Mindful markets ตลาดที่มีจิตสำนึก (ฉบับภาษาไทย)

Page 1

ตลาดที่มีจิตส�ำนึก

ความร่วมมือของผู้ผลิตและผู้บริโภคเพื่อเศรษฐกิจใหม่

Mindful Markets

Producer-Consumer Partnerships towards a New Economy


หมวดสังคม/สิ่งแวดล้อม ตลาดที่มีจิตส�ำนึก: ความร่วมมือของผู้ผลิตและผู้บริโภคเพื่อเศรษฐกิจใหม่ Mindful Markets: Producer – Consumer Partnerships towards a New Economy ลิขสิทธิ์ฉบับภาษาไทย © ส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมา ๒๕๕๘ บรรณาธิการ ภาพถ่าย ปกและรูปเล่ม พิสูจน์อักษร พิมพ์ครั้งที่ ๑

วัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด ศิริโชค เลิศยะโส ชาคริต ศุภคุตตะ Reading in the Garden สิงหาคม ๒๕๕๘

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data ตลาดที่มีจิตส�ำนึก : ความร่วมมือของผู้ผลิตและผู้บริโภคเพื่อเศรษฐกิจใหม่.-- กรุงเทพฯ : สวนเงินมีมา, 2558. 192 หน้า. 1. สินค้าเกษตร. 2. ตลาด. I. นันทิยา ตั้งวิสุทธิจิต. II. ชื่อเรื่อง. 338.1763 ISBN 978-616-7368-65-8

ที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศ บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการ ฝ่ายสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์ ฝ่ายขาย จัดพิมพ์ อีเมล เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก โรงพิมพ์ จัดจ�ำหน่าย ราคา

ฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด วัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด วรนุช ชูเรืองสุข พิชญ์นันท์ พุ่มสวัสดิ์ สมภพ บุญชุม บริษัท สวนเงินมีมา จ�ำกัด ๗๗, ๗๙ ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๒๒ ๒๔๙๕-๖, ๐ ๒๖๒๒ ๐๙๕๕, ๐ ๒๖๒๒ ๐๙๖๖ โทรสาร ๐ ๒๖๒๒ ๓๒๒๘ publishers@suan-spirit.com www.suan-spirit.com www.facebook.com/suan2001, www.facebook.com/SuanNguenMeeMaPublishers หจก. ภาพพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๗๙ ๙๑๕๔-๖ สายส่งศึกษิต บริษทั เคล็ดไทย จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๕ ๙๕๓๖-๔๐ ๒๕๐ บาท

ร่วมสนับสนุนการจัดพิมพ์โดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


ตลาดที่มีจิตส�ำนึก ความร่วมมือของผู้ผลิตและ ผู้บริโภคเพื่อเศรษฐกิจใหม่

Mindful Markets

Producer-Consumer Partnerships towards a New Economy

บรรณาธิการ วัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด ผู้สัมภาษณ์และเรียบเรียง นันทิยา ตั้งวิสุทธิจิต เพ็ญนภา หงษ์ทอง สุขุมาภรณ์ หลายหยก อารี ชัยเสถียร ผู้เขียนบทน�ำ ฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด


คณะกรรมการบริษัทสวนเงินมีมา ๑. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ๒. นายสมเกียรติ์ อภิญญาชน ๓. นายประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข ๔. นายปรีดา เตียสุวรรณ์ ๕. นายสัจจา รัตนโฉมศรี ๖. นายอนันต์ วิริยะพินิจ ๗. นายฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด ๘. นางวัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด

ประธานกิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการ

รายนามผู้ถือหุ้น ๑. นายธีรพล นิยม ๒. นายวินัย ชาติอนันต์ ๓. นายวิศิษฐ์ วังวิญญู ๔. นายสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง ๕. นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ๖. นายสมบูรณ์ จึงเปรมปรีดิ์ ๗. นางอภิสิรี จรัลชวนะเพท ๘. นายมาซากิ ซาโต้ ๙. นายบารมี ชัยรัตน์ ๑๐. นายปรีดา เรืองวิชาธร

๑๑. นายศิโรช อังสุวัฒนะ ๑๒. นายเลิศ ตันติสุกฤต ๑๓. นางสาววรรณา ประยุกต์วงศ์ ๑๔. นางสาวปารีณา ประยุกต์วงศ์ ๑๕. บริษัท แพรนด้า โฮลดิ้ง จ�ำกัด ๑๖. นายกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ ๑๗. นายวัลลภ พิชญ์พงศ์ศา ๑๘. นางดารณี เรียนศรีวิไล ๑๙. นางสุวรรณา หลั่งน�้ำสังข์ ๒๐. นายวีระเดช สมบูรณ์เวชชการ

ส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมา เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทสวนเงินมีมา จ�ำกัด อันเป็นธุรกิจอย่าง ใหม่ ประกอบด้วยองค์กรพัฒนาสังคม และนักธุรกิจที่ตระหนักถึงปัญหาสังคม ชุมชน สิ่ง แวดล้อมและศัก ยภาพด้านในของมนุษย์ ตั้งขึ้น เพื่อด�ำ เนิน งานทั้ง ด้านธุ รกิจและสังคม ไปพร้อมกันด้วยค่านิยมอย่างใหม่ ที่มิได้หวังก�ำไรเป็นที่ตั้ง และผลก�ำไรที่มีขึ้นจะน�ำกลับไป ส่งเสริมสนับสนุน องค์กร พัฒนาสังคมและชุมชนเป็นหลัก


สารบัญ จากส�ำนักพิมพ์

ภาคหนึ่ง แนวคิดตลาดกับอนาคตของอาหารและการเกษตร

บทที่ 1 ตลาดแบบไหนที่เรา (โลก) ต้องการ ฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด ๑๓ - ตลาดเสรีกับอธิปไตยทางอาหาร - เกษตรอินทรีย์กับการให้ความหมายใหม่ - การพัฒนาและการบริโภคอย่างยั่งยืน: โลกกับชีวิตในรูปแบบใหม่ - ตลาดที่มีจิตส�ำนึกเพื่อ ‘อาหารอินทรีย์ส�ำหรับทุกคน’ เปิดเวทีตลาดที่มีจิตส�ำนึก วัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด ๓๕ บทที่ 2 “อาหาร การเกษตร ความสุข และจิตวิญญาณใหม่” - อาหารและการเกษตรที่ไปพ้นจีดีพี ฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด - จิตส�ำนึกของตลาด ดาโชกรรมะ อุระ - พลังผู้บริโภคสีเขียว สหกรณ์ผู้บริโภคเซคัทสึ โคอิชิ คาโตะ - พลังเกษตรกรและขบวนการเคลื่อนไหว ของชาวนาโลก ลาเวียคัมเปซินา ไซนัล อริฟิน ฟาอุด

๔๓ ๔๓

บทที่ 3 เกษตรกรหนุ่มสาวและจิตวิญญาณใหม่: ซีเอสเอ - การเกษตรแบบสมาชิก จิตวิญญาณใหม่ บนเส้นทางเกษตรอินทรีย์และซีเอสเอ - แทมมารีนวัลเลย์ฟาร์ม ‘เล็กนี้งาม’ มารัน นอ อ่อง อารี ชัยเสถียร สัมภาษณ์และเรียบเรียง - รับอรุณฟาร์ม ‘เกษตรกรคนเมือง ชีวิตที่เปลี่ยนไป’ ไพราษฎร์ สุขสุเมฆ - กลุ่มกัลยาณมิตร มิตรแท้บนเส้นทางเกษตรอินทรีย์ อภิศักดิ์ ก�ำเพ็ญ เพ็ญนภา หงษ์ทอง สัมภาษณ์และเรียบเรียง - แชร์ฮาเวสต์ การเดินทางสวนวัฒนธรรมชาวจีนรุ่นใหม่ เฉิน ลี่ และ อู๋ โจว อารี ชัยเสถียร สัมภาษณ์และเรียบเรียง

๗๓

๔๗ ๕๕ ๖๑

๗๓ ๗๖ ๘๐ ๘๔ ๙๐


ภาคสอง เรื่องราวในตลาดที่มีจิตส�ำนึก

๑๐๙

บทที่ 4 สหกรณ์เซคัทสึ: เมื่อผู้บริโภคคือผู้ผลิต

๑๑๓

บทที่ 5 ตลาดดีที่ศรีลังกา: เมื่อผลิตภัณฑ์อินทรีย์ไม่แพงเกินเอื้อม

๑๒๕

บทที่ 6 ร้านคนจับปลา: วิสาหกิจชุมชนของคนจับปลา

๑๓๕

บทที่ 7 ผลิตภัณฑ์ซาวบ้านเพื่อชีวิตที่ดี: ผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์สีเขียวคุณภาพ

๑๔๓

บทที่ 8 เกษตรอินทรีย์บ้านสานฝัน: ธุรกิจเลี้ยงตัวของบ้านเด็กก�ำพร้า

๑๕๑

บทที่ 9 ผู้ประกอบการในสังคมจีเอ็นเอช: ความสุขมวลรวมประชาชาติ การริเริ่มธุรกิจสีเขียวของคนรุ่นใหม่

๑๕๗

บทที่ 10 อยากกินอาหารปลอดภัย ต้องดูแลคนปลูก: การปกป้อง เกษตรรายย่อย

๑๖๗

บทที่ 11 นวัตกรรมทางการเกษตร: เพื่อผลผลิตและชีวิตชาวนา

๑๗๕

บทที่ 12 การศึกษาเพื่อสัมมาชีพ: ปาแด็กมรดกจากสมบัด สมพอน

๑๘๓

อารี ชัยเสถียร สัมภาษณ์และเรียบเรียง อารี ชัยเสถียร สัมภาษณ์และเรียบเรียง

เพ็ญนภา หงษ์ทอง สัมภาษณ์และเรียบเรียง

สุขุมาภรณ์ หลายหยก สัมภาษณ์และเรียบเรียง เพ็ญนภา หงษ์ทอง สัมภาษณ์และเรียบเรียง

นันทิยา ตั้งวิสุทธิจิต สัมภาษณ์และเรียบเรียง

นันทิยา ตั้งวิสุทธิจิต สัมภาษณ์และเรียบเรียง

สุขุมาภรณ์ หลายหยก สัมภาษณ์และเรียบเรียง สุขุมาภรณ์ หลายหยก สัมภาษณ์และเรียบเรียง

