adB453

Page 1

The Last Presents, The Endless Memories

TODAY EXPRESS PRESENTS

ISSUE 453 I 30 DECEMBER 2016


EDITOR’S NOTE Find Your Own Guiding Star ในโลกที่ทุกวันนี้มีแผนที่ GPS บอกทิศทางได้ค่อนข้าง แม่ น ย� า มี แ อพพลิ เ คชั น เข็ ม ทิ ศ มากมายให้ เ ราเลื อ กใช้ เลยไม่แน่ใจว่าจะยังเหลือสักกี่คนที่ใช้วิธีการดูทิศทางด้วย วิธีการพื้นฐานและเป็นธรรมชาติที่สุดอย่างการดูดาวเหนือ หรื อ มี เ วลาเงยหน้ า มองท้ อ งฟ้ า ยามค�่ า คื น ได้ น านพอ ที่จะท�าความรู้จักดวงดาวบนท้องฟ้าบ้างหรือไม่ เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า โลกของเราหมุนรอบตัวเองจาก ทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก เราก็เลยมองเห็นพระอาทิตย์ พระจันทร์และดาวบนท้องฟ้าเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน ด้วย แต่ดาวเหนือเป็นดาวดวงเดียวที่เหมือนไม่ได้เคลื่อนที่ ไปไหนเลย ดาวเหนือจึงเป็นดาวที่คนสมัยก่อนใช้เป็นดาว บอกทิศน�าทาง หรือ guiding star เพราะความทีม่ นั อยูท่ เี่ ดิม เสมอ ต่างกับดาวดวงอื่นๆ ที่เราจะมองเห็นว่าอยู่ในจุดที่ แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งถ้าเราไปยึดถือดาวอื่น เป็นหลัก ก็อาจท�าให้หลงทิศหลงทางได้ง่าย นักเดินทางที่ เดินทางในป่า หรือนักเดินทางทีอ่ ยูก่ ลางมหาสมุทรทีย่ ากต่อ การระบุทิศทาง จึงต้องคอยอ่านทิศจากดาวเหนือ เพราะ เมื่อเจอทิศเหนือ เราก็จะรู้ว่าทิศที่เหลือคือทิศอะไร แล้วเรา ต้องมุ่งไปทางทิศไหน ดังนั้น เรื่องทิศจึงเป็นเรื่องส�าคัญยิ่ง ส�าหรับนักเดินทาง เพราะไม่ใช่แค่การรู้ว่าเราจะไปทางไหน แต่เราต้องรู้ก่อนด้วยว่าตอนนั้นเราก�าลังอยู่ตรงไหนบนโลก ใบนี้ เมื่อพูดถึงดาวเหนือแล้ว เอาจริงๆ คงต้องบอกว่า ปกติ ผู้เขียนก็ไม่ค่อยได้มองสักเท่าไหร่ เพราะเราก็โตมาในยุคที่ อ่านแผนทีไ่ ด้ ใช้แอพพลิเคชันบอกทิศทางได้อย่างคล่องแคล่ว พอสมควรแก่การรอดชีวติ แต่เหตุผลทีท่ า� ให้มองเห็นดาวเหนือ อยู่บ่อยครัง้ ก็เพราะผู้เขียนต้องออกไปวิง่ ในช่วงเย็นย�่าค�า่ มืด และเป็นช่วงเวลาทีต่ อ้ งสบตากับดวงดาวพอดี (ฟังดูโรแมนติก ใช้ได้) ซึ่งทุกครั้งที่ออกไปวิ่ง ไม่ว่าจะวิ่งสักกี่รอบ จะมองไป ทางอื่นสักกี่ครั้ง เมื่อเงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้าก็จะมองเห็น ดาวเหนือส่องสว่างอยู่ที่เดิม มองไปมองมา ก็เริ่มคิดว่า จะว่าไปดาวเหนือก็ไม่ตา่ งอะไรกับ passion หรือความหลงใหล ในการท�าอะไรสักอย่างทีม่ นั ท�าให้เราทุม่ สุดตัว เทหมดหน้าตัก กับสิ่งที่เราเชื่อมั่น มันต่างจากแรงบันดาลใจหรือ inspiration ตรงที่ passion เป็นสิ่งไม่ต้องรอให้ใครมาจุดประกายและ ไม่มวี นั ดับ ถ้าท�าแล้วเหนือ่ ยก็แค่หยุดพัก แต่ไม่เคยเปลีย่ นใจ จากสิ่ ง ที่ ท� า ตรงกั น ข้ า ม เมื่ อ เราทุ ่ ม เทท� า ในสิ่ ง ที่ เ รารั ก พลังงานที่ดีนั้นกลับจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นลุกมาท�า ในสิ่งที่ตัวเองอยากท�า และออกเดินทางไปบนเส้นทางที่ ตัวเองอยากไป ไม่ใช่ลุกมาท�าเพียงเพราะอยากท�าเหมือน คนอื่น ซึ่งจะตามมาด้วยอาการแรงบันดาลใจดับง่าย เพราะ ไม่ได้ท�าในสิ่งที่ตัวเองหลงใหลและด� าดิ่งไปกับมันชนิดที่

ยอมตายถ้าไม่ได้ท�า เพราะความรักในสิ่งที่ทา� อย่างแท้จริง นั่ น เองที่ จ ะท� า ให้ เ ราค้ น พบด้ า นที่ จ ริ ง แท้ ข องตั ว เราเอง ความรักในสิ่งที่ทา� จึงไม่ต่างอะไรกับดาวเหนือที่คอยตอกย�า้ ว่าเราก�าลังอยู่ตรงไหนและจะไปไหนต่อ เป็นสิ่งที่ไม่เคย เปลี่ยนแปลงไม่ว่าโลกจะหมุนไปทางใด เมื่อคุณผู้อ่านหยิบ a day BULLETIN ฉบับนี้ขึ้นมาอ่าน ซึง่ เป็นฉบับประจ�าวันที่ 30 ธันวาคม 2559 นัน่ แปลว่านีจ่ ะเป็น ฉบับสุดท้ายของผู้เขียนในฐานะบรรณาธิการบริหาร เพราะ ในปีหน้าจะเป็นเวลาที่ผู้เขียนขอหยุดพักการท�างานและ เดินทางไกลไปต่างประเทศ เพื่อศึกษาต่อและสะสมประสบการณ์ใหม่ๆ รวมทัง้ ไปค้นหาแง่มมุ อีกหลากหลายในโลกใบนี้ ทีผ่ ู้เขียนยังไม่เคยผ่านไปพานพบ ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นต้นทุน ส�าคัญส�าหรับการท�างานในอนาคต และเพื่อน�าเสนอสิ่งที่ดี ทีส่ ดุ ให้กบั คนอ่านต่อไปเท่าทีร่ ปู แบบและวิธกี ารสือ่ สารใหม่ๆ ในอนาคตจะพึงเป็น การเดินทางครัง้ นีจ้ งึ เป็นหนึง่ ในกระบวนการ เปลี่ยนแปลงที่ผู้เขียนในฐานะของคนท�าสื่อต้องพร้อมรับมือ ดั ง นั้ น นั บ ตั้ ง แต่ เ ดื อ นมกราคมเป็ น ต้ น ไป คุ ณ วุ ฒิ ชั ย กฤษณะประกรกิจ จะมาเป็นบรรณาธิการบริหาร นิตยสาร a day BULLETIN อย่างเต็มตัว เพื่อน�าเสนอเนื้อหาสาระที่ยัง เข้มข้นทางความคิดและให้มุมมองที่สร้างสรรค์และทันต่อ เหตุการณ์ต่อไปอย่างไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ดี ในพื้นที่ Editor’s Note นี้ ผู้เขียนจะยังรับหน้าที่เขียนต่อไปเฉพาะ ฉบับประจ�าวันศุกร์ ในฐานะบรรณาธิการอ�านวยการ เพื่อ บอกเล่าเรื่องราวรอบๆ ตัวระหว่างที่อยู่ต่างประเทศ รวมทั้ง ยังจะมีงานเขียนและรายงานพิเศษมาให้อา่ นอย่างสม�่าเสมอ ในโอกาสต่อๆ ไป ในโอกาสนี้ จึ ง อยากขอขอบคุ ณ ผู ้ อ ่ า นทุ ก ท่ า นที่ ใ ห้ การสนับสนุนและให้ก�าลังใจมาตลอด 9 ปี บนเส้นทาง การท�างานเป็นบรรณาธิการบริหาร อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริง ของชีวิตก็สอนเรามาตลอดว่า เมื่อถึงเวลาก็ต้องยอมรับ ความเปลี่ยนแปลง และก้าวต่อไปบนเส้นทางที่แตกต่าง และท้าทายไปจากเดิมให้ได้ มีเพียงแค่การเปลีย่ นแปลงและการปรับตัวเท่านัน้ ทีเ่ ป็น หนทางที่แน่นอนที่สุดหากเรายังไม่อยากล้มหายตายจากไป แต่ไม่ว่าจะปรับหรือเปลี่ยนอย่างไร ผู้เขียนก็ไม่เคยลืมว่า ดาวเหนือของตัวเองอยู่ตรงไหน และเราควรมุ่งหมายไป ทางใด เพื่อใคร

ทีป่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผูพ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม รองบรรณาธิการ วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิ ก ารบทความ วรั ญ ญู อิ น ทรก� า แหง กองบรรณาธิ ก าร ทรรศน หาญเรื อ งเกี ย รติ ปริญญา ก้อนรัมย์ มิ่งขวัญ รัตนคช ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ กมลวรรณ ส่งสมบูรณ์ พัทธมน วงษ์รัตนะ ประสานงาน / นักเขียน ตนุภัทร โลหะพงศธร บรรณาธิการภาพ นิติพัฒน์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยี่ดวง มณีนุช บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี ชยุตม์ คชโกศัย อรณัญช์ สุขเกษม พิสูจน์อักษร หัสยา ตั้งพิทยาเวทย์ ศักดิ์สิทธิ์ ไม้ล�าดวน ธมนวรรณ กัวหา ฝ่ายผลิต วิทยา ภู่ทอง ทศพล บุญคง ที่ปรึกษาฝ่ายโฆษณา ศรวณีย์ ศิริจรรยากุล ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, มนัสนันท์ รุ่งรัตนสิทธิกุล 08-4491-9241 ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, มาสสุภา เอี่ยมมงคลศิลป์ 08-5056-0083, ณัฐวีณ์ ประมุขปฐมศักดิ์ 08-3922-9929 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจุฬางกูล 08-1639-1929, สุธาวัลย์ สุวรรณสิงห์ 08-1304-7070, ดวงใจ ดวงจังหวัด 08-6802-9996 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้ผลิต บริษัท เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com, www.godaypoets.com

CONTENTs

ALL ABOUT BIZ

เรือ่ งราวการบุกเบิกธุรกิจออนเซ็น และสปาเป็นเจ้าแรกในเมืองไทย ของ สมิทธิ์ เมฆอรุณกมล

GOODNEWS

รวมช่วงเวลาส�าคัญของปี 2016

SPECIAL FEATURE

รวมปกและเรื่องส�าคัญอันเป็นไฮไลต์ ที่เราสร้างสรรค์มาตลอดทั้งปี

THE GUEST

ยศพล บุญสม ภูมสิ ถาปนิก ผูท้ จี่ ะมาชวนเราไปเรียนรู้ การบริหารจัดการเมือง

A MUST

สัปดาห์นี้มีอะไรบ้างที่น่าติดตาม สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราเลือกสรร มาไว้เพื่อคุณ

วิไลรัตน์ เอมเอีย่ ม บรรณาธิการบริหาร Twitter : @khaopan

LETTER

ปีที่ 9 ฉบับที่ 453 วันที่ 30 ธันวาคม 2559

adB เป็นฟรีกอ๊ บปีส้ า� หรับการเก็บสะสม ซึง่ เหนือยิง่ กว่าส�าหรับการอ่าน เนื้อหาหลากหลาย มีความสดใหม่ในแต่ละบทความ ขอขอบคุณทีมงาน ทุกท่านที่ท�าฟรีก๊อบปี้ที่ดีแบบนี้มาให้พวกเราได้ติดตามอ่านทุกสัปดาห์ - วิสิทธิ์ สุจิตต์อนันต์

LIFE ความสร้างสรรค์ของศิลปะเส้นด้าย ที่ไม่มีจุดสิ้นสุด ทางกองบรรณาธิการต้องขออภัย คุณวีรพร นิตปิ ระภา และทุกท่านเป็นอย่างสูงส�าหรับการลงชื่อหนังสือผิดพลาดในฉบับที่ 449 ชือ่ ทีถ่ กู ต้อง ของหนังสือคือ ‘พุทธศักราชอัสดงกับทรงจ�าของ ทรงจ�าของแมวกุหลาบด�า’ เราจะพยายามตรวจสอบ อย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้อีก

ส่งความคิดเห็น ค�าติ-ชม หรือข้อเสนอแนะทีม่ ตี อ่ a day BULLETIN ได้ที่ บริษทั เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วจิ ยั 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 หรือทางอีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com กรุณาเขียนชือ่ -นามสกุลจริงและทีอ่ ยูม่ ากับจดหมาย เพือ่ ความสะดวกในการจัดส่งของรางวัล ไปให้ และบรรณาธิการขออนุญาตตัดทอนจดหมายตามสมควร พิเศษ! จดหมายที่ได้รับเลือกลงตีพิมพ์ในช่วงเดือนนี้จะได้รับหนังสือดีๆ จากส�านักพิมพ์ ส่งไปให้ถึงบ้าน


DATABASE

TREND

POP CULTURE 2016

Twitter #กสพท60

47.5K tweets

ถึงแม้วา่ ผลคะแนนความถนัดแพทย์ได้ประกาศ ออกมาเป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว แต่ยงั มีสนามสอบ อืน่ ๆ รอให้สตู้ อ่ ขอเพียงตัง้ ใจจริงและท�าให้ เต็มที่ เป็นก�าลังใจให้เหล่าคุณหมอในอนาคต

#หมอนิ่ม

50K tweets

ล่าสุด ศาลอ่านค�าพิพากษาให้ประหารชีวติ หมอนิม่ ภรรยา เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ จากคดีจา้ งวานสังหารสามีของตนเอง ท�าให้ผใู้ ช้ทวิตเตอร์ วิพากษ์วจิ ารณ์กรณีดงั กล่าวในแง่มมุ ต่างๆ

ตลอดปี 2016 มีเหตุการณ์ตา่ งๆ เกิดขึน้ มากมายในวัฒนธรรมกระแสหลัก (Pop Culture) ซึง่ ล้วนแสดงให้เห็นถึง ความแตกต่างทางความคิดของผูค้ นในสังคมปัจจุบนั เมือ่ บวกกับความก้าวล�า้ ของเทคโนโลยีอย่างอินเทอร์เน็ต ท�าให้ปที ผี่ า่ นมา ทัว่ โลกเต็มไปด้วยเรือ่ งราวอันน่าสนใจ ทีเ่ ราอยากชวนคุณย้อนกลับไปมองพร้อมๆ กัน

170,000,000 แม้ว่าจะไม่ได้มีอัลบั้มออกมาในปีนี้ แต่ปฏิเสธไม่ได้วา่ ปี 2016 นับเป็นอีกปี ของ เทเลอร์ สวิฟต์ ด้วยรายได้กว่า 170 ล้านเหรียญฯ ท�าให้เธอเป็นศิลปินหญิง ทีม่ รี ายได้สงู สุดของปี นอกจากนีย้ งั มี เรื่ อ งรั ก (และเลิ ก ) กั บ หนุ ่ ม ทอม ฮิดเดิลสตัน ประเด็นกับคานเยและคิม ทีท่ งั้ โลกจับตามอง

1st

และแล้ ว วั น นี้ ก็ ม าถึ ง วั น ที่ ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ ได้รบั รางวัล ออสการ์เป็นครัง้ แรก หลังจากได้ รับการเสนอชื่อเข้าชิงและพลาด ไปถึ ง 4 ครั้ ง ปี นี้ ลี โ อนาร์ โ ด คว้ารางวัลส�าคัญมาได้ดว้ ยบทบาทสุดท้าทายจาก ภาพยนตร์เรือ่ ง The Revenant

100,000,000 มิวสิกวิดโี อเพลงจาก Pikotaro หรือ คุณลุง คาซูฮโิ กะ โคซากะ ศิลปินตลก ชาวญีป่ นุ่ เจ้าของเนือ้ ร้องและท่าเต้น สุดยียวนทีโ่ ด่งดังไปทัว่ โลก ด้วยยอด เข้าชมในยูทบู กว่า 100,000,000 วิว

Facebook Katy Perry

290K people talking about this

เป็นทีเ่ ซอร์ ไพรส์แฟนเพลงทัว่ โลก หลังจาก ที่ เคที เพอร์รี ได้โพสต์คลิปร้องเพลงใหม่ลง อินสตาแกรมของตัวเอง นับเป็นผลงานเพลง ที่ต้องจับตามองอีกครั้ง

YouTube $24 Korean BBQ Vs. $346 Korean BBQ

3,349,915 views at 19 Dec 2016

รีววิ ชวนหิวโดย BuzzFeed ซึง่ เปรียบเทียบ ให้เห็นความแตกต่างระหว่างราคาทีจ่ า่ ย กับ คุณภาพและความอร่อยของมือ้ อาหาร รับรอง ว่าแค่ดทู อ้ งก็รอ้ งแล้ว

151

เหล่าโปเกมอน ทัง้ 151 ตัว เป็น ส า เ ห ตุ ข อ ง ปรากฏการณ์ Pokemon Go เกมโทรศัพท์มอื ถือทีท่ า� ให้ความฝันวัยเด็ก ของคนทัว่ โลกเป็นจริง และท�าให้ทกุ คน พร้อมใจกันออกจากบ้านมาตียมิ ไล่จบั โปเกมอนกันอย่างพร้อมเพรียงอยูพ่ กั หนึง่

26/06/2016 เมือ่ วันที่ 26 มิถนุ ายน 2016 ศาลสูงสหรัฐฯ มีมติรับรองการแต่งงานของคนรักเพศ เดียวกันเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ท�าให้ผค้ ู น ทั่วโลกออกมาร่วมเฉลิมของกับชัยชนะ ครัง้ ยิง่ ใหญ่ของความรักในครัง้ นี้ น�าโดย ทวีตของประธานาธิบดี บารัก โอบามา พร้อมกับกับแฮชแท็ก #lovewins

2016

การแข่ ง ขั น กี ฬ าโอลิ ม ปิ ก รี โ อ 2016 ณ ประเทศบราซิล แน่นอนว่าทุกการแข่งขัน ย่อมมีผชู้ นะและผูแ้ พ้ แต่ทสี่ า� คัญทีส่ ดุ คือ ภาพสุดประทับใจตลอดการแข่งขัน จาก ความมุง่ มัน่ ของเหล่านักกีฬาและเสียงเชียร์ จากกองเชี ย ร์ ทั่ ว โลก รวมถึ ง พิ ธีป ิ ด สุดอลังการที่มีนายกฯ อาเบะออกมา เซอร์ไพรส์ในชุดมาริโอ ที่มา : www.themomentum.co, www. theguardian.com, www.boxoffififi cemojo.com


GOODNEWS

MOMENT of the Year 2016

เวลาล่วงเลยมาจนถึงช่วงส่งท้ายปลายปี เราก็เลยมีความคิดอยากจะคัดสรรรูปถ่ายที่เราเชื่อว่า เล่าเรือ่ งได้อย่างมีพลังและเข้มข้นในความรูส้ กึ ทีส่ า� คัญ เป็นภาพทีม่ คี วามหมายมากเพียงพอทีจ่ ะเป็น Picture of the Year ประจ�าปี 2016 ด้วย แต่ขณะเดียวกัน ค�าว่า Goodnews ก็อาจท�าให้คนอ่านมีความคาดหวังว่าจะได้เห็นรูปที่สวยงาม และสร้างความรูส้ กึ ดีๆ เท่านัน้ ซึง่ เรามีความเห็นตรงกันข้าม เพราะวันนีโ้ ลกของเรามีหลากหลายแง่มมุ ที่ควรมองและต้องรับรู้ อีกอย่าง เราเชื่อว่า โลกนี้ไม่ได้สวยงามเพราะการมองเพียงด้านเดียว แต่ต้อง มองทุกด้านอย่างสมดุล ภาพสวยที่ให้ความรู้สึกดีเราก็ยังจ�าเป็นต้องมี เท่าๆ กับภาพที่องค์ประกอบ สวย แต่มปี ระเด็นที่ไม่สวยงาม เพราะถ้ามันท�าให้เราฉุกคิดและสร้างความเปลีย่ นแปลงทีด่ ใี นอนาคตได้ เราก็ถือว่าเป็น Goodnews เช่นกัน

