GENDERISM

Page 1



คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ จำ � ได้ ว่ า ตั ว ละครตัวหนึ่ง ในภาพยนตร์ที่เ คยดู ไปมี พ ฤติ ก รรมทางเพศ อั น เมามั น โลดโผน จนความสนุ ก สนานผ่ า นพ้ น ไป ความละอายก็ ผุ ด ขึ้ น มา เธอระบายความสับสนคับข้องใจให้เพื่อนฟังว่า “How does something that is so wrong feel so right?” ทำ�ไมบางสิ่งที่ผิดบาปมันจึงรู้สึกดีได้ถึงเพียงนี้นะ เพื่อนได้ยินดังนั้นก็ยิ้มกระหยิ่ม ก่อนจะตอบว่า “Honey, that’s the way they design it.” เรือ่ งพรรค์อย่างนี้ บางทีกเ็ ป็นความหฤหรรษ์ทจี่ ะรูส้ กึ ผิด ถ้ายอมรับว่าพึงใจ เห็นความซับซ้อนของมนุษย์ตรงจุดนี้ไหม แม้ เรื่ อ งเพศจะเป็ น เรื่ อ งธรรมชาติ แต่ น้ อ ยคนนั ก จะพู ด ได้ อ ย่ า งเป็ น ธรรมชาติ จำ�นวนน้อยลงไปอีกที่จะพูดได้อย่างเข้าท่าและได้สาระ ที่สุดแล้ว อาจมีเพียงหยิบมือที่จะพูดได้สนุกและโดนใจ โตมร ศุขปรีชา เป็นหนึ่งในจำ�นวนหยิบมือนั้นอย่างไม่ต้องสงสัย นี่คือหนังสือเล่มหนึ่งที่เคยเรียกเสียงฮือฮาได้มากที่สุด ขายดีที่สุด และ ถูกเรียกร้องให้พมิ พ์ซ�ำ้ มากทีส่ ดุ ในโอกาสทีส่ �ำ นักพิมพ์อายุครบ 10 ปี ในปี 2556 นี้


เราจึ ง ติ ด ต่ อ ขออนุ ญ าตพี่ ห นุ่ ม -โตมร จั ด พิ ม พ์ ซ้ำ � และทำ � รู ป เล่ ม ใหม่ ทั้ ง หมด โดยได้ ล ายเส้ น แสนเท่ ที่ รุ่ ม รวยด้ ว ยเอกลั ก ษณ์ จากหนึ่ ง ศิ ล ปิ น หนุ่ ม แห่ ง ยุ ค โลเล-ทวีศักดิ์ ศรีทองดี มาเป็นภาพปกและภาพประกอบ ข้อสังเกตหนึ่งที่น่าแปลกใจมากก็คือ แม้เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จะผ่าน มาแล้วถึง 8 ปี (พิมพ์ครั้งแรกในปี 2548) แต่ก็ยังไม่มีอะไรเฉิ่มเชย ตกยุค หรือ พ้นสมัยไปเลยแม้สักนิด ทำ�ให้นึกไปถึงตอนที่ชวนพี่หนุ่ม-โตมร เขียนตอนพิเศษเพิ่มเติมเข้าไปใน การรวมเล่มครั้งใหม่นี้ พี่หนุ่มตอบว่า “ไม่รู้จะเขียนอะไรดี เรื่องนี้มันไม่มีอะไรใหม่ เกิดขึ้นอีกแล้ว” ในเวลานั้นเราคิดว่าพี่หนุ่มบอกปัดไปเพราะงานยุ่ง (หรือกำ�ลัง ยุ่ ง กั บ การขี่ จั ก รยาน, อย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง หรื อ ทั้ ง สองอย่ า ง) แต่ เ มื่ อ ได้ อ่ า น GENDERISM ดูอีกรอบ เราก็เชื่อแล้วว่า เขาพูดความจริง สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก กรกฎาคม 2556


จากผู้ชายคนหนึ่งถึงโตมร แจ้งให้ทราบแต่เนิ่นว่า ผมเกิดและโตมาในสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ (หรือ อย่างน้อยก็อยูใ่ นสังคมทีเ่ ชือ่ ในคตินแี้ บบกระมิดกระเมีย้ น...ไม่กล้าพูดออกมาดังๆ) เพราะฉะนั้น ทรรศนะและท่าทีที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ ในแง่หนึ่งแล้วย่อมหนีไม่พ้น กรอบความคิดและคติความเชื่อดังกล่าว สำ � หรั บ หนั ง สื อ รวมเล่ ม GENDERISM ซึ่ ง คุ ณ โตมรแจ้ ง ความจำ � นง ต้องการให้ผมเป็นผู้เขียนคำ�นิยมนี้ ผมขออนุญาตจัดแบ่งเป็น ‘ข้อน่าสังเกตบ้างไม่น่าสังเกตบ้าง’ จำ�นวน 10 ข้อดังนี้ครับ 1.ในวงนิ น ทาหลั ง แก้ ว เหล้ า แก้ ว เบี ย ร์ ข องนั ก เขี ย นเพศชายรุ่ น ราว คราวเดียวกันเท่าที่ผมเคยมีโอกาสร่วมโต๊ะ ชื่อของโตมร ศุขปรีชา เป็นหนึ่ง ในน้อยชื่อที่ถูกพูดถึงด้วยน้ำ�เสียงยอมรับ และมีมากกว่าหนึ่งคนเอ่ยปากว่า “กับคนอื่นพอเห็นทางจะเขียนสู้ได้ แต่กับโตมร – ขอยอม” 2.ตัง้ แต่รจู้ กั และเคยร่วมงานกันมาเมือ่ ปี 2536 ผมไม่เคยได้ยนิ โตมรนินทา ว่าร้ายใคร (ในความหมายที่จงใจสร้างความเสียหายให้อีกฝ่ายอย่างมีนัยสำ�คัญ) แม้ว่าเขาเป็นคนชอบและพร้อมจะใช้เวลานานๆ เพื่อการถกเถียง เอาสิ่งที่ตัวเอง คิดและเชื่อจากข้างในออกไปปะทะพิสูจน์กับคนอื่นๆ


3.ผมไม่แ น่ใจว่าคุณสมบัติข องการเป็น คนชอบพิ สูจน์ เกี่ ยวข้ องอะไร กับการที่เขาเรียนจบปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ (ถ้าจำ�ไม่ผิดน่าจะเป็นสาขา ชีวะเคมี) แต่มันทำ�ให้เขามีคุณสมบัติของผู้ใฝ่รู้ ทั้งรู้จริงและอยากรู้ไปเสียทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องหนักๆ ใหญ่ๆ ไล่มาจนถึงความรู้ รายละเอียด และความพิถีพิถัน เกี่ยวกับการมีชีวิตอย่างหรูหรามีรสนิยม 4.แต่เท่าทีผ่ มรู้ เขาไม่ใช่คนติดหรูหรือเป็นคุณหนูสะอาดสะอ้านอะไรหรอก สมัยเคยร่วมงานในองค์กรเดียวกัน วีรกรรมปฏิเสธการอาบน้�ำ ติดต่อกันร่วมสัปดาห์ เวลาไปเดินป่าหรือออกต่างจังหวัด ยังเป็นที่ร่ำ�ลือถึงทุกวันนี้ 5.คอลัมน์ GENDERISM เกิดขึ้นมาจากการท้าทายระหว่างผมกับเขา โดยมีโจทย์ว่าเราสามารถวิเคราะห์และแสดงความเห็นต่อประเด็นข่าวที่เกิดขึ้น ในสังคมทุกๆ เรื่อง ภายใต้กรอบวิธีคิด gender ได้หรือไม่ 6.ช่ ว งแรกๆ คอลัมน์นี้ส ร้างความหงุดหงิ ด ให้ ใครหลายคน แต่ ต่ อมา มันกลายเป็นของขายได้ ในฐานะคอลัมน์ที่ต้องอ่านเป็นลำ�ดับต้นๆ ...แม้ว่า บางคนอาจจะยังหงุดหงิดอยู่ก็ตาม 7.กับงานเขียนชุด GENDERISM สิ่งที่ผมเคารพไม่ใช่ ‘ข้อสรุป’ หรือ ‘ข้อเสนอ’ ปลายทาง แต่เป็น ‘กระบวนการ’ หาเหตุผลและให้คำ�อธิบายก่อน นำ�ไปสู่ข้อเสนอนั้นๆ สิง่ ทีผ่ มนับถือเป็นส่วนตัวอีกประการหนึง่ ก็คอื มันเป็นงานเขียนทีเ่ ปิดฉาก ชวนทะเลาะอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่กลัวเปลืองตัว ท่าทีเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า ต่อให้ผู้เขียนจะมีต้นทุนความเฉลียวฉลาดในการหาเหตุผลและคำ�อธิบายแค่ไหน ก็ตาม แต่เขาก็เลือกที่จะเปิดการ์ดแลกหมัดทางความคิดกับคนอื่นๆ (ซึ่งประเมิน แล้วน่าจะเป็นคนส่วนมากในสังคม) ทั้งที่โดยศักยภาพเชิงทักษะแล้ว ผู้เขียน สามารถอาศัยเหลีย่ มคูทางการเขียนเพือ่ ถนอมเนือ้ ถนอมตัวและถนอมภาพลักษณ์ ของตัวเองให้น่ารักน่าเอ็นดูต่อไป-ก็ย่อมได้


