“ความจริงคือสิ่งที่เราจินตนาการอยากให้เป็น” –ควอนตัมฟิสิกส์
เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ 3 วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
หนังสือในชุด Life & Inspiration ลำ�ดับที่ 010 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-045-0 พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2557 ราคา 220 บาท
ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์. เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ 3. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2557. 280 หน้า. 1. ความเรียง I. สมฤดี ดอยแก้วขาว, ผู้วาดภาพประกอบ. II. ชื่อเรื่อง. 895.914 ISBN 978-616-327-045-0
ในกรณีที่หนังสือมีตำ�หนิจากการพิมพ์หรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้น มาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ ทางเรายินดีเปลี่ยนให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น
สั่งซื้อหนังสือราคาพิเศษ 0-2726-9996 ต่อ 49 E-mail member@daypoets.com
ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข บรรณาธิการเล่ม จักรพันธ์ุ ขวัญมงคล ผู้ช่วยบรรณาธิการ สุรเกตุ เรืองแสงระวี อาร์ตไดเร็กเตอร์ บพิตร วิเศษน้อย ออกแบบปก/รูปเล่ม เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ ภาพปก/ภาพประกอบ สมฤดี ดอยแก้วขาว กราฟิกดีไซเนอร์ เพกา เจริญภักดิ์ เลขานุการ พิมพ์นารา มีฤทธิ์ กองบรรณาธิการ/พิสูจน์อักษร เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ การตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ประสานงานการผลิต อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ ดิจิทัลคอนเท็นต์มาสเตอร์ วิศรุต วิสิทธิ์ ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ลูกค้าสัมพันธ์ นริศรา เปยะกัง เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่
สำ�นักพิมพ์ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด
เลขที่ 3 ซอยเจริญมิตร ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2726-9996 ต่อ 22 โทรสาร 0-2714-4252 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing แยกสี/พิมพ์ บริษัท ออฟเซ็ทพลัส จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2461-2161 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์
ชีวิตคือการผูกตัวเองไว้กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา สิ่งต่างๆ เหล่านั้น อาจสัมผัสเราเพียงแผ่วเบาหรือปะทะเราหนักหน่วงรุนแรง แต่ไม่ว่ามันสัมพันธ์ กับเราในระดับใดก็ตาม ทั้งหมดนั้นล้วนก่อให้เกิดเป็นคำ�ถาม, คำ�ถามที่ต้องการ คำ�ตอบ นี่ คื อ เหตุ ผ ลที่ อ าจอธิ บ ายได้ ว่ า เหตุ ใ ด วั น ชั ย ตั น ติ วิ ท ยาพิ ทั ก ษ์ หรื อ ‘พี่จอบ’ ของน้องๆ ผู้เป็นนักเขียนรางวัลศรีบูรพาประจำ� พ.ศ.2554 ยังคงเขียน บทความต่างๆ อย่างต่อเนื่องและอย่างจริงจังเข้มข้น นั่นเพียงเพราะต้องการหา ‘เหตุผลของการมีชีวิตอยู่’ และเพราะชีวิตคือการผูกตัวเองไว้กับสิ่งต่างๆ รอบตัวเรานี่แหละ เหตุผล ของการมีชีวิตอยู่ เล่มนี้ของ พี่จอบ-วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ จึงเปรียบเสมือน แสงไฟที่ส่องสว่างให้กับใครก็ตามที่กำ�ลังกังขาหรือสงสัยว่าคนเราควรดำ�รงตนอยู่ เพื่อสิ่งใดกัน
หวังใจว่าท่านผู้อ่านคงได้พบคำ�ตอบที่เหมาะสมกับตัวท่านเองซุกซ่อนอยู่ ในบรรทัดใดบรรทัดหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ จักรพันธุ์ ขวัญมงคล กุมภาพันธ์ 2557
ทำ�ไมเรายังหายใจ เมือ่ ชีวติ เดินทางมาจนใกล้วยั กลางคน เพือ่ นพ้องหลายคนเกิดอาการสับสน เรื่ อ งเหตุ ผ ลของลมหายใจอี ก ครั้ ง อาการเช่ น นี้ เ คยเกิ ด ขึ้ น มาแล้ ว ครั้ ง หนึ่ ง ในสมัยหนุม่ สาว เราต่างสงสัยกันว่าจะหายใจกันไปทำ�ไม เหตุผลของการมีชวี ติ อยู่ มันคือสิ่งใดกันแน่ ในช่วงเวลานั้น หนุ่มสาวหลายคนได้คำ�ตอบว่า มีชีวิตอยู่เพื่อทำ�ความฝัน ให้เป็นจริง ทุกคนจึงใช้เวลาและพลังงานที่มีไปกับการวิ่งตามความฝัน ไขว่คว้า และปลุกปั้น หมายมั่นจะให้มันเป็นรูปเป็นร่างอย่างใจ แต่เมื่อฝันเป็นจริง เรากลับพบว่าคำ�ถามที่เคยหายไปได้ย้อนกลับมาในหัว อีกครั้ง ทำ�ไมเรายังรู้สึกไม่เต็ม ทำ�ไมยังรู้สึกขาด ทำ�ไมบางวันเรายังเบื่อโลก เบื่อชีวิตจนเคยคิดกลั้นลมหายใจเล่นสักสามนาที เผื่อว่าจะได้เดินทางไปอีก ภพภูมิหนึ่ง แต่ก็ทำ�ไม่สำ�เร็จ จึงต้องหายใจเพื่อหาคำ�ตอบต่อไป ข่าวดียังพอมีอยู่บ้าง ผมคิดว่าอาจมีบางคำ�ตอบซ่อนอยู่ในหนังสือเล่มนี้ นักอ่านรุ่นพี่และรุ่นเดียวกันกับผมคงไม่พลาดอ่านนิตยสารที่มีเนื้อหา เข้มข้นที่สุดเล่มหนึ่งบนแผงหนังสือเมืองไทย นั่นคือนิตยสาร สารคดี และทุกคน ต่างรูก้ นั ดีวา่ เบือ้ งหลังผลงานคุณภาพคับเล่ม ซึง่ นอกจากเกิดจากทีมงานระดับเทพ
เหล่านั้นยังมีอีกบุคคลหนึ่งที่ก้มหน้าก้มตาทำ�งานอย่างเงียบๆ และจริงจัง บุคคลคนนั้นคือ พี่จอบ-วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ บรรณาธิการนิตยสาร สารคดี ในยุคนั้น พี่ จ อบเป็ น บรรณาธิ ก าร สารคดี อยู่ ยี่ สิ บ กว่ า ปี และมั ก บอกเสมอว่ า การทำ� สารคดี คืองานทีเ่ ขารักและมีความสุข หลังจากนัน้ เส้นทางชีวติ ก็พาพีจ่ อบ ไปสู่อีกหนึ่งหน้าที่ที่อยากทำ�และมีความท้าทายมากขึ้นไปอีก นั่นก็คือการเป็น รองผู้อำ�นวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จำ�ได้วา่ หนึง่ ในคืนเลีย้ งส่งพีจ่ อบเพือ่ ไปเริม่ งานใหม่ ผมมีโอกาสได้ไปบ้าน พี่จอบเป็นครั้งแรก สิ่งที่ติดอยู่บนฝาผนังบ้านพี่จอบไม่ใช่ใบประกาศเกียรติคุณ รางวัล หรือรูปของตัวเองอย่างที่เราพบเห็นอยู่บ่อยๆ ตามบ้านเรือนต่างๆ หากแต่เป็นบุคคลทีพ่ จี่ อบเคารพนับถือและนับเป็นบุคคลต้นแบบในชีวติ นัน่ ก็คอื คุณสืบ นาคะเสถียร และอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเป็นสองท่านที่พี่จอบเอ่ยถึง ผ่านคำ�พูดและตัวหนังสืออยู่เสมอ จะเห็นว่าบุคคลต้นแบบของพีจ่ อบนัน้ มีแก่นทีเ่ หมือนกันอยูส่ องสิง่ ด้วยกัน นั่นคือการอุทิศตนเพื่อผู้อื่น และความกล้าหาญ จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะได้สัมผัสถึงคุณสมบัติทั้งสองนี้ผ่านงานเขียน
