Lonely Me, Lonely You [PREVIEW]

Page 1


Lonely Me,

Lonely You

วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม หนังสือในชุด Life & Inspiration ลำ�ดับที่ 008 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-047-4 พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2557 ราคา 235 บาท

ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม. Lonely Me, Lonely You. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2557. 272 หน้า. 1.ความเรียง. I. blow & flow, ผู้วาดภาพประกอบ. II. ชื่อเรื่อง. 895.914 ISBN 978-616-327-047-4

ในกรณีที่หนังสือมีตำ�หนิจากการพิมพ์ หรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือนั้นกลับมา ทางสำ�นักพิมพ์จะเปลี่ยนให้โดยไม่มีเงี่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น


ที่ปรึกษา บรรณาธิการที่ปรึกษา บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการเล่ม ผู้ช่วยบรรณาธิการ อาร์ตไดเร็กเตอร์/ออกแบบปก/รูปเล่ม กราฟิกดีไซเนอร์ กราฟิกดีไซเนอร์ ภาพประกอบ/ภาพปก เลขานุการ พิสูจน์อักษร กองบรรณาธิการ การตลาด ประสานงานการผลิต ดิจิทัลคอนเท็นต์มาสเตอร์ ผู้จัดการทั่วไป ผู้ช่วยผู้จัดการ ธุรการ ลูกค้าสัมพันธ์ เว็บมาสเตอร์

สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ภูมิชาย บุญสินสุข จิราภรณ์ วิหวา สุรเกตุ เรืองแสงระวี บพิตร วิเศษน้อย เพกา เจริญภักดิ์ เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ blow & flow พิมพ์นารา มีฤทธิ์ ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์ เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ วิศรุต วิสิทธิ์ จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ณัฐรดา ตระกูลสม นริศรา เปยะกัง จุฬชาติ รักษ์ใหญ่

สำ�นักพิมพ์ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 3 ซอยเจริญมิตร ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2726-9996 ต่อ 22 โทรสาร 0-2726-9996 ต่อ 22 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing แยกสีและพิมพ์ ห้างหุ้นส่วน จำ�กัด ภาพพิมพ์ โทรศัพท์ 0-2433-0026-7 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609


Introduction—

เราบ่นว่า ‘เหงา’ กันบ่อยขึ้นไหม? เรามีเมืองอันแสนคึกคัก มีสังคมที่เคลื่อนไหวตลอด 24 ชัว่ โมง มีโลกโซเชียลเน็ตเวิรก์ ทีเ่ ชือ่ มคนหลักล้านให้เจอกัน ได้ ง่ า ยๆ มี อุ ป กรณ์ สื่ อ สารที่ ส ามารถพู ด คุ ย โต้ ต อบกั น อย่างรวดเร็วฉับพลัน และมีอะไรต่อมิอะไรน่าตื่นตาตื่นใจ ทีม่ ากับยุคสมัยด่วนจี๋ แต่ท�ำ ไม โลกทีแ่ ทบจะไม่อนุญาตให้เรา ได้ อ ยู่ ค นเดี ย วใบนี้ ยั ง มีห น้ามาสร้างความเหงาให้กับ เรา ไม่รู้จักหยุดจักหย่อน และอาจจะมากเกินกว่ายุคสมัยที่โลก ยังไม่มีไฟฟ้า และนกพิราบสื่อสารยังบินมาไม่ถึงด้วยซ้ำ� เทคโนโลยี อ าจจะเป็ น ตั ว การ, ความซั บ ซ้ อ นของ ยุคสมัยอาจเป็นเหตุผล, มนุษย์ด้วยกันอาจเป็นต้นตอ ฯลฯ มีคำ�ตอบหลากหลายหากเราถามว่าทำ�ไม เหมือนที่เรามัก


จะมีเหตุผลมากมายเมื่อต้องอธิบายสิ่งที่เราเป็น ฉันเหงา เพราะท่ามกลางผู้คนมากมาย กลับไม่มีแม้ ใครสักคนที่เข้าใจ ฉัน, เธอเหงา เพราะคนเดียวที่เธอต้องการ ไม่ต้องการจะอยู่ กับเธอ, เขาเหงา เพราะไม่มแี ม้แต่ใครสักคนให้เขาคิดถึง ฯลฯ แต่ ไ ม่ ว่ า จะด้ ว ยเหตุ ผ ลหรื อ ข้ อ อ้ า งใด สิ่ ง ที่ อ าจจะสำ � คั ญ มากกว่ า (หรื อ อย่ า งน้ อ ยก็ ช่ ว ยชี วิ ต เราได้ ม ากกว่ า ) ก็ คื อ แล้วเราจะอยู่บนโลกที่ เธอก็เหงา-ฉันก็เหงา ได้ ‘อย่างไร’ ต่างหาก Lonely Me, Lonely You คือผลงานรวมบทบรรณาธิการ คัดสรรลำ�ดับที่ 3 จากนิตยสารรายสัปดาห์ a day BULLETIN ของ วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม ซึ่งต่อเนื่องจากสองเล่มขายดีอย่าง If You Care Enough และ Everybody Hurts สำ�หรับแฟนๆ


ของวิไลรัตน์ คงรู้จักมักคุ้นกับมุมมองต่อชีวิตในเรื่องต่างๆ ทีเ่ ธอเลือกหยิบจับมาเล่า และสนิทสนมกับวิธกี ารทีเ่ ธอค่อยๆ ตั้งคำ�ถาม ชวนคนอ่านหาคำ�ตอบ และเสนอมุมคิดที่อาจจะ แตกต่ า งไปจากที่ เ คยเชื่ อ กั น ซึ่ ง ความสนุ ก ของการอ่ า น ตัวหนังสือของวิไลรัตน์ก็คือ เราจะได้ถกเถียง ได้คล้อยตาม หรือได้สะอึกกับสำ�นวนจี้ใจดำ�แบบไม่ปรานีใคร ในหน้ า ถั ด ไปของหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ก็ ยั ง คงเป็ น เช่ น นั้ น วิไลรัตน์หยิบเอาเรือ่ งใกล้ตวั ทีเ่ ราต่างต้องพบเจอ ไม่วา่ จะเป็น เรื่องความรัก ความสัมพันธ์ ความใฝ่ฝัน การทำ �งาน และ การใช้ชวี ติ มาบอกเล่า หากแต่เรือ่ งเดิมๆ เหล่านี้ กลับมีแง่มมุ ให้เราเลือกเรียนรู้และเข้าใจได้ไม่เคยซ้ำ� เหมือนวันแต่ละวัน ของชีวิตที่คล้ายจะเหมือนเดิม แต่ไม่เคยจะเหมือนกันสักที


และในยุคสมัยแห่งความเหงาอย่างทุกวันนี้ หนังสือชือ่ Lonely Me, Lonely You มีคำ�ถามชวนคิด ที่เอื้อให้ผู้อ่าน แต่ละคนได้มคี �ำ ตอบว่าจะทำ� ‘อย่างไร’ กับความเหงาของตัวเอง คำ�ตอบที่ได้อาจไม่ทำ�ให้หายเหงาเป็นปลิดทิ้ง แต่ อย่างน้อย เราทุกคนจะอยูก่ บั ความเหงาได้อย่างเข้าใจมากขึน้ เพราะเมือ่ พูดกันถึงเรือ่ งชีวติ แล้ว ไม่มอี ะไรจะดีไปกว่า ความเข้าใจ

