การจัดการสัตว์ในสวนสัตว์ จาก Zoo Animal, The MERCK VETERINARY MANUAL ๑๐ edition
โดย น.ส.ณัฐญา ทัว่ ประโคน นักวิทยาศาสตร์สวนสัตว์ ๓ งานบํารุงสัตว์เลื้อยคลาน ฝ่ายบํารุงสัตว์ สวนสัตว์ดุสิต มิถนุ ายน ๒๕๕๔
สัตว์ในสวนสัตว์ : บทนํา สัตว์ในสวนสัตว์จะมีสุขภาพร่างกายและพฤติกรรมทางสังคมที่ดไี ด้ขึ้นอยู่กบั การออกแบบกรง, การ โภชนาการ, การเลี้ยงดู, การจัดการ,กลุ่มโครงสร้างทางสังคม, การส่งเสริมพฤติกรรม และการดูแลรักษาที่ดี กรงเลี้ยงที่มีลักษณะเป็นธรรมชาติจะช่วยดึงดูดความน่าสนใจให้กบั ประชาชน และยังเป็นการกระตุ้น สัตว์ด้วย แต่อาจมีความยุ่งยากในการจับบังคับสัตว์เพื่อทําการควบคุมปรสิตและสุขาภิบาล ในส่วนแสดงที่มีสัตว์หลายชนิดอยู่ด้วยกันอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคระหว่างชนิดได้ และ อาจส่งผลรุนแรง ถ้าไม่ได้รับจัดการอย่างเหมาะสม ในบทนี้จะอธิบายทั่วไปเกี่ยวกับพื้นฐานในการจัดการ การป้องกันโรค โปรแกรมการดูแลรักษา และ ความผิดปกติบางอย่างที่มักพบได้บ่อยในสัตว์ท่อี ยูใ่ นสวนสัตว์ สําหรับข้อมูลอื่นๆ ให้ดูเพิ่มเติมในส่วนนี้ (eg, amphibians, Amphibians: Introduction ; marine mammals, Marine Mammals: Introduction; llamas and alpacas, Llamas and Alpacas: Introduction; ostriches, Ostriches: Introduction; nonhuman primates, Nonhuman Primates: Introduction; reptiles, Reptiles: Introduction ; vaccination of exotic mammals, Vaccination of Exotic Mammals: Introduction) การจัดการพื้นฐาน • การเลี้ยงสัตว์ • การขยายพันธุ์ การเลี้ยงสัตว์ : ส่วนแสดงสัตว์ควรมีสภาพแวดล้อมที่มีความใกล้เคียงกับธรรมชาติ เพื่อความจรรโลงตาจรรโลงใจแก่ ผู้มาท่องเที่ยว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ํานมและสัตว์ปีกส่วนมากมีสภาพร่างกายที่สามารถทนต่ออุณหภูมิในช่วง กว้างได้ ถ้ามีร่มเงากําบังและน้ําให้ในเวลาที่มีอากาศร้อนและแห้ง ส่วนในช่วงที่มีอากาศหนาวควรเพิ่มที่กําบัง และให้ความอบอุ่นเป็นจุดๆ ให้อาหารจําพวกเนื้ออย่างเพียงพอเพื่อเพิม่ ความต้องการพลังงาน ซึง่ เป็นสิ่ง สําคัญที่ทําให้แน่ใจว่าสัตว์ได้รับการปกป้องทางสภาพแวดล้อมให้มีที่หลบพัก มีอาหารและน้ําเพียงพอ ทีใ่ ส่ อาหารควรออกแบบให้หลีกเลี่ยงต่อการปนเปื้อนจากของเสียต่างๆ และง่ายต่อการทําความสะอาด
ในส่วนแสดงที่เลี้ยงสัตว์เลีย้ งลูกด้วยนมและสัตว์ปีกรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ควรสร้างที่ให้อาหารและน้ํา ไว้หลายๆที่ เพือ่ ป้องกันการต่อสูก้ ันเนื่องจากการล้ําอาณาเขตกันและกัน เวลาในการให้อาหารก็สําคัญ มีสตั ว์ หลายชนิดที่ให้กนิ ครั้งละน้อยๆ แต่กินตลอดทั้งวันดีท่สี ุดเพื่อเป็นการกระตุ้นให้สัตว์ทํากิจกรรม และเพื่อให้ได้ ผลดีสําหรับสัตว์ควรเป็นอาหารที่ดึงดูดความน่าสนใจ อยู่ในที่ง่ายและปลอดภัย การขยายพันธุ์ : ในการที่จะทําการขยายพันธุ์สัตว์นั้นจะต้องเข้าใจชีววิทยาและพฤติกรรมทางสังคมของสัตว์นั้นๆก่อน สัตว์บางชนิดควรเลี้ยงตัวเดียว เป็นคู่ หรือกลุ่ม ขึ้นอยู่กับระบบทางสังคมของสัตว์ชนิดนั้นๆนั้น ตัวอย่างเช่น กลุ่มหลากชนิดของสัตว์ในอันดับสัตว์กีบ(Artiodactyla) เป็นไปได้ท่จี ะสร้างวงรอบการเป็นสัดได้หลากหลายวิธี ตลอดจนการตรวจวัดระดับฮอร์โมนในปัสสาวะและอุจจาระ
