THE 4th ZOO RESEARCH & CONSERVATION SEMINAR AND PARTNERS MEETING
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4
“การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ” โดย องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ วันที่ 28-29 กรกฏาคม 2553 ณ ห้องรัชนีแจ่มจรัส 4 ศูนย์การประชุมรัชนีแจ่มจรัส (น.ม.ส.) สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
สารบัญ เรื่อง
กำ�หนดการ สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4
หน้า 1
ผลงานวิจัยนำ�เสนอแบบปากเปล่า
Session I : พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์ • เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์และรักษา พันธุกรรมสัตว์ป่าตระกูลแมวในประเทศไทย
6
• การสูญเสียลักษณะเฉพาะทางพันธุกรรมของลิงหางยาวไทยในธรรมชาติ จากการผสมเลือดชิดและการผสมข้ามพันธุ์
8
• ความสำ�เร็จและข้อจำ�กัดในการใช้เทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์ในสัตว์ป่า
12
• การประยุกต์ใช้อณูพันธุศาสตร์เพื่องานวิจัยและการจัดการสัตว์ป่า
15
• การผสมเทียมละมั่งพันธุ์พม่าเพื่อเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์และขยาย พันธุ์ละมั่งพันธุ์ไทยไม่ให้สูญพันธุ์
19
• การประเมินสภาวะการทำ�งานของต่อมฮอร์โมนเพศในกลุ่มแรดขาวเพศ เมียของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว โดยวิธีการศึกษาแบบไม่จับบังคับหรือ รบกวนตัวสัตว์ ด้วยการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมน
22
Session II : เทคนิคการปล่อยสัตว์คืนสู่ธรรมชาติและถิ่นอาศัยเดิม • วิวัฒนาการและความสำ�เร็จในการปล่อยสัตว์คืนสู่ธรรมชาติใน ประเทศไทย
28
• การฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ
32
• การประเมินพื้นที่ชุ่มน้ำ�สำ�หรับการเตรียมปล่อยนกกระเรียนไทย
33
• “โครงการปล่อยละมั่งคืนสู่ธรรมชาติ” ก้าวแรกแห่งความสำ�เร็จ
34
Session III : One Health • กลไกการแพร่เชื้อไวรัสนิปาห์ในค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง
39
Session IV : การพัฒนาระบบงานสุขภาพสัตว์ป่า • “1,000 Nights in Thailand: Developing A Veterinary Medical Program For the ZPO Zoos - Accomplishments and Gaps”
43
• ทิศทางในอนาคตของงานด้านสุขภาพ สัตว์ป่าในกรมอุทยานฯ
47
• การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพยาธิวิทยา และโรคสัตว์ป่า
48
สารบัญ เรื่อง
หน้า
Session V : การเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่านอกถิ่นอาศัย • การจัดการเพาะเลี้ยงนกเงือกในสภาพกรงเพาะเลี้ยงของสวนสัตว์สงขลา
51
• อนาคตของการเพาะขยายพันธุ์สัตว์สะเทินและสัตว์เลื้อยคลานเพื่อการ อนุรักษ์และเศรษฐกิจ
52
• การจับคู่ผสมพันธุ์ตุ๊ดตู่และตะโขงในคอกเพาะเลี้ยงของสวนสัตว์ นครราชสีมา
54
• โครงการเพาะเลี้ยงชะมดเช็ดในโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำ�ริ บ้านดงเย็น
56
Session VI : การอนุรักษ์เชิงนิเวศ • สวนสัตว์เชียงใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Chiangmai ECO - Living Zoo)
60
• คุณค่าเชิงอนุรักษ์ของหย่อมป่าขนาดเล็กที่มีต่อการจัดการความหลาก หลายทางชีวภาพกรณีศึกษาในวัดป่าทางภาคอีสานของประเทศไทย
61
ผลงานวิจัยนำ�เสนอแบบโปสเตอร์
29
• การจัดการด้านอาหารสำ�หรับสัตว์ผู้ล่าบางชนิดในกรงเลี้ยง
63
• การเปรียบเทียบส่วนแสดงของสัตว์กลุ่มกีบเท้าคู่ที่มีถิ่นที่อยู่ใน ประเทศไทยในสวนสัตว์ 5 แห่งขององค์การสวนสัตว์ในพระบรม ราชูปถัมภ์
67
• การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทางด้านโภชนาการอาหาร และค่าโภชนะ กับการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์นกหว้าที่ใกล้สูญพันธุ์ในสภาพ ของการเพาะเลี้ยง สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
71
• ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ธรรมชาติของสวนสัตว์เชียงใหม่
76
• การศึกษาพฤติกรรมและการเพาะขยายพันธุ์นกกระสาปากเหลืองในกรง เลี้ยงของสวนสัตว์ดุสิต
79
• การจับคู่ผสมพันธุ์เสือไฟในกรงเพาะเลี้ยงสวนสัตว์สงขลา
84
• การศึกษาพฤติกรรมความสมบูรณ์พันธุ์และสมรรถนะการให้ผลผลิตของ กวางผาในกรงเลี้ยง
85
คณะทำ�งานสัมมนาวิชาการสัมมนาสัตว์ป่าสวนสัตว์ครั้งที่ 4
88
ผู้ให้การสนับสนุน
89
1
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
กำ�หนดการ สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 The 4th Zoo Research & Conservation Seminar and Partners Meeting ณ ห้องรัชนีแจ่มจรัส 4 ศูนย์การประชุมรัชนีแจ่มจรัส (น.ม.ส.) สมาคมสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
วันที่ 28 กรกฎาคม 2553 8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียนบริเวณหน้าห้องประชุมใหญ่ 9.00 – 9.15 น. พิธีเปิดการสัมมนา โดย รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นางนิศากร โฆษิตรัตน 9.15 – 10.00 น. บรรยายพิเศษในหัวข้อ “สวนสัตว์ช่วยลดการสูญเสียของความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างไร” โดย ผู้อำ�นวยการองค์การสวนสัตว์ นายโสภณ ดำ�นุ้ย 10.00 – 10.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง
Session I: พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์ วิทยากร
หน่วยงาน
เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 10.10 – 10.50 น. ทางการสื บ พั น ธุ์ แ ละรั ก ษาพั น ธุ ก รรม สัตว์ป่าตระกูลแมวในประเทศไทย
ศ.น.สพ.ดร. มงคล เตชะกำ�พุ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก า ร สู ญ เ สี ย ลั ก ษ ณ ะ เ ฉ พ า ะ ท า ง พันธุกรรมของลิงหางยาวไทย ใน 10.50 - 11.20 น. ธรรมชาติจากการผสมเลือดชิด และการ ผสมข้ามพันธุ์
รศ.ดร. สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความสำ � เร็ จ และข้ อ จำ � กั ด ในการใช้ เทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์ในสัตว์ป่า
น.สพ.ดร.บริพัตร ศิริอรุณรัตน์
ส่วนอนุรักษ์ วิจัย และการ ศึกษา องค์การสวนสัตว์
เวลา
11.20-12.00 น. 12.00 - 13.00 น. 13.00 – 13.30 น.
หัวข้อ
พักรับประทานอาหารกลางวัน การประยุกต์ใช้อณูพันธุศาสตร์เพื่องาน วิจัยและการจัดการสัตว์ป่า
ผศ.ดร. ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การผสมเที ย มละมั่ ง พั น ธุ์ พ ม่ า เพื่ อ คณะสัตวแพทยศาสตร์ 13.30 - 14.00 น เป็ น ต้ น แบบในการอนุ รั ก ษ์ แ ละขยาย อ.น.สพ.ดร. สิทธวีร์ ทองทิพย์ศิริเดช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พันธุ์ละมั่งพันธุ์ไทยไม่ให้สูญพันธุ์ การประเมินสภาวะการทำ�งานของต่อม ฮอร์โมนเพศในกลุ่มแรดขาวเพศเมียของ 14.00 – 14.30 น. สวนสัตว์เปิดเขาเขียว โดยวิธีการศึกษา แบบไม่จับบังคับหรือรบกวนตัวสัตว์ 14.30-14.40 น.
นางสาวนิตยา เพชรสุกร
พักรับประทานอาหารว่าง
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
2
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
Session ll: เทคนิคการปล่อยสัตว์คืนสู่ธรรมชาติและถิ่นอาศัยเดิม เวลา
หัวข้อ
วิทยากร
หน่วยงาน
14.40 – 15.10 น.
วิ วั ฒ นาการและความสำ � เร็ จ ในการ ปล่อยสัตว์คืนสู่ธรรมชาติในประเทศไทย
รศ.ดร. นริศ ภูมิภาคพันธ์
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
15.10 - 15.30 น.
การฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยกลับคืน สู่ธรรมชาติ
น.สพ. เกษตร สุเตชะ
โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อ.ดร. ภูวดล โกมณเฑียร
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผศ.ดร.ปิยะกาญจน์ เที้ยธิทรัพย์
คณะสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นางสาวอมรรัตน์ ว่องไว
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
น.สพ.นิธิดล บูรณพิมพ์
ส่วนอนุรักษ์ วิจัย และการศึกษา องค์การสวนสัตว์
15.30 – 16.00 น.
การประเมินพื้นที่ชุ่มน้ำ�สำ�หรับการ เตรียมปล่อยนกกระเรียนไทย
“โครงการปล่อยละมั่งคืนสู่ธรรมชาติ” 16.00 – 16.30 น. ก้าวแรกแห่งความสำ�เร็จ
วันที่ 29 กรกฎาคม 2553 Session III: One Health
เสวนา: ความเป็นไปได้ในการจัด 9.00 – 9.45 น. ตั้ง ONE HEALTH CONSORTIUM ของไทย
9.45 - 10.10 น.
อดีต – ปัจจุบัน - อนาคต การ สำ�รวจ โรคสัตว์ป่าในประเทศไทย
กลไกการแพร่เชื้อไวรัสนิปาห์ใน 10.10 – 10.30 น. ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง 10:30 - 11:00 น.
น.สพ.ดร. บริพัตร ศิริอรุณรัตน์
ส่วนอนุรักษ์ วิจัย และการศึกษา องค์การสวนสัตว์ (ผู้ดำ�เนินรายการ)
นพ. โสภณ เอี่ยมศิริถาวร
สำ�นักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
น.สพ. การุณ ชนะชัย
สำ�นักควบคุมและบำ�บัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
รศ.น.สพ. ปานเทพ รัตนากร
ศูนย์เฝ้าระวังโรคสัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ มหาวิทยาลัยมหิดล
ศ.นพ. ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา
ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ด้านไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.น.สพ. ปานเทพ รัตนากร
ศูนย์เฝ้าระวังโรคสัตว์ต่างถิ่น และสัตว์ อพยพ มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี
ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ด่านไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พักรับประทานอาหารว่าง
3
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
Session IV: การพัฒนาระบบงานสุขภาพสัตว์ป่า เวลา
หัวข้อ
วิทยากร
หน่วยงาน
“1,000 Nights in Thailand: Developing A Veterinary Medical Pro11.00 – 11.20 น. gram For the ZPO Zoos - Accomplishments and Gaps”
Dr. Ronald Mitchell Bush
องค์การสวนสัตว์ ในพระบรม ราชูปถัมภ์
11.20 – 11.40 น.
ทิศทางในอนาคตของงานด้านสุขภาพ สัตว์ป่าในกรมอุทยานฯ
ว่าที่ร้อยตรีไชยพร ชารีแสน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
11.40 – 12.00 น.
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพยาธิวิทยา และโรคสัตว์ป่า
สพ.ญ. อังคณา สมนัสทวีชัย
ส่วนอนุรักษ์ วิจัย และการศึกษา องค์การสวนสัตว์
12.00 - 13.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
Session V: การเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่านอกถิ่นอาศัย 13.00 – 13.30 น.
การจัดการเพาะเลี้ยงนกเงือกในสภาพ กรงเพาะเลี้ยงของสวนสัตว์สงขลา
นายอุทัย พูลยรัตน์
สวนสัตว์สงขลา
อนาคตของการเพาะขยายพั น ธุ์ สั ต ว์ 13.30 - 13.50 น. สะเทิ น และสั ต ว์ เ ลื้ อ ยคลานเพื่ อ การ อนุรักษ์และเศรษฐกิจ
อ.น.สพ.ตุลยวรรธ สุทธิแพทย์
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การจั บ คู่ ผ สมพั น ธุ์ ตุ๊ ด ตู่ แ ละตะโขง 13.50 – 14.10 น. ใ น ค อ ก เ พ า ะ เ ลี้ ย ง ข อ ง ส ว น สั ต ว์ นครราชสีมา
นายกีรติ กันยา
สวนสัตว์นครราชสีมา
โ ค ร ง ก า ร เ พ า ะ เ ลี้ ย ง ช ะ ม ด เ ช็ ด ใ น 14.10 – 14.30 น. โครงการฟาร์ ม ตั ว อย่ า งตามพระ ราชดำ�ริบ้านดงเย็น
นายธีรพงษ์ ณะกาศ
สวนสัตว์เชียงใหม่
14.30 – 14.50 น.
พักรับประทานอาหารว่าง
Session Vl: การอนุรักษ์เชิงนิเวศ 14.50 – 15.10 น.
สวนสั ต ว์ เ ชี ย งใหม่ ใ ส่ ใ จสิ่ ง แวดล้ อ ม (Chiangmai ECO - Living Zoo)
คุณค่าเชิงอนุรักษ์ของหย่อมป่าขนาด เล็กที่มีต่อการจัดการความหลากหลาย 15.10 – 15.30 น. ทางชีวภาพกรณีศึกษาในวัดป่าทางภาค อีสานของประเทศไทย ทิ ศ ทางการดำ � เนิ น งานขององค์ ก าร 15.30 - 16.00 น. สวนสัตว์ ต่อการอนุรักษ์ความหลาก หลายทางชีวภาพในอนาคต 16.00 – 16.20 น.
สรุ ป การดำ � เนิ น งานสั ม มนาสั ต ว์ ป่ า สวนสัตว์ ครั้งที่ 4 และพิธีปิด
น.สพ.เทวราช เวชมนัส
สวนสัตว์เชียงใหม่
นายศิริยะ ศรีพนมยม
คณะทรัพยากรชีวภาพและ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัย พระจอมเกล้าธนบุรี
น.สพ.วิศิษฏ์ วิชาศิลป์
องค์การสวนสัตว์ ในพระบรม ราชูปถัมภ์
ผลงานวิจัยนำ�เสนอแบบปากเปล่า (Oral Presentation)
Session I : พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์และรักษาพันธุกรรมในสัตว์ป่าตระกูล แมว มงคล เตชะกำ�พุ1 เกวลี ฉัตรดรงค์1 อัมพิกา ทองภักดี1,2 ธีรวัฒน์ ธาราศานิต1 บริพัตร ศิริอรุณรัตน์2 อังคณา สมนัสทวีชัย2 สุเมธ กมลนรนาถ2 ชัยณรงค์ โลหชิต1
บทคัดย่อ สัตว์ป่าตระกูลแมวทั่วโลกมีทั้งหมด 36 ชนิด ทั้งหมดนี้จัดอยู่ในสัตว์ป่าชนิดใกล้สูญพันธุ์ โครงการนี้เป็นการ อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าตระกูลแมวชนิดต่างๆ ที่หายากของไทยที่เลี้ยงในสวนสัตว์ เป็นครั้งแรกที่มีการรวบรวมเซลล์ พันธุกรรมสัตว์ป่าตระกูลแมวของไทยขึ้นในประเทศ ทั้งยังเป็นการเริ่มต้นการผสมเทียม การปฏิสนธิภายนอก ร่างกาย และโคลนนิ่งในสัตว์ป่าตระกูลแมวของไทยอีกด้วยรักษาพันธุกรรม และ เพิ่มประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ ในสัตว์ป่าตระกูลแมวด้วย “เทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์” (Assisted reproductive technologies; ARTs) ได้แก่ การผสมเทียม การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย และโคลนนิ่ง โครงการการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพทางการ สืบพันธุ์ และเพื่อรักษาพันธุกรรมในสัตว์ป่าตระกูลแมวด้วยเทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์ได้ดำ�เนินการวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549-2552 การศึกษานี้แบ่งออกเป็น 3 โครงการย่อยดังนี้ โครงการที่ 1 ทำ�การรีดเก็บน้ำ�เชื้อแมวป่าจากสวนสัตว์ จำ�นวน 5 แห่งของประเทศไทย ทำ�การตรวจคุณภาพอสุจิและแช่แข็งน้ำ�เชื้อแมวป่าเพื่อเก็บเป็นธนาคารน้ำ�เชื้อ การ ศึกษาที่ 2 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการผลิตตัวอ่อนด้วยเทคนิคโคลนนิ่งจากเซลล์ของแมวป่าหัวแบน ตรวจคุณภาพตัว อ่อนและการย้ายฝากโคลนตัวอ่อน การศึกษาที่ 3 ใช้แมวบ้านเป็นสัตว์ต้นแบบเพื่อศึกษาผลของระยะของตัวอ่อนและ วิธีการแช่แข็งต่อความสามารถในการแช่แข็งของตัวอ่อน ทำ�การตรวจคุณภาพตัวอ่อนทั้งในจานเพาะเลี้ยงและภาย หลังการย้ายฝากตัวอ่อนแช่แข็ง การแช่แข็งน้ำ�เชื้อและการผสมเทียม ปัจจุบันได้เก็บน้ำ�เชื้อสัตว์ป่าตระกูลแมวแช่แข็งทั้งหมด 8 ชนิด คือ เสือโคร่ง เสือลายเมฆ เสือดาว/ดำ� เสือ ปลา เสือไฟ แมวดาว แมวป่า และแมวป่าหัวแบน จากการรีดน้ำ�เชื้อจำ�นวน 66 ตัว ด้วยวิธีกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (Electro ejaculation) การแช่แข็งน้ำ�เชื้อสัตว์ป่าตระกูลแมว 8 สปีชีส์ จำ�นวน 66 ตัว ได้น้ำ�เชื้อแช่แข็งจำ�นวน 239 หลอด แยกเป็น ความเข้มข้นสำ�หรับการผสมเทียม 197 หลอด สำ�หรับการปฏิสนธินอกร่างกาย 21 หลอด สำ�หรับ การฉีดอสุจิเข้าในโอโอไซต์ 21 หลอด ทำ�การผสมเทียมโดยใช้ท่อผสมเทียม (vaginal catheter) ที่ทำ�จาก polyethylene ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 มิลลิเมตร สอดเข้าในช่องคลอด ใช้ท่อสวนในซึ่งเป็น tomcat catheter ผ่าน คอมดลูกเข้าในมดลูก ฉีดน้ำ�เชื้อที่ละลายแล้วจำ�นวน 4 หลอด ผ่าน tomcat catheter เข้าในมดลูก แมวดาวจำ�นวน 3 ตัว และเสือปลาจำ�นวน 1 ตัว ภายหลังทำ�การกระตุ้นให้แมวป่าเป็นสัดและตกไข่ ไม่พบการตั้งท้องในแมวและเสือ ดังกล่าว การจัดการผสมเทียม ควรมีคอกแยกสัตว์เพศผู้และเพศเมียออกจากกัน ในระหว่างการกระตุ้นการเป็นสัด และกระตุ้นการตกไข่ในสัตว์เพศเมีย การฉีดฮอร์โมน eCG และ hCG เพื่อกระตุ้นการเป็นสัดและตกไข่ ทำ�ให้สัตว์เกิด ความเครียด และมีผลต่อการผสมติด สัตว์ที่ทำ�การศึกษาในสวนสัตว์มักมีอายุมาก มีผลต่อคุณภาพอสุจิและการผสม ติด
1 2
ภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและ วิทยาการสืบพันธุ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนอนุรักษ์ วิจัย และ การศึกษา องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
6
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การย้ายฝากนิวเคลียส ศึกษาการพัฒนาของตัวอ่อนแมวป่าหัวแบนที่ผลิตจากเซลล์ร่างกายแมวป่าหัวแบน และโอโอไซต์แมวบ้าน พบว่าตัวอ่อนแมวป่าหัวแบนมีอัตราการเจริญสู่ระยะโมรูลา (53%) มากกว่าตัวอ่อนแมวบ้าน (11%) แต่มีอัตราการ เจริญของระยะบลาสโตซีสไม่แตกต่างกัน (8.3 และ 8.5% ตามลำ�ดับ, P>0.05) มีความแตกต่างของอัตราการเชื่อม ติดของเซลล์ และอัตราการพัฒนาของตัวอ่อนซึ่งผลิตจากเซลล์แมวป่าหัวแบน 3 ตัว แต่อัตราการพัฒนาของตัว อ่อนแมวป่าหัวแบนที่ผลิตจากเซลล์ที่ได้จากเพศผู้และเพศเมียไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05) สรุปว่าสามารถผลิต ตัวอ่อนแมวป่าหัวแบนจากโอโอไซต์แมวบ้านได้โดยวิธีการย้ายฝากนิวเคลียส อัตราการพัฒนาของโคลนตัวอ่อนของ แมวป่าหัวแบนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเซลล์ของสัตว์แต่ละตัว แต่ไม่ขึ้นกับเพศของเซลล์ต้นแบบ เมื่อย้ายฝากโคลน ตัวอ่อนแมวป่าหัวแบนระยะคลีเวจสู่แมวบ้านตัวรับทางท่อนำ�ไข่ จำ�นวน 5 ตัว (41.4 ± 13 ตัวอ่อน) โคลนตัวอ่อน แมวป่าหัวแบน และ แมวบ้าน สู่แมวตัวรับ 5 ตัว (29.8 ± 20.8 ตัวอ่อน) และ โคลนตัวอ่อนแมวป่าหัวแบนร่วม กับ ตัวอ่อนแมวบ้านจากการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (ไอวีเอฟ) สู่แมวตัวรับ 4 ตัว (55 ± 15 ตัวอ่อน) ตัวรับที่ได้ รับการย้ายฝากโคลนตัวอ่อนแมวป่าหัวแบนร่วมกับตัวอ่อนไอวีเอฟตั้งท้อง 1 ตัว และให้กำ�เนิดลูกแมวไอวีเอฟ เมื่อ ย้ายฝากตัวอ่อนแมวบ้านไอวีเอฟ (กลุ่มควบคุม) สู่แมวตัวรับ 6 ตัว (25 ± 9) แมวตัวรับทั้งหมดตั้งท้อง และได้ลูก แมวทั้งหมด 5 ตัวจากตัวรับ 3 ตัว สรุปว่าแมวตัวรับสามารถตั้งท้องได้ภายหลังการย้ายฝากตัวอ่อนไอวีเอฟ การที่ไม่ สามารถผลิตลูกโคลนแมวป่าหัวแบนและแมวบ้านได้เนื่องจากข้อจำ�กัดของอัตราการพัฒนาและคุณภาพของตัวอ่อน การศึกษานี้สามารถผลิตตัวอ่อนโคลนแมวลายหินอ่อนและแมวป่าหัวแบนครั้งแรกของโลก และผลิตลูกแมวไอวีเอฟ ครั้งแรกในประเทศไทย การแช่แข็งตัวอ่อน ศึกษาการแช่แข็งตัวอ่อนระยะต่างๆโดยใช้ตัวอ่อนแมวบ้านเป็นต้นแบบ พบว่าสามารถเลี้ยงตัวอ่อนแมว บ้านมีอัตราการแบ่งตัวภายหลังการทำ�การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย และอัตราการเจริญของตัวอ่อนระยะบลาสโต ซีส ประมาณ 61 และ 31 เปอร์เซ็นต์ ตามลำ�ดับ โดยตัวอ่อนที่ได้มีคุณภาพดีเมื่อทำ�การตรวจจำ�นวนเซลล์ของตัว อ่อน อย่างไรก็ตามตัวอ่อนดังกล่าวมีจำ�นวนเซลล์ที่มีเกิดการแตกหักของดีเอนเอ (DNA fragmentation) หรือเกิด การแตกหักของนิวเคลียส (nucleus fragmentation) พบว่าตัวอ่อนแมวมีความไวรับต่อการแช่แข็ง และอัตราการ พัฒนาของตัวอ่อนที่แช่แข็งระยะต่างๆ แตกต่างกันไป เมื่อทำ�การแช่แข็งด้วยวิธีลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็วในตัวอ่อน 3 ระยะคือ ระยะ 4-8 เซลล์ ระยะโมรูล่าและ ระยะบลาสโตซีส พบว่าตัวอ่อนระยะ 4-8 เซลล์มีอัตรารอดชีวิตมากที่สุด ถือว่ามีความทนทานต่อการแช่แข็ง ถัดมาคือตัวอ่อนระยะโมรูล่า และตัวอ่อนระยะบลาสโตซีส เมื่อแช่แข็งตัวอ่อน ด้วยการค่อยๆลดอุณหภูมิพบว่าตัวอ่อนที่แช่แข็งในวันที่ 2 มีอัตราการรอดชีวิตมากที่สุด เมื่อย้ายฝากตัวอ่อนแช่แข็ง พบว่าแมวตัวรับไม่ตั้งท้อง จึงต้องมีการพัฒนากระบวนการแช่แข็งเพื่อที่จะสามารถลูกแมวจากตัวอ่อนแช่แข็งได้ใน อนาคต สรุป การศึกษานี้ประสบความสำ�เร็จในการเก็บรักษาแหล่งพันธุกรรมสัตว์ป่าตระกูลแมว สร้างองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาเทคนิค เพื่อนำ�มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางการสืบพันธุ์ในสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น การแช่แข็งน้ำ�เชื้อ การผสมเทียม การแช่แข็งตัวอ่อน และการผลิตตัวอ่อนแมวลายหินอ่อน และแมวป่าหัวแบนด้วยการโคลนนิ่งจาก เซลล์ร่างกายซึ่งเป็นการนำ�เอาเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงมาใช้ สามารถผลิตลูกแมวจากการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย เป็นครั้งแรกของประเทศไทย อย่างไรก็ตามพบข้อจำ�กัดหลายประการ เช่น คุณภาพอสุจิภายหลังการทำ�ละลายอยู่ใน เกณฑ์ต่ำ� ไม่สามารถผลิตลูกสัตว์จากการผสมเทียม การย้ายฝากตัวอ่อนแช่แข็ง และ โคลนนิ่งได้ ดังนั้นจึงต้องมีการ ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
7
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การสูญเสียลักษณะเฉพาะทางพันธุกรรมของลิงหางยาวไทยในธรรมชาติจากการผสมเลือดชิด และการผสมข้ามพันธุ์ สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์
บทนำ� ลิงหางยาวหรือลิงแสม (crab-eating or long-tailed macaque; Macaca fascicularis) เป็นหนึ่งในห้า ของลิงสกุลมะแคค (macaque monkey) ที่พบได้มากที่สุดในประเทศไทย จากการสำ�รวจของ Malaivijitnond et al. [8] พบลิงหางยาวถึง 100 แห่ง ในพื้นที่ทั่วประเทศไทย ในขณะที่ลิงมะแคคอีก 4 ชนิด พบเพียง 9 – 19 แห่ง เท่านั้น ลิงหางยาวที่พบมีการแพร่กระจายตั้งแต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่ละติจูดประมาณ 16OO 30’ องศาเหนือ ถึงทางใต้สุด ของประเทศไทย ที่ละติจูดประมาณ 6Oo 30’ องศาเหนือ ในพื้นที่ทั้งหมด 100 แห่ง ที่พบลิงหางยาว เป็นวัดมากถึง 57 แห่ง ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากวัดในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้กับ ภูเขา หรือเนินเขา ที่มีพื้นที่เป็นป่า ที่ลิงหางยาวสามารถใช้เป็นแหล่งอาศัยได้ และนอกจากนี้เนื่องจากคนไทยส่วน ใหญ่ (มากกว่า 90%) นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งมีความเชื่อที่ว่าจะไม่ทำ�ร้ายสัตว์หรือฆ่าสัตว์ที่อยู่ในวัด เพราะจะถือว่า เป็นบาป จึงทำ�ให้ลิงที่อยู่ในวัดได้รับการปกป้อง ได้รับอาหารอยู่ตลอดเวลา และไม่มีผู้ล่าตามธรรมชาติ จึงทำ�ให้ จำ�นวนประชากรเพิ่มขึ้นถึง 2 - 8 เท่า เมื่อเทียบกับรายงานการสำ�รวจลิงในประชากรกลุ่มเดียวกันเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว1 และในบางพื้นที่ลิงหางยาวจัดอยู่ในสภาวะประชากรล้นจำ�นวน (overpopulation) และลิงเหล่านี้มักจะ เข้ามารบกวนชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง และในพื้นที่เหล่านี้มักจัดลิงหางยาวเป็นสัตว์ที่ก่อให้เกิดความรำ�คาญ (pest) จึงก่อให้เกิดมาตรการในการควบคุมประชากรลิงหางยาวในพื้นที่หลายแห่ง ซึ่งวิธีที่นิยมกันมากคือ การทำ�หมัน และ การเคลื่อนย้ายลิงจากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง (translocation) ซึ่งการกระทำ�ในกรณีหลังนี้นอกจากจะเป็นการ แก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุดแล้ว ยังเป็นการย้ายปัญหาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากในพื้นที่ที่ ย้ายลิงไปใหม่นั้นมีลิงหางยาวอาศัยอยู่แล้ว และยังทำ�ให้การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมเพื่อให้เข้าใจถึงการแพร่ กระจายและวิวัฒนาการของลิงหางยาวในประเทศไทยมีความคลาดเคลื่อนอีกด้วย อีกปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยในลิง หางยาวไทย คือ การปล่อยลิงเลี้ยง (pet macaques) ไปในฝูงลิงหางยาวในธรรมชาติและการเกิดลูกผสม ถึงแม้ว่า การมีลิงในครอบครองเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่ยังมีคนไทยจำ�นวนมากที่นิยมเลี้ยงลิงไว้เป็นสัตว์เลี้ยง และเมื่อลูกลิงที่ ถูกเลี้ยงไว้โตขึ้น ดุร้าย เจ้าของลิงจึงไม่อยากเก็บลิงไว้ต่อไปและมักนำ�ลิงไปปล่อย ซึ่งส่วนใหญ่จะนำ�ไปปล่อยในฝูง ลิงในธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปล่อยสู่ฝูงลิงหางยาว ถ้าลิงเลี้ยงที่นำ�ไปปล่อยเป็นคนละชนิดกันกับลิงหางยาว อาจจะทำ�ให้เกิดลิงลูกผสม (hybrid) ขึ้น และเนื่องจากลิงมะแคคลูกผสมมีคุณสมบัติไม่เป็นหมัน2 ดังนั้นจึงสามารถ ทำ�ให้พันธุกรรมเฉพาะของลิงหางยาวฝูงนั้นสูญหายไป ซึ่งลักษณะดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อลักษณะ ทางพันธุกรรมและมีผลทางอ้อมต่อการวิจัยเพื่อผลิตและพัฒนายา ที่ต้องใช้ลิงหางยาวเป็นสัตว์ทดลอง ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ลิงหางยาวประสบอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ การสูญเลียแหล่งอาศัย และแหล่งอาหาร จาก การรุกล้ำ�ทำ�ลายของมนุษย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม หรือบ้านเรือน จึงทำ�ให้พื้นที่ที่ลิงหางยาวอาศัยอยู่ หลายแห่งถูกล้อมรอบด้วยบ้านเรือนของมนุษย์ ลิงแต่ละฝูงถูกแยกออกจากกัน ไม่สามารถเคลื่อนไปมาข้ามฝูงได้ ใน กรณีของลิงมะแคคเมื่อตัวผู้โตเต็มวัย มักจะแย่งชิงตำ�แหน่ง (social rank) กับลิงตัวผู้อื่นที่อยู่ในฝูง ถ้าลิงตัวนั้นแพ้ และไม่สามารถอยู่ในฝูงได้จะออกจากฝูงเดิมเพื่อไปตั้งฝูงใหม่ (male fission) หรือเข้าไปรวมกลุ่มของฝูงอื่น ซึ่งโดย ปกติลิงมะแคคจะไม่ผสมพันธุ์กันเองในหมู่เครือญาติ แต่เมื่อพื้นที่ที่ลิงอาศัยอยู่ถูกแบ่งแยกออกจากพื้นที่ของลิงฝูง อื่น และไม่สามารถไปมาหาสู่กันได้ จะทำ�ให้มีการผสมเลือดชิดเกิดขึ้น จากปัญหาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการกระทำ�ของ
หน่วยวิจัยไพรเมท ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330
8
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
มนุษย์มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประชากรลิงหางยาวในธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ทางด้านความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรลิง ดังนั้นการศึกษาการแพร่กระจายและลักษณะทาง พันธุกรรมของประชากรลิงหางยาวในประเทศไทย จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจเพื่อที่จะนำ�ข้อมูลดังกล่าวไปเป็นส่วนหนึ่งใน การจัดการและอนุรักษ์ประชากรของลิงสกุลนี้อย่างเหมาะสม วิธีการศึกษา 1. สำ�รวจประชากรลิง ศึกษาการแพร่กระจาย จำ�นวนฝูง ขนาด (จำ�นวนประชากรในแต่ละฝูง) และโครงสร้างประชากร แหล่งที่อยู่ อาศัย ลักษณะทางสัณฐาน ได้แก่ รูปแบบของขนที่หัว การม้วนเป็นวงของขนที่แก้ม สีตัวและหน้า สีขน ขนาด ตัว และความยาวหางของลิงทั้งสองเพศ และ การบวมแดงของผิวหนังรอบอวัยวะเพศ (sex skin) ในลิงเพศเมีย6 2. การวางกรงสำ�หรับดักจับ วางกรงดักจับลิงหางยาวในพื้นที่ 18 แห่ง ทั่วประเทศไทย ฉีดยาสลบ (ketamine hydrochloride, 10 mg/ kg BW) เข้าที่กล้ามเนื้อ จากนั้นนำ�ลิงไปชั่งน้ำ�หนัก เก็บรอยพิมพ์ลายมือลายเท้า วัดขนาดร่างกาย วัดสีขน ดูฟัน เพื่อใช้ในการประมาณอายุ4 เก็บอุจจาระ ถ่ายรูป ตรวจสุขภาพ และเจาะเลือด รอจนกระทั่งลิงฟื้นเต็มที่ จึงปล่อย ลิงกลับฝูงเดิมต่อไป 3. การเจาะเลือดและการสกัดดีเอนเอจากเม็ดเลือดขาว เก็บเลือดทางเส้นเลือดหน้าขา (femoral vein) ประมาณ 3 มล./กก. น้ำ�หนักตัว นำ�เลือดที่เจาะได้ผสมกับ heparin 0.1 มล. ให้เข้ากันทันทีและแช่เลือดที่ได้ในน้ำ�แข็ง ปั่นเลือดที่ได้ที่ 2,000 รอบ/นาที นาน 20 นาที แยก เก็บ buffy-coat ที่มีเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดอยู่ เพื่อนำ�ไปสกัดดีเอนเอ โดยวิธี phenol-chloroform extraction โดยดีเอนเอที่สกัดด้วยวิธีนี้ค่อนข้างบริสุทธิ์และสามารถเก็บเป็น DNA bank ไว้ที่ 4 องศาเซลเซียส ได้นานกว่า 20 ปี ขณะนี้ที่หน่วยวิจัยไพรเมท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีตัวอย่างดีเอนเอของลิงสกุล Macaca ชนิดต่าง ๆ รวม 1,600 ตัวอย่าง นำ�ดีเอนเอที่ได้ไปเพิ่มจำ�นวนยีน mitochondrial DNA (Control region) [7] ในหลอดทดลอง และ นำ�ลำ�ดับนิวคลิโอไทด์ของยีน mtDNA ที่ได้มาไปวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการ ผลและการอภิปรายผล 1. การแพร่กระจายและลักษณะประชากรลิงหางยาว จากการสำ�รวจพื้นที่ต่าง ๆ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 จำ�นวน 340 แห่ง พบลิงหางยาวเฉลี่ยประมาณ 200 ตัว/ฝูง และบางฝูงมีจำ�นวนมากกว่า 1,000 ตัว จากการเข้าไปสำ�รวจพบว่าคนไทย มีความสับสนในการจำ�แนกชนิดของลิงที่แตกต่างกันไป โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ลิงหางยาว มักถูกจำ�แนกเป็นลิงวอก เมื่อนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสำ�รวจมาวาดลงบนแผนที่ พบว่ารูปแบบการแพร่กระจายของลิง หางยาวในประเทศไทยในปัจจุบัน มีลักษณะคล้ายกับในรายงานที่ทำ�การสำ�รวจเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว3,5 เพียงแต่ ลิงหางยาวส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนลักษณะถิ่นที่อยู่อาศัยจากเดิมที่เคยอยู่ในป่า มาเป็น วัด สวนสาธารณะ แหล่งท่อง เที่ยว หรือบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งชุมชน หรือบ้านเรือนมนุษย์ อีกทั้งมีความคุ้นเคยกับมนุษย์ เป็นอย่างดี พบเห็น ได้โดยง่าย มีจำ�นวนประชากรเพิ่มขึ้นจากอดีตมาก จึงถือได้ว่าลิงหางยาวไทยมีการปรับตัวเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกับ มนุษย์ได้ดี 2. การเปรียบเทียบความแตกต่างแปรผันทางพันธุกรรมของลิงหางยาวในพื้นที่แต่ละแห่งที่ถูกแบ่งแยก เปรียบเทียบลักษณะทางพันธุกรรมของลิงหางยาวในประเทศไทย ที่จับได้ในพื้นที่เดียวกัน จำ�นวน 5 แห่ง คือ วนอุทยานโกสัมพี จ. มหาสารคาม, วัดเขาหน่อ จ. นครสวรรค์, เขางู จ.ราชบุรี, เขาน้อย-เขาตังกวน จ.สงขลา และ วัดคูหาภิมุข จ.ยะลา จากการวางกรงดักจับครั้งแรกในปี พ.ศ. 2532 – 2536 และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2545 – 2548 ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันนานประมาณ 10 ปี โดยสุ่มตัวอย่างดีเอนเอของลิงในแต่ละพื้นที่มาจำ�นวน 2 – 6 ตัว วิเคราะห์ ลำ�ดับนิวคลิโอไทด์ของยีน mtDNA พบว่าลิงที่จับได้ทั้งสองครั้งยังจัดอยู่ใน cluster เดียวกัน และแยกออกจากลิง
9
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
ในแหล่งอื่น ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าลิงหางยาวที่สุ่มมาทำ�การศึกษาทั้ง 5 แห่ง ไม่มีการเคลื่อนย้ายของลิงจากแหล่งอื่น เข้ามาในฝูงเลย จึงคาดว่าลิงมีการผสมเลือดชิดเกิดขึ้น เพราะพบลิงหลายตัวที่ วัดเขาหน่อ จ. นครสวรรค์ และ เขางู จ.ราชบุรี มีเต้านม 3 – 4 เต้า ซึ่งคาดว่ามีการแสดงออกของยีนด้อย ซึ่งเป็นการเกิด inbreeding depression 3. การเคลื่อนย้ายลิงหางยาวจากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง จากการสำ�รวจและสัมภาษณ์เจ้าอาวาสที่วัดป่าศิลาวิเวก อ.เมือง จ.มุกดาหาร พบว่าได้มีการดักจับและขน ย้ายลิงหางยาวมาจาก วนอุทยานดอนเจ้าปู่ ต.พนา อ.พนา จ.อำ�นาจเจริญ ที่อยู่ห่างจากวัดป่าศิลาวิเวกประมาณ 100 กิโลเมตร เมื่อหลายปีมาแล้ว โดยเจ้าอาวาสหวังว่าลิงจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในวัด นอกจากนี้ยัง พบว่าลิงหางยาวที่ โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ ต.บางลึก อ.เมือง จ.ชุมพร ก็ถูกขนย้ายมาจาก วัดธรรมิกา รามวรวิหาร อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้เนื่องจากวัดธรรมิการามวรวิหารเป็นสวนสาธารณะที่เป็นเนินเขา ล้อม ด้วยบ้านคน ทะเล และวัด ที่มีพื้นที่จำ�กัด และมีนักท่องเที่ยวนำ�อาหารมาให้เป็นประจำ� ประชากรลิงจึงเพิ่มจำ�นวน มากขึ้น ดังนั้นหน่วยงานราชการในพื้นที่จึงวางกรงดักจับ และเคลื่อนย้ายลิงบางส่วนจากวัดธรรมิการามวรวิหารไป ไว้ที่โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ แต่ในพื้นที่ของโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ ก็มีลิงหางยาวอาศัยอยู่ด้วย เช่นกัน ดังนั้นลิงหางยาวจากวัดธรรมิการามวรวิหารที่ย้ายเข้าไปจึงเข้าไปแย่งอาหารและที่อยู่อาศัยของลิงหางยาว ที่โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ ที่มีอยู่เดิม 4. การปล่อยลิงเลี้ยงไปในฝูงลิงหางยาวในธรรมชาติและการเกิดลูกผสม จากการสำ�รวจพบลิงชนิดอื่น ๆ ในฝูงลิงหางยาวในพื้นที่ดังนี้ วัดตาสังใต้ จ.นครสวรรค์ ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี และเขาสามมุข จ.ชลบุรี พบลิงกังเพศเมียในฝูงลิงหางยาว ที่ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี พบลิงเสนเพศเมีย ในฝูงลิงหางยาว นอกจากนี้ยังพบพื้นที่อีก 2 แห่ง ที่มีลิงลูกผสมระหว่างลิงหางยาวและลิงวอก คือ 1. สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี (N13Oo 12’, E101Oo 03’) พบลิงที่มีลักษณะ ทางสัณฐานของลิงวอก ลิงหางยาว และลิงลูกผสมระหว่างลิงวอกและลิงหางยาว โดยก่อนที่จะมีการก่อตั้งสวน สัตว์ในปี พ.ศ. 2517 มีลิงหางยาวอาศัยอยู่ในพื้นที่แล้ว และเมื่อดูรูปแบบการแพร่กระจายจะเห็นได้ว่าสวนสัตว์เปิด เขาเขียวอยู่นอกเหนือพื้นที่การแพร่กระจายของลิงวอกในประเทศไทย (N16Oo 30’ - 19Oo 30’) ดังนั้นจึงคาดว่า ลิงวอกที่เข้ามาอยู่ในฝูงดังกล่าวน่าจะเกิดมาจากการกระทำ�ของมนุษย์ โดยการนำ�ลิงวอกมาปล่อย เมื่อวิเคราะห์ลำ� ดับนิวคลิโอไทด์ของ mtDNA และนำ�ข้อมูลที่ได้มาหาค่าความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการเทียบกับลิงวอกจากจีน อินเดีย พม่า ไทย และเวียดนาม และลิงหางยาว พบว่าลิงวอก ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียวจัดอยู่ในกลุ่มของลิงวอกพม่า ดัง นั้นจึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งสำ�หรับลักษณะพันธุกรรมของลิงฝูงนี้ในอนาคต จึงควรมีการวางแผนการจัดการอย่างเร่ง ด่วน 2. สวนธรรมชาติกุมภวาปี อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี (N17Oo 06’, E103Oo 01’) พบลักษณะทางสัณฐาน ปนกันของลิง 3 ชนิด คือ ลิงหางยาว ลิงวอก และลิงกัง มีรายงานว่ามีการปล่อยลิงกังเข้ามาในฝูงลิงนี้เมื่อไม่นาน มานี้ ส่วนการพบลักษณะของลิงหายาวและลิงวอกในฝูงยังไม่มีข้อมูล Fooden3 รายงานว่าบริเวณดังกล่าวอยู่ในเขต พื้นที่ hybrid zone ระหว่างลิงทั้งสองชนิด จากการสำ�รวจพบว่าลิงฝูงนี้มีความยาวหางหลากหลาย ตั้งแต่ 60 – 100% ของความยาวลำ�ตัว ลิงบางตัวมีลักษณะขนสองสี (bipartite pattern) ซึ่งเป็นลักษณะของลิงวอก ลิงบาง ตัวมีขนแหลมบนหัวของลิงหางยาว บางตัวมีขนที่หัวลู่ไปข้างหลังเหมือนลิงวอก และบางตัวมีขนที่หัวเป็นแผ่นสี น้ำ�ตาลดำ�ของลิงกัง และเมื่อวิเคราะห์ลำ�ดับนิวคลิโอไทด์ของ mtDNA พบว่ามีลักษณะทางพันธุกรรมปนกันระหว่าง ลิงหางยาวและลิงวอก สรุป จากการสำ�รวจและศึกษาลิงหางยาวในธรรมชาติมากว่า 10 ปี พบว่าประชาชนชาวไทยมีความคิดเห็นที่แตก ต่างกันของการมีลิงหางยาวในพื้นที่ ทั้งชอบและไม่ชอบ ประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับผลประโยชน์จากการที่มีลิง หางยาวอยู่ในพื้นที่ เช่น แม่ค้า เจ้าของโรงแรม หรือคนดูแลลิง มักจะชอบ ในขณะที่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้
10
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
เคียง ไม่ได้รับผลประโยชน์กับการที่มีลิงอยู่ในพื้นที่ และถูกลิงรบกวนอยู่เป็นประจำ� มักจะไม่ชอบ และในปัจจุบันนี้ ปัญหาในลักษณะนี้จะยิ่งลุกลามขึ้นไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ลิงมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จวบ จนกระทั่งปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ายังไม่มีมาตรการใดๆ ที่เป็นรูปธรรมในการบริหารจัดการและการควบคุมจำ�นวน ประชากรของลิงหางยาว ถึงแม้ว่าในปี พ.ศ. 2551 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีนโยบายที่ จะควบคุมประชากรลิงหางยาว 40 แห่งทั่วประเทศไทย แต่ก็ยังไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่งในการวางแผนจัดการ และอนุรักษ์ลิงหางยาวนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนที่ไม่สามารถดำ�เนินการได้โดยคนเพียงกลุ่ม เดียว จักต้องอาศัยความร่วมมือของคนหลายฝ่าย ได้แก่ นักวานรวิทยา สัตวแพทย์ คนในท้องที่ นักอนุรักษ์ หน่วย งานรัฐบาล และ NGO เป็นต้น และต้องมีการดำ�เนินงานอย่างเป็นระบบ มาตรการเริ่มต้นที่ควรจะดำ�เนินการ คือ 1) ควบคุมเกี่ยวกับการให้อาหารลิง 2) หยุดการเคลื่อนย้ายลิง 3) พัฒนาวิธีการคุมกำ�เนินโดยการทำ�หมันลิงที่มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี 4) หยุดการปล่อยลิงเลี้ยงเข้าสู่ฝูงลิงในธรรมชาติ 5) ให้ความรู้เกี่ยวกับลิงหางยาว แก่คนในท้องที่ และ 6) มีการจัดตั้งหน่วยงานรัฐบาลในท้องที่เพื่อดูแลและอนุรักษ์ลิงหางยาว เป็นต้น เอกสารอ้างอิง [1] Aggimarangsee, N. 1992. Survey for semi-tame colonies of macaques in Thailand. Nat Hist Bul Siam Soc. 40: 103-166. [2] Bernstein, I.S. and Gordon, T.P. 1980. Mixed taxa introductions, hybrids and macaque systematics. In The Macaques: Studies in Ecology, Behavior and Evolution. Van Nostrand Reinhold Company, New York. [3] Fooden, J. 1995 Systematic review of Southeast Asia longtail macaques, Macaca fascicularis (Raffles, 1821). Fieldiana Zool. 81: 1-206. [4] Hamada, Y., Suryobroto, B., Goto, S. and Malaivijitnond, S. 2008. Morphological and body color variation in Thai Macaca fascicularis fascicularis north and south of the Isthmus of Kra. Int J Primatol. 29: 1271-1294. [5] Lekagul, B. and McNeely, J.A. (1988) Mammals of Thailand. Darnsutha Press, Bangkok, Thailand. [6] Malaivijitnond, S., Hamada. Y., Suryobroto. B., Takenaka. O. 2007a. Female long-tailed macaques with scrotum-like structure. Am J Primatol. 69: 721-735. [7] Malaivijitnond, S., Takenaka, O., Kawamoto, Y., Urasopon, N., Hadi, I., Hamada. Y. 2007b. Anthropogenic macaque hybridization and genetic pollution of a threatened population. Nat Hist J Chula Univ. 7: 11-23. [8] Malaivijitnond, S., Hamada, Y. 2008 Current situation and status of long-tailed macaques (Macaca fascicularis) in Thailand. Nat Hist J Chula Univ. 8: 185-204.
