พี่ ไ ป ห ล า ย วั น ภูมิชาย บุญสินสุข
หนังสือในชุด Journey ลำ�ดับที่ 017 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-043-6 พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2557 ราคา 275 บาท
ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ภูมิชาย บุญสินสุข. พี่ไปหลายวัน. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2557. 444 หน้า. 1. ญี่ปุ่น--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. I. ฐาปัฐว์ กิจรุจิภาคย์, ผู้วาดภาพประกอบ. II. ชื่อเรื่อง. 915.2 ISBN 978-616-327-043-6
ในกรณีที่หนังสือมีตำ�หนิจากการพิมพ์หรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้นกลับมาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ ทางเรายินดีเปลี่ยนให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้ง สิ้น
สั่งซื้อหนังสือราคาพิเศษ 0-2726-9996 ต่อ 49 E-mail member@daypoets.com
ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข ผู้ช่วยบรรณาธิการ สุรเกตุ เรืองแสงระวี อาร์ตไดเร็กเตอร์/ออกแบบปก/รูปเล่ม บพิตร วิเศษน้อย กราฟิกดีไซเนอร์ เพกา เจริญภักดิ์ กราฟิกดีไซเนอร์ เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ ภาพประกอบ/ภาพปก ฐาปัฐว์ กิจรุจิภาคย์ นายแบบ พี่หมีหนวด เลขานุการ/พิสูจน์อักษร พิมพ์นารา มีฤทธิ์ กองบรรณาธิการ เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ การตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ประสานงานการผลิต อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ ดิจิทัลคอนเท็นต์มาสเตอร์ วิศรุต วิสิทธิ์ ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ลูกค้าสัมพันธ์ นริศรา เปยะกัง เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่
สำ�นักพิมพ์ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด
เลขที่ 3 ซอยเจริญมิตร ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2726-9996 ต่อ 22 โทรสาร 0-2714-4252 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing แยกสี/พิมพ์ บริษัท ธนาเพรส จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2215-7720 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609
คํ า นํ า หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ป็ น บั น ทึ ก การเดิ น ทางขนาดยาว ในฤดู ใ บไม้ ร่ ว ง ที่ ป ระเทศญี่ ปุ น ผมรักหนัง สือ เล่มนี้มาก เพราะตลอดเวลาที่ ได้ ไปเที่ ยว ก็มีความสุข และตลอดเวลาที่ได้เขียนเล่ามันออกมา ก็สนุก สิ่งที่ผมคาดหวัง กับหนังสือเล่มนี้ มีแค่สองอย่างคือ หนึ่ง ให้อ่านเพลินอ่านสนุก และสอง ผมหวังให้คุณผู้อ่านออกท่องเที่ยวเดินทางไปไหนสักแห่ง จะใกล้จะไกลก็ได้ จะไปคนเดียวหรือไปกับเพื่อนฝูงคนรักก็ได้ แต่ขอให้ไปเถอะ และไม่ต้อง ไปบ่อยก็ยังได้ แต่ขอให้ไปบ้าง เพราะผมเชื่อว่าคนเราควรต้องได้เห็นอะไร หลายๆ อย่าง ที่ต่างจากที่ที่เราอยู่ และสิ่งที่เราเป็น เพราะนั่นจะทำ�ให้เรา เข้าใจทั้งคนอื่น และทั้งตัวเราเองมากขึ้น การเดินทางมันให้อะไรมากมายจริงๆ ส่วนจะให้อะไรบ้าง คุณเท่านัน้ ที่จะรู้ เมื่อได้ลงมือและย่างเท้าออกเดินทางด้วยตนเอง ภูมิชาย บุญสินสุข สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก
ส า ร บั ญ วั น ที่ 013 015 021 023
1
วั น ที่ 031 034 035
2
วั น ที่ 041 042 044 046 047 050
3
วั น ที่ พาข้อศอกออกนอกประเทศ 057 Now You Exist 058 ไม่ใส่วะซะบินะคะ 060 เปลือยเปล่าให้ดาวดู 061 062
4
บุนซัง คล้อง~คล่อง จิตวิญญาณอันร้อนแรง และแผดเผา
วั น ที่ 069 070 073
5
วั น ที่ 087 089 091 093 096
6
สวัสดีปอด สัตว์กูล่ะ #peopleidontknow ฮาระต๊ะติ๊งโหน่ง ซ้ำ�บ่อ ด้งนี้ดี
เหมือนเดิม เพิ่มน้ำ� ช่างเป็นหมีที่อ็อกซีโมรอน ช้างกูอยู่ไหน อร่อยจนไม่อยากอิ่ม โชตะ
คอเต่ารอบคอเรา ซ้อมก่อนหนึ่งรอบ มีคนเบื่อญี่ปุ่นด้วยเหรอเนี่ย บ้าน่า 075 ในส่วนของสวน 078 เดินสวน 080 สิ่งที่ไม่เคยรู้เลยว่าชอบ
ผลของการซ้อม ปล่อยให้ไหลไป ชะโตะรุ บะสึ ออนเซ็นบนภูเขา หลังแช่น้ำ�ร้อน มันต้องสิ่งเหล่านี้สิ 097 คอนบินิแจ่ม
วั น ที่ 7 วั น ที่ 105 เป็นกริยา แปลว่า ไปพักผ่อน 151 ในที่ที่มีอากาศดี 153 154 106 ดูก่อน 107 ลงเรือ 156 157 110 การมาถึงของขุน 114 การมาถึงของจุก
10
วั น ที่ 119 119 121 122 124 126 128 129
วั น ที่ 167 167 170 171 172 173
11
วั น ที่ 181 182 183 186
12
วั น ที่ 135 136 138 140 142
8 ตื่นมาเจอจุก ตื่นมาเจอจุก (ภาค 2) เดินเที่ยวกับดินเหนียวทัวร์ ป.ปลานั้นหายาก วินโดว์ช้อปปิ้ง ม.แมวก็หายาก ป่าหวานปานว่า สุดหรูซูชิ
