หนังสือในชุด Knowledge & Creativity ลำ�ดับที่ 005 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-327-062-7 พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2557 ราคา 235 บาท
ข้อมูลบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ทีปกร วุฒิพิทยามงคล. วันพรุ่งนี้ที่เกิดขึ้นแล้ว. -- กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2557. 240 หน้า. 1.ความเรียง. I. จักรกฤษณ์ อนันตกุล, ผู้วาดภาพประกอบ. II. ชื่อเรื่อง. 895.914 ISBN 978-616-327-062-7 ในกรณีที่หนังสือมีตำ�หนิจากการพิมพ์หรือเข้าเล่มสลับหน้า กรุณาส่งหนังสือนั้นกลับมา ทางสำ�นักพิมพ์จะเปลี่ยนให้โดยไม่มีเงี่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น
ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย | บรรณาธิการที่ปรึกษา วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ | บรรณาธิการบริหาร ภูมิชาย บุญสินสุข | ผู้ช่วยบรรณาธิการ สุรเกตุ เรืองแสงระวี | อาร์ตไดเร็กเตอร์/ออกแบบปก/รูปเล่ม บพิตร วิเศษน้อย | กราฟิกดีไซเนอร์ เพกา เจริญภักดิ์ | กราฟิกดีไซเนอร์ เมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ | ภาพปก/ภาพประกอบ จักรกฤษณ์ อนันตกุล | เลขานุการ/พิสูจน์อักษร พิมพ์นารา มีฤทธิ์ เรียงพิมพ์/พิสูจน์อักษร โลจน์ฤทัย จอกน้อย | กองบรรณาธิการ เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ | การตลาด วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล | ประสานงานการผลิต อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ | ผู้จัดการทั่วไป จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ | ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ | ธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม | ลูกค้าสัมพันธ์ นริศรา เปยะกัง | เว็บมาสเตอร์ จุฬชาติ รักษ์ใหญ่ สำ�นักพิมพ์ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2716-6900-4 ต่อ 308, 310 โทรสาร 0-2718-1244 E-mail abook9@gmail.com Official Page facebook.com/abookpublishing แยกสีและพิมพ์ บริษัท ธนาเพรส จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2215-7220 จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609
ไม่นานมานี้ ยิมที่ผมเป็นสมาชิกประจำ�อยู่ เปลี่ยน ลู่วิ่งออกกำ�ลังกายเป็นรุ่นใหม่ ขณะใช้งาน หน้าจอจะแสดง ภาพแทนสายตาที่กำ�ลังเดินหรือวิ่งไปตามถนนหนทางใน เมืองต่างๆ ทั่วโลก ตามแต่เราจะเลือก นัยว่าเพื่อทำ�ให้การ ออกกำ�ลังกายไม่น่าเบื่อ แวบแรกของความคิดคือ เราเคยเห็นสิ่งนี้มานานแล้ว จากโดราเอมอนนี่นา มันเกิดขึ้นในวันนี้แล้วจริงๆ หรือนี่ คิดดูอีกที นี่ก็ไม่ใช่สิ่งน่าแปลกใจในระดับต้องลุกขึ้น ช็อก ของวิเศษจากกระเป๋าโดราเอมอนนั้น เริ่มค่อยๆ ทยอย กลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่จริง (ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง) ทีละชิ้น ทีละชิ้น อย่างนี้มานานแล้วล่ะ โดยที่บางครั้งเรายังไม่ทันได้
