L I V I N G G R E E N TO G E T H E R วิถีสีเขียว ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค
หมวดสังคม/ชีวิต LIVING GREEN TOGETHER
REVISED AND EXPANDED EDITION
วิถีสีเขียว ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ลิขสิทธิ์ © สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา, 2557
เขียน ภาพถ่าย ปกและรูปเล่ม พิสูจน์อักษร
ฐิตินันท์ ศรีสถิต (กรุงเทพฯ และปริมณฑล /
ภาคกลาง / ภาคใต้ ) ธนาทิพ ฉัตรภูติ (ภาคเหนือ) สุชาดา เวฬุวนารักษ์ (ยโสธร อำนาจเจริญ) อารัติ แสงอุบล และ มัชณนิชา ชมชื่น (สุรินทร์) ฐิตินันท์ ศรีสถิต / ศิริโชค เลิศยะโส / สายฝน /
จิตติ อื้อนรการกิจ / อักษิกา อัมพุชนานนท์ / ภาศานต์ จันทิมา แสงทองสุข เอ็นดู ศรีใส
ข้อมูลทางบรรณานุ กรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data Living Green Together: วีถีสีเขียว.-- กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา, 2557 484 หน้า 1. การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม. I ชื่อเรื่อง. ISBN 978-616-7368-54-2
พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2557 ที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศ บรรณาธิการที่ปรึกษา บรรณาธิการ ฝ่ายสื่อสารประชาสัมพันธ์ ฝ่ายขาย จัดพิมพ์โดย โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก โรงพิมพ์ จัดจำหน่าย ราคา
ฮันส์ แวน วิลเลียนส์วาร์ด วัลลภา แวน วิลเลียนส์วาร์ด วรนุช ชูเรืองสุข พิชญ์นันท์ พุ่มสวัสดิ์ ชาญธิภา คงถาวร, สมภพ บุญชุม บริษัท สวนเงินมีมา จำกัด 77, 79 ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 0 2622 2495-6, 0 2622 0955, 0 2622 0966 0 2622 3228 publishers@suan-spirit.com www.suan-spirit.com www.facebook.com/suan2001 หจก. ภาพพิมพ์ โทรศัพท์ 0 2433 0026-7 สายส่งศึกษิต บริษัทเคล็ดไทย จำกัด
โทรศัพท์ 0 2225 9536-40 320 บาท
REVISED AND EXPANDED EDITION
L I V I N G G R E E N TO G E T H E R วิถีสีเขียว ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ฉบับปรับปรุงใหม่ / ฐิตินันท์ ศรีสถิต ธนาทิพ ฉัตรภูติ สุชาดา เวฬุวนารักษ์ อารัติ แสงอุบล มัชณนิชา ชมชื่น /
03
คณะกรรมการบริษัทสวนเงินมีมา 1. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ 2. นายประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข 3. นายสมเกียรติ์ อภิญญาชน 4. นายปรีดา เตียสุวรรณ์ 5. นายสัจจา รัตนโฉมศรี 6. นายอนันต์ วิริยะพินิจ 7. นายฮันส์ แวน วิลเลี่ยนส์วาร์ด 8. นางวัลลภา แวน วิลเลี่ยนส์วาร์ด รายนามผู้ถือหุ้น 1. นายธีรพล นิยม 2. นายวินัย ชาติอนันต์ 3. นายวิศิษฐ์ วังวิญญู 4. นายสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง 5. นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ 6. นายสมบูรณ์ จึงเปรมปรีดิ์ 7. นางอภิสิรี จรัลชวนะเพท 8. นายมาซากิ ซาโต้ 9. นายบารมี ชัยรัตน์ 10. นายปรีดา เรืองวิชาธร
ประธานกิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการ 11. นายศิโรช อังสุวัฒนะ 12. นายเลิศ ตันติสุกฤต 13. นางสาววรรณา ประยุกต์วงศ์ 14. นางสาวปารีณา ประยุกต์วงศ์ 15. บริษัทแพรนด้า โฮลดิ้ง จำกัด 16. นายกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ 17. นายวัลลภ พิชญ์พงศ์ศา 18. นางดารณี เรียนศรีวิไล 19. นางสุวรรณา หลั่งน้ำสังข์ 20. นายวีระเดช สมบูรณ์เวชชการ
สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา เป็นส่วนหนึ่งของ บริษัท สวนเงินมีมา จำกัด อันเป็น องค์กรธุรกิจอย่างใหม่ ประกอบด้วยองค์กรพัฒนาสังคม และนักธุรกิจที่ตระหนัก ถึงปัญหาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมและศักยภาพด้านในของมนุษย์ ตั้งขึ้นเพื่อ ดำเนินงานทั้งด้านธุรกิจและสังคมไปพร้อมกัน ด้วยค่านิยมอย่างใหม่ที่มิได้หวัง กำไรเป็นที่ตั้ง และผลกำไรที่มีขึ้นจะนำกลับไปส่งเสริมสนับสนุนองค์กร พัฒนา สังคมและชุมชนเป็นหลัก
