editor’s note
ปี 2013-2014 เป็นอีกหนึง่ ปีทผี่ เู้ ขียนได้มโี อกาสได้สมั ภาษณ์และสัมผัส ผู้คนที่น่าสนใจเป็นจำ�นวนมาก ‘สัมภาษณ์’ และ ‘สัมผัส’ เป็นคำ�ที่ออกเสียงคล้ายๆ กัน และใน ความเป็นจริง มันก็เป็นสิ่งที่คล้ายคลึงกันด้วย เมื่อได้นั่งลงสัมภาษณ์ผู้คน เราก็ต้องเตรียมพร้อมเพื่อเปิดใจสัมผัส ตัวตนของเขา แม้ไม่ใช่ทั้งหมด แต่ก็กล่าวได้ยากว่าไม่ใช่ตัวตนที่แท้ของเขา เอาเสียเลย มันอาจเป็นเสีย้ วหนึง่ ของนิสยั ใจคอ เป็นช่วงเวลาหนึง่ ทีเ่ ขาได้เป็นตัวเอง เป็นภาพหนึ่งที่เราจะได้จดจำ� แต่ทั้งหมดนั้นก็คือสิ่งที่เราเห็นและสัมผัสได้ ในขณะสัมภาษณ์ เมื่อต่างคนต่างแยกย้ายกันกลับ เราอาจเก็บสิ่งที่เขาพูดมาคิดต่อ เขาอาจเก็บสิ่งที่ได้พูดไปแล้วมาคิดต่อ ไม่มีใครรู้ว่าอีกฝ่ายคิดอะไร ที่แน่ๆ มั น จะมี ค วามรู้ สึ ก บางอย่ า งก่ อ ร่ า งสร้ า งขึ้ น ใหม่ ใ นจิ ต ใจของกั น และกั น โดยไม่มีใครรู้ตัว ก่อนสัมภาษณ์ เรามีโอกาสเตรียมตัวมากมาย มีเรือ่ งราวล้นเหลือทีเ่ รา อยากถาม และอีกฝ่ายอยากตอบ ระหว่างสัมภาษณ์ ทุกอย่างอาจเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง หลายคำ�ถามที่ เตรียมไว้ อาจไม่ได้ใช้ และหลายคำ�ถามที่ไม่ได้เตรียม ต่างแย่งกันผุดขึ้นมา ทุกอย่างลื่นไหลและอาจสะดุดหยุดลงได้ในนาทีใดนาทีหนึ่ง เหล่านี้คือ ความคาดเดาไม่ได้ของการสัมภาษณ์ และนัน่ เองคือ ช่วงเวลาทีเ่ ราต้องเรียนรู้ การยืดหยุ่น การพลิกแพลงไปตามจังหวะจะโคน
บทสัมภาษณ์คัดสรรที่รวบรวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ยังยืนยันความเชื่อ ของเราในเรือ่ งของการพูดคุยสนทนาได้เช่นเคย เพราะทุกคนทีเ่ คยนัง่ คุยกับ เรา ล้ ว นเป็ น มนุ ษ ย์ ปุ ถุ ช น มี บ วก มี ล บ มี ผิ ด มี พ ลาด มี มื ด มี ส ว่ า ง บทสัมภาษณ์ที่ดีในความคิดของเราจึงไม่ใช่บทสัมภาษณ์ที่ทำ�ให้คนหนึ่งคน เป็นคนที่ดีงาม สะอาดหมดจด แต่ควรจะเป็นบทสัมภาษณ์ที่ทำ�ให้เราได้ สัมผัสความเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่เหมือนหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง บางแง่มุม อาจเกลีย้ งกลม จับแล้วไม่ระคายมือ และอีกบางแง่มมุ อาจแหลมคมทิม่ แทง ให้เราระคายใจ แต่ทงั้ หมดนัน้ ก็คอื การบันทึกความเป็นคนๆ หนึง่ ในช่วงเวลา หนึ่ง ที่อาจเหมือนหรือต่างจากช่วงเวลาอื่นๆ ในชีวิตของเขาก็ได้ เราเชื่อว่า