TODAY EXPRESS PRESENTS
ISSUE 438 I 7 NOVEMBER 2016
ขอน อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ข าพระพ�ทธเจ า เดอะ โมเมนตัม
ความเศร้า... ไม่ควรตรึงให้เราอยู่กับที่
ปีที่ 9 ฉบับที่ 438 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2559
Editor’s Note Contents
ณ วันทีเ่ ขียนต้นฉบับอยูน่ ี้ เวลาแห่งความเศร้าสุดหัวใจของคนไทยทัง้ ชาติกผ็ า่ นมาเกือบครึง่ เดือนแล้ว บางคนบอกว่าเร็ว บางคนบอกว่าช้า ทั้งนี้ทั้งนั้นคงขึ้นอยู่กับว่าเรามองเวลาด้วยความรู้สึกแบบไหน เป็นไปได้ว่า ในโมงยามแห่งความเศร้าเช่นนี้ อาจลวงให้เรารู้สึกไปเองว่า เวลาเดินช้าเหลือเกิน กว่าจะผ่านไปได้แต่ละคืนวัน ดูเหมือนต้องเดินไปบนเส้นทางอันมืดมิดโดยไม่รจู้ ดุ สิน้ สุด แต่สา� หรับบางคนทีไ่ ม่ได้ปล่อย ให้ตัวเองล่องลอยไปไกลสุดแต่ความเศร้าจะพัดพา เขาอาจลุกขึ้นมาท�าอะไรต่อมิอะไรมากมาย จนเวลาผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ทัน สังเกตเห็น ค�าว่าเวลาไม่เคยคอยใคร นั่นก็จริงอยู่ แต่ถ้าให้จริงกว่านั้น คงต้องบอกว่า นอกจากเวลาจะไม่คอยใครแล้ว ยังไม่สนใจด้วยว่าใคร จะเป็นอย่างไร เวลาก็แค่เดินไปข้างหน้า จากนาทีหนึ่ง ไปสู่อีกนาทีหนึ่ง เป็นชั่วโมง ไปจนถึงวัน เดือน ปี ทุกอย่างด� าเนินไปเช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นเวลาในโลกกลมๆ ใบนี้ หรือเวลาในจักรวาลอันกว้างใหญ่ เวลาล้วนแต่เคลื่อนไป มันคือการเปลี่ยนแปลง และเอาเข้าจริง ก็ไม่มีค�าว่าเวลาเดินช้าหรือเร็ว เราไปรู้สึกรู้สาเอาเองทั้งนั้น เหตุผลเพราะเราอยากให้เวลาเป็นไปอย่างใจ เวลาเดินช้า เพราะใจเรา อยากให้มันเร็ว และเวลาก็เดินเร็ว เพราะใจเราอยากให้ช้า ทั้งที่ไม่มีวันท�าได้ ตลอดเวลาที่มวลความเศร้าเข้าห่มคลุมประเทศ ผู้เขียนถ่ายภาพท้องฟ้าไว้ค่อนข้างบ่อย อาจเพราะนิสัยส่วนตัวก็ชอบถ่ายภาพท้องฟ้า ก้อนเมฆอยูแ่ ล้ว เลยมีโอกาสได้มองการเปลีย่ นแปลงของท้องฟ้าอยูบ่ า้ ง ซึง่ ถ้าใครสังเกตเหมือนผูเ้ ขียน น่าจะเห็นตรงกันว่า ช่วงเกือบครึง่ เดือน ที่ผ่านมานี้ ท้องฟ้าขมุกขมัว ครึ้มฟ้าครึ้มฝนอยู่ตลอดเวลา บางวันก็ฝนตกหนักจนบรรยากาศนิ่งซึมไปทั้งวัน น้อยมากที่จะมองเห็นฟ้าใส กระจ่าง และยิง่ น้อยเข้าไปอีก ทีช่ ว่ งเวลานัน้ เราจะมองฟ้าด้วยความรูส้ กึ สบายใจ ตรงกันข้าม ยิง่ มองก็ยงิ่ เศร้า ยิง่ เหงา และยิง่ รูส้ กึ ว่าเรา ถูกตรึงอยูก่ บั ที่ ไม่วา่ เวลาจะผ่านไปนานเท่าใด ไม่วา่ ฝนจะตกและหยุดไปแล้วนานแค่ไหน เราก็รสู้ กึ เปียกปอนด้วยความเศร้าตลอดเวลา ระหว่างที่ต้องท�างานเพื่อจัดการเล่มพิเศษทั้งหมด 9 เล่มของ a day BULLETIN มีหลายครั้งที่ผู้เขียนเองก็ต้องจัดการกับความรู้สึก ของตัวเองที่เอ่อท้นออกมาเป็นน�้าตา โดยเฉพาะเมื่ออ่านพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านที่ผ่านมาตลอด 70 ปี ที่ทรงครองราชย์ อาจจะยังอ่านไม่หมดทุกเรื่องในเวลาอันสั้น แต่สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้ก็คือ พระองค์ท่านทรงงานตลอดเวลาเท่าที่พระองค์สามารถท� าได้ พูดภาษาง่ายๆ ว่า ถ้าท่านเดินทางไปได้ท่านก็ไปด้วยตัวเอง ลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านเอง ไม่ว่าฝนจะตก ทางจะขาด น�้าจะท่วม ล้วนแต่ไม่ใช่อุปสรรคที่ข้ามผ่านไม่ได้ของพระองค์ท่าน แต่หากท่านไม่สามารถเดินทางได้ด้วยข้อจ�ากัดด้านอื่นๆ เช่น สุขภาพไม่ดี ซึ่งสุดวิสัยที่คนคนหนึ่งจะบังคับควบคุมได้ ท่านก็ยังเรียกให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าเฝ้าถวายรายงานตลอดเวลาเท่าที่จะสามารถท�าได้ เมื่อคนคนหนึ่งก�าลังท�างานอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย เมื่อคนคนหนึ่งพาตัวเองลงไปคลุกกับงานจนแทบเป็นเนื้อเดียวกัน เราย่อมมองไม่เห็นความรู้สึกอื่นของเขา ไม่ว่าจะความทุกข์ ความเหนื่อย ความอ่อนล้า ที่จะสามารถเกิดขึ้นกับมนุษย์คนหนึ่งได้... เราไม่เห็นอะไรมากไปกว่าพลังแห่งความทุ่มเท จดจ่ออยู่กับงาน ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ผู้ที่ท� างานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพูดตรงกันว่า แต่ละวันของพระองค์มีแต่เรื่องงานจริงๆ ถ้าเรารู้สึกว่าความเศร้าหรือความรู้สึกหนักอึ้งอื่นๆ ก�าลังจะตรึงเราอยู่กับที่ คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการกัดฟันลุกขึ้นมาท�างาน เอาหัวใจ ไปไว้ที่งาน เพราะงานนั่นเองที่จะท�าให้เราไม่รู้ตัวว่าเวลาได้เคลื่อนผ่านไปอย่างรวดเร็ว และวันเดียวกับที่ผู้เขียนนั่งท�างานอยู่นี่เอง เพจของ NOW 26 ก็รายงานว่า “นายทองสาย บุญมา อายุ 49 ปี ชายพิการชาวจังหวัดสุรนิ ทร์ ออกเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ครัง้ แรกในชีวติ โดยการโยกรถสามล้อมาจาก บ้านเกิด รวมระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร ใช้เวลา 18 วัน เพือ่ มาร่วมสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชฯ ซึ่งความรู้สึกหลังจากที่ได้เข้าไปกราบพระบรมศพ คุณลุงทองสายกล่าวว่า หลังจากที่ทราบข่าวในวันที่ 13 ก็ออกเดินทางมาจากบ้านเกิด ทันที และในวันนี้ตนรู้สึกมีบุญเป็นอย่างมากที่ได้เข้ามากราบพระองค์ท่านในวันนี้” การท�างานคือการเคลือ่ นไหวและไม่หยุดนิง่ คือการดิน้ หนีจากการถูกตรึง ไม่วา่ การงานนัน้ จะเป็นการท�างานเพือ่ หาเลีย้ งชีพ หรือการงาน ที่เราปักหมุดหมายว่าเป็นพันธะที่ต้องท�าให้ลุล่วงในชีวิต มีแต่การเคลื่อน ปรับ ขยับขยาย เท่านั้นที่จะเปิดพื้นที่ให้เราเติบโต แข็งแกร่ง แม้แต่ความเจ็บปวดก็ทา� อะไรเราไม่ได้ ถ้าหัวใจเราไม่ได้ จดจ่ออยู่กับบาดแผลนั้น ถ้ามองท้องฟ้าวันนี้ เมฆสีด�าเคลื่อนผ่านไปแล้ว และลมหนาวก�าลังจะมา วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร In Memory of Thailand’s Beloved King ประมวลภาพเหตุการณ์ ถวายความอาลัย ของพสกนิกรชาวไทย ทั่วประเทศ
The Special Guest คุณูปการของในหลวง รัชกาลที่ 9 ตลอดรัชสมัย ผ่านสายตาของ ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม
Inspired By The King เรื่องราวความรักและ แรงศรัทธาผ่านภาพวาด ของ ชูศักดิ์ วิษณุค�ารณ
The Artist Talks บทสัมภาษณ์ ชุบ นกแก้ว มือรีทัชเจ้าของรางวัล ระดับ Cannes Lion กับ ผลงาน ‘พ่อของแผ่นดิน’
Royal Speech พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