การตรวจสอบวงรอบการเป็นสัดอาจถูกนํามาใช้เมื่อจะนําตัวผู้เข้ามาเทียบหรือย้ายเพื่อทําการเพาะ ขยายพันธุ์ บางชนิดต้องนําตัวผู้มาเข้ามาให้ตรงกับช่วงเวลาตกไข่ของตัวเมีย ทัง้ นี้เพื่อลดการบาดเจ็บทีเ่ กิด จากการต่อสู้กันระหว่างตัวผู้ดว้ ยกันในช่วงฤดูผสมพันธุ์ สัตว์บางชนิดควรจะย้ายตัวผู้ออกจากตัวเมียที่ตั้งท้อง หลายๆสัปดาห์ เพื่อป้องกันการทําร้ายตัวเมียและลูก อย่างไรก็ตามในภูมิประเทศที่มีอากาศหนาวตัวผู้ควรถูก นํามาเทียบอีกในเวลาที่พร้อมเพื่อให้ตกลูกเกิดขึ้นในช่วงอากาศอบอุ่น การขยายพันธุ์โดยใช้เทคนิคการผสมเทียม (AI)เช่น การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (IVF) การย้าย ฝากตัวอ่อน ได้ประสบความสําเร็จใน Driverse Zoo ในโปรแกรมการจับคู่ของสัตว์ชนิดทีใ่ กล้สูญพันธุ์ (เช่น เฟอร์เรทเท้าดํา black-footed feret) อย่างไรก็ตามความสําเร็จที่ย่งิ ใหญ่ต้องมีบุคลากร แหล่งเงินทุน การ ตัดสินใน วงรอบการเป็นสัด และการตอบสนองต่อการใช้ยาในสัตว์กลุ่มนั้น
การจัดการลําดับแรกของสวนสัตว์คือ การจับคู่ท่ีดีและถูกต้อง หากไม่มีการวางแผนด้านการจับคู่จะ ทําให้มีจํานวนประชากรมากเกินไป ในสวนสัตว์มีวิธีการหลายวิธี โดยการทําหมันนั้นมีหลายเทคนิค (การตอน การผูกท่อน้ําเชื้อ การผูกท่อนําไข่ในเพศเมีย รวมไปถึงการคุมกําเนิดด้วยยา การสอดฮอร์โมน การปล่อยสาร ในต่อมพิทูอิตารี การกินหรือ ฉีดโปรเจสเตอร์โรน) ซึ่งการทําหมันด้วยวิธีต่างๆต้องเลือกเวลาและวงรอบที่ เหมาะสม
การป้องกันโรค • การกักโรค • การควบคุมปรสิต • กาทําวัคซีน • การชันสูตร • การควบคุมสัตว์รบกวน พื้นฐานของการรักษาสัตว์ในสวนสัตว์คือการป้องกันโรค เพราะกระบวนการในการวินิจฉัยและ รักษาโรคโดยตรง มีน้อยกว่าสัตว์เลี้ยงทั่วไป ในการป้องกันโรคนั้นควรทําอย่างต่อเนื่องทั้งรายตัวและทั้งฝูง ซึง่ ในแผนป้องกันโรคจะรวมถึงการกักสัตว์นําเข้า การสุ่มตัวอย่างมูลเพื่อตรวจหาปรสิต การทําวัคซีน กระตุ้นภูมิคุ้มกัน การตรวจสุขภาพเบื้องต้น การชันสูตรซากสัตว์ แผนการควบคุมสัตว์รบกวน สัตว์ควรได้ รับการประเมินและรับรองสุขภาพ และตรวจโรคตามเงื่อนไขในแต่ละท้องที่หรือรัฐก่อนที่จะมีการเคลื่อน ย้ายไปสวนสัตว์อื่นหรือก่อนไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ซึง่ การประเมินก่อนกรเคลื่อนย้ายนี้สามารถนําไป ประเมินสถานภาพด้านสุขภาพของกลุ่มสัตว์ท่ยี งมีชีวติ อยู่ต่อไปได้
การกักโรค สัตว์ที่เข้ามาใหม่จะต้องถูกกักโรคมาก่อนซึ่งสถานที่ท่ใี ช้ในการกักโรคควรออกแบบให้เหมาะสม กับ การจัดการกับตัวสัตว์และถูกสุขลักษณะ ทําความสะอาดง่าย ก่อนที่จะย้ายสัตว์ออกจากพื้นที่กักโรคลังขน ย้ายจะต้องสะอาดและปราศจากโรค และทําจากวัสดุท่เี หมาะสม สถานที่กกั โรคต้องมีกําแพงกั้นไม่ให้สัตว์ พาหะเข้ามาได้ ควรมีพนักงานแยกจากส่วนอื่น ควรเป็นคนที่มีทักษะและประสบการที่สามารถบอกถึง ความผิดปกติและต้องคอยตรวจสอบปริมาณอาหารที่กิน ลักษณะของมูลสัตว์ที่ถ่ายออกมา ในระหว่างที่ทําการกักโรคนั้นสัตว์ควรได้รับการทําวัคซีนและทดสอบโรค เช่น วัณโรค พยาธิหนอน หัวใจ ตรวจหาพยาธิทั้งภายนอกและภายในรวมทั้งตรวจหาเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในเบื้องต้น