Fette vol.02

Page 1

Vol. 2


s ’ r o t i Endote สวัสดีค่ะ

ต้องขออภัยที่ FOTTE Vol.2 ตามเล่มแรกมาช้าหน่อยนะคะ เนื่องจาก การวางเวลายังไม่ค่อยลงตัว แต่จากนี้ไปที่ประชุมลงมติให้ FOTTE ออกทุกๆ สามเดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และ ธันวาคม จากเล่มนี้ไป FOTTE มีคุณชุมศรี อาร์โนลด์ มาช่วยแนะนำ�การประกอบ อาหารตามแนวทางที่เธอมีประสบการณ์มา ซึ่งเราจะได้เก็บเกี่ยวทั้งความสนุกสนาน และเคล็ดลับต่างๆ จากผู้ที่ขลุกอยู่กับเรื่องอาหารตั้งแต่เล็กจนถึงปัจจุบัน สัมผัสความซาบซึ้งของแม่คนหนึ่งที่มีความตั้งใจที่จะทำ�ให้ลูกเธอพูดภาษาไทย ในคอลัมน์ของ คุณสุมิตรา ซัลส์มันน์ ได้ในเล่มนี้ คุณโสภาพร ควร์ซ มากับการแปลข่าวเกี่ยวกับพระราชกรณีกิจของในหลวง ของเรา ที่เราไม่เคยทราบมาก่อนในเล่มนี้เช่นเดียวกัน สุดท้ายต้องขอบอกว่าที่เราอ่านคอลัมน์ต่างๆ กันอย่างรื่นไปกับตัวสะกดที่ถูก ต้องนั้น เป็นความสามารถและความละเอียดของ คุณจารีย์ เคลเล่อร์ ที่ค่อยๆ แกะ ออกมาจากภาษาไทยของพวกเราที่ต่างก็ห่างไกลกันมานานค่ะ ศรีจันทร์ แอนเดอร์สัน บรรณาธิการ ศรีจันทร์ ศรีจรูญ แอนเดอร์สัน บรรณาธิการและประชาสัมพันธ์ ธันวาคม 2011

02

จารีย์ เคลเลอร์ พิสูจน์อักษร


ปีนเี้ ป็นปีมหามงคลทีพ่ ระบามสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ของปวงชนชาวไทยทรงมีพระชนมายุ ๘๔ พระพรรษา ในหลวงของปวงชนชาวไทยได้ทรงประกอบพระราช กรณียกิจตลอดที่พระองค์ทรงเป็นประมุขของปวงชน ชาวไทยมากมาย พระองค์ทรงงานเป็นแบบอย่าง ทรง สอน ทรงเตือนและแนะนำ�แนวทางในการแก้ไข ในปัญหาต่างๆ เพื่อความสุขสงบของปวงชนชาว ไทย "ภาษาไทย" ซึง่ เป็นวัฒนธรรมของชาติ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ มีการประชุมใหญ่ซึ่งมีเอกอัครราชฑูตไทย ประจำ�อยู่ที่ประเทศต่างๆทั่วโลกที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ได้ตรัสกับคณะทูต ที่มาประชุมในวันนั้นสรุปได้ว่า "น่าเห็นใจที่ฑูตต้อง ทำ�งานหนักในการทีต่ อ้ งช่วยรักษาเอกลักษณ์ของชาติคอื ภาษาไทย เนือ่ งจากคนไทยบางคนเมือ่ มาอยูต่ า่ งประเทศ ได้ไมานาน ก็จะพูดภาษาไทยไม่ชดั ลืมภาษาไทยจึงเป็น หน้าที่ของพวกท่านที่จะช่วยให้พวกเขาไม่ลืมภาษาไทย" จะเห็ น ได้ ว่ า ในหลวงของปวงชาวไทยทรงมี พระเนตรพระกรณที่กว้างไกลจึงได้มีพระราชดำ�รัสกับ คณะฑูตในเวลานั้น เพื่อสนองตามพระราชดำ�รัสของพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยูห่ วั สมาพันธ์ครูภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ในยุโรป ซึ่งเกิดจากการรวมตัวจากสมาคมและชมรม ต่างๆในยุโรป โดยได้รับการสนับสนุนจากท่านฑูตชัย ยงค์ สัจจิพานนท์ ซึ่งดำ�รงค์ตำ�แหน่งเอกอัครราชทูตที่ สวิตเซอร์แลนท์ในขณะนัน้ ได้จดทะเบียนเป็นองค์กรที่ ไม่หวังผลประโยชน์ใดๆที่เมืองบรัสเชลส์ ประเทศ เบลเยียม หลังจากมีการประชุมสามัญประจำ�ปี ๒๕๕๔ ซึ่งมีมติรับองจากคณะกรรมการบริหารของสมาพันธ์ฯ ทางหน่วยงานของราชการได้ให้ความสำ�คัญกับ การใช้ภาษาไทย ซึ่งท่าน ว.วชิรเมธี ที่เป็นที่ปรึกษา กิตติมศักดิ์ของสมาพันธ์ฯได้รับรางวัลการใช้ภาษาไทย ดีเด่นประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นอกจากนั้ น ทางสมาพั น ธ์ ยั ง ได้ รั บ เชิ ญ เป็ น กรรมการนโยบายภาษาแห่งชาติซึ่งต้องทำ�งานสานให้ เกิดประโยชน์กับสมาพันธ์ฯ โดยมี ดร.มณีรัตน์ สวัสดิ วัฒน์ ณ อยุธยา ในฐานะกรรมการและตัวแทนคณะ กรรมการภาษาแห่งชาติเป็นผูป้ ระสานงาน และในโอกาส นีท้ างสมาพันธ์ฯจึงได้เชิญดร.มณีรตั น์ มาเข้าร่วมประชุม สามัญประจำ�ปี พ.ศ.๒๕๕๔ ที่กรุงปารีสอีกด้วย เด็กที่เติบโตในต่างแดนที่พูดภาษาแม่ได้จะทำ�ให้ เด็กมีการพัฒนาการทางสมองที่ดีขึ้น เรียนเก่งขึ้น แต่


ชาติไทย ภาษาไทยและตัวแม่เองด้วย ลูกๆยังพูดได้ หลายภาษาเมื่อกลับไปเมืองไทยก็สามารถพูดกับญาติที่ เป็นคนไทยได้ และมีโอกาสที่ดีในการทำ�งาน ถ้าเด็กได้ เรียนภาษาไทย และสอบผ่านได้วุฒิป.๖ ถ้าในอนาคตต้องย้าย ครอบครัวกลับไปอยู่เมืองไทย เด็กก็จะสามารถเข้ารับ ราชการที่เมืองไทยได้ หรือถ้าไม่คิดรับราชการ เขาก็ สามารถนำ�เอาวิชาความรู้ ความคิดที่เป็นประโยชน์ใน การพัฒนาประเทศบ้านเมืองได้ นอกจากนี้เด็กที่มาเรียนในโรงเรียนที่สอนภาษา ไทย ทำ �ให้เด็กมีสังคมของเด็กลูกครึ่งไทย และผู้ ปกครองเองก็ได้ร่วมกิจกรรมดีๆมีประโยชน์ ซึ่งทำ�ให้ ชุมชนไทยในต่างแดนเข็มแข็งและมีความรักสามัคคีใน หมู่คนไทยด้วยกัน เพือ่ ให้สมาชิกและครูอาสาได้เข้าใจและมีสว่ นรวม ในกิจกรรมของสมาพันธ์ฯ ทางคณะกรรมการรบริหาร สมาพันธ์ฯ ยินดีรับฟังความคิดเห็นและข้อแนะนำ�เพื่อ เป็ น การส่ ง เสริ ม ในการเรี ย นการสอนภาษาไทยแก่ เยาวชนไทยในต่างแดนเพื่อความก้าวหน้าและยั่งยืน สืบไป และในโอกาสพิเศษที่พี่ปุ็หรือพี่สุมิตรา ซัลส์มันน์ ได้รับ“ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่ง เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์” ชาวสมาพันธ์ฯทุกคนขอแสดงความยินดีเป็นอย่าง บางคนร้องไห้ เพราะถูกลูกดูถกู ว่า" ไม่ตอ้ งมาสอน เธอ ยัง พูดภาษาของฉันยังไม่ได้ แล้วจะมาสอนฉันได้ ยิง่ และขอให้พสี มุ ติ ราและครอบครัวมีความสุขและเจริญ อย่างไร" ดิฉันจึงคิดว่าภาษาที่จะใช้สอนใช้ตักเตือนลูก ยิ่งๆ ขึ้นไป ยามที่ลูกต้องการจะปรึกษา ต้องการคำ�แนะนำ� คงไม่มี ด้วยความปรารถนาดี ภาษาไหนชัดเจนไปกว่าภาษาของแม่" สุพรรณี บุญถูก จากเรื่องที่ครูสาลี่เล่ามานี้ ดิฉันเห็นด้วยร้อย ประธานสมาพันธ์ครูภาษาไทย เปอร์เซนต์ เพราะดิฉันเองก็สั่งสอนลูกที่เติบโตในต่าง และวัฒนธรรมไทยในยุโรป ประเทศด้วยภาษาไทย พวกเขาจึงรักและภาคภูมิใจใน

ยังคงมีปญ ั หาทีพ่ อ่ แม่ หลายท่านยังไม่เห็นความสำ�คัญ ที่จะให้ลูกหลานของตนเรียนภาษาไทย ครูสาลี่ ศิลปสธรรม ทีพ่ วกเราชาวสมาพันธ์ฯ รูจ้ กั ดีได้ทุ่มเทกำ�ลังกาย และกำ�ลังใจทำ�หลักสูตรการเรียน การสอน และอบรมครูอาสาในยุโรปมานานกว่า ๕ ปี ได้เริ่มต้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศแรก และต่ อ ๆไปในประเทศต่ า งๆในยุ โ รปเช่ า นอร์ เ วย์ สวีเดน เดนมารก์ ฯลฯ ได้เล่าให้ฟังว่า "ดิฉันมีโอกาสพบผู้ปกครองที่เป็นคนไทยตาม ประเทศต่างๆ ผูป้ กครองหลายคนได้บอกดิฉนั ว่าไม่เคย สอนลูกพูดภาษาไทยเลย เพราะคิดว่าไม่จำ�เป็น พอ ลูกโตขึ้นในช่วงวัยรุ่น เด็กจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป แม่อยากเตือน อยากสอน แต่ติดขัดที่สื่อสารด้วยภาษา ของประเทศนัน้ ๆได้ไม่ชดั เจน และไม่ถกู ต้อง ผูป้ กครอง


ลดพุงช่วยลดโรค

จากการศึกษาและวิจยั กับพนักงานการไฟฟ้าจำ�นวน 6,500 คน ของ ศ.นพ ปิยะมิตร ศรีธรา ผู้อำ�นวยการศูนย์หัวใจหลอดเลือดและเมแทบอ ลิซึม รองหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี ทำ�ให้พบว่าถ้าระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) หรือไขมัน ที่มีประโยชน์ มีระดับต่ำ�กว่า -1SD จะทำ�ให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน สูงถึง 3 เท่า หรือ ระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ไข มันที่ไม่ดีสูงกว่าค่าเฉลี่ย +1SD จะทำ�ให้เกิดโรคเลือดหัวใจสูงขึ้น 2 เท่า ทั้งนี้ยังมีส่วนเสริมจากปัจจัยสนับสนุนต่างๆ เช่น อายุ เพศ ความดัน โลหิตสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ และพฤติกรรมของแต่ละคะ จากผลการวิจยั นีจ้ งึ ทำ�ให้ทราบว่า ไขมันชนิดดีจะมีหน้าทีค่ อยกำ�จัด ตะกรันที่เกิดจากไขมันชนิดไม่ดี ที่ค่อยๆสะสมพอกตามหลอดเลือด ดัง นั้นถ้าปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดดีในร่างกายมีมาก ก็จะช่วยให้หลอด เลือดสะอาดขึ้น มีตะกรันน้อยลง ศ.นพ ปิยะมิตร ศรีธรา ได้บอกถึงวิธีการประเมินความเสี่ยงของ การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันอย่างง่ายๆ แต่ได้ผล ด้วยการวัดเส้น รอบเอวซึ่งไม่ควรมีความยาวเกินครึ่งของความสูง ถ้าเส้นรอบเอวเกิดครึ่ง ของความสูงมากเท่าไร แสดงว่าในช่องท้องมีปริมาณไขมันไม่ดีมาก ทำ�ให้ ปริมาณไขมันชนิดดีลดน้อยลง แสดงว่าพุงยิ่งใหญ่จะยิ่งมีอัตราการเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันมากขึ้นนั่นเอง เมื่อทราบเช่นนี้แล้วควรหันมาลดพุงเป็นการป้องกันเอาไว้ก่อน โดย การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้ครบ 3 มื้อ ออกกำ�ลังกาย สม่ำ�เสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที หลีกเลี่ยงปัจจัยเสริมต่างๆ เช่น บุหรี่ ขนมหวาน น้ำ�อัดลม น้ำ�หวาน ข้อมูลจาก นิตยสารขวัญเรือน 05


“Where where is

Where where!”

โดย แม่วาดเมียบียอร์น

การเตรียมการประชุมสามัญประจำ�ปีของสมาพันธ์ ครูสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในยุโรป (FOTTE) สำ�หรับปี 2512 ได้ถูกจัดขึ้นที่กรุงปารีสเมื่อวันที่ 20-22 กันยายน 2011 ซึง่ การประชุมคราวนีน้ อกจากกรรมการ บริหารแล้ว ทางคณะกรรมการบริหารยังเปิดโอกาสให้ กรรมการและสมาชิกท่านอื่นๆ ที่สนใจเข้าร่วมประชุม ด้วย เพื่อว่าจะได้ช่วยกันออกความคิดเห็นหลายๆทาง พวกเราควรจะไปพั ก ที่ โ รงแรมที่ ใ กล้ บ้ า นคุ ณ หลอด (ปณิธาน Taboulrel) รองประธานคนที่สอง ซึง่ อยูก่ ลางกรุงปารีสและอยูไ่ ม่ไกลจากองค์การยูเนสโก เพือ่ ว่าจะได้สะดวกในการเดินไปประชุมทีบ่ า้ นคุณหลอด แต่เผอิญว่าโชคไม่ดหี รือโชคดีกไ็ ม่ทราบ โรงแรมนัน้ เกิด เต็มมากเพราะมีประชุมอะไรสักอย่างทีย่ เู นสโก พวกเรา จึงต้องแบ่งกลุ่มเบียดกันนอน บางส่วนนอนที่บ้านคุณ 06

หลอด เช่น คุณติ๊ง (สุพรรณี บุญถูก) คุณปุ๊ (สุมิตรา Salzmann) คุณหย่ง (โสภาพร Kurz) และพวก สมาชิกฝรัง่ เศสทีม่ าจากเมืองอืน่ บางส่วนไปนอนทีบ่ า้ น คุณจุ๋ม (พจมาน Renaux) ที่อยู่ชานกรุงปารีส บาง ส่วนนอนโรงแรม คณะกรรมการบริหารส่วนมากมากันตัง้ แต่คนื วัน ที่ 19 จึงเริ่มประชุมกันก่อนในวันที่ 20 เรื่องภายใน เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และหน้าที่ต่างๆของกรรมการ แม่ วาดมาถึงเย็นวันที่ 20 จึงได้แต่มากินอย่างเดียวไม่ต้อง หนักสมองเรือ่ งอืน่ คอยอ่านรายงานการประชุมในวันนี้ เท่านั้น พอตกดึกหน่อยถึงจะเหนื่อยอย่างไรก็ต้องตาม คุณจุม๋ กลับไปทีบ่ า้ นชานเมืองของเธอ พร้อมกับประธาน คนเก่า (จารีย์ Keller) คุณแหวว (วนิชา เทานอก) จากอิตาลี และคุณอ้อม (ดวงหทัย Frech) จากสวิต


เซอร์แลนด์ ทำ�อย่างไรได้คะ ไม่ตามไปก็ไม่มีที่นอน เพราะที่บ้านคุณหลอดเต็มหมดแล้ว คุณจุ๋มปลอบตาม สำ�นวนสาวไทยบางกลุ่มในปารีส “Where...Where...is...Where...Where!” “ไหนๆ ก็ ไหนๆ!” แต่ปรากฏว่าบ้านจุ๋มสวยงามและอยู่กันอย่างสุข สบายมาก แม่วาดออกจะดีใจทีต่ ามมาได้นอนเตียงใหญ่ กับพี่จารีย์สองคน อ้อมกับแหววนอนด้วยกันอีกห้อง หนึ่ง รุ่งขึ้นแต่เช้าแม่วาดรีบตื่นตะกายตามเจ้าของบ้าน ออกไปทั้งชุดนอน เพื่อจะไปซื้อ ครัวซอง และ ปาเกต์ มากินกัน เพราะมาถึงฝรั่งเศสทั้งทีจะไม่กินแบบเขาได้ อย่างไร มันเป็นอะไรที่คล้ายๆเวลาอยู่เมืองไทยต้องกิน ปาท่องโก๋กับน้ำ�เต้าหู้ จุม๋ ขับรถเลาะไปตามหมูบ่ า้ นเล็กๆของฝรัง่ เศส จน กระทั่งเจอเบอเกอรี่ริมถนนน่ารักสุดๆ แม่วาดลากชุด นอนกางเกงขายาวเสื้อแขนยาวลงไปเลือกขนมกับแหว วอย่างสนุกสนาน เช้านั้นโอ้เอ้กันอยู่ที่บ้านแถมระหว่าง ทางคุณจุ๋มเธอยังเป็นทั้งไกด์ พากย์ทั้งเรื่องที่ทางที่ผ่าน และกฏหมายการขับรถในปารีสที่ต่างจากที่อื่นบ้าง เช่น เวลาขับรถเข้าวงเวียน รถที่เข้ามาในวงเวียนจะมีสิทธิ์ เหนือกว่ารถในวงเวียน ใครเป็นโรคประสาทอ่อนก็อย่า ได้ไปขับรถที่ปารีสเด็ดขาด เพราะรถชาวปารีเซียนเธอ จะพุ่งเข้ามาในวงเวียนอย่างไม่กลัวเกรงใดๆทั้งสิ้น บาง ครัง้ แม่วาดช่วยขับ พอขับระวังๆย่องๆไปยิง่ น่ากลัว แต่ ถ้าขับบ้าๆบอๆไปด้วย พุ่งจี๊ดจ๊าดไปทางโน้นทางนี้กลับ พอจะหาช่องทางวิ่งได้ อย่างไรก็ตามกว่าจะขับรถไปถึง บ้านคุณหลอดเพื่อจะเปิดประชุมก็เกือบสิบเอ็ดโมงเช้า การประชุมนอกจากคณะกรรมการแล้วก็มสี มาชิก ด้วย ส่วนมากเป็นสมาชิกจากประเทศฝรั่งเศส หัวข้อ ประชุมส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดงานในปีหน้า ได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการประชุมกันในวันที่ 11, 12

และ 13 ของเดือนพฤษภาคม ปี 2012 ในหัวข้อ “ครอบ ครัวสุขสันต์ สานสัมพันธ์ดว้ ยภาษาไทย” จัดทีก่ รุงปารีส ซึ่ ง ผิ ดไปจากผลการโวตในการประชุ ม คราวที่ แ ล้ ว ที่ บรัสเซลส์ ในการประชุ ม คราวนั้ น ได้ มี ก ารโวตกั น ว่ า จะ จัดการประชุมปี 2012 ที่ประเทศเนเธอแลนด์ตามที่ สมาชิกทีไ่ ปประชุมรับทราบกันอยู่ ต่อมามีเหตุผลหลาย ประการทีไ่ ม่สะดวกทีจ่ ะจัดทีเ่ นเธอแลนด์ เรือ่ งทีส่ �ำ คัญ ที่สุดนั้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจของ FOTTE ซึ่งยังไม่ค่อย แข็งแรงนัก เนื่องจาก FOTTE เพิ่งจะเริ่มจัดตั้งเป็น องค์กรขึ้นเพียงหนึ่งปี ดังนั้นประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพ การจัดประชุมประจำ�ปี จำ�เป็นต้องมีสมาชิกที่มีความ พร้อมพอสมควร ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นความพร้อมด้าน ความสามารถ เพราะเรือ่ งการจัดประชุมประจำ�ปีนนั้ ทาง FOTTE ไม่ มี ก ฎเกณฑ์ ที่ จ ะจ่า ยค่ า เบี้ ย เลี้ ย งให้ แ ก่ สมาชิกในประเทศที่ต้องเป็นผู้จัดเตรียมงาน เนื่องจาก เป็นเรื่องยากที่จะพิจารณาว่าควรจะมีกี่คน อีกทั้งใน แต่ละประเทศค่าครองชีพไม่เท่ากัน ย่อมจะเป็นเรือ่ งยาก