และผลงานต่างๆ ที่มียี่ห้อวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์แปะติดไว้ ข้อเขียนของพี่จอบกล้าตั้งคำ�ถามและเปิดเปลือยความผิดของผู้มีอำ�นาจ อย่างชัดเจน มีเหตุมีผล และตรงไปตรงมา ในวิกฤติการเมืองที่ผ่านมาหลายครั้ง เราจะเห็นการยืนหยัดในหลักการที่ถูกต้อง ต่อว่าผู้กระทำ�ผิดทุกฝ่ายแบบไม่มี เอนเอี ย ง ไม่ เ ข้ า ข้ า งฝ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ ง พยายามเสนอทางออกที่ ห ลี ก เลี่ ย ง การสูญเสียและความรุนแรงผ่านผลงานของพี่จอบเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในหน้า กระดาษนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือกระทั่งสเตตัสในเฟซบุ๊ก แม้การแสดงความคิดเช่นนัน้ จะได้รบั ก้อนอิฐจำ�นวนมากเป็นผลตอบแทน แต่พี่จอบก็ยังเชื่อมั่นว่าความกล้าหาญเพื่อยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่ ควรทำ� และข้อเขียนเหล่านั้นยังคงมีประโยชน์ต่อการเตือนสติของผู้คนในสังคม ไม่เพียงเนือ้ หาทีเ่ ข้มข้นเกีย่ วกับสังคมและบ้านเมือง พีจ่ อบเป็นคนทีไ่ ม่เคย ว่างเว้นจากการเดินทาง หากใครได้ติดตามเฟซบุ๊กของพี่จอบจะได้เห็นรูปถ่าย จากมุมนั้นมุมนี้ของโลกและเมืองไทยอยู่เสมอ มีเพียงช่วงแรกที่เข้าไปทำ�งาน ทีไ่ ทยพีบเี อสเท่านัน้ ทีอ่ าจเว้นช่วงจากการเดินทางไประยะหนึง่ จนผมได้ยนิ มาว่า คนใกล้ตวั ถึงขัน้ ออกปากว่า จะให้ลาออกหากไม่มเี วลามาเทีย่ วด้วยกัน หลังจากนัน้ ก็ ดู เ หมื อ นพี่ จ อบจะกลั บ มาเดิ น ทางบ่ อ ยเหมื อ นเดิ ม อั น นี้ ค งต้ อ งขอบคุ ณ คนใกล้ตัวของพี่จอบ เพราะทุกครั้งที่พี่จอบออกเดินทาง เขาพกพาสายตาของ คนทำ�สารคดีไปด้วยเสมอ สิ่งที่เจอ เห็น คุย ฟัง ชิม ดม และสัมผัส ก็มักถูกนำ� กลับมาเป็นวัตถุดิบในงานเขียนให้ผู้อ่านอย่างเราๆ ได้อ่านกัน งานเขียนเกี่ยวกับการเดินทางของพี่จอบนั้นมีเสน่ห์ เพราะมิใช่เพียง เล่าเรื่องสนุก และยังคลุกเคล้าข้อมูลเข้มข้น สาระ และมุมคิดด้วยส่วนผสมที่ กลมกล่อม บ่อยครั้งที่อ่านแล้วถูกสะกิดให้ลองเปรียบเทียบกับสังคมไทย จึงนับ เป็นการออกไปเรียนรูโ้ ลกเพือ่ นำ�กลับมาพัฒนาตนเอง ซึง่ แม้คนอ่านอย่างพวกเรา ไม่ได้เดินทางไปด้วย ก็ยังได้เรียนรู้และขบคิดไปพร้อมๆ กับพี่จอบ ระหว่างลิม้ รสตัวหนังสืออันกลมกล่อมทีม่ รี สชาติจดั จ้าน แต่บางครัง้ ก็แอบ หวานเบาๆ ในหนังสือเล่มนี้ เชื่อว่าคุณผู้อ่านจะได้สัมผัสวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
ในสามแง่ มุมที่ ก ล่าวมา นั่น คือ ได้สัมผัส ความรัก ในงานที่ เ ขาทำ � ได้ สัม ผั สถึ ง การเคารพ ให้เกียรติ และตระหนักถึงผูอ้ นื่ รอบๆ ตัว กระทัง่ สิง่ มีชวี ติ ร่วมโลกอย่าง สัตว์ทั้งหลายและต้นไม้ใบหญ้า ไล่เลยไปถึงสังคมและโลกใบนี้ และยังได้สัมผัส ถึงความรักในการเดินทางเพื่อแสวงหาสิ่งที่ยังไม่รู้อยู่เสมอ ทั้งหมดนั้นคือตัวตน อันเข้มข้นและทรงพลังของวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ซึ่งได้รับการยอมรับอย่าง กว้างขวางว่าเป็นคนดีและเป็นคนเก่ง กระนั้น สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากพี่จอบก็คือ จงคิดอยูเ่ สมอว่าเราตัวเล็ก ดังเช่นทีพ่ จี่ อบเล่าเรือ่ งผ่านการดูดาวว่า ยิง่ ดูดาวมากๆ ตัวตนของเรายิ่งเล็กลงเรื่อยๆ ครั้ ง หนึ่ ง ที่ ผ มไปร่ ว มงานที่ จั ด ขึ้ น เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ผู้ ป ระสบภั ย น้ำ � ท่ ว มที่ ฟิลิปปินส์ของสถานีไทยพีบีเอส เมื่อลงจากเวที พี่จอบรีบเดินตามมาเพื่อกล่าว คำ�ขอบคุณ เป็นผมเสียอีกที่เกรงใจที่พี่จอบต้องเดินมาหาเพื่อจะขอบคุณที่มา ร่วมงาน นี่เองเป็นคำ�สอนผ่านการกระทำ� สำ�หรับผมแล้ว พีจ่ อบเป็นคนใหญ่ทที่ �ำ ตัวเล็กอยูเ่ สมอ น้องๆ ทุกคนทีร่ จู้ กั จึงรักและเคารพพี่ชายคนนี้มาก ผมเชื่อว่าไปถามใครที่เคยร่วมงานกับพี่จอบ ก็จะตอบตรงกัน พีจ่ อบมักพูดอยูเ่ สมอว่า มีสงิ่ สำ�คัญสามสิง่ สำ�หรับการใช้ชวี ติ ให้มคี วามสุข “ทำ�งานทีใ่ จรัก ช่วยเหลือคนรอบข้าง เดินทางท่องเทีย่ ว” ลองคิดดูสคิ รับว่า ถ้าใคร สักคนได้มีชีวิตที่มีส่วนผสมของทั้งสามอย่างนี้ จัดจังหวะได้อย่างลงตัว เขาจะมี ความสุขมากแค่ไหน บางทีความว่างโหวงในหัวใจของเราก็เกิดจากการทีเ่ รารูส้ กึ ไม่พอใจในชีวติ มองไม่เห็นความหมาย และเบื่อหน่ายโลกใบนี้ เป็นไปได้ไหมว่า เราจะรู้สึกพอใจ ในชีวิตเมื่อได้ทำ�งานที่ใจรัก เราจะเห็นความหมายของตัวเองเมื่อได้ช่วยเหลือ คนรอบข้าง และเราจะเลิกเบื่อหน่ายโลกใบนี้เมื่อได้เดินทางท่องเที่ยว หนังสือเล่มนี้มีคำ�ตอบบางอย่างของคำ�ถามข้างต้น เหตุผลว่าทำ�ไมเรายังหายใจ นิ้วกลม
สารบัญ
2554 นราธิวาสที่รัก วันแม่ เขื่อนแก่งเสือเต้น การหากินบนคราบน้ำ�ตาของชาวบ้าน ประชานิยมกับสังคมคาร์บอนต่ำ� เหตุเกิดที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ น้ำ�ท่วม ดินถล่ม และ อบต. การเมืองเรื่องน้ำ�ท่วม ปรัชญาจากน้องน้ำ� การปรับตัวครั้งใหญ่ ครั้งหนึ่งกับเรือบรรทุกเครื่องบิน USS George Washington สิงคโปร์วันนี้ วิกฤติน้ำ�ท่วม 2554 บทเรียนและแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
017 023 029 035 041 047 053 059 063 067 075 081
2555 ความฝันของคนปั้นซูชิ กระเช้าภูกระดึงกับการท่องเที่ยวแบบแดกด่วน ชีวิตนักดนตรีวงโยธวาทิต หมอกควันภาคเหนือกับ CSR ของบริษัทยักษ์ใหญ่ โครงการผีดิบ สร้างเขื่อน ทำ�ลายป่า แวนคูเวอร์ สวรรค์สำ�หรับจักรยาน อ้ายพวกนักอนุรักษ์ ‘กะดีจีน ศิลป์ 3 ท่า’ ขอคารวะผู้จัดงาน ยิ่งดูดาว ตัวตนยิ่งเล็กลง ความทรงจำ�กับอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ความจริงของโลกร้อน เจตจำ�นงของแพ็กการ์ด ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ควรทำ�อะไร จากบรูด้าถึงออร์ก้า และนักท่องเที่ยวไทย ช่างทาสี เดินตามรอยเท้าวันสุดท้ายของคานธี 36 ปี 6 ตุลาคม 2519 กับข้าพเจ้า แซลมอนจีเอ็มโอ สวนสาธารณะมักกะสัน หรือ มักกะสันคอมเพล็กซ์ ดนตรีคลาสสิกให้อะไร ห้าปี มด-วนิดา จุดจบของคานธีแม่-ลูก
091 097 103 107 111 115 121 127 135 139 145 149 155 159 165 169 175 181 185 189 195 199
2556 กระเช้าเชียงดาว นายแน่มาก ครั้งหนึ่งกับท่านทะไลลามะ ปรากฏการณ์เฟอร์บี้ ไฟแดงและการรอคอย ผู้ว่าฯ กทม. ทางจักรยาน และสวนสาธารณะ ครั้งหนึ่งกับอาจารย์ป๋วย บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ ‘หนี้ที่ใช้คืนไม่หมด’ ครั้งหนึ่งกับรถไฟญี่ปุ่น ความในใจของนักอนุรักษ์ งานวิจัยสร้างชาติ ธีรภาพ โลหิตกุล กับรางวัลศรีบูรพา เราเห็นอะไรบนยอดเขา Dead as a Dodo