ท่ามกลางความทุกข์ยากล�าบากจากการเป็นผู้ลี้ภัย แต่เด็กๆ ในแคมป์ผู้ลี้ภัย ที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตแดนของประเทศกรีซ-มาซิโดเนีย ก็ยังหาเรื่องสนุกๆ เล่นกับ ตุ๊กตาหมีตัวเดียวนี้กันจนได้ - Reuters / Alexandros Avramidis

นักท่องเที่ยวต่อแถวเพื่อดู จุดชมวิวที่จางเจียเจี้ย ใน มณฑลหูหนาน ประเทศจีน แม้จะเป็นจุดชมวิวทีช่ วนให้ หวาดเสียว แต่เมือ่ มองจากจุด นัน้ เราเชือ่ ว่ามนุษย์ตวั เล็กๆ จะรู ้ สึ ก ถึ ง ความเล็ ก จ้ อ ย ของตั ว เองเมื่ อ เที ย บกั บ ความยิง่ ใหญ่ของธรรมชาติ - Reuters / Stringer

ในรอบปี ที่ ผ ่ า นมา เฮอริ เ คนแมทธิ ว นั บ ว่ า เป็ น พายุ ที่ ส ร้ า งความเสี ย หาย รุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่ง แต่หลังความเสี ย หายผ่ า นไป ทุ ก ชี วิ ต ก็ ต ้ อ งด� า เนิ น ต่อไป และภาพทีเ่ ด็กๆ ก�าลังเล่นกันบนถนน ท่ามกลางซากปรักหักพังของบ้านเรือน ก็ตอกย�้าประเด็นนี้อย่างแจ่มชัด - Reuters / Andres Martinez Casare

ดูเผินๆ อาจเหมือนภาพพระอาทิตย์ตกดินที่ไหนสักแห่ง แต่จริงๆ แล้วนี่คือภาพ กลุ่มควันและเปลวไฟจากระเบิดโจมตีทางอากาศในประเทศซีเรีย ซึ่งทั่วโลกพยายาม เรียกร้องให้สงครามอันยืดเยื้อยาวนานนี้จบลงโดยเร็วที่สุด เพราะมันได้สร้างความเสียหายยับเยินมานานเกินไปแล้ว - Reuters / Omar Sanadiki


ภาพซูเปอร์มูนลอยเด่นเคียงข้างยานอวกาศ Soyuz MS-03 ที่ก�าลังจะถูกปล่อยขึ้นไปยังสถานีอวกาศ นานาชาติ (ISS) จากฐานปล่อยยาน Baikonur ประเทศคาซัคสถาน ท�าให้เรานึกถึงค�าว่าความสามารถ ของมนุษย์ กับความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ขึ้นมาอีกครั้ง - Reuters / Shamil Zhumatov

ฤดูใบไม้รว่ งในเมืองศรีนคร แคว้นแคชเมียร์ ประเทศ อินเดีย ก็สวยงามไม่แพ้เมืองใดในโลกเช่นกัน - Reuters / Danish Ismail

สัตว์โลกอย่ า งสลอธ เป็ น สิ่ง มีชีวิต ที่เรา อาจพบเห็นได้ไม่บอ่ ยนัก และนีก่ ค็ อื ตัวสลอธ ที่ ก� า ลั ง เกาะเสากั้ น บนทางด่ ว นในเมื อ ง Quevedo ประเทศเอกวาดอร์ ซึ่งต�ารวจ จราจรในเมืองเอกวาดอร์บังเอิญเก็บภาพ ไว้ได้ระหว่างขับรถออกตรวจพื้นที่ โดยเขา บอกว่าเป็นช่วงเวลาที่เจ้าสลอธพยายาม จะข้ามถนนอยู่พอดี เรื่องจบลงที่ต�ารวจ พาสลอธไปพบสัตวแพทย์ และส่งเข้าป่า เพื่อคืนสู่ธรรมชาติในเวลาต่อมา - Reuters / Ecuador’s Transit Commission / Handout via Reuters

ปัญหาขยะล้นเมืองเป็นปัญหาส�าคัญของเมือง Jdeideh กรุงเบรุต ประเทศเลบานอน และหลังจาก ที่ทางเลบานอนยกเลิกแผนการส่งขยะไปก�าจัด ทีป่ ระเทศรัสเซีย ก็ทา� ให้ปญ ั หาวิกฤตขยะทีย่ ดื เยือ้ ถึง 6 เดือน กลับสูจ่ ดุ เริม่ ต้นอีกครัง้ ภาพนีจ้ งึ น่าจะ ท�าให้เราฉุกคิดเกีย่ วกับการใช้ชวี ติ ทีส่ ร้างขยะกันได้ มากถึงขนาดนี้ - Reuters / Hasan Shaaban ผู ้ อ พ ย พ ค น นี้ ก� า ลั ง เดินทางฝ่าทุง่ กว้างทีจ่ บั ตัว เป็ น น�้ า แข็ ง หลั ง จาก ต้ อ งข้ า มเขตชายแดน มาจากมาซิโดเนีย ใกล้ กับหมู่บ้าน Miratovac ในประเทศเซอร์ เ บี ย เราเคยเห็นภาพผู้อพยพ ลี้ ภั ย มามากมาย แต่ ภาพนี้ท�าให้เรารู้สึกถึง ความโดดเดี่ ย ว แต่ ก็ แฝงไปด้วยความเข้มแข็ง อย่างบอกไม่ถูก - Reuters / Marko Djurica

นาย Durga Kami วัย 68 ปี ตอกย�้าให้เราเข้าใจถึงค�าว่า ไม่มีค�าว่าสายเกินไปส�าหรับการเรียนรู้ เพราะเขาตัดสินใจ กลับมาเรียนหนังสืออีกครั้งในชั้นเรียนเกรด 10 ที่โรงเรียน Shree Kala Bhairab ในเมือง Syangja ประเทศเนปาล แม้จะต้อง เรียนกับเด็กรุ่นเหลน แต่เด็กๆ ในชั้นเรียนก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ทีไ่ ด้ตอ้ นรับเพือ่ นใหม่ตา่ งวัยคนนี้ - Reuters / Navesh Chitrakar


FEAture

The Last Presents, The Endless Memories เรื่อง : กองบรรณาธิการ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง สไตลิสต์ : มิ่งขวัญ รัตนคช

เป็นธรรมเนียมทีเ่ มือ่ ถึงฉบับท้ายๆ ของทุกปี นิตยสาร a day BULLETIN มักจะรวบรวมเรือ่ งราวทีน่ า่ สนใจทีเ่ ราได้นา� เสนอ มาตลอดทั้งปี เพื่อเป็นการมองย้อนกลับไปว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา เราได้ร่วมท�าอะไรที่มีความหมายให้เกิดขึ้นบ้าง และเมื่อเราลองมองย้อนกลับไป ก็พบกับช่วงเวลาแห่งการสูญเสียครั้งใหญ่ของคนไทย ที่ต้องสูญเสียพระมหากษัตริย์ ผู้เป็นที่รักยิ่งไปในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 หลังจากนั้นอีกตลอดทั้งเดือนที่เราได้ร่วมแสดงความอาลัยโดยการจัดท�านิตยสาร a day BULLETIN ฉบับพิเศษ จ�านวนทั้งสิ้น 9 ฉบับ ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปมองยังกระบวนการเบื้องหลังของการน�าเสนอ เนื้อหาในช่วงเวลานั้น พวกเราก็ตระหนักได้ว่า พระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงท�าไว้นั้น เปรียบได้ดั่งของขวัญที่พระองค์ทรงมอบให้แก่คนไทยตลอดกาลนาน แม้ในวันนี้พระองค์จะไม่ได้อยู่กับเราแล้วก็ตาม a day BULLETIN ก็อยากจะถือโอกาสส�าคัญแห่งปี ในการเชิญชวน ให้ทุกคนได้ร่วมกันแกะกล่องของขวัญชิ้นสุดท้าย ที่ ‘พ่อ’ ทิ้งเอาไว้ให้เรา และในยามที่แกะของขวัญ เราอยากให้คุณน้อมน�า สิ่งเหล่านั้นมาเป็นพลังในการด�าเนินชีวิตต่อไปในปีหน้า รวมถึงปีต่อๆ ไป


ของขวัญกล่องที่ 1 : ภาษา วรรณกรรม และคุณูปการด้านการศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษั ต ริ ย ์ นั ก อั ก ษรศาสตร์ พระเกี ย รติ คุ ณ ด้ า นวรรณศิ ล ป์ จึ ง เป็ น ทีป่ ระจักษ์ชดั จากภาษาและถ้อยค�าซึง่ ปรากฏทัง้ ในผลงานวรรณกรรม หรือในพระบรมราโชวาทและพระราชด�ารัสในโอกาสต่างๆ พระอัจฉริยภาพด้านภาษาของพระองค์นั้น ปรากฏแก่สายตา ชาวไทยหลายต่อหลายวาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชนิพนธ์เรื่อง ‘พระมหาชนก’ ทีท่ รงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จดั พิมพ์เนือ่ งในโอกาส การจัดงานฉลองสิรริ าชสมบัตคิ รบ 50 ปี ในปีพทุ ธศักราช 2539 ถือเป็น พระราชนิพนธ์ทสี่ า� คัญยิง่ ส�าหรับคนไทย พระองค์ทรงสอดแทรกสัจธรรม ในตัวละครพระมหาชนกที่ได้เพียรพยายามอุตสาหะอดทนว่ายน�้ า โต้คลืน่ ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ทมี่ องไม่เห็นฝัง่ ซึง่ ผูอ้ า่ นจะได้แง่คดิ และร�าลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ได้ทรงฝ่าฟัน อุปสรรคนานัปการตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิรริ าชสมบัติ เพือ่ ให้ ประชาชนชาวไทยได้อยู่เย็นเป็นสุข ตลอดจนได้ทรงแนะแนวทาง ที่คนไทยทุกคนสามารถด�ารงชีวิตได้ด้วยความพากเพียรโดยไม่ท้อแท้ ส่วนพระราชนิพนธ์เรื่องต่อมาคือ ‘เรื่อง ทองแดง’ หรือ ‘The Story of Tongdaeng’ เปิดตัวในปีพุทธศักราช 2545 ทรงกล่าวถึงความซื่อสัตย์ และความฉลาดแสนรู้ของสุนัขทรงเลี้ยง ‘คุณทองแดง’

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีผลงานแปลหนังสืออีก 2 เรื่อง คือ นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ (A Man Called Intrepid) และ ติโต (Tito) โดยมีกระแสรับสั่งถึงวรรณกรรมทั้งสองเรื่องว่า “อยากให้คนไทยเห็นว่าถ้าเราท�าดี เราจะไม่เป็นเหมือนเขา” โดยเฉพาะเรื่อง ติโต ของ ฟิลลิส ออตี (Phyllis Auty) นั้นเป็น เรื่องราวชีวประวัติของอดีตประธานาธิบดีแห่งยูโกสลาเวีย ติโต หรือ โยซิป โบรซ ผู้ที่ต่อสู้เพื่อชาติซึ่งถูกคุกคามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากจะแสดงให้ประจักษ์ถึงพระอัจฉริยภาพในการแปลแล้ว ยัง ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้คนไทยได้รู้จักเรื่องราวของมหาบุรุษโลก อีกด้วย โดยขัน้ ตอนการแปลของพระองค์นนั้ จะทรงอ่านรวดเดียวจนจบ ว่าผู้เขียนต้องการสื่อความคิดใด แล้วจึงทรงอ่านรายละเอียดซ�้าทีละ ตอน เพื่อถ่ายทอดความคิด ทรงใช้เวลามาก เป็นการแปลที่ละเอียด พระอั จ ฉริ ย ภาพด้ า นภาษาและวรรณกรรมของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจที่ส�าคัญส�าหรับ บรรดากวีหรือนักเขียนชาวไทย ที่ยึดเอาพระองค์เป็นแบบอย่างใน การสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าแก่สังคมไทยจนถึงปัจจุบัน มกุฏ อรฤดี ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ แห่งส�านักพิมพ์ผีเสื้อ ยังได้เคยให้สัมภาษณ์กับเราภายหลังที่พระองค์ทรงเสด็จสวรรคต

ไปแล้ว ใน a day BULLETIN ฉบับที่ 441 โดยเขาได้กล่าวถึงคุณูปการ ด้านการอ่านและการศึกษาซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง เอาไว้ให้กับคนไทยเอาไว้ว่า “พระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 ทรงคิดเกีย่ วกับเรือ่ งหนังสือและการอ่าน เอาไว้มาก แม้พระองค์จะไม่ค่อยได้ตรัส แต่ก็ทรงท�าให้เห็น อย่าง การที่พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความส�าคัญของเรื่องความรู้ประชาชาติ ซึ่งก็คือความรู้ที่ทุกคนในชาติควรจะรู้ในเรื่องเดียวกันจึงจะสามารถ สื่อสารกันรู้เรื่อง จึงได้เกิดโครงการหนังสือชุด ‘สารานุกรมไทยส�าหรับ เยาวชน’ ออกมาในปี พ.ศ. 2515 ที่ทา� และแจกจ่ายไปตามโรงเรียน ต่างๆ เมือ่ พระองค์อยากจะบอกว่าการแปลหนังสือนัน้ ส�าคัญ พระองค์ จึงได้แปลหนังสือเรื่อง ติโต เมื่อพระองค์อยากจะบอกว่าการเขียน วรรณคดีส�าคัญ จึงทรงนิพนธ์ พระมหาชนก พระองค์อยากจะบอกว่า หนังสือเด็กส�าคัญ จึงทรงประพันธ์ เรื่อง ทองแดง ถ้าเราเฝ้าดูให้ดีถึง สิ่งที่พระองค์ทรงท�าเกี่ยวกับหนังสือ เราจะเข้าใจได้เลยว่า พระองค์ ท่านทรงเข้าใจระบบหนังสือ และทรงท�าให้เห็นเป็นแบบอย่าง” ที่มา : เอกกษัตริย์ อัจฉริยะ, พรจากพ่อ : ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพ, การอภิปราย ‘ในหลวงของเรา’ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ใน Thaicoon ฉบับเดือนมกราคม 2550, a day BULLETIN ฉบับที่ 441


ของขวัญกล่องที่ 2 : ดนตรีและเสียงเพลงจากพระอัจฉริยภาพด้านการดนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรี ทรงเป็นคีตกวีและนักดนตรีที่ชาวโลกต่าง ยกย่อง พระองค์ทรงเริม่ เรียนดนตรีตงั้ แต่มพี ระชนมายุเพียง 13 พรรษา ขณะทีป่ ระทับอยูท่ ปี่ ระเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเรียนการเป่าแซกโซโฟน วิชาการดนตรี การเขียนโน้ต และการบรรเลงดนตรีสากลต่างๆ ในแนว ดนตรีคลาสสิกเป็นเบื้องต้น ต่อมาจึงเริ่มฝึกเล่นดนตรีแจ๊ซ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเครื่องดนตรีได้ดี หลายชนิด ทั้งประเภทเครื่องลม เช่น แซกโซโฟน คลาริเนต และ ประเภทเครื่องทองเหลือง เช่น ทรัมเป็ต รวมทั้งเปียโน และกีตาร์ ทีท่ รงฝึกเพิม่ เติมในภายหลัง เพือ่ ประกอบการพระราชนิพนธ์เพลง และ เพือ่ ทรงดนตรีรว่ มกับวงดนตรีสว่ นพระองค์ ทรงเริม่ พระราชนิพนธ์เพลง เมือ่ มีพระชนมายุได้ 18 พรรษา ในปีพทุ ธศักราช 2489 ทรงพระราชนิพนธ์ ท�านองเพลง ‘แสงเทียน’ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก และจนถึง ปัจจุบันมีเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น 48 เพลง ทุกเพลงล้วนมีทา� นอง ไพเราะประทับใจผูฟ้ งั และเป็นส่วนส�าคัญส่วนหนึง่ ในชีวติ คนไทย เช่น ในยามที่บ้านเมืองไม่สงบสุข ก็พระราชทานเพลงปลุกใจเพื่อเป็นขวัญ และก� า ลั ง ใจแก่ ข ้ า ราชการ ทหาร พลเรื อ น และประชาชน ผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติ มิให้เกิดความย่อท้อในการท�าความดี

ต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ต่อตนเองและสังคม นักดนตรีคลาสสิกชัน้ น�ารุน่ ใหม่แห่งวง ‘วีทรีโอ’ และ ‘Jeeb Ensemble’ ได้เคยให้สัมภาษณ์กับเราเอาไว้ใน a day BULLETIN ฉบับที่ 439 ถึงพระอัจฉริยภาพ และเพลงพระราชนิพนธ์ที่เปรียบดังของขวัญแห่ง เสียงเพลงที่พระองค์ได้ทรงทิ้งไว้ให้กับปวงชนชาวไทยว่า “พวกเราต่ า งคุ ้ น เคยกั บ เพลงพระราชนิ พ นธ์ กั น มาตั้ ง แต่ เ ด็ ก ส�าหรับพวกเรา เพลงพระราชนิพนธ์ทั้ง 48 เพลงนั้นเปรียบเสมือน เพลงคลาสสิกของไทยก็วา่ ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ท่านทรงมี พระอัจฉริยภาพทางด้านการดนตรี ไม่วา่ จะเป็นเพลงคลาสสิกหรือแจ๊ซ ซึง่ หากพอจะทราบพระราชประวัตขิ องพระองค์ทา่ น ก็คงพอจ�ากันได้วา่ พระองค์ทา่ นทรงศึกษาดนตรีคลาสสิกมาก่อนแจ๊ซ ด้านความสามารถ ในการประพันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์เพลงออกมาหลากหลายสไตล์ ไม่ว่าจะเป็นเพลงคลาสสิก แจ๊ซ เพลงมาร์ช หรือเพลงส�าหรับเทศกาลอย่าง พรปีใหม่ เพลงประจ�าสถาบัน อุดมศึกษาอย่าง มหาจุฬาลงกรณ์, เกษตรศาสตร์ และ ยูงทอง ท่านก็ทรงแต่ง ซึ่งเมื่อย้อนไปในช่วงเวลานั้น สไตล์เพลงที่คนไทย ส่วนใหญ่ฟังไม่ใช่แบบนี้ แต่เมื่อพระองค์นิวัตประเทศไทย ก็ทรงน�า ดนตรีแนวนี้กลับมาประยุกต์และประสบความส�าเร็จมากๆ

“ในฐานะนักประพันธ์ เพลงที่ท่านทรงแต่งนั้นยอดเยี่ยมมาก ท่านไม่ใช่นักประพันธ์เพลงธรรมดา แต่เป็นระดับนักปราชญ์ ซึ่งเวลา ที่พวกเราไปแสดงคอนเสิร์ตที่ต่างประเทศก็มักจะมีโอกาสได้เล่นเพลง พระราชนิพนธ์กนั อยู่เสมอ เมือ่ คนต่างชาติยงิ่ รู้ว่าเป็นเพลงทีพ่ ระมหากษัตริย์ของไทยเป็นคนแต่งก็ยิ่งทึ่ง ซึ่งท�าให้พวกเราภาคภูมิใจมาก” ไม่เฉพาะคุณค่าด้านดนตรีเพียงประการเดียว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงใช้ดนตรีให้เป็นประโยชน์ทางอ้อมในหลายด้าน อาทิ ในคราวเสด็ จ ฯ เยื อ นต่ า งประเทศ ก็ ท รงใช้ ด นตรี เ ป็ น สื่ อ กระชั บ สัมพันธไมตรีระหว่างนานาประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทรงเห็นว่า นอกจากดนตรีจะให้ความบันเทิงแล้ว ควรจะเป็นสื่อสร้างสรรค์ที่ชักน�าให้คนเป็นคนดีของประเทศชาติและ สังคม ดังพระราชด�ารัสตอนหนึ่งว่า “...การดนตรีจึงมีความหมายส�าคัญส�าหรับประเทศชาติส�าหรับ สังคม ถ้าท�าดีๆ ก็ทา� ให้คนเขามีก�าลังใจจะปฏิบตั งิ านการ ก็เป็นหน้าที่ ส่วนหนึง่ ทีใ่ ห้ความบันเทิง ท�าให้คนทีก่ า� ลังท้อใจมีกา� ลังใจขึน้ มาได้ คือ เร้าใจได้ คนก�าลังไปทางหนึ่งทางที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจจะดึงกลับมา ในทางที่ถูกต้องได้...” ที่มา : www.kingramamusic.org, a day BULLETIN ฉบับที่ 439


