หัวใจอุดมศึกษา (Heart of education)

Page 1

หัวใจอุดมศึกษา เสียงเรียกร้องเพื่อปรับเปลี่ยนสถานศึกษาโดยการสนทนาในสถาบัน The Heart of Higher Education: A Call to Renewal Transforming the Academy through Collegial Conversation By Parker J.Palmer & Arthur Zajonc with Megan Scribner ปาร์กเกอร์ เจ. ปาล์มเมอร์, อาเธอร์ ซายองค์ และ เมแกน สคริบเนอร์ เขียน กรรณิการ์ พรมเสาร์ แปล สดใส ขันติวรพงศ์ บรรณาธิการ

โครงการหนังสือวิชาการจิตตปัญญาศึกษา ล�ำดับที่ 21


• จากส�ำนักพิมพ์ หลายครั้งผู้อ่านอาจนึกแปลกใจว่าส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมามักจัดกิจกรรม มากมายหลายอย่างอยูเ่ สมอๆ ทัง้ กิจกรรมการประชุมระหว่างประเทศ ดัง่ เช่น การประชุมนานาชาติความสุขมวลรวมประชาชาติครัง้ ที่ 3 ในปี 2550 ทีม่ ผี เู้ ข้า ร่วมจากประเทศต่างๆ กว่า 800 คน หรือกิจกรรมการพูดคุยในวงสนทนาของ คนเพียงไม่กี่คนในมุมเล็กๆ ของร้านหนังสือ ร้านกาแฟและร้านกรีนสวนเงิน มีมา หนังสือที่ส�ำนักพิมพ์ฯ เลือกมาจัดพิมพ์และเผยแพร่นั้นส่วนมากเป็นไป เพือ่ การสร้างสรรค์สกู่ ารเปลีย่ นแปลงทางสังคม ซึง่ มักจะเกิดขึน้ จากวงสนทนา วงสนทนานี่เองที่เป็นแก่นหลักแห่งกระบวนการเรียนรู้อันส�ำคัญยิ่งที่หนังสือ เล่มนี้กล่าวถึง อีกทั้งวงพูดคุยยังช่วยเปิดพื้นที่และเปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้แลก เปลี่ยนมุมมองจากหนังสือ ช่วยสะท้อนและเชื่อมโยงสาระของหนังสือเข้ากับ ชีวิตจริงอันจะน�ำไปสู่หนทางแห่งการเปลี่ยนแปลงในชีวิต หนังสือ หัวใจอุดมศึกษา เป็นผลมาจากการประชุมของบรรดานักการ ศึกษาซึ่งจัดขึ้นที่เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2550 เช่น


กัน หลังการประชุมแล้วยังติดตามมาด้วยกระบวนการพัฒนาเนื้อหา ด้วยการ น�ำประสบการณ์จริงด้านการจัดการศึกษาของพวกเขาและเธอมาร่วมแลก เปลีย่ นเรียนรู้ เรือ่ งราวและทีม่ าต่างๆ ของผูค้ นและหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ เหล่านี้อาจจะมีพ้ืนภูมิในสังคมอเมริกันอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ท�ำให้หนังสือนี้ขาด ความน่าสนใจแต่อย่างใด ในแต่ละบทจะมีเรื่องราวและประสบการณ์จริงของ ผู้มีบทบาทด้านการศึกษา จนมาถึงบทที่ 6 ที่เป็นเนื้อหาด้านทฤษฎี เป็นการ ผนวกทัง้ สองส่วนเข้าด้วยกัน อันจะน�ำไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลงระบบการศึกษาใน ระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ในฐานะทีส่ ำ� นักพิมพ์สวนเงินมีมาได้มสี ว่ นในการผลิตหนังสือทีเ่ กีย่ วกับ การศึกษาทางเลือกในสังคมไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงอยากขอย้อนไปสู่ ที่มาของเรื่องนี้ตั้งแต่ครั้งที่อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ได้รับรางวัลสัมมาอาชีพ หรือรางวัลโนเบลทางเลือกในปี 2538 และได้น�ำเงินรางวัลดังกล่าวนี้มาก่อตั้ง เสมสิกขาลัย อันถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ส�ำคัญในกระบวนการขับเคลื่อนเรื่องการ ศึกษาทางเลือกในบ้านเรา และหนึง่ ในผูจ้ ดั การองค์กรแห่งนีท้ ไี่ ด้รบั การแต่งตัง้ จากอาจารย์สลุ กั ษณ์ ศิวรักษ์ ก็คอื ข้าพเจ้า ซึง่ มีหน้าทีจ่ ดั การอบรมในหัวเรือ่ ง ต่างๆ โดยมีวิทยากรที่ล้วนเป็นกัลยาณมิตรที่รู้จักคุ้นเคยกับอาจารย์สุลักษณ์ เป็นอย่างดี อาทิ สตีเฟนและมาร์ตนิ แบทชเลอร์, สาทิศ กุมาร ผูร้ ว่ มก่อตัง้ และ ผู้อ�ำนวยการวิทยาลัยชูมาร์กเกอร์ ประเทศอังกฤษ, จอห์น เลน ผู้อ�ำนวยการ ฝ่ายศิลปะของนิตยสารรีเซอเจ้นท์ รวมทั้งเพื่อนชาวเควกเกอร์อีกมากมายของ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ที่ได้มีส่วนในการพัฒนาหน่วยงานการศึกษาทาง เลือกแห่งนี้ อาทิ นักกิจกรรมด้านสันติวธิ อี ย่างยอร์จและลิเลียน วิลโลบี, ยอร์จ เลกี้ ในหลักสูตรผู้น�ำและการสร้างสรรค์ชุมชนที่น�ำการอบรมอย่างใกล้ชิดกับ ประชา หุตานุวัตร กลุ่มเควกเกอร์นี้ถือเป็นกลุ่มอิสระที่มีต้นก�ำเนิดมาจาก กลุ่มผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่อพยพมาจากประเทศอังกฤษ เพื่อมาตั้งถิ่นฐานอยู่ — (6) • หัวใจอุดมศึกษา —


ทีส่ หรัฐอเมริกาดินแดนแห่งอิสรภาพ (ตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1642-1651) พวกเขาสนใจ ท�ำงานด้านจิตวิญญาณเพื่อการรับใช้สังคมอย่างเสมอมา ในปี 2540 เมื่ออาจารย์สุลักษณ์จัดการประชุมนานาติเรื่อง ทางเลือก ออกจากบริโภคนิยม เราทั้งสองได้พบกันและร่วมกันสร้างครอบครัวไปพร้อม กับการริเริ่มสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการประชุมนานาชาติเรื่อง การศึกษาทางเลือก ที่ได้จัดขึ้นหลายครั้ง ณ โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จังหวัด กาญจนบุรี มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองด้านการศึกษาจากทั้งในและนอก ประเทศ อาทิ วิศิษฐ์ วังวิญญู และจอห์น ทอมสัน แห่งวิทยาลัยเอ็มเมอร์สัน (วิทยาลัยแห่งนีม้ หี ลักสูตรการศึกษาทีใ่ ช้แนวทางด้านมนุษยปรัชญาของรูดอร์ฟ สไตเนอร์ ซึ่งเป็นนักการศึกษาที่ผนวกมิติด้านจิตวิญญาณ และเป็นต้นก�ำเนิด ของการศึกษาแนววอลดอร์ฟ ซึง่ มีชวี ติ อยูใ่ นช่วงปี ค.ศ. 1861-1925) เมือ่ เรา ได้มาร่วมกันจัดตั้งบริษัทสวนเงินมีมาในปี 2544 ก็ได้เลือกจัดพิมพ์เผยแพร่ หนังสือเรื่อง เด็กตามธรรมชาติ เป็นเล่มแรกๆ หนังสือเล่มนี้มีจอห์น ทอมสัน เป็นบรรณาธิการ และมีวศิ ษิ ฐ์ วังวิญญู เป็นผูแ้ ปล นับเป็นหนังสือคุณภาพทีไ่ ป พ้นกาลเวลา เป็นคูม่ อื ให้กบั นักการศึกษา ครูและพ่อแม่ทแี่ สวงหาทางเลือกใน การศึกษาส�ำหรับเด็ก และได้จดั พิมพ์ซำ�้ มาสองครัง้ แล้ว นอกจากนัน้ การขับ เคลื่อนเรื่องการศึกษาทางเลือกนี้ก็ยังมี ณัฐฬส วังวิญญู (ซึ่งส�ำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยนาโรปะ) มาร่วมช่วยกระบวนการในด้านนี้ด้วย เส้นทางสู่การจัดพิมพ์หนังสือ หัวใจอุดมศึกษา นี้ ยังมีหลายสิ่งหลาย อย่างเกิดขึ้น อาทิ การมีส่วนร่วมในการผลักดันเครือข่ายเกษตรอินทรีย์เอเชีย (Towards Organic Asia-TOA) โดยเฉพาะในประเทศลุม่ น�ำ้ โขง ซึง่ มีกลุม่ งาน วิจยั เชิงปฏิบตั กิ าร ทีเ่ ป็นเครือ่ งมือสูก่ ารเรียนรูข้ องผูค้ นและองค์กรทีข่ บั เคลือ่ น ด้านเกษตรอินทรีย์ มีกลุ่มตลาดที่มีจิตส�ำนึก (Mindful Markets) อันเป็นเวที ของผู้ประกอบการสังคมจากประเทศต่างๆ และที่ส�ำคัญคือ การที่ส�ำนักพิมพ์ — จากส�ำนักพิมพ์ • (7) —


สวนเงินมีมาเลือกจัดพิมพ์หนังสือ กระบวนการภาวนาศึกษา เมื่อความรู้แปร เป็นความรัก และมีเวทีเปิดตัวหนังสือนี้ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเดือน มกราคม 2556 และได้เชิญผู้เขียน ดร. อาเธอร์ ซายองค์ ประธานสถาบันจิต และชีวติ (ซึง่ มีกจิ กรรมส�ำคัญคือวงสนทนาวิสาสะระหว่างองค์ทะไลลามะ ผูน้ ำ� ทางจิตวิญญาณกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นน�ำ) มาร่วมในการเปิดตัวหนังสือด้วย แรงบันดาลใจจากเวทีเปิดตัวหนังสือดังกล่าวพร้อมกับการสนับสนุนจาก ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โครงการจิตวิญญาณ ใหม่เพือ่ การเปลีย่ นแปลง (New Spirit) ก็ได้ถอื ก�ำเนิดขึน้ โดยวางอยูบ่ นเนือ้ หา 4 หมวด ได้แก่ 1. วิทยาศาสตร์หรือศาสตร์ใหม่ 2. จิตวิญญาณใหม่ 3. การ ศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง และ 4. เศรษฐศาสตร์สีเขียวอันว่าด้วย ‘เกษตร แบ่งปัน’ โดยมีหนังสือที่น�ำเสนอเนื้อหาในสี่หัวเรื่องนี้ควบคู่ไปด้วย หนึ่งในนั้น มีหนังสือเรื่อง กล้าที่จะสอน เขียนโดย ปาร์กเกอร์ ปาล์มเมอร์ ซึ่งเป็นผู้ร่วม เขียนกับอาเธอร์ ซายองค์ในเรื่อง หัวใจอุดมศึกษา นี่เอง โครงการจิตวิญญาณใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลง และหนังสือเรื่อง หัวใจ อุดมศึกษา เล่มนี้ นับเป็นการมาบรรจบพบกันอย่างน้อยของสามสายธาร สาย ธารแรกคือพุทธศาสนาเพื่อการรับใช้สังคมที่อาจารย์สุลักษณ์ได้ขับเคลื่อนมา อย่างยาวนาน สายธารที่สองคือกลุ่มเควกเกอร์อันเป็นกลุ่มคริสต์ศาสนาเพื่อ การรับใช้สังคมที่ปาร์กเกอร์ ปาล์มเมอร์มีส่วนร่วมอยู่อย่างใกล้ชิด และสาย ธารที่สามคือมนุษยปรัชญาที่อาเธอร์ ซายองค์มีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ทั้ง สามสายธารทีก่ ล่าวนีต้ า่ งมีสว่ นในการแสวงหาด้านจิตวิญญาณไปพร้อมกับการ รับใช้สังคม หนังสือเล่มนี้จึงเสมือนการเชื้อเชิญผู้อ่านให้ส�ำรวจลึกลงไปในจิต วิญญาณของตน ขณะเดียวกันก็สำ� รวจความหมายของชีวติ จากการมีสว่ นร่วม เปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ดีด้วย

