มองโรคในแง่ดี

Page 1


คุณากร วรวรรณธนะชัย หนังสือในชุด Life & Inspiration ลำ�ดับที่ 007 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-017-7 พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2556 ราคา 235 บาท

ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ คุณากร วรวรรณธนะชัย. มองโรคในแง่ดี. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2556. 264 หน้า. 1. ความเรียง. I. นิรัญชา ปูรณโชติ, ผู้วาดภาพประกอบ. II. ชื่อเรื่อง. 895.914 ISBN 978-616-327-017-7

ในกรณีที่หนังสือชำ�รุด หรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือนั้นมาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ ทางสำ�นักพิมพ์ยินดีเปลี่ยนเล่มใหม่ให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น


บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข ผู้ช่วยบรรณาธิการ สุรเกตุ เรืองแสงระวี อาร์ตไดเร็กเตอร์ บพิตร วิเศษน้อย กราฟิกดีไซเนอร์ เพกา เจริญภักดิ์ กราฟิกดีไซเนอร์ เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ ภาพประกอบ/ภาพปก นิรัญชา ปูรณโชติ พิสูจน์อักษร/เลขานุการ พิมพ์นารา มีฤทธิ์ กองบรรณาธิการ นทธัญ แสงไชย กองบรรณาธิการ/เรียงพิมพ์ เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ การตลาด/ประสานงานการผลิต วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ดิจิทัลคอนเท็นต์มาสเตอร์ วิศรุต วิสิทธิ์ ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ลูกค้าสัมพันธ์ นริศรา เปยะกัง เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่

สำ�นักพิมพ์ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 3 ซอยเจริญมิตร ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2726-9996 ต่อ 22 โทรสาร 0-2714-4252 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing แยกสีและพิมพ์ บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2174-6060 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609 สั่งซื้อหนังสือราคาพิเศษ 0-2726-9996 ต่อ 49 E-mail member@daypoets.com


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว นิตยสารอะเดย์ลองทำ�สิ่งที่ไม่เคยทำ� มาก่อน (แม้วา่ ‘การทำ�สิง่ ทีไ่ ม่เคยทำ�มาก่อน’ นัน้ จะไม่ใช่สงิ่ ใหม่ส�ำ หรับ อะเดย์เลยแม้แต่นิดเดียว) นั่นคือเปิดคอลัมน์ใหม่โดยคัดเลือกจาก ไอเดียที่ส่งเข้ามาประกวดจากทั่วประเทศ คอลัมน์จ�ำ นวนกว่าร้อยทีส่ ง่ เข้ามาให้พจิ ารณา ทำ�ให้พบความจริง ว่า นักเขียนเก่งๆ จำ�นวนมาก ไม่ได้ประกอบอาชีพนักเขียน แต่กำ�ลัง ทำ�งานในรูปแบบต่างๆ อยูใ่ นสถานทีต่ า่ งๆ อย่างทีเ่ รานึกไม่ถงึ สิง่ หนึง่ ทีเ่ ห็นได้ชดั คือ มีคนเป็นจำ�นวนมากทีอ่ ยากถ่ายทอดเรือ่ งราวทีน่ า่ สนใจ จากโลกของตัวเอง ผ่านตัวหนังสือ ความสนใจของ บ.ก. ก้อง-ทรงกลด บางยี่ขัน สะดุดอยู่กับ งานเขียนของนายแพทย์หนุ่มผู้หนึ่ง ที่โดดเด่นออกมาด้วยประเด็น ที่แตกต่าง เพราะเขาเล่าเรื่องราวของสุขภาพ และชีวิตในโรงพยาบาล ในขณะทีน่ กั อยากเขียนส่วนมากยังเขียนเรือ่ งการเดินทางและความฝัน อย่ า งที่ ค นส่ ว นใหญ่ นิ ย มกั น นอกจากนั้ น เขายั ง มี ทั ก ษะในการใช้ ถ้อยคำ�ที่แพรวพราว และเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้น่าสนใจ ทำ�ให้ในที่สุด คุณากร วรวรรณธนะชัย จากจังหวัดเพชรบูรณ์ ก็ได้รับคัดเลือกให้เป็น คอลัมนิสต์คนใหม่เพียงหนึ่งเดียวของนิตยสารอะเดย์


นายแพทย์คณ ุ ากร หรือ ‘หมอคุ’ เป็นอีกหนึง่ คน นอกเหนือจาก แทนไท ประเสริฐกุล (โลกจิต, ฯลฯ), อาจวรงค์ จันทมาศ (จริงตนาการ, ฯลฯ) หรือ ชัชพล เกียรติขจรธาดา (เรื่องเล่าจากร่างกาย, ฯลฯ) และ อี ก มากมาย ที่ พิ สู จ น์ ใ ห้ เราได้ เ ห็ น ว่ า มี บุ ค ลากรสายวิ ท ยาศาสตร์ จำ�นวนมาก ที่เชี่ยวชาญในเชิงวรรณศิลป์ และใช้ความสามารถพิเศษนี้ ในการถ่ายทอดและบอกเล่าเรื่องราวที่เข้าใจยาก ให้อ่านสนุกและ ได้สาระในแบบที่มีเขาเท่านั้นที่ทำ�ได้ และตราบใดที่หมอคุยังจับปากกาไปพร้อมกับเข็มฉีดยา เพื่อให้ ทั้งการรักษากับคนไข้ ไปพร้อมๆ การให้แรงบันดาลใจกับคนอ่านต่อไป เช่นนี้ สำ�นักพิมพ์อะบุ๊กก็แน่ใจว่า เราจะได้อ่านผลงานเล่มใหม่ของเขา อีกในเวลาไม่นานเกินรอ สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก


คำ�นำ� มาร้องเย่ๆ ให้กับเรื่องแย่ๆ กันเถอะ!

ในสายตาคนทั่วไป โรงพยาบาลไม่ค่อยมีอะไรดีๆ ให้มองเห็น เท่าไหร่นัก ตึกก็เก่า แถมผู้คนก็ป่วยไข้ มองไปทางไหนก็เจอแต่ภาพ ที่ชวนให้หดหู่และท้อแท้ คราบเลือด รอยน้ำ�ตา และสารพัดบาดแผล ไม่แปลกที่คนทั่วไปมักจะนึกถึงแต่เรื่องแย่ๆ เมื่อได้ยินใครสักคนพูดถึง โรงพยาบาล ผมเคยเป็นหนึ่งในผู้คนเหล่านั้น จนกระทั่งวันที่ได้เข้ามาทำ�งานในโรงพยาบาล ผมเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลอำ�เภอแห่งหนึ่ง หลายปี ใ นโรงพยาบาลทำ � ให้ ผ มค่ อ ยๆ มองมั น เปลี่ ย นไป การตรวจรักษาคนไข้สอนอะไรบางอย่างกับผม อย่างที่อาจารย์แพทย์ หลายท่านเคยกล่าวไว้ วันสุดท้ายในรั้วมหาวิทยาลัยไม่ใช่วันสุดท้าย ของการเรียนรู้ วิชาชีพแพทย์ไม่มีวันเรียนรู้ได้จบสิ้น เราต้องเรียนรู้ มันไปตลอดชีวิต ผ่านผู้ป่วยแต่ละคน ผ่านการรักษาแต่ละครั้ง ผ่าน ความสำ�เร็จ ความล้มเหลว และผ่านชีวิตแต่ละวันในโรงพยาบาล


