TODAY EXPRESS PRESENTS
ISSUE 440 I 14 NOVEMBER 2016
ขอน อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ข าพระพ�ทธเจ า เดอะ โมเมนตัม
ฤๅต่อไปจะไร้หลัก... ให้พักพิง
ปีที่ 9 ฉบับที่ 440 วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559
Editor’s Note Contents
ธรรมชาติของคนเรานั้น แสวงหาความมั่นคง ความแน่นอน และไม่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความมั่นคง เที่ยงแท้ คือสิ่งที่ทา� ให้เรารู้สึก สงบสุข ปลอดภัย ไร้ความกังวล แต่โชคร้ายที่ความปรวนแปร ไม่แน่นอนนั้น คือสิ่งที่ชีวิตมอบให้เรามากที่สุด แม้นั่นจะเป็นสิ่งที่เรา ไม่อยากได้รับมากที่สุดเช่นกัน ช่วงเวลาทีพ่ วกเราคนไทยทัง้ ประเทศผ่านพ้นมาด้วยกันเกือบ 1 เดือนมานี้ เป็นช่วงเวลาแห่งความไหวหวัน่ ไม่มนั่ ใจในทุกสิง่ ทัง้ สิน้ ทัง้ ปวง เพราะเราขาดศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติไปแล้วชั่วนิรันดร์ ที่ผ่านมา พสกนิกรชาวไทยมักเปรียบเทียบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า เป็นหลักยึดเหนีย่ วของหัวใจ เมือ่ พระองค์ทา่ นยังอยู่ หัวใจเราก็ยงั อยู่ เมือ่ ท่านจากไปแล้ว หัวใจจึงราวกับหลุดลอยเคว้งคว้าง เหมือนไม่รวู้ นั ใด จะหวนกลับคืนมาที่เดิม ถ้าให้นึกภาพพระองค์ท่านทรงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรที่หยั่งรากลึกอยู่ในผืนแผ่นดินไทยมากว่า 89 ปี การล้มครืนของต้นไม้ใหญ่ที่เคยเป็น ที่พักพิงของเหล่านกกา เป็นร่มเงาให้ความร่มเย็นแก่แผ่นดิน คงไม่มีภาพใดจะเปรียบได้เท่ากับภาพที่นกกาบินกระเจิง แตกฝูง แตกรัง หลุมลึกที่รากถูกถอนออก คงไม่สามารถถมให้เต็มได้ในเวลาอันสั้น ทุกอย่างพังทลาย สับสน อลหม่าน มองไปทางไหนก็ล้วนแต่หาหลัก ที่พักพิงไม่ได้เลย เป็นการล้มลงแบบถอนรากถอนโคนอย่างแท้จริง ช่วงเวลาแห่งความสับสนนี่เองที่เราควรด�ารงสติให้มั่น การมีหลักยึดนั้น จะว่าไปก็ถือว่าดี... ดีกว่าปล่อยให้ตัวเองลอยเคว้งคว้าง หาทางไปไม่ได้ แต่ถา้ เรามีสติมากพอทีจ่ ะทบทวนสิง่ ทีพ่ ระองค์ทา่ นปฏิบตั มิ าตลอดเวลาทีท่ รงครองราชย์มา เราก็จะเห็นว่า ในทุกๆ โครงการ ทีท่ า่ นทรงมีพระราชด�าริ ทุกโครงการทีท่ า่ นให้ความช่วยเหลือราษฎรนัน้ ล้วนแต่อยูบ่ นพืน้ ฐานของการพึง่ ตนเอง หาใช่พงึ่ พาผูอ้ นื่ ตลอดไปไม่ การอยู่ได้ด้วยตนเอง แม้ปราศจากคนให้การช่วยเหลือประคับประคองแล้วต่างหาก ที่จะเป็นความยั่งยืนที่แท้จริง ความเข้มแข็ง มีสติของตนเองเท่านั้น ที่จะหวังได้ วางใจได้ อย่างหมดหัวใจ ความปรวนแปรไม่ใช่สิ่งที่เราจะไปเอาชนะได้ แต่การมีสติตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงอันถอนรากถอนโคนต่างหากที่เราสามารถ สร้างให้เกิดขึ้นได้ เราอาจจะล้มอย่างไม่ทนั ได้ตงั้ ตัว แต่เมือ่ ไหร่ทสี่ ติคนื กลับมา เราต้องตัง้ ตัวให้ได้ เพือ่ เดินหน้าต่อไป ไม่ใช่เดินหน้าเพือ่ ไปไขว่คว้ายึดมัน่ ในสิง่ อืน่ อีก แต่ตอ้ งเดินไปเพือ่ หาหนทางทีเ่ ราไม่ตอ้ งพึง่ ใคร ถ้าจะพึง่ ก็ขอให้พงึ่ พาน้อยทีส่ ดุ แต่ขณะเดียวกันก็ชว่ ยเหลือคนอืน่ ให้ได้มากทีส่ ดุ เพราะเมื่อไหร่ที่เราช่วย คนอื่นก็จะช่วยเรา เป็นวงจรแห่งการให้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ท่านท�าให้ดูมาตลอดพระชนม์ชีพนั่นเอง วันนี้ในบางครั้ง เราอาจมองตัวเองว่าเราไม่ต่างจากนกกาที่สูญเสียร่มไม้ใหญ่ไปอย่างกะทันหัน แต่เมื่อวันแห่งความสูญเสียพ้นผ่านไป เราอาจทบทวนได้อีกครั้งว่า เราเป็นนกที่สามารถสร้างรัง สร้างพื้นที่พักพิงของตัวเองได้ใหม่เสมอ ไม่ว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงสักกี่ครั้ง ประสบการณ์ทผี่ า่ นมาจะท�าให้เราสะสมความรู้ ความสามารถ และสติปญ ั ญา เพือ่ ช่วยฉุดตัวเราให้พน้ จากหลุมลึกแห่งความสูญเสียได้เอง รังของเราในอนาคตจะแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ ปลอดภัยขึ้นเรื่อยๆ และเราจะรู้สึกมั่นคงกับรังของเรามากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 เปรียบเหมือนพ่อของปวงชนชาวไทย ก็กล่าวได้วา่ คงไม่มพี อ่ คนไหนทีอ่ ยากเห็นลูกอ่อนแอ จนพึ่งพาตัวเองไม่ได้ในวันที่ตัวเองต้องจากลูกไปตามกฎของธรรมชาติ ไม่มีพ่อคนไหนที่จะอยู่กับลูกไปได้ตลอด ต่อให้ลูกจะรับความจริงแห่งการพลัดพรากสูญเสียไม่ได้ จะเรียกร้องให้พ่อกลับมาจน สุดเสียงหรือกระทั่งหมดเสียงร้องเพียงใด ก็ไม่มีใครมีอา� นาจเหนือความพลัดพรากได้เลย แต่เราก็ยังโชคดีไม่ใช่หรือ ที่เรามีแนวทางที่พิสูจน์แล้วว่าจะท�าให้ชีวิตข้างหน้าของเราด�าเนินไปในทางที่ถูกที่ควร เข้มแข็ง และยั่งยืน หากบอกว่าโลกนี้ล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่บนความไม่ยั่งยืน เราคงต้องยกเว้นไว้เรื่องหนึ่ง เรื่องนั้นก็คือ แนวคิดเรื่องการพึ่งพาตัวเอง ยืนอยู่บนขาตัวเองให้ได้ เพราะไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นนี่คือแนวทางที่ยั่งยืนที่สุด เพราะในที่สุดแล้ว ท่ามกลางค�าถามอันสับสนอึงอลอยู่ในหัวตามประสาของคนที่เผชิญกับความสูญเสีย เราก็รู้ดีว่าเรามีค�าตอบ ส�าหรับชีวิตข้างหน้า ชีวิตที่เหลือ แม้คนที่เรารอให้ถาม อาจไม่อยู่แล้ว วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร In Memory of Thailand’s Beloved King บันทึกเหตุการณ์ที่ผู้คน กลุ่มต่างๆ ออกมา ถวายความอาลัย ผ่านการแปรอักษร
Feature หลากหลายเรือ่ งราวทีค่ วรรู้ เกีย่ วกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ตลอดระยะเวลา 89 พรรษา
A Must Special Book หนังสือ 9 เล่มที่บันทึก เรื่องราวของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
The Artist Talks จิตต์สงิ ห์ สมบุญ ผูส้ ร้างสรรค์ผลงาน THE MASTER (NYC) No 2 มานัง่ พูดคุยถึงเรือ่ งราว เบือ้ งหลังภาพชิน้ นีใ้ ห้เราฟัง
Royal Speech พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
ทีป่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผูพ ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม รองบรรณาธิการ วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ วรัญญู อินทรก�าแหง กองบรรณาธิการ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ปริญญา ก้อนรัมย์ มิ่งขวัญ รัตนคช กมลวรรณ ส่งสมบูรณ์ ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ ประสานงาน / นักเขียน ตนุภัทร โลหะพงศธร บรรณาธิการภาพ นิติพัฒน์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยี่ดวง มณีนชุ บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี ชยุตม์ คชโกศัย อรณัญช์ สุขเกษม พิสจู น์อกั ษร หัสยา ตัง้ พิทยาเวทย์ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ไม้ลา� ดวน ธมนวรรณ กัวหา ฝ่ายผลิต วิทยา ภูท่ อง ทศพล บุญคง ทีป่ รึกษาฝ่ายโฆษณา ศรวณีย์ ศิรจิ รรยากุล ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, มนัสนันท์ รุ่งรัตนสิทธิกุล 08-4491-9241 ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, มาสสุภา เอี่ยมมงคลศิลป์ 08-5056-0083, ณัฐวีณ์ ประมุขปฐมศักดิ์ 08-3922-9929 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจุฬางกูล 08-1639-1929, สุธาวัลย์ สุวรรณสิงห์ 08-1304-7070, ดวงใจ ดวงจังหวัด 08-6802-9996 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้ผลิต บริษัท เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com, www.godaypoets.com นักศึกษาฝึกงาน ชัญญานิษฐ์ ชัยณรงค์สิงห์