จากสำนักพิมพ์ จะด้วยโชคชะตาหรือปาฏิหาริย์อย่างที่เขาว่ากันก็มิทราบได้ ที่นำพาให้ พวกเราชาวสวนเงินมีมาได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งผลิต แหล่งกระจาย และ แหล่งให้บริการอาหารที่ปลอดภัย ใส่ใจต่อระบบนิเวศและความเป็นอยู่ ของทุกชีวิต ได้ง่ายดายกว่าเพื่อนร่วมสังคมอีกนับสิบล้านคน ไม่ว่าจะเป็น พืช ผัก ผลไม้อินทรีย์ อาหารหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ปราศจากสารพิษ ตกค้าง หรือแหล่งท่องเที่ยว ศูนย์เรียนรู้ที่ประกอบกิจอันเกื้อกูลต่อชุมชน ตามภูมิภาคต่างๆ ที่นับวันจะยิ่งเพิ่มปริมาณควบคู่ไปกับคุณภาพมากขึ้น เป็นลำดับ ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังคงเข้าไม่ถึง ไม่รับ ทราบเรื่องราวและความเป็นไปของกิจกรรมและกิจการดีๆ เหล่านี้ อันส่ง ผลให้ไม่สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการอาหารสีเขียว หรือ ‘อาหารอินทรีย์ถ้วนหน้า’ ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในบ้านเรา จากการทำงานที่ผ่านมา ทำให้เราพอรับรู้อยู่บ้างว่า หลายภาคส่วนกำลัง ก้าวเดินไปบนเส้นทางสีเขียว ซึ่งมีปลายทางเดียวกัน คือความยั่งยืนของ ระบบชีวิตทุกหน่วยในระบบนิเวศ และสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เราพอจะทำได้ใน เวลาอันจำกัดเช่นนี้ คือการพยายามรวบรวมกลุ่มคน ทั้งเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้ประกอบการ ร้านค้า ร้านอาหาร ตลอดจนถึงแหล่งที่พัก ศูนย์ เรียนรู้ในชุมชนจากภูมิภาคต่างๆ มาไว้ด้วยกัน พร้อมๆ กับบอกเล่าเรื่อง ราวสั้นๆ ให้พอเห็นภาพว่าเขาเหล่านั้นทำอะไร อยู่ที่ไหนกันบ้าง เพื่อเป็น ข้อมูลเบื้องต้นให้คนที่สนใจ ใส่ใจ ได้เข้ามามีส่วนช่วยกันผลักดัน ขับ เคลื่อน ให้เส้นทางอาหารอินทรีย์ ให้วิถีสีเขียว และเป้าหมาย Food for All มีพลังและมั่นคงยิ่งขึ้น
ประเด็ น สำคั ญ ที่ อ ยากบอกผ่ า นไปยั ง ผู้ อ่ า นทุ ก ท่ า นคื อ ยั ง มี พี่ น้ อ ง เกษตรกร ผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อย กลุ่ม NGOs หน่วยงานและ องค์กรอื่นๆ อีกมากมายเหลือเกินที่กำลังขับเคลื่อนสิ่งดีๆ อยู่ตามที่ต่างๆ แต่เรายังไม่มีโอกาสได้นำมาบอกเล่าไว้ในที่นี้ เนื่องด้วยข้อจำกัดหลาย ประการ หรื อ อาจมี บ้ า งที่ เ คยนำเสนอผ่ า นหนั ง สื อ ชุ ด Green Guide Book vol. 1 – 4 และชุด Food for Living Green Together vol. 1-3 หรือตามสื่อต่างๆ ของเครือข่ายไปบ้างแล้ว แต่เรายังหวังอยู่เสมอว่า เมื่อ โอกาสและปัจจัยอำนวย เราจะรวบรวมรายชื่อและกิจกรรม/กิจการของ ผู้คนในวิถีสีเขียวนี้มาไว้ในรูปของทำเนียบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ประเด็นสำคัญอีกหนึ่งประการที่มิอาจละเลยได้ก็คือ น้ำมิตรและจิตใจอัน ยิ่งใหญ่ของเกษตรกร ร้านค้า ร้านอาหาร ที่พัก ชุมชน ตลอดจนทีมผู้เขียน ช่างภาพ และทุกท่านทั้งที่ปรากฏและไม่ได้ปรากฏชื่อในหนังสือเล่มนี้ ที่ ช่วยกันเอื้อเฟื้อข้อมูล ช่วยกันปลุกปั้น จน Living Green Together ฉบับ ปรับปรุงใหม่เสร็จสมบูรณ์ด้วยดี สำนักพิมพ์ฯ ขอขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้
06
07
สารบัญ
GREEN PRODUCER
ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร 001 ดร.กษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ: ๑ หมู่บ้านจัดสรร ๑ ร้านกรีน 002 มูลนิธิเอ็มโอเอไทย: ปั้นผู้ผลิตในวิถีเกษตรธรรมชาติ ฉะเชิงเทรา 003 กลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต: ผลผลิตยอดเยี่ยม ราคาย่อมเยา นครปฐม 004 ศูนย์เรียนรู้พี่น้องสองตำบล: ผลผลิตอินทรีย์มาตรฐานสากล 005 สลันดาฟาร์ม: ต้นแบบธุรกิจผักอินทรีย์ครบวงจร 006 ชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า: พลิกวิกฤตเป็นผู้ผลิตปลอดสาร 007 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลศาลายา: ผักปลอดสารพิษ ในรั้วมหาวิทยาลัย นนทบุรี 008 วิสาหกิจชุมชนคนสานใจไร้สารพิษ: เพราะรักจึงยอมเปลี่ยนแปลง ปทุมธานี 009 มารยาทฟาร์ม: ทีเด็ดที่เห็ดอินทรีย์ 010 ฟาร์มรับอรุณ: ซีเอสเอแรกแย้ม 011 สุรศักดิ์ ใจโปร่ง กลุ่มเกษตรบ้านๆ: สวนผลไม้ 5 ชั้นและสารพันผักข้างบ้าน 012 เรียม ทองคำ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านบึง: ปลูกอินทรีย์เท่าที่ดูแลไหว 013 กันธิมา ราชชุมพล: สารพัดเห็ดไร้สารพิษ 014 รัชนก แสงพยับ: ผักผลไม้ไร้สารพิษและธัญพืชนึ่ง
08
20 23 27
31 34 38 42
44
48 51 54
57 59 61
เพชรบุร ี 015 นาวิลิต: สืบข้าวพื้นบ้าน...สานประเพณีทำนา 016 วิสาหกิจชุมชนวังตาล: สืบทอดตำนานน้ำตาลโตนดแท้ สมุทรสงคราม 017 สมัชชาอาหารปลอดภัย: แปรรูปสดใหม่จากทะเล สุพรรณบุรี 018 ผักประสานใจ: พี่ใหญ่วงการ CSA 019 กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านป่าคู้ล่าง: ปลูกด้วยใจเพื่อผักประสานใจ อ่างทอง 020 เกษรา เงินรัตน์: ผลผลิตผักพื้นบ้านจากเครือญาตินักปลูก
63 65
68 71 74 78