หากชี วิ ต คื อ โรงเรี ย นโรงใหญ่ โรงพยาบาลที่ ผ มทำ � งานอยู่ คงไม่ตา่ งอะไรกับห้องเรียนเล็กๆ ในโรงเรียนแห่งชีวติ หลายปีทผี่ า่ นมา ผมเรียน เล่น ล้ม ลุก (และบางทีกถ็ งึ กับคลุกคลาน) อยูใ่ นห้องเรียนเล็กๆ แห่งนี้ อย่างไรก็ดี ผมได้เรียนรู้สิ่งนี้จากโรงเรียนแห่งชีวิต ‘สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น-อย่างไรก็ดี’ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ล้วนเป็นบทเรียนที่ดีสำ�หรับชีวิตในวัน ต่อๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นแพทย์หรือคนไข้ ในโลกนี้ไม่มีโรคไหนแย่จนเรา ไม่สามารถเรียนรู้อะไรจากมันได้ หากเลือกมองให้ถูกแง่ ทุกโรคที่เรา คิดว่าแย่ล้วนแต่มีบทเรียนดีๆ ซุกซ่อนอยู่ บทเรียนที่เราจะได้เรียนรู้ หากรู้จักมองโรค-และโลก-ในแง่ดี ไม่เหมือนทีห่ ลายคนค่อนขอดและเข้าใจ สำ�หรับผม การมองโลก ในแง่ดี ไม่ใช่การเอาแต่หันหน้าเข้าหาเรื่องดีๆ ขณะเดียวกันก็หันหลัง ให้กับปัญหาแย่ๆ โดยไม่คิดที่จะลงมือแก้ไข ตรงกันข้าม การมองโลก ในแง่ดีคือการพยายามแก้ไขทุกปัญหาตรงหน้า ด้วยจิตใจที่ยังคงมี คุณภาพดีๆ ในโรงพยาบาล หากพบคนไข้ที่เป็นโรคร้าย ผมมักจะแนะนำ� ให้เขา มองโรคในแง่ดี การมองโรคในแง่ดี ไม่ใช่การละเลยไม่รกั ษาโรค แต่คอื การรักษา โรค โดยที่เราไม่มัวหดหู่ ท้อแท้ และสิ้นหวังไปกับโรคที่เป็น ซึ่งจากที่ได้ พบเห็น คนไข้ที่มองโรคในแง่ดีมีผลการรักษาที่ดีกว่าคนไข้ที่มองโรค ในแง่ร้ายอย่างเห็นได้ชัด


การมองโลกในแง่ดี ก็เช่นเดียวกับ การมองโรคในแง่ดี มันไม่ใช่ การคิดว่า เรือ่ งร้ายๆ จะกลายเป็นดีได้โดยทีเ่ ราไม่ตอ้ งเข้าไปจัดการอะไร ตรงกันข้าม มันคือการพยายามหามุมมองใหม่ๆ ที่ทำ�ให้จิตใจของเรา ยังดีอยู่ได้ ขณะจัดการแก้ไขเรื่องร้ายๆ นั้น ในโลกที่ กำ � ลั ง ถูกรุมเร้าด้วยโรคมากมาย การจะรั ก ษาโรคนี้ (ให้หาย) และรักษาโลกนี้ (ให้คงอยู่ต่อไป) เราอาจต้องใช้การมอง โรค-และโลก-ในแง่ดี ‘มองให้เห็นคำ�ว่า เย่ ในคำ�ว่า แย่ จากนัน้ ก็ตงั้ หน้าตัง้ ตาแก้ปญ ั หา แย่ๆ ด้วยจิตใจที่ร้อง เย่ๆ’ หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อเชิญชวนให้คุณลองมองโลกในแง่นี้ มาร้อง เย่ๆ ให้กับเรื่อง แย่ๆ กันเถอะ!


สารบัญ 13 21 27 35 43 51 59 67 77 87 99 107 115 121 127

เรื่องลึกลับที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล: รายการเรียลิตี้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โปรดฟังทางนี้ ข้างหลังป้าย เหตุผลที่ผมเขียนเรื่องนี้ในอะเดย์ฉบับนี้ ช่วยด้วย! บริษัท เวลามี จำ�กัด (Velame Co., Ltd.) คำ�บอกของดอกไม้: Based on tree story หวัดดี บทเรียนจากเชียงดาว ชวนชม ฅ. ส่ง ความ สุข จะได้ไม่ลืมกัน เทพารักษ์กับคนขับมอเตอร์ไซค์


สวยสดเพราะงดงาม จุดประสงค์การเรียนรู้ อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ยาแก้อายน้ำ�ดำ� ตราเสือสิบเจ็ดตัว เหตุผลที่คนควรอยู่ด้วยกัน บทเรียนล้ำ�ค่าราคา 99 บาท ของขวัญวันเกิด แลดูคนดูแล ความรักของมนุษย์ต่างดาว (ฉบับฮาวทู) ความพยายาม กับ คำ�พยากรณ์ ความลับในตู้เสื้อผ้า ค่าปรับ กับ แผลเป็น พิชิตโรคติดต่อมหาภัย ชิงช้าสวรรค์รอบสุดท้าย กับ คุณยายเตียง 22 ก้อนหินบนสนามเทนนิส กับ ชีวิตในโรงพยาบาล แล้วพบกันใหม่

135 143 151 159 167 175 183 191 199 207 215 223 231 239 247 255



เรื่องลึกลับที่ยังพิสูจน์ ไม่ ได้ ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอก


โรงพยาบาลเต็มไปด้วยเรื่องลึกลับ แม้ไม่ได้ท�ำ งานในโรงพยาบาล แต่คณ ุ น่าจะเคยได้ยนิ เรือ่ งลึกลับ ในโรงพยาบาลมาบ้างไม่มากก็นอ้ ย เรือ่ งราวของลิฟต์เก่าๆ ทีเ่ ต็มไปด้วย อดี ต อั น เป็ น ปริ ศ นา คนไข้ ช รากั บ ด้ า ยสี แ ดงบนข้ อ มื อ รอยเลื อ ด ลึกลับที่ค่อยๆ ซึมออกมาจากฝ้าเพดาน หญิงสาวในชุดพยาบาลที่ มักปรากฏกายให้เห็นตอนเที่ยงคืน ฯลฯ ผมเคยฟังเรื่องเล่าเหล่านี้ มามากมาย ทุกครั้งที่ฟังจบ ผมดีใจที่ไม่ได้ประสบกับมันด้วยตัวเอง แต่ผมก็ดีใจได้ไม่นาน... เรื่องที่ผมกำ�ลังจะเล่าต่อไปนี้มาจากประสบการณ์ตรงของผม มันอาจไม่ชวนขนลุกขนชันเท่ากับเรือ่ งอืน่ ๆ ทีค่ ณ ุ เคยฟัง อย่างไรก็ตาม ผมมัน่ ใจว่านีค่ อื เรือ่ งลึกลับเรือ่ งแรก-หรืออาจจะเรือ่ งเดียว-ทีใ่ ห้โอกาส คุณได้พิสูจน์ความจริงของมัน...ด้วยตัวคุณเอง 14


มันเป็นเรื่องลึกลับที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ แต่คุณสามารถมาพิสูจน์ มันได้เสมอ-ในโรงพยาบาล เรือ่ งนีเ้ กิดขึน้ กลางวันแสกๆ ท่ามกลางคนไข้มากมายทีม่ ารอรับ การตรวจบริเวณอาคารผู้ป่วยนอก ในโรงพยาบาลที่ผมทำ�งานอยู่ ถ้าคุณไม่เคยไปโรงพยาบาล ขอให้คุณนึกภาพโถงกว้างใหญ่ ที่มีม้านั่งยาวเรียงรายเป็นแถวๆ คนไข้มากมายนั่งกันเต็มความจุของ ม้านั่ง คนไข้ส่วนที่เหลือพยายามพาตัวเองไปยืนตามพื้นที่ว่างเท่าที่ พอจะหาได้ ริมโถงด้านหนึ่งคือห้องตรวจแพทย์ คนไข้จะถูกเรียกเข้า ห้องตรวจทีละคนตามลำ�ดับคิว ชัดเจนว่ามันเป็นเพียงห้องโถงธรรมดาๆ แม้สืบประวัติย้อนไป คุณก็จะไม่พบตำ�นานอะไรทีช่ วนสงสัย (เช่น เคยเป็นป่าช้าเก่า หรืออะไร ทำ�นองนี้) อย่างไรก็ตาม หากคุณได้มาสัมผัสที่นี่ คุณจะรู้สึกได้ทันทีว่า พื้นที่ธรรมดาๆ แห่งนี้มีพลังบางอย่างที่อธิบายไม่ได้โอบคลุมอยู่ หวังว่าคุณยังจำ�ความรู้สึกนั้นได้ ความรู้สึกของการนั่งรอบนม้านั่งไร้พนักพิง สายตาเหลือบมอง นาฬิกาข้อมือเป็นระยะ หากไม่มีบนข้อมือตัวเอง ก็มองบนข้อมือ คนอื่น หรือไม่ก็มองนาฬิกาติดผนังที่โรงพยาบาลนำ�มาติดตั้งไว้ให้ ผู้มารอรับบริการได้จ้องมอง ติ๊ก ติ๊ก ติ๊ก ไม่ว่าจะจ้องนานแค่ไหน เข็มนาฬิกาก็ไม่เคยเดินเร็ว ไปกว่าเดิม เมือ่ ไม่ประสบผลสำ�เร็จในการเพ่งนาฬิกา และหลังจากไล่สายตา อ่านป้ายประกาศทุกป้ายจบไปแล้วหลายสิบรอบ สายตาคุณจะเปลีย่ น เป้าหมายไปยังประตูห้องตรวจที่กั้นด้วยผ้าม่านบางๆ คุณเห็นคนไข้ คนหนึ่งเดินเข้าไป...ผ่านไปเนิ่นนาน...คนนั้นกลับออกมา...อีกคน 15


