ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง

Page 1



2


3


ไก่จิกเด็กตาย บนปากโอ่ง โจ้บองโก้ หนังสือในชุด Knowledge & Creativity ลำ�ดับที่ 003 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-019-1 พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2556 ราคา 195 บาท

ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ โจ้บองโก้. ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2556. 288 หน้า. 1. ภาษาไทย--การใช้ภาษา. I. ชื่อเรื่อง. 495.911008 ISBN 978-616-327-019-1

ในกรณีที่หนังสือชำ�รุด หรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือนั้นมาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ ทางสำ�นักพิมพ์ยินดีเปลี่ยนเล่มใหม่ให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น


บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข ผู้ช่วยบรรณาธิการ สุรเกตุ เรืองแสงระวี อาร์ตไดเร็กเตอร์ บพิตร วิเศษน้อย กราฟิกดีไซเนอร์ เพกา เจริญภักดิ์ กราฟิกดีไซเนอร์ เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ ครีเอทีฟ วิชัย มาตกุล เลขานุการ พิมพ์นารา มีฤทธิ์ เรียงพิมพ์/พิสูจน์อักษร นทธัญ แสงไชย พิสูจน์อักษร เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ การตลาด/ประสานงานการผลิต วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ดิจิทัลคอนเท็นต์มาสเตอร์ วิศรุต วิสิทธิ์ ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ลูกค้าสัมพันธ์ นริศรา เปยะกัง เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่

สำ�นักพิมพ์ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 3 ซอยเจริญมิตร ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2726-9996 ต่อ 22 โทรสาร 0-2714-4252 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing แยกสีและพิมพ์ บริษัท ธนาเพรส จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2215-7220 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609 สั่งซื้อหนังสือราคาพิเศษ 0-2726-9996 ต่อ 49 E-mail member@daypoets.com


คํ า นํ า สํ า นั ก พิ ม พ์ การท่อง ‘ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง’ ทำ�ให้เราไม่เคยลืม อักษรกลางเลย ไม่วา่ จะพ้นวัยไปโรงเรียนมานานแค่ไหนแล้วก็ตาม มันเป็นสิ่งที่สนุกจะจำ�ท่ามกลางความปวดหัวของการเรียนวิชา ภาษาไทย จนเราอดคิดไม่ได้วา่ ทำ�ไมใครๆ ไม่เขียนตำ�รับตำ�ราทุกอย่าง ออกมาเป็นแบบนี้ให้หมด (และสงสัยต่อไปอีกว่า ทำ�ไมไม่เขียน ทุกวิชาออกมาเป็นการ์ตนู ให้หมด และทำ�ไมไม่แต่งตำ�ราให้กลายเป็น เพลงป๊อปพร้อมท่าเต้นให้หมด) วิธหี นึง่ ทีจ่ ะทำ�ให้ใครสนใจอะไรสักอย่าง คือการทำ�ให้เห็นว่า จะเอาที่เล่าเรียนนั้นไปใช้อะไรได้บ้าง หรือสิ่งที่เรียนนั้น มันใกล้ชิด กับชีวิตของเราแค่ไหน เมื่อเห็นว่ามันใกล้ ก็จะรู้สึกว่ามันเกี่ยว และ เมื่อรู้สึกเกี่ยว มันก็น่าสนใจไปเอง อีกอย่างที่ทุกคนรู้ดีก็คือ ถ้าเรียนอะไรด้วยความสนุก เราจะ เข้าใจมันได้ดขี นึ้ และสนใจมันมากขึน้ โดยไม่ตอ้ งรอให้ใครเคีย่ วเข็ญ หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ไ ม่ ใ ช่ แ บบเรี ย น มั น แค่ แ สดงให้ เ ราเห็ น ว่ า ภาษาไทยเป็นเรื่องสนุก และเกี่ยวกับสิ่งที่เราใช้อยู่ทุกวันอย่างไร เมือ่ ออกตัวแล้วว่าหนังสือเล่มนีไ้ ม่ใช่ต�ำ รา ก็ตอ้ งขออนุญาต ย้ำ�ด้วยว่า โจ้บองโก้ก็ไม่ได้เป็นศาสตราจารย์ทางด้านภาษาศาสตร์ ทุกวันนี้เขาก็ยังเขียนหนังสือผิดอยู่บ่อยๆ (ว่าแต่มีใครในโลกเขียน หนังสือไม่ผิดเลยบ้าง) กระนั้น สิ่งที่ทำ�ให้โจ้บองโก้สามารถประกอบ อาชีพนี้ได้ดี คือนิสัยขี้หงุดหงิดกับคำ�ผิด และขี้สงสัยกับคำ�ที่ยังไม่รู้ ว่าถูกแน่หรือเปล่า