ผู้คนมากหน้าหลายตาที่แวะเวียนกันมาให้เราได้พูดคุย ทิ้งบางสิ่งบางอย่างไว้ให้เราจดจำ�เสมอ ไม่เฉพาะผู้คนที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ แต่หมายถึงผู้คนที่เราพบเจอในชีวิตจริงด้วย และบทสนทนา ก็ล้วนประกอบด้วยถ้อยคำ� ถ้อยคำ�ประกอบขึ้นจาก ความคิด ความรู้สึก ส่งสะท้อนออกมา เราอาจจะเก็บรับไว้ หรือ สะท้อน กลับไปบ้าง เมื่อเราคิดเห็นไม่ตรงกัน แต่การสัมภาษณ์นั้นไม่ใช่หนทางแห่ง การตัดสินถูกผิด แต่ทกุ คนควรจะได้พดู และสามารถพูดได้ในสิง่ ทีเ่ ขาเชือ่ และ ได้สะท้อนสิ่งที่เขาพบพานมาในชีวิต ทุกถ้อยคำ�ทีเ่ ราได้ยนิ เป็นอิสรภาพโดยแท้จริงของผูพ้ ดู ไม่มใี ครบังคับ ยกเว้นตัวเอง ว่าจะอนุญาตให้ตนได้พูดทุกอย่างที่คิดหรือไม่ หรือ ควรจะ เก็บงำ�บางถ้อยคำ�ไว้กับตัว คนสัมภาษณ์ท�ำ หน้าทีเ่ พียงเรียบเรียงถ้อยคำ�ทีก่ ระจัดกระจาย กระเด้ง กระโดด ให้เข้ารูปเข้ารอย เป็นระเบียบทางตรรกะและวิธเี ล่าเรือ่ ง เพือ่ ให้ไป ถึงเป้าหมายเดียวที่ไม่เปลี่ยนแปลง น่ันคือ ให้คนอ่านได้สัมผัสตัวตนของ คนพูดให้มากที่สุด
ผู้เขียนเชื่อว่า ระหว่างคนสองคน...หากได้ผ่านการพูดคุยกันอย่าง เข้มข้นมากพอแล้ว อาจไม่มีอะไรต้องสาธยายให้มากความอีก บทสัมภาษณ์ที่เรารวบรวมไว้ในที่นี้ คือบทบันทึก ณ ช่วงเวลาแห่ง การพูดคุยที่กินความมากมาย แต่อ่านแล้ว อาจทำ�ให้คุณรู้สึกว่าไม่จำ�เป็น ต้ อ งมี ถ้ อ ยคำ � มาขยายภาพตั ว ตนของคนๆ หนึ่ ง อี ก แต่ ห ากจะคิ ด เพื่ อ ขยายความต่อ ทางเราก็ไม่ขัดข้อง เพราะก็อย่างที่บอกไว้ตอนต้นว่าหลังจากการพูดคุย... ‘มันจะมีความรูส้ กึ บางอย่างก่อร่างสร้างขึน้ ใหม่ในจิตใจของกันและกัน โดยไม่มีใครรู้ตัว’
หลังจากการอ่านบทสัมภาษณ์ ก็เช่นเดียวกัน
วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม
บรรณาธิการบริหารนิตยสาร a day BULLETIN
10 Ready To Read พรรณศิริ อธิคมรังสฤษฏ์ โตมร ศุขปรีชา
24 Back For Good อัษฎา พานิชกุล
44 Now You See Me รฐา โพธิ์งาม
64
contents
Fight Does Matter สมชาย เข็มกลัด
76 Heart Of Goal เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง
94 The Effect Of Hormones ทรงยศ สุขมากอนันต์
110 Face To Faith วิจักขณ์ พานิช
130 There’s Something About Politicians รองศาสตราจารย์ดอกเตอร์ ไชยันต์ ไชยพร
146
310
Walk To Wake ศศิน เฉลิมลาภ
