การหลับ การฝัน และการตาย
หมวดปรัชญา/วิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่ การหลับ การฝัน และการตาย สำรวจจิตไปกับองค์ทะไลลามะ Sleeping, Dreaming, and Dying: An Exploration of Consciousness with The Dalai Lama
His Holiness the Dalai Lama: Author Francisco Varela: Editor Copyright © Mind and Life, 1997 Sleeping, Dreaming and Dying: An Exploration of Consciousness was originally published in English in 1997. This Translation is published by arrangement with Wisdom Plublications 199 Elm Street, Somerville MA 02144 USA through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd.
Thai edition copyright © Suan Ngeun Mee Ma Co., Ltd., 2013 All rights reserved ลิ ขสิทธิฉ์ บับภาษาไทย © สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา ๒๕๕๖ ฟรานซิสโก เจ. วาเรลา บรรณาธิการภาคภาษาอังกฤษ สดใส ขันติวรพงศ์ แปล พจนา จั น ทรสั น ติ บรรณาธิการภาคภาษาไทย ออกแบบปก วรพร พรหมบุตร รูปเล่ม สุชาดา เสโส พิ สจู น์อกั ษร เอ็นดู ศรีใส พิมพ์ครัง้ ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ ISBN 978-616-7368-39-9
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ องค์ทะไลลามะ. การหลับ การฝัน การตาย.-- กรุงเทพฯ : สวนเงินมีมา, 2556. 312 หน้า. 1. พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์. I. สดใส ขันติวรพงศ์, ผูเ้ แปล. II. ชือ่ เรือ่ ง. 294.31175 ISBN 978-616-7368-39-9
ทีป่ รึกษาฝ่ายต่างประเทศ ฮันส์ แวนวิลเลีย่ นส์วาร์ด บรรณาธิการบริหาร วัลลภา แวนวิลเลีย่ นส์วาร์ด กองบรรณาธิการ วรนุช ชเู รืองสุข ฝ่ายสือ่ สารประชาสัมพันธ์ พิชญ์นนั ท์ พุม่ สวัสดิ์ ฝ่ายขาย ชาญธิภา คงถาวร, สมภพ บุญชุม สำนักงาน บริษทั สวนเงินมีมา จำกัด ๗๗, ๗๙ ถนนเฟือ่ งนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๒๒ ๒๔๙๕-๖, ๐ ๒๖๒๒ ๐๙๕๕, ๐ ๒๖๒๒ ๐๙๖๖ โทรสาร ๐ ๒๖๒๒ ๓๒๒๘ อีเมล publishers@suan-spirit.com เว็บไซต์ www.suan-spirit.com เฟซบุก๊ www.facebook.com/suan2001 โรงพิมพ์ หจก. ภาพพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๔๓๓ ๐๐๒๖-๗ จัดจำหน่ายโดย สายส่งศึกษิต บริษทั เคล็ดไทย จำกัด โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๕ ๙๕๓๖-๔๐ ราคา ๓๓๐ บาท
การหลับ การฝัน และการตาย ส ำ ร ว จ จิ ต ไ ป กั บ อ ง ค์ ท ะ ไ ล ล า ม ะ Sleeping, Dreaming, and Dying An Exploration of Consciousness with The Dalai Lama
คำนำโดย องค์ทะไลลามะทีส่ บิ สี่ เล่าเรือ่ งและบรรณาธิการโดย ฟรานซิสโก เจ. วาเรลา (ปรัชญาดุษฎีบณั ฑิต)
ด้วยคุณปู การของ เจโรม เอ็นเกล (แพทยศาสตรบัณฑิต, ปรัชญาดุษฎีบณั ฑิต) เจน กึกเกิน้ บาค (ปรัชญาดุษฎีบณั ฑิต) โจอัน ฮาลิแฟกซ์ (ปรัชญาดุษฎีบญั ฑิต) จอยส์ แม็คดูกลั ล์ (ดุษฎีบณั ฑิตด้านการศึกษา) และ ชาร์ลส์ เทเลอร์ (ปรัชญาดุษฎีบณั ฑิต)
บี. อลัน วอลเลซ และ ตุบเต็น จินปะ แปลภาคภาษาอังกฤษ สดใส ขันติวรพงศ์ แปลภาคภาษาไทย พจนา จันทรสันติ บรรณาธิการ
โครงการหนังสือวิชาการจิตตปัญญาศึกษา ลำดับที่ ๑๙
คณะกรรมการบริษทั สวนเงินมีมา ๑. นายสุลกั ษณ์ ศิวรักษ์ ประธานกิตติมศักดิ์ ๒. นายปรีดา เตียสุวรรณ์ ประธานกรรมการ ๓. นายประวิทย์ เยีย่ มแสนสุข ประธานกรรมการ ๔. นายสัจจา รัตนโฉมศรี กรรมการ ๕. นายอนันต์ วิรยิ ะพินจิ กรรมการ ๖. นายฮันส์ แวนวิลเลีย่ นส์วาร์ด กรรมการ ๗. นางวัลลภา แวนวิลเลีย่ นส์วาร์ด กรรมการผูจ้ ดั การ รายนามผูถ้ อื หุน้ ๑. นายธีรพล นิยม ๒. นายวินยั ชาติอนันต์ ๓. นายวิศษิ ฐ์ วังวิญญู ๔. นายสมเกียรติ์ อภิญญาชน ๕. นายสุทธิชยั เอีย่ มเจริญยิง่ ๖. นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ๗. นายสมบูรณ์ จึงเปรมปรีดิ์ ๘. นางอภิสริ ี จรัลชวนะเพท ๙. นายมาซากิ ซาโต้ ๑๐. นายบารมี ชัยรัตน์ ๑๑. นายปรีดา เรืองวิชาธร ๑๒. นายศิโรช อังสุวฒ ั นะ ๑๓. นายเลิศ ตันติสกุ ฤต ๑๔. นางสาววรรณา ประยุกต์วงศ์ ๑๕. นางสาวปารีณา ประยุกต์วงศ์ ๑๖. บริษทั แพรนด้า โฮลดิง้ จำกัด ๑๗. นายกษิดศิ อือ้ เชีย่ วชาญกิจ ๑๘. นายวัลลภ พิชญ์พงศ์ศา ๑๙. นางดารณี เรียนศรีวไิ ล ๒๐. นางสุวรรณา หลัง่ น้ำสังข์ ๒๑. นายวีระเดช สมบูรณ์เวชชการ สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท สวนเงินมีมา จำกัด อันเป็นองค์กรธุรกิจอย่างใหม่ ประกอบด้วยองค์กรพัฒนาสังคม และนักธุรกิจที่ตระหนักถึงปัญหาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และ ศักยภาพด้านในของมนุษย์ ตัง้ ขึน้ เพือ่ ดำเนินงานทัง้ ด้านธุรกิจและสังคมไปพร้อมกันด้วยค่านิยมอย่าง ใหม่ ที่มิได้หวังกำไรเป็นที่ตั้ง และผลกำไรที่มีขึ้นจะนำกลับไปส่งเสริมสนับสนุนองค์กร พัฒนาสังคม และชุมชนเป็นหลัก
จากสำนักพิมพ์