11
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
ความสำ�เร็จและข้อจำ�กัดในการใช้เทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์ในสัตว์ป่า บริพัตร ศิริอรุณรัตน์
อัมพิกา ทองภักดี วัลยา ทิพย์กันทา สุเมธ กมลนรนาถ
บทคัดย่อ ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์ ได้แก่ การตรวจสอบความสมบูรณ์พันธุ์ การผสมเทียม (artificial insemination; AI) การย้ายฝากตัวอ่อน (embryo transfer; ET) การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (in vitro fertilization; IVF) การฉีดตัวอสุจิ (intracytoplamic sperm injection; ICSI) การย้ายฝากนิวเคลียส (cloning/nuclear transfer; NT) การคัดเลือกเพศจากอสุจิ (sperm sexing) การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อสืบพันธุ์ (tissue graft) ได้เข้ามามี บทบาทช่วยให้สัตว์ป่าสามารถสืบพันธุ์และ ตั้งท้องด้วยกระบวนการเลียนแบบธรรมชาติ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความ หลากหลายทางทางพันธุกรรม เพิ่มประสิทธิภาพ หรือแก้ไขปัญหาในการสืบพันธุ์ องค์การสวนสัตว์ได้จัดตั้งธนาคาร พันธุกรรม (Genome Resource Bank, GRB) สัตว์ป่า เพื่อในอนาคตจะสามารถนำ�เอาพันธุกรรมจากต้นพันธุ์มา กระจายในรุ่นถัดไปได้รวดเร็ว และยังช่วยลดกระบวนการการขนย้ายสัตว์จากแต่ละสวนสัตว์ และมีความเป็นไปได้ใน การใช้เทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์สำ�หรับการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมสัตว์ป่าในสภาพการเพาะเลี้ยงกับประชากรสัตว์ ในธรรมชาติอีกด้วย อย่างไรก็ตามมีข้อจำ�กัดหลายประการ เช่น ขาดองค์ความรู้ ความเสี่ยงในการวางยาสลบ และ ความเครียด การรีดเก็บน้ำ�เชื้อและการเก็บรักษาน้ำ�เชื้อแบบแช่แข็ง เทคโนโลยีนี้มีประโยชน์อย่างมากในการนำ�มาประยุกต์ใช้เพื่อเก็บรักษาและอนุรักษ์สายพันธุ์ในสัตว์ป่าหายาก ใกล้สูญพันธุ์ องค์การสวนสัตว์มีการดำ�เนินงานศึกษาลักษณะเซลล์อสุจิ ตรวจคุณภาพน้ำ�เชื้ออย่างต่อเนื่อง เพื่อ พัฒนาวิธีการเก็บรักษาเซลล์อสุจิแช่แข็งในสัตว์ป่าหายากหลายชนิด เช่น ละมั่งสายพันธุ์ไทยและพันธุ์พม่า เลียงผา กวางผา และนกกระเรียนพันธุ์ไทย ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนของประเทศไทย และสัตว์ป่าหายากชนิดอื่นๆ ได้แก่ กระทิง วัวแดง กวางป่า เนื้อทราย และสัตว์ป่าตระกูลแมว ได้มีการจัดทำ�ธนาคารพันธุกรรมเพื่อเก็บรักษาความหลากหลาย ทางพันธุกรรมที่สามารถนำ�ไปใช้ในการเพาะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการผสมเทียมหรือนำ�ไปศึกษาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ทางการสืบพันธุ์อย่างอื่นต่อไป การผสมเทียม การผสมเทียมช่วยให้กระจายพันธุกรรมดีอย่างรวดเร็ว ในสัตว์ป่านั้นนอกจากจะช่วยกระจายพันธุกรรมแล้ว และยังสามารถลดปัญหาเลือดชิดของสัตว์ป่าที่มีประชากรจำ�กัดโดยการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่างสวนสัตว์ หรือระหว่างสวนสัตว์กับป่า นอกจากนี้ยังช่วยแก้ไขปัญหาทางการสืบพันธุ์ได้ เช่น สัตว์มีพฤติกรรมต้องการทาง เพศต่ำ� พฤติกรรมดุร้ายหรือความไม่เข้าคู่กัน นอกจากนี้ยังช่วยลดกระบวนการขนย้ายสัตว์จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ด้วยการใช้น้ำ�เชื้อแช่แข็ง องค์การสวนสัตว์ประสบความสำ�เร็จในการขยายพันธุ์ลูกผสมวัวแดงและวัวบ้านที่สวนสัตว์ เปิดเขาเขียว นกกระเรียนไทยที่สวนสัตว์โคราช และแพนด้ายักษ์ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ที่ใช้การตรวจระดับฮอร์โมนจาก ปัสสาวะและอุจจาระเพื่อช่วยในการระบุวงรอบการเป็นสัด และระยะเวลาการตกไข่เพื่อกำ�หนดเวลาที่เหมาะสมใน การผสมพันธุ์ร่วมกับการผสมเทียมด้วยน้ำ�เชื้อสดที่ช่วยให้ประสบความสำ�เร็จในการเพาะขยายพันธุ์แพนด้ายักษ์ ในประเทศไทย นอกจากนี้ได้ขยายพันธุ์สัตว์ด้วยการผสมเทียมเพื่อการประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติในอนาคตในสัตว์ป่า หลายชนิด เช่น ละมั่งสายพันธุ์พม่าเพื่อเป็นต้นแบบในละมั่งสายพันธุ์ไทย ซึ่งเป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่างองค์การ
ส่วนอนุรักษ์ วิจัยและการศึกษา องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์
12
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
สวนสัตว์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งประสบความสำ�เร็จในการเพาะขยายพันธุ์ละมั่งสายพันธุ์พม่าด้วยวิธีการ ผสมเทียมด้วยน้ำ�เชื้อแช่แข็งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และได้เริ่มดำ�เนินการศึกษาการผสมเทียมในละมั่งพันธุ์ไทย ด้วย ข้อจำ�กัด อัตราความสำ�เร็จของการผลิตสัตว์ด้วยการผสมเทียมมีข้อจำ�กัดบางประการ เช่น กระบวนการรีด เก็บน้ำ�เชื้อในสัตว์บางชนิดเป็นไปได้ยาก เช่น แรด ม้าป่า ลิงขนาดใหญ่ เป็นต้น และ กายวิภาคของระบบสืบพันธุ์ที่ซับ ซ้อนและแตกต่างกันในสัตว์แต่ละชนิดซึ่งมีผลต่อความสามารถในการสอดท่อผสมเทียม และยังไม่ทราบถึงตำ�แหน่ง ในการปล่อยน้ำ�เชื้อที่เหมาะสม การขาดความเข้าใจเรื่องชีววิทยาของระบบสืบพันธุ์ เช่น วงรอบการเป็นสัด การตอบ สนองต่อการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนให้มีการสร้างฟอลลิเคิล การตกของไข่ เป็นต้น ซึ่งต้องมีการศึกษาและพัฒนาองค์ ความรู้ต่อไป การปฎิสนธินอกร่างกาย การปฏิสนธิภายนอกร่างกายช่วยให้สามารถผลิตลูกสัตว์จากสัตว์ที่มีปัญหาทางการสืบพันธุ์และช่วยการ ขยายพันธุ์สัตว์ที่มีพันธุกรรมดีได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างความสำ�เร็จการขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ องค์การสวนสัตว์และ ความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประสบความสำ�เร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ในแมวบ้าน ซึ่งสามารถใช้ เป็นต้นแบบสัตว์ป่าตระกูลแมว ช่วยให้สามารถผลิตตัวอ่อนจากเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์ที่ตายอย่างกะทันหันหรือผลิต จากเซลล์สืบพันธุ์ที่แช่แข็งเก็บไว้ได้ด้วย นอกจากนี้ยังประสบความสำ�เร็จในการผลิตตัวอ่อนละมั่งพม่า เจริญถึง ระยะบลาสโตซีสซึ่งถือว่าเป็นความสำ�เร็จครั้งแรกของโลกด้วย ปัจจุบันได้ย้ายฝากตัวอ่อนระยะคลิเวจทางท่อนำ�ไข่ไป ยังแม่รับทั้งหมด 3 ตัว ข้อจำ�กัด อัตราความสำ�เร็จยังอยู่ในระดับต่ำ� เนื่องจากการขาดองค์ความรู้พื้นฐานในเรื่องของปัจจัยที่มีผลต่อ การพัฒนาของตัวอ่อนและการตอบสนองของตัวรับต่อการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเพื่อการฝังตัวของตัวอ่อน ต้องอาศัย ผู้มีความรู้ความชำ�นาญในการผลิตและย้ายฝากตัวอ่อน และ ทีมงานในการวางยาสลบอย่างมีประสิทธิภาพและ ปลอดภัย การย้ายฝากนิวเคลียส การย้ายฝากนิวเคลียสหรือโคลนนิ่งในสัตว์ป่ามีข้อจำ�กัดในเรื่องการนำ�เก็บไข่มาผลิตเป็นตัวอ่อน ดังนั้นจึง ต้องใช้ไข่จากสัตว์เลี้ยงที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับสัตว์ป่า เช่น วัว แกะและ แมวบ้าน องค์การสวนสัตว์ร่วมมือกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการศึกษาการผลิตตัวอ่อนด้วยการโคลนนิงในสัตว์ป่าตระกูลแมว ได้แก่ แมวลายหินอ่อน และแมวป่าหัวแบน นอกจากจะเป็นการผลิตลูกสัตว์จากสัตว์ที่มีพันธุกรรมดีหรือใกล้สูญพันธุ์แล้ว ยังเป็นการสร้าง องค์ความรู้เรื่องการพัฒนาของตัวอ่อนสัตว์ป่าทั้งกระบวนการพัฒนาของนิวเคลียสไปเป็นตัวอ่อนในระดับเซลล์และ โมเลกุล ข้อจำ�กัด ความสำ�เร็จของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้ในสัตว์ป่ายังอยู่ในระดับจำ�กัดเนื่องจากข้อจำ�กัดหลาย ประการ ได้แก่ การขาดองค์ความรู้ของชีววิทยาของระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ป่า อัตราการตั้งท้องอยู่ในระดับต่ำ� มี รายงานพบลูกสัตว์ที่เกิดมาจากการโคลนนิ่งบางส่วนมีความผิดปกติ ซึ่งการพัฒนาของตัวอ่อนโคลนไปเป็นลูกสัตว์ ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม และการพัฒนาของนิวเคลียสของเซลล์ ร่างกายไปเป็นตัวอ่อนไม่สมบูรณ์ทำ�ให้การแสดงของยีนผิดปกติ สรุป สามารถนำ�เทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์มาใช้ในสัตว์ป่าหลายชนิดซึ่งก่อประโยชน์มหาศาลในวงการการอนุรักษ์ การเพาะขยายพันธุ์ในสภาวะการเพาะเลี้ยง และเพื่อการศึกษา วิจัยสัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ของไทย รวม ถึงการต่อยอดการใช้ประโยชน์สัตว์ป่าเชิงเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามความสำ�เร็จของการใช้เทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์ ยังอยู่ในระดับต่ำ� และยังไม่สามารถนำ�มาให้ในทางปฏิบัติได้ทั้งหมด ดังนั้นการศึกษาวิจัยเพื่อให้เข้าใจพื้นฐานของ ชีววิทยาระบบสืบพันธุ์ของสัตว์ป่า และการพัฒนากระบวนการของเทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์จะช่วยให้สามารถนำ�
13
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
เอาเทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์มาใช้แก้ไขปัญหาและส่งเสริมให้การเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่ามีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย
14
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การประยุกต์เทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์ในการวิจัยและจัดการสัตว์ป่า ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์
บทนำ� งานวิจัยและจัดการสัตว์ป่าเป็นงานประยุกต์ที่เกิดจากผลพวงของการศึกษาระหว่างพันธุศาสตร์เพื่อการ อนุรักษ์ (conservation genetic) และชีวเคมี พันธุศาสตร์ และนิติพันธุศาสตร์ ร่วมกัน เพื่อเสริมให้การค้นหาองค์ ความรู้ เพื่ออนุรักษ์ บริหาร จัดการทรัพยากรสัตว์ป่า และเป็นเครื่องมือในการเสริมการบังคับใช้กฎระเบียบรวมถึง กฎหมายในการสงวน อนุรักษ์ และให้การคุ้มครอง เทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์ได้นำ�มาใช้ในการวิเคราะห์ตัวอย่างเพื่อตอบคำ�ถามพื้นฐานเกี่ยวกับ species ที่ สนใจ ทั้งในแง่ความหมายของเอกลักษณ์ของ species ที่มาของ species ลักษณะและนิสัยกระบวนการทางเคมีและ พันธุกรรม รวมถึงความหมายต่างๆ ทางนิติพันธุศาสตร์ที่อาจพาดพิงไปถึง ทั้งนี้เพื่อการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจากในกระบวนการประยุกต์ใช้เทคนิคเหล่านี้ ทั้งกระบวนการจะเกี่ยวพันกับการเก็บตัวอย่าง การวิเคราะห์ และการแปลผล จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า ทำ�ไมนักวิจัยจึงมุ่งสนใจไปที่เทคนิคในการวิเคราะห์ที่จะช่วยให้การวิจัยและ จัดการสัตว์ป่าไปสู่ผลลัพธ์ในการสงวน อนุรักษ์ และคุ้มครองอย่างยั่งยืนมากกว่าขั้นตอนอื่น เทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์ได้นำ�มาใช้ในการวิเคราะห์ทางพันธุกรรม โดยหากพิจารณาขอบเขตของงาน เน้น การดำ�เนินการไม่กี่สาขาเช่น การจำ�แนก ปัจเจกของชนิดพันธุ์หรือเชื้อพันธุ์ การตรวจสอบการติดเชื้อที่มีผลต่อสุข อนามัยและงานบำ�รุงพันธุ์ การศึกษาพันธุศาสตร์ของสัตว์แต่ละชนิด การศึกษาทางพันธุศาสตร์ประชากร การศึกษา นิเวศวิทยาจากมุมมองทางชีววิทยาโมเลกุล และการศึกษาวงศ์วานว่านเครือทางวิวัฒนาการ7 รูปแบบการใช้งานเทคนิคทางอณูชีวิทยา หากพิจารณาถึงพัฒนาการทางเทคนิค พบว่าเทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์นำ�มาปรับใช้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การตรวจที่เน้นการตามโมเลกุลโปรตีนเป้าหมายและการตรวจที่เน้นการตามโมเลกุลสารพันธุกรรมเป้าหมาย การตรวจเน้นการตามโปรตีนโมเลกุล: จากห้องปฏิบัติการสู่ภาคสนาม ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา พัฒนาการทางเทคนิคเซรั่มวิทยาก้าวหน้าไปมาก แม้โดยหลักการรูปแบบการ ตรวจโมเลกุลโปรตีน ยังคงอยู่ที่การจับ ตัวระหว่าง antigen และ antibody แต่พัฒนาการทางเทคนิคช่วยให้ สามารถสร้างความจำ�เพาะที่มากขึ้น จาก polyclonal ไปสู่ monoclonal และช่วยเสริมด้วยหลักการตรวจที่มีเอนไซม์ เข้าร่วม เช่น enzyme linked immuno sorbent assay (ELISA) ซึ่งในปัจจุบัน สามารถเชื่อมโยงไปสู่การใช้ biotin streptavidin ferrous oxide และระบบแม่เหล็ก การใช้ streptavidin/biotin ร่วมจนเกิดเป็น PCR-ELISA หรือแม้ กระทั่งการปรับรูปแบบของ ELISA ให้อยู่ในรูป flow strip (immuno chromatographic strip test) และการนำ� อนุภาคนาโนทองคำ�มาใช้ในการตรวจสัญญาณ ทำ�ให้เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจวิเคราะห์ขึ้นอีก 100-1000 เท่า จากเดิม และทำ�ให้การตรวจสามารถดำ�เนินการได้ง่ายและสามารถใช้ในภาคสนาม ทำ�ให้ลดการพึ่งพาห้องปฏิบัติการ เทคนิคเหล่านี้เหมาะสมกับการตรวจการติดเชื้อต่างๆในประชากรสัตว์ป่า โดยมีตัวอย่างการนำ�มาใช้ตรวจเชื้อ ไวรัสนานาชนิด11,14 การตรวจ zoonotic disease15 อย่างไรก็ดีพึงทราบว่าเทคนิคเซรั่มวิทยานี้อยู่บนพื้นฐานการ จับตัวของ antigen และ antibody ซึ่งยังมีข้อจำ�กัดในเรื่องความไวของปฏิกิริยาที่อยู่ในระดับนาโนซึ่งต่ำ�กว่าเมื่อ เทียบกับเทคนิคอณูพันธุศาสตร์อื่น (PCR) และระบบยังอาจมีปัญหาในเรื่องความจำ�เพาะที่ต้องพิจารณาอีกด้วย
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พญาไท กรุงเทพ 10330
15
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การตรวจเน้นการตามโมเลกุลสารพันธุกรรม: เทคนิคปัจจุบันกับงานวิจัยและจัดการสัตว์ป่า โมเลกุลสารพันธุกรรมโดยเฉพาะดีเอ็นเอ เป็นโมเลกุลที่มีเสถียรภาพสูงมาก และพบดีเอ็นเอแทบจะในทุก ส่วนและทุกเซลล์ของสัตว์ ดีเอ็นเอไม่ย่อยสลายได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อน สามารถคงอยู่ในเศษชิ้นส่วนต่างๆ ของ สิ่งมีชีวิต เช่น ขน เล็บ แม้กระทั่งในซาก (กระดูกและตัวอย่างดอกหรือตัวอย่างแห้ง) ทำ�ให้การตรวจที่เน้นการตาม โมเลกุลสารพันธุกรรมได้รับความนิยม ดีเอ็นเอที่อยู่ในตัวอย่างเหล่านี้ หากเป็นตัวอย่างสดจะมีระดับปริมาณที่มาก พอแต่หากเป็นตัวอย่างแห้งหรือตัวอย่างที่มีปริมาณน้อยจะมีสารพันธุกรรมเป้าหมายน้อยไปด้วย ดังนั้นในตัวอย่าง ที่มีดีเอ็นเอน้อย อาจให้สารพันธุกรรมเป้าหมายที่ต้องการตรวจในดีเอ็นเอทั้งหมดน้อยมากขึ้นไปอีก ทำ�ให้มีความ จำ�เป็นต้องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมยังบริเวณเป้าหมายเสียก่อน การเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมเป้าหมาย อาศัยความจำ�เพาะตามหลัก complementary ระหว่างไพร-เมอร์ที่ ออกแบบขึ้นกับดีเอ็นเอเป้าหมาย ไพรเมอร์เป็นตัวเลือกความจำ�เพาะ โดยบริเวณสารพันธุกรรมเป้าหมายเท่านั้นที่จะ สามารถเพิ่มปริมาณได้ และสำ�หรับแม่แบบที่เป็นดีเอ็นเอ การเพิ่มปริมาณจะสามารถทำ�ได้โดยตรง ขณะที่แม่แบบที่ เป็นอาร์เอ็นเอต้องอาศัยปฏิกิริยา reverse transcription ก่อนปัจจุบันเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมที่เป็น ที่นิยมและยอมรับ ได้แก่ เทคนิค PCR สำ�หรับดีเอ็นเอ และ RT-PCR สำ�หรับอาร์เอ็นเอ ตามลำ�ดับ ในงานวิจัยและ จัดการสัตว์ป่า เทคนิค PCR มีรูปแบบการนำ�มาใช้งานต่างกันขึ้นกับวัตถุประสงค์ และความละเอียดในการตรวจ ด้วย วัตถุประสงค์ในการจำ�แนกชนิดพันธ ุ์(species and individual identification) อาศัยการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอใน บริเวณ cytochrome b13 หรือ cytochrome oxidase subunit I (COI)8 ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณยีน มีอัตราการ กลายล้อไปกับอัตราการวิวัฒนาการ ความแตกต่างที่เกิดขึ้น สามารถแยกออกจากกันโดยการตัดด้วยเอนไซม์จำ�เพาะ เทคนิคดังกล่าวรู้จักในนาม PCR-RFLP (restriction fragment length polymerphism) PCR ยังนำ�มาใช้ในการเพิ่มปริมาณบริเวณของยีนที่เป็นยีนบ่งบอกหรือ marker เพื่อนำ�ไปหาลำ�ดับ นิวคลีโอไทด์ แล้วนำ�กลับมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ใช้อ้างอิงเพื่อกำ�หนดชนิดพันธุ์ต่อไป วิธีนี้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลโดยเฉพาะกับ International Society For Forensic Genetics1,2 ใน บางบริเวณยีนอาจใช้ไพรเมอร์ที่เป็น universal primer ที่สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ในสัตว์หลายชนิด ทำ�ให้ การตรวจสอบลำ�ดับนิวคลีโอไทด์ทำ�ได้ง่าย17 การเปรียบเทียบข้อมูลลำ�ดับนิวคลีโอไทด์กับฐานที่มีอยู่จะทำ�ให้ทราบ ว่า การจำ�แนกเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างกัน แม้ว่าบางครั้งข้อมูลที่ได้อาจจะไม่เหมือนกัน ถึงระดับ 100 % ก็ตาม ปัจจุบันมีเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่ช่วยหาความสัมพันธ์ในรูปแบบ strength of confidence อีกด้วย18 นอกจากนี้ข้อมูลลำ�ดับนิวคลีโอไทด์ยังสามารถใช้ในการทำ�นายรูปแบบความสัมพันธ์ในรูปต้นไม้แสดงความสัมพันธ์ (tree) ด้วยโมเดลคณิตศาสตร์ เช่น neighbor-joining maximum parsimony เป็นต้น ความแตกต่างระหว่างชนิดพันธุ์ยังตรวจสอบได้จาก single nucleotide polymorphisms (SNPs) ภายใน ชิ้นยีน ซึ่งการตรวจสอบอาจทำ�โดยเทคนิค PCR-RFLP หรือการใช้ไพรเมอร์ที่จำ�เพาะต่อบริเวณ SNPs ในรูป allelespecific PCR หรือการใช้ probe ที่จำ�เป็นบริเวณ SPNs หลังทำ� PCR เสร็จสิ้น ในรูป allele-specific probe10 ปัจจุบัน PCR ยังสามารถประยุกต์ในรูป multiplex assays ทำ�ให้ตรวจสอบชนิดพันธุ์ได้พร้อมๆ กันหลายชนิด16 นอกจากวัตถุประสงค์ในการจำ�แนกชนิดพันธุ์แล้ว PCR ยังนำ�มาใช้ในการตรวจการปนหรือการติดเชื้อ ใช้ในการศึกษา การแสดงออกของยีนในรูปแบบ RT-PCR และหรือ การศึกษาในเชิงปริมาณด้วยเทคนิค Real time quantitative PCR ในสัตว์บางชนิด ประชากรที่กระจายอยู่อาจแยกตัวตามแหล่งกำ�เนิดทางภูมิศาสตร์ที่แยกจากกัน (geographic origin) PCR ในบางบริเวณของยีน เช่น mitochondrial DNA โดยเฉพาะ D-loop19 ใช้บอกแหล่งกำ�เนิดที่ ล้อตามกฎระเบียบ CITES ได้ อย่างไรก็ดีจำ�เป็นต้องมีฐานข้อมูลของประชากรในสัตว์แต่ละชนิดพันธุ์รองรับ นอกจากการจำ�แนกโดยใช้ SNPs แล้ว microsatellite marker ที่ได้จากการศึกษาเบสซ้ำ� (repetitive sequence) สามารถนำ�มาใช้ประยุกต์ร่วมกับเทคนิค PCR จำ�นวนซ้ำ� (repeat number) เช่น VNTR (variable number of tendem repeat) สามารถใช้จำ�แนกสัตว์แต่ละชนิดออกจากกัน หรือสามารถใช้ตอบคำ�ถามเรื่อง familial
16
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
identification ได้ ดังนั้นหากพิจารณาภายในมุมกว้าง การเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมเป็นหัวใจหลักในการทำ�งานวิจัยและ จัดการในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีการตรวจไปยังโมเลกุลสารพันธุกรรมใช่ว่าจะตอบคำ�ถามทุกคำ�ถามในแง่ การสงวนอนุรักษ์และจัดการสัตว์ป่าได้ทั้งหมด การวิเคราะห์สารพันธุกรรมไม่สามารถบ่งบอกอายุของตัวอย่าง ไม่ สามารถตอบคำ�ถามเรื่อง geographic origin ได้ทั้งหมด หรือไม่ได้ตอบเรื่อง familial identification ในกรณีที่ไม่มี ฐานข้อมูลเชิงประชากรรองรับ แต่ด้วยข้อดีที่มีมาก ทำ�ให้เทคนิคได้รับการยอมรับในระดับสูง ในอนาคตด้วยเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เทคนิค PCR และเทคนิคอื่นก็จะเข้าสู่กระบวนการปรับให้อยู่ในรูป array ที่ทำ�ให้สามารถตรวจตัวอย่างได้พร้อมๆ กันหลายตัวอย่างบนหลุมหรือ matrix ขนาดเล็ก ทำ�ให้ประสิทธิภาพในการ ตรวจดีขึ้น การตรวจเน้นการตามโมเลกุลดีเอ็นเอ: มหัศจรรย์สู่อนาคต ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้เสนอ รูปแบบ การเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอแบบใหม่ ที่เป็นระบบอุณหภูมิระนาบเดี่ยวมีชื่อ ว่า Loop mediated isothermal DNA amplification12 เทคนิคดังกล่าวจะช่วยให้สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอเป้า หมายได้ดีกว่าเทคนิค PCR โดยเฉพาะในเรื่องปริมาณของผลิตภัณฑ์ ความจำ�เพาะและไม่ต้องการเครื่อง PCR ทำ�ให้ เหมาะกับการประยุกต์ใช้ในภาคสนาม นอกจากนี้ด้วยความก้าวหน้าทางวัสดุศาสตร์ ทั้งในระดับนาโนทำ�ให้การตรวจ ผลสามารถดำ�เนินการได้ โดยการใช้อนุภาคนาโนของโลหะ การตรวจดังกล่าวอยู่บนหลักการจับตัวของโพลบบนผิว อนุภาคเช่นเดียวกันกับการจับตัวของโพลบกับดีเอ็นเอเป้าหมาย ใน Southern hybridization ที่สำ�คัญปฏิกิริยา ดังกล่าวเกิดได้ใน 60 วินาที4, 6 การประยุกต์ใช้การตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้า ช่วยให้สัญญาณดีเอ็นเอตรวจวัดได้ใน รูปตัวเลขที่สามารถนำ�มาเชื่อมโยงกับการตรวจวัดเชิงปริมาณได้3 นอกจากนี้การประยุกต์ใช้ fluorophore จะช่วยให้การตรวจทำ�ได้ง่ายขึ้น การตรวจผลจากการเรืองแสงของ fluorophore ที่มีช่วงแสงที่ต่าง ทำ�ให้สามารถ ตรวจสอบดีเอ็นเอเป้าหมายหลากโมเลกุลได้พร้อมๆกัน การใช้ดีเอ็นเอ analog ที่ไม่มีอยู่ในธรรมชาติมาสังเคราะห์ เป็นโพลบช่วยให้การจับตัวดีกว่าการจับตัวระหว่างดีเอ็นเอด้วยกันทำ�ให้การยืนยันผลของยีนตามหลักการ Southern hybridization ทำ�ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบ microfluidic และการนำ� หลักการ micro electromechanical system มาใช้ยังช่วยให้สามารถจำ�ลองระบบปฏิบัติการทั้งระบบมาอยู่บนชิป ขนาดเล็กเกิดเป็น Lab-on-a-chip technologyขึ้นสำ�หรับการพัฒนาชิปสำ�หรับตรวจโมเลกุลดีเอ็นเอได้แม้ในภาค สนาม5 การเชื่อมโยงความก้าวหน้าทางฟิสิกส์ด้านต่างๆมาร่วมกับงานอณูพันธุศาสตร์เหล่านี้ช่วยให้การตรวจดีเอ็นเอ ในอนาคตกลายเป็นสิ่งที่ทำ�ได้ง่าย รวดเร็ว ด้วยต้นทุนที่ต่ำ�และสามารถใช้งานภาคสนามได้ เอกสารอ้างอิง [1] Bar, W., Brinkmann, B., Budowle, B., Carracedo, A. 2000. Vox Sang 79:121–125 [2] Carracedo A., Bar, W., Lincoln, P., and Mayr, W. 2000. Forensic Sci Int 110:79–85 [3] Chaumpluk, P., Chikae, M., Takamura, Y. and Tamiya, E. 2006. Science and Technology of Advanced Materials7 :263 – 269. [4] Chaumpluk, P.., Ekgasit, S., Vilaivan, T. and Poovorawan, Y. 2010a. Rapid colorimetric detection of oseltamivir resistant mutation at amino acid residue 275 of 2009 Human Influenza A Virus (H1N1) Neuraminidase based on gold nanoparticles. The 2010 Options Control for Influenza VII Conference. 3-7 September 2010. Hong Kong SAR, China. [5] Chaumpluk P., Maturos, T., Tuantranont, A. 2010b. Pure and Applied Chemistry International Conference (PACCON2010) Ubon Ratchathani University 21-23 Jan 2010.
17
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
[6] Donraman, N., Ekgasit, S., Vilaivan, T., Poovorawan, Y., Chaumpluk, P.. 2010. Pure and Applied Chemistry International Conference (PACCON2010) Ubon Ratchathani University 21-23 Jan 2010. [7] Frankham R., Ballou J.D., and Briscoe D.A. 2002. Introduction to conservation genetics. Cambridge University Press, Cambridge [8] Hebert, P.D.N., Ratnasingham S., and deWaard J.R . 2003a. Proc R Soc Lond. Ser. B. Biol. Sci. 270(Suppl 1):96–99. [9] Hebert, P.D.N., Cywinska A., Ball S.L., and deWaard J.R. 2003b. Proc R Soc Lond. Ser. B. Biol. Sci. 270:313–321. [10] Imaizumi, K., Akutsu, T., Miyasaka, S., and Yoshino, M. 2007. Int . J. Legal Med. 121:184– 191. [11] Naves C.G.D., Roger, M., Yuccoz, N.G., Rimstad, E. and Morten, T. Acta Veterinaria scandinavica 51:9. [12] Notomi, T., Okayama, H., Masubuchi, H., Yonekawa, T., Watanabe, K., Amino, N., and Hase, T. 2000. Nucleic Acid Research 63e. [13] Parson, W., Pegoraro, K., Niederstatter, H., Foger, M., Steinlechner, M. 2000. Int J Legal Med 114:23–28 Roman, J., and Bowen, B.W. 2000. Anim. Conserv. 3:61–65 [14] Root, J.J., Hall, J.S. Mclean, R.G., Marlenee, N.L., Beaty, B.J., Gansowski, J., and Clarck, L. 2005. Am. J. Trop. Med. Gyg. 72:622-630. [15] Stöbel, K., Schönberg, A., and Staak, C.2002. Int. J. Med. Microbiol. 291:88-99. [16] Tobe, S.S., and Linacre, A.M.T. 2008. Electrophoresis 29:340–347. [17] Verma, S.K., and Singh, L. 2003. Mol Ecol Notes 3:28–31. [18] Verma, S.K., Prasad, K., Nagesh, N., Sultana, M., Singh, L . 2003. Forensic. Sci. Int. 137:16–20. [19] Wu, H., Wan, Q.H., Fang, S.G., and Zhang, S.Y. 2005. Forensic Sci. Int. 148:101–105.
