ระบายสีที่หัวใจเด็ก
Paintwiitnh g Children by Brunhild Müller
บรุนไฮล์ด มุลเลอร์ เขียน อนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี แปลไทย
จากสำ�นักพิมพ์ ตอนอ่านหนังสือบางๆ เล่มนี้จบลงใหม่ๆ อดนึกย้อนอดีตในวัยเด็กของตัวเอง ไม่ได้ ภาพเมื่อครั้งยังวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ วัยเดียวกันที่บ้านนอก แม้วันวานจะ ผ่านไปหลายสิบปีแล้ว แต่ยังมีหลายเหตุการณ์ หลายบรรยากาศทาทาบใน ความทรงจำ� สำ�หรับเด็กบ้านนอกในห้วงเวลานั้น ‘สี’ จัดอยู่ในประเภทสิ่ง ฟุ่ ม เฟื อ ย หากจะมี โ อกาสได้ ใ ช้ อ ยู่ บ้ า งก็ เ ฉพาะตอนเรี ย นในบางรายวิ ช า เท่านั้น และ ‘สี’ ที่มีให้ใช้ก็ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ คือ ใช้ง่าย ทนไม้ทนมือ เด็ก เช่น สีไม้ สีเทียนทั่วๆ ไป ส่วนสีน้ำ� สีน้ำ�มัน สีอะคริลิก หรือสีที่ซับซ้อน ใช้ อุปกรณ์เครื่องเคียงเยอะนั้น พวกเราไม่มีโอกาสได้รู้จักหรือสัมผัสกันหรอก และก็ไม่ได้ส่งผลให้น้อยใจหรือรู้สึกขาดโอกาสในการฝึกปรือความคิดอ่าน หรื อ พั ฒ นาพลั ง สร้ า งสรรค์ ใ นตั ว เองแต่ อ ย่ า งใด เพราะเด็ ก บ้ า นนอกมี ทรัพยากรรายรอบให้หยิบฉวยมาดัดแปลง แต่งโฉมเป็นของเล่นได้ตลอด เวลาและสารพัดแบบ ด้วยเหตุนี้ ตุ๊กตาบาร์บี้ คิตตี้ โดเรมอน หรือหุ่นยนต์ ยอดมนุษย์ทั้งหลาย จึงไม่มีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วม แบ่งปันประสบการณ์ วัยเด็กกับพวกเรา ดินเหนียว กิ่งไม้ ใบหญ้า คือคลังของเล่นขนาดใหญ่ของเด็กห่างไกลเมือง ก้านเขียวๆ พร้อมใบใหญ่หนาของผักตบชวาสามารถแปลงร่างเป็นตุ๊กตา เพื่อนเล่นได้เป็นอย่างดี ก้านกล้วยก็เป็นได้ทั้งปืนยาวไว้ไล่ยิงศัตรู เป็นทั้งม้า คู่ชีพให้ควบขี่เล่น ผลกลมรีของโพธิ์ทะเลก็สามารถเอาก้านไม้มาเสียบขั้วตรง กลาง แล้วปั่นเล่นเป็นลูกข่างแข่งกับเพื่อนได้ออกรส ส่วนง้ามไม้ขนาดพอมือ ผูกด้วยหนังยางยืด พร้อมก้อนดินเหนียวปั้นกลมๆ ก็สามารถเอามาเป็นอาวุธ ประจำ�กายพกติดตัวออกล่าเหยื่อได้ทั้งวัน จำ�ได้ว่ามีเกมชนิดหนึ่งที่พวกเรา ใช้เล่นกัน ทั้งวิธีการและกติกาช่างละม้ายคล้ายกีฬาเบสบอลยังไงยังงั้น จากสำ�นักพิมพ์
๕
กิจกรรมและการละเล่นเหล่านี้นับว่ามีส่วนสำ�คัญยิ่งต่อการพัฒนาทักษะและ ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กยุคนั้น ที่ห่างไกลวัสดุทันสมัย อุปกรณ์สำ�เร็จรูป ทั้งยังช่วยประคับประคองให้เราผ่านวัยเด็กมาได้อย่างครบถ้วน มีชีวิตชีวา ไม่ได้รู้สึกว่าทำ�วันในวัยเยาว์หล่นหายแต่อย่างใด ครั้นยุคสมัยเปลี่ยน วิถีการเติบโตของเด็กพลอยเปลี่ยนตาม การจะให้เด็ก รุ่นใหม่นั่งปั้นกระสุนดินเหนียว ยิงหนังสติ๊ก