ความเก่ ง ของพิสูจน์อักษรไม่ไ ด้อ ยู่ที่ว่าเขามี ความรู้ อะไร ติดมาในหัวเท่านั้น แต่มันอยู่ที่ความละเอียดและความใส่ใจในการ ไปเสาะหาความรู้จากทุกแหล่ง มาเป็นข้อพิสูจน์เพื่อยืนยันว่าทุกคำ� สะกดถูกแล้วหรือไม่อย่างไรต่างหาก เนื้อหาของ ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง เล่มนี้ รวบรวมมาจาก คอลัมน์ใน MONDAY นิตยสารดิจทิ ลั รายสัปดาห์ของสำ�นักพิมพ์อะบุก๊ และมีทเ่ี ขียนใหม่เติมเข้าไปอีกจำ�นวนหนึง่ เพือ่ การรวมเล่มโดยเฉพาะ คุณผู้อ่านสามารถติดตามอ่านตอนใหม่ๆ ได้เรื่อยๆ ผ่านแอพฯ MONDAY ที่สามารถหาโหลดได้ทั้งใน Play Store ของแอนดรอยด์ และ App Store ของ iOS ทั้งนี้ทั้งนั้น หนังสือเล่มนี้ใช้เวลาในการพิสูจน์อักษรเข้มข้น กว่าปกติถึง ๕ เท่า เพื่อไม่ให้เป็นที่อับอายขายหน้า ซึ่งสำ�นักพิมพ์ สัญญาว่า ถ้าพบภายหลังว่ามีค�ำ สะกดผิดในหนังสือเล่มนี้ เราจะปรับ เงินนักเขียนจุดละ ๑๐,๐๐๐ บาทเป็นอย่างต่�ำ พร้อมโบยตีให้หลาบจำ� เป็นการทำ�โทษ หรือถ้าท่านผูอ้ า่ นคิดวิธลี งทัณฑ์อน่ื ๆ ทีส่ าสมกว่านีไ้ ด้ ทางเราก็ยินดีพิจารณา สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก กรกฎาคม ๒๕๕๖