ส่งท้าย

๑๙๐


จากส�ำนักพิมพ์ ผูค้ นทีห่ ว่ งใยอนาคตของอาหารและการเกษตรได้มาพบปะแลกเปลีย่ นกันใน ‘เวทีตลาดที่มีจิตส�ำนึกแห่งเอเชีย’ (Mindful Markets: Asia Forum) เมื่อเดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ การพบปะกันนี้ได้น�ำมาสู่เรื่องราวที่น่าสนใจและกลายเป็น ที่มาของหนังสือเล่มนี้ การสร้างช่องทางใหม่ๆ อันเต็มไปด้วยจิตส�ำนึกและความ รับผิดชอบนี้เกิดขึ้นในหลายแห่งทั่วเอเชีย ความใส่ใจและริเริ่มหาหนทางด้าน สัมมาชีพ ตลาดทีม่ คี วามรับผิดชอบ ช่องทางการผลิตและการกระจายสินค้า รวมทัง้ การบริโภคทีด่ ตี อ่ ชีวติ และโลก หนังสือเล่มนีน้ บั เป็นความพยายามรวมเรือ่ งราวและ ความร่วมไม้ร่วมมือของผู้ประกอบการสีเขียว เกษตรกรผู้ประกอบการ เกษตรกร คนเมือง ชาวนานักเคลือ่ นไหว นักพัฒนาส่งเสริมการเกษตร แม่บา้ น ผูบ้ ริโภค ฯลฯ เนื้อหาหนังสือมีสองภาค ภาคแรกพูดถึงแนวคิดเรื่องตลาดกับจิตส�ำนึก โดยบทที่ ๑ ฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ดได้เขียนถึงแนวคิดและปัญหาของระบบ เสรีนิยมใหม่ กับการแสวงหาทางออกด้วยเศรษฐกิจและตลาดที่สร้างความเป็น น�้ำหนึ่งใจเดียวกัน ส่วนบทที่ ๒ และ ๓ สาระมาจากเวทีการประชุม ในหัวเรื่อง ‘อาหาร การเกษตร ความสุขและจิตวิญญาณใหม่’ มี ดาโชกรรมะ อุระ ชี้ถึง ความไม่มีประสิทธิภาพของตลาดในระบอบเสรีนิยมใหม่ หากมองจากบริบทการ สร้างหลักประกันต่อคนรุน่ ลูกรุน่ หลานทีจ่ ะมีทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างพอเพียง และยั่งยืน นี่จึงท�ำให้เกิดขบวนการของกลุ่มผู้บริโภคเซคัทสึในปี ๑๙๖๕ ที่รวม พลังในแบบรวมกันซื้อ (collective buying) เพื่อการบริโภคอย่างยั่งยืน ผู้ผลิต ก็มคี วามพยายามรวมตัวกันเหมือนขบวนการชาวนาโลกลาเวียคัมเปซินา เมือ่ คลืน่ มหาชนชาวนาชาวไร่เรียกร้องการคุม้ ครองให้กบั เกษตรกรรายย่อย การเคลือ่ นไหว ทั้งจากกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตในทั้งสองฝั่ง นับเป็นสัญลักษณ์ ของการเชื่อมประสานที่ก�ำลังเกิดขึ้นมากมายหลายแห่ง ดั่งตัวอย่างในบทที่ ๓ ‘เกษตรกรหนุ่มสาวและจิตวิญญาณใหม่: ซีเอสเอ - การเกษตรแบบสมาชิก’ ที่ แสดงให้เห็นถึงการเชือ่ มโยงระหว่างเกษตรกรและผูบ้ ริโภคในรูปแบบซีเอสเอทีใ่ ห้ แรงบันดาลใจแก่คนหนุ่มสาวจ�ำนวนมาก ทั้งซีเอสเอในพม่า จีน และประเทศไทย ตลาดที่มีจิตส�ำนึก 7


ภาคสองมีทีมนักเขียนที่ได้สัมภาษณ์พูดคุยกับเจ้าของเรื่องราวและนักบุกเบิกใน เวทีตลาดที่มีจิตส�ำนึกทั้งในและนอกประเทศ ทีมนักเขียนทุกคนได้บรรจงเขียน เรื่องราวอย่างน่าติดตาม ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่มีความร่วมมือจากผู้คนและองค์กรต่างๆ มากมาย ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ท่านอธิการบดี ผศ.นายแพทย์ เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ และ รองศาสตราจารย์นชุ รี ตรีโลจน์วงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ ที่ ใ ห้ ก ารสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างแข็ ง ขั นทั้ ง การประชุ ม และการจั ด งาน กรีนแฟร์ครั้งที่ ๗ ขอขอบคุณองค์กรที่เข้าร่วมและวิทยากรทุกท่าน รวมทั้งทีมงาน ผู้อยู่เบื้องหลัง ท้ายสุดนี้หากส�ำคัญยิ่งคือการสนับสนุนจากส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), แผนงานพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพของไทยระดับนานาชาติ (TGLIP) และ CCFD - Terre Solidare ที่ท�ำให้เวทีการประชุมและการจัดพิมพ์หนังสือนี้เกิดขึ้นและเผยแพร่ ออกไป

8 ตลาดที่มีจิตส�ำนึก


ภาคหนึ่ง แนวคิดตลาดกับ อนาคตของอาหารและการเกษตร

9




{

ขบวนการขับเคลื่อนเรื่องเกษตรอินทรีย์ได้หยั่งรากลงในความเป็น จริงของผืนดินที่อุดมและความหลากหลายทางชีวภาพ การท�ำงาน หนักทุกวันของครอบครัวเกษตรกรและชุมชน ความตระหนักและ การยืนยันสนับสนุนอย่างจริงจังของผูบ้ ริโภคทีม่ จี ติ ส�ำนึกทีจ่ ะร่วม รับผิดชอบในการท�ำให้เกิด ‘อาหารอินทรีย์ส�ำหรับทุกคน’ แสดง ให้ เ ห็ น แรงกระตุ ้ น ส� ำ คั ญ อย่ า งมโหฬาร ที่ ก� ำ ลั ง ปรั บ โฉมการ เปลีย่ นแปลงของโลกอย่างเป็นรูปธรรมเพือ่ โลกทีย่ งั่ ยืนอย่างแท้จริง

12 ตลาดที่มีจิตส�ำนึก


บทที่

1

ตลาดแบบไหน ที่เรา (โลก) ต้องการ ฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด ตลาดเสรีกับอธิปไตยทางอาหาร คนส่วนใหญ่เชื่อว่ากลไกตลาดเสรีสามารถจัดการกับอุปสงค์และอุปทานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งวางใจในแนวคิดเรื่อง ‘มือที่มองไม่เห็น’ ด้วยการเจรจา ต่อรองระหว่างผู้จัดหาสินค้า (suppliers) กับผู้ซื้อสินค้า (demand) จะน�ำมา สู่ราคาที่ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจบนหนทางที่เหมาะสมเป็นธรรม สินค้าที่ถูกผลิต จ�ำนวนมหาศาลจะช่วยท�ำให้ราคาถูกลง ขณะที่ความต้องการสินค้าที่เพิ่มมาก ขึ้นจะท�ำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย นี่คือหลักคิดและรูปแบบของ ‘ความเป็น ธรรม’ หรือ ‘สมดุล’ ที่ผู้คนพากันเชื่อว่าเป็นผลมาจากการท�ำงานของกลไกตลาด ความเชื่อมั่นในกลไกการท�ำงานของตลาดเสรีไม่ได้เป็นเพียงความคิดความเชื่อ ในระดับปัจเจกบุคคล หากได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางเป็นระบบที่ใหญ่โต มโหฬารทีเ่ รียกว่า ‘ระบบตลาดเสรี’ สูว่ งจรในระดับโลก ผูท้ สี่ นใจและฝักใฝ่ในการ ท�ำงานของระบบนีอ้ าจอยากให้เราเชือ่ ต่อไปว่า แท้ทจี่ ริงแล้วระบบนีเ้ ป็นระบบทีม่ ี ประสิทธิภาพที่สุดและเป็นเพียงวิธีจัดระเบียบการจัดส่งสินค้าและบริการวิธีเดียว ทีต่ ลาดสามารถจัดการกับความต้องการทีม่ ไี ด้อย่างดียงิ่ ในแง่หนึง่ วิธคี ดิ ของตลาด ทีว่ า่ มานีก้ น็ ำ� มาซึง่ ประสิทธิภาพและท�ำงานได้ดี การรูค้ วามต้องการของผูบ้ ริโภคจะ ท�ำให้ผู้ผลิตรู้ว่าควรผลิตสิ่งใดและเมื่อไร จึงไม่น่าแปลกใจที่ระบบนี้ได้ขยายกลไก การท�ำงานออกไปทุกหนแห่ง เปลี่ยนผ่านระบบเดิมๆ ที่มีการแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการไปอย่างสิ้นเชิง ยิ่งโลกมีอัตราเร่งของความเป็นเมืองและธุรกิจเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

ตลาดแบบไหนที่เรา (โลก) ต้องการ 13


ประชาชนของประเทศมหาอ�ำนาจทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในทุกวันนี้อาศัยอยู่ใน เมือง และประชาชนในชนบทได้กลายเป็นคนส่วนน้อย ปรากฏการณ์นี้ได้ขยาย ไปทุกหนแห่ง ความเป็นเมืองกลายเป็นรูปแบบของความเจริญก้าวหน้าที่คน ส่วนมากต้องการ แล้วมันส่งผลอย่างไรต่อคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติ และในทีส่ ดุ ต่อระบบอาหารของเรา ด้วยมุมมองและโลกทัศน์ แบบเมืองและวัฒนธรรมทีเ่ อนเอียงชืน่ ชอบความเป็นอุตสาหกรรม เพราะการผลิต จ�ำนวนมากส่งมอบสินค้าราคาถูกที่เราต้องการ วัฒนธรรมอุตสาหกรรมนี้ส่งผล อย่างไร กลไกตลาดเสรีกับสินค้าและอาหารราคาถูก เราควรตัง้ ค�ำถามต่อระบบตลาดเสรีทมี่ าคูก่ บั ความทันสมัยในยุคทีโ่ ลกก�ำลัง เผชิญกับวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม วิกฤตการณ์ด้านพลังงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และที่ส�ำคัญยิ่งคือวิกฤตการณ์ด้านอาหาร อาทิ อาหารที่เรากินมาจากไหน ผลิต อย่างไร ใครคือคนผลิต แล้วผูผ้ ลิตเขามีชวี ติ อย่างไร หรือพวกเขาเพียงแค่ปลูกอะไร ก็ได้ที่ท�ำให้มีรายได้มากพอที่จะใช้หนี้ หรือแค่ท�ำตามพันธสัญญาที่ถูกกดดันจาก บริษัทขนาดใหญ่ เกษตรกรได้มีส่วนร่วมในการก�ำหนดราคาที่เหมาะกับการครอง ชีพของเขาไหม ใครเป็นคนลงมือท�ำงานจริงๆ เกษตรกรเจ้าของที่ดินหรือแรงงาน ต่างด้าว แล้วใครเป็นเจ้าของที่ดินที่ใช้ท�ำการเกษตร เป็นไปได้อย่างไรที่ระบบอาหารที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของบรรษัท ขนาดใหญ่ ท�ำให้อาหาร (ปนเปื้อนสารเคมี) มีราคาถูกกว่าอาหารอินทรีย์ที่ดีต่อ สุขภาพคนและสุขภาพสิ่งแวดล้อม ในระบบที่เรียกว่าตลาดเสรีผู้เล่นรายใหญ่ สามารถเอาชนะด้านราคาต่อผูผ้ ลิตรายเล็ก และเกษตรกรรายย่อยได้อย่างง่ายดาย วิธแี รกทีท่ ำ� ให้เอาชนะได้คอื ซ่อน ‘ผลกระทบภายนอก’ (external factors) เช่น ต้นทุนความเสือ่ มโทรมของสิง่ แวดล้อมและบริการสุขภาพทีต่ อ้ งเกิดขึน้ ในการ ท�ำการเกษตรด้วยระบบอุตสาหกรรมเพราะพึง่ พาสารเคมีในทุกขัน้ ตอน ความเสีย หายด้านสิ่งแวดล้อมสามารถปกปิดได้ 2 วิธี คือหนึ่ง ซ่อนไม่ให้มองเห็น เช่น ขยะ พิษและมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม และสอง ผลักให้ความเสียหายไปปรากฏ เห็นผลในอนาคตทีจ่ ะยังไม่ปรากฏผลชัดเจนในทันที เหมือนกรณีการสูญเสียความ