เข้าไป...ยังคงเนิ่นนาน...คนนั้นเดินออกมา...อีกคนเข้าไป...คนแล้ว... คนเล่า... ในที่สุด โดยไม่รู้ตัว คุณจะป้องปากหันไปกระซิบกับเพื่อนที่มา ด้วยกันด้วยประโยคประมาณนี้-หมอที่นี่ ช้าเป็นเต่าเลย (ว่ะ) การต้องรีบออกจากบ้านแต่เช้าตรู่เพื่อมาจับจองบัตรคิว เวลา ร่วมสองชัว่ โมงทีห่ มดไปกับการนัง่ รออย่างไร้ความหวัง สิง่ เหล่านีท้ �ำ ให้ ความรู้สึกในแง่ลบต่อเต่าตัวนั้นดูสมเหตุสมผลดีทีเดียว อย่างไรก็ตาม เรื่องลึกลับที่ผมพูดถึงกำ�ลังจะเกิดขึ้นต่อจากนี้! เมื่อเวลาค่อยๆ คืบคลานไป เมื่อคุณค่อยๆ เขยิบเขยื้อนเลื่อน ตำ�แหน่งตามคิวไปเรือ่ ยๆ ในทีส่ ดุ คุณก็ได้แหวกม่านผ่านประตูหอ้ งตรวจ เข้าไปนั่งต่อหน้าแพทย์ แพทย์จะมองหน้าคุณ บอกให้คุณอ้าปาก ใช้หูฟังฟังที่บริเวณ หน้าอก กดๆ คีย์บอร์ด อธิบายเล็กน้อย แล้วบอกให้คุณไปรับยา ถึ ง ตอนนี้ คุ ณ จะทำ � หน้ า เหลอหลาขณะคิ ด ในใจ-จะรี บ ตรวจ ไปไหน (วะ) คุณอาจไม่รตู้ วั แต่ดเู หมือนคุณกำ�ลังอยากให้เต่าตัวนัน้ กลับมา! นีแ่ หละครับ เรือ่ งลึกลับทีย่ งั พิสจู น์ไม่ได้ ณ ห้องตรวจผูป้ ว่ ยนอก มองอย่างนักฟิสกิ ส์ อะไรบางอย่างในห้องตรวจอาจเป็นตัวการ ทำ�ให้กาล-อวกาศ (space-time) โค้งงอ และนั่นอาจส่งผลต่อให้เกิด การบิดเบีย้ วของเวลา การรับรูเ้ วลาของเราจะเปลีย่ นไป เพียงก้าวเข้ามา ในอาณาเขตของห้องตรวจ มันไม่ได้เกิดขึน้ กับคุณเท่านัน้ เท่าทีผ่ มเห็นมา มันเกิดขึ้นกับทุกคน ในฐานะแพทย์คนหนึง่ ผมหมกมุน่ ทีจ่ ะหาคำ�อธิบายให้กบั เรือ่ งนี้ ไม่ใช่เพราะผมสนใจเรือ่ งลึกลับเหนือธรรมชาติอะไรหรอกครับ แต่เพราะ 16


ปรากฏการณ์นี้ ทำ�ให้ผมเกิดความสับสนในตัวเองเป็นอย่างมาก ผมไม่รู้ ว่าควรตรวจคนไข้ ด้วยการทำ�เวลาตามใจคนไข้กลุ่มไหนดี: กลุ่มที่นั่งหน้าหงิกอยู่นอกห้อง หรือกลุ่มที่นั่งหน้าหงิกอยู่ในห้อง? หลายวั น ที่ ผ่ า นมา ข้ า วของในห้ อ งตรวจทุ ก ชิ้ น ถู ก สำ � รวจ ตรวจตราหลายต่อหลายรอบ อ่างล้างมือ ลิ้นชักทุกชั้น ถังขยะทั้งชนิด ทัว่ ไปและติดเชือ้ กล่องบรรจุกระดาษสำ�หรับเช็ดมือ รวมทัง้ ใต้มา้ นัง่ ยาว หน้าห้องตรวจ ทุกอย่างถูกตรวจสอบอย่างละเอียด แต่กระนั้นผมก็ยัง ไม่พบวัตถุต้องสงสัย วันหนึ่ง ขณะเริ่มสำ�รวจห้องตรวจเป็นรอบที่เจ็ด ผมหันมอง ซ้ายขวา แล้วโดยไม่รู้ตัว อะไรบางอย่างก็ทำ�ให้ผมนึกถึงเรื่องราวของ มือซ้ายกับมือขวาที่ หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ พระภิกษุชาวเวียดนาม เคยเล่าไว้ “...มื อ ข้ า งขวาของฉั น ทำ � หลายสิ่ ง หลายอย่ า งที่ มื อ ข้ า งซ้ า ย ทำ�ไม่ได้ เมื่อฉันเขียน ฉันเขียนด้วยมือข้างขวา เมื่อฉันเชิญระฆัง ฉันใช้มือข้างขวา แต่ถึงกระนั้น มือข้างขวาก็ไม่เคยบ่นว่ามือข้างซ้ายว่า ‘ดู สิ มื อ ซ้ า ย ฉั น ทำ � ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า ง แต่ ดู เ หมื อ นว่ า เธอจะไม่ ไ ด้ ทำ � ประโยชน์อะไรเลย’ มือซ้ายเองก็ไม่เคยเป็นทุกข์เพราะมีความคิดเห็น ว่าตนเองต่ำ�ต้อยด้อยค่ากว่า วันหนึ่ง ฉันถูกร้องขอให้แขวนภาพบนผนัง ฉันเตรียมค้อนและ ตะปู แต่เพราะมีสติไม่มากพอ จึงพลาดทำ�ให้เลือดออกทีน่ วิ้ มือข้างซ้าย ทันใดนัน้ มือข้างขวาโยนค้อนทิง้ ทันทีแล้วรีบดูแลมือข้างซ้าย มือข้างขวา ไม่ ไ ด้ บ อกกั บ มื อ ข้ า งซ้ า ยว่ า ‘จำ � ไว้ น ะ ครั้ ง นี้ ฉั น ช่ ว ยเธอ แต่ ต่ อ ไป เธอต้องตอบแทนฉัน’ หรือมือข้างซ้ายก็ไม่ได้พูดว่า ‘ช่างไม่ยุติธรรม 17


