หมวดสังคม/การเมือง
ช่วงเวลาแบบคานธี / The Gandhian Moment
Copyright © 2013 by the President and Fellows of Harvard College Published by arrangement with Harvard University Press through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. All rights reserved including the rights of reproduction in whole or in part in any form. Thai language translation copyright © Suan Nguen Mee Ma Co., Ltd., 2015 ลิขสิทธิ์ฉบับภาษาไทย © ส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมา, 2558 พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2558 เขียน รามีน ญะฮานเบกลู / Ramin Jahanbegloo แปล สุรัตน์ โหราชัยกุล บรรณาธิการ ณัฐ วัชรคิรินทร์ ออกแบบปก Pianissimo Press รูปเล่ม ขจรยศ สุภาจันทร์ เอื้อเฟื้อภาพปกโดย สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจ�ำประเทศไทย ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data รามีน ญะฮานเบกลู. ช่วงเวลาแบบคานธี = The Gandhian Moment.-- กรุงเทพฯ : สวนเงินมีมา, 2558. 224 หน้า. 1. คานธี, โมหันทาส การามจันทร์, ค.ศ.1869-1948. I. สุรัตน์ โหราชัยกุล, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 923.254 ISBN 978-616-7368-69-6 ที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศ ฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด บรรณาธิการที่ปรึกษา ฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด, วัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด บรรณาธิการบริหาร วรนุช ชูเรืองสุข ฝ่ายสื่อสารประชาสัมพันธ์ พิชญ์นันท์ พุ่มสวัสดิ์ ฝ่ายขาย สมภพ บุญชุม จัดพิมพ์ บริษัท สวนเงินมีมา จ�ำกัด 77, 79 ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0 2622 2495-6, 0 2622 0955, 0 2622 0966 โทรสาร 0 2622 3228 อีเมล publishers@suan-spirit.com เว็บไซต์ www.suan-spirit.com เฟซบุ๊ก www.facebook.com/suan2001 โรงพิมพ์ หจก. ภาพพิมพ์ โทรศัพท์ 0 2879 9154-6 จัดจ�ำหน่าย สายส่งศึกษิต บริษัทเคล็ดไทย จ�ำกัด โทรศัพท์ 0 2225 9536-9 ราคา 290 บาท
ช่วงเวลาแบบคานธี The Gandhian Moment Ramin Jahanbegloo
รามีน ญะฮานเบกลู
สุรัตน์ โหราชัยกุล แปล
ณัฐ วัชรคิรินทร์ บรรณาธิการ
ปาฐกถามหาตมาคานธีอนุสรณ์ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งที่ 4 (2558) The Fourth Mahatma Gandhi Memorial Lecture on Sustainable Development (2015)
คณะกรรมการบริษัทสวนเงินมีมา 1. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ 2. นายประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข 3. นายสมเกียรติ์ อภิญญาชน 4. นายปรีดา เตียสุวรรณ์ 5. นายสัจจา รัตนโฉมศรี 6. นายอนันต์ วิริยะพินิจ 7. นายฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด 8. นางวัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด
ประธานกิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการ
รายนามผู้ถือหุ้น 1. นายธีรพล นิยม 2. นายวินัย ชาติอนันต์ 3. นายวิศิษฐ์ วังวิญญู 4. นายสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง 5. นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ 6. นายสมบูรณ์ จึงเปรมปรีดิ์ 7. นางอภิสิรี จรัลชวนะเพท 8. นายมาซากิ ซาโต้ 9. นายบารมี ชัยรัตน์ 10. นายปรีดา เรืองวิชาธร 11. นายศิโรช อังสุวัฒนะ 12. นายเลิศ ตันติสุกฤต 13. นางวรรณา ประยุกต์วงศ์ 14. นางสาวปารีณา ประยุกต์วงศ์ 15. บริษัทแพรนด้า โฮลดิ้ง จ�ำกัด 16. นายกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ 17. นายวัลลภ พิชญ์พงศ์ศา 18. นางดารณี เรียนศรีวิไล 19. นางสุวรรณา หลั่งน�้ำสังข์ 20. นายวีระเดช สมบูรณ์เวชชการ ส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมา เป็นส่วนหนึ่งของ บริษัทสวนเงินมีมา จ�ำกัด อันเป็นธุรกิจอย่างใหม่ ประกอบด้วยองค์กรพัฒนาสังคมและนักธุรกิจที่ตระหนักถึงปัญหาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และศักยภาพด้านในของมนุษย์ ตั้งขึ้นเพื่อด�ำเนินงานทั้งด้านธุรกิจและสังคมไปพร้อมกัน ด้วยค่านิยมอย่างใหม่ทมี่ ไิ ด้หวังก�ำไรเป็นทีต่ งั้ และผลก�ำไรทีม่ ขี นึ้ จะน�ำกลับไปส่งเสริมสนับสนุน องค์กรพัฒนาสังคมและชุมชนเป็นหลัก
จากสำ�นักพิมพ์ ไม่เคยมียุคใดสมัยใดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ที่ความรุนแรงสามารถน�ำพาสันติสุขที่แท้มาสู่ สังคมโลก หากสิ่งที่ทุกคนประสบและสัมผัสได้เสมอมาคือ ความรุนแรงนั้นรังแต่จะยกระดับและเพิ่ม ดีกรีความหวาดกลัวในใจผู้คนเป็นทวีคูณ ดังจะเห็นได้จากโศกนาฏกรรมสดๆ ร้อนๆ ในคืนวันศุกร์ที่ 13 (พฤศจิกายน 2558) กลางมหานครปารีส ที่สร้างความตื่นตระหนกสะเทือนใจไปทั่วโลก และเพียง ไม่กี่ชั่วยามหลังจากนั้น ปฏิบัติการ “เอาคืน” ก็เริ่มเปิดฉาก ทั้งจากฝรั่งเศสและรัสเซีย เพียงเพื่อ ต้องการให้อีกฝ่ายได้ตระหนักถึงแสนยานุภาพอันล้นเหลือของตน แต่กลับส่งผลให้ชีวิตบริสุทธิ์นับพัน ต้องรับเคราะห์... “ปารีสร�่ำไห้ ซีเรียก�ำสรวล โลกสลด...” พาดหัวในมติชนสุดสัปดาห์ (ฉบับ 1840) และอีกหลายถ้อยความด้วยลักษณาการเดียวกันในสื่อต่างๆ ความสูญเสียยังคงแผ่ขยายอย่างไม่ลดละ ขณะที่อีกมุมหนึ่งของโลก เหตุความรุนแรงยังคงด�ำเนินต่อไปประหนึ่งเป็นภารกิจหลักของ เผ่าพันธุ์มนุษย์ เหตุระเบิดพลีชีพกลางตลาดในไนจีเรียที่มือระเบิดเป็นเพียงเด็กหญิงวัย 11 ปี เหตุ บุกยึดโรงแรมหรูกลางกรุงบามาโก ประเทศมาลี สถานการณ์วิกฤตไครเมีย สถานการณ์ความรุนแรง สามจังหวัดชายแดนใต้ และ ฯลฯ ปรากฏการณ์อันชวนสลดเหล่านี้ล้วนเกิดจากน�้ำมือมนุษย์ หน้า ฉากของมันปกคลุมไปด้วยกลิ่นอายแห่งความโหดเหี้ยมวิปลาส แต่หลังฉากที่สัมผัสได้ในทุกอาณา บริเวณ คือความหวาดกลัว ตื่นตระหนก และความเปราะบางในจิตใจผู้คน แล้วเราจะทนมีชีวิตอยู่กัน ไปเช่นนี้น่ะหรือ กระนั้น ใช่ว่าสังคมโลกจะจมดิ่งไปกับความสิ้นหวังเสียทั้งหมด เพราะเริ่มมีหลายฝ่าย แม้แต่ ในบทสนทนาริมทาง เราเริ่มได้ยิน ได้เห็นปฏิกิริยาที่ไม่เอาด้วยกับการใช้อาวุธท�ำลายล้างกัน ไม่ว่า จะจากฝ่ายไหนก็ตาม แน่นอน ทั่วโลกต่างสลดกับเหตุการณ์ในปารีส และทั่วโลกก็น�้ำตาซึมกับภาพ ศพหนูน้อยชาวซีเรียวัย 2 ขวบบนชายหาดของตุรกี แต่ไม่มีใครสรรเสริญยินดีกับการโจมตีอย่างไร้ มนุษยธรรมในพื้นที่ต่างๆ ที่ก�ำลังด�ำเนินอยู่นี้ หลายคนเริ่มตั้งค�ำถาม เริ่มเรียกร้องพื้นที่ปลอดภัย เริ่ม มองหาวิธีการมายุติมัน และเริ่มตอบรับกับกระบวนการอหิงสา หรืออารยะขัดขืนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุน้ี แนวคิดว่าด้วยอหิงสาของคานธีจึงยังจ�ำเป็นกับสังคมทุกยุคทุกสมัย ตราบใดที่มนุษย์ยังคง ตัดสินกันด้วยความรุนแรงอย่างที่เป็นอยู่ บทเรียนแห่งความรุนแรงท�ำให้คานธีได้ตระหนักว่า “ตาต่อตา มีแต่จะท�ำให้ทั้งโลกมืดบอด” และพยายามถ่ายทอดสารนี้สู่สังคมโลก คานธีได้ปฏิบัติให้โลกรับรู้ตราบจนลมหายใจสุดท้ายว่า ความ รุ น แรงจะยุ ติ ไ ด้ ก็ ด ้ ว ยความไม่ รุ น แรงเท่ า นั้ น และการสนทนาแลกเปลี่ ย นระหว่ า งกั น ก็ เ ป็ น อี ก กระบวนการหนึ่งแห่งวิถีนี้ ช่วงเวลาแบบคานธีจึงสมสมัยและตอบรับกับสถานการณ์โลกขณะนี้เป็น อย่างยิ่ง