— (8) • หัวใจอุดมศึกษา —


อีกกิจกรรมหนึ่งที่ส�ำคัญในโครงการจิตวิญญาณใหม่เพื่อการเปลี่ยน แปลง คือวงสนทนาที่จัดขึ้น 4 วงอันแวดล้อมไปด้วยผู้คนที่เป็นตัวแทนของ 4 หัวเรื่องที่กล่าวมา หนังสือ หัวใจอุดมศึกษา เล่มนี้ก็จะเป็นหนังสือใช้ประกอบ ในวงสนทนาที่ว่าด้วยหัวเรื่องการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาความ คิดอ่านของผู้คนที่ใฝ่ใจในการพัฒนาการศึกษาที่บ่มเพาะความงอกงามจาก ภายใน ความคิดอ่านที่ว่านี้หาใช่เป็นแบบนักคิดเชิงตรรกะ หากคือผู้ที่มี ประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยจินตนาการและความสร้างสรรค์ และมีแนวคิด ใหม่ๆ มาปรับปรุงงานด้านการศึกษาอยูเ่ สมอๆ ดังนัน้ ความท้าทายของหนังสือ นีค้ อื การเปลีย่ นแปลงแวดวงวิชาการผ่านการสนทนาในสถาบัน และกระบวน การดังกล่าวนี้จะถูกน�ำมาปรับใช้ในโครงการจิตวิญญาณใหม่ที่ส�ำนักพิมพ์ สวนเงินมีมาร่วมกับ School for Wellbeing Studies and Research โดยแสวง หาความร่วมมือและการร่วมด�ำเนินงานกับณัฐฬส วังวิญญู และ Center for Courage and Renewal ในสหรัฐอเมริกา ซึง่ ก่อตัง้ โดยปาร์กเกอร์ ปาล์มเมอร์ เพื่อจะพัฒนาสาระดังกล่าวนี้ในหมู่นักการศึกษา ผู้บริหาร นิสิตนักศึกษา ครู อาจารย์และผู้ก�ำหนดนโยบาย และท�ำให้เนื้อหาของหนังสือนี้เหมาะสมกับ บริบทสังคมไทยมากที่สุด แนวทางการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่น�ำเสนอในหนังสือเล่มนี้ สามารถน�ำมาใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ ไม่จ�ำกัดแต่องค์กรด้านการศึกษา เท่านัน้ อาทิ เรือ่ งศาสตร์ใหม่ทวี่ างอยูบ่ นประสบการณ์ตรง ความสัมพันธ์ การ เห็นความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งบนโลกและมนุษยชาติ การเผยตนสู่การรับรู้ ทั้งปาร์กเกอร์ ปาล์มเมอร์และอาเธอร์ ซายองค์เชื่อว่าส�ำนึกรู้ด้านจิตวิญญาณ ขนบธรรมเนียมทางศาสนา รวมทัง้ ความหลากหลายของความคิดความเชือ่ จะ ช่วยเราสลักเสลาให้เกิดการวางจิตวางใจให้ถูกต้องเหมาะสม และน�ำมาสู่การ เรียนรู้แบบจิตภาวนาได้ — จากส�ำนักพิมพ์ • (9) —


ท้ายสุดนี้ใคร่เรียนกับผู้อ่านว่าส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมาก�ำลังด�ำเนินการ จัดพิมพ์และเผยแพร่หนังสือเล่มใหม่เรื่อง “ตลาดที่มีจิตส�ำนึก อาหารอินทรีย์ ส�ำหรับทุกคน” (Mindful Markets: Organic Food for All) อันเป็นหนังสือทีอ่ ยู่ ในโครงการจิตวิญญาณใหม่เพือ่ การเปลีย่ นแปลงเช่นกัน ตลาดทีม่ หี วั จิตหัวใจนี้ จะเผยให้เห็นเรือ่ งศาสตร์ใหม่ทใี่ ส่ใจในความรูส้ กึ จิตวิญญาณของคนร่วมสมัย ที่น�ำมาสู่ผู้ประกอบการสังคมหรือการประกอบสัมมาอาชีพที่มีจิตส�ำนึกนั้นเอง วัลลภาและฮันส์ แวน วิลเลียนส์วาร์ด 27 พฤศจิกายน 2557

— (10) • หัวใจอุดมศึกษา —


สารบัญ

• หน้า จากสำ�นักพิมพ์ (5) เกริ่นนำ� (13) คำ�ขอบคุณ (23) เกี่ยวกับผู้เขียน (25) บทนำ� 1 บทที่ 1 สู่ปรัชญาการศึกษาแบบบูรณาการ 25 บทที่ 2 เมื่อนำ�ปรัชญามาปฏิบัติ 43 บทที่ 3 พ้นไปจากชีวิตทางวิชาการที่แบ่งแยก 65 บทที่ 4 ใส่ใจในโยงใยสัมพันธ์ ใช้ชีวิตเป็นบทเรียน 95 บทที่ 5 ประสบการณ์ การใคร่ครวญ และการเปลี่ยนแปลง 127 บทที่ 6 การสนทนาเพื่อความเปลี่ยนแปลงในมหาวิทยาลัย 157 บทส่งท้าย 189 เกี่ยวกับภาคผนวก: การทดลองการศึกษาแบบบูรณาการ ภาคผนวก ก. ในห้องเรียน ภาคผนวก ข. นอกห้องเรียน ภาคผนวก ค. การริเริ่มของฝ่ายบริหารและทั่วทั้งมหาวิทยาลัย

193 195 217 243

อ้างอิง

271


of Independent College), สหพันธ์เพื่อนวัตกรรมในวิทยาลัยชุมชน (the League for Innovation in the Community Colleges), สมาพันธ์ผู้บริหาร งานบุคลากรนักศึกษา (the National Association of student Personnel Administrators) และมหาวิทยาลัยนาโรปะ หุ้นส่วนที่ส�ำคัญของเราและเป็นสถาบันเจ้าภาพในการจัดการประชุม ครั้งนี้คือ สถาบันบูรณาการศาสตร์แห่งแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Integral Studies; CIIS) ขอขอบคุณเป็นพิเศษส�ำหรับเพือ่ นร่วมงานทีม่ ไี มตรีจติ ของเราที่ CIIS โจเซฟ ซับบิออนโด ประธาน CIIS ส�ำหรับวิสัยทัศน์และความ เป็นผู้น�ำของเขา และขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่เฟตเซอร์ เดบอราห์ ฮิกกินส์ ส�ำหรับความทุ่มเทและความเป็นเลิศของเธอ หากปราศจากความช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อของคนเหล่านี้ การประชุมที่โดดเด่นเป็นพิเศษครั้งนี้คงเกิดขึ้นไม่ได้ ขอบคุณ เมแกน สคริบเนอร์ อย่างสุดซึง้ พรสวรรค์ของเธอในฐานะนักคิดและ บรรณาธิการช่วยเชื่อมค�ำถามในที่ประชุมเข้ากับความคิดเห็นอันรุ่มรวยของ ผู้เขียนจนเป็นหนังสือที่คุณเห็นอยู่ตรงหน้าเล่มนี้ ผมต้องสารภาพว่าการยืนอยูท่ า่ มกลางชุมชนของนักการศึกษาทีโ่ ดดเด่น เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ในแคลิฟอร์เนียนั้น กระตุ้นให้เกิดความตระหนักว่าการ สนทนาแลกเปลีย่ นทีเ่ ป็นประโยชน์ยงั มีอยูแ่ ละเป็นไปด้วยดีในหมูน่ กั การศึกษา ทัว่ โลก ค�ำถามพืน้ ฐานทีเ่ ป็นหัวใจส�ำคัญของการพูดคุยแลกเปลีย่ นทีก่ ำ� ลังมีมาก ขึ้นเรื่อยๆ และเป็นหัวใจส�ำคัญของการประชุมคือค�ำถามที่ว่า ความพยายาม ทางการศึกษาในปัจจุบนั นีไ้ ด้กล่าวถึงมนุษย์ทงั้ คน–คือทัง้ สมอง หัวใจและจิต วิญญาณ–ในแบบทีเ่ ป็นประโยชน์ทสี่ ดุ ต่ออนาคตของเราในโลกอันเปราะบางนี้ แล้วหรือยัง ขั้นต่อไปเราจะท�ำอะไรดีเพื่อให้วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยของเรา เป็นสถานที่ที่ปลุกศักยภาพอันฝังลึกของนักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ท�ำอย่างไรจึงจะถักทอการเรียนรูเ้ ชิงบูรณาการเข้ากับวัฒนธรรม หลักสูตรและ — เกริ่นน�ำ • (15) —


• เกริ่นน�ำ “ประเด็นปัญหาที่คนรุ่นต่อไปทั่วโลกต้องเผชิญ เรียกร้องเราให้สอนนักศึกษาทั้งโลกให้ใช้ทรัพยากรทั้งหมดที่พวกเขามี ใช่แค่สมองและหัวใจเท่านั้น นี่ก็สายแล้ว งานก็แสนยาก ความเสี่ยงก็สูง มีไม่กี่สถาบันเท่านั้นที่วางตัวอยู่ในต�ำแหน่งที่พร้อมจะเริ่มงานนี้ ยิ่งกว่าวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในประเทศของเรา1” – ไดอาน่า แชปแมน วอลช์ – อธิการบดีกิตติคุณ วิทยาลัยเวลเลสลี่ย์

ที่อยู่ตรงหน้าคุณนี้คือการเชื้อเชิญที่ใคร่ครวญแล้วอย่างมีเหตุผล ให้ใช้ชีวิต อย่างสอดคล้องกับหัวใจของอุดมศึกษา เพิ่มความเข้าใจและการปฏิบัติให้ ลุม่ ลึกขึน้ ในด้านการเรียนรูส้ กู่ ารเปลีย่ นแปลง (Transformative Learning) ความ รุนแรงของปัญหาที่โลกก�ำลังเผชิญอยู่นี้ต้องการคนเต็มคนที่มีจิตใจและหัวใจ ที่เต็มเปี่ยมมาน�ำเราไปสู่วันพรุ่งนี้ และในทางกลับกันก็ต้องการให้เราฟื้น