จิราภรณ์ วิหวา บรรณาธิการเล่ม


Preface—

บรรยากาศความหม่นเศร้า เปลี่ยวเหงา ที่ห่มคลุมอยู่ ในภาพยนตร์ ข องผู้ กำ � กั บ ชื่ อ ดั ง อย่ า ง หว่ อ งกาไว ทำ � ให้ คอหนังจำ�นวนมาก อุทศิ พืน้ ทีใ่ นหัวใจให้กบั ผูก้ �ำ กับภาพยนตร์ คนนี้อย่างไร้แรงต้านทาน ครั้งหนึ่งที่ยังอยู่ในช่วงของการ แสวงหาภาพยนตร์ดีๆ เสพ ยอมรับว่าเราเองก็เคยนิ่งงัน ไปกับบทสนทนา วิถีทางของตัวละครในเรื่อง มุมกล้องที่ทิ้ง พืน้ ทีเ่ วิง้ ว้างและบางครัง้ ก็ใกล้ชดิ อย่างประหลาดของตากล้อง อย่าง คริสโตเฟอร์ ดอยล์ เหล่านี้เป็นเหตุผลที่เพียงพอแล้ว ที่เราจะตามหาหนังของหว่องกาไว อีกหลายต่อหลายเรื่อง มาดูอย่างคลั่งไคล้ South of the Border West of the Sun, Norwegian Wood,1Q84 และหนังสืออีกจำ�นวนมากของ ฮารูกิ มูราคามิ ก็ ต กอยู่ ใ นประเภทสิ่ ง เสพติ ด สำ � หรั บ คนที่ ช อบงานเขี ย น ทีก่ อ่ ให้เกิดอารมณ์เหงาลึก เคว้งคว้าง เดียวดาย ใช้ชวี ติ ราวกับ


สิน้ ไร้เหตุผล เตลิดเปิดเปิงไปกับอารมณ์ของคนที่ไร้สง่ิ ยึดเหนีย่ ว อยากปฏิเสธความเจ็บช้ำ� แต่ก็อดยอมรับไม่ได้ว่ามันเป็น ความงดงาม คงไม่ผิดไปจากความจริงนักหากจะเชื่อว่า ในบรรดา แฟนคลับของนักเขียนและผูก้ ำ�กับภาพยนตร์ทเี่ รากล่าวถึงนัน้ ส่วนใหญ่หรือเกินครึ่ง ก็คือคนเมือง กระแสเหงาแต่งาม ช้ำ� แต่เท่ ถูกจุดขึน้ มาได้และแพร่กระจายราวไฟโหมป่า ส่วนหนึง่ ต้องยอมรับว่ามีหัวใจของคนเมืองเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี เหตุผล หนึง่ ก็เพราะ คนเมืองมีความเหงาทีอ่ ดั แน่นพร้อมจะปะทุทนั ที ทีป่ ะทะกับบรรยากาศหรือสิง่ แวดล้อมพอเหมาะพอดี Herbert Prochnow ให้นยิ ามเมืองใหญ่ได้อย่างสะท้านสะเทือนอารมณ์ ว่า ‘A city is a large community where people are lonesome together.’ ชุมชนขนาดใหญ่ ทีม่ คี นเต็มไปด้วยความเปลีย่ วเหงา มาอยูร่ ว่ มกัน ทีน่ น่ั เรียกว่าเมืองจริงหรือ? มันก็อาจไม่มคี �ำ อธิบาย


เป็ น อย่ า งอื่ น เพราะแต่ ไ หนแต่ ไรมา เมื อ งและคนเมื อ ง ก็ลว้ นก่อความเหงาทีส่ ะท้อนใส่กนั และกันมาตลอด แม้จะอยู่ ใกล้ ชิ ด กั น จนแลดู แ ออั ด แต่ ก็ มี ค วามอ้ า งว้ า ง โดดเดี่ ย ว ล่องลอยคั่นขวาง เมื่ อ เหงา เราหั น หน้ า เข้ า หาที่ ที่ มี ค นจำ � นวนมาก อยู่ด้วยกัน เพราะเชื่อว่า จำ�นวนคนยิ่งมาก ยิ่งหักกลบลบ ความเหงาได้มาก แม้จะมีบางครัง้ ทีเ่ ป็นเช่นนัน้ จริง แต่บอ่ ยครัง้ เราก็ลืมไปว่า เมื่อทุกคนล้วนอัดแน่นล้นปรี่ไปด้วยความเหงา การมาอยูร่ วมกัน ก็อาจไม่ตา่ งไปจากการเอาความเหงามาเท รวมกั น แล้ ว ทุ ก คนก็ ว่ า ยวน และดิ่ ง จมไปในความเหงา อย่างฉุดดึงไม่ขน้ึ เมือ่ เหงา เราหันหน้าไปคุยกับผูค้ นจำ�นวนมาก ในโลกออนไลน์ ที่การันตีว่าเราจะมีเพื่อนมากขึ้น และเป็น พื้นที่ให้เรารู้จักคนมากขึ้น แต่ไม่ได้การันตีว่า ในจำ�นวนนั้น มีเพื่อนที่พร้อมจะเป็นเพื่อนในความหมายที่ลึกซึ้งสักกี่คน


และเมื่อออฟไลน์ไม่เจอกันแล้ว ความเป็นเพื่อนยังหลงเหลือ อยู่หรือไม่ คนเมืองเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้ความเหงาเปลือง มีคนเคย นิยามไว้แบบนั้นในวงสนทนา ไม่ใช่ว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ แต่ที่ สำ�คัญกว่านัน้ เรามองเห็นชีวติ คนเมืองไม่นอ้ ยที่ใช้ความเหงา ทำ�ร้ายกัน นอกจากใช้ความเหงาเปลืองแล้ว ยังใช้หวั ใจเปลือง และใช้น้ำ�ตาเปลือง ไปพร้อมๆ กันด้วย เมือ่ ต้องจัดประเภทคนเมืองโดยมีความเหงาเป็นพืน้ ฐาน จึงแบ่งได้คร่าวๆ ว่า คนเมืองประเภทหนึ่ง จัดการกับความ เหงาด้วยการวิ่งหนี เมื่อเหงา ก็วิ่งหนีความรู้สึกนี้จนเคยชิน ละเลยที่จะหยุดสำ�รวจตรวจสอบว่า เหงาเพราะอะไร เมื่อไม่ เคยสำ�รวจ ก็ไม่เคยเข้าใจความเหงา และไม่เคยเข้าใจตัวเอง คนเมืองอีกประเภทคือ ประเภทที่ชื่นชมความเหงา และวิ่ง เข้าใส่ความเหงาแบบไม่รกั ตัวกลัวตาย ท้าทายความโดดเดีย่ ว


