โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

Page 1

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

ตามพระราชเสาวนีย์และเฉลิมพระเกียรติ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๘ พรรษา

๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๓


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก


ตามพระราชเสาวนีย์และเฉลิมพระเกียรติ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๘ พรรษา

๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ โดย

องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้ มิสเตอร์รัสเซล เทรน ผู้แทนมูลนิธิอนุรักษ์สัตว์ ป่า (World Wildlife Fund: WWF) น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายประกาศ เกียรติคุณ นักอนุรักษ์สัตว์ป่าดีเด่น ณ พระตำ�หนักสวนจิตลดารโหฐาน เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๙


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก


องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำ�หนังสือรวบรวมการดำ�เนินงานโครงการสนองพระราชเสาวนีย์ คือ โครงการเพาะเลี้ยงชะมด เช็ดในโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำ�ริบ้านดงเย็น และ โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายาก ของโลก อันได้แก่ โครงการอนุรักษ์ละมั่งสายพันธุ์ไทยโดยใช้ละมั่งสายพันธุ์พม่าเป็นต้นแบบในการ ขยายพันธ์ุและปล่อยคืนสู่พื้นที่ธรรมชาติ โครงการความสำ�เร็จในการเพาะขยายพันธุ์นกกระเรียน พันธุ์ไทย เพื่อเตรียมปล่อยคืนสู่พื้นที่ชุ่มน้ำ�ตามธรรมชาติในอนาคต โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพ ทางการสืบพันธุ์และการเก็บรักษาพันธุกรรมสัตว์ป่าตระกูลแมว และโครงการวิจัยและจัดแสดงหมี แพนด้าในประเทศไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องใน วโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ ซึ่งในปีนี้ตรงกับปี สากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการดังกล่าวล้วนเป็นโครงการที่มีเป้าหมายเพื่อการ อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก โดยเฉพาะ ละมั่ง นกกระเรียนพันธุ์ไทย และแมวลายหินอ่อน การขยายพันธุ์ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์ที่ทันสมัย ช่วยไม่ให้สูญพันธุ์ไปจาก ระบบนิเวศของโลก ให้สัตว์ป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ เป็นการพัฒนาบุคลากรขององค์การสวนสัตว์ใน ด้านการวิจัย ช่วยให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร และหน่วยงานต่างๆ องค์ ก ารสวนสั ต ว์ เ ห็ น ว่ า โครงการนี้ เ ป็ น โครงการที่ มี ค วามสำ � คั ญ ต่ อ มนุ ษ ยชาติ ก่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ในการอนุรกั ษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระดับประเทศและในระดับโลก จึงขอน้อมเกล้า น้อมกระหม่อม ถวายโครงการวิจัยแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงมีพระ มหากรุณาธิคุณแก่วงการอนุรักษ์สัตว์ป่าเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ นาย โสภณ ดำ�นุ้ย ผู้อำ�นวยการองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

คำ�นำ�


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

สารบัญ

๑๐

๒ ๑๙

๑๑

๓๔ ๑๓

๒๘ ๓๐


โครงการเพาะเลี้ยงชะมดเช็ดในโครงการฟาร์ม ตัวอย่างตามพระราชดำ�ริบ้านดงเย็น โครงการอนุรักษ์ละมั่งสายพันธุ์ไทย โดยใช้ ละมั่งสายพันธุ์พม่า เป็นต้นแบบในการขยาย พันธ์ุและปล่อยคืนสู่พื้นที่ธรรมชาติ ความสำ�เร็จในการเพาะขยายพันธุ์นกกระเรียน พันธุ์ไทย เพื่อเตรียมปล่อยคืนสู่พื้นที่ชุ่มน้ำ� ตามธรรมชาติในอนาคต โครงการ การเพิ่มประสิทธิภาพทาง การสืบพันธุ์และการเก็บรักษาพันธุกรรม สัตว์ป่าตระกูลแมว

โครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนดาใน ประเทศไทย

๑ ๗ ๑๗ ๒๑ ๒๙

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

สารบัญ


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

ชะมดเช็ ด ในโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำ�ริบ้านดงเย็น โครงการเพาะเลี้ยง

อำ�เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำ�ริให้ดำ�เนินการเลี้ยงชะมดเช็ด ในโครงการฟาร์ม ตัวอย่างตามราชดำ�ริบ้านดงเย็น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ชะมดเช็ด และใช้ประโยชน์จากไขชะมดเช็ด องค์การสวนสัตว์จึงถือเป็นนิมิตหมายอันสำ�คัญ ที่จะอัญเชิญพระราชดำ�ริดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการ พัฒนาแก้ไขปัญหา จึงมอบหมายให้สวนสัตว์เชียงใหม่ เป็นผู้รับผิดชอบในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเพาะขยาย พันธุ์ชะมดเช็ด เพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำ�ผลิตภัณฑ์ เครื่องหอม โดยการศึกษาวิจัยที่โครงการฟาร์มตัวอย่าง ตามพระราชดำ�ริบ้านดงเย็น และได้ทำ�การศึกษาวิจัย อย่ า งต่ อ เนื่ อ งและสามารถเพาะขยายพั น ธุ์ ช ะมดเช็ ด ได้ โดยในขั้นตอนต่อไปในการศึกษาวิจัยจะทำ�การศึกษา เรื่องปริมาณ คุณสมบัติ ของไขชะมดเช็ดและปัจจัยใน การเช็ดไข รวมทั้งการผลิตผลิตภัณฑ์จากไขชะมดเช็ดใน

รูปแบบของภาคธุรกิจการเกษตร เพื่อเป็นการส่งเสริม แก่เกษตรกร ลดการจับชะมดเช็คจากธรรมชาติ และ กระตุ้นการอนุรักษ์ชะมดเช็ดต่อไป ชะมดเช็ดจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราช บัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ชะมดเช็ด จัดเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งที่รัฐบาลอนุญาตให้เพาะเลี้ยง อย่างถูกกฎหมาย โดยผลผลิตที่ได้เป็นน้ำ�มันหรือไขที่ ชะมดเช็ด เช็ดไว้ตามจุดหรือบริเวณต่างๆ และจัดเป็น ชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศ ใดประเทศหนึ่ง แล้วขอความร่วมมือประเทศภาคีให้ช่วย ดูแลการนำ�เข้า คือจะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออก


ความเป็นมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรง มีพระราชเสาวนีย์กับนายสหัส บุญญาวิวัตน์ ผู้ช่วย เลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เมื่อคราว เสด็จเยี่ยมราษฎร ณ บ้านห้วยสะแพด หมู่ที่ 9 ตำ�บลแม่สอย อำ�เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ให้จัดหาพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เพื่อ สร้างอาชีพให้ราษฏรที่มีฐานะยากจนได้มีงานทำ� สำ�นัก บริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ร่วมกับนายสหัส บุญญา วิวัฒน์ ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ได้สำ�รวจคัดเลือกพื้นที่ บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าท่า ธารบ้านดงเย็น หมู่ที่ 15 ตำ�บลบ้านแปะ อำ�เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ และให้จัดตั้ง โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำ�ริบ้านดงเย็นขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา พฤติกรรม การ

เจริญเติบโต และปัจจัยที่สำ�คัญในการเพาะขยายพันธุ์ ของชะมดเช็ดในรูปแบบการเพาะเลี้ยงในระบบเศรษฐกิจ เกษตรได้ 2. เพื่อเผยแพร่เทคนิคในการเพาะเลี้ยงชะมดเช็ด ในกรงเลี้ยงให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจ

โรงเลี้ยงเพื่อเก็บไข

การดำ�เนินงาน การศึกษาวิจัยชะมดเช็ดจัดทำ�ที่โครงการฟาร์ม ตัวอย่างตามพระราชดำ�ริบ้านดงเย็น อำ�เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ ชะมดเช็ดเป็นเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ สูงจากระดับน้ำ�ทะเล 360 เมตร สภาพทั่วไปเป็นป่าไผ่ โดยแบ่งโรงเรือนเลี้ยง ชะมดเช็ดออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. โรงเลี้ยงเพื่อเก็บไข เป็นโรงเลี้ยงที่มีขนาด 4 x 12 x 3 เมตร (กว้าง x ยาว x สูง) มุงหลังคา ด้วยกระเบื้อง ส่วนกรงเลี้ยงทำ�ด้วยไม้ระแนง ขนาด 80 x 80 x 60 เซนติเมตร มีประตูยกเลื่อนเปิด-ปิด ขึ้นลง เพื่อให้อาหาร และภาชนะใส่น้ำ�บรรจุไว้ 1 อัน ตรงกลาง กรงเลี้ยงมีไม้โมกเสียบไว้ เพื่อให้ชะมดเช็ดไขที่สามารถ ดึงออกได้ 1 อัน ตั้งกรงเลี้ยงเรียงกันแบ่งเป็น 2 แถวทิ้ง ระยะห่างระหว่างกรงประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อมิให้ ชะมดเช็ดกัดกันและมีการแยกเพศชัดเจน

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

บ้านดงเย็น หมู่ที่ 15 ตำ�บลบ้านแปะ อำ�เภอ จอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พิกัด 466660 E 2008269 N ระดับความสูงจากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง ประมาณ 320-360 เมตร

ภูมิประเทศ

สภาพป่า พื้นที่ป่าไม้บริเวณรอบพื้นที่โครงการฯ ส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ฃ

สภาพอากาศ

สภาพอากาศของพื้ น ที่ โ ครงการฯส่ ว นใหญ่ มี สภาพร้อน และแห้งแล้งมีอุณหภูมิต่ำ�สุดประมาณ 11 องศาเซลเซียส และสูงสุด 40 องศาเซลเซียส

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

จากประเทศถิ่นกำ�เนิด และจัดอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าชนิด พันธุ์ที่ถูกคุกคามน้อย (LC: Least Concern) ตามบัญชี ของ IUCN Red List of Threatened Species (2006)


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๓ 2. โรงเลี้ยงเพื่อการเพาะเลี้ยง และขยายพันธุ์

ลักษณะโรงเรือนมีขนาด 1.5 x 3 x 2.5 เมตร เป็นโครง ไม้ ล้อมรอบด้วยกรงตาข่าย คลุมด้วยสแลนครึ่งหนึ่ง ของความสูง เพื่อจำ�ลองสภาพให้มืดเสมือนเวลากลาง คืน โดยภายในกรงมีสิ่งก่อสร้าง เช่น แหล่งน้ำ�เทียม และโพรงเทียมทำ�ด้วยปูนไว้ด้านใน มีโพรงไม้จริง 1 โพรง เพื่อให้ชะมดเช็ดเข้าไปหลบซ่อนและนอนหลับในโพรง ได้ ปลูกต้นไม้ ต้นหญ้าเพื่อให้ชะมดเช็ดกิน ซึ่งช่วยใน การสำ�รอกเศษอาหารที่ติดกระเพาะอาหารและทางเดิน อาหารออกมา และมีการนำ�ฟางหรือหญ้าแห้งมาวางไว้ เป็นกองๆ เพื่อจำ�ลองสภาพให้เสมือนป่ารกเหมือนอยู่ ในธรรมชาติมากที่สุด และเพื่อให้ชะมดเช็ดนำ�ไปทำ�เป็น รังสำ�หรับเตรียมเลี้ยงลูก สิ่งก่อสร้างคิดเป็น 1 ส่วนใน

โรงเพาะเลี้ยงเพื่อการขยายพันธุ์

3 ส่วนของพื้นที่ทั้งหมด และส่วนที่เหลือเป็นพื้นดิน คิด เป็น 2 ส่วนใน 3 ส่วนของพื้นที่ทั้งหมด กรงชะมดเช็ดมี ประตูเข้า-ออก 2 ประตู เรียงเป็น 2 ชั้น

สภาพภายในกรงเพาะเลี้ยงเพื่อการขยายพันธุ์

การให้อาหารชะมดเช็ดจะให้อาหาร 1 ช่วงคือ ช่วง 17.00-18.00 น. จะให้ข้าวสวยผสมโครงไก่ต้มสุกสับละเอียด และให้อาหารเสริม โดยได้จัดอาหารเสริมดังนี้ • วันจันทร์ และพฤหัส ไข่ไก่ผสมกับนมแพะ และอาหารแมวสำ�เร็จรูป • วันอังคาร ศุกร์ และอาทิตย์ เนื้อหมู เนื้อแดงเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม หรือเนื้อไก่ ปีกบนไก่ • วันพุธ และเสาร์ กล้วยน้ำ�ว้า กล้วยไข่ อาหารแมวสำ�เร็จรูป และปลาไหล


๔ 2551 (ตุลาคม

2550-กันยายน 2551)

ทำ�การศึกษาการเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ดพบว่า ชะมดเช็ดมีรอบการเป็นสัด 26 วัน พฤติกรรมในช่วงที่ เป็นสัดมีความแตกต่างกับช่วงปกติทั้งตัวผู้และตัวเมีย โดยตัวผู้จะมีพฤติกรรมทางเพศได้แก่ การเกี้ยว การ แสดงความก้าวร้าว และการอาณาเขตสูงขึ้น ในขณะที่ ตัวเมียก็มีการแสดงพฤติกรรมทางเพศและพฤติกรรม อื่นๆ ลดน้อยลง พฤติกรรมในช่วงที่ตัวเมียตั้งท้องมี ความแตกต่างกับช่วงปกติอย่างมีนัยสำ�คัญ (P<0.05) ได้แก่ พฤติกรรมการเคลื่อนที่ลดลง ในขณะที่พฤติกรรม การกินอาหาร การพักผ่อน และการทำ�ความสะอาด ร่างกายเพิ่มมากขึ้น จากการจับคู่ชะมดเช็ดทั้งหมด 8 คู่ ชะมดเช็ดมี การผสมพันธุ์ 1 คู่ และผสมพันธุ์ 2 ครั้ง รอบการเป็น สัดมีระยะเวลา 26 วัน ชะมดเช็ดมีการตั้งท้องจากรูปร่าง และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง แต่พบว่าไม่มีการคลอดแต่ อย่างไร อาจเนื่องจากความไม่แข็งแรงสมบูรณ์ของแม่ พันธุ์ชะมดเช็ด ในการเช็ดไขของชะมดเช็ด พบชะมดเช็ดทั้งตัวผู้ และตัวเมีย โดยในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะมีการเช็ดไขในการ สร้างอาณาเขต และแสดงการเป็นสัด

ปี 2552 (ตุลาคม 2551-กันยายน 2552) จากการศึกษาพฤติกรรมของชะมดเช็ดในช่วง ที่อยู่ในกรงเลี้ยงเพื่อผสมพันธุ์พบว่าเพศผู้มี พฤติกรรม การเคลื่อนที่ที่สูงมากกว่าเพศเมียและแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำ�คัญ (P<0.05)

และการทดลองการจั บ คู่ ผ สมพั น ธุ์ ช ะมดเช็ ด ทั้ง 7 คู่ พบว่ามีชะมดเช็ด 5 คู่ ที่มีพฤติกรรมการผสม พันธุ์ และมีแม่ชะมดเช็ดจำ�นวน 2 ตัว เกิดลูกชะมดเช็ด จำ�นวน 2 ตัว และ 1 ตัว ในช่วงเลี้ยงลูกของชะมดเช็ด พบพฤติกรรมการกินอาหารของแม่ชะมดเช็ดมีความถี่ ลดลงอย่างมีนัยสำ�คัญ (P<0.05) แต่พฤติกรรมการพัก ผ่อนมีความถี่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำ�คัญ (P<0.05) เมื่อ ลูกมีอายุครบ 1 เดือน พฤติกรรมการให้นมลูกมีความถี่ ลดลงอย่างมีนัยสำ�คัญ (P<0.05) ซึ่งถือว่าเป็นช่วง หย่ า นมและลู ก ชะมดเช็ ด สามารถกิ น อาหารได้ เ หมื อ น ชะมดเช็ดตัวเต็มวัย ซึ่งสัมพันธุ์กับพฤติกรรมของลูก ชะมดเช็ด ที่พฤติกรรมการดูดนมแม่และพฤติกรรมการ พักผ่อนความถี่ลดลงอย่างมีนัยสำ�คัญ (P<0.05) และ พบพฤติกรรมการกินอาหารและพฤติกรรมการเคลื่อนที่ มีความถี่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำ�คัญ (P<0.05)

ปี 2553 (ตุลาคม 2552-มิถุนายน 2553) เมื่อทำ�การศึกษามากขึ้น พบว่าชะมดเช็ดมีรอบ การเป็นสัด 20-30 วัน ตั้งท้อง นาน 70-85 วัน พฤติ ก รรมในช่ ว งที่ ตั ว เมี ย ตั้ ง ท้ อ งมี ค วามแตกต่ า งกั บ ช่วงปกติอย่างมีนัยสำ�คัญ (P<0.05) จากการวิจัยใช้พ่อ แม่พันธุ์จำ�นวน 7 คู่ และพบว่ามีชะมดเช็ดจำ�นวน 4 ตัว สามารถตั้งท้องและให้ลูกรวมทั้งหมด 22 ตัว (ตารางที่ 1) มีอัตราการรอดมากกว่าร้อยละ 50 โดยมีสาเหตุการ ตายตามปกติของลูกสัตว์ เช่น ร่างกายไม่สมบูรณ์ ป่วย และในปัจจุบันลูกชะมดจำ�นวน 5 ตัวมีอายุ 8-9 เดือน สามารถเช็ดไขได้ และลูกชะมดเช็ดอีก 11 ตัว มีสุขภาพ แข็งแรง

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

สรุปผลการดำ�เนินงานปี


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๕ ตารางที่ 1 รอบการเป็นสัด ระยะเวลาการตั้งท้อง และจำ�นวนลูกชะมดเช็ด กรงที่

ระยะเวลาตั้งท้อง

ครอกที่

จำ�นวนลูก

A10,B13

77 วัน

1

2

A10,B13

67 วัน

2

4

A10,B13

66 วัน

3

3

2

A12,B12

สรุปไม่ได้

1

4

3

A18,B16

18

21

4

A28,B29

31

32

A25,B27

89 วัน

1

3

A25.B27

95 วัน

2

2

A7,B9

79 วัน

1

1

A7,B9

สรุปไม่ได้

2

3

1

5 6 7

ชื่อ

รอบการเป็นสัด

21

21

A1,B5

ชะมดเช็ดตั้งท้อง

แม่ชะมดเช็ดเลี้ยงลูกในโพรงจนอายุได้ 2 เดือน


ลูกชะมดเช็ดอายุ 4 เดือน

ลูกชะมดเช็ดอายุ 6 เดือน

ลูกชะมดเช็ดอายุ 8 เดือน

ปัญหาและอุปสรรคในการศึกษาวิจัย และการเพาะเลี้ยง ในการศึ ก ษาการเพาะขยายพั น ธุ์ ช ะมดเช็ ด พบว่า พ่อแม่พันธุ์ชะมดเช็ดในช่วงแรกยังไม่พร้อมที่จะ ทำ� การผสมพันธุ์ เนื่องจากเป็นชะมดเช็ดที่เลี้ยงเพื่อเช็ด ไขมาก่อน ทำ�ให้ร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรง รวมทั้งเกิด ความเครียด เมื่อนำ�มาเลี้ยงในกรงเพาะขยายพันธุ์ทำ�ให้ พฤติกรรมก้าวร้าวและความเครียดลดลง จนสามารถ

ผสมพันธุ์ได้ แต่ไม่ครบทุกคู่ และยังไม่สามารถตั้งท้อง ได้ เนื่องจากความสมบูรณ์ของแม่พันธุ์ ดังนั้นการเพาะ เลี้ยงจึงประสบปัญหาในด้านพ่อแม่พันธุ์ที่มีจำ�นวนน้อย และไม่สมบูรณ์แข็งแรงเพียงพอ การแก้ไขจึงทำ�การเพิ่ม อาหาร และปรับปรุงวิธีการเลี้ยงและกรงเลี้ยงให้ใกล้ เคียงกับสภาพธรรมชาติและมีการรบกวนน้อยที่สุด