ของขวัญกล่องที่ 3 : โครงการในพระราชด�าริ ที่พระองค์เสด็จพระราชด�าเนินไปทั่วประเทศไทย ภาพที่คนไทยคุ้นตาที่สุดตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 คือภาพที่พระองค์เสด็จ พระราชด�าเนินไปประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อบ�าบัดทุกข์บ�ารุงสุข ของพสกนิกรชาวไทยทัว่ ทุกพืน้ ทีข่ องประเทศ ไม่วา่ จะเป็นพืน้ ทีท่ รุ กันดาร หรือแม้แต่พนื้ ทีเ่ สีย่ งภัยก็มไิ ด้ทรงย่อท้อ โดยอุปกรณ์ประกอบพระราชกรณียกิจที่ทรงขาดไม่ได้คือ วิทยุสื่อสาร กล้องถ่ายรูป และแผนที่ และในยามที่เสด็จพระราชด�าเนินไปทรงงานยังต่างจังหวัดนั้น เหล่าผูท้ เี่ คยตามเสด็จต่างก็ทราบกันดีวา่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 ไม่เคยทรงแสดงความย่อท้อให้เห็น แม้ว่าสถานที่นั้นจะ เข้าถึงยากล�าบากเพียงใดก็ตาม คุณเทวินทร์ จรรยาวงษ์ อดีตช่างภาพ ผู้เคยตามเสด็จอยู่นานหลายสิบปี ได้กล่าวถึงความประทับใจใน พระจริยวัตรของพระองค์ท่านให้เราฟังในฉบับที่ 437 ว่า “ในหลวงพระองค์นไี้ ม่เหมือนกับองค์ทอี่ ยูก่ รุงเทพฯ คือทีก่ รุงเทพฯ ซึ่งเราเห็นตามงานพระราชพิธีต่างๆ นั้นทรงด�าเนินพระบาทตามปกติ แต่เมื่ออยู่ในป่าหรือบนเขา พระองค์จะเป็นคนที่แข็งแรงและทรงเดิน ได้เร็วมากจริงๆ อย่างตัวผมเองนี่ตามท่านไปทีแรกๆ ยังนึกตกใจว่า นี่เดินไกลและล�าบากกันขนาดนี้จริงๆ หรือ “เคยมีครั้งหนึ่งที่นายต�ารวจในพื้นที่ซึ่งติดตามไปด้วยทนเหนื่อย ไม่ไหวต้องลงไปนอนกองกับพื้น และอาเจียนออกมา แต่ในหลวงท่าน

ก็ยังทรงเดินอยู่น�าหน้าขบวน แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเตรียม พระวรกายมาเป็นอย่างดีเยี่ยมเพื่อปฏิบัติพระราชกรณียกิจ รวมถึง ข้าราชบริพารทีต่ ดิ ตามใกล้ชดิ ด้วยก็เช่นกัน ทัง้ หมดนีก้ เ็ พือ่ จะได้เสด็จ พระราชด�าเนินไปเยี่ยมเยือนราษฎรได้ในทุกพื้นที่ไม่ว่าจะต้องทรง ล�าบากพระวรกายขนาดไหนก็ตาม” เช่นเดียวกับ พัชรินทร์ เศวตสุทธิพันธ์ อดีตบรรณาธิการและ ผู้เชี่ยวชาญข่าวพระราชส�านักของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท. ที่เคย ติดตามเสด็จ ก็เล่าให้เราฟังใน a day BULLETIN ฉบับเดียวกันนั้นว่า “ระหว่างทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงงาน ก็จะทรงเดินทาง เข้าไปให้ถึงพื้นที่ เพื่อศึกษาและรับฟังปัญหาจากราษฎรโดยตรง เดิน กันวันหนึง่ ๆ ตัง้ แต่เช้าจรดเย็น บางคนอาจจะสงสัยว่าท�าไมเวลาเสด็จ เยี่ยมเยือนราษฎรจึงมักจะเป็นตอนบ่าย หรือเพราะพระองค์ท่าน ทรงตื่นสาย จะบอกนะคะว่าท่านรับสั่งว่า ถ้าเราจะไปช่วยเหลือเขา ต้องอย่าท�าให้เขาเดือดร้อน ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะท่านทรงทราบดีว่า ชาวนาชาวไร่เขาตื่นกันตั้งแต่ตี 4 ตี 5 เพื่อไปท�านาท�าไร่กัน กว่าจะ เสร็จกลับมากินข้าวกลางวัน อาบน�า้ อาบท่า พักได้สกั ครูห่ นึง่ พระองค์ ท่านจึงค่อยไปเยี่ยม โดยกะเวลาไปให้ถึงช่วงเวลานั้น” หนึ่งในภาพความประทับใจมิรู้ลืม คือเมื่อครั้งตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพฯ ลงตรวจพื้นที่ซึ่งเป็นป่ารก

ในหน้าฝนที่มีความชื้นสูง และเต็มไปด้วยทาก ขณะออกจากป่า คณะผู้ติดตามเลิกขากางเกงดู ปรากฏว่าเจอกันหมดทุกคน “สมเด็จพระเทพฯ ทรงเลิกขาพระสนับเพลาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ปรากฏว่ามีทากเกาะอยูเ่ ต็มขาพระองค์ทา่ นทัง้ สองข้างเลย จนสมเด็จพระเทพฯ ทรงไปขอบุหรี่ของทหารมาจุดแล้วจี้ไปที่ตัวทาก จึงดึงออกได้ พระโลหิตไหลออกมาจนต้องเช็ดออก “มีประโยคหนึ่งที่พสกนิกรถามว่า ท�าไมพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงต้องเหนื่อยยากล�าบากถึงขนาดนี้ ท�าไมท่านจะต้องไปยังพื้นที่ ซึ่งขนาดคนธรรมดาสามัญอย่างเรายังไม่คิดจะไป หรือเราอาจจะไป ไม่ถงึ ด้วยซ�า้ แต่พระองค์กเ็ สด็จพระราชด�าเนินไปจนถึง อย่างบางพืน้ ที่ ท่านทรงเสด็จพระราชด�าเนินข้ามเขา 3-4 ลูก พวกเราซึ่งตอนนั้นอายุ ยังน้อยนีย่ งั แทบจะขาดใจเลยนะคะ ขาอ่อนลงไปกองกับพืน้ ถ้าจะถาม ว่าพระองค์ท่านทรงเหนื่อยไหม ตอบได้เลยร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าเหนื่อย แน่นอน แต่พระองค์ท่านก็รับสั่งเองว่าทรงเหนื่อยไม่ได้ เพราะว่าท่าน ยังต้องช่วยเหลือคนไทย พระองค์ท่านทรงรักคนไทยเหลือเกิน” ที่มา : ‘บันทึกความทรงจ�า เรื่อง การสื่อสารของในหลวง’ โดย พลต�ารวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์, a day BULLETIN ฉบับ 437


ของขวัญกล่องที่ 4 : ความดีงามอันเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินทุกแขนง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระอัจฉริยภาพ ในศิลปะแขนงต่างๆ เมือ่ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ส�านักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้นอ้ มเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา ‘อัครศิลปิน’ แด่พระองค์ ณ พระต�าหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต แต่หากพูดถึงกันจริงๆ แล้วคนไทยอาจจะไม่ได้คุ้นเคยกับผลงาน สร้ า งสรรค์ ด ้ า นจิ ต รกรรมของพระองค์ ท ่ า นมากเท่ า กั บ ด้ า นอื่ น ๆ ทัง้ ทีพ่ ระองค์ทรงมีภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์จา� นวนถึง 47 ภาพ สามารถ จ�า แนกได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ แ ก่ ภาพเหมือ นจริง (realistic) เอ็ ก ซ์ เ พรสชั น นิ ส ม์ (expressionism) และศิ ล ปะแบบนามธรรม (abstractionism) ในด้านการถ่ายภาพ ทรงสนพระราชหฤทัยในการถ่ายภาพมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงฝึกฝนด้วยพระองค์เองจน ทรงเป็นนักถ่ายรูปผู้มีพระปรีชาสามารถยิ่ง ทรงสนพระราชหฤทัย ที่จะคิดค้นหาเทคนิคใหม่ๆ ในการถ่ายภาพอยู่เสมอ นอกจากจะทรงสร้างสรรค์งานศิลปะแขนงต่างๆ ด้วยพระองค์เอง แล้ว คุณงามความดีที่พระองค์ได้ทรงกระท� ามาตลอดกาลรัชกาล ยังได้จุดประกายให้ศิลปินแขนงต่างๆ จ� านวนมากทั่วทั้งประเทศ สร้างสรรค์ผลงานเทิดพระเกียรติ โดยมีพระองค์ทรงเป็นแรงบันดาลใจ ดังเช่น ผลงานของศิลปินทั้ง 9 ท่าน ที่ a day BULLETIN น�ามาเป็นปก

ของนิตยสารฉบับน้อมแสดงความอาลัย ตั้งแต่ฉบับที่ 433-441 นั้น ก็เ ป็ นผลงานเพีย งบางส่ ว นของงานศิล ปะจ� านวนมหาศาลที่มีคน สร้างสรรค์ถวายเท่านั้น สุรเดช แก้วท่าไม้ เจ้าของภาพผลงาน ‘ติโต ความทรงจ�าใน บทเพลงพระราชนิพนธ์’ ที่ a day BULLETIN ฉบับ 437 ขอน�าภาพ ของเขามาขึ้นเป็นปก พูดถึงการสร้างสรรค์ภาพพระองค์ท่านว่า “การวาดรูปพระองค์ท่านก็เหมือนกับการเล่นดนตรี ไม่ต่างกับ เพลงของโมสาร์ต หรือบีโธเฟน ที่มีนักดนตรีน�าเพลงของพวกเขา มาเล่นกันทั่วโลก รูปในหลวงก็มีคนเขียนเยอะ ไม่แปลกที่คนดูจะ จับจ้องว่าตรงนีเ้ หมือนหรือตรงนีไ้ ม่เหมือน การวาดรูปของผมจึงใช้แค่ ความเหมือนอย่างเดียวไม่พอ ต้องหานัยยะอื่นมาประกอบ” ส่วนศิลปิน ชุบ นกแก้ว มือรีทชั อันดับต้นๆ ของไทย เจ้าของรางวัล ระดับ Cannes Lion ทีเ่ หล่าผูค้ นในวงการโฆษณารูจ้ กั กันดี ก็สร้างสรรค์ ผลงาน ‘พ่อของแผ่นดิน’ ภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ด้วยเทคนิค การรีทัช ซึ่งปรากฏอยู่บนปกฉบับที่ 438 “ผมรีทชั ต้นไม้ขนึ้ ไปอยูบ่ นภาพภูเขาหัวโล้นทีละต้นๆ จนกลายเป็น ภาพของพระองค์ท่านเหมือนอย่างที่เห็น คอนเซ็ปต์ของภาพนี้มาจาก ที่เราเห็นท่านเสด็จฯ ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจในด้านการเกษตร ด้านป่าไม้ และพลังงาน โดยไม่ว่าจะเป็นพื้นที่แบบไหน เป็นป่าเขา

หรือดอยสูง พระองค์ทา่ นก็เสด็จฯ ไป เหตุผลทีเ่ อาภาพต้นไม้มาใช้เป็น ตัวแทน ก็เพราะเราอยากสื่อว่า ถ้าพระองค์ทรงเดินทางไปที่ไหน ที่นั่นก็จะร่มรื่น ชุ่มชื้น มีความเจริญ” ส่วนภาพ ‘Untitled’ บนปกฉบับที่ 436 งานภาพประติมากรรม พระบรมฉายาลักษณ์สีชมพูสด ในพระอิริยาบถยืนและมีเด็กชาย ก้มกราบอยู่ที่ฝ่าพระบาทนั้น วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ร่วมสร้างสรรค์ ขึน้ มากับ อังคณา ปัน้ ทองค�า ศิลปินสาวเจ้าของลายเส้นประติมากรรม ชิ้นนี้ ซึ่ง ได้ น�า ไปตั้ง ที่โครงการศึก ษาวิธีก ารฟื ้ น ฟู ที่ดิน เสื่อ มโทรม เขาชะงุ้มในพระราชด� าริ จังหวัดราชบุรี วศินบุรีเล่าถึงความรู้สึก เบื้องหลังในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นนี้ว่า “ไม่จา� เป็นต้องท�าสิง่ ทีย่ งิ่ ใหญ่ทจี่ ะมาเปลีย่ นแปลงโลกแบบทันทีทนั ใด แต่ทกุ คนสามารถท�าสิง่ ทีแ่ ตกต่างกันไป ขอแค่เป็นสิง่ ทีด่ ี ทุกคนรักท่าน คิดถึงท่าน ลองเอาความรักความระลึกถึงมาเริ่มต้นท�าอะไรสักอย่าง” ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงเศษเสี้ยวของตัวอย่างผลงานศิลปะ ที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นแรงบันดาลใจ ซึ่งมีอยู่จ�านวนมากมายนับไม่ถ้วน แน่นอนว่าในอนาคตข้างหน้า แม้จะไม่มีพระองค์อีกต่อไป แต่ความดีของพระองค์ก็จะยังคงอยู่ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินต่อไปอีกนานแสนนาน

ที่มา : www.เรารักพระเจ้าอยู่หัว.com, a day BULLETIN ฉบับที่ 436-438


ของขวัญกล่องที่ 5 : สิ่งประดิษฐ์ของพ่อ เมือ่ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีมมี ติเห็นชอบ ทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา ‘พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย’ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ตามที่ส�านักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) เสนอ โดยก�าหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันนักประดิษฐ์ เพือ่ เฉลิมพระเกียรติและเผยแพร่พระเกียรติคณ ุ และเพือ่ ให้ประชาชน เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท เป็นการปลูกฝัง เสริมสร้าง และ ส่งเสริม ให้เยาวชนไทยมีทุนทางสังคมของความเป็นนักประดิษฐ์ คิ ด ค้ น พั ฒ นา และส่ ง เสริ ม นั ก ประดิ ษ ฐ์ ใ ห้ ร ่ ว มมื อ ร่ ว มใจใน การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ สั ง คม ความเจริ ญ และความมั่ น คงของ ประเทศชาติ ทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องการประดิษฐ์เครื่องจักรกลเพื่อใช้ ในการพัฒนาการเกษตรรูปแบบต่างๆ โดยอยู่บนพื้นฐานการใช้ เทคโนโลยีแบบง่ายๆ ใช้ภมู ปิ ญ ั ญาของตัวเอง ใช้วสั ดุภายในประเทศ เน้นความง่ายต่อการใช้งาน การซ่อมบ�ารุง และราคาถูก เช่น เครือ่ งสีขา้ ว กังหันน�า้ ทัง้ ยังทรงออกแบบและต่อเรือใบด้วยพระองค์เอง

พระอัจฉริยภาพทางด้านนี้ปรากฏชัดยิ่งในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เมื่อกังหันน�้าชัยพัฒนาได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิง่ ประดิษฐ์เครือ่ งกลเติมอากาศเครือ่ งที่ 9 ของโลกทีไ่ ด้ รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออก สิทธิบัตรให้แก่พระมหากษัตริย์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็นสิทธิบัตร ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริยพ์ ระองค์แรกในประวัตศิ าสตร์ ชาติไทย และเป็นครั้งแรกของโลก นอกเหนื อ จากผลงานประดิ ษ ฐ์ แ ละพระอั จ ฉริ ย ภาพของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในด้านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ ดั ง กล่ า ว พระองค์ ยั ง ทรงได้ รั บ การสดุ ดี เ ทิ ด พระเกี ย รติ จ าก คณะกรรมการจัดงานบรัสเซลส์ ยูเรกา โดย The Belgian Chamber of Inventors ซึ่งเป็นสมาคมส่งเสริมและคุ้มครองนักประดิษฐ์ ของราชอาณาจักรเบลเยียมที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในยุโรป ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลในปี พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2544 ในช่ ว งที่ ท� า ฉบั บ น้ อ มแสดงความอาลั ย นิ ต ยสาร a day

BULLETIN ได้น�าเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับโครงการในพระราชด� าริ หลากหลาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีข องพระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู ่ หัว รัช กาลที่ 9 เอาไว้หลายฉบับ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งการท�าฝนหลวง กังหันน�า้ ชัยพัฒนา แกล้งดิน แก้มลิง ฯลฯ เราพบว่าในการด�าเนินการโครงการพระราชด�าริต่างๆ นั้น นอกจากพระปรีชาสามารถแล้ว พระองค์ยังท่านต้องทรงอุตสาหะ ศึกษาปัญหาให้มีความเข้าใจอย่างอย่างถ่องแท้ เพื่อหาหนทาง แก้ไขปัญหา บ�าบัดทุกข์ บ�ารุงสุข ให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง

ที่มา : www.เรารักพระเจ้าอยู่หัว.com


ของขวัญกล่องที่ 6 : วิสัยทัศน์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 นายโคฟี อันนัน ในฐานะ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทลู เกล้าฯ ถวายรางวัลความส�าเร็จ สู ง สุ ด ด้ า นการพั ฒ นามนุ ษ ย์ แด่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รัชกาลที่ 9 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า “เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทย และนานาประเทศ” และเมื่อถึงต้นปี พ.ศ. 2550 ทางสหประชาชาติก็ได้มีการจัดท�า รายงานการพัฒนาคนกับเศรษฐกิจพอเพียง โดยหยิบยกเรือ่ งเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นประเด็นหลักและเผยแพร่ไปทั่วโลกกว่า 140 ประเทศ ท�าให้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเริม่ เป็นทีร่ จู้ กั และเป็นทีพ่ ดู ถึงในระดับ สากลนับแต่นั้นเป็นต้นมา ดังเราจะได้ยินค�ากล่าวยกย่องจากทั้งนักวิชาการและนักปฏิบัติ ทีไ่ ด้รบั การยอมรับในระดับโลกอย่างสม�า่ เสมอเมือ่ คนเหล่านัน้ กล่าวถึง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ ศ. ดร. ปีเตอร์ วอร์ อาจารย์เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ที่เปรียบเทียบเศรษฐกิจพอเพียง กับเศรษฐศาสตร์สีเขียว เชื่อว่าการใช้ทรัพยากรแบบไม่เบียดเบียน และการมี ชี วิ ต อยู ่ อ ย่ า งพอเพี ย งจะเป็ น หนทางสู ่ ค วามสุ ข แท้ จ ริ ง ในขณะที่ ศ. ดร. วูล์ฟกัง ซัคส์ ผู้เชี่ยวชาญประจ�าสถาบันวุพเพิลทอล

เพื่ อ สภาวะอากาศ สิ่ ง แวดล้ อ ม และพลั ง งาน ประเทศเยอรมนี ก็พูดเช่นกันว่า “เศรษฐกิจพอเพียง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งส�าหรับทุกประเทศ ในเวลานี้” ท่ามกลางกระแสบริโภคนิยม และแนวโน้มความเป็นไปในระบบ ทุนนิยมโลก ที่รังแต่จะถ่างช่องว่างและสร้างปัญหาให้กับประชากร ชาวโลก จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่หลายๆ คนจะเห็นพ้องต้องกันว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหนทางรอดส�าหรับอนาคตของโลก ในนิตยสาร a day BULLETIN ฉบับที่ 441 เพื่อน้อมแสดงความอาลัยล�าดับสุดท้าย เราได้นา� เสนอเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการสัมภาษณ์ ‘อาจารย์ยักษ์’ - ดร. วิวัฒน์ ศัลยก�าธร ประธาน มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งกล่าว ถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้อย่างน่าสนใจว่า “ปัญหาคือ คนทัว่ ไป เวลาเห็นคนอืน่ รวย ก็อยากจะรวยเหมือนเขา เขาปลูกยางรวย ก็พากันปลูกตาม ตอนนี้เราจะเห็นเลยว่ามีกระแส เรื่องการท�านาก�าลังมา ต้องมีที่นา 3 ไร่ ถ้าใครไม่มี เชย ก็เลยเห็นคน แห่ไปท�านากัน เขาถึงเรียกว่า 3 ไร่ใกล้เกษียณ เพราะคนอยากเกษียณ