จากศูนย์อินเดียศึกษา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สักประมาณสองเดือนหลังปาฐกถามหาตมาคานธีอนุสรณ์ว่าด้วยการ พัฒนาที่ยั่งยืนครั้งที่ 3 ผ่านพ้นไป นักธุรกิจคนหนึ่งถามผมว่า ปาฐกถาดังกล่าว จัดไปเพื่ออะไร ในขณะที่ผมก�ำลังตรึกตรองค�ำถามของเขาอยู่นั้น เขาก็รีบเสริม อย่างฉับพลันในท�ำนองว่า ตัวคานธีหรือแม้แต่ความคิดของคานธีไม่มีอะไร เกีย่ วข้องกับเราแล้ว โลกของคานธีได้สนิ้ สุดลงนับตัง้ แต่อนิ เดียได้รบั เอกราชจาก อังกฤษ อินเดียและโลกปัจจุบันได้พัฒนาก้าวไกลไปมากแล้ว ความคิดเห็นของนักธุรกิจคนนี้คงไม่ผิดไปเสียหมด เพราะพัฒนาการใน อินเดียหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1947 จนถึงปัจจุบัน ชี้ให้เห็น แจ่มแจ้งถึงลักษณะหลายประการที่ห่างเหินหรือตรงกันข้ามกับแนวคิดของ คานธีมากขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ยวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของ อินเดีย ซึ่งเป็นบุคคลส�ำคัญในการออกแบบพัฒนาการประเทศอินเดียหลังได้ รับเอกราช ก็ไม่เห็นด้วยกับความคิดของคานธีไปทุกประเด็น รวมถึงประเด็น เศรษฐกิจระดับหมู่บ้านและเทคโนโลยีที่มากเกินจ�ำเป็น1 ในจดหมายฉบับหนึ่ง ที่เขียนตอบคานธีในเดือนตุลาคม ปี 1945 เนห์รูระบุอย่างตรงไปตรงมาว่า “ถ้าจะว่ากันโดยทั่วไปแล้ว หมู่บ้านเป็นสิ่งที่ล้าหลังทั้งทางภูมิปัญญาและทาง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมอันล้าหลังย่อมมิอาจก่อเกิดความก้าวหน้าใดๆ ได้เลย ผู้คนที่ใจแคบนั้นดูน่าจะมีใจไม่ซื่อและนิสัยรุนแรงกว่า” ในประเด็น เทคโนโลยี เนห์รูเขียนว่า “ข้าพเจ้าเห็นว่า คงเป็นไปไม่ได้ที่อินเดียจะเป็นอิสระ แท้จริง ตราบใดที่ยังไม่เป็นประเทศเจริญทางเทคโนโลยีจริงๆ” และเขียนต่อ ดู Thomas Weber, “Gandhi’s moral economics: The sins of wealth without work and commerce without morality,” in Judith M. Brown and Anthony Parel, eds., The Cambridge Companion to Gandhi, Cambridge: Cambridge University Press, 2011, pp. 135–153. 1
6
ช่วงเวลาแบบคานธี
อีกว่า “ข้าพเจ้าได้อ่านฮินด์ สวราช [งานเขียนของคานธี] มาหลายปีแล้ว ก็ ยั ง มี แ ต่ ภ าพอั น คลุ ม เครื อ ในสมอง แต่ ถึ ง จะได้ อ ่ า นเมื่ อ สั ก 20 ปี ที่ แ ล้ ว หรือยิ่งกว่านั้นอีก งานนี้ก็ยังดูไม่สมจริงส�ำหรับข้าพเจ้าเลยทีเดียว... ฮินด์ สวราชเขียนขึ้นมาได้ 38 ปีแล้ว ซึ่งนับแต่นั้นมา โลกก็ได้เปลี่ยนแปลงไป หมดสิ้น และอาจจะเป็นในทางที่ผิดเสียด้วย”2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน นับตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลงในปี 1991 อินเดียก็ได้ ‘พัฒนา’ โดยหันมาเดิน บนเส้นทางสู่ความเป็นมหาอ�ำนาจแบบตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ หากจะอธิบาย การพัฒนาแบบนี้ว่าเป็นผลของโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองโลกว่าด้วยภาวะ สมัยใหม่ หรือความริเริ่มส่วนตัวของผู้น�ำอินเดีย ก็คงจะถกเถียงกันได้อีก ยาวนานทีเดียว แต่หากมองอีกแง่หนึ่ง ก็อาจจะกล่าวได้ว่า ความคิดของนักธุรกิจคนนี้ไม่ น่าจะถูกต้องทั้งหมด นับตั้งแต่คานธีถูกสังหารในปี 1948 และอินเดียได้ วิวัฒน์มาสู่สภาพที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ก็มีผู้คนจ�ำนวนไม่น้อยที่ตกเป็นเหยื่อความ รุ น แรงทั้ ง โดยตรงและเชิ ง โครงสร้ า ง หึ ง สาพยาบาทอั น มี ต ้ น เหตุ ม าจาก การเมืองทางศาสนา วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ หรือชุมชน เช่น ความขัดแย้งใน แคชเมียร์ ปัญจาบ อุตตรประเทศ และคุชราต ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ คานธีเคยเตือนซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า ตัวคานธีเองก็ได้ประสบพบเห็นการนองเลือด ระหว่างฮินดู-มุสลิมทั้งก่อนและหลังการแบ่งแยกปากีสถานออกจากอินเดีย ในปี 1947 ในปัจจุบันความรุนแรงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองที่มี ผลร้ายต่อเกษตรกรอินเดียก็เป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง การฆ่าตัวตายของบรรดา เกษตรกรในอินเดียกลายเป็นประเด็นปัญหาส�ำคัญต่อการพัฒนาประเทศ3 ใน M. K. Gandhi, Hind Swaraj and Other Writings, Anthony J. Parel, ed., Cambridge: Cambridge University Press, 2013, pp. 146–148. 3 ส�ำหรับการเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจทีเ่ กีย่ วกับเกษตรกรรมในอินเดียหลังปี 1991 ดู Surat Horachaikul, “India’s neoliberal progress and food insecurity,” Asian Review, Vol. 25, 2012, pp. 161–182. 2
จากศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7
วันที่ 18 พฤษภาคม ปี 2015 ส�ำนักข่าวแห่งหนึ่งรายงานว่า “ในช่วง 20 ปีที่แล้วมา เกษตรกรเกือบ 300,000 คน ได้ปลิดชีวิตตนเองด้วยการดื่มยา ฆ่าแมลงหรือแขวนคอตาย”4 ในหลายส่วนนอกประเทศอินเดีย คงเห็นพ้องต้องกันว่า ที่โลก ‘พัฒนา ก้าวไกล’ มาจนทุกวันนี้ ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งสารพัดรูปแบบ ซึ่งนอกจาก จะคร่าชีวิตผู้คนนับไม่ถ้วนแล้ว ยังสวนทางกับการพัฒนาที่ยั่งยืนแทบทุก ด้านด้วย ในแง่นี้ ผมในฐานะผู้ร่วมจัดปาฐกถาฯ ก็เพียงต้องการบอกนักธุรกิจ คนนั้นและผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ว่า วัตถุประสงค์ส�ำคัญในการจัดปาฐกถาฯ มีหลายประการ แต่ที่ส�ำคัญที่สุดคือ มหาตมาคานธีในฐานะผู้ให้กรอบความ คิดและแนวปฏิบัติหลายเรื่องหลายประเด็นนั้น ยังส�ำคัญลึกซึ้งต่อเราในโลก ปัจจุบันนี้ รูปภาพ รูปประติมา สัญลักษณ์ หรือข้อความของคานธีที่ปรากฏให้เห็น มากมายในสื่อรูปแบบต่างๆ ในปัจจุบัน แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคานธี กับเราอย่างต่อเนื่อง แต่หากเรามองเพียงว่า สิ่งที่เกี่ยวกับคานธีนั้นเป็นเพียง เรื่องของวันวานไปแล้ว หรือมีสารัตถะเพียงอินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ เท่านั้น ดังที่นักธุรกิจคนดังกล่าวแลดูจะเชื่อมั่นเต็มที่ ก็คงจะหาประโยชน์ได้ ไม่มากนัก เพราะแม้คานธีเป็นผู้น�ำและปัจจัยส�ำคัญของการกู้เอกราชอินเดีย จากอังกฤษ แต่ความคิดอันครอบคลุมที่มีเนื้อหาใจความมากกว่า ‘ชาตินิยม’ และมีเป้าหมายมากกว่าการได้รับเอกราชของอินเดียนั้น ส่งอิทธิพลอย่าง มากมายต่อผู้คนจ�ำนวนไม่น้อยในปัจจุบัน รวมทั้งองค์ปาฐกสามคนแรกของ ปาฐกถามหาตมาคานธีฯ ซึ่งได้แก่ (1) วันทนา ศิวะ (2) สาทิศ กุมาร และ Baba Umar, “India's shocking farmer suicide epidemic,” available at: http://www. aljazeera.com/indepth/features/%202015/05/india-shocking-farmer-suicide-epidemic -150513121717412.html. 4
8
ช่วงเวลาแบบคานธี
(3) ราชโคปาล พี. วี.5 ทั้งสามอธิบายให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า คานธีนั้นเป็น แรงบันดาลใจส�ำคัญต่อกิจกรรมของพวกเขาเพื่อสร้างความยั่งยืนอย่างไร ไม่ ว่าจะเป็นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ อธิปไตยอาหาร กระบวนทัศน์ใน การหยั่งถึงระบบนิเวศเพื่อร่วมอยู่อาศัยกับธรรมชาติอย่างสันติ การต่อกรกับ ความอยุติธรรมเพื่อให้คนยากจนได้มีที่ท�ำกิน และอื่นๆ ล้วนสะท้อนการ ประยุกต์ใช้ความคิดแบบคานธีทั้งสิ้น ในฐานะผูร้ ว่ มจัดปาฐกถามหาตมาคานธีอนุสรณ์วา่ ด้วยการพัฒนาทีย่ งั่ ยืน และผูแ้ ปลหนังสือเล่มนี้ ผมรูส้ กึ ยินดีอย่างยิง่ ที่ ดร. รามีน ญะฮานเบกลูให้เกียรติ รับเชิญเป็นองค์ปาฐกคนที่สี่ของเรา ในทัศนคติของผม หนังสือช่วงเวลาแบบ คานธี ที่ผู้อ่านก�ำลังถืออยู่ในมือนี้ เป็นหนังสือส�ำคัญอีกเล่มหนึ่งที่อธิบายความ คิดและแนวปฏิบัติของคานธีไกลเกินกว่ากรอบการต่อสู้ด้วย ‘ชาตินิยม’ เพื่อ ปลดแอกอินเดียจากอังกฤษ ในแง่ดังกล่าว ผมเชื่อว่า หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์ ต่อเราอย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน ประการแรก สมดังชื่อหนังสือ ญะฮานเบกลูบอกเราว่า เราก�ำลังอยู่ในโลก แห่ง ‘ช่วงเวลาแบบคานธี’ มากกว่าทีเ่ คยเป็นมา เช่น