พุทโธ่ [Preview]

Page 1


คำ�นำ�ิมพ์ สำ�นักพ


‘ไม่เชือ่ อย่าลบหลู’่ น่าจะถูกยกเป็นคำ�ขวัญประจำ�ชาติไปแล้ว เชือ่ ว่าตัง้ แต่เกิดมาทุกคนน่าจะได้ยนิ วลีนกี้ นั จนชิน จนกลาย เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวไทยไปแล้ว ว่าสิ่งใดที่ศักดิ์สิทธิ์เราก็ ไม่ ค วรจะลบหลู่ ห รื อ ลองของ จนเรากลายสภาพเป็ น สั ง คมที่ คนตาบอดด่าคนหูตึง เพราะคนที่เชื่อก็ไม่กล้าลบหลู่ ส่วนคนไม่เชื่อ ก็ไม่เคยจะพิสูจน์ แต่หนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปพิสูจน์ดูสักตั้ง ผมมีความสัมพันธ์ฉันศิษย์-อาจารย์ กับอาจารย์ดนัย (หรือ อาจารย์โจ้) มากว่า 8 ปี


เราเจอกันครั้งแรกในห้องบรรยายรวมคาบเรียนวิชาพุทธ ศาสนาทีม่ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมสารภาพเลยว่าผมไม่เคยเรียน ศาสนาด้วยมุมมองแบบนี้มาจากที่ไหน ด้วยความที่เป็นผู้แตกฉานในพระพุทธศาสนา แต่ไม่ทิ้งลาย ความโหดมันฮาแบบวัยรุ่นชอบ และความเพียบพร้อมของข้อมูล ที่เตรียมไว้พิสูจน์ความจริง อาจารย์ทำ�ให้บรรยากาศคลาสเรียน วิ ช าพุ ท ธวั น นั้ น เปลี่ ย นชีวิต ผมไปตลอดกาล เพราะศาสนาพุ ท ธ ไม่ใช่ศาสนาแห่งความน่าเบื่อและความงมงายอีกต่อไป พุทธคือศาสนาแห่งความเข้าใจ อาจารย์ดนัยตั้งหน้าตั้งตาสร้างความเข้าใจเรื่องพุทธศาสนา ผ่านการเรียนการสอนที่ธรรมศาสตร์และผ่านหนังสือพุทธศาสนา ซึง่ อาจารย์เขียนมาแล้ว 2 เล่ม แต่นนั่ ยังไม่สาแก่ใจ อาจารย์ยงั มีเรือ่ ง ที่อยากจะพูดอีก ในลีลาที่ต่างออกไปจากหนังสือแนววิชาการที่เคย เขียนให้คนได้อ่าน หนังสือในมือของทุกคนนีค้ อื ผลงานจากอีกด้านของอาจารย์ มหาวิทยาลัย ที่ละทิ้งเสื้อเชิ้ตและเนกไทแบบนักวิชาการ แล้วผลัด กางเกงขาก๊วย ใส่เสื้อยืดโปร่งสบาย ลากรองเท้าแตะ พาเราไปเดิน เที่ยวดูความเชื่อของชาวพุทธแบบไทยๆ พลางเล่าสอนแบบผู้รู้ แต่ไม่วางฟอร์ม อาจารย์สามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องพุทธศาสนาออกมาได้ อย่างไม่ซับซ้อน ตรงไปตรงมา แต่มีเหตุมีผล และจิกกัดให้พอได้เฮ ได้ฮา สิ่งหนึ่งที่อาจารย์ย้ำ�นักย้ำ�หนาทั้งในคาบเรียนและในหนังสือ


เล่มนี้คือ เราไม่ควรเชื่ออย่างไร้ปัญญา (และแน่นอนว่าเราก็ไม่ควร เลือกที่จะไม่เชื่ออย่างไร้ปัญญาด้วยเช่นกัน) หลักสำ�คัญคือเราได้พิสูจน์จนสิ้นสงสัยแล้วว่าสิ่งนั้นเป็นจริง แล้วจึงเชื่อ

เพราะพุทธแปลว่า รู้ หากเราอยูอ่ ย่างไม่รเู้ ราจะพูดได้อย่างไร ว่าเราเป็นเมืองพุทธ นทธัญ แสงไชย (โจ้บองโก้)


