Life is (not) Romantic

Page 1

ชีวิต (ไม่) โรแมนติก ของเกษตรกรหนุ่มสาว

วิทยากร โสวัตร


คำว่า ‘เกษตรกร’ ในความหมายทั่วไป หรือ ‘ชาวนา’ ในความหมาย เฉพาะที่แคบลงมา ต่อทรรศนะความเชื่อของคนรุ่นพ่อแม่เราส่วน ใหญ่แล้ว เป็นอาชีพที่สร้างความขมขื่น ไร้เกียรติ ไร้ศักดิ์ศรี เป็นอาชีพ ที่แทบไม่มีวันลืมตาอ้าปากได้ จึงไม่แปลกที่พวกเขาจะทำทุกวิถีทาง เท่าที่ฐานะทางเศรษฐกิจจะเอื้ออำนวย ผลักดันให้ลูกหลานออกห่าง จากวิถีท้องไร่ท้องนา ไปศึกษาหาความรู้กระแสหลักจากเมืองใหญ่ ด้วยหวังใจว่า สักวันหนึ่งในช่วงวัยต้องเลี้ยงปากท้อง พวกเขาจะได้ไม่ ต้อง ‘หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน’ แบกหนี้สินเงินกู้ ธกส. ที่ตายแล้วเกิดใหม่ก็ ใช้คืนไม่หมด ได้ไปประกอบอาชีพดีๆ มีงานประจำ มีรายได้มั่นคง พอเลี้ยงตัวเอง เลี้ยงครอบครัว โดยไม่ต้องตรากตรำหลังขดหลังแข็ง เช่นรุ่นพ่อแม่ และหากโชคอำนวยได้ทำงานกับหน่วยงานราชการ ก็ จะได้ อ าศั ย สวั ส ดิ ก ารแถมพ่ ว งอี ก มากมาย เพื่ อ นบ้ า นใกล้ เ คี ย งก็ พลอยยอมรับนับถือไปด้วย นี่เป็นภาพฝันและความคาดหวังอันละมุนของคนรุ่นก่อน ที่ถูกสำเนา ไว้ในมโนสำนึกมาหลายทศวรรษ ด้วยเหตุนี้ หลายครอบครัวจึง ‘รับ ไม่ได้’ เมื่อลูกหลานที่ดูจะมีอนาคตสดใส หิ้วกระเป๋าอำลาเมืองใหญ่ กลับบ้านเกิดไปคลุกดินเปือ้ นโคลนในท้องไร่ทอ้ งนา... เป็นภาพฉายซ้ำ ที่ยากแก่การยอมรับ


วิถีของเกษตรกรหนุ่มสาวที่ปรากฏในหน้ากระดาษเหล่านี้ก็เฉกเช่น กั น วั น หนึ่ ง เมื่ อ ถ่ อ งแท้ แ ก่ ใ จว่ า จะเลื อ กใช้ ชี วิ ต ในเส้ น ทางเกษตร อินทรีย์ พวกเขาจึงมุ่งมั่น ทุ่มแรงพลังอย่างไม่ย่อท้อ สร้างบทพิสูจน์ ให้ครอบครัว ให้ผู้คนที่พวกเขารักได้เห็นได้สัมผัส จนสมาชิกส่วนใหญ่ เริ่ม ‘รับได้’ คล้อยตาม และให้การสนับสนุนวิถีที่พวกเขาศรัทธาใน ที่สุด เราเองก็เชื่อมั่นว่า ยังมีคนหนุ่มสาวอีกเป็นจำนวนมาก ที่ปรารถนาจะ หวนคืนสู่วิถีอันเก่าแก่นี้ วิถีที่เปิดโอกาสให้ชีวิตได้แนบชิดเป็นหนึ่ง เดียวกับธรรรมชาติ วิถีที่คืนอิสรภาพให้แก่จิตวิญญาณ ได้ดำรงตน อย่างเต็มศักดิศ์ รีของความเป็นมนุษย์ผมู้ เี จตจำนงเสรี และเราก็หวังว่า ตัวอย่างเรื่องราวของหนุ่มสาวเหล่านี้ จะเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้ หลายคนได้คดิ เริม่ ต้นพิสจู น์ตวั เอง กล้าทีจ่ ะก้าวข้ามความกังวลทัง้ ปวง แล้วก้าวไปบนเส้นทางที่ร่างพิมพ์เขียวไว้ เพื่อค้นหาความหมายใหม่ เติมเต็มความใฝ่ฝันให้แก่ชีวิต


