PERSPECTIVE
IMAGE, May 2013 Vol. 26
088 ● IMAGE MAY 2013 ●
MATTEO PISTONO The Pilgrim’s Quest เรื่อง โคลญ่า ภาพ จิระวุฒิ ศิริจันทร์
การเดินทางมักพาเราไปพบสิ่งที่ไม่คาดหมาย การแสวงหา-หากไม่หลงทางเสียก่อน มักเป็นว่า แท้จริงแล้ว สิ่งที่หารอการพบอยู่ที่ธรณีใจ การจาริกแสวงบุญในทิเบตของ แมทเตโอ พิสโตโน มีบทตอนคล้ายกันนี้ ต่างที่ว่าสิ่งที่ไม่คาดหมายและสิ่งที่พบ ไม่ใช่แค่ประสบการณ์ของคนๆ หนึ่ง แต่เป็นหน้าต่างบานโต ที่พาเราไปรับรู้แง่มุมมากมาย ที่ถูกผนึกปิดอยู่บนดินแดนหลังคาโลก
IMAGE, May 2013 Vol. 26
ลองเสิรช์ ชือ่ แมทเตโอ พิสโตโนใน YouTube คุณจะพบคลิปสารคดีสั้นชื่อ In the Shadow of the Buddha เปิดเรื่องด้วยภาพโยคีหนุ่มอเมริกัน ผมยาว ไว้เคราแพะ นั่งปฏิบัติกรรมฐานในห้อง เล็กๆ เพียงแวบเดียวที่เห็น คุณแทบจะได้กลิ่น ก�ำยาน แว่วเสียงภาวนา ‘โอม มณี ปัทเม หุม’ รับ รู้ได้ถึงความหนาวเข้ากระดูก และสะดุดใจกับ แววตาที่มุ่งมั่นคมกริบ ช่วงสายวันอาทิตย์ปลายเดือนมีนาคม ที่ สยามสมาคมบนถนนอโศก หนุ่มอเมริกันวัยต้น 40 เดินมาค้อมตัวทักทาย ผมและเคราตัดสั้นจน จ�ำไม่ได้ว่าเป็นคนๆ เดียวกับภาพที่เห็นในวิดีโอ สูทสีเบจกับย่ามพระสีเข้ม บวกกับการไม่ปฏิเสธ ที่จะเข้าร้านกาแฟแฟรนไชส์ ท�ำให้เราเบาใจว่าคู่ สนทนาไม่ใช่โยคีเคร่งศีล การมาเมืองไทยครั้งนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในครั้งที่ นับไม่ถ้วน แมทเตโอเดินทางเพื่อมาร่วมงานเปิด ตัวหนังสือ ‘ใต้ร่มแห่งพุทธะ’ ฉบับแปลภาษาไทย ของ In the Shadow of the Buddha ที่เขาเป็น ผู้เขียน ใต้ร่มแห่งพุทธะเป็นเรื่องราวที่ตัดสลับไป มาระหว่างประสบการณ์การจาริกแสวงบุญใน ทิเบตของแมทเตโอ ระหว่างปี 1999-2008 กับ ประวัติชีวิตของเตอร์เติน โซเกียล เลรับ ลิงปะ (1856-1926) นักพรตผู้มีอดีตเป็นโจรบนหลังม้า
ก่อนจะหันมาปฏิบัติธรรม เป็นครูและที่ปรึกษา ทางการเมื อ งขององค์ ท ะไลลามะที่ 13 แปล และถ่ายทอดจากต้นฉบับภาษาทิเบต พิมพ์จาก แม่พิมพ์ไม้ที่ถูกเก็บซ่อนอยู่ในวัดคัลซัง แคว้น ญารง ทางทิเบตตะวันออก ตามคติพุทธวัชรยานของทิเบต เตอร์เติน โซเกียลเป็นนิรมาณกายหรือผู้กลับชาติมาเกิด ที่สืบทอดมาของดอร์เก ดุจจม ลูกศิษย์ขององค์ ปัทมสมภพผูเ้ ป็นต้นธารของพุทธศาสนาในทิเบต แมทเตโอเป็นหนุ่มอเมริกันจากรัฐไวโอมิง โตมาในครอบครั ว โรมั น คาทอลิ ก เคยท� ำงาน รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และงานการเมืองระดับ ท้องถิ่น เขาสัมผัสพุทธศาสนาวัชรยานครั้งแรก ในเนปาล ในปี 1994 และในการเดินทางคราว เดียวกัน เขาเข้าฟังธรรมเทศนาขององค์ทะไลลามะที่ 14 ที่ธรรมศาลา อินเดีย และรับปณิธาน โพธิสัตว์ หรือการอธิษฐานอุทิศตัวเพื่อประโยชน์ สุขของสรรพสัตว์ไปทุกภพชาติ ทั้งที่ยังไม่รู้ความ หมายโดยถ่องแท้ การเดินทางต่างมิติเ วลามาบรรจบ เมื่อ แมทเตโอมีโอกาสได้เรียนกรรมฐานกับโซเกียล ริมโปเช หนึ่งในนิรมาณกายสองคนของเตอร์เติน โซเกียล ผูเ้ ขียนหนังสือ The Tibetan Book of Living and Dying และผูก้ อ่ ตัง้ ศูนย์ปฏิบตั ธิ รรมริกปะ ภาพถ่ายของเตอร์เติน โซเกียลเป็นเสมือน
แม่เหล็กดึงดูดให้แมทเตโอเดินทางไปทิเบต แต่ ความมุ่งหมายของเขาที่จะเดินตามรอยเท้าและ สืบค้นชีวประวัติของนักพรตท่านนี้ พลิกผันและ ชักน�ำเขาไปสูพ่ นั ธกิจลับของการน�ำหลักฐานการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เจ้าหน้าที่จีนกระท�ำต่อ ชาวทิเบต ออกมาเผยแพร่ให้โลกข้างนอกรับรู้ พร้อมกับน�ำสาส์นจากองค์ทะไลลามะที่ 14 ไป มอบแก่ลามะส�ำคัญบางท่าน ตลอดสิบปีของการเดินทางเข้าออกทิเบต แมทเตโอใช้กาฐมาณฑุเป็นเบสแคมป์ ในช่วงปี แรกๆ เขาท�ำงานเป็นนักข่าวอิสระเพือ่ เป็นเหตุผล ใช้ขอวีซ่าเข้าประเทศเนปาล แต่ช่วงหกปีหลัง เขาค้นพบว่า ‘แจ็กแดเนียลส์สามขวด’ คือเหตุผล ที่พอเพียงส�ำหรับการอนุมัติต่ออายุวีซ่ารายปี “ตลอดสิบปี มีงานเขียนแค่ชิ้นเดียวที่ผมใช้ ชื่อจริง เพราะไม่ต้องการให้รัฐบาลจีนรู้ว่ามีใคร บางคนในเนปาลเขียนเรื่องเกี่ยวกับทิเบต ส่วน ใหญ่จะใช้นามแฝง ไม่ก็ส่งต่อให้คนอื่นน�ำไปใช้ เป็นข้อมูล” เมนูบรันช์สลัดทูน่าโรยขนมปังกรอบชาม โต ก�ำลังปิดท้ายด้วยมอคค่าร้อนๆ เสียงสนทนา ในร้านกาแฟดูอื้ออึงขึ้น หลายคนคงตื่นเต็มตา หลังจากท้องอิ่มพอสบาย และได้กาเฟอีนกลั่น สดมากระตุ้น บทสนทนาที่โต๊ะเราก็เช่นกัน ●
IMAGE MAY 2013
●
089
คิดว่าการที่คุณได้มาสัมผัสกับพุทธศาสนา เป็นเหตุบังเอิญหรือไม่ ผมมองว่าเป็นการท�ำงานของกรรม ไม่ใช่ เหตุบังเอิญ ครอบครัวผมเป็นโรมันคาทอลิก และ ผมก็เรียนศาสนามาแต่เด็ก เคยเป็นเด็กหน้าแท่น บูชาคอยช่วยบาทหลวงท�ำพิธี แต่ไม่มอี ะไรโดนใจ หรือเข้าหัวเลย แต่พอได้มาศึกษาพุทธศาสนา ทุก เรือ่ งไม่วา่ หลักปฏิจจสมุปบาท อริยสัจสี่ หรือหลัก ธรรมเรื่องกรรม ช่างฟังเป็นเหตุเป็นผลส�ำหรับผม ครั้งแรกที่ไปเนปาล คุณไปเพราะอะไร ผมคิดจะเรียนปริญญาโทสาขามานุษยวิทยาและสนใจชาติพันธุ์ในเขตหิมาลัย จึงเลือก เนปาล แล้วก็มีเหตุผลเฉพาะหน้า อยากไปให้ พ้นๆ จากอเมริกา ท�ำไมคะ หนีผลการเลือกตั้ง ครอบครัวเราสนับสนุน เดโมแครต ผมเองช่วยงานรณรงค์หาเสียงให้กับ ผู้สมัครท้องถิ่นพรรคเดโมแครต แล้วรีพับลิกัน ชนะแบบปูพรม ตอนนั้นปี 1994 ถ้าคุณพอจะจ�ำ ได้ รีพับลิกันก�ำลังกลับมาเป็นเสียงข้างมาก ผม เซ็งมาก รับไม่ได้ว่าคนเขาตัดสินใจเลือกแบบนั้น