Bangkok
Nakhon S
Kamphaeng Phet
In Memory Of Thailand’s Beloved King 1 - 3 November 2016
Pathum Thani Phetchabun
Ang Thong Sawan PrachinBuri
Chaiyaphum
In Memory Of Thailand’s Beloved King
ภาพ : Media Studio, Thairat, Posttoday, Matichonweekly, Thaipost
การแปรอักษรเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยแรงก�าลังจากผู้คน จ�านวนมากเพื่อให้ประสบความส�าเร็จ ซึ่งหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคต เราก็ ได้ เห็นผู้คนกลุ่มต่างๆ ที่ออกมาถวายความอาลัยผ่านการแปร อักษร นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงจุดร่วมที่ผู้คนจ� านวนมากมาย ต่างก็มเี หมือนๆ กัน นัน่ คือความรักและเทิดทูนต่อพระมหากษัตริย์ ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยพระองค์นี้
ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา เราได้รับฟังเรื่องราว เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มามากมาย จนท�าให้คิดไปเองว่าเรารู้จัก พระองค์ท่านดีแล้ว แต่หลังจากที่เราตกลงใจที่จะท�า ฟีเจอร์ ใหญ่ประจ�าฉบับ ถึงเรื่องราวที่ควรรู้เกี่ยวกับ พระองค์ท่านตลอดระยะเวลา 89 พรรษา ช่วงเวลา ที่ได้อา่ นพระราชประวัตขิ องพระองค์ทา่ นผ่านหนังสือ เล่ ม แล้ ว เล่ ม เล่ า ท� า ให้ เ ราตระหนั ก ว่ า ที่ ผ ่ า นมา เรือ่ งราวจ�านวนมากซึง่ เคยได้ยนิ เป็นเพียงเสีย้ วเดียว ของความยิ่งใหญ่ที่พระองค์ท่านทรงมีเท่านั้น ซึ่งเชื่อ เถอะว่า เรื่องราวที่ร้อยเรียงตลอด 8 หน้ากระดาษนี้ จะท� า ให้ ภ าพความยิ่ ง ใหญ่ ข องพระองค์ ใ นจิ ต ใจ ของคุณขยายใหญ่อย่างที่เราเคยรู้สึกมาก่อน • พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดลอันเป็นสายหนึ่งใน ราชวงศ์จักรี ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค�่า ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธั น วาคม พ.ศ. 2470 ซึ่ ง เหตุ ที่ พ ระราชสมภพ ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีก�าลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น • พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็ น พระโอรสองค์ ที่ ส ามในสมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า มหิ ด ลอดุ ล เดช กรมหลวงสงขลานคริ น ทร์ (สมเด็ จ พระมหิ ต ลาธิ เ บศร อดุ ล ยเดชวิ ก รม พระบรมราชชนก ในกาลต่ อ มา) และ หม่ อ มสั ง วาลย์ มหิ ด ล ณ อยุ ธ ยา (สกุ ล เดิ ม ตะละภั ฏ , สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในกาลต่อมา)
What We Should Know about Our Beloved King เรื่อง : กองบรรณาธิการ
• พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระนามเมือ่ แรกประสูตอิ นั ปรากฏในสูตบิ ตั รว่า เบบี สงขลา (อังกฤษ : Baby Songkla) เนือ่ งจากขณะนัน้ พระบรมราชชนก ใช้พระนามขณะที่ศึกษาต่อในต่างประเทศว่า Mr. Mahidol Songkla ส่วนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีใช้พระนาม ว่า Mrs. Songkla ดังนั้น พระโอรสและพระธิดาของพระองค์ จึงใช้นามสกุลว่า ‘สงขลา’ • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ได้รบั พระราชทานนามว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช มีพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนคริ น ทร์ (สมเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรี ย กพระองค์ เ ป็ น การล� า ลองว่ า ‘บี๋ ’ ) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (สมเด็จพระศรี น คริ น ทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรี ย ก พระองค์เป็นการล�าลองว่า ‘นันท’ ส่วนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการล�าลอง ว่า ‘เล็ก’) • พระนามภูมพ ิ ลอดุลยเดชนัน้ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีี ได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว เมื่ อ วั น ที่ 14 ธั น วาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงก� า กั บ ตั ว สะกดเป็ น อั ก ษรโรมั น ว่ า ‘Bhumibala Aduladeja’ ท�าให้พระบรมราชชนนีทรงเข้าพระทัย ว่าได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า ‘ภูมิบาล’ ในระยะแรก พระนามของพระองค์สะกดเป็นภาษาไทยว่า ‘ภูมพ ิ ลอดุลเดช’ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เอง ทรงเขียนว่า ‘ภูมิพลอดุลยเดช’ โดยทรงเขียนทั้งสองแบบ สลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว ‘ย’ สะกดจนถึง ปัจจุบัน
• พระนามของพระองค์ มี ค วามหมายว่ า ภู มิ พ ล - ภู มิ หมายความว่า ‘แผ่นดิน’ และ พล หมายความว่า ‘พลัง’ รวมกัน แล้วหมายถึง ‘พลังแห่งแผ่นดิน’ อดุลยเดช - อดุลย หมายความว่า ‘ไม่อาจเทียบได้’ และ เดช หมายความว่า ‘อ�านาจ’ รวมกันแล้ว หมายถึง ‘อ�านาจที่ไม่อาจเทียบได้’ • วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคตด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกนะ (ตับ) โดยมีโรคแทรกซ้อนคือพระปัปผาสะบวมน�้าและพระหทัยวาย พระชนมายุได้ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน พระราชทานเพลิง พระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2473 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุไม่ถึง สองพรรษา • ปี พ.ศ. 2475 เมื่อเจริญพระชนมายุได้สี่พรรษา เสด็จ เข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 จึงเสด็จพระราชด�าเนินไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิ ต เซอร์ แ ลนด์ พร้ อ มด้ ว ยพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อการศึกษา และพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช • ทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมื อ งโลซานน์ ในเดื อ นกั น ยายน พ.ศ. 2477 ทรงศึ กษาวิ ช า
ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้น มั ธ ยมศึ ก ษา ณ เอกอลนู แ วลเดอลาซุ อิ ส รอม็ อ งด์ (Ecole Nouvelle de la Suisse Romande) เมืองชายี-ซูร์-โลซานน์ • เมื่ อ ครั้ ง ทรงพระเยาว์ สมเด็ จ พระบรมราชชนนี ไ ม่ ไ ด้ พระราชทานของเล่นให้แก่พระองค์มากมายเหมือนที่เด็กคนอื่น ได้รับ พระองค์จึงโปรดที่จะประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ขึ้นด้วยพระองค์เอง โดยใช้ สิ่ ง ของในต� า หนั ก มาสร้ า ง เช่ น ทรงพั น ลวดเพื่ อ สร้ า ง มอเตอร์ ไฟฟ้า ทรงแกะไม้เป็นเครื่องร่อน จนพระต�าหนักวิลลาวั ฒ นา ในสวิ ต เซอร์ แ ลนด์ ต้ อ งมี ห ้ อ งปฏิ บั ติ ก ารงานช่ า ง อยู่ภายใน • กล่าวถึงพระต�าหนักวิลลาวัฒนา ที่เมืองปุยยี่ซึ่งเป็นเมืองที่ ติดกับเมืองโลซานน์ เป็นพระต�าหนักที่ตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขา เหนือฝั่งทะเลสาบเลมอง เป็นพระต�าหนัก 3 ชั้น มี 13 ห้อง มีโรงรถ มีห้องส�าหรับคนขับรถและครอบครัวอยู่ข้างบน มีสวนรอบบ้าน พื้นที่ด้านล่างมีสวนผลไม้ ปลูกต้นแอปเปิล ต้นเชอรี ต้นแพร์ ต้ น พี ช และต้ น พลั ม สมเด็ จ พระบรมราชชนนี ตั ด สิ น พระทั ย ย้ายมาอยูพ ่ ระต�าหนักนี้ เพราะทางรัฐบาลไทยอยากให้ทกุ พระองค์ ประทั บ ในที่ ส มพระเกี ย รติ เพราะเวลานั้ น พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นทรงราชย์แล้ว • สมเด็จ พระบรมราชชนนีทรงขนานนามพระต� า หนัก ว่า