Hate Speech! ดอกเตอร์ ชาญชัย ชัยสุขโกศล
166
328
Life Is Making Choice สรกล อดุลยานนท์ ธนา เธียรอัจฉริยะ
Better Days Better Rights? ดอกเตอร์ ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์
188
Life After Debt มณฑานี ตันติสุข
Trouble Is A Friend ศุภจี สุธรรมพันธุ์
204 Rolling In The Deep สมิทธิ์ อารยะสกุล
230 Student Of The World เรย์ แมคโดนัลด์
254 Right Here Right Now สุณัย ผาสุข ปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล
274 National Treasure ดอกเตอร์วีรชัย พลาศรัย
290 Love With All Your Heart พระอาจารย์ ชยสาโรภิกขุ ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล
348 360 The Unfinished Mission ไมเคิล ยอน
378 Right On The Rock อำ�พล ลำ�พูน
400 English Is Easy? แอนดรูว์ บิ๊กส์
420 The Chain Reaction ธนา ลิมปยารยะ
438 When You Believe นาวิน เยาวพลกุล
Interview
Ready To Read เรื่องและภาพ กองบรรณาธิการ
หลังจากที่ได้รับรู้ร่วมกันว่า กรุงเทพมหานคร ของเราได้รับเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลก หรือ World Book Capital ประจำ�ปี 2556 นี้ ก็มีคำ�ถามมากมาย ลอยวนเวียนอยูใ่ นใจเรามาสักพักใหญ่ คำ�ถามเหล่านัน้ ก็คอื ว่า แล้วเมืองหนังสือโลกมันหมายความว่าอย่างไร เราชาวกรุงเทพฯ ควรจะต้องทำ�อะไรกับตำ�แหน่งนี้ ใช้ชีวิตไปตามปกติ หรือต้องอ่านมากขึ้น หรือต้องทำ� อะไรกับนิสยั การอ่าน หรือกระทัง่ นิสยั ไม่รกั การอ่านที่ ติดตัวพวกเรามาเนิ่นนาน เพื่อไม่ให้มีคำ�ถามลอยวนเวียนอยู่ในใจต่อไป เราจึงค่อยๆ สอยคำ�ถามเหล่านัน้ ลงมาพิจารณาอย่าง ละเอียด แต่ไม่ได้พิจารณาอยู่คนเดียว แต่เราได้ส่งต่อ คำ�ถามนัน้ ไปสูน่ กั เขียน นักอ่าน ที่ได้รบั การยอมรับว่า อยูใ่ นขัน้ ‘หนอนหนังสือ’ ระดับทีเ่ รียกว่าหิวกระหายใน การอ่าน เพื่อหาคำ�ตอบร่วมกันว่า อะไรกันแน่คือสิ่งที่ เมืองหนังสือโลกควรจะเป็น และวัฒนธรรมการอ่านใน บ้านเรามีลักษณะพิเศษอย่างไร ทำ�ไมการรณรงค์ ให้อ่านหนังสือถึงเป็นเรื่องประดักประเดิดตลอดมา เป็นเพราะเราไม่รู้ว่าจะต้องอ่านทำ�ไม อ่านอะไร หรือ อ่านมากแค่ไหนถึงจะเรียกว่าอ่าน หรือว่าจริงๆ แล้ว การอ่านไม่ใช่เรื่องที่ต้องรณรงค์ ใครใคร่อ่านก็อ่าน ใครไม่ใคร่อา่ นก็ ไปทำ�สิง่ อืน่ ทีน่ า่ สนใจกว่า มันก็เท่านัน้ หรือเปล่า?