จนกระทั่งผมไปเนปาลและให้หมอพื้นบ้านรักษา โดยการใช้เข็มเจาะที่ปลายนิ้วเท้าบีบเอาเลือด ออกมา รักษาด้วยวิธีนี้อยู่เป็นอาทิตย์ถึงหาย ช่วยเล่าให้ฟังหน่อย ว่าอะไรคือแรงดึงดูดให้ คุณไปจาริกแสวงบุญในทิเบต ชว่ งทีผ่ มเรียนปริญญาโทในลอนดอน และมี โอกาสได้ศกึ ษาธรรมะกับโซเกียล ริมโปเช ผมเกิด อยากรูเ้ รือ่ งราวชีวติ ของเตอร์เติน โซเกียล นักพรตผู้ ยิง่ ใหญ่ของทิเบต ผูเ้ ป็นครูและทีป่ รึกษาทางการเมืองขององค์ทะไลลามะที่ 13 ท่านเป็นชาติที่ แล้วของอาจารย์ผม เตอร์เติน โซเกียลมีนิรมาณกายสองคน พูดง่ายๆ คือท่านกลับมาเกิดเป็นคน สองคน ซึง่ ถือเป็นกรณีหายากแม้ในทิเบตเอง คน หนึ่งคืออาจารย์ผม-โซเกียล ริมโปเช หลังจีนยึด ครองทิเบต ท่านได้ลภี้ ยั ออกมาและท�ำงานเผยแผ่ พระธรรมอยู่นอกประเทศ อีกคนหนึ่งคือเคนโป จิกเม พุนช็อก ท่านก่อตัง้ ค่ายชาวพุทธขึน้ ทีล่ ารุง และเป็นเสาหลักที่ค�้ำจุนพุทธศาสนาในทิเบต แล้วท�ำไมคุณต้องดั้นด้นไปถึงโน่น ในเมื่อ อาจารย์ของคุณก็คือเตอร์เติน โซเกียลกลับ ชาติมาเกิด และอยู่ใกล้แค่เอื้อม
การกลับมาตั้งนิ่งอยู่ที่จิตคือการจาริกแสวงบุญที่ลึกซึ้งที่สุด เป็นการ จาริกสู่ด้านใน แต่กว่าจะเข้าใจ บางทีเราต้องเดินทาง เป็นหนทางไกลๆ อย่างผมเองเพื่อที่จะเข้าใจ ผมต้องเดินทางไปกลับทิเบตกว่า 20 เที่ยว เป็นเวลาร่วมสิบปี
แม้แต่โซเกียล ริมโปเชหรือคะ ท่านเล่าได้ แต่ท่านไม่ค่อยพูดถึงอดีตชาติ เท่าไร คงเพราะเห็นว่าปัจจุบันต่างหากที่ส�ำคัญ แต่นั่นละ งานของท่านคือสอนธรรมะและปฏิบัติ ธรรม ไม่ใช่คอยเล่าให้ใครฟัง ว่าในอดีตชาติท่าน เป็นโยคีไว้ผมเดรดล็อก เคยร่วมแก๊งโจรบนหลัง ม้า ก่อนจะหันมาปฏิบตั ธิ รรม เมือ่ ผมบอกว่าอยาก ไปทิเบตเพือ่ จาริกแสวงบุญ ตามรอยเท้าของท่าน เตอร์เติน โซเกียล ริมโปเชบอกว่าจงท�ำในสิ่งที่คิด ว่าต้องท�ำ แต่บอกด้วยว่าถึงทีส่ ดุ แล้ว การหวนคืน สู่เนื้อแท้ของจิตคือการจาริกแสวงบุญที่ยิ่งใหญ่ ทีส่ ดุ ตลอดเวลาสิบปีทผี่ มเข้าออกทิเบต โซเกียล ริมโปเชก็อาจคิดว่า อืมม์...แมทเตโอออกจะเสีย เวลาไปกับเรื่องนี้ ท�ำไมไม่รู้จักอยู่นิ่งๆ แล้วฝึก สมาธิ แต่ทา่ นมีเมตตากับผมมาก และคอยให้พร ตอนนี้ ผมเข้าใจสิ่งที่ท่านพูดแล้ว การกลับ มาตั้งนิ่งอยู่ที่จิตของเราคือการจาริกแสวงบุญที่ ลึกซึง้ ทีส่ ดุ เป็นการจาริกสูด่ า้ นใน แต่กว่าจะเข้าใจ บางทีเราก็ต้องเดินทางเป็นหนทางไกลๆ อย่าง ผมเองเพื่อที่จะเข้าใจ ผมต้องเดินทางไปกลับ ทิเบตกว่า 20 เที่ยว เป็นเวลาร่วมสิบปี การจาริก เบือ้ งนอกก็มสี ว่ นเกือ้ หนุนการจาริกด้านใน อย่าง น้อยนัน่ คือสิง่ ทีผ่ มค้นพบ การเดินทางหรือเดินเท้า จาริกแสวงบุญเป็นเหมือนเปลือก ทีห่ อ่ หุม้ ภายใน และชักน�ำให้ผมได้สัมผัสกับการจาริกด้านใน ตกลงคุ ณ ไปทิ เ บตเพื่ อ เดิ น ตามรอยครู บ า อาจารย์ ไปแสวงบุญ แล้วท�ำไมถึงกลายเป็น คนเดินสาส์นระหว่างโลกข้างนอกและชาว ทิเบต ผมจาริกไปยังสถานที่ส�ำคัญๆ ในชีวิตของ เตอร์เติน โซเกียล แต่ยิ่งผมถามผู้คนถึงเตอร์เติน โซเกียลมากเท่าไร ดูเหมือนจะยิ่งได้รับความ ไว้วางใจจากคนทิเบตมากเท่านั้น และสิ่งที่คน ทิเบตเล่าให้ผมฟัง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเตอร์เติน โซเกียลเสียเท่าไร พวกเขาต้องการบอกผมถึง ความเคารพเทิดทูนที่มีต่อองค์ทะไลลามะที่ 14 และเล่ า ให้ ผ มฟั ง ถึ ง ความทุ ก ข์ ย ากจากการที่ บ้านเกิดถูกจีนยึดครอง มันท�ำให้ผมรู้สึกขัดแย้งในใจ เพราะผม อยากไปปฏิบัติสมาธิภาวนาในถ�้ำ จาริกไปยัง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แต่กลับมาเป็นคนเดินสาส์น อย่างคุณว่า เพราะ…ผมคิดว่าผมโตมาแบบนั้น พ่อแม่อาจไม่ได้บอก แต่แสดงให้เห็นว่า เมื่อไรที่ การเมืองโดยเฉพาะเรื่องสิทธิมีปัญหา เราจ�ำเป็น ต้องแสดงออกหรือหาทางพูดถึงมัน ฉะนั้นชาว ทิเบตไม่ต้องเสียเวลาหว่านล้อมเลย ผมรู้ว่าควร ท�ำอะไร ไม่ช้าผมก็เริ่มน�ำหลักฐานการละเมิด สิทธิมนุษยชนทีช่ าวทิเบต ทัง้ พระและฆราวาสถูก กระท�ำ ออกมาให้โลกข้างนอกรับรู้ ซึง่ เป็นข้อมูลที่ ได้ทงั้ จากคนทิเบตและคนจีน และถือเป็นความลับ
IMAGE, May 2013 Vol. 26
พ่อบอกว่า โอ.เค.-เราแพ้ มาเริม่ ต้นกันใหม่ แต่ผม อยู่ไม่ไหว เลยหนีไปเนปาล พ่อคุณฟังดูใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ใช่ เ ลย ใช้ เ หตุ ผ ล ยึ ด ถื อ หลั ก การ เป็ น คาทอลิกแท้แต่ไม่แสดงออก ไม่ว่าจะเกิดอะไร ขึน้ ชีวติ ต้องไปต่อ การงานต้องเดินหน้า ถ้าต้องไป ติดเกาะหรือเครื่องบินตกกลางป่ากลางเขาที่ไหน ผมแค่ขอให้มีพ่อกับพี่ชายอยู่ข้างๆ รับรองว่ารอด ในช่วงที่เดินทางในทิเบต ผมรู้สึกเสมอว่าสิ่งที่พ่อ ปลูกฝังเรามาช่วยผมไว้มาก เพราะภูมิอากาศที่ นั่นสุดขั้วจริงๆ การเดินทางก็โหด บ่อยครั้งต้อง โบกรถชาวบ้าน นั่งไปในกระบะตอนหลัง กระเด้ง กระดอนเป็นป๊อปคอร์นทีละหลายๆ ชั่วโมง พอ รถหยุดจะรู้สึกเจ็บในช่องท้องเหมือนว่ากระเพาะ ล�ำไส้ช�้ำไปหมดแล้ว ครั้งหนึ่งผมโบกรถจากซีหนิงไปลาซา ใช้ เวลาเดินทางประมาณ 8 วัน หิมะลงหนักมาก หนาวสุดๆ เมื่อไปถึงลาซา นิ้วเท้าผมไม่มีความ รู้สึกอีกเลย และเป็นอย่างนั้นอยู่อีกเดือนเต็มๆ 090 ● IMAGE MAY 2013 ●
ไม่ รู ้ จ ะอธิ บ ายยั ง ไง ครั้ ง แรกที่ เ ห็ น ภาพ เตอร์เติน โซเกียลในลอนดอน ผมไม่รู้ด้วยซ�้ำว่า ท่านเป็นใคร เพียงแค่มองดูภาพของท่าน จิตผม ก็นิ่ง ความรู้ตัวทั่วพร้อมกระจ่างขึ้นมาทันที เ ขาหั น ไปเปิ ด ย่ า ม หยิ บ กล่ อ งไม้ ข นาด เท่าก�ำปั้นโตๆ ออกมาให้ดู เป็นกล่องเครื่องราง ศักดิ์สิทธิ์สลักลายแบบทิเบต ที่สายสะพายข้าง หนึ่งมี ‘พูร์บา’ กริชสามคมคล้องอยู่ บนบานเปิด มีภาพถ่ายขาวด�ำเข้ากรอบเหมาะเจาะ ถ่ายย่อ มาจากภาพถ่ายภาพเดียวของเตอร์เติน โซเกียล ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ในภาพเป็นนักพรตทีท่า ขรึมขลังมั่นคงดั่งขุนเขา นี่คือสิ่งที่ผมติดตัวไปด้วยเสมอ ข้างในมี เศษจีวร เต็นท์ และเส้นผมของท่านเตอร์เติน อย่างละนิดละหน่อย ส่วนพูร์บานี้เป็นสัญลักษณ์ ของการขจัดทิ้งซึ่งตัวตน อย่างที่บอกเวลามองดู รูปท่าน จิตผมจะกระจ่างเหมือนอยู่ในสมาธิขึ้น มาทันที ท�ำให้ผมอยากรู้เรื่องราวชีวิตของท่าน แต่ไม่มีใครบอกได้
