adB436

Page 1

TODAY EXPRESS PRESENTS

ISSUE 436 I 31 OCTOBER 2016


ขอน อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ข าพระพ�ทธเจ า เดอะ โมเมนตัม


“การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจ�าเป็นก็ต้องปิด”

ปีที่ 9 ฉบับที่ 436 วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Editor’s Note Contents

สิ่งที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาหลายวันมานี้ และแทบจะเกิดกับหลายๆ คนรอบตัวผู้เขียนเลยก็ว่าได้ คือการที่ต่างคนต่างก็มาถามไถ่ ชักชวนกันไปสนามหลวง ด้วยเหตุผลว่ารูส้ กึ ไม่คอ่ ยสบายใจ และอยากถ่ายเทความรูส้ กึ หนักอึง้ ออกไปบ้าง มีคนบอกว่า อย่างน้อยการได้ไป มองเห็นภาพพระบรมมหาราชวังก็ช่วยท�าให้จิตใจสงบขึ้น เพราะรู้ว่าภายในนั้นเป็นที่ตั้งของพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมพิ ลอดุลยเดช แม้จะรูว้ า่ ไปให้ใกล้แค่ไหน ก็ไม่สามารถใกล้ได้เท่าทีห่ วั ใจพวกเราอยากจะใกล้ ในช่วงเวลาเดียวกัน มีคา� พูดหนึง่ ของประชาชนคนไทยทีผ่ เู้ ขียนประทับใจ จนต้องยกมากล่าวอีกครัง้ ไว้ ณ ทีน่ ี้ “เรารูว้ า่ ถึงอย่างไรก็ไม่ได้เข้าไป เรารูว้ า่ ฝนก็จะตก รูว้ า่ เขายังไม่ได้เปิดโอกาสให้เข้าไป แต่อยูบ่ า้ นไม่ได้ ต้องมา เพราะว่าอยากอยูใ่ กล้ทสี่ ดุ เท่าทีจ่ ะใกล้ได้ วันนีเ้ ขาให้ใกล้แค่นกี้ อ็ ยูแ่ ค่นี้ วันหน้าให้ใกล้กว่านีก้ จ็ ะขยับไปใกล้กว่านี้ มาแค่นกี้ ช็ นื่ ใจ” ประชาชนบอกกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ถึงเหตุผลที่มายืนเข้าแถวตากแดดตากฝนรอกราบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บริเวณรอบก�าแพงพระบรมมหาราชวัง นายวิษณุกล่าวว่า “เป็นค�าสัมภาษณ์ทไี่ พเราะเหลือเกิน” (ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันอังคารที่ 16 ตุลาคม 2559) อย่างไรก็ตาม โมงยามนี้ ใกล้หรือไกลก็ไม่สา� คัญมากเท่ากับว่า พวกเราต่างก็สญ ู เสีย พวกเราต่างรูส้ กึ ว่างโหวงอยูภ่ ายในใจ และพวกเราก็ ต้องการอะไรสักอย่างมาเติมเต็ม แต่ผลแห่งการรีบถมและเติมในเวลาอันสัน้ อาจล้นหลากและลงท้ายด้วยการท�าร้าย ท�าลายกัน มากกว่า จะรักษา เยียวยา ความรูส้ กึ เจ็บปวดในหัวใจทีเ่ ราต่างก็มเี หมือนๆ กัน ผูเ้ ขียนเพิง่ เขียนไปไม่นาน เกีย่ วกับการทีผ่ คู้ นจากทัว่ ทุกสารทิศพากันเดินทางมาสนามหลวง ส่วนหนึง่ มาเพือ่ แสดงความเคารพพระองค์ทา่ น และอีกส่วนหนึ่งซึ่งก�าลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ คนที่เดินทางมาเพื่อเป็นจิตอาสาช่วยท�าความสะอาดพื้นที่รอบๆ สนามหลวง และคนที่ เดินทางมาเพือ่ แจกอาหารการกิน ประเด็นส�าคัญอย่างยิง่ ในตอนนีค้ อื ทัง้ สองกลุม่ นีไ้ ม่สมดุลกัน คนท�าความสะอาดหรือเก็บขยะ เริม่ เก็บไม่ทนั คนทีท่ งิ้ ขยะ เราจึงได้เห็นภาพขยะกองล้นเกินจนเป็นภาพทีไ่ ม่นา่ เกิดขึน้ บริเวณพระบรมมหาราชวัง ยังไม่ตอ้ งพูดถึงความวุน่ วาย ไร้ระเบียบ ไม่เหมาะสมด้วยกาลเทศะอีกทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นตลอดหลายวันมานี้ จะว่าไปการตั้งค�าถามถึงการจัดการของเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่ ทหาร ต�ารวจ หรืออาสาสมัครทีม่ าดูแลความเรียบร้อย เป็นค�าถามทีอ่ ยูป่ ลายเหตุเกินไป เพราะไม่มที างทีเ่ จ้าหน้าทีจ่ ะดูแลได้ทวั่ ถึง ในเมื่อคนทิ้งมีมากกว่าคนเก็บหลายเท่า ประเด็นที่น่าคิดกว่านั้นน่าจะตั้งต้นที่ตัวเองว่าเราควรจะจัดการกับความเศร้าเสียใจของเรา อย่างไรก่อนมากกว่า การลุกขึน้ มาท�าความดี เพือ่ เป็นการระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั นัน้ ก็อาจเป็นวิธหี นึง่ ทีช่ ว่ ยให้เราคลายเศร้า และรู้สึกอิ่มเต็มขึ้นมาได้ แต่ถ้าเราอยากตามรอยที่พระองค์ท่านทรงท�าไว้เป็นแบบอย่าง เราต้องไม่ลืมด้วยว่า พระองค์ท่านทรงท�าตลอด พระชนม์ชีพ ไม่มีว่างเว้น และการท�าความดีของพระองค์ท่านนั้น หลายสิ่งเป็นเรื่องของการท�าโดยไม่มีใครทราบมาก่อน หรือพูดให้ถูก ก็เป็นเรื่องของการปิดทองหลังพระที่พระองค์ท่านเคยตรัสไว้ว่า “การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจ�าเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมาก ไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่า ไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ในพิธพี ระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมือ่ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 บอกตามตรงว่า มีเรือ่ งราวมากมายทีใ่ นหลวงท่านทรงท�าไว้ แล้วพวกเราหลายคนอาจจะยังไม่รดู้ ว้ ยซ�้า ผูเ้ ขียนเองก็เพิง่ มารูห้ ลายเรือ่ ง ยิ่งรู้ก็ยิ่งทึ่งที่คนคนหนึ่งสามารถท�าอะไรให้แผ่นดินและเพื่อคนอื่นได้มากมายถึงเพียงนี้ แต่แม้เราจะไม่รู้เรื่องเหล่านั้นไปบ้าง แต่สิ่งหนึ่ง ทีเ่ ราสามารถเรียนรูจ้ ากท่านได้แน่ๆ ก็คอื การท�าความดีนนั้ ดีอยูใ่ นตัวของมันอยูแ่ ล้ว ไม่วา่ เราจะท�าทีไ่ หน หรือมีคนเห็นหรือไม่ เราก็เรียก มันว่าความดีอยูน่ นั่ เอง ขณะเดียวกัน เราต้องตระหนักให้มากๆ ด้วยว่า การท�าความดีเพือ่ ผูอ้ นื่ นัน้ เราควรท�าเพือ่ เป็นการช่วยเหลือให้เขา พ้นจากความยากล�าบาก ให้ในสิ่งที่เขาขาดหรือร้องขอ ต้องไม่ผูกขาดการท�าความดีว่าต้องเราท�าเท่านั้นถึงจะดี คนอื่นท�าแปลว่าไม่ดี เท่าเรา ความดีนนั้ ใครก็อยากท�า เพียงแต่วธิ กี ารต่างหากทีบ่ างทีเราก็ท�าได้ไม่ดเี ท่าคนอืน่ และการยอมรับว่าเราท�าได้ไม่ดเี ท่าและปล่อยให้ คนที่ท�าได้ดีกว่ารับหน้าที่ไปก็เป็นความดีเช่นกัน ดีตรงที่ไม่เป็นภาระ ไม่ขัดขวาง ไม่สร้างความล�าบากให้กับคนอื่นนั่นเอง จริงอยู่ทุกคนล้วนเสียใจและว่างเปล่า แต่เราควรจัดการเติมเต็มความว่างเปล่าอย่างมีสติ ด้วยการท�าในสิ่งที่จ�าเป็นต้องท�า และไม่ท�า ในสิ่งที่ยังไม่จา� เป็น ความว่างเปล่ามันน่าเศร้าก็จริง แต่ภาวะล้นทะลักโดยไม่มีใครควบคุมได้ อาจจะน่าเศร้ากว่า วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร

In Memory of Thailand’s Beloved King ประมวลภาพเหตุการณ์ ถวายความอาลัย ของพสกนิกรชาวไทย ทั่วประเทศ

Memories in Photographs เรื่องราวและความทรงจ�า ของผู้เก็บสะสม พระบรมฉายาลักษณ์

Royal Project พระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

The Artist Talks บทสัมภาษณ์ วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ กับ ผลงานภาพประติมากรรม ชุด ‘Untitled’

Royal Speech กระแสพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

ทีป่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผูพ ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม รองบรรณาธิการ วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ วรัญญู อินทรก�าแหง กองบรรณาธิการ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ปริญญา ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล มิ่งขวัญ รัตนคช กมลวรรณ ส่งสมบูรณ์ ศรัญญา โรจน์พทิ กั ษ์ชพี ประสานงาน / นักเขียน ตนุภทั ร โลหะพงศธร บรรณาธิการภาพ นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยี่ดวง มณีนชุ บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี ชยุตม์ คชโกศัย อรณัญช์ สุขเกษม พิสจู น์อกั ษร หัสยา ตัง้ พิทยาเวทย์ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ไม้ลา� ดวน ธมนวรรณ กัวหา ฝ่ายผลิต วิทยา ภูท่ อง ทศพล บุญคง ทีป่ รึกษาฝ่ายโฆษณา ศรวณีย์ ศิรจิ รรยากุล ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, มนัสนันท์ รุ่งรัตนสิทธิกุล 08-4491-9241 ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, มาสสุภา เอี่ยมมงคลศิลป์ 08-5056-0083, ณัฐวีณ์ ประมุขปฐมศักดิ์ 08-3922-9929 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจุฬางกูล 08-1639-1929, สุธาวัลย์ สุวรรณสิงห์ 08-1304-7070, ดวงใจ ดวงจังหวัด 08-6802-9996 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้ผลิต บริษัท เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com, www.godaypoets.com นักศึกษาฝึกงาน ชัญญานิษฐ์ ชัยณรงค์สิงห์


In Memory Of Thailand’s Beloved King

21 - 24 October 2016


In Memory Of Thailand’s Beloved King

ภาพ : Reuters, themomentum.co, วงศกร ยี่ดวง

วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 13.00 น. ภาพประวัตศิ าสตร์ครัง้ ส�าคัญได้เกิดขึน้ เป็นวันที่ประชาชนราว 3 แสนกว่าคนจากทั่วประเทศ รวมตัวกันที่ท้องสนามหลวง เพื่อร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี พร้อมกับวงออร์เคสตรา จากวงดุริยางค์ สยามฟิลฮาร์ โมนิก ประกอบไปด้วยนักดนตรีกว่า 200 คน นักร้องประสานเสียง อีก 350 คน รวมแล้วกว่า 500 ชีวติ ซึง่ น�าโดยวาทยกร คีตกร นักประพันธ์เพลงคลาสสิก ชือ่ ดัง อาจารย์สมเถา สุจริตกุล ในขณะทีท่ างทีมของ ‘ท่านมุย้ ’ - หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล บันทึกเสียงสดและถ่ายท�าเป็นภาพยนตร์เพลง ก่อนน�าไปฉายในโรงภาพยนตร์ทวั่ ประเทศ และสถานีโทรทัศน์ต่างๆ เพื่อน้อมร�าลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช


Memories In Photographs

ไม่วา่ พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จะปรากฏขึ้นคราวใด ภาพความทรงจ�าและภาพแห่งความประทับใจของใคร หลายๆ คนก็ฉายซ�้าขึ้นอีกครั้ง ราวกับว่าเหตุการณ์ เรือ่ งราว และทีม่ าของรูปภาพนัน้ เพิง่ เกิดขึน้ เพียงเมือ่ วาน สามารถเล่าย้อนได้ซ�้าๆ อย่างไม่รู้เบื่อ และไม่มีทีท่าว่า จะลืมเลือน เราจึงอาสาพาคุณไปพบปะพูดคุยกับ นักสะสมภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพื่อค้นความทรงจ�าร่วมกัน


The Starting Point ป้าเก็บรูปของราชวงศ์มาตั้งแต่สมัยที่เรียนประถม 4 ตอนนัน้ ป้าไม่มพี ่อ ก็รกั ท่านเหมือนพ่อบังเกิดเกล้า ทุกวัน แม่ก็จะเล่าเรื่องของท่านให้ฟัง แล้วป้ามีเพื่อนอยู่คนหนึ่ง เป็นลูกของนายทหารชัน้ สูง เราคุยกันว่าอยากเก็บรูปราชวงศ์ ก็เลยแข่งกันเก็บ สมัยนั้นไปหาซื้อตามร้านแผงลอยที่เขา ขายๆ กัน รูปละ 2 บาท 3 บาท หรือบางครัง้ ก็ไปขอซือ้ จาก ร้านถ่ายรูปแถวเสาชิงช้า ตอนนั้นรู้สึกจะได้ค่าขนมวันละ 5 บาท ก็แบ่งเงินไปซื้อรูปเก็บไว้ ปรากฏว่าตอนหลังเพื่อน ก็เลิกเก็บไปเพราะภารกิจเขาเยอะ ป้าก็เก็บมาคนเดียว จนกระทั่งถึงตอนนี้ที่อายุเยอะ ไม่สามารถออกไปเดินซื้อ รูปได้เหมือนเมือ่ ก่อน ก็ไม่คอ่ ยได้ซอื้ เพิม่ แล้ว ซึง่ ส�าหรับป้า การเก็บพระบรมฉายาลักษณ์ของราชวงศ์ก็คือการแสดง ความรักและความภักดีอย่างหนึ่ง