วิลลาวัฒนา ด้วยทรงพระด�าริวา่ ชือ่ เก่าไม่ไพเราะ มีคา� แปลเป็นไทย ว่า ‘ลมจัด’ จึงทรงน�าสร้อยพระนามของสมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้าและของพระราชธิดามาตั้งเป็นชื่อบ้าน กอปรกับค�าว่า ‘วัฒนา’ แปลว่า เจริญ จึงทรงเห็นว่าเหมาะดี • แม้จะต้องมีการปรับเปลีย่ นชีวติ ความเป็นอยูใ่ ห้สมพระเกียรติ ดังกล่าวแล้ว แต่สงิ่ หนึง่ ที่ไม่เปลีย่ นแปลงเลยก็คอื สมเด็จพระบรมราชชนนีมีความตั้งพระทัยในการเลี้ยงดูพระโอรสและพระธิดาใน ทางที่จะท�าประโยชน์ ให้แก่บ้านเมืองเป็นหลัก ดังที่มีลายพระหัตถ์ กราบบั ง คมทู ล สมเด็ จ พระพั น วั ส สาอั ย ยิ ก าเจ้ า ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 นัน่ คือเมือ่ เสด็จถึงเมืองโลซานน์ใหม่ๆ ว่า “...ลูกของหม่อมฉัน หม่อมฉันรักอย่างดวงใจ และหม่อมฉันมี ความตั้งใจอยู่เสมอที่จะน�าให้ลูกไปในทางที่ถูกที่ดีส�าหรับจะเป็น ประโยชน์แก่ตัวเอง ญาติและบ้านเมือง ตัวของหม่อมฉันเองท�า ประโยชน์อะไรให้บ้านเมืองไม่ได้มาก แต่ถ้าได้ช่วยลูกๆ ให้ ได้รับ ความอบรมและเล่าเรียนในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองได้แล้ว หม่อมฉันก็จะรู้สึกอิ่มใจเหมือนกัน...” • เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รั ช กาลที่ 8 แห่ ง ราชวงศ์ จั ก รี พระองค์ ก็ ไ ด้ รั บ การสถาปนา ฐานันดรศักดิ์เป็น ‘สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช’ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478
• เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 พระองค์ ได้ โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั อานันทมหิดลเสด็จนิวตั ประเทศไทยเป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับทีพ่ ระต�าหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสติ จากนั้ น เสด็ จ กลั บ ไปศึ ก ษาต่ อ ที่ ส วิ ต เซอร์ แ ลนด์ จ นถึ ง พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จากโรงเรียน ฌีมนาซกลาซิกก็องตอนาลเดอโลซาน (Gymnase Classique Cantonal de Lausanne) แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัย โลซานน์ แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวตั ประเทศไทยเป็นครัง้ ที่ สอง ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง • วันที่ 9 มิถนุ ายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน ณ พระที่นั่ง บรมพิมานภายในพระบรมมหาราชวัง ในวันเดียวกัน รัฐสภาลงมติ เป็นเอกฉันท์อญ ั เชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป เวลานั้น พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมายุได้ 18 พรรษา • ในพระราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ‘ประกาศสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงสืบราชสันตติวงศ์’ มีข้อความว่า โดยที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ โดยที่ ต ามความในรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย
มาตรา ๙ การสืบราชสมบัตใิ ห้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาล ว่ า ด้ ว ยการสื บ ราชสั น ตติ ว งศ์ พระพุ ท ธศั ก ราช ๒๔๖๗ และประกอบด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา โดยที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็ น เจ้ า นายเชื้ อ พระบรมราชวงศ์ ที่ ร ่ ว มพระราชชนนี ตามความในมาตรา ๙ (๘) แห่ ง กฎมณเฑี ย รบาล ว่ า ด้ ว ย การสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ โดยที่รัฐสภาได้ลงมติ ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ แสดงความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ ในการที่จะอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นทรงราชย์ สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป ตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๙ จึงขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้ า ฟ้ า ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ได้ ขึ้ น ทรงราชย์ สื บ ราชสั น ตติ ว งศ์ เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี • “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน ชาวสยาม” คือพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ในฐานะ
พระเจ้าแผ่นดินครั้งแรก • แต่เนือ่ งจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั จึงเสด็จพระราชด�าเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัย แห่งเดิม แต่เปลีย่ นสาขาจากวิทยาศาสตร์ ไปเป็นสาขาสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ • ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งเป็นธิดา ของเอกอั ค รราชทู ต ไทยประจ� า ฝรั่ ง เศส ขณะที่ เ สด็ จ เยื อ น กรุงปารีส เป็นครัง้ แรก ในปี พ.ศ. 2490 ในขณะนัน้ ทัง้ สองพระองค์ มีพระชนมายุ 21 พรรษา และ 15 พรรษา ตามล�าดับ • เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ในระหว่างเสด็จประทับยัง ต่ า งประเทศ ขณะที่ พ ระองค์ ท รงขั บ รถยนต์ พ ระที่ นั่ ง เฟี ย ส ทอปอลิโน จากเจนีวาไปยังโลซานน์ ทรงประสบอุบัติเหตุทาง รถยนต์ กล่าวคือ รถยนต์พระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ท�าให้เศษกระจกกระเด็นเข้าพระเนตรขวา พระอาการสาหัส หลั ง การถวายการรั ก ษา พระองค์ มี พ ระอาการแทรกซ้ อ น บริเวณพระเนตรขวา แพทย์จึงถวายการรักษาอย่างต่อเนื่อง หลายครั้ง หากแต่พระอาการยังคงไม่ดีขึ้น กระทั่งวินิจฉัยแล้วว่า พระองค์ ไม่สามารถทอดพระเนตรผ่านทางพระเนตรขวาของ พระองค์เองได้ต่อไปแล้ว จึงได้ถวายการแนะน�าให้พระองค์ทรง พระเนตรปลอมในที่สุด
พระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ลงนามในสมุ ด ทะเบี ย นสมรส ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ราชสักขี 2 คน คือ จอมพลแปลก พิบลู สงคราม นายกรัฐมนตรี, พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่ ว มลงนามด้ ว ย เช่ น เดี ย วกั บ สมเด็ จ พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมพระยาชั ย นาทนเรนทร พระราชปิ ตุ ล า จึ ง นั บ เป็ น พระมหากษั ต ริ ย ์ พ ระองค์ แ รกแห่ ง พระบรมราชจั ก รี ว งศ์ ที่ ท รง จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