มีรายได้ปีละ 3 ล้านบาท ต้องท�านา 3 ไร่ เป็นกระแสที่ก�าลังมา และ เป็นเช่นนีท้ วั่ โลกไม่ได้เป็นเฉพาะบ้านเรา ก็เหมือนตอนนีก้ ระแสสตาร์ทอัพ ก�าลังมาแรง เด็กรุ่นใหม่ก็อยากท�าตาม คือเทรนด์มันเป็นแบบนั้น “ปั ญ หาใหญ่ ที่ สุ ด คื อ การท� า โดยไม่ มี ค วามรู ้ ใ นเรื่ อ งนั้ น จริ ง หลายคนอยากปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ค�าถามคือ คุณรู้จักค�าว่าพอเพียงในมิติที่รอบด้านจริงหรือเปล่า พระองค์ท่านใช้ ค�าว่า รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง สามค�านี้เป็นค�าที่ทรงใช้บ่อยมาก ความพอเพียงมีมติ ขิ องปรัชญา Philosophy แปลว่า ความรักในความรู้ คนในประเทศนี้ยังแยกทฤษฎีกับปรัชญาไม่ออก เอาปรัชญาไปสอน แปลงปรัชญาไปสู่การปฏิบัติเลย” คงเป็นการยากทีจ่ ะอธิบายเกีย่ วกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ชัดเจนได้ในพื้นที่อันจ�ากัดเช่นนี้ แต่หากผู้ที่สนใจใน ‘ของขวัญ’ ชิ้ น นี้ ก็ ข อให้ ศึ ก ษา ทดลอง และน้ อ มน� า ไปใช้ กั บ ชี วิ ต ของตน เพื่อจะได้พบกับความสุขที่แท้จริงตามแนวทางที่พระองค์ได้มอบไว้ ให้กับประชาชนคนไทยทั้งปวง ที่มา : www.suffiffiiciencyeconomy.com, a day BULLETIN ฉบับที่ 441


SEIZE THE MOMENT themomentum.co


a day BULLETIN in 2016 หนึ่ ง ปี ผ ่ า นไปอี ก ครั้ ง แล้วก็เป็นธรรมเนียมของเรา ทีไ่ ด้โอกาสทบทวนถึงผลงาน ทีเ่ ราได้นา� เสนอให้กบั ผูอ้ า่ น มาตลอดทั้ ง 52 สั ป ดาห์ ซึ่งแต่ละปกนั้นก็สะท้อนถึง ความสนใจของสั ง คมใน ช่วงเวลานั้นได้เป็นอย่างดี เราจึ ง ชวนคุ ณ มาส� า รวจ ความเป็ น ไปของปี 2016 ไปด้วยกัน กับบทสัมภาษณ์ ทีเ่ ราเลือกสรรมาฝากเหล่านี้

BEST IN ME

‘พิมพ์’ - พิมพ์มาดา บริรักษ์ศุภกร

AS SIMPLE AS THAT ‘จอร์จ’ - ธาดา วาริช

ISSUE 389

NEW YEAR WISDOM 2016 ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา

“ก่อนที่คุณจะตั้งเป้าหมายต่างๆ อย่างที่คนชอบ ท�ากันตอนปีใหม่ คุณต้องหาจุดให้เจอก่อนว่าทิศทาง ที่คุณจะไปคือทางไหน ทิศทางเป็นสิ่งที่ส�าคัญที่สุด ประเทศไทยตอนนี้เหมือนไม่มีทิศทาง เถียงกันไปโดย ไม่รจู้ ะไปทางไหน แล้วคุณก็ไปเถียงกันเรือ่ งยุทธศาสตร์ เถียงกันเรือ่ งเทคนิค จะร่างรัฐธรรมนูญยังไง โดยทีค่ ณ ุ ยังไม่รู้เลยว่าสังคมที่อยากเห็นเป็นอย่างไร”

ถ้ ำ ถำมย้ อ นไปถึ ง ประสบกำรณ์ ที่ คุ ณ ท� ำ งำนที่ IMF อยำกจะทรำบว่ำควำมน่ำกลัวที่มำกกว่ำเศรษฐกิจล้มเหลว และควำมยำกจนคืออะไร โจทย์ที่ส�าคัญคือ จะท� าอย่างไรให้สถาบันส� าคัญๆ ของ ประเทศยืนอยูไ่ ด้ สภาวะเศรษฐกิจทีเ่ ป็นวัฏจักรมีขนึ้ มีลง บางช่วง ก็อาจจะยาวหน่อย บางทีเป็น 20-30 ปี แต่ถ้าประเทศไหนใช้ นโยบายผิดพลาดก็จะท�าให้วิกฤตกลับมาบ่อย ต้องเจอกับขาลง ถี่หน่อย แต่โจทย์ใหญ่ที่ส�าคัญกว่ามากคือ ต้องไม่ทา� ลายสถาบัน หลักๆ ของประเทศ หลายๆ ประเทศที่เจอวิกฤตไม่สามารถดึงกลับมาได้เพราะว่า สถาบันหลักถูกท�าลายไปด้วย เช่น รัฐบาลในบางประเทศใช้วิธีทา� นโยบายประชานิยม แบบหลับหูหลับตาท�า และท�าเพื่อให้ตัวเองได้รับคะแนนเสียง เพื่อที่จะอยู่ได้นานๆ

ISSUE 402

ISSUE 392

ISSUE 391

VISION FOR TOMORROW

เอำเข้ำจริง พอต้องเจอตัวเอง ในรูปแบบนัน้ ควำมเข้ำใจที่ คุณมีตอ่ ‘ควำมสวยควำมงำม’ เปลีย่ นไปบ้ำงไหม ไม่เปลี่ยน เราก็ยังไม่เคย มองว่าแบบนี้คือสวย ช่วงนั้น ไม่กล้ามองกระจกอยู่นานมาก สภาพทีผ่ มร่วงในวันนัน้ มันไม่ได้ ร่วงจนเกลี้ยง มันร่วงแล้วเหลือเป็นหย่อมๆ เปรียบเทียบ ให้เห็นภาพก็เหมือนกับลูกลิงชิมแปนซี ตอนนัน้ อยากจะ หยิบกล้องมาถ่ายรูป จะได้เก็บทุกโมเมนต์ทเี่ ราเป็น ตัง้ ใจ ว่าจะเขียนไดอารี แต่มอื มันสัน่ ถ่ายไม่ลง ร้องไห้และคิด กับตัวเองว่า เรื่องทั้งหมดนี่มันไม่จริงใช่ไหม คือร้องไห้ หนั ก มาก จนแม่ ต ้ อ งเข้ า มาปลอบให้ เ ราใจเย็ น ขึ้ น ให้ เ ข้ า ใจว่ า เรารู ้ ตั้ ง แต่ แ รกอยู ่ แ ล้ ว ว่ า จะต้ อ งเจอ สภาพแบบนี้ เราก็ตอ้ งยอมรับมัน ก็เลยไม่สอ่ งกระจกอยู่ พักหนึ่ง ไม่ถ่ายรูป ไม่อะไรเลย จนมาถึงวันที่โกนผม เพือ่ นมาโกนให้ คือภาพทีเ่ ห็นกันในข่าวแหละค่ะ โกนไป ร้องไห้ไป เดีย๋ วร้องไห้ เดีย๋ วหัวเราะ เดีย๋ วยิม้ วนอยูอ่ ย่างนั้น

ดอกเตอร์ วิรไท สันติประภพ

เครือ่ งมือทีส่ ำ� คัญ ที่สุดส�ำหรับช่ำงภำพคืออะไร คือหลายครั้งที่ ผมให้ สั ม ภาษณ์ ผมไม่เคยให้ความส�าคัญกับอุปกรณ์ เลย พวกบริ ษั ท กล้ อ งนี่ โ คตรเกลี ย ดผมเลย แล้ ว ผมไม่ โฆษณาให้ใครด้วย เพราะเครือ่ งมือทีส่ า� คัญ ส�าหรับช่างภาพก็คือตัวเราเอง ผมว่าสิ่งที่ ช่างภาพต้องมีคือความแม่นย�า กระชับใน ระบบความคิ ด และการกระท� า และมี มารยาท ผมไม่รวู้ า่ อันนีม้ นั มาได้ยงั ไงนะ คือ เราไม่รู้ว่าทีมอื่นเขาท�าอะไรยังไงกันบ้าง แต่ชว่ งหลังผมพยายามคุยกับรุน่ น้องๆ มากขึน้ ฟังปัญหาเขา แล้วรู้สึกว่า อ้าว ท�าไมเป็น แบบนัน้ ล่ะ คือบางคนเขารูส้ กึ เหมือนเขาซือ้ เวลานางแบบมา เขาคิดว่านางแบบเป็น ทาสรับใช้ แล้วปัญหาก็กลับมาว่า พี่สื่อสาร ยังไง ท�าไมเขาท�าตามพี่ แต่ทา� ไมไม่ทา� ตามผม เราก็เลยฟังเขา ซึง่ เขาบอกว่า เนีย่ ผมสัง่ เขา แต่เขาไม่ทา� ตาม เราก็เลยรูส้ กึ ว่า อ๋อ กลายเป็น ว่าไม่ใช่เรื่องของอุปกรณ์ใดๆ หรอกที่เป็น อุปสรรคของพวกเขา แต่เป็นทัศนคติของเขาเอง คุณต้องท�าความเข้าใจว่าทุกคนเป็นคนเท่าๆ กัน ไม่มใี ครชอบโดนสัง่ โดนบังคับ มันง่ายๆ เพี ย งแค่ คุ ณ เปลี่ ย นวิ ธีก ารที่ คุ ณ สื่ อ สาร กับเขา แต่ถา้ คุณมองว่าเขาเป็นสินค้า มันก็จบ แค่นั้นเอง

มองย้ อ นกลั บ ไป ถื อ ว่ ำ ในชี วิ ต คุ ณ พลำดหลำย อย่ำงไหม ก่ อ นวิ ก ฤตผมแม่ ง โคตร อวดเก่งเลย เพราะอายุน้อย พอท�าเบเกอรี่ฯ ส�าเร็จ เรานึก ว่ า เราจะใหญ่ ก ว่ า แกรมมี่ โคตรโง่เลย (หัวเราะ) แล้วตอน เจอวิกฤต โอ้โฮ มันของจริง ถ้าให้ผมย้อนเวลา ผมก็คง ไม่แก้ไขอะไร เพราะวิกฤตตรงนั้นมันท�าให้ผมเรียนรู้ การเป็นนักธุรกิจเลย รูเ้ ลยว่าเงินมันเข้ามาแล้วก็ออกไป เงินเราเคยมีเป็นหลักร้อยล้าน จนถึงวิกฤตเรามีหนี้สิน เกือบร้อยล้าน แต่มองย้อนกลับไปมันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ เกิดขึน้ กับผม มันท�าให้ผมเรียนรูอ้ ะไรมากมาย รูว้ า่ เงิน มันจะเข้ามาเมื่อไหร่หรือออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ ท�าให้เรา เข้าใจธุรกิจมากขึ้น ISSUE 400

LEARN TO FIGHT AND BALANCE ‘สุกี้’ - กมล สุโกศล แคลปป์


ISSUE 403

99 GOLDEN WISDOMS นายแพทย์เฉก ธนะสิริ

“ผมแทบไม่มี เรื่ อ งที่ เ สี ย ดาย ในชี วิ ต เพราะ ผมวางแผนไว้ หมดทุ ก อย่ า ง ผมเริ่ ม ต้ น ดู แ ล สุขภาพมาตัง้ แต่ ยั ง อายุ น ้ อ ยๆ วางแผนทุกอย่างตัง้ แต่การออกก�าลังกาย การกินอาหาร และพักผ่อนนอนหลับ เรื่องที่เสียดายเกือบจะไม่มี เพราะชีวิต มันคือการวางแผน ผมวางแผนไว้ตั้งแต่ หนุ ่ ม ๆ และมั น เป็ น ไปตามแผนหมด ทุกอย่าง หนังสืองานศพก็มี ความหมาย ของการมี ห นั ง สื อ งานศพของตั ว เอง คื อ การเตรี ย มตั ว เตรี ย มใจ พู ด ง่ า ยๆ ว่าเตรียมพร้อมทุกอย่างไว้แล้ว คนเขียน ค�าไว้อาลัยให้เสร็จสรรพเรียบร้อยหมด”

ก ำ ร เ ดิ น ท ำ ง ไม่ ใ ช่ ชี วิ ต จริ ง หมำยควำมว่ ำ อย่ำงไร การเดิ น ทาง คื อ การออกจาก ความซ�้าซากจ�าเจ ในชี วิ ต จริ ง แต่ สุ ด ท้ า ยเราต้ อ งกลั บ มาใช้ ชี วิ ต จริ ง อยู ่ ดี แต่ ว ่ า มิ ติ ที่ เ ป็ น ชี วิ ต จริ ง ของผมในการเดินทางก็คือ การเตรียมกล้อง โหลดไฟล์ ประสานงาน จ่ายเงิน (หัวเราะ) แลกไมล์ ให้พอ คือเป็นเรือ่ งการจัดการทีเ่ หนือ่ ยมาก อย่างที่รู้ว่าผมเพิ่งกลับมาจากทะเลทราย แต่กว่าจะไปถึงผมปวดหัวมาก เพราะมี หลายเรื่องต้องจัดการ ขณะที่คนภายนอก ก็ จ ะมองการเดิ น ทางของผมเป็ น เรื่ อ ง สวยงามมากๆ ซึง่ ในแง่หนึง่ ผมก็รสู้ กึ ว่ามัน เป็นก�าไรของชีวติ มากๆ เช่นกัน แต่อย่าเอา มันไปตัง้ ไว้วา่ ฝันของชีวติ คือการได้ไปสักที่ หนึ่ง เพราะมันมีราคาและมิติที่เสียไปใน ชีวิตหลายอย่างเหมือนกัน ISSUE 405

GOING OUT AND GROWING UP วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล

มีหลำยเรือ่ งในสังคมทีท่ ำ� ให้เรำรูส้ กึ โกรธ แต่จริงๆ แล้วควำมโกรธอย่ำงเดียวเพียงพอหรือเปล่ำ หรือเรำ จะเปลีย่ นควำมโกรธให้เป็นกำรกระท�ำอะไรสักอย่ำง ได้อย่ำงไร ก็เหมือนกับที่เราด่าคนเวลาเขาลัดคิว แต่ก็ยังเห็น แม่อุ้มลูกลัดคิว แต่เชื่อไหมว่าของพวกนี้หรือที่เรียกว่า ค่านิยมทางสังคมมันจะค่อยๆ เปลี่ยน เราเรียกร้อง คนที่อายุประมาณเรา คนที่ผ่านยุค 80s หรือ 90s ว่า เราต้องท�าอะไรคืนให้กับสังคมบ้างหรือเปล่าวะ เราผ่านยุคปฏิวัติวัฒนธรรมมา เราผ่านแนวเพลง เราผ่านสังคมทีก่ �าลังเปลีย่ นแปลง ส�าหรับคนทีอ่ ายุประมาณ 35-50 ปี ก�าลังมีลกู คุณเคยปาร์ตมี้ า คุณเคยสุดเหวีย่ งมา คุณควรจะเป็นแกนน�า ในการสร้างค่านิยมที่ถูกต้อง คุณก�าลังเริ่มมีลูก คุณต้องสอนว่า ของพวกนี้มัน เสกให้ดีไม่ได้ในชั่วข้ามคืน มันต้องค่อยเป็นค่อยไป เป็นช่วงอายุที่ยังมีแรงที่จะ เปลี่ยนแปลง ไม่ได้รู้สึกแก่ถึงขนาดว่าเดี๋ยวก็ตาย คือไม่รู้สึกแก่เกินไป ยังพอมี แรงในการผลักดันอยู่ ก็เพราะลูกคุณนัน่ แหละ ผมก็คดิ อย่างนีน้ ะว่าถ้าลูกไปน่าน ต่อไปมันจะเหลืออะไรให้เขา ความตกใจมันอยู่ในระดับนั้น ตกลงว่าคุณอยาก ได้สังคมแบบไหน ถ้าวันนี้คนที่อยู่ในวัยประสบความส�าเร็จไม่ได้ก�าลังอยากจะ ท�าอะไรเลย รับฟังไว้เลยนะว่าลูกคุณเป็นคนที่ต้องรับผลนั้นไป นั่นแปลว่ามัน ต้องเริม่ ทีต่ วั คุณ คุณต้องเริม่ บอกก่อน เริม่ สอนเขาก่อน ต้องคิดเสียว่า ไม่เป็นไร ใครจะท�าก็ท�า แต่ลูกคุณต้องไม่ท�า ที่ส�าคัญคือ ห้ามยอม เช่น ใครแซงคิว ต้องบอกให้เขาไปต่อคิว ท�าแบบนี้ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวค่านิยมมันก็เปลี่ยน

ISSUE 411

IT’S NOW OR NEVER สุหฤท สยามวาลา

ISSUE 410

DO WHAT YOU CAN ดอกเตอร์ วิวัฒน์ ศัลยก�าธร

คุณได้เรียนรูอ้ ะไรบ้ำง จำกกำรเดินทำงครัง้ นี้ เราได้เรียนรู้หลายอย่ า งทั้ ง จากภายใน ตั ว เองแล้ ว ก็ ภ ายนอก จากที่รู้สึกว่าเราตัวเล็ก อยู ่ แ ล้ ว เราก็ ยิ่ ง เล็ ก ลงไปอีก เราเป็นแค่หน่วย เล็กๆ ของจักรวาล ไม่ได้มีความหมายอะไรเลย การขึ้นไปถึงยอดเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นชัยชนะ แต่เป็นแค่การที่เราท�าตามความฝันได้ส�าเร็จ และเราต้องไม่ลุ่มหลงกับความส�าเร็จที่ได้มา เพราะการที่เราจะท�าสิ่งสิ่งหนึ่งได้ ตัวเราเป็นแค่ ปัจจัยเดียว มันมีปจั จัยแวดล้อมอีกเยอะ แล้วคน รอบข้างก็สา� คัญมากๆ เราได้รวู้ า่ พลังจากคนอืน่ มันยิ่งใหญ่มาก ท�าให้เราได้รู้ว่าทุกคนรักเรา ขนาดไหน เป็นก�าลังใจให้เราขนาดไหน และ สุดท้ายคือ ได้ท�าสิ่งที่เคยคิดไว้ว่าวันหนึ่งอยาก จะท�าอะไรเพื่อในหลวง และวันนี้เราได้ท�าแล้ว

เป็นไปได้ไหมที่เรำจะสำมำรถ กลับไปหำธรรมชำติ หรือไปหำ ระบบทีเ่ ป็นธรรมมำกกว่ำตอนนี้ ท�าไมจะไม่ได้ ถ้าเราสู้ เราต้อง ท�าความเข้าใจว่า ที่พระเจ้าอยู่หัว เตือน ทีพ่ อ่ เราเตือน มันจริงหรือเปล่า ฟังดูดีๆ เอามาคิดดีๆ เราไม่อยาก ก้าวหน้าอย่างมากเกินไป เพราะถ้า ก้าวหน้าอย่างมาก มันจะถอยหลังเข้าคลองอย่างน่ากลัว อย่าติดต�ารา อย่าเอาตามฝรัง่ ต้องมีมาตรฐานเดียวกันทัว่ โลก เราไปคลั่งไคล้ฝรั่งจนงมงาย หลงมาตรฐานสากลจนงมงาย คุณเข้าใจค�าว่างมงายไหม ไปคิดว่าสิง่ นัน้ เป็นสรณะ เป็นทีพ่ งึ่ ทั้งที่มันไม่ใช่ มาตรฐานของฝรั่งน่ะท�าลายโลก มาตรฐาน ของเรา เราต้องสร้างเอง

ISSUE 412

I DREAM, THEREFORE I DO

‘หมออีม’ - ทพญ. นภัสพร ช�านาญสิทธิ์


ISSUE 418

THE WAY WE LIVE NOW

ISSUE 425

DIVERSITY, EQUALITY, INCLUSION ท่านทูต ไบรอัน จอห์น เดวิดสัน

พระจิตร์ ตัณฑเสถียร

ชี วิ ต ที่ เ รี ย บง่ ำ ยไม่ ไ ด้ หมำยถึงรูปแบบภำยนอก หมำยถึงอย่ำงไร การจะเริ่ ม ต้ น มี ชี วิ ต ที่ เรี ย บง่ า ย มั น อยู ่ ที่ ว ่ า เรามี อะไร และเราต้องการอะไร จากมัน เช่น สมัยก่อนหลวงพี่ ก็มีเงินซื้อข้าวนะ ถ้าไปซื้อ จริงๆ ก็ซื้อได้อยู่แล้ว แต่เราถือว่าเราพอมีเวลาเหลือ และเราอยากใช้เวลานัน้ ไปกับการเคลือ่ นไหว เจริญสติ เพราะฉะนัน้ เราก็ใช้การเคลื่อนไหวนั้นไปกับการท�า อาหาร มันก็เลยลงตัวพอดี ประเด็นคือ เราอยากได้ อะไรจากวิถชี วี ติ นี้ และมีอะไรบ้างทีเ่ ราไม่ยนิ ดีจะเสียไป เช่น เราไม่ยินดีเสียสุขภาพกับเรื่องบางเรื่อง เราก็ หลีกเลีย่ งไป หรือการทานมังสวิรตั ทิ �าให้เรามีความสุข กับการได้รักษาความเมตตาในตัวเองที่จะไม่ทาน สิ่งมีชีวิตเป็นตัวๆ มันตอบโจทย์ที่ท�าให้เราสบายใจ ได้ฝึกฝนตัวเอง ด้วยทรัพยากรที่เรามีอยู่ นั่นคือเวลา เพราะคนอืน่ ทีไ่ ม่มเี วลา เขาอาจจะคิดว่าการท�าแบบนี้ คือภาระก็ได้ นีค่ อื สิง่ ทีห่ ลวงพีบ่ อกว่า มันขึน้ อยูก่ บั ว่า เรามีอะไร และเราจะฝึกอะไร มันตอบโจทย์เราเรื่อง อะไร ถ้าท�าได้ก็จบ ไม่ต้องไปล�าบากพยายามเฟ้นหา ในสิ่งที่เราไม่มี เช่น เราไม่มีเวลา แต่อยากจะได้ใน สิ่งที่ต้องใช้เวลามากมายไปแลกมา มันก็ไม่ลงตัว