The Memories ทุกวันปิยมหาราช ป้าจะต้องไปรอรับเสด็จทีล่ านพระบรมรูปทรงม้า และทุกวันเฉลิมพระชนมพรรษา ป้าจะไปนัง่ รอ ท่านเสด็จฯ ทีว่ ดั พระแก้ว คอยตัง้ แต่ 4 โมงเช้า ท่านเสด็จฯ 4 โมงเย็น ป้าไปทุกปีจนมีรปู ติดมากับพระองค์ทา่ น เป็นรูป เราก�าลังนั่งรออยู่ด้านหลัง ส่วนด้านหน้าเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที ่ 9 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และทู ล กระหม่อ มหญิง อุบลรัตน์ฯ เสด็จ อยู ่ด้า นหน้า ถ้าถามว่าประทับใจอะไรในตัวพระองค์ท่านก็ตอบยาก เหมือนกัน เพราะมันคือทุกอย่างที่ท่านท�า เราเคยลอง กลับมาคิดนะว่า เราท�างาน เราได้ท�าหน้าที่หน้าที่หนึ่ง เราก็ทา� อยูแ่ ต่หน้าทีน่ นั้ แต่พระองค์ทา่ นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และท่านทรงท�าทุกหน้าที่เลย มันเป็นเรื่องยากนะที่จะมี คนที่สามารถท�าแบบนั้นได้ เพราะขนาดเราท�างานแค่ หน้าที่เดียว เรายังเหนื่อย ยังไม่ไปยุ่งกับหน้าที่ของคนอื่น เลย แต่ไม่ใช่กับท่าน แม้ท่านจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ท่านกลับท�างานหนักยิ่งกว่าประชาชนทั่วไป ดิน น�้า ลม ไฟ ท่านท�าหมด

The Treasures of Life จะว่าไปป้าก็ถูกใจทุกรูปนะ ถ้าไม่ถูกใจก็คงไม่ซื้อมา (หัวเราะ) แต่ถ้าถามว่ารูปไหนได้มายากมากน่าจะเป็น ปฏิทินเฉลิมราชย์ 50 ปี ก่อนหน้านี้ป้าท�างานที่การไฟฟ้า ฝ่ายผลิต ซึง่ การไฟฟ้าฯ ได้ปฏิทนิ เล่มนีม้ า 3 เล่ม เป็นของ ผู้ว่าฯ 1 เล่ม รองผู้ว่าฯ 1 เล่ม และก็ยังเหลืออีกเล่มหนึ่ง แล้วมีอยู่วันหนึ่งป้าขึ้นไปเซ็นเช็คกับรองผู้ว่าฯ รองผู้ว่าฯ ท่านมีปฏิทนิ นีอ้ ยู ่ ท่านก็เลยให้มา พอได้มาเราไม่บอกใคร ในที่ท�างานเลย กลัวเดี๋ยวเขาจะขอ (ยิ้ม)

Nicha Nichabool เรื่อง : พิมพ์อร นทกุล ภาพ : มณีนุช บุญเรือง “ถ้าสังเกตหน้าท่านดีๆ จะเห็นว่าท่านยิ้มตลอดนะ” คุณป้าณิชา ณิชาบูล วัย 70 ปี พูดด้วยรอยยิ้มขณะที่เรา ก�าลังพลิกดูพระบรมฉายาลักษณ์เก่าๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์ ในกล่องพลาสติกใสทีค่ ณ ุ ป้าเก็บรักษาไว้ ในตูเ้ ป็นอย่างดี บางรูปเป็นรูปทีเ่ ราเคยผ่านตามาบ้าง แต่หลายรูปก็เป็น รูปทีเ่ ราไม่คอ่ ยคุน้ เท่าไหร่ ซึง่ ความประทับใจของการนัง่ คุยกับคุณป้าในวันนัน้ ไม่ใช่เพียงแค่พระบรมฉายาลักษณ์ ที่ตั้งอยู่ตรงหน้าอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นเรื่องเล่าสุดพิเศษของคุณป้าตั้งแต่การเป็นรุ่นน้องของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ ไปจนถึงชีวิตพอเพียงของเธอในตอนนี้

King Bhumibol, The Soul of Life “ตั้ ง แต่ เ กษี ย ณมา ค� า สอนของ พระองค์ทา่ นเราน�ามาปรับใช้อย่างเดียวเลย คือ ความพอเพียง พอเกษียณ รายรับป้า ก็ ไม่มีแล้ว ได้บ�าเหน็จมาก้อนเดียวก็จบ ป้าจึงต้องใช้หลักพอเพียงของพระองค์ ท่านนี่แหละ เวลาใครเขาไปเที่ยว เราก็จะ คิดแล้วว่า ‘เฮ้ย ตอนที่เรายังท�างานอยู่ เราไปมาหมดแล้ ว นะ’ อาหารที่ ต อนนี้ อยากกินก็จะคิดว่า ‘เฮ้ย เราก็เคยกิน มาหมดแล้วนะ’ พอแล้ว พอเพียงแล้ว”


Chack Karnchanakas เรื่อง : ปริญญา ก้อนรัมย์, มิ่งขวัญ รัตนคช ภาพ : มณีนุช บุญเรือง บรรยากาศสุดคลาสสิกซึ่งรายล้อมไปด้วยไปพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 คือห้องท�างานที่บอกเล่าเรื่องราว ประวัติศาสตร์ผ่านความทรงจ�าและของสะสมล�้าค่าของ จักร กาญจนากาศ นักออกแบบและที่ปรึกษาตลาดนัด Green Vintage Night Market ผู้เก็บรักษาประวัติศาสตร์ผ่านภาพถ่ายมายาวนานกว่า 27 ปี มีภาพถ่าย กว่าหมื่นใบซึ่งล้วนส�าคัญและมีคุณค่าต่อทั้งชีวิตและจิตใจทั้งสิ้น

The Starting Point ผมเริม่ ต้นจากการเก็บสะสมแสตมป์และธนบัตร จนช่วงปี 25322533 ผมเริ่มต้นชีวิตการท�างาน ทุกครั้งที่เงินเดือนออก ผมจะมา ที่ตลาดนัดจตุจักรเพื่อมาหาซื้อภาพถ่ายเก่า สมัยนั้นคนจะนิยม ภาพรัชกาลที ่ 5 กัน แต่ผมจะค่อนข้างมีความผูกพันกับรัชกาลที ่ 9 เพราะเราเห็นและรับรูม้ าโดยตลอดตัง้ แต่เด็กๆ ว่าท่านทรงงานหนัก แค่ไหน เราเลยเริ่มต้นสะสมรูปในหลวงตั้งแต่ตอนนั้น ซึ่งเป็น ความโชคดีที่สมัยนั้น ภาพถ่ายต่างๆ มีความสมบูรณ์มากกว่า ยุคหลังๆ นี้เยอะ จากวันนั้นถึงวันนี้ ผมเก็บสะสมรูปท่านมานาน กว่า 27 ปี มีภาพอยู่นับหมื่นใบ และไม่ซา�้ กันเลย


King Bhumibol, The Soul of Life

The Memories

The Treasures of Life

ในหลวงท่านมีพระปรีชาสามารถมากมายหลายด้าน ดังนั้น อิรยิ าบถและพระจริยวัตรต่างๆ จะมีความหลากหลายตามไปด้วย ทั้งทรงกีฬา ทรงเขียนรูป ทรงถ่ายรูป ทรงดนตรี เฉพาะแค่ตอน พระองค์ทรงงานก็มใี ห้เก็บมหาศาลแล้ว โดยเฉพาะภาพสมัยก่อน ซึ่งต้องบอกเลยว่าช่างภาพสมัยนั้นเก่งมาก อารมณ์ของภาพ แต่ละใบจากกล้องฟิล์ม วินาทีที่จับภาพได้มันคือโมเมนต์เดียว ต่างจากกล้องดิจติ อลในปัจจุบนั เราเก็บภาพของท่านด้วยความรัก ไม่รเู้ หมือนกันว่าเริม่ รักท่านตัง้ แต่เมือ่ ไหร่ มากแค่ไหนก็ตอบไม่ได้ แต่ใจเรารัก รักเหมือนพ่อแม่ทเี่ กิดมาเราก็รกั ท่านแล้ว ไม่ใช่การรัก ด้วยหน้าที ่ แต่เป็นความรักด้วยหัวใจ

ผมเก็บภาพถ่ายรวมถึงเรือ่ งราวทีม่ าของแต่ละภาพด้วย เกิน เก้าสิบเปอร์เซ็นต์ผมได้มาจากบ้านคน ผมไปขอซื้อจากเขา แจ้งให้เขาทราบว่าเราน�าภาพท่านไปเก็บรักษาไว้อย่างดี เป็นเหมือน สัญญาใจ ในภาพแต่ละภาพ แววพระเนตรของท่านจะเป็นสิง่ ที่ สือ่ อารมณ์ต่างๆ ออกมาได้เป็นอย่างดี ผมเป็นคนรักแม่ ฉะนั้น ผมจะชอบเก็บรูปทีท่ า่ นอยูก่ บั สมเด็จย่า เวลาท่านอยูก่ บั ครอบครัว ท่านจะมีความอ่อนโยน ภาพที่ผมรักที่สุด เป็นภาพที่นับว่าผม โชคดีได้ไปเจอเมือ่ ปี 2550 เป็นภาพอิรยิ าบถตอนทรงงานธรรมดา แต่พอผมเห็นภาพใกล้ๆ ผมตัวชาเลย เพราะผู้ชายที่อารักขา ในหลวงอยู่คือคุณพ่อของผมเอง เป็นภาพที่ถ้าคนอื่นเห็นคง ไม่มีราคาอะไร แต่นับเป็นภาพที่มีคุณค่าทางใจที่สุดของผม

“บนโต๊ะท�างานผมจะมีภาพ ท่ า นอยู ่ ต ลอด เป็ น เหมื อ น แรงบั น ดาลใจและก� า ลั ง ใจใน การท�างาน เพราะผมท�าธุรกิจ กับคนจ�านวนมาก ต้องใช้ความอดทนสูง เวลาท�างานเหนื่อยๆ ผมมองภาพท่ า น แล้ ว ก็ จ ะคิ ด เสมอว่าหลายสิง่ หลายอย่างท่าน ไม่จ�าเป็นต้องท�าก็ ได้ แต่ท่านก็ ท� า เพื่ อ ประชาชน เป็ น เหมื อ น ก� า ลั ง ใจว่ า เราเป็ น แค่ เ ศษธุ ลี ดิ น เดี ย วในแผ่ น ดิ น ของท่ า น ผมยึดมั่นในวัตรปฏิบัติของท่าน ใ น เ รื่ อ ง ข อ ง ค ว า ม อ ด ท น ความเพียร น�าเอาวิธคี ดิ ค�าสอน ของท่ า นมาใช้ กั บ การท� า งาน ของเรา คือท�าด้วยความเพียร พยายาม ไม่ท้อถอย แต่ระหว่าง เดิ น ไปก็ ไม่ เ บี ย ดเบี ย นใคร ท่านคือพระผู้ ให้อย่างแท้จริง”


Pongsakorn Chindawatana, M.D. เรื่อง : ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สีขาวด�าเก่าแก่ และหายากใบที่ถูกท�าส�าเนาและอัญเชิญมาเป็นภาพปก a day BULLETIN ฉบับที่ 432 นั้น นอกจากจะเป็นของสะสมส่วนตัวแล้ว ยังถือเป็นทรัพย์สินทางใจมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี ของ นายแพทย์ พงศกร จินดาวัฒนะ ผู้อ�านวยการอาวุโสด้านการสื่อสาร โรงพยาบาลกรุงเทพ หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม ‘พงศกร’ นักเขียนนวนิยายชื่อดัง

The Starting Point ตอนนั้นผมเรียนอยู่ชั้นประถม 3 ที่โรงเรียนอนุบาลราชบุรี นั่นเป็น วันแรกทีผ่ มได้รบั เสด็จในหลวง โดยปกติเส้นทางไปหัวหินมักจะใช้ถนน เพชรเกษม ไม่ตดั ผ่านโรงเรียนของผม แต่ในวันนัน้ ขบวนเสด็จผ่าน คุณครู ก็ให้เด็กๆ มานั่งรอรับเสด็จแล้วแจกธง รออยู่นานกว่า 2 ชั่วโมง คุณครู ก็ให้เตรียมกลับ สักพักก็ได้ยินเสียงรถน�าขบวน พวกเราเลยนั่งลงแล้ว โบกธงกัน ผมมารู้ทีหลังว่า พระองค์ทรงทราบว่ามีเด็กๆ มารอรับเสด็จ พระองค์สงสารเด็กที่มารอ จึงอ้อมมา เย็นนั้นเลิกเรียน ผมเห็นว่ามีรูป ในหลวงขายอยู่หน้าโรงเรียน ก็เลยซื้อมาในราคา 5 บาท เป็นภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งในวันนั้นพระองค์มีพระปฐมบรมราชโองการ แก่พสกนิกรชาวไทยทั้งหลายว่า ‘เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อ ประโยชน์สขุ แห่งมหาชนชาวสยาม’ และนับจากนัน้ เป็นต้นมา ผมจึงสะสม รูปในหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ มาโดยตลอด


The Art of Love

งานศิลปะทีศ่ ลิ ปินรับเชิญของเราสร้างสรรค์ขนึ้ โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นแรงบันดาลใจ ผลงานศิลปะที่อุทิศให้กับ พระมหากษัตริยอ์ นั เป็นทีร่ กั ยิง่ ของคนไทยทัง้ ผอง ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา และจากนี้ตลอดไป




UNTITLED

วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ใช้เทคนิคสื่อผสมในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ โดยได้สร้างผลงาน ภาพประติมากรรมพระบรมฉายาลักษณ์ ในพระอิริยาบถยืน และมีเด็กชายก้มกราบอยู่ที่ฝ่าพระบาท ก่อนจะน�าไปตั้งยังพื้นที่ริมขอบอ่างเก็บน�้า ภายในโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม ซึ่งสาเหตุที่เขาเลือกใช้สีชมพูสดในการขึ้นรูปประติมากรรม ก็เพื่อต้องการข้ามผ่านบรรยากาศของ ความโศกเศร้า และสือ่ สารว่า ‘พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพ ิ ลอดุลยเดช’ ท่านยังไม่ได้จากไปไหน หากแต่ยังคงสถิตและเป็นแสงสว่างกลางใจของคนไทยทุกคน


