—About The Book
—The Foreword
ธี ร วั ฒ น์ เฑี ย รฆประสิ ท ธิ์ เป็ น นั ก วาดภาพประกอบที่ เ ก่ ง ที่ สุ ด หรือเปล่า เราไม่มีหลักฐานเป็นตัวเลขวัดค่ามายืนยัน และมั่นใจว่า เจ้าตัวเองคงไม่สนใจจะได้รับการขนานนามเช่นนั้นแต่อย่างใด แต่เท่าที่เราดูจากสิ่งที่ตาเห็น เขาน่าจะเป็นนักทำ�ภาพประกอบ ที่รับงานหลากหลายที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบัน สำ�หรับเรา นั่นคือสิ่งที่ น่าสนใจอย่างยิ่ง และเป็นที่มาของหนังสือเล่มนี้ สิบกว่าปีในแวดวง ธีรวัฒน์สะสมผลงานเอาไว้มากมาย ในหลาก สไตล์ จากหลายวงการ งานแต่ละชิ้นที่ได้ทำ� ช่วยให้เขามีโอกาส พัฒนาตนเองออกไปในทุกทิศทาง และอย่างไม่มกี ารจำ�กัดขอบเขต เรื่องราวและบทเรียนส่วนตัวที่เขาได้รับ และถูกจับมาถ่ายทอด เอาไว้ ใ นหนั ง สื อ เล่ ม นี้ น่ า จะช่ ว ยสร้ า งแรงบั น ดาลใจให้ นั ก ทำ � ภาพประกอบรุ่นน้องๆ ได้เป็นอย่างดี สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก กรกฎาคม 2557
002 / 003
—The Preface
ข้อดีของการทำ�งานเยอะๆ คือ 1. ได้รู้ว่าเราชอบทำ�หรือไม่ อยู่กับมันได้รึเปล่า ได้นานแค่ไหน 2. ได้เงินเยอะ 3. ได้ออกหนังสือรวมผลงาน ซึ่งข้อสุดท้ายนี่ น่าจะเป็นความใฝ่ฝันของคนทำ�งานศิลปะทุกคน คิดว่าเป็นขัน้ กว่าของ exhibition ซะอีก เพราะแลดูจะต้องใช้จ�ำ นวน งานเยอะมาก หลังจากได้รับการติดต่อมาจากพี่บิ๊ก วูบแรกที่คิดคือ เราทำ�งาน มาเยอะพอรึยัง งานเก่าๆ กระจัดกระจายอยู่ไหนหมด รวบรวมงาน (ที่ มี ลู ก ค้ า และได้ เ งิ น ) ได้ 1,357 ชิ้ น ตกใจนะว่ า เยอะจัง (ทำ�ไมไม่รวยซะที) คัดไปคัดมา เหลือเท่าที่ลงในเล่มนี้ ที่คิดว่า งดงาม หลากหลาย และมีประโยชน์เพียงพอ คิดเข้าข้างตัวเองว่า การทีต่ วั เราทำ�งานมาหลายแนว มันมีประโยชน์ ก็ตรงนีแ้ หละ รวมงานเป็นเล่มแล้วกราฟดูมขี นึ้ มีลง คนดูจะได้ไม่เบือ่ บางทีหนังสือเล่มนี้ อาจเป็นบทสรุปของสิบสองปีแรก ในอาชีพ นักวาดภาพประกอบของเรา ว่าหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร เราเองยังมีความสุขกับการทำ�อะไรหลายอย่าง เปลีย่ นไปเปลีย่ นมา ตามบรี๊ฟลูกค้าที่น่ารัก ที่ยังเลือกและศรัทธาในตัวเรา แต่ขณะ เดียวกัน ทางของศิลปินที่ทำ�ตามใจตัวเอง ก็น่าลอง ขอบคุณพี่บิ๊ก และทีมอะบุ๊กมากครับ ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์
A —a day
a day 52 Cover Illustration a day
ปีที่ 5 ฉบับที่ 52 เดือนธันวาคม 2547 Issue: TOP 5 of the Year
บรี๊ฟมาชัดเจนว่าต้องการให้วาดใบหน้า ของบุคคลที่ดังและเจ๋งที่สุดของปีนั้นๆ เป็นภาพของ Mount Rushmore นี่เป็นปก a day ปกแรกที่ได้ทำ� ตอนนั้น a day กำ�ลังดังและมาแรงมาก ก็เลยเกร็งมาก เพราะกลัวจะออกมาไม่ดี จนไม่มั่นใจในมือของตัวเอง วาดออกมาแล้วก็เอาไปแต่งในคอมพิวเตอร์จนสไตล์ และลายมือของเราหายไปหมดเลย กลายเป็นภาพ ที่แข็งเกินไป และออกมาครึ่งๆ กลางๆ ไปหน่อย a day