เป้าหมายการเป็นมนุษย์และความหมายที่แท้จริงของการอุดมศึกษาเสียใหม่ ปาร์กเกอร์ ปาล์มเมอร์ และ อาเธอร์ ซายองค์ อุทิศชีวิตของตนเพื่อ สร้างรูปแบบการศึกษาทีร่ บั ใช้เป้าหมายของมนุษย์ หนังสือของพวกเขาออกมา ในช่วงรอยต่อทีส่ ำ� คัญและสร้างสรรค์ในวิวฒั นาการของการอุดมศึกษาในชุมชน โลกที่ก�ำลังเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือเล่มนี้เป็นการขานรับการประชุม อุดมศึกษานานาชาติเมื่อปี 2007 ที่ไม่เคยจัดขึ้นมาก่อน ทั้งยังได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันเฟตเซอร์ (Fetzer Institute) แทนที่จะเป็นสรุปรายงานการ น�ำเสนอ และใจความส�ำคัญของการพูดคุยแลกเปลี่ยนในที่ประชุม หนังสือ เล่มนี้เป็นเสียงเรียกร้องให้หันมาสนใจและมีความมุ่งมั่นมากขึ้นต่อการศึกษา แบบบูรณาการที่การประชุมครั้งนี้ให้ความส�ำคัญ หลังจากวางแผนอยู่ 2 ปี จึงได้จดั การประชุม “เผยหัวใจอุดมศึกษา: การ เรียนรูอ้ ย่างบูรณาการเพื่อปฏิบัติการด้วยความรักในโลกที่โยงใยถึงกัน” ขึ้นที่ ซานฟรานซิสโก เมือ่ วันที่ 22-25 กุมภาพันธ์ 2007 การประชุมครัง้ นีม้ ผี เู้ ข้าร่วม กว่า 600 คน ทั้งนักการศึกษา ผู้บริหาร มืออาชีพด้านชีวิตนักศึกษา อนุศาสนาจารย์ นักศึกษา ทัง้ หมดมาจาก 260 สถาบันในอเมริกาเหนือและทัว่ โลก จากเชเนคตาดี้ไฮสกูล ทางตอนเหนือของนิวยอร์ค ถึงมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ ในแอฟริกาใต้ และจากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียในแคนาดาถึงวิทยาลัย ชุมชนริชแลนด์ในดัลลัส เท็กซัส องค์กรร่วมจัดที่ช่วยเหลือในการประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์ ศิลปะอาเซียนแห่งซานฟรานซิสโก ภาคีวิทยาลัยอเมริกันใหม่ (Associated New American Colleges) สมาพันธ์วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแห่งอเมริกา (Association of American Colleges and Universities) ศูนย์เพือ่ ความกล้าหาญและการฟืน้ ฟู (Center for Courage & Renewal) ศูนย์จติ ภาวนาในสังคม (The Contemplative Mind in Society), สภาวิทยาลัยเอกชน (the Council — (14) • หัวใจอุดมศึกษา —


กิจกรรมเสริมหลักสูตรของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยของเรา ค�ำถามเหล่านีย้ งั คงเป็นป้ายชี้ทางที่ใช้ได้ส�ำหรับงานที่จะด�ำเนินต่อไปในการอุดมศึกษา สถาบันเฟตเซอร์มีพันธกิจระยะยาวในเรื่องของการศึกษาแบบองค์รวม ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมานี้ สถาบันได้สนับสนุนอย่างแข็งขันให้มีการพูดคุยแลก เปลี่ยนที่ส�ำคัญระหว่างการศึกษากับจิตวิญญาณ อันเกิดจากการยอมรับว่า การศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอุดมศึกษา ท�ำหน้าที่เสมือนเป็นเครื่องบ่ม เพาะชีวติ ของปัญญาชนและนักวิชาชีพ ทีไ่ ม่สามารถตัดขาดจากการพัฒนาคน ให้เต็มคนและการพึ่งพาอาศัยของเขาหรือเธอผู้นั้นกับโลกกว้าง เฟตเซอร์ทั้ง ขานรับและสนับสนุนศิลปะและการปฏิบตั ขิ องการศึกษาเพือ่ ความเปลีย่ นแปลง โดยบูรณาการเข้ากับเป้าหมายหลักที่ดีที่สุดของการอุดมศึกษา การศึกษาเพื่อความเปลี่ยนแปลง–ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นการให้การศึกษา เพือ่ ให้คนเป็นคนเต็มคนโดยบูรณาการชีวติ ด้านในกับภายนอกเข้าด้วยกัน ด้วย การปลุกทั้งปัจเจกและโลกให้ตื่นรู้ และด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชนแห่ง ความเห็นอกเห็นใจกัน–กลายเป็นขบวนการที่เงียบเชียบ ทว่าหนักแน่น ที่ สนับสนุนให้เกิดการฟื้นฟูและพัฒนาสถานศึกษา ให้เป็นสภาพแวดล้อมที่ให้ เสรีภาพและเสริมสร้างความสามารถ อย่างไรก็ดยี งั มีงานต้องท�ำอีกมาก เพราะ การอุดมศึกษาตกอยู่ในกระแสความเปลี่ยนแปลงอันเชี่ยวกราก ผลลัพธ์ที่ สอดคล้องกับความใฝ่ฝันของการศึกษาเพื่อความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่มีทางเลย ที่จะชัดเจนและรับประกันได้ ดังนั้น จึงจ�ำเป็นที่หนังสือเล่มนี้และแนวทางที่ ผู้เขียนได้น�ำเสนอไว้ ต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันต่อไปอย่างต่อเนื่อง

— (16) • หัวใจอุดมศึกษา —


บทน�ำ

– ปาร์กเกอร์ เจ. ปาล์มเมอร์ และ อาเธอร์ ซายองค์

สิ่งที่มหาวิทยาลัยสรรค์สร้างขึ้นคือความเป็นมนุษย์... สิ่งที่มหาวิทยาลัยมีอ�ำนาจ สร้างหรือช่วยสร้างคือมนุษย์ ในความหมายที่เต็มเปี่ยมของถ้อยค�ำนี้–ไม่ใช่แค่คนงานที่ได้รับการฝึกหัดมาแล้ว หรือประชาชนผู้รู้ แต่เป็นผู้สืบทอดที่มีความรับผิดชอบและเป็นสมาชิก ของวัฒนธรรมมนุษย์ ... สิ่งส�ำคัญภายใต้แนวคิดของมหาวิทยาลัย –การรวมตัว การหลอมรวมเป็นหนึ่ง และบรรดาสาขาวิชาทั้งปวง– คือแนวคิดที่ว่า งานที่ดีและความเป็นพลเมืองดีนั้นเป็นผลพลอยได้ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ของการสร้างมนุษยชาติที่ดี ซึ่งก็คือมนุษย์ที่พัฒนาเต็มที่แล้ว1 – เวนเดล เบอรี่ –

หนังสือเล่มนี้เกิดจากการสนทนาอย่างต่อเนื่องยาวนานระหว่างผู้เขียนทั้งสอง เพือ่ นร่วมงานทีใ่ กล้ชดิ และคนอืน่ ๆ อีกมากมาย เป็นการสนทนาทีน่ ำ� พาผูค้ น ให้เข้าใกล้หัวใจของสิ่งที่ทุกคนห่วงใยร่วมกัน ให้ดวงตาคู่ใหม่เพื่อมองเห็นทั้ง


ปัญหาและความเป็นไปได้ และเตรียมการณ์เพื่อลงมือปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ เช่นเดียวกับนักการศึกษาจ�ำนวนมากทีเ่ รารูจ้ กั เราเข้าวิทยาลัยไม่ใช่แค่เพือ่ หา ความรู้ แต่เพือ่ แสวงหาความหมายและเป้าหมายของชีวติ เราสองคนได้ครูดที ี่ ช่วยเราบนเส้นทางดังกล่าว จนเป็นแรงบันดาลใจให้เรามาเป็นครูประเภทนั้น ทว่าช่วงต้นที่เราก้าวเข้าสู่อาชีพในแวดวงวิชาการใหม่ๆ นั้น เราพบว่ายุ้งฉาง ของวิชาการทีใ่ ห้การศึกษาเรามานัน้ –รวมทัง้ ฐานคิดกระท่อนกระแท่นเกีย่ วกับ ความรู้และความเป็นมนุษย์เบื้องหลังยุ้งฉางเหล่านั้น ทั้งซ่อนเร้นและเปิดเผย ถึงธรรมชาติของความจริงและการอยู่กับความจริงนั้นอย่างมนุษย์ที่สมบูรณ์ เราพบว่าการจะ “ระบายสีให้อยูใ่ นเส้น” เป็นเรือ่ งยากขึน้ ทุกทีและคับข้องใจขึน้ เรือ่ ยๆ เมือ่ เราพยายามสอนในแบบทีจ่ ะตอบรับค�ำเรียกร้องของ เวนเดล เบอรี่ เพื่อช่วยนักศึกษาให้เป็นมนุษย์ที่พัฒนาสมบูรณ์เต็มที่กว่านี้ ด้วยแรงกระตุน้ จากความหลงใหลในวิชาชีพและความคับข้องใจ เราทัง้ สองคนรู้สึกถึงเสียงเรียกร้องให้ท�ำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อช่วยให้อุดมศึกษาน�ำชิ้น ส่วนทีม่ นั มักจะแยกออกเป็นชิน้ เล็กชิน้ น้อยอยูบ่ อ่ ยครัง้ นัน้ ให้กลับคืนเข้ามารวม กันใหม่ – เพื่อเห็นแก่นักศึกษา ผู้ที่สอนพวกเขา และโลกที่ต้องการให้หัวใจ กับสมองอยู่รวมกัน เราสนใจค�ำถามซึ่งเป็นหัวใจของหนังสือเล่มนี้ และบท สนทนาหลายต่อหลายครั้งที่น�ำมาสู่ค�ำถามดังกล่าว เราจึงใคร่เชิญชวนผู้อ่าน ให้ร่วมส�ำรวจไปกับเราด้วย การอุดมศึกษาจะเป็นภารกิจที่มีหลายมิติกว่านี้ได้อย่างไร ภารกิจที่ ดึงศักยภาพของมนุษย์ในการแสวงหาความรู้ การสอนและการเรียน ออกมาอย่างเต็มที่ เพื่อเชื่อมช่องว่างระหว่างสาขาวิชาเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างข้อต่อที่แข็งแกร่งระหว่างการรู้จักโลกกับการด�ำรงชีวิตอยู่ ในโลกอย่างสร้างสรรค์ ทั้งอยู่อย่างสันโดษและอยู่เป็นชุมชน

— 2 • หัวใจอุดมศึกษา —


ถ้าเราหาทางตอบค�ำถามนี้ไม่ได้–ไม่ใช่ค�ำตอบทื่อๆ ค�ำตอบเดียว แต่ ด้วยการวางแนวทางสืบค้นและการทดลองหลายๆ แบบที่จะก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและการปฏิบตั ิ เกีย่ วร้อยกันเป็นพรมผืนใหญ่–เราก็จะยังตอบสนอง ความหิวโหยและความต้องการของนักศึกษาได้เพียงชั่วครู่ชั่วยามและอย่าง เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ต่อค�ำถามเกี่ยวกับการผจญภัยของมนุษย์ที่รอคอยค�ำตอบ ต่อความท้าทายทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในยุคสมัยของเรา และที่ เห็นได้ชดั ว่าใหญ่โตพอๆ กันกับวาระดังกล่าว คือ เราเชือ่ ว่าค�ำตอบนีส้ ามารถ อธิบายถึงเสียงเรียกร้องทีท่ รงพลังต่อการอุดมศึกษาทีฝ่ งั แน่นอยูใ่ นดีเอ็นเอของ วัฒนธรรมและสถาบันของเรา แน่นอนใช่ว่าแค่เราเท่านั้นที่เป็นห่วง นักวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงอีกมาก มายหลายคนได้เขียนความเห็นวิพากษ์วิจารณ์วิธีการสอนนักศึกษาของเรา หนังสือ Excellence without a Soul ของ แฮรี่ ลิวอิส อดีตคณบดีวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด (Harvard College) อธิบายว่า “ฮาร์วาร์ดและมหาวิทยาลัยส�ำคัญ แห่งอืน่ ๆ ของเราลืมนึกถึงเป้าหมายส�ำคัญของการศึกษาในระดับปริญญาตรี”2 นอกเหนือจากความเป็นเลิศด้านวิชาการและการวิจัยแล้ว มหาวิทยาลัยได้ หลงลืมเป้าหมายหลักของตนเอง ซึ่งก็คือการช่วยนักศึกษาให้ “เรียนรู้ว่าตน เป็นใคร แสวงหาเป้าหมายชีวิตที่ใหญ่ขึ้น และออกจากมหาวิทยาลัยไปด้วย ความเป็นมนุษย์ที่ดีกว่าเดิม”3 ลิวอิสร�ำพันถึงความตื้นเขินที่มหาวิทยาลัย สนองตอบต่อปัญหาในแวดวงอุดมศึกษาว่า “นักศึกษาไม่ได้ไร้วิญญาณ แต่ มหาวิทยาลัยนั่นแหละที่ไม่มีวิญญาณ”4 เขายืนยันว่าการปฏิรูปในที่ที่มีการ ปฏิรูป ก็ไม่ลุ่มลึกพอที่จะคืนวิญญาณให้มหาวิทยาลัยและสถาปนาเป้าหมาย ของอุดมศึกษาขึ้นใหม่ได้ นั่นคือปลูกฝังความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้เรา ด้วยอารมณ์ความรู้สึกเดียวกันกับลิวอิส แอนโทนี โครนแมน อดีต คณบดีคณะนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยเยล ให้เหตุผลอย่างน่าเชือ่ ถือไว้ใน Edu— บทน�ำ • 3 —