โครงการต่อไป ศึกษาวิจัยในเรื่องการเพาะขยายพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพสามารถเพิ่มจำ�นวนประชากรชะมดเช็ด และการเลี้ยงลูก ชะมดเช็ดให้สมบูรณ์แข็งแรง รวมทั้งทำ�การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของไข ปริมาณของไขที่ผลิตได้ รวม ถึงปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพและปริมาณของไขชะมดเช็ด และศึกษาการใช้ประโยชน์จากไขของชะมดเช็ดด้านธุรกิจเครื่อง หอมและเครื่องสำ�อาง และดำ�เนินการเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรและผู้ที่สนใจต่อไป

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

ลูกชะมดเช็ดอายุ 3 เดือน


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

ละมั่งสายพันธุ์ไทย

โครงการอนุรักษ์

โดยใช้ละมั่งสายพันธุ์พม่า

เป็นต้นแบบในการขยายพันธ์ุและปล่อยคืนสู่พื้นที่ธรรมชาติ ละมั่งชนิดย่อยไทย (Rucervus eldii siamensis) และละมั่งชนิดย่อยพม่า (Rucervus eldii thamin) เป็น 1 ใน 15 ชนิดสัตว์ป่าสงวนของประเทศไทย พบการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย แต่เป็นที่น่าเสียดาย ว่า ปัจจุบันประชากรละมั่งในไทยนั้นถูกคุกคามจนหมดไปจากแหล่งอาศัยในธรรมชาติแล้ว โดยเฉพาะ ละมั่งสายพันธุ์ไทยที่มีเหลืออยู่เพียง 2 กลุ่มประชากร ในสภาพการเพาะเลี้ยงของสวนสัตว์ดุสิต และ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุงเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามการเพาะขยายพันธุ์ละมั่งในสภาพการเพาะ เลี้ยงนอกถิ่นอาศัย (ex-situ) ของประเทศไทยถือว่าประสบความสำ�เร็จเป็นที่น่าพอใจ ทำ�ให้สามารถเพิ่ม จำ�นวนประชากรละมั่งทั้งสองชนิดย่อย ได้เป็นจำ�นวนมากโดยเฉพาะละมั่งสายพันธุ์พม่าที่มีจำ�นวนเพียง พอสำ�หรับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ละองละมั่ง (Eld’s deer; Rucervus eldii) เป็น สัตว์ตระกูลกวางที่ถือกำ�เนิดในประเทศแถบเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย ได้แก่ • Sangai (Rucervus eldii eldii) พบการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย • Thamin (Rucervus eldii thamin) พบการกระจายพันธุ์ในพม่าและไทย • Siamensis (Rucervus eldii siamensis) พบการกระจายพันธุ์ใน ประเทศไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม และจีน

องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วม กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช คณะ วนศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า และสวนสัตว์ แห่งชาติสถาบันสมิธโซเนียน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ ร่วมจัดการประชุมนานาชาติ เรื่อง “การอนุรักษ์และ ฟื้นฟูละองละมั่ง ครั้งที่ 1” ในปี พ.ศ. 2546 และได้จัด ต่อเนื่องเป็นประจำ�ทุกปี โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และ


แผนการปฎิบัติการเพื่ออนุรักษ์ละมั่ง ในสภาพการเพาะเลี้ยง จากการประชุมเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูละองละมั่งทำ�ให้ เกิดการจัดตั้งคณะทำ�งานกลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษภายใต้ ชื่อ Eld’s deer interest group ทั้งในระดับประเทศและ ระดับภูมิภาค เพื่อเป็นผู้ประสานงานระหว่างประเทศ สมาชิก นอกจากนี้ยังได้ร่วมจัดทำ�แผนกลยุทธ์และแผน ปฏิ บั ติ ก ารอนุ รั ก ษ์ ล ะมั่ ง สายพั น ธุ์ ไ ทยและพม่ า ทั้ ง ใน ธรรมชาติและสภาพการเพาะเลี้ยงของประเทศไทย เพื่อ ยึดเป็นแนวทางในการดำ�เนินการร่วมกันในการอนุรักษ์ ละมั่งในประเทศไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. ดำ�เนินงานด้านการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการ เพาะขยายพันธุ์ในสภาพกรงเลี้ยง โดยศึกษาความเหมาะ สมของบริเวณที่เลี้ยง วิธีการจัดการด้านโภชนาการ การสุขาภิบาล การดูแลสุขภาพสัตว์ และการป้องกัน โรค เพื่อจัดทำ�คู่มือสำ�หรับการเพาะเลี้ยงละมั่งให้ประสบ ความสำ�เร็จและมีความเหมาะสม 2. ดำ�เนินการด้านการเพาะขยายพันธุ์ละมั่งแยก ตามชนิดย่อยโดยใช้หลักการจัดการพันธุกรรมที่เหมาะ สมทางพันธุศาสตร์ 3. สนับสนุนการศึกษาวิจัยทางด้านพันธุศาสตร์ เพื่ อ นำ � มาพั ฒ นาแผนการจั ด การพั น ธุ ก รรมในกลุ่ ม ประชากรขนาดเล็กอย่างเช่น ละมั่งสายพันธุ์ไทย 4. จัดตั้งธนาคารพันธุกรรม (Genome Resource Bank; GRB) เพื่อเก็บรักษาพันธุกรรมที่มีค่า ของละมั่ง ทั้งสองชนิดย่อยในรูปแบบของเซลล์ เนื้อเยื่อ ไข่ และน้ำ�เชื้อ

5. พัฒนางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพช่วยในการ

สืบพันธุ์ โดยการศึกษาความเป็นไปได้ในการผสมเทียม ละมั่งสายพันธุ์พม่า เพื่อเป็นต้นแบบนำ�ไปประยุกต์ใช้ใน ละมั่งสายพันธุ์สายพันธุ์ไทยในอนาคต

การจัดการพันธุกรรมของละมั่งพันธุ์ ไทยในกรงเลี้ยงสำ�หรับการปล่อยคืน สู่ธรรมชาติ ละมั่ ง สายพั น ธุ์ ไ ทยจั ด เป็ น กลุ่ ม ประชากร ขนาดเล็กที่มีการเพาะเลี้ยงอยู่เฉพาะในสวนสัตว์ดุสิต จ.กรุ ง เทพฯและสถานี เ พาะเลี้ ย งสั ต ว์ ป่ า บางละมุ ง จ.ชลบุรี ซึ่งแต่เดิมมีละมั่งเพศผู้เพียง 1 ตัวเท่านั้น จึง ได้เกิดความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน คือ องค์การ สวนสัตว์และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในการอนุรักษ์ละมั่งสายพันธุ์ไทย โดยการส่งละมั่งเพศ เมียจำ�นวน 2 ตัว จากสวนสัตว์ดุสิตไปจับคู่ผสมพันธุ์ กับละมั่งเพศผู้ของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุงเพื่อ เป็นประชากรต้นพันธุ์ในการสร้างกลุ่มประชากรใหม่ ที่ มีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากขึ้น และเพิ่ม จำ�นวนประชากรละมั่งพันธุ์ไทยให้มีจำ�นวนมากขึ้น เพื่อ เตรียมความพร้อมสำ�หรับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติใน อนาคต จำ�นวนประชากรละมั่งสายพันธุ์ไทยในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2553) ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง จำ�นวน 16 ตัว (เพศผู้ 6 ตัว เพศเมีย 10 ตัว) นอกจากนี้ยังได้ทำ�การเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำ� ไปศึกษาหาความหลากหลายทางพันธุกรรมของกลุ่ม ประชากรเพื่ อ แยกออกเป็ น กลุ่ ม ที่ มี ค วามแตกต่ า งกั น เป็น Hapotype ต่างๆ ซึ่งได้ทำ�การศึกษาทั้งในละมั่ง สายพันธุ์ไทยและสายพันธุ์พม่า ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูล ในการพิจารณาเลือกกลุ่มประชากรที่นำ �ไปปล่อยคืนสู่ ธรรมชาติที่ควรมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง

จั ด ตั้ ง ธนาคารพั น ธุ ก รรมเพื่ อ เก็ บ ตัวอย่างจากละมั่ง การเก็ บ รั ก ษาเซลล์ พั น ธุ ก รรมไว้ ใ นธนาคาร พันธุกรรมเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยอนุรักษ์ความ หลากหลายทางพั น ธุ ก รรมในสั ต ว์ ป่ า ที่ ส ามารถเก็ บ รักษาพันธุกรรมของสัตว์ตัวหนึ่งให้คงอยู่แม้ว่าสัตว์ตัว นั้นจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม องค์การสวนสัตว์ได้จัดตั้ง

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

นักอนุรักษ์ จากประเทศที่มีหรือเคยมีละองละมั่งเหลือ อยู่ในธรรมชาติ ได้แก่ อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน เข้าร่วมประชุม เป็นหนึ่งในความ พยายามของนักอนุรักษ์ในการหาแนวทางในการอนุรักษ์ ละมั่งทั้ง 2 สายพันธุ์ของประเทศไทยให้คงอยู่ต่อไป


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๙ ธนาคารพันธุกรรมสัตว์ป่าไว้ ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี โดยได้ทำ�การเก็บรักษาเซลล์เนื้อเยื่อ ซีรั่ม ไข่ และ อสุจิ ไว้ภายในถังไนโตรเจนเหลว ที่มีอุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถเก็บรักษาเซลล์ พันธุกรรมไว้ได้ตราบนานเท่านาน องค์ ก ารสวนสั ต ว์ ไ ด้ พั ฒ นางานด้ า นธนาคาร พันธุกรรมเพื่อเก็บตัวอย่างที่ได้จากละมั่งสายพันธุ์ไทย และสายพันธุ์พม่า ทั้งที่มีชีวิตและเสียชีวิต โดยการเลี้ยง เซลล์จากเนื้อเยื่อใบหู กล้ามเนื้อ การเก็บไข่ (Oocyte) ที่ มีความสมบูรณ์จากรังไข่ การเก็บรักษาตัวอสุจิจากท่อ นำ�อสุจิ (Epididymis) ของสัตว์ที่เสียชีวิต เพื่อนำ�มา ใช้เพื่อศึกษาการนำ�เทคโนโลยีชีวภาพช่วยการสืบพันธุ์ (Assisted reproductive technology: ART) มา ประยุกต์ใช้กับงานอนุรักษ์ ต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ยั ง ได้ ดำ � เนิ น การวิ จั ย เพื่ อ พั ฒ นา ธนาคารพันธุกรรมสัตว์ป่าหายากตระกูลกวาง ซึ่งได้ ศึกษาการนำ�เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เข้า มาช่วยในงานอนุรักษ์ โดยได้ศึกษาวิธีการรีดเก็บน้ำ�เชื้อ ศึกษา และประเมินคุณภาพน้ำ�เชื้อเพื่อพัฒนาขบวนการ แช่แข็งน้ำ�เชื้อที่เหมาะสมกับชนิดสัตว์แต่ละชนิด ทั้งนี้ได้ ดำ�เนินการศึกษาทั้งในละมั่งสายพันธุ์ไทยและสายพันธุ์ พม่า และนอกจากนี้ยังได้ดำ�เนินโครงการวิจัยเพื่อต่อย อดเรื่อง การผสมเทียมละมั่งสายพันธุ์พม่า เพื่อเป็นต้น แบบในการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ละมั่งพันธุ์ไทยต่อไป การวิ จั ย เพื่ อ พั ฒ นาธนาคารพั น ธุ ก รรมสั ต ว์ ป่าหายากตระกูลกวางเกี่ยวกับงานสรีรวิทยาสืบพันธุ์ (Reproductive Physiology) เพื่อศึกษาวิธีการรีด เก็ บ น้ำ � เชื้ อ จากละมั่ ง สายพั น ธุ์ ไ ทยเพศผู้ ภ ายใต้ ภ าวะ การวางยาสลบ โดยทำ�การกระตุ้นด้วยเครื่องกระตุ้น การหลั่งน้ำ�เชื้อด้วยกระแสไฟฟ้า (Electroejaculator) เพื่ อ นำ � น้ำ � เชื้ อ ที่ รี ด เก็ บ ได้ ม าประเมิ น คุ ณ ภาพน้ำ � เชื้ อ เบื้องต้น ได้แก่ ปริมาตรน้ำ�เชื้อ เปอร์เซ็นต์อสุจิมีชีวิต ความเข้มข้นของอสุจิในน้ำ�เชื้อ เปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ ของอสุจิไปข้างหน้า รูปร่าง และความสมบรูณ์ของ อสุจิ โดยใช้เครื่องประเมินคุณภาพน้ำ�เชื้ออัตโนมัติ (Computer-assisted sperm analysis: CASA) เพื่อใช้ ประกอบการตัดสินใจในการพัฒนาขบวนการแช่แข็งน้ำ� เชื้อเข้าสู่ธนาคารพันธุกรรมต่อไป การเก็บเซลล์สืบพันธุ์ เป็นแนวทางหนึ่งในการเก็บรักษาพันธุกรรมสัตว์เพื่อนำ� มาศึกษาหาแนวทางในการนำ�เทคโนโลยีการสืบพันธุ์เข้า มาช่วยงานด้านการอนุรักษ์ต่อไปในอนาคต

ต้นแบบความสำ�เร็จในการผสมเทียม ละมั่งสายพันธุ์พม่า โครงการการผสมเที ย มละมั่ ง พั น ธุ์ พ ม่ า เพื่ อ เป็ น ต้ น แบบในการอนุ รั ก ษ์ แ ละขยายพั น ธุ์ ล ะมั่ ง พั น ธุ์ ไทยเกิ ด ขึ้ น จากความร่ ว มมื อ ระหว่ า งองค์ ก ารสวน สัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยมีจุดประสงค์ในการศึกษา และพัฒนาเทคนิคการผสมเทียมที่เหมาะสมในการขยาย พันธุ์ละมั่งพันธุ์พม่า เพื่อนำ�มาประยุกต์ใช้และเป็นเครื่อง มือในการจัดการด้านพันธุกรรมในกลุ่มประชากรละมั่ง พันธุ์ไทย และยังช่วยส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือ ข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์สัตว์ป่าของประเทศไทย

กระบวนการผสมเทียมละมั่ง เทคนิ ค การผสมเที ย มเป็ น ขบวนการช่ ว ยการ สืบพันธุ์ที่เลียนแบบการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ โดย มนุษย์ท�ำ หน้าที่แทนสัตว์เพศผู้ในการนำ�พาเซลล์สืบพันธุ์ หรือตัวอสุจิของเพศผู้เข้าสู่มดลูกของตัวเมียที่มีการตก ไข่ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่กับเชื้ออสุจิ

การเตรียมน้ำ�เชื้อจากสัตว์เพศผู้ ละมั่ ง เป็ น สั ต ว์ ที่ มี ฤ ดู ผ สมพั น ธุ์ ตั้ ง แต่ เ ดื อ น กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน การรีดเก็บนำ�้เชื้อในช่วงเวลาดัง กล่าวจะทำ�ให้ได้นำ�้เชื้อที่มีคุณภาพดี การคัดเลือกละมั่ง เพศผู้จากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี สวนสัตว์ นครราชสีมา สถานีวิจัยและเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี และสถานีวิจัยและเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เขาประทับช้าง จังหวัดราชบุรี ทำ�การวางยาสลบและ กระตุ้นการหลั่งน้ำ�เชื้อด้วยเครื่องกระตุ้นกระแสไฟฟ้า


๑๐

การเหนี่ยวนำ�การเป็นสัดในละมั่งเพศ เมีย การเหนี่ยวนำ�การเป็นสัดในละมั่งเพศเมียจำ�นวน 5 ตัว โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ 2 ชนิด คือ ฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ด้วย CIDR type G เข้า ทางช่องคลอดร่วมกับการฉีดฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) เพื่อเหนี่ยวนำ�การเป็นสัดและการ ตกไข่ ทำ�ให้ละมั่งเข้าสู่วงรอบการเป็นสัด แสดงอาการ เป็นสัดและเกิดการตกไข่ภายใน 72 ชั่วโมงหลังการถอด ฮอร์โมน

การผสมเทียม ทำ�การผสมเทียมโดยใช้เทคนิค laparoscopic artificial insemination คือ การใช้กล้อง laparoscope ส่องตรวจดูลักษณะของรังไข่ผ่านทางหน้าท้อง เพื่อ ตรวจสอบการตกไข่และความพร้อมในรับการผสมแล้ว จึงฉีดน้ำ�เชื้อเข้าไปในตำ�แหน่งของปีกมดลูกโดยตรง โดย ละลายน้ำ�เชื้อแช่แข็งที่มีตัวอสุจิประมาณ 25 ล้านตัวต่อ การผสม 1 ครั้ง มีเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หลังผ่านการอุ่นละลายมากกว่า 50 %

ลูกละมั่งสายพันธุ์พม่าจากการผสมเทียมตัวแรกของประเทศไทย

ลู ก ล ะ มั่ ง ผ ส ม เ ที ย ม ตั ว แ ร ก ข อ ง ประเทศไทย ละมั่งเพศเมีย “อั่งเปา” ลูกละมั่งสายพันธุ์พม่า ที่เกิดจากการผสมเทียมด้วยเทคนิค laparoscopic intrauterine artificial insemination ด้วยนำ�้เชื้อแช่ แข็งเป็นตัวแรกของประเทศไทย ความสำ�เร็จดังกล่าว เป็นแรงพลักดันให้นักวิจัยสัตว์ป่าของไทยได้มีความหวัง ที่จะสามารถนำ�เทคนิคดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับละมั่ง พันธุ์ไทย สัตว์ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง เผื่อวัน หนึ่งในข้างหน้าจะมีลูกละมั่งไทยที่แข็งแรงวิ่งในพื้นป่า ประเทศไทยบ้านของเราในอนาคตอันใกล้ ปัจจุบันได้เริ่ม การศึกษาเบื้องต้นในการผสมเทียมด้วยเทคนิคดังกล่าว ในละมั่งพันธุ์ไทยไปแล้ว 5 ตัว

การผลิตตัวอ่อนละมั่งหลอดแก้ว นอกจากความพยายามในการเก็ บ รั ก ษา ความหลากหลายทางพันธุกรรมละมั่ง ในรูปแบบ การแช่แข็งน้ำ�เชื้อแล้ว ได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ทางการสืบพันธุ์ เช่น การผสมเทียมและ การปฏิสนธิ ภายนอกร่ า งกายเพื่ อ ช่ ว ยกระจายความหลากหลาย ทางพันธุกรรมในประชากรละมั่ง การปฏิสนธิภายนอก ร่างกาย คือกระบวนที่ไข่และตัวอสุจิมีการปฏิสนธิกัน และพัฒนาเป็นตัวอ่อนภายนอกร่างกาย ก่อนที่นำ�ไป ฉีดเข้าในโพรงมดลูกของตัวรับซึ่งอาจเป็นสัตว์พื้นบ้าน ที่มีความใกล้เคียงทางพันธุกรรมกับตัวอ่อนสัตว์ป่าที่ ต้องการผลิต วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถผลิตลูกสัตว์ จากสัตว์ที่มีปัญหาทางการสืบพันธุ์และช่วยการขยาย พันธุ์สัตว์ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้วิธีการดังกล่าวยัง เปิดโอกาสให้สามารถผลิตตัวอ่อนจากเซลล์สืบพันธุ์ของ

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

เก็บรักษาน้ำ�เชื้อละมั่งด้วยการแช่แข็งโดยใช้สารละลาย น้ำ�เชื้อ 3 ชนิด คือ ชนิด BF5F TRIS และTriladyl และ เก็บไว้ในธนาคารพันธุกรรมสัตว์ปา่ ขององค์การสวนสัตว์