18
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การผสมเทียมละมั่งพันธุ์พม่าเพื่อเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ละมั่งพันธุ์ไทยไม่ให้สูญ พันธุ์ สิทธวีร์ ทองทิพย์ศิริเดช1 อรสา พระลักษณ์2 สกลธ์ น้อยมูล3 อัมพิกา ทองภักดี3 สุขุมาล ฤทธิ์เต็ม2 วัลยา ทิพย์กันทา3 นิธิดล บูรณพิมพ์3 วรวิทย์ วัชชวัลคุ1 บรรพต มาลีหวล4 กิตติยาภรณ์ เอี่ยมสะอาด5 บริพัตร ศิริอรุณรัตน์3 สุเมธ กมลนรนาถ3
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาเทคนิคผสมเทียมที่เหมาะสมสำ�หรับใช้ในการขยายพันธุ์ละมั่งพันธุ์ พม่า (Rucervus eldii thamin) และพันธุ์ไทย (Rucervus eldii simensis) ที่อยู่ในสภาวะการเพาะเลี้ยง ทำ�การรีด น้ำ�เชื้อจากละมั่งพันธุ์พม่าเพศผู้โดยวิธีกระตุ้นการหลั่งน้ำ�เชื้อด้วยกระแสไฟฟ้าผ่านทางทวารหนัก (electroejaculation)1 เจือจางน้ำ�เชื้อที่มีอัตราการเคลื่อนไหวอย่างน้อย 50 % ในสารละลายเจือจางน้ำ�เชื้อสูตร BF5F2 และ Tris3 ที่มี สารป้องกันอันตรายจากการแช่แข็ง ความเข้มข้นสุดท้าย 5% บรรจุลงในหลอดน้ำ�เชื้อขนาด 0.5 มิลลิลิตร เก็บรักษา น้ำ�เชื้อในถังไนโตรเจนเหลว อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส จัดละมั่งพันธุ์พม่า จำ�นวน 10 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดย กลุ่มที่ 1 และ 2 เป็นละมั่งชุดเดียวกันที่ย้ายมาจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี จำ�นวน 5 ตัว ส่วนละมั่งกลุ่มที่ 3 เป็นละมั่งที่ย้ายมาจากสถานีวิจัยและเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง จ. ราชบุรี จำ�นวน 5 ตัว ส่วนละมั่งพันธุ์ไทย จำ�นวน 9 ตัว เป็นละมั่งที่ถูกเลี้ยงอยู่ในสถานีเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ป่า บางละมุง จ.ชลบุรี และสวนสัตว์ดุสิต แบ่งออก เป็น 2 กลุ่ม ละมั่งแต่ละกลุ่มจะได้รับการเหนี่ยวนำ�การเป็นสัดตามโปรแกรมดังแสดงใน ตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แสดงวิธีการเหนี่ยวนำ�การเป็นสัดของละมั่งพันธุ์พม่า
ละมั่งแต่ละกลุ่มจะได้รับการผสมเทียมหลังถอด CIDR ได้ 70 ชั่วโมงดังนี้ กลุ่มที่ 1 ได้รับการผสมเทียมด้วยเทคนิค endoscopic artificial insemination ใช้น้ำ�เชื้อแช่แข็งที่มีความเข้ม ข้นของอสุจิ 100 x 106 ล้านเซลล์ ปริมาตร 1.5 ml
1
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำ�แพงแสน นครปฐม ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำ�แพงแสน นครปฐม 3 องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพฯ 4 สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เขาประทับช้าง ราชบุรี 5 สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง ชลบุรี 2
19
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
กลุ่มที่ 2 ผสมเทียมด้วยเทคนิค laparoscopic artificial insemination น้ำ�เชื้อที่ใช้มีความเข้มข้นไม่ต่ำ�กว่า 25 x 106 ล้านเซลล์ฉีดเข้าไปในปีกมดลูกข้างที่พบการตกไข่ 0.5 ml กลุ่มที่ 3 ผสมเทียมด้วยเทคนิค transcervical artificial insemination ด้วยน้ำ�เชื้อที่มีความเข้มข้นไม่ต่ำ�กว่า 100x106 ล้านเซลล์ ปริมาตร 1.5 ml น้ำ�เชื้อที่ใช้ในการผสมเทียมแต่ละกลุ่มมีอัตราการเคลื่อนไหวของอสุจิภายหลังอุ่นละลายไม่น้อยกว่า 50 % ผลการศึกษา ละมั่งทั้งสองสายพันธุ์ที่ได้รับการเหนี่ยวนำ�ด้วย CIDR จำ�นวน 9 ตัวจากจำ�นวนละมั่งที่ได้รับการผสมเทียม ด้วยวิธี Laparoscopic A.I. 12 ตัว แสดงอาการเป็นสัดสังเกตได้จากพบเมือกใสเหนียว หรือสีขาวข้นบริเวณอวัยวะ เพศในปริมาณมาก และเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นลักษณะแข็งที่แข็งขึ้น ส่วนละมั่งที่ถูกฉีดด้วยฮอร์โมน พร้อสต้าแกลนดิน เอฟ ทู แอลฟ่า ไม่แสดงอาการเป็นสัดโดยไม่มีเมือกจากช่องคลอดและไม่พบการเปลี่ยนแปลง ของเต้านม จากการผสมเทียมด้วยวิธี Laparoscopic A.I ปี 2552 สามารถช่วยแม่ละมั่งพันธุ์พม่า จำ�นวน 1 ตัว จาก 5 ตัวที่ได้รับการผสมเทียมด้วยเทคนิคนี้ ให้กำ�เนิดลูกละมั่งเพศเมีย จำ�นวน 1 ตัว มีระยะเวลาอุ้มท้อง 241 วัน ซึ่งนับว่าเป็นความสำ�เร็จก้าวแรกของการใช้เทคนิคผสมเทียมให้แก่ละมั่งในประเทศไทยจึงเป็นแรงสนับสนุนให้มีการ ผสมเทียมให้แก่ละมั่งพันธุ์พม่าต่อเนื่องในปี 2553 ดังแสดงในตารางที่ 1 และละมั่งพันธุ์พม่าที่ได้รับการผสมเทียม ทั้งสองเทคนิคอยู่ในระหว่างรอผลการตั้งท้อง และในปีนี้ได้เริ่มดำ�เนินการผสมเทียมให้กับ ละมั่งพันธุ์ไทยด้วย เทคนิค Laparoscopic A.I. ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างเสี่ยงต่อชีวิตของสัตว์ อยู่ในระหว่างการสังเกตการเปลี่ยนแปลง ทางร่างกายและเก็บอุจจาระไปวิเคราะห์ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน หาค่าการตั้งท้องแทนการตรวจท้องด้วยวิธีอุลตร้า ซาวด์ เพื่อลดการรบกวนตัวสัตว์ (ตารางที่ 2) จากการศึกษาที่ผ่านมาวิธีการเหนี่ยวนำ�การเป็นสัดมีผลการตอบสนองของฮอร์โมนเพศของตัวสัตว์ ซึ่งแต่ละ วิธีมีผลแตกต่างกันขึ้นกับสภาพร่างกาย และอายุของสัตว์ สำ�หรับปัญหาในการปฏิบัติงานโดยการผสมเทียมด้วย เทคนิค Endoscopic A.I. และ Laparoscopic A.I. จำ�เป็นที่จะต้องมีการวางยาสลบให้กับสัตว์ ค่อนข้างเสี่ยงต่อ ชีวิตของสัตว์ ส่วนเทคนิค transcervical artificial insemination จำ�เป็นต้องใช้คอกจัดการและเรียนรู้พฤติกรรม ของตัวสัตว์ขณะสัตว์ตกใจเพื่อบังคับสัตว์ให้อยู่ภายใต้สถานการณ์อย่างถูกวิธี โดยไม่ต้องวางยาสลบ แม้ว่าการ ศึกษาครั้งนี้ประสบความสำ�เร็จในการผสมเทียมละมั่งด้วยน้ำ�เชื้อแช่แข็งครั้งแรกในประเทศไทย อย่างไรก็ตามจำ�เป็น จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมด้านเทคนิคการผสมเทียมเพื่อให้ได้เทคนิคที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยกับต่อชีวิตของ สัตว์มากที่สุด ตารางที่ 2 สรุปวิธีการเหนี่ยวนำ�การเป็นสัดและผลที่ได้รับ
20
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
เอกสารอ้างอิง [1] พรทิพา โรจนแสง, สิริภัทรา เนตรมัยม อภิรดี โสทยาสัยและนิกร ทองทิพย์. 2547. การนำ�เสนอปัญหา พิเศษของนิสิตชั้นปีที่ 6 ประจำ�ปีการศึกษา 2547. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม [2] Monfort , S.L., Asher, G.W., Wildt, D.E., Wood, T.C., Schiewe, M.C., Wiliamson, L.R., Bush M. and Rall W.F. 1993. J. Reprod Fert. 99:459-465 [3] Thongtip, N.,Saikhun, J., Damyang, M., Mahasawangkul, S., Suthunmapinata, P., Yindee, M., Kongsia, A Angkawanish, T.,Jansittiwate, S., Wongkalasin, W., Eajjwalku, W., Kitiyanant, Y., Pavasuthipaisit, K., Pinyopummin, A. 2004. Theriogenology. 62: 748-760
21
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การประเมินสภาวะการทำ�งานของต่อมฮอร์โมนเพศในกลุ่มแรดขาวเพศเมียของสวนสัตว์เปิด เขาเขียว โดยวิธีการศึกษาแบบไม่จับบังคับหรือรบกวนตัวสัตว์ ด้วยการตรวจวิเคราะห์ปริมาณ ฮอร์โมน ชัยณรงค์ ปั้นคง1 สุทธิลักษณ์ มีวีระสม1 นิตยา เพชรสุกร1 บัญชา วราวุฒ2ิ
บทนำ� ปัจจุบันแรดขาวและแรดชนิดอื่นๆ เป็นสัตว์ที่มีจำ�นวนเหลืออยู่ในธรรมชาติไม่มากนักอีกทั้งอยู่ในสภาวะใกล้ สูญพันธุ์เนื่องจากถูกล่าอย่างหนัก แรดในธรรมชาติจึงอยู่ในภาวะอันตรายถึงแม้ในปัจจุบันผลจากการดำ�เนินการ ต่างๆ เพื่อป้องกันการลักลอบล่าสัตว์จะส่งผลให้จำ�นวนประชากรแรดของภูมิภาคต่างๆ อยู่ในระดับที่คงที่ แต่การ ดำ�เนินมาตรการอนุรักษ์นอกถิ่นอาศัย (ex situ) เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ก็ยังคงมีความสำ�คัญและต้องดำ�เนิน การต่อไป อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการให้การศึกษาแก่สาธารณะชนปลูกฝังถึงความสำ�คัญของชนิดพันธุ์และการ ป้องกันถิ่นอาศัย การอนุรักษ์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของประชากรสัตว์ได้ด้วยตนเองนั้นมีความจำ�เป็นต้องเพิ่มระดับ ของอัตราการขยายพันธุ์ พร้อมกันนี้ต้องลดอัตราการตายลง แต่การเพาะเลี้ยงเพื่อให้ขยายพันธุ์ได้ในกรงเลี้ยงนั้น เป็นเรื่องที่ทำ�ให้ประสบความสำ�เร็จได้ยาก ลำ�ดับความสำ�คัญขั้นสูงของการที่จะทำ�ความเข้าใจสถานภาพของการ สืบพันธุ์ในสัตว์ที่อยู่ในสภาพของการเพาะเลี้ยงและปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อความสมบูรณ์พันธุ์นั้นคือการทำ�ความ เข้าใจถึงฮอร์โมน ฮอร์โมนคือปัจจัยในการขับเคลื่อนสู่กระบวนการสืบพันธุ์และรูปแบบของการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ สามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดสภาวะสภาพของการสืบพันธุ์ได้ (Janine et al., 2002) ข้อสังเกตที่ถือเป็นความก้าวหน้าดัง กล่าวได้ถูกดำ�เนินการขึ้นด้วยการศึกษาถึงรูปแบบการทำ�งานของรังไข่ (ovarian function) ซึ่งการศึกษาครั้งแรกๆ คือการวิเคราะห์ปริมาณ progestogen metabolites ที่ถูกขับถ่ายออกมาในแรดดำ�เพศเมียของแอฟริกา ( Schwarzenberger et al., 1998) โดยการศึกษาแบบไม่ทำ�การจับบังคับหรือรบกวนตัวสัตว์ (Noninvasive methods) โดย การตรวจวัดปริมาณของสเตียรอยด์ฮอร์โมนในตัวอย่างมูลสัตว์นั้นเป็นวิธีการหนึ่งที่มีความเหมาะสมสำ�หรับสัตว์ที่ อยู่ในสภาพของการเพาะเลี้ยง (Rupert et al., 2005) โดยขั้นแรกของการศึกษาที่ได้ดำ�เนินการนั้นเกี่ยวข้องกับการ เปรียบเทียบปริมาณฮอร์โมนเพศที่ถูกขับถ่ายออกมา (gonadal steroid metabolites) ของสัตว์แต่ละตัวที่อยู่ใน กลุ่มประชากรของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว วิธีการศึกษา อุปกรณ์ • Materials Essential Component of the EIA ตัวอย่างสัตว์ (Animals sample) • แรดขาวเพศเมีย จำ�นวน 2 ตัว วิธีการ ทำ�การศึกษาในแรดขาวเพศเมีย จำ�นวน 2 ตัวที่อยู่ในความรับผิดชอบของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว โดยมีการเก็บ ตัวอย่างอุจจาระ ระหว่างช่วงเดือนมกราคม 2552 – เมษายน 2553 โดยมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้คือ การเก็บตัวอย่างอุจจาระแรดขาว (Collection feces): 20-50 กรัม สัปดาห์ละ 1-5 ตัวอย่าง ( ยกเว้นช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2553 ที่เก็บตัวอย่างได้น้อย) 1 2
งานวิจัย ฝ่ายอนุรักษ์และวิจัย สวนสัตว์เปิดเขาเขียว งานบำ�รุงเลี้ยง ฝ่ายบำ�รุงสัตว์ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
22
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การเก็บรักษาตัวอย่างหรือทำ�ให้แห้ง (Preservation with Freezing or Drying immediately): ทำ�การเก็บรักษาตัวอย่างไว้ในกล่องทึบแสงที่มีฝาบิดเก็บไว้ในตู้แช่แข็งอุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ทำ�ให้แห้งด้วยการนำ�เข้าตู้อบ (hot air oven) เมื่อแห้งแล้วนำ�ไปเก็บไว้ภายในตู้ควบคุมอุณหภูมิ ที่เย็นและมืด ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสเตียรอยด์ (Erich et al., 2005;Tony et al., 2005) เพื่อรอนำ�ไปสกัดฮอร์โมนต่อไป การสกัดสเตียรอยด์ฮอร์โมนจากอุจจาระ (Fecal Extraction): ทำ�การสกัดด้วยวิธีการต้ม (Dry and Wet Weight Fecal Extraction–Boiling Method) การวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมน (Assay Protocols): ทำ�การวิเคราะห์ด้วยวิธี Enzyme immunoassay แบบ Competitive ELISA (Enzyme Linked Immuno Sorbent Assay) ตามกระบวนการของ Janine et al.(2004) . ผลการศึกษา จากการประเมินสภาวะการทำ�งานของต่อมฮอร์โมนเพศในกลุ่มแรดขาว (เพศเมีย) ของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว โดยวิธีการศึกษาแบบไม่จับบังคับหรือรบกวนตัวสัตว์ ด้วยการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone metabolites) ในตัวอย่างอุจจาระ (feces) ของแรดขาวที่อยู่ในสภาพของการเพาะเลี้ยงและจัดแสดง ตั้งแต่ เดือนมกราคม-ตุลาคม 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2553 ได้ผลตังต่อไปนี้ การศึกษาในช่วงเดือนมกราคม ถึง ตุลาคม 2552 จากการศึกษาในแรดขาวเพศเมียทั้งสองตัว พบว่าปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ตรวจวัดได้มีค่าใกล้เคียง กัน ทั้งนี้ในแรดขาวเพศเมียที่ชื่อ “สมศรี” มีปริมาณฮอร์โมนมากกว่าที่พบในแรดขาวที่ชื่อ “ขนุน” เล็กน้อย [ แตก ต่างอย่างไม่มีนัยสำ�คัญทางสถิติ P> 0.05, n = 201 (ANOVA F=1.216, P = 0.272) ] โดยมีค่าที่ตรวจพบได้อยู่ใน ช่วง 0.03 ถึง 0.62 µg/g (mean ± SD = 0.17±0.10 µg/g of dry feces) ซึ่งมีปริมาณความเข้มข้นต่ำ�ไม่แสดงถึง การเปลี่ยนแปลงเป็นวงรอบ (ภาพที่ 1-2) และไม่แสดงถึงภาวะการหลั่งฮอร์โมนที่เป็น luteal activity นอกจากนี้ ยังแสดงถึงการไม่มีนัยสำ�คัญของปริมาณฮอร์โมนระหว่างช่วงอายุที่แตกต่างกันอีกด้วย การศึกษาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เมษายน 2553 จากการศึกษาในแรดขาวเพศเมียทั้งสองตัว พบว่าปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ตรวจวัดได้ในช่วงดังกล่าว นี้มีค่าใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ในแรดขาวเพศเมียที่ชื่อ “ขนุน” มีปริมาณฮอร์โมนมากกว่าที่พบในแรดขาวที่ชื่อ “สมศรี” เล็ก น้อย [ แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำ�คัญทางสถิติ P> 0.05, n = 16 ( ANOVA F=0.002, P = 0.962 ) ] โดยมีค่าที่ตรวจ วัดได้อยู่ในช่วง 0.56 ถึง 6.00 µg/g (mean ± SD = 2.51 ± 1.53 µg/g of dry feces) ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากภาพที่ 1-2 พบว่าตลอดช่วงระยะ 2-3 เดือนนี้ ค่าปริมาณฮอร์โมนค่อนข้างที่จะมีการ แปรผัน (variable) อย่างต่อเนื่องและมี base line ค่อนข้างสูง แสดงถึงภาวะที่เป็น luteal phase หรือเกิดภาวะ การเป็น “สัด” อย่างชัดเจน โดยช่วงการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนของแรดขาวเพศเมียทั้งสองตัวมี ลักษณะคล้ายคลึงกันมาก นอกจากนี้ยังพบว่าระดับฮอร์โมนที่แสดงถึงภาวะที่เป็น luteal phase จะอยู่ในช่วง 1- 6 µg/g ซึ่งมีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงที่เป็นวงรอบนี้จะเป็นไปในลักษณะที่ถือว่าเป็น long cycles ประกอบกับใน ช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ (ก.พ. - เม.ย. 53) พบพฤติกรรมการจับคู่ผสมพันธุ์กับเพศผู้ในเพศเมียทั้งสองตัวอย่างต่อ เนื่องร่วมด้วย
23
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
ภาพที่ 1 กราฟแสดงความเคลื่อนไหวของระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone metabolites) ในแรดขาวที่ชื่อ “ขนุน”ตั้งแต่ ช่วงเดือนมกราคม 2552 ถึง เมษายน 2553
ภาพที่ 2 กราฟแสดงความเคลื่อนไหวของระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone metabolites) ในแรดขาวที่ชื่อ “สมศรี” ตั้งแต่ ช่วงเดือนมกราคม 2552 ถึง เมษายน 2553
สรุปผลและอภิปรายผล จากการตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่แสดงถึงสภาวะการทำ�งานของ ต่อมฮอร์โมนเพศ (Gonadal activity) โดยวิธีการศึกษาแบบไม่ต้องจับบังคับตัวสัตว์ พบว่าตลอดช่วงปี 2552 (ม.ค. – ต.ค. 2552) แรดขาวเพศเมียทั้งสองตัวของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว มีปริมาณความเข้มข้นของฮอร์โมนโปร-เจสเตอ โรน อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งไม่มีนัยสำ�คัญทางสถิติ P> 0.05, n = 201 (ANOVA F=1.216, P = 0.272) อีกทั้ง มีแนวโน้มที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือมีปริมาณความเข้มข้นของฮอร์โมนต่ำ� มีค่าเฉลี่ยของปริมาณฮอร์โมนตลอด ช่วงปีดังกล่าวเท่ากับ 0.17 ± 0.10 µg/g of dry feces โดยค่าที่ตรวจวัดได้อยู่ในช่วง 0.03 ถึง 0.62 µg/g of dry feces อันแสดงถึงแนวโน้มที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นวงรอบ (non cyclic) หรือเป็นช่วงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ของรังไข่ (ovarian inactivity) อีกทั้งแสดงถึงภาวะที่ไม่ได้มีการตั้งท้องหรือเป็นสัดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เช่น เดียวกันกับการศึกษาก่อนหน้านี้โดยอุฬาริกา และคณะ (2552) สอดคล้องกันกับรายงานของ Janine et al. (2002) ที่รายงานถึงการศึกษาในแรดขาวจำ�นวน 13 ตัวของอเมริกาเหนือ แล้วพบว่าแรดขาวจำ�นวนกว่าครึ่งหนึ่ง (6 จาก 13 ตัว) แสดงถึงสภาวะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของรังไข่ (ovarian activity) โดยพบว่าแรดขาวที่อยู่ในส่วนแสดงอีก 7 ตัวเท่านั้นที่แสดงถึงภาวะที่เป็น luteal activity เมื่อทำ�การพิจารณาผลการศึกษาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เมษายน 2553 พบว่าแรดขาวเพศเมียทั้งสอง ตัวของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวมีค่าเฉลี่ย base line ของปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ย (Mean ± SD) เท่ากับ 2.51 ± 1.53 µg/g ค่าที่ตรวจวัดได้อยู่ในช่วง 0.56 ถึง 6.00 µg/g ซึ่งปริมาณความเข้มข้นของ ฮอร์โมนระหว่างแรดขาวทั้งสองตัวนี้มีลักษณะที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือมีการแสดงภาวะที่เป็น luteal phase โดยมีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงที่เป็นวงรอบนี้จะเป็นไปในลักษณะที่ถือว่าเป็น long cycles แต่วงรอบที่พบค่อน ข้างที่จะแปรผันกันคือมีช่วงของวงรอบนาน 4 ถึง 10 สัปดาห์ [สอดคล้องกับรายงานของ Schwarzenberger et
24
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
al. (1998)] ซึ่งไม่สามารถระบุช่วงความยาวนานที่แน่นอนของวงรอบได้ เนื่องจากความถี่ของจำ�นวนตัวอย่างไม่ เพียงพอทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงความเข้มข้นของโปรเจสเตอโรนของแรดขาวทั้งสองตัวของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวที่อยู่ ในภาวะที่เป็น luteal phase เบื้องต้นพบว่ามีความเข้มข้นอยู่ในช่วง 1-6 µg/g ซึ่งแตกต่างจากรายงานของ Janine et al. (2002) ที่ระบุว่าอยู่ในช่วง 3-24 µg/g โดยวงรอบการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจะแบ่งเป็นแบบ “shot cycle” และ “long cycle” ที่กินเวลานาน 32.8 ± 1.2 วัน และ 70.1 ± 1.6 วัน ตามลำ�ดับเช่นเดียวกันกับรายงาน ของ Patton et al. (1999) ที่พบว่าแรดขาวเพศเมียที่อยู่ในส่วนแสดงมีการเปลี่ยนแปลงของวงรอบทั้งสองแบบคือ “shot” และ “long” นอกจากนี้ยังพบปรากฏการณ์ถึงกรณีที่แรดขาวเพศเมียทั้งสองตัวของสวนสัตว์ฯ ที่อยู่ร่วม กันภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกันมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของวงรอบที่เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน (cycle synchronously) สอดคล้องกับรายงานของ Janine et al. (2002) ที่รายงานถึงการพบว่าแรดขาวเพศเมียสองตัวที่อยู่ อาศัยในกรงเพาะเลี้ยงเดียวกันสามารถที่จะมีวงรอบการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนคล้ายคลึงกันได้ โดยรวมแล้วจากปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนของแรดขาวที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2553 พบความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการสังเกตพบพฤติกรรมการจับคู่ผสมพันธุ์กันอย่างต่อ เนื่อง ซึ่งในเบื้องต้นยังไม่สามารถสรุปได้ว่าแรดขาวเพศเมียทั้งสองตัวเกิดการตั้งท้องหรือไม่ เพียงแต่พบการเพิ่ม ขึ้นของปริมาณฮอร์โมนที่แสดงถึงภาวะที่เป็น luteal phase เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปีเท่านั้น ทั้งนี้จากรายงาน การศึกษาในแรดดำ� (Black Rhinoceros) ที่ใกล้เคียงกับแรดขาวมากที่สุดพบว่าหลังจากที่มีการผสมพันธุ์ปริมาณ ความเข้มข้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงอยู่ในระดับสูง (มากกว่า 20 µg/g) จนถึงช่วงก่อนคลอด ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้ในการศึกษาครั้งนี้ยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผนการศึกษาเท่านั้น ฉะนั้นจึง จำ�เป็นจะต้องดำ�เนินการเก็บข้อมูลและทำ�การศึกษาที่รวมถึงการศึกษาปริมาณฮอร์โมนในเพศผู้ (Testosterone) และพฤติกรรมสัตว์เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องต่อไป เอกสารอ้างอิง [1] อุฬาริกา กองพรหม, ชัยณรงค์ ปั้นคง, สุทธิลักษณ์ มีวีระสม, ปิ่นอนงค์ ทองนพคุณ และนิตยา เพชร สุกร. 2552. การตรวจวัดระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จากตัวอย่างอุจจาระ ของแรดขาว ด้วยวิธีเอ็นไซม์อิมมูโนเอส เซ เพื่อนำ�ไปใช้ในการประเมินสภาวะการทำ�งานของรังไข่. รายงานกรณีศึกษา . งานวิจัย ฝ่ายอนุรักษ์และวิจัย สวน สัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี. [2] Erich Mostl, Sophi Rettenbacher and Rupert Palme. 2005. Measurement of Corticosterone Metabolites in Birds’ Droppings: An Analytical Approach. Ann. N.Y. Acad. Sci. 1046: 17–34. [3] Janine L. Brown, Astrid C. Bellem, Michael Fouraker, David E. Wildt and Terri L. Roth. 2001. Comparative Analysis of Gonadal and Adrenal Activity in the Black And White Rhinoceros in North America by Noninvasive Endocrine Monitoring. Zoo Biology. 20:483-486. [4] Janine L. Brown, Steinman,K. 2004. Endocrine manual for the reproductive assessment of domestic and non-domestic species, 2nd edition, USA : Smithsonian institution. [5] R. Plame, S. Rettenbacher, C. Touma, S. M.El-Bahr and E. Mostl. 2005. Stress Hormones in mammals and birds Comparative Aspects Regarding Metabolism , Excretion, and Noninvasive Measurement in Fecal Samples. Ann. N.Y. Acad. Sci. 1040: 162–171. [6] Rupert Palme. 2005. Measuring Fecal Steroids Guidelines for Practical. Ann. N.Y. Acad. Sci. 1046: 75–80 [7] Schwarzenberger F, Walzer C, Tomasova K, Vahala J, Meister J, Goodrowe KL, Zima J, Strauß G and Lynch M. 1998. Fecal progesterone metabolite analysis for non-invasive monitoring of reproductive function in the white rhinoceros (Ceratotherium simum).Anim Reprod Sci 53:173-90. [8] Toni E. Ziegler, and Daniel J. Wittwer. 2005. Fecal Steroid Research in the Field and Labo-
25
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
ratory Improved Methods for Storage, Transport, Processing, and Analysis. University of Wisconsin. American Journal of Primatology , 67 : 159-174.
26
Session II : เทคนิคการปล่อยสัตว์คืนสู่ธรรมชาติและถิ่นอาศัยเดิม
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
พัฒนาการ และความสำ�เร็จของการปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติในประเทศไทย นริศ ภูมิภาคพันธ์ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำ�นำ� สัตว์เลี้ยงสามารถกลับคืนสู่ธรรมชาติ (return to wild) ได้โดยการช่วยเหลือจากมนุษย์ หรือเกิดขึ้นจาก ความสามารถของตัวเอง กรณีของ หนูหลายชนิด กระต่าย สุนัขบ้าน วัวแดง วัวบ้าน ควายบ้าน ม้า อูฐ แพะ แกะ ที่เลี้ยงแบบปล่อย หรือมีผู้นำ�ไปปล่อยทิ้งไว้ตามเกาะ หรือเกิดจากความบังเอิญในอุบัติเหตุ (accidental case) สัตว์หลุดจากกรง หรือสถานที่เลี้ยง เช่น นกกระจอกชวา นกกาบบัว นกกระทุง และอื่นๆ ในกรณีของกวางมิลู่ (Elaphurus davidianus) ที่หมดไปจากธรรมชาติ ในประเทศจีน ประชากรที่เหลืออยู่เคยอยู่ในการดูแลของมนุษย์ มานานนับพันปีสามารถกลับคืนสู่ธรรมชาติได้ ในเรื่องของการนำ�สัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ (wildlife reintroduction) ในประเทศไทย เริ่มขึ้นในรูปแบบของงานกึ่งวิชาการที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ. ชัยภูมิ ในช่วงระหว่างปี 2526 และ 2530 โดยการดำ�เนินการของกรมป่าไม้ในเวลานั้น และมีการดำ�เนินการในพื้นที่แห่งอื่นๆ ของประเทศใน โอกาสที่สำ�คัญ อย่างไรก็ตาม ณ ช่วงเวลานั้นยังขาดรูปแบบของการเห็นการณ์ไกลและการติดตามวัดความสำ�เร็จ ในช่วงเวลาต่อมามีการดำ�เนินการในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ จ.พะเยา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ. ลพบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและพื้นที่อุทยานแห่งชาติอื่นๆ อีกหลายแห่ง ปัจจุบันมีรูปแบบการ วางแผน และเพิ่มแนวทางในการวัดความสำ�เร็จ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำ�คัญควรพิจารณา เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และบรรลุ วัตถุประสงค์จริงตามที่วางไว้ การเห็นการณ์ไกล และการสร้างเป้าหมาย การมีวิสยั ทัศน์และความสามารถในการวิเคราะห์สถานภาพ ความลุ่มลึกของประเด็นปัญหาต่างๆ เพื่อดำ�เนิน การให้มีสัตว์ป่าเป้าหมาย (target species) อยู่ในธรรมชาติได้จริง ข้อมูลและความพร้อมของข้อมูลเชิงพื้นที่ จำ�นวนสัตว์ ความร่วมมือ แผนการดำ�เนินการ เงินทุนสนับสนุน การสร้างแผนกลยุทธ์ และวางเป้าหมายในระยะ ยาว นำ�ไปสู่แผนการดำ�เนินการที่ประกอบด้วยวัตถุประสงค์หลัก (objective) ที่ต้องดำ�เนินการ กิจกรรมปฏิบัติ (action) อะไรบ้างที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์ ตามภาพที่ 1 จากการมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการจัดการละมั่งพม่า (Burmese Eld’s deer; Cervus eldii thamin) ในประเทศไทย ทำ�ให้สามารถดำ�เนินโครงการด้านต่างๆ ได้อย่างต่อ เนื่อง ในขณะที่ละมั่งไทย (Siamese Eld’s deer; Cervus eldii siamensis) ยังต้องแก้ปัญหาประชากรขนาดเล็ก และเลือดชิด1 อย่างไรก็ตามหากจะดำ�เนินการเช่นนี้ ในสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ของประเทศไทย จำ�เป็นต้องมีการดำ�เนิน งานในลักษณะเดียวกัน
ภาพที่ 1 แผนการดำ�เนินการตามเป้าหมายการจัดการละมั่งพม่าในประเทศไทย
28
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การดำ�เนินการ และการติดตามผล แนวทางและขั้นตอนการคืนสัตว์ป่าสู่ธรรมชาติตาม Guideline ของ IUCN นับเป็นแม่แบบที่สำ�คัญในทาง วิชาการ การตรวจโรค สุขภาพ พันธุกรรม การขนเคลื่อนย้าย การจัดเตรียมพื้นที่รองรับ ก่อนไปสู่ขบวนการปล่อย 1) การปล่อยสู่ธรรมชาติในเทคนิคปล่อยอย่างละมุนละม่อม (soft release: S) เมื่อพื้นที่ภูมิอากาศไม่เหมาะสม และ โดยเฉพาะความพร้อมของตัวสัตว์ หรือกรณีของสัตว์เชื่อง แต่ไม่ควรเป็นการนำ�สัตว์มากักไว้ โดยไม่เฝ้าระวังเกิด การสูญเสียจากสัตว์ผู้ล่ารบกวน และเข้าไปกัดกิน หรือดูแลเหมือนนำ�สัตว์เข้าเลี้ยงในป่า ซึ่งเป็นการสร้างความ เคยชินต่อมนุษย์ (habituation) 2) การปล่อยทันที (hard release: H) สัตว์ที่เปรียว สัตว์ที่ได้รับการปรับตัวมา แล้ว เมื่อสัตว์และทุกปัจจัยหนุนมีความพร้อม หรือเป็นสัตว์ที่ได้มาจากการจับจากธรรมชาติ และนำ�ย้ายปล่อยใน พื้นที่ใหม่ (capture and translocation) อย่างไรก็ตามทั้งสอง รูปแบบข้างต้นมีข้อดีและเสียแตกต่างกันไป การติดวิทยุและเครื่องหมาย (radio transmitter and marking) ให้กับสัตว์ที่ปล่อยนับเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อ การติดตามสัตว์ เพื่อทราบโอกาสการอยู่รอดของประชากรสัตว์แต่ละตัวที่ปล่อยและติดตามเมื่อพิจารณาจากปัจจัย แวดล้อมจริง สภาพการเกิด การตายจากสัตว์ผู้ล่า และภัยพิบัติ (hazard) ต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง การอยู่รอดของสัตว์ป่า และการตรวจวัดความสำ�เร็จ สัตว์จากสถานที่เลี้ยงหรือสัตว์ที่อยู่ในการดูแลของมนุษย์จะกลับคืนสู่ธรรมชาติได้หรือไม่ และสามารถมีชีวิต ในธรรมชาติได้หรือไม่ จะสร้างประชากรใหม่เพิ่มและอยู่ได้ยืนยาวเพียงใด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ในแต่ละปีมีทั้ง สภาพภูมิอากาศดีและไม่ดีนั้นส่งผลกระทบถึงความเหมาะสม อาหารและน้ำ� และปัจจัยเรื่องโรคในพื้นที่ ซึ่งเป็นได้ ทั้ง good year and bad year การอยู่รอดของสัตว์ป่าที่ปล่อยจึงขึ้นกับความสามารถในการเรียนรู้ซึ่งต้องใช้ระยะ เวลาและการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อม ต้องเผชิญกับแรงเสียดทานจากปัจจัยแวดล้อม ในธรรมชาติ (environmental resistance) ที่ทำ�งานร่วมกันในพื้นที่ในแต่ละห้วงเวลา โอกาสที่มีผลต่อการอยู่รอด (Probability of Survival: SPr) จึงขึ้นอยู่กับตัวแปรอิสระ ดังนี้ SPr = f (Ha + Di + Pa + Pr + Ge + Re + Hu) เมื่อ Ha = Hazard, Di = Diseases, Pa = Parasites, Pr = Predators, Ge = Genetic, Re = Welfare Resources คือ น้ำ� อาหาร ที่หลบภัย และสิ่งจำ�เป็นพิเศษต่างๆ และ Hu = Human การตรวจวัดความสำ�เร็จ เป็นสิ่งจำ�เป็นต่อความพยายาม ความตั้งใจ และการลงทุน การเดินทางไปให้ถึง เป้าหมาย มีอุปสรรคและต้องแก้ไข หรือบรรเทาปัจจัยแวดล้อมใดใดข้างต้น ความผิดพลาดใดบ้างที่ต้องปรับปรุง ให้เหมาะสม มีความจำ�เป็นต้องเพิ่มหรือต้องลดจำ�นวนสัตว์ในโครงการหรือไม่ บนระยะทางที่ยาวไกล การเรียน รู้จากการทำ�จริง (learning by doing) ในแต่ละยก เพื่อนำ�ไปสู่การปรับไขรูปขบวนให้ไปสู่จุดหมาย ดีกว่าการพูด และไม่ทำ�การใดใดเลย (NATO: no action, talk only) ความสำ�เร็จใดใดจึงไม่เกิดขึ้น หลังการคืนสัตว์ป่าสู่ธรรมชาติ มีการติดตามผลหลังการปล่อยที่ภูเขียวในโครงการละมั่ง2 และเนื้อทราย3 และการติดตามผลการปล่อยเนื้อทราย และละมั่งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ4 ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีการศึกษานิเวศวิทยาประชากรและ พันธุกรรมเนื้อทรายเพิ่มเติม รวมทั้งโครงการเพิ่มพันธุกรรมเนื้อทรายสายแม่ใหม่ช่วยให้ประชากรเนื้อทรายมีความ หลากหลายทางพันธุกรรมมากขึ้น ภายใต้การดำ�เนินงานทางวิชาการของคณะวนศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ในแผนภูมิเบื้องล่างตามภาพที่ 2 เป็นภาพรวมในโครงการฟื้นฟูประชากรละมั่งพม่า (Cervus eldii thamin) คืนสู่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ระหว่างปี 2551-2552 โดยความร่วมมือระหว่างองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แม้ว่าความสำ�เร็จที่ยังไม่เกิด ขึ้น และจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตนั้น ต้องพิจารณาองค์ประกอบกิจกรรมที่จะต้องเข้ามาช่วยนับตั้งแต่ 1) การจัดการ ฝูงละมั่งพม่า การเลี้ยงขยายพันธุ์จากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าทุ่งแฝกเพื่อเป็นแหล่งการ จัดการประชากรที่มีประสิทธิภาพของประเทศ และช่วยสนับสนุนการคืนสัตว์สู่ธรรมชาติในพื้นที่ป่าห้วยขาแข้ง และ แห่งอื่นๆ 2) ขบวนการเตรียมการคัดเลือก ตรวจโรค สุขภาพ เคลื่อนย้ายสัตว์อย่างปลอดภัย 3) ขบวนการปล่อย ที่เหมาะสม 4) การจัดการพื้นที่รองรับให้เป็นป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณที่โล่ง ในพื้นที่เป็นป่าทึบเนื่องจากการ
29
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
กันไฟมายาวนานมากกว่า 20 ปี ซึ่งไม่เหมาะสมต่อละมั่ง รวมทั้งงานการป้องกันหลังปล่อยสัตว์สู่ธรรมชาติ 5) งาน ติดตามประชากร เพื่อทราบการกระจาย การอยู่รอด และปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 6) งานด้านมวลชน เพื่อให้ราษฎร ทราบและให้ความร่วมมือกรณีที่สัตว์ออกไปอาศัยใกล้หมู่บ้าน การดำ�เนินการในปีแรก ค่อนข้างรีบร้อนใช้ละมั่งขนาด เล็กประมาณ 40% ของสัตว์ปกติ และพื้นที่บริเวณพื้นป่าเต็งรังที่รกทึบอย่างรวดเร็วในหน้าฝน การตายจากสัตว์ผู้ ล่าค่อนข้างสูง5,6 ต่อมามีการปรับในส่วนของการคัดเลือกสัตว์โดยใช้ละมั่งที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เชื่อง และการปล่อย แบบละมุนละม่อม โดยการกักไว้นาน 3 เดือนก่อนปล่อย พร้อมการจัดการถิ่นที่อาศัยโดยการเผาแบบควบคุมในพื้นที่ โครงการ เพื่อเพิ่มแหล่งพืชอาหาร และพื้นที่ในการวิ่งหลบหลีกศัตรู (escaping space) ความหวังที่สำ�คัญคือให้ ประชากรละมั่งที่เกิดในกรงเลี้ยงนำ�มาเริ่มต้นสามารถอาศัยอยู่ได้ และสร้างลูกที่เกิดในธรรมชาติที่มีความสามารถ เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับกรณีของเนื้อทรายที่ภูเขียว
ข้อเสนอแนะบางประการ การนำ�สัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ เป็นงานที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์คือ วิชาการนิเวศวิทยาสัตว์ป่า และศิลปะในการ บูรณการความรู้ และความเชี่ยวชาญจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาคส่วนที่เข้ามาร่วมทำ�งาน การติดต่อสื่อสาร และทำ�งานร่วมกัน รวมทั้งการให้ข้อมูลและการสร้างความร่วมมือในภาคประชาชน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายคือความ สำ�เร็จของการคืนสัตว์สู่ธรรมชาติ ซึ่งเป็นงานที่ทำ�ให้แก่ประเทศและสังคมโดยรวม 1) การคืนสัตว์ชนิดใดใดสู่ธรรมชาติ ควรมีการวางแผน โดยวิเคราะห์ประเด็นปัญหาอย่างรัดกุม และ ครอบคลุมเรื่องสัตว์ พื้นที่ ปัจจัยแวดล้อม เทคนิคในการดำ�เนินการ พร้อมการวางแผนการดำ�เนินการโดยความเห็น ชอบร่วมกันและเขียนเป็นโครงการการทำ�งาน ภาระหน้าที่และใช้ระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอ 2) การปล่อยสัตว์ป่าตามโอกาสสำ�คัญควรเป็นสัตว์ขนาดเล็ก จำ�นวนน้อย และดำ�เนินการตามความเหมาะสม โดยพิจารณาถึงโอกาสรอดของสัตว์ป่าเป็นสำ�คัญ โดยลดการรบกวนจากพิธีการและความอึกทึกจากจำ�นวนผู้คนที่ไป ร่วมงาน การปล่อยจริงหรือปล่อยสัตว์เป้าหมายควรดำ�เนินการในช่วงที่เหมาะสมภายหลังงานพิธี 3) ปัญหาการสัตว์ป่าปล่อยสู่ธรรมชาติ ในกรณีการปล่อยสัตว์ป่าของกลางสู่ป่าทันทีเมื่อคดีสิ้นสุด เช่น ตัว ลิ่น งู เต่าชนิดต่างๆ ควรพิจารณาแหล่งการกระจาย ชนิดย่อย (subspecies) ของสัตว์ โรคและสุขภาพ เพื่อไม่ให้ เกิดความผิดพลาดในการนำ�สัตว์ต่างถิ่น (exotic species) สู่ระบบนิเวศธรรมชาติ การปนเปื้อนทางพันธุกรรม รวม ทั้งอาจเป็นพาหะนำ�โรคและปรสิตจากภายนอกเข้าสู่ระบบธรรมชาติ 4) การสร้างโครงการปล่อยสัตว์ป่าใดใดไม่ควรสิ้นสุดที่การปล่อย ควรมีการกำ�หนดโครงการติดตามผลหลัง การปล่อยสัตว์ป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อทราบผลและยอมรับผลที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นบทเรียนสำ�หรับการปล่อยสัตว์ ป่าในแห่งอื่นในอนาคต
30
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
เอกสาร และสิ่งอ้างอิง [1] นริศ ภูมิภาคพันธ์ และรองลาภ สุขมาสรวง. 2551. การสร้างเป้าหมายในการจัดการละมั่ง ในประเทศไทย. Available source: http://www.forest.ku.ac.th/forestry/th/knowledge_detail.php?knowledge_ id=135&cat_id= [2] สมพงค์ บุญสนอง. 2539. โครงการเพิ่มประชากรละอง-ละมั่งในป่าธรรมชาติ: ผลการดำ�เนินงานปีที่ สอง (กรกฎาคม 38 – มิถุนายน 39). สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว, จังหวัดชัยภูมิ. [3] พัฒนาวดี กุณฑะโร. 2546. ความสามารถในการปรับตัวของเนื้อทรายที่ปล่อยสู่ธรรมชาติ บริเวณทุ่ง กะมัง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว, จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย 11(1): 66-80. [4] วรวิทย์ วัชชวัลคุ, รองลาภ สุขมาสรวง, ขรรค์ชัย ประสานัย, กฤตภาส ขันทะธงสกุลดี และวรา ฤทธิ์ ไชยสาร. 2553. รายงานการศึกษาความเป็นมาและประเมินผลการปล่อยเนื้อทราย และละมั่งพันธุ์พม่าคืนสู่ ธรรมชาติ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ จังหวัดพะเยา. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. 7 หน้า. [5] นิธิดล บูรณพิมพ์. 2552. การวิเคราะห์ความสามารถในการดำ�รงอยู่ของประชากรละมั่งพันธุ์พม่า (Cervus eldi thamin) ที่ปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [6] นิธิดล บูรณพิมพ์, ไพศิลป์ เล็กเจริญ, ตรศักดิ์ นิพานันท์, บริพัตร ศิริอรุณรัตน์, วรวิทย์ วัชชวัลคุ, มาโนช ยินดี, รองลาภ สุขมาสรวง และนริศ ภูมิภาคพันธ์. 2552. ความรู้จากการคืนละมั่งกลับสู่ธรรมชาติในเขต รักษาพันธุสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง. Available source: http://www.forest.ku.ac.th/forestry/th/knowledge_detail.php?knowledge_ id=133&cat_id=
31
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การฟื้นฟูนกล่าเหยื่อในประเทศไทย เพื่อปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ เกษตร สุเตชะ เบญจพล หล่อสัญญาลักษณ์
บทนำ� หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ (Kasetsart University Raptor Rehabilitation Unit – KURRU) ก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมืออย่างเป็นทางการของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรม อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสมาคมอนุรักษ์นกและ ธรรมชาติแห่งประเทศไทย (ภาคีเบิร์ดไลฟ์ในประเทศไทย) ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์ในการดูแลและรักษานกล่าเหยื่อจาก ธรรมชาติที่บาดเจ็บ เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและปล่อยกลับคืนสู่ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติต่อไป วิธีการศึกษา เมื่อมีผู้พบนกล่าเหยื่อที่บาดเจ็บ หรือบินตก เช่น เหยี่ยว นกอินทรี อีแร้ง หรือนกเค้าแมว ในกรุงเทพฯ หรือ ต่างจังหวัด สามารถนำ�ส่งศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือสัตว์ปา สำ�นักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ ป่า และพันธุ์พืช รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ และการนำ�ส่ง ติดต่อสายตรง 1362 จากนั้นทางศูนย์ฯ จะพิจารณา ว่าสภาพอาการป่วยหรือบาดเจ็บของนก ว่าจำ�เป็นต้องนำ�ส่งหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ ม.เกษตรศาสตร์ เพื่อรับการ วินิจฉัยและรักษาในรายละเอียดเพิ่มเติมหรือไม่ ถ้าสภาพบาดเจ็บของนกอยู่ในวิสัยที่ทางนายสัตวแพทย์ของศูนย์ ประสานงานฯ ดูแลได้เอง ก็จะไม่นำ�ส่งหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อและรับไว้ดูแลเอง หรือสามารถนำ�นกส่งโดยตรง ได้ที่ หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งวิทยาเขตบางเขน กรุงเทพ ฯ และวิทยาเขตกำ�แพงแสน อำ�เภอกำ�แพงแสน จังหวัดนครปฐม หลังจากให้การรักษาและดูแลจนนกฟื้นตัวแล้ว หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ ฯ จะประเมินความพร้อมในการปล่อย คืนธรรมชาติ แล้วดำ�เนินการขออนุญาตกรมอุทยาน ฯ เพื่อปล่อยคืนธรรมชาติในถิ่นอาศัยที่เหมาะสมต่อไป ผลการศึกษา ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2553) สามารถฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ (เหยี่ยว นกอินทรี อีแร้ง และนกเค้า) เป็นจำ�นวน 79 ตัว อัตราการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ (release rate) 44% เสียชีวิต 33% พิการและเลี้ยงไว้เป็นตำ�รามีชีวิต (living textbook) และยังรอกลับคืนสู่ธรรมชาติ 23% Release rate หรืออัตราการฟื้นฟูและปล่อยคืนธรรมชาติ ถือว่า สูงอัตราการฟื้นฟูและปล่อยคืนธรรมชาติของหน่วยงานฟื้นฟูสัตว์ป่าในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เป็นการสรุปผล โดยรวม ไม่จัดแบ่งกลุ่ม หรือประเภทของการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วย เพราะนกบางตัวมีสภาพการป่วยหนัก การรับ เข้าฟื้นฟูเป็นการบรรเทาความทุกข์ทรมาน และบางตัวอาจเสียชีวิตในเวลาต่อมา สรุป สำ�หรับในต่างประเทศ นกที่ฟื้นฟูจนรอดชีวิตแล้วพิการ ศูนย์ฟื้นฟูสัตว์ป่าจะเมตตาฆาต (Euthanasia) นก กลุ่มนี้ เพราะเป็นภาระในการเลี้ยงและถือว่านกล่าเหยื่อตัวนั้นไม่สามารถทำ�หน้าที่ในห่วงโซ่อาหารได้แล้ว แต่หน่วย ฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ ม.เกษตรศาสตร์ไม่มีนโยบายเช่นนั้น ตราบเท่าที่ได้รับการสนับสนุนเรื่องอาหารและการดูแลจาก กองทุนฟื้นฟูนกเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งเป็นเงินบริจาค ท่านสามารถติดตามผลการปล่อยนกล่าเหยื่อที่รับการฟื้นฟู ที่กระดานข่าวนี้ http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewforum&f=3 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพ ฯ 10900
32
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การประเมินพื้นที่ชุ่มน้ำ�สำ�หรับการเตรียมปล่อยนกกระเรียนไทย ภูวดล โกมณเฑียร1 ปิยะกาญจน์ เที้ยธิทรัพย์2 THIHA3 คมกริช วงศ์ภาคำ�3 บริพัตร ศิริอรุณรัตน์4