• ทั้ ง นี้ หม่ อ มราชวงศ์ สิ ริ กิ ติ์ ไ ด้ มี โ อกาสเข้ า เฝ้ า ฯ เยี่ ย ม พระอาการเป็ น ประจ� า จนกระทั่ ง หายจากอาการประชวร อั น เป็ น เหตุ ที่ ท� า ให้ ทั้ ง สองพระองค์ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น อย่ า ง ใกล้ชิดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา • เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 สมเด็จพระราชชนนี ได้ รั บ สั่ ง ขอหม่ อ มราชวงศ์ สิ ริ กิ ติ์ ต ่ อ หม่ อ มเจ้ า นั ก ขั ต มงคล โดยพิธหี มัน้ ได้จดั ขึน้ อย่างเงียบๆ และเรียบง่าย ณ โรงแรมวินด์เซอร์ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงสวมพระธ� า มรงค์ เ ป็ น ของหมั้ น ต่ อ หม่ อ มราชวงศ์ สิ ริ กิ ติ์ ซึ่ ง เป็ น พระธ� า มรงค์ อ งค์ เ ดี ย วกั บ ที่ ส มเด็ จ พระบรมราชชนก ทรงมอบต่อสมเด็จพระบรมราชชนนี • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงก�าหนดให้วนั ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็ น วั น ประกอบพระราชพิ ธี ร าชาภิ เ ษกสมรส ณ วังสระปทุม อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อใกล้ถึงเวลาพระฤกษ์ เวลา 09.30 น. หม่ อ มเจ้ า นั ก ขั ต รมงคล กิ ติ ย ากร ทรงน� า หม่อมราชวงศ์สริ กิ ติ ิ์ กิตยิ ากร ไปยังวังสระปทุม พระบาทสมเด็จ-
• ในวั น พระราชพิ ธี ร าชาภิ เ ษกสมรสนี้ มี เ รื่ อ งเล่ า ไว้ ใ น หนังสือ ราชสกุลมหิดล ว่า เมื่อสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงรับดอกไม้ธปู เทียน พระราชทานน�า้ พระพุทธมนต์ เทพมนตร์ และทรงเจิมพระนลาฏแด่ทงั้ สองพระองค์ เมือ่ สมเด็จพระพันวัสสาอั ย ยิ ก าเจ้ า ทรงเจิ ม แก่ ห ม่ อ มราชวงศ์ สิ ริ กิ ติ์ แล้ ว มี รั บ สั่ ง ว่ า “หันออกไปยิ้มกับผู้คนที่เขามาซิ เขาอุตส่าห์มากันเต็มๆ ออกไป ให้เขาเห็นหน่อย” ว่ากันว่า พระราชด�ารัสนี้เป็นที่มหัศจรรย์ ใจ แก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ณ ที่นั้น ด้วยสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระชนมายุใกล้ 90 พรรษา ทรงเลือนความจ�าด้วยพระชราภาพ และมักจะไม่มีพระราชด�ารัสแล้ว • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยด้าน การถ่ายภาพมาตั้งแต่พระชนมายุ 8 พรรษา หลังจากสมเด็จ พระราชชนนีได้พระราชทานกล้องถ่ายรูปรุ่นโคโรเน็ต มิดเจ็ต สีเขียวประด�า ของฝรั่งเศสให้กับพระองค์ ซึ่งทรงศึกษาเรียนรู้ และมีกล้องอยู่ข้างพระวรกายแทบทุกเวลา โดยชั้นล่างของตึก สถานีวทิ ยุ อ.ส. ทรงจัดเป็นห้องมืดส่วนพระองค์ • นอกจากโปรดการถ่ายภาพแล้ว พระองค์ยังสนพระราชหฤทัยด้ า นการถ่ า ยภาพยนตร์ เ ป็ น อย่ า งมาก โดยพระองค์ เคยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ และน�ารายได้จากการจ�าหน่ายตั๋ว มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ ในโครงการโรคโปลิโอ และโรคเรื้อน ด้วย
• แทบทุกคนคงคุน้ ชินกับบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์ มาบ้าง แต่รู้ ไหมว่าบทเพลงแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นคือเพลง แสงเทียน โดยพระราชนิพนธ์ เสร็จเมื่อช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2489 • HM Blues เป็นหนึ่งในบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ ได้รับ ความนิยม หากแต่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าตัวอักษร HM นั้นย่อมาจาก His Majesty ซึ่งจริงๆ บทเพลงนี้พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ก่อนขึ้นครองราชย์ ย่อมาจากค�าว่า Hungry Men หมายถึงเหล่านักดนตรีที่ต้องทนท้องหิวระหว่างบรรเลง เพลง ในขณะที่ผู้คนต่างอิ่มหน�าส�าราญกับงานรื่นเริง • ในบรรดาเครื่ อ งดนตรี ที่ ใ นหลวงทรงเล่ น ทรงโปรด เครื่องเป่ามากที่สุด ได้แก่ คลาริเน็ต แซกโซโฟน และทรัมเป็ต • ในเรือ่ งของดนตรีแจ๊ซซึง่ เป็นดนตรีประเภททีพ ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั โปรดเป็นพิเศษนัน้ มีประวัตบิ นั ทึกไว้วา่ แผ่นเสียงแจ๊ซ แผ่ น แรกที่ พ ระองค์ ซื้ อ คื อ Coal Cart Blues โดย หลุ ย ส์ อาร์มสตรอง เพลงนีเ้ ป็นเพลงโปรดของพระองค์ในระยะแรกๆ ด้วย • ดิ ก ซี แ ลนด์ (Dixieland) และสวิ ง (Swing) คื อ รู ป แบบ ดนตรีแจ๊ซที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรด • จากค�าบอกเล่าของ ผศ. ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ หนึ่งใน สมาชิกวง อ.ส. วันศุกร์ ผู้ถวายงานใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่าว่าวิธีการทรงดนตรีของพระองค์ท่านจะเป็น ในสไตล์ ก ารเอื้ อ นเสี ย งหวานๆ แบบ จอห์ น นี ฮ็ อ ดเจส และ เบนนิ คาร์เตอร์ ซึ่งเป็นสองนักดนตรีแจ๊ซคนโปรดของพระองค์ • หลายคนอาจไม่ทราบว่า ชื่อวง อ.ส. ซึ่งเป็นวงดนตรี ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาจากการที่สมัยก่อนวงเล่น ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส. อัมพรสถาน ในทุกเย็นวันศุกร์ ณ พระที่ นั่ ง อั ม พรสถาน พระราชวั ง ดุ สิ ต โดยบ่ อ ยครั้ ง มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแซกโซโฟนเป็นนายวง
The Art of Love
งานศิลปะทีศ่ ลิ ปินรับเชิญของเราสร้างสรรค์ขนึ้ โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นแรงบันดาลใจ ผลงานศิลปะที่อุทิศให้กับ พระมหากษัตริยอ์ นั เป็นทีร่ กั ยิง่ ของคนไทยทัง้ ผอง ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา และจากนี้ตลอดไป
THE MASTER (NYC) No 2
ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของ จิตต์สิงห์ สมบุญ ชิ้นนี้พัฒนาขึ้นมา จากงานชิ้นก่อนที่เป็นบล็อกไม้ โดยผลงานชิ้นนี้จะมีสองชิ้นวางซ้อนกัน ชั้นแรกจะเป็นแผ่นพลาสติกสีขาวที่เจาะเป็นรูปพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และน�าพระบรมฉายาลักษณ์ ของพระองค์มาซ้อนไว้ที่ด้านหลัง เพื่อสื่อถึงท่านที่เป็นเหมือนพ่อพิมพ์ที่ดี ให้แก่ปวงชนชาวไทย
• ช้ า งเผื อ กนั บ เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ แ สดงถึ ง พระบารมี แ ละ บุ ญ ญาธิ ก ารของพระมหากษั ต ริ ย ์ ใ นทุ ก สมั ย ซึ่ ง นั บ แต่ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว เถลิ ง ถวั ล ยราชสมบั ติ ใ นวั น ที่ 9 มิถนุ ายน พ.ศ. 2489 ก็มชี า้ งเผือกมาสูพ ่ ระบารมีถงึ 12 เชือก โดยช้างเผือกเชือกแรกมีนามว่า ‘พระเศวตอดุลยเดชพาหน’ • ภู มิ พ โลภิ ก ขุ คื อ พระสมณฉายาเมื่ อ ทรงผนวชของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ผนวชเป็นระยะเวลา 15 วัน เมื่อเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2499 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมหาราชวัง
ประชาชนไปใช้บ�าบัดน�้าเสีย โดยมีการจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 • ในปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงใช้พนื้ ที่ ในวังสวนจิตรลดา เป็นแหล่งเพาะพันธุป์ ลา Tilapia Nilotica ซึง่ ได้รบั มาจากสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น ซึ่งพันธุ์ปลา ดังกล่าวมีต้นก�าเนิดจากแม่น�้าไนล์ เลี้ยงง่าย และมีรสชาติดี พระองค์จงึ พระราชทานชือ่ ให้วา่ ‘ปลานิล’ จนกลายเป็นพันธุป์ ลา ทีน่ ยิ มของคนไทยมาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นสัตว์ชนิดหนึง่ ทีใ่ นหลวง ไม่โปรดเสวย เพราะเป็นสัตว์ทพ ี่ ระราชทานนามด้วยพระองค์เอง