ที่จะวางกฏเกณฑ์ตายตัว ดังนั้นเมื่อทางปารีสมีความ พร้อมมากกว่าที่จะเป็นผู้จัดประชุมในปีหน้า จึงได้ เปลี่ยนเป็นการประชุมที่ปารีสด้วยประการฉะนี้ 07


ชุมศรี & ศรีจันทร์ เหลื อ จากสมาชิ ก ประเทศ สวี เ ดน นอกจากนี้ คุ ณ สุ พรรณี ยังเป็นเจ้าภาพอาหาร มื้ อ ค่ำ � ที่ เ ปิ ด ทั้ ง ครั ว เปิ ด ทั้ ง บาร์ให้สมาชิกในการประชุม ประจำ�ปีทบี่ รัสเซลส์เมือ่ เดือน พฤษภาคมทีผ่ า่ นมา นอกจาก นี้ ยั ง มี ค่ าใช้ จ่ า ยย่ อ ยๆมาก พจนีย์ & ครัวซอง บ้างน้อยบ้างในการจัดงานและเชิญแขกมาร่วมประชุม คุณแม่วาด (ศรีจันทร์ Andersen) เป็นผู้ออก ค่าใช้จ่าย ในการทำ�วารสารอิเล็คโทรนิค FOTTE เพื่อ ส่งให้สมาชิกและผู้สนใจทั่วไป สมาคมสตรีไทยในฝรั่งเศสออกค่าใช้จ่าย ค่า อย่างไรก็ตามปรากฏว่าเมื่อย้ายมาจัดประชุมที่ อาหาร สำ�หรับสมาชิกที่ไปประชุมเตรียมการประชุมใน กลางกรุงปารีส ถึงแม้ประหยัดค่าใช้จา่ ยเรือ่ งการจัดการ ครั้งนี้ แต่คา่ ใช้จา่ ยเรือ่ งห้องประชุม เรือ่ งสนุกสนานต่างๆค่อน ในช่วงบ่ายมีเรื่องที่ยกขึ้นมาพิจารณากันคือเรื่อง ข้างสูงมากทีเดียวแต่จะทำ�อย่างไรได้ ชือ่ ย่อภาษาอังกฤษของสมาพันธ์ฯ ทีก่ รรมการบริหารได้ “Where...Where...is...Where...Where!” มีมติให้เปลี่ยนจากการใช้ FTTE มาเป็น FOTTE ใน เท่ า ที่ ผ่ า นมาในระยะแรก ผู้ เ กี่ ย วข้ อ งและ การตกลงกันทางเมล์ เพือ่ ให้สามารถอ่านได้ และสะดวก กรรมการหลายท่านได้ช่วยบริจาคให้ FOTTE ในรูป ในการจดจำ� หากในการประชุมคราวนี้มีผู้ยกขึ้นมาว่า แบบต่างๆ สมควรทีจ่ ะยกมาบอกกล่าวให้เป็นทีร่ กู้ นั เพือ่ คำ�นี้อ่านออกมาในภาษาของอิตาลี มีความหมายว่า เป็นเกียรติแก่ผู้ที่ได้เสียสละให้แก่ FOTTE “เพศสัมพันธ์” ควรจะเปลี่ยนเสีย แต่หลังจากพิจารณา อาจารย์น้อง (นราพร จันทรโอชา) ที่ปรึกษาของ กันพักใหญ่ดว้ ยเหตุผลต่างๆกัน เช่นองค์กร NGO ซึง่ FOTTE ได้ชว่ ยจัดหาเงินช่วยเหลือจากบริษทั ห้างร้าน เป็นองค์กรใหญ่เป็นรู้จักกันทั่วไปในโลกนี้ อ่านออกมา ในเมืองไทย เป็นเสียงภาษาไทยว่า “โง่” นัน้ ไม่เป็นเรือ่ งทีอ่ งค์กรนีใ้ น คุณกุง้ (ชุมศรี Arnold) บริจาคในรูปเงินสดเป็น ประเทศไทยวิตก อีกทั้งสมาพันธ์ฯของเรามีสมาชิก ทุนเริ่มต้น และเป็นผู้จ่ายค่าใช่จ่ายในการทำ�เวบไซท์ มากมายหลายประเทศในยุโรปที่มีภาษาแตกต่างกันไป และเป็นเจ้าภาพให้ที่พักและเลี้ยงอาหารแก่สมาชิกใน หากเปลีย่ นไปแล้วไปตรงกับความหมายไม่ดใี นประเทศ การประชุมต่างๆต่างวาระกันหลายครั้ง อื่น ย่อมจะต้องเปลี่ยนกันไปเรื่อย ทางคณะกรรมการ คุณติ๊ง (สุพรรณี บุญถูก) ได้ออกเงินช่วยเหลือ บริหารจึงได้มีมติให้ยึดภาษาอังกฤษเป็นกลาง คำ�ว่า ค่าเช่าห้องประชุมที่โรงแรม ซึ่งบางส่วนได้รับการช่วย FOTTE มาจากคำ�ว่า FEDERATION OF THAI 08


ปาเกต์ ปราสาท

language and culture TEACHERS IN EUROPE ในภาษาอังกฤษ จึงให้ใช้เป็นตัวย่อของสมา พันธ์ฯต่อไป “Where...Where...is...Where...Where!” แต่ท่านที่ปรึกษาหลายท่านแนะนำ�ว่า หากมีข้อไม่ สบายใจกันก็ควรจะเปลี่ยนเสีย และเห็นด้วยว่าควรจะ เป็ น ชื่ อ ที่ อ่ า นได้ ต ามเหตุ ผ ลเดิ ม จึ งได้ เ ปลี ย นเป็ น FETTE ซึ่งเป็นตัวย่อที่มาจากคำ�ว่า Federation of Thai language and culture Teachers in Europe หลังจากการประชุมหนักในวันนัน้ เราไปกินอาหาร เย็นกันทีร่ า้ นอาหารไทยซิง่ เพิง่ เปิดใหม่ ซึงคุณกุง้ มีความ ประสงค์อยากจะช่วยอุดหนุน จึงเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ เลีย้ งอาหารมือ้ นัน้ แต่กว่าจะมากันครบได้กนิ กันก็เกือบ ดึก เพราะกว่าจะหาที่จอดรถได้ยากเย็นมาก คุณอรชาต สืบสิทธ์ ในนามของคณะผู้แทนถาวร

ปณิธานรับโล่

ไทยประจำ�ยูเนสโก ได้มาร่วมกินอาหารกับเราด้วย และ ถือโอกาสมอบโล่เกียรติคุณให้คุณหลอด ในฐานะที่ สมาคมเพือ่ นไทยได้ชว่ ยสนับสนุนสำ�นักงานผูแ้ ทนถาวร ไทยยูเนสโก ตลอด 4 ปี เราเฮฮากันอยู่จนดึกกลุ่มแม่วาดต้องขอตัวกลับ ก่อนเพราะต้องเดินทางกลับบ้านคุณจุ๋มที่อยู่ชานเมือง แต่ถึงจะออกมาตั้งแต่สี่ทุ่ม พวกเราก็แน่ใจว่าพวกที่ยัง อยู่ที่ร้านอาหารคงได้นอนก่อนเรา เพราะคุณจุ๋มหา ทางออกจากกรุงปารีสไม่ได้ เนือ่ งจากมีการปิดถนนซ่อม ตรงโน้นตรงนี้ แทบไม่น่าเชื่อว่าดึกดื่นเกือบเที่ยงคืนใน วันธรรมดากรุงปารีสยังรถติดเหมือนกลางวัน รุ่งขึ้นวันที่ 22 เรามาเก็บตกเรื่องประชุมนิดๆ หน่อยๆ แล้วพากันไปเดินชอปปิง้ จากนัน้ ใครทีก่ ลับวัน นี้ก็แยกย้ายกันกลับ แม่วาดกับแหววจะกลับพรุ่งนี้จึง พากันไปเที่ยวปราสาทใกล้บ้านจุ๋มต่อ และไปหาอาหาร ฝรัง่ เศสกินกันทีเ่ รสตัวรองสุดน่ารักโรแมนติกในหมูบ่ า้ น แถวๆนัน้ คุณจุม๋ กับคุณแหววสัง่ ไวน์มาประกอบอาหาร แม่วาดเป็นสารถีจึงคิดว่ารอดตัวไปไม่ต้องหารค่าไวน์ เพราะตามกฏหมายของนอร์เวย์ คนขับรถเมือ่ ถูกตำ�รวจ ตรวจเลือดต้องมีค่าแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นศูนย์ แต่ คุณนายจุ๋มบอกว่ากฏหมายฝรั่งเศสไม่รุนแรงขนาดนั้น พอดื่มได้ เป็นอันว่าแม่วาดก็เลยต้องยอมก๊งไปด้วยกัน “Where...Where...is...Where...Where!” 09


ภาษาของแม่

โดย สุมิตรา ซัลส์มันน์

แม่เกิดมาเป็นคนไทย พูดภาษาไทย ครั้นพอ แต่งงานได้ไม่ทันใด จำ�ต้องระเหเร่ร่อนออกจากเมือง ไทย ประเทศบ้านเกิดเมืองนอนอันเป็นทีร่ กั ต้องใช้ชวี ติ ต่างแดน สื่อสารกับคนรอบข้างด้วยพูดภาษาต่างด้าว แม้กระทั่งผู้ชายที่แม่รัก ผู้ชายที่เป็นพ่อของลูก ที่แม่ใช้ ชีวิตคู่อยู่ด้วยภาษาต่างด้าว ครั้นพอแม่มีลูก แม่ได้ตั้งปณิธาน “แม่จะต้องพูดภาษาไทย ภาษาแม่ของแม่กับลูก แม่จะสื่อภาษาแม่ ภาษาของแม่กับลูกของแม่ ที่สืบสาย เลือดจากแม่” แม่จะพูด พูดอะไรก็ได้ทอี่ อกมาจากหัวใจแม่ โดย ไม่ต้องคิด แม่จะพูดแสดงความรู้สึกของแม่ออกมาได้ โดยไม่มีข้อสงสัย แม่มั่นใจว่า สิ่งที่แม่ต้องการสื่อนั้นไม่ผันแปร ไม่ ผิดเพี้ยนไปจากหัวใจ และจิตวิญญาณของแม่ที่ร้องหา 10

ไม่มีภาษาไหน นอกจากภาษาแม่ ที่แม่จะสื่อกับ ลูกได้ซาบซึ้ง และเต็มหัวใจได้เท่ากับภาษาไทย พระเจ้าทรงสร้างให้ลูกเกิดมาเป็นลูกของแม่ ลูก จึงเป็นความภาคภูมิใจของแม่ แม่สำ�นึกเสมอว่า ทุกสิ่ง ที่แม่ให้กับลูกนั้น แม่จะให้ลูกไม่ได้ ถ้าลูกไม่รับในสิ่งที่ แม่หยิบยื่นให้ แม่ขอบใจที่ลูกรับในสิ่งดีๆ ที่แม่มอบให้ แม่ มี ค วามสุ ข และรู้ สึ ก ภู มิ ใ จ ทุ ก ครั้ ง ที่ ไ ด้ ยิ น เพื่อนๆ และญาติพี่น้องทั้งใกล้ไกลของแม่ สื่อกับลูก ด้วยภาษาไทย พร้อมกับชื่นชมที่ลูกมีความเป็นไทยอยู่ ในตัวตน ลูกของแม่มใิ ช่แค่เพียงรับภาษาของแม่เท่านัน้ แต่ลกู ของแม่ได้รบั ความดีงาม วัฒนธรรมทางความคิด ท่าทางและกริยาทีด่ งี ามอย่างไทย ไปพร้อมกัน บ่อยครัง้ ที่มีเสียงกล่าวขานถึงลูกว่า “ดูซี ! ไม่มีท่าทางของฝรั่งติดมาเลย นอบน้อม ยิ่งกว่าเด็กไทยเสียอีก”


หลายต่อหลายคน ต่างชื่นชมต่อการบ่มสอนลูก “ให้มีความเป็นไทยมากกว่าเด็กที่เติบโตในเมือง ไทยเสียอีก” แม่ยงั จำ�ได้วา่ ครัง้ ทีล่ กู ยังเป็นเด็กตัวเล็กอยู่ แม่ พูดกับลูกเป็นภาษาไทย ลูกจะตอบแม่เป็นภาษาของพ่อ ทุกครั้ง แต่แม่ไม่เคยคิดที่จะลดละพยายาม จนกระทั่ง วันหนึง่ ซึง่ แม่กไ็ ม่รเู้ หมือนกันว่ามันเป็นเมือ่ ใด ทีล่ กู ได้ ตอบโต้กับแม่เป็นภาษาไทย แม่ยังจำ�ได้ว่า ทุกครั้งที่เราเข้าไปเดินซื้อของใน เมือง แล้วแม่จะต้องหยุดทักพูดคุยกับคนไทย หรือมี คนโทรศัพท์มาหาแม่ ลูกมักจะถามแม่ว่า “ใคร” แม่มัก จะตอบลูกว่า “คนไทยที่แม่รู้จัก แต่ก็ไม่ค่อยจะสนิท นัก” ลูกก็จะคอยบอกว่า “แล้วแม่เสียเวลาพูดกับเขาทำ�ไมตั้งนาน” แม่ก็ ต้องอธิบายให้ฟังว่า “คนไทยนะลูก ถึงเราจะไม่รู้จักกันดี แต่ถ้าเขามี ปัญหา หรือมีคำ�ถาม ถ้าเราช่วยได้ เราก็ต้องช่วย” สิ่งเหล่านี้ ลูกได้รู้ ได้เห็น ได้เรียนรู้จากแม่ คน ไทยมีน้ำ�ใจ และมีไมตรีต่อกัน เช่นเดียวกันกับสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ดีงาม ลูกของแม่ก็ได้รับรู้และเรียนรู้ แต่ลูกฉลาด ทีจ่ ะเลือกกรับแต่สงิ่ ทีด่ ี แม่พดู ได้เต็มปากเต็มคำ� เพราะ เมื่อลูกได้รับตำ�แหน่งต้องไปทำ�งานที่เมืองไทย เพื่อน ร่วมงานที่บริษัทฯของลูกกล่าวชมลูกว่า “ลู ก แม่ เ ข้ า กั บ คนไทยได้ ดี เพราะลู ก รู้ จั ก วัฒนธรรม และความคิดของคนไทย ครั้นพอลูกอยู่ใน แวดวงของฝรั่ง ลูกสามารถทำ�ตัวให้เข้ากับคนในสังคม ตะวันตกได้เป็นอย่างดี” แม่มิได้ภาคภูมิใจความเป็นไทยในตัวลูกเท่านั้น แต่แม่ภาคภูมิใจที่แม่เกิดมาเป็นคนไทย มีวัฒนธรรมที่ ดีงามของไทย และแม่ได้ถ่ายทอดสิ่งดีๆ ของไทย ไม่

ว่าจะเป็นภาษาไทย วิธคี ดิ อย่างไทย และวัฒนธรรมไทย ให้กับลูก แม่ภูมิใจที่ลูกนำ�ส่วนที่ดีของวัฒนธรรมไทย มา ปรับเข้ากับวัฒนธรรมตะวันตก ทำ�ให้ลูกได้รับการ ยอมรับจากทัง้ ชาวไทย และชาวตะวันตก ทำ�ให้ลกู มีหน้า ทีก่ ารงานทีด่ ี ประสบความสำ�เร็จตามวัย และได้มโี อกาส พบคู่ครองที่ลูกรักและเข้าใจ แม่ อ ยากจะพู ด ว่ า การที่ ลู ก เรี ย นรู้ ภ าษาและ วัฒนธรรมของแม่ ทำ�ให้ลูกปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี สามารถเข้าใจ ยอมรับผู้คนในสังคมที่ลูกอยู่ร่วมด้วย โดยไร้ซึ่งความขัดแย้งใดๆ มาถึงวันนี้ วันที่แม่ยังพอที่จะทำ�อะไรต่อมิอะไรที่ จะเป็นส่วนหนึง่ ทีช่ ว่ ยให้แม่หรือพ่อ คนไทยทุกคนทีอ่ ยู่ ในต่ า งแดน ได้ เ ห็ น ความสำ � คั ญ ของภาษาไทยและ วัฒนธรรมไทย ต่างหันมาช่วยกันถ่ายทอดให้แก่ลูก หลานไทยของเรา เพือ่ ภาษาไทย วัฒนธรรมไทย จะยืน หยัด เป็นที่ยอมรับของชาวโลก แม่เต็มใจที่จะทำ�เช่น เดียวกันกับที่แม่ได้ทำ�ให้ลูกมาตลอดระยะเวลากว่า สามสิบปี เท่ากับอายุของลูกแม่ แม่หวังว่าลูกจะพยายาม นำ�สิง่ ดีๆ ทีเ่ ป็นไทยๆ ไปถ่ายทอดให้กบั เลือดเนือ้ เชือ้ ไข ของลูก แต่ต้องไม่ลืมว่า ลูกจะทำ�ได้ดีจนได้รับความ สำ�เร็จได้นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือความรัก ความอดทน และความเข้าใจบนพืน้ ฐานแห่งการศรัทธามัน่ ในพระเจ้า จากแม่ของลูก

11


อ่านจนากิสการัยโพคสตน์ท่าเมื่อถ่ายรูป ท่ายิ้มเต็มที่

เมื่อใดก็ตามที่จะมีการถ่ายรูป แล้วคุณสังเกตได้ว่า ทุกครั้งคุณมักจะโพสต์ท่าโดยการยิ้มเต็มที่เสมอ แสดงว่าคุณเป็นคนที่มีอารมณ์แจ่มใส สดชื่นดีเสมอ ไม่ใช่คนที่จะมีความลับปิดบังอำ�พรางใคร ในทางตรง ข้ามค่อนข้างจะเปิดเผยมากและมีน้ำ�ใจไมตรีดี มีมนุษยสัมพันธ์ดีพอ

ท่าไม่ยิ้ม

ลองสังเกตดูในรูปภาพแต่ละภาพที่คุณมีไว้ ถ้าสังเกต ว่าตัวคุณเองหรือใครก็ตามที่มีรูปอย่างน้อย 3 รูป ในจำ�นวน 5 รูป นั้นมักจะตีสีหน้าเฉย ไม่ยิ้มแย้ม ใดๆ เลย แสดงว่าคนผู้นั้นจริงๆแล้วภายในเป็นคน ขี้อาย แต่ไม่ได้แสดงออกมาที่บุคลิกภายนอก เป็นคน ที่ค่อนข้างจะเก็บและปิดบังตัวเองไม่ค่อยให้ใครได้รู้จัก แต่ก็ไม่ใช่คนที่คิดร้ายหรือคิดจะเบียดเบียนใคร ส่วนใหญ่แล้วคนที่มักไม่ยิ้มเวลาถ่ายรูป เป็นคนที่ ค่อนข้างเอาจริงเอาจังกับชีวิต มีความเป็นมิตรไมตรีดี เพียงแต่ไม่ต้องการให้ใครมารู้จักตัวตนที่แท้จริงของ ตนมากมายนัก

ท่าหันข้าง

ถ้าท่าประจำ�ในการถ่ายรูปของคุณเป็นท่าหันข้าง แสดงว่าตัวคุณนั้นเป็นคนที่มีความขยันขันแข็ง และ ทุ่มเทให้กับชีวิตการงานอย่างสูง จิตใจของคุณหนัก แน่นเด็ดเดี่ยวไม่โลเลหวั่นไหวง่าย รู้จักหาเงิน รู้จัก ใช้จ่ายและเก็บออม มีคารมคมคายเกลี้ยกล่อมคนได้ ดีทีเดียว

12


ท่ายิ้มแค่มุมปาก

ลักษณะการโพสท์ท่าถ่ายรูปครั้งใด หากใครจะ ต้องมีท่าประจำ�คือเพียงแค่ยิ้มที่มุมปากทุกครั้ง บ่งบอกให้รู้ได้ว่าคนผู้นั้นจริงๆแล้วเป็นคนที่ชอบ ปิดบังความรู้สึกที่แท้ๆของตนเอง เป็นคนที่ เข้าใจยาก แต่ก็ฉลาดเฉลียว มีความ ทะเยอทะยานสูง มิใช่คนที่อ่อนไหวเพ้อฝัน

ท่านั่งไขว่ห้าง

ถ้าใครก็ตามที่ชอบโพสท์ท่าถ่ายรูปบ่อยๆครั้งเป็นท่านั่ง ไขว่ห้าง แสดงว่าคนผู้นั้นเป็นคนที่รักเกียรติรัก ศักดิ์ศรีค่อนข้างสูง มีความหยิ่งทะนงในตัวเองไม่น้อย แต่ก็เป็นคนที่มีจิตใจงาม ชอบช่วยเหลือเผื่อแผ่คนอื่น เป็นคนช่างคิดช่างตรอง ละเอียดรอบคอบแต่คนผู้อื่น นั้นจะเข้าใจหรือรู้จักตัวตนที่แท้จริงของเขาผู้นั้นได้ยาก