9 ขนาดเป็นเรื่องสำ�คัญ โอะตะคุตัวเป็นๆ ศิลปินชุมนุม อยากกินปลารึ ตกเอาเองสิ ออนเซ็นโรงแรม
บทเรียนที่ได้จากการเช็กเอาต์ เดินทางด้วยความเร็วแสง ฮิโรชิ บาร์ฮอปปิ้ง บาร์ฮอปอย่างไร ไม่ให้คลานกลับบ้าน
ไปไหน ไปไหน ไปเกียวโต มาดูสีแดง มาดูสีทอง มาดูสีดำ� โลกใหม่ที่ไม่ค่อยจะใหม่แล้ว น้ำ�ร้อนจากทั่วโลก
ไปไหน ไปไหน ไปโกเบ เนื้อกูอยู่ไหน จู่ๆ ก็ยูนิโคะโละ คลองป๊อกกี้
วั น ที่ 13 191 ค่อยๆ ใกล้เข้าไป 193 ภาพชีวิต
วั น ที่ 257 258 260 14 261 เปลี่ยนระดับชนชั้นทางสังคม 262 สารพาสสารเพ 267 คิดต่าง 268
18
วั น ที่ 275 277 278 278 280
19
วั น ที่ 199 200 201 204 แค่ทำ�มัน 205 กลางดง
วั น ที่ 15 213 น้�ำ อะไรเอ่ย สอบไม่ผ่าน วั น ที่ 16 223 ย้ายอีกแล้ว 224 มันก็แค่หุ่นยนต์ตัวหนึ่ง 227 นี่ก็เป็นแค่อีกสวนหนึ่ง 228 ชมนกชมเป็ด 230 ออนเซ็นทาวน์ 233 ฝั่งนี้ไม่มีเสียง วั น ที่ 17 239 คำ�สาปของความมีมากเกินไป 240 โอลด์ซาก้า 241 มันยาวที่สุด 243 น้ำ�ร้อนบนดาดฟ้า 245 ชายผู้งอกออกมาจากไอน้ำ� 247 คุยกับยุ้ย
จำ�ยอมยอง คันไซในบริเวณกว้าง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หาดขาว ไม่เคยรู้สึกโป๊ขนาดนี้ คุณยายอุ่นๆ ผู้หนึ่ง เพิ่งจะรู้
คำ�ทำ�นาย มวลมหาประชากวาง ของใหญ่หมายเลขสาม แข่งกันเรียกลูกค้า คัดลายมือ
วั น ที่ 20 285 แก้แค้นสำ�เร็จ 286 สวยแค่ไหน 287 289 291 292
อยู่ที่มีคนเห็นแค่ไหน นกกาน้ำ�พร้อมสายจูง เดินกิน ดำ�ดิน ไก่นี่หว่า
วั น ที่ 21 297 จากกล่องหนึ่ง 299 301 304 305 310 315 วั น ที่ 325 327 330
ไปสู่อีกกล่องหนึ่ง การเจรจาจำ�กัดอาวุธ ทางยุทธศาสตร์ เดินดูคูคลอง อีกฝั่งหนึ่งของสถานี พื้นที่พอดีตัว นั่งดูซูโม่ นอนดูหนังโป๊
วั น ที่ 367 370 375
26 อีกสักสวน อีกสักบ่อ ไปบ้านเพื่อน
วั น ที่ 27 381 จะถูกจะแพง ขอแดงไว้ก่อน 384 แฟนฉัน ออฟ ดิ โอเปร่า วั น ที่ 28 391 ดินเหนียวผู้เปลี่ยวใจ
22 เข็น/push ลาก/pull สาวกิโมโน
วั น ที่ 23 339 กลับมาแล้วหรือจ๊ะ บุนซัง 341 การมาถึงของซันนี่ วั น ที่ 24 349 Doing nothing วั น ที่ 25 359 หาตัว๋ 361 ของอย่างนี้มันเร่งกันไม่ได้
วั น ที่ 29 403 ขอเชิญทุกท่านรับประทานพืช 407 “Am I In It?” วั น ที่ 30 415 “ความหิวของเธอเกิดขึ้นที่นั่น และก็ตายที่นั่น แต่ความหิว ของฉัน ยังรุ่งโรจน์อยู่ในร่าง ที่กำ�ลังจะแตก”
วันที่ 1
โ ต เ กี ย ว, โ ค ะ โ ต ะ บุ กิ เ ซ น โ ต บ่อที่หนึ่ง, โรงอาบน้ำ�สาธารณะ
วั น ที่ 1 13
พ า ข้ อ ศ อ ก อ อ ก น อ ก ป ร ะ เ ท ศ เบื้ อ งหน้ า บั ด นี้ มี เ ด็ ก หญิ ง ชาวญี่ ปุ่ น หน้ า ตาคล้ า ยๆ จะน่ า รั ก กำ � ลั ง แหงนหน้ า ทำ � มุ ม 75 องศา สบตาผมที่ กำ � ลั ง ยื น ก้ ม หน้ า มองลงไป ในมุมเดียวกัน เราทั้งสองไม่มีเสื้อผ้าติดตัวกันเลยสักชิ้นเดียว ก่อนที่ผมจะได้แสดงสีหน้า หรือเอ่ยอะไรออกมา เด็กหญิงก็เดิน เตาะแตะอ้อมตัวผมไป ประหนึง่ สกูตเตอร์คนั จิว๋ ขับวนรอบอนุสาวรียช์ ยั สมรภูมิ ใครเอาเด็กผู้หญิงเข้ามาปล่อยในห้องอาบน้ำ�ฝั่งผู้ชายฮะ ไหนใครฮะ โอเค คือผมก็ไม่ได้เป็นคนอายง่าย โดยเฉพาะในเมือ่ ทีน่ คี่ อื เซนโต-โรงอาบน้�ำ สาธารณะ ก็ไม่ได้มานั่งกังวลว่าสาธารณชนจะเห็นปู๋ผม ตายแล้ว แย่แน่ๆ จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน แต่งงานไม่ได้แล้ว ฯลฯ เปล่า อันว่าอวัยวะเพศสำ�หรับคนประเทศนีน้ นั้ -โดยเฉพาะเวลาอาบน้�ำ รวมมันก็เป็นแค่อวัยวะชิ้นหนึ่ง เหมือนข้อศอกยังเงี้ยครับ คือแม้ได้เห็นแล้วว่า คนนี้ศอกแหลม คนนั้นศอกดำ� คนโน้นศอกย่น ฯลฯ ก็จะจบตรงนั้น ไม่มีใคร เอาความแหลมดำ�ย่นของข้อศอกใคร มาเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องใส่ใจอะไรต่อ ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผมแก้ผ้าอาบน้ำ�ในที่สาธารณะ แต่เป็นครั้งแรก ที่ ผ มต้ อ งแก้ ผ้ าให้เ ด็กผู้ห ญิง ได้เ ห็น ... เอ่อ ...เห็ น ...ข้ อศอกของผมเช่ น นี้
วั น ที่ 1 14
มันก็ออกจะเดียมๆ และที่สำ�คัญคือ กลัวว่าภาพนี้จะเป็นที่กระทบกระเทือน จิตใจ ทำ�ให้เด็กผู้น่าสงสารต้องเติบโตไปอย่างมีปมหรือไม่ ตลอดทริปนี้ ผมยังต้องอวดศอกให้เด็กดูอีกเป็นจำ�นวนมาก (อนึ่ง, ศอกในที่นี้คือคำ�เปรียบเปรยถึงอวัยวะ ไม่ใช่หน่วยวัดความยาว เพราะที่จริง มันแค่คืบเท่านั้นฉันให้งงงันมิกล้าเอ่ย) ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมก็ได้รับรู้ในภายหลัง จากเพื่อนชาวญี่ปุ่นว่า เป็นธรรมเนียมที่เมื่อครอบครัวพากันยกโขยงมา เซนโตเช่นนี้ จะเป็นหน้าที่ของคุณพ่อในการพาลูกน้อยไปอาบน้ำ� ทั้งลูกชาย และลูกสาว โอเค ชาวพื้นเมืองยืนยันว่าเขาทำ�กันมาอย่างนี้ ผมก็ไม่ว่าอะไร แล้ ว กระนั้ น ความข้ อ งใจในเหตุ ผ ลก็ เ พิ่ ง มาได้ รั บ คำ � อธิ บ ายในภายหลั ง จากหนังสือ ทีมปลาดิบ ของ เรียวตะ ซูซูกิ นั่นคือ ด้วยความที่ส่วนมาก คุณพ่อจะทำ�งานนอกบ้าน คุณแม่จะอยู่บ้านเลี้ยงลูก และทำ�งานบ้านอื่นๆ ต่างๆ เมื่อถึงเวลาอาบน้ำ� จึงเป็นโอกาสที่คุณพ่อจะได้ใช้เวลากับลูกๆ บ้าง นอกจากนั้น อ้อมแขนแมนของคุณพ่อยังแข็งแรงกว่าในการดูแลไม่ให้คุณลูก จมน้ำ�ตายก่อนวัยอันควรอีกด้วย “เฮ้ ๆ อย่ า เอาผ้าจุ่มลงไปในน้ำ�!” อาตี๋ร่างหมี โ บกมื อโบกไม้ ห้า ม ทำ�ท่าตกใจเหมือนสิ่งนี้เป็นความบาปหนา “เคลย์ กูเอาผ้าจุ่มน้ำ� ไม่ได้ขี้ลงน้ำ�” “ห้ามเอาอะไรลงบ่อน้�ำ เด็ดขาดนอกจากตัวเปล่าๆ” มันทำ�เสียงดุ “ผ้ายังใหม่ๆ ยังไม่ได้เช็ดอะไรมาเลยนะ” “ไม่ได้!” เคลย์เป็นเพื่อนชาวจีน-มาเลย์ของผม แต่มาเป็นนักศึกษาปริญญาโท ทีญ ่ ป่ี นุ่ ได้ปกี ว่าแล้ว พูดอังกฤษปรือ๋ พูดญีป่ นุ่ ปร๋อ หน้าตายังเหมือนชาวญีป่ นุ่ เปีย๊ บ และในคืนนี้ เคลย์กเ็ ป็นคนพาผมมาเปิดประสบการณ์เซนโตเป็นครัง้ แรก สิ่งหนึ่งที่จำ�ได้แม่นเกี่ยวกับการคบหากับเคลย์คือ ที่สนิทกันเพราะ ภาษาอังกฤษมันดีมาก ในขณะทีเ่ พือ่ นต่างชาติคนอืน่ ๆ ในกลุม่ จะพูดอังกฤษ กันกระท่อนกระแท่น แน่นอนว่า โดยธรรมชาติเราย่อมหันไปคุยกับคนที่ เราคุยด้วยรู้เรื่องบ่อยที่สุด
วั น ที่ 1 15
ถ้าจะพูดถึงประโยชน์ของภาษาอังกฤษแล้ว ผมว่านี่แหละ อันดับหนึ่ง
ผมพับผ้าขนหนูผืนเล็ก แล้วเอาวางบนหัวอย่างที่เคยเห็นในหนัง สั ก พั ก ก็ ต้ อ งเอี ย งคอเพราะไม่ เข้ า ใจว่ า การกระทำ � อย่ า งนี้ ดี ง ามตรงไหน หันไปมองอีเคลย์ มันก็ท�ำ อย่างเดียวกัน แต่หลับตาพริม้ อ่านสีหน้าได้วา่ อาห์ นี่คือปรมัตถ์ อาหมวยเมื่อ กี้วิ่ง แถดๆ ไปสมทบอาตี๋ผู้ ที่ ดู เ หมื อนจะเป็ น อาเฮี ย ของเธอ โดยมีอาเตี่ยที่ยังดูหนุ่มยืนจังก้ากอดอกดูแลอยู่ใกล้ๆ เมื่อไหร่ที่ อาหมวยเข้าสู่โหมดไฮเปอร์ เผลอร้องวี้ดออกมาด้วยความสนุกจัด คุณพ่อ ก็จะส่งเสียงชู่ เป็นสัญญาณให้ลูกสาวลดวอลุ่มตัวเอง เห็นแล้วอยากเข้าไป ทาบเชิญคุณฮิโรชิผู้นี้ไปเปิดเวิร์กช็อปที่บ้านเราเหลือเกิน เนื่องจากอีพ่อแม่ ชาวไทยจำ�นวนมากยังขาดมโนธรรมในจุดนี้อย่างยิ่ง
Now You Exist วันนี้เป็นวันแรกในโตเกียว อากาศเย็นค่อนไปทางหนาว เดินทาง มาทั้งวัน ทั้งเหนื่อย เมื่อย ล้า อย่างนี้เหมาะมากกับการลงน้ำ�ร้อน การบินมาราบรืน่ ดี เป็นครัง้ แรกทีบ่ นิ เดลต้า และทีเ่ ลือกเดลต้าก็เพราะ มันถูกสุดในเวลานั้นสำ�หรับเที่ยวบินตรง จึงไม่ได้คาดหวังมากมาย ที่ไหนได้ พบว่าเครื่องใหม่กิ๊งเหมือนเพิ่งประกอบเสร็จสดๆ เมื่อวาน พนักงานต้อนรับ น่ารักเป็นธรรมชาติ กล่าวคือไม่อบอุ่นอารีจนหลอน อาหารก็อร่อยดี สรุปว่า ชอบ บิ น คราวหน้าก็ว่าจะซ้ำ�เดลต้าอีกแน่น อน ถ้ า ไม่ เจออะไรที่ ถู ก กว่ า (แล้วนี่เรียกว่าแน่นอนตรงไหนวะ) การผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองนั้นง่ายเหลือหลาย ผมเดินออกจาก เครื่องด้วยอาการทอดน่อง แต่กลับมาถึง ตม. เป็นคนแรกของแถว เจ้าหน้าที่ ใช้เวลาตรวจเอกสารราวสามพริบตา ก็ตอกตราประทับปุ้งปั้ง จบ
วั น ที่ 1 16
แต่ความประทับใจสูงสุดที่นะริตะยังไม่ใช่เรื่องนี้ มันเกิดขึ้นที่แบ็กเกจ เคลม นี่เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ไปถึงสายพานแล้วไม่ต้องชะเง้อหา ไม่ต้องหยุด ยืนรอ เดินไปถึงปุ๊บ กระเป๋าไหลมาเข้ามือปั๊บ ราวกับบอลเร็วที่นุศราเซ็ต ใส่พานถวายให้ปลืม้ จิตร์หวดลงไปเหน่งๆ ทัง้ หมดนีพ้ ยายามทำ�หน้าตานิง่ เฉย แต่ใจนี่ตุบๆๆ ด้วยความตื่นเต้น (เป็นคนตื่นเต้นง่าย) ทำ�ให้รู้สึกจองหอง ขึ้นมามาก (เป็นคนจองหองง่ายด้วย) คนที่ยืนรออยู่ก่อนหน้านานๆ มันต้อง เกลียดเราแน่ๆ หึ สม บุญวาสนาน่ะมันแข่งขันกันไม่ได้หรอกนะ แหม แค่มาถึง ก็เฮงซะขนาดนี้แล้ว ทริปนี้มันต้องดีแน่ๆ เลย (เป็นคนเชื่อถือโชคลางเฉพาะ ที่ดีๆ) แต่เมื่อถึงศุลกากร เจ้าหน้าที่ฮิโระยูกิ (นามสมมติ) เกิดฟิต ขอเปิด กระเป๋าเดินทาง โดยสัญชาตญาณ เราก็รีบทำ�ท่ากุลีกุจอเกินจำ�เป็น นัยว่า แสดงความบริสุทธิ์ใจอย่างล้นเหลือ ซึ่งมันจะดูน่าสงสัยขึ้นมาก็อีตรงนี้แหละ เมื่ อ หลุ ด ออกมาจากด่ า นต่ า งๆ ก็ ถ ลั น ตั ว ไปรั บ เจอาร์ พ าสทั น ที อีสง่ิ นีเ้ ป็นปัญหาเหลือเกินตอนแพลนทริป ว่าตกลงจะซือ้ หรือไม่ซอ้ื ดี จนได้มา เที่ยวจริงจึงพบว่า มันคุ้มแหละ แต่จะคุ้มมากคุ้มน้อยก็อยู่ที่แผนการเดินทาง ของเรา ถ้าเคลื่อนย้ายไปมามาก ก็คุ้มมาก แต่แผนของผมไม่ค่อยย้ายที่บ่อย ก็คมุ้ น้อยหน่อย และปัญหามันมักเกิดตรงนีเ้ อง คือคนมักทำ�ใจไม่ได้กบั ความ ‘คุ้ ม น้ อ ย’ คื อ พอมี คำ � ว่ า ‘น้ อ ย’ ขึ้ น มาเท่ า นั้ น เป็ น ต้ อ งร้ อ นรุ่ ม กลุ้ ม ใจ จนลืมไปว่า ไอ้คำ�ว่า ‘คุ้ม’ มันก็ยังอยู่นะ นี่แกคุ้มแล้วนะ เอาแต่พอดีมั้ย บางทีก็มีอีคำ�พูดเท่ๆ ที่ว่า ไม่ต้องวางแผนหรอก การเดินทางน่ะ จงตามเสียงเพรียกของจิตวิญญาณเธอไปอย่างอิสระเสรีสิ ฯลฯ นัยว่าแพลน มากๆ แล้วจะไม่สนุกอะไรนั่น มันก็จริงถ้าพูดถึงแพลนกันเป็นนาที แบบว่า หกโมงเช้า ตื่นนอน หกโมงสามนาที ขี้ อะไรยังงี้นะครับ แต่อย่างเจอาร์พาส เนี่ย ถ้าไม่มีแผนการท่องเที่ยวเลย เราจะไม่รู้จริงๆ นะว่าน่าซื้อไหม เพราะ เราจะตอบคำ�ถามตัวเองไม่ได้ ว่าซื้อแล้วจะใช้คุ้มหรือเปล่า แต่เรื่องความคุ้มมันก็อยู่ที่แต่ละคนอีก สำ�หรับผมคิดแค่ว่า โดยสาร ชินคันเซ็นเที่ยวนึง ไป-กลับ ก็คุ้มแล้วล่ะ ที่เหลือถือเป็นโบนัสแล้วกัน ผมว่า คุ้ม ไม่ได้แปลว่าพยายามรีดเอามูลค่าออกมาจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มากที่สุด