14 ตลาดที่มีจิตส�ำนึก


อุดมสมบูรณ์ของหน้าดิน ตราบทีเ่ รายังใช้ปยุ๋ เคมีและมีแนวโน้มทีจ่ ะต้องใช้มนั เพิม่ มากขึ้นในทุกปี คนรุ่นอนาคตต่างหากที่จะต้องเผชิญกับผลของมันเมื่อหน้าดินที่ สมบูรณ์และเหมาะสมกับการเพาะปลูกก�ำลังจะหมดไป และมันก็จะยังคงอยู่ต่อ ไปตราบที่ยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยผลประโยชน์ ส่วนตน เพราะเป็นตรรกะที่ได้รับการยอมรับมามากกว่าศตวรรษแล้ว อีกวิธีหนึ่ง ทีจ่ ะปรับแต่งราคาได้คอื การทีร่ ฐั ให้เงินอุดหนุนอย่างไม่เปิดเผย อย่างเช่นกรณีกา๊ ซ หรือน�้ำมัน ซึ่งนั่นจะท�ำให้ผู้เสียภาษีเป็นผู้แบกรับรายจ่ายส่วนนี้แทน พวกธุรกิจ และอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ยังคงด�ำเนินวิถีการผลิตแบบปริมาณมากๆ (mass production) ต่อไป และไม่ต้องใส่ใจกับภาระด้านสุขภาพของประชาชน จากอาหารราคาถูก ที่ไม่ได้รวมต้นทุนด้านสุขภาพ อาหารถูกผลิตด้วยการใช้สาร เคมีในทุกขั้นตอนและมีความเสี่ยงหรือไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ รวมถึงต้นทุนการ ดูแลสุขภาพของเกษตรกรผูผ้ ลิตทีต่ อ้ งเสีย่ งกับปัญหาสุขภาพจากการท�ำงานกับสาร เคมีอนั ตรายต่างๆ และหากเกษตรกรหรือผูร้ บั จ้างท�ำงานในไร่นาเกิดเจ็บป่วยและ ตายลงก็ไม่มีผลอย่างไร มันไม่ได้แสดงให้เห็นในต้นทุนราคาอยู่แล้ว การเอาเปรียบประชาชนด้วยการจ่ายค่าแรงงานในไร่นาในอัตราต�่ำ และ กีดขวางการตั้งสหภาพแรงงานและสหภาพชาวนาเพื่อที่จะรักษาสถานภาพของ ตนเอง ทั้งยังให้ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับประโยชน์ของการท�ำเกษตรเคมีต่อเกษตรกร ควบคุมการวิจัยเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลข่าวสารที่แท้จริงเกี่ยวกับความเสียหาย ต่างๆ จากสารเคมีทางการเกษตรได้เข้าถึงผู้ก�ำหนดนโยบาย ลงทุนด้านการผลิต ด้วยเงินที่ไม่สามารถจับต้องได้จริง เงินจากตลาดการเงินสามารถบงการให้เกิด การขาดแคลนเม็ดเงินจริง และต้นทุนของเกษตรกรรายย่อยได้อย่างง่ายๆ ด้วยการ สร้างการผูกขาดตลาดซึ่งจะท�ำให้เกษตรกรต้องขายผลผลิตให้ตนแต่เพียงผู้เดียว ควบคุมผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงที่จ�ำเป็นต่อเมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ควบคุมห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดเพื่อให้ ‘คนนอก’ ได้ผลประโยชน์น้อยที่สุด และท�ำ ทุกวิถีทางที่จะให้บรรดาเจ้าของบรรษัทขนาดใหญ่เพียงกลุ่มเล็กๆ ได้ก�ำไรสูงสุด แยกชาวชนบทออกจากทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สมบัติดั้งเดิมของพวกเขา ท�ำให้เกษตรกรเป็นเพียงแรงงานในระบบสัญญาจ้าง หรือไม่กท็ ำ� ให้ชาวชนบทหมด หนทางและในที่สุดพวกเขาก็ต้องอพยพเข้าไปในเมือง แล้วแทนที่ด้วยผู้จัดการ

ตลาดแบบไหนที่เรา (โลก) ต้องการ 15


แปลงเกษตรที่ท�ำงานด้วยเงินและแรงงานอพยพชาวต่างด้าวที่ถูกเอาเปรียบได้ ง่ายๆ จุดเปลี่ยนสู่อธิปไตยทางอาหารและความมั่นคงทางอาหาร ผู ้ ค นเริ่ ม ไม่ ต ้ อ งการเป็ น เพี ย ง ‘ปั จ จั ย ’ ที่ ถู ก ขั บ เคลื่ อ นด้ ว ยตรรกะ เศรษฐศาสตร์ตามแนวคิดระบบตลาดเสรีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยอาศัยสื่อที่มี อยู่ในมือคอยโหมกระหน�่ำใส่ตลอดเวลา กลุ่มผู้บุกเบิกหาหนทางเลือกออกจาก ระบบตลาดเสรีนี้ได้แสดงให้เห็นว่า พวกเขาที่มีความคิดอิสระเริ่มตระหนักถึงผล ที่จะตามมาจากกลไกการค้าเสรี แต่ความตื่นตัวของผู้บริโภคที่ยังมีไม่มากพอหรือ อย่างมีนัยส�ำคัญ ท�ำให้ความพยายามที่จะทะลุทางตันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างไรก็ ดีเสียงสะท้อนของผู้ที่มองหาทางเลือกนี้ได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกพร้อมกับการ ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UNCED - United Nations Conference on Environment and Development) ที่กรุงริโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ในปี 1992 การประชุมนีเ้ องทีท่ ำ� ให้แนวคิดเรือ่ ง ‘การพัฒนา อย่างยั่งยืน’ ได้รับการรับรองจากหลากหลายกลุ่มที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ นับเป็นการรวมตัวครั้งแรกในระดับโลก ที่ตรรกะกระแสหลักของระบบตลาดเสรี ที่พร�่ำบอกเรา ว่าผู้เล่นทุกคนล้วนถูกขับเคลื่อนด้วยผลประโยชน์ส่วนตัว (แล้วมัน ผิดตรงไหนหรือ) ถูกตั้งค�ำถามเชิงระบบมากขึ้นในเวทีการประชุมระดับโลกที่ว่านี้ นับวันผู้คนยิ่งเห็นนัยของ ‘กระบวนทัศน์ที่อิงผลประโยชน์ส่วนตัว’ นี้ได้ ชัดเจนยิ่งขึ้น ความไม่เท่าเทียมกันที่ก�ำลังขยายตัว การเสื่อมโทรมของสภาพ แวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ประชาธิปไตยภายใต้แรงกดดันของ อ�ำนาจนิยมและระบอบที่คอร์รัปชั่นที่เอื้อประโยชน์ต่อบรรษัทขนาดใหญ่ ช่อง ว่างและความไม่เป็นธรรมที่เพิ่มมากขึ้น ได้น�ำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงในแทบทุก ภูมภิ าคของโลก น�ำมาสูก่ ระบวนการต่อสูด้ นิ้ รนทีเ่ พิม่ มากขึน้ ของผูค้ นจ�ำนวนมาก สิ่งที่ผู้คนเหล่านี้และคนอีกหลายๆ คนต้องการ คือชีวิตที่มีสุขภาวะและชีวิตที่มี ความหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืนวางผลประโยชน์ไว้ที่คนในรุ่นลูกรุ่นหลานของเรา เรา จะส่งมอบอนาคตให้คนในรุน่ ต่อจากเราด้วยสภาพแวดล้อมแบบไหน นีค่ อื แก่นหรือ ศูนย์กลางของเป้าหมายในการพัฒนา พูดอีกอย่างหนึง่ คือเป็นความรับผิดชอบจาก 16 ตลาดที่มีจิตส�ำนึก


คนรุ่นหนึ่งต่อคนอีกรุ่นหนึ่งนั่นเอง ดังนั้นวันนี้พวกเราไม่ต้องการเป็น ‘ปัจจัย’ ด้านก�ำลังมนุษย์ที่เดินตาม ‘กฎ เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก’ อย่างไร้หวั ใจอีกต่อไป เราไม่ตอ้ งการเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่ขับเคลื่อนด้วยผลประโยชน์ส่วนตนในสายพานตลาดกระแสหลัก สิ่งที่เรา ปรารถนาคือการได้ใช้ชีวิตในหนทางที่สอดคล้องกับกฎของการพัฒนาอย่างยั่งยืน กฎของการมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล กฎแห่งความรัก กฎแห่งความงาม และกฎแห่ง ความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับอาหารของเรา นั่นจึงจะ เป็นเสรีภาพที่แท้จริง เราไม่ต้องการถูกเป่าหูให้เชื่อว่าบริโภคนิยมมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และยุติธรรม เราต้องการเป็นมนุษย์ที่ท�ำงานเคียงคู่กับมนุษย์คนอื่นๆ และสร้างอนาคตทีส่ ดใสส�ำหรับคนรุน่ หลัง เพราะเรามีผลประโยชน์รว่ มกันเป็นตัว ตั้ง เราจึงต้องการก�ำหนดกฎและคุณค่าตลาดของเราอย่างมีส�ำนึกรับผิดชอบด้วย ตัวเราเอง เราไม่ต้องการเดินตาม ‘มือที่มองไม่เห็น’ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก โฆษณาของบรรษัททรงพลังขนาดใหญ่ กฎข้อหนึ่งของเศรษฐกิจตลาดเสรีคือคุณภาพยิ่งดียิ่งเป็นของผู้ที่จะจ่ายได้ มาก หากคุณไม่มอี ำ� นาจหรือก�ำลังซือ้ คุณก็ถกู กันออกจากวงจรตลาด วิธหี นึง่ ทีจ่ ะ ท�ำให้ตลาดมีประสิทธิภาพในยุทธศาสตร์ธุรกิจกระแสหลักคือ การกันผู้ท่ีไม่มีเงิน พอออกไปจากระบบ เมื่อไม่มีเงินในกระเป๋าก็ไม่จ�ำเป็นต้องจับจ่าย ในมุมมองที่ ขับเคลือ่ นด้วยการมุง่ แสวงหาผลก�ำไรแล้ว ไม่ควรไปเสียเวลาและพลังงานกับผูท้ ไี่ ม่มี อ�ำนาจซือ้ เพราะไม่ได้กอ่ ให้เกิดประสิทธิภาพใด สินค้ามีไว้สำ� หรับผูท้ สี่ ามารถจ่าย ได้เท่านัน้ แล้วอาหารทีม่ คี ณ ุ ภาพไม่ใช่สทิ ธิมนุษยชนขัน้ พืน้ ฐานหรืออย่างไร1 หาก ตลาดแบ่งคนเป็นคนทีม่ แี ละไม่มี แล้วความยุตธิ รรมอยูต่ รงไหน การใส่ใจในคุณภาพ อาหารของทุกคนไม่ได้เป็นก้าวย่างพืน้ ฐานของวัฒนธรรมแห่งศักดิศ์ รีและการดูแล ใส่ใจกันหรือ ‘อาหารอินทรียเ์ พือ่ ทุกคน’ ควรเป็นหัวใจแห่งการปฏิรปู สังคมของเรา 1