a day 89 Cover Illustration
ปีที่ 8 ฉบับที่ 89 เดือนมกราคม 2551 Issue: Message จาก คานธี a day อยากได้สไตล์ของโปสเตอร์ การเมืองแบบ propaganda art หรือภาพกราฟิกสไตล์กล่องไม้ขีด เป็นภาพคานธีที่ดูร่วมสมัย ไม่โบราณ a day
A —Au Destin
ภาพที่ใช้ในคอลเล็กชั่น Au Destin ของ PAINKILLER Archetype (Autumn/ Winter 2013) เป็นคอลเล็กชั่นที่ทำ�เพื่อแสดง ในแฟชั่นโชว์โดยเฉพาะ โดยเล่าเรื่องราวชีวิต ของนโปเลียนตั้งแต่ก่อนเรืองอำ�นาจ จนกระทั่งเสียชีวิต ผ่านเสื้อเชิ้ตสีขาว 15 ตัว
A —Alphabet
Alphabet Collection
ชุดตัวอักษร a-z ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในคอลเล็กชั่น Alphabet ของ PAINKILLER (Spring/Summer 2014) อักษรภาษาอังกฤษแต่ละตัวถูกออกแบบขึ้นมาจากสิ่งของ ที่สะกดด้วยตัวอักษรนั้นนำ�หน้า เช่น A มาจาก Azuki ที่แปลว่าถั่วแดงในภาษาญี่ปุ่น, B มาจาก Button คือ กระดุม, C มาจาก Chrysanthemum คือ ดอกเก๊กฮวย, D คือ Dandelion เป็นต้น
022 / 023
Word Wisdom
ในเวลาเดียวกัน ผมออกแบบตัวอักษรขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง เพื่อนำ�ไปใช้ในคอลเล็กชั่นที่ออกมาคู่กับ Alphabet ที่ชื่อ Word Wisdom นำ�ตัวอักษรไปจัดเรียงเป็นลายผ้า โดยแอบซ่อนคำ�ที่มีความหมายดีๆ เอาไว้ ให้ลอง มองหากันในลักษณะของการเล่นเกม Word Finder
—Biography
• ผมเป็นลูกคนกลาง เป็นคนกรุงเทพฯ แท้ๆ บ้านที่อยู่ ทุกวันนี้เป็นบ้านหลังที่สอง แม่เป็นอาจารย์สอนแนะแนว และเพราะอย่างนี้แม่ถึงไม่เคยบังคับอะไรเรื่องเรียนเลย จะปล่อย เพราะแม่เข้าใจ ส่วนพ่อเป็นอาจารย์สอนเคมีที่เก่งเลข มาก ในขณะที่ลูกๆ นั้นไม่มีใครฉลาดเลขสักคน แต่โชคดีที่พ่อ เชื่อแม่ เลยปล่อยให้ลูกทั้งสามคนเรียนศิลปะอย่างที่ชอบ • พี่น้องสามคนชอบวาดรูปทั้งหมด แวววาดรูปของผมออก ตั้งแต่อนุบาล เพราะเป็นเด็กที่วาดรูปคนแบบที่ไม่ใช่ตัวหัวไม้ขีด ได้ก่อนเพื่อน อาจารย์เห็นแววก็จับมาปั้น ส่งประกวด ในโรงเรียนผมได้ที่หนึ่งตลอด แต่เวลาไปแข่งข้างนอกไม่เคย ได้ที่หนึ่งเลย มีแต่ที่สอง ที่สาม ชมเชย ผมไม่สนใจเท่าไหร่ รู้แต่ว่าถ้าได้รางวัล ก็จะได้หนังสือนิทานสวยๆ กลับบ้าน บางทีก็ได้เงินด้วย สองร้อยบาทก็เยอะแล้วนะสำ�หรับสมัยนั้น • ขึ้นประถมสอง ได้เป็นนักเรียนในโครงการเด็กปัญญาเลิศ ทางศิลปะของกระทรวงศึกษาธิการ ทำ�ให้ได้วาดรูปมาโดยตลอด • ขึ้นมัธยม ย้ายโรงเรียน เต็มไปด้วยเด็กเฮี้ยวและลูกคนรวย ที่โดนสปอยล์กันมาตั้งแต่อนุบาล เด็กเกเรเยอะมาก คือโรงเรียนเก่าผมก็มีเด็กเกเร แต่พอมาเจอที่นี่ก็รู้เลยว่า เพื่อนสมัยประถมเรามันไม่ได้เกเรขนาดนั้น