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)สร้างข้อกำ�หนดและตัวชี้วัดสำ�หรับการประเมินพื้นที่ชุ่มน้ำ�ที่เหมาะสมสำ�หรับ การปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยกลับสู่ธรรมชาติ และ 2)คัดเลือกพื้นที่ชุ่มน้ำ�ที่เหมาะสมสำ�หรับการปล่อยนกกระเรียน พันธุ์ไทยโดยใช้ข้อกำ�หนดและตัวชี้วัดที่เหมาะสม การศึกษานี้ทำ�การทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการ สอบถามผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำ�มาสร้างข้อกำ�หนดและตัวชี้วัด (Criteria and Indicators) สำ�หรับการปล่อยนก กระเรียนคืนสู่ธรรมชาติ และนำ�ข้อกำ�หนดและตัวชี้วัดดังกล่าวไปประเมินพื้นที่ชุ่มน้ำ�อย่างรวดเร็ว (Rapid Assessment) ด้วยการศึกษาสำ�รวจภาคสนามพื้นที่ชุ่มน้ำ�เป้าหมายทั้ง 6 แห่ง คือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำ�บางพระ จังหวัดชลบุรี เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จังหวัดเชียงราย พื้นที่ชุ่มน้ำ�บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยจรเข้มาก-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยตลาด จังหวัด บุรีรัมย์ และพื้นที่ชุ่มน้ำ�ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว (ทุ่งกะมัง) จังหวัดชัยภูมิ และทำ�การปรับแก้ข้อกำ�หนดและ ตัวขี้วัดแล้วจึงทำ�การคัดเลือกพื้นที่โดยประยุกต์หลักการวิเคราะห์พื้นที่ Linear Combination Method โดยให้ค่าถ่วง น้ำ�หนักและค่าความสำ�คัญของข้อกำ�หนดและตัวชี้วัด และการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) เพื่อประเมินพื้นที่ ชุ่มน้ำ� ผลการศึกษาพบว่า มี 4 ข้อกำ�หนดที่มีผลต่อการดำ�รงชีวิตของนกกระเรียน คือ ข้อกำ�หนดเกี่ยวกับถิ่นที่อยู่ อาศัย อาหาร ปัจจัยคุกคาม และการอนุรักษ์/การจัดการ 8 ตัวชี้วัด คือ ปัจจัยถิ่นที่อยู่ที่เหมาะสมและปลอดภัยตาม ธรรมชาติ พื้นที่ผสมพันธุ์และการเลี้ยงดู องค์ประกอบด้านชีวภาพ-กายภาพ การรบกวนจากมนุษย์ สุขภาพและการ อยู่รอด ความพร้อมและการร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และแนวทางการจัดการ และ 43 ตัวชี้วัด ได้แก่ ขนาด ของพื้นที่ที่ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ขนาดของพื้นที่นาข้าว ความหลากชนิดของปลาขนาดเล็ก คุณภาพน้ำ�ของ แหล่งน้ำ� การใช้สารเคมีกำ�จัดศัตรูพืชที่ใช้ในการเกษตรกรรม การพบผู้ล่าตามธรรมชาติของนกกระเรียนระดับความ รู้ ความเข้าใจคุณค่าของการอนุรักษ์นกกระเรียน การมีนโยบาย แนวทางการจัดการ กฎระเบียบการคุ้มครองนกน้ำ� เป็นต้น ผลของการวิเคราะห์เชิงพื้นที่พบว่า พื้นที่ชุ่มน้ำ�บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วย จรเข้มาก-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยตลาด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง ผู้วิจัยจึงทำ�การวิเคราะห์จุด อ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค์ (SWOT Analysis) พบว่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยจรเข้มาก-เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ห้วยตลาด จังหวัดบุรีรัมย์ มีความโดดเด่นในเรื่องของการพบพื้นที่ที่มีการเจริญเติบโตของหญ้าแห้วทรงกระเทียม เป็นบริเวณกว้าง และพบว่าหญ้าแห้วทรงกระเทียมกำ�ลังอยู่ในระหว่างการสร้างหัวสะสมอาหารซึ่งเป็นส่วนที่นก กระเรียนใช้เป็นอาหารในฤดูแล้ง นอกจากนี้พื้นที่เขตห้ามล่าฯ แห่งนี้ ยังตั้งอยู่ใกล้กับ Ang Tropreang Thmal มาก ที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ชุ่มน้ำ�อื่นๆ ทั้งนี้ Ang Tropreang Thmal เป็นพื้นที่ที่มีประชากรนกกระเรียนอยู่เป็น จำ�นวนมาก ซึ่งเป็นแหล่งพันธุกรรมแหล่งสำ�คัญของนกกระเรียนสายพันธุ์ไทย และเป็นเงื่อนไขสำ�คัญของการแลก เปลี่ยนพันธุกรรมของนกอพยพ
1
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3 สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4 องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2
33
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
“โครงการปล่อยละมั่งคืนสู่ธรรมชาติ” ก้าวแรกแห่งความสำ�เร็จ อมรรัตน์ ว่องไว1 ตรศักดิ์ นิพานันท์2 วรวิทย์ วัชชวัลคุ3 รองลาภ สุขมาสรวง4 นริศ ภูมิภาคพันธ4์ บริพัตร ศิริอรุณรัตน์5 นิธิดล บูรณพิมพ์5
บทนำ� โครงการปล่อยละมั่งคืนสู่ธรรมชาติได้ดำ�เนินการภายใต้ความร่วมมือหลายหน่วยงานได้แก่ กรมอุทยานแห่ง ชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช คณะวนศาสตร์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมอนุรักษ์ สัตว์ป่า-ประเทศไทย สถาบันสมิธโซเนียนแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา และองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเริ่มต้นจากการประชุมนานาชาติเรื่อง การอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรละองละมั่ง ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 และมีการดำ�เนินงานที่เกิดความก้าวหน้าตามลำ�ดับ ประเทศไทยเคยเป็นศูนย์กลางการแพร่กระจายของละมั่ง 2 ชนิดย่อย คือ พันธุ์ไทย (Cervus eldii siamensis) และพันธุ์พม่า (Cervus eldii thamin) แต่ได้มีการพบเห็นใน ธรรมชาติครั้งสุดท้ายประมาณปี 2527 ซึ่งเรียกได้ว่า “สูญพันธุ์ในธรรมชาติ” (Extinct in the wild) แต่การเพาะ เลี้ยงเพื่อเพิ่มจำ�นวนประชากรละมั่งสามารถทำ�ได้เป็นอย่างดี ในการดำ�เนินงานเพื่อฟื้นฟูประชากรละมั่งในธรรมชาติ จึงได้มีการดำ�เนินการใน “โครงการปล่อยละมั่งคืนสู่ธรรมชาติ” ซึ่งดำ�เนินการปล่อยละมั่งคืนสู่ธรรมชาติตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2551 จนถึงปัจจุบัน (กรกฎาคม ปี 2553) โดยมีการประชุมวางแผน กำ�หนดแนวทางและติดตามผลการ ดำ�เนินการ พร้อมทั้งปรับเปลี่ยน แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จนนับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นที่มีความสำ�เร็จรออยู่เบื้อง หน้าของการปล่อยสัตว์ป่าสงวนของไทยอีกหนึ่งชนิด วิธีการศึกษา การปล่อยละมั่งคืนสู่ธรรมชาติได้ดำ�เนินการตามกระบวนการปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติของ IUCN/SSC Re-introduction specialist group (1998) ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ 1) ขั้นตอนการวางแผน การเตรียม การก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยการศึกษาต้นแบบการปล่อยละมั่งจากต่างประเทศ การพิจารณา ความเป็นไปได้ในการปล่อยละมั่งคืนสู่ธรรมชาติ และการคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อปล่อยละมั่งคืนสู่ธรรมชาติ 2) ขั้นตอนการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โดยมีการตรวจสุขภาพ และสายพันธุกรรมของละมั่งเพื่อทำ�การคัดเลือกละมั่ง ที่เหมาะสมในการปล่อย รวมถึงมีการวางแผนทางด้านวิธีการในการขนย้ายละมั่ง และรูปแบบการปล่อยละมั่งคืนสู่ ธรรมชาติ 3) ขั้นตอนภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ในขั้นตอนนี้เน้นการศึกษาติดตามละมั่งภายหลังการปล่อย คืนสู่ธรรมชาติ โดยศึกษาการดำ�รงชีวิต การอยู่รอด การกระจาย นิเวศวิทยา พฤติกรรม และสุขภาพ เพื่อนำ�ข้อมูล ทั้งหมดนี้มาศึกษาวิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไข ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การปล่อยละมั่งคืนสู่ธรรมชาติประสบความ สำ�เร็จอย่างสูงสุด ผลและการอภิปรายผล ผลการดำ�เนินการในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงปีแรกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2551 ถึง เดือน เมษายน ปี 2552 และ ช่วงที่สอง คือ เดือนเมษายน 2552 ถึง เดือนกรกฎาคม 2553 ผลการศึกษาเป็นดังนี้ 1
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 3 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4 คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5 ส่วนอนุรักษ์ วิจัย และการศึกษา องค์การสวนสัตว์ 2
34
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
ผลการศึกษาในช่วงปีแรก (พฤษภาคม 2551 - เมษายน 2552) การใช้พื้นที่อาศัยขนาดพื้นที่การครอบครองของละมั่งเฉลี่ยแต่ละตัวเท่ากับ 11.0 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ ประชากรละมั่งทั้งหมดครอบคลุมพื้นที่ 36.2 ตารางกิโลเมตร ละมั่งอาศัยอยู่ในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และรอย ต่อป่าเต็งรังกับป่าเบญจพรรณเท่ากับ 56.6, 28.7 และ 14.7 % ตามลำ�ดับ ละมั่งมักออกหากินในพื้นที่โล่ง ทุ่ง หญ้า เนื่องจากในขณะแทะเล็มพืชอาหารนั้นสามารถมองเห็นสัตว์ผู้ล่าได้ในระยะไกล และเมื่อแทะเล็มพืชอาหารเสร็จ ละมั่งจึงหลบเข้าร่มไม้หรือบริเวณรอยต่อของป่าเพื่อนอนเคี้ยวเอื้อง พบว่าละมั่งกินพืชอาหารอย่างน้อย 14 ชนิด ได้แก่ กระตังใบ เสี้ยวดอกขาว ซ้องแมว หญ้าคา หญ้าแฝก ถั่วแปบช้าง ชะมดต้น บอน กกเล็ก ผ่าเสี้ยน ผักกาด น้ำ� โคลงเคลง อ้อยช้าง และส้านใหญ่ นอกจากนั้นในกรณีพบซากละมั่งที่ถูกล่าพบว่าละมั่งมีปริมาณอาหารอยู่เต็ม กระเพาะ การใช้แหล่งน้ำ� และแหล่งดินโป่ง เนื่องจากละมั่งเป็นสัตว์กินพืช กินหญ้าสด ใบไม้สด ซึ่งในพืชอาหารดัง กล่าวมีน้ำ�เป็นองค์ประกอบค่อนข้างมาก ดังนั้นละมั่งจึงได้รับน้ำ�จากการกินพืชอาหาร ประกอบกับละมั่งเป็นสัตว์ ที่มีความสามารถในการอดน้ำ�ค่อนข้างสูง จึงทำ�ให้ละมั่งมีการกระจายโดยไม่จำ�เป็นต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ�มากนัก แต่ สัตว์กินพืชทุกชนิดนั้นแร่ธาตุจากพืชอาหารอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อความต้องการ การใช้ประโยชน์จากแหล่งโป่งจึง จำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิตอย่างมาก พฤติกรรม ละมั่งเป็นสัตว์ที่มีความตื่นตกใจสูง การสังเกตโดยตรงค่อนข้างเป็นไปได้ยาก พฤติกรรมจากการ พบโดยตรงมักเป็นการพบพฤติกรรมการหลบหลีกเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นการวิ่งกระโจนออกไป แต่ในละมั่งบางตัว พฤติกรรมระวังภัยและการหลบหนียังมีไม่มากนัก สัตว์ผู้ลา่ และการเป็นเหยื่อ ศัตรูตามธรรมชาติ ชนิดหลักของพื้นที่ คือ เสือดาว รองลงมาได้แก่ หมาใน เสือ โคร่ง และงูหลาม การมีชีวิตยืนยาวของละมั่งที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลละมั่งที่ติดสัญญาณวิทยุ อัตราการ อยู่รอดของละมั่งในธรรมชาติเท่ากับ 15.63% ละมั่งที่ตายเป็นเพศผู้ 13 ตัว เพศเมีย 14 ตัว รวม 27 ตัว คิดอัตราการ ตายเท่ากับ 84.38% และเมื่อนำ�ข้อมูลข้างต้นร่วมกับข้อมูลด้านการผสมพันธุ์ อัตราการเกิด การให้ลูก เพื่อนำ�มา สร้างโมเดลของการมีชีวิตอยู่ของละมั่ง พบว่าความน่าจะเป็นของการอยู่รอด (probability of survival) มีแนวโน้ม ลดลงและเข้าสู่การสูญพันธุ์ ที่ระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี ในทางตรงข้ามกรณีที่มีประชากรตั้งต้น 44 ตัวเท่ากัน แต่หาก มีความแตกต่างทางด้านอัตราการตาย โดยในกลุ่มประชากรที่มีอัตราการตายเท่ากับ 84.4% และ 60.0% ประชากร จะมีขนาดลดลงอย่างเห็นได้ชัดและเกิดการสูญพันธุ์ในอนาคต แต่ในกลุ่มประชากรที่มีค่าอัตราการตายเท่ากับ 40.0 และ 30.0% พบว่าประชากรสามารถเพิ่มจำ�นวนมากขึ้นได้ และสามารถคงอยู่อย่างยั่งยืน จากการศึกษาและวิเคราะห์การดำ�เนินงานในช่วงปีแรก พบปัญหาจากการที่มีอัตราการอยู่รอดต่ำ� ซึ่งปัจจัย ที่สำ�คัญ ได้แก่ พื้นที่บริเวณที่ทำ�การปล่อยมีความรกทึบมากเกินไปส่งผลให้การหลบหนีของละมั่งจากสัตว์ผู้ล่าไม่ เหมาะสม และในช่วงปีแรกดำ�เนินการปล่อยแบบ hard release เหมือนในต่างประเทศที่เคยทำ�แล้วประสบความ สำ�เร็จ แต่อาจจะไม่เหมาะสมมากนักกับการปล่อยในกรณีนี้ ดังนั้นจึงได้มีการปรับแนวทางการปล่อยต่าง ๆ ในช่วงปี ที่ 2 โดยการเปลี่ยนพื้นที่ปล่อยยังบริเวณสำ�นักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งมากกว่าพร้อม ทั้งมีการเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมกับละมั่ง ด้วยการถาง และใช้ไฟจัดการพื้นที่ มีรูปแบบการปล่อยโดยวิธี soft release เพื่อให้ละมั่งมีการปรับตัวและสามารถอยู่รอดในธรรมชาติ ผลการดำ�เนินการศึกษาช่วงปีที่ 2 (เมษายน 2552 - กรกฎาคม 2553) การใช้พื้นที่อาศัย ขนาดพื้นที่การกระจายหลักของละมั่งเฉลี่ยเท่ากับ 5.45 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ ประชากรละมั่งทั้งหมดครอบคลุมพื้นที่ 11.83 ตารางกิโลเมตร ละมั่งใช้พื้นที่บริเวณคอกเตรียมปล่อยซึ่งมีสภาพเป็น ป่าเบญจพรรณรุ่นสองมากถึง 68.30% สนามหญ้า 19.48% ใต้อาคารยกพื้น 3.83% และพื้นที่อื่นๆ เช่น รอยต่อของ ป่ากับสนามหญ้า ริมลำ�ห้วย เป็นต้น ละมั่งจะใช้พื้นที่สนามหญ้า และบริเวณป่าเบญจพรรณ ในการเดินเล็มหญ้า และนอนเคี้ยวเอื้อง พืชอาหารที่ละมั่งเลือกกิน อย่างน้อย 60 ชนิด ได้แก่ หญ้าคา หญ้าแฝก หญ้าปากควาย
35
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
หญ้ามาเลเซีย สีดา หญ้าต้นติด หญ้าหางกระรอก เป็นต้น ผลไม้ที่สามารถหาได้บริเวณสำ�นักงานเขตฯ ได้แก่ มะขาม ป้อม พุดทรา มะกอก ตะคอง เป็นต้น หลังการปล่อยละมั่งออกจากคอกเตรียมปล่อยไม่มีการให้อาหารละมั่งในช่วง ฤดูฝนที่อาหารสมบูรณ์ แต่เฉพาะในช่วงฤดูแล้งทำ�การเสริมอาหารข้นให้ละมั่งเนื่องจากปริมาณหญ้า และผลไม้ใน บริเวณสำ�นักงานเขตฯ ไม่เพียงพอ ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์จึงเป็นการเสริมให้ละมั่งมี ความพร้อมในการผสมพันธุ์เพิ่มมากขึ้น การใช้แหล่งน้ำ� และแหล่งดินโป่ง ละมั่งใช้แหล่งน้ำ�ธรรมชาติ โดยการลงกินน้ำ�โดยตรง และลงแช่น้ำ�บริเวณ ลำ�ห้วยทับเสลา ละมั่งมักออกแทะเล็มหญ้าหลังฝนตกใหม่ๆ ละมั่งมักลงกินโป่งในช่วงเวลาเช้าและเย็นบริเวณหน้า สำ�นักงานเขตฯ และในช่วงฤดูผสมพันธุ์ พบละมั่งเพศผู้ลงแช่โคลน พฤติกรรม ละมั่งจากการปล่อยในช่วงปีที่ 2 เป็นละมั่งที่ค่อนข้างเชื่องโดยเฉพาะกับคนเลี้ยง แต่ละมั่งยังคง ไม่ให้เข้าใกล้เกินระยะ 5-10 เมตร และเนื่องด้วยละมั่งเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างตกใจง่าย เมื่อตัวหนึ่งตกใจร้อง หรือวิ่ง ละมั่งตัวอื่นๆ ก็จะวิ่งตามกันไปเป็นฝูง ละมั่งสามารถระวังภัยจากผู้ล่าได้เร็วขึ้น และเรียนรู้วิธีการหลบหนี โดยเมื่อถูก รบกวนจากสัตว์ผู้ล่าละมั่งจะร้องและวิ่งมารวมกันบริเวณพื้นที่โล่ง หรือหลบเข้าใต้อาคารยกพื้น จนกว่าจะปลอดภัย ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ละมั่งเพศผู้แสดงพฤติกรรมต่อเพศเมียอย่างชัดเจน พบละมั่งเพศผู้ขวิดกันเป็นแผล บริเวณท้อง แต่แผลก็หายเอง และยังพบละมั่งขวิดเล่นกันด้วย เมื่อละมั่งเพศผู้เป็นสัดเต็มที่จะแสดงอาการเป็นสัด ด้วยการส่งเสียงร้องติดต่อกัน และเดินตามเพศเมีย ในฤดูผสมพันธุ์ละมั่งเพศเมียได้รับการผสมพันธุ์ทุกตัว สัตว์ผู้ล่า และการเป็นเหยื่อ สัตว์ผู้ล่าที่พบบริเวณสำ�นักงานเขตฯ นั้นมีจำ�นวน และชนิดไม่ต่างจากบริเวณ หน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า ที่พบเข้ารบกวนบ่อยที่สุดคือ เสือดาว เสือโคร่ง และหมาใน อัตราการรอดตาย และการเพิ่มพูนในธรรมชาติ ในปี 2552-2553 ปล่อยละมั่งไปแล้ว 3 ชุด ทั้งหมด 16 ตัว ถึงปัจจุบันมีละมั่งเหลือจากการปล่อย 12 ตัว เป็นเพศผู้เต็มวัย 7 ตัว เพศเมียเต็มวัย 5 ตัว คิดเป็นอัตราการรอดตาย เท่ากับ 80.00 % อัตราการเพิ่มพูนของละมั่งหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในปี 2552 มีลูกละมั่งเกิด 7 ตัว เกิดในช่วง เดือนกันยายน – เดือนพฤศจิกายน ปัจจุบันเหลือลูกละมั่ง 1 ตัว อายุ 32 สัปดาห์คิดเป็นอัตราการรอดตายของลูก ละมั่งเท่า 14.29 % สรุป จากการติดตามประชากรละมั่งหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ในปี 2552 ทั้งหมด 16 ตัว พบละมั่งยังมีชีวิต รอดอยู่ได้ 12 ตัว คิดเป็นอัตราการรอดตาย 80.00 % และมีการเพิ่มประชากรในธรรมชาติได้ โดยเหลือลูกละมั่งจาก การเกิดในปี 2552 จำ�นวน 1 ตัว จากลูกละมั่งทั้งหมด 7 ตัว คิดเป็นอัตราการรอดตาย 14.29 % รวมปัจจุบันมีการ ติดตามละมั่งในธรรมชาติทั้งหมด 13 ตัว เป็นเพศผู้เต็มวัย 7 ตัว เพศเมียเต็มวัย 5 ตัว และ ลูก 1 ตัว พื้นที่หลักที่ ละมั่งใช้คือบริเวณสำ�นักงานเขตฯ พื้นที่เฉลี่ย 5.45 ตารางกิโลเมตร และมีละมั่งเพศเมีย 1 ตัวใช้พื้นที่บริเวณบ้านเขา เขียวและ กม. 8 ทางเข้าสำ�นักงานเขตฯ จากการดำ�เนินงานตลอด 2 ปีกว่าที่ผ่านมา มีการเรียนรู้ และมีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จนทำ�ให้การดำ�เนิน งานในระยะเวลาต่อมาเริ่มมีแนวทางในการแก้ไขปัญหา และสามารถดำ�เนินการต่อได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ อย่างไรก็ดียังคงมีปัญหาเกิดขึ้นในระหว่างการดำ�เนินงาน เช่น ปัญหาละมั่งออกไปบริเวณพื้นที่เกษตรของชุมชน รอบนอก ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องมีการดำ�เนินงานประสานงานร่วมกับชุมชนต่อไป เอกสารอ้างอิง [1] นริศ ภูมิภาคพันธ์, รองลาภ สุขมาสรวง, วรวิทย์ วัชชะวัลคุ, บริพัตร ศิริอรุณรัตน์, สามารถ สุมโนจิตรา ภรณ์, ชัชวาล พิศดำ�ขำ�, ธนากร แสนโภชน์, สุนทร ฉายาวัฒนะ, ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ, ตรศักด์ นิพา-นันท์, อนรรฆ พัฒนวิบูลย์, นัฐพล สีสุรักษ์ และ Dr. William J. McShea. 2552. ความเป็นมาของโครงการฟื้นฟูประชากรละอง ละมั่งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง.
36
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
[2] นิธิดล บูรณพิมพ์. 2552. การวิเคราะห์ความสามารถในการดำ�รงอยู่ของประชากรละมั่งพันธุ์พม่า (Cervus eldii thamin) ที่ปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [3] นิธิดล บูรณพิมพ์ รองลาภ สุขมาสรวง และนริศ ภูมิภาคพันธ์. 2551. การวิเคราะห์ความสามารถ ในการดำ�รงอยู่ของประชากรละมั่งพันธุ์พม่า (Cervus eldi thamin) ที่ปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ณ เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย 15(1): 99-117. [4] บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ รองลาภ สุขมาสรวง สุเมธ กมลนรนาถ โสภณ ดำ�นุ้ย วิศิษฐ์ วิชาศิลป์ และ นริศ ภูมิภาคพันธ์. 2549. ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติของกลุ่มผู้สนใจ อนุรักษ์ละองละมั่ง ครั้งที่ 3 (The Third International Meeting of the Eld’s Deer Interest Group) ณ Sunway Hotel กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา. [5] Lekagul, B. and J.A. McNeely. 1988. Mammals of Thailand, 2nd ed. Darnsutha Press, Bangkok. [6] McShea, W.J, B. Siriaroonrat and R. Sukmasuang. 2004. Evaluation of potential reintroduction habitat in Thailand, pp. 11-13. In The Second Workshop on Eld’s deer Conservation and Restoration. Dusit Zoological Park, Bangkok, Thailand. [7] McShea, W.J., Myint Aung, D. Poszig, C. Wemmer and S. Monfort. 2001. Forage, habitat use, and sexual segregation by a tropical deer (Cervus eldi thamin) in a dipterocarp forest.J. Mammalogy. 82 (3): 848-857. [8] U Tun Yin. 1967. Wild Animals of Burma. Rangoon Gazette Ltd., Rangoon.
37
Session III : One Health
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
กลไกการแพร่เชื้อไวรัสนิปาห์ในค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง (Pteropus lylei) สุภาภรณ์ วัชรพฤษาด1ี กัลยานี บุญเกิด2 ไสว วังหงษา2 นิติพล รัตนเศรษฐยุทธ์1 พรพรรณ สุภวรรณวงศ์1 เดชชาติ แสงเส้น2 ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา1
บทนำ� ไวรัสนิปาห์ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2541 ที่ประเทศมาเลเซีย1 จากการติดต่อของเชื้อไวรัสจากค้างคาว แม่ไก่ สู่สุกรในฟาร์ม และแพร่สู่คนชำ�แหละสุกร ก่อให้เกิดโรคสมองอักเสบที่มีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ย 40% ใน ขณะเดียวกันการระบาดของโรคที่ประเทศบังกลาเทศที่เกิดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2544-2553 มีอัตราการเสียชีวิต เฉลี่ย 70%2 แต่ไม่พบว่ามีสุกรหรือสัตว์ชนิดอื่นๆ เป็นตัวกลางในการเพาะเพิ่มเชื้อสู่คน นอกจากการพบการติดเชื้อ ไวรัสในค้างคาวและผู้ป่วยมีประวัติดื่มน้ำ�อินทผลัมสดที่อาจมีเชื้อไวรัสจากค้างคาวปนเปื้อน3 ในประเทศไทยมี รายงานพบการติดเชื้อไวรัสนิปาห์ในค้างคาวแม่ไก่ 3 ชนิดได้แก่ ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง (Pteropus lylei) ค้างคาว แม่ไก่เกาะ (P.hypomelanus) และค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน (P.vampyrus)4 อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าการระบาด อย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 ครั้ง ในประเทศบังกลาเทศและอินเดีย มักเกิดเฉพาะช่วงต้นปีคือระหว่างเดือน มกราคมพฤษภาคม เท่านั้น5 จึงอาจมีความเป็นไปได้ว่ากลไกการแพร่เชื้อไวรัสนิปาห์จากค้างคาวอาจเกิดเป็นฤดูกาลเช่นเดียว กับฤดูกาลระบาดในคน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการแพร่เชื้อไวรัสนิปาห์ในค้างคาว แม่ไก่ภาคกลาง กับฤดูกาล วิธีการศึกษา 1. ชนิดค้างคาว ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง (Pterous lylei) 2. พื้นที่ศึกษา 7 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระบุรี สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง 3. วิธีการเก็บตัวอย่าง เก็บตัวอย่างเยี่ยวค้างค้าวโดยปูพลาสติกใต้ต้นไม้ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยค้างคาว6 3.1 เก็บตัวอย่างเยี่ยวค้างคาวใน เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 ปี ระหว่าง พฤษภาคม 2548- มิถุนายน 2550 ในพื้นที่ศึกษา 2 แห่ง ได้แก่ จังหวัดชลบุรี และฉะเชิงเทรา 3.2 เก็บตัวอย่างเยี่ยวค้างคาวจำ�นวน 3 ครั้งในเวลา 1 ปี (กุมภาพันธ์ พฤษภาคม ตุลาคม 2549) ใน พื้นที่ศึกษาเพิ่มเติมอีก 5 แห่ง ได้แก่ ปราจีนบุรี สระบุรี สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง 4. วิธีการตรวจวิเคราะห์วิธีทางอณูชีววิทยา Duplex nested RT-PCR7 ผลและการอภิปรายผล 1. พบเชื้อไวรัสนิปาห์ในทุกพื้นที่ศึกษาทั้ง 7 แห่ง 2. พบเชื้อไวรัสนิปาห์ในระหว่าง เดือน มกราคม-มิถุนายน และมากที่สุดในเดือน พฤษภาคม 3. เชื้อไวรัสนิปาห์ที่พบมี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์เดียวกับที่พบการระบาดในประเทศมาเลเซีย และสายพันธุ์ บังกลาเทศ โดยพบสายพันธุ์บังกลาเทศมากกว่าสายพันธุ์มาเลเซีย 1 2
ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
39
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
4. การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤดูผสมพันธุ์ คือ เดือนพฤษภาคม เป็นช่วง ปลายฤดูผสมพันธุ์ที่พบลูกค้างคาวหัดบิน 5. อัตราการพบเชื้อไวรัสอยู่ระหว่าง 0.5-6.7% สรุป การศึกษานี้เป็นการค้นพบกลไกการแพร่เชื้อไวรัสในค้างคาวครั้งแรกของโลกที่ยืนยันว่าเชื้อไวรัสนิปาห์แพร่ กระจายออกมาในเยี่ยวค้างคาวแม่ไก่เฉพาะฤดูกาลเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับการระบาดในคนที่ประเทศบังกลาเทศและ อินเดีย และอาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคไวรัสนิปาห์ได้เช่นกัน หากคนสัมผัส กับเยี่ยวหรือน้ำ�ลายค้างคาวโดยตรง หรือ สุกรได้รับเชื้อจากสิ่งคัดหลั่งค้างคาวและแพร่มาสู่คน อย่างไรก็ตามข้อมูล การค้นพบฤดูกาลแพร่เชื้อจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำ�หรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำ�เนินมาตรการป้องกันการระบาด ของโรคในประเทศไทยต่อไป ข้อแนะนำ� • อาการของโรคในคน มีอาการคล้ายเป็นหวัด มีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จนถึงอาการหนัก คือ สมอง อักเสบ อาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย • การติดต่อของโรคนิปาห์จากค้างคาวอาจเกิดได้จาก 1) การสัมผัสสิ่งคัดหลั่งหรือ ซากค้างคาว หรือ สุกรที่ติดเชื้อไวรัสนิปาห์ 2) การบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม หรือ ค้างคาวที่ปนเปื้อนเชื้อ 3) การติดต่อจากคนสู่คน 4) การปีนต้นไม้ในบริเวณที่ค้างคาวอาศัยหรือแหล่งอาหารของค้างคาว8 • แนวทางปฏิบัติหากสัมผัสสิ่งคัดหลั่งจากค้างคาว 1. ถูกค้างคาวกัด - ล้างแผลด้วยน้ำ�สบู่นาน 10-15 นาที - พบแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เฉกเช่นเดียวกับการถูกสุนัขกัด เนื่องจากขณะนี้ไม่มี วัคซีนสำ�หรับการป้องกันไวรัสนิปาห์ แต่ค้างคาวอาจนำ�โรคพิษสุนัขบ้าได้ จึงควรฉีดวัคซีนป้องกันโรค 2. สัมผัสสิ่งคัดหลั่ง ได้แก่ เยี่ยว น้ำ�ลาย เลือด หรืออวัยวะภายใน - ล้างส่วนที่สัมผัสด้วยน้ำ�สบู่นาน 10-15 นาที - หากมีแผลในบริเวณอวัยวะที่สัมผัส ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการถูกค้างคาวกัด • การรักษา ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือยาใดที่ได้ผลโดยตรงต่อการรักษา การรักษาที่ได้ผลพบว่ามีเพียงการใช้ยา ต้านไวรัสไรบาวิลิน รักษาในช่วงต้นของการติดเชื้อ เท่านั้น • การป้องกัน ประชาชน : ไม่บริโภค-ชำ�แหละค้างคาว, กินผลไม้ที่มีรอยกัดแทะของค้างคาว, ควรดูค้างคาวเพื่อการ ทัศนศึกษาด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้สัมผัสสิ่งคัดหลั่งจากค้างคาว การสาธารณสุข : เพิ่มมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังโรคในฤดูกาลแพร่เชื้อไวรัส การท่องเที่ยว : แนะนำ�การชมค้างคาวในเวลาและฤดูกาลที่ถูกต้อง เพื่อลดการสัมผัสเยี่ยวค้างคาว เวลาที่ ควรงดการชมคือช่วงเช้าเนื่องจากค้าวคาวจะถ่ายมาก ฤดูกาลที่ควรเพิ่มความระมัดระวัง คือ เมษายน-พฤษภาคม และแนะนำ�แนวทางปฏิบัติหากสัมผัสเยี่ยวค้างคาวระหว่างท่องเที่ยว ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า : รักษาสภาวะแวดล้อมที่อยู่ของค้างคาวให้เหมาะสม เพื่อลดแรงกดดันในการย้ายถิ่น และแรงกดดันที่เพิ่มความตึงเครียดแก่ค้างคาวที่อาจทำ�ให้ค้างคาวเจ็บป่วย ปศุสัตว์ : เพิ่มการเฝ้าระวังสุกรในพื้นที่เสี่ยงที่มีแหล่งอาศัยของค้างคาว และ/หรือ สวนผลไม้ที่ค้างคาวอาจไป กินเป็นอาหารเป็นพิเศษในฤดูกาลแพร่เชื้อ
40
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
เอกสารอ้างอิง [1] Chua KB, Bellini WJ, Rota PA, Harcourt BH, Tamin A, Lam SK, Ksiazek TG, Rollin PE, Zaki SR, Shieh W, Goldsmith CS, Gubler DJ, Roehrig JT, Eaton B, Gould AR, Olson J, Field H, Daniels P, Ling AE, Peters CJ, Anderson LJ, Mahy BW. Nipah virus: a recently emergent deadly paramyxovirus. 2000. Science. 288(5470):1432-1435. [2] ICDDR,B. Nipah outbreak in Faridpur District, Bangladesh, 2010. 2010. Health Sci Bul. 8(2):6-11. [3] Luby SP, Rahman M, Hossain MJ, Blum LS, Husain MM, Gurley E, Khan R, Ahmed BN, Rahman S, Nahar N, Kenah E, Comer JA, Ksiazek TG. Foodborne transmission of Nipah virus, Bangladesh. 2006. Emerg Infect Dis. 12(12):1888-1894. [4] Wacharapluesadee S, Lumlertdacha B, Boongird K, Wanghongsa S, Chanhome L, Rollin P, Stockton P, Rupprecht CE, Ksiazek TG, Hemachudha T. Bat Nipah virus, Thailand. 2005. Emerg Infect Dis.11(12):1949-1951. [5] Wacharapluesadee S, Boongird K, Wanghongsa S, Ratanasetyuth N, Supavonwong P, Saengsen D, Gongal GN, Hemachudha T. A longitudinal study of the prevalence of Nipah virus in Pteropus lylei bats in Thailand: evidence for seasonal preference in disease transmission. 2010. Vector Borne Zoonotic Dis. 10(2):183-190. [6] Chua KB. A novel approach for collecting samples from fruit bats for isolation of infectious agents. 2003. Microbes Infect. 5(6):487-490. [7] Wacharapluesadee S, Hemachudha T. Duplex nested RT-PCR for detection of Nipah virus RNA from urine specimens of bats. 2007. J Virol Methods.141(1):97-101. [8] Montgomery JM, Hossain MJ, Gurley E, Carroll GD, Croisier A, Bertherat E, Asgari N, Formenty P, Keeler N, Comer J, Bell MR, Akram K, Molla AR, Zaman K, Islam MR, Wagoner K, Mills JN, Rollin PE, Ksiazek TG, Breiman RF. Risk factors for Nipah virus encephalitis in Bangladesh. 2008. Emerg Infect Dis. 14(10):1526-1532.
41
Session IV : การพัฒนาระบบงานสุขภาพสัตว์ป่า
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
“1,000 Nights in Thailand: Developing A Veterinary Medical Program For the ZPO Zoos - Accomplishments and Gaps” Mitchell Bush
Introduction (Disclaimer) It is great to be back in Thailand and being able to work with old colleagues and meet new ones in the upcoming workshops. I was asked to give this presentation to discuss the results of my previous 3 year of working with the veterinary staffs of the ZPO. I truly think I can better evaluate my efforts after this 7 week visit to the 5 ZPO zoos. The comments on the gaps in the medical program I will discuss today were what I observed when I left Thailand in November 2009 and are meant to be constructive (“Tough Love”). I am hopeful that my follow-up visit will find that many of these concerns have been appropriately addressed and corrected. Goals: The Scope of the 3 year training program was to observe existing clinical, procedural, and management protocols to ultimately enhance the medical and surgical skills of Thailand Veterinarians and to improve the overall delivery of health care. It was envisioned that this training of selected veterinarians at KKOZ would empower then to be better veterinarians and become the core of teachers for other Thailand veterinarians interested in Zoological Medicine. There have been previous workshops relating to zoological medicine, over the last 15 years that have proven to have little longterm application due to the: 1. The continual turnover of clinical veterinarians or their progression into management positions which disrupts the continuity of operations. 2. No continuity for ongoing training in zoological medicine. It is for this later reason that this training program was started. A Second goal was to develop and in-house pathology training program for KKOZ and Dusit Zoo to prove its value to the overall medical and management programs and provide diagnostic support for clinical cases with timely and complete necropsies. A secondary goal was to provide necessary data to support basic and applied research with subsequent publications in peer reviewed journals. My initial evaluation determined that the clinical veterinarians were about 20 years behind their western zoos colleagues. It soon became obvious that there were also major deficiencies in the management that directly related to the medical program and the well being of the animals. These included problems in: diets, exhibit and cage design, staff supervision and communications. Accomplishments: 1) A pathology program was started for the ZPO which centered in KKOZ and Dusit Zoo. Histopathology and bacteriology support was added in the final year of the program. This program was beginning to generate reports on the causes of deaths which allow better evaluation of ongoing medical and management procedures and practices. DVM, ACZM
43
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
2) Appropriated anesthetic drugs (potent opoids) have been legally imported to Thailand for use in the ZPO zoos for the first time. 3) A clean surgery and surgery preparation area has been established and is in use at KKOZ. 4) Weekly Medical/Management Rounds are conducted at KKOZ to help teach clinical veterinarians work with the curatorial and keeper staff and jointly look for management problems and hopefully correct them before they become medical problems. The results of these Rounds were documented and circulated to medical, management and administrative staff of KKOZ. I met good keepers and keepers with potential during these rounds. I recommend that the veterinary and curatorial staff improve the communications and supervision of their keeper staff. 5) Several workshops were conducted to train ZPO veterinarians and they included: a. Avian Medical/Management Training with Mr. Will Peratino. We visited all 5 zoos and held meeting and conducted walking rounds with the veterinary, curatorial and keeper staffs. This was a very practical exercise where we specifically discussed both universal and zoo specific problems in each zoo such as diets, sex determination, cage design, pest control and medical problems. I conducted follow-up visits to each zoo to monitor the progress and the implementations of our recommendations. The results varied from zoo to zoo based on implementation variances but I did observe that encouraging improvements were being made to make me think this and other workshops with this format should be continued and the benefits monitored. Again, we noted potential within the keeper staff at several zoos that could be further exploited . b. Laproscopic workshop to train ZPO veterinarians in the technique for use in diagnostic and research application. c. Anesthesia workshop – to demonstrate methods of anesthetizing animals and how to monitor them to improve safety. One workshop was specifically for tapirs. Developing anesthesia protocols for Eld’s deer for medical purposes and for relocation. d. Collection Planning workshop planning – This concept has been accepted and initial plans have been started for ZPO felids and KKOZ cervids. e. Diet workshop f. Dental workshop 6) An Escape protocol has been developed for KKOZ and practiced. 7) Establishment of protocols to support a preventative medical program for ZPO zoos which include protocols for quarantine, preshipment, anesthesia and necropsy. 8) Safety Procedures and Protocols – I feel there are many safety hazards at KKOZ for the visitor and the staff and I tried to appropriately document them. 9) Consulting on Giant Pandas at Chiang Mai zoo on 2 occasions: first for a wound in the inguinal area caused by trauma from the male and secondly for anesthesia and the successful electroejaculation of the male and AI of the female resulting in a live cub. 10) Enhancing the awareness of tuberculosis in the ZPO. Beginning routine screening of potential animals and establishing protocols for dealing with this infectious disease. Barriers to Success and Identified Shortfalls: These include expectations for the Medical Program that either failed to occur or performed below reasonable expectations at the time of my departure in November 2009
44
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
1) Career Pathway for Clinical Veterinarians – Had not been developed. 2) Improved Diets for the collection animals – this has failed in several important areas: a. The ongoing presence of Metabolic Bone Disease throughout the collections due to the lack of proper calcium supplementation which resulted in the euthanasia of several animals. The cause of this problem is well known and corrective supplementation had been discussed. The failure seems to be the implementation and supervision at the keeper level. b. Lack of established diet information for the keepers (Diet Cards) and once these cards are established they need to be monitored to ensure that the animals are being fed properly. c. Basic lack of food when money wasn’t properly allocated resulting in cases of malnutrition, clinical problems and related deaths. d. Providing safe and good quality food to the animals – e. Feeding the animals: clean the feeding area and dishes (minimize fecal/food contact) and move the feeding sites to help decrease parasite burden in these. Also set up enough feeding stations so all animals in the area can receive the required amount of their diet. f. Uses feeding as behavioral enrichment g. Establish, monitor and maintain a pest control program to prevent predation, loss and contamination of the animal’s food by rats, pigeons and/or feral primates. 3) Exhibit Design and Renovation Planning – The process is flawed and has left a legacy for the KKOZ and the ZPO of poorly designed exhibits that hamper the ongoing and future medical and overall management of animals in these exhibits and is a poor use of the precious financial resources!! I feel the basic problem here is that the design team needs experience in working with animals in cages so they know what design is needed to safely clean, feed, shift and manage animals in the exhibits they design. 4) Medical records – The ZPO funded an intensive workshop on Med-Arks and basically the implementation into ZPO medical records is severely lacking. 5) Proper Equipment and supplies for ZPO Veterinary Hospitals – I have stressed numerous times that having veterinarians on staff in a non-functional hospital and/or improperly supplied hospital will not result in a progressive medical program and this is not the fault of the veterinarians, rather it is due to lack of adequate administrative support. Many times we were out of necessary supplies (such as bandages, casting material and anesthetics) due to a combination of factors: a) Lack of funds b) Problems with the purchasing department c) Faulty inventory practices. 6) The proper care and cleaning of hospital equipment. On several occasions I have noted expensive equipment not properly cleaned and cared for. 7) Administrative Support for a comprehensive Medical Program – this has been mentions several times before concerning various aspects of the program and I feel it shows a lack of understanding what a proper medical program can do for the zoo, both in image and moral for the staff. 8) Research output (Publications) – Only one report was published in a peer-reviewed journal. I had suggested several topics prior to my departure. 9) Few Animal people – this is a basic need for the management and proper functioning of a zoo. I would suggest attempting to recruit staff that has experience working on ranches or farms. 10) Pathology Programs for KKOZ and Dusit Zoo – These programs were off to good start but appeared to be stalling prior to my departure.
45
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
11) Medical Management Rounds at KKOZ – These Rounds identified various medical and management problems that relate to the Health Care Delivery to the KKOZ collection animals. Unfortunately most of the documented recommendations were not acted on nor did I receive any feedback from the administration. 12) Dealing with the Tuberculosis problem in ZPO zoos. During the 2 + years we have either documented or had strong indications of TB. I saw problems in developing a rational and timely approach to this infectious zoonotic disease problem: a. Lack of appropriate diagnostic capabilities for TB in Thailand. b. I also sense inertia within the ZPO staff to move forward with both diagnostic testing and therapy. c. No plan for public relations when the topic reaches the press which becomes more of a problem the longer this is delayed. 13) Continuing Education for the Veterinary Staff a. Veterinarians must strive to use more English in conversations especially medically related and write the records in English. Thai wildlife and zoo veterinarians’ web site should put their articles and messages in English to encourage input from English speaking colleagues. b. More emphasis needs to be placed on self study. c. Encourage and support attendance at VPAT meeting. 14) There seems to be a current thinking that clinical veterinarians need to receive advanced degrees such as Diplomas, Masters or PhD degrees. I feel these are usually of limited value for a clinical and pathology veterinarians as it takes them away from the clinical practice. 15) The need for improved Supervision and/or mentoring at basically all levels of the chain of command within the ZPO veterinary and management areas. 16) The use of collection animals for offsite events such as shopping malls. I stressed that the veterinary department develops a protocol for when such events are unavoidable. 17) The veterinary staff had yet to take “Ownership” of the medical programs at the ZPO. There needs to be a pride associated with establishing and maintaining a quality medical program. These programs require developing strong professional relationships with the administrative, curatorial and keeper staff.