ตอนนี้ทั่วโลกพูดกันถึงควำมเท่ำเทียม ควำมหลำกหลำย และกำรอยู่ร่วมกัน ซึ่งก็เป็นประเด็นใหญ่ ทีส่ หรำชอำณำจักรพยำยำมสือ่ สำรอยู่ ส�ำหรับท่ำนทูต สำมค�ำนีม้ คี วำมส�ำคัญอย่ำงไรบ้ำง สามสิ่งนี้เป็นแรงผลักดันที่ส� าคัญมากส�าหรับชีวิตผม เพราะผมรู้สึกว่ากระทรวงการต่างประเทศให้ การสนับสนุนผมมากทั้งในด้านอาชีพการงานและเรื่องส่วนตัว ทั้งการอนุญาตให้แต่งงาน มองหาประเทศที่ เหมาะกับทักษะของผมและครอบครัวของผม กระทรวงฯ ส่งผมมาประจ�าที่ีนี่เพราะง่ายต่อการใช้ชีวิตของ คูแ่ ต่งงานเพศเดียวกัน คนทีน่ ไี่ ม่คอ่ ยประหลาดใจต่อรูปแบบครอบครัวของเรา ไม่มกี ฎหมายทีต่ อ่ ต้าน ในหลาย ประเทศคุ ณ ไม่ ส ามารถเป็ น ทู ต และเป็ น เกย์ ไ ปพร้ อ มกั น ได้ ห รอกนะครั บ ดั ง นั้ น ผมจึ ง เห็ น คุ ณ ค่ า ของ ความหลากหลายในเพื่อนร่วมงานมาก ในฐานะของกลุ่มคนที่เป็นตัวแทนสหราชอาณาจักรในประเทศไทย เราทุกคนสะท้อนภาพที่เปิดกว้างของประเทศเรา

คนมักเห็นแค่ภำพของ โจอี้ บอย ทีไ่ ปชนะกีฬำ ยิ ง ธนู ไ ด้ เ หรี ย ญทอง มำ แต่จริงๆ กว่ำจะไป ถึงจุดนั้นได้ มีอะไรที่ ต้องเผชิญบ้ำง จริงๆ ไม่มีอะไรเลย ครับ มันคือการต่อสู้กับ ตัวเองทุกเรื่อง ทุกสิ่งทุกอย่าง ยิ่งตัวเองเป็น นักร้องมาทัง้ ชีวติ ไม่เคยได้ทา� อย่างอืน่ พอมาเล่น กีฬาหรือท�าอะไรหลายๆ อย่าง ก็จะเริม่ รูว้ า่ ทุกสิง่ ทุ ก อย่ า งเป็ น เรื่ อ งของตั ว เองเป็ น อั น ดั บ แรก เราไม่ได้เกิดมาเพือ่ แข่งกับคนอืน่ แต่เราต้องแข่ง ทีจ่ ะเอาชนะตัวของเราเอง เราคุยกับตัวเองว่ายังไง มีความอยากแค่ไหนที่จะประสบความส�าเร็จ ซึง่ หลังจากนัน้ ก็จะมีกระบวนการทีด่ า� เนินต่อไปเอง คือทุกสิ่งทุกอย่างมันมีล�าดับของมัน ซึ่งผมได้ ‘คีย์’ มาค�าหนึ่งที่ผมรู้สึกว่าจริงๆ การที่คนเราจะ ท�าอะไรสักอย่างให้ดี คือถ้าไม่ท้อจากสองปีแรก ที่เริ่มท�า จะประสบความส�าเร็จในการเป็นอะไร ก็ตามที่อยากจะเป็น

ISSUE 428

LIFE IN FULL SWING ‘โปรเม’ เอรียา จุฑานุกาล

ใ น ก ำ ร แ ข ่ ง ขั น กอล์ฟ อะไรทีท่ ำ� ให้ คุณเอำชนะคู่แข่ง คนอื่นๆ ได้ จริงๆ แล้วเมคิด ว่ามีนักกอล์ฟที่เก่ง เรื่องฝีมือกับเทคนิค กั น อยู ่ เ ยอะนะคะ ซึง่ ตัง้ แต่เมือ่ ก่อนเมก็คดิ ว่าเมก็มอี ย่างนีอ้ ยูแ่ ล้ว แต่สิ่งที่เรามีพัฒนาการมากขึ้นน่าจะเป็น เรือ่ งความคิดมากกว่า เช่น เวลาทีอ่ ารมณ์ไม่ดี คนเรามักจะโฟกัสถึงแต่สิ่งที่ไม่ดี ไม่ใช่แค่ เรือ่ งกอล์ฟนะ แต่เป็นกับทุกเรือ่ ง เรามักจะลืม นึกไปว่ามันยังมีอะไรอีกหลายเรือ่ งทีด่ ๆี อยูใ่ น ชีวิตเสมอ แต่เวลาเราโฟกัสถึงสิ่งที่มันไม่ดี มันก็จะท�าให้สิ่งที่ไม่ดีตามมาตลอด แล้ว ชีวติ เราก็ไม่เคยมีอะไรดีขนึ้ เลย อย่างเช่นช่วง ปีทแี่ ล้ว ทีต่ กรอบ 10 แมตช์ตดิ ต่อกัน ตอนหลัง ก็เลยเปลี่ยนโฟกัส คือถ้าเกิดเราคิดถึงแต่ สิ่งที่มันไม่ดี เมว่ามันไม่มีอะไรดีขึ้น

ISSUE 426

100+ IN EVERY MOMENT ‘โจอี้ บอย’ อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต

เมื่อสักครู่เรำคุยกันถึงเรื่องกำรสร้ำงวัฒนธรรม ใหม่ ถำมว่ำวัฒนธรรมที่ พิเชษฐ กลั่นชื่น ก�ำลัง สร้ำงอยู่คืออะไร สิง่ ทีผ่ มต้องการจะพูดก็คอื ว่า ผมรูส้ กึ ว่าผมถูกข่มขืน กระท�าช�าเราอยู่ และเป็นการข่มขืนแบบซาดิสต์ดว้ ยนะ เขาข่มขืนเราด้วยวัฒนธรรมในแบบที่ให้พวกเราต้อง ยอมรับหรือเชื่อมัน และเราก็พูดอะไรไม่ได้ ดังนั้น วัฒนธรรมทีผ่ มต้องการจะสร้างก็คอื วัฒนธรรมทีท่ กุ คน สามารถมีสว่ นร่วม ทีท่ กุ คนจะสามารถหยิบจับและแบ่งปันได้ และมันก็สามารถ สะท้อนสิ่งที่สังคมด�าเนินและเป็นอยู่ได้... นั่นคือวัฒนธรรมที่เป็นของทุกคน

ISSUE 429

THE QUESTION OF CULTURE พิเชษฐ กลั่นชื่น


ISSUE 425

THAILAND 4.0 ดอกเตอร์ สุวิทย์ เมษินทรีย์

อะไรคือองค์ประกอบที่จะท�ำให้ไทยแลนด์ 4.0 เป็นไปได้จริง อันนี้เป็นค�าถามที่ดีนะ การประกาศเรื่อง ไทยแลนด์ 4.0 ท�าให้รู้ทิศทางแล้วว่าเราจะไป ทางไหน หน้าตาของสิง่ ทีจ่ ะไปให้ถงึ มันเป็นยังไง สิ่งหนึ่งที่จะบอกได้ก็คือ เราสรุปบทเรียนของ 3.0 มาแล้ว ว่าที่ผ่านมาเราชอบพูดแต่เรื่อง อุตสาหกรรม ว่าเราอยากได้อตุ สาหกรรมแบบนี้ แบบนั้น เช่น เมื่อก่อนอยากได้อุตสาหกรรมรถยนต์ เราอยากเป็น ดีทรอยต์ออฟเอเชีย แต่ถามว่า เมือ่ ได้อตุ สาหกรรมนัน้ มาแล้วคนส่วนใหญ่ เขาได้ด้วยหรือเปล่า เมื่อก่อนเราไม่เคยตั้งค�าถาม เราก็เลยตอบไม่ได้ แต่ ณ วันนี้มันไม่ใช่แล้ว ไทยแลนด์ 4.0 ไม่ได้เริ่มด้วยอุตสาหกรรม แต่ขอเริ่มด้วยคน ยกตัวอย่างในภาคเกษตรกรรม เราต้องมาคิดว่า ท�ายังไงให้ชาวนาทีย่ งั ติดอยูใ่ นยุค 1.0-3.0 กลายเป็นสมาร์ตฟาร์เมอร์ให้ได้

ISSUE 449

HERE THE STORY GOES

ISSUE 445

WHAT ONE MAN CAN DO ‘ตูน’ - อาทิวราห์ คงมาลัย

ท� ำ ไมคุ ณ จึ ง เป็ น คนที่ ดู มี พ ลั ง งำนที่ positive ได้ขนำดนี้ ข้ อ ที่ ห นึ่ ง เราอาจจะเจอมาเยอะ ข้อสอง คือเราไม่รสู้ กึ เศร้ามากเหมือนอย่าง ที่คนอ่านรู้สึก แต่เราเข้าใจว่าคุณโตมา ในเจเนอเรชันทีม่ นั มียาแก้ปวดหรือยาต้าน เศร้าไง คุณไม่ได้รับอนุญาตให้เศร้ากับ อะไร เข้าใจที่พูดไหม คือในยุคของเรา ซึมเศร้าเหรอ ก็ซึมเศร้าไปสิ คือในโลกนี้มันควรจะมีคนที่ร่าเริง คนเศร้า คนเฉยๆ ใช่ไหมคะ แต่เดี๋ยวนี้มันไม่มีไง มันมีแต่ภาพว่า เจเนอเรชันใหม่ต้องกินน�้าอัดลมแล้วก็กระโดดโลดเต้นมีความสุข ดูทวี คี ณ ุ ก็เห็นครอบครัวผาสุกนัง่ เรียงกัน ลูกน่ารัก เมียสวย พ่อหล่อ ในความเป็นจริงชะโงกดูข้างบ้านคุณสิ มีที่ไหน ลูกก็เวรตะไล ส่วนพ่อแม่ก็... ใช่ไหมคะ ในความเป็นจริงเราก็แค่อยู่กับมัน จนบางทีเราก็ไม่คิดว่ามันเศร้าหรืออะไรมากมาย

วีรพร นิติประภา

ผู ้ ก� ำ กั บ บำงคนก็ จ ะแบกรั บ ควำมกดดั น ในกำรน� ำ เงิ น ของนำยทุ น มำ ภำพยนตร์จะเจ๊งไหม นำยทุนจะพอใจ ไหม คุณมีควำมรู้สึกตรงนั้นไหม ความรู้สึกแบกรับความรับผิดชอบเรา มีอยู่ตลอด คือมีอยู่ทั้งกับนายทุน ทั้งกับ เพื่อนร่วมงาน ทั้งกับคนดู และก็ทั้งกับ ตัวเองด้วย แต่สุดท้ายแล้วทุกสิ่งที่เราท�า สุดทางแล้วมันคืองานศิลปะชิ้นหนึ่ง เรารู้สึกว่าในฐานะคนท�างาน ศิลปะ สิง่ ทีส่ �าคัญทีส่ ดุ คือความเคารพตัวเองและผูบ้ ริโภค คือการท�างานเต็มที่ในความเป็นศิลปะของทุกสิ่ง ซึ่งแต่ละคนให้ค่าสิ่งนี้ ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะคิดว่าความรับผิดชอบคือการท�าสิ่งที่ คนชอบหรือนายทุนชอบ หรือประสบความส�าเร็จที่สุดในแง่รายได้ แต่สา� หรับเรามันคือความสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่ไม่ประนีประนอมกับ ตัวเอง คือบางครัง้ เราก็รวู้ า่ สิง่ ทีเ่ ราท�ามันอาจจะถูกวิพากษ์วจิ ารณ์ ในแง่ลบ แต่ว่าสุดท้ายแล้วเราจะไม่เซนเซอร์ตัวเอง

ถึงที่สุดแล้วเรำก็ไม่ สำมำรถวิ่งได้ตลอด ทุกวัน หรือวิ่ง 400 กิโลเมตรได้ทกุ เดือน เพือ่ ช่วยใคร ในอนำคต ก็ยงั มีปญ ั หำในสังคม เกิดขึ้นอยู่ คุณมอง ตรงนีอ้ ย่ำงไร ผมไม่ใช่ผวู้ เิ ศษอยูแ่ ล้ว ซึง่ ตลอดมาก็มคี น ในสังคมออกมาท�าบางสิ่งเพื่อช่วยเหลือผู้คน อยูต่ ลอดเวลา แต่ถา้ เราไปคิดแบบนัน้ เราก็จะ ไม่ได้ท�าอะไรเลย คิดว่าเดี๋ยวก็มีปัญหา เราจะ ท�าไปท�าไม เดีย๋ วก็คงมีคนมาท�าเอง หรือเดีย๋ ว อีกปีหนึ่งคนก็ลืมไปแล้วมั้ง ถ้าเราคิดแต่เรื่อง ปัญหา เราจะไม่ได้เริม่ ท�าอะไร เป้าหมายในฝัน ของผมคือ ท�าให้โครงการนี้ไปช่วยบอกต่อ ไปช่วยกระตุน้ เตือนให้กบั คนในพืน้ ทีอ่ กี หลายๆ จังหวัด หลายๆ อ�าเภอ ให้เขาหันกลับไปมอง โรงพยาบาลหลังบ้านเขาว่ามีปญ ั หานีอ้ ยูห่ รือเปล่า และถ้าเขาเป็นคนทีม่ พี ลังประมาณหนึง่ และริเริม่ จะท�าอะไรสักอย่างเพือ่ โรงพยาบาลหลังบ้านเขา อันนี้มันคือปลายทางในฝันที่อยากให้เกิดขึ้น มาก ทีส่ งิ่ ทีเ่ ราท�าสามารถจะต่อยอดออกไปใน อีกหลายๆ ทีท่ มี่ ปี ญ ั หาแบบนีไ้ ด้ หรือว่าผมก็จะ ท�าโครงการตรงนีท้ กุ ๆ ปี ผมตัง้ เป้าไว้อย่างนัน้

ISSUE 450

WORLD WIDE WEIRD

ปราบดา หยุ่น

ISSUE 451

JUST EMBRACE THE MOMENT อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

พอบอกว่ำจะไม่ท�ำหนังในเมืองไทยแล้ว เ ซ น ส ์ ห นึ่ ง มั น ก็ เ ห มื อ น คุ ณ ไ ม ่ อ ย ำ ก ประนี ป ระนอมอะไรกั บ สั ง คมไทยแล้ ว หรือเปล่ำ ก็ใช่นะฮะ คือยังไงเราก็ต้องเซนเซอร์ตัวเอง แล้ ว ที่ ผ ่ า นมาเราก็ พ ยายามท� า หนั ง ให้ มี สั ญ ลั ก ษณ์ นั่ น นี่ แต่ พ อถึ ง จุ ด หนึ่ ง การมี สัญลักษณ์มนั ก็เป็นข้ออ้างไปแล้ว จนเรารูส้ กึ ว่า มันไม่สวยงามอีกต่อไปแล้ว ส�าหรับเรา ตอนนี้สิ่งที่สวยงามที่สุดคือ ความจริง เพราะฉะนัน้ ถ้าเป็นศิลปินแล้วพูดความจริงไม่ได้ มันก็ไม่ควร เรียกตัวเองว่าศิลปินแล้ว คือจริงๆ มันก็กระดากปากทีจ่ ะต้องเรียกตัวเอง ว่าศิลปินไง ก็เลยหาทางออกที่จะเรียกตัวเองว่าเป็นคนท� าหนังเสมอ แต่เรารูส้ กึ ว่าศิลปินเป็นเหมือนกระจก ไม่วา่ คุณจะท�างานทีเ่ ป็นรูปธรรม นามธรรมใดๆ แต่มันต้องสะท้อนถึงการใช้ชีวิตของคุณ แล้วมันต้อง สะท้อนถึงตัวตนของคุณ บางคนเขามองเห็นโลกสวย เขาก็สะท้อน ความโลกสวยออกมา ซึง่ มันก็เป็นหลักฐานทีด่ ที างประวัตศิ าสตร์ส�าหรับ อนาคต ที่เราจะมีศิลปินโลกสวยหรือศิลปินอะไรก็แล้วแต่ เพียงแต่เรา ต้องรู้ว่าเรายืนอยู่ตรงจุดไหน ศิลปินกับความจริงมันเป็นของคู่กันนะ ในความคิดของเรา เพียงแต่ความจริงของเรามันอาจจะไม่ใช่ความจริง ของคนอื่ น เหมื อ นกั น ถ้ า ใครคิ ด ว่ า ตอนนี้ ป ระเทศไทยเป็ น ช่ ว งที่ สว่างสดใสที่สุดส�าหรับเขาแล้ว มันก็คือความจริงของเขา มันไม่ใช่ ความจริงของเรา แต่เราก็ยอมรับความคิดเขานะ แล้วมันก็ดีถ้าเขาจะ น�าเสนอความคิดตรงนั้นออกมาด้วย ส�าหรับเรา เราก็อยากน�าเสนอ ความคิดของเรา แต่เราท�าไม่ได้


A MUST

Magazine Esquire

GADGET

Panasonic Lumix DMC-G85

“Don’t miss these things this week!”