และก่อนที่จะทําการปล่อยสัตว์ สัตว์ควรได้รับการตรวจร่างกายและการตรวจตัวอย่างทางห้อง ปฏิบัติการ รวมถึงการ X-Ray, ตรวจซีรั่ม, หาค่าโลหิตวิทยาและเคมีคลินกิ ซึ่งตัวอย่างซีรมั่ นั้นควรแช่แข็ง ไว้เพื่อศึกษาการระบาดได้ในอนาคต ผลทางห้องปฏิบัติการดังกล่าวจะถูกบันทึกลงในประวัติการรักษาของ สัตว์นั้นๆ สัตว์แต่ละตัวต้องถูกทําเครื่องหมายประจําตัวสัตว์เพื่อใช้ในการจําแนกสัตว์ เช่น การสัก การติด เครือ่ งหมาย การทําเบอร์หู การติดเครื่องรับส่งสัญญาณ
เมื่อมีการนําสัตว์เข้ามาเทียบต้องมีการวางแผนอย่างรอบครอบเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ได้รบั การบาด เจ็บ เช่น การทํากําแพงบังตา อาจใช้เป็นผ้าดิบแขวนไว้ให้ห่างจากรั้วหรือกําแพงกรง หรือการนําสบู่มาใช้ กับกระจกเพื่อพรางตาให้มองเห็นเป็นสีขาวๆ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุให้กับสัตว์ที่เข้ามาอยู่ในส่วน แสดงใหม่
การควบคุมปรสิต เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงทั่วไปสัตว์ในสวนสัตว์มีแนวโน้มว่าจะมีปรสิตได้หลายชนิดทั้งภายนอกและ ภายในซึ่งตัวยาที่ใช้ในการรักษาก็เหมือนกับในสัตว์เลี้ยง แต่การดูแลรักษาต้องมีการฝึกฝนว่าจะเลือกใช้ตัว ยาที่เหมาะสมและจําเพาะเจาะจงกับปรสิตชนิดที่มีความไวต่อยาชนิดนั้น พวกลูกสัตว์มักจะเกิดความเครียดจากการขนย้าย ป่วย หรือได้รับบาดเจ็บจะได้รับผลกระทบจาก ปรสิตมากที่สุด ในบางครั้งปรสิตทั่วไปเหล่านี้(โดยเฉพาะพวกโปรโตซัว) สามารถก่อให้เกิดโรคได้ โรคท้อง เสียอย่างรุนแรงเกิดจากการติดเชื้อ Coccidia , Trichomonas , Giardia , or Balantidium spp โรคที่เกิดจาก เชื้ออะมีบาที่พบได้ทั่วไปในสัตว์กลุ่มไพรเมทและสัตว์เลื้อยคลานมีความรุนแรงจนทําให้สตั ว์ถึงแก่ชีวิตได้ ปรสิตที่อยูใ่ นระบบทางเดินอาหารอาจเป็นปัญหาหนักและต่อเนื่องซึ่งบางชนิดอยู่ในส่วนแสดงที่เป็น ธรรมชาติ หรืออยู่กับสิ่งสกปรก หรือติดมากับสัตว์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพวกลูกสัตว์ท่นี ําเข้ามาเทียบใหม่ หรือลูกสัตว์ที่ถูกทําให้เครียด) ในสถานการณ์เช่นนี้อาจต้องผสมยาถ่ายพยาธิเข้าไปในอาหารโดยตรงเช่น เดียวกับในสัตว์เลี้ยงที่ไม่ยอมกินยาถ่ายพยาธิ ซึ่งอาจจะต้องเปลี่ยนวิธกี ารรักษา ถ้าในส่วนแสดงไม่มีโฮสต์ ตัวกลางจะพบปัญหาได้นอ้ ยเกีย่ วกับวงจรปรสิต
การทําวัคซีน การทําวัคซีนของสัตว์กินเนื้อในสวนสัตว์เป็นสิ่งจําเป็นมากเนื่องจากเป็นพวกที่มีความไวต่อโรค ต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสในกลุ่มแมว feline panleukopenia, feline rhinotracheitis, feline calicivirus, โรค พิษสุนัขบ้า rabies, canine distemper, and canine parvovirus. ก่อนหน้านี้มีการแนะนําให้ใช้วัคซีนเชื้อตาย เพียงอย่างเดียว ปัจจุบันได้มีการศึกษาพัฒนาวัคซีนเชื้อเป็นให้มีความปลอดภัย ซึง่ ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ในอนาคต เนื่องจากวัคซีนเชื้อเป็นบางตัวโดยเฉพาะ canine distemper สามารถผลิตโรคร้ายแรงที่ทําให้ สัตว์ตายได้
