a day BULLETIN 514

Page 1

515 514 513

TODAY EXPRESS PRESENTS

27 NOV 2017

LIKE

THE

F LOW I N G

R I V E R


02 ร่วมพูดคุยและรับบทเรียนส�ำคัญของควำมหมำย และคุณค่ำชีวิตกับ คุณหญิงจ�ำนงศรี หำญเจนลักษณ์

ConneCTing The DoTs ก้ำวส�ำคัญบนโลกธุรกิจออนไลน์ของ O&B โดยเจ้ำของแบรนด์คนเก่ง ‘ต้ำ’ - รรินทร์ ทองมำ

she saiD แนวคิดของ ดุจดำว พรหโมบล ผู้อ�ำนวยกำรบริหำรฝ่ำยกำรตลำด โซนี่ พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ (ประเทศไทย)

LiFe สำมเรื่องรำวจำกคนรุ่นใหม่ ส่วนผสมส�ำคัญที่เพิ่ม

BEHIND THE COVER

CONTENTS

The ConversaTion

515 514 513

TODAY EXPRESS PRESENTS

27 NOV 2017

LIKE

THE

F LOW I N G

R I V E R

I S S U E 514 27 NOV 2017

คุณค่ำให้กับผู้สูงวัย

C

M

BreaThe in ท�ำอย่ำงไรจะตัดใจจำกแฟนที่เพิ่งเลิกกันได้ส�ำเร็จ?

BreaThe ouT ถ้ำชีวต ิ เป็นดัง่ เกม ไม่มเี กมไหนจะท้ำทำยไปกว่ำ ‘ควำมรัก’

eDiTor’s noTe บทบรรณำธิกำร ทัศนะต่อชีวิตและสังคม ผ่ำนสำยตำ วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ

ไม่ต้องใช้ช่ำงแต่งหน้ำท�ำผม และไม่ต้องใช้เสื้อผ้ำ จำกสไตลิ ส ต์ คุ ณหญิ ง จ� ำ นงศรี หำญเจนลั ก ษณ์ เปิ ด ประตู บ้ ำ นต้ อ นรั บ พวกเรำพร้ อ มกั บ เสื้ อ ผ้ ำ หน้ ำ ผมที่ ส วยงำมตำมวั ย พร้ อ มส� ำ หรั บ กำรถ่ ำ ย ภำพปกใต้แสงไฟสำดส่องและฉำกลิมโบสีเรียบๆ ด้วย เส้นผมสีดอกเลำและรอยยิม ้ อันเป็นเอกลักษณ์ ท�ำให้ ภำพปกที่ อ อกมำเฉิ ด ฉำย ดู แ กลมเมอรั ส ไม่ แ พ้ ่ ๆ ทีเ่ ป็นคนหนุม ่ สำว แบบปก a day BULLETIN คนอืน ในกำรสัมภำษณ์ คุณหญิงบอกเล่ำเรือ ่ งรำวมำกมำย สมั ย ที่ ยั ง เป็ น สำวๆ เธอบอกว่ ำ นั่ น เป็ น ช่ ว งเวลำ ที่เป็นทุกข์ใจที่สุด ทุกวันนี้เธอรู้สึกสงบและเป็นสุขใจ ควำมรู้ สึ ก ภำยในจึ ง ได้ ส ะท้ อ นออกมำเป็ น ภำพ พอร์เทรตที่ดูชื่นตำชื่นใจอย่ำงที่เห็น

Y

CM

MY

CY

CMY

K

ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชำญชัย บรรณาธิการที่ปรึกษา นิภำ เผ่ำศรีเจริญ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา/บรรณาธิการบริหาร วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ บรรณาธิการบทความ ทรรศน หำญเรืองเกียรติ ปริญญำ ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล กองบรรณาธิการ ศรัญญำ โรจน์พิทักษ์ชีพ กมลวรรณ ส่งสมบูรณ์ พัทธมน วงษ์รัตนะ นักเขียน/ประสานงาน ตนุภัทร โลหะพงศธร บรรณาธิการภาพ คเชนทร์ วงศ์แหลมทอง หัวหน้าช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร ช่างภาพ ภำสกร ธวัชธำตรี รัชต์ภำคย์ แสงมีสินสกุล บรรณาธิการศิลปกรรม พงศ์ธร ยิ้มแย้ม ศิลปกรรม ชยุตม์ คชโกศัย สิริลักษณ์ ตะเภำหิรัญ ฐิติชญำ อนันต์ศิริภัณฑ์ พิสูจน์อักษร หัสยำ ตั้งพิทยำเวทย์ ศักดิ์สิทธิ์ ไม้ล�ำดวน ธมนวรรณ กัวหำ ฝ่ายผลิต วิทยำ ภู่ทอง บรรณาธิการดิจิตอลคอนเทนต์ มิ่งขวัญ รัตนคช กองบรรณาธิการดิจิตอลคอนเทนต์ จักริน อินต๊ะวงค์ ผู้ จั ด การฝ่ า ยดิ จิ ต อลมี เ ดี ย ธนำคำร จั น ทิ ม ำ ผู้ ป ระสานงานฝ่ า ยดิ จิ ต อลมี เ ดี ย สิ ริ น ำรถ อิ น ทะพั น ธุ์ ผู้ ช� า นาญการฝ่ า ยดิ จิ ต อลมี เ ดี ย กะรั ต เพชร บุ ญ ลั ก ษณ์ ศิ ริ ที่ ป รึ ก ษาฝ่ า ยโฆษณา ศรวณี ย์ ศิ ริ จ รรยำกุ ล ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา มนัสนันท์ รุ่งรัตนสิทธิกุล 08-4491-9241 ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายโฆษณา ธนำภรณ์ ศรีจุฬำงกูล 08-1639-1929, พงศ์ธิดำ อังศุวัฒนำกุล 09-4415-6241, ณัฐวีณ์ ประมุขปฐมศักดิ์ 08-3922-9929 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ภรัณภพ สุขอินทร์ 08-9492-3444, ชินวัฒน์ เฟื้องฟู 09-4353-9639 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมำ กำญจนสมทรัพย์ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดำ ตระกูลสม นักศึกษาฝึกงาน ภำณุทัช โสภณอภิกุล ผู้ ผ ลิ ต บริ ษั ท เดย์ โพเอทส์ จ� า กั ด เลขที่ 33 ซอยศู น ย์ วิ จั ย 4 แขวงบำงกะปิ เขตห้ ว ยขวำง กรุ ง เทพฯ 10310 ติ ด ต่ อ กองบรรณาธิ ก าร โทร. 0-2716-6900 อี เ มล contact@adaybulletin.com เว็บไซต์ www.adaybulletin.com, www.daypoets.com, www.godaypoets.com



a day bulletin

Database

04

เรื่อง : พัทธมน วงษ์รัตนะ ภาพ : สิริลักษณ์ ตะเภาหิรัญ

ที่มา : www.dailyinfographic.com, www.dmn3.com, www.ofcom.org.uk, www.pewinternet.org, www.medium.com

SOCIAL MEDIA USAGE AMONG ELDERY เพราะสั ง คมออนไลน์ ไ ม่ ไ ด้ จ� า กั ด อยู่ แ ค่ ใ นหมู่ หนุม ่ สาวอีกต่อไป จึงไม่ใช่เรือ ่ งแปลกทีเ่ ราจะเห็น ผูส ้ งู อายุแชตคุยกับเพือ ่ นฝูงหรืออัพเดตสเตตัส บนเฟซบุก ๊ กันบ่อยขึน ้ เรือ ่ ยๆ มาดูขอ ้ มูลเชิงสถิติ กั น ดี ก ว่ า ว่ า โซเชี ย ลมี เ ดี ย มี ค วามส� า คั ญ กั บ ผูส ้ งู อายุทวั่ โลกแค่ไหน และพวกเขามีพฤติกรรม การใช้สอ ื่ สังคมออนไลน์แตกต่างจากคนวัยอืน ่ อย่างไร

การเพิ่มขึ้นของจ�านวนผู้สูงอายุที่ใช้โซเชียลมีเดีย 75 ปีขึ้นไป

65-74 ปี

ปี 2015

28%

ปี 2016

8%

39%

15%

จุดประสงค์ในการใช้โซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุ 2

1

ติ ด ต่ อ กั บ สมาชิ ก ในครอบครั ว และ เพื่อน

3

ค้นคว้าหาข้อมูล

ซื้อสินค้าออนไลน์

4

5

เ ยี่ ย ม ช ม เ ว็ บ ไ ซ ต์ และเพจที่สนใจ

ติ ด ต่ อ กั บ บ ริ ษั ท ห รื อ ห น่ ว ย ง า น ต่างๆ C

M

Y

CM

82% 58% 40% 35% 28%

MY

โ ซ เ ชี ย ล มี เ ดี ย ที่ ไ ด้ รั บ ความนิยมในหมู่ผู้สูงอายุ ทั่วโลกมากที่สุด

CY

CMY

K

27 ชั่วโมง

24 %

2

8%

72

%

Facebook

Pinterest

21 %

Twitter

LinkedIn

18 %

Instagram

19% ผูส ้ ง ู อายุมแี นวโน้มทีจ่ ะแชร์ เนื้ อ หาออนไลน์ ม ากกว่ า ผู้ใช้วัยอื่นร้อยละ 19

คนเจเนอเรชัน Baby Boomers (55 ปี ขึ้ น ไป) ใช้ เ วลาบนโลกอิ น เทอร์ เ น็ ต ราว 27 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าคนวัย 16-34 ปี ถึง 2 ชั่วโมง

26% ผู้ สู ง อายุ ห ญิ ง มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะแชร์ เ นื้ อ หาออนไลน์ ม า ก ก ว่ า ผู้ สู ง อ า ยุ ช า ย ร้อยละ 26

60.7% ภายในปี 2018 จ� า นวน ของคนวัย 65 ปีขึ้นไปที่ใช้ อินเทอร์เน็ต จะเพิม ่ ขึน ้ เป็น ร้อยละ 60.7

issue 514 17 aug 2017



a day bulletin

AGENDA

06

เรื่อง : พิมพ์อร นทกุล

“ในโลกที่เต็มไปด้วย ความแตกต่ า งและ ความขัดแย้ง ลากอม อ ยู่ ต ร ง ก ล า ง มั น ท� า ให้ ค นมี ค วามสุ ข และมีสขุ ภาพดีไปด้วย ในเวลาเดียวกัน”

Lagom är bäst

ความสุขแบบใหม่เรียกว่า ลากอม C

M

หลังจากที่ผู้คนในศตวรรษที่ 20 ได้รู้จักกับเซน (Zen) นิกายหนึ่งในศาสนาพุทธมหายาน การใช้ชีวิตแบบ ‘เรียบง่าย’ และ ‘สงบ’ ก็ดูจะกลายเป็นเป้าหมายชีวิตของคนยุคใหม่ไปโดยอัตโนมัติ เราต่างตามหาความสุข ความสบายใจในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ความเร็ว และปัญหาที่คลี่คลายไม่ได้ จนเมื่อปี 2016 แนวคิด การมีความสุขเรียบง่ายได้ย้ายจากทวีปเอเชียตะวันออกไปยังแถบสแกนดิเนเวีย ท�าให้เราได้รู้จักกับฮุกกะ (Hygge) ความสุขแบบที่คนเดนมาร์กใช้ต่อสู้กับหน้าหนาวอันยาวนานของพวกเขา โดยคอนเซ็ปต์ของ ฮุกกะคือความสบาย (coziness) ที่ไม่ได้หมายถึงความสบายกายที่ได้กินอิ่มนอนหลับเท่านั้น แต่รวมไปถึง ความสบายใจและสมดุลทางจิตใจที่ดีอีกด้วย

ในปีเดียวกัน ฮุกกะเดินทางจากประเทศเดนมาร์กไปทางตะวันตกจนเป็นที่ยอมรับทั้งในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศ ทั่วโลก หนังสือเกี่ยวกับฮุกกะหลายเล่มได้รับการตีพิมพ์และติดอันดับยอดขายอันดับ 1 สินค้านานาชนิดยึดแนวคิดนี้ในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ตงั้ แต่เทียนหอม ผ้าพันคอ ไปจนถึงเฟอร์นเิ จอร์ แต่ไม่ใช่ส�าหรับปีนี้ เพราะในช่วงปีทผี่ า่ นมา ในขณะกระแสฮุกกะเริม่ แผ่วลงเรือ่ ยๆ เรื่องราวของลากอม (Lagom) แนวคิดความสุขของประเทศข้างๆ อย่างสวีเดนก็เริ่มได้รับการกล่าวขานมากขึ้น ลากอม คือค�าวิเศษณ์ภาษาสวีดชิ มีความหมายว่า ไม่มากไม่น้อย หรือทีค่ นไทยอาจจะคุ้นเคยกันในค�าจ�ากัดความว่า ทางสายกลาง ลากอมกับฮุกกะไม่เหมือนกัน ฮุกกะให้ความส�าคัญกับความรู้สึก ส่วนลากอมเน้นความพอประมาณเป็นหลัก ยกตัวอย่างง่ายๆ ชาวสวีเดน ส่วนใหญ่จะเลือกดื่มนมที่มีไขมัน 1.5% เพราะพวกเขามองว่ามีไขมันไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป มันอยู่ในปริมาณที่ ‘just right’ คอนเซ็ปต์นี้ไม่ได้อยู่ในสวีเดนที่เดียว มันเดินทางข้ามน�้าข้ามทะเลไปทั่วโลกผ่านโปรเจ็กต์ของอิเกีย บริษัทเฟอร์นิเจอร์ยักษ์ใหญ่ ชื่อ Live Lagom เชิญชวนให้คนบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะเท่าที่จ�าเป็นไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร พลังงาน น�้า หรือขยะ โดยเชื่อว่า ถ้าทุกคนเข้าใจลากอมอย่างแท้จริง จะช่วยให้ความคิดที่มีต่อความยั่งยืนของสรรพสิ่งในโลกเปลี่ยนไปด้วย นอกจากนี้ ลากอมยังเป็น แรงบันดาลใจให้สองสามีภรรยาจากเมืองบริสตอล ประเทศอังกฤษ ก่อตั้งนิตยสารไลฟ์สไตล์ชื่อ Lagom เมื่อสามปีก่อน เน้นน� าเสนอ เรื่องความสมดุลของชีวิตจากมุมมองนักเขียนทั่วโลก หรือแม้แต่บริษัทสตาร์ทอัพอย่าง Neo Technology ในแคลิฟอร์เนียก็ยังน�า แนวคิดแบบลากอมไปใช้ในองค์กร โดยยกเลิกการประเมินผลรายเดือน เพราะเชื่อว่าความกดดันนี้จะบังคับให้คนท�างานหนักขึ้นอย่าง ไร้ประสิทธิภาพ Lagom äar baäst สุภาษิตเก่าแก่ของสวีเดนที่แปลตรงตัวว่า Lagom is best หรือลากอมดีที่สุด จะจริงหรือไม่คงขึ้นอยู่แต่ละตัวบุคคล เพราะว่ากันตามตรงแล้ว ‘ความพอดี’ ของแต่ละคนก็มีปริมาณไม่เท่ากัน และการจะมีความสุขหรือไม่นั้น อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับแนวคิดใดๆ เลยก็ได้

RANKING

Y

CM

MY

CY

CMY

K

Niels eék ผูก ้ อ ่ ตัง้ แอพพลิเคชัน Remente

5 ประเทศที่ได้รับการจัดอับดับจาก World Happiness report ว่าเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกประจ�าปี 2017

issue 514 27 NOV 2017

1 2 3 4 5 นอร์เวย์

เดนมาร์ก

ไอซ์แลนด์

สวิตเซอร์แลนด์

ฟินแลนด์



In case you mIssed It!

HealtH

www.reuters.com

a day bulletin

08

ข่าวรอบโลกปลายสัปดาห์ ที่คุณอาจพลาดไป! HumAN RIGHtS

www.theguardian.com

environment

animal www.huffingtonpost.com entertainment http://edition.cnn.com

www.telegraph.co.uk

SCienCe www.standard.co.uk

Who : piala inc. โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น What : เพิม ่ วันหยุดพิเศษ 6 วันต่อปี ให้กบ ั พนักงานทีไ่ ม่สบ ู บุหรี่ เนือ ่ งจากพนักงานทีส ่ บ ู บุหรี่ จะเสียเวลาการท�างานไปกับการสูบบุหรีป ่ ระมาณวันละ 2 ชัว่ โมง ท�าให้พนักงานทีไ่ ม่สบ ู บุหรี่ ต้องท�างานนานกว่า บริษัทจึงมีนโยบายเพิ่มวันหยุดให้พนักงานที่ไม่สูบบุหรี่เพื่อสร้าง ความเท่าเทียมภายในองค์กรเพือ ่ สร้างแรงจูงใจให้พนักงานเลิกสูบบุหรีม ่ ากขึน ้

issue 514 27 NOV 2017

HeAltH

eNvIRoNmeNt

ANImAl

eNteRtAINmeNt

SCIeNCe

Who : คณะวิจยั ทางการแพทย์ สหราชอาณาจักร What : ศึกษาพบว่าบาดแผล หรือรอยไหม้ทเี่ กิดขึน้ ในช่วงเวลา กลางวันระหว่างแปดโมงเช้าถึง สองทุ่มจะหายง่ายและเร็วกว่า แผลที่ เ กิ ด ขึ้ น ในช่ ว งกลางคื น ประมาณ 60% เพราะนาฬิกา ชี ว ภาพท� า ให้ เ ซลล์ ผิ ว หนั ง เคลื่อนที่ไปรักษาแผลได้เร็วกว่า ถือเป็นประโยชน์อย่างมากต่อ การเลื อ กเวลาผ่ า ตั ด เพราะ สามารถช่วยให้แผลของคนไข้ สมานตัวได้เร็วขึ้น

Who : สถาบันป้องกันอันตราย จากรังสีและความปลอดภัยทาง นิวเคลียร์ (IRSN) What : เปิดเผยว่าตรวจพบ กลุม่ เมฆปนเปือ้ นธาตุรทู เี นียม 106 ในชัน้ บรรยากาศทีป่ กคลุมทัว่ ทวีป ยุโรป โดยสันนิษฐานว่าเกิดจาก อุบตั เิ หตุของเตาปฏิกรณ์นวิ เคลียร์ ในรั ส เซี ย หรื อ คาซั ค สถานช่ ว ง ปลายเดือ นกันยายนที่ผ ่า นมา ทั้งนี้ทางการได้ระบุว่ากลุ่มเมฆ กัมมันตรังสีจะไม่ก่อผลกระทบ หรืออันตรายใดๆ ต่อสิง่ มีชวี ติ และ สิง่ แวดล้อม

Who : ต�ารวจในเมือง Zion, อิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา What : ในวันพฤหัสบดีที่แสน ธรรมดาวันหนึ่ง ต�ารวจในเมือง Zion ได้รับโทรศัพท์จากผู้หวังดี ว่ า พบแรคคู น ติ ด อยู ่ บ ริ เ วณ ฝาท่อระบายน�้า พวกเขาจึงรีบ เดิ น ทางไปช่ ว ยเหลื อ แต่ ไ ม่ สามารถช่วยได้ในทีแรก จึงต้อง เรียกก�าลังเสริมมาเพิ่มเติมจน เจ้าแรคคูนตัวนีเ้ ป็นอิสระในทีส่ ดุ โดยทางต� า รวจเล่ า ให้ ฟ ั ง ว่ า ดู เหมือนเจ้าขนปุยตัวนีจ้ ะกินเยอะ ไปหน่อย ตัวเลยติดช่องระบาย น�้าเสียอย่างนั้น

Who : บริษัท Amazon What : นับว่าเป็นข่าวดีของแฟน หนังฟอร์มใหญ่อย่าง Lord of the Rings เพราะ Amazon ออกมา ประกาศว่าจะน�าเรื่องราวที่เกิด ขึ้นก่อน The Fellowship of the Ring มาสร้างเป็นซีรีส์โทรทัศน์ ซึง่ นับเป็นโปรเจ็กต์ใหญ่ครัง้ แรก ของ Amazon ตั้งแต่ รอย ไพรซ์ ผู้บริหารคนเก่าลาออกไป โดย รายละเอียดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ช่วงทีจ่ ะฉายหรือรายชือ่ นักแสดง ยังไม่มีการเปิดเผย

Who : สหราชอาณาจักร What : ภาพท้องฟ้าก่อนรุง่ สาง จากปรากฏการณ์ ‘ดาวเคราะห์ ชุมนุม’ เมือ่ เช้าวันที่ 13 พฤศจิกายน ทีผ่ า่ นมา ซึง่ มีดาวพฤหัสบดีและ ดาวศุ ก ร์ ป รากฏอยู ่ ข ้ า งกั น บน ท้องฟ้าแบบมองเห็นด้วยตาเปล่า ในแถบพืน้ ทีเ่ ส้นละติจดู ทางตอน กลางของซีกโลกเหนือ รวมถึง ประเทศไทย สหราชอาณาจักร และตอนเหนือของสหรัฐฯ โดยใน บ้านเรา สถาบันวิจยั ดาราศาสตร์ฯ ยังได้จัดกิจกรรมชมดาวเคราะห์ ทัง้ สองพร้อมกันทัว่ ประเทศอีกด้วย



a day bulletin

URBAN AGENDA

10

เรื่อง : ตนุภัทร โลหะพงศธร ภาพ : MVRDV

The Voices คุ ณ มี ค ว า ม คิ ด เ ห็ น อย่างไรกับห้องสมุดใน กรุงเทพมหานคร

“เท่ า ที่ ท ราบ ห้ อ งสมุ ด ใน กรุ ง เทพฯ ก็ มี ห ลายที่ น ะ ทั้ ง ของภาครั ฐ และเอกชน แต่ ส ่ ว นตั ว เคยใช้ บ ริ ก าร หอสมุดแห่งชาติอยูห่ ลายครัง้ ในด้านเครื่องอ�านวยความส ะ ด ว ก ก็ อ ยู ่ ใ น เ ก ณ ฑ ์ ดี บริการก็ประทับใจบ้าง แต่ บางครั้งก็เป็นด่านฝึกความอดทน ระบบสืบค้นบางส่วน ยังแมนวลเอาซะคนสมัยใหม่ อาจล้มเลิกความตั้งใจที่จะ หาความรู้ไปเลย เราคงได้แต่ หวังว่าวันหนึง่ ทุกคนจะเข้าถึง ‘ ขุ ม ทรั พ ย์แห่ง ปัญญา ’ (สโลแกนหอสมุ ด แห่ ง ชาติ ) กันได้ทุกคน” 01

รัตนปกรณ์ ธนันทา 27 ปี, ข้าราชการ

ที่มา : www.mvrdv.nl, www.archdaily.com

The ProjecT

Tianjin Binhai PuBlic liBrary

ปินไห่คือเขตเมืองใหม่และเขตทดลองปฏิรูปครบวงจรแห่งชาติของ ประเทศจีน ซึง่ อยูภ ่ ายใต้การก�ากับดูแลของนครเทียนจิน และยังเป็นศูนย์กลาง ทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษา ด้วยเหตุนท ี้ างการจึงได้สร้าง หอสมุดสาธารณะเทียนจินปินไห่ ด้วยแรงบันดาลใจจากเรือ ่ งสัน ้ The Library ิ บอรเฆส of Babel หรือหอสมุดขนาดสูงใหญ่ในจินตนาการของ ฆอรเฆ ลูอส นักเขียนชาวอาร์เจนตินา และรูปแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัย โดยมีลก ั ษณะ อั น โดดเด่ น คื อ การสร้ า งมุ ม โค้ ง ภายใน ประกอบกั บ โครงสร้ า งทรงกลม กลางอาคาร เปรียบเป็นดวงตาของทุกๆ คนที่ส่องประกายด้วยความรู้แจ้ง

INFo

issue 514 27 NOV 2017

เจ้าของ : เทศบาลนครเทียนจิน (Tianjin Municipality) ผู้ออกแบบ : ส�านักงานออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมืองเอ็มวีอาร์ดีวี (MVRDV) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ร่วมมือกับ สถาบันการออกแบบและวางแผนผังเมืองเทียนจิน (TUPDI) จุดเริ่มต้น : เทศบาลนครเทียนจินต้องการสร้างหอสมุดเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์รวมทางการศึกษาและวัฒนธรรม ภายใต้โครงการพัฒนาแผนแม่บทเขตเมืองใหม่อย่างปินไห่ โดยใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จเพียง 3 ปีเท่านั้น รูปแบบ : อาคารขนาดความสูง 5 ชั้น บนพื้นที่กว่า 33,700 ตารางเมตร ให้บริการหนังสือทุกหมวดหมู่มากถึง 1,200,000 เล่ม พร้อมทั้งห้องอ่านหนังสือ ห้องประชุม ส�านักงาน ห้องคอมพิวเตอร์ และห้องโสตทัศนศึกษา แนวคิดหลัก : พื้นที่สาธารณะที่เป็นเสมือนห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่ประจ�าเมือง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับประชาชน ผ่านการใช้สอยพื้นที่ภายในหอสมุด ทั้งอ่านหนังสือ ประชุมงาน เดินเล่น พักผ่อน พบปะ และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด ปีที่สร้างเสร็จ : ค.ศ. 2017

“ถ้าพูดถึงห้องสมุดใน กทม. เรานึกถึงหอสมุดมหาวิทยาลัย เพราะเราคุ ้ น เคยที่ สุ ด แล้ ว ไม่ค่อยมีโอกาสไปห้องสมุด อื่นเท่าไหร่ ห้องสมุดข้างนอก ที่รู้จักส่วนใหญ่เป็นห้องสมุด เฉพาะทาง อีกอย่างคือเรื่อง สถานที่ ตั้ ง เวลาที่ ต ้ อ งหา ข้อมูลนานๆ เราก็อยากท�า ในทีท่ ไี่ ปง่ายและสะดวก ถ้ามี ห้องสมุดใหญ่ๆ ติดรถไฟฟ้า คงจะดีมากเลย” 02

พิมพ์ชนก โกวิทเสถียรชัย 22 ปี, นักศึกษา



a day bulletin

THE CONVERSATION

LIKE

THE

เรื่อง : วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ ภาพ : กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร

F LOW I N G

R I V E R ชีวิตดั่งสายน�้าไหล คุณหญิงจ�ำนงศรี หำญเจนลักษณ์

issue 514

ถ้าชีวิตเปรียบดั่งสายน�้าไหล สายน�้าเก่าแก่อายุอานาม 78 ปี ของ คุณหญิงจ�านงศรี หาญเจนลักษณ์ ได้ ป ะทะกั บ อุ ป สรรคมากมายมาตลอดทั้ ง ชี วิ ต จนสามารถสะสมหิ น กรวด ดิ น ตะกอนแห่ ง บทเรี ย น และประสบการณ์ไว้มากมาย จากครอบครัวร�า่ รวยสุขสบาย แต่เธอก็ตง ั้ ค�าถามกับเรือ ่ งความหมายและคุณค่าของชีวต ิ บทเรียนจากพ่อ ทีเ่ คีย ่ วกร�าเธอตัง ้ แต่วย ั เด็กท�าให้เข้าใจ มีความเห็นอกเห็นใจผูอ ้ น ื่ และเริม ่ ต้นท�างานเพือ ่ สังคมมาตัง ้ แต่วย ั เยาว์ หลายทศวรรษที่ผ่านมา เธอท�างานร่วมกับภาครัฐและก่อตั้งหน่วยงานการกุศลมากมาย เช่น การให้ ความช่วยเหลือและการศึกษาแก่เด็กหญิงในกลุม ่ เสีย ่ งต่อความรุนแรงและยาเสพติดในภาคเหนือ ก่อตัง ้ มูลนิธิ ช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินป ู ถัมภ์ และท�างานเพือ ่ รณรงค์สท ิ ธิเด็ก ผูห ้ ญิง และ สถาบันครอบครัว จนกระทัง ่ เมือ ่ เข้าใกล้โค้งสุดท้ายของสายน�า้ เล็กๆ นี้ เธอสนใจเรือ ่ งความตาย และท�างาน รณรงค์ในเรือ ่ งการตายดีอย่างจริงจัง รวมถึงการดูแลผูป ้ ว่ ยระยะสุดท้าย และสิทธิในการอยู่ และจากไปอย่างมีศก ั ดิศ ์ รี โครงการล่าสุดของเธอและกลุม ่ เพือ ่ นนักธุรกิจ คือการก่อตัง ้ บริษท ั ชีวามิตร วิสาหกิจเพือ ่ สังคม จ�ากัด ทีก ่ า� ลังเร่งระดมทุน และขยายความร่วมมือ ออกไปเกาะเกีย ่ วภาคประชาชนทีก ่ า� ลังท�างานด้านนีอ ้ ย่างแข็งขัน ในขณะที่สังคมไทยก�าลังก้าวเข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่ง ผลกระทบรุนแรงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ฯลฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ระบบการศึกษาและการสาธารณสุขก� าลัง จะต้องปรับตัวและเปลีย ่ นแปลงอีกมาก กลายเป็นโจทย์สา� คัญของ คนรุน ่ เราทีต ่ อ ้ งขบคิดร่วมกัน ว่าจะเตรียมดูแลคนรุน ่ ก่อนหน้า ให้จากไปด้วยดีได้อย่างไร จะรับมือกับปัญหาของตัวเองและ คนรุน ่ หลังทีก ่ า� ลังตามมา เพือ ่ ด�ารงรักษาความสงบสุข ในสังคมนีไ้ ว้ได้อย่างไร สายน�้าของเราทุกคนก�าลังไหลไปรวมกัน ทีจ่ ด ุ หมายปลายทาง ณ แห่งหนใด ก็ขน ึ้ อยูก ่ บ ั เจตนาและการกระท�าร่วมกันของยุคสมัย ของเรา ร่วมพูดคุยและรับบทเรียนส�าคัญ จากสายน�า้ เก่าแก่สายนี้ คุณหญิงจ�านงศรี หาญเจนลักษณ์

12

27 NOV 2017


13


a day bulletin

14 Friend For LiFe บริษท ั ชีวามิตร วิสาหกิจเพือ ่ สังคม เพิง่ จัดงานเปิดตัว เพือ ่ ระดมทุนไป ได้รบ ั เสียงตอบรับมาอย่างไรบ้าง

ก็ ดี น ะ ถึ ง แม้ วั น นั้ น จะบั ง เอิ ญ ไปตรงกั บ วั น งานของ สถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาชิกวิทยาลัยตลาดทุนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายก็เลยไม่ได้มามาก เท่าทีค่ าดไว้ แต่ทเี่ ข้ามากันเยอะกลับเป็นประชาชนทัว่ ไปทีไ่ ด้ยนิ ข่าว รวมแล้วก็ประมาณ 200 กว่าคน ก็ไม่เป็นไรนะ ข่าวสารของเรา ก็ได้เผยแพร่ออกไปในวงกว้าง มีผู้ที่ต้องการร่วมถือหุ้นเพิ่มขึ้น ถึงจะยังไม่ได้ตามเป้าหมาย โดยรวมแล้วก็เหมือนเป็นการหยอด ก้อนหินลงน�้าแล้วดูวงกระเพื่อมของมันขยายตัวมันออกไป

ป้าศรีทา� งานด้านนีม ้ าสิบกว่าปี มีขา่ วว่าเคยสนับสนุนให้ เกิดโครงการขนาดใหญ่สา� หรับดูแลผูส ้ งู อายุตลอดจนถึง ผูป ้ ว่ ยระยะสุดท้าย มีความคืบหน้าอย่างไรแล้วบ้าง

สัก 6-7 ปีมาแล้ว เริ่มด� าเนินการบริจาคที่ดินที่ต� าบล หนองพลั บ อ� า เภอหั ว หิ น ให้ ม หาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล สมั ย ที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ รัชตะ รัชตะนาวิน เป็นอธิการบดี ทางมหาวิทยาลัยเริม่ ท�างานวางแผน สร้างแบบ ด�าเนินการกันอยู่ สัก 3-4 ปีมั้ง แต่ต่อมาด้วยเหตุผลหลายประการก็โอนโครงการให้ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี ด�าเนินงานต่อ ซึ่งทางรามาฯ ก็ท�า โครงการโรงพยาบาลจักรีนฤบดินทร์ รวมทั้งศูนย์ผู้สูงอายุระยะ ต่างๆ ที่บางพลีอยู่แล้ว เลยน�าแผนงานไปปรับเปลี่ยน ย่อส่วน และพัฒนาต่อ บนทีด่ นิ ทีท่ างกรมธนารักษ์บริจาคให้ในพืน้ ทีใ่ กล้เคียง กับโรงพยาบาลจักรีนฤบดินทร์ ที่ท�าอย่างนั้นในตอนนั้นก็เพราะ อยากกระตุน้ ให้เกิดสถาบันการเรียนรูใ้ นด้านนี้ เพราะคนแก่เพิม่ ขึน้ เรื่อยๆ วิทยาการทางการแพทย์ดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนที่จะช่วยชีวิต คนป่วยให้สามารถกลับมามีชวี ติ ทีม่ คี ณ ุ ภาพยืนยาวขึน้ น่ะก็ดมี าก แต่ อี ก ฝั ่ ง หนึ่ ง ก็ ท� า ให้ ส ามารถยื้ อ กระบวนการตายให้ ยื ด เยื้ อ ยาวนานขึ้น สร้างความทุกข์ทรมาน ปัญหาและความสิ้นเปลือง นานาประการ ให้กับทั้งคนที่ก�าลังตายแต่ตายไม่ได้ คนใกล้ชิด และเพิ่มภาระให้กับสังคมโดยรวมในแง่ของพื้นที่และปัจจัยต่างๆ ในการรักษาพยาบาล อีกอย่างทีไ่ ม่ใช่แค่ ‘อีกอย่าง’ แต่สา� คัญมาก คือป้าไม่อยาก ให้ใครตายอย่างทุกข์ทรมาน ไม่วา่ ทางกายหรือใจ ป้าพูดมาเสมอว่า ถ้าเปรียบชีวติ เหมือนเพลงก็เป็นเพลงทีพ่ เิ ศษมาก เพราะแต่ละคน บรรเลงได้แค่เพลงเดียว เพลงนี้มีโน้ตแรกและโน้ตสุดท้าย เราท�า อะไรกับโน้ตแรกไม่ได้ ตอนเกิดน่ะ แต่เพลงทัง้ เพลงน�าเราไปสูโ่ น้ต สุดท้าย เราจะให้คนอืน่ เขาเล่นให้โดยเจ้าของเพลงไม่มสี ว่ นเกีย่ วข้อง ไม่รบั รูห้ รือวางแผนเชียวหรือ คุณภาพชีวติ น่ะประกอบด้วยสุขภาวะ ทางกาย และสุขภาวะทางใจ ซึง่ ประกอบด้วยความสัมพันธ์กบั ตัวเอง กับคนอื่น กับสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความเชื่อ คุณภาพ ความตายก็เหมือนกันแหละ ให้ไม่ทุกข์ทรมานหรือทุกข์ทรมาน น้อยที่สุดทั้งกายใจ ป้ า น่ ะ ท� า อะไรได้ ก็ ท� า ในฐานะประชาชนคนไทยและ มนุษย์ธรรมดาๆ คนหนึ่ง อายุถึงปูนนี้แล้ว ไม่คิดแล้วว่าจะต้อง ท�าเป็นสถานทีใ่ ดทีห่ นึง่ ซึง่ ต้องใช้พลังเยอะ ให้มนั เกิดขึน้ ด้วยพลัง ของคนรุน่ ใหม่ เพราะเดีย๋ วนีก้ ต็ นื่ ตัวกันเยอะขึน้ แล้ว สมัยทีป่ า้ เริม่ น่ะ ยังไม่เลยนะ การผลักดันโครงการแรกกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมัยนั้นก็ถือว่าเป็นการกระตุ้น และเราก็เรียนรู้มากมายที่จะ ท�างานต่อได้ ไม่มีอะไรสูญเปล่า ไม่ใช่ว่าเราตั้งใจดีแล้วจะต้อง ท�าได้ไปหมด... นีไ่ งข้อดีของความแก่ (หัวเราะ) เข้าใจและยอมรับง่าย เพราะเห็นว่าทุกอย่างมีทมี่ าทีไ่ ป เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางไปท�าไม เดีย๋ วก็ตายแล้ว งาน ‘ตายดี’ ของป้านีก้ ก็ ลายมาเป็นการขับเคลือ่ น ภาคประชาชนด้านความรูค้ วามเข้าใจ และสร้างเครือข่ายซึง่ เกิดขึน้ และขยายเร็วจนป้ายังประหลาดใจเลย issue 514

อยากรูว้ า่ ภาคส่วนต่างๆ ทีก ่ า� ลังท�างานเรือ ่ งนี้ ท�าอะไรกัน ไปถึงไหนแล้ว

27 NOV 2017

ทีส่ า� คัญคือภาครัฐออกกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น มาตรา 12 พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่บังคับใช้ได้มา 4-5 ปีแล้ว ให้ประชาชนสามารถท�าหนังสือแสดงเจตนาทีจ่ ะตายอย่างธรรมชาติ ในวาระสุดท้าย โดยรับการดูแลอย่างประคับประคอง และออก กฎกระทรวงให้ทกุ โรงพยาบาลทีข่ นึ้ ทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุข ต้องมีหน่วย Palliative Care ส่วนภาคการแพทย์การพยาบาล คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีการบรรจุหลักสูตรด้าน Palliative Care (ศัพท์ภาษาไทยยังไม่ลงตัว โดยทั่วไปเรียกกันว่า


15 “สายน�้าเล็กๆ ที่ไหลเชี่ยวบ้าง เอื่อยบ้าง บางช่วงอาจจะมีหินก้อนใหญ่ขวาง ชนหินแล้วก็ต้องเลี้ยว ต้องเปลี่ยนทิศทาง มองว่าชีวิตคนไม่ใช่สายน�้าที่ไหลเรื่อยเปื่อย มันมีเจตนาก�ากับอยู่ เมื่อไหลไปเจอหินก้อนที่ทะลุทะลวงไม่ได้ ก็ต้องเลือกว่า จะลดเลี้ยวไปทางไหน ทุกขณะจิตเรามีเจตนา มีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา ป้าเห็นว่าเราต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของเรา”

‘การดู แ ลอย่ า งประคั บ ประคอง’) นอกจากนั้ น แล้ ว ก็ มี การผลิตแพทย์สาขานีแ้ ละสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวเพิม่ ขึน้ ป้ามองว่านัน่ เป็นภาครัฐ ภาคการแพทย์การพยาบาล ถ้าจะ ใช้ศัพท์เก๋ๆ ก็ว่า สองภาคนั้นเป็นภาคอุปทาน (Supply) ในขณะที่เรา... ประชาชน... เป็นภาคอุปสงค์ (Demand) ผู้รับผลกระทบ คือเขาออกกฎหมายอะไรมา เขาพัฒนา เทคนิคการดูแลรักษาไปแค่ไหน อย่างไร ที่จะมาส่งผลต่อ ตัวเราพ่อแม่เรา ในระยะท้ายสุดของชีวติ ป้าก็เลยคิดว่าสร้าง หน่วยงานภาคประชาชนกันดีกว่า... ท�าอะไรได้กท็ า� ผลักดัน ตรงไหนได้ก็ผลักดัน ร่วมมือกับตรงไหนได้ก็ไปร่วมมือ ‘ชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม’ เกิดได้เพราะคนที่ได้ เห็นคนที่เขารัก ‘ตายดี’ จากงานของเรา ย้อนกลับมาช่วย อย่างจริงจัง ตอนนีก้ ม็ ี คุณกิตพิ งศ์ อุรพีพฒ ั นพงศ์ แห่งบริษทั Baker & McKenzie เข้ามาร่วมริเริ่มจัดตั้งชีวามิตรฯ และเป็น ประธานกรรมการ หลังจากภรรยาวัย 57 เสียชีวิตด้วย โรคมะเร็ง และ คุณโชติวฒ ั น์ ลัทธะพานิชย์ หลังจากคุณพ่อเขา ‘ตายดี’ ก็เข้ามาช่วยเป็นผู้จัดการให้องค์กรของเราเข้ารูป เข้ารอยและมีประสิทธิภาพ ทั้งสองท่านมาช่วยอย่างไม่รับ ค่าตอบแทนใดๆ เราเริ่มมีอาสาสมัครและแนวร่วมทั้งแพทย์ พยาบาล นักกฎหมาย ทนายความ และอื่นๆ เพิ่มเข้ามา งานเรางอกแบบออร์แกนิกค่ะ (หัวเราะ) เช่น ป้าไปเดิน สวนลุมฯ เห็นสวนสุขภาพผูส้ งู อายุ ก็เข้าไปก็อาสาจัดสนทนา เรื่อง ‘อยู่สบาย ตายสงบ’ ได้ คุณหมอนาฏ ฟองสมุทร มาบรรยาย สนุกกันมาก ทางศูนย์ให้เวลา 20 นาที ยาวไป ถึง 45 นาที ก็ยังไม่มีใครยอมลุกเลย ถ้าหมอไม่ต้องไปงาน อื่นต่อก็คงยาวไปอีก พอท�าไปๆ ก็มีประชาชนคนธรรมดาที่ท�างานด้านนี้ อยูเ่ หมือนกัน คนตัวน้อยๆ ทีพ่ ยายามช่วยคนป่วยระยะท้าย ทีอ่ ยูต่ ามบ้านบ้าง หรือให้ทพี่ กั พิงคนป่วยหนักบ้าง เป็นสเกล เล็กๆ ท�างานด้วยใจล้วนๆ เลยนะ เขาขาดเครือข่าย ขาด know-how ติดต่อเข้ามา เราช่วยเขาให้ท�างานต่อได้ก็ช่วย อาจช่วยวางโครงสร้าง หาเครือข่ายอื่นๆ เข้าไปช่วยกัน เช่น บ้านปันรัก ที่สุราษฎร์ธานี เป็นที่พักที่พยาบาลเกษียณ คนหนึง่ ทีต่ วั เองก็เป็นมะเร็ง จัดให้คนป่วยมะเร็งจนๆ ทีเ่ ดินทาง จากหมู่บ้านไกลๆ มาพักฟรีระหว่างรับคีโมหรือฉายแสง ที่โรงพยาบาลประจ�าจังหวัด ปีนี้โรงพยาบาลจะเลิกส่งรถ มารับ-ส่งคนป่วย เราก็จะช่วย แต่ต้องด้วยวิธีการที่ยั่งยืน ทีมเราเดินทางไปศึกษาปัญหาเพื่อคิดโครงสร้างให้ดา� เนิน งานต่อได้ งานขยายออกไปอย่างเป็นธรรมชาติๆ เริ่มไม่กี่เดือน งานเข้าเพียบเลย แตกต่างหลากหลาย งานหลักของคือ การจัดอบรม เผยแพร่ความรู้ทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และไลน์ ปีหน้านี้ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ก็จะให้จัดเวิร์กช็อปให้ผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดทั้ง ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดตลอดปี แล้วก็ยงั มีผปู้ ว่ ยติดต่อ เข้ามาขอค�าปรึกษา ต้องสร้างทีมเพิม่ หาเงินบริจาค เชิญชวน บุคคล บริษัทห้างร้านมาร่วมหุ้น เรื่องถือหุ้นนี่ ชีวามิตรฯ จดบริคณห์สนธิไว้แล้วว่าจะไม่จา่ ยปันผล รายได้จะวนอยูใ่ น บริษทั เพือ่ การท�างาน เราจัดคอร์สอบรมด้วย เมือ่ ก่อนท�าฟรี มาตลอด ตอนนีเ้ ริม่ ขอคิดเงินบ้าง เพือ่ ให้ฟรีกบั กลุม่ พยาบาล กลุ่ม อสม. ผู้ป่วยและญาติที่ไม่สามารถจ่ายได้ มาเถอะค่ะ ชีวิตจะ ‘เต็ม’ ขึ้น ที่เราท�าได้ก็เพราะได้รับความร่วมมือจาก ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านต่างๆ และเครือข่ายพุทธิกาของพระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล แนวโน้มสังคมผูส ้ งู อายุทก ี่ า� ลังใกล้เข้ามา น่าเป็นห่วง หรือน่ากลัวขนาดไหน

น่ากลัว แต่ดที ที่ งั้ ภาครัฐภาคเอกชนตืน่ ตัว และเตรียมรับ ปัญหา ว่าคนทีม่ กี ารศึกษามีลกู กันน้อยลง คนแก่อายุยนื ขึน้ 90-100 นีเ่ พิม่ ขึน้ ๆ ร่างกายแข็งแรง แต่สมองไปก่อน อัลไซเมอร์ จ�านวนมากขึ้น สัดส่วนประชากรในวัยหนุ่มสาวที่เป็นพลัง ผลิตทางเศรษฐกิจลดลง เราต้องใช้แรงงานต่างด้าวมากขึ้น คุณภาพการศึกษาของเราต�่าจนจะเป็นที่โหล่ในภูมิภาค อยู่แล้ว มีผลต่อคุณภาพประชากร ถ้าค่าแรงเราสูงกว่า ประเทศเพื่อนบ้านแต่ทักษะต�่ากว่า แล้วจะไงล่ะ น่าห่วง แต่มัวแต่ห่วงไม่ได้ ต้องเน้นการศึกษาคนรุ่นใหม่พร้อมๆ ไปกับดูแลผู้สูงวัยให้เป็นภาระน้อยที่สุดกับคนวัยท�างาน

คนรุ ่ น คุ ณ และรุ ่ น น้ อ งคุ ณ ถ้ า มั ว มองแต่ วุ ่ น วาย กับความเก่ง ความสวย ความรวย ความสุขของตัวเอง โดยไม่เหลียวแลคนรุ่นเดียวกันที่ขาดโอกาส ตัวคุณเองก็จะ ล�าบากในทีส่ ดุ ต้องตืน่ ตัวแล้วว่า ส�าคัญสุดๆ คือการแบ่งปัน เพื่อสร้างโอกาสให้คนอื่น ให้คนรุ่นเดียวกับคุณดีขึ้นพร้อม กับตัวคุณ ป้าไม่ว่าหรอกนะถ้าคุณจะร�่ารวย มีเงินมีทอง มีรองเท้ากระเป๋าแพงๆ อวดกัน เงินคุณเงินพ่อแม่คุณ คุณใช้จ่ายยังไงก็ตามใจคุณเถอะ แต่กันเงินอีกส่วนไว้เพื่อ ช่วยพัฒนาคนร่วมรุ่นคุณด้วย ถ้าคิดแบบ ‘ช่างหัวเขา’ สักวันเขาก็อาจจะมาวิ่งราว กรีดกระเป๋าแพงๆ ของคุณ จะโทษแต่เขาหรือจะโทษตัวคุณและเพื่อนๆ คุณด้วยล่ะคะ Share Your WorLd ความตระหนั ก ว่ า เราต้ อ งแบ่ ง ปั น จิ ต ส� า นึ ก ที่ ดี ต่ อ คนอื่ น เราจะสร้ า งมั น ขึ้ น มาในใจคนรุ่ น ใหม่ ได้อย่างไร

ขึน้ อยูก่ บั พ่อแม่ โรงเรียน สิง่ แวดล้อม โอ้โฮ มันมีปจั จัย มากมายหลายอย่างมาก ป้ามิบงั อาจฟันธงได้หรอก แต่เคย ลองให้ เ ด็ ก ในมู ล นิ ธิที่ เ คยดู แ ลลองตั้ ง ใจออกไปหาสั ต ว์ หรือแมลงสักตัวที่เขาจะช่วยเหลือได้ เช่น แมลงปอที่ตกน�า้ หรือเอาเศษขนมชิน้ จิว๋ ๆ ไปวางให้มดกิน ขณะทีท่ �าน่ะให้ดใู จ ตัวเองว่ามันรู้สึกไง กลับมาตอบกันทุกคนแหละว่าเห็นว่า ใจมันสงบและเบิกบานดี ก็ชี้ให้เขาเห็นนะ ว่านี่ไง การให้น่ะ มันเป็นการรับไปในตัว