เธอทำ�ให้ฉันเจ็บปวด’ ทัง้ มือข้างซ้ายและมือข้างขวาต่างมีปญ ั ญาแห่งการไม่แบ่งแยก...” แล้ ว ผมก็ พ บคำ � ตอบ! เส้ น ผมบั ง ภู เ ขาจริ ง ๆ! สิ่ ง ที่ ทำ � ให้ เ กิ ด ปรากฏการณ์ลึกลับนี้ตั้งอยู่ต่อหน้าต่อตาผมมาตลอด ผมพลาดไปเอง ที่มัวมองหาแต่สิ่งที่อยู่ในห้องและนอกห้อง โดยไม่เคยมองสิ่งที่อยู่ ระหว่างนั้น! ผมใช้มือสัมผัสกำ�แพงปูนที่หนาไม่ถึงสิบเซนติเมตรตรงหน้า มันคือกำ�แพงทีก่ นั้ ระหว่างในและนอกห้องตรวจ คือกำ�แพงทีก่ นั้ ระหว่าง คนไข้ที่กำ�ลังตรวจและคนไข้ที่กำ�ลังรอ คือกำ�แพงที่กั้นระหว่างคุณ และผม เราและเขา ฉันและเธอ คือกำ�แพงที่แบ่งแยกเราออกจากกัน จะดีแค่ไหนหากโลกไร้กำ�แพง? หากไม่มกี �ำ แพงทีก่ นั้ แบ่งเราออกจากกัน ในห้องตรวจผูป้ ว่ ยนอก จะไม่มีใครทุกข์ใจเมื่อต้องรอนาน เพราะยิ่งเรารอนานขึ้นเท่าไหร่ ใคร อีกคนก็จะได้รับการตรวจรักษาอย่างละเอียดลออมากขึ้นเท่านั้น หากไม่มีกำ�แพงที่กั้นแบ่งเราออกจากกัน ที่สถานีขนส่ง จะไม่มี ใครเสียใจหากรถโดยสารที่จะจองกลับบ้านช่วงปีใหม่ถูกจองเต็มจนถึง วันสุดท้ายของช่วงเทศกาล เพราะถึงเราจะไม่ได้กลับบ้าน แต่อย่างน้อย ใครอีกคนก็กำ�ลังมีความสุขที่จะได้กลับบ้าน...แทนเรา หากไม่มีกำ�แพงที่กั้นแบ่งเราออกจากกัน บนรถเมล์ จะไม่มีใคร หงุดหงิดใจหากต้องยืนโหนรถไปตลอดทาง เพราะหากเราต้องยืน นั่นหมายความว่า ใครอีกคน-อาจเป็นเด็กเล็กๆ หรือยายแก่ๆ สักคนจะมีโอกาสได้นั่งพิงหลังอย่างสบายไปตลอดการเดินทางนั้น หลายคนเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า การมองโลกในแง่ดี 18


แต่สำ�หรับผม นี่คือพื้นฐานของการเกื้อกูลกัน ไม่ตอ้ งรอให้ถงึ วันทีโ่ ลกไร้ก�ำ แพง ในโลกปัจจุบนั ทีย่ งั เต็มไปด้วย ‘การแบ่ง’ เราทุกคนยังคงมีสิทธิ์เลือกเสมอ ว่าเราจะ ‘แบ่งแยก’ หรือ ‘แบ่งปัน’

19



คำ�บอกของดอกไม้: Based on tree story


Talk to Tree ช่วงนี้ ผมกำ�ลังคบหาดูใจอยู่กับต้นไม้ต้นหนึ่ง จุดเริม่ ต้นของความสัมพันธ์เกิดขึน้ เมือ่ หลายเดือนก่อน ตอนนัน้ ผมมีเหตุให้ต้องเดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อทำ�ธุระบางอย่าง ช่วงเวลา เดียวกันนัน้ เอง พีก่ อ้ ง-ทรงกลด บ.ก.นิตยสารอะเดย์ ก็จดั กิจกรรมเล็กๆ เชิญชวนผู้คนที่สนใจมาทำ�ความรู้จักกับต้นไม้ในจุฬาฯ โดยมีวิทยากร คือ อาจารย์ยงยุทธ จรรยารักษ์ นักพฤกษศาสตร์ที่สอนเรื่องต้นไม้ ด้วยต้นไม้-ไม่ใช่ด้วยตำ�รา กิจกรรมนี้มีชื่อว่า Talk to tree ต้องออกตัวก่อนว่า ในด้านความรู้ ผมไม่ค่อยรู้จักต้นไม้เท่าไหร่ ต้นแบบนี้ใบแบบนี้ต้นอะไรอย่ามาถาม ผมไม่มีทางตอบได้ ส่วนด้าน ความสนใจ ผมสนใจต้นไม้เท่าๆ กับที่คนทั่วไปสนใจ ซึ่งก็หมายความ ว่าไม่ค่อยจะสนใจนั่นแหละ (จะเขียนให้ยากทำ�ไม!) แต่ด้วยวันเวลา ทีแ่ สนจะเป็นใจขนาดนี้ ทีส่ ดุ แล้วผมก็ตดั สินใจลองมอบโอกาสให้ตวั เอง ดูสักครั้ง 68


เพราะบางที สิ่งที่ไม่เคยสนใจก็อาจกลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ขอเพียงเราให้โอกาสมัน

One to Tree วั น นั้ น ผมไปสาย ตามประสาคนต่ า งจั ง หวั ด ที่ ไ ม่ รู้ ว่ า ศาลา พระเกี้ยวตั้งอยู่ตรงส่วนไหนของจุฬาฯ “ต้นไม้คือเพื่อนของผม ผมไปที่ไหนก็ไม่เหงา เพราะผมมีเพื่อน อยู่ทุกที่” อาจารย์ยงยุทธกำ�ลังพูดประโยคนี้ตอนที่ผมเดินลับๆ ล่อๆ เข้าไปสบทบกับกลุ่ม ผมเห็นสมาชิกหลายคนกำ�ลังขยับปากกาในมือ จดความรู้ข้นๆ และคำ�พูดคมๆ ของอาจารย์ ฟังทฤษฎีได้ไม่ทนั ไร อาจารย์กช็ วนชาวคณะออกเดินเพือ่ พบปะ ของจริง พวกเราได้สนทนากับต้นไม้หลายต่อหลายต้น แน่นอนว่า โดยมีอาจารย์ยงยุทธรับหน้าที่เป็นล่ามแปลภาษาต้นไม้ให้พวกเราฟัง แค่ ค รึ่ ง ชั่ ว โมงแรกผมก็ เชื่ อ แล้ ว อาจารย์ มี เ พื่ อ นเป็ น ต้ น ไม้ อย่างที่อาจารย์ว่าไว้จริงๆ เป็น ‘เพื่อน’ ในความหมายเดียวกับที่เราใช้ กับเพื่อนของเรานั่นแหละ อาจารย์รู้จักชื่อเพื่อนของอาจารย์ทุกคน (รวมทั้งชื่อพ่อชื่อแม่!) รู้ประวัติความเป็นมา ข้อเด่นข้อด้อย รวมไปถึง นิสัยใจคอของพวกเขา เวลาอยู่ด้วยกัน อาจารย์และเพื่อนๆ ไม่เพียงสนิทสนม แต่ยัง เต็มไปด้วยความสนุกสนาน วันนั้น ผมรู้สึกอิจฉาอาจารย์ที่มีเพื่อนเป็นต้นไม้ แต่ วั น นี้ เมื่ อ นึ ก ย้ อ นกลั บ ไป ผมกลั บ อิ จ ฉาเหล่ า ต้ น ไม้ ที่ ไ ด้ อาจารย์เป็นเพื่อน เพราะตลอดทั้ง วัน วัน นั้น สิ่ง ที่อ าจารย์พูดและทำ � ไม่ ใช่ เ พื่ อ อะไรอื่น นอกจากเพื่อเพื่อนทั้งหลายของอาจารย์นั่นเอง 69


Man eye view บ่ายแก่ๆ วันนั้น กิจกรรมดำ�เนินมาจนถึงช่วงสุดท้าย พวกเรา นั่งลง จากนั้นอาจารย์ยงยุทธก็โยนคำ�ถามเข้ากลางวง “วันนี้ แต่ละคน ได้อะไรกันบ้าง?” “เมื่ อ ยคอมาก” เพื่ อ นที่ ผ มชวนมาด้ ว ยกั น ตอบอาจารย์ ไ ป อย่างนั้น ผมมองเธองงๆ เฮ้ย! พูดแบบนี้ได้ไง มาเรียนรู้กับอาจารย์ ตังค์กไ็ ม่เสีย นีย่ งั จะมาบ่นอีก! ผมคิดในใจขณะมองหน้าเธอ ก่อนจะรีบ หันหน้าหนี พยายามทำ�ทีเป็นว่าไม่ได้มาด้วยกัน แต่แล้วผมก็ตระหนักว่ามองเธอผิดไป เมือ่ เธอเริม่ อธิบายเหตุผล ของคนเมือ่ ยคอ เธอบอกว่านัน่ เป็นเพราะทีผ่ า่ นมาเธอไม่เคยต้องแหงน หน้ามองต้นไม้สูงๆ มากเท่านี้มาก่อน เท่านั้นเองผมก็หันไปมองเธอ อีกครั้ง คราวนี้ด้วยความภาคภูมิใจ นี่ๆ คนนี้ไงที่ผมชวนมา! เพราะมันจริงอย่างเธอว่า ปกติเราไม่คอ่ ยให้โอกาสตัวเองแหงน มองท้องฟ้าหรือยอดไม้สูงๆ พอๆ กับที่ไม่ค่อยให้เวลาตัวเองก้มมอง ใบไม้แห้งๆ หรือมดแมลงตามพื้นดิน เรามั ก จะมองสิ่ ง ต่ า งๆ แค่ ร ะดั บ สายตาของเรา เราเห็ น แต่ พวกเดียวกันรวมทั้งผลิตภัณฑ์ของพวกเดียวกันเอง คนนั้นหล่อจัง นะเธอ, คนโน้นหุน่ เฟิรม์ มาก, อาหารร้านนีห้ า้ มพลาดนะ, หนังเรือ่ งนัน้ น่าดูมั้ย, ไอโฟนรุ่นใหม่ออกรึยัง ฯลฯ เมื่อไม่เคยมองสิ่งที่พ้นระดับ สายตาตั ว เอง สุ ด ท้ า ยเราก็ เ ลยรั ก กั น เอง เข้ า ใจกั น เอง คิ ด กั น เอง และเป็นกันเอง เป็นกันเองซะจนไม่เกรงใจใคร Home…Alone โลกคือบ้านหลังใหญ่ 70