การต่อสูก้ บั จีนโดยยึดหลัก สันติขององค์ทะไลลามะ แม้ความหวังในการปลดแอกทิเบตยังคงริบหรี่ แต่ผคู้ น ในโลกจ�ำนวนไม่นอ้ ยก็เข้าใจและเห็นอกเห็นใจทิเบตมากขึน้ การต่อสูเ้ พือ่ ยุตกิ าร แบ่งแยกทางเชื้อชาติในสหรัฐอเมริกาทศวรรษ 1960 ก็ไม่น่าจะประสบความ ส�ำเร็จได้ หากปราศจากการต่อสูท้ ไี่ ม่ใช้ความรุนแรงของมาร์ตนิ ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ธรรมเนียมข้อหนึ่งของปาฐกถามหาตมาคานธีอนุสรณ์ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนคือ ส�ำนักพิมพ์ สวนเงินมีมาจะเป็นผู้จัดพิมพ์งานแปลขององค์ปาฐก งานเขียนขององค์ปาฐกทั้งสามที่ผ่านมา ได้แก่ (1) วันทนา ศิวะ, ผืนดินไม่ใช่น�้ำมัน : ชีวิต อาหาร สิ่งแวดล้อม หรือน�้ำมัน (แปลจาก Vandana Shiva, Soil Not Oil: Environmental Justice in an Age of Climate Crisis โดย ดรุณี แซ่ลิ่ว); (2) สาทิศ กุมาร, จาริกบนผืนโลก (แปลจาก Satish Kumar, Earth Pilgrim โดย อัฐพงศ์ เพลินพฤกษา); และ (3) ราชโคปาล พี. วี., อหิงสายาตราบนเส้นทางสู่อินเดียอื่น (แปลจาก Rajagopal P. V., Journey to the Other India โดย สายพิณ กุลกนกวรรณ ฮัมดานี) 5
จากศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9
ผู้นอกจากจะชื่นชมคานธีแล้ว ยังประยุกต์การปฏิบัติของคานธีตามแบบของ ตนด้วย แม้แต่การต่อสูก้ บั ระบอบอพาร์ทไฮด์ในแอฟริกาใต้กเ็ ช่นกัน ปัจจัยส�ำคัญ ประการหนึ่งที่ท�ำให้ชาวผิวสีแอฟริกาใต้ได้รับชัยชนะเกิดจากการเจรจาต่อรอง ที่ไม่ใช้ความรุนแรง แทนการต่อสู้แบบติดอาวุธ หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ ‘อาหรับสปริง’ หรือการลุกฮือของชาวอาหรับต่อระบอบปกครองทีไ่ ม่เป็นธรรม เมื่อไม่นานมานี้ ญะฮานเบกลูบอกเราว่า ปรากฏลักษณะความเป็นคานธีอย่าง มีนัยส�ำคัญยิ่ง เพือ่ อธิบายให้เข้าใจว่า ความคิดและแนวปฏิบตั ขิ องคานธีเป็นมรดกตกทอด ของโลก หรือเป็น ‘ช่วงเวลาแบบคานธี’ ที่ถูกน�ำไปประยุกต์ในบริบทต่างกรรม ต่างวาระ ญะฮานเบกลูวเิ คราะห์วธิ คี ดิ ของคานธีอย่างละเอียด ไม่วา่ จะเป็นความ คิดรากฐานของคานธีเรือ่ งการเมืองทีม่ อิ าจแยกออกจากจริยธรรม การแสวงหา ความจริง ความไม่รุนแรง การไม่ให้ความร่วมมือกับความชั่วร้าย การปกครอง ตนเอง และอื่นๆ ที่คานธีได้มาจากความคิดอินเดียโบราณ ญะฮานเบกลูได้ชี้ให้ เราเห็นว่า ความคิดอันสลับซับซ้อนทั้งหมดของคานธีเชื่อมโยงกันอย่างไร และ บอกผู้อ่านด้วยว่า ถึงแม้คานธีจะใช้ความรู้อินเดียโบราณเป็นฐานส�ำคัญในการ สร้างความคิดแบบองค์รวมของตน ก็ใช่ว่าคานธีจะเป็นนักสัมพัทธนิยมที่ หลับหูหลับตายึดวัฒนธรรมประเพณีของตนเหนือกว่าของผู้อื่นหรือเหนือกว่า ความเป็นสากล หากพิจารณาอิทธิพลของคานธีดงั ทีป่ รากฏเป็น ‘ช่วงเวลาแบบ คานธี’ ในระดับโลก อันเป็นใจความหลักข้อหนึง่ ของหนังสือเล่มนี้ จ�ำต้องยอมรับ ด้ วยว่ า หากวิ ถี ค านธีป ราศจากองค์ป ระกอบสากล อิทธิพลของคานธีค ง ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็น ‘ช่วงเวลาแบบคานธี’ ได้ ตรงนี้เองที่ญะฮานเบกลูได้แสดงให้เห็นอย่างแยบคายว่า คานธีเป็นนักคิดสากลในระดับส�ำคัญ มิใช่ นักชาตินิยมอันคับแคบอย่างที่หลายคนรับรู้ คานธีชื่นชมและเรียนรู้จากนักคิด นอกประเทศอินเดีย อันรวมถึง เฮนรี เดวิด ธอโร, จอห์น รัสกิน และ ลีโอ ตอลสตอยด้วย ในประเด็นนี้ ญะฮานเบกลูได้ชี้ให้เห็นสารัตถะส�ำคัญที่น่าสนใจ 10
ช่วงเวลาแบบคานธี
เกี่ยวกับกรอบความคิดของคานธีว่า ความเป็นสากลและความหลากหลายไม่ จ�ำเป็นต้องขัดแย้งกันทั้งหมด คานธีได้สร้างความประนีประนอมระหว่างสากล นิยมและสัมพัทธนิยมไว้อย่างลงตัว กล่าวอีกนัยคือ ภราดรภาพแห่งความเป็น มนุษย์ไม่จ�ำเป็นต้องบั่นทอนความหลากหลายของผู้คน การต่ อ ต้ า นอารยธรรมตะวั น ตกของคานธี จึ ง หมายถึ ง การต่ อ ต้ า น อารยธรรมสมัยใหม่ทศี่ รัทธาอธิปไตยสัมบูรณ์ และความเป็นรัฐจะต้องแยกออก จากจริยธรรม อันมีตน้ ตอความคิดมาจากนิคโคโล มัคเคียเวลลี และโธมัส ฮ็อบส์ และเสริมเติมโดยคาร์ล ชมิทท์ คานธีไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับองค์ประกอบ อารยธรรมตะวันตกว่าด้วยกระบวนการอุตสาหกรรม และการบริโภคเกินความ จ�ำเป็นโดยเพียงอ้างถึงสิทธิของปัจเจกชนที่จะเพิ่มพูนประโยชน์ส่วนตน คานธี เชือ่ ในการใช้อำ� นาจอธิปไตยร่วมกัน ความพอเพียง หัตถกรรมพืน้ บ้าน เทคโนโลยี ที่พอประมาณ และวิถีชุมชน ถึงแม้คานธีจะเชื่อในการสร้างจิตวิญญาณให้ การเมือง ดังที่ญะฮานเบกลูพรรณนาไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่างละเอียด คานธีก็ เน้นย�้ำว่า สังคมมีความเป็น ‘ศาสนา’ ได้ แต่รัฐต้องด�ำเนินการทางโลกเท่านั้น เพราะการเมืองส�ำหรับคานธี หมายถึง “รัฐทีด่ ที สี่ ดุ คือรัฐทีป่ กครองน้อยทีส่ ดุ ”6 การเมืองส�ำหรับคานธีจึงเป็นเรื่องของปัจเจกชนและชุมชนหมู่บ้าน ปัจเจกชน จะปกครองตนเองด้วยตนเอง โดยศาสนาและจริยธรรมทีส่ นทนาแลกเปลีย่ นกับ ผูอ้ นื่ เพือ่ การอยูร่ ว่ มกันอย่างสันติ ดังนัน้ ส�ำหรับคานธี ผูน้ ำ� ทางการเมืองจึงควร ปลูกฝังความไม่รุนแรงและความเมตตากรุณา เพื่อเป็นฐานด�ำรงความสัมพันธ์ อันซื่อตรงและจริงใจกับบุคคลอื่น ประการที่สอง หนังสือเล่มนี้เผยให้เราเห็นภาพภารกิจอันยากล�ำบากของ คานธีในการปลดแอกอินเดีย อาณานิคมอังกฤษมิได้เข้ามาใช้ก�ำลังยึดครอง อินเดียเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจถ่ายเดียว หากแต่ท้าทายเชิงหยามเหยียด 6
ค�ำกล่าวของธอโรที่คานธีอ้างถึง จากศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11
อารยธรรมอินเดียด้วย เกี่ยวกับภารกิจอันยากล�ำบากของคานธีนี้ ครั้งหนึ่ง ใน นามแห่ง ‘การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเบงกอล’ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบโต้การรุกราน ทางความคิดของตะวันตก รามโมหัน รอย และทวารกานาถ ฐากูร (ปู่ของ รพินทรนาถ ฐากูร) ก็ได้เผชิญความท้าทายนี้โดยหันไปปฏิรูปความคิดอินเดีย โบราณในด้านต่างๆ รวมถึงผลักดันให้ยกเลิกพิธีสตี และสร้างพรหมสมาชในปี 1828 ซึ่งเน้นให้นับถือพระเจ้าองค์เดียว ดังที่ผู้ก่อตั้งเชื่อว่าเป็นค�ำสอนต้นฉบับ ของคัมภีร์พระเวท7 ปฏิกิริยาลักษณะนี้มิได้จ�ำกัดอยู่ในแวดวงชาวฮินดูเท่านั้น เซอร์ซัยยิด อาห์หมัด ข่าน ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมุสลิมอลิการ์ ก็มุ่งมั่นปฏิรูป มุสลิมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาในด้านสังคม เศรษฐกิจ และวิทยาศาสตร์ด้วย ในยุคสมัยของคานธี การต่อสู้กับอังกฤษเป็นภารกิจอันยาวนาน ส่วนหนึ่ง ก็เพราะคานธีไม่เชือ่ ว่า “จุดหมายปลายทางเป็นตัวก�ำหนดหนทาง” หากแต่เชือ่ ว่า “หนทางและจุดหมายปลายทางเป็นค�ำทีส่ ลับสับเปลีย่ นกันได้ในปรัชญาชีวติ ของข้าพเจ้า”8 แม้ชาวอินเดียจ�ำนวนไม่นอ้ ยประสงค์จะเห็นประเทศของตนเป็น อิสระจากอังกฤษ แต่คานธีก็ทราบดีว่า ชาวอินเดียเหล่านี้ “ป้ายสีความชั่วร้าย ของอารยธรรมสมัยใหม่ใส่ชาวอังกฤษ จึงปักใจเชื่อว่าชาวอังกฤษชั่วร้าย แทนที่ จะเชื่อว่าอารยธรรมที่พวกเขาเป็นตัวแทนเป็นสิ่งชั่วร้าย” พวกเขาเชื่อด้วยว่า “...ควรจะน� ำ อารยธรรมสมั ย ใหม่ แ ละวิ ธี รุ น แรงสมั ย ใหม่ ม าใช้ ขั บ ไล่ ช าว อังกฤษ”9 ส�ำหรับคานธี ความคิดเยี่ยงนี้มิใช่สิ่งถูกต้อง เพราะเป็นเพียงความ ปรารถนาทีจ่ ะบรรลุเป้าหมาย โดยไม่คำ� นึงถึงหนทางทีไ่ ด้มา นีค่ อื เหตุผลส�ำคัญ ข้อหนึ่งที่ท�ำให้คานธีต้องเขียนฮินด์ สวราช เพื่อชักชวนชาวอินเดียให้เข้าใจ ความหมายของการปกครองตนเองที่ไกลเกินกว่าการปกครองประเทศของตน สุรัตน์ โหราชัยกุล, “ความมั่นคงของสตรีในอินเดีย”, กรุงเทพธุรกิจ, 21 สิงหาคม 2558. M. K. Gandhi, Young India, December 26, 1924, p. 424. 9 M. K. Gandhi, Hind Swaraj and Other Writings, Anthony J. Parel, ed., Cambridge: Cambridge University Press, 2013, p. 7. 7 8