cation’s End ว่า เป้าหมายทีแ่ ท้ของการศึกษาได้สญู สิน้ ไปแล้ว กล่าวคือ การ ส�ำรวจอย่างลึกซึ้งถึงความหมายของชีวิต หรือ “ชีวิตเกิดมาเพื่ออะไร” 5 เขา เขียนด้วยว่า “วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นแค่สถานที่ส�ำหรับถ่ายทอด ความรูเ้ ท่านัน้ แต่เป็นเวทีสำ� หรับส�ำรวจความลีล้ บั และความหมายของชีวติ โดย อาศัยการศึกษาวรรณกรรมและจินตนาการเชิงปรัชญาที่ยิ่งใหญ่อย่างละเอียด ถี่ถ้วนและมีวิจารณญาณ”6 บางอย่างที่จ�ำเป็นได้หายไป บางอย่างที่น�ำมาซึ่ง ความสอดคล้องและเป้าหมายที่แท้จริงของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยของเรา สิ่งที่หายไปนั้นเองที่เราให้ความสนใจในหนังสือเล่มนี้ ที่มาของหนังสือเล่มนี้ ในการวางโครงร่างของหนังสือเล่มนี้ เราไม่ได้พยายามผลิตซ�้ำบทสนทนาที่ เราได้พูดคุยกัน คุณจะไม่ได้เห็นตอนที่เขียน อาเธอร์บอกว่า “...,” จากนั้น ปาร์กเกอร์ก็พูดว่า “...” และเราก็ไม่ได้พยายามจะหลอมรวมสองความคิดให้ เป็นหนึ่งเดียวด้วยการประสานวิธีคิดและข้อเขียนของเราเข้าด้วยกัน เรายัง รักษาความต่างของน�้ำเสียงและมุมมองของเราซึ่งพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีเมื่อเรา พูดคุยกันซึ่งหน้า เราจึงใช้วิธีที่ให้แต่ละคนพูดถึงแต่ละด้านของ “ปัญหาของ การศึกษาแบบบูรณาการ” ตามแบบของใครของมันสลับบทกัน แต่ทกุ บททุก ตอนของหนังสือเล่มนี้ ที่เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนคนหนึ่งจะผ่านการค้าน ขยาย และขัดเกลาจากการสนทนากับผู้เขียนอีกคน–ที่จริงแล้วกับคนอื่นอีก หลายคนทีเดียว เราซึ่งมาจากคนละทิศคนละทาง มาสนทนากันถึงเรื่องหัวใจของอุดม ศึกษา ที่จริงถ้าดูจากวิถีชีวิตทางวิชาการแล้วเราออกจะเป็นคู่ที่แปลกเอาการ แต่นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ท�ำให้การสนทนาเพิ่มพลังให้เราแต่ละคน — 4 • หัวใจอุดมศึกษา —


อาเธอร์ ซายองค์ ศึกษาทางวิศวกรรม (BSE) และฟิสิกส์ (PhD 1976) จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอน อาเบอร์ เป็นนักฟิสิกส์ เป็นอาจารย์และ นักวิชาการสหวิทยาการที่วิทยาลัยแอมเฮิร์สมานานกว่า 30 ปี งานวิจัยทาง วิทยาศาสตร์ของซายองค์มีหัวข้อที่กว้างขวางในด้านฟิสิกส์อะตอม-เลเซอร์ แต่งานที่เขาท�ำเป็นพิเศษคือด้านพื้นฐานกลศาสตร์ควอนตัมเชิงทดลอง นอก เหนือจากงานวิจัยในห้องทดลองแล้ว ซายองค์ยังมีความสนใจประวัติศาสตร์ และปรัชญาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง วิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา เขาได้ท�ำงานด้านการศึกษาแบบบูรณาการและการศึกษาเพื่อการ เปลี่ยนแปลงส�ำหรับนักศึกษาในวิทยาลัยและสนใจเป็นพิเศษในด้าน “ภาวนา ศึกษา” (contemplative pedagogy) ปาร์กเกอร์ ปาล์มเมอร์ ศึกษาทางปรัชญาและสังคมวิทยาในระดับ ปริญญาตรีที่วิทยาลัยคาร์ลตัน และเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนา Union Theological Seminary ในนิวยอร์ก 1 ปี จบปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบิร์กลีย์ในปี 1970 เขาตัดสินใจน�ำวิชาสังคมวิทยามาใช้ใน “ชีวิตจริง” มากกว่าจะอยู่ในสถาบันการศึกษา ปาล์มเมอร์ท�ำ งานเป็นนักจัดตั้งชุมชนอยู่ในพื้นที่วอชิงตันดีซีเป็นเวลา 5 ปี จากนั้นได้ไปอยู่ และท�ำงานในชุมชนการเรียนรูเ้ ควกเกอร์สำ� หรับนักศึกษาผูใ้ หญ่และนักแสวงหา อีกหนึ่งทศวรรษ ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมานีเ้ ขาเป็นนักเขียนอิสระ เป็นครูสัญจร และนักกิจกรรมทางการศึกษา เขาท�ำงานอิสระไปพร้อมกับสอนหนังสือทีม่ หาวิทยาลัยเอกชนไม่หวังผลก�ำไร Union Institute and University มหาวิทยาลัย จอร์จทาวน์ วิทยาลัยเบเรีย และวิทยาลัยคาร์ลตัน ความสนใจเบือ้ งต้นของเขา คือเรือ่ งการศึกษา (โดยเฉพาะอย่างยิง่ ศิลปะการสอน) ในทุกระดับ เรือ่ งชุมชน จิตวิญญาณ และการเปลี่ยนแปลงสังคม เขาเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์เพื่อความกล้า— บทน�ำ • 5 —


หาญและการฟื้นฟู (Center for Courage and Renewal)7 เราสองคน–ซึง่ มีวสิ ยั ทัศน์รว่ มกันโดยมองว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีพลังและเป็นความหวังว่าจะ “คิดถึงตัวเราเองและโลกอย่างเกีย่ วข้องสัมพันธ์ กัน” ไม่ใช่แยกตัวตนจากโลก–ได้เริ่มพูดคุยกันกว่าทศวรรษมาแล้ว ซึ่งต้อง ขอบคุณสถาบันเฟตเซอร์8 ที่ให้การต้อนรับขับสู้เป็นอย่างดี ในช่วงหลายปีนั้น มีผู้เข้าร่วมวงสนทนากับเรา หรือเราเข้าไปร่วมวงกับพวกเขา ในการแสวงหา ความรูค้ วามเข้าใจและทักษะทีจ่ ำ� เป็นในการสนับสนุนการเรียนการสอนรูปแบบ ที่เคารพความซับซ้อนของความจริงและวิธีแสวงหาความรู้ที่หลากหลาย ร้อย รวมเข้าด้วยกันในรูปแบบทีจ่ ะมีสว่ นสนับสนุนให้เกิดความผาสุกของบุคคลและ ผลประโยชน์ของส่วนรวม บางครั้งการสนทนาที่ดีก็จบลงในตัวของมันเอง ที่ว่าดีเพียงเพราะว่า มันสนุกและให้อทุ าหรณ์สอนใจ แต่หลายครัง้ ก็มอี ะไรบางอย่างทีก่ วนใจผูเ้ ข้า ร่วมน�ำไปสูก่ ารสนทนาแลกเปลีย่ นและปฏิบตั ใิ นรูปแบบทีก่ ว้างใหญ่ขนึ้ ผลลัพธ์ ครัง้ หนึง่ ของวงสนทนาทีเ่ ราเข้าร่วมคือ การประชุมระดับชาติทไี่ ด้รบั การสนับสนุนด้านเงินทุน การจัดการ และเป็นเจ้าภาพโดยผู้ร่วมสนทนากับเราสองคน คือ มาร์ค เนโป เจ้าหน้าทีโ่ ครงการทีส่ ถาบันเฟตเซอร์ และโจเซฟ ซับบิออนโด ประธานสถาบันบูรณาการศาสตร์แห่งแคลิฟอร์เนีย การประชุมดังกล่าวชื่อ “เผยหัวใจอุดมศึกษา: การเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อปฏิบัติการด้วยความเห็นอกเห็นใจในโลกที่โยงใยถึงกัน” จัดขึ้นที่ซาน ฟรานซิสโก เมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2007 มีผเู้ ข้าร่วมมากกว่า 600 คนทัง้ จาก สหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ แผ่นพับแนะน�ำการประชุมตัง้ ค�ำถามทีเ่ ป็นหัวใจ ส�ำคัญไว้ว่า “การศึกษาในปัจจุบันได้มุ่งมั่นที่จะเตรียมมนุษย์ที่สมบูรณ์พร้อม –ทัง้ สมอง หัวใจ และจิตวิญญาณ–เพือ่ มอบสิง่ ทีด่ ที สี่ ดุ แก่อนาคตของเราบน โลกที่เปราะบางใบนี้แล้วหรือไม่ เราจะช่วยวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยของเรา — 6 • หัวใจอุดมศึกษา —


อย่างไรให้เป็นสถานทีท่ ปี่ ลุกศักยภาพทีล่ กึ ทีส่ ดุ ในตัวนักศึกษา คณาจารย์ และ เจ้าหน้าที่” ผู้เข้าร่วมบางคนได้ส�ำรวจวิธีการจัดการศึกษาแบบบูรณาการด้วย หลักสูตรสหวิทยาการ (interdisciplinary course) โครงการเรียนรู้ด้วยการ ให้บริการสังคม (Service Learning Project) การบูรณาการหลักสูตรเข้ากับ กิจกรรมนอกหลักสูตร (integration of curricular and extracurricular activities) และอื่นๆ บางคนรวมทั้งเราประทับใจกับจ�ำนวนที่เพิ่มขึ้นของตัว เลขการน�ำไปปฏิบัติจริงในแวดวงการศึกษา ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มไต่ถามถึง กรอบทางปรัชญาของการศึกษาแบบบูรณาการ ด้วยความหวังที่จะเสริมสร้าง โครงสร้างพืน้ ฐานให้เข้มแข็งขึน้ อันจะก่อให้เกิดความน่าเชือ่ ถือและความสอด คล้องในการน�ำวิธกี ารสอนไปท�ำซ�ำ้ หลายๆ ครัง้ เราได้สำ� รวจค�ำถามดังต่อไปนี้ • เรามีภาพอะไรอยู่ในใจเกี่ยวกับตัวเรา นักศึกษาของเรา เพื่อนร่วม งานของเรา สาขาวิชาของเรา โลกของเรา • เราคิดว่านักศึกษาของเราเรียนรูอ้ ย่างไร เอาอะไรเข้ามาในห้องเรียน บ้าง แล้วเราคิดว่าตัวเราสอนอย่างไร และเราเอาอะไรเข้าไปใน ห้องเรียน • มีสมมุตฐิ านอะไรเกีย่ วกับความรูท้ มี่ ารองรับวัฒนธรรมวิชาการทีแ่ พร่ หลายอยู่และวิธีการสอนของเรา • เราจะน�ำสมมุติฐานเหล่านั้นมาใช้กับปรัชญาการศึกษาอย่างสร้าง สรรค์ได้อย่างไร จึงจะเอือ้ ต่อการเรียนการสอนแบบบูรณาการมาก ยิ่งขึ้น เมื่อการประชุมคลี่คลายไป เราก็รู้สึกว่าเราก�ำลังร่วมรู้เห็นและเข้าร่วม ในกระบวนการเคลื่อนไหวที่ก�ำลังพัฒนา แม้จะแยกส่วนแต่ก็มีความหวัง มัน — บทน�ำ • 7 —