8.ถึงที่สุดแล้ว คอลัมน์ GENDERISM อาจไม่ใช่เพียงการให้คำ�อธิบาย ปรากฏการณ์ทางสังคมผ่านกรอบแว่น gender เท่านั้น แต่เมื่อเขียนไปถึงจุดหนึ่ง โตมรใช้มนั ในฐานะเครือ่ งมือช่วงชิงพืน้ ทีท่ างสังคมให้กบั กลุม่ คนทีอ่ ยูร่ ว่ มในสังกัด ‘อนุวฒ ั นธรรม’ เพือ่ ให้มที ที่ างในการต่อสูต้ อ่ รองมากขึน้ ...ซึง่ โดยส่วนตัว ผมถือว่า เป็นหน้าที่หนึ่งของคนที่ทำ�งานด้านสติปัญญาอยู่แล้ว 9.สารภาพแบบไม่อายว่า พฤติกรรมเกลียดตุ๊ด ระแวงเกย์ รำ�คาญทอม และ...เป็นห่วงดี้ ของผมลดลงไปเยอะ ภายหลังจากได้อ่านคอลัมน์นี้ 10.ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่เคยถามโตมรว่า เขาเป็นเกย์หรือไม่ ประเด็นไม่ใช่ไม่กล้า แต่เพราะคิดว่าไม่ใช่กงการอะไรที่ผมจะต้องไปรู้ ผมรูแ้ ค่วา่ เขาเป็นมิตรสหายคนหนึง่ ทีผ่ มกล้ายืน่ ไม้ยนื่ มือโอบกอดได้อย่างสนิทใจ ผมเคยกอดโตมรมาแล้วครับ เนื้อตัวเขาอ้วนดำ�นุ่มนอกแน่นใน กอดแล้วอุ่นใจ กว่าการเดินเฉี่ยวชนมนุษย์บางจำ�พวก แล้วในฐานะมนุษย์คนหนึง่ ทีย่ งั ถือสาและซีเรียสกับประเด็นความสัมพันธ์... เราจะต้องการอะไรมากกว่านี้ ด้วยความรัก อธิคม คุณาวุฒิ


คำ�นำ�จากผู้เขียน บทความในหนังสือเล่มนี้ รวบรวมจากคอลัมน์ GENDERISM ที่ตีพิมพ์ เป็นตอนๆ ในนิตยสาร a day weekly โดยมี อธิคม คุณาวุฒิ เป็นบรรณาธิการ ที่จริง คำ�ว่า Genderism ไม่มีในสารบบภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะถามว่า มันหมายความถึงอะไร คงต้องเทียบเคียงกับคำ�ว่า Feminism Feminism ในความหมายที่ ก ว้ า งที่ สุ ด หมายถึ ง การสร้ า งองค์ ค วามรู้ โดยมีผู้หญิงเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสำ�หรับคนบางคน (อย่างเช่นผม) เป็นความหมาย ที่ยังไม่เพียงพอ ทั้งนี้ก็เพราะโลกไม่ได้มีเพียงสองเพศ เพศหญิงอาจถูกกดขี่ และโลกก็อาจเลือกสร้างองค์ความรู้ต่างๆ โดยมี ผู้ชายเป็นศูนย์กลางมานานหลายพันปี แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า โลกนี้มีเพศ อยู่เพียงสองเพศ เรื่องเพศเป็นเรื่องของอำ�นาจ เป็นเรื่องการเมือง จึงเป็นเรื่องของการต่อสู้ ต่อรองเพื่อแย่งชิงพื้นที่ แบบเดียวกับที่รัฐบาลกับฝ่ายค้านแย่งชิงพื้นที่ในหัวใจ ของประชาชน อำ�นาจหลักในสังคมมักไม่ค่อยยอมให้ใครผิดแผกแตกต่างไปจากพวก และเรื่องที่ไม่ยอมให้คนเราผิดแผกแตกต่างที่สุด ก็คือเรื่องเพศ ถ้าคนเราผิดแผก ในความคิดทางการเมือง เช่นแบ่งออกเป็นเดโมแครตหรือรีพับลิกัน หลายครั้ง


ยังพอรับกันได้ แต่ถา้ เป็นผูช้ ายทีช่ อบแต่งตัวเป็นผูห้ ญิง แต่ยงั ชอบมีเซ็กซ์กบั ผูห้ ญิง เขาควรจะไปอยู่กับกลุ่มอำ�นาจหลักในสังคมกลุ่มไหนดี-ผู้ชายหรือผู้หญิง หรือว่าสังคมควร ‘กระจายอำ�นาจ’ ให้อำ�นาจทางเพศนั้นแตกออกสู่ กลุ่มก้อนต่างๆ ที่อยากมีวัตรปฏิบัติและวิถีทางเพศเป็นของตัวเองกันแน่ สำ�หรับผม เรื่องเพศเป็นปัญหาสำ�คัญของสังคมไม่แพ้การต่อสู้ต่อรองกับ ทุนนิยมและบริโภคนิยม ทั้งสองอย่างนี้เป็นเรื่องของ ‘อำ�นาจ’ ที่ลอยวนอยู่รอบตัว มันบังคับให้เรา ทำ�โน่นนั่นนี่ เพื่อกลายกลืนเข้าสู่อำ�นาจหลักของสังคม และหลายครั้งที่เรื่องเพศ กับทุนนิยมและบริโภคนิยมผสมพันธุ์เข้ากับชาตินิยมขวาจัดคลั่งศีลธรรม แล้วให้ ผลผลิ ต ออกมาเป็ น ความคิ ด เผด็ จ การที่ ค อยบงการผู้ ค น ตั้ ง แต่ สั่ ง ให้ ต้ อ ง คิดบางแบบเท่านั้นถึงจะเป็นคนไทย ไปจนถึงต้องแต่งตัวอย่างไร มีเซ็กซ์กับใคร ไปจนถึงมีเซ็กซ์แบบไหน ด้วยอวัยวะอะไร ที่ไหน ผมคิดว่า ผมอาจโชคดีกว่าคนอื่น ที่มีแม่ผู้ไม่สนใจอำ�นาจหลักของสังคม โดยเฉพาะอำ�นาจหลักในเรื่องเพศ จำ�ได้ว่า เมื่ออายุครบ 15 ปี แม่ของผมเปิดหนังเรต XXX ให้ผมกับน้องสาว ดู และบอกเล่าให้เราฟังว่า ในหนังเรือ่ งนัน้ ใครทำ�อะไรอย่างไรเพือ่ อะไร และมนุษย์ จำ�นวนมากทำ�อะไรอย่างไรกับใครเพื่ออะไร พร้อมทั้งบอกเรากลายๆ ว่า สิ่งที่ มนุ ษ ย์ เราทำ � นั้ น ไม่ ว่ า จะอะไรอย่ า งไรกั บ ใครและเพื่ อ อะไร-ก็ ไ ม่ จำ � เป็ น ต้ อ ง เหมือนกัน แม่บอกว่า คนเรามีนิ้วห้านิ้วที่ไม่เหมือนกัน แต่ไม่ได้แปลว่านิ้วไหน ‘ใหญ่’ กว่านิ้วไหน มันเพียงแต่แตกต่าง และจำ�เป็นอย่างยิ่ง ที่แต่ละนิ้วจะต้องยอมรับ การทำ�งานของนิ้วอื่นให้ได้-แม้ว่ามันจะแตกต่างกัน เรื่องเพศก็เป็นอย่างนั้น-ผมคิดในเวลาต่อมา ผมคิดว่า การที่ใครคนหนึ่งจะเอาตัวตนทางเพศของตัวเองเข้าปะทะกับ อำ�นาจหลักในสังคม มันเป็นการสั่นสะเทือนและสร้างริ้วรอยให้เขาไม่ยิ่งหย่อน กว่าการที่ใครบางคนชูธงนำ�ประชาชนในเหตุการณ์เดือนตุลาคมนัก การต่อสูท้ างการเมืองแบบเป็นทางการเหล่านัน้ ยิง่ ใหญ่และส่งผลมหาศาล ทว่าการต่อสู้ทางการเมืองเรื่องเพศที่เกิดขึ้นผ่านการสร้างตัวตน การแต่งตัว และ


การแสดงออกทางเพศ แม้ดูเผินๆ ไม่ได้ยิ่งใหญ่และมีผลในพริบตา ทว่ามันคือ การบ่อนเซาะ ค่อยๆ ประกาศจุดยืน และหาทีท่ างให้กบั ตัวตนของตัวเองในสังคมแน่นอน ผลอาจไม่เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน แต่มันจะดำ�รงอยู่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึง วันสุดท้ายของชีวิต ที่จริง โลกนี้ไม่มีอะไรจีรัง เรื่องเพศที่สังคมยึดมั่น อำ�นาจหลักของสังคม ที่พยายามชี้นิ้วกราดบอกใครๆ ว่าต้องทำ�อย่างนั้นอย่างนี้ สักวันหนึ่งก็ต้อง จบสิ้นลง ผู้คุ้มกฎในกระทรวงวัฒนธรรมที่ไหนๆ ก็ต้องตายในวันหนึ่ง นักต่อสู้ เพื่อสิทธิของเกย์หรือเลสเบี้ยน ก็ล้วนต้องตาย คำ�ถามของผมก็คือ เราไม่เหนื่อยกับการยึดมั่นถือมั่นในเรื่องเหล่านี้กัน ใช่ไหม ถ้าใครตอบผมว่าไม่เหนื่อย-ก็จงยึดมั่นกันต่อไปเถิดครับ ขอให้มีความสุขกับชีวิตที่เหลืออยู่กันทุกคน โตมร ศุขปรีชา ตุลาคม 2548