ภาคใต้ สงขลา 80 021 สวนปันสุข: พ่อปลูก แม่ขาย ลูก (ค้า) กินสบายใจ 022 เจตน์ธนัช กุลนิล: ผู้ใหญ่บ้านไฟแรงนำทีมผลิตอาหารปลอดภัย 83 023 ลุงเพิ่ม พุทธสุภะ: สวนผักปลอดสารพิษในดงตาล 86 ภาคเหนือ เชียงใหม่ 024 Secret Garden: บ้านแม่กำปอง 025 Save the Culture: บ้านแม่กำปอง 026 พันพรรณ: ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง ศูนย์เมล็ดพันธุ์ และสวนเกษตรอินทรีย์ 027 Organic Farm Chiangmai 028 ไร่เคียงรุ้ง 029 อมก๋อย ออแกนิค ฟาร์มวิลล์
09
88 90 92 95 98 101
เชียงราย 030 กาแฟดอยช้าง 031 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟอินทรีย์รักษาป่ามีวนา 032 อาข่า อาม่า 033 ศูนย์เกษตรกรรมยั่งยืนตำบลศรีเมืองชุม 034 ศูนย์เรียนรู้การเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหนองหลวง ลำปาง 035 ศูนย์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอแม่เมาะ 036 ศูนย์เกษตรอินทรีย์ครบวงจรลำปาง 037 ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษบ้านใหม่พัฒนา 038 ศูนย์ร่องเห็ดพัฒนา 039 ศูนย์เกษตรอินทรีย์เพชรล้านนา
103 107 110 113 115
117 119 121 123 125
แม่ฮ่องสอน 040 ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาเพื่อการพัฒนาบ้านหนองป่าก่อ 041 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนปาย
129
แพร่ 042 ศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรแบบพอเพียงบ้านเด่นเจริญ
131
พะเยา 043 ศูนย์เรียนรู้เพื่อชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลแม่กา
127
133
สุโขทัย 044 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ทุ่งเสลี่ยม
135
นครสวรรค์ 045 แหล่งเรียนรู้การดำรงชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองข่อย
137
พิษณุโลก 046 ศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลท่างาม
139
010
อุตรดิตถ์ 047 ศูนย์ฝึกสร้างชีวิตใหม่เศรษฐกิจพอเพียงฟากท่า อีสาน ยโสธร 048 “ข้าวคุณธรรม” เฮ็ดนาไปนำ ปฏิบัติธรรมไปพร้อม 049 จันดา ศาสตราชัย: เกษตรอินทรีย์ รักที่เลือกแล้ว สุรินทร์ 050 ผักอุ่นใจ: CSA ผักกล่องจากแปลงถึงประตูบ้าน
141
143 152
156
GREEN SHOP
ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร 051 เอเดน: อาณาจักรสินค้าปลอดสารพิษ 052 เลมอนฟาร์ม: ชื่อนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก 053 บ้านผักปลายสวน: ร้านกรีนของเกษตรกรอินทรีย์ตัวจริง 054 นิยม ชม ชอบ: ชายหนุ่มปลูกผัก สาวโบรักสมุนไพรความงาม 055 พลังบุญ: ซูเปอร์มาร์เก็ตสีเขียวในวิถีบุญนิยม 056 เป็นสุข: ชีวิตดีๆ เริ่มที่ข้าวกล้อง 057 ข้าวธรรมชาติ: แหล่ง ‘ข้าวสี’ กินดีเคี้ยวอร่อย 058 URBAN TREE: ดอกผลของต้นไม้เมือง 059 ใบเมี่ยง: สินค้าสุขภาพแบรนด์ไทยและเทศ 060 TONKLA-Organic: ผลผลิตอินทรีย์พ่วงสุขภาพ แนวแพทย์วิถีธรรม 061 โป๊ะผัก: ร้านกรีนรุ่นเดอะที่ทุกคนรู้จัก 062 ดี-เฮลท์: คัดมาอย่างดี 063 ซองเต้: สุขภาพในสินค้าและวิชาร้านกรีน 064 เพื่อคุณ: ร้านนี้ (ใจ) กว้าง 065 บ้านข้าวกล้อง: ช้อปช้าๆ และบทสนทนาสุขภาพ
011
162 165 167 171 174 177 180 183 185 188 190 192 194 196 198
066 067 068 069 070 071 072 073
บ้านธัญพืช: อีกตัวเลือกดีย่านพุทธบูชา บ้านเกษตรอินทรีย์: โปรโมชั่นทุกเย็นวันศุกร์ ดีใจออร์แกนิก: เน้นสินค้าโครงการหลวง สหกรณ์ภูมิรักษ์: เพื่อสมาชิก เพื่อสังคม สวนเงินมีมา: รวมสามอิ่มในที่เดียว ไทสบาย: คงดีกรีธรรมชาติตามมาตรฐานเขาค้อทะเลภู บุญรักษา ออการ์นิก: เสิร์ฟกาแฟอินทรีย์และสินค้าดีไร้ดาว planeta ORGANICA: โลกแห่งเส้นใยธรรมชาติ ของหญิงชาวญี่ปุ่น 074 URBIE: กิจการน้ำดีเพื่อสังคม
200 201 203 205 206 208 211 214 218
ภาคเหนือ เชียงใหม่ 220
075 ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนเชิงคุณธรรมประจำตำบล ห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่: บ้านแม่กำปอง 223 076 บ้านไร่ไผ่งาม และพิพิธภัณฑ์บ้านป้าดา 077 BooKoo Studio 226 078 Planeta Organica 228 น่าน 079 ชมรมผู้ประกอบการค้าอาหารปลอดภัยเวียงสา อีสาน ยโสธร 080 ตลาดสุขใจ ใน ห้างดิน 081 แทนรักษ์: ฟื้นวิถีตะวันออก สร้างนวัตกรรมข้าวสู่สากล สุรินทร์ 082 ร้านข้าวหอม: ผู้ประกอบการร้านค้าสีเขียวเมืองสุรินทร์ 012
232
234 236
242
GREEN FOOD & DRINK
ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล 083 Sustaina: อินทรีย์สไตล์ญี่ปุ่น 084 Dr. Aom's Healthy Flavor: รสสุขภาพของคุณหมอ 085 Salada: ผักสลัดอินทรีย์มีในทุกจาน 086 be Organic: อาหารแมคโครไบโอติกส์โดยเลมอนฟาร์ม 087 SIMPLE. Natural Kitchen: เรียบง่าย...ไม่ธรรมดา 088 อโณทัย: มังสวิรัติสุดหัวใจ 089 คุณเชิญ: มังสวิรัติจานผัก เห็ด และเต้าหู้ 090 รัสยานา รอว์ คาเฟ่: กินอาหารเพื่อคืนความเยาว์ 091 อริยะ ออร์แกนิก คาเฟ่: รอว์ ฟู้ด สูตรสมุนไพร 092 ชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย สาขาสันติอโศก: ถูก ดี ฟรี...มีอยู่จริง 093 ชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย สาขาจตุจักร: ถูก ดี ฟรีเฉพาะวันพ่อ 094 ศูนย์อาหารสุขภาพ ร.พ.มิชชั่น: รับฝากท้องหิวๆ ของผู้ปฏิเสธเนื้อสัตว์ 095 บ้านสวนไผ่สุขภาพ: ศูนย์รวมมังสวิรัติ 096 ชีวจิต โฮมเมด: อาหารชีวจิตหน้าตาดี 097 ครัวบัลวี: ธรรมชาติบำบัดด้วยอาหารการกิน 098 ดาราดาเล@BKK: วัตถุดิบอินทรีย์ส่งตรงจากเชียงดาว 099 เลอ มาย อัน: กินผักกันให้ชื่นใจ 100 FARM to TABLE: เนรมิตผักจากไร่เป็นไอศกรีม 101 The Third Floor: มากกว่ากินดื่มตามกรุ๊ปเลือด 102 ดอกข้าว: ดื่มสบายคลายร้อน 103 Health Me: ส่งตรงอาหารดีถึงหน้าบ้าน 104 ปิ่นโตใส่ใจ: ใส่ใจลงในอาหารปิ่นโต
013
246 249 252 254 256 259 262 264 266 268
270
272
274 275 277 279 281 283 285 287 289 292
105 เคี้ยว...เขียว green catering: เสิร์ฟความอร่อยแบบอินทรีย์ 294 106 Jmee Shoppe: เบเกอรี่สีเขียว (เกือบเข้ม) 297 107 Mushroom Hut Cafe: ปลูกเอง ปรุงเอง บรรเลงเพลงความสุข 300 ภาคใต้ สงขลา 108 ครัวใบโหนด: ครัวชุมชน...เพื่อคนทั้งหมด 109 ครัวเพื่อนสุขภาพ: ผักผลไม้อินทรีย์และปิ่นโตมังสวิรัติ ภาคเหนือ เชียงใหม่ 110 ร้านอาหารพันพรรณ 111 ร้านอิ่มเอม เวจเจททาเรียน แอนด์ ไบค์ คาเฟ่ 112 ร้านโอ้กะจู๋ 113 ลำดีตี้ขัวแดง 114 ขนมเส้นแกลเลอรี่ 115 ภูซอมพอ 116 ดินดีคาเฟ่ 117 ชมรมมังสวิรัติเชียงใหม่ 118 Taste from Heaven 119 @เดอะ ขัวมุง 120 The Whole Earth
302 305
307 308 310 313 315 316 318 320 322 323 325
แม่ฮ่องสอน 121 The Sanctuary Organic Restaurant and Bakery
327
ลำพูน 122 สวนหลังบ้าน
329
014
GREEN SERVICE
ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร 123 พระนครนอนเล่น: ชวนมองหาเส้นเชื่อมสัมพันธ์ จากฉันสู่ธรรมชาติ กาญจนบุรี 124 บ้านกลางทุ่ง ออร์กานิค โฮม: สัมผัสความสุขไหลเอื่อย ภาคเหนือ เชียงใหม่ 125 บ้านชมนกชมไม้: บ้านแม่กำปอง 126 สำราญชนโฮมสเตย์: บ้านแม่กำปอง 127 บ้านสวนน้ำฝน: ชุมชนบ้านสวนสายลมจอย 128 บ้านของเราเกสท์เฮ้าส์ 129 บ้านอ้ายหล้า เกสท์เฮ้าส์ 130 บ้านเส-ลา 131 จักรวาลบ้านดิน 132 บ้านสวนมาลีบู เชียงราย 133 บ้านสวนตากะยาย 134 ไร่แสงอรุณ
334
338
341 343 345 348 349 351 353 356
359 361
น่าน 135 ปวินท์ศิลป์ 136 บ้านๆ น่านๆ ห้องสมุดและเกสต์โฮม 137 โฮมสเตย์บ้านผาเก๊าะ-น้ำกูน (ฟาร์มเห็ดบ้านหัวน้ำ) 138 โฮมสเตย์ตานงค์ 139 น่าน ออร์กานิก ฟาร์ม สเตย์ 140 หอศิลป์ ริมน่าน 141 เรือนมิตรภาพ
015
364 365 367 369 372 375 378
142 หมู่บ้านโฮมสเตย์ไทลื้อ บ้านดอนมูล 143 อุ่นไอมาง โฮมสเตย์ 144 ภูเพียงเคียงฟ้ารีสอร์ท แม่ฮ่องสอน 145 Sweet Memory@Pai
380 383 385
387
GREEN MARKET
ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร & ปริมณฑล 146 ตลาดนัดสีเขียวในเครือข่ายตลาดสีเขียว ตลาดนัดสีเขียวอาคารรีเจ้นท์เฮ้าส์ ตลาดนัดสีเขียวโรงพยาบาลปทุมธานี ตลาดนัดสีเขียวศูนย์สุขศาสตร์ มธ.รังสิต 147 Amarin Health Society 148 ตลาดสุขใจ: ตั้งเป้าออร์แกนิกร้อยเปอร์เซ็นต์
392 393 396 399 402 404
ภาคใต้ สงขลา 149 ตลาดผักพืน้ บ้านอาหารและยา: โบนัสของความมัน่ คงทางอาหาร 407 150 ตลาดสีเขียว ต.ป่าชิง อ.จะนะ: นับหนึ่งด้วยก้าวเล็กๆ 409 ภาคเหนือ เชียงใหม่ 151 ตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ คลังเกษตรอินทรีย์ ISAC 152 ข่วงเกษตรอินทรีย์ เชียงใหม่
414
ภาคอีสาน อำนาจเจริญ 153 ตลาดเขียวสวนสาธารณะมิ่งเมือง อำนาจเจริญ
416
สุรินทร์ 154 ตลาดนัดสีเขียวเมืองสุรินทร์ 016
412
420
GREEN COMMUNITY
ภาคเหนือ เชียงใหม่ 430 155 บ้านแม่กำปอง 156 โครงการพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน: เชียงใหม่ 434 157 วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม: เชียงใหม่ 437 158 สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน 440
(Institute for a Sustainable Agriculture Community: ISAC) 443