ท่าจับคาง

คนที่โพสท์ท่าถ่ายรูปโดยการยกมือข้างใดข้างหนึ่งขึ้น มาแตะหรือจับปลายคางตัวเองไว้ แสดงว่าคนผู้นั้นไม่ ค่อยจะชอบทุ่มเทกายใจให้กับการทำ�งานมากนัก เป็น คนชอบสบาย รักอิสระ จิตใจโลเลหวั่นไหวง่าย และ เป็นคนฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายในการใช้เงิน

ท่ากอดอก

ถ้าคุณชอบกอดอกเวลาถ่ายรูป แสดงว่าตัวคุณนั้นเป็นคนที่ขี้เบื่อง่าย แต่ในเรื่องของความรักแล้วเป็นคนค่อน ข้างจะมั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ ในเรื่องความคิดอ่านนั้นค่อนข้างละเอียดลึกซึ้ง มีความรอบคอบ รัก อิสระ ชอบเที่ยวผจญภัยและใช้เงินเก่ง ที่มา อ่านคนจากกิริยาท่าทาง ของ เกรียงชัย เหรียญวิริยะกุล สำ�นักพิมพ์ไพลิน


ข่าวจากเอพี

เขียนโดย เดนิส เกรย์ / แปลโดย โสภาพร ควร์ซ หากท่านยังมองหาความความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องน้ำ�ท่วมประเทศไทย นี่คือการรายงานข่าวโดยสำ�นักข่าว AP.Associated -- กรุงเทพฯ (AP) ขณะที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ซึ่ ง ทรง ประชวรอยู่ ได้ทรงสำ�รวจภาพจากหน้าต่างห้องพักรักษา พระองค์ที่ชั้น ๑๖ ของโรงพยาบาลศิริราชนั้น พระองค์ ซึ่งทรงมีพระชันษา ๘๓ ปีก็ได้ทรงเห็นสิ่งซึ่งท้าทาย พระองค์ให้ทรงต่อสู้มาเกือบตลอดพระชนม์ชีพ “น้ำ�” ที่กำ�ลังเอ่อล้อมสูงขึ้นรอบๆพระองค์ มวลน้ำ�เหล่านี้ได้ ไหลผ่านไปทัว่ กรุงเทพฯ และไหลลงไปสูแ่ ม่น�้ำ เจ้าพระยา “ที่หมายความว่าแม่น้ำ�ของกษัตริย์” ไหลผ่านหน้าโรง พยาบาลศิริราช ที่ทรงพำ�นักรักษาพระวรกายอยู่ตลอด ช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา น้ำ�ท่วมครั้งนี้ เป็นการท่วมร้ายแรงที่สุดในรอบ ครึ่งศตวรรษ มันเป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงพยายาม ป้องกันไม่ให้เกิดอย่างสุดพระกำ�ลัง และอาจจะมากกว่า ใครทัง้ หมด พระองค์ทรงเคยให้สญ ั ญาณเตือน หากไม่ ได้หมายความว่าจะมีคนฟังเสมอไป ทรงไม่เห็นด้วยกับ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทขี่ วางทางน้�ำ และได้ทรงคิด วิธีการต่างๆ มาโดยตลอด ที่จะบรรเทาความเสียหาย 14

จากมวลน้ำ � ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น และลดลงตามฤดู ข องมรสุ ม ทุกๆ ปี อุทกภัยทีไ่ ด้คร่าชีวติ ผูค้ นไปกว่า ๔๐๐ ชีวติ และ ทำ�ให้คนกว่า ๑๑๐,๐๐๐ คนต้องอพยพย้ายถิน่ ฐานครัง้ นี้ เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงผลลัพท์ในการที่เพิกเฉย ต่อการเตือนของพระองค์ อีกทัง้ ยังแสดงให้เห็นว่าความ สามารถของมนุษย์นั้นมีจำ�กัดในการที่จะควบคุมพลัง ธรรมชาติอันมหาศาล บรรดานักวิเคราะห์ยังตั้งข้อ สังเกตด้วยว่า ในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนระดับนี้ ไม่มี บุ ค คลหนึ่ ง บุ ค คลใดที่ จ ะสามารถทำ �ได้ ดี เ ท่ า กั บ การ ประสานงานที่ดี มีการวางแผนอย่างเป็นระบบโดย ผู้ เ ชี่ ย วชาญที่ มี อำ � นาจสั่ ง การ ซึ่ ง สิ่ ง นี้ ป ระเทศไทย ขาดแคลนอย่างมาก แม้ ก ระทั่ งในปั จ จุ บั น นี้ ขณะที่ ก รุ ง เทพและ ปริมณฑลกำ�ลังต่อสูก้ บั มวลน้�ำ ทีก่ �ำ ลังถาโถมเข้ามาอย่าง หนัก พระมหากษัตริย์ผู้ซึ่งทรงครองราชย์มายาวนานที่ สุดในโลก ก็ยงั ทรงให้ค�ำ แนะนำ�ว่าควรจะจัดการให้มวล


น้ำ�ที่สะสมจากที่สูงในภาคเหนือเป็นจำ�นวนมากอย่างที่ ไม่เคยมีมาก่อนนี้ ให้ไปลงทะเลด้วยช่องทางใดจึงจะดี ทีส่ ดุ แต่สงิ่ ทีต่ า่ งไปจากอดีตก็คอื พระองค์กษัตริยผ์ อู้ ยู่ ใต้รัฐธรรมนูญแต่ยังคงมีอำ�นาจไม่สามารถจะเข้าไป ตรวจสอบ หรือโน้มน้าวให้ข้าราชการที่ไร้ประสิทธิภาพ น่าตำ�หนิ ลงมือทำ�อะไรได้ เหมือนเป็นความเชื่อมาแต่เดิมว่าหน้าที่ของการ ควบคุมดูแลน้ำ�เป็นของพระมหากษัตริย์ โครงการ หลวงแรกๆของกษัตริย์ภูมิพลก็คือ การสร้างที่เก็บน้ำ� ในปี ๑๙๖๓ ทีห่ วั หิน เพือ่ ทีจ่ ะกักน้�ำ สะอาดไว้ และป้อง การไม่ให้น�้ำ เค็มเข้ามา ทุกวันนีโ้ ครงการหลวงเหล่านีไ้ ด้ ขยายตัวไปจนมีจ�ำ นวนมากกว่า ๔,๓๐๐ โครงการ และ กว่า ๔๐ เปอร์เซนต์เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับน้ำ� “ทั้งพระราชดำ�ริ ข้อเสนอแนะ และการลงพระ ปรมาภิไธยว่าเห็นชอบด้วยทั้งทางตรงและทางอ้อมของ พระองค์ สามารถมองเห็นได้ในนโยบายและการบริหาร จัดการทรัพยากรน้�ำ ของประเทศไทยในช่วง ๔๐ ปีทผี่ า่ น มาเป็นอย่างน้อย” เดวิด เบลค ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ�ที่มหาวิทยาลัย อีสต์ อังเกลีย ที่อังกฤษ และศึกษาประเด็นเรื่องน้ำ�ใน ประเทศไทยกล่าว “แม้ว่าจะไม่เคยทรงได้รับการศึกษาอย่างเป็น ทางการในเรื่องนี้ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ ซึ่งประสูติในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็แสดงให้เห็นถึง ความสามารถในด้านวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ ซึ่งใน ช่วงต้นทศวรรษ ๑๙๙๐ นัน้ ได้ทรงหันไปหาเมืองหลวง ทีเ่ ปราะบางอย่างกรุงเทพฯ ในแง่หนึง่ ทรงเป็นผูท้ ที่ �ำ ให้ งานเลี้ยงหมดสนุก เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงของการเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของเอเชีย แต่พระองค์ กลับพูดถึงเรื่องน้ำ�ท่วม ปัญหารถติด และหายนะอื่นๆ” โดมินิค เฟาล์เดอร์ บรรณาธิการอาวุโสของ

หนังสือเกีย่ วกับพระองค์ทกี่ �ำ ลังจะได้รบั การตีพมิ พ์บอก “การมองโลกในแง่รา้ ยและคำ�เตือน ไม่ใช่สงิ่ ทีค่ น จำ�นวนมากต้องการได้ยิน” เขาเสริมด้วยว่า ”พระองค์มุ่งความสนใจไปที่การ แก้ปญ ั หา มากกว่าการทะเลาะเบาะแว้งด้านการเมือง โต้ กันไปโต้กันมาที่เราเห็นกันอยู่ในขณะนี้” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรียกแผนการณ์ ที่ชาญฉลาดของพระองค์ว่ายุทธศาสตร์ “แก้มลิง” โดย ได้ชื่อมาจากลิงที่ทรงเลี้ยงไว้ในวัยเยาว์ ซึ่งจะสวาปาม กล้วยเข้าไปจำ�นวนมาก แล้วแบ่งบางส่วนไว้ในกระพุ้ง แก้ม เพื่อที่จะค่อยๆ กลืนทีหลัง มวลน้ำ�ที่ไหลเร่งลงมา จากภาคเหนือในทุกๆ ปี จะถูกผันให้เข้าไปใน “แก้ม” ในระหว่างทางที่จะลงมาถึงกรุงเทพฯ แล้วจะถูกปล่อย ลงสู่ทะเล หรือนำ�ไปใช้ในการชลประทาน แผนการณ์นี้

ย่อมหมายถึงการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ� เช่นเดียวกับ เขื่อน คลอง และประตูระบายน้ำ� พร้อมกับการปรับปรุงระบบระบายน้ำ�ในเมือง ยุทธศาสตร์แก้มลิงได้ชื่อว่าเป็นตัวช่วยบรรเทาน้ำ�ท่วม ในช่วงทศวรรษ ๑๙๙๐ และในทศววรษที่ผ่านมา “เราต้องใช้ความโกรธเกรีย้ วของธรรมชาติมาเป็น ครูของเรา” พระองค์เคยตรัสไว้ในปี ๑๙๙๐ 15


“หากเราสามารถหาวิธกี ารทีจ่ ะเก็บน้ำ�เหล่านีไ้ ว้ใน ที่เก็บ และเอามาใช้ในยามที่จำ�เป็นได้ มันก็จะเป็นโชค ๒ ชั้น” อย่างไรก็ดี เบลคบอกว่ายุทธศาสตร์นหี้ มายความ ว่าชุมชนรอบๆ กรุงเทพฯจะต้องเสียสละถูกน้ำ�ท่วม เพือ่ ที่จะรักษาใจกลางของมหานครแห่งนี้ไว้ – ซึ่งเป็นสิ่งที่ กำ�ลังเกิดขึน้ อยูใ่ นขณะนี้ และข้าราชการทีใ่ ห้ความสนใจ อย่างออกนอกหน้าในตอนนัน้ ก็กลับผันน้�ำ เข้าไปยังพืน้ ที่ การเกษตร แทนที่จะผันเข้าที่กักเก็บน้ำ� ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา พื้นที่ที่น่าจะนำ�มาทำ�เป็นที่กักเก็บน้ำ�ทาง ตะวั น ตกของกรุ ง เทพฯ ก็ ถู ก สร้ า งเป็ น เขตนิ ค ม อุตสาหกรรม โครงการอสังหาริมทรัพย์ สนามกอล์ฟ และสนามบินนานาชาติ “สาเหตุใหญ่ของน้ำ�ท่วมก็คือ ข้อเท็จจริงที่ว่า เรา 16

สร้างบ้านบนที่ลุ่มน้ำ� ประเด็นของข้าพเจ้าคือว่า มนุษย์ ได้เปลี่ยนแปลงธรรมชาติไปมากจากสิ่งที่มันเคยเป็น” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยตรัสไว้ ย้อนกลับไปได้ถึงปี ๑๙๗๑ (พ.ศ.๒๕๑๔) พระองค์ได้เคยตรัสเตือนไว้แล้วว่าการตัดไม้ทำ�ลายป่า ทางภาคเหนือนัน้ จะทำ�ให้เกิดน้�ำ ท่วมต่อมาได้ในอนาคต ทุกวันนี้ การตัดไม้ทำ�ลายป่าซึ่งลดความสามารถในการ อุม้ น้�ำ ของดิน ได้รบั การยอมรับว่ามีสว่ นช่วยให้เกิดภาวะ น้ำ�ท่วมจริง ในช่วง ๒๕ ปีต่อมา พระองค์เสด็จไปเยือนทุก ภาคของประเทศ ด้วยตั้งพระประสงค์ที่จะใช้ประโยชน์ และจัดการกับน้ำ� ตั้งแต่ทำ�พื้นที่น้ำ�ขังในภาคใต้ให้แห้ง ไปจนถึ ง ออกแบบการชลประทานในพื้ น ที่ บ นภู เ ขา สำ�หรับชาวเขาทางเหลือ พระองค์สนับสนุนให้มกี ารสร้าง


เขื่อนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศหลายๆ แห่ง แต่ละแห่งก็ มีชอื่ ของสมาชิกในพระราชวงศ์ ซึง่ รวมไปถึงตัวพระองค์ เองด้วย แม้ว่า ในระยะหลัง จะทรงยอมรับว่าเขื่อน ขนาดใหญ่กม็ อี นั ตรายเช่นกัน และหันมาโปรดการสร้าง เขือ่ นและทำ�นบกัน้ น้�ำ ขนาดเล็กแทน พระองค์พยายาม ขจัดปัญหาภัยแล้งด้วยการทำ�ฝนเทียม - การใช้เครื่อง บิน บินไปโปรยสารเคมีที่กระตุ้นให้เมฆกลั่นตัวลงมา เป็นน้ำ� ซึ่งนับเป็นความพยายามที่ได้ผลบ้าง ไม่ได้บ้าง

ไม่ใช่ว่าทุกโครงการของพระองค์จะใช้การได้ดี เบลคบอกว่า ในหลายๆ กรณี นวัตกรรมหรือหลักการ ของพระองค์ไม่ได้ถูกนำ�ไปปฏิบัติใช้อย่างพอดี ตัวพระ องค์เองเคยตรัสไว้วา่ ทรงเพียงแต่เสนอ “แนวทางทีพ่ อ เป็นไปได้ แต่การนำ�ไปปฏิบัติใช้ต้องขึ้นอยู่กลับผู้ที่อยู่ ในอำ�นาจ หากพวกเขาตีความผิด หรือบริหารงานผิด แนวทางพวกนี้ก็ล้มเหลว” ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งดูแลโครงการหลวงต่างๆ บอกว่า ในบรรดางาน สำ�คัญๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำ�นั้น คือ การมุง่ เน้นไปทีก่ ารจัดการน้�ำ อย่างยัง่ ยืน พระองค์ได้ใช้ ตำ�แหน่งของพระองค์เพือ่ ทีจ่ ะนำ�ประเด็นนีม้ าอยูใ่ นวาระ ต้นๆ ของชาติ นวัตกรรมบางอย่างของพระองค์นนั้ เกือบจะเรียก ได้ว่าแปลกประหลาด เช่น เพื่อที่จะช่วยกำ�จัดแหล่งน้ำ� เน่าขังในใจกลางกรุงเทพฯ พระองค์ได้คิดประดิษฐ์ เครื่องกรองอย่างง่ายๆ ที่ทำ�จากผักตบชวา ซึ่งดูดซึม ของเสียทีเ่ ป็นพิษได้ดี ผักตบชวาทีอ่ มิ่ ตัวแล้วก็จะถูกนำ� ไปกำ�จัดพิษและใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือนำ�ไปสานเป็นงาน ฝีมอื “กรุงเทพฯคือห้องน้�ำ ทีไ่ ม่มชี กั โครก” พระองค์เคย ตรัสไว้ และอธิบายถึงเมืองหลวงที่ก�ำ ลังขยายตัวอย่าง รวดเร็ว ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองที่คลองมากมาย แต่ ปัจจุบันกลับกลายเป็นมีแต่น้ำ�เน่า พระองค์ยังได้คิด ประดิษฐ์กงั หันน้�ำ ราคาไม่แพงเพือ่ ทีจ่ ะเพิม่ อากาศให้กบั น้ำ� หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า กังหันน้ำ�ชัยพัฒนา ซึ่งได้รับ การจดสิ ท ธิ บั ต รระหว่ า งประเทศ นั บ เป็ น กษั ต ริ ย์ พระองค์แรกที่มีสิทธิบัตรเป็นของตัวเอง

17


โดย ชุมศรี อาร์โนลด์

รินใจใส่อาหาร ปรุงแต่งอาหาร ปรุงแต่งใจ

18

ตอนเป็นเด็ก เคยชอบเล่นขายหม้อข้าวหม้อแกง กับเพื่อนๆ มีความรู้สึกว่ามันสนุกเหลือเกิน โดยเฉพาะ เวลาพักเที่ยงหลังกินข้าวกลางวันเสร็จ พวกเราจะวิ่งไป ตามต้นไม้ของโรงเรียน เก็บดอกไม้ใบหญ้าที่ร่วงหล่น อยูต่ ามใต้ตน้ ไม้มาเสียบไม้ (ซึง่ เราเก็บกันไว้หลังกินลูก ชิ้นปิ้งหมดแล้ว) แล้วมาแสร้งทำ�เป็นขายข้าวแกงกัน แม่ฉันเริ่มขายข้าวแกงตั้งแต่ฉันอยู่ ป.๒ หรือ ป.๔ เพราะธุรกิจของพ่อเริ่มไม่ค่อยดี เมื่อตอนเด็กๆ ก็ รู้สึกอายว่าเป็นลูกแม่ค้าขายข้าวแกง เพราะแม่ส่งลูกๆ เรียนโรงเรียนเอกชนซึง่ อยูไ่ ม่ไกลบ้าน เพือ่ นๆทีโ่ รงเรียน ส่วนใหญ่ ก็มาจากครอบครัวที่มีอันจะกินที่จริงฉันก็มี กินไม่เคยขาด แต่ไม่เคยมีของเล่นแพงๆ ตุ๊กตาสวยๆ ไม่เคยได้ไปซัมเมอร์ฮอลิเดย์อย่างเพื่อนๆ ที่ไปฮ่องกง ญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่ง หัวหิน หรือ พัทยา บางแสน (ได้ มาเห็นทะเลตัวเป็นๆ ก็เมื่ออายุ สิบห้าเข้าไปแล้ว ตอน นี้ห้าสิบกว่าเบื่อทะเลแล้วเพราะว่ายน้ำ�ไม่เก่ง อิอิ)


ความรู้สึกของความเป็นเด็กตอนนั้นคือ ทำ�ไมเรา ไม่มีเหมือนที่เพื่อนเรามี นั่นคือความรู้สึกตอนเป็นเด็ก แต่หาได้รู้ใหมว่าพระคุณของแม่ที่กัดฟันส่งให้ลูกได้ เรียนโรงเรียนดีๆ เพือ่ ทีจ่ ะได้มรี ากฺฐานทีด่ ซี งึ่ ลูกของแม่ ทั้ ง ห้ า ก็ ไ ด้ ดี กั น ทุ ก คนจะมากหรื อ น้ อ ยก็ แ ล้ ว แต่ บุญธรรมกรรมแต่ง ที่อารัมภบทมายีดยาวก็เพียงเพื่อจะเกริ่นว่า เมื่อ ยังเด็กฉันอายที่มีแม่เป็นแม่ค้าขายข้าแกง แต่มาบัดนี้ ฉันเปิดร้านขายข้าวแกงซะเอง เพียงแต่หรูหรากว่าของ แม่หน่อยคือ ฉันเปิดร้านข้าวแกงของฉันที่ลอนดอน!!! และลูกฉันก็ไม่เห็นจะอายเลย ลูกแม่ค้าข้าวแกง เมื่อตอนเป็นเด็ก ลูกๆของแม่ที่โตพอใช้งานได้ แล้วจะถูกเรียกมาช่วยกันเตรียมข้าวของเครื่องปรุง ซึ่ง พวกเราเกลียดมากกกกกก แต่กต็ อ้ งทำ�ไม่อย่างนัน้ อาจ จะถูกไม้เรียว งานทีต่ อ้ งทำ�เช่น เด็ดใบกระเพรา โหระพา หั่นมะเขือเปาะแช่น้ำ�เกลือ (มะเขือจะได้ไม่ดำ�) บุบ (ไม่ใช่ทุบ) มะเขือพวง ซึ่งเวลาแกงแล้ว น้ำ�แกงจะได้ เข้าเนือ้ จะได้ไม่ขนื่ ไม่ขม แล้วไอ้งานพวกนีม้ นั ทำ�ให้นวิ้ และเล็บดำ�น่าเกลียดไปหลายวัน แม่มผี ชู้ ว่ ยสองคน แต่ปางก่อนแม่ชอบตำ�น้�ำ พริก แกงเองก็จะมีครกหินใหญ่ สี่อัน แม่จะเป็นคนผสม เครื่องแกง แล้วเอาใส่ครกให้เราตำ� (เราคือ ผู้ช่วยสอง คน พี่สาวคนโต และฉัน) ฉันก็จะตำ�ๆๆๆ แบบเอาเป็น เอาตายเพื่อจะได้เสร็จเร็วๆ จะหกเลอะเทอะยังไง ก็ไม่ ได้สนใจ แม่ตอ้ งเดินมาเบิด๊ กะโหลกหนึง่ ที บอกว่าเสียง ตำ�น้ำ�พริกอย่างนี้ ชาตินี้คงหา ผอ อัว (หมายถึงสามี) ไม่ได้ (โชคดีมผี ชู้ ายตาถึง แต่โชคร้ายมาขอฉันแต่งงาน) ต่อมาแม่พฒ ั นาขึน้ ซือ้ เครือ่ งบดเครือ่ งแกง แบบ หมุนด้วยมือ ตัวเครือ่ งนีม้ ที หี่ นีบกับโต๊ะให้แน่น เอาส่วน