207 211 217 221 225 231 237 243 249 255 259 263 267
การเมืองเรื่องน้ำ�ท่วม
ตอนทีภ่ าคกลางของประเทศกำ�ลังเผชิญกับน้�ำ ท่วมใหญ่ในปลาย พ.ศ.2554 เราคงนึกถึงภาพถ่ายดาวเทียมที่เห็นมวลน้ำ�ก้อนมหึมาแถวภาคกลางที่เปรียบ เสมือนทัพหลวง กำ�ลังจ่อเข้าถล่มกรุงเทพมหานคร ภายหลังจากมวลน้ำ�ทัพหน้า ตีแนวป้องกันแตกกระจุยตัง้ แต่จงั หวัดนครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บรุ ี อยุธยา ปทุมธานี ไปจนถึงนนทบุรี ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด คนหนึ่ ง ในเขตปริ ม ณฑลที่ กำ � ลั ง ต่ อ สู้ กั บ อุ ท กภั ย ครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ได้เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า “คุณรู้ไหม คนที่กำ�หนดให้ เส้นทางน้�ำ ไหลไปท่วมทางใดทางหนึง่ นัน้ ไม่ใช่นกั วิชาการ วิศวกร หรือผูเ้ ชีย่ วชาญ ทางน้ำ�หรอก แต่เป็นนักการเมืองล้วนๆ” น้ำ�ท่วมครั้งนี้ต้องถือว่าเป็นภัยพิบัติครั้งยิ่งใหญ่ในรอบ 50 ปีของคนไทย ทีเดียว นอกจากปริมาณน้�ำ ฝนมหาศาลแล้ว ดูเหมือนการจัดการรับมือกับน้�ำ ท่วม ครั้งนี้ ต่ำ�กว่ามาตรฐานของคนไทยที่เคยรับมือกับน้ำ�ท่วมมาหลายครั้งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการพยากรณ์ผิดพลาดในเรื่องปริมาณน้�ำ เหนือเขื่อนที่กักเก็บ น้�ำ ไว้มากเกินไป เพราะกลัวจะไม่มนี �้ำ ปัน่ ไฟฟ้าในฤดูแล้ง (ต้องเข้าใจว่าเขือ่ นใหญ่ๆ อย่างเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ เป็นเขื่อนที่ออกแบบมาเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยตรง 53
ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการป้องกันน้ำ�ท่วม การผลิตไฟฟ้าจึงสำ�คัญกว่าการป้องกัน น้ำ�ท่วม) ดังนั้นเมื่อมีฝนตกเหนือเขื่อนมหาศาล ทำ�ให้อ่างเก็บน้ำ�ไม่สามารถ เก็บน้ำ�ได้ ต้องระบายน้ำ�ออกมาวันละร้อยกว่าล้านลูกบาศก์เมตรเพื่อป้องกัน เขื่อนแตก ลองนึกภาพปริมาณน้ำ�หนึ่งลูกบาศก์เมตร เท่ากับแท็งก์น้ำ�สี่เหลี่ยมที่ใช้ ในบ้าน ทุกวันนี้เรามีปริมาณน้ำ�จากเขื่อนและสะสมจากปริมาณน้ำ�ฝน จ่ออยู่ ตามแม่น้ำ�และท่วมทุ่งตั้งแต่นครสวรรค์ลงมาจนจะท่วมกรุงเทพมหานครแล้ว หนึ่งหมื่นล้านกว่าลูกบาศก์เมตร ช่วงเวลาก่อนที่กองทัพน้ำ�ก้อนมหึมาจะมาไหลเอ่อท่วมจังหวัดภาคกลาง มีการออกกำ�ลังภายในของนักการเมืองรุ่นใหญ่ สั่งให้กรมชลประทานผันน้ำ�ไปใน ทิศทางตรงข้ามกับจังหวัดของตัวเอง เพื่อไม่ให้น้ำ�ไหลเข้าท่วมที่นาของชาวบ้าน เขตฐานเสียงของตัวเอง เพราะยังเกี่ยวข้าวไม่เสร็จ โดยไม่ได้สนใจองค์ความรู้ เรื่องการจัดการแก้ปัญหาน้ำ�ท่วมโดยภาพรวมเลย ตอนนั้นเราจึงได้เห็นน้ำ�ท่วมที่นาหลายจังหวัด บางจังหวัดท่วมพอเป็นพิธี แต่พอเกีย่ วข้าวเสร็จ ปริมาณน้�ำ มหาศาลก็ไหลท่วมจังหวัดเหล่านีโ้ ดยเท่าเทียมกัน เพราะสุดท้ายแล้วแนวกั้นน้ำ�ที่สร้างอย่างไม่ถูกหลักวิชาเหล่านี้ ก็พ่ายแพ้ต่อ แรงดันมหาศาลของกองทัพน้ำ�ที่หลั่งไหลไปสู่พื้นที่ต่ำ� น้ำ�เป็นของเหลว ดูเหมือนเป็นสิ่งอ่อน ไร้รูปแบบ ไร้รูปทรง แต่ทรงพลัง อย่างที่มนุษย์คาดไม่ถึง ดังนั้นการจัดการปัญหาอุทกภัยที่เรากำ �ลังเผชิญทุกวันนี้ เป็นเรื่องของ ความเข้าใจ เป็นเรื่องของการใช้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องบวกกับความสามารถ ในการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ แต่ทุกวันนี้ภาพที่ปรากฏทางหน้าจอทีวี ตอนรายงานข่าวถึงการแก้ไขปัญหาน้�ำ ท่วมของศูนย์ปฏิบตั กิ ารช่วยเหลือผูป้ ระสบ อุทกภัย หรือ ‘ศปภ.’ รอบข้างคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของเรา แทนที่ จะเป็นผู้เชี่ยวชาญ วิศวกรทางน้ำ�คอยให้คำ�ปรึกษาอย่างใกล้ชิด กลับท่วมท้น ไปด้วยหน้าตาบรรดานักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ชูหน้ากันสลอน แทบไม่มีใคร มีความรู้ความชำ�นาญแก้ปัญหาภัยพิบัติที่คนไทยต้องเผชิญอยู่เลย กองทัพน้ำ�ตั้งแต่นครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี อยุธยา ปทุมธานี 54
พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี จึงตีด่านกั้นน้ำ�ทุกด่านแตกกระจุย รัฐบาลใช้คนผิดในการแก้ปัญหาอันสลับซับซ้อน การประเมินสถานการณ์ ของรัฐบาลจึงผิดพลาดมาโดยตลอด บ่อยครั้งที่เราจึงมักจะได้ยินเสียงใสๆ ว่า “ขอแสดงความเสียใจ” หลายครั้งที่กรมชลประทาน หน่วยงานที่มีความรู้ความชำ�นาญในการ จัดการน้ำ�มากที่สุดของประเทศ ได้แนะนำ�แนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำ�ท่วม แก่รฐั บาล ไม่วา่ จะการปิดประตูน�้ำ ตรงคลองนี้ เปิดประตูน�้ำ ตรงคลองนี้ เพือ่ ระบาย น้ำ�จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ยอมปล่อยให้บริเวณนี้ท่วม เพื่อรักษาอีกบริเวณหนึ่ง โดยพิจารณาจากความสำ�คัญของพื้นที่ และรัฐบาลต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับพื้นที่ ที่ยอมเสียสละอย่างเต็มที่ แต่สุดท้ายรัฐบาลก็ไม่กล้าตัดสินใจอะไร เพราะกลัวจะกระทบฐานเสียง ของ ส.ส. ในสังกัด จนสุดท้ายน้ำ �ก็เอ่อล้นท่วมนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง ค่าเสียหายทวีความรุนแรงหลายแสนล้านอย่างน่าอดสู เพราะการไม่กล้าตัดสินใจ ของรัฐบาล เจ้าหน้าทีก่ รมชลประทานรายหนึง่ เคยกล่าวว่า “เพราะนักการเมืองในพืน้ ที่ ไม่ยอมให้น้ำ�ผ่านคลองต่างๆ ในทุ่งรังสิต เนื่องจากบริเวณนี้เป็นฐานเสียงสำ�คัญ ทัง้ ๆ ทีถ่ า้ ช่วยกันผันออกไปแค่คลองละ 10 เปอร์เซ็นต์ น้�ำ ก็จะท่วมเพียงแค่หวั เข่า เท่านั้น ไม่ท่วมบ้านเรือนมากมายอย่างนี้” หลายวันก่อนกรมชลประทานพยายามเสนอให้รฐั บาลแก้ปญ ั หาครัง้ สำ�คัญ ด้วยการปิดคลองข้าวเม่า เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำ�ไหลมาท่วมพื้นที่สำ�คัญด้านล่าง แต่ สุ ด ท้ า ยกรมชลฯ ก็ ต้ อ งถอยกลั บ ไป เมื่ อ นั ก การเมื อ งชื่ อ ดั ง ไม่ ย อมให้ กรมชลประทานเข้าไปปฏิบัติงาน อ้างว่าทำ�ให้ชาวบ้านของเขาเดือดร้อน เมื่อนักการเมืองท้องถิ่นพูด รัฐบาลก็เงียบ และไม่ตัดสินใจอะไรสักอย่าง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ กองทัพน้ำ �จึงตีแนวป้องกันน้ำ�ท่วมแตกทุกแนว จนกองทัพน้ำ�ไหลมาล้อมกรุงเทพมหานครกันแล้ว วิศวกรทางน้�ำ หลายคนเสนอความเห็นให้กบั รัฐบาลว่า ทางออกสุดท้ายคือ ต้องหาทางระบายน้ำ�ในทุ่งออกทางด้านตะวันออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด ตั้งแต่การ ขุดทางน้ำ�อย่างเร่งด่วน รวมถึงยอมตัดถนนมอเตอร์เวย์บางช่วง ก็ต้องทำ�ในเวลา อันเร่งด่วน 55