ของทางการจี น ขณะเดี ย วกั น ก็ น� ำ สาส์ น จาก รัฐบาลทิเบตพลัดถิ่นและองค์ทะไลลามะไปมอบ แก่ชาวทิเบตที่อยู่ข้างใน คุณน�ำเอกสารพวกนั้นออกมาอย่างไร บางทีกซ็ อ่ นไว้ในสายเป้ทผี่ มท�ำเป็นช่องลับ ในส้นรองเท้า หรือในสิง่ ของอืน่ ๆ ท�ำแบบนัน้ อยูส่ กั 4 ปี ผมก็เริ่มเรียนรู้วิธีส่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต โดยทางการจีนไม่สามารถตรวจจับได้ ทั้งๆ ที่จีน มีระบบป้องกันแน่นหนามาก ผมเรียกมันว่า The Great Firewall of China ผมมีซอฟต์แวร์พิเศษ ติดตัวไป เวลาเข้าไซเบอร์คาเฟ่ ก็จะอัพโหลด ซอฟต์แวร์นเี้ ข้าไปในคอมพิวเตอร์ระหว่างทีใ่ ช้งาน ชั่วคราว ท�ำให้ไม่ถูกดักจับด้วยระบบอ่านและจ�ำ keystroke หรือ screen grabber ซึ่งเป็นการเก็บ ภาพที่ขึ้นมาหน้าจอ ท�ำให้สามารถเขียนรายงาน อัพโหลดข้อมูลได้โดยทีต่ ำ� รวจไซเบอร์ไม่ทนั รู้ และ อันที่จริงผมอัพโหลดข้อมูลพวกนี้ไว้ในเว็บไซต์ที่ เปิดไว้หลอกๆ สีหน้าแมทเตโอตื่นเต้น เหมือนจู่ๆ เพิ่งนึก อะไรได้ ใช่แล้ว-มันเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับศิลปะการ ท�ำอาหารไทย ผมลืมเรือ่ งนีไ้ ปเลย ไม่ได้เขียนไว้ใน หนังสือ (ใต้รม่ แห่งพุทธะ) ผมจะอัพโหลดข้อมูลไว้ ในเซ็กชัน่ ‘สูตรใหม่’ โดยตัง้ encrypted ไว้ เมือ่ ไรที่ มี new upload คนในวอชิงตัน ดี.ซี. จะรูว้ า่ มีขอ้ มูล ใหม่ เข้ามาเปิดและดาวน์โหลดข้อมูลที่ผมส่งไป แล้วคนอืน่ ทีห่ ลงมาเข้าเว็บไซต์นจี้ ะเห็นอะไร สูตรและรูปอาหารไทย (หัวเราะ) ส่วนคนที่ รูร้ หัสจะพบรายงานและภาพถ่ายกรณีการละเมิด สิทธิมนุษยชน รายชื่อผู้ต้องขัง สภาพในคุกและ ผู้ต้องขัง เรื่องเล่าจากปากของคนที่เคยถูกจ�ำคุก ถูกทรมาน ด้วยข้อหามากมายที่ไม่มีมูล ปกติคณ ุ เดินทางในทิเบตอย่างไร มีพนื้ ทีส่ ว่ น ไหนเป็นเขตหวงห้ามพิเศษหรือเปล่า ในตอนนั้น หมายถึงปี 1999-2008 โดย รวมๆ แล้วชาวต่างชาติสามารถเดินทางได้ทั่วทั้ง ทิเบต ภายใต้กฎระเบียบบางอย่าง เช่นว่าต้องไป กับกรุ๊ปทัวร์ หรือไกด์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล แต่ผมไม่ท�ำแบบนั้น ตอนเข้าผมอาจจะไปกับ กรุ๊ปทัวร์ แต่พอถึงที่ก็เดินทางต่อเอง ผมพูดทิเบต ได้และมีจดหมายแนะน�ำตัวจากอาจารย์ของผม ถ้ า เป็ น ตอนนี้ อ าจยากขึ้ น เพราะหลั ง เหตุการณ์การประท้วงเผาตัวเองของชาวทิเบต ในปี 2008 สถานการณ์ภายในทิเบตตึงเครียด ขึ้น พื้นที่หลายส่วนถูกปิด หรือกลายเป็นเขต หวงห้ามพิเศษ ที่ว่าเดินทางต่อเอง คุณไปอย่างไร บางทีรถประจ�ำทาง บ่อยครั้งโบกรถชาวบ้านไป พื้นที่ในทิเบตแบ่งกว้างๆ เป็นทิเบตชั้น นอกและชั้นใน ทิเบตชั้นในคือส่วนที่เรียกกันว่า
Tibetan Autonomous Region หรือ TAR ซึ่งมี การตั้งด่านตรวจอยู่โดยรอบ เวลาโบกรถมา ก่อน ถึงด่านสักครึง่ ไมล์ผมจะกระโดดลง แล้วเดินอ้อม เลี่ยงด่านตรวจไปอีกทาง รถจะวิ่งผ่านจุดตรวจ แล้วไปรับผมขึ้นที่อีกฟากหนึ่ง เลี่ยงด่านเพราะไม่ได้มากับกรุ๊ปทัวร์ หรือ เพราะไม่อยากเจอต�ำรวจ ทัง้ สองอย่าง การเดินทางเข้าเขต TAR ต้องมี ใบอนุญาตต่างหาก ทีล่ งรายละเอียดว่าเข้าเมือ่ ไร ออกเมือ่ ไร ซึง่ ผมไม่เคยมี เว้นแต่วา่ หนนัน้ บินตรง เข้าลาซา ประเด็นคือผมต้องการเผชิญหน้ากับ เจ้าหน้าที่ทางการให้น้อยที่สุด ไม่ได้คิดว่าจะถูก จับ แต่เจอให้นอ้ ยทีส่ ดุ เป็นดี เจอแล้วอาจต้องเล่น เกม ซื้อเหล้าบุหรี่หรือยัดเงินเสียหน่อยเป็นน�้ำมัน หล่อลืน่ ก็อาจพ้นไปได้ แต่ไม่อยากต้องท�ำแบบนัน้ แล้วเคยถูกจับไหม ไม่เคย เว้นแต่ครั้งหนึ่งที่ถูกต�ำรวจพาตัวไป สอบสวนอยู่ 4 ชั่วโมง ตอนนั้นผมเดินทางกับสามี ภรรยาคูห่ นึง่ พอถึงเกสต์เฮาส์สองคนนัน่ มีอาการ แพ้ความสูงและอาหารเป็นพิษ จู่ๆ ก็มีต�ำรวจเข้า มาสองคน บอกว่านี่เป็นพื้นที่หวงห้ามพิเศษ ต้อง เดินทางออกไปเดีย๋ วนี้ ผมก็บอกเขาว่า จะไปได้ยงั ไง เพือ่ นผมสองคนนีป้ ว่ ยมาก เขาเลยพาตัวผมขึน้ รถไปสถานีต�ำรวจ และเริ่มสอบสวน ไม่ใช่เพราะ สงสัยว่าผมถือเอกสารส�ำคัญอะไรอยู่ แต่เพราะ พืน้ ทีน่ นั้ เป็นเขตอ่อนไหวพิเศษทางการเมือง พวก นั้นทั้งขู่ทั้งปลอบ ผลัดกันเล่นบทต�ำรวจดีต�ำรวจ ร้ายท�ำสงครามประสาท คนหนึ่งยืนคุมเชิงสูบ บุหรี่ อีกคนเอาแต่ตะโกนใส่ผม ส่วนต�ำรวจหญิง ที่เป็นล่ามก็คอยปลอบ จี้จุดแต่ว่าสารภาพความ ผิดมาเถอะ ผมได้แต่บอกเขาว่า ผมนับถือพุทธ เดินทางมาแสวงบุญ ในที่สุดก็ต้องจ่ายค่าปรับ แล้วถูกปล่อยตัว จริงๆ แล้ว ตอนนั้นมีหลักฐานอะไรอยู่กับตัว หรือเปล่า มีครับ เป็นหนังสือราชการที่ได้มาจากเขต คัม ซ่อนอยู่ในสายเป้ แต่ไม่คิดว่าพวกนั้นรู้เลย ไม่ได้ตื่นตกใจ ประสบการณ์ครั้งนั้นท�ำให้ผมรู้ ว่า หลักปฏิบัติของเจ้าหน้าที่พวกนี้ คือการท�ำให้ คุณกลัว แล้วบอกว่าคุณต้องท�ำอะไร ในท�ำนอง เดียวกัน รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ของจีน และ เจ้าหน้าทีด่ า้ นความมัน่ คง ก็มเี ครือ่ งมือเพียงอย่าง เดียวในการรับมือกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยทางการเมือง นัน่ คือการกดข่ม ปราบปราม และเราก็เห็นแล้วว่า ยิ่งรัฐบาลจีนบีบบังคับคนทิเบตเท่าไร เขาก็จะยิ่ง ลุกฮือขึ้นต่อต้าน เช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดในซินเกียง ฉะนั้น การประท้วงเผาตัวในทิเบตที่เกิดขึ้น เป็น ผลพวงจากนโยบายทีผ่ ดิ พลาดของรัฐบาลจีนเอง ไม่ใช่เพราะแรงกระตุ้นหรือยุยงจากภายนอก ไม่ใช่เลย เพราะสาส์นจากข้างนอกคือเรียก-