แต่ คิ ด อี ก ที อะไรจะเกิ ด ขึ้ น ถ้ า เราไม่ เ ห็ น ความสำ�คัญของการอ่าน แล้วเราก็เลือกที่จะไม่อ่าน มันเสียเลย หนึง่ ในนักอ่านทีเ่ ราไปคุยด้วยตอบขำ�ๆ ว่า “มันก็จะเป็นอย่างทีเ่ ห็นนี่ไง” เราเองก็อดไม่ได้ทจี่ ะขำ�กับ คำ�ตอบ เพราะสุดท้ายแล้วมันก็อยูท่ พ ี่ วกเราแล้วว่าเรา พอใจกับสังคมแบบที่เห็นหรือไม่ ถ้าไม่ และคิดว่ามัน สามารถดี ไ ด้ ม ากกว่ า นี้ เราในฐานะคนหนึ่ ง คนใน สังคมก็คงต้องทำ�อะไรสักอย่างเพื่อทำ�ให้สังคมหรือ คนรอบๆ ตัวเป็นในแบบที่เราอยากเห็น จะอ่านกันสนั่นเมืองหรือไม่ นั่นยังไม่ใช่ประเด็น ที่เราสนใจมากเท่ากับว่าเราเข้าใจคำ�ว่า ‘อ่าน’ กัน มากแค่ไหน และเราเลือกที่จะอ่านอะไร การอ่านเป็น รสนิ ย มส่ ว นตั ว ก็ จ ริ ง แต่ เ มื่ อ อ่ า นกั น จนดั ง สนั่ น ออกมาแล้ว รสนิยมที่ว่านั้นมันก็บอกได้เหมือนกันว่า เราเติบโตมาจากสภาพแวดล้อมแบบไหน และมีวิธีคิด แบบไหนติดตัวมา a d a y B U L L E T I N ยิ น ดี อ ย่ า ง ยิ่ ง ที่ กรุงเทพมหานครได้รับเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลก แต่เราไม่ได้หยุดอยูแ่ ค่ความยินดี เพราะในหน้าต่อไปนี้ คือภาพรวมทั้งหมดที่เราอยากให้คุณได้อ่านและได้รู้ อะไรที่คุณอาจไม่เคยรู้ ในทุกซอกทุกมุมของการเป็น เมืองหนังสือโลก
การอ่านหนังสือ ของคนไทยในปัจจุบัน เป็นอย่างไรในความคิดคุณ แต่ก่อนเราเคยรู้สึกว่าเราทุกคนควรอ่าน หนังสือนะ แต่พอเติบโตขึน้ เรามีมมุ มองทีเ่ ปลีย่ นไป เรามองว่าถ้าคนเราคุณภาพชีวติ ยังไม่ดนี กั เราจะ มาเรียกร้องถึงส่วนเกินจากปัจจัย 4 ได้อย่างไร หลังๆ เรามองเห็นว่าหนังสือเป็นของของคนที่มี ชีวิตสุขสบายแล้ว เพราะในบางครอบครัวที่ยัง หาเช้ากินค่� ำ ลูกเมียยังลำ�บาก ยังต้องทำ�งานเยอะ รถติ ด กลั บ บ้ า นเหนื่ อ ย ตราบใดที่ ป ระชากร ส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตไม่ดีพอ การไปเรียกร้อง ให้เขาต้องอ่านหนังสือมันก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เรา จึ ง ไม่ ตั ด สิ น ว่ า ใครไม่ อ่ า นหนั ง สื อ แล้ ว มั น เป็ น เรื่องผิดบาป เราคิดว่าสำ�หรับคนไทยเองน่าจะ ทำ�ให้คนทั่วไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีก่อน แล้วถ้ามี ชีวติ ทีด่ แี ล้ว คนก็จะอยากไปหาความสุขด้านอืน่ ๆ มาเพิม่ เอง คือเรามองจากประสบการณ์ของเราเอง
พรรณศิริ อธิคมรังสฤษฏ์ เจ้าของเว็บไซต์ www.faylicity.com อาจารย์ประจำ� คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนักเขียนคอลัมน์แนะนำ�หนังสือ ในนิตยสาร image และ สารคดี
12