คํ า นํ า นั ก เ ขี ย น “โจ้ พี่อยากได้คอลัมน์เหมือนที่โจ้ลงรูปในเฟซบุ๊กเลย” ข้ า งบนนั่ น เป็ น ประโยคที่ พี่ บิ๊ ก บุ ญ กล่ า วกั บ ผมในวั น หนึ่ ง เมื่อเกือบสองปีที่แล้ว ตอนนัน้ ผมสร้างอัลบัม้ รูปขึน้ มาเล่นๆ อันนึง ชือ่ ว่า ‘ปรูฟ๊ สุดๆ’ เอาไว้บรรจุภาพของคำ�ผิดที่พบเจอในชีวิตประจำ�วัน ไม่ว่าจะตาม ถนนหนทางหรือร้านค้าหรือในห้างหรือในบ้าน ด้วยความที่ผมเป็นพิสูจน์อักษรหรือปรู๊ฟ อันเป็นอาชีพที่มี หน้าทีจ่ บั ผิด ผมเลยอดคันไม่ได้ และนีก่ เ็ ป็นอัลบัม้ ทีเ่ อาไว้แก้คนั ของผม จากอัลบัม้ นัน้ ก็กลายมาเป็นคอลัมน์ ‘ปรูฟ๊ จัด’ ใน MONDAY ชนิดที่ผมเองก็ตั้งตัวไม่ทันว่า นี่กูได้เป็นคอลัมนิสต์แล้วเหรอวะเนี่ย และจากวันนั้นถึงวันนี้ก็ผ่านมาเกือบสองปีแล้วครับ ใครจะ ไปรูว้ า่ คอลัมน์นน้ั ก็กลายมาเป็นพ็อกเก็ตบุก๊ เล่มนีท้ ค่ี ณ ุ ถืออยู่ ชนิดที่ ผมเองก็ตั้งตัวไม่ทันว่า นี่กูมีหนังสือของตัวเองแล้วเหรอวะเนี่ย และพูดตามตรงว่า ผมไม่อาจหาญตั้งตัวเป็นครูภาษาไทย และนี่ไม่ใช่หนังสือ ทักษะสัมพันธ์ หรือ วรรณสารวิจักษณ์ ผมยังเป็นแค่พิสูจน์อักษรคนหนึ่ง ทีอ่ ยากให้ภาษาไทยเป็นมากกว่ายานอนหลับชัน้ ดีในห้องเรียน โจ้บองโก้



บทที่ ๑

กาลคำ�หนึ่ง หน้า ๑๒

บทที่ ๒

สูงต่ำ�คำ�ไทย หน้า ๗๐

บทที่ ๓

อาขยานไปยาลใหญ่ หน้า ๙๒


ส า ร บั ญ บทที่ ๔

ปรู๊ฟจัด หน้า ๑๑๘

บทที่ ๕

ควิซมาก หน้า ๒๑๔

บทที่ ๖

หรือจะไขว้! หน้า ๒๕๒


❑ ❑ ❑ ❑ ❑ ❑

12


กาล คํ า ห นึ่ ง ภาพประกอบ: Time of next

13



หนึ่งในคอลัมน์ของผมใน MONDAY ซึ่งเกิดจากความสงสัย ส่วนตัวว่า ชื่อของสถานที่ ชื่อเรียกสิ่งของ หรือแม้แต่คำ�ฮิตติดปาก ที่ใช้กันเนี่ย มันมีที่มาจากไหนกันนะ หลังจากไปสืบเสาะพลิกปูม ประวัติศาสตร์หากัน ผมก็พบว่าคำ�บางคำ� มันมีเบื้องหลังที่เกินคาด และหลายคำ�เราไม่รดู้ ว้ ยซ้�ำ ว่ามีทม่ี าอย่างนี้ ยิง่ ค้นก็ยง่ิ สนุก สนุกม้าก! จนอดไม่ได้ที่ต้องนำ�มาเล่าให้ฟังครับ