ผสมของเครือ่ งแกงทัง้ หมดใส่เข้าไป แล้วก็หมุนก้าน ให้ ตัวเกลียวข้างในบดเครื่องแกง แต่ข้อเสียคือ เมื่อบด แล้วมันยังหยาบอยู่ ก็ต้องตักเครื่องที่บดแล้ว กลับ เข้าไปบดใหม่หลายรอบ กว่าจะได้ที่ แถมบางที่ก็ต้อง เอากลับลงครกไปตำ�ใหม่เพื่อจะได้ท�ำ ให้มันละเอียดขึ้น แต่ก็ยังง่ายกว่าตำ�เครื่องแกงสดๆ ตั้งแต่ต้น อย่างน้อย เครื่องบดก็ ช่วยทำ�ให้เครือ่ งแกงละเอียดลงเยอะ ทำ�ให้ต�ำ ง่าย และเร็วขึน้ ต่อมาแม่กพ็ ฒ ั นาขึน้ ไปอีก คือซือ้ เครือ่ งแกง สำ�เร็จรูป จากเจ้าที่แม่เชื่อใจในตลาด ทำ�ให้พวกเรา สบายขึ้นอีกเยอะ เพราะข้าวแกง ของแม่ไม่ได้ขาย แค่ ไม่กี่อย่าง แม่ทำ�ประมาณเกือบสามสิบ หรือบางทีก็กว่า ทั้งน้ำ�พริกผักจิ้ม แกงนานาชนิด แกงจืด ผัดผัก ผัด เผ็ด แม่จะตืน่ ตัง้ แต่ตสี ลี่ งมาเตรียมกับข้าวทีแ่ ม่รวนไว้ ตั้งแต่ตอนเย็นของวันก่อนเพราะอาหารที่ขายมีหลาย อย่างมากก็ต้องทำ�ล่วงหน้า คือรวนอาหารไว้ก่อนแต่มา ทำ�ให้ร้อนและปรุงรสให้เข้าที่ในตอนเช้า ตีห้าเริ่มทยอย กับข้าวออกไปวางที่โต๊ะที่หน้าปากซอย พอใกล้หกโมง เช้าก็จะเริ่มค้าขาย เช้าๆอย่างนี้แม่ยังไม่มีเวลาแต่งตัว สวย ต้องหลังจากลูกค้าเริม่ วายแม่กจ็ ะไปอาบน้�ำ แต่งตัว สวยไปตลาด เพื่อไปซื้อของมาทำ�ขายตอนเย็นอีกรอบ ฉันเคยตามแม่ไปตลาด เพราะจะเป็นโอกาสดีทจี่ ะขอซือ้ ขนมบ้าง เสือ้ ตัวใหม่บา้ ง แล้วแต่วา่ ฉันจะทำ�ตัวดี หรือ ว่าแม่จะอารมณ์ดี จำ�ได้ว่าก่อนที่แม่จะลุกขึ้นมาขายข้าวแกงนั้นที่ บ้านเป็นอู่รถสองแถว และตุ๊กๆ แม่มีหน้าที่เลี้ยงลูกสี่ คน (คนที่ห้ายังไม่มา) แม่เป็นคนชอบแต่งตัว (ทุกวัน นีแ้ ปดสิบแล้วก็ยงั แต่ตวั สวยอยู่ และใส่เสือ้ ผ้าสีตามวัน เปํะ ถ้านึกไม่ออกว่าวันนีว้ นั อะไรให้ดสู เี สือ้ ทีแ่ ม่ใส่) คน แถวบ้านชอบเรียกแม่ว่าคุณนาย วันหนึ่งภรรยา ของ 19


คนเช่ารถคนนึง มาขอใช้ที่หน้าอู่เพื่อขายข้าวแกง เธอ ทำ�อาหารอร่อยมาก ต้องแอบบอกว่าอร่อยกว่าของแม่ ฉันอีก และหม้อไหของเธอก็วาววับสอาดเอีย่ ม ทุกหม้อ ฝาปิดมิดชิด พอลูกค้ามาเปิดดูแต่ละหม้อว่ามีแกงอะไร บ้าง หน้าของเธอก็จะงอยิง่ กว่าตะหลิวทีใ่ ช้ตกั แกงซะอีก ลูกค้าส่วนใหญ่ก็เลยขยาด ไม่กล้าซื้อเพราะไม่กล้าเปิด ฝาหม้อ (แกง)ของเธอ แกงเธอเหลือเยอะทุกวัน ขาย ได้ไม่นานเธอเลยถอย แถมหมิ่นว่า ถิ่นฐานแถวนั้นไม่ ดีพอสำ�หรับฝีมือเธอ แม่ฉันเลยเซ้งต่อเครื่องใช้ หม้อ ไห ของเธอและ เริม่ ต้นทำ�ข้าวแกงขาย ไม่กอี่ ย่าง หม้อ แกงของแม่เปิดฝาได้ทกุ ใบ แม่จะร้องเชิญชวนคนทีเ่ ดิน ผ่านไปมา ว่า มาชิมแกงฝีมือพี่หน่อยไหมคะ ด้วย หน้าตายิ้มแย้ม เสียงกังวาลสดใส (ไม่เหมือนตอนเอ็ด ตะโลใส่ลูกเลยซักกะนิด) ตั้งแต่นั้นมา แกงแม่ก็ขายดิบขายดี โดยเฉพาะ ตอนเย็น ฉันเองตอนนัน้ ก็โตพอทีจ่ ะช่วยแม่ได้เยอะแล้ว ในเรื่ อ งการตั ก แกงใส่ ถุ ง ขาย เพราะฉั น เป็ น คน คล่องแคล่ว ( และคล่อกเป็นบางครั้ง) พี่สาวฉันเป็น 20

คนอืดอาดชักช้า เพราะอ้วน ส่วนน้องสาวเชือ่ งช้า เพราะ ขี้โรค หน้าที่ช่วยแม่ตอนเย็นก็ตกเป็นของลูกที่อึดทีสุด คือฉัน เลิกเรียนปับ๊ ต้องกลับบ้านทันที ไม่มสี ทิ ธิอ์ อ้ ยอิง่ หลังโรงเรียนเลิกเหมือนคนอื่นเขา ลูกค้ามาซื้อกับข้าว ไม่ได้มาซื้อทีละถุง แต่ซื้อกันคนละหลายๆถุงกลับไปเท ใส่ชามกินได้เลยเพราะอาหารจากที่ร้านก็ร้อนๆอยู่แล้ว ครั้งนึงเคยมีลูกค้าผู้ใหญ่ท่านนึง มาซื้อของตอน ฉันเฝ้าร้านให้แม่ไปอาบน้ำ�แต่งตัวสวย ฉันเป็นคนมือ หนักกว่าแม่ใครๆ ก็รู้ แต่พอฉันตักแกงใส่ถงุ ให้เขา เขา กลับบอกว่าซือ้ กับแม่ได้เยอะกว่านีอ้ กี ฉันเลยเทแกงคืน ใส่หม้อแล้วบอกว่า อย่างงั้นรอซื้อกับแม่ก็แล้วกันนะ คะ!!!! ลูกค้าประจำ�อีกคนเป็นอาซิ้มพูดไทยไม่ค่อยชัด มาซื๊อแกงไก่หน่อไม้ (แม่ฉันซื้อไก่ทั้งตัวและจะใช้ทุก ส่วนของไก่ยกเว้นหัว)ฉันก็เริ่มตักแกงใส่ถุง อาซิ้มก็จะ คอยบงการ “ขอหน่อไม้อกี หน่อย ขอน้ำ�แลงๆ (แดงๆ) หน่อย” ขอจนจะล้นถุง พอดีตักไปตักมา ตีนไก่ลอย ขึน้ มาจากก้นหม้อฉันเลยประชดว่า “ส้นตีนเอาไหมซิ้ม” เขาก็ตอบมาด้วยหน้าตาชื่นบานว่า “ลีๆ (ดีๆ) อั๊วช๊อบ ชอบ” มาบัดนีน้ กึ เสียใจว่าไม่ได้คดิ จดจำ�น้�ำ พริกแกงของ แม่ว่าใส่อะไรบ้าง เพราะมัวแต่ตำ�ๆๆๆ ให้มันเสร็จไวๆ จะได้ไปเล่นกับเพื่อน ก็อย่างว่านะ ยังเด็ก ก็คิดและทำ� อย่างเด็กๆ มาตอนนี้ก็ได้แต่ซื้อน้ำ�พริกแกงสำ�เร็จรูป แล้วเอามาเพิ่ม ข่า ตะไคร้ ให้มันหอมขึ้น ตอนนี้แม่ก็ แก่แล้วไม่ได้ทำ�อาหารมาก ทำ�แต่สิ่งที่แม่ชอบ ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นอาหารสุขภาพสำ�หรับคนสูงวัย แถมลิ้นแม่ก็ อ่อนแอลง รับประทานไม่แซบเหมือนตอนสมัยเป็นสาวๆ มีเพื่อนคนนึงแม่เขาทำ�แกงเขียวหวานอร่อยมาก เลยบอกเพื่อนว่า ขอสูตรน้ำ�พริกแกงหน่อยได้ใหม เขา ก็ใจดีรบี กลับบ้านไปขอแม่เขา แม่เขาตอบว่าดีใจจังทีล่ กู


อยากได้ตอนนี้ จะได้ไม่ต้องมาจุดธูปขอแม่ตอนแม่ไม่ อยู่แล้ว!! เดีย๋ วนีฉ้ นั อายุมากขึน้ เรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ มากขึน้ ข้าว แกงริมถนนกลายเป็นของโปรดของฉันเวลากลับมาเมือง ไทย เพราะแม่คา้ ส่วนใหญ่จะตำ�น้�ำ พริกแกงเอง รสชาติ เลยจัดจ้านถึงใจผู้บริโภคอย่างฉัน ยิ่งแกงไก่สับทั้ง กระดูก ใส่เลือด ใส่เครื่องในไก่ลงไปด้วยแทบจะยอม ท้องแตกตายไปเลย พวกมะเขือหรือ พืชผักสมุนไพร ทั้งหลาย ที่ตอนเด็กๆ เขี่ยออกเสมอ บัดนี้กินเกลี้ยง เพราะกลัวแก่เร็ว ตายเร็ว ทีฉ่ นั ลุกขึน้ มาเขียนหนังสือนี้ เพราะได้แรงบันดาล ใจอย่างมหาศาล จากท่านพระอาจารย์ ท่าน ว. วชิรเมธี ตำ�รากับข้าวฉัน จะเป็นแบบคนที่ไม่เคยทำ�กับข้าวมา ก่อน แต่มาเรียนรู้ที่จะทำ�เพราะแต่งงาน เวลาทำ�กับข้าว แม้จะมือใหม่หัดทำ� แต่เมื่อได้ทำ�ให้คนที่เรารักกิน มัน ก็เลยแอบอร่อยขึ้นมาเอง ฉันไม่อยากให้สามีกินอาหาร ซ้�ำ ซากก็เลยต้องขวนขวายหาอะไรแปลกๆใหม่ๆมาทำ�อยู่ เรื่อยๆ ยี่สิบสามปีผ่านไปก็เลยเชี่ยวชาญขี้นมาโดยไม่รู้ ตัว ฉันได้เรียนรู้อีกอย่างว่า เวลาโกรธ หรือ อารมณ์เสียอย่าทำ�กับข้าวโดยเด็ดขาด เพราะมันจะกิน ไม่ได้ ไม่อร่อย เสียรสชาติ ทั้งๆ ที่เป็นเมนูที่หลับตา ทำ�ก็ยังได้ เวลาจะทำ�กับข้าวฉันจะนึกตลอดเวลาว่า ลูก ชอบนั่น สามีชอบนี่ ความสุขก็บังเกิดทำ�อะไรออกมาก็ อร่อย (เขาบอกนะ ไม่ได้ยอตัวเอง) เพราะจิตเกิดปิติ เวลานึกถึงคนที่เรารักและคิดถึงตำ�ราของฉันเป็นตำ�รา ของคนที่ใช้ชีวิตอยู่เมืองนอก ก็ต้องพึ่งของแห้ง ของ กระป๋องเป็นส่วนใหญ่ ต้องดัดแปลงโน่น นี่ นั่น แทน ของสดที่มีในเมืองไทยแต่หาไม่ได้ในต่างแดน อาศัยที่ ฉันเคยทำ�งานในร้านอาหารในลอนดอนมาก่อน เวลา ติดขัดอะไรก็วิ่งไปถามพ่อครัวที่ร้านที่เคยทำ�ได้เสมอ ยิ่งเดี๋ยวนี้มีร้านเป็นของตัวเอง ยิ่งสบายเลยเพราะมีพ่อ

ครัวเก่งอยูใ่ นร้านหลายคน และมาปัจจุบนั นี้ อาหารไทย บูมมากในอังกฤษ ร้านอาหารไทยผุดขึ้นมาเหมือนดอก เห็ด เอาแค่ในลอนดอนก็ปาเข้าไปกว่าหกร้อยร้านแล้ว ของสดจากเมืองไทยเลยมีเข้ามาขายมากมาย จำ�ได้ว่าเมื่อตอนมาใหม่ๆ ถั่วงอกยังหาไม่ได้เลย ในซุบเปอร์ อยากกินจริงๆต้องนั่งรถไฟไปโซโห อีก หลายปีผ่านไปซุปเปอร์พัฒนาขึ้น มีตะไคร้มาขาย แต่ ฉันยืนดูแล้วน้ำ�ตาจะไหล เพราะเขาตัดโคนตะไคร้ที่เรา ใช้ทิ้งและเอาปลายที่เราทิ้งมาแพ็คขาย!!!! แต่นั่นก็สิบ กว่าปีแล้วนะ

21


พระไพศาล วิสาโล

ปฏิบัติธรรม

ไม่มีเวลา

เมือ่ ครัง้ ยังเป็นพระหนุม่ หลวงพ่อชา สุภทั โทได้ใช้เวลาหลายปีในการ เส​าะหาครูบาอาจารย์ ผู้รู้แจ้งในธร​รม ท่านเคยเดินธุดงค์จากลพบุรีไปยัง​ นครพนมเพือ่ ศึกษาธรรมจากหลวงปูม่ นั่ ภูรทิ ตั โต แม้มเี วลาฟังธรรมโอวาท จากท่านเพียงแค่ ๓ วัน แต่ก็บังเกิดความอิ่มเอิบในธรรม​อย่างยิ่ง มีกำ�ลัง ใจในการปฏิบัติอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ในพรรษาที่ ๙ ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่กินรี จันทิโย ที่ นครพนม หลวงปู่กินรีเป็นพระวิปัสสนาจารย์​ซึ่งเปี่ยมด้วยภูมิธรรมและมี ประ​สบการณ์การภาวนาตามป่าเขาอย่างโ​ชกโชน เมือ่ ท่านชราภาพได้มาเป็น หลักเป็นประธาน ณ วัดป่าหนองฮี ในพรรษานั้นพระภิกษุชาทำ�ความเพีย​ รอย่างไม่ลดละ เดินจงกรมทั้ง วันทั้งคืน โดยไม่ระย่อต่อแดดฝนหรืออุปสรรค​ใดๆ จนพื้นดินเป็น ร่อง ลึก แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังความสงสัยแ​ก่ท่านมากก็คือ หลวงปู่กินรีนั้นกลับไม่ ค่อยเดิน​ จงกรมนัง่ สมาธิ วันหนึง่ ๆ ท่านเห็นหลวงปูเ่ ดินเพียงไม่กเ​ี่ ทีย่ ว เวลา นอกนั้นท่านทำ�กิจอื่น เช่น เย็บผ้าปะจีวร ดูท่านมีงานจิปาถะทำ�ทั้งวัน เมื่อเห็นเช่นนี้พระภิกษุชาจึงคิดในใจว่า “ครูบาอาจารย์จะไปถึงไหน กัน เดินจงกรมก็ไม่เดิน นั่งสมาธินานๆ ก็ไม่เคยนั่ง คอยแต่ทำ�นั่นทำ�นี่ ตลอดทั้งวัน แต่เรานี่ปฏิบัติไม่หยุดเลย ถึงขนาดนั้นก็ยังไม่รู้ไม่เห็นอ​ะไร ส่วนหลวงปู่ปฏิบัติแค่นั้นจะเห็น​ อะไร” 22


แต่หลังจากที่ได้อยู่ปฏิบัติกับ​หลวงปู่นานๆ และ ได้ฟังธรรมอันลุ่มลึกจากท่าน​ พระภิกษุชาก็รู้ว่าเป็น ความเขลา​ของท่านเองที่คิดเช่นนั้น ท่านพูดถึงบทเรียน ที่ท่านได้จาก​ประสบการณ์ครั้งนั้นว่า “เรามันคิดผิด หลวงปู่ท่านรู้อะไรๆ มากกว่าเรา เสียอีก คำ�เตือนของท่านสั้นๆ และไม่ค่อยมีให้ฟังบ่อย นัก เป็นสิ่งที่ลุ่มลึก แฝงไว้ด้วยปัญญาอันแยบคาย ความคิดของครูบาอาจารย์กว้างไกล​เกินปัญญาเราเป็น ไหนๆ ตัวแท้ของการปฏิบัติคือความพากเ​พียร กำ�จัด อาสวกิเลสภายในใจ ไม่ใช่ถือเอากิริยาอาการภายนอก ข​องครูบาอาจารย์เป็นเกณฑ์” ท่านมาได้ตระหนักชัดอีกครั้งว่า​การปฏิบัติธรรม นั้นไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ แต่อยู่ที่การวางใจให้ถูกต้อง ไม่ ว่าทำ�อะไร ก็สามารถเป็นการภาวนาได้ คราวหนึ่งพระภิกษุชานั่งปะชุนจี​วรที่ขาดวิ่น ใจ นั้นนึกถึงการภาวนาอยู่ตลอดเว​ลา อยากรีบปะชุนให้ เสร็จเร็วๆ เพื่อจะได้ไปภาวนาต่อ ขณะนั้นเองหลวงปู่ กินรีเดินผ่าน​มา สังเกตเห็นอาการของพระหนุ่ม จึงพูด ขึ้นมาว่า “ท่านชา จะรีบร้อนไปทำ�ไมเล่า” “ผมอยากให้เสร็จเร็ว ๆ ครับหลวงปู่” “เสร็จแล้วท่านจะทำ�อะไรล่ะ” “จะไปทำ�อันนั้นอีก” “ถ้าเสร็จอันนั้นแล้ว ท่านจะทำ�อะไรอีกล่ะ” “ผมก็จะทำ�อย่างอื่นอีก” “เมื่อทำ�อย่างอื่นเสร็จแล้ว ท่านจะไปทำ�อะไรอีก เล่า” เมื่อเห็นว่าใจของพระภิกษุชาไม่​ ได้อยู่กับงานที่ กำ�ลังทำ� แต่คิดถึงงานชิ้นอื่นๆ ที่อยู่ข้างหน้า และรีบ ร้อนจะทำ�ให้เสร็จไวๆ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อไปภาวนาต่อ หลวงปู่กินรีจึงเตือนพระหนุ่มว่​า

“ท่านชา ท่านรู้ไหม นั่งเย็บผ้าผืนนี้ก็ภาวนาได้ ท่านดูจิตตัวเองสิว่าเป็นอย่างไ​ร แล้วก็แก้ไขมัน ท่านจะ รีบร้อนไปทำ�ไมเล่า ทำ� อย่างนีเ้ สียหายหมด ความอยาก มันเกิดขึ้นท่วมหัว ท่านยังไม่รู้เรื่องของตนอีก” คำ�พูดของหลวงปูก่ นิ รีกระตุกใจขอ​งพระภิกษุชา อย่างแรง ทำ�ให้ท่านได้สติ และเกิดความเข้าใจชัดเจน ว่า ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ทำ�อะไร ก็ภาวนาได้ทั้งนั้น ขอให้ หมั่นดูใจของตนอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความรู้สึกตัวทั่ว พร้อม นี้เป็นบทเรียนที่ประทับใจท่านม​าก และถือเป็น หลักปฏิบัติของท่านตล​อดมา ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยเมื่อ​ท่านได้กลายเป็น พระวิปัสสนาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ หากฆราวาสคนใดบอก ท่านว่า ไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม ท่านก็จะถามกลับไปว่า “แล้วมีเวลาหายใจหรือเปล่าล่ะ”

23


ขึ้ น เครื่ อ งบิ น

นั่งตรงไหน

ปลอดภัยกว่า

โดย จ้ำ�ม่ำ�

24

อุบัติเหตุเครื่องบินแต่ละครั้งนั้นไม่ว่าจะมีผู้รอดชีวิตมากน้อย แค่ไหน ก็ล้วนสะเทือนขวัญผู้คนไม่นอ้ ยโดยเฉพาะพวกเราที่จะต้อง ขึน้ เครือ่ งกลับเมืองไทยแน่ๆ ทุกครัง้ ทีม่ ผี รู้ อดชีวติ ก็มกั จะถามไถ่กนั เสมอว่า นั่งตรงไหน รอดมาได้อย่างไร และส่วนไหนของเครื่องบิน กันแน่ที่จะปลอดภัยที่สุด หากต้องเผชิญกับอุบตั ภิ ยั ต่างๆ “นัง่ ตรงไหนก็ไม่ปลอดภัยทัง้ นัน้ ” หลายๆ ความเห็นอาจจะคิดเช่นนี้ หรือไม่ก็ “แล้วแต่วา่ อุบตั เิ หตุ จะเกิดตรงไหน” นี่ก็พิจารณาตามสถานการณ์ นิตยสารป็อบปูลา มาแคนนิกส์ (The Popular Mechanics) เคยวิจัยโดยการวิเคราะห์ทางสถิติไว้ว่าที่นั่งบนเครื่องบิน นั่ง ด้านท้ายมักปลอดภัยกว่า เนือ่ งจากการศึกษาสถิตจิ ากอุบตั เิ หตุตา่ งๆ ของสารพัดสายการบินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ชี้ให้เห็นว่ายิ่งอยู่ ห่างจากหัวเครื่องบินเท่าใดก็ยิ่งปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น โดยสถิติ ผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุบนเครื่องบินส่วนใหญ่ 40% มีที่นั่งบริเวณ หางเครื่องบิน นิตยสารดังกล่าวได้นำ�ข้อมูลอุบัตเิ หตุของเครือ่ งบินในสหรัฐฯ จำ�นวน 20 ครั้ง จากสำ�นักงานความปลอดภัยด้านการขนส่งแห่ง สหรัฐฯ (NTSB) ตั้งแต่ปี 2514 จนถึง ส.ค. 2550 อย่างละเอียด ที่ มี ทั้ ง ผู้ ร อดชี วิ ต และเสี ย ชี วิ ต พร้ อ มทั้ ง ข้ อ มู ล แผนผั ง ที่ นั่ ง ของ ผู้โดยสารมาวิเคราะห์ว่าอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ผู้โดยสารในแต่ละที่นั่ง มีสภาพเป็นอย่างไร ทีมงานได้เปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิต โดย แบ่งเครื่องบินออกเป็น 4 ส่วน โดยได้ข้อสรุปว่า “ยิ่งใกล้หางยิ่ง ปลอดภัยกว่า”


อุบัติเหตุ 11 ใน 20 ครั้ง ผู้โดยสารที่นั่งแถว ท้ายๆ ส่วนใหญ่ปลอดภัย หรือประสบเหตุเบากว่า โดย ใน 7 กรณีของกลุม่ นีผ้ โู้ ดยสารทีป่ ลอดภัยนัง่ อยูใ่ นแถว ท้ายๆ อีกทั้งได้ยกตัวอย่างอุบัติเหตุในปี 2525 กับสาย การบินฟลอริดา (Air Florida) ที่เกิดขึ้นในวอชิงตัน ดีซี และปี 2515 กับอีสเทิร์น 727 (Eastern 727) ที่ ท่าอากาศยานเคนนาดีในนิวยอร์ก ซึ่งผู้โดยสารของทั้ง 2 กรณีที่รอดชีวิตล้วนนั่งอยู่บริเวณหางของเครื่องบิน ยังมีกรณีดีซี-8 ของสายการบินยูไนเต็ด (United DC-8) เกิดน้ำ�มันหมดกลางอากาศใกล้กับพอร์ต แลนด์ ในปี 2519 มีผู้เสียชีวิต 7 ราย ทั้งหมดล้วนนั่ง อยู่ใน 4 แถวแรก นอกจากนี้ มีอุบัติเหตุเพียง 5 ครั้ง เท่านั้นที่ผู้โดยสารบริเวณด้านหน้าประสบเหตุเบากว่า ซึง่ เหตุการณ์ทงั้ 5 เกิดระหว่างปี 2531-2535 ส่วนใหญ่ เพราะเหตุเกิดที่บริเวณปีก อย่างอุบัติเหตุในปี 2532 ที่ ไอโอวากับสายการบินยูไนเต็ด มีผโู้ ดยสารรอดชีวติ 175 คน โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ห้องผู้โดยสารส่วนหน้าปีกและ ส่วนหัว

อีก 3 ครัง้ ทีท่ งั้ ผูน้ งั่ ส่วนหัวและท้ายเครือ่ งมีโอกาส รอดชีวิตพอๆกัน ส่วนผู้ที่นั่งบริเวณหัวลำ�ปลอดภัยนั้น มีเพียง 1 กรณีเท่านั้น ในปี 2532 เครื่องโบอิง 737400 ของสายการบินยูเอสแอร์ (USAir) เกิดอุบัติเหตุ บนทางวิ่ง (รันเวย์) มีผู้โดยสารเสียชีวิตเพียง 2 ราย คือ ผู้ที่นั่งในแถวที่ 21 และ 25 เมื่อคำ�ณวนตามอัตราการรอดชีวิตแล้ว นิตยสาร ป็อบปูลา มาแคนนิกส์ สรุปว่า ผู้ที่นั่งเคบินท้ายมีอัตรา การรอดชีวิตถึง 69% หากเกิดอุบัติเหตุ และไล่ขึ้นมาใน เคบินส่วนปีกโอกาสรอด 56% เสมอกับเคบินส่วนหน้า ปีก อย่างไรก็ดีเคบินที่มีอัตราการรอดชีวิตต่ำ�สุดคือ เคบินแรก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ โดยมี อัตราการรอดชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุเพียง 49% แม้จะ เห็นว่า อัตราการรอดชีวติ หากเกิดอุบตั เิ หตุบนเครือ่ งบิน ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ที่สำ�คัญ ไม่ว่าจะนั่งตรงไหน ของเครือ่ งก็ตาม เมือ่ แน่ใจว่ารัดเข็มขัดแน่นแล้ว ก็ทำ�ใจ ให้สบาย ตั้งใจฟังลูกเรือแนะนำ�กรณีฉุกเฉินต่างๆ และ ประคองสติให้มั่นขณะเกิดเหตุ รู้อย่างนี้แล้วก็จะได้ไม่ต้องอิจฉาพวกที่นั่งเรือบิน ชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจเน้อ!

25


กฏหมายที่ควรรู้สำ�หรับคนไทยในต่างแดน

Q A

ถาม : ดิฉันแต่งงานกับคนต่างชาติ ขณะนี้เราทั้งคู่เกษียณอายุแล้วจะกลับไปอยู่เมืองไทย ทั้งคู่ ดิฉันต้องการจะทำ�พินัยกรรมระบุให้สามีได้อาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินของเราตลอดเวลา ที่เขามีชีวิตอยู่ จะทำ�ได้หรือไม่? ตอบ : กรณีนี้คุณเป็นคนสัญชาติไทย และบ้านพร้อมที่ดินอยู่ในประเทศไทย หากคุณมี ทายาทโดยธรรมเป็นคนสัญชาติไทย (เช่น ลูก พ่อ แม่ พี่ น้อง) และคุณยกบ้านและที่ดิน ให้ทายาทโดยธรรมนั้น คุณสามารถที่จะทำ�พินัยกรรมระบุให้สามีชาวต่างชาติของคุณมีสิทธิ์ ที่จะอาศัยอยู่ในบ้านดังกล่าวได้จนกว่าสามีของคุณจะตาย หากคุณต้องให้ทายาทผู้รับ พินัยกรรม ไปจดทะเบียนสิทธิอาศัยตลอดชีวิตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำ�นักงานที่ดิน ที่มี ที่ดินพร้อมบ้านตั้งอยู่ ข้อมูลจาก กฏหมายที่ควรรู้สำ�หรับคนไทยในต่างแดน สำ�นักงานอัยการสูงสุด

26


โดย จันทร์ ศรีจรูญ แอนเดอร์สัน

บียอร์นเป็นชาวนอร์เวย์มีภาษาพูดของเขาเอง ฝ่ายแม่วาดเป็นชาวไทยที่มีภาษาพูดของตัวเองเช่นกัน แต่เราใช้ภาษาอังกฤษพูดกัน ฉะนั้นระหว่างเราจึงมีถึง สามภาษาซึ่งออกจะยุ่งยากอยู่นะคะ แต่เชื่อไหมคะการเป็นสามีภรรยากันถ้าเข้าใจกัน น้อยหน่อย บางครัง้ ช่วยให้การมีชวี ติ คูร่ าบรืน่ ได้เหมือน กัน คิดดูซิคะ การอยู่ด้วยกัน... ให้รักกันปานจะกลืน กินมันก็อาจเกิดเรือ่ งสุดวิสยั ทีก่ อ่ ให้เกิดอารมณ์ไม่ดขี นึ้ มาได้ การยิง่ รักกันมากยิง่ ใช้เวลาอยูด่ ว้ ยกันมาก ถ้าเกิด ไปอยู่ในที่แคบๆปิดๆด้วยกันเหมือนในรถที่ติดเครื่อง ปรับอากาศ รถก็ ติ๊ด..ติด อารมณ์ก็ไม่ค่อยดี อีกฝ่าย เกิดกลัน้ ไม่อยูป่ ล่อยกลิน่ ไม่ดอี อกมา.... เห็นไหมคะ แค่ นีเ้ ท่านัน้ เอง อะไรๆมันชักจะไม่คอ่ ยโสภา ทัง้ ๆทีอ่ กี ฝ่าย เขาไม่ได้แกล้ง บอกแล้วว่ามันเป็นเหตุสดุ วิสยั เรือ่ งของ

แก๊สธรรมชาติใครจะควบคุมได้จะให้กระโดดลงรถไป แล้วบอกว่า “เอ็กซะ คิ๊ว มี ขอ ไอ ลง ไป ตด หน่อย” มัน ก็กระไรอยู่ใช่ไหมคะ พออารมณ์ ไ ม่ ดี มั ก จะพู ด ไม่ ค่ อ ยไพเราะเป็ น ธรรมดา อย่างแม่วาดนี่พออารมณ์ไม่ดีสุดขีด จะต้อง อุทานออกมาว่า “อีเวรเอ๋ย !” ทีนี้ถ้าเป็นสามีคนไทยก็ อาจแปลงตัวเป็นทีวียี่ห้อฮิตาชิ ประเภทเปิดปุ๊บติดปั๊บ ตบเปรี้ยงมา ชีวิตคู่ย่อมจะต้องเริ่มไม่ค่อยหวานชื่นเสีย แล้ว แต่คณ ุ บียอร์นได้ยนิ แล้วอาจยิม้ ให้พอดีพอร้ายวิง่ ไปหาพจนานุกรมมาให้แม่วาดเปิดให้ดู ว่าคำ�ที่แม่วาด พูดแปลว่าอะไร ฝ่ายแม่วาดพอพูดออกไปแล้วรูส้ กึ สบาย ขึ้นเลยเปิดให้ดูตรงคำ�ที่แปลว่า “สวีทฮาร์ท” จึงพอจะ ต่อชีวิตคู่ให้ราบรื่นสดใสต่อไปอีกสักหน่อย เพราะฉะนั้นใครที่คิดว่าอยู่กับใครไม่ได้เพราะไม่ 27


เข้าใจกันท่าโน้นท่านี้ ต้องระวังหน่อยนะคะ การดิ้นรน ที่จะหาคนที่เข้าใจกันมากๆ ไม่ใช่เป็นสิ่งดีเสมอไป บาง ครั้งคู่ของเราเองนำ�เอาความเข้าอกเข้าใจของเราที่มีต่อ เขามาเอาเปรียบเราอยูบ่ อ่ ยๆ ทำ�ให้เราอกไหม้ไส้ขม แต่ ทำ�หน้าชื่นเพื่อบอกใครๆว่า “ฉันเข้าใจเขาดี” ทั้งๆที่ถึง พูดไปอย่างนั้น บางทีความคิดที่พยายามกดเอาไว้ก็อด ที่จะแวบ... ออกมาถามตัวเองไม่ได้ “แล้วเขาเข้าใจเรา หรือเปล่า?” ...เขาเข้าใจค่ะ เข้าใจเราดีทีเดียว เข้าใจ ธรรมชาติของเราดีวา่ เขาควรทำ�อย่างไร เราจึงจะยอมให้ เป็นไปตามความต้องการของเขา และบ่อยครั้งที่ความ ต้องการของเขา ไม่มีเรามีส่วนอยู่ด้วย เศร้าไหมคะ จะ ปรับทุกข์กบั ใครก็ไม่สะดวก “อ๊าว! เข้าใจเขาดีนคี่ ะ” จะ ไปปรับทุกข์กับใครได้อย่างไร ...อายเขาตาย! อย่างไรก็ตามการใช้สามภาษาพูดกันระหว่างสามี ภรรยาออกจะสับสนไปหน่อย ประกอบกับภาษาอังกฤษ ที่ใช้พูดกันมากระหว่างเรา ไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่ของ เราทั้งคู่ ย่อมไม่มีความชำ�นาญหรือความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ดังนั้นเวลาส่วนใหญ่ของแม่วาดที่พำ�นักอยู่ที่โน่นจึงเข้า เรียนภาษานอร์เวย์ โรงเรี ย นที่ ส อนภาษา “นอร์ เ วย์ เ จี้ ย น” เป็ น โรงเรียนของรัฐบาลนอร์เวย์ จัดให้มกี ารสอนวิธพี ดู อ่าน เขียน และขนบธรรมเนียมประเพณี ให้แก่ชาวต่างชาติ ที่ พำ � นั ก อยู่ ใ นประเทศของเขา เพื่ อ สะดวกในการ ปกครอง ประเทศนอร์เวย์เป็นรัฐสวัสดิการ รัฐดูแลให้ความ รับผิดชอบต่อประชาชนทุกคน ที่อยู่ในสังกัดของรัฐไป ตลอดชีวิต ครอบครัวที่มีบุตรได้รับเงินช่วยเหลือเลี้ยง ดูบตุ ร มากหรือน้อยตามจำ�นวนบุตรหรือบุตรบุญธรรม การศึ ก ษาในโรงเรียนของรัฐ ตลอดไปจนถึ ง ระดั บ มหาวิทยาลัย เป็นความรับผิดชอบของรัฐ ประชาชนไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ 28

ทำ�นองเดียวกันการรักษาพยาบาล การรักษานอก หรือในโรงพยาบาล เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล เช่น กันหากประชาชนคนใดไม่มีความสามารถหาเลี้ยงชีพ ตนเองได้ อาจเป็นเพราะตกงาน เจ็บป่วย หรือแก่ชรา มีหลักประกันทีแ่ น่นอนว่าจะได้รบั ค่าเลี้ยงชีพตามอัตรา ต่�ำ สุดทุกคน ค่าเลีย้ งชีพได้มากหรือน้อยขึน้ อยูก่ บั ระยะ เวลาการทำ�งานที่เคยเสียภาษีให้รัฐ ดังนั้นการที่แม่วาด เรียนอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้จึงไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าเล่าเรียน ค่าสมุด ค่าหนังสือ รัฐเป็นผู้ จัดหาให้ แม่วาดมีเพือ่ นต่างชาติมากมายส่วนมากพูดภาษา อังกฤษไม่ได้ เพราะมาจากประเทศแถบยุโรป ที่นิยม พูดภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน และ อิตาเลี่ยน พวก ที่พูดภาษาอังกฤษมีแต่พวก อินเดีย อังกฤษ อเมริกัน ซึ่งมีจำ�นวนน้อย กลุ่มพวกผู้อพยพจากประเทศแถบ เอเซียไม่ค่อยพูดภาษาอังกฤษเช่นกัน การเรียนภาษา นอร์ เ วย์ จึ ง ก้ า วหน้ าไปอย่ า งรวดเร็ ว เพราะระหว่าง นักเรียนจำ�เป็นต้องพยายามสือ่ สารกันด้วยภาษานอร์เวย ซึ่งเป็นภาษากลางที่พอเข้าใจกันได้ดีที่สุด แม่วาดเคยเข้าศึกษาตามสถาบันต่างๆมาหลาย สถาบั น ยั งไม่ เ คยรู้ สึ ก แปลกๆเหมื อ นศึ ก ษาอยู่ ใ น สถาบันแห่งนี้ มีความรู้สึกเหมือนเรียนอยู่ในโรงเรียน คนปั ญ ญาอ่ อ นผสมกั บ คนใบ้ ถ้ า เรี ย นกั บ พวกคน ปัญญาอ่อนที่พูดภาษาเดียวกันอาจเข้าใจกันได้ดีกว่า นักเรียนทุกคนต่างกันทั้งภาษา ขนบธรรมเนียม ท่าทาง การแสดงออกทางหน้า ทางตา การให้สญ ั ญาณ มือไม้ เรียกว่าไม่รเู้ รือ่ งกันเลยตลอดไปถึงครูผสู้ อนด้วย บางทีแม่วาดยืน่ ทอฟฟีใ่ ห้เพือ่ นคนหนึง่ เขาสั่นหน้าช้าๆ พอเราจะเก็บ... พี่แกกลับยื่นมือมาตะครุบ รุ่งขึ้นอา บังคนหนึง่ ยืน่ ทอฟฟีม่ าให้แม่วาดบ้าง... เราก็ยมิ้ รับ มัน ดันมาเก็บเงิน !