รัฐบาลก็เงียบ ไม่กล้าตัดสินใจอะไร ปล่อยเวลาผ่านไปเรื่อยๆ ผูเ้ ชีย่ วชาญบางคนเสนอว่า ต้องยอมให้กรุงเทพฯ จมน้�ำ บ้าง เพือ่ ให้น�้ำ ผ่าน สู่ทะเลโดยเร็ว และทำ�ให้น้ำ�ไม่ขังนานกว่าที่คิด รัฐบาลก็เฉย แนวป้องกันน้ำ�ท่วมของกรุงเทพมหานครถือได้ว่าแข็งแกร่งที่สุด เพราะ กทม. มีประสบการณ์มายาวนาน มีผคู้ นและองค์ความรูท้ สี่ งั่ สมมายาวนานในการ จัดการป้องกันน้ำ�ท่วม แต่ ดู เ หมื อ นพรรคเพื่ อ ไทยฝ่ า ยรั ฐ บาลกั บ พรรคประชาธิ ปั ต ย์ ที่ คุ ม กรุงเทพมหานครต่างระแวงกันในเรือ่ งแนวทางการป้องกันน้�ำ ท่วม มีการปะทะคารม ผ่านสือ่ มวลชนกันหลายครัง้ ขณะทีว่ กิ ฤติของสังคมครัง้ นี้ เราต้องการนักการเมือง ที่ใช้ความรู้และการบริหารอย่างมืออาชีพในการแก้ปัญหาโดยฉับพลัน หากนักการเมืองยังใช้ฝปี ากแก้ปญ ั หาน้�ำ ท่วม แทนทีจ่ ะใช้องค์ความรูแ้ ก้ไข ปัญหาน้ำ�ท่วม คงไม่ต้องบอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ทุกวันนี้เรามีรัฐที่ล้มเหลวแล้ว อย่าให้ประเทศต้องล่มจมไปกว่านี้อีกเลย
56
แวนคูเวอร์ สวรรค์สำ�หรับจักรยาน นานมาแล้วเพื่อนรุ่นใหญ่คนหนึ่งมักจะพูดให้ฟังว่า สมมติว่าจะมีบ้าน อยูต่ า่ งประเทศสักหลัง หากเลือกได้อยากไปอยูท่ เ่ี มืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา เมืองเล็กๆ ด้านฝัง่ ตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือแห่งนี้ ตัง้ อยูใ่ นรัฐบริตชิ โคลัมเบีย ติดอันดับเมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกมาโดยตลอดสิบปี “อากาศดี เมืองสวย ร่มรื่นย์ ต้นไม้เยอะ สิ่งแวดล้อมดี มลพิษน้อย” ดูจะเป็นคำ�นิยามให้กับเมืองน่าอยู่ในโลกนี้มากกว่า ผู้คนเป็นมิตร อาหารอร่อย ความทันสมัย และสิ่งอำ�นวยความสะดวกกันเสียอีก ในโลกยุคปัจจุบัน ปัจจัยสำ�คัญในการดำ�รงอยู่ของมนุษย์คือ อาหาร น้ำ� และอากาศ นั้น อากาศกลายเป็นสิ่งสำ�คัญที่สุดในการชี้วัดความเป็นเมืองน่าอยู่ สองปีกอ่ นผมมีโอกาสเช่ารถขับจากเมืองซีแอตเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา มุ่งหน้าไปทางถนนไฮเวย์ขึ้นเหนือ ข้ามชายแดนเข้าสู่ประเทศแคนาดา ตำ�รวจ ตรวจคนเข้าเมืองรูปร่างสูงใหญ่ ขอดูพาสปอร์ตและซักถามนานพอควร สำ�หรับ คนหน้าตาเอเชียอย่างเรา เพื่อป้องกันการลักลอบเข้าประเทศที่มีมากขึ้น หน้าร้อนในเดือนกรกฎาคม อากาศยังหนาวกว่าปกติ เราขับรถตรงเข้าเมือง 115
แวนคูเวอร์ เห็นอาคารตึกระฟ้าแต่ไกล ก่อนที่จะขับมาจอดรถที่ Stanley Park สวนสาธารณะชือ่ ดัง หยอดเหรียญจ่ายเงินค่าจอดแบบอัตโนมัติ เป็นระบบไว้ใจกัน โดยที่ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่มาคอยตรวจตราว่าใครเบี้ยวตังค์ค่าจอดรถ ทุกปีมีนักท่องเที่ยวมาเยือนสวนสาธารณะแห่งนี้ถึง 8 ล้านคน สวนแห่งนี้ มีทั้งป่า บึง หนองน้ำ� นก และสัตว์หลายชนิด อะควาเรียม เส้นทางเดินธรรมชาติ สวนสัตว์ เวทีแสดงดนตรี แต่อนั ทีจ่ ริงน่าจะเรียกว่าเป็นป่าใหญ่กลางเมืองมากกว่า เพราะมีเนื้อที่กว่า 2,500 ไร่ ปกคลุมด้วยต้นไม้กว่าครึ่งล้านต้น บางต้นสูงเท่ากับ ตึกสามสิบชั้น เปรียบเทียบกับสวนลุมพินี ของ กทม. มีพื้นที่ 360 ไร่ ขณะที่ ขนาดของ กทม. มีพื้นที่ 1,500 ตารางกิโลเมตร แต่แวนคูเวอร์มีพื้นที่เพียง 114 ตารางกิโลเมตร ตัวช่วยในการฟอกปอดของคนแวนคูเวอร์ประชากร 600,000 กว่าคน จึงโดดเด่นกว่าชาว กทม. ทีม่ ปี ระชากร 12 ล้านคนอย่างเทียบกันไม่ตดิ แต่เท่านัน้ ยังไม่พอ นอกจากต้นไม้ใหญ่ที่ดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว การลดมลพิษ ในอากาศจากปัญหาการจราจรยังเป็นปัจจัยสำ�คัญอีก เราตั้งใจมาจอดรถ เพื่อเริ่มต้นสัญจรในเมืองเฉกเช่นชาวเมืองจำ�นวนมาก คือ เดินเท้า ใช้รถประจำ�ทาง หรือขี่จักรยานไปทำ�งาน เราเลือกเส้นทางเดิน ริมทะเล มองออกไปด้านนอกเห็นนกน้ำ�นานาชนิด กำ�ลังหากินตามชายฝั่ง ไกลออกไปเห็นเครือ่ งบินกำ�ลังแล่นขึน้ จากทะเล ผูค้ นขีจ่ กั รยานมากมาย บ้างก็มา ถีบเล่นกินลม แต่ส่วนใหญ่ถีบไปทำ�งาน ทำ�ธุระโดยผ่านสวนสาธารณะออกไป ด้านนอก ไม่เห็น รปภ. คนใดมาโบกมือไล่ออกไป เหมือนกับสวนสาธารณะใน กทม. สถาปนิกของเมืองได้ออกแบบทางเดินเชื่อมสวนสาธารณะเข้าสู่ถนน ในเมืองแวนคูเวอร์ได้อย่างกลมกลืน พอเราเดินโผล่ออกมานอกสวนสาธารณะ เจอทางฟุตปาธขนาดใหญ่ปลูกต้นไม้สองข้างทาง บนถนนเป็นทางจักรยานตีเส้น ชัดเจน เห็นรถถีบผ่านไปคันแล้วคันเล่า ไม่มีรถมอเตอร์ไซค์ หรือรถยนต์มาขับ แย่งเลนแบบบ้านเรา และปัจจุบัน ถนนบางสายในเมืองได้เริ่มทำ�กำ�แพงกั้น ทางจักรยานจากพื้นผิวจราจรของถนน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุอย่างเต็มที่ มีการวิจัยพบว่าการเดินทางด้วยจักรยานในเมืองแวนคูเวอร์เพื่อไปสู่ 116
จุดมุ่งหมายรวดเร็วที่สุด เร็วกว่ารถยนต์หรือรถโดยสารเสียอีก ทำ�ให้อัตราการใช้ จักรยานเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวในรอบสิบปีที่ผ่านมา ทุกวันนี้ชาวเมืองเกือบแสนคน เดินเท้าหรือปัน่ จักรยานไปทำ�งาน และทางการได้ออกแบบทางจักรยานระยะทาง สี่ ร้ อ ยกว่ า กิ โ ลเมตรเฉพาะในตั ว เมื อ งเพื่ อ รองรั บ การเดิ น ทางที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ สิ่งแวดล้อมมากที่สุด ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นฉับพลัน แต่เมื่อสิบกว่าปีก่อน ทางผู้บริหาร เมืองแวนคูเวอร์ได้ร่างแผนแม่บทระบบการจราจรในเมืองว่า จะให้ความสำ�คัญ กับการเดินทางด้วยจักรยานเป็นหลัก ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล และจึงมี การวางแผนตัดถนนที่มีเลนจักรยาน การเชื่อมเส้นทางโครงข่ายของถนนที่มี เลนจักรยาน เพื่อสะดวกต่อการปั่นจักรยาน การกระตุ้นวางแผนประชาสัมพันธ์ ให้ผู้คนหันมาสนใจปั่นจักรยานเพื่อการเดินทาง และการเข้มงวดทางกฎหมาย กับผู้ที่ละเมิดสิทธิ์ของผู้ใช้จักรยาน สิ บ ปี ผ่ า นไป การเดิ น ทางด้ ว ยจั ก รยานเป็ น ภาพชิ น ตาในเมื อ งใหญ่ ที่ เต็ ม ไปด้ ว ยอาคารทั น สมั ย การจราจรไม่ ติ ด ขั ด เหมื อ นเดิ ม ผู้ ค นไม่ ต้ อ งคาด ที่ปิดจมูกเวลาเดินตามท้องถนน ไม่มีเสียงบีบแตรรถให้ตกใจ ไม่มีอากาศเป็นพิษ จากท่อไอเสีย ผู้คนประหยัดรายจ่ายจากค่าน้ำ�มัน ที่จอดรถหลายแห่งกำ�ลังจะ ถูกเปลี่ยนให้เป็นสวนสาธารณะเพราะแทบไม่มีรถจอด มีที่วิ่งเล่นให้กับเด็กๆ มากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการประกันสุขภาพของประชาชนโดยรวมลดลง เพราะ ผู้คนป่วยไข้น้อยลง จากการได้ปั่นจักรยานออกกำ�ลังกายสร้างภูมิคุ้มกัน และ ได้สดู อากาศบริสทุ ธิข์ นึ้ และทีส่ �ำ คัญคือมีสว่ นในการช่วยลดโลกร้อน ลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้น้ำ�มัน เราเดิ น ผ่ า นลานคนเมื อ งที่ มี น้ำ � พุ ใ ห้ เ ด็ ก ได้ เ ล่ น กั น ผ่ า นลานดนตรี สวนสาธารณะเล็กๆ ที่มีการแสดงงานศิลปะกลางแจ้ง มีสวนสาธารณะมากมาย ล้อมรอบอาคารที่อยู่อาศัยของชาวเมือง ผู้คนสามารถมานั่งปิคนิค พักผ่อน หย่อนใจได้เสมอ เวลาข้ามถนนรถจะหยุดทันทีบนทางม้าลาย เราเดินผ่านอาคาร ระฟ้าที่มีต้นเมเปิ้ลปลูกล้อมรอบ จนอดคิดไม่ได้ว่า ในความทันสมัยของเมืองนี้ เราเห็นความร่มรื่นของธรรมชาติโอบล้อมเสมอ แวนคู เ วอร์ ตั้ ง เป้ า ว่ า จะเป็ น เมื อ งสี เขี ย วน่ า อยู่ ที่ สุ ด ในโลกตลอดไป 117