การควบคุมสัตว์รบกวน การควบคุมสัตว์รบกวนต่างๆให้ประสบความสําเร็จควรทําอย่างต่อเนื่อง และร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ในสวนสัตว์ในการกําจัดที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์รบกวนเหล่านี้ ในที่นี้รวมไปถึงการใช้เครื่องมือ ต่างๆ และสารเคมีในการควบคุมด้วย การเลือกใช้ยาฆ่าแมลงอาจใช้ในปริมาณที่น้อยที่สุดเนื่องจากสัตว์ อาจเสี่ยงต่อสาพิษได้ โดยปกติสัตว์รบกวนจัดเป็นพาหะนําโรคสําคัญ เช่น แมลงสาปเป็นโฮสต์ตัวกลางให้ กับปรสิตในระบบทางเดินอาหารของสัตว์กลุ่มไพเมทและนก พวกหนูหรือสัตว์ฟันแทะสามารถพักหรือแพร่ กระจายเชื้อ Listeria spp , Salmonella spp , Francisella tularensis , and Leptospira spp. พวกสัตว์กิน เนื้อที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ เช่น สุนขั จิ้งจอก แรคคูน สุนัขบ้านและแมว สามารถทําร้ายสัตว์ที่อยู่ในความ ดูแลของเราได้ และอาจเป็นตัวพาหะสําคัญในการนําโรค เช่น โรคพิษสุนัขบ้าง โรคพาโวไวรัส และ canine distemper พวกแรคคูนอาจแพร่เชื้อปรสิต Baylisascaris parasites ซึ่งหนอนตัวอ่อนของปรสิตชนิดนี้มีผล ทางระบบประสาทจนทําให้สัตว์บางชนิดตายได้ พวกนกพิราบและนกเอี้ยงเป็นพาหะนําโรคในสัตว์ปีก เนื่องจากมีความทนต่อโรค และเมื่อนกเหล่านีไ้ ปกินอาหารของสัตว์จะทําให้เกิดการปนเปื้อนจากมูลที่ถ่าย ทิง้ ไว้
มนุษย์ บ่อยครั้งที่แพทย์ สัตวแพทย์ หรือทันตแพทย์ เป็นผู้ให้คําปรึกษาแนะนําหรือให้ความช่วยเหลือเกี่ยว กระบวนการรักษาหรือการผ่าตัดกรณีทมี่ ีความซับซ้อน นอกจากนี้ยังต้องใช้ประโยชน์จากความรู้ที่เกี่ยวกับ กายวิภาค สรีระวิทยา พฤติกรรม โภชนาการ พยาธิวิทยา และอนุกรมวิธาน การฝึกพฤติกรรม การฝึกพฤติกรรมให้สัตว์ทํากิจกรรมสามารถทําให้ดูแลสุขภาพสัตว์ได้ดีขึ้นโดยผ่านแรงเสริมทาง บวก เช่นในสัตว์เลี้ยงน้ําลูกด้วยนม สัตว์ปกี สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทิน ที่ผ่านการฝึกการควบคุมให้ แสดงพฤติกรรมจะช่วยให้ง่ายและสะดวกในการจัดการ หรือวิธีทางการแพทย์ การฝึกพฤติกรรมสัตว์นี้รวม ถึงการย้ายสัตว์ออกจากส่วนแสดง ชั่งน้ําหนัก และใส่อุปกรณ์จับบังคับ หรือขนย้ายเข้าตู้คอนเทรนเนอร์ ส่วนวิธกี ารทางการแพทย์นั้นรวมถึงการเห็บตัวอย่างปัสสาวะ อุจจาระ การเจาะเลือด การฉีดยาเข้ากล้าม เนื้อ การตรวจสอบโรควัณโรค และการตรวจรักษาทางทวารหนักหรือช่อคลอด บ่อยครั้งที่พฤติกรรมพวก นี้ทําควบคู่กันไปกับแผนการส่งเสริมพฤติกรรมสัตว์ทางด้านพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ในการส่งเสริมพฤติกรรมนั้นจะถูกออกแบบมาส่งเสริมให้สัตว์แสดงพฤติกรรมนั้นซ้ํา เช่น เพิ่ม โอกาสในการให้สตั ว์ได้เดินหาอาหารเอง หรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ให้สัตว์ได้ใช้เวลาเท่ากับสัตว์ที่อาศัย อยู่ในธรรมชาติ
การออกแบบอุปกรณ์ในการจับบังคับนั้นจะมีวัสดุและโครงสร้างแตกต่างกันไป บ้างออกแบบให้ ทํางานโดยการเคลื่อนที่ของผนังฝั่งใดฝั่งหนึ่งเพื่อจับบังคับสัตว์ที่ขัดขืน มีการเตรียมที่โล่งให้สัตว์เข้าถึงได้ อย่างปลอดภัย การจับบังคับสัตว์กีบส่วนใหญ่จะออกแบบที่จับบังคับเป็นรูปตัว V เมื่อสัตว์เข้าไปอยู่ที่ อุปกรณ์พื้นที่สตั ว์เหยียบอยูจ่ ะลดระดับลง เท้าสัตว์จะลอยอยู่เหนือพื้น ส่วนตัวสัตว์จะถูกบังคับเข้าไปอยู่ ในพื้นที่รปู