แล้ ว ตั ว ป้ า ศรี เ องล่ ะ จิ ต ส� า นึ ก แบบนี้ เ กิ ด ขึ้ น มา ได้อย่างไร

เออ... มันมาจากไหนล่ะ (คิดนาน) อาจจะมาจาก คุณพ่อนะ ป้าก�าพร้าแม่ตั้งแต่เล็ก ถึงแม้จะอยู่ในครอบครัว ที่มีฐานะ แต่ก็ไม่มีความสุขเลย เรียนหนังสือก็เลวมาก เพื่อนก็ไม่ค่อยมี เป็นเด็กแปลกๆ เมื่อสัก 66-67 ปีมาแล้ว คุณพ่อไปเปิดสาขาธุรกิจ ทีอ่ ดุ รธานี สมัยนัน้ อุดรฯ หน้าหนาวนัน้ หนาวจริงๆ ความสะดวก สบายอะไรก็ไม่มี เลี้ยงโต๊ะจีนอยู่กลางแจ้ง ตอนนั้นป้าสัก 11 ขวบได้ คุณพ่อให้ไปนั่งติดกับอาแป๊ะที่ขากเสลดสนั่น หวั่นไหว มิหน�าซ�้ายังบ้วนลงไปในถ้วยตรงหน้าเรา เขียวอื๋อ เลยนะ โอ๊ย ป้าลุกเดินไปหาคุณพ่อว่าไม่ไหวแล้ว ขอย้าย ที่นั่งมานั่งด้วยได้ไหม คุณพ่อว่า แขกทุกคนในที่นั้นเป็น ลูกค้า ต้องถือว่ามีบุญคุณกับเรา เขาอุตส่าห์มาร่วมงาน เราก็ต้องให้ความเคารพเขา สรุปว่า... กลับไปนั่งที่เดิม มีอีกครั้ง ไปหัวหินกัน ก็นั่งรถจี๊ปไป คุณเคยดูหนัง สมัยเก่าๆ ไหม ที่ผู้หญิงจะคลุมผมแบบนางเอก ปริศนา น่ะ เราเป็นเด็กก็ไม่ได้คลุมผม ฝุ่นลูกรังคลั่กแดงไปทั้งหัวเลย คุณพ่อชี้ตัวแย้ บอกว่าคนแถวนี้เขากินกันนะ พอเราร้องอี๊ ก็โดนเลย ‘คนเขากินของเขา มาอี๊ใส่ท�าไม’ ท่านสอนเรา ให้มองคนอื่นเท่าเทียมกัน ไปอยู่ที่อังกฤษตอนอายุ 12 ไม่ได้กลับบ้านเลยนะ กินอยู่แบบอัตคัดมาก เพราะสงครามโลกครั้งที่สองเพิ่ง เลิกได้ 6 ปี ยังต้องใช้คูปองปันส่วนอาหารกัน อาบน�้าร้อน ได้อาทิตย์ละหนเดียวต่อคน คุณพ่อสอนให้อดทนกับความล�าบาก ให้เห็นอกเห็นใจคนอื่น และให้กล้าหาญ กลัวอะไร ก็ให้ดซู วิ า่ มันน่ากลัวอย่างทีค่ ดิ ไหม เพราะความกล้านีแ่ หละ ที่ท�าให้เราใช้ชีวิตแบบลุยๆ ได้ ขึ้นเขาลงห้วยอยู่ป่าได้หมด ทุกวันนีป้ า้ ยังคิดถึงอาแป๊ะคนนัน้ เขาคงก�าลังป่วย น่าจะได้รบั การดูแล แต่ตอนนั้นเรากลับไปรังเกียจเขา เสลดเขียวๆ น่ะ ตัวเราเองไม่เคยมีเหรอ มองย้อนกลับไป สมัยสาวๆ ที่อยากสวย อยากเด่น อยากประสบความส�าเร็จ อยากให้ใครๆ รัก พบว่าเป็นช่วง ที่ทุกข์ที่สุด (หัวเราะ) จริงๆ นะ ช่วงที่คิดว่าตัวเองโดดเด่น แต่งตัวสวย อ่านบทกวีไพเราะ เฉลียวฉลาด และอะไร ต่อมิอะไรที่หลงตัว... ทุกข์ที่สุด ทุกข์เพราะจะ ‘เอา’ ป้าเอง ผ่ า นชี วิ ต แบบนั้ น มา จะมานิ น ทาคนสมั ย นี้ ไ ม่ ไ ด้ ห รอก (หัวเราะ) เอาพอดีๆ อย่าไปหลงความหล่อความเท่ความสวย มากจนลืมคุณภาพใจ ประสบการณ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ก็เหมือนกันตรงที่เรียนรู้ได้ ถ้าไม่เข้าข้างตัวเองจนมอง ไม่เห็นภาพรวม


Like The FLoWing river ท�าไมป้าศรียงั ดูแข็งแรงมาก เมือ ่ เทียบกับคนวัยเดียวกัน

ไม่รู้สิ อาจจะเพราะกินน้อย ถึงไม่ค่อยได้ออกก�าลังกาย แต่ก็เดินเร็วมาก เวลาพูดมือถือก็เดินวนๆ เร็วๆ จนคนที่มองอยู่ เวียนหัวกันเป็นแถว ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง หมอให้ยา ก็กิน ไม่กลัวยา กินวิตามิน อาหารเสริม ร่างกายก็แก่ของมันไป แต่ไหงไม่รู้สึกว่าใจมันแก่นะ ป้าชอบไปปฏิบัติธรรมเมื่อแวบไปได้ ไม่ เ ข้ า คอร์ ส ชอบไปอยู ่ วิ เ วกคนเดี ย วในธรรมชาติ เ ป็ น ระยะ เมื่ อ เร็ ว ๆ นี้ ก็ ไ ปอยู ่ บ นเขาหิ ม าลั ย ในภู ฏ าน ไปคนเดี ย วนะ อยู่บนนั้น 12 วัน ชอบจัง ส่วนในชีวิตประจ�าวัน ก็มีสติรู้กายรู้ใจ ตัวเองให้บ่อยที่สุด การรู้สึกตัวคือชีวิตนะ คนตายไม่มีการรู้แล้ว ไม่รู้ว่านี่มีผลทางสุขภาพไหม... ไม่รู้สิ... พักนี้ป้ากับลุงไปงานศพบ่อย ตามวัยไง ไม่ค่อยอยากไป งานแต่งงานแล้ว เรารูว้ า่ มันไม่แน่นอน หลายครัง้ ทีเ่ ราไปงานใหญ่ งานโต ใช้เงินหลายล้าน อีกไม่กี่ปีก็ได้ยินว่าหย่าร้างกันแล้ว โอเคนะ บ่าวสาวอยากฉลองความสมหวัง เราก็ยนิ ดีดว้ ย แต่แหม... อยากได้สักเสี้ยวของการจัดงานมาช่วยชีวิตคนที่ก�าลังเดือดร้อน ช่วยคนด้อยโอกาสให้มโี อกาส... คูบ่ า่ วสาวก็นา่ จะสุขใจ อีกไม่นาน หลานๆ ของป้าก็คงทยอยกันแต่งงานเหมือนกัน ไม่รวู้ า่ เขาจะจัดงาน ยังไง แค่ไหน แต่ขอให้สังเกตว่าความเกรงใจเข้ามามีส่วนเยอะ เหมือนกันนะ งานใหญ่ๆ จะได้ยนิ แขกบ่นรถติด หาทีจ่ อดรถไม่ได้ มาเพื่อให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวและครอบครัวเห็นหน้า ถ่ายรูป แต่งานศพเป็นคนละเรือ่ ง เมือ่ ก่อนป้าเคยพูดบ่อยๆ ว่าตายไป แล้วให้เผาเลย ไม่ต้องจัดงานศพ แต่พอมาถึงวันนี้ ป้าขอกลับค�า เพราะช่วงงานศพคือช่วงเวลาที่ผู้สูญเสียได้ปรับตัว ได้เห็นคนที่ เคยรักเคยชอบกันมาร่วมอาลัย มาร่วมกันฟังพระสวด ให้ได้มา เห็นหน้าเห็นตากัน เราได้เห็นคุณค่าของชีวิตที่เหลืออีกเท่าไหร่ ก็ไม่รู้ ป้าชอบนั่งท�าใจสงบระหว่างพระสวด เป็นโบนัส เอ๊ะ ตอบ ยืดยาวงี้ ตรงค�าถามของคุณเรือ่ งท�าไมยังแข็งแรงไหม อาจจะเกีย่ ว หรือไม่เกี่ยวก็ได้ (หัวเราะ)

ป้าคิดว่าชีวต ิ ทีผ ่ า่ นมามีคณ ุ ค่าหรือความหมายอย่างไร

คุณค่าสูงสุดคือได้พบพระพุทธธรรมในช่วงวิกฤตของชีวิต ช่วงที่ถึงจุดที่อาจจะหักเหลงลึกจนชีวิตแทบจะหมดคุณค่าและ ความหมาย ส�าหรับความหมายของชีวิตเห็นจะเป็นการได้เรียนรู้ ชีวิตได้ตอบแทนบุญคุณโลกใบนี้ที่ให้กินให้อยู่ให้ใช้ทรัพยากร ของเขามาเกือบ 80 ปีแล้ว ถ้าจะตายก็ร้สู กึ ว่าเราไม่ได้เป็นหนีโ้ ลก งานชีวามิตรฯ ทีท่ า� อยูข่ ณะนีก้ ค็ งเป็นการตอบแทนโลกด้วยกระมัง ส� า หรั บ เรื่ อ งอื่ น ๆ ในชี วิ ต ที่ ผ ่ า นมาก็ ไ ม่ ค ่ อ ยจดจ� า อะไรแล้ ว ความทรงจ�าก็แค่ความทรงจ�า พอตัวตายไปก็หายหมด (หัวเราะ) เอาแค่ปจั จุบนั วันนี้ ให้มสี ติทจี่ ะรูท้ นั ความรูส้ กึ นึกคิดของตัวเองได้ เห็นมันเกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป ไม่ไปเอาจริงเอาจังกับมันนัก ให้มี ปัญญารู้ว่า ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กัน เป็นเหตุปัจจัยต่อกัน เรากิ น อะไรมั น ก็ ม าเป็ น ส่ ว นของกายเรา เราเจตนาพู ด อะไร คิดอะไร ท�าอะไร มันก็กลายมาเป็นส่วนของใจเรา บางทีก็เห็นว่า ชีวติ ทีด่ า� เนินอยูน่ เี้ ป็นเหมือนสายน�า้ ทีไ่ หลผ่านดิน ผ่านหิน ผ่านทราย สายน�้านั้นจะค่อยๆ สะสมสิ่งต่างๆ ที่มันไหลผ่าน แม่นา�้ สายนีจ ้ ะไหลไปไหน

issue 514 27 NOV 2017

ในความนึกคิดป้าไม่ได้เห็นว่าชีวติ คนเป็นเหมือนแม่นา�้ ใหญ่โต แค่เป็นสายน�า้ เล็กๆ ที่ไหลเชี่ยวบ้าง เอื่อยบ้าง บางช่วงอาจจะมี หินก้อนใหญ่ขวาง ชนหินแล้วก็ต้องเลี้ยว ต้องเปลี่ยนทิศทาง มองว่าชีวิตคนไม่ใช่สายน�า้ ที่ไหลเรื่อยเปื่อย มันมีเจตนาก�ากับอยู่ เมือ่ ไหลไปเจอหินก้อนทีท่ ะลุทะลวงไม่ได้ ก็ตอ้ งเลือกว่าจะลดเลีย้ ว ไปทางไหน ทุกขณะจิตเรามีเจตนามีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา ป้าเห็นว่าเราก็ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของเรา จะเถียงว่า แต่ละ สายน�า้ ไหลไปเจอโน่นนีท่ แี่ ตกต่างกันนีน่ า... คงตอบว่า บางสายน�้า อาจไหลผ่านแต่ดินนุ่ม ไม่เจอหิน ไม่เจอกรวด แต่ในเส้นทางดิน ที่อ่อนนุ่มนั้นก็มีใบไม้ ลูกไม้หล่นลงมาทับถม จนกลายเป็นน�้า เน่าเหม็นเลยก็ได้ ถ้าเชื่อในการสะสมของเหตุปัจจัย เราก็สร้าง เหตุปัจจัยในปัจจุบนั ให้ดที สี่ ดุ สร้างด้วยเจตนา เจตนาทีป่ ระกอบ ด้วยสติและเมตตา ไม่ใช่อารมณ์ ถ้าสายน�า้ นั้นจะค่อยๆ ปล่อย สิง่ ปนเปือ้ นทีเ่ คยสะสมเจือปนไว้ออกไป ไม่รบั สิง่ ปนเปือ้ นเข้าใหม่ น�้าก็จะใสบริสุทธิ์ขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะไหลผ่านอะไร แต่ในที่สุดแล้ว ก็จะไหลถึงจุดที่มันหมดความเป็นสายน�้านั้นสายน�้านี้ลงหายไป ในบึงคลองหนองน�้าบ้าง ในทะเลบ้าง เหือดหายไปเองบ้างที่สุด เจ้าสายน�า้ ก็ต้องถึงจุดจบ จบอย่างไร ตรงไหน เมื่อไหร่ แตกต่าง

“มองย้อนกลับไป สมัยสาวๆ ที่อยากสวย อยากเด่น อยากประสบความส�าเร็จ อยากให้ใครๆ รัก พบว่าเป็นช่วงที่ทุกข์ ทีส ่ ด ุ (หัวเราะ) จริงๆ นะ ช่วงทีค ่ ด ิ ว่าตัวเองโดดเด่น แต่งตัวสวย อ่านบทกวีไพเราะ เฉลียวฉลาด และอะไรมิอะไรทีห ่ ลงตัว ทุกข์ที่สุด”

a day bulletin

16


issue 514 27 NOV 2017

“ทุกคืนก่อนเข้านอน ป้าบอกกู๊ดบายในใจว่า พรุ่งนี้จะไม่ได้เจอกันอีก พรุ่งนี้เราหรือเขาจะไม่ได้ตื่น ซ�้าๆ อย่างนี้ทุกคืน ให้ชน ิ ใจ ป้าท�างีก ้ บ ั ลูกแต่ละคนด้วย แรกๆ ก็ใจหายนะ พอท�าไปก็ชน ิ ฉะนัน ้ เวลาทีจ่ ะตายป้าจะไม่ตอ ้ งรอ ยุคนีเ้ ขาประมาณ อายุขัยไว้ที่เท่าไรนะ 75 ใช่ไหม ป้าเกินมา 3 ปีแล้ว เป็นโบนัส”

a day bulletin

18

17

กันออกไปตามเหตุตามปัจจัย... (หัวเราะ) พูดแบบ คนที่ท�างานเรื่องผู้ป่วยระยะท้ายก็อย่างงี้แหละ แต่ละครัง้ ทีไ่ หลมาเจอก้อนหินขวางทางอยู่ สายน�า้ นีจ ้ ะรูไ้ ด้อย่างไรว่ามันควรจะไหลไป ทางซ้ายหรือขวา ทางไหนคือทางทีถ ่ ก ู

ไม่รู้เสมอไปหรอก เอาแค่มองภาพรวม ให้รอบแล้วไหลไปทีละช่วง การตัดสินใจถูกหรือ ผิดน่ะไม่มีหรอก มีแต่ว่ามันจะเป็นประโยชน์สขุ หรือทุกข์ภยั กับตัวเองและหรือคนอืน่ ๆ มากน้อย แค่ไหน ในระยะสั้นหรือระยะยาว บ่อยครั้งมันจะ ซับซ้อนกว่านัน้ แต่มนุษย์เราต้องตัดสินใจตลอดเวลา ไม่ว่าจะตัดสินใจเองหรือตัดสินใจว่าให้คนอื่น ตัดสินใจ หรือตัดสินใจว่าจะไม่ตัดสินใจ แม้แต่ เจตนาว่าปล่อยมันไปเถอะก็ยังเป็นการตัดสินใจ เมื่อตัด สิน ใจไปแล้ว พบอะไรก็ต้ องตัดสินอีก มีโอกาสทีจ่ ะตัดสินใจได้อกี เมือ่ ถึงทางแยกข้างหน้า มีทางแยกอยู่ข้างหน้าตลอดเวลา มองให้เชิงบวก ก็จะเห็นว่า ชีวิตนี้ให้โอกาสตัดสินใจตลอดเวลา ตัดสินใจจะจ�านนหรือจะต่อสู้ ถึงในกรณีทภี่ ายนอก ท�าอะไรไม่ได้ ก็ยังมีทางเลือกว่าเราจะท�าใจกับ มันอย่างไร เราจะไปสอนใครให้เขาตัดสินใจแบบเดียว กับเราไม่ได้ ชีวติ แต่ละคนไม่เหมือนกัน เราบอก ไม่ได้ว่าทางไหนถูกที่สุดส�าหรับคนอื่น แต่สิ่งหนึ่ง ซึ่ ง มนุ ษ ย์ มี เ หมื อ นกั น คื อ ศั ก ยภาพที่ จ ะเรี ย นรู ้ ธรรมชาติภายในตัวเอง ที่จะพัฒนาคุณภาพจิต ของตัวเอง แล้วสายน�้ามันก็จะไหลตามช่องทาง ที่จะพามันไปตามธรรมชาติของมัน ถ้าคุณถอยใจมามองความรู้สึกนึกคิดของ ตัวเอง จะเห็นว่ามันโยงกันเหมือนเรือพ่วง แล้วก็ เปลี่ยนไปมาตลอดเวลา ทุกวินาที แม้กระทั่ง ในเรื่องเดียวกัน ร่างกายก็เข้ามาเกี่ยวด้วยนะ โกรธหรือตื่นเต้นก็หัวใจเต้นแรง เครียดก็น�้าย่อย ออกมากัดกระเพาะ แต่ละครัง ้ ทีส ่ ายน�า้ ชีวต ิ ของป้าไหลมาเจอ ก้อนหิน ป้าเลือกอย่างไร

(หัวเราะ) นีเ่ ป็นความโชคดีของคนแก่ เวลา เจออะไรมาขวาง อะไรมาขัด เราตั้งหลักซะก่อน คือคิดว่าเดี๋ยวก็ตายแล้ว เป็นมรณสติแบบหนึ่ง

มันท�าให้เราไม่หวั่นไหวมากนัก ช่วยให้ตั้งสติ หาทางที่ ดี ที่ สุ ด หรื อ ที่ เ ลวน้ อ ยสุ ด แล้ ว แต่ ก รณี อย่ า งว่ า แหละ มองภาพรวมแล้ ว ไปที ล ะก้ า ว และจะระวังที่จะไม่มองย้อนไปปรักปร�าตัวเอง หรือใครอื่น ให้เสียเวลาชีวิตที่เหลืออยู่น้อยนิด ชีวต ิ คูป ่ า้ เป็นอย่างไรในวัยนี้

ป้ามีคชู่ วี ติ ทีเ่ ยีย่ มยอด อยูด่ ว้ ยกันมา 20 ปี พอดี แต่งงานกันตอนเขาอายุ 55 ป้า 57 ตอนทีเ่ ป็น ม่ายทั้งคู่ เข้าใจกันดีทั้งความเหมือนความต่าง ยกความดีสว่ นหนึง่ ให้ความแก่ เรียนรูช้ วี ติ มาเยอะ ทัง้ คู่ ยิง่ เวลางวดลงๆ ก็อยูด่ ว้ ยกันดีขนึ้ ๆ เราสองคน แอ็กทีฟพอๆ กัน ลุง (ดอกเตอร์ชงิ ชัย หาญเจนลักษณ์) เขาท�างานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านการบริหาร ด้านวิชาการ ฯลฯ ทีเ่ ขาชอบและ ถนัด แล้วก็ปล่อยให้ปา้ ได้ทา� งานอย่างทีป่ า้ อยากท�า ไม่ได้คาดหวังว่าต้องมาอยูบ่ า้ น ท�างานบ้าน ดูแลเขา หรืออะไรแบบนั้น เขาพอรู้เรื่องงานเรา เราก็พอรู้ เรื่องงานเขา พอช่วยกันได้บ้าง แต่ไม่ยุ่งถ้าไม่ขอ ชีวามิตรฯ ท�าโครงการผ้าอ้อมให้ผปู้ ว่ ยระยะสุดท้าย ที่ โ รงพยาบาลนครพิ ง ค์ เขาก็ ช ่ ว ยบอกต่ อ ให้ ช่วงนีเ้ ราแบ่งกันไปงานศพกันแบบบ้าคลัง่ (หัวเราะ) เขาไปศพหนึ่ง ป้าไปอีกศพหนึ่ง เมื่อวานยัง เอ๊ะ อาทิตย์ที่แล้วเราแยกกันไปงานศพคนโน้นคนนี้ ตลอดอาทิตย์เลยนะ (หัวเราะ) เราเป็นคู่ที่ไม่ต้อง จูงมือกันตลอดเวลา ใครมีงานอะไรก็ไปท�าซะ แต่เดินทางด้วยกันเยอะนะ ทั้งงาน ทั้งเที่ยว ไป กันสองคนเป็นส่วนใหญ่ เป็นสุขด้วยกัน เมือ่ ถึงเวลา ต้องจากก็จากกัน แค่นั้นเอง

ถ้าถึงเวลานัน ้ จริงๆ ป้าจะเศร้าไหม

ไม่รู้นะ คงมีบ้าง อะไรมันก็ไม่แน่ทั้งนั้น รวมทัง้ ใจเรา แต่ปา้ เตรียมมานานแล้ว ทุกคืนก่อน เข้านอน ป้าบอกกู๊ดบายในใจว่า พรุ่งนี้จะไม่ได้ เจอกันอีก พรุ่งนี้เราหรือเขาจะไม่ได้ตื่น ซ�้าๆ อย่างนีท้ กุ คืนให้ชนิ ใจ ป้าท�างีก้ บั ลูกแต่ละคนด้วย แรกๆ ก็ใจหายนะ พอท�าไปก็ชิน ฉะนั้น เวลาที่ จะตายป้าจะไม่ต้องรอ ยุคนี้เขาประมาณอายุขัย ไว้ที่เท่าไหร่นะ 75 ใช่ไหม ป้าเกินมา 3 ปีแล้ว เป็นโบนัส ครั้งหนึ่งผู้เข้าร่วมเป็นนักธุรกิจที่ประสบ