ขณะทีบ่ า้ นเรา นอกจากจะตัดต้นไม้ใหญ่กลางเมืองแล้ว ยังไม่สนใจทำ�ทางจักรยาน เพื่อการเดินทางอย่างจริงจัง และเห็นจักรยานเป็นการปั่นเล่นๆ ในวันหยุด แต่วนั นีท้ างกรุงเทพมหานครได้ประกาศแผนการจะทุม่ เงินเกือบแสนล้านบาทเพือ่ แก้ปัญหาการจราจร ด้วยการเวนคืนที่ดินเพิ่มพื้นที่ถนน ตัดถนนใหม่ๆ รองรับ รถยนต์เท่านั้น สโลแกนคำ�ว่า กรุงเทพฯ เมืองสีเขียว คงเป็นได้แค่การทาสีเขียวบนพื้นผิว ถนนจราจรเพียงอย่างเดียวจริงๆ ส่วนคำ�ว่า กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ที่สุดในโลก ยิ่งมองไม่เห็นฝั่งแต่ประการใดเลย
118
ความทรงจำ�กับอาจารย์ปรีดี พนมยงค์
เรื่องราวของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เป็นข่าวขึ้นมาอีกครั้งจากเหตุการณ์ วันปรีดี พนมยงค์ (11 พฤษภาคม พ.ศ.2555) ที่ผ่านมาเมื่อ ‘อั้ม เนโกะ’ นักศึกษา ชัน้ ปีที่ 1 คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้โพสท่าถ่ายรูปกับรูปปัน้ อาจารย์ปรีดี แล้วนำ�ไปโพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวของเธอพร้อมข้อความ “ความรัก ความคลั่ง คืออะไร แต่ประเทศไทยก็ไม่มีกฎหมายหมิ่นท่านปรีดี เพราะเราทุกคนเท่ากัน” จนก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม คุณอั้ม เนโกะ ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุผลในการทำ�เช่นนั้นว่า เพราะวันนั้น สังเกตเห็นบริเวณรูปปั้นอาจารย์ปรีดีมีคนมาวางพานวางพวงมาลากราบไหว้ จึงอยากลองทำ�อะไรท้าทายกระแสสังคมดูบ้าง เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า “ถ้าคนเรา เท่ า กั น ทำ � ไมจึ ง ต้ อ งทำ � ให้ อ าจารย์ ป รี ดี ก ลายเป็ น สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ” หลั ง จากนั้ น ก็มีปฏิกิริยาทั้งจากผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการกระทำ�ของเธอจนกลายเป็น ประเด็นร้อนตามสื่อต่างๆ ผู้เขียนขอนำ�ประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยข้องแวะกับเรื่องราวของอาจารย์ ปรีดี พนมยงค์ มาเล่าสู่กันฟังบ้าง ______________________________ 139
พ.ศ.2522 เป็ น ปี แรกที่ ผ มเข้ า เป็ น นั ก ศึ ก ษาปี ที่ 1 คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วงเวลานัน้ เพิง่ ผ่านเหตุการณ์สงั หารหมูใ่ นธรรมศาสตร์ 6 ตลุาคม พ.ศ.2519 ได้เพียง 3 ปี บรรยากาศในมหาวิทยาลัยยังอยู่ในช่วงฟื้นไข้ จากเหตุการณ์หฤโหด กิจกรรมนักศึกษาเพิ่งกลับมาแต่ยังซบเซา ปกคลุมไปด้วย ความหวาดระแวง อึมครึม มีเรื่องต้องห้ามมากมายที่ห้ามพูดห้ามเอ่ยถึง จำ�ได้ว่า บริเวณทางเข้าประตูท่าพระจันทร์มีโปสเตอร์ตีพิมพ์จดหมายของอาจารย์ป๋วย อึ๊ ง ภากรณ์ จากประเทศอั ง กฤษ เป็ น ลายมื อ เขี ย นด้ ว ยมื อ ซ้ า ยด้ ว ยเหตุ ว่ า ท่ า นเพิ่ ง ฟื้ น จากอาการเส้น โลหิต ในสมองแตก พูดไม่ ได้ มื อขวาใช้ ก ารไม่ ได้ แต่ความทรงจำ�ยังดี อาจารย์ปว๋ ยเขียนคำ�อวยพรสัน้ ๆ ถึงเพือ่ นใหม่ทเี่ พิง่ เดินสูร่ วั้ เหลืองแดงเป็นครั้งแรก เวลานั้นไม่มีใครกล้าเอ่ยถึง ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยอยู่ในประเทศ ฝรั่งเศส ชื่อนี้เป็นสิ่งต้องห้ามสำ�หรับสังคมไทยมานานกว่า 30 ปีแล้วตั้งแต่ท่าน ลี้ภัยการเมืองภายหลังรัฐประหาร พ.ศ.2490 จะมีข่าวสารเรื่องราวของท่าน ในสังคมก็เพียงช่วงสั้นๆ ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 แต่พอหลัง เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เรือ่ งราวของท่านกลับเงียบหาย แม้ในมหาวิทยาลัย ที่ท่านเป็นผู้ก่อตั้งก็ยังไม่มีใครพูดถึงในที่แจ้ง หนังสือเกี่ยวกับปรีดีตามชั้นหนังสือ ในห้องสมุดมีแทบนับเล่มได้ ปรีดี พนมยงค์ ในเวลานั้น คนในสังคมรู้เพียงว่าเขาคือหนึ่งในคณะราษฎร ที่ จ ะล้ ม สถาบั น กษั ต ริ ย์ เป็ น ผู้ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ กรณี ส วรรคตในหลวงรั ช กาลที่ 8 และเป็นคอมมิวนิสต์ เกียรติคุณของท่านในเวลานั้นรู้กันเฉพาะในหมู่คนที่สนใจ ศึกษา และไม่มใี ครกล้าพูดกล้าแสดงความเห็นในทีส่ าธารณะ ชีวติ การทำ�กิจกรรม ในมหาวิทยาลัยทำ�ให้ผมมีโอกาสได้ศึกษาเรื่องราวของอาจารย์ปรีดีเป็นประจำ � จนกระทัง่ ปลาย พ.ศ.2525 ผมมาช่วยเตรียมงานแปรอักษรของชุมนุมเชียร์ในงาน ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ที่จะมีขึ้นในเดือนมกราคมปีถัดไป ผมเห็น ปฏิทินของสหกรณ์ธรรมศาสตร์เป็นรูปปรีดี พนมยงค์ พร้อมคำ�กลอนบทหนึ่งว่า “พ่อนำ�ชาติด้วยสมองและสองแขน พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี พ่อของข้านามระบือชื่อ ‘ปรีดี’ แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ” 140