วั น ที่ 1 17
เสมอไป เช่น แม่บา้ นไปเจอของลดราคา ก็ตะบีต้ ะบันซือ้ ๆๆๆๆ มาเต็มตูเ้ ย็น แล้วก็ตอ้ งรีบเอาไปทำ�อาหารกินๆๆๆ ให้หมดก่อนจะเน่า ลูกผัวกินหัวไชเท้า เช้าเย็นติดกันมาสี่วัน ขาดสารอาหารไปตามๆ กัน ผมขอรับเจอาร์พาสให้เพือ่ นทีซ่ อื้ พร้อมกันแต่จะตามมาทีหลัง ปรากฏ ว่าทำ�ไม่ได้ เพราะต้องใช้พาสปอร์ตตัวจริงรับเท่านั้น โอเค ก็ให้มารับเอาเอง อุ๊ย ตรงนี้นับเป็นเกร็ดความรู้ หนังสือเราไม่เปล่าประโยชน์โดยสิ้นเชิงแล้ว จากนั้นก็ถลันตัว (กลัวถึงที่พักมืด จึงเคลื่อนที่ด้วยการถลันทั้งวัน) ไปขึ้นรถไฟสายเคเซ (Keisei Line) เลือกแบบรถด่วนแต่ไม่ด่วนมาก (Limited Express) ราคาพันเยน ลิมิเต็ดเอ็กซ์เพรส แปลว่า จอดบ้างตามสถานีใหญ่ๆ ต่างจากแบบ โลคัล (Local) ที่จะจอดตลอดทุกจุดที่หยุดได้ ส่วน สกายไลเนอร์ (Skyliner) ราคา 2,400 เยน จะวิ่งรวดเดียวถึงอุเอะโนะ สถานีปลายทาง นั่นก็ป๋าไป ส่วนต่างตั้ง 1,400 เยนนี่กินข้าวได้ตั้งสองสามมื้อ รถไฟที่ อ อกจากสนามบิ น นะริ ต ะมี ส องสายที่ เ ป็ น คู่ แข่ ง กั น หนึ่ ง สกายไลเนอร์ ของบริษัทเคเซ กับสอง นะริตะเอ็กซ์เพรส ของบริษัทเจอาร์ ซึ่ ง มี จุ ด จอดและปลายทางต่างกัน ใครจะไปไหนก็ ลองส่ องแผนที่ กั น ดี ๆ เพื่อเลือกขบวนกันตามกำ�ลังทรัพย์ และตามความต้องการจะถึงจุดหมาย แบบเร็วหรือช้านะครับ หรือถ้ากลัวไม่เก๋พอ ไปเฮลิคอปเตอร์กไ็ ด้นะแก เหินฟ้าไปกับแมลงปอ ปีกเหล็ก จากนะริตะไปลงบนยอดตึก อาร์ค ฮิลส์ (Ark Hills) แถวรปปงหงิ ใช้เวลาเพียง 20 นาที ค่าบริการแค่ 280,000 เยนต่อหนึ่งเที่ยวเอ๊ง เรตนี้คือ เหมาลำ�นัง่ คนเดียวเยีย่ งสุลต่าน แต่ถา้ สามารถหาเพือ่ นอีกสีค่ นมาช่วยหารได้ ก็ จ ะตกหั ว ละ 56,000 เยน โดยราคานี้ ร วมลิ มู ซี น รั บ ส่ ง จากสนามบิ น สู่ เฮลิพอร์ต (ลานจอดฮอ) และรวมภาษีแล้วเรียบร้อย อืม นะ อันนี้บอกไว้เป็น ตัวเลือก เผื่อรวยมากจนกลุ้มใจว่า ตายละ จะเอาเงินไปถลุงใช้อย่างไรดีจึงจะ หมดเร็วๆ ล่ะเนีย่ ทุกวันนีใ้ ช้เงินไม่ทนั ดอกเบีย้ ทีง่ อกออกมาเลย ยังงี้
วั น ที่ 1 18
ขึ้ น รถไฟได้ ก็ ค วั ก สิ่ ง ที่ อ ยากเล่ น มานานแล้ ว ออกมา นั่ น คื อ กล้ อ ง ซึ่งยืมชาวบ้านมา ผมไม่เคยมีกล้องเป็นของตัวเองเลย ทริปนี้คือทริปทดลอง ถ้ามีความสุขดีกับมัน ก็สัญญากับตัวเองไว้ว่า กลับไปจะซื้อหามาไว้ใช้สักอัน ผมกดถ่ายรูป ผู้ค นและข้างทางไปเรื่อ ยๆ สลับกับ นั่งสัปหงก บิ นเช้ าที ไร อย่างนี้ทุกที คือด้วยความที่กลัวจะไม่ตื่น จึงจะไม่นอน วันถัดมาก็จะซอมบี้ เช่นนี้ ปลายทางของผมคือสถานีมินะมิ-เซนจู (Minami-senju) แล้วจาก ตรงนั้ น จะเดิ น ต่ อ ไปยั ง โรงแรม ที นี้ ด้ ว ยความกลั ว หลง ก็ นั ด เพื่ อ นให้ มารับที่สถานี แต่ความโง่คือ ลืมไปว่าไม่มีเน็ต เลยไม่รู้ว่านี่คือกูอยู่ที่ไหน เพราะดูแผนที่ไม่ได้ และติดต่อใครก็ไม่ได้ เลยเดินลากกระเป๋าไปรอบๆ อย่างเลื่อนลอย ไม่รู้เหนือรู้ใต้ พลางก่นด่าตัวเองว่า ทำ�ไมไม่เซฟรูปแผนที่ มาจากเน็ตวะ เขาออกจะบอกเส้นทางอย่างละเอียดตั้งแต่ก้าวเท้าออกจาก รถไฟไปถึงหน้าโรงแรม อันนี้นับว่าโง่และประมาท เอาล่ะ ไม่รอแล้ว หาทางไปโรงแรมเองก็ได้ มันจะยากซักแค่ไหนเชียว คิดได้ดังนั้นก็เดินออกไปหน้าสถานีอย่างมุ่งมั่น...แล้วเรียกแท็กซี่... (ครับ บางปัญหาเราสามารถใช้เงินแก้ได้) สิ่งที่พอจะมีติดตัวคือชื่อและที่อยู่ของโรงแรม พอยื่นให้พี่แท็กซี่ดู แกก็ครางออกมายาวเหยียดแล้วซีด้ ปากเหมือนกินผัดผักกระเฉดแล้วเคีย้ วไป โดนพริ ก เขี ย ว แต่ แล้วก็กรอกที่อ ยู่โรงแรมเข้าไปในจี พี เ อส ปุ ริ้ งๆๆ นั่ น พบแล้ว คุณพี่ออกรถไปในทันที ปรากฏว่ามันห่างออกไปหกร้อยกว่าเมตรเท่านัน้ เสียดายเงิน 710 เยน ยิ่งนัก (นี่คือราคามิเตอร์เริ่มต้น ซึ่งตอนไปถึงนี่เลขยังไม่กระดิกเลย) โผล่หน้าเข้าไปในโรงแรมแล้วร้องคนนิจิวะ “นี่ชื่อผมครับ” ยื่นพาสปอร์ตให้ดู “จองห้องเอาไว้ ไม่ทราบว่ามีพัสดุไปรษณีย์ถึงผมไหม” สองหญิงสองวัยช่วยกันเพ่งดูชื่อบนพาสปอร์ต แล้วหันไปส่งเสียง อะโหน่ เอ่โต่ ใส่กันอยู่แป๊บ หญิงสาว (ซึ่งภายหลังทราบว่าชื่อโกซัง) ก็ก้มลง ไปค้นอะไรยุกยิกสักพัก แล้วโผล่ขึ้นมาพร้อมซองสีขาวขนาดกลาง