มีเวลาหันไปแสดงความมหัศจรรย์ใจ มันก็มาปรากฏกายอยู่ ในมือเราเสียแล้ว ในขณะเดียวกัน สิ่งนี้ไม่ได้มีความหมายแค่ว่า มนุษย์ เราเก่ ง กาจและฉลาดแค่ไ หน แต่มั นยังทำ � ให้ เราคิ ดต่ อ ไป ด้ ว ยว่ า แล้ ว ทำ � ไมเราถึ ง ต้ อ งยิ น ดี กั บ ประดิ ษ ฐกรรมชิ้ น นี้ ทั้งที่จริงเราก็สามารถออกไปวิ่งกับทิวทัศน์จริงข้างนอกได้ โดยไม่ ต้ อ งเสี ย ตั ง ค์ ส มั ค รฟิ ต เนสซั ก กะบาท ถ้ า อย่ า งนั้ น สิ่งนี้มันบอกอะไรเกี่ยวกับมนุษยชาติในปัจจุบันกันแน่ ความรู้ และความรู้สึกทำ�นองนี้ มักเกิดขึ้นพร้อมกัน เวลาอ่านคอลัมน์ World While Web ของทีปกร ในนิตยสาร อะเดย์ มนุ ษ ย์ เราเฝ้ า จิ น ตนาการถึ ง อนาคตมาตัั้ ง แต่ อ ดี ต บ้างนั่งมโนออกมาเป็นวรรณกรรม ภาพยนตร์ งานศิลปะ อีกพวกหนึ่งสร้างสรรค์ออกมาเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเครื่องใช้ อำ�นวยความสะดวก ความทึ่ งเลยเกิดขึ้น จากการที่เรามักเผลอคิ ด ไปว่ า ของอย่างนี้เป็นได้เพียงนิยายวิทยาศาสตร์หรือความเพ้อฝัน เลื่อนเปื้อน ไม่มีทางจะเป็นจริง ในขณะเดี ย วกั น บางเรื่ อ งก็ เ ป็ น อนาคตแบบที่ เรา ไม่มีวันจะคาดถึง เช่น ในวันที่เรากระหยิ่มยิ้มย่องกับการ ได้เสิร์ชกูเกิ้ลชื่อตัวเองแล้วได้เห็นว่าเราเป็นที่รู้จักและถูก พูดถึงมากแค่ไหน เราคงนึกไม่ถึง ว่าจะมีสักวันหนึ่งที่เรา จะไม่อยากถูกค้นเจอด้วยเสิร์ชเอ็นจิ้นที่ดูเหมือนจะขุดคุ้ย เก่งขึ้นทุกวัน อย่างที่ทีปกรเล่าไว้ในบทหนึ่งของหนังสือเล่มนี้
เรื่องของแชมป์-ทีปกร ได้ทั้งความน่าตื่นใจในอารมณ์ไซ-ไฟ ผสมความสมจริงของสิ่งที่ใกล้ตัวเรามาก จนไม่อาจเรียกได้อีกว่า เป็นเทคโนโลยีของอนาคต แต่มันเป็นเทคโนโลยีที่ผูกพันกับชีวิต และอารมณ์ของมนุษย์ผู้ว่ายวนอยู่ในกระแสแห่งเทคโนโลยีของวันนี้ อย่างเราๆ ทุกคน ได้เวลากลับบ้านแล้ว ผมหยิบมือถือขึ้นมาเปิดแอพฯ เรียก แท็ ก ซี่ ที่ ทำ � ให้ ทุ ก วั น นี้ ไ ม่ ต้ อ งยื น ทึ้ ง หั ว ตั ว เองด้ ว ยความหงุ ด หงิ ด หรือต้องถึงกับต้องยกมือขึ้นพนมไหว้ วอนให้คนขับยอมไปส่งเรา แทนที่จะไปส่งรถอีกต่อไป ไม่นา่ เชือ่ ว่า การเรียกแท็กซี่ ทีเ่ คยเปลีย่ นจากการเป็นเรือ่ งง่าย ในยุคหนึ่ง ไปเป็นเรื่องยากในยุคต่อมา จะกลับกลายมาเป็นเรื่องง่าย อีกครั้ง ด้วยพลังของเทคโนโลยี ที่ใช้ง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ ภูมิชาย บุญสินสุข สำ�นักพิมพ์อะบุ๊ก
ใครสั ก คนเคยกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคือ ส่ว นขยาย ของร่างกายมนุษย์ เป็น ‘ส่วนขยาย’ ที่เสริมประสิทธิภาพหรือชดเชย จุดบกพร่องเดิมที่มีในอวัยวะต่างๆ รถยนต์ เปรียบไปก็เหมือนส่วนขยายของขาเรา ทำ�ให้ เราสามารถสัญจรไปมาได้ด้วยความเร็วและความอึดอดทน ที่มากขึ้น, โทรทัศน์เป็นส่วนขยายของนัยน์ตาเรา ทำ�ให้เรา สามารถเห็นสิ่งที่เคยอยู่ไกลได้ชัดเจนจะแจ้งและยังทำ�ให้ ได้ เ ห็ น สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ นในอดีต ได้อีกต่างหาก, ในทางเดี ยวกั น โทรศัพท์ ก็เป็นส่วนขยายของหู ทำ�ให้เราสามารถฟังอะไร ได้ไกลขึ้น และอื่นๆ, และอื่นๆ