ผมได้ไปปรึกษาคุณอดุลย์ โฆษะกิจจาเลิศ ประธานชุมนุมเชียร์ซึ่งเป็น เพื่ อ นสนิ ท ว่ า งานบอลประเพณี ฯ ที่ จ ะมี ใ นเดื อ นหน้ า เราน่ า จะแปรอั ก ษร เป็นข้อความนี้ และเปิดรูปอาจารย์ปรีดีบนสแตนด์เชียร์ที่เต็มพรืดด้วยนักศึกษา จำ�นวน 2,500 คน เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่านักศึกษาธรรมศาสตร์รุ่นนี้ไม่เคยลืม อาจารย์ปรีดี คุณอดุลย์เห็นด้วย และบอกว่าพวกเราอยู่ปี 4 กันแล้ว น่าจะทำ�อะไร เป็นการตอบแทนผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในบั้นปลายชีวิตของท่าน เมื่อสืบจนพบว่าคนเขียนกลอนบทนี้เป็นเพื่อนคณะนิติศาสตร์ชื่อเล่นว่า เทียน เราก็ได้ขออนุญาตนำ�กลอนของเขามาแปรอักษร ต่อมาจึงประกาศให้ทีมงาน บางคนทราบว่ า การแปรอั ก ษรครั้ ง นี้ จ ะเป็ น ครั้ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ลู ก แม่ โ ดม จะเผยแพร่รูปอาจารย์ปรีดีสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรก เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 ถ่ายทอดสดตลอดรายการ เราตกลงกันว่าการแปรอักษรนีจ้ ะเป็นความลับ รูก้ นั ไม่กคี่ นไม่บอกอาจารย์ หรือศิษย์เก่าใดๆ เพราะกลัวว่าจะถูกผูใ้ หญ่บางคนห้ามปรามด้วยความหวาดกลัว เวลานั้นพวกเราวางแผนกันว่า หากแปรอักษรไปแล้วเกิดมีตำ�รวจหรือ สันติบาลมาถามหาก็นัดแนะกันว่าจะหนีไปทางไหน และจะไม่ซัดทอดกัน หากมี การจับก็ให้มีคนโดนจับน้อยที่สุด พอถึงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2526 งานฟุตบอลประเพณีจฬุ าฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 39 เริ่มขึ้น ณ สนามศุภชลาศัย เราวางแผนเตี๊ยมกับทางโฆษกสนาม ขณะที่ขบวนพาเหรดล้อการเมืองเข้าสู่สนามได้สักพัก พอได้เวลาถ่ายทอดสด เราก็วิทยุไปยังโฆษกบอกผู้ชมให้ตั้งใจดูหน้าสแตนด์เชียร์ธรรมศาสตร์เพราะ จะได้พบปรากฏการณ์ครั้งแรกและให้กล้องโทรทัศน์เตรียมจับภาพ บนอัฒจันทร์ เริ่มแปรอักษรเป็นคำ�กลอนพร้อมกับที่โฆษกสนามอ่านกลอนบทนี้ดังก้องสนาม ศุ ภ ชลาศั ย ปิ ด ท้ า ยด้ ว ยภาพอาจารย์ ป รี ดี พนมยงค์ มี ฉ ากหลั ง เป็ น รู ป โดม สัญลักษณ์ขอมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อโฆษกสนามพูดบทกลอนซ้ำ�อีกครั้ง ในสนามเงียบก่อนที่เสียงปรบมือ จะดังลั่น ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ ศิษย์เก่า ต.มธก. หลายคนยืนขึ้น น้ำ�ตาไหล ด้วยความดีใจเพราะเป็นครัง้ แรกในรอบ 30 กว่าปีทมี่ กี ารพูดถึงอาจารย์ปรีดชี ดั เจน ในที่สาธารณะ ขณะที่นักศึกษาบนอัฒจันทร์โห่ร้องด้วยความยินดีที่ตนในฐานะ 141
ลูกแม่โดมได้ทำ�อะไรบางอย่างเพื่อผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้ พอแปรอักษรรูปนีเ้ สร็จ พวกเราทีอ่ ยูด่ า้ นล่างทำ�หน้าทีค่ วบคุมสแตนด์เชียร์ ต่างสวมกอดกันด้วยความดีใจทีส่ ามารถทำ�ให้อาจารย์ปรีดอี อกมาสูพ่ นื้ ทีส่ าธารณะ ได้เป็นครั้งแรก ไม่กี่สัปดาห์ต่อมาชุมนุมเชียร์ก็ได้รับจดหมายจากอาจารย์ปรีดี ส่งตรงจากประเทศฝรั่งเศส ความว่ามีคนส่งภาพการแปรอักษรครั้งนี้ไปให้ท่านดู จึงเขียนจดหมายมาขอบใจคนที่เกี่ยวข้องทุกคนที่ยังรำ�ลึกถึงท่าน 2 พฤษภาคมปี เ ดี ย วกั น ปรี ดี พนมยงค์ ถึ ง แก่ อ สั ญ กรรมอย่ า งสงบ ณ บ้านพักชานกรุงปารีส เมื่อได้ทราบข่าวผมรู้สึกสะเทือนใจที่คนทำ �งานหนัก เพื่ อ แผ่ น ดิ น มาตลอดชี วิ ต ไม่ อ าจกลั บ มาตายที่ บ้ า นเกิ ด ได้ ขณะที่ ค วามตาย ของท่านทำ�ให้ผมู้ อี �ำ นาจผ่อนคลายลงและเริม่ มีคนพูดถึงท่านมากขึน้ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ได้สร้างอนุสาวรีย์รำ�ลึกถึงท่านเป็นครั้งแรก มีการประกาศเกียรติคุณ พิมพ์ผลงานความคิดของปรีดีออกมาเรื่อยๆ นับจากนั้น ชื่อ ปรีดี พนมยงค์ ไม่กลายเป็นสิ่งต้องห้ามเหมือนในอดีต อีกต่อไป แต่เมื่อทางครอบครัวจะนำ�อัฐิของท่านกลับเมืองไทยใน พ.ศ.2529 กลับไม่ได้รับการต้อนรับหรือไม่ได้รับเกียรติยศใดๆ จากรัฐบาล ทั้งที่ในฐานะ อดีตผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตหัวหน้าเสรีไทย ท่านได้ทำ�คุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติมาตลอดชีวิต ผมได้รับการติดต่อจากอาจารย์ธรรมศาสตร์ให้ไปช่วยตบแต่งรถเชิญอัฐิ เมื่อพวกเราไปถึงสนามบินดอนเมืองก็ต้องประหลาดใจไม่มีพิธีกรรมใดๆ สำ�หรับ สามั ญ ชนผู้ นี้ มี เ พี ย งญาติ พี่ น้ อ ง ลู ก ศิ ษ ย์ ลู ก หา ช่ ว ยกั น คนละไม้ ค นละมื อ ผมโชคดี ไ ด้ เ ป็ น ผู้ ถื อ ผอบบรรจุ อั ฐิ ข องท่ า นบนรถตลอดทางจากดอนเมื อ งสู่ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จำ�ได้ว่าเมื่อมาถึงมหาวิทยาลัยฝนตกหนัก ลูกศิษย์ ลู ก หาที่ ท ราบข่ า วต่ า งมารอรั บ อย่ า งเนื อ งแน่ น จากนั้ น เราลงเรื อ ตำ � รวจน้ำ � ดำ�รงราชานุภาพ ไปลอยอังคารในอ่าวไทย ที่เล่ามานี้เพื่อจะบอกว่า สังคมไทยน่าจะให้การยอมรับ ปรีดี พนมยงค์ อี ก ครั้ ง หนึ่ ง เพี ย ง 20 กว่ า ปี เ ท่ า นั้ น และเกี ย รติ คุ ณ ของท่ า นได้ รั บ การฟื้ น ฟู อย่างจริงจังภายหลัง พ.ศ.2543 เมือ่ ยูเนสโกยกย่องท่านเป็นบุคคลสำ�คัญของโลก ในโอกาส 100 ปีชาตกาลรัฐบุรษุ อาวุโส ถึงทุกวันนี้ รูปปูนปัน้ อาจารย์ปรีดกี ม็ เี พียง 142
ไม่กี่แห่งและเกือบทั้งหมดอยู่ในรั้วธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นนัยว่าลึกๆ แล้ว ผู้มีอำ�นาจ ในสังคมยังไม่เปิดพื้นที่หรือยอมรับท่านอย่างทั่วถึง ผมเป็ น คนหนึ่ ง ที่ มี โ อกาสศึ ก ษาชี วิ ต ของอาจารย์ ป รี ดี ได้ สั ม ผั ส ท่ า น ผ่านท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ และลูกหลานมาหลายครั้งได้ถ่ายทอดเรื่องราว ของท่านเป็นตัวหนังสือ จึงพอจะเข้าใจชีวิตและความคิดของท่านพอสมควร ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ใหญ่ไม่กี่คนในชีวิตที่ผมสามารถก้มลงกราบได้อย่าง สนิ ท ใจ และหากมี โ อกาสไปธรรมศาสตร์ ค ราใด ก็ ไ ม่ ลื ม ที่ จ ะนำ � พวงมาลั ย ไปกราบท่าน สามัญชนผู้อยู่ในหัวใจของผมมาโดยตลอด
143
ปรากฏการณ์เฟอร์บี้
“เพื่อนของลูกเอาเฟอร์บี้มาโรงเรียน ในชั่วโมงวิทยาศาสตร์ อยู่ๆ เฟอร์บี้ ก็พดู ไม่หยุด ครูบอกว่าช่วยทำ�ให้มนั เงียบหน่อย เพือ่ นของลูกทำ�ยังไงมันก็ไม่เงียบ เธอเลยบอกคุณครูวา่ สงสัยต้องร้องเพลงให้มนั ฟัง ครูเลยสัง่ นักเรียนทัง้ ชัน้ ร้องเพลง ได้ผล เจ้าเฟอร์บี้หลับ ทำ�ให้เด็กในชั้นเริ่มเรียนหนังสือกันได้” “แล้วคอยดูเด็กไทยจะอีเดียตขึ้นทุกวัน พูดเป็นแต่ภาษาเฟอร์บี้ สบถกัน ทั้ ง วั น มี เ ฟอร์ บี้ ก็ ต้ อ งซื้ อ ไอโฟนเพื่ อ แปลงภาษา อี ก หน่ อ ย พู ด ไทยก็ ไ ม่ ชั ด อังกฤษก็ไม่ได้ เวลาทำ�ให้มันหยุดพูดไม่ได้ก็เริ่มหงุดหงิด ใช้ความรุนแรง ฝึกคำ�ด่า ภาษาอังกฤษกัน ดิฉันสังเกตมาเป็นเดือนแล้ว ไม่รู้ว่าพ่อแม่รังแกลูกหรือเปล่า” “น้องฝึกงานคนหนึ่ง ไม่มีตังค์กินข้าวนะคะ (สะตอเบอรี่มาก เพราะมัน หลอกให้หนูเลี้ยงข้าว) แต่แม่ม มีเงินซื้อเฟอร์บี้ อันนี้หนูโกรธจริง”
นี่คือส่วนหนึ่งของหลายๆ ความเห็นจากเฟซบุ๊กส่วนตัวของผู้เขียน ______________________________ 217