• เพือ่ นๆ เรียกผมว่า ไอ้ประเสริฐ เหตุเกิดจากเพือ่ นโยนกระเป๋า ทิ้งไว้เรี่ยราดกับพื้น แล้วเราน่ะถูกสอนมาว่ากระเป๋าเอาไว้ใส่ หนังสือ เป็นของสูง ผมเลยคอยไล่เก็บให้พวกมัน แล้วผม ก็เป็นคนว่าง่าย ใครให้ช่วยอะไรก็ทำ�ให้เขา ไม่ได้คิดว่าเพื่อนใช้ หรือเอาเปรียบ อะไรที่พอจะทำ�ให้ได้ผมก็ทำ� • ไม่ว่าจะเกิดเรื่องขัดแย้งอะไรกับเพื่อน ผมก็ไม่เคยโดนต่อย เลย เพราะผมเป็นไอ้ประเสริฐ • สมัยประถมเรียนง่าย ทำ�ให้เราวาดรูปและเรียนหนังสือ ไปพร้อมๆ กันได้อย่างไม่มีปัญหา แต่พอขึ้นมัธยมเท่านั้นแหละ มันโหดมาก เรียนยากมาก เกรดตกระนาว ผมช็อกไปเลย ทำ�ให้ตอน ม.หนึ่ง แทบไม่ได้วาดรูป เพราะต้องพยายามเรียน ให้รอดก่อน • ขึ้น ม.สอง มีวิชาเลือก ผมเลือกวิชาออกแบบ ทำ�ให้ได้ กลับมาวาดรูประบายสีอีกครั้ง ได้เกรดเออย่างกระหน่ำ�เลย เริ่มมีความสุขขึ้น • อาจารย์ศิลปะไปบอกแม่ผมว่า ผมมีแวว ให้เรียนพิเศษ แล้ว คิดค่าสอนแพงมาก ชั่วโมงละห้าร้อย แต่ผมคิดว่าผมไม่ได้อะไร จากเขาเลย ไม่สนุกด้วย เรียนไปเทอมนึงก็ไปบอกแม่ว่า ไม่เรียน แล้วนะ เปลืองตังค์ เอาตังค์ไปซื้อสียังจะดีซะกว่า • รูปที่วาดเล่นๆ สมัยมัธยมต้นจะได้แรงบันดาลใจมาจาก การ์ตูนที่เราอ่านและเกมที่เราเล่น ดราก้อนบอล เซนต์เซย่า ไฟนอลแฟนตาซี โดยเฉพาะอันหลังนี่ สมัยประถมเราเคยรู้สึกว่า ทำ�ไมมันน่าเกลียดจัง คือเรายังดูไม่เป็น ยังเด็กอยู่ ไม่เก็ต แต่พอโตขึ้นมาเริ่มรู้สึกว่า งานของอาจารย์โยชิทะกะ อามาโนะ นี่สวยขึ้นเรื่อยๆ เลยเริ่มวาดตาม • อีกอย่างที่ชอบวาดและวาดเยอะคือ สตรีทไฟเตอร์ ที่ตอนนั้น กำ�ลังดัง แล้วก็เป็นลายเส้นคนละแนวกับของ อ.อามาโนะ เลย แต่ผมก็วาดได้ทั้งคู่ เพราะชอบทั้งคู่ ไอ้แวววาดอะไรหลายๆ อย่าง หลายๆ แนวของผมก็เริ่มมาจากตอนนี้แหละ • ใช้คำ�ว่า วาดเล่น ก็จริง แต่เป็นวาดเล่นแบบจริงจังมากนะ วาดลงกระดาษร้อยปอนด์ ลงสีสวยงาม เก็บไว้อย่างดี
024 / 025
• ขึ้นมัธยมปลาย ย้ายโรงเรียนอีกครั้ง และกลับไปตั้งใจเรียน อย่างหนักอีกครั้ง เพราะต้องคิดถึงอนาคตแล้วว่าจะเรียนต่อ อะไร ญาติผู้พี่ของผมเป็นเด็กจิตรกรรม ศิลปากร เขาแนะนำ�ว่า ถ้าชอบวาดการ์ตนู ก็เอ็นท์นเิ ทศศิลป์สิ ผมก็ โอเค งัน้ ผมจะเอ็นท์ เข้ามัณฑนศิลป์ ศิลปากร ออกแบบนิเทศศิลป์ เพราะผมจะเป็น นักเขียนการ์ตูน นั่นคือความคิดตอน ม.สี่ • เมื่อตั้งใจดังนั้นแล้วก็ต้องเริ่มติว ติวทุกเสาร์อาทิตย์ ซึ่งสนุก เพราะเริ่มได้เห็นว่า ความเก่งของเราที่เก่งที่สุดในห้องมา โดยตลอดนั้น พอมาเจอคนอื่นๆ ซึ่งเป็นเด็กที่มาติวเหมือนกัน อยากเอ็นท์เหมือนๆ กัน นั้น เขาเก่งกว่าเรามากแค่ไหน นั่นยิ่งทำ�ให้เราอยากเก่งขึ้นเยอะๆ • ถึงจะเริ่มรู้สึกแล้วว่า เราดรออิ้งหุ่นนิ่งไม่เก่งเท่าชาวบ้าน แต่ยังไงก็ยังมั่นใจว่า เรื่องวาดการ์ตูนนี่ เรายังเก่งมากอยู่นะ • ติวๆ ไปก็ได้เห็นว่า