159 สถาบันพัฒนาทรัพยากรและเกษตรกรรมยั่งยืนแม่ทา และศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านแม่ทา 445 160 มหาวิทยาลัยแม่โจ้: มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ 161 ภูผาฟ้าน้ำ 448 162 กลุ่มส่งเสริมการเกษตรศรีอรุณ 451 163 สหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทา 453 164 บ้านสวนสายลมจอย 456 พะเยา 165 สถาบันพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา
460
น่าน 166 ชุมชนวิถีชีวิตพอเพียงบ้านหนองเต่า 167 หมู่บ้านพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านห้วยเลื่อน 168 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนบ้านโป่งคำ 169 ชุมชนบ้านดงผาปูน
466
แม่ฮ่องสอน 170 หมู่บ้านพอเพียงบ้านป่าแป๋ 171 สหกรณ์การเกษตรขุนยวม จำกัด
473
ลำพูน 172 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านทาป่าเป้า 173 ศูนย์เครือข่ายกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลป่าไผ่ 174 เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดลำพูน 017
462 468 470
476
478 479 481
G R E E N P R O D U C E R
018
GREEN PRODUCER
019
G R E E N P R O D U C E R
001 ดร.กษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ:
1 หมู่บ้านจัดสรร 1 ร้านกรีน แม้เกษียณอายุราชการมาแล้ว 4 ปี แต่ ‘ดร.กษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ’ ยัง คงปฏิบัติหน้าที่อาจารย์พิเศษประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ควบคู่กับประธานคณะกรรมการตลาดนัด
สีเขียวศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) และผลักดัน งานด้านเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่องดังเช่นที่ผ่านมา ประสบการณ์ที่สั่งสมทั้งในฐานะผู้ถ่ายทอดวิชา นักวิจัย ผู้ผลิต ผู้ริเริ่ม ตลาดระบายผลผลิต ทำให้อาจารย์มองเห็นอุปสรรคของงานในแต่ละ ลักษณะและกำลังทดลองกำจัดปัญหาเหล่านั้นด้วยการเริ่มต้นบทบาท ใหม่
020
ภาคกลาง / กรุงเทพมหานคร
...นั่ น คื อ เป็ น ผู้ ผ ลิ ต รายเล็ ก ที่ ป ลู ก และขายผั ก อิ น ทรี ย์ แ ก่ เ พื่ อ นร่ ว ม หมู่บ้านจัดสรร หรือจะเรียกว่า ‘1 หมู่บ้านจัดสรร 1 ร้านกรีน’ ก็ได้ อาจารย์ เ พิ่ ง นั บ หนึ่ ง ช่ ว งปลายปี 2556 โดยให้ นั ก ปลู ก มื อ ดี อ ย่ า งพี่ เ อ้ เพ็ ญ สิ นี รุ้ ง รุ จิ เ มฆ ช่ ว ยเปลี่ ย นผื น ดิ น รอบบ้ า นในหมู่ บ้ า นชั ย พฤกษ์ รามอินทรา เป็นแปลงผักสารพัดชนิด พร้อมกับตั้งตู้แช่เย็น 1 ใบเพื่อเก็บ รักษาผลผลิตระหว่างรอการเลือกซื้อ ซึ่งเอาเข้าจริงก็เปิดโอกาสให้ลูกค้า เลือกตัดผักเองด้วย “ให้มาเก็บเองจากต้นเลย ได้ผักด้วย ได้ความสุขด้วย” อาจารย์กล่าว นอกจากกวางตุ้ง ถั่วฝักยาว ต้นหอม ผักสลัด กะเพรา อ่อมแซบ มะเขือเทศ ผักบุ้ง ที่พากันเติบโตในเขตรั้วบ้าน ที่นี่ยังมีไข่ไก่และไข่เป็ดที่เลี้ยง แบบปล่อยธรรมชาติจากพื้นที่สวนย่านรังสิต คลองหก ของอาจารย์ ข้าวสารอินทรีย์ และผักผลไม้อินทรีย์จากเครือข่ายเกษตรกรรายย่อยอื่นๆ มา สมทบ แนวคิดดังกล่าวสามารถตอบสนองความต้องการอาหารปลอดภัยของ คนเมือง โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาฝ่าการจราจรชวนหงุดหงิดหรือเปลืองค่า เดินทางออกไปตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ต เพียงเดินหรือปั่นจักรยานอยู่ใน เขตหมู่บ้านก็ได้วัตถุดิบชั้นดีกลับไปปรุงอาหารแล้ว...สะดวกกว่าเห็นๆ ในมุมของผู้ผลิตรายย่อย การเปิดบ้านเป็นร้านกรีนมีข้อดีตรงที่ไม่ต้อง เสียค่าเช่าที่หรือหน้าร้านสำหรับขายผลผลิต ประหยัดค่าใช้จ่ายในการ เดิ น ทางไปขายของ แถมลู ก ค้ า ยั ง ได้ ม าเห็ น เองว่ า เป็ น การปลู ก แบบ อินทรีย์จริงๆ ใครมาดูแปลงผักแล้วอยากปลูกเองบ้าง ทั้งอาจารย์และพี่เอ้ก็ยินดีให้คำ แนะนำ หรือจะสั่งซื้อดิน ปุ๋ยคอก ฟาง ก็ได้เช่นกัน จากแรกขายนับถึงวันนี้ยังไม่เต็ม 4 เดือน ค่อนข้างใหม่หมาดเกินจะ ประเมินว่า รอดหรือร่วง 021
G R E E N P R O D U C E R
“ก็ ค่ อ ยๆ เก็ บ ข้ อ มู ล ศึ ก ษาไป อุ ป สรรคสำคั ญ น่ า จะเป็ น เรื่ อ งคนไม่ ท ำ กั บ ข้ า วกิ น เอง ซึ่ ง ถ้ า ต้ น แบบตรงนี้ เ ป็ น ไปได้ จ ริ ง ก็ อ ยากชวนคนใน หมู่บ้านต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ มาทำโมเดลนี้” ดร.กษิดิศ ยังวาดหวังถึงร้านกรีนประจำหมู่บ้านที่ใช้หลักคิด “ซื่อตรงต่อ กั น ” เมื่ อ ทั้ ง ผู้ ซื้ อ และผู้ ข ายที่ เ ป็ น เพื่ อ นบ้ า นกั น รู้ จั ก คุ้ น เคยกั น แล้ ว มี ไมตรีอันดีต่อกันแล้ว ก็สามารถอาศัยความเชื่อใจกัน ให้ลูกค้าเปิดตู้แช่ เย็นหยิบผักที่ต้องการแล้วหยอดเงินตามราคาป้าย เพื่อให้การซื้อขาย เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาแม้ในช่วงที่ผู้ขายไม่อยู่บ้าน ...เป็นภาพอุดมคติที่น่าสนใจ และต้องติดตามกันต่อไปว่า อีกนานเพียง ใดสังคมหมู่บ้านจัดสรรในกรุงเทพฯ จะเดินถึงจุดนั้น อยากอุ ด หนุ น ผั ก อิ น ทรี ย์ แ บบตั ด จาก ต้ น หรื อ ถอนจากแปลงด้ ว ยตั ว เอง ต้องการเรียนรู้วิธีปลูกผักอินทรีย์ สนใจ แนวคิ ด 1 หมู่ บ้ า นจั ด สรร 1 ร้ า นผั ก อินทรีย์ เชิญแวะไปพูดคุยตามประสา คอเดี ย วกั น ที่ บ้ า นอาจารย์ ก ษิ ดิ ศ ใน หมู่บ้านชัยพฤกษ์รามอินทรา บนถนน สุขาภิบาล 5 ไม่ต้องเสียเวลาจำหรือจด