เข้าสูเ่ ทศกาลส�าคัญ ใครๆ ก็อยากเก็บภาพส�าคัญ เอาไว้ให้อยู่ด้วยกันไปนานๆ ซึ่งกล้องมิเรอร์เลส Panasonic Lumix DMC-G85 ตัวนี้ ก็ตอบโจทย์ ทุกความต้องการของเราได้แบบครบๆ ด้วยเซ็นเซอร์ ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล และมีระบบกันสั่น 5 แกน สามารถถ่ายภาพในทีแ่ สงน้อยได้อย่างอยูม่ อื แม้จะใช้สปีดชัตเตอร์ทตี่ �่า ส่วนด้านการถ่ายวิดโี อ ก็รองรับไฟล์ภาพระดับ 4K เพือ่ บันทึกความเคลือ่ นไหวของช่วงเวลาที่ส�าคัญที่สุด พร้อมกับเลือก ช็อตเด็ดๆ ออกมาเป็นไฟล์รูปความละเอียด HD ได้ทันที และคุณยังสามารถเลือกเปลี่ยนเลนส์ได้ ตามต้องการ Panasonic Lumix DMC-G85 พร้อมเลนส์ 14-42 mm II ราคา 37,990 บาท รายละเอียดเพิม่ เติม ที่ Panasonic.com/th และเฟซบุ๊ก LumixFriend

นิตยสาร เอสไควร์ ฉบับประจ�าเดือนสุดท้ายของปี 2016 นี้ มีเรือ่ งเด่นประจ�าฉบับ คือบทสัมภาษณ์ ‘What We’ve Learned From The King : เพราะสิ่งที่พ่อท�าคือของจริง’ เรื่องราวประสบการณ์ชีวิตของ 7 บุคคล ทีเ่ ดินตามรอยค�าสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 อาทิ กรณ์ จาติกวณิช, นิตพิ งษ์ ห่อนาค, ยุทธนา บุญอ้อม, จิตต์สงิ ห์ สมบุญ, จารุทศั น์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, ระดับ กาญจนะวณิชย์ และ มานิต สุขสมจิตร ส่วนบทสัมภาษณ์ Cover Story ชายหนุ่มบนหน้าปกนั้นได้นักแสดงหนุ่มที่เคยรับบททั้งขี้ยาไปจนถึง จอมยุทธ์อวกาศควงดาบไฟฟ้าอย่าง อีวาน แมคเกรเกอร์ มานัง่ พูดคุยถึงอดีต ปัจจุบนั และอนาคตของเขา

MOVIE Time Raiders

“ตัง้ แต่รจู้ กั กับโลกลีล้ บั ทีอ่ ยูใ่ ต้ดนิ เรือ่ งราว ของการขุดสุสาน การคว�า่ กรวย การเปิดเนิน การปลดทิวเขา ซึง่ ผมได้ตามอ่านนิยายแนวนี้ มาตัง้ แต่เมือ่ 2-3 ปีกอ่ น ก็ถงึ ขัน้ ชวน (แกมบังคับ) คนรอบข้างให้มาอ่านด้วย เพือ่ เราจะได้มเี พือ่ นคุย (หั ว เราะ) จนมี ซี รี ส ์ แ นวนี้ ต ามออกมาอี ก หลายเรื่อง ซึ่งบางเรื่องก็น�าเอาไปสร้างเป็น หนังใหญ่ ถึงแม้จะค่อนข้างแป้กก็ตาม แต่ถ้า เป็นเรื่องนี้ที่มีชื่อไทยว่า ‘บันทึกจอมโจรแห่ง สุสาน’ ผมว่าเรื่องนี้ต้องไปได้สวย และดีใจที่มี คนน�าเข้ามาฉายในบ้านเรา ซึง่ ความรูส้ กึ นีเ้ ป็น ความรูส้ กึ ของติง่ นิยายชัดๆ (หัวเราะ) เป็นหนัง อีกเรือ่ งทีผ่ มอยากไปดูในโรงมากๆ และสิง่ ทีท่ า� ให้ ผมมัน่ ใจว่าหนังเรือ่ งนีค้ งไม่นา่ ผิดหวัง ก็เพราะ ท�ารายได้ทจี่ นี ไปเกิน 1,000 ล้านหยวนเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว” เลือกให้โดย : ‘บอย’ - ตรัย ภูมิรัตน นักร้องและนักแต่งเพลง

PROMOTION


PLACE

VR1 : Virtual Experience Cafe

การเล่นเกมแบบ Virtual Reality แล้วเข้าไป ท่องโลกเสมือนจริงก�าลังได้รบั ความสนใจอย่างสูง และเกมรุ่นใหม่ๆ บนเครื่องเล่นคอนโซลที่ก�าลังจะ ออกมาต่างก็เริ่มให้ความส�าคัญกับระบบ VR ด้วย เราเชื่อว่าต่อให้เกมนั้นสนุกแค่ไหน แต่ถ้าต้องเล่น คนเดียวก็คงจะมีความน่าเบือ่ อยูไ่ ม่นอ้ ย คาเฟ่แห่งนี้ จึงเกิดขึน้ มาเพือ่ รองรับตรงนี้ โดยมีหอ้ ง VR1 ทีค่ ณ ุ กับเพื่อนสามารถร่วมกันเล่นเกม Virtual Reality ไปด้วยกัน โดยทางร้านมีอุปกรณ์และเกมแบบ ต่างๆ ให้ยืมอย่างครบครัน ทั้งยังมีส่วนของคาเฟ่ ให้ นั่ ง พั ก หลั ง จากที่ ต ะลุ ย สู ้ กั บ กองทั พ เอเลี ย น มาเหนื่อยๆ หรือจะมานั่งเล่นบอร์ดเกมรอให้รถ หายติ ด หลั ง เลิ ก งานก็ เ ป็ น ไอเดี ย ที่ ไ ม่ เ ลว VR1 ตั้ ง อยู ่ ที่ อ าคารอเนกวณิ ช ติ ด Tops ทองหล่ อ เปิดให้บริการตัง้ แต่เทีย่ งวันถึงเทีย่ งคืน รายละเอียด เพิ่มเติม www.facebook.com/vr1bkk

EXHIBITION Mind the Monsoon

นิทรรศการภาพถ่ายโดย อธิษว์ ศรสงคราม (หรือที่หลายคนรู้จักเขาในชื่อ อ้วน อาร์มแชร์) ตั้งค�าถามกับความจริงของภาพถ่าย ผ่านการสร้างภาพลวงตาด้วยการถ่ายภาพที่ซับซ้อนและ หลากหลาย งานของอธิษว์ให้ผลการรับรู้ทางสายตาที่แตกต่าง ชวนให้ตั้งค�าถามถึงความจริง ที่ซ่อนอยู่ภายใต้ความงามของภาพเหล่านั้น เทคนิคการบิดเบือน ความคมชัดและโฟกัสที่พร่าเลือน ของเลนส์ ถูกน�ามาใช้ผสมผสานกับทักษะการสร้างภาพอย่างพิถีพิถันของอธิษว์ เพื่อสร้างให้ องค์ ป ระกอบต่ า งๆ อย่ า งพื้ น ที่ ว ่ า ง หุ ่ น นิ่ ง ทิ ว ทั ศ น์ เส้ น สายกราฟิ ก และรู ป ทรงนามธรรม มีความสวยงามและน่าพิศวงในเวลาเดียวกัน ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 15 มกราคม 2560 ที่ Gallery VER ซอยนราธิวาส 22

accessories Kate Spade Holiday Collection 2016

สร้างความพิเศษให้กับเทศกาลวันหยุดยาวสิ้นปีนี้ ด้วยกระเป๋า และเครื่องประดับจาก Kate Spade Holiday Collection 2016 ที่ได้รับ แรงบั น ดาลใจมาจากจิ ต วิ ญ ญาณแห่ ง ยุ ค ดิ ส โก้ ผ่ า นการใช้ สี สั น บนลวดลายกราฟิก ตกแต่งด้วยประกายระยิบระยับอันเป็นเอกลักษณ์ คอลเล็กชันนีม้ าในโทนสีชมพูสด สีเขียวมรกต และสีนา�้ เงินเข้ม ตัดกับ สีครีม สีชมพูอ่อน และสีดา� แสดงออกถึงความเป็นโบฮีเมียนที่ซ่อนไว้ ซึ่งความอ่อนหวานและความสนุกสนานแบบเฟมินีน ส�าหรับสาวๆ ท่านใดที่สนใจ สามารถพบกับ Kate Spade Holiday Collection 2016 ได้แล้ววันนี้ที่ร้าน Kate Spade ทุกสาขา

Signature Royal Hammam

เทรเชอร์ สปา เพิ่งเปิดตัวสาขาใหม่ที่สยามสแควร์ ไปได้ไม่นาน สาขานี้มีทรีตเมนต์ ซิกเนเจอร์ รอยัล ฮัมมัม ที่ช่วยท�าความสะอาด ปรนนิบัติ และบ�ารุงผิวอย่างลึกซึ้ง รื่นรมย์ไปกับประสบการณ์ ‘ฮัมมัม’ ในสไตล์โมร็อกกัน เริ่มจากปลดปล่อยความเครียดและความเหนื่อยล้าด้วย การอาบน�้าพร้อมขัดผิวด้วยถุงมือที่เรียกว่า Kassa Mitt และสบู่สีดา� จากโมร็อกโก ตามด้วยการพอกผิวเพื่อช�าระ สิง่ สกปรกตกค้างด้วยโคลนราซอลจากเทือกเขาในประเทศ โมร็อกโก ปิดท้ายด้วยการนวดน�้ามันหอมระเหยอุ่นๆ เพื่อผิวพรรณที่เนียนใสและนุ่มนวล ทรีตเมนต์ ซิกเนเจอร์ รอยัล ฮัมมัม ราคา 3,400 บาท เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00-22.00 น. รายละเอียดเพิม่ เติมโทร. 0-2252-3468 หรือ 0-2252-3470 www.treasurespa.com

PRODUCT MONOWHEELair

ลองเปลี่ยนการเดินทางของคุณด้วย MONOWHEELair สกู ๊ ต เตอร์ พ กพาที่ มี น�้ า หนั ก เพี ย ง 7.5 กิโลกรัม เมือ่ พับแล้วสามารถยกถือแนบล�าตัว ได้สบายๆ จึงน�าขึ้นรถไฟฟ้าได้โดยไม่เกะกะใคร ตัวเครื่องท�าจากคาร์บอนไฟเบอร์ที่มีน�้าหนักเบา แต่แข็งแรง สามารถวิ่งได้ไกลถึง 30 กิโลเมตร ต่อ การชาร์จแบตเตอรี่หนึ่งครั้ง มีไฟหน้า LED และ ระบบเบรกเพือ่ ความปลอดภัย สิง่ ทีถ่ กู ใจเรามากคือ ระบบล้อที่ล้อรองรับพื้นถนนหลากหลายรูปแบบ สนใจสัมผัสตัวจริงของสกู๊ตเตอร์พกพานี้ได้ที่ร้าน Gizman by Mangpong (ราคา 23,900 บาท)


ALL ABOUT BIZ เรื่อง : วรัญญู อินทรก�ำแหง เรื่อง : ภำสกร ธรัชธำตรี

สมิทธิ์ เมฆอรุณกมล หรือ ‘โจ’ นักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงผู้สั่งสม ประสบการณ์ด้านการตลาด ในการสร้างแบรนด์และธุรกิจระดับ นานาชาติมากว่า 10 ปี วันนี้เขาจะ มาเล่าให้ฟังถึงความท้าทายของ การเป็นเจ้าของกิจการผู้บุกเบิก ธุรกิจออนเซ็น แอนด์ สปา เป็นคนแรกๆ ของประเทศไทย

The Heart of Service

Business Profile


“นับตั้งแต่วันแรกที่เริ่มต้นท�าธุรกิจนี้ ผมคิดว่า ความยากและความท้ า ทายก็ ยั ง คงเดิ ม นั่ น คื อ ประเด็ น ที่ ว ่ า ในการด� า เนิ น ธุ ร กิ จ hospitality เราจะท�าอย่างไรให้พนักงานมีใจรักงานบริการ” • ผมเรียนจบปริญญาตรีดา้ นเศรษฐศาสตร์ แล้วไปเรียนต่อ ปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ทีม่ หาวิทยาลัย เซอร์เรย์ สหราชอาณาจักร แต่ด้วยความสนใจที่หลากหลาย หลังเรียนจบผมจึงหันเหไปในสายงานด้านการตลาด โดยผม เคยเป็นผูจ้ ดั การฝ่ายการตลาดของบริษทั ควินเทสเซนเชียลลี่ (ประเทศไทย) จ�ากัด ผูใ้ ห้บริการในการช่วยเหลือจัดการไลฟ์สไตล์ ส่วนบุคคลชั้นน�าระดับโลกมาก่อน • ส�าหรับจุดเริม่ ต้นของการท�าธุรกิจออนเซ็น ต้องเล่าก่อนว่า ตอนนัน้ ผมรับหน้าทีด่ แู ลเรือ่ งการตลาดให้กบั ร้านอาหารไทย ‘โบ.ลาน’ ซึ่งขณะนั้นมีโครงการจะไปเปิดตลาดอาหารไทย Fine Dinning ทีป่ ระเทศญีป่ นุ่ น่าเสียดายทีเ่ กิดเหตุการณ์สนึ ามิ ท�าให้แผนดังกล่าวต้องเก็บไว้ แต่การเดินทางไปท�าการวิจัย ด้านการตลาดที่ประเทศญี่ปุ่นก็ท�าให้ผมได้ไอเดียเกี่ยวกับ การน�าออนเซ็นเข้ามาบุกเบิกท�าธุรกิจในประเทศไทย • การแช่นา�้ แร่ออนเซ็นและการไปอาบน�้าในห้องอาบน�้า สาธารณะของญีป่ นุ่ เป็นเรือ่ งทีฝ่ งั อยูใ่ นวัฒนธรรมการใช้ชวี ติ ของชาวญีป่ นุ่ ผูป้ ระกอบการออนเซ็นแต่ละแห่งล้วนมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว เช่น นอกจากน�าน�้าแร่จากแหล่งธรรมชาติต่างๆ มาใช้แล้ว ก็มีการน�าเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาผสมผสาน เพื่อให้บริการด้วย เช่น ที่ญี่ปุ่นเขามีบ่อแช่ไฟฟ้า ซึ่งเวลา ทีล่ งไปแช่กจ็ ะเหมือนมีกระแสไฟดูดนิดๆ ช่วยให้รา่ งกายและ หัวใจถูกกระตุ้น • ยูโนะโมริ ออนเซ็น แอนด์ สปา ก่อตัง้ ขึน้ เมือ่ เกือบ 4 ปี ทีแ่ ล้ว ซึ่งตอนนั้นในกรุงเทพฯ ยังไม่มีออนเซ็นเต็มรูปแบบ เปิดให้บริการเลย เราเลือกเปิดในย่านสุขุมวิท ซึ่งก็อย่าง ที่ทราบกันดีว่ามีคอมมูนิตี้ของคนญี่ปุ่นอาศัยอยู่กันเยอะ คนไทยหลายๆ คนอาจนึกไม่ออก เพราะเห็นว่าเมืองไทยเป็น เมืองร้อน ท�าไมคนจะต้องมาแช่น�้าร้อนอีก แต่ความจริงแล้ว คนญี่ปุ่นก็ไม่ได้มาแช่ออนเซ็นกันเพราะหนาว ก็เหมือนกับที่ คนไทยอบซาวน่าหรืออบสตีมกัน ก็เพราะมันช่วยดีท็อกซ์ ให้รู้สึกสดชื่น • ออนเซ็นเป็นศาสตร์แห่งการบ�าบัดทีเ่ ก่าแก่ เป็นทีย่ อมรับ มานานนับพันปี ได้ชื่อว่าเป็นศาสตร์ที่ช่วยฟื้นฟูปรับสมดุล ร่างกาย กระตุน้ ความสดชืน่ ช่วยบ�าบัดความเมือ่ ยล้า ผ่อนคลาย ทั้งกาย ใจ รวมถึงจิตวิญญาณ การแช่น�้าแร่ร้อนออนเซ็น ซึ่งมีแร่ธาตุที่ดีต่อร่างกายในอุณหภูมิที่พอเหมาะ สามารถ บรรเทาอาการปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ช่วยให้เลือด หมุนเวียนได้ดี ลดความเครียด ท�าให้ระบบเผาผลาญท�างาน ได้ดี ขับสิ่งอุดตันในผิวหนังและรูขูมขน ช่วยในการดูดซึม แลกเปลี่ยนออกซิเจนและกลูโคสระหว่างเส้นเลือดฝอยและ เนือ้ เยือ่ ต่างๆ ทัง้ ยังช่วยล้างพิษให้สขุ ภาพแข็งแรงอายุยนื ยาว • ทีแรกก็นกึ ลังเลเหมือนกันว่าจะให้คนทีเ่ ข้ามาใช้บริการ ถอดเสื้อผ้ากันหมดเหมือนที่ญี่ปุ่นดีหรือเปล่า เพราะคนไทย ค่อนข้างขีอ้ าย แต่กอ็ ย่างทีบ่ อกว่ากลุม่ เป้าหมายหลักกลุม่ หนึง่ ของเราคือกลุ่มคนญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย เราจึงได้ ท�าการวิจัยกับลูกค้ากลุ่มนี้ก่อน พบว่าเขาซีเรียสกันมาก ขนาดทีว่ า่ ถ้ามีกฎให้ใส่เสือ้ ผ้าก็จะไม่ยอมมาใช้บริการ เพราะ

ถือว่าไม่ใช่ออนเซ็นของแท้ ในส่วนของผู้ชายเราก็เลยคงไว้ ตามนัน้ แต่ในส่วนของผูห้ ญิงก็มที างเลือกว่าจะใส่หรือไม่ใส่กไ็ ด้ แต่ถ้าจะใส่ก็ต้องใส่ชุดชั้นในที่เรามีให้นะ ซึ่งในที่สุดนั้นคนที่ เข้ามาใช้บริการก็เริ่มชินกันไปเอง เพราะการถอดเสื้อผ้า แช่ออนเซ็นมันก็ไม่ได้น่าอายอะไร • เราเพิง่ เปิดสาขาใหม่ทพี่ ทั ยา สาขานีค้ อ่ นข้างแตกต่างจาก สาขาแรกที่กรุงเทพฯ และสิงคโปร์ ซึ่งทั้งสองสาขาดังกล่าว มีดไี ซน์ทคี่ ล้ายคลึงกัน คือมีความเป็น Japanese Contemporary ในขณะที่สาขาพัทยาจะมีความแตกต่างออกไปเพราะเน้น กลุม่ นักท่องเทีย่ ว เราจึงได้ออกแบบโดยใส่ความเป็นไทยเข้าไป เช่นมีโอ่งมังกรตั้งไว้ มีขันน�้าให้ตักอาบ เพื่อแสดงให้เห็นถึง วัฒนธรรมไทยทีผ่ สมผสานกับออนเซ็นของญีป่ นุ่ และชุดยูกาตะ ที่ใช้ก็มีลวดลายไทย หรือจะเป็นน�า้ แร่ธรรมชาติที่เอามาจาก แหล่งน�า้ แร่ทดี่ ที สี่ ดุ ของประเทศไทย รวมถึงการบริการนวดก็มี นวดแผนไทยเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับภาพรวมของธุรกิจ • ผมคิดว่าในเรื่องของการให้บริการหรือผลิตภัณฑ์เรามี ความชัดเจนและตกผลึกขึ้นเรื่อยๆ นับแต่เริ่มต้นท�าธุรกิจนี้ คือเราไม่ได้มองว่าเราท�าธุรกิจออนเซ็นส�าหรับคนญี่ปุ่นเพียง อย่างเดียว แต่เรายังให้บริการสปาทีด่ ตี อ่ สุขภาพของคนทัว่ ไปด้วย ซึ่งทุกคนสามารถมาใช้บริการตรงนี้ได้หมด ในส่วนของการผสมผสานศาสตร์ ก ารนวดแผนไทย มาช่ ว ยในการดูแล เรือ่ งสุขภาพและการผ่อนคลาย • แม้จะเริ่มมีคู่แข่งหน้าใหม่ที่ท�าออนเซ็นในแผนธุรกิจ สเกลเดียวกับเราบ้างแล้วก็ตาม แต่ผมคิดว่าเสน่ห์ของเรา คือ ‘ออนเซ็น แอนด์ สปา’ ที่ให้บริการแบบสแตนด์อโลน คือเราไม่ได้อยู่ในห้างหรือในโรงแรม เรามีทั้งสวนและแสง ธรรมชาติ ไม่ได้อยูใ่ นอาคารทึบ ผมเชือ่ ว่าตรงนีเ้ ป็นความแตกต่าง ทีถ่ ือเป็นเสน่ห์ คือการเป็นสถานบริการในโรงแรมมันก็มีข้อดี ตรงทีเ่ ขาก็อาจจะได้ลกู ค้าทีพ่ กั อยูใ่ นโรงแรม แต่ผมสมมติตวั เอง ว่าเป็นนักท่องเทีย่ วแล้วถามว่า อยากจะไปกินข้าวร้านอาหาร ทีร่ า้ นในโรงแรม หรืออยากจะใช้บริการสปาทีอ่ ยูใ่ นโรงแรมไหม ค�าตอบคือผมเป็นคนหนึ่งที่อยากจะไปเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ ข้างนอกมากกว่า • นับตัง้ แต่วนั แรกทีเ่ ริม่ ต้นท�าธุรกิจนี้ ผมคิดว่าความยาก และความท้าทายก็ยงั คงเดิม นัน่ คือประเด็นทีว่ า่ ในการด�าเนิน ธุรกิจ hospitality เราจะท�าอย่างไรให้พนักงานมีใจรักงาน บริก าร คือ บางทีก็ย ากเหมือ นกันนะที่จ ะฝึ ก ให้ พ นัก งาน ของเราบริการออกมาจากหัวใจ • ความยากอีกอย่างก็คอื บุคลากรในธุรกิจนีม้ กี ารเปลีย่ น งานกันค่อนข้างสูง เราจึงมีโจทย์ใหญ่ว่าจะท�าอย่างไรให้คน ที่มีใจรักในงานบริการอยู่กับเราไปนานๆ ยิ่งในเวลาที่เรา ก�าลังขยายธุรกิจให้ขยายใหญ่ขนึ้ จะท�าอย่างไรให้มาตรฐาน การบริการของเราคงที่ B

Yunomori Onsen & Spa เป็นสถานบริการทีใ่ ห้บริการด้านออนเซ็นสไตล์ญปี่ นุ่ อย่างเต็มรูปแบบแห่งแรกของกรุงเทพฯ ก่อตัง้ เมือ่ ปี พ.ศ. 2555 แต่ความจริงแล้วยูโนะโมริเป็นส่วนผสมใหม่ทลี่ งตัวกันระหว่างออนเซ็นและสปา ซึง่ น�าเอาศาสตร์แห่ง การบ�าบัดและฟื้นฟูสมดุลร่างกายแบบองค์รวมของการแช่บ่อน�้าแร่ร้อนแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น และการนวดแผนไทยโบราณ รวมเข้าไว้ดว้ ยกัน ปัจจุบนั มีสาขาให้บริการทัง้ หมด 3 แห่ง คือ สุขมุ วิท สิงคโปร์ และสาขาล่าสุดซึง่ เพิง่ เปิดตัวไปไม่นานคือ พัทยา

START UP

Beacon Interface สตาร์ ท อั พ ภายใต้ ก ารสนั บ สนุ น ของธนาคารกสิ ก รไทย ได้ ส ่ ง ผลงาน แอพพลิเคชันด้านการเงินเข้าประกวด ในงาน Singapore FinTech Festival 2016 ที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นงานประกวดฟินเทค ระดับโลก ล่าสุดผลงานแอพพลิเคชันของ บีคอน อินเตอร์เฟส สามารถคว้า 2 รางวัล คือ รางวัลชนะเลิศ Winner of Global FinTech Hackcelerator จากธนาคารกลาง ของสิงคโปร์ และรางวัล Developer Hub Award จาก Citigroup หนึง่ ในผูส้ นับสนุน หลักของการแข่งขันควบอีก 1 รางวัล

PROBLEM

คนตาบอดและคนสายตาเลื อ นราง มีจา� นวนมากกว่า 285 ล้านคนทัว่ โลก รวมถึง ผูส้ งู อายุทมี่ จี า� นวนเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ งในยุค สังคมผูส้ งู วัย หากพวกเขามีปญ ั หาทางสายตา ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการท�าธุรกรรมออนไลน์ ดังนัน้ บีคอน อินเตอร์เฟส จึงคิดค้นนวัตกรรม ขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว

SOLUTION

แอพพลิเคชันนี้จะท�าให้ผู้บกพร่องทาง การมองเห็นกลุ่มต่างๆ สามารถใช้และท�า ธุรกรรมการเงินบนโลกออนไลน์ได้ดว้ ยตนเอง อย่างมั่นใจ มีความเป็นส่วนตัว และสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ผ่านโปรแกรมบนสมาร์ตโฟน ด้วยนวัตกรรม Non-Location Based Interface ทีไ่ ม่ตอ้ งใช้การมอง ผนวกกับ Multi-Sensory Feedbacks ผ่านจอสัมผัสรูปแบบใหม่เพือ่ เพิม่ ศักยภาพส�าหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น นอกจากนี้ แอพพลิเคชันนี้ยังช่วยคนสายตา ปกติใ ห้ ไ ด้ รับ ความสะดวกมากขึ้น เพราะ สามารถใช้งานได้โดยไม่ตอ้ งมองหน้าจอ


THE GUEST เรื่อง : วสิตา กิจปรีชา ภาพ : กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร

เมือ่ ไม่กเี่ ดือนทีผ่ า่ นมา หลายคน น่าจะยังจ�าได้ถึงข่าวคราวของ การก่อสร้างทางเลียบแม่น�้า เจ้าพระยา ที่มีกลุ่มคนออกมา คัดค้านโครงการนี้ และมีการถกเถียงกันในวงกว้าง ผ่านการสื่อสารของกลุ่ม Friends of the River (FOR) ที่น�าโดย ยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิก ผู้ที่จะมาชวนเรา ไปเรียนรูก้ ารบริหารจัดการเมือง จากตัวอย่างที่น่าสนใจใน ประเทศเพื่อนบ้านกัน

WHO OWNS THE RIVER?