แล้วเทคโนโลยีที่ชื่อว่าอินเทอร์เน็ตล่ะ เป็นส่วนขยาย ของอวัยวะอะไร? ไม่ต้องคิดนานก็ได้คำ�ตอบว่า-น่าจะเป็นส่วนขยาย ของสมอง ด้วยอินเทอร์เน็ต เราสามารถหาความรู้ใหม่ๆ ได้ อย่างแทบไร้ที่สิ้นสุด ด้วยอินเทอร์เน็ต เราสามารถติดต่อ กั บ ประชากรโลกคนอื่ น ๆ ได้ อ ย่ า งเร็ ว คล่ อ งว่ อ งไว ด้ ว ย อิ น เทอร์ เ น็ ต เราทุ ก คนมี ค วามทรงจำ � ที่ ไ ม่ จ างหายไปกั บ กาลเวลา และด้วยอินเทอร์เน็ต เราสามารถคิดคำ�นวณได้ รวดเร็วขึ้น ผ่านการยืมสมองของคนอื่นๆ มาช่วยกันคิด หนังสือเล่มนี้พยายามจะศึกษาส่วนขยายใหม่ของ มนุษย์นี้ครับ ว่าเป็น ‘ส่วนขยาย’ ที่เพิ่มความสามารถอะไร ให้กบั เราบ้าง อย่างไร และในขณะเดียวกัน มันเป็น ‘ส่วนขยาย’ ที่เราต้องลงทุนลงแรง เสียค่าใช้จ่าย หรือเสีย ‘อะไร’ ในการ ใช้งานมันบ้าง เราจะร่วมกันหาคำ�ตอบผ่านทางเหตุการณ์ และปรากฏการณ์ตา่ งๆ ทีเ่ กิดขึน้ ทัว่ โลก-แน่นอนครับ คำ�ตอบ ที่ได้อาจจะไม่ชัดเจน คมกริบเป็นภาพระดับ HD นัก แต่เมื่อ เรามองผ่านทุกเหตุการณ์ทกุ กรณีแล้วเราก็อาจจะได้เห็นภาพ คำ�ตอบจางๆ ขึ้นมาบ้าง สิ่งที่สนุกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องเทคโนโลยี คือ เราจะเห็นได้วา่ ทัว่ โลกเข้าถึงอนาคตได้ในระดับทีแ่ ตกต่าง กัน เทคโนโลยีไม่ถูกกระจายอย่างเท่าเทียมกันในทุกพื้นที่ บางทีท่ เี่ จริญแล้ว เทคโนโลยีกา้ วเข้าสูร่ ะดับสูง และใช้กนั อย่าง แพร่หลาย ในขณะทีใ่ นบางที่ เทคโนโลยีอาจเข้าแทรกซึมชีวติ ในระดับแผ่วเบาที่ต้องเงี่ยหูฟังจึงจะได้ยินเสียง
ด้วยสาเหตุนี้ ในระนาบของเทคโนโลยี บางพื้นที่จึง สถิตอยู่ในอนาคต ไกลบ้าง ใกล้บ้าง ในขณะที่บางพื้นที่อยู่ ในปัจจุบันและพื้นที่ที่เหลือก็อยู่ในอดีต วันพรุ่งนี้เกิดขึ้นแล้วครับ แต่ เ กิ ด ขึ้ น ในบางที่ , ผ่ า นบางทาง และกั บ บางคน เท่านั้นเอง ผ่านทาง ‘ส่วนขยาย’ ที่ชื่อว่าอินเทอร์เน็ตนี่แหละ ที่เราจะได้รับโอกาส ให้มองเห็นมัน ทีปกร วุฒิพิทยามงคล
Second/Life กรงคัดกรอง กระจกมองหน้า ก๊อปก๊อปชอบทุกคน ของที่ระลึก ขอให้ขอ คนค้นคํำ� คุณค่าของความผิดพลาด คู่มือการใช้ตัวเอง เครื่องเตือนสะกิด ใครในกล่อง จะรักกันก็แชต จะวัดกันก็แชต จุดจบของพิน็อคคิโอ โชคดีที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต นักเขียนผู้เขียนหนังสือล้านเล่ม นึกตามน้�ำ บอกลาจารึก โปรดลืมฉัน มวลมหาประชาชอยส์ ยินดีที่ไม่รู้จัก รักลั่นย้อนแย้ง เรื่องจํำ�เป็น โลกไม่ใช่ของเรา ไลค์ค่า วันพรุ่งนี้ที่เกิดขึ้นแล้ว สํำ�นักคอม สํำ�นักข่าว หุบเหวแห่งความพิกล ออฟแล้วไปไหน
015 023 031 041 049 057 063 069 077 085 093 101 109 117 125 133 141 149 155 163 171 179 187 195 203 211 219 227