วั น ที่ 1 19
“นี่ใช่ชื่อคุณไหมคะ” “ใช่ครับ!” ผมดีใจออกมาเสียงดังจนทั้งสองสะดุ้ง “กรอกชือ่ ลงทะเบียนตรงนีน้ ดิ นึงนะคะ” หญิงป้า (ซึง่ ภายหลังทราบว่า ชื่อเคโกะซัง) ส่งภาษาอังกฤษสำ�เนียงเป๊ะจนรู้สึกสะดุดหู ผมก้มกรอกอย่างว่องไว กล่าวขอบคุณ แล้วรีบลากกระเป๋าขึ้นห้อง ที่ ห้ อ งพั ก ขนาดกว้ า งคู ณ ยาวเล็ ก กว่ า ขนาดห้ อ งโดยสารของรถตู้ โตโยต้าไฮเอซเล็กน้อย ผมวางทุกสิ่งลงกับพื้น แล้วแกะห่อพัสดุอย่างหิวโหย แหม บุ บั บ เบิ้ ล แรพกัน กระแทกมาอย่างดีเ สียด้ ว ย เดี๋ ยวจะนั่ งบี บแป๊ ะ ๆ ให้สนุกไปเลย ควักมันออกมา ชะแว้ง มันคือพ็อกเก็ตไวไฟที่ผมออร์เดอร์ เอาไว้ตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อนเดินทาง ผมอยากมีเน็ตใช้งานแบบพกพา พอไปเสิร์ชหาดูก็ได้รู้มาว่าเขามี พ็อกเก็ตไวไฟให้เช่า จึงเข้าเว็บไปสั่ง ไม่ทันข้ามวันก็มีอีเมลตอบกลับมาเป็น ภาษาไทย และลงชื่ อ ผู้ ติ ด ต่ อ เป็ น คนไทย ไม่ แ น่ ใจว่ า เป็ น กิ จ การคนไทย หรือเป็นกิจการญี่ปุ่นที่จ้างคนไทยไว้ดูแลลูกค้าคนไทยโดยเฉพาะ วิธีการก็ง่าย คือ จ่ายด้วยบัตรเครดิต แล้วเลือกว่าจะให้เอาเครื่อง ไปส่งที่โรงแรม หรือจะไปรับที่สนามบิน ซึ่งได้ทั้งนะริตะ ฮะเนะดะ คันไซ นะโงะยะ ชิโตะเสะ และฟุกุโอะกะ ผมเลือกแพ็กเกจเหมารายเดือนแบบใช้ได้ไม่จำ�กัด ราคาเพียง 6,900 เยน เขาคิดค่าส่งอีก 840 เยน รวมแล้วคือ 7,740 เยน ก็ประมาณ 2,400 บาท ต่อการใช้งาน 30 วัน ตกวันละ 80 บาทเท่านั้น และที่แจ๋วคือ ถ้าไปกัน หลายๆ คนยิ่งคุ้ม เพราะมันต่อได้ทีละ 5 อุปกรณ์ ถ้าไปกัน 5 คน ก็หารห้า ตกวันละไม่ถึง 20 บาท1 เขามีหลายเจ้านะ แต่ที่ผมใช้คือ wifi-service.info ของดี บริการดี จึงโฆษณา ให้ฟรีๆ ครับ :-)
1
วั น ที่ 1 20
ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะ หนึ่ง ติดไลน์ สอง ยังต้องทำ�งานส่ง กลับไทยตลอดเวลา แต่เอาจริงๆ ไอ้ประการหลังเนีย่ ใช้เน็ตโรงแรมก็ได้หรอก มันสำ�คัญตรงไลน์นี่แหละ เอาล่ะ บันทึกไว้เผื่ออีก 3,000 ปีข้างหน้ามีคนมาขุดเจอหนังสือเล่มนี้ แล้วสงสัยว่าไลน์คอื อะไร ไลน์คอื แอพแชตยอดนิยมในยุคนีท้ สี่ ามารถดูดเงิน จากกระเป๋าเราได้อย่างต่อเนื่อง เพราะสติ๊กเกอร์มันน่ารัก จึงยอม จึงซื้อ จึงโหลด จึงติด พอได้ออนไลน์ปั๊บ อาห์ ความรู้สึกเหมือนโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำ�หลังจาก กลั้นหายใจอยู่ใต้ทะเลเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ข้อความต่างๆ หลั่งไหลเข้ามา มากมาย ผมรีบมองหาเคลย์ก่อน “พี่บิ๊ก ถึงหรือยัง อยู่ไหนแล้ว เดี๋ยวไปรับที่สถานีนะ” “พีบ่ กิ๊ อยูต่ รงไหน ผมรออยูท่ ที่ างออกนะ จะเดินมาตรงนีเ้ ป็นไหมอะ” “พี่บิ๊ก ลืมบอก เปิดกูเกิ้ลแมพส์สิเว้ย ง่ายมาก” (แชร์โลเกชั่นมาให้) “เฮ่ย ตกเครื่องบินป่าววะเนี่ย” (สติ๊กเกอร์หมีไฟลุก) “เฮ้ย หรือเครื่องบินตกวะ!” (สติ๊กเกอร์หมีตกใจ) “ไปเช็กมา เครื่องแลนดิ้งปลอดภัยนี่หว่า แล้วไปไหนเนี่ย!” (สติ๊กเกอร์ที่แสดงภาพการทำ�ร้ายร่างกาย) ฯลฯ จึงรีบตอบไป (สติ๊กเกอร์หมีโปรยเศษกระดาษสี) “ถึงแล้วว้อยยย” (สติ๊กเกอร์หมีร้องไห้) “นึกว่าตกเครื่อง!” “โอ๋ๆ มาแล้วๆ ก็มันไม่มีเน็ตนี่หว่า นี่เพิ่งได้ไวไฟใช้” “Congrats. Now you exist... ในที่สุดก็มีตัวตนขึ้นมาบนโลกนี้อีกครั้ง แล้วสินะ”
วั น ที่ 1 21
“จริง หลายชั่วโมงที่ผ่านมาติดอยู่ในลิมโบ้ เหมือนเป็นวิญญาณรอ ไปผุดไปเกิด ว่าแต่รอนานไหม นี่อยู่ไหนล่ะ” “ยืนรออยู่หน้าสถานีน่ะสิ แล้วนี่อยู่ไหน” “อ๋อ อยู่โรงแรมแล้ว แหะๆ” “หน็อย” (สติ๊กเกอร์หมีตีเข่ากระต่าย) “เอาน่ะๆ เดี๋ยวเลี้ยงข้าว” “โอเค หายโกรธแล้ว ฮ่าฮ่า เดี๋ยวเดินไปหาที่โรงแรมนะ” “มาถูกเหรอ” “กูเกิ้ลแมพส์มีไว้ทำ�ไม ใช้สิ ใช้” และตลอดการเดินทางเป็นจำ�นวนหลายวันนี้ แอพดังกล่าวก็ช่วยชีวิต ผมเอาไว้มากถึง 384 ครั้ง ขอขอบพระคุณ (กราบ)
ไ ม่ ใ ส่ ว ะ ซ ะ บิ น ะ ค ะ มิตรหมีสาขาโตเกียวของผมผู้นี้ รู้งานเป็นอย่างดี เนื่องจากมีเพื่อนๆ ทั้งที่กรุงเทพฯ และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ผลัดกันมาเยือนตลอด ทั้งปี มันจึงชำ�นาญในการพาเพื่อนเที่ยวอย่างมาก เราเดินกลับไปที่สถานี มิ น ะมิ - เซนจู และเคลย์ ก็ พ าผมไปยื น หน้ า ตู้ อั ต โนมั ติ เพื่ อ สาธิ ต การซื้ อ บัตรพาสโม (PASMO) ซึง่ ก็เหมือนอีบตั รแรบบิทบ้านเรา แต่มคี ณ ุ อเนกอนันต์ กว่าห้าแสนเท่า เพราะพาเราไปได้ทั่วฟ้าโตเกียว (เอาจริงๆ อีกหน่อยคง ทั่วฟ้าญี่ปุ่น เนื่องจากล่าสุดนี้สามารถนำ�ไปใช้ในเขตคันไซได้แล้วด้วย) จากสถานีมินะมิ-เซนจู ขึ้นรถไฟไปเพียงสองสถานี ก็จะถึงอุเอะโนะ สำ�หรับผม ย่านนี้เสมือนปุ่ม HOME นึกอะไรไม่ออก หรือเมื่อหลงทาง ก็จะ กลับมาตั้งต้นที่อุเอะโนะไว้ก่อน ที่นี่มีของขายเยอะ ของกินก็เยอะ มีสถานี เจอาร์ใหญ่ เป็นชุมทางที่ใช้ต่อรถไปไหนมาไหน เหตุผลที่ผมเลือกพักโรงแรม พาเลซ เจแปน (Palace Japan) นอกจากราคาน่าคบหาแล้ว ก็เป็นเพราะ