คำ�นำ� ผู้เขียน


หนังสือเล่มนี้เกิดจากแรงจูงใจที่ผมได้สอนวิชาศาสนากับ สังคมปัจจุบัน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีการศึกษา 2556 หั ว ข้ อ ที่ ผ มกั บ นั ก ศึ ก ษาได้ เรี ย นรู้ ร่ ว มกั น ในสั ป ดาห์ นั้ น คื อ เรื่ อ ง ‘ศาสนากับความงมงาย’ นักศึกษาทั้งเจ็ดคนที่ลงเรียนวิชานี้ แม้มี จำ�นวนน้อยแต่คณ ุ ภาพล้นปรีเ่ พราะทุกคนได้น�ำ ข้อมูลต่างๆ ทีน่ า่ สนใจ มาแลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการไหว้เจลลดไข้ ควายสองหัว หรือแม้กระทัง่ น้�ำ ส้วมแตกทีค่ นในสังคมไทยพากันไหว้ และบู ช ากั น อย่ า งไม่ ส นใจระบบเหตุ ผ ลหรื อ ปั ญ ญาแต่ อ ย่ า งใด หลังจากฟังการนำ�เสนอของนักศึกษาทุกคนแล้ว ผมจึงรูส้ กึ ‘องค์ลง’ หรือไม่ก็ ‘ของขึ้น’ ว่าในฐานะที่เป็น ผศ. ด้านพระพุทธศาสนา (ย่อมาจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไม่ใช่ผีปีศาจหรือผัวนักศึกษา) ผมจะ ไม่ทำ�อะไรกับข้อมูลเหล่านี้เลยหรือ ผมจะสามารถให้ข้อมูลแก่คน ในสังคมว่าอะไรเป็นพุทธหรืออะไรไม่ใช่พทุ ธได้หรือไม่ คำ�ตอบของผม อยู่ในมือของทุกท่าน ณ บัดนาวแล้วครับ


ผมจะขอนิยามคำ�ว่าสังคมแบบ ‘พุทโธ่’ กับ ‘พุทโธ’ ตาม ชื่อหนังสือนี้ก่อน สังคมพุทโธ่ ก็คือสังคมที่เราพยายามบอกว่า ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยนับถือพระพุทธศาสนา แต่เรา กลับไม่ได้ใช้วธิ คี ดิ หรือวิธเี ชือ่ แบบทีพ่ ระพุทธเจ้าสัง่ สอนศาสนาพุทธ ของพระองค์ซงึ่ ก็คอื ศาสนาแห่งความรูห้ รือปัญญาทีเ่ รียกกันว่า พุทโธ แต่อย่างใดเลย เราถูกวาทกรรมทีพ่ ยายามเลีย้ งไข้ความไม่รขู้ องเราว่า ‘ไม่เชื่ออย่าลบหลู่’ ในขณะที่สังคมแบบ ‘พุทโธ’ คือสังคมที่กล้าใช้ ปัญญาในการพิสูจน์ความจริงด้วยเหตุผล แล้วจึงเชื่อสิ่งที่พิสูจน์ ด้วยปัญญานั้น ดังนั้น วาทกรรมของคนในสังคมพุทโธอาจต้อง กล่าวว่า ‘ไม่เชื่อต้องพิสูจน์’ ในหนังสือเล่มนี้ผมจะเล่าข้อมูลของคนในสังคมแบบพุทโธ่ ให้ทกุ ท่านทราบ แล้วจะพยายามนำ�เสนอหลักการเพือ่ บอกให้ทราบ ว่าถ้ามองแบบพุทโธแล้ว ข้อเท็จจริงควรเป็นอย่างไร แล้วคุณล่ะ พร้อมที่จะพิสูจน์ตัวเองพร้อมๆ กับผมหรือยัง ล่ะครับ ว่าพวกเราเป็น ‘พุทโธ’ หรือ ‘พุทโธ่’ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์ ประธานโครงการปริญญาโทสาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา สำ�นักธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ รังสิต และลำ�ปาง