สมัยโน้น ตอนพวกเราย้ายเข้ามาที่นี่ใหม่ๆ (โดยไม่มีแม้เสื่อ สักผืนหรือหมอนสักใบ) เจ้าของบ้านยิ้มต้อนรับและเชื้อเชิญพวกเรา ‘ทำ�ตัวตามสบายนะ’ กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เจ้าของบ้านก็เชื้อเชิญด้วย รอยยิ้มฉันมิตรไม่ต่างกัน เผ่าพันธุ์อื่นล้วนเกรงใจเจ้าบ้าน มีแต่มนุษย์ อย่างเราเท่านั้นที่ทำ�ตัวตามสบายกันอย่างออกหน้าออกตา เราถือ วิสาสะขึ้นไปกระโดดโลดเต้นบนโซฟา รื้อค้นตู้เสื้อผ้า คุ้ยลิ้นชัก สำ�รวจ ตูเ้ ซฟ เราเปิดตูเ้ ย็นหาของกินกันตามใจชอบ เราถึงกับจัดระเบียบตูเ้ ย็น ซะใหม่ อะไรไม่ชอบเราก็ขนทิ้งไป อะไรที่ชอบก็หามาเติมซะจนเต็ม เราทำ�เช่นนี้โดยไม่เคยปรึกษาเจ้าของบ้านหรือเพื่อนร่วมบ้านรายอื่นๆ เลย ไม่มใี ครเห็นด้วยกับการกระทำ�ของเรา แต่กไ็ ม่มใี ครกล้าทำ�อะไร พอเห็นอย่างนั้นพวกเราเลยยิ่งได้ใจ เราเริ่มโครงการปรับปรุงบ้าน ขนานใหญ่ เริ่มเปลี่ยนขนาดของประตูหน้าต่างให้เหมาะสมกับรูปร่าง ของพวกเรา ถึงตอนนี้เพื่อนร่วมบ้านหลายรายเริ่มทนไม่ไหว พวกเขา ยกมือคัดค้าน วันต่อมาพวกเขาก็หายตัวไปอย่างลึกลับ เจ้าของบ้านตัวจริงก็เช่นกัน เขาหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่มีใครรู้ พวกเราไม่เคยคิดถึงเขาเลยจนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ เมื่อบ้านที่เราต่อเติม จนใหญ่โตเริ่มสั่นไหว หลังคาเริ่มรั่ว ผนังเริ่มร้าว เครื่องปรับอากาศ เริ่มส่งเสียงแปลกๆ แถมตู้เย็นก็ไม่ทำ�งาน จนเมื่อน้ำ�แข็งในช่องแช่แข็ง เริ่มละลายและน้ำ�นองเต็มพื้นนั่นแหละ พวกเราถึงเริ่มตระหนักว่า บ้ า นหลั ง นี้ กำ � ลั ง มี ปั ญ หา คนเดี ย วที่ รู้ โ ครงสร้ า งของมั น ดี ที่ สุ ด ก็ คื อ เจ้าของบ้าน ซึ่งตอนนี้หายไปไหนแล้วก็ไม่รู้ พวกเราก็เลยได้แต่ยืนเดียวดายอยู่ในบ้านที่กำ�ลังจะพังแหล่ มิพังแหล่หลังนี้ โดยไม่รู้สักนิดว่าควรจะซ่อมแซมมันอย่างไร 71


We are the World? หรือโลกใบนี้กำ�ลังป่วย? ข้อสังเกตนี้เริ่มหนาหูในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตอนฟังผ่านๆ ครั้งแรก ผมเข้าใจว่ามันเป็นการเปรียบเทียบ แต่เมื่อลองคิดดูดีๆ ผมก็ เริ่มลังเล จริงอยู่ ผมอาจไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องโลก แต่ถ้าเป็นเรื่องโรค ผมก็พอจะรู้อยู่บ้าง และไม่ว่าจะเป็นโรคติดเชื้อหรือโลกติดเชื้อ ผมว่า มันก็น่าจะมีอาการคล้ายๆ กัน เรื่องราวของโรคติดเชื้อแทบทุกชนิด มักจะเริ่มต้นจากความ พยายามของเชือ้ โรคตัวเล็กจิว๋ กับการหาวิธแี ทรกซึมเข้าสูร่ า่ งกายมนุษย์ เมื่อเข้ามาได้ พวกมันจะเริ่มก่อร่างสร้างตัวจากชุมชนเล็กๆ แพร่พันธุ์ เพิม่ จำ�นวนและเริม่ ยึดครองพืน้ ที่ จากเซลล์หนึง่ สูเ่ ซลล์หนึง่ จากอวัยวะ หนึ่งสู่อวัยวะหนึ่ง ก่อนที่สุดท้ายพวกมันจะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย มาคิดๆ ดู ผมว่าบางทีเราก็มองเชื้อโรคเหล่านี้ในแง่ร้ายเกินไป หน่อย ในความคิดคนส่วนใหญ่ เชื้อโรคไม่ต่างอะไรกับฆาตกรโรคจิต ที่จ้องแต่จะฆ่าแกงผู้คนอย่างไร้เหตุผล ทั้งที่ความจริงแล้ว พวกมันก็แค่ อยากจะหาที่อยู่อาศัยดีๆ สักแห่ง อยากสืบทอดเผ่าพันธุ์ของมันเอง อยากมีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง แย่หน่อยที่ความอยากเหล่านั้น ทำ�ให้ร่างกายของคนที่พวกมันอาศัยอยู่ต้องพลอยเจ็บพลอยไข้ไปด้วย แต่จะโทษมันก็ไม่ได้ เพราะเชือ้ โรคไม่ได้มรี ะบบประสาททีพ่ ฒ ั นา มาดีพอที่จะ ‘คิด’ ดังนั้นพวกมันจึงไม่ฉลาดพอจะคิดได้ว่า หากคน คนนั้นตายไป พวกมันก็ไม่รอดเหมือนกัน ในโลกที่กำ�ลังติดเชื้อ ผมกำ�ลังสงสัยว่า เราคือโลก หรือเรา คือโรค? 72