ทีป่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผูพ ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม รองบรรณาธิการ วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ วรัญญู อินทรก�าแหง กองบรรณาธิการ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ปริญญา ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล มิ่งขวัญ รัตนคช กมลวรรณ ส่งสมบูรณ์ ศรัญญา โรจน์พทิ กั ษ์ชพี ประสานงาน / นักเขียน ตนุภทั ร โลหะพงศธร บรรณาธิการภาพ นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยี่ดวง มณีนชุ บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี ชยุตม์ คชโกศัย อรณัญช์ สุขเกษม พิสจู น์อกั ษร หัสยา ตัง้ พิทยาเวทย์ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ไม้ลา� ดวน ธมนวรรณ กัวหา ฝ่ายผลิต วิทยา ภูท่ อง ทศพล บุญคง ทีป่ รึกษาฝ่ายโฆษณา ศรวณีย์ ศิรจิ รรยากุล ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, มนัสนันท์ รุ่งรัตนสิทธิกุล 08-4491-9241 ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, มาสสุภา เอี่ยมมงคลศิลป์ 08-5056-0083, ณัฐวีณ์ ประมุขปฐมศักดิ์ 08-3922-9929 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจุฬางกูล 08-1639-1929, สุธาวัลย์ สุวรรณสิงห์ 08-1304-7070, ดวงใจ ดวงจังหวัด 08-6802-9996 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้ผลิต บริษัท เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com, www.godaypoets.com นักศึกษาฝึกงาน ชัญญานิษฐ์ ชัยณรงค์สิงห์
In Memory Of Thailand’s Beloved King 28 - 31 October 2016
In Memory Of Thailand’s Beloved King
ภาพ : Reuters
การแสดงออกซึง่ ความจงรักภักดีตอ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 ยังคงด�าเนินต่อไปในทุกหนทุกแห่ง น�า้ ตาแห่งความอาลัย ยังคงอาบสองแก้ม เสียงร้องเพลงสรรเสริญพระบารมียังคงกึกก้อง แสงเทียนนับหมืน่ นับพันเล่มยังคงสว่างไสว อ้อมแขนของทุกคนยังกอด พระบรมฉายาลักษณ์แน่น สองมือยังประสานก้มกราบแทบเบือ้ งพระยุคลบาท ตึกรามบ้านช่องอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ขนาดต่างๆ ไว้ปลอบประโลมจิตใจ ทัง้ หมดนัน้ เพือ่ น้อมร�าลึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ อย่างหาทีส่ ดุ มิได้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9
The Special Guest
เรื่อง : วรรณวนัช ท้วมสมบูรณ์ ภาพ : กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร
DEVOTION OF THE KING โดยไม่ต้องกังขา พสกนิกรทุกชีวิตบนผืนแผ่นดินนี้ต่างซาบซึ้งถึง พระมหากรุณาธิคณ ุ จวบจนถึงคราวสิน้ สุดรัชสมัยของพระมหากษัตริย์ ผู้เป็นที่รักยิ่งอย่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และเพื่อ ให้เข้าใจอย่างลึกซึง้ ถึงพระมหากรุณาธิคณ ุ อันหาทีส่ ดุ ไม่ได้ของพระองค์ เราจึ ง คิ ด อยากชั ก ชวนให้ ทุ ก คนได้ ม องย้ อ นกลั บ ไปพิ จ ารณาถึ ง คุณูปการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงอุทิศทั้งชีวิต กาย ใจ และจิตวิญญาณ เพื่อยังประโยชน์สุขให้กับปวงชนชาวไทย ตลอดรัชสมัยของพระองค์ โดยผ่านสายตาของนักประวัตศิ าสตร์คนหนึง่ และเมื่อนึกถึงนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ที่น่าจะสามารถ ถ่ า ยทอดเรื่ อ งราวพระราชประวั ติ แ ละพระราชกรณี ย กิ จ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เป็นอย่างดีที่สุด กองบรรณาธิการคิดว่าไม่มใี ครจะเหมาะสมมากไปกว่า ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการ นักโบราณคดี นักมานุษยวิทยา ผู้ท�างานศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงงานวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อ การศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและมานุษยวิทยาไว้ อย่ า งมากมาย รวมทั้ ง เป็ น บรรณาธิ ก ารนิ ต ยสาร เมื อ งโบราณ คณะกรรมการผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ศู น ย์ ม านุ ษ ยวิ ท ยาสิ ริ น ธร และเป็ น ที่ปรึกษามูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ แม้ ในวัยเฉียดแปดสิบปี อาจารย์ศรีศักรก็ยังคงมีงานยุ่งจนเราต้อง รออยูห่ ลายวัน ก่อนอาจารย์จะกลับมาจากการค้นคว้าวิจยั ในต่างจังหวัด ซึ่งยังคงลงพื้นที่ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดพัก และเพียงเริ่ม เล่าให้ฟงั ว่า เรามีความมุง่ หมายทีจ่ ะให้บทสัมภาษณ์นเี้ ป็นการบันทึกถึง การอุทศิ พระวรกายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั แก่ปวงชนชาวไทย อาจารย์ ก็ เ ล่ า ทุ ก เรื่ อ งราวทั้ ง หมดนี้ ใ ห้ ฟ ั ง โดยที่ เ ราแทบจะไม่ ต ้ อ ง เอ่ยปากตัง้ ค�าถามเลย เพราะบางเรือ่ งนัน้ มีคา� ตอบทีช่ ดั เจนยิง่ รออยูแ่ ล้ว
‘มิได้ทรงเตรียมตัวล่วงหน้า แต่เป็นเพราะชะตากรรม’ “โดยอาชีพ ผมมองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในฐานะนักประวัติศาสตร์ และนักมานุษยวิทยา โดยจะมองจากปรากฏการณ์ทางสังคมทีเ่ กิดขึน้ แล้วจึงจะวิเคราะห์และตีความ ซึ่งถ้ามองพระองค์ท่านก่อนทรงผ่านพิธีพระบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ ทรงได้ใช้ชีวิตเหมือนคนธรรมดาที่แทบไม่รู้จักประเทศไทยด้วยซ�้า เพราะทรงเกิด ศึกษา และได้รับ การอบรมในต่างประเทศ แต่ในหลวงท่านมีความสามารถทัง้ สมองซีกซ้ายและซีกขวา ประกอบกับ พืน้ ฐานพระนิสยั ของพระองค์ทา่ นทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักธรรมชาติวทิ ยา ทรงชอบหาข้อมูล ตั้งข้อสังเกต ส่วนด้านศิลปะนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังตามธรรมชาติ และการที่ทรงต้องขึ้นเป็น พระมหากษัตริย์ก็ไม่ใช่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงมีโอกาสเตรียมตัวล่วงหน้า แต่เป็นเพราะชะตากรรม”
‘แรงบันดาลใจให้อุทิศทุกอย่างในชีวิตให้กับประเทศและประชาชน’ “ก่อนทีจ่ ะเสด็จกลับไปเรียนต่อทีส่ วิตเซอร์แลนด์ หลังจากทรงผ่านพิธพี ระบรมราชาภิเษกแล้ว พระองค์ทา่ นได้เห็นเมืองไทย ว่าบ้านเมืองและประชาชนเป็นอย่างไร และยังเกิดเหตุการณ์ทเี่ หมือนกับ
สร้างข้อผูกพันหรือค�ามั่นสัญญาขึ้นกับพระองค์ท่าน เพราะได้ทรงเห็นว่าประชาชนชาวไทยยังคง มองพระมหากษัตริย์เป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ในอดีต โดยไม่ได้รู้สึกว่า พระองค์ทา่ น ซึง่ ในขณะนัน้ ด�ารงฐานะพระมหากษัตริยท์ อี่ ยูภ่ ายใต้รฐั ธรรมนูญ จะมีอะไรเปลีย่ นแปลง ไปเลย “และหลังจากนั้น ในวันที่ทรงเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์ ก็เกิดเหตุการณ์ที่ทุกคนคงทราบกันดี คือขณะประทับรถพระทีน่ งั่ ออกจากพระนคร มีคนตะโกนขึน้ มาว่า ‘อย่าละทิง้ ประชาชน’ ผมคิดว่า ทัง้ หมดนีส้ ร้าง commitment สร้างสัญญาและแรงบันดาลใจให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาล ที่ 9 ซึง่ ท�าให้ทรงอุทศิ ทุกอย่างในชีวติ ให้กบั ประเทศและประชาชน (*พระราชนิพนธ์เรือ่ ง เมือ่ ข้าพเจ้า จากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานใน หนังสือ วงวรรณคดี ตีพมิ พ์เมือ่ เดือนกันยายน พ.ศ. 2489 ถึงวันทีน่ วิ ตั สวิตเซอร์แลนด์เพือ่ ทรงศึกษา ต่อว่า “... ตามถนนผูค้ นช่างมากมายเสียจริงๆ ทีถ่ นนราชด�าเนินกลาง ราษฎรเข้ามาใกล้ชิดรถที่เรานั่ง กลัวเหลือเกินว่า ล้อรถของเราจะทับแข้งทับขาใครเข้าบ้าง รถแล่นผ่านฝูงชนไปอย่างทีส่ ดุ ถึงวัด เบญจมบพิตร รถแล่นได้เร็วขึน้ บ้าง ตามถนนทีผ่ า่ นมา ก็ได้ยนิ เสียงใครคนหนึง่ ร้องออกมาดังๆ ว่า ‘อย่าละทิ้งประชาชน’ อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า ถ้าประชาชนไม่ ‘ทิ้ง’ ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ ‘ละทิ้ง’ อย่างไรได้ แต่รถได้วิ่งเร็วและเลยไปไกลเสียแล้ว...”)