ชั่ ว โมงนี้ หลายคนคงรู้จักตุ๊กตานำ�เข้าจากเมือ งนอกที่ เรี ย กว่ า เฟอร์ บี้ (Furby) สัตว์เลี้ยงหุ่นยนต์รูปร่างหน้าตาเหมือนนกฮูกผสมกับหนู สูงประมาณ ห้ า นิ้ ว พู ด ได้ ขยั บ ตาได้ แ ละมี ป ฏิ กิ ริ ย าตอบสนองเหมื อ นสั ต ว์ เ ลี้ ย งจริ ง ๆ จนทำ�ยอดขายถล่มทลายไปทั่วโลก เฟอร์บี้สร้างความตื่นเต้นให้กับคนทั่วโลกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2541จากฝีมือ การผลิตของ Hasbro บริษทั ฝรัง่ ผูผ้ ลิตเครือ่ งเล่นรายใหญ่ของโลกมียอดขายสูงสุด ด้วยจำ�นวน 40 ล้านตัว ออกมาดังได้สักพักก็เงียบหายไปเพราะผู้คนเริ่มเบื่อ แต่ทางบริษทั ไม่ยอมให้ผลงานนีต้ ายไปง่ายๆ จึงได้ยกเครือ่ งเจ้าเฟอร์บใี้ ห้ทนั สมัย โดยลบจุดอ่อนของเฟอร์บใี้ นอดีตทีพ่ ดู คุยด้วยภาษาของมันเองทีเ่ รียกว่า เฟอร์บชิ ทำ�ให้คนเล่นมีความยากลำ�บากในการสื่อสารและไม่ค่อยสนุกกับมัน เฟอร์บี้รุ่นใหม่จึงมีระบบแปลภาษา ระบบควบคุม ระบบให้อาหารผ่าน แอพพลิเคชั่นในไอโฟนและไอแพด ทำ�ให้คนเล่นสามารถสั่งงานเฟอร์บี้ผ่าน ไอโฟนและไอแพดได้ง่ายดาย และยังมีดวงตาเป็นจอ LCD เรืองแสง มีเปลือกตา เปิด-ปิดได้ มีจะงอยปากเปิด-ปิดพร้อมกับแลบลิ้นกินอาหารได้ เวลาจะปลุก เฟอร์บี้ก็แค่ลูบตัวตามปกติ มันก็จะตื่นจากการหลับไหลขึ้นมาเล่นได้ หลั ง จากบริ ษั ท ผู้ ผ ลิ ต ส่ ง เฟอร์ บี้ รุ่ น ใหม่ อ อกมาตี ต ลาดของเล่ น ทั่ ว โลก ดูเหมือนว่าประเทศไทยกำ�ลังจะเป็นผู้นำ�เข้ารายใหญ่ล่าสุดของสินค้าชนิดนี้ ยอดขายภายในไม่กี่เดือนคงถล่มทลายเป็นเลขหลักหมื่น ตามการคาดการณ์ ของบริษทั ผูน้ �ำ เข้าว่า น่าจะสร้างยอดขายเฟอร์บมี้ ากกว่าสองหมืน่ ตัวคิดเป็นมูลค่า ประมาณ 200 ล้านบาท กลยุทธ์ทางการตลาดแบบเดิมๆ ทีเ่ ป็นจุดอ่อนของคนไทย คือการให้บรรดา เซเลบฯ นักร้อง นักแสดง พากันพกเฟอร์บี้ติดตัว ทำ�ท่าป้อนอาหาร คุยกับเค้า ทำ � ท่ า น่ า รั ก อะโนเนะคิ ก ขุ ถ่ า ยรู ป ลงในอิ น สตาแกรม เฟซบุ๊ ก สั ก พั ก ก็ เ ป็ น ไฟลามทุ่ง ใครที่ไม่มีเฟอร์บี้ ก็จะรู้สึกว่าไม่มั่นใจในการมีชีวิตอยู่ รู้สึกตัวเอง ตกเทรนด์ ตกกระแส ไม่เท่ ไม่ทันสมัย ต้องขวนขวายมาครอบครองให้ได้ ดังนั้น เพี ย งไม่ กี่ เ ดื อ นยอดขายเฟอร์ บี้ จึ ง ถล่ ม ทลาย บริ ษั ท ผู้ เ ป็ น ตั ว แทนจำ � หน่ า ย นำ�เข้ามาไม่พอกับความต้องการ วางขายเท่าใดไม่ถึงชั่วโมงก็หมด กลายเป็น ช่องว่างทำ�ให้เกิดการหิว้ ของเข้ามาจากเมืองนอก หนักเข้าก็กลายเป็นเฟอร์บเี้ ถือ่ น 218
นำ�เข้าจากเมืองจีนวางขายตามศูนย์การค้าชื่อดัง เฟอร์บี้ดังถึงขนาดตำ�รวจกลัวตกกระแส ต้องมาตามจับสินค้าเถื่อนชนิดนี้ ขณะที่ มี สิ น ค้ า เถื่ อ นมากมายวางขาย แต่ ก็ เ ลื อ กจั บ เฉพาะสิ น ค้ า ชนิ ด นี้ โดยวันวาเลนไทน์ที่ผ่านมา ตำ�รวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำ�ความผิด เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จับผู้จำ�หน่ายตุ๊กตาเฟอร์บี้จากเมืองจีนที่ไม่ได้รับ มาตรฐานอุตสาหกรรมในห้างสรรพสินค้าย่านปทุมวันได้จ�ำ นวน 20 ตัว โดยตำ�รวจ ระบุว่าหากผู้บริโภคซื้อสินค้าไปอาจได้รับอันตรายได้ เนื่องจากสินค้าดังกล่าว มีวงจรไฟฟ้า ตุ๊กตาเฟอร์บี้ตัวละสี่ห้าพันบาทที่กำ�ลังฮิตอยู่ตอนนี้ คงไม่ต่างจากเฟซบุ๊ก หรือไลน์ ทีป่ ระเทศไทยมีอตั ราการเจริญสูงสุดในโลก คืออะไรทีเ่ ป็นเรือ่ งของกระแส เทรนด์ แฟชั่น ความทันสมัย คนไทยเป็นที่หนึ่งตลอดมา ใส่ใจนำ�เข้าสิ่งเหล่านี้ จากเมืองนอก ไม่ว่าจะเป็นฝรั่ง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ โดยมีบรรดาเซเลบฯ ดารา นักร้องเป็นตัวขับเคลื่อนสินค้า หรือเป็นเทพบุตรเทพธิดาตัวจริงที่คนจำ�นวนมาก พากันตามเห่อเลียนแบบ น่าสงสัยว่า คนในประเทศอินเดีย มาเลเซีย ไต้หวัน ที่สามารถสร้าง นวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ของตัวเองขึ้นมาได้ สร้างสินค้า สร้างแบรนด์ตัวเอง มีรากของตัวเอง จึงมักไม่ค่อยวิ่งตามกระแสความทันสมัย แฟชั่นแบบคนไทย เราไม่เคยเห็นข่าวว่าประเทศเหล่านี้ขึ้นอันดับหนึ่งในการนำ�เข้าความทันสมัย จากต่างประเทศ เพราะดู เ หมื อ นพวกเขามั ก จะไม่ เ สี ย เวลากั บ การอั พ โหลดสติ๊ ก เกอร์ ลงในไลน์ หรือเสียเวลาเลี้ยงเฟอร์บี้ ไม่สั่นคลอนกับพฤติกรรมของบรรดาเซเลบฯ ดารา นักร้อง มากเท่ากับคนไทยยุคใหม่ ที่ปล่อยเวลาผ่านไปอย่างน่าตกใจ
คำ�ตาม
“อาทิตย์อาบขุนเขา เช้าตรู่วันหนึ่งในฤดูหนาว ขณะนั่งเรือออกจากเกาะ ฮอกไกโดมุ่งออกมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก พลันเรามองย้อนกลับเข้ามา บนฝั่ง แสงสีทองแห่งอรุณฉาย ค่อยๆ อาบขุนเขายะเยือกอันปกคลุมด้วยหิมะ สีขาวและต้นไม้ที่ปลิดใบยืนสู้ความหนาวเหน็บ เห็นชัดเจนว่า แสงอาทิตย์ค่อยๆ ปลุกสรรพสิ่งให้ตื่นจากรัตติกาล ยามแสงสีทองอาบไปบริเวณใด ความมีชีวิตชีวา ดูจะเริ่มขึ้น และคอยขับไล่ความมืดมน ดูแสงอาทิตย์อาบขุนเขาให้สว่างสดใส ใครจะมาอาบอาทิตย์ให้ผู้คนยามมืดมน” วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
เกี่ยวกับผู้เขียน วั น ชั ย ตั น ติ วิ ท ยาพิ ทั ก ษ์ เกิ ด เมื่ อ วั น ที่ 28 มกราคม พ.ศ.2504 เป็นชาวสีลมโดยกำ�เนิด เข้าเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ตั้งแต่ชั้น ป.1 ได้หมายเลขประจำ�ตัว 23937 จำ�ได้ว่าวันที่สอบเข้าโรงเรียนเกิดป่วยเป็นหัดเยอรมัน แม่ต้องหิ้วข้าวต้ม พาไปนัง่ ทำ�ข้อสอบในหอประชุมสุวรรณสมโภช หอประชุมไม้สกั เก่าแก่ทสี่ วยทีส่ ดุ แห่งหนึ่งในประเทศ (ปัจจุบันถูกผู้บริหารชุดใหม่ทุบทิ้งเพื่อสร้างอาคารสูง) เรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญรวดเดียวจนถึงชั้น มศ.5 ตอนอยู่ชั้น ป.7 ก็เริ่ม ทำ�กิจกรรมโดยไปช่วยครูประทีป อึ้งทรงธรรม (ซึ่งขณะนั้นยังเรียนหนังสืออยู่ที่ วิทยาลัยครู และยังไม่ได้รับรางวัลแมกไซไซ) สอนหนังสือที่สลัมคลองเตย พอขึ้น ชัน้ มศ.1 ก็หนีพอ่ แม่ไปค่ายสร้างโรงเรียนของกลุม่ อัสสัมชัญอาสาพัฒนาทีจ่ งั หวัด สุรินทร์เป็นเวลาเกือบเดือนและกลายเป็นชาวค่ายสร้างโรงเรียนในชนบททุกช่วง ปิดเทอมใหญ่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนจบการศึกษาจากโรงเรียน ขณะเดี ย วกั น สมั ค รเป็ น นั ก ดนตรี ว งดุ ริ ย างค์ ข องโรงเรี ย น เป่ า ปี่ ห รื อ คลาริเน็ตเสียงหนึ่งมาตลอด และยังได้ร่วมเป็นกองบรรณาธิการของ อัสสัมชัญ สาส์น วารสารรายเดือนของโรงเรียนซึ่งมีพระไพศาล วิสาโล รุ่นพี่อัสสัมชัญ เป็นสาราณียกร และเคยเป็นกองบรรณาธิการนิตยสารวิชาการชื่อดังในเวลานั้น คือ ปาจารยสาร รวมทั้งเคยพยายามส่งเรื่องไปที่ ชัยพฤกษ์การ์ตูน แต่ก็ไม่เคย ได้ตีพิมพ์เลย