มีผลสำ�รวจล่าสุด จากสำ�นักงานสถิติแห่งชาติในปี 2551 ที่ระบุว่าคนไทยอ่านหนังสือ 5 เล่มต่อปี คุณมองเรื่องนี้อย่างไร เรายังไม่แน่ใจเลยว่า 5 เล่มต่อปี นีม่ นั เชือ่ ถือ ได้ไหม อย่างในเมืองนอกเวลาเขาจะสำ�รวจหรือ ทำ�งานวิจัยเกี่ยวกับหนังสือว่าคนในประเทศเขา อ่านกี่เล่มต่อปี เขาจะบอกชัดเจนเลยว่าไม่รวม หนังสือเรียนหรือหนังสือที่อ่านเพื่อการทำ�งาน เพราะในเชิงการสำ�รวจมันควรต้องแยกไปเลยว่า เป็ น หนั ง สื อ ที่ อ่ า นเพื่ อ ความบั น เทิ ง เท่ า นั้ น แต่โดยภาพรวมเรามองว่าคนไทยอ่านเยอะขึ้น ถึงแม้มันจะเป็นการอ่านบนมือถือก็ตาม อาจจะ อ่านข่าว หรือแชต สิ่งเหล่านี้ก็เป็นการอ่านใน รูปแบบหนึง่ ดีกว่ามองอะไรเรือ่ ยเปือ่ ย ทิง้ เวลาไป โดยเปล่าประโยชน์ เรามองว่าหนังสือพิมพ์ที่แจก บนรถไฟฟ้าก็ช่วยได้เยอะนะ เหมาะกับแคมเปญ เมืองหนังสือโลกที่สุด ต้องขอบคุณคนกลุ่มนี้
บางทีทำ�งานเหนื่อยๆ รถติด กลับมาบ้านเราจะ อยากกลั บ มาอ่ า นงานเขี ย นของ ฟี โ อดอร์ ดอสโตเยฟสกี เหรอ ไม่ มี อ ารมณ์ ห รอก คน ส่วนใหญ่กลับถึงบ้านก็เปิดทีวดี ลู ะครน้�ำ เน่า แค่นน้ั มั น ก็ รั บ ใช้ ชี วิ ต เขาแล้ ว เพราะสิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น ความบันเทิงแบบง่ายๆ ทีเ่ ราทุกคนสามารถทำ�ได้
13
สำ�หรับคนที่อ่านหนังสือมาตลอดชีวิต คุณคิดว่าการอ่านให้อะไรกับคุณบ้าง ให้การเรียนรู้ และที่แน่ๆ คงได้เรื่องของ ความสุ ข เหมื อ นคนที่ชอบดูหนังหรือฟังเพลง นั่ น แหละ แต่ ม องอี ก ที ก ารอ่ า นก็ เ หมื อ นการเห็นแก่ตัวนะ เพราะมันได้อยู่แค่ตัวเรา แต่ถ้า ถามว่าเราได้อะไร ก็ต้องเล่าย้อนไปว่าเพราะเรา ชอบอ่านตั้งแต่เด็ก เราอ่านหมด แล้วกลายเป็น คนที่ขาดหนังสือไม่ได้ คงเหมือนคนที่ชอบอะไร มากๆ นัน่ ล่ะ พออ่านเรือ่ งนีเ้ รือ่ งนัน้ มันก็จะทำ�ให้ เราได้ไปค้นพบเรือ่ งอืน่ อีก เหมือนเป็นการต่อยอด ไปเรื่อยๆ และยิ่งอ่านเยอะๆ จะพบว่าเรารู้อะไร ก็คงต้องกลับไปที่จุดเดิมที่บอกว่าอาจจะ ในโลกน้อยมาก ยังมีอะไรที่เราไม่รู้เรื่องอีกเยอะ เป็ น เพราะปั จ จั ย 4 คื อ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของคน หนังสือทำ�ให้เราถ่อมตัวกับชีวิตได้เหมือนกัน ยั ง ไม่ ดี พ อ แล้ ว ต่ อ ให้ ค นมี คุ ณ ภาพชี วิ ต ดี พ อ พอจะเลื อ กอ่ า นหนั ง สื อ หนั ง สื อ ที่ เ ห็ น ในร้ า น หนังสือทั่วไปมันก็ไม่ได้ตอบโจทย์ของคนทุกคน คือมันไม่คอ่ ยหลากหลายถ้าเทียบกับร้านหนังสือ เมืองนอก ซึง่ ในเมืองนอกเราจะเห็นหนังสือทุกแนว คือคุณชอบ a b c d จะมีให้คุณเลือกหมดเลย แต่ ใ นเมื อ งไทยจะเหมื อ นคุ ณ ถู ก จำ � กั ด รสนิ ย ม บางอย่ า ง แล้ ว สำ � หรั บ หนั ง สื อ ที่จ ะวางในร้ า น จำ � ได้ ว่า ตอนเราเป็ น วั ย รุ่ น แล้ ว ไปร้ า นหนั ง สื อ