ความส�าเร็จสองคนพี่น้อง เป็นนักบริหารชั้นยอด เฉลียวฉลาด หลักการดี อายุสัก 40 ปลายๆ เป็น ช่วงวัยทีเ่ ต็มไปด้วยความมัน่ ใจ เขาเก่งเทคโนโลยี ด้วย ในวันท้ายๆ ผู้เข้าอบรมต้องแยกกันไปรับ ดูแลคนไข้ระยะท้ายในโรงพยาบาลกันคนละ 1 ชัว่ โมง เต็มๆ คนไข้ที่สองคนนี้ต้องไปดูแลเป็นเด็กวัย 3 กับ 5 ขวบ มีประวัตชิ อบเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ตอนที่ เ ข้ า ไปนั ก บริ ห ารธุ ร กิ จ สองคนนี้ ยิ้ ม ย่ อ ง มั่นใจว่าจะดูแลได้ดแี น่ ทีไ่ หนได้ ชัว่ โมงผ่านไป เขากลับออกมาอึ้งไปเลย พูดจาไม่ออก เด็กสอง คนนีจ้ มน�า้ ไม่รตู้ วั มาหลายวัน หมอยือ้ ไว้เพือ่ ปูย่ า่ ตายายที่ยังยอมรับไม่ได้ คนเก่งทั้งสองของเรา ท�าอะไรไม่ได้เลย ได้แต่เข้าไปนั่งเฉยๆ มองดูเด็ก ทั้งคู่ที่มีเครื่องช่วยชีวิตต่างๆ ห้อยระโยงระยาง โดยมีคนแก่สามคนนัง่ เฝ้า เรียกชือ่ เขย่าตัวหลาน เป็นระยะด้วยความหวังว่าจะฟืน้ เย็นนัน้ นักธุรกิจ ทั้งสองเล่าถึงความรู้สึก helplessness เขาไม่เคย อยูใ่ นสภาวะทีท่ า� อะไรไม่ได้เลยจริงๆ อย่างนีม้ าก่อน ฉากความตายฉากนี้คงมีผลกับมุมมองของเขา ต่อชีวิตอย่างแน่นอน ป้าน่ะยังสนุกกับเรือ่ งราวหลากหลาย ไม่ใช่วา่ พิจารณาความตายแล้วจะต้องหันหลังให้กบั ชีวติ เพียงแต่ยอมรับด้วยใจว่า เกิดกับตายเป็นต้นกับ ปลายของสายธารชีวติ ... เกิดกับตายเป็นโน้ตแรก กับโน้ตสุดท้ายของเพลงชีวติ เขาเป็นของคูท่ แี่ ยก จากกันไม่ได้


a day bulletin

A MUST

20

BOOK

ปฐมบทแห่งสยาม-ไทย ณ ห้วงเวลา : Siam Thai Between Times แต่งโดย ณัฐสุดา จันทระ และคณะ ซึง่ ผลงานของช่างภาพหญิงคนนีเ้ คยเป็นปกของ a day BULLETIN มาแล้วในฉบับที่ 507 โดยเป็นภาพทีเ่ ธอได้บน ั ทึกประวัตศ ิ าสตร์ และห้วงอารมณ์หลังการสูญเสียครัง้ ยิง่ ใหญ่ชว่ งเดือนตุลาคมปีผา่ นมา ซึง่ รูปนัน ้ ก็อยูใ่ นหนังสือเล่มนีแ้ บบสีส ่ ด ี ว้ ยเช่นกัน

siaM Thai beTween TiMes ปฐมบทแห่งสยาม-ไทย ณ ห้วงเวลา Siam Thai Between Times หนังสือภาพเล่มหนาทีร่ วมรูปภาพจาก 7 ช่างภาพ น�าเสนออัตลักษณ์ แห่งสยามผ่านมุมมองของตัวเองที่มีต่อสิ่งต่างๆ อย่างงานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ความเชื่อ งานช่างแขนงต่างๆ ไปจนถึงวัฒนธรรม ประเพณี วิถชี วี ติ ยุคสมัย เทคโนโลยี ซึง่ ทัง้ หมดนัน้ ค่อยๆ หล่อหลอม ให้เมืองสยามกลายเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ 7 ช่างภาพที่มารวมตัวในครั้งนี้ ได้แก่ เกรียงไกร ไวยกิจ, อัครินทร์ อัศววารินทร์, ชฎาธาร ฉายปุริยานนท์, กัมพล คุ้มวงษ์, ชัชวาล ดาจันทร์, พญ. วรรธนี อภิวัฒนเสวี และ ณัฐสุดา จันทระ โดยในเล่มจะแบ่งหมวดหมู่ของรูปภาพและจัดวางภาพถ่ายของ ช่างภาพแต่ละคนไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน ก่อนห้วงเวลา (Siam from Time Immemorial) คือบทแรก ของหนังสือเล่มนี้ ข้างในเป็นการรวมภาพถ่ายจากสถานที่ก่อน ประวั ติ ศ าสตร์ ข องประเทศไทย อย่ า งภาพเขี ย นสี โ บราณยุ ค ก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดล�าปาง ผสมผสานเอกภาพแห่งชาติ (Unity) ภาพของศาสนาต่างๆ ในบ้านเราทีอ่ ยูร่ ว่ มกันได้อย่างสวยงาม ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมเฉพาะตัว เต็มไปด้วยมนต์ขลังและความสงบระดับเข้าถึงจิตวิญญาณ ปัจจุบัน และวันข้างหน้า (The Present and the Future) ชีวิตต้องก้าวต่อไป ภาพถ่ายในหมวดนี้พาเราไปดูการเกิดขึ้นและ ก้าวต่อไปของประเทศไทยที่เคลื่อนตัวไปข้างหน้าผ่านเทคโนโลยี ศิลปะ ในเมืองหลวงของประเทศไทยที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา ปฐมบทแห่งสยาม-ไทย ณ ห้วงเวลา Siam Thai Between Times ส�านักพิมพ์สยาม-ไทย ณ ห้วงกาล จ�านวน 270 หน้า ราคา 3,500 บาท สั่งซื้อหรือติดตามเรื่องเล่าจากหนังสือเล่มนี้เพิ่มเติมได้ที่ www. facebook.com/SiamThaiBetweenTimes

MOVIE Justice League

หนังรวมพลซูเปอร์ฮโี ร่สง่ ท้ายปี ทีแ่ ฟนๆ ทัว่ โลกตัง้ ตารอ และคาดหวัง ไว้สงู โดยครัง้ นีจ้ ะเป็นการแนะน�าทีม Justice League ทีเ่ ป็นเหมือนเสาหลัก ของความปลอดภัยของโลกที่คอย ต่อสูก้ บั ศัตรูทที่ รงพลังเกินกว่ามนุษย์ ทั่วไปจะรับมือไหว โดยครั้งนี้เหล่า ซูเปอร์ฮโี ร่อย่างแบตแมน วันเดอร์วูแมน อควาแมน เดอะแฟลช และ ไซบอร์ก ต้องช่วยกันปกป้องโลกจาก กองทัพของศัตรูทที่ รงพลัง พร้อมกับ กูศ้ รัทธาของทุกคนกลับมาหลังการจากไปของซูเปอร์แมน และตอนนี้ เสียงวิจารณ์ของ Justice League หลายคนที่ได้ดูก็บอกว่าเป็นหนัง ทีส่ ร้างตัวละครออกมาได้สนุก และ น่าจดจ�าเป็นอย่างมาก

EVENT

NooJo art aNd Farm FestivaL

PRODUCT issue 514

MahaasaMud - Leather PassPort hoLder

27 NOV 2017

สมุดพาสปอร์ตท�ามือท�าจากหนังวัวไทยฟอกฟาด หรือการฟอกด้วยกรดเกลือกับสีของเปลือกไม้ ธรรมชาติ จากแบรนด์ Mahaasamud (อยู่ที่จังหวัดนครพรม) ภายในสมุดเน้นฟังก์ชันใช้งานง่าย สะดวกต่อ การหยิบเข้าออก อย่างช่องใส่บตั รเครดิต บัตรประชาชน ช่องใส่บอร์ดดิง้ พาส และช่องใส่พาสปอร์ต หรือสมุด เล่มเล็กไซซ์ A6 ท�าให้เอกสารส�าคัญอยู่ครบในสมุดเล่มนี้ใบเดียว ราคา 1,100 บาท สั่งซื้อหรือดูรายละเอียด เพิ่มเติม www.facebook.com/mahaasamudhandcraft

ตลาดนัดเล็กๆ บ้านๆ ใน บรรยากาศของการซื้อขายอย่าง มีมิตรจิตมิตรใจ กลิ่นอายชุมชน ตลาดนัดแคมปิ้งที่ไม่ใช่แค่ค้าขาย อย่างเดียว แต่จัดขึ้นเพื่อให้เกิด สายใยเล็กๆ เชื่อมโยงระหว่างคน ท�างานแฮนด์เมดและคนที่ชื่นชอบ งานท�ามือได้มาเจอกันตลอด 4 วัน ระหว่างวันที่ 25-28 มกราคม 2561 ณ หนูโจ อาร์ต แอนด์ ฟาร์ม ต�าบล แพรกหนามแดง สุ ด เขตอ� า เภอ อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บอก ไว้แต่เนิ่นๆ เผื่อเหล่าแม่ค้าจะได้ เตรียมตัวทัน หรือผูช้ มงานก็จะได้บกุ๊ วันเที่ยวกันแต่เนิ่นๆ เพราะงานนี้ เข้าฟรี รายละเอียดเพิม่ เติม www. facebook.com/NooJo-Art-and-Farm

C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K


21 01

1. CONCERT

02

2. COLLECTION

erdeM X h&M nangLen Music ดี ไ ซเนอร์ ชื่ อ ดั ง Erdem fesTivaL 3 เทศกาลดนตรี สุ ด ชิ ล Moralioglu เจ้าของแบรนด์ Erdem ที่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ให้คุณ มาร่ ว มงานสร้ า งคอลเล็ ก ชั น ออกไปสู ด อากาศบริ สุ ท ธิ์ แ ละ สุดพิเศษร่วมกับ H&M เกิดเป็น รับลมหนาวทีด่ ิ โอเชียน เขาใหญ่ ไอเทมชิ้นส�าคัญที่บรรดาแฟนๆ ในวันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2561 ของทั้งสองแบรนด์พลาดไม่ได้ พร้อมกับไลน์อัพศิลปินสุดฮอต ด้วยดีไซน์ที่ให้กลิ่นอายชนบท ครบทุกแนวเพลง ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ ราวกับว่าเสือ้ ผ้าเหล่านัน้ ปาล์มมี,่ โจอี้ บอย, ออฟ ปองศักดิ,์ เป็ น มรดกตกทอดจากรุ ่ น สู ่ รุ ่ น เป๊ก ผลิตโชค, เบน ชลาทิศ, อย่างชุดกระโปรงยาวแบบไม่มี สี่ โ พด� า , เบล สุ พ ล และอี ก แขนส� า หรั บ งานกลางคื น ลาย มากมาย จ�าหน่ายบัตร Early Bird เกล็ดหิมะที่ท�าจากผ้าแจ็กการ์ด ในราคาเพียง 1,000 บาท (จากปกติ ทีง่ ดงามฟูฟอ่ งยาวระพืน้ และมีชว่ ง 2,000 บาท) วันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ คอเว้าลึก สายทีไ่ หล่เป็นผ้าริบบิน้ ทีเ่ คาน์เตอร์เซอร์วสิ ออลล์ ทิกเก็ต ลูกฟูกสองเส้นคู่ และอีกหลายชุด ใน 7-Eleven ทุ ก สาขา หรื อ ให้เลือกเก็บเป็นหนึง่ ในคอลเล็กชัน ad K-Village adB514.pdf 1 20/11/2560 12:54:19 www.allticket.com ของปีนี้

03

04

05

3. BEaUTY

4. PLaCE

5. GadGET

urban decay - naked skin shapeshifTer เรี ย กได้ ว ่ า เป็ น พาเล็ ต ต์ คอนทัวร์และไฮไลต์ทกี่ า� ลังฮิตสุดๆ ในหมู ่ บิ ว ตี้ บ ล็ อ กเกอร์ ข ณะนี้ ส�าหรับ Naked Skin Shapeshifter ผลิตภัณฑ์ชนิ้ ใหม่ของ Urban Decay มีให้เลือก 2 เฉดสีคอื Light Medium และ Medium Dark ภายในประกอบ ด้วยผลิตภัณฑ์เนือ้ ครีม 5 สี และ เนือ้ ฝุน่ 4 สี กัน้ ด้วยกระจกเงา 2 ด้าน ท�าให้สะดวกต่อการใช้งาน ทัง้ ยัง ให้เม็ดสีเด่นชัด เกลี่ยง่าย ติดทน นานตลอดวันอีกด้วย เป็นเจ้าของ ได้ในราคา 1,950 บาท ที่ร้าน Sephora และเคาน์เตอร์ Urban Decay ทุกสาขา

ecoTopia, siaM discovery หากใครไปเดินเล่นบริเวณ ชัน้ 4 สยามดิสคัฟเวอรี ก็คงตืน่ ตา ตื่นใจไม่น้อยกับ Ecotopia โซน น�าเสนอสินค้าเพือ่ สุขภาพและเป็น มิตรกับสิง่ แวดล้อมทีย่ งิ่ ใหญ่ทสี่ ดุ ในเอเชีย โดยมีสนิ ค้าทีท่ งั้ ดีตอ่ ใจ และดีต่อโลกกว่า 100 แบรนด์ 3,000 กว่ารายการ ให้ได้เลือกซือ้ กันอย่างจุใจ ทัง้ ยังเป็นคอมมูนติ ี้ ของคนทีใ่ ส่ใจสิง่ แวดล้อม มีการจัด กิจกรรมเวิร์กช็อปสไตล์อีโคทุก สุดสัปดาห์ตลอดเดือนพฤศจิกายน ถึงธันวาคม 2560 ติดตามความเคลือ่ นไหวได้ที่ www.siamdiscovery. co.th/explore/Ecotopia

XperiaTM XZ preMiuM : rosso LiMiTed ediTion สมาร์ตโฟนจากโซนี่ มาพร้อม สีใหม่ Rosso ทีห่ รูหราและร้อนแรง ไม่ต่างกับประสิทธิภาพของเครื่อง ใช้ระบบปฏิบตั กิ ารแอนดรอยด์ 8.0 Oreo รุ่นใหม่ล่าสุด จอทัชสกรีน แสดงผลระดับ 4K ทีค่ มชัด และ กล้องถ่ายรูปทีส่ ามารถรัวภาพต่อเนือ่ ง อย่างคมชัดถึง 100 ภาพ เพราะระบบ กันสั่น 5 แกน มีจ�าหน่ายเพียง 100 เครื่องในประเทศไทยเท่านั้น วางจ�าหน่ายที่โซนี่สโตร์ และศูนย์ ผูแ้ ทนจ�าหน่ายทัว่ ประเทศ (เฉพาะ สาขาทีร่ ว่ มรายการ) รายละเอียด เพิม่ เติม www.sony.co.th


เรื่อง : กมลวรรณ ส่งสมบูรณ์ ภาพ : กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร

22

20 12

a day bulletin

ConneCting the Dots

20 17

issue 514 27 NOV 2017

Profile : แบรนด์ O&B หรือ Other&Book เริ่มต้นขึ้นครั้งในปี 2012 จากฝีมือและความมุ่งมั่นของ ‘ต้า’- รรินทร์ ทองมา โปรดักต์ดีไซเนอร์ผู้หันมาสร้าง ธุรกิจออนไลน์ชอ ้ ปปิง ้ ทีเ่ ธอใฝ่ฝน ั ใน 5 ปีทผ ี่ า่ นมา O&B ได้ผา่ นการล้มลุกคลุกคลาน ฝ่าฝันอุปสรรคต่างๆ มากมาย แต่ดว้ ยความเชือ ่ และความอดทนของต้า ท�าให้แบรนด์ประสบความส�าเร็จอย่างสวยงาม จนวันนี้ O&B เติบโตขึ้นเป็นแบรนด์ออนไลน์ระดับแนวหน้า ที่นอกจากจะท�ารายได้กว่า 100 ล้าน ยังครองใจ กลุ่มลูกค้าผู้หญิงท�างานทั่วเมืองไทย


23

O&B เหมือนกับที่ มาริลิน มอนโร เคยพูดไว้ว่า ‘หากหญิงสาวได้เจอรองเท้าคู่ที่ใช่ เธอจะ สามารถพิชต ิ โลกทัง้ ใบได้เลย’ การค้นพบตัวตน (และรองเท้า) แบบทีใ่ ช่ ก็ได้จด ุ ประกาย ให้ O&B เติบโตขึ้นเป็นแบรนด์เครื่องหนัง ที่ก�าลังก้าวน�าตลาดอย่างเต็มภาคภูมิ และ แม้ว่าเจ้าของแบรนด์คนเก่งอย่าง ‘ต้า’ - รรินทร์ ทองมา จะต้องลองผิดลองถูก ไปบ้างกว่าจะเจอเส้นทางและรองเท้าคูใ่ จ แต่ทก ุ ก้าวบนโลกธุรกิจออนไลน์ของเธอนัน ้ น่าตื่นเต้น แถมยังท�าเงินเป็นหลักร้อยล้านอีกด้วย!!

ท�าสิ่งที่ น่าเสียดาย

เงิ น ก้ อ น สุ ด ท้ า ย

เริม ่ ก่อน ได้เปรียบ

ของใช้ ใ กล้ ตั ว

เราคงเป็นเหมือนเด็ก เจนวายคนอืน่ ๆ ทีอ่ ยาก มีธรุ กิจส่วนตัวมากกว่า ท�างานในองค์กรใหญ่ๆ อยากท� า สิ่ ง ที่ ส นใจ มากกว่าจะแคร์ตวั เงิน แต่ พ อเรี ย นจบด้ า น ออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ จากศิลปากร ก็เริม่ จาก การท�างานประจ�าด้าน Visual Merchandising ให้แบรนด์แฟชัน่ จนเรา อ่ า นหนั ง สื อ แล้ ว เจอ ประโยคหนึ่ ง ถามว่ า ‘ในอีก 50 ปีขา้ งหน้า เราจะเสี ย ดายหาก ไม่ ไ ด้ ท� า อะไรมาก ที่สุด?’ อ่านจบแล้วก็ ไฟลุ ก เลย (หั ว เราะ) เห็นภาพว่าเราว่าอยาก มี แ บรนด์ แ ฟชั่ น ของ ตั ว เอง เลยเลื อ กไป เรียนต่อมาร์เกตติง้

พอเรียนจบ ป.โท กลับ มาก็อโี ก้สงู มากไปด้วย เราเริ่มท�าธุรกิจเสื้อผ้า เด็กโดยที่ไม่รู้เรื่องเลย ลู ก ไม่ มี แฟนก็ ไ ม่ มี แค่เรียนมาเลยคิดว่า เข้ า ใจทุ ก อย่ า ง จน สุ ด ท้ า ยก็ เ จ๊ ง มั น ทั้ ง เฟลและกดดัน ที่บ้าน ก็เริ่มตั้งค�าถามว่าท�า อะไรอยู่ เราเหลือเงิน ก้อนสุดท้าย 9 หมื่น บาท ตัดสินใจเอามาท�า O&B ซึ่ ง ตอนนั้ น ถ้ า ไม่รอดก็ไม่รู้ว่าเป็นไง ต่อเหมือนกันนะ จาก ตรงนี้เราเลยได้สติขึ้น ความมั่นใจที่มีเยอะๆ ก็หายไปหมด กลายเป็น คนที่ เ ปิ ด กว้ า งรั บ ฟั ง คนอื่น เพราะรู้ตัวดีว่า เงิ น น้ อ ย เลยต้ อ งใช้ สมองให้มาก

เราเริ่มท�าเองทุกอย่าง ตั้ ง แต่ รั บ ออร์ เ ดอร์ ท�ากราฟิก ท�าเว็บไซต์ สไตลิง เขียนแบบ ดีล กับโรงงาน จนถึงแพ็ก ของส่งลูกค้า 5 ปีทแี่ ล้ว ธุรกิจออนไลน์ยังไม่มี อะไรเลย Zalora เพิ่ง เข้า Lazada ก็ยังไม่มี ใครรู ้ จั ก ทุ ก คนมอง การขายออนไลน์เป็น ทีข่ องมือสมัครเล่น แต่ เทรนด์ของโลกมันเป็น อย่างนี้ เมืองไทยแค่ ยั ง ใหม่ เ ลยไม่ มี ใ คร เห็นค่า ก็เลยเท่ากับว่า ใครเริ่ ม ก่ อ น คนนั้ น ได้เปรียบเลย

เราลองหาว่ามีอะไรที่ ตัวเองชอบและคุน้ เคย มากที่สุด แล้วก็พบว่า เป็นพวกกระเป๋า รองเท้านี่แหละ จากที่ เ รี ย น ม า ท� า ง า น ประจ� า ก็ ไ ด้ จั ด ร้ า น กระเป๋าทุกวันอยู่ 3 ปี แล้ ว ก็ ไ ปเรี ย นต่ อ ที่ อิตาลีอีก ท�าไมตอน เรี ย นจบใหม่ ๆ กลั บ ไม่เคยคิดถึงข้อนี้ไม่รู้ เราเลยเริ่ ม จากท� า กระเป๋าก่อน ขายมา เรื่ อ ยๆ จนมาเจอ รองเท้ า รุ ่ น ออเดรย์ รองเท้ า ทรงบั ล เลต์ 50 สี ที่เป็นตัวท�าเงิน ของแบรนด์ ตลกดี ที่สุดท้ายมันกลับเป็น อะไรที่ ใ กล้ ตั ว มากๆ เพราะมันเป็นรองเท้า ทีใ่ ส่มาตัง้ แต่สมัยเรียน

ยอดขาย 4 แสน, ก� า ไร 4 พั น

อย่ า ใช้ เ งิ น แก้ ปั ญ หา

เข้ า ใจตั ว เอง เข้ า ใจลู ก ค้ า

เติ บ โต จากปั ญ หา

ภายนอกทุ ก อย่ า งดู สวยหรูดี ปีแรกยอดขายประมาน 3-4 แสน ต่อเดือนเลยนะ เยอะ มาก จนท�าให้เราได้ กลั บ มาเจอบทเรี ย น ใหม่อกี รอบ ด้วยความ ที่ไม่ชอบบัญชี ก็เลย ไม่ได้สนใจมัน เราไม่ เคยวางแผนซื้อสต๊อก ไม่เคยกันเงินหมุนไว้ ใช้เลย จนครบปีแรก เพื่อนเดินมาบอกว่ามี ข่ า วดี กั บ ข่ า วร้ า ย ข่าวดีคอื ปีนมี้ กี า� ไร แต่ ข่าวร้ายคือก�าไร 4 พัน กลายเป็นว่าที่ท�างาน หนักมาทั้งปี ได้ก�าไร ตกวันละ 10 กว่าบาท

วันนัน้ เลยเป็นจุดเปลีย่ น ครั้ง ส� า คัญ ให้ เ ราเริ่ม วางแผนการเงิน และ ศึกษาเรื่องบัญชีที่เรา ปฏิเสธมาตลอด เหมือน ได้ยกเครือ่ งตัวเองใหม่ หมด แล้วก็ได้เข้าใจ จริงๆ ว่า การจะเป็น เจ้ า ของกิ จ การให้ ดี ไม่มคี า� ว่า ส่วนนีท้ า� ไม่ได้ ถ้ า ตอนรั บ เงิ น คุ ณ รับหมด ตอนท�าก็ตอ้ ง รูห้ มดเหมือนกัน นีเ่ ป็น กั บ ดั ก ความส� า เร็ จ ของคนมี เ งิ น เลยนะ ตรงไหนทีท่ า� ไม่ได้ เราก็ ต้องไปเรียนรู้ ไม่ใช่แค่ จ้างคนอืน่ ท�าแล้วจบไป เราใช้ เ งิ น แก้ ป ั ญ หา ตลอดไม่ได้

พอเข้าใจแบรนด์ ตั ว เองชั ด เจนแล้ ว ก็ ท�าให้เข้าใจลูกค้าไป ด้ ว ย เราไม่ ไ ด้ รู ้ ไ ป ทุกอย่างหรอกนะ แต่ เรารู้จักความต้องการ ของลู ก ค้ า เราเป็ น อย่างดี นี่คือจุดแข็ง ของคน O&B มองว่า ลู ก ค้ า ของเราเป็ น ผูห้ ญิงไทยวัยท�างานที่ ฉลาดเลือก พวกเขามี ความรู ้ แ ละศึ ก ษา ข้ อ มู ล เพื่ อ เลื อ กหา สิ่ ง ที่ ใ ช่ ในราคาที่ เ ห ม า ะ ส ม ที่ สุ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ทุ ก ชิ้ น จึ ง ผ่ า นการคิ ด มาเพื่ อ ตอบโจทย์เหล่านี้

สุดท้ายมันย้อนมาจุด เริ่มต้นที่ให้ท�าอะไรที่ เรารัก แหละ ธุร กิจก็ เหมื อ นการแต่ ง งาน มีสุขมีทุกข์ มีปัญหา ให้ ต ้ อ งแก้ อ ยู ่ ทุ ก วั น แต่ถ้ารักกันจริง ใจมัน จะสู ้ น ะ ก็ เ ลยผ่ า น มาได้ ชอบมีคนถาม เ ร า ว ่ า ท� า ยั ง ไ ง ใ ห ้ ประสบความส� า เร็ จ เราบอกได้เลยว่าเป็น เพราะความอึด อย่า ยอมแพ้เวลาทีต่ อ้ งเจอ กับปัญหา เพราะเรา จะได้เติบโตขึน้ ทุกครัง้ ที่ เ ผชิ ญ หน้ า กั บ มั น

C

Y

CM

MY

CY

CMY

K

ST RIP A D

M


a day bulletin

24

Bulletin Board

อัพเดตแวดวงข่าวสังคมที่น่าสนใจในรอบสัปดาห์ โนเบิลฯ รุกตลาดคอนโดมิเนียมโลว์ไรส์ ยึดท�าเลทองเอกมัย เปิดตัว Noble Ambience Sukhumvit 42 บริษทั โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จ�ากัด (มหาชน) ผูน้ า� ตลาดคอนโดมิเนียมติดรถไฟฟ้า เปิดตัวคอนโดมิเนียม โนเบิล แอมเบียนส์ สุขมุ วิท 42 อาคารชุดพักอาศัยสูง 8 ชัน้ 2 อาคาร จ�านวน 259 ยูนติ ขนาดพืน้ ทีโ่ ครงการ 2 ไร่ โดดเด่นด้วยตัวสถาปัตยกรรมสไตล์โนเบิล ทัง้ เปิด รับสัมผัสของธรรมชาติและจัดวางให้มคี วามเป็นส่วนตัว พร้อมแนวคิด Welcome Home to Serene Simplicity ถอดสีสันสู่ชีวิตเรียบง่าย ผ่านห้องชุดพร้อมตกแต่ง ในราคาเริ่มต้นเพียง 3.59 ล้านบาท พร้อมสิ่งอ�านวย ความสะดวกครบครัน และเทคโนโลยีทที่ นั สมัยเพือ่ ดูแล ความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง เปิดจองและเข้าชม ห้องตัวอย่าง ณ ส�านักงานขาย รายละเอียดเพิม่ เติม โทร. 0-2251-9955 หรือ www.noblehome.com