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (1976): ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีการตัง้ ผูร้ ายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติดา้ นสิทธิในอาหาร แนวปฏิบตั ขิ องสิทธิในอาหาร ได้รับการรับรองในปี 2004 โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) อย่างไรก็ตาม เครือข่ายข้อมูลและปฏิบัติการฟู้ดเฟิร์สต์ (FIAN - Food First Information and Action Network) ระบุว่า สิทธิในอาหารไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร

ตลาดแบบไหนที่เรา (โลก) ต้องการ 17


ในอีกแง่มมุ หนึง่ เราได้เรียนรูจ้ ากประวัตศิ าสตร์วา่ การจะก�ำจัดตลาดเสรีดว้ ย การให้รฐั เข้ามาควบคุมจัดการการผลิตและการกระจายสินค้าเสียเอง ก็ไม่ประสบ ผลเช่นกัน แล้วเราจะร่วมกันออกแบบ ตลาดรูปแบบใหม่ หรือ ตลาดที่มีจิตส�ำนึก ได้ อย่างไร หมายถึงตลาดทีใ่ ห้ทกุ คนมีสว่ นร่วมและมีความเห็นอกเห็นใจ บนฐานของ ความตระหนักถึงระบบนิเวศอาหาร (food ecology) ทัง้ ระบบ ขับเคลือ่ นด้วยหลัก การ ‘อาหารอินทรียเ์ พือ่ ทุกคน’ ตลาดลักษณะนีจ้ ำ� เป็นต้องให้เกษตรกร ครอบครัว เกษตรกร และชุมชนชนบท พึง่ ตนเองทางอาหารเพือ่ สุขภาพของตนเป็นอันดับแรก บนฐานของการใส่ใจดูแลผืนดินและภูมปิ ระเทศในระยะยาว ปัจจัยส�ำคัญประการ หนึ่งในการดูแลความอุดมสมบูรณ์ของดินและความหลากหลายทางชีวภาพคือ ความมั่นคงในการเป็นเจ้าของที่ดินท�ำกินของเกษตรกรเอง ราชโคปาล พี. วี.2 ได้ กล่าวไว้ในหนังสือของเขาเรือ่ ง อหิงสายาตรา บนเส้นทางสูอ่ นิ เดียอืน่ (Journey to the Other India) หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเป็นระยะเวลา ยาวนานระหว่างเกษตรกรและผืนดิน มีเพียงความสัมพันธ์ทดี่ งี ามนีเ้ ท่านัน้ ทีท่ ำ� ให้ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ได้อย่างยัง่ ยืน และด้วยดินทีส่ มบูรณ์นเี่ องคือความหวังของ ชีวิตที่มีความสุขของคนรุ่นต่อไปในอนาคต ‘อธิปไตยทางอาหาร’ ของชุมชนในชนบทไม่ได้ตงั้ อยูบ่ นฐานของผลประโยชน์ ส่วนตน หากคือการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับจิตวิญญาณ ที่เต็มไปด้วยความ รับผิดชอบในการผลิตอาหารคุณภาพให้ชุมชน แม้แต่ชุมชนที่กว้างขวางออกไป แต่ทุกวันนี้ชุมชนแทบทุกหนแห่งต่างก�ำลังกลายสภาพเป็นเมือง และเป็นคนเมือง ที่ไม่เปิดเผยตัวตน สายใยความสัมพันธ์เริ่มเบาบางและขาดลง ในการผลักดันให้ สังคมตระหนักถึงความส�ำคัญเรือ่ ง ตลาดทีม่ จี ติ ส�ำนึก มิตดิ า้ นบริการและศักยภาพ ในการขยายจิตวิญญาณเพื่อให้เกิดการผลิตอาหารคุณภาพ จึงเป็นความท้าทายที่ 2

ราชโคปาล พี. วี. ผูก้ อ่ ตัง้ เอกตา ปาริษทั (Ekta Parashad) กล่าวปาฐกถาว่าด้วยการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนในงานร�ำลึกมหาตมะ คานธี ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เขาจัดการ เดินขบวนที่มีเกษตรกรายย่อยที่ไร้ที่ดินท�ำกินเข้าร่วมเป็นจ�ำนวนมากเพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้ปฏิรูป นโยบายที่ดิน ปาฐกถาของเขาเปิดฉากปีดินสากล (International Year of Soils) ในประเทศไทย จากมุมมองทางเลือก

18 ตลาดที่มีจิตส�ำนึก


ก�ำลังทวนกระแส การสร้างความตระหนักเพื่อเห็นถึงความส�ำคัญของ ‘อธิปไตย ทางอาหาร’ อันจะน�ำมาสู่ ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ ความมั่นคงทางอาหารไม่ได้ หยุดอยู่ที่ตลาดที่มีก�ำลังซื้อสูง แต่ขยายไปสู่ผู้บริโภคทั้งในชนบทและในเมือง รวม ผู้คนในทุกสาขาอาชีพ และต้องการความมีตัวตนของผู้บริโภค ความมั่นคงทาง อาหารไม่ได้ต้องการปฏิสัมพันธ์อยู่เพียงเฉพาะชุมชนในชนบทส�ำหรับการบริโภค ของตนเองและของชุมชนตนเท่านัน้ หากรวมถึงความท้าทายของการเชือ่ มโยงข่าย ใยเป็น ‘เครือข่ายของเครือข่าย’ แบ่งปันและเชื่อมสายสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกร กับผูบ้ ริโภคทัง้ ในเมืองเล็กและเมืองใหญ่ การท�ำตลาดแบบเชือ่ มโยงเครือข่ายนีข้ บั เคลือ่ นด้วยส�ำนึกถึงคุณภาพชีวติ ความเป็นน�ำ้ หนึง่ ใจเดียวกัน และความใส่ใจในคน รุ่นอนาคต เป็นความสุขจากการท�ำงานร่วมกันที่ก้าวพ้นความไม่เสมอหน้า เกษตรอินทรีย์กับการให้ความหมายใหม่ ภาษาไทยใช้ค�ำว่า ‘อินทรีย์’ จากค�ำภาษาอังกฤษว่า ‘ออร์แกนิค’ ซึ่งใช้ เรียกการท�ำเกษตรอินทรีย์ มีก�ำเนิดและพัฒนามาจากการท�ำเกษตรแบบดั้งเดิม ผนวกเข้ากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่มีความเข้าใจกระบวนการทางชีววิทยา แล้ว เติมนวัตกรรมและเทคโนโลยีรวมทั้งวิสัยทัศน์เข้าไปในกระบวนการจัดการ บาง ครั้งก็มีการมองว่าเมื่อไม่มีการใช้สารเคมี (อย่างที่ยังคงปฏิบัติอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ของประเทศภูฐาน) มันก็เป็นเรือ่ งธรรมดาทีจ่ ะถูกเรียกว่าเป็น ‘เกษตรอินทรีย’์ โดย ปริยาย แท้ที่จริงแล้วเกษตรอินทรีย์ควรเป็นส่วนผสมที่ส�ำคัญของภูมิปัญญาท้อง ถิ่นดั้งเดิมและรูปแบบร่วมสมัยของนวัตกรรมโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) เป็นการตอบสนองต่อการเกษตรพืน้ บ้านด้วยมุมมองด้านบวก ของวิทยาศาสตร์ เพราะเกษตรอินทรีย์นั้นต้องการทั้งภูมิปัญญาดั้งเดิมผนวกกับ ภูมปิ ญ ั ญาร่วมสมัย tเพือ่ ดึงเอาข้อดีของแต่ละส่วนมาสร้างสรรค์อย่างเต็มเปีย่ ม ส่วนค�ำว่า เกษตรนิเวศ (agro-ecology) ที่ให้ความส�ำคัญกับการเอาใจใส่ ดูแลสิ่งแวดล้อมที่ไกลกว่าระดับพื้นที่ที่ท�ำการเกษตร คือมองระบบนิเวศที่ใหญ่ กว่าระดับฟาร์ม ทั้งยังรวมไปถึงความเป็นธรรมในสังคม ผลผลิตของเกษตรนิเวศ ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นอินทรีย์อย่างเต็มตัวเสมอไป ‘การค้าที่เป็นธรรม’ ก็อาจจะไม่ได้ เป็นอินทรีย์เสมอไป แต่มุ่งเน้นการให้หลักประกันด้านความยุติธรรมในสังคมและ

