ผู้นำ�แห่งภูฐาน
อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
ผู้นำ� นักยุทธศาสตร์เปี่ยมศรัทธา: พระราชาธิบดี อุเก้น วังชุก 1
หมวดสังคม/ชีวิต ผู้น�ำแห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข เขียน แปล บรรณาธิการ
กรรมะ อุระ กุณฑ์ สุจริตกุล และ วัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด นิพนธ์ แจ่มดวง
Leadership of the Wise: Kings of Bhutan by Karma Ura
Original English edition published 2010 by The Centre for Bhutan Studies Copyright © 2010 by Karma Ura This Thai language edition published by arrangement with Karma Ura, The Centre for Bhutan Studies. The Thai language edition copyright © 2015 by Suan Nguen Mee Ma Co., Ltd. All rights reserved. ลิขสิทธิ์ฉบับภาษาไทย © ส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมา, ๒๕๕๘ ออกแบบปก สามเกลอหัวแข็ง รูปเล่ม สามเกลอหัวแข็ง, สุคลี ช่างกลึงกุล พิสูจน์อักษร พิมพุทธ พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data กรรมะ, อุระ. ผู้น�ำแห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข.-- กรุงเทพฯ : สวนเงินมีมา, 2558. 224 หน้า. 1. ภูฏาน--การเมืองและการปกครอง. I. กุณฑ์ สุจริตกุล, วัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง.
ผู้นำ�แห่งภูฐาน อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
Leadership of the Wise Kings of Bhutan กรรมะ อุระ
320.5498 ISBN 978-616-7368-67-2
ที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศ บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการ ฝ่ายสื่อสารประชาสัมพันธ์ ฝ่ายขาย จัดพิมพ์ อีเมล เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก โรงพิมพ์ จัดจ�ำหน่าย ราคา
ฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด วัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด, ฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด วรนุช ชูเรืองสุข พิชญ์นันท์ พุ่มสวัสดิ์ สมภพ บุญชุม บริษัท สวนเงินมีมา จ�ำกัด ๗๗, ๗๙ ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๒๒ ๒๔๙๕-๖, ๐ ๒๖๒๒ ๐๙๕๕, ๐ ๒๖๒๒ ๐๙๖๖ โทรสาร ๐ ๒๖๒๒ ๓๒๒๘ publishers@suan-spirit.com www.suan-spirit.com www.facebook.com/suan2001 หจก. ภาพพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๔๓๓ ๐๐๒๖-๗ สายส่งศึกษิต บริษัท เคล็ดไทย จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐ ๒๒๕ ๙๕๓๖-๙ ๒๖๐ บาท
2 ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
ผู้แปล กุณฑ์ สุจริตกุล | วัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด
ผู้นำ� นักยุทธศาสตร์เปี่ยมศรัทธา: พระราชาธิบดี อุเก้น วังชุก 3
จากสำ�นักพิมพ์ คณะกรรมการบริษัทสวนเงินมีมา ๑. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ๒. นายประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข ๓. นายสมเกียรติ์ อภิญญาชน ๔. นายปรีดา เตียสุวรรณ์ ๕. นายสัจจา รัตนโฉมศรี ๖. นายอนันต์ วิริยะพินิจ ๗. นายฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด ๘. นางวัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด
ประธานกิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการ
รายนามผู้ถือหุ้น ๑. นายธีรพล นิยม ๒. นายวินัย ชาติอนันต์ ๓. นายวิศิษฐ์ วังวิญญู ๔. นายสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง ๕. นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ๖. นายสมบูรณ์ จึงเปรมปรีดิ์ ๗. นางอภิสิรี จรัลชวนะเพท ๘. นายมาซากิ ซาโต้ ๙. นายบารมี ชัยรัตน์ ๑๐. นายปรีดา เรืองวิชาธร
๑๑. นายศิโรช อังสุวัฒนะ ๑๒. นายเลิศ ตันติสุกฤต ๑๓. นางวรรณา ประยุกต์วงศ์ ๑๔. นางสาวปารีณา ประยุกต์วงศ์ ๑๕. บริษัทแพรนด้า โฮลดิ้ง จ�ำกัด ๑๖. นายกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ ๑๗. นายวัลลภ พิชญ์พงศ์ศา ๑๘. นางดารณี เรียนศรีวิไล ๑๙. นางสุวรรณา หลั่งน�้ำสังข์ ๒๐. นายวีระเดช สมบูรณ์เวชชการ
ส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมา เป็นส่วนหนึ่งของ บริษัทสวนเงินมีมา จ�ำกัด อันเป็นธุรกิจอย่างใหม่ ประกอบด้วยองค์กรพัฒนาสังคมและนักธุรกิจที่ตระหนักถึงปัญหาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และ ศักยภาพด้านในของมนุษย์ ตั้งขึ้นเพื่อด�ำเนินงานทั้งด้านธุรกิจและสังคมไปพร้อมกัน ด้วยค่านิยม อย่างใหม่ที่มิได้หวังก�ำไรเป็นที่ตั้ง และผลก�ำไรที่มีขึ้นจะน�ำกลับไปส่งเสริมสนับสนุนองค์กรพัฒนา สังคมและชุมชนเป็นหลัก
4 ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