วงสนทนาวิสาสะจิตและชีวติ (Mind and Life Dialogue) ระหว่างผูน้ ำจิตวิญญาณ องค์ทะไลลามะ กับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำในช่วงกว่าหนึ่งทศวรรษมานี้ ได้มี บทบาทอย่างสำคัญต่อการนำไปสูก่ ระบวนการความรูเ้ รือ่ ง “ศาสตร์ใหม่” (New Science) ที่เชื่อมโยงการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การเข้าใจโลกภายนอกและโลก ภายใน การบูรณาการโลกทัง้ สองส่วนอย่างเป็นองค์รวมเกิดจากความรูค้ วาม เข้าใจถึงสัมพันธภาพและความเชือ่ มโยง ซึง่ นักวิทยาศาสตร์และนักคิดกระแส ทางเลือกบางท่านเรียกว่า โยงใยทีซ่ อ่ นเร้น หรือ ข่ายใยแห่งชีวติ โดยทัง้ สองคำนี้ เป็นชื่อหนังสือที่เขียนโดยฟริตจ๊อฟ คาปร้า โยงใยที่ซ่อนเร้น นั้นสำนักพิมพ์ สวนเงินมีมาได้จัดพิมพ์เผยแพร่มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ คาปร้านับเป็นนักวิทยาศาสตร์สาขาฟิสกิ ส์คนสำคัญทีม่ บี ทบาทในการเผยแพร่แนวคิดเรือ่ งกระบวนทัศน์ใหม่ บนพืน้ ฐานทีว่ า่ นอกเหนือจากความรูค้ วามเข้าใจด้านกายภาพที่ไม่ ได้อยู่อย่างแยกส่วนกัน หากสรรพสิ่งล้วนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทั้งสิ้น ดุจเดียวกับทีพ่ ระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้เช่นกัน วงสนทนาวิสาสะ หรือ dialogue ทีจ่ ดั ขึน้ ครัง้ ที่ ๔ ในปี ๒๕๓๕ นีม้ หี วั เรือ่ ง ว่า “การหลับ การฝัน และการตาย” ซึง่ เป็นวงสนทนาที่ได้รบั การกล่าวขวัญว่า ดีที่สุด โดยมีสาระครอบคลุมตั้งแต่ ประสาทวิทยา จิตเวชศึกษา จิตวิทยา จิตวิเคราะห์ และจิตบำบัด เป็นต้น โดยผสมผสานกับมิตจิ ติ วิญญาณด้านพุทธศาสนา เกิดกระบวนการสืบค้นในมิติใหม่ทจี่ ะเข้าใจการทำงานของจิตทีเ่ รียกว่า “ศาสตร์ด้านจิต” (mind science) และ “ศาสตร์ด้านจิตวิญญาณ” (Spiritual
I
จากสำนักพิมพ์ 5
Science) อันเป็นเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเกี่ยวกับการเข้าใจจิต (mind) อารมณ์ (emotion) กระแสสำนึก (stream of conciousness) จิตสำนึก (conciousness) และความตระหนักรู้ (awareness) ทัง้ ในยามตืน่ ยามหลับ ยามฝัน และ แม้แต่ภาวะใกล้ตาย หรือแม้แต่ตัวความตายเองว่ามีภาวะอย่างไร ทั้งในคติ ความเชือ่ ทางตะวันตกและตะวันออก ความเข้าใจสภาวะและการทำงานของจิต นัน้ มีคำอธิบายอยู่ในพุทธศาสนาอย่างละเอียด อาทิ ลำดับขัน้ ต่างๆ ของจิต จิต ในสภาวะต่างๆ ขณะเดียวกันก็มชี ดุ คำอธิบายในสาขาความรูท้ ถี่ กู พัฒนาขึน้ ใน โลกตะวันตก โดยเฉพาะจากสำนักฟรอยด์ (Freudian) วงสนทนาครัง้ ที่ ๔ นีส้ บื เนือ่ งจากวงสนทนาก่อนหน้านัน้ ทีส่ ำรวจศึกษาถึง ปฏิสมั พันธ์ระหว่างการปฏิบตั สิ มาธิภาวนาทีม่ ตี อ่ สมอง จวบจนกระทัง่ ปัจจุบนั นี้ ได้เกิดงานศึกษาวิจยั มากมายทีศ่ กึ ษาความสัมพันธ์ระหว่างสมองและจิต สมอง และการทำงานในสภาวะต่างๆ ทัง้ สภาวะหลับ สภาวะฝัน รวมทัง้ การทำงานของ สมองในสภาวะสูค่ วามตาย ความหลากหลายลุม่ ลึกของวงสนทนาวิสาสะในช่วง หนึง่ สัปดาห์ทจี่ ดั ขึน้ ครัง้ นี้ นับว่าครอบคลุมเนือ้ หาทางปรัชญาในเรือ่ ง “ตัวตน” (self) อย่างลึกซึ้ง รวมทั้งในทางจิตวิเคราะห์แบบฟรอยด์ ผสมผสานกับคำ อธิบายในพุทธศาสนาแบบธิเบตทีอ่ งค์ทะไลลามะได้ชี้ให้เห็นเกีย่ วกับเรือ่ งการ หลับ การฝันและการตาย หนังสือเล่มนีจ้ งึ นับว่าเป็น หนังสือแห่งชีวติ เป็นจุด เริม่ ต้นทีไ่ ม่จบสิน้ ในเรือ่ งการวิจยั แบบ “บุคคลแรก” (first parson) หรือ “ฉัน” เพือ่ ทีจ่ ะเข้าใจว่าเราคือใคร และความลีล้ บั แห่งการดำรงอยูข่ องเรา ด้วยเหตุผลนี้ สำนักพิมพ์สวนเงินมีมาจึงเห็นประโยชน์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่ความรูท้ ไี่ ด้จาก วงสนทนาจิตและชีวติ โดยหนังสือทุกเล่มจากวงสนทนาวิสาสะนีน้ บั เป็นหน้าต่าง สูก่ ารวิจยั เชิงปฏิบตั กิ าร ทีม่ ตี วั เราทุกคนเป็นผูว้ จิ ยั และร่วมในกระบวนการตัง้ คำถามว่าชีวติ คืออะไร เราเกิดมาเพือ่ อะไร และกระบวนการแสวงหาคำตอบต่อ คำถามเหล่านี้ วงสนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างองค์ทะไลลามะกับนักวิทยาสตร์ในสาขา ต่างๆ นี้ ต่อมาได้ก่อรูปเป็นสถาบันจิตและชีวิต (Mind and Life Institute) ซึ่ง 6
I
การหลับ การฝัน และการตาย
ปัจจุบนั มีศาสตราจารย์ ดร.อาเธอร์ ซายองค์เป็นประธาน และท่านได้ตอบรับคำ เชิญมาแสดงปาฐกถาให้กบั School for Wellbeing Studies and Research โดย ร่วมกับสำนักพิมพ์สวนเงินมีมา รวมทั้งองค์กรต่างๆ ได้แก่ ศูนย์จิตตปัญญา ศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์อนิ เดียศึกษา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น งานปาฐกถาที่จัดขึ้นเมื่อต้นปีนี้ได้กลายมาเป็นพื้นฐานให้เกิดการ ทำงานด้านเครือข่ายจิตวิญญาณเพื่อสังคม (Socially Engaged Spirituality Network) ทีส่ ำนักพิมพ์สวนเงินมีมาร่วมกับ School for Wellbeing Studies and Research รวมทัง้ ภาคีตา่ งๆ โดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) ให้การสนับสนุน โครงการฯ มีชอื่ เรียกสัน้ ๆ ว่า “จิตวิญญาณใหม่” (New Spirit) ด้วยมุง่ หวังทีจ่ ะร่วมกับคนหนุม่ สาวแสวงหาการเรียนรูแ้ ละศึกษา วิจยั ด้านจิตวิญญาณร่วมสมัยในฐานะตัว “ฉัน” เป็นการวิจยั เชิงปฏิบตั กิ ารที่ไม่ อาจแยกตัวผูเ้ รียน ผูว้ จิ ยั ออกจากการศึกษาได้เลย การค้นหาจิตวิญญาณร่วม สมัยรวมทัง้ จิตวิญญาณเพือ่ สังคมของคนรุน่ ใหม่ อาจคือความท้าทายต่อการอยู่ รอดของสังคมและโลกใบนีก้ เ็ ป็นได้ สำนักพิมพ์ใคร่ขอขอบคุณผูแ้ ปล อาจารย์สดใส ขันติวรพงศ์ และบรรณาธิการแปล คุณพจนา จันทรสติ ทีช่ ว่ ยให้ภาษาในต้นฉบับแปลออกมาสละสลวย ด้วยความอุตสาหะวิรยิ ะยิง่ ท้ายสุดหากสำคัญยิง่ คือบรรณาธิการต้นฉบับภาษา อังกฤษ ดร.ฟรานซิสโก เจ. วาเรลา
I
จากสำนักพิมพ์ 7
คำขอบคุณจากสำนักพิมพ์ (ฉบับภาษาอังกฤษ)