• โครงการพระราชด�าริที่นับว่าเป็นโครงการพัฒนาชนบท โครงการแรก เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2495 หลังจากพระราชพิธี บรมราชาภิเษก 2 ปี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงขับรถ พระที่ นั่ ง เยี่ ย มราษฎรยั ง บ้ า นห้ ว ยมงคล ต� า บลหิ น เหล็ ก ไฟ อ�าเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเส้นทางเกวียนล้วน ขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ เมื่อไปถึงพระองค์ทรงถามถึงปัญหา ของหมู่บ้าน ก็ ได้ค�าตอบว่าชาวบ้าน ‘อยากได้ถนนมากที่สุด’ หลั ง จากนั้ น พระองค์ ท รงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ ห น่ ว ย ต� า รวจตระเวนชายแดนค่ า ยนเรศวรสร้ า งถนนเข้ า ไปยั ง บ้านห้วยมงคล
• หนึ่งในพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือด้านศิลปะ โดยมีผลงานภาพเขียนฝีพระหัตถ์ถึง 104 รูป ทัง้ ภาพเสมือนจริง และภาพสไตล์แอ็บสแตรก ซึ่งหนึ่งในจ�านวน รูปเขียนเหล่านั้นเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระราชินี โดยพระองค์ทรงเลิกเขียนรูปแบบเด็ดขาดในช่วงปี พ.ศ. 2510
• เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดหนังสือ The Book of Knowledge ซึ่งเป็นสารานุกรม ภาษาอังกฤษทีส่ มเด็จพระบรมราชชนนีทรงซือ้ มาให้ ด้วยเหตุนนั้ ในปี พ.ศ. 2511 พระองค์ จึ ง ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ สมทบกับเงินทุนของสโมสรไลออนส์ ในประเทศไทย เพื่ อ จั ด ตั้ ง โครงการสารานุ ก รมไทยส� า หรั บ เยาวชนขึ้น ซึ่งมีการตีพิมพ์ออกมาถึง 2.4 ล้านเล่ม
• ความสนพระราชหฤทัยในการเล่นเรือใบของพระเจ้าอยูห่ วั จุดประกายขึน้ เมือ่ พระชนม์ปลายๆ 30 พรรษา ถึงต้น 40 พรรษา ซึ่งแรกเริ่มพระองค์ทรงต่อเรือใบเล็กประเภทดิงกี้ขึ้นด้วยตนเอง ถึง 6 ล�า โดยมี หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงเป็นผู้ช่วย
• ปี พ.ศ. 2512 คณะปฏิบัติการฝนหลวง เริ่มบินทดลอง ท� า ฝนเที ย มกั บ เมฆบนท้ อ งฟ้ า เป็ น ครั้ ง แรกบริ เ วณท้ อ งฟ้ า เหนืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
• ในปี พ.ศ. 2501 เกิดอหิวาตกโรคระบาดในประเทศไทย กว่า 18 เดือน โดยอาการของผู้ป่วยคือจะขาดน�้าและเสียชีวิต อย่างรวดเร็ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ ให้เจ้าหน้าที่ไปค้นคว้า ท�าน�า้ เกลือครัง้ แรกในไทย เพือ่ รับมือเหตุการณ์ทอี่ าจเกิดขึน้ อีก ซึ่ ง ใช้ ต ้ น ทุ น ในการผลิ ต น้ อ ยมากเที ย บกั บ การสั่ ง ซื้ อ จาก ต่างประเทศ
• พระอัจฉริยภาพของพระองค์ ในการทรงแล่นเรือใบนั้น เด่นชัดอย่างมาก โดยในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2510 (เปรี ย บได้ กั บ การแข่ ง ขั น ซี เ กมส์ ใ นปั จ จุ บั น ) พระองค์ แ ละทู ล กระหม่ อ มฟ้ า หญิ ง อุ บ ลรั ต นราชกั ญ ญาฯ สามารถเอาชนะคู่แข่งและทรงคว้าเหรียญทองได้ส�าเร็จ
• หน่วยแพทย์พระราชทานถือก�าเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เพื่อช่วยเหลือราษฎรจ�านวนมากที่ยังขาดการดูแลด้านสุขภาพ อนามั ย เนื่ อ งจากมี ฐ านะยากจนและขาดความรู ้ โดยจั ด ตั้ ง หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปบ�าบัดรักษาและอบรมหมอหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความสุขกายสุขใจและความเป็นอยู่ที่ดี
• เรือใบล�าสุดท้ายที่พระองค์ทรงออกแบบและต่อขึ้นด้วย ตนเอง คือเรือโม้ก (Moke) ซึ่งทรงสร้างขึ้นโดยให้มีลักษณะ ผสมระหว่างเรือโอเคกับเรือซูเปอร์มด เสร็จสมบูรณ์ ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 หลังจากนัน้ ด้วยภารกิจทีม่ จี า� นวนมาก ท�าให้พระองค์ ไม่มีโอกาสได้ลงมือต่อเรือด้วยพระองค์เองอีก
• พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงจั ด ตั้ ง โรงเรี ย นพระดาบส เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ คนยากจน และมี ป ั ญ หา ไม่ ไ ด้ เ ข้ า รั บ การศึ ก ษา เพื่ อ ให้ ไ ด้ มี ค วามรู ้ ด ้ า นวิ ช าชี พ และ พัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งชื่อ ‘พระดาบส’ พระองค์ทรงน�ามาจาก วรรณคดีไทย ที่พระฤๅษีและพระดาบสมักจะเป็นผู้ที่ท�าหน้าที่
• สิง่ ทีย่ นื ยันพระอัจฉริยภาพด้านการประดิษฐ์ของพระองค์ ได้อย่างดี ก็คือผลงานเครื่องกลเติมอากาศบนผิวน�้า หรือที่เรา รู้จักกันดีในชื่อ ‘กังหันชัยพัฒนา’ ซึ่งพระองค์สร้างขึ้นเพื่อให้
ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้กับลูกศิษย์ • พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงปฏิ บั ติ ง านด้ า น สาธารณสุข โดยเสด็จฯ ลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชนมาโดยตลอด ซึ่งในปี พ.ศ. 2518 พระองค์เป็นผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทย ที่ได้รบั การวินจิ ฉัยว่าป่วยเป็นโรคปอดอักเสบจากไมโคพลาสมา ซึ่ ง คาดเดาว่ า สาเหตุ ม าจากแนวทางการเข้ า ถึ ง ประชาชน อย่างใกล้ชิดของพระองค์ • พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงใส่ พ ระราชหฤทั ย ในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในทุกๆ ด้าน ปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชด�าริวา่ ในอนาคตอาจเกิดปัญหาน�า้ มันขาดแคลน จึงมีพระราชประสงค์ ให้น�าอ้อยมาผลิตเป็นแอลกอฮอล์เพื่อใช้ เป็นเชื้อเพลิง โดยพระราชทานทุนวิจัยเริ่มต้นถึง 925,500 บาท จนเป็นที่มาของการเกิดขึ้นของน�้ามันแก๊สโซฮอล์ที่เราใช้กัน ในปัจจุบัน • ติ โ ต พระราชนิ พ นธ์ แ ปลจากต้ น ฉบั บ เรื่ อ ง Tito ของ ฟิลลิส ออตี เพื่อเป็นตัวอย่างของผู้มีความเพียรในการท�า ประโยชน์แก่ผู้ยากไร้ และสร้างความสามัคคีของคนต่างเชื้อชาติ ที่อาศัยอยู่ในแว่นแคว้นเดียวกัน พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2537 • 3 ปี (พ.ศ. 2520-2523) คือระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลหนังสือ นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ
จากเรื่อง A Man Called Intrepid โดย วิลเลียม สตีเฟนสัน เรื่องราวชีวิตของจารชนที่ท�างานเสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
• ผัดถัว่ งอก หนึง่ ในเมนูพระกระยาหารโปรดเสวยของในหลวง โปรดเครือ่ งน้อย ใส่หมู กุง้ เพียงนิดเดียว เคยรับสัง่ ว่า นีผ่ ดั ถัว่ งอก หรือผัดหมู กุ้ง หากผัดถั่วงอกก็ควรจะผัดตามชื่อ
• พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เวลาเกือบ 20 ปี ในการศึ ก ษาค้ น คว้ า ชาดกโบราณอย่ า ง พระมหาชนก ซึ่ ง เป็ น เรื่ อ งราวของพระโพธิ สั ต ว์ ที่ เ สวยชาติ เ ป็ น มนุ ษ ย์ ซึ่ ง พระองค์ ทรงเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายเป็นภาษาไทย และแปล เป็นภาษาอังกฤษ ก่ อ นให้ จิ ต รกรไทยหลายคนรั บ ไปเขี ย น เป็นนิทานภาพ โดยหนังสือเสร็จสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2540