15


16

๑.๑

ซิ่ว


ซิ่ว เป็นคำ�กริยา (คำ�นามคือ เด็กซิ่ว) ไว้ใช้เรียกพฤติกรรม การกลับมาเรียนปีหนึง่ ใหม่อกี ครัง้ ของบรรดาพีๆ ่ หน้าชราทัง้ หลาย ในหลายๆ สถานการณ์ เช่ น โดนรี ไ ทร์ ย้ า ยคณะเรี ย น หรื อ ย้ายมหา’ลัยมันซะเลย ผมก็มีเพื่อนซิ่วครับ บางคนไม่ถืออะไรก็เรียกกูมึงกันสบาย บางคนถือตัว ให้เราเรียกพีก่ ม็ ี ก็นะ แล้วแต่จะศรัทธา ซึง่ เด็กซิว่ เหล่านี้ บางคนย้ายคณะไปสามรอบแล้วก็ยงั หาตัวเองไม่เจออยูด่ กี ม็ ี บางคน ซิว่ ไปซิว่ มา รูส้ กึ ตัวอีกทีกร็ บั ปริญญาตรีตอน ๓๒ ก็มี โอ้ว ชิต! ชีวติ พัง ทั้งนี้ ผมคุ้นเคยกับคำ�ว่า ซิ่ว มาตั้งแต่สมัย ม.ปลาย แล้วครับ เพราะที่โรงเรียนผมเค้าจะมีแบ่งสายการเรียนตั้งกะ ม.ปลาย เลย แล้วไม่ได้แบ่งเป็น ศิลป์-ภาษา, ศิลป์-คำ�นวน, วิทย์-คณิต แค่นี้นะ แต่ แ บ่ ง ย่ อ ยยิ บ จนสงสั ย ว่ า นี่ มั น โรงเรี ย นหรื อ มหา’ลั ย เอกชน เพราะมีทั้ง วิทย์-คอมพิวเตอร์, วิทย์-ภาษา, วิทย์-คณิตประยุกต์ นี่มันอะไรเนี่ย!? (ในอดีตก่อนผมเข้าเรียน ยังเคยมี วิทย์-วิศวะ, วิทย์-สถาปัตย์, วิทย์-ดนตรี ด้วยนะครับ จะอินดี้ไปไหน) พอสาย มันเยอะขนาดนี้ เด็กก็มีทางเลือกครับ ก็เลยเลือกกันชิบหายเลย เข้าสายนี้ เรียนไปปีนงึ ไม่พอใจ เปลีย่ นไปเรียนอีกสายดีกว่า เด็กวิทย์ ซิ่วย้ายสายไปมากันยกใหญ่ แถมย้ายมาเรียนสายศิลป์กันก็อีก บานตะไท เป็นต้นว่าเรียนเคมีไม่ไหวแล้วว้อย กูขอหนี (แต่ก็มาเจ๊ง ที่ภาษาฝรั่งเศสแทน เอวัง) อนึ่ง เวิร์บทูซิ่ว ไม่ได้มาจาก ฮก ลก ซิ่ว แต่อย่างใด แม้ว่า ความหมายจะไปในทางเดียวกันมากก็ตาม เนื่องจาก ซิ่ว เป็นคำ�จีน ที่แปลว่า ยาว นาน มักใช้ในการอวยพรให้อายุยืนนาน เหมาะกับ การเอามาเรียกนักศึกษาหน้าชราอย่างพวกเด็กซิ่ว แต่ที่จริงแล้ว

17


18

มันคนละซิ่วครับ ซิ่วนี้มาจากคำ�ว่า ฟอสซิล (Fossil) ที่แปลว่า ซากอารยธรรม กระดูกที่หลงเหลืออยู่ของสิ่งมีชีวิตยุคเก่าก่อน อาทิ ไดโนเสาร์ ทีค่ นเราไปขุดเจอนัน่ เองครับ อีเพือ่ นรุน่ พีพ่ วกนีก้ ค็ งเหมือนฟอสซิล คือเป็นสิ่งมีชีวิตยุคก่อนเก่าเก็บ ที่อยู่ๆ ก็โผล่หน้ามาให้พวกเรา ชาวโลกเห็นอีกครั้งในยุคปัจจุบัน อูยส์ แปลแล้วเจ็บนะนั่น ผมว่าส่วนหนึ่งที่เด็กซิ่วกัน ก็เป็นผลพวงจากการแนะแนวที่ ไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ ทำ�ให้เด็กต้องเลือกคณะกันไปก่อน แล้วค่อย มาคิดอีกครัง้ ว่านีม่ นั เป็นสิง่ ทีเ่ ราชอบจริงเหรอวะ? ถ้าไม่ใช่กม็ าเลือก อีกที ถ้าใช่ก็ดีไป แต่ไม่ใช่ทุกคนที่โชคดีอย่างนั้นหรอกครับ บางคน ก็ตอ้ งก้มหน้าเรียนวิชาชีพทีต่ วั เองไม่ชอบไปแกนๆ ทำ�งานไปแกนๆ ใช้ชีวิตไปแกนๆ ถ้าไม่อยากเป็นเด็กซิ่ว ผมว่าเราต้องรีบถามตัวเองว่า จริงๆ แล้วเรามีความสุขกับอะไรกันแน่