สำนักพิมพ์วิสดัมขอขอบคุณมูลนิธิเกียร์ (Gere Foundation) ที่มีน้ำใจไมตรี ให้ทุนสนับสนุนการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี ้ เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ริชาร์ด เกียร์ ได้เป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่คำสอนและสารจากองค์ทะไลลามะสูช่ าว โลก ว่าด้วยความรับผิดชอบสากล ความเมตตา และสันติภาพ ทั้งโดยการที ่ ริชาร์ดแสดงตนต่อสาธารณะ และช่วยเหลือสำนักพิมพ์วิสดัมในการจัดพิมพ์ หนังสือขององค์ทะไลลามะหลายเล่ม ริชาร์ดยืนหยัดสนับสนุนความพยายาม ของท่าน ทีม่ งุ่ หมายให้ชาวโลกหันมาให้ความสนใจต่อความทุกข์ยากของชาว ธิเบต ต่อภัยทีค่ กุ คามแผ่นดินและมรดกวัฒนธรรมของชาวธิเบต หลังจากถูก ยึดครองโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน เรายกย่องและชืน่ ชมการสนับสนุนทัง้ หลาย ทีเ่ ขาได้กระทำ 8
I
การหลับ การฝัน และการตาย
คำขอบคุณจากบรรณาธิการ
ผมขอขอบคุณจากจิตใจส่วนลึกต่อบุคคลหลายท่าน ทีท่ ำให้การประชุมจิตและ ชีวิตครั้งที่สี่เป็นไปได้ และได้เกิดหนังสือเล่มนี ้ บุคคลแรกและสำคัญที่สุดคือ องค์ทะไลลามะ ทีท่ รงเมตตาเป็นเจ้าภาพ ให้ความอบอุน่ ใจ และสนพระทัยการ ประชุมนีอ้ ย่างต่อเนือ่ ง ขอขอบคุณเท็นซิน เกเช และสำนักงานส่วนพระองค์ ของท่าน ที่ได้ชว่ ยเหลือเราอย่างมากมาย ขอบคุณอดัม เองเกล ผูด้ ำเนินงาน และเป็นประธานสถาบันจิตและชีวติ ด้วยความห้าวหาญ ขอบคุณอลัน วอลเลซ ผู้ให้ความคิดและการสนับสนุนอย่างสำคัญยิง่ ขอบคุณงาริ ริมโปเช กับ รินเช็น กันโดร ที่ให้การรับรองเรา ณ กระท่อมแคชเมียร์ ที่ธรรมศาลา ด้วยอัธยาศัย ไมตรี และสนับสนุนงานนี้ด้วยความมุ่งมั่น ขอขอบคุณผู้ร่วมเสวนาทุกคนที่ กระตือรือร้นก้าวไปกับการผจญภัย และงานจากใจของเขาเหล่านีป้ รากฏอยูแ่ ล้ว ในหนังสือเล่มนี ้ ขอขอบคุณบาร์รีกับคอนนี เฮิร์ชลีย์ และ บรองโก ไวส์ ที ่ เกือ้ หนุนให้ปญั ญาหยัง่ รูไ้ ด้แปรสูค่ วามเป็นจริง การถอดเนือ้ ความจากการประชุมและการแก้เกลางานครัง้ สุดท้ายสำเร็จ ได้ ก็ดว้ ยน้ำใจใหญ่หลวงของโฟนีเชีย หว่อง กับ ซารา ฮูสแมนด์ อลัน วอลเลซ แก้เกลาและเสริมความสมบูรณ์ให้แก่สงิ่ ทีอ่ งค์ทะไลลามะรับสัง่ ด้วยภาษาธิเบต ด้วยความรับผิดชอบของทิม แม็คนิลล์, จอห์น ดูนน์ และซารา แม็คคลินต๊อค แห่งสำนักพิมพ์วสิ ดัม หนังสือเล่มนีจ้ งึ ปรากฏดังรูปแบบทีเ่ ห็น ความสามารถ และมิตรไมตรีของเขาเหล่านี้ทำให้การจัดพิมพ์ในขั้นตอนท้ายๆ เป็นไปอย่าง ราบรืน่ การเดินทางอันยาวไกล จึงสรุปลงได้อย่างน่ายินดี
I
คำขอบคุณจากสำนักพิมพ์, คำขอบคุณจากบรรณาธิการ 9
คำนำ องค์ทะไลลามะ
เราอยู่ในยุคสมัยทีว่ ทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้สง่ ผลแก่ชวี ติ อย่างอเนกอนันต์ วิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นผลผลิตอันยิ่งใหญ่ที่เกิดจากสติปัญญาของมนุษย์ และ เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่น่าอัศจรรย์คือของขวัญอันยิ่งใหญ่ซึ่งเกิดจากพลัง สร้างสรรค์ของมนุษย์ ผลพวงบางอย่างของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนนั้ น่า อัศจรรย์นกั อย่างเช่น พัฒนาการด้านการสือ่ สารคมนาคม และการสาธารณสุข แต่ผลพวงบางอย่าง เช่น ระบบอาวุธทีซ่ บั ซ้อน ก็สง่ ผลในทางทำลายอย่างไม่นา่ เชือ่ หลายคนเชื่อว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถแก้ปัญหาทุกอย่าง ของมนุษย์ได้ แต่ในช่วงหลังๆ มานี้เราได้เป็นพยานเห็นว่าทัศนะดังกล่าวได้ เปลีย่ นไปแล้ว เป็นทีป่ รากฏอย่างชัดเจนว่าความเจริญก้าวหน้าภายนอกเพียง อย่างเดียวไม่สามารถนำความสงบทางจิตใจมาสูม่ นุษย์ได้ ผูค้ นจึงเริม่ ให้ความ สนใจกับวิทยาศาสตร์ภายในมากขึน้ นัน่ คือการตรวจสอบและพัฒนาจิต ด้วย ประสบการณ์ของตัวเราเองทำให้เราได้ตระหนักถึงสิง่ ใหม่ ที่ให้คณุ ค่าและความ สำคัญต่อคุณภาพของจิตใจภายในของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ การอธิบายเกีย่ วกับ เรื่องของจิต และการทำงานของจิต ที่นักปราชญ์ชาวอินเดียและชาวธิเบตได้ กระทำมาแต่ครั้งโบราณจึงยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นในยุคสมัยของเรา ประเพณีท ี่ เข้มแข็งนี้มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาความสงบแห่งจิต วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีสมั พันธ์กบั ความก้าวหน้าทางวัตถุ ดังนัน้ การประสมประสานความรู้ 10
I
การหลับ การฝัน และการตาย
ทั้งสองด้านจึงอาจสร้างสภาพการณ์ที่ทำให้มนุษย์สามารถบรรลุถึงความสุข ทีแ่ ท้จริงได้ ข้าพเจ้าเห็นว่า การประชุมที่เราเรียกว่า “จิตและชีวิต” ซึ่งเราได้กระทำ อย่างต่อเนือ่ งมาหลายปีนนั้ เป็นสิง่ ทีม่ คี วามสำคัญอย่างยิง่ แม้เมือ่ ไม่นานมานี้ ผูค้ นจำนวนมากก็ยงั คงมองว่าความรูภ้ ววิสยั ของวิทยาศาสตร์ทวั่ ไปกับความ เข้าใจเชิงอัตวิสยั ของวิทยาศาสตร์ภายในนัน้ ไม่อาจเข้ากันได้ ในการประชุมจิต และชีวิตนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากศาสตร์ทั้งสองฝ่ายได้มาพบปะกันเพื่อแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ และทัศนะนานาเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่มีความสนใจร่วมกัน ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้พบว่า เราต่างได้สง่ เสริมความรูค้ วามเข้าใจกันอย่าง กว้างขวาง แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ การประชุมหลายๆ ครั้งที่ได้จัดมาแล้วนั้น ไม่แต่แสดงออกถึงความใฝ่รู้อย่างสุภาพเท่านั้น แต่ยังแสดงออกถึงมิตรภาพ และจิตใจอันอบอุน่ เปิดกว้าง