GENDERISM อันที่จริงงานของคุณโตมรไม่ต้องการคำ�นิยมเลย ยิ่งคำ�นิยมจากนักเขียน ไร้เดียงสาอย่างฉันยิ่งดูไม่จำ�เป็นเข้ าไปใหญ่ เพราะบทความที่คุณจะได้อ่ าน ต่อไปนี้ทั้งหมดได้บ่งบอกคุณภาพของตัวมันเองอย่างชัดเจนที่สุดแล้ว เพียงชื่อคอลัมน์ที่กลายมาเป็นชื่อหนังสือเล่มนี้ก็น่าสนใจมากพอที่จะ ต้องหยิบมันขึ้นมาอ่าน ในฐานะที่เราอยู่ในสังคมที่จำ�กัดนิยามของคำ�ว่า ‘เพศ’ ไว้ที่ จู๋ จิ๋ม และการปี้กัน ในฐานะที่เราอยู่ในสังคมที่มีการรณรงค์รักษาพรหมจรรย์ ในวันวาเลนไทน์ ในฐานะที่เราอยู่ในสังคมที่ภรรยาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และ วุ ฒิ ส มาชิ ก เป็ น ตั ว ตั้ ง ตั ว ตี ใ นการออกสติ๊ ก เกอร์ สุ ด โหดอย่ า ง “ทิ้ ง กู มึ ง ตาย” “Love me or I kill you” (มันน่าจับป้าไปร้องเพลงแร็ปชะมัด (ฮา)) ในฐานะที่เรา อยูใ่ นสังคมทีด่ าราสาวๆ ชอบออกมาให้สมั ภาษณ์วา ่ “ไปไหนกับคุณแม่ตลอดค่ะ” “ไม่ แ สดงบทโป๊ ไม่ แ สดงเลิ ฟ ซี น โป๊ สุ ด ได้ แ ค่ เ สื้ อ กล้ า ม ส่ ว นถ่ า ยชุ ด ว่ า ยน้ำ � ต้ อ งขออนุ ญ าตคุ ณ พ่ อ ก่ อ นค่ ะ ” หรื อ พู ด อี ก อย่ า งว่ า เราอยู่ ใ นสั ง คมที่ เชื่ อ ว่ า ศีลธรรมและจรรยาบรรณในการ ‘ปี้’ คือคำ�ตอบของทุกอย่าง แย่กว่านั้นศีลธรรม ทีเ่ รายึดมัน่ ถือมัน่ เป็นศีลธรรมแบบ ‘ทำ�ได้แต่หา้ มพูด’ จะถ่ายโป๊ถา่ ยนูด้ จะล่อผูช้ าย ผูห้ ญิงมากีค่ นก็ตอ้ งบอกว่า “คุณพ่อหวงค่ะ-คุณแม่ไม่อนุญาตค่ะ-ตอนนีม้ นี อ้ งหมา เป็นเพื่อนคู่ใจ” ไว้ก่อน GENDERISM ของคุณโตมรช่วยสอยเอาเรือ่ งเพศสภาวะลงมาจากหอคอย งาช้าง จากทีเ่ ป็นเพียงประเด็นถกเถียงกันในแวดวงวิชาการลงมาคลุกในวัฒนธรรม


มวลชน เพื่อขยายมุมมองเรื่องเพศว่าไม่ใช่แค่จู๋ จิ๋ม และกิจกาม ปี้ๆ นอนๆ แต่ เรือ่ งเพศอยูก่ บั เราทุกลมหายใจ สัมพันธ์อยูก่ บั จุดยืนทางการเมืองของเรา ศาสนา ทีเ่ รานับถือ การศึกษาทีห่ ล่อหลอมเรามา สภาพทางเศรษฐกิจ รูปแบบของครอบครัว ตลอดจนชนชัน้ ทีเ่ ราสังกัดอยู่ และแม้จะโตจนหมาเลียตูดไม่ถงึ ความคิด ความเชือ่ ทรรศนะที่ เรามี ต่ อ เรื่ อ งเพศทั้ ง ของตั ว เราและของคนอื่ น ๆ ก็ ยั ง ถู ก แวดล้ อ ม กล่อมเกลาด้วย ‘สาร’ ที่เรารับผ่านสื่อสารมวลชน ผ่านหนังสือ ผ่านคำ�พูดของ ผูน้ �ำ ทางสังคมทัง้ ทางการเมือง ศาสนา และคนทีไ่ ด้ชอื่ ว่าเป็นตัวแทนทางวัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งคอลัมน์อย่าง ‘ซ้อเจ็ด’ ก็บอกอะไรมากมายเกี่ยวกับมายาเรื่องเพศ ที่หลอมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในสามัญสำ�นึกของเรา ดังที่คุณโตมรวิเคราะห์ไว้อย่าง ละเอียดลออ เรื่องเพศไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ แต่เป็นเรื่องของวัฒนธรรมทั้งยังเกี่ยวพัน กับการเมืองอย่างแนบแน่น ถ้าใครไม่เห็นด้วยก็ขอรบกวนอ่านหนังสือเล่มนีใ้ ห้จบ เสียก่อนแล้วค่อยมาเถียงกัน (เถียงกับคุณโตมรนะคะ คำ� ผกาไม่เกี่ยว :P) ด้วยรักและท้าทาย คำ� ผกา เกียวโต ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๘


คำ�นิยม รู้สึกเป็นเกียรติเหลือกำ�ลังเมื่อได้ทราบว่าตัวเองจะได้มีโอกาสมาเขียน คำ�นิยมให้กับหนังสือ ‘โลกหลากเพศ’ ของคุณพี่โตมร ดิฉันคิดว่าไม่มากก็น้อย คงต้องเป็นเพราะอานิสงส์ทค่ี อลัมน์ของเรา-GENDERISM ของคุณพี่ และ Feminuts ของคุณน้อง - เคยได้อยู่เคียงคู่กันมาในนิตยสาร a day weekly สักระยะหนึ่ง เป็นแน่...ดูสิ แค่ชื่อก็สมกันราวกับคุณพี่เป็นมาโนโล และคุณน้องเป็นบลาห์นิก ยังไงยังงั้น! เมื่อมีโอกาสได้ติดตามงานของคุณพี่โตมรมาตลอด บ่อยครั้งดิฉันต้อง ยกหูโทรศัพท์ไปเอะอะโวยวายกับคุณพี่เขาเสมอ ด้วยข้อหาที่ว่าในแต่ละสัปดาห์ คุณพี่โตมรจะมาพร้อมข้อเขียนที่จริงจัง หนักแน่น และเต็มไปด้วยความครุ่นคิด อันลึกซึ้ง ในขณะที่ดิฉันลุกขึ้นมาลึกซึ้งกับประเด็นอย่าง...เอ่อ...กระเป๋ารุ่นใหม่ ของดีไซเนอร์คนโปรด…ความผิดของมันคงจะอยูท่ ว่ี า ่ GENDERISM ทำ�ให้ Feminuts ของดิฉันบ้าบอสมชื่อจริงๆ แต่กระนั้น ดิฉันก็อยากจะขอบันทึกความประทับใจและความเห็นส่วนตัว ทีไ่ ด้จาก ‘โลกหลากเพศ’ ของคุณพีโ่ ตมรไว้ทนี่ ี่สกั นิด ในฐานะผูท้ เี่ ห็นด้วยอย่างยิ่ง ว่า เรื่องเพศเป็นเรื่องพื้นฐานที่หากพิจารณาดูดีๆ แล้วอาจจะมีความสำ�คัญ มากกว่าเรื่องอื่นใดก็เป็นได้ งานของคุณพี่โตมรทำ�ให้ดิฉันนึกเชื่อมโยงไปถึง บทละครที่ชื่อว่า Angels in America ที่ประพันธ์โดยนักเขียนบทละครร่วมสมัย


ชาวอเมริกนั เชือ้ สายยิว และมีเพศสภาพเป็นเกย์ เจ้าของรางวัลโทนี่ อวอร์ด (19931994) และพูลิตเซอร์ ไพรซ์ (1994) สาขาบทละครนามว่า โทนี่ คุชเนอร์ (หรือ อันที่จริง งานของคุชเนอร์อาจทำ�ให้ดิฉันนึกเชื่อมโยงไปถึง ‘โลกหลากเพศ’ ของ คุณพี่โตมรก็เป็นได้) บทละครเรื่องนี้มีชื่อเรื่องรองว่า ‘A Gay Fantasia’ กล่าวคือเป็นบทละคร ที่ ผ สมผสานการร้ อ งและดนตรี อั น หลากหลายเข้ า ไว้ ด้ ว ยกั น โดยคุ ช เนอร์ ไ ด้ กล่าวถึงความวิตกกังวลของสังคมที่มีต่อสถานการณ์โรคเอดส์ และสังคมโฮโมเซ็กชวลในช่วงทศวรรษ 80 ของอเมริกาที่ถูกปกครองโดยรัฐบาลขวาจัดของ รี พั บ ลิกั น อั น แสนจะมะโช่ แสนจะพิวริทัน และแสนจะโปรเตสแตนท์ภายใต้ การนำ � ของโรนั ล ด์ เรแกน สิ่ ง หนึ่ ง ที่ คุ ช เนอร์ ไ ด้ พู ด ถึ ง ไว้ ใ นงานของเขาก็ คื อ เขาคิดว่า ไม่ใช่เชื้อชาติ แต่เป็น ‘การเมือง’ ที่นิยามความเป็นมนุษย์ในสังคมเรา หากเราจะตีความคำ�ว่าการเมืองให้แตกออกไปมากกว่าการเป็น ‘ซ้าย’ หรือ ‘ขวา’ ตามบริบทของสังคมอเมริกนั เราจะพบว่าสิง่ ทีค่ อยปลุกปัน่ ให้การเมืองดำ�รงต่อไป ได้นนั้ ก็คอื อำ�นาจ...และอำ�นาจแรกทีเ่ ราอาจจะเรียกได้วา่ เป็น immediate power หรืออำ�นาจที่ใกล้ตัวที่สุดที่เราจะนำ�มาใช้ ก็คือ อำ�นาจในอาณาเขตเพศสภาพ หากเราลองมองดูพัฒนาการของสังคมและความเป็นไปที่กำ�ลังเกิดขึ้น รอบตัวเรา เราอาจจะพบว่า อำ�นาจของเพศสภาพเหล่านีป้ รากฏออกมาในรูปแบบ ของอคติ ที่ ติ ด มากั บ เพศสภาพหนึ่ ง ๆ ซึ่ ง แทรกซึ ม อยู่ ใ นทุ ก อณู พื้ น ที่ ข องเวที สาธารณะที่เราให้ค่ากันว่าสำ�คัญและควรค่าแก่การสถาปนาขึ้นมาเป็นสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเมือง สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการบริโภคนิยม ฯลฯ อาจจะฟังดูบ้าบอไปบ้างตามประสา แต่ดิฉันคิดว่าปัญหาหลายอย่างที่ เกิดขึน้ ในสังคมมนุษย์เรานัน้ ไม่มากก็นอ้ ยล้วนมีรากฐานก่อเกิดขึน้ มาจาก ‘ไอ้นนั่ ’ ของคุณกันทั้งนั้น ทุกคนเกิดมาพร้อมกับอวัยวะเพศที่มีความหมายและคุณค่า เท่ากับศูนย์ แต่เนื่องจากมันติดตัวเรามาแล้ว (ทำ�ไงได้ล่ะ) คงจะไม่มีอะไร (ที่เรา เห็นว่า) ดีไปกว่าการสร้างความหมาย และแปะป้ายประกาศให้มันว่านี่คือ ‘ไอ้นั่น ของผูช้ าย’ และ ‘ไอ้นขี่ องผูห้ ญิง’…ขอเชิญเยาวชนทัง้ หลายร่วมกล่าวสัตย์ปฏิญาณ ที่จะประพฤติตัวให้อยู่ในวิถี และขนบของความเป็น ‘ไอ้นั่น’ และ ‘ไอ้นี่’ กันเถิด