“การพัฒนาเมืองต้องก�าหนดวิสัยทัศน์” อย่างสิงคโปร์กน็ า่ จะเป็นตัวอย่างทีช่ ดั เจน เพราะเขาเป็นประเทศเล็ก วิสัยทัศน์หลักของเขาก็คือ ท�าอย่างไรสิงคโปร์ถึงจะอยู่รอดต่อไปได้ใน อนาคต เพราะฉะนั้น ความท้าทายหลักของเขาจึงเริ่มต้นตั้งแต่ไม่มีคน มาท�างาน เศรษฐกิจต้องขับเคลือ่ นด้วยคน แหล่งพลังงาน น�า้ ทรัพยากร จะท�าอย่างไร มันก็เลยออกมาเป็นนโยบายที่ว่าการพัฒนาเมืองจะต้อง วางแผนเป็นสิบๆ ปี ก็ต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี เรื่องพลังงาน เรื่องอาหาร ก็สร้างระบบต่างๆ ขึ้นมา แล้วพอมีนโยบาย มันก็บอกได้ว่า ทุ ก กระทรวง ทุ ก หน่ ว ยงานจะต้ อ งมี เ ป้ า หมายร่ ว มกั น ทั้ ง ภาครั ฐ ภาคเอกชนก็ท�าไปพร้อมๆ กัน ไปในทิศทางเดียวกัน “วิสัยทัศน์คือตัวก�าหนดนโยบายของเมือง” ส�าหรับกรุงเทพฯ เรามองไม่เห็นวิสยั ทัศน์ใหญ่ทจี่ ะบอกว่าเราต้องท�า อะไรต่อ มีแค่ภาพกว้างๆ เมืองปลอดภัย เมืองน่าอยู่ แต่เราไม่เห็นว่า ในเชิงองค์กรหรือบทบาทของหน่วยงานต่างๆ มันไปสนับสนุนนโยบายนี้ อย่างไร เราก็เห็นแค่ว่านโยบายเหล่านี้ออกมาจากผู้นา� เมื่อเปลี่ยนผู้น�า วิสัยทัศน์ก็เปลี่ยน มันไม่เกิดความต่อเนื่องของการด�าเนินนโยบาย “สร้างเมือง สร้างชาติ” ลีกวนยู บอกว่า จะให้สงิ คโปร์เป็น Garden City เขาต้องการท�าให้เมือง น่าอยู่ เพราะถ้าเมืองน่าอยู่ ประชากรก็จะท�างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะทรัพยากรเดียวทีเ่ ขามีกค็ อื คน เพราะฉะนัน้ นโยบายนีช้ ดั เจนว่าเขา ให้ความส�าคัญกับการศึกษา เรื่อง Public Housing เรื่องสภาพแวดล้อม เมือ่ สามารถท�าได้อย่างต่อเนือ่ ง สิงคโปร์กม็ ี Core Value เรือ่ งความน่าเชือ่ ถือ เรือ่ งของสภาพแวดล้อมทีด่ ี คนของเขาก็ยดึ ใน Core Value ตรงนีเ้ พราะเป็น สิ่งที่จะช่วยสร้างชาติ ซึ่งมันก็เห็นได้ชัดว่าเกิดการพัฒนาเมืองที่ท�าให้ สภาพแวดล้อมดีขึ้น “เมืองที่สวยงาม ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ” อย่างโครงการในประเทศอื่น เขาก็ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อท�าให้ สภาพแวดล้อมเป็นกลไกส�าคัญในการขับเคลือ่ นประเทศ ซึง่ มันสามารถ เห็นผลได้จริง อย่างที่สิงคโปร์มีสวนที่ชื่อว่า Bishan Park จากที่เคยมีแต่ ท่อคอนกรีต พอมาท�าเป็นสวน มูลค่าของที่ดินรอบๆ ก็พุ่งขึ้นมหาศาล เลย เมื่อมันได้ผล ทางสิงคโปร์เขาก็พยายามพัฒนาพื้นที่อื่นๆ โดยใช้ พื้น ที่สีเ ขีย วเป็ น ตัว น�า สิง คโปร์ เ ก่ ง ตรงที่แ ปลงเรื่อ งสภาพแวดล้ อ ม เรื่องความเป็นอยู่มาเป็นเรื่องเศรษฐกิจได้ เพราะฉะนั้น มันก็ท�าให้คน เห็นว่าไม่ใช่ว่าแค่สวย แต่ทา� ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วย “นโยบายที่ดี ต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบที่มีประสิทธิภาพ” ถึงแม้ว่าคุณจะมีนโยบายที่ดี แต่ถ้าการปฏิบัติไม่มีประสิทธิภาพ ก็ไม่ได้ผลเป็นรูปธรรม คนก็ขาดความเชือ่ มัน่ อย่างในเชิงการบริหารจัดการ ของ กทม. เขาก็ไม่ได้มอี า� นาจทีจ่ ะท�าได้ทกุ อย่าง ด้วยระบบทีไ่ ม่เบ็ดเสร็จ ก็ ส ่ ง ผลต่ อ การท� า งานที่ ไ ม่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ทั้ ง เรื่ อ งไฟฟ้ า ประปา การขนส่งมวลชน มันไม่มีเจ้าภาพกลาง อย่างเรื่องการก�าหนดแผน ถ้าก�าหนดแล้วไม่ท�าตามก็ไม่มีใครไปลงโทษได้ อย่างกฎหมายควบคุม อาคารก็มีช่องโหว่ที่เอื้อให้ตีความไปได้หลายอย่าง มีการวิ่งเต้นของ กลุ่มทุนที่จะเข้ามาหาประโยชน์ มันไม่มีคนที่ตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาด “อะไรคือคุณค่าที่แท้จริงของเมือง” ผมว่าบ้านเราไม่มีการมองคุณค่าร่วมกันว่าอะไรคือคุณค่าของเมือง ระบบคุณค่านี้มันไม่ได้อยู่ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ของกฎหมาย เราไม่มี การพูดคุยว่าอะไรคือคุณค่าแท้ อย่างสิงคโปร์เขาก็ใช้เวลาสั่งสมมานาน เพือ่ ให้ทกุ คนเห็นตรงกันว่าต้นไม้คอื คุณค่า เพราะฉะนัน้ ทุกอย่างทีพ่ ฒ ั นา จะต้องหลีกทางให้กบั ต้นไม้ แล้วเขาก็มบี ทลงโทษทีแ่ ข็งแรง อย่างตอนนี้ ผมก็ไม่แน่ใจว่าสังคมไทยเราให้คุณค่ากับอะไรบ้าง ในขณะเดียวกัน ก็ต้องมีระบบที่สร้างความชัดเจนเหมือนกันนะ อย่างเรื่องคุณค่าก็เป็น จิตส�านึกสาธารณะ มันก็ต้องใช้เวลา แต่เรื่องของนโยบายมันก็ต้องเอื้อ อย่างสิงคโปร์เขาออกกฎหมายมาว่าถ้าคุณจะมี Green Wall หรือ Roof Garden ในอาคาร รัฐจะกระตุ้นโดยการให้เงินสนับสนุน “สังคมที่ ไม่เชื่อมั่นในข้อมูล แต่เชื่อมั่นในตัวบุคคล” เห็นได้ชดั ว่าสิงคโปร์เขาฉลาดทีจ่ ะใช้ทงั้ การปลูกฝังเด็กๆ ใช้กฎหมาย มีบทลงโทษ ทุกอย่างก็เป็นไปในระบบการสร้างคุณค่าร่วม พอเราไม่ปลูกฝัง ว่าอะไรคือคุณค่าแท้ เราก็จะเห็นโครงการประเภทท�าทางเลียบแม่นา�้ แบบ ต่างประเทศเลยสิ หรือคุณค่าบางอย่างที่เราคิดว่าดี บางทีมันก็ตกยุค ไปแล้ว เราตามการเปลี่ยนแปลงของโลกไม่ทัน เมื่อเราตามไม่ทัน เราก็ไม่เห็นคุณค่าในสิ่งที่เรามี แต่ถ้าฝรั่งมาบอกเราถึงจะเชื่อ นี่คือสิ่งที่ น่ากังวล เรามีระบบ Hierarchy สูง ถ้าชาวบ้านบอกว่าดี จะไม่เชื่อ ถ้านักวิชาการบอกก็ฟังนิดหนึ่ง แล้วก็ถามว่านี่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐ หรือเปล่า สังคมเราไม่เชื่อมั่นในข้อมูล แต่เชื่อมั่นในตัวบุคคล


30 DECEMBER 2016

CREATIVE STRING ART

01 FEATURE ศิลปะสร้างสรรค์โดยเส้นด้าย ความสวยงามที่ไร้กฎเกณฑ์ ซึ่งทุกคนสามารถท�าได้ 05 THE SPACE พื้นที่เปิดทั้งความคิดสร้างสรรค์และพลังงานเชิงบวก กระตุ้นไอเดียในการท�างาน 06 MAKE A DRINK น�้าสมุนไพรและน�้าผลไม้รสชาติหอมหวาน 07 SUPERMARKET ผลไม้เมืองหนาวแสนอร่อยที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวไทยภูเขา 08 THE WORD พลิกมุมคิด ปรับมุมมอง กับ ‘หนึ่งถ้อยค�า’ ที่เปลี่ยนความคิด


FEATURE

Creative String Art ประโยชน์ของเส้นด้ายไม่ได้มีไว้แค่ใช้ส�าหรับซ่อมแซมเสื้อผ้า หรือเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของชุดที่เราใส่เท่านั้น และถ้าคุณนึกไม่ออกว่าจะเอาเส้นด้ายนั้นมาท�าอะไรได้อีก นอกจากการมัดเป็นเส้นวงกลมแล้วเล่นพันด้ายกับเพื่อนที่นั่งอยู่ข้างๆ เราจึงขออาสาพาคุณไปท�าความรู้จักกับงานศิลปะที่เรียกว่า ‘สตริงอาร์ต’ (String Art) ผ่านสองศิลปินที่พร้อมใจมาแสดงให้เห็นว่า เส้นด้ายที่ก�าลังพันอยู่บนมือคุณนั้น สามารถน�ามาท�าเป็นงานคราฟต์สวยๆ ได้เหมือนกัน


ONUSA SUTHAMSAMAI เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง

เส้นด้ายหรือไหมพรม ส�าหรับเรา จะเรียกว่าเป็นวัสดุที่คิดถึงเป็นสิ่งสุดท้ายก็ว่าได้ ส�าหรับการท�างานศิลปะขึ้นมาสักชิ้น เพราะรู้สึกว่าเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างไกลตัว และไม่รู้ว่าจะน�าไปใช้งานอะไรได้บ้าง จนกระทั่งเราได้เจอกับ ‘แนน’ - อรอุษา สุธรรมสมัย ศิลปินจาก Bangkok-Based Leather Studio ที่ท�าให้เรารู้จักกับงานศิลปะที่ชื่อ สตริงอาร์ต และเป็นแรงบันดาลใจให้เราอยากท�างานศิลปะแขนงนี้ขึ้นมา THE STARING POINT :

เราเริ่มต้นจากการเป็นคนชอบท�างานฝีมือ อย่างการถักโครเชต์หรือถักนิตติง้ มาก่อน แล้วต่อมา ก็มาท�างานเครื่องหนังแฮนด์เมดจนมีแบรนด์ของ ตั ว เอง จนเมื่ อ ปี ที่ แ ล้ ว เพื่ อ นของเราก� า ลั ง จะ แต่งงาน เราก็อยากท�าของขวัญให้เพื่อนสักชิ้น โดยตั้งใจว่าของชิ้นนั้นเขาต้องน�าไปใช้ประดับ ตกแต่งบ้านได้ เราก็เข้าไปดูใน Pinterest ว่ามี งานฝีมอื อะไรในตอนนีท้ นี่ า่ สนใจบ้าง จนมาเจอกับ งานศิลปะที่เรียกว่าสตริงอาร์ต เราก็ลองศึกษา และแกะเทคนิคการท�าด้วยตัวเอง พอท�าให้เพื่อน เราก็ชอบ พอท�าชิน้ ใหม่ขนึ้ มาก็มคี นขอ กลายเป็นว่า ท�ามากี่ชิ้นก็ยกให้เขาหมด (หัวเราะ) และตอนนี้ เราก็เริม่ เห็นศิลปินหลายคนน�าเทคนิคของการท�า สตริงอาร์ตมาประยุกต์ใช้เป็นงานประติมากรรม ขนาดใหญ่กันบ้างแล้ว CREATIVE STRING ART :

งานชิ้นนี้เราตั้งใจท�าเป็นรูปพระพักตร์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที ่ 9 เพราะ อยากถวายความอาลัยแด่พระองค์ทา่ น ก็เลือกใช้ แผ่นไม้ยางหรือไม้สนพ่นสเปรย์สดี า� ลงไป จากนัน้ ก็หาภาพต้นแบบมาวางลงบนแผ่นไม้ ซึง่ ควรเป็นภาพ ทีม่ รี ายละเอียดไม่ซบั ซ้อน แล้วตอกตะปูลงไปเป็น ช่องๆ ให้นกึ ถึงงานวาดรูปของเด็กทีจ่ ะแบ่งออกเป็น ช่องๆ แล้วก็เอาสีทาลงไปในแต่ละช่องนัน้ ซึง่ งาน สตริงอาร์ตจะยากแค่ตอนเริ่มของการวางแผน พอเราตอกตะปูแบ่งโซนต่างๆ ครบแล้ว ก็เริม่ เอาด้าย มาพันไขว้กนั ไปมา ซึง่ ทักษะตรงนีก้ ต็ อ้ งอาศัยพืน้ ฐาน ของศิลปะในตัวด้วย เพราะเราจะต้องดูว่าใช้ด้าย แบบไหนพันกันแล้วเป็นเลเยอร์ที่สวย หรือแม้แต่ การไขว้กันก็ตาม เพราะถ้าไขว้ไปทางซ้ายอาจจะ สวยไม่เท่าทางขวา THE STRINGS ATTACHED :

กับความเครียด เพราะการนั่งท�างานสตริงอาร์ต ท�าให้ใจเราจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ไม่ว่อกแว่ก และรู้จักปล่อยวางมากขึ้น เพราะเราเป็นคนที่ ค่อนข้างเด็ดขาดในการท�างาน ทุกอย่างต้อง เปอร์เฟ็กต์ จนท�าให้กลายเป็นความเครียดขึน้ มา งานสตริงอาร์ตสอนให้เรารูว้ า่ ถ้าผิดพลาดก็แก้ไข ได้ หรือถ้าไขว้เส้นผิดก็ไม่เป็นไร มันก็ยงั สวยงามอยู่ ตะปูจะตอกเบี้ยวไปบ้างก็ไม่เป็นไร เพราะเดี๋ยว เส้นด้ายก็จะพันตัวตะปูจนมองไม่เห็นความเบีย้ ว ถ้าเราพอใจแล้วก็พันปมปิด จบ เก็บงาน (ยิ้ม) EVERYONE CAN ENJOY :

เสน่ห์อีกอย่างของงานสตริงอาร์ตคือ เป็น งานศิลปะที่ท�าได้ทุกคน ซึ่งถ้ามองดูชิ้นงานแล้ว อาจจะคิดว่าท�ายาก แต่ถ้าได้ลองท�าดูจะรู้เลยว่า ง่ายมาก สามารถเป็นกิจกรรมในครอบครัวก็ได้ ให้คณ ุ พ่อเป็นคนตอกตะปู ส่วนคุณแม่กบั ลูกก็เป็น ฝ่ายคอยสานเส้นด้าย ซึง่ จากทีเ่ ราเคยเปิดเวิรก์ ช็อป มา เด็กๆ ส่วนใหญ่มกั จะชอบตอนทีพ่ นั ด้ายกันมาก หรือจะน�าไปท�าเป็นงานศิลปะแบบจริงจังก็ได้ โดยไม่จ�าเป็นต้องเป็นการสานเส้นด้ายแบบถี่ๆ ไขว้กนั ไปมาในแบบทีเ่ ราท�า เพราะงานของบางคน ก็ใช้เส้นด้ายขึงแค่โครงสร้างหลักๆ ในสไตล์มนิ มิ อล ก็ม ี ถ้าเราไปลองเสิรช์ ดูจะพบว่าบางคนก็ใช้เทคนิคนี้ ท�าเป็นรูปเขากวางแบบทรงเรขาคณิต ซึง่ อยูท่ กี่ ารพลิกแพลงแล้วว่าจะเล่นกับเส้นด้ายหรือเชือกอย่างไร

งานสตริงอาร์ต ส�าหรับเรา จุดมุง่ หมายหลักๆ น่าจะอยูท่ กี่ ารน�าไปใช้ในงานออกแบบตกแต่งภายใน มากกว่า แต่เราคิดว่าสามารถน�าไปปรับใช้กบั งาน วาดภาพประกอบด้วยก็ได้ เพราะเสน่ห์ของงาน Instragram : @bangkokartisan สตริงอาร์ตจะแตกต่างจากงานวาดเส้น และข้อดี www.Facebook.com/bangkokartisan อีกอย่างก็คอื ช่วยเราได้มากในเรือ่ งของการจัดการ www.bangkokartisan.com


NUTCHA POUDOM เรื่อง : มิ่งขวัญ รัตนคช ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

เพราะเราเชื่อว่างานศิลปะไม่ได้จ�ากัดอยู่แค่บนผืนผ้าใบ แต่ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ ‘ปุ้ย’ - ณัฐชา โพธิ์อุดม เจ้าของ Sweet no Sugars Studio ศิลปินอิสระผู้สร้างสรรค์งานศิลปะด้วยเทคนิคการพัน เส้นด้ายบนตะปู จนเกิดเป็นลวดลายอันงดงามที่ไม่มีขีดจ�ากัดของค�าว่ารูปแบบและกฎเกณฑ์


THE STARING POINT :