สังคมรังเกียจ ถูกอัปเปหิไปเป็นคนนอก แทบจะเป็นเศษมนุษย์ แต่พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ ทรงสัมผัสตัวพวกเขาอย่างที่ไม่เคยมีใครกล้าท�า ซึ่งถ้าเรามองภาพกว้าง ภาพของพระองค์ท่าน ก็เหมือนกับภาพของนักบุญในศาสนาคริสต์ที่โอบกอดทุกคนเอาไว้ ซึ่งเป็นการแสดงถึงภาวะ แห่งรักและเมตตาธรรมของพระผู้โปรดสัตว์ผู้ยาก”
‘พระราชาผู้แทบไม่เคยอยู่ในปราสาทราชวัง’ “คิดดูวา่ ไม่นา่ ประหลาดใจหรือ ทัง้ ทีพ่ ระองค์ทา่ นทรงเป็นพระมหากษัตริยภ์ ายใต้รฐั ธรรมนูญ ไม่ทรงมีอ�านาจด้านการปกครองเหมือนในระบอบเก่า เพราะรัฐบาลในตอนนั้นต้องการจะให้ พระองค์ท่านทรงเป็นเพียงสัญลักษณ์ แต่ตลอดเจ็ดสิบกว่าปีที่ผ่านมา เราเห็นบ้านเมืองที่ดีขึ้น ประชาชนมีความสุขมากขึ้น เพราะพระองค์ท่านลงมาสัมผัสประชาชน และทรงงานทุกอย่าง เท่าทีจ่ ะทรงท�าได้ เราจึงได้เห็นโครงการพระราชด�าริมากมายทีเ่ ริม่ ต้นด้วยทุนทรัพย์สว่ นพระองค์ เป็นหลัก ครัง้ หนึง่ พระองค์ทา่ นจะช่วยชาวบ้าน ยังตรัสว่า ‘ฉันมีเงินอยูล่ า้ นบาท ช่วยได้สามแสน’ ทีเ่ หลือพวกชาวบ้านต้องไปหากันเอง แปลว่าท่านมีลมิ ติ ของท่าน ดังนัน้ ทีก่ ล่าวหากันว่าพระองค์ ท่านร�่ารวยที่สุดในโลกนั้นไม่จริง คุณลองไปศึกษาความแตกต่างระหว่าง ‘พระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์’ กับ ‘ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์’ ดูก็จะรู้ว่าพระองค์ท่านไม่ได้ร�่ารวย แต่ที่มีคน ‘โดยเสด็จพระราชกุศล’ มากมายนั้นก็ด้วยพระบารมี ซึ่งถามว่า เคยเห็นท่านเอาไป ใช้เพื่อความสุขสบายส่วนพระองค์ไหม นั่นก็ให้ลองไปคิดดูกันเอาเอง “พอมีคนร่วมสมทบโดยเสด็จพระราชกุศล ก็ท�าให้เกิดโครงการพระราชด�าริมากมายถึง 4 พันกว่าโครงการที่ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเกี่ยวกับดิน น�้า หรือทุกข์สุขของประชาชน พระองค์ท่านไม่เคยจะทรงยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และไม่เคยทรงท� าอะไรที่ละเมิดกฎหมาย รัฐธรรมนูญเลย แสดงให้เห็นว่าทรงรักษากติกาได้อย่างยอดเยี่ยม ทุกสิ่งที่เกิดและส�าเร็จได้ มาจากเพียงสิ่งเดียวคือความรักและความเมตตาซึ่งทรงมีต่อประชาชนนั่นเอง ซึ่งอันนี้ก็เป็น สิ่งที่มหัศจรรย์มาก ถ้ามีคนพูดว่า เพราะเป็นในหลวงถึงท�าได ผมก็คงตอบว่า ไม่ใช่ในหลวง ทุกพระองค์ที่จะท�าแบบนี้ได้ ด้วยองค์ประกอบทางสังคมปัจจุบัน ท�าให้ในหลวงรัชกาลที่ 9 แทบจะไม่เคยอยู่ในปราสาทราชวัง แต่พระองค์ท่านทรงปีนภูเขา ข้ามแม่นา�้ เพียงเพื่อไปนั่งอยู่ บนพื้นดินเดียวกับประชาชน”
กษัตริย์นักพัฒนา “ในหลวงทรงเข้าใจในการพัฒนามนุษย์ พระองค์ท่านไม่ได้เริ่มต้นการพัฒนาโดยมุ่งเป้า ไปที่วัตถุ แต่เริ่มที่พัฒนาคนให้มีชีวิตที่ดีขึ้น พระองค์ท่านจึงทรงเข้าถึงประชาชน และที่สา� คัญ คือทรงเริ่มต้นที่ท้องถิ่นและชุมชน ในสายตาของนักมานุษยวิทยา ผมมองว่ามนุษย์ไม่ใช่ปัจเจก เพราะต้องอยู่ในกรอบของพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วยครอบครัว เครือญาติ ชุมชน จึงจะมีความสุข และผมคิดว่าพระองค์ท่านก็ทรงมองแบบนั้น จึงได้กลายมาเป็นแนวทางส่วนพระองค์ที่ว่า ‘เข้ า ถึ ง เข้ า ใจ และพั ฒ นา’ ต่ า งจากการพั ฒ นาแบบ Top Down หรื อ น�า ทฤษฎี ใ หม่ ๆ มาใช้พัฒนาจากยอดพีระมิดบนลงล่าง ซึ่งนักวิชาการสาขาต่างๆ ในขณะนั้นพยายามน�ามาใช้ โดยที่ไม่ได้ท�าความเข้าใจกับบริบทของไทยอย่างที่ในหลวงท่านทรงเข้าใจเสียก่อน “สิ่งที่ประเทศไทยมี และอาจเป็นที่ต้องการของนานาชาติขณะนี้คือ ความหลากหลาย ทางชีวภาพ ซึ่งในหลวงท่านรู้ ท่านจึงให้พัฒนาการเกษตร ท�าการเกษตรพอเพียง ผลิตเพื่อกิน เหลือค่อยขาย ให้ผลิตภัณฑ์ของแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างหลากหลาย อุตสาหกรรม ที่พระองค์ท่านสนับสนุนก็มีแต่อุตสาหกรรมเบาอย่างการแปรรูปอาหาร เท่านี้เราก็อยู่ได้ เผลอๆ จะกลายเป็ น คลั ง อาหารของโลกได้ เ สี ย ด้ ว ย ท่ า นพยายามให้ ค นมี พื้ น ที่ ท� า กิ น ไม่ตอ้ งพึง่ พาคนอืน่ จะได้มคี วามสุข แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมหนักอย่างทีห่ ลายรัฐบาลท�า อย่าง สมั ย หนึ่ ง พื้ น ที่ เ ป็ น ทรั พ ย์ สิ น ใช่ ไ หม คนมี ที่ เ อามาขายสร้ า งโรงงานหมด ก็ เ ลยเสี ย หาย กันหมดไง ดังนั้น ถ้ารัฐบาลไม่เข้าใจตรงนี้ ปล่อยให้ 90% ของพื้นที่ท�ากินกลายเป็นของนายทุน ซึ่งก็เป็นนายทุนข้ามชาติเสียด้วย แต่คน 90% ซึ่งท�าเกษตรกรรม มีพื้นที่แค่ 10% คุณลอง คิดดูสิว่าในอนาคตเราจะอยู่จะกินกันอย่างไร”
‘ทรงมีความรักและเมตตาเป็นพื้นฐาน’ ‘พระโพธิสัตว์ผู้เสด็จฯ ไปทุกหนแห่ง’ “ดังนัน้ หลังจากทีน่ วิ ตั ประเทศไทย พระองค์ท่านจึงได้เสด็จฯ ออกไปทุกทีอ่ ย่างทีไ่ ม่เคยมี พระมหากษัตริยพ์ ระองค์ไหนเคยท�ามาก่อน ทรงเดินทางด้วยความล�าบากยากเข็ญ และอย่างทีเ่ ห็น กันว่า แทบจะตลอดรัชกาล นอกจากเสด็จเยือนประเทศต่างๆ เพือ่ กระชับสัมพันธไมตรีอย่างเป็น ทางการแล้ว พระองค์ท่านแทบจะไม่เคยหยุดพัก ไม่เคยเสด็จฯ ไปพักผ่อนต่างประเทศอีกเลย เรื่องนี้จึงเป็นที่มาของปรากฏการณ์มหัศจรรย์หลังจากที่พระองค์ท่านสวรรคต เพราะสื่อต่างๆ และเรื่องเล่าจากทุกคนท�าให้ภาพรวมของช่วงเวลาในรัชสมัยของพระองค์ท่านชัดเจนขึ้นมาก ว่าสิ่งที่พระองค์ท่านท�าเป็นลักษณะของการทรมานตัวเอง ตามลักษณะของผู้เป็นพระโพธิสัตว์ พระมหาไถ่ หรือนักบุญจะกระท�า โดยทีไ่ ม่ได้สนใจความสุขสบายของพระองค์เองเลย เราจะเห็น ได้วา่ พระองค์ทา่ นทรงล�าบากตรากตร�าพระวรกาย เพราะไม่วา่ จะเป็นสนามรบ พืน้ ทีป่ า่ เขาทีไ่ หน ที่เป็นอันตรายก็ยังทรงปีนป่ายเข้าไป “และที่สา� คัญที่สดุ ที่เราเห็นคือ ทรงมีความรักและเมตตาต่อประชาชน โดยไม่รังเกียจแม้แต่ คนป่วยโรคเรือ้ นทีเ่ มืองไทยมีมาตลอด อย่างสมัยก่อน การรักษาพยาบาลไม่ดี มีคนเป็นโรคเรือ้ น อยู่มาก ซึ่งนี่เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่ส�าคัญ เพราะในสมัยก่อนคนที่เป็นโรคเรื้อนมักจะถูก