• มะขามป้อม คือลูกอมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอมไว้ในพระโอษฐ์ เมือ่ ต้องเสด็จก้าวพระบาทยังถิน่ ทุรกันดาร
• ‘อั ค รศิ ล ปิ น ’ คื อ สมั ญ ญานามของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว ที่คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวายแด่พระองค์ ในปี พ.ศ. 2529 อันมาจาก ผลงานและพระปรีชาสามารถด้านดนตรีของพระองค์
• 940,000 ครั้ง คือจ�านวนครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต ปริญญาบัตรมีนา�้ หนักฉบับละ 3 ขีด รวมน�า้ หนักทัง้ สิน้ 141 ตัน
• แบดมินตันเป็นหนึ่งในประเภทกีฬาโปรด พระองค์เคย ทรงในวังถึงสัปดาห์ละ 6 วัน โปรดตั้งชื่อทีมว่า ทีมจิตรลดา และมีอดีตแชมเปี้ยนโลกออลอิงแลนด์สองคนคือ ว่องเปงสูน แห่งมาเลเซีย และเออร์แลนด์คอร์ป แห่งเดนมาร์ก เข้าเฝ้าฯ ถวายฝึกสอนเป็นครั้งคราว • ในหลวงไม่โปรดน�า้ จัณฑ์และไม่ทรงโอสถมวนมาช้านานแล้ว เพราะสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงแพ้ควันบุหรี่มาก
• ราชปะแตน และนวฤกษ์ คือชือ่ เรือใบส่วนพระองค์ทใี่ นหลวง ทรงต่อ ด้วยพระหัต ถ์ และล�า หลังนี้เองที่ทรงน�า มาใช้แข่งขัน กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 หรือกีฬาซีเกมส์ ในปัจจุบัน
• ชั ย พั ฒ นา มี ค วามหมายว่ า ชั ย ชนะของการพั ฒ นา เป็นชื่อองค์กรสาธารณกุศลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงก่อตั้งเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยไม่ให้ซ�้าซ้อน นอกเหนือ จากโครงการของรัฐบาล ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2531 • ในช่ ว งปี พ.ศ. 2533-2542 พระราชกรณี ย กิ จ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านสาธารณสุขเป็นที่ประจักษ์ อย่างดี ไม่ทงั้ แก่ประชาชนชาวไทย แต่ในสายตาของนานาประเทศ เช่นกัน โดยในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 องค์การอนามัยโลกได้ทลู เกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญทองสาธารณสุข
เพื่อมวลชนให้แด่พระองค์ • พฤษภาทมิฬ ความรุนแรงอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ ทางการเมืองในปี พ.ศ. 2535 สามารถยุติลงได้เมื่อในหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แกนน�าสองฝั่งที่มีความคิดเห็น ขัดแย้งเข้าเฝ้าฯ เพื่อระงับปัญหาและคลี่คลายสถานการณ์ • พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงสนพระราชหฤทั ย เรื่ อ งเทคโนโลยี ก ารสื่ อ สาร โดยโครงการในพระราชด� า ริ ที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่ ง ช่ ว ยเหลื อ โรงเรี ย นที่ ข าดแคลนครู ผู ้ ส อนในถิ่ น ห่ า งไกล โดยในแต่ละเดือนได้มีการผลิตรายการศึกษาใหม่ๆ จ�านวน หลายร้อยชั่วโมง และออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและสนพระราชหฤทั ย ด้ า นเทคโนโลยี ต ่ า งๆ ไม่ เ ว้ น แม้ แ ต่ ค อมพิ ว เตอร์ ซึ่ ง พระองค์ เ คยออกแบบตั ว อั ก ษร เช่ น ตั ว อั ก ษรจิ ต รลดา ภูพิงค์ และทักษิณ ส�าหรับคอมพิวเตอร์แมคอินทอช นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบ ส.ค.ส. ด้วยโปรแกรม CU WRITER เพื่อพระราชทานข้าราชบริพารและประชาชน ทุกปีอีกด้วย • ทุเรียน คือผลไม้ที่พระองค์ โปรดเป็นอันมาก ในหลวง เสวยทุกพันธุ์ ไม่จ�าเพาะเจาะจง จะเป็นก้านยาว ชะนี กบ กระดุม
หรือพันธุ์เนื้อหวานมันแน่นอย่างหมอนทอง สุดแต่ห้องเครื่อง จะตั้งขึ้นมา
• วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั พระราชทานพระด�ารัสเรือ่ งเศรษฐกิจพอเพียงแก่ปวงชนชาวไทย
• พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เครื่องประทินโฉม ไม่ ต ่ า งจากผู ้ ค นธรรมดา โดยทรงใช้ แ ปรงสี ฟ ั น และยาสี ฟ ั น ยี่ห้อฟลูโอคารีล สบู่เหลวอาบน�้ายี่ห้อบาเดดาส มีดโกนหนวด ยี่ห้อยิลเลตต์ และแชมพูสระผมยี่ห้อทอสก้า 4711
• พ.ศ. 2549 สหประชาชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ความส�าเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (UNDP Human Devlopment Lifetime Achievement Award) แด่พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ซึ่ ง รางวั ล นี้ เ ป็ น การยกย่ อ งแนว พระราชด�ารัสเศรษฐกิจพอเพียงและการส่งเสริมการด�าเนินชีวติ อย่างยั่งยืนของพระองค์
• พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระเนตรล่าสุด ยี่ห้อซีลูเอ็ด 7395 ไทรทันมินิมอลอาร์ต สี 6051 หรือสีทองเงา กรอบผลิตในประเทศออสเตรเลีย ผลิตจากเบตาไทเทเนียม มีความยืดหยุ่นสูง น�้าหนักเบา และเป็นวัสดุที่องค์การนาซ่า ประกาศให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานนักบินอวกาศ • แกล้ ง ดิ น วิ ธี พ ระราชทานเพื่ อ แก้ ป ั ญ หาดิ น เปรี้ ย ว หรือดินเป็นกรด ด้วยการขังน�้าไว้ ในพื้นที่จนเกิดปฏิกิริยาเคมี เพื่อให้ดินเปรี้ยวจัดถึงที่สุด แล้วจึงระบายน�้าออก ปรับสภาพ ด้วยปูนขาว เพื่อให้ดินมีสภาพดีพอส�าหรับเพาะปลูกได้ • แก้มลิง วิธีพระราชทานเพื่อแก้ปัญหาน�้าท่วม มีแนวคิด จากพฤติ ก รรมของลิ ง ที่ ช อบอมกล้ ว ยไว้ ในกระพุ ้ ง แก้ ม คราวละมากๆ จากนั้นค่อยน�าออกมาเคี้ยวและกลืนภายหลัง ซึ่ ง กรมชลประทานน้ อ มน� า พระราชด� า ริ ม าแก้ ป ั ญ หาการจัดการน�้า โดยเฉพาะพื้นที่รอบกรุงเทพมหานครที่มีแก้มลิง กว่า 20 จุด
หนังสือที่ใช้อ้างอิง : ใต้ ร ่ ม พระบารมี ป กเกล้ า ฯ พระราชด� า ริ เ พื่ อ แผ่ น ดิ น , กลางใจราษฎร์ หกทศวรรษแห่งการทรงงาน, เย็นศิระเพราะ พระบริบาลกับ ‘ลัดดาซุบซิบ’, ราชสกุลมหิดล, พระเจ้าแผ่นดิน ของเราและเหตุการณ์ส�าคัญในรัชสมัย
A Must The Special Books หนั ง สื อ ทั้ ง 9 เล่ ม ต่ อ ไปนี้ ได้ ผ ่ า นการคั ด กรองข้ อ มู ล รวบรวมเรื่ อ งราว เรี ย งร้ อ ยเป็ น ถ้ อ ยค� า และคัดสรรพระบรมฉายาลักษณ์หายากของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาเป็นอย่างดี เพื่อให้คนไทยทุกคนได้อ่าน และระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ของพระองค์ตลอดไป
1
เพียงพ่อก็พอเพียง The Soul of Siam
เซตหนังสือ 3 เล่ม ทีร่ วบรวมเรือ่ งราวของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 ไว้ใน รูปแบบของงานศิลป์บนกระดาษ โดยใช้เทคนิคป๊อปอัพ ซับซ้อนสุดตระการตา อัดแน่นไปด้วยภาพวาดสีนา�้ จาก อาจารย์ทวีพงษ์ สิมาภรณ์วนิช กว่า 500 ภาพ อ่านง่าย ดีไซน์ครบรส ทัง้ แสง สี เสียง ควรค่าแก่การเก็บสะสม เพื่อถ่ายทอดให้ลูกหลานรุ่นใหม่ได้เห็น และตระหนัก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ อั น เป็ น ล้ น พ้ น ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 สืบต่อไป ส�ำนักพิมพ์มลู นิธศิ ริ วิ ฒ ั นำ ราคา 3,999 บาท
Story Behind the Book โดย สุวรรณา บ�ารุงพืช ผู้จัดการโครงการ • หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นเพราะคณะท�างาน น�าโดย คุณพรเทพ สามัตถิยดีกลุ ประธานบริษทั ศิรวิ ฒ ั นา อินเตอร์ พริน้ ท์ จ�ากัด (มหาชน) ต้องการผลิตหนังสือ ที่ ดี ที่ สุ ด เนื่ อ งในโอกาสที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา เพือ่ แสดงความจงรักภักดี • โดยเจตนารมณ์เพือ่ แจกจ่ายหนังสือให้กบั โรงเรียน ตามต่ า งจั ง หวั ด ในพื้ น ที่ ห ่ า งไกล หรื อ องค์ ก ร ทีต่ ้องการ เพื่อให้เด็กๆ ได้รับรู้ เข้าใจ และเห็นภาพ
