื่อง ควรใชสีน้ําเงินกับสี สดใสตาง ๆ จะทําใหดูดีขึ้น การแกไขของบกพรองดวยเสื้อผา


12

นอกจากนี้หลักการทางศิลปะตาง ๆ ยังชวยแกไขปญหา และอําพรางขอบกพรองตาง ๆ ของรางกาย ไดอีก ดังตัวอยางที่จะกลาวตอไปนี้ 1. รูปรางผอมสูง ถึงแมจะมีรูปรางดี แตหากใสเสื้อผารัดรูปมากเกินไป เชนใสเสื้อแขนกุด หรือผา ยืดบางรัดรูปจะเนนใหเห็นสรีระที่ผอมบางชัดเจน ควรใสเสื้อผาผาที่หนา ๆ หรือจีบพองฟู เพราะจะเสริมให ดีหนาขึ้น และมีบุคลิกที่ดีขึ้น 2. รูปรางอวนเตี้ย หากคอสั้นทําใหคอดูยาวขึ้น ควรใสเสื้อคอวี หรือคอเชิรทจะชวยใหใบหนาดูยาว ขึ้น ไมควรใสเสื้อปดคอจะทําใหคอสั้นลง ลวดลายของเสื้อผาควรเปนดอกเล็กๆ และลายตั้ง หามใสฟองน้ํา เสริมไหลเพราะจะดูหนาขึ้น ไมควรใสชุดติดกันเพราะจะเนนขนาด และตัดกันอยางชัดเจน นอกจากนี้ควร สวมกระโปรง และเสื้อแยกชิ้น และมีสีเขม ไมควรใชผาหนาเพราะจะเพิ่มความอวนขึ้นอีก 3. สะโพกใหญ ไมควรสมเสื้อเอวลอย เพราะจะเนนสะโพกชัดเจน ควรสวมกระโปรงที่ตัดเย็บจาก ผานิ่ม ๆ พริ้วทั้งตัว สีเขมเพื่ออําพราง ไมควรสวมกระโปรงหรือกางเกงที่รัดรูป เพราะจะเนนความใหญของ สะโพก และควรสวมกระโปรงคลุมเขาเพื่อกระชัดสะโพกมากขึ้น 4. หนาอกใหญ สวมเสื้อที่มีปกหรือคอวี เพราะจะทําใหทรวงอกดูเล็กลง ใสเสื้อสีเขมตัดเย็บดวยผา ที่บางเบา หลีกเลี่ยงเสื้อที่มีลวดลาย หรือมีกระเปาที่หนาอก เพราะจะทําใหเกิดจุดเดน และเพิ่มความหนาให หนาอกได 5. ไหลแคบ ควรสวมเสื้อผาที่มีฟองน้ํา และเลือกผาพริ้วบาง ไมมีใครที่จะมีรูปรางสวย หรือสมบูรณไปทุกอยาง หากแตไดนําหลักการทางศิลปะมาประยุกตใช ก็ จะสามารถทําใหความบกพรองนั้นลดลง และมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้นได ในปจจุบนั ไมวาสถานการณของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอยางไรก็ตาม แตหลักการทางศิลปะตาง ๆ ที่กลาวมายังคงนํามาประยุกตใชไดเปนอยางดี ถึงแมวาในอนาคตเทคโนโลยีจะเขามามีบทบาทมากขึ้นก็ตาม


13


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.