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงเข้าถึงคน เข้าถึงชุมชน เข้าใจพืน้ ทีแ่ ล้วค่อยหาทางพัฒนา โดยที่ ไ ม่ ไ ด้ พ ระราชทานเงิ น แต่ ท รงแนะน� า ช่ ว ยเหลื อ บ้ า งตามสมควร ให้ ส ติ ป ั ญ ญา ให้วิธีคิด ก็เลยการเป็นการพัฒนาที่ส�าเร็จ ตัวอย่างที่เห็นบ่อยๆ ก็เช่นชาวเขาที่ถูกมองว่าไม่ใช่ ชนชาติไทย เป็นคนชายขอบสังคม คล้ายกับสถานะของคนป่วยโรคเรื้อนในขณะนั้น เข้าไป ประเทศไหนก็ถูกขับไล่ จนมักเกิดการต่อสู้แย่งชิงอาณาเขตและดินแดน แต่เมื่อเขาเข้ามาอยู่ บริเวณภาคเหนือ ปลูกฝิน่ ซึง่ ถ้าไปไล่กต็ อ้ งต่อสูก้ นั แต่ในหลวงทรงมีพระเมตตา รับคนเหล่านีเ้ ข้า มาเป็นคนไทย เข้าไปถึงพื้นที่นั้น ไปพบปะกันเหมือนคนธรรมดาสามัญ แนะน�าให้เขาเลิกปลูก ฝิ่น ให้ปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ ตามแต่ดินฟ้าอากาศจะเหมาะสม อย่างครั้งนั้นพระองค์ท่านเห็นต้น กาแฟงอกงามอยู ่ ต ้ น หนึ่ ง ก็ ท รงคิ ด ให้ ช าวเขาปลู ก กาแฟเสี ย จะได้ เ ลิ ก ฝิ ่ น ทรงค่ อ ยๆ แก้ปัญหา และค่อยๆ ท�าให้ชาวเขากลายเป็นคนไทยที่รักแผ่นดิน ซึ่งแม้ไม่ใช่บ้านเกิดแต่ก็อาจ เป็นเรือนตายของเขา ซึ่งแนวคิดนี้และคนที่คิดอย่างนี้ได้ ยิ่งใหญ่มากส�าหรับผม “ผมคิดว่า พระองค์ทา่ นทรงเข้าถึงคนไทยได้อย่างมีประสบการณ์ ด้วยความเป็นนักวิทยาศาสตร์ และนักธรรมชาติวิทยาซึ่งมีอยู่ในพระองค์ รวมทั้งการสังเกต โดยที่ไม่ต้องไปเรียนทฤษฎี จากทีไ่ หนมา เวลาพระองค์ทา่ นจะเอาความรูจ้ ากต่างประเทศเข้ามา จะทรงพิจารณาอย่างถ้วนถีต่ งั้ แต่ ดิ น ฟ้ า อากาศและดู ว ่ า เหมาะสมกั บ คนไทยไหม ส่ ว นของในประเทศที่ ดี อ ยู ่ แ ล้ ว ก็ ท รงมี พระราชด�าริให้รักษาไว้ ทรงมองที่คน ให้เขาท�าด้วยตัวเอง เรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งนี่เป็นการพัฒนา
‘ทรงให้สติปัญญา’ “ที่ส�าคัญคือ การพัฒนาที่ว่ามานี้ในหลวงท่านไม่ต้องทรงลงมือท�าเอง ทรงให้สติปัญญา เป็น empowerment ไม่ใช่ไปท�าให้เขา แต่เมื่อท�าให้คนมีสติปัญญา มีความมั่นใจ คิดเป็น จะท�าอะไรก็ย่อมส�าเร็จ และมีส�านึกร่วมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นที่มาของ GNH (Gross National Happiness) ที่เราเคยโหยหากันในสมัยหนึ่ง นักวิชาการไทยบอกว่าต้องไปดูตัวอย่างจากภูฏาน แต่ในหลวงท่านท�ามานานแล้ว Gross National Happiness หรือความสุขมวลรวมประชาชาติ ของพระองค์ทา่ น คือท�าอย่างไรให้คนอยูร่ ว่ มกันแล้วมีความสุข ทัง้ ทางประเพณี ศาสนา อาหาร การกินก็แบ่งกัน ท�าให้คนมีความสุข โดยไม่ได้วัดความส�าเร็จจาก GDP (Gross Domestic Product) ซึง่ ในหลวงท่านประสบความส�าเร็จในการสร้าง GNH ให้กบั ประชาชน แต่ไม่ใช่ทงั้ ประเทศ พระองค์ท่านสร้างทีละชุมชน ด้วยเหตุนี้พอพระองค์ท่านเสด็จสวรรคต คนไทยจึงทั้งร้องไห้ และขานรับทั่วราชอาณาจักร เพราะพระคุณอันนี้สะท้อนออกมา กลายเป็นปรากฏการณ์ ที่เป็นมหัศจรรย์”
‘ความมหัศจรรย์ ในรัชสมัย’ “ปรากฏการณ์ซึ่งผมมองว่าเป็นความมหัศจรรย์ในรัชสมัยพระองค์ท่าน เท่าที่ผมเคยเห็น คือครั้งที่รัฐบาลประกาศจะจัดงานเฉลิมฉลองการครองราชย์ 60 พรรษา มีคนใส่เสื้อเหลือง มาคอยเฝ้าชมพระบารมีจา� นวนมหาศาลในวันนั้น ถามว่าจะมีใครไปจัดการให้เกิดขึ้นได้จริง หรือหากไม่เป็นทีร่ กั ของประชาชนมากขนาดนัน้ ครัง้ หลังคือเมือ่ เสด็จสวรรคต เราจึงได้เห็นคน มาจากทุกสารทิศ แล้วคนเหล่านี้มาอย่างทรมานร่างกาย เขาเดินทางมาอย่างยากล� าบาก แต่ก็ดั้นด้นกันมา เป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่จะเกิดขึ้นได้เฉพาะกับคนที่มีบารมีเท่านั้นเอง”
‘พระมหากษัตริย์ผู้นับถือและเข้าใจในพระพุทธศาสนาโดยแท้’ “ผมคิดว่า บารมีของในหลวงส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่นับถือ พระพุทธศาสนาอย่างเข้าใจโดยแท้ ไม่ได้ทรงเป็นแต่พธิ กี รรมหรือเพียงรักษาประเพณีทบี่ า้ นเมือง เคยมีมาก่อน แต่ในวัตรปฏิบัติส่วนพระองค์ก็ทรงวิปัสสนา ท�าสมาธิ โดยไม่ต้องไปเข้าคอร์ส อย่างที่เขาฮิตๆ กัน (หัวเราะ) ท่านแสวงหาความรู้จากพระอริยสงฆ์ และพระอริยสงฆ์ก็รู้ว่า พระองค์ทา่ นทรงสมาธิในระดับลึกได้ และพระองค์ทา่ นฝึกปฏิบตั อิ ยูต่ ลอดเวลา นอกเหนือจาก ที่ทรงศีลแปดทุกวันพระ หลักการด�าเนินชีวิตของพระองค์ท่านก็ยังอยู่ในหลักพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มาโดยตลอด พระองค์ท่านทรงเป็นผู้ไม่โกรธ แม้แต่กับผู้ที่ คิดร้ายต่อพระองค์ท่าน “นอกจากนีย้ งั ทรงใช้พรหมวิหารสีใ่ นการบริหารประเทศ อย่างตอนทีม่ นี กั ข่าวต่างประเทศ มาสัมภาษณ์พระองค์ท่าน ว่าทรงสร้างเขื่อนเพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ใช่ไหม ยังทรงตอบว่า ‘...เราไม่ได้ต่อสู้กับประชาชน เราต่อสู้กับความอดอยากหิวโหยของประชาชน เราปรารถนา ให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น ถ้าประชาชนเหล่านี้มีชีวิตที่ดีขึ้น พวกประชาชนอีกฝ่ายที่เรียกกันว่า เป็น ‘พวกกระด้างกระเดื่อง พวกคอมมิวนิสต์’ ก็จะมีชีวิตที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน ทุกๆ คน ไม่วา่ ฝ่ายใด ต่างก็จะมีความสุขทัง้ สิน้ ’ อันนีเ้ ป็นส่วนทีท่ �าให้เห็นชัดว่าในหลวงไม่ทรงข้องเกีย่ ว กับการเมือง เพราะเรื่องคอมมิวนิสต์เป็นเรื่องของการเมือง และสิ่งที่ดีงามที่สุดอีกอย่างคือ ถ้าคุณไปค้นประวัตศิ าสตร์จะพบว่า ในหลวงพาข้าราชการไปสาบานตนต่อหน้าพระแก้วมรกต และพระองค์เองก็เป็นหนึง่ ในผูท้ รี่ ว่ มสาบานตนในครัง้ นัน้ ด้วย ทรงแสดงให้เห็นว่า เหนือพระองค์ทา่ น ยังมีพระแก้วมรกต มีพระศาสนา ซึง่ ผมมองว่านีเ่ ป็นเจตนารมณ์ ซึง่ แสดงถึงการเป็นพุทธมามกะ ที่ยิ่งใหญ่มาก” จากในสูน่ อก จากข้างล่างขึน้ ข้างบน เหมือนทีพ่ ระองค์ทา่ นเคยพระราชทานสัมภาษณ์กบั BBC ว่า พีระมิดของประเทศไทยเป็นพีระมิดหัวกลับ มีพระองค์ท่านอยู่ล่างสุด ผมรู้สึกว่า ทรงมอง พระองค์เองว่าเป็นคนตัวเล็กๆ ซึ่งอยู่รวมกับประชาชนคนอื่นๆ จึงทรงเข้าถึงคนในทุกระดับ”
‘ทรงสร้างนวัตกรรมและเป็นผู้น�าด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ “นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งมี creative mind จึงเป็นเหตุผลที่ได้ ทรงสร้างนวัตกรรมขึ้นมามากมาย ซึ่งเป็นที่ตื่นเต้นกันแม้แต่ในระดับนานาชาติ แต่พระองค์ ท่านทรงสรุปทุกอย่างนี้ด้วยค�าว่า ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ ซึ่งสะท้อนภาพของเกษตรกรในอดีต ในสังคมชาวนาแต่เดิมอยู่กันเป็นกลุ่ม แบ่งปันทุกอย่างกัน มีชีวิตอยู่อย่างพอเพียงตาม หลักธรรมทางศาสนา ค�าว่าชุมชนในทีน่ คี้ อื พืน้ ทีห่ นึง่ ซึง่ มีคนมาอยูร่ ว่ มกัน ต่างเชือ้ ชาติ ศาสนา ต่างคนต่างมีผลิตภัณฑ์ในครอบครัวที่เอามาแลกเปลี่ยนกัน “จนเมื่อผ่านไป 3 ชั่วอายุคน มีการแต่งงานปะปนกัน เกิดขนบธรรมเนียมประเพณี ร่วมสัมพันธ์กันจนกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวไม่มีการแบ่งแยกกันอีกต่อไปจึงกลายเป็นชุมชน แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยเอาระบบฝรั่งเข้ามาใช้ ดึงอ� านาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยมองจากพื้นที่ แบ่งเป็นหมู่บ้าน ต�าบล อ�าเภอ ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นชุมชนดั้งเดิมของไทย อย่างในกรุงเทพฯ ก็กลายเป็นเขต เดิมที่เคยเป็นย่านนั้น บางนี้ ก็ไม่เหลือ วัดไม่ได้กลายเป็น ศูนย์กลางของชุมชนอีกต่อไป พระไปทาง คนไปทาง จึงเป็นการพัฒนาโดยที่ไม่เข้าใจ แต่พระเจ้าอยู่หวั รัชกาลที่ 9 ทรงเข้าใจ ท่านจึงไม่ได้พฒ ั นาจากเขตการบริหาร แต่พฒ ั นาพืน้ ที่ ทางวัฒนธรรมที่คนอยู่ โดยมุ่งให้คน เศรษฐกิจ และสังคมพัฒนาไปด้วยกัน “เพราะฉะนัน้ เศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ทา่ นจึงเป็นทัง้ หลักธรรม ปรัชญา และแนวทาง ปฏิ บั ติ ทุ ก คนควรมี ค วามพอเพี ย งตามอั ต ภาพ แต่ เ วลาท�า อะไรต้ อ งค� า นึ ง ถึ ง ส่ ว นรวม ต้องแบ่งสันปันส่วนกันกินกันใช้ ซึ่งนี่เป็นการพัฒนาชุมชนโดยตรง”
‘ทรงครองอ�านาจเหนือใจประชาชนด้วยพระเมตตา’ “ดังนั้น แม้พระองค์ท่านจะไม่มีพระราชอ�านาจทางการเมืองการปกครองก็จริง แต่ทรง ครองอ�านาจเหนือใจประชาชนด้วยพระเมตตา และอ�านาจนั้นมี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งคือพระเดช ซึง่ พระมหากษัตริยท์ ที่ รงเป็นราชาธิราชจะทรงใช้ในการจัดการบ้านเมือง แต่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริยภ์ ายใต้รฐั ธรรมนูญ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย พระองค์ทา่ นจึงมีแต่ พระบารมี ในการปฏิบัติสิ่งที่ดีงาม จนกลายเป็นพระคุณ เป็นพระราชอ�านาจในทางพระบารมี จากความรักและเมตตาธรรมต่อประชาชนของพระองค์ท่าน เมื่อครั้ง 14 ตุลาฯ ผมจ�าได้ว่า ในหลวงท่านเป็นผู้ทรงเรียกวันนี้ว่า ‘วันมหาวิปโยค’ ตอนนั้นผมท�าการค้นคว้าอยู่ต่างจังหวัด ยั ง ต้ อ งรี บ ตี ร ถกลั บ กรุ ง เทพฯ เพราะได้ ข ่ า วว่ า เกิ ด การฆ่ า กั น ได้ เ ห็ น ในหลวงออกที วี และมีพระราชด�ารัสว่า วันนี้เป็นวันมหาวิปโยคของพระองค์ ซึ่งแสดงถึงความรักประชาชน ของพระองค์ท่านอย่างที่สุด และแปลกไหมที่วันที่ 13 ตุลาฯ ตอนนี้เป็นวันมหาวิปโยคของ คนไทยทั้งชาติ”
The Art of Love
งานศิลปะทีศ่ ลิ ปินรับเชิญของเราสร้างสรรค์ขนึ้ โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นแรงบันดาลใจ ผลงานศิลปะที่อุทิศให้กับ พระมหากษัตริยอ์ นั เป็นทีร่ กั ยิง่ ของคนไทยทัง้ ผอง ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา และจากนี้ตลอดไป
พ่อของแผ่นดิน
ชุ บ นกแก้ ว ศิ ล ปิ น ผู ้ ส ร้ า งสรรค์ ง านชิ้ น นี้ ต้ อ งการสื่ อ ให้ เ ห็ น ถึ ง พระราชกรณี ย กิ จ ของในหลวง ด้านการเกษตร ป่าไม้ และพลังงาน เพราะไม่วา่ จะเป็นพืน้ ทีแ่ บบไหน ยอดเขาหรือพืน้ ทีบ่ นดอยทีเ่ ดินทางเข้าไป ยากเย็นขนาดไหน พระองค์ท่านก็เสด็จพระราชด�าเนินไปพัฒนา เพื่อท�าให้ประชาชนของพระองค์ท่าน อยู่ดีกินดี โดยศิลปินใช้ต้นไม้มาเรียงเป็นพระพักตร์ เพื่อสื่อถึงความยิ่งใหญ่ในมุมกว้าง แสดงให้เห็นว่า เมื่อพระองค์เสด็จฯ ไปที่ไหนที่นั่นจะมีแต่ความร่มรื่นร่มเย็น
โครงการหลวงดอยค�า
ราวปีพทุ ธศักราช 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้เวลาในช่วงฤดูหนาว เสด็จแปรพระราชฐานไปจังหวัดเชียงใหม่ ทอดพระเนตรชีวิตของ ชาวบ้านบนดอย ชาวไทยภูเขาในภาคเหนือประกอบอาชีพ ปลูกข้าวเพือ่ บริโภคควบคูก่ บั การปลูกฝิน่ ซึง่ สร้างปัญหา การท�าลายป่าไม้จากการท�าไร่เลื่อนลอย และที่ส�าคัญคือ ปัญหายาเสพติดที่แพร่หลายจากชุมชนชนบทไปสู่เมือง และกลายเป็นปัญหาที่ส�าคัญของประเทศในยุคนั้น จึงเป็น ที่มาในการริเริ่ม ‘โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ ชาวเขา’ ในปี พ.ศ. 2512 โดยทรงมอบหมายให้ หม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี เป็นประธานอ�านวยการโครงการหลวงฯ การด�าเนินการในระยะแรกของโครงการหลวงฯ นั้น ได้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากหลายหน่ ว ยงาน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งให้ความช่วยเหลือในเรื่อง การศึกษาวิจัยหาพืชที่เหมาะสมต่อสภาพอากาศในพื้นที่ นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานราชการอื่นๆ อีกหลายแห่ง ที่ เ ต็ ม ใจเข้ า มาร่ ว มถวายงานอย่ า งไม่ ย ่ อ ท้ อ รวมถึ ง ความร่วมมือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา และไต้หวัน ที่ให้เงินสนับสนุนโครงการหลวงฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 จนถึ ง ปั จ จุ บั น โดยพื ช ผั ก เมื อ งหนาว ที่ทรงส่งเสริมให้ปลูกก็จะมีท้อ ลิ้นจี่ แอปเปิ้ล มันฝรั่ง ถั่วแดงหลวง ข้าวโพดหวาน และมะเขือเทศ เป็นต้น หลั ง จากนั้ น ชาวไทยภู เ ขาจึ ง เริ่ ม หั น มาปลู ก พื ช ทดแทนฝิน่ มากขึน้ จึงท�าให้เกิดความต้องการตลาดรับซือ้ ผลผลิต ผั ก และผลไม้ ส ดให้ ทั น เวลาการเก็ บ เกี่ ย ว ดังนั้น เพื่อตัดปัญหาการโก่งราคาผลผลิตจากพ่อค้า คนกลาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตัง้ เป็นกลุม่ สหกรณ์ชาวเขา เพือ่ รับซือ้ ผลผลิ ต สดจากราษฎรโดยตรง และมี พ ระบรมราชโองการโปรดเกล้ า ฯ ให้ ศาสตราจารย์ อ มร ภู มิ รั ต น ผู ้ อ� า นวยการสถาบั น ค้ น คว้ า และพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ อ าหาร มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ ในขณะนั้ น เป็ น ผู ้ ด� า เนิ น การจั ด ตั้ ง โรงงานหลวงอาหารส� า เร็ จ รู ป แห่งแรกขึ้นที่หมู่บ้านบ้านยาง ต�าบลแม่งอน อ�าเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มด�าเนินการเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 เป็นต้นมา ปัจจุบัน โครงการหลวงดอยค�า ประกอบธุรกิจภายใต้ ชื่อบริษัท ดอยค�าผลิตภัณฑ์อาหาร จ�ากัด โดยมีโรงงาน หลวงอาหารส�าเร็จรูป 3 แห่ง ก็คือที่อ�าเภอฝาง จังหวัด เชียงใหม่, อ�าเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และอ�าเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ซึง่ แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นสินค้า มากมายหลายชนิ ด เช่ น น�้ า ผลไม้ แยม ผลไม้ อ บแห้ ง สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป และการที่โรงงานตั้งอยู่ ใกล้ พื้ น ที่ เ พาะปลู ก ก็ จ ะยิ่ ง ช่ ว ยคงคุ ณ ค่ า ความสดของ วัตถุดิบผลไม้ นอกจากจะได้ช่วยฟื้นฟูป่า ท�าให้คุณภาพ ชี วิ ต ของชาวเขาดี ขึ้ น แล้ ว สิ น ค้ า ของดอยค� า ก็ ถื อ ว่ า มีมาตรฐานสูงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอีกด้วย