❑ ❑ ❑ ❑ ❑ ❑

70


สู ง ตํ่ า คํ า ไทย ภาพประกอบ: pheka

71



“ดิชั้นอยากไปหาอะไรมายัดใส่ท้องหน่อยน่ะค่ะ มึงช่วยพา ดิชั้นไปภัตตาคารแถวนี้หน่อยได้มั้ยคะ?” “ข้าชอบตะเองอะ มาเป็นเมียข้านะ” ... ถ้ามีคนมาพูดอย่างนี้ใส่ คุณคงคิดว่า “อะไรของมึง?” เพราะ คนพูดจางงสะบัดขนาดนี้ ถ้าไม่เมากัญชา สมองส่วนซีรีบรัมก็คงจะ เสียหาย ...แต่นี่คือความสำ�คัญของระดับภาษาครับ หลายคนคงคิดว่าภาษาไทยทำ�ไมยุ่งยากขนาดนี้ ต้องมา จำ�ระดับคำ�อะไรอีก ภาษาอังกฤษยังไม่เห็นต้องมานั่งจำ�เลย ก็บ่น กันไป ทั้งๆ ที่ถ้าเอ็งลองคิดดูดีๆ เวลาเรียนภาษาอังกฤษเอ็งก็ต้อง ไปหัดผันเวิร์บให้มากเรื่องเหมือนกันแหละ ยิ่งภาษาจีนยิ่งหนัก ต้อง มานั่งท่องจำ�อักษรเป็นตัวๆ ปวดแกนสมองกว่าเดิมอี๊ก เห็นอย่างนี้ ไอ้ระดับคำ�ของไทยที่ว่ายุ่งๆ นี่กลายเป็นเรื่องขี้สิวไปเลย งานนี้ผมเลยขอรวบรวมคำ�ที่มีความหมายเหมือนกัน แต่มี กาลเทศะในการใช้ตา่ งกัน มาเทียบให้ดกู นั จะจะไปเลย ว่ามันเป็นยังไง หยาบเท่าไหร่ หรูไปถึงไหน แล้วจะรู้ว่าถ้าเข้าใจการใช้แล้ว แทนที่จะ บ่นกัน มันจะกลายเป็นเรือ่ งมันๆ แทน เพราะแต่ละภาษามันก็มเี รือ่ ง ให้เรื่องมากทั้งนั้นแหละ เลือกกันใช้ให้ดี เพื่อชีวิตมีระดับนะครับ

73


๒.๑ สรรพนามบุรุษที่ ๑ ผู้หญิงใช้พูดกับผู้ใหญ่ หรือไม่ก็สำ�หรับ เด็กเชียร์เบียร์พูดกับเสี่ยพุงโร

หนู

คำ�สามัญนัมเบอร์ทู ใช้กับเพื่อนในระดับ เออ ไม่ได้สนิทกันมาก แต่เราก็เป็นเพื่อนนายนะ เรารักนาย (เออ เริ่มไม่เกี่ยว) 74

คำ�สามัญ ใช้พูดกับเพื่อน เมื่อก่อนไม่ใช่คำ�หยาบอะไร แต่เดี๋ยวนี้หยาบในขั้นสนิทเท่านั้น

กู​ู

ตู กัน ข้า

เรา

เค้า

ใช้ในกรณีแฟนกันสวีตแหวว (แต่พอไม่หวานปุ๊บ พี่ซัดกู-มึง เลยนะฮะ)