ไม่เปิดพืน้ ที่ให้คนอืน่ เข้าไปใกล้ชดิ คนแบบนีก้ เ็ ลยเข้าใจตัวเอง มากจนไม่เข้าใจคนอื่น เราทุกคนล้วนโดดเดีย่ วเปลีย่ วเหงาไม่ทางใดก็ทางหนึง่ ในเมืองใหญ่มคี นมากมายเดินสวนกัน แต่ไม่ใช่ทกุ คนทีพ่ ร้อม จะเดินเคียงข้างกัน ระหว่างที่ยังไม่เจอใครคนนั้น หลายคน หวั ง เพี ย งว่ า ขอให้ ตั ว เองแกร่ ง กล้ า รั บ มื อ กั บ ความรู้ สึ ก โดดเดี่ ย วได้ ย าวนานพอ แกร่ง และทนแดดทนฝนเหมื อน ตึกรามบ้านช่องทีผ่ ดุ เต็มเมือง แต่อย่าหยาบกระด้างเหมือนมัน และถ้าไม่หวังมากจนเกินไป เราก็อยากขอใครสักคน มาร่ ว มแบ่ ง ปั น ความรู้ สึ ก และมาเติ ม เต็ ม ชี วิ ต ให้ ท รมาน น้อยลง พูดอย่างตรงไปตรงมา เราก็ลว้ นอยากหันไปเจอคนที่ เราอยู่ใกล้แล้วไม่อึดอัด ไม่ขยับหนีเมื่อถูกรุกล้ำ�พื้นที่ส่วนตัว ผลวิจยั ทางจิตวิทยาบอกว่า เราต่างมีพน้ื ทีส่ ว่ นตัวทีร่ สู้ กึ ไม่อยาก ให้ใครเข้าใกล้เกินสีฟ่ ตุ โดยเฉลีย่ หรือทีผ่ า่ นมาเราต่างถูกสาป ให้อยู่ในพื้นที่แค่นั้น


ชีวิตเป็นเรื่องที่เกินกว่าจะคาดเดา และความเหงา ก็เป็นคล้ายๆ กันตรงที่คาดเดาได้ยากว่าจะมาเมื่อไหร่ และ จะสิ้นสุดตอนไหน ท่ามกลางคนจำ�นวนมากมาย วันหนึ่ง ความคุน้ เคยอาจเปลีย่ นคนแปลกหน้าให้กลายเป็นคนใกล้ชดิ แต่ ค วามใกล้ ชิ ด จนอึ ด อั ด ก็ อ าจแปรเปลี่ ย นให้ ค นใกล้ ชิ ด คล้ายเป็นคนแปลกหน้า จะมากจะน้ อ ย จะดี จ ะร้ า ย คนเราก็ ไ ม่ อ ยากถู ก ความเหงาทำ�ร้าย และอยากเป็นคนสุดท้ายที่ต้องตายเพราะ ความเหงา คนโชคดีอาจไม่ใช่คนไม่เหงาเลย แต่เป็นคนที่มี ใครสักคนอยู่เคียงข้างนานพอที่จะทำ �ให้เขานึกไม่ออกว่า ความเหงาคร้ังสุดท้ายคือเมื่อไหร่ วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม


Contents—

Remember How You Feel

What If We Felt No Pain?

02—

03—

019

025

031

05—

06—

01—

04—

In And Out

What Makes Your Life Easier

Another Year I’ve Learned

As Each Day Goes On

037

043

049

08—

09—

07—

From Time To Time

Passion Comes With Patience

The Power Of Rejection

055

063

069


10—

11—

12—

When Oppotunity Knocks

I Wish I Knew

Life As An Experiment

077

083

091

13—

14—

15—

Being Realistic Is The Real Happiness

The Remains Of The Day

Life’s Most Important Lessons

099

107

113

17—

18—

16—

Living A Life As An Art

Freedom From What?

The Pointless Species?

121

127

135


19—

20—

21—

Like And Unshare

Same View Different Way

The Sea Of Life

143

151

159

22—

23—

24—

Wish You Have A Safe Drive

Somewhere Only You Know

Real Life Along The Rail

167

173

181

25—

26—

27—

Our Best Money Tool

The Latest Gadget We Need

Please Leave Me Alone

187

195

203


28—

29— Slow News Day

Rhythm Of Caring

211

219

227

31—

32— Face To Face

It’s Time To Land

235

243

251

34—

35—

The FoMO (Fear Of Missing Out)

Looking In The Same Direction

Finally Found Something And Someone

Rest Your Tired Eyes

257

263

30—

33—



07—

From Time

To Time


24 ชั่วโมงที่ผ่านไปในแต่ละวันของมนุษย์ยุคดิจิทัล ดูเหมือนจะผ่านไปได้ ในชัว่ พริบตาเดียว ซึง่ อาจจะเป็นเพราะว่า มีเรือ่ งมากมายให้เราต้องทำ�และต้องรับผิดชอบในเวลาเดียวกัน จนเงยหน้าขึ้นมาก็หมดไปอีกวันแล้ว ส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าเพราะเรามีเทคโนโลยีเจ๋งๆ มากมายที่คนเราแข่งกันสร้างขึ้นมาเพื่ออำ�นวยความสะดวก ให้ กั บ ชี วิ ต มนุ ษ ย์ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง มนุ ษ ย์ ใ นยุ ค นี้ ซึ่ ง มี จุดอ่อนร่วมกันอย่างหนึ่งคือชอบความรวดเร็ว ทันใจ เราจึง พากเพี ย รหาวิ ธี ป ระหยั ด เวลาที่ อ าจเสี ย ไปโดยไม่ จำ � เป็ น จนแทบจะกลายเป็ น โรคบ้ า การประหยั ด เวลาไปในที่ สุ ด แต่สุดท้ายเราก็ยังบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าเราไม่มีเวลา ทั้งที่ จริงๆ แล้วเรามี แต่เราไม่มวี ธิ ีใช้เวลาทีม่ ปี ระสิทธิภาพต่างหาก 24 ชั่ ว โมงของคนคนหนึ่ ง ที่ ใช้ เวลาเป็ น จึ ง ต่ า งกั น ลิ บ ลั บ 56—


กับคนทีม่ เี วลาเท่ากันแต่ ใช้ ไม่เป็น แถมยังหลงคิดไปว่ามีเวลา เหลือเฟือ เพื่อที่คนคนเดียวกันนั้นจะเงยหน้ามาบ่นในอีก ไม่กี่ชั่วโมงถัดมาว่าทำ�ไมมีเวลาน้อยเหลือเกิน บางทีเราอาจต้องมาตั้งสติกันใหม่กับเรื่องของการ ใช้เวลาว่า เวลาเป็นสิ่งที่เราจำ�เป็นต้องใช้และต้องหมดไป ไม่วา่ คุณจะอยากใช้หรือไม่ เวลาก็ตอ้ งเดินไปข้างหน้าจนหมด 24 ชั่วโมงของมันไปในแต่ละวัน หมดแล้วหมดเลย ไม่ใช่สิ่งที่ ไม่ใช้วันนี้แล้วเก็บไว้ ใช้วันพรุ่งนี้ได้อีก และคุณก็ไม่สามารถ หยุ ด เวลาไม่ ใ ห้ เ ดิ น หน้ า ในยามที่ คุ ณ ไม่ จำ � เป็ น ต้ อ งใช้ คนเราจึ ง ควรสนใจให้ ม ากๆ ว่ า เราจะใช้ เวลา 24 ชั่ ว โมง หรือ 1,440 นาทีต่อวันไปกับอะไร หรือถ้าคิดว่ามันเป็นเงิน 1,440 บาท เราจะลงทุนไปกับอะไรบ้างถึงจะได้กำ�ไรมากกว่า ขาดทุน อย่ า งที่ บ อกไว้ ต อนต้ น ว่ า เพราะเรามี เรื่ อ งต้ อ งทำ � มากมาย คนเราจึงมักจะหาวิธีสารพัดที่จะช่วยประหยัดเวลา เพราะเชื่อว่าถ้าใช้เวลากับเรื่องหนึ่งให้น้อยลง เราก็จะเหลือ เวลาไปใช้กับอีกเรื่องมากขึ้น แต่บางทีเราก็อาจจะมองข้าม หรือลืมคิดไปว่า ก่อนที่เราจะตัดสินใจใช้เวลามากหรือน้อย แค่ไหน เราต้องตอบตัวเองให้ได้กอ่ นด้วยซ้�ำ ว่าเรือ่ งแต่ละเรือ่ ง มั น สำ � คั ญ กั บ ชี วิ ต อย่ า งไร ถ้ า เราแยกแยะความสำ � คั ญ ของแต่ละเรือ่ งในชีวติ ไม่ได้ การทีเ่ ราไปใช้เวลาน้อยกับเรือ่ งทีค่ วร —57