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๑๑ สั ต ว์ ที่ ต ายอย่ า งกะทั น หั น หรื อ ผลิ ต จากเซลล์ สื บ พั น ธุ์ ที่แช่แข็งเก็บไว้ได้ด้วย อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้มีข้อ จำ�กัด คือ อัตราความสำ�เร็จยังอยู่ในระดับต่ำ� เนื่องจาก การขาดองค์ความรู้พื้นฐานในเรื่องของปัจจัยที่มีผลต่อ การพั ฒ นาของตั ว อ่ อ นและการตอบสนองของตั ว รั บ ต่อการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเพื่อการฝังตัวของตัวอ่อน เป็นต้น องค์การสวนสัตว์ประสบความสำ�เร็จครั้งยิ่งใหญ่ ในการผลิตตัวอ่อนละมั่งที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างไข่ ที่เจาะจากรังไข่ของละมั่งเพศเมีย กับน้ำ�เชื้อแช่แข็งจาก ละมั่งเพศผู้ (ผลิตตัวอ่อนหลอดแก้ว หรือ ไอวีเอฟ) ได้ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยตัวอ่อนสามารถพัฒนา ภายนอกร่างกายจนถึง ระยะบลาสโตซีส (Blastocyst) เป็นครั้งแรกของโลก และเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2553 ได้ ทำ � การย้ า ยฝากตั ว อ่ อ นเข้ า สู่ ท่ อ นำ � ไข่ ข องแม่ ล ะมั่ ง อุ้มบุญจำ�นวน 3 ตัวโดยแบ่งเป็นตัวอ่อนระยะ 4 เซลล์ จำ�นวน 2 ตัว (แม่ละ 1 ตัวอ่อน) และตัวอ่อนระยะ 2 และ 4 เซลล์ เข้าสู่แม่อุ้มบุญอีก 1 ตัว ไปแล้วคาดว่า ภายใน 2 ปีนี้ ลูกละมั่งในหลอดแก้ว ตัวแรกของโลก จะถือ กำ�เนิด เป็นครั้งแรกของโลก ในประเทศไทย ความสำ�เร็จ ดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือของหลายหน่วยงาน ได้แก่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัยและ สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกทั้งนักวิจัยระดับโลก คือ Dr. Debra Berg จากสถาบัน Ag Research ประเทศ นิวซีแลนด์ และ Dr. Pierre Comizzoli จาก Smithsonian’s National Zoological Park ประเทศสหรัฐอเมริกา

การผ่าตัดเก็บรังไข่ละมั่ง

นอกจากนี้ ไ ด้ มี ก ารจั ด ประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร เทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์สัตว์ป่า ครั้งที่ 1 วันที่ 31 มีนาคม 2553 ณ ศูนย์อนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรภาค ตะวันออก เขาเขียว จังหวัดชลบุรี เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้า ร่วมงาน ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ จากหลายสถาบันจำ�นวนหนึ่งร้อยกว่าคน และการถ่าย ทอดสัญญาณผ่านระบบอินทราเน็ตองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เอกสารประกอบการประชุมใน www.zoothailand.org การดำ�เนินงานโครงการวิจัย และความสำ � เร็ จ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ยั ง ได้ เ ผยแพร่ เ ป็ น ประโยชน์ แก่สาธารณะชนในสื่อหลายๆด้าน ได้แก่ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ตกว่าร้อยรายการ จากแบบ สอบถามจากผู้เข้าร่วมประชุมและกระทู้ในอินเตอร์เน็ต เป็นที่ประจักชัดว่าประชาชนเห็นความสำ �คัญของการ ประยุ ก ต์ ใ ช้ เ ทคโนโลยี ท างการสื บ พั น ธุ์ ใ นสั ต ว์ ป่ า เพื่ อ เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะขยายพันธุ์ และสร้างความ หลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

การปฏิบัติการเลี้่ยงตัวอ่อนละมั่งไอวีเอฟ การใช้กล้องส่องผ่านทางหน้าท้องเพื่อการย้ายฝากตัวอ่อน


๑๒

A

B

C

D

E

F

โอโอไซต์ (A) ตัวอ่อนละมั่งหลอดแก้วระยะ 2 เซลล์ (B) 4 เซลล์ (C) 16 เซลล์ (D) บลาสโตซีส (E) และบลาสโตซีสซึ่งมีจำ�นวน เซลล์ร้อยกว่าเซลล์ภายหลังการย้อมสี (F)

เก็บตัวอย่างสำ�หรับตรวจดีเอ็นเอ เพื่อศึกษาความหลาก หลายทางพันธุกรรม ในประชากรละมั่งสายพันธุ์พม่าที่ จะนำ�ไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

โครงการฟื้ น ฟู ป ระชากรละมั่ ง สาย พันธุ์พม่า คืนสู่พื้นที่ธรรมชาติ โครงการฟื้นฟูประชากรละมั่งชนิดย่อย Thamin คื น สู่ ธ รรมชาติ ใ นพื้ น ที่ เ ขตรั ก ษาพั น ธุ์ สั ต ว์ ป่ า ห้ ว ย ขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เริ่มขึ้นหลังจากการประชุม กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ครั้งแรกที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2546 ซึ่งได้จัดทำ� แผนปฎิบัติการเพื่อฟื้นฟูประชากรละมั่งของประเทศไทย เพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนโดยได้กำ�หนดให้มีกาดำ�เนิน การฟื้นฟูละมั่ง 2 ชนิดย่อยที่พบในประเทศไทย และ จากการสำ�รวจประชากรพบว่าละมั่งชนิดย่อย Thamin ประสบความสำ � เร็ จ ในการเพาะขยายพั น ธุ์ ไ ด้ ดี แ ละมี ประชากรอยู่ ใ นสภาพการเพาะเลี้ ย งเป็ น จำ � นวนมาก ดังนั้นจึงมีมติในที่ประชุมให้จัดทำ �โครงการการปล่อย ละมั่งสายพันธุ์พม่าคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อเป็นโครงการ นำ � ร่ อ งและศึ ก ษาความเป็ น ไปได้ ใ นการนำ � ละมั่ ง สาย พันธุ์ไทย โดยมีองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะวนศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า และสถาบันสมิธโซเนียนแห่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นคณะทำ�งานหลัก

ผลการดำ�เนินงาน ละมั่งตัวรับที่ได้รับการย้ายฝากตัวอ่อน

แผนการปฎิบัติการเพื่ออนุรักษ์ละมั่ง ในธรรมชาติ

1. องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรม

อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ได้ร่วมกันลงนามความร่วมมืออย่างเป็น ทางการ เรื่องการเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โดยใช้ละองละมั่งเป็นสัตว์ใน โครงการนำ�ร่อง 2. จัดทำ�โครงการ การปล่อยละองละมั่งคืนสู่ ธรรมชาติ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัด อุทัยธานี

1. จัดตั้งประชากรละมั่งที่มีความสมบรูณ์พันธุ์

ทั้งละมั่งสายพันธุ์ไทยและละมั่งสายพันธุ์พม่า เพื่อ เป็นประชากรต้นพันธุ์ในโครงการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ องค์ ก ารสวนสั ต ว์ แ ละสถานี เ พาะเลี้ ย งสั ต ว์ ป่ า ดำ�เนินการจัดเตรียม และคัดเลือกประชากรละมั่งโตเต็ม วัยที่มีสุขภาพดี สมบรูณ์แข็งแรง ปลอดจากโรคติดต่อ ร้ายแรงที่มีกำ�หนดไว้ตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์ เพื่อไม่ ให้เป็นการนำ�โรคระบาดไปสู่สัตว์ป่าในพื้นที่ธรรมชาติ นอกจากนี้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ทำ�การตรวจลักษณะทางพันธุกรรม เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการคัดเลือกสัตว์ เพื่อสร้าง ประชากรละมั่งในธรรมชาติให้มีความหลากหลายทาง พันธุกรรม

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

3. ทำ�การคัดเลือกสายพันธุ์ ตรวจสุขภาพและ


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๑๓

บรรยายการการประชุมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์สัตว์ป่า ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์อนุรักษ์และ พัฒนาทรัพยากรภาคตะวันออก เขาเขียว จังหวัดชลบุรี

ละมั่ ง ที่ ไ ด้ รั บ คั ด เลื อ กเพื่ อ นำ � เข้ า สู่ ก ระบวนการ ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อเป็นประชากรตั้งต้นคือละมั่ง จากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี สถานีเพาะเลี้ยง สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี สถานีเพาะเลี้ยง สัตว์ป่าห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ ป่าเขาประทับช้าง จังหวัดราชบุรี 2. การเตรียมความพร้อมสัตว์ป่าก่อนปล่อยสู่ ธรรมชาติ ทีมสัตวแพทย์ได้ดำ�เนินการตรวจสุขภาพร่างกาย ละมั่งที่ทำ�การคัดเลือกแล้วของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง จังหวัดชลบุรี และ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี ก่อน การเคลื่ อ นย้ า ยสู่ ส ถานี เ พาะเลี้ ย งสั ต ว์ ป่ า ห้ ว ยขาแข้ ง งานที่ได้ดำ�เนินการประกอบด้วย 2.1 ตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไป 2.2 กำ�จัดพยาธิภายนอกและพยาธิภายในก่อน เคลื่อนย้ายสู่สถานีเพาะเลี้ยงห้วยขาแข้ง 2.3 ทำ�การเจาะเลือดเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติ การเกี่ยวกับ • ทางโลหิตวิทยา และปรสิตในเลือด

• ตรวจค่าเคมีคลินิกในซีรั่ม เกี่ยวกับการทำ�งานของ ตับ ไต และกล้ามเนื้อ • ตรวจซีรั่มวิทยา เกี่ยวกับ โรคปาก เท้าเปื่อย วัณโรค และโรคแท้งติดต่อ • ตรวจ DNA เบื้องต้น เกี่ยวกับ ไมโตคอนเดรีย และ เก็บเป็นธนาคาร DNA สำ�หรับการตรวจพันธุกรรม อื่นๆ โดยข้อมูลการตรวจทุกรายการในสัตว์แต่ละตัว จะบันทึกข้อมูล เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำ�หรับสัตว์แต่ละ ตัว ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อจะได้สัตว์ที่มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรค และทราบข้อมูลทางพันธุกรรม เพื่อนำ�ไป ช่วยในการจัดการด้านการผสมพันธุ์ในสถานที่เลี้ยง เพื่อ ให้มีความหลากหลายทางพันธุกรรม และการปล่อยสู่ ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ตลอด จนการติดตามในการอยู่รอดในธรรมชาติ และการปล่อย สัตว์เพิ่มเติมในอนาคต เพื่อหวังผลความยั่งยืนของการ มีชีวิตอยู่ในป่าธรรมชาติต่อไป

3. ศึกษาหาพื้นที่ป่า (ป่าเต็งรัง) ที่เหมาะสม

สำ�หรับการปล่อยละมั่งคืนสู่ธรรมชาติในไทย


๑๔

ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบสภาพพื้นที่ การคุกคาม และความเหมาะสม พื้นที่

สภาพถิ่นที่อาศัย

ป่าเต็งรังในที่ราบ และค่อนข้าง โล่ง มีแหล่งหญ้าระบัดกระจาย กว้าง และแหล่งน้ำ�สมบูรณ์จาก ทุ่งแฝก ห้วยทับเสลา

ศัตรูธรรมชาติ และ สภาพการคุกคาม อื่นๆ

โอกาส และความเหมาะสม

พบเสือโคร่ง เสือดาว หมาใน และงูเหลือม พื้นที่ตั้งอยู่ติด หมู่บ้าน ใกล้แหล่งเลี้ยงปศุสัตว์ โรค ปรสิต สุนัขบ้าน และอ่าง เก็บน้ำ�เขื่อน ทับเสลา พื้นที่ถูก รบกวนจากการ เก็บหาของป่า

เส้ น ทางคมนาคมสะดวกที่ สุ ด และใกล้ ส ถานี เ พาะเลี้ ย งสั ต ว์ ป่ า ห้วยขาแข้ง และสถานีส่งเสริม การพัฒนาและอนุรักษ์ สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง

ป่าเต็งรังโปร่ง และรกทึบบางส่วน ศั ต รู ธ รรมชาติ เ หมื อ นทุ่ ง แฝก มีโป่งซับฟ้าผ่า ซับน้อย ห้วย พืน้ ที่ห่างไกลจากหมู่บ้าน มี สองทางเป็นแหล่งน้ำ�หลัก หน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่าตั้งอยู่ ซับฟ้าผ่า ในพื้นที่

สะดวก มีการจัดการพื้นที่ด้วย การเผาแบบ ควบคุมพื้นที่ 25 กม.2 การจัดเตรียมแหล่งน้ำ�เสริม ไกลจากการรบกวนประชากร ละมั่งที่เพิ่มขึ้นสามารถกระจายลง สู่พื้นที่ ทุ่งแฝก

ป่าเต็งรังโปร่งโล่ง ป่าเบญจพรรณ ศัตรูธรรมชาติเหมือนกัน ห่าง การเดินทางลำ�บาก ยากต่อการ แหล่งน้ำ�จากลำ�ขาแข้ง และห้วย ไกลจากหมู่บ้านมากที่สุด ขนย้าย และติดตามประชากร เขาบันได แม่ดี มีแหล่งดินโป่งสมบูรณ์มาก ละองละมัง่ ได้อย่าง ใกล้ชิด มีพื้นที่ รองรับกว้าง 3.2 การเตรียมพื้นที่รองรับการปล่อยบริเวณซับ ฟ้าผ่า การสำ�รวจถิ่นที่อาศัย พบว่าพื้นที่เป็นพื้นป่ารก ทึบด้วยต้นติ้วเกลี้ยง เปล้าน้ำ�เงิน และสาบเสือ ในบาง จุดมีกล้าไม้ ซึ่งเป็นพรรณไม้ป่าดิบแล้งกระจายเข้ามาขึ้น แทรก คณะทำ�งานโดยเจ้าหน้าที่ของเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จึงได้ดำ�เนินการและการจัดการเผาแบบ

ควบคุม ในระหว่างปี 2549-2551 เพื่อปรับปรุงสภาพ ป่าให้มีความ ใกล้เคียงกับถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม ซึ่งละอง ละมั่งชอบอาศัยอยู่ในป่าเต็งรังที่ค่อนข้างโล่ง สามารถ มองเห็นได้ไกล และวิ่งหลบหนีศัตรูผู้ล่าได้ง่าย รวมถึงมี หญ้าระบัดที่เกิดจากไฟป่ากินเป็นอาหาร นอกจากนี้ยัง ได้เพิ่มแหล่งน้ำ� แบบบ่อซีเมนต์เติมน้ำ�จำ�นวน 50 บ่อ และโป่งเทียมในบริเวณซับฟ้าผ่าด้วย

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

3.1 การสำ�รวจพื้นที่รองรับการปล่อยละองละมั่ง โดยได้ เ ลื อ กพื้ น ที่ เ ขตรั ก ษาพั น ธุ์ สั ต ว์ ป่ า ห้ ว ยขา แข้ง เป็นพื้นที่สำ�หรับการปล่อย คณะทำ�งานประกอบ ด้วยอาจารย์และนักศึกษาคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และเจ้าหน้าที่จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง ได้ดำ�เนินการสำ�รวจหาพื้นที่ที่เหมาะสมและ มีศักยภาพในการรองรับประชากรละมั่ง ซึ่งได้เข้าสำ�รวจ พื้นที่ 3 แห่ง ได้แก่ พื้นที่บริเวณทุ่งแฝก และบริเวณซับ ฟ้าผ่า และบริเวณสบห้วยแม่ดี-เขาบันได พบว่า พื้นที่ทั้ง 3 แห่ง มีความเหมาะสมแตกต่างกันตามรายละเอียด ดัง ตารางที่ 2


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๑๕

การสำ�รวจหาพื้นที่ที่เหมาะสมและมีศักยภาพในการรองรับ ประชากรละมั่ง

สภาพพื้นล่างของป่าเต็งรัง บริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติที่ กันไฟไว้ นานมากกว่า 10 ปี สาบเสือเข้าแทนที่หญ้าชนิดต่างๆ ที่ หายไป

หญ้าระบัดผลหลังการเผาตามโครงการปรับปรุงแหล่งอาหาร สัตว์กีบ

การเผาแบบควบคุมในพื้นที่ซึ่งแบ่งออกเป็นแปลงย่อย

4. จัดการอบรมเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า

การเข้าสำ�รวจพื้นที่ป่าเต็งรังซับฟ้าผ่าที่แน่นรกด้วยไม้ติ้วเกลี้ยง

และ พนั ก งานป่ า ไม้ ใ นถิ่ น ที่ มี ล ะมั่ ง อาศั ย อยู่ ใ นไทย หลักสูตร การลาดตระเวนและปราบปรามการลักลอบ ล่าสัตว์ป่า การนำ�วิถีในป่า การสำ�รวจละมั่ง การจด บันทึกและการใช้ตารางบันทึก โดยความร่ ว มมื อ ระหว่ า งเขตรั ก ษาพั น ธุ์ สั ต ว์ ป่าห้วยขาแข้งและสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าประเทศไทย (Wildlife Conservation Society : WCS) ได้เริ่มมีการ จัดระบบลาดตระเวนอย่างเป็นระบบในปี พ.ศ. 2548 โดยการดัดแปลงการทำ�ฐานข้อมูลจาก Monitoring the illegal killing of elephants (MIKE) และมีการอบรม เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับวิธีการเก็บข้อมูล ด้านสัตว์ป่า การกระ ทำ�ความผิด ร่องรอยการกระทำ�ความผิด การใช้อุปกรณ์ ต่างๆ เช่น แผนที่ เข็มทิศ กล้องถ่ายภาพติจิตอล GPS และการกรอกแบบบันทึกข้อมูล ซึ่งผลจากการนำ�ระบบ ดังกล่าวเข้ามา ใช้ในพื้นที่สามารถที่จะตรวจพบร่องรอย การกระจายของสัตว์ป่า ภัยคุกคามต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน


๑๖

การเดินลาดตระเวนในพื้นที่ที่พบมีภัยคุกคามสูง

5.