และเยาวชนเหล่านั้นก็เติบโตขึ้นมาเป็น ‘ท่านนั้น’ และ ‘ท่านนี้’ กัน ตลอดเวลา บทความใน GENDERISM เล่มนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงช่องว่าง และความ เป็นไปได้ของการไม่ผกู ติดค่านิยมอยูก่ บั ค่ายทางความคิดทีม่ เี พียงแค่สองขัว้ เท่านัน้ ดิฉันไม่คิดว่า GENDERISM จะเป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องเกย์ หรือเป็น A Gay Fantasia เวอร์ชั่นภาษาไทยของเราแต่อย่างใด แต่แง่หนึ่ง GENDERISM ของคุณพี่โตมร ศุขปรีชา ทำ�ให้ดิฉันเห็นว่า ขั้วตรงข้ามที่ดำ�รงอยู่แค่สอง คือ ความเป็นหญิงกับความเป็นชายนั้นเป็นตัวเจ้าปัญหาได้มากขนาดไหน และเป็นตัวเจ้าปัญหาชนิดทีเ่ รียกได้วา่ ไร้ซงึ่ อารมณ์สนุ ทรีย์ และเสียงดนตรี ที่หลากหลายอยู่มากทีเดียว ขอบคุณค่ะ มนัสชื่น โกวาภิรัติ เฟมินัทส์ข้างๆ พี่ไง!


สารบัญ 23 29 35 41 47 53 59 65 71 77 89 89 97 103

ความเป็น ‘แม่’ และ ‘เมีย’ ของกระทรวงวัฒนธรรม มอนสเตอร์สายเดี่ยว: เศษขี้ของสังคม ความใกล้ชิดของผู้ชาย ความวิปริตวิตถารของเซ็กซ์ ฟุตบอล เยาวชนทั้งหลายจงมาเป็นเกย์กันเถิด (บทปฏิวัติต่อนักข่มขืนทางจริยธรรม) สันติวิธีและความรุนแรง เมื่อผู้ชายถูกกระทำ� กระอักกระอ่วนบนโต๊ะอาหาร เสา ผู้หญิงกับพระธาตุ เราต่างเป็นนักแสดง ง่ายและโง่ ยากล่อมประสาทแบบแม่ๆ


109 115 121 127 133 139 145 151 157 163 169 175 181 187

ความอ่อนไหวของนักฆ่า (ในสังคมไทย) สิทธิที่จะไม่ไปเลือกตั้ง และสิทธิที่จะเป็นกะเทย ข้อเสียของสถาบันครอบครัว ความลามกของคนหน้าไหว้หลังหลอก เพื่อนร่วมเพศ แพศยาและน่ารัก เรื่องในครอบครัว (เรื่องนี้ชวนหวัว) Talk of the (SEX) Town สิทธิที่จะรักนวลสงวนตัว -สิทธิที่จะดอกทอง -สิทธิที่จะแปลงเพศตั้งแต่เด็ก ผู้หญิงไม่ชอบฟังเพลงบลูส์ ‘วัฒนธรรมไทย’ คือตัวการทำ�ให้เด็กมั่วเซ็กซ์? ฟักตุ๊ด! เสื่อม ยามเช้า


193 199 205 213 221 227 233 241 247 253 259 265 271

‘พุทธเทียม’ บุคคลสาธารณะ และปาร์ตี้เซ็กซ์ กระแสแห่งแม็กซ์ฯ และกุญแจของนักการตลาด บ้านหลังหนึ่ง ณ จุดจบของโลก ความหมายขยายของครอบครัว ข้อสังเกตบางประการถึงซ้อเจ็ด See & Be Seen ชาตินิยมกับการสมสู่ของภาษา เตือนภัย ยินยอมพร้อมใจ การว่ายน้ำ�ของ เช เกวารา เมื่อสัตว์เป็นเกย์ เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน วันเสียตัวแห่งชาติ กับการสำ�เร็จความใคร่ทางศีลธรรม การสูบบุหรี่ของหญิงอ้วน


277 283 289 295 301 307 313 319 325 331 337 343 349

กบหัวอ่อนและคางคกหัวดื้อ เรื่องใหญ่ของนมโต การคัมเอาต์ของป๋า วันวิปริต เอกภพคู่ขนาน จากผู้ชายถ่ายนู้ดถึงเซ็กซ์ทอย Animal will do รดน้ำ�ดำ�สาด: กระสุนน้ำ�หลังรถกระบะ อุดมการณ์รักแร้ มาตรฐานเอ็นทรานซ์และการรวมศูนย์อำ�นาจ เกย์คาทอลิก -หมุดหมายแห่งความหลากหลายทางศีลธรรม ฮิสทีเรียและกรรม โรคภูมิแพ้ทางเพศ



ความเป็น ‘แม่’ และ ‘เมีย’ ของกระทรวงวัฒนธรรม 01

GENDERISM


ผมเพิง่ รูส้ กึ เมือ่ ไม่นานมานีน้ เ่ี องว่า สิง่ ทีเ่ ราเรียกมันว่า ‘กระทรวงวัฒนธรรม’ นัน้ เอาเข้าจริงก็เป็นแค่องค์กรแห่งหนึง่ เหมือนองค์กรอย่างมูลนิธคิ มุ้ ครองสัตว์ปา่ , คณะละครมะขามป้อม, กลุ่มอัญจารี, ชมรมนักนิยมไพร หรือศูนย์ฟื้นฟูชะนี คืนสู่ป่า แรกทีเดียว ผมตื่นเต้นกับกระทรวงวัฒนธรรมมากเหลือเกิน ผมคิดว่า กระทรวงนี้ ค งเป็ น กระทรวงที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยความกระตื อ รื อ ร้ น ที่ จ ะสร้ า งความ หลากหลายทางวัฒนธรรม และส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมทั้งหลายแหล่ ของกลุ่มคนที่แตกต่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มเกย์ที่สีลม ซอยสอง (หรือที่อื่นๆ-บ้าง!) วัฒนธรรมการวิจารณ์ (อย่างน้อยก็วิจารณ์รัฐบาล) วั ฒ นธรรมการอ่ า นหนั ง สื อ ที่ ห ลากหลาย วั ฒ นธรรมความเข้ า ใจกั น และกั น ของกลุ่มคนที่มีภูมิหลังและพื้นฐานไม่เหมือนกัน ฯลฯ แต่แล้วกระทรวงวัฒนธรรมก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่ผมคิด! สิง่ เดียวทีก่ ระทรวงวัฒนธรรมกระทำ� ก็คอื การออกมาร้องแรกแหกกระเชอ ทุกครั้งที่เห็นอะไรไม่ชอบมาพากลในสายตา ‘ของตัวเอง’ เมื่อนิตยสาร IMAGE ขึ้นปกนายแบบนางแบบที่ไม่ใส่เสื้อผ้า กระทรวง วัฒนธรรมก็รีบรี่ออกมาด่า เมื่อผนวกเข้ากับปากคอและวิธีคิดของ ส.ว.หญิง เจ้าของชมรมต่อต้านผัวมีเมียน้อย ก็ยิ่งฟังดูมีน้ำ�หนักหนักแน่น 24


ก่อนหน้านี้ กระทรวงวัฒนธรรมก็ขอจัดระเบียบเนื้อเพลงที่ออกอากาศ แบนเพลงที่มีเนื้อหาหมิ่นเหม่ (ในสายตาของกระทรวงวัฒนธรรม) โดยเฉพาะ เพลงลูกทุง่ ทีม่ เี นือ้ หาซือ่ ๆ ตรงไปตรงมา ทัง้ ทีเ่ พลงลูกทุง่ เหล่านีก้ ค็ อื ‘วัฒนธรรม’ อย่างหนึ่ง ดังนั้น กระทรวงวัฒนธรรมของเราจึงได้เชิดชูวัฒนธรรม ‘เฉพาะ’ บางอย่าง เช่น วัฒนธรรมที่กระทรวงวัฒนธรรมเรียกว่าเป็น ‘วัฒนธรรมอันดีงาม ของชาติ’ ทั้งหลาย อาทิ การรณรงค์ไม่ให้สาวๆ ใส่สายเดี่ยวออกมาเล่นน้ำ� สงกรานต์ การดูแลเด็กๆ ไม่ให้ออกนอกบ้านหลังสีท่ มุ่ อะไรต่างๆ เหล่านี้ เป็นต้น ผมคงต้องขอเรียนกระทรวงวัฒนธรรมให้ทราบว่า ณ ขณะนี้ กรอบความคิด ของคนที่อยู่ในกระทรวงวัฒนธรรมนั้น เป็นกรอบความคิดที่ต้องการจะควบคุม คนอืน่ โดยมีฐานคิดอยูบ่ นความอยากจะให้สงั คมมีทศิ ทางไปในทางเดียวกันหมด นั่ น ก็ คื อ เป็ น สั ง คมที่ เชื่ อ ฟั ง หั ว อ่ อ น ยอมรั บ ความหมายของ ‘วั ฒ นธรรม’ ที่กระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้กำ�หนดทั้งหมด และฟังเสียงของคนอื่นน้อยเต็มที โดยเฉพาะเสียงเล็กเสียงน้อยจากคนที่ไม่ค่อยจะมีโอกาสได้พูด ปัญหาของผมก็คือ กรอบที่กระทรวงวัฒนธรรมใช้มองสังคมนั้นเป็นกรอบ แบบชนชัน้ กลางทีส่ ขุ สบายในชีวติ พอสมควร (เช่น สามารถอยูใ่ น ‘บ้าน’ หลังสีท่ มุ่ ได้ - แต่ ถ้ า เป็ น เด็ ก ไร้ บ้ า นที่ ยั ง ต้ อ งวิ่ ง ขายพวงมาลั ย ล่ ะ !) ที่ สำ � คั ญ กรอบของ กระทรวงวัฒนธรรมยังเป็นกรอบของคนรักต่างเพศทีเ่ ชือ่ ในเรือ่ งผัวเดียวเมียเดียว คลั่งจริยธรรมและสถาบันครอบครัวโดยขาดการตั้งคำ�ถาม ทั้งยังไม่มีความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจคนอืน่ ทีแ่ ตกต่างไปจากกรอบนี,้ อย่างน้อย ก็ไม่มคี วามพยายาม ที่จะเข้าใจคนที่ต่างไปจากนี้ และยังพยายามยัดคนทั้งโลกเข้าไปอยู่ในกรอบนี้ ให้ได้ด้วย ใครเข้าไปอยู่ในกรอบนี้ไม่ได้ ก็จะกลายเป็นคนไร้วัฒนธรรม หรือ เลยเถิดไปถึงขัน้ เป็นคนไม่รกั ชาติไปเสียเลย-โดยนัยนี้ กระทรวงวัฒนธรรมจึงไม่ได้ ส่งเสริมความหลากหลาย แต่ยังพยายามกำ�จัดมันเสียด้วย! ผมคิดว่า วัฒนธรรมไม่ใช่ของใครคนเดียว โดยนัยนี้ วัฒนธรรมในแบบ ของกระทรวงวัฒนธรรม จึงเป็นได้แค่ subculture หรือวัฒนธรรมย่อยเท่านั้น! ไอ้ ที่ ก ระทรวงวั ฒ นธรรมเห็ น ว่ า เป็ น วั ฒ นธรรมอั น ดี ง ามเหลื อ แสน เช่ น ผู้ ห ญิ ง ไทยต้ อ งไม่ แ ก้ ผ้ า ไม่ ใ ส่ ส ายเดี่ ย ว ไม่ ร่ า นแรด ไม่ มี กิ๊ ก หลายคน ไม่สำ�ส่อน มีเซ็กซ์กับคนเพศเดียวกันไม่ได้ ฯลฯ อะไรเทือกๆ นั้น เอาเข้าจริง 25