ร้องพวกเขาไม่ให้กระท�ำเช่นนัน้ บางคนอาจสงสัย ว่าท�ำไมจีนถึงอยากได้ทิเบตนัก เหตุผลส�ำคัญ คือ หนึ่ง-ในแง่ยุทธศาสตร์ ทิเบตเป็นดินแดนที่ สูงที่สุดในโลก แล้วยังมีชายแดนติดกับประเทศ ต่างๆ มากมาย สอง-ดินแดนแถบนี้เต็มไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาติที่ส�ำคัญ อย่างสินแร่ที่ใช้ใน การผลิตคอมพิวเตอร์ ทองค�ำ เงิน และเป็นต้นน�้ำ ของแม่น�้ำนานาชาติส�ำคัญถึง 6 สาย ในระดับชาวบ้านล่ะ เท่าทีเ่ ห็น ชาวจีนกับชาว ทิเบตอยู่ร่วมกันด้วยดีหรือไม่ มี ค วามตึ ง เครี ย ดในแง่ เ ชื้ อ ชาติ อ ยู ่ บ ้ า ง แต่ มั น เกิ ด จากการที่ ท างการจี น ชอบพู ด ว่ า ใช้ งบประมาณไปมากเท่าไรในการพัฒนาสาธารณูปโภค ในทิเบต ซึ่งก็จริง แต่พูดได้เลยว่ามุ่งให้ประโยชน์ แก่ชาวจีนฮั่นที่อยู่ในทิเบตมากกว่าชาวทิเบต เอง ตัวอย่างเช่นทางรถไฟเชื่อมต่อโกมุท-ลาซา ที่จีนใช้เงินไม่รู้กี่พันล้านเหรียญ เหตุผลหลักๆ ที่ ส ร้ า ง ก็ เ พื่ อ เป็ น ช่ อ งทางเคลื่ อ นย้ า ยก� ำ ลั ง พลเข้าไปยังทิเบตตอนกลาง และเพื่อล�ำเลียง ทรัพยากรธรรมชาติออกมาได้สะดวก ไม่ใช่เพื่อ ประโยชน์ของคนทิเบตอะไรเลย แน่นอน คนทิเบต อาจอาศัยเดินทางไปซีหนิงหรือที่อื่นๆ ได้สะดวก ขึ้น แต่แรงจูงใจส�ำคัญไม่ใช่ตรงนั้น ชาวจีนฮัน่ ย้ายถิน่ ไปทิเบตก็ดว้ ยเหตุผลทาง เศรษฐกิจเป็นหลัก เพราะไม่มีงานท�ำหรือไม่มี ช่องทางท�ำกินในท้องถิ่นตัวเอง และโดนทางการ โฆษณาชวนเชื่อว่า พวกเขาคือก�ำลังส�ำคัญที่จะ เข้าไปช่วยพัฒนาทิเบตให้เจริญก้าวหน้า และชาว ทิเบตควรเปลีย่ นวิถชี วี ติ ทีล่ า้ หลังมาเอาเยีย่ งอย่าง ชาวฮั่น แต่พวกเขาก็อยู่ในทิเบตโดยไม่มีความ สุข ต้องท�ำงานหนัก และมักจะปวดหัวรุนแรง เพราะแพ้ความสูงของพื้นที่ ไม่มีใครคิดปักหลัก ถาวร ส่วนใหญ่คิดว่าไปท�ำงานเก็บเงินสัก 5-10 ปี แล้วก็กลับบ้าน แล้วชาวทิเบตรุ่นใหม่ล่ะ ยังมีความเคารพ เทิ ด ทู น องค์ ท ะไลลามะมากน้ อ ยแค่ ไ หน เพราะเกิดมาโดยไม่มีโอกาสเห็นท่าน และ อาจรูแ้ ก่ใจว่าชัว่ ชีวติ ของพวกเขา ทะไลลามะ อาจจะไม่ได้เสด็จกลับทิเบต จริงอย่างคุณว่าชั่วชีวิตคนๆ หนึ่งแทบจะ ผ่านไป เพราะทะไลลามะเสด็จลี้ภัยมากว่า 50 ปีแล้ว แต่ความเทิดทูนศรัทธาในหัวใจของชาว ทิเบตหยั่งลึกและแรงกล้ามาก ผมคิดว่าแม้แต่ เวลาก็ไม่สามารถท�ำให้ลบเลือนได้ คนรุ่นใหม่ ก็เช่นกัน ถึงจะพูดจีน เกิดมาโดยไม่รู้จักค�ำว่า อิสรภาพ ต้องก้มหน้าก้มตาท�ำมาหากิน แต่ทุก ที่ที่ผมไปในทิเบต สิ่งแรกที่คนจะถามคือ คุณ เคยเห็นองค์ทะไลลามะไหม และถ้าผมมีอะไรที่ ใกล้ชิดหรือเกี่ยวกับทะไลลามะ เขาจะยกทูนหัว แล้วก้มกราบ
IMAGE, May 2013 Vol. 26
●
IMAGE MAY 2013
●
091
IMAGE, May 2013 Vol. 26
092 ● IMAGE MAY 2013 ●
ในการประท้วงเผาตัวในปี 2008 คุณจะ พบว่า ขณะที่ร่างผู้ประท้วงลุกเป็นไฟ สิ่งที่พวก เขาตะโกนเป็นค�ำสุดท้ายคือ ‘ขอองค์ทะไลลามะ เสด็จคืนทิเบต’ เขาเว้นวรรคเหมือนข่มความรู้สึกบางอย่าง ...ถ้ารัฐบาลจีนไม่ท�ำสิ่งนี้จะถือเป็นความ ผิดพลาดที่ใหญ่หลวงมาก นั่นคือการแก้ปัญหา ทางการเมืองทิเบต ในขณะที่องค์ทะไลลามะยัง มีชีวิตอยู่ เพราะท่านเพียงผู้เดียวที่จะสามารถ กลับไปบอกชาวทิเบตว่า ฟังนะ-เราสามารถอยู่ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของจีนได้ ถ้าไม่ท�ำพวกเขาจะ ตกรถไฟเที่ยวสุดท้าย ไม่ใช่ผมเท่านั้นที่คิดอย่าง นี้ ผู้น�ำประเทศหลายคนได้พยายามบอกจีนมา ตลอด แต่จีนไม่พร้อมที่จะรับฟัง คุ ณ เคยคิ ด ไหมว่ า ถ้ า คุ ณ ถู ก จั บ ได้ จ ะเกิ ด อะไรขึ้น ก่อนอื่นขอบอกไว้ตรงนี้ว่า ผมไม่ได้ท�ำงาน ให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ แม้ว่าบ่อยครั้งผมจะติดต่อ สื่อสารกับพวกเขาและรัฐบาลประเทศอื่นๆ แต่ ผมไม่ได้ท�ำงานให้กับรัฐบาลประเทศใด ผมเคย ท�ำงานกับสถาบันสมิธโซเนียนในอเมริกา ถ้าถูก จับและสอบสวน ผมจะบอกว่าท�ำงานกับสมิธโซเนียน ซึ่งถ้าทางการจีนติดต่อและตรวจสอบ กลับไป ข้อมูลก็จะตรงกัน แต่ผมรู้ว่าเจ้าหน้าที่ จีนจะท�ำอะไรกับผม เขาจะพยายามท�ำให้ผม กลัวอยู่สัก 2-3 วัน ไม่ยอมให้หลับให้นอน ปลุก ขึ้นมาสอบสวนครั้งละนานๆ ตอนนั้นด้วยความ ที่ถือหนังสือเดินทางสหรัฐฯ ผมไม่กลัวว่าเขาจะ ท�ำร้ายร่างกาย คงได้แต่ทำ� สงครามประสาท และ หลอกล่อว่าคนจีนหรือคนทิเบตทีผ่ มติดต่อด้วยถูก สอบสวนอยู่ในห้องข้างๆ และสารภาพหมดแล้ว ที่สุดถ้าไม่ได้เรื่องอะไรก็คงส่งตัวกลับ เคยได้ยนิ ว่าเขาใช้วธิ นี หี้ รือคาดการณ์เอาเอง ผมรู้จักชาวต่างชาติสองคนที่เจอวิธีนี้ และ เป็นเรื่องเศร้า คนหนึ่งประสาทเสียและกระโดด หน้าต่างตึกสามชั้น ตกลงมาหลังหัก อย่างไร ก็ตาม นั่นคือการคาดการณ์ของผม และนั่นคือ ช่วงก่อนหน้าปี 2008 ถ้าเป็นตอนนี้ ผมไม่แน่ใจ เพราะหลังปี 2008 และนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจ โลกถดถอย จีนผงาดขึ้นมาและมั่นใจในตัวเอง มากขึ้น ทุกวันนี้จีนเป็นเจ้าหนี้กึ่งหนึ่งของสหรัฐฯ แล้วคนทิเบตและคนจีนที่ให้ข้อมูลคุณล่ะ ถ้าถูกจับได้ พวกเขาจะเจออะไร นี่เป็นเรื่องที่ผมกังวลมากที่สุดในช่วงนั้น เพราะถ้าถูกจับ เขาจะถูกทรมาน และโดนขังลืม ถ้าไม่ถกู ประหารชีวติ เสียก่อน ผมรู้ คนทีส่ ง่ ข้อมูล ให้ผมย่อมรู้ดียิ่งกว่า เพียงแต่เราไม่พูดถึงมัน ผม จึงไม่เคยชีน้ ำ� หรือขอให้พวกเขาท�ำอะไรให้ผม ให้ เขาเป็นฝ่ายเลือก และผมเพียงแต่อยู่ตรงนั้นใน ฐานะผู้รับ