หนังสือเล่มนี้ได้รายงานโอกาสทีพ่ วกเราได้พบปะกัน เพือ่ พูดคุยเกีย่ วกับ เรื่อง การหลับ การฝัน และการตาย ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั้งนักวิทยาศาสตร์และ นักภาวนาต่างใคร่ครวญคำนึง และเป็นประสบการณ์สากลของมนุษย์ เราหลับ กันทุกคน และเราก็ฝนั กันทุกคนไม่วา่ เราจะรูต้ วั หรือไม่ และทีแ่ น่นอนก็คอื เราจะ ตายกันทุกคน ทัง้ ๆ ทีป่ ระเด็นเหล่านีม้ ผี ลต่อเราทุกคน แต่กย็ งั เป็นสิง่ ทีเ่ ร้นลับ และน่าฉงน ข้าพเจ้าจึงมัน่ ใจว่าผูอ้ า่ นหลายๆ ท่านคงจะยินดีทไี่ ด้มสี ว่ นร่วมและ แบ่งปันผลจากการเสวนาของเรา ในส่วนของข้าพเจ้าเองนัน้ ข้าพเจ้าขอขอบคุณ ทุกท่านทีช่ ว่ ยให้การประชุมจิตและชีวติ เกิดขึน้ และดำเนินมาจนถึงบัดนี้ ทัง้ หวัง อย่างยิง่ ว่าท่านทัง้ หลายจะช่วยให้การประชุมยังคงมีสบื ไปในอนาคต องค์ทะไลลามะทีส่ บิ สี่ ๒๕ มีนาคม ๑๙๙๖
I
คำนำ 11
สารบาญ จากสำนักพิมพ์ คำขอบคุณจากสำนักพิมพ์ (ฉบับภาษาอังกฤษ) คำขอบคุณจากบรรณาธิการ คำนำโดย องค์ทะไลลามะ เตรียมการเดินทาง เค้าเงาแห่งตัวตน สานเสวนาข้ามวัฒนธรรม กับการประชุมจิตและชีวติ บทที่ ๑ มีอะไรในตัวตน ประวัตแิ นวคิดเกีย่ วกับตัวตน การสำรวจตรวจสอบตนเองกับยุคสมัยใหม่ วิทยาศาสตร์กบั ตัวตน ตัวตนกับแนวคิดมนุษยนิยม ความไม่มตี วั ตนในโลกตะวันตก บทที่ ๒ การหลับของสมอง การหลับตามหลักประสาทวิทยา แนวคิดในยุคแรกๆ ความรูเ้ บือ้ งต้นเกีย่ วกับการบันทึกคลืน่ ไฟฟ้าในสมองของมนุษย์ (อีอจี )ี รูปแบบของการหลับ ลักษณะการหลับช่วงดวงตาเคลือ่ นไหวเร็ว การฝัน กับการหลับช่วงดวงตาเคลือ่ นไหวเร็ว การหลับในมุมมองวิวฒ ั นาการ ทำไมเราจึงหลับ ความฝันตามคติธเิ บต การสลายกลายกลืนในช่วงการหลับและการตาย จะหาความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตทีล่ ะเอียดได้หรือไม่
๕ ๘ ๙ ๑๐ ๑๗ ๒๑ ๒๔ ๒๙ ๓๐ ๓๔ ๓๖ ๓๘ ๔๐ ๔๓ ๔๔ ๔๕ ๔๖ ๔๙ ๕๒ ๕๕ ๕๗ ๕๙ ๖๓ ๖๘ ๗๑
ความตัง้ ใจกับความพยายามในการปฏิบตั ิ การหลับ ความสุขซ่าน และการตาย การรูต้ วั กับความไม่ตอ่ เนือ่ ง บทที่ ๓ การฝันกับจิตไร้สำนึก จิตวิเคราะห์ในวัฒนธรรมตะวันตก ฟรอยด์กบั เหล่าศิษย์ เค้าโครงของจิต การฝันกับจิตไร้สำนึก การหลงตน ความฝัน ทางหลวงสูจ่ ติ ไร้สำนึก เรือ่ งราวของมารี-โฮเซ่ นอกแนวของฟรอยด์ จิตไร้สำนึกมีอยู่ในคำสอนของพุทธศาสนาหรือไม่ ว่าด้วยมรดกทีซ่ บั ซ้อนของแนวโน้มทางจิต ฐานของจิตกับจิตไร้สำนึก นิสยั วาสนากับ “ความเป็น ฉัน” เพิม่ เติมเกีย่ วกับอัตลักษณ์ จิตหยาบกับจิตละเอียด การเกิดตามสมมุติ จิตวิเคราะห์เป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่ บทที่ ๔ การฝันทีผ่ ฝู้ นั รูว้ า่ ตนกำลังฝัน หลักฐานการรูต้ วั ตอนฝัน การรูต้ วั ตอนฝันเกิดขึน้ ได้มากน้อยเพียงใด ลักษณะของผูฝ้ นั ทีร่ วู้ า่ ตนกำลังฝัน จะทำให้รตู้ วั ตอนฝันได้อย่างไร การรูต้ วั ตอนฝัน กับการเป็นผูเ้ ฝ้ามองความฝัน
๗๔ ๗๕ ๗๗ ๘๑ ๘๒ ๘๓ ๘๕ ๘๖ ๙๐ ๙๑ ๙๗ ๑๐๘ ๑๑๑ ๑๑๔ ๑๑๙ ๑๒๑ ๑๒๓ ๑๒๖ ๑๒๙ ๑๓๒ ๑๓๕ ๑๓๗ ๑๓๙ ๑๔๐ ๑๔๒ ๑๔๓
บทที่ ๕ ระดับของจิตกับสุบนิ โยคะ ว่าด้วยเรือ่ งของตัวตน ตัวตนกับการกระทำ แรงจูงใจให้กระทำเป็นเรือ่ งของจิต ระดับของจิต ประเภทของเหตุปจั จัย ฐานของจิต ความสืบเนือ่ งของจิตระดับต่างๆ เจตสิกกับการหลับ แสงประภัสสร ตัวตนละเอียด วงวัฏแห่งกาย สุบนิ โยคะ บทที่ ๖ ความตายกับคริสต์ศาสนา ศาสนาคริสต์กบั ความรักของพระเจ้า ความตายตามคติคริสต์ศาสนา ทัศนะต่อความตายในโลกตะวันตก โลกาทัศนะต่อความตาย บทที่ ๗ การตายทางกายคืออย่างไร นิยามการตายของการแพทย์ตะวันตก นิยามการตายในพุทธศาสนา บทแทรก: การสนทนาว่าด้วยการปลูกถ่ายอวัยวะ การตายของสมอง ความสัมพันธ์ระหว่างสมองกับสติสมั ปชัญญะ การปรับเปลีย่ นสติสมั ปชัญญะ โรคลมชัก โรคลมชักกับการแพทย์ธเิ บต สิง่ ทีช่ บี้ อกการตายตามคติธเิ บต ขัน้ ตอนการตาย
๑๔๙ ๑๕๐ ๑๕๒ ๑๕๔ ๑๕๘ ๑๕๘ ๑๖๐ ๑๖๒ ๑๖๓ ๑๖๔ ๑๖๖ ๑๖๗ ๑๗๑ ๑๗๒ ๑๗๔ ๑๗๕ ๑๗๗ ๑๗๙ ๑๘๑ ๑๘๔ ๑๘๕ ๑๘๘ ๑๙๑ ๑๙๓ ๒๐๐ ๒๐๔ ๒๐๗ ๒๐๘
ระดับความหยาบกับความละเอียดของจิต การร่วมเพศในภาวะจิตหยาบกับจิตละเอียด การย้ายจิต โอกาสเพือ่ การศึกษาทดลองจิตละเอียด บทที่ ๘ ประสบการณ์ใกล้ตาย การตายในฐานะพิธกี รรมการเปลีย่ นผ่าน สำรวจชายขอบความตาย พิธกี รรมการตายในแง่โบราณคดี การค้นพบชีวติ หลังความตายในโลกตะวันตก พยานหลักฐานและรูปแบบ ธรรมชาติของประสบการณ์ใกล้ตายในรายละเอียด ความรูส้ กึ กับผัสสะ ประสบการณ์หลัก ญาติมติ รกับความเป็นอยูท่ มี่ คี วามสุข มุมมองทางวัตถุนยิ ม การถูกสิงสูแ่ ละอาการลมชัก ประสบการณ์ใกล้ตายกับคำสอนในพุทธศาสนา ประสบการณ์ใกล้ตายกับแสงประภัสสร บทส่งท้าย ใคร่ครวญการเดินทางก่อนลาจาก เราได้เรียนรูอ้ ะไรบ้าง เดินทางกลับบ้าน ภาคผนวก ว่าด้วยสถาบันจิตและชีวติ หมายเหตุ อภิธานศัพท์ ผูร้ ว่ มสร้างคุณปู การ
๒๑๐ ๒๑๗ ๒๒๐ ๒๒๑ ๒๒๕ ๒๒๖ ๒๒๘ ๒๒๙ ๒๓๐ ๒๓๒ ๒๓๘ ๒๔๐ ๒๔๔ ๒๔๗ ๒๔๙ ๒๕๓ ๒๕๖ ๒๖๐ ๒๖๗ ๒๖๘ ๒๗๒ ๒๗๓ ๒๗๔ ๒๘๓ ๒๘๕ ๓๐๕
เตรียมการเดินทาง