จัดระบบให้การศึกษาและจัดทำ�คู่มือการ เรี ย นการสอนแก่ ป ระชาชนที่ อ าศั ย ออยู่ ร อบพื้ น ที่ ที่ จะปล่อยละมั่งเพื่อ ให้ความร่วมมือกันในการอนุรักษ์ ละมั่งในธรรมชาติ 5.1 สร้างความเข้าใจและขอความร่วมมือจาก ชุ ม ชนในการมี ส่ ว นร่ ว มในการช่ ว ยดู แ ลละมั่ ง ในพื้ น ที่ รอบๆเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ไม่ทำ�อันตรายสัตว์กรณีที่ มละมั่งออกไปยังพื้นที่หมู่บ้าน เนื่องจากเป็นละมั่งที่ ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ตามโครงการพลิกฟื้นผืนป่าด้วย พระบารมี ซึ่งเป็นการปล่อยเพื่อถวายแด่องค์สมเด็จพระ ราชินี ซึ่งทรงปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ 5.2 จัดทำ�โปสเตอร์หรือแผ่นพับ สื่อวีดีทัศน์ เพื่อ ประชาสัมพันธ์โครงการ ให้ความรู้และเผยแพร่การศึกษา วิจัยเกี่ยวกับละมั่งกับชุมชนที่อยู่บริเวณรอบๆเขตรักษา พันธ์ุสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เพื่อสร้างความตระหนักในการ มีส่วนร่วมของชุมชนที่จะทำ�ให้เกิดความร่วมมือในการ อนุรักษ์ละมั่งร่วมกันระหว่างทั้งภาครัฐและประชาชน

การอบรมเจ้าหน้าที่เกี่ยวการวิธีการเก็บข้อมูลด้านสัตว์ป่า

พื้นที่เสี่ยงต่อการพบปัจจัยการคุกคามตั้งแต่ปี 2549-2551

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

พื้นที่ โดยมีการวัดผลทุกๆ เดือน และมีการปรับแผนการ เดินลาดตระเวนในพื้นที่ที่พบมีภัยคุกคามสูง หลังจาก การประเมินผลประจำ�ปี พบว่าภัยคุกคามต่างๆ มีจำ�นวน ลดน้อยลง แต่ยังไม่หมดไป ดังนั้นในปี พ.ศ. 2550 เขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ร่วมกับสมาคมอนุรักษ์ สัตว์ป่า ประเทศไทย จึงได้ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลการ ลาดตระเวน โดยนำ�โปรแกรม (A Spatial Management Information System : MIST) มาใช้โปรแกรม นี้จะช่วยอำ�นวยความสะดวก การนำ�เข้าข้อมูล และการ เรียกดูข้อมูลที่เป็นปัจจัยคุกคาม และข้อมูลทางนิเวศ ของพื้นที่ย้อนหลัง และรวดเร็วในการประมวลผล ทำ�ให้ การลาดตระเวนมีประสิทธิภาพ มากยิ่งยึ้น นอกจากนี้ ยังมีการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มศักยภาพ ของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน ทำ�ให้เจ้าหน้าที่มีขวัญกำ�ลัง ใจในการทำ�งานที่ดี


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๑๗

ความสำ�เร็จในการเพาะขยายพันธุ์

นกกระเรี ย นพั น ธุ ไ ์ ทย เพื่อเตรียมปล่อยคืนสู่พื้นที่ชุ่มน้ำ�ตามธรรมชาติในอนาคต นกกระเรียนพันธุ์ไทยจัดเป็นนกน้ำ�ขนาดใหญ่ จัดอยู่ในวงศ์ของนกกระเรียน (Family; Gruidae) ซึ่งทั่ว โลกมีทั้งหมด 15 ชนิด ใน 4 สกุล ปัจจุบันสามารถพบได้ในทวีปเอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลีย และทาง ตอนเหนือของอเมริกา ในจำ�นวนนี้มี 8 ชนิดที่หายาก และ 1 ชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ คือ นกกระเรียนพันธุ์ไทย การจำ�แนกชนิดนกกระเรียนแต่ก่อนจะดูจากลักษณะทางสัณฐานวิทยา แต่ปัจจุบันใช้การแยกด้วยวิธีทาง อณูพันธุศาสตร์

นกกระเรียนพันธุ์ไทย นกกระเรียนพันธุ์ไทย (Eastern Sarus Crane) จัดอยู่ ในสกุลนกกระเรียนขนาดใหญ่ (Genus; Grus sp.) ชนิดพันธุ์ Grus antigone ซึ่งในชนิดพันธุ์นี้มีทั้งหมด 3 ชนิดพันธุ์ย่อย คือ • นกกระเรียนพันธุ์อินเดีย (Grus antigone antigone) หรือ Indian Sarus Crane • นกกระเรียนพันธุ์ไทย (Grus antigone sharpii) หรือ Eastern Sarus Crane • นกกระเรียนพันธุ์ออสเตรเลีย (Grus antigone gillae) หรือ Australian Sarus Crane

นกกระเรียนพันธุ์ไทยเป็นนกน้ำ�ขนาดใหญ่มาก น้ำ�หนักตัวประมาณ 5-12 กิโลกรัม ความยาวจากปาก จรดปลายหาง 180-220 เซนติเมตร ซึ่งนกกระเรียน พันธุ์ไทยจะมีลักษณะคล้ายกับนกกระเรียนพันธุ์อินเดีย และนกกระเรียนพันธุ์ออสเตรเลียมาก แตกต่างกันตรง ที่นกกระเรียนพันธุ์ไทยจะมีขนาดตัวเล็กกว่าสายพันธุ์ อินเดีย แต่ใหญ่กว่าสายพันธุ์ออสเตรเลีย ขนปกคลุม ลำ�ตัวมีสีเทาเข้ม บริเวณตั้งแต่ส่วนหัว แก้ม ลำ�คอส่วน บนเป็นแผ่นหนังสีส้มสดหรือสีแดงเข้ม ยกเว้นบริเวณ กระหม่อมเป็นแผ่นหนังเรียบสีเขียวอ่อน ขามีสีแดง ทั้ง เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายกัน แต่เมื่อเทียบคู่กัน แล้วเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้อย่างเห็นได้ชัด


๑๘

นกกระเรียนสายพันธุ์ไทย

ความสำ�คัญที่ต้องอนุรักษ์ นกกระเรี ย นพั น ธุ์ ไ ทยจั ด เป็ น นกที่ มี ส ถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก โดยมีความสำ�คัญเป็น 1 ใน 15 ชนิดของสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทย การสำ�รวจ ประชากรของนกกระเรียนพันธุ์ไทย ทั่วโลกพบว่า เหลือ อยู่ประมาณพันกว่าตัวเท่านั้น ในแถบประเทศสหภาพ เมียนม่าร์บริเวณปากแม่น้ำ�อิระวดี ใกล้ๆทะเลสาบเขมร และป่าตะวันออกประเทศกัมพูชา และเวียดนามแถวปาก แม่น้ำ�โขง ซึ่งจากการจัดสถานภาพทางการอนุรักษ์ใน

ระดับสากลของ IUCN (2008) นกกระเรียนพันธุ์ไทย ถูกจัดอยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable : VU) สำ�หรับประเทศไทย นกกระเรียนสูญ พั น ธุ์ จ ากถิ่ น อาศั ย ตามธรรมชาติ เ ป็ น ระยะเวลานาน มากกว่า 40 ปีมาแล้ว (Extinct in the wild : EW) คาดว่ า ปั จ จั ย ที่ สำ � คั ญ ที่ ทำ � ให้ น กกระเรี ย นสู ญ พั น ธุ์ จากประเทศไทยคือการสูญเสียแหล่งพื้นที่ชุ่มน้ำ�ตาม ธรรมชาติ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยที่สำ�คัญของนกกระเรียน รวมถึงการพัฒนาประเทศและเกษตรแบบก้าวหน้าซึ่ง มีการใช้ปุ๋ยเคมีปราบศัตรูพืชและแมลงที่ตกค้างในสิ่ง แวดล้อมและเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชุ่มน้ำ�ของไทยเปลี่ยน ไปจากอดีตมาก และปัจจัยที่สำ�คัญคือการคุกคามจาก มนุษย์ในรูปแบบอื่นๆ

ความสำ � เร็ จ ในการผสมเที ย มนก กระเรียนพันธุ์ไทย

สวนสัตว์นครราชสีมาได้ริเริ่มมีการนำ�เทคโนโลยี ทางด้ า นการผสมเที ย มมาใช้ แ ก้ ปั ญ หาทางด้ า นการ จั ด การเพาะขยายพั น ธุ์ น กกระเรี ย นพั น ธุ์ ไ ทยในสภาพ เพาะเลี้ยง ซึ่งประสบความสำ�เร็จเป็นอย่างดี สามารถ ผลิตลูกนกที่เกิดจากการผสมเทียมได้เป็นจำ �นวนมาก นอกจากนี้ยังมีโอกาสเข้าถวายงานเพาะขยายพันธุ์นก กระเรียนพันธุ์ไทยทรงเลี้ยง จำ�นวน 1 คู่ ณ พระตำ�หนัก จิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต โดยนกกระเรียนเพศ ผู้มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายจากจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนเพศเมีย องค์การสวนสัตว์ใน พระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยพบว่านก กระเรียนพันธุ์ไทยทั้งคู่จับคู่กันมา นานถึง 14 ปี แต่ยังไม่พบพฤติกรรมการวางไข่ ต่อมาปี พ.ศ.2547 นกกระเรียนพันธุ์ไทยคู่นี้ได้ วางไข่ครั้งแรกจำ�นวน 2 ฟอง แต่พบว่าไข่ไม่มีเชื้อ สำ�นัก พระราชวังจึงได้ขอความอนุเคราะห์ให้องค์การสวนสัตว์ ถวาย การปรับสภาพกรงเลี้ยงของนกกระเรียนพันธุ์ไทย ซึ่งในช่วงฤดูผสมพันธุ์ปี พ.ศ. 2548 นกกระเรียนพันธุ์ ไทยได้วางไข่อีก จำ�นวน 4 ฟอง แต่ตรวจพบว่าไม่มีเชื้อ ในปี พ.ศ.2549 ทางสวนสัตว์นครราชสีมาได้เสนอ แผนการผสมเทียมนกกระเรียนพันธุ์ไทย พร้อมกับถวาย งานดำ�เนินการปรับปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในกรง และเสริมอาหาร วิตามิน แร่ธาตุให้แก่นกกระเรียนพันธุ์ ไทยทั้งคู่อีกครั้ง จนกระทั่งนกกระเรียนมีความสมบูรณ์ พร้อมที่จะวางไข่ คณะทำ�งานของสวนสัตว์นครราชสีมา จึงทำ�การผสมเทียมให้กับนกกระเรียนเพศเมีย โดยใช้น้ำ� เชื้อนกกระเรียนเพศผู้ของสวนสัตว์นครราชสีมา หลัง

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

แหล่ ง อาศั ย ของนกกระเรี ย นอยู่ ต ามพื้ น ที่ ชุ่ ม น้ำ� เป็นที่ราบลุ่ม ทุ่งนา ป่าพรุ และตามบึงน้ำ�ตื้นๆ ที่มี ไม้จำ�พวกกก บัว หญ้า และสาหร่ายต่างๆ นกกระเรียน กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ได้แก่ เมล็ดข้าวสาลี ข้าว เจ้า ข้าวโพด ถั่ว ส่วนของลำ�ต้นและรากของพืชน้ำ� ยอด อ่อนของหญ้า แมลงต่างๆ โดยเฉพาะตั๊กแตน หอยน้ำ�จืด ปลา กบ และงูน้ำ� นกกระเรี ย นพั น ธุ์ ไ ทยเริ่ ม จั บ คู่ ผ สมพั น ธุ์ เ มื่ อ มีอายุ 2-3 ปีขึ้นไป และเป็นการจับคู่แบบผัวเดียวเมีย เดียว (Monogamous) ฤดูผสมพันธุ์จะอยู่ในช่วงต้นฤดู ฝน ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนถึง เดือนกันยายน การแยก เพศของนกกระเรียนที่จับคู่แล้วสามารถดูจากลั​ักษณะ ท่าทางและเสียงร้อง โดยเพศผู้และเพศเมียจะเปล่งเสียง ร้องประสานกัน เพศผู้จะร้องเสียงยาวระดับต่ำ� ขณะ ร้องก็จะยืดคอ และเงยโน้มไปทางด้านหลัง กางปีก และ ยกขึ้นเหนือระดับหลัง ส่วนเพศเมียจะยืนข้างตัวผู้ หุบ ปีก ยืดคอไปด้านหน้า และเปล่งเสียงร้องสั้นๆ 2-3 ครั้ง ประสานกับเสียงของเพศผู้ การสร้างรังจะใช้วัสดุจำ�พวก พืชนํ้า ลักษณะรังคล้ายกระจาด วางไข่บนพื้นดิน เฉลี่ย ครั้งละ 2 ฟอง


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๑๙ จากนั้นนกกระเรียนเพศเมียจึงได้มีการวางไข่ จำ�นวน 2 ฟอง และฟักออกเป็นตัวทั้งหมด ซึ่งพบว่าเป็นลูกนกเพศ ผู้ ทั้งนี้ได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อลูกนก กระเรียนทั้งสองตัวว่า ขุนแผนและขวด หลังจากนั้นใน ปี พ.ศ.2550 องค์การสวนสัตว์ฯ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายลูก นกกระเรียนเพศเมียจำ�นวน 2 ตัว ชื่อ สร้อยฟ้า และศรี มาลา เพื่อให้ทำ�การจับคู่กับนกกระเรียนดังกล่าว

วนศาสตร์) โดยภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ หลักในการพัฒนาบุคลากร และส่งเสริมความร่วมมือ กันทางวิชาการ อันจะส่งผลให้การแก้ปัญหา นำ�ไปสู่ใน ระดับประเทศได้ในเวลาอันรวดเร็ว

เก็ บ ข้ อ มู ล ทางกายภาพและชี ว ภาพเพื่ อ ใช้ สำ � หรั บ การประเมิ น พื้นที่ชุ่มน้ำ�ที่เหมาะสม

ลูกนกกระเรียนพันธุ์ไทยที่เกิดจากการผสมเทียม ณ พระตำ�หนัก จิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

โครงการเตรี ย มความพร้ อ มเพื่ อ ทดลองปล่ อ ยนกกระเรี ย นพั น ธุ์ ไ ทย คื น สู่ พื้ น ที่ ชุ่ ม น้ำ � ตามธรรมชาติ ใ น อนาคต ปัจจุบันประเทศไทยมีความพร้อมที่จะดำ�เนินการ ปล่อยนกกระเรียนคืนสู่ธรรมชาติจากการทบทวนบท เรียนในอดีต ความสำ�เร็จในการเพาะขยายพันธุ์ในกรง เลี้ยงทั้งองค์การสวนสัตว์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน และผู้เชี่ยวชาญจาก ต่างประเทศ งานวิจัยนี้เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ งานวิจัยหลายด้าน ซึ่งสืบเนื่องมาจากองค์การสวนสัตว์ เห็นว่าบุคลากรมีความชำ�นาญในสาขาต่างๆ แตกต่าง กัน รวมทั้งมีองค์กรภายนอกที่เข้ามาร่วมมือกันในการ ทำ�งานจนทำ�ให้เกิดบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับ กรม อุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ (คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ และคณะ

โครงการนี้จึงมีความสำ�คัญอย่างยิ่งยวดในการ แสดงให้ สั ง คมเห็ น ถึ ง ความพยายามในการนำ� สัตว์ป่า สงวนของไทยซึ่งสูญพันธุ์จากธรรมชาติ ให้กลับคืนสู่ ระบบนิเวศพื้นที่ชุมน้ำ�ของไทยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนอกจาก เป็นการยกสถานภาพของนกกระเรียนแล้ว จะยังทำ�ให้ ประเทศไทยกลั บ มาปรากฎอยู่ แ ละเติ ม เต็ ม เขตการ กระจายของนกกระเรียน Eastern sarus crane ร่วม กับพม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในระดับภูมิภาคได้ อย่างภาคภูมิ

แผนการดำ�เนินโครงการ • การประเมิ น คั ด เลื อ กพื้ น ที่ ชุ่ ม น้ำ � ที่ เ หมาะ สมในประเทศไทยเพื่อทดลองปล่อยนกกระเรียนคืนสู่ ธรรมชาติ • ปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมและจัดสร้างกรง เพาะขยายพันธุ์ • เพาะขยายพั น ธุ์ แ ละคั ด เลื อ กลู ก นกกระเรี ย น เพื่อจัดสร้างเป็นกลุ่มประชากรทดลองสำ�หรับปล่อย • ฝึกกลุ่มประชากรทดลองด้วยวิธีการ Isolation และเปรียบเทียบกับลูกนกกระเรียนที่ให้พ่อแม่นกเลี้ยง เอง • ฝึ ก และเตรี ย มลู ก นกกระเรี ย นในพื้ น ที่ ป ล่ อ ย จริง • ปล่อยนกกระเรียนที่ทำ �การฝึกแล้วคืนสู่พื้นที่ ชุ่มน้ำ�ธรรมชาติ


๒๐

นกกระเรียนในธรรมชาติของประเทศกัมพูชา

ความก้าวหน้าในการดำ�เนินงาน

หลังจากที่องค์การสวนสัตว์ได้รับงบประมาณ สนับสนุนเพื่อจัดทำ�โครงการวิจัย โดยผ่านความเห็น ชอบจากสำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ สำ�นักงบประมาณ ได้มีการจัดประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับ แนวทางและกำ�หนดคณะทำ�งานที่เกี่ยวข้อง จากการ ประชุมได้กำ�หนดพื้นที่ชุ่มน้ำ�เป้าหมายที่จะทดลองปล่อย นกกระเรียนพันธุ์ไทยโดยอ้างอิงจากแหล่งการกระจาย เดิมในอดีต จำ�นวน 6 แห่ง คือ 1) เขตห้ามล่าสัตว์ป่า อ่างเก็บน้ำ�บางพระ จังหวัดชลบุรี 2) เขตห้ามล่าสัตว์ ป่าบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย 3) เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หนองบงคาย จังหวัดเชียงราย 4) พื้นที่ชุ่มน้ำ�บึงบอระ เพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 5) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยจรเข้ มาก-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยตลาด จังหวัดบุรีรัมย์ และ 6) พื้นที่ชุ่มน้ำ�ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว (ทุ่งกะ มัง) จังหวัดชัยภูมิ การศึกษาได้ทำ�การประยุกต์ใช้วิธีการ ประเมินพื้นที่ชุ่มน้ำ�อย่างรวดเร็ว (Rapid Assessment) โดยพิจารณาถึงข้อกำ�หนดและตัวชี้วัด (Criteria and Indicators) ที่เหมาะสมจากการทบทวนเอกสารงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากมูลนิธินก กระเรียนสากล (International Crane Foundation: ICF) และนักวิจัยที่เคยทำ�การวิจัยในพื้นที่ที่เป็นถิ่นที่อยู่ อาศัยตามธรรมชาติทั้งจากประเทศไทย เวียดนาม และ

กัมพูชา ข้อกำ�หนดและตัวชี้วัดในการดำ�เนินการศึกษา นี้ประกอบด้วย ข้อกำ�หนดที่มีผลต่อการดำ�รงชีวิตของ นกกระเรียน ได้แก่ ถิ่นที่อยู่อาศัย อาหาร ปัจจัยคุกคาม การอนุรักษ์และการจัดการ ซึ่งมี 4 ข้อกำ�หนด (Criteria) 8 ตัวชี้วัด (Indicators) 43 ตัวตรวจสอบ (Verifiers) การดำ�เนินงานทั้งหมดโดยทีมงานและคณะสำ�รวจจาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งผลการสำ�รวจเห็นได้ว่า ทุกๆ รูปแบบของการวิเคราะห์นั้น พื้นที่ชุ่มน้ำ�บึงบอระ เพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยจรเข้ มาก-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยตลาด จังหวัดบุรีรัมย์ และ พื้นที่ชุ่มน้ำ�เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว (ทุ่งกะมัง) มี คะแนนอยู่ในอันดับต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณา ทุกหลักการทางนิเวศวิทยาและชุมชนพบว่า พื้นที่ชุ่มน้ำ� บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และเขตห้ามล่าสัตว์ ป่าห้วยจรเข้มาก-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยตลาด จังหวัด บุรีรัมย์ มีคะแนนที่สูงกว่าพื้นที่ชุ่มน้ำ�เป้าหมายอื่น คณะ ผู้ ศึ ก ษาได้ นำ � พื้ น ที่ ชุ่ ม น้ำ � ทั้ ง สองแห่ ง นี้ ม าวิ เ คราะห์ จุ ด อ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค์ (SWOT Analysis) พบว่าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยจรเข้มาก-เขตห้ามล่าสัตว์ ป่าห้วยตลาด จังหวัดบุรีรัมย์ มีความโดดเด่นในเรื่อง ของการพบพื้นที่ที่มีการเจริญเติบโตของหญ้าแห้วทรง กระเทียมเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งหญ้าแห้วทรงกระเทียม พืชอาหารที่มีความสำ�คัญต่อนกกระเรียนในฤดูแล้ง ทั้งนี้ คณะผู้ศึกษาได้ทำ�การสำ�รวจเชิงลึกในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา พบว่าหญ้าแห้วทรงกระเทียม กำ�ลังอยู่ในระหว่างการสร้างหัว (Tuber) สะสมอาหาร ซึ่งเป็นส่วนที่นกกระเรียนใช้เป็นอาหารในฤดูแล้ง ตลอด จนความพร้อมของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งชุมชนและองค์กรท้องถิ่นโดยรอบ พื้นที่เขตห้ามล่าฯ มีความตระหนักและความพร้อมค่อน ข้างสูง นอกจากนี้พื้นที่เขตห้ามล่าฯ แห่งนี้ ยังตั้งอยู่ ใกล้กับ Ang Tropreang Thmal มากที่สุด เมื่อเปรียบ เทียบกับพื้นที่ชุ่มน้ำ�อื่นๆ ทั้งนี้ Ang Traprang Thmar เป็นพื้นที่ที่มีประชากรนกกระเรียนอยู่เป็นจำ�นวนมาก ซึ่งเป็นแหล่งพันธุกรรมแหล่งสำ �คัญของนกกระเรียน สายพันธุ์ไทย และเป็นเงื่อนไขสำ�คัญของการแลกเปลี่ยน พันธุกรรมของนกอพยพ จากผลสรุปดังกล่าวข้างต้น พบว่า พื้นที่เป้าหมายแรกที่จะทำ�การทดลองปล่อย คือ เขตห้ามล่าอ่างเก็บน้ำ�ห้วยจระเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่ง อยู่ในระหว่างการขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่จากกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