หรือขี่ม้าก้านกล้วยวิ่งควบไปทั่ว ทุ่งคงยากพอๆ กับแนะนำ�ให้เด็กรู้จักเพื่อนซี้ชื่อม้านิลมังกร ของเล่นสำ�เร็จรูป ชุดเสริมทักษะ ฝึกสมองประลองความจำ� มีให้เลือกซื้อได้ทั่วไป ความพร้อม ของยุคสมัยทำ�ให้เด็กยุคใหม่โชคดีในบางเรื่องและโชคร้ายในหลายเรื่อง แต่ ที่ น่ า เป็ น กั ง วลคื อ ความพร้ อ มที่ ม ากั บ เทคโนโลยี เ หล่ า นี้ กำ � ลั ง บั่ น ทอน พัฒนาการด้านในหรือจิตวิญญาณของเด็กให้ถดถอยลง เด็กรุ่นใหม่อาจมี สมองฉับไว ความจำ�เป็นเลิศ ใช้ทกั ษะความสามารถของร่างกายได้อย่างน่าทึง่ แต่บ่อยครั้ง เด็กกลับตกอยู่ในสภาพขาดสมดุลทางจิตใจ ขาดจินตนาการ และพลังสร้างสรรค์ที่เกื้อกูลชีวิต ขาดความละเอียดอ่อนต่อสิ่งรอบกาย ซึ่งส่ง ผลให้ความสัมพันธ์ต่อทุกสิ่งในชีวิตเด็กพลอยบกพร่องไปโดยปริยาย กระนั้น ก็ยังมีกระบวนการอย่างหนึ่งที่มีส่วนสำ�คัญยิ่งต่อพัฒนาการด้าน จิตใจของเด็ก ช่วยปลุกเร้าพลังสร้างสรรค์ภายใน ช่วยกระตุ้นจินตนาการให้ เปล่งประกายและทำ�งานอย่างเต็มที่ ช่วยให้เด็กเบิกบาน กระตือรือร้น และ อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนรอบข้างอย่างมีชีวิตชีวา กระบวนการที่ ว่านั้นก็คือ การให้เด็กได้ ‘ระบายสีน้ำ�’ ตั้งแต่ยังเล็ก เพราะสีที่อยู่ในลักษณะ ของเหลวจะแสดงธรรมชาติของมันได้ดีที่สุด เด็กๆ จะได้มีโอกาสเห็นความ สัมพันธ์ทเ่ี กิดขึน้ ระหว่างสี และระหว่างสีกบั ตัวเองตลอดกระบวนการวาดภาพ ตั้งแต่สีที่ค่อยๆ ละลายในขวดน้ำ� แล้วกระจายตัวบนแผ่นกระดาษ หรือเมื่อ สีเลื่อนไหลไปผสมกับสีข้างเคียงกลายเป็นเฉดสีใหม่ ๖
ระบายสีที่หัวใจเด็ก
ปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านี้มักสร้างความประหลาดใจให้แก่เด็กอยู่เสมอ และส่งผลต่อการเติบโตทางด้านในของเขาอย่างยิ่ง เพราะโลกภายนอกกับ โลกภายในของเด็กนั้นแทบจะไม่แบ่งแยกกันเลย (หน้า ๑๙) ดังนั้นจึงไม่น่า แปลกใจที่ เ ด็ ก สามารถจดจ่ อ กั บ การระบายสี เฝ้ า มองดู ภ าพมหั ศ จรรย์ ที่ ค่อยๆ ปรากฏตัวบนแผ่นกระดาษ และกลายเป็นเรื่องราวให้เด็กได้เริ่มพูดคุย และเล่นกับสีราวเป็นเพื่อนกัน (หน้า ๕๑) สำ�หรับเด็กแล้ว การได้ระบายสีดู จะสำ�คัญกว่าภาพที่ได้ ดังเช่นที่ไรเน มารีอา ริลเก้กล่าวไว้ว่า การระบายสีคือ การใช้ชีวิตไปกับสี (หน้า ๓๙) ซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อนจิตใจไปสู่การพัฒนา แนวคิดและความรู้สึกในตัวเด็กให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น (หน้า ๕๑) ซึ่งประสบการณ์ ลักษณะนี้จะค่อยๆ หายไปเมื่อเด็กโตขึ้น และใน ระบายสีที่หัวใจเด็ก หนังสือเชิงปฏิบัติแนววอลดอร์ฟว่าด้วยศิลปะ การระบายสีน้ำ�ที่อิงตามทฤษฎีสีของเกอเธ่เล่มนี้ ได้บอกเล่ากระบวนการและ รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการระบายสีน้ำ�ไว้อย่างครบถ้วนชัดเจน พร้อม ภาพประกอบสีน้ำ�จากฝีมือเด็กน้อยอีกมากมาย สำ�นักพิมพ์ฯ ขอขอบคุณ ผู้แปล ‘ครูมอส’ – อนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี ที่แนะนำ�ให้เรารู้จักหนังสือน่าทึ่ง เล่มนี้ ขอบคุณอาจารย์สดใส ขันติวรพงศ์ บรรณาธิการที่ช่วยปรับแก้ภาษา ให้อ่านได้ลื่นไหล เรียบง่ายขึ้น และขอบคุณ ‘แม่ตา’ – วรณัน โทณะวณิก แห่งมามาตา สำ�หรับบทส่งท้ายที่อบอุ่น ละเมียดละไม เมื่อมองย้อนกลับไปอีกครั้ง หลังจากอ่านหน้าสุดท้ายของหนังสือบางๆ เล่มนี้ จบลง ก็อดตั้งคำ�ถามไม่ได้ว่า ตัวเราในวันนี้จะต่างไปมากน้อยแค่ไหนหนอ หากในวัยเด็ก เราได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์ระบายป้ายแต่งกระดาษ ขาวด้วยสีน้ำ�ตั้งแต่รุ่นอนุบาลจนจบประถมศึกษา ความละเอียดอ่อน ความ สร้างสรรค์ ความเคารพในผู้คนและธรรมชาติรอบกาย ความสมดุลทาง อารมณ์ ความรู้สึก ตลอดจนความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณ จะต่างไปจากที่ เราเป็นอยู่ทุกวันนี้ไหมนะ จากสำ�นักพิมพ์
๗
จากผู้แปล ตอนที่โลกยังไม่มีสี แสงกับความมืดล้วนรังสรรค์สรรพสิ่งให้กำ�เนิดขึ้น ห้วงแรกความมืดแผ่คลุมไปทั่วอาณาจักรวาล จนกระทั่งแสงบางเบาแรก จากโลกเบื้องบนฉายฉานบนความมืด สีสันโทนต่างๆ จึงเผยตนขึ้นมาตาม ลำ�ดับกาลเวลา หากเราเข้าใจที่มาของสีสันผ่านโลกทัศน์เชิงจิตวิญญาณ การระบายสีกับ เด็กคงจะเปลี่ยนความหมายไปอย่างสิ้นเชิง คล้ายๆ ที่เราเงยมองรุ้งกินน้ำ� แล้ ว พลั น เห็ น โลกแห่ ง ความสุ ข จารึ ก บนเส้ น โค้ ง นั้ น คำ � ถามมั ก เกิ ด ขึ้ น อยู่เสมอ จากพ่อแม่และครูว่าสีสันมีผลต่อชีวิต จิตวิญญาณได้อย่างไร ลองอ่านถ้อยความอย่างละเอียดในหนังสือนี้ นิยามคำ�ว่าการระบายสี (Painting) จากบรุนด์ไฮล์ด มุลเลอร์ ได้ย้อนมิติพาเรากลับไปพบความ เข้ า ใจอั น เป็ น รากฐานแท้ จ ริ ง ของสี เพราะโดยทั่ ว ไปเรามั ก ให้ เ ด็ ก ลงสี (Coloring) ในช่องหรือกรอบ ซึ่งทำ�ให้เข้าใจไปว่าสิ่งนี้เรียกว่าการระบายสี เสียแล้ว ความรู้ด้านสีจากโยฮันน์ โวลฟ์กัง ฟอน เกอเธ่ นักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ผู้ก้าวล้ำ�ไปถึงสีในโลกจิตวิญญาณ รวมถึงบรมครู ดร.รูดอลฟ์ สไตเนอร์ ได้ร่วมถอดรหัสสีไปสู่ความมีชีวิตชีวา ความรู้นี้ทำ�ให้การระบายสีประจักษ์ กับผู้คน ว่าจักรวาลเผยสีปรากฏผ่านม่านฟ้า กลายเป็นแสงในรุ่งสางและ สีแห่งอัสดงคต กลายเป็นละอองไอยู่ในหัวใจผู้คนตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย จน กระทั่งสีปรากฏชีวิตอีกครั้งเมื่อพู่กันระบายออกมาบนกระดาษ ๘