46
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
ทิศทางในอนาคตของงานด้านสุขภาพสัตว์ป่าในกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ไชยพร ชารีแสน
บทคัดย่อ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดตั้งกลุ่มจัดการสุขภาพสัตว์ป่าขึ้นเป็นหน่วยงาน รับผิด ชอบดำ�เนินการเกี่ยวกับการแรกรับสัตว์ป่าของกลาง ตรวจรักษาโรคสัตว์ป่า ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ได้รับอุบัติเหตุ ถูกทอดทิ้ง หรือพลัดหลง การวิจัยสุขภาพสัตว์ป่า รวมถึงการแก้ไขปัญหาสัตว์ป่ารบกวนประชาชน การดำ�เนิน งานในระยะแรกเน้นหนักเกี่ยวกับการแรกรับสัตว์ป่าของกลางในคดีความผิดพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นอำ�นาจหน้าที่ตามกฎหมาย สัตว์ป่าที่ผ่านการตรวจสุขภาพเบื้องต้นแล้วจะถูกส่ง ไปดูแลต่อที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์หรือปล่อยคืนสู่ธรรมชาติแล้วแต่ความเหมาะสม กรม อุทยานแห่งชาติฯ มีแผนจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าประจำ�ภาคทั้ง 4 ภาค โดยแห่งแรกกำ�ลังดำ�เนินการจัดตั้ง ที่จังหวัดนครนายก มีเขตรับผิดชอบในพื้นที่ภาคกลาง การดำ�เนินงานของกลุ่มจัดการสุขภาพสัตว์ป่า มีการ ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานและองค์การที่เกี่ยวข้อง ปัญหาที่มีแนวโน้มเป็นปัญหาสำ�คัญในปัจจุบัน คือ ปัญหาสัตว์ป่าในเมือง
กลุ่มจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำ�นักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
47
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพยาธิวิทยาและโรคสัตว์ป่า อังคณา สมนัสทวีชัย บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ สุเมธ กมลนรนาถ
บทคัดย่อ 1. ฐานข้อมูลพยาธิวิทยาและโรคสัตว์ป่า สัตว์ปา่ นั้นนับวันมีจำ�นวนลดน้อยลง ดังนั้นข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงมีค่าอย่างยิ่ง การจัดเก็บข้อมูลอย่าง เป็นระเบียบจึงนับเป็นขั้นตอนสำ�คัญ ทำ�ให้สามารถนำ�ข้อมูลที่จัดเก็บรักษาไว้นั้นมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะตัวอย่าง ของสัตว์ป่าหายากนั้นมีจำ�นวนไม่มากนัก หากไม่มีการเก็บข้อมูลประวัติอย่างเหมาะสม ก็จะทำ�ให้ยากต่อการสืบค้น ประวัติย้อนหลัง อีกทั้งไม่สามารถหาตัวอย่างมาทดแทนได้ การจัดทำ�ระบบฐานข้อมูลที่เป็นระเบียบร่วมกันเป็นมาตรฐานสากลนั้นทำ�ให้ผู้อื่นที่มาสืบค้นข้อมูลในภาย หลังสามารถเข้าถึงและเข้าใจในข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ระบบฐานข้อมูลที่มีระบบระเบียบจะทำ�ให้สามารถสรุปข้อมูล และประมวลผลต่างๆได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำ�ให้สามารถนำ�ข้อมูลไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทาง องค์การสวนสัตว์ฯจึงได้ริเริ่มพัฒนาระบบฐานข้อมูลพยาธิวิทยาและโรคสัตว์ป่า เพื่อเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยว กับชีววิทยา สัณฐานวิทยา พันธุกรรม โลหิตวิทยา พยาธิวิทยา และโรคที่เกิดขึ้นของสัตว์ป่าทุกตัว โดยเริ่มจากการ จัดเก็บข้อมูลทางการตรวจรักษาอย่างเป็นระบบร่วมกันในสวนสัตว์ทั้งห้าแห่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ด้วยโปรแกรม ระบบฐานข้อมูล MedARKS ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลในการจัดการสัตว์ป่าของสมาคมสวนสัตว์โลก ประกอบไปด้วย ข้อมูลในการรักษาพยาบาลสัตว์ การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และการชันสูตรซากสัตว์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ของการตั้งมาตรฐานการเก็บข้อมูลร่วมกันของสัตวแพทย์สวนสัตว์ในประเทศไทย 2. ประโยชน์ของฐานข้อมูลพยาธิวิทยาและโรคสัตว์ป่า a) การวินิจฉัยโรค การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบนั้นส่งผลต่อเนื่อง ทำ�ให้ขั้นตอนในการตรวจวินิจฉัยของสัตวแพทย์นั้น ต้องดำ�เนินไปอย่างเป็นระบบด้วย ช่วยลดความผิดพลาดตกหล่นในการวินิจฉัย และเพิ่มความละเอียดถี่ถ้วนมากยิ่ง ขึ้น อีกทั้งเรายังสามารถนำ�ข้อมูลที่เก็บประมวลผลไว้ มาประยุกต์ใช้ในการรักษา เช่น เราสามารถนำ�ข้อมูลผลการ เพาะเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยจากภาวะท้องเสียและความไวรับต่อยาปฏิชีวนะ มาใช้ในการรักษาสัตว์ที่ป่วยในภาวะ ท้องเสียได้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอผลการเพาะเชื้อ ซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดูแลรักษาสัตว์นั้นมิได้จำ�กัดอยู่แค่ เพียงในสัตว์ป่วย แต่การเก็บข้อมูลค่าพื้นฐานต่างๆ ได้แก่ ค่ามาตรฐานทางโลหิตวิทยาของสัตว์แต่ละชนิดพันธุ์ใน สภาวะที่ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์นั้นก็ทำ�ให้เราเข้าใจสรีรวิทยาของสัตว์มากขึ้น และสามารถนำ�มาเป็นข้อมูลพื้น ฐานในการตรวจวินิจฉัยเมื่อสัตว์ป่วย ซึ่งสัตว์แต่ละชนิดพันธุ์นั้นจะมีค่าโลหิตแตกต่างกันออกไป โดยบางครั้งเราอาจ พบว่าฐานข้อมูลค่าทางโลหิตวิทยาของสัตว์ในต่างประเทศนั้นอาจไม่ตรงกันกับประสบการณ์จริงที่เราตรวจได้ใน ประเทศไทย ด้วยว่าจำ�นวนตัวอย่างของสัตว์ในต่างประเทศอาจมีน้อยกว่า หรือเป็นผลจากความใกล้ชิดในสายเลือด รวมทั้งวิธีการตรวจวินิจฉัยและสภาพการเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน จึงควรมีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทางพยาธิ วิทยาและโรคสัตว์ป่าของประเทศไทย
ส่วนอนุรักษ์ วิจัย และการศึกษา องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
48
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
b) การศึกษาย้อนหลัง โรคในสัตว์ป่านั้นส่วนใหญ่ถือเป็นโรคชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำ�การศึกษามาก่อน หรือเพิ่งมีการค้นพบ การ เก็บตัวอย่างและข้อมูลโดยละเอียดของสัตว์ทุกตัวจึงมีคุณค่าเป็นอย่างมาก เพราะถึงแม้ในปัจจุบันเราอาจไม่สามารถ วินิจฉัยได้ว่าสัตว์นั้นป่วยตายด้วยโรคอะไร แต่ในอนาคตเมื่อวิทยาการก้าวหน้าขึ้น เราอาจสามารถนำ�ชิ้นเนื้อตัวอย่าง นั้นๆ มาทำ�การตรวจย้อนหลัง หรือนำ�ข้อมูลเก่ากลับมาวิเคราะห์อีกครั้ง ทำ�ให้เกิดความเข้าใจใหม่ๆถึงโรคที่แท้จริงได้ c) การเฝ้าระวังโรค สัตว์ป่าต่างๆ ทั้งในธรรมชาติ ในสวนสัตว์และสถานีเพาะเลี้ยงฯ นั้นสามารถเปรียบเสมือนเป็นยามบอก เหตุ (sentinels) เตือนภัยล่วงหน้า เพราะโรคหลายโรคที่พบในคนนั้นเป็นโรคระบาดจากสัตว์สู่คน (zoonosis) โดยที่ การตายของสัตว์ป่าตายนั้นจะเกิดก่อนพบการป่วยหรือตายในคน หากเราสามารถตรวจวินิจฉัยการเจ็บป่วยในสัตว์ ป่าได้ทันท่วงที ก็จะสามารถพยากรณ์ถึงการเกิดโรคในคนและเตรียมมาตรการป้องกันได้ล่วงหน้า ดังเช่นตัวอย่าง จากการระบาดของไข้หวัดนกในปี พ.ศ. 2547 d) การวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาและการทำ�นายโรค การนำ�ข้อมูลการเกิดโรคในสัตว์จากทั้งประเทศมารวบรวมวิเคราะห์นั้นจะทำ�ให้สามารถประเมินได้ว่า รายงานการเจ็บป่วยของสัตว์ที่พบนั้นเป็นโรคระบาดหรือไม่ อีกทั้งสามารถชี้จุดได้ว่าเริ่มต้นที่ตรงไหน มีอัตราการ แพร่กระจาย อัตราการป่วย อัตราการตาย ในแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร เป็นต้น ทำ�ให้สามารถพยากรณ์ อุบัติการณ์ของโรคระบาดนั้นได้ อันจะนำ�ไปสู่การจัดการรักษาและป้องกันที่แม่นยำ�และทันท่วงที e) การจัดการ ป้องกันและดูแลรักษาโรค ข้อมูลที่รวบรวมได้จากฐานข้อมูลพยาธิวิทยาและโรคสัตว์ป่า จึงมีความสมบูรณ์ทั้งในหลักฐานและการ วิเคราะห์ทางสถิติ ที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ นำ�ไปสู่ความไว้วางใจของนักวิชาการและผู้บริหารในการพิจารณาตัดสิน ใจถึงวิธีการจัดการโรคระบาดที่เหมาะสม ได้แก่ การเตรียมมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรค การเตรียม ปริมาณและชนิดสายพันธุ์ของวัคซีนไข้หวัด หรือการจัดเตรียมยาในการดูแลรักษา เป็นต้น 3. เป้าหมายในอนาคต สิ่งที่ต้องพัฒนาในลำ�ดับต่อไปได้แก่ ระบบฐานข้อมูลพยาธิวิทยาและโรคสัตว์ป่าในประเทศไทย โดยขยาย ให้มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบร่วมกันทั่วประเทศ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสัตวแพทย์ แพทย์ ผู้ทำ�งาน สาธารณสุข นักชีววิทยา และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลสัตว์ป่าทั้งในธรรมชาติและนอกถิ่นอาศัย เพราะหากมิได้มีฐานข้อมูล กลางซึ่งรวบรวมข้อมูลร่วมกัน อาจทำ�ให้ไม่ทราบว่าได้เกิดการระบาดในวงกว้าง ทำ�ให้ล่าช้าในการป้องกันและดูแล รักษาทั้งในสัตว์และคน ดังนั้นการนำ�ข้อมูลทั้งประเทศมารวมกันนั้นจะทำ�ให้สามารถมองเห็นภาพรวมของการเกิด โรคได้ การสร้างระบบฐานข้อมูลจากการร่วมกันของหลายฝ่ายจึงเป็นส่วนให้เกิดระบบการเฝ้าระวังแบบบูรณาการ ทั้งในคนและในสัตว์
49
Session V : การเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่านอกถิ่นอาศัย
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การจัดการเพาะเลี้ยงนกเงือกในสภาพกรงเพาะเลี้ยงของสวนสัตว์สงขลา อุทัย พูลยรัตน์1 สมพร ย่องกิ้ม1 ผดุงศักดิ์ จันทรัตน์1 กษศิรินทร์ บัวเพชร2
บทคัดย่อ จากการศึกษา การจัดการเพาะเลี้ยงนกเงือกในสภาพกรงเลี้ยง ณ สวนสัตว์สงขลา โดยเริ่มทำ�การศึกษา ตั้งแต่ตุลาคม 2549 ถึง กันยายน 2552 โดยทำ�การศึกษา นกเงือกทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ นกกาฮัง นกเงือกหัวแรด นก เงือกกรามช้าง และนกเงือกหัวหงอก จากการศึกษาพฤติกรรม พบว่า นกเงือกทุกชนิดแสดงพฤติกรรมการทำ�ให้สบายตัวมากที่สุด ร้อยละ 29.80 รองลงมาคือ พฤติกรรมการกิน – การขับถ่าย ร้อยละ 17.89 พฤติกรรมการพักผ่อน ร้อยละ 10.82 พฤติกรรม เคลื่อนที่ ร้อยละ 8.11 พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์กลุ่ม ร้อยละ 6.49 พฤติกรรมสำ�รวจโพรง และอื่น ๆ ร้อยละ 5.91 พฤติกรรมการเล่น ร้อยละ 5.00 พฤติกรรมการร้อง ร้อยละ 4.29 พฤติกรรมก้าวร้าว ร้อยละ 4.16 และพฤติกรรมตื่น ตัว ระวังภัย ร้อยละ 1.62 ตามลำ�ดับ การศึกษาการเจริญเติบโตของลูกนกกาฮัง (1 ตัว) พบว่า ช่วงสัปดาห์ที่ 8 น้ำ�หนักตัวเฉลี่ย 1,420 กรัม ปริมาณอาหารที่ลูกนกกินเฉลี่ย 403.33 กรัมต่อวัน ช่วงสัปดาห์ที่ 9 – 12 น้ำ�หนักตัวเฉลี่ย 1,385 กรัม ปริมาณ อาหารที่ลูกนกกินเฉลี่ย 235.42 กรัมต่อวัน ช่วงสัปดาห์ที่ 13 – 16 น้ำ�หนักตัวเฉลี่ย 1,400 กรัม ปริมาณอาหาร ที่ลูกนกกินเฉลี่ย 450 กรัมต่อวัน ช่วงสัปดาห์ที่ 17 – 20 น้ำ�หนักตัวเฉลี่ย 1,450 กรัม ปริมาณอาหารที่ลูกนกกิน เฉลี่ย 500 กรัมต่อวัน ช่วงสัปดาห์ที่ 21 – 24 น้ำ�หนักตัวเฉลี่ย 1,470 กรัม ปริมาณอาหารที่ลูกนกกินเฉลี่ย 600 กรัมต่อวัน
1 2
สวนสัตว์สงขลา องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 189 หมู่ 5 ต. เขารูปช้าง อ. เมือง จ. สงขลา 90000 กิตติสัตวแพทย์ 27/4 ถ. ไทรบุรี ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา 90000
51
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
อนาคตของการเพาะขยายพันธุ์สัตว์สะเทินและสัตว์เลื้อยคลาน เพื่อการอนุรักษ์และเศรษฐกิจ ตุลยวรรธ สุทธิแพทย์
บทคัดย่อ สัตว์ในกลุ่มสะเทินน้ำ�สะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน มีความเกี่ยวข้องกันในทางวิวัฒนาการ และถูกเรียกการ ศึกษาสัตว์ในกลุ่มเหล่านี้ว่า Herpetology ซึ่งมาจากภาษากรีก หมายถึง การคลาน ซึ่งบ่งถึงลักษณะโดดเด่นส่วน ใหญ่ของสัตว์ในกลุ่มนี้ สัตว์ในกลุ่มนี้มีความหลากหลาย โดยมีจำ�นวนชนิดของสัตว์สะเทิน มากกว่า 5,300 ชนิด และจำ�นวนชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน มากกว่า 8,000 ชนิด มีความสำ�คัญต่อระบบนิเวศ ห่วงโซ่อาหาร และเป็นกลไก สำ�คัญของธรรมชาติอันจะขาดไม่ได้ นอกจากนี้ในปัจจุบันสัตว์กลุ่มนี้ได้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความสวยงาม ที่มี มูลค่าทางการตลาดมหาศาล รวมทั้งสัตว์บางชนิดก็ไปเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ วิถีชีวิตของชาวบ้าน และเศรษฐกิจ ขั้นพื้นฐานของชาวบ้าน อันทำ�ให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจต่อไปได้ การเพาะขยายพันธุ์สัตว์ในกลุ่มสะเทินน้ำ�สะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานในที่เลี้ยง แบ่งออกเป็นหลายประเภท คือ การเพาะขยายพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์ การเพาะขยายพันธุ์เพื่อการเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามและเพื่อการค้า และการ เพาะเลี้ยงเพื่อการค้าและการบริโภค ซึ่งการเพาะเลี้ยงแต่ละแบบจะมีจุดประสงค์แตกต่างกันไปและมีกรรมวิธีที่แตก ต่างกันตามแต่ละชนิดของสัตว์นั้นๆ สัตว์กลุ่มสะเทินจะมีความบอบบางในการเลี้ยงดูและเพาะเลี้ยง แต่ขณะเดียวกัน ก็สามารถให้ผลผลิตจากการเพาะพันธุ์จำ�นวนมาก ส่วนสัตว์พวกเลื้อยคลานส่วนใหญ่จะมีความทนทานและไวต่อโรค น้อยกว่ากลุ่มสัตว์สะเทิน แต่การเพาะพันธุ์มักจะได้ลูกจำ�นวนน้อยกว่า ดังนั้นการวางแผนก่อนการเริ่มกระบวนการ เพาะขยายพันธุ์ จึงมีความสำ�คัญมาก ทั้งเรื่องจำ�นวนพ่อแม่พันธุ์ แหล่งอาหาร การอนุบาลลูกอ่อน โรงเรือนที่ใช้ เลี้ยงดู สถานที่และสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งการเพาะขยายพันธุ์จะประสบความสำ�เร็จเพียงใดนั้น การวางแผนเป็น เรื่องที่มีความสำ�คัญอย่างยิ่ง ในส่วนของสวนสัตว์ ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงสัตว์ในกลุ่มสะเทินน้ำ�สะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานมาอย่างต่อเนื่อง มีความจำ�เป็นอย่างยิ่งยวดในการเพาะขยายพันธุ์สัตว์กลุ่มนี้ในที่เลี้ยง เนื่องจากมีสัตว์หลายๆกลุ่มที่ทำ�การเลี้ยงไว้ ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำ�การเพาะขยายพันธุ์ออกมาหลายชนิด ทั้งสัตว์สะเทินและสัตว์เลื้อยคลาน จึงเป็นความหวังต่อการ อนุรักษ์ และขยายพันธุ์ สัตว์กลุ่มนี้ในอนาคตต่อไป เอกสารอ้างอิง [1] สุรนิ ทร์ มัจฉาชีพ.2531. ชีวิตในสวนสัตว์. บริษัทรุ่งกัลป์การพิมพ์ (1977) จำ�กัด.กรุงเทพฯ 280 หน้า [2] เสาวนีย์ เสมาทองและกำ�ธร ธีรคุปต์.2537.คีย์จำ�แนกเต่าและตะพาบน้ำ�ที่พบในประเทศไทย.วิทยาศาสตร์ 48(3): 140-143 [3] Goin,C.J.and Goin,O.B.1962.Introduction to Herpetology.W.H.Freeman and Company.U.S.A.353 p. [4] Grzimek, B.1975.Animal Life Encyclopedia Volume 6:Reptiles.Van Nostrand Reinhold Company.New York 389p. [5] Halliday,T.,Adler,K. and O’Toole,C.1986.The Encyclopedia OF Reptiles and Insect.Heraclio Fournier S.A.Victoria.Spain 287 p. [6] Klos,H.G.,and Lang,E.M.1982.Handbook of Zoo Medicine.Van Nostrand Reinhold Company London 453p. ภาควิชาคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
52
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
[7] Schmidt,K.P.and Inger,R.E.1967.Living Reptiles of The World.Doubleday and Company.New York 287p. [8] Stoops,E.D.and Wright,A.T.1993.Boas and Pythons Breeding and Care.TFH Publication.USA 192p.
53
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การจับคู่ผสมพันธุ์ตุ๊ดตู่ในคอกเพาะเลี้ยงของสวนสัตว์นครราชสีมา กีรติ กันยา1 สุนทร จองกลาง1 บุญชู ปอกระโทก1 ณัฐวุฒิ ฟุ้งกลาง1 ปรียะวุฒิ วัชรานนท์2
บทคัดย่อ จากการศึกษาการจับคู่ผสมพันธุ์ตุ๊ดตู่ในคอกเพาะเลี้ยงของสวนสัตว์นครราชสีมา การศึกษาพฤติกรรมของ ตุ๊ดตู่ในสภาพกรงเลี้ยง จำ�นวน 5 ตัว (เพศผู้ 3 ตัว และเพศเมีย 2 ตัว) พบทั้งพฤติกรรมส่วนตัว และพฤติกรรมทาง สังคม พฤติกรรมส่วนตัว ได้แก่ พฤติกรรมการกินอาหาร พฤติกรรมการพักผ่อน พฤติกรรมการเคลื่อนที่ พฤติกรรม การแช่น้ำ� พฤติกรรมการอาบแดด พฤติกรรมการปีนป่าย พฤติกรรมการหลบซ่อนตัว และพฤติกรรมการขับถ่าย ไม่ พบความแตกต่างทั้งสภาพอุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มแสง และความแตกต่างระหว่างเพศ ในสภาพคอกเพาะเลี้ยง ของสวนสัตว์นครราชสีมา พฤติกรรมทางสังคม พบพฤติกรรมการก้าวร้าวเพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรูทั้งเพศผู้และ เพศเมีย และพฤติกรรมการข่มตัวอื่นที่อ่อนแอกว่าพบเฉพาะในเพศผู้อาจเนื่องมาจากพฤติกรรมการหวงอาณาเขต ส่วนพฤติกรรมการเข้าคู่ พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีไม่พบในสภาพคอกเพาะเลี้ยงของสวนสัตว์นครราชสีมา การศึกษาพฤติกรรมการผสมพันธุ์ การตั้งท้อง การวางไข่ ไม่พบว่ามีพฤติกรรมที่อยู่ในสภาพกรงเลี้ยง การ พัฒนาของลูกตุ๊ดตู่ที่มีการเลี้ยงอยู่ในสภาพกรงเพาะเลี้ยง ของสวนสัตว์นครราชสีมา พบน้ำ�หนักที่เพิ่มของตุ๊ดตู่ จำ�นวน 5 ตัว เฉลี่ยวันละ 3.40 กรัม อัตราการเจริญเติบโตด้านความยาวลำ�ตัวต่อวันของตุ๊ดตู่จำ�นวน 5 ตัว เฉลี่ย 0.08 เซนติเมตร ตุ๊ดตู่ที่มีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันน้อย โดยเฉพาะในตุ๊ดตู่ที่มีขนาดเล็กถูกข่มด้วยสัตว์ที่มีขนาด ใหญ่กว่าจึงได้รับอาหารไม่ทั่วถึง และตุ๊ดตู่ที่มีอาการป่วยเรื้อรัง
1 2
แผนกบำ�รุงสัตว์ สวนสัตว์นครราชสีมา 111 หมู่ 1 ตำ�บลไชยมงคล อำ�เภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 สัตว์สะเทินน้ำ� สะเทินบก ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
54
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การจับคู่ผสมพันธุ์ตะโขงในกรงเพาะเลี้ยงของสวนสัตว์นครราชสีมา กีรติ กันยา1 สุนทร จองกลาง1 บุญชู ปอกระโทก1 อุดม สายทะเล1 ตุลยวรรธ สุทธิแพทย์2
บทคัดย่อ จากการศึกษาพฤติกรรมการจับคู่ผสมพันธุ์ตะโขงในสภาพกรงเลี้ยงของสวนสัตว์นครราชสีมา จำ�นวน 7 ตัว (เพศผู้ 3 ตัว เพศเมีย 4 ตัว) พบพฤติกรรมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พฤติกรรมส่วนตัว และพฤติกรรมทางสังคม พบ ว่าพฤติกรรมส่วนตัว ได้แก่ พฤติกรรมการกินอาหารที่เป็นโครงไก่สด มีพฤติกรรมในการกินทั้งจุดน้ำ�ตื้น และจุดน้ำ� ลึก โดยใช้ขาและหางเป็นส่วนที่ช่วยพยุงให้ส่วนหัวและปากอยู่เหนือน้ำ�ก่อนกลืนอาหาร อาหารที่มีชิ้นใหญ่จะเหวี่ยง สะบัดให้ชิ้นอาหารมีขนาดเล็กลงเพื่อให้พอดีคำ� พบความแตกต่างในช่วงของเวลาการกินอาหาร อาหารที่ไม่มีชีวิตใช้ เวลาเฉลี่ย 4.58 นาทีต่อตัวต่อน้ำ�หนักอาหารเฉลี่ย 0.92 กิโลกรัม เวลาในการกินอาหารมีชีวิตเฉลี่ย 5.83 นาที ส่วน พฤติกรรมการพักผ่อน พบบริเวณพื้นที่แห้งที่เป็นร่มเงาพบได้มาบ่อยครั้ง 25 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่ม พบการพักผ่อน ในช่วงเวลา 9.30-10.00 น. ไม่พบความแตกต่าง ของอุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มแสง พฤติกรรมการเคลื่อนที่ใน ช่วงวันของตะโขงมีน้อยมาก พบช่วงที่ย้ายจุด และช่วงกินอาหาร ช่วงที่ย้ายจุดเฉลี่ยครั้งละ 15 วินาที และในช่วงวัน ย้ายจุดวันละ 10-13 ครั้ง การเคลื่อนที่พบในน้ำ� 7 % ของกลุ่ม ไม่พบความแตกต่างของอุณหภูมิความชื้นในอากาศ และความเข้มแสง พฤติกรรมการลอยตัวในน้ำ� พบพฤติกรรมลอยตัวในน้ำ�ของตะโขงในช่วงวันมากที่สุดและเป็นพฤติ กรรมซ้ำ�ๆ ที่พบได้ในทุกวัน 53 % ของกลุ่ม ซึ่งจะกระจายตัวกันห่างๆ ประมาณ 3-4 เมตร ชัดเจนพบ 1/3 ของลำ�ตัว ที่โพล่เหนือน้ำ� พฤติกรรมการอาบแดด ในช่วงวัน ตั้งแต่ 8.00-17.00 น. พบ 9 % ของกลุ่ม พบมากที่สุดใน ช่วงเวลา 9.00-10.00 น. ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 24.5 องศาเซลเซียส ความชื้น 45 % ความเข้มแสง 410-508x100 Lux พบ 79 % และช่วง 12.00-14.30 น. ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 30.2 องศาเซลเซียส ความชื้น 48 % ความเข้มแสง 410508x100 Lux พบ 23 เปอร์เซ็นต์พฤติกรรมของกลุ่มในช่วงวันที่พบ 7 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงอุณหภูมิเฉลี่ย 27.35 องศา เซลเซียสความชื้นเฉลี่ย 46.5 เปอร์เซ็นต์ ความเข้มแสง 410-508 Lux โดยจะอาบ แดดเฉลี่ย 18 นาที ตัวที่อาบแดด เป็นเวลานาน 30 นาที่ขึ้นไปและอุณหภูมิที่สูง 29 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะแสดงพฤติกรรมในการ อ้าปาก เพื่อระบาย ความร้อน พฤติกรรมดำ�น้ำ�หลบซ่อนตัว ในช่วง 8.00-9.00 น. ถึง 92 % ของกลุ่มที่อุณหภูมิต่ำ�กว่า 28 องศา เซลเซียส ความชื้นระหว่าง 65-70 % ความเข้มแสง 180-200 Lux ในช่วงวัน พบ 5 % ของกลุ่มดำ�น้ำ�ได้เฉลี่ย 15 นาทีและพฤติกรรมการนอนเกยฝั่งพบ 3 เปอร์เซ็นต์ ไม่พบความแตกต่างของ อุณหภูมิ ความชื้น และความเข้มแสง พฤติกรรมทางสังคม ที่พบ ได้แก่พฤติกรรมการก้าวร้าว ในขณะช่วงการกินอาหาร และพฤติกรรมเฝ้ารังไข่ ส่วนพฤติกรรมอื่น ๆ ได้แก่ พฤติกรรมการเข้าคู่ พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีและพฤติกรรมการหวงอาณาเขต ไม่พบ พฤติกรรมในส่วนเพาะเลี้ยง พฤติกรรมการวางไข่ พบการทำ�รังวางไข่ ในพื้นที่ที่เป็นร่มเงา โดยมีพฤติกรรมการใช้ขาและหางเขี่ยเศษใบไม้ และเศษหญ้าที่จัดเตรียมให้ในพื้นที่ส่วนสังเกตพฤติกรรม พบพฤติกรรมการทำ�รังอยู่ 4-5 วัน สังเกตเห็นตะโขงมี พฤติกรรมเฝ้ารังไข่ พฤติกรรมการวางไข่ขนาดหลุมลึก 12 เซนติเมตร จากนั้นจะเฝ้ารังไข่ห่างจากรังวางไข่ประมาณ 3-4 เมตร และจะมีพฤติกรรมหันหน้ามาทางรังไข่อยู่เสมอในช่วงนั้นจะมีพฤติกรรมที่ดุร้าย พบการออกไข่วันที่ 5 สิงหาคม 2551 จำ�นวน 19 ฟอง ผลตรวจเช็คในห้องปฏิบัติการพบว่าไข่ทั้ง 19 ฟองไม่มีเชื้อและเน่าเสีย มีน้ำ�หนัก เฉลี่ย 161.30 กรัม ความกว้างเฉลี่ย 55.69 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 91.55มิลลิเมตร
1 2
แผนกบำ�รุงสัตว์ สวนสัตว์นครราชสีมา 111 หมู่ 1 ตำ�บลไชยมงคล อำ�เภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 สาขาวิชาคลินิกช้างและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตำ�บลแม่เหียะ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
55
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
โครงการเพาะเลี้ยงชะมดเช็ดในโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำ�ริบ้านดงเย็น จารุณี ไชยชนะ กำ�พน ชุมนุมพร้อม ไมตรี อินโปธา ขวัญเรือน ดวงสอาด ชวิน ไชยสงคราม
บทนำ� ในปัจจุบันปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสัตว์ป่า เป็นปัญหาที่รุนแรง และแก้ไขได้ยากโดยเฉพาะสัตว์ป่าที่มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ชะมดเช็ดเป็นสัตว์ที่ สามารถผลิตไขที่ใช้เป็นส่วนผสมของยาแผนโบราณ น้ำ�หอม และเครื่องหอม3 โดยในปัจจุบันชะมดเช็ดจัดเป็นสัตว์ป่า คุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ที่รัฐบาลอนุญาตให้เพาะเลี้ยงอย่างถูก กฎหมาย¹ และจัดเป็นชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 3 ของอนุสัญญา CITES หมายถึง ชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครอง ตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่ง แล้วขอความร่วมมือประเทศภาคีให้ช่วยดูแลการนำ�เข้า คือจะต้องมีหนังสือ รับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำ�เนิด และจัดอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามน้อย (LC: Least Concern) ตามบัญชีของ IUCN Red List of Threatened Species (2006) และการเพาะเลี้ยงยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ ชะมดเช็ดได้2 ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำ�ให้มีการจับชะมดเช็ดจากป่าธรรมชาติและนำ�มาเลี้ยงเพื่อผลิตไข จนทำ�ให้ชะมด เช็ดมีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ในสภาพธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงมีพระราชดำ�ริให้ ดำ�เนินการเลี้ยงชะมดเช็ด ในโครงการฟาร์มตัวอย่างตามราชดำ�ริบ้านดงเย็น อำ�เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อ เป็นการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรและเป็นการอนุรักษ์ชะมดเช็ดอย่างยั่งยืน องค์การสวนสัตว์จึงถือเป็นนิมิตหมายอันสำ�คัญ ที่จะอัญเชิญกระแสรับสั่งดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการ พัฒนาแก้ไขปัญหา จึงมอบหมายให้สวนสัตว์เชียงใหม่เป็นผู้รับผิดชอบในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเพาะขยายพันธุ์ ชะมดเช็ด และได้รับทุนสนับสนุนจากสำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในปีงบประมาณ 2551 ในโครงการ วิจัยเรื่อง การศึกษาการเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ดในกรงเลี้ยงของสวนสัตว์เชียงใหม่เพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำ� ผลิตภัณฑ์เครื่องหอม โดยทำ�การศึกษาวิจัยที่โครงการฟาร์มตัวอย่างตามราชดำ�ริบ้านดงเย็น และได้ทำ�การศึกษา วิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนต่อไป วิธีการศึกษา 1. จัดเตรียมข้อมูล และวางแผนการวิจัย 2. สร้างและปรับปรุงคอกสำ�หรับเลี้ยงชะมดเช็ด 3. คัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ 4. ศึกษาและเก็บข้อมูลพฤติกรรมการดำ�รงชีวิตของชะมดเช็ดในสภาพเพาะเลี้ยง 5. ศึกษาและเก็บข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อการเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ดในสภาพกรงเลี้ยง 6. ศึกษาพฤติกรรมการเช็ดไข ผลและการอภิปรายผล ปี 2551 (ตุลาคม 2550 - กันยายน 2551) ทำ�การศึกษาการเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ดพบว่า ชะมดเช็ดมีรอบการเป็นสัด 26 วัน4 ซึ่งเป็นระยะรอบการเป็น สัดของสัตว์กลุ่มนี้ พฤติกรรมในช่วงที่เป็นสัดมีความแตกต่างกับช่วงปกติทั้งตัวผู้และตัวเมีย พฤติกรรมในช่วงที่ตัว เมียตั้งท้องมีความแตกต่างกับช่วงปกติอย่างมีนัยสำ�คัญ (P<0.05) ได้แก่ พฤติกรรมการเคลื่อนที่ลดลง ในขณะที่ พฤติกรรมการกินอาหาร การพักผ่อน และการทำ�ความสะอาดร่างกายเพิ่มมากขึ้น สวนสัตว์เชียงใหม่ 100 ถนนห้วยแก้ว ตำ�บลสุเทพ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
56
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
จากการจับคู่ชะมดเช็ดทั้งหมด 8 คู่ ชะมดเช็ดมีการผสมพันธุ์ 1 คู่ ชะมดเช็ดมีการตั้งท้องจากรูปร่างและ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง แต่พบว่าไม่มีการคลอดแต่อย่างไร อาจเนื่องจากความไม่แข็งแรงสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์ ชะมดเช็ด ในการเช็ดไขของชะมดเช็ด พบชะมดเช็ดทั้งตัวผู้และตัวเมีย โดยในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะมีการเช็ดไขในการสร้าง อาณาเขต และแสดงการเป็นสัด ปี 2552 (ตุลาคม 2551 - กันยายน 2552) การศึกษาพฤติกรรมของชะมดเช็ดในช่วงที่อยู่ในกรงเลี้ยงเพื่อผสมพันธุ์พบว่าเพศผู้มีพฤติกรรมการเคลื่อนที่ ที่สูงมากกว่าเพศเมียและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำ�คัญ (P < 0.05) เนื่องจากชะมดเช็ดเป็นสัตว์ผู้ล่าจึงแสดง พฤติกรรมการเคลื่อนที่เพื่อออกหากิน และชะมดเช็ดตัวผู้มีการแสดงอาณาเขตจึงมีการเคลื่อนที่มากกว่าตัวเมีย การทดลองการจับคู่ผสมพันธุ์ชะมดเช็ดทั้ง 7 คู่ พบว่ามีชะมดเช็ด 5 คู่ ที่มีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ และมีแม่ ชะมดเช็ดจำ�นวน 2 ตัว เกิดลูกชะมดเช็ดจำ�นวน 2 ตัว และ 1 ตัว ในช่วงเลี้ยงลูกของชะมดเช็ด พบพฤติกรรมการ กินอาหารของแม่ชะมดเช็ดมีความถี่ลดลงอย่างมีนัยสำ�คัญ (P < 0.05) แต่พฤติกรรมการพักผ่อนมีความถี่เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำ�คัญ (P < 0.05) เมื่อลูกมีอายุครบ 1 เดือน พฤติกรรมการให้นมลูกมีความถี่ลดลงอย่างมีนัยสำ�คัญ (P < 0.05) ซึ่งถือว่าเป็นช่วงหย่านมและลูกชะมดเช็ดสามารถกินอาหารได้เหมือนชะมดเช็ดตัวเต็มวัย ซึ่งสัมพันธ์กับ พฤติกรรมของลูกชะมดเช็ด ที่พฤติกรรมการดูดนมแม่และพฤติกรรมการพักผ่อนความถี่ลดลงอย่างมีนัยสำ�คัญ (P < 0.05) และพบพฤติกรรมการกินอาหารและพฤติกรรมการเคลื่อนที่มีความถี่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำ�คัญ (P < 0.05) จากการศึกษาพบว่าเมื่อทำ�การจับคู่ชะมดเช็ดให้นานขึ้น ชะมดเช็ดมีการผสมพันธุ์กันมากขึ้น เนื่องจากความ พร้อมและความอุดมสมบูรณ์ของชะมดเช็ดเพิ่มมากขึ้นจากการเพาะเลี้ยงหลังจากที่ถูกเลี้ยงเพื่อเช็ดไข ที่ทำ�ให้เกิด ความเสื่อมโทรมของร่างกายและความเครียด ปี 2553 (ตุลาคม 2552 - มิถุนายน 2553) เมื่อทำ�การศึกษามากขึ้น พบว่าชะมดเช็ดมีรอบการเป็นสัด 20-30 วัน ตั้งท้อง นาน 70-85 วัน พฤติกรรมใน ช่วงที่ตัวเมียตั้งท้องมีความแตกต่างกับช่วงปกติอย่างมีนัยสำ�คัญ (P < 0.05) จากการวิจัยใช้พ่อแม่พันธุ์จำ�นวน 7 คู่ และมีการผสมพันธุ์กันทั้ง 7 คู่ และพบว่ามีชะมดเช็ดจำ�นวน 5 ตัวสามารถตั้งท้องและให้ลูกรวมทั้งหมด 25 ตัว มีอัตราการรอดมากกว่าร้อยละ 50 โดยมีสาเหตุการตายตามปกติของลูกสัตว์ เช่น ร่างกายไม่สมบูรณ์ ป่วย และใน ปัจจุบันลูกชะมดจำ�นวน 5 ตัวมีอายุ 8-9 เดือน สามารถเช็ดไขได้ และลูกชะมดเช็ดอีก 13 ตัว มีสุขภาพแข็งแรง จากการศึกษาพบว่า รอบการเป็นสัดของชะมดเช็ดมีความไม่แน่นอน เช่นเดียวกับระยะเวลาการตั้งท้อง เนื่องจากความพร้อมและความอุดมสมบูรณ์ของแม่พันธุ์ ชะมดเช็ดหย่านมเมื่อลูกชะมดเช็ดมีอายุ 45-60 วัน และ เริ่มแสดงพฤติกรรมเช็ดไขเมื่ออายุ 3 เดือนแต่ยังไม่มีการผลิตไขได้ จนอายุครบ 7-8 เดือนจึงจะมีการผลิตไขได้ใน ปริมาณเล็กน้อย สรุป 1. ชะมดเช็ดมีพฤติกรรมแตกต่างกันในแต่ละตัว แต่ละช่วงเวลา 2. ในฤดูผสมพันธุ์พฤติกรรมมีความแตกต่างจากช่วงปกติ 3. ชะมดเช็ดตั้งท้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและพฤติกรรม 4. ชะมดเช็ดมีรอบการเป็นสัด 20-30 วัน 5. ชะมดเช็ดตั้งท้องนาน 70-85 วัน 6. ชะมดเช็ดหย่านมเมื่ออายุ 45-60 วัน 7. ชะมดเช็ดสามารถผลิตไขได้เมื่อมีอายุ 7-8 เดือน
57
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
เอกสารอ้างอิง [1] ไพร พรรณไม้หอม . คู่มือเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าให้ถูกกฎหมาย . กรุงเทพ: เคพีเอ็ม มีเดียสยาม. [2] สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์, 2545, การเพาะเลี้ยงชะมดเช็ด (Viverricula malacensis) [3] สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. 2551. ข้อมูลวิชาการเรื่องมดเช็ด จากโครงการศึกษาวิจัยสมุนไพร ชะมดเช็ด เพื่อประกาศให้เป็นสมุนไพรควบคุม. สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข [4] ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ. 2533. การศึกษาหาถิ่นหากินและกิจกรรมในรอบวันของสัตว์ในกลุ่มชะมดอีเห็น. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
58
Session VI : การอนุรักษ์เชิงนิเวศ
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
สวนสัตว์เชียงใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Chiangmai ECO – Living Zoo) เทวราช เวชมนัส
บทคัดย่อ การดำ�เนินกิจการสวนสัตว์สมัยใหม่ (modern zoo) ในขณะที่ทั่วโลกกำ�ลังตื่นตัวกับปัญหาภาวะโลกร้อน (global warming) ทำ�ให้สวนสัตว์หลายแห่งทั่วโลกได้มีการปรับแผนการดำ�เนินงานโดยการคำ�นึงถึงผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม สวนสัตว์เชียงใหม่ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย และ ตระหนักถึงความสำ�คัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการเพิ่มแนวความคิดของการดำ�เนินงานให้คำ�นึงถึง ผลกระทบต่อธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ลงไปในแผนผังหลักสวนสัตว์เชียงใหม่ 2553 – 2557 (Chiangmai Zoo Master Plan 2010-2015) เพื่อที่จะเป็นแหล่งความรู้และเป็นตัวอย่างหน่วยงานที่ใส่ใจต่อ ทรัพยากรธรรมชาติ และการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ตามแผน “สวนสัตว์เชียงใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” หรือ “Chiangmai ECO – Living Zoo” แนวทางการดำ�เนินงานเพื่อก้าวไปสู่ ความเป็น “สวนสัตว์เชียงใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” อาทิ เช่น การรักษา สภาพธรรมชาติของสวนสัตว์เชียงใหม่และฟื้นฟูสภาพป่าธรรมชาติให้คืนความอุดมสมบูรณ์ การสร้างฝายชะลอน้ำ� ตามแนวพระราชดำ�ริฯ เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับป่า การออกแบบส่วนแสดงสัตว์หรืออาคารสำ�นักงาน ให้มีการสำ�รวจ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อนการก่อสร้าง คำ�นึงถึงการประหยัดพลังงาน รักษาต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่ก่อสร้างและมีการ ออกแบบให้สามารถปลูกต้นไม้บนหลังคาได้ (green roof) การจัดระบบขนส่งในสวนสัตว์ เช่น รถไฟฟ้ารางเดี่ยว รถ บริการที่ใช้แกสเป็นเชื้อเพลิงซึ่งช่วยลดการใช้น้ำ�มันเชื้อเพลิงที่ปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อม การรักษาพันธุ์พืชท้อง ถิ่นในสวนสัตว์ การสำ�รวจความหลากหลายของพันธุ์พืช การเพาะขยายพันธุ์พืชเพื่อการอนุรักษ์ รวมถึงการศึกษา ถึงแมลงที่มีประโยชน์ต่อการแพร่ขยายพันธุ์พืช การกำ�จัดของเสียภายในสวนสัตว์ การนำ�มูลสัตว์ไปทำ�ปุ๋ย หรือ ผลิตภัณฑ์จากมูลสัตว์เช่น กระดาษจากมูลหมีแพนด้า การแยกประเภทขยะจากนักท่องเที่ยว ขยะสดทำ�ปุ๋ย ขวด พลาสติกและกระป๋องเข้ากระบวนการรีไซเคิล ขยะจากสำ�นักงาน เช่น กระดาษเข้ากระบวนการรีไซเคิล ขยะพวกถ่าน ไฟฉายหรือแบตเตอรี่ควรมีการแยกทิ้งเพื่อนำ�ไปกำ�จัดให้ถูกวิธี การใช้พลังงานทางเลือก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากแก๊สชีวภาพ ร้านค้าและบริการ ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายง่าย ส่งเสริมการจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ของที่ ระลึกที่มีกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเสริมความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และกิจกรรมลดภาวะโลกร้อนเข้าไปในโครงการนำ�นักเรียนเข้ามาเรียนรู้ในสวนสัตว์เพื่อเป็นการสร้างจิตสำ�นึกให้กับ เยาวชน รวมถึงการจัดกิจกรรมเผยแพร่บทบาทของสวนสัตว์ในด้าน “สวนสัตว์เชียงใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ความสำ�เร็จของ “สวนสัตว์เชียงใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้ง พนักงานและลูกจ้างของสวนสัตว์ทุกคนทั้งระดับปฏิบัติงานและบริหาร ทั้งร้านค้าและบริการภายในสวนสัตว์ ทั้ง นักเรียน นักศึกษาและนักท่องเที่ยว รวมทั้งการสนับสนุนจากทุกสวนและทุกส่วนภายในองค์การสวนสัตว์ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อทำ�ให้ แผนผังหลักสวนสัตว์เชียงใหม่ (Master Plan) ภายใต้แนวคิดหลัก “สวนสัตว์เชียงใหม่ใส่ใจ สิ่งแวดล้อม” บรรลุผล ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของสวนสัตว์เชียงใหม่ แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ขององค์การสวนสัตว์ ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “เป็นสถาบันสวนสัตว์เพื่อการอนุรักษ์ และให้บริการองค์ความรู้ด้านสัตว์ป่าระดับสากล”