อีกอย่างที่เราทำ�ได้ดีกว่าดรออิ้ง คืองาน นิเทศศิลป์ ซึ่งคือกราฟิกดีไซน์ เพราะมันสนุกตรงได้ใช้ความคิด สร้างสรรค์ ได้ใช้จินตนาการ และเริ่มได้คิดงานในเชิงพาณิชย์ บ้างแล้ว และข้อได้เปรียบของเราคือ นอกจากจะคิดได้ เรายัง วาดเพื่อสื่อสารมันออกมาได้อีกด้วย • ติว 7 วันก่อนเอ็นท์นี่ซีเรียสและเข้มข้นมาก และใน 7 วันนี้ งานผมได้ขึ้นบอร์ด 6 วัน เป็นงานนิเทศศิลป์ทั้งหมดเลย คืองานดรออิ้งเรายังสู้คนอื่นไม่ได้จริงๆ เทพเยอะมาก
• ขึ้นปีสาม เลือกเมเจอร์สิ่งพิมพ์ ซึ่งก็คือกราฟิกดีไซน์ เพราะเลือกตามเพื่อน ทั้งที่ก็มีเมเจอร์อิลลัสเตรชั่น คือ ทำ�ภาพประกอบ แต่ไม่เลือก เพราะติดเพื่อน แต่ก็โอเค กราฟิกนี่ยิ่งเรียนก็ยิ่งชอบขึ้นเรื่อยๆ และมันเป็นสิ่งที่อยู่ ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราถนัดมาก่อน คือสายวาด โดยเฉพาะ วาดการ์ตูน จะรายละเอียดเยอะ ต้องวาดถึก วาดกระหน่ำ� ในขณะที่สายกราฟิกคือการตัดทอนรายละเอียดออกไป น้อย นิ่ง เน้นๆ • ผมนี่ได้ดีเพราะเพื่อนเลยนะ ตอนนั้นเพื่อนเริ่มชวนให้ดูงาน กราฟิกสวยๆ เราก็เริ่มเห็นความงามของมันมากขึ้นเรื่อยๆ หนังสือดีไซน์แนวกราฟิกเล่มแรกที่ซื้อคือ Why Not? ของ Why Not Associates เป็นบริษัทออกแบบทางกราฟิกของ อังกฤษ หนังสือเล่มนี้เปลี่ยนความคิดของผมไปอย่างสิ้นเชิง ผมเริ่มรู้สึกว่ามันมีอะไรสวยๆ สนุกๆ นอกเหนือจากการ์ตูน อีกเยอะมาก และยังทำ�ให้เราเริ่มเข้าใจถึงคำ�ว่า ‘ความเท่’ อีกด้วย • อีกคนทีท่ �ำ ให้เราเห็นความงามของกราฟิกคือ พีโ่ น้ตพงษ์สรวง คุณประสพ หรือ โน้ต DUDESWEET นี่เอง พี่โน้ตเป็นรุ่นพี่ผมหนึ่งปี พอได้ยินจากเพื่อนว่างานพี่คนนี้ แจ๋วมาก เราก็ไปค้นงานพี่เขาดู โอ้โห เขาเก่งจริงๆ งานทั้งสวย และล้ำ� ทำ�ให้เราประทับใจมาก
B —Biography
• ปีสาม ผมกับเพื่อนๆ ไปฝึกงานที่โซดาแม็ก บริษัทที่พี่ชาย เพื่อนทำ�อยู่ เป็นแมกกาซีนออนไลน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใหม่มาก ในสมัยนั้น ผมได้ออกแบบคาแรกเตอร์ที่เอาไปใช้ในการ์ตูน แฟลชแอนิเมชั่น พอฝึกงานจบ เขาก็จ้างต่อ พวกผมเลยเป็น เด็กปีสามที่มีเงินเดือน ได้มาเดือนแรก ขนลุกเลย เก้าพันแน่ะ เยอะมาก • แต่ที่สุดแล้ว ผมก็ตัดสินใจว่าจะเป็นนักวาดภาพประกอบ เพราะยังไงสิ่งที่ชอบทำ�ที่สุดคือการวาด และผมอยากได้เงิน คือตอนนั้นคิดแค่ว่า งานภาพประกอบที่เห็นทางเจริญชัดที่สุด คือแมกกาซีน เพราะมันออกรายเดือน หรือรายสัปดาห์ สม่ำ�เสมอ น่าจะมีงานให้เราทำ�อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็แปลว่าน่าจะ มีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องด้วย • ตอนทำ�โซดาแม็กเริ่มมีงานภาพประกอบเข้ามาให้ทำ�เรื่อยๆ ทั้งจากโซดาแม็กเอง จากลูกค้าของโซดาแม็ก จากเพื่อนที่ไป ทำ�งานเอเจนซี่ จากรุ่นพี่ที่ไปทำ�งานแมกกาซีน และนี่คือ จุดเปลี่ยนสำ�คัญ • พี่แม่น-จิรวัฒน์ ศรีเลื่อนสร้อย บรรณาธิการฝ่ายแฟชั่น และฝ่ายศิลป์ นิตยสาร LIPS เป็นรุ่นพี่ผมสองปี มาชวนไปทำ� ภาพประกอบ ซึ่ง LIPS ก็ยังคงส่งงานให้ผมทำ�มาจนทุกวันนี้ • งานจากเอเจนซี่นี่ผมได้ราคาดีทีเดียวล่ะ ซึ่งเป็นเพราะเครดิต จากการเป็นนักวาดภาพประกอบให้ LIPS นี่เอง • จากนั้นก็ตัดสินใจลาออกจากบริษัท เพื่อเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัว
• ชีวิตฟรีแลนซ์ดำ�เนินไปได้ด้วยดี ถึงจุดนี้เริ่มบอกใครๆ อย่าง เต็มปากว่า “ผมเป็นนักวาดภาพประกอบครับ” ตอนนั้นเราทำ� ประจำ�ให้อยู่หลายหัว LIPS, POPTEEN, สารคดี, 375°F รู้สึก สนุก ฟิน นั่นก็ชื่อเรา โน่นก็ชื่อเรา แต่ถามว่าเงินดีไหม แต่ละชิ้น ไม่มากนะครับ คือพี่แม่นเคยบอกผมว่า เงินมันไม่เยอะ แต่มีชื่อ แปะอยู่บนงานนั่นไงเห็นไหม ได้พีอาร์งานตัวเองไปทั่วประเทศ เลยนะ มองตรงนี้ให้เป็นโอกาส และจำ�ไว้ว่า ‘อย่าหมิ่นเงินน้อย’ มันจริงมากเลยนะ สมัยนั้นผมไม่มีช่องทางไหนพีอาร์งานตัวเอง เลย ไม่มีหรอก เฟซบุ๊ก บล็อก อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงน่ะ การมีชื่อตัวเองติดไปกับนิตยสารดีๆ มากมาย มันทำ�ให้มีโอกาส ตามมาเยอะจริงๆ งานจากเอเจนซี่เข้ามาเต็มเลย ทำ�ภาพ ประกอบให้แอดบ้าง ทำ�แพ็กเกจจิ้งบ้าง เงินดีมาก รูปง่ายๆ ได้สามหมื่น ผมบอกตัวเองทันที “กูรอดชัวร์” • ผมสังเกตว่า งานที่มาจากเอเจนซี่เนี่ย จะใช้สกิลเชิงการ์ตูน มากกว่านะ มันเป็นงานคอมเมอร์เชียลน่ะ น่ารักๆ สดใสๆ แมสๆ คนเห็นแล้วชอบง่าย แต่ในขณะที่งานภาพประกอบ ในนิตยสารต้องมาแนวอาร์ทิสติกหน่อย ซึ่งเราได้เปรียบ เพราะ เราทำ�ได้ทั้งสองแบบ และชอบทั้งสองแบบ ผมเป็นพวกไม่ยึดติด น่ะ ทำ�ได้หมด แล้วเรายังเรียนรู้ที่จะผสมสองอย่างนี้เข้าด้วยกัน อย่างการ์ตูนที่ผมเขียนให้ LIPS นั้นถ้าเขียนเป็นมังหงะหรือ เขียนให้โมเอะเนี่ยไม่รอดหรอก มันต้องเป็นการ์ตูนกึ่งกราฟิก ตัดทอนให้น้อยลง วาดฟอร์มให้สวย และให้ความรู้สึกที่เท่ ส่วนจะกราฟิกไปเลยอย่างเดียวผมว่าก็จะแข็งไปอีกเหมือนกัน เพราะฉะนั้น การมีทักษะทั้งสองทางมันก็ช่วยงานเราเยอะ • งานที่ทำ�ให้คนเริ่มรู้จักผมน่าจะเป็นปกอัลบั้ม ‘แดดส่อง’ ของ คณะโมเดิร์นด็อก เพราะมันต่างจากปกซีดีอื่นๆ บนแผง มันเลย เด่น และถูกจดจำ�เยอะ ปกนี้ได้รางวัล HAMBURGER AWARDS ด้วย
026 / 027