นี่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของประเทศภูฐานอย่าง สั ง เขป เพื่อ ผู้ส นใจเกี่ยวกับ อดีตและความเป็นมาของดินแดนในแถบ เทือกเขาหิมาลัยที่ได้สมญานามว่า “ดินแดนแห่งความสุข” เป็นประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของประเทศภูฐานแบบย่นย่อ ที่นับว่ามีความน่าเชื่อถือ มากที่สุดเล่มหนึ่งจากผู้เขียนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้คนสำ�คัญของประเทศนี้ เนื้ อ หาบทสั ม ภาษณ์ ใ นหนั ง สื อ เล่ ม นี้ มี ด้ ว ยกั น ๖ บท โดยตั้ ง ต้ น ในปี ค.ศ. ๑๘๒๔ ที่ ดรุก เทศี จิ๊กมี่ นัมเกล เจ้าผู้ครองนครประเทศที่เป็น พระราชบิดาแห่งปฐมกษัตริย์อุเก้น วังชุกถือกำ�เนิด (ในบทที่ ๑) ไปจนถึง ปี ค.ศ. ๒๐๐๘ อันเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชา- ธิ ป ไตยมาสู่ ร ะบอบประชาธิ ป ไตยในรั ช สมั ย ปั จ จุ บั น (บทที่ ๖) และ ประเทศภูฐานได้มีรัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกใน ปี ๒๐๐๘ รวมเรื่องราวในระยะเวลาเกือบสองร้อยปี ประวัติศาสตร์ภูฐานมักถูกจำ�แนกออกเป็นช่วงสำ�คัญดังนี้ ช่วงที่มี การรวมประเทศครั้งแรกในสมัยของท่านซับดรุง นาวัง นัมเกล (ปี ค.ศ. ๑๕๙๔-๑๖๕๑) ท่านซับดรุงปกครองภูฐานอยู่ระหว่างปี ค.ศ.๑๖๒๖๑๖๕๑ ช่วงต่อมาคือ ช่วงการปกครองของดรุก เทศี อันเป็นผู้ปกครอง ประเทศก่ อ นการสถาปนาระบอบกษั ต ริ ย์ คื อ จากท่ า นซั บ ดรุ ง นาวั ง นั ม เกล สิ้นชีวิตลงในปี ค.ศ. ๑๖๕๑ ถึงปี ค.ศ. ๑๙๐๗ การปกครอง ด้วยดรุก เทศีนี้นับรวมเป็นระยะเวลาได้ ๒๗๑ ปี มีดรุก เทศีรวมทั้งสิ้น ๕๗ ท่ า น และช่ ว งประวัติศ าสตร์ส มัยใหม่ คือการรวมเป็นรัฐชาติใน ผู้นำ� นักยุทธศาสตร์เปี่ยมศรัทธา: พระราชาธิบจากสำ�นั ดี อุเก้นกวัพิงมชุพ์ก ๕5
รัชสมัยของพระราชาธิบดีอุเก้น วังชุก ปฐมกษัตริย์ผู้ก่อตั้งราชวงศ์วังชุก ในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ ในอดีตประเทศภูฐานมีรูปแบบการปกครองของเจ้า ผู้ครองนคร โดยมีเจ้าผู้ครองนครกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ และ มี ป้ อมปราการเมืองที่เรียกว่า ‘ซอง’ (Dzong) ที่ ร วมทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า ง ทั้ ง ศาสนสถานและการประกอบพิ ธี ก รรมทางศาสนา การบริ ห าร การปกครอง ศาลหรือที่ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาท การคลัง การค้า เป็นต้น ป้อมปราการเมืองหรือซองของประเทศภูฐานที่สำ�คัญ ได้แก่ ป้อมปราการ เมืองตรองสา เมืองปูนาคาและเมืองพาโร เป็นต้น กรรมะ อุ ร ะ ผู้ เขี ย นผู้ ใ ห้ สั ม ภาษณ์ เรื่ อ งราวในหนั ง สื อ นี้ ได้ รั บ บรรดาศักดิ์เป็น ‘ดาโชะ’ และได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความรอบรู้มากคนหนึ่ง ของประเทศภูฐาน เขามีความสามารถในการผสมผสานข้อดีของโลก ตะวันออกและโลกตะวันตก ทั้งยังมีความรู้ความเข้าใจภูมิธรรมแห่งอดีต และความเป็นมาแห่งบรรพชนอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องด้วย พุทธศาสนาแบบวัชรยาน ขณะเดียวกันก็ถือว่าเป็นคนภูฐานรุ่นแรกๆ ที่ มีโอกาสไปศึกษานอกประเทศ เขาจบการศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ อันเป็นแหล่งศึกษาที่มีชื่อเสียง ดาโชะ กรรมะ อุระมีความสามารถรอบด้าน เขาเคยรับราชการอยู่ใน กระทรวงวางแผนเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี ก่อนจะผันตัวเองมาร่วมก่อตั้ง ศูนย์ภูฐานศึกษาซึ่งมีบทบาทในการศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศ รวมทั้งงานด้านวรรณคดี วรรณกรรม นิทานพื้นบ้าน ความเชื่อ พุทธศาสนา เขายังได้เขียนงานนิพนธ์ด้านบทกลอนไว้ด้วย นอกเหนือจากงาน วรรณกรรมทางประวัติศาสตร์เรื่อง The Hero with a Thousand Eyes ดาโชะ กรรมะ อุ ร ะเป็ น ที่ รู้ จั ก ในสั ง คมภู ฐ านเป็ น อย่ า งดี ด้ ว ย ๖6 ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
บทบาทนักคิดนักวิจารณ์สังคมคนสำ�คัญ และบ่อยครั้งที่เขามักถูกร้องขอ ให้แสดงความคิดเห็นและปรากฏอยู่ในรูปของบทความที่กระตุกแง่มุม ทางสังคมที่ลงตีพิมพ์อยู่ในหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รวมทั้งการ ให้สัมภาษณ์ในรายการวิทยุและโทรทัศน์อยู่เนืองนิตย์ เขายังเป็นผู้มี บทบาทสำ�คัญในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของประเทศ โดยอุทิศตน กั บงานด้ า นนี้ ใ นรู ปแบบต่า งๆ ที่สำ�คัญ คือ ศิล ปะการวาดภาพตาม แนวทางจารีตนิยมของภูฐาน ฝีมือภาพวาดของเขาได้กลายมาเป็นภาพ จิตรกรรมฝาผนังที่สำ�คัญของวัดดรุก ลาคัง ณ โดชูลา บนยอดเขาสูง ในเมืองทิมพู เขายังออกแบบชุดระบำ�หน้ากากทั้งชุดการแต่งกายและ เขียนบทชุดการแสดงระบำ�หน้ากากด้วยตนเอง บทบาทที่สำ�คัญมาก