12
ช่วงเวลาแบบคานธี
ภารกิจอันยากล�ำบากนี้ยังเป็นที่ประจักษ์อีก เมื่อคานธีต้องต่อสู้ทางความ คิดกับชาวอินเดียร่วมสมัยกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับเขา มิหน�ำซ�้ำกลุ่มอื่นๆ นี้ ก็ใช่จะมีความคิดเป็นหนึ่งเดียวกันเสียด้วย วินายัก ดาโมดาร์ สาวรการ และ ศยามยี กฤษณะ วัรมาก็ยืนกรานใช้ความรุนแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงอินเดียให้เป็น รัฐของชาติพนั ธุฮ์ นิ ดู วีเรนทรนาถ ฉัตโตปาธยายก็เห็นความส�ำคัญในการใช้ความ รุนแรงเพือ่ ปฏิวตั อิ นิ เดียไปสูร่ ฐั มาร์กซิสต์ รพินทรนาถ ฐากูรมองกรอบความคิด และแนวทางของคานธีเป็นการเพิกเฉยต่อความเป็นสากลนิยม10 ดร. ภิมราว รามยี อัมเบดการ์วิพากษ์ลัทธิคานธีนิยมว่าคับแคบ ไม่เห็นอกเห็นใจทลิต ใน ขณะที่สันนิบาตมุสลิมน�ำโดยมุฮัมหมัด อะลี จินนาห์ก็ยึดมั่นการตีความอิสลาม ในแบบของตน และในทีส่ ดุ ก็มงุ่ มัน่ ด�ำเนินการแบ่งแยกปากีสถานออกจากอินเดีย คานธีมิได้มองคนที่คิดต่างจากตนเป็นศัตรู เขาพยายามสนทนาแลกเปลี่ยนกับ ผู้ที่คิดต่างกับตน เพราะคานธีเชื่อในการปฏิบัติสิ่งที่ตนได้เสนอต่อสาธารณชน ดังประโยคอันโด่งดังของคานธีทวี่ า่ “ชีวติ ของข้าพเจ้า คือสารของข้าพเจ้า” และ ด้วยความพยายามในการสนทนาแลกเปลี่ยนนี้ เราจึงมีหลักฐานลายลักษณ์ อักษรเกี่ยวกับความพยายามนี้เป็นจ�ำนวนมาก ภารกิจอันยากล�ำบากของคานธีจึงหมายถึง นอกจากจะต้องต่อกรกับ อังกฤษแล้ว ยังต้องชักชวนให้ชาวอินเดียด้วยกัน โดยเฉพาะพวกนับถือศาสนา แบบสุดโต่งและพวกนิยมใช้ความรุนแรง เห็นความส�ำคัญของอารยธรรมตนอย่าง ถูกต้อง จักต้องสนทนาแลกเปลี่ยนเพื่อประเมินตนอยู่ตลอดเวลา และไม่ เบียดเบียนหรือเกลียดชังผู้อื่นที่มิใช่พวกตนด้วย เช่น หากฮินดูยังยืนกรานว่า การเหยียบย�่ำผู้มีวรรณะต�่ำเป็นสิ่งชอบธรรมแล้วไซร้ สวราชหรือการปกครอง ตนเองก็มอิ าจบังเกิดได้ เพราะส�ำหรับคานธี การปกครองตนเองมิใช่การปกครอง ดูความคิดทางการเมืองของฐากูรและข้อวิพากษ์ของฐากูรต่อคานธีได้ใน สุรัตน์ โหราชัยกุล, “รพินทรนาถ ฐากูร : ความคิดทางการเมืองว่าด้วยชาตินิยมแบบยุโรป สวเทศี และสากลนิยม,” เอเชีย ปริทัศน์, ปีที่ 33 ฉบับที่ 2, กรกฎาคม–ธันวาคม 2555, หน้า 69–106. 10
จากศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13
ประเทศด้วยตนเองแต่อย่างเดียว หากแต่เป็นการที่ปัจเจกชนปกครองตนเอง ควบคุมตนเอง ประสบความยากล�ำบากด้วยตนเอง เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และสนทนาแลกเปลี่ยนเพื่อยืนยันหรือปรับเปลี่ยนทัศนคติของตน แม้คานธีจะประสบพบเห็นความคิดมากมายทีต่ า่ งจากตนดังทีก่ ล่าวมา แต่ คานธีก็มีผู้สนับสนุนด้วยเช่นกัน นักคิดคนส�ำคัญ เช่น ปราณชีวัน เมห์ตา และ ตารัก นาถ ดาส ต่างก็ค่อนข้างเปิดรับความคิดของคานธี แต่ผู้สนับสนุนคานธี สองคนส�ำคัญในสมัยนัน้ ทีญ ่ ะฮานเบกลูได้เน้นในหนังสือเล่มนีค้ อื นักคิดและนัก ปฏิบัติชาวมุสลิม ข่าน อับดุล กาเฟอร์ ข่าน และมอลานา อาซาด สารัตถะเกี่ยว กับนักคิดทัง้ สองคนนีเ้ อง ทีท่ ำ� ให้เราได้ประโยชน์ประการทีส่ ามจากหนังสือเล่ม นี้ แม้ผู้อ่านบางคนจะทราบดีว่า ทั้งข่านและอาซาดเป็นผู้ปฏิบัติตามคานธี และ ยืนเคียงข้างคานธีในการต่อสู้กับอังกฤษและความรุนแรงในอินเดียมาเป็นเวลา นาน แต่ส่วนใหญ่ก็น่าจะเชื่อด้วยว่า คานธีมีอิทธิพลต่อทั้งสองแต่ฝ่ายเดียว การ ที่ข่านได้รับฉายา ‘คานธีแนวเขตแดน’11 คงสะท้อนความคิดดังกล่าวได้ไม่มาก ก็นอ้ ย ในหนังสือเล่มนี้ ผูอ้ า่ นจะมีโอกาสเรียนรูว้ า่ แท้จริงแล้ว ทัง้ สองก็มอี ทิ ธิพล ต่อคานธีไม่น้อยเช่นกัน ข่านได้ชี้ให้คานธีเห็นอิสลามในแง่ความรักและคุณ ประโยชน์ “ที่ปฏิบัติได้ และเกี่ยวกับความเป็นจริงของอิสลามที่ไม่ใช้ความ รุนแรง” ในขณะที่อาซาดซึ่งเป็นผู้ให้ค�ำปรึกษาแก่คานธี ก็ได้ “แนะน�ำคานธีสู่ ความเข้าใจอิสลามแบบซูฟี”12 ด้วย ในโลกปัจจุบนั โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ ‘11 กันยาฯ’ สือ่ และการรับรูข้ อง สังคมแลดูจะเป็นไปทางที่ว่า โลกของมุสลิมหรืออิสลามนั้นมีแต่ความรุนแรง ปรากฏการณ์ ‘รัฐอิสลาม’ ในอิรกั และซีเรีย และการก่อการร้ายในทีต่ า่ งๆ ยิง่ มาจากค�ำว่า ‘Frontier Gandhi’ ที่ใช้ ‘แนวเขตแดน’ ก็เพราะข่านเป็นชาวแนวเขตแดนตะวันตก เฉียงเหนือของอินเดีย แนวเขตนี้จัดตั้งขึ้นในปี 1901 โดยการปกครองของอังกฤษ ในปี 1955 หรือ 8 ปีหลัง จากปากีสถานสถาปนาเป็นประเทศอิสระ รัฐบาลปากีสถานได้เปลีย่ นชือ่ พืน้ ทีด่ งั กล่าวเป็น ไคเบอร์ ปัคตูนควา 12 รามีน ญะฮานเบกลู, ช่วงเวลาแบบคานธี, หน้า 135 11
14
ช่วงเวลาแบบคานธี
ตอกย�ำ้ การรับรูเ้ ช่นนีใ้ ห้ลกึ ลงไปกว่าเดิมอีก ทัง้ ๆ ทีใ่ นความเป็นจริง ความรุนแรง ในโลกของเราที่มิได้เกิดจากชาวมุสลิมก็มีถมเถไป นอกจากนี้ ชาวมุสลิมที่ก่อ ความรุนแรงจนเป็นข่าวโด่งดังทัว่ โลกก็หาใช่ตวั แทนของศาสนาอิสลามหรือชาว มุสลิมทั้งหมดไม่ ในขณะเดียวกัน การโยนความรุนแรงไปให้มุสลิมในหลายๆ ครัง้ ก็สะท้อนความไร้เดียงสาทีไ่ ม่พยายามตัง้ ค�ำถามถึงเหตุทที่ ำ� ให้ชาวมุสลิมหัน มาใช้ความรุนแรงด้วย ญะฮานเบกลูบอกเราในหนังสือเล่มนีว้ า่ คานธีเชือ่ ว่า เหตุ ทีม่ นี กั ต่อสูช้ าวมุสลิมนิยมความรุนแรงนัน้ เป็นผลมาจากการขยายจักรวรรดินยิ ม ซึ่งท�ำให้ผู้คนเหล่านี้ก้าวร้าว ในขณะเดียวกัน ทั้งคานธี, กาเฟอร์ ข่าน และ อาซาด ก็หาญกล้าทีจ่ ะประณามการใช้ความรุนแรงในหมูช่ าวมุสลิมด้วย ครั้งหนึ่งคานธีเคยทดแทนค�ำกล่าว “ตาต่อตา” ด้วย “ตาต่อตา มีแต่จะ ท�ำให้ทงั้ โลกมืดบอด” เพือ่ จะสือ่ ให้เราทราบว่า ความรุนแรงย่อมท�ำให้เกิดความ รุนแรงอย่างไม่สนิ้ สุด แม้ในโลกของเราจะมากด้วยความรุนแรง แต่ญะฮานเบกลู ก็ยืนกรานหนักแน่นว่า วิถีคิดแบบคานธีก็เป็นที่นิยมในหลายส่วนของโลก ด้วยเช่นกัน ทีส่ ำ� คัญมีชาวมุสลิมอีกจ�ำนวนมากทีย่ ดึ มัน่ การไม่ใช้ความรุนแรงเพือ่ เปลี่ยนแปลงรัฐบาลและสังคมของตน ดังปรากฏในเหตุการณ์ประท้วงในหลาย ประเทศของภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม จึงอาจ สรุปได้ว่า ที่พูดกันมากว่าโลกของมุสลิมเป็นโลกของความรุนแรงเสียเป็นส่วน ใหญ่นั้น เป็นเพียงมายาคติเท่านั้น สาเหตุที่ท�ำให้หนังสือเล่มนี้พิเศษกว่าเล่มอื่นๆ ก็เพราะหนังสือเล่มนี้เขียน ด้วยความเข้าใจคานธี วิถคี ดิ แบบคานธี และการปฏิบตั ขิ องคานธีอย่างเชือ่ มโยง กัน การท�ำความเข้าใจเป็นองค์รวมในบริบทที่คานธีเผชิญ ณ ขณะนั้น ท�ำให้ หนังสือเล่มนี้พิเศษกว่าหลายเล่มเกี่ยวกับคานธีที่ผมเคยอ่าน ที่ส�ำคัญมากก็คือ ญะฮานเบกลูมิได้มองคานธีเป็นเทพเจ้าที่สมบูรณ์แบบ เพราะคานธีเป็นเพียง มนุษย์คนหนึ่งที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น คานธีไม่มีค�ำตอบต่อทุก
จากศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15