จะใช้ เวลามาก ก็ ใช่ ว่ า เราจะได้ ป ระโยชน์ จ ากการหาวิ ธี ประหยั ด เวลานั้ น ได้ เ สมอไป และบางที อ าจได้ ไ ม่ คุ้ ม เสี ย เอาด้วย เรือ่ งพวกนีบ้ างทีกบ็ อกกันเป็นสูตรเป๊ะๆ ไม่ได้หรอก ว่าเรื่องอะไรควรจะใช้เวลามากน้อยเท่าไหร่ คนเราต้องหัด ประเมินความเสี่ยงเอาเองว่าเรารับผลดี-ผลเสียที่จะตามมา ได้ไหม ชีวิตคนเรามีเวลาจำ�กัด และมีก็แต่การบริหารเวลา เท่ า นั้ น ที่ จ ะช่ ว ยให้ เราใช้ เวลาที่ มี จำ � กั ด ของเราได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพที่สุด และใช้อย่างเห็นคุณค่ามากที่สุด เวลาเป็นของมีค่าก็จริง... แต่มันมีค่าสำ�หรับเจ้าของ เวลาเท่านั้น ไม่มีใครจะมาเห็นค่าแทนกันหรือใช้แทนกันได้ ดังนั้น ต่อไปนี้ถ้าใครสักคนมาทำ�ให้เราเสียเวลา เขาอาจมี มารยาทขอโทษเราแต่พองาม แต่เราต้องโทษตัวเองด้วย ที่เลือกมาเสียเวลาไปกับคนแบบเขาแทนที่จะไปทำ�อย่างอื่น และถ้าเราไม่อยากเสียเวลาไปเปล่าๆ เราก็ควรจะได้อะไร สักอย่างเป็นการตอบแทนที่เราเสียเวลาไป และไม่ใช่หน้าที่ ของคนอื่นที่จะมาชดเชยหรือตอบแทนให้เรา แต่เป็นหน้าที่ ของเราทีจ่ ะต้องค้นหาเอาเองว่า สิง่ ทีค่ วรจะมีคา่ เทียบเท่ากับ เวลาที่เสียไปคืออะไร ถ้าเราต้องเสียเวลานั่งรอคนคนหนึ่ง อยู่ 2 ชัว่ โมง แน่นอนว่าคนทีท่ �ำ ให้คนอืน่ ต้องมารอก็ผดิ ในแบบ ของเขาและสมควรพิจารณาปรับปรุงนิสัยต่อไป แต่ตัวเรา ที่ต้องมาเสียเวลารอก็ต้องหาวิธีทำ�ให้เวลาที่เสียไปมันคุ้ม 58—


ที่จะเสียด้วย เช่น คุณต้องคิดว่าจะทำ�อะไรระหว่างรอคอย พู ด ถึ ง ตรงนี้ ค งต้ อ งแนะนำ � ให้ ม องคำ �ว่ า ‘ฆ่ า เวลา’ ในอีกมุมหนึง่ ถ้าเราเชือ่ ว่าเวลาคือสิง่ ทีต่ อ้ งเสียไปหรือหมดไป อยูแ่ ล้ว ก็ไม่ตอ้ งไปนัง่ ฆ่ามันหรอก อายุมนั ก็สนั้ อยูแ่ ล้ว แทนที่ จะไปฆ่ามัน เราควรจะใช้มนั ให้ดรี ะหว่างทีเ่ รายังมีมนั อยูด่ กี ว่า ถ้าเราไม่คดิ ว่าต้องหาอะไรทำ�ฆ่าเวลา เราก็จะเลิกคิดว่าต้องทำ� ‘อะไรก็ได้’ ให้เวลาหมดไป โดยไม่ต้องพะวงกับการรอคอย การหาอะไรสักอย่างทีค่ วรทำ� เพือ่ ให้การรอคอยนัน้ ไม่สญ ู เปล่า ทำ�ให้เราได้คุ้มเสีย ไม่ใช่นั่งทำ�อะไรที่ไม่รู้ว่าจะทำ�ไปทำ�ไม ตลอดชีวิตการทำ�งานที่เราได้สัมภาษณ์ผู้คนมากมาย แทบจะกล่าวได้ว่าคนที่ประสบความสำ�เร็จหลายๆ คนที่เรา เห็นๆ กันทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นคนที่ให้ความสำ�คัญ กับการบริหารเวลาทัง้ นัน้ คนทีเ่ ห็นคุณค่าของเวลาคือคนทีร่ วู้ า่ เรื่องแต่ละเรื่องที่เลือกทำ�นั้นทำ�ไปทำ�ไม เพื่ออะไร คุ้มค่า กับเวลาทีเ่ สียไปหรือไม่ ทำ�แล้วมันแก้ปญ ั หาหรือสร้างปัญหา ให้ชวี ติ บางคนอาจจะแย้งว่าเรือ่ งใช้เวลาคุม้ หรือไม่คมุ้ มันเป็น นามธรรม วัดกันไม่ได้หรอก บางทีเราอาจจะคิดว่าเสีย ทั้งที่ เราเป็นฝ่ายได้ก็เยอะแยะไป มันอยู่ที่วิธีคิด แต่คิดเรื่องคุ้มไม่คมุ้ มากไปชีวติ คงไม่สนุกเท่าไหร่ (แม้วา่ จะไม่ผดิ อะไรน่ะนะ) ถ้าหากคุณแน่ใจว่าชีวิตนี้จะไม่เสียดายเวลาที่เสียไป กับการ ทำ � เรื่ อ งไม่ เ ป็ น เรื่ อ ง เพราะคุ ณ มั่ น ใจว่ า มั น เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง —59


ของประสบการณ์ล้ำ�ค่าก็ว่ากันไป แต่ถา้ ให้พดู จากประสบการณ์ตรงของตัวเอง คนส่วนใหญ่ มักจะพูดเพือ่ ปลอบใจตัวเองทีย่ อ้ นกลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ทัง้ ทีจ่ ริงๆ ก็มเี วลาให้ ไตร่ตรองก่อนจะเลือกทำ�หรือไม่ท�ำ อะไร ทั้งนั้นนั่นแหละ

60—




08—

Passion

Comes with

Patience


Passion คือหนึ่งในถ้อยคำ�ที่เราได้ยินและใช้กันบ่อย มากที่สุดคำ�หนึ่ง เพราะ Passion เป็นสิ่งที่เราจำ�เป็นต้องมี ในการทำ�อะไรสักอย่าง โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนพร้อมจะลุก มาทำ � อะไรต่ อ มิ อ ะไรที่ ตั ว เองอยากทำ � กั น เป็ น ทิ ว แถว ด้วยค้นพบแล้วว่าโลกใบนีช้ า่ งกว้างใหญ่และมีโอกาสมากมาย ให้เราทำ�ในสิง่ ทีเ่ ราเชือ่ แม้วา่ มันจะเป็นความเชือ่ ทีไ่ ม่เหมือนใคร ก็ตาม Passion น่าจะเป็นคำ�ทีห่ าคำ�แปลเป็นภาษาไทยโดดๆ เพียงคำ�เดียวให้ตรงได้ค่อนข้างยาก จะเรียกว่าแรงปรารถนา ก็ดเู หมือนจะยังไม่ตรงกับความหมายทีค่ วรจะเป็นนัก เรียกว่า พลังแห่งความรัก มันก็ไม่ได้ดโู รแมนซ์ขนาดนัน้ เพราะ Passion มันมีเซนส์ของความบ้า ความไร้เหตุผล เป็นส่วนประกอบ อยู่ ด้ ว ย รวมๆ แล้ ว คำ � ไทยที่ น่ า จะใกล้ เ คี ย งความหมาย ในภาษาอังกฤษมากที่สุดก็น่าจะเป็นความคลั่งไคล้ หลงใหล 64—


ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างหมดหัวใจ เป็นความบ้าคลั่งที่ยากจะ ถอนตัว ถอนหัวใจ การทำ � งานเป็ น นั ก เขี ย น นั ก สั ม ภาษณ์ ทำ � ให้ เรา มี โ อกาสได้ พ บเจอและพู ด คุ ย กั บ ผู้ ค นจำ � นวนมากมาย ทีห่ ลงใหลคลัง่ ไคล้ ในสิง่ ทีต่ วั เองทำ� และการได้เห็นคนเหล่านัน้ หมกมุน่ ทำ�ในสิง่ ทีบ่ างครัง้ เราเองก็อาจไม่เข้าใจว่าจะชอบอะไร กันนักกันหนา มันก็มีข้อดีของมันคือ ทำ�ให้เราได้หันกลับมา ทบทวนว่าเรามีความหลงใหลในสิง่ ทีเ่ ราทำ�แบบเขาบ้างหรือเปล่า ถ้าไม่มเี อาเสียเลย ก็ไม่ตอ้ งสงสัยแล้วล่ะว่าทำ�ไมเราถึงรูส้ กึ ว่า ตัวเองไม่มพี ลัง ไม่มชี วี ติ ชีวามากเท่าทีค่ วร เพราะคนทีห่ ลงใหล ในอะไรบางอย่างมักจะมีพลังในการทำ�สิ่งนั้นๆ มากมาย อย่างที่เราคาดไม่ถึง กระทั่งเจ้าตัวเองก็คาดไม่ถึงด้วยซ้ำ�ไป และพลังเหล่านั้นก็มักจะล้นเหลือจนแผ่ออกมาเผื่อคนที่อยู่ รายรอบ หลายๆ ครัง้ หลังจากสัมภาษณ์คนทีน่ า่ สนใจเหล่านัน้ เสร็จ เราจึงมักจะรู้สึกเหมือนตัวเองได้เติมพลังในการทำ�งาน ขึ้นมาอีกหลายขีด คุยกันเสร็จแทนที่จะเหนื่อย กลับรู้สึกว่า ตัวเองกระปรี้กระเปร่ากว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด เมื่อชีวิตยังต้องดำ�เนินต่อไป Passion จึงเป็นเหมือน พลังในการขับเคลื่อนชีวิตดีๆ นี่เอง แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ความคลั่ ง ไคล้ ใ หลหลงในการทำ � อะไรสั ก อย่ า งจะเป็ น เรือ่ งสำ�คัญ และทำ�ให้ชวี ติ เคลือ่ นไปข้างหน้าได้ แต่การเคลือ่ น —65


ไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียวก็อาจไม่เพียงพอ สำ�หรับเราแล้ว ปัจจัยที่จะทำ�ให้ชีวิตเราเคลื่อนไปไกลกว่าใคร มักจะถูกวัด และชีข้ าดกันตรงความอดทนนีแ่ หละ การจะหลงใหลกับเรือ่ ง เรื่องหนึ่งขนาดไหน มันยังไม่น่าสนใจเท่ากับว่าอดทนที่จะทำ� เรื่องเรื่องนั้นได้นานเท่าไหร่ ถอดใจไปง่ายๆ หรือเปล่า การมี Passion เป็นแค่จุดเริ่มต้นของความสำ�เร็จในชีวิต แต่การมี ความอดทนหรื อ Patience จะเป็น คำ�ตอบสุดท้ายว่าเรา มาได้ ไกลจากจุ ด เริ่ม ต้ น แค่ ไ หน และมั น ไกลมากพอที่ จ ะ เรียกว่าเป็นเส้นชัยของชีวิตได้หรือเปล่า หรือวิ่งออกมาจาก จุ ด สตาร์ ท ได้ นิ ด เดี ย วก็ เ ดิ น ออกจากการแข่ ง ขั น เสี ย แล้ ว การมี Passion ที่ไร้ซงึ่ Patience จึงเหมือนไฟทีล่ กุ พรึบ่ ขึ้นมาประเดี๋ยวประด๋าวเหมือนไฟบนหัวไม้ขีด ลามหมดก้าน เล็กๆ สั้นๆ แล้วก็ดับไป ไม่ใช่เปลวไฟร้อนแรงที่เราสามารถ ใช้ ให้เกิดประโยชน์ ต้ม ผัด แกง ทอด ทำ�กับข้าวอะไรก็ว่าไป คนทีเ่ ราเห็นเขาเป็นของจริงหรือตัวจริงในเรือ่ งต่างๆ ทุกวันนี้ จึงไม่ใช่คนที่มีแค่ความหลงใหลและบ้าคลั่งในสิ่งที่ทำ� แต่ เพราะเขาอดทนอยู่กับมันได้นานพอจนเจนจัดกับมัน รู้ทาง และเอาอยูจ่ ริงๆ นักปีนเขาจึงเป็นคนละเรือ่ งกับคนชอบภูเขา นั ก สำ � รวจก็ เ ป็ น คนละเรื่ อ งกั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว เพราะมั น ใช้ ความอดทนและความบ้าคลั่งคนละแบบ แน่ละ่ ว่า คนเรามีความคลัง่ ไคล้กนั ได้หลากหลายเรือ่ ง 66—


แต่ก็น่าจะมีเป็นบางเรื่องเท่านั้นที่เราจะอดทนบ้าคลั่งกับมัน ได้นาน เพราะเวลาในชีวิตของเรามีไม่มากพอที่จะทำ�ได้ครบ ทุกเรื่องที่เราชอบและหลงใหล เรื่องไหนที่เราเลือกที่จะทุ่มเท เวลาให้และอดทนอยู่กับมันถึงขั้นที่เรียกว่าเอาดีได้ มันก็มัก จะตบรางวัลให้ชีวิตเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อย่างน้อยที่สุด มันก็ท�ำ ให้เราลืมเวลา ลืมโลกทีว่ นุ่ วาย และค้นพบความหมาย ของการตื่นมาทุกวัน ยุคสมัยนี้มีทางเลือกให้คนเราทำ�อะไรต่อมิอะไรเยอะ กิจกรรมแปลกๆ ใหม่ๆ มีให้เห็นได้ทกุ วัน การเจอคนทีบ่ อกว่า ตัวเองกำ�ลังหลงใหลกับอะไรสักอย่าง หรือหลายๆ อย่าง เกือบจะไม่ท�ำ ให้เราตืน่ เต้นอีกต่อไปแล้ว เพราะดูเหมือนใครๆ ก็มีเรื่องให้หลงใหลกันทั้งนั้น แถมยังหลงใหลในเรื่องเดียวกัน จนบางทีลามปามกลายเป็นเรื่องฮิตทั่วบ้านทั่วเมือง วั น นี้ สิ่ ง ที่ จ ะทำ � ให้ เราตื่ น เต้ น ได้ คื อ คนที่ ใช้ ชี วิ ต หลอมรวมไปกั บ สิ่ ง ที่ ตั ว เองคลั่ ง ไคล้ ไม่ ต้ อ งแสดงอาการ มากมาย ไม่ตอ้ งสาธยายอะไรให้มากความ แต่ใช้ชวี ติ อยูก่ บั มัน มาได้อย่างยาวนาน ผ่านวันเวลาที่ดี แต่ก็มีวันคืนที่มืดมิด และเจ็บปวดไปกับมันได้โดยไม่ถอดใจทิ้งไปกลางคัน ความสวยงามมันอยู่ตรงที่ได้เห็นว่าสิ่งที่คนคนหนึ่ง ทุ่มเททำ�อย่างหลงใหลทุกวันๆ ได้แปรสภาพเป็นลมหายใจ เข้า-ออก หรือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้วอย่างไม่รู้ตัว —67