ตลาดแบบไหนที่เรา (โลก) ต้องการ 19


ค�ำนึงถึงความยั่งยืนทั้งระบบ ในกรอบการท�ำงานเพื่อสร้างตลาดที่มีจิตส�ำนึก เรารับรู้ถึงแนวคิดอันหลาก หลาย และไม่ได้มองว่าเป็นปัญหา แต่เป็นคุณลักษณะเชิงบวกของขบวนการ ความ หลากหลายทางวัฒนธรรมส�ำคัญพอๆ กับความหลากหลายทางชีวภาพ เราต่าง มีเหตุผลที่จะเลือกแนวคิดนั้นๆ อย่างไรก็ดีความหลากหลายนี้สามารถกลายเป็น จุดอ่อนเมื่อเราต้องสื่อสารความตั้งใจของเราให้ผู้บริโภค ผู้ก�ำหนดนโยบาย และ สื่อมวลชน ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนให้กับคนที่ยังใหม่ต่อแวดวงนี้ และอาจยาก ที่จะเข้าใจเรื่องราวเมื่อไม่มีความต่อเนื่องของภาพต่างๆ ที่หลากหลายรวมทั้งที่มา ที่ไป ค�ำศัพท์บางค�ำมีประวัติศาสตร์ยาวนานเช่นค�ำว่า อินทรีย์ แต่ในเส้นทางเดิน มันได้สร้างความหมายแฝงโดยนัยของการเป็น ‘เกษตรอินทรียท์ ไี่ ด้รบั การรับรอง’ เสียเป็นส่วนใหญ่ และกลายเป็นสินค้าเฉพาะ ‘ตลาดบนทีม่ กี ำ� ลังซือ้ สูง’ และถูกซ�ำ้ เติมทะลุทะลวงโดย ‘พี่ใหญ่วงการอาหาร’ ที่เห็นผลประโยชน์ของการเติบโตด้าน ผลผลิตอินทรีย์ ในแง่หนึ่งก็มีเหตุผลที่ท�ำให้เกษตรอินทรีย์ต้องเติบโตบนเส้นทาง เช่นนีแ้ ละเกีย่ วข้องด้วยการตรวจสอบและรับรองคุณภาพ (certification) เหตุผล หลักประการหนึ่งคือการคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องการการรับประกันว่าผลิตภัณฑ์ ที่ตนซื้อหานั้นเรียกว่าผลิตภัณฑ์อินทรีย์อย่างแท้จริงอันดีต่อสุขภาพ อยู่บนฐาน ของความเป็นธรรมในสังคม เคารพระบบนิเวศ จึงมีการออกตรารับรองคุณภาพ โดยบุคคลทีส่ าม (third-party certification) คือ หน่วยงานตรวจสอบและรับรอง (certifying body - CB) อย่างไรก็ดี ผู้คนพากันรู้สึกว่าเกษตรอินทรีย์ถูกแย่งชิงไปด้วย ‘ธุรกิจเหมือน อย่างเคย’ สิ่งที่เราควรท�ำไม่ใช่การยอมรับเรื่องนี้หรือเลิกใช้ค�ำว่าอินทรีย์ แล้วหัน ไปใช้ค�ำอื่นแทน แต่เราควรน�ำค�ำว่า ‘อินทรีย์’ กลับคืนมา อินทรีย์เป็น ‘ของส่วน รวม’ ไม่ควรถูกยึดครองโดยผู้ที่ให้การรับรอง หรือตกไปอยู่กับบริษัทที่ท�ำธุรกิจ อินทรีย์แบบเป็นไปเพื่อธุรกิจเพียงอย่างเดียว หรือที่รัฐบาลอ้างมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ตนเองมีสิทธิเด็ดขาดที่จะก�ำหนดว่าผลิตภัณฑ์ใดเป็นอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ใดไม่เป็น ด้วยการออกกฎหมายควบคุมบังคับในเรื่องนี้ เกษตรอินทรีย์เป็นของพวกเราทุก คน เป็นตะกร้าใบใหญ่ทเี่ ต็มไปด้วยความหลากหลายของวิธกี ารปฏิบตั ิ เช่น เกษตรนิเวศ เพอร์มาคัลเจอร์ และเกษตรกรรมธรรมชาติ เป็นต้น การให้ความหมาย

20 ตลาดที่มีจิตส�ำนึก


ตลาดที่มีจิตส�ำนึก ว่าหมายถึง ‘เกษตรอินทรีย์เพื่อทุกคน’ ท�ำให้เราสามารถยึด คืนค�ำว่าอินทรียก์ ลับมาและสร้างความร่วมไม้รว่ มมือกับผูท้ ที่ ำ� เกษตรทางเลือกใน รูปแบบต่างๆ ร่วมมือกับผูม้ วี สิ ยั ทัศน์ ทีใ่ ห้การสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ ว่าเป็นหัวใจ ของการเปลี่ยนแปลงระดับโลกเพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง เมื่อเกษตรอินทรีย์ต่อกรกับปฏิวัติเขียว หากย้อนกลับไปก่อนหน้าการรวมตัวของสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements - IFOAM) การเกิดขึน้ ของปฏิวตั เิ ขียวได้เปลีย่ นแปลงโฉมหน้าการเกษตรในวิถดี งั้ เดิมด้วยการ ใช้สารเคมีทางการเกษตรเพื่อผลิตธาตุอาหารสังเคราะห์ให้กับพืชได้ง่ายขึ้น เป็น ทางลัดที่ตัดวงจรธรรมชาติที่ ‘ดิน’ จ�ำเป็นต้องได้อาหารเพื่อผลิตและรักษาความ อุดมสมบูรณ์ให้ยั่งยืน สารเคมีสังเคราะห์เหล่านี้ที่ใช้ฮอร์โมน ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง อย่างมากมายและมีอนั ตราย ถูกผลิตจากสิง่ ทีเ่ คยถูกเตรียมและใช้ในสงครามอาวุธ เคมี เกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนจากบรรษัทผ่านโครงการให้ความช่วยเหลือจาก ต่างประเทศในวงกว้าง โดยเฉพาะอุตสาหกรรม สงคราม การเลี้ยงสัตว์ก็ถูกท�ำให้ เป็นอุตสาหกรรมตามอุตสาหกรรมรถยนต์ จีโนมถูกค้นพบท�ำให้มีการปรับแต่ง พันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต ปรัชญาของระบบเสรีทางการตลาดยิ่งถูกเน้นมากขึ้นจน ท�ำให้แข็งกระด้าง ผนวกกับแรงกดดันจากการแข่งขัน ถึงจุดที่สร้างให้เกิดความ ว่างเปล่าแก่มนุษย์และสังคม ประสิทธิภาพของตลาด การคืนทุนและก�ำไรสูงสุด จากความต้องการ ‘การประหยัดจากขนาดการผลิต’ (economy of scale) ไป จนถึงการปรับโครงสร้างใหม่ของสังคมชนบทเพื่อผนวกให้เข้ากับการผลิตทาง อุตสาหกรรม พัฒนาการเช่นนี้หล่อเลี้ยงระบบการเมืองและกฎหมายที่จนถึงทุก วันนี้ก็ยังเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของปัจเจกชนและบรรษัทเพียงอย่างเดียว รวมถึงความเป็นเจ้าของส่วนตัวและทรัพย์สินทางปัญญา แม้แต่พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่สุดของผืนป่า แม่น�้ำ และภูเขาของเราวันนี้ ก็ถูกท�ำลายลงให้เป็นเพียงหน่วยที่ ถูกค�ำนวณมูลค่าทางการค้าภายใต้การถือครองของรัฐในนามทรัพย์สินสาธารณะ หรือ ทรัพย์สินส่วนตัวที่ครอบครองโดยบรรษัท การปฏิวตั เิ ขียวเกิดขึน้ ไล่เลีย่ กับการเพิม่ ขึน้ ของจ�ำนวนประชากรในศตวรรษ

ตลาดแบบไหนที่เรา (โลก) ต้องการ 21


ที่ 20 จ�ำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างมโหฬารในศตวรรษนี้ ได้ผลิตแรงงานที่เป็น รากฐานให้กบั ความไม่เท่าเทียมกันอย่างสุดขัว้ ในต้นศตวรรษที่ 21 เห็นได้จากการ ทีค่ นจนในชนบทยังคงประสบกับภาวะขาดแคลนอาหาร ขัดแย้งกับภาวะอ้วนเกิน ของชีวิตเมืองและประเทศอุตสาหกรรม ภายหลังปี 1956 เมื่อผู้คนตื่นตัวกับสาเหตุของโรคมินามาตะ3 ที่ท�ำให้ ทารกแรกเกิดในพืน้ ทีต่ อนใต้ของญีป่ นุ่ มีรปู ร่างทีผ่ ดิ ปกติ เหล่าคุณแม่ทไี่ ม่เคยสนใจ ความปลอดภัยในอาหารของเด็กๆ พากันเข้าร่วมกับกระบวนการที่มีชื่อเรียกว่า เตเก้ (Teikei) พวกเธอเริ่มตระหนักถึงอันตรายของสารเคมีที่แผ่ซ่านอยู่ในการท�ำ เกษตรของญี่ปุ่น แล้วพวกเธอก็เชื่อมต่อกับเกษตรกรที่ไม่ได้ท�ำงานกับบริษัทใหญ่ และเป็นผู้ที่เต็มใจเลิกใช้สารเคมี เริ่มสร้างวงจรที่เชื่อมตรงระหว่างเกษตรกรและ ผูบ้ ริโภคทีร่ บั ประกันได้วา่ อาหารจะไม่มกี ารปนเปือ้ น ในช่วงเวลาไล่เลีย่ กันก็มกี าร ทดลองลักษณะเดียวกันนีเ้ กิดขึน้ ทีส่ หรัฐอเมริกาและยุโรป และขบวนการ ซีเอสเอ (CSA - Community Supported Agriculture) หรือ เกษตรกรรายเล็กที่ชุมชน (ผู้บริโภค) สนับสนุนก็ได้รับการบุกเบิก โครงการต่างๆ ที่เกิดตามมา เช่น สหกรณ์ เซคัทสึ ก็เกิดขึน้ ตามแนวทางนี้ ซึง่ ปัจจุบนั มีสมาชิกมากกว่าสามแสนคน และจนถึง วันนีก้ ย็ งั คงรักษาบทบาทของการเป็นผูข้ บั เคลือ่ นเกษตรอินทรียไ์ ว้ได้อย่างส�ำคัญยิง่ ในฝรัง่ เศส องค์กร Nature et Progrès ได้รว่ มมือและติดต่อกันอย่างไม่เป็น ทางการในหมูข่ บวนการนักเคลือ่ นไหวจากส�ำนักต่างๆ ได้แก่ ขบวนการเกษตรกรรม แบบชีวพลวัต (bio-dynamic farming movement)4 ในเยอรมนีและสวีเดน และสถาบันโรเดลในสหรัฐอเมริกา ร่วมทั้งองค์กรที่มีชื่อเสียงอีกองค์กรหนึ่งคือ สมาคมดิน (Soil Association) ในอังกฤษ ในทีส่ ดุ พวกเขาก็รวมตัวกันในปี 1972 3

โรคที่เกิดจากสารพิษจากปรอทที่เกิดจากโรงงานเคมีบริษัทชิสโสะ ท�ำให้เกิดอาการทางระบบ ประสาท ที่รวมถึงอาการทางระบบกล้ามเนื้อที่ท�ำให้เคลื่อนไหวล�ำบาก ชาตามมือและเท้า กล้ามเนื้อ อ่อนแรง มองเห็นไม่ชัด ระบบการฟังและการพูดถูกท�ำลาย ในบางกรณีเกิดอาการวิกลจริต อัมพาต โคม่า และเสียชีวิตในเวลาไม่กี่สัปดาห์ และยังอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ด้วย 4 การเกษตรแบบชีวพลวัตเปิดตัวโดยรูดอล์ฟ สไตเนอร์ (1861-1925) ในโปแลนด์ในปี 1924 และค่อยๆ ขยายตัวไปทัว่ ยุโรป ผลผลิตถูกขายภายใต้ยหี่ อ้ Demeter ในปัจจุบนั แนวคิดนีม้ กี ารน�ำไป ปฏิบัติทั่วโลก รวมถึงเอเชียโดยเฉพาะประเทศอินเดีย