Flower Point กลับมาที่บ้านหลังใหญ่-ที่ใกล้จะพังทลาย หลังจากยืนงงกันอยู่พักใหญ่ ในที่สุดสิ่งมีชีวิตที่มีสมองซับซ้อน ที่ สุ ด ในโลกอย่ า งพวกเราก็ คิ ด บางอย่ า งขึ้ น มาได้ เราเริ่ ม มองไปที่ ผู้ร่วมอาศัยรายอื่นๆ (เอ่อ ที่ยังพอหลงเหลืออยู่) ที่ผ่านมา พวกเขา และเจ้าของบ้านดูจะสนิทสนมกันดีทีเดียว ไม่แน่ว่าบางทีเจ้าของบ้าน อาจเคยบอกอะไรกับพวกเขาไว้บ้าง และในเมื่ อ อาจารย์ ย งยุ ท ธบอกว่ า อาจารย์ ก็ เ ป็ น เพื่ อ นกั บ พวกเขา ผมเลยได้แต่คิดเข้าข้างตัวเองว่าบางทีคำ�ตอบของปัญหา บ้านๆ นี้อาจจะอยู่ในนิทานที่อาจารย์เล่าปิดท้ายกิจกรรมในวันนั้น มันเป็นเรื่องของชายคนหนึ่ง เขามีหน้าที่ต้องไปหาบน้ำ�เพื่อนำ� มาใช้ที่บ้าน ทุกวันเขาต้องหาบไม้คานที่ปลายแต่ละข้างมีหม้อห้อยอยู่ เพือ่ ไปตักน้�ำ ทีล่ �ำ ธาร ปลายข้างหนึง่ ของไม้คานเป็นหม้อดินเผาทีม่ รี อย แตกรั่ว ในขณะที่ปลายอีกข้างเป็นหม้อเหล็กไร้รอยตำ�หนิ ด้วยระยะทางอันยาวไกล ทำ�ให้กว่าชายหนุ่มจะเดินหาบน้ำ� กลับมาถึงบ้าน น้ำ�ในหม้อดินเผาซึ่งรั่วออกตามรายทางก็เหลืออยู่ เพียงครึง่ เดียว ในขณะทีใ่ นหม้อเหล็กน้�ำ ยังคงเต็มอยูเ่ ช่นเดิม เหตุการณ์ เป็นเช่นนี้ทุกวันนานเกือบสองปี จนกระทั่งวันหนึ่งชายหนุ่มก็รู้สึกว่า ถึงเวลาแล้วที่เขาควรจะต้องเปลี่ยนหม้อดินเผาเป็นหม้อเหล็กใบใหม่ เสียที เขารู้สึกว่าตัวเองโง่เหลือเกินที่มัวเสียเวลากับหม้อดินเผาเก่าๆ ใบนี้ เขาเริ่ มโมโหตัวเองและนึกเสียดายเวลาเกือ บสองปี ที่ ผ่ า นมา นี่ถ้าเขาตัดสินใจเปลี่ยนมันซะตั้งแต่ตอนนั้น เขาคงจะไม่... ...คงจะไม่มีโอกาสได้เห็นอะไรอย่างนี้! 73


ทันทีทชี่ ายหนุม่ หลุบสายตาลงจากระดับเดิมทีเ่ คยชิน เขาก็เห็น มวลหมูด่ อกไม้ทผี่ ลิบานตลอดริมเส้นทางในฝัง่ ของหม้อดินเผา น้�ำ ทีร่ วั่ ออกมาตลอดเวลาเกือบสองปีนนั่ เองทีท่ �ำ ให้ดอกไม้เติบโตและเบ่งบาน ในขณะที่อีกฟากฝั่ง ผืนดินยังคงเหือดแห้งและแตกระแหงอย่างที่มัน เคยเป็น ผมเคยฟังนิทานเรื่องนี้มาหลายครั้ง แต่ผมไม่เคยได้ยินใครสรุป มันอย่างที่อาจารย์ยงยุทธสรุปให้พวกเราฟังในวันนั้น “มิตรภาพที่แท้จริง คือมิตรภาพที่เริ่มเผื่อแผ่ไปสู่ชีวิตอื่นที่ไม่ใช่ มนุษย์” บางที นัน่ อาจจะเป็นวิธกี ารซ่อมแซมบ้านทีพ่ วกเรากำ�ลังตามหา กันอยู่ Today’s lesson: Listen to they ช่วงที่ผ่านมา ผมกำ�ลังคบหาดูใจอยู่กับต้นไม้ต้นหนึ่ง เธอเป็นไม้พุ่มต้นเล็กๆ ขึ้นอยู่ริมทางที่ผมต้องเดินผ่านไปมา เป็นประจำ� ใบหยักๆ ของเธอเกาะกลุ่มกันเป็นพุ่มกลม แม้จะตุ้ยนุ้ย ไปหน่อย แต่ผมว่าเธอก็ดูน่ารักดี วันหนึ่ง ดอกตูมเล็กๆ ดอกหนึ่งปรากฏขึ้นท่ามกลางพุ่มใบหยัก สีเขียว หลังจากนั้นตอนเดินผ่านผมเป็นต้องคอยแอบมองพัฒนาการ ของมันทุกวัน จนวันนี้ วันที่กลีบดอกสีเหลืองสดคลี่บานเต็มที่ ไม่ต้อง บอกก็รู้ว่านี่คือของขวัญ เธอคงตั้งใจมอบมันให้กับผม ขณะยื่นมือไปหมายจะปลิดขั้วดอก อะไรบางอย่างก็ทำ�ให้ผม ถอนมือกลับ ผมยืนอยู่ตรงนั้นครู่หนึ่ง ทั้งที่เสียดาย แต่ในที่สุดก็ตัดสินใจ เดินออกมา 74


ไม่รู้หูฝาดไปเองหรือเปล่า ตอนจะเด็ดดอกไม้ดอกนั้น ผมคล้าย ได้ยินเธอพูดออกมา ‘ดอกไม้บานให้คุณค่า ไม่ใช่บานให้คุณฆ่า’ Tree/We: TELE-VISION ต้นไม้มีคุณค่ามากมายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สำ�หรับมนุษย์ ต้นไม้คือปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้ชีวิตดำ�รงอยู่ได้ ต้นไม้คืออาหาร คือเครื่องนุ่งห่ม คือที่อยู่อาศัย และที่สำ�คัญ คือ ยารักษาโลก ชีวิตของเราขึ้นอยู่กับต้นไม้ ชีวิตของต้นไม้ขึ้นอยู่กับเรา

75



ชิงช้าสวรรค์รอบสุดท้าย กับ คุณยายเตียง 22


วันหนึ่ง ขณะเดินผ่านตึกผู้ป่วยใน ผมได้ยินบทสนทนาระหว่าง ญาติและคนไข้โดยบังเอิญ “ไหวมั้ย” ญาติที่นั่งข้างเตียงถามด้วยน้ำ�เสียงเศร้าๆ “ไม่ ไ หวแล้ ว ” ยายบนเตี ย ง 22 ตอบด้ ว ยน้ำ � เสี ย งอ่ อ นล้ า ผ่านหน้ากากออกซิเจน โดยทั่ ว ไป เตี ย งของผู้ ป่ ว ยอาการหนั ก มั ก ถู ก จั ด ไว้ ใ กล้ กั บ เคาน์ เ ตอร์ พ ยาบาล ในตึ ก ผู้ ป่ ว ยของโรงพยาบาลที่ ผ มทำ � งานอยู่ เตียง 22 คือเตียงที่อยู่ใกล้เคาน์เตอร์พยาบาลมากที่สุด “รักษายายให้หายนะ” ตอนเจอกันครั้งแรก คุณยายเตียง 22 พู ด ประโยคนี้ กั บ ผม ตอนนั้ น ยายยั ง นอนบนเตี ย งที่ อ ยู่ ห่ า งจาก เคาน์ เ ตอร์ พ ยาบาลมากกว่ า นี้ “ครั บ ผมจะทำ � ให้ ดี ที่ สุ ด ” ผมตอบ อย่างระมัดระวังขณะมองเงาก้อนเนื้อขนาดใหญ่บนภาพถ่ายเอ็กซเรย์ ทรวงอก แพทย์ทกุ คนรูด้ วี า่ มะเร็งปอดในผูป้ ว่ ยอายุขนาดนีม้ พี ยากรณ์โรค เป็นอย่างไร 240