พฤกษาคว้า 2 รางวัล เกียรติยศ SET Sustainability Awards 2017 และ Thailand Sustainability Investment 2017

issue 514 27 NOV 2017

ปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร กลุม่ ธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท และ คมกริ ช นงค์ ส วั ส ดิ์ รั ก ษาการ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงาน การตลาดองค์กรกลุ่มบริษัท พฤกษา โฮลดิง้ จ�ากัด (มหาชน) เป็นผูแ้ ทนรับมอบ รางวัล SET Sustainability Awards 2017 ประเภท Rising Star และรางวัล Thailand Sustainability Investment จาก SET ต่อเนือ่ ง เป็นปีที่ 2 โดยทัง้ สองรางวัลเป็นเครือ่ งการันตีวา่ พฤกษาคือผูน้ า� อสังหาริมทรัพย์ ด�าเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่าง ยั่ ง ยื น ได้ อ ย่ า งโดดเด่ น ควบคู ่ ไ ปกั บ การสร้างคุณค่าร่วมกับสังคมอย่างต่อเนือ่ ง

เทรซ จิวเวลรี่ จับมือ สยามพารากอน จัดเอ็กซ์คลูซีฟเวิร์กช็อป สัมผัสเสน่ห์อัญมณีล�้าค่า

เพอร์เฟค-แกรนด์ แอสเสทฯ ร่วมทุนซูมิโตโม ฟอเรสทรี ประเทศญี่ปุ่น พัฒนา คอนโดระดับไฮเอนด์

เทรซ จิวเวลรี่ ร้านอัญมณีและ เครื่องประดับชั้นน�า จับมือศูนย์การค้า สยามพารากอน จัดงาน Sparkling Life & Colorful Gemstones เชิญลูกค้าซูเปอร์ วี ไ อ พี แ ล ะ ส ม า ชิ ก บั ต ร แ พ ล ติ นั ม เอ็ม การ์ด สยามพารากอน ร่วมสัมผัส ประสบการณ์ ค วามสุ ข สุ ด พิ เ ศษกั บ อั ญ มณี แ ละเพชรน�้ า งามหลากชนิ ด พร้ อ มจั ด เอ็ ก ซ์ ค ลู ซี ฟ เวิ ร ์ ก ช็ อ ปเผย เคล็ ด ลั บ การเลื อ กอั ญ มณี ส� า หรั บ ผู้หลงใหลเสน่ห์อัญมณี และนักสะสม เพื่อเพิ่มมูลค่า บรรยากาศเต็มไปด้วย ความอบอุ่น ณ ร้าน TREZ Jewelry ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

กลุม่ บริษทั พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จ�ากัด (มหาชน) โดย ชายนิด อรรถญาณสกุล ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร และบริษทั แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จ�ากัด (มหาชน) โดย วิทวัส วิภากุล กรรมการ และกรรมการบริหาร ได้รว่ มพิธลี งนามใน สั ญ ญาความร่ ว มมื อ พั ฒ นาโครงการ อสังหาริมทรัพย์ ประเดิมโครงการลักซัวรี คอนโดระดับไฮเอนด์ยา่ นทองหล่อ ด้วยเงิน ลงทุน 4,514 ล้านบาท ร่วมกับ อาคิระ อิชคิ าวะ ประธานบริษทั ซูมโิ ตโม ฟอเรสทรี จ�ากัด และ ทัตสึโอะ อิวางาคิ กรรมการ ผูจ้ ดั การบริษทั ซูมโิ ตโม ฟอเรสทรี (สิงคโปร์) ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญีป่ นุ่

ครั้งแรก อิมแพ็คจัดงาน ซิกซ์ ฟีท รัน จูงน้องหมา มาวิ่งเพื่อการกุศล อิ ม แพ็ ค จั บ มื อ เทศบาลนคร ปากเกร็ด จัดกิจกรรมการกุศล ซิกซ์ ฟีท รัน 2017 ครั้งแรกที่เชิญชวนผู้รักสุขภาพ และผูร้ กั สุนขั กว่า 400 คน ร่วมจูงน้องหมา มาวิง่ ระยะทาง 3.6 กิโลเมตร เมือ่ วันที่ 26 พฤศจิกายนทีผ่ า่ นมา ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ จ.นนทบุรี โดยรายได้ ส่วนหนึ่งจากการจ�าหน่ายบัตรมอบให้ กับส�านักงานควบคุมสัตว์จรจัด ภายใต้ โครงการ 1 บาท เพื่อเจ้าตูบที่หิวโหย ถือเป็นกิจกรรมส�าหรับผู้ชื่นชอบการออกก�าลังกายทีไ่ ด้วงิ่ ไปพร้อมกันกับสุนขั ตัวโปรด เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี กับสุนขั ท่ามกลางบรรยากาศร่มรืน่ และ สนุกสนานไปกับการตะลุยด่านทดสอบ ความสามารถของน้องหมาตลอดเส้นทาง


CALENDAR

25

27

M 28

T 29

W 30

TH 01

F 02

ALT-J LIVE IN BANGKOK

BAcK TO NOIsELEss

LA PLANETE sAuVAGE

POLA - PATTErNs Of MEANING

rEEL rOcK TOur

การแสดงสดครั้ง แรก ในประเทศไทยของ Alt-J วง experimental rock ที่ห ลายๆ คนรอคอย ผู้ชนะรางวัล Mercury Prize 2012 จากอัลบั้ม An Awesome Wave ใน ‘Alt-J Live in Bangkok’ วันนี้ เวลา 21.00 น. ณ สตูดิโอ 8 มูนสตาร์ สตูดิโอ จ�าหน่ายบัตร ที่ Ticketmelon.com

นิทรรศการ ‘Back to Noiseless’ โดย พีระ โภคทวี เรื่ อ งราวของ เด็ ก ชายชาวประมงที่ สะท้อนถึงความมุ่งมั่น ในการค้นหาและไล่ตาม ความฝั น ของคนเรา แม้ ว ่ า สุ ด ท้ า ยแล้ ว จะ บรรลุผลหรือไม่ก็ตาม แต่สงิ่ ต่างๆ ทีไ่ ด้พบเจอ ระหว่างทางนั้นล้วนมี คุณ ค่า เสมอ วันนี้ถึง 12 ธั น วาคม 2560 ณ หอศิ ล ป์ จ ามจุ ร ี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาพยนตร์รางวัลพิเศษ จากคณะกรรมการ ในเทศกาลภาพยนตร์ เมืองคานส์ ปี 1973 เรือ่ ง ‘La Planete Sauvage’ เหล่าหุน่ ยนต์ยกั ษ์ดรากส์ บนดาวเคราะห์อีกาม ได้เลี้ยงดูเผ่ามนุษย์จิ๋ว กลุม่ หนึง่ ไว้ โดยตัง้ ชือ่ ว่า ออมส์ แต่แล้ววันหนึ่ง ออมส์ผหู้ นึง่ ทีฉ่ ลาดกว่า คนอื่นก็ลุกขึ้นขบถต่อ วิถีชีวิตเดิม วันนี ้ เวลา 18.30 น. ณ สมาคม ฝรั่งเศสกรุงเทพ (บัตร ราคา 120 บาท)

นิทรรศการบาติกและ ศิ ล ปะร่ ว มสมั ย จาก ประเทศอิ น โดนี เ ซี ย ‘โพลา - ลวดลายแห่ง ความหมาย’ ซึง่ สะท้อน ให้เห็นแง่มมุ ต่างๆ ของ บาติ ก ไม่ ว ่ า จะเป็ น ในฐานะอั ต ลั ก ษณ์ , อิ ท ธิ พ ลจากสภาพแวดล้อมต่างประเทศ, เพศ, พัฒนาการทาง การเมือง และบาติก ในฐานะโภคภัณฑ์ วันนี้ ถึ ง 28 กุ ม ภาพั น ธ์ 2561 ณ หอศิลป์บา้ น- จิม ทอมป์สนั

ครัง้ แรกกับ ‘Reel Rock Tour’ ที่ ก รุ ง เทพฯ เทศกาลหนังปีนหน้าผา ที่ โ ด่ ง ดั ง ที่ สุ ด ดู ห นั ง ปีนหน้าผาใหม่ทงั้ หมด 4 เรือ่ ง คือ Break on Through, Above the Sea, Safety Third และ Stumped วันนี้ เวลา 17.00 น. ณ Glow Fish อโศกทาวเวอร์ จ�าหน่าย บัตรที ่ Ticketmelon.com (รายได้ ค่ าตั๋วทั้งหมด สมทบกองทุ น พั ฒ นา แ ล ะ ดู แ ล ห น ้ า ผ า ภาคกลาง)

SA 03

TEMPOLOGY MusIc fEsTIVAL 2017

เทศกาลดนตรี ข อง คนที่หลงใหลในดนตรี อิเล็กทรอนิกนอกกระแส ‘Tempology Music Festival 2017’ ทีจ่ ะพา ศิ ล ปิ น และคนฟั ง ให้ ออกมาเจอกัน พบกับ 3 เวที กับ 30 ศิลปิน ที่จะเชื่อมต่อพลังงาน และความคิดสร้างสรรค์ ทางดนตรี วันนี้ เวลา 16.00 น. ณ ดาดฟ้า ชั้น 10 ฟอร์จูนทาวน์ จ� า ห น ่ า ย บั ต ร ที ่ Ticketmelon.com

S

sELEcTION MArKET AT YELO HOusE

ตลาดของคนรั ก งาน ศิลปะ Selection Market at YELO House คัดสรร ผลงานจากศิลปินจาก กลุม่ The Bubble Group Art และศิ ล ปิ น อิ ส ระ ที่ถ่ายทอดทั้งแนวคิด และตัวตนผ่านศิลปะ หลายแขนงไม่วา่ จะเป็น ภาพวาด งานเซรามิก งานปั ก งานหล่ อ หรือแม้แต่งาน Sound Installation วั น นี้ ถึ ง 17 ธั น วาคม 2560 ณ YELO House


a day bulletin

SHe Said

เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ภาพ : ภาสกร ธวัชธาตรี

26

Let Me entertain You เ ร า ตั้ ง ใ จ จ ะ พู ด คุ ย กั บ ดุ จ ดาว พรหโมบล ในฐานะ ผูอ้ า� นวยการบริหาร ฝ่ายการตลาด โซนี่ พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ (ประเทศไทย) ค่ายหนังน้องใหม่ ที่แยกตัวออกมาหลังจากที่ก่อน หน้ า นี้ ท� า งานร่ ว มกั บ ทางค่ า ย วอลท์ ดิสนีย์ สตูดโิ อ (ประเทศไทย) เพือ่ จัดจ�าหน่ายภาพยนตร์คณ ุ ภาพ มากว่า 2 ทศวรรษ ในเรื่องของ การท�าการตลาดของภาพยนตร์ ในปัจจุบัน แต่เมื่อได้คุยกันเพียง สักพัก เรากลับพบว่า แนวคิดและ การใช้ชวี ติ ของเธอนัน้ ก็สนุกไม่แพ้ หนังดีๆ เรื่องหนึ่งเลย issue 514 27 NOV 2017

ภาพยนตร์... เราชอบดูหนังมาก ขึน้ ชือ่ ว่าหนังจะเป็นแนวไหนก็สนุก แต่หลังจากปี 2014 เป็นต้นมา ระบบการผลิตหนังของดิสนีย์ ได้เปลี่ยนไป จากเดิมที่เป็นค่ายที่ทา� หนังรักสัตว์ รักโลก รักเด็ก ก็กลายมาเป็นแพลตฟอร์มของหนังซูเปอร์ฮีโร่ สตาร์วอร์ส และพิกซ่า ซึ่งก็ว่าไม่ได้ เพราะนี่คือตัวท�าเงินของเขา แต่หนังที่สนุกแบบโอลด์สกูลแบบที่เราชอบก็เริ่มหายไป 1 สัปดาห์... ค่ายหนังต่างประเทศมีเยอะขึน้ หนังทีเ่ ข้าฉายในบ้านเราก็เยอะขึน้ กว่าเมือ่ ก่อน ถ้าหนังเรือ่ งไหนทีค่ ณ ุ รอดูแล้วไม่รบี ดู ภายในอาทิตย์แรก บอกเลยว่าโอกาสทองของคุณก�าลังจะหมดไป แต่เรื่องที่น่าสังเกตคือหนังบางประเภทก�าลังจะหายไป นั่นคือหนัง โรแมนติกคอเมดี้ หรือหนังน่ารักซึง้ ๆ ดูแล้วดีตอ่ ใจ เพราะตอนนีก้ ารทีค่ นจะเสียเงินซือ้ ตัว๋ ดูหนังสักเรือ่ งเขาจะมองว่าคุม้ ค่าพอทีจ่ ะเข้าไป นัง่ ดูในโรงหนังหรือไม่ คนทีน่ า� หนังเข้ามาฉายก็ตอ้ งเลือกด้วยว่าหนังทีเ่ อามาเหมาะกับคนทีจ่ ะเข้าไปนัง่ ดูในโรงหนังหรือเปล่า Netffllifl x… ยังไงระบบสตรีมมิงก็ตอ้ งมา แต่อย่าลืมว่าถ้าเราเดินไปถามคนสัก 5 คนว่า วันหยุดเขาชอบท�าอะไร เชือ่ ได้วา่ ต้องมีแน่ๆ 3 คนตอบว่า ไปดูหนัง ส�าหรับเราขอให้คณ ุ ชอบดูหนังไว้เถอะ จะดูชอ่ งทางไหนก็ได้ เพราะเราเชือ่ ว่าต่อให้ทบี่ า้ นท�าห้องดูหนังไว้พร้อมแค่ไหน ก็ตอ้ งมีบา้ งทีค่ ณ ุ อยากออกมาดูหนังทีโ่ รงหนังอย่างน้อยก็ตอ้ งมีปลี ะหนึง่ เรือ่ งแน่ๆ เว็บไซต์หนังเถือ่ น... ก็เหมือนกับเราแต่งงานกับสามี แล้วสามีเราไปมีกกิ๊ ตลอดเวลา แต่ไม่ยอมหย่ากับเราสักทีแล้วเราจะท�าไงได้ ท�าได้แค่แยกกันอยู่ (หัวเราะ) คนทีด่ หู นังจากเว็บเถือ่ นก็คงไม่ใช่คนทีอ่ ยากออกจากบ้านมาดูหนังในโรงอยูแ่ ล้ว เขาก็ไม่ใช่กลุม่ เป้าหมายของเรา แต่เราอยากดูหนังฟอร์มยักษ์ผา่ นเว็บเถือ่ นกันจริงๆ เหรอ ความเครียด... ทุกธุรกิจมีปัจจัยทีค่ วบคุมไม่ได้อยู่ทงั้ นัน้ แล้วเราจะมานัง่ เครียดนัง่ คิดให้หวั แตกกับเรือ่ งทีเ่ ราท�าอะไรไม่ได้ท�าไม ถ้าเอาแต่นงั่ คิดมากสุดท้ายก็เกิดเป็นรอยย่นบนหน้าไปอีก ให้คนเครียดคือทางโรงหนังดีกว่า ว่าเขาจะแก้เกมอย่างไรให้คนอยากเดินเข้ามา ดูหนังเพิม่ ขึน้ ปี 2018... หนังของโซนีเ่ กือบทัง้ หมดจะเป็นหนังระดับกลาง หนังใหญ่อาจมีแค่เรือ่ งเดียวคือ Venom จากมาร์เวล แต่พอข้ามไปปี 2019 เราจะมีหนังใหญ่มาฉายเยอะมากๆ ธุรกิจหนังจะแตกต่างจากธุรกิจอืน่ ทีส่ ามารถมองได้วา่ ปีตอ่ ไปจะเติบโตได้กเี่ ปอร์เซ็นต์ เราจะโตหรือไม่โต อยูท่ ตี่ วั หนังล้วนๆ หนังเจ๊ง... เรือ่ งปกติของค่ายหนัง เราเคยผ่านมาทุกอย่างแล้ว ทัง้ หนังทีเ่ อามาฉายประสบความส�าเร็จแบบล้นหลาม หรือแม้กระทัง่ เจ๊งแบบทีเ่ รียกว่าขาดทุนทุกเรือ่ งตลอดทัง้ ปี ไม่มเี รือ่ งไหนท�าเงินได้เลย เพราะตัวหนังมันไม่ดจี ริงๆ เราท�างานมานานใช่วา่ จะท�าผิดพลาด ไม่ได้ บทเรียนสามารถเกิดขึน้ ได้ทกุ วันไม่ได้เปลีย่ นไปตามจ�านวนปีทเี่ ราอายุเยอะขึน้ เลิกท�างาน... เราหยุดท�างานไปหนึง่ ปีเต็มๆ และกล้าพูดเลยว่า การไม่ทา� งานดีทสี่ ดุ ทัง้ ๆ ทีห่ ลายคนมองว่าเราเป็นคนชอบท�างาน แต่เราชอบไม่ทา� งานมากกว่า (หัวเราะ) ช่วงทีไ่ ม่ได้ทา� งานท�าให้รเู้ ลยว่า ชีวติ ก็โอเค ไม่ตอ้ งเครียด เงินไม่ใช่สงิ่ ส�าคัญทีส่ ดุ ในชีวติ เราพูดแบบนี้ เพราะไม่ใช่ตัวเองรวย แต่เราเชื่อว่าตัวเองรวยได้เท่าที่เรารู้ว่าพอ เราไม่จา� เป็นต้องไปถือกระเป๋าแบรนด์เนมแบบใคร แล้วจะกลัวท�าไม ถ้าไม่ได้ทา� งาน โซนี่ พิคเจอร์ส... เรากลับมาท�างานอีกครัง้ เพราะมัน่ ใจในทีมงานทีค่ นุ้ เคยกันดี และเมือ่ กลับมาก็ตอ้ งท�างานให้ได้เต็มทีต่ ามทีเ่ ขา คาดหวังในตัวเรา และอีกอย่างทีเ่ รายังกลับมาท�าธุรกิจค่ายหนังอีกครัง้ เพราะถ้าไม่ใช่เรือ่ งหนัง เราก็ไม่รวู้ า่ ตัวเองจะรักงานแบบไหนอีกบ้าง

W T F


WHERE TO FIND TODAY EXPRESS PRESENTS

21 AUG 2017

501 500 499

p l a y i n g t o u g h

M e d i a ,

S p o r t a n d

politicS

Bar Storia del Caffe : 8 Thonglor Building The Lounge Hair Salon : K Village ซ.อาร�ย อาคารอับดุลราฮีม : เคาน เตอร ลานจอดรถ ชั้น 1 อาคาร Tipco พระราม 6 รานคลื่นนําเง�น : สุข�มว�ท 93 รานอาหารประพักตร : ประชาชื่น Sweet Pista : สุข�มว�ท 93

True Coffee • เดอะมอลล บางกะป ชั้น 4 • อาคารเมืองไทยภัทร • ทรู ทาวเวอร รัชดา • อาคารฟอร จ�น ชั้น 3 • True Life ทองหล อ • สยามพารากอน ชั้น 3 • สีลมลอฟท • อาคารอื้อจ�อเหลียง

B B B B

Coffee World • ตึกจามจ�ร�สแควร ชั้น 2 • เซ็นทรัลลาดพร าว ชั้น 3

โรงภาพยนตร • I-House RCA • สยาม สยามสแควร • ลิโด สยามสแควร

iberry • เมเจอร รัชโยธิน ชั้น 1 • เอสพลานาด ชั้น M • ป ยรมย เพลส • พารากอน ชั้น G • ทองหล อ มาร เก็ตเพลส

a day bulletin

499 498 497

TODAY EXPRESS

1

PRESENTS

07 AUG 2017

Executive Supercars : เอกมัย HONDA • สุข�มว�ท 66/1

issue 498 07 aug 2017

R I S E

A G A I N S T

M Y S E L F

สถานีรถไฟฟา BTS ทุกวันจันทร เร��มแจก เวลา 17.30 น. • สยาม • ชิดลม • เพลินจ�ต • อโศก • พร อมพงษ • อ อนนุช • อนุสาวร�ย ชัยสมรภูมิ • อาร�ย • หมอชิต • ศาลาแดง • ช องนนทร� • สะพานตากสิน

502 501 500

TODAY EXPRESS PRESENTS

28 AUG 2017

เชียงใหม… เสนริมแมนํ้าปง • สํานักงานโรงแรม B2 • Love at First Bite • Im Eco • dusit D2 • โรงแรมอนันตรา • โรงแรม Mo Rooms เชียงใหม… Central Airport Plaza • ร านกาแฟ Starbucks • ร านหนังสือ B2S

IN MEMORIAM

1949 — 1990

a r

e

503 502 501

s

r

t w E N T Y

e

t

F U c k i n g

Y

f

04 SEP 2017

One Ounce for Onion : เอกมัย 12 INK & LION cafe : เอกมัย 2 Counting Sheep Corner : สุข�มว�ท 61 Gastro 1/6 : สุข�มว�ท 22 Casa Lapin X26 : สุขม� ว�ท 26 Brooklyn Baker : ซ.โปโล 3 Flow : พหลโยธิน ซ.9 Treat cafe & Hang Out : เสนานิคม 1 KBank Siam Pic-Ganesha : ชั้น 7 สยามสแควร วัน Candide Books & Cafe คลองสาน EST.33 : CDC Joint Cafe & Workspace : โรงแรมเอเชีย Yin-Dee-Cub : อาคาร สิร�นรัตน A big Seat : อาคาร พรรคประชาธิป ตย

เชียงใหม…นิมมานเหมินทศิร�มังคลาจารย • Kantary Hills Chiang Mai Hotel • โรงแรม Yesterday • บ านเส-ลา • ร านรออยู ตรงนี้ • ร าน Cafe Kantary • ร านกาแฟวาว� ซอย 4 • ร านเล า • ร านหอมปากหอมคอ • ร านกาแฟ Starbucks • ร านกาแฟวาว� ซอย 9 • ร าน Salad Concept • ร าน Minimal • ร าน Cafe de Nimman TODAY EXPRESS

A&W • สยามสแควร • พันธ ทิพย พลาซ า • สุขาภิบาล 3 • ศร�เจร�ญภัณฑ พลาซ า • บางนา กม. 6 • ว�ภาวดี • รัชดา • เดอะสตร�ท • บางจาก เอกมัย • แฟชั่น ไอส แลนด • ไบเทค บางนา • Terminal 21

เขาใหญ-ปากชอง • KIRI MAYA • MUTHI MAYA • Palio • Toscana Valley Country Club • HOTEL des ARTISTS • หอมหมื่นลี้

กับขาว กับปลา • ทองหล อ มาร เก็ตเพลส Zaab Eli : ทองหล อ 10 หองอาหารสีฟา Kanom Secret Recipe Casa Lapin : ซ.อาร�ย ไล-บรา-ร�่ : พระรามเก า 41 Coffee Gallery : CDC Lord of Cup : รามคําแหง ซ.112 Roast Coffee & Eatery : ทองหล อ 13

PRESENTS

• เอ็มไพร ทาวเวอร ชั้น G • ออล ซีซัน เพลส • อาคารอื้อจ�อเหลียง ชั้น G • หลังสวน • สีลมคอมเพล็กซ • ไทมส สแควร ซ.สุข�มว�ท 12 • ไทยพาณิชย ปาร กพลาซ า ชั้น 1 • จามจ�ร�สแควร • The 19th. ชิดลม • อาคารเมืองไทยภัทร คอมเพล็กซ • IDEO พญาไท

สถานออกกําลังกาย • Yoga Space Thgether : All Seasons Place

A

Air Asia : ดอนเมือง ตลาดหลักทรัพย แหงประเทศไทย : ห องสมุด มารวย ศูนยฯ สิร�กิติ์ : เคาน เตอร ประชาสัมพันธ CDC (Crystal Design Center) The Lake Condo Modernform : CDC Index Living Mall : เอกมัย SB Design Square : เซ็นทรัลเว�ลด ชั้น 5 BMW Millennium Auto • พระราม 4 • สยามพารากอน ชั้น 2 • ลาดพร าว ซ.112 MINI GARAGE By Millennium Auto Ekamai