- สารบัญ -

จากสำนักพิมพ์

๐๑๐ เราจะเริ่มต้นที่เขา

๐๑๗ สมเจตน์ ชัยลาภ ๐๒๑ การแสวงหาของคนหนุ่ม ๐๓๒ อุ่นไอดิน ๐๓๙ “ผมกลัวผมไม่ตายครับพี่” ๐๔๒ หนึ่งวันของเกษตรกรหนุ่ม ๐๔๗ ชีวิตและความฝันยังไม่ถึงกับจบสิ้นนี่นะ

๐๕๐ ผมจะเป็นชาวนา ๐๕๔ สุวิทย์ สุดสมศรี ๐๕๖ จับพลัดจับผลูมาเป็นคนเขียนหนังสือ ๐๖๐ จากคนทำหนังสือมาเป็นคนทำนา ๐๖๒ พ่อ ๐๖๕ “สวนโฮมบุญ” ๐๖๗ พลังของสตรี ๐๗๓ คำสารภาพ

๐๗๘ ข่อยกับเห็ด ๐๘๒ ฤทธี ดิษฐกุล ๐๘๖ ใครอยากมีชีวิตแบบนี้บ้าง ๐๘๘ สวนเห็ดเพียงพอดี ๐๙๕ เรื่องมันยาว...


๐๙๖ ชีวิต (จริง) ไม่โรแมนติก! ๑๐๑ พิชเยนต์ – ละอองดาว นามศรีเรือง ๑๐๒ ชีวิตระเหระหนในมหานครกรุงเทพฯ ๑๐๕ วางเดิมพัน ๑๐๙ บทเรียนราคาแพง ๑๑๒ สิ่งที่ทำให้ภาคภูมิใจในฐานะเกษตรกร ๑๑๕ เรายังมีชีวิตอยู่และยังใฝ่ฝัน

๑๑๘ คุณจริงแค่ไหน ๑๒๒ พี่แดง – วีรศักดิ์ สะจันดา ๑๒๓ ชีวิตในบล็อก ๑๒๗ เอาจริง ๑๓๐ ถามดิน

๑๓๒ การชุมชนของเกษตรกร ๑๓๖ ปณิธาน ๑๓๗ จิตวิญญาณ ๑๔๐ จดหมายจากเกษตรกรหนุ่ม


เราจะเริ่มต้นที่เขา...


...ถ้าเราอยากรู้จักผู้ใดอย่างแท้จริงสักคน จงดูทั้งเส้นทางที่เขาเลือก และวิถีปฏิบัติของเขาขณะอยู่บนเส้นทาง แต่ไม่ควรใส่ใจดูว่าเขาไปถึงปลายทางหรือไม่ ต้นทางสะท้อนปัญญา คน ปลายทางสะท้อนอำนาจฟ้า ส่วนวิถีชีวิตบนเส้นทาง แท้จริงแล้วมิใช่อะไรอื่น หากคือจุดบรรจบ ทางวิญญาณระหว่างฟ้ากับคน ผ่านพบไม่ผูกพัน, เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ...

- ๐๑๓ -


การแสวงหา ของคนหนุ่ม ต่อคำถามถึงความรักความสนใจในวิถีเกษตรกรรม “เรื่องเกษตรมันอยู่ในชีวิตนี้แหละ... ” เขาตอบแบบไม่ต้องคิด แล้วย้อนความทรงจำไปถึงช่วงชีวิตวัย เยาว์ที่พ่อซึ่งเป็นครูพากลับมาอยู่บ้านเกิด (ของพ่อ) ที่ทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด แม้เขาจะเป็นเด็กเรียนดีแต่ก็เติบโต อยู่ในมหกรรมแห่งท้องทุ่ง เพราะมีเพื่อนพี่น้องที่เป็นชาวนาและพ่อเขา เองก็เป็นครูที่ทำนา แต่บอกลูกเสมอว่าอย่าได้มายึดอาชีพนี้ ขอให้ ตัง้ ใจเรียนเพือ่ ไปให้ไกลจากอาชีพทีย่ ากลำบากนีเ้ สีย และนีเ่ ป็นเหตุผล ที่พ่อไม่มีมรดกที่ดินไว้ให้เขาเลย ช่ ว งชี วิ ต ในมหาวิ ท ยาลั ย แม้ จ ะเป็ น นั ก ศึ ก ษาคณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ แต่เขากลับชอบปั่นจักรยานหรือขับรถมอเตอร์ไซค์ในช่วงเช้าๆ (เขาเป็นคนตื่นเช้า) และช่วงเวลาเย็นๆ เที่ยวไปดูแปลงเกษตรของนัก ศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ และยังจำความรู้สึกผ่อนคลายมีความสุขกับ ภาพที่เห็นนั้นได้ “ตอนเรี ย น มข. (มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น ) ช่ ว งปี ท้ า ยๆ ซึ่ ง ก็ มี ปัญหาการเมืองภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว แฟน (ตอนนั้น) ได้ พาไปประชุมที่กระทรวงสาธารณสุขด้วย ระหว่างนั้นได้อ่านบันทึกการ ประชุมของชาวนาอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร เกิดความประทับใจ มากในกระบวนความคิดของเกษตรกรชาวนาที่นั่น จากนั้นก็ได้อ่าน ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ของ มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ พออ่านแล้ว ก็ รู้ สึ ก ถึ ง พลั ง ที่ คุ ก รุ่ น เลยนะ ในเรื่ อ งขบวนการภาคประชาชนและ เกษตรกรรมแบบยั่งยืน ซึ่งเราก็สนใจการเมือง-สังคมอยู่แล้ว จากนั้นก็ เข้าไปร่วมทุกเรื่องเลย