ที่ผ่านมาไม่มีอะไรเลวร้ายเกิดขึ้น ทุกวันนี้ พวกเขาเดินทางออกจากทิเบตและจีนไปใช้ชีวิต ทีอ่ นื่ หมดแล้ว และเมือ่ ผมรูว้ า่ คนสุดท้ายออกจาก จีนแล้ว ผมจึงตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ทุกวันนี้ คุณกลับไปทิเบตได้หรือไม่ ไม่ได้ครับ นับแต่วันที่หนังสือพิมพ์ออกมา และผมก็รู้ว่าจะเป็นอย่างนี้ ผมรักทิเบต รักที่จะ เดินทางไปตามที่จาริกแสวงบุญทั้งหลาย แต่คิด ว่าการเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา อาจเป็นหนทาง หนึ่งที่จะเผยแพร่เรื่องราวการต่อสู้ของทิเบต ร่วม สิบปีกับความพยายามที่จะส่งต่อข้อมูลให้กับ องค์กรสิทธิมนุษยชน รัฐบาลสหรัฐฯ และรัฐบาล ประเทศในยุโรป บ่อยครัง้ ผมอึดอัดใจทีไ่ ม่มคี วาม คืบหน้าอะไรให้เห็น ทุกวันนี้ผมเห็นว่า หากจะเกิดความเปลี่ยน แปลงใดๆ ขึน้ ในทิเบต จะต้องเกิดในจีนก่อน ไม่ใช่ จากแรงกดดันจากภายนอกหรือทิเบตเอง และ ความเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดจากชนชั้นกลางซึ่ง รวยขึ้นและเพิ่มจ�ำนวนขึ้นทุกปี ในตอนนี้พวก เขายั ง สามารถเซ็ ง ลี้ ไ ด้ โ ดยไม่ ต ้ อ งอาศั ย การ แสดงออกทางการเมือง แต่ถึงจุดหนึ่งสิ่งนี้จะ
ความมั่นคงของสหรัฐฯ สมัยนั้นน่าจะเป็น พลเอกโคลิน พาวเวลล์ ใช่ไหม อาจจะอยู่ด้วยในช่วงแรกๆ (เขาเว้นวรรค เหมื อ นสะดุ ด ความคิ ด ก่ อ นจะโพล่ ง ยอมรั บ พร้อมกับหัวเราะเสียงดัง) ใช่ครับ จนถึงจุดหนึ่ง เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ก็เรียกผม เข้าไปพบ แล้วเอารายชือ่ ชุดหนึง่ ให้ดู บอกว่าเป็น รายชือ่ คนอเมริกนั ทีต่ ดิ คุกอยูใ่ นจีน คิดว่าสัก 160 คน ส่วนใหญ่โดนคดียาเสพติด บางส่วนเป็นคดี ที่เกี่ยวกับเงิน สองเรื่อง-ยากับเงิน พวกเขาบอก ผมว่า ถ้าถูกจับและรัฐบาลจีนตั้งข้อหาหนึ่งใน สองคดีนี้ ยากที่เขาจะเอาตัวผมออกมา ฉะนั้น เขาแนะน�ำผมให้เลิกท�ำสิ่งที่ท�ำอยู่ แต่ตอนท้าย ก็หยอดว่า ถ้าในอนาคตมีข้อมูลอะไรก็ให้แวะไป คุยกับพวกเขาได้ ...ผมรูส้ กึ ว่าพวกเขาต้องการล้างมือจากผม ไม่อยากมีสว่ นรับผิดชอบใดๆ แต่กอ็ ยากได้ขอ้ มูล ถ้าใครสงสัยว่าผมเป็นซีไอเอ ก็ขอเล่าเรือ่ งนีใ้ ห้ฟงั ในเวลาเกือบสิบปีที่เดินทางเข้าออกทิเบต ตกลงว่าคุณได้ปฏิบัติธรรมอย่างที่ตั้งใจหรือ เปล่า
ผมรู้ว่าถ้าโดนจับ เจ้าหน้าที่จีนจะพยายามท�ำให้ผมกลัวอยู่สัก 2-3 วัน ไม่ยอมให้หลับให้นอน ปลุกขึ้นมาสอบสวนครั้งละนานๆ ตอนนั้น ด้วยความที่ถือหนังสือเดินทางสหรัฐฯ ผมไม่กลัวว่าเขาจะท�ำร้ายร่างกาย คงได้แต่ท�ำสงครามประสาท ที่สุดถ้าไม่ได้เรื่องอะไรก็คงส่งตัวกลับ
IMAGE, May 2013 Vol. 26 เปลีย่ น เมือ่ ใดทีโ่ ครงสร้างทางการเมืองไม่เอือ้ หรือ เปิดทางให้ท�ำหลายๆ เรื่องทางเศรษฐกิจได้ พวก เขาย่อมต้องการแสดงออกทางการเมือง และสิ่ง นี้จะน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ในช่วงที่เดินทางในทิเบต เคยมีใครสงสัยว่า คุณเป็นซีไอเอ ท�ำงานเพื่อดิสเครดิตรัฐบาล จีนบ้างหรือไม่ (นิ่ ง คิ ด ครู ่ ใ หญ่ ) ไม่ เ คยมี ใ ครบอกว่ า คิ ด อย่างนัน้ รัฐบาลอินเดียเคยทาบทามผมให้ทำ� งาน สอดแนม และเสนอจะจ่ายถ้าช่วยเก็บภาพตาม ชายแดนเนปาลและภูฏาน แต่ผมปฏิเสธ ผมไม่ ได้เป็นสายลับ ผมเพียงต้องการบอกเล่าความจริง ที แ รกผมแค่ ส ่ ง ต่ อ ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ ม าให้ กั บ องค์กรด้านสิทธิ ซึ่งส่งต่อให้กับรัฐบาลอเมริกัน สักระยะหนึ่ง สภาความมั่นคงของสหรัฐฯ ก็บอก ฝากมาว่าต้องการคุยกับผม ในที่สุด ผมก็เริ่ม เข้าไปพูดคุยและให้ข้อมูลโดยตรงกับสภาความ มั่นคงและสภาคองเกรสส์ เรียกว่าคุณเป็นคนให้ขอ้ มูลตรงแก่ผใู้ หญ่ดา้ น
ก็มีโอกาสได้ปฏิบัติ แม้จะฝันร้ายอยู่บ่อยๆ ฝันเห็นคนถูกทรมาน ถูกกระท�ำอย่างโหดร้าย แต่ผมก็ฝึกปฏิบัติมาตลอดเหมือนที่ท�ำอยู่ทุกวัน นี้ ระหว่างเดินทางในทิเบต ทุกเช้าเมื่อตื่นขึ้นมา ผมก็จะท�ำสมาธิภาวนา ไม่ว่าจะอยู่ในรถประจ�ำทาง ในถ�้ำศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานปฏิบัติธรรม แต่ ตอนนั้นผมมีความโกรธคุอยู่ในใจมากกว่าตอน นี้ ทุกวันนี้บางครั้งก็ยังโกรธ แต่มีกลวิธีในการ จัดการความโกรธมากขึ้น รู้จักตัวเองมากขึ้น เมื่อ รู้ตัวว่าตัวโกรธตั้งเค้า ผมก็จะจัดการกับมัน เฝ้าดู มันเหมือนดูหนัง รู้ว่ามันอยู่ตรงนั้น ดูไปเฉยๆ ไม่ ยุ่งกับมัน บางครั้งชนะ บางครั้งก็ไม่ แต่ก็ดีกว่าที่ จะเผลอตัวโดดเข้าไปเล่นหนังเสียเอง คุณเคยเห็นโซเกียล ริมโปเชโกรธไหม ท่านเป็นผู้มีพลังมาก เช่นเดียวกับเตอร์เติน โซเกียล ขอผมเล่าอย่างนีก้ แ็ ล้วกัน สมมติวา่ คุณมี ลูก เขาซน จะวิ่งลงไปบนถนน เตือนแล้วยังไม่ฟัง คุณอาจจะฟาดเขาสักเพียะเป็นการลงโทษและ เตือนสติ ไม่ใช่ด้วยอารมณ์ การตีนั้นเมื่อมองดู ●
IMAGE MAY 2013
●
093
จากภายนอกก็คอื การตี เป็นความรุนแรง แต่จาก มุมของคนเป็นแม่ มันมาจากความรัก ในแง่นี้ ผม เห็นว่าโซเกียล ริมโปเชเต็มไปด้วยพลังและแรงขับ ที่จะผลักดันให้ศิษย์ของท่านรุดหน้าในทางธรรม ผมบอกไม่ได้ว่าบางขณะท่านโกรธหรือเปล่า ผม อ่านใจท่านไม่ได้ และบางครั้งความโกรธก็ไม่ใช่ ความโกรธ แต่อาจเป็นความกรุณา เช่นที่แม่จะ ตีลูก ไม่ใช่เพราะอารมณ์โกรธ แต่เพราะรักอยาก ปกป้อง ผมขอเรียกว่า ‘อุบาย’ ในสายวัชรยาน เรียกสิง่ นีว้ า่ ความการุณพิโรธ (wrathful compassion) บุคลาธิษฐานที่เห็นได้ชัดคือวัชรกีลัย เทพ ปางพิโรธ มีหกกร สามพักตร์ ยืนอยู่ในเปลวเพลิง กวัดแกว่งกริชสามคมหรือพูร์บา ช่วยเล่าถึงงานของมูลนิธเิ นคอร์ปะ (Nekorpa) ที่คุณก่อตั้งให้ฟังหน่อยสิคะ เราท�ำงานอนุรักษ์และฟื้นฟูเวชนียสถาน ส�ำหรับการแสวงบุญในหลายประเทศ ผมโชคดี มีโอกาสจาริกแสวงบุญไปยังสถานที่ส�ำคัญๆ ทั้ง ในทิเบต เนปาล อินเดีย ศรีลงั กา และไทย และได้ รับประสบการณ์ทมี่ คี า่ รูส้ กึ สงบสันติทกุ ครัง้ ทีก่ ลับ