สารบัญ


ญาณที่ 1 ภาษาเทพ ญาณที่ 2 ควายจุงเบย ญาณที่ 3 พญานาค ญาณที่ 4 จิ้งจกแดง 004 Tomorrow Never Dies ญาณที่ 5 ตุ๊กแกตะแคงหัว 005 Die Another Day ญาณที่ 6 เจลลดไข้ ญาณที่ 7 เจลลดใคร่ (มักกะลีผล) ญาณที่ 8 ศรัท (ธา) ประหลาด ญาณที่ 9 น้ำ�พิสุทธิ์ ต้องพิสูจน์ ญาณที่ 10 ธูปกี่ดอก (ถึงจะดีออก) ญาณที่ 11 พุทธิศักดิ์คลินิก ญาณที่ 12 แก้กามทำ�แท้ง ญาณที่ 13 นวัตกรรมแก้บน ญาณที่ 14 นวัตกรรมแก้ล่าง ญาณที่ 15 ร่างทรง (พระ) ภูมิ ญาณที่ 16 บุญคืออะไร (ก็ไม่รู้สินะ) นิคมคาถา

12 20 30 46 62 76 94 110 120 128 138 148 160 172 186 200 208


ญาณที่ 1

พ ท เ า ษ ภา



14

ไม่นานมานี้ หลายๆ คนคงได้เห็นพระภิกษุรปู หนึง่ ทีใ่ ช้ชอื่ ว่า ‘พระอาจารย์ ตี๋ เปิ ด ญาณเทพ’ ออกมาแสดงสิ่ ง ที่ ท่ า นเรี ย กว่ า ‘ภาษาเทพ’ ในยูทูบ มีสำ�เนียงภาษาคล้ายภาษาแขก ซึ่งก็มีสมาชิก ยูทูบบางท่านใช้ความเพียรอย่างยิ่งยวด แกะภาษาเทพออกมาเป็น คาราโอเกะได้ความว่า “โอตาบะละซาฮานเซคี เ ดี ย อั ล นาปาราตี อิ ส ซานาเตรี ย ซาคานาตาปรันตะโกโซโซตรึน ชาลาฮาปปราตินอีโนปรึนโตนาซาดา ซีกีตรันนะซามาตรีไอยโนโตโอซีนากามาตาลา ปานีการันซีอีนีกลา ซาปรันตีชาลาฮาตรันโอมาหะการันตีอือซานาฮารียาซันนา ปาตรี กเรเซโอเตซานาโอเซียอันปโตเซีย ซานาตรันเตโอตเรนนาซาลาลือ หวังเจ่ฮือเน้าโอเตเซีย เยนาโปเตอีอายิกรันเซียโพอียีกรันโซเซียยา


ซั น ตรี ย า ซั ง กาโรปรึ น ซั ง กาเฮยานาโมตรี ย านนาเฮโอมมราตรี วาซิโนเฮเซียปเรีย ปาสซะอึนนาซีดือดือดื้อดื้อดือนาเด ฮูนรบาราส ซาโนกรินนีซานนานามา” (อืม…) พระรูปนี้นอกจากปล่อยคลิป ‘ชารต์พลัง’ (ที่ถูกต้องเขียนว่า ‘ชาร์จพลัง’) แล้ว ท่านยังได้สอนภาษาเทพแก่คณ ุ ป้าใสซือ่ อีกสองคน ให้พูดภาษาเทพตามแบบของท่าน เช่น คำ�ว่า “อูมา สิกาดะ...” โดยมีหลักการที่น่าสนใจ คือ 1. ให้ พู ด ด้ ว ยจิ ต ที่ อ ยู่ เ หนื อ สะดื อ ไปสองนิ้ ว (น่ า จะเป็ น ตำ�แหน่งพุง เป็นพุงพูดได้ ถ้าไปเข้าร่วมโครงการลดพุงของ สสส. คงทำ�ให้ภาษาเทพดร็อปไปเยอะเหมือนกัน) 2. พูดแล้วอย่าจำ�ในสิ่งที่พูด (ก็น่าจะเป็นแบบนั้น เพราะให้ พูดใหม่ก็คงจะไม่เหมือนเดิม) 3. มันเหมือนภาษามัว่ แต่มนั ไม่มวั่ (อืม ครับ ไม่มตี รงไหนเลย ที่ไม่มั่ว) 4. ห้ามหัวเราะ (ใครไม่หัวเราะก็บ้าแล้ว แม้แต่ป้าทั้งสองคน ทีท่ า่ นสอนภาษาเทพอยูก่ ย็ งั ขำ� ทุกคนลองไปฟังเถอะครับ ใครไม่ข�ำ ผมให้เหยียบเลย ทุกวันนี้เวลาผมเครียดก็จะดูทุกครั้งเพราะฟังทีไร ฮาน้ำ�ตาเล็ด) 5. หลักการสุดท้ายคือ แปลไปในทางใดก็ได้แต่ขอให้แปล ในทางที่ ดี (ดั ง นั้ น หากใช้กฎนี้ก็จะสนับสนุน กฎข้ อที่ 3 ได้ เ ป็ น อย่างดี เพราะพูดอย่างไรก็ไม่มั่ว)