19—

Like and

Unshare


ในยุคที่โซเชียลเน็ตเวิร์กเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรา แทบจะเป็นเนื้อเดียวกันเช่นทุกวันนี้ การกดไลค์และแชร์สิ่งที่ เราพบเจอก็ดูจะเป็นเนื้อเดียวกับชีวิตเราไปด้วย เราใช้เวลา ใคร่ครวญสิง่ ทีเ่ ราชอบน้อยมาก น้อยจนแทบจะเป็นพริบตาเดียว เลยก็ว่าได้ เราชอบสิ่งนี้ ทันใดนั้นเราก็กดไลค์ แต่บางทีก็ไม่รู้ ว่าชอบจริงๆ หรือแค่ชินกับการกดไลค์ไปก่อน ส่วนเรื่องไหน ที่ เ ราคิ ด ว่ า ดี เป็ น ประโยชน์ ตอบโจทย์ อ ะไรสั ก อย่ า ง หรือกระทั่งแค่อยากให้โลกรู้ไป ‘พร้อมๆ กัน’ กับเรา เราก็จะ รีบแชร์และบอกให้ทั้งโลกรู้ ถ้าจะมีใครบันทึกปรากฏการณ์ของสังคมหรือของโลกไว้ ก็ไม่ควรจะบันทึกเพียงว่ามีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสุดล้ำ�อะไร บ้างที่ถูกสร้างขึ้นมาในโลกยุคนี้ แต่ควรจะบันทึกไว้ด้วยว่า เครื่องมือเหล่านั้นส่งผลอะไรกับตัวตนของคนคนหนึ่งและ 144—


สังคมโดยรวม หรือถ้าไม่มีใครมาทำ�การสำ�รวจและบันทึก ผลกระทบเหล่านัน้ เราแต่ละคนนีแ่ หละทีค่ วรจะตัง้ ต้นสำ�รวจ และบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นกับความคิด ความรู้สึก ตัวตน กระทั่ง บุคลิกส่วนตัวของเราเอง กล่าวโดยรวมแล้ว เราไม่ใช่คนที่ขวางโลกหรือต่อต้าน กระแสอะไรนักหนา แต่บางทีก็แค่อยากหยุดตั้งสติเพื่อค้นหา ว่าสิ่งที่นำ�พาชีวิตตัวเองไปทุกวันหรือทุกชั่วขณะที่ผ่านไป มันคืออะไรกันแน่ เอาเป็นว่าถ้าพูดถึงโลกโซเชียลเน็ตเวิรก์ แล้ว อย่างหนึง่ ทีต่ อ้ งยอมรับกันตรงๆ ก็คอื เราไม่ใช่คนทีห่ ลุดออกมา จากโลกนั้นอย่างสิ้นเชิง หากแต่ยังต้องใช้มันในการสื่อสาร รับรู้ และเฝ้าดูเรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ ในโลกใบนัน้ และได้รบั ผลกระทบ จากมันอยูท่ กุ เมือ่ เชือ่ วัน ไม่ทางใดก็ทางหนึง่ มิหนำ�ซ้�ำ ยังเป็น คนกดไลค์ในสิง่ ทีช่ อบ และแชร์ในสิง่ ทีเ่ ชือ่ ว่ามันดีและน่าสนใจ อยู่เสมอ แต่บ่อยครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่า แล้วโลกที่เราไม่จำ�เป็น ต้องแชร์มันยังมีเหลืออยู่อีกไหม? แน่นอนว่ามันย่อมจะมี เพราะคงไม่มีใครแชร์ ในทุกเรื่องให้โลกรู้ ในทางตรงกันข้าม เราอาจจะแค่อยากแชร์ในบางเรือ่ งเท่านัน้ คำ�ถามคือ สัดส่วน ระหว่างสิง่ ทีเ่ ราชอบและแชร์ กับสิง่ ทีเ่ ราชอบและไม่อยากบอก ใครมันเหลื่อมล้ำ�กันมากน้อยแค่ไหนแล้วในโลกทุกวันนี้? อยากเล่าให้ฟงั ว่า เรือ่ งหนึง่ ทีเ่ รารูส้ กึ ชอบมาโดยตลอด ก็คอื ศิลปะการถ่ายภาพ ชอบการทีไ่ ด้มเี วลาเลือกสรรมุมมอง —145


ของสถานที่และวัตถุสิ่งของ ชอบการบันทึกภาพสวยๆ จาก สถานที่ต่างๆ พอมีสื่อกลางอย่างโซเชียลเน็ตเวิร์กให้ได้แชร์ ภาพสวยๆ ทีพ่ บเจอ ก็ยงิ่ สนุกสนานกับการได้บอกว่าสถานที่ ตรงนี้อยู่ตรงไหนในโลก อยากให้ทุกคนได้เห็นเหมือนกัน อยากให้ทุกคนมองว่ามันสวยเหมือนกัน อยากให้ทุกคนรู้ว่า เรากำ�ลังอยู่ ณ สถานที่นั้น เดี๋ยวนั้น ราวกับต้องการยืนยัน กับโลกว่า ฉันกับสถานที่นั้นมีอยู่จริงๆ นะเธอ ไม่ได้ฝันไป แต่ไปๆ มาๆ ก็รู้สึกว่าสิ่งที่เริ่มจะเปลี่ยนไปเกี่ยวกับ การแชร์ภาพของตัวเราเองก็คอื เราแชร์มนั น้อยลง และบางภาพ ทีค่ ดิ ว่าสวยนักสวยหนาก็กลับไม่แชร์ มากกว่านัน้ คือ บางภาพ ก็ไม่ได้บันทึกไว้ด้วยกล้องถ่ายรูปหรือสมาร์ตโฟนใดๆ ไม่ได้ ตั้งใจจะต้องแหม... โรแมนติกด้วยการประกาศว่าขอบันทึก ทุกอย่างด้วยความทรงจำ� แต่พูดภาษาชาวบ้านง่ายๆ ตรงๆ นีแ่ หละว่าขีเ้ กียจ ขีเ้ กียจหยิบกล้องถ่ายรูป ขีเ้ กียจพกโทรศัพท์ ตลอดเวลา แค่อยากอยู่ตรงนั้นเพื่อตรงนั้น เพื่อเวลาแห่งการ ไม่ทำ�อะไร เพื่อการไม่ต้องบอกใครนอกจากตัวเองว่ามันสวย และเราชอบแค่ไหน มีเรื่องอยากเล่าสู่กันฟังว่า ตอนที่ไปญี่ปุ่นเมื่อไม่นาน มานี้ ก่อนออกเดินทางเราก็คดิ แล้วคิดอีกว่าจะเอากล้องถ่ายรูป ไปดีไหม ซึ่งปกติกล้องถ่ายรูปคือสิ่งที่ไม่ต้องคิด แต่เป็นสิ่งที่ อยูใ่ นรายการของที่ ‘จำ�เป็น’ ต้องพกไปเลยก็วา่ ได้ ในทีส่ ดุ เรา 146—