แต่การส่งสัญญาณพื้นๆพอเข้าใจกัน เช่นแม่วาด จะชวนเพือ่ นไปเข้าห้องน้ำ� เราคนไทยค่อนข้างกระดาก จะให้ทำ�ท่าถ่ายทุกข์ เลยทำ�ท่าล้างไม้ล้างมือไปตามเรื่อง ทำ�อย่างไรเพื่อนก็ไม่เข้าใจ แม่วาดเลยฉุดไปดื้อๆ ความจริงไปคนเดียวก็ได้แต่ห้องน้ำ�เป็นตึกต่าง หากโดดๆตั้งอยู่ห่างจากตึกที่เรียน ข้างนอกพื้นเป็นน้�ำ แข็งลื่นมากเนื่องจากหิมะตกหนัก การไปด้วยกันจะได้ ช่วยกันประคอง พอเพือ่ นๆรูว้ า่ ชวนไปเข้าส้วม ต่างหยุด ยืนหัวเราะกันใหญ่ทำ�ท่าล้างมือที่เราทำ�ให้ดู พวกพี่แก คงนึกว่าท่าปวดท้องอึคนไทยแปลก แถมยังหน้าด้าน ทำ�ท่าอึท่าฉี่ให้เราดู มันก็ไอ้เหมือนๆกัน ไอ้พวกนี้ นอกจากหน้าด้านแล้วยังโง่อีกทะลึ่งมาหัวเราะเยาะเรา ไม่รู้จักบรมครูซะแล้ว ต่อมาพอวิชาชักกล้าแข็ง เริ่มออกไปเที่ยวนอก โรงเรียนด้วยกัน วุ่นวายไปหมดในท้องถนน แม่วาด เป็นคนขับรถ เพื่อนๆเป็นคนบอกทาง คำ�ว่า “เฮ่ยเร่ เวนสเตร่” ที่แปลว่าเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวานั้นจำ�สับสนกัน ไปหมดทัง้ คนขับและคนบอกทีม่ อี ยูห่ ลายคน พอเถียง กันยิ่งยากใหญ่ ในที่สุดต่างคนต่างด่ากันด้วยภาษาตัว เอง.. ให้มันสะใจ รถเลื้อยด้วยอาการประหลาดอยู่บนถนนไฮเวย์ เลื้อยอยู่ครู่เดียวเท่านั้นค่ะ ไม่นานหรอก ตำ�รวจเมืองนี้ คงไม่มีอะไรทำ�มาช่วยนำ�พวกลงจากทางโดยสวัสดิภาพ ตำ�รวจตัวสูงใหญ่พอๆกับมูฮัมมัดอาลี มีหนวดแถม หน้างอ ยืนถมึงทึงค้�ำ พวกเราอยู่ พยายามเค้นคำ�ตอบ จากพวกเราว่านึกอย่างไรจึงมาเล่นสนุกกันอยู่บนถนน ไม่เห็นหรือว่าอาจทำ�ให้คนอื่นตายด้วย ถ้าตายแต่พวก เราเขาจะไม่ห่วง โดยเฉพาะแม่วาดที่เป็นคนขับ ต้อง โดนทดลองด้วยเครือ่ งวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือด คง สงสัยว่าแม่วาดเมา หลั ง จากพยายามช่ ว ยกั น อธิ บ ายเพื่ อ ขอความ

เห็นใจจากตำ�รวจ โดยใช้ภาษาทั้งห้าภาษา ตำ�รวจยังคง ไม่เข้าใจ ในที่สุดพวกเราจึงงัดภาษานอร์เวย์ขึ้นมาใช้ ทุ่มเถียงกันอยู่พักใหญ่ พวกเรายังไม่ทันเหนื่อยอีตา ตำ�รวจเกิดเหนื่อยขึ้นมาโบกมือไล่พวกเรา แต่ไม่ลืมขอ เบอร์ติดต่อบียอร์น ซวยเลย... จับเราเสียยังดีกว่า เพราะตำ�รวจคงไม่ยึดรถแต่สงสัยสามียึดแน่ ตอนเห็นหน้าตำ�รวจฟังพวกเราเถียงกันเป็นภาษา นอร์เวย์ แม่วาดนึกถึงสมัยอยู่เมืองไทย มีเพื่อนบ้าน สองคู่ คนหนึ่ ง มี เ มี ย เป็ น ญี่ ปุ่ น อี ก คนมี เ มี ย เป็ น ฟิลปิ ปินส์ วันดีคนื ดีเมียสองคนนีล้ กุ ขึน้ ทุม่ เถียงทะเลาะ กัน จะให้เข้าใจซึ่งกันและกันก็ต้องล่อกันเป็นภาษาไทย ชาวบ้านออกไปยืนลุ้นกันใหญ่ แม่ทองสุกคนงานบ้าน แม่วาดกลับมาเล่าว่า “ลุ้นมันยิ่งกว่าตบกันอีกค่ะ คุณวาด กว่าคุณโย โกะแกจะพูดว่า อี.. อี ฉิ..ฉิ... ฉิบ หะ หะ.. พวกคน ดูต้องช่วยกัน หาย! โอ๊ย.... อิฉันละ เนื๊อย เหนื่อย” ปรากฏว่าเรื่องที่โดนตำ�รวจจับรู้ถึงบียอร์นจริงๆ แต่ผิดคาด แทนที่จะยึดรถกลับให้เครื่องแปลภาษาอัน จิ๋วขนาดพกติดกระเป๋าได้ เครื่องแปลนี้มีจอภาพ มีปุ่ม กดตัวหนังสือเหมือนพิมพ์ดีด และมีปุ่มให้เลือกภาษา อยู่สี่ภาษา สำ�หรับบียอร์นนั้นไม่มีโอกาสได้เรียนภาษา ไทยในเมืองไทย แม่วาดจึงหาตำ�ราง่ายๆ มาสอนให้เอง วิธกี ารเรียนทีจ่ ะให้งา่ ยและจำ�ได้แม่นยำ�นัน้ ถ้านำ� ไปเปรียบกับอย่างอื่นแล้วจะจำ�แม่น สมัยที่แม่วาดยัง เรียนหนังสืออยู่ นัง่ ท่องจำ�ชือ่ ของบิดาแห่งประวัตศิ าสตร์ โลกว่าชื่อ “ฮีโรโดตัส” พอดีเพื่อนคนหนึ่งเดินผ่านมา เป็ น เพื่ อ นที่ เ รี ย นเก่ ง มากขนาดได้ เ กี ย รติ นิ ย มนะคะ เพื่อนแนะนำ�ว่า “วาดจำ�อย่างนีซ้ จิ ะ๊ “หอ สละ อี รู ดู ตูดส์” แม่น เลยค่ะ ขนาดผ่านมายี่สิบกว่าปีแล้ว ไม่เคยลืมอีตาคน นี้เลย 29


เวลาเรียนภาษาไทย อาจารย์ให้ทอ่ งกาพย์หอ่ โคลง เห่เรือ บทพระราชนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ ที่ ทรงนำ�ชื่ออาหาร ชื่อผลไม้ มาพรรณนาถึงคนรักของ พระองค์ ท่านอาจารย์ให้เหตุผลว่า “พวกหล่ อ นจะเติ บโตต่ อ ไปเป็ น ตั ว แทนของ กุลสตรีไทยผูไ้ ด้รบั การอบรม มีความรู้ มีการศึกษา ต้อง หัดท่องหัดจำ�พวกร้อยแก้วร้อยกรองในวรรณคดีไทยไว้ บ้าง เพื่อที่จะเป็นของประดับตัวเอง ให้ดูมีค่าสวยงาม ใครได้รู้ได้เห็น ทึ่งเสียยิ่งกว่าที่พวกหล่อนใส่เครื่อง ประดับราคาเป็นล้าน พออ้าปากขึ้นมาเห็นสมองกลวง หรือไม่ก็นั่งปิดปากเป็นใบ้ถือใบบัว ถ้าพวกหล่อนเป็น อย่างนัน้ ไม่ตอ้ งไปโพนทะนาว่าเป็นลูกศิษย์ฉนั นะยะ ฉันกลัวคนเขาว่าฉันโง่ มัวแต่เป่าปี่ให้ควาย ฟัง” ชะรอยท่านอาจารย์จะกลัวเสียชื่อจริงๆ พวกเรา จึงโดนโขกโดนสับกันมากมาย ต้องท่องต้องจำ�ให้ได้ สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ รินราดเลือ่ นเตือนตาชม โอ๊ย..มากมาย ชนิดทีท่ รงนำ�เรือพระทีน่ งั่ ทัง้ ขบวน มาเรียงชื่อกันเลยค่ะ เวลาแม่วาดพาบียอร์นไปดูขบวน เสด็จพยุหยาตราทางชลมารค พอได้ยินเสียงเห่เรือรู้สึก สะท้อนใจจนบอกไม่ถูก หวนคิดถึงเสียงเห่ของพวกเรา ในห้องเรียน ไม่มีอีกแล้ว... มัสมั่นแกงแก้วตา (ช้า..) หอมยี่หร่ารสร้อนแรง (ฮ้า ไฮ้ ...) ชายใดได้กลืนแกง (ช้า..) แรงอยากได้ใฝ่ฝันหา (เฮ้..เฮ..เฮ๊..) คิดถึงท่านอาจารย์ภาษาไทยจับใจ ไม่มีอีกแล้ว... ท่านจากไปแล้ว ไปพร้อมทั้งคุณลักษณะของครูบา อาจารย์หรืออย่างไร ทำ�ไมไม่เคยได้ยินนักเรียนสมัยนี้ พูดถึงครูตามคุณลักษณะของครูแบบสมัยแม่วาดเลย ถึงอาจารย์เคีย่ วเข็ญเข้มงวดอย่างไร พวกเราส่วน 30

มากจำ�ได้แค่สอบผ่านเท่านัน้ แหละค่ะ แต่แปล๊ก แปลก.. นะคะ เวลาผ่านมายีส่ บิ กว่าปีอย่างทีว่ า่ พอมานัง่ ทบทวน ดูว่าเราจำ�อะไรได้บ้าง บทที่เราจำ�ได้แต่ละบท ถ้าได้มี โอกาสไปท่องให้อาจารย์ท่านฟังอีก ท่านคงบอกว่า “พวกหล่อน คงไม่เคยคิดจำ�อะไรนะจ๊ะ นอกจาก เรื่องในมุ้ง” อย่างเช่น ตาลเฉาะเหมาะใจจริง รสเย็นยิ่งยิ่งเย็นใจ คิดความยามพิสมัย หมายเหมือนจริงยิ่ง อยากเห็น หรือ หวนห่วงม่วงหมอนทอง อีกอกร่องรสโอชา คิดความยามนิทรา อุราแนบแอบอกอร หรือ ทองหยอดทอดสนิท ทองม้วนมิดคิด ความหลัง สองปีสองปิดบัง แต่ลำ�พังสองต่อสอง จำ�พวกนี้แหละค่ะที่จำ�ได้แม่นไม่ลืม เลยไม่ค่อย งัดออกมาใช้ให้เป็นเครือ่ งประดับตัว สมดังเจตนารมณ์ ของท่านอาจารย์ เพราะกลัวว่าคนทีไ่ ด้ยนิ เขาจะคิดอย่าง ท่าน ท่านอาจารย์ทา่ นเป็นคน ปากจัด๊ ..จัด สมกับเป็น อาจารย์ภาษาไทย สามารถกระทบกระเทียบเปรียบ เปรยได้ทุกรูปแบบ เวลาอาจารย์ท่านเป็นอาจารย์เวร ออกตรวจแถวนักเรียน พวกเราหวาดผวามาก ต้อง พยายามแต่งตัวให้ถูกระเบียบ ครั้ ง หนึ่ ง ท่ า นดุ เ พื่ อ นนั ก เรี ย นคนหนึ่ ง ถึ ง เรื่ อ ง กระโปรงที่สั้นเกินไป เพื่อนพยายามหาเหตุผลเพื่อให้ หลุดพ้นจากนาทีคับขัน “ผ้าไม่พอค่ะ” เจ้าตัวบอกว่า ตอบไปอย่างนั้นแล้วค่อนข้างสบายใจ อาจารย์ต้อง เห็นใจ เพราะเป็นเรื่องที่พยายามช่วยเหลือทางบ้าน


ที่ไหนได้.... ท่านอาจารย์ท่านสวนขึ้นมาทันควัน “จ้า วันหลังก็ซอื้ ผ้ามาสักกระแบะมือซิจะ๊ ตัดเป็น รูปสามเหลี่ยม มาแปะ “อีแปะ” เอาไว้ ประหยัดดี” แม่วาดเองฤทธิ์ที่เป็นคนพูดมากโดนท่านทำ�โทษ บ่อยๆ บางครั้งท่านให้ยืนท่องบทพระราชนิพนธ์ ของ สมเด็จเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร บทเดียวกันสิบเที่ยว ดู หนู สู่ รู งู งู สุด สู้ หนู สู้ งู หนู งู สู้ ดู อยู่ งู มู่ ทู่ หนู มู ทู

นั้นไม่รู้ท่องบทของใคร เสียงเหมือโดนผีหลอก ท่อง ใหม่!” พอท่องจบเป็นที่พอใจของอาจารย์ แม่วาดถึงกับ ยืนตาลอยประสาทไม่สั่งการใดๆ นอกจากเรื่องหนูกับ งูสู้กัน “ดีแล้วจ้ะ แม่วาด ยืนปากจูอ๋ ยูอ่ ย่างนัน้ แหละ จะ ได้ไม่ต้องพูดมาก ถ้าใครยังขืนคุยกับแม่วาด ฉันจะหา บท “สระโอ” ให้ท่อง” เป็นไงคะ... อาจารย์ของแม่วาด แสบไหมคะ (อ่านต่อฉบับหน้า)

ตอนเริ่มท่องสามสี่เที่ยวแรกยังพอฟังเป็นคำ� แต่ จากหนังสือเรื่อง แม่วาดเมียบียอร์น ตอนหลังๆเนือ่ งจากไม่ได้เปลีย่ นอิรยิ าบถของขากรรไกร ตอน บุพเพสันนิวาส เลย เพียงแต่กระดิกลิ้นอย่างเดียว เสียงที่ออกมาจึง โดย จันทร์ ศรีจรูญ แอนเดอร์สัน คล้ายๆร้อง อู อู “แม่วาดจ๊ะ ฉันให้เธอท่อง บทพระราชนิพนธ์ของ สมเด็จเจ้าฟ้ากุ้งสิบเที่ยว แต่เธอท่องแค่สามเที่ยว นอก

วิธีป้องกันไม่ให้พื้นเป็นน้ำ�แข็งในฤดูหนาว

ในฤดูหนาวประเทศส่วนมากในยุโรปย่อมมีช่วงเวลาที่อุณหภูมิ ติดลบ แน่นอนน้ำ�ที่มีอยู่ทั่วไปย่อมกลายเป็นน้ำ�แข็ง หากน้ำ�จากหิมะ หรือฝนที่ค้างอยู่ตามทางเข้าบ้านกลายเป็นน้ำ�แข็งก็จะเป็นอันตราย มาก เพราะเป็นทางที่ต้องใช้อยู่ประจำ� อาจทำ�ให้ลื่นหกล้มได้โดยง่าย วิธีที่จะป้องกันไม่ให้ทางเข้าออกมีน้ำ�แข็งปกคลุมอยู่ ให้ใช้น้ำ�อุ่นผสม น้ำ�ยาสำ�หรับเครื่องล้างจานเทลาดไว้ บริเวณนั้นจะไม่เป็นน้ำ�แข็งจับ อยู่อีก

31


วิหลุธมแผลเป็ ีแก้ไนขที่ผิวจมูก ศ.นพ. ศรีประสิทธิ์ บุญวิสุทธิ์ sisbv@mahidol.ac.th

ความเดิมมีอยูว่ า่ เดิมทีปลายจมูกของชายคนหนึง่ เป็นปุ่มดำ�เหมือนไฝขึ้นมา มีเลือดออกด้วย จึงให้หมอ ผิวหนังยิงเลเซอร์ เมื่อปุ่มหายไปก็ได้หลุมบริเวณปลาย จมูกขึ้นมาแทน ก็เลยมาหาผู้เขียน บริเวณปลายจมูกเป็นบริเวณที่มีต่อมไขมัน ต่อม เหงื่อมากมายเหลือเกินนะครับ ผิวหนังระหว่างครึ่งล่าง และครึ่งบนของจมูกผิดกันไกลเลยทีเดียว ครึ่งบนนั้น ผิวหนังจะมีความบางมากกว่า ลักษณะเหมือนผิวหนัง บริเวณหน้าผาก ส่วนครึ่งล่างของจมูกนั้น ผิวหนังเริ่ม 32


มีการหนาตัวขึน้ และมีต่อมไขมัน ต่อมเหงือ่ มากเหลือ เกิน นี่เป็นลักษณะพิเศษของชาวผิวเหลืองอย่างเราน่ะ ครับ ฝรั่งเองบางครั้งผิวของเขาบางเนียน คลุมกระดูก อ่อนที่ดุนอยู่ข้างใต้ให้เป็นรูปปลายจมูก เหมือนผ้าแพร คลุมอยู่บนกระดูกอ่อน แต่ของพี่ไทยเราไม่ใช่อย่างนั้น นะครับ ส่วนใหญ่แล้วหนังจะหนามันและชุ่มชื้น บาง คนแค่เอามือบีบปลายจมูกก็จะมีสิวเสี้ยน มีของเหลว ข้นลักษณะคล้ายยาสีฟันออกมาเป็นยวงๆ เห็นได้ชัด เวลาฉีดยาชาเข้าไปทีผ่ วิ หนังบริเวณนี้ รูขมุ ขนขยายและ รีดเอาไขมันที่คั่งค้างออกมาเป็นเส้นเหมือนเส้นหมี่ที เดียวล่ะครับ ดังนั้นบริเวณนี้จึงมีโอกาสที่จะเป็นแผลเป็นค่อน ข้างมาก ไม่วา่ เวลาเย็บเซลส์เยือ่ บุภายนอกก็จะงอกตาม รอยเย็บเข้าไป ทำ�ให้เกิดลักษณะ’ตีนตะขาบ’ ได้ง่าย หรือแผลเป็นจะแดงเห็นชัดอยูน่ าน ซึง่ นอกจากคุณภาพ ผิวดังกล่าวแล้ว เหตุหนึ่งก็เพราะว่าอยู่ตรงบริเวณที่ สังเกตได้ง่าย ไม่มีมุม เหลี่ยม เงา ให้หลบเลี่ยงจาก สายตาคนได้เลย เรียกว่าอยู่บริเวณไฮไลท์ของหน้าพอ ดิบพอดี การยิงเลเซอร์นนั้ โดยทัว่ ไปทำ�บริเวณหนังทีห่ ย่อน ยาน และขนาดของเนื้อหรือติ่งไม่เกิน 1.5 มิลลิเมตร ละก็ การหายของแผลจะหดเข้ามาจนเหลือเป็นจุดได้ แต่ถ้าใหญ่เกิน 1.5หรือ 2 มิลลิเมตรแล้ว โดยเฉพาะ บริเวณที่ตึงๆเหมือนปลายจมูกแบบนี้ มักจะไม่หดเข้า มา แต่จะหายกลายเป็นหลุมลึกลงไป ผู้เขียนจึงแนะนำ�ว่าถ้าจะไปตัดเย็บก็จะได้แผล เป็นทีย่ าวออกมาอีก และแผลเป็นบริเวณนีก้ ไ็ ม่คอ่ ยสวย เท่ากับบริเวณอืน่ ความยาวของแผลเป็นทีเ่ กิดก็มากขึน้ เพราะเราต้องตัดเย็บเป็นลักษณะกระสวย เมือ่ เย็บเข้าหา กันอย่างน้อยก็ยาวออกเป็นสามเท่าของหลุมที่กลมๆ

ท่านผู้อ่านคงนึกออกนะครับ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยง ลักษณะนี้ ก็พยายามหาวิธีอื่นมาทดแทน โดยการผ่า เข้าไปทางบริเวณรูจมูก พยายามสร้างโพรงข้างใต้หลุม นั้น เพื่อดันผิวหนังของหลุมขึ้นโดยใช้เนื้อเยื่อชนิดอื่น เข้าไปดุนขึ้นมา รายนี้ผู้เขียนใช้ไขมันที่ ‘ขมาย’มาจาก บริเวณอืน่ มาปลูกเข้าไปเพือ่ ให้ดนุ ขึน้ มา แต่โอกาสสำ�เร็จ ก็มีไม่มากนัก เพราะผิวหนังบริเวณจมูกกรอบมาก มัน จึงดันไม่ขึ้น คนไข้รายนี้หลังจากรอดูอยู่ 6 เดือน พบ ว่ารอยบุ๋มยังไม่เป็นที่ถูกใจนัก ทั้งที่ตื้นขึ้นมามากแล้ว เจ้าตัวจึงขอตัดหลุมทิ้งไปสิ้นเรื่องสิ้นราว แต่แผลเป็นที่ได้นั้นไม่สวยเท่าแผลเป็นบริเวณ เปลือกตาเมื่อทำ�ตาสองชั้น หรือแผลเป็นที่เกิดจากการ ตัดหนังที่หย่อนๆที่คอ เพราะแผลเป็นที่อยู่ตรงปลาย จมูกกลางพอดิบพอดีตรงไฮไลท์นั้นใครๆย่อมสังเกต เห็นได้ชัด ในรายนี้ถ้าจะทำ�ต่อไปก็คือการชัดผิว ข้อดีของ บริเวณปลายจมูกก็คอื ผิวหนังแท้นนั้ หนากว่าบริเวณอืน่ ฉะนั้นจึงสามารถขัดได้ลึกกว่า แต่ข้อเสียก็คือเมื่อขัด แล้วจะเป็นรอยถลอก กว่าจะกลับมาเป็นปกติต้องใช้ เวลาประมาณ 3 เดือนเชียวนะครับ และระหว่างทีป่ ลาย จมูกเป็นสีชมพูเหมือนกวางรูดอฟของซันตาคลอส จะ หลบหน้าผู้คนได้อย่างไร ถ้าเป็นผู้หญิงก็ง่ายอยู่ เพราะ สามารถใช้เมกอัพทับได้ แต่ผู้ชายถ้าใช้เมกอัพทับ คน ก็จะมองว่าเป็น ‘ตุ๊ด’ ไปเสียอีก

33


เรื่องจริงจากปากของนายแพทย์อาจินต์ บุญญเกตุ ภรรยาผมพยาบาลตื่นขึ้น นั่งขยับตัวเข้ามาชิด กัน แล้วทั้งสองก็พนมมือทำ�ท่าสวดมนต์อีกรอบ หนู อ้วนยืนอยู่สักครู่แล้วก็ลาไป “คุณอาคะ หนูไปก่อนนะคะ” ว่าแล้วก็หายวับ ไปทันที เหลือแต่แม่หนูตัวเล็กคนเดียว ตอนนี้เธอนั่ง บนเก้าอี้ข้างเตียงนอนผม ข้อศอกสองข้างเท้าที่นอน ยันคางไว้ แล้วถามว่า “คุณพ่อปวดศีรษะมากหรือคะ?” ผมตอบว่า “ตอนนี้ปวดมากจ้ะ” เธอยื่นมือข้างหนึ่งมากุมศีรษะด้านที่ปวดของผม ไว้แล้วบอกว่า “สักครู่จะทุเลา” ต่อจากนั้นสักพักอาการปวดก็ สงบ ผมจึงถามเธอว่า “หนูเป็นใคร? แล้วทำ�ไมมาเรียกว่าพ่อ...” ต่อไปนี้เป็นคำ�สนทนาของผมกับเด็กคนนั้น โดยผมถามดังๆและทวนคำ�ตอบดังๆเช่นเคย “ชาติก่อนนี้หนูเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง?” “เป็นผู้หญิงค่ะ” “หนูเป็นอะไรตาย ในชาติก่อน?” “หนูไปเล่นน้ำ� ไถลลื่นและตกน้ำ�ตาย” “หนูตายที่ไหน?” “ตกน้ำ�ตายที่ โรงโม่” “โรงโม่อยู่ที่ไหน?”