King Bhumibol, The Soul of Life

The Memories

The Treasures of Life

ผมเก็บรูปในหลวง รัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์ พระองค์อนื่ ๆ ไว้ในกล่องเก็บภาพถ่ายใบเล็ก จนถึงเดีย๋ วนีม้ ที งั้ หมด ประมาณกว่า 200 รูป สาเหตุที่เลือกเก็บไซซ์เล็ก เพราะน่ารัก พกง่าย ทีพ่ กมาด้วยวันนีม้ ปี ระมาณ 140 รูป แบ่งเป็นรูปในหลวง ประมาณ 30 รูป ถ้าถามถึงสาเหตุทเี่ ก็บสะสมก็เพราะว่าผมรูส้ กึ ว่า พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริยท์ ยี่ งิ่ ใหญ่ เราเห็นพระองค์ในข่าว พระราชส�านักทุกวัน พระองค์เสด็จฯ ไปพบปะช่วยเหลือประชาชน ทุกที ่ ทรงงานหนักมาก แต่กด็ พู ระองค์มคี วามสุขกับสิง่ ทีพ่ ระองค์ ท�า ดูไม่เหน็ดเหนื่อยเลย ซึ่งหากเป็นคนธรรมดาก็คงแย่ไปแล้ว ยิ่งในยุคที่ผมยังเด็ก บ้านเมืองยังล�าบาก หลายพื้นที่ยังไม่เจริญ เด็กรุ่นหลังที่โตมาเห็นบ้านเมืองในตอนที่ดีแล้ว อาจไม่เข้าใจว่า กว่าบ้านเมืองจะดีได้อย่างทุกวันนีส้ ว่ นหนึง่ นัน้ เป็นเพราะพระองค์ ทรงงานหนักมากจริงๆ

รูปทุกใบผมคัดสรรมาอย่างดี เน้นไปทีม่ มุ ภาพ หรือพระอิรยิ าบถ ทีไ่ ม่ค่อยมีคนได้เห็น บางภาพก็ใช่ว่าจะหามาได้ง่ายๆ ถึงขัน้ ต้อง ยอมแลกรูปบางรูปทัง้ ๆ ทีเ่ ราเองก็มเี พียงรูปเดียว นัน่ คือรูปในหลวง ทรงสกีในชุดธรรมดา รวมทัง้ รูปในหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ บนขบวนรถไฟ ซึ่งในภาพนั้นมีคนเดินผ่าน ท�าให้เห็นพระพักตร์ ของในหลวงไม่เต็มที่ ก็ไม่ใช่รูปที่สมบูรณ์อะไร แต่เราก็ซื้อ และยังมีอกี หลายๆ ภาพทีไ่ ด้มาจากต่างวาระ ต่างโอกาส รวมทัง้ รูปทีไ่ ด้มาจากคุณพ่อของผมอีกที ซึง่ เป็นรูปในหลวงทรงเครือ่ งแบบ ชุดขาว คุณพ่อพกเก็บเอาไว้ในกระเป๋าสตางค์ตลอด ที่ส�าคัญ ผมเองไม่ได้สะสมเพราะมีมลู ค่า แต่เพราะมีคณ ุ ค่าทางใจ โดยเฉพาะ รูปชุดนี ้ ผมจะวางไว้ทโี่ ต๊ะท�างาน เวลาเหนือ่ ยๆ มักจะหยิบขึน้ มาดู เรารูว้ า่ พระองค์ทรงงานเหน็ดเหนือ่ ยขนาดไหนเพือ่ พสกนิกรชาวไทย เราเหนือ่ ยแค่นเี้ อง จะท้อได้อย่างไร ก็ทา� ให้รสู้ กึ มีพลังขึน้ มา

“นอกจากเก็บรูปแล้ว ผมยัง ถ่ายทอดความทรงจ�าดีๆ ไว้ ใน รู ป แบบของการวาดรู ป การ์ ตู น ในวาระส�าคัญต่างๆ ของในหลวง มากว่ า 10 ปี ทั้ ง ยั ง น้ อ มน� า พระราชด�ารัสมาสอดแทรกไว้ ใน นวนิยายด้วย ซึ่งตอนนั้นกระแส เรื่องการอนุรักษ์ป่า หรือโลกร้อน ยั ง ไม่ ไ ด้ เ ป็ น ที่ ส นใจจากทุ ก คน เหมือนอย่างสมัยนี้ พระองค์เป็น คนแรกๆ ของประเทศไทยที่ พู ด เรื่ อ งนี้ ตอนนั้ น ผมรู ้ สึ ก ว่ า ความคิ ด ของท่ า นทั น สมั ย มาก จึงน�าพระราชด�ารัสของท่านมาเป็น แรงบั น ดาลใจและเป็ น ธี ม ของ นวนิยายเรื่อง คชาปุระ ส่วนเรื่อง ฤดูดาว ก็มที มี่ าจากพระราชด�ารัส เรื่องพันธุ์พืช GMO เพื่อกระจาย ความรู ้ ใ ห้ ค นอ่ า นได้ เ ข้ า ใจ และ ตระหนั ก ถึ ง พระราชด� า ริ ข อง พระองค์อย่างแท้จริง”