วั น ที่ 1 22
มันอยู่ใกล้อุเอะโนะด้วยนี่แหละครับ คิดๆ ไปก็เหมือนเมื่อสิบปีก่อนที่ผม ตัดสินใจซื้อบ้านหลังที่อยู่ปัจจุบันนี้ ด้วยปัจจัยสำ�คัญคือมันอยู่ใกล้ฟู้ดแลนด์ จบ ชีวิตกูมีเข็มทิศที่ชัดมาก นั่นคืออาหาร ย่านใหญ่ตรงหน้าสถานีอเุ อะโนะคืออะเมะโยะโกะ (Ameyoko) อาหาร อร่อย ราคาก็คิมูจิ๊มากมาย สินค้าหลากหลายทั้งสดและแห้ง ถามได้ ต่อได้ ปกติซื้อของที่โตเกียวนี่เขาไม่ต่อกันนะ แต่ที่นี่เขาว่าต่อได้ ซึ่งคงไม่ใช่ทุกร้าน กรุณาสังเกตดูรังสีอำ�มหิตของเจ้าของร้านดีๆ ก่อนอ้าปาก “พี่บิ๊กจะกินอะไร” เคลย์เป็นเพื่อนต่างชาติคนเดียวที่ใส่คำ�นำ�หน้าว่า ‘พี’่ ก่อนเรียกชือ่ ผม และเวลาแชตกัน เคลย์กจ็ ะสามารถหัวเราะร่วมไปกับเรา ชาวไทยโดยใช้ ‘555’ ด้วยนะ “อะไรอร่อยล่ะ” ผมมองไปรอบๆ ด้วยความตาลาย ทั้งลายเพราะหิว และลายเพราะเยอะจนเลือกไม่ถูก “ที่นี่อะไรก็อร่อยหมดแหละ” เคลย์ยักไหล่ “เกินป๊าย” “ไม่งั้นอยู่ไม่ได้หรอก เจ๊งสนิท” คิดดูกน็ า่ จะจริง ทำ�เลทองขนาดนีก้ ารแข่งขันคงเข้มข้นน่าดู ใครจะกล้า ไม่อร่อย ใครจะกล้าขายไม่ดี แต่ก็นะ มาตรฐานของลิ้นลูกค้ามันก็ต้องดีด้วย ลิน้ ต้องเลือกหน่อย ไม่ใช่รสชาติไม่เอาอ่าวก็ยงั อุดหนุนกันอยูไ่ ด้ เพราะตราบใด ที่ยังขายได้อยู่ มันก็คงคิดไม่ได้เสียทีว่า การปรับปรุงเป็นเรื่องจำ�เป็น “งั้นกินซูชิแล้วกัน เราเลี้ยงเอง” ผมตบกระเป๋ากางเกงปุๆ “เย” เคลย์ชูสองมือขึ้นเหนือหัว “งั้นทางนี้เลย” ผมถู ก ลากไปตามตรอกซอกซอย ซ้ า ยขวาสลาลมไปมาครู่ เ ดี ย ว ก็มาหยุดยืนที่ร้านซูชิหัวมุม ที่แค่เห็นทำ �เลก็รวยแล้วอะ ถ้าอร่อยด้วยนี่ ไม่ไปกันใหญ่เหรอ “ร้านนี้กินบ่อย” เคลย์บอก “แต่บ่อยผมก็แบบ สองเดือนหนยังงี้นะ ซูชิที่นี่มันอาหารคนรวยเขากินกัน” “เออ ที่ไหนก็เหมือนกันเคลย์ กูยังไม่เคยเจอซูชิถูกๆ เลย ยกเว้น ตามตลาดนัด อันละห้าบาท”
วั น ที่ 1 23
“โห ถูกมาก แล้วอร่อยมั้ย” “มันคือซูชิอันละ 17 เยนอะ เอ็งว่าจะอร่อยมั้ยล่ะ” ร้านนี้ชื่ออะไรจำ�ไม่ได้แล้ว เป็นซูชิจานเวียน หรือซูชิสายพาน หรือซูชิ หมุนๆ (เรียกอย่างนี้ดูร่าเริงดีนะ) ภาษาอังกฤษใช้ conveyor belt sushi ภาษา ญีป่ นุ่ เรียก ไคเต็นซูชิ หรือบางทีกเ็ รียก คุรคุ รุ ุ ซูชิ (ทีแ่ ปลได้ประมาณว่า sushigo-round) คืนนี้คนเต็มร้าน รอสักพักก็ได้ที่นั่งตรงหัวเคาน์เตอร์หน้าประตู และไม่ถึงยี่สิบนาทีต่อมา ตรงหน้าเราก็ปรากฏเป็นหอคอยคู่แห่งจานอันสูง เสียดฟ้า ทีม่ นั อร่อยขนาดนีน้ คี่ อื ผมอุปาทานไปเองเพราะได้มานัง่ กินทีโ่ ตเกียว หรือเพราะมันอร่อยจริงๆ กันแน่นะ ทันใดนั้นก็มีสองสาวหน้าตาอุษาคเนย์อย่างชัดเจน ปราดเข้ามานั่งที่ สองเก้าอี้ถัดไป พวกเธอส่งเสียงเหมือนโลมา ควักกล้องออกมารัวยิงทุกสิ่งที่ อยู่ตรงหน้า จากนั้นเรียกพ่อครัว สั่งซูชิสามสี่อย่าง แล้วปิดท้ายด้วย “โน วะซะบิ พลีซ” ผมหันไปกระซิบกับเคลย์ “ไม่ใช่คนไทยกูให้เหยียบ” “รู้จากอะไรอะ ที่ไม่กินวะซะบิอะเหรอ” เคลย์กระซิบกลับ “นั่นก็เป็นไปได้ กับไอ้ขนบการถ่ายก่อนแดกเนี่ย มันคนไทยชัดๆ” เคลย์ก้มมองกล้องในมือผม “อืม สันนิษฐานได้ดี”
เ ป ลื อ ย เ ป ล่ า ใ ห้ ด า ว ดู เขาว่าหลังจากกินข้าวเสร็จ ต้องรออย่างน้อยสามสิบนาทีถึงจะลง ว่ายน้ำ�ได้ แต่ลงแช่น้ำ�เฉยๆ เนี่ย กติกาเดียวกันรึเปล่าก็ไม่รู้ ผมถามเคลย์ มันไม่เพียงไม่ตอบ แต่ยังหรี่ตาแล้วทำ�หน้าเอือมระอาอีกด้วย เดินจากอุเอะโนะสเตชั่นไปประมาณไม่ถึงหนึ่งกิโลเมตร เราก็ได้เจอ เซนโตชื่อ โคะโตะบุกิ (Kotobuki) ที่เคลย์เป็นลูกค้าขาประจำ�อยู่
วั น ที่ 1 24
“พี่บิ๊กๆ ดูโน่น” เคลย์ชี้มือไปทางสุดขอบฟ้าอีกข้าง มันคือ โตเกียว สกายทรี แลนด์มาร์กใหม่ของโตเกียว สูงกว่า ใหญ่กว่า เดิ้นกว่า ส่วนเรื่อง ความคลาสสิกนั้นยังไม่มีอันดับ ต้องเก็บแต้มกันอีกนาน บารมีถึงจะได้ ใกล้เคียงกับโตเกียวทาวเวอร์ ในคืนที่อากาศเย็นยะเยือกนี้ ผมอยู่ในชุดยูนิฟอร์มประจำ � นั่นคือ เสื้อยืดหนึ่งตัว กางเกงขาก๊วยหนึ่งตัว และรองเท้าผ้าใบ ออพชั่นเสริมที่โปะ เข้าไปก่อนออกจากโรงแรมมาเมือ่ หัวค่�ำ คือฮูด้ ดี้ (สเวตเตอร์แขนยาวแบบมีฮดู้ ) อีกตัวเดียวแค่นั้น เครื่องแต่งกายจะทรอปิคัลเกินไปแล้ว! เรือ่ งของเรือ่ งคือ ก่อนการเดินทางต่างประเทศทุกครัง้ ผมมีธรรมเนียม ส่วนตัวโง่ๆ บางอย่าง หนึ่ง ตัดผม สอง ตัดเล็บ และสาม ซื้อเสื้อผ้าใหม่ หมายเหตุว่า ที่เหมาะสมกับการเดินทางไปสู่ประเทศนั้นๆ เนื่องจากปกติ ผมซื้อเสื้อผ้าน้อยมาก ราวปีละหน แต่ซื้อทีจะซื้อไปเลยโหลนึง ยังงี้ โดยไป ซือ้ ทีม่ าบุญครองชัน้ เจ็ด ตัวละ 