สวนสัตว์เชียงใหม่ 100 ถนนห้วยแก้ว ตำ�บลสุเทพ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
60
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
คุณค่าเชิงอนุรักษ์ของหย่อมป่าขนาดเล็กที่มีต่อการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ : กรณีศึกษา วัดป่าทางภาค อีสานของประเทศไทย ศิริยะ ศรีพนมยม
บทคัดย่อ ป่าเขตร้อนทั่วโลกมีอัตราการลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เป็นสาเหตุหลักนำ�มาซึ่งการสูญเสียความ หลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วและรุนแรง หลายพื้นที่ถูกเหลือทิ้งไว้เพียงหย่อมป่าขนาดเล็ก ซึ่งล้อมรอบไป ด้วยพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอีกภูมิภาคหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการทำ�ลายป่าเขต ร้อนอย่างรุนแรง ในประเทศไทยก็เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็น พื้นที่เกษตรกรรม เกิดเป็นหย่อมป่าขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งแตกต่างกันตามรูปแบบของการจัดการและการ ถือครองกรรมสิทธิ์ เช่น ป่าหัวไร่ปลายนา ป่าชุมชน ป่าดอนปู่ตา และวัดป่า เป็นต้น การศึกษาศักยภาพของหย่อม ป่าขนาดเล็กที่มีต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเลือกศึกษาหย่อมป่าที่อยู่ในรูปแบบของวัดป่า ซึ่งมี จำ�นวนมากกว่า 500 วัดในภาคอีสาน ทำ�การสุ่มสำ�รวจทั้งหมด 50 วัด ดำ�เนินการศึกษาระหว่าง พฤศจิกายน 2552 - มีนาคม 2553 กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เลือกสำ�รวจเพื่อใช้เป็นตัวแทนของความหลากหลายทางชีวภาพ คือ นกและผีเสื้อ ทำ�การสำ�รวจแบบ point count สำ�หรับนก และแบบ line transect สำ�หรับผีเสื้อ โดยเปรียบเทียบระหว่างในวัด และบริเวณนอกวัดที่ห่างออกไป 100 – 1,000 เมตร จากผลการศึกษา พบว่า สภาพป่าภายในวัดมีทั้งป่าสมบูรณ์ ดั้งเดิมที่หลงเหลืออยู่และป่ารุ่นสองที่ถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ชนิดป่าประกอบ ไปด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และ ป่าเต็งรัง พื้นที่ภายนอกวัดส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น นาข้าว ไร่มัน สำ�ปะหลัง ไร่อ้อย สวนยูคาลิปตัส สวน ยางพารา และชุมชน ทั้งนกและผีเสื้อในวัดป่ามีจำ�นวนชนิดและความชุกชุมมากกว่านอกวัดป่าอย่างเห็นได้ชัด นกที่ พบในวัดมีจำ�นวนมากถึง 148 ชนิด แต่นอกวัดพบเพียง 79 ชนิด ผีเสื้อในวัดพบมากถึง 172 ชนิด แต่นอกวัดพบเพียง 57 ชนิดเท่านั้น นกหลายชนิดที่พบในวัดป่า เป็นชนิดที่มักพบในป่าธรรมชาติสมบูรณ์เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการพบ การ กระจายใหม่ของนกที่ไม่เคยมีรายงานการพบในภาคอีสานมาก่อนหลายชนิด ผีเสื้อหลายชนิดที่พบในวัดเป็นชนิด ที่ไม่สามารถพบได้ทั่วไปตามพื้นที่เปิดโล่งหรือพื้นที่เกษตรกรรม แต่เป็นชนิดที่พบได้ในป่าสมบูรณ์เท่านั้น บางชนิด เป็นชนิดพันธุ์ที่หายาก ขนาดพื้นที่ของวัดก็มีความสัมพันธ์กับจำ�นวนชนิดและความชุกชุมของนกและผีเสื้ออย่างมี นัยสำ�คัญเช่นกัน วัดที่ใหญ่ก็จะพบจำ�นวนชนิดและความชุกชุมมากกว่า สัตว์ชนิดอื่นที่พบในวัดแต่ไม่พบนอกวัดนอก เหนือจากนกและผีเสื้อแล้ว เช่น ตุ่น ตะกวด แย้ พังพอน ชะมด อีเห็น บ่าง หมูป่า กระจง ลิงวอก และกระรอกหลาก สี เป็นต้น ขณะนี้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทางสถิติยังอยู่ในระหว่างการดำ�เนินการ ซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์จะทำ�การตี พิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติต่อไป จากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า หย่อมป่าขนาดเล็กที่มีการจัดการ อย่างดี เช่น กรณีของวัดป่าที่สามารถช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพไว้ได้อย่างดีเยี่ยม และบางวัดที่มีการ ฟื้นฟูป่าขึ้นมาใหม่ช่วยดึงดูดให้สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ กลับเข้ามาอาศัยในพื้นที่นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี หากทำ�การศึกษาต่อ ไปเชิงลึกในสิ่งมีชีวิตทุกกลุ่ม ทั้งสัตว์และพืช โดยเฉพาะพืชสมุนไพร และศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง หย่อมป่าขนาด เล็กทุกประเภทไม่ใช่แค่วัดป่าเท่านั้น เราอาจจะพบแนวทางการช่วยอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในรูปแบบ ใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขของวัฒธรรมท้องถิ่น และเป็นการอนุรักษ์ในพื้นที่ที่การ จัดการเขตอนุรักษ์ตามกฎหมายไม่สามารถจะทำ�ได้ จากหย่อมป่าเล็กๆแต่มีจำ�นวนมากเป็นโครงข่าย ในที่สุดจะก่อให้ เกิดการรวบรวมแหล่งพันธุกรรมของความหลากหลายทางชีวภาพในระดับภูมิศาสตร์ ได้เช่นกัน
คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
61
ผลงานวิจัยนำ�เสนอแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การจัดการด้านอาหารสำ�หรับสัตว์ผู้ล่าบางชนิดในกรงเลี้ยง นันทนิจ กุลเจริญ1 ยงชัย อุตระ1 ณัฐญา ทั่วประโคน1 พรรณราย รัตตะรมย์1 สุทัศน์ สุทธิวงศ์2 สุภาพรรณ รุจิรัตน์3 นันทกานต์ พงศ์สุพัฒน์4
บทนำ� โดยทั่วไปสัตว์ป่าที่เลี้ยงในสวนสัตว์แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทิน โดยที่สัตว์แต่ละชนิด มีสภาพการดำ�รงชีวิต และความต้องการอาหารที่แตกต่างกันไป การจัดการ ด้านอาหารจึงเป็นปัจจัยสำ�คัญประการหนึ่งในการจัดการสัตว์ป่าในสภาพการเพาะเลี้ยง เนื่องจากการให้อาหารมี ข้อจำ�กัดในด้านความหลากหลายของชนิดอาหาร สัตว์อาจได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม ทำ�ให้มีปัญหาทุพโภชนาการ และอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะสัตว์ผู้ล่าหรือสัตว์ที่ล่าสัตว์อื่นเพื่อกินเนื้อเป็นหลัก จะมีความต้องการ อาหารที่มีโปรตีนและพลังงานสูง อาหารหลักของสัตว์ผู้ล่าส่วนใหญ่จึงเป็นอาหารประเภทโปรตีนซึ่งมีอัตราการ 1 ย่อยได้สูง ใช้เวลาในการเคลื่อนที่ผ่านทางเดินอาหารน้อย อีกทั้งยังต้องมีความสมดุลของแร่ธาตุสำ�คัญ นั่นคือ อัตราส่วนของธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส ต้องมีความเหมาะสมต่อความต้องการของสัตว์ในแต่ละช่วงวัย เพื่อ ป้องกันปัญหาด้านกระดูกและสรีรวิทยาโดยรวมของสัตว์ นอกจากนี้ อาหารที่มีไขมันสูงเกินไป จะทำ�ให้เกิดปัญหา โรคอ้วนในสัตว์ อีกทั้งอาหารประเภทเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่มาจากแหล่งการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็จะมีความ เสี่ยงสูงในการเกิดโรคติดต่อของสัตว์ได้ เช่น การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค การติดเชื้อไข้หวัดนกในอาหาร ที่ได้จากสัตว์ปีก เป็นต้น นอกจากนี้ การให้อาหารแก่สัตว์ป่าโดยจัดรายการอาหารและรูปแบบการให้แบบเดิมๆ จะไม่สามารถกระตุ้นให้ สัตว์ผู้ล่าได้แสดงพฤติกรรมในการดำ�รงชีวิตที่แท้จริงได้ และทำ�ให้ขาดความน่าสนใจในการจัดแสดงสัตว์ป่าในสภาพ การเพาะเลี้ยง การปรับปรุงคุณภาพอาหาร การให้อาหารที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะการจัดการอาหารที่มีความ สมบูรณ์ของโภชนะตรงตามความต้องการของสัตว์ชนิดนั้นๆ และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้อาหารจึงเป็นวิธี การที่จะช่วยทำ�ให้สัตว์ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆตามธรรมชาติ ดังนั้น การศึกษาการจัดการด้านอาหารสำ�หรับสัตว์ ผู้ล่าบางชนิดในกรงเลี้ยง ก็จะเป็นประโยชน์ในการจัดการด้านสัตว์ป่าในสภาพการเพาะเลี้ยง เพื่อช่วยในการอนุรักษ์ และเพาะขยายพันธุ์สัตว์ผู้ล่าชนิดต่างๆ ต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาถึงความชอบและชนิดของอาหารที่เหมาะสมสำ�หรับการเลี้ยงสัตว์ผู้ล่าบางชนิดในสภาพการเพาะ เลี้ยง 2. เพื่อศึกษาถึงการย่อยได้ของโภชนะบางชนิดของสัตว์ผู้ล่าบางชนิดในสภาพการเพาะเลี้ยง 3. เพื่อศึกษาถึงปริมาณโภชนะที่เหมาะสมสำ�หรับสัตว์ผู้ล่าบางชนิดในสภาพการเพาะเลี้ยง
1
ฝ่ายบำ�รุงสัตว์ สวนสัตว์ดุสิต กรุงเทพฯ 10300 ฝ่ายบริการและพัฒนาสวนสัตว์ สวนสัตว์ดุสิต กรุงเทพฯ 10300 3 ฝ่ายให้การศึกษา สวนสัตว์ดุสิต กรุงเทพฯ 10300 4 ฝ่ายอนุรักษ์และวิจัย สวนสัตว์ดุสิต กรุงเทพฯ 10300 2
63
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
ขั้นตอนและวิธีในการวิจัย ในการดำ�เนินงานวิจัย แยกการเก็บข้อมูลในสัตว์แต่ละชนิดและมีปัจจัยด้านอาหาร ระยะการเจริญเติบโต เพศ และสภาพแวดล้อมในกรงเลี้ยงเป็นข้อกำ�หนดในการทดลอง ซึ่งได้กำ�หนดวิธีการวิจัยดังนี้ 1) สำ�รวจชนิดและจำ�นวนสัตว์ที่เป็นสัตว์ผู้ล่าทั้งหมดในสวนสัตว์ดุสิต 2) คัดเลือกชนิดสัตว์ที่เหมาะสมในการทดลอง แบ่งเป็นวงศ์และชนิด โดยบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวสัตว์ ได้แก่ เพศ น้ำ�หนักตัว อายุ ระยะการเจริญเติบโตหรือให้ผลผลิต และสภาพการเลี้ยง 3) เตรียมสถานที่เก็บข้อมูล ได้แก่ กรงเก็บข้อมูล ที่จัดวางภาชนะให้อาหาร 4) เตรียมสัตว์ทดลอง เช่น การถ่ายพยาธิ การย้ายสัตว์เข้ากรงทดลองหรือเก็บข้อมูล 5) มีช่วงระยะปรับตัวของสัตว์ทดลอง (Preliminary period) กับอาหารและวิธีการให้อาหารประมาณ 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดสัตว์ 6) โดยอาหารที่ให้ จัดเป็นกลุ่มได้ดังนี้ • กลุ่มผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น กล้วยน้ำ�ว้า มะละกอ องุ่น ฯลฯ • กลุ่มอาหารโปรตีนชนิดต่างๆ เช่น เนื้อหมู ไก่ต้ม ไข่ต้ม ปลาทู ปลาข้างเหลือง ฯลฯ • กลุ่มอาหารที่เป็นเหยื่อที่มีชีวิต เช่น หนูขาว หนอนนก จิ้งหรีด ฯลฯ 7) บันทึกข้อมูลต่างๆ ได้แก่ น้ำ�หนักตัวสัตว์ก่อนทดลองและหลังทดลอง ชนิดของอาหารที่สัตว์ชอบกินจาก ลำ�ดับการเลือกกินก่อน –หลัง น้ำ�หนักอาหารแต่ละชนิดที่ให้และน้ำ�หนักที่เหลือ 8) ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล • บันทึกข้อมูลปริมาณการกินได้ของสัตว์แต่ละชนิดอย่างน้อย 30 วัน นำ�ข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์หาค่าต่างๆ ดังนี้ 1) หาชนิดของอาหารที่สัตว์ชอบกินจากลำ�ดับการเลือกกินก่อน – หลัง และจากปริมาณอาหารที่สัตว์กินได้ 2) นำ�ตัวอย่างอาหารที่ให้สัตว์กินไปวิเคราะห์หาคุณค่าทางโภชนะจากองค์ประกอบทางเคมี 3) หาปริมาณอาหารที่กินได้จาก ปริมาณอาหารที่กินได้ = น้ำ�หนักอาหารที่ให้ – น้ำ�หนักอาหารที่เหลือ 4) คุณค่าทางโภชนะต่างๆ ที่สัตว์ได้รับ คำ�นวณได้จากสูตร ดังนี้ ปริมาณโภชนะที่ได้รับ = (%โภชนะชนิดนั้นๆในวัตถุดิบ x ปริมาณอาหารที่กินต่อตัวต่อวัน) 100 สรุปผลการวิจัย จากการเก็บข้อมูลวิจัย รวม 3 ปี โดยทำ�การศึกษาวิจัยในสัตว์ผู้ล่าทั้งหมด 3 กลุ่ม คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 5 วงศ์ 10 ชนิด จำ�นวน 38 ตัว สัตว์ปีก 6 วงศ์ รวม 19 ชนิด จำ�นวน 298 ตัว และสัตว์เลื้อยคลาน 1 ชนิด จำ�นวน 16 ตัว สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้ง 5 วงศ์ จำ�นวน 10 ชนิด รวม 38 ตัว ได้ผลการวิจัย ดังนี้ วงศ์เพียงพอน (Family Mustelidae) เก็บข้อมูลวิจัย 2 ชนิด จำ�นวน 2 ตัว คือ นากใหญ่ขนเรียบและนาก เล็กเล็บสั้น มีปริมาณการกินอาหารเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 16.9 และ 13.2 ของน้ำ�หนักตัว ตามลำ�ดับ โดยมีอัตราส่วน ระหว่างแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสเฉลี่ยอยู่ที่ 2 : 1 วงศ์ชะมด (Family Viveridae) เก็บข้อมูลวิจัย 2 ชนิด คือ อีเห็นธรรมดา จำ�นวน 10 ตัว และหมีขอ จำ�นวน 2 ตัว ลำ�ดับความชอบในการเลือกกินอาหารของสัตว์ทั้ง 2 ชนิด พบว่าเลือกกินผลไม้ เป็นอันดับต้นๆ ส่วนอาหาร กลุ่มเนื้อสัตว์เลือกกินเป็นอันดับรองลงมา โดยหมีขอได้รับปริมาณโปรตีนมากกว่าอีเห็นธรรมดาเมื่อเทียบกับหน่วย น้ำ�หนักตัว และโดยมีอัตราส่วนระหว่างแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสเฉลี่ยอยู่ที่ 1 : 1
64
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
วงศ์หมาป่า (Family Canidae) เก็บข้อมูลวิจัย 1 ชนิด คือ สุนัขจิ้งจอก จำ�นวน 3 ตัว มีปริมาณการกินอาหาร เฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 3.5 ของน้ำ�หนักตัว โดยเลือกกินไก่ต้มเป็นลำ�ดับแรก พลังงานรวมที่ได้รับเท่ากับ 734.50 กิโล แคลอรีต่อตัวต่อวัน โปรตีนร้อยละ 19.5 ไขมันร้อยละ 8.6 ของวัตถุแห้ง อัตราส่วนระหว่างแคลเซียมต่อฟอสฟอรัส ที่ได้รับเท่ากับ 1.3 ต่อ 1 วงศ์แมวป่า (Family Felidae) เก็บข้อมูลวิจัย 3 ชนิด คือ แมวดาว จำ�นวน 4 ตัว เสือโคร่ง จำ�นวน 7 ตัว และ เสือดาว-เสือดำ� จำ�นวน 4 ตัว โดยมีปริมาณการกินอาหารเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 5.3, 4.1 และ 5.9 ของน้ำ�หนักตัว ตามลำ�ดับ มีอัตราส่วนระหว่างแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสอยู่ที่ระดับ 2.3 : 1, 1.1 : 1 และ 1.3 : 1 ตามลำ�ดับ วงศ์หมี (Family Ursidae) เก็บข้อมูลวิจัย 2 ชนิด คือ หมีหมา จำ�นวน 3 ตัว และหมีควาย จำ�นวน 3 ตัว โดย มีปริมาณการกินอาหารเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 2.7 และ1.4 ของน้ำ�หนักตัว ตามลำ�ดับ มีอัตราส่วนระหว่างแคลเซียม ต่อฟอสฟอรัสอยู่ที่ 1.7 : 1 และ 1.5 : 1 ตามลำ�ดับ ส่วนลำ�ดับความชอบในการเลือกกินอาหาร พบว่า หมีหมา เลือก กินผลไม้เป็นลำ�ดับแรก แล้วจึงตามด้วยกลุ่มของอาหารโปรตีน ขณะที่หมีควาย เลือกกินอาหารโปรตีนเป็นลำ�ดับแรก แล้วจึงตามด้วยผลไม้ชนิดต่างๆ สัตว์ปีก เก็บข้อมูลรวมทั้งสิ้น 6 วงศ์ จำ�นวน19 ชนิด รวม 298 ตัว ได้ผลการวิจัย ดังนี้ วงศ์เหยี่ยว (Family Accipitridae) เก็บข้อมูล 7 ชนิด คือ เหยี่ยวแดง เหยี่ยวดำ� พญาแร้ง เหยี่ยวดำ�ท้องขาว เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา เหยี่ยวรุ้ง และนกออก รวม 24 ตัว พบว่าเหยี่ยวแต่ละชนิดมีปริมาณอาหารที่กินต่อน้ำ�หนัก ตัวแตกต่างกันค่อนข้างมาก คือ เหยี่ยวแดง 13.1 เหยี่ยวแดงที่เลี้ยงรวมฝูง 9.6 เหยี่ยวดำ� 12.2 เหยี่ยวดำ�ที่เลี้ยงรวม ฝูง 8.3 พญาแร้ง 2.9 เหยี่ยวดำ�ท้องขาว 6.0 เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา 4.1 เหยี่ยวรุ้ง 2.5 และนกออก 6.9 มีอัตราส่วน ระหว่างแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.4 : 1 นกน้ำ� เก็บข้อมูลวิจัยในกรงนกน้ำ� ซึ่งเลี้ยงแบบปล่อยรวมเป็นฝูงขนาดใหญ่ มีนกน้ำ�รวม 4 วงศ์ คือ วงศ์นก ยาง (Family Ardeidae) วงศ์นกช้อนหอย (Family Threskiornithidae) วงศ์นกกระทุง (Family Pelecanidae) วงศ์นกกระสา (Family Ciconiidae) รวม 11 ชนิด จำ�นวน 264 ตัว พบว่า นกน้ำ�กินปลาข้างเหลืองโดยปริมาณ อาหารที่กินเฉลี่ยต่อน้ำ�หนักรวมของนกทั้งฝูงคิดเป็นร้อยละ 11.6 ต่อน้ำ�หนักตัว วงศ์นกเพนกวิน (Family Sphenisciformes) เก็บข้อมูลเพียง 1 ชนิด คือ นกเพนกวินฮัมโบลท์ รวม 10 ตัว โดยให้ปลาทูเป็นอาหารหลัก พบว่านกเพนกวินทั้งฝูงมีน้ำ�หนักปลาทูที่กินต่อน้ำ�หนักตัวเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 15.7 พ่อและแม่นกเพนกวินที่อยู่ในช่วงเลี้ยงลูกจะมีกินอาหารเพิ่มขึ้นเป็นน้ำ�หนักอาหารที่กินต่อน้ำ�หนักตัวเฉลี่ย 19.2 และ 20.5 ในพ่อและแม่นกตามลำ�ดับ อัตราส่วนระหว่างแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.8 : 1 และเนื่องจากปลา ทูที่ผ่านการแช่แข็งมานานจะมีการสูญเสียวิตามินและแร่ธาตุ ดังนั้น จึงต้องมีการเสริมให้แก่นกเพนกวิน2 โดยเสริม วิตามินอี 400 IU วิตามินบีรวม ขนาด 100 มก. และน้ำ�มันตับปลา ขนาด 50 มก. ชนิดละ 1 เม็ดต่อตัว ยัดเข้าไป ในท้องปลาทูผ่านทางเหงือก สัปดาห์ละ 3 ครั้ง และมีการเสริมแร่ธาตุที่จำ�เป็น ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ โดยใช้เกลือ สมุทร 10 กรัม ละลายน้ำ� 1 ลิตร แช่ปลาทูประมาณ 10 นาที ก่อนนำ�ไปให้สัตว์ สัตว์เลื้อยคลาน มี 1 วงศ์ จำ�นวน 1 ชนิด รวม 16 ตัว สรุปผลการวิจัย ดังนี้ วงศ์งูหลาม (Family Pythonidae) เก็บข้อมูลวิจัย 1 ชนิด คือ งูหลามทอง ตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 1 ปี จำ�นวน 16 ตัว มีลูกงูหลามทองที่กินอาหารได้เอง 10 ตัว และต้องป้อนอาหารให้ 6 ตัว พบว่า งูหลามทองที่กินอาหารเอง ได้ มีปริมาณการกินอาหาร และอัตราการเจริญเติบโตที่สูงกว่ากลุ่มที่ต้องป้อนอาหารอย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยตลอดระยะเวลาที่ทำ�การเก็บข้อมูลมีร้อยละของน้ำ�หนักอาหารที่กินต่อน้ำ�หนักตัว เฉลี่ย 16.2 และ 11.0 ตามลำ�ดับ ข้อเสนอแนะ 1. ในการเก็บข้อมูลการวิจัยควรเพิ่มจำ�นวนสัตว์ทดลองให้ได้มาก เพื่อจะได้ลดความแปรปรวนและความคลาด เคลื่อน อันเนื่องมาจากจำ�นวนซ้ำ�ของสัตว์ทดลองที่น้อยเกินไป โดยอาจจะประสานความร่วมมือกับสวนสัตว์ต่างๆ ใน
65
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
สังกัดขององค์การสวนสัตว์ และหน่วยงานภายนอกตามความเหมาะสม 2. ควรเพิ่มระยะเวลาในการเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้ค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่ดี และเก็บข้อมูลได้ละเอียดขึ้น โดยอาจจะ เน้นไปที่สัตว์เพียงชนิดเดียว หรือวงศ์เดียว 3. ในการจัดทำ�อาหารเสริมให้สัตว์ผู้ล่านั้น ก็เพื่อการปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่ให้ตามปกติ และเพื่อทดแทนอาหารที่เป็นสัตว์เหยื่อที่มีชีวิต ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ตามความต้องการ 4. ควรเพิ่มความหลากหลายของอาหารเสริม และศึกษาวิธีการและระยะเวลาในการเก็บรักษาอาหารเสริม เพื่อให้สัตว์ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมต่อประเภทของสัตว์ผู้ล่าแต่ละชนิด เอกสารอ้างอิง [1] Allen, M.E., Oftedal, O.T. and Bear, D.J. 1996. The Feeding and Nutrition of carnivore. In Wild Mammals in captivity principles and Techniques. The University of Chicago Press, Chicago. P. 139-145. [2] Crissey, S.D., Slifka, K.A. and Mcgill, P. 2005. Penguin: nutrition and dietary husbandry. In Penguin husbandry manual. 3 th Edition. American zoo and aquarium association. P. 65-85.
66
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การเปรียบเทียบส่วนแสดงของสัตว์กลุ่มกีบเท้าคู่ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ในสวนสัตว์ 5 แห่งขององค์การ สวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิชิต กองคำ� ภาสกร อรสูญ ธสานนท์ ดุลยติธรรม วชิราดล แผลงปัญญา
บทนำ� องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชปถัมภ์มีส่วนงานทั้งหมด 16 หน่วยงาน มีสวนสัตว์ที่ได้เปิดทำ�การอย่าง เต็มรูปแบบแล้วจำ�นวน 5 แห่งคือ สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา และสวนสัตว์สงขลา ซึ่งปรัชญาการทำ�งานของสวนสัตว์ในยุคปัจจุบัน คือ 1. การพักผ่อนหย่อนใจและความบันเทิง 2. การศึกษา 3. งานด้านการอนุรักษ์ 4. งานวิจัย การบริหารงานสวนสัตว์จำ�เป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ในหลาย ด้านและใช้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานรวมกับหลักวิชาที่เป็นเนื้อหาพื้นฐานในวิชานั้นๆ เช่น การออกแบบส่วน แสดงสัตว์ ซึ่งส่วนแสดงสัตว์ในสวนสัตว์จะเป็นส่วนสำ�คัญอันหนึ่งที่จะให้ปรัชญาทั้ง 4 ข้อประสบความสำ�เร็จ โดย ส่วนแสดงสัตว์จะเป็นปัจจัยสำ�คัญในการสื่อสารเพื่อให้ผู้เที่ยวชมเกิดประทับใจและเข้าใจในเนื้อหาทางชีววิทยาของ สัตว์ป่าที่นำ�มาจัดแสดง เกิดเป็นภาพที่ติดไปในความทรงจำ�ของผู้เข้ามาเที่ยวชม แต่การตอบสนองของส่วนแสดง สัตว์ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของผู้เที่ยวชมเท่านั้น ยังต้องตอบสนองสัตว์ที่อยู่ในพื้นที่ที่เปรียบเสมือนเป็นตัว แสดงในส่วนแสดง ผู้เลี้ยงสัตว์ที่รับผิดชอบสัตว์ ดูแลพื้นที่ให้สวยงามและสะอาดเป็นระเบียบ รวมถึงสัตวแพทย์ผู้ เข้าร่วมในการจัดการสัตว์ในส่วนแสดงสัตว์ด้วย องค์การสวนสัตว์ ฯ มีการก่อสร้างส่วนแสดงใหม่และมีการปรับปรุง ส่วนแสดงที่ใช้งานแล้วอย่างต่อเนื่องทุกปีงบประมาณ พบว่าในกระบวนการเขียนแบบไม่มีการศึกษาทบทวนส่วน แสดงสัตว์ในสวนสัตว์ที่ได้มีการใช้งานแล้ว คือมีการนำ�สัตว์เข้ามาจัดแสดงและเปิดให้ผู้เที่ยวชมได้ชมสัตว์ที่อยู่ใน ส่วนแสดงแห่งนั้นๆ เนื่องจากขาดผู้ศึกษาส่วนแสดงสัตว์อย่างเป็นระบบโดยใช้กระบวนการวิจัยมาใช้ในการเก็บ ข้อมูล เพื่อหาข้อสรุปข้อดีและข้อที่ต้องปรับปรุงของส่วนแสดง จากข้อเท็จจริงดังกล่าวทางคณะผู้วิจัยจึงได้ทำ�การ ศึกษาส่วนแสดงในกลุ่มสัตว์กีบเท้าคู่ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยในสวนสัตว์ 5 แห่งขององค์การสวนสัตว์ วิธีการศึกษา 1. ศึกษาส่วนแสดงในกลุ่มสัตว์กีบเท้าคู่ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยในสวนสัตว์ 5 แห่งขององค์การสวนสัตว์ ฯ คือ สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา และสวนสัตว์สงขลา ในส่วน แสดงของ เก้งธรรมดา เก้งหม้อ เนื้อทราย ละมั่งพันธุ์ไทย ละมั่งพันธุ์พม่า เลียงผา วัวแดง และกระทิง โดยการ เก็บข้อมูลทางกายภาพและจากแบบสอบถาม 2. การศึกษาจากแบบสอบถามศึกษาใน 3 หัวข้อด้วยกัน คือ ส่วนแสดงสัตว์สามารถตอบสนองความ ต้องการของผู้เลี้ยงและสัตวแพทย์ได้มากน้อยเพียงใดโดยตั้งคำ�ถามจำ�นวน 22 ข้อ และ 9 ข้อตามลำ�ดับ โดยแบ่ง ระดับคะแนนเป็น 2 ระดับคือ 1 คะแนนไม่เหมาะสม 2 คะแนนเหมาะสม และส่วนแบบสอบถามในหัวข้อส่วน แสดงสัตว์สามารถตอบสนองความต้องการของกับผู้เที่ยวชมจำ�นวน 12 ข้อโดยแบ่งระดับคะแนนเป็น 3 ระดับ คือ 1 คะแนนต้องปรับปรุง 2 คะแนนพอใช้ 3 คะแนนดี นำ�แบบสอบถามที่ได้ทั้งหมดมาจัดระเบียบและตรวจ สอบเบื้องต้น โดยดูความถูกต้องสมบูรณ์ของการตอบ ด้วยโปรแกรม SPSS (Statistical Package for Social Science) for windows version 15.0 โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สวนสัตว์นครราชสีมา องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต. ไชยมงคล อ. เมือง จ. นครราชสีมา 30000
67
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
3. การศึกษาลักษณะทางกายภาพของส่วนแสดง 3.1 อุปกรณ์ 1. แบบฟอร์มในการเก็บข้อมูล 4 แบบฟอร์ม 2. กล้องถ่ายรูป 3. ขาตั้งกล้อง 4. เทปวัดระยะ 5 เครื่องวัดแสง 6. เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ 7. เครื่องวัดความชื้นและความเป็นกรดด่างของดิน 3.2 แบบฟอร์มที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีด้วยกัน 4 แบบฟอร์ม คือ • แบบฟอร์มสำ�หรับเก็บข้อมูลทางกายภาพของส่วนแสดงสัตว์ • แบบบันทึกความถี่ของการแสดงพฤติกรรมของสัตว์ในส่วนแสดงสัตว์ • แบบบันทึกการใช้เวลาในพื้นที่ชมสัตว์ของผู้เที่ยวชม • แบบฟอร์มเปรียบเทียบส่วนแสดง 3.3 แบบฟอร์มที่ 1 สำ�หรับเก็บข้อมูลทางกายภาพของส่วนแสดงสัตว์ เป็นแบบฟอร์มที่ใช้เป็นต้นแบบ สำ�หรับการเก็บข้อมูลและนำ�เสนอข้อมูลของแต่ละส่วแสดงที่ทำ�การเข้าไปเก็บข้อมูลโดยข้อมูลแบ่งเป็นทั้งหมด 7 ข้อดังนี้ 3.3.1. พื้นที่แสดงสัตว์ - ตำ�แหน่งของส่วนแสดงเมื่อมองจากแผนที่รวมของสวนสัตว์ - ภาพลายเส้นของส่วนแสดงสัตว์เมื่อมองจากภาพมุมสูง - พื้นที่ส่วนแสดงสัตว์ เพื่อแสดงขนาดของพื้นที่แสดงสัตว์ พื้นที่คอกกัก พื้นที่ชมสัตว์และ เปรียบเทียบพื้นที่ทั้ง 3 ส่วน - ความชันของพื้นที่ ดูลักษณะความลาดชันในลักษณะลาดชันลงจากทิศสู่ทิศ จากภาพ - จำ�นวนสัตว์ เพื่อแสดงความหนาแน่นของสัตว์ที่อยู่ในพื้นที่ - ภาพถ่ายมุมกว้างเมื่อมองจากพื้นที่ชมสัตว์ วัสดุที่ใช้ในพื้นที่แสดงสัตว์ เพื่อประมวลให้เห็นภาพถ้าแบ่งพื้นที่ส่วนแสดงเป็น 3 ส่วน คือพื้นที่พื้นดิน พื้นที่ด้านข้าง พื้นที่เหนือศรีษะ - ลักษณะของแนวแบ่งพื้นที่ระหว่างสัตว์และผู้เที่ยวชม - ตัวชี้วัดของสิ่งแวดล้อม (Environmental parameters) - ร่มเงาที่เกิดจากสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ที่มีในส่วนแสดง - อุปกรณ์ที่ช่วยในการเพิ่มกิจกรรมของสัตว์ในส่วนแสดง - ที่วางอาหาร ภาชนะใส่น้ำ� 3.3.2. พื้นที่โดยรอบทั้ง 4 ด้าน 3.3.3. คอกกัก 3.3.4. พื้นที่ชมสัตว์ 3.3.5. พฤติกรรมของสัตว์ในส่วนแสดง 3.3.6. พฤติกรรมของผู้เที่ยวชมส่วนแสดง 3.3.7. ความต้องการของสัตว์ 4. นำ�ข้อมูลของส่วนแสดงที่เป็นชนิดสัตว์เดียวกันมาเปรียบเทียบกันในแบบฟอร์มที่ 4 แบบฟอร์มเปรียบ เทียบส่วนแสดง 5. ทำ�การเขียนรูปเล่มตามรูปแบบของงานวิจัย
68
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
ผลการศึกษา องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีการก่อสร้างส่วนแสดงใหม่และมีการปรับปรุงส่วนแสดงที่ใช้งาน แล้วอย่างต่อเนื่องทุกปีงบประมาณ พบว่าในกระบวนการเขียนแบบไม่มีการศึกษาทบทวนส่วนแสดงสัตว์ในสวน สัตว์ที่ได้มีการใช้งานแล้วคือมีการนำ�สัตว์เข้ามาจัดแสดงและเปิดให้ผู้เที่ยวชมได้ชมสัตว์ที่อยู่ในส่วนแสดงแห่งนั้นๆ เนื่องจากขาดผู้ศึกษาส่วนแสดงสัตว์อย่างเป็นระบบโดยใช้กระบวนการวิจัยมาใช้ในการเก็บข้อมูล เพื่อหาข้อสรุป ข้อดีและข้อที่ต้องปรับปรุงของส่วนแสดง จากข้อเท็จจริงดังกล่าวทางคณะผู้วิจัยจึงได้ทำ�การศึกษาส่วนแสดงใน กลุ่มสัตว์กีบเท้าคู่ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยในสวนสัตว์ 5 แห่งขององค์การสวนสัตว์ฯ คือ สวนสัตว์ดุสิต สวน สัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา และสวนสัตว์สงขลา ในส่วนแสดงของเก้งธรรมดา เก้ง หม้อ เนื้อทราย ละมั่งพันธุ์ไทย ละมั่งพันธุ์พม่า เลียงผา วัวแดง และกระทิง โดยการเก็บข้อมูลทางกายภาพ และจากแบบสอบถามในหัวข้อส่วนแสดงสัตว์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เลี้ยงและสัตวแพทย์ได้มากน้อย เพียงใดโดยตั้งคำ�ถามจำ�นวน 22 ข้อและ 9 ข้อตามลำ�ดับ โดยแบ่งระดับคะแนนเป็น 2 ระดับคือ 1 คะแนนไม่ เหมาะสม 2 คะแนนเหมาะสม และส่วนแบบสอบถามในหัวข้อส่วนแสดงสัตว์สามารถตอบสนองความต้องการของ กับผู้เที่ยวชมจำ�นวน 12 ข้อโดยแบ่งระดับคะแนนเป็น 3 ระดับคือ 1 คะแนนต้องปรับปรุง 2 คะแนนพอใช้ 3 คะแนนดี ผลจากแบบสอบถามของผู้เลี้ยงสัตว์ สัตวแพทย์และผู้เที่ยวชมจำ�นวน 74, 21 และ 535 ตัวอย่างตาม ลำ�ดับ ระดับของคะแนนเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเรียงตามลำ�ดับดังนี้ 1.57 ± 0.492, 1.34 ± 0.467, 2.26 ± 0.513 ซึ่งแสดงว่าส่วนแสดงสัตว์ในกลุ่มสัตว์กีบเท้าคู่ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยในสวนสัตว์ 5 แห่งขององค์การ สวนสัตว์ฯ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั้ง 3 กลุ่มอยู่ในเกณฑ์ดี จากการเก็บข้อมูลทางกายภาพได้ ข้อเปรียบเทียบดังนี้ สวนสัตว์ดุสิต ส่วนแสดงเลียงผามีจุดชมสัตว์รวม 3 พื้นที่คือด้านหน้าพื้นที่แสดงสัตว์ โดมชมสัตว์ด้านบน และด้านล่างซึ่งผู้ออกแแบบมีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มมุมมองมากกว่ามุมมองจากด้านหน้าเพียงพื้นที่เดียวและส่วนของ หน้าผาเทียมสามารถสื่อถึงลักษณะของถิ่นที่อยู่ของสัตว์ได้ ส่วนแสดงเก้งธรรมดาแนวกันสัตว์แบบคูน้ำ� (กว้าง x ยาว x ลึก) 3.50 x 13.75 x 1 เมตร ขนาดของพื้นที่แสดงสัตว์ (กว้าง x ยาว) 7.50 x 13.75 เมตรและขนาดของ พื้นที่เฉลี่ยต่อตัวในพื้นที่แสดงสัตว์ 25.8 ตารางเมตร/ตัว ทำ�ให้ผู้เที่ยวชมเห็นสัตว์ได้อย่างชัดเจน ส่วนแสดงละมั่ง พันธุ์ไทยเป็นส่วนแสดงที่มีการเลือกใช้วัสดุที่เป็นธรรมชาติคือ เพิงร่มเงาที่สร้างจากไม้ยูคาและมุงด้วยหญ้าแฟก แนวกันสัตว์ด้านข้างที่มีการผสมผสานกันระหว่างเป็นรั้วคอนกรีตปั้นเลียนแบบลำ�ต้นและกิ่งก้านของต้นไม้ ตาข่าย และปลูกต้นไผ่ พลูด่างที่ขึ้นเจริญจนแน่นซึ่งเมื่อมองมาจากพื้นที่ชมสัตว์จะมองเห็นเป็นกำ�แพงต้นไม้สีเขียว สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ส่วนแสดงละมั่งพันธุ์พม่าเป็นส่วนแสดงที่แยกเอาเฉพาะละมั่งเพศเมียอยู่ในพื้นที่ แสดงสัตว์และให้ละมั่งเพศผู้อยู่ในคอกกัก เพื่อให้ผู้เที่ยวชมสามารถเข้าใกล้ชิดสัตว์ได้โดยไม่เกิดอันตราย ซึ่งเป็นที่ ชื่นชอบของผู้เที่ยวชมโดยมีการเที่ยวชมแบบเดินลงชมใช้เวลาเฉลี่ย 180 วินาที และใช้แนวกันสัตว์แบบสะพานท่อ เหล็ก (cattle grid) เพื่อให้รถของผู้เที่ยวชมขับผ่านเข้าไปภายในพื้นที่แสดงสัตว์ได้ ส่วนแสดงวัวแดงและส่วนแสดง กระทิงแนวกันสัตว์แบบคูแห้งที่ใช้วัสดุคอนกรีต ความกว้างของปากคูแห้ง 4.70 เมตร ความกว้างของก้นคู 2.30 เมตร ลึก 2.10 เมตร ทำ�ให้ผู้เที่ยวชมสามารถชมกระทิงและวัวแดงได้จากรถยนต์ส่วนตัวและรถพ่วงโดยไม่มีสิ่ง บดบังสายตา ผู้เที่ยวชมบนพื้นที่ชมสัตว์แบบทางเดินเท้าสามารถมองเห็นตัวสัตว์ได้อย่างใกล้ชิด ส่วนแสดงกวาง เอเชียเป็นส่วนแสดงในพื้นที่ใกล้เนินเขาที่มีการพังทลายของดินสูง มีการสร้างกำ�แพงสูง กำ�แพงกันดินพังและมี การนำ�ก้อนหินขนาดใหญ่หลายขนาดเพื่อลดแรงน้ำ�ที่ไหลผ่านพื้นที่ สวนสัตว์เชียงใหม่ ส่วนแสดงเลียงผาการสร้างส่วนแสดงที่ปรับตามลักษณะของพื้นที่เป็นเนินเขาโดยจะเห็น พื้นที่ชมสัตว์แบบทางเดินเท้าที่ไล่ระดับตามพื้นที่โดยมีขนาดของทางเดินชมสัตว์ (กว้าง x ยาว) 1.10 x 60 เมตร ส่วนแสดงวัวแดง 1 เป็นส่วนแสดงที่มีฉากหลังที่ทำ�ให้ผู้เที่ยวชมประทับใจโดยมีพื้นที่แนวลำ�ธารและเป็นพื้นที่ป่า เต็งรังที่มีสภาพป่าสมบูรณ์ โดยพื้นที่เฉลี่ยต่อต้นไม้ยืนต้นในพื้นที่แสดงสัตว์ 14.51 ตารางเมตร/ต้น ส่วนแสดง กวางเปิดเป็นส่วนแสดงที่มีฉากหลังเป็นป่าเต็งรังในพื้นที่แสดงสัตว์ที่สัตว์ไปนั่งพักในช่วงที่มีแสงแดดแรงโดยพื้นที่ เฉลี่ยต่อต้นไม้ยืนต้นในพื้นที่แสดงสัตว์ 91.78 ตารางเมตร/ต้น ส่วนแสดงวัวแดง 2 เป็นส่วนแสดงที่มีต้นไม้ยืนต้น
69
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