• จุดเปลี่ยนสำ�คัญครั้งถัดมาคือ Sretsis ซึ่งตอนนั้นยังเป็น แบรนด์ใหม่มาก เขาอยากได้ภาพประกอบที่จะเอาไปใช้ใน lookbook ของคอลเล็กชั่นใหม่ โดยเขาจะไม่ใช้นางแบบจริงๆ แต่จะให้ผมวาดนางแบบขึ้นมา ซึ่งมันศิลปะมาก และมันดูไม่ขาย เลยจนเรานึกกังวลแทน คือตัวเสื้อผ้าเนี่ยแทบไม่เห็น ผมงงมาก แต่ก็ประทับใจมากด้วยนะ เพราะไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้ ตอนนั้นผมไม่รู้จักแบรนด์นี้ ไม่เคยได้ยินเลย แต่พี่โน้ต (พงษ์สรวง) บอกว่า ทำ�เลย ทำ�เหอะ เก๋กู้ดมาก ผมก็รับงานเลย ทันที • งานชิ้นนั้น Sretsis ต้องการโชว์ความเป็นแฟร์รี่เทลที่ แฟนตาซีมาก ซึ่งผมก็ได้โอกาสขุดเอาความเป็นนักเล่นเกม ของตัวเองออกมาใช้ วาดกันสนุกมาก แล้วเราก็ได้เข้าใจว่า สิ่งสำ�คัญที่เขาขายคือภาพลักษณ์ แล้วทั้งสามพี่น้องก็ทำ�ได้ดีมาก มาโดยตลอด • งานนี้ทำ�ให้พบว่า เอ๊ะ เราทำ�งานแฟชั่นได้ด้วยหรือนี่
• อีกหนึ่งจุดเปลี่ยนครั้งสำ�คัญคือแบรนด์ของตัวเอง เป็นแบรนด์เสื้อผ้าผู้ชาย ซึ่งก็ประกอบด้วย สามพี่น้องเหมือนกัน แต่เป็นของบ้านผมเอง เจ้าของแบรนด์คือ สิริอร เฑียรฆประสิทธิ์ น้องสาวของผม ทีท่ �ำ หน้าทีเ่ ป็นดีไซเนอร์ และครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ ส่วนพี่ชายผม ภูมิศักดิ์ เฑียรฆประสิทธิ์ เป็นสถาปนิกและอินทีเรียร์ดีไซเนอร์ นอกจากนั้นด้วยความที่ ชอบและหลงใหลกระเป๋ามาก เขาก็จะดูส่วนของแอ็กเซสซอรี่ส์ กระเป๋า รองเท้า ต่างๆ ส่วนผมเป็นกราฟิกไดเร็กเตอร์ ดูแลงาน กราฟิกทั้งหมด และออกแบบลายผ้า • ในฐานะนักทำ�ภาพประกอบที่ทำ�งานหลากหลาย เราเริ่มได้ เสียงวิจารณ์สะท้อนกลับมาว่า ทำ�งานมั่วไปหมด ตกลงตัวตน อยู่ตรงไหนกันแน่ สิ่งที่เราคิดว่าเป็นข้อได้เปรียบของเรา มาโดยตลอด ตอนนี้เหมือนกลายเป็นข้อเสียไปแล้ว เพราะทำ�ให้ เราขาดเอกลักษณ์ เนื่องจากงานส่วนใหญ่ทำ�ตามโจทย์ทั้งนั้น ใครอยากได้อะไรแบบไหนเราทำ�ให้ได้หมด ซึ่งทำ�ให้เราได้ทำ�งาน หลายแบบ กับผู้ว่าจ้างหลายประเภท ผมเลยกลับมาคิดว่า อาจถึงเวลาที่ต้องหา identity ของตัวเอง เริ่มกระสันจะเดิน ในทางของศิลปินดูบ้าง ทั้งที่รู้นะว่าเราไม่ใช่ทางนี้หรอก แต่ก็อยากรู้น่ะว่าเราทำ�ได้ไหม เช่น เอาง่ายๆ ถ้าไม่มีใคร บอกให้วาดอะไร แล้วผมจะวาดอะไร? PAINKILLER
B —Beauty Illustration
Make-up Illustration, LIPS Magazine
เป็นงานภาพประกอบบิวตี้ ที่ใช้เครื่องสำ�อางสร้างงาน เป็นโอกาส ให้ได้ทดลองของใหม่ที่ไม่เคยทำ�มาก่อน ลองผิดลองถูกไปเรื่อย สนุกมาก แต่ปัญหาที่เจอคือ ลงรายละเอียดมากไม่ได้ เพราะ อุปกรณ์แต่งหน้าใช้วาดไม่ถนัดเลย หรือผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น บีบีครีม ไม่เหมาะกับการระบายลงกระดาษ เพราะมันจะไม่แห้ง เหมือนสี และเอาไปสแกนไม่ได้
C —Converse
038 / 039
Converse
Chai
ตอนนั้นแบรนด์เสื้อผ้าชื่อ Chai ได้ทำ�คอลเล็กชั่นให้ Converse และทางแบรนด์มาให้ผมทำ�ลายพิมพ์ ที่ใช้บนเสื้อผ้าของเขา และยังเลือก หนึ่งลายมาทำ�รองเท้าด้วย
Converse
PAINKILLER
คู่นี้มาจากการที่ Converse ติดต่อมาที่ PAINKILLER โดยตรง เราใช้ลายพิมพ์ผ้าจากคอลเล็กชั่น Way Down Below the Ocean มาใช้
Converse
PAINKILLER t.t.