34

“ก็แถวๆท่าเตียนนี่แหละ ไม่ไกลเท่าไร” “ตอนที่ตกน้ำ�ตาย หนูอายุเท่าไร?” “ก็สิบกว่าขวบค่ะ” “ชาติก่อนนี้พ่อเป็นอะไร?” “ชาติก่อนนี้ พ่อรับราชการในรัชการที่ 3 เป็นผู้ คุมนักโทษ และราชมัล” “...ราชมัลเป็นอย่างไร พ่อไม่รู้จัก?” “ราชมัลเป็นผู้คุม เป็นคนลงโทษนักโทษ ทรมานนักโทษ รวมทั้งประหารชีวิตนักโทษด้วย” ผมได้ฟังแล้วตกใจมาก เพราะชาตินี้ผมไม่เคย เบียดเบียนใคร ไม่ชอบการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอย่างใดทั้ง สิ้น แล้วจึงถามแม่หนูนั่นว่า “ที่พ่อป่วยนี้ ป่วยมานานเพราะอะไร? แล้ว เมื่อไรจะหาย?” เธอตอบว่า “ป่วยเพราะกรรมเก่าที่ทำ�ไว้แต่ชาติก่อน พ่อ มีหน้าที่เกี่ยวกับนักโทษ ควบคุมลงโทษ ทรมานเขา กรรมก็ตามมาสนองในชาตินี้” ผมแย้งว่า “ก็ทำ�ตามหน้าที่... ลูกบอกว่าหน้าที่คือควบคุม ทรมานเขา เราไม่ทำ�เราก็ผิด” แม่หนูน้อยตอบว่า “ครั้งหนึ่ง มีชายคนหนึ่งรูปร่างอ้วนใหญ่ สูง ดำ� ถูกคดีว่าฆ่าชาวบ้านตาย ทำ�ทารุณต่างๆแก่ราษฏร ความจริงนั้นเขาไม่ได้ทำ� แต่ชาวบ้านมารวมหัวกันใส่ ความเขา พระอัยการก็คุมตัวมาลงโทษ สอบถามเขา


เขาไม่ได้ทำ�ก็ไม่รับ ราชมัลก็คือพ่อ ได้ลงโทษเขา จับ เขาเข้าขื่อคา ตอกเล็บ แล้วเอาเครื่องมือมาบีบขมับเขา บีบขมับจนเขาสลบเพราะความเจ็บปวด เขาก็ไม่รับว่า เป็นผู้ร้าย พ่อก็ลงโทษบีบขมับเขาอีก เพื่อให้เขารับ สัตย์ว่าเป็นเขา เขาก็ไม่รับ ในที่สุดเขาทนทรมานไม่ ไหวก็ขาดใจตาย ! ก่อนตายเขาผูกใจอาฆาตพยาบาท ไว้ว่าจะจองเวรทุกชาติ จนกว่าจะหมดเวร... ตอนนี้ กรรมมาตามทันอย่างเต็มที่แล้ว จึงได้ป่วยเช่นนี้” ผมทวนคำ�พูดของแม่หนูน้อยทุกอย่าง ภรรยา ผมและพยาบาลนั่งจำ�และจดไว้ทุกคำ�พูด ผมจึงถาม ต่อไปว่า... “เมื่อไรจะชดใช้กรรมนี้หมดเสียที?” แม่หนูตอบ ว่า “พ่อทำ�ไว้มาก ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว กรรมก็ สลับกันไป กรรมดีทำ�ให้พ่อเกิดมาอย่างนี้ กรรมชั่ว ก็ตามมาสนองอย่างนี้ !” “แล้วเมื่อไรจะหมดบาป หมดกรรม” “อีกสี่ปี” แม่หนูตอบ “พ.ศ. 2508 พ่อจึงจะ หมดกรรมนี้... แล้วจึงจะหายป่วย” ภรรยาผมนั่งฟังอยู่ตลอดก็ขอให้ผมถามว่า เมื่อ ชาติก่อนเธอเป็นอะไร แม่หนูตอบว่า... “คุณแม่เมื่อชาติก่อนนี้เป็นแม่ชี บวชเป็นแม่ชี ถือศีลกินเพลอยู่วัดใต้” ผมไม่ทราบว่าวัดใต้ไหน แม่ หนูบอกว่า “เวลาผมปวดประสาทมากๆให้นึกถึงเธอ เธอจะ มาช่วยให้บรรเทาเบาบางลง” แล้วก็เอามือมากุมศีรษะ ข้างที่ปวดพลางก็พูดว่า “พรุ่งนี้แปดนาฬิกา หมอจะเอาพ่อไปผ่ากะโหลก ศีรษะ” ผมย้ำ�ว่า “พรุ่งนี้เช้าหรือ จะผ่ากะโหลกศีรษะพ่อหรือ” เราก็พยักหน้ารับคำ� แล้วก็บอกว่า “หนูจะไปก่อนล่ะ” ภรรยาผมนั่งสงบอย่างบอก

ไม่ถูกและแล้วก็ม่อยหลับกันไปทั้งสามคน รุ่งขึ้นเจ็ดนาฬิกา อาจารย์หมออุดมมาตรวจ เยี่ยม ได้รับรายงานว่าเมื่อคืนนี้ผมปวดประสาทมาก ปวดจนดิ้นถึงสองครั้ง ท่านยืนคิดสักครู่หนึ่งแล้วจึง พูดว่า “แปดโมงเช้านี้ จะเอาตัวไปผ่าตัด ผ่าเอาปม ประสาทที่ปวดออก” แล้วหันมาสั่งพยาบาลให้ไปบอก หัวหน้าตึกให้เตรียมนำ�คนไข้รายนี้ไปผ่าตัด ,,,ภรรยา และพยาบาลมองหน้ากันด้วยความงุนงงเต็มที่ เพราะ ไม่มีใครเชื่อว่าจะนำ�ผมไปผ่าตัด ที่งงเพราะเมื่อคืนนี้ ได้ยินผมพูดคนเดียว คือทวนคำ�พูดของแม่หนูว่า พรุ่งนี้ 8 นาฬิกา หมอจะเอาไปผ่าตัด ตอนนั้นเชื่อ ครึ่งไม่เชื่อครึ่ง มาตอนนี้เชื่อแล้ว เชื่อไม่มีความสงสัย สักครู่พยาบาลก็เข้ามาในห้องนอนผม จัดแจง โกนหัวโกนคิ้วด้านขวาขึ้นไปถึงกลางศีรษะ แล้ว ทำ�ความสะอาดต่อจากนั้นก็ฉีดยาให้สะลึมสะลือก็ ประเภทมอร์ฟีน จวนๆ 8 นาฬิกา รถเข็นคนไข้ก็เข้า มาเทียบ เอาตัวผมนอนเปลเข็นไปในห้องผ่าตัด โดย มีภรรยาผมตามไปดูด้วย ผมเองตอนนั้นก็จะหลับมิ หลับแหล่อยู่แล้ว และผมก็สิ้นสติไปเมื่อได้รับยาสลบ ที่ห้องผ่าตัด ผมมาทราบตอนหลังว่า ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ผม ได้รับการผ่าตัดนั้น พยาบาลในห้องได้ไปคุยกับ หัวหน้าตึก และคุยกันต่อๆไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อคืนนั้น ทุกคนก็มีอาการเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งแต่ก็ แปลกใจ ทุกคนที่ประหลาดใจมากก็คือ ในเมื่อผม เรียนจบจากศิริราชไปตั้งกว่าสิบปี จบแล้วออกไปเลย ไม่ได้ทำ�งานอยู่ในนั้น เหตุไฉนจึงทราบเรื่องเด็กผู้หญิง ที่เป็นโรคอ้วน และเด็กผู้นั้นก็ถึงแก่กรรมที่เตียงที่ผม ป่วยในตึกวิบูลลักษณ์นั้น และเธอตายในปีนั้น (อ่านต่อฉบับหน้า)

35


โดย โสภาพร ควร์ซ

สมาพันธ์ครูภาษาไทยในยุโรป

สืบสานภาษาไทยให้เยาวชนไทยในต่างแดน ปัจจุบนั มีคนไทยกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คนพำ�นักอาศัย อยู่ในยุโรป ซึ่งโดยส่วนใหญ่กว่า ๘๐ เปอร์เซนต์นั้น เป็ น ผู้ ห ญิ ง และส่ ว นใหญ่ อี ก เช่ น กั น ที่ แ ต่ ง งานมี ครอบครัวอยู่กับสามีชาวต่างชาติ มีลูกน้อยบ้าง ใหญ่ บ้างเป็นโซ่ทองคล้องใจ การดำ�รงชีวิตอยู่ในต่างบ้านต่างเมืองที่ต้องใช้ ภาษาใหม่ในชีวิตประจำ�วัน ทำ�ให้คุณแม่ และว่าที่คุณ แม่หลายคนลำ�บากใจ นอกจากที่ตัวเองจะต้องต่อสู้ ร่ำ�เรียนภาษาใหม่ และเอาตัวให้รอดในสังคมใหม่แล้ว ก็ยงั ต้องเป็นกังวลว่าจะทำ�อย่างไรให้ลกู ของตนพูดภาษา ไทยได้ ในสังคมที่แวดล้อมไปด้วยภาษาใหม่นี้ ในทางตรงกันข้าม คุณแม่หลายคนทีม่ ลี กู ติดจาก อดีตสามีคนไทย กลับกลัวว่าลูกจะปรับตัวเข้ากับสังคม ใหม่ไม่ได้ จึงสนับสนุนให้ลกู พูดแต่ภาษาใหม่ ทำ�ให้เด็ก ไทยเหล่านี้ เมื่อมาอยู่ต่างประเทศได้เพียงไม่กี่ปีก็พูด ภาษาไทยไม่ได้แล้ว ทั้งๆ ที่เติบโตมาในเมืองไทยแท้ๆ เหล่านี้คือปรากฎการณ์ที่กำ�ลังเกิดขึ้นในหมู่คน ไทยในยุโรปที่ดำ�เนินมาหลายสิบปีแล้ว และยิ่งปรากฎ ให้เห็นเด่นชัดขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีชาว ไทยย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในยุโรปมากขึ้น 36

ชาวไทยจำ�นวนไม่น้อยในแต่ละประเทศได้มีการ รวมตัวกันเพือ่ สอนภาษาไทยให้กบั ลูกหลาน บ้างก็เพียง จับกลุม่ บางก็ตงั้ เป็นโรงเรียน ต่างวาระ ต่างโอกาส ต่าง มาตรฐานกัน แต่ทงั้ นีก้ ด็ ว้ ยจุดมุง่ หมายเดียวกันทีอ่ ยาก ให้ลูกหลานชาวไทยพูด ฟัง อ่าน เขียนภาษาไทยได้ สืบสานภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยต่อไป เมือ่ เห็นความต้องการดังกล่าวทีม่ มี ากขึน้ ชาวไทย ในยุโรปจึงได้รวมตัวกันจัดตั้ง สมาพันธ์ครูสอนภาษา ไทยและวัฒนธรรมไทยในยุโรป ทีเ่ มืองลูกาโน ประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยได้รบั การสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบิรน์ เพือ่ ให้เป็นศูนย์กลางในการรวมตัวกันส่งเสริม ให้คนไทยในต่างแดนได้มีโอกาสเรียนภาษาไทยและ วัฒนธรรมไทยตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน พร้อมทั้ง พัฒนาเทคนิคการสอนเพื่อถ่ายทอดให้กับเยาวชนไทย และโรงเรียนไทยในยุโรป สมาพันธ์ฯ ซึ่งมีอายุเพียง ๑ ปีกว่า เพิ่งจัดการ ประชุมสามัญประจำ�ปีเป็นครัง้ แรกระหว่างวันที่ ๒๑ ถึง ๒๒ พฤษภาคมที่ผ่านมา ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศ เบลเยี่ยม โดยมีสมาชิกกว่า ๑๒๐ คน จาก ๑๒


ประเทศในยุโรปมาร่วมประชุมด้วย สุพรรณี บุญถูก ประธานสมาพันธ์ฯ และประธาน ชมรมเพื่อนไทยในเบลเยี่ยม เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบัน สมา พันธ์ฯ มีสมาชิก ๑๕๓ คน ใน ๑๒ ประเทศ อันได้แก่ เบลเยียม เดนมาร์ค ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ลักเซม เบิ ร์ ก เนเธอร์ แ ลนด์ นอร์ เ วย์ สเปน สวี เ ดน สวิสเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร “แม้สมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นครูอาสาสอนภาษา ไทยอยู่แล้ว แต่เราไม่ได้จำ�กัดอยู่แต่เฉพาะผู้ที่เป็นครู เท่านัน้ เรายังเปิดกว้างสำ�หรับผูป้ กครองที่ต้องการสอน ลูกให้พูดภาษาไทยด้วย โดยไม่จำ�เป็นต้องเป็นครูหรือ มีโรงเรียนสอนภาษาไทยแต่อย่างใด” นอกจากนั้นสมาพันธ์ยังได้รับเกียรติจาก รอง ศาสตราจารย์ นราพร จันทร์โอชา รองประธานมูล นิ ธิ ก ารศึ ก ษาทางไกลผ่ า นดาวเที ย ม, ดร.ชั ย ยงค์ สัจจิพานนท์ เอกอัครราชทูตไทยประจำ�กรุงโซล ประเทศ เกาหลี (อดี ต เอกอั ค รราชทู ตไทยประจำ � กรุ ง เบิ ร์ น สวิสเซอร์แลนด์), อาจารย์สาลี่ ศิลปสธรรม และพระ มหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) เป็นที่ปรึกษาของสมา พันธ์ด้วย ผลงานชิ้นโบว์แดงอย่างแรกของสมาพันธ์ ก็คือ การมี “หลักสูตรภาษาไทยพืน้ ฐานสำ�หรับคนไทยในต่าง ประเทศ” ซึ่งได้รับการรับรองหลักสูตรจากกระทรวง ศึกษาธิการ หลักสูตรดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดย อาจารย์ สาลี่ ศิลปสธรรม จากโรงเรียนบ้านดอยขุนห้วย อ.ชะอำ� จ.เพชรบุรี ซึ่งได้รับรางวัลครูแห่งชาติ สาขาการสอน ภาษาอังกฤษ ปี ๒๕๔๒ และได้มาช่วยสอนนักเรียน อบรมครู และพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษา ไทยให้กับชาวไทยในยุโรปมาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ รู้จักและยอมรับจากชุมชนไทยในยุโรปอย่างกว้างขวาง

อ.สาลี่ อธิบายว่า หลักสูตรดังกล่าวพัฒนาขึ้นมา เพื่อเด็กไทยที่ดำ�รงชีวิตอยู่ในต่างประเทศอย่างแท้จริง เกิดขึน้ มาจากประสบการณ์ตรงของอาจารย์ทไี่ ด้รบั เชิญ มาสอนภาษาไทยให้กับเด็กไทยในยุโรปกว่า ๑๓ ครั้ง แล้ว “ครั้งแรกที่ครูมาสอนที่เจนีวา เมื่อปี ๒๕๕๐ มี เด็ก ๒๔ คน มีตั้งแต่ ๔ ขวบ ถึง ๑๕ ขวบ ซึ่งอันที่ จริง ไม่สามารถจัดให้อยู่ในชั้นเรียนเดียวกันได้ แต่ เนือ่ งจากมีครูคนเดียว ก็ตอ้ งทำ�ไป และ ๗๐ เปอร์เซนต์ พูดภาษาไทยไม่ได้ เพราะแม่ไม่พูดด้วย” เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ยังพูดภาษาไทยไม่ได้เลย ด้วยซ้�ำ อาจารย์สาลีบ่ อกว่า การจะเอาหนังสือแบบเรียน ภาษาไทยที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยมาสอนเด็กๆ นั้น จึงไม่มที างประสบความสำ�เร็จ “ทักษะสำ�คัญทีส่ ดุ ทีต่ อ้ ง เริ่ม คือ การฟังและพูด ไม่ใช่มาสอน ก.กา ข.ขา ให้ เขา เราต้องสอนให้เด็กพูดภาษาใกล้ตัว โต้ตอบให้ได้ ก่อนจึงเริ่มมาเรียนอ่านเขียน” อาจารย์สาลี่ จึงสรรหากิจกรรมต่างๆ มาให้เด็กๆ ทำ�ร่วมกัน เพื่อคลายพฤติกรรม และแบ่งกลุ่มเด็กอายุ ต่างๆ กัน และหาวิธีการสอนที่เหมาะกับเด็กวัยนั้นๆ การสอนดังกล่าวเกิดขึน้ ในช่วงปิดภาคเรียน ทำ�ให้เด็กๆ มาเรียนได้ทุกวันในช่วงบ่าย วันละ ๒ ชั่วโมง “ทำ�ไปอย่างนั้นทุกวัน ทั้งเด็กเล็ก เด็กโต คิดอยู่ เพียงอย่างเดียวว่า จะทำ�ยังไงให้เขาพูดได้ เมื่อสอนไป ได้เดือนครึ่ง ก็เริ่มเห็นผลว่าเด็กเริ่มพูด แต่ผลก็ไม่ได้ มากนัก ทำ�ให้เห็นว่าสอนภาษาไทยในต่างประเทศไม่ได้ เป็นเรื่อง และจากประสบการณ์ที่เป็นครูสอนภาษา อังกฤษมา ทำ�ให้รู้ว่าคล้ายกับการสอนภาษาอังกฤษใน เมืองไทย” ปัญหาทีพ่ บจากการได้มาสอนกว่า ๔ เดือน ทำ�ให้ อาจารย์สาลี่กลับไปพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน 37


ภาษาไทยสำ�หรับเด็กไทยในต่างประเทศขึ้นมา “การเรียนการสอนในสมัยก่อน คุณครูก็จะเอา หนังสือป.๑ มากาง สอนให้ลูกเขียน ก.ไก่ ข.ไข่ ได้แค่ ๓ - ๔ บท และไม่ได้ผล เรียนหนึ่งปี เรียกป.๑ เรียน สองปีเรียกป.๒ กระบวนการก็จะวนอยู่แค่นั้น และเด็ก ก็จะไม่ค่อยได้อะไร แถมผู้ปกครองยังมาต่อว่าครูด้วย ว่า ทำ�ไมส่งลูกมาเรียนแล้วยังพูดไม่ได้” แต่หลักสูตรที่อาจารย์สาลี่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ จะมี โครงสร้างของเนื้อหา มีเป้าหมายชัดเจน มีการวัดผล รวมทั้งไม่เรียกเป็นป. ๑ ป. ๒ แต่จะเรียกว่าภาษาไทย ๑ ภาษาไทย ๒ “บางคนแม้จะไม่ได้เป็นครู หรือไม่ได้สอนชั้น ๑ มา ก็จะรู้ว่าชั้น ๑ ทำ�อะไรมา ชั้นเรียนที่ ๒ ต้อง มากกว่า๑ ชั้นที่ ๓ ก็ต้องมากขึ้น ต้องมีการพัฒนา นอกจากนั้น คุณครูยังสามารถอธิบายให้ผู้ปกครอง ฟังได้ว่า เมื่อจบภาษาไทย ๑ แล้ว เด็กจะได้อะไร จะ ได้สร้างความเข้าใจที่ตรงกันว่าจะคาดหวังอะไรได้บ้าง จากชัน้ เรียนเหล่านี้ เป็นการป้องกันไม่ให้มาต่อว่าคุณครู ได้” หลักสูตรนี้มีทั้งหมด ๖ ชั้น ๖ ปี เมื่อจบทั้ง หลักสูตรแล้ว จะมีความรู้เทียบเท่ากับเด็กป.๑ ใน ประเทศไทย อาจารย์สาลี่อธิบายว่า ที่ใช้เวลานานเป็น เพราะเด็กไทยในยุโรปส่วนใหญ่จะได้เรียนภาษาไทย เพียงสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ ๒ ชั่วโมง เมื่อนับจำ�นวน ชั่วโมงที่ได้เรียนแล้ว ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับเด็ก ไทยที่อยู่ในเมืองไทย และพูดภาษาไทยในชีวิตประจำ� วันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว “ดังนั้นสิ่งที่สำ�คัญมากที่สุด คือ การที่แม่ต้องพูด ภาษาไทยกับลูก พูดให้มากทีส่ ดุ เพือ่ ให้เด็กได้ฟงั ภาษา ไทยมากที่สุด ครูมีเวลาอยู่กับเด็กเพียงอาทิตย์ละ ๒ ชั่วโมงเท่านั้นเอง” 38