22 ตลาดที่มีจิตส�ำนึก


ณ กรุงแวร์ซายส์เป็นครั้งแรกและจัดตั้งเป็นสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ที่รวมพลังจากหลากหลายสายธาร ที่น่าสนใจคือประธานสมาคมดิน อี. เอฟ. ชูมากเกอร์ ผู้แต่งหนังสืออันลือชื่อ เล็กนั้นงาม (Small is Beautyful: A Study of Economics as if People Mattered) ในปี 1974 หนังสือเล่มนี้ได้ น�ำเสนอแนวคิดใหม่ที่ส�ำคัญยิ่ง ชูมากเกอร์มองขบวนการเคลื่อนไหวด้านเกษตร อินทรีย์ว่าเป็น ‘เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ’ โดยเขาค้นพบแรงบันดาลใจในการเขียน หนังสือเล่มนี้จากการร่วมสนับสนุนขบวนการเคลื่อนไหวด้านเกษตรอินทรีย์อย่าง แข็งขันในฐานะชีพจรทางเศรษฐกิจ ผนวกกับประสบการณ์ทเี่ ขามีในประเทศพม่า ขณะด�ำรงต�ำแหน่งที่ปรึกษาองค์การสหประชาชาติ โดยการมอบหมายของนายก รัฐมนตรีอูนุ ก่อนที่เผด็จการทางทหารจะเข้าปกครองประเทศ เมื่อผนวกกับการประชุม UNCED (United Nations Conference on Environment and Development) ในกรุงริโอเดจาเนโร ซึ่งมีการรับรองการ พัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นหลักการส�ำคัญ ขบวนการเคลื่อนไหวด้านเกษตรอินทรีย์ ก็มงุ่ หน้าสูก่ ารเร่งสร้าง ‘เรือ่ งราวแห่งความส�ำเร็จ’ อย่างทันที อย่างไรก็ดกี ารเติบโต ที่ไม่ธรรมดาของภาคเกษตรอินทรีย์ได้ถูกสะท้อนอยู่ในรายงานของ UNRISD (United Nations Research Institute for Social Development) ที่ชื่อ Is There a New Economy in the Making? ที่เร่งการขยายตัวจนเกิดการปรับ เปลีย่ นไปในทิศทางทีเ่ ดินตามหลักการเศรษฐกิจกระแสหลักเสียมากกว่า จากจุดนี้ ท�ำให้เข้าใจได้ว่า ในช่วงเวลาเดียวกับที่ขบวนการเคลื่อนไหวด้านเกษตรอินทรีย์ ก�ำลังเติบโตอย่างเต็มที่นั่นเอง ลาเวียคัมเปซินา ขบวนการเคลื่อนไหวของชาวไร่ ชาวนาระดับโลกก็ถอื ก�ำเนิดขึน้ การท�ำงานคูข่ นานอย่างส�ำคัญนีบ้ รรลุวตั ถุประสงค์ ในการประชุมริโอ+20 ที่จัดขึ้นเพื่อร�ำลึกถึงการประชุมในปี 1992 โดยมีกติกา ที่ส�ำคัญ 4 ประการเกิดขึ้นในโลกแห่งเกษตรอินทรีย์ • ปี 2004 ระบบการรับรองอย่างมีส่วนร่วม (PGS - Participatory Guarantee Systems) ซึ่งเกิดขึ้นจากการประชุมร่วมกันของ IFOAM และ MAELA5 ในกรุงตอร์เรส ประเทศบราซิล ได้คนื ชีวติ ให้กบั แรงผลักดันแรก เริ่มของ Nature et Progrès ที่การพัฒนาคุณภาพต้องเกิดจากความร่วม 5

MAELA ภาษาละตินอเมริกา หมายถึงการเคลื่อนไหวเรื่องเกษตรนิเวศ

ตลาดแบบไหนที่เรา (โลก) ต้องการ 23


มือระหว่างผูผ้ ลิตและผูบ้ ริโภคด้วยการสร้างเครือข่ายความไว้ใจระหว่างกัน ขึ้นมาโดยตรง ไม่ใช่ให้องค์กรที่สามมาท�ำหน้าที่รับรองคุณภาพ6 • แนวคิดนี้ท�ำให้เกิดองค์กร URGENCI ซึ่งเป็นเครือข่ายระดับโลกของเตเก้ และการเกษตรที่ชุมชนสนับสนุน (CSA) • การประกาศใช้ กฎบัตรโลก (Earth Charter) ทีก่ รุงเฮก ในปี 2000 ท�ำให้ ในปี 2010 ประเทศโบลิเวียออกค�ำประกาศ สิทธิแห่งแม่พระธรณี (Rights of Mother Earth Bolivia) ซึง่ ประเทศในละตินอเมริกาหลายประเทศก็ได้ ให้การรับรองสิทธินี้ในรัฐธรรมนูญด้วย โดยมองว่าธรรมชาติควรนับเป็น ส่วนเสริมที่ส�ำคัญและเป็นสิ่งที่ท�ำให้สิทธิมนุษยชนมีความสมบูรณ์ หาก ปราศจากสิทธิในธรรมชาติ สิทธินั้นก็จะไม่มีความเป็น ‘สากล’ • จากกรอบการเลือกตัง้ ตามระบอบประชาธิปไตยครัง้ แรกในปี 2008 และ การรับรองรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ระบุถึงความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) ในฐานะทิศทางการพัฒนาประเทศภูฐาน ประกาศตนเองเป็นประเทศเกษตรอินทรีย์ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในเวทีรโิ อ+20 การพัฒนาและการบริโภคอย่างยั่งยืน: โลกกับชีวิตในรูปแบบใหม่ ผู้บริโภคสมัยใหม่เริ่มมีข้อมูลความรู้ถึงการผลิตที่ไม่ยั่งยืนที่กล่าวมามาก ขึ้นเรื่อยๆ และน�ำไปสู่ความตระหนักว่าระบบอาหารแบบอุตสาหกรรมและ ผลกระทบของมันต่อความเป็นอยู่ของตนเองนั้นมีมากมายมหาศาลและไม่อาจ ที่จะทนนิ่งเฉยได้อีกต่อไป ผู้บริโภคเหล่านี้เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับครอบครัว เกษตรกร เมื่อพวกเขาลงพื้นที่เยี่ยมแปลงเกษตร พวกเขาก็ได้เปิดสายตามอง เห็นชีวิตชนบท แม้แต่คนที่เกิดและเติบโตมาในเมืองเล็กๆ ก็ยังรู้สึกแปลกแยก จากภาคการผลิตและการเกษตร จริงๆ แล้ว พวกเราทุกคนต่างต้องการหลีก หนีจากการท�ำงานกลางแดดร้อนตั้งแต่แรกแล้ว และยังมองว่าคนที่ต้องใช้ชีวิต ในหมู่บ้านเป็นพวกที่แพ้ คนในชนบทเองก็มักพยายามท�ำงานหนักเพื่อส่งลูก 6

คณะกรรมการพีจีเอสระดับโลก ของ IFOAM ประชุมกันที่กรุงเทพฯ เดือนสิงหาคม 2013 ตาม ค�ำเชิญของโครงการเกษตรอินทรีย์สู่เอเชีย (Towards Organic Asia - TOA)

24 ตลาดที่มีจิตส�ำนึก


หลานเรียนหนังสือให้พวกเขาสามารถก้าวพ้นจากการต้องท�ำงานตรากตร�ำอยู่ ในชนบท ผู้บริโภคสมัยใหม่ที่ได้ไปเยือนแปลงเกษตรได้เห็นด้วยสายตาของ พวกเขาเองว่าการผลิตอาหารเป็นงานที่หนักเพียงไร และยิ่งเผชิญกับเงื่อนไข ข้อเรียกร้องต่างๆ ที่หนักมากกว่าเดิมอีก หากเกษตรกรต้องการเปลี่ยนเส้นทาง เดินหันมาผลิตแบบเกษตรทางเลือก การที่พวกเขาเดินสวนกระแสหลักของ สังคมที่ยังเป็นการผลิตแบบการเกษตรพืชเชิงเดี่ยวที่ใช้สารเคมีอย่างเข้มข้น นับเป็นการท้าทายอย่างมาก และเกษตรกรน้อยรายเท่านั้นที่จะฝ่ารอดมาได้ เพื่อ หันกลับมาดูแลสุขภาพของเขาเองและผู้บริโภค เพื่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อคนรุ่น ต่อไปในอนาคต ผู้บริโภคสมัยใหม่จ�ำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อได้รับรู้เรื่องราวของเกษตรกร ที่ต้องการเปลี่ยนวิถีการผลิตที่เกื้อกูลใส่ใจต่อระบบนิเวศ จึงยินดีจ่ายในราคาที่ เหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อตอบแทนความพยายามของเกษตรกรที่ผลิตอย่างมี คุณภาพ เพื่อสุขภาพของทุกๆ มิติ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของ พวกเขา ผูบ้ ริโภคเหล่านีต้ อ้ งการทีจ่ ะซือ้ หาอาหารจากคนทีพ่ วกเขารูจ้ กั และเชือ่ ใจ ฉะนัน้ จึงต้องไม่ใช่ในซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ ‘เราต้องรวมตัวกัน’ แล้วจัดการซือ้ และจัด จ�ำหน่ายด้วยตัวเราเอง ซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างมากทั้งในการจัดการตนเอง และกลุ่มคน หรือในท้ายที่สุดแล้ว เราตัดสินใจยอมซื้อสินค้าที่มุมอาหารอินทรีย์ ในซูเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากมีภาระและไม่พร้อมที่จะลุกขึ้นมาจัดการเองหรือหา พวกพ้องได้ ในที่สุดก็ต้องหันไปสู่การตลาดในระบบโมเดิร์นเทรดและจ�ำต้องจ่าย ให้กับสินค้าอินทรีย์ที่สูงกว่าสินค้าทั่วไป บริษัทใหญ่ๆ ก็รู้ความจริงข้อนี้ พวกเขา จึงค�ำนวณแล้วว่าจะหาเงินจากพวกเราได้อย่างไรบ้าง เพือ่ ลูก เพือ่ ครอบครัว เพือ่ ตัวเราเอง เพือ่ คุณค่าบางอย่างทีเ่ ราเชือ่ เรายืนยัน ทีจ่ ะท�ำอาหารเองด้วยวัตถุดบิ ทัง้ หมดทีซ่ อื้ มาจากผูผ้ ลิตเกษตรกรโดยตรง หรือจาก ผูจ้ ดั จ�ำหน่ายทีเ่ ราไว้ใจ เมือ่ เทียบกับการทีจ่ ะต้องทนกินอาหารข้างทางหรืออาหาร แช่แข็งอุ่นด้วยไมโครเวฟ และนั่นนับเป็นความพยายามอย่างมากอีกครั้งหนึ่งที่จะ ท�ำในสิ่งเหล่านี้ ซ�้ำร้ายเพื่อนๆ และเพื่อนร่วมงานจะพากันมองมาที่เรา และท�ำให้ เรารู้ว่า ‘พวกเขาไม่สามารถจ่ายค่าอาหารแพงๆ ได้ และไม่ได้มีเวลามากพอที่จะ ท�ำอาหารอย่างทีเ่ ราก�ำลังพยายามจะท�ำ’ ผูค้ นจะพากันมองมาทีเ่ ราราวกับเราเป็น