• ติ ด ตามประชากรภายหลั ง การปล่ อ ยคื น สู่ ธรรมชาติ • ประชาสัมพันธ์และจัดสร้างเครือข่ายด้านการ อนุรักษ์ • ศึกษางานวิจัยด้านอื่นๆควบคู่กันไปด้วย เช่น การรีดน้ำ�เชื้อ การผสมเทียม แยกเพศ นิเวศวิทยา • ประเมินผลสำ�เร็จหลังจากเสร็จสิ้นโครงการฯ


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๒๑

โครงการ การเพิ่มประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ และการเก็บรักษาพันธุกรรม

สัตว์ป่าตระกูลแมว

สัตว์ป่าตระกูลแมวทั่วโลกมีทั้งหมด 36 ชนิด ทั้งหมดนี้จัดอยู่ในสัตว์ป่าชนิดที่ถูกคุกคาม และบางชนิดใกล้ สูญพันธุ์ เพราะมีการล่าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย มีการจับสัตว์ป่ามาขาย การขาดจิตสำ�นึกในเชิงการ อนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า การลดลงของพื้นที่ป่าโลกเนื่องจากการเพิ่มจำ�นวนของประชากรมนุษย์ มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำ�ให้มีการบุกรุกเข้ายังพื้นที่ป่าซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ ป่า รวมทั้งการนำ�เอาสัตว์ป่ามาค้าขายในเชิงพาณิชย์ ประชากรสัตว์ป่าตระกูลแมวในองค์การสวนสัตว์ ทั้งหมดเป็นแหล่งให้ความรู้ที่ดีในด้านการอนุรักษ์ การ ศึกษาวิจัยต่างๆ แก่ประชาชน น่าเสียดายที่ในปัจจุบัน ไม่เหลือแมวลายหินอ่อนให้ดูแล้วในสวนสัตว์ แต่เซลล์ พันธุกรรมของแมวลายหินอ่อนนั้นได้ถูกเก็บไว้เพื่อการ ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะขยายพันธุ์ใน อนาคต

ที่มาของโครงการ สมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯพระบรมราชิ นี น าถทรง มี พ ระราชดำ � ริ ใ นการอนุ รั ก ษ์ สั ต ว์ ป่ า ทุ ก ชนิ ด ทรงมี

พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ เสด็ จ พระราชดำ � เนิ น เยี่ ย มชม กิ จ การขององค์ ก ารสวนสั ต ว์ ห ลายครั้ ง ทรงส่ ง เสริ ม งานอนุรักษ์สัตว์ป่าต่างๆ โดยพระองค์ทรงแสดงความ ห่ ว งใยต่ อ สรรพสั ต ว์ ทั้ ง หลายภายใต้ ค วามดู แ ลของ องค์การสวนสัตว์ ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วน พระองค์แก่องค์การสวนสัตว์เป็นประจำ�ทุกปี และเนื่อง ในวโรกาสที่ชาวไทยร่วมเฉลิมฉลอง 72 พรรษามหา ราชินี ในปี พ.ศ. 2547 องค์การสวนสัตว์จึงได้จัดทำ� “โครงการเก็ บ รั ก ษาพั น ธุ ก รรมสั ต ว์ ต ระกู ล แมวโดย วิธีการแช่แข็งเซลล์เนื้อเยื่อ”ขึ้น เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง 72 พรรษา มหาราชินีโครงการนี้ จะเป็นการอนุรักษ์


๒๒ ความสำ�คัญของธนาคารพันธุกรรม ในการอนุรักษ์

• ลดความเสี่ ย งในการย้ า ยสั ต ว์ ร ะหว่ า งประชากร ไม่ต้องจับสัตว์จากป่า • เป็นหลักประกัน (ว่าจะมีพันธุกรรมของสัตว์นั้นอยู่) • ทำ�ให้ช่วงอายุขัยยาวขึ้น • เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่า • ลดการใช้พื้นที่ในการเก็บสัตว์มีชีวิตเพื่อการดำ�รง ความหลากหลายทางพันธุกรรม ลดจำ�นวนสัตว์มี ชีวิตที่ต้องเก็บรักษา • เป็นแหล่งเก็บเลือด เนื้อเยื่อ และดีเอ็นเอ เพื่อ การศึกษาวิจัย เช่น ตรวจโรค ตรวจพ่อ-แม่-ลูก ตรวจหาความหลากหลายทางพันธุกรรม นอกจากการสร้ า งธนาคารพั น ธุ ก รรมทาง องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้เล็งเห็นความ สำ�คัญในการศึกษาเรื่อง “เทคโนโลยีชีวภาพทางการ สืบพันธุ์” (Assisted reproductive technologies; ARTs) ซึ่งคือเทคนิคที่เข้ามาช่วยให้สัตว์สามารถสืบพันธุ์

สัตว์ป่าตระกูลแมว 9 ชนิดของไทย

1. เสือโคร่ง (Tiger, Panthera tigris)

2. เสือดาว เสือดำ� (Leopard or Panther, Panthera pardus)

3. เสือลายเมฆ (Clouded leopard, Pardofelis nebulosa)

4. เสือกระต่าย (Jungle cat, Felis chaus)

5. เสือปลา (Fishing cat, Prionailurus viverrinus)

6. เสือไฟ (Asian golden cat, Catopuma temmincki)

7. แมวดาว (Leopard cat, Prionailurus bengalensis)

8. แมวลายหินอ่อน (Marbled cat, Pardofelis marmorata)

9. แมวป่าหัวแบน (Flat-headed cat, Prionailurus planiceps)

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

พันธุ์สัตว์ป่าตระกูลแมวชนิดต่างๆ ที่หายากของไทยที่ เลี้ยงในสวนสัตว์ จะเป็นครั้งแรกที่มีการรวบรวมเซลล์ พั น ธุ ก รรมสั ต ว์ ป่ า ตระกู ล แมวของไทยขึ้ น ในประเทศ ทั้งยังเป็นการเริ่มต้นการนำ�เทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์ เช่น การผสมเทียม การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย และ โคลนนิ่งมาประยุกต์ใช้ในสัตว์ป่าตระกูลแมวของไทยอีก ด้วย ความก้ า วหน้ า ของเทคโนโลยี ก ารแช่ แ ข็ ง ใน ปัจจุบันช่วยให้เซลล์พันธุกรรมของสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ถูกถนอมไว้ในธนาคารพันธุกรรม (Genome resource bank; GRB) ซึ่งเป็นแหล่งที่เก็บรวบรวมพันธุกรรม ของสัตว์ซึ่งได้แก่ เลือด ตัวอสุจิ โอโอไซต์ เซลล์เนื้อเยื่อ ตัวอ่อน ในรูปแบบของการแช่แข็งในไนโตรเจนเหลว ซึ่งสามารถเก็บได้เป็นเวลานาน ธนาคารพันธุกรรมนี้ ไม่ใช่สิ่งที่จะทดแทนประชากรสัตว์ป่าที่มีชีวิตที่สืบพันธุ์ ออกลูกออกหลานได้ แต่เป็นเพียงสิ่งที่เข้ามาเสริมเป็น ตัวช่วยในการอนุรักษ์ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไว้ จนกระทั่งความเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น สัตว์ผู้ล่า โรค และ ความเสี่ยง อื่นๆ จะถูกควบคุม


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๒๓ และตั้ ง ท้ อ งด้ ว ยกระบวนการเลี ย นแบบธรรมชาติ ช่ ว ยในการเพิ่ ม ความหลากหลายทางชี ว ภาพเพิ่ ม ประสิทธิภาพหรือแก้ไขปัญหาในการสืบพันธุ์ เทคโนโลยี ดั ง กล่ า วเข้ า มามี บ ทบาทในงานอนุ รั ก ษ์ พั น ธุ์ สั ต ว์ ป่ า ที่ ใ กล้ สู ญ พั น ธุ์ ทั้ ง ในสภาวะการเพาะขยายพั น ธุ์ แ ละ ในธรรมชาติ เทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์ที่ได้ พัฒนานำ�มาใช้กับสัตว์ป่าในปัจจุบัน ได้แก่ การตรวจ สอบความสมบูรณ์พันธุ์ เช่นการตรวจฮอร์โมนในวงรอบ การเป็นสัด การผสมเทียม (artificial insemination; AI) การย้ายฝากตัวอ่อน (embryo transfer; ET) การ ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (in vitro fertilization; IVF) การฉีดตัวอสุจิ (intracytoplamic sperm injection; ICSI) การย้ายฝากนิวเคลียส (cloning/nuclear transfer; NT) การคัดเลือกเพศจากอสุจิ (sperm sexing) การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อสืบพันธุ์ (tissue graft) เป็นต้น

ความสำ � คั ญ ของเทคโนโลยี ชี ว ภาพ ทางการสืบพันธุ์ในการอนุรักษ์ • เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในการจั ด การการผสมพั น ธุ์ ใ น สภาวะการเพาะเลี้ยงตามธรรมชาติ • ช่วยในตรวจสอบความสมบูรณ์พันธุ์และเพื่อทราบ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการจับคู่ เช่น ตรวจสอบ วงรอบการเป็นสัดจากฮอร์โมน ตรวจสอบคุณภาพ ของตัวอสุจิ เป็นต้น • ช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สมบูรณ์พันธุ์ คือ ช่วย ในการผลิ ต ลู ก สั ต ว์ จ ากสั ต ว์ ที่ มี พั น ธุ ก รรมดี ห า ยาก จากสัตว์ที่ยังสามารถผลิตไข่และอสุจิได้แต่ไม่ สามารถผสมพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ เช่น ขาพิการ จากอุบัติเหตุ มีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ บางประการ เช่น ท่อนำ�ไข่ ท่อนำ�น้ำ�เชื้อตีบตัน สัตว์ มีปัญหาของพฤติกรรมทางเพศ ดุร้าย • เปิดโอกาสให้สามารถผลิตลูกสัตว์จากน้ำ�เชื้อ ไข่ และ เซลล์แช่แข็ง ทั้งจากสัตว์ที่มีชีวิตหรือสัตว์ตายที่เก็บ ไว้ในธนาคารพันธุกรรม • ทำ�ให้สามารถกระจายพันธุกรรมดีได้รวดเร็ว • ช่ ว ยลดกระบวนการการขนย้ า ยสั ต ว์ จ ากแต่ ล ะ สวนสัตว์ และยังช่วยในการแลกเปลี่ยน • พันธุกรรมสัตว์ในสภาวะการเพาะเลี้ยงกับประชากร สัตว์ในธรรมชาติอีกด้วย

ผลการดำ�เนิน

การจัดตั้งธนาคารพันธุกรรม ธนาคารเซลล์ร่างกาย มีเซลล์สัตว์ป่าตระกูลแมวแช่แข็งทั้งหมด 11 ชนิด คือ เสือโคร่ง เสือโคร่งขาว เสือลายเมฆ เสือดาว/ดำ� เสือ ดาวหิมะ เสือปลา เสือไฟ แมวดาว แมวลายหินอ่อน แมวป่าและแมวป่าหัวแบน

ธนาคารเลือด มีเลือดสัตว์ป่าตระกูลแมวแช่แข็งทั้งหมด 8 ชนิด คือ เสือโคร่ง เสือลายเมฆ เสือดาว/ดำ� เสือปลา เสือไฟ แมวดาว แมวป่า และแมวป่าหัวแบน

ธนาคารน้ำ�เชื้อ มีน้ำ�เชื้อสัตว์ป่าตระกูลแมวแช่แข็งทั้งหมด 8 ชนิด คือ เสือโคร่ง เสือลายเมฆ เสือดาว/ดำ� เสือปลา เสือไฟ แมวดาว แมวป่า และแมวป่าหัวแบน จากการรีดน้ำ�เชื้อ ด้วยวิธีกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (ตารางที่ 3)

ธนาคารตัวอ่อน อยู่ ใ นขั้ น ตอนทดลองการแช่ แ ข็ ง ตั ว อ่ อ นระยะ ต่างๆ โดยใช้ตัวอ่อนแมวบ้านเป็นต้นแบบ จากการ ศึกษาพบว่าสามารถเลี้ยงตัวอ่อนแมวบ้านในอัตราที่น่า พอใจ (อัตราการแบ่งตัวภายหลังการทำ�การปฏิสนธิ ภายนอกร่างกาย และอัตราการเจริญของตัวอ่อนระ ยะบลาสโตซีส ประมาณ 61 และ 31 เปอร์เซ็นต์ ตาม ลำ�ดับ) โดยตัวอ่อนที่ได้มีคุณภาพดีเมื่อทำ�การตรวจ จำ�นวนเซลล์ของตัวอ่อน อย่างไรก็ตามตัวอ่อนดังกล่าว มีจำ�นวนเซลล์ที่มี DNA fragmentation หรือ เกิดการ แตกหักของนิวเคลียส (nucleus fragmentation) พบ ว่าตัวอ่อนแมวมีความไวรับต่อการแช่แข็ง และอัตราการ พัฒนาของตัวอ่อนที่แช่แข็งระยะต่างๆ แตกต่างกันไป (ตารางที่ 4) เมื่ อ ทำ � การแช่ แ ข็ ง ด้ ว ยวิ ธี ล ดอุ ณ หภู มิ อ ย่ า ง รวดเร็วในตัวอ่อน 3 ระยะคือ ระยะ 4-8 เซลล์ ระยะ โมรูล่า และระยะบลาสโตซีสจะพบว่า ตัวอ่อนระยะ 4-8 เซลล์มีความไวรับต่อการแช่แข็งมากที่สุด ถัดมาคือ ตัว อ่อนระยะโมรูล่า ส่วนตัวอ่อนที่มีอัตรารอดชีวิตมากที่สุด คือตัวอ่อนระยะบลาสโตซีส โดยมีอัตราตัวอ่อนรอดชีวิต มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังจากการย้ายฝากตัว อ่อนทางท่อนำ�ไข่และมดลูก พบว่าแมวตัวรับไม่มีการตั้ง ท้อง (ตารางที่ 5) จึงต้องมีการพัฒนากระบวนการแช่ แข็งเพื่อที่จะสามารถผลิตลูกแมวจากตัวอ่อนแช่แข็งได้


๒๔ ได้จากสวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์เชียงใหม่และสวนสัตว์ สงขลา ชนิดของสัตว์ป่า ตระกูลแมว

จำ�นวนตัวอสุจิทั้งหมดต่อหนึ่งหลอดพลาสติกแช่แข็ง 20 x 106*

10 x 106*

5 x 106*

1-5 x 106**

0.5 x 106***

แมวดาว แมวป่าหัวแบน เสือปลา เสือไฟ

-

-

38 29 30 -

10 3 2 2

4 5 -

เสือลายเมฆ

-

-

12

-

12

เสือกระต่าย เสือดาว/ดาวดำ� เสือโคร่ง รวม

15 15

10 8 18

9 39 7 164

1 2 1 21

21

* นำ�ไปใช้ในกระบวนการการผสมเทียม (artificial insemination; AI) ** นำ�ไปใช้ในกระบวนการการปฏิสนธิในหลอดทดลอง (in vitro fertilization; IVF) *** นำ�ไปใช้ในกระบวนการการฉีดตัวอสุจิเข้าโอโอไซต์ (intracytoplasmic sperm injection; ICSI)

ตารางที่ 4 การพัฒนาของตัวอ่อนระยะต่างๆที่ผ่านการแช่แข็ง กลุ่ม กลุ่มควบคุม ไม่แช่แข็ง แช่แข็งวันที่ 2 (4-8 Cells) แช่แข็งวันที่ 5 (Morula) แช่แข็งวันที่ 7 (ฺBlastocyst)

การพัฒนาของโอโอไซต์/ระยะตัวอ่อน

จำ�นวนโอโอไซต์/ตัว อ่อน

คลีเวจ (%)

โมรูล่า (%)

บลาสโตซีส (%)

329

200 (60.8%)

166 (50.5%)

101 (30.7%)

119.1±8.3

205

-

52 (23.4%)

11 (5.4%)

88.5±10.3

170

-

-

21 (12.4%)

102.4±7.3

83

-

-

70 (84.3%)*

116.9±15.1

จำ�นวนเซลล์

ตารางที่ 5 ผลของการย้ายฝากตัวอ่อนสู่ตัวรับ ตัวอ่อนที่ย้ายฝาก

วิธีการ

จำ�นวนแมวตั้งท้อง

ตัวอ่อน วันที่ 2 (n=2)

ทางท่อนำ�ไข่

1 (50%)**

ตัวอ่อนแช่แข็งวันที่ 2 (n=3)

ทางท่อนำ�ไข่

0

ตัวอ่อนระยะบลาสโตซีส (n=3)

ทางมดลูก

0

ตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสแช่แข็ง (n=6)

ทางมดลูก

0

* จำ�นวนตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสที่มีการขยายตัวอีกครั้งภายหลังการอุ่นตัวอ่อนแช่แข็งและเลี้ยงต่ออีกเป็นระยะเวลา 24 ชม. ** ได้ลูกแมว 2 ตัว

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

ตารางที่ 3 จำ�นวนน้ำ�เชื้อ (ตามจำ�นวนหลอดพลาสติค) ของสัตว์ป่าตระกูลแมว 8 ชนิด ที่รีดเก็บ


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๒๕ ตัวอ่อนแมวบ้านระยะ บลาสโตซี ส ภายหลั ง การแช่ แ ข็ ง และการ เลี้ยงตัวอ่อน

การนำ�ไปใช้ นอกจากการสร้ า งธนาคารพั น ธุ ก รรมแล้ ว ได้ ดำ � เนิ น การวิ จั ย ขั้ น ถั ด ไปคื อ การนำ � เอาเทคโนโลยี ชี ว ภาพมาประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นสั ต ว์ ป่ า ตระกู ล แมวเพื่ อ เพิ่ ม ประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ เช่น การผสมเทียม การย้ายฝากตัวอ่อน รวมทั้งเทคโนโลยีการย้ายฝาก นิ ว เคลี ย สหรื อ การโคลนนิ่ ง ด้ ว ยเซลล์ โ ซมาติ ก โดย องค์ ก ารสวนสั ต ว์ ใ นพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ ไ ด้ ร่ ว มมื อ กั บ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำ�เนินงานวิจัยอย่างน้อย 2 โครงการคือ โครงการเก็บ น้ำ�เชื้อสัตว์ป่าตระกูลแมวร่วมกับ The Nashville Zoo, Smithsonian Park เมื่อ ปี พ.ศ. 2542 โดยประสบความ สำ�เร็จในการรีดเก็บน้ำ�เชื้อ พัฒนาการแช่แข็งน้ำ�เชื้อ และ การผสมเทียมสัตว์ป่าตระกูลแมว และในปี พ.ศ. 2547 ร่วมมือกับ ศ.น.สพ.ดร. มงคล เตชะกำ�พุ และคณะ ได้ จัดทำ�โครงการเพื่อศึกษาการพัฒนาโคลนนิ่งด้วยเซลล์ โซมาติกในสัตว์ป่าตระกูลแมว (Study on development of somatic cell cloning in feline species) เป็น โครงการศึกษาการพัฒนาเทคโนโลยีโคลนนิ่งในสัตว์ป่า ตระกูลแมว ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบดำ�เนินการวิจัยจาก สำ�นักงบประมาณโดยผ่านการพิจารณาจากสำ�นักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำ�เนินการวิจัยตั้งแต่ เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2547 ได้เริ่มศึกษาการโคลนนิ่งใน แมวลายหินอ่อนและแมวป่าหัวแบนซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้เป็น แมวป่าที่หายากที่สุดในประเทศไทยและมีจำ�นวนน้อย มาก จนถึงปัจจุบันสามารถผลิตโคลนตัวอ่อนแมวลาย หินอ่อน และแมวป่าหัวแบนได้อย่างประสบความสำ�เร็จ