ค�ำถาม หรือแม้แต่คำ� ถามบางข้อทีต่ นตัง้ ขึน้ เองด้วยซ�ำ้ นีค่ อื เหตุผลส�ำคัญทีค่ านธี สนับสนุนให้มีการสนทนาแลกเปลี่ยน การกระท�ำของคานธีอาจจะถูกบ้างผิด บ้าง เพราะในหลายสถานการณ์ คานธีจ�ำต้องประนีประนอม และบ่อยครั้งด้วย ที่ท�ำให้เขาแลดูเหมือนคนประหลาดทั้งส�ำหรับอินเดียและตะวันตก ประเด็น ส�ำคัญจึงอยู่ที่ว่า เราควรครุ่นคิดต่อไปว่า เราจะสานความเป็นคานธีต่ออย่างไร ในบริบทสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัยของเรา อีกประการหนึ่งที่ท�ำให้หนังสือเล่มนี้พิเศษ ก็อาจจะเพราะประสบการณ์ ของญะฮานเบกลูที่คลุกคลีอยู่กับแวดวงการรณรงค์ในประเด็นต่างๆ นี่อาจจะ เป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้เขาเห็น ‘ช่วงเวลาแบบคานธี’ ปรากฏในหมู่ชาวมุสลิม หลายแห่ง โดยเฉพาะในอิหร่าน บ้านเกิดของเขา ญะฮานเบกลูเคยถูกจับและ จองจ�ำในอิหร่านช่วงปลายเดือนเมษายน ปี 2008 ทว่าด้วยแรงกดดันของ รัฐบาลตะวันตกพร้อมกับปัญญาชนชั้นน�ำโลก รัฐบาลอิหร่านจึงได้ปล่อยตัวเขา ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน แม้ญะฮานเบกลูไม่เคยกล่าวถึงประเด็นการถูก จองจ�ำของเขาในหนังสือเล่มนี้ แต่ผมรูส้ กึ ได้วา่ ประสบการณ์จำ� เพาะนีม้ อี ทิ ธิพล ให้เขาเข้าใจเรื่องความรุนแรงได้ดียิ่ง ส�ำหรับนิสิตนักศึกษา หรือผู้สนใจอินเดียและสังคมศึกษา ผมมั่นใจว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยตอบค�ำถามหลายข้อ รวมถึงประชาธิปไตย พหุนิยม การ ปฏิรูปสังคม และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี ผมเชื่อด้วยว่า เหตุการณ์ความรุนแรงในอินเดียที่ก่อโดยกลุ่มชาวฮินดูสุดโต่งในสมัยนายก รัฐมนตรี นเรนทรา โมดี เมื่อไม่นานมานี้ ไม่ว่าจะเป็นการท�ำร้ายร่างกายนักการ เมืองชาวมุสลิมเพียงเพราะเขาจัดงานเลี้ยงที่เสิร์ฟเนื้อวัว13 หรือการท�ำร้ายชาว “Hindu nationalist MPs attack assembly member for serving beef at party,” available at: http://www.theguardian.com/world/2015/oct/08/ruling-party-mps-attack-opposition -member-kashmir-assembly-for-eating-beef. 13
16
ช่วงเวลาแบบคานธี
มุสลิมจนถึงแก่ชีวิตเพราะเชื่อว่าเขาได้รับประทานเนื้อวัว14 หรือการเทหมึกรด ศีรษะนักกิจกรรมเพียงเพราะเขาเป็นผู้จัดงานเปิดตัวหนังสือที่เขียนโดยอดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศปากีสถาน15 จะท�ำให้เราเห็นความ ส�ำคัญของหนังสือเล่มนี้มากขึ้น กว่าหนังสือเล่มนี้จะจัดพิมพ์ส�ำเร็จเป็นรูปเล่มถึงมือผู้อ่านได้ มีบุคคล หลายคนได้ลงน�้ำพักน�้ำแรงช่วยในส่วนต่างๆ ขอบพระคุณสวนเงินมีมาที่เป็น ผู้ร่วมจัดปาฐกถามหาตมาคานธีอนุสรณ์ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนมาตั้งแต่ ครั้ ง แรก เรามี ค วามฝั น ร่ ว มกั น ที่ จ ะท� ำ ให้ สั ง คมได้ เ ห็ น ทางเลื อ กว่ า ด้ ว ย การพัฒนาที่ยั่งยืนที่จับต้องได้ ขอบพระคุณคุณฮันส์ และคุณวัลลภา แวนวิลเลี ย นส์ ว าร์ ด ที่ ช ่ ว ยริ เริ่ ม ทาบทามญะฮานเบกลู ใ ห้ ม าเป็ น องค์ ป าฐกคน ที่สี่ ขอบคุณนางสาววรนุช ชูเรืองสุข ที่ช่วยเหลือเกี่ยวกับการจัดพิมพ์ทุก ขั้นตอน ในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมขอขอบคุณนายณัฐ วัชรคิรินทร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการของศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศอจ.) ผูอ้ าสาเป็นบรรณาธิการแปลหนังสือเล่มนี้ ณัฐได้ปรับเปลีย่ นส�ำนวนแปล ที่ออกจะลุ่นๆ ของผมให้น่าอ่านยิ่งขึ้น แม้จะต้องท�ำงานอื่นๆ ของ ศอจ. แต่ณัฐ ก็พยายามท�ำหน้าที่บรรณาธิการอย่างเต็มที่ ขอบพระคุณ ผศ. ดร. ศุภมิตร ปิติพัฒน์ รศ. ดร. วีระ สมบูรณ์ และ ศ. ดร. ไชยันต์ ไชยพร ซึ่งต่างก็ให้ความช่วย เหลือ ศอจ. ทุกครัง้ อ. วีระ และ อ. ศุภมิตรเป็นผูต้ ง้ั ชือ่ หนังสือเล่มนี้ ทัง้ สามช่วย เสนอแนะศัพท์ที่เหมาะสมหลายค�ำด้วย นอกจากนี้ อ. ศุภมิตรยังช่วยอ่าน “Indian man beaten to death for allegedly eating beef,” available at: http://www. cbsnews.com/news/indian-muslim-man-beaten-to-death-allegedly-eating-beef/. 15 “Indian activist Sudheendra Kulkarni hit by Shiv Sena ink attack ,” available at: http://www.bbc.com/news/world-asia-india-34504434. 14
จากศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
17
ต้นฉบับแปลและช่วยปรับแก้เพื่อให้ใจความราบรื่นและกระจ่างชัด ขอบคุณ นายธี ร วิ ท ย์ วชิ ร คพรรณ นิ สิ ต ภาควิ ช าความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่ตอบรับอ่านต้นฉบับแปล ค�ำแนะน�ำของธีรวิทย์ช่วยให้ ผมปรับปรุงภาษาให้เหมาะกับเยาวชนมากขึ้น เพราะการพัฒนาที่ย่ังยืนมิอาจ ปฏิเสธเยาวชนได้โดยเด็ดขาด ช่างโชคดียิ่งที่ผมได้ท�ำงานในคณะรัฐศาสตร์ จุ ฬ าฯ ซึ่ ง มี อ าจารย์ แ ละนิ สิ ต หลายคนคอยให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ผมทุ ก ครั้ ง ขอบพระคุณ ศ. นพ. ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี และ ผศ. ดร. ม.ร.ว. กัลยา ติงศภัทยิ ์ รองอธิการบดี ทีเ่ ป็นแรงส�ำคัญในการขับเคลือ่ น ศอจ. เพราะวิสยั ทัศน์ ของผู้บริหารจุฬาฯ กิจกรรมของ ศอจ. รวมถึงปาฐกถามหาตมาคานธีอนุสรณ์ ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงจะเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ในปีนี้ ขอบพระคุณ ดร. รามีน ญะฮานเบกลู ผู้ประพันธ์หนังสือที่มีประโยชน์เล่ม นีใ้ ห้เราอ่าน และหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า ไม่วา่ เราจะนับถือศาสนาใดก็ตาม เมือ่ อ่าน หนังสือเล่มนี้แล้ว เราคงจะเห็นความส�ำคัญในการประเมินตนเอง เพื่อเข้าใจ ตนเองและผู้อื่น อันจะเป็นประโยชน์ในการสร้างสังคมที่มีความเป็นพหุนิยม อย่างถ่องแท้ แม้ผมจะได้กล่าวถึงความช่วยเหลือของบุคคลต่างๆ ทีท่ ำ� ให้ผมแปลหนังสือ เล่มนี้ได้ส�ำเร็จ แต่หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผมขอเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียง ผู้เดียว ผมหวังด้วยว่า ‘ท�ำเนียบศัพท์เฉพาะ’ ที่ผมท�ำขึ้นไว้ท้ายเล่ม คงช่วย บรรเทาปัญหาทีม่ าจากตัวสะกดอันหลากหลายได้ อนึง่ ชือ่ หนังสืออืน่ ๆ ทีป่ รากฏ ในหนังสือเล่มนี้ ผมได้แปลเป็นภาษาไทยตามเนื้อความของชื่อ แต่หากผู้ใด ประสงค์จะทราบชื่อภาษาต้นฉบับ อาจค้นได้ในท�ำเนียบนี้เช่นกัน ท้ายสุดนี้ ผมขอปิดท้ายค�ำน�ำนีด้ ว้ ยบทกวีของกพีร์ มหากวีชาวอินเดีย ผูม้ ผี ล งานประพันธ์มากมายทีม่ อี ทิ ธิพลต่อขบวนการภักติ และมีบทร้อยกรองหลายบท ปรากฏในคัมภีรอ์ าทิครันถ์ของศาสนาสิกข์ เพือ่ ส�ำแดงคารวจิตแด่มหาตมาคานธี, ข่าน อับดุล กาเฟอร์ ข่าน, มอลานา อาซาด, องค์ทะไลลามะ, มาร์ตนิ ลูเธอร์ คิง 18
ช่วงเวลาแบบคานธี
จูเนียร์, เนลสัน แมนเดลา, เดสมอนด์ ตูตู และชาวโลกอีกมากมายทีเ่ ชือ่ มัน่ ในการ อยูร่ ว่ มกันอย่างสันติและยัง่ ยืน แม้จะนับถือศาสนาทีแ่ ตกต่างกัน
สูตามหาเราในหนใดเล่า จาริกรอนแรมนานศาลเจ้าใด ไม่เห็นเราทั้งในวัดในสุเหร่า มนุษย์เอ๋ย เรากับสูอยู่ด้วยกัน มิใช่ในมนต์ธรรมกรรมบถ มิใช่ในโยคีผู้มีฌาน หาในห้วงอากาศ ไม่อาจพบ แม้ในครรภ์ธรรมชาติ ไม่อาจเป็น เพียรค้นดูแล้วสูจะได้พบ เงี่ยหูฟังกพีร์ท่านจะพรรณนา
ก็ตัวเราอยู่กับสู ใช่อยู่ไหน ถึงแม้ปลีกวิเวกไป ไม่พบพลัน ไม่มีเราที่หินใหญ่ ไกรลาสสวรรค์ ในสูนั้นมีเราอยู่เนานาน ไม่ใช่ในศีลพรตอดอาหาร มิใช่ในปวงทานหว่านบ�ำเพ็ญ ค้นจนจบโลกธาตุ ไม่อาจเห็น เสาะในสิ่งลึกเร้น ไม่ผ่านตา ได้ประสบในยามนั้นที่มั่นหา ในศรัทธาของสู เราอยู่เอยฯ
ด้วยประณาม สุรัตน์ โหราชัยกุล ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ประจ�ำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ และผูอ้ ำ� นวยการศูนย์อนิ เดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 15 ตุลาคม 2558
จากศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
19
สารบัญ จากส�ำนักพิมพ์ จากศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค�ำน�ำโดยทะไลลามะ ค�ำน�ำโดยผู้เขียน
5 6 21 23
บทที่ 1 เกริ่นน�ำ : การพลิกกลับการรับรู้การเมืองสมัยใหม่ของคานธี 25 บทที่ 2 หลักการเมืองแบบคานธี 47 บทที่ 3 ข้อวิพากษ์ต่ออารยธรรมสมัยใหม่ 75 บทที่ 4 ปรัชญาสาธารณะของคานธี : การเชื่อมโยงศีลธรรมกับการเมือง 91 บทที่ 5 การยอมรับคานธีในอินเดีย 113 บทที่ 6 คานธีและสิ่งที่เกินไกลกว่านั้น 151 บทที่ 7 ปิดท้าย : คานธีในปัจจุบัน 173 เชิงอรรถ บรรณานุกรม กิตติกรรมประกาศ ท�ำเนียบศัพท์เฉพาะ