ตลาดแบบไหนที่เรา (โลก) ต้องการ 25


สมาชิกในสังคมชั้นสูงที่สามารถใช้เงินและเวลาให้หมดไปกับอาหารและการปรุง อาหารเอง ดูช่างไม่เป็นธรรมเสียเลย พวกเขารู้สึกว่าเขาท�ำไม่ได้อย่างที่เราก�ำลัง พยายามจะท�ำ ผูบ้ ริโภคสมัยใหม่ทเี่ ริม่ ตระหนักรู้ เริม่ รูส้ กึ ว่าน่าจะมีบางอย่างผิดปกติในกลไก ตลาด (แบบเสรี) เมื่อเราต้องการสิ่งที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืน หรือพูดให้ตรง คือการบริโภคผลผลิตอินทรีย์ เราก็จะถูกโดดเดี่ยวราวกับกลุ่มคนชั้นสูง เราต้อง จ่ายมากขึน้ เพือ่ วิถชี วี ติ ทีม่ คี วามระมัดระวังมากกว่าคนทีใ่ ช้ชวี ติ อย่างไม่รบั ผิดชอบ ระบบตลาดกระแสหลักสามารถผลิตของ ‘ฟรี’ ราคาถูกได้อย่างไร และผลักให้คน ทีต่ อ้ งการมีรปู แบบการใช้ชวี ติ อย่างมีความรับผิดชอบต้องไปอยูใ่ นหมวดชีวติ ของผู้ ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ความยั่งยืน การใส่ใจต่อคนรุ่นอนาคตกลายเป็นความฟุ้งเฟ้อได้ อย่างไร สังคมและเศรษฐกิจที่เป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน งานวิจัยชื่อ Is There a New Economy in the Making7 (มีไหมเศรษฐกิจ ที่ก�ำลังก่อตัว) ระบุว่าสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน ประกอบไป ด้วยแนวคิดมากมายหลากหลาย และมีมุมมองทางเลือกต่อการประกอบการทาง เศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะมีรูปแบบต่างๆ กันไป หากที่ส�ำคัญคือผลประโยชน์ร่วมกัน ของสังคม ทั้งด้านการดูแลป้องกันสุขภาพและการคุ้มครองสังคม ตลอดจนค�ำนึง ถึงหลักการค้าทีเ่ ป็นธรรม อาทิ ระบบสหกรณ์ ผูป้ ระกอบการสังคม สหกรณ์เครดิต ยูเนียน การธนาคารทีม่ จี ริยธรรม และระบบเงินตราชุมชน เป็นต้น สิง่ ทีย่ งั ไม่ถกู รวม คือภาคส่วนที่ก�ำลังมีการขยายตัว ทั้งภาคการผลิต การค้า และการบริโภคผลผลิต และสินค้าเกษตรอินทรีย8์ ค�ำว่า ‘เกษตรอินทรีย์’ นี้ไม่ได้จ�ำกัดอยู่เพียงการรับรอง 7

United Nations Research Institute for Social Development (UNRISD) Occasional Paper 10, Peter Utting, Nadine van Dijk and Marie-Adélaïde Matheï, Social and Solidarity Economy. Is There a New Economy in the Making? Geneva, August 2014. 8 ตามรายงานของ FiBL (สถาบันวิจัยเกษตรอินทรีย์ - Research Institute of Organic Agriculture) ขบวนการเคลือ่ นไหวด้านเกษตรอินทรีย์ จนถึงปี ค.ศ. 2012 สามารถท�ำให้มเี กษตรกรอินทรีย์ ที่ได้รับการรับรองจ�ำนวน 1.9 ล้านคน ใน 164 ประเทศ บนพื้นที่ 37.5 ล้านเฮกตาร์ และมูลค่า การตลาดของอาหารอินทรีย์ในระดับโลก 63,800 ล้านดอลลาร์

26 ตลาดที่มีจิตส�ำนึก


คุณภาพเกษตรอินทรียด์ ว้ ย ‘บุคคลทีส่ าม’ อีกต่อไป หากยังขยายรวมไปถึงการร่วม ดูแลคุณภาพด้วยระบบการรับรองอย่างมีส่วนร่วม (PGS) เราก�ำลังอยู่ในช่วงตอน ของประวัตศิ าสตร์ทมี่ คี วามเป็นไปได้ใหม่ๆ และศักยภาพทีจ่ ะปลดปล่อยโครงสร้าง เดิมๆ ทีไ่ ม่เอือ้ ต่อความยัง่ ยืนต่อระบบนิเวศและการใช้ชวี ติ มาสูก่ ารเพิม่ อ�ำนาจให้ กับทิศทางและแนวโน้มใหม่ๆ ทีป่ ระกอบไปด้วยความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ สังคม และผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดียังคงมีความท้าทายและข้อจ�ำกัดอีก หลายอย่างที่เห็นได้ชัด อาทิ ในหลายสถานการณ์ สหกรณ์ที่ด�ำเนินงานกันอยู่ใน หลายที่หลายแห่งก็ไม่ได้แตกต่างจากกิจการกระแสหลัก และเกษตรอินทรีย์ก็มัก จะถูกสร้างให้สอดคล้องกับธุรกิจกระแสหลักเพือ่ มุง่ ตอบสนอง ‘ตลาดบนทีม่ กี ำ� ลัง ซื้อสูง’ เสียส่วนใหญ่ ธุรกิจกระแสรองจะเดินไปกับเส้นทางธุรกิจกระแสหลักอย่างไร เมื่อการริเริ่มที่เป็นทางเลือกเดินทางมาถึงจุดของการเพิ่มขนาด และใช้ การเพิ่มขนาดเพื่อลดต้นทุน ‘การประหยัดจากขนาดการผลิต’ ที่ขยับจากระดับ ครอบครัว ชุมชน หรือการเป็นสมาชิกแบบตัวต่อตัวมาสู่ระดับที่มีการเพิ่มขนาด ธุรกิจกระแสรองเหล่านี้จะต้องแข่งขันกับธุรกิจกระแสหลัก และอาจมีแนวโน้มใน การปรับเข้าสูย่ ทุ ธศาสตร์ของธุรกิจกระแสหลัก อันจะมีความเป็นไปได้ทจี่ ะสูญเสีย คุณลักษณะเฉพาะตัวบางประการของการเป็นหุน้ ส่วนทีแ่ ท้จริงในสังคม และความ เป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกันทางเศรษฐกิจ ดังนั้นความท้าทายอย่างใหม่ที่ใหญ่หลวงในการสร้างและขยายกิจการที่ไม่ พาตัวไปอยูใ่ นยุทธศาสตร์เดิมๆ แบบธุรกิจกระแสหลัก หากควรแสวงหารูปแบบที่ ยังคงรักษาหลักการของตนไว้ได้ หนึง่ ในรูปแบบทีว่ า่ นีค้ อื ‘เครือข่ายของเครือข่าย’ เป็นข่ายใยของผูผ้ ลิต ผูป้ ระกอบการและผูบ้ ริโภค ในลักษณะกิจการทีท่ ำ� งานใกล้ชิดกันกับเกษตรกรรายย่อยที่มีความเป็นอิสระและเชื่อมโยงกับผู้ผลิต ผู้ประกอบ การและผู้บริโภค สายใยที่ว่านี้จะไม่ถูกท�ำให้เจือจางลงไป แต่สามารถรักษา จิตวิญญาณนักเคลื่อนไหวของตนเองไว้ได้ และพัฒนาให้กิจการมีความเป็นไปได้ และมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้การสร้างและขยายขนาดด้วย ‘เครือข่ายของเครือข่าย’ ตาม

ตลาดแบบไหนที่เรา (โลก) ต้องการ 27


แนวคิดของตลาดที่มีจิตส�ำนึกนั้น ควรสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ทางการค้ากระแสหลักของระบบเศรษฐกิจโลกไปพร้อมๆ กันด้วย ในด้านหนึง่ ก็ตอ้ ง แก้ไขกลไกและระบบทีเ่ ป็นปัญหาของตลาดกระแสหลัก ไปพร้อมกับการสร้างเงือ่ น ไขใหม่ๆ ที่จ�ำเป็นต่อการขับเคลื่อนตลาดที่มีจิตส�ำนึก อาทิ ท�ำให้สังคม ผู้บริโภค และผูก้ ำ� หนดนโยบายเข้าใจเรือ่ งการผลักภาระสูป่ จั จัยภายนอก (externality) ของ ธุรกิจกระแสหลัก ที่ท�ำให้ดินเสื่อม น�้ำเสียและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ สังคมจะต้อง เห็นถึงการท�ำให้ต้นทุนภายนอกที่ถูกปิดบังมีความโปร่งใส และสร้างแรงกดดันให้ รวมต้นทุนทุกอย่าง (สิ่งแวดล้อม สังคม การดูแลสุขภาพ) เข้าไว้ในราคาอาหารที่ บริโภคกันทั่วไปด้วย ข้อท้าทายทีส่ ำ� คัญอีกประการหนึง่ คือ ท�ำอย่างไรอาหารอินทรียท์ ดี่ สี ำ� หรับทุก คนจึงจะถ่ายโอนไปสูค่ นทีม่ คี วามจ�ำเป็นและควรได้รบั สิง่ นีเ้ ป็นกลุม่ แรกๆ คนกลุม่ ที่ว่านี้ได้แก่ เด็กๆ คนป่วย และผู้ที่ท�ำงานเพื่อประโยชน์ของสังคม อาทิ นักบวช เป็นต้น และจะท�ำให้ผทู้ มี่ กี ำ� ลังซือ้ ต�ำ่ หรือไม่มเี ลยสามารถเข้าถึงได้อย่างไร ตลาดที่ มีจติ ส�ำนึกจะท�ำบทบาทนีไ้ ด้อย่างไร การท�ำเช่นนีไ้ ม่ใช่เรือ่ งของความเห็นอกเห็นใจ หรือการกุศล เศรษฐกิจที่รวมผู้คนเหล่านี้คือเด็กๆ และผู้ป่วยเข้ามาอยู่ในระบบ การกระจายอาหารอินทรีย์ได้ จะท�ำให้เกิดผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อสังคม (รวมถึงสุขภาพ) วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่แท้จริง ผลประโยชน์นี้ จะแสดงให้เห็นได้ในระยะยาวและจะมีหลักฐานยืนยันได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ตลาดที่มีจิตส�ำนึกเพื่อ ‘อาหารอินทรีย์ส�ำหรับทุกคน’ ทางเลือกในการสร้างช่องทางอย่างใหม่ภายใต้การทวนกระแสและแรง ต้านต่างๆ นานา เฉกเช่นเดียวกับที่เกษตรกรที่เคยผลิตแบบเกษตรเคมีก�ำลัง ละทิ้งเกษตรแบบเดิมมาสู่เกษตรทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นเกษตรอินทรีย์หรือเกษตร ธรรมชาติก็ตาม ล้วนต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ผู้ริเริ่มบุกเบิกช่องทางใหม่ ตลาด อย่างใหม่อนั เป็นตลาดทีเ่ ต็มไปด้วยส�ำนึกแห่งความรับผิดชอบ จึงต้องท�ำงานหนัก มากกว่าการท�ำตลาดในรูปแบบเดิมๆ ทีเ่ ราก�ำลังจะก้าวออกมา หนทางหนึง่ คือการ ร่วมมือกัน การมีเพื่อนและเครือข่ายคือกลยุทธอันส�ำคัญอย่างหนึ่ง