ตัว V หากเป็นไปได้ควรฝึกให้สัตว์เข้าที่จับบังคับ ซึ่งควรใช้วิธีการหลอกล่อดีกว่าใช้กําลังให้สัตว์ เข้ามาที่จับบังคับ และควรออกแบบให้ตั้งอยูใ่ นพื้นที่ๆสัตว์ใช้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจําวันตามปกติ วัสดุ อุปกรณ์จับบังคับสัตว์ทใี่ ช้ในส่วนแสดง เช่น กล่อง ลัง ต้องติดตั้งไว้กบั ประตูที่สามารถควบคุมการทํางาน ให้สัตว์เข้าไปในบริเวณจับบังคับสัตว์ได้จากระยะไกล ซึง่ จากพื้นที่นั้นๆ สามารถใช้อุปกรณ์ในการจับบังคับ ขนย้ายสัตว์เข้าสู่ anesthetic chamber หรือตู้คอนเทรนเนอร์ เพือ่ ความสะดวกในการชั่งน้ําหนัก
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ํานมขนาดเล็ก และสัตว์ปีกอาจใช้ตาข่ายอวนในการจับ ซึ่งตาข่ายนี้ต้องมี ความลึกพอที่สัตว์จะไม่หลุดออกมา ด้านในสุดของตาข่ายควรทําให้สัตว์มองไม่เห็นด้านนอก ส่วนด้านบน สุดของตาข่ายสามารถบิดเป็นเกลียวได้เพื่อป้องกันสัตว์หลบหนี ผู้ที่จะมาทําการจับบังคับนี้ต้องเข้าใจข้อ ปฏิบัติต่างๆและรับรู้ถงึ ลักษณะพฤติกรรมและความสามารถด้านกายภาพของสัตว์ ซึง่ เป็นสิ่งจําเป็นที่จะ ทําให้แน่ใจว่าทั้งคนและสัตว์จะปลอดภัย ควรใส่ถุงมือหนาๆ เพื่อป้องกนอันตรายจากเขีย้ วและเล็บของสัตว์ ทีจ่ ะทําการจับ แต่ต้องไม่ใช้แรงบีบมากจนเกินไปเพราะถุงมือจะทําให้รู้สึกถึงแรงกระทําน้อยลง ถุงมือ หนาๆ สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ด้วยการรมฟอร์มาลิน การวินิจฉัยโรค สิ่งที่สําคัญที่สดุ ของการวินจิ ฉัยโรค คือการบันทึกประวัติสรีรวิทยาสัตว์ทไี่ ด้จากการสังเกตอย่างดี และละเอียด (ใช้บ่อยในการวางยาสลบสัตว์) เก็บตัวอย่างเพื่อนําไปตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ ( CBC biochemical profile serology cytology) การตรวจหาพยาธิในตัวอย่างมูล การวิเคราะห์ยูรนี ใน ปัสสาวะ การเพาะเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจน และไม่ใช้ออกซิเจน เชื้อรา และเชื้อไวรัส ขึ้นอยู่กับความ แตกต่างด้านกายวิภาคของแต่ละชนิดเปรียบเทียบกับในตัวปกติ โดยปกติจะมีการเอ๊กซเรย์ และการทํา อัลตร้าซาวด์ การทํา Endoscope laparoscopy และการผ่าตัดเล็ก การทํา computed tomography และ MRI นํามาใช้ตามปกติได้น้อยมาก เว้นแต่ในกรณีท่มี ีความจําเพาะเจาะจง โดยความเป็นจริงแล้วทุกๆ วิธี การที่ใช้กับสัตว์ชนิดอื่นสามาถนํามาปรับใช้กบั สัตว์ในสวนสัตว์ได้
การใช้ยา น้อยมากที่จะอนุญาตให้ใช้ยาประเภทยาเสพติดกับสัตว์ในสวนสัตว์ แต่ถ้ามีการติดฉลากเป็นยา ควบคุมพิเศษกฎหมายอนุญาตให้ใช้กับสัตว์ได้ การให้การดูแลด้านการแพทย์กบั สัตว์ในสวนสัตว์ให้มี คุณภาพจะต้องทราบข้อมูลเกีย่ วกับการรักษาโรคจากเอกสารประกอบการใช้ยา ข้อบ่งใช้ ปริมาณยาที่จะ ใช้ ความเข้ากันของยา และความเป็นพิษ ดังนั้นในการประเมินปริมาณยาที่จะใช้ต้องรู้ขอบเขตและปัจจัย ต่างๆ ที่จําเป็นต่อสัตว์ชนิดนั้นๆ เมื่อเริ่มมีการให้ยา ข้อมูลต่างๆเหล่านี้จะต้องเก็บไว้ประกอบการตัดสินใจ เมื่อมีผลอันเกิดจากการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยาบางชนิดอาจมีผลเป็นพิษต่ออวัยวะได้ สัตว์ทั้งหลายมีอัตราการเผาผลาญพลังงานแตกต่างกัน เช่น งูและนก ต้องพิจารณาและประเมิน