ผมเลือกใช้งานวาดมือที่เคยทำ�ไว้ ตั้งแต่สมัยอายุ 22-23 วัยที่ผมกำ�ลังสนุก กับการทดลองงานศิลปะหลายๆ แบบ และเป็นวัยที่ผมใส่ Converse จริงๆ จึงตัดสินใจใช้งานนั้น เพราะคิดว่า ช่วงชีวิตนั้นของผมน่ะ Converse ที่สุดแล้วล่ะ
K —Kloset
Me, Myself and the Sky
ภาพที่นำ�ไปใช้ในลายพิมพ์ของคอลเล็กชั่น Me, Myself and the Sky (Spring/Summer 2013)
โจทย์คือความสดใสของหญิงสาวแรกแย้มที่เพิ่งจะเริ่มเซ็กซี่ แบบโลลิต้า ทำ�กิจกรรมน่ารักสดใสต่างๆ ในฤดูร้อน เชื่อมโยงองค์ประกอบของลวดลายทั้งหมดด้วยเส้นผม
130 / 131 10th Anniversary Invitation
บัตรเชิญร่วมงานครบรอบ 10 ปี ทางแบรนด์จะส่งดีไซน์ที่เคยใช้ ในคอลเล็กชั่นเก่าๆ มาให้ผมนำ� ไปใช้ในการออกแบบ โจทย์ข้อหนึ่งคือ ปรับให้ลวดลาย ซิกเนเจอร์แนววัยรุ่นเหล่านี้ ดูเติบโตขึ้น ก็เลยนำ�มาใช้เป็น ลายปั๊มนูนสีทอง
160 / 161
M —Music
Lookpad
ภาพที่ใช้ในปกซีดีของลูกปัด อัลบั้ม Chocolate
M —Music
Pry
ภาพที่ใช้เป็นปกซีดี อัลบั้มรวมฮิตของ พราย ปฐมพร
Messed Up
ภาพประกอบปกอัลบั้มรวมเพลงร็อก ญี่ปุ่นและไทย โดยเบเกอรีมิวสิค อาร์ตไดเร็กเตอร์อยากให้เห็นกางเกงในชัดๆ แต่ปรากฏว่าเมื่อจะผลิตออกมาเป็นซีดีจริง ทางค่ายไม่โอเค จึงต้องรีทัช ให้กระโปรงยาวลงมาปิดแบบนี้
Cowboy
ภาพที่ใช้ในปกซีดีของวงนี้ คอนเซ็ปต์ของภาพมาจากซิงเกิ้ลแรกของอัลบั้ม ที่บรี๊ฟมาชัดเจนว่าอยากได้สาวน้อยการ์ตูนญี่ปุ่นเก่าๆ บนชายหาดไทยๆ ที่เต็มไปด้วยขยะ
M —MONDAY
ธรรมเท่ ภาพที่ใช้เป็นปกของ MONDAY นิตยสารดิจิทัลรายสัปดาห์ ชื่อฉบับว่า ธรรมเท่ สีของเศษผม และคิ้วที่เหลืออยู่ ทำ�ให้เห็นว่า เด็กคนนี้คงเคยพังก์น่าดู แต่เมื่อ ตัดสินใจบวชเพื่อศึกษาธรรมะ เขาก็ปล่อยวางและตัดใจได้อย่าง ไม่หวั่นไหว เห็นได้จากสีหน้าที่นิ่ง และสงบมาก ตรงนี้อยากสื่อว่า ความกล้าของเขาคือความเท่
Gang of Four
ภาพที่ใช้เป็นปกของ MONDAY ฉบับ Gang of Four วาดโดยใช้คาแรกเตอร์ที่โด่งดังทั้งสี่ จากหนัง ‘พี่มาก..พระโขนง’ เนื่องจาก MONDAY ฉบับนี้ ว่าด้วยเรื่องของแก๊งสี่คน จึงวาดให้แต่ละคนจากแก๊งเพื่อนพี่มาก สวมบทบาทเป็นตัวละครจากแก๊งสี่คน ที่โด่งดังและเป็นไอคอน นั่นคือ The Beatles, Teletubbies, TMNT และ Fantastic Four โดยเลือกคาแรกเตอร์ให้เข้ากันด้วย
O —Original Artwork เป็นสิ่งสำ�คัญในชีวิตของนักวาดประกอบอย่างผมที่ทำ�งาน ส่วนใหญ่ด้วยมือ การมีต้นฉบับที่จับต้องได้แบบนี้เก็บเอาไว้ มันเป็นความภาคภูมิใจ และมันเป็นสิ่งที่เตือนให้เราพยายามทำ� แต่ละงานให้สวยและดีที่สุดตั้งแต่อยู่บนกระดาษ แทนที่จะเอาแต่ คิดเหมือนสมัยก่อนว่า ‘เดี๋ยวใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแต่งเอาก็ได้’ หรือ ‘ยังไงก็ต้องไปจบบนคอมอยู่ดี’
182 / 183
P —Personal Project
Couple
การวาดคนคู่มันสนุกกว่าวาดคนเดี่ยว เพราะต้องคิดถึงเรื่องความสัมพันธ์ ของคนสองคนในรูปด้วย ว่าเขาเป็นอะไรกัน เขาเหมือนกันยังไง เขาต่างกันยังไง เคมีตรงกันอย่างไร เขาสื่ออะไรถึงกันอยู่ วาดบนสมุดสเก็ตช์แบบง่ายๆ ไม่ใช้เวลามาก
U —Uniqlo
APPLE
ลายเสื้อที่ออกแบบเพื่อส่งประกวดในงาน UT Grand Prix 2008 และได้รับคัดเลือก จากทั้งหมด 13,206 ลายจาก 63 ประเทศ มาเป็นหนึ่งในประมาณ 30 ดีไซน์ที่ ได้ผลิตจริง โจทย์มาจากการอยากทำ�เสื้อ ลายขวาง จึงมาคิดต่อว่า ลายขวางนั้นจะมา จากอะไรได้บ้าง เลยคิดถึงเปลือกแอปเปิ้ล สีแดงที่ถูกปอกออกมาเป็นแถบลักษณะนี้