พุทธทิเบตครั้งแรกในเนปาล พร้อมกับอ่านหลัก ธรรมเรื่องกรรมและปฏิจจสมุปบาท โดยตรรกะ แล้วเรื่องนี้ฟังดูเป็นเหตุเป็นผล การที่จิตจะด�ำรง อยู่จนไปเกิดใหม่ ไม่ใช่ผมเชื่อ But it makes sense. การที่จิตอยู่ในสมาธิ ตั้งมั่น ไม่วูบไหว แม้แ ต่ใ นระหว่างการตายดับทางสังขาร เป็น สิ่งมหัศจรรย์มาก และอันที่จริง ผมปรารถนาสิ่งนี้ ในการฝึกสมาธิภาวนา เพื่อว่าจะได้ไม่หวาดกลัว ตอนก�ำลังจะตาย แน่นอนว่า ผู้รู้แจ้งอย่างทะไลลามะ หรื อ โซเกี ย ล ริ ม โปเช สมาธิ ข องท่ า น นอกจากจะไม่วูบไหวขณะที่ตาย แต่ยังสามารถ ก�ำหนดสภาวะหลังความตายได้ ว่าจะไปเกิดใหม่ ที่ใด ในปัจจัยแวดล้อมใด คุณแค่อยากให้สมาธิตั้งมั่น หรืออยากไปเกิด ใหม่ดีๆ ด้วย อย่างแรกมากกว่า คือสมาธิไม่หวั่นไหว ไม่ ได้มุ่งหวังว่าจะไปเกิดในสภาวะที่ดีกว่า เรื่องนั้น จะเป็นไปเองจากสิ่งที่ผมท�ำในตอนนี้ ในชีวิตผม สิ่งหนึ่งที่ผมภาวนาอยู่เสมอคือ ขอให้ตนเองมี คุณประโยชน์ต่อผู้ใดผู้หนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
อาจารย์ผู้สอนสมาธิภาวนาย�้ำว่า เมื่อกลับไปบ้าน อย่าเอาพุทธศาสนา ไปจิ้มใส่หน้าใคร และอย่าบอกใครว่าฝึกสมาธิ นั่นคืออย่าไปรบกวน จิตใจใครด้วยเรื่องนี้ และที่ไม่ให้บอกว่าปฏิบัติสมาธิภาวนา ก็เพือ่ ไม่ให้เกิดอีโก้ ท�ำตัวเป็นโยคี การปฏิบตั ธิ รรมเป็นเรือ่ งทีค่ วรท�ำอยูเ่ งียบๆ ธรรมะไม่ใช่สิ่งไว้แสดง อวดโอ่ หรือไว้ตัดสินผู้อื่น
เราต้องไปให้พ้นเรื่องนั้น อาจารย์ผมสอน ว่าให้ท�ำสิ่งต่างๆ อย่างมีสติ โดยไร้ซึ่งความหวัง ถึงสิ่งใด หรือความกลัวเรื่องใด จงท�ำในสิ่งที่ควร ท�ำโดยมีการุณยจิตเป็นแรงขับ ความกลัวและ ความหวังคือมาร ยากนะ เพราะคนเราย่อมมีความหวังความ คาดหมายในเรื่องที่ท�ำ ใช่ แต่ ถ ้ า เราหวั ง หรื อ คาดหมายถึ ง ผลที่ จะเกิดในอนาคต สติเราก็จะไม่ได้อยู่กับสิ่งที่อยู่ ตรงหน้า ถ้ามีใครบอกสิ่งนี้กับแมทเตโอ หนุ่มอเมริกัน จากไวโอมิง ที่ไปเนปาลเป็นหนแรกเมื่อร่วม 20 ปีก่อน เขาจะเชื่อไหม ไม่มีทาง ท�ำไมล่ะ เพราะเขาคาดหวังสิ่งหนึ่ง และกลัวผลที่ ก�ำลังเกิดขึ้น ยอมรับไม่ได้ จึงหนีมา พ่อแม่ของคุณมองเรื่องที่คุณมายุ่งเกี่ยวกับ ทิเบตอย่างไรบ้าง พวกเขาสนับสนุน ผมแนะน�ำพ่อและแม่ ให้รู้จักกับโซเกียล ริมโปเชและองค์ทะไลลามะ แม่ผมเป็นคาทอลิกที่เคร่ง แต่มีรูปทะไลลามะใส่ กรอบไว้ที่บ้าน ท่านบอกว่าเวลารู้สึกคับข้องใจ หรือโกรธ แล้วได้มองดูรปู นัน้ ท่านรูส้ กึ ปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย พวกเขาไม่มีปัญหาอะไรหรือ ที่คุณมาเป็น พุทธ ไม่เลย และผมก็ไม่ได้ประกาศตัว ตั้งแต่ คราวแรกที่ผมฝึกสมาธิภาวนาที่เนปาล สิ่งหนึ่งที่ อาจารย์ผู้สอนย�้ำคือว่า เมื่อกลับไปบ้าน อย่าเอา พุทธศาสนาไปจิม้ ใส่หน้าใคร และอย่าบอกใครว่า ฝึกสมาธิ นั่นคืออย่าไปรบกวนจิตใจใครด้วยเรื่อง นี้ และที่ไม่ให้บอกว่าปฏิบัติสมาธิภาวนา ก็เพื่อ ไม่ให้เกิดอีโก้ ท�ำตัวเป็นโยคี การปฏิบัติธรรมเป็น เรื่องที่ควรท�ำอยู่เงียบๆ ธรรมะไม่ใช่สิ่งไว้แสดง อวดโอ่ หรือไว้ตัดสินผู้อื่น ตอนที่กลับไป พ่อแม่รู้ว่าผมฝึกสมาธิ แต่ก็ ไม่ได้เป็นประเด็น พ่อมาตั้งค�ำถามตอนผมบอก ว่าจะไปเรียนปรัชญาที่ลอนดอน ว่าจบแล้วจะ ท�ำอะไร จะหางานได้หรือ และผมไม่คิดว่าพ่อ แม่เกรงหรือกลัวว่าผมจะกลายเป็นพุทธ ตรง กันข้าม แม่ออกจะชอบ ท่านรู้ว่าเช้าๆ ผมจะท�ำ สมาธิภาวนา ก็จะชงชามาวางไว้ให้ หรืออย่าง ผมเอาด้ายมงคลกลับไป แล้วไปแขวนไว้ในรถ ของพ่อ ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร ผมคิดว่าถึงที่สุดแล้ว พวกเขาอยากให้ผมมีความสุข เมื่อเห็นว่าผมพึง พอใจในตัวเองและใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย เขาก็คงจะพอใจ ไม่เห็นเป็นเรื่องของการเปลี่ยนศาสนา
IMAGE, May 2013 Vol. 26
มา ผมจึงอยากท�ำอะไรสักอย่างเหมือนเป็นการ ตอบแทน ตอนนี้ เ รามี โ ครงการบู ร ณะสถานที่ ส�ำหรับการแสวงบุญในทิเบต เนปาล และศรีลงั กา งานของเรามี 3 ลักษณะคือ หนึ่ง-งานให้ ความรู้ ในรูปของคูม่ อื ทีบ่ อกเล่าประวัตแิ ละความ ส� ำ คั ญ ของสถานที่ นั้ น ๆ สอง-งานดู แ ลสภาพ แวดล้อม อย่างเรื่องการจัดการขยะ และให้ความ รู้คนที่มา สาม-งานเสริมพลังให้แก่สถานที่ ด้วย การเชิญนักพรตและผู้ปฏิบัติธรรมให้มาบ�ำเพ็ญ ภาวนาในที่นั้นๆ ลองนึกดูว่าจะดีสักแค่ไหน ถ้าเรามีสถานที่ ให้ผู้คนได้ไปเติมพลังในเชิงจิตวิญญาณ ไปแล้ว อย่างน้อยถ้าเขากลับออกมาด้วยความรู้สึกสงบ คนรอบข้างในครอบครัวหรือแม้แต่ทที่ ำ� งาน ก็อาจ สัมผัสได้ถึงคลื่นอันสงบเย็นจากใจของเขา ครั้งแรกที่ได้ยินเรื่องการกลับชาติมาเกิด คุณ รู้สึกอย่างไร ผมเริ่มพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตอนที่เรียน 094 ● IMAGE MAY 2013 ●
หรือสรรพชีวิตทั้งหลาย พร้อมกับภาวนาว่าขอให้ เป็นเช่นนั้นในทุกๆ ชาติสืบไป ไม่เคยคิดว่าอยาก ไปเกิดในอเมริกา ทิเบต หรือที่ไหน หรือกระทั่ง แดนสุขาวดีที่อยู่ในหลักความเชื่อของมหายาน อาจารย์ผมสอนว่า ถ้าอยากรู้ว่าชาติที่แล้วเกิด เป็นใคร ให้ดูชีวิตในปัจจุบัน ถ้าอยากรู้ว่าจะไป เกิดเป็นใคร ให้ดูการกระท�ำในปัจจุบัน ฉะนั้ น เมื่ อ ย้ อ นดู ชี วิ ต ที่ เ กิ ด มา ผมมี ครอบครั ว ที่ ดี แม้ ไ ม่ ไ ด้ ร�่ ำ รวย แต่ ไ ม่ มี อ ะไร ให้ตัดพ้อ ได้เดินทาง มีเวลาปฏิบัติสมาธิภาวนา ซึ่งคนมากมายในโลกไม่มี และโชคดีมีโอกาสได้ พบพระธรรม นี่คือสิ่งบ่งบอกว่า ชาติที่แล้วผมคง ท�ำมาดีพอควร แต่นั่นไม่ใช่หลักประกันอนาคต ถ้าผมใช้ชีวิตเหลวไหล เป็นคนขี้โกรธ กดขี่คน อื่น มันก็จะส่งผลต่อภพชาติหน้า ฉะนั้นแทนที่ จะคิดเรื่องชาติหน้า กลับมาใส่ใจกับชีวิตตอนนี้ เดี๋ยวนี้จะดีกว่า แล้วถ้าคอยคิดว่าฉันคิดดีท�ำดีอยู่ล่ะ