มนุษย์ในทุกที่ทุกเวลาต่างต้องเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของชีวิตสอง ลักษณะ และในการเปลีย่ นผ่านนัน้ จิตของเราคล้ายจะหลอมละลายเข้าไปสูอ่ กี อาณาหนึง่ ซึง่ แตกต่างไปอย่างสิน้ เชิง การเปลีย่ นผ่านอย่างแรกคือ การหลับ ซึง่ เป็นสิง่ ทีค่ เู่ คียงกับมนุษย์ตลอดมา เป็นการแปรเปลีย่ นกลับกลายซึง่ อุดมด้วย ชีวติ และความฝันทีท่ ำให้วฒ ั นธรรมนานาเปีย่ มด้วยมนต์ขลังมาตัง้ แต่กาลแรก เริม่ ในประวัตศิ าสตร์ การเปลีย่ นผ่านอย่างทีส่ องคือความตาย ซึง่ เป็นปริศนา เร้นลับสุดอ้างว้าง และเป็นเหตุการณ์สดุ ท้ายของชีวติ ที่ได้กอ่ ให้เกิดพิธกี รรม และการดำรงชีวิตของปัจเจกบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกันไปอย่างมากมาย ช่วงการเปลีย่ นผ่านทัง้ สองนีค้ อื แดนสนธยาแห่งอัตตา ทีท่ ำให้วทิ ยาศาสตร์ของ โลกตะวันตกรูส้ กึ อึดอัดลำบากใจ เพราะอาณานีแ้ ตกต่างจากจักรวาลทางกายภาพ หรือปัจจัยภาพทางสรีรวิทยาซึง่ เป็นสิง่ ทีว่ ทิ ยาศาสตร์คนุ้ เคย แต่ในทางตรงกัน ข้าม สายธรรมพุทธศาสนาแห่งธิเบตกลับคุน้ เคยกับเรือ่ งนีเ้ ป็นอย่างดี และจริงๆ แล้วธิเบตได้ประมวลความรูเ้ กีย่ วกับเรือ่ งนีไ้ ว้มากมายอย่างน่าทึง่ หนังสือเล่มนี้เป็นการรายงานผลการสำรวจตรวจสอบตลอดเวลาหนึ่ง สัปดาห์ เกีย่ วกับอาณาอันไพศาลของกายและจิตมนุษย์ยามเมือ่ เปลีย่ นผ่านใน ทั้งสองกรณี การสำรวจตรวจสอบนี้จัดในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ กล่าวคือ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และทัศนะ ระหว่างท่านทะไลลามะ และผู้ร่วมงาน ของท่านซึง่ คุน้ เคยกับสายธรรมของธิเบตอีกสามสีค่ น กับตัวแทนฝ่ายวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ของโลกตะวันตก การประชุมครัง้ นีเ้ ป็นการพบปะกัน ครัง้ ทีส่ ขี่ องการประชุมจิตและชีวติ ซึง่ จัดประชุมสองปีตอ่ ครัง้ การประชุมเป็น ไปในลักษณะการสานเสวนาซึง่ วางโครงสร้างอย่างรัดกุมและเป็นส่วนตัว ตลอด 18
I
การหลับ การฝัน และการตาย
ช่วงเวลากว่าห้าวันติดต่อกัน เมื่อเดือนตุลาคม ๑๙๙๒ ที่ธรรมศาลา ประเทศ อินเดีย เช้าวันจันทร์ ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนมาพบกันที่ห้องรับรองขององค์ ทะไลลามะ เพือ่ เตรียมการเดินทาง ท่านเสด็จออกตอนเก้านาฬิกาตรงตามปกติ ท่านทรงดำเนินเข้ามา ยิม้ ให้ทกุ คน แล้วทรงเชิญให้พวกเรานัง่ ผรู้ ว่ มสนทนานัง่ อยู่วงในบนเก้าอี้ยาวนั่งสบาย ส่วนผู้สังเกตการณ์และที่ปรึกษานั่งอยู่วงนอก บรรยากาศผ่อนคลายและเป็นกันเอง ไม่มกี ล้องโทรทัศน์ ไม่มแี ท่นปาฐกถา ไม่มี การกล่าวสุนทรพจน์อย่างเป็นทางการ การประชุมจิตและชีวติ ซึง่ มีมนตราเป็น เอกลักษณ์ของตนได้เริม่ อีกครัง้ หนึง่ แล้ว องค์ทะไลลามะทรงเปิดการประชุมด้วยสัมโมทนียกถา “ขอต้อนรับทุกๆ ท่าน ในบรรดาท่านทีม่ ากันนีม้ เี พือ่ นเก่าอยูด่ ว้ ยหลายคน บางทีทา่ นอาจรูส้ กึ ว่า การมาทีธ่ รรมศาลานีเ้ หมือนได้กลับมาบ้าน ข้าพเจ้าดีใจมากที่ได้มกี ารประชุม จิตและชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าเชื่อว่าการประชุมครั้งก่อนๆ ได้ก่อให้เกิด ประโยชน์อย่างมาก อย่างน้อยก็ตอ่ ตัวข้าพเจ้าเอง และต่อผูค้ นทีส่ นใจประเด็น เหล่านี”้ จากนัน้ ท่านได้ตรัสถึงโลกในมิตทิ กี่ ว้างออกไป “หลังจากทีเ่ ราประชุมกัน เมือ่ ครัง้ ทีแ่ ล้ว ได้มคี วามเปลีย่ นแปลงหลายอย่างเกิดขึน้ บนโลกนี้ ทีส่ ำคัญทีส่ ดุ อย่างหนึ่งก็คือ กำแพงเบอร์ลินหายไป การคุกคามจากการล้างผลาญด้วย นิวเคลียร์เสมือนว่าจะหมดไป แม้วา่ ปัญหายังมีอยู่ แต่โลกทุกวันนีก้ ย็ งั มีโอกาส ให้แก่สนั ติภาพทีแ่ ท้และยัง่ ยืน จริงอยูก่ ารเข่นฆ่ายังมีอยูท่ ี่โน่นทีน่ ี่ แต่สถานการณ์โดยภาพรวมก็นบั ว่าดีขนึ้ ทีไ่ หนๆ ผูค้ นก็พดู ถึงประชาธิปไตยและเสรีภาพ ซึง่ เป็นเรือ่ งสำคัญมาก ขา้ พเจ้าเชือ่ ว่าการปรารถนาความสุขเป็นธรรมชาติทแี่ ท้ ของมนุษย์ ความสุขเกิดจากอิสรภาพ และในทางตรงกันข้าม เผด็จการไม่วา่ จะ รูปแบบใดย่อมเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของชุมชนมนุษย์ ในยุคก่อนๆ นั้น ผู้คนบางจำพวกกระหายอยากได้รัฐบาลที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ทุกวันนี้ได้ เปลี่ยนไปแล้ว คนรุ่นใหม่อุทิศชีวิตให้แก่เสรีภาพและประชาธิปไตย เราอาจ
I
เตรียมการเดินทาง 19
เปลีย่ นแปลงโลก อย่างน้อยก็ในเรือ่ งความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม พลังแห่ง จิตใจของมนุษย์ได้หวนกลับมามีชยั อีกครัง้ ” ท่านตรัสต่อไปเกีย่ วกับบริบทการประชุมในครัง้ นี้ “ตอนนี้ เราอยูก่ นั ในสอง ขอบข่าย ซึง่ พวกเราต้องเข้าไปเกีย่ วข้อง นัน่ คือวิทยาศาสตร์ กับจิตวิญญาณ” ท่านตรัสพร้อมกับทรงพระสรวลอย่างเบิกบานพระทัย ซึ่งทำให้ทุกคนพลอย หัวเราะไปด้วย เสียงพระสรวลซึ่งเราจะได้ยินในวันต่อๆ มา ขณะที่ผู้เข้าร่วม ประชุมต่างล้วงลึกเข้าไปหาสติปญั ญาของกันและกันอย่างไม่เคยขาดอารมณ์ ขัน “ดูเหมือนว่างานวิจยั ทางวิทยาศาสตร์ยงิ่ ลงลึกไปเรือ่ ยๆ แต่คนจำนวนมาก อย่างน้อยก็นกั วิทยาศาสตร์นนั่ เอง เริม่ ตระหนักว่าปัจจัยทางจิตวิญญาณเป็นสิง่ สำคัญ ข้าพเจ้าใช้คำว่า ‘จิตวิญญาณ’ โดยไม่ได้หมายถึงศาสนาหรือศรัทธา หนึ่งใดโดยเฉพาะ แต่หมายถึงความเมตตา ความรัก และความอ่อนโยนของ มนุษย์ ซึง่ เป็นสิง่ ธรรมดาๆ คนทีม่ คี วามเมตตาน่าอบอุน่ ใจนัน้ เสมือนจะเป็นคน อ่อนน้อมถ่อมตน และมีความยินดีได้งา่ ยกว่าคนอืน่ ๆ ข้าพเจ้าให้ความสำคัญ กับคุณค่าทางจิตวิญญาณเป็นอันดับแรก ส่วนศาสนานั้นเป็นอันดับรองลงมา ข้าพเจ้าเห็นว่า ศาสนาทัง้ หลายต่างสร้างความแข็งแกร่งให้แก่คณุ สมบัตพิ นื้ ฐาน เหล่านีข้ องมนุษย์ ในฐานะทีข่ า้ พเจ้าเป็นผูป้ ฏิบตั ธิ รรมในพุทธศาสนา การเจริญ เมตตาและการปฏิบตั ธิ รรมย่อมเป็นสิง่ เดียวกัน แต่การเจริญเมตตานัน้ ไม่จำเป็น ต้องอุทิศตนให้แก่ศรัทธาหรือศาสนาใด เป็นสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็น อิสระไม่เกีย่ วข้องกับการปฏิบตั ศิ าสนกิจ ดังนัน้ ต้นธารความสุขของสังคมมนุษย์ จึงอยู่ที่จิตวิญญาณของมนุษย์ และคุณค่าแห่งจิตวิญญาณ ถ้าเราไม่ประสม ประสานวิทยาศาสตร์กบั คุณค่าซึง่ เป็นรากฐานของมนุษย์แล้วไซร้ บางทีความรู้ ทางวิทยาศาสตร์อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน หรืออาจถึงขัน้ หายนะ ทัง้ ๆ ที่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมพี ลังทำลายอย่างร้ายกาจ แต่ขา้ พเจ้าก็เห็นว่าทัง้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้สร้างความไพบูลย์เลิศล้ำ แต่เพราะทัง้ สองสิง่ นี้ ทำให้เราเกิดความกลัว เกิดความทุกข์ และความกังวล บางคนจึงมองสองสิง่ นี้ ไปในแง่ลบ 20