นอกจากจะพัฒนาหลักสูตรแล้ว อาจารย์สาลี่ยัง ได้ ช่ ว ยพั ฒ นาหนั ง สื อ แบบเรี ย นภาษาไทยและแบบ ฝึกหัดขึ้นมาด้วย ในชื่อ “สวัสดี” ซึ่งมีทั้งหมด ๖ เล่ม รวมทั้งยังมี สื่อการเรียนการสอนต่างๆ แบบทดสอบ แต่ละบทเรียน แบบประเมินผลเมื่อจบชั้น เรียกได้ว่า จนครบถ้วนตามกระบวนการเรียนการสอนทีค่ วรจะเป็น อีกทั้งยังมาจัดอบรม สอนให้ครูใช้หลักสูตรและสื่อให้ เป็นด้วย ทัง้ หมดทัง้ สิน้ นี้ อาจารย์สาลีท่ �ำ ด้วยอาศัยว่าใจรัก และเห็นถึงความพยายามของครูอาสาชาวไทยในยุโรป “เท่าที่ครูได้เห็น การสอนภาษาไทยในยุโรปมี ปัญหาเยอะ(ยิม้ ) แต่เราต้องเข้าใจว่าคนทีน่ ไี่ ม่ใช่ครู แต่ อาสามาถึงขนาดนี้ เราจะอยู่เฉยนิ่งดูดายก็คงไม่ได้ ใจ คิดเพียงแต่ว่า เราทำ�ได้นี่ ก็ทำ�เลย ลุยเลย พอทำ� หลักสูตรเสร็จ ก็ต้องมีแบบเรียน พอมีแบบเรียนแล้ว ก็คดิ ว่าน่าจะต้องมีแบบทดสอบแต่ละบท ก็ท�ำ ไปเรือ่ ยๆ เวลาเอากลับมาสอนให้คณ ุ ครูใช้ เห็นเขาใช้ได้ เราก็ดใี จ” “มาถึงวันนี้ ก็ถึงจุดหมายแล้วนะ เพราะได้สอน ทุกอย่างตั้งแต่การเรียนการสอน จนไปถึงการบริหาร โรงเรียน ตั้งคณะกรรมการยังไง ฯลฯ มาถึงตอนนี้ ไม่ ต้องเอาอะไรมาให้แล้ว เพราะว่ามันครบกระบวนการ แล้ว หากจะมีอะไรให้ครูช่วยต่อไป ก็คงเป็นส่วนของ การดูว่า โรงเรียนแต่ละโรง พัฒนาไปถึงไหน ทำ�ไมบาง โรงถึงไม่พัฒนา แล้วจะปรับปรุงแก้ไขกันอย่างไรดี” อาจารย์สาลี่บอกว่า หากจะให้การสอนภาษาไทย ให้กบั เยาวชนไทยในต่างประเทศแข็งแรงและเข้มแข็งขึน้ จะต้องมีการสร้าง “คน” ให้มากขึ้น “เราต้องจัดการอบรมครูให้มากขึน้ เผยแผ่วธิ กี าร เรียนการสอนของเรา สร้างครูใหม่ๆ ที่มีคุณภาพขึ้นมา ในขณะเดียวกันก็ควรมีการจัดอบรมเพื่อกระตุ้นพ่อแม่ ด้วย เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจว่า ถ้าลูกไปโรงเรียน


ภาษาไทย จะได้เรียนลักษณะไหน และจะมีประโยชน์ อย่างไรบ้าง” จากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสกับผู้ปกครองชาว ไทยที่อาศัยอยู่ในยุโรป อาจารย์สาลี่บอกว่า ผู้ปกครอง จำ�นวนไม่น้อยยังเข้าใจผิดๆ คิดว่าลูกจะสับสน และ เรียนหนังสือที่โรงเรียนได้ช้า หากตนพูดภาษาไทยกับ ลูก บางครอบครัวปัญหาอยูท่ ตี่ วั คุณพ่อทีไ่ ม่ตอ้ งการให้ มีการพูดภาษา “แปลกๆ” ในบ้านเนื่องจากตนเองไม่ เข้าใจ อาจารย์สาลีบ่ อกว่า พ่อแม่ตอ้ งมีการพูดคุยกันให้ เข้าใจ และตกลงกันว่าในบ้านจะมีการพูด ๒ ภาษา เด็ก อาจจะช้าบ้างในตอนต้น แต่จะได้เปรียบในระยะยาว “เด็กทีพ่ ดู ได้ทงั้ ภาษาของพ่อและแม่ได้ จะช่วยให้ เรียนหนังสือเก่ง สติปญ ั ญาดี และจะดีกว่าเด็กทีพ่ ดู เป็น เพียงแค่ภาษาเดียว เพราะได้ฝึกแยกแยะทางสมองได้ ตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องที่ได้รับการพิสูจน์ ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าจริง นอกจากนัน้ เด็กจะได้เปรียบ ในโลกอนาคต ในโลกของการทำ�งาน เพราะพูดได้หลาย ภาษา ซึ่งย่อมต้องดีกว่าภาษาเดียว” นอกจากนัน้ ผูป้ กครองหลายคนเห็นว่าภาษาไทย เป็นสิง่ ไม่จ�ำ เป็น เพราะคิดว่าคงไม่กลับไปใช้ชวี ติ ทีเ่ มือง ไทยแน่ “แต่ในความเป็นจริงนั้น เราไม่รู้หรอกว่า อนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร หลายคนต้องย้ายตาม สามีกลับไปอยูเ่ มืองไทย หรือบางคนมีปญ ั หาต่างๆ ต้อง ตัดสินใจย้ายกลับ หากลูกพูดภาษาไทยไม่ได้ก็จะปรับ ตัวลำ�บาก” แต่สิ่งที่น่าหนักใจยิ่งกว่าคือ แม่ที่ไม่ยอมพูดกับ ลูก เพราะเห็นว่าภาษาไทยไม่สำ�คัญ อาจารย์สาลี่เล่าว่า มีคุณแม่บางคนที่รู้สึกดี รู้สึกเท่ ที่ได้พูดภาษาต่าง ประเทศกับลูก ทั้งๆ ที่ภาษาต่างประเทศของตนเองนั้น ก็กระท่อนกระแท่น “สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าตัวคุณ

แม่ไม่ได้ภูมิใจในภาษาไทยเลย ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว จะ มีภาษาอะไรทีเ่ ราจะสือ่ ให้ลกู เราได้ดไี ปกว่าภาษาแม่ของ เราเอง” “ครูเคยเจอแม่ที่มานั่งร้องไห้ บอกว่า ครู... ชั้น น่ะสายไปแล้ว (ลูก)มันว่าชั้นโง่ พูดภาษามันยังไม่ได้ แล้วจะมาสอนอะไรมัน... กลายเป็นปัญหากับคุณแม่คน ไทยจำ�นวนไม่น้อย ว่าลูกวัยรุ่นไม่ให้ความเคารพ และ เป็นคำ�อธิบายว่าทำ�ไมเด็กหลายคนจึงไม่อยากให้แม่พา ไปโรงเรียน ก็เพราะมันอายที่แม่พูดภาษาไม่ได้” ในมุม มองของอาจารย์สาลี่ วิธีแก้ปัญหาก็คือ การพูดภาษา ไทยกับลูก ซึ่งเป็นภาษาที่คุณแม่ถนัดที่สุด สื่อสารออก มาได้ดีที่สุด และสอนให้ลูกภูมิใจในความเป็นไทย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือที่รู้จักกันทั่วไปใน นาม ว.วชิรเมธี ที่ปรึกษาของสมาพันธ์ฯ ซึ่งมาบรรยาย ในหัวข้อ “ภาษาไทยในภาษาธรรม” ให้กบั ผูร้ ว่ มประชุม ด้วย กล่าวสนับสนุนการสอนภาษาไทยให้กับลูกหลาน ชาวไทยด้วยว่า “การสอนให้ลูกพูดภาษาไทย สะท้อนให้เห็นถึง ความเป็นผู้มีสติปัญญาของพ่อแม่ ที่เตรียมให้ลูกรู้จัก ทั้ง ๒ ด้าน ภาษาไทยเปรียบเสมือนรากเหง้าด้านหนึ่ง ของตัวลูกเองด้วยเช่นกัน เปรียบเสมือนแม่น้ำ� จะต้อง มีต้นน้ำ�ที่ก่อให้เกิดแม่น้ำ�ออกมา คนไทยที่ไร้ราก จะ ไม่มีที่เกาะเกี่ยวหัวใจ เพราะไม่รู้จะเชื่อมกับใคร ไม่มีที่ ยึดโยงในใจ ไม่มภี มู คิ มุ้ กันในการใช้ชวี ติ ถ้ารูจ้ กั ทัง้ สอง ด้าน คือทั้งด้านของพ่อและแม่ เด็กก็จะเข้มแข็ง รู้จัก ทัง้ ภายนอก คือโลกทีเ่ ขากำ�ลังอาศัยอยู่ และภายใน นัน่ คือจิตวิญญาณ” “อาตมาภาพเห็ น ว่ า เป็ น เรื่ อ งที่ สำ � คั ญ มากที่ จ ะ เตรียมให้ลูกหลาน เป็นคนที่มีความพร้อม แข็งแกร่ง ทางด้านจิตใจ ภาษาเปรียบเสมือนความเข้มแข็งทางจิต วิญญาณอย่างหนึ่ง ประกาศถึงรากเหง้าของเราเอง คน 39


ที่ใช้ภาษาอย่างเป็นนาย จะได้เปรียบ และประสบความ สำ�เร็จ” สุพรรณีอธิบายต่อด้วยว่า เมื่อมีหลักสูตรการ เรียนการสอนภาษาไทยทีไ่ ด้รบั การรับรองจากกระทรวง ศึกษาธิการแล้ว เป้าหมายต่อไปของสมาพันธ์ฯ คือการ ผลักดันให้ใบประกาศนียบัตรของนักเรียนทีเ่ รียนจบการ เรียนการสอนหลักสูตรดังกล่าว ได้รับการรับรองจาก กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อที่เด็กนักเรียนจะมีวุฒิการ ศึกษาเทียบเท่าป.๑ และสามารถนำ�ไปใช้สมัครเรียนกับ โรงเรียนของกศน. ในระดับป.๖, ม.๓ และม.๖ ต่อไป เหตุทสี่ มาพันธ์ฯ มุง่ มัน่ ผลักดันในเรือ่ งนีเ้ ป็นอย่าง มากนั้น สุพรรณีบอกว่าก็เพื่อผลกระโยชน์ของตัวเด็ก เอง เพราะในปัจจุบัน มีกฎหมายข้อหนึ่งที่ระบุว่าเด็กที่ จบการศึกษาจากต่างประเทศในระดับปริญญาตรี/โท สามารถเข้ารับราชการได้ หากมีความรู้ภาษาไทยอย่าง น้อยเทียบเท่ากับป.๖ “สมาพันธ์จงึ เปรียบเหมือน “สะพาน” ทีเ่ ชือ่ มเด็ก และเยาวชนไทยในยุโรป กับการศึกษาในประเทศไทย ด้วยหวังว่าการที่ทำ�ให้เด็กๆ เหล่านี้มีทักษะฟัง พูด เขียน อ่าน ภาษาไทย ซึ่งนอกจากจะทำ�ให้สามารถ สื่อสารกับญาติพี่น้องในประเทศไทยได้แล้ว ในระยะ

40

ยาว จะสามารถนำ�ทักษะความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากการ ศึ ก ษาและใช้ ชี วิ ต อยู่ ใ นต่ า งประเทศไปใช้ ใ ห้ เ ป็ น ประโยชน์กับประเทศไทย เป็นทรัพยากรบุคคลที่มี คุณค่าและคุณภาพ โดยที่ประเทศไทยแทบจะไม่ต้อง ลงทุนอะไรเลย” นอกจากนั้นแล้ว สุพรรณีบอกว่า สมาพันธ์ฯ ยัง ตัง้ เป้าเป็นศูนย์กลางในการให้ค�ำ ปรึกษาให้กบั ผูป้ กครอง ที่มีความสนใจอยากสอนภาษาไทยให้บุตรหลาน และ กลุม่ บุคคลทีส่ นใจอยากจะตัง้ โรงเรียนสอนภาษาไทย ว่า มีข้อควรพิจารณาอะไรบ้าง จะต้องติดต่อหน่วยงานใด และดำ�เนินการเรียนการสอนอย่างไร “สำ�หรับโรงเรียนที่ดำ�เนินการเรียนการสอนอยู่ แล้ว ก็จะจัดให้มีการประเมินแบบเรียน เพื่อปรับแก้ให้ เหมาะสมกับการเรียนการสอนในประเทศของตนต่อไป” ดวงฤทัย เร็วการ ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสามัคคี ไทย ในเมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน และหนึ่งใน สมาชิกสมาพันธ์ฯ ที่มาร่วมประชุมในครั้งนี้ เล่าให้ฟัง ว่า ก่อนทีต่ นจะก่อตัง้ โรงเรียนนัน้ ได้พบปะสังสรรค์กบั หมู่เพื่อนคนไทยในบาร์เซโลน่าอยู่เป็นประจำ� ได้พบกับ ลูกหลานคนไทย หน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู ซึง่ ตนอยากเล่น ด้วย แต่ก็พบอุปสรรคเพราะเด็กๆ ไม่เข้าใจภาษาไทย ไม่รู้จักเพลงละเล่นของเด็กไทย ทำ�ให้ตนรู้สึกผิดหวัง และข้องใจว่า ในเมื่อพวกเขาเหล่านั้นมีเลือดไทยอยู่ถึง ครึ่งหนึ่ง ทำ�ไมถึงไม่รู้จักรากเหง้าของตัวเอง ไม่รู้จัก ภาษาของมารดาตนเอง เป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก “เมื่อดิฉันได้ไปสอบถามคุณแม่คนไทยของเด็กๆ เหล่านัน้ ก็ได้ความว่า พวกเขาไม่สามารถสอนภาษาไทย ให้ลูกๆของตนเองได้ เนื่องจากบางคนก็บอกว่าตนมี ความรู้น้อย เขียนอ่านก็ไม่ค่อยจะถูก บางคนก็บอกว่า ลูกไม่ชอบภาษาแปลกๆ หรือบางคนนั้นไม่ถนัดภาษา ไทย ถนัดแต่ภาษาท้องถิ่นดั้งเดิมของตน”


“ดิฉันจึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า น่าจะรวมเด็กๆ เหล่านี้ มาเรียนภาษาไทยด้วยกัน ดิฉนั เป็นคนชอบเด็ก อยูแ่ ล้ว จะทำ�การสอนให้เอง แต่กต็ ดิ ขัดตรงทีว่ า่ ไม่เคย สอนภาษาไทยมาก่อน และคิดว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่ ละเอียดอ่อน เมื่อนำ�มาสอนให้เด็กๆ ลูกครึ่งเหล่านั้น คงต้องคิดหลักสูตรวิธีการสอนขึ้นมาใหม่ เพราะเด็กๆ เหล่านี้ไม่ได้เกิดและเติบโตที่เมืองไทย และไม่ได้ใช้ ภาษาไทยในชีวิตประจำ�วัน จึงน่าจเป็นเรื่องที่ค่อนข้าง ยาก” ดวงฤทั ย ได้ ท ราบข่ า วจากชมรมสตรี ไ ทยใน ฝรัง่ เศส ว่าจะมีการอบรมครูสอนภาษาไทย โดยอาจารย์ สาลี่ ศิลปสธรรม ที่ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับตัวอาจารย์แล้ว เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึง ตัดสินใจเดินทางไปร่วมอบรมครู “ในการอบรมนั้น ดิฉันได้พบกับครูอาสาสมัคร มากมาย ได้พูดคุยกับครูจากประเทศต่างๆ ทำ�ให้เกิด กำ�ลังใจ คิดว่าเราเองก็น่าจะทำ�ได้ ประกอบกับตอนนั้น ดิฉนั เพิง่ มีลกู ชายคนแรก อยากให้ลกู ชายพูดภาษาไทย ได้ จึงได้กลับมาเตรียมการ เตรียมสถานที่ และบอก เล่าให้กบั กลุม่ เพือ่ นๆ ทีม่ กั จะพบปะสังสรรค์กนั อยูเ่ ป็น ประจำ�ให้ได้รับรู้ถึงความตั้งใจจริงของดิฉัน พวกเราจึง ได้ตั้งกลุ่มขึ้นมาในชื่อ “กลุ่มครอบครัวไทย-สเปน” เพราะคนสเปนเน้นการทำ�กิจกรรมเป็นครอบครัว และ พวกเราก็รักกันดูแลกันเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน จริงๆ” “ในการจัดเตรียมสถานที่นั้น ได้รับความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจเป็นอย่างดีจากพวกพ้องที่มาช่วยกัน อย่างยิม้ แย้มแจ่มใส ไม่รจู้ กั เหน็ดเหนือ่ ย ส่วนเรือ่ งของ ตำ�ราเรียน ดิฉันได้ไปนัดพบกับอาจารย์สาลี่ที่เมืองไทย ขอดูตำ�ราและซื้อมาให้นักเรียนของดิฉัน ซึ่งอาจารย์ก็ ใจดีมาก ซื้อสองแถมหนึ่ง แถมเทคนิคและกำ�ลังใจอีก

มากมาย รวมทั้งตามมาดูโรงเรียนของดิฉันในอีกสองปี ถัดไปจากนั้นด้วย” การเรียนการสอนของโรงเรียนสามัคคีไทย ดำ�เนิน ไปอย่างต่อเนือ่ ง ดวงฤทัย ยังคงติดต่อกับเพือ่ นครูอาสา ในประเทศอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง และเมื่อทราบข่าวว่าจะ มีการจัดตั้งสมาพันธ์ฯ เธอจึงสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิก ทันที และเดินทางมาร่วมประชุมครั้งแรกที่ประเทศ เบลเยี่ยมนั่นเอง ซึ่งเธอบอกว่าได้รับประโยชน์จากการ แลกเปลีย่ นวิธกี ารเรียนการสอน และเทคนิคต่างๆ เป็น อย่างมาก ซึง่ เธอจะนำ�กลับมาใช้ปรับปรุงให้กบั การเรียน การสอนในโรงเรียนของตนต่อไป เธอบอกด้วยว่าจากที่เปิดสอนมาเกือบ ๓ ปี เห็น ได้ชัดว่าเด็กๆ มีพัฒนาการที่ดีขึ้น “ลูกศิษย์ตวั น้อยๆ และตัวปานกลาง(วัยรุน่ ) ของ ดิฉันนั้น เมื่อได้มาเรียนที่โรงเรียนแล้ว จากที่พูดไทย ไม่ได้ ก็พูดไทยได้บ้าง และจากที่พูดได้อยู่แล้ว ก็พูด ได้ดีขึ้นไปอีก(ยิ้ม)” “ในตอนนี้ เด็กๆ ทีม่ าเรียนนัน้ อาจจะยังไม่เข้าใจ มากนักว่าทำ�ไมจึงต้องเรียนภาษาไทย แต่ดฉิ นั ก็ได้เกริน่ อธิบายไปในครั้งแรกที่เด็กๆ มาสมัครเรียนว่า เพื่อที่ พวกเขาจะได้สามารถพูดกับครอบครัวคนไทยของแม่เขา ได้ และเพื่อที่ว่าพวกเขาจะสามารถเอาตัวรอดได้ใน อนาคต หากต้องกลับไปใช้ชวี ติ ทีเ่ มืองไทย หรือมากกว่า นั้น หากพวกเขาอยากมีหน้าที่การงานที่ดีในเมืองไทย ก็ควรจะต้องรู้ภาษาไทยเอาไว้ เหมือนดั่งที่สำ�นวนใน นิทานคำ�กลอนเรื่อง พระอภัยมณี ได้สอนเอาไว้ว่า “รู้ สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวยอดเป็นรอดดี”” ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสมาพันธ์ฯ สามารถหาข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่ www.fottethaieuro.com

41


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.