016
เรากำ�ลังใช้ชีวิตให้ตัวเองจดจำ�หรือเปล่า ประโยคข้างบนเป็นคำ�ถามที่เกิดขึ้นในใจของ ซีซ่าร์ คุรยิ ามะ (Cesar Kuriyama) นักโฆษณาหนุม่ วัยเกือบ 30 ตอน กลางปี 2009 ช่ ว งนั้ น คุ ริ ย ามะใช้ ชี วิ ต แต่ ล ะวั น ไปกั บ งานโฆษณา ทุกวันเหนื่อยล้า ไร้ซึ่งเวลาสังสรรค์ใดๆ ครอบครัวลูกเต้า ไม่มีเวลาจะเจอหน้า เข้าบ้านปั๊บ ลูกก็ถามแม่ว่า ผู้ชายคนนี้ เป็นใครครับ เพราะช่วงนัน้ เขาทำ�งานสัปดาห์ละ 100 ชัว่ โมงอัพ คุริยามะได้โอกาสเปลี่ยนชีวิตยุ่งๆ แบบนี้ในเดือน ตุลาคมปีเดียวกัน โอกาสที่มากับการฟังบรรยาย ‘TED Talk’ เซสชั่นหนึ่ง
การบรรยายของ สเตฟาน แซกเมียสเตอร์ (Stefan Sagmeister) ชือ่ หัวข้อว่า ‘The Power of Time Off’ (เหนือ่ ยนัก ก็พกั บ้าง) เล่าเกีย่ วกับวิธกี ารทำ�งานของสตูดโิ อของผูบ้ รรยาย ที่จะปิดสตูฯ หนึ่งปี ทุกๆ เจ็ดปี ผู้บรรยายบอกว่าการพัก ด้วยวิธีนี้จะทำ�ให้เรามีความคิดสร้างสรรค์และมุมมองใหม่ๆ ในการทำ�งาน ซึ่งจำ�เป็นอย่างยิ่งต่อการทำ�งานสายครีเอทีฟ คุรยิ ามะได้ฟงั ก็เกิดซาบซึง้ น้�ำ ตาคลอ ขอเอากับเขาบ้าง เปิดกระเป๋าแล้วลองนับตังค์ดูก็พบว่าพอมี พออายุ 30 ปั๊บ เขาจึงลาออกเสียดื้อๆ ขอทำ�อย่างที่ใจอยากสักปีหนึ่ง พักไม่พักเปล่า คุริยามะขอบันทึกช่วงเวลาหนึ่งปีที่ พักนี้ไว้ในรูปแบบวิดีโอ-เผื่อว่าวันหลังจะได้กลับมาจดจำ� ที่สนุกคือวิดีโอที่ว่าไม่ได้เป็นวิดีโอรวมฟุตเทจโกดัก โมเมนต์ประทับใจตกแต่งด้วยฟิลเตอร์แบบกลูมๆ บลูมๆ ฟุ้งๆ ทั่วไป แต่มีกฎเกณฑ์เท่ๆ ที่ว่า เขาจะเมมวิดีโอแต่ละวัน วันละหนึ่งวินาทีเป๊ะ ไม่เกินกว่า และไม่น้อยกว่านั้น ถ้าทำ�ตามกฎนี้ไม่มีบิดพลิ้ว เมื่อจบหนึ่งปีเขาจะได้ วิดีโอความยาว 365 วินาที หรือประมาณ 6 นาที แรกเริ่มจากความคิดสนุกๆ แต่เมื่อคุริยามะลงมือทำ� จริงๆ ก็พบว่านี่เป็นไอเดียง่ายๆ แต่ทรงพลังมากทีเดียว การอัดวิดีโอแม้เพียงหนึ่งวินาทีในแต่ละวัน ทำ�ให้เขา หันหลังกลับไปมองได้อย่างชัดเจนว่าชีวิตช่วงสัปดาห์ไหน ทีเ่ ขาไม่ได้ท�ำ อะไรให้เป็นทีน่ า่ จดจำ� ชีวติ ช่วงไหนทีเ่ ขาจมปลัก อยู่ กั บ โซฟาและทีวี ชีวิต ช่วงไหนที่ผ จญภัย ชีวิต ช่ ว งไหน ที่น่าตื่นเต้น
017
018
เมื่ อ เราเห็ น อดี ต ได้ ค มชั ด และต่ อ เนื่ อ ง เราก็ มั ก อยากทำ�อนาคตให้ดีขึ้น คุริยามะก็เช่นกัน เมื่อเขาเห็นอดีตได้เป็นวันต่อวัน วินาทีต่อวินาที เขาก็มีความปรารถนาที่จะทำ�ให้แต่ละวัน ในอนาคตเป็นทีน่ า่ จดจำ�มากขึน้ อย่างน้อยวันละหนึง่ โมเมนต์ หนึ่งวินาทีก็ยังดี อัดวิดีโอวันละหนึ่งวินาทีมาได้หนึ่งปีครึ่ง คุริยามะ ก็เห็นประกาศออดิชั่นรับสมัครคนไปบรรยายที่งาน TED, งานเดียวกันกับทีส่ ง่ แรงกระเพือ่ มบันดาลใจให้เขาในคราวก่อน ด้วยความที่เป็นแฟนเหนียวแน่นของงานบรรยายนี้ เขาจึง ไม่รอช้า รีบสมัครทันที และก็ได้รับเลือกให้ขึ้นเวที บนเวที TED หัวข้อทีค่ รุ ยิ ามะเล่าคือโครงการถ่ายวิดโี อ วันละหนึ่งวินาที หรือ ‘1 Second Everyday’ นี่เอง ในโลกทีห่ น่วยความจำ�มีความจุมากขึน้ และราคาถูกลง เรื่อยๆ การบันทึกความทรงจำ�กลายเป็นเรื่องง่ายดายและ แทบจะไม่ต้องใช้ความคิด เราใช้จ่ายความทรงจำ �กันอย่าง สุ รุ่ ย สุ ร่ า ยมากขึ้ น เราบั น ทึ ก ใส่ เ มมโมรี่ เร็ ว และรั ว และล้ น จนเป็ น เรื่ อ งยากที่ จ ะบั น ทึ ก ช่ ว งเวลาเดี ย วกั น ใส่ ส มอง หลายต่อหลายครั้งเราไปเที่ยว ถ่ายภาพเป็นหมื่นเพื่อปล่อย ให้มันอาศัยอยู่ในก้อนฮาร์ดดิสก์แต่ไม่เคยแม้แต่จะกลับมาดู บางคนไปคอนเสิ ร์ ต เพื่ อ บั น ทึ ก วิ ดี โ อการแสดงความยาว สองชั่วโมง มัวแต่ใช้เวลาสะสมภาพผ่านกล้องจนลืมให้เวลา ดื่มด่ำ�เหตุการณ์จริงกับตา ต่างกับยุคที่เราต้องซื้อฟิล์มใส่กล้อง จำ�นวนที่จำ�กัด ของฟิล์มทำ�ให้เราไม่ต้องใช้เวลากับมันตลอดเวลา เราเลือก
บันทึกเฉพาะช่วงที่อยากจดจำ� ไม่ใช่ทุกช่วง ส่วนเวลาที่เหลือ เราก็ยังสามารถใช้เพื่ออยู่ในช่วงเวลานั้นๆ ได้จริงๆ คุ ริ ย ามะบอกว่ า ที่ จ ริ ง แล้ ว ไม่ จำ � เป็ น ต้ อ งใช้ ภ าพ หนึง่ พันภาพเพือ่ สือ่ ความทรงจำ�แต่ละวันเลย การบันทึกวิดโี อ เพี ย งหนึ่ ง วิ น าที ต่ อ วั น ก็ เ พี ย งพอที่ จ ะทำ � ให้ เขาระลึ ก ถึ ง เหตุการณ์วันนั้นได้ทั้งวันแล้ว อันที่จริง โครงการแนว ‘วันละภาพ’ นี้มีหลากหลาย และทำ � กั น อย่ า งเอิ ก เกริ ก ก่ อ นโครงการคุ ริ ย ามะนานแล้ ว แต่เขาคิดว่า บางครั้งภาพถ่ายก็ไม่สามารถจับอารมณ์ของ เหตุการณ์ได้ทั้งหมด ภาพถ่ายไม่สามารถบันทึกเสียงหัวเราะ ของพ่อของเขา หรือการเปลี่ยนแปลงสีหน้าของแม่ของเขาได้ เมื่อเทียบกันแล้ว วิดีโอสามารถกระตุ้นความทรงจำ�ของเขา ได้ดีกว่า - ถึงแม้จะเป็นวิดีโอสั้นๆ เพียงหนึ่งวินาทีก็ตาม มี ห ลายต่ อ หลายครั้ ง ในช่ ว งหนึ่ ง ปี ค รึ่ ง ที่ ค รอบครั ว ของคุรยิ ามะประสบเหตุการณ์หนักหนา จนเป็นเรือ่ งเจ็บปวด ทีเ่ ขาจะต้องบันทึกช่วงเวลาหนึง่ วินาทีในแต่ละวันนัน้ ไว้ แต่เขา ก็กัดฟันบันทึก และพบว่าเมื่อนำ�มาเรียงร้อยด้วยกันทั้งหมด การทีเ่ ขาบันทึกช่วงเวลาทีเ่ จ็บปวด ก็ทำ�ให้เขาสามารถทีจ่ ะยิม้ กับช่วงเวลาที่มีความสุขได้เต็มปาก คุ ริ ย ามะเลื อ กที่ จ ะไม่ บั น ทึ ก ช่ ว งเวลาที่ เ ขารู้ สึ ก มีความสุขทีส่ ดุ ในแต่ละวัน แต่จะรอให้ชว่ งเวลานัน้ ผ่านพ้นไป จึงบันทึกเก็บไว้ เพราะเขาเชื่อว่าในช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุด เราไม่ควรจะเสียเวลาไปกับการล้วงมือถือขึ้นมาถ่าย และ การบันทึกช่วงเวลาที่แม้จะผ่านจุดนั้นไปแล้ว เมื่อกลับมาดู ก็ยังทำ�ให้เขาจดจำ�ช่วงเวลาก่อนหน้านั้นได้อยู่ดี
019
020