------

มูลนิธิชัยพัฒนา ส�าหรับคนไทย พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชนั้น มีมากมายจนนับไม่ถ้วน แต่สงิ่ หนึง่ ทีเ่ รามักจะจดจ�ากันได้กค็ อื ชือ่ ของ ‘มูลนิธชิ ยั พัฒนา’ ซึ่งเป็นมูลนิธิที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชด�าริ ให้จัดตั้งโดยทรงด�ารงต�าแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน เพือ่ สนับสนุนช่วยเหลือ ประชาชนในลั ก ษณะของการด� า เนิ น งานพั ฒ นาต่ า งๆ ในกรณีที่ต้องถูกจ�ากัดด้วยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรื อ งบประมาณที่ ร ะบบราชการไม่ ส ามารถด� า เนิ น การ ได้ทันที จนเป็นเหตุให้การแก้ ไขปัญหาไม่สอดคล้องหรือทัน กับสถานการณ์ที่จ�าเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระท�าโดยเร็ว การด�าเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาจะเป็นไปตามแนว พระราชด�าริ โดยเน้นกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ไม่ซ�้าซ้อนกับ แผนงานโครงการของรัฐที่มีอยู่แล้ว แต่จะพยายามสนับสนุน ส่งเสริม และประสานการด�าเนินงาน เพื่อให้โครงการต่างๆ เกิดความสมบูรณ์และสามารถด�าเนินการได้อย่างรวดเร็ว และสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในกรณีที่โครงการ ของรัฐถูกจ�ากัดด้วยเงื่อนไขของกฎระเบียบต่างๆ อันเป็นผล “มูลนิธิชัยพัฒนา มิได้มีหน้าที่โดยตรงที่จะบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนให้มีกิน ท�าให้โครงการนั้นๆ ไม่สามารถด�าเนินการได้อย่างทันท่วงที ให้สามารถที่จะด�าเนินชีวิตที่สร้างสรรค์ โดยช่วยในการให้มีสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ เช่ น ในกรณี ที่ อ าจต้ อ งจั ด ซื้ อ ที่ ดิ น จากราษฎรบางส่ ว น หรือจะเป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยให้สามารถที่จะท�าการท�ามาหากินโดยมีประสิทธิภาพ เพื่อด�าเนินงานตามโครงการ แต่รัฐมีปัญหาด้านงบประมาณ โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับโครงการในด้านการเกษตรก็ ได้ท�ามาก และในด้านเกี่ยวข้องกับ ไม่เพียงพอในการจัดซื้อ หรือมิได้ตั้งงบประมาณไว้ หรือถูก สิ่งแวดล้อมก็ ได้ท�า เพื่อที่จะให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีที่สุด จ�ากัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ ท�าให้ด�าเนินการจัดซื้อ เป้าหมายก็คือความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ ซึ่งถือว่าเป็นชัยชนะ” ไม่ได้ หรือต้องตั้งงบประมาณจัดซื้อใน 1-2 ปี ข้างหน้า ซึ่งจะ ท�าให้โครงการล่าช้าไป เป็นต้น ในกรณีเช่นนี้มูลนิธิชัยพัฒนา พระราชด�ารัส จะช่วยเหลือตามความเหมาะสมเพือ่ ให้โครงการนัน้ ๆ ด�าเนินการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 โครงการพระราชด�าริทวั่ ประเทศไทยต่างมีฐานการท�างาน ผ่ า นมู ล นิ ธิ ชั ย พั ฒ นา โดยแบ่ ง การท� า งานออกเป็ น หั ว ข้ อ กว้างๆ ได้แก่ ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้านการพัฒนา การเกษตร ด้านการพัฒนาสังคม ด้านพลังงาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานแนวคิด ทฤษฎี ต ่ า งๆ ที่ ท ่ า นได้ คิ ด ค้ น ขึ้ น เพื่ อ แก้ ป ั ญ หาในเรื่ อ งของทรั พ ยากรธรรมชาติ เช่น ดิน น�้า รวมไปถึงทฤษฎีใหม่ที่เป็นแนวทางหรือหลักการ ในการบริหารจัดการที่ดินและน�้า เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิด ประโยชน์สูงสุด ดังเช่นที่เราเคยได้ชมผ่านรายการสารคดีต่างๆ นอกจากนี้ ท่านยังได้พระราชทานสิ่งประดิษฐ์ที่ท่านทรงออกแบบเอง ก็ คื อ กั ง หั น น�้ า ชั ย พั ฒ นา ซึ่ ง เกิ ด จากความห่ ว งใยที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�าเนินทอดพระเนตร สภาพน�้าเน่าเสียในพื้นที่หลายแห่งหลายครั้ง ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด การนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิ ชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณเพื่อการศึกษาและวิจัยสิ่งประดิษฐ์ ใหม่นี้ โดยด� า เนิ น การจั ด สร้ า งเครื่ อ งมื อ บ� า บั ด น�้ า เสี ย ร่ ว มกั บ กรมชลประทาน ซึ่งได้มีการผลิตเครื่องกลเติมอากาศขึ้นในเวลาต่อมา และรู้จักกันแพร่หลาย ทั่วประเทศในปัจจุบัน

Royal Project


Senior Writer

Proofreader

เมื่อปี พ.ศ. 2538 ตอนนั้นผมเพิ่งเรียนอยู่ ป.5 ได้รับชมการออกอากาศพระราชด�ารัสพระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในวันที่ 4 ธันวาคม ซึง่ ปีนนั้ มีนา�้ ท่วมใหญ่ จ�าได้วา่ มีนา�้ ท่วมในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ ด้วย หลักใหญ่ใจความพระราชด�ารัสในปีนั้นจึงเป็นการจัดการน�้า เท่ า ที่ จ� า ได้ คื อ พระองค์ มี พ ระราชด� า รั ส ถึ ง โครงการแก้ ม ลิ ง อีกทั้งยังทรงมีรับสั่งให้ข้าราชบริพารยกแผนที่มาให้ แล้วให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ถวายการรายงานสถานการณ์น�้า ในวันนั้นพ่อของผมก็นั่งดูอยู่ด้วย และชมว่าท่านเก่งมาก ผมเองก็ ได้แต่เออออกับพ่อไปตามประสาเด็กสิบขวบ แต่ก็รู้ว่า ท่านทรงพระปรีชาสามารถเรื่องการแก้น�้าท่วม กับมีอีกหลาย โครงการเพือ่ ความเป็นอยูท่ ดี่ ขี นึ้ ของราษฎร จนกระทัง่ ได้มาย้อนดู คลิ ป พระราชด� า รั ส อี ก ครั้ ง ในยู ทู บ ด้ ว ยความตั้ ง ใจ และพบว่ า พระองค์มีความรู้ด้านภูมิศาสตร์ประเทศไทยสูงมาก รวมไปถึง เรื่องการจัดการน�้า แน่นอนว่า โครงการแก้มลิงก็คือหนึ่งในนั้น พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ไม่เพียงแต่เฉพาะ โครงการที่ เ กี่ ย วกั บ น�้ า เท่ า นั้ น แต่ ยั ง รวมไปถึ ง โครงการอื่ น ๆ อีกหลายพันโครงการอีกด้วย น้อมร�าลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้า นายศักดิ์สิทธิ์ ไม้ล�าดวน

With All Our Hearts

สมัยยังเด็ก ช่วงปิดเทอม ฉันมักมีโอกาสเดินท่อมๆ ไปตาม หมู่บ้านชาวเขาใกล้อุทยานแห่งชาติหลายแห่ง บางแห่งต้องใช้เวลา เดินเท้าหลายชั่วโมง คนกะเหรี่ยงบางคนถามว่า ฉันมาที่นี่อย่างไร พอบอกว่าเดินมา เรื่อยๆ บางคนก็จะหัวเราะ บางคนบอกว่า “สมัยก่อนพ่อหลวงกับ แม่หลวงก็เคยมาถึงที่นี่นะ” คนม้งยิ่งแล้ว พืชผักใดๆ ที่ปลูกที่ขาย ล้ ว นเป็ น พื ช พั น ธุ ์ พ ระราชทานทั้ ง สิ้ น หลายบ้ า นมี รู ป พ่ อ หลวง แม่หลวง ทุกคนล้วนรักพ่ออยู่หัวด้วยเหตุเดียวกันคือ ‘ท่านรักและ ท่านให้’ สิ่งที่ดีกับพวกเขา ตอนนั้นฉันได้แต่ฟัง นึกไม่ออก ว่าในหลวงกับพระราชินีท่านจะ เสด็จฯ ข้ามภูเขา น�้าตก ล�าธาร มาอย่างไรสมัยที่ถนนยังไม่ลาดยาง และป่ารกชัฏกว่าตอนนี้มาก จนได้เห็นภาพพระราชกรณียกิจต่างๆ มาตอนนี้ ฉันคิดว่า ต่อให้ ตัดเรื่ องที่ พระองค์ท่ า นทรงด� ารง ต�าแหน่งพระมหากษัตริย์ออกไป คนมากมายก็ยังคงรัก ‘พ่อและแม่’ พระองค์นี้ เพราะสิ่ง ที่พระองค์ ท่ า น ‘ท� า ให้ ’ ได้ ส ร้ า งศรั ทธาและ ความรักให้เกิดขึ้นในหัวใจของผู้รับ ไม่ว่าจะชนชาติภาษาใด แต่วันนี้ไม่มีพ่อหลวงแล้ว ฉันจะเตือนตัวเองว่า พระนามของในหลวงรัชกาลที่ 9 หมายถึง แผ่นดิน แผ่นดินโอบอุ้มและรองรับทุกสิ่งจากประชาชน ไม่ว่าคนไทย จะวางสิ่งดีหรือร้ายลงไป แผ่นดินจะรับไว้แล้วเปลี่ยนเป็นประโยชน์ และความเจริญงอกงามกลับคืนมาเสมอ ฉันจะยึดธรรมะและค�าสอน ของพระองค์ ท ่ า นเป็ น แบบอย่ า ง เพราะฉั น อยู ่ บ นแผ่ น ดิ น ของ พระองค์ท่าน ฉันจะพยายามเป็นหนึ่งในธุลีดินที่ดีของในหลวง ธรรมแห่งราชาจะจ�าใส่เกล้าฯ แบกขึ้นบ่าตน ข้าพระพุทธเจ้า นางสาววรรณวนัช ท้วมสมบูรณ์