“ถ้าจะให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น ก็ต้องหาพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่า และมีความเหมาะสมจะปลูกในที่สูง มาให้ชาวเขาปลูกทดแทน”
Royal Project
Keep The Faith “ผมอยากวาดรูปท่าน เพราะผมรักท่าน” เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ, ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ ภาพ : ภาสกร ธวัชธาตรี
Inspired By The King
ความรักและแรงศรัทธา แม้จะเป็นเรื่องของนามธรรม ที่จับต้องไม่ได้ แต่เราก็สามารถใช้ความรู้สึกนี้มาเป็น แรงขับเคลื่อนให้เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ ดังเช่นที่ ชู ศั ก ดิ์ วิ ษ ณุ ค� ำ รณ จิ ต รกรรุ ่ น ใหญ่ ที่ ใ ครๆ ต่ า งยก ให้เป็นคนทีม่ ฝี มี อื ในการสร้างสรรค์พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้สวยงามเป็นเบอร์ตน้ ๆ ของประเทศไทย ทัง้ ยังเป็นศิลปิน ที่วาดพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัว เป็นจ�านวนมากที่สุด และบรรทัดต่อไปนี้คือการบอกเล่า ถึงจุดเริม่ ต้นนทีท่ า� ให้เขาหยิบพูก่ นั ขึน้ มาวาดภาพในหลวง เรื่อยมาจนถึงวันนี้ “ผมเริ่ ม ต้ น วาดรู ป พระเจ้ า อยู ่ หั ว จากความรั ก ซึ่งความรู้สึกนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ตอนยังเป็นเด็ก เรามี โอกาสได้เห็นภาพพระราชกรณียกิจทางโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งช่วงแรกๆ เราก็ยังไม่รู้สึกอะไร เพราะเรา มองว่าท่านเป็นเจ้าฟ้าเจ้าอยู่หัว และพระราชกรณียกิจของท่านก็คงท�าไปตามหน้าที่ จนตอนที่เริ่มโตเป็นวัยรุ่น ความรักและเทิดทูนในตัวพระองค์ท่านก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะภาพที่เราเห็นมาตลอดก็คือท่านออกไปทรงงาน ตามถิ่นทุรกันดารอยู่เสมอ และบ้านเกิดผมก็เป็นถิ่นทุรกันดารเหมือนกัน เราจึงรู้สึกเหมือนท่านทรงมาเยี่ยม และดูแลทุกข์สุขให้กับญาติพี่น้องของผม “ผมได้เห็นภาพของท่านที่ทรงนั่งพับเพียบอยู่บนพื้นดิน บนหัวเข่าก็มีโคลนติดอยู่ พระเสโทก็ชุ่มเต็มพระองค์ แต่ท่านก็ทรงยิ้มแย้มให้กับเหล่าพสกนิกรที่รายล้อมอยู่รอบตัวท่าน โดยมีผู้ติดตามที่เห็นแล้วรู้ทันทีว่าเป็นคณะ ที่มาท�างานจริงๆ เมื่อผมมีโอกาสได้เรียนศิลปะ ผมก็เริ่มเขียนรูปของพระองค์ท่าน ทั้งๆ ที่ผมไม่ใช่คนที่วาดภาพ พอร์เทรตที่เก่งกาจอะไร แต่ผมก็อยากวาดรูปท่าน เพราะผมรักท่าน” ตั้งแต่อดีตจนถึงวันนี้ ผลงานรูปวาดของในหลวงจากฝีมือของชูศักดิ์ ได้รับการยอมรับว่ามีความสวยงาม และมีจ�านวนหลายร้อยชิ้น แต่เขาก็ยังยืนยันอย่างหนักแน่นกับเราว่า ตัวเองนั้นไม่ได้เก่งกาจอะไร แต่สิ่งที่ท�าให้คนดู ยอมรับน่าจะมาจากความหมายลึกๆ ที่อยากส่งผ่านไปยังคนดูงานมากกว่า “งานวาดรูปชุดแรกๆ ของผมจะเป็นภาพวาดสีน�้า ผมเลือกท�างานวาดรูปเพราะอยากบันทึกความรู้สึกของ ตัวเองที่มี และอยากให้คนอื่นรู้สึกรักและเทิดทูนในหลวงเหมือนกัน ดังนั้นเรื่องราวในภาพของผมจึงเป็นรูปในหลวง ในอิริยาบถต่างๆ เช่น ระหว่างเสด็จฯ ไปตามทุ่งนา หรือมีป่าเขาเป็นฉากหลัง หรือเป็นการเสด็จฯ ไปยังต่างประเทศ ไปพบกับบุคคลส�าคัญต่างๆ โดยได้ต้นแบบจากรูปตามแมกกาซีนของต่างประเทศ” แม้จะได้ชื่อว่าเป็นศิลปินที่วาดพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวเป็นจ� านวนมากที่สุดในตอนนี้ แต่ถ้าถามว่ารูปของในหลวงแบบไหนที่วาดยากที่สุด ค�าตอบที่ได้กลับมาคือ
“รูปทีว่ าดยากไม่มหี รอก เพราะในหลวง ท่านมีบุคลิกที่ชัดเจนมาก เมื่อเราวาดภาพ ของผู้ชายคนหนึ่งที่ใส่แว่น ก็เริ่มจะดูแล้ว รู้เลยว่าคนในรูปนั้นคือใคร แต่สิ่งที่ยากกว่า การเขียนแล้วบอกว่าเหมือนหรือไม่เหมือน คือ การสื่อสารไปยังคนดู ถ้าใครจะเขียนรูป พระเจ้ า อยู ่ หั ว ต้ อ งเขี ย นให้ ค นทั้ ง ประเทศ ชื่ น ชม เพราะเราไม่ ไ ด้ เ ขี ย นคนธรรมดา แต่เป็นคนที่ราษฎรทั้งบูชาและเคารพนับถือ ดังนั้น รูปในหลวงของผมจะสื่อถึงความยิ่ ง ใหญ่ ความเป็ นมหาบุ รุ ษ ซึ่ ง ผมยกให้ ท่านเป็นบุคคลพิเศษเหมือนกับการวาดรูป พระพุทธเจ้า” ชู ศั ก ดิ์ ยั ง ได้ ก ล่ า วเสริ ม ว่ า การวาด พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระองค์ แต่ละภาพนั้นใช้เวลามากน้อยแตกต่างกัน ตามขนาดของรูป เรื่องราว และรายละเอียด ที่ ต ้ อ งการจะถ่ า ยทอด ถ้ า หากอยากชม ผลงานเขาอย่างเต็มตาก็สามารถไปดูได้ ไม่ยาก “ผมใช้เวลาวาดรูปนีอ้ ยูท่ งั้ หมดประมาณ 7 เดือน ภาพสีอะคริลิกขนาด 8x8 เมตร ชื่อว่า ‘มิ่งขวัญของปวงประชา’ โดยเป็นรูป ของในหลวงยืนคู่อยู่กับพระราชินี งานชิ้นนี้ น�าไปติดตั้งอยู่บริเวณห้องโถงของอาคาร สินธร ทาวเวอร์ ซึ่งเป็นสถานที่ทรัพย์สิน ส่วนพระองค์ โดยทางผู้บริหารของอาคาร ได้ติดต่อให้ผมวาดรูปในหลวงให้ ซึ่งผมรู้สึกว่าเป็นบุญมากที่ทางอาคารสินธรฯ เชิญมาให้เขียนรูปท่าน และที่ผม เขียนรูปนี้ขึ้นเพราะอยากให้เราเห็นท่านว่าเป็นบุคคลตัวอย่างที่ทรงรักพระราชินีมาก เราจะเห็นท่านอยู่คู่กับพระราชินี เสมอ ผมอยากฝากผลงานนี้ไว้กับแผ่นดิน เพราะถึงเวลาที่เราไม่อยู่แล้ว ผลงานก็ยังคงอยู่ต่อไป ดังนั้น คนท�างาน ศิลปะทั้งหลาย เวลาท�างานให้ท�าด้วยความเชื่อมั่น เพราะงานของคุณจะอยู่คู่กับโลกใบนี้ งานศิลปะจะเป็นสิ่งที่ ท�าให้คนสรรเสริญหรือประณามคุณก็ ได้ ดังนั้น จงท�างานศิลปะด้วยความคิด และสติปัญญา” ได้ ฟ ั ง เรื่ อ งราวความรั ก และความเทิ ด ทู น ที่ เ ขามี ต ่ อ พระเจ้ า แผ่ น ดิ น ของเราแบบนี้ เราจึ ง อดสงสั ย ไม่ ไ ด้ ว ่ า ช่วงวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา ชายคนนี้มีความรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ยินเรื่องราวที่สะเทือนใจคนทั้งประเทศไทยในวันนั้น “ผมไม่ร้องไห้นะ แต่ผมหยุดนิ่ง เพราะผมรู้อยู่แล้วว่าวันนี้ต้องมาถึง พระองค์ท่านเหนื่อยมามากพอแล้ว ผมเอง ก็ ไม่อยากรั้งท่านไว้ และเชื่อว่าลึกๆ ในใจของทุกคนก็คิดไม่ต่างกัน และเหมือนกับผมได้อยู่กับพระองค์ทุกวันอยู่แล้ว เพราะรอบตัวผมก็มีแต่รูปภาพของท่าน ก็เหมือนกับท่านไม่ได้ ไปไหน พระคุณที่ท่านสร้างไว้จะยังคงอยู่กับเรา เป็นมรดกอันล�้าค่าที่พ่อทิ้งไว้ ให้ ผมภูมิใจที่ได้เกิดมาในรัชกาลของพระองค์ ภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย ได้เกิดใน แผ่นดินของรัชกาลที่ 9” ถึงจะไม่มโี อกาสได้เข้าเฝ้าพระองค์ทา่ นอย่างใกล้ชดิ แต่ความรักและความจงรักภักดีของเขาก็ ได้ถกู ส่งผ่านรูปเขียน ไปถึงในหลวงจนส�าเร็จมาแล้ว “เมื่อราวปี พ.