28 ตลาดที่มีจิตส�ำนึก


ตลาดที่มีจิตส�ำนึก ด้วย ‘เครือข่ายของเครือข่าย’ วัตถุประสงค์ ‘เครือข่ายของเครือข่าย’ คือเพื่อให้เกิดการเข้าถึง ‘อาหาร อินทรีย์ส�ำหรับทุกคน’ ความร่วมมือแบ่งปันกันไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้อง ได้ในสิง่ ทีเ่ หมือนกันไม่ผดิ เพีย้ น คนมีความต้องการทีห่ ลากหลาย และการให้คณ ุ ค่า ต่ออาหารประเภทต่างๆ และระดับทีพ่ วกเขาเข้าไปเกีย่ วข้องก็แตกต่างกันไป และ นี่คือเหตุผลที่เราต้องการ ‘ตลาดที่มีจิตส�ำนึก’ ซึ่งหมายถึงพื้นที่ที่มีการเคลื่อนไหว ตลอดเวลา ทีซ่ งึ่ ความต้องการทีห่ ลากหลาย ความพยายาม ศักยภาพ เงิน ความรับ ผิดชอบ และความสามารถในการดูแลเอาใจใส่จะน�ำมาสู่การไกล่เกลี่ยกันได้ และ ขับเคลื่อนไปสู่วัฒนธรรมแห่งสันติภาพและความมั่งคั่งร่วมกัน คนทีจ่ ำ� เป็นต้องได้รบั อาหารเพือ่ สุขภาพส่วนใหญ่ทเี่ ป็นเด็กๆ คนป่วย และผู้ ที่อุทิศตนเพื่อสาธารณประโยชน์ การอุดหนุนจากรัฐควรต้องเปลี่ยนจากการแอบ สนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารเคมีกระแสหลักมาสูก่ ารให้หลักประกันว่า ผูท้ ตี่ อ้ งการ อาหารทีด่ ตี อ่ สุขภาพ อาจจะเป็นผูท้ ไี่ ม่มกี ำ� ลังพอทีจ่ ะหาซือ้ ได้หากควรได้รบั อาหาร ทีด่ ตี อ่ สุขภาพอย่างแน่นอน คนทีม่ อี ำ� นาจซือ้ และเห็นถึงคุณค่าของคุณภาพอาหาร ก็สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กบั ตลาดทีม่ จี ติ ส�ำนึกได้ ด้วยการสนับสนุนเครือข่าย ความร่วมมือต่างๆ ส่วนคนที่มีทุน รวมถึงรัฐบาล สามารถสนับสนุนได้ด้วยการ ให้เงินลงทุนซึง่ เป็นสิง่ จ�ำเป็นส�ำหรับการออกแบบปรับแต่งและสร้างความมัน่ คงให้ กับระบบอาหารทีย่ งั่ ยืน และผูน้ ำ� ภาคธุรกิจทีใ่ ส่ใจสังคมและต้องการมีสว่ นเกีย่ วข้อง กับการจัดการให้เกิดการเปลีย่ นแปลง สามารถช่วยกันออกแบบและพัฒนารูปแบบ ใหม่ๆ ตามแนวคิดตลาดที่มีจิตส�ำนึก เมือ่ เกษตรกรตัดสินใจเปลีย่ นจากเกษตรเคมีมาสูเ่ กษตรทางเลือกทีไ่ ม่พงึ่ พา สารเคมีอันตราย ในแง่หนึ่งพวกเขาก�ำลังตัดขาดจากระบบและความคุ้นเคยเดิมๆ ต่างไปจากเพื่อนเกษตรกรในชุมชน หรือออกจากวงจรที่บรรษัทขนาดใหญ่ให้การ สนับสนุน ดังนั้นการพัฒนาระบบขนาดย่อย ‘ทางเลือก’ ของอาหาร ที่อยู่บนฐาน ตลาดที่มีจิตส�ำนึก จึงเป็นความจ�ำเป็นอย่างเร่งด่วนส�ำหรับเกษตรกรที่เริ่มหันทิศ เปลี่ยนทางการท�ำการผลิตมาสู่วิถีเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรเหล่านี้ต้องการระบบ ย่อยที่เป็นทางเลือกจากวงจรของระบบเดิม พวกเขาต้องการผู้ประกอบการและผู้ บริโภคที่จะมาร่วมแนวคิด และจ�ำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเพื่อให้สามารถรวม กลุม่ คนทีม่ กี ำ� ลังซือ้ น้อย มีการพัฒนาศักยภาพน้อยและมีวธิ กี ารสร้างความไว้วางใจ ตลาดแบบไหนที่เรา (โลก) ต้องการ 29


วิสยั ทัศน์ และความมุง่ มัน่ ทีไ่ ม่เหมือนใครเข้ามาเพือ่ ให้สำ� เร็จผล และขยายผลด้วย รูปแบบดังกล่าวนีส้ คู่ วามร่วมมือของหลายภาคส่วน ภาคประชาสังคม ภาครัฐบาล และภาคธุรกิจทีม่ ศี กั ยภาพในการจัดซือ้ จัดจ้างในทางทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม ด้วย เป้าหมายร่วมกันเพือ่ แบ่งปันอาหารทีม่ คี ณ ุ ภาพต่อประชาชนทัง้ มวลอย่างเป็นธรรม และเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน หัวใจส�ำคัญของตลาดที่มีจิตส�ำนึกคือความตระหนัก กล่าวคือมันเป็นความท้าทายขนาดมโหฬารต่อการทบทวนพืน้ ฐานระบบเศรษฐกิจ ของโลก สถาบันท้องถิ่น และชีวิตของเราเอง บทสรุป ท่ามกลางการขยายตัวของขบวนการขับเคลื่อนเรื่องเกษตรอินทรีย์ เวที แลกเปลี่ยนเรื่อง ตลาดที่มีจิตส�ำนึก ก็ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) กรุงเทพฯ ในปี 2557 การขับเคลื่อนอย่างมีพลวัตของ เวทีท�ำให้เกิดหนังสือเล่มนี้ ข้อสรุปของบทน�ำนี้ท�ำให้เราต้องหันกลับไปพิจารณา หนังสือ โลกยุคหลังบรรษัท ชีวิตหลังทุนนิยม ที่เขียนโดย เดวิด ซี. คอร์เทน ในปี 19999 อย่างพินิจพิเคราะห์ หนังสือเล่มนี้เองที่กระตุ้นให้เกิดแนวคิด ‘ตลาดที่มี จิตส�ำนึก’ “ทางเลือกออกจากระบบทุนนิยมโลก ควรเป็นระบบ ที่เอื้อให้เกิดเศรษฐกิจการตลาดที่มีสุขภาวะ ด้วยการท�ำหน้าที่ เป็นส่วนขยายของระบบนิเวศท้องถิ่นอันอุดมที่ตอบสนองความ จ�ำเป็นในการด�ำรงชีพของผู้คนและชุมชน ข้อเสนอนี้อาจจะฟังดู สุดขั้ว แต่จริงๆ แล้วมันคือการสะท้อนภาพกระบวนการที่ก�ำลัง เคลื่อนไหวอยู่อย่างแข็งขันทั่วโลก โลกยุคหลังบรรษัท เสนอมุม มองเกี่ยวกับสิ่งที่จ�ำเป็นและสิ่งที่เป็นไปได้ รวมถึงให้รายละเอียด สิ่งที่ต้องลงมือท�ำเพื่อการเปลี่ยนแปลง (...) คอร์เทนให้กรอบ คร่าวๆ เกี่ยวกับปฏิบัติการเฉพาะกิจจ�ำนวนมากที่จะปลดปล่อย ส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมาได้แปลและจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้เป็นภาษาไทยในปี ๒๕๔๕ และหนังสือ

9

เล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เราตั้งชื่อเวทีนี้ว่า ตลาดที่มีจิตส�ำนึก

30 ตลาดที่มีจิตส�ำนึก


พลังแห่งการสร้างสรรค์ของบุคคลและสังคม ผ่านความตระหนัก ถึงประชาธิปไตยที่แท้จริง การมีรากในระดับชุมชนของทุนผ่าน การมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ และการปรับโครงสร้างกติกาในการ ท�ำการค้าด้วยการสร้าง เศรษฐกิจ ‘ตลาดทีม่ จี ติ ส�ำนึก’ ทีร่ วมหลัก การทางการตลาดเข้ากับวัฒนธรรมที่หล่อเลี้ยงความผูกพันและ ความรับผิดชอบในสังคม เช่นเดียวกับหนังสือขายดีของคอร์เทน ก่อนหน้านี้ เรื่อง เมื่อบรรษัทครองโลก หนังสือที่เป็นที่กล่าวถึง มากเล่มนี้ ท�ำให้เกิดการพูดคุยและถกเถียงในระดับชาติ และเป็น แรงบันดาลใจให้เกิดการรวมกลุ่มของคนในระดับรากหญ้าเพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และริเริ่มโครงการใหม่ๆ โลกยุคหลังบรรษัท น�ำเสนอความท้าทายที่ลึกซึ้งและการขยายพลังให้กับความฝัน” ค�ำน�ำของหนังสือเล่มนี้เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ฟังดูมีวิสัยทัศน์อย่างเต็มเปี่ยม และสร้างแรงบันดาลใจรวมทั้งความหวัง บัดนี้เราได้เห็นแล้วว่ามันสะท้อนให้เห็น กระบวนการทีค่ วรจะเป็นวิถแี ห่งศตวรรษที่ 21 ที่ ‘ก�ำลังเคลือ่ นไหวอยูอ่ ย่างมัน่ คง ทั่วโลก’ ขบวนการขับเคลือ่ นเรือ่ งเกษตรอินทรียไ์ ด้หยัง่ รากลงในความเป็นจริงของผืน ดินที่อุดมและความหลากหลายทางชีวภาพ การท�ำงานหนักทุกวันของครอบครัว เกษตรกรและชุมชน ความตระหนักและการยืนยันสนับสนุนอย่างจริงจังของผู้ บริโภคทีม่ จี ติ ส�ำนึกทีจ่ ะร่วมรับผิดชอบในการท�ำให้เกิด ‘อาหารอินทรียส์ ำ� หรับทุก คน’ แสดงให้เห็นแรงกระตุน้ ส�ำคัญอย่างมโหฬาร ทีก่ ำ� ลังปรับโฉมการเปลีย่ นแปลง ของโลกอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อโลกที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

ตลาดแบบไหนที่เรา (โลก) ต้องการ 31


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.