ข้อจำ�กัดของการ อ่านหนังสือของคนไทย ในปัจจุบันคืออะไร
14
มีโมเดลการกระตุ้นการอ่านง่ายๆ ที่รัฐบาลก็ทำ�ได้หรือเริ่มต้นได้แบบง่ายๆ ไหม เราอยากให้อย่างน้อยก็มีแคมเปญส่งเสริม หรือแนะนำ�หนังสือที่คนไทยควรอ่าน อย่างเช่น เดือนนี้คุณอ่านเล่มนี้สิ แล้วเดือนต่อไปลองอ่าน เล่มนัน้ สิ แล้วแต่ละเดือนคุณพานักเขียนคนนัน้ มา ทำ�เหมือนโชว์เคส ไปโปรโมตทีน่ น่ั ทีน่ ่ี แล้วให้คนดัง ต่างๆ มาพูดว่าชอบหนังสือเล่มนีต้ รงไหน อย่างเช่น ณเดชน์มาบอกว่าผมอ่านเล่มนี้แล้วผมชอบมาก มันไม่น่าจะทำ�ยากนะ หรือถ้าทำ�ไม่ได้ก็ลองไป ปรึ ก ษานั ก การตลาดดู ว่ า มั น ควรจะทำ � อย่ า งไร แต่ไม่ใช่หลอกลวงนะ คือต้องไปถามคนทีเ่ ขาอ่าน หนั ง สื อ เล่ ม นั้ น จริ ง ๆ หรื อ ถ้ า ดาราไม่ เ คยอ่ า น เอาง่ายๆ อย่างเมืองนอกเขาก็จะมีการเอาดารา มาอ่านหนังสือออกทีวีให้คนฟัง คือรัฐบาลก็มี ช่องทีวีของรัฐบาล คุณทำ�รายการสิ เป็นเมือง หนังสือโลกคุณน่าจะทำ�ได้ ทุกวันคุณเอาดารามา อ่ า นหนั ง สื อ ก็ ไ ด้ หรื อ มี ร ายการที่ จ ะคุ ย กั น เรื่องหนังสือ เราว่าคนไทยบิวต์ง่ายนะ ในเมื่อ เรื่องอื่นๆ ก็บิวต์กันมาตั้งเยอะ เรื่องนี้ก็บิวต์สิว่า ถ้าไม่อ่านแล้วเชยนะ แล้วหนังสือดีๆ ของไทยมี ตั้ ง เยอะ แล้ ว นี่ แ ค่ ย กตั ว อย่ า งว่ า อย่ า งน้ อ ย
เราจะเห็นวรรณกรรมเยอะมาก วรรณกรรมแปลดีๆ ก็ มี เ ยอะ แต่ตอนนี้เราแทบไม่เห็นงานพวกนั้น ในร้านหนังสือเลย มันหายไปไหนล่ะ แล้วอีกอย่าง หนึง่ ทีเ่ ห็นได้ชดั คือ หนังสือดีๆ หลายเล่มของไทย บางทีมนั ขาดตลาด หรือขาดช่วงการพิมพ์ไปเกือบ 30 ปีเลยนะ 30 ปี นีม่ นั คือช่วงอายุของคนรุน่ หนึง่ เลยนะ สมมติวา่ คุณเกิดมาช่วงนัน้ แล้วคุณตายไป เสียก่อน คุณอาจจะไม่เคยเห็นหนังสือเล่มนัน้ เลย เราก็รสู้ กึ ว่ามันเกิดอะไรขึน้ หนังสือแบบนัน้ มันขาย ไม่ได้จริงเหรอ แล้วตอนนีพ้ วกหนังสือวรรณกรรม ก็อยู่ยากขึ้นเรื่อยๆ หรือลองไปดูก็ได้ค่ะ หนังสือ วรรณกรรมในร้านหนังสือเดี๋ยวนี้มันจะน่ารักมาก จะเป็นปกการ์ตนู ญีป่ นุ่ หวานแหวว ซึง่ ถูกจัดอยูใ่ น หมวดหนังสือวรรณกรรมเต็มไปหมด ซึง่ อาจจะไป เบียดพื้นที่ของหนังสือวรรณกรรมดีๆ ที่มีน้อย อยู่แล้ว แล้วสิ่งนี้ก็เลยส่งผลกระตุ้นให้คนที่ชอบ อ่านหนังสือจริงๆ ไม่มที างเลือก ต้องไปซือ้ หนังสือ ในงานสัปดาห์หนังสือฯ เพราะคุณจะได้ไปหา สำ�นักพิมพ์ตรงๆ เพราะคุณหาหนังสือทางเลือก หรือหนังสือนอกกระแสได้ยาก