- ๐๒๑ -


“พอมีรุ่นพี่ NGOs จาก กป. (คณะกรรมการประสานงานองค์กร พัฒนาเอกชน ภาคอีสาน) ที่ขอนแก่น ชวนเข้าไปทำงานด้วย ก็ไม่ลังเล เลย แต่แรกทีเดียวเขาพาไปเขาแผงม้าเพื่อเข้าอบรมการเขียนและการ เป็นกระบวนกรส่งเสริมการเกษตรกับนิตยสารเกษตรกรรมธรรมชาติ ทั้งที่ตอนนั้นยังเป็นนักศึกษาและหารายได้พิเศษด้วยการสอนพิเศษก็ เลิกเพื่อเข้าไปเป็นอาสาสมัครเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภูมินิเวศ ขอนแก่นใต้ - โคราชเหนือ เป็นงบประมาณจาก SIF (Social Investment Fund) เมนู ๕ ทำให้ได้เข้าไปร่วมขบวนการชาวบ้าน แล้วได้ไปประจำ นาของพ่อบุญเต็ม ชัยลา ปราชญ์ชาวบ้านแห่งบ้านดงบัง ตำบลดอนฉิม อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น เป็นเวลา ๓ เดือน พ่อบุญเต็ม ชัยลา นี้เองได้นำพาไปสู่วิถีแห่งการเกษตรแบบเป็นรูปธรรมและเครือ ข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ได้เห็นกระบวนการทำการเกษตรของผู้ที่ได้รับ การยอมรับถึงขั้นเป็นปราชญ์ชาวบ้าน...” จากการคลุกวงในทำให้เด็กหนุ่มอย่างเขาได้ข้อสรุปว่า การที่ เกษตรกรรายย่อยจะทำการเกษตรให้อยู่ได้นั้นจักต้องทำการเกษตร หลายอย่างในพื้นที่ อีกทั้งครอบครัวต้องเป็นฐานสำคัญ ต้องยอมรับ กันและลงแรงช่วยหนุนเสริมเติมกำลัง โดยแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน จากว่าที่บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เขาก็ ตัดสินใจออกมาสมัครเรียนในมหาวิทยาลัยชีวิต (ระหว่างนี้ก็เข้าไป เคลื่ อ นไหวกิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาและก็ ขึ้ น โรงขึ้ น ศาลที่ ถู ก ทางฝ่ า ย อธิการบดี ขณะนั้น ฟ้องร้องด้วย) ด้วยการเป็นนักส่งเสริมการเกษตร แบบยั่งยืน “ระหว่างปีที่ได้รับงบจากรัฐบาลในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ (ปีพ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๔๗) นั้น เรื่องเกษตรอินทรีย์ยังไม่เป็นกระแส และผลักดันยากมาก แต่เรื่องนี้มาเกิดเป็นกระแสขึ้นมาจากวาทกรรม

- ๐๒๒ -


‘From Farm To Table’ หรื อ ‘ผั ก อิ น ทรี ย์ สู่ ค รั ว โลก’ ของรั ฐ บาล

พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร สมัยแรก และได้ขยายไปเป็นนโยบาย ระดับประเทศ...” เขายอมรับว่าแรกๆ ก็รู้สึกสนุกดี ตื่นเต้น เพราะมหาวิทยาลัยที่ เขาลงทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่นี้มันกว้างมาก ได้เรียนรู้ตลอด เรียนรู้ สิ่งใหม่ๆ และเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา ได้เห็นอะไรมากมายและยังได้ เห็นว่าตัวเองมีคุณค่าต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ ด้วย แต่พอนานๆ ไปเขาก็ยอมรรับว่าเกิดอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ทุรน-