15


16

แถมยั ง มี ก ารนำ � เรื่ อ งความไม่ ใ ช่ ตั ว ตนของเรามาใส่ กั บ ภาษาเทพของท่านด้วย ทั้งๆ ที่เรื่องที่ท่านนำ�เสนอนั้นมันเป็นเรื่อง ตัวตนแบบประหลาด จริงๆ แล้วเรื่องภาษาเทพนี้มีมานานมากแล้วในสังคมไทย แบบ ‘พุทโธ่’ หากเราค้นไปในโลกออนไลน์จะเห็นว่าเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ร่างทรงมากมาย ต่างแสดงภาษาเทพไว้ในบรรณพิภพออนไลน์ มานักต่อนัก เช่น คลิป ‘คนคุยกะโปเกมอนรู้เรื่อง’ ที่มีการนำ�คน ที่เหมือนอยู่ในภาวะ ‘องค์ลง’ กำ�ลังสนทนาภาษาที่ฟังแล้วคล้าย ภาษาในการ์ตูนเรื่อง โปเกมอน เจ้าของคลิปได้นำ�ภาษาทั้งสองมา เปรียบเทียบกันแล้ว น่าเชือ่ เหลือเกินว่า หากผูห้ ญิงคนนีม้ อี งค์ลงจริง ก็คงเป็น ‘องค์โปเกมอน’ เป็นแน่แท้ หรือคลิป ‘คนไทยงมงาย มหาการี 1 : Bullshit’ (จริงๆ คำ�ว่า กาลีก็ต้องสะกดด้วย ล) ที่มีสุภาพสตรีพูดภาษาฮินดีปนภาษาเทพ และจบด้วยภาษาไทยว่า “ปิดแอร์ให้หน่อย” ในฐานะทีเ่ ป็นนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนามาหลายสิบปี และพอมีความรู้ภาษาบาลีมาบ้าง ขอเรียนว่าภาษาแบบนี้ไม่ใช่ ภาษาเทพหรอกนะครับ เพราะในคัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวไว้ ชัดเจนว่าเทพพูดภาษาบาลี เพราะถือว่าเป็นรากเหง้าของภาษา นอกจากเทพแล้ว สัตว์นรก เปรต ก็พดู ภาษาบาลีได้ ดังนัน้ ภาษาเทพ กั บ ภาษาเปรตก็ ไ ม่ ต่ า งกั น ไม่ ไ ด้ เ ป็ น ของสู ง ส่ ง แต่ ป ระการใด เพราะถือว่าเป็นภาษาคูโ่ ลก แต่ภาษาเทพจากในคลิปทัง้ หลายทัง้ ปวง