Starbucks • เซ็นทรัล ลาดพร าว ชั้น 2 • เซ็นทรัล พระราม 9 ชั้น 1 • สยามพารากอน ชั้น 1 • สยามพารากอน ชั้น 3 • สยามเซ็นเตอร ชั้น 3 • เซ็นทรัลเว�ลด ชั้น 3 โซน A • Big C เอกมัย • เอ็มโพเร�ยม ทาวเวอร • เอ็มโพเร�ยม มอลล ชั้น 5 • จ�เอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส • ทองหล อ (ระหว างทองหล อ ซ.11 และ 13) • มาร เก็ตเพลส ทองหล อ ซ.4

• โรงพยาบาลสมิติเวช ซอย สุข�มว�ท 49 • โรงพยาบาลกรุงเทพ ชั้น 1 • โรงพยาบาลรามาธิบดี • โรงพยาบาลพระราม 9 • The Crystal Park • RCA • นวมินทร ซิตี้อเวนิว • นวมินทร ทาวน เซ็นเตอร • The Nine Center • Terminal 21 • The Walk เกษตรนวมินทร • The Promenade • The Scene ทาวน อินทาวน • SOHO Thailand ถนนบํารุงเมือง • Vanilla Moon ถนนจันทน • Siam Square 1 • I’m Park สามย าน • Plearnary Mall วัชรพล • The JAS วังหิน • ท ามหาราช • อาคารซันทาวเวอร • อาคารอับดุลราฮิมเพลส • อาคารสินธรทาวเวอร • โรงพยาบาลพญาไท 2 • EmQuartier • อาคารสาธรซิตี้ทาวเวอร • Yodpiman River Walk • U-Place พระราม 9 • The Offices at Central World

E E E E

504 503 502

TODAY EXPRESS PRESENTS

11 SEP 2017

B O L D K I N D H U M B L P R O U D

E

B B B B

E E E E

B O L D K I N D H U M B L P R O U D

B B B B

E

E E E E

B O L D K I N D H U M B L P R O U D

• ร าน iberry • Gallery Seescape • SS1254372 Cafe • ร าน Slope Motion • ร าน The Barn : Eatery Design • ร าน Dude Cafe • ร าน Subway • ร าน 8 Days a Week • ร าน Hug a Cup • ร าน Dom Cafe • ร าน Cotton Tree • ร าน Cheun Juice Bar • ร าน Nimmanian Club • ร าน Roxpersso • ร านหนังสือ Book Smith • โรงแรม Hallo Dormtel 505 504 503

TODAY EXPRESS PRESENTS

18 SEP 2017

良い会社 T O

B E

A

G O O D

C O M PA N Y

หัวหิน • วรบุระ หัวหิน ร�สอร ท แอนด สปา • The Sea-cret Hua Hin • Hua Hin Mantra Resort • Let’s Sea • Dune hua-hin • Starbucks : Market Village • Starbucks : หอนาิกา • True Coffee • บ านใกล วัง • บ านถั่วเย็น • ชุบชีวา • ว�กหัวหิน • Eighteen Below • กาแฟดร�ปหัวหิน • ร านว� ไลวรรณ เพชรบุร� • JM Cuisine : ถนน หน าเขาวัง • JM Cuisine : ถนน รางไฟฟ า

adaybulletin

www.adaybulletin.com

E


28 a day bulletin

LIFE

issue 514

27 NOV 2017


29

We Are Yo u n g ‘Experience never gets old’ ป ร ะ โ ย ค เ ด็ ด จ า ก ภ า พ ย น ต ร์ เ รื่ อ ง The Intern ว่าด้วยเรื่องราวของอดีต ผูบ ้ ริหารรุน ่ เก่าวัย 70 ปี เบน วิตเทเกอร์ ทีส ่ มัครเข้าท�างานอีกครัง ้ หลังเกษียณ กั บ บริ ษั ท ขายเสื้ อ ผ้ า แฟชั่ น ออนไลน์ ของคนรุ่นใหม่สาวไฟแรง อย่าง จูลส์ ออสติน ภาพยนตร์เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า คนสู ง วั ย พลั ง ใจและความเก๋ า ยั ง ไง ก็ไม่หมดไปตามอายุรา่ งกาย หากคนแก่ ผู้ นั้ น เ ลื อ ก ใ น สิ่ ง ที่ มั่ น ใ จ ว่ า ท� า ไ ด้ ดี อย่างเรื่องของการท�างานที่เห็นได้ชัด ว่าเขาต้องการทีจ่ ะท�างาน จนกลายเป็น ว่าคนทัง ้ สองวัยสามารถท�างานเข้ากัน แบบเป็นปี่เป็นขลุ่ย นั่นอาจเป็นเพราะ คนแก่ไม่ได้มาท�างานแค่ต้องการเงิน เป็ น สิ่ ง ตอบแทน แต่ น่ า จะเป็ น หนึ่ ง เหตุ ผ ลของการท� า ให้ ตั ว เองอยู่ ต่ อ ได้ อย่างมีคณ ุ ค่าเพือ ่ ใครบางคน หรือเพือ ่ ความสุขในตัวเขาเอง ไม่เพียงแต่หลายๆ ประเทศทีห ่ น ั มา ให้ความส�าคัญกับคนสูงวัย บ้านเราเองก็ มีความน่ารักแบบนีอ ้ ยูเ่ หมือนกัน ถ้าลอง ไล่ ดู ตั้ ง แต่ ร ะดั บ องค์ ก ารขนาดใหญ่ อย่ า งอิ เ กี ย ก็ มี น โยบายรั บ พนั ก งาน อาวุโสเข้าท�างาน หรือถ้าเป็นหน่วยเล็ก ลงมาอีกหน่อยอย่างการท�างานด้าน ดนตรีของลุงหมายกับวงเดอะ ชราภาพ ก็ เ ป็ น ตั ว อย่ า งของคนรุ่ น ใหม่ ที่ อ ยาก สร้างคุณค่าบางอย่างให้กับผู้สูงอายุ และหน่ ว ยเล็ ก จิ๋ ว ที่ สุ ด แต่ อ บอุ่ น ที่ สุ ด อย่ า งครอบครั ว ของ ‘ช่ า งแม่ ’ สอน ตัดเสื้อและลูกสาว เราจึงชวนพวกเขา มาคุ ย ถึ ง เรื่ อ งราวของส่ ว นผสมของ กั น และกั น ที่ แ สนจะลงตั ว ซึ่ ง เชื่ อ ว่ า สามเรื่ อ งสามสไตล์ นี้ จะพาคุ ณ หั น กลับไปมองหาผูส ้ ง ู วัยข้างกาย และเห็น คุณค่าของพวกเขาในมุมใหม่ๆ มากขึน ้


a day bulletin

30

Team SpiriT เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ภาพ : รัชต์ภาคย์ แสงมีสินสกุล

ปัจจุบันการหางานส�าหรับคนวัยสามสิบต้นๆ นั้น ถือว่ามีความเสี่ยงที่สูงพอตัว ยิ่งถ้ามองไปยังคนสูงวัยที่อายุ ห้าสิบปีขึ้นไป โอกาสที่จะได้งานท�าในองค์กรใหญ่ๆ นั้นยิ่ง ล�าบาก โชคชัย ชนาศิลป์ชยั เองก็เป็นคนหนึง่ ทีม่ องหางานท�า “หลายๆ ทีท่ ผี่ มดูไว้เขาไม่รบั พนักงานสูงวัย ซึง่ จริงๆ เราก็ยงั ท�างานไหว” ชายวัย 63 ปี บอกกับเราก่อนทีเ่ ขาจะเข้ามาเป็น หนึ่งในทีมงานของอิเกีย ประเทศไทย “ที่ อิ เ กี ย เราเปิ ด โอกาสให้ ทุ ก คนเข้ า มาท� า งาน ผู้สงู อายุเองเขาก็มปี ระสบการณ์บางอย่างทีส่ ามารถแบ่งปัน ให้กบั เพือ่ นร่วมงานคนอืน่ ๆ ได้ ซึง่ เป็นนโยบายของทางอิเกีย ทุกสาขาทั่วโลก” กมลพร ศรีสุนทร ผู้ช่วยแผนกการตลาด อิเกีย ประเทศไทย บอกกับเราระหว่างทีพ่ าไปทักทาย โชคชัย ชนาศิลป์ชัย และ สาลี่ บุตรศรี พนักงานอาวุโสที่กา� ลังจะ เลิ ก งานพอดี “พี่ ๆ ทั้ ง สองคนเป็ น พนั ก งานพาร์ ต ไทม์ ซึ่ ง ท� า งานกั บ เรา โดยพนั ก งานพาร์ ต ไทม์ นั้ น จะได้ สิ ท ธิ และสวั ส ดิ ก ารต่ า งๆ เท่ า กั บ พนั ก งานประจ�า ของอิ เ กี ย ” เธอกล่าวเสริม “ทีมของเราจะมีกนั อยูป่ ระมาณ 9 คน เดีย๋ วคนทีก่ า� ลัง จะเข้างานช่วงบ่ายอายุ 57 ปี กับ 51 ปี บางคนก็อยู่ในช่วง อายุ 40 กว่าๆ ที่เหลือก็เป็นเด็กรุ่นๆ 18-20 ปีไปเลย” คุณป้าสาลี่บอกเราอย่างอารมณ์ดี หน้ า ที่ ห ลั ก ของคุ ณ ป้ า สาลี่ คื อ ดู แ ลความสะอาด ในส่วนของครัว ซึ่งคุณป้าท�างานในแผนกนี้มาแล้วกว่า 6 ปี “เรามองว่าตัวเองยังแข็งแรงอยู่ เราท�างานไหว เราอยาก ท�างาน ถ้าให้อยู่บ้านเฉยๆ เราจะเหนื่อยกว่าออกไปท�างาน ด้วยซ�้า เพราะนั่งๆ นอนๆ ไม่ได้ออกก�าลัง เดี๋ยวก็พาน จะปวดหั ว เป็ น ไข้ ไ ม่ ส บายง่ า ยๆ เราชอบออกมาเจอคน เจอน้องๆ ที่มาท�างานใหม่ มีอะไรก็ช่วยสอนงานพวกเขา สนุกดีไม่เบื่อ เราท�างานที่นี่อาทิตย์ละ 4 วัน” คุณป้ายังสาว เล่าเรื่องของตัวเองอย่างยิ้มแย้ม “บางครั้ ง เราก็ ไ ด้ เ ทคนิ ค บางอย่ า งจากการคุ ย กั บ พวกพี่ๆ มาใช้ในงานจัดดิสเพลย์ของเรา เพราะแต่ละคนก็มี ประสบการณ์แต่ละเรื่องที่น่าสนใจ เช่น บางคนตอนสมัย สาวๆ เคยท�างานเกี่ยวกับผ้ามาก่อน เขาก็จะแนะน�าเราเรื่อง การพั บ ผ้ า ให้ ” วิ ล าสิ นี กุ ล พั น ธ์ รั ง ษี จากแผนกจั ด วาง และตกแต่งสินค้า ที่เพิ่งเปลี่ยนสถานะเป็นคุณแม่มือใหม่ ได้ไม่นานกระซิบบอกเรา “ป้าจะท�างานที่นี่จนอายุ 80 ปี หรือท�าจนกว่าป้าจะ ลาออกเอง (หัวเราะ)” ป้าสาลี่พูดอย่างร่าเริงแต่น�้าเสียง หนั ก แน่ น ระหว่ า งที่ ช ่ ว ยนั ก ตกแต่ ง ดิ ส เพลย์ ค นนี้ จั ด วาง ต้นสนจ�าลองในมุมของตกแต่งประจ�าเทศกาลคริสต์มาส “อิเกียเราเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามาท�างาน ผู้สูงอายุเองเขาก็มีประสบการณ์บางอย่าง ที่สามารถแบ่งปันให้กับเพื่อนร่วมงาน คนอื่นๆ ได้ ซึ่งเป็นนโยบายของทาง อิเกียทุกสาขาทั่วโลก”

issue 514 27 NOV 2017

“เรื่องช่องว่างระหว่างวัยนั้น มี อ ยู่ แ ล้ ว บางเรื่ อ งเราก็ คุ ย กับเด็กๆ ไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าเป็น เรือ ่ งงานนัน ้ เราไม่เคยมีปญ ั หา กันเลย”

โชคชัย ชนาศิลป์ชย ั แผนก In-store Logistics อายุ 63 ปี

“ทุกคนต้องแก่อยูแ่ ล้ว ทุกวันนี้ ผลการตรวจสุขภาพของเรา ก็ ไ ม่ พ บว่ า เป็ น โรคอะไร แล้ ว จะไปกลัวท�าไม” สาลี่ บุตรศรี แผนก IKEA Food and Beverage อายุ 62 ปี

“เราไม่ได้กลัวความแก่ แต่ก็ หมั่นตรวจสุขภาพของตัวเอง เป็นประจ�า เพราะต่อไปเราคง ไม่แข็งแรงเหมือนตอนนีแ้ ล้ว” วิลาสินี กุลพันธ์รงั ษี แผนก Communication Interior Design อายุ 29 ปี


31

Don’t Stop Movin’

ก่อนหน้าที่จะ ทศพร สมัดรัตน์ จะเข้ามาท�างานที่ อิเกีย บางนา เขาเคยเป็นนักร้องตามผับตอนกลางคืน และใช้ชีวิตหนักหน่วงจนกระทั่งถึงตอนที่ร่างกายส่งเสียง ร้องเตือนว่าไม่ไหวแล้ว เขาจึงหยุดคิดและมองหางาน ที่พอดีส�าหรับตัวเขา “ได้เข้ามาท�างานทีอ่ เิ กีย ผมได้เห็นมุมมองทีแ่ ตกต่าง จากคนสองวัย เพราะหน้ า ที่ข องผมต้ องเป็ น คนกลาง ระหว่างน้องๆ กับคนรุน่ ก่อน แล้วทีไ่ ด้เจอไม่ใช่แค่เรือ่ งท�างาน เท่านั้น แต่เป็นเรื่องการใช้ชีวิตด้วย อย่างพี่โชคชัยเขาจะ คอยตักเตือนน้องๆ ว่าให้ตรงต่อเวลา เพราะการมาท�างาน สายนั้ น ไม่ ไ ด้ ก ระทบแค่ เ รื่ อ งงานอย่ า งเดี ย ว แต่ เ ป็ น

การเพิม่ ภาระให้คนอืน่ ในทีมด้วย กลายเป็นเพือ่ นๆ ต้องแบก ภาระงานนั้นแทนคุณ ซึ่งมุมมองนี้เป็นสิ่งที่ผมได้เรียนรู้” ลุงโชคชัยเล่าว่า ทุกๆ สี่เดือนทางบริษัทจะจัดงาน outing เล็กๆ ให้คนแต่ละแผนกมาพบปะพูดคุยท�ากิจกรรม ร่วมกันเพื่อกระชับความสัมพันธ์ “วัฒนธรรมของพวกเราคือ การคุยกันได้ บอกกันได้ ตั ก เตื อ นกั น ได้ โดยที่ ไ ม่ ต ้ อ งกลั ว ว่ า คุ ณ คื อ หั ว หน้ า เราคือลูกน้อง ที่นี่ท�างานกันเหมือนครอบครัว ซึ่งแตกต่าง จากบริษัทอื่นที่เราเคยเจอมา” กมลพรกล่าวเสริม “เราก็ต้องปรับตัวตามคนแต่ละรุ่น บางวันผมต้อง ท�างานกับน้องๆ เราก็ตอ้ งแอ็กทีฟตัวเองตามพวกเขาให้ทนั

“ตอนเป็นเด็กผมก็ไม่ได้มองว่า เมือ ่ โตขึน ้ ตัวเองจะเป็นอย่างไร ผมเชื่อว่าต่อไป ในอนาคตเราจะมีประสบการณ์มากขึน ้ และสอนตัวเองได้วา่ จะปรับตัวอย่างไร” ทศพร สมัดรัตน์ แผนก Customer Relations อายุ 29 ปี

วันไหนท�างานกับพี่ๆ พวกเขาก็จะเป็นคนช้าๆ ละเอียด รอบคอบ วันนัน้ เลยเป็นเหมือนวันชิลๆ ของตัวเอง” ทศพร บอกพร้อมกับหันไปยิ้มให้กับลุงโชคชัยและป้าสาลี่ “พนักงานหลายคนทีน่ อี่ ายุเยอะแล้วก็จริง แต่พวกเขา ก็ยงั มีพลัง ไม่อยากอยูบ่ า้ นเฉยๆ ให้ลกู ๆ มาเลีย้ ง พวกเขา อยากออกมาท�างาน พอได้ทา� งาน ได้พดู คุย จิตใจก็แจ่มใส ร่าเริง สุขภาพก็แข็งแรงขึ้น แถมเขายังเป็นเหมือนพ่อแม่ ของเรา คอยสอนเราเรื่ อ งการวางตั ว การรั ก ษากิ ริ ย า มารยาทให้ด้วย” นี่คือสิ่งที่ สุพรรษา จงขวัญยืน พนักงาน ที่อายุน้อยที่สุดในกลุ่มได้เรียนรู้

“เรามั ก พู ด แซวๆ กั บ เพื่ อ นเสมอว่ า เราอยูไ่ ม่ถง ึ ตอนแก่หรอก (หัวเราะ) ซึง ่ หมายความว่าเรามีความสุขกับปัจจุบน ั และไม่ไปกังวลกับเรือ ่ งตัวเองตอนแก่” สุพรรษา จงขวัญยืน แผนก Sale อายุ 22 ปี

UNTIL THaT DaY COMES


a day bulletin

32

in The Family

เรื่อง : ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ ภาพ : รัชต์ภาคย์ แสงมีสินสกุล

รอยยิม ้ ทีพ ่ ราวไปทัง ้ ริมฝีปาก พร้อมกับดวงตาอันเป็นประกายวิบวับ ฉายอยูบ ่ นใบหน้าของ การ์สรณ์ อภิชต ิ หรือคุณแม่ทล ี่ ก ู ๆ เรียกกันว่า ‘ช่างแม่’ ท�าเรารูส ้ ก ึ ได้ถง ึ ความสุขของคนเป็นแม่ในวัย 71 ปี ซึง ่ ทุกวันนีย ้ ง ั มีอาชีพเป็นช่างตัดเสือ ้ อย่างทีใ่ จรักมาตลอด กว่า 57 ปี ท่ามกลางแรงสนับสนุนและก�าลังใจทีไ่ ด้มาจากสามีและลูกๆ ทัง ้ ห้าคน โดยหนึง ่ ในนัน ้ ยังคิดทีจ่ ะเจริญรอยตามทัง ้ ด้านอาชีพ และความสุขในชีวต ิ เหมือนทีแ่ ม่เป็นอยูน ่ น ั่ คือ ‘นิด’ - อาภาสิริ อภิชต ิ ลูกสาวคนทีส ่ ี่ และเจ้าของร้านบ้านนารีสโมสร บ้านทีเ่ ติมพลังชีวต ิ ให้ชา่ งแม่มาตลอด จนถึงขนานนามตัวเองว่าทีผ ่ ส ู้ ง ู วัยในอนาคต

FrOM MOTHER “เราคลุกคลีกับอาชีพนี้มาตั้งแต่เด็กๆ เพราะพี่สาว เป็นช่างเหมือนกัน โตขึ้นมาหน่อยก็ตัดเสื้อผ้าใส่เองจนกลาย เป็นอาชีพเลี้ยงดูลูกสาวห้าคนมาโดยตลอด วันที่ลูกทุกคน ยืนได้ด้วยตัวเอง เรายังเลือกที่จะท� างานตรงนี้เหมือนเดิม แต่จะลดปริมาณลงเพราะอายุมากแล้ว และยังคงมีความสุข ทุกครัง้ ทีไ่ ด้ทา� เราสนุกเสมอทีไ่ ด้ไปเดินซือ้ ผ้าทีพ่ าหุรดั มีพลัง มากมายจากการได้เจอลูกค้าหรือคนทีม่ าเรียนตัดเสือ้ เราเห็น พวกเขาตั้งใจท�า พอเสร็จแล้วดีใจกันใหญ่ นี่แหละคือสิ่งที่ ท�าให้เราไม่เบื่อ ไม่เหนื่อย แถมยังท�าให้รู้ว่าการเป็นคนแก่ ไม่ได้หมายความว่าจะเก๋าได้ตลอดไป คนรุ่นใหม่ต่างหาก ที่เก่งและฉลาด ประสบการณ์จากรุ่นใหญ่อาจจะต้องผสาน ไปกับความคิดของคนรุ่นใหม่ถึงจะได้อะไรดีๆ ออกมา “ก่อนหน้านีล้ กู สาวคนทีส่ ามและสีก่ ไ็ ด้สร้างความครึกครืน้ ให้เราด้วยการถ่ายวิดโี อตอนเราตัดเสือ้ แล้วลงยูทบู หรือถ่ายภาพ ท�าหนังสือออกมาขาย เราและลูกได้ทา� อะไรร่วมกัน แตกยอด ได้ผลงานอีกมากมาย ทุกอย่างเริม่ มาจากแค่ความตัง้ ใจของเรา ทีจ่ ะสอนตัดเสือ้ ให้ลกู ไว้ใส่เอง เราเชือ่ ว่าฝีมอื น่ะกินไม่หมดหรอก แถมยังท�าเป็นอาชีพในอนาคตได้ อีกอย่าง แก่ตวั ไปก็ยงั มีอะไร ให้ทา� อีก ดีจะตายไป” (หัวเราะ)

issue 514 27 NOV 2017


33

FrOM DAUGHTER

FrOM ME TO YOU

FrOM HEART TO HEART

“หลั ง จากที่ แ ม่ ย ้ า ยมาอยู ่ ที่ ก รุ ง เทพฯ ได้ ร าวๆ สิบกว่าปีกอ่ น พร้อมกับการเปิดร้านบ้านนารีสโมสร เราตัง้ ใจ ให้บ้านหลังนี้ทา� หน้าที่ทุกอย่าง เป็นทั้งที่อยู่ ที่ทา� กิน และที่ ท�างานของเราและแม่ เพราะแม่กับการตัดเย็บเสื้อผ้าเป็น ของคู่กัน เราแยกออกจากกันไม่ได้ (หัวเราะ) ขนาดทุกวันนี้ แม่อายุม ากแล้ ว แต่ แ ม่ ก็ยังอยากท� า ในสิ่งที่แ ม่ รัก เสมอ ยังรับงานตัดชุด ประกอบกับแม่เป็นคนชอบสอน และอยาก สอนวิชานีใ้ ห้ลกู แต่ลกู ไม่มเี วลา เราจึงตัดสินใจเปิดเวิรก์ ช็อป สอนตัดเสื้อให้แม่ได้สอนจริงจัง ยิ่งท�าให้แม่มีความสุขมาก แถมยังสนุกไปกับการได้คิดอะไรใหม่ๆ ตลอด “ที่ส�าคัญแม่ยังเป็นต้นแบบของการเป็นคนแก่ที่มี ความสุขกับการท�างาน จนเราต้องมองย้อนกลับมาที่ตัวเอง เหมือนกันว่า เราจะท�าอะไรแล้วมีความสุขได้ขนาดนี้ ท�าแล้ว ส่งเสริมให้เรามีพลังในการใช้ชีวิตโดยปราศจากค�าว่าท้อแท้ แม้บางครั้งก็เหนื่อยเอาเรื่อง แต่ก็แค่พัก แล้วกลับมาลุยใหม่ แม่ทา� ให้เรารู้ว่า การเป็นคนแก่ทมี่ คี วามสุขกับชีวติ นัน้ รูปร่าง หน้าตาเป็นยังไง ก็เป็นแบบช่างแม่นี่ไง… ชัดเจน”