ทุรายอยู่ไม่ได้ คล้ายเวลาที่คนเราบริโภคมากเกินไปแล้วไม่ระบายออก “มันคือจังว่าเฮากินอีหยังเข้าไปหลายๆ แล้วถ่ายบ่ออกน่ะ” เขาขออนุญาตใช้คำภาษาลาวเพื่อให้ได้คำจำกัดความที่ถึงใจ “ช่วงนี้ความรู้อัดแน่นมากจนรู้สึกอึดอัด มันอึดอัดเพราะไม่ได้ทำ เอง มีแต่ส่งเสริมๆ ถึงขนาดมีคำสอนและคำบอกกล่าวกันในหมู่นักส่งเสริมว่า ‘แม่นเฮ็ดบ่เป็นกะให้บอกว่าเป็นไว้ก่อนเด้อ ส่วนมันสิเป็นจั่งได๋ นั่น เดี๋ยวสิไปหามาให้ – ให้บอกกับซาวบ้านอย่างนี้- -’ และโชคดีที่ชาว บ้านก็ไม่ค่อยชอบลองภูมินักส่งเสริมเสียด้วยสิ ชาวบ้านโอบอุ้มเจ้า หน้าที่ทางเกษตรอินทรีย์ดีมาก ชาวบ้านจะถือว่าเรารู้เห็นมาเยอะกว่า “เมื่ออึดอัดมากๆ ก็เลยลองทำเอง...” ตอนนั้นมีสำนักงานอยู่ในตัวเมืองขอนแก่นเรียกกันในหมู่ของ พวกเขาว่า ‘บ้านเขียว’ มีพื้นที่หน้าสำนักงานไม่มากนัก ซึ่งเขาเล็งไว้ แล้ว ก็ลองวิชาแรกด้วยการขุดบ่อเลี้ยงปลาดุก กล้าหาญถึงขั้นขุดด้วย มือด้วยจอบเอง ใช้ความรู้จากที่ได้ประสบพบเห็นมา แต่เพื่อความ แม่นยำในหลักการก็ถึงขั้นกางนิตยสารเกษตรกรรมธรรมชาติกำกับ เลย ปรากฏว่าขุดบ่อวันเดียวไข้แตก!

- ๐๒๓ -


หลั ง จากนอนจมพิ ษ ไข้ อ ยู่ ห ลายวั น จนสร่ า งก็ ล งปลาดุ ก ในบ่ อ ประมาณ ๓๐๐ ตัว คำนวณการลงทุนไว้อย่างดี เวลา แรงงาน วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ จนได้จุดคุ้มทุน ก็มั่นใจว่าคุ้มแน่นอนได้กำไรเต็มๆ แต่ ปรากฏว่าปลาตายตั้งแต่วันแรกและก็ตายลงทุกวัน ทั้งที่น้ำก็เปลี่ยน จุลินทรีย์ก็ใส่ ทำตามสูตรทุกอย่าง จากการประเมินดูคร่าวๆ ตอนนั้น ปลาน่าจะตายไปไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ตัว และเขาก็ยอมรับว่าผลการ เรียนของวิชาแรกนี้ เขาสอบตก! “แต่ ดี ที่ ไ ม่ รู้ สึ ก โกรธ ซึ่ ง ก็ แ ปลกดี จิ ต เลยไม่ อึ ด อั ด ” เขาสรุ ป ประสบการณ์ “ทำไปๆ ก็ได้เรียนรู้เอง ได้บทเรียนจากเรื่องนี้ว่า น้ำประปาน่ะ

เน่าเร็ว ก็คือเราเตรียมน้ำไม่เป็น ไม่รู้จักน้ำ จากนั้นก็ทำได้ ทำได้จนรู้ นิสัยปลาดุกเลยล่ะ” เขาเล่าว่าหนหนึ่งมีนักศึกษานักกิจกรรมรุ่นน้องมาเยี่ยม เขาเอง ไม่มีเงินเลี้ยงดูปูเสื่อมาก ก็เห็นว่าในบ่อนั้นมีปลาดุกที่เลี้ยงไว้หลาย ร้อยตัว เลยบอกให้น้องนักศึกษาจับมาทำกิน อารามนักศึกษาที่ทำ กิจกรรมส่วนใหญ่ก็จะอดๆ อยากๆ อยู่แล้ว ยิ่งมาสายประชาชน – ภูมิ ปัญญาชาวบ้าน บ่อปลาแค่นี้พวกเขากระโจนลงพักเดียวก็ได้ผล แต่ปรากฏว่าพอน้ำแห้งแล้วไม่มีปลาสักตัว! ทีนี้ผีนักต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชน ความยุติธรรมในสังคมก็เข้าสิง ทันควันเลย พวกเขายืนไฮด์ปาร์กอยู่กลางบ่อปลานั่นแหละ จนเขาต้อง เดินออกมาดู เห็นความจริงแล้วเขาก็หวั เราะ ก่อนจะบอกให้นกั กิจกรรม ทั้งหลายโกยโคลนออก “ปลาดุกนี่นะ ลองว่าเราได้ทำการจับเขาแล้วนี่ เขาจะรู้เลย หลบ ซ่อนเลยนะ มุดลงไปอยู่ใต้โคลนจนแนบติดพื้นดินเดิมนั่นแหละ นิ่ง มาก เอาโคลนออกก็เห็นปลา”