296 / 297
Z —Zcongklod
312 / 313
สองเงาในเกาหลี •
ภาพปกหนังสือ ‘สองเงาในเกาหลี’ ของ ก้อง-ทรงกลด บางยี่ขัน พิมพ์ครั้งที่ 3
• ภาพปกพิมพ์ครั้งที่ 4 นี่คือการพิมพ์ซ้ำ�หลังจากหนังสือเรื่องนี้ เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดภาพยนตร์เรื่อง ‘กวน มึน โฮ’ จึงออกแบบให้ตัวละคร มีบทบาทบนหน้าปกมากขึ้น เล่าเรื่องราวมากขึ้น และมีการเชื่อมโยงกัน ระหว่างปกหน้า และปกหลัง ใช้ลายเส้นบาง เน้นโทนสีหวาน และอบอุ่นของฤดูใบไม้ผลิ
Z —Zcongklod • ภาพปกพิมพ์ครั้งที่ 6 กิมมิกคือใช้คอมโพสิชั่น เดียวกันกับปกที่แล้ว แต่เปลี่ยนบรรยากาศ ให้เป็นฤดูหนาว และใช้สีสันมากขึ้น
เมฆ-หมอก ภาพที่ใช้บนปกหนังสือรวมบทสัมภาษณ์ โดย ก้อง-ทรงกลด เนื่องจากเป็นหนังสือ เกี่ยวกับคน จึงออกแบบให้เห็นเป็นฟอร์ม ของคน แต่กิมมิกคือ เล่ม ‘เมฆ’ นั้น ภาพคน จะเกิดจากสเปซที่ไม่ใช่เมฆ ส่วนเล่ม ‘หมอก’ นั้น ภาพคนจะเกิดจากรูปทรงของหมอก และด้วยความที่เป็นหนังสือคู่ที่ออกขาย พร้อมกัน อีกหนึ่งลูกเล่นคือ ภาพปกจะทำ�ให้ หนังสือสามารถวางต่อกันได้ โดยไม่ว่าจะ สลับซ้ายขวาอย่างไร ก็ยังคงจะได้ ความต่อเนื่องของลายเส้นเช่นกัน
ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์ เรียบเรียงโดย ภูมิชาย บุญสินสุข
หนังสือในชุด Art & Idea ลำ�ดับที่ 008 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-061-0 พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2557 ราคา 595 บาท ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์. Capital O. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2557. 320 หน้า. 1. ศิลปกรรมร่วมสมัย. I. ชื่อเรื่อง. 704.9 ISBN 978-616-327-061-0
ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข ผู้ช่วยบรรณาธิการ สุรเกตุ เรืองแสงระวี อาร์ตไดเร็กเตอร์ ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์ / บพิตร วิเศษน้อย ช่างภาพ ดวงสุดา กิตติวัฒนานนท์ / อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ กราฟิกดีไซเนอร์ เพกา เจริญภักดิ์ / เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ เลขานุการ/พิสูจน์อักษร พิมพ์นารา มีฤทธิ์ กองบรรณาธิการ เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ การตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ประสานงานการผลิต อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ลูกค้าสัมพันธ์ นริศรา เปยะกัง เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด สำ�นักพิมพ์ เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 ต่อ 308, 310 โทรสาร 0-2718-1244 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing
แยกสี/พิมพ์ บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2461-2161 จัดจำ�หน่าย บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด ในกรณีที่หนังสือมีตำ�หนิจากการพิมพ์หรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้นมาตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ ทางเรายินดีเปลี่ยนให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น
319 / 319