I
การหลับ การฝัน และการตาย
“อาจมองได้วา่ ความรูท้ างวิทยาศาสตร์กเ็ ป็นแค่กลไกทางสติปญั ญาของ มนุษย์ ซึง่ จะใช้ไปในทางบวกหรือลบก็ได้ เพราะในแง่ศลี ธรรมแล้ว วิทยาศาสตร์ โดยตัวมันเองนั้นไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ จะใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้เป็น ประโยชน์หรือให้เกิดโทษก็ขนึ้ อยูก่ บั เจตนาของผู้ใช้ ถ้าเจตนาถูกต้อง ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์กก็ ลายเป็นสิง่ สร้างสรรค์ แต่ถา้ เจตนาเป็นไปในทางลบ ความรู้ ก็จะกลายเป็นตัวทำลาย การประชุมครั้งนี้จะสาธิตวิธีที่วิทยาศาสตร์และจิตวิญญาณสามารถกระทำร่วมกันอย่างแนบชิด ข้าพเจ้าคิดว่าพวกเราทุกคน พร้อมแล้วที่จะสร้างคุณูปการในด้านนี้ และเชื่อด้วยว่าการประชุมครั้งนี้จะมี คุณปู การด้วยเช่นกัน เราอาจมอบบางสิง่ บางอย่างให้ได้ หรือถ้าไม่มอี ะไรจะให้ นัน่ ก็หามีอนั ตรายใดๆ ไม่” คำพูดประโยคนี้ ก่อให้เกิดเสียงหัวเราะจากทุกคน ขึน้ พร้อมๆ กัน ท่านยิม้ พร้อมกับสรุปว่า “ดีแล้วๆ ด้วยเหตุผลดังที่ได้กล่าวมา และด้วยความรูส้ กึ อย่างทีเ่ ป็นอยูน่ ี้ ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านทัง้ หลายสูบ่ า้ นหลังนี”้ เมื่อท่านกล่าวจบ ผมซึ่งเป็นผู้ประสานงานฝ่ายวิทยาศาสตร์และเป็น ประธานในการประชุมจึงได้กล่าวตอบสัมโมทนียกถาและคำกล่าวต้อนรับของ ท่าน ซึง่ พูดได้วา่ พอถึงตอนนีเ้ ราทุกคนต่างซาบซึง้ ใจทีไ่ ด้มาอยูท่ นี่ ี่ และมีโอกาส เป็นส่วนหนึง่ ในเหตุการณ์พเิ ศษครัง้ นีท้ ไี่ ม่มสี งิ่ ใดเสมอเหมือน เค้าเงาแห่งตัวตน
ผมเกริน่ สัน้ ๆ เกีย่ วกับวาระการประชุมของเราตลอดสัปดาห์ โดยหลักแล้วเราจะ เน้นการตรวจสอบเรือ่ งของจิตในประเด็นเกีย่ วกับ การหลับ การฝัน และการตาย ซึง่ เป็นสิง่ สำคัญในชีวติ ของมนุษย์ แต่กเ็ ป็นเรือ่ งยากสำหรับชาวตะวันตกทีจ่ ะ ทำความเข้าใจ เพือ่ ให้สอดคล้องกับการประชุมครัง้ นี้ เราจึงต้องกล่าวถึงประเด็น เหล่านี้อย่างกว้างๆ เท่าที่จะทำได้ โดยนักวิจัยในสาขานั้นๆ จะนำเสนอการ ตรวจสอบอย่างกว้างๆ เกีย่ วกับประเด็นเหล่านีเ้ ท่าทีโ่ ลกตะวันตกได้กระทำกันมา
I
เตรียมการเดินทาง 21
สามวันแรกเราจะเน้นที่การหลับ และการฝัน สองวันสุดท้ายจะเน้นที่การตาย ผมจะอธิบายคร่าวๆ ถึงเหตุผลที่ต้องกำหนดเค้าโครงการประชุม และแนะนำ วิทยากรที่เราได้เชิญมา ส่วนรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวของผู้เข้าร่วมประชุม แต่ละท่าน อ่านได้ในตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้ วันแรกทีพ่ ดู ถึงประเด็นการหลับและการฝันนัน้ ได้เน้นไปทีป่ ระสาทวิทยา ซึง่ ศึกษาการทำงานของสมองในเชิงกระบวนการทางชีววิทยาขณะทีม่ นุษย์นอน หลับ จึงจำเป็นต้องเสนอผลบางประการจากการศึกษาทางประสาทวิทยาสาขาที่ มีผศู้ กึ ษาวิจยั อย่างมาก นัน่ คือผลการวิจยั เรือ่ งการหลับ เช้าวันแรกนีเ้ ราจึงมอบ ให้แก่ผเู้ ชีย่ วชาญด้านนี้ นัน่ คือ มิคาเอล เชส (มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ลอสแองเจลิส) ซึง่ ได้แจ้งมาในนาทีสดุ ท้ายว่าเขาไม่อาจมาร่วมประชุมได้ แต่ก็ โชคดีทเี่ รามีผเู้ ชีย่ วชาญด้านชีววิทยาเกีย่ วกับระบบประสาทอยูท่ ธี่ รรมศาลานี้ หลายคน ได้แก่ คลิฟฟอร์ด ซารอน (มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่งซานฟรานซิสโก) ริชาร์ด เดวิดสัน (มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แห่งเมดิสัน) เกร็กกอรี ซิมป์สนั (โรงเรียนแพทย์อลั เบิรต์ ไอน์สไตน์) โรเบิรต์ ลิฟวิงสโตน (มหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย แห่งซานดิเอโก) และตัวผมเอง (ศูนย์วจิ ยั วิทยาศาสตร์แห่งชาติ นครปารีส) พวกเราได้รว่ มกันเตรียมการนำเสนอเกีย่ วกับกลไกพืน้ ฐานของการ หลับ โดยตกลงกันว่าผมจะเป็นผูน้ ำเสนอต่อองค์ทะไลลามะ วันทีส่ องจะพูดถึงการทำงานของการฝันในเชิงจิตวิเคราะห์ ซึง่ เป็นเรือ่ ง กลางๆ ระหว่างจิตวิทยากับการปฏิบัติของฝ่ายมนุษยศาสตร์ เรื่องโครงสร้าง ของจิตและบทบาทของความฝันนั้นเป็นคตินิยมที่ฝังลึกอยู่ในทัศนะของชาว ตะวันตก แม้ว่าผู้อ่านบางท่านอยากให้ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน จิตบำบัดมาจากสำนักอืน่ แต่ผมเห็นว่าคตินยิ มของฟรอยด์นนั้ แพร่หลายและมี อิทธิพลมากทีส่ ดุ ประเด็นไม่ได้อยูท่ ตี่ อ้ งการจะยกย่องเชิดชูสำนักคิดตามแนว ทางของฟรอยด์ทมี่ อี ยู่ในปัจจุบนั แต่ทงั้ นีท้ งั้ นัน้ ก็เพียงเพือ่ จะเปิดประเด็นการ อภิปรายว่าการทำงานของความฝันได้กลายมาเป็นระบบคิดและวัฒนธรรมของ โลกตะวันตกได้อย่างไร จอยส์ แม็คดูกลั ล์ นักจิตวิเคราะห์ผมู้ ชี อื่ เสียงโด่งดังใน