- ๐๒๔ -


- ๐๒๖ -


แล้วเขาก็สรุปบทเรียนเรื่องปลาให้ฟัง “ปลาดุกนี่เลี้ยง ๔ เดือนได้ขาย ตัวละ ๑ ขีดนี่ได้แน่นอน เพื่อจะ ให้อยู่ได้ตลอดปีเราก็ขุดบ่อ ๔ บ่อ แต่จำไว้ว่าปลาจะพักตัวในฤดูหนาว นั่นหมายความว่า ๑ ปี เราจะได้ผลผลิตจากปลาดุกอยู่ที่ ๘ – ๙ เดือน “ขุดบ่อขนาด ๒x๕ เมตร (ซึ่งขนาดนี้พอเหมาะกับปลาที่พร้อม ขายที่ ๖๐๐ ตัว) แต่ละบ่อลงพันธุ์ปลาดุก ๗๐๐ ตัว (เผื่อการตายไป เลย ๑๐๐ ตัว) พอเข้าเดือนที่ห้าก็เริ่มจับขายเดือนละบ่อ พอจะขายบ่อ ที่สองในเดือนที่สองก็ลงพันธุ์ปลาบ่อแรกไว้ หมุนไปอย่างนี้ พอหมด บ่อที่สี่ ก็จะครบสี่เดือนพอดี แล้วก็สามารถวนมาขายบ่อที่หนึ่งได้เลย หมุนเวียนไปอย่างนี้ “ราคาลงทุน - ราคาพันธุ์ปลาดุก/บ่อประมาณ ๓๕๐ บาท (๐.๕๐ บาท/ตัว) ราคาอาหารปลาต่อบ่อประมาณ ๕๐๐ บาท (จนถึงเวลา ขาย) เป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น ๘๕๐ บาท (หรือจะคิดที่ ๑,๐๐๐ บาทก็ได้) “ผลผลิต – ปลาดุกสี่เดือนจะได้น้ำหนัก ๑ ขีด/ตัว ดังนั้นปลาดุก ๖๐๐ ตัวจะมีน้ำหนักรวมที่ ๖๐๐ ขีดหรือ ๖๐ กิโลกรัม (ไม่ต่ำกว่านี้) “การจำหน่ายและผลกำไร – ปลาดุกราคาในตลาดไม่ต่ำกว่า ๖๐ บาท/กิโลกรัม ดังนั้นปลาดุก ๖๐ กิโลกรัมจะขายได้ที่ราคาประมาณ ๓,๖๐๐ บาท (ไม่ต่ำกว่านี้) “รายได้ – ก็จะได้เดือน/บ่อละ ๓,๖๐๐ บาท เมื่อหักต้นทุน (๘๕๐ – ๑,๐๐๐ บาท) แล้วก็จะได้เงินกำไรสุทธิอยู่ที่ ๒,๖๐๐ - ๒,๘๐๐ บาท/ เดือน/บ่อ (แต่ถ้าไม่ได้ขายยกบ่อในวันเดียวก็อาจได้มากกว่านั้นตาม น้ำหนักหรือตามราคาขึ้น – ลงในตลาด) สรุปแล้ว ปลาดุก ๔ บ่อ ก็จะ ขายได้อย่างมากบ่อละสองหน/ปี (๘ เดือน)” เมื่อเห็นตัวเลขนี้แล้วบวกรวมกับความไม่ยากของการเลี้ยงปลา ดุกในบ่อขนาดเล็ก ก็ถือได้ว่าเป็นรายได้เสริมที่ดีมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เจ้าของความคิดและประสบการณ์ก็บอกเป็นหมายเหตุไว้ด้วยว่า