น้อมร�าลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้า นางสาวอรณัญช์ สุขเกษม

Illustrator ด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ เป็ น ล้ น พ้ น อั น หาที่ สุ ด มิ ไ ด้ ที ม งาน a day BULLETIN ขอร่วมน้อมร�าลึกแสดงความอาลัย ต่ อ การเสด็ จ สวรรคตของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักยิ่งของปวงพสกนิกร ชาวไทย


The Artist Talks เรื่อง : ปริญญา ก้อนรัมย์ ภาพ : ภาสกร ธวัชชาตรี

Wasinburee Supanichvoraparch วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ผลงาน : UNTITLED


แม้วา่ ก่อนเริม่ สัมภาษณ์ ‘ติว้ ’ - วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินเจ้าของรางวัลศิลปาธร (สาขาการออกแบบ) ประจ�าปี พ.ศ. 2553 จะออกตัวว่า เขาเองไม่เคยสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ที่ เ กี่ ย วกั บ เรื่ อ งราวของพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มาก่ อ น แต่หลังเกิดเหตุการณ์สูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ เขาก็รู้สึกว่าอยากจะแสดงความอาลัยถวายแด่ พระองค์ท่านสักครั้ง ผ่านผลงานภาพประติมากรรมพระบรมฉายาลักษณ์สีชมพูสด ในพระอิริยาบถยืนและมีเด็กชายก้มกราบอยู่ที่ฝ่าพระบาท ซึ่งเขาร่วมสร้างสรรค์ขึ้นมากับ อั ง คณา ปั ้ น ทองค� า ศิ ล ปิ น สาวเจ้ า ของลายเส้ น ประติ ม ากรรมชิ้ น นี้ ซึ่ ง ได้ น� า ไปตั้ ง ที่ โครงการศึ ก ษาวิ ธี ก ารฟื ้ น ฟู ที่ ดิ น เสื่ อ มโทรมเขาชะงุ ้ ม ในพระราชด� า ริ จั ง หวั ด ราชบุ รี และเมื่อเราติดต่อขอน�าผลงานชิ้นนี้ของเขามาใช้เป็นภาพปก a day BULLETIN ฉบับนี้ เพื่อแสดงความอาลัย เขาก็ตอบกลับมาสั้นๆ ว่า “ยินดีครับ” “ผมเองไม่เคยท�างานศิลปะเกี่ยวกับท่านมาก่อน แต่พอมีโอกาสได้แสดงความอาลัย เลยคิดงานใหม่ขนึ้ มา ก็คดิ ว่าอะไรจะท�าได้เร็วทีส่ ดุ งานเซรามิกคงท�าไม่ได้แน่ๆ ถ้าอย่างนัน้ ก็ตอ้ งเป็นภาพถ่าย แต่จะเป็นภาพถ่ายอย่างไร ซึง่ ทีผ่ า่ นมาคิดว่าทุกๆ คนคงอยูใ่ นสภาวะที่ โศกเศร้า และคล้ายๆ ว่าทุกคนจะมองว่าท่านจากไปแล้ว แต่ในความรู้สึกของเรา ท่านไม่ได้ ไปไหน ท่านยังคงสว่างกระจ่างอยูใ่ นใจเสมอ ก็เลยเลือกใช้สชี มพูสะท้อนแสงทีจ่ ะโดดเด่นทีส่ ดุ ในสภาวะทีม่ ดื มนทีส่ ดุ ในการขึน้ รูปประติมากรรม” เมือ่ ได้เห็นผลงานของเขาแวบแรก เชือ่ ว่าหลายคนคงต้องสงสัยเหมือนกับเรา ว่าท�าไมเขา ถึงต้องเลือกพืน้ ทีต่ รงริมขอบอ่างเก็บน�า้ ภายในโครงการศึกษาวิธกี ารฟืน้ ฟูทดี่ นิ เสือ่ มโทรม เขาชะงุม้ ในพระราชด�าริ เพือ่ น�าประติมากรรมไปจัดวางและถ่ายภาพ ซึง่ เมือ่ เราได้ฟงั ถึงเรือ่ ง แนวคิดทีซ่ อ่ นอยูเ่ บือ้ งหลัง ถึงได้รคู้ วามหมายทีซ่ อ่ นอยูว่ า่ เป็นเหมือนการเชือ่ มโยงเรือ่ งราว ‘อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต’ ที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รวมทั้ง อธิบายเหตุผลว่าท�าไมพระองค์ถงึ เป็น ‘พระมหาราชา’ ทีส่ ถิตอยูใ่ นดวงใจของประชาชนชาวไทย “รูปนีอ้ ธิบายว่าท่านได้ทรงท�าอะไรไว้บา้ ง ตอนแรกผมไม่รรู้ ายละเอียดเกีย่ วกับโครงการนีเ้ ลย จนเมื่อได้อ่านถึงได้รู้ว่าท่านทรงเริ่มท�าโครงการเมื่อพระชนมพรรษาเกือบจะ 60 พรรษา น่าเหลือเชือ่ ไหม ตอนทีอ่ ายุ 40 เรายังอยากจะหยุดงานแล้วเลย “สมัยเราเด็กๆ ‘เขาชะงุ้ม’ คือภูเขาลูกรังที่แห้งแล้งมาก มากเสียจนเรานึกไม่ออกว่า ถ้าไม่มโี ครงการในพระราชด�าริของพระองค์ทา่ น พืน้ ทีต่ รงนีจ้ ะเป็นอย่างไร เรามองว่าจุดนี้ เป็นจุดที่ท่านทรงได้ฝากฝังบางสิ่งบางอย่างเอาไว้ เลยอยากให้คนจดจ�าในสิ่งที่ท่านท�า และสานต่อ สิง่ ทีส่ า� คัญเลยคือต้องสานต่อ” วศินบุรเี ล่าต่ออีกว่า ส�าหรับเขา ‘ความทรงจ�า’ เป็นสิง่ ทีส่ า� คัญ แต่กอ็ ยูท่ วี่ า่ เราจะเลือก จดจ�าสิง่ ต่างๆ อย่างไร เพือ่ ไม่ให้ตวั เองจมอยูก่ บั ความโศกเศร้าอย่างเดียว ซึง่ ค�าตอบหนึง่ ที่ เขาค้นพบและบอกกับเราก็คือ การเปลี่ยนแปลงพลังงานความรักและความทรงจ�าที่มีอยู่ ให้กลายเป็นสิง่ ทีส่ ร้างประโยชน์ให้กบั ผูค้ นและสังคม “ตอนที่ถ่ายรูปนี้ ตามคอนเซ็ปต์มันคือการสื่อสารว่าท่านยังอยู่นะ แต่ว่าความรู้สึกที่ ย้อนแย้งอยู่ในหัวตอนท�าก็คือว่าท่านทรงจากไปแล้ว และเราจะท�าอย่างไรต่อไปในอนาคต ก็กลับมาคิดว่า ความเสียใจ สักวันหนึง่ เราก็คงอยูก่ บั มันได้ แต่วา่ สิง่ ทีส่ า� คัญทีส่ ดุ คือ จะท�า อย่างไรให้สงิ่ ทีใ่ นหลวงทรงวางรากฐานไว้เดินต่อไป ซึง่ ทุกคนสามารถเริม่ จากสิง่ ใกล้ตวั เล็กๆ น้อยๆ ทีส่ ามารถท�าได้ เหมือนน�า้ ซึมบ่อทราย ทีส่ กั วันหนึง่ อาจกลายเป็นมหาสมุทร อย่างทีผ่ ม ท�างานศิลปะเมือ่ 16 ปีกอ่ น ใครจะคิดว่าราชบุรจี ะกลายเป็นเมืองศิลปะ ตอนทีเ่ ริม่ ท�าก็มาจาก จุดเล็กๆ ท�าไปเรือ่ ยๆ ไม่มคี นสนใจ ก็คดิ ว่าไม่เป็นไร เพราะเราก�าลังท�าสิง่ ทีค่ ดิ ว่าเป็นประโยชน์ ต่อบ้านเมืองผ่านสิ่งที่ตัวเองถนัดที่สุด เพราะฉะนั้น ทุกคนไม่จ�าเป็นต้องท�าสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ที่จะมาเปลี่ยนแปลงโลกแบบทันทีทันใด แต่ทุกคนสามารถท�าสิ่งที่แตกต่างกันไป ขอแค่เป็น สิง่ ทีด่ ี ทุกคนรักท่าน คิดถึงท่าน ลองเอาความรักความระลึกถึงมาเริม่ ต้นท�าอะไรสักอย่างดู” เมื่อสัมภาษณ์มาถึงจุดนี้ สิ่งหนึ่งที่เราสัมผัสได้จากเนื้อเสียงและเรื่องราวที่ออกมาจาก แต่ ล ะถ้ อ ยค� า คื อ การยื น ยั น ว่ า พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ทรงเป็นต้นแบบที่ยิ่งใหญ่ในการใช้ชีวิตของเขาอย่างแท้จริง “ผมโตมากับภาพที่ยังไม่เห็น ผลลัพธ์จากโครงการต่างๆ ทีท่ า่ น ทรงท�า และก็ ใช้ชีวิตมากับภาพที่ เห็นท่านทรงงานมาตลอด จนเกิด เป็นผลลัพธ์ แรงบันดาลใจส�าคัญ ที่ท่านทรงส่งต่อมาเลยคือ ‘การลงมือท�า’ ท�าสิ่งที่เราถนัดและรัก อย่างงานศิลปะ ถ้าวันนัน้ ผมไม่ได้เรียนรูจ้ ากสิง่ ทีท่ า่ นทรงท�า ก็อาจจะเลิกท�าไปแล้วก็ ได้ ท�าไปท�าไม ท�าแล้วก็ ไม่มใี ครเข้าใจ รอให้วนั หนึง่ มีคนมาท�า เดีย๋ วข้าราชการก็คงท�ามัง้ เป็นหน้าที่ ของเขานี่ ซึง่ ถ้าเรารอ บางสิง่ บางอย่างมันไม่มที างเห็นผล “ทุกคนสามารถท�าสิ่งที่ตัวเองถนัดเพื่อท่านได้ คือวันนี้เราอาจจะเป็นแค่ภาพ ไมโครจิ๊กซอว์เล็กๆ แต่ถ้าไม่มีชิ้นส่วนเล็กๆ นี้ก็ ไม่มีทางเป็นภาพที่สมบูรณ์ เพราะ ภาพที่สมบูรณ์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบขนาดใหญ่ที่อยู่ตรงกลางและส�าคัญ เท่านัน้ แต่วา่ ส่วนทีเ่ ล็กทีส่ ดุ ของภาพ หรือส่วนทีอ่ ยูข่ อบสุดของภาพ ก็เป็นความส�าคัญ ที่ไม่สามารถขาดได้เช่นกัน ชุมชน สังคม ประเทศชาติบา้ นเมืองต้องการสิง่ เหล่านี้ ทุกส่วนของภาพมีความส�าคัญหมด”