การผสมเทียม ดำ�เนินการทดสอบกระบวนการผสมเทียมผ่าน คอมดลูกซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผ่านการทดสอบจนประสบความ สำ�เร็จในแมวบ้าน เริ่มนำ�มาประยุกต์ใช้ในกลุ่มเสือขนาด เล็ก ได้แก่ แมวดาว และเสือปลา โดยการใช้น้ำ�เชื้อสด และน้ำ�เชื้อแช่แข็งจากธนาคารน้ำ�เชื้อ

การผสมเทียมแมวดาวผ่านคอมดลูก

อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมเทียมประกอบด้วย ท่อ polyethylene และ tom catheter

การย้ายฝากนิวเคลียส/โคลนนิ่ง การพัฒนาของตัวอ่อนแมวป่าหัวแบนจากการ ย้ายฝากนิวเคลียส โดยศึกษาถึงปัจจัยของเซลล์ต้นแบบ ได้แก่ คุณสมบัติของสัตว์แต่ละตัว และเพศ ต่อการ พัฒนาของโคลนตัวอ่อนในโอโอไซต์แมวบ้าน จากการ ศึกษาดังตารางที่ 6 พบว่าตัวอ่อนแมวลายหินอ่อน แมวป่าหัวแบน และแมวบ้าน มีการพัฒนาแบ่งตัว ระยะ 2-4 เซลล์ และบลาสโตซีสไม่แตกต่างกัน อัตรา ความสำ�เร็จในการผลิตตัวอ่อนแมวป่าหัวแบนจากเซลล์ ต้นแบบที่เก็บจากแมวป่าหัวแบน 3 ตัว พบว่ามีความ แตกต่ า งกั น ของอั ต ราการเชื่ อ มติ ด ของเซลล์ ต้ น แบบ และการพัฒนาของตัวอ่อนระยะคลีเวจจนถึงโมรูล่า แต่ อัตราการเจริญถึงระยะบลาสโตซีสไม่แตกต่างกัน อัตรา ความสำ�เร็จในการผลิตตัวอ่อนแมวป่าหัวแบนจากเซลล์ ต้นแบบที่เก็บจากแมวป่าหัวแบนเพศผู้และ เพศเมียไม่ แตกต่างกัน การย้ า ยฝากตั ว อ่ อ นโคลนแมวป่ า หั ว แบนสู่ แมวตัวรับทั้งหมด 14 ตัว รวมทั้งการทดสอบการย้าย ฝากตัวอ่อนโคลนแมวป่าหัวแบนร่วมกับตัวอ่อนที่ผลิต จากการปฎิสนธิภายนอกร่างกาย (ตัวอ่อนหลอดแก้ว หรือไอวีเอฟ) ซึ่งคาดว่าจะช่วยสนับสนุนการตั้งท้องของ แมวตัวรับ พบว่าแมวตัวรับที่ได้รับการย้ายฝากตัวอ่อน ไอวีเอฟแมวบ้านทั้ง 6 ตัวตั้งท้อง แมวตัวรับที่ได้รับตัว อ่อนที่ได้จากการย้ายฝากโคลนตัวอ่อนแมวป่าหัวแบน ทั้ง 5 ตัว ไม่ตั้งท้อง แมวตัวรับที่ได้รับตัวอ่อนที่ได้จาก การย้ายฝากโคลนตัวอ่อนแมวป่าหัวแบนและ ไอวีเอฟ


๒๖ ที่ได้รับการกระตุ้นให้แบ่งตัวเอง ชนิดเซลล์ต้นแบบ

ตัวอ่อน

เชื่อมติด

2-4 เซลล์

โมรูล่า

บลาสโตซีส

จำ�นวน (%)

แมวลายหินอ่อน แมวป่าหัวแบน

81 76

60 (74.1)a 60 (78.9)a

56 (93.3)ab 58 (96.7)a

14 (23.3)a 32 (53.3)b

3 (5.0)a 5 (8.3)a

แมวบ้าน กระตุ้นให้แบ่งตัวเอง

94 72

36 (38.3)b -

32 (88.8)ab 62 (86.1)b

4 (11.1)a 54 (75.0)c

3 (8.5)a 31 (43.1)b

ตัวอักษรยกที่ต่างกันในคอลัมน์เดียวกันมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05)

การเลี้ ย งโอโอไซต์ ใ ห้ เ จริ ญ การเลี้ยงเซลล์ร่างกายแมวป่า พร้อมปฏิสนธิ เพื่อเป็นเซลล์ต้นแบบ (in vitro maturation) (Somatic cell culture)

การนำ � เอาสารพั น ธุ ก รรมของ แมวบ้านออกไป (Enucleation)

การย้ายฝากนิวเคลียส (Nuclear transfer)

การเชื่ อ มเซลล์ ต้ น แบบและ โอโอไซต์เข้า (Cell fusion)

เซลล์ที่มีการเชื่อมติด (Fused cell)

แมวบ้าน 4 ตัว ตั้งท้อง 1 ตัว เป็นลูกแมวไอวีเอฟทั้งหมด จากการดำ�เนินโครงการทั้งหมดพบว่ามีข้อจำ�กัด หลายประการ เช่น คุณภาพอสุจิภายหลังการทำ�ละลาย อยู่ในเกณฑ์ต่ำ�ทำ�ให้จำ�เป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อเพิ่ม ศักยภาพการเก็บรักษาน้ำ�เชื้อแช่แข็งของสัตว์ป่าตระกูล แมวในประเทศไทย และในกรณีที่มีการตายของสัตว์ ป่าตระกูลแมวอย่างกะทันหัน อัณฑะซึ่งเป็นแหล่งใน การผลิตอสุจิ สามารถนำ�มาเก็บรักษาแช่เย็นและแช่ แข็ง เพื่อทำ�การคัดแยกตัวอสุจิจากอัณฑะและใช้ฉีด เข้าโอโอไซต์ตัวรับด้วยวิธีฉีดตัวอสุจิ นอกจากนี้การใช้ เทคโนโลยีทางชีวภาพขั้นสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทาง การสืบพันธุ์สัตว์ และการเก็บรักษาพันธุกรรมสัตว์ป่า หายากในรูปแบบอื่นๆ เช่น การแช่แข็งตัวอ่อน การผลิต ตัวอ่อนโคลนนิ่ง เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำ�คัญ โดย ในปัจจุบันทางคณะผู้วิจัยสามารถผลิตและแช่แข็งตัว อ่อนแมวบ้านเพื่อใช้เป็นต้นแบบในแมวป่า โครงการ นี้สามารถผลิตตัวอ่อนโคลนได้สำ�เร็จแต่ยังไม่สามารถ ผลิตออกมาเป็นลูกแมวป่าโคลนได้ ซึ่งอาจเกิดเนื่องจาก ระบบการเลี้ ย งตั ว อ่ อ นโคลนการเปลี่ ย นแปลงทาง อณูพันธุศาสตร์ของตัวอ่อนโคลนเกิดความผิดปกติ และ แมวบ้านตัวรับตัวอ่อนโคลนนิ่งอาจมีความห่างกันของ พันธุกรรม ดังนั้นการศึกษาอณูพันธุศาสตร์ของตัวอ่อน การสร้างสัตว์พันธุ์ผสมระหว่างแมวบ้านและแมวป่าเพื่อ เป็นตัวรับ ความห่างของสายพันธุกรรมที่เหมาะสม และ การปรับปรุงวิธีการทำ�ตัวอ่อนโคลนนิ่งให้ง่ายและสำ�เร็จ มากขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนา และนำ � เทคโนโลยี ชี ว ภาพขั้ น พื้ น ฐานและขั้ น สู ง ทาง เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การผสมเทียม การย้ายฝากตัว อ่อน และการแช่แข็งพันธุกรรมสัตว์เพศผู้มาปรับใช้กับ สัตว์ป่าตระกูลแมวเพื่อจุดประสงค์ในการขยายพันธุ์ และ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าตระกูลแมวต่อไป

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

ตารางที่ 6 การพัฒนาของตัวอ่อนโคลน แมวลายหินอ่อน แมวป่าหัวแบน แมวบ้าน และ ตัวอ่อน


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๒๗

A1

A2

A3 A4

B1

B2

B3 B4

C1

C2

C3

D1

D2

D3

A. ตัวอ่อนโคลนแมวลายหินอ่อน B.แมวป่าหัวแบน C. แมวบ้าน D. กระตุ้นให้แบ่งตัวเอง 1. ระยะ 2 เซลล์ 2. โมรูล่า 3. บลาสโตซีส 4. แฮชชิ่งบลาสโตซีส

C4

การเผยแพร่ผลงานวิจัย

การย้ายฝากตัว อ่อนเข้าสู่ท่อนำ�ไข่

อ ง ค์ ค ว า ม รู้ จ า ก โ ค ร ง ก า ร นี้ ไ ด้ เ ผ ย แ พ ร่ สู่ สาธารณชนทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบการรายการ โทรทัศน์ วิทยุ ตีพิมพ์ บรรยาย เสนอโปสเตอร์ในงาน ประชุมต่างๆ ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยแบบเรื่องเต็มเผยแพร่ ทั้งระดับชาติและนานาชาติ เป็นจำ�นวน 3 เรื่อง มีบทคัดย่อเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมทั้งในและต่าง ประเทศจำ�นวน 16 เรื่อง และยังได้รับรางวัล ได้แก่ • รางวั ล การนำ � เสนอผลงานแบบปากเปล่ า ในด้ า น เทคโนโลยีชีวภาพทางการสัตว์ ดีเด่นอันดับ 1 โดย นำ�เสนอเรื่อง “Factor affecting on marbled cat somatic cell nuclear transfer” ในงานประชุม วิชาการบัณฑิตศึกษาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร ครั้งที่ 2 วันที่ 16-17 พ.ค. 2548 ณ สถาบันวิจัย จุฬาภรณ์ กทม. • รางวั ล การนำ � เสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ดี เ ด่ น อันดับ3 โดยนำ�เสนอเรื่อง “Inter-generic mar-


๒๘

แม่แมวตัวรับและลูกแมวไอวีเอฟ

การสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ โครงการนี้ ยั ง มี ส่ ว นสร้ า งนั ก วิ จั บ รุ่ น ใหม่ เ ป็ น โครงการหลักที่สนับสนุนการวิจัยของ น.ส.อัมพิกา ทอง ภักดี นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สกว. ของภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการ สืบพันธุ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต ซึ่งปัจจุบัน สพ.ญ.ดร. อัมพิกา ทองภักดี ทำ�งานในส่วนอนุรักษ์ วิจัย และการศึกษา องค์การสวนสัตว์ ในพระบรม ราชูปถัมภ์ ซึ่งได้นำ�ความรู้ความสามารถมาพัฒนางาน

วิจัยขององค์กร และนำ�เอาเทคโนโลยีชีวภาพทางการ สืบพันธุ์มาประยุกต์ใช้ในสัตว์ป่าตระกูลแมวและสัตว์ป่า ชนิดอื่นๆ ต่อไป

ลูกแมวไอวีเอฟ

สรุป โครงการนี้ประสบความสำ�เร็จในการเก็บรักษา แหล่งพันธุกรรมสัตว์ป่าตระกูลแมว ได้สร้างองค์ความรู้ ใหม่ พัฒนาเทคนิค เพื่อนำ�มาประยุกต์ใช้ในการแก้ ปัญหาทางการสืบพันธุ์ในสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น การผสมเทียม การแช่แข็งตัวอ่อน และการผลิตตัวอ่อน แมวลายหินอ่อน และแมวป่าหัวแบนด้วยการโคลนนิ่ง จากเซลล์ร่างกายซึ่งเป็นการนำ�เอาเทคโนโลยีชีวภาพ ขั้ น สู ง มาใช้ ไ ด้ เ ผยแพร่ สู่ ส าธารณชนในวารสารระดั บ นานาชาติ และยังบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการสร้างนัก วิจัยรุ่นใหม่ เนื่องจากโครงการนี้มีความสำ�คัญด้านการ อนุ รั ก ษ์ ค วามหลากหลายทางชี ว ภาพของสั ต ว์ ป่ า ใกล้ สูญพันธุ์แต่ยังมีข้อจำ�กัดในการประยุกต์ใช้ดังนั้นจึงต้อง มีการศึกษาวิจัยต่อไปเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพงานวิจัย ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพให้เกิดประสิทธิภาพ มากที่สุด

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

bled cat and flat headed cat cloned blastocysts generated from domestic cat and rabbit oocytes” ในงานประชุม The 6th Chulalongkorn University Veterinary Annual Conference วัน ที่ 26-27 เมษายน 2550 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมโดยนำ�เสนอเรื่อง “การ ตั้งท้องของแมวบ้านจากการย้ายฝากตัวอ่อนไอวี เอ็ม/ไอวีเอฟ” ในงานประชุมวิชาการทางสัตวแพทย์ และการเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 33 ประจำ�ปี พ.ศ. 2550 สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชูปถัมภ์ วันที่ 31 ต.ค. – 2 พ.ย. 2550 ณ โรง แรมโซฟิเทล ทาราแกรนด์ กทม. • รางวัล Full grant ของงานประชุม ICAR conference 2008 สำ�หรับเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “Flatheaded cat cloned embryos and preliminary embryo transfer” Budapest, Hungary, 13-18 July 2008


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๒๙

โครงการวิจัยและจัดแสดง

หมีแพนดาในประเทศไทย

สวนสัตว์เชียงใหม่ได้รับหมีแพนด้ามาอยู่ในความดูแล จำ�นวน 1 คู่ เพศเมียชื่อ หลินฮุ่ย เพศผู้ชื่อ ช่วงช่วง จากศูนย์อนุรักษ์ และวิจัยหมีแพนด้าจีน โวลอง จังหวัดเฉิงตู มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน เดิน ทางถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2546 แพนด้ายักษ์ทั้งสองตัวมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี ในช่วง 2 ปีแรก เป็นระยะที่ทีมพี่เลี้ยง และนัก วิ จั ย ไทยดำ � เนิ น การเก็ บ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ หมี แ พนด้ า ทั้ ง สองตัว ประกอบด้วย พฤติกรรมการกิน การนอน การ ส่งเสียงร้อง การเล่น การขับถ่าย และการเจริญเติบโต รวมไปถึงงานศึกษาวิจัยด้านการตรวจฮอร์โมนเพศจาก ปัสสาวะและอุจจาระ โดยในระยะนี้ แพนด้ายักษ์ทั้งสอง ตัวยังอยู่ในระยะการเจริญเติบโต ยังไม่มีวงรอบการเป็น สัด ซึ่งถือได้ว่ายังไม่เข้าสู่ระยะโตเต็มวัย ทางทีมงานจึง ให้ทั้งสองตัวอาศัยอยู่ร่วมกัน เพื่อศึกษาพฤติกรรมความ สนใจซึ่งกันและกัน จากการสังเกตพฤติกรรมความสนใจซึ่งกันและ กัน ในระยะนี้ แพนด้าทั้งสองตัวยังคงเล่นกันคล้ายในวัย

ข้อมูลประจำ�ตัวในวันแรก ช่วงช่วง เพศ อายุ วันเกิด น้ำ�หนัก รหัส หลินฮุ่ย เพศ อายุ วันเกิด น้ำ�หนัก รหัส

ผู้ 3 ปี 6 ส.ค. 43 106 กิโลกรัม 510 เมีย 2 ปี 28 ก.ย. 44 50 กิโลกรัม 539


๓๐

การดำ�เนินงานในฤดูผสมพันธุ์ปี พ.ศ. 2549 แพนด้าเพศเมียเริ่มแสดงอาการเป็นสัดครั้งแรก ระหว่างวันที่ 16 - 19 มกราคม พ.ศ.2549 พฤติกรรม ที่พบประกอบด้วย การร้องเสียงแพะ การเดินวน และ ป้ายกลิ่นตามที่ต่างๆ มากขึ้น ในวันที่มีการตกไข่พบ พฤติกรรมการยกหาง และเดินถอยหลังเข้าหาเพศผู้ ซึ่ง แตกต่างจากเพศผู้ที่ให้ความสนใจต่อเพศเมียน้อย แม้ เจ้าหน้าที่จะปล่อยให้ทั้งสองตัวอาศัยอยู่รวมกัน เพื่อ ให้ช่วงช่วงขึ้นผสมพันธุ์กับหลินฮุ่ย ตามธรรมชาติ ซึ่ง พบว่า ช่วงช่วง แสดงพฤติกรรมคล้ายการขึ้นผสมพันธุ์ ในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2549 โดยพบนานเพียง 30 วินาที และเจ้าหน้าที่ไม่สามารถมองเห็นการผสมพันธุ์ ที่สมบูรณ์แน่ชัด ภายหลังจากฤดูเป็นสัดของหลินฮุ่ย สิ้นสุดลง ทางทีมงานวิเคราะห์ฮอร์โมนและพฤติกรรม พบภาวะท้องเทียมในหลินฮุ่ย โดยพบว่า หลินฮุ่ยมี ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในอุจจาระเพิ่มสูงขึ้นอย่าง ชัดเจน พฤติกรรมที่พบควบคู่กันคือการหลบแยกตัว เต้า นมและอวัยวะเพศขยายใหญ่ บริเวณเต้านมมีน้ำ�นมไหล คล้ายอาการตั้งท้อง แต่เมื่อครบระยะตั้งท้อง ประกอบ กับระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดต่ำ�ลง โดยไม่พบ การคลอด จึงแสดงถึงหลินฮุ่ยเกิดภาวะตั้งท้องเทียม (Pseudopregnancy) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากผลของ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยไม่มีการตั้งท้อง ภาวะนี้สามารถหายไปได้เอง เมื่อระดับฮอร์โมนลดลง สรุ ป ผลการผสมพั น ธุ์ ต ามธรรมชาติ ข องหมี แพนด้าทั้งสองตัวในปี พ.ศ.2549 ล้มเหลวไม่พบการตั้ง ท้องของหลินฮุ่ย จึงต้องรอฤดูการเป็นสัดในปีต่อไป

การดำ�เนินงานในฤดูผสมพันธุ์ปี พ.ศ. 2550

ติดตามระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนโดยปรับเปลี่ยน จากการวิเคราะห์จากอุจจาระ เป็นการวิเคราะห์จาก ตัวอย่างปัสสาวะ ซึ่งสามารถวิเคราะห์และรายงานผล ได้ภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากเก็บตัวอย่าง ซึ่งทีมพี่เลี้ยง จะต้ อ งดำ � เนิ น การฝึ ก ให้ แ พนด้ า ทั้ ง สองตั ว ปั ส สาวะใน