- ๐๒๗ -


“นั่นหมายความว่าระบบน้ำเราดีและเพียงพอด้วยนะ ที่สำคัญถ้า อะไรก็ตามที่เรากระทำแต่ดันไปเรียกการกระทำนั้นว่า ‘เลี้ยง’ แล้ว มัน จะเกิดความผูกพัน คือถ้าลงได้เลี้ยงอะไรแล้วก็มักไม่กล้ากิน ไม่กล้า ฆ่า ไม่กล้าขายน่ะ และความผูกพันนี้เองที่อาจทำให้เราไม่ได้เงินหรือ รายได้ ดังนั้นควรจะหาคนมาจัดการเรื่องนี้เป็นการเฉพาะด้วยนะ” ... แน่นอนว่าการทำเกษตรกรรมยั่งยืนนั้นไม่ได้วัดผลสำเร็จที่ตัวเงิน อย่ า งเดี ย ว แต่ ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ ข องพื้ น ที่ แ ละอาหารที่ จ ะทำให้ เกษตรกรกินดีอยู่ดีก็เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ และถ้าจะวัดปริมาณอาหาร เอาจากปลาดุก ๔ บ่อ จำนวนรวมประมาณ ๒,๔๐๐ ตัว ก็คงเพียงพอ ต่อการบริโภค (วันละ ๖ – ๗ ตัว ซึ่งจะไม่เหลือพอขาย) แต่ ค วามจริ ง ก็ คื อ ว่ า คนเราไม่ อ าจกิ น ปลาได้ ทุ ก วั น หรื อ ไม่ สามารถกินแต่ปลาอย่างเดียวได้ เพราะจะไม่เกิดความหลากหลายใน การกินและก็ไม่ได้มีชีวิตเพื่อจะกินและอยู่ (กับที่) เพียงอย่างเดียวดอก ดังนั้นจึงเป็นที่มาหรือเป็นสาเหตุให้ทำการเกษตรหลายๆ อย่างในพื้นที่ เมื่อทำหลายอย่างก็จะได้กินหลายอย่าง เมื่อได้กินหลายอย่างแล้ว แต่ละอย่างก็จะเหลือพอได้ขายเป็นรายได้ และรายได้ก็จะนำไปสู่ กิจกรรมที่มากกว่าการกินและพาให้ออกจากที่เดิมด้วย และบางอย่าง ที่เหลือกินเป็นเศษหรือส่วนเกินจากผลผลิตก็สามารถเอามาลดต้นทุน การผลิตได้เช่นกัน ดังนีแ้ ล้ว อยากให้กลับไปอ่านสองย่อหน้าข้างบนนีอ้ ย่างใคร่ครวญ ก็จะเห็นว่า การที่จะเลี้ยงให้ ‘มีชีวิตอยู่ได้’ นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเสียแล้ว ... การ สอบตก วิชาเลี้ยงปลาดุกในช่วงแรกๆ ก็ลงเรียนใหม่ซ้ำแล้ว ซ้ำอีกจนสามารถผ่านไปได้ด้วยดี แต่ระหว่างการลงเรียนใหม่นั้นเอง มันก็เกิดการเรียนรู้จริงๆ ขึ้นมา

- ๐๒๘ -


“อย่าเพิ่งพูดถึงคำว่า พอเพียง เลยนะ เอาแค่คำว่า หลากหลาย/ ผสมผสาน (เกษตรผสมผสาน) หรือ ยั่งยืน (เกษตรกรรมยั่งยืน) ซึ่งเป็น งานในหน้าที่ของเราโดยตรงนี่ (การส่งเสริม) เราไม่รู้ ‘ความหมาย’

ของมันจริงๆ หรอก จนกว่าจะลงมือทำแล้วเทียบเคียงเอากับชีวิตที่กิน ที่อยู่จริงๆ เพราะมันทำให้หยั่งรู้ถึงต้นสายปลายเหตุและปลายทางของ ปรัชญาหรือวิถีของเกษตรแบบนี้เลย” นั่นจึงเกิดความริเริ่มที่จะปลูกพืชผักขึ้นมาเพื่อจะให้เลี้ยงตัวเอง ให้ได้ เขาตัดสินใจไปขอเช่าทีช่ าวบ้านซึง่ ติดกับห้วย เพือ่ เป็นการการันตี ระบบน้ำว่าเพียงพอแน่นอน ชาวบ้านใจดีไม่ให้เช่า เมื่อวางแผนและ แปลนทุกอย่างดีแล้ว จากนั้นก็ลงมือด้วยการปลูกผักแค่ ๓ ชนิด - ผัก คะน้า กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว... เขาเรียกแรงงานแห่งความรักที่ปรากฏ เป็นรูปร่างว่าผลิตผลจาก ‘ไร่รวงดิน’ และส่งขายให้แค่สองร้าน – ร้าน ตะวันทองและร้านเอเดน อาทิตย์ละ ๒ วัน ทุกคนเชื่อในยี่ห้อตัวบุคคลของเขา ถั่วฝักยาวเป็นที่ต้องการมาก เขาตั้งราคาเองเลยที่ฝักละบาท ปรากฏว่าขายดีมาก เพียงแค่นี้เขาก็ได้ เม็ดเงินจากผักเดือนละ (ประมาณ) ๖,๐๐๐ บาท และช่วงไหนงานใน หน้าที่หลักไม่เอาเวลาเขาไปมากสามารถทำเต็มกำลังก็จะสามารถ สร้างรายได้ถึง ๘,๐๐๐ – ๑๐,๐๐๐ บาท/เดือน รายได้ขนาดนี้ก็ช่วยชีวิตอาสาสมัครอย่างเขาได้มาก เพราะเงิน เดือนกระท่อนกระแท่นและมักมาไม่ค่อยตรงเวลา แต่เมื่อคิดคำนวณ กับภาระค่าเช่าสำนักงานเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาทแล้ว เขารู้สึกว่ามัน หนักเกินไป วิชาที่สองนี้เขาถือว่าตัวเองทำคะแนนได้ดีมาก เพียงแต่มีเวลาอยู่ กับมันไม่ถึงขวบปีก็ต้องย้ายเข้าหมู่บ้านซึ่งเป็นพื้นที่งานจริงๆ