อีกประการหนึ่งของเขาที่ได้ดำ�เนินมาตลอดช่วงกว่าสิบปีนี้ คือผู้ส่งเสริม สนับสนุนเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness-GNH) ที่พระราชาธิบดีจิ๊กมี่ ซิงเก วังซุก กษัตริย์รัชกาลที่ ๔ ได้ ทรงริเริ่มไว้ ในฐานะประธานศูนย์ภูฐานศึกษา ดาโชะ กรรมะ อุระ ได้มี บทบาทอย่างสำ�คัญในการพัฒนาดัชนีจีเอ็นเอชและตัวชี้วัดต่างๆ ที่คำ�นึง ถึงความเป็นองค์รวมในการพัฒนาประเทศ ที่วางอยู่บนความสุขและ ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ที่ไม่ได้มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่ า งไม่ ส มดุ ล กั บ ทรั พ ยากรธรรมชาติ วั ฒ นธรรมและความยั่ ง ยื น ดาโชะ กรรมะ อุระยังมีความสัมพันธ์รักใคร่กับประชาชนและองค์กร ต่างๆ ในประเทศไทยหลายแห่ง รวมทั้งกับบริษัทสวนเงินมีมา ผู้ประกอบ การสังคม และ School for Wellbeing Studies and Research โดยนับย้อนไปตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๔ เมื่อมีการจัดการประชุมนานาชาติ ความสุขมวลรวมประชาชาติเป็นครั้งแรก ที่กรุงทิมพู ประเทศภูฐาน และ ในปี ค.ศ. ๒๐๐๗ ที่ประเทศไทยโดยมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ผู้นำ� นักยุทธศาสตร์เปี่ยมศรัทธา: พระราชาธิบจากสำ�นั ดี อุเก้นกวัพิงมชุพ์ก ๗7
ร่วมกับองค์กรต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ ทั้งจากหน่วยงานรัฐบาล องค์ ก รภาคสั ง คม ภาคธุ ร กิ จ รวมทั้ ง สถาบั น ต่ า งๆ ได้ ร่ ว มกั น จั ด การ ประชุ ม นานาชาติ ค วามสุ ข มวลรวมประชาชาติ ค รั้ ง ที่ ๓ โดยมี บ ริ ษั ท สวนเงินมีมา ผู้ประกอบการสังคม เป็นผู้จัดการการประชุมในครั้งนั้น เหตุใดภูฐานจึงอยู่ในความสนใจของชาวโลกรวมทั้งประเทศไทย เหตุใดราชอาณาจักรเล็กๆ แห่งนี้จึงสามารถดำ�รงรักษาอธิปไตยและ เอกราชของประเทศไว้ได้ ทั้งที่มีพรมแดนติดกับมหาอำ�นาจใหญ่สอง ประเทศ โดยทิศเหนือติดกับประเทศจีน และทิศใต้ติดกับประเทศอินเดีย ท่ามกลางการสูญเสียอิสรภาพของประเทศต่างๆ ในแถบเทือกเขาหิมาลัย ท่ า มกลางความทั น สมั ย และการมุ่ ง เน้ น แนวทางการพั ฒ นาประเทศ แบบเอาเศรษฐกิจเป็นตัวนำ� ประเทศภูฐานและผู้นำ�ของประเทศแห่งนี้ กลับมีความระมัดระวังกับการเปิดประเทศ และพยายามทุกวิถีทางที่จะ จั ด ความสมดุ ล ของการเปิ ด รั บ ความทั น สมั ย ไปพร้ อ มกั บ การส่ ง เสริ ม วั ฒ นธรรมของตน และแนวทางเรื่ อ งความสุ ข มวลรวมประชาชาติ ไ ด้ กลายมาเป็นแรงกระตุน้ ให้กบั นานาประเทศ หนังสือเล่มนีน้ บั เป็นส่วนหนึง่ ที่จะช่วยให้เรามีความเข้าใจอดีตของดินแดนแห่งนี้ที่ได้สร้างแรงบันดาล ไม่ แ ต่ กั บ ยุ ค สมั ย เท่ า นั้ น หากรวมถึ ง อนาคตที่ ร อเราอยู่ ข้ า งหน้ า ด้ ว ย เช่นกัน
๘8 ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
สารบัญ จากสำ�นักพิมพ์ คำ�นำ� โดย เจ้านครพาโร กิตติกรรมประกาศ
๕ ๑๐ ๑๓
บทที่ ๑ บทที่ ๒ บทที่ ๓ บทที่ ๔ บทที่ ๕ บทที่ ๖
๑๘
ผู้นำ� นักผจญภัยกล้าแกร่ง เทศี จิ๊กมี่ นัมเกล ผู้นำ� นักยุทธศาสตร์เปี่ยมศรัทธา พระราชาธิบดีอุเก้น วังชุก ผู้นำ� ปกป้องมั่นคง พระราชาธิบดีจิ๊กมี่ วังชุก ผู้นำ� นักปฏิวัติแห่งดินแดนหิมาลัย พระราชาธิบดีจิ๊กมี่ ดอจิ วังชุก ผู้นำ� รัตนมณีแห่งมนุษยชาติ พระราชาธิบดีจิ๊กมี่ ซิงเก วังชุก ผู้นำ�และพระราชาแห่งศตวรรษที่ ๒๑ พระราชาธิ บดีจิ๊กมี่ เกเซร์ นัมเกล วังชุก
ท้ายเล่มจากผู้แปล การอภิเษกสมรสของพระราชาธิบดีจิ๊กมี่ เกเซร์ นัมเกล วังชุก อภิธานศัพท์ คำ�ขอบคุณ
๔๘
๖๘ ๘๖ ๑๐๖ ๑๗๒ ๒๑๔ ๒๑๘ ๒๒๕
ผู้นำ� นักยุทธศาสตร์เปี่ยมศรัทธา: พระราชาธิบดี อุเก้น วังชุก 9
คำ�นำ� โดย เจ้านครพาโร
นับตั้งแต่จบจากมหาวิทยาลัย กรรมะ อุระก็ได้ทุ่มเทตนเพื่อที่จะทำ�ความ เข้ า ใจประเทศภู ฐ าน ทั้ ง ในอดี ต และปั จ จุ บั น มาโดยตลอด ด้ ว ยการ พิจารณาจากมุมมองอันหลากหลาย ครอบคลุมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ไปจนถึงด้านศาสนาด้วยกำ�ลังความรู้ความสามารถ ทั้งในฐานะข้าราชการ พลเรือน และความเป็นผู้รู้รอบของเขา ในฐานะผู้รู้ เขามักฝักใฝ่ใคร่รู้ในมุขปาฐะและจากบันทึกตำ�นาน ต่างๆ ที่บอกเล่าและจดจารไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ คำ�ประพันธ์ ประวัติบุคคล และศาสนา ที่ล้วนแล้วแต่เป็นแกนกลางของมรดกทางวรรณกรรม แห่ ง ภู ฐ าน ซึ่ ง ก็ มิ ใช่ เรื่ อ งแปลกแต่ อ ย่ า งใด เนื่ อ งเพราะกรรมะ อุ ร ะ เป็นชาวภูฐานคนแรกที่สำ�เร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด อันทรงศักดิ์ ภูมิหลังในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ไม่ได้ทำ�ให้ขอบข่ายความ สนใจ และกรอบการศึกษาของเขาคับแคบลงแต่ประการใด ข้าพเจ้า ประทับใจในผลงานของเขานับแต่หนังสือแปลเล่มแรกเรื่อง นิราศเพมิ เชวัง ทาชิ: ดั่งขนนกลอยล่องต้องสายลม อันถือเป็นการถ่ายทอดที่ให้ พลังบันดาลใจของบทกวีในศตวรรษที่ ๑๙ หากความสนใจอย่างยิ่งยวดและดื่มดํ่าลํ้าลึกของเขายังส่องขยาย ออกไปถึ ง เรื่ อ งการเรี ย นรู้ แ ละพระพุ ท ธศาสนาของเทื อ กเถาเหล่ า กอ ของเขา กรรมะ อุระเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวที่นับว่าเก่าแก่ที่สุดใน ๑๐ 10 ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
เมืองบุมทังและสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนในหมู่บ้านแห่งหุบเขาอุระ เป็นต้นตระกูลของบุคคลลือนามและมีความภักดีจำ�นวนมาก จนได้รับใช้ อยู่ในราชสำ�นักเมืองบุมทัง อันเป็นราชธานีเดิม ลูกพี่ลูกน้องของเขาคือ ท่านสิงคาร์ ลาม ซึ่งภายหลังได้รับการเลื่อนขึ้นเป็น ดาโชะ (ดาโชะ เป็น บรรดาศักดิ์พระราชทาน) สิงคาร์ ลาม ขณะที่น้องชายอีกคนคือ ดาโชะ กรรมะ เกเล้ก ที่นอกจากจะเป็นผู้ปราศรัยบรรยายและรอบรู้อย่างเอกอุ ในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของภูฐานแล้ว ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญใน เรื่องศิลปะและพิธีกรรมอีกด้วย หนังสือเล่มนี้ กรรมะ อุระชี้ให้เห็นว่าประวัติศาสตร์ของภูฐานนั้น ได้รับการทำ�นุบำ�รุงรักษาและสืบทอดต่อๆ กันมาในหมู่พระภิกษุและ ลามะ ซึ่งทัศนะของพวกท่านต่อเหตุการณ์และประวัติศาสตร์นั้นแต้ม ระบายด้วยสีสันค่านิยมในแบบวัดวาอารามเป็นสำ�คัญ กรรมะ อุระได้ใช้ เอกสารเหล่ า นี้ ใ นการตรวจสอบอย่ า งจริ ง จั ง เที ย บเคี ย งกั บ เอกสาร อย่างอื่นไปพร้อมกัน โดยเฉพาะเอกสารของชาวอังกฤษที่ได้มีบันทึกไว้ เขายังสำ�รวจตรวจตราอย่างละเอียดลออในเอกสารสิ่งพิมพ์จิปาถะของ ทางการอีกมากมายที่เพิ่งมีเผยแพร่ออกมาในยุคหลังๆ เพื่อย่นระยะทาง โดยยั ง คงรั ก ษาไว้ ซึ่ ง ภาพของประเทศ อั น นั บ ได้ ตั้ ง แต่ มี แ ผนพั ฒ นา เศรษฐกิจและสังคมที่ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อทศวรรษ ๑๙๖๐ กล่าวอย่างรวบรัด ก็คือ เขาได้เขียนถึงเหตุการณ์ต่างๆ โดยอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งได้นำ�พา พวกเราไปบนเส้นทางของราชอาณาจักรแห่งนี้ การวางโครงเรื่องของหนังสือนี้เรียงลำ�ดับตามเวลาของเหตุการณ์ โดยกรรมะ อุระได้พรรณนาให้เห็นถึง ‘ภูมิปัญญาแห่งผู้นำ�’ และวิธีการ ๑๑ ผู้นำ� นักยุทธศาสตร์เปี่ยมศรัทธา: พระราชาธิบดี อุเก้น คำ�นำ� วังชุก 11
ที่กษัตริย์ทุกพระองค์ซึ่งสืบสันตติวงศ์ต่อกันมานับแต่ช่วงปี ๑๘๔๐ ได้ ก่อรูปก่อร่างหนทางเดินของประเทศนี้มาอย่างยาวนาน เป็นเรื่องราวที่ เผยให้เห็นบุคคลซึ่งมีความเด็ดเดี่ยวเหนือปกติวิสัย ความวีระอาจหาญ การเล็งการณ์ไปได้ไกลของผู้ซึ่งมองเห็นว่า การได้สวมมงกุฎนกเรเวนนั้น หาได้ เ ป็ น เครื่ อ งหมายของความมี อ ภิ สิ ท ธิ์ แ ต่ อ ย่ า งใดไม่ หากแต่ เ ป็ น สัญลักษณ์แห่งความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ไพศาลเสียยิ่งกว่า เพื่อเป็นการแสดงถึงความพอพระราชฤทัยต่อการอุทิศตนในด้าน วรรณกรรมและประวัติศาสตร์ของเขา สมเด็จพระราชาธิบดีจิ๊กมี่ ซิงเก วังชุก พระราชทานบรรดาศักดิ์ ‘ดาโชะ’ ไว้แก่กรรมะ อุระ เมื่อเดือน ธันวาคม ปี ค.ศ. ๒๐๐๖ ผลแห่ ง ความพิ ถี พิ ถั น เอาใจใส่ ใ นการเรี ย บเรี ย งประวั ติ ศ าสตร์ อันยาวนาน ที่ได้พัฒนาคลี่คลายมาของพระราชอาณาจักรแห่งนี้ ดาโชะ กรรมะ อุระช่วยให้ผู้อ่านมองอย่างปรุโปร่งเข้าไปถึงภายในและเจาะลึก ถึงเหตุการณ์ในอดีต หนังสือเล่มนี้คงจะช่วยกระตุ้นเสริมจินตนาการ ของคนรุ่นใหม่ๆ ในเรื่องสภาวธรรมของความเป็นผู้นำ� ซึ่งมีการครุ่นคำ�นึง ถึงความสุขสวัสดีของปวงอาณาประชาราษฎร์อยู่ตลอดเวลา
เจ้าฟ้าชายนัมเกล วังชุก มาจาลิง ฤดูร้อน ปี ๒๐๑๐
๑๒ 12 ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
กิตติกรรมประกาศ ยามที่เงาทะมึนของวิกฤตการณ์ทางการเงินระดับโลกได้ทอดทับไปทั่ว ผืนปฐพีเช่นในขณะนี้ ประเทศภูฐานค่อยๆ ย่างก้าวสู่ประชาธิปไตยอย่าง เป็นทางการเมื่อต้นปี ๒๐๐๘ การถือกำ�เนิดขึ้นของประชาธิปไตยนำ�มา สู่ ก ารเฉลิ ม ฉลองต่ า งๆ อย่ า งมากมาย โดยเฉพาะในหมู่ ค นที่ ไ ด้ รั บ สถานภาพและโอกาสทางการงานใหม่ๆ ที่เมืองหลวงมีการจัดงานต่างๆ เพื่อร่วมฉลองในวาระดังกล่าวนี้ อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้ามีข้อถามทัก ๒ ประการต่อช่วงการเปลี่ยนผ่านที่ดูน่ามีความสุขนี้ ประการแรก ข้าพเจ้าได้สดับมาเกี่ยวกับความร้าวฉาน อันเนื่อง มาแต่ ก ารสนั บ สนุ น กลุ่ ม การเมื อ งต่ า งพรรค ในหมู่ บ้ า นเล็ ก ๆ ที่ มี ประชากรอยู่กันแค่ ๒๐-๓๐ หลังคาเรือน ซึ่งอาจจะไม่เป็นสิ่งสลักสำ�คัญ กระไรนักในระดับของเมืองใหญ่ๆ หลายคนเห็นว่าการแบ่งแยกเป็น ฝักฝ่ายในช่วงของการเลือกตั้ง นับเป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่ควรได้ช่วยกัน หาทางแก้ไขในอนาคต โดยที่ยังมองไม่เห็นหนทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้ทันทีในขณะนี้ ได้มีการสะท้อนภาพอย่างสร้างสรรค์ในเรื่องผลกระทบ ของการเลือกตั้ง บ่อยครั้งที่ประชาธิปไตยก็ไม่สนใจว่าได้ส่งผลให้เกิด ความแตกร้าวของชุมชนในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง หนทางที่ดียิ่งกว่า ระบบการออกเสียงลงคะแนนนั้นมีอยู่ และข้าพเจ้าหวังว่าเราจะขัดเกลา แก้ไขการออกแบบระบบการเลือกตั้งของเรา เพื่อที่กระบวนการเลือกตั้ง จะละมุนละไมอ่อนโยนต่อพลังยึดเกาะกันของชุมชน