ระบายสีที่หัวใจเด็ก
และนี่ สีจึงกลายเป็นสิ่งมีชีวิตสำ�หรับผมด้วย เพราะหากระบายเขาอย่างมี ชีวิตชีวา ก็เหมือนกับเด็กที่ระบายสีออกมาจากหัวใจ ไม่ใช่ระบายจาก ความคิดหรือระบายเป็นเชิงหัวข้อกับเด็กเล็ก เพราะความต่างของการ แสดงออกนั้นได้ปรากฏบนกระดาษและสำ�คัญที่ผลลัพธ์นั้นมุ่งไปสู่ ‘หัวใจ’ หรือถ้าเรามองการระบายสีเป็นภาพวาดชิ้นหนึ่ง คุณค่าในภาพไม่ได้อยู่ที่ การระบายเพียงเท่านั้น หากยังมอบคุณค่าการระบายสีไปที่ ‘ภาพของการ ทำ�งานทั้งมวล’ ตั้งแต่เด็กๆ เตรียมอุปกรณ์ ท่าทีการระบาย รวมถึงบุคคล ที่อยู่เคียงข้าง ซึ่งสำ�คัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาพวาดบนโต๊ะ งานเขียนเรียบง่ายทว่าทรงพลังชิ้นนี้ เผยโอกาสให้สีสำ�แดงตัวตนในฐานะ จิตวิญญาณ และนำ�พาเด็กๆ เข้าไปสู่โลกด้านในของเขาผ่านสี กำ�เนิด เป็นรอยทางที่สำ�คัญต่อมิติสุขภาพ ผมจึงขอถือโอกาสนี้ขอบพระคุณ ครู อุ้ย-อภิสิรี จรัลชวนะเพท ที่มอบหนังสือนี้ตั้งแต่ครั้งที่ผมฝึกงานที่อนุบาล บ้านรักเมื่อสิบห้าปีที่แล้ว อาจารย์นัยนา นาควัชระ สำ�หรับคำ�แนะนำ�บท กวี อาจารย์สดใส ขันติวรพงศ์ ที่ช่วยตรวจทาน ขัดเกลาสำ�นวนภาษา สำ�นักพิมพ์สวนเงินมีมา คุณรุ่งวิสาข์ รุ่งธนพัฒน์ ที่ช่วยดูแลด้านภาษา และผู้สนใจหนทางการระบายสีที่เปี่ยมไปด้วยชีวิตนี้ อนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี สตูดิโอศิลปะด้านใน, เชียงดาว จากผู้แปล
๙
เมื่อระบายสี พึงระบายคล้ายดังว่า ทำ�สิ่งที่ตายให้กลับมีชีวิต - รูดอล์ฟ สไตเนอร์๑
สารบัญ จากสำ�นักพิมพ์ จากผู้แปล เด็กกับสี สีสะท้อนคุณธรรม เด็กๆ วาดภาพสีน้ำ� เตรียมระบายสี ระบายสี เรื่องราวของสี ระบายสีฤดูกาล เรื่องราวของสีมีภูมิหลัง สัมผัสประสบการณ์สี อารมณ์ของธรรมชาติ วาดสิ่งที่เห็น สีจากพืช คำ�ประพันธ์กระตุน้ เสริมการระบายสี อ้างอิง บทส่งท้าย โดย มามาตา เกี่ยวกับผู้แปล
๕ ๘ ๑๓ ๑๕ ๒๓ ๓๕ ๓๙ ๔๑ ๔๗ ๕๑ ๕๒ ๕๔ ๕๗ ๖๒ ๖๖
เด็กกับสี เราเห็นท้องฟ้าที่มักเปลี่ยนสีอยู่เสมอ สีฟ้าสดใส สีเกือบดำ�สนิทยามค่ำ�คืน เมฆสีเทาสีขาว กลืนกันเป็นเมฆสีมว่ งดูเร้นลับ ลุกโพลงเป็นสีแดง เรืองเรือ่ ด้วยสีเหลืองและส้ม สีเขียวบางเบาในวงโค้งของสายรุง้ เมือ่ มองไปรอบๆ สี มีอยูท่ กุ แห่งหน หิมะสีขาว ก้อนหินสีเทา ทะเลสีเขียวอมฟ้า แอปเปิล้ สีแดง ทุง่ หญ้าสีเขียว ไร่ขา้ วโพดสีเหลืองทอง ดอกไวโอเล็ตสีมว่ ง และวัวสีน�ำ้ ตาล นับแต่วัยเด็กเราถูกห้อมล้อมด้วยสิ่งรอบตัวที่สีสันแปรเปลี่ยนตลอดเวลา สีมีผลกับชีวทัศน์ของเรา โลดแล่นเข้าไปในทุกห้วงอารมณ์ และแสดงออก ด้วยสีสันของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เราจึงรู้สึกสบายใจเมื่อได้แต่งตัวด้วย