ศ. 2555 ในหลวงประชวรและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ผมมีโอกาสได้วาดรูป ถวายท่าน ผมอยากให้ก�าลังใจพระองค์ ผมจึงวาดรูปพระองค์นั่งอยู่บนรถเข็น โดยใช้ชื่อว่า ‘ไกลกังวล หมายเลข 2’ เป็นรูปท่านนั่งอยู่บนรถเข็นมองไปยังท้องฟ้าและท้องทะเลที่อยู่ด้านหน้า มีคุณทองแดงนอนอยู่ข้างๆ ให้เหมือนกับ ชื่อภาพว่า ท่านอยู่ห่างไกลจากความกังวล ไม่ต้องพบเจอกับความวุ่นวาย เพราะผมอยากให้ท่านปล่อยวางกับภาระ ที่ทรงแบกเอาไว้ ให้ลูกๆ สานต่อเรื่องงานแทน ท่านจะได้พักผ่อน เหมือนเราบอกกับพ่อของเราว่า พ่อพักได้แล้ว แต่เนื่องจากผมเป็นแค่พสกนิกร ดังนั้น จึงต้องแสดงออกผ่านงานศิลปะ “หลั ง จากที่ น� า ไปถวายให้ ท ่ า นโดยมี ตั ว แทนมารั บ รู ป นี้ ไ ป หลังจากนั้นไม่ถึงหนึ่งอาทิตย์ก็มีจดหมายส่งมาถึงผม ซึ่งในจดหมาย บอกว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงรับทราบแล้ว และขอบใจมาก พออ่านจบ ผมมีความสุขมาก” ถ้ามีใครสักคนเดินมาบอกกับเขาว่า อยากได้รูปในหลวงสักภาพ ตอนนี้ เหตุผลข้อเดียวที่เขาจะวาดรูปพระองค์ท่านให้นั้นก็คือ “ถ้าเขาคนนั้นรักและเทิดทูนพระองค์ท่านเหมือนกับผม ผมก็จะ วาดให้ เพราะผมก็เป็นเหมือนเทียนเล่มหนึง่ และเขาก็เป็นเทียนอีกเล่ม เมื่อผมจุดไฟให้เทียนของเขา ความสว่างก็เพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่า เรื่องราวของในหลวงก็จะกระจายไปสู่เทียนเล่มอื่นๆ ต่อไป” การสนทนาของเราด�าเนินมาจนถึงช่วงท้าย พร้อมๆ กับกาแฟด�า ในมื อ ของศิ ล ปิ น เอกท่ า นนี้ ที่ ใ กล้ จ ะหมดลง และค� า พู ด ที่ ยื น ยั น อย่างหนักแน่นกับเราว่า จะยังคงวาดรูปพระองค์ท่านต่อไป เพราะ ความศรัทธานั้นจะเป็นแรงผลักดันให้เขาทุ่มเทท�างานศิลปะ และ กลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีให้ ไฟในตัวนั้นไม่เคยราแสงลงเลย
Writer ใกล้เข้าฤดูหนาวทีไร ภาพแรกทีผ่ ดุ ขึน้ มาคือ สถานีเกษตรหลวง อ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ เพราะที่นั่นเป็น ‘รักแรกพบ’ ฉันหลงรัก อากาศ หลงรักภูมิทัศน์ และหลงรักเรื่องราวความเป็นมาของที่นี่ ภาพรอยยิม้ กว้างๆ ของคุณป้าคนหนึง่ ทีต่ อ้ นรับนักท่องเทีย่ วอยูห่ น้า ไร่สตรอเบอรีบ้านนอแลเมื่อหลายปีก่อน ค่อยๆ ฉายขึ้นในความทรงจ�าอีกครั้ง พร้อมเรื่องราวที่ป้าเล่าให้ฟัง จ�าได้เหมือนเพิ่งได้ยิน มาเมื่อวาน “เมือ่ นานมาแล้ว มีคนเล่าให้ปา้ ฟังว่า พืน้ ทีแ่ ถวนีห้ า่ งไกลความเจริญ ชาวบ้านปลูกฝิน่ ท�าไร่เลือ่ นลอย ป่าก็เสือ่ มโทรมลง จนวันหนึง่ ในหลวงกั บ พระราชิ นี ม าเยี่ ย มชาวบ้ า น หลั ง จากนั้ น ชี วิ ต และ ความเป็นอยู่ รวมทัง้ สภาพป่าก็เปลีย่ นไป ทุกอย่างดีขนึ้ มาก และไม่ใช่ แค่ไร่สตรอเบอรีตรงนี้เท่านั้นนะ แต่กินพื้นที่เห็นจะเป็นภูเขาทั้งลูก ก็ว่าได้ จากโล้นๆ ก็เปลี่ยนเป็นมีแต่ป่าเขียวเต็มไปหมด ป้าก็คิดนะ หากไม่มีพระองค์ ก็ ไม่รู้เหมือนกันว่าตอนนี้พวกเราจะเป็นยังไง” หลั ง จากนั้ น อี ก 2 ปี ฉั น และครอบครั ว กลั บ ไปที่ นั่ น อี ก ครั้ ง เราไม่เจอป้าแล้ว แต่เราเจอความรักของป้าที่ยังอยู่ที่เดิม เราเจอ ความรักของในหลวงที่อบอวลไปทั่วพื้นที่ แทรกซึมอยู่ในผืนดิน ลอยวนในอากาศ ละลายอยู่ในแหล่งน�้า ออกดอกออกผลเป็น ผลิตภัณฑ์ และสูบฉีดอยู่ในกายของลูกหลานชาวเขาในพื้นที่แห่งนี้ ตลอดไป ส�านึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้า ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ
Graphic Designer
Art Director วันที่ต้องจดจ�าและส�านึกในพระมหากรุณาธิคุณไปทั้งชีวิต ข้าพระพุทธเจ้า นายวีระยุทธ คงเทศน์
With All Our Hearts
“Our Song or it is nothing left but The Echo… Though time is unforgiving. I know our love will linger on for… eternity.” เนื้อเพลงหนึ่งท่อน จากเพลง Echo หรือ แว่ว เพลงที่ในหลวง ทรงพระราชนิพนธ์ ไว้ล�าดับที่ 41 บทเพลง ที่สร้างความประทับใจให้กับข้าพเจ้าอย่าง มาก ข้ า พเจ้ า เป็ น หนึ่ ง คนที่ ชื่ น ชมใน พระปรี ช าสามารถทางด้ า นดนตรี แ ละ ศิ ล ปะของพระองค์ เพลงนี้ เ ป็ น เพลงที่ ท�าให้ข้าพเจ้าตระหนักถึงคุณงามความดี ของพระองค์ท่านที่ได้สร้างไว้ ให้แก่ปวงชน ชาวไทย ค� า สอนของพ่ อ หลวงเปรี ย บเสมื อ น เสียงแว่วที่ลอยตามลม ข้ามผ่านวันและ เวลาไปไม่ว่าจะนานเท่าใด ก็ ไม่เสื่อมคลาย และเลื อ นรางไป ยั ง สถิ ต อยู ่ ใ นหั ว ใจของ พสกนิ ก รชาวไทย ดั ง เครื่ อ งเตื อ นใจให้ ยึดมั่นกระท�าความดีเสมอ ในยามทุ ก ข์ ห รื อ ท้ อ แท้ ข้ า พเจ้ า จะ มองท่ า นเป็ น แบบอย่ า ง และจะเดิ น ตาม รอยพระยุ ค ลบาทอย่ า งเคร่ ง ครั ด และ ปฏิบัติตนเป็นคนดีตามอย่างที่พระองค์ ได้สอนไว้ตลอดไป ข้าพระพุทธเจ้า นายชยุตม์ คชโกศัย
Production
ด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ เป็ น ล้ น พ้ น อั น หาที่ สุ ด มิ ไ ด้ ที ม งาน a day BULLETIN ขอร่วมน้อมร�าลึกแสดงความอาลัย ต่ อ การเสด็ จ สวรรคตของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักยิ่งของปวงพสกนิกร ชาวไทย
The Artist Talks เรื่อง : ปริญญา ก้อนรัมย์ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
Chub Nokkaew ชุบ นกแก้ว ผลงาน : พ่อของแผ่นดิน
เชื่อว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายๆ คนคงรู้สึกดีเหมือนกับเราที่ ได้เห็นผลงานจากศิลปินจ�านวนมาก ทั้งที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ หรือบางคนที่น�าผลงานซึ่งสร้างสรรค์ ไว้แล้วออกมาเผยแพร่ เพื่อแสดงความอาลัย แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพ ิ ลอดุลยเดช แต่ทา่ มกลางผลงานมากมายทีเ่ ราได้เห็นบนโซเชียลมีเดียนัน้ มีผลงานอยู่ชิ้นหนึ่งที่โดดเด่นและสร้างความประทับใจให้กับเราได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้เห็น นั่นคือภาพพระบรมสาทิส ลักษณ์ที่ส ร้างสรรค์ด ้ว ยเทคนิคการรีทัช (Retouch) ผลงานของ ชุบ นกแก้ว มือรีทัช อันดับต้นๆ ของไทย เจ้าของรางวัลระดับ Cannes Lion ที่เหล่าคนในวงการโฆษณารู้จักกันดี “คอนเซ็ปต์ของภาพมาจากที่เราเห็นท่านเสด็จฯ ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจในด้านการเกษตร ด้านป่าไม้ และพลังงาน โดยไม่ว่าจะเป็นพื้นที่แบบไหน