- ๐๒๙ -


แต่เขาก็ยังเสียดายแรงงานที่ทำและตลาดที่ผูกไว้ได้แล้ว เขา ฝากฝังกับผู้นำชาวบ้านให้ทำต่อ – ทำตามที่เขาเคยทำ แต่สุดท้ายดอก ผลเหล่านั้นก็ถูกแผ่นดินดูดกลับ เพราะชาวบ้านไม่ทำต่อด้วยเหตุผล ว่านอกจากให้คนมาซื้อที่แปลงเอง หรือไม่ก็เอาไปขายเองที่ตลาดสด นอกเหนือจากนี้แล้วขายไม่เป็น! ที่ อ ยู่ ใ หม่ - บ้ า นโนนทั น ตำบลโนนสมบู ร ณ์ อำเภอบ้ า นแฮด จังหวัดขอนแก่น แต่ชีวิตและการงานยังคงเหมือนเดิม เงินเดือนได้จาก สสส. ซึ่งก็ยังคงความกระท่อนกระแท่นและมักมาไม่ค่อยตรงเวลา แต่ โชคดีที่เจ้าหน้าที่กับชาวบ้านคุ้นกันมาก พึ่งพากันได้ เข้าใจกันดีและมี จุดหมายร่วมกันคือ การพึ่งตนเอง จึงสามารถสร้างกลุ่มเกษตรผสม ผสานขึ้นได้ แต่กิจกรรมหลักๆ ที่ทำร่วมกันเป็นปุ๋ยกับออมทรัพย์ เขาเริ่มวางแผนงานไว้ที่ ๑๐ ปีและสามารถขอยืมพื้นที่ได้ตาม เวลาที่ต้องการ ใช้สูตรเดิม คือทำเกษตรหลังสำนักงาน ปลูกผัก ๑๐ กว่าชนิด เช่น มะนาว มะละกอ มะกรูด ตะไคร้ ผักกาด กวางตุ้ง คะน้า เลี้ยงปลาดุก “ตอนนั้นยังไม่ชำนาญเรื่องการทำปุ๋ยใช้เอง – ทั้งที่ส่งเสริมเรื่อง การรวมกลุ่มทำปุ๋ยนะ แต่ก็ได้บทเรียนใหม่ว่าน้ำจากบ่อปลาดุกนี่เป็น สุดยอดน้ำ พืชผักงามมาก งามที่สุดกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ปลูกอะไร ก็ ไ ด้ ผ ล อย่ า ง ผั ก ล้ ม ลุ ก ก็ ไ ด้ กิ น ผั ก ยื น ต้ น อย่ า งมะละกอพั น ธุ์ ค รั่ ง (แดง) เป็นพันธุ์ที่ปลูกตอนนั้น เป็นพันธุ์พื้นเมืองจากอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ศูนย์วิจัยพันธุ์พืช อำเภอเมือง เป็นผู้พัฒนาสาย พันธุ์ ยาว ๑ ศอก กว้าง ๒ มือหุ้ม กรอบอร่อยทั้งสุกและดิบ นั่นไง...” เขาชี้มือไปที่ต้นมะละกอแถวหนึ่งในสวน “ทุกวันนี้ยังเอามาปลูกไว้เพื่อรำลึกถึงห้วงเวลานั้น แต่ผักยืนต้น เหล่านี้เห็นผลแล้วแต่ยังไม่ทันได้กิน”

- ๐๓๐ -


ถึงเขาจะเล่าให้ฟัง - - แต่ผมขอไม่เล่าต่อ และขอให้ชีวิตมีพื้นที่ สำหรับความลับและเรื่องราวที่เราอยากเก็บมันไว้แต่เพียงลำพังบ้าง