ไม่เลย แม้แต่องค์ทะไลลามะก็เคยเตือนคน ตะวันตกเรื่องนี้ ทรงแนะน�ำไม่ให้เปลี่ยนศาสนา หรือกลับไปหมิ่นแคลนศาสนาความเชื่อเดิมของ ตัวเอง ท่านบอกว่าทุกคนสามารถปฏิบัติธรรม ได้ และถ้ารู้สึกว่าการหันมานับถือพุทธศาสนามี ความหมายต่อชีวิตคุณจริงๆ แล้วอยากเปลี่ยน ศาสนา ก็ตามแต่ใจ แต่ถ้าเปลี่ยน แล้วกลับไป หมิ่นแคลนศาสนาเดิมของตัว สิ่งนั้นจะบั่นทอน ความก้าวหน้าในทางธรรม คุณได้พบองค์ทะไลลามะเป็นการส่วนตัวครัง้ แรกเมื่อไร หลังจากที่ผมเริ่มน�ำข่าวสารข้อมูลออกมา จากทิเบต หลายครั้งผมได้เข้าพบท่านพร้อมกับ คณะผู้แทนจากสหรัฐฯ เพราะมีหน้าที่ให้ข้อมูล เกี่ยวกับสถานการณ์ในทิเบตแก่คณะผู้แทนที่มา ทะไลลามะทรงเหมือนบุคคลผู้ประเสริฐทั้งหลาย การได้อยู่ต่อหน้าท่านมักท�ำให้คุณรู้สึกปีติ บาง ครั้งท�ำให้ความคิดที่วิ่งวุ่นอยู่ในหัวคุณหยุดลง ชั่วขณะได้ แต่ท่านเอาการเอางาน ไม่ปล่อยให้ ใครมัวอิ่มบุญอยู่ได้นาน ผมว่านั่นคือจรรยาแห่ง พระโพธิ สั ต ว์ สรรพสั ต ว์ ยั ง อยู ่ ใ นกองทุ ก ข์ มี งานการอีกมากให้ต้องท�ำ ครั้งหนึ่งในการเข้าพบ ท่านให้พรผม พอเงยหน้าขึ้นมา ความรู้สึกใน ตอนนั้นเหมือนทุกอย่างหยุดนิ่ง ผมไม่รู้ว่าอยู่ใน อาการนั้นนานเท่าไร รู้สึกตัวอีกทีเมื่อท่านกระตุก เคราผมเป็นการหยอกเบาๆ เหมือนจะบอกว่า ตื่นไปท�ำงานท�ำการได้แล้ว คุณคิดว่าการที่องค์ทะไลลามะสละอ�ำนาจ ทางการเมือง ถือเป็นการทลายกรอบของขนบ จารีตเดิมของทิเบตหรือเปล่า ขนบจารีตของการมีองค์ทะไลลามะมีอายุ กว่า 400 ปี ทรงเป็นทั้งผู้น�ำทางจิตวิญญาณ และการเมืองของทิเบต เมื่อชาวทิเบตลี้ภัยมา ตั้ ง ถิ่ น ฐานในต่ า งแดน ได้ มี ก ารจั ด ตั้ ง รั ฐ บาล พลัดถิ่นขึ้น และมีกระบวนการเดินหน้าสู่ระบอบ ประชาธิปไตย ซึ่งก้าวสุดท้ายที่ส�ำคัญของการ เป็นประชาธิปไตยคือเรื่องผู้น�ำ ทะไลลามะตรัส มาก่อนหน้านีห้ ลายปีแล้ว ว่าต้องการสละอ�ำนาจ ทางการเมือง แต่ชาวทิเบตเองเป็นฝ่ายบอกว่าเรา ไม่ต้องการเช่นนั้น เหตุผลที่ท่านตัดสินใจเช่นนี้ หนึ่ง-เพื่อให้ ชาวทิเบตเป็นประชาธิปไตย และนัน่ หมายถึงการ ตัดสินใจต่ออนาคตของทิเบตเอง สอง-ถ้าผูน้ �ำทาง ศาสนาจะเป็นผูน้ ำ� ทางการเมืองด้วย ก็ควรมาจาก การเลือกตั้ง อีกแง่หนึ่ง รัฐบาลจีนมักกล่าวหา ทะไลลามะว่า ทีท่ รงท�ำมาโดยตลอดก็เพือ่ จะกลับ ไปครองอ�ำนาจและปกครองทิเบต แต่ท่านแสดง โดยชัดแจ้งว่านั่นไม่ใช่เป้าหมาย
IMAGE, May 2013 Vol. 26
●
IMAGE MAY 2013
●
095
ทะไลลามะกล่าวว่าท่านมีพนั ธกิจ 3 ประการ หนึ่ง-ในฐานะพระภิกษุในพุทธศาสนา ท่านมี หน้าที่เผยแผ่พระธรรมจนกว่าสรรพสัตว์จะรู้แจ้ง สอง-ในฐานะผูน้ ำ� ทางศาสนา ท่านมีความรับผิดชอบและบทบาทที่จะส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ ระหว่างคนต่างความเชื่อและศาสนาให้มากขึ้น และสาม-ในฐานะทะไลลามะผู้น�ำทางการเมือง และจิตวิญญาณของทิเบต การลาออกของท่าน เป็นเพียงการลาออกจากงานการเมืองของพันธกิจ ทีส่ าม แต่พนั ธกิจประการแรก ประการทีส่ อง และ ความเป็นผูน้ ำ� ทางจิตวิญญาณของทิเบตยังคงอยู่ เสมอ ในแง่หนึง่ เหมือนว่าท่านวางมือจากงานการ เมือง เพื่อที่จะท�ำงานอื่นๆ ได้มากขึ้น คิดว่านี่เป็นอุบายส�ำหรับอนาคตหรือไม่ เมื่อ ท่านมรณภาพ รัฐบาลจีนอาจเข้ามามีส่วน ตามหาทะไลลามะทีก่ ลับชาติมาเกิด แต่ไม่วา่ อะไรจะเกิดขึ้น นับจากนี้ไป ทะไลลามะจะไม่ เกี่ยวข้องกับการเมือง อาจจะใช่ เพราะรัฐบาลจีนได้ออกกฎหมาย ขึ้นมาโดยระบุว่า ในกรณีลามะส�ำคัญๆ อย่าง องค์ทะไลลามะ ปันเชนลามะ และกรรมาปะ พรรคคอมมิวนิสต์จีนคือผูู้ตัดสินแต่เพียงผู้เดียว ว่าใครคือผู้กลับชาติตัวจริง แต่คอมมิวนิสต์ไม่มีศาสนา มองเรื่องแบบนี้ เป็นความงมงายไม่ใช่หรือ นั่นซิ ทะไลลามะกล่าวเสมอว่าทิเบตกับจีนเป็นพี่ เป็นน้องกัน การทีท่ เิ บตบ�ำรุงรักษาวัฒนธรรม อันหมายรวมถึงพุทธศาสนาไว้ วันหนึ่งข้าง หน้าชาวจีนเองอาจได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้ ในช่วงที่เดินทางในทิเบตและจีน คุณพบว่า ชาวจีนสนใจหรือได้รับประโยชน์จากพุทธศาสนาบ้างไหม เยอะมาก พุทธศาสนาก�ำลังเติบโตในจีน การปฏิวัติวัฒนธรรมได้ตัดขาดชาวจีนจากราก เดิมของตน พอมีการเปิดประเทศ สังคมจีนก็วิ่ง เข้าหาวัตถุนิยมอย่างบ้าคลั่ง โดยเฉพาะหัวเมือง ชายฝั่ง ขณะเดียวกันพวกเขาก็หวนหารากเดิม ผมพบกับชาวจีนมากมายที่พูดถึงเรื่องนี้ พวกเขา เห็นทะลุว่าลัทธิบริโภคนิยมเป็นม่านมายา และ เมื่อฝ่าข้ามมาพวกเขาก็ใฝ่หาพระธรรม ผ่านทาง พุ ท ธมหายานดั้ ง เดิ ม ของจี น หรื อ Shan และ พุทธทิเบต ผมพบชาวจีนมากมายที่หันมาศึกษา พุทธทิเบต และปฏิบตั ธิ รรมโดยใช้ภาษาจีนกลาง และทิเบต ทั้งฆราวาสและพระ เป็นคนจีนกลุ่มไหนคะ คนมี เ งิ น ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น คนฐานะดี จ าก หัวเมืองชายฝั่งอย่างเซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง เดินทางมา ยั ง ใจกลางที่ ร าบสู ง ทิ เ บตที่ ห นาวเย็ น ไม่ มี สิ่ ง