ปริมาณยาที่ใช้ ทั้งยาปฏิชีวนะ ยาต้านเชื้อรา และยาแก้ปวด เช่นเดียวกับในการวางยาสลบ ซึ่งเกิดจากการ สั่งสมประสบการณ์จากสัตว์แต่ละชนิดทีละเล็กทีละน้อยจนเป็นองค์ความรูใ้ นการใช้ยาในสวนสัตว์ เมื่อต้องใช้ยากับสัตว์ที่อยู่เป็นกลุ่มในครั้งแรก บ่อยครั้งพบว่าสัตว์ฉลาดจึงควรใช้ยากับสัตว์เพียง หนึ่งหรือสองตัวก่อน ถ้าไม่พบความผิดปกติให้ดําเนินการรักษาสัตว์กลุม่ นั้นต่อไปได้ โดยทั่วไปสัตว์ในสวนสัตว์จะเป็นกลุ่มที่มีการเผาผลาญพลังงาน จึงควรมีการประเมินปริมาณการ ใช้ยาจากข้อมูลที่มีอยู่ในกลุ่มเท่าที่จะทําได้ โดยทั่วไปสัตว์ขนาดเล็กปริมาณการใช้ยาสูงกว่าสัตว์ที่มีขนาด ตัวใหญ่กว่า สัตว์ที่มีขนาดเล็กอาจต้องใช้ปริมาณยาเพียงครึ่งเดียวของสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่าเมื่อทั้งสองตัว อยู่ในพลังงานเดียวกัน ถ้าเป็นไปได้ควรทําการปรึกษาข้อมูลการใช้ยาเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนั้นๆ ก่อนที่จะ ทําการรักษา การใช้ยาสามารถทําให้เกิดความชํานาญได้ การให้สัตว์กนิ ยาเองมีข้อดีคือไม่ไปรบกวนสัตว์ แต่สัตว์อาจได้รับปริมาณยาไม่เพียงพอโดยเฉพาะสัตว์ท่อี ยู่รวมกันเป็นกลุ่ม การผสมยาลงไปในอาหารที่ สัตว์ชอบช่วยให้การรักษาเป็นไปง่ายขึ้น การให้ยาปฏิชีวนะในช่องปากกับสัตว์กบี หรือสัตว์ชนิดอื่นสามารถ ทําลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราที่นําไปสู่ปัญหาในระบบทางเดินอาหารได้ การให้สัตว์กินยากล่อมประสาทหรือ ยาสบ สามารถส่งผลกระทบต่อการออกฤทธิ์ของยาในระยะเริ่มต้น ระหว่างที่สลบ และความลึกของการ สลบ เนื่องจากปริมาณยาที่กินเข้าไปไม่เพียงพอและดูดซึมช้า การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ ทําได้ค่อนข้างยาก เว้นแต่มีอุปกรณ์ช่วยในการจับบังคับ หรืออาจมีการดัดแปลงจากเข็มฉีดยามาเป็นปืนยิงลูกดอก อย่างไร ก็ตามการฉีดยาด้วยวิธีนี้อาจทําให้สัตว์ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บปวดมากขึ้นจากการยิงลูกดอก โดยเฉพาะ เมื่อต้องให้ยาในปริมาณมากขึ้นในระยะไกล (เช่น ให้ยา ๑๐ ml.ในระยะทาง ๕๐ m.) ซึง่ สามารถลดการเกิด ปัญหานี้ได้โดยเลือกใช้ยาที่มีความเข้มข้นเหมาะสม รวมถึงชนิดของปืนยิงลูกดอกที่จะใช้ นอกจากนี้ควรมี การฝึกใช้อุปกรณ์ในการยิงลูกดอกนี้ให้ชํานาญและมีความแม่นยําก่อนจะนําไปการใช้งาน เช่นเดียวกับ อาวุธอื่นๆที่ควรเก็บให้พ้นจากมือเด็กเพื่อป้องกันการเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อในระยะ ใกล้เกิดเจ็บปวดได้น้อยกว่าในที่นี้รวมถึงการใช้ syringe poles หรือ blow guns
ส่วนการฉีดยาเข้าเส้นเลือดโดยทัว่ ไปจะถูกจํากัดให้ใช้ในการวางยาสลบหรือใช้ในกระบวนกรจับ บังคับหรือใช้ในระหว่างทําการรักษาในคอกกักขนาดเล็ก
ข้อปฏิบัติ การเก็บรวบรวม การขนส่ง และการจัดแสดงสัตว์ป่าต้องมีการปฏิบัติตามกฏหมาย ข้อกําหนดของ รัฐบาล ท้องถิ่น ใบอนุญาตเป็นสิ่งจําเป็นที่ใช้ในการจัดการเกี่ยวกับตัวสัตว์แต่ละชนิดซึ่งปฏิบัติตามกฏ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกําหนดด้านสุขภาพโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงพระราชบัญญัติเกี่ยว กับสวัสดิภาพสัตว์ การกักโรคสัตว์ และศูนย์ควบคุมโรค การป้องกันการนําเข้าสัตว์กลุ่มลิงและค้างคาวที่ อยู่ในกรงเลี้ยง