ที่ที่กำ�หนด และในเวลาที่กำ�หนด จึงจะสามารถเก็บ ตัวอย่างได้อย่างต่อเนื่อง และทีมงานสามารถวิเคราะห์ หาระดับจากปัสสาวะได้ในทันที ด้วยวิธีการตรวจระดับ ฮอร์โมนจากปัสสาวะช่วยให้ทีมงานสามารถรู้วันที่ตกไข่ และวางแผนในการปล่อยให้หมีทั้งสองตัวผสมพันธุ์ตาม ธรรมชาติ รวมไปถึงการผสมเทียมอีกด้วย สำ�หรับแพนด้ายักษ์เพศเมียที่เลี้ยงในกรงเลี้ยง สวนสัตว์เชียงใหม่ หลินฮุ่ยแสดงพฤติกรรมเริ่มเข้าสู่ ฤดูผสมพันธุ์ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2550 (22 มีนาคม พ.ศ.2550) โดยพบพฤติกรรมการร้องเสียงแพะ การ ป้ายกลิ่น เพิ่มความถี่มากขึ้น พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของ ฮอร์โมน เอสโตรเจนในปัสสาวะ สามารถแบ่งวงรอบ การเป็นสัดของหลินฮุ่ยเป็นระยะต่างๆ ได้ดังนี้ ระยะ Proestrus คือระยะที่เริ่มแสดงพฤติกรรม การเป็นสัด เป็นระยะที่เริ่มมีการพัฒนาของถุงไข่ในรังไข่ จะพบการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน สำ�หรับหลิน ฮุ่ยจะพบพฤติกรรมการร้องเสียงแพะ การป้ายกลิ่น การเดินกระวนกระวายเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มการ เพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในปัสสาวะสูงกว่า ระดับมาตรฐาน (3.28 + 0.94 ng/mgCr) โดยไม่พบ พฤติกรรมการยืนนิ่ง ยกหาง หันด้านท้ายเข้าหาเพศผู้ (Lordosis) ระยะนี้นาน 10 วัน (21 – 30 มีนาคม พ.ศ. 2550) ระยะ Estrus เป็นระยะที่พบพฤติกรรมการ ยอมรับการผสมพันธุ์ (Lordosis) และพบการเพิ่มขึ้น สูงสุดของระดับเอสโตรเจนในปัสสาวะ (45.41 ng/mgCr) โดยพบว่าระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มมากกว่าระดับ มาตรฐานมากกว่า 10 เท่า ระยะนี้นาน 3 วัน โดยพบวัน ที่เกิดการตกไข่ในวันที่ 1 (Day 1: 1 เมษายน 2550) ภาย หลังจากพบการเพิ่มสูงสุดของเอสโตรเจน (Day 0: 31 มีนาคม พ.ศ.2550)

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

เด็ก ไม่พบอาการก้าวร้าวต่อกัน สามารถอยู่ร่วมกันได้จน เข้าสู่ระยะเป็นสัด และแพนด้ายักษ์ทั้งสองตัวมีการเจริญ เติบโตเป็นลำ�ดับ


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๓๑ ระยะ Metestrus คือระยะที่ฮอร์โมนเอสโตรเจน ลดลงสู่ระดับมาตรฐาน และเริ่มมีการสร้างของ คอร์ปัสลูเทียม สังเกตได้จากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน สำ�หรับแพนด้ายักษ์หลินฮุ่ย พบระยะ นี้ยาวนาน 57 วัน (4 เมษายน พ.ศ. 2550 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2550) ระยะ Diestrus คือระยะที่คอร์ปัสลูเทียมทำ�งาน เต็มที่ จะพบระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มสูงขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ในสัตว์ที่ไม่พบการตั้งท้องจะเป็นช่วงที่ เกิดการตั้งท้องเทียม (Pseudopregnancy) สำ�หรับ หลินฮุ่ยพบระยะนี้ยาวนาน 47 วัน (1 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ถึง 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550) เมื่อสามารถวิเคราะห์ระยะต่างๆ ของการเป็น สัดของหลินฮุ่ย และทราบวันตกไข่ จึงได้ดำ�เนินการ ผสมเที ย มภายหลั ง จากแพนด้ า เพศผู้ ไ ม่ ส ามารถผสม พันธุ์โดยธรรมชาติได้ ผสมเทียมโดยใช้น้ำ�เชื้อสดที่มีค่า การเคลื่อนที่ของอสุจิ (Sperm motility) 85 เปอร์เซ็นต์ ความหนาแน่นของอสุจิ (Sperm density) จำ�นวน 2.345 x 109 cell/ml ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยเปรียบ เทียบกับการศึกษาที่ผ่านมา (Platz et al,1983; Chen et al.,1994) สำ�หรับการผสมเทียมครั้งแรกของแพนด้า ยักษ์ที่เลี้ยงในกรงเลี้ยงของสวนสัตว์เชียงใหม่ ได้ผสม จำ�นวน 2 ครั้ง ห่างกัน 24 ชั่วโมง นับเป็นชั่วโมงที่ 30 และ 54 ภายหลังจากพบการตกไข่ ซึ่งการศึกษาของ Czekala et al (2003) พบการตั้งท้องในแพนด้ายักษ์ที่ ได้รับการผสมพันธุ์ภายใน 1 - 2 วันหลังจากพบการเพิ่ม ขึ้นสูงสุดของระดับเอสโตรเจนในปัสสาวะ และสำ�หรับ การผสมเทียมแพนด้ายักษ์ของสวนสัตว์เชียงใหม่ในครั้ง นี้ ยังคงอยู่ในช่วงชั่วโมงที่แนะนำ� การติดตามผลตั้งท้องพบว่า เกิดภาวะตั้งท้อง เทียม (Pseudo-pregnancy) โดยพบการเพิ่มขึ้นของ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากตก ไข่ เพิ่มจากระดับมาตรฐานประมาณ 3 เท่า และเพิ่ม ขึ้นอย่างชัดเจนในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2550 ประมาณ 18 - 20 เท่า นาน 47 วัน (1 มิถุนายน พ.ศ. 2550 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550) โดยไม่พบการคลอดภายหลัง จากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลงสู่ระดับมาตรฐานและ ยืนยันเพิ่มเติมโดยใช้การตรวจอัลตร้าซาวนด์ ซึ่งไม่พบ ตัวอ่อน โดยการตั้งท้องเทียมสามารถพบได้ในแพนด้า ยักษ์เพศเมียทั่วไป เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสัตว์กิน เนื้อหลายชนิด (Sutherland-smithet al, 2004)

การสอดหัวกระตุ้นผ่านทางทวารหนักเพื่อรีดเก็บน้ำ�เชื้อจาก ช่วงช่วง

การฉีดน้ำ�เชื้อสดเข้าสู่มดลูกของหลินฮุ่ย

การผสมเทียมแพนด้ายักษ์ในครั้งนี้ ถือเป็นการ ผสมเทียมครั้งแรกของแพนด้ายักษ์ในประเทศไทย ซึ่ง ถึงแม้จะไม่เกิดการตั้งท้อง พบเพียงภาวะตั้งท้องเทียม แต่ เ ป็ น กระบวนการที่ เ กิ ด จากการรวบรวมข้ อ มู ล ใน หลายๆ ด้าน แสดงถึงความพยายามในการเพาะพันธุ์ สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลกในประเทศไทย

การดำ�เนินงานในฤดูผสมพันธุ์ปี พ.ศ. 2551 เนื่องจากในปี พ.ศ. 2550 หมีแพนด้าเพศเมียไม่ เกิดการตั้งท้องจริง พบเพียงภาวะท้องเทียม จึงทำ�ให้ ในปี พ.ศ. 2551 ทีมงานเพิ่มระดับความเข้มงวดในการ ติดตามวงรอบการเป็นสัดของหลินฮุ่ย รวมไปถึงการ ศึกษาถึงคุณภาพน้ำ�เชื้อของช่วงช่วงเพิ่มเติม เพื่อให้


๓๒

• เนื่องจากเกิดภาวะความเครียด : สิ่งแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น เสียงรบกวนจาก งานก่อสร้าง อุณหภูมิที่สูงผิดปกติ จะส่งผลทำ�ให้ แพนด้ายักษ์เกิดความเครียดและมีการหลั่งฮอร์โมน คอร์ติซอล หากเกิดความเครียดเรื้อรังก็อาจส่งผลก ระทบต่อระบบสืบพันธุ์ โดยจากการติดตามระดับ ฮอร์โมนคอร์ติซอลของแพนด้ายักษ์เพศเมียตลอด ระยะ เวลาที่ผ่านมาพบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับคอร์ติ ซอลในอุจจาระปรับสูงขึ้นในปี พ.ศ. 2551 ที่เริ่ม มีการก่อสร้าง และสูงค่อนข้างชัดเจนในช่วงเดือน เมษายน พ.ศ. 2551 ที่มีอากาศร้อนจัด ไผ่ตงเป็นไผ่ที่ให้ พลังงานมากที่สุด

• เนื่องจากภาวะการขาดพลังงานในอาหาร (Negative energy balance) : เกิดเนื่องจากการกิน อาหารได้น้อยลง และกินอาหารที่มีคุณค่า และ พลังงานต่ำ� ทำ�ให้ร่างกายมีพลังงานไม่เพียงพอที่จะ ทำ�ให้เกิดวงรอบการเป็นสัด โดยในกรณีของแพนด้า ยั ก ษ์ ที่ ถู ก เลี้ ย งในสวนสั ต ว์ เ ชี ย งใหม่ ไ ด้ ต รวจพบ ภาวะความอยากอาหารลดลงในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 เนื่องจากอากาศร้อน ประกอบกับไผ่ที่ ให้แก่หมีแพนด้าทั้งสองตัวเป็นสายพันธุ์ที่มีคุณค่า ทางอาหารน้อย (ได้นำ�ตัวอย่างสายพันธุ์ไผ่ส่ง

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

มั่นใจได้ว่าจะสามารถดำ�เนินการผสมเทียมได้อย่างทัน ท่วงทีที่พบการตกไข่ของหลินฮุ่ย โดยพยายามดำ�เนิน การให้ได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังตกไข่ ทางทีมงานจึงได้ แบ่งงานหลักออกเป็น 3 ด้านด้วยกัน ประกอบด้วย • การติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเพศใน ปัสสาวะ • การติ ด ตามการเปลี่ ย นแปลงของพฤติ ก รรมทาง เพศ และการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ • การติดตามคุณภาพน้ำ�เชื้อ สรุปผลการดำ�เนินงานในฤดูผสมพันธุ์ ปี พ.ศ. 2551 ตรวจพบภาวะไม่เป็นสัด (Anestrus) และไม่ตกไข่ (Anovulation) ในแพนด้ายักษ์เพศเมีย : การตรวจพบ ภาวะดังกล่าวจึงทำ�ให้ไม่สามารถดำ�เนินการผสมพันธุ์ใน ฤดูผสมพันธุ์ ประจำ�ปี พ.ศ. 2551 ได้ ซึ่งสามารถเกิดจาก หลายสาเหตุ ประกอบด้วย • เนื่องจากธรรมชาติของแพนด้ายักษ์ : จาก รายงานของ Zhang และคณะ ในปี พ.ศ. 2547 พบ แพนด้ายักษ์เพศเมียเกิดภาวะไม่ตกไข่ โดยไม่มีความ ผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ ซึ่งจะพบว่าแพนด้ายักษ์ จะขับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนใน ระดับมาตรฐานตลอดทั้งปี ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และสามารถกลับมามีวงรอบเป็นสัดตามปกติได้ใน ฤดูผสมพันธุ์ถัดไป ปรากฎการณ์นี้มีโอกาสเกิดได้ ร้อยละ 7 ของประชากรแพนด้ายักษ์เพศเมียโตเต็ม วัย สำ�หรับแพนด้ายักษ์เพศเมียที่เลี้ยงในสวนสัตว์ เชียงใหม่จึงอาจเกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวข้างต้นใน ฤดูผสมพันธุ์ของปี พ.ศ. 2551 นี้


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๓๓ ตรวจคุณค่าทางอาหารในภายหลัง พบว่า ไผ่พันธุ์ มากินอย และลิโตเฟีย มีคุณค่าทางอาหารน้อย จึง ทำ�ให้แพนด้าเพศเมียอยู่ในภาวะพลังงานในอาหาร ไม่สมดุล (Negative energybalanced) และอาจ ตอบสนองโดยการไม่มีวงรอบการเป็นสัด

การดำ�เนินงานในฤดูผสมพันธุ์ปี พ.ศ. 2552 เนื่องด้วยในฤดูผสมพันธุ์ปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่าน มา หลินฮุ่ย แพนด้ายักษ์เพศเมีย หยุดวงรอบการเป็น สัด โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และซึ่งส่งผลกระทบต่อ ช่วงช่วง แพนด้ายักษ์เพศผู้ ที่ตรวจพบว่ามีการหลั่งน้ำ� เชื้อที่มีความเข้มข้นของอสุจิลดน้อยลงอย่างชัดเจน ดัง นั้น ในฤดูผสมพันธุ์หมีแพนด้าปี พ.ศ. 2552 นี้ ทีมงาน โครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้าฯ จึงเตรียมความ พร้อม และวางแผนหาแนวทางป้องกันปัญหาในด้าน ต่างๆ ที่อาจจะเป็นสาเหตุของภาวะการหยุดวงรอบการ เป็นสัดของแพนด้าเพศเมีย ประกอบด้วย 1. ป้องกันการเกิดภาวะความเครียดจากสิ่ง แวดล้อม เช่น ปรับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับ การอยู่อาศัยของหมีแพนด้า จัดโปรแกรมการทำ� Enrichment เพื่อลดการเกิดความเบื่อหน่าย และเบี่ยงเบน ความสนใจในเสียงต่างๆ ของสิ่งแวดล้อม สำ�หรับปัญหา ในเรื่องเสียงจากงานก่อสร้างน่าจะลดลงเนื่องจากงาน ก่อสร้างอาคารใหม่จะแล้วเสร็จก่อนเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ใน ปี พ.ศ. 2552 2. ลดโอกาสการเกิดภาวะขาดพลังงานในอาหาร

ตารางที่ 7 คุณค่าทางอาหารของไผ่แต่ละสายพันธุ์

โดยคัดเลือกสายพันธุ์ไผ่ที่ให้พลังงานมากที่สุด คือ ไผ่ ตง นำ�มาใช้เป็นอาหารให้แพนด้ายักษ์เป็นหลัก สำ�หรับ ไผ่สายพันธุ์อื่นๆ ประกอบด้วย ไผ่หยก ไผ่ลิโตเฟีย ไผ่ เลี้ยง จะให้เป็นไผ่เสริม โดยให้จำ�นวนน้อยกว่าในแต่ละ วัน เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารน้อย (ตารางที่ 7) และ แพนด้ายักษ์ควรกินไผ่เฉลี่ยต่อวันไม่ต่ำ�กว่า 10 กิโลกรัม ต่อตัวต่อวัน จากการปรับเปลี่ยนไปใช้ไผ่ตงดำ� เป็นหลัก พบว่ า แพนด้ า ยั ก ษ์ ทั้ ง สองตั ว ชอบสายพั น ธุ์ นี้ ม ากกว่า สายพันธุ์อื่นๆ และสามารถกินไผ่ได้ดี ในปริมาณใกล้ เคียง 10 กิโลกรัม โดยทางทีมงานจะเน้นการให้ใบไผ่ให้ มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ เนื่องจากในใบไผ่เป็นแหล่งของ โปรตีนที่แพนด้าจะนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้ดี 3. เป้าหมายการควบคุมน้ำ�หนักในฤดูผสมพันธุ์ สำ�หรับแพนด้ายักษ์เพศเมีย ควรมีน้ำ�หนักระหว่าง 110 - 115 กิโลกรัม แพนด้ายักษ์เพศผู้ควรมีน้ำ�หนักระหว่าง 130 - 135 กิโลกรัม จากการดำ�เนินงานสามารถ เพิ่มน้ำ� หนักให้หลินฮุ่ย อยู่ในระดับ 105 - 110 กิโลกรัม และ ควบคุมน้ำ�หนักช่วงช่วง อยู่ในระดับ 130 - 135 กิโลกรัม ได้ก่อนเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ 4. ติดตามสุขภาพภายในโดยการเจาะเลือดตรวจ วิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เป็นระยะตลอดทั้งปี ไม่พบ ภาวะความผิดปกติใดๆ สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

สรุ ป การดำ � เนิ น งานผสมพั น ธุ์ ห มี แพนด้า พ.ศ. 2552 1.

หลินฮุ่ยแสดงอาการเป็นสัดเร็วขึ้นกว่าในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งยังคงอยู่ในฤดูการผสมพันธุ์ของแพนด้า ทั่วไป

รายการทดสอบ

ไผ่ตง

ไผ่หยก

ไผ่ลิตโตเฟีย

ไผ่มากินอย

หน่วย

พลังงานรวม

250.96

249.87

244.86

188.37

Kcal/100 g

ไขมัน

1.59

1.28

1.76

1.61

g/100 g

โปรตีน

8.41

5.73

6.16

6.62

g/100 g

เถ้า

5

8.8

9.61

3.9

g/100 g

ความชื้น

39.58

34.68

35.84

55.14

g/100 g

คาร์โบไฮเดรต

45.42

49.51

46.63

32.73

g/100 g


๓๔ ในฤดูผสมพันธุ์ปี พ.ศ. 2552 เกิดขึ้นล่าช้า พบการร้อง เสียงแพะ (goat sound) และการร้องเสียงสูง (Chirp sound) เดินถอยหลัง ยกหางให้ช่วงช่วง ภายหลังจาก ตกไข่ ไม่พบพฤติกรรมการป้ายกลิ่น และไม่สามารถ ใช้ ก ารแสดงพฤติ ก รรมในการกำ � หนดวั น ผสมพั น ธุ์ ไ ด้ เนื่องจากพฤติกรรมไม่ชัดเจน 3. ระดับของเอสโตรเจนในปัสสาวะโดยเฉพาะใน ช่วงระยะการเป็นสัดปรับระดับสูงขึ้นอย่างชัดเจน แตก ต่างจากในฤดูผสมพันธุ์ปี พ.ศ. 2550 4. ไม่สามารถกระตุ้นให้ช่วงช่วงสนใจการผสม พันธุ์ตามธรรมชาติได้ แม้หลินฮุ่ยจะมีพฤติกรรมยอมรับ การผสมพันธุ์อย่างชัดเจน 5. ทีมงานดำ�เนินการผสม เทียมให้กับหลินฮุ่ย จำ�นวน 2 ครั้ง ทั้งสองครั้งสามารถดำ�เนินการเสร็จ สมบูรณ์เร็วกว่าในปี พ.ศ. 2550 โดยมีรายละเอียดดังนี้ • การผสมเทียมครั้งที่ 1 ดำ�เนินการได้ภายใน 18 ชั่วโมงหลังการตกไข่ • การผสมเทียมครั้งที่ 2 ดำ�เนินการเสร็จสมบูรณ์ได้ ภายใน 8 ชั่วโมงหลังการตกไข่ 6. จากแนวโน้มการเปลี่ยน แปลงของฮอร์โมน เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนในปี พ.ศ. 2552 มีแนว โน้มแตกต่างจากในปี พ.ศ. 2550 อย่างชัดเจน ซึ่งอาจ เกิดได้จากหลายกรณี ประกอบด้วย • หลินฮุ่ยเจริญเติบโตมากขึ้น ทำ�ให้สามารถสร้าง ฮอร์โมนเพศในปริมาณที่สูงขึ้น • จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่แตกต่างไป จากแนวโน้มที่ผ่านอย่างมาก อาจเกิดได้จาก หลาย สาเหตุ ประกอบด้วย

การจั ด การภายหลั ง ผสมพั น ธุ์ ห มี แพนด้า 1. ลดโอกาสการเกิดภาวะความเครียดต่อหลินฮุ่ย

ประกอบด้วย • ลดการเกิดเสียงที่ไม่คุ้นเคยภายในที่อยู่อาศัยของ แพนด้า เช่น ห้ามพี่เลี้ยงใช้โทรศัพท์ภายในที่อยู่ของ แพนด้า แจ้งให้นักท่องเที่ยวทราบถึงสาเหตุของ การงดใช้เสียงในส่วนจัดแสดงหมีแพนด้า • ไม่เปลี่ยนแปลงการจัดการต่างๆ คงโปรแกรมการ ทำ�งาน เวลาการให้อาหารให้เหมือนเดิม

• เปิดประตูเชื่อมระหว่างคอกกัก และส่วนจัดแสดง ให้หลินฮุ่ยสามารถเลือกบริเวณที่ต้องการอยู่ได้ด้วย ตัวเอง • ให้หลินฮุ่ยกินไผ่เต็มที่ ไม่จำ�กัด และเน้นการกินใบไผ่ เพื่อเพิ่มปริมาณโปรตีนในอาหารให้กับหลินฮุ่ย 2. ติดตามภาวะการตั้งท้องของหลินฮุ่ย • ตรวจวิเคราะห์ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในปัสสาวะ วันละ 1 ครั้ง โดยให้พี่เลี้ยงเก็บตัวอย่างปัสสาวะวัน ละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น • ตรวจหาตัวอ่อนโดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวนด์ 30 วัน ภายหลังผสม โดยตรวจในอัตรา สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพิ่มความถี่ในการตรวจ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง 100 วัน ภายหลังผสม และตรวจวันละครั้ง เมื่อพบระดับ ฮอร์ โ มนโปรเจสเตอโรนในปั ส สาวะมี ร ะดั บ ลดลง หรือเข้าใกล้ระยะ 150 วันหลังผสม • ติดตามพฤติกรรมการตั้งท้อง และการคลอด โดย จั ด ทำ � แบบฟอร์ ม การบั น ทึ ก พฤติ ก รรมเฉพาะ ประกอบด้วย พฤติกรรมการแยกตัว การเลียอวัยวะ เพศ และอื่นๆ