ใครพูดจะดูเป็นคนโบราณ แก่เก่าเหลาเหย่ทันที ‘กัน’ มีให้เห็นในนิยายเก่าๆ ครับ


เอ่อ... มีคำ�นี้ด้วยเหรอวะ... อ่อๆ ใช้ในกาพย์กลอน ฉันท์โคลงต่างๆ ครับ

อัญขยม

ผม คำ�สามัญของผู้ชาย ใช้ตามอัธยาศัย ไม่มีพิษมีภัย

ดิฉัน ผู้หญิงใช้พูดเพื่อความสุภาพ แผลงเป็น เดี๊ยน หรือ ดั๊น ก็มี

ข้าพเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า ใช้เพื่อความเป็นทางการ หรือใช้พูดกับผู้สูงศักดิ์ หรือพระมหากษัตริย์

75


❑ ❑ ❑ ❑ ❑ ❑

118


ป รู๊ ฟ จั ด ภาพถ่าย: โจ้บองโก้

119



สายตาของผมมักสอดส่ายไปเจอคำ�ผิดอยู่เสมอๆ ไม่รู้ทำ�ไม เหมือนฟ้าจงใจแกล้งกันครับ แล้วพอเจอก็ร�ำ คาญใจขึน้ มา ดูแล้วคัน ก็เลยเอามาฝากคุณผูอ้ า่ นทัง้ รูป และทัง้ คำ�ทีถ่ กู ต้อง แหม่ ได้ทง้ั แก้ค�ำ ได้ทั้งแก้คัน ครบครันจริงๆ

121


๔.๑

122

วันหนึ่ง ผมไปเดินเล่นชิลล์ๆ แถวสยาม และขณะที่กำ�ลัง เยื้องกรายผ่านหน้าวัดปทุมวนารามนั่นเอง สายตาผมก็ได้กวาด ไปป๊ะกับป้ายนี่เข้า ผมก็ไม่ทราบได้แน่ชัดนะครับ ว่าใครกันที่เป็นผู้ริเริ่มการใส่ ‘ส์’ ท้ายคำ�ว่า มัน เพราะว่าด้วยตัวคำ�ว่า มัน เองนั้นก็มีความหมาย ตามพจนานุกรมอยู่แล้วว่า ‘เพลิน, ถูกอกถูกใจ, ออกรสออกชาติ’ โดยไม่ต้องใส่ ส์ แต่อย่างใด อาจจะใส่ไปด้วยอารมณ์แบบ เออ ใส่ ส์ ให้ออกเสียงเอส (s) ด้วย นัยว่าจะทำ�ให้อาการเมามันนัน่ ดูเป็นพหูพจน์ ให้เมามันกันแบบ มันแล้วมันอีก มันแล้วมันเล่าเฝ้าแต่มัน แต่ทีนี้ ไอ้ มันส์ นี่มันดันฮิตเว้ยเฮ้ย! คงด้วยความที่ศัพท์ มันดูอินเตอร์เสียเหลือเกิน แหม่ คำ�ไทยมีใส่เอสด้วย เราเลยใส่กัน