180 มัง่ 190 มัง่ โซนทีเ่ ขาขายเสือ้ ให้ฝรัง่ อ้วนๆ น่ะครับ พวก XXXXXL คือจะเอาไปปูเตียงคิงไซส์ได้อยู่แล้ว คราวนีร้ วู้ า่ จะมาหนาว จึงไปเตรียมซือ้ เสือ้ แขนยาวและกางเกงขายาว เอาไว้ แต่ปรากฏว่าไปเจอเสื้อแขนสั้นและกางเกงขาสั้นที่อยากได้หลายตัว เลยซื้อติดมาด้วย แล้วพอตอนจัดกระเป๋า เราก็จะโดนกลิ่นใหม่มอมเมา สะกดจิต แบบว่า อาห์ จงพาพวกเราไปเทีย่ วด้วยสิ มาสิ เอาพวกเราใส่กระเป๋า ลงไปเลย ใช่ๆ อย่างนัน้ แหละ... รูต้ วั อีกทีกห็ อบเครือ่ งแต่งกายทีไ่ ม่สอดคล้อง กับสภาพอากาศลงมาด้วยมากมาย เพียงเพราะว่าเห่อ ดังนั้น มันจึงกลายเป็นบทเรียนสำ�คัญว่า อย่าเอาอะไรที่ไม่เกี่ยวและ ไม่เป็นประโยชน์ไปเด็ดขาด โดยเฉพาะเสื้อผ้า เอาไปขาดดีกว่าเอาไปเกิน เพราะการลากของหนักไปตามถนนนั้นเป็นสิ่งที่ตำ�บอนมากจริงๆ เอาไปแต่ น้อยชิ้น พอหมดก็ซัก หรือถ้าขาดจริงๆ ก็ซื้อใหม่เอาเท่าที่จำ�เป็น ยังงี้ดีกว่า เซนโตแห่งนี้ไม่ใหญ่โต แต่ก็ไม่คับแคบ และบรรยากาศน่ารัก คนเฝ้า เคาน์เตอร์นี่ไม่ทราบว่าตั้งใจให้เหมือนการ์ตูนญี่ปุ่นหรือเปล่า นั่นคือเป็น
วั น ที่ 1 25
คุณป้า (โอบะซัง) หน้าตาใจดี พิมพ์นิยมโรงอาบน้ำ�มากมาย เวลาตอนนี้ ประมาณสองทุ่ม และผู้คนคืนนี้คึกคัก ค่าอาบน้�ำ ราคา 500 เยนนีร้ วมค่าเช่าอุปกรณ์หมอนมุง้ ต่างๆ ทัง้ หมด เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าขัดตัว แต่ถ้าเอามาเองเหลือ 300 เยนเท่านั้น บนเครื่อง หยอดเหรียญนั่นยังมีปุ่มที่บอกราคาอื่นๆ อีกมากมาย ชวนให้สงสัยว่า มันจะมีบริการอะไรซับซ้อนไปกว่านี้ในโรงอาบน้ำ�ได้อีกหรือ เฮ้ แต่ก็ไม่แน่ ญีป่ นุ่ เป็นประเทศทีท่ �ำ อะไรทำ�จริง และวัฒนธรรมของเขาก็ให้ความสำ�คัญกับ การอาบน้ำ�มาก มันก็อาจจะมีโน่นนี่นั่นที่เรานึกไม่ถึงอีกจริงๆ หรือไอ้ปุ่มที่ ราคาแพงๆ นั่นอาจจะเป็นโปรโมชั่นเหมาจ่ายรายเดือนยังงี้หรือเปล่า ญี่ปุ่นกับไทยใช้เวลาในเซนโตไม่เหมือนกัน (ไทยในกรณีนี้สุ่มสำ�รวจ จากกลุ่มตัวอย่างจำ�นวน 1 คน คือผมเอง) ญี่ปุ่นเป็นชาติที่อาบน้ำ�นานม้าก แต่แช่น้ำ�ไม่นานนัก คือตอนก่อนลงบ่อเนี่ย มันขัดถูอยู่นั่นแหละ พี่เขาฟอก ทุกซอกหลืบจริงๆ ทุกเซลล์ในร่างกายถูกชำ�ระล้างอย่างหมดจด คือต่อให้ ไปเกิดใหม่เลยยังสะอาดน้อยกว่านี้ ในขณะที่อีไทยอย่างผมครับ คือพยายามแล้วที่จะอาบให้ละเอียด เท่าเขา นี่คือนั่งสังเกตแล้วทำ�ตามทุกขั้นตอนนะ แต่ไม่ไหวอะ เหนื่อยมาก จริงๆ ยอม แต่ตอนแช่น้ำ�เนี่ย แช่นาน มันง่ายไง เพียงนั่งเฉยๆ เสร็จละ แต่ก็นั่นแหละ ชาวญี่ปุ่นเขาทำ�สิ่งนี้เป็นกิจวัตรประจำ�วัน แต่เรากำ�ลัง ทำ�สิ่งนี้เป็นการท่องเที่ยว มันคนละความรู้สึกกัน แก๊ง เตี่ย-ตี๋-หมวย คณะนั้นกลับไปแล้ว ผมและเคลย์ยังนั่งแช่น้ำ�ร้อน คุยกัน สลับกับขึ้นมานั่งผึ่งพุงเป็นระยะ ในช่วงจังหวะหนึ่งที่มองขึ้นไปบนเพดาน ผมก็พบว่านั่นไม่ใช่เพดาน เมื่อปรับสายตาให้เข้ากับความมืดดำ�เบื้องบนได้สักครู่ ก็ได้เห็นว่า ท้องฟ้าคืนนี้มีดาวไม่น้อย เก๋ดี ในส่วนอาบน้ำ�เป็นอินดอร์ แต่เดินออกมาในส่วนของบ่อน้ำ�ร้อน เขาก็เปิดเพดานออก ให้เราได้ชมฟ้าชมดาวเอาต์ดอร์ได้ด้วย มิน่ามันเย็นๆ นึกว่าเปิดแอร์ แช่น้ำ�ร้อนตอนอากาศหนาวๆ นี่มันสุดยอดจริงๆ
วั น ที่ 1 26
“วันหลังลองมากลางวันดูสิ จะได้อกี บรรยากาศ” เคลย์พดู ขึน้ หลังจาก สังเกตว่าผมนั่งจ้องสิ่งที่เข้าใจว่าเป็นเพดานอยู่ตั้งนานสองนาน
วั น ที่ 1 27
{เหมือนจะเหมือน}
อ อ น เ ซ็ น v s เ ซ น โ ต จะเป็นออนเซ็นได้ ต้องเป็นน้�ำ แร่แท้จากธรรมชาติ สูบจากใต้ดนิ จริงๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าจะผุดสถานออนเซ็นขึ้นมาจากจุดไหน หลืบรูไหนของเมืองใด ก็ได้ ยกเว้นบริเวณนั้นจะมีน้ำ�แร่จริง ดังนั้น น้ำ�ที่ร้อนนี่คือร้อนเองมาแล้ว จากใต้ดิน ในขณะที่เซนโตนั้นเป็นโรงอาบน้ำ�สาธารณะ และน้ำ�ที่ร้อนนั้นคือ ร้อนจากการถูกต้ม (คือถูกหลอกยังงี้เหรอ) (ไม่ใช่!) เป็นน้ำ�ประปาธรรมดา ที่บางที่เติมแร่ธาตุลงไป แต่บางที่ไม่เติม ซึ่งก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด สรุป ออนเซ็นคือน้ำ�แร่ เซนโตคือน้ำ�ร้อน
Narita Divorce ในภาษาญี่ปุ่นมีสำ�นวน Narita rikon หรือนำ�มาสมาสกันกลายเป็น Narikon (ซึ่ง りこん -rikon แปลว่า หย่า) หมายถึงการหย่าที่เกิดขึ้นแทบจะ ทันทีหลังแต่งกันแหม็บๆ ประมาณว่าเพิง่ บินกลับจากฮันนีมนู มาถึงสนามบิน นะริตะมันก็ประกาศหย่ากันซะแล้ว เอาเงินใส่ซองกูคืนมาเลย #วิกิบอก