ก็ เ ป็ น วั ฒ นธรรมย่ อ ยของกระทรวงวั ฒ นธรรมเท่ า นั้ น เอง ไม่ ไ ด้ เ ป็ น สั จ ธรรม ครอบคลุมคนทั้งสังคม เพราะคนที่อยากมีเซ็กซ์ทุกวันกับผู้ชายไม่ซ้ำ�หน้า หรือ เห็นว่าไหนๆ ก็ชอบมีเซ็กซ์อยู่แล้ว ถ้ามีเซ็กซ์แล้วได้เงินใช้ด้วยก็ดีออก ก็คงมอง การรณรงค์ของกระทรวงวัฒนธรรมแล้วเบือนหน้าหนี ด้วยเห็นว่ามันช่างห่างไกล ความจริงเสียเหลือเกิน เมื่อคิดอย่างนี้ กระทรวงวัฒนธรรมจึงกลายเป็นแค่องค์กรอะไรสักอย่าง ที่อาจมีประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมน้อยกว่าศูนย์ฟื้นฟูชะนีคืนสู่ป่าที่จังหวัดภูเก็ต เสียอีก ทั้งนี้ก็เพราะกระทรวงวัฒนธรรมยึดมั่นอยู่กับอะไรบางอย่างที่ไม่แมตช์ กับสังคมโดยรวม และพยายามยัดสิ่งนั้นเข้าไปบีบบังคับผู้คน ผมมานั่งนึกดูว่า เพราะอะไรกระทรวงวัฒนธรรมถึงได้เป็นอย่างนี้ แล้วก็ พบว่า สาเหตุหนึง่ ทีน่ า่ จะเป็นไปได้กค็ อื กระทรวงวัฒนธรรมถูกครอบงำ� (Dominated) โดย ‘ความเป็นผู้หญิง’ ในแบบที่สังคมเข้าใจกันทั่วไป (Typical femininity) นั่นเอง โปรดอย่ า เข้ า ใจผิ ด -ผมไม่ ไ ด้ พู ด ว่ า เป็ น เพราะกระทรวงวั ฒ นธรรม ถูกครอบครองโดยสุภาพสตรีทั้งหลายนะครับ ระบอบประชาธิ ป ไตยผู้ ช ายเป็ น ใหญ่ นั้ น พอเห็ น ว่ า เป็ น เรื่ อ งของ ‘วัฒนธรรม’ ก็รบี หยิบยืน่ ‘อำ�นาจ’ ในการจัดการวัฒนธรรมให้กบั ความเป็นผูห้ ญิง ทันที ความเป็นผู้หญิงจึงเข้าครอบครองกระทรวงวัฒนธรรมเต็มที่ แต่ความ เป็นผู้หญิงดังกล่าวนั้นยังเข้าใจมาตลอดชาติตลอดภพว่า ‘อำ�นาจ’ หนึ่งเดียว ที่ผู้หญิงมี เป็นอำ�นาจอันยิ่งใหญ่และสามารถใช้สยบอำ�นาจอื่นๆ ของผู้ชาย ได้ทั้งปวง ก็คืออำ�นาจของความเป็น ‘เมีย’ และ ‘แม่’ แล้วกระทรวงวัฒนธรรมก็เลยพยายามทำ�ตัวเป็น ‘เมีย’ และ ‘แม่’ ของ สังคม! น่าเศร้าที่วิธีคิดนี้ไม่เป็น ‘ไทย’ เลย เพราะเป็นวิธีคิดที่คนไทยรับเดน สมาทานมาจากตะวันตกทั้งนั้น ผู้หญิงตะวันตกนั้นถูกกดขี่อย่างหนักมาตลอด จึงต้องต่อสู้ด้วยวาทกรรม ‘แม่’ และ ‘เมีย’ ขณะที่ผู้หญิงไทยไม่เคยถูกกดขี่ หนักขนาดนั้น ผู้หญิงของเรามีสิทธิเลือกผู้ชายมาเป็นผัวเสียด้วยซ้ำ� (เช่น ในงาน ก่อเจดีย์ทรายในวันสงกรานต์ หรือประเพณี ‘แอ่วสาว’ ของทางเหนือ) การรับ สมาทานวิธีคิดพวกนี้มา จึงสำ�แดงออกถึงความเป็นทาสวิธีคิดของตะวันตก 26


ยุ ค วิ ก ตอเรี ย นที่ ค ลั่ ง จริ ย ธรรมเต็ ม ที่ ซากเดนตะวั น ตกที่ ถู ก สมาทานเข้ า มา จึงกลายมาเป็น ‘ความเป็นไทย’ และ ‘วัฒนธรรมอันดีงาม’ ในสายตาไร้ราก ของกระทรวงวัฒนธรรมไป แต่ที่สำ�คัญไปกว่านั้น ก็คือการสมาทานเอาความคิดแปลกๆ ว่า สถาบัน ครอบครัวแบบชนชัน้ กลางตะวันตกในนิวเคลียร์แฟมิลี่ คือสิง่ สุดวิเศษทีจ่ ะสามารถ แก้ปญ ั หาทุกอย่างในสังคมได้ โดยหาสำ�เหนียกไม่วา ่ ‘สถาบันครอบครัว’ ต่างหาก คือที่มาสำ�คัญของปัญหาสังคมมากมาย! และที่มาของปัญหา ก็มาจากรากของความพยายามจะก้าวเข้าไปสู่ภาวะ ความเป็น ‘เมีย’ เป็น ‘แม่’ ที่ดีประเสริฐสุดนี่แหละ! ลำ�พังแค่ครอบครัว จะดูแลกันโดยใช้วิธีคิดเก่าๆ แค่ใช้เวลากับลูก เอาแต่ ออกคำ�สั่งลูกโดยไม่เข้าใจลูกไม่ได้อีกแล้ว (เช่น ถ้าลูกบอกว่าไม่อยากแต่งงาน ไม่อยากมีลูก ไม่อยากสืบทอดครอบครัว เพราะไม่อยากให้เกิดมารหัวขนออกมา ทำ�ลายสิ่งแวดล้อมของโลกมากไปกว่านี้-คุณจะเข้าใจเขาได้ไหม ไม่ต้องพูดไกล ไปถึงลูกที่เป็นเกย์หรอก) แต่สังคมไม่ใช่ครอบครัว สังคมยิ่งใหญ่ไปกว่าครอบครัว มากนั ก กระทรวงวั ฒ นธรรมจะใช้ วิ ธี เ ดี ย ววิ ธี เ ดิ ม คื อ การยกเอาอำ � นาจของ ความเป็ น ‘แม่ ’ ความเป็ น ‘เมี ย ’ และอำ � นาจของสถาบั น ครอบครั ว มาเป็ น กะลาครอบหัวตัวเองและคนอื่นอยู่ตลอดชาติคงไม่ได้ ต้ อ งยอมรั บ ความจริ ง ว่ า มี ห ลายคราวที เ ดี ย วที่ ม นุ ษ ย์ เราเบื่ อ แม่ บ่ น และอยากหนีเมีย (หรือผัว) หรือแม้แต่ลูกๆ-ไปอยู่คนเดียวบ้าง-สถาบันครอบครัว ไม่ได้ ‘เวิร์ก’ อยู่ตลอดเวลาหรอกครับ ผมคงต้องขอวิจารณ์กระทรวงวัฒนธรรมอย่างนี้ไปตลอด หากกระทรวง วัฒนธรรมของเรายังไม่เปลี่ยนกรอบความคิด และคับแคบอยู่ในความเป็น ‘แม่’ และ ‘เมีย’ ใต้อุ้งเท้าของระบบโครงสร้างผู้ชายเป็นใหญ่อย่างนี้!