เริม่ ต้นเมือ่ นานมาแล้วแต่เราก็หวังว่าจะด�ำเนินสืบเนือ่ งต่อไปอีกนาน เป็นสนาม พลังที่ทั้งฐานคิด วิธีการ และจุดสิ้นสุดยังไม่เกิดขึ้นเป็นรูปร่างชัดเจนนัก แต่ก็ มีพลังงานมหาศาลในนามของการท�ำให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นมนุษย์มากยิง่ ขึ้น ดังที่ เวนเดล เบอรี่ อาจเรียกเช่นนี้ ความเป็นมาโดยสังเขป ของการศึกษาแบบบูรณาการ เราไม่ได้ปูพ้ืนหนังสือเล่มนี้ด้วยการให้ค�ำจ�ำกัดความที่เคร่งครัดของค�ำ ว่า “การศึกษาแบบบูรณาการ” ทัง้ ยังไม่ใช่เป้าหมายของเราทีจ่ ะลงเอยเช่นนัน้ แนวคิดดังกล่าวเปิดกว้างไว้หลายแนวทางมากจนค�ำจ�ำกัดความทีถ่ กู ต้องเทีย่ ง ตรงมากๆ ก็อาจสร้างปัญหาให้แก่สิ่งที่เราหวังจะแก้ไข เป็นการลดความซับ ซ้อนให้ง่ายลงจนกลายเป็นความคลุมเครือแทนที่จะให้ความกระจ่าง ข้อดี ข้อหนึ่งของการสนทนาซึ่งตรงข้ามกับค�ำประกาศคือ เราไม่จ�ำเป็นต้องมีค�ำ จ�ำกัดความที่ชัดเจนเพื่อจะเดินหน้าพูดคุย ความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ของ การสนทนาทีด่ ที ำ� ให้เราตรวจสอบปัญหาทีซ่ บั ซ้อนได้โดยไม่ตอ้ งลดมันลงเหลือ มิติเดียวหรือตัดมาเพียงช่วงสั้นๆ ในการจัดพูดคุยเกี่ยวกับการศึกษาแบบ บูรณาการ ไม่มอี ะไรดีไปกว่าแค่หยิบยกค�ำพูดทีเ่ ร้าอารมณ์ของ เวนเดล เบอรี่ ที่ใช้เปิดบทน�ำนี้ เอามันมาไว้ต่อหน้ากลุ่มแล้วถามว่า “คุณมีความคิดเห็น อย่างไร” ถึงอย่างนัน้ เราก็อยากเสนอบริบทประวัตคิ วามเป็นมาของการศึกษาแบบ บูรณาการพอสังเขป เพื่อเป็นหัวข้อในการอภิปราย บูรณาการเป็นเป้าหมาย ของการศึกษาที่ยืนยงมานานแล้ว ในโรงเรียนมหาวิหาร (Cathedral School) สมัยศตวรรษที่ 12 ของยุโรปนั้น ศิลปศาสตร์ทั้ง 7 มีเป้าหมาย–ตามค�ำของ — 8 • หัวใจอุดมศึกษา —


อแลง เดอ ลีลล์*–เพือ่ “ผลิตมนุษย์ทดี่ งี ามและสมบูรณ์พร้อม” ทีท่ กุ ส่วนของ เขาล้วนบริสุทธิ์งดงามสอดคล้องต้องกันกับส่วนอื่นๆ จนเขาสามารถเดินทาง ทางจิตวิญญาณไปหาพระเจ้าได้9 หลังจากนั้นมา การศึกษาระดับอุดมศึกษา ค่อยๆ แยกตัวออกจากศาสนาและมีแนวทางมาสูก่ ารปฏิบตั มิ ากขึน้ แม้กระทัง่ ปัจจุบันนี้ บูรณาการก็ยังเป็นอุดมการณ์ของศิลปศาสตร์ทุกสาขาวิชา มีการ เชื่อมโยงกับชุมชน มีการปรับการศึกษาของเราให้สอดคล้องกับความมุ่งมาด ปรารถนาภายในที่ให้แนวทางและความหมายแก่ชีวิตคนเรา ในช่วงกว่าสิบปีมานี้ ความสนใจในการเรียนการสอนแบบบูรณาการมี เพิม่ มากขึน้ ถึงอย่างนัน้ ความชัดเจนในเรือ่ งของลักษณะพิเศษ เป้าหมายและ วิธีการก็ยังปรากฏอย่างเชื่องช้า ในปี 2003 มูลนิธิคาร์เนกี้เพื่อความก้าวหน้า ด้านการสอน (Carnegie Foundation for the Advancement of Teaching) และสมาคมวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแห่งอเมริกา (Association of American Colleges and Universities) ได้ร่วมกันเสนอโครงการ “การเรียนรู้แบบ บูรณาการ: โอกาสในการเชื่อมต่อ”10 มีวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยสมัครเข้า โครงการนี้ 139 แห่ง ค�ำถามชุดหนึ่งที่ผู้สมัครถามกันมามากที่สุดคือ การ เรียนรู้แบบบูรณาการคืออะไร สอนอย่างไร ประเมินอย่างไร11 ผู้สมัครโอด ครวญเรื่องการแยกส่วนของการเรียนในปัจจุบันนี้ แต่พวกเขาก็ยังไม่เข้าใจว่า การเรียนแบบบูรณาการคืออะไร จะสอนอย่างไรและจะประเมินกันอย่างไร ดัง ค�ำประกาศของการประชุมว่าด้วยการเรียนรู้แบบบูรณาการแห่งหนึ่งที่บอกว่า “อะไรคือลักษณะเด่นของการเรียนรู้แบบบูรณาการ อะไรคือเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ มันจะช่วยให้นักศึกษาของเราก้าวผ่านการแยกส่วนและพัฒนา ส�ำนึกในการสร้างแรงจูงใจและเป้าหมายในโลกได้อย่างไร”12 * นักเทววิทยาและกวีชาวฝรั่งเศส - ผู้แปล — บทน�ำ • 9 —


มีวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย 10 แห่งได้รับเลือกให้เข้าร่วมในโครงการ เรียนรูแ้ บบบูรณาการเพือ่ ทีจ่ ะ “พัฒนาและประเมินแบบจ�ำลองและกลยุทธ์ขนั้ สูงเพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในแบบที่เป็นไปตามความมุ่งหมายและเชื่อม โยงกัน” ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์จากโครงการดังกล่าวนี้ในแง่ของหลักสูตร วิธีการสอน การพัฒนาคณาจารย์ และการประเมินผล มีอยู่ในเว็บไซต์ของ โครงการ13 ใน “แถลงการณ์วา่ ด้วยการเรียนรูแ้ บบบูรณาการ” ของโครงการดังกล่าว นี้ สมาคมวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยอเมริกา ได้แสดงความเห็นไว้อย่างถูกต้อง ว่า “การเรียนรูแ้ บบบูรณาการมีความหลากหลาย: เป็นการเชือ่ มโยงทักษะและ ความรู้จากหลายแหล่งและหลายประสบการณ์เข้าด้วยกัน เอาทฤษฎีมาใช้ใน ทางปฏิบัติในหลายๆ สภาพแวดล้อม ใช้ประโยชน์จากมุมมองที่หลากหลาย แม้จะขัดแย้งกัน เข้าใจประเด็นปัญหาและมุมมองตามบริบทของมัน”14 การ บรรยายลักษณะดังกล่าวนีค้ รอบคลุมกว้างมาก และส�ำหรับเราแล้วดูเหมือนจะ น�ำเอาความพยายามที่จะบูรณาการซึ่งมีความหลากหลายมากล่าวสรุปไว้ได้ดี ทีเดียว หากใครได้สำ� รวจค�ำตอบของนักการศึกษาต่อการเรียนรูแ้ บบแยกส่วน ก็จะเห็นแบบแผนเหล่านี้ วิธกี ารทีแ่ พร่หลายทีใ่ ช้มองการเรียนรูแ้ บบบูรณาการ เป็นการดัดแปลงหลักสูตรและการสอนนักศึกษาปริญญาตรีให้มีการเชื่อมโยง ที่เห็นได้ชัดระหว่าง: • กระบวนวิชาในสาขาวิชาเอกเดียวกัน • กระบวนวิชาในสาขาวิชาเอกเดียวกันและกระบวนวิชาที่นอกเหนือ สาขาวิชาเอก • หลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร รวมทั้งการท�ำงานกับชุมชน

เป้าหมายเหล่านี้สามารถด�ำเนินการได้โดยใช้เทคนิควิธีที่หลากหลาย — 10 • หัวใจอุดมศึกษา —


ชุมชน การเรียนรู้

การสอน แบบทีม การเรียนรู้ ด้วยการให้ บริการ

การมีส่วนร่วม ของพลเมือง

การพัฒนา หลักสูตร

หลักสูตร เตรียมความ พร้อมส�ำหรับ นักศึกษาใหม่

หลักสูตร เชื่อมต่อ (นักศึกษา ปี 2 / ปี 3)

เพื่อนนักศึกษา เป็นพี่เลี้ยง

การพัฒนา คณาจารย์

การเรียนรู้ แบบบูรณาการ

เพื่อนอาจารย์ สหสาขาวิชา เป็นที่ปรึกษา

ผลการเรียนรู้ ทักษะและ ทัศนคติ

การประเมิน

แฟ้มงาน, แฟ้มงาน อิเลคทรอนิกส์

การประเมิน ตนเอง

ผลของ โครงการ

ที่มา : Jeremy Kemp, “Integrative Learning Concept Map,” Wikipedia,http://en.wikipedia.org/wiki/File:Integrative_learning_concept_map.gif (สืบค้น เมื่อ 17 ธันวาคม 2009) โดยอิงจากผลงานของ M. T. Huber, P. Hutchings, &R. Gale, “Integrative Learning for Liberal Education,” peerReview (Summer Fall 2005)