๑๓ กิตติบกดีรรมประกาศ ผู้นำ� นักยุทธศาสตร์เปี่ยมศรัทธา: พระราชาธิ อุเก้น วังชุก 13
ประการที่ ส อง ขณะที่ ค วามสนใจของผู้ ค นจดจ่ อ อยู่ กั บ ผลของ การเลือกตั้ง อันนำ�มาสู่การก่อรูประบบบริหารอย่างใหม่ ก่อเกิดการ ดำ�เนินงานอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนั้น แน่นอนว่าจะส่งผลต่อการสร้าง แม่แบบในระยะยาวต่อไป แต่ข้าพเจ้ากลับกำ�ลังครุ่นคิดมากกว่าในสิ่งที่ ภูฐานเพิ่งจะลาจากมา นั่นก็คือสิ่งที่ได้ดำ�เนินมาตลอดช่วง ๑๕๐ ปีนี้ อันได้แก่ภูมิปัญญาของผู้นำ� ก่อนหน้านี้ไกลโพ้นออกไป เราเคยมีผู้นำ� ที่เฉลียวฉลาดลึกซึ้ง แต่กระนั้น ราชวงศ์และผู้เป็นต้นกำ�เนิดก่อนการ บังเกิดขึ้นของราชวงศ์คือท่านเทศี จิ๊กมี่ นัมเกล กลับโดดเด่นอยู่ในห้วง ความทรงจำ�ของข้าพเจ้าอย่างแจ่มชัด ข้าพเจ้ายิ่งเห็นถึงความจำ�เป็น เร่ ง ด่ ว นที่ จ ะต้ อ งรวบรวมชี วิ ต และผลงานของอดี ต บุ ค คลผู้ เ คยดำ�รง ตำ�แหน่งที่มีบทบาทต่อการกุมชะตากรรมของเรา สำ�หรับข้าพเจ้าวันเวลา เหล่ า นั้ น เป็ น โอกาสอั น ดี ที่ จ ะได้ ใ คร่ ค รวญเรื่ อ งกษั ต ริ ย์ ที่ เ ปี่ ย มด้ ว ย คุณธรรมแห่งจารีตประเพณีของพุทธศาสนาในแถบเทือกเขาหิมาลัยนี้ ซึ่งเพิ่งเปิดทางต้อนรับให้กับสิ่งซึ่งมีความสำ�คัญไม่น้อยไปกว่ากัน นั่นคือ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันเป็นสถาบันที่ทั่วโลกยอมรับ ข้าพเจ้าเริ่มปะติดปะต่อชีวิตและเรื่องราวของผู้นำ�ประเทศภูฐาน นับแต่เทศี จิ๊กมี่ นัมเกล ซึ่งถ้าจะเปรียบไปแล้วก็ง่าย โดยข้าพเจ้าได้ทำ� เรื่องที่ยากกว่ามาก่อนแล้ว นั่นคือการถอดถ่ายประวัติศาสตร์ให้ออกมา เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังสำ�หรับพระอาราม ดรุก วังเยล ลาคัง อันเป็น ศาสนสถานที่พระราชชนนีอาชิ ดอจิ วังโม ได้ทรงสร้างไว้ บัดนี้ข้าพเจ้า ได้มีโอกาสที่จะแปลงเรื่องราวประวัติศาสตร์เป็นการสนทนาระหว่าง ข้าพเจ้ากับนัมเกล นักข่าวโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่ฉายแวว ซึ่งเป็นผู้ผลิตจาก สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศภูฐาน (บีบีเอส) คณะทำ�งานผลิตรายการของ ๑๔ 14 ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
นัมเกล มีด้วยกัน ๓ คนที่ได้บันทึกภาพวีดิทัศน์การสนทนาของเราตาม จุดต่างๆ ทั้งในทิมพู (พระนครหลวง มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า ตาชิโชซอง) พาโร ปูนาคา ตรองสา และบุมทัง การสนทนาของเราเผยแพร่ภาพทาง รายการโทรทัศน์ช่องบีบีเอสรวม ๑๖ ตอน แต่ละตอนใช้เวลา ๓๕ นาที ออกอากาศอยู่ในช่วงปลายปี ๒๐๐๘ จนถึงปี ๒๐๐๙ เรายังได้ทำ�รายการ เกี่ยวกับเรื่องนี้อีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๐๑๐ เพื่อปรับปรุงเนื้อหา ให้เหมาะสมมากขึ้น ข้าพเจ้าขอขอบคุณสถานีโทรทัศน์บีบีเอส ที่ได้ให้กำ�ลังใจความ มุ่งมั่นเพื่อผลิตรายการที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าผู้ชมจะได้รับความเพลิดเพลิน และขอบคุณนัมเกล และคณะทำ�งานของเขาสำ�หรับพลังในการทำ�งาน และแรงจูงใจที่มีต่องานนี้ นับเป็นความเริงรื่นที่ได้ร่วมงานกัน และอยาก ถือโอกาสนี้ขอบคุณนักวิจัยสองท่านที่มีทักษะหลายๆ ด้าน คือ โซนัม พุ น โช่ และซั ง เก ทิ น เล่ แห่ ง ศู น ย์ ภู ฐ านศึ ก ษาที่ ช่ ว ยตรวจแก้ เ อกสาร บุคคลทั้งสองได้ช่วยทำ�ให้สารคดีที่ถ่ายทำ�มีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยการเพิ่ม เติมภาพประกอบ กราฟ แผนที่และรูปภาพเก่าของพระราชสำ�นัก โซนัม พุนโช่เป็นผู้มีพรสวรรค์อย่างยิ่งในด้านศิลปะการออกแบบกราฟฟิกด้วย คอมพิวเตอร์ ข้าพเจ้าได้ตระเตรียมประเด็นบทจดบันทึกเนื้อหาจากหลายแหล่ง สำ�หรั บ การสนทนาที่ ถ่ า ยทำ�ในแต่ ล ะตอน เอกสารอ้ า งอิ ง ที่ ใช้ ได้ แ ก่ หนังสือพิมพ์คุนเซลฉบับย้อนหลัง หนังสือความสัมพันธ์ระหว่างภูฐาน และอังกฤษ เอกสารราชการว่าด้วยภูฐานของรัฐบาลอังกฤษ หนังสือ พระราชกิ จ จานุ เ บกษาของรั ช กาลที่ ๑ และรั ช กาลที่ ๒ ของภู ฐ าน กิตติบกดีรรมประกาศ ๑๕ ผู้นำ� นักยุทธศาสตร์เปี่ยมศรัทธา: พระราชาธิ อุเก้น วังชุก 15
เอกสารราชการเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ๕ ปี ในช่วง แรกๆ บทสั ม ภาษณ์ ข้ า ราชการที่ เ กษี ย ณอายุ บ างท่ า น ลามะบางรู ป หนังสือและบทความที่ข้าพเจ้าเขียน หนังสือรายงานสถิติรายปี รวมทั้ง หนังสือที่ได้จัดพิมพ์เนื่องในวาระพิเศษแห่งการเฉลิมฉลองแห่งราชวงศ์ รายการโทรทั ศ น์ ที่ ใ ห้ ข้ อ มู ล เรื่ อ งหนั ง สื อ เอกสารต่ า งๆ ข้ า พเจ้ า ได้ ทำ� รายการอ้างอิงแจ้งไว้ในตอนท้ายเล่ม แต่รายการของหนังสือพิมพ์คุนเซล นั้ น มิ ไ ด้ นำ�มาลงไว้ ใ ห้ เ ห็ น เป็ น แต่ ล ะฉบั บ เพราะจะทำ�ให้ รู้ สึ ก น่ า เบื่ อ จนเกินไป เนื้อหาของหนังสือส่วนมากมาจากการสนทนาในรายการโทรทัศน์ ดังได้กล่าวมา จึงไม่มีความจำ�เป็นที่จะต้องทำ�เชิงอรรถหรือหมายเหตุ ต่างๆ ให้ยุ่งยาก มิฉะนั้นคงต้องใช้เวลาอีกเป็นหลายเดือน กว่าต้นฉบับ หนังสือจะสำ�เร็จลุล่วง หากมีข้ออ่อนด้อยประการใดก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ข้ า พเจ้ า ลงมื อ ถอดความในส่ ว นสำ�คั ญ บางส่ ว นจากตั ว วั ส ดุ บันทึกภาพและเสียง แต่ว่าโดยส่วนใหญ่ ซังเก ทินเล่ แห่งบองโก เป็น ผู้ดำ�เนินการด้วยความว่องไวอันเหลือเชื่อ ทั้งยังมีโรเจอร์ ซึ่งมีอาชีพ เป็นบรรณาธิการและนักเขียนช่วยสอบทานต้นฉบับให้ด้วยอีกชั้นหนึ่ง จึง ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย ส่วนการออกแบบรูปเล่มและปกหนังสือเป็น ผลงานของดอจิ เกลเชน ซึ่งขอขอบคุณในความช่วยเหลืออย่างดียิ่ง
วั ง เยล ลาคั ง และตามที่ ไ ด้ เรี ย นผู้ อ่ า นไปก่ อ นหน้ า นี้ ว่ า แท้ ที่ จ ริ ง แล้ ว หนังสือเล่มนี้เป็นผลพวงจากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ประดิษฐาน ณ วัด ดรุก วังเยล ลาคัง ที่ โดชูลา นี้จึงเป็นเสมือนการถ่ายทอดภาพจิตรกรรม ที่แสดงให้เห็นเรื่องราวของราชวงศ์นั้นมาอยู่ในรูปของหนังสือ สมเด็จ พระราชชนนีได้ทรงพระกรุณาอ่านต้นฉบับอย่างละเอียดและปรับปรุง แก้ไขข้อผิดพลาดหลายประการ หากยังจะมีข้อผิดพลาดใดๆ หลงเหลือ อยู่อีกข้าพเจ้าก็ขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ก ว้ า งไกลไปกว่ า นั้ น ข้ า พเจ้ า ขอแสดงความสำ�นึ ก ใน พระมหากรุณาธิคุณต่อสมเด็จพระราชชนนีอาชิ ดอจิ วังโม วังชุก ที่ได้ ทรงช่วยข้าพเจ้าพ้นจากความตายมาถึงสองครั้งสองครา ที่กล่าวเช่นนี้ มิใช่เพียงแค่คำ�อุปมาอุปไมย รวมทั้งขอขอบคุณดาโชะ วังเชน ในความ กรุณาอาทรที่มีมอบให้ข้าพเจ้าในช่วงเวลาอันวิกฤต แต่เพราะธรรมเนียม ประเพณี ได้งดเว้นข้าพเจ้าเสียจากการแสดงความสำ�นึกในพระเมตตาคุณ ของการโอบอุ้มคํ้าชูจากพระราชวงศ์ชั้นสูงอีกสองท่านที่ประทานให้แก่ ข้ า พเจ้ า แม้ ก ระนั้ น พระบุ ญ คุ ณ ก็ ต ราตรึ ง อยู่ ใ นความรู้ สึ ก สำ�นึ ก ของ ข้าพเจ้า ทดแทนต่อการที่ไม่อาจกระทำ�สนองพระกรุณาอันหาที่สุดมิได้ ของทั้งสองท่านที่ไม่อาจเอ่ยพระนาม
ข้าพเจ้ารำ�ลึกในพระคุณอันหาที่สุดมิได้ของสมเด็จพระราชชนนี อาชิ ดอจิ วังโม วังชุก ผู้เป็นองค์อุปถัมภ์และประธานการก่อสร้างวัดดรุก ๑๖ 16 ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
๑๗ กิตติบกดีรรมประกาศ ผู้นำ� นักยุทธศาสตร์เปี่ยมศรัทธา: พระราชาธิ อุเก้น วังชุก 17
๖
ผู้นำ�และพระราชาแห่งศตวรรษที่ ๒๑ พระราชาธิบดีจิ๊กมี่ เกเซร์ นัมเกล วังชุก
พระราชาธิบดีจ๊ิกมี่ เกเซร์ นัมเกล วังชุก และพระราชินีจัตเซ็น เพม่า
172 ๑๗๒ ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
173 ผู้นำ�และพระราชาแห่งศตวรรษที่ ๒๑: พระราชาธิบดีจิ๊กมี่ เกเซร์ นัมเกล วังชุก ๑๗๓
ของเรา สายธารของท่านรวมถึงราชวงศ์วงั ชุกในปัจจุบนั ทีไ่ ด้รวมและสร้าง ประเทศให้เป็นปึกแผ่นมาจนถึงปัจจุบัน พระราชาธิบดีรัชกาลที่ ๕ เป็น สายธารหน่อเนือ้ รุน่ ที่ ๑๗ หรือเชือ้ สายทีส่ บื ตรงลงมาจากพระอาจารย์เพม่า ลิงปะ ผู้ที่เกิดเมื่อ ๕๖๐ ปีมาแล้ว และการเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพ นั้นก็คือเรื่องราวรากฐานสายธารแห่งราชอาณาจักรของเราลงมาตั้งแต่ สมัยท่านเพม่า ลิงปะ
ช่วยบอกเราเกี่ยวกับการประสูติของพระองค์ ท�ำไมจึงได้รับเฉลิมฉลอง ขอพูดถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประสูติของพระองค์ แล้ ว ค่ อ ยมาพู ด ถึ ง ช่ ว งทรงพระเยาว์ พระองค์ ป ระสู ติ เ มื่ อ วั น ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ และได้มกี ารเฉลิมฉลองไปทัว่ ราชอาณาจักรจากประชาชนและ เพือ่ นจากมิตรประเทศทัว่ โลก และได้เป็นวันทีส่ �ำคัญในปฏิทนิ ราชการของ เรา การเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพของพระราชาเป็นวันส�ำคัญในตัวมัน เองอยู่แล้ว และด้วยเหตุผลอีกมากมายในสมัยปัจจุบันนี้ อย่างแรกคือ การระลึกถึงวันพระราชสมภพของพระราชาเป็น การปฏิบัติที่แสดงออกถึงรากฐานทางสถาบันการปกครองและราชวงศ์ ย้อนกลับไปถึง พระอาจารย์เพม่า ลิงปะ (๑๔๕๐-๑๕๒๑) ถึงแม้ท่าน จะเป็นบุคคลส�ำคัญทางศาสนา วรรณกรรม ศิลปะและปรัชญา แต่ท่าน ก็ได้มีสายธารที่สืบทอดมาจนมีอิทธิพลเกี่ยวกับทางการเมืองการปกครอง 174 ๑๗๔ ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