อ� ำ นวยความสะดวกใดๆ เพื่ อ มาปฏิ บั ติ ธ รรม ความมุ่งมั่นของพวกเขามหัศจรรย์มาก ผมเห็น แล้วประทับใจจริงๆ ขณะเดียวกัน ทุกวันนี้ ลามะทิเบตจ�ำนวน มากเดินทางไปทั่วประเทศจีนเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา คริสเตียนมิชชันนารีก็เช่นกัน สิ่งที่ผมเห็น คือ เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในจีน ซึ่งอาจจะ ไม่ใช่ในเร็ววันนี้ พุทธศาสนาจะมีบทบาทส�ำคัญ ในการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและจิตวิญญาณ นโยบายทางสายกลางของทะไลลามะ ที่บอก ว่าทิเบตจะอยูก่ บั จีน แต่ขอสิทธิในการตัดสิน ใจและปกครองตนเองบางเรือ่ ง อันทีจ่ ริงเป็น แค่การประนีประนอมทางการเมืองหรือเปล่า (หยุดคิดนาน) ผมมองว่านโยบายทางสาย กลางของท่ า นเป็ น การตอบโจทย์ เ หตุ ป ั จ จั ย ที่ วางอยู่ตรงหน้า ทรงพูดเสมอว่าเลิกพูดถึงอดีต แมทเตโอ พิ ส โตโน จบปริ ญ ญาตรี ส าขา มานุ ษ ยวิ ท ยา จากมหาวิ ท ยาไวโอมิ ง และปริ ญ ญาโท สาขาปรัชญาอินเดีย จาก School of Oriental and African Studies มหาวิทยาลัยลอนดอน เคยเป็นนักกิจกรรมด้าน สิ่งแวดล้อม และท�ำงานในโครงการวัฒนธรรมทิเบต ของ สถาบันสมิธโซเนียน ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่ อ แน่ ใ จว่ าบุ ค คลที่ ช ่ วยเหลื อ เขารวบรวมหลั ก ฐานการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทิเบต ไม่มีผู้ใดอาศัยอยู่ ในทิเบตหรือประเทศจีนอีกต่อไป เขาจึงตัดสินใจตีพิมพ์ งานเขียนเรื่อง In the Shadow of the Buddha (ใต้ร่มแห่ง พุทธะ พินทุสร ติวุตานนท์ แปล ส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมา จัดพิมพ์) เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวการจาริกแสวงบุญของเขา ในทิเบต และชีวประวัติของเตอร์เติน โซเกียล ที่เต็มไปด้วย แง่มุมเร้นลับในสายธรรมของพุทธศาสนาวัชรยาน รวมทั้ง ข้อเท็จจริงที่ว่าทิเบต-ดินแดนหลังคาโลก เป็นที่หมายปอง ของผู้ล่าอาณานิคมทุกยุคทุกสมัย นอกจากท�ำงานเขียนและปฏิบัติธรรม แมทเตโอ พิสโตโนยังเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิเนคอร์ปะ (www.nekorpa. org) องค์กรที่ท� ำงานอนุรักษ์และปกป้องสถานที่จาริก แสวงบุญในหลายประเทศ และช่วยงานของสมาคมริกปะ (www.rigpa.org)
ของท่านอยู่ที่ประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ อย่างที่ เวลาท่านพบปะผู้คน ไม่ว่าบารัก โอบามา จอร์จ ดับเบิลยู บุช หรือขอทานตามถนน ท่านปฏิบัติ ต่อพวกเขาเสมอเหมือนกัน ผมเห็นด้วยตาผมเอง อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ท่านพูด แต่ด้วยท่าทีเหมือนกัน เพราะคนทุกคนอาจเคยเป็นมารดาเราใน ภพชาติใดภพชาติหนึ่ง ใช่แล้ว แมทเตโอ-ทุกวันนี้ มุมมองของคุณต่อค�ำว่า ‘อิสรภาพ’ เปลี่ยนไปหรือไม่ แน่นอนที่สุด ครั้งแรกที่ผมไปเนปาลเมื่อ เกือบ 20 ปีก่อน ค�ำว่าอิสรภาพของผมยังขีดอยู่ ในกรอบคิดทางการเมือง สัมพัทธ์สมั พันธ์กบั เรือ่ ง ความยุติธรรม ทุกวันนี้ก็ยังเชื่อเช่นนั้น ท�ำเพื่อสิ่ง นั้น และถือเป็นอุดมคติที่ต้องไปให้ถึง แต่ในเวลา เดียวกัน ผมได้เห็นถึงอิสรภาพเบื้องปลาย ที่ไม่มี ใครมอบให้หรือพรากไปจากเราได้ มันขึ้นกับว่า จิตเราตั้งอยู่ในสภาวะใด คนเราสามารถจองจ�ำ จิตและใจตัวเองได้ทุกที่ทุกเวลา แม้แต่ตอนนั่ง จิบกาแฟในบ่ายวันว่าง หรือขณะนอนผึ่งแดดริม ทะเลในวันหยุด ผมเองโชคดีที่อาจารย์ผมเมตตา ให้เครื่องมือบางอย่างไว้ส�ำหรับเรียนรู้จิต บาง เวลาผมจึงได้สมั ผัสกับชัว่ ขณะสัน้ ๆ ของอิสรภาพ ที่แท้จริง พูดอย่างนี้ ไม่ได้หมายความว่าถ้าเรารู้จัก อิสรภาพทางใจ แล้วใครจะเอาเราไปจ�ำคุก กักขังที่ไหนก็ได้ ไม่ใช่ พร้อมไปกับการแสวงหาอิสรภาพทาง ใจ เรายังต้องต่อสู้กับการกดขี่ การละเมิดสิทธิ และความอยุตธิ รรมในทุกรูปแบบ คนอาจจะบอก ว่า แมทเตโอ-อเมริกันชน ชายผิวขาว ที่คิดอยาก ไปไหนก็ไปได้รอบโลกอย่างแก คิดว่าตัวเองเป็น ใครถึงจะมาบอกฉันเรือ่ งอิสรภาพ ผมเปล่า ผมไม่ ได้จะบอกหรือตัดสินใคร พูดอย่างสัมพัทธ์สมั พันธ์ ผมส�ำเหนียกว่าตัวเองเป็นอิสรเสรี และท�ำทุกสิง่ ที่ ท�ำได้เพื่อให้ผู้อื่นได้พบกับอิสรภาพ แต่พูดให้ถึงที่สุด ส�ำหรับผม อิสรภาพที่แท้ ขึ้นกับใจเรา ผมเคยเจอพระทิเบตที่ถูกจองจ� ำ กว่าสิบปี แต่ใจของเขากลับไม่ถูกกระทบหรือ แปดเปื้อนเลย อองซาน ซูจีเองก็พูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็ไม่โอ.เค. ที่เราจะปล่อยให้ใครถูกกดขี่ หรือจองจ�ำ แม้ทางกาย ไม่โอ.เค. ในทุกๆ เรื่องเราต้องยึดถือไป พร้ อ มกั น ระหว่ า งกายกั บ ใจ ระหว่ า งสิ่ ง ที่ อ ยู ่ เบื้องหน้าและเบื้องปลาย เพราะอิสรภาพของเรา ขึ้นกับอิสรภาพของผู้อื่น ถ้ามีผู้ใดโดนกดขี่ ผม ไม่ควรเพิกเฉยและควรหาทางช่วย เราไม่ควรผ่อนพักจนกว่าทุกคนจะได้ ผ่อนพัก
IMAGE, May 2013 Vol. 26
096 ● IMAGE MAY 2013 ●
เพราะถ้าพูดถึงอดีต ทิเบตก็บอกว่าตนเป็นอิสระ จีนก็บอกว่าทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีน ฉะนั้น มา ว่ากันที่ปัจจุบันดีกว่า ถ้าใครจะมองว่าเป็นการ ประนีประนอม ผมเห็นว่าเป็นการตีโจทย์ตรง หน้าไปพร้อมๆ กัับความพยายามที่จะรักษาวิถี พุทธของทิเบตให้ยั่งยืนและก้าวไปพร้อมกับโลก สมัยใหม่ ในอีกแง่หนึ่ง เมื่อนึกถึงว่า เป้าหมายของ องค์ทะไลลามะคือการรู้แจ้งเพื่อความหลุดพ้น ของสรรพสัตว์ ทิเบตจะเป็นอิสระจากจีนหรือไม่ ไม่มีความส�ำคัญเท่ากับความอยู่ดีมีสุขที่แท้จริง ของชาวทิเบต ถึงอย่างนั้น ท่านก็ระลึกรู้อยู่พร้อม กันว่าท่านเป็นผู้น�ำของประชาชนทิเบต และสิ่งที่ เรียกกันว่าประเทศหรือรัฐชาติ ท่านไม่ได้เพิกเฉย ต่อหน้าที่รับผิดชอบเหล่านี้ แต่ถึงที่สุด แรงจูงใจ