สีสันที่เราเลือกเอง เด็กๆ ชื่นชอบสีสัน ทารกอยากเอื้อมมือสัมผัสวัตถุที่มีสีถูกใจ แค่ไม่นานก็ จดจำ�สีสันเหล่านั้นได้ และยิ่งไปกว่านั้นยังจดจำ�อารมณ์ของสีแต่ละสีได้ดี เด็กจะเป็นหนึ่งเดียวกับสีต่างๆ ที่หลั่งไหลจากสิ่งรอบตัว ไปถึงความรู้สึก ภายใน ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกของเด็กนั้นด้วย สีบางสีอาจทำ�ให้เด็กเกิด ความรู้สึกสุขสบาย ขณะที่บางสีทำ�ให้เขาอึดอัด เพราะเด็กมีความอ่อน ไหวมากกว่าผู้ใหญ่ ประสบการณ์สีของเด็กๆ จึงมีเข้มข้น ในช่วงขวบปีแรกๆ สัมผัสรับรู้ของเด็กยังบริสุทธิ์อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เด็กวัย นี้ได้พบเห็นจะฝังอยู่ในตัวเขา จึงไม่ใช่เรื่องดีที่จะรีบร้อนนำ�ทารกออกไป สัมผัสกับแสงสว่างจ้า หรือให้ทารกเพ่งมองแสงจากหลอดไฟโดยตรง แรกสุดทารกรับรู้แสงและสีจากระดับความอ่อนเข้มของแสงที่มากน้อย แตกต่างกัน และแสงกับสีจะทำ�งานสัมพันธ์กันก็ต่อเมื่อดวงตาสมบูรณ์ พร้อมแล้วเท่านั้น เด็กกับสี
๑๓
หนังสือการศึกษาของเด็ก (The Education of the Child) โดย รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ชี้ถึงผลสะท้อนของสีที่มีต่อเด็ก: ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เด็กที่ขี้ ‘กังวล’ เช่น เด็กที่ตื่นเต้นง่าย ควรได้ รับการปฏิบัติแตกต่างจากเด็กที่เงียบและเซื่องซึม เราต้องเอาใจใส่ในทุก สิ่ง ตั้งแต่สีของห้อง และสิ่งของต่างๆ รอบๆ ตัวเด็ก จนถึงสีของเสื้อผ้าที่ เด็กสวมใส่... เด็กที่ตื่นเต้นง่ายควรให้แวดล้อมและแต่งตัวด้วยสีแดงและสีเหลืองอม แดง ส่ ว นเด็ ก เซื่ อ งซึ ม ควรให้ แ วดล้ อ มด้ ว ยโทนสี น้ำ � เงิ น หรื อ สี เ ขี ย วอม น้�ำ เงิน ทีส่ �ำ คัญคือสีคตู่ รงข้าม (Complementary Colour) ทีถ่ กู สร้างสรรค์ ขึ้นภายในเด็ก กรณีของสีแดง สีคู่ตรงข้ามคือสีเขียว ส่วนคู่สีน้ำ�เงิน คือ สีเหลืองอมส้ม๒ ทันทีที่ย่างเข้าสู่วัยเรียน เด็กส่วนใหญ่จะเลือกสีแดงอมเขียวและเขียวอม แดง บ่อยกว่าสีน้ำ�เงินอมเหลืองและเหลืองอมน้ำ�เงิน เด็กวัยนี้ยังอาจ เปลี่ยนสีโปรดของตนจากสีเดิมที่เคยชอบด้วย อย่างแม่ของเด็กคนหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า นานทีเดียวที่สีเขียวเป็นสีโปรดของลูกสาว จนเมื่ออายุย่าง เข้าหกขวบ ลูกสาวบอกเธอว่าชอบสีแดง สิ่งนี้อธิบายให้เห็นถึงความจริงที่ ว่า ช่วงแรกเด็กจะรู้อารมณ์สีคู่ตรงข้ามได้ดีกว่าสีภายนอกที่ตาเห็น และ เมื่อกาลเวลาผ่านไป เด็กโตขึ้น สัมผัสรับรู้ของเด็กก็จะเป็นอย่างเดียวกับที่ ผู้ใหญ่ทั้งหลายเป็นกัน ๑๔
ระบายสีที่หัวใจเด็ก