อย่ า งที่ ส อง การเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพนั้นเป็นโอกาสที่ ประชาชนชาวภูฐานจะได้ถวายพระพร ถวายความเคารพ ความรัก และ สวดมนต์อวยพรเพื่อพระพลานามัยและพระชนมพรรษาที่ยืนนานของ พระองค์ พระราชาคือศูนย์รวมของความเป็นชาติและความเป็นอยูท่ มี่ นั่ คง สมดุล พระพลานามัยและพระชนมายุที่ยืนยาวของพระองค์สะท้อนถึง ความสุขและความเจริญของความเป็นชาติของเรา และอย่างทีส่ าม การเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพนัน้ ก็เฉกเช่นเดียว กับวันชาติ ๑๗ ธันวาคม ที่มีความส�ำคัญทางการเมืองโดยเฉพาะกับมิตร ต่างประเทศ ทั้งสองวันนี้ได้สร้างสรรค์สัมพันธ์ทางการทูตและภาพลักษณ์ ทีด่ ขี องประเทศไปทัว่ โลกเวลาทีส่ ถานทูตของเราและมิตรประเทศได้ร�ำลึก ถึงความส�ำคัญนี้ สมเด็จเจ้าฟ้า มกุฎราชกุมาร จิก๊ มี่ เกเซร์ นัมเกล วังชุก มีพระประสูตกิ าล เมือ่ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ปี ๑๙๘๐ ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกของ พระราชาธิบดีจิ๊กมี่ ซิงเก วังชุก (ประสูติเมื่อปี ๑๙๕๕) และพระราชินีเซริง ยั ง ดอน วั ง ชุ ก (ประสู ติ ๑๙๕๙) มกุ ฎ ราชกุ ม ารได้ ท รงประสู ติ เ มื่ อ 175 ผู้นำ�และพระราชาแห่งศตวรรษที่ ๒๑: พระราชาธิบดีจิ๊กมี่ เกเซร์ นัมเกล วังชุก ๑๗๕
สัญลักษณ์ของสรวงสวรรค์ ผ้าห้าสีในพิธีราชาภิเษกนั้นแสดงออกถึง แรงบันดาลใจที่มีต่อแนวคิดและความเชื่อทางอุดมคติของพระโพธิสัตว์ ต่อพระราชา เป็นการปฏิบัติที่มีมาแต่อดีตสมัยของมิพาม วังโป ที่ได้กล่าว ถึงในช่วงชีวประวัติของเทศี เชรับ วังชุก ล�ำดับที่สองประกอบด้วยการครองราชมงกุฎแห่งนกเรเวนจาก สมเด็จรัชกาลที่ ๔ ในโถงท้องพระโรงของตาชิโชซองในทิมพู ต่อหน้า แขกเหรื่อผู้มีเกียรติทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วย ประธานาธิบดีอินเดีย ประทีปะ ปาเตล และสมาชิกของครอบครัวคานธี น�ำด้วยโซเนีย คานธี, พรียังก้า คานธี และ ราหุล คานธี และที่ควบคู่ไปกับพระราชพิธีผ้าห้าสีที่ป้อมปราการปูนาคาและ พิธีราชาภิเษกที่ตาชิโชซอง ป้อมปราการแห่งทิมพูแล้ว ได้มีพระราชพิธี ถวาย เครื่องหมายศักสิทธิ์เจ็ดประการ สัญลักษณ์มงคลแปดประการ และ องค์พระนางตาราขาว พระอมิตยุสพุทธเจ้า และนางอุษฺณีษวิชยธารณี ทั้งสามองค์นี้เพื่อถวายพระพรให้พระราชาธิบดีทรงมีพระชนม์ยิ่งยืนนาน อย่างไรก็ตาม ส่วนที่ส�ำคัญที่สุดคือพระราชพิธีที่จะส่งเสริมพระบารมี ขององค์พระมหากษัตริย์ด้วยการห่มผ้าทั้งห้าสีให้กับมาเชนของแหล่า พระเทพบิดร และพิธคี รองพระราชมงกุฎทีต่ าชิโชซอง ล�ำดับทีส่ ามประกอบ ด้วยพระราชกระแสที่มีต่อชาติในเรื่องพระราชปณิธานและแรงบันดาล พระทัยในพระรัชสมัย แล้วจึงเสด็จออกสู่มหาสมาคม การฉลองสมโภช ที่ปะร�ำพิธีในชางลิงเมทังมีขึ้นติดต่อกันสามวันสามคืนอย่างเอิกเกริก น่าตระการตาตระการใจ มีผู้เข้าร่วมเฉลิมฉลองจากทั่วประเทศ ทั้ง 192 ๑๙๒ ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
สามล�ำดับขั้นตอนของพระราชพิธีขึ้นครองราชย์นั้นได้รวมถึงการถวาย พระพรของประชาชนที่ ไ ด้ ม าเข้ า ร่ ว มงานโดยการถวายผ้ า คาตั ก แด่ พระราชาพระองค์ใหม่ของพวกเขา กรุณาสรุปส่วนที่ส�ำคัญที่สุดในข้อความที่พระองค์ทรงตรัสกับมวลมหาชน ที่จะเป็นหัวใจหลักในการปกครองในรัชสมัยของพระองค์ มีข้ออ้างอิงจากสองพระราชด�ำรัสของพระองค์ หนึ่งคือเมื่อวันที่ ทรงรับต�ำแหน่งในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๐๐๖ และสองคือเมื่อพระราชพิธี เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๐๐๘ พระราชด�ำรัสเมือ่ คราวทรงรับต�ำแหน่งพระราชา ซึง่ เป็นปฐมภาษิต ได้กล่าวถึงห้าประเด็นทีเ่ ป็นหัวใจหลักของรัชสมัยของพระองค์คอื ๑. รักษา ดูแลความสงบสันติของประเทศ ๒. ท�ำให้วิสัยทัศน์ของความสุขมวลรวม ประชาชาติได้บรรลุเป้าหมายทีต่ งั้ ไว้ ๓. เพิม่ ความมัน่ คงและคงไว้ซงึ่ อธิปไตย ของประเทศ ๔. สนับสนุนพลวัตของเศรษฐกิจ ๕. สร้างรากฐานที่เข้มแข็ง ให้ประชาธิปไตย เป้าหมายเหล่านี้เป็นเป้าหมายที่ไร้กาลเวลาและไม่เปลี่ยนแปลง ถึงแม้กระบวนการที่จะไปให้ถึงอาจเปลี่ยนไป พระองค์ได้ทรงขยายความ ไว้ อย่างไรก็แล้วแต่ ระบบสภาและประชาธิปไตยที่น�ำเข้ามาเป็นสิ่งใหม่ ส�ำหรับประเทศ และรัชสมัยของพระองค์ทรงเป็นความทรงจ�ำแรกของ ประเทศเราที่ได้มีทั้งการวางรากฐานและหล่อเลี้ยงเกณฑ์มาตรฐานใหม่ 193 ผู้นำ�และพระราชาแห่งศตวรรษที่ ๒๑: พระราชาธิบดีจิ๊กมี่ เกเซร์ นัมเกล วังชุก ๑๙๓