ก็ตัดสินใจว่าพกแค่โทรศัพท์ไปเครื่องเดียวดีกว่า สะดวกดี ผลก็คอื ถ่ายรูปมาไม่นา่ จะถึง 50 รูป แล้วก็เอามาดูบา้ งไม่ดบู า้ ง รูปตัวเองในกล้องคนอืน่ ก็ไม่ได้สนใจจะหามาดูหรือดึงไฟล์รปู มาเก็บไว้ ระหว่างเดินทางก็ไม่คอ่ ยได้บอกใครในโลกโซเชียลเน็ตเวิรก์ มากเท่าไหร่วา่ ตอนนีอ้ ยูแ่ ถวไหน เจออะไร พูดง่ายๆ ว่าไม่ได้โพสต์ยับอย่างที่คิดว่าควรจะเป็นสำ�หรับการเดินทาง ไปในทีท่ อ่ี ยากไปมาตลอด พอมาเทียบกับช่วงเวลาไม่นานมานี้ ที่ตัวเองมีโอกาสได้ไปพักผ่อนที่ชายทะเลแห่งหนึ่ง ความรู้สึก ขี้เกียจพกกล้อง ขี้เกียจถ่ายรูป ขี้เกียจบอกใครว่าไปไหน ก็หวนกลับมาอีก ช่วงเวลานั้น เรารู้สึกอยากแชร์รูปสวยๆ ไว้ในเฟซบุก๊ ตัวเองแค่ไม่กรี่ ปู เพราะอยากใช้เป็นอัลบัม้ เก็บรูป แต่ก็ไม่มีอาการโพสต์ยับอีกเหมือนกัน มีคนถามเหมือนกันว่า แล้วไม่มีความรู้สึกอยากบอก ใครสักคนในโลกหรือว่าตัวเองไปไหน เจออะไรมา คำ�ตอบคือ เอาเข้ า จริ ง เราก็ ไ ม่ ไ ด้ อ ยากบอกใครสั ก คนเสมอไปหรอก เราอาจจะต้องการอยู่เงียบๆ แบบไม่ต้องบอกใครเลยก็ได้ แต่ เราไม่ รู้ ตั ว จนกว่ า เราจะไปเจอสถานที่ บ างแห่ ง ที่ ส วย จนไม่อยากบอกให้ใครรู้ แต่สิ่งที่ดีไปกว่าการไม่บอกใครเลย ว่ามันคือที่ไหนก็คือ การได้ไปในที่แห่งนั้นพร้อมใครสักคน ที่ยินดีจะอยู่ตรงนั้นกับเราจริงๆ มองภาพที่สวยงามไปพร้อม กับเราจริงๆ และนานแค่ไหนก็จะยืนมองภาพเดียวกับเรา —147


อยูต่ รงนัน้ โดยไม่แม้แต่จะวิง่ ไปหยิบโทรศัพท์มาถ่ายภาพทะเล ทีส่ วยมากตรงหน้า เพราะมันไม่มอี ะไร ‘จำ�เป็น’ กับชัว่ ขณะนัน้ แล้วนอกจากการได้มอง ช่วงเวลาแบบนั้นมันก็ทำ�ให้รู้สึกอบอุ่นดีเหมือนกัน ที่เราเจอคนที่ทำ�ให้รู้สึกว่าแชร์ได้โดยไม่ต้องแชร์

148—




22—

Wish You Have

a Safe Drive


สำ�หรับคนอื่น ใครจะมีวิธีพักผ่อน คลายเครียด และ จัดระบบการตั้งสติของตัวเองอย่างไรไม่รู้ได้ แต่สำ �หรับเรา หนึ่ ง ในวิ ธี ที่ ดี ที่ สุ ด คื อ การขั บ รถไปต่ า งจั ง หวั ด ขั บ ยาวๆ ไกลๆ ไปไหนก็ได้ให้ห่างไกลเมือง ถ้าจะให้ดีต้องเลือกขับ ไปวั น ธรรมดาที่ ค นอื่ น ๆ เขายั ง ก้ ม หน้ า ก้ ม ตาทำ � งานกั น จึงแนะนำ�ให้ทุกท่านใช้วันหยุดหรือวันลาของตัวเองให้เป็น ประโยชน์ เพื่อเราจะได้ใช้วันพักผ่อนของเราได้อย่างเต็มที่ และถ้าอยากใช้เวลาส่วนตัวและอยู่กับตัวเองจริงๆ ก็ควรจะ ขับไปคนเดียว แต่ถา้ ไม่มนั่ ใจในการเดินทางเพียงลำ�พัง ก็ควร จะหาเพื่อนร่วมทางที่ไม่พูดมากติดรถไปด้วยอีกคน (ฮา) การขับรถดูจะเป็นกิจกรรมไม่กี่อย่างที่เรียกร้องสมาธิ และความตั้งใจจากตัวเองสูงมาก เพราะเราต้องระมัดระวัง ทุกสิ่งรอบตัว ยิ่งถ้าเราขับรถโดยไม่คุยโทรศัพท์ ไม่ฟังเพลง 168—


ใดๆ อยู่กับการขับรถแบบไม่เร่งรีบ เราจะรู้สึกเลยว่านั่นคือ ช่วงเวลาทีเ่ ราตืน่ ตัวแต่สงบนิง่ ได้ในเวลาเดียวกัน เนือ่ งจากเรา ต้องมองภายนอก แต่เราไม่ต้องไปปะทะสัมผัสกับใคร ทุกคน ต่างก็อยู่ในรถ ในที่ของตัวเอง แค่ต่างคนต่างต้องระมัดระวัง การขับขี่ของตัวเองให้ไม่สร้างอันตรายต่อตัวเองและคนอื่น และยิ่งได้ใช้เวลาขับรถเช่นนี้นานวันขึ้น ก็เริ่มรู้สึกว่าท้องถนน ก็คือภาพจำ�ลองการใช้ชีวิตที่เห็นชัดและสอนตัวเองได้ดีที่สุด แห่งหนึง่ ถ้ารถทุกคันเปรียบเสมือนคนแต่ละคน และท้องถนน คือเส้นทางชีวิตที่เราเลือกมุ่งหน้าไป อย่างน้อยนี่ก็คือสิ่งที่ เราเห็นและรู้สึกทุกครั้งที่ขับรถ - ต่อให้รถสวยหรูดูดีแค่ไหน สุดท้ายก็ไม่มีใครมองรถ คันอื่นได้นาน ทุกคนต้องสนใจสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามากกว่ารถ ที่อยู่ข้างๆ รถในความเป็นจริงที่เราหามาด้วยน้ำ�พักน้ำ�แรง ต่างหากที่มันจะพาเราไปไหนต่อไหนได้ไกล รถในฝันขับได้ ก็ แ ต่ ใ นฝั น ไปไกลได้ ก็ แ ค่ ใ นฝั น และบางที อ าจเป็ น ฝั น ที่ ไม่เหมาะกับชีวิตเราเอาเสียเลย - คนขับรถมีหลายประเภท ทัง้ แบบมีน�ำ้ ใจ แบบเห็นแก่ตวั ใครจะเป็นอย่างไรช่างมัน ขอให้ตวั เองไปได้ และได้ไป วันไหน เจอคนมีน�้ำ ใจเราอาจจะรูส้ กึ ว่าโลกก็ไม่ได้เลวร้ายจนเกินไปนัก แต่วันไหนเจอคนเห็นแก่ตัว ถามว่าเซ็งไหม เบื่อไหม ก็เบื่อ แต่การเจอบนถนนนี่แหละที่จะทำ�ให้เราเข้าใจว่า เดี๋ยวมันก็ —169