บ้ า นเลขที่ แค่ เ ลี้ ย วเข้ า ซ.23 แล้ ว สังเกตด้านขวามือเอาไว้ บ้านหลังไหน โดนล้อมด้วยสีเขียวๆ ของแปลงผัก นั่น แหละใช่เลย โทรนัดหมายกันล่วงหน้าที่ 08-1821-5007 หรือจะแวะไปอุด หนุน ได้ ที่ ต ลาดนั ด สี เ ขี ย วศู น ย์ สุ ข ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) ก็ได้ พี่เอ้ประจำการรอขายอยู่แล้ว
022
ภาคกลาง / กรุงเทพมหานคร
002 มูลนิธิเอ็มโอเอไทย:
ปั้นผู้ผลิตในวิถีเกษตรธรรมชาติ ท่านโมกิจิ โอกาดะ เป็นชาวญี่ปุ่น ก่อตั้งมูลนิธิ MOA ขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเผยแพร่แนวคิดสร้างโลกที่เปี่ยมด้วยความจริง ความดี และความ งาม ซึ่งกลมกลืนกันระหว่างธรรมชาติกับศิลปะ โดยในภายหลังมีการ ขยายแนวคิดดังกล่าวไปสู่ประเทศต่างๆ หนึ่งในนั้นคือประเทศไทย เอ็ ม โอเอไทยจดทะเบี ย นจั ด ตั้ ง เป็ น มู ล นิ ธิ ใ นปี 2532 ตามต้ น แบบที่ ประเทศญี่ปุ่น โดยดำเนินกิจกรรมสำคัญใน 3 ส่วนคือ การแพทย์องค์ รวม เกษตรธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมและการศึกษา
023
G R E E N P R O D U C E R
ในเนื้อหาของงานเกษตรธรรมชาตินั้น มูลนิธิมีหน้าที่ส่งเสริมองค์ความรู้ ให้แก่เกษตรกร วางแผนปลูก เยี่ยมแปลงเพื่อติดตามแก้ไขปัญหา และ รับผลผลิตมาหาช่องทางจัดจำหน่ายต่อ ‘สุชาญ ศีลอำนวย’ กรรมการกลางและเลขานุการ มูลนิธิเอ็มโอเอไทย เปิดเผยว่า ภารกิจดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อเกือบสามสิบปีที่แล้ว ณ ศูนย์ฝึก อาชีพเยาวชนวัดญาณสังวราราม จ.ชลบุรี ในพื้นที่โครงการพระราชดำริ ของในหลวง ซึ่งดูแลโดย กศน. “ตรงนั้ น ดิ น เสื่ อ มโทรม เป็ น ดิ น ทราย ปลู ก อะไรไม่ ไ ด้ เ ลย เอ็ ม โอเอ ปรับปรุงดินอยู่ 7 ปี จนมั่นใจว่าทำเกษตรกรรมชาติได้จริงๆ ค่อยอบรม ให้เกษตรกรที่อยู่รอบวัด” หลังจากนั้นก็ใช้ศูนย์ฝึกอาชีพเยาวชนวัดญาณสังวรารามเป็นต้นแบบ สำหรั บ ขยายผลสู่ ศู น ย์ ฝึ ก และพั ฒ นาอาชี พ ของราษฎรไทยบริ เ วณ ชายแดน 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย อุตรดิตถ์ มุกดาหาร สุรินทร์ ชลบุรี สระแก้ว กาญจนบุรี ชุมพร ปัตตานี โดยความร่วมมือกับ กศน. อีกเช่นเคย ทั้ ง นี้ ศู น ย์ ฝึ ก แต่ ล ะแห่ ง ต้ อ งจั ด เตรี ย มแปลงสาธิ ต ให้ ช าวบ้ า นเข้ า มา ศึกษาเรียนรู้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และอบรมครู กศน. เพื่อให้ทำหน้าที่เผย แพร่แนวคิดเกษตรธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน ในส่วนของเอ็มโอเอไทยเองก็มีโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ชีวิตและศิลปะ ที่ จังหวัดลพบุรี ซึ่งผ่านการคัดเลือกเป็นศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน จึงได้ รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้จัดอบรม หลักสูตรเกษตรธรรมชาติ 4 คืน 5 วันแก่เกษตรกรในลพบุรีและจังหวัด ใกล้เคียงปีละ 100 คน ถือเป็นการส่งเสริมเพิ่มเติมจากงานอบรมที่เอ็มโอเอไทยจัดให้เกษตรกรและผู้บริโภคคนเมืองอยู่แล้วเป็นระยะๆ ถึงตรงนี้คงมีคนสงสัย...เกษตรธรรมชาติคืออะไร เหมือนเกษตรอินทรีย์ หรือไม่ อย่างไร
024
ภาคกลาง / กรุงเทพมหานคร
“เกษตรธรรมชาติแตกต่างจากเกษตรอินทรีย์ตรงที่อาศัยศักยภาพของ ดินเป็นหลัก เน้นการทำโครงสร้างของดินให้ดี ด้วยการไถพรวน ขุดดิน พรวนดิน เราใส่ปุ๋ยหมักเพื่อไม่ให้ดินจับตัวแข็งและทำให้ดินอุ่น อุณหภูมิ พอเหมาะต่อการเติบโตของพืช เป็นองค์ความรู้ของญี่ปุ่นที่เชื่อว่า ทำ กายภาพของดินให้ดีแล้วชีวภาพกับเคมีในดินจะดีขึ้นตามมา” สุชาญ อธิบายแบบรวบรัด ขณะที่เกษตรอินทรีย์เน้นการเพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก น้ำ หมั ก ชี ว ภาพ ฯลฯ ซึ่ ง เกี่ ย วพั น กั บ ชี ว ภาพในดิ น มากกว่ า จะสนใจเรื่ อ ง กายภาพของดิ น เป้ า หมายใหญ่ ข องการปลู ก พื ช ตามแนวทางเกษตร ธรรมชาติคือ สุขภาพที่ดี “คนปลูกปลอดภัย คนกินปลอดภัย ผลผลิตเหลือก็ให้จำหน่ายในพื้นที่ แต่ถ้าผลผลิตเยอะจริงๆ ก็ให้ส่งเข้ามาขายที่กรุงเทพฯ เกษตรกรที่ผ่าน การอบรมไปแล้วจะปลูกแค่กินเองก็ได้ ปลูกขายในชุมชนก็ได้” เขากล่าว แต่ถ้าจะขายโดยส่งให้เอ็มโอเอไทยช่วยกระจายผลผลิต ผักผลไม้เหล่า นั้นจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรธรรมชาติเอ็มโอเอเสียก่อน ภายใต้เงื่อนไข... เกษตรกรต้องผ่านการอบรมจากเอ็มโอเอไทยและลงมือปลูกตามแนว เกษตรธรรมชาติมาแล้ว 6 เดือน จึงจะสามารถส่งใบสมัครมาที่มูลนิธิ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ลงไปสำรวจพื้นที่ เก็บข้อมูล และซักถามรายละเอียด ต่างๆ จากนั้นคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย นักวิชาการเกษตร ผู้ผลิต
ผู้ บ ริ โ ภค และเจ้ า หน้ า ที่ เ อ็ ม โอเอไทย จะพิ จ ารณาร่ ว มกั น อี ก ครั้ ง ว่ า สมควรอนุมัติให้การรับรองหรือไม่ แม้แนวทางของเกษตรธรรมชาติอาจไม่ได้รับความนิยมมากเท่าเกษตร อิ น ทรี ย์ แต่ ก็ มี ผู้ ผ ลิ ต นั บ พั น รายที่ ผ่ า นการปั้ น โดยเอ็ ม โอเอไทยและ กระจายกำลังปลูกพืชอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีอยู่ในขณะนี้...ผลผลิตใน แต่ละสัปดาห์ของพวกเขา รวมๆ กันแล้วก็มีให้ผู้บริโภคเลือกอุดหนุนไม่ น้อยเลย 025
G R E E N P R O D U C E R
ช่ อ งทางสำหรั บ การอุ ด หนุ น ผลผลิ ต ที่ ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรธรรมชาติเอ็มโอเอมีดังนี้ หนึ่ ง ... แวะมาที่ ร้ า นเอ็ ม โอเอ กรี น มาร์ เ ก็ ต อยู่ ชั้ น ล่ า งของอาคารศู น ย์ สร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพเอ็ ม โอเอ ในซอย รั ช ดาภิ เ ษก 28 เดิ น ทางด้ ว ยรถไฟฟ้ า MRT สะดวกสุด ลงที่สถานีรัชดาภิเษก แล้วเลือกทางออก 3 เปิดวันจันทร์ถึง เสาร์ เวลา 09.00-17.00 น. โทร. 02975-9981 ที่ นี่ น อกจากจะมี ค วาม หลากหลายของผลผลิตที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรธรรมชาติเอ็มโอเอ ให้เลือกมากที่สุด ทั้งผักผลไม้สด ของ แห้ง ข้าวสาร และผักกาดดองที่ได้จาก การปลูกผักกาดเขียวในวิถีเกษตรธรรมชาติและดองโดยไม่ใช้สารเคมี ยังเป็น ร้ า นอาหารที่ ป รุ ง โดยใช้ ผ ลผลิ ต จาก เกษตรธรรมชาติ นั่ น แหละ ใครอยาก ฝากท้ อ งต้ อ งแวะมาก่ อ นครั ว ปิ ด ตอน 15.00 น. สอง... สมัครสมาชิกเดลิเวอรี่ โดยจ่าย ค่าธรรมเนียมปีละ 100 บาท สามารถ
สั่งผักผลไม้ ไข่ ข้าวสาร กะปิชั้นดี ฯลฯ ให้ไปส่งยังปลายทางทั่วกรุงเทพฯ โดย จัดส่งฟรีเมื่อสั่งสินค้าขั้นต่ำ 300 บาท สอบถามเพิ่มเติมโทร. 08-9043-1215 (คุณแจง) และ 08-5116-5054 (คุณ ประสิทธิ์) สาม... ซื้อจากจุดจำหน่ายอื่นๆ ในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้แก่ ตลาด นัดสีเขียวศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (รังสิต) ทุกวันจันทร์และ พฤหัสบดี โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ทุกวันอังคาร และทีก่ ระทรวงศึกษาธิการ ทุกวันพุธและศุกร์ สี่... ซื้อจากจุดจำหน่ายอื่นๆ ในจังหวัด ลพบุรี ได้แก่ โรงเรียนบรรจงรัตน์ทุกวัน จันทร์ หน้าทีว่ า่ การอำเภอเมืองลพบุรที กุ วันอังคารและศุกร์ สำนักงานสาธารณสุข จั ง หวั ด ลพบุ รี ทุ ก วั น พุ ธ และที่ ส ถาบั น มะเร็ง จ.ลพบุรี ทุกวันพฤหัสบดี รายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับมูลนิธิเอ็มโอเอไทย เชิญคลิก www.moathai.com หรือ facebook.com/moathailand
026
ภาคกลาง / ฉะเชิงเทรา
003 กลุ่มเกษตรอินทรีย์อำเภอสนามชัยเขต:
ผลผลิตยอดเยี่ยม ราคาย่อมเยา ไม่เพียงเป็นเกษตรกรอินทรีย์กลุ่มใหญ่ในจังหวัดฉะเชิงเทราที่รวมตัวกัน เข้มแข็ง สามารถยืนหยัดในฐานะผู้ผลิตสีเขียวอย่างต่อเนื่องมาเกินสิบปี พวกเขายังจำหน่ายผลผลิตคุณภาพเยี่ยมในราคาที่แสนจะเป็นมิตรกับ
ผู้บริโภคอีกด้วย พลูเพ็ชร สีเหลืองอ่อน หรือ ‘พี่ต้อย’ ฝ่ายส่งเสริมของกลุ่มฯ ซึ่งเป็นหัว เรี่ยวหัวแรงคนสำคัญ เล่าให้ฟังว่า เดิมทีเกษตรกรที่นี่ก็ใช้สารเคมีในการ เพาะปลู ก เหมื อ นกั บ เกษตรกรส่ ว นใหญ่ ข องประเทศ กระทั่ ง เข้ า ร่ ว ม โครงการนำร่องพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนกับเครือข่ายเกษตรกรรมทาง เลือก 4 ภาค เมื่อ พ.ศ. 2543 จึงได้รู้จักและลงมือปฏิบัติตามแนวทาง ของเกษตรอินทรีย์เป็นครั้งแรก จากนั้นก็ยกระดับขึ้นเป็น ‘กลุ่มเกษตร อินทรีย์อำเภอสนามชัยเขต’ ในปีถัดมา
027
G R E E N P R O D U C E R