การวางยาสลบ สัตว์ในสวนสัตว์เมื่อต้องวางยาสลบจะต้องดําเนินการอย่างระมัดระวัง มีวิธีวางยาสลบในสัตว์เลี้ยง หลายวิธีที่ต้องการการจับบังคับน้อย และต้องคํานึงถึงความสวัสดิภาพสัตว์และความปลอดภัยของคนและ สัตว์ ก่อนที่จะทําการวางยาสลบสัตว์ป่าในสวนสัตว์ สัตว์แพทย์จะต้องคุ้นเคยกับสัตว์ชนิดนั้น และทําการ เลือกใช้ยาสลบทีเ่ หมาะสม ต้องทําการบันทึกการวางยาสลบสัตว์แต่ละตัว ในสัตว์ตวั อื่น หรือสัตว์ชนิด เดียวกัน ควรทําการศึกษาเอกสารอ้างอิงทางวิชาการที่เกี่ยวข้องก่อน ต้องปรึกษาผู้มีประสบการณ์ในการ วางยาสลบสัตว์ชนิดนั้น เนื่องจากสัตว์แต่ละชนิดมีผลตอบสนองต่อชนิดและปริมาณยาที่ใช้แตกต่างกัน อย่างมาก ปัจจัยที่ทําให้สัตว์ตอบสนองต่อยาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กบั อายุ เพศ ช่วงเวลาในการสืบพันธุ์ ภาวะ ทางโภชนาการ และที่สําคัญที่สดุ คือ สภาวะทางอารมณ์ก่อนให้ยา และขณะให้ยา ในสัตว์ที่มีอาการตื่นเต้น จะใช้ยาในปริมาณมากกว่าปกติ และมีแนวโน้มที่จะมีอุณหภูมิร่างกายสูงขั้นวิกฤติ ระบบทางเดินหายใจถูก กด ร่างกายมีภาวะความเป็นกรดสูง ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจับบังคับ ซึ่งพบบ่อย ในพวกสัตว์กบี และกลุ่มนกที่มีขายาว
การสังเกตสัญญาณชีพขณะที่สัตว์สลบ ได้แก่ อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ อุณหภูมิ ร่างกาย คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ซึ่งจะต้องให้ความสนใจสัตว์ตลอดระยะเวลา ทีท่ ําการวางยาสลบสัตว์ รวมถึงการจัดท่าทางให้เหมาะสม การใช้วัสดุรองที่เหมาะสมในกรณีที่มีสภาพ อากาศร้อนจัดหรือเย็นจัด เพื่อป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อน หากจะทําการวางยาสลบในส่วนแสดงควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนการเริ่มต้นใช้ยาสลบและ ทําด้วยความระมัดระวัง เพื่อลดความภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ในสัตว์ที่ถูกยิงด้วยลูกดอกยาสลบ อาจมี อาการตื่นตกใจวิ่งชนรั้วหรือสิ่งกีดขวาง หรือมีตัวอื่นๆในฝูงอาจเข้ามาทําร้ายจนทําให้สัตว์ทโี่ ดนลูกดอกยิง ยาสลบได้รับบาดเจ็บหรือตายได้ เมื่อสัตว์เริ่มแสดงอาการตอบสนองต่อยาสลบ Xylazine (an ๒-adrenoreceptor agonist) เมื่อใช้เป็นยาเดี่ยว เพือ่ ทําให้สัตว์ซึมและสามารถจัดการ กับตัวสัตว์ได้ ซึง่ ใช้ในสัตว์กีบบางชนิดโดยเฉพาะในสัตว์ตระกูลวัว (Bovids) และแก้ฤทธิย์ าสลบโดยใช้ Yohimbine tolazoline หรือ atipamezole ไม่ควรใช้ Xylazine เป็นยาเดี่ยวในการทําสลบสัตว์ในกลุ่มสัตว์กิน เนื้อที่ดุร้าย เพราะระดับของการสลบไม่เพียงพอที่จะทํางานได้ สัตว์อาจตื่นและก้าวร้าวได้เมื่อถูกกระตุ้น cyclohexamine ketamine (แบบเป็นยาเดีย่ ว หรือใช้ร่วมกันกับยากล่อมประสาทหรือยาระงับ ประสาทตัว อืน่ เช่น xylazine หรือ medetomidine ) ใช้เป็นยามาตรฐานในการวางยาสลบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ํานมขนาด เล็กถึงขนาดกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุม่ สัตว์กินเนื้อ(carnivore) กลุม่ วานร(primate) และสัตว์กบี บาง ชนิด ketamine มีความเข้มข้น ๒๐๐ mg/ ml. สามารถใช้ในปริมาตรน้อยลงได้ และเมื่อใช้ร่วมกับยาระงับ ประสาทหรือยากล่อมประสาทจะเหนี่ยวนําให้สลบเร็วขึ้น ตื่นเต้นน้อย กล้ามเนือ้ ผ่อนคลาย และทําให้ การนําสลบเป็นไปอย่างราบรื่น สัตว์ฟื้นตัวได้ดีกว่าการใช้ ketamine อย่างเดียว โดยยาระงับประสาท Xylazine หรือ Medetomidine สามารถแก้ฤทธิ์ยาโดยใช้ยาต้านสลบ Yohimbine, Tolazaline หรือ Atipamezole จึงสามารถลดปริมาณการใช้ Ketamine ได้ ทําให้สตั ว์ฟื้นจาก การสลบได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ Tiletamine-zolazepam เป็นยากล่อมประสาทที่มีความปลอดภัยกับสัตว์ท่สี ุด เหนี่ยวนําเร็ว และที่ ความเข้มข้น ๒๐๐ mg/ ml. อนุญาตให้ใช้ทกุ วันได้ในปริมาณน้อย การสลบในระยะเริ่มต้น (onset) ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีระยะเวลาสั้น เป็นการแสดงผลจาก การนําสลบโดยใช้ยาระงับประสาท Hypnotic propofol เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้นํามาใช้กับสัตว์ในสวนสัตว์ อย่างไรก็ตามถ้าจําเป็นต้องฉีดยาเข้าเส้นเลือด ให้ใช้ตามขีดจํากัดของสัตว์แต่ละชนิด เช่น สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปกี และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ํานมขนาดเล็ก ทั้งยังปลอดภัยเมื่อต้องใช้ยาช่วยในการจับบังคับสัตว์ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ํานมขนาดใหญ่ท่ถี ูกทําให้สลบเป็นครั้งแรก จะต้องเสริมยาเหนี่ยวนําการสลบ เพิ่มขึ้น หรืออาจใช้ร่วมกับตัวยาตัวอื่น
โรคสัตว์ตดิ คน สัตว์ที่เลี้ยงแบบปล่อยให้หากินอิสระและสัตว์ป่าที่เอามาเลี้ยงในกรงอาจมีโรคสัตว์สู่คนแฝงมาด้วย ผู้ทปี่ ฏิบัตงิ านเกี่ยวกับสัตว์เหล่านี้จึงมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ในสัตว์เลื้อยคลานปกติจะไม่แสดงอาการแต่ จะเป็นพาหะนําเชื้อ Salmonella spp. อาจติดเชื้อ Chlamydophila spp. จากสัตว์ปีก หรือติดเชื้อวัณโรคจาก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ํานมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพวกลิงและสัตว์กีบซึ่งสามารถแพร่โรคจากคนหรือสัตว์ที่เป็น โรคไปสู่พนักงานเลี้ยงสัตว์คนอื่นในสวนสัตว์ได้ เชื้อแบคทีเรียบางตัว หรือพยาธิบางชนิดในพวกลิงสามารถ ติดต่อไปยังคนได้ พวกค้างคาวอาจเป็นแหล่งสะสมของโรคพิษสุนัขบ้าหรือ Histoplasma spp. สัตว์กินเนื้อที่เป็นสัตว์เลื้อยคลาน นก หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ํานม ที่กินเนื้อทีไ่ ม่สุก หรือเหยือ่ ทั้งตัว เป็นอาหารหลัก อาจมีการพัฒนาไม่แสดงอาการออกมา แต่จะเป็นพาหะนําเชื้อ Salmonella spp. ในระยะ ถัดมา มีสัตว์สวนสัตว์จํานวนมากมาย เช่นเดียวกับสัตว์เลีย้ งอื่นๆ หรือสัตว์พื้นเมืองในสวนสัตว์ที่เลี้ยงโดย ให้สัมผัสกับพื้นดิน อาจเป็นทีพ่ ักของเชื้อ Leptospira spp. การให้รบั รู้ถึงการมีโรคสัตว์สู่คนนีใ้ นองค์กรเป็นการลดความเสี่ยงต่อการติดโรคของพนักงานเลี้ยง สัตว์และผู้มาเที่ยวชม ซึง่ เป็นส่วนสําคัญในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสัตว์ ผู้ที่อยู่ในสวนสัตว์สามารถป้องกัน ตนเองได้ตามความต้องการ (เช่นสวมถุงมือ หน้ากาก) แนะนําให้มีการล้างมือบ่อยๆ