สีสะท้อนคุณธรรม ในชีวิตปกติทั่วไปเราไม่เคยคิดถึงสีอย่างเป็นตัวตนอิสระ เราชินกับการ มองสีสันว่าเป็นเพียงคุณสมบัติส่วนหนึ่งของวัตถุ อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติ แท้จริงของสีย่อมเปิดเผยแก่ดวงตาจิตวิญญาณ เกอเธ่ (Johann Wolfgang von Goethe) เรียกสิ่งนี้ว่า ‘สีสะท้อนคุณธรรม’ หรือตามที่อิสต์เลค (Eastlake) แปลไว้ว่า ‘ผลของสีที่เชื่อมโยงกับคุณธรรม’ ข้อความจาก ทฤษฎีสีของเกอเธ่ (Goethe’s Theory of Colours) ต่อไปนี้ช่วยให้เรา เข้าใจถึงความมีชีวิตของสี: สีที่ให้ความรู้สึกรุกเร้า ได้แก่ สีเหลือง เหลืองอมแดง (ส้ม) สีแดงอมเหลือง (แดงตะกั่ว ซินน์นะบาร์) ให้ความรู้สึกถึงความรวดเร็ว ความมีชีวิตชีวา ความทะเยอทะยาน สีเหลือง สี เ หลื อ งเป็ น สี ที่ ใ กล้ เ คี ย งกั บ แสงมากที่ สุ ด ปรากฏให้ เ ห็ น ได้ ด้ ว ยการ คลี่คลายของแสงอันบางเบา ไม่ว่าจะมองผ่านวัสดุกึ่งโปร่งแสงหรือมอง ภาพสะท้อนเรื่อๆ บนพื้นขาว การทดลองแยกแสงด้วยแท่งแก้วปริซึม สี เหลืองจะขยายตัวออกโดดๆ เป็นแถบกว้างในพื้นที่สว่าง และที่กึ่งกลาง ระหว่างขอบขั้วบนล่างที่แยกห่างจากกัน สีเหลืองที่เห็นจะบริสุทธิ์และ สวยงามที่สุด ก่อนจะไปผสมผสานกับสีน้ำ�เงินเกิดเป็นสีเขียวขึ้นมา สีสะท้อนคุณธรรม
๑๕
ความอุ่นน่าประทับใจนี้อาจสัมผัสได้ด้วยการมองทิวทัศน์รอบกาย ผ่าน กระจกสีเหลือง โดยเฉพาะวันท้องฟ้าหม่นในฤดูหนาว ดวงตาของเราจะ ฉายประกายความยินดี หัวใจพองโต สดชื่น รู้สึกราวแสงเรืองรองโอบล้อม เราขึ้นมาทันใด หากว่า สีเหลืองในภาวะบริสุทธิ์สดใสให้ความรู้สึกอ่อนโยน พึงพอใจ ปีติ ยินดี และให้ความสงบสง่าในภาวะสูงสุด ในทางตรงกันข้าม สีเหลืองจะ เอนไปในทางไม่ดีและให้ความรู้สึกไม่น่าพอใจ หากสีเหลืองถูกปนหรือ โน้มไปทางด้านลบ ดังเช่นสีเหลืองออกเขียวของกำ�มะถันจะให้ความรู้สึก ที่อึดอัด สีเหลืองอมแดง ในเมื่อไม่มีสีใดสามารถอยู่คงตัวนิ่งๆ ได้ เราจึงสามารถแต่งเติมสีเหลือง ให้มีความเป็นสีแดงได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ปรับความเข้มหรือความมืด พลังของสีก็จะเพิ่มมากขึ้น และปรากฏออกมาอย่างทรงพลัง เด่นสง่ามาก กว่า ดังเช่นสีเหลืองอมแดง สีแดงอมเหลือง สีแดงอมเหลืองนี่มีพลังกระตือรือร้นสูงสุด อย่าแปลกใจหากคนมุทะลุ วู่วาม กำ�ยำ�เข้มแข็ง ขาดการอบรมบ่มนิสัย จะชอบสีแดงอมเหลืองนี้เป็น พิเศษ เวลาที่เราปล่อยให้เด็กระบายสีภาพตามลำ�พัง เขาไม่เคยยั้งที่จะใช้ สีแดงส้ม (Vermillion) เลย สีที่เป็นฝ่ายรับ ได้แก่ สีน้ำ�เงิน น้ำ�เงินอมแดง และสีแดงอมน้ำ�เงิน ให้ ความรู้สึกกระสับกระส่าย อ่อนไหว และกระวนกระวาย ๑๖
ระบายสีที่หัวใจเด็ก