บ้านนี้สนิทกันมากท�ายังไง ค�าตอบจากทัศนะของลูก อย่างนิดมองว่า ความสนิทหรือความเข้าใจกันของแม่สูงวัย กับลูกๆ นัน้ ไม่ได้ขนึ้ อยูก่ บั ระยะทางหรืออายุทหี่ า่ งกัน แต่ขนึ้ อยู่ กับความรู้สึกที่อยากให้ใกล้กันแค่ไหนมากกว่า นิดเล่าย้อน ความใกล้ ใ จแต่ ก ายห่ า งให้ ฟ ั ง ว่ า สมั ย ที่ ทุ ก คนยั ง เรี ย น มหาวิ ท ยาลั ย ก็ จ ะอยู ่ กั น คนละจั ง หวั ด ตอนนั้ น ไม่ มี ไ ลน์ จะโทรศัพท์กแ็ พง จึงเลือกการเขียนจดหมายโต้ตอบกันตลอด ช่วงมหาวิทยาลัย ในขณะทีแ่ ม่เองก็ยอมรับว่า เริม่ ทีค่ นเป็นแม่ ต้องเข้าใจในวัยของลูก ให้อิสระต่อพื้นที่ส่วนตัว เรื่องส่วนตัว ก็ให้โอกาสทุกคนได้คิดเอง ดังนั้น เรื่องความเข้าใจคงต้องแก้ กันที่ใจมากกว่าแก้ที่จุดอื่น

หากประเมินจากความคล่ องแคล่ วของการท� างาน ช่างแม่จะให้อายุตวั เองเท่าไหร่ เป็นค�าถามทีช่ า่ งแม่ไม่เคยคิด ว่า จะต้ องตอบมาก่ อน จึง เงียบไปสักพักเพราะเข้ าใจว่ า หมายถึงอายุของหัวใจทีเ่ ต้นจริงๆ ก่อนจะหัวเราะแล้วตอบว่า “50 ปี เพราะตอนนั้นยังท�างานได้เต็มที่ ตอนนี้ก็ยั้งๆ ไว้บ้าง แต่ตั้งใจจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังช่วยวางรากฐานทางด้านนี้ให้ ลูกๆ ไปเรื่อยๆ เท่าที่จะท�าไหว” ท้ายสุดช่างแม่ได้ให้แง่คิดไว้ อย่างน่าสนใจว่า หากมั่นใจในสิ่งท�าหรือเป็นงานที่ตัวเองรัก สิ่งนั้นจะไม่มีวันหมดอายุ ตัวงานจะไม่ยอมให้คนเราได้มี โอกาสอยู่นิ่งเฉย ไม่ยอมปล่อยให้เรากลายเป็นคนแก่ที่ไม่ลุก ขึ้นมาท�าอะไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นวันหมดอายุของแต่ละคนก็คง ขึ้นอยู่กับอายุหัวใจของใครของมันจริงๆ

“แม่ท�าให้เรารู้ว่า การเป็นคนแก่ ที่มีความสุขกับชีวิตนั้นรูปร่างหน้าตา เป็นยังไง ก็เป็นแบบช่างแม่นี่ไง… ชัดเจน”


a day bulletin

34

SeniOr SWaG! เรื่อง : พัทธมน วงษ์รัตนะ, ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ภาพ : รัชต์ภาคย์ แสงมีสินสกุล

“ลุงอายุจะ 70 จริงๆ เหรอ” คือค�าแรกทีเ่ ราถามตัวเอง เมือ ่ เห็น ‘ลุงหมาน’ - สมาน ผลานิสงค์ ในชุดเสือ ้ ยืดพับแขน สวมแว่นกันแดด ทรงวินเทจและหมวกแก๊ปลายกราฟิก บนภาพปกของวงเดอะ ชราภาพ วงดนตรีคอนเซ็ปต์ผู้สูงอายุ ซึ่งมีสมาชิกคือ ยศ’ - คงยศ คุณจักร์, ‘วิน’ - วินัย กิจเจริญจิรานนท์, ‘ดร’ - นิรันดร ทองสวัสดิ์วงศ์, ชาลี นิภานันท์ และ ‘กิต’ - กิตติคุณ วรสรธร อะไรคือ เหตุผลที่ท�าให้คนแก่ยังดูสดใส แล้วท�าไมกลุ่มคนหนุ่มเหล่านี้ถึงมีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์วงดนตรีคอนเซ็ปต์เท่ๆ แบบนี้

issue 514 27 NOV 2017


35

OLD BUT BOLD

WITH a YOUNG SOUL

เดอะ ชราภาพ : เริม่ แรกเราไม่คดิ ว่าจะท�าวงดนตรี เพื่อคนแก่หรือสร้างคุณค่าให้วัยชราหรอก เราแค่อยากมี คอนเซ็ปต์แบนด์ที่ทา� อะไรสนุกๆ มีลูกเล่นแปลกๆ ออกมา ก็เลยเลือกเป็นแนวคนแก่ เพราะมันชัดเจนทั้งเรื่องรูปแบบ เนื้อหา และการถ่ายภาพ พอเจอลุงหมานและเห็นว่าเขาดู ขึ้นกล้องดี ก็เลยชวนมาถ่ายปก ซึ่งตอนนั้นลุงเขาก็ตอบรับ แบบไม่คิดเลย (หัวเราะ) แต่หลังจากได้ทา� งานกับผูส้ งู วัยไปสักพัก มุมมองทีเ่ รา มีต่อพวกเขาก็เปลี่ยนไป เราได้เห็นว่าคนรุ่นลุงรุ่นตา เขามี ความความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจในการท�างานมาก มีความสามารถ หลายๆ อย่างทีเ่ ราคาดไม่ถงึ และหลายคนก็ยงั มีความเป็น วัยรุ่นและสนุกกับชีวิตไม่ต่างจากคนวัยเราเลย ตรงนี้เอง ยิ่งท�าให้เราอยากมีพื้นที่ให้เขาได้พูด ได้แสดงออก เป็นวง จากคนวัยรุ่นที่ให้คนชรามาสวมได้ และเราก็อยากท�าให้ ภาพลบของคนแก่มันหายไป หรืออย่างน้อยก็ให้คนวัยเด็ก เข้าใจคนชรามากขึ้นบ้างก็ยังดี

ลุงสมาน : ผมรูจ้ กั น้องๆ เพราะตอนนัน้ ท�างานเป็น พนักงานอยู่ในคอนโดฯ ของนิรันดร ตอนที่เขามาชวนไป ถ่ายแบบปก ผมใช้เวลาตัดสินใจอยู่ประมาณ 2 นาที (หัวเราะ) เพราะจริงๆ เป็นคนทีช่ อบท�าอะไรแบบนีอ้ ยูแ่ ล้ว ชอบถ่ายรูป ชอบการแสดง อย่างเมื่อก่อนผมเคยเป็น นักพากย์หนังอยู่ 15 ปี พากย์หมดทั้งหนังไทย ฝรั่ง จีน ตอนนี้ ภ ายนอกผมอาจจะดู เ ป็ น คุ ณ ลุ ง คุ ณ ตาไปแล้ ว แต่ลึกๆ ก็ยังชอบท�าอะไรที่มันสนุกๆ อยู่ ยิ่งได้คลุกคลี กับน้องๆ พวกนีก้ ย็ งิ่ ให้ความรูส้ กึ กระชุม่ กระชวย เหมือนได้ กลับไปเป็นวัยรุ่นอีกครั้ง ดีกว่าต้องห่อเหี่ยวอยู่บ้านเฉยๆ และผมก็ดีใจมากที่คนรุ่นหลังยังนึกถึงเราอยู่ พยายาม เข้าใจสถานการณ์ทคี่ นแก่ตอ้ งเผชิญ แน่นอนว่าการท�างาน ร่วมกันมันก็อาจมีปัญหาที่เราไม่เข้าใจกันบ้าง ทั้งด้วยวัย ด้วยรสนิยม ความชอบ แต่นอ้ งๆ ก็พยายามท�าความเข้าใจ และแก้ปัญหาไปด้วยกัน

UNTIL THaT DaY COMES

WHaT rEaLLY MaTTErS

เดอะ ชราภาพ : ถ้าถามว่ากลัวเรือ่ งความชราไหม ก็คิดว่ากลัวเหมือนกัน แต่ก็เข้าใจว่าทุกๆ อย่างมันต้อง เสื่ อ มโทรม แค่ จ ากอายุ ยี่ สิ บ ห้ า มาสามสิ บ ห้ า ก็ เ ห็ น การเปลี่ยนแปลงไปเยอะมากแล้ว ช่วงวัยยี่สิบปลายๆ เรายังรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนหนุ่ม สังสรรค์ นั่งเล่นเกม นอนตีสามตีสี่ แต่หกโมงก็ตื่นไหว ซึ่งพออายุสามสิบห้านี่ ท�าแบบนั้นไม่ได้แล้ว ลุงสมาน : ยิง่ ถ้าอายุหา้ สิบก็จะมีความคิดอีกอย่าง ตอนเกือบห้าสิบ ผมจะไม่พอใจเลยที่ใครจะมาเรียกผมว่า ‘ลุง’ (หัวเราะ) แต่พออายุสักห้าสิบห้าแล้วโดนเรียกพี่ก็จะ รีบบอกเขาว่า เรียกลุงเรียกตาเถอะ เราไม่คิดเล็กคิดน้อย กับเรื่องพวกนี้แล้ว แค่ปล่อยให้มันเป็นไป หรืออย่างตอน ผมอายุประมาณสามสิบ ก็คิดฟุ้งฝันเรื่องอนาคตไปหมด กลัวนั่นนี่ กลัวความตาย แต่พอสักห้าสิบก็จะเริ่มเฉยๆ เพราะเจอทุกอย่างมาจนเกือบครบ ทั้งท�างานหนักมากๆ หรืออกหักจนเจ็บที่สุด ทุกอย่างหลังจากนี้ก็จะปล่อยให้ ชีวิตมันพาเราไปเอง

เดอะ ชราภาพ : ชาลี เ คยบอกว่ า พอมาท� า เดอะ ชราภาพ แล้วท�าให้กลับไปเชือ่ มโยงกับครอบครัวตัวเอง ได้เยอะขึน้ อย่างเมือ่ ก่อนอาจคิดว่า ไม่อยากไปเทีย่ วกับทีบ่ า้ น เพราะคนละวัย คุยกันไม่รู้เรื่อง แต่ตอนนี้ก็ไปเที่ยวด้วยกัน ท�ากิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน และรู้สึกผูกพันกับญาติผู้ใหญ่ ในบ้านมากขึ้น อีกเรื่องหนึ่งที่เราได้เรียนรู้คือ จริงๆ แล้ว คนแก่ยังมีพลังท�าอะไรได้อีกเยอะ ถ้าหัวใจเขายังวัยรุ่น เห็นได้จากคุณลุงหลายๆ คนที่มาท�างานกับเรา ถึงเขาจะ อายุมากแล้ว แต่ก็ยังเล่นดนตรี ท�าสิ่งที่ชอบ และสนุกกับ การใช้ชวี ติ อยู่ ซึง่ ถ้าถึงวันทีเ่ ราแก่ เราคงอยากมีชวี ติ สนุกๆ แบบนั้นเหมือนกัน ลุงสมาน : ตอนหนุ่มๆ ผมเคยคิดว่า พอแก่แล้ว คงกลับไปท�าไร่ท�าสวนที่บ้านต่างจังหวัด แต่สุดท้ายผมก็ ยังท�างานหาเงินอยู่ที่นี่ หลายคนอาจจะบอกว่า แก่แล้ว ไม่ควรท�างานหนักๆ แต่ผมคิดว่ามันไม่ได้ล�าบากอะไรเลย แถมได้ทา� งานกับน้องๆ ที่อายุห่างกันตั้งหลายรอบ ก็เป็น สีสันในชีวิตดีเหมือนกัน

“ภายนอกผมอาจจะดูเป็นคุณลุงคุณตา ไปแล้ว แต่ลึกๆ ก็ยังชอบท�าอะไรที่มัน สนุกๆ อยู่ ยิ่งได้คลุกคลีกับน้องๆ พวกนี้ ก็ยิ่งให้ความรู้สึกกระชุ่มกระชวย เหมือนได้กลับไปเป็นวัยรุ่นอีกครั้ง”


a day bulletin

BREATHE IN

36

เรื่อง : สีตลา ชาญวิเศษ ภาพ : getty images

BREATHE IN : สีตลา ชาญวิเศษ นักเขียน และคนท�างานด้านคอนเทนต์ ที่ผ่านมาท�าวิทยานิพนธ์ปริญญาโทในหัวข้อ ‘การจีบกันบนสื่อออนไลน์’ และเป็นเจ้าของแฟนเพจ ‘ธีสิสมุ้งมิ้ง’ ส่วนเรื่อง ่ งความรักเหมือนเดิม ่ ในเรือ ั เชือ ็ ง ้ ย ึ แม้จะเจ็บมามากแค่ไหน ทุกวันนีก ่ ย่าท�าเยอะมาก แต่ถง ่ งทีอ ความรัก เป็นคนอกหักเก่ง แห้วเก่ง เลยมีประสบการณ์มาบอกเล่าเรือ

ท�าอย่างไรจะตัดใจจากแฟนที่เพิ่งเลิกกันได้ส�าเร็จ? ปีก่อนเรามีมุมมองความรักที่เปลี่ยนไป หลังจากที่ได้อ่านหนังสือชื่อดังเรื่อง The Power of Habit เขียนโดย ชาร์ลส์ ดูฮิกก์ ที่พูดถึงพลังของ การเปลี่ยนแปลงอุปนิสัย หนังสือเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจที่ท�าให้เราค่อนข้างเชื่อว่า ความสัมพันธ์เป็นเรื่องของกิจวัตรและพฤติกรรม ไม่ต่างจากเรื่อง การกิน การออกหรือไม่ออกก�าลังกายของคนเรา

issue 514 27 NOV 2017

อย่างคุณรูไ้ หมว่า ช่วงประมาณบ่ายสามถึงสีโ่ มงเย็นทีห่ ลายคนติดนิสยั ขอให้ได้ลกุ เดิน ไปหยิบอะไรมากินนัน้ ส�าหรับหลายคนมันเป็นคนละเรือ่ งกับการกินเพราะอยากกินเลยล่ะ เหตุผลทีเ่ ป็นแบบนัน้ เพราะจริงๆ แล้วเราแค่ตอ้ งการหาอะไรท�าแก้เบือ่ ระหว่างทีน่ งั่ จับเจ่า มาตลอดช่วงบ่ายเท่านัน้ เอง และเผอิญว่าวิธแี ก้เบือ่ ทีค่ ดิ ได้งา่ ยสุดก็คอื การลุกไปหาไรกิน คุณลองถามตัวเองก็ได้วา่ มีกคี่ รัง้ บ้างทีค่ ณ ุ ไม่ได้กนิ เพราะหิว ไม่ได้กนิ เพราะอยากกิน ของอร่อย แต่กินเพราะแค่อยากตอบสนองความต้องการบางอย่าง ซึ่งเราจะบอกคุณว่า ความสัมพันธ์กไ็ ม่ตา่ งกัน เช่น ลองคุณคบกับแฟนสัก 6 เดือน คุณจะรูว้ า่ มันเลิกยากกว่าแฟน ทีค่ บ 6 วัน โอเค! จริงอยูว่ า่ เวลานานกว่ามันย่อมยากเพราะผูกพันมากกว่า แต่ถา้ ลองเอา ชุดค�าอธิบายเรือ่ งกิจวัตรและพฤติกรรมเข้ามาวิเคราะห์ คุณจะรูว้ า่ การคบแฟน 6 เดือนนัน้ ได้สร้างพฤติกรรมทีท่ า� เป็นประจ�าซ�า้ ๆ นานพอทีจ่ ะท�าให้คณ ุ ติดเป็นกิจวัตรจนเลิกท�าได้ยาก ขณะทีก่ ารคบกันเพียง 6 วัน ยังไม่ทนั นานพอทีจ่ ะฝังลงไปในสมองคุณเลย และสิง่ ทีน่ า่ คิดมากไปกว่านัน้ ในแง่นแี้ ฟนคุณอาจไม่ใช่แค่ ‘คนรัก’ เท่านัน้ แต่ยงั ได้ กลายเป็น ‘วัตถุ’ (Object) ไว้ตอบสนองอารมณ์ความต้องการบางอย่างของตัวคุณด้วย เช่น เวลาสองทุม่ ของทุกคืน หรือเป็นเวลามาตรฐานสากลทีค่ รู่ กั ชอบโทรศัพท์คยุ กัน คุณกับแฟน ก็ใช้ชว่ งนีค้ ยุ โทรศัพท์กนั เหมือนคนอืน่ ๆ และก็ทา� แบบนีต้ ดิ ต่อกันทุกคืนเป็นเวลา 6 เดือน สิง่ ทีค่ ณ ุ ได้ไม่ใช่แค่กจิ วัตร แต่กจิ วัตรยังไปสร้างความคาดหวังทางอารมณ์บางอย่างของคุณ ขึน้ มา นัน่ คือเวลาสองทุม่ คุณจะต้องได้รบั การตอบสนองการต้องมีใครสักคนคุยด้วย ซึง่ ถ้าตราบใดทีแ่ ฟนคุณยังท�าหน้าทีน่ นั้ อยู่ มันก็จะไม่เป็นปัญหา แต่เมือ่ ไหร่ทเี่ ลิกกัน คุณจะไม่ใช่แค่เลิกกับแฟน แต่ยงั ต้องเลิกกิจวัตรทีท่ า� มานาน คุณอาจเรียกสิง่ นีว้ า่ การสูญเสีย ความรัก แต่อกี มุมมันคือการถูกหักดิบให้เลิกพฤติกรรมบางอย่าง ไม่ตา่ งจากการทีค่ ณ ุ ตามใจตัวเองด้วยการอนุญาตให้ตวั เองกินชาบู บิงซู และโกโก้เย็น ได้อาทิตย์ละบ่อยๆ ตลอด 6 เดือน แล้วอยูม่ าวันหนึง่ ก็มใี ครสักคนทีค่ ณ ุ จ�าเป็นต้องเชือ่ ฟัง เช่น เทรนเนอร์หรือหมอ สัง่ ให้คณ ุ เลิกกินของพวกนีท้ นั ที สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ คือคุณไม่ตา่ งอะไรกับคนอกหัก ผัวทิง้ คุณอาลัยอาวรณ์กบั การได้กนิ อาหารเพือ่ บันเทิงจิตใจ ไม่ใช่แค่รสชาติหรือประสบการณ์ การกินทีค่ ณ ุ คิดถึง แต่มนั ยังท�าให้คณ ุ คิดถึงอารมณ์ของการได้กนิ ส่วนตัวเรา เราคิดว่าการต้องเลิกกินของอร่อยหนักหนายิง่ กว่าเสียแฟนสักคนอีก เพราะ เสียไปก็ยงั พอหาใหม่ได้ หรืออยูเ่ ป็นโสดก็ชว่ ยตัวเองไปได้ แต่ให้เลิกกินจะเอาอะไรมาทดแทน เพือ่ ตอบสนองตัณหาการกินดีละ่ ? นีเ่ ราก็ยงั นึกไม่ออก ก็เลยพอเข้าใจได้วา่ ท�าไมบางคนถึง ดือ้ เรือ่ งค�าสัง่ หมอ ทัง้ ทีข่ แู่ ล้วขูอ่ กี ว่าถ้าไม่เลิกกินแบบนีจ้ ะตาย อาจเป็นเพราะคนเหล่านี้ ถือคติ ‘เสียชีพ อย่าเสียโอกาสกินเนือ้ สัตว์’ ก็เป็นได้ ฉะนัน้ ถ้าคุณก�าลังอยูใ่ นช่วงเลิกกับแฟน ใหม่ๆ ขอให้คดิ ไว้เลยว่า คุณยังโชคดี อย่างน้อยคุณยังไม่ถกู สัง่ ให้เลิกกิน กลับมาต่อทีเ่ รือ่ งการเลิกกับแฟน ค�าถามทีค่ ณ ุ อาจสงสัยว่า ท�าไมการตัดใจจากแฟน ทีเ่ พิง่ เลิกกันถึงยากเพียงนี?้ นัน่ ก็เพราะคุณไม่ได้แค่เจ็บปวดจากการสูญเสียคนรักเท่านัน้

แต่คณ ุ ก�าลังทนทุกข์กบั การไม่ได้ถกู ตอบสนองทางอารมณ์ทคี่ ณ ุ โหยหา เวลาสองทุม่ ยังเป็น สิง่ เร้า ท�าให้คณ ุ โหยหาการมีใครสักคนคุยด้วยเหมือนเดิม แต่คณ ุ ไม่มตี วั ตอบสนองนัน้ อีกแล้ว เลยเผลอคิดบ่อยๆ ว่าคุณคิดถึงเขา ทั้งที่จริงมันมีความเป็นได้มากว่าคุณไม่ได้คิดถึงเขา คุณแค่คดิ ถึงอารมณ์บางอย่างทีเ่ คยได้ตอนอยูก่ บั เขา นีจ่ งึ เป็นเหตุผลว่าท�าไมคนเราถึงหายดีเวลามีใครคนใหม่ ก็เพราะเราได้รบั ตัวตอบสนอง อารมณ์ใหม่นนั่ เอง หลายคนเลยเลือกใช้ ‘คนคัน่ เวลา’ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า ‘Rebound Relationship’ ทีไ่ ด้มาจากค�าว่ารีบาวนด์ในศัพท์บาสเกตบอล เวลาทีล่ กู บาสกระฉอกออกจาก ห่วง แล้วมีคนโดดตัวจับลูกบาสยัดลงห่วงซ�า้ อีกที ถ้าให้อธิบายก็คงอารมณ์แฟนเก่าชูต้ ลูกบาส ไม่ลง แต่ไม่ทนั ไรก็มอี กี คนมาดามใจจับลูกบาสนัน้ ซ�า้ ลงห่วงอีกที อันนีก้ ข็ นึ้ อยูก่ บั ความต้องการของแต่ละคน แต่ถา้ คุณเป็นคนทีข่ อเลือกอยูก่ บั ตัวเอง คนเดียวดีกว่า คุณก็ตอ้ งเรียนรูท้ จี่ ะปรับกิจวัตรใหม่ เหมือนทีห่ ลายคนแนะน�าว่าให้ไปหาอะไร อย่างอืน่ ท�า เราจะบอกว่านีแ่ หละมันคือเรือ่ งนีเ้ ลย ยกตัวอย่างเช่น ทันทีทคี่ ณ ุ รูส้ กึ ว่าตัวเอง โหยหาอารมณ์บางอย่างจนอยากจะพิมพ์ไลน์ทกั แฟนเก่า ก็ลองเปลีย่ นไปทักเพือ่ นสนิทคุณ แทน และอาจจะเตีย๊ มกับเพือ่ นเลยก็ได้วา่ แกจะต้องเป็นตัวตอบสนองอารมณ์ฉนั ช่วงนีน้ ะ หรือถ้าคุณมีอาการคลัง่ จะเป็นจะตายทุกเสาร์อาทิตย์ทชี่ นิ กับการไปไหนกับแฟน ก็อาจ ใช้วธิ เี อาตัวเองไปอยูใ่ นสภาพแวดล้อมใหม่ทบี่ งั คับให้ตอ้ งท�ากิจวัตรใหม่แทน เช่น รุน่ พีเ่ รา คนหนึง่ แผนสูงมาก ลงทุนซือ้ คอร์สแพงหูฉกี แบบทีน่ �้าตาไหลพรากแค่ไหนก็ยงั ต้องไปเรียน เพราะเสียดายตังค์มากกว่าเสียใจ พูดอีกอย่างคือคุณต้องรูจ้ กั แก้เกมให้ตวั เอง การฝืนตัวเอง ไม่ให้โหยหานัน้ เป็นเรือ่ งยาก และการหาอะไรอย่างอืน่ มาตอบสนองอารมณ์แทนนัน้ ง่ายกว่า ในเมือ่ มันยากก็ไม่ตอ้ งไปท�า ท�าอะไรทีพ่ อท�าได้ และไม่ตอ้ งไปฝืนลืมเขา ไม่ตอ้ ง! ไม่ตอ้ งลืม! เราคนหนึง่ เชือ่ ว่า การลืมคนรักไม่มอี ยูจ่ ริง มีแค่ในเพลง ถ้าพูดให้ถกู ควรเรียกว่า ‘การจัดล�าดับความส�าคัญ’ ต่างหาก ไม่มใี ครลืมใคร เพียงแต่พอเลิกกัน คนทีห่ มดใจจะลด ล�าดับความส�าคัญของอีกฝ่ายลง เช่น ถ้าเขามีคนรักใหม่ คนใหม่กจ็ ะเป็นคนแรกๆ ทีเ่ ขานึกถึง ก่อน ส่วนคุณก็เลื่อนไปอยู่ท้ายๆ แบบนานๆ ครั้งจะนึกถึง หรือที่พูดกันติดปากว่า ‘ลืม’ ซึง่ การเลิกกันทีส่ มบูรณ์กค็ อื การทีท่ งั้ สองฝ่ายต่างลดความส�าคัญของอีกฝ่ายลงได้ทงั้ คู่ การทีค่ ณ ุ ยอมปรับกิจวัตร นอกจากจะช่วยแก้ปญ ั หาการตอบสนองทางอารมณ์ทที่ า� ให้ทกุ ข์แล้ว ก็จะเป็นเรือ่ งนีแ้ หละ คือคุณจะได้ลา� ดับความส�าคัญในชีวติ ใหม่อกี ด้วย อย่าง การสลับเอามาพ่อแม่ เพือ่ น งาน คอร์สเรียน ขึน้ มาเป็นส่วนหนึง่ ในกิจวัตรใหม่ ท้ายทีส่ ดุ แฟน ทีก่ า� ลังจะเก่าของคุณก็จะถูกลดล�าดับลงไปเองโดยอัตโนมัติ จากนัน้ ก็ปล่อยให้วนั เวลา หรือ พูดให้ชดั หน่อยคือปล่อยให้พฤติกรรมใหม่ทคี่ ณ ุ เซตขึน้ มากลายเป็นกิจวัตร คุณก็จะค่อยๆ ‘ลืมเขา’ (แบบทีค่ นชอบพูดกัน) ได้เอง แต่ทงั้ นีท้ งั้ นัน้ อีกข้อหนึง่ ทีจ่ ะท�าให้คณ ุ ตัดใจได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึน้ คือคุณต้องเชือ่ อีกด้วยว่า วันข้างหน้ายังไงก็ดกี ว่าเมือ่ วาน เพราะมัน คือ ‘ความหวัง’ ทีช่ ว่ ยขับเคลือ่ นให้คณ ุ มีแรงใจปรับกิจวัตรไปเรือ่ ยๆ นัน่ เอง


37

เรื่อง : ตนุภัทร โลหะพงศธร ภาพ : getty images

BREATHE OUT

ตัง้ แต่จา� ความได้ ก็รต ู้ วั เองว่าเป็นคนทีช ่ อบเล่นเกม เล่นเกมมาทัง ้ ชีวต ิ จนกระทัง ่ คิดว่าทัง ้ ชีวต ิ นีค ้ อ ื เกม

ผมชอบเล่นเกมกระดาน เสน่ห์ของ เกมประเภทนี้ท�าให้ผู้เล่นมีปฏิสัมพันธ์กัน แบบเรียลไทม์ ยิ่งไปกว่านั้น มันท� าให้ เราได้ รู ้ จั ก ตั ว ตนทั้ ง ของตั ว เองและของ เพื่อนร่วมวงว่าเป็นคนแบบไหน ซึ่งเป็น ผลมาจากระบบภายในเกมนั้ น ๆ ที่ เ ขา ออกแบบมาเพื่ อ ท� า ให้ ผู ้ เ ล่ น เผยตั ว ตน ที่แท้จริงออกมา เกิดเป็นความสนุกที่หา ได้ยากจากเกมที่ต่างคนต่างเล่น ไม่ได้ เผชิญหน้ากันตรงๆ การเผชิญหน้านีแ่ หละ ที่ท�าให้เกิดความตื่นเต้นและรู้สึกท้าทาย เมื่ออยู่ในเกม มันจะผลักดันให้เรา ต้องใส่พลังกันแบบเต็มที่เสมอ ผมก็เป็น เช่นนั้น และเชื่อว่าทุกคนในวงก็น่าจะเป็น เช่นเดียวกัน เหมือนการขับรถแข่งในสนาม เร็ว แรง และอันตราย เพราะคิดแต่เพียง มุง่ ไปสูจ่ ดุ หมายเพือ่ หวังคว้าชัยชนะมาครอง หรือในบางครั้งก็เหมือนการเดินหมากบน กระดาน การตั ด สิ น ใจเลื อ กตั ว หมาก และช่องการเดินแต่ละครั้งย่อมส่งผลต่อ การเดินในครั้งต่อไป เพราะสามารถน�าไป สูผ่ ลลัพธ์ของเกมได้ ถูกทีถ่ กู จังหวะ ย่อมดี กว่าพลาดท่าเสียที ถ้ า ชี วิ ต เป็ น ดั่ ง เกม ไม่ มี เ กมไหน จะท้าทายไปกว่าความรัก สิ่งที่แน่นอน ที่สุดคือบนกระดานที่สองฝั่งมานั่งเผชิญ หน้ากัน ย่อมให้บทเรียนบางอย่างกับผูเ้ ล่น สัญชาตญาณเพือ่ การเอาตัวรอดของมนุษย์ ท� า ให้ เ กิ ด ความรู ้ สึ ก อยากจะเอาชนะ แต่ส�าหรับความรัก ยิ่งจะเอาชนะเท่าไหร่ ยิ่งกลับท�าให้ผมรู้สึกพ่ายแพ้ และรู้สึกผิด ทุ ก ครั้ ง เมื่ อ หวนคิ ด ถึ ง เรื่ อ งราวของมั น แม้ผลลัพธ์ของเกมครั้งนี้ ผมจะเป็นผู้ชนะ ก็ตาม

เธอกั บ ผมเป็ น เพื่ อ นกั น มาตั้ ง แต่ ประถม แม้วา่ เราจะอยูค่ นละห้อง แต่ทกุ ครัง้ ทีเ่ จอกัน เราจะทักทายและพูดคุยกันเสมอ มิตรภาพที่เรามี ท�าให้เรากลายเป็นเพื่อน ที่ดีต่อกัน จนเมื่อเรียนจบประถม เราต่าง ต้องแยกย้ายจากกัน และพวกเราก็รู้ดีว่า โอกาสที่จะได้พบกันอีกคงน้อยเหลือเกิน ระยะทางที่ห่างไกลสร้างความห่างเหินให้ เข้ามาแทนที่ เราไม่ได้ตดิ ต่อกันอีก ระยะเวลา ทีผ่ นั ผ่านไป คงไว้แต่ภาพความทรงจ�าทีย่ งั ชัดเจนเสมอในทุกครั้งที่หวนคิดถึง จนกระทั่งเช้าวันสอบเข้าเรียนต่อ มัธยมปลาย ระหว่างที่ผมนั่งรอเวลาเข้า ห้องสอบบริเวณริมสนามกีฬาหน้าทางเข้า โรงเรียน ผมพบกับเธออีกครั้ง หมากบน กระดานสองตัวเดินวนมาเจอกันอีกครั้ง ในอีกสามปีต่อมา ภาพของเธอก�าลังเดินเข้ามาใกล้ ผมตะโกนเรียกด้วยความดีใจ ทันทีที่เธอ ได้ยนิ เธอสบตาและยิม้ ให้ ก่อนวิง่ เข้ามาหา เราทั้งคู่ดีใจมากที่รู้ว่าต่างก็เลือกมาสอบ เข้าทีโ่ รงเรียนเดียวกัน เธอเลือกสอบภาษา ญีป่ นุ่ ส่วนผมเลือกสอบวิทย์-คณิต เราคุยกัน ได้เพียงไม่กี่ประโยค ก่อนเสียงประกาศ ตามสายจะเรียกให้เข้าห้องสอบ นั่ น เป็ น เวลาชั่ ว ครู ่ ที่ เ ราทั้ ง คู ่ ไ ม่ มี โอกาสได้แลกเบอร์โทร.หรืออีเมลเพื่อไว้ ติดต่อกัน ผมหวังเพียงแต่ให้เราได้เข้าเรียน ทีน่ เี่ พราะจะได้พบกันอีกครัง้ แล้วความหวัง ก็เ ป็ น จริ ง ผมได้ เ รี ย นห้ อ งเดี ย วกั บ เธอ เพราะคะแนนสอบของผมติดอันดับสอง ตอนทีเ่ ธอรูว้ า่ ได้เรียนห้องเดียวกัน เธอดีใจมาก เหมือนกับที่ผมเองก็ดีใจไม่น้อยไปกว่ากัน หลั ง จากเรี ย นครบสั ป ดาห์ แ รก

โรงเรี ย นอนุ ญ าตให้ นั ก เรี ย นยื่ น ค� า ร้ อ ง เปลีย่ นสายการเรียนได้ ผมยังคงเลือกเรียน ภาษาญี่ปุ่นต่อไปตามเดิม การตัดสินใจ เช่นนีก้ ด็ ว้ ยเหตุผลสองข้อ ข้อแรก หลังจาก ได้เรียนภาษาญีป่ นุ่ มาหนึง่ สัปดาห์ รูส้ กึ ว่า สามารถเรียนต่อไปได้ ท้าทายดี และข้อทีส่ อง ก็เพราะเธอ เรากลายเป็นเพือ่ นสนิท ไปไหนมาไหน ด้วยกันตลอด กินข้าวกลางวันด้วยกัน ท�า รายงานด้วยกัน ไปเที่ยวด้วยกัน เพื่อนๆ และครูต่างแซวว่าเราเป็นแฟนกัน เธอ หัวเราะเสมอเมือ่ ถูกแซว มิตรภาพทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างเรามันสวยงาม จนผมและเธอ ไม่อยากให้มีสิ่งใดมาท�าลายไป เธอเคย พูดเล่นๆ กับผมว่า “ถ้า 30 แล้วไม่มีใคร ให้มาแต่งงานกัน” ผมหัวเราะ คิดถึงเส้นทาง บนกระดานเบื้องหน้าที่ทอดยาวไป เวลาล่วงเลยไปไม่นานนัก ความรัก จริงๆ เข้ามาทักทายเธอ และเมือ่ ผมรูต้ วั อีกที เธอกับเพื่อนผู้ชายอีกคนก็ตกลงคบเป็น แฟนกั น จู ่ ๆ ผมก็ ก ลายเป็ น คนอกหั ก เสียดือ้ ๆ เพราะผมเคยรูส้ กึ กับเธอมากกว่า เพื่อน แต่เลือกไม่พูดออกไป ได้แต่เก็บไว้ ภายในส่วนลึกที่สุดของหัวใจ เพราะผม ไม่ อ ยากแลกกั บ มิ ต รภาพถ้ า หากต้ อ ง เสียไปในวันที่หมดรัก ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ท�าให้ ความสนิทใกล้ชิดที่เคยมีแปรเปลี่ยนไป เวลาทีเ่ ธอเคยใช้รว่ มกับผมลดน้อยลงเรือ่ ยๆ บางวันเราไม่ได้พูดกันเลยด้วยซ�า้ จนท้าย ที่สุดเราไม่ได้คุยกันอีก กลายความเงียบที่ เหงาและชวนเศร้าไปพร้อมๆ กัน ไม่นานเรากลายเป็นแค่เพือ่ นร่วมห้อง เลวร้ายไปกว่านัน้ คือการใช้ความรักของเธอ

เป็นเดิมพัน ‘ให้เต็มที่ไม่เกินสามเดือน’ ผมแอบคุยกับเพื่อนด้วยความมั่นใจ และ ตกลงกันว่าคนที่แพ้จะต้องท�าตามเงื่อนไข ของคนชนะ แล้วก็เป็นตามทีเ่ ดิมพันไว้ ไม่ถงึ สามเดือนเธอเลิกกับแฟน นั่นเป็นครั้งแรก ในชีวิตที่ผมเห็นน�้าตาของเธอ ในตอนนั้น ผมรูต้ วั ทันทีวา่ เกมนีถ้ งึ ผมจะชนะกับเพือ่ น แต่ก็พ่ายแพ้กับเธอ ตลอดสามเดือนทีผ่ า่ นมา หลายครัง้ ทีเ่ ธอมีปญ ั หากับแฟน เธอพยายามเดินเข้า มาขอปรึกษากับผม แต่ผมเดินหนี และไม่เคย ให้ความสนใจเธอเลย เพราะผมต้องการชนะ เกมที่ได้เดิมพันไว้ ถ้าเรามองว่าชีวิตเป็นเกมกระดาน และเราอินกับเกมตรงหน้ามากเกินไปนั้น อาจท�าให้เราได้ทา� สิง่ ทีน่ า่ รังเกียจทีส่ ดุ ลงไป ผมสารภาพเธอทุกเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ และ ขอโทษกับทุกสิ่งที่ผมเคยท�า เธอเข้ามา กอดผมทัง้ น�า้ ตา ไม่ตอ่ ว่าใดๆ เพียงพูดเบาๆ กับผมว่า “เราก็ขอโทษเหมือนกันนะ” ไม่มใี ครชนะเลยในเกมแห่งความรัก ผมแพ้ตงั้ แต่วนิ าทีแรกทีเ่ ห็นความรักเป็นเกม ในเกมนีผ้ มเดิมพันมันด้วยความเป็นเพือ่ น ยอมท�าลายความเชือ่ ใจและมิตรภาพ แม้เธอ จะให้อภัยและมอบความเป็นเพือ่ นกลับมา แต่ความรู้สึกผิดยังคงอยู่ในหัวใจผมอย่าง ทีไ่ ม่มสี งิ่ ใดสามารถลบเลือนให้จางหายได้ ทุกสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ท�าให้ผมรูจ้ กั ระมัดระวังและ ดูแลความรู้สึกระหว่างเรา ทุกครัง้ ทีเ่ ราเจอกันเธอจะเข้ามากอด ผมเสมอ ไม่ใช่ในฐานะคนรัก แต่ในฐานะ เพื่อนรัก และมิตรภาพระหว่างผมกับเธอ ก็จะคงอยู่เช่นนี้ตลอดไปตราบที่เรายังคง ระลึกถึงกันเสมอ

BREATHE OUT : ตนุภัทร โลหะพงศธร อาชีพ : นักเขียนประจ�านิตยสาร a day BULLETIN อดีตนักเรียนจิตวิทยา ผู้หลงใหลการสังเกตตั้งแต่พฤติกรรมระดับบุคคลไปจนถึงปรากฏการณ์ทางสังคม พร้อมค้นหาค�าอธิบายในประเด็นที่เกี่ยวข้องด้วยมุมมอง องค์ความรู้ และทฤษฎีจิตวิทยา โดยมีแนวความคิดส�าคัญที่ว่า ‘ทุกพฤติกรรมมีสาเหตุและเปลี่ยนแปลงได้’

Love is a Losing game


a day bulletin

,

Editor s NotE

38

วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ บรรณาธิการบริหาร FB : theaestheticsofloneliness

#หงายการ์ดรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์

issue 514 27 NOV 2017

เวลาเห็นใครก�าลังถูกรุมด่าในโซเชียลมีเดีย ผมมัก จะรู้สึกสงสาร ไม่ว่าเขาจะโง่งมหรือต�่าช้าแค่ไหน ไม่ว่าเขาจะมี ความเห็นหรือจุดยืนแตกต่างอย่างไร แทนที่จะเข้าไปร่วม รุมกระท�าซ�้าเติม หรือยืนดูแล้วหัวเราะด้วยความสะใจ ผมกลับรูส้ กึ กลัวอยูล่ กึ ๆ นึกภาพภายในใจว่าถ้าต้องไปตก อยู่ในที่นั่งเดียวกับเขา แล้วเราจะเป็นอย่างไร วันก่อนระหว่างก�าลังรถติดๆ กันอยู่ ผมนั่งคุยกับ เพื่อนเก่าคนหนึ่ง ในฐานะที่เขาเป็นคนโด่งดังและก�าลังมี ผลงานใหม่ อ อกน� า เสนอ คาดว่ า คงจะต้ อ งมายื น อยู ่ ท่ า มกลางแสงไฟ และค� า วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ ข องคนใน โซเชียลมีเดีย เขาเล่าว่ามีนักข่าวไปสัมภาษณ์ ถามว่าเขา คิดอย่างไรกับชาวโซเชียลฯ ในทุกวันนี้ ผมพูดบ่นให้เขาฟัง อย่างที่ชอบเขียนถึงประเด็นนี้ อยู่บ่อยๆ ว่าสิ่งที่เรียกว่าชาวโซเชียลฯ นั้นดูมีคุณภาพ ตกต�า่ ลงจนน่าเป็นห่วง เขาบอกว่าไม่รู้เหมือนกัน เพียงแต่ คิดว่าโซเชียลมีเดียไม่ใช่พื้นที่ที่เราจะมานั่งพูดคุยอะไรกัน เราไม่สามารถสื่อสารกันดีๆ ยิ่งไม่ใช่ที่ที่จะมาถกเถียง ประเด็นอะไรที่จริงจัง เรื่องการเมืองและศาสนานั้นลืมไป ได้เลย แค่ข่าวบันเทิงหรือข่าวมโนสาเร่ที่เราเสพกันตาม ปกติ ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโตที่ทุกคนจะต้องมารุมด่า หรือรุมถล่มใครสักคนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน บางวันผมเปิดดูเฟซบุ๊กตอนเช้าๆ ก็ฉุกคิดขึ้นมา โอ้โฮ นี่เราต้องโกรธอะไรกันขนาดนี้เลยเหรอ กับบางทีมัน เป็นแค่เรือ่ งเล็กน้อยอย่างการยืนพิงเสารถไฟฟ้า แซงคิวซือ้ กาแฟ หรือสะกดค�าว่า คะ ค่ะ ผิดไป โซเชียลมีเดียเป็นที่ ที่เราใช้งานถือสาหาความกันแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ใครพูดอะไรผิด ท�าอะไรพลาดนัน้ เป็นเรือ่ งทีย่ อมกันไม่ได้เลย มันจะโดนถล่มให้จมดิน ไอ้เ- ี้ ย ไอ้--ัตว์ กลายเป็นค�าสามัญธรรมดาที่เราสาด ใส่เหยือ่ นอกเหนือขึน้ ไปจากนัน้ ก็เป็นการแช่งชักหักกระดูก แบบไม่ต้องผุดไม่ต้องเกิดอีก เมื่อกดเข้าไปดูโปรไฟล์ของ

คนที่ทิ้งคอมเมนต์หยาบคายเหล่านี้เอาไว้ ก็เห็นเขาอุ้มลูก จูงหลานน่ารัก ชีวิตดีมีความสุข มีหน้าที่การงานดี ดูเป็น ปกติธรรมดาเหมือนเราๆ แต่เมื่ออยู่ในโลกแห่งนี้ ทุกคน ต้องแสดงความโกรธอะไรสักอย่างตลอดเวลา หงุดหงิด ฉุนเฉียวคือคนจริงใจ ใช้ความโกรธเป็นค่าดีฟอลต์ของตัวเอง มีค วามเชื่อ ว่ า พวกที่ช อบเสีย ดสีเ หน็บ แนมเป็ น คนเก่ ง ฉลาด ไอคิวสูง ในขณะที่คนอ่อนโยนมีเมตตา เป็นพวก โลกสวย ในฐานะของคนท�างานสื่อ ที่ต้องเสนอคอนเทนต์ ในโซเชี ย ลมี เ ดี ย ทุ ก วั น ๆ เห็ น การกระท� า รุ น แรงต่ อ กั น แบบนีแ้ บบรายวัน ก็ทา� ให้นกึ หวาดเสียว เพราะเราไม่มที าง รู้เลยว่าวันไหนจะเป็นวันซวยของเรา พานนึกไม่อยาก เข้าไปร่วมวง และไม่อยากโหนกระแสท�าคอนเทนต์อะไร ที่ไปซ�้าเติม เพราะเมื่อถึงวันที่เราท�าอะไรผิด วันที่เราเสนอ อะไรพลาด และวันนั้นก็จะเป็นวันที่เราไปตกอยู่ในที่นั่ง เดียวกับเหยื่อเหล่านั้น อย่างทีเ่ พือ่ นผมว่าไว้ โซเชียลมีเดียไม่ได้เป็นทีเ่ อาไว้ พูดคุยถกเถียง เมื่อถกเถียงกันไป เราจะไม่สามารถหา consensus ใดๆ ได้เลย เพราะทุกคนต่างก็มีกองเชียร์ของ ตัวเอง ทุกคนขึ้นเวทีและเล่นใหญ่ไปมากแล้ว ดังนั้น แค่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ต้องเล่นใหญ่ไปตลอด หาทางโกรธ เกลียด ต�าหนิติเตียนได้ตลอด ทุกคนเหมือนยืนอยู่บนเวที แสงไฟสาดส่อง มีบทบาทให้เล่นใหญ่ๆ แสดงออกเยอะๆ เพื่อขับเน้นตัวตนให้เด่นชัด ในโลกแบบนี้ มันเหมาะที่เราจะเอาไว้เป็นที่สร้าง ฐานแฟนคลับ ผู้ติดตาม วงเพื่อน ฯลฯ ซึ่งคนเหล่านี้คือ กลุ่มคนที่เต็มไปด้วยฉันทาคติเอนเอียงมาทางด้านตัวเรา ไม่ว่าเราท�าอะไรก็จะถูกและดีไปเสียหมด เมื่อขึ้นไปอยู่ บนเวทีใหญ่ขนาดนั้น เดอะโชว์มัสต์โกออน เสียหน้าไม่ได้ ยอมรับความเห็นแตกต่างไม่ได้ เพราะจะเสียฐานแฟนคลับ ที่เฝ้ารอเชียร์ ไม่แปลกที่เราทนฟังความเห็นต่างไม่ได้ มันง่ายมากทีเ่ ราจะสร้างตัวตนขึน้ มาจากการปฏิเสธ

ตืน่ ขึน้ มาก็ดา่ โน่นด่านี่ ต�าหนิตเิ ตียนโลกรอบตัว การปฏิเสธ เป็นหนทางที่ท�าให้ตัวเราเด่นชัด เรารู้เสมอว่าเราไม่ชอบ อะไร และโลกนี้ก็เต็มไปด้วยสิ่งที่เราไม่ชอบ มันง่ายมาก ที่เราจะมีตัวตนขึ้นมา มีเพื่อนฝูงยอมรับ ด้วยการแคป หน้าจอคนโง่หรือคนเลวสักคนมาโพสต์ประจาน ราวกับทุกคนมีต้นมะขามของตัวเอง ไว้ใช้ลากใคร มาแขวนคอแล้วเอาเก้าอีฟ้ าด โชว์ให้เพือ่ นๆ ทีม่ ายืนล้อมวง แล้ ว หั ว เราะรื่ น เริ ง เราร่ ว มกั น สร้ า งนรกแห่ ง นี้ ขึ้ น มา บนพื้นที่ว่างเปล่าที่เปิดกว้างเสรี เกิดจากเทคโนโลยีที่มี ความเป็นกลาง ไร้เจตนาในตัวมันเอง จนเมื่อพวกเราเข้า มาใช้งานร่วมกัน มันก็เกิดเจตนารวมหมูข่ องพวกเราขึน้ มา กลายเป็นนรกที่เราเวียนว่ายอยู่ในทะเลเพลิงแห่งอารมณ์ ของกันและกัน คนเราล้วนเน่าหนอน ชีวติ แต่ละวันๆ เราต่างก็ก�าลัง พยายามวิวัฒน์ดิ้นรนขึ้นจากความต�่าตม ไปหาสิ่งดีขึ้น สูงส่งขึ้น ถึงแม้โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะพยายามเอาด้าน ดีๆ หันเข้าหากัน แต่ก็ต้องมีบางส่วนที่เกิดความผิดพลาด โง่งม เลวทราม ปรากฏออกไปบ้าง และเราก็ท�าดีที่สุดได้ แค่การขอโทษ มันจะอะไรกันนักกันหนากับความผิดพลาด เราไม่ใช่ นรกของกันและกัน อย่าไปตัดสินคนอื่น ความผิดพลาด เป็นสิ่งที่เราทุกคนล้วนต้องมี เมื่อมาอยู่รวมกันเป็นสังคม ใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้น เราเรียนรู้ว่าสิ่งส�าคัญที่สุดที่ควรแบ่งปัน ให้กันและกันคืออภัยและเมตตา พอเติบโตขึน้ เราจะยิง่ อภัยง่ายขึน้ โอนอ่อน ผ่อนปรน และผสานสอดคล้องกับสิง่ รอบตัว ตัวตนของเราจะเกิดขึน้ จากการแสดงความรัก หลอมรวมกับสิง่ อืน่ ไม่ใช่การตัดทอน ปิดกั้น หรือปฏิเสธ ในโลกแห่งความจริงนั้นขาดแคลนความรัก ความเมตตาอยู่แล้ว อย่าให้สิ่งนี้สูญสิ้นไปในโซเชียลมีเดีย


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.