20
ช่วงเวลาแบบคานธี
179 194 203 205
ค�ำน�ำโดยทะไลลามะ มหาตมาคานธีเป็นแหล่งบันดาลใจแหล่งหนึง่ แก่ขา้ พเจ้านับตัง้ แต่ขา้ พเจ้ายังเป็น เด็กเล็กทีเ่ ติบโตขึน้ มาในทิเบต ท่านเป็นบุคคลผูย้ งิ่ ใหญ่ ผูถ้ งึ พร้อมด้วยความเข้าใจ มนุษย์อย่างลึกซึง้ ท่านได้พยายามทุกวิถที างเพือ่ ส่งเสริมการพัฒนามุมมองแง่บวก ของศักยภาพมนุษย์ให้เต็มที่ และเพือ่ ลดทอนหรือเหนีย่ วรัง้ มุมมองแง่ลบ ฉะนัน้ ข้าพเจ้าจึงรูส้ กึ ชืน่ ใจอย่างยิง่ ทีไ่ ด้ทราบว่า ชีวติ ของท่าน ทัง้ การกระท�ำและค�ำพูด ยังคงเป็นแหล่งบันดาลใจตราบเท่าทุกวันนีใ้ นโลกทีเ่ ปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว ข้าพเจ้าได้รับแรงบันดาลใจอย่างลึกซึ้งจากการที่มหาตมาคานธีน�ำอหิงสา หรือความไม่รุนแรงมาใช้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดีย ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงน�ำสิ่ง เดียวกันมาปฏิบตั ใิ นความพยายามกอบกูส้ ทิ ธิมนุษยชนขัน้ พืน้ ฐานและเสรีภาพ ของประชาชนชาวทิเบต ข้าพเจ้าเลือ่ มใสการด�ำรงชีพอันเรียบง่ายของท่านคานธี ด้วย แม้ท่านจะสันทัดจัดเจนความรู้ตะวันตกสมัยใหม่ แต่ท่านก็เป็นเพียงชาว อินเดียคนหนึง่ ทีใ่ ช้ชวี ติ เรียบง่ายตามปรัชญาอินเดียโบราณ ยิง่ ไปกว่านัน้ คือ ท่าน คานธียังตระหนักถึงปัญหาของสามัญชนด้วย ข้าพเจ้าคิดว่าตนเองเป็นผู้ปฏิบัติตามค�ำสอนของมหาตมาคานธีคนหนึ่ง ข้าพเจ้ามองการปลูกฝังความไม่รุนแรงและความเมตตากรุณาเป็นส่วนหนึ่งใน กิจวัตร ใช่วา่ เพราะการปลูกฝังดังกล่าวเป็นสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิห์ รือควรสักการะ หากแต่ เพราะการปลูกฝังที่ว่านี้มีประโยชน์ทางปฏิบัติต่อข้าพเจ้า การปลูกฝังความไม่ รุนแรงและความเมตตากรุณายังความพึงพอใจแก่ข้าพเจ้า ยังศานติแก่ข้าพเจ้า ซึง่ เป็นฐานเพือ่ ด�ำรงความสัมพันธ์อนั ซือ่ ตรงจริงใจกับบุคคลอืน่ หนึง่ ในสิง่ ส�ำคัญ ที่สุดที่เราจ�ำต้องตระหนักคือ ความสุขของมนุษย์เป็นสิ่งถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน อนาคตทีป่ ระสบความส�ำเร็จหรือความสุขของเราสัมพันธ์กบั ของบุคคลอืน่ ฉะนัน้ การช่วยเหลือผูอ้ นื่ หรือความเห็นใจผูอ้ นื่ ในสิทธิหรือความต้องการของเขา แท้จริง แล้วจึงมิใช่เรือ่ งของความรับผิดชอบ แต่เกีย่ วข้องกับความสุขของเราเลยทีเดียว ค�ำน�ำโดยทะไลลามะ
21
แง่มุมส�ำคัญอีกแง่มุมหนึ่งเกี่ยวกับมรดกตกทอดของมหาตมาคือ การยืน หยัดในความส�ำคัญของความจริง แนวปฏิบตั ดิ ว้ ยความไม่รนุ แรงของท่านอิงกับ พลังแห่งความจริงทั้งสิ้น เพือ่ เสาะหาสิง่ ทีเ่ ขาเรียกว่า “ช่วงเวลาแบบคานธี” ในการเมือง ในหนังสือ เล่มนี้ รามีน ญะฮานเบกลูได้เสนอแนวทางเปลี่ยนความเป็นอริไปสู่มิตรภาพใน การเมืองร่วมสมัย และท้าทายความคิดที่ว่า บทบาทการกระท�ำที่ไม่รุนแรงใน กิจการสาธารณะของมุสลิมนั้นไม่มีอยู่ เขาพินิจพิเคราะห์วิธีถนอมความรู้สึก อันแรงกล้าต่อการเมือง พร้อมกับการปลูกฝังและเพิ่มพูนความรับผิดชอบใน กิจการทางการเมืองด้วย ความคิดหลักข้อหนึ่งของท่านคานธีคือ สาระแท้จริงของกิจการทางการ เมืองนั้นคือพลเมือง มิใช่รัฐ นี่คือเหตุผลที่ประเด็นของ “หน้าที่” ส�ำคัญต่อท่าน คานธีมากถึงเพียงนัน้ บนฐานของความคิดเหล่านี้ ท่านคานธีประสบความส�ำเร็จ ที่ ท� ำ ให้ แ นวคิ ด อหิ ง สาของอิ น เดี ย โบราณยั ง มี ค วามส� ำ คั ญ ในบริ บ ทของ สิทธิหน้าที่พลเมืองและประชาธิปไตยร่วมสมัย ภาพตัวอย่างความส�ำเร็จของ ท่านประการหนึง่ คือ การเฝ้าด�ำเนินตามความไม่รนุ แรงในภารกิจของมนุษย์เพือ่ แสวงหาความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในปัจจุบัน ในหนังสือเล่มนี้ ผูเ้ ขียนได้พเิ คราะห์วา่ กระบวนการส่งเสริมประชาธิปไตยให้มี มากขึ้นในการตัดสินใจระดับโลก และการน�ำแนวคิดความไม่รุนแรงมาใช้ใน หลักพืน้ ฐานสมัยใหม่แห่งอธิปไตยนัน้ เป็นสิง่ ทีร่ อ้ ยเข้าด้วยกันและเป็นเป้าหมาย ที่เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กันและกัน เขาสรุปว่า ความคิดของท่านคานธี สวนทางกับความคิดอันแพร่หลายของเหล่าผูว้ างนโยบายระดับโลก ซึง่ มักอิงกับ การใช้กำ� ลัง โดยแสดงให้เห็นว่า แนวปฏิบตั ดิ ว้ ยความไม่รนุ แรงคือฐานอันมัน่ คง เพียงฐานเดียวที่จะน�ำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลกของเราได้ ทะไลลามะ 2 ตุลาคม 2011 22
ช่วงเวลาแบบคานธี
ค�ำน�ำโดยผู้เขียน ข้าพเจ้าเริม่ คิดถึงประเด็นหลักของหนังสือเล่มนีต้ งั้ แต่เกือบสองทศวรรษที่ ผ่านมา ด้วยได้แรงกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและปรัชญาสอง ประการทีป่ รากฏขึน้ การเปลีย่ นแปลงประการแรกคือความส�ำคัญและการแพร่ กระจายของความเห็นต่างที่ไม่รุนแรงทั่วโลก การล่มสลายของก�ำแพงเบอร์ลิน และการเปลีย่ นแปลงทางประชาธิปไตยในแอฟริกาใต้อาจจะชักน�ำไปสูก่ ารคาด คะเนอันไร้เดียงสาเกีย่ วกับ “การสิน้ สุดของประวัตศิ าสตร์” ในวลีอนั โด่งดังของ ฟรานซิส ฟุคุยะมะ แต่การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ก็ได้จุดประกายความสนใจเชิง สร้างสรรค์เรือ่ งความไม่รนุ แรงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย พัฒนาการ ทีต่ ามมาได้ดงึ ดูดความสนใจไปสูก่ ารทีป่ รัชญาคานธีวา่ ด้วยความไม่รนุ แรงยังคง มีความส�ำคัญอยู่ และค�ำถามว่า การเปลี่ยนผ่านจากการเมืองที่ไม่เป็นธรรมไป สูก่ ารเมืองทีเ่ ป็นประชาธิปไตยมากขึน้ จะเกิดขึน้ โดยสันติหรือไม่ การเปลีย่ นแปลง ประการที่สองคือข้อถกเถียงต่อเนื่องเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องอธิปไตย โดยเฉพาะ ความแตกต่างระหว่างแนวคิดสมัยใหม่เรื่องอธิปไตย ซึ่งมีฐานมาจากความคิด ของโธมัส ฮ็อบส์ และคาร์ล ชมิทท์วา่ ด้วยอ�ำนาจอันสมบูรณ์ ความเป็นศัตรู และ ภาวะทีเ่ ป็นข้อยกเว้นกับแนวคิดว่าด้วยการใช้อำ� นาจอธิปไตยร่วมกันในฐานะมุม มองทางเลือกต่ออ�ำนาจ ข้าพเจ้าเริ่มหยิบยกพิจารณาการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ในการเมืองระหว่างประเทศจากการส�ำรวจว่า ผู้น�ำทางการเมืองเช่นเนลสัน แมนเดลาและทะไลลามะจะเปลี่ยนหลักการแห่งศัตรูแบบชมิทท์ไปสู่มิตรภาพ อย่างไร ในหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าพิเคราะห์รากฐานของงานทางการเมืองในความ คิดเรื่องประสบการณ์ไม่ใช้ความรุนแรงของคานธีและมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ พร้อมกับผูน้ ำ� ทางความคิดบางคนทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั น้อยกว่า เช่น ข่าน อับดุล กาเฟอร์ ข่าน และมอลานา อาซาด ชาวมุสลิมอินเดียผู้ซึ่งท้าทายคติดั้งเดิมที่ว่า “อ�ำนาจ คือธรรม” อย่างซึ่งๆ หน้า โดยการผนวกคนกลุ่มหลัง ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่ชื่นชม ค�ำน�ำโดยผู้เขียน
23
มากนักเข้าไว้ในการศึกษา “ช่วงเวลาแบบคานธี” หนังสือเล่มนีไ้ ม่เพียงแต่เสนอ แผนทางปรัชญาในการแปลงศัตรูไปเป็นมิตรในการเมืองร่วมสมัยเท่านั้น หาก แต่ยงั ท้าทายมายาคติทแี่ พร่กระจายไปว่า การกระท�ำทีไ่ ม่รนุ แรงในโลกสาธารณะ ของอิสลามนั้นไม่มีอยู่หรือไม่อาจมีได้ การสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับช่วงเวลาแบบคานธีในการเมืองคือ การพัฒนา ความเข้าใจความท้าทายอันชวนฉงนสนเท่หท์ สี่ ดุ ประการหนึง่ ในศิลปะแห่งการ จัดการรัฐสมัยใหม่ กล่าวคือ วิธถี นอมความมุง่ มัน่ อันแรงกล้าต่อการเมือง พร้อม กับการปลูกฝังและเพิ่มพูนความรับผิดชอบในภาวะการเมืองด้วย มีประเด็น ค�ำถามสองข้อเป็นแรงจูงใจและชี้แนวทางให้ความพยายามนี้ ข้อแรก ช่วงเวลา แบบคานธีแห่งการเมืองที่ท�ำให้การกระท�ำอันขัดแย้งและต่อต้านองค์อธิปัตย์ กลายเป็นแนวคิดว่าด้วยการใช้อำ� นาจอธิปไตยร่วมกันนัน้ คืออะไรกันแน่ ข้อสอง เงือ่ นไขและหลักการอะไรทีจ่ ะท�ำให้ชว่ งเวลาแบบคานธีแห่งการเมืองบังเกิดขึน้ และคงอยูใ่ นระดับโลก ค�ำถามทัง้ สองข้อนีป้ ระกอบเป็นโครงสร้างของบทต่างๆ ที่ตามมา หวังว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าเขียนขึ้นมาพอจะให้ค�ำตอบได้บ้างไม่มากก็น้อย