สีน้ำ�เงิน เมื่อสีเหลืองมักมาพร้อมกับแสงสว่าง ก็อาจกล่าวได้ว่า สีน้ำ�เงินนำ�มาซึ่ง ความมืดมิด ท้องฟ้าเบื้องบนและทิวเขาที่อยู่ห่างไกล มักจะเห็นเป็นสีน้ำ�เงิน พื้นผิว สีน้ำ�เงินจึงเสมือนจะถอยห่างไปจากเรา สีน้ำ�เงินให้ความรู้สึกเยือกเย็น และนี่แหละที่ย้ำ�เตือนให้เรานึกถึงเงาสลัว ห้องที่ทาสีน้ำ�เงินใสแม้จะมองดูกว้างใหญ่ แต่ก็ทำ�ให้รู้สึกอ้างว้างและเย็น เยือกไปพร้อมๆ กันในห้วงเวลา สีน้ำ�เงินอมแดง เมื่อสีน้ำ�เงินค่อยขยับลึกเข้าไปในสีแดง ผลบางอย่างจะออกมาในเชิงรุก แม้สีนี้จะอยู่ในฝ่ายรับก็ตามที พลังอันน่าตื่นเต้นของสีน้ำ�เงินอมแดงต่าง จากสีเหลืองอมแดงอย่างมาก กล่าวได้ว่าให้ความรู้สึกรบกวนมากกว่า ความคึกคักร่าเริง สีน้ำ�เงินอมแดงที่อ่อนมากๆ รู้จักกันในชื่อ สีม่วงอ่อน (Lilac) ซึ่งแม้จะให้ ความรู้สึกมีชีวิตชีวา แต่ก็ขาดความน่ายินดี สีแดงอมน้ำ�เงิน ความรู้สึกไม่สงบจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อสีเคลื่อนต่อๆ ไป พูดได้เลยว่าพรมสี แดงอมน้ำ�เงินเข้มเป็นอะไรที่เหลือทน ถึงจะใช้เป็นสีเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย โบว์ หรือเครื่องประดับอื่นๆ ก็เถอะ ถ้าต้องการให้น่าสนใจเป็นพิเศษ ให้ เลือกใช้สีนี้ได้แต่ต้องอ่อนจางมากๆ
สีสะท้อนคุณธรรม
๑๗
สีแดง สีนี้ส่งผลเป็นพิเศษตามธรรมชาติของมัน น่าประทับใจในความสง่าจริงจัง ทั้งยังงดงามดึงดูดใจได้ด้วย อารมณ์แรกเมื่อเป็นสีเข้ม และอารมณ์หลัง เมื่อสีอ่อนจาง ทั้งความภูมิ ฐานของผู้ใหญ่และความอ่อนหวานน่ารักของ วัยรุ่น ทั้งสองวัยอาจเสริมแต่งได้ด้วยสีเดียวกัน เพียงแต่ปรับความอ่อน เข้ม กระจกสีแดงทำ�ให้ทิวทัศน์สว่างใสกลายเป็นน่าสะพรึงกลัว จึงกระตุ้น อารมณ์หวั่นหวาด สีเขียว ถ้าสีเหลืองกับสีน้ำ�เงิน ซึ่งเป็นสีพื้นฐานและธรรมดาที่สุด ผสมกัน สิ่งแรก ที่ปรากฏทันที คือสิ่งที่เราเรียกว่าสีเขียว สีเขียวเป็นสีที่เห็นแล้วสบายตา ถ้าผสมสีเบื้องต้นทั้งสองในสัดส่วนที่เท่า กันไม่มากน้อยกว่ากัน สีผสมที่ได้จะส่งผลต่อดวงตาและจิตใจเสมือนหนึ่ง สีพื้นฐานสีหนึ่ง๓
๑๘
ระบายสีที่หัวใจเด็ก
ทำ�ไมประสบการณ์สีในแนวนี้จึงมีความสำ�คัญต่อมนุษย์ และยิ่งสำ�คัญ เป็นพิเศษสำ�หรับเด็กที่กำ�ลังเติบโต เพราะโลกภายในกับโลกภายนอกของ เด็กเล็กนั้นแทบจะไม่แบ่งแยกกันเลย เด็กไม่เพียงรับรู้สีเท่านั้น พวกเขายัง สัมผัสถึงคุณภาพของสีอีกด้วย ความรู้สึกในเด็กสัมผัสธรรมชาติแท้จริง ของสีได้ และรู้สาระนามธรรมของสี ความสามารถนี้จะหายไปเมื่อเด็กโต ขึ้น และเมื่อเข้าสู่วัยเรียน เด็กสัมผัสประสบการณ์สีแค่เป็นเพียงคุณสมบัติ ส่วนหนึ่งของวัตถุ (ลูกบอลสีน้ำ�เงิน หลังคาสีแดง ฯลฯ) แล้วความสามารถ ที่จะสัมผัสความแตกต่างของสีกับผลของมันก็จะลดลง ดวงตาแห่งจิต วิญญาณไม่พัฒนาต่อไป