คํ า ชี้ แ จ ง ตัวละครในหนังสือเล่มนี้ มีตวั ตนอยูจ่ ริงทัง้ สิน้ แต่เรือ่ งราวของพวกเขา ก็อาจจะจริงบ้างไม่จริงบ้าง คือทีบ่ างครัง้ เล่าเรือ่ งไม่จริงนีไ่ ม่ใช่เพราะผมมีนสิ ยั ขี้โกหก แต่เป็นเพราะบางทีชีวิตจริงมันไม่สนุกเท่าไหร่ จึงโกหกเพิ่มลงไป ให้สนุกยิ่งขึ้น อีกอย่าง ต้องบิดเบือนบ้างบางส่วนเพื่อช่วยบางคนอำ�พราง ร่างจริงไว้ ไม่เช่นนั้นเกิดคนรู้จักมาอ่านเจอแล้วจะเขินกันได้ หรืออาจถึงกับ ขายขี้หน้า เอาเป็นว่า เบสด์ ออน ทรู สตอรี่ ก็แล้วกัน ก็พยายามโกหกแค่เท่าที่ จำ�เป็นแล้วล่ะนะ ก็ไม่ต้องไปคิดมาก อ่านๆ ไปเถอะน่ะ วู้ จะเอาความจริง อะไรนักหนา นี่มันไม่ใช่สารคดีหรือสารานุกรมนะพวกแก (- .. -)
ข อ บ คุ ณ • พีโ่ หน่ง พีป่ ิงปอง พี่ปอ๊ ป งานที่พี่ให้ผม เป็นสิง่ ทีท่ ำ�ให้ชวี ติ ของผม มีค่า • น้องๆ อะบุก๊ แม้พจี่ ะรูส้ กึ เพลียและปวดกบาลกับความเสือ่ มเปรต ของพวกแก แต่พี่ก็รักพวกแก โดยเฉพาะตรงที่พวกแกรักงานที่ตัวเองทำ� • ขม นอกจากจะไม่เคยผิดหวังกับงานของขมแล้ว ยังทึ่งทุกครั้งที่ ขมทำ�งานออกมาเด็ดกว่าที่คาดไว้เสมอ • พี่หมีหนวด สำ�หรับการช่วยแสดงแบบในภาพประกอบ เพราะ ถ้าให้ผมแสดงเอง มันจะแย่มาก • เพื่อนฝูงและบุคคลอันเป็นที่รัก ที่ปรากฏตัวในหนังสือเล่มนี้ ทุกคนเป็นตัวละครที่น่ารักมากในชีวิตจริงของผม • เคลย์คุง โนริคุง และเอ็มคุง เมื่อต้องการคำ�ตอบหรือคำ�ปรึกษา เรื่องภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ก็ไม่พ้นสามคนนี้ • พ่อ แม่ และน้อง วันเวลาที่เราได้ไปเที่ยวด้วยกันครบหน้าห้าคน เป็นความทรงจำ�ที่ดีมาก • นักเขียนทุกท่านที่มาก่อนผม ขอบพระคุณที่สร้างทั้งนักเขียน และนักอ่านทิ้งเอาไว้ให้คนรุ่นผมมากมาย ด้วยผลงานดีๆ ที่ผ่านมาของ พวกท่าน • ผู้อ่าน ที่ยังสนับสนุน อุดหนุน ตามอ่าน และตามส่งความเห็นกัน เสมอ ถ้าไม่มคี นเหล่านี้ ผมก็คงอดเป็นนักเขียนกันพอดี และผมก็จะเศร้ามาก • ไลน์ ชีวิตที่มีนาย มันง่ายและสนุกขึ้นมาก เอาต์ช้าๆ ล่ะ เสียดาย สติ๊กเกอร์ ซื้อไว้เยอะ • และสุดท้าย ประเทศญี่ปุ่น ขอบคุณที่เป็นยังงี้นะ
เ กี่ ย ว กั บ ผู้ เ ขี ย น ภูมิชาย บุญสินสุข หรือ บิ๊กบุญ เป็นบรรณาธิการบริหารสำ�นักพิมพ์ อะบุ๊ก ในเครือ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด และเป็นนักเขียน ติดต่อ และติดตามความเคลื่อนไหว (ซึ่งก็ไม่ค่อยจะเคลื่อนไหวอะไร กับเขาเท่าไหร่) ได้ที่ facebook.com/bickboonpage
ผลงานหนังสือที่ผ่านมากับสำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก • พี่หมีหนวดกวดอังกฤษ (2556) • Big Diff: เหมือนจะเหมือน (2556) • เจ็บนิดเดียว เดี๋ยวก็เช้า Extended (2555) • ศัพท์หมู 2 (2554) • Beautiful Monkey (2554) • มีของต้องสำ�แดง: Show Me What You Got (2554) • i (ไอ) (2553) • คำ�วิเศษ: Say the Magic Words (2552) • เจ็บนิดเดียว เดี๋ยวก็เช้า: And This Too Shall Pass (2552) • ศัพท์หมู (2551) • What’s Up, Babe?: ไปไหนจ๊ะน้องสาว (2550)
พี่ ไ ป ห ล า ย วั น ร้องโดย ชาย เมืองสิงห์ แต่งคำ�ร้อง-ทำ�นองโดย ครูสนิท มโนรัตน์
จะจากนางก็ต้องสั่งเสีย จะจากเมียที่รักของฉัน จะจากนางไปต่างจังหวัด พี่อาจจะต้องจากไปหลายวัน ห่วงแสนห่วง แม่พุ่มพวง ห่วงเมียของฉัน กระซิบบอก โอ้แม่ดอกมะไฟ พูดเป็นนัยนัย ว่าพี่ต้องไปหลายวัน
(พูด) ช. แต๋นจ๋า ญ. จ๋า จะทำ�ไม ไปไหน ช. โธ่ ไม่รู้อะไร พี่ต้องไปต่างจังหวัดหลายวันนะจ๊ะเนี่ย
ยิ่งดูยิ่งน่าจู๋จี๋ ตั้งหลายปีรสรักก็ยังหวาน ถึงเมียเราจะเก่าจะกรอบ พี่ก็ยังชอบ รสชาติหวานมัน ปากเอ๋ยปาก ฉันพูดมากก็ฉันรักเมียฉัน นึกกระดากไม่อยากกวนใจ พูดเป็นนัยนัย ว่าพี่ต้องไปหลายวัน
(พูด) ช. แต๋นจ๋า พี่ไปหลายวันนะจ๊ะเนี่ย ญ. อะไรเล่า จะไปก็ไปสิ น้องเตรียมกระเป๋าแล้ว ช. ไม่ใช่อย่างนั้น พี่ต้องไปหลายวันน่ะ
จากนางก็ต้องสั่งสอน แม่งามงอนมิ่งมิตรเมียขวัญ จะจากกันจากบ้านหลังใหม่ นึกได้ พี่ต้องไปหลายวัน ดอกเอ๋ยดอก พี่ขอบอกแม่ดอกโบตั๋น ในที่สุดพูดเป็นนัยนัย แต่ว่ามีความหมายว่าพี่ต้องไปหลายวัน
(พูด) ช. แต๋น พี่ไปหลายวันนะคราวนี้ ญ. แหม รำ�คาญจัง ไม่รู้ไม่ชี้ ช. โธ่ พี่ต้องไปหลายวัน เห็นใจพี่บ้างสิ
ยิ่งดูยิ่งน่าจู๋จี๋ ตั้งหลายปีรสรักก็ยังหวาน ถึงเมียเราจะเก่าจะกรอบ พี่ก็ยังชอบ รสชาติหวานมัน ปากเอ๋ยปาก ฉันพูดมากก็ฉันรักเมียฉัน นึกกระดากไม่อยากกวนใจ พูดเป็นนัยนัย ว่าพี่ต้องไปหลายวัน
(พูด) ช. แต๋นจ๋า พี่ไปหลายวันนะ คราวนี้ ญ. ไปก็ไปสิ เตรียมกระเป๋าเรียบร้อยแล้ว ช. ไม่ค่อยสบายใจเลย พี่ไปตั้งหลายวัน
จากนางก็ต้องสั่งสอน แม่งามงอนมิ่งมิตรเมียขวัญ จะจากกันจากบ้านหลังใหม่ นึกได้ พี่ต้องไปหลายวัน ดอกเอ๋ยดอก พี่ขอบอกแม่ดอกโบตั๋น ในที่สุดพูดเป็นนัยนัย แต่ว่ามีความหมายว่าพี่ต้องไปหลายวัน
(พูด) ช. ญ. ช. ญ. ช. ญ. ช. ญ. ช.
แต๋น พี่ไปหลายวันนะ คราวนี้ แหม น่ารำ�คาญ ไม่รู้ ไม่ชี้ โธ่ เห็นใจพี่บ้างสิ รู้แล้วน่าว่าไปหลายวัน จริงๆ น่า พี่ไปหลายวันนะ จะไปก็ไปสิคะ พี่ไปตั้งหลายวัน ไม่ค่อยสบายใจ พี่จะเอาอะไรอีกล่ะคะ ไม่ใช่ยังงั้น พี่ต้องไปหลายวันน่ะ