ส่วนส�าคัญคือความถี่ของตะปูที่จะตอกลงไป ถ้ารูปมีความคดเคีย้ วมาก มีรายละเอียดมาก ตะปูที่ตอกลงไปก็ยิ่งต้องถี่สอดคล้องไปกับ รอยหยักรอยโค้งของภาพ ส่วนแผ่นกระดาน จะใช้ไม้อดั หรือเขียงก็ได้ (ยิม้ ) แต่ถา้ จะให้อาร์ต ไปกว่านั้น ก็สามารถใช้ไม้เก่า แผ่นไม้จริงๆ แล้วเอาวัสดุทมี่ เี ท็กซ์เจอร์สวยๆ อย่างผ้ากระสอบ หรือกระดาษสาปิดพืน้ ผิว ก็จะได้ความสวยงาม ไปอีกแบบ เราใช้ตะปูทลี่ ะเอียดละเมียดละไม กว่างานช่าง และให้ความคงทน มีอายุการใช้งาน ทีด่ ี โดยพิถพี ถิ นั เลือกใช้ตะปูทองเหลืองทีห่ วั มน หรือตะปูสเตนเลสชุบโครเมียม ในส่วนของ เส้นเชือกที่ใช้ ไม่ควรจะเป็นเชือกที่มีความยืดหยุ่นมากนัก เพราะถ้าเราใช้ไหมพรมซึ่งมี ความฟู ก็จะให้ความละเอียดของรูปภาพได้ น้อยกว่า

เมือ่ ก่อนเราเป็นศิลปินทีส่ ตูดโิ ออืน่ มาก่อน ซึง่ ถือเป็นจุดเริม่ ต้นทีด่ ขี องเราในการท�าเวิรก์ ช็อป เพือ่ ถ่ายทอดความรูแ้ ละทักษะทางศิลปะให้กบั คนหลากหลายช่วงวัย โดยตอนนีส้ ตูดโิ อของเรา มีคลาสอยูท่ งั้ หมด 28 รูปแบบการสร้างสรรค์ งานศิลปะ ถามว่าท�าไมต้องมีคลาสเยอะขนาดนี ้ คือต้องบอกก่อนว่าเราคนเดียวคงไม่สามารถ ท�าได้ทงั้ หมดหรอก แต่เรารวมกลุม่ ผูท้ เี่ ชีย่ วชาญ ในศิลปะแต่ละด้านไว้ด้วยกัน เราเรียนจบ การออกแบบอุตสาหกรรม ซึ่งมีพื้นฐานของ Product Design จากนั้นไปต่อปริญญาโท คณะมัณฑนศิลป์ ประยุกต์ศิลป์ ทั้งหมดนี้ หล่ อ หลอมให้ เ ราเป็ น เหมือ นสายลงมือ ท�า (ยิ้ ม ) ซึ่ ง เราจะเป็ น คนที่ เ วลาคิ ด อะไรแล้ ว จะลงมือท�าเลย เหมือนอย่างงานสตริงอาร์ต ทีพ่ อเราเห็นรูปแบบแล้วก็เลยลองหาไม้กระดาน ตะปู และด้ า ย มาทดลองท� า อั น แรกพั ง EVERYONE CAN ENJOY : ส�าหรับเรา การท�างานศิลปะเป็นเรื่องที่ ก็ไม่เป็นไร ก็ลองท�าใหม่จนท�าได้ ไม่มขี อ้ จ�ากัด ไม่จา� เป็นต้องอ้างอิงความจริงว่า ต้นไม้ตอ้ งเป็นสีเขียว เพราะมันก็เป็นรูปแบบหนึง่ CREATIVE STRING ART : งานสตริงอาร์ตไม่ใช่เรือ่ งใหม่ ในต่างประเทศ ของการสื่อสารด้วยงานศิลปะจากตัวตนและ เขาท�ากันมานานแล้ว และด้วยตัวเราท�างาน ความชอบของศิลปินเอง เสน่หข์ องสตริงอาร์ต เกี่ยวกับผ้า เส้นใย เส้นไหม ตลอดเวลา ส�าหรับเราคือจังหวะของเส้นด้าย เส้นเชือก เลยคิดว่าเราลองใช้มือแทนพู่กัน ใช้เส้นไหม ทีส่ ร้างเป็นลวดลาย ซึง่ ความจริงมันเป็นเหมือน เส้ น เชื อ ก ผ้ า แทนสี ที่ น� า มาแต่ ง แต้ ม บน การบ�าบัดอย่างหนึ่งเลยทีเดียว เพราะศิลปะ ผืนผ้าใบก็ได้นนี่ า เราก็เลยลองหาตัวตนของเรา ชนิดนี้มันสร้างสมาธิสุดๆ เป็นงานที่หยุดแล้ว ใช้ทกุ อย่างทีเ่ ป็นวัสดุมาท�างานศิลปะ ตอนหลัง จะขาดตอน เส้นด้ายควรจะต่อเนื่องไปเลย เราเปิดเป็นเวิรก์ ช็อปให้คนได้มาลองท�า ซึง่ ก่อน ทัง้ ชิน้ งาน มีปมแค่ตอนเปิดและปิดตัวชิน้ งาน จะเปิดสอนเป็นเวิร์กช็อปให้คนอืน่ ตัวเราต้อง ซึ่งเส้นแต่ละแบบก็บอกถึงบุคลิกของคนท�า ทดลองท�าดูก่อนว่าแพตเทิร์นแบบนี้มันยาก ที่ ต ่ า งกั น อย่ า งเวลาเราไปเปิ ด เวิ ร ์ ก ช็ อ ป ไปไหม คนทั่วไปที่ไม่มีพื้นฐานด้านศิลปะ แค่เห็นการพันเชือก เราสามารถบอกได้เลยว่า จะสามารถท�าความเข้าใจได้ไหม เช่น การเลือก คนนีเ้ ป็นคนมีระเบียบ ด้วยการมองจากความถี่ โทนสี ข องเส้ น เชื อ กซึ่ ง จะมี ทั้ ง แบบสี เ ดี ย ว และลวดลายของเส้นเชือกที่เขาพันบนตะปู โทนเดียว หรือเป็นการไล่โทนสี ซึ่งเราจะเลือก เท่านั้น (ยิ้ม) สีอะไรหรือตรงไหนก็ขึ้นอยู่กับเอฟเฟ็กต์ของ แสงและเงาที่ต้องการ ส่วนรูปแบบการพัน www.facebook.com/Numalii.s เส้นเชือกหรือเส้นด้ายก็มีวิถี มีทิศทางของมัน www.facebook.com/sweetnosugars อยู่ เช่น จะพันเป็นกลีบดอกไม้ จะต้องพันไป ในทิศทางไหน เพื่อให้เกิดความพลิ้วไหว THE STRINGS ATTACHED :

ในการเลื อ กรู ป มาท� า งานสตริ ง อาร์ ต


THE SPACE

Every space is workspace เรื่อง : ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

ออฟฟิศในตึกสูงส่วนใหญ่ มักถูกจ�ำกัดด้วยขนำดและข้อจ�ำกัดด้ำนพื้นที่ให้แยกเป็นห้อง หรือไม่ก็กั้นด้วยพำร์ทิชัน ท�ำให้รูปลักษณ์และบรรยำกำศแลดูเคร่งขรึม แต่ที่ออฟฟิศของ บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด นั้นแตกต่ำงออกไป เรำได้มีโอกำสพูดคุยกับ ณัจยา โชติกเสถียร ผู้อ�ำนวยกำรฝ่ำยทรัพยำกรบุคคล ผู้อยู่เบื้องหลังกำรท�ำโฟกัสกรุ๊ปจำกพนักงำนทั้งหมด จนกลำยมำเป็นออฟฟิศรูปแบบใหม่สุดอิสระ ที่เอื้อต่อกำรสร้ำงสรรค์ผลงำนดีๆ ได้อย่ำงไม่มีขีดจ�ำกัด

This Space Is... “พื้นที่เปิด ทั้งควำมคิดสร้ำงสรรค์ พลังงำนเชิงบวก และเปิดใจระหว่ำงกัน”

“เดิมทีออฟฟิศของเราก็เป็นเหมือนออฟฟิศ ทั่วๆ ไป ซึ่งบรรยากาศโดยรวมมักจะดูเคร่งขรึม ส่งผลให้พนักงานเกิดความเบื่อหน่าย ทางบริษัท จึ ง จั ด ท� า โฟกั ส กรุ ๊ ป ให้ พ นั ก งานทุ ก คนแสดง ความคิดเห็นถึงพืน้ ทีใ่ หม่ทจี่ ะท�าให้ทกุ คนรูส้ กึ สนุก ช่วยในการกระตุน้ ให้เกิดไอเดียดีๆ ในการท�างาน” กระทั่งเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ออฟฟิศใหม่ ของฟิลลิป มอร์ริส ก็ปรับปรุงเสร็จพร้อมที่จะ กระตุน้ ไอเดียให้พนักงานทุกแผนกทีจ่ ะมาใช้พนื้ ที่ ในทุกมุม “พนักงานส่วนใหญ่ของเรามีส่วนผสมกัน ระหว่าง Gen X และ Y พวกเขามีความต้องการ คล้ายๆ กันคือ ความเป็นตัวของตัวเอง อิสระ มีความสนุก ยืดหยุน่ และคล่องตัว เมือ่ ท�าโฟกัสกรุป๊ และน� า ไปใช้ ส ร้ า งแนวคิ ด ตรงกลาง ก็ ไ ด้ เ ป็ น คอนเซ็ปต์ open space กลายมาเป็นออฟฟิศ บนชั้น 39 (ครึ่งชั้น) และชั้น 40 (ทั้งชั้น) ภายใน อาคารห้างสรรพสินค้าดิ เอ็มควอเทียร์แห่งนี้” ออฟฟิ ศ แห่ ง นี้ โ ดดเด่ น ด้ ว ยการใช้ พื้ น ที่ ทุกตารางเมตรได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะชั้น 40 เป็นโซนออฟฟิศติดกระจกรอบด้าน เพื่อให้ดูโล่ง โปร่ง สบาย เห็นวิวนอกตึก และได้รบั แสงธรรมชาติ ทั้งยังตกแต่งพื้นที่บริเวณโต๊ะท�างานด้วยต้นไม้ ขนาดเล็ก เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ดูสดชื่นมากขึ้น “เราตั้งใจให้ทุกคนได้เห็นวิวตึกสูง แม่น�้า และรถไฟฟ้า ผ่านหน้าต่างกระจกรอบด้าน หรือ แม้กระทั่งมองทะลุผ่านห้องผู้จัดการได้ ซึ่งจุดนี้ ไม่ได้มีแค่ความโปร่งสบายเท่านั้น แต่ยังช่วยเอื้อ ให้ เ กิดความสัมพันธ์ อันดีระหว่ า งผู ้ จัดการกับ พนักงาน เพราะไม่มีอะไรทึบๆ มากั้น พนักงาน สามารถนั่งคุยงานตามมุมเล็กๆ ริมหน้าต่างได้ สบายๆ หรือออกไปรับลมยามเย็นบริเวณระเบียง ด้านนอกตึกที่ตกแต่งให้เป็นสนามหญ้าก็ได้” ส่วนไฮไลต์ของโซนนี้อยู่ที่มุมท�างานในพื้นที่ ส่วนกลาง ที่ออกแบบให้เป็นชุดโต๊ะเก้าอี้นุ่มๆ ในวงกลมขนาดใหญ่ สีสันสดใส ติดริมหน้าต่าง ข้ า งๆ กั น เป็ น แคนที น ขนาดเล็ ก สไตล์ ค าเฟ่

ทีพ่ ร้อมไปด้วยเครือ่ งดืม่ นานาชนิด ถัดไปเป็น ห้อง Phone boot ส�าหรับคุยโทรศัพท์ส่วนตัว “ห้ อ งประชุ ม ของที่ นี่ เราท� า เป็ น ธี ม ที่ หลากหลาย เพื่อกระตุ้นพลังความคิดของ ทุกคน เช่น ห้องคาเฟ่ โทนสีอุ่นมีคีย์บอร์ด ให้เล่น ห้อง Impossible ตกแต่งด้วยชิงช้าและ เบาะนุ่มๆ ห้อง Ferrari เร้าพลังไอเดียมันๆ ห้องธีมกีฬา มีโต๊ะปิงปองและมีชุดตีกอล์ฟ หรือห้องเทรนนิง ทีพ่ บั ผนังห้องให้เป็น town hall ยาวไปถึงโซนแคนทีนสไตล์คาเฟ่ขนาดใหญ่ สู่บันไดวน จนสามารถปรับใช้เป็นเวทีย่อมๆ ได้อีก ห้องทั้งหมดจะเวียนกันใช้งาน และจะ เต็มตลอด จึงไม่ตอ้ งแปลกใจ หากมาแล้วพบว่า ไม่ค่อยเห็นพนักงานอยู่ที่โต๊ะ พวกเขาจะอยู่ ในห้องประชุมบ้าง มุมเล็กๆ ที่จัดขึ้นบ้าง เราจะติดต่อกันผ่านเบอร์โทรศัพท์ของโน้ตบุก๊ คล้ายแอพพลิเคชัน Skype ทุกคนก็ยังท�างาน เหมื อ นเดิ ม แต่ เ พิ่ ม เติ ม คื อ เกิ ด ความคิ ด สร้างสรรค์อย่างอิสระ ที่ท�าให้ผลงานออกมา เป็นที่น่าพอใจ”

ช่วงเวลาที่นี่ที่สวยที่สุด - ประมาณ 18.30 น. พระอาทิตย์กา� ลังตกดิน สีทอ้ งฟ้านอกหน้าต่างก�าลังสวย เรื่องเซอร์ ไพรส์ที่ ได้พบ - ไม่เคยรูม้ าก่อนเลยว่า จากตึกสูงในเมือง จะ สามารถมองเห็นแม่นา�้ เจ้าพระยาได้ชดั ขนาดนี้


MAKE A DRINK

Thai Herbal and Fruit Juice เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

เวลำที่ได้มำเดินเล่นอยูแ่ ถวริมแม่นำ�้ เจ้ำพระยำ เรำก็อดคิดไม่ได้วำ่ หำกสำมำรถหยุดหรือยืดเวลำช่วงนัน้ ออกไปได้อกี สักหน่อย เพือ่ เก็บควำมสวยงำมของบรรยำกำศ ริมแม่นำ�้ เจ้ำพระยำเอำไว้ให้ได้นำนขึน้ อีกนิดก็คงจะดีไม่นอ้ ย หลังจำกทีค่ รุน่ คิดเช่นนัน้ เรำก็พำตัวเองมำนัง่ เอนหลังอยูท่ ี่ Steve Cafe & Cuisine โดยไม่รตู้ วั แล้วจิบ น�ำ้ สมุนไพรและน�ำ้ ผลไม้ รสชำติหอมหวำน พร้อมกับฟังเรือ่ งรำวทีม่ ำของเครือ่ งดืม่ และอำหำรรสชำติตน้ ต�ำรับจำก สรเทพ โรจน์พจนำรัช เจ้ำของร้ำนทีแ่ สนใจดีคนนี้

Thai Herbal and Fruit juice รำคำ : แก้วละ 80 บำท

INGREDIENTS

OWNER'S INSPIRATION

TIPS

ตะไคร้ / มะม่ ว ง / กระเจีย๊ บ / ดอกอัญชัน / น�ำ้ เชือ่ ม

น�้ำสมุนไพรและน�้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มที่อยู่คู่กับคนไทยมำนำน ตั้งแต่ก่อนที่บ้ำนเรำจะมี น�ำ้ อัดลมเข้ำมำ ดังนัน้ ผมจึงน�ำเครือ่ งดืม่ เหล่ำนีม้ ำให้บริกำรตัง้ แต่เริม่ เปิดร้ำน คอนเซ็ปต์ของ ร้ำน Steve Cafe & Cuisine คือ ร้ำนอำหำรไทยทีท่ กุ คนคุน้ เคย โดยเรำเลือกวัตถุดบิ ต่ำงๆ มำจำกร้ำนศูนย์ศิลปำชีพ 904 ซึ่งเรำจะใช้ของจำกที่นี่เท่ำนั้น เพรำะมั่นใจได้ถึงคุณภำพ และรสชำติทเี่ ข้มข้น ดืม่ แล้วรูว้ ำ่ มำจำกสมุนไพรหรือผลไม้ชนิดไหนทันที

น�ำ้ อัญชันจับคูก่ บั แกงทีเ่ ผ็ดร้อน อย่ำงแกงเหลืองได้ดี เพรำะรสชำติ หอมหวำนจะช่วยลดควำมเผ็ดลงได้ แต่ถ้ำเรำกินย�ำตะไคร้แล้วยังดื่ม น�ำ้ ตะไคร้ตำมอีกจะหนักเกินไป


SUPERMARKET

Winter Fruits

แม้จะอยู่ในเขตร้อน แต่ประเทศไทยก็สามารถปลูกผลไม้เมืองหนาวได้นานาชนิด ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงริเริ่มไว้ในหลากหลายโครงการหลวง เพื่อให้เกษตรกรปลูกแทนฝิ่น ฉบับนี้เราขอพาไปรู้จักกับผลไม้เมืองหนาวแสนอร่อยที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ตามท้องตลาด ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวไทยภูเขา บริเวณภาคเหนือ

PLUM พลัม ต้นก�าเนิดจากทวีป ยุโรป เปลือกบาง เนือ้ ในสีเหลือง ฉ�่ า น�้ า และรสชาติ ห วานหอม สามารถน� า ไปอบแห้ ง เพื่ อ ท� า เป็นลูกพรุน พลัมสดช่วยลด ความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และโรคมะเร็ง Asian Pear สาลี่ ลั ก ษณะคล้ า ยผล แอปเปิล้ แต่เนือ้ กรอบฉ�า่ น�า้ กว่า มีกลิน่ หอม มีรสหวานอมเปรีย้ ว เล็ ก น้ อ ย เหมาะส� า หรั บ ผู ้ ที่ ต้องการลดน�้าหนัก เพราะมี น�้าตาลที่สามารถน�าไปใช้เป็น พลังงานได้ทันที มีถิ่นก�าเนิด ในภาคตะวันตกของประเทศจีน

Strawberry สตรอเบอรี เป็ น หนึ่ ง ในผลไม้ พันธุ์พระราชทาน จัดอยู่ในตระกูล พืชลืมลุก ใช้ปลูกคลุมดิน ผลสีแดง สด รสชาติหวานอมเปรีย้ ว อุดมไปด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ น�าไปเคี่ยวกับ น�้ า ตาลท� า เป็ น แยมสตรอเบอรี ทาขนมปังหรือราดไอศกรีม

KIWI กีวี ผลไม้รสชาติกลมกล่อม จากประเทศนิวซีแลนด์ เป็นผลไม้ ที่ ไ ด้ รั บ การส่ ง เสริ ม ให้ ช าวเขา ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ ปลูกได้ดีที่ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ช่วยใน เรื่องของระบบเผาผลาญ และมี วิตามินซีสงู นิยมใช้ประดับหน้าขนม หรือตกแต่งจานสลัด

Raspberry ราสป์เบอรี เป็นผลไม้ตระกูล เบอรี ซึ่งถือเป็นยาอายุวัฒนะจาก ธรรมชาติ ผลมี ข นาดเล็ ก และ ปกคลุมไปด้วยขนนุม่ บางๆ รสชาติ หวานอมเปรีย้ ว มีไขมันและแคลอรี ต�่ า อุ ด มไปด้ ว ยเส้ น ใยอาหาร ที่ช่วยในการขับถ่าย

GRAPE องุ ่ น สามารถแปรรู ป ได้ หลากหลายรู ป แบบ น� า ผลไป อบแห้งเป็นลูกเกด หมักเป็นไวน์ หรื อ คั้ น เป็ น น�้ า องุ ่ น รสชาติ กลมกล่อม มีคุณสมบัติช่วยลด ริ้ ว รอยและเพิ่ ม ความยื ด หยุ ่ น ของผิวหนัง

Peach ท้อ ผลสีเหลืองทองสีนวล เนื้ อ แน่ น มี ข นปกคลุ ม อ่ อ นๆ ถื อ เป็ น ราชิ นี ผ ลไม้ เ ขตหนาว สามารถรับประทานสด หรือน�า ไปปรุงเมนูอาหารเสริมสุขภาพได้ อุดมไปด้วยวิตามินเอ ซี และสารต้านอนุมลู อิสระ โครงการหลวง น�ามาปลูกและวิจยั เพือ่ เสริมสร้าง รายได้ให้เกษตรกร


THE WORD

Men succeed when they realize that their failures are the preparation for their victories. คนเราจะประสบความส�าเร็จก็ต่อเมื่อพวกเขาตระหนักดีว่า ความล้มเหลวของพวกเขา คือการเตรียมพร้อมส�าหรับชัยชนะ

- Ralph Waldo Emerson -


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.