24
ช่วงเวลาแบบคานธี
บทที่ 1
เกริ่นน�ำ การพลิกกลับการรับรู้การเมืองสมัยใหม่ของคานธี
••• กายสังขารของท่านได้จากเราไปแล้ว เราจะไม่เห็นท่านอีก จะไม่ได้ยินเสียงอันอ่อนโยนของท่านอีก ไม่อาจวิ่งไปขอค�ำปรึกษาจากท่านได้อีก แต่ความทรงจ�ำ อันไม่อาจเลือนหายและสารอันอมตะของท่านยังอยู่กับเรา ยวาหระลาล เนห์รู ••• ทุกคนทราบค�ำถามหลักทางภววิทยาที่ว่า “ท�ำไมจึงมีการมีอยู่ แทนที่จะ ไม่มอี ะไรเลย”อย่างไรก็ตาม มีคำ� ถามทางปรัชญาอันคลุมเครืออีกข้อทีเ่ ผ่าพันธุ์ มนุษย์ไม่อาจตอบได้ คือ “ท�ำไมจึงมีความรุนแรงแทนที่จะไม่มีความรุนแรง” ท�ำไมในโลกปัจจุบันจึงมีความรุนแรงมากมายถึงเพียงนี้ ทั้งการก่อการร้าย การชิงดีชิงเด่นทางศาสนาและชาติพันธุ์ สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม วิกฤตการณ์ เศรษฐกิจ และความเป็นอริระหว่างประเทศ ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นความท้าทาย ระดับโลกและภัยคุกคามนานาประการ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ในโลกที่ความ รุนแรงแพร่ระบาด ทีเ่ ราต้องการโดยด่วนคือความคิดเชิงจริยธรรมอันหนักแน่น ที่ยืนหยัดเพื่อบรรลุหลักพื้นฐานในปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนและชาติ และ เปลีย่ นแปลงความเป็นจริงทางการเมืองทีก่ อ่ ให้เกิดสงคราม ในช่วงเวลาทีเ่ ราก�ำลัง 26
ช่วงเวลาแบบคานธี
เผชิญความขัดแย้งของผลประโยชน์แห่งชาติ ความถือเคร่งตามจารีตค�ำสอน ดัง้ เดิมทางศาสนา และอคติทางชาติพนั ธุแ์ ละเชือ้ ชาติ หลักแห่งความไม่รนุ แรง อาจเป็นสิ่งดีที่สุดในการวางรากฐานการเมืองแบบสากลใหม่ แม้หลายคนยัง เชื่อว่า ความไม่รุนแรงไม่มีประสิทธิผลในการต่อต้านเผด็จการและการฆ่าล้าง เผ่าพันธุ์ ทว่าในหลายทศวรรษทีผ่ า่ นมา การริเริม่ ทางประชาธิปไตยทีอ่ งิ กับสิง่ ที่ เราอาจเรียกว่า “นักรบแห่งความไม่รนุ แรง” หรือการยืนยันความเป็นตัวแทนของ พลเมือง และการแสวงหาประเภทคานธีแบบใหม่เพื่อสันติและความยุติธรรม ได้ประสบความส�ำเร็จอย่างส�ำคัญยิง่ บางทีอาจจะไม่เคยมีครัง้ ใดในประวัตศิ าสตร์ ของเผ่าพันธุ์มนุษย์เลยด้วยซ�้ำ ที่ความไม่รุนแรงกลายเป็นสิ่งส�ำคัญเพียงนี้ เมื่อ เร็วๆ นี้ ความไม่รนุ แรงได้ววิ ฒ ั น์จากกลยุทธ์ตอ่ ต้านอันเรียบง่ายไปสูเ่ ป้าหมายของ การเมืองสากล ซึง่ อิงกับการประยุกต์ใช้หลักประชาธิปไตยระหว่างประเทศ ด้วย ภัยคุกคามทีเ่ ราเผชิญอยูม่ ลี กั ษณะเป็นระดับโลก การส่งเสริมทางออกทีไ่ ม่รนุ แรง จึงต้องเป็นเรือ่ งระหว่างประเทศ การบรรลุการเมืองระดับโลกแห่งความไม่รนุ แรง มิใช่ภารกิจของรัฐบาลฝ่ายเดียว หากแต่เป็นภารกิจของประชาสังคม องค์กร ระหว่างรัฐ องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ และองค์กรข้ามชาติด้วย มีแต่สังคมที่ไม่ใช้ความ รุนแรงเท่านัน้ ทีจ่ ะด�ำเนินไปสูส่ ถาบันทางการเมืองทีม่ วี ฒ ุ ภิ าวะ และท�ำให้ความ ปรองดองระหว่างวัฒนธรรมและระหว่างศาสนายั่งยืนได้ ในช่วงเวลาที่ความ หวาดกลัวเป็นเงือ่ นไขของชีวติ และสติปญ ั ญาของมนุษยชาติถงึ สองในสาม และ ความรุนแรงมีอทิ ธิพลต่อวัฒนธรรมประจ�ำวัน เราคงไม่สามารถด�ำเนินนโยบาย แบบผูห้ ลบเลีย่ งปัญหา โดยเลิกไต่ถามว่า “เป็นความรับผิดชอบของใคร” คงเป็นเรื่องโง่เขลาที่จะคาดหวังให้ความไม่รุนแรงมีประสิทธิผลและคงทน ทั้งๆ ที่คนส่วนใหญ่ยังคิดเรื่องการเมืองในแง่การใช้ความรุนแรงอยู่ จริงอยู่ที่ ฮานนาห์ อาเรนท์ยืนยันไว้ว่า “หากปราศจากพื้นที่สาธารณะที่ได้รับประกัน ทางการเมือง เสรีภาพจะไร้พื้นที่ที่จะปรากฏตัวในโลก”1 แต่ก็จริงอีกเช่นกันว่า ความส�ำเร็จระยะยาวในเสรีภาพการเมืองก็จะไม่เกิดขึ้นหากปราศจากศีลธรรม การพลิกกลับการรับรู้การเมืองสมัยใหม่ของคานธี
27
ฉะนัน้ ภาวะการเมืองจึงอิงกับความเหนือการเมือง ซึง่ ยังเป็นอิสระจากการเมือง อยู่ ถ้าการเมืองไม่องิ อยูก่ บั ความเหนือการเมือง ก็อาจจะลงเอยด้วยความวินาศ กล่าวคือ เหตุการณ์ส�ำคัญทางการเมืองน�ำมาซึ่งความรับผิดชอบทาง ศีลธรรม และมุมมองทางจริยธรรมก็ประทับรอยไว้ในการตัดสินใจทางการเมือง ตามล�ำดับ การเมืองอันปราศจากจริยธรรมก็เป็นแค่การบริหารอ�ำนาจล้วนๆ มี แต่ดว้ ยการรวมเข้าไว้กบั จริยธรรมเท่านัน้ การเมืองจึงจะยกระดับขึน้ เป็นคุณค่า สาธารณะได้ จริงอยูท่ นี่ กั การเมืองผูท้ ะเยอทะยานใฝ่สอนและก�ำหนดพฤติกรรม ทางศีลธรรมได้กอ่ อาชญากรรมอันเลวร้าย แต่การสร้างจิตวิญญาณให้การเมือง ดังที่คานธีเข้าใจ มิได้เป็นเพียงการท�ำให้การเมืองมีศีลธรรมเท่านั้น หากแต่เป็น ความพยายามประการหนึง่ ทีจ่ ะให้ความหมายใหม่แก่การเมืองในแง่ความรับผิด ชอบของพลเมืองตามสิทธิและหน้าทีใ่ นพืน้ ทีส่ าธารณะอันเปิดเผย ในทัศนะของ คานธี การเข้าไปยุง่ เกีย่ วกับการเมืองคือการกระท�ำตามบทบาทของพลเมืองด้วย วิถที างทีม่ สี ำ� นึกทางศีลธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ความไม่รนุ แรงคือ สิ่งส�ำคัญหลักต่อประเด็นนี้ ถึงเวลาแล้วที่การเมืองจะต้องรื้อฟื้นการยึดมั่นอยู่ กับช่วงเวลาแบบคานธี ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม โดยรวมแล้ว “ช่วงเวลาแบบคานธี” ทีข่ า้ พเจ้าหมายถึง ณ ทีน่ คี้ อื พลังทีส่ ง่ ผลต่อการเปลี่ยนแปลงภายในความคิดจิตใจของผู้ที่เลือกวิถีการต่อต้านที่ไม่ใช้ ความรุนแรงในการต่อสูเ้ พือ่ เปิดพืน้ ทีท่ างการเมืองทีเ่ ป็นประชาธิปไตย แน่นอน เหตุการณ์สำ� คัญทางสาธารณะหรือการเมืองก็อาจจะเรียกว่าช่วงเวลาแบบคานธี ได้เช่นกัน ลองนึกถึงการเปลีย่ นแปลงทีไ่ ม่ใช้ความรุนแรงซึง่ ได้แรงบันดาลใจจาก การประท้วงของประชาชนครัง้ ใหญ่ในการต่อต้านการใช้กำ� ลังทางทหารในสหรัฐฯ ยุโรปตะวันออก ละตินอเมริกา แอฟริกาใต้ และฟิลปิ ปินส์ ในครึง่ หลังของศตวรรษ ที่ 20 ยิง่ ไปกว่านัน้ เมือ่ ไม่นานมานี้ จากปรากฏการณ์ “อาหรับสปริง” และ เดอะ กรีน มูฟเมนท์ ในอิหร่าน โลกได้ประจักษ์การระดมประชาชนอีกครัง้ หนึง่ แม้จะ ประสบความส�ำเร็จทางการเมืองบ้างล้มเหลวบ้างคละเคล้ากันไป พวกเขาได้ยดึ 28
ช่วงเวลาแบบคานธี
อ�ำนาจทางศีลธรรม โดยไม่องิ กับการใช้ความรุนแรง หากแต่องิ กับความหาญกล้า และความเป็นจริงเพือ่ เผชิญกับการใช้อำ� นาจกดขี่ แต่ในการเขียนเรือ่ ง “ช่วงเวลา แบบคานธี” ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาทีจ่ ะเน้นไปยังเหตุการณ์การต่อต้านทีไ่ ม่ใช้ความ รุนแรงทัง้ หมด หากแต่มงุ่ ไปยังกระบวนการต่อสูด้ นิ้ รนทางความคิดจิตใจและจิต วิญญาณทีจ่ ะเปลีย่ นแปลงปัจเจกชนจากภายใน และช่วยสร้างเงือ่ นไขซึง่ ความ หมายของการกระท�ำทางการเมืองจะถูกเปลีย่ นแปลง ในแง่นี้ ช่วงเวลาแบบคานธีเกีย่ วกับการก�ำหนดเป้าหมายใหม่ เกีย่ วกับปัจเจกชนทีเ่ ข้าร่วมในการต่อสูเ้ พือ่ เข้าใจตัวตนของตนเอง และความสัมพันธ์ของพวกเขากับรัฐเสียใหม่ การกล่าวว่า ช่วงเวลาแบบคานธีโดยรากลึกแล้วเป็นวิธคี ดิ ใหม่นนั้ อาจเข้าทางผูท้ มี่ องวิธศี กึ ษา ของคานธีตอ่ การเปลีย่ นแปลงทางการเมืองและสังคมว่าเป็นเรือ่ งไร้เดียงสา ไม่ อาจปฏิบตั ไิ ด้จริง และเพ้อฝัน หรือท�ำให้ฟงั คล้ายเป็นผูห้ ลงใหลคานธีและลัทธิ คานธีอย่างไม่มเี หตุผล และไม่ใคร่สงั เกตเห็นโลกอันสกปรกโสมมของการเมือง เชิงปฏิบตั ิ แต่เมือ่ เราพิจารณาความคิดของคานธี