เป็นป่าเขา หรือดอยสูง พระองค์ท่านก็เสด็จฯ ไป ซึ่งโครงการ ในพระราชด�าริของพระองค์หลายๆ แห่งเป็นงานเกี่ยวกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกตัดท�าลาย พื้นที่ที่เคยปลูกฝิ่น หรือเคยเป็นพื้นที่สีแดงเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อน พระองค์ท่านก็พัฒนาฟื้นฟูจนกลายเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ขึ้น มาได้ สูงแค่ไหนพระองค์ท่านก็ทรงไป ซึ่งในภาพจะสังเกตได้ว่าเราใช้รูปต้นไม้มาสร้างเป็นภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ซึ่งเหตุผลที่เอาภาพต้นไม้มาใช้เป็นตัวแทน ก็เพราะเราอยากสื่อว่า ถ้าพระองค์ทรงเดินทางไปที่ไหน ที่นั่นก็จะร่มรื่น ชุ่มชื่น มีความเจริญ” ชุบเล่าต่ออีกว่า ก่อนหน้าที่จะเลือกภาพพระองค์ท่านในอิริยาบถนี้เพื่อน�ามาสร้างผลงาน ก็ผ่านความลังเล มาหลายครั้ ง ซึ่ ง สุ ด ท้ า ยเขาก็ ม องย้ อ นกลั บ มาว่ า การใช้ ภ าพพระองค์ ท ่ า นที่ เ รี ย บง่ า ยและคุ ้ น ตาคนไทย คือสิ่งที่ดีที่สุด “เราเลือกมาหลายแบบก่อนที่จะออกมาเป็นภาพนี้ เพราะว่าภาพพระพักตร์ด้านข้างของพระองค์ท่านเป็น สิ่งที่ผู้คนเข้าใจได้ง่าย และจดจ�าได้มากที่สุด ซึ่งต้องยอมรับเลยว่าการเอาองค์ประกอบของธรรมชาติมาท�าให้เป็น รูปภาพขึ้นมา เป็นสิ่งที่ยากมาก ถ้าดูให้ละเอียดจะเห็นว่าเราสร้างภาพขึ้นจากภูเขาโล้นๆ ที่ไม่มีต้นไม้หรืออะไรเลย โดยเราก็หยิบจับเอาต้นไม้มารีทัชใส่ทีละต้นๆ จนกลายเป็นภาพที่สมบูรณ์แบบ “ตอนแรกเราก็ คิ ด นะ ว่ า การน� า รู ป พระพั ก ตร์ ท ่ า นมาสร้ า งงานในลั ก ษณะนี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ส มควรหรื อ ไม่ แต่สุดท้ายพอท�าออกมาจนสมบูรณ์ เรากลับรู้สึกดี เพราะว่าสิ่งที่ออกมานอกจากจะตรงกับคอนเซ็ปต์ที่ต้องการ ก็ยงั เป็นภาพทีใ่ ห้ความหมายหลายๆ อย่างไว้รวมกัน ทัง้ ความทรงจ�าเกีย่ วกับท่านผ่านภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ และเรื่องราวพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ซ่อนความหมายอยู่ในนั้นด้วย” ในวันที่เราไปสัมภาษณ์ชุบที่สตูดิโอส่วนตัวในย่านทาวน์อินทาวน์ เราได้เห็นผลงานเกี่ยวกับพระองค์ท่าน อีกชุดหนึ่งที่แขวนไว้บนผนัง ซึ่งเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่สร้างขึ้นมาด้วยเทคนิคการใช้แสงไฟวาดภาพผสมกับการรีทัช ซึ่งเขาบอกว่า ในวันที่ 5 ธันวาคม ของแทบทุกปี เขาจะท�างานศิลปะเพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านขึ้นมาหนึ่งชิ้นเสมอ “งานชุดนีเ้ ป็นภาพถ่ายผลงานทีเ่ ราใช้แสงไฟในการวาดภาพพระพักตร์ของพระองค์ทา่ นขึน้ มา ก่อนจะน�ามารีทชั ประกอบกัน ซึง่ เราเองท�างานศิลปะถวายท่านแบบนีเ้ ป็นประจ�าอยูแ่ ล้ว อย่างตอนหลังจากทีท่ า่ นสวรรคตได้ ไม่นาน เราก็เข้าไปเก็บภาพที่ชุมชนคลองเตย ซึ่งถ้าใครเคยไปจะรู้เลยว่าพื้นที่ตรงนั้นเข้าไปยากมาก ไม่ใช่ใครก็เข้าไปได้ แต่ครั้งนี้เราเข้าไป และบอกว่ามาถ่ายรูปเพื่อพระองค์ท่าน เชื่อไหมว่าทุกคนตอบรับด้วยความยินดี และทุกบ้าน มีรูปกันหมดเลย บางคนมีเป็นรูป บางคนเป็นหนังสือพิมพ์ บางคนก็เป็นปฏิทิน ทุกคนภูมิใจอยากให้เราถ่ายรูป ขนาดเด็กวัยรุ่นที่ดูเกเรๆ เมื่อก่อนถ้าดุ่มๆ เข้าไป จะเข้ามาหาเรื่องแล้ว แต่ครั้งนี้เขาวิ่งไปหารูปพระองค์ท่าน มายืนถือให้ถ่ายภาพ เป็นเหตุการณ์ที่น่ารักมาก สิ่งนี้แสดงว่าท่านเป็นศูนย์รวมของคนไทยจริงๆ จะมีสักกี่คนที่ ท�าให้คนมารวมกันได้ขนาดนี้” เราชวนเขาคุยย้อนไปถึงความทรงจ�าที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่ยังเด็ก ชุบเล่าให้ฟังด้วยดวงตาที่เป็นประกายบวกด้วยน�้าเสียงที่ภาคภูมิใจ ซึ่งในความทรงจ�าเหล่านั้นก็มีหลายสิ่ง ที่ ต กตะกอนในตั ว ตน จนกลายมาเป็ น อิ ท ธิ พ ล ซึ่งส่งผลในการใช้ชีวิตของเขาจนถึงทุกวันนี้ “ตัวเราเองโตมากับภาพของพระองค์ท่านที่ก�าลัง ทรงงานตลอด ทุ ก วั น เราก็ เ ห็ น ท่ า นทรงงานหนั ก ท�าหลายอย่าง และก็ท�าอย่างจริงจัง ศึกษาจนรู้จริง ลองกลับมาดูตัวเอง ตัวเราคนเดียวคงไม่สามารถรู้อะไรหลายอย่างได้แบบนั้น เราถ่ายรูปได้ ท�างานรีทัชได้ ก็คือการรู้ ในศาสตร์ที่ถนัดของตัวเอง แต่พระองค์ท่าน ทรงรู้รอบไปทุกอย่าง และทรงเก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เสมอ ซึ่งท�าให้เรารู้ว่า ท่ า นทรงงานหนั ก ขนาดนั้ น เพื่ อ ประชาชน อย่ า งพวกเราท� า งานก็ อ าจจะเพื่ อ ผลประโยชน์ส่วนตัว แต่พระองค์ท่านทรงท�าเพื่อให้ประชาชนมีความสุข ทั้งที่ท่าน อยู่ในจุดที่ไม่ต้องท�าก็ ได้ “เราเชื่อว่าทั้งหมดที่ท่านทรงท�า ท่านทรงพยายามบอกอะไรพวกเราบางอย่าง แต่ท่านไม่ได้ทรงบอกตรงๆ แต่ทรงบอกผ่านการท�าให้ดู อย่างค�าสอนหนึ่งที่ตัวเรา น�ามาใช้กับชีวิตตลอด ก็คือเรื่องของการท�างาน เพราะว่าคนจริงท�างานอะไรก็ ได้ ขอให้ มี ค วามตั้ ง ใจ ไม่ ใ ช่ ว ่ า เมื่ อ มี โ อกาสเข้ า มา ก็ อ ้ า งนู ่ น อ้ า งนี่ เ พื่ อ หลบเลี่ ย ง แต่ตลอดมาท่านสอนว่าขอให้ลงมือท�ามันจริงๆ เถอะ ไม่วา่ อะไรก็สามารถท�าได้”
“...ผู้ที่ส�าเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยนั้น เปรียบเหมือนดวงประทีป ที่จะช่วยน�าไปสู่ความเจริญในอนาคต แต่ขอเตือนว่า การประกอบกิจการงานหรือการด�าเนินชีวิต จะใช้วิชาการที่ได้ศึกษามาแล้วเท่านั้น ยังไม่เพียงพอ จ�าเป็นจะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้ทันกับเหตุการณ์อยู่เสมอ และต้องอาศัยหลักศีลธรรมประกอบด้วย หากผู้ที่มีความรู้ดีแต่ขาดความยั้งคิด น�าความรู้ ไปใช้ ในทางมิชอบ ก็จะเป็นภัยแก่สังคมและประเทศชาติ ความรู้กับดวงประทีปเปรียบกันได้หลายทาง ดวงประทีปเป็นไฟที่ส่องแสงเพื่อน�าทางไป ถ้าใช้ ไฟนี้ส่องในทางที่ถูก ก็จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้ โดยสะดวกเรียบร้อย แต่ถา้ ไม่ระวัง ไฟนัน้ อาจเผาผลาญให้บา้ นช่องพินาศลงได้ ความรู้เป็นแสงสว่างที่จะน�าเราไปสู่ความเจริญ ถ้าไม่ระมัดระวังในการใช้ความรู้ ก็จะเป็นอันตรายเช่นเดียวกัน จะท�าลายเผาผลาญบ้านเมืองให้ล่มจมได้ ฉะนั้นขอให้ผู้เป็นบัณฑิตทุกคนจงประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ประกอบอาชีพโดยอาศัยวิชาความรู้ ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา และด�ารงตนอยู่ในหลักศีลธรรมอันดีงาม เพื่อความเจริญก้าวหน้าของตนเองและประเทศชาติ...”
Royal Speech
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2505