รายงานการติดตามการตั้งท้องและ การคลอดของแพนด้าเพศเมีย ประจำ� ปี พ.ศ. 2552 36 วัน หลังผสมเทียม (23 มีนาคม พ.ศ. 2552)

ภายหลังจากผ่านฤดูการผสมพันธุ์ หลินฮุ่ย ได้ หยุดอาการกระวนกระวาย ร้องเสียงแพะลงอย่างในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 พบเพียงอาการหงุดหงิดเล็ก

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

2. การแสดงพฤติกรรมการเป็นสัดของหลินฮุ่ย


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๓๕ น้อย เนื่องจากต้องการกินไผ่มากขึ้น สุขภาพปกติ ไม่พบ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ ผลการวิเคราะห์ ฮอร์โมนต่างๆ จากปัสสาวะยังไม่พบการเปลี่ยนแปลง ที่ชัดเจน ฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนในระยะ การเป็นสัด ได้ลดลงสู่ระดับมาตรฐานที่ < 5 นาโนกรัม ต่อ มิลลิกรัมครีเอทินีน และคงระดับไม่เพิ่มขึ้น สำ�หรับ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกการตั้ง ท้องพบการเปลี่ยนแปลงระดับมาตรฐาน จากเดิมก่อน เข้าสู่ระยะการผสมพันธุ์จะพบในปริมาณ 7.19 นาโนกรัม ต่อมิลลิกรัมครีเอทินีน ในระยะนี้ค่าเฉลี่ยระดับมาตรฐาน เพิ่มสูงขึ้นเป็น 33.38 นาโนกรัมต่อมิลลิกรัมครีเอทินี น อธิบาย ได้ว่า ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ เป็นฮอร์โมน ที่สร้างจากรังไข่ภายหลังมีการตกไข่ จึงยังไม่สามารถ บ่งบอกถึงการตั้งท้องได้หากมีการตั้งท้องจริง หรือ ท้องเทียม จะมีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน 10-20 เท่าจากระดับมาตรฐาน โดยการติดตาม ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนี้ไม่สามารถแยกแยะภาวะตั้ง ท้ อ งจริ ง จากการตั้ ง ท้ อ งเที ย มได้ เ นื่ อ งจากจะพบการ เปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเหมือนกัน ดังนั้น จึงต้องมี การตรวจอั ล ตร้ า ซาวนด์ เ พื่ อ ยื น ยั น หาตั ว อ่ อ นอี ก ครั้ ง หนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วลูกหมีแพนด้ามีขนาดเล็กมาก จึง ทำ�ให้วินิจฉัยการตั้งท้องได้ยาก บางครั้งพบเมื่อใกล้ คลอด บางครั้งตรวจไม่พบ แต่พบการคลอดในเวลาต่อ มา โดยสรุปสถานการณ์ในระยะหลังผสม 36 วัน ใน ระยะนี้ ยั ง ไม่ พ บการตั้ ง ท้ อ งของหมี แ พนด้ า ยั ก ษ์ ห ลิ น ฮุ่ย ซึ่งยังต้องติดตามต่อไป ด้วยวิธีการตรวจวัดระดับ ฮอร์ โ มนโปรเจสเตอโรนในปั ส สาวะควบคู่ ไ ปกั บ การ ตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวนด์เพื่อหาตัวอ่อน โดยปกติ สามารถหาตัวอ่อนด้วยเครื่องอัลตร้าซาวนด์ได้ภายหลัง เกิดการฝังตัว ซึ่งในหมีแพนด้าจะใช้เวลาน้อยที่สุดใน การรอการฝังตัวคือประมาณ 2 เดือนหลังการปฏิสนธิ จึ ง จะสามารถเริ่ ม ตรวจหาด้ ว ยเครื่ อ งอั ล ตร้ า ซาวนด์ ได้ แต่เนื่องจากขนาดตัวอ่อนที่เล็กมากจึงอาจยังคงหา พบได้ยาก ดังนั้น คาดการณ์ว่าจะสามารถติดตามการตั้ง ท้องได้ เมื่ออายุท้องไม่ต่ำ�กว่า 4 เดือน คือ ประมาณกลาง เดือนมิถุนายน พ.ศ.2552 หากมีการตั้งท้องอาจพบการ คลอดในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2552 (เวลาที่ระบุเป็นเพียงระยะเวลาคาดการณ์ อาจ คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้เนื่องจากแพนด้า

ยักษ์ มีความผันแปรของระยะเวลาการตั้งท้องสูง บาง ตัวตั้งท้องเพียง 85 วัน บางตัวตั้งท้องนาน ถึง 180 วัน ดังนั้น ทีมงานจึงคาดการณ์โดยใช้ค่าเฉลี่ยของการตั้ง ท้องคือ 150 วัน)

71 วัน หลังผสมเทียม (30 เมษายน พ.ศ. 2552) ภายหลังผสมพันธุ์หลินฮุ่ย กินไผ่ได้เพิ่มมากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด จากเดิมเฉลี่ยประมาณ 8 กิโลกรัมต่อวัน หลังผสมหลินฮุ่ยกินไผ่เฉลี่ยประมาณ 15 กิโลกรัมต่อวัน และมีพฤติกรรมปกติ โดยระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เพิ่มขึ้นเป็นลำ�ดับ ภายหลังผสมพันธุ์ 60 วัน ระดับฮอร์โมนโปรเจส เตอโรนในปัสสาวะมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 นาโน กรัมต่อมิลลิกรัมครีเอตินีน ภายหลังผสม 67 วัน เริ่มพบ พฤติกรรมการกินไผ่ลดลงร้อยละ 50 และพฤติกรรมการ นอนเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอ โรนที่เพิ่มสูงเข้าใกล้ระดับ 200 นาโนกรัมต่อมิลลิกรัม


๓๖

82 วัน หลังผสมเทียม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552) ในระยะนี้หลินฮุ่ยมีพฤติกรรมการนอนเพิ่มมาก ถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน และมีอาการเบื่ออาหาร กินไผ่ได้ น้อย มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการหลบนอนตามลำ�พัง ไม่ชอบเสียงดัง และแสดงอาการหงุดหงิดง่ายโดยร้อง เสียงคล้ายนก ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในปัสสาวะ เพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยที่ระดับ 440

กราฟแสดงการเปลี่ ย นแปลงระดั บ ฮอร์ โ มนโปรเจสเตอโรนในปั ส สาวะของ แพนด้ายักษ์เพศเมียพบการเปลี่ยนแปลง ของระดั บ มาตรฐานของฮอร์ โ มนใน ปัสสาวะ ซึ่งยังไม่บ่งชี้ถึงภาวะการตั้งท้อง

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

ครีเอตินีน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นการเปลี่ยน แปลงเข้าสู่ระยะที่สองภายหลังผสม โดยสามารถพบการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ในแพนด้าเพศเมียที่เกิดภาวะ ตั้งท้องจริงและตั้งท้องเทียม จำ�เป็นต้องใช้การวินิจฉัย เพิ่มเติมจากการตรวจอัลตร้าซาวนด์เพื่อยืนยันการพบ ตัวอ่อนฝังตัวอีกครั้งหนึ่ง โดยในระยะนี้การตรวจหาตัว อ่อนด้วยการใช้เครื่องอัลตร้าซาวนด์ยังคงอยู่ในระยะที่ พบตัวอ่อนได้ยาก เนื่องจากตัวอ่อนของหมีแพนด้ายักษ์ มีขนาดเล็กมาก จึงจำ�เป็นต้องรอระยะเวลาต่อไป

นาโนกรัมต่อมิลลิกรัมครีเอทินีน ซึ่งการเปลี่ยนแปลง นี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงในระยะที่สองภายหลังผสม โดยหลินฮุ่ยได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระยะนี้นาน ประมาณ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในระยะนี้ เป็นระยะที่ ร่างกายของแม่แพนด้าจะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ออกมาจำ � นวนมากเพื่ อ กระตุ้ น ให้ มี ก ารหนาตั ว ของ ผนังมดลูก เตรียมพร้อมสำ�หรับการฝังตัวของตัวอ่อน ที่ปฏิสนธิแล้วภายหลังผสมพันธุ์ และเป็นระยะที่อาจ ตรวจพบได้ด้วยการตรวจอัลตร้าซาวนด์ โดยจะสามารถ ตรวจพบได้ ภ ายหลั ง จากตั ว อ่ อ นฝั ง ตั ว บนผนั ง มดลู ก เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากตัวอ่อนจะหยุดการล่องลอย ภายในปีกมดลูก ช่วยให้สามารถติดตามได้จากการ อัลตร้าซาวนด์ ผลการตรวจด้ ว ยเครื่ อ งอั ล ตร้ า ซาวนด์ ไ ม่ พ บ การเจริญของตัวอ่อนและถุงน้ำ�คร่ำ�ที่ชัดเจน พบเพียง การเคลื่อนไหวเป็นจังหวะคล้ายการเต้นของหัวใจ ซึ่ง ลักษณะเช่นนี้ สามารถเป็นไปได้ 2 กรณีคือกรณีที่ 1 คือการเต้นของหัวใจของตัวอ่อนที่กำ�ลังพัฒนา ซึ่งเป็น ตั ว อ่ อ นที่ มี ข นาดเล็ ก มากจึ ง ไม่ ส ามารถมองเห็ น การ เปลี่ยนแปลงขนาดของตัวอ่อนได้ และกรณีที่ 2 คือ เป็ น การขยายขนาดของเส้ น เลื อ ดที่ ม าเลี้ ย งบริ เ วณ มดลูก ซึ่งในระยะนี้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะกระตุ้นให้ หลอดเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกขยายขนาดมากขึ้น เพื่อนำ� สารอาหารมาหล่อเลี้ยงบริเวณมดลูกให้พร้อมสำ�หรับ ตัวอ่อนที่จะฝังตัว ดังนั้นในระยะนี้ยังคงเป็นระยะวิกฤติ ที่ทางทีมงานจะต้องติดตามการตั้งท้องอย่างต่อเนื่อง และจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผล กระทบต่อหลินฮุ่ย โดยเฉพาะเรื่องเสียง


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๓๗ รายงานการคลอดลู ก ของแพนด้ า ยักษ์หลินฮุ่ย ผลจากการติ ด ตามการตั้ ง ท้ อ งของหลิ น ฮุ่ ย อ ย่างใกล้ชิดที่ผ่านมา แม้ว่าจะไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัด ว่าหลินฮุ่ยตั้งท้องจริงหรือไม่ เนื่องจากภาพจากการ อัลตร้าซาวดน์ที่ตรวจพบไม่ชัดเจน มีบางภาพอาจสงสัย ได้ จำ�เป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยมากขึ้นในการตรวจ วินิจฉัย ซึ่งในขณะที่ทีมงานอยู่ในระหว่างการติดต่อ ประสานงานขอยืมอุปกรณ์ พบว่ามีการลดระดับลงของ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน การลดลงอาจเป็นกระบวน การการคลอด หรืออาจเป็นการสิ้นสุดระยะการตั้งท้อง เทียม เนื่องจากไม่เจอตัวอ่อนในการอัลตร้าซาวดน์ ในระยะที่ ที ม งานตรวจพบการลดลงของฮอร์ โ มน โปรเจสเตอโรน จึงได้เตรียมกระบวนการเฝ้าคลอด โดย การงดการจัดแสดงหลินฮุ่ย ให้หลินฮุ่ยนอนในคอกที่จัด ไว้เป็นคอกคลอดตลอด 24 ชั่วโมง ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2552 ตั้งแต่เวลา ประมาณเที่ยงคืนเศษ หลินฮุ่ย เริ่มมีการเลียอวัยวะเพศ อย่างต่อเนื่อง สลับกับการป้ายกลิ่น การกินอาหารลด น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมีการเลียอวัยวะเพศติดต่อ กันเป็นเวลาหลายชั่วโมง จากนั้นในช่วงเวลาประมาณ 8.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่เจ้าหน้าที่จะนำ�หลินฮุ่ยเข้ากรง บีบเพื่อตรวจสุขภาพตามปกติ ปรากฏว่าหลินฮุ่ยไม่ ยอมเข้ากรงบีบเหมือนเช่นเคย แต่กลับสนใจแต่การเลีย อวัยวะเพศ และเริ่มมีพฤติกรรมการเบ่ง เกร็งบริเวณ หน้าท้องเป็นระยะๆ ตั้งแต่เวลาประมาณ 8.30 น. โดย ทิ้งระยะห่างระหว่าง 20 นาทีต่อการบีบตัวหนึ่งครั้ง และ เพิ่มความถี่ในการเกร็งหน้าท้องมากขึ้นเป็นระยะทุกๆ 15 และ 10 นาทีตามลำ�ดับ จนเวลา 10.39 น. หลินฮุ่ยยืน ในท่าโก้งโค้ง เบ่งและคลอดลูกออกมาบนพื้นห้อง ลูก

แพนด้าดิ้น และร้องเสียงดัง หลินฮุ่ยหันมาดม จากนั้น จึงใช้ปากคาบลูกเพื่อวางไว้บนหน้าอก ซึ่งเป็นพฤติกรรม ที่แสดงถึงหลินฮุ่ยมีความสนใจเลี้ยงลูกได้เป็นอย่างดี จึงสามารถสรุประยะการตั้งท้องของหลินฮุ่ยในปี พ.ศ. 2552 ได้ว่าหลินฮุ่ยตั้งท้องนาน 97 วัน สามารถคลอด ลูกได้ตามธรรมชาติ และสามารถเลี้ยงลูกได้เอง ภายหลังจากคลอด 3 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ สามารถแยกลูกแพนด้าเพื่อตรวจสุขภาพชั่งน้ำ�หนักลูก แพนด้าหนัก 235 กรัม ลำ�ตัวยาว 17.50 เซนติเมตร หางยาว 5.5 เซนติเมตร ไม่มีบาดแผลที่ผิวหนัง ขนเป็น สีขาวตลอดทั้งตัว ท้องป่อง บ่งบอกถึงการได้ดูดนมแล้ว สังเกตอวัยวะเพศพบว่าเป็นเพศเมีย สุขภาพลูกแพนด้า สมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการต่างๆ รวดเร็วกว่าแพนด้า ทั่วไป ประกอบด้วย • มีสดี ำ�เกิดขึ้นที่อายุเพียง 4 วัน โดยเกิดขึ้นที่บริเวณ ใบหูเป็นตำ�แหน่งแรก ซึ่งโดยทั่วไปแพนด้ามักจะเกิด สีดำ�ในช่วงอายุ 7 – 10 วันเป็นต้นไป • เป็นแพนด้าตัวแรกที่เกิดในปี พ.ศ.2552 และ เป็นแพนด้าตัวเดียวในปี พ.ศ.2552 ที่เกิดนอก ประเทศจีน ซึ่งที่ผ่านมาพบแพนด้าที่คลอดในเดือน พฤษภาคมน้อย • แพนด้าน้อยเริ่มลืมตาที่อายุ 38 วัน ซึ่งโดยทั่วไป แพนด้า จะลืมตาที่อายุเฉลี่ย 45 วัน • อัตราการเพิ่มน้ำ�หนัก และการเจริญเติบโตค่อนข้าง เร็ว เมื่อเทียบกับแพนด้าทั่วไป ปัจจุบันมีสุขภาพ สมบูรณ์แข็งแรง

พฤติกรรมในช่วงก่อนคลอดของแพนด้ายักษ์เพศเมีย หลินฮุ่ย


๓๘

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๓๙


๔๐

ผืนป่ากว้าง สุดขอบ เขียวขจี กลุ่มฝูงโขลง สรรพสัตว์ มลายจาง ละมั่งไทย จากไป ให้โหยหา กระเรียนไทย เคยขึ้นร่อน ในสายลม แมวป่าไทย วิ่งไหว ในไพรศรี องค์การรัฐ การสวนสัตว์ จักมุ่งมั่น หวังให้เขา เนาในป่า พนาศรี หวังให้เขา เหล่าสรรพสัตว์ เดินในดง พระบารมี สุดแท้ แท้ที่สุด สมเด็จฯ ทรง บ่งชี้ เสาวนีย์มั่น จึงก่อเกิด หลายหลาก มากโครงการ หวังพระบารมี โปรดเกล้า ให้สัตว์คืน การผสมเทียม ละมั่ง นกกระเรียน ร้อยบากบัน พันเพียร ร่วมบรรเลง การเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ แมวเสือป่า ต้องอาศัย ความรู้สูง ละเมียดละไม ไอวีเอฟ เอ็มบริโอ ใช่โก้หรู ค้นคว้าหา ทุกแหล่งหล้า ทั่วสกล งานแพนด้า วิจัย ให้กระฉ่อน เป็นที่เดียว ที่จีน เชื่อกมล พระราช เสาวนีย์ มีต่อเนื่อง เพาะเลี้ยงช่วย ชะมดเช็ด ยั่งยืนนาน จึงโปรดให้ ใฝ่แสวง แหล่งศึกษา จนได้ลูก ได้หลาน เจริญวัย ณ องค์การ สวนสัตว์ จังหวัดเชียงใหม่ น้อมถวาย โครงการ ดั่งใจปราน สรรพสัตว์ ในโครงการ ล้วนล้ำ�ค่า สมพระเกียรติ บารมี องค์ราชินี

เคยเป็นที่ มีสัตว์ป่า มาเยื้องย่าง ล้วนแล้วพราง พรากจาก ฟากพนม หายหน้าตา ป่าไทย ไม่สุขสม ต้องอกตรม ซมเศร้า เจ้าจากกัน ดีไม่ดี จะสลาย มลายพันธุ์ แหล่งที่ยัน มั่นให้ สัตว์ป่าคง หวังเจ้ามี มีคู่ฟ้า อย่างยืนยง หวังประสงค์ จงเจ้า ดำ�รงพันธุ์ บริสุทธิ์ สุดภูมิใจ คนไทยนั่น อนุรักษ์พันธุ์ สัตว์พืชป่า ให้ยั่งยืน ที่ประสาน งานรักษ์สัตว์ ให้ฟูฟื้น ในไพรพื้น ภูมิใจ ไทยทำ�เอง เราพากเพียร เรียนรู้ อย่างรีบเร่ง กระฉับกระเฉง เร่งมือ ถือธงชัย ต้องพึ่งพา เทคโน โลยีใหญ่ อาศัยใจ ใจสู้ สู้อดทน ล้วนพรั่งพรู พัฒนา ปฏิสนธิ์ เพื่อผลิตผล ผลิตสัตว์ ให้ได้ยล ที่เมืองร้อน อย่างไทย ไม่ขัดสน เชื่อมใจคน จีนไทย ให้ยืนนาน ให้ช่วยเรื่อง เครื่องหอม กรุ่นสนาน อย่าให้พราน พาลไปจับ บังคับใจ รีบเร่งหา เร่งผสม และผลิตไข ทรงห่วงใย เมตตา มาเนิ่นนาน ที่ร่วมใจ ใจร่วม ร้อยประสาน เพื่อกราบกราน เฉลิมพระเกียรติ พระราชินี อีกวิชา ที่เลือกใช้ ยากเหลือที่ สมกับที่ ที่ไทยภักดิ์ รักพระองค์ นาย สุเมธ กมลนรนาถ ผู้อำ�นวยการส่วนอนุรักษ์ วิจัย และการศึกษา องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก ตามพระราชเสาวนีย์และเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๘ พรรษา


โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก

๔๑

กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


๔๒

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายากของโลก


องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.