อย่างบ้าคลัง่ จนตอนนีค้ �ำ ว่ามันแบบไม่ใส่ ‘ส เสือ การันต์’ นัน้ แทบจะ แปลความหมายว่าอาการ ‘โคตรพ่อโคตรแม่สนุก’ แทบไม่ได้... น่าสงสารเป็นที่สุด และทุกวันนี้ เหล่าพนักงานพิสูจน์อักษรอย่างเราๆ ก็คงต้อง เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มากันให้เพลียตับเพลียไตกันเล่นๆ บ้าง กูรู้ : เฮ้ย ไอ้คำ�ว่ามันนี่ต้องใส่ ส์ ด้วยสิ กูเอง : เอ่อ... จริงๆ มันไม่ต้องใส่ครับ แค่เขียนว่า มัน เฉยๆ ก็ได้ความหมายแล้ว กู รู้ : เหรอวะ... แต่ พ อไม่ ใ ส่ แ ล้ ว มั น รู้ สึ ก ไม่ มั น เลยว่ ะ ต้องเขียนว่า มันส์ สิ นี่ศัพท์วัยรุ่นนะ กูเอง : แต่มันไม่ถูกนะ... กูรู้ : เออ เอางี้แหละ อย่าเถียง! กูเอง : ... (เพลีย) ที นี้ กลายเป็ น พวกเราเหล่ า พิ สู จ น์ อั ก ษรเองกลั บ ต้ อ งมา ทำ�ความเข้าใจกับวัฒนธรรมความมันส์นใี้ หม่ เพราะเดีย๋ วนีค้ �ำ ว่า มัน เองก็เริ่มทำ�ให้รู้สึกสับสนบ้างแล้ว เช่น ถ้าโฆษณาคอนเสิร์ตชิ้นไหน เขียนว่า ‘งานนี้ มัน!’ คนอ่านอาจจะมีงงสัก ๒-๓ วิฯ พร้อมกับคำ�ถาม ที่ ล อยมาอย่ า งอั ต โนมั ติ ว่ า ไอ้ ที่ ว่ า งานนี้ ‘มั น แน่ ’ นี่ คื อ แปลว่ า ใส่น้ำ�มันพืชเยอะใช่มั้ย? องุ่นหรือมรกต? เป็นไขหรือเปล่า? แต่ถ้า เขียนว่า ‘งานนี้ มันส์!’ ล่ะก็ แทบจะเห็นภาพสาวเสื้อสั้นยืนสะบัดพุง อย่างเสียจริตประหนึ่งพี้ยาเลยทีเดียว

123


๔.๒

124

ผมไม่ได้ตั้งใจจะปีนเกลียวเจ๊นะครับ ต้องออกตัวไว้ก่อน แต่ค�ำ ว่า ‘ม้วนเกียว’ นีม่ นั ไม่มคี วามหมายอะไรเลย... จะว่าเจ๊จะเอา น้ำ�มันเครื่องไดเกียว เครื่องฟิตสตาร์ทติดง่าย มาช่วยม้วนผมก็ ไม่น่าจะใช่ หรือจะว่าเจ๊เป็นคอมวยขั้นฮาร์ดคอร์และชอบดูแมนนี่ ปาเกียว ต่อย เป็นการส่วนตัว ก็เลยอยากอุทิศการม้วนผมทุกวันนี้ ไปเป็นกำ�ลังใจให้ปาเกียว... แต่ถ้าเจ๊ไม่ได้มีเหตุผลที่ว่ามาข้างต้นนี้ ผมก็อยากขอให้เจ๊ ช่วยเติม ล ลิง ลงไปอีกตัวให้ผมได้มั้ยอะ ม้วนเกลียวเถอะ นะเจ๊นะ


๔.๓

ด้วยความเคารพ ผมว่ากาแฟสตาร์บัคส์เป็นกาแฟที่อร่อย และมีมาตรฐานมากๆ แม้ส่วนมากผมจะเข้าไปซื้อชาของที่นี่กิน มากกว่าก็ตาม เพราะผมดันเป็นคนไม่ชอบกินกาแฟ แต่ทกุ ครัง้ ทีห่ ยิบ กาแฟของเพื่อนมาชิม มันก็อร่อยทุกที (หรือว่าเพราะมันเป็นกาแฟ ของคนอื่นวะ? อืม...น่าคิด) และด้ ว ยความเคารพอี ก เช่ น กั น ผมว่ า การที่ ส ตาร์ บั ค ส์ ทำ�โฆษณาเรื่องกาแฟที่มีมาตรฐานแล้วเขียนคำ�ว่ามาตรฐานผิดนี่ มันตลกร้ายคุโรมาตี้ชัดๆ!

125


287




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.