I
22 การหลับ การฝัน และการตาย
ปัจจุบนั ซึง่ เป็นทีย่ อมรับทัง้ ในยุโรปและประเทศอืน่ ๆ ทีพ่ ดู ภาษาอังกฤษ ได้รบั เลือกให้เป็นผูน้ ำเสนอประเด็นนี้ วันทีส่ ามเราจะขยับไปพูดถึงประเด็นเกีย่ วกับการฝันซึง่ มีความเห็นขัดแย้ง กันมาก นัน่ คือปรากฏการณ์ทผี่ ฝู้ นั รูต้ วั ว่าฝัน เราเลือกประเด็นนี้ เพราะในแง่ หนึ่ง โลกตะวันตกสนใจเรื่องนี้กันอยู่ไม่น้อย ส่วนอีกแง่หนึ่งนั้นพุทธศาสนา ก็ศกึ ษาเรือ่ งนีก้ นั อย่างขะมักเขม้น เราหวังว่าน่าจะเกิดการเชือ่ มโยงกับพุทธศาสนาฝ่ายธิเบตได้ เจน กึกเกิน้ บาค นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา ซึง่ ทำงานอย่างจริงจังเกีย่ วกับเรือ่ งนีม้ าหลายปี จะเป็นผูน้ ำเสนอประเด็นนี้ วันทีส่ กี่ บั วันทีห่ า้ เราจะพูดถึงประเด็นเกีย่ วกับการตาย ซึง่ จะสรุปเรือ่ งอัน ใหญ่หลวงนีล้ งมาให้เหลือเพียงสองประเด็นหลักๆ ในวันทีส่ เี่ ราจะพูดถึงความ เข้าใจของชีวแพทยศาสตร์ในกระบวนการของการตาย แม้ว่าการแพทย์จะมี บทบาทสำคัญในชีวิตของคนเรา แต่เมื่อชีวิตก้าวเข้าสู่ประตูแห่งความตาย กลายเป็นว่าเครือ่ งมือในการสังเกตอาการ และประสบการณ์ทงั้ หลายของชีวแพทยศาสตร์ยคุ ใหม่กลับย่ำอยูก่ บั ที ่ เรารูน้ อ้ ยมากเกีย่ วกับภาวะการตาย หรือ วาระสุดท้ายของชีวติ เราจึงขอให้เจโรม (“พีท”) เอ็นเกล เป็นผูเ้ ติมเต็มช่องว่าง ของงานแสนยากนี้ ในฐานะสมาชิกของฝ่ายอำนวยความสะดวกด้านชีวแพทยศาสตร์ซงึ่ เป็นหน่วยงานใหญ่ทมี่ หาวิทยาแคลิฟอร์เนีย แห่งลอสแองเจลิส และ เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญด้านประสาทวิทยาที่โลกรูจ้ กั เป็นอย่างดี เขาผูน้ ดี้ จู ะพร้อมกว่า มืออาชีพท่านใดๆ ในการจะสำรวจตรวจสอบเข้าไปในแดนซึง่ ไม่มแี ผนทีบ่ อกทาง และในวันทีห่ า้ ซึง่ เป็นวันสุดท้าย และเป็นวันทีส่ องทีพ่ ดู ถึงประเด็นเกีย่ วกับ ความตาย นัน่ คือมุมมองของงานวิจยั เมือ่ เร็วๆ นี้ ทีศ่ กึ ษาว่ามนุษย์ตอ่ สูก้ บั ความ ตายในประสบการณ์ทเี่ รียกว่าประสบการณ์ใกล้ตายกันอย่างไร ประเด็นเหล่านี ้ ก็เช่นกัน เป็นเรือ่ งทีว่ ทิ ยาศาสตร์กระแสหลักมีความเห็นขัดแย้งกันมาก แต่โลก ตะวันตกก็ให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง เราหวังว่าจะได้พบความสัมพันธ์ ระหว่างงานวิจยั นีก้ บั ประสบการณ์เชิงปรัชญาของฝ่ายธิเบต ซึง่ ให้ความสำคัญ กับการที่มนุษย์ต้องรู้จักเผชิญกับความตาย เราเลือกโจอัน ฮาลิแฟกซ์ เป็น
I
เตรียมการเดินทาง 23
วิทยากรนำเสนอในวันนี ้ โจอัน ฮาลิแฟกซ์เป็นนักมานุษยวิทยาการแพทย์รนุ่ บุกเบิกมาตั้งแต่ทศวรรษที่หกสิบหรือเจ็ดสิบ และเธอได้ขยายขอบข่ายการ ศึกษาสังเกตเข้าไปในจารีตประเพณีของพ่อมดหมอผีดว้ ย ถ้าจะว่าไป เปลือกนอกของการประชุมเป็นเรือ่ งราวเกีย่ วกับวิทยาศาสตร์ แต่กเ็ ช่นเดียวกับการประชุมจิตและชีวติ ในครัง้ ก่อนๆ เราเห็นว่าจำเป็นต้องให้ ภาพรวมฐานคิดทางปรัชญาตามมุมมองของชาวตะวันตกในประเด็นเหล่านี้ ด้วย ซึง่ เป็นเรือ่ งสำคัญ แม้หากมองอย่างผิวเผินอาจดูนา่ ประหลาดใจ เราต้อง แจกแจงแนวคิดทฤษฎีหรือประวัตศิ าสตร์ความคิดให้ชดั เจน เพือ่ เตรียมผืนดิน อันเหมาะสมต่อการอภิปรายสืบไป ชาวธิเบตซึง่ เจนจัดในศิลปะแห่งการคิดอัน กระจ่างชัด ย่อมพร้อมทีจ่ ะรับสิง่ ทัง้ หลายทีเ่ ราได้เคยอภิปรายกันมาในมิตนิ ี้ เรา ได้ขอให้ชาร์ลส์ เทเลอร์ จากมหาวิทยาลัยแม็คกิลล์ ทำหน้าทีน่ ี้ เพราะเป็นทีร่ กู้ นั ว่าเขาได้ศกึ ษาอย่างซึมซับเกีย่ วกับตัวตนในยุคใหม่ และรากเหง้าทางประวัต-ิ ศาสตร์ของเรือ่ งนี้ สานเสวนาข้ามวัฒนธรรม กับการประชุมจิตและชีวติ
ก่อนเราจะเริม่ เดินทางไปกับการสำรวจตรวจสอบของชาร์ลส์ เทเลอร์ เกีย่ วกับ แนวคิดเรื่องตัวตน ขอให้เราได้หยุดกันสักนิดเพื่อพูดถึงภูมิหลังที่นำมาสู่การ พบปะที่เป็นเอกลักษณ์ครั้งนี ้ ดังที่ผมได้พูดมาก่อนแล้ว ว่าการประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมครัง้ ทีส่ ขี่ องการประชุมทำนองเดียวกันนี้ ซึง่ เริม่ มาตัง้ แต่ปี ๑๙๗๘ และต่อมาเราได้ตงั้ ชือ่ การประชุมเช่นนีว้ า่ การประชุมจิตและชีวติ ถ้อยสนทนา อันมั่งคั่งในหนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นว่า การประชุมครั้งที่สี่นี้ได้ประสบความ สำเร็จอย่างอุโฆษ สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ไม่ใช่แค่ความบังเอิญ เพราะการประชุมแลกเปลีย่ น ทางวัฒนธรรมนัน้ ยากนักทีจ่ ะดำเนินการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะง่าย เหลือเกินทีจ่ ะตกลงไปในหลุมพรางของพิธกี ารทีฉ่ าบฉวยหรือการรีบร้อนหาข้อ
I
24 การหลับ การฝัน และการตาย