27



เยาวชนทั้งหลายจงมาเป็นเกย์กันเถิด (บทปฏิวัติต่อนักข่มขืนทางจริยธรรม) 06

GENDERISM


01

ผมอยากพูดกับเยาวชนโดยเฉพาะ-ว่าการเป็นเกย์ไม่ใช่เรือ่ งผิด มันคือเรือ่ ง ถูกควร ดีงาม และเหมาะสมกับคนที่รู้ว่าตัวเองอยากจะเป็นเกย์ ทุกวันนี้ ‘นักข่มขืนทางจริยธรรม’ มักจะนำ�จริยธรรมในแบบของตัวเอง มาข่มขืนครอบงำ�เราผ่านอำ�นาจต่างๆ ในสังคม-โดยเฉพาะอำ�นาจอย่างเป็น ทางการ, เกย์ (อย่างน้อยก็แบบหนึ่ง) ไม่พึงบังอาจปรากฏกายในสื่อสาธารณะอำ�นาจนีผ้ า่ นมาจากนักข่มขืนทางจริยธรรมอย่างกระทรวงบางกระทรวง โดยผ่าน อำ�นาจบริหาร เกย์ที่อยู่ด้วยกันมาตลอดชีวิต เมื่อฝ่ายหนึ่งตายจากไป ทรัพย์สมบัติ ต้องตกเป็นของพ่อแม่พี่น้องของคนตาย-ไม่ใช่ของคู่ชีวิต-อำ�นาจนี้มาจากอำ�นาจ ของกฎหมาย ทีไ่ ม่เปิดโอกาสให้คนเพศเดียวกันสามารถอยูด่ ว้ ยกันอย่างเท่าเทียม กับคู่ชีวิตต่างเพศ-ซึ่งผมเห็นว่า ขัดต่อเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญอย่างยิ่ง นักข่มขืนทางจริยธรรมใช้อำ�นาจทุกวิถีทาง ทั้งด้านบริหาร ด้านกฎหมาย (ทั้งตุลาการและนิติบัญญัติ) เพื่อพยายาม ‘กำ�จัด’ เกย์ออกไปจากความรับรู้ ของสังคมให้สิ้นซากตามวิสัยหน้าไหว้หลังหลอก แต่สังคมไทยมีเกย์ไหม?

54


รับรูก้ นั อยูล่ กึ ๆ เต็มอก, ว่ามี-ไม่ได้มแี ค่เกย์ชาวบ้านธรรมดาๆ แต่เกย์ระดับ สูงสุดของประเทศในหลายสถาบันก็มีอยู่จริง พูดอย่างง่าย-ประเทศนี้ผ่านมือเกย์ มาแล้วนักต่อนัก แต่เกย์ไม่เคยได้รับการยอมรับ ผมเพิ่ ง แปลหนั ง สื อ ชื่ อ Boy Meets Boy เสร็ จ ไป หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ป็ น เรื่องของเกย์ในเมืองแห่งหนึ่งซึ่งผู้คนยอมรับเกย์ได้อย่างกลมกลืน เมืองแห่งนั้น จึงไม่มีการแบ่งแยก ไม่มีบาร์เกย์ ไม่มีบาร์สำ�หรับผู้ชาย ไม่มีบาร์สำ�หรับผู้หญิง แต่ทกุ บาร์ ทุกร้านอาหาร ทุกโบสถ์ ทุกชัน้ เรียน-ล้วนต้อนรับคนทุกเพศอย่างเสมอ หน้ากัน ครูคนหนึ่งในนิยายเรื่องนี้เขียนในสมุดพกของลูกศิษย์ชั้นประถมสอง บอกพ่อแม่ของเขาว่า ลูกชายของคุณตระหนักในความเป็นเกย์ของตัวเองดี และ ลูกชายก็เอาสมุดพกกลับบ้านไปบอกพ่อแม่ว่าเขาเป็นเกย์-และเขาก็เป็นจริงๆ เมืองแห่งนั้นอาจเป็นแค่แฟนตาซีของนักเขียน มันอาจไม่ได้มีอยู่จริง แต่เมืองแห่งนั้นก็เป็นเมืองในอุดมคติอย่างหนึ่ง, เปล่าครับ-ไม่ใช่เมืองในอุดมคติของเกย์ แต่เป็นเมืองในอุดมคติทปี่ ราศจาก ซึ่งนักข่มขืนทางจริยธรรม! อำ�นาจของนักข่มขืนทางจริยธรรมนัน้ หนักหน่วงมาก มันไม่ได้กดทับเฉพาะ คนทั่วไปให้เกิดความรู้สึกต่อต้านรังเกียจเกย์เท่านั้น แต่ยังมีผลกับตัวของเกย์เอง อย่างลึกซึ้งอีกด้วย ผมเคยคุ ย กั บ เกย์ ที่ มี ชื่ อ เสี ย งในสั ง คมสองสามคน เกย์ ส องสามคนนี้ กล่าวได้ว่านอกจากจะใช้ชีวิตเกย์อย่างเปิดเผยและมีความสุขดีแล้ว ยังได้รับ การยอมรับในความสามารถเรือ่ งอืน่ ๆ ของตัวเอง (ทีไ่ ม่เกีย่ วอะไรกับการเป็นเกย์) อีกด้วย ผมเคยถามพวกเขาว่า เกย์ในต่ างประเทศ ต่อสู้กันไปถึงการแต่งงาน ของคนรักเพศเดียวกันแล้ว เมื่อไหร่เกย์เมืองไทยจะหยิบประเด็นนี้มาพูดบ้าง

02

55


เกย์อาวุโสทัง้ หลายทำ�สีหน้ากริง่ เกรงเหมือนคนโบราณกลัวราชภัย คนหนึง่ บอกว่า ทุกวันนี้ก็มีความสุขดีอยู่แล้ว สังคมไทยก็ให้การยอมรับเกย์ดีอยู่แล้ว ไม่อยากเรียกร้องอะไรมากไปกว่านี้ กลัวเดี๋ยวคนไทยจะขนาบเอาจนสิ้นฤทธิ์ เกย์อกี คนหนึง่ บอกว่า การเรียกร้องเรือ่ งการแต่งงานเป็นการเรียกร้องสิทธิ์ ที่มากเกินไป คนไทยไม่ยอมรับหรอก แล้วอีกอย่าง การเป็นเกย์ก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี เกย์ทั้งหลายไม่สนับสนุนให้คนมาเป็นเกย์หรอก เพราะชีวิตมันมีแต่ทุกข์ การ แต่งงานของเกย์ไม่มที างยืดยาวได้ เพราะเกย์นนั้ สำ�ส่อน คอยมองหาผูช้ ายใหม่ๆ อยู่เสมอ ผมฟังพวกเขาแล้วเกิดอาการ ‘โฮโมโฟเบีย’ กับเกย์กลุ่มนี้ขึ้นมาทันที เพราะคำ�พูดทัง้ หมดล้วนเป็นมายาคติทเี่ กย์เหล่านัน้ สมาทานเดนความคิดมาจาก นักข่มขืนทางจริยธรรมทั้งสิ้น! แม้กระทั่งทุกวันนี้ เกย์ส่วนใหญ่เวลาพูดหรือเขียนในที่สาธารณะ ก็ต้อง พยายามบอกว่า การเป็นเกย์เป็นเรื่องที่เลวร้าย ไม่สนับสนุนให้เด็กๆ ที่ไหน มาเป็นเกย์หรอก เพราะชีวิตมีแต่ทุกข์ แต่การเป็นเกย์จะต้องมีแต่เรื่องทุกข์อย่างเดียวจริงหรือ? คำ � ตอบของผมก็ คื อ ไม่ จ ริ ง , คนเราแต่ ล ะคน ไม่ มี ใ ครเหมื อ นกั น เลย สักคนเดียว ทุกข์สุขของคนแต่ละคนจึงไม่เคยเหมือนกัน แล้วเกย์เป็นกลุ่มคน พิเศษอย่างไรหรือ ถึงคิดตีขลุมไปว่า เกย์ทุกคนต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เช่นว่า ต้องสำ�ส่อน ต้องฟังเพลง I Will Survive ต้องมองหาผู้ชายตลอดเวลา และ ต้องทุกข์เหมือนกันหมด ทุกข์ของเกย์กลุ่มหนึ่ง ไม่อาจเป็นทุกข์ของเกย์ทั้งหมดได้! ผมคิดว่า เกย์คนไหนอยากสำ�ส่อนหรือมีชวี ติ แบบฟาสต์เลนก็จงทำ�ไปด้วย ความภาคภูมิใจและน้อมรับผลที่เกิดขึ้นอย่างยินดีเถิด แต่อย่าบอกคนอื่นเลยว่าเกย์ทุกคนสำ�ส่อนและทุกข์เหมือนที่ตัวเองเป็น ผมเพียงแต่อยากบอกเยาวชนของชาติทุกคนว่า ถ้ารู้ตัวว่าอยากเป็นเกย์ ก็จงเป็นไปเถิด ชีวติ ของเกย์ไม่ได้ทกุ ข์ยากไปกว่าชีวติ ของผูห้ ญิงหรือผูช้ ายทีต่ กอยู่ ใต้อิทธิพลของนักข่มขืนทางจริยธรรมนักหรอก

56


ถ้าน้องๆ คนไหนไม่ได้มีปัญหากับความเป็นเกย์หรือเลสเบี้ยนของตัวเอง และไม่ปล่อยให้ใครๆ มาสร้างปัญหาให้กับความเป็นเกย์หรือเลสเบี้ยนของ ตัวเอง-ชีวิตของการเป็นเกย์และเลสเบี้ยนก็ไม่มีปัญหาอะไร ถ้าใครมีปัญหากับเกย์หรือเลสเบี้ยน-ก็แสดงว่าคนคนนั้นนั่นแหละ-ที่เป็น คนมีปัญหา-ไม่ใช่คนที่เป็นเกย์หรือเลสเบี้ยน-ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นใคร-พ่อ, แม่, ครู หรือ พระ แต่ก็ต้องรำ�ลึกไว้เสมอว่า ทุกอย่างมีราคาที่จะต้องจ่ายทั้งสิ้น และอิทธิพล ของนักข่มขืนทางจริยธรรมนั้นใหญ่หลวงนัก โดยเฉพาะในประเทศที่ปกครอง แบบอำ � นาจนิ ย ม เทคนิ เชี ย นนิ ย ม และฝั ก ใฝ่ ใ นลั ท ธิ ผู้ ช ายเป็ น ใหญ่ อ ย่ า ง ประเทศไทยใต้การปกครองของรัฐบาลและกระทรวงวัฒนธรรมนี้ เพราะฉะนั้น แม้เกย์หรือเลสเบี้ยนคนไหนจะไม่มีปัญหากับตัวเอง แต่ก็จะมีคนมีปัญหา เข้ามา ก่อปัญหาให้อยู่อย่างต่อเนื่อง ถ้าน้องๆ คนไหนตัดสินใจที่จะเป็นเกย์ พึงรับรู้ไว้ด้วยว่า การเป็นเกย์ ในสังคมนี้ประเทศนี้ไม่ใช่แค่การแสดงออกทางเพศ (Sexual action) คือได้มีเซ็กซ์ อย่างที่อยากมีเท่านั้น แต่การเป็นเกย์ ณ ที่แห่งนี้ ในเวลานี้ คือการแสดงออก ทางการเมือง (Political action) คือเป็นปฏิกริ ยิ าปฏิวตั ทิ มี่ ตี อ่ อิทธิพลของนักข่มขืน ทางจริยธรรมด้วย จงมาเป็นเกย์กันเถิด-หากอยากจะเป็น จงมาเป็ น เกย์ กั น เถิ ด -หากอยากร่ ว มขบวนการปฏิ วั ติ ต่ อ ต้ า นอิ ท ธิ พ ล ของนักข่มขืนทางจริยธรรม เหมือนเมื่อครั้งเหล่าชาวนาลุกฮือขึ้นก่อกบฏปฏิวัติฝรั่งเศส!