ทีไ่ ด้ยกมานีแ้ ทบไม่ตรงกับภาษาอะไรๆ ในโลกแทบจะทั้งสิ้น (อาจมี ถูกบ้างเป็นคำ�ๆ) หากจะอ้างว่าก็เพราะเป็นภาษาเทพไงถึงไม่มีคำ�แบบภาษา ในโลก เหตุผลนี้ก็ต้องแย้งว่าในพระไตรปิฎกบอกว่าภาษาบาลีเป็น ภาษาเทพ ถ้าแบบนั้นเทพก็ต้องพูดบาลี ดังนั้น หากจะให้ดี ร่างทรง ทั้งหลายควรไปเรียนภาษาบาลีจะได้พูดภาษาเทพได้เนียนๆ หน่อย ส่วนพวกเราหากอยากพูดภาษาเทพก็หัดไปเรียนและพูดบาลีครับ เท่านี้ก็สามารถพูดภาษาเทพได้แล้ว หรือเอาเข้าจริง ภาษาไทยเรา ก็ได้รับอิทธิพลของภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมานานเกือบพันปี แล้ว ดังนั้น ภาษาไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของภาษาเทพเหมือนกัน ไหนๆ ก็พูดถึงเรื่องภาษาเทพ (ภาษาบาลี) แล้ว ขอแถม เรื่องการสวดมนต์ภาษาบาลีหน่อย ไม่นานมานี้เคยมีคลิปชื่อว่า ‘พระเทศน์เป็นจังหวะ Rock (Original)’ (จริงๆ ถ้าตั้งชื่อว่า ‘พระสวด เป็นจังหวะ Rock’ จะตรงกว่า) คลิปนี้มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งสวดมนต์ บทพระคาถาป้องกันภัยสิบทิศ ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนว่า “บูระพารัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง บูระพารัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวญ ั ชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สั พ พะเคราะห์ เสนี ย ดจั ญ ไร วิ วั ญ ชั ย เย สั พ พะธะนั ง สัพพะลาภัง ภะวันตุเมรักขันตุ สุรักขันตุ”

17


หากสวดแบบธรรมดาคงไม่มีเรื่องอะไรที่จะต้องนำ�มาเขียน แต่พระกลุ่มนี้สวดบทนี้อย่างดุดัน กระแทกกระทั้น แม้แต่หลวงลุง ข้างๆ ก็เกิดอาการขีห้ เู ต้น จนท่านต้องแคะหูกนั ขณะสวดเลยทีเดียว ในยูทูบมีคนวิจารณ์ว่า “สงสัยเมื่อคืนท่านคงฟัง Linkin Park มา อารมณ์เลยยังค้างอยู่ อยากนิมนต์มาสวดทีบ่ า้ นจริงๆๆ” หรือบางคน ถึงกับเรียกพระกลุ่มนี้ว่า ‘Modern Monk’ เพราะลีลาสวดเก๋ไก๋ ของท่านที่เร้าใจดุจวงร็อกขั้นเทพ Moderndog การสวดมนต์ ด้ ว ยจั ง หวะจะโคนแบบนี้ ก็ ไ ม่ ถู ก ตามหลั ก พระพุทธศาสนา เพราะแท้จริงแล้วพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ พระภิกษุสวดธรรมแบบ ‘สรภัญญะ’ เพื่อให้จิตสงบเท่านั้น 18

พระพุทธเจ้าทรงตำ�หนิเรื่องการสวดมนต์ด้วยทำ�นองเพลง ไว้วา่ ภิกษุสวดพระธรรมด้วยทำ�นองยาวคล้ายเพลงขับ มีโทษ 5 ข้อ คือ 1. ตนยินดีในเสียงนั้น 2. คนอื่นก็ยินดีในเสียงนั้น 3. ชาวบ้านติเตียน 4. สมาธิของผู้พอใจการทำ�เสียงย่อมเสียไป 5. ภิกษุชั้นหลังจะถือเป็นเยี่ยงอย่าง พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติศีลของพระไว้ข้อหนึ่งไว้ว่า “ภิกษุ ไม่พึงสวดพระธรรมด้วยทำ�นองยาวคล้ายเพลงขับ รูปใดสวด ต้อง