เรือ่ งราวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 ในแบบที่เด็กๆ จะเข้าใจได้ง่ายที่สุด และแตกต่าง จากหนังสืออ่านทัว่ ๆ ไป • ความต่างที่ว่านั้นก็คือ อรรถรสที่ได้รับ น�าเสนอ ผ่านรูปแบบหนังสือป๊อปอัพครบทั้งภาพวาดสีน�้า แสนวิจติ ร แสง สี เสียง และเนือ้ หาทีอ่ า่ นง่าย • หนังสือเล่มนีใ้ ช้เวลาราว 2 ปี ในการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้อง การท�าโครงแบบป๊อปอัพ การขออนุญาตคัดลอกพระบรมราชโองการของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 เสียงเพลง พระราชนิพนธ์ และข้อมูลต่างๆ จากส�านักพระราชวัง รวมทั้ ง ขอคั ด ลอกเสี ย งไชโยโห่ ร ้ อ งที่ ดั ง กึ ก ก้ อ ง
มาจากเจ้าของลิขสิทธิ์ • ในระหว่างนั้นได้มีการน�าความกราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพฯ ถึงการจัดท�าหนังสือเล่มนี้ และ พระองค์รับสั่งค�าแนะน�ามาให้ หลังจากหนังสือ แล้วเสร็จ ได้น� าไปทูลเกล้าฯ ถวายให้พระองค์ อีกครั้งก่อนที่จะมอบต่อให้โรงเรียนต�ารวจตระเวนชายแดน และอี ก หลากหลายโรงเรี ย นในพื้ น ที่ ต่างจังหวัดต่อไป • เวลาส่วนใหญ่จะใช้ไปกับการค้นหาวิธีการพับ ป๊ อ ปอั พ ซึ่ ง จุ ด ที่ ย ากที่ สุ ด คื อ วิ ธีก ารพั บ ภาพ เพื่ อ ไม่ ใ ห้ พั บ ส่ ว นใดส่ ว นหนึ่ ง ในร่ า งกายของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช
• ส�าหรับเล่มแรกใช้เวลาประกอบป๊อปอัพนานถึง 3 เดือน ส่วนเล่มต่อๆ มาใช้เวลาในการประกอบ เฉลี่ย 80 เล่มต่อเดือนต่อพนักงานจัดท�า 400 คน และมีนา�้ หนักเซตละ 8 กิโลกรัม • ปั จ จุ บั น ผลิ ต เพื่ อ แจกจ่ า ยไปยั ง โรงเรี ย นและ พื้ น ที่ ห ่ า งไกลแล้ ว กว่ า 20,000 เล่ ม และยั ง คง มี เ จตนารมณ์ ที่ จ ะผลิ ต เพื่ อ สานต่ อ เรื่ อ งราวของ ในหลวง ให้ลูกหลานทั่วประเทศไทยได้รู้จัก และ รั บ รู ้ เ รื่ อ งราวของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รัชกาลที่ 9 อย่างไม่มีวันเลือนหาย
2
หนังสือ และวีดีทัศน์สารคดี ชุด ‘ราชสกุลมหิดล’
เพือ่ ให้ปวงชนชาวไทยจดจ�าและระลึก ในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ไม่ใช่แค่เพียงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 เท่านัน้ แต่หมายรวม ถึงสมาชิกในราชสกุลมหิดลทุกพระองค์ ซึง่ ล้วนแล้ว แต่มบี ทบาทส�าคัญในการช่วยเหลือประชาชนชาวไทย หนังสือเล่มนีจ้ งึ ได้รวบรวมพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และคุณูปการต่างๆ พร้อมทั้งวีดีทัศน์ ทีจ่ ะท�าให้ทกุ คนได้ซาบซึง้ และตรึงอยูใ่ นหัวใจตลอดไป จัดท�ำโดย บริษทั บุญรอดบริวเวอรี่ จ�ำกัด และ บริษทั สิงห์ คอร์เปอเรชัน่ จ�ำกัด ราคา 1,000 บาท
3
กลางใจราษฎร์
หนังสือพระราชประวัตพิ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ปกแข็ง เล่มหนา ควรค่าแก่การอ่านเป็นอย่างยิง่ ด้วยเนือ้ หา เชิงลึกทีเ่ ข้มข้น แต่กลับอ่านง่าย ราวกับมีใครสักคน มาเล่าให้ฟังอย่างละเอียด ยิ่งเมื่อได้อ่านภาคที่ 1 พระราชประวัติที่ผ่านการเรียบเรียงอย่างลื่นไหล ท�าให้อยากอ่านภาคต่อไปเรื่อยๆ จนแทบไม่อยาก ให้ภาคสุดท้ายมาถึง หำซือ้ ได้ทรี่ ำ้ นเอเซียบุค๊ ส ราคา 999 บาท
4
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับองคมนตรี
ภายในเล่ ม เป็ น เนื้ อ เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ เบื้องหลังพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 ผ่านมุมมอง ประสบการณ์ และความประทับใจจากองคมนตรีทงั้ 18 ท่าน ทีม่ ี ลีลาการเรียบเรียงทีแ่ ตกต่างกัน พร้อมถ่ายทอดแง่คดิ ทีไ่ ด้รบั จากพระราชด�าริของพระองค์ทา่ นได้อย่างลึกซึง้ จัดพิมพ์เนื่องในโอกำสพระรำชพิธีมหำมงคล เฉลิมพระชนมพรรษำ 7 รอบ 5 ธันวำคม 2555 โดย สัก กอแสงเรือง ราคา 199 บาท
5
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ รัชกาลที่ 9 และเจ้านายไทยในโลซานน์
บันทึกความทรงจ�าของ เกลย์อง เซ. เซไรดารี ส ครู ส ่ ว นพระองค์ ใ นพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 8 และ 9 รวบรวมโดย ลีซองดร์ เซ. เซไรดารีส ซึ่งเป็นลูกชาย เขาได้เขียนถึงชีวิต และหน้าที่ของผู้เป็นพ่อที่ได้รับใช้พระบรมราชวงศ์ พร้อมถ่ายทอดบทบันทึกเรือ่ งราวของทัง้ สองพระองค์ ในขณะที่ ยั ง ทรงประทั บ อยู ่ ณ เมื อ งโลซานน์ โดยมีเอกสาร จดหมาย และพระบรมฉายาลักษณ์ ในช่วงเวลานัน้ ประกอบการเล่าเรือ่ งอย่างครบถ้วน หำซือ้ ได้ทรี่ ำ้ นเอเซียบุค๊ ส ราคา 699 บาท
6
เย็นศิระเพราะพระบริบาล กับ ‘ลัดดาซุบซิบ’
หนังสือทีห่ ยิบยกเรือ่ งสัน้ ๆ ในราชส�านัก ทั้งเกร็ดความรู้ เหตุการณ์ส�าคัญในปีนั้นๆ และ เกร็ดชีวิตที่น่าสนใจมารวมเอาไว้ภายในเล่มเดียว ด้ ว ยการใช้ ภ าษาที่ อ ่ า นสนุ ก และมี พ ระบรมฉายาลั ก ษณ์ ข องพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ ประกอบ ยิง่ ท�าให้เรือ่ งราวทีค่ ดั เลือกมานัน้ มีคณ ุ ค่า และน่าติดตามว่าเรือ่ งสุดท้ายจะว่าด้วยเรือ่ งอะไร ส�ำนักพิมพ์กรีน-ปัญญำญำณ ราคา 260 บาท
7
พระเจ้าแผ่นดินของเรา และเหตุการณ์ส�าคัญในรัชสมัย
เรียกได้ว่าเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ ส�าคัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 ทุกๆ บทจะถูกระบุเหตุการณ์ส�าคัญ และปี พ.ศ. เอาไว้ อ ย่ า งละเอีย ด ตั้ง แต่เรื่องพระราชประวัติ การทรงงาน พระราชกรณียกิจ ความสัมพันธ์ด้าน การต่างประเทศ เพือ่ ให้คนไทยทุกคนรูว้ า่ พระองค์ ทรงงานหนั ก และแสนเหน็ ด เหนื่ อ ยเพี ย งใด เพื่อคนไทยทุกคน ตั้งแต่วันแรกที่พระองค์ทรงงาน จนกระทั่งวันสุดท้าย ก่อนที่พระองค์จะสวรรคต ส�ำนักพิมพ์ศรีปญ ั ญำ ราคา 350 บาท
8
เรารักในหลวง
หากจะสะท้อนความรู้สึกของปวงชน ชาวไทยทีม่ ตี อ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัช กาลที่ 9 ได้อย่า งลึก ซึ้ง สิ่ง ที่ท�าได้ดีที่สุดคือ การบันทึกภาพถ่ายเอาไว้ หนังสือเล่มนีจ้ งึ มีตวั แทน อย่างศิลปินภาพถ่าย 8 ท่าน ร่วมบอกเล่าเรือ่ งราว ร้ อ ยเรี ย งความรู ้ สึ ก จั ด เก็ บ ไว้ เ ป็ น หนั ง สื อ ภาพ พร้อมค�าสอนของในหลวง เพือ่ ประทับทุกความรูส้ กึ ว่า เรารักในหลวงมากแค่ไหน และจะรักพระองค์ทา่ น ตลอดไป ส�ำนักพิมพ์ดเี อ็มจี ราคา 999 บาท
9
เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์
พระราชประวัตพิ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั อานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อทรงพระเยาว์ (พ.ศ. 2468-2489) โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวฒ ั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระองค์ ท รงตั้ ง พระทั ย ถ่ า ยทอดเรื่ อ งราวของ พระอนุชาทั้งสองพระองค์ ด้วยภาษาที่อ่านง่าย ละมุนละไม เต็มไปด้วยเรือ่ งราวความรักความผูกพัน ประกอบด้วยพระบรมฉายาลักษณ์ส่วนพระองค์ กว่า 800 ภาพ ส�ำนักพิมพ์ซลิ ค์เวอร์ม ราคา 200 บาท
The Artist Talks เรื่อง : มิ่งขวัญ รัตนคช, ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