57



ฟักตุ๊ด! 26

GENDERISM


01 ผมคิ ด ว่ า สั ง คมไทยยอมรั บ เรื่ อ งเกย์ พ อได้ แ ล้ ว เพราะผมเห็ น ภาพ การยอมรับอยู่ในหลายระดับ อย่างเช่น เมื่อตอนต้นปี ที่มีข่าว (หลุดและพลาด) ออกมาว่า นักแสดงภาพยนตร์คนหนึ่งเป็นเกย์ ปรากฏว่า 99.99% ของกระทู้ ที่เกิดขึ้นในเว็บบอร์ดมีแต่ชื่นชมในความกล้าหาญ กระทู้ต่อว่าเสียดสีในความ เป็นเกย์นั้นน้อยเต็มที ผมอดเพ้อไปไม่ได้ว่า ชะรอยสังคมไทยหมดทั้งสังคมคงเปิดกว้างยอมรับ เรื่องคนรักเพศเดียวกันได้แล้ว ต่อไปสังคมไทยอาจจะเปิดให้เกิดการแต่งงาน ของคนรักเพศเดียวกันทีอ่ ยากแต่ง หรืออาจเปิดให้เกิดเสรีภาพในเรือ่ งเพศมากขึน้ กว่านี้ เช่น พยายามทำ�ความเข้าใจอาชีพโสเภณีมากขึน้ ทำ�ความเข้าใจวิถที างเพศ ทีแ่ ตกต่างหลากหลาย และเรียนรูว้ า่ มาตรฐานศีลธรรมทีจ่ ะใช้ในการลงดาบตัดสิน คนนั้น ไม่ควรมีชุดเดียวทื่อๆ ฯลฯ แต่แล้วอาการเพ้อของผมก็ถูกกระตุกกลับอย่างรุนแรงจนหัวคะมำ�! เรื่องมีอยู่ว่า เพื่อนเกย์คนหนึ่งของผม สมมติว่าชื่อจอร์จ (ไม่ใช่ซาราห์ นะครับ) สมัครเข้าไปทำ�งานในบริษัทใหญ่ยักษ์ขนาดมโหฬารของประเทศไทย แห่งหนึ่ง (คุณน่าจะพอเดาออก ว่ามันคือบริษัทอะไร บอกใบ้ให้ว่า เป็นบริษัท โทรคมนาคมสือ่ สารผ่านฟากฟ้าทีเ่ จ้าของตัวจริงน่ะใหญ่เบิม้ มาก) แล้วเขาดันเรียก ไปสัมภาษณ์ 176


จอร์จของผม (ซึ่งไม่มีคู่ชีวิต แล้วก็ไม่ค่อยได้สนใจแสวงหาเรื่องเพศและ ความสัมพันธ์มากเท่าไหร่ เขาค่อนข้างมีความสุขกับการอยูต่ ามลำ�พังในเมืองใหญ่ มากกว่า และถ้าดูภายนอก ไม่มีใครบอกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์หรอกครับว่าจอร์จ เป็นเกย์) ก็เดินทางไปสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ของบริษัทบิ๊กเบิ้มแห่งนั้น โดยทั่วไปก็ปกติดีอยู่ มีการถาม โน่นถามนี่เกี่ยวกับเรื่องงานและประสบการณ์ความสามารถ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติ อะไร แต่แล้วจอร์จก็เริ่มสำ�เหนียกถึงความผิดปกติ เมื่อผู้สัมภาษณ์ทั้งสามคน เริ่มซักถามเจาะลึกลงไปถึงเรื่องส่วนตัวที่ส่วนตัวมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมุ่งเน้นไปที่ การแต่งงานของจอร์จ ทำ�นองว่าเขาแต่งงานแล้วหรือยัง เมื่อรู้ว่ายังไม่แต่ง ก็เริ่ม ถามต่อไปว่า คิดว่าจะแต่งงานไหม มีแฟนหรือยัง เคยคิดไว้วา่ จะแต่งงานตอนอายุ เท่าไหร่ สัญชาตญาณระแวงของจอร์จทำ�งานขึน้ มาทันที ด้วยความอยากได้งานทำ� เขาจึงกลั้นใจตอบไปส่งๆ ว่าคิดว่าจะแต่งงานปีหน้า-โดยไม่ได้คิดเลยแม้แต่น้อย ว่าคำ�ตอบนี้จะกลายมาเป็นปัญหาในภายหลัง แล้วบริษัทก็รับเขาเข้าทำ�งาน แล้วจอร์จก็พบว่า ตัวเองเข้ามาอยู่ในสังคมบริษัทที่ ‘เกลียดตุ๊ด’ หรือ มีอาการความผิดปกติทางจิต (หรือเป็นโรคจิต) ที่จะเรียกว่า Homophobia คือ เกลียดกลัวเกย์ หรือจะเรียกว่า Heterosexist คือเป็นพวกยึดเพศสองเพศเป็น หลักชัยในการดำ�เนินชีวิตจนต้องใช้ความรุนแรงกับคนเพศอื่นๆ ก็ได้ จอร์จค้นพบว่า ตัวเองต้องเผชิญหน้ากับความรุนแรงดังกล่าวแทบทุกวัน ยกตัวอย่างเช่น เวลาออกไปเอาต์ติ้ง ซึ่งก็คือการไปเที่ยวหรือไปประชุม นอกสถานที่ในหมู่พนักงานบริษัท จะมีการเล่นเกมต่างๆ ที่สำ�แดงออกถึงอาการ เกลียดตุ๊ดอย่างรุนแรง อาทิ ให้ปรบมือพูดคำ�อะไรออกมาสักอย่าง แล้วจากนั้น ก็จะเปลีย่ นสร้อยลงท้ายเป็นคำ�ว่าตุด๊ สมมติอย่างหมาน้อย พอปรบมือสองแผละ ก็จะเปลี่ยนเป็นหมาตุ๊ด หรือฟักทอง ก็จะเปลี่ยนเป็นฟักตุ๊ด เป็นต้น จอร์จมีชีวิตอยู่ในความรุนแรงทำ�นองนี้ทุกวัน เขาพบว่าตัวเองถูกควบคุม โดยสังคมของบริษัทไม่ให้เปิดเผยว่าเขาเป็นเกย์ 177


ที่สำ�คัญ ทุกคนคิดว่าปีหน้าจะได้ไปงานแต่งงานของเขา! เพื่อนเกย์ของจอร์จหลายคนบอกให้เขาลาออก แต่จอร์จไม่อยากทำ� อย่างนั้น เขาให้เหตุผลว่า เงินเดือนที่นี่สูง และสวัสดิการก็ดี ดังนั้นในเมื่อที่แห่งนี้ มันรังเกียจคนที่เป็นเกย์อย่างไร้เหตุผลได้ เขาก็จะอยู่เพื่อ exploit หรือหลอกใช้ บริษัทนี้ไปเรื่อยๆ และถึงที่สุด ถ้าบริษัทจะไล่เขาออกเพราะเขาเป็นเกย์ จอร์จ บอกว่าก็ดี จะได้รู้ว่าที่จริงแล้ว สังคมไทยยังรังเกียจเกย์อยู่อีก

02 ผมถูกฉุดให้คะมำ�จากอาการเพ้อกลับมาสู่โลกจริง ซึ่งเป็นโลก ‘ปกติ’ ที่ครอบครองโดยคน ‘ปกติ’ ผมไม่แน่ใจและเห็นด้วยเท่าไหร่นักกับการตัดสินใจจะ exploit บริษัท ของจอร์จ แต่แน่นอน, ถ้าเราไม่ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบเดียวกัน ไม่ได้อยู่ใน เงื่อนไขชีวิตแบบเดียวกัน ผ่านประสบการณ์เดียวกันอย่างลึกซึ้งเข้มข้น เราจะเอา เศษซากกากเดนอารมณ์ประสบการณ์ของตัวเองไปตัดสินคนอื่นไม่ได้ ผมไม่เคยเป็นเกย์ที่ดื่มน้ำ�อยู่ในออฟฟิศ และจู่ๆ ก็ต้องสำ�ลักน้ำ�เพราะ มีเพื่อนร่วมงานมาด่าเกย์แล้วอยากให้เราเออออด้วย ไม่เคยเป็นเกย์ที่ไปเอาต์ติ้ง กับบริษทั แล้วต้องสะอึกไปกับการละเล่นหลอกด่าตุด๊ เพือ่ ให้สะใจกับอาการโรคจิต เกลียดเกย์ในตัวเพื่อนร่วมงาน ไม่เคยรู้ว่า การต้องไปอยู่ในสถานที่ที่ผู้คนมี mentality แบบแบ่งแยก รังเกียจ ใช้ความรุนแรงและการควบคุมเชิงสังคมควบคุม พฤติกรรมทางเพศของเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างไร ผมจึงตัดสินอะไรจอร์จไม่ได้ แต่ผมตัดสินเพื่อนร่วมงานของจอร์จได้ เพื่อนร่วมงานของจอร์จทำ�ให้ผมรู้ว่า เพราะเหตุใดจึงเกิดเรื่องฆ่ากัน ทางภาคใต้ ทำ�ไมนักเรียนจึงตีกัน ทำ�ไมปีที่ผ่านมาถึงมีแต่ความรุนแรงเกิดขึ้น ในสังคมไทย

178


นั่นก็เพราะเรามี mentality แบบนี้ แบบแบ่งแยกยกหางตัวเองและฝูง ของตัวเอง รังเกียจและพยายามทำ�ทุกวิธีเพื่อทำ�ลายล้างคนที่เราคิดว่าสังกัดอยู่ อีกฝูงหนึ่ง เรารักความรุนแรง เราเสพติดความรุนแรง และใช้ความรุนแรงนั้นควบคุม ทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องบนเตียงของคน (ที่ตัวเองคิดว่าอยู่) ในฝูง ไปจนถึงความคิด ทางการเมือง สถาบัน ศาสนา และความแตกต่างอื่นๆ ทั้งหมด ผมไม่เชื่อถ้อยคำ�ในเพลงชาติ ที่ว่า “ไทยนั้นรักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด” อีกต่อไปแล้วครับ เพราะสังคมไทยในปีที่ผ่านมา สำ�แดงให้ผมเห็นว่า ไทยไม่ได้ รักสงบ ไทยไม่ได้รักไทย แต่ไทยนั้นรักความรุนแรงต่างหากเล่า เรื่องฟักตุ๊ดเป็นแค่หนึ่งหยดน้ำ�ในกระแสกรากของความรุนแรงเท่านั้นเอง!