ตอนอยู่ชั้น มศ.3 ไปร่วมประท้วงขับไล่พระถนอมและอยู่ในธรรมศาสตร์ จนถึ ง ตี ห นึ่ ง ของวั น ที่ 6 ตุ ล าคม พ.ศ.2519 ก่ อ นที่ จ ะเริ่ ม มี ก ารระดมยิ ง กั น ในเวลาต่อมา พอกลับบ้าน พ่อแม่เอาเข็มขัดฟาดด้วยความเป็นห่วงลูกชายที่จาก บ้านไปไม่บอกกล่าว เมื่อกลับไปเรียนหนังสือก็ถูกครูกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ พอขึ้นชั้น มศ.5 รับตำ�แหน่งสาราณียกร อุโฆษสาร หนังสือประจำ�ปี ของโรงเรียน ช่วงปลายปีทางบ้านประสบปัญหาคุณพ่อล้มละลาย จึงต้องหาเลี้ยง ตัวเองด้วยการเป็นครูสอนพิเศษแก่เด็กชั้นประถม ปี 2522 สอบเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิชาวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ ในช่วงนั้นหารายได้ด้วยการเป็นลูกจ้างของบริษัทเคล็ดไทย ทำ � หน้ า ที่ แ บกหนั ง สื อ ไปส่ ง ตามร้ า นค้ า และทำ � กิ จ กรรมในรั้ ว มหาวิ ท ยาลั ย มาโดยตลอด ได้แก่ เป็นสมาชิกของชุมนุมศิลปะการแสดง เขียนบทและกำ�กับ ละคอนและงิ้วการเมือง และทำ�หน้าที่ฝ่ายโค้ดของชุมนุมเชียร์ในงานฟุตบอล ประเพณีจฬุ า-ธรรมศาสตร์ ซึง่ ได้ท�ำ สิง่ ทีภ่ มู ใิ จทีส่ ดุ คือการแปรอักษรภาพอาจารย์ ปรีดี พนมยงค์ เมื่อ พ.ศ.2526 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของเมืองไทยในรอบ 30 กว่าปี ทีม่ กี ารแสดงความเคารพท่านในทีส่ าธารณะ จนอาจารย์ปรีดมี จี ดหมายจากฝรัง่ เศส แสดงความขอบคุณที่ยังระลึกถึงท่านอยู่ หลังจบการศึกษา ได้เข้าทำ�งานในกองบรรณาธิการวารสาร เมืองโบราณ ต่อมาได้ร่วมก่อตั้งนิตยสาร สารคดี ในปี 2528 และดำ�รงตำ�แหน่งบรรณาธิการ ตัง้ แต่ปี 2533-2553 ก่อนจะมาดำ�รงตำ�แหน่งรองผูอ้ �ำ นวยการองค์การกระจายเสียง และแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS) จนถึงปัจจุบนั วันชัย เขียนสารคดี ขนาดยาวมาแล้วไม่น้อยกว่า 100 ชิ้น และมีผลงานรวมเล่มไม่ต่ำ�กว่ายี่สิบเล่ม ปัจจุบันนอกจากงานประจำ�แล้ว ยังดำ�รงตำ�แหน่งประธานชมรมนักข่าว สิ่ ง แวดล้ อ ม สมาคมนั ก ข่ า วนั ก หนั ง สื อ พิ ม พ์ แ ห่ ง ประเทศไทย, รองประธาน มูลนิธิโลกสีเขียว, รองประธานมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร, เป็นผู้บรรยายพิเศษ ในสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นคอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์ มติชน, กรุงเทพธุรกิจ ใช้นามปากกาว่า ‘วันชัย ตัน’ เป็นคนทีม่ คี วามเชือ่ ว่า การใช้ชวี ติ ให้มคี วามสุขควรประกอบไปด้วยสามสิง่ คือ ทำ�งานที่ใจรัก ช่วยเหลือคนรอบข้าง และเดินทางท่องเท่ี่ยว
เกี่ยวกับผู้วาด แจน-สมฤดี ดอยแก้วขาว จบจากคณะมัณฑนศิลป์ ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันทำ�งานเป็น Freelance Illustrator & Graphic Designer ติดตามผลงานภาพประกอบได้ที่ นิตยสาร a day : คอลัมน์ ‘follow me’ และคอลัมน์ ‘เมื่อคุณลุงคุณป้ายังเด็ก’ www.portfolios.net/profile/somrudee E-mail by.see_d@hotmail.com, sdisjan@gmail.com
ข้อมูลการตีพิมพ์ครั้งแรก นราธิวาสที่รัก / สารคดี / กรกฎาคม 2554 วันแม่ / สารคดี / สิงหาคม 2554 เขื่อนแก่งเสือเต้น การหากินบนคราบน้ำ�ตาของชาวบ้าน / มติชน / สิงหาคม 2554 ประชานิยมกับสังคมคาร์บอนต่ำ� / มติชน / กันยายน 2554 เหตุเกิดที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ / กรุงเทพธุรกิจ / กันยายน 2554 น้ำ�ท่วม ดินถล่ม และ อบต. / มติชน / ตุลาคม 2554 การเมืองเรื่องน้ำ�ท่วม / มติชน / ตุลาคม 2554 ปรัชญาจากน้องน้ำ� / กรุงเทพธุรกิจ / พฤศจิกายน 2554 การปรับตัวครั้งใหญ่ / กรุงเทพธุรกิจ / ธันวาคม 2554 ครั้งหนึ่งกับเรือบรรทุกเครื่องบิน USS George Washington / สารคดี / ตุลาคม 2554 สิงคโปร์วันนี้ / สารคดี / ธันวาคม 2554 วิกฤติน้ำ�ท่วม 2554 บทเรียนและแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ / สารคดี / ธันวาคม 2554 ความฝันของคนปั้นซูชิ / สารคดี มกราคม 2555 กระเช้าภูกระดึงกับการท่องเที่ยวแบบแดกด่วน / กรุงเทพธุรกิจ / มกราคม 2555 ชีวิตนักดนตรีวงโยธวาทิต / กรุงเทพธุรกิจ / กุมภาพันธ์ 2555 หมอกควันภาคเหนือกับ CSR ของบริษัทยักษ์ใหญ่ / กรุงเทพธุรกิจ / มีนาคม 2555 โครงการผีดิบ สร้างเขื่อน ทำ�ลายป่า / กรุงเทพธุรกิจ / เมษายน 2555 แวนคูเวอร์ สวรรค์สำ�หรับจักรยาน / สารคดี / เมษายน 2555 อ้ายพวกนักอนุรักษ์ / สารคดี / พฤษภาคม 2555 ‘กะดีจีน ศิลป์ 3 ท่า’ ขอคารวะผู้จัดงาน / สารคดี / ธันวาคม 2555 ยิ่งดูดาว ตัวตนยิ่งเล็กลง / กรุงเทพธุรกิจ / มิถุนายน 2555 ความทรงจำ�กับอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ / สารคดี / มิถุนายน 2555 ความจริงของโลกร้อน / กรุงเทพธุรกิจ / กรกฎาคม 2555
เจตจำ�นงของแพ็กการ์ด / สารคดี / กรกฎาคม 2555 ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ควรทำ�อะไร / กรุงเทพธุรกิจ / พฤศจิกายน 2555 จากบรูด้าถึงออร์ก้า และนักท่องเที่ยวไทย / สารคดี / สิงหาคม 2555 ช่างทาสี / กรุงเทพธุรกิจ / กันยายน 2555 เดินตามรอยเท้าวันสุดท้ายของคานธี / สารคดี / กันยายน 2555 36 ปี 6 ตุลาคม 2519 กับข้าพเจ้า / สารคดี / ตุลาคม 2555 แซลมอนจีเอ็มโอ / กรุงเทพธุรกิจ / ตุลาคม 2555 สวนสาธารณะมักกะสัน หรือ มักกะสันคอมเพล็กซ์ / กรุงเทพธุรกิจ / พฤศจิกายน 2555 ดนตรีคลาสสิกให้อะไร / สารคดี / พฤศจิกายน 2555 ห้าปี มด-วนิดา / กรุงเทพธุรกิจ / ธันวาคม 2555 จุดจบของคานธีแม่-ลูก / สารคดี / ธันวาคม 2555 กระเช้าเชียงดาว นายแน่มาก / กรุงเทพธุรกิจ / มกราคม 2556 ครั้งหนึ่งกับท่านทะไลลามะ / สารคดี / มกราคม 2556 ปรากฏการณ์เฟอร์บี้ / กรุงเทพธุรกิจ / กุมภาพันธ์ 2556 ไฟแดงและการรอคอย / กรุงเทพธุรกิจ / มีนาคม 2556 ผู้ว่าฯ กทม. ทางจักรยาน และสวนสาธารณะ / สารคดี / กุมภาพันธ์ 2556 ครั้งหนึ่งกับอาจารย์ป๋วย / สารคดี / มีนาคม 2556 บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ ‘หนี้ที่ใช้คืนไม่หมด’ / สารคดี / พฤษภาคม 2556 ครั้งหนึ่งกับรถไฟญี่ปุ่น / สารคดี / พฤษภาคม 2556 ความในใจของนักอนุรักษ์ / สารคดี / มิถุนายน 2556 งานวิจัยสร้างชาติ / กรุงเทพธุรกิจ / มิถุนายน 2556 ธีรภาพ โลหิตกุล กับรางวัลศรีบูรพา / กรุงเทพธุรกิจ / พฤษภาคม 2556 เราเห็นอะไรบนยอดเขา / กรุงเทพธุรกิจ / กรกฎาคม 2556 Dead as a Dodo / สารคดี / กรกฎาคม 2556