Jitsing Somboon จิตต์สิงห์ สมบุญ ผลงาน : THE MASTER (NYC) No 2
ภาพชิน้ งานศิลปะนับไม่ถว้ น ที่ แ ขวนเรี ย งรายอยู ่ บ นผนั ง ล้ ว นบอกเล่ า เรื่ อ งราวของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทุกชิ้นล้วน เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของ ‘รอง’ - จิ ต ต์ สิ ง ห์ สมบุ ญ ศิลปินและนักออกแบบทีห่ ลายคน คงคุน้ เคยกับผลงานซึง่ สร้างสรรค์ ขึน้ ด้วยเทคนิคอันเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตั ว ของเขาเป็ น อย่ า งดี โดยเฉพาะที่ ป รากฏเพื่ อ แสดง ความอาลั ย ต่ อ การสู ญ เสี ย ครั้งยิ่งใหญ่ที่คนไทยมีต่อพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักตามสื่อ และโซเชียลมีเดียต่างๆ ภาพปก a day BULLETIN ฉบั บ นี้ คืออีกหนึ่งผลงานของเขาที่อาจ ไม่คุ้นตากันสักเท่าไหร่ แต่สามารถสร้างความประทับใจให้กับเราได้ตั้งแต่แรกเห็น ด้วยเทคนิค การสร้างบล็อกเลเซอร์คัตพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์เพื่อน�าไปทาบทับพระบรมฉายาลักษณ์อีกที “ผมประทับใจในตัวพระองค์ท่าน ตั้งแต่เกิดมา ผมเห็นข่าวพระราชกรณียกิจต่างๆ ทุกวันจนเป็น ภาพจ�า ท�าไมถึงจ�าล่ะ ก็เพราะมันเป็นความจริงไง ความจริงที่ว่าพระมหากษัตริย์จะต้องท�างาน ขนาดนี้เลยหรือ ท่านท�าอะไรต่อมิอะไรไว้เยอะ โดยเฉพาะช่วงที่ประเทศหรือประชาชนเดือดร้อน ทรงพระปรีชาสามารถไปหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเขื่อน เรื่องเกษตรกรรม หรือแม้แต่สร้าง เม็ดฝน ท่านยังท�าได้ ปัญหาทุกอย่าง ท่านแก้ ไขได้หมดสิ้น” จิตต์สงิ ห์เล่าย้อนไปถึงตอนทีเ่ ริม่ วาดรูปพระองค์ทา่ นอย่างจริงจัง อย่างตอนช่วงเรียนมหาวิทยาลัย ที่เขาส่งผลงานเข้าประกวด จึงเป็นครั้งแรกที่เริ่มศึกษาหาข้อมูล หารูปภาพจากหนังสือเก่า ได้เห็น และรับรู้เรื่องราวต่างๆ ของพระองค์ท่านมากขึ้นจากรูปที่เขาจะเลือกไปท�าชิ้นงาน ซึ่งสรุปว่าเขา ได้รางวัลแห่งความภาคภูมิใจจากการประกวดครั้งนั้น “เรามักจะได้รับการปลูกฝังกันมาว่า จะท�าอะไรก็ท�าให้ดีไปเลยเพียงอย่างเดียว แต่พระองค์ท่าน ท�าให้ผมรู้สึกว่าคนคนหนึ่งสามารถท�าอะไรหลายๆ อย่างได้ด้วยความเพียร ความตั้งใจ เพื่อท�าให้ดี ที่สุด ไม่ใช่ท�าสะเปะสะปะ ผมรู้สึกว่าการเห็นพระองค์ท่านเช่นนี้เป็นการปลูกฝังผม คนเราสามารถ ท�าได้ทุกอย่าง ถ้ามีความพยายาม เขียนหนังสือบ้าง ท�าดนตรีบ้าง วาดรูปบ้าง อย่างผมชอบทดลอง ท�านู่นท�านี่ พระองค์ท่านเป็นเสมือนแรงบันดาลใจให้ผมในเรื่องเหล่านี้” เขาบอกเล่าถึงมุมมองของศิลปินในการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์ว่า ไม่ยากในแง่ว่าจะเขียนให้คล้ายหรือเหมือน แต่อย่างไรก็เป็นเพียงภาพคล้ายหรือเหมือน ถ้าจะให้เป็น พระองค์ท่านเลย เขาว่าอย่างไรก็คงไม่ใช่ แม้แต่ภาพถ่าย ยังมองว่าไม่เหมือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมอง ที่ศิลปินจะถ่ายทอดออกมามากว่า เพราะแต่คนย่อมมีเรื่องราวที่ต้องการสื่อแตกต่างกัน จากนั้น บทสนทนาด�าเนินมาถึงชิ้นงานซึ่งเป็นภาพปก a day BULLETIN ฉบับนี้ “ไอเดี ย ดั้ ง เดิ ม ของเทคนิ ค งานชิ้ น นี้ คื อ การท� า บล็ อ กภาพขึ้ น มา จากนั้ น น� า บล็ อ กไปวางไว้ ด้ านหน้ าพื้ น หลั ง ซึ่ ง เราจะมองเห็นพื้นหลัง เหล่า นั้นลอดผ่า นตัวบล็อ กออกมา จึง เป็นที่มาของ การท�าบล็อกเป็นรูปพระองค์ท่าน แล้วน�าพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์มาซ้อนไว้ที่ด้านหลัง คื อ ท่ า นเป็ น เสมื อ นพ่ อ พิ ม พ์ ที่ ดี ถ้ า บล็ อ กด้ า นหน้ า ดี ก็ จ ะขั บ เน้ น สิ่ ง ที่ อ ยู ่ ด ้ า นหลั ง ให้ ดี ไ ปด้ ว ย ท่านดูสมบูรณ์ ทั้งด้านสรีระและพระจริยวัตร ผมจะชอบสร้างสรรค์ผลงานจากภาพที่เป็นพอร์เทรต เฉพาะพระพักตร์มากกว่า เพราะถ้าเต็มพระองค์ ความสนใจจะถูกดึงไปโฟกัสยังส่วนอื่นๆ ดังนั้น เห็นเฉพาะพระพักตร์จะสามารถบอกอะไรหลายๆ อย่างได้มากกว่า” จิตต์สิงห์เล่าถึงนาทีที่ทราบข่าว ซึ่งเป็นเวลาช่วงเช้าที่นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าเขา น�้าตาไหล และจากนั้นก็ ได้เห็นและร่วมอยู่ในเหตุการณ์ที่คนไทยในต่างแดนมารวมตัวกัน เพื่อแสดง ความอาลัยถวายแด่พระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักแม้จะไม่ได้อยู่ในประเทศไทยก็ตาม และเล่าต่อถึง รูปแบบชิ้นงานที่จะสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อถวายความอาลัยต่อพระองค์ ในอนาคต “ในอนาคต ถ้าต้องสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ผมจะน�าถ้อยค�าของ พระองค์มาเป็นส่วนหนึ่ง พระองค์ท่านเป็นคนใช้ถ้อยค�าเก่ง สามารถพูดและเรียงประโยคให้คนทั่วไป เข้าใจได้ทกุ มุม สัน้ บ้าง ยาวบ้าง มีขอ้ คิดดีๆ ให้เรามากมาย อย่างเช่นค�าว่าพอเพียง ซึง่ มันเข้าใจง่ายมาก ชัดเจนมาก ผมจึงอยากสร้างงานศิลปะจากถ้อยค�าเหล่านั้น น�ามาแปลงเป็นภาพ มาตีความต่อ “ถ้าหลับตาแล้วคิดถึงพระองค์ท่าน ภาพแรกที่ขึ้นมาในหัว ผมคงไม่เห็น เพราะผมคงน�้าตาไหล แต่ผมมีภาพจ�าของพระองค์ท่านในฉลองพระองค์ชุดสีทอง เป็นภาพ ยุคเก่าที่จะขึ้นในโรงหนังหรือในทีวี ช่วงยุค 1970s ส่วนตัวผมชอบ พระองค์ ท ่ า นในยุ ค 1960-1970s เพราะเป็ น ช่ ว งที่ ถ ้ า พู ด ภาษา ชาวบ้านก็ตอ้ งใช้คา� ว่าเป็นพระมหากษัตริยท์ เี่ ท่ สมาร์ต ทันยุคทันสมัย อินเตอร์สู้กับฝรั่งได้สบาย พระราชินีก็สวย เวลาท่านเอาผ้าไทย ลวดลายประยุกต์มาฉลองพระองค์นั้นเข้ากันได้ดีกับยุคสมัยมาก มันเลยท�าให้คนไทยเป็นแบบนี้ คือเราค่อนข้างมีอิสระทางความคิด สมัยใหม่ ในกรอบบ้าง นอกกรอบบ้าง ก�าลังดี “ในฐานะศิ ล ปิ น ผมทึ่ ง นะที่ ท ่ า นทรงมี พ ระปรี ช าสามารถ วาดภาพได้ขนาดนั้น แต่ผมไม่ได้เดินตามรอยท่านเพราะรูปวาด หรือในเชิงศิลปะเพียงอย่างเดียว แต่เพราะเป็นพระองค์ท่านทั้งหมด ทุกแง่มุม ในทุกทาง ทุกศาสตร์ ตรงส่วนนี้แหละที่ท�าให้ผมรู้สึกว่า อยากจะท�าอะไรให้ ได้มากที่สุดที่คนคนหนึ่งจะท�าได้ และมีประโยชน์ ไม่เฉพาะกับตัวเอง แต่ยังเผื่อแผ่ไปถึงสังคมด้วย”
“...แต่ละคนมีหน้าที่ที่จะต้องท�า ต้องท�าให้ดีที่สุด แต่เท่านั้นยังไม่พอ ต้องนึกด้วยว่างานของตัว จะต้องสัมพันธ์กับงานของคนอื่น เพราะถ้าไม่สัมพันธ์กับงานของคนอื่น งานที่ตัวท�าอาจเปล่าประโยชน์ก็ ได้ หรือถ้าไปปีนเกลียวกับหน่วยอื่นก็อาจเป็นผลร้ายยิ่งขึ้นไปอีก จึงอยากถือโอกาสนี้ฝากความคิดไว้ว่า ท�างานใดๆ ขอให้ท�าด้วยความตั้งใจจริงๆ ท�าตามหลักวิชา ตามหลักของธรรมะ และยิ่งกว่านี้ขอให้ท�าหน้าที่ของพลเมืองดี ผู้มีความรู้ ตามหน้าที่ของผู้มีต�าแหน่งเหมาะสมที่จะท�างานใหญ่ด้วย เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงยืนยงถาวร มีความก้าวหน้า และมีความเจริญรุ่งเรืองในสมัยนี้ ถ้าไม่ท�างานด้วยกันเราจะไม่มีที่อยู่ ฝากข้อคิดนี้ไว้ ขอให้ทุกคนมีก�าลัง คือก�าลังใจก�าลังกายที่สมบูรณ์ เพื่อที่จะปฏิบัติงานของตน ขอให้ทุกคนประสบความเจริญรุ่งเรือง ในการงานทั้งของตนและในส่วนรวม”
Royal Speech
พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ณ พระต�าหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2512