ว่าท้าทายจุดยืนทางทฤษฎีของ มุมมองทางการเมืองทีค่ รอบง�ำในศตวรรษที่ 21 อย่างไร เราไม่ควรลืมว่า ความ คิดของคานธีได้มีผลเชิงปฏิบัติอย่างอเนกอนันต์ทั่วโลก เราไม่ควรส�ำคัญผิดว่า ความคิดของคานธีเป็นเพียงกลยุทธ์เกี่ยวกับวิธีจ�ำเพาะในการหลีกเลี่ยงความ รุนแรงเท่านัน้ เช่น ต่อการแบ่งขัว้ ระหว่าง “ส่วนตัว” กับ “สาธารณะ” ทีม่ มี า นมนานแล้ว ซึ่งเคยได้สร้างเป็นทฤษฎี และได้รับความชอบธรรมโดยนักคิด เสรีนิยมอย่างบองชาแมง กงสตองต์ และรับรองโดยผู้ปฏิวัติชาวฝรั่งเศสและ อเมริกัน ซึ่งยังเป็นความคิดและการปฏิบัติของพรรคการเมืองจวบจนทุกวันนี้ การแบ่งขัว้ ทีว่ า่ นีถ้ ูกท้าทายจากการยืนกรานแบบคานธีวา่ การกระท�ำทางการ เมืองต้องตอบสนองหน้าทีท่ างศีลธรรมเท่ากับสิทธิของปัจเจกชน คานธีเปิดพืน้ ที่ ใหม่เพือ่ การเป็นตัวแทนทางการเมืองประเภทใหม่ ในทีเ่ สนอให้เห็นว่าการเมือง เป็นกระบวนการเข้าไปเกีย่ วข้องอย่างสร้างสรรค์กบั ผูอ้ นื่ เพือ่ เปลีย่ นสถานการณ์ ทางการเมืองทีไ่ ม่เป็นธรรมให้มคี วามเป็นธรรมมากขึน้ ดังทีป่ ระจักษ์แล้วในบัดนี้ การพลิกกลับการรับรู้การเมืองสมัยใหม่ของคานธี
29
ถ้าคานธีแสวงหาการเปลีย่ นความหมายของการกระท�ำทางการเมืองโดยเรียกร้อง ให้สนใจหน้าทีพ่ ลเมืองเท่าๆ กับสิทธิของพวกเขา โดยตรรกะแล้วย่อมน�ำมาซึง่ ค�ำถามต่อไป นัน่ คือ คานธีกำ� หนดบทบาททางสังคมและการเมืองของพลเมืองที่ ข้ามพ้นรัฐออกไปอย่างไร แก่นสารส�ำคัญในทฤษฎีการเมืองของคานธีคือ การแสดงว่าสาระแท้จริง ของภาวะการเมืองนัน้ คือพลเมือง มิใช่รฐั กล่าวอีกนัยคือ ในความคิดของคานธี พลเมืองยืนสูงกว่ารัฐโดยตลอด นี่คือเหตุที่ประเด็นค�ำถาม “หน้าที่” ส�ำคัญต่อ คานธียงิ่ นัก ในช่วงเวลาแบบคานธี ผูอ้ ยูใ่ ต้ความเป็นการเมืองยอมรับหน้าทีท่ าง ศีลธรรมเข้าไว้ในตน และปลดปล่อยตนเป็นอิสระจากการศิโรราบต่ออ�ำนาจ ทางการเมืองทีม่ อี ยู่ ดังนัน้ จึงพลิกกลับความคิดทัว่ ไปของเราว่าด้วยองค์อธิปตั ย์ คือใคร คานธีเคยเขียนไว้จนเป็นที่นิยมชมชอบว่า “หลักการพื้นฐานแห่ง สัตยาเคราะห์ [พลัง-สัจจะ] มีอยู่ว่า ผู้กดขี่ที่นักสัตยาเคราะห์เพียรต่อต้านนั้น ย่อมมีอำ� นาจเหนือร่างกายและวัตถุทเี่ ขาครอบครองได้ ทว่ามิอาจมีอำ� นาจเหนือ วิญญาณได้ วิญญาณยังคงไม่ถูกก�ำราบ และมิอาจก�ำราบได้เลย แม้เมื่อร่างกาย ถูกจองจ�ำ”2 การเคลือ่ นไปไกลเกินกว่าความกลัว เปิดทางให้การเมืองแบบคานธี ไปไกลเกินกว่ากฎองค์อธิปัตย์ที่สร้างอ�ำนาจอันชอบธรรม ส�ำหรับคานธีแล้ว ผู้อยู่ใต้ภาวะการเมืองมิได้สร้างขึ้นโดยองค์อธิปัตย์ องค์อธิปัตย์ต่างหากที่ สร้างขึ้นโดยและแบ่งปันอธิปไตยกับผู้อยู่ภายใต้ที่มีบทบาททางการเมือง คานธีอธิบายเงื่อนไขที่จ�ำเป็นต้องมีก่อนเพื่อความชอบด้วยกฎหมายและความ ชอบธรรมว่า คือความยินยอมทางการเมืองของพลเมือง มิใช่อ�ำนาจของรัฐ คือ กฎแห่งตัวกฎเอง ประเด็นปัญหาส�ำหรับคานธีมิใช่เพียงว่าใครเป็นผู้ปกครอง หากแต่เป็นโครงสร้างทัง้ หมดในการปกครองขององค์อธิปตั ย์ คานธีมงุ่ ทีจ่ ะขจัด ความเป็นเทววิทยาและความเป็นทางโลกออกจากแนวคิดเทววิทยาที่ถูกท�ำให้ เป็นทางโลกของการเมืองสมัยใหม่ ที่ส�ำแดงในองค์อธิปัตย์อันทรงอ�ำนาจไม่ สิ้นสุด ซึ่งโธมัส ฮ็อบส์อ้างว่า เราทุกคนจ�ำต้องเชื่อฟัง มิฉะนั้นแล้วจะเสี่ยงเป็น 30
ช่วงเวลาแบบคานธี
อนาธิปไตย การที่คานธีเน้นเรื่องหน้าที่เชิงจริยธรรมของพลเมืองนั้นตัดทอน อ�ำนาจทางการเมืองแบบฮ็อบส์ และก�ำหนดให้ในบางเงื่อนไขพลเมืองไม่เชื่อฟัง รัฐและกฎหมายของรัฐโดยไม่ต้องเกรงกลัว แนวปฏิบัติทางการเมืองของคานธี อิงกับการหักร้างความกลัวแบบฮ็อบส์ ในฮินด์ สวราช คานธีเขียนไว้ว่า “การ ต่อต้านอย่างสงบโดยไม่รว่ มมือกับรัฐไม่อาจขยับไปข้างหน้าได้เลยหากยังมีความ กลัว ผู้ที่จะต่อต้านอย่างสงบโดยไม่ร่วมมือกับรัฐได้นั้น คือผู้ที่เป็นไทจากความ กลัว ทั้งต่อเรื่องทรัพย์สิน เกียรติยศจอมปลอม วงศาคณาญาติ รัฐบาล การ บาดเจ็บทางกาย ความตาย”3 เพื่อจะให้ความหมายแก่แนวคิดเรื่องความไม่ รุนแรงในฐานะช่วงเวลาของ “การใช้อ�ำนาจอธิปไตยร่วมกัน” และเพื่อปลด ปล่อยการเมืองสมัยใหม่จากการยึดถืออ�ำนาจอธิปไตยดุจดังเทพเจ้า คานธีได้นำ� เสนอความคิดเรื่องการใช้อ�ำนาจอธิปไตยร่วมกันในฐานะหลักการเชิงกฎเกณฑ์ และในขณะเดียวกัน เป็นการรับประกันว่า จะมีข้อจ�ำกัดการใช้อ�ำนาจทางการ เมืองไปในทางผิด นอกจากนี้ จะเป็นหลักการที่ให้ความหมายกับการอ้างอิงถึง ความคิดเรือ่ งความรับผิดชอบเท่านัน้ การเคลือ่ นย้ายจุดเน้นครัง้ ส�ำคัญซึง่ ปรากฏ ในการถกเถียงแบบคานธีคือ จากความคิดทั่วไปที่ความชอบธรรมทางการเมือง มาจากอ�ำนาจทางการเมือง ไปสู่ความคิดว่าความชอบธรรมเป็นสิ่งที่ได้มาจาก ปริมณฑลทางจริยธรรม ซึ่งเป็นความคิดที่ให้น�้ำหนักอย่างมากแก่ความรับผิด ชอบและหน้าที่พลเมืองที่จะกระท�ำการอย่างมีจริยธรรม ความท้าทายของ คานธีตอ่ รัฐสมัยใหม่จงึ มิใช่เพียงการมุง่ ไปยังฐานของความชอบธรรม หากแต่ตอ่ ความเป็นเหตุเป็นผลขั้นพื้นฐานของตัวมันเอง หลักการแบบคานธีว่าด้วยความ ไม่รนุ แรงถูกน�ำเสนอในฐานะความท้าทายต่อความรุนแรง ทีจ่ ำ� ต้องโยงใยมาโดย ตลอดกับรากฐานของระเบียบองค์อธิปัตย์ การวิพากษ์ของคานธีต่อการเมือง สมัยใหม่ได้น�ำคานธีไปสู่แนวคิดเรื่องภาวะการเมือง ซึ่งหาที่แสดงออกไม่ได้ ทั้งใน “การท�ำให้การเมืองเป็นเรื่องทางโลก” หรือใน “การท�ำให้ศาสนาเป็น ประเด็นทางการเมือง” หากแต่พบได้ในประเด็นค�ำถามเรื่อง “จริยธรรมแห่ง การพลิกกลับการรับรู้การเมืองสมัยใหม่ของคานธี
31
ภราดรภาพ” ซึ่งน�ำจริยธรรม การเมืองและศาสนามาอยู่ด้วยกัน ช่วงเวลาแบบ คานธีแห่งการเมืองนี้ ยังน�ำไปสู่ความเป็นไปได้ในการสังเคราะห์ระหว่างสอง แนวคิดว่าด้วยความเป็นอิสระของปัจเจกชนและการกระท�ำทีไ่ ม่ใช้ความรุนแรง คานธีประสบความส�ำเร็จในการสร้างค�ำใหม่จากภูมิปัญญาโบราณ โดยการ เปลีย่ นแนวคิดเรือ่ ง “อหิงสา” (การหลีกเลีย่ งความรุนแรง) ของฮินดูและเชนไป สู่วิสัยแห่งพลเมืองและข้อตกลงร่วมกันทางประชาธิปไตย เพื่อให้เข้าใจทั้งหมดนี้ดีขึ้น เพื่อเห็นว่าคานธีมองความก้าวหน้าของ ประชาธิปไตยสอดประสานกับเป้าหมายการพลิกกลับความคิดของเราเกีย่ วกับ อธิปไตย หนังสือเล่มนี้จะด�ำเนินความโดยการศึกษาแนวคิดต่างๆ อันเป็นหัวใจ ของปรัชญาคานธี จะแสดงให้เห็นว่า คานธีปฏิสัมพันธ์กับทั้งผู้วิพากษ์และผู้ สนับสนุนร่วมสมัยอย่างไร และสืบต่อไปยังการพิจารณาว่า ผู้ปฏิบัติตามแนว คานธีบางคนได้พฒ ั นาและใช้ความคิดของคานธีอย่างไรหลังจากคานธีลว่ งลับไป แล้ว ด้วยเหตุนี้ บทต่อไปจึงว่าด้วยการพิจารณาหลักการเมืองแบบคานธีอย่าง ละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งล้วนเชื่อมโยงกับสารัตถะทางปรัชญาว่าด้วยความไม่รุนแรง ของคานธี ในทางหนึ่ง ความไม่รุนแรงและความเป็นอิสระนั้นบรรจบกันใน ปรัชญาคานธี ดังทีบ่ ทนีแ้ สดงให้เห็น คานธีมองโดยตลอดว่า ศัตรูขาดความอิสระ ทั้งในแง่บุคคลหรือเป็นกลุ่ม บทที่ 3 คือการศึกษาการวิพากษ์ของคานธีต่อ อารยธรรมสมัยใหม่ ดังที่เราจะเห็นต่อไปว่า คานธีได้พัฒนาความคิดเรื่อง “อารยธรรม” ในฐานะการเสาะแสวงความหมายอันสูงสุดแห่งการด�ำรงอยูข่ อง มนุษย์ และใช้ความคิดดังกล่าวต่อต้านความคิดทีว่ า่ อารยธรรมสมัยใหม่เป็นเพียง อ�ำนาจครอบง�ำที่ได้มาใหม่เหนือธรรมชาติด้วยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และเหนือ มนุษย์ด้วยการเมืองสมัยใหม่ คานธีพินิจพิจารณาเรื่องอารยธรรมในฐานะ กระบวนการสนทนาแลกเปลีย่ นด้วย หนึง่ ในนัน้ ก็คอื ตะวันออกและตะวันตกพบ กันและเปลี่ยนแปลงซึ่งกันและกัน บทที่ 4 ขยับจากปรัชญาไปสู่การปฏิบัติ ซึ่ง ย้อนรอยพัฒนาการปรัชญาสาธารณะของคานธี และความคิดเรื่อง “ความเห็น 32
ช่วงเวลาแบบคานธี