เติบโตกระจายทั่วพื้นที่แสดงสัตว์ซึ่งทำ�ให้เกิดความสวยงามเป็นธรรมชาติและเป็นร่มเงาให้กับสัตว์ได้เป็นอย่างดี โดย มีพื้นที่เฉลี่ยต่อต้นไม้ยืนต้นในพื้นที่แสดงสัตว์ 8.63 ตารางเมตร/ต้น สวนสัตว์สงขลา ส่วนแสดงกวางเปิดเป็นส่วนแสดงที่เป็นตัวอย่างการใช้รั้วตาข่ายแบบแนวนอน (horizontal fence) เพื่อลดพื้นที่หลบซ่อนจากสายตาของผู้เที่ยวของสัตว์ในพื้นที่แสดงสัตว์ ส่วนแสดงวัวแดงและกระทิง พื้นที่ แสดงสัตว์ถูกบังด้วยแนวกันสัตว์แบบกำ�แพงคอนกรีตและหินภูเขาทำ�ให้ผู้เที่ยวชมที่ชมสัตว์บนรถพ่วงและรถยนต์ ส่วนตัวมองไม่เห็นตัวสัตว์ ต้นไม้ยืนต้นที่มีในพื้นที่มีส่วนแสดงวัวแดงและกระทิงน้อยเกินไปโดยมีพื้นที่เฉลี่ยต่อต้นไม้ ยืนต้นในพื้นที่แสดงสัตว์ 382.50, 291.60 ตารางเมตร / ต้นตามลำ�ดับ ต้องมีการปลูกเสริมและต้องมีการปกป้อง ต้นไม้เพื่อลดการทำ�ลายด้วย สวนสัตว์นครราชสีมา ส่วนแสดงเลียงผา พื้นที่ภายในส่วนแสดงเป็นเนินดิน ถ้าเลียงผาไปหลบหลังเนินดิน จะทำ�ให้ผู้เที่ยวชมมองไม่เห็นตัวสัตว์ แนวกันสัตว์แบบกำ�แพงร่วมกับรั้วตาข่ายจะเป็นพื้นที่บดบังสายตาทำ�ให้ภาพที่ ผู้เที่ยวชมเห็นจากพื้นที่ชมสัตว์ไม่เป็นธรรมชาติ ส่วนแสดงเนื้อทรายและละมั่งพันธุ์พม่า แนวกันสัตว์แบบคูแห้งซึ่ง ส่วนกำ�แพงวางตัวเป็นแนวเอียงเป็นมุม 25 องศาจากแนวตั้งฉาก ถ้าละมั่งพันธุ์พม่าและเนื้อทรายในพื้นที่แสดง สัตว์ตกใจมีสัตว์บางตัวที่สามารถกระโดดออกจากส่วนแสดงโดยใช้แนวกำ�แพงเป็นพื้นที่ช่วยในการกระโดดออก และ ต้นไม้ที่มีในส่วนแสดงเนื้อทรายและละมั่งพันธุ์พม่ามีน้อยเกินไปโดยมีพื้นที่เฉลี่ยต่อต้นไม้ยืนต้นในพื้นที่แสดงสัตว์ 500, 275 ตารางเมตร / ต้นตามลำ�ดับ พื้นที่คอกกักในทุกส่วนแสดงทั้งสวนสัตว์ 5 แห่งเป็นพื้นที่ที่ช่วยในการจับ บังคับสัตว์โดยไม่ต้องใช้ยาสลบเป็นพื้นที่ที่ต้องมีการปรับปรุง สรุป การตั้งประเด็นในทำ�การศึกษาวิจัยเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบส่วนแสดงสัตว์ทำ�ให้เนื้อหากระจายเพื่อให้ ครอบคลุมในส่วนที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดในหัวข้อย่อยต่างๆ ที่มีในงานวิจัยฉบับนี้สามารถนำ�ไปใช้เป็นแนวคิดใน การทำ�งานวิจัยลำ�ดับต่อไปในอนาคต เช่น ปัจจัยที่มีในส่วนแสดงที่มีผลต่อการการใช้เวลาของผู้เที่ยวชมในพื้นที่ชม สัตว์ เอกสารอ้างอิง [1] บุญชู ธงนำ�ชัยมา ดร. โรเบิร์ต มาเธอร์ กองทุนสัตว์ป่าโลก สำ�นักงานประเทศไทย. 2540 สัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง. โรงพิมพ์สยามทองกิจ จำ�กัด [2] โรเบิร์ต มาเธอร์ ศิริพงษ์ โทหนองตอ กองทุนสัตว์ป่าโลก สำ�นักงานประเทศไทย. 2543. สัตว์เลี้ยง ลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. บริษัท โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำ�กัด [3] วิชิต กองคำ�. 2551. การออกแบบสวนสัตว์ ภาพเสมือนจริงแห่งป่า แปลจาก Kenneth J. Polakowski, 1987 , Zoo Design : The Reality of Wild Illussion The University of Michigan School of Natural Resource เอกสารเผยแพร่ [4] วิชิต กองคำ�. 2548 . การจัดการสัตว์ในสวนสัตว์ แปลจาก S. F. Everiss, 1980, Animal management, A course for people who look after animals in zoos, wild life park, wild park collection, dolphinaria and aquaria, Volume 1, National Extension college trust Ltd . เอกสารเผยแพร่ [5] สิทธิ์ ธีรสรณ์. 2551 . เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย. สำ�นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [6] สุเมธ กมลนรนารถและคณะ. 2548 . แผนแม่บทการศึกษา องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์, เอกสารเผยแพร่ [7] โสภณ ดำ�นุ้ยและคณะ . 2551. หนังสือรายงานผลการดำ�เนินงานขององค์การสวนสัตว์และข้อมูล สำ�คัญประจำ�ปี 2551 . เอกสารเผยแพร่ [8] Geoff Hosey, Vicky melfi, Sheila Pankhurst, 2009, Zoo Animals, Behaviour, Management and Welfare, Oxford University Press
70
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทางด้านโภชนาการอาหารและค่าโภชนะ กับการ เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์นกหว้าที่ใกล้สูญพันธุ์ในสภาพของการเพาะเลี้ยง สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชัยณรงค์ ปั้นคง1 สุทธิลักษณ์ มีวีระสม1 นิตยา เพชรสุกร1 ธนะชัย เสียงดี2 ไพทูรย์ สิทธิโชค2
บทนำ� สืบเนือ่ งจากองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำ�เนินความพยายามที่จะเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่า หายากหลากหลายชนิด เพื่อเป็นการอนุรักษ์สัตว์ป่าในกรงเลี้ยง โดยมีความมุ่งหมายที่จะคงความหลากหลายทาง ชีวภาพและเพิ่มโอกาสของการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในอนาคต นกหว้า (Argusianus argus argus) ก็จัดเป็นสัตว์ปีก อีกชนิดที่อยู่ในเป้าหมายของการอนุรักษ์ ในอดีตองค์การสวนสัตว์สามารถทำ�การเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้บ้างเฉพาะ ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวเท่านั้น ซึ่งการอนุรักษ์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของประชากรสัตว์ได้ด้วยตนเองนั้นมีความ จำ�เป็นต้องเพิ่มระดับของอัตราการขยายพันธุ์ พร้อมกันนี้ต้องลดอัตราการตายลง แต่การเพาะเลี้ยงเพื่อให้ขยาย พันธุ์ได้ในกรงเลี้ยงนั้นเป็นเรื่องที่ทำ�ให้ประสบความสำ�เร็จได้ยากเนื่องจากขาดข้อมูลที่สำ�คัญหลายประการ ทั้งนี้ กระบวนการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์นกหว้าในอดีตที่ผ่านมาพบว่านกหว้าส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำ�เร็จในการขยาย พันธุ์ทั้งๆ ที่ช่วงอายุถึงวัยเจริญพันธุ์แล้ว ซึ่งในสภาพของการเพาะเลี้ยงนอกจากการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อม ทางภายภาพ และการจัดการตัวสัตว์ให้เป็นไปตามความเหมาะสมแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำ�คัญต่อประสิทธิภาพ ของการขยายพันธุ์สัตว์ คือ การจัดการทางด้านโภชนาการทั้งในเรื่องของการให้อาหาร และคุณค่าของอาหารซึ่งนับ ว่ามีความสำ�คัญยิ่งสำ�หรับสัตว์ที่อยู่ในสภาพการเพาะเลี้ยงทั้งนี้ปริมาณโภชนะที่สัตว์ได้รับในแต่ละวันมีความสำ�คัญ ต่อระบบสืบพันธุ์ของสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ถ้าหากได้รับโภชนะที่เหมาะสมจะทำ�ให้การสร้าง ไข่ (ova) และสเปิร์ม (spermatozoa) มีความเป็นปกติ นอกจากนี้คุณค่าทางโภชนะยังมีผลต่อระบบการทำ�งาน ของต่อมไร้ท่อ (endocrine system) และมีส่วนสำ�คัญต่อการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Luteinizing hormone และ Follicle stimulating hormone) ซึ่งมีความสำ�คัญต่อระบบสืบพันธุ์ โดยรวมแล้วหากสัตว์ได้ รับอาหารที่มีปริมาณโภชนะเหมาะสม ระบบร่างกายก็จะมีความสมดุลช่วยส่งเสริมให้มีการจับคู่ผสมพันธุ์ได้มากขึ้น การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อาทิเพื่อพิสูจน์ทราบ ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการกับพฤติกรรมการขยายพันธุ์พอๆ กันกับการนำ�มาใช้แก้ไข ตอบปัญหาเกี่ยวกับ ความต้องการทางคุณค่าทางโภชนาการ (Nutrient requirement) การเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ (Reproduction & breeding) สวัสดิภาพสัตว์ (animals welfare) และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางชีวภาพ (Conservation) ที่จะนำ�มาใช้ ตรวจวัดในเชิงปริมาณถึงความสำ�เร็จในการปรับปรุงการจัดการกรงเลี้ยง เพื่อให้นกหว้ามีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ ตามธรรมชาติได้ วิธีการศึกษา ตัวอย่างสัตว์ • นกหว้าบริเวณจุดเพาะขยายพันธุ์สัตว์ปีก (เพศผู้ 4 ตัว และเพศเมีย 4 ตัว ) วัตถุดิบและอาหารสัตว์ • วัตถุดิบอาหารสัตว์ หรือธัญพืชได้แก่ ข้าวกล้อง ปลายข้าว ข้าวเปลือกนกเขา และข้าวฟ่าง • อาหารสัตว์สำ�เร็จรูป ได้แก่ อาหารไก่ไข่ อาหารนกขุนทองเม็ดแดง และอาหารสุนัข 1 2
ฝ่ายอนุรักษ์และวิจัย สวนสัตว์เปิดเขาเขียว 235 หมู่ 7 ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 ฝ่ายบำ�รุงสัตว์ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว 235 หมู่ 7 ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110
71
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
• อาหารประเภทผลไม้ ได้แก่ กล้วย มะละกอ องุ่น และข้าวโพด • อาหารอื่นๆ ได้แก่ ข้าวกล้องหุงผสมไข่ไก่ จิ้งหรีด และหนอน วิธีการ (Methods) วิเคราะห์วัตถุดิบและอาหารสัตว์ด้วยกระบวนการ Proximate analysis ศึกษาปริมาณการกินและพฤติกรรมการเลือกกินอาหาร: แยกชั่งให้อาหารและศึกษาปริมาณการกิน จากตัวอย่างอาหารทั้งหมด 15 ชนิด คำ�นวนค่าปริมาณการกิน อาหาร (แต่ละชนิด) ต่อกรงต่อวัน และศึกษาพฤติกรรมการเลือกกินอาหารตามรูปแบบของการให้เลือก (Choice treatment) วิเคราะห์ปริมาณคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับ: ทำ�การวิเคราะห์ปริมาณคุณค่าทางโภชนาการที่สัตว์ได้รับด้วยวิธี calculate by ratio เก็บบันทึกข้อมูลที่ ได้และทำ�การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ แบบ ANOVA โดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคู่และความ แตกต่างระหว่างกลุ่มการทดลองด้วยวิธี LSD และ Duncan’s ตามลำ�ดับ ผลการศึกษา จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทางด้านโภชนาการอาหารและค่าโภชนะกับการเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์นกหว้าที่ใกล้สูญพันธุ์ในสภาพของกรงเลี้ยง ในช่วงฤดูกาลสืบพันธุ์ของนกหว้า ปี 2553 ได้ผลดังนี้ 1. พฤติกรรมการเลือกกินและปริมาณการกินอาหารของนกหว้าเฉลี่ยต่อกรงต่อวัน • การเลือกกิน จากการศึกษาด้วยวิธีการแบบให้เลือกกิน (choice treatment) โดยการให้อาหารที่เป็นวัตถุดิบหรือ อาหารสำ�เร็จรูปที่ผสมในสูตรอาหารสัตว์ปีก จำ�นวนกว่า 15 ชนิด แล้วศึกษาชนิดและปริมาณอาหารที่นกหว้าเลือก กินพบว่าในช่วง 30 นาทีแรก อาหารที่นกหว้ามีความถี่ในการเลือกกินก่อนมากที่สุดคือ องุ่นและจิ้งหรีดซึ่งมีความถี่ ในการเลือกกินก่อนจากนกหว้าแต่ละกรงมากที่สุดเป็นอันดับแรก แตกต่างจากอาหารชนิดอื่นๆ อย่างมีนัยสำ�คัญทาง สถิติ (P < 0.05) รองลงมาคือ กล้วย มะละกอ ข้าวกล้อง ปลายข้าว อาหารสุนัข อาหารนกเม็ดแดง ส่วนอาหารประ เภทอื่นๆ เช่น ข้าวฟ่าง ข้าวเปลือก และอาหารไก่ จะถูกกินเป็นลำ�ดับสุดท้าย • ปริมาณการกินอาหาร จากผลการศึกษาปริมาณการกินอาหารของนกหว้าในแต่ละช่วงวันพบว่านกหว้าแต่ละกรงมีปริมาณ การกินอาหารเฉลี่ยโดยรวมใกล้เคียงกัน [แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำ�คัญทางสถิติ P>0.05, n=30 (ANOVA F=0.753 , P=0.531 )] ซึ่งมีปริมาณการกินอาหารได้ตั้งแต่วันละ 97.45 - 263.35 กรัมต่อตัวต่อวัน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงปริมาณการกินตามชนิดอาหารแล้ว พบว่าประเภทอาหารที่ถูกกินโดยเฉลี่ยจากนกหว้ามากที่สุด คืออาหารประเภทชุ่มน้ำ� เช่นผลไม้ต่างๆ 42.74% และกลุ่มธัญพืช 28.70 % รองลงมาคือข้าวกล้องหุงผสมไข่ต้ม 18.15 % ตามมาด้วยอาหารสำ�เร็จรูป 9.94 % และอาหารมีชีวิต 0.47 % ซึ่งนอกเหนือจากจิ้งหรีดและหนอนที่ มีปริมาณการให้น้อยแล้ว อาหารไก่ไข่สำ�เร็จรูป และข้าวเปลือกนกเขาจะมีปริมาณการกินโดยเฉลี่ยจากนกหว้าน้อย ที่สุดเพียงร้อยละ 1.47 และ 1.33 ตามลำ�ดับเท่านั้น (เมื่อคิดจากปริมาณอาหารทั้งหมด) 2. ปริมาณคุณค่าทางโภชนาการที่นกหว้าได้รับในแต่ละช่วงวัน
72
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
ตารางที่ 1. แสดงปริมาณคุณค่าทางโภชนาการที่นกหว้าแต่ละกรงได้รับเฉลี่ยต่อวัน Proximate composition And minerals Moisture
Fat
Crude Protein
Ash
Crude fiber
Carbohydrate
Calcium
Phosphorous
กรงหมายเลข (Number) GA Cage18 GA Cage17 GA Cage15 GA Cage11 Total / mean GA Cage18 GA Cage17 GA Cage15 GA Cage11 Total / mean GA Cage18 GA Cage17 GA Cage15 GA Cage11 Total / mean GA Cage18 GA Cage17 GA Cage15 GA Cage11 Total / mean GA Cage18 GA Cage17 GA Cage15 GA Cage11 Total / mean GA Cage18 GA Cage17 GA Cage15 GA Cage11 Total / mean GA Cage18 GA Cage17 GA Cage15 GA Cage11 Total / mean GA Cage18 GA Cage17 GA Cage15 GA Cage11 Total / mean
Nutrient Composition per 100 g edible feed จำ�นวน (N) mean± SD (%) 9 66.04 ± 4.67 b 9 71.95 ± 5.46 c 6 55.56 ± 5.01 a 6 62.29 ± 6.37 b 30 64.97 ± 7.80 9 1.32±0.21 ab 9 1.16±0.25 a 6 1.60±0.37 b 6 1.41±0.30 ab 30 1.35 ± 0.30 9 4.66 ±0.84 a 9 4.16 ±0.78 a 6 5.92 ± 1.13 b 6 5.10±0.94 ab 30 4.85 ±1.07 9 1.43±0.19 a 9 1.25±0.54 a 6 1.65 ±0.13 a 6 1.39±0.29 a 30 1.41 ± 0.36 9 1.61 ± 0.23 bc 9 1.22 ± 0.37 a 6 1.87 ± 0.29 c 6 1.43 ± 0.49 ab 30 1.51 ± 0.40 9 26.55 ± 3.77 b 9 21.48 ± 4.23 a 6 35.26 ± 3.44 c 6 29.80 ± 4.94 b 30 27.42 ± 6.34 9 0.20 ± 0.00 a 9 0.20 ± 0.14 a 6 0.21 ± 0.00 a 6 0.22 ± 0.00 a 30 0.20 ± 0.00 9 0.17 ± 0.00 b 9 0.13 ± 0.00 a 6 0.21 ± 0.00 c 6 0.17 ± 0.00 bc 30 0.17 ± 0.00
หมายเหตุ a, b และ c แสดงความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบ ความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่างคู่ของหน่วยการทดลองโดยวิธี LSD และ Duncan’s ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 %
73
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
3. พฤติกรรมการขยายพันธุ์ จากการศึกษาพฤติกรรมการขยายพันธุ์ของนกหว้า พบว่านกหว้าเริ่มมีพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีด้วยการทำ� ลานนกหว้าโดยการจิกต้นหญ้าและตีแปลงบนพื้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม 2552 ร่วมกับ การร้องประกาศอาณาเขตซึ่งมีความถี่สูงสุดในช่วงเวลาเช้า ถึงช่วงเวลา 09.30 น. จากนั้นนกหว้าเพศเมียเริ่มมีการ วางไข่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2552 (นกหว้ากรง 18) ทั้งนี้พบว่ามีนกหว้าที่ทำ�การวางไข่จำ�นวนทั้งสิ้น 3 กรง คือนกหว้ากรง 18 กรง 15 และกรง 11 ตามลำ�ดับ จากจำ�นวนที่มีทั้งหมด 4 กรง มีเพียงนกหว้ากรง 17 ที่ไม่แสดง พฤติกรรมการวางไข่หรือแสดงพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสี จากจำ�นวนนกหว้าที่มีการวางไข่จำ�นวน 3 กรง (กรง 18 ,15 และ 11) มีเพียงนกหว้ากรง 15 ที่ประสบความสำ�เร็จใน การขยายพันธุ์ได้ คือมีการวางไข่และพบว่าไข่มีเชื้อ ถึง 75 % (จากจำ�นวนไข่ 4 ใบ) ไข่สามารถฟักเป็นตัวได้ นอกเหนือ จากนั้นไข่จากกรงอื่นๆ มีลักษณะไม่สมบูรณ์และไม่ฟักเป็นตัว โดยตามปกตินกหว้าจะมีการวางไข่ครั้งละ 1 ใบ และจะ ทยอยวางไข่อีกครั้งหลังผ่านไป 3-4 วัน น้ำ�หนักไข่ประมาณ 64-70 กรัม ใช้ระยะเวลาในการฟักเป็นตัวนาน 26 - 27 วัน ต่อมาภายหลังพบว่านกที่มีการวางไข่เกือบทุกกรง เปลือกไข่มีลักษณะบาง และสิ้นสุดการวางไข่ในช่วงต้นเดือน กุมภาพันธ์ 2553 สรุปผลและการอภิปรายผล จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทางด้านโภชนาการและค่าโภชนะกับการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ นกหว้าที่ใกล้สูญพันธุ์ในสภาพการเพาะเลี้ยง สามารถแบ่งการสรุปหาความสัมพันธ์ตามหัวข้อการศึกษาได้ดังนี้ จากการศึกษาปริมาณการกินอาหารของนกหว้าพบว่านกหว้าแต่ละกรงมีปริมาณการกินอาหารที่ใกล้เคียง กัน [แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำ�คัญทางสถิติ P>0.05, n=30 (ANOVA F=0.753 , P=0.531)] ซึ่งมีปริมาณการ กินอาหารโดยเฉลี่ยวันละ 165.29 ± 46.96 กรัม ต่อกรงต่อวัน ซึ่งมีปริมาณการกินอาหารได้ตั้งแต่วันละ 97.45 - 263.35 กรัมต่อกรงต่อวัน โดยนกหว้ากรง 17 จะมีปริมาณการกินมากที่สุด รองลงมาคือนกหว้ากรง 11 ,กรง 18 และกรง 15 เป็นลำ�ดับสุดท้ายตามลำ�ดับ (Mean ± SD = 164.96 ± 47.18 g) ซึ่งในสภาพของการศึกษาในกรงเลี้ยง ดังกล่าวที่มีการให้อาหารที่หลากหลายพบว่านกหว้าจะเลือกกินอาหารประเภทผลไม้มากที่สุด สอดคล้องกับรายงาน ของวิทยา (2543) ซึ่งระบุว่านกหว้าจะเลือกกินอาหารที่มีลักษณะชุ่มน้ำ�ซึ่งใกล้เคียงกับอาหารที่หาได้ตามธรรมชาติ มากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มธัญพืช และอาหารสำ�เร็จรูปเป็นลำ�ดับสุดท้าย โดยพบว่านกหว้าจะมีพฤติกรรมการเลือก กินองุ่นและจิ้งหรีดก่อนเป็นลำ�ดับแรกจากนั้นจะกินอาหารชนิดอื่นๆ ต่อไป นอกจากนี้ยังพบว่าอาหารที่นกหว้ามี ปริมาณการกินน้อยหรือไม่เลือกกิน (ยกเว้นองุ่น จิ้งหรีดและหนอนที่มีปริมาณการให้จำ�กัด) คือข้าวเปลือกนกเขา ข้าวฟ่าง และอาหารไก่ไข่ จากการพิจารณาระดับของโภชนะที่นกหว้าได้รับในช่วงฤดูขยายพันธุ์ ปีงบประมาณ 2553 (พฤศจิกายน 2552- กุมภาพันธ์ 2553) พบว่าค่าโภชนะที่นกหว้าทั้ง 4 กรงได้รับโดยเฉลี่ย (Mean ± S D)ต่อกรงต่อวันมีความแตก ต่างกันอย่างมีนัยสำ�คัญ (P<0.05) โดยนกหว้ากรง 15 ได้รับค่าโภชนะสูงที่สุด ซึ่งมากกว่ากรงอื่นๆ และมากกว่ากรง 17 อย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติ (P< 0.05) โดยนกหว้ากรง 17 ได้รับคุณค่าทางโภชนาการในแทบทุกส่วนน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทางโภชนาการและค่าโภชนะกับการขยายพันธุ์ของนกหว้าใน สภาพของการเพาะเลี้ยงพบว่า ปริมาณการกินอาหารชนิดต่างๆ ที่แตกต่างกันตามลักษณะของการจัดการและความ ต้องการของนกหว้ากรงนั้นๆ ทำ�ให้คุณค่าทางโภชนาการที่นกหว้าได้รับต่อกรงต่อวันนั้นแตกต่างกันไป โดยมีแนว โน้มว่านกที่ได้รับหรือเลือกกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าจะมีความสามารถในการวางไข่และขยายพันธุ์ ได้มากกว่านกที่ได้รับคุณค่าทางโภชาการต่ำ�กว่า ดังจะสามารถแสดงได้จากข้อมูลที่ระบุถึงว่านกหว้ากรง 15 ได้รับค่า โภชนะที่สำ�คัญๆ อาทิปริมาณพลังงาน ไขมัน โปรตีน แร่ธาตุ เยื่อใย และคาร์โบไฮเดรตมากกว่ากรงอื่นๆ อย่างมีนัย สำ�คัญ (P< 0.05) ทำ�ให้เป็นเพียงกรงเดียวที่สามารถขยายพันธุ์ได้ โดยไข่มีเชื้อถึง 3 ใบ จากจำ�นวนไข่ที่วางทั้งหมด 4 ใบ หรือคิดเป็น 75 % และสามารถฟักเป็นตัวได้ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์พันธุ์และความสมบูรณ์ของสภาพทาง สรรีวิทยา ทั้งนี้พบว่าไข่จากกรงอื่นๆ ที่ได้รับคุณค่าทางโภชนาการน้อยกว่าไม่มีเชื้อและมีจำ�นวนของไข่น้อยกว่า
74
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า ในกรณีของนกหว้ากรง 18 ที่เป็นคู่พ่อแม่พันธุ์เมื่อปี 2552 มีพฤติกรรมการวางไข่และพฤติกรรม การเกี้ยวพาราสีตามปกติแต่ได้รับหรือเลือกกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยและไม่ประสบความสำ�เร็จในการ ขยายพันธุ์ในปี 2553 เช่นเดียวกันกับนกหว้า กรง 11 ที่ได้รับคุณค่าทางโภชนาการต่ำ� (ต่ำ�กว่านกหว้ากรง 15) และ ไม่ประสบความสำ�เร็จในการขยายพันธุ์เช่นกัน ส่วนนกที่ไม่มีพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีหรือพฤติกรรมการขยายพันธุ์ วางไข่ คือ นกหว้ากรง 17 มีการกินอาหารและได้รับคุณค่าทางโภชนาการต่ำ�กว่ากรงอื่นๆ อย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติ (P < 0.05) สอดคล้องกับสมมติฐานที่ระบุถึงปริมาณความต้องการอาหารจะขึ้นอยู่กับสถานภาพหรือความต้องการ ในการขยายพันธุ์ ซึ่งจากการศึกษาในนกหว้าที่มีความพยายามในการขยายพันธุ์โดยมีพฤติกรรมการสร้างลานนกหว้า มี พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสี ร่วมกับการร้องประกาศอาณาเขต และพฤติกรรมการทำ�รังวางไข่ แต่ไม่ประสบผลสำ�เร็จ ในการขยายพันธุ์เนื่องจากไข่ที่ผลิตได้มีจำ�นวนน้อยและไม่มีเชื้อโดยได้รับหรือกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเช่น ไขมัน โปรตีน แร่ธาตุ และคาร์โบไฮเดรตต่ำ� สอดคล้องกับรายงานของ Robinson (1996) ที่รายงานว่าปริมาณ โภชนะในอาหารที่มีระดับเหมาะสมจะส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพของระบบสืบพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย เฉพาะค่าโภชนะโปรตีนมีผลต่อระดับความเข้มข้นของฮอร์โมน FSH ในช่วงของการเป็นสัด ทำ�ให้อัตราการตกไข่เพิ่ม ขึ้น เป็นต้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการขยายพันธุ์ได้สัมพันธ์กับระดับคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับ นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราส่วนระหว่างแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่นกหว้าได้รับในช่วงเวลาดังกล่าว มีอยู่ใน ระดับต่ำ�กว่าที่ควรจะเป็น และมีอัตราส่วนที่ไม่สมดุล สอดคล้องกับการที่พบว่าเปลือกไข่จากนกหว้าแทบทุกกรงใน ระยะหลังมีลักษณะบาง ซึ่งแสดงถึงภาวะการขาดธาตุแคลเซียมและความไม่สมดุลกันกับธาตุฟอสฟอรัส ถึงแม้ว่าจะ มีการเสริมกระดองปลาหมึกให้ภายหลังเพื่อเสริมแคลเซียมให้แต่พบว่าไม่ทันต่อฤดูกาลขยายพันธุ์ที่สิ้นสุดเร็วกว่าที่ พบในช่วงปี 2552 เอกสารอ้างอิง [1] กาญจน์ชัย แสนวงศ์, เทอดชัย เวียรศิลป์, ไมตรี อินโปธา, จารุณี ไชยชนะ, ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร, สุรภี ทองหลอม และนภวัณ รังคเสนี.2549. การประเมินคุณค่าทางอาหารและการย่อยได้ของโภชนะของสมเสร็จ (Tapirus indicus) ในสวนสัตว์เชียงใหม่. แผนกบำ�รุงรักษาสัตว์ สวนสัตว์เชียงใหม่, เชียงใหม่. [2] ชัยณรงค์ ปั้นคง. 2547. ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการอาหารสัตว์. งานคลังอาหารฯ แผนก บำ�รุงรักษาสัตว์ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว. ชลบุรี. [3]วิทยา ฉินชิยานนท์ .2543. การกินอาหารของสัตว์ตระกูลไก่ฟ้า. เอกสารแผ่นพับ สถานีวิจัยการเพาะเลี้ยง สัตว์ป่าเพื่อเศรษฐกิจเขาค้อ . เพชรบูรณ์. [4] โอภาส ขอบเขตต์. 2543. นกในเมืองไทย. เล่ม 1. สำ�นักพิมพ์สารคดี. กรุงเทพมหานคร. หน้า 68-108. Robinson, J.J. 1996. Nutrition and reproduction. Anim. Reprod. Sci. 42:25-34. [5] R. Plame, S. Rettenbacher, C. Touma, S. M.El-Bahr, and E. Mostl. 2005. Stress Hormones in mammals and birds Comparative Aspects Regarding Metabolism , Excretion, and Noninvasive Measurement in Fecal Samples. Ann. N.Y. Acad. Sci. 1040: 162–171.
75
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ธรรมชาติของสวนสัตว์เชียงใหม่ ชวิน ไชยสงคราม1* ณัฐพร ใกล้ชิด1 ตุลยวรรธ สุทธิแพทย์2 เครือวัลย์ พิพัฒสวัสดิกุล3
บทนำ� จากโครงการวิ จั ย ความหลากชนิ ด และความชุ ก ชุ ม ของสั ต ว์ ส ะเทิ น และสั ต ว์ เ ลื้ อ ยคลานในพื้ น ที่ ส วนสั ต ว์ เชียงใหม่ ได้ทำ�การสำ�รวจสัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้แก่ พืชและสัตว์ที่อาศัย ในระบบนิเวศและพื้นที่เดียวกัน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ พบว่าสวนสัตว์เชียงใหม่มีความ หลากหลายของพืชและสัตว์ค่อนข้างสูง เนื่องจากสวนสัตว์เชียงใหม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ติดกับอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ -ปุย ซึ่งมีลักษณะของป่าหลากหลายได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ โดยจัดเป็นพื้นที่ป่าที่มีความ อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะในกลุ่มพืชที่เป็นชนิดพันธุ์ถิ่นเดิม (Native species) ซึ่งในปัจจุบันมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ ทั้งจากการบุกรุกทำ�ลายถิ่นที่อยู่อาศัย การบุกรุกจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Introduced species) รวมทั้งความนิยม พืชหรือสัตว์ถิ่นเดิม เช่น กล้วยไม้ป่า ทำ�ให้ถูกนำ�มาเพาะเลี้ยง และขายจนทำ�ให้ในธรรมชาติมีจำ�นวนน้อยลง ดังนั้น การสำ�รวจสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะชนิดพันธุ์ถิ่นเดิมในพื้นที่สวนสัตว์เชียงใหม่จึงเป็นการรวบรวมฐานข้อมูลซึ่งถือได้ว่า เป็นตัวแทนของพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และยังสอดคล้องกับปีสากลแห่งการอนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพ หรือ 2010 International Year of Biodiversity เพื่อนำ�มาเผยแพร่ให้ความรู้ ความตระหนัก และปลูก ฝังจิตสำ�นึกการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแก่บุคคลทั่วไป นักวิจัย นักเรียน นักศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ใน การอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ถิ่นเดิมต่อไป วิธีการศึกษา • ทำ�การสำ�รวจชนิดของสัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานโดยวิธีการ 1. การสำ�รวจแบบเห็นตัว (Visual encounter surveys) 2. การวางหลุมดัก (Pitfall traps) 3. การสำ�รวจแบบทั่วไป (General collecting) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2552-พฤษภาคม 2553 โดยเก็บข้อมูล 1. ชนิดและจำ�นวนของสัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน 2. ข้อมูลแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่สำ�รวจพบ 3. ข้อมูลสิ่งแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ และความชื้น • สำ�รวจชนิดนกและกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ดั้งเดิม โดยทำ�การสำ�รวจพร้อมกับการสำ�รวจสัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน และเพิ่มการสำ�รวจใน พื้นที่นอกการสำ�รวจด้วย โดยบันทึกชนิดของ นก และกล้วยไม้ถิ่นเดิมจากการพบเห็น ผลและการอภิปรายผล สัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบก 23 ชนิด¹ ได้แก่ เขียดงูเกาะเต่า (Ichthyophis kohtaoensis) คางคกแคระ (Bufo parvus) 1
คางคกบ้าน (Bufo melanostictus) อึ่งลาย (Calluella guttulata)
สวนสัตว์เชียงใหม่ 100 ถนนห้วยแก้ว ตำ�บลสุเทพ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำ�เภอเมือง จังหวัดชียงใหม่ 50100 3 สำ�นักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ถนนเจริญประเทศ อำ�เภอเมือง จังหวัดชียงใหม่ 50000 2
76
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
อึ่งอ่างก้นขีด (Kaloula mediolineata) อึ่งอ่างบ้าน (Kaloula pulchra) อึ่งแม่หนาว (Microhyla berdmorei) อึ่งลายเลอะ (Microhyla butleri) อึ่งข้างดำ� (Microhyla heymonsi) อึ่งน้ำ�เต้า (icrohyla ornate) อึ่งขาคำ� (Microhyla pulchra) อึ่งหลังขีด (Micryletta inornata) กบหนอง (Fejervarya limnocharis) กบนา (Heplobatrachus rugulosus) กบทูด (Limnonectes blythii) กบมื่น (Limnonectes kuhlii) กบหัวโต (Limnonectes macrognathus) กบหงอน (Limnonectes pileatus) เขียดทราย (Occidozyga nartensii) กบอ่องเล็ก (Rana nigrovittata) เขียดหลังขีด (Rana macrodactyla) ปาดบ้าน (Polypedates leucomystax) เขียดตะปาด (Polypedates mutus) โดย กบอ่องเล็ก อึ่งน้ำ�เต้า กบมื่น คางคกบ้าน มีความชุกชุมสูงที่สุด อึ่งลาย และอึ่งลายเลอะมีความชุกชุม น้อยที่สุด และในเดือนสิงหาคม มีความหลากหลายของสัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบกสูงที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ความชื้นสูง และเป็นฤดูผสมพันธุ์ของสัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน 39 ชนิด4 ได้แก่ งูดินบ้าน (Ramphotyphlops braminus) งูเหลือม (Python reticulatus) งูแสงอาทิตย์ (Xenopeltis unicolor) งูกะปะ (Calloselasma rhodostoma) งูไซ (Enhydris bocourti) งูสายรุ้ง (Enhydris enhydris) งูลายสอใหญ่ (Xenochrophis piscator) งูลายสาบท้องสามขีด (Amphiesma deschaunseei) งูลายสาบคอแดง (Rhabdophis subminiatus) งูสิงบ้าน (Ptyas korros) งูงอดไทย (Oligodon taeniatus) งูปีแก้ว (Oligodon sp.) งูสร้อยเหลือง (Lycodon capucinus (L. aulicus)) งูปล้องฉนวนลายเหลือง (Lycodon laoensis) งูเขียวพระอินทร์ (Chrysopelea ornata) งูสายม่าน (Dendrelaphis sp.) งูสายม่านฟ้าเขียว (Dendrelaphis cyanochloris) งูแส้หางม้าเทา (Boiga ocellata) งูกินทากจุดขาว (Pareas margaritophorus) งูกินทากลายขวั้น (Pareas hampton) จิ้งจกหางแบนเล็ก (Cosymbotus platyurus ) ตุ๊กแกบ้าน (Gekko gecko) จิ้งจกหางหนาม (Hemdactylus frenatus) จิ้งจกหางเรียบ (Hemidactylus garnotii) จิ้งจกหินสีจาง (Gehyra mutilata) ตุ๊กแกป่า (Cyrtodactylus sp.) จิ้งจกดินสยาม (Dioxius siamensis) กิ้งก่าหัวแดง (Calotes versicolor) กิ้งก่าแก้วเหนือ (Calotes emma alticristatus) กิ้งก่าหัวสีฟ้า (Calotes mystaceus) กิ้งก่าบินปีกส้ม (Draco maculatus) แย้ (Leiolepis belliana) ตะกวด (Varanus bengalensis) กิ้งก่าน้อยหางยาว (Takydromus sexlineatus) จิ้งเหลนบ้าน (Mabuya multifascata) จิ้งเหลนหลากลาย (Mabuya macularia) จิ้งเหลนเรียวท้องเหลือง (Lygosoma bowringii) จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ (Sphenomorphus maculates) เต่านา (Malayemys subtrijuga) โดย ตุ๊กแกบ้าน และจิ้งจก มีความชุกชุมมากที่สุด และในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม มีความหลาก หลายของสัตว์เลื้อยคลานมากที่สุด เนื่องจากอุณหภูมิค่อนข้างสูง สัตว์เลื้อยคลานจึงมีกิจกรรมหรือทำ�การออก หากิน นก 20 ชนิด5 ได้แก่ นกกระปูดใหญ่ (Centropus sinensis) นกจับแมลงคอแดง (Ficedula parva) นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ (Dicrurus paradiseus) นกแซงแซวหางปลา (Dicrurus macrocercus) นกแสก (Tyto alba) นกเค้าแมว (Glaucidium cuculoides)
77
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
นกตบยุงเล็ก (Caprimulgus asiaticus) นกปรอดหัวโขน (Pycnonotus jocosus) นกปรอดเหลืองหัวจุก (Pycnonotus melanicterus) นกปรอดสวน (Pycnonotus blanfordi) อีกา (Corvus macrorhynchos) นกกะรางหัวหงอก (Garrulax leucolophus) นกกระจิ๊ด (Phylloscopus sp.) นกสีชมพูสวน (Dicaeum cruentatum) นกกางเขนดง (Copsychus malabaricus) นกแว่นตาขาว (Zosterops sp.) นกเอี้ยงสาลิกา (Acridotheres tristis) นกกระจอกบ้าน (Passer montanus) นกเด้าดินทุ่ง (Anthus novaeseelandiae) นกเขียวก้านตอง (Chloropsis sp.) กล้วยไม้ชนิดพันธุ์ดั้งเดิม 10 ชนิด2,3 ได้แก่ เอื้องผึ้ง (Dendrobium lindleyi) เอื้องคำ� (Dendrobium chrysotoxum) เอื้องเงิน (Dendrobium draconis) นิมมานรดี เอื้องนิ่ม (Eria amica) เอื้องแปรงสีฟันพระอินท์ (Dendrobium secundum) เอื้องก้างปลา (Cleisostoma fuerstenbergianum) เอื้องเขาแพะ (Cleisostoma arietinum) เอื้องเขาแกะ (Rhynchostylis coelestris) สิงโตรวงข้าว (Bulbophyllum morphologorum) กะเรกะร่อนสองสี (Cymbidium bicolo) สรุป จากการสำ�รวจตั้งแต่เดือนเมษายน 2552- พฤษภาคม 2553 พบสัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบก 23 ชนิด สัตว์เลื้อย คลาน 39 ชนิด นก 20 ชนิด และ กล้วยไม้ชนิดพันธุ์ดั้งเดิม 10 ชนิด เอกสารอ้างอิง [1] ธัญญา จั่นอาจ. 2546.คู่มือสัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบกในเมืองไทย.กรุงเทพ: บริษัท ด่านสุธาการจำ�กัด [2] องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2551: พิมพ์ครั้งที่ 1. กล้วยไม้ ไทย 1 (Thai Native Orchids 1) สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ Queen Sirikit Botanic Garden. เชียงใหม่: หจก วนิดาการพิมพ์. [3] องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2551: พิมพ์ครั้งที่ 1. กล้วยไม้ ไทย 2 (Thai Native Orchids 2) สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ Queen Sirikit Botanic Garden. เชียงใหม่: หจก วนิดาการพิมพ์. [4] Cox M.J., Dijk P.P.V., Nabhitabhata J. and Thirakhupt K., 1998, A Photographic Guide to Snakes and other Reptiles of Thailand and South-East Asia, Bangkok: Asia Book. [5] Lekagul B., Round P.D. 1991. A Guide to the Birds of Thailand. Bangkok: Saha Karn Bhaet Press,
78
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การศึกษาพฤติกรรมและการเพาะขยายพันธุ์นกกระสาปากเหลือง ในกรงเลี้ยงของสวนสัตว์ดุสิต อรรถกร สุขทวี* สมชาย โชติอภิสิทธิ์กุล สุทัศน์ สุทธิวงศ์ วิศิษฎ์ วิชาศิลป์ สาธิต หนีเมืองนอก มนัธยา แต่ลิบฮง
บทนำ� นกกระสาปากเหลือง (Mycteria cinerea) เป็นนกน้ำ�ขนาดกลางถึงใหญ่ที่พบการอพยพมายังประเทศไทย ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากปัญหาการลักลอบทำ�ลายป่าและล่าเพื่อการค้า1,2,3 ส่งผลให้มีแนวโน้มของประชากรลด ลงอย่างต่อเนื่อง จนมีสถานภาพเป็นชนิดพันธุ์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) ตามบัญชีแดงของสหภาพสากลว่า ด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) และอยู่ในบัญชีแนบท้ายหมายเลข 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิด พันธุ์สัตว์ป่าและพืชใกล้สูญพันธุ์ (CITES)4 นอกจากนี้ประเทศไทยได้กำ�หนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราช บัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ5 วิธีหนึ่งในการอนุรักษ์นกชนิดนี้ คือ การศึกษาวิจัยในสภาพการเพาะเลี้ยง ทั้งด้านการจัดการ การเพาะขยาย พันธุ์ รวมถึงข้อมูลพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันยังมีองค์ความรู้ไม่มากและยังไม่พบรายงานสถานภาพที่ชัดเจนของ ชนิดนี้ในประเทศไทย ด้วยเหตุดังกล่าวสวนสัตว์ดุสิตซึ่งมีพันธกิจหนึ่งในการศึกษาวิจัยความรู้ทางด้านสัตว์ป่าเพื่อ การอนุรักษ์ที่ยั่งยืน กอปรกับมีประชากรของนกชนิดนี้อาศัยอยู่เป็นจำ�นวนหนึ่ง จึงได้ดำ�เนินการวิจัยขึ้นเพื่อเป็น ประโยชน์ในเชิงอนุรักษ์และการจัดการสัตว์ อันเป็นเครื่องยืนยันความสำ�เร็จในการอนุรักษ์สัตว์ป่าหายากที่ใกล้สูญ พันธุ์อย่างยิ่งของประเทศต่อไป วิธีการศึกษา 1. การศึกษาพฤติกรรมและการเพาะขยายพันธุ์ ศึกษาข้อมูลจากนกกระสาปากเหลืองจำ�นวน 12 ตัว แบ่งเป็นเพศผู้และเพศเมียอย่างละ 6 ตัว รวมฝูงอยู่ภายในกรง เพาะเลี้ยงขนาด 6x8x10 เมตร ตกแต่งด้วยต้นไม้ ขอนไม้ และโครงเหล็กดัดคล้ายถ้วยสำ�หรับให้นกใช้สร้างรัง มีสระ น้ำ�และอ่างใส่อาหาร มีการทำ�ประวัติ ตรวจสุขภาพ และเก็บขนเลือดเพื่อใช้ตรวจแยกเพศด้วยเทคนิคพีซีอาร์ แล้วจึง เก็บข้อมูลด้านพฤติกรรมและการเพาะขยายพันธุ์ดังนี้ 1.1 พฤติกรรม บันทึกข้อมูลการแสดงพฤติกรรมด้วยวิธี Focal-animal sampling ระหว่างเวลา 06.00–18.00 น. ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551-เมษายน 2552 รวมเวลา 1 ปี ข้อมูลที่ได้ในแต่ละเดือนจะถูกนำ�ไป วิเคราะห์ทางสถิติ ซึ่งพฤติกรรมที่เลือกศึกษาแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. พฤติกรรมทั่วไป ได้แก่ การกิน – ขับถ่าย การทำ�ให้สบายตัว การเคลื่อนที่ การพักผ่อน 2. พฤติกรรมอื่นๆ ได้แก่ การเล่น – จิกงับ การมอง – ระวังภัย 3. พฤติกรรมทางสังคม ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์กลุ่ม การก้าวร้าว 4. พฤติกรรมช่วงฤดูผสมพันธุ์ ได้แก่ การเกี้ยวพาราสี เกี่ยวกับแคร่รัง การผสมพันธุ์ การวางไข่ การฟักไข่ 5. พฤติกรรมการเลี้ยงลูก ได้แก่ นอนกกลูก ให้อาหารลูก ไซร้ขนและจัดตัวลูก ยืนเฝ้าดูแลลูก 1.2 การเพาะขยายพันธุ์ บันทึกข้อมูลการขยายพันธุ์และการอนุบาลลูกนก (Hand-rearing) โดยบันทึก ปริมาณการกินอาหาร น้ำ�หนักตัว พฤติกรรม และลักษณะภายนอกที่เปลี่ยนแปลง รวมระยะเวลา 2 เดือน 1.3 ปริมาณการกินอาหาร บันทึกชนิดและปริมาณอาหารที่กินในแต่ละวันเป็นระยะเวลา 12 เดือน เพื่อ หาค่าเฉลี่ยปริมาณการกินอาหารต่อวัน