การแสดงทางวัฒนธรรมในช่วงวันเฉลิม พระชนมพรรษาของพระราชาธิบดีองค์ ปัจจุบัน ในวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์
194 ๑๙๔ ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
การแสดงทางวัฒนธรรมในช่วงวันเฉลิม พระชนมพรรษาของพระราชาธิบดีองค์ ปัจจุบัน ในวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์
195 ผู้นำ�และพระราชาแห่งศตวรรษที่ ๒๑: พระราชาธิบดีจิ๊กมี่ เกเซร์ นัมเกล วังชุก ๑๙๕
ของระบบการปกครอง และท้ายที่สุดในรัชสมัยของพระองค์การริเริ่มการ เลือกตั้งแบบสองพรรคได้ก่อเกิดขึ้น รัฐธรรมนูญถูกประกาศใช้ และระบบ การปกครองธรรมาภิบาลได้รับการจัดรูปแบบใหม่ตามที่เห็นร่วมกัน พระราชด�ำรั ส เมื่ อ วั น เสด็ จ ขึ้ น ครองราชย์ นั้ น เป็ น การตรั ส เรื่ อ ง พื้นฐานแต่ลุ่มลึกยอดเยี่ยม ทรงได้วางกรอบพระราชด�ำรัสไว้ด้วยการตรัส ถึงว่า ทรงได้ขึ้นมาครองราชย์ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านที่ส�ำคัญ ทั้ง ในเชิงเศรษฐกิจและระบบการปกครอง การเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญนี้คือ การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบประชาธิปไตยและการมาถึงของโลกาภิวัตน์ใน ประเทศภูฐาน
การแสดงทางวัฒนธรรมในช่วงวันเฉลิม พระชนมพรรษาของพระราชาธิบดีองค์ ปัจจุบัน ในวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์
196 ๑๙๖ ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
พระราชกระแสได้มีขึ้นเป็นภาษาซองคา เป็นค�ำตรัสเชื่อมโยงกับ ประชาชนชาวภูฐาน ประชาชนที่มีรากฐานและมุมมองแบบชาวพุทธ ถึง แม้การมองโลกแบบพุทธนั้นจะถูกท้าทายโดยระบบโลกาภิวัตน์ และ เศรษฐกิจทุนนิยมแบบบริโภคนิยม และในเวลาต่อมาข้าพเจ้าได้มาพูดคุย กับประชาชนทั่วไปและพบว่า พวกเขาได้สัมผัสรู้สึกถึงอย่างจริงแท้ดั้งเดิม แบบกษัตริย์ภูฐาน เพราะตรัสในกรอบความคิดและศัพท์แสงที่อยู่ใน วัฒนธรรมของเขาเอง ประชาชนมีความคาดหวังบางอย่างแต่นึกไม่ถึงว่า พระองค์จะมีความห่วงใยที่ลึกซึ้งต่อประเทศ และกับความหวังที่ทรงมีต่อ ประเทศในพระราชด�ำรัสของพระองค์ ตัวอย่างของประเด็นส�ำคัญที่ทรงยกขึ้นมาคือ ‘การค้นหาติดตาม เป้าหมายที่ไม่มีข้อจ�ำกัดของเวลาของการเป็นมนุษย์ที่ดี’ ‘การปลูกเมล็ด พันธุ์ใหม่เพื่อความต่อเนื่องของประเทศและความเติบโตทางจิตวิญญาณ’ 197 ผู้นำ�และพระราชาแห่งศตวรรษที่ ๒๑: พระราชาธิบดีจิ๊กมี่ เกเซร์ นัมเกล วังชุก ๑๙๗
เทศกาลทีจ่ ดั ขึน้ ในหมูบ่ า้ นโดยทัว่ ไปซึง่ มักมีตอ่ เนือ่ งกัน ๓ วัน รูปนีเ้ ป็นเทศกาล ตังซิบิ มณีในเมืองบุมทัง
208 ๒๐๘ ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
เทศกาลทีจ่ ดั ขึน้ ในหมูบ่ า้ นโดยทัว่ ไปซึง่ มักมีตอ่ เนือ่ งกัน ๓ วัน รูปนีเ้ ป็นเทศกาล ตังซิบิ มณีในเมืองบุมทัง
209 ผู้นำ�และพระราชาแห่งศตวรรษที่ ๒๑: พระราชาธิบดีจิ๊กมี่ เกเซร์ นัมเกล วังชุก ๒๐๙
มีด้วยกันอยู่สองลักษณะ กล่าวคือกระบวนการประชาธิปไตยในรูปของ ระบอบการปกครอง และกระบวนการโลกาภิวัตน์ในมิติเศรษฐกิจ ในทั้ง ประชาธิปไตยและเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ เราจะท�ำความรู้ให้กระจ่าง อย่ า งไร ก็ ไ ม่ ไ ด้ มี คุ ณ ค่ า ส�ำหรั บ พวกเรามากเท่ า ว่ า เราสามารถจะใช้ ประโยชน์จากสิ่งนี้ได้อย่างไร จะวางแผนการเดินทางของประเทศไปใน ศตวรรษที่ ๒๒ แบบไหนที่จะรับมือกับความท้าทายมากมายในรูปแบบ ใหม่ๆ และที่น่าแปลกใจความท้าทายที่ว่านี้ส่วนมากจะมาจากสภาวะ น�้ำนิ่งที่ไม่ยอมปรับปรุงความคิดเก่าที่เคยชิน และตัวโครงสร้างสถาบัน เดิมๆ ที่เคยใช้งานจนคุ้นเคย แต่ทว่าภาวะผู้น�ำของพระองค์นั้น เปรียบดั่งดวงอาทิตย์ที่ทอแสง สดใสในวันใหม่ หรือแสงฉายสีเงินสีทองตอนอรุณรุ่งยามเริ่มต้นของ ศตวรรษสมัยนี้ ในฐานะพสกนิกรชาวภูฐาน พวกเราอยากจะขอถวาย พระพรให้พระองค์ให้ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน มีพระพลานามัยที่ สมบูรณ์แข็งแรง และที่ยิ่งไปกว่านั้นขอพระองค์ได้ทรงเป็นแรงบันดาลใจ ให้ดินแดนมากมายในทั่วโลก และขอให้ทรงมีชื่อเสียงเกรียงไกรสดับไปทั่ว ทิศทัง้ สี่ ขอให้ทรงไว้ซงึ่ ความหวังในการดับทุกข์ของโลก และขอให้พระองค์ ทรงได้ท�ำให้สรรพสิง่ ได้ประสบพบความสุขความพอใจทีแ่ ท้ โดยการน�ำพา วิสัยทัศน์แห่งความสุขมวลรวมประชาชาติให้ก่อก�ำเนิดเป็นความจริง
212 ๒๑๒ ผู้นำ�แห่งภูฐาน: อดีต อนาคต ในดินแดนแห่งความสุข
พระราชาธิบดีจิ๊กมี่ เกเซร์ นัมเกล วังชุก ได้ เข้าพิธอี ภิเษกสมรสกับนางสาวจัตเซ็น เพม่า เมื่ อ วั น ที่ ๑๓ ตุ ล าคม ๒๐๑๑ ด้ ว ยการ ประกอบพระราชพิธี ณ พระอารามหลวง ภายในป้อมปราการ (ซอง) เมืองปูนาคา เมืองหลวงเก่า
213 ผู้นำ�และพระราชาแห่งศตวรรษที่ ๒๑: พระราชาธิบดีจิ๊กมี่ เกเซร์ นัมเกล วังชุก ๒๑๓