การนับหนึ่งเกิดขึ้นจากสมาชิกจำนวน 35 รายปลูกข้าวพันธุ์เหลืองปะทิว ตามออเดอร์ที่ส่งตรงจากสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างนั้นก็พัฒนาโครงการ นำร่ อ งให้ จ ริ ง จั ง ขึ้ น ทั้ ง ในส่ ว นควบคุ ม การผลิ ต การรั บ รองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ และการจัดการตลาด เพื่อให้สมาชิกกอดคออยู่รอดไป ด้วยกัน เมื่ อ ข้ า วอิ น ทรี ย์ เ ดิ น หน้ า ได้ ดี พร้ อ มกั บ จำนวนสมาชิ ก ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น เรื่ อ ยๆ กลับพบว่า... “ชาวบ้านปลูกเพื่อส่งขายหมด แล้วค่อยเอาเงินไปซื้อผักในตลาดมากิน ทำไมเป็นผู้ผลิตแต่ไม่ได้กินอาหารที่ผลิตเอง” พี่ต้อยตั้งคำถาม ในความเห็นของเธอ ผู้ผลิตควรได้รับประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่แค่รายได้ แต่ หมายถึ ง การบริ โ ภคอาหารปลอดภั ย จากการลงแรงของตั ว เองด้ ว ย ทิศทางของกลุ่มจึงปรับเปลี่ยนไปสู่การปลูกสิ่งที่สมาชิกกิน แล้วความ หลากหลายของพื ช อาหารก็ ข ยายไปสู่ ข้ า วอิ น ทรี ย์ ส ายพั น ธุ์ อื่ น ๆ เช่ น มะลิแดง หอมนิล หอมมะลิ รวมถึงผักพื้นบ้านและผลไม้อีกนานาชนิด แต่เมื่อวางจำหน่ายในท้องถิ่นกลับไม่เป็นที่ต้องการนัก เพราะเป็นสิ่งที่ ปลูกกินกันทั่วไป จึงตัดสินใจหอบหิ้วผลผลิตอินทรีย์มาขายผู้บริโภคใน เมืองหลวงเมื่อกลางปี 2551 ที่ตลาดนัดสีเขียวอาคารรีเจ้นท์เฮ้าส์ “วั น แรกเอาผั ก กู ด มา 100 กำ แต่ ไ ม่ มี ใ ครรู้ จั ก กิ น ยั ง ไง ปรุ ง ยั ง ไง มี ประโยชน์อย่างไร เดินมาถามตลอด วันแรกแทบไม่ได้ขายผักเพราะต้อง คอยตอบคำถาม” เธอเล่าแบบขำๆ บางคนอาจยั ง ไม่ รู้ ผั ก กู ด เป็ น ผั ก พื้ น บ้ า นที่ เ จริ ญ เติ บ โตได้ ใ นสภาพ แวดล้อมดีๆ เท่านั้น พื้นที่ใดปนเปื้อนมลพิษก็จะไม่ขึ้น มันจึงเป็นดัชนี ง่ายๆ สำหรับชี้วัดสภาวะปลอดสารเคมีของแปลงผัก หลังได้รับความสนใจอย่างมากจากลูกค้าชาวกรุง ร้านขายผักก็เพิ่มเติม กิจกรรมสาธิตการประกอบอาหารเมนูผักพื้นบ้าน โชว์ให้เห็นกันไปเลย ว่าทำอะไรได้บ้าง 028
ภาคกลาง / ฉะเชิงเทรา
“พยายามหาวิธีปรุงที่คนรุ่นใหม่กิน ได้ พอเขาลองทำกินแล้วอร่อย ก็มี คนมาถามหาผักกูด จนกลายเป็น ผลผลิตยอดนิยมของเราในที่สุด” ครั้ น ผลผลิ ต อิ น ทรี ย์ ถู ก พู ด ถึ ง และ บอกต่อ นอกจากปริมาณลูกค้าจะ เพิ่มขึ้น กลุ่มขาจรยังกลายเป็นขา ประจำทีม่ ารออุดหนุนกันทุกสัปดาห์ พี่ ต้ อ ยจึ ง เพิ่ ม ความหลากหลาย ของสิ น ค้ า ด้ ว ยผลผลิ ต อิ น ทรี ย์ แปรรูป เช่น พริกแกง มะขามเปียก ส้มตำ ไปจนถึงเส้นขนมจีนจากข้าวเจ้าออร์แกนิก ระยะหลังยังเพิ่ม ‘กล่องผัก’ ให้เป็นช่องทางแสนสะดวก โดยจัดเรียงผัก พื้ น บ้ า นและพริ ก แกงสดใหม่ ล งในกล่ อ งโฟม เป็ น ชุ ด พร้ อ มปรุ ง ที่ มี ใ ห้ เลือกถึง 15 เมนู อาทิ แกงส้ม แกงอ่อม แกงเผ็ด แกงเปรอะ ฯลฯ แม้จะต้องออกจากโน่นตั้งแต่ตี 4 และเดินทางไปกลับรวมระยะทางมาก กว่าสามร้อยกิโลเมตรเพื่อมาตั้งแผงขายผัก พี่ต้อยก็เห็นว่า การพบปะ
ผู้บริโภคโดยตรงเช่นนี้ดีกว่าส่งขายผ่านคนกลาง เพราะมีโอกาสสื่อสาร แลกเปลี่ยนระหว่างกัน ผู้ผลิตส่งมอบความรู้เรื่องผัก ขณะที่ผู้บริโภคก็ บอกเล่าประสบการณ์การกินผักพื้นบ้านหรือแจ้งคุณภาพของผลผลิตที่ เคยซื้อไปรับประทาน วันนี้สมาชิกของกลุ่มฯ มีมากกว่า 140 ราย ขยายพื้นที่เพาะปลูกจาก อำเภอสนามชั ย เขตไปสู่ อ ำเภอข้ า งเคี ย งทั้ ง ในจั ง หวั ด ฉะเชิ ง เทราและ ปราจีนบุรี ในจำนวนนี้มี 75 รายที่ผ่านการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ในระดับสากล ทั้งของสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ของสหภาพยุโรป และแคนาดา
029
G R E E N P R O D U C E R
ทว่ า การการั น ตี ด้ ว ยมาตรฐานสากลไม่ ไ ด้ แ ปลว่ า ผลผลิ ต ที่ นี่ จ ะแพง กระฉูด ตรงกันข้ามราคาของมันเชิญชวนให้จับจ่ายได้อย่างเพลิดเพลิน ด้วยซ้ำ แม้จะเป็นแผงขายที่เน้นผักพื้นบ้าน เช่น ผักกูด ชะอม ผักหวานป่า ผัก หวานบ้าน ผักปลัง ชะมวง หน่อข่าอ่อน ฯลฯ เขาก็ยังมีสิ่งที่ชาวเมืองคุ้น เคย อาทิ ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว หัวปลี มะเขือม่วง มะเขือพวง พริก ฟักทอง กล้วยน้ำว้า มะละกอ มะม่วง มาให้เลือกซื้อด้วย ...ถูกใจผู้นิยมบริโภคผลผลิตอินทรีย์แน่นอน กลุ่มเกษตรอินทรีย์อำเภอสนามชัยเขต นำผลผลิ ต เข้ า มาให้ ผู้ บ ริ โ ภคในเมื อ ง เลื อ กซื้ อ 2 แห่ ง คื อ ตลาดนั ด สี เ ขี ย ว
อาคารรี เ จ้ น ท์ เ ฮ้ า ส์ ในทุ ก วั น พฤหั ส ฯ และที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
030
ในทุ ก วั น อั ง คารเว้ น อั ง คาร บ้ า นไหน อยากสั่ ง กล่ อ งผั ก ร้ า นไหนอยากสั่ ง ผลผลิตอินทรีย์ปริมาณมาก โทรศัพท์ ติ ด ต่ อ สอบถามรายละเอี ย ดกั บ พี่ ต้ อ ย โดยตรงที่ 08-1431-6690