สวนสัตว์ดุสิต องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถนนพระรามที่ 5 แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพ 10300
79
80
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
2. การติดตามสถานภาพ ทำ � การสำ � รวจภาคสนามเพื่ อ เก็ บ ข้ อ มู ล ประชากรนกกระสาปากเหลื อ งตามพื้ น ที่ ชุ่ ม น้ำ � บางแห่ ง ของ ประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์และพัทลุงในช่วงเวลาเดียวกับที่เคยมีรายงานการสำ�รวจพบ ร่วมกับการติดตาม จากเจ้าหน้าที่ในเวลาถัดมา
ร้อยละของระยะเวลาที�ใช้แสดงพฤติกรรมต่อปี (%)
ผลการศึกษา 1. การศึกษาพฤติกรรมและการเพาะขยายพันธุ์ 1.1 พฤติกรรม ระยะเวลาที่ใช้ในการแสดงพฤติกรรมแต่ละกลุ่มของนกกระสาปากเหลืองทั้งสองเพศที่ พบในการวิจัยครั้งนี้สามารถเปรียบเทียบเป็นร้อยละของค่าเฉลี่ยได้ดังภาพ ก 80 60 เพศผู้
40
เพศเมีย
20 กลุ่มพฤติกรรม
0 ทั�วไป
ทางสังคม
อื�นๆ ช่วงฤดูผสมพันธุ์ เลี�ยงลูก
ภาพ ก แผนภูมิเปรียบเทียบสัดส่วนเวลาที่นกทั้งสองเพศใช้ในการแสดงแต่ละกลุ่มพฤติกรรมในรอบปี (%)
1.2 การเพาะขยายพันธุ์ ฤดูผสมพันธุ์ ระหว่างเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ โดยพบการเปลี่ยนแปลงของสีตัวก่อนผสมพันธุ์ทั้งสองเพศ ได้แก่ ปากสีเหลืองสด ขนสีขาวนวล ขนสีดำ�มีประกายสีเขียวสวยงาม ขนใต้ท้องเป็นปุย ผิวหนังบริเวณหน้าผาก รอบตา แก้ม และต้นขาเป็นสีแดงจัดถึงอมม่วง บางตัวอาจพบตาขาวเป็นสีแดง ซึ่งสีตัวจะกลับเป็นสีเดิมหลังจาก วางไข่แล้ว การจับคู่ ปีแรกมีจำ�นวน 3 คู่ ส่วนปีที่สองมีจำ�นวน 5 คู่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.7) โดยนกจะจับคู่เดิมของตน และใช้เวลาในการเกี้ยวพาราสีลดลงในปีที่สอง และพบนก 1 คู่ที่มีนกผู้ช่วย (Helper) เป็นนกเพศผู้จำ�นวน 1 ตัว การวางไข่และการฟักไข่ วางไข่ระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ในช่วงพลบค่ำ�ถึงเช้ามืด มีอัตราการ วางไข่มากที่สุดในเดือนมกราคม (ร้อยละ 76.2) วางไข่จำ�นวน 2-5 ฟองต่อครอก (เฉลี่ย 3.6±1.0 ฟองต่อครอก) ไข่มีลักษณะหัวรีท้ายป้านหรือค่อนไปทางรี เปลือกสีขาวไม่มีลวดลายหรือมีลายจุดสีน้ำ�ตาลอ่อน ขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 44.0±4.6 มิลลิเมตร ยาว 66.3±4.9 มิลลิเมตร และเส้นรอบวง 148.7±12.5 มิลลิเมตร ซึ่งปีแรกมี จำ�นวนไข่รวม 12 ฟอง ส่วนปีที่สองมีจำ�นวนไข่รวม 20 ฟอง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.7) นอกจากนี้ยังพบพฤติกรรมที่ หลากหลายระหว่างฟักไข่ เช่น นอนฟักไข่แม้ว่าจะเกินระยะฟักแล้ว หรือเขี่ยไข่เดิมทิ้งก่อนจะวางไข่ซ้ำ�อีกครั้ง อัตราการฟักเป็นตัวและอัตรารอดชีวิตของลูกนก อัตราการฟักเป็นตัวของไข่ในปีแรกและปีที่สองคิดเป็น ร้อยละ 25.0 และ 60.0 ตามลำ�ดับ ส่วนอัตราการรอดชีวิตของลูกนกที่อายุมากกว่า 2 เดือนระหว่างปีแรกและปีที่ สองคิดเป็นร้อยละ 8.3 และ 30.0 จากจำ�นวนไข่ที่ได้ในแต่ละปีตามลำ�ดับ และพบจำ�นวนลูกนกในรังสูงสุดถึง 3 ตัว การอนุบาลลูกนกกระสาปากเหลือง (Hand-rearing) พบการเจริญเติบโตของลูกนกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องในช่วงอายุ 50 วันแรก จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและเริ่มคงที่ โดยมีน้ำ�หนักตัว 2,300-2,400 กรัมเมื่อ อายุประมาณ 60 วัน โดยช่วงอายุ 30 วันแรกจะมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเฉลี่ย 47.38 กรัมต่อวัน แต่ช่วง อายุ 30 วันถัดมาลดลงเหลือ 28.63 กรัมต่อวัน ดังนั้นช่วงอายุ 60 วันแรกจึงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 38.00 กรัมต่อวัน
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
1.3 ปริมาณการกินอาหาร อาหารหลักที่ให้ ได้แก่ ปลาข้างเหลืองแช่แข็ง ผสมกับปู กั้ง และปลาหมึกอีก เล็กน้อย สลับกับให้ปลาหางแข็งหรือปลาทูแช่แข็งเป็นบางครั้ง มีปริมาณการกินอาหารเฉลี่ย 310.11±67.17 กรัม ต่อตัวต่อวัน โดยมีปริมาณสูงสุดในเดือนสิงหาคมและต่ำ�สุดในเดือนพฤษภาคม 2. การติดตามสถานภาพ จากการสำ�รวจเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2551 พบนกกระสาปากเหลืองตัวเต็มวัยจำ�นวน 1 ตัวอาศัยหากินร่วม กับฝูงนกกาบบัวหรือยืนลำ�พังบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำ�ห้วยตลาด จ.บุรีรัมย์ และเมื่อตรวจสอบซ้ำ�ใน พื้นที่เดิมในช่วงเดียวกันของปีถัดมาก็พบนกตัวเต็มวัยจำ�นวน 1 ตัวยืนหากินใกล้เคียงกับจุดที่พบในปีก่อนหน้า และ ยังพบหากินร่วมกับฝูงนกกาบบัวอีก 1 ตัวบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำ�สนามบิน จ.บุรีรัมย์ แตกต่างจาก เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง ที่เคยพบนกชนิดนี้ แต่กลับสำ�รวจไม่พบแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามจากการเฝ้า ติดตามพบว่าการอพยพมาในพื้นที่ของนกชนิดนี้ลดลงอย่างต่อเนื่องและคาดว่าบางส่วนได้อพยพไปอาศัยยังพื้นที่อื่น อภิปรายผล 1. การศึกษาพฤติกรรมและการเพาะขยายพันธุ์ 1.1 พฤติกรรม จากการศึกษาวิจัยตลอด 1 ปีสามารถแบ่งพฤติกรรมออกเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกเป็นระยะ เวลาในตอนท้ายของฤดูผสมพันธุ์ที่ยังไม่พบการฟักออกเป็นตัวของลูกนก จากนั้นช่วงที่สองเป็นช่วงนอกฤดูผสม พันธุ์ และช่วงสุดท้ายเป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์จนถึงเลี้ยงลูก ทำ�ให้ทราบแบบแผนการแสดงพฤติกรรมในแต่ละกลุ่มของ นกภายในสภาพการเพาะเลี้ยง ดังนี้ 1. พฤติกรรมทั่วไป เป็นแบบแผนที่มากับพันธุกรรมและจำ�เป็นต่อความอยู่รอด ในแบบแผนการกินขับถ่ายนกจะแสดงพฤติกรรมทดแทนการหากินตามธรรมชาติ โดยเพศผู้จะมีความถี่และใช้เวลาสูงสุดโดยเฉพาะช่วง เย็นเช่นเดียวกับนกกาบบัว6 และสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของลูกนก ส่วนการกินน้ำ�พบบ่อยในเพศผู้แต่ใช้เวลานาน ในเพศเมีย และสัมพันธ์กับการกินอาหาร ในการขับถ่ายนกจะถ่ายรดขาเพื่อช่วยระบายความร้อน และจะขับถ่ายมาก เมื่อบินย้ายตำ�แหน่งและตื่นระวัง ด้านแบบแผนการทำ�ให้สบายตัวจะใช้เวลาตลอดทั้งวันทั้งสองเพศและนิยมกระทำ� นอกฤดูผสมพันธุ์ หรือเมื่อลูกนกดูแลตัวเองได้บ้างแล้ว การไซร้้ขนจะคล้ายกับการแต่งตัวจึงพบมากในเพศผู้ในช่วง ต้นฤดูผสมพันธุ์ ส่วนการอาบแดดมักเกิดในช่วงที่แดดจัดและการเปลี่ยนน้ำ�ในสระก็ช่วยกระตุ้นพฤติกรรมได้ ด้าน การเคลื่อนที่พบว่าทั้งสองเพศจะมีพฤติกรรมสูงสุดในช่วงใกล้ฤดูผสมพันธุ์ถึงช่วงต้นของการเลี้ยงลูกสอดคล้องกับ ช่วงที่จับคู่และเลี้ยงลูก ด้านการพักผ่อนมักเกิดในช่วงว่างเว้นจากกิจกรรมอื่น 2. พฤติกรรมอื่นๆ แบบแผนการเล่นเป็นพฤติกรรมที่ไม่เคร่งเครียดแต่อาจทำ�เพื่อการออกกำ�ลังหรือ 7 สำ�รวจ โดยพบมากในเพศผู้แต่ใช้เวลามากในเพศเมียและมักเกิดในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ ส่วนแบบแผนการมองระวังภัยพบว่านกมักมองขึ้นด้านบนเช่นเดียวกับงานวิจัยในนกชนิดอื่น พบมากในนกเพศเมียโดยเฉพาะช่วงต้นของ การเลี้ยงลูกเช่นเดียวกับนกกาบบัว 3. พฤติกรรมทางสังคม เป็นแบบแผนที่มีการสื่อสารรวมอยู่ ในการปฏิสัมพันธ์กลุ่มจะสื่อสารด้วย การตบปากกระทบกัน (Mandible rattling) ซึ่งเพศเมียจะกระทำ�มากในช่วงต้นฤดูผสมพันธุ์ ส่วนการไซร้ขนให้แก่กัน จะพบมากในเพศผู้ซึ่งสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับช่วงจับคู่ผสมพันธุ์ ส่วนการก้าวร้าวจะพบอย่างชัดเจนในเพศผู้ช่วงฤดู ผสมพันธุ์ถึงวางไข่ และพบว่าก้าวร้าวต่อคู่ได้บ้าง แต่ช่วงที่ลูกนกกำ�ลังเจริญเติบโตเพศเมียจะก้าวร้าวมากกว่า ส่วน ลูกจะแสดงพฤติกรรมตรงข้ามด้วยการผูกไมตรี รวมทั้งลักษณะภายนอกก็ยังช่วยลดความก้าวร้าวจากตัวเต็มวัยได้ 4. พฤติกรรมช่วงฤดูผสมพันธุ์ ในแบบแผนการเกี้ยวพาราสีจะพบการตบปากกระทบกันเสียงดังช้ำ�ๆ และชักชวนให้คู่สนใจรังตั้งแต่ช่วงต้นฤดูผสมพันธุ์โดยนกเพศผู้และมักกระทำ�ในช่วงสาย ด้านแบบแผนเกี่ยวกับแคร่ รังจะพบตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม โดยเพศผู้จะเริ่มสร้างรังก่อนซึ่งเดือนแรกจะพบการเกี้ยวพาราสีเพศเมียและ ช่วยกันทำ�รังเป็นระยะๆ จากนั้นการสร้างรังจะเพิ่มขึ้นในเดือนที่สองเพื่อรองรับการวางไข่ในเดือนที่สาม ซึ่งจะหาวัสดุ มาตกแต่งรังลดลงหลังวางไข่และเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อลูกนกโตขึ้น การจัดแต่งรังมักกระทำ�โดยเพศผู้ ส่วนเพศเมีย จะยืนเฝ้ารังบ่อยครั้งในช่วงก่อนที่เพศผู้จะขึ้นผสมพันธุ์ ด้านแบบแผนการผสมพันธุ์จะพบมากในช่วงกลางวันและ
81
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสีตัว ด้านแบบแผนการฟักไข่ทั้งคู่จะสลับกันนอนฟักจนถึงช่วงสายเพื่อให้ไข่ได้รับ ความอบอุ่นที่เพียงพอ โดยเพศผู้จะแสดงความเอาใจใส่ต่อการฟักไข่มากกว่า 5. พฤติกรรมการเลี้ยงลูก ในระยะ 4 เดือนแรกจะพบแบบแผนพฤติกรรมส่วนใหญ่คล้ายนกในสกุล เดียวกัน พ่อแม่นกจะแบ่งส่วนการเลี้ยงลูก โดยพ่อนกจะทำ�การไซร้ขน จัดตัวและยืนเฝ้าดูแลลูกมากกว่าแม่นกที่ทำ� เพียง 1 เดือน ในเดือนแรกหลังฟักออกจากไข่แม่นกจะกกลูกมากโดยเฉพาะช่วงเช้าสอดคล้องกับสภาพอากาศเช่น เดียวกับการฟักไข่ และให้อาหารลูกบ่อยครั้งสอดคล้องกับการเติบโตที่พบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในลูกนกอนุบาล ส่วน พ่อนกจะนิยมให้อาหารลูกในช่วงเย็นซึ่งใกล้เคียงกับเวลาหากินปกติของพ่อนก 1.2 การเพาะขยายพันธุ์ ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ โดยลักษณะภายนอกที่ เปลี่ยนแปลงนั้นแสดงถึงการเริ่มฤดูผสมพันธุ์สอดคล้องกับนกในสกุลเดียวกัน8 นกจะจับคู่เดิมแม้สิ้นฤดูผสมพันธุ์ แล้วและมีระยะฟักไข่ใกล้เคียงกับการศึกษาอื่น ความสัมพันธ์ระหว่างจำ�นวนครั้งที่วางไข่กับจำ�นวนไข่ที่ให้ยังไม่ ชัดเจน แต่พบความสัมพันธ์อื่นๆ ได้แก่ นกที่เคยวางไข่แล้วขนาดไข่จะใหญ่กว่านกที่วางไข่ครั้งแรก หรือรูปทรงของ ไข่จากนกตัวเดียวกันจะเป็นทรงกลมรีเล็กในปีแรก แต่จะป้านและใหญ่ขึ้นในปีที่สอง หรือนกตัวใหญ่จะให้ไข่ฟองใหญ่ ซึ่งคาดว่าเกี่ยวเนื่องกับความสมบูรณ์พันธุ์และลำ�ดับครอก ด้านอัตราการฟักเป็นตัวและการรอดชีวิตของลูกนกนั้น จำ�นวนไข่ที่มากในปีที่สองจากการจับคู่ที่เพิ่มทำ�ให้อัตราการฟักเป็นตัวของลูกนกมีมากขึ้น ส่งผลให้อัตราการรอด ชีวิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่วนหนึ่งอาจมาจากการปรับตัวในสภาพการเพาะเลี้ยง แต่สาเหตุการสูญเสียอาจมาจากบาง ปัจจัย เช่น ความสมบูรณ์ของไข่ลดลง ลูกนกพลัดตกจากรัง หรืออุณหภูมิไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นประเด็นสำ�คัญที่ควร ได้รับการแก้ไขเพราะจะส่งผลต่อความสำ�เร็จของขยายพันธุ์ ลูกนกแรกเกิดถึงวัยอ่อนมีลักษณะภายนอกคล้ายลูกนกกาบบัว โดยจัดอยู่ในกลุ่มลูกอ่อนขนปุย (Precocial) 9 ช่วงแรกลูกนกจะยังมีขนไม่มากจึงพบการกกลูกบ่อยครั้ง ลูกนกได้รับอาหารจากการขย้อนให้ของพ่อแม่ และหัด กระพือปีกแต่บินออกจากรังได้ช้ากว่าปกติ พ่อแม่นกจะเลี้ยงลูกอย่างใกล้ชิดจนถึงอายุ 30 วันสอดคล้องกับที่ลูกนก ทำ�กิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองมากขึ้นแต่ยังขาดความซับซ้อนของพฤติกรรมและไม่หากินเอง จากนั้นไม่นานลูกนกก็ ทิ้งรังและลดการปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ลงอย่างรวดเร็วใกล้เคียงกับการเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์รอบใหม่ การอนุบาลลูกนกทำ�ในตู้กกควบคุมความชื้นแทนการนอนกก แล้วย้ายลงกล่องเลี้ยงเมื่อโตขึ้นเพื่อให้ปรับตัว กับสภาพแวดล้อม ให้อาหารเป็นปลาหั่นขนาดต่างๆ ตามช่วงอายุเพื่อฝึกให้กินเอง ซึ่งคาดว่าอาหารที่ได้รับอย่างเต็ม ที่นั้นช่วยให้มีน้ำ�หนักตัวมากกว่าลูกนกบนรัง ด้านพฤติกรรมและลักษณะภายนอกแสดงไปในทางเดียวกันกับลูกนก บนรัง แต่รวดเร็วแตกต่างไปบ้างซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องกับอาหารเช่นเดียวกัน หลังจากอนุบาลได้ 2 เดือนก็ปล่อยรวม กับนกชนิดอื่นในส่วนแสดง พบว่าลูกนกแสดงสัญชาตญาณการบินและคาบเศษกิ่งไม้มาวางคล้ายรังแล้วนั่งอ้าปาก ร้องขออาหารแบบเดียวกับพฤติกรรมบนรัง แต่จะบินไปกินอาหารเองหากไม่ได้รับการป้อน และมีการแสดงความ ก้าวร้าวต่อนกตัวอื่นเป็นการจัดระบบสังคมใหม่ 1.3 ปริมาณการกินอาหาร จะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วง โดยปริมาณการกินจะเพิ่มขึ้นเมื่ออยู่ในช่วง ชดเชยระหว่างฟักไข่ เตรียมระบบสืบพันธุ์ สะสมอาหารในฤดูหนาว สร้างไข่ และเลี้ยงลูก ส่วนปริมาณการกินจะ ลดลงเมื่ออยู่ในช่วงทำ�กิจกรรมทางสังคมในช่วงใกล้ฤดูผสมพันธุ์ ฟักไข่ และลดการให้อาหารลูกลง 2. การศึกษาสถานภาพ จากการสุ่มสำ�รวจพบนกชนิดนี้ได้ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำ�ห้วยตลาด จ.บุรีรัมย์ เช่นเดียวกับ รายงานการพบอื่นๆ และพบเพิ่มเติมอีกแห่งหนึ่งในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำ�สนามบินซึ่งห่างออกไปไม่มากนัก แต่ในจังหวัดพัทลุงกลับไม่พบนกชนิดนี้ แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ธรรมชาติบางแห่งในประเทศไทยยังสามารถพบการ อพยพมาของนกกระสาปากเหลืองได้บ้างแต่เป็นจำ�นวนน้อย ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าจำ�นวนของนกชนิดนี้ในธรรมชาติมี น้อยลงหรือสภาพนิเวศในพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงทำ�ให้พบการอพยพมาของนกลดลงได้
82
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
สรุป โครงการวิจัยนี้มุ่งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนกกระสาปากเหลืองจากจำ�นวนนกทั้งหมด 12 ตัว แบ่งเป้าหมายเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมและการเพาะขยายพันธุ์ในสภาพการเพาะเลี้ยง และด้านสถานภาพในพื้นที่ธรรมชาติ ด้านพฤติกรรมแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มซึ่งนกทั้งสองเพศมีการแสดงผลแตกต่างกัน โดยเพศเมียใช้เวลาในกลุ่มพฤติกรรม ทั่วไป กลุ่มพฤติกรรมทางสังคม และกลุ่มพฤติกรรมอื่นๆ มากกว่าเพศผู้ร้อยละ 5.83, 0.69 และ 1.10 ตามลำ�ดับ ส่วนเพศผู้ใช้เวลาในกลุ่มพฤติกรรมช่วงฤดูผสมพันธุ์ และกลุ่มพฤติกรรมการเลี้ยงลูกมากกว่านกเพศเมียร้อยละ 0.82 และ 6.79 ตามลำ�ดับ ด้านการเพาะขยายพันธุ์พบการจับคู่ในปีแรกจำ�นวน 3 คู่และในปีที่สองจำ�นวน 5 คู่ รวมได้ลูกนกทั้งสิ้น 7 ตัว ซึ่งพ่อแม่นกจะช่วยกันสร้างรัง ฟักไข่ และเลี้ยงลูก วางไข่ครั้งละ 2-5 ฟอง ระยะฟักไข่นาน 28-32 วัน และเลี้ยง ลูกนาน 5-6 เดือน ด้านการสุ่มสำ�รวจสถานภาพของนกในพื้นที่ชุ่มน้ำ�บางแห่งของประเทศในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551-2552 พบเพียง 1-2 ตัวในจังหวัดบุรีรัมย์แต่ไม่พบในจังหวัดพัทลุงแต่อย่างใด ซึ่งถือว่าพบเป็นจำ�นวนน้อยมาก ดังนั้นข้อมูลที่ได้จึงทำ�ให้ทราบชีววิทยาของนกที่สำ�คัญต่อการประยุกต์ใช้ในงานการจัดการภายในสภาพการเพาะ เลี้ยงให้มีความยั่งยืน อีกทั้งยังนำ�ผลการศึกษาสถานภาพที่ได้มาผสานกันเป็นข้อมูลในการต่อยอดการอนุรักษ์ให้นก กระสาปากเหลืองไม่สูญหายไปในอนาคตอันใกล้ เอกสารอ้างอิง [1] โอภาส ขอบเขตต์. 2543. นกในเมืองไทย เล่ม 3. กรุงเทพมหานคร : สารคดี. 225-226. [2] BirdLife International. 2008. “Mycteria cinerea”. The IUCN Red List of Threatened Species. Version 2009.1. Birdlife International, Cambridge, UK. Available from: http://www.iucnredlist.org/ details/144775/0. [3] The Wild Ones. 2001. “Milky stork”. The Wild Ones Animal Index, New York. Available from: http://www.thewildones.org/Wetlands/milky.html. [4] CITES Secretariat. 2009. “Appendices I, II and III”. UNEP, Geneva, Switzerland. Available from: http://www.cites.org/eng/app/appendices.html. [5] กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. สำ�นักอนุรักษ์สัตว์ป่า. 2550. “กฎหมายด้านสัตว์ป่า”. แหล่ง ที่มา http://www.dnp.go.th/wildlifenew/downloads/gov2.pdf. [6] เกียรติศักดิ์ ชิณวงศ์. 2530. พฤติกรรมของนกกาบบัว (Ibis leucocephalus). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. [7] นริทธิ์ สีตะสุวรรณ. 2547. พฤติกรรมวิทยา. เชียงใหม่ : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [8] สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย. 2552. “พฤติกรรมของนกในรอบปี”. แหล่งที่มา http://www.bcst.or.th. [9] สัมพันธ์ ธรรมเจริญ. 2546. พฤติกรรมนก. กรุงเทพมหานคร : คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
83
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การจับคู่ผสมพันธุ์เสือไฟในกรงเพาะเลี้ยงสวนสัตว์สงขลา สมพร ย่องกิ้ม1 อุทัย พูลยรัตน์1 ภูวดล สุวรรณะ1 นิรมล รัตนวิบูลย์2
บทคัดย่อ การจับคู่ผสมพันธุ์เสือไฟในกรงเลี้ยง ณ สวนสัตว์สงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อการขยายพันธุ์และการอนุรักษ์ โดยวิธีการจับคู่ผสมพันธุ์ ขั้นตอนแรกเริ่มต้นโดยการสร้างกรงจำ�นวน 2 กรง ภายในคอกเพาะเลี้ยงจัดระบบนิเวศ ภายใน โดยการทำ�คอนไม้ต่างระดับ มีโพรง กรงปิดทับด้วยม่านกันแสง 50 % คอกเทียบคู่เพื่อสร้างความคุ้นเคย จำ�นวน 2 กรง ภายในมีคอนไม้ กล่องไม้ ขนาด 50×50×50 ซม. และภายนอกกันด้วยม่านกันแสง 50 % เตรียมสัตว์ ทดลองเพศผู้ 2 ตัว เพศเมีย 2 ตัว แล้วนำ�สัตว์ทดลองเทียบคู่ทั้ง 2 คู่ โดยเก็บข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรม การ เป็นสัด ระยะเวลาเป็นสัด รอบการเป็นสัด และการตั้งท้อง ผลการทดลองพบว่า แม่เสือไฟมีระยะเป็นสัดนาน 6 – 8 วัน โดยวงรอบการเป็นสัด 38 – 40 วัน ตั้งท้องนาน 95 วัน ให้ลูกเสือไฟ จำ�นวน 1 ตัวต่อครอก มีน้ำ�หนักแรกเกิด 200 – 250 กรัม
คำ�สำ�คัญ : การจับคู่ผสมพันธุ์ กรงเพาะเลี้ยง เสือไฟ สวนสัตว์สงขลา 1 2
สวนสัตว์สงขลา องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 189 หมู่ 5 ตำ�บลเขารูปช้าง อำ�เภอเมือง จังหวัดสงขลา 4/39 ถนนหน้าสถานี อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
84
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การศึกษาพฤติกรรมความสมบูรณ์พันธุ์และสมรรถนะการให้ผลผลิตของกวางผาในกรงเลี้ยง สุเมธ กมลนรนาถ1 บริพัตร ศิริอรุณรัตน์1 อดิสรณ์ กองเพิ่มพูล2 ณัฐพล จงกสิกิจ3* วัลยา ทิพย์กันทา1* อานุภาพ แย้มดี1 ชวลิต นิมิตรศิลป์1
บทนำ� กวางผาจัดเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวน 15 ชนิดของประเทศไทย ปัจจุบันมีสถานภาพถูกคุกคามและมีแนวโน้ม ใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable,VU) ในประเทศไทยพบกระจายตัวอยู่ในแนวเทือกเขาสูงของจังหวัดเชียงใหม่ อาศัยอยู่ใน ที่สูงจากระดับน้ำ�ทะเลตั้งแต่ 600-2,300 เมตร (รัตนวัฒน์, 2540) จำ�นวนประชากรกวางผาในธรรมชาติในปัจจุบัน ยังไม่มีการยืนยันสถานภาพที่ชัดเจน แต่มีแนวโน้นลดลงเนื่องจาก การล่า ปัญหาการบุกรุกถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็น ปัจจัยที่คุกคามต่อความอยู่รอดของประชากรกวางผาในธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง ความพยายามในการช่วยอนุรักษ์ประชากรกวางผาในธรรมชาติ ได้มีการศึกษาวิจัยสำ�รวจกวางผาในธรรมชาติ โดยชุมพรและคณะในปี พ.ศ. 2522 (ชุมพล, 2529) การศึกษานิเวศวิทยาของกวางผาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย จ.เชียงใหม่ (รัตนวัฒน์์, 2540) หากแต่ข้อมูลทางวิชาการของกวางผา องค์ความรู้และงานวิจัยเกี่ยวกับกวางผา ทั้ง ด้านชีววิทยา พฤติกรรมวิทยา โภชนศาสตร์ สรีระวิทยาการสืบพันธุ์ และการจัดการในสภาพการเพาะเลี้ยง ยังมีอยู่ ค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยกวางผาในธรรมชาติยังมีข้อจำ�กัดและทำ�ได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น การศึกษา วิจัยในสภาพการเพาะเลี้ยงอย่างเป็นระบบจะทำ�ให้ทราบข้อมูลที่สามารถช่วยส่งเสริมให้การอนุรักษ์กวางผาประสบ ความสำ�เร็จยิ่งขึ้นทำ�ให้สามารถพัฒนาการเพาะขยายพันธุ์เพิ่มจำ�นวนประชากรอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งจะเป็นการ ช่วยลดความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ของกวางผาและสนับสนุน งานอนุรักษ์นอกถิ่นอาศัยในการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติใน อนาคตได้ วิธีการศึกษา ทำ�การศึกษาในกวางผาจำ�นวน 16 ตัว โดยทำ�การศึกษาพฤติกรรมรายตัวและสมรรถนะการผลิต จำ�นวน 16 ตัว แบ่งเป็น เพศผู้ 8 ตัวและเพศเมีย 8 ตัว ที่อยู่ในกรงเลี้ยงขนาด 6 x 10 ตารางเมตร ระยะเวลาการศึกษาวิจัย ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2551 - เดือน พฤษภาคม 2552 ณ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ โดยมีรายละเอียดวิธีการศึกษาวิจัย ดังนี้ การเก็บข้อมูลสมรรถนะความสมบูรณ์พันธุ์ แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม ตามความแตกต่างของระดับโปรตีนในอาหารข้นคือ 12% และ 14% โดย ให้อาหารหยาบ คือ หญ้ารูซี่เป็นหลัก และเสริมด้วยพืชอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ ทั้งนี้จะมีน้ำ�ให้กินตลอดเวลาและ มีการเปลี่ยนน้ำ�เป็นประจำ�ทุกวัน ปริมาณการให้อาหารข้นกวางผานั้นในเดือนแรกของการทดลอง จะให้ในปริมาณ 5% ของน้ำ�หนักตัวกวางผา หลังจากนั้นจะลดลง 1% ของน้ำ�หนักตัวทุกๆ 2 เดือน จนเหลือปริมาณที่ให้ 2% ของ น้ำ�หนักตัวคือคงที่จนสิ้นสุดการทดลอง โดยจะมีการชั่งน้ำ�หนักของอาหารทุกครั้งก่อนให้และอาหารที่เหลือแล้ว ทำ�การจดบันทึกข้อมูล เก็บข้อมูลน้ำ�หนักกวางผาเป็นประจำ�ทุกเดือนและทุกตัว บันทึกข้อมูลในโปรแกรมสำ�เร็จรูป SPSS for Windows Version 10 การจัดเก็บแฟ้มข้อมูลมีรายละเอียดของข้อมูล ชื่อสัตว์ เพศ ชนิดของอาหาร เดือน ฤดูกาล และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (Average Daily Gain; ADG) 1
ส่วนอนุรักษ์ วิจัย และการศึกษา องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 71 ถนนพระราม 5 เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ 3 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต.ห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 2
85
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
การเก็บข้อมูลการศึกษาพฤติกรรม ศึกษาพฤติกรรมทั่วไปแบบรายตัว (Focal) และพฤติกรรมทางสังคม (Social behavior) ในกวางผาที่ทำ�การ จับคู่แล้ว โดยเป็นกวางผาที่เลี้ยงในกรงทดลองจำ�นวน 16 ตัว แบ่งเป็นเพศผู้ 8 ตัว เพศเมีย 8 ตัว โดยทำ�การสังเกต และบันทึกข้อมูลความถ่ีของการแสดงพฤติกรรมกวางผาผ่านกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งภายในกรงเลี้ยงโดยไม่รบกวน กวางผา ตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น. จำ�นวน 2 ครั้งต่อกวางผา 1 ตัว การสรุปและวิเคราะห์ข้อมูล นำ�ข้อมูลจากการศึกษาสมรรถนะความสมบูรณ์พันธุ์โดยจะศึกษาถึงอิทธิพลของเพศ ชนิดของอาหาร และ ฤดูกาลต่ออัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยของกวางผา โดยโมเดลของการวิเคราะห์คือ 1. y = µ + ฤดูกาล + ชนิดของ อาหาร + ∑ และ 2. y = µ + เพศ + ชนิดของอาหาร + ∑ ผลการศึกษาพฤติกรรม มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าความสัมพันธ์ในการแสดงพฤติกรรมระหว่างและภายใน กลุ่มด้วยวิธี ANOVA ผลและการอภิปรายผล การศึกษาสมรรถนะการให้ผลผลิต กวางผาทั้ง 16 ตัว มีน้ำ�หนักตัวเพิ่มขึ้นทุกตัว เมื่อสิ้นสุดการทดลองในระยะเวลา 1 ปี โดยกวางผาที่มีน้ำ�หนัก ตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ นุ้ย เพศเมีย เพิ่มขึ้น 7.4 กิโลกรัม ส่วนกวางผาที่มีน้ำ�หนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดคือ ล่าม เพศ ผู้ เพิ่มขึ้น 0.6 กิโลกรัม และพบว่าในเดือนธันวาคม น้ำ�หนักตัวของกวางผาทั้ง 16 ตัวลดลงจากเดือนพฤศจิกายน โดยตัวที่มีน้ำ�หนักลดลงมากที่สุด คือ เอ เพศเมีย และดาวรุ่ง เพศผู้ น้ำ�หนักตัวลดลง 2 กิโลกรัม ส่วนตัวที่มีน้ำ�หนัก ลดลงน้อยที่สุดคือ นุ้ย เพศเมีย และตะวันแดง เพศผู้ น้ำ�หนักตัวลดลง 0.5 กิโลกรัม น้ำ�หนักตัวที่เพิ่มขึ้นสุทธิของ กวางผาโดยเฉลี่ยและอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน หลังสิ้นสุดการทดลองแล้ว พบว่ากวางผาที่กินอาหารข้นที่ ระดับโปรตีน 12% จะมีค่าสูงกว่ากวางผาที่กินอาหารข้นที่ระดับโปรตีน 14% ฤดูกาลมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันของกวางผา โดยในฤดูร้อนและฤดูฝน ไม่มีความแตกต่างกัน ในทางสถิติ แต่อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันมากกว่าในฤดูหนาวอย่างมีนัยสำ�คัญ ทั้งนี้ ชนิดของอาหารและเพศ ไม่มีอิทธิพลต่ออัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยของกวางผา การศึกษาพฤติกรรม จากการศึกษาพฤติกรรมรายตัวกวางผาในกรงเลี้ยงสำ�หรับการศึกษาสมรรถนะความสมบูรณ์พันธ์ุจำ�นวน 16 ตัวที่อยู่ในกรงเลี้ยงสำ�หรับการศึกษาสมรรถนะความสมบูรณ์พันธุ์ พบการแสดงพฤติกรรม 7 พฤติกรรมหลัก 16 รูป แบบพฤติกรรมได้แก่ 1) พฤติกรรมการกิน ประกอบด้วย การกินอาหารข้น การกินหญ้า และพฤติกรรมการกินน้ำ� 2) พฤติกรรมการเคี้ยวเอื้อง 3) พฤติกรรมการพักผ่อน ประกอบด้วย การนั่ง และการนอน 4) พฤติกรรมการขับ ถ่าย 5) พฤติกรรมการทำ�ให้สบายตัว ประกอบด้วย การเกา และการเลีย 6) พฤติกรรมการเคลื่อนที่และการจัดท่า ประกอบด้วย การยืน การเดิน การวิ่ง การนั่ง และการนอน 7) พฤติกรรมการทำ�เครื่องหมาย โดยพฤติกรรมที่พบใน การศึกษาครั้งนี้ คือ พฤติกรรมการฝนเขา โดยพบการแสดงพฤติกรรมการเคลื่อนที่และการจัดท่า ได้แก่ พฤติกรรม การยืน การเดิน มากที่สุด สรุป จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่ามีหลายปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการศึกษา ซึ่งอาจส่งผลต่อน้ำ�หนักตัว อัตราการ เจริญเติบโตเฉลี่ยของกวางผาและการแสดงพฤิตกรรมของกวางผา ซึ่งสามารถสรุปและมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. การจัดการ เนื่องจากในงานวิจัยนี้ได้เปลี่ยนการจัดการในกลุ่มทดลองจากสภาพกรงเลี้ยงขนาดใหญ่และ อยู่รวมกันเป็นครอบครัวมาเป็นการเลี้ยงแบบแยกขังเดี่ยวขนาดกรงเลี้ยงเล็กลงกว่าเดิม ทำ�ให้สัตว์ต้องปรับตัวใน
86
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
สภาวะแวดล้อมใหม่ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเครียดกับตัวสัตว์ได้ นอกจากนี้ กรงเลี้ยงเดี่ยวทำ�ให้สัตว์ไม่สามารถ แสดงพฤติกรรมทางสังคมต่อตัวอื่นหรือเพศตรงข้ามได้เต็มที่ ทำ�ให้พบพฤติกรรมทางสังคมพบได้ค่อนข้างน้อยแม้ว่า ได้ทำ�การเทียบจับคู่เพื่อผสมพันธุ์และทดลองปล่อยกวางผาอยู่ร่วมกันแต่เนื่องจากระยะเวลาในการเทียบจับคู่ยัง น้อยเกินไปจึงทำ�ให้ยังไม่พบพฤติกรรมในด้านการจับคู่ผสมพันธุ์ ดังนั้น ในการศึกษาพฤติกรรมทางสังคมควรทำ�เพิ่ม ระยะเวลาในการศึกษาหรือศึกษาในกลุ่มประชากรที่อยู่ร่วมกันอยู่แล้ว ผลการแสดงพฤติกรรมของกวางผาในการ ศึกษาครั้งนี้มีความแตกต่างจากการศึกษาก่อนหน้า (อดิสรณ์และรักชนก 2546) ซึ่งทำ�การศึกษากวางผาในกรงเลี้ยง ขนาดใหญ่และเป็นแบบกึ่งธรรมชาติ 2. องค์ประกอบภายในกรงเลี้ยงเนื่องจากกวางผาเป็นสัตว์ที่มีถิ่นอาศัยอยู่บนเทือกเขาสูง ดังนั้นการเพิ่มพื้นที่ ในแนวดิ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้เกิดการแสดงออกของพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ 3. อาหารจากผลจากการศึกษาระดับโปรตีนในอาหารข้น 12% และ 14% ไม่พบความแตกต่างของอัตราการ เจริญเติบโตของกวางผา ดังนั้น การเลือกใช้อาหารข้นที่มีระดับโปรตีน 12% จึงมีความเหมาะสมดีอยู่แล้วและยังช่วย ลดงบประมาณในการจัดการ ทั้งนี้การเสริมอาหารหยาบซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติของกวางผาจะทำ�ให้สัตว์ได้รับ สารอาหารที่หลากหลายและสามารถช่วยลดต้นทุนค่าอาหารลงได้เช่นกัน 4. การจับบังคับสัตว์ เพื่อชั่งน้ำ�หนักทำ�ให้สัตว์เกิดความเครียดได้ง่าย การทำ�งานในช่วงตอนเช้าตรู่หรือ พลบค่ำ� หลีกเลี่ยงการจับในช่วงที่มีอากาศร้อนจัดจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียจากภาวะช๊อคจากอุณหภูมิ ร่างกายสูงเกินได้ เอกสารอ้างอิง [1] กองทุนสัตว์ป่าโลก. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กองทุนสัตว์ป่าโลก. กรุงเทพ, 2543 [2] รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์. นิเวศวิทยาของกวางผาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ, 2540 [3] สำ�เริง การบรรจง. พฤติกรรมกวางผาในสภาพกรงเลี้ยง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. เชียงใหม่, 2536 [4] สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์. กวางผาหรือ Chinese Goral. กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพ, 2539 [5] วิจัยสัตว์ป่า, กลุ่มอนุรักษ์สัตว์ป่า, สำ�นัก. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. 2549. สัตว์ป่าสงวน ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร :ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด. [6] Thai Society for the Conservation of Wild Animals . Thai Wildlife Rare or Extrinct . Bangkok[Online] Available: http://www.tscwa.org/wildlife/rare_or_extrinct_09.html
87
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
88
คณะทำ�งานสัมมนาวิชาการสัมมนาสัตว์ป่าสวนสัตว์ครั้งที่ 4 ประธาน ที่ปรึกษา
นายสุเมธ กมลนรนาถ ผู้อำ�นวยการส่วนอนุรักษ์ วิจัย และการศึกษา องค์การสวนสัตว์ นายโสภณ ดำ�นุ้ย ผู้อำ�นวยองค์การสวนสัตว์ นายวิศิษฎ์ วิชาศิลป์ รองผู้อำ�นวยการ องค์การสวนสัตว์ นายบริพัตร ศิริอรุณรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการส่วนอนุรักษ์ วิจัย และการศึกษา องค์การสวนสัตว์
ฝ่ายวิชาการ
ประธาน: นางสาวอัมพิกา ทองภักดี เลขา: นางสาวอังคณา สมนัสทวีชัย
คณะทำ�งาน
1. นางสาววัลยา ทิพย์กันทา 2. นายอานุภาพ แย้มดี 3. นางสาวสาริณี วงศกร 4. นายนคร สลางสิงห์ 5. นางสาวนริศรา บุญตัน 6. นายภณิทธิ์ พัชรพิมานสกุล 7. นางสาวปิยพร คงเมคี 8. นายนิธิดล บูรณพิมพ์
ฝ่ายเลขาและประชาสัมพันธ์
ประธาน: นางสาวสุดารัตน์ บ่ายเจริญ เลขา: นางสาวนุชจรี พืชคูณ
คณะทำ�งาน
1. นางฐานุตรา ธนะภพ 2. นางสาวรุ่งทิพย์ อินทศรี 3. นายภณิทธิ์ พัชรพิมานสกุล 4. นางสาวนริศรา บุญตัน 5. นางสาวศิริภรณ์ รัตนปัญญา
ฝ่ายดำ�เนินการประชุมและสถานที่ ประธาน: นายอนุพงษ์ นวลแพง เลขา: นายศรานนท์ เจริญสุข คณะทำ�งาน
1. นายนคร สลางค์สิงห์ 2. นางสาวสาริณี วงศกร 3. นางสาวรุ่งทิพย์ อินทศรี 4. นายชาญณรงค์ ธนนาทธนะชน 5. นางสาวศรีประไพ จำ�ปาแดง 6. นายสกนธ์ น้อยมูล 7. นางสาวณัฐากมล ขจรกลิ่น
ฝ่ายจัดเลี้ยงและยานพาหนะ
ประธาน: นางฐานุตรา ธนะภพ เลขา: นางสาวศิริภรณ์ รัตนปัญญา
คณะทำ�งาน
1. นายกฤตอธิษฐ์ ปภานเตชิตา 2. นายชาญชัย จะแรมรัมย์
สัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 4 “การลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”
ขอขอบคุณ บริษัท เอ. พี. เทค. (ประเทศไทย) จำ�กัด เลขที่ 103/61-62 หมู่ที่ 4 ถนนราชพฤกษ์ ตำ�บลบางกร่าง อำ�เภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 บริษัท ไบโอเมด ไดแอกนอสติกส์ (ประเทศไทย) จำ�กัด เลขที่ 96/38 หมู่ที่ 6 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำ�บลบางกรวย อำ�เภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130 บริษัท พลัซ ไซแอนซ์ จำ�กัด เลขที่ 11/68 หมู่บ้านเนอวานา ถนนกัลปพฤกษ์ แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 บริษัท ฮอลลีวู้ด อินเตอร์ เนชั่นแนล จำ�กัด เลขที่ 505/4-8 เพชรบุรี แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 บริษัท แรพพอท จำ�กัด เลขที่ 43 และ 45 หมู่บ้านศานตินิเวศน์ ซอย 115 ลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 บริษัท กิบไทย จำ�กัด เลขที่ 44/6 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 บริษัทหริกุล ชายเอนซ์ จำ�กัด เลขที่ 694 ซ.รัชดานิเวศน์ 24 ถ.ประชาราษฎร์บำ�เพ็ญ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 บริษัท ไบโอจีโนเมด จำ�กัด เลขที่ 80/1 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 โครงการเพาะขยายพันธุ์เสือลายเมฆ เลขที่ 235 หมู่ 7 ตำ�บลบางพระ อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20110 สมาคมอนุรักษ์นก และธรรมชาติ แห่งประเทศไทย เลขที่ 43 ซอยวิภาวดี-รังสิต 16/43 แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
89