สรุป เพือ่ ให้เห็นว่าเราพยายามทีจ่ ะหลีกเลีย่ งหลุมพรางนีด้ ว้ ยอาการเยีย่ งไร ผม จะสรุปสั้นๆ ว่าเราได้จัดกระบวนการเสวนานี้กันอย่างไร ด้วยเหตุที่การพูดคุย แลกเปลีย่ นในการประชุมจิตและชีวติ ครัง้ ก่อนๆ คือเนือ้ หาสาระสำคัญของการ เสวนาครัง้ ทีส่ ที่ กี่ ำลังดำเนินอยูน่ ี้ ผมจึงจะขอพูดคร่าวๆ เกีย่ วกับเนือ้ หาของการ ประชุมเหล่านัน้ รายละเอียดเกีย่ วกับทีม่ าของการประชุมจิตและชีวติ และข้อมูล เกีย่ วกับผูเ้ ข้าร่วมประชุมอาจดูได้ในภาคผนวก เช่นเดียวกับความพยายามทัง้ หลายทีเ่ ป็นไปในทำนองนี้ การประชุมจิต และชีวติ เริม่ ต้นจากการคบคิดกันในหมูเ่ พือ่ นและผูร้ ว่ มงานเพียงไม่กคี่ น นับแต่ ปี ๑๙๗๘ มาแล้วที่ผมเริ่มสนใจอยากสร้างสะพานเชื่อมวัฒนธรรมและเชื่อม สาขาวิชาการที่จะช่วยให้วิทยาศาสตร์ยุคใหม่มั่งคั่งขึ้น (โดยเฉพาะประสาท วิทยา ซึง่ เป็นสาขาทีผ่ มถนัด) จนเมือ่ ปี ๑๙๘๕ โอกาสทีจ่ ะได้ศกึ ษาในสิง่ ทีส่ นใจ ก็มาถึง ในปีนนั้ อดัม เองเกิลกับผมได้รว่ มกันวางแผนทีจ่ ะจัดการสานเสวนา ระหว่างนักวิทยาศาสตร์ตะวันตก กับองค์ทะไลลามะ ซึง่ ทรงเป็นทัง้ นักทฤษฎี และนักปฏิบตั พิ ทุ ธศาสนาร่วมสมัยทีป่ ระสบความสำเร็จมากทีส่ ดุ เราวางแผน และดำเนินงานกันสองปีกอ่ นทีก่ ารประชุมจิตและชีวติ ครัง้ แรกจะเกิดขึน้ เพื่อให้การประชุมประสบความสำเร็จเราได้เรียนรู้ว่า นักวิทยาศาสตร์ที่ เลือกเชิญมานั้นไม่จำเป็นต้องมีชื่อเสียงโด่งดัง แต่แน่นอน เขาเหล่านี้ต้องมี ความสามารถและประสบความสำเร็จในสาขาที่ตนเชี่ยวชาญ และเขาต้องใจ กว้างด้วย และถ้าจะให้ดเี ขาควรมีความรูเ้ กีย่ วกับพุทธศาสนาอยูบ่ า้ ง หลังจาก ได้สนทนากับองค์ทะไลลามะหลายครัง้ เราได้ปรับวาระการประชุม จนชัดเจนว่า เราต้องการภูมหิ ลังทางวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง สุดท้ายท่านทรงให้เวลาแก่เรา หนึง่ สัปดาห์เต็มๆ ซึง่ ทำให้เห็นว่าท่านให้ความสำคัญมากแค่ไหนกับการอภิปราย แลกเปลีย่ นดังกล่าว เดือนตุลาคม ๑๙๘๗ การประชุมจิตและชีวติ ครัง้ แรกจัดขึน้ ทีธ่ รรมศาลา เป็นการปูพนื้ เกีย่ วกับวิทยาศาสตร์การรูค้ ดิ ยุคใหม่ ซึง่ นับได้วา่ เป็น จุดเริม่ ต้นของความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ยคุ ใหม่ทเี่ กิด ขึน้ อย่างเป็นธรรมชาติยงิ่ เรายังคงลักษณะสำคัญๆ ของการประชุมเช่นนัน้ ไว้
I
เตรียมการเดินทาง 25
และได้ปรับปรุงในการประชุมครัง้ ต่อๆ มา ลักษณะหนึ่งที่สำคัญมาก คือต้องมั่นใจได้ว่าผู้เข้าประชุมจะมีส่วนร่วม อย่างเต็มที่ เราสร้างรูปแบบการนำเสนอทีท่ กุ เช้าจะมีการนำเสนอโดยนักวิทยาศาสตร์ตะวันตก ส่วนตอนบ่ายจะอุทิศให้แก่การแลกเปลี่ยนความเห็นเท่านั้น โดยวิธนี ี้ องค์ทะไลลามะจะได้ทรงฟังรายงานสรุปเกีย่ วกับเรือ่ งนัน้ ๆ เพือ่ ความ เป็นธรรม เรายืนกรานว่าการนำเสนอ (ในตอนเช้า) จะต้องเปิดกว้างไม่ยดึ ทัศนะ ใดทัศนะหนึง่ เป็นหลัก แต่ผนู้ ำเสนอจะสามารถแสดงความเห็นและข้อพิจารณา ของตนได้อย่างอิสระในตอนบ่าย เรือ่ งทีส่ ำคัญอันดับสองคือการแปล เราสามารถใช้บริการของล่ามทีเ่ ก่งๆ ได้หลายคน ในแต่ละวาระการประชุมจะมีลา่ มสองคนอยูด่ ว้ ยเสมอ ล่ามทัง้ สอง นั่งกระหนาบองค์ทะไลลามะทั้งซ้ายและขวา ทั้งนี้เพื่อจะได้แปลทุกคำพูดได้ อย่างถูกต้องชัดเจนตรงนั้นทันที ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยป้องกันไม่ให้ หลงเข้าใจผิดไปไกล ซึง่ อาจเกิดขึน้ ได้ ในการสานเสวนาระหว่างสองวัฒนธรรม ทีแ่ ตกต่างกันมากๆ ลักษณะสำคัญประการทีส่ ามของการประชุมนีก้ ค็ อื เป็นการประชุมส่วนตัว จริงๆ ไม่มีผู้สื่อข่าว ไม่มีกล้องโทรทัศน์ และแขกที่เชิญมามีจำนวนน้อย ซึ่ง แตกต่างอย่างสิน้ เชิงกับการประชุมในโลกตะวันตก ซึง่ แทบเป็นไปไม่ได้เลย ที่ ท่านทะไลลามะจะอยู่ในอิรยิ าบถผ่อนคลาย และเสนอความเห็นได้อย่างทันที ทันใด การประชุมทีธ่ รรมศาลาจึงคุม้ ครองปกป้อง และเปิดโอกาสให้พวกเรา ดำเนินการสำรวจตรวจสอบได้อย่างอิสระ วาระในการประชุมครัง้ แรกนัน้ เป็นการแนะนำวิทยาศาสตร์การรูค้ ดิ อย่าง กว้างๆ เช่น วิธกี ารทางวิทยาศาสตร์ ชีววิทยาระบบประสาท จิตวิทยาการรูค้ ดิ ปัญญาประดิษฐ์ พัฒนาการของสมอง และวิวัฒนาการ๑ การประชุมครั้งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างสูงยิ่ง ในแง่ที่ทั้งท่านทะไลลามะและพวกเรารู้สึกว่า จิตใจของเราได้มาพบกันอย่างแท้จริง และเกิดความก้าวหน้าทีเ่ ป็นรูปธรรมใน การเชือ่ มช่องว่างระหว่างแนวคิดของชาวตะวันตกกับพุทธศาสนา องค์ทะไล26
I
การหลับ การฝัน และการตาย
ลามะทรงให้กำลังใจพวกเรา ในการจัดสานเสวนาครัง้ ต่อๆ ไปทุกสองปี นีเ่ ป็น พระดำริทพี่ วกเราถือเป็นเกียรติและมีความสุขทีไ่ ด้กระทำตาม การประชุมจิตและชีวติ ครัง้ ทีส่ องจัดเมือ่ เดือนตุลาคม ๑๙๘๙ ทีน่ วิ พอร์ต แคลิฟอร์เนีย เป็นการประชุมสองวัน ซึง่ เน้นการพิจารณาเกีย่ วกับประสาทวิทยา เหตุการณ์นนี้ า่ จดจำเป็นพิเศษ เพราะเราได้รู้ในเช้าวันแรกนัน้ ว่า ท่านทรงได้รบั การถวายรางวัลโนเบล การประชุมจิตและชีวติ ครัง้ ทีส่ าม ว่าด้วยความสัมพันธ์ ระหว่างอารมณ์กบั สุขภาพ๒ และเช่นเคย เมือ่ การประชุมสิน้ สุดลง ท่านทรงเห็น ด้วยที่จะให้มีการสานเสวนาครัง้ ต่อไป และการประชุมที่ดำเนินต่อมานั้นก็คือ เหตุการณ์พเิ ศษซึง่ ได้รายงานไว้ในหนังสือเล่มนี้ ด้วยภูมหิ ลังดังทีก่ ล่าวมานี้ เราจึงได้มาพบกันในการประชุมครัง้ ทีส่ ี่ ด้วย ความรูส้ กึ ว่าความพยายามของเรากำลังผลิดอกออกผล และนีเ่ ป็นอีกครัง้ หนึง่ ทีเ่ ราได้มาอยูท่ ธี่ รรมศาลาหนึง่ สัปดาห์ การเสวนาของเราลงลึกไปในอาณาของ การหลับ การฝัน และการตาย เพื่อนและผู้ร่วมงานที่นั่งอยู่กับผมคือเจ้าของ เสียงทีม่ คี ณ ุ ปู การแก่เรา ซึง่ ผูอ้ า่ นจะได้ยนิ เสียงนัน้ สะท้อนอยู่ในหนังสือเล่มนี้ และเช่นเดียวกับทุกครัง้ ทีผ่ า่ นมา ตุปเต็น จินปะ กับ อลัน วอลเลซ ทำหน้าทีเ่ ป็น ล่ามได้อย่างดียงิ่ คงจะเป็นการดียิ่ง ถ้าเราจะเริ่มด้วยสิ่งที่นักปรัชญาเรียกว่า ตัวตน ตาม แนวคิดของชาวตะวันตก ผมจึงขอเชิญชาร์ลส์ เทเลอร์ เข้าประจำที่ “อาสน์รอ้ น” บนเก้าอีน้ วมถัดจากองค์ทะไลลามะ และเก้าอีต้ วั นีจ้ ะมีผเู้ ข้าร่วมประชุมผลัดกัน มานัง่ ในวันต่อๆ ไป
I
เตรียมการเดินทาง 27