โครงงาน ศึกษารวบยอด

วิชาศึกษา ทั่วไปแบบ บูรณาการ

บูรณาการ สองรายวิชา

แผนผังที่ 1 ผังความคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการ


เช่น การน�ำกระบวนวิชามาบูรณาการกัน (linked course) การศึกษาทัว่ ไปกับ โครงงานก่อนส�ำเร็จการศึกษา (general education and capstone courses) การเรียนรู้ด้วยการให้บริการสังคม (Service Learning) การสอนร่วมเป็นทีม (team teaching) การจัดประสบการณ์ปีแรกในมหาวิทยาลัย (first year experience) และชุมชนการเรียนรู้ (learning communities) เพื่อให้กลยุทธ์ เหล่านีไ้ ด้ผล อาจารย์จำ� เป็นต้องใช้วธิ บี รู ณาการทัง้ ในการสอนและการประเมิน นักศึกษา ท�ำให้อาจารย์จ�ำเป็นต้องมีการพัฒนา สถาบันต้องสนับสนุนและ สร้างสิ่งจูงใจ แผนที่ความคิดในแผนผังที่ 1 น�ำเสนอภาพรวมของวิธีการพัฒนาหลัก สูตร การพัฒนาคณาจารย์ และการประเมินผู้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้แบบ บูรณาการ ใจความส�ำคัญที่ปรากฏในหนังสือของเรานี้ สามารถหาอ่านได้จาก หนังสือชุดการศึกษาแบบบูรณาการที่ Esbjorn-Hargens, Reams และ Gunnlaugson เป็นบรรณาธิการ15 พวกเขาได้ระบุแหล่งทีม่ าของแนวทางในการเรียน การสอนนี้ไว้หลายแหล่งด้วยกัน มีตั้งแต่ประเพณีโบราณด้านจิตวิญญาณและ ปรัชญา ไปจนถึงจิตวิทยาเหนือตน (transpersonal psychology) และงาน ของ เคน วิลเบอร์ (Ken Wilber) เมือ่ ไม่นานนี้ ทีป่ พู นื้ การศึกษาแบบบูรณาการ ซึ่งพบในปรัชญาจิตวิญญาณของศรีอรพินโท16 นักเขียนชาวอินเดีย ซึ่งตั้งใจที่ จะไม่ให้คำ� จ�ำกัดความการศึกษาแบบบูรณาการ แต่พวกเขาได้จาระไนลักษณะ การเรียนการสอนตามแบบจ�ำลองนั้นดังนี้: • ส�ำรวจมุมมองที่หลากหลาย • ใช้มุมมองของบุรุษที่ 1-2-3 ในการเรียนการสอน • ผสมผสานการคิดอย่างมีวจิ ารณญาณเข้ากับความรูส้ กึ จากประสบ การณ์ — 12 • หัวใจอุดมศึกษา —


• รวมความรูค้ วามเข้าใจในเรือ่ งจิตวิทยาพัฒนาการ - ประกอบสร้าง (Constructive-Developmental Psychology) เข้าไว้ด้วย • รวมวิธีแสวงหาความรู้หลายวิธี • เชื่อมร้อยอาณาจักรของตัวตน วัฒนธรรม และการเลี้ยงดูเข้า ด้วยกัน • ยอมรับผู้เรียนและผู้สอนที่มีหลากหลายประเภท • สนับสนุนให้มี “การส�ำรวจความคิดด้านมืด” (shadow work) ใน ตัวผูเ้ รียนและผูส้ อน เป็นการส�ำรวจด้านทีไ่ ร้เหตุผลของตัวตนมนุษย์ การศึกษาแบบบูรณาการทีแ่ ท้นนั้ ให้นกั ศึกษาได้มสี ว่ นร่วมในการส�ำรวจ อย่างเป็นระบบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาโลกในเชิง “วัตถุวิสัย” กับเป้าหมาย ความหมาย ขีดจ�ำกัด และความมุ่งมาดปรารถนาในชีวิตของ พวกเขา การแบ่งแยกทีร่ นุ แรงทีส่ ดุ คือการแบ่งแยกระหว่างชีวติ ด้านในกับด้าน นอก ซึ่งไม่มีนวัตกรรมทางหลักสูตรใดๆ เพียงอย่างเดียวจะสามารถเชื่อมต่อ ได้ การเยียวยาภาวะแบ่งแยกดังกล่าวแท้จริงแล้วอยู่ที่การเข้าใจหัวใจของการ ศึกษาในช่วงที่ก�ำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยอย่างถูกต้องนั่นเอง วิทยาศาสตร์ใหม่กับสาขาวิชาทางสังคม ตามทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วถึงความพยายามล่าสุดเกีย่ วกับการศึกษาแบบบูรณาการ เราขอเสนอมุมมองของเราทีไ่ ด้แรงดลใจจากความเชือ่ ทีว่ า่ เราไม่สามารถบรรลุ ถึงปรัชญาการศึกษาแบบบูรณาการได้ด้วยการเพิ่มส่วนของเทคนิควิธีการสอน เข้าไป ไม่วา่ ส่วนนัน้ จะยอดเยีย่ มแค่ไหนก็ตาม หากการเรียนรูแ้ บบบูรณาการ จะบรรลุถึงความเชื่อมโยงสัมพันธ์ ความตั้งใจ วิถีทาง และอ�ำนาจ ก็จ�ำเป็น ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานทางปรัชญาที่สัมพันธ์กับมัน ซึ่งจะมาช่วยสนับสนุน — บทน�ำ • 13 —


ขยาย และเพิ่มพูนให้งานส�ำคัญๆ ที่ท�ำไปแล้ว และน�ำไปสู่นวัตกรรมที่ยังไม่ ได้ทดลองใช้ ความคิดของเราเกีย่ วกับโครงสร้างพืน้ ฐานดังกล่าวนีไ้ ด้รบั อิทธิพล อย่างมากจากสองแหล่งด้วยกัน นั่นคือ สิ่งที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์ใหม่ กับ แนวทางเชิงสัมพันธ์ในการท�ำความเข้าใจความหมายและอ�ำนาจที่เป็นศูนย์ กลางของสิ่งที่เรียกว่า “สาขาวิชาทางสังคม” วิทยาศาสตร์คลาสสิกได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อความเข้าใจ โลกธรรมชาติและตัวตนมนุษย์ในวัฒนธรรมตะวันตก สร้างความก้าวหน้าให้ อารยธรรมบางด้านและท�ำให้พิกลพิการในบางด้าน–โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ มันท�ำให้เราถือว่าตัวเราแต่ละคนและสิง่ ต่างๆ ในโลกนีเ้ ป็นวัตถุมากกว่าจะเป็น สิ่งที่มีชีวิต ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม “วิทยาศาสตร์เก่า” ก็ได้วางรากฐาน ความเข้าใจและการปฏิบัติของเราต่อการอุดมศึกษาเป็นพิเศษ มันได้ส่งผล กระทบอย่างลึกซึง้ ต่อแนวคิดของเราทีม่ ตี อ่ ความรู้ การวิจยั การวิเคราะห์ การ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และความมีประสิทธิผล แต่วิทยาศาสตร์ใหม่ของศตวรรษที่ 20 โดยพื้นฐานแล้วแตกต่างจาก วิทยาศาสตร์ยุคคลาสสิก และการจะนึกภาพใหม่ใดๆ ของอุดมศึกษาก็ควร สนใจบทเรียนที่เราได้จากมันอย่างจริงจัง เราจ�ำเป็นต้องมองอุดมศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 ผ่านเลนส์ไอน์สไตน์และบอร์ ไม่ใช่นิวตันกับเดการ์ต วิทยาศาสตร์ของไอน์สไตน์และบอร์ไม่ได้วา่ ด้วยสสารและกลศาสตร์ แต่เป็นเรือ่ งของ สัมพันธภาพและกระบวนการพลวัต เราใช้ประโยชน์จากเลนส์ดังกล่าวในการ สนทนาที่น�ำมาสู่หนังสือเล่มนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราเน้นเป็นพิเศษที่ผู้สังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ซึง่ ประสบการณ์และความสัมพันธ์ของพวกเขาก่อรูปเป็นแก่นของวิทยาศาสตร์ ใหม่ การเน้นประสบการณ์ตรงของ “นักสังเกตการณ์” ทางวิทยาศาสตร์ ได้ เชื่อมอ�ำนาจของการแสวงหาความรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เข้ากับความรู้สึก — 14 • หัวใจอุดมศึกษา —


ที่เรามีต่องานศิลปะ และความเห็นอกเห็นใจที่เรารู้สึกต่อผู้ที่มีทุกข์ เป็นการ เปลีย่ นมุมมองซึง่ ผลทีต่ ามมาของมันเป็นหัวใจส�ำคัญของอุดมศึกษา ในมุมมอง แบบนี้ สัมพันธภาพและประสบการณ์ชวี ติ เรา–และชีวติ นักศึกษาของเรา–จะ ไม่ถกู มองข้ามว่าไม่เกีย่ วข้องหรือเป็นหัวหลักหัวตอ แต่จะมอบพืน้ ทีใ่ ห้ยนื อย่าง เต็มที่ในฐานะที่เป็นหน่วยโครงสร้างของความจริง ไม่ใช่คุณสมบัติทุติยภูมิ (secondary quality) หรือกลยุทธ์การปรับตัว (adaptive strategies) แต่เป็น มิติมูลฐานของความเป็นมนุษย์ ในหนังสือเล่มนี้ เราให้ความส�ำคัญกับข้อต่อ เหล่านี้มาก และตรวจสอบหานัยของมันที่มีต่อการอุดมศึกษา อิทธิพลอย่างทีส่ องทีเ่ กีย่ วข้องกับความคิดทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลังหนังสือเล่มนีไ้ ด้ จากประสบการณ์เฉพาะอย่างหนึ่งที่เราได้รับจากกันและกัน เป็นสิ่งที่ มาร์ติน บูเบอร์ อธิบายว่าเป็นความสัมพันธ์แบบฉัน-เธอ (I-Thou relationship)17 เรา ทุกคนล้วนเคยมีประสบการณ์ที่บทสนทนาเปลี่ยนเรื่องไป กลายเป็นการแลก เปลี่ยนความคิดและความรู้สึกอย่างลึกซึ้งและเป็นอิสระ จนดูเหมือนจะเข้าถึง และข้ามพ้นผูเ้ ข้าร่วมสนทนาแต่ละคนไป สิง่ ใหม่ปรากฏขึน้ เหนือกว่าทัง้ หมด ยิง่ ใหญ่กว่าผลรวมของส่วนย่อยๆ ในการสนทนาแบบนีจ้ ะมีอยูค่ รูห่ นึง่ ทีเ่ ราติด อยู่ในสิ่งที่บางคนเรียกว่า “สนามพลังทางสังคม” (social field) ที่ก�ำเนิดจาก คุณภาพของ “การเข้าร่วม” (presence) ทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับการสนทนาทีแ่ ท้หรือ ความเป็นชุมชน18 ไม่ว่าจะเรียกมันว่าอะไรก็ตาม เราเชื่อว่าบทสนทนาที่เกิดขึ้นในสนาม พลังเช่นนั้นงอกงามเป็นพิเศษ มันเอื้อให้เราได้ส�ำรวจความห่วงใยที่เรามีร่วม กันโดยไม่เห็นแก่ตัว และเกิดความเข้าใจโดยไม่คาดคิด เมื่อความอยาก “เอา ชนะ” ของเราในฐานะปัจเจกบุคคลยอมอ่อนข้อให้แก่ความอยากน�ำทรัพยากร ทั้งหมดทั้งสิ้นของชุมชนไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในห้องเรียน แน่นอนว่า จุดที่ดีที่สุดของวิชาหนึ่งคือจังหวะที่การอภิปรายแลกเปลี่ยนมีลักษณะพิเศษ — บทน�ำ • 15 —