ตระหนักว่าเป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปจะเสียเวลาตัดต่อ วิดีโอขนาดหนึ่งวินาทีหลายๆ วันเข้าด้วยกัน คุริยามะจึง เปิดโปรเจ็กต์ระดมทุนจากมหาชนใน Kickstarter โปรเจ็กต์ ได้รับเสียงตอบรับล้นหลาม ผลิดอกออกผลมาเป็นแอพฯ บนไอโฟนชื่อเดียวกับโครงการ (แอพฯ ไม่ฟรีนะครับ ราคา 0.99 เหรียญฯ) หากเราบัน ทึกวิดีโอวัน ละหนึ่ง วิน าที ในเวลาสิ บปี เราจะมีภาพยนตร์แห่งชีวิตความยาวหนึ่งชั่วโมง (นิดๆ) และหากบันทึกทั้งชีวิต ในเวลาประมาณ 80-90 ปี เราจะมีภาพยนตร์ที่สื่อถึงทุกเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ที่สามารถดูจบได้ในเวลา 8-9 ชั่วโมง เป็นการย่นย่อความทรงจำ�ลงในแคปซูลขนาดกลืนง่าย ไม่ติดคอ รู้เรื่องของคุริยามะแล้วก็ทำ �ให้ผมคิดถึงชื่อหนังสือ เล่มหนึง่ ทีท่ �ำ ให้สะดุดอยูต่ รงแผงได้เมือ่ หลายปีกอ่ น - หนังสือ เล่มนั้นชื่อว่า ทำ�วันเวลาให้มีชื่อเรียก เขียนโดย คุณกิตติ จินศิริวานิชย์ อ่านครั้งแรกไม่ค่อยเข้าใจ แต่อ่านครั้งต่อมา จึงได้เข้าใจว่า ทำ�วันเวลาให้มชี อื่ เรียก ก็คอื การทำ�ให้แต่ละวัน มีค่า มีความทรงจำ�บันทึกไว้ ไม่ปล่อยผ่านไปลอยๆ นั่นเอง ถ้าเราใช้ชวี ติ แบบเดิม ตืน่ มา ไปทำ�งาน กินข้าว ทำ�งาน ตอนบ่าย รถติด กลับบ้าน นอน ไดอะรี่ของทุกๆ วันคง ไม่แตกต่าง อาจบันทึกได้อย่างขี้เกียจๆ ว่า ‘เหมือนเมื่อวาน’ การใช้ชีวิตที่ดีอาจเป็นการทำ�วันเวลาให้มีชื่อเรียก ทำ�ให้แต่ละวันให้มีจุดจดจำ�
และอาจไม่ต้องจดจำ�ยาวนานมากมายในแต่ละวัน ก็อาจเริ่มต้นที่หนึ่งวินาที
0 21
• สนใจแอพฯ ของคุริยามะ (ไม่ได้ค่าโฆษณาใดๆ นะเอ้อ) เข้าแอพสโตร์หา ‘1 Second Everyday’ • สนใจการบรรยาย TED Talk ของคุริยามะ ไปที่ www.ted.com/talks/cesar_kuriyama_one_second_every_day • สนใจการบรรยาย TED Talk เรื่อง ‘เหนื่อยนักก็พักบ้าง’ ไปที่ blog.ted.com/2009/10/02/the_power_of_ti
024
การเมืองเป็นเรื่องพูดยาก แม้จะเป็นเรื่องพูดยาก ฟังยาก พูดคุยแล้วชวนให้ ตบตี ด่ า ทอพ่ อ แม่ ประหัต ประหารกัน อย่างไรก็ ต าม อี ไล พาริสเซอร์ (Eli Pariser) นักเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต ชาวอเมริกัน ก็ยังโปรดปรานอ่านนิวส์ฟีดบนเฟซบุ๊กเกี่ยวกับ เรื่ อ งการเมื อ งจากเพื่ อ นๆ ที่ มี ค วามคิ ด เห็ น แตกต่ า งกั น เพื่อนบางคนเข้าข่ายเสรีนิยมเหมือนกับอีไลบ้าง บางคนคิด ต่างจากอีไลไปเข้าฝัง่ ตรงข้ามอย่างอนุรกั ษ์นยิ ม เขาก็ไม่ถอื สา ว่าความอย่างไร อาจหงุดหงิดแต่ก็ไม่ได้หยิบด้ามพร้าขึ้นมา บุกถึงบ้าน ฟันฉัวะเจ้าอนุรกั ษ์นยิ มคนนัน้ ให้ตายกันไปข้างหนึง่ ทว่า วันหนึง่ กลับเกิดความเปลีย่ นแปลงในหน้านิวส์ฟดี ของอีไล-นัน่ คือ อยูๆ ่ ข้อความจากเพือ่ นอนุรกั ษ์นยิ มทัง้ หมด ก็หายไปเสียเฉยๆ ไร้ร่องรอยเหมือนโดนเทพเจ้าลักพาตัวไป
อีไลตกใจ นึกว่าเพื่อนคนนั้นทนความเป็นเสรีนิยม ของตัวไม่ได้จงึ อันเฟรนด์ เลิกคบ ตัดจบความสัมพันธ์เสียดือ้ ๆ แต่ตรวจสอบแล้วก็พบว่าเพื่อนยังเป็นเพื่อนอยู่ดีทุกประการ ไม่ได้ตายจากไปไหน บนหน้าโปรไฟล์ยังโพสต์ลิงค์อนุรักษ์นิยมเยอะๆ ดังเคย แต่ลงิ ค์พวกนัน้ กลับไม่โผล่บนหน้านิวส์ฟดี ของอีไลเหมือนแต่ก่อน เขานึกสงสัยว่าทำ�ไม? เมื่อลองสืบเสาะจนปริศนาไขกระจ่าง อีไลพบว่าสิ่งที่ เกิ ด ขึ้ น คื อ เฟซบุ๊ ก เลื อ กลิ ง ค์ ที่ จ ะนำ � มาแสดงในนิ ว ส์ ฟี ด จากลิงค์เนื้อหาใกล้เคียงที่ผู้ใช้เคยกด (เป็นประโยคที่ฟังดู เนิรด์ มากนะครับ อ่านออกเสียงสองรอบ ปฏิบตั ิ!) ซึ่งแน่นอน ส่วนใหญ่ข่าวที่เขาคลิกเข้าไปอ่านก็ต้องเกี่ยวกับความเป็น เสรีนิยมที่ยึดมั่นถือมั่นและรักใคร่ชอบพอกันอยู่ เมื่ออ่าน ลิงค์ลักษณะเดียวกันมากๆ เฟซบุ๊กจึงมี ‘ความคิด’ ต่อลิงค์ แนวเสรีนยิ มว่า “อ๋อ ลิงค์นเี้ นือ้ หาแนวใกล้เคียงกับทีค่ นนีส้ นใจ อยู่นี่นา ถ้าเราจัดไปในนิวส์ฟีด เขาจะต้องชอบและคลิกอ่าน อย่ า งร่ า เริ ง แน่ ๆ เลย ฮิฮิ” ส่วนลิง ค์ที่มีค วามคิดเห็ น ต่ า ง ออกไปอย่างข่าวอนุรักษ์นิยม เฟซบุ๊กจะคิดว่า “หึ อีไลไม่เคย กดอ่านเรื่องทำ�นองนี้เลย ถ้าเราแสดงในนิวส์ฟีด มันก็ไม่อ่าน อยู่ดี แถมจะพานหงุดหงิดต่างๆ เอาเสียอีก ดังนั้น ซ่อนไว้ เสียดีกว่า ปิง๊ ! (เสียงเสกลิงค์ให้หายไป)” เป็นทีม่ าของคดีพศิ วง ดังกล่าว อีไลทดลองต่อโดยการให้เพื่อนสองคนค้นหาคำ�ว่า ‘Egypt’ ในกูเกิล้ ปรากฏว่าเพือ่ นชอบเทีย่ วได้ผลลัพธ์หน้าแรก เป็นลิงค์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวลันล้า มีรูปคนขี่อูฐ ฉากหลัง เป็นพีระมิดสะท้อนแดดยามสนธยา ดูอียิปต์เป็นดินแดน
025
026
เอ็กโซติกน่าไปเยือนเสียเหลือเกิน ในขณะทีเ่ พือ่ นคอข่าวกลับ ได้ผลการค้นหาเกี่ยวกับการประท้วงที่กำ�ลังเกิดขึ้น เช่นเดียว กับการค้นหาคำ�ว่า ‘Abortion’ (การทำ�แท้ง) ในขณะที่คนหนึ่ง ได้เว็บไซต์โบสถ์คาทอลิก ศาสนา มาตราบาปต่างๆ อีกคน กลับได้ลิงค์และเบอร์โทรติดต่อคลินิกรับทำ�แท้งทันที (อะไร จะสะดวกขนาด!) นั่นเพราะกูเกิ้ล ‘จำ�’ ลิงค์ก่อนๆ ที่เราเคย กดไว้เพื่อประมวลผลการค้นหาที่เหมาะสม หรือหากไม่ได้ ล็อกอิน กูเกิ้ลก็ยังนำ�ปัจจัยต่างๆ (เช่นว่า ค้นหาจากบริเวณ ไหน จากแมคฯ หรือพีซี ใช้บราวเซอร์ยหี่ อ้ อะไร) อีก 57 อย่าง มาช่วยคำ�นวณ ถ้ า เป็ น เรา เราอาจจะชอบกั บ การที่ ห น้ า นิ ว ส์ ฟี ด หรือหน้าผลการค้นหาแรกๆ ของกูเกิ้ลมีแต่สิ่งที่เรารักใคร่ ชวนให้ ก ดไลค์ ดู อั จ ฉริ ย ะเป็ น บ้ า สมมติ ว่ า โปรดปราน ละครหลั ง ข่ า ว วั น ๆ ไม่ ทำ � งาน คลิ ก อ่ า นแต่ เรื่ อ งพวกนี้ (“ได้ข่าวว่าเรยาจะมีภาคสามเหรอเธอ กรี๊ดกร๊าด”) ในหน้า นิวส์ฟีดก็จะกลายเป็นแคตตาล็อกละครให้เสพกันจนสิ้นสติ ไม่ ส มประดี กั น ไปข้ า งหนึ่ ง หรื อ ถ้ า บ้ า บอลนั ก ก็ จั ด มาแต่ ข่าวบอลมาเลยเป็นไง การที่ไม่ต้องคอยเลื่อนเคอร์เซอร์ผ่าน ข่าวที่ไม่สนใจอย่างระบำ�ใต้น้ำ�ก็ควรจะเป็นเรื่องที่ถูกและ สะดวกสบายอยู่ สุดท้ายแล้ว นี่ก็เป็นสิ่งที่บริษัทดอตคอม ต่างๆ ควรทำ�ไม่ใช่หรือ กระทั่ง มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ยังเคย ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “กระรอกที่ตายอยู่บนสนาม หน้าบ้าน น่าจะมีความสำ�คัญสำ�หรับคุณมากกว่าคนที่กำ�ลัง ตายในแอฟริกา” (โหดสมกับเป็นมาร์ค!)