ก็เท่านั้น ... เขาบ่ายหน้าสู่ทิศทางต่อไป - ชุมชนหินผา ฟ้าน้ำ ของชาวอโศก ที่อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ เขาเคยมาเห็นที่นี่หนหนึ่งแล้วคราไป ประเมินงานของ สสส. กับ ดร.บัญชร แก้วส่อง “ตอนนั้นตัวเองมีองค์ความรู้พอตัวแล้วเหมือนกัน แต่ยอมรับว่า อโศกสุดยอดกว่า” เขาสรุปให้ฟังสั้นๆ แล้วก็ขอเข้าไปอยู่เป็น คนวัด เพื่อที่จะได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ ทำทุก อย่าง – สอนหนังสือ ขับรถ ทำเกษตร ฯลฯ โดยไม่มีเงินเดือน ระหว่างมีชีวิตราวนักพรตที่ชุมชนหินผา ฟ้าน้ำ นี้เองที่หญิงสาว คนหนึ่งผ่านทางขึ้นไปในฐานะนักวิจัยของ สกว. เขาจำเธอได้เพราะ เธอเป็นแขกประจำของบ้านเขียวที่จังหวัดขอนแก่น ด้วยความที่เป็น เพื่อนกับพี่ๆ ในนั้น ยามที่เธอผ่านทางมาจึงแวะไปเยือน -นอนอ่าน หนังสือ พูดคุย เดินชมสวน แต่ไม่ถึงขั้นคุ้นใจ แต่พอพบกันครั้งนี้ – เขาและเธอก็คล้ายคนสนิท เขารับงานวิจัย และย้ายออกมาจากชุมชน และวันหนึ่งเขาก็เดินทางสู่จังหวัดกาฬสินธุ์ แน่ล่ะเธอประจำอยู่ที่นั่น และแล้วเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่และสวยงามของชายหนุ่มและหญิง สาวก็เกิดขึ้น เสียดายที่ผมไม่ได้ถามว่าความรักเกิดขึ้นได้อย่างไร... รู้แต่เพียง ว่า สำหรับเขาแล้วรักหนนี้มีบทเรียนจากรักครั้งก่อนซึ่งเกิดขึ้นได้อีกหน ก็เนื่องด้วยการก้าวผ่านมันมาได้แล้ว เมื่อเรื่องราวเดินทางมาถึงตรงนี้...

- ๐๓๑ -


ผมเห็นภาพชายหนุ่มคนหนึ่งเดินทางลงจากภูเขาภายหลังบ่ม เพาะตัวเองจากการงานที่แท้จริงและพร้อมกันนั้นก็เรียนรู้ชีวิตจาก ธรรมชาติในทุกฤดูกาล เขาเดินลงจากภูเขาไปตามเสียงเพลงไพเราะที่ แว่วดังมาจากพื้นราบ ซึ่งเป็นเพลงเดียวกันกับที่กังวานอยู่ในดวงใจ ของเขา “สวัสดีชีวิต...” เขารำพึ ง ถ้ อ ยคำนี้ อ อกมา และผมเข้ า ใจว่ า ความรู้ สึ ก ของเขา กำลังเดินทางไปสู่บางสิ่งบางอย่างแต่หนหลัง เขายิ้มและรำพันอีก ถ้อยคำหนึ่งออกมา “และความรัก!”

อุ่นไอดิน เขาและเธอเรียกขานบ้านบล็อกประสานไม่มีเสา ชั้นเดียว ที่ซึ่ง ข้างรั้วสดชื่นด้วยสีเขียวของพืชพรรณต่างๆ หลังนี้ว่า – อุ่นไอดิน ที่ แ ห่ ง นี้ น อกจากจะทำหน้ า ที่ เ ป็ น เรื อ นหอ แล้ ว ยั ง ใช้ เ ป็ น ที่ ทำงาน เป็นร้านกาแฟและเครื่องดื่มสุขภาพ และล่าสุดเป็นร้านอาหาร สำหรับผู้ที่ไม่นิยมสารเคมี สำหรั บ ผมชื่ อ นี้ เ ป็ น ชื่ อ ที่ ช วนให้ เ อ่ ย ซ้ ำ – ‘อุ่ น ไอดิ น ’ แม้ แ รก

ทีเดียวผมไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมถึงได้ชื่อเช่นนี้ แต่ผมเลือกที่จะไม่ถาม เอากับเจ้าของร้าน เนื่องเพราะมันคงเป็นคำถามซ้ำๆ ที่ผู้เป็นเจ้าของ คงคร้านที่จะตอบแล้วเช่นกัน อย่างไรก็ตามผมได้ถือที่นี่เป็นจุดพักระหว่างการเดินทางกลับ บ้านเกิดของตัวเองมาร่วม ๒ ปีแล้ว และยังจำได้ถึงความรู้สึกครั้งแรก ที่กลิ่นหอมของกาแฟจากเม็ดที่กำลังถูกบดโชยมาต้อนรับ เมื่อวาง

- ๐๓๒ -


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.