ผ่านไป จี๊ดขนาดไหนมันก็ไม่มาอยู่ให้เราจี๊ดนานหรอก ถนน ยังอีกไกล ยังต้องเจออะไรอีกมาก เสียอารมณ์ได้ แต่อย่า ไปเสียสติด้วย เราต้องประคับประคองรถของเราต่อไป ต้อง ประคับประคองชีวิตต่อไป ไม่ใช่เอาชีวิตมาเสี่ยงกับคนที่ไม่รู้ พื้นฐานนิสัยเป็นอย่างไร จะขาดสติแล้วยิงเราตายหรือเปล่า ก็ไม่รู้ - การขับรถทำ�ให้เรารู้ว่า ความปกติของชีวิตคือการ มองไปข้างหน้า เดินหน้าต่อไป เรามองกระจกหลังแค่ตอน ถอยจอดและระวังรถทีต่ ามมา เพือ่ ประเมินความเสีย่ งเท่านัน้ ไม่มีใครขับรถไปไหนได้ดว้ ยการมองแต่กระจกหลัง ไม่อย่างนัน้ ธรรมชาติคงให้ตาด้านหลังเรามาแล้ว ชีวิตก็เช่นกัน การมอง ย้อนกลับไปข้างหลังควรทำ�เมื่อเราต้องการความระมัดระวัง แต่ถ้ามองข้างหลังนานเกินไป เราจะไปข้างหน้าไม่ได้ - ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่มองไปข้างหน้าจนลืมมองชีวิต รอบข้ า ง เมื่ อ ไหร่ ที่ ก ารจราจรติ ด ขั ด นั่ น แหละคื อ เวลาที่ คนขับรถส่วนตัวทั้งหลายควรจะได้มองไปรอบๆ และคิดให้ดี ก่อนจะพร่ำ�บ่นออกมาว่าชีวิตมันแย่ ส่วนใหญ่เรามักจะมอง เห็นแต่รถติด แต่เรามักจะไม่มองทะลุไปให้เห็นคนที่ติดอยู่ใน รถโดยสารสาธารณะที่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ายืนขาแข็ง เรามัก จะมองไม่เห็นว่ารถติดก็แค่ชว่ งเวลาชัว่ คราวทีไ่ ม่มที างให้รถไป แต่ส�ำ หรับคนอืน่ นัน่ คือชีวติ ทีไ่ ม่มที างเลือกทีด่ กี ว่านัน้ อีกเลย 170—


- คนทีข่ บั รถหลงทางแล้วตืน่ ตาตืน่ ใจกับเส้นทางใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคยได้ บางทีคนแบบนั้นก็ยังได้ชื่อว่าเป็นนักเดินทาง มากกว่าคนที่รู้จักเส้นทาง แต่ไม่เคยมองเห็นความสวยงาม ระหว่างทางเลย - การเฝ้าดูความคิดของตัวเองขณะขับรถ เป็นช่วงเวลา ทีเ่ หมาะมากทีจ่ ะเห็นความคิดตัวเองได้อย่างชัดเจนว่า เราเป็น คนช่างตัดสินและกล่าวโทษคนอื่นมากขนาดไหน เราไม่เคยรู้ เลยว่าเราขับรถน่ารำ�คาญ แต่เรามักจะเห็นว่าคนอื่นขับรถ น่ารำ�คาญเสมอ ไม่ต่างกันเลยกับการดำ�เนินชีวิตในแต่ละวัน ที่เราไม่เคยเห็นเลยว่าเราเป็นคนแบบไหน แต่มักจะเห็นทันที ว่าคนอืน่ ทำ�อะไรไม่ดอี ย่างไร เมือ่ การใช้ชวี ติ ก็เหมือนการขับรถ นอกจากตรวจสอบ รถให้ อ ยู่ ใ นสภาพสมบู ร ณ์ พ ร้ อ มขั บ ไปในทุ ก เส้ น ทางแล้ ว เราจำ�เป็นต้องตรวจสอบด้วยว่า ในฐานะคนขับ เรามีนิสัย การขั บ ขี่ แ บบไหน และนิ สั ย แบบนั้ น จะพาเราไปสู่ จุ ด ไหน บนท้องถนน บางที เราอาจจะหาคำ�ตอบได้ดว้ ยว่า เพราะอะไร ที่ผ่านมาเราถึงไปไหนได้ไม่ไกลเสียที

—171



Wilairat Aimaiem—

วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม ปั จ จุ บั น เป็ น บรรณาธิ ก ารบริ ห ารนิ ต ยสาร a day BULLETIN เรียนจบด้านภาษาและวรรณคดีอังกฤษ หลงไป ทำ�งานในสาขาอาชีพที่หลากหลาย แต่มาตายรังที่การทำ� หนังสือ เพราะค้นพบว่าช่วงเวลาในการได้หมกมุ่นครุ่นคิด กับตัวหนังสือ ทั้งตอนที่อ่านและเขียน เป็นช่วงเวลาที่ไม่เคย ซ้�ำ กัน ได้อารมณ์แปลกใหม่บอ่ ยครัง้ จนหลงรักอาชีพนี้ในทีส่ ดุ งานอื่นคือเลี้ยงสุนัขสองตัวชื่อตะลุยกับทะโมน ซึ่งสอนให้ เข้ า ใจว่ า อะไรในโลกไม่ สำ � คั ญ เท่ า ของกิ น เอ๊ ย สอนว่ า ความซื่อสัตย์และจงรักภักดีโดยไม่มีเงื่อนไข ทำ�ให้คนเรา ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวจนเกินไปนัก



blow & flow—

blow & flow เป็นทีมนักวาดภาพประกอบ ปัจจุบัน มีสมาชิกสามคน แต่เดิมรับวาดและออกแบบลายเสื้อยืด ให้ กั บ แบรนด์ แ ฟช่ั น ในสยามสแควร์ แ ละจตุ จั ก ร โดยงาน ส่วนใหญ่จะเป็นภาพสเก็ตช์ดินสอและภาพเขียนสีน้ำ� ต่อมา ทีมอยากลองทำ�อะไรใหม่ๆ โดยที่ไม่ต้องมีกรอบหรือโจทย์ จากลูกค้า จึงมีการจัดทำ�บล็อกขึน้ เพือ่ วาดอะไรตามความสนใจ ของตนเอง โดยเนื้อหาในบล็อกส่วนใหญ่เป็นการหยิบเรื่องราว ง่ายๆ รอบตัว ตัง้ แต่สง่ิ ทีพ่ บตามท้องถนน เรือ่ งในชีวติ ประจำ�วัน และประเด็นทางสังคม มาเขียนเป็นบทความสั้นๆ พร้อมกับ การวาดภาพประกอบ หลังจากบล็อกเป็นทีร่ จู้ กั มากขึน้ จึงเริม่ มีงานมากขึ้น รวมทั้งงานวาดภาพประกอบนิตยสาร และ พ็อกเก็ตบุ๊กให้กับสำ�นักพิมพ์ต่างๆ www.blowandflow.com hello@blowandflow.com facebook.com/blowandflow



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.