อาบัตทิ กุ กฎ” หมายความว่าหากพระภิกษุสวดมนต์เป็นเพลง (ยกเว้น ทำ�นองสรภัญญะ) ก็ถือว่าผิดศีลของพระนั่นเอง เราก็จะเห็นว่า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงนั้นทันสมัยมาก เพราะผ่านมา 2,500 กว่าปี ก็ยังมีพระที่สวดมนต์แบบที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามอยู่ ถึงจะสวดผิดหรือสวดถูกอะไรก็ตามแต่ การสวดมนต์เป็น ภาษาบาลีน้ี หากเอาเข้าจริงก็ถอื เป็นภาษาเทพเช่นกัน ดังทีไ่ ด้บอกไป ก่อนหน้านี้แล้ว ก่อนจบเรื่องนี้ ขอฝากประโยคชวนคิดสั้นๆ ที่ดัดแปลงจาก วรรคทองทีค่ นในยุคหนึง่ จดจำ�กันได้ทงั้ บ้านทัง้ เมืองของ คุณแอนดรูว์ บิก๊ ส์ ว่า “อย่าลืมนะครับ ภาษาบาลี ง่ายนิดเดียว” (ทีง่ า่ ยน่ะมีนดิ เดียว ที่เหลือยากหมด) เอวํ (ภาษาเทพ)

19


อ้างอิง


เอือ้ เฟือ้ ข่าวและภาพ

• มติชน • oknation.net • เนชัน่ ทีวี • คมชัดลึก • ข่าวสด • ไทยรัฐ • เดลินวิ ส์ • Mthai.com • TLCthai.com • ผูจ้ ดั การ • Voice TV • เพจ FuckGhost ฟักโกสต์: สมาคมต่อต้านสิง่ งมงาย


น ย ี ข เ ้ ู ผ ิ ต ั ประว


ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดนัย ปรีชาเพิม่ ประสิทธิ์ หรือ ‘อาจารย์โจ้’ ปัจจุบนั เป็นประธานโครงการปริญญาโท สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา ภาควิ ช าปรั ช ญา คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ อาจารย์โจ้ท�ำ งานวิจยั และเขียนบทความวิชาการต่างๆ และมีหนังสือ ที่ ตี พิ ม พ์ ม าแล้ ว สองเล่ ม คื อ ‘ประวั ติ ศ าสตร์ พ ระพุ ท ธศาสนา ในประเทศศรีลังกา’ และ ‘วันพุทธ’ อาจารย์โจ้ปฏิบัติธรรมตั้งแต่อายุ 17 ปี ที่ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย และได้มโี อกาสบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี หลังจากนั้นได้ปฏิบัติธรรมในสำ�นักต่างๆ เพิ่มเติม เช่น สำ�นักวิปสั สนาวัดดอนพุด สำ�นักวิปสั สนาอ้อมน้อย ส่วนการเรียน พระปริยัติ อาจารย์โจ้ได้เรียนพระอภิธรรมจนจบชั้นอาภิธรรมิกะโท และได้ เ รี ย นบาลี ใ หญ่ 4 คั ม ภี ร์ ณ คณะ 25 วั ด มหาธาตุ ฯ ท่าพระจันทร์


งานอดิเรกที่อาจารย์โจ้ทำ�จนเป็นเหมือนงานประจำ�ก็คือ การพาผูค้ นไปสักการะพุทธสถานทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ เช่น อินเดีย เนปาล และศรีลงั กา นอกจากนีย้ งั ได้รบั เชิญไปบรรยายธรรม และนำ�ปฏิบตั ธิ รรมตามองค์กรและหน่วยงานต่างๆ เช่น วัดจากแดง ธรรมสถานจุ ฬ าฯ ธนาคารไทยพาณิ ช ย์ บริ ษั ท ปู น ซี เ มนต์ ไ ทย บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง และได้รบั เชิญให้ไปออกรายการโทรทัศน์ เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในศาสนาพุทธ เช่น ช่อง 3 ช่อง 8 และ ช่องเนชั่นทีวี นอกจากนี้ อาจารย์โจ้ยังทำ�รายการสนทนาธรรม ผ่านทางยูทบู ใช้ชอื่ รายการว่า มหาธรรม และตอบปัญหาทัง้ ทางโลก และทางธรรมผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว



ะ ว ร า ค อ ข


หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ กิ ด จากแรงจู ง ใจจากการนำ � เสนอผลงาน ของนักศึกษา 7 คนทีเ่ รียนวิชาศาสนากับสังคมปัจจุบนั ทีม่ หาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ผมขอขอบใจ เติ้ ล นนท์ นุ ช โดม วะ อั๋ น บอม เป็นอย่างมากทีม่ าลงเรียนวิชานีแ้ ละทำ�ให้การเรียนการสอนในครัง้ นัน้ เป็นเรื่องที่วิเศษมากๆ สำ�หรับชีวิตการสอนของผม โดยเฉพาะ การแลกเปลีย่ นข้อมูลทีน่ า่ สนใจจากจุดเล็กๆ ในห้องเรียนจนสามารถ นำ�มาแลกเปลีย่ นกับสังคมนอกห้องเรียนจนเกิดเป็นหนังสือเล่มนีข้ นึ้ ผมขอขอบคุณสำ�นักพิมพ์ a book เป็นอย่างสูงที่ให้โอกาส อาจารย์ ม หาวิ ท ยาลั ย คนหนึ่ ง ได้ แ สดงความเกรี ย นทางวิ ช าการ ผ่านหนังสือในแบบที่สำ�นักพิมพ์อื่นให้ไม่ได้ ขอขอบใจ คุณโจ้บองโก้ ที่เป็นทั้ง บ.ก. และลูกศิษย์ใกล้ชิด ที่ ช่ ว ยดู แ ลหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ม าตั้ ง แต่ เ ริ่ ม ต้ น จนสำ � เร็ จ ได้ เ ป็ น อย่ า งดี รวมถึงน้องแอ๋มที่ช่วยตรวจภาษาให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ผมขอขอบใจลูกศิษย์ทเี่ ป็นดุจญาติทางธรรมทีไ่ ปร่วมผจญภัย กับผมทั้งแบบ ‘พุทโธ’ และ ‘พุทโธ่’ ในวัดวาอารามและสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตลอดมา ได้แก่ ฝน เน หนู และต้อง และสุดท้าย ขอขอบคุณครอบครัวของผมตั้งแต่พ่อแม่ที่ให้กำ�เนิดชีวิตและเลี้ยงดู ผมมา และภรรยาสุดที่รักที่ดูแลชีวิตของผมต่อมาเป็นอย่างดี


บ ั ก ว ย ่ ี ก เ บ อ ก ะ ร ป พ า ภ นักวาด


ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์ เป็นนักวาดภาพประกอบอิสระ แต่ผูกปิ่นโตไว้กับหลายที่ อะบุ๊กก็เป็นหนึ่งในนั้น ผลงานล่าสุด capital O หนังสือรวบรวม ผลงานของตัวเองตลอดสิบกว่าปี ติ ด ตามผลงานได้ที่ instagram @oterawat ที่ ลงแต่ งาน อย่างเดียวจริงๆ


ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์

หนังสือในชุด Culture ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ดนัย เพิ่มปรีชาประสิทธิ์. พุทโธ่.-- กรุงเทพฯ : เดย์ โพเอทส์, 2557. 224 หน้า. 1. ความเชื่อ. 2. จิตวิทยาศาสนา. 0. ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์, ผู้วาดภาพประกอบ. I. ชื่อเรื่อง. 121.6 ISBN 978-616-327-088-7

พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2557 พิมพ์ครั้งที่ 2 ตุลาคม 2557 ราคา 235 บาท เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-088-7

ในกรณีที่หนังสือชำ�รุดหรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้นมาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ ทางเรายินดีเปลี่ยนเล่มใหม่ให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น


จัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ ในเครือ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 ต่อ 308, 310 โทรสาร 0-2718-1244 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing แยกสีและพิมพ์ บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2428-7500 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609

ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข บรรณาธิการเล่ม นทธัญ แสงไชย ผู้ช่วยบรรณาธิการ สุรเกตุ เรืองแสงระวี อาร์ตไดเร็กเตอร์/รูปเล่ม บพิตร วิเศษน้อย ภาพปก/ภาพประกอบ ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์ กราฟิกดีไซเนอร์ เพกา เจริญภักดิ์ กราฟิกดีไซเนอร์ เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ พิสูจน์อักษร สราญรัตน์ ไว้เกียรติ, ศักดิ์สิทธิ์ ไม้ลำ�ดวน, หัสยา ตั้งพิทยาเวทย์ เลขานุการ พิมพ์นารา มีฤทธิ์ กองบรรณาธิการ เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ การตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ประสานงานการผลิต อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ลูกค้าสัมพันธ์ นริศรา เปยะกัง เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.