จริงอยู่ อินเทอร์เน็ตนั้นกว้างใหญ่ไพศาลและเต็มไป ด้วยลิงค์จำ�นวนอนันต์ การ Personalization จึงน่าจะทำ�ให้ ผู้ ใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต อย่ า งเราๆ สะดวกสบายมากขึ้ น นึ ก จะ หาอะไรถู ก ใจก็ ห าเจอได้ ใ นไม่ กี่ วิ น าที แต่ อี ไ ลมองเรื่ อ งนี้ เป็นปัญหาหนักหน่วง ให้เหตุผลว่า เมือ่ อินเทอร์เน็ต ‘ตามใจ’ ผู้ ใช้ มากๆ แล้ ว สุดท้ายเราก็จะจมจ่อ มอยู่กับเรื่อ งเดิ ม ๆ โดยไม่ ไ ด้ รั บ ข้ อ มู ล ข่ า วสารใหม่ ๆ จากมุ ม อื่ น เลย บั น เทิ ง ก็ บั น เทิ ง อยู่ อ ย่ า งนั้ น เชื่ อ อย่ า งไรก็ เชื่ อ อยู่ อ ย่ า งนั้ น พอ คลิกลิงค์แบบเดิมมากๆ เข้า เว็บไซต์ก็นำ�ลิงค์อย่างเดียวกัน มานำ�เสนอให้คลิกเพิ่มอีกเรื่อยไป นำ�ไปสู่การ ‘เมาตัวเอง เพราะฟังความเห็นด้านเดียว’ ในที่สุด อี ไ ลให้ ชื่ อ กั บ ปรากฏการณ์ นี้ ว่ า ‘Filter Bubble’ (ตัวกรองฟองสบู่) เพราะคนที่อาศัยอยู่ในฟองสบู่คงไม่รู้ว่า โลกภายนอกจริงๆ แล้วเป็นอย่างไร ตัวเองถูกกรองจาก เรื่องอะไรบ้าง ได้แต่มองภาพที่บิดเบี้ยวผ่านผิวฟองเพียง อย่ า งเดี ย วโดยไม่ รู้ ตั ว เมื่ อ กระแสการ Personalization ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เขากลัวว่าต่อๆ ไปผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่จะถูกขังด้วยฟองสบู่ที่มองไม่เห็น แน่นอน ลิงค์ความอดอยากในแอฟริกาอาจดู ‘อ่านยาก ไม่อยากอ่าน’ เมื่อเปรียบเทียบกับลิงค์เพลงล่าสุดของ จัสติน บีเบอร์ แต่ก็ใช่ว่าจะมีความสำ�คัญน้อยไปกว่ากัน เพราะคนที่เราเป็น กับคนที่เราควรเป็นมักเป็นคน ละคน, เพราะเรื่องที่เราอยากรู้กับเรื่องที่เราควรรู้มักเป็น คนละเรือ่ ง ตัวกรองฟองสบูจ่ งึ อันตรายในฐานะแนวต้านไม่ให้
0 27
เราก้าวไปสำ�รวจตัวตนหรือแนวคิดแบบอืน่ เหมือนกับยางลบ วิเศษที่คอยลบเรื่องบริเวณที่เราไม่สนใจออกไปโดยอัตโนมัติ จนสุดท้าย เราอาจเหลือพื้นที่ทางความคิดให้อาศัยเป็นเพียง กรงแคบนิดเดียว ไม่ตา่ งจากกระรอกทีต่ ายอยูบ่ นสนามหน้าบ้านตัวนัน้ คงไม่มีวันไปถึงแอฟริกา
0 28
• ชมวิดีโอการบรรยายเรื่อง Filter Bubble ของอีไล พาริสเซอร์ ในงาน TED ได้ที่ www.ted.com/talks/eli_pariser_beware_online_filter_bubbles
• • • • • • • • •
ขอบคุณพี่บิ๊กที่ให้โอกาสมาโดยตลอด ขอบคุณพี่ก้องสำ�หรับจุดเริ่มต้นของคอลัมน์ World While Web ขอบคุณ a team สำ�หรับการดูแลต้นฉบับ ขอบคุณชาวอะบุ๊ก สำ�หรับการทำ�งานอันเหน็ดเหนื่อย และมิตรภาพ ขอบคุณหนุงหนิง สำ�หรับคำ�ปรึกษาในทุกๆ เรื่อง ขอบคุณแบงค์ สำ�หรับหลายๆ เรื่อง ขอบคุณชาว 101 สำ�หรับการทำ�งานที่สนุกสนาน ขอบคุณครอบครัวที่ทำ�ให้ค้นพบความชอบ ด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต และขอบคุณคนอ่านครับ
ทีปกร วุฒิพิทยามงคล
• เป็นชาวนครสวรรค์ • เริ่มศึกษาและสนใจในเทคโนโลยีตั้งแต่มัธยมฯ • ต่อมาก่อตั้งเว็บไซต์ผู้ให้บริการบล็อก ที่มีสมาชิกเป็น อันดับต้นๆ ของเมืองไทย • ปัจจุบันเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับเทคโนโลยีอยู่ในนิตยสาร a day และ GM ผลงานหนังสือที่ผ่านมาของทีปกร • ไซโกโตเกียว: โตเกียวเที่ยวที่หนึ่ง • 100 ขั้นตอนสู่ความล้มเหลว • 100 ขั้นตอนสู่การเลิกรา • Draw Something • พูดอะไรไม่ได้ให้หมีเขี่ย • CAT STUDY วิชาแนะแมว • ยูนิเวอร์เศร้า ติดตามทีปกร ได้ที่ twitter: @tpagon facebook.com/tpagon instagram: @tpagon | @champsaw
จักรกฤษณ์ อนันตกุล (เหนือ) นักออกแบบกราฟิก นักวาดภาพประกอบ และอาจารย์ด้านออกแบบ ปัจจุบัน จักรกฤษณ์ ทำ�งานในนาม Hello I am JK เขาได้นำ�ความเชื่อที่ว่าการออกแบบควรพุ่งความสนใจ ไปยังข้อความหลักที่ต้องการสื่อสาร ไปพร้อมๆ ความงาม ผลงานของเขาเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่ Monocle (อังกฤษ), Tiger Translate, Teelocker (ฮ่องกง), Desktop Magazine (ออสเตรเลีย), Uniqlo (ญี่ปุ่น), Curioos (ฝรั่งเศส) และอื่นๆ ติดตามผลงานได้ที่ www.helloiamjk.com www.facebook.com/iamjackkrit