15
เดือนละเล่มนะ คุณไม่จ�ำ เป็นต้องทำ�เล่มเดียวก็ได้ คุณทำ� 10 เล่มเลย สำ�หรับนักอ่านทุกวัย อย่างเด็ก ก็ชุดนี้ ผู้ใหญ่ก็ชุดนี้ จริงๆ เราว่ามันน่าสนุกนะ แล้ ว เราดู จ ากงบประมาณที่ เ ราส่ ง ไปยู เ นสโก มันเยอะมาก เป็นพันๆ ล้าน แล้วคุณจะเจียดมา ทำ�เรือ่ งแบบนีน้ ดิ หนึง่ ไม่ได้เชียวเหรอ มันน่าเศร้า คือคุณบอกว่าคุณเป็นเมืองหนังสือโลก อย่างน้อย คุ ณ จะสร้ า งภาพแล้ ว ก็ ช่ ว ยทำ � ให้ มั น เนี ย นๆ หน่อยสิ แค่ปีเดียวเอง เขาไม่ได้ขอให้คุณเป็น เมืองหนังสือโลกไปตลอดชีวิตสักหน่อย
สมมติว่าโลกจะแตก คุณอยากนำ�หนังสือ เล่มไหนติดตัวไปด้วย เลือกยากมากนะ แต่อาจจะเอาหนังสือของ วลาดิเมียร์ นาโบคอฟ ไปนะคะ คงจะเป็นสักเล่ม หนึ่งของเขา เพราะเรารักภาษาเขามาก
16
หนังสือในชุด Life & Inspiration ลำ�ดับที่ 013 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-078-8 พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2557 ราคา 350 บาท
ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม. IN TALK, WE TRUST. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2557. 464 หน้า. 1. บุคคลมีชื่อเสียง--สัมภาษณ์. I. ชื่อเรื่อง. 920 ISBN 978-616-327-078-8 จัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ ในเครือ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 ต่อ 308, 310 โทรสาร 0-2718-1244 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing แยกสีและพิมพ์ บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2174-6060 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609 ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ ภูมิชาย บุญสินสุข บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม อาร์ตไดเร็กเตอร์/ออกแบบปกและรูปเล่ม บพิตร วิเศษน้อย ภาพถ่าย ภาสกร ธวัชธาตรี, กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร เลขานุการ พิมพ์นารา มีฤทธิ์ เรียงพิมพ์/พิสูจน์อักษร สราญรัตน์ ไว้เกียรติ กองบรรณาธิการ หัสยา ตั้งพิทยาเวทย์, ศักดิ์สิทธิ์ ไม้ลำ�ดวน, ทรรศน หาญเรืองเกียรติ การตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ประสานงานการผลิต สุรเกตุ เรืองแสงระวี, อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ ฝ่ายขายออนไลน์ อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ลูกค้าสัมพันธ์ นริศรา เปยะกัง เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่