ไหวมัย้ /ไม่ไหวแล้ว แม้จะเป็นเพียงบทสนทนาสัน้ ๆ แต่ส�ำ หรับผม มันคือบทสนทนาที่น่าหดหู่ที่สุดเท่าที่ผมเคยได้ยินมา คุณยายเตียง 22 ทำ�ให้ผมนึกถึงชิงช้าสวรรค์ สมัยเด็ก ทุกครั้งที่มีงานวัดแถวบ้าน ชิงช้าสวรรค์เป็นหนึ่งใน รายการที่พลาดไม่ได้ ด้วยค่าตั๋วเพียงห้าบาท เด็กอย่างผมก็สามารถ ตืน่ เต้นและตืน่ ตาไปกับภาพทิวทัศน์ทเี่ หมือนมองลงมาจากสายตาของ นก เมื่อชิงช้าเริ่มหมุน กระเช้าชิงช้าจะพาผมลอยขึ้นสูงลิ่วเหนือทิวไม้ ผมชอบสายลมเย็นสบาย ณ จุดสูงสุดของชิงช้า ที่ตำ�แหน่งนั้นผมจะ ชะโงกหน้ า มองลงมา ชื่ น ชมหลั ง คาของร้ า นรวงต่ า งๆ และผู้ ค น เบื้องล่างที่ตัวหดลงเหลือนิดเดียว ผมนึกอยากให้ชิงช้าสวรรค์หยุดค้างอยู่ตรงนั้นตลอดไป ความปรารถนาของผมไม่เคยสมหวัง ตื่นตากับทิวทัศน์มุมสูง ได้ไม่ทนั ไร วงล้อขนาดใหญ่กพ็ าผมหมุนกลับลงมา เท่าทีจ่ �ำ ได้ ผมในวัย ยั ง ไม่ เ ดี ย งสาจะเริ่ ม ส่ ง เสี ย งไม่ พ อใจ ถึ ง ตรงนี้ ผู้ ใ หญ่ ที่ นั่ ง ข้ า งๆ จะรีบปลอบใจ-อีกเดีย๋ วมันก็วนกลับขึน้ ไปเหมือนเดิม และก็จริงตามนัน้ หลังลงมาถึงจุดต่ำ�สุด ชิงช้าสวรรค์ก็หมุนพาผมลอยสูงขึ้นไปอีกครั้ง แล้วผมก็เริ่มหัวเราะชอบใจ ในขณะที่พวกผู้ใหญ่ได้แต่ส่ายหน้าระอา พร้อมกับบอกผมว่า-อีกเดี๋ยวมันก็ลง! กว่ า จะเข้ า ใจสิ่ ง ที่ ผู้ ใ หญ่ พู ด ในวั น นั้ น ผมต้ อ งผ่ า นการนั่ ง ชิงช้าสวรรค์อีกนับสิบรอบเลยทีเดียว ถ้ า ชี วิ ต คื อ ชิ ง ช้ า สวรรค์ คุ ณ ยายเตี ย ง 22 คงนั่ ง มั น มานาน เท่ากับอายุของยาย 241


รอบแล้วรอบเล่า ชิงช้าแห่งชีวติ หมุนพายายขึน้ แล้วก็ลง ลงแล้ว ก็ขึ้น ผ่านช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม ผ่านวันเวลาที่มีแต่คราบน้ำ�ตา ผ่านวันทีส่ ขุ จนไม่อยากลืม ผ่านวันทีท่ กุ ข์จนไม่อยากจดจำ� ผ่านช่วงเวลา ที่ มี ญ าติ มิ ต รเพื่ อ นฝู ง มากมาย ผ่ า นวั น เวลาที่ ผู้ ค นเหล่ า นั้ น ค่ อ ยๆ จากหายไปทีละคน ผ่านช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยกำ�ลังวังชา ผ่านวันเวลา ที่สุขภาพค่อยๆ ร่วงโรย ภาวะขึ้น/ลงเหล่านี้ พุทธศาสนาเรียกมันว่า โลกธรรม โลกธรรม หมายถึง ธรรมประจำ�โลก มันคือภาวะอันเป็นธรรมดา ของโลกใบนี้ เมือ่ ได้ลาภ ก็ยอ่ มมีวนั เสือ่ มลาภ ได้ยศ ย่อมมีวนั เสือ่ มยศ มีคำ�สรรเสริญ ก็ย่อมมีคำ�นินทา มีสุขจากเรื่องใด ก็ย่อมมีทุกข์ได้จาก เรื่องนั้น ไม่ว่าจะอยากหรือไม่อยาก ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ เมื่ออยู่ ในโลก เราย่อมหลีกหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่พ้น ชีวิตมีธรรมชาติไม่ต่างจากชิงช้าสวรรค์ ถ้ามันขึ้น เดี๋ยวมันก็ลง ถ้ามันลง เดี๋ยวมันก็ขึ้น “ยายอยากกลับบ้าน” คุณยายเตียง 22 พูดประโยคนี้กับผม ในเช้าวันหนึ่ง ผมหยุดปากกาที่กำ�ลังเขียนคำ�สั่งการรักษาก่อนจะนิ่งมองหน้า คุ ณ ยาย แม้ จ ะยั ง หอบหายใจภายใต้ ห น้ า กากออกซิ เจนแต่ แววตา ของยายกลับเต็มไปด้วยความมุ่งมั่น ผมสัมผัสมือของยาย ยิ้มให้การ ตัดสินใจนั้นก่อนจะพยักหน้าอนุญาต ก่อนกลับ ผมบอกยายและญาติว่าโรงพยาบาลจะให้ยืมถังและ หน้ากากออกซิเจนไปใช้ ญาติของยายขอบคุณผมเสียยกใหญ่ จนผม ต้องรีบออกตัว “ไม่เป็นไรๆ ถ้าไม่ได้ใช้ค่อยเอามาคืน” พูดจบผมก็รู้ตัว 242


ทันทีว่าเพิ่งพูดอะไรออกไป ผม ญาติ และยาย ไม่มีใครพูดอะไรต่อ จากนั้น อย่างไรก็ตาม ผมมั่นใจว่าเราทุกคนต่างเข้าใจตรงกัน ว่า ‘ถ้าไม่ได้ใช้’ ที่ผมพูดนั้นหมายถึงอะไร ชีวิตจริงไม่ง่ายเหมือนชีวิตในกระเช้าชิงช้าสวรรค์ ในชีวติ จริง เมือ่ เราต้องเผชิญกับภาวะขึน้ /ลงของชีวติ น้อยคนนัก จะระลึ ก ได้ ว่ า มั น เป็ น แค่ เรื่ อ งธรรมดาของโลก มี เรื่ อ งดี ร้ า ยเกิ ด ขึ้ น ในชีวิตทีไรเราเป็นต้องนึกเสมอว่า นี่มันไม่ธรรมดาแล้ว! ทำ�ไมเราโชคดี ขนาดนั้น! ทำ�ไมเราเคราะห์ร้ายขนาดนี้! แล้วเราก็หัวเราะ ร้องไห้ ดีใจ เสียใจ ไปกับเรื่องราวอันเป็น ธรรมดาของโลกใบนี้ หลวงพ่อชยสาโร ได้ให้หลักปฏิบัติที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ เอาไว้: ท่านเปรียบสิ่งต่างๆ ในชีวิตเหมือนกับแก้วน้ำ�ใบหนึ่ง เมื่อใด ที่ได้แก้วใบใหม่มา ท่านแนะนำ�ให้เราคิดเสมอว่า-แก้วใบนี้แตกแล้ว การคิดเช่นนี้จะทำ�ให้เราอยู่กับโลกได้อย่างมั่นคงไม่หวั่นไหว เมื่อได้แก้วใบใหม่ เราจะไม่ดีใจจนเกินไป เพราะรู้ว่ายังไงเดี๋ยวมันก็คง ต้ อ งแตกเข้ า สั ก วั น และเมื่อ วัน หนึ่ง แก้วใบนั้น เกิดแตกขึ้ น มาจริ งๆ เราจะไม่เสียใจจนเกินไป เพราะนั่นก็คือสิ่งที่เราคิดไว้แล้วตั้งแต่วันที่ ได้แก้วใบนั้นมา ไม่ ต่ า งจากเด็ ก น้ อ ยบนชิ ง ช้ า สวรรค์ เมื่ อ ใดเข้ า ใจธรรมชาติ การหมุนของมัน เมื่อนั้นเราจะเห็นมันเป็นเรื่องธรรมดา หลายเดือนหลังจากนั้น ผมได้พบญาติของคุณยายเตียง 22 โดยบังเอิญ 243