บ่อยครั้งที่เด็กเล็กรู้สึกด้วยตนเองว่าสีแดงและสี เหลืองเป็นสีอบอุ่น ส่วนสีเขียวและสีน้ำ�เงินเป็นสีเย็น แต่ทันทีที่เด็กเติบโต ขึ้น พวกเขาไม่ได้สัมผัสกับประสบการณ์นี้อย่างเต็มที่อีกเลย ทำ�ให้ความ สามารถนี้กลายเป็นภูมิรู้ที่ตายซากเข้าถึงได้ยาก รูดอล์ฟ สไตเนอร์จึงแนะนำ�ครูให้ปล่อยเด็กมีชีวิตและทำ�งานอยู่ในโลก ของสีเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ให้เด็กอบอาบอยู่กับธรรมชาติแห่งความ รู้สึกนั้น ดังที่เกอเธ่ได้กล่าวไว้ในทฤษฎีสี:
สีสะท้อนคุณธรรม
๑๙
เกอเธ่ให้เราสนใจอารมณ์ของสีที่รุกเร้าอยู่ในตัวเรา เขาชี้ให้เห็นธรรมชาติ อันท้าทายของสีแดง คำ�สอนของเขาเน้นว่าจิตวิญญาณจะรู้สึกอย่างไร เมื่อเห็นสีแดง ซึ่งเกินไปกว่าที่ดวงตาเห็น เขายังได้พูดถึงความนิ่งและ ความลึกซึ้งที่จิตวิญญาณรู้สึกเมื่อได้สัมผัสสีน้ำ�เงิน เราสามารถนำ�สีสันสู่ เด็กๆ ได้ในลักษณะที่จะทำ�ให้พวกเขาได้สัมผัสประสบการณ์อย่างเป็น ธรรมชาติ กับความรู้สึกอ่อนเข้มที่เกิดจากสีต่างๆ เข้าใจสีสันชีวิตภายใน ของตนได้๔ ทฤษฎีสีของเกอเธ่ชี้ถึง ‘ความสัมพันธ์ระหว่างสีกับความรู้สึกที่เสริมสร้าง พลังชีวิต’๕ คนตาบอดก็สามารถมีประสบการณ์กบั สีสะท้อนคุณธรรมได้เช่นกัน เฮเลน เคลเลอร์ (Helen Keller) เคยเขียนไว้ว่า ‘คนตาดีทั้งหลายผิดถนัดที่คิดว่า คนตาบอดไม่เห็นความงามของสี’๖ เอซูล่า เบิร์คฮาร์ด (Ursula Burkhard) นักประพันธ์หญิงตาบอดอธิบายไว้ว่า เธอสามารถกำ�หนดรูปแบบภาพ ลักษณ์ที่ต่างกันของแต่ละสี โดยเฉพาะในเทพนิยาย และเธอเรียนรู้ที่จะมี ประสบการณ์ภายในกับสีได้อย่างไร:
๒๐
ระบายสีที่หัวใจเด็ก
นิทานพื้นบ้านง่ายๆ บอกฉันมากมายเกี่ยวกับเรื่องของสี ตอนแม่เลี้ยงใจ ร้ายของสโนว์ไวท์เปลี่ยนเป็นสีเหลืองด้วยแรงริษยา มันต้องเป็นสีเหลือง พิษอย่างแน่นอน ซึ่งต่างกับสีเหลืองของฝักข้าวโพดที่งอกงาม และหลาย อารมณ์ที่สีแดงปรากฏใน ‘สโนว์ไวท์กับกุหลาบแดง’! มีสีแดงละเอียด อ่อนของดอกไม้ที่แย้มบานอยู่ในพุ่มกุหลาบ และสีแดงมีชีวิตชีวาของผล เบอร์รี่ในป่า สีแดงชั่วร้ายลุกโพลงบนใบหน้าของคนแคระตอนพวกเขา โมโห ท้องฟ้าสีแดงฉายแสงยามเช้าอย่างให้ความหวังอยู่เหนือหน้าผาที่ นางฟ้าคอยดูแล เด็กๆ ที่ค้างแรมอยู่กลางป่าตลอดคืน หรือสีแดงอัสดง เมื่อโอรสของพระราชาพ้นคำ�สาปที่ต้องกลายเป็นหมี และตอนนี้ขึ้นครอง ราชย์เป็นกษัตริย์รายรอบด้วยสีแดง ขนหยาบๆ สีดำ�ถูกแทนที่ด้วยฉลอง พระองค์คลุมสีแดงอมม่วง สีแดงน่าเกรงขามสมเกียรติพระราชา๗ เด็กๆ สามารถสัมผัสประสบการณ์สีจากเทพนิยายเหล่านี้ ที่จะมีส่วนช่วย เสริมสร้างความคุ้นเคยและความสัมพันธ์อันใกล้ชิดลึกซึ้งกับสีทั้งหลายนี้
สีสะท้อนคุณธรรม
๒๑
๒๒
ระบายสีที่หัวใจเด็ก