179


คำ�ตาม เฮเลน เคลเลอร์ เป็นนักเขียน นักการศึกษา และนักรณรงค์ทางการเมือง ชาวอเมริกันคนหนึ่ง เธอไม่ได้เกิดมาหูหนวกและตาบอด แต่เริ่มมีอาการทั้งสองอย่างเมื่ออายุ 19 เดือน โชคดี ที่เธอได้ ‘ครู’ อย่าง แอนน์ ซัลลิแวน ผู้ ‘บุก’ เข้าไปในโลกโดดเดี่ยว แห่งการไม่เห็นและไม่ได้ยินของเธอ และสอนให้เธอรู้จัก ‘สื่อสาร’ กับคนอื่นๆ จนกระทั่งต่อมามีผู้นำ�เรื่องราวนี้ไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง Miracle Worker เฮเลนกลายเป็นคนแรกในอเมริกาที่ทั้งหูหนวกและตาบอด แต่สำ�เร็จ การศึกษาจากฮาร์วาร์ด พร้อมปริญญาเกียรตินิยม เธอเคยพูดเอาไว้ว่า ความอดทนอดกลั้นคือของขวัญยิ่งใหญ่ของความคิดจิตใจ ความอดทน อดกลัน้ จำ�เป็นต้องใช้ความพยายามของสมองแบบเดียวกับทีใ่ ช้ในการสร้างสมดุล ให้การขี่จักรยาน เมื่อพบเห็นประโยคนี้ครั้งแรก ผมทึ่ง และถึงขั้นลำ�คอตีบตัน พูดอะไร ไม่ออก เมื่อรู้ว่าผู้พูดนั้นทั้งมองไม่เห็น และไม่อาจได้ยิน ทุกวันนี้ เรา-มนุษย์ที่เรียกตัวเองว่า ‘ปกติ’ ไม่ได้หูหนวกและตาบอด กลับมักไม่รู้จักการ ‘ฟัง’ และ ‘มองดู’ ความเป็นไปอันซับซ้อนของคนอื่นๆ ที่ แตกต่างจากเรา ไม่ใช่แค่ทางรูปลักษณ์ สีผิว เพศ หรือเชื้อชาติ ทว่าหมายรวมถึง อุดมการณ์ ความคิด และความเชื่อที่ซ่อนอยู่ลึกๆ ด้วย


หลายครัง้ เรา ‘เหยียด’ คนอืน่ ทีต่ า่ งไปจากเราในด้านต่างๆ เพราะเราไม่ได้ ‘อดทนอดกลั้น’ มากพอที่จะ ‘รับฟัง’ และ ‘มองดู’ ด้วยสายตาอันละเอียดอ่อน และมุ่งหมายจะทำ�ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง นานมาแล้ ว หนั ง สื อ อย่ า ง GENDERISM เคยพยายามทำ � หน้ า ที่ นั้ น มันอาจประสบความสำ�เร็จตามสมควร หากพิจารณาถึงการยอมรับกันและกัน ในเรื่องเพศของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปไม่น้อยในรอบทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อขยายกรอบคิดเรื่องเพศให้กว้างออก เราจะพบว่าเรื่องที่เรายึดมั่น นักหนาอย่างความเป็นชายและหญิง ที่ต้องใช้ในการดำ�รงเผ่าพันธุ์มนุษย์นั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ ‘แข็งตัว’ ทื่ออยู่กับกรอบแบบเดียว และหลายคนในสังคมไทย ก็ดเู หมือนจะยอมรับความหลากหลายทางเพศได้ตามสมควรแก่ตน้ ทุนเดิมของตน นั่นทำ�ให้พูดได้ว่า-เรามี ‘ความอดทนอดกลั้น’ หรือ toleration ในเรื่องเพศ กันมากขึ้น แต่ ก ระนั้ น ก็ แ ปลก ที่ เรากลั บ ขาดความสามารถในการเรี ย นรู้ ที่ จ ะนำ � ความอดทนอดกลั้นนั้นไปใช้กับเรื่องอื่นๆ ด้วย อาทิเช่น อุดมการณ์ทางการเมือง ศาสนา โครงสร้างศีลธรรม ฯลฯ ทัง้ ทีจ่ ริงๆ แล้ว เมือ่ คุน้ กับ ‘วิธคี ดิ ’ ทีน่ �ำ ไปสูค่ วาม อดทนอดกลั้นกับเรื่องหนึ่ง ก็น่าจะประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นได้ดีขึ้น เรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมไทยดูจะไม่ใช่เช่นนั้น นั่นทำ�ให้ผมมักคิดถึง เฮเลน เคลเลอร์ บ่อยๆ เธอทำ�ได้อย่างไรนะ ที่จะรู้จัก ‘รับฟังโดยไม่ได้ยิน’ และ ‘มองดูโดยไม่เคย มองเห็น’ ถ้าเราทำ�อย่างนั้นได้ ม่านหมอกก็อาจเผยตัวออกให้เราเห็นถึงถนนที่ นำ�ไปสู่ความอดทนอดกลั้นในมิติที่กว้างขวางขึ้นได้ในที่สุด อย่าปิดหู-ทั้งที่ได้ยิน และอย่าปิดตา-ทั้งที่มองเห็นเลย เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น เราจะไม่มีโอกาสได้สัมผัสถนนเส้นนั้นเลยในชีวิต ไม่เลย โตมร ศุขปรีชา กรกฎาคม 2556


เกี่ยวกับโตมร โตมร ศุขปรีชา เป็นนักเขียน นักแปล และบรรณาธิการ ที่มีผลงานมาแล้ว กว่า 40 เล่ม ปัจจุบันเป็นบรรณาธิการอำ�นวยการ นิตยสาร GM


เกี่ยวกับโลเล โลเล-ทวีศักดิ์ ศรีทองดี 2513 ศิลปิน, นักออกแบบ จบการศึกษาปริญญาโททางด้านศิลปะ จากคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ทำ�งานเกี่ยวกับการออกแบบ และทำ�งานศิลปะควบคู่กันไป ผลงานศิลปะมักเกี่ยวกับเรื่องของมนุษย์ในมิติต่างๆ และเกี่ยวกับ มวลชน ระบบการปกครอง ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ สงคราม รวมทั้งแฟชั่น เคยจั ด แสดงในนิทรรศการครั้ง สำ�คัญ เช่น The 3rd Fukuoka Asian Art Triennale 2005 Fukuoka Asian Art Museum ที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2005 ร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ (International Film Festival) เมืองรอตเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ปี 2008 แสดงงานในอังกฤษ ปี 2001 SOI Project (Tout à Fait Thai 2006) ที่ปารีส ‘SHOW ME THAI’ museum of contemporary art Tokyo, ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2007 แสดงงานในมหกรรมศิลปะ Jakarta Biennale XIII ทีป่ ระเทศอินโดนีเซีย (2009), มหกรรมศิลปะ Busan Biennale ที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลี ปัจจุบนั กำ�ลังทำ�โครงการ Happyband สารคดีภาพยนตร์และหนังสือ...เกีย่ วกับ วงดนตรีที่เกี่ยวข้องกับอดีตและอนาคต


GENDERISM โตมร ศุขปรีชา หนังสือในชุด Life & Inspiration ลำ�ดับที่ 009 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-011-5 พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2548 พิมพ์ครั้งที่ 2 มิถุนายน 2549 พิมพ์ครั้งที่ 3 ตุลาคม 2550 พิมพ์ครั้งที่ 4 กรกฎาคม 2556 (Limited Edition) ราคา 375 บาท ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ GENDERISM. โตมร ศุขปรีชา. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2556. 360 หน้า. 1. ความเรียง -- รวมเรื่อง. I. โลเล, ผู้วาดภาพประกอบ II. ชื่อเรื่อง 808.84 ISBN 978-616-327-011-5

ในกรณีที่หนังสือมีตำ�หนิจากการพิมพ์หรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือเล่มนั้นกลับมา ตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ ทางเรายินดีเปลี่ยนให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้ง สิ้น

สั่งซื้อหนังสือราคาพิเศษ 0-2726-9996 ต่อ 49 E-mail member@daypoets.com


บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข ผู้ช่วยบรรณาธิการ สุรเกตุ เรืองแสงระวี อาร์ตไดเร็กเตอร์ บพิตร วิเศษน้อย กราฟิกดีไซเนอร์ เพกา เจริญภักดิ์ กราฟิกดีไซเนอร์ เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ ภาพประกอบ/ภาพปก โลเล เลขานุการ/พิสูจน์อักษร พิมพ์นารา มีฤทธิ์ กองบรรณาธิการ นทธัญ แสงไชย กองบรรณาธิการ/เรียงพิมพ์ เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ การตลาด/ประสานงานการผลิต วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ดิจิทัลคอนเท็นต์มาสเตอร์ วิศรุต วิสิทธิ์ ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ลูกค้าสัมพันธ์ นริศรา เปยะกัง เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่

สำ�นักพิมพ์ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด

เลขที่ 3 ซอยเจริญมิตร ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2726-9996 ต่อ 22 โทรสาร 0-2714-4252 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing แยกสี/พิมพ์ บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2428-7500 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609


04/10



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.