เธอเล่าให้ผมฟังว่า หลังออกโรงพยาบาลได้ไม่กี่วัน คุณยาย ก็จากไปอย่างสงบ ในห้องที่ยายคุ้นเคย ในบ้านหลังที่ยายเติบโตมา ท่ามกลางบรรดาญาติๆ ที่มา ‘ส่ง’ ยายกันครบทุกคน อีกครั้งที่ผมนึกถึงชิงช้าสวรรค์ ผมเห็นภาพยายนั่งอยู่ในกระเช้าหมายเลข 22 ญาติๆ ของยาย นั่งอยู่ในอีกกระเช้าข้างๆ กัน ชิงช้าสวรรค์หมุนช้าๆ และในที่สุดก็ พากระเช้าหมายเลข 22 มาหยุดอยู่เรี่ยพื้น พนักงานเดินเข้ามา จัดการ ปลดสลั ก และเปิ ด ประตู ก ระเช้ า นี่ คื อ สั ญ ญาณที่ บ อกว่ า หมดเวลา การนั่งชิงช้าของยายแล้ว ยายก้าวลงจากชิงช้า ค่อยๆ เดินห่างออกมา แต่ครู่หนึ่งก็หยุด และหันหลังกลับไปมอง ภาพทีย่ ายเห็นคือผูค้ นมากมายทีย่ งั คงหมุนวน อยู่บนชิงช้าสวรรค์ นั่นรวมไปถึงบรรดาญาติๆ ของยาย ญาติหลายคน ยังคงมองยายอย่างอาลัย บางคนนั้นถึงกับร่ำ�ไห้ออกมา พวกเขากำ�ลัง เศร้า พวกเขากำ�ลังเสียใจ พวกเขาคิดว่าตัวเองกำ�ลังอยู่ในจุดที่ต่ำ�ที่สุด ของชิงช้า แต่ยายไม่คิดเช่นนั้น ยายรู้ดีว่าอีกไม่นานชิงช้าจะหมุนพา พวกเขาขึน้ ไปใหม่ ความทุกข์จะไม่คงอยูต่ ลอดไป อีกไม่นานพวกเขาจะ หยุดร้องไห้กันไปเอง เมื่อได้ยืนมองจากพื้นดินยายจึงเข้าใจ แท้จริงแล้ว ชิงช้าสวรรค์ ไม่เคยพาเราเคลื่อนที่ไปไหน การหมุนของชิงช้าคือภาพลวงตา ทำ�ให้ เรารู้สึกว่าได้เคลื่อนไหว คือภาพลวงใจ ทำ�ให้เราสุข/เศร้า/ดีใจ/เสียใจ ไปกับการเคลื่อนไหวเหล่านั้น ทั้งที่จริงๆ แล้ว จุดที่เราก้าวขึ้นชิงช้ากับ จุดที่เราก้าวกลับออกมานั้นก็คือจุดเดียวกัน ชิงช้าสวรรค์ไม่เคยพาเรา เคลื่อนที่ไปไหนเลย เมื่อเข้าใจความจริงเราจะเห็นความเป็นธรรมดา เมื่อมองเห็น ความเป็นธรรมดา เราย่อมไม่หวัน่ และไม่ไหวไม่วา่ อะไรจะเกิดขึน้ กับเรา 244


“ไหวมั้ย” ญาติบนชิงช้าตะโกนถามยาย “ไม่ไหวแล้ว” ยายยิ้มตอบอย่างคนเข้าใจความจริงของชีวิต เมื่อไม่ไหวไปกับโลกธรรม โลกธรรมก็ไม่อาจกระทำ�อะไรกับ เราได้ ไหวมั้ ย /ไม่ ไ หวแล้ ว แม้ จ ะเป็ น เพี ย งบทสนทนาในความคิ ด แต่สำ�หรับผม นี่คือบทสนทนาที่งดงามที่สุดเท่าที่ผมเคยได้ยินมา

245


ขอบคุณ ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลฯ-โลกการอ่านของผมเริ่มต้นขึ้นที่นี่ / โกวิยังจำ�นิยายเป็นตอนๆ ในนิตยสารทีโ่ กอ่านให้ฟงั ได้เสมอ / อาจารย์บญ ุ ชอบครู มั ธ ยมผู้ ทำ � ให้ ผ มหลงรั ก วิ ช าภาษาไทย / เจ็ ก ตง-สำ � หรั บ นิ ย ายแปล เล่มใหญ่ๆ ที่เคยให้ยืม เปิดโลกการอ่านมากครับ / ส้วม: ไดอารี่แห่งชมรม พอช.-สมุ ด บั น ทึ ก สาธารณะที่ ทำ � ให้ นั ก ศึ ก ษาแพทย์ ค นหนึ่ ง ใฝ่ ฝั น อยาก เป็ น นั ก เขี ย น, ร้ า นดาว-ร้ า นหนั ง สื อ เช่ า ที่ ทำ � ให้ ผ มมี โ อกาสอ่ า นหนั ง สื อ อันหลากหลาย (ในราคาสบายกระเป๋า) / ป้าอุ๋ย วิบูลย์กิจ และพี่เจ สถาบัน การ์ตนู ไทย-สองคนแรกทีฉ่ ดุ มือผมขึน้ ไปยืนบนถนนสายหนังสือ (สิง่ ทีพ่ ๆ ี่ ให้ ไม่ใช่แค่โอกาส แต่เป็นความเชื่อมั่น) / นิตยสารอะเดย์-สำ�หรับพื้นที่เล็กๆ ที่ ม อบให้ กั บ คอลั ม น์ เ ล็ ก ๆ คอลัมน์หนึ่ง / คนไข้ทุก คนในโรงพยาบาลไม่มีพวกท่าน ผมไม่มีวันเขียนอะไรออกมาได้มากมายขนาดนี้ / พี่ก้อง ทรงกลด และพี่เต้ย ใบพัด-คำ�ชื่นชมสั้นๆ ของพี่ทั้งสองมีความหมายกับผม มากมายนัก / น้ำ�สอง-สำ�หรับการพิสูจน์อักษรแบบ ‘บ้านๆ’ ก่อนส่งงาน ทุกครั้ง / ป๋อง-สำ�หรับคำ�พูดที่ว่า “อย่าเพิ่งเลิกเขียนนะ” / กิ๊บ-สำ�หรับ คำ�ชักชวน (แกมท้าทาย) ให้ลงมือเขียน ไม่มกี บิ๊ ก็คงไม่มหี นังสือเล่มนี้ / เด็นท์ น้องสาม อาอี๊ แม่ อาปา และทุกคนในครอบครัว-ชีวิตคงไม่เป็นเช่นวันนี้ หากขาดครอบครัวดีๆ และความรักความปรารถนาดีจากทุกคน / โลกใบนี้หากรูจ้ กั มองมันในแง่ดี เราสามารถหาเหตุผลดีๆ มาขอบคุณโลกใบนีไ้ ด้เสมอ ขอบคุณครับ.


เกี่ยวกับผู้เขียน คุณากร วรวรรณธนะชัย / เกิด ธันวาคม 2522 / ภูมิลำ�เนา จังหวัด เพชรบู ร ณ์ / รั ก การอ่ า นมาตั้ ง แต่ เ ด็ ก / แต่ ม ารั ก การเขี ย นช่ ว งเรี ย น มหาวิทยาลัย / จบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / ปัจจุบันทำ�งานเป็นแพทย์ทั่วไปในโรงพยาบาลอำ�เภอแห่งหนึ่ง / กลางวัน ตรวจรักษาคนไข้ / กลางคืนเขียนอะไรตามที่ใจอยากเขียน / กลางคืนคือ เวลาของความฝัน / กลางวันคือเวลาของความจริง / หวังว่าวันหนึง่ จะมีโอกาส นำ�สิ่งที่เขียนตอนกลางคืนออกมาแบ่งปันกันอ่านตอนกลางวัน ติดต่อผู้เขียน kunakuki@yahoo.com

เกี่ยวกับผู้วาดภาพประกอบ นิรัญชา ปูรณโชติ / เกิดปี 1988 / ผู้หญิงผมยาว มีลักยิ้มข้างซ้าย / สะสมเครือ่ งเขียน และของชิน้ เล็ก / รักดินสอไม้ สีน�ำ้ และพูก่ นั / ชอบเดินสวน มองท้องฟ้า่ อ่านหนังสือ / รักงานศิลปะ และดนตรี / จบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ผลงานภาพประกอบที่ผ่านมา คอลัมน์ มองโรคในแง่ดี นิตยสาร อะเดย์ / หนังสือ It’s time to ring the bell สำ�นักพิมพ์โพลก้าดอต / เรือ่ งสัน้ ด้วยความคิดถึง หนังสือ miss you สำ�นักพิมพ์ springbooks / หนังสือ มีรอยพระบาทนำ� ธ ทรงทำ�ให้เราดู กระทรวงศึกษาธิการ ผลงานวาดเล่นและไม่เล่นอีกหลายชิ้น ติดตามได้ที่ facebook.com/niranchagallery instagram : @nirancha_galllery



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.