“...การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลาต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทนเสียสละ แต่ส�าคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นท�ามันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันครึท�าดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการท�าให้ดีไม่ครึต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตน ในความเพียรของตน ต้องถือว่าวันนี้เราท�ายังไม่ได้ผล อย่าไปท้อบอกว่าวันนี้เราท�าแล้วก็ ไม่ได้ผล พรุ่งนี้เราจะต้องท�าอีก วันนี้เราท�า พรุ่งนี้เราก็ท�า อาทิตย์หน้าเราก็ท�า เดือนหน้าเราก็ท�า ผลอาจได้ปีหน้า หรืออีกสองปีหรือสามปีข้างหน้า แต่ว่าถ้าสมมติว่าวันนี้เราท�าแล้วบอกว่าไม่มีประโยชน์ เพราะว่าพรุ่งนี้ไม่ได้ผล เลิกเสีย พรุ่งนี้ไม่ได้ผลแน่ เป็นสิ่งที่แน่นอน แต่ว่าพรุ่งนี้เราจะอยู่หรือไม่อยู่ก็ ไม่ทราบ ก็เชื่อว่าอยู่ แต่ว่าปีหน้าเราจะอยู่หรือไม่ถ้าเราหยุดท�าสิ่งที่ดี ฉะนั้น ความไม่ย่อท้อ ความเพียร ความเพียรนี่หมายความว่าไม่ใช่ความเพียรในการท�างานเท่านั้นเอง หมายถึงความเพียรที่จะข่มใจตัวเองด้วย ความกล้าหาญที่จะข่มใจตัวเองให้อดทน ไม่ใช่อดทนแล้วก็เหมือนว่าใครท�าก็ท�าไป เราทนเอาไว้ เท่ากับคนอื่นเขาเอาเปรียบเรา ไม่ใช่อดทนที่จะยังไม่เห็นผล อดทนที่จะทราบว่าสิ่งใดที่เราท�าต้องใช้เวลา ถ้าเราอดทน หรือถ้าพูดตามธรรมดาว่า “เหนียว” ไว้ อดทนในความดี ท�าให้ดี เหนียวไว้ ในความดีแล้ว ภายภาคหน้าได้ผลแน่...”

Royal Speech

กระแสพระบรมราโชวาท

พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันเสาร์ ที่ 27 ตุลาคม 2516


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.