เช่นนี้ นอกจากนีย้ งั มีชว่ งเวลาคล้ายกันนีใ้ นศิลปะเมือ่ เรารูส้ กึ ว่าภาพวาดมีชวี ติ ชีวามากจนเกิดความสัมพันธ์ฉัน-เธอขึ้นกับภาพนั้น ในชั่วเวลานั้นเรามองเห็น ภาพวาดในแบบที่แยกประสบการณ์ออกจากการศึกษาเชิงวิเคราะห์อย่างเป็น วัตถุวิสัย นี่สะท้อนถึงสิ่งที่วิทยาศาสตร์ใหม่พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้รู้กับ สิ่งที่รู้ การฟืน้ ฟูหวั ใจของอุดมศึกษาจึงจ�ำเป็นต้องมีการเปลีย่ นแปลงเชิงสถาบัน ที่อาจออกมาในรูปที่นักวิชาการสนับสนุนและปฏิบัติหน้าที่ทางสังคมรูปแบบนี้ ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ ราแสวงหาในสถานศึกษาไม่ใช่แบบทีอ่ อกมาจากค�ำสัง่ ของ ผูบ้ ริหาร แต่เป็นแบบทีเ่ กิดขึน้ ในพืน้ ทีท่ มี่ พี ลังงานระหว่างมนุษย์ทเี่ อือ้ อาทรและ ช่างคิด เมือ่ วาระส่วนตัวลดลงไป และความสนใจผูอ้ นื่ อย่างแท้จริงถูกสร้างขึน้ มา จากนั้นคุณลักษณะของความใส่ใจซึ่งกันและกันก็ปรากฏขึ้น ซึ่งสามารถ กลายเป็นพืน้ ทีป่ ลอดภัยส�ำหรับสิง่ ใหม่และสิง่ ทีไ่ ม่คาดหมายทีอ่ าจจะกลายเป็น จุดก�ำเนิดของการฟื้นฟูการศึกษา จุดมุ่งหมายและข้อจ�ำกัดของหนังสือเล่มนี้ การเคลือ่ นไหวเพือ่ เปลีย่ นแปลงสถาบันนัน้ มักได้รบั แรงกระตุน้ จากการสนทนา ทีม่ คี วามหมายเสมอ ซึง่ เป็นประเด็นทีเ่ ราเขียนไว้อย่างมีรายละเอียดพอสมควร อยู่ในบทที่ 6 ภายหลังการประชุมที่ซานฟรานซิสโกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2007 เราก็อยากรู้ว่าเราจะช่วยให้กระแสการสนทนาจากที่ประชุมไหลแรงขึ้น ได้อย่างไร โดยเฉพาะในส่วนทีเ่ ราห่วงใยเกีย่ วกับโครงสร้างพืน้ ฐานทางปรัชญา ของการศึกษาแบบบูรณาการ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เราอยากรูว้ า่ เพือ่ นร่วมงานจะ ร่วมคิดร่วมคุยเกีย่ วกับองค์ประกอบของโครงสร้างพืน้ ฐานนัน้ ได้อย่างไร–ไม่ใช่ แค่ในทีป่ ระชุมและในหนังสือ แต่ในระหว่างทีท่ ำ� งานประจ�ำวันในวิทยาลัยและ — 16 • หัวใจอุดมศึกษา —


มหาวิทยาลัย–ค่อยๆ พัฒนาสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา แล้วผสานมันเข้ามาในงานที่ ก�ำลังท�ำอยู่อย่างต่อเนื่อง หนังสือเล่มนี้อุทิศเพื่อเป้าหมายดังกล่าว ขณะอยู่ในระหว่างด�ำเนินการ สิ่งส�ำคัญ–ซึ่งก็เหมือนกับการสนทนาที่ดี–คือต้องมีขอบเขตและเป้าหมายที่ ชัดเจน เพราะเกรงว่าผูท้ คี่ ดิ จะเข้ามาในกระแสนีจ้ ะถูกน�ำพาไปยังทีท่ ไี่ ม่อยากไป นี่ไม่ใช่หนังสือเกี่ยวกับเทคนิคการสอนหรือการเขียนโครงการเสนอ โปรแกรมการสอน (programmatic proposal) แม้จะมีเรือ่ งของการปฏิบตั ริ วม อยูด่ ว้ ยก็ตาม จุดเน้นของเราอยูท่ กี่ ารส�ำรวจค�ำถามเชิงปรัชญาทีก่ ล่าวถึงข้าง ต้น จนมาจบทีก่ ารน�ำความเชือ่ มโยงอันจะท�ำให้เกิดพลังมาสูข่ บวนการเคลือ่ น ไหวให้มากขึน้ บางครัง้ อาจดูเหมือนเป็นการเก็บรวบรวมเครือ่ งมือการสอนทีย่ งั ไม่สมบูรณ์ ค�ำถามทีว่ า่ จะท�ำอย่างไร (How-to) นัน้ มีความส�ำคัญอยูไ่ ม่วา่ จะ งานด้านใดก็ตาม แต่คำ� ถามทีว่ า่ ตัง้ อยูบ่ นฐานคิดอะไร และไปสูเ่ ป้าหมายไหน เป็นค�ำถามที่ช่วยสร้างบริบทที่จ�ำเป็นส�ำหรับค�ำตอบที่มีความหมายต่อค�ำถาม How- to จริงหรือไม่ที่ เวนเดล เบอรี่ อ้างว่า “มหาวิทยาลัยได้รบั มอบอ�ำนาจให้ สร้างหรือให้ช่วยสร้าง...มนุษย์ตามความหมายที่เต็มเปี่ยมของถ้อยค�ำนี้” ถ้า เป็นอย่างนั้นจริง ฐานคิดนั้นหมายความอย่างไร การกระท�ำตามฐานคิดดัง กล่าวจะแปลตามศาสตร์การสอนอย่างไรให้ได้ “ผลพลอยได้ทไี่ ม่อาจหลีกเลีย่ ง คืองานทีด่ แี ละพลเมืองดี” ดังทีเ่ บอรีไ่ ด้วางฐานะของมันไว้ เมือ่ เลิกถามและเลิก ตอบค�ำถามเหล่านี้ วิชาชีพก็จะมีแต่วิธีวิทยาที่สูญเสียระบบรากที่รองรับและ เหตุผลในการด�ำรงอยู่ อันจะน�ำไปสูก่ ารถอนรากถอนโคน การบิดเบือน และ ถึงขั้นการปฏิบัติวิชาชีพโดยมิชอบ หนังสือเล่มนี้เป็นการส�ำรวจ เราไม่ได้พยายามเขียน Summa Theologica ของ โทมัส อไควนัส ภาคการศึกษาส�ำหรับศตวรรษที่ 21 ขึ้นมาใหม่ — บทน�ำ • 17 —


เราไม่สามารถท�ำได้ถงึ ขัน้ นัน้ และเงือ่ นไขของวัฒนธรรมร่วมสมัยก็ไม่เอือ้ ด้วย แต่แม้ว่าทฤษฎีสนามทั่วไปของการศึกษาแบบบูรณาการยังไม่ปรากฏให้เห็นก็ ตาม เราก็เชื่อว่าขบวนการนี้–และอุดมศึกษาส่วนใหญ่–จะได้ประโยชน์จาก การพูดคุยกันมากขึ้นเกี่ยวกับ “ภาพรวมทั้งหมด” เราจึงเสนอทางเลือกให้ สนทนาเกีย่ วกับจุดเริม่ ต้นและเป้าหมาย ใครก็สามารถเปิดประเด็นลงลึกไปถึง ต้นสายปลายเหตุและแนวโน้มของการศึกษาแบบบูรณาการได้ สุดท้ายนี้ โปรดสังเกตบรรทัดที่ตามหลังชื่อเรื่องและชื่อรองของหนังสือ เล่มนี้ “ปรับเปลี่ยนสถานศึกษาโดยการสนทนาในสถาบัน” ด้วยการมุ่งเน้นที่ การสนทนาในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูสถาบัน เราเชื่อในคติพจน์ของ ชาวบ้านทางภาคใต้ที่ว่า “จงเริงร�ำกับสิ่งที่น�ำคุณไป” ของขวัญทั้งหมดที่อุดม ศึกษามอบให้เราได้มาจากการสนทนาทีด่ ี และเราทัง้ สองคน–ในบทบาทตัง้ แต่ ครูผู้สอนไปจนถึงนักจัดตั้งชุมชน–ก็เคยประสบกับพลังของการสนทนาที่ช่วย เปลี่ยนความจริงที่ท้าทายให้เป็นความเป็นไปได้ที่ให้ความหวัง ในฐานะการ ส�ำรวจ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นงานที่ก�ำลังคืบหน้า และความคืบหน้าของงานจะ เกิดได้ก็ต่อเมื่อมีคนอื่นเข้ามาร่วมส�ำรวจ โดยการเข้าร่วมวงสนทนา เราได้อุทิศหน้ากระดาษส่วนหนึ่งของหนังสือให้เรื่อง “กลยุทธ์การฟื้นฟู สถานศึกษา” ด้วยการพักเรื่องการศึกษาแบบบูรณาการที่อยู่ในสถานศึกษาไว้ ก่อน โปรดทราบว่าเราไม่ได้มแี ผนแม่บทเพือ่ เปลีย่ นการอุดมศึกษาจากสถานะ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันด้วยการยึดสะพานและสร้างการเปลี่ยนแปลงจากบนลง ล่าง การอุดมศึกษามีประวัตศิ าสตร์ทบี่ นั ทึกไว้ยาวนานว่าไม่เคยเกิดการเปลีย่ น แปลงด้วยแนวทางเช่นนั้น เราจึงจะใช้ประวัติศาสตร์กระแสอื่นแทน ใช้เรื่อง ราวของการเคลื่อนไหวทางสังคมที่สร้างการเปลี่ยนแปลงจากล่างขึ้นบน เรา มีเหตุผลทีด่ ใี นการสนทนา–เป็นการสนทนาทีม่ จี ดุ เน้นและมีวนิ ยั –เป็นกลยุทธ์ ในการเปลี่ยนแนวปฏิบัติ — 18 • หัวใจอุดมศึกษา —


กลยุทธ์การสนทนานัน้ อาจไม่เปลีย่ นโครงสร้างพืน้ ฐานของมหาวิทยาลัย ในระยะสัน้ แต่การเปลีย่ นแปลงพืน้ ฐานในสถาบันมักมาจากการปลูกฝังวิสยั ทัศน์ และการปฏิบัติขึ้นในชุมชนเล็กๆ ภายในสถาบันนั้น ชุมชนเหล่านั้นสามารถ เติบโตจากการสนทนาที่ดีได้ และการสนทนาเหล่านั้นก็อาจเริ่มต้นโดยปัจเจก บุคคล ไม่ว่าพวกเขาจะมีอ�ำนาจหน้าที่โดยต�ำแหน่งหรือไม่ก็ตาม เรารู้เพราะ เราเคยเห็นมันเกิดขึ้นมาแล้ว มีอะไรในหนังสือเล่มนี้ ในหน้าต่อจากนีไ้ ป การเรียกร้องของเราให้มกี ารสนทนากันให้กว้างและลึกกว่า เดิมในเรือ่ งการศึกษาแบบบูรณาการจะค่อยๆ ปรากฏออกมาเป็นเนือ้ หา 6 บท และบทสรุปสั้นๆ ในตอนท้าย เราเริม่ ด้วยการตรวจแก้คำ� บรรยายพิเศษของ ปาร์กเกอร์ ปาล์มเมอร์ ใน ทีป่ ระชุมเมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ 2007 ทีซ่ านฟรานซิสโก บทที่ 1 และ 2 ปาล์มเมอร์ ตอบโต้ขอ้ วิจารณ์บางประการต่อการศึกษาแบบบูรณาการโดยหยิบยกความจริง ที่ถูกกล่าวถึงมาพูด บางครั้งก็วิจารณ์บทวิจารณ์เหล่านั้น และขณะเดียวกันก็ เสนอแนะมิตสิ ำ� คัญๆ บางประการของปรัชญาการศึกษาแบบบูรณาการไปด้วย ปาล์มเมอร์เริ่มต้นด้วยข้อสันนิษฐานของเราเกี่ยวกับธรรมชาติของการ มีอยู่ (ภววิทยา) และการรู้ (ญาณวิทยา) ที่เป็นพื้นฐานของการศึกษาทุกอย่าง จากนั้นจ�ำแนกแยกแยะค�ำถามเกี่ยวกับการเรียนการสอน (ครุศาสตร์) และ ผลลัพธ์ของมันในเชิงศีลธรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตของนักศึกษา (จริยศาสตร์) เขา เสนอว่า เส้นด้ายสีแดงทีแ่ ล่นผ่านอาณาเขตทางปรัชญาทัง้ 4 ด้านนี– ้ เส้นด้าย ที่เป็นมากกว่าการแสดงลักษณะของการศึกษาแบบบูรณาการ–ก็คือแนวคิด เรื่องชุมชนกับการท�ำซ�้ำอย่างมากมายของมัน เขาให้เหตุผลว่าชุมชนเป็นมิติ — บทน�ำ • 19 —


ความจริงทีจ่ ำ� เป็นต่อการเปลีย่ นแปลงความคิด cogito, ergo sum (เพราะฉัน คิด จึงมีฉัน) ของเดการ์ตที่ยังบิดบือนอยู่ และมายาคติของวัตถุวิสัยนิยม ในบทที่ 3 ถึง 5 อาเธอร์ ซายองค์ หยิบยกสาระส�ำคัญที่ปาล์มเมอร์ กล่าวถึงไปพัฒนาตามประสบการณ์ของตนในฐานะครู-นักวิชาการ เขาบอกว่า ขณะที่นักการศึกษาจดจ่ออยู่กับทักษะขั้นพื้นฐานอย่างการเขียน การคิดอย่าง มีวิจารณญาณและตัวเลขมากขึ้นนั้น บ่อยครั้งเหลือเกินที่เราล้มเหลวในเรื่อง การจัดการกับประเด็นปัญหาที่ส�ำคัญพอกันต่อชีวิตของคนหนุ่มสาวเกี่ยวกับ เป้าหมาย คุณค่าหลักและทิศทางของชีวิต ผลก็คือเราสอนและเรียนกันอยู่ใน สถาบันที่ “แบ่งแยก” ด้วยวัตถุประสงค์ชุดที่หนึ่งถูกบังคับ ส่วนวัตถุประสงค์ ชุดที่สองที่เกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการศึกษาก็ถูกลืม ซายองค์เล่าเรื่องราวชีวิตที่แบ่งแยกของตัวเองสมัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ไปจนถึงชีวิตของอาจารย์สอนฟิสิกส์ผู้เชื่อมั่นในมุมมองที่ให้ความ ส�ำคัญกับการเรียนรูจ้ ากประสบการณ์และเพือ่ เปลีย่ นแปลงตนเองในฐานะทีเ่ ป็น รูปแบบหนึง่ ของ “การแสวงหาความรูด้ ว้ ยการภาวนา” เขาชีใ้ ห้เห็นว่าโลกของ เราล้วนเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันหมด และอธิบายว่าปรัชญาการศึกษาของเราควร สะท้อนถึงความจริงข้อนี้ ซายองค์ยังได้แสดงความเห็นต่อไปอีกตามหลัก “วิทยาศาสตร์ใหม่”– ซึง่ เป็นกระบวนทัศน์หลักไม่เพียงแต่ของชีวติ และงานเขา เท่านัน้ แต่เป็นกระบวนทัศน์ของชีวติ นักวิชาการและปัญญาชนร่วมสมัยอีกด้วย –กับประสบการณ์ของการเป็นอาจารย์ในวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน ขณะที่ซายองค์สาธยายถึงโครงสร้างพื้นฐานทางปรัชญาที่ปาล์มเมอร์ ได้ให้ไว้ เขาไม่เพียงแต่รวบรวมตัวอย่างที่ได้จากประสบการณ์การสอนของ เขาเอาไว้เท่านัน้ แต่ยงั มีเรือ่ งราวสัน้ ๆ ทีเ่ ขียนโดยเพือ่ นร่วมงานทีม่ ชี อื่ เสียงซึง่ พยายามอย่างมากที่จะจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ แต่ละเรื่องอธิบาย ความพยายามเฉพาะอย่างในการใช้การศึกษาแบบบูรณาการในด้านหนึ่งหรือ — 20 • หัวใจอุดมศึกษา —


หลายด้านในห้องเรียน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน หรือผ่านการ บริหารจัดการแนวใหม่ เมื่อน�ำเรื่องราวเหล่านี้มารวมกันและอ่านโดยมีเรื่อง ของเราเป็นภูมหิ ลัง เราก็เชือ่ ว่าสิง่ เหล่านีอ้ าจมองได้วา่ เป็นปรัชญาทางการศึกษา ที่ครอบคลุมที่มุ่งบ่มเพาะมนุษย์ที่สมบูรณ์ในชุมชน เราหวังว่าการส�ำรวจปรัชญาการศึกษาของเราพร้อมทัง้ ตัวอย่างและการ แสดงความคิดเห็นเบื้องต้นเหล่านี้ จะกระตุ้นเพื่อนร่วมงานอุดมศึกษาของเรา ให้รเิ ริม่ สร้างวิธกี ารสอนใหม่ๆ ขึน้ มาอุดช่องว่าง ซึง่ จะมีสว่ นช่วยฟืน้ ฟูงานด้าน การศึกษา เมือ่ ได้สำ� รวจ “ภาพรวม” ทีส่ ำ� คัญบางอย่างของการศึกษาแบบบูรณาการ พร้อมทัง้ ตัวอย่างไปแล้ว ในบทที่ 6 เรากลับไปส�ำรวจอย่างลงลึกในเรือ่ ง “กลยุทธ์การสนทนา” (conversational strategy) เพือ่ ปฏิรปู การศึกษา นีเ่ ป็นกลยุทธ์ที่นักจัดตั้งชุมชนคุ้นเคยดี–แต่วิธีคิดและการปฏิบัติของคนเหล่านี้อาจไม่ เป็นทีร่ จู้ กั ในวงการศึกษา–เราเชือ่ ว่านีเ่ ป็นกุญแจส�ำคัญไปสูก่ ารเพาะเมล็ดพันธุ์ ความเปลี่ยนแปลงลงในรั้ววิทยาลัยและมหาวิทยาลัย เราเชื่อว่า บทสนทนาที่บ่มเพาะพื้นฐานทางปรัชญาซึ่งส�ำรวจกันไปใน บทที่ 1-5 สามารถเตรียมดินส�ำหรับเพาะเมล็ดพันธุ์ความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ และเมือ่ ผูเ้ ตรียมดินได้ลงทุนท�ำในสิง่ ทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับการเพาะปลูกไปแล้ว และ ได้ความเชื่อมั่นจากการท�ำงานร่วมกัน ก็ไม่ใช่การก้าวกระโดดที่ใหญ่โตอะไร เลยส�ำหรับพวกเขาที่จะเป็นนักเพาะปลูกผู้แข็งขันที่เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการ ทดลองทางครุศาสตร์ สิ่งนี้เริ่มที่จะเกิดขึ้นแล้ว และต้นแบบที่เรากล่าวถึงใน ที่นี้ก็เป็นหลักฐานถึงพลังของมัน เพื่อให้เมล็ดพันธุ์ใหม่หยั่งรากและงอกงาม การสนับสนุนจากผู้บริหาร และกรรมการสถานศึกษาจะเป็นสิง่ ประมาณค่ามิได้ แต่เราเชือ่ ว่ารากของการ เปลีย่ นแปลงทีล่ กึ และคงทนในการอุดมศึกษาอยูท่ คี่ นกลุม่ เล็กๆ ทัง้ คณาจารย์ — บทน�ำ • 21 —


ผูบ้ ริหารทีด่ แู ลกิจการนักศึกษา ทีมงาน และนักศึกษา ทีส่ ร้างนวัตกรรมใหม่ซง่ึ ความก้าวหน้าในทุกสาขาวิชาต้องพึง่ พา–นวัตกรรมทีไ่ ม่ได้มาจากห้องทดลอง เงินหนาแต่มาจากโรงรถหลังบ้านใครสักคน ดังนัน้ ในบทที่ 6 จึงเสนอแนวทาง ปฏิบตั สิ ำ� หรับการพูดและฟังอย่างมีใจจดจ่อ ซึง่ การสนทนาทีด่ ตี อ้ งขึน้ กับเรือ่ งนี้ และเสนอแนวทางในการสนทนาที่เริ่มต้นด้วยเรื่องเล่า ขยับเข้าสู่ทฤษฎี และ ปรากฏเป็นการปฏิบัติ สุดท้ายในภาคผนวก เมแกน สคริบเนอร์ ได้รวบรวมรายชือ่ ผูร้ ว่ มสนทนา ตัวหลัก ซึ่งช่วยเราสรรค์สร้างหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา เราได้ท�ำรายชื่อโครงการ การศึกษาแบบบูรณาการทีเ่ กิดขึน้ ในประเทศนี้ โดยมีคำ� อธิบายประกอบ แต่ละ โครงการมีวิธีการตามแบบของตัวเองในการพยายามน�ำอุดมการณ์การศึกษา เพื่อนักศึกษาที่สมบูรณ์มาแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมทั้งในและนอกห้องเรียน และแต่ละโครงการก็เป็นพยานได้ว่ามันท�ำได้จริง ภาคผนวกเหล่านี้ไม่ใช่การ ส�ำรวจทีค่ รอบคลุมการทดลองทุกอย่างทีก่ ำ� ลังด�ำเนินการอยูใ่ นระดับอุดมศึกษา ทุกวันนี้ เบื้องต้นแล้วมันเป็นโครงการที่เรารู้จักจากที่ประชุมปี 2007 แต่แม้จะ ยังมีจ�ำกัดก็พิสูจน์ได้ว่าแนวทางบูรณาการไปสู่เป้าหมายของการศึกษา มีวิธี การแสดงออกในทางปฏิบัติได้หลากหลาย: จากหลากหลายกลายเป็นหนึ่ง! (Epluribus unum) ความรับผิดชอบของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยของเรานัน้ ใหญ่หลวงนัก โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาความซับซ้อนและเปราะบางทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิง่ แวดล้อมของโลกวันนี้ หากจะล่องเรือในน�ำ้ ตืน้ อย่างปลอดภัยใน อนาคต เราจ�ำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรทุกอย่างของมนุษยชาติ ทั้งที่เป็นของ ส่วนตัวและของชุมชน เห็นได้ชัดว่าอุดมศึกษาเป็นสถาบันหนึ่งที่ต้องออกหน้า มารับความท้าทายนั้น ด้วยภารกิจใหญ่หลวงทีอ่ ยูต่ รงหน้า เราขอเสนอหนังสือเล็กๆ เล่มนีแ้ ละ — 22 • หัวใจอุดมศึกษา —


ข้อเสนอทีไ่ ม่ได้มากมายอะไรเลย นัง่ ลงกับใครสักคนหรือสองคนทีม่ สี ว่ นได้เสีย ในการศึกษาระดับอุดมศึกษา และสร้างเงือ่ นไขทีท่ ำ� ให้คณุ สามารถแสดงความ รูส้ กึ ทีแ่ ท้จริง คิดอย่างสร้างสรรค์ แล้วพูดความจริงของคุณสือ่ ไปถึงสมองและ หัวใจของแต่ละคน ในชีวติ การเป็นครูของเรา ผูเ้ ขียนหนังสือเล่มนีไ้ ด้เรียนรูว้ า่ เมือ่ เราพูดและฟังอย่างแท้จริงและด้วยดีกบั เพือ่ นร่วมงาน เราสามารถเริม่ ถักทอ จินตนาการใหม่ให้การอุดมศึกษาได้จากประสบการณ์ทเี่ ราแบ่งปันกันนัน้ และ จินตนาการร่วมของเราสามารถวิวัฒน์ไปเป็นการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ได้ พวกเราโดยรวมทั้งนักศึกษา ครู และผู้บริหาร เรามีสติปัญญาและ ประสบการณ์ทจี่ ำ� เป็นในการรับมือกับปัญหาอุปสรรคในศตวรรษหน้า ขอเพียง แต่ให้เรากล้าหาญพอทีจ่ ะระบุวา่ เราสนใจสิง่ ใดบ้าง แลกเปลีย่ นสิง่ ทีเ่ รารู้ และ ยอมรับความเสี